พระเมรุมาศ ศิลปกรรมล้ำเลิศสู่แดนสรวง (4)

Page 1

03 พระจิตก�ธ�น “พระจิตก�ธ�น” ใช้สำาหรับประดิษฐานหีบ พระบรมศพจันทน์ และพระโกศจันทน์ ออกแบบโดย นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม สำานัก สถาปัตยกรรม รูปแบบของพระจิตกาธานในครั้งนี้ ยึดตามโบราณราชประเพณี โดยจัดสร้างตามรูปแบบ พระจิตกาธานในพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรม ศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ 6 ทรงบุษบกชั้นเรือนยอด 9 ชั้น แต่มีขนาดใหญ่ กว่า มีความสูง 10.825 เมตร ยาว 5.52 เมตร กว้าง 4.02 เมตร ตามขนาดของพระเมรุมาศของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่วนโครงสร้างพระจิตกาธาน ทำาด้วยไม้สกั แกะ สลักลายปิดทองล้วงสี หรือการปิดทองหน้าลาย ซึ่ง เป็นเทคนิคโบราณ ข้างลายใช้สีครีมงาช้างเพื่อให้ กลมกลืนกับสีหีบพระบรมศพจันทน์ และพระโกศ จันทน์ ชั้นบนสุดประดับ “ยอดพรหมพักตร์” แกะ จากไม้จันทน์ มีความหมายถึงพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ส่วนฐานของ พระจิตกาธานเป็นลายฐานสิงห์ แสดงถึงฐานานุศกั ดิ์ ลายบัวเชิงบาตร แกะลายให้เป็นลักษณะกลีบดอกบัว ส่วนฐานจะย่อไม้ ย่อมุม มีความโค้งให้ความรู้สึก นิ่มนวล สะท้อนพระจริยวัตรอันงดงามของในหลวง รัชกาลที่ 9 เครื่องสดประดับพระจิตก�ธ�น

Royal Funeral Pyre - 040

“เครื่องสดประดับพระจิตก�ธ�น” ในพระ ราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ซึง่ กองศิลปกรรม สำานักพระราชวัง ได้มอบหมายให้นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นักจัดการงานในพระองค์ชำานาญการ สำานักพระราชวัง และอาจารย์โรงเรียนช่างฝีมอื ในวัง ชาย ผู้ดูแลการจัดทำา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดโอกาสให้ตัวแทน ช่างฝีมือเครื่องสด ช่างแทงหยวก 4 ภูมิภาค เข้า ร่วมถวายงาน ประกอบด้วย ช่างราชสำานัก สำานัก พระราชวัง ช่างแทงหยวกสกุลช่างฝั่งธนบุรี (วัด อัปสรสวรรค์) ช่างแทงหยวกสกุลช่าง จ.สงขลา ช่างแทงหยวกสกุลช่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี จ.มหาสารคาม ช่างแทงหยวกสกุล ช่าง จ.เพชรบุรี และตัวแทนช่างฝีมือจัดทำาเครื่องสด ประดับพระจิตกาธานจากสถาบันอาชีวศึกษาจาก 4 ภูมิภาค ร่วมถวายงาน โดยหลังคาชั้นเรือนยอดจะประดับด้วยเครื่อง สด ได้แก่ งานช่างแทงหยวก งานแกะสลักของอ่อน และงานช่างประดิษฐ์ดอกไม้ รูปแบบการตกแต่ง หลังคาเรือนยอดพระจิตกาธาน ประดับด้วย การ ร้อยกรองดอกไม้สดเป็นตาข่ายทุกชั้น ขอบปิดด้วย ลวดลายแทงหยวก เรียกว่า “รัดเกล้า” สาบลาย ช่องกระจกด้วยกระดาษทองอังกฤษ ประดับลวดลาย ดอกประจำายามทีท่ าำ จากเปลือกมะละกอดิบ ซ้อนชัน้

เป็นดอกดวง ทีม่ มุ ชัน้ ของเรือนยอดแต่ละชัน้ ประดับ ด้วย กระจังทิศ กระจังเจิม ประดิษฐ์จากกาบกล้วย ตานี สาบกระดาษทองอังกฤษ ด้านบนประดับประดา ด้วยดอกไม้ไหวที่ประดิษฐ์เป็นดอกปาริชาต ปัก ประดับเว้นระยะห่างกัน เพื่ อ ถวายพระเกี ย รติ สู ง สุ ด การจั ด ทำ า พระ จิตกาธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 จะแตกต่างจาก พระจิตกาธานที่ผ่านมา คือจัดทำาเทวดาชั้นพรหม วรรณะสีขาวนวลนั่งคุกเข่า พระหัตถ์ทรงถือพระ ขรรค์ ประดับหน้าเสาชั้นเรือนไฟ จำานวน 8 องค์ เพื่อเฝ้าพิทักษ์รักษา ในวาระที่เสด็จสู่สรวงสรรค์ พระจิตกาธานยังประดับด้วย “ดอกปาริชาต” จำานวน 70 ดอก เท่ากับ 70 ปี ที่ทรงเสด็จขึ้น ครองราชย์ ประดับรอบชั้นรัดเอว ที่ประดิษฐาน พระโกศจันทน์ 16 ดอก หมายถึง สวรรค์ 16 ชั้น ในรูปลักษณ์ความหมายของไตรภูมิ ส่วนที่เหลือ ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ไหว ดอกไม้เฟื่อง ออกนามว่า ดอกปาริชาตเช่นกัน เหมือนดอกไม้ที่ร่วงลงมาจาก สรวงสรรค์ ซึ่งในตำานานเป็นดอกไม้บนสรวงสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ การประดิษฐ์ดอกปาริชาตจะใช้ดอกสีเหลือง สีประจำาวันพระราชสมภพ และสีชมพูอมม่วง หรือ ชมพูอมแดง สีกำาลังวันของรัชกาลที่ 9 ผนวกเป็นสี ยืนพืน้ ในส่วนของเกสรใช้เมล็ดธัญพืช คือ เมล็ดข้าว พันธุ์หอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ประเทศไทย และเป็นข้าวพันธุ์หอมมะลิที่ดีที่สุด เมล็ดข้าวโพดจาก จ.เพชรบูรณ์ จ.เชียงใหม่ และ จ.กาญจนบุรี ถัว่ เขียว ถัว่ แดง จากเกษตรกรเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา และถัว่ ทอง ใจกลางของดอกปาริชาต เกสรชัน้ ในสุด ประดิษฐ์จากพลอยนพรัตน์ ประกอบ ด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน ไพลิน มุกดาหาร เพทาย และไพฑูรย์ จาก จ.จันทรบุรี สำาหรับกล้วยที่ใช้แทงหยวก ใช้ต้นกล้วยตานี ตามโบราณราชประเพณี จำานวน 55 ต้น เพราะ มีลำาต้นใหญ่ ยาวตรงเสมอ กาบกล้วยชั้นในสีขาว นวล อมนำ้าดี ใบตองสีเขียว การประดับดอกดวงจะ

ประดิษฐ์ด้วยการใช้พิมพ์ทองเหลือง แกะลวดลาย ในลวดลายต่างๆ อาทิ ลายใบเทศ ดอกประจำายาม ฯลฯ ส่วนดอกไม้สดจะเน้นดอกรัก ดอกมะลิ และ กลีบดอกกล้วยไม้ย้อมสีจำาปา และดอกบานไม่รู้โรย ย้อมสีกรองกลีบเป็นสีชมพูอมแดง

04 จิตรกรรม ภ�พเขียนจิตรกรรมฉ�กบังเพลิง “ฉ�กบั ง เพลิ ง ” เป็ น เครื่ อ งกั้ น ทางขึ้ น ลง พระเมรุมาศ มักเขียนเป็นรูปเทวดา มีลักษณะเป็น ฉากพับได้ ติดไว้กับเสาทั้ง 4 ด้าน บริเวณบันได ขึ้ น ลงพระเมรุ ม าศ เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ห็ น การถวาย พระเพลิงพระบรมศพ และใช้บังลม โดยในส่วนของ พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ฉากบังเพลิง ประกอบด้วย 4 ด้าน ล้อมรอบพระจิตกาธาน ด้านหน้า และด้าน หลังเขียนภาพจิตรกรรมที่แตกต่างกัน แนวคิดการ ออกแบบพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ยึดคติความเชื่อ ตามหลักเทวนิยมทีว่ า่ พระมหากษัตริยค์ อื สมมติเทพ ซึง่ อวตารมาจากพระนารายณ์ ด้วยเหตุน้ี การออกแบบ ฉากบังเพลิงจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ “พระนารายณ์ อวตาร 9 ปาง” โดยปางที่ 9 คือ ในหลวง รัชกาล ที่ 9 ที่ทรงประทับอยู่ในพระบรมโกศ ส่วนพระนารายณ์อวตาร 8 ปาง ที่ปรากฏบน ฉากบังเพลิง จะเป็นเรื่องราวพระนารายณ์อวตาร ฉบับพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 6 ดังนี้ ทิศเหนือ ปางที่ 1 มัสยาอวตาร (ปลากรายทอง) ปางที่ 2 กูรมาวตาร (เต่า) ทิศตะวันออก ปางที่ 3 วราหาวตาร (หมูป่า) ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร (นรสิงห์) ทิศใต้ ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร (พราหมณ์ปรศุราม หรือ ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ) ปางที่ 7 รามาวตาร (พระราม ในรามเกียรติ์) ทิศตะวันตก ปางที่ 8 กฤษณาวตาร (พระกฤษณะ) ปางที่ 10 กัลกยาวตาร (มนุษย์ ขี่ม้าขาว) ความพิเศษอีกอย่างคือ การอัญเชิญโครงการ อันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริ ทีค่ ดั สรรโครงการเด่นๆ 24 โครงการจากกว่า 4,000 โครงการ มาถ่ายทอด บนฉากบังเพลิง ตามหมวดดิน นำ้า ลม ไฟ โดย ทิศเหนือ หมวดนำ้า ทิศตะวันออก หมวดดิน ทิศ ใต้ หมวดไฟ และทิศตะวันตก หมวดลม โดยมีราย ละเอียด ดังนี้ ด้ � นทิ ศ เหนื อ ประกอบด้ ว ย โครงการอั น เนื่องมาจากพระราชดำาริในหมวดนำ้า 6 โครงการ ได้ แ ก่ ฝนหลวงแก้ ปั ญ หาความแห้ ง แล้ ง ในภาค อีสาน เลือกพื้นที่วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฝาย ต้นนำ้า เพื่อชะลอนำ้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บนำ้า เขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์ เพื่อเก็บกักนำ้าไว้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนนำ้า โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มนำ้าปากพนังอันเนื่องมาจาก พระราชดำาริ กังหันนำ้าชัยพัฒนา เครื่องกลเติม อากาศบำาบัดนำ้าเสีย


ด้ � นทิ ศ ตะวั น ออก โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชดำ า ริ ใ น หมวดดิน 6 โครงการ ได้แก่ ดินกรวด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ฮ่องไคร้ ดินเค็ม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ดินทราย ศูนย์ ศึ ก ษาการพัฒ นาเขาหินซ้อน และโครงการหุ บกะพง-ดอนห้ ว ยขุ น ดินดานลูกรัง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ดินพรุ ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาพิกุลทอง ดินเปรี้ยว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ด้�นทิศใต้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริในหมวดไฟ 6 โครงการ ได้แก่ สบูด่ าำ ปลูกเพือ่ สกัดนำา้ มัน สามารถใช้แทนนำา้ มันดีเซล ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน โรงงาน ผลิตไบโอดีเซล ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาพิกลุ ทอง เชือ้ เพลิงอัดแท่ง แกลบ อัดแท่ง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ก๊าซชีวภาพ โครงการส่วน พระองค์สวนจิตรลดา พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ ไฟฟ้าสำาหรับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณดาวเทียม ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้ กังหันนำ้าผลิตไฟฟ้าที่ประตูนำ้าคลองลัดโพธิ์ ด้�นทิศตะวันตก โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริในหมวดลม 6 โครงการ ได้แก่ กังหันลม โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำาริ บ้าน หนองคอไก่ จ.เพชรบุรี เพื่อการผันนำ้าจากที่ตำ่าชักนำ้าขึ้นที่สูง กังหัน ลม โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำาริดอยม่อนล้าน จ.เชียงใหม่ กังหันลม โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ผลิตไฟฟ้าด้วย พลังงานลมและกังหันลมสูบนำ้า ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลม ตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เป็นที่มาของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และบางกระเจ้า ปอดของกรุงเทพฯ พระราชดำาริพื้นที่บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุ ท รปราการ เป็ น พื้ น ที่ สี เ ขี ย วและเป็ น ปอด ของกรุงเทพฯ เนื่องจากลมมรสุมจากอ่าวไทยจะพัดเอาอากาศบริสุทธิ์ ที่ผลิตจากพื้นที่แห่งนี้เข้าฟอกอากาศเสียในกรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า ปีละ 9 เดือน นอกจากนี้ ยังมีภาพเขียนกลุ่มเทวดา ที่สื่อความหมายว่าเหล่า เทวดามารับเสด็จ ในวาระเสด็จสู่สวรรคาลัย ด้ า นหลั ง ของฉากบั ง เพลิ ง ทั้ ง 4 ด้ า น มี ล วดลายเหมื อ นกั น ทุ ก ด้าน แบ่งเป็น ด้านบน มีพ ระปรมาภิ ไ ธยย่ อ “ภปร” พร้ อม ดอกดาวเรื อ งสี เ หลื อ ง ซึ่ ง เป็ น สี ป ระจำ า วั น พระราชสมภพ แทรก กลางพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” รอบข้างเป็นอุบะดอกมณฑาทิพย์ เชื่อกันว่าเป็นดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ ที่ร่วงหล่นเฉพาะเกิดเหตุการณ์ สำาคัญแก่ชาวโลก ขนาบด้านซ้าย และขวา พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ด้วยพุม่ ต้นมณฑาทิพย์ทอง สือ่ ถึงการถวายสักการะแด่ในหลวง รัชกาล ที่ 9 ด้านล่างประกอบด้วยดอกไม้มงคล ความโดดเด่นของงานเขียนจิตรกรรมบนฉากบังเพลิง จะปิดด้วย ทองคำาเปลว โดยใช้วิธีโบราณที่ใช้ในการเขียนภาพฝาผนัง ใช้กาวจาก ยางไม้มะเดื่อ การปิดทองคำาเปลวจะปิดเฉพาะส่วนที่ต้องการเน้น หรือ

ส่วนที่โดดเด่น ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องทรง ชฎาของเทวดา และของ พระนารายณ์ และตัดเส้นด้วยทองคำาเปลว การเขียนภาพจิตรกรรมฉากบังเพลิง นับเป็นศิลปะรัชกาลที่ 9 มีนายมณเฑียร ชูเสือหึง จิตรกรเชี่ยวชาญ สำานักช่างสิบหมู่ กรม ศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ จิตรกรชำานาญ การพิเศษ สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ข้าราชการสำานักช่างสิบหมู่ และจิตอาสา เป็นผู้เขียนสี ภ�พเขียนจิตรกรรมฝ�ผนังพระที่นั่งทรงธรรม ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระทีน่ งั่ ทรงธรรม มีความพิเศษตรง ทีส่ ะท้อน “ศ�สตร์พระร�ช�” ผ่านโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 จำานวน 46 โครงการ มีความสัมพันธ์กับการ จัดภูมิสถาปัตย์รอบนอก ที่สะท้อนถึงความเป็นนักคิดนักพัฒนาของ พระองค์ท่าน ทั้ง 3 ด้านของพระที่นั่งทรงธรรมแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริที่ไม่ซำ้ากัน โดยเรียงร้อยเรื่องราว ต่อเนื่องกันไปทั้งผนัง ผนังที่ 1 ตำาแหน่งกลางของพระที่นั่งทรงธรรม แสดงเรื่องราว โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำาริในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 19 โครงการ ผนังที่ 2 ตำาแหน่งมุขด้านขวาของพระที่นั่งทรงธรรม แสดงเรื่อง ราวโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริในพื้นที่ภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 13 โครงการ และผนังที่ 3 ตำาแหน่งมุขด้านซ้ายของพระที่นั่งทรงธรรม แสดง เรื่องราวโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ ในพื้นที่ภาคกลาง และ ภาคใต้ รวม 14 โครงการ ทั้งหมดออกแบบโดยนายมณเฑียร ชูเสือหึง จิตรกรเชี่ยวชาญ เขียนสีบนผ้าใบแคนวาสโดยข้าราชการสำานักช่างสิบหมู่ และจิตอาสา วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์


Royal Funeral Pyre - 042


05 ภูมิทัศน์ ภูมิสถ�ปัตยกรรม

Royal Funeral Pyre - 046

การวาง “ผั ง ที่ ตั้ ง ” และออกแบบ “ภู มิ สถ�ปัตยกรรม” พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 รับผิดชอบ โดยนายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำานัก สถาปัตยกรรม กรมศิลปากร จำาลองพระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ มีแนวคิด ของภูมจิ กั รวาล ภาพสวรรค์ และสวนแบบไทยๆ เพือ่ สื่อว่าเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุดในวาระเสด็จ กลับสู่สวรรค์ โดยภูมิสถาปัตยกรรมที่อยู่ลานรอบ ฐานพระเมรุมาศ เป็นการออกแบบโดยตีความจาก แผนภูมจิ กั รวาล เปรียบพระเมรุมาศกับเขาพระสุเมรุ

บริเวณรอบๆ เป็นจักรวาล ประกอบด้วย สัตบริภณ ั ฑ์ คีรี มหาสมุทร ทวีปทั้ง 4 ได้แก่ อุตรกุรทุ วีป อยู่ทาง เหนือของเขาพระสุเมรุ ปุพพวิเทหะ อยูท่ างตะวันออก ของเขาพระสุเมรุ ชมพูทวีป (โลก) อยู่ทางใต้ของ เขาพระสุเมรุ และอมรโคยาน อยู่ทางตะวันตกของ เขาพระสุเมรุ ลานรอบฐานพระเมรุมาศ มีบ่อนำ้า หรือสระอโนดาต มีป่าหิมพานต์ และสัตว์หิมพานต์ พื้นที่ด้านนอกรั้วราชวัติ ทางทิศเหนือเป็นทาง เข้าหลักของพระเมรุมาศ เป็นงานภูมสิ ถาปัตยกรรม ที่ แ สดงถึ ง พระราชกรณี ย กิ จ หรื อ งานโครงการ หลวงในพระราชดำาริของในหลวง รัชกาลที่ 9 เช่น โครงการพระราชดำาริที่เกี่ยวกับหญ้าแฝก ข้าว การ ขุดบ่อแก้มลิง กังหันชัยพัฒนา ฝายนำ้าล้น ต้นยาง นา ต้นมะม่วงมหาชนก ดอกหน้าวัวสีชมพู ในส่วน ของนาข้าว จะมีขอบคันนาซึง่ ออกแบบเชิงสัญลักษณ์

ให้เห็นเป็นเลขเก้าไทย (๙) สีดินทอง เป็นเชิง สัญลักษณ์สื่อว่าพระเมรุมาศสร้างขึ้นถวายให้กับ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ภู มิ ส ถาปั ต ยกรรมพระเมรุ ม าศในครั้ ง นี้ มี ความพิเศษตรงที่มี “นำ้า” เป็นองค์ประกอบหลัก การวางผังที่ตั้ง และการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม พระเมรุมาศครั้งนี้ คำานึงถึงนำ้าเป็นสำาคัญ สระอโนด�ต “สระอโนด�ต” รอบพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นงาน พระเมรุมาศครัง้ แรกทีส่ ร้างสระอโนดาต โดยการทำา สระจริง เป็นสระนำา้ สีมรกต ประดับตกแต่งด้วยสัตว์ หิมพานต์ประมาณ 200 ชิ้น แบ่งเป็นสัตว์ 4 ชนิด ตามไตรภูมิ คือ ช้างประจำาทิศเหนือ สิงห์ประจำาทิศ


ประดับสัญลักษณ์เลข ๙ 3.กระถางเก้าเหลี่ยม ขนาดกลางติดลายนูน 4.กระถางเก้าเหลี่ยมขนาด ใหญ่ 100 เซนติเมตร ประดับสัญลักษณ์เลข ๙ 5.กระถางเก้าเหลี่ยมลายคราม 6.กระถางทรงกลม ตามแบบกระถางในงานฉลอง 60 ปี แห่งการครอง ราชย์ 7.กระถางหูสิงห์ ประดับพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” และตราจักรี และ 8.กระถางเขามอ และมี ส่วนประกอบเพิ่มเติมคือกี๋ หรือฐานรอง “ลวดล�ย” ที่ประดับบนกระถาง เลือกใช้ “ดอกด�วเรือง” เนือ่ งจากมีสเี หลืองตรงกับสีวนั พระ ราชสมภพ สื่อถึงความเป็น “นิรันดร์” เพื่อสื่อถึง ความรักชั่วนิรันดร์ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีให้ พสกนิกร และความรักทีพ่ สกนิกรมีตอ่ พระองค์ทา่ น นอกจากนี้ ยังมีรูป “กระต่�ย” ประดับ 5 ตัว คือ ปีพระราชสมภพ และวันพระราชสมภพ ส่วน “กี๋” จะฉลุลวดลายเครื่องแขวนดอกไม้ สด ดอกมะลิ สื่อถึงความรักที่บริสุทธิ์ ผู้ออกแบบได้ แทรกลวดลายผ้าจกราชบุรี วัฒนธรรมพื้นถิ่น โดย เลือกใช้ลายมะลิเลือ้ ย ให้สอดรับกับลายเครือ่ งแขวน และยังนำาลายคลื่น ที่ได้แรงบันดาลใจจากพระราช นิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” มาแทรกไว้ในชั้นล่าง สุดของฐานกี๋ และกระถางบางรูปแบบ ลายคลื่นที่ แฝงอยู่หมายถึง ความเพียร ปัญหา และอุปสรรค ไม้ดอก ไม้ประดับตกแต่ง

ตะวันออก ม้าประจำาทิศตะวันตก และโคประจำาทิศ ใต้ รวมถึง ประดับด้วยโขดหินทีอ่ อกแบบให้เป็นโขด หินแบบไทยๆ ตามภาพจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากนี้ มีการขุดบ่อนำ้ามุมทแยงทั้ง 4 ด้าน ของพระเมรุมาศ เพื่อปลูกบัวหลวง และต้นไม้นำ้า โครงก�รพระร�ชดำ�ริ “โครงก�รพระร�ชดำ � ริ ” บริ เ วณโดยรอบ พระเมรุมาศ ยังถูกออกแบบภูมทิ ศั น์ทสี่ อื่ ถึงพระราช กรณียกิจของในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยจำาลองนาข้าว โครงการหญ้าแฝก ต้นยางนา บ่อนำา้ แก้มลิง ฝายนำา้ ล้น เครื่องดันนำ้า และกังหันชัยพัฒนา โดยพันธุ์ข้าว จะนำามาปลูกทางด้านทิศเหนือ ส่วนกังหันชัยพัฒนา จะติดตั้งในบ่อน้ำา จำานวน 3 ตัว นอกจากนี้ ยังมี

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริอื่นๆ กระถ�งเซร�มิก “กระถ�งเซร�มิก” ประดับพระเมรุมาศ กรม ศิลปากรมอบหมายให้นายวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ทายาทโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ ออกแบบ และ ผูกลาย โดยรูปทรงของกระถางจะเป็นทรง “เก้า เหลี่ยม” มีแนวคิดมาจากเหรียญ 5 บาทสมัยก่อน ที่เป็นเหรียญเก้าเหลี่ยม และมีต้นแบบจากกระถาง ที่รัชกาลที่ 5 ทรงซื้อจากอิตาลี กระถางเซรามิ กที่ ใ ช้ ป ระดั บในงานพระราช พิธีครั้งนี้มี 8 รูปแบบ ได้แก่ 1.กระถางเก้าเหลี่ยม ขนาดเล็ก (ทรงตรง) ประดับสัญลักษณ์เลข ๙ 2.กระถางเก้าเหลี่ยมขนาดกลาง 80 เซนติเมตร

การออกแบบ และตกแต่ง “ไม้ดอกไม้ประดับ” พระเมรุมาศ รับผิดชอบโดย “สวนนงนุช พัทยา” โดย นายกัมพล ตันสัจจา ผู้อำานวยการสวนนงนุช พัทยา ได้ศึกษาพันธุ์ไม้มงคล และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ ออกแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่ด้านในพระเมรุมาศ และอาคารประกอบต่างๆ รวมถึง ภูมิทัศน์เกี่ยวกับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริโดยสวนนงนุช พัทยา ได้จัดเตรียมไม้ใหญ่ เน้น “ต้นตะโก” 90 ต้น ประดับนอกรั้วราชวัติ ฝั่งตะวันออก รวมถึง พันธุ์ไม้ สำาคัญ ได้แก่ ต้นใบไม้สีทอง ต้นแก้ว ต้นแก้วแคระ หน้าวัวใบสีเหลือง หรือ “King of Kings” ดอกดาว เรือง ข่อยช่อ บอนไซ ต้นไทรเกาหลีแท่ง ต้นเข็ม เชียงใหม่ กล้วยไม้ดิน บัวสีเหลือง และสีขาว จะ เน้นพันธุ์ไม้ที่ให้ดอกสีเหลือง สีประจำารัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ ยังมีไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ “มูลนิธิ โครงการหลวง” ได้คัดเลือกไม้ดอกไม้ประดับเมือง หนาว 3 ชนิด ที่เหมาะกับสภาพอากาศร้อน ได้แก่ เบญจมาศ โซลิกแอสเทอร์ และเดเลีย โดยเบญจมาศ จะเป็นดอกไม้หลักในการประดับ นำามาจากศูนย์ พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก จำานวน 6 สายพันธุ์ รวมทั้ง โซลิกแอสเทอร์ ซึ่งที่มีลักษณะดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก เพื่อเสริมพระเมรุมาศให้สง่างาม ส่วน เดเลีย จะนำามาจากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ โดย ไม้ดอก ไม้ประดับทั้งหมด จะเน้นดอกสีเหลือง สื่อ ถึงวันพระราชสมภพ


06 ร�ชรถ ร�ชย�น ในพระร�ชพิธี ถว�ยพระเพลิงพระบรมศพ “ร�ชรถ ร�ชย�น” เป็นหนึง่ ในเครือ่ งประกอบ พระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และพระบรม วงศานุ ว งศ์ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ฐานานุ ศั ก ดิ์ ข องผู้ ใ ช้ การใช้ราชรถ ราชยานในราชสำานัก มีมาแต่ครั้ง โบราณกาล ปรากฏหลัก ฐานชัดเจนในสมัยกรุ ง ศรีอยุธยา และเป็นราชประเพณีสบื เนือ่ งต่อมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรด เกล้าฯ ให้สร้างราชรถขึ้นใหม่ 7 องค์ เพื่อใช้ในพระ ราชพิธีถวายพระเพลิงพระอัฐิ สมเด็จพระปฐมบรม มหาชนก เมื่อปี 2339 ประกอบด้วย พระมหาพิชัย ราชรถ พระเวชยันตราชรถ ราชรถน้อยทั้ง 3 องค์ และราชรถเชิญเครื่องหอม 2 องค์ ราชรถเหล่านี้ยัง คงใช้ในพระราชพิธีมาจนถึงปัจจุบัน โดยราชรถที่ใช้ในพระราชพิธีครั้งนี้ ประกอบ ด้วย พระมหาพิชัยราชรถ ราชรถน้อย 3 องค์ และราชรถปืนใหญ่ และราชยานที่ใช้ในพระราชพิธี ประกอบด้วย พระที่นั่งราเชนทรยาน พระมห�พิชัยร�ชรถ “พระมห�พิชัยร�ชรถ” มีลักษณะเป็นราช รถทรงบุษบก ทำาด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ใช้เพื่อ การอัญเชิญพระโกศพระอัฐสิ มเด็จพระปฐมบรมมหา ชนก (ทองดี) ออกพระเมรุ เมื่อปี 2339 ต่อมาใช้ อัญเชิญพระบรมโกศพระมหากษัตริย์ และพระโกศ พระบรมวงศ์จนถึงปัจจุบัน ร�ชรถน้อย 3 องค์ “ร�ชรถน้อย 3 องค์” มีลักษณะเป็นราชรถ ทรงบุษบก ขนาดเล็กกว่าพระมหาพิชัยราชรถ ทำา ด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกสร้างขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ในอดีตทำาหน้าที่เป็นรถพระนำา อ่านพระอภิธรรมนำาขบวน เรียกอย่างย่อว่า “รถสวด” ทำาหน้าที่โปรยข้าวตอก เรียกอย่างย่อว่า “รถโปรย” และสำาหรับโยงภูษาโยง จากพระบรมโกศ เรียกอย่าง ย่อว่า “รถโยง” Royal Funeral Pyre - 048

ร�ชรถปืนใหญ่ “ร�ชรถปืนใหญ่” จัดสร้างขึ้นใหม่โดยกรม สรรพาวุธ ทหารบก เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระโกศ พระบรมศพในหลวง รัชกาลที่ 9 ในการจัดสร้างใหม่ กรมสรรพาวุธได้ศึกษารูปแบบตามงานถวายพระ เพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปร เมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 โดยโครงสร้างราชรถปืนใหญ่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ราชรถปืนใหญ่ส่วนหลัง และราชรถปืน ใหญ่ส่วนหน้า มีคานบังคับสั้น เชือกชุดชัก 2 เส้น ด้านงานศิลปกรรม ประดับตกแต่ง ดำาเนินการโดย สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พระย�นม�ศส�มลำ�ค�น “พระย�นม�ศส�มลำ�ค�น” สำาหรับอัญเชิญ พระบรมโกศจากพระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาทใน พระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชยั ราชรถ ซึง่ จอดเทียบรออยูใ่ กล้พลับพลายกบริเวณทิศ ตะวันออกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งร�เชนทรย�น “พระที่นั่งร�เชนทรย�น” มีลักษณะเป็นทรง บุษบก ทำาด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจก สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ใช้ในเวลาพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำาเนินโดยขบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียก ว่า “กระบวนพยุหยาตราสี่สาย” นอกจากนี้ ยังใช้ใน การอัญเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิของพระมหา กษัตริย์ หรือพระโกศพระอัฐิ ของพระบรมวงศานุ วงศ์จากพระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง พระร�เชนทรย�นน้อยองค์ใหม่ “พระร�เชนทรย�นน้อยองค์ใหม่” ในงาน พระราชพิ ธี ค รั้ ง นี้ จั ด สร้ า งโดยสำ า นั ก ช่ า งสิ บ หมู่ กรมศิลปากร เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระบรมราช สรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช จากพระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธีท้อง สนามหลวงไปยังพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่น่งั ราชยานทรงบุษบก สร้างด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจกทั้งองค์ พระเสลี่ยงกลีบบัว “พระเสลี่ ย งกลี บ บั ว ” เป็ น พระราชยาน สำ าหรั บสมเด็จ พระสัง ฆราช หรือ พระราชาคณะ นั่งอ่านพระอภิธรรมนำาพระโกศพระบรมศพ พระ ศพ จากพระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาทออกจาก พระบรมมหาราชวัง ไปยังพระมหาพิชัยราชรถที่วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม และนำาขบวนพระราช อิสริยยศ พระอิสริยยศ เมื่อเชิญพระโกศพระบรม ศพ พระศพ เวียนรอบพระเมรุ สร้างด้วยไม้ปิดทอง ประดับกระจกทัง้ องค์ มีคานหาม 2 คาน ลำาคานเป็น

ไม้กลมกลึงทาสีแดง ปลายกลึงเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ มีรูปทรงกลม หรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียวขึ้น ไป หัวเม็ดเสาเกย ปิดทองประดับกระจก ลำาคานทำา ด้วยไม้กลึงกลมทาสีแดงเรียบ ปลายคานประดับหัว เม็ดปิดทองประดับกระจก แท่นพระเสลี่ยง มีลักษณะเป็นฐานสิงห์บัวลูก แก้ว หน้ากระดานล่างปิดทองเรียบ เหนือเส้นลวด ประดับกระจังตาอ้อย ปิดทองประดับกระจก บัว อกไก่แกะสลักลายรักร้อย ปิดทองประดับกระจก ขอบลูกแก้วประดับกระจังฟันปลา ปิดทองทั้งด้าน บน และด้านล่าง ท้องไม้ทาสีแดงเรียบ ลวดลายบัว ประดับกระจังฟันปลาปิดทอง บัวหงายแกะสลักลาย บัวรวนปิดทองประดับกระจกซ้อนเส้นลวดเดินเส้น ทอง หน้ากระดานบนประดับลายประจำายามก้ามปู ประดับเส้นลวดเดินเส้นทอง เหนือหน้ากระดาน บนประดับกระจังตาอ้อยซ้อนลายกลีบบัว ปิดทอง ประดับกระจก 3 ด้าน ขอบบนเหนือลายกลีบบัวทำา เป็นราวพนักพิงกลม ติดซี่ลูกกรงโปร่งปิดทองเรียบ ประดับกระจังปฏิญาณใหญ่รูปกลีบบัว ด้านนอกปิด ทองประดับกระจก ส่วนด้านในปิดทองเรียบ 3 ด้าน พนักพิงหลังซึ่งซ้อนอยู่ในกระจังปฏิญาณ ด้านหน้า ปิดทองเรียบ ด้านหลังแกะสลักลายปิดทองประดับ กระจก


พระเสลี่ยงแว่นฟ้� “พระเสลีย่ งแว่นฟ้�” เป็นพระราชยานขนาดเล็ก สำาหรับอัญเชิญ พระลองในพระบรมศพ พระศพ ลงจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไป ยังเกยเทียบพระยานมาศสามลำาคานที่นอกกำาแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาทด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นฐานแท่นไม้สี่เหลี่ยมสลัก ลาย ปิดทองประดับกระจกทัง้ องค์ ตัวแท่นฐานเป็นฐานสิงห์ปากบัว หน้า กระดานล่างลงรักปิดทอง ประดับกระจกลายดอกประจำายาม ฐานสิงห์ ปิดทองประดับกระจก บัวหลังสิงห์ปิดทองประดับกระจก เส้นลวดเดิน เส้นทองซ้อนประดับด้วยลายเม็ดประคำา พื้นพระเสลี่ยงลาดด้วยพรมสี แดง ทั้ง 4 มุมติดห่วงเหล็กทาสีแดง คานหามทั้ง 2 คานทาสีแดงเรียบ ปลายคานเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองเรียบ

ผ้�ม่�นพระมห�พิชัยร�ชรถ-ผ้�ม่�นร�ชรถ 3 องค์ ในการบูรณะปฏิสงั ขรณ์ราชรถราชยาน และเครือ่ งประกอบ ในงานพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้ ดำาเนินการจัดทำาผ้าม่านพระมหาพิชัยราชรถใหม่ทั้งหมด จำานวน 4 ผืน ออกแบบโดยนายนภดล แกล้วทนงค์ นายช่างศิลปกรรม สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ใช้ลวดลายเทพนม เพื่อเป็นการ ถวายพระเกียรติสงู สุด ขอบผ้าม่านใช้ลายฟักก้ามปู สำาหรับผ้าม่าน พระมหาพิชยั ราชรถถือว่ามีขนาดใหญ่ ทุกผืนมีความยาวประมาณ 3 เมตร กว้าง 1.20 เมตร ปิดทองประดับกระจก ปิดทองคำาเปลว 100 % ทั้งผืนและประดับกระจกด้านหลัง จากนั้นเย็บผ้าโดยใช้ ไหมโลหะปักเพิ่มความสวยงามยิ่งขึ้นเมื่ออยู่กับสีทอง ส่วนผ้าม่านประดับบุษบกพระทีน่ ง่ั ราเชนทรยาน พระราเชนทร ยานน้อย และราชรถน้อย องค์ละ 4 ผืน รวมทั้งสิ้น 12 ผืน นั้น กรมศิลปากร มอบหมายให้ กลุ่มผ้าทอยกทองจันทร์โสมา จ.สุรินทร์ ดำาเนินการ มีขนาดความกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 1.30 เมตร ความโดดเด่นของผ้าม่านราชรถดังกล่าวเป็นผ้าตาด ทองแท้ ทอด้วยเส้นไหมสีเหลืองย้อมจากเปลือกลูกทับทิมกับเส้น เงินแล่งเส้นเล็กๆ ทำาให้เกิดแสงระยิบระยับ ทอเป็นลายโคมผ้าหรือ ลายตาตัก๊ แตน นับเป็นการฟืน้ ฟูการทำาผ้าตาดทองงดงามดัง่ สมัย โบราณเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีพระบรมศพ ร.9


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.