Long Nan [April - May 2014]

Page 1

จุลสารล่องน่าน

จุลสารล่องน่าน | Long Nan Booklet จุลสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองน่าน

แจกฟรี | ฉบับที่ 6 | เมษายน-พฤษภาคม 2557

ฮีตมะเก่า

ฮอยมะก่อน

ตามรอยความเชื่อลี้ลับในเมืองน่าน FREE เสาหลักเมือง ศาลเจ้าหลวงเชียงราบ ผีหม้อนึ่ง-ผีปู่ย่า

COPY

APR-MAY 2014

เปิดทักษาต�ำราเมือง

ศูนย์กลางความศัทธาของลูกหลาน

ล่วงไปในอดีตรู้ไปในอนาคต

สิบขึดเมืองน่าน

สิบข้อห้ามตามความเชื่อ Long Nan Booklet | 1


A

B

C

D

E

1

F

3 7 9

6 5

2 วัดสวนหอม

เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2366 แทนวัด สวนดอกที่เคยเป็นศูนย์กลางของชุมชนในอดีต ชื่อ ของวัดสันนิษฐานว่ามาจาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มกั นิยม ปลูกผัก ปลูกหอมขายในสมัยนัน้ จึงเปลีย่ นชือ่ เรียก เป็นบ้านสวนหอม และวัดสวนหอม มาจนถึงทุกวันนี้

3

4

1

4

5

ผีไร่ผีสวน อยู่ตามสวน ไร่ และนา ของชาวบ้าน

2

6

8

ทางไปบ้า (บ้านสอนงผบ่อสวก ี)

แผนที่ชุมชนน่าน

1

วัดสวนหอม

2

เสาหลักเมือง

5

3

ศาลเจ้าปู่วัด

6

B-4 B-5

4

ชุมชนสวนหอม ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน ชุมชนมิ่งเมือง ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน

E-1 ชุมชนมหาโพธิ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน 2 | จุลสารล่องน่าน

F-2 F-2

ผีไร่ผีสวน

อยู่ตามสวน ไร่ และนา ของชาวบ้าน

7

วัฒนธรรมการเกิด-ตาย

ศาลเจ้าหลวงเชียงราบ

8

บ้านสองผี

ผีย่าหม้อนึ่ง ผัปู่ย่า

9

ชุมชนน�้ำล้อม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน บ้านคุณศรีวรรณ ไชยมงคล 100 ชุมชนน�้ำล้อม ซอย 2 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

E-1 A-6 E-1

ชุมชนมหาโพธิ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน คุณไชยลังกา คุณดี แก้วถา 104 ม.2 ต.บ่อสวก อ.เมือง จ.น่าน

กิจกรรมคืนพระไม้ให้เมืองเก่า

ชุมชนมหาโพธิ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน


วิถีมะเก่า

ความเชื่อมะก่อน เรื่องจากปก คุณยายศรีวรรณ ไชยมงคล ผู้ซึ่งเป็นข้าว จ�้ำ (ร่างทรงผีปู่ย่า) ก�ำลังน�ำดอกไม้ธูปเทียน ตั้ง จิตอธิษฐานเพื่อขอให้ผีหม้อนึ่งแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ให้แก่ผู้ท่ีมาถามไถ่หรือต้องการรับ ความช่วยเหลือ อ่านรายละเอียดได้ที่หน้า 12 ในล่องน่านฉบับนี้

สัญลักษณ์ได้รับแรงบันดาล ใจมาจากตัวอักษรพื้นเมืองที่อ่าน ว่า “น่าน” ภายใต้กรอบรูปทรงวงรี หลายโค้งอันไม่สมมาตร ซึ่งแสดงถึง การหลอมรวมกันของผูค้ น และศิลป วัฒนธรรม จนเป็นเนือ้ เดียวกัน ทีเ่ ป็น เอกลักษณ์เฉพาะเมืองน่าน กรอบรูป นั้นจึงไม่ใช่วงรี วงกลม หรือสี่เหลี่ยม พื้นฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป ชื่อ “ล่องน่าน” สื่อความถึง ความผูกพันกับสายน�้ำน่าน ของคนน่าน และยังเป็นที่มาของฟ้อนล่องน่าน ซึ่งเป็นศิลปะ การแสดงดั้งเดิมของเมืองน่าน “ล่องน่าน” ยังให้นัยยะถึง การ เข้ามาค้นหาความน่าตื่นตาตื่นใจในศิลปวัฒนธรรม ที่ผ่านการ สืบทอดมาอย่างยาวนานได้อย่างไม่รู้จบจากผู้มาเยือน ดุจดั่ง การล่องไปในจินตนาการ ในขณะที่ “Long Nan” เชือ่ มโยงกับ ประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองน่าน และศิลปวัฒนธรรมที่ มีรากฝังลึกมาแต่อดีตช้านาน จนผูม้ าเยือนอาจต้องใช้เวลานาน กว่าที่คิดไว้ในการเข้าไปสัมผัส

ก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามามีอิทธิพลต่อระเบียบวิธีคิด และการประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรม ต่างๆ ของคนไทย การนับถือผี ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง และธรรมเนียมปฏิบัติที่ดูเร้นลับ ได้กลาย เป็นวิถปี ฏิบตั โิ ดยทัว่ ไปในสังคมไทยโบราณ ซึง่ มีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างกันไปในแต่ละภูมภิ าค และได้คอ่ ยๆ ผสมหลอมรวมไปกับพุทธศาสนาจนเกิดเป็นลักษณะปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยในแต่ละท้อง ถิ่น สิ่งเหล่านี้ถึงแม้อาจจะยากที่จะอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ยึดโยงระบบ ครอบครัว เครือญาติ และสังคมของไทยในแต่ละถิน่ ทีเ่ อาไว้ให้คงอยูไ่ ด้อย่างร่มเย็น ปราศจากภัยพิบตั ิ และคงมั่นในความถูกต้องตามท�ำนองคลองธรรม และจริยธรรมของสังคม เมืองน่านยังเป็นสถานที่แห่งหนึ่ง ที่ยังคงรุ่มรวยด้วยธรรมเนียมปฏิบัติอันเร้นลับ พิธีกรรมอันน่า พิศวง แต่ความน่าสนใจของสิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่ความแปลกที่ที่อื่นๆ ไม่มี แต่อยู่ที่วิถีปฏิบัติทั้งหลาย เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มเี หตุผลมารองรับ ซึง่ เป็นเหตุผลทีม่ าจากการลองผิดลองถูกสืบทอดการกระท�ำมา แต่โบราณ และเป็นเหตุผลทีช่ ว่ ยประคับประคองให้ชาวน่านด�ำรงชีวติ อยูไ่ ด้ดว้ ยความสงบสุข ปลอดภัย และเป็นสังคมที่เจริญด้วยมโนธรรม และจริยธรรม ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วไฉนเราจึงละเลยสิ่งเหล่านี้ และมองว่าเป็นสิง่ งมงายล้าสมัย ถึงแม้จะไม่ได้ถกู อธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่กต็ าม ลองมาดูกันครับว่าที่ผมพูดมาจริงไหม ในล่องน่านฉบับนี้ ณวิทย์ อ่องแสวงชัย | บรรณาธิการ

ที่ปรึกษา | Adviser สุรพล เธียรสูตร, รศ.ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา, เพลินจิต พ่วงเจริญ บรรณาธิการ | Editor ณวิทย์ อ่องแสวงชัย กองบรรณาธิการ | Editorial Staff สุกนั ย์ณภัทร กันธะวงค์, บรรจง อูปแก้ว, วราวุธ ธิจนิ ะ จุลสาร “ล่องน่าน” เป็นจุลสารรายสองเดือน จัดท�ำ โดยโครงการ “การจัดการทรัพยากรทางสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบน ฐานวัฒนธรรมในเขตเมืองน่าน” ภายใต้การสนับสนุนจาก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

LongNan is a bimonthly magazine published by Faculty of Architecture, Chiang Mai University. The project is supported by Area-Based Collaborative Research-Upper Northern Region (ABC-UN), The Thailand Research Found (TRF).

จุลสารล่องน่าน ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ติดตามอ่านล่องน่านฉบับอิเล็กทรอนิกส์ได้ในระบบของ ebooks.in.th ระบบที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถเปิดอ่านหนังสือ eBooks ได้หลากหลาย อุปกรณ์ ทั้ง iPhone iPad Android และ PC โดยท�ำตามขั้นตอนดังนี้

อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครีเอทีฟคอมมอนส์ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย โทร: 0 5394 2806, แฟกซ์: 05 322 1448 www.arc.cmu.ac.th

ติดต่อโฆษณา หรือร่วมสนับสนุนโครงการ โทร: 08 7496 4142

1. โหลดผ่านอุปกรณ์พกพา Smart Phone, Tablet โหลดแอปชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store หรือ Google Play เปิดแอปแล้ว ค้นหา ล่องน่าน หรือ Long Nan โหลดหนังสือฉบับที่ชอบเก็บไว้อ่านได้ตลอดเวลา 2. โหลดผ่าน Web Browser http://www.ebooks.in.th/longnanproject เลือกโหลด PDF ไฟล์ จากหน้าเว็บ

Long Nan Booklet | 3


เสาหลักเมือง ตั้งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระ อุโบสถวัดมิ่งเมือง มีความสูงประมาณ 3 เมตร ฐาน ประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสา แกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เสาหลั ก เมื อ ง เปิดทักษาตำ�ราเมือง

วามเชื่อเรื่องของเสาหลักเมืองน่านนั้น เป็นความเชื่อในการสร้างบ้าน แปลงเมืองทีม่ มี าแต่โบราณ ซึง่ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพืน้ ที่ โดยความเชือ่ เกี่ยวกับเสาหลักเมืองน่านนั้น อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลป วัฒนธรรม และที่ปรึกษาองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว ที่ยั่งยืน (อพท.) จังหวัดน่าน ได้เล่าถึงข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการสร้างเมืองน่านไว้ ว่า ในอดีตการสร้างบ้านแปงเมือง ย่อมมีเรื่องของ “ฮวงจุ้ย” หรือที่ไทยเราเรียก ว่า “ทักษา” มาเกี่ยวข้องเพื่อท�ำการวางผังเมืองให้เป็นไปตามหลักของทักษาที่ถูก ต้อง คนโบราณจะต้องหาพืน้ ที่ ทีด่ ที สี่ ดุ ในการสร้างเมือง มีการดูในเรือ่ งของเนินดิน ที่ราบ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แสงแดด แรงลม ทิศ ฤดูกาล ซึ่งปัจจัยทางกายภาพ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวก�ำหนดทักษาของเมืองว่าจะสามารถสร้างเมืองได้ทไี่ หน

2

B-5

ต�ำแหน่งในแผนที่ 4 | จุลสารล่องน่าน

เมื่อวางผังเสร็จแล้ว ก็จะมีการก�ำหนดต้นโพธิ์ เป็นไม้สลีเมือง หรือไม้ศรีเมือง หรือไม้มิ่งเมือง ซึ่ง ในสมัยก่อนจะถือเอาต้นโพธิ์เป็นหลักชัย เพราะ คนน่านนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ตามแบบ สุโขทัย จากนั้นจึงมีการสร้างวัดหลวงกลางเวียงขึ้น พร้อมกับวัง และเสาหลักเมือง มีการก�ำหนดพิธหี รือ ฮีตของเมือง เพือ่ เลีย้ งผีบา้ นผีเมือง โดยมีการดูทกั ษา ว่าทิศของผีนั้นอยู่ทางทิศไหน เป็นต้น ซึ่งในอดีต นั้น เสามิ่งเมือง หรือเสาหลักเมืองนี้ นอกจากจะ สร้างขึ้นตามหลักทักษาเมือง เพื่อให้เกิดความเป็น สิริมงคลแล้ว บริเวณที่ตั้งเสาหลักเมืองยังเป็นจุด นัดพบในการชุมนุมทัพ ซึ่งในสมัยก่อนบริเวณเสา หลักเมืองนั้นมีลักษณะเป็นลานกว้าง และเป็นที่สัก การะศาลหลักเมืองก่อนออกรบ มีการตัดไม้ขม่ นาม และประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความเป็น สิริมงคลและเพิ่มขวัญก�ำลังใจแก่เหล่าทหารก่อน ออกศึก เสาหลักเมืองน่านจากหลักฐานทีม่ กี ารบันทึกไว้ พบว่า ได้รบั การสร้างขึน้ ในสมัย เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้า ผูค้ รองนครน่าน องค์ที่ 57 ซึง่ ได้ทรงโปรดให้มกี ารฝัง เสาหลักเมืองทีว่ ดั มิง่ เมือง เมือ่ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2333 โดยเสาหลักเมืองแต่เดิมนัน้ เป็นเสาไม้สกั ทอง ขนาดใหญ่ มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เมตร หัวเสาเกลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตัวเสาได้ฝงั ลงกับพืน้ ดินโดยไม่มกี ารท�ำศาลครอบ จน


กระทัง่ ในปี พ.ศ. 2506 ได้เกิดน�ำ้ ท่วมครัง้ ใหญ่ กระแสแม่นำ�้ น่านได้ ไหลเปลีย่ นทิศทาง เข้าท่วมเมืองน่านและบริเวณทีฝ่ งั เสาหลักเมือง จนท�ำให้เสาหลักเมืองโค่นล้มลง ด้วยฐานของเสาหลักเมืองนัน้ ได้มี การผุกร่อนเนือ่ งจากการฝังกับพืน้ ดินมานานกว่าร้อยปี จากค�ำบอก เล่าของคุณยายมอญ พุทธิมา อายุ 75 ปี ผู้อยู่อาศัยในบ้านมิ่งเมือง มาแต่ชา้ นาน ได้พดู ถึงเกีย่ วกับศาลหลักเมืองน่านให้ฟงั ว่า ตัง้ แต่เกิด มาก็เห็นเสาหลักเมืองตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดอยู่แล้ว แต่เนื่องจาก สภาพของเสาหลักเมืองเก่าแก่มากจึงผุกร่อนไปตามกาลเวลา เจ้าอาวาสจึงได้เคลื่อนย้ายเสาหลักเมืองมาไว้บริเวณ โฮงกลอง (หอกลอง) ภายในวัด ลักษณะของเสาหลักเมืองที่ได้ย้ายมาวาง ไว้บริเวณโฮงกลองในตอนนั้น มีลักษณะกลวงและมีอักษรล้าน นาจารึกไว้ แต่เนื่องจากในสมัยนั้นตนเองยังเป็นเด็กจึงไม่สามารถ อ่านจารึกนั้นได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านคนที่ 27 ได้น�ำ ข้าราชการ และประชาชนชาวน่าน ร่วมกันสร้างเสาหลักเมืองน่าน ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง และได้อาราธนาหลวงพ่อ โง่น สารโย วัดพระพุทธบาทเขาลวก อ�ำเภอตะพานหิน จังหวัด พิจิตร พร้อมด้วยคณะมาเป็นช่างด�ำเนินการสร้าง โดยได้น�ำเอา เสาหลักเมืองเดิมมาเกลาแต่งใหม่ และได้ท�ำการแกะสลักหัว เสาเป็นรูปพระพรหมสี่หน้า และในปี พ.ศ. 2515 ในขณะที่เสา หลักเมืองก�ำลังอยูใ่ นระหว่างการด�ำเนินการก่อสร้าง สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จ พระราชด�ำเนินมาบรรจุตน้ ท้าวเวสสุวรรณ จ�ำนวน 84,000 องค์ ลงใน หลุมฐานเสาหลักเมือง และในปี พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสา ธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ทรง เป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีตั้งเสาหลักเมืองน่าน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2541 และ 2542 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จมาสักการะเสา หลักเมืองน่านถึง 2 ครั้ง จนมาถึงปี พ.ศ. 2548 ศาลหลักเมือง น่านได้ทรุดโทรมลงไปมาก ทางเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง พระครูสิริ ธรรมภาณี เจ้าคณะอ�ำเภอเมืองน่าน โดยความเห็นชอบของคณะ สงฆ์จังหวัดน่าน และทางราชการ ได้ท�ำการรื้อถอนศาลหลักเมือง น่านเดิมลง และทางราชการร่วมกับประชาชนชาวน่าน ได้ร่วมใจ กันสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550 โดยมีนายเสาร์แก้ว เลาดี เป็นผู้ออกแบบและด�ำเนินการก่อสร้าง ศาลหลักเมืองน่านจนแล้วเสร็จ ซึ่งทางจังหวัดน่านได้กราบบังคม ทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เพือ่ เสด็จพระราชด�ำเนินยกยอด ศาลหลักเมืองน่าน ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรด เกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามมกุฎราชกุมารี เสด็จ พระราชด�ำเนินแทนพระองค์ มายกยอดเศียรท้าวมหาพรหมยอด ศาลหลักเมืองน่าน และเป็นองค์ประธานประกอบพิธตี งั้ เสาหลักเมือง น่าน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เมืองน่าน มีประเพณีสักการะศาลหลักเมือง ซึ่งจัดขึ้นในวัน ที่ 15 เมษายน ของทุกปี โดยมีพิธีบวงสรวงเครื่องแก้มอารักษ์ ศาลหลักเมืองตามแบบพื้นเมืองน่านโบราณ แบ่งตามทิศของเศียร พรหมสีห่ น้า โดยมีเครือ่ งบวงสรวงเครือ่ งแก้มอารักษ์เช่น หมู ไก่ ปลา ข้าวต้มมัด ขนมหวาน ที่ได้รับการจัดแต่งอย่างประณีตงดงามตาม แบบพื้นเมืองน่าน เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง และให้คนรุ่น ต่อๆ ไปได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของเสาหลักเมือง ที่เป็นหนึ่งใน ความเชื่อส�ำคัญในการสร้างบ้านแปงเมืองของบรรพบุรุษสืบต่อไป Long Nan Booklet | 5


3

E-1

ต�ำแหน่งในแผนที่

ผี

ศาลเจ้าปู่วัด

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายว่าคือ สิง่ ทีม่ นุษย์ เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณ หรือโทษได้ มีทั้งผีดีและผีร้าย เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกคนที่ตายไปแล้ว ผี ในภาษาบาลีใช้ศัพท์ว่า เจตภูต ซึง่ คติความเชือ่ ในการนับถือผีเป็นความเชือ่ เก่าแก่ดงั้ เดิม โดยเฉพาะกลุม่ ชาติไตหรือ ไท ไม่วา่ จะเป็นไทใหญ่ ไทเขิน ไทลือ้ ไทยวน หรือล้านนา ต่างก็นบั ถือผีแทบทัง้ สิน้ การนับถือ ผีเป็นความเชื่อเก่าแก่ดั้งเดิม ที่มีอยู่ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแพร่ คนโบราณจึงมี ความเข้าใจว่าโลกมนุษย์กบั โลกของผีนนั้ มีความซ้อนทับกันอยู่ อีกทัง้ มีความเชือ่ ว่าผีมจี ำ� นวน มากมายและสิงสถิตในทุกหนทุกแห่ง ทั้งในเมือง หมู่บ้าน ทุ่งนา แม่น�้ำ เหมืองฝาย ป่า ภูเขา และบ้านเรือน จะมีผีปกปักรักษาประจ�ำอยู่ ดังค�ำส่งผีฉบับปั๊บสาของเก่าจากอ�ำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ได้กล่าวให้เห็นว่า “ดูราผี สัพพะว่าผีทั้งหลาย อันอยู่ในนารกขงเขต ประเทศป่า ไม้ และแดนดิน สายสมินเขื่อนถ�้ำ ทุกท่าน�้ำล่าขึมข�ำ ทั้งผีย�ำและผีโป่ง ผีเสื้อโท่ง และผีเสื้อ นา ผีตายโหงและผีตายห่า ผีป่าผีบ้าน ผีเมืองคน ผีตายกลางป่า ไม้ป่าไพรสณฑ์ดงใหญ่ มีทั้ง ผีเสื้อไร่ และผีเสื้อสวน มีทั้งผีหัวหลวง พวงเป็นหมู่และเป็นขุม…” ซึ่งความเชื่อเรื่องผีต่างๆ เหล่านีม้ ที งั้ ผีดแี ละผีรา้ ย มีทงั้ ทีเ่ ป็นมิตรกับมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถจะดลบันดาล ให้เกิดเภทภัยต่างๆ แก่มนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม ผีที่เกี่ยวข้องอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนานั้น มีจ�ำนวนค่อนข้างมาก ท�ำให้คติการนับถือผีได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและผสม กลมกลืนไปกับศาสนาของกลุ่มชนต่างๆ

6 | จุลสารล่องน่าน

ศาลเจ้าปู่วัดมหาโพธิสร้างโดยการเข้าสลักไม้แทนการใช้ตะปูทั้งหลัง

ศาลเจ้าปู่วัด เป็นหนึ่งในความเชื่อเรื่องสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ภายในวัด เป็นเทพเทวดาหรือ เจ้าที่ที่คอยปกป้องคุ้มครองวัด ตลอดจนพระเณร ทั้งหลาย ซึ่งหากใครท�ำผิดศีลธรรม หรือกระท�ำ การอันไม่ถูกไม่ควรภายในวัดก็จะถูกผีเจ้าปู่วัดดล ให้เจ็บป่วย ก่อนบวชพระ หรือบวชเณร ต้องมีการ บอกกล่าวเจ้าปูว่ ดั เพือ่ ให้การปกป้องคุม้ ครองตลอด ช่วงเวลาทีบ่ วช หรือหากเจ้าอาวาสไม่จำ� วัด ก็ตอ้ งมี การบอกกล่าวให้เจ้าปู่วัดปกป้องดูแลวัดและลูกวัด แทนเจ้าอาวาส เป็นต้น ศาลเจ้าปูว่ ดั มักตัง้ อยูท่ างทิศเหนือหรือทิศตะวัน ออกของวัด รูปทรงของศาลปูว่ ดั ไม่มรี ปู แบบทีแ่ น่นอน ตายตัว แต่จะมีลักษณะโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นไม้สี่ เสายกพืน้ สูงประมาณ 1.5 เมตร หลังคาทรงจัว่ ตาม แบบเรือนภาคเหนือ มีผนังเปิดด้านหน้า ในสมัย ก่อน ศาลเจ้าปู่วัดเป็นศาลโล่งๆ มีเพียงพานดอกไม้ คนโท หรือภาชนะใส่น�้ำวางไว้เท่านั้น แต่ปัจจุบัน อาจพบเห็นการประดับตกแต่งศาลเจ้าปู่วัดด้วย ผ้า เจ็ดสี หมอนสามเหลี่ยม รูปปั้น หรือตุ๊กตา ตกแต่ง อยู่ภายในศาลด้วย ตามแต่ความเชื่อความคิดของ คนในแต่ละยุคสมัยที่แตกต่างกัน โดยการสักการะ ศาลเจ้าปูว่ ดั จะจัดขึน้ ปีละ 3 ครัง้ คือ ช่วงเข้าพรรษา


ศาลเจ้าปู่วัดมิ่งเมืองมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม แบบเดียวกับวิหารและเสาหลักเมืองของน่าน

ออกพรรษา และสงกรานต์ ของทีน่ ำ� มาไหว้เจ้าปูว่ ดั ส่วนใหญ่เป็น ข้าวต้มมัด ผลไม้ ขนมหวาน ไม่นิยม ถวายเนื้อสัตว์เจ้าปู่วัด เนื่องจากความเชื่อที่ว่าท่าน อยู่ในกลุ่มเทพยดาอารักษ์ หรือพระภูมิเจ้าที่ ทาน แต่อาหารมังสวิรัติ แม้จะมีศาลเจ้าปู่วัดในแทบทุก วัดในเมืองน่าน แต่กไ็ ม่ได้เป็นทีน่ ยิ มมาบนบานสาน กล่าวกันมากนัก เนือ่ งจากศาลเจ้าปูว่ ดั มีความเชือ่ ใน เรือ่ งของการปกปักษ์ผคู้ นและสิง่ ของภายในวัดเป็น ส่วนใหญ่ แต่ก็มีชาวบ้านบางกลุ่มที่มาบนบานศาล กล่าวขอพรกับศาลเจ้าปู่วัดบ้าง เช่น ขอให้ประสบ ความส�ำเร็จในเรื่องของการสอบแข่งขันต่างๆ หรือ เรื่องของการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น โดยปกติเจ้าอาวาส พระ หรือสามเณรจะ เป็นผู้ คอยดูแล รักษาความความสะอาดศาลเจ้าปู่วัดเป็น ประจ�ำ ซึ่งถือเป็นกิจหนึ่งของสงฆ์ที่ต้องท�ำนุบ�ำรุง รักษาวัด และสิ่งของต่างๆภายในวัด บางวัดก็จะมี ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่มาคอยช่วยดูแลปัดกวาดศาลเจ้าปูว่ ดั ด้วย เช่นกัน ศาลเจ้าปูว่ ดั ทีน่ า่ สนใจเช่น ศาลเจ้าปูว่ ดั มหา โพธิ์ แม้เป็นศาลใหม่ที่เพิ่งสร้างใหม่ได้ไม่นาน แต่ก็ มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น เนื่องจากเป็นศาลที่ ไม่ใช้ตะปูเลยสักตัวเดียวในการก่อสร้างศาล และมี รูปทรงของตัวศาลและบันไดทีแ่ ปลกตา มีการจัดภูมิ ทัศน์รอบบริเวณศาลทีร่ ่มรืน่ สวยงาม มีซมุ้ ประตูทำ� จากไม้แกะสลักลวดลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นศาลเจ้า ปู่วัดเพียงแห่งเดียวในเขตเทศบาลเมืองน่านที่มีซุ้ม ประตูศาล นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าปู่วัดน�้ำล้อม ที่มี การสร้างรั้วล้อมรอบกั้นพื้นที่เป็นสัดส่วนแยกออก จากพืน้ ทีข่ องวัด และศาลเจ้าปูว่ ดั มิง่ เมืองทีม่ ลี วดลาย ปูนปั้นสวยงามเป็นไปในรูปแบบเดียวกับตัววิหาร และศาลหลักเมือง เป็นต้น ด้วยความเชื่อตั้งต้นพื้น ฐานทีเ่ หมือนกัน แต่ศาลเจ้าปูว่ ดั ในแต่ละวัดในเมือง น่านต่างมีรปู แบบการสร้างและรูปทรงขิงศาลทีแ่ ตก ต่างกันไป และความเชือ่ เรือ่ งศาลเจ้าปูว่ ดั ก็เป็นความ เชือ่ เรือ่ งผีทผี่ สมกลมกลืนไปกับพุทธศาสนามาแต่ชา้ นานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

4 ต�ำแหน่งในแผนที่

ผีไร่ ผีสวน ผีนา

วามเชื่อเรื่อง ผีไร่ ผีสวน และผีนา เป็นความเชื่อเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกแห่งหนย่อมมี ผี หรือ เจ้าที่เจ้าทาง สิงสถิตอยู่ มนุษย์จึงต้อง ให้ความเคารพเจ้าของสถานที่ และต้องบอกกล่าวขออนุญาตหากจะเข้าไปท�ำกิจการงาน ใดๆ ในพื้นที่นั้นๆ บริเวณ ไร่ นา หรือสวน จะมีศาลเจ้าที่ เล็กๆ ตั้งอยู่ และมักสร้างขึ้นในจุดที่ลับตาคน เช่น บริเวณจอมปลวก หรือใต้ตน้ ไม้ใหญ่ เป็นต้น วัสดุที่ใช้สร้างศาลเจ้าที่หรือศาลผีนั้น มักเป็น วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ โดยประกอบขึ้นในรูป แบบง่ายๆ อาจท�ำจากไม้ไผ่มงุ ด้วยหญ้าคา หรือ เศษไม้ทเี่ หลือจากการสร้างบ้าน มุงด้วยสังกะสี เก่า หากพื้นที่สวนไร่นานั้นๆ เป็นของคนที่มี ฐานะ ก็อาจจะซื้อศาลเจ้าที่ส�ำเร็จรูปมาตั้งไว้ ภายในศาลผีมกั มีทวี่ า่ งส�ำหรับวางของเซ่นไหว้ ศาลผีเหล่านีไ้ ม่นยิ มสร้างใกล้บริเวณทีพ่ กั อาศัย เพราะมีความเชื่อว่า ผีสางนางไม้หรือเจ้าที่จะ ไม่ชอบให้คนแปลกหน้าพบเห็น และหากมีใคร ทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจไปลบหลู่ท่าน ก็จะ ท�ำให้ผู้นั้นอยู่อย่างไม่เป็นสุข อาจจะเจ็บป่วย กะทันหันอย่างไม่มีสาเหตุ เป็นต้น ผีสวน ผีไร่ และผีนานี้ คนพืน้ เมืองน่านส่วน ใหญ่มีความเชื่อกันว่า ท่านจะช่วยดูแลรักษา พื้นที่เกษตรกรรม ป้องกันไม่ให้โจรมาลักขโมย ผลผลิตทางการเกษตรไป และดูแลป้องกันไม่ ให้ศัตรูพืชมาสร้างความเสียหายให้กับพืชผล ที่ปลูก เกษตรกรนิยมบนบานสานกล่าวศาลผี เหล่านี้ เพื่อขอให้ผลผลิตทางการเกษตรเจริญ

เติบโตงอกงาม ได้ผลผลิตสมดัง่ ใจหมาย และให้ เจ้าของที่ดินที่มาท�ำการเกษตรในพื้นที่มีความ ปลอดภัยจากการท�ำงาน ซึง่ การบนผีนยิ มกระท�ำ ในช่วงก่อนการปลูกพืชผลทางการเกษตร หรือ ต้นฤดูฝน และจะไหว้ผอี กี ครัง้ หลังจากเก็บเกีย่ ว ผลผลิตเสร็จสิน้ แล้ว สิง่ ของทีน่ ำ� มาเลีย้ งไหว้ผขี นึ้ อยู่กับเจ้าของที่ดินที่ได้บนไว้ว่า จะเลี้ยงผีด้วย อะไรหรือของสิ่งใด แต่โดยส่วนใหญ่นิยมเลี้ยง ผีด้วย เหล้า ไก่ หัวหมู หรือสุนัขสีด�ำ เป็นต้น ความเชื่อเรื่องผีไร่ ผีสวน และผีนาเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชือ่ ของชาวพืน้ เมืองน่าน ในเรือ่ งของสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ งิ สถิตอยูใ่ นทุกพืน้ ที่ ดังปรากฏอยู่ในท่าร�ำโบกโบยเทวดาของฟ้อน ล่องน่าน ที่มาจากความเชื่อที่ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิงสถิตอยู่ในทุกที่ และคนต้องให้ความเคารพ สถานที่นั้นๆ ก่อนจะลงมือประกอบกิจกรรม ใดก็ตาม คล้ายเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ ต้องการปลูกฝังให้ลูกหลานรู้จักเคารพย�ำเกรง ในธรรมชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการท�ำลาย ธรรมชาติจนสูญสิ้นไปอย่างรวดเร็ว

Long Nan Booklet | 7


เชียงตุง เมืองโก

พม่า

เมืองยอง

5

จีน

เชียงราบ

F-2

ต�ำแหน่งในแผนที่

เชียงแสน เชียงของ ลาว

เชียงราบ

น่าน

เจ้าหลวงเชียงราบอพยพจาก เมืองเชียงราบมาอยู่ที่เมืองภูคา

อ่าวเมาะตะมะ เขมร

เวียดนาม

ภูคา

อ่าวไทย

ทุ่งช้าง

1. บ้านป่าง

มลายู

เชียงกลาง

เมืองภูคา

2. บ้านวังม่วง

ศาลเจ้าหลวง เชียงราบ

สิ่ง

บ่อเกลือ

ท่าวังผา

ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพของชาวเมืองน่าน โดยเฉพาะในเขตชุมชน ทางตอนเหนือคือ“ศาลเจ้าหลวงเชียงราบ” ซึ่งตั้งอยู่ในถนนเทศบาล ด�ำริ ซอย 3 ชุมชนบ้านน�้ำล้อม ศาลเจ้าหลวงเชียงราบ หรือที่เรียกว่า หอเจ้าหลวง เป็นศาลที่ ลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเชียงราบ ได้ให้ ความเคารพนับถือสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน

3. บ้านถ่อน

ต.ศิลาเพชร

สันติสุข 4. บ้านน�้ำล้อม

เมืองน่าน

สายตระกูลของเจ้าหลวงเชียงราบได้แยกย้าย ไปตั้งเมืองใหม่อีก 4 สาขา คือบ้านป่าง บ้านวังม่วง บ้านถ่อน และ บ้านน�้ำล้อม ที่มาแผนที่: ต�ำนานและประวัติเจ้าหลวงเชียงราบ โดยคุณณรงค์ ศรีเชียงราบ

8 | จุลสารล่องน่าน


คุณยายศรีวรรณ ฟ้าสาร

คุณยายศรีวรรณ ฟ้าสาร ผู้ที่ชาวบ้านเรียกว่า “จ�ำ้ ” หรือ “ข้าวจ�ำ้ ” ซึง่ ก็คอื ผูท้ ที่ ำ� หน้าทีค่ ล้ายเป็น ร่างทรงติดต่อกับเจ้าหลวงเชียงราบ และคุณปรีดา ค�ำปัญโญ ชาวชุมชนน�้ำล้อมผู้ศรัทธาในเจ้าหลวง เชียงราบ ได้เล่าให้ลอ่ งน่านฟังว่า เมืองเชียงราบแต่ เดิมตั้งอยู่ในเขตแคว้นเมืองเชียงตุง หรือที่เรียกว่า เมืองเขินหรือเขมรัฐ และจากการสืบค้นข้อมูลด้าน เอกสาร และแผนที่ประกอบ ล่องน่านพบว่าเมือง เชียงราบนัน้ มีอยูจ่ ริง ซึง่ ในเอกสารวิชาการบางแหล่ง อาจใช้ชื่อ “เชียงลาบ” แทน “เชียงราบ” ดังเช่นที่ ชาวเมืองน่านที่สืบเชื้อสายมาจากเชียงราบใช้กัน โดยเมืองเชียงราบนัน้ ตัง้ อยูบ่ ริเวณริมฝัง่ โขงทีเ่ รียก ว่า “โขงโค้ง” เป็นบริเวณที่แม่น�้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด และอันตรายที่สุด ต่อมาได้ถูกข้าศึกเข้ารุกรานแย่ง เมือง จึงได้อพยพครอบครัวและไพร่พลหนีลงมาทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ แสวงหาภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะสม มาเรื่อยๆ จนมาถึงเชิงดอยภูคา เจ้าหลวงเชียงราบ จึงได้หยุดการอพยพ และสร้างบ้านเมืองขึ้นที่ ศิลา เพชร หรือเมืองย่าง ต่อมาลูกหลานชาวเชียงราบ ที่อพยพมาได้แยกย้ายไปตั้งเมืองอยู่ในอีกหลายๆ แห่งเช่น เมืองแงง เมืองยม เมืองอวน และเมืองปัว โดยมีเมืองศิลาเพชรเป็นเมืองหลวง ข้อมูลบางแหล่ง ได้กล่าวถึงการเข้ามาตั้งหลักแหล่งของเจ้าหลวง เชียงราบทีต่ า่ งออกไปว่า การก่อตัง้ หมูบ่ า้ นของชาว เชียงราบ อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2345 ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าเข้าเมือง ในสมัยของเจ้าอัตถาวรปัญโญ ทีเ่ มือ่ หลังจากเสร็จสิน้ สงครามสิบสองปันนา ก็ได้กวาดต้อน ครัวเรือนจากเมืองเชียงแขง และหัวเมืองขึ้นของ เชียงแขง ซึง่ หนึง่ ในนัน้ มีเมืองเชียงราบอยูด่ ว้ ยมายัง เมืองน่าน ครัน้ เมือ่ กลับมาถึงน่านก็ได้ขา่ วการเกิดน�ำ้ ท่วมใหญ่ขนึ้ ทีเ่ มืองย่าง (ต�ำบลศิลาเพชรในปัจจุบนั ) และเมืองยม มีผู้คนล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก จน เมืองยมแทบไม่มีผู้อยู่อาศัยหลงเหลืออยู่ อีกทั้ง เจ้าแสนปัน๋ ซึง่ เป็นเจ้าเมืองย่างได้เสียชีวติ ต�ำแหน่ง เจ้าเมืองตรงนั้นจึงว่างลง เมื่อเจ้าอัตถาวรปัญโญ เดินทางมาตรวจดู ก็พิจารณาโปรดให้อพยพชาว ไทลื้อที่มาจากเมืองยอง เชียงราบ และยู้ ไปตั้งอยู่ที่ เมืองย่างและเมืองยม หลังจากนั้นก็เกิดลูกหลาน อพยพแยกย้ายไปอยู่อาศัยตามที่ต่างๆ

ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ ออกกฎหมายให้ประชาชนทุกคนต้องมีนามสกุล ท�ำให้ เกิดเหตุการณ์ที่พี่น้องท้องเดียวกันอาจใช้นามสกุล ต่างกันไป ตามแต่ใครจะตั้ง หรือได้รับพระราชทาน นามสกุล ส่วนเชื้อสายเจ้าที่มีลูกสาว หากแต่งงาน ไปกับคนที่ไม่มีเชื้อเจ้า ก็จะต้องใช้นามสกุลภรรยา ที่ศักดิ์สูงกว่าเช่น คุณยายของยายศรีวรรณ เดิมชื่อ เจ้าขันค�ำ สุรยิ ศ สมรสกับนายตา (ไม่ทราบนามสกุล) บุตรธิดาของเจ้าขันค�ำ ก็ต้องใช้นามสกุล สุริยศ จน เมื่อแม่ของยายศรีวรรณ ซึ่งก็คือ นางอุตสาห์ สุริยศ สมรสกับ นายธรรมชัย มงคลประเสริฐ โดยนามสกุล มงคลประเสริฐนั้น เป็นนามสกุลพระราชทานที่ได้ มา หลังจากเมื่อคราวที่นายธรรมชัยไปเป็นทหาร ลูกหลานและแม่ของยายศรีวรรณ จึงสามารถใช้ นามสกุลพระราชทานแทนนามสกุลเดิมฝ่ายพ่อของ ตนเองได้ เพราะถือว่ามีศักดิ์เท่ากัน จากการศึกษาประวัตคิ วามเป็นมาของเจ้าหลวง เชียงราบ โดยคุณนรงค์ ศรีเชียงราบ พบว่า ลูกหลาน ทีส่ บื ต่อๆ กันมาจากเชือ้ สายเจ้าหลวงเชียงราบได้แยก ย้ายกันไปตั้งเมืองใหม่ใน 4 สาขาด้วยกัน โดยสาขา ที่บ้านน�้ำล้อม เป็นสายของเจ้าแม่อูปแก้ว พระธิดา คนแรกของพระยาไชยปัญญาซึง่ เป็นราชวงศ์ของเจ้า หลวงเชียงราบ ได้ตงั้ ศาลเจ้าหลวงขึน้ ในบริเวณบ้าน น�ำ้ ล้อม ใกล้กบั ล�ำน�ำ้ น่าน ซึง่ บริเวณทีต่ งั้ ศาลเรียกว่า เป็นบ้านเก๊า ของทายาทลูกหลานเจ้าเชียงราบทีย่ า้ ย มาปักหลักตั้งรกรากที่นี่ ชาวบ้านผู้นับถือศรัทธาจึง เรียกศาลเจ้านี้ว่า หอเจ้าหลวง ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด สามหอ โดยมีหอกลาง เป็นหอของเจ้าหลวงเชียง ราบ ซึ่งเป็นหอที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาบสองข้าง ด้วยหอบริวารเจ้าหลวง แต่เดิมหอเจ้าหลวงเป็น เพียงศาลไม้เล็กๆ สามหลัง ต่อมาเมื่อพลเอกสนั่น เศวตเศรณี อดีต สส. เมืองน่าน ซึง่ เป็นลูกหลานของ ตระกูลเจ้าหลวงเชียงราบท่านหนึ่ง ได้กลับมาเยี่ยม บ้านเกิด จึงได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ตามแบบที่เห็นใน ปัจจุบัน และเมื่อไม่นานมานี้ คุณสุรพล เศวตเศรณี ได้ทำ� บุญบริจาคเพือ่ สร้างศาลขึน้ ใหม่ เนือ่ งจากสิง่ ที่ คุณสุรพลได้ เลยตั้งจิตอธิษฐานขอพรศาลเจ้าหลวง

เชียงราบไว้ ประสบความส�ำเร็จตามที่ปรารถนา ศาลเจ้าหลวงเชียงราบเป็นที่เคารพสักการะ ของลูกหลานชาวเชียงราบเสมอมา เมื่อขอพรสิ่ง ใดหากท่านให้ได้ จ�้ำก็จะวาไม้ออก ยกเว้นสองเรื่อง ที่ไม่สามารถขอได้คือ ขอหวย และขอให้ไม่ต้องถูก เกณฑ์ทหาร ซึง่ ว่ากันว่าหากใครบังเอิญมาขอก็จะได้ เป็นทหารกันทุกคน เพราะเชือ่ กันว่า เจ้าหลวงเชียง ราบเป็นนักรบเก่า ลูกหลานของท่านจึงต้องเป็นทหาร รับใช้ชาติ หากใครที่มาขอพรเจ้าหลวงแล้วประสบ ความส�ำเร็จก็จะต้องน�ำอาหารมาเลีย้ งท่าน และการ เลี้ยงเจ้าหลวง สิ่งที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติคือ พ่อ แม่ญาติพนี่ อ้ งบ้านใกล้เรือนเคียงในละแวกนัน้ ต้อง มากันช่วยตระเตรียมของเลี้ยงต่างๆ และเมื่อเลี้ยง เจ้าหลวงเสร็จแล้วก็ต้องแบ่งอาหารที่เลี้ยงให้ผู้มา ช่วยงานอย่างทั่วถึงเท่ากันหมดทุกคน และทุกคน ต้องกิน เพราะถือเป็นฮีตฮอย (จารีต) ไม่กินไม่ได้ ถือว่าท�ำผิดฮีต ในทุกๆ ปี จะมีการเลี้ยงเจ้าหลวงเชียงราบใน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยในวันที่ 12 เมษายน ญาติพี่น้องลูกหลานเจ้าหลวงจะน�ำข้าวปลาอาหาร ของหวานคาวมาฮอม (รวม) กัน เพื่อเลี้ยงเจ้าหลวง เสร็จแล้วก็จะแบ่งกันไปรับประทานเท่าๆ กันทุกคน ผูท้ ี่เป็นจ�้ำ หรือร่างสื่อของเจ้าหลวงนัน้ จะสืบต่อกัน ทางฝ่ายแม่หรือผู้หญิง โดยการสืบก็จะต้องถามเจ้า หลวงก่อน โดยมีพธิ วี าไม้ถาม หากเจ้าหลวงจะให้ลกู หลานคนไหนเป็นข้าวจ�ำ้ ต่อ ก็จะวาไม้ยาวออก ถ้าไม่ ให้เป็นก็จะวาไม้ไม่ออกคือ ไม้กจ็ ะมีขนาดความยาว เท่าเดิม ซึ่งคุณยายศรีวรรณ เป็นข้าวจ�้ำท่านหนึ่งที่ สืบต่อมาจากพี่สาวคือ คุณยายศรีวรรณา ที่สืบมา จากผู้เป็นแม่คือ แม่อุ้ยสา หรือนางอุตสาห์ มงคล ประเสริฐ ผูเ้ ป็นลูกสาวของหม่อนค�ำหรือ นางศรีคำ� สุรยิ ศ ลูกสาวของเจ้าแม่อปู แก้ว ผูเ้ ป็นลูกหลานเชือ้ พระวงศ์ของเจ้าหลวงเชียงราบที่เป็นผู้เริ่มต้นมาตั้ง หลักปักฐานทีบ่ า้ นน�ำ้ ล้อมแห่งนีน้ นั่ เอง ซึง่ จ�ำ้ คนต่อ ไปต่อจากคุณยายศรีวรรณคือ คุณสมปรารถนา มงคล วิสุทธิ์ ซึ่งเป็นลูกของคุณยายศรีวรรณา มงคลวิสุทธิ์

ศาลเจ้าหลวงเชียงราบเป็นเรือนขนาดเล็ก จ�ำนวน 3 หลัง โดยหลังกลางเป็นศาลเจ้าหลวงเชียงราบ และขนาบข้างด้วยศาลบริวารทั้งสองด้าน

บ้านเก๊าของสายตระกูลเจ้าหลวงเชียงราบ มีอายุกว่าหนึ่งร้อยปี เป็นเรือนไม้หลังใหญ่ สมัยก่อนเรียก “โฮงเจ้าหลวงเชียงราบ” ปัจจุบันถูกย่อส่วนลงมา

Long Nan Booklet | 9


(บนซ้าย) ระเบียงบ้านที่เชื่อมต่อทางเข้าด้านหน้าและบันไดขึ้น ชั้นสองของบ้าน ด้านล่างมองเห็นเสาไม้ขนาดใหญ่หลายต้นที่ดู แข็งแรงและสวยงาม (บนขวา) บ้านไม้สองชั้นของคุณยายศรีวรรณ และคุณชูวิทย์ ฟ้าสาร ชุมชนหัวเวียงเหนือ ต.ฝายแก้ว อ.เมือง จ.น่าน

(ล่างซ้าย) คุณยายศรีวรรณ ฟ้าสาร เจ้าของบ้าน (ล่างขวา) บานหน้าต่างขนาดใหญ่ที่มีช่องลมระบายอากาศ ด้านล่าง ช่วยให้อากาศยังไหลเวียนเข้าไปในบ้านได้ แม้ปิดบานหน้าต่างไว้

คุณยายศรีวรรณ มีลกู ชายเพียงคนเดียวคือ คุณ ชูวทิ ย์ ฟ้าสาร ซึง่ ในสมัยทีค่ ณ ุ ชูวทิ ย์ยงั เป็นเด็ก ต้อง อาศัยอยู่กับคุณตาสม มงคลประเสริฐ ซึ่งเป็นน้อง ชายของคุณยายศรีวรรณ เพราะคุณยายศรีวรรณ ต้องตามสามีคือ พล.ต.ประสบ ฟ้าสาร ไปประจ�ำ ราชการที่จังหวัดต่างๆ หมุนเวียนไปมากว่า 15 ปี มีเฉพาะเพียงช่วงปิดเทอม ที่คุณชูวิทย์ได้เดินทาง ตามไปอยูต่ า่ งจังหวัดกับพ่อแม่ แต่หลังจากทีค่ ณ ุ พ่อ ของคุณชูวทิ ย์เสียงชีวติ ลง คุณยายศรีวรรณจึงได้ยา้ ย กลับมาอยูก่ บั คุณชูวทิ ย์ทบี่ า้ นน�ำ้ ล้อมเรือ่ ยมาจนคุณ ชูวิทย์แต่งงานมีครอบครัว ย้อนไปในสมัยที่พลเอก

10 | จุลสารล่องน่าน

สนั่น เศวตเศรณี เป็นสส.ที่จังหวัดน่าน ก็ได้จับจอง ทีด่ นิ แถบนีไ้ ว้ให้ลกู หลานอยูอ่ าศัยและท�ำการเกษตร และด้วยคุณแม่ของพลเอกสนั่น เป็นเครือญาติกับ คุณยายศรีวรรณ จึงได้รับปันส่วนที่ดินตรงนี้มาท�ำ ไร่ท�ำสวน คุณชูวิทย์เห็นว่าที่ดินตรงนี้กว้างขวาง กว่าที่บ้านเดิม และต้องคอยมาดูแลสวนอย่าง ใกล้ชิด จึงได้สร้างบ้านที่ชุมชนหัวเวียงเหนือนี้ขึ้น มาในราวปี พ.ศ. 2536 โดยคุณชูวิทย์ได้ประมูล ไม้มาจาก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มาจ�ำนวน 9 ท่อน และซื้อเพิ่มเติมอีกบางส่วน เพื่อน�ำมามา สร้างบ้านหลังนี้ โดยมีสล่าเสริฐ จากบ้านหัวเวียงใต้

เป็นผู้สร้าง โดยมีรูปทรงของบ้านเป็นแบบบ้านไทย ประยุกต์ คือ สร้างตามความชอบส่วนบุคคลของผู้ อยู่อาศัย หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีก็พบว่า ใต้ถุนสูงนั้น มีปัญหาฝนสาดเข้ามาข้างใต้ จึงได้ต่อเติมกั้นผนัง ชั้นล่างเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง จนกลายเป็นบ้านหลังงามหลังหนึ่งทางตอนเหนือ ของเมืองน่านในปัจจุบัน


Long Nan Booklet | 11


6

F-2

ต�ำแหน่งในแผนที่

ผีย่าหม้อนึ่ง-ผีปู่ย่า ผี

พิธีกรรมล่วงอดีตรู้อนาคต

ปู่ย่า เป็นความเชื่อเรื่องผี หรือวิญญาณของบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง กับการสืบเชือ้ สายและการนับถือเครือญาติทเี่ ป็นกลุม่ ผีเดียวกัน โดยมีการสืบทอดทางสายมารดา ดังนั้นการนับถือผีปู่ย่าจะมีการถ่ายทอดผ่านทางผู้หญิงเท่านั้น ในเมืองน่านเองก็มีความเชื่อเรื่องผีปู่ย่า หรือผีบรรพบุรุษเช่นกัน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว อย่างเช่น คุณยายศรีวรรณ ไชยมงคล ซึ่งล่องน่านฉบับที่ 3 ได้เคยพาไปเยี่ยมชมบ้านของคุณยายศรีวรรณมาแล้ว คุณยายศรีวรรณ ไชยมงคล ขณะก�ำลังท�ำพิธีเสี่ยงทายผีหม้อนึ่ง

12 | จุลสารล่องน่าน


บ้านของคุณยายศรีวรรณถือเป็นบ้านเก๊า ของตระกูล ดังนัน้ ทีบ่ า้ นคุณยายจึงมีหอ (ศาล) ผีปยู่ า่ ตัง้ อยูภ่ ายในบ้าน ซึง่ ภายในหอผีปยู่ า่ นีจ้ ะมีหนุ่ รูปปัน้ จ�ำลองของปูย่ า่ และบริวารตัง้ อยู่ รวมไปถึงคนโทใส่นำ�้ พานดอกไม้ธูปเทียน และยังมีพื้นที่ส�ำหรับวางของ เลีย้ งปูย่ า่ โดยจะมีพธิ เี ลีย้ งผีปยู่ า่ ทีห่ อผีฯ ในช่วงเข้า พรรษา ออกพรรษา ช่วงสงกรานต์ หรือตามแต่วาระ โอกาสของเครือญาติ เช่น ลูกหลานฝ่ายหญิงแต่งงาน เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการสักการะผีปู่ย่าเพื่อบอก กล่าว หรือขอขมา ซึง่ การเลีย้ งผีปยู่ า่ จะต้องเลีย้ งก่อน เที่ยงวัน และงดท�ำพิธีต่างๆ ในวันพระ ซึ่งคุณยาย ศรีวรรณได้เสริมอีกว่า หากเลีย้ งผีปยู่ า่ ไม่ดี ท่านอาจ จะท�ำโทษให้คนในครอบครัวเดือดร้อนหรือเจ็บป่วย ได้ นอกจากนี้การท�ำผิดให้ผีปู่ย่าไม่พอใจ เช่น การ ลบหลู่ดูหมิ่นผีปู่ย่า การไม่เลี้ยงประจ�ำปี ลูกหลาน ผู้หญิงไม่รักนวลสงวนตัว ลักลอบได้เสียกับผู้ชาย ก่อนแต่งงาน หรือการกระท�ำสิง่ ใดโดยไม่บอกกล่าว แก่ท่าน จะท�ำให้ผีปู่ย่าลงโทษ วิธีแก้คือ ต้องให้ลูก หลานคนทีท่ ำ� ผิดผี มาไหว้กล่าวขอขมาและจัดเลีย้ ง

ศาลผีปู่ย่าบ้านยายศรีวรรณ ไชยมงคล ชุมชนน�้ำล้อม

ในพาน หรือจานแบน จากนัน้ จึงไหว้อธิษฐานจิตขอ ให้ผหี ม้อนึง่ มาสถิตอยูท่ กี่ อ้ นข้าว แล้วจับปลายเชือก ของก้อนข้าวเหนียวก่อนน�ำไปจ่อตรงกลางปากหม้อ นึ่ง โดยให้ก้อนข้าวเหนียวลอยสูงห่างจากปากหม้อ เล็กน้อย ซึ่งเมื่อผีหม้อนึ่งมาสถิต ก้อนข้าวจะแกว่ง หมุนวนรอบปากหม้อได้ดว้ ยตนเอง ตามแต่การออก ค�ำสั่งของข้าวจ�้ำว่าจะให้หมุนเป็นวงกลมทวนหรือ ตามเข็มนาฬิกา หรือให้แกว่งซ้ายขวา หน้าหลัง ซึ่ง เรือ่ งทีช่ าวบ้านมาถามผีหม้อนึง่ ส่วนใหญ่มกั เป็นเรือ่ ง เกีย่ วกับเด็กทารกที่ไม่สบายบ่อย เป็นๆ หายๆ หรือ ไม่ยอมกินนมทานข้าว ชาวบ้านก็จะถามผียา่ หม้อนึง่ ว่าเด็กคนนี้เป็นใครมาเกิด ถูกผีท�ำร้ายจริงหรือไม่ และผีตนนั้นต้องการอะไร ของเหลือง (ทอง) หรือ ของขาว (เงิน) หรือบางคนก็มาถามผีหม้อนึ่งเพื่อ

ทีห่ อผีในบ้านเก๊าของตระกูล ซึง่ ในวันทีม่ กี ารเลีย้ งผี ปู่ย่า ญาติทุกคนก็จะมารวมกันโดยพร้อมหน้า เพื่อ ช่วยกันจัดท�ำอาหารเลี้ยงผี และร่วมรับประทาน อาหารด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมีการเสี่ยงทายจากผู้ สืบทอดประกอบพิธีกรรมบูชาเซ่นสรวงผีปู่ย่า หรือ ที่คนเมืองน่านเรียกว่า “ข้าวจ�้ำ” โดยการวาไม้ออก ซึง่ ผูเ้ ป็นข้าวจ�ำ้ จะท�ำพิธไี หว้ผปี ยู่ า่ ทีห่ อผี และขอให้ ท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เพื่อไขปัญหาข้อข้องใจให้ ลูกหลาน ไม้ที่ใช้เสี่ยงทายมีความยาวเท่ากับ 1 วา ของข้าวจ�้ำเองคือ เมื่อกางแขนออกไปด้านข้างให้ ขนานกับพื้น ไม้จะมีความยาวสุดปลายนิ้วทั้งสอง ข้าง ค�ำถามที่ถามผีปู่ย่าจะเป็นค�ำถามปลายปิดให้ เลือกค�ำตอบคือ ใช่หรือไม่ใช่ เท่านั้น เช่นถามว่า หากผีปยู่ า่ มาสถิตเพือ่ บอกกล่าวแก่ลกู หลานแล้วขอ ให้วาไม้ออก เป็นต้น โดยในระหว่างตั้งจิตอธิษฐาน นัน้ ข้าวจ�ำ้ ก็จะน�ำไม้มาไหว้ตงั้ จิตอธิษฐานถามผีปยู่ า่ จากนั้นก็จะน�ำไม้มาวัดความยาวกับแขนตนเองทั้ง สองข้าง ซึ่งถ้าหากผีปู่ย่ามาสถิตแล้วไม้ก็จะมีความ ยาวเพิ่มขึ้นจากเดิมตั้งแต่ 1 นิ้ว ไปจนถึง 3 คืบเลย

ศาลผีปู่ย่าบ้านยายบุญช่วย ก๋าน�้ำ ชุมชนมหาโพธิ

ตามหาของหาย หรือคนแก่มาถามเรื่องอาการปวด หัว เป็นไข้ไม่สบาย ไม่อยากทานข้าวปลาอาหาร มี อาการเจ็บป่วยแบบปัจจุบนั ทันด่วน หรือเป็นเรือ้ รัง ไม่หาย ซึง่ สงสัยว่าอาจถูกผีกระท�ำ ก็จะมาถามผีหม้อ นึ่ง จุดสังเกตของอาการป่วยที่เชื่อกันว่าป่วยเพราะ ถูกผีทำ� ให้ปว่ ยคือ มักจะมีอาการเป็นไข้ตอนกลางคืน ประมาณช่วงตีสี่-ตีห้า มือเย็นเท้าเย็นครั่นเนื้อครั่น ตัว สะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดเนื้อปวดตัว หรือ เป็นไข้ ดังค�ำกล่าวที่มีมาแต่โบราณที่ว่า “ไข้มะค�่ำ ผีฮ้าย (ไข้ตอนเย็นผีร้าย) ไข้ตะวันค้ายผีหอผีเฮือน (ไข้ตอนเย็นผีในบ้าน)” โดยมีวิธีการแก้ไขหากถูก ผีท�ำให้เจ็บป่วยด้วยการสะเดาะเคราะห์ ส่งสะตวง (ส่งข้าวผี) เป็นต้น การเสี่ยงทายสามารถท�ำได้ทุก วัน ยกเว้นวันพระ การขอขมาผีปู่ย่าจะขอขมาโดย

ทีเดียว แล้วเมือ่ ต้องการถามค�ำถามใหม่ ข้าวจ�ำ้ ก็จะ ท�ำการตอกไม้ให้มคี วามยาวกลับลงเท่าเดิม โดยจะมี การวัดความยาวของไม้ให้ดอู กี ครัง้ ก่อนจะน�ำไม้ตงั้ จิตอธิษฐานถามค�ำถามผีปู่ย่าต่อไป นอกจากการนับถือผีปยู่ า่ แล้ว ยังมีการเสีย่ งทาย ถามผีอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้ายคลึงกันที่เรียกว่า “ผียา่ หม้อนึง่ ” เนือ่ งจากเป็นผีทสี่ งิ สถิตอยูก่ บั หม้อ ข้าวทีใ่ ช้นงึ่ ข้าวเหนียว หรือมีชอื่ เรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า “ผีแม่ย่านางด�ำ” เนื่องมาจากหม้อข้าวที่ผ่านการ ใช้งานมาเป็นเวลานาน จะมีเขม่าควันไฟติดอยูด่ า้ น นอก ท�ำให้หม้อนึง่ เป็นสีดำ� ทีค่ นเหนือเรียกว่า หมิน่ หม้อ ยิง่ หม้อนึง่ ข้าวเก่า ผีหม้อนึง่ ก็จะยิง่ มีความขลัง มากขึ้น ดังเช่นความเชื่อที่ว่าหากมีเด็กแรกคลอดที่ ร้องไห้กลางคืนไม่หยุด ชาวบ้านก็จะป้ายหมิ่นหม้อ ทีห่ น้าผากหนึง่ จุด ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ จะช่วยป้องกัน ภูตผีปีศาจไม่ให้มาท�ำร้ายเด็ก การเสี่ยงทายผีหม้อนึ่งจะไหว้ผีด้วย เทียน 4 คู่ ดอกไม้ และข้าวเหนียวทีป่ น้ั เป็นก้อนกลมพอดีคำ� ผูก ด้วยเชือกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร วางไว้ดว้ ยกัน

ศาลผีปู่ย่าบ้านคุณจ�ำเนียร กันศรีนวกุล ชุมชนวัดน�้ำล้อม

เครื่องเซ่นไหว้ 3 ขั้นด้วยกันคือ การขอขมาขั้นสูง ใช้เทียน 12 คู่ ขั้นกลางใช้เทียน 8 คู่ ขั้นปลาย ใช้ เทียน 4 คู่ พร้อมด้วยน�ำ้ ส้มป่อย และดอกไม้ เป็นต้น การนับถือผีประจ�ำตระกูลนี้ยังคงหลงเหลืออยู่ ในวิถชี วี ติ ของคนพืน้ ถิน่ น่านอยูห่ ลายครอบครัว ทัง้ ยังมีบทบาทในการเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของ คนในกลุ่มเครือญาติ เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องคุ้มครอง ลูกหลานภายในครอบครัว คอยสอดส่องความเป็น อยู่และควบคุมความประพฤติของลูกหลาน ท�ำให้ ระบบครอบครัวยังคงมีการติดต่อสือ่ สารกัน ไม่แยก ขาดจากกันดังสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบัน

Long Nan Booklet | 13


คุณยายบุญช่วย รอวิลาน ชาวบ้านมหาโพธิ ขณะก�ำลังถวายเครื่องเซ่นไหว้ และใช้สวิงท�ำพิธีช้อนขวัญตามความเชื่อ

วัฒ

วัฒนธรรม

การเกิดการตาย

นธรรมในการด�ำรงชีวติ ของคนไทยในแต่ละภาคต่างก็มคี วามแตกต่างกันไปตามความเชือ่ ทีส่ งั่ สมและสืบทอดกันมาแต่โบราณ ทีเ่ รียกว่า “ตามฮีตเก่าฮอยเดิม” โดยมีการผสมผสาน คติความเชื่อพื้นเมืองเช่น การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือธรรมชาติ เข้ากับคติความเชื่อทางศาสนา เกิด เป็นวัฒนธรรมประเพณี หรือจารีตที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนตั้งแต่เกิดไปจนตาย ซึ่งในเมืองน่านก็ยังคงมี ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับการด�ำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายอยู่มากมาย

สิ่งของเซ่นไหว้ส�ำหรับน�ำมาใส่กระทงใบตอง ใช้กล้วยสุก 1 ใบ ข้าวเหนียว 3 ค�ำ เทียนไข 3 เล่ม หมาก พลู และดอกไม้ตามความเหมาะสม

7

E-1

ต�ำแหน่งในแผนที่

14 | จุลสารล่องน่าน

โดยเริ่มจากการคลอดบุตรที่มีการบอกเล่าสืบ ต่อกันมาว่า ในสมัยที่ยังไม่มีโรงพยาบาลหรือใน พื้นที่ ที่อยู่ห่างไกล จะมีการคลอดบุตรกันในบ้าน โดยมีหมอต�ำแยเป็นผู้ท�ำคลอด ซึ่งหมอต�ำแยที่เป็น ผู้ชายมักมีคาถาอาคม เช่น ให้แม่เด็กดื่มน�้ำมนต์ ก่อนคลอด ด้วยเชื่อว่าจะท�ำให้คลอดบุตรง่าย มีการตัดสายสะดือโดยใช้ผวิ ไม้ ไผ่ทมี่ คี วามคมคล้าย มีด เนื่องจากไม้ไผ่มีความสะอาด เป็นวัสดุจาก ธรรมชาติที่ไม่มีราคา สามารถใช้แล้วทิ้งได้อย่างไม่ เสียดาย จากนั้นก็จะน�ำรกเด็กใส่ในตะกร้า แล้วน�ำ ไปฝังใต้บันได ด้วยเชื่อกันว่าจะท�ำให้เด็กผู้นั้นเมื่อ โตขึ้นมีความหนักแน่นมั่งคง มีจิตใจเข้มแข็งอดทน และมีความมานะพากเพียร แต่ถ้าต้องการให้เด็กมี จิตใจมุ่งมั่นใฝ่หาความรู้ เฉลียวฉลาด รอบคอบ ให้ น�ำรกไปแขวนใต้ต้นไม้ นอกจากความเชื่อเรื่องการ ตัดสายสะดือแล้ว ยังมีความเชือ่ เกีย่ วกับการน�ำทารก ใส่ในตะกร้าวางไว้ทหี่ วั บันได เพือ่ ให้ทารกมีสขุ ภาพ ร่างกายแข็งแรง ป้องกันไม่ให้มภี ตู ผีปศี าจมาท�ำร้าย เด็กได้ นอกจากนี้หลังคลอดจะมีการใช้ด้ายแดงด�ำ ผูกหลวมๆ ที่คอของผู้เป็นแม่เด็ก เพื่อป้องกันผีร้าย

ไม่ให้มาท�ำร้ายแม่เด็ก ในส่วนของเด็กทารกเองก็จะ ใช้เหรียญเงินหรือเหรียญทองมัดแขนจนกว่าเด็กจะ อายุครบ 1 ปี จึงจะสามารถตัดออกได้ โดยในการ คลอดบุตรแต่ละครั้ง หลังคลอดก็จะมีการครอบครู ด้วยสิ่งของที่อยู่ในขันครู ได้แก่ หมาก พลู ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือก ข้าวสาร และปัจจัย (เงิน) เป็นต้น จากนัน้ เมือ่ เด็กเริม่ โตก็จะมีพธิ กี ารหาขวัญ ซึง่ พิธี นีจ้ ะท�ำในกรณีทเี่ ด็กเกิดอุบตั เิ หตุตา่ งๆ เช่น เด็กทีป่ ว่ ย จากการเล่นน�ำ้ ตามล�ำห้วย หรือรอดตายจากการจม น�ำ้ หวุดหวิด หรือเกิดอุบตั เิ หตุทที่ ำ� ให้ตอ้ งตกใจเสียง ขวัญ เป็นต้น ผู้เป็นพ่อแม่ก็จะขอให้ผู้เฒ่าผู้แก่ช่วย หาขวัญเด็ก โดยน�ำเอาสวิง (เครื่องมือที่ใช้หาปลา) ไปช้อนขวัญ ของเด็กกลับมา คล้ายกับการใช้สวิงช้อน ปลาในน�ำ้ แต่การช้อนขวัญคือ การน�ำสวิงช้อนขวัญ บนบกให้กลับคืนมาสูค่ น ด้วยเชือ่ ว่าผูท้ ปี่ ว่ ยหรือผูท้ ี่ ประสบอุบตั เิ หตุนนั้ ขวัญจะไม่อยูก่ บั ตัว จึงต้องมีการ เรียกขวัญกลับคืนมา โดยขัน้ ตอนแรกเริม่ จากใช้ขา้ ว เหนียว 1 ปั้น กล่าวค�ำขอขวัญคืนจากพระแม่ธรณี โดยมีกล้วยหนึ่งลูกเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ลักษณะของ ผูท้ จี่ ะท�ำพิธหี าขวัญ หรือคนทีจ่ ะขอขวัญได้ตอ้ งเป็น


ชาวบ้านขณะก�ำลังร่วมพิธีศพในขั้นตอนสุดท้ายคือ การเดินส่งศพไปยังสุสาน และท�ำพิธีทางศาสนาให้แก่ผู้ตาย ก่อนน�ำศพไปเผา

คนช่างพูดช่าง เจรจา พูดจาไพเราะ และเป็นคนที่รักษาศีลห้า ในบางครั้งที่ชุมชนหรือหมู่บ้านเกิดเหตุไม่ปกติ เกิดอาเพศเช่น มีคนเจ็บคนตายติดต่อกัน ก็จะมีการ ท�ำพิธีสืบชะตาบ้าน เพื่อต่ออายุให้คนในหมู่บ้าน หรือเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คนในหมู่บ้านนั้นๆ โดยมีพิธีการเตรียมงานถึง 3 วัน มีการหาฤกษ์หา ยามในการท�ำพิธีพร้อมกับประชุมคนในหมู่บ้าน เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการท�ำบุญสืบชะตาบ้าน โดยส่วนใหญ่จะท�ำในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. โดย เว้นระยะประมาณ 2 ปีต่อการท�ำพิธีหนึ่งครั้ง สิ่ง ที่ส�ำคัญของพิธีและเป็นเครื่องบ่งบอกว่ามีการสืบ ชะตาบ้านคือ ด้ายสายสิญจน์ที่เกี่ยวโยงล้อมรอบ บ้านเชื่อมต่อกันแต่ละหลังไปจนถึงวัด ซึ่งอุปกรณ์ ในการสืบชะตาจะมีการขอรับบริจาคเงินและสิง่ ของ จากแต่ละครัวเรือนได้แก่ ไม้คำ้� สลี 100 อัน ไม้วา 33 อัน ข้าวตอก ดอกไม้ เทียน ตุง เมี่ยง หมากพลู ข้าว เปลือก ข้าวสาร และเมี่ยง 100 ค�ำ เป็นต้น นอกจากนีใ้ นเมืองน่านยังมีความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับชีวติ ความเป็นอยูท่ แี่ ปลกกว่าทีอ่ นื่ ๆ อีกอย่างหนึง่ ทีย่ งั คงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบนั คือ พิธกี รรมตัดผัวตัด เมีย ซึ่งพิธีนี้มีการจัดท�ำขึ้นเมื่อมีคู่สามีภรรยาฝ่าย หนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตลงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม

จะต้องท�ำพิธีกรรมตัดผัวตัดเมีย ด้วยมีความเชื่อ ที่ว่า หากไม่ท�ำพิธีกรรมตัดผัวตัดเมียแล้ว คนที่ ตายไปจะพาคูข่ องตนเองตามไปอยูด่ ว้ ย ซึง่ ก็คอื ท�ำให้คู่ชีวิตของตนตายตกไปตามกัน ผู้ที่จะท�ำ พิธีตัดผัวตัดเมียได้นั้นต้องมีคาถาอาคม หรือที่ คนทั่วไปเรียกว่า พ่อมดหมอผี และสามารถพบผู้ สืบทอดพิธกี รรมนีไ้ ด้บอ่ ยครัง้ ในแถบอ�ำเภอสันติสขุ และอ�ำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งพิธีกรรมนี้ถือ ได้ว่ามีความส�ำคัญมาก เพราะว่าถ้าหากตัดความ สัมพันธ์ไม่ขาด ผีก็จะท�ำให้คู่ของตนอยู่ไม่เป็นสุข จะฝันเห็นคนที่ตายอยู่เป็นประจ�ำ หรือใช้ชีวิตอยู่ ต่อไปไม่ได้จนต้องตายไปตามกัน โดยพิธีการนี้ต้อง ให้พอ่ หม้ายหรือแม่หม้ายจูงมือผูท้ ตี่ อ้ งท�ำการตัดผัว ตัดเมียเข้าบ้าน อุปกรณ์ทใี่ ช้ในพิธกี รรมได้แก่ กรวย หมากพลู กรวยดอกไม้ ฝ้ายขาว ฝ้ายแดง มีดหมอ (มีดลงอาคม) เพื่อใช้ตัดฝ้ายขาว ฝ้ายแดง ที่เปรียบ เหมือนความสัมพันธ์กันระหว่างคนสองคนให้สิ้น สุดลงในชาติภพนี้ ไม่ให้มีเวรมีกรรมต่อกันอีก ซึ่ง มีความเชื่อว่าผู้ที่เกิดมาเป็นคู่ครองกันได้นั้น ต้องมี การร่วมบุญร่วมกรรมกันมาแต่ชาติปางก่อน เมื่อมี คนหนึง่ ตายไปอีกคนหนึง่ ทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ ก็ตอ้ งใช้ชวี ติ ต่อไปจนกว่าจะหมดกรรม ในท้ายทีส่ ดุ ของชีวติ เมือ่ มีคนสิน้ ลมหายใจแล้ว ก็จะมีการประกอบ พิธศี พ โดยจะมีการสวดบ�ำเพ็ญ กุศลและน�ำศพไว้ทบี่ า้ นของผูต้ ายประมาณ 1-2 วัน หลังจากนัน้ จะน�ำศพไปฝังทีส่ สุ าน แต่ในครอบครัวทีม่ ี ฐานะยากจนอาจน�ำศพไปฝังในวันทีต่ ายเลยก็เป็นได้

โดยไม่มกี ารท�ำพิธที างศาสนา งานพิธศี พในอดีตนัน้ ไม่มีรถขบวนแห่ศพดังเช่นในปัจจุบัน แต่จะมีเพียง คนสีค่ นหามศพทีห่ อ่ ด้วยแคร่ไม่ไผ่ มีพระสงฆ์เดินน�ำ หน้าจูงศพเพือ่ ไปฝังยังสุสาน งานพระราชพิธแี ห่ศพ จะมีเฉพาะในเชือ้ สายของเจ้าเมืองน่านเท่านัน้ แต่ใน ปัจจุบนั ใช้วธิ กี ารเผาศพกันหมดแล้ว พิธศี พเองยังเป็น งานพิธที เี่ ปรียบเสมือนเครือ่ งบ่งบอกฐานะของคนใน สังคม ทัง้ ยังสามารถเก็บรักษาศพไว้ได้นานวัน ท�ำให้ สามารถจัดงานพิธบี ำ� เพ็ญกุศลสวดศพได้นานวันมาก ขึ้น โดยตามชนบทยังคงจัดงานบ�ำเพ็ญกุศลศพไว้ที่ บ้าน ส�ำหรับในเมืองจะนิยมน�ำศพไปบ�ำเพ็ญกุศลทีว่ ดั เพือ่ ง่ายต่อการจัดการ ส่วนขบวนแห่ศพและสิง่ ของ ตกแต่งศพ ก็จะขึน้ อยูก่ บั ฐานะของเจ้าภาพแต่ละคน เช่น การจัดดอกไม้เพื่อความสวยงามเป็นเกียรติแก่ ผู้ตาย มีปราสาท 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น เพราะตามคติ ความเชื่อที่ว่า ผู้ตายจะได้ไปอยู่อาศัยในปราสาท บนสรวงสวรรค์ มีเครื่องแห่เช่น บอกไฟดอก (พลุ) และประทัด เป็นต้น การเก็บเถ้ากระดูกจะเก็บไว้ที่ วัดหรือที่บ้านขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพ และมีการท�ำบุญเถ้ากระดูกครบรอบ 100 วัน ซึ่งมี พิธีการที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ เช่น การน�ำ เถ้ากระดูกมาบดผสมกับดินปืน และให้พระสงฆ์น�ำ มาปั้นเป็นรูปคนจากนั้นจึงจุดไฟเผาจนหมดสิ้น แต่ บางครอบครัวก็จะมีการท�ำบุญเถ้ากระดูก และเก็บ ไว้ในโกฏิบรรจุกระดูก พิธกี รรมต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำเนินชีวติ คน น่านเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมีพิธีบางอย่างที่ปรับเปลี่ยน ไปเพือ่ ให้เข้ากับยุคสมัย แต่ขอ้ คิด คติเตือนใจ ทีแ่ ฝง อยู่ในความเชื่อต่างๆ เหล่านี้ต่างเป็นกรอบให้คนใน สังคมอยูร่ ว่ มกันและด�ำรงชีวติ ต่อไปได้อย่างเป็นสุข

Long Nan Booklet | 15


มุมมองภายในบ้านที่สามารถมองเห็น กระเบื้องปั้นมือที่ยังคงความสวยงาม แบบโบราณไว้อยู่

ฮ่อมรินและเติ๋นบนบ้านของแม่อุ้ยดี แก้วถา มีลักษณะเปิดโล่ง ระบายอากาศได้ดี

บ้านสองผี เรือน

บันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้านที่อยู่ระหว่าง เรือนไม้ทั้งสองหลัง

พืน้ ถิ่นทีด่ เู รียบง่ายแห่งต�ำบลบ่อสวกหลังนี้ นอกจากจะมีขนาดใหญ่ในละแวกเดียวกัน แล้ว ชื่อเรียกของบ้านที่ชื่อว่า “บ้านสองผี” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ และชวนให้ เข้าไปค้นหาความเป็นมาของบ้านหลังนี้มากยิ่งขึ้น

แม่อุ้ยดี แก้วถา เจ้าของบ้าน

8

A-6

ต�ำแหน่งในแผนที่

16 | จุลสารล่องน่าน

แต่เดิมบ้านหลังนี้มีเพียงเรือนทางฝั่งขวามือ ซึ่งเป็นบ้านของพ่อแม่ของพ่ออุ้ยไชยลังกา แก้วถา ต่อมาเมื่อพ่ออุ้ยไชยลังกาแต่งงานกับแม่อุ้ยดีแล้ว ตามธรรมเนียมของชาวเหนือ ฝ่ายชายต้องแต่งเข้าบ้าน ฝ่ายหญิง และท�ำพิธีไขว้ผีกับฝ่ายหญิงเพื่อให้ผีทั้งสองฝ่ายรับรู้ แต่ด้วยพ่ออุ้ยไชยลังกาเป็นลูกชายคนเล็ก มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้ให้ก�ำเนิด ดังนั้นเมื่อแต่งงานแล้ว พ่ออุ้ยไชยลังกาก็ได้พาแม่อุ้ยดี เข้ามาอยู่ด้วย กันที่บ้านของฝ่ายพ่อแม่ของตน แต่ด้วยฝั่งของแม่อุ้ยดีก็มีผีที่ตนเคารพนับถืออยู่คือ ผีปู่ย่า และฝั่งของพ่อ อุ้ยไชยลังกาก็มีผีปู่ย่าของฝั่งตน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มผีมด และเป็นผีที่แตกต่างจากชาวบ้านทั่วไปคือ ผีมดของ พ่ออุย้ ไชยลังกามีบริวารติดตามด้วย และทัง้ สองก็ไม่มฝี า่ ยใดทีส่ ามารถตัดขาดจากผีฝง่ั ของตนได้ ผีมดและ ผีป่ยู ่าของทัง้ สองฝ่ายก็ไม่อาจเข้ากันได้ จึงท�ำให้ญาติผใู้ หญ่ของฝ่ายพ่ออุ้ยไชยลังกาต้องล้มป่วย ด้วยผีฝ่าย พ่ออุ้ยไชยลังกาไม่ต้องการให้แม่อุ้ยดีอาศัยอยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกัน ท่ามกลางเสียงเรียกร้องของญาติๆ ที่ ต้องการให้ทั้งสองแยกกันอยู่ แต่ด้วยความรักของพ่ออุ้ยไชยลังกาที่ไม่ต้องการแยกจากแม่อุ้ยดี พ่ออุ้ยไชย ลังกาจึงสร้างกระท่อมเล็กๆ ขึ้นมาอยู่ด้วยกันกับแม่อุ้ยดี ใกล้ๆ กับเรือนหลังใหญ่เพื่อจะได้สะดวกในการ ดูแลพ่อแม่ของตนไปด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2498 แม่อุ้ยดีให้ก�ำเนิดลูกสาวคนแรก พ่ออุ้ยไชยลังกาจึงได้ สร้างบ้านไม้หลังใหม่ขนึ้ มาเพือ่ รับขวัญลูกสาว และด้วยพ่ออุย้ ไชยลังกานัน้ เป็นคนกว้างขวาง มีผคู้ นนับหน้า ถือตาอยู่มาก จึงได้รับไม้จากญาติพี่น้องและคนรู้จักที่น�ำมามอบให้ เพื่อใช้สร้างเรือนอีกหลังขึ้นคู่กับบ้าน ของพ่อแม่ โดยมีชานเชื่อมต่อบ้านทั้งสองหลังเข้าด้วยกัน กลายเป็นเรือนแฝดหลังใหญ่ที่กว้างขวาง ส่วน ห้องครัวและห้องน�้ำก็ยังคงใช้ร่วมกัน ยกเว้นแต่เวลาทานข้าว ด้วยทั้งสองบ้านถือผีคนละผีกัน จึงห้ามทาน ข้าวร่วมโตกเดียวกัน ดังนั้นเมื่อท�ำกับข้าวเสร็จแล้ว ก็จะน�ำกับข้าวลอดป่อง (ช่องไม้ไผ่สาน) ไปให้อีกฝ่าย โดยต่างฝ่ายต่างแยกกันรับประทาน บ้านหลังนี้จึงเป็นเครื่องแสดงออกถึงความรักของพ่ออุ้ยไชยลังกาที่มี ต่อแม่อุ้ยแก้วอย่างเปี่ยมล้น


ห้องครัวของบ้านทั้งสองหลังที่ใช้ร่วมกัน

ระเบียงชมวิวภายนอกตัวบ้าน ประดับตกแต่งแผงกันแดด และราวกันตกไว้อย่างสวยงาม

ใต้ถุนบ้านเป็นพื้นที่โล่งใช้เก็บเครื่องมือทางการเกษตร และผลผลิต ตลอดจนไหที่ใช้ส�ำหรับหมักเมี่ยง

มุมมองภายนอกอาคารด้านหน้ามองเห็นเรือนหลังใหญ่ ของพ่ออุ้ยไชยลังกา และแม่อุ้ยดี แก้วถา

มุมมองภายนอกด้านหลังของเรือน เป็นระเบียงส�ำหรับซักล้าง มองเห็นยุ้งข้าวอยู่ด้านขวาสุดของภาพ

มุมมองภายในด้านหลังของเรือน เป็นระเบียงส�ำหรับซักล้าง และฮ้านน�้ำส�ำหรับบริโภค

ตัวบ้านของพ่ออุย้ ไชยลังกาและแม่อยุ้ ดีเป็นเรือนไม้ชนั้ เดียวยกใต้ถนุ สูง มีบันไดขึ้นลง ทางเดียว เพื่อป้องกันโจรขโมยแอบขึ้นทางด้านหลังบ้าน แต่ จะมีบันไดชั่วคราวในยามมีงานบุญให้แขกขึ้นลงเรือนได้สะดวกมากขึ้น ซึ่ง เมื่อเสร็จสิ้นจากงานบุญแล้ว ก็จะเก็บบันไดขึ้นไว้บนบ้านตามเดิม สังเกต ได้จากบริเวณชานทางด้านทิศใต้ของตัวเรือนซึ่งยังคงเห็นเป็นประตูปิดไว้ หลังคาของบ้าน เดิมมุงด้วยกระเบื้องปั้นมือทั้งหมด แต่เมื่อราว 20 กว่าปีที่ ผ่านมา พ่ออุ้ยไชยลังกาได้เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาใหม่เป็นสังกะสีแทน แต่ยัง คงมีหลังคากระเบือ้ งบางส่วนทีย่ งั คงสภาพเดิมให้เห็นมาจนถึงปัจจุบนั และ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว พ่ออุ้ยยังได้ต่อเติมส่วนของห้องน�้ำชั้นบนของบ้านขึ้น ในบริเวณพื้นที่ห้องครัวที่ยาวต่อกันไปจนสุดผนังเรือนด้านทิศเหนือ ท�ำให้ ปัจจุบันกลายเป็นห้องครัว 2 ห้องขนาบด้วยห้องน�้ำตรงกลาง ห่างจากตัว เรือนใหญ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไม่ไกลเท่าใดนัก มีเพิงแหล่งวัวแหล่ง ควายเก่าอยู่ เป็นลักษณะเพิงแบบโปร่งมุงด้วยสังกะสี รับน�ำ้ หนักด้วยเสาไม้ ซึง่ แสดงให้เห็นวิถกี ารด�ำรงชีวติ ของครอบครัวนีใ้ นอดีต ทีป่ ระกอบอาชีพ ท�ำ สวน ท�ำไร่ ท�ำนา ปลูกยาสูบ และหมักเมี่ยงขาย ซึ่งในสมัยก่อน นอกจาก การท�ำไร่ท�ำนาตามปกติแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ในแถบนี้จะมีอาชีพเสริม โดยการ หมักเมี่ยงและท�ำน�้ำอ้อยขายกันแทบทุกครัวเรือน ซึ่งในสมัยก่อน ใต้ถุนบ้านหลังนี้ เต็มไปด้วยไหหมักเมี่ยง และไหทั้งหมดที่มี สามารถบรรจุ เมี่ยงได้กว่า 2,000-3,000 ก�ำ ซึ่งไหหมักเมี่ยงที่ใช้กันในสมัยนั้น เป็นไม้ทั้ง ต้น ที่ควักเอาเนื้อไม้ตรงกลางออกให้เป็นหลุมเพื่อใช้ใส่ใบเมี่ยงหมัก โดยใช้ เวลาหมักประมาณ 2-3 เดือน ก่อนจะมีพ่อค้าคนกลางมารับไปขายต่อ แม่ อุ้ยดีได้เลิกหมักเมี่ยงเมื่อลูกๆ โตขึ้นจนมีหน้าที่การงานท�ำ และต่างคนต่าง แต่งงานแยกไปมีครอบครัวใหม่กนั หมด ในขณะทีแ่ ม่อยุ้ ดีกแ็ ก่ตวั ลง การเข้า ป่าไปเอาใบเมีย่ งค่อนข้างล�ำบาก ในบางครัง้ จึงต้องรับซือ้ ใบเมีย่ งมาจากคน

ที่เก็บใบเมี่ยงออกมาจากป่าเพื่อขายต่อ เมื่อเลิกหมักเมี่ยง ก็มีคนมาขอซื้อไหหมัก เมี่ยงไปเกือบหมด เหลือเพียงไหเดียวที่ปัจจุบันเก็บไว้บนเรือน เพื่อรักษาไว้ให้ลูก หลานได้เห็นเป็นตัวอย่างถึงอาชีพเก่าแก่สมัยปู่ย่าตายาย ปัจจุบนั พ่ออุย้ ไชยลังกาได้เสียชีวติ ไปแล้ว คงเหลือแต่แม่อยุ้ ดี และลูกสาวคนโต ทีย่ งั อาศัยอยูใ่ นบ้านหลังนี้ ทัง้ สองยังคงช่วยกันดูแลรักษาบ้าน อันเป็นตัวแทนความ รักของพ่ออุ้ยไชยลังกา ที่ได้ท�ำเพื่อครอบครัวที่ตนเองรัก ให้ยังคงสะอาดสะอ้าน และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง มาจนถึงปัจจุบัน ดั่งความรักและความผูกพัน ระหว่างผู้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ที่ไม่เคยจางหายไปกับกาลเวลา

3.50

ยุ้งข้าว

2.80

โถง

ห้องนอน

เติ๋น

3.00

ผังพื้นชั้นบนบ้านสองผี

ระเบียง

เก็บของ

ห้องน�้ำ

ชาน

ฮ่อมริน

ครัว

1.80

ฮ่อมริน

2.00

เติ๋น เติ๋น

ห้องนอน

4.50

3.00

2.00 ห้องนอน

2.00 2.00

บันไดทางขึ้น 3.00

3.00

3.00

2.00

3.20

2.00

2.50

2.50

2.50

Long Nan Booklet | 17


สิบขึดเมืองน่าน บ้านแยงเงา

คนโบราณมีความเชือ่ ทีว่ า่ การสร้างบ้านเรือน โดยทีต่ วั บ้านหรือส่วนใดส่วนหนึง่ ของบ้านไปท�ำเงากับน�้ำ เหมือนกระจกเงา บ้านหลังนั้นจะเกิดอุบัติเหตุเพศภัย จากความเชื่อดังกล่าวสันนิษฐานว่า การสร้างบ้านริมแม่น�้ำล�ำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง มีความเสี่ยงกับอันตรายอันเกิดจากโครงสร้างของดินที่ไม่มั่นคง อาจ เกิดดินทรุดตัวเนือ่ งจากน�ำ้ ใต้ดนิ ไม่สม�ำ่ เสมอ และอาจเกิดน�ำ้ หลากพัดบ้านเรือน ให้เสียหายได้ เนื่องจากในสมัยก่อนเทคโนโลยีการสร้างฐานรากของอาคาร บ้านเรือนยังไม่ก้าวหน้า และไม่มีกรมเจ้าท่าดูแลรับผิดชอบเรื่องที่ดินริมแม่น�้ำ จึงท�ำให้สร้างอาคารบ้านเรือนติดริมแม่น�้ำไม่ปลอดภัย ด้วยภูมิปัญญาความ เชื่อ ขึดของ “บ้านแยงเงา” จึงเป็นแนวทางป้องกันภัยบ้านเรือนอันเกิดจาก ธรรมชาติอย่างแยบยล

นำ�ยุ้งข้าวมาสร้างเรือน

ห้ามน�ำไม้หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของยุ้งข้าวมาสร้างบ้านเรือนและอาคารศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งในเมืองน่าน เพราะยุ้งข้าวถือเป็นองค์ ประกอบส�ำคัญของบ้าน และต่อชีวติ คน นอกจากนีพ้ นื้ ทีท่ เี่ คยสร้างยุง้ ข้าวยังห้าม ปลูกสร้างบ้านทับอีกด้วย เชือ่ กันว่าหากใครฝ่าฝืน จะท�ำให้บา้ นนัน้ อยูไ่ ม่เป็นสุข มีแต่เรือ่ งเดือดเนือ้ ร้อนใจ อาจมีอาการคันตามร่างกายราวกับนอนอยูใ่ นยุง้ ข้าว

ต่อบ้านต่อกำ�แพง

ห้ามเสริม เติม ต่อความสูงของก�ำแพงหรือรั้วให้สูงขึ้นจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นรั้ว ใหม่หรือรั้วเก่าก็ตาม ซึ่งหากต้องการเพิ่มความสูงของรั้วให้ทุบรั้วหรือก�ำแพง เก่าทั้งหมดก่อนที่จะสร้างรั้วหรือก�ำแพงใหม่ให้สูงกว่าเดิม เชื่อกันว่าหากต่อ รั้วต่อก�ำแพงจะท�ำให้คนในบ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุข เจ็บป่วยกะทันหัน หรือป่วย ออดๆแอดๆ อย่างหาสาเหตุของโรคไม่พบและรักษาไม่หายขาด หรืออาจเกิด อุบัติเหตุให้ต้องล้มหมอนนอนเสื่อได้

18 | จุลสารล่องน่าน

เดินนำ�หน้า ขบวนแห่ศพ คนในสมัยโบราณจะไม่เดินน�ำหน้าคนหามศพไปฝังหรือไปเผา ซึง่ ในสมัยโบราณ จะไม่มีรถแห่หรือรถส่งศพไปสุสาน มีเพียงการใช้แคร่หามน�ำศพไปเผาเท่านั้น ด้วยคนโบราณเชื่อว่าผู้ตายไม่อยากให้น�ำร่างของตนไปเผาหรือฝัง วิญญาณ จะสาปแช่งคนที่เดินน�ำหน้าศพของตน ท�ำให้คนในสมัยโบราณเดินตามศพซึ่ง ไม่เหมือนในปัจจุบันที่ช่วยกันจูงเชือกลากรถแห่ศพไปยังสุสาน


แต่งงานกับญาติ

คนในครอบครัวหรือตระกูลเดียวกันห้ามแต่งกันกัน เชื่อว่าจะเกิดอาเพศครั้ง ใหญ่ ผีปู่ย่า ผีเย้าผีเรือนจะโกรธแค้น และลงโทษผู้ที่ฝืนปฏิบัติให้มีอันเป็นไป มีเหตุให้ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน เราต่างทราบกันดีว่า เป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือยีน (gene) ในร่างกาย ซึ่ง ยีนนี้จะมีทั้งยีนเด่นและยีนด้อย คนที่เป็นญาติกันจะมียีนที่ค่อนข้างเหมือนกัน ดังนั้นหากพวกเขาแต่งงานกัน ทายาทหรือลูกของพวกเขาก็มีโอกาสมากที่จะ พิการ หรือมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองที่ผิดปกติ และโดยส่วนใหญ่ ทารกเหล่านี้มักจะเสียชีวิตไปก่อนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่

สีข้าววันพระ

บ้านมุมสามเหลี่ยม

ไม่ควรปลูกบ้านสามหลังทีท่ ำ� มุมต่อกันเป็นสามเหลีย่ ม (สามเส้า) ด้วยเชือ่ ว่า ด้วยเชือ่ ว่าจะมีเหตุให้ผอู้ ยูอ่ าศัยในบ้านทัง้ สาม ทะเลาะเบาะแว้ง บาดหมางกัน ภายในครอบครัว ท�ำให้อยู่กันอย่างไม่มีความสุข คนพื้นเมืองน่านจึงไม่นิยม สร้างบ้านเป็น “สามเศร้า” หรือถ้ามีตระกูลใดทีส่ ร้างก็จะมีเหตุให้ตอ้ งย้ายหรือ รื้อถอนบ้านไปในที่สุด

ถมบ่อน�ำ้

ในแทบชนบทเมืองน่านจะพบเห็นบ่อน�ำ้ ตืน้ ทีช่ าวบ้านขุดกันเองในบ้านแทบทุก หลังคาเรือน เพือ่ น�ำน�ำ้ ไว้ใช้อปุ โภคและบริโภคในครัวเรือน แต่จะมีบางบ่อทีน่ ำ�้ จะห้ามขัดสีขา้ วในวันพระ ขึน้ 15 ค�ำ่ และห้ามไปทุง่ นาหรือท�ำกิจกรรมอันเกีย่ วข้อง แห้งขอด ตื้นเขิน หรือไม่ใช้บ่อน�้ำนั้นอันเกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ห้ามถม กับข้าวโดยเฉพาะการสีขา้ ว โรงสีขา้ วก็จะต้องงดสีขา้ วในวันพระ เพราะมีความ บ่อน�้ำนั้นๆ เพราะเชื่อกันว่าจะท�ำให้เกิดอุบัติเหตุเพศภัยต่างๆ เชื่อกันว่า หากสีข้าวในวันพระจะมีภูตผีปีศาจหรือสัมภเวสีมาขโมยข้าวไปกิน

นำ�นกเงือกเข้าบ้าน

ห้ามน�ำนกเงือกหรือชาวบ้านเรียก ว่า “นกกก” ที่ล่ามาได้ เข้ามาใน บ้าน เพราะจะท�ำให้เกิดอาเพศกับ คนในบ้าน ท�ำให้เจ็บไข้ได้ป่วยกัน แบบกะทันหัน หรือครอบครัวนั้นจะอยู่อย่างไม่เป็นสุข หากล่านกเงือกได้ก็จะ ให้ปรุงอาหารและทานกันในป่า เพราะคนโบราณความเชื่อว่า นกเงือกเป็นนก ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์นกเงือกของคนโบราณ เนื่องจากนกเงือกถือ เป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า และหากป่ามีการลดจ�ำนวนของนก เงือกลงลง จะส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบนิเวศของป่า เนื่องจากไม่มีสัตว์ที่ ช่วยกระจายพันธุ์ไม้ให้กับป่า แต่ปัจจุบันผืนป่าเมืองน่านถูกท�ำลายไปมากจึง ไม่อาจพบนกเงือกได้อีก

นำ�เก้งและ ตัวนิ่มเข้าบ้าน เก้งหรือที่คนพื้นเมืองเรียกว่า “ฟาน” และตัวนิ่มหรือชาวบ้านเรียกว่า “ลิ่น” ถือว่าเป็นสัตว์ทพี่ บเห็นและหาได้ยากยิง่ โดยชาวบ้านเชือ่ กันว่าหากน�ำเก้งหรือ ตัวนิม่ เข้าบ้าน บ้านนัน้ จะมีเคราะห์รา้ ย จะมีคนตายภายในบ้านหลังนัน้ ในไม่ชา้ นาน เนือ่ งจากเก้งและตัวนิม่ เป็นสัตว์หากได้ยากพบได้ในป่าลึก จึงท�ำให้เชือ่ กัน ว่าเก้งและตัวนิ่มที่จับได้ง่ายๆ นั้น เป็นภูตผีปีศาจที่แปลงกายเข้าไปในบ้านเพื่อ น�ำดวงวิญญาณคนในบ้านนัน้ ไป แต่ถา้ มีเก้งหรือตัวนิม่ เข้ามาในบ้านจริงๆ ก็จะ ต้องท�ำพิธีสะเดาะเคราะห์ใหญ่เพราะถือเป็นอาเพศทีร่ ้ายแรงต้องแก้ไขโดยเร็ว

Long Nan Booklet | 19


20 | จุลสารล่องน่าน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.