พระเมรุมาศ ศิลปกรรมล้ำเลิศสู่แดนสรวง

Page 1

มติชน I ฉบับพิเศษ


การก่อสร้างพระเมรุมาศ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็น พระเมรุมาศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ประวัติศาสตร์ จึงใช้เหล็กรูปพรรณ เพือ่ สร้างความมัน่ คงแข็งแรงและรองรับ นํ้าหนักโดยใช้โครงสร้างฐานรากรับ เสา ฐานแบบแผ่กระจายนํ้าหนักแนว ราบและใช้นอตยึดกับเสาพระเมรุมาศ ทั้ง 4 มุม ระบบโครงสร้างดังกล่าวช่วย ให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว และง่ายต่อการรื้อถอน


ธ เสด็จสู่... สวรรคาลัย พระเมรุมาศที่เด่นตระหง่านอยู่ ณ ท้องสนามหลวง เตือนให้คนไทยทุกคนทราบถึงวาระแห่งพระราชพิธีสําคัญ ที่ใกล้ เข้ามา เป็นวาระที่พสกนิกรชาวไทย จะร่วมใจกันแสดงความอาลัยถวายพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักและเคารพสักการะ เป็นศูนย์รวมจิตใจมหาชนที่ผูกพันกันอย่างลึกซึ้งยาวนาน ตลอด 70 ปีแห่งรัชสมัย มติชน I ฉบับพิเศษ

พระเมรุมาศ ซึง่ ทุม่ เทสร้างสรรค์อย่างสุดฝีมอื สือ่ ความหมายแทนใจทุกดวงของคนไทยทุกหนทุกแห่ง ทีต่ อ้ งการถวาย พระเกียรติ แสดงถึงความสํานึกรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ความจงรักภักดี ผ่านความวิจิตรตระการ ความสวยงาม และสง่างาม ความละเอียดอ่อนลงตัวของทุกรายละเอียดในสิ่งก่อสร้างที่เป็นเสมือนเขาพระสุเมรุในแดนแห่งสรวงสวรรค์ ถนนทุกสายมุ่งสู่ท้องสนามหลวง ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เพื่อถวายสักการะพระบรมศพ ที่ประดิษฐาน ณ พระที่น่ังดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง บัดนี้เดือนตุลาคม 2560 ถนนทุกสายที่มุ่งสู่ท้องสนามหลวงจะ แน่นขนัดยิ่งขึ้น ด้วยพสกนิกรที่มุ่งหน้ามาถวายความจงรักภักดีในวาระแห่งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งจะมีพระเมรุมาศเป็นจุดศูนย์กลาง

Editor’s Note Contents

มติชนได้ตดิ ตามรวบรวมรายละเอียดและความคืบหน้าต่างๆ ของการก่อสร้างพระเมรุมาศ และนํามารวบรวมตีพมิ พ์ เพือ่ ให้ผอู้ า่ นได้ทราบข้อมูลข่าวสารและเก็บไว้เป็นทีร่ ะลึกถึงหน้าประวัตศิ าสตร์แห่งการรวมใจ พร้อมใจถวายความอาลัยแด่ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างสุดพรรณนาแก่คนไทยทุกคน

กองบรรณาธิการมติชน

09

40

48

บทนำ�

จิตรกรรม

ร�ชรถร�ชย�นฯ

14

46

52

พระเมรุม�ศ

ภูมิทัศน์

พระบรมโกศ

25 ประติม�กรรม

ผู้ผลิต บริษัท มติชน จำ�กัด (มห�ชน) 12 ถนนเทศบ�ลนฤม�ล ประช�นิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2589-0021 ต่อ 1235 โทรส�ร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ข�วดำ� กองง�นเตรียมพิมพ์ บริษัท มติชน จำ�กัด (มห�ชน) 12 ถนนเทศบ�ลนฤม�ล ประช�นิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มติชนป�กเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุข�ประช�สรรค์ 2 ตำ�บลบ�งพูด อำ�เภอป�กเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, โทรส�ร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่�ยโดย บริษัท ง�นดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบ�ลนฤม�ล ประช�นิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรส�ร 0-2591-9012



พระเมรุมาศในงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงบุษบก 9 ยอด 7 ชั้นเชิงกลอน มีลักษณะ โดดเด่น คือ เป็นพระเมรุมาศชั้นเดียว สอดรับกับความเชื่อที่ได้รับอิทธิพล มาจากพุทธศาสนาที่ยึดคติไตรภูมิ โดยเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิ ทั้งสาม มีฐานกว้าง 55.18 เมตร และ สูง 59.60 เมตร


ธ เสด็จสู่...

สวรรคาลัย การก่อสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวาย พระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสร็จสมบูรณ์พร้อมสำ�หรับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง รัชกาล ที่ 9 ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560 ทั้งงดงาม สง่า และเป็นไปตามโบราณราชประเพณี โดยตลอดปีที่ผ่านมา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต่างร่วมแรงร่วมใจกันถวาย งานอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้การเสด็จสู่สวรรคาลัยในครั้งสุดท้าย เป็นไปอย่างสม พระเกียรติ ด้วยถือเป็นครั้งแรกในรอบ 67 ปี ที่มีการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระมหากษัตริย์ โดยครัง้ หลังสุดคืองานพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในปี 2493


พระเมรุมาศครัง้ นี้ ยึดหลักราชประเพณีโบราณตาม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยศึกษารูปแบบพระเมรุมาศ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ตลอดจนยึดหลักไตรภูมติ ามคัมภีรพ ์ ระพุทธ ศาสนา และความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือสมมติเทพ ตามระบบเทวนิยม ทีม่ แี นวคิดว่าพระนารายณ์อวตารลง มาเป็นพระมหากษัตริย์ จากแนวคิดดังกล่าว นํามาสูพ ่ ระเมรุมาศทรงบุษบก 9 ยอด 7 เชิงกลอน โดยบุษบกประธาน เปรียบดั่งเขา พระสุเมรุ ส่วนอีก 8 มณฑปที่อยู่รายรอบ หมายถึงเขา สัตบริภณ ั ฑ์ อันหมายถึงระบบจักรวาล ทุกแนวคิดในการ ออกแบบลวดลาย ประติมากรรม ตลอดจนจิตรกรรม อยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 คือพระนารายณ์ที่ อวตารลงมาจากทิ พ ยสถานเพื่ อ ปราบความยากจน ทํ า ให้ ป ระชาชนอยู่ ดีมี สุ ข ลื ม ตาอ้ า ปากได้ ลวดลาย ประกอบไม่วา่ ชัน้ ฐาน หรือประติมากรรม ชัน้ ครุฑ ชัน้ เทพ ชั้นเทวดา ตลอดจนสัตว์หิมพานต์ ล้วนสะท้อนถึงระบบ จักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง

การก่ อ สร้ า งพระเมรุ ม าศในครั้ ง นี้ ยั ง สะท้ อ น โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริของในหลวง รัชกาล ที่ 9 กว่า 4,000 โครงการ ผ่านงานเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนังในพระที่นั่งทรงธรรม และฉากบังเพลิง ตลอด จนการจั ด ภู มิ ส ถาปั ต ยกรรมรอบพระเมรุ ม าศ เพื่ อ ให้ ป ระชาชนสั ม ผั ส ได้ ถึ ง โครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดําริ พระเมรุมาศ ในรัชกาลที่ 9 นับว่ามีความพิเศษ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีขนาดใหญ่กว่าพระ เมรุ 4 ครั้งหลังที่ผ่านมา ใช้พื้นที่สําหรับประกอบพระ ราชพิธีถึง 3 ใน 4 ของบริเวณท้องสนามหลวง มีชั้น เชิงกลอนมากที่สุดถึง 7 ชั้น อาคารประกอบโดยเฉพาะ พระที่นั่งทรงธรรม มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่สําคัญ เป็นการ ผสมผสานของศิลปะชั้นสูงในแขนงต่างๆ มาประยุกต์ เข้ากับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริกว่า 4,000 โครงการได้ อ ย่ า งกลมกลื น และถ่ า ยทอดพระราช กรณียกิจของพระองค์ท่านได้อย่างงดงาม และเป็นรูป ธรรม เพือ่ ร่วมถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 กษัตริย์นักพัฒนา ที่ นานาอารยประเทศต่างยกย่องว่าเป็น “King of Kings” สู่สวรรคาลัย...


01 พระเมรุม�ศ

Royal Funeral Pyre - 014

“พระเมรุม�ศ” ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีลักษณะทรง บุษบก 9 ยอด บุษบกประธานมี 7 ชั้นเชิงกลอน ออกแบบโดยนายก่ อ เกี ย รติ ทองผุ ด นายช่ า ง ศิ ลปกรรม สำ า นัก สถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ไม่เคยมีรับสั่งเกี่ยวกับพระเมรุมาศของ พระองค์ ว่าจะต้องมีรปู แบบใดเป็นลายลักษณ์อกั ษร ดังนั้น ผู้ออกแบบพระเมรุมาศในครั้งนี้ จึงยึดตาม

โบราณราชประเพณี ที่ นั บ ตั้ ง แต่ ส มั ย รั ช กาลที่ 5 เป็นต้นมา พระเมรุมาศมีเพียงชั้นเดียว โดยถอด เอาพระเมรุใหญ่ซึ่งเป็นพระเมรุทรงปรางค์ที่คลุมอยู่ ภายนอกออกไป ลักษณะโดดเด่นของพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 จึงเป็นพระเมรุมาศชั้นเดียว สอดรับกับความเชื่อที่ ได้รบั อิทธิพลมาจากพุทธศาสนาทีย่ ดึ คติไตรภูมิ โดย เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม ตลอด จนยึดคติความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ ที่นับถือ พระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพิฆเนศ โดยเชือ่ ว่าพระมหากษัตริยส์ บื เชือ้ สายมาจากเทพเจ้า ความพิเศษของพระเมรุมาศครั้งนี้ ยังมีขนาดใหญ่

กว่า 4 ครั้ง ที่ผ่านมา มีฐานกว้างด้านละ 59.60 เมตร สูง 55.18 เมตร ความพิเศษของพระเมรุมาศ ในรัชกาลที่ 9 มี อยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ 1. ชั้นเชิงกลอน โดย มีความใหญ่ของบุษบกประธานถึง 7 ชั้นเชิงกลอน ซึง่ ไม่เคยปรากฏมาก่อน 2. สือ่ ถึงในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นพระโพธิสตั ว์ 3. พระเมรุมาศครัง้ นีม้ ี 4 ชัน้ ชาลา แสดงถึงความสมจริงของเขาพระสุเมรุมากยิ่งขึ้น 4. เขาของจักรวาลที่มีสระนำ้า หรือสระอโนดาตล้อม รอบเขาพระสุเมรุ โดยสระอโนดาตทัง้ 4 มุม ทำาเป็น สระนำา้ จริง และ 5. เสาโคมไฟครุฑ จากเดิมเป็นหงส์ เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์


และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกด้วย การก่อสร้าง เดิมจะใช้วิธีเทคอนกรีตสำาเร็จรูป และใช้ แ ผ่ น พื้ น สำ า เร็ จ รู ป ที่ มี ข ายในท้ อ งตลาด ทำาฐานราก แต่ครัง้ นีเ้ นือ่ งจากอาคารมีขนาดใหญ่กว่า เดิม และเพื่อความมั่นคง ไม่ให้เสี่ยงต่อฝน และลม แรง จึงใช้วิธีเทคอนกรีตฐานรากของพระเมรุมาศ และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของการ ก่อสร้างพระเมรุมาศ โดยก่อนการออกแบบฐานราก จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจำาลองสถานการณ์ การเกิ ด แรงลมระดั บ รุ น แรงที่ สุ ด เพื่ อ ออกแบบ ฐานรากให้รบั กับแรงลมได้ รวมถึง เจาะสำารวจชัน้ ดิน

การวางผังทีต่ ง้ั ยังมีความโดดเด่นกว่าทุกพระเมรุ ที่ผ่านมา โดยนายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำานักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร พิจารณาจากจุด ตัดของแนวแกนของโบราณสถานที่สำาคัญของเกาะ รัตนโกสินทร์ชั้นใน คือ แกนเหนือ-ใต้ ตรงกับแนว เจดียท์ องในวัดพระศรีรตั นศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก ตรงกับอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร โดย จุดที่ตัดกันเป็นที่ตั้งของพระเมรุมาศ การวางผัง ให้ พ ระเมรุ ม าศเชื่ อ มโยงกั บ พระบรมมหาราชวั ง และวัด ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำาคัญ เชื่อมโยงว่า ในหลวง รัชกาลที่ 9 คือพระมหาราชาผู้เป็นใหญ่

เพือ่ คำานวณกำาลังรับนำา้ หนักดินฐานราก อีกทัง้ มีโครง ถักเหล็กเป็นตัวยึดที่ฐานรากอีกด้วย การตกแต่งพระเมรุมาศ ใช้งานซ้อนไม้ทดแทน การแกะสลักไม้จริง ส่วนใหญ่เป็นงานซ้อนไม้ดว้ ยวิธี การหล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ที่ใช้สำาหรับงานลำาลอง หรืองานชั่วคราว การประดับตกแต่งจะใช้การปิด ผ้าทองย่นสาบกระดาษสี แทนการปิดทองประดับ กระจก โดยใช้ผ้าทองย่น 5 สีหลัก คือ สีทอง สีขาว สีนำ้าเงิน สีชมพู และสีเขียว ลายผ้าทองย่น ประดับฐานชั้นล่างได้คัดสรรลายพิเศษเพื่อให้สม พระเกียรติ เป็นลายชั้นสูงสำาหรับพระมหากษัตริย์


เช่น ลายก้ามปู ลายก้านแย่ง ลายลูกฟัก และลาย ก้านต่อ ถือเป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์รังสรรค์เพื่อ งานพระเมรุมาศโดยเฉพาะ ซึ่งลายก้านต่อจะใช้ ทุ ก ส่ ว นสำ า คั ญ ของพระเมรุ ม าศ ทั้ ง บริ เ วณฐาน สิงห์ บัวฐาน เสาหัวเม็ด ลักษณะของลายก้านต่อ จะเป็นการต่อลายกันอย่างน้อย 3 ลาย เช่น ลาย ดอกไม้ ใบเทศน์เปลว หน้าเทพนม ประดับต่อกัน เป็นชั้นขึ้นไป กล่าวได้วา่ พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 มีความเป็น เอกลักษณ์อย่างทีไ่ ม่เคยปรากฏในประวัตศิ าสตร์มา ก่อน อีกทั้ง ยังนำาเทคนิค และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่นคง แข็งแรง ความรวดเร็ว และสวยงามวิจิตรศิลป์…

ผ้าขาว 9 ชัน้ มีความสูง 5.10 เมตร แต่ละชัน้ มีระบาย ขลิบทองแผ่ลวดซ้อน 3 ชัน้ ฉัตรชัน้ ล่างสุดห้อยเฟือ่ ง อุบะจำาปาทอง โดยในพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 นพปฎลมหาเศวตฉัตรจะประดิษฐานบนยอดสุดของ บุษบกประธาน สำาหรับลวดลายบนนพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็น บัวกลุม่ บัวแวง คัน่ ด้วยบัวลูกแก้ว แล้วจึงเป็นปลียอด โดยส่วนยอดจะเป็นองค์เจดีย์

บุษบกซ่�ง หรือสำ�ซ่�ง

“พระที่นั่งทรงธรรม” เป็นอาคารประกอบใน มณฑลพิธี มีความสำาคัญรองลงมาจากพระเมรุมาศ ตั้ ง อยู่ กึ่ ง กลางด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกของพระเมรุ ม าศ สำาหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ประทับทรงธรรม และประกอบพระราชพิธีบำาเพ็ญ พระราชกุศลออกพระเมรุ และมีท่ีสำาหรับพระราช อาคันตุกะ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะทูตานุทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ออกแบบโดยนายอาทิตย์ ลิม่ มัน่ สถาปนิกปฏิบตั กิ าร สำานักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ความพิเศษของพระทีน่ ง่ั ทรงธรรมในครัง้ นี้ เป็น อาคารขนาดใหญ่ ทรงจัตรุ มุข จัว่ ภควัม ทรงพระพุทธรูป สือ่ ถึงพระมหากษัตริยท์ นี่ อกจากเป็นสมมติเทพแล้ว ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ มีมุขปีก ซ้าย ขวา ยื่น ออกมารับกับแนวความยาวของมณฑลพิธี รองรับ ผู้เข้าร่วมพระราชพิธีได้ประมาณ 2,700 คน และ เนื่องจากเป็นอาคารที่ใหญ่ ในการก่อสร้างจึงต้องเท ฐานรากเพื่อความแข็งแรง ภายในพระที่นั่งทรงธรรม แบ่งระดับพื้นที่ตาม ฐานันดรศักดิ์ ได้แก่ พืน้ ทีส่ าำ หรับพระบรมวงศานุวงศ์ ประทับ สูงจากพืน้ 1.80 เมตร รองลงมา คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชัน้ ผูใ้ หญ่ อยูท่ ่ี 1.30 เมตร การตกแต่งภายในจะยึดตามโบราณราชประเพณี มีความสวยงามรองลงมาจากพระเมรุมาศ ประดับ ลายซ้อนไม้ ผ้าทองย่น ลายฉลุ รวมถึง มีภาพ จิตรกรรมฝาผนังที่แสดงเรื่องราวโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำาริ 3 ด้าน 46 โครงการ โทนสี จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับอาคารหลังอื่นๆ ซึ่งจะ เน้นโทนสีดอน หลังคาสีเทา องค์ประกอบอื่นๆ เป็น สีทอง ให้สอดคล้องกับพระเมรุมาศ

“บุษบกซ่�ง” หรือ “สำ�ซ่�ง” สิ่งปลูกสร้างรูป ทรงสี่เหลี่ยม สร้างขึ้นตามมุมทั้งสี่ของพระเมรุมาศ ใช้เป็นทีส่ าำ หรับพระพิธธี รรมสวดพระอภิธรรมตลอด งานพระเมรุมาศ นับตัง้ แต่พระบรมศพประดิษฐานบน พระจิตกาธาน จนกว่าจะถวายพระเพลิงพระบรมศพ แล้วเสร็จ โดยมีพระพิธีธรรม 4 สำารับ นั่งอยู่ประจำา สำาซ่าง และจะผลัดกันสวดทีละสำาซ่างเวียนกันไป โดยในส่วนของพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 สำาซ่างอยู่ ที่ฐานบุษบกชั้นชาลาที่ 3 ทั้ง 4 มุม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ฐาน องค์บุษบก และเครื่องยอด ซึ่งมีชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น โดยส่วนยอดของสำาซ่างจะ เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หอเปลื้อง

Royal Funeral Pyre - 016

“หอเปลื้อง” สิ่งปลูกสร้างขนาดเล็กที่ใช้เก็บ พระโกศพระบรมศพ และเครื่องประกอบหลังจากที่ เปลื้องพระบรมศพออกจากพระลองขึ้นประดิษฐาน บนพระจิตกาธาน และเป็นที่เก็บเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ในช่วงการถวายพระเพลิงพระบรมศพ เช่น ท่อนฟืน ไม้จนั ทน์ ช่อไม้จนั ทน์ ขันนำา้ ฯลฯ ซึง่ ต้องตัง้ นำา้ สำาหรับ เลี้ ย งเพลิ ง เมื่ อ เวลาถวายพระเพลิ ง พระบรมศพ โดยในส่วนของพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 หอเปลื้อง อยู่ที่ฐานบุษบกชั้นชาลาที่ 2 ทั้ง 4 มุม ประกอบ ด้วย 3 ส่วน คือ ฐาน องค์บุษบก และเครื่องยอด โดยจะมี 5 ชั้นเชิงกลอนเช่นเดียวกับสำาซ่าง แต่มี ขนาดย่อมลงมา โดยส่วนยอดของหอเปลื้องจะเป็น ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ นพปฎลมห�เศวตฉัตร “นพปฎลมห�เศวตฉัตร” หรือเศวตฉัตร 9 ชัน้ สำาหรับพระมหากษัตริยท์ ที่ รงรับพระบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี แ ล้ ว ลั ก ษณะเป็ น ฉั ต ร

1.1 อ�ค�รประกอบพระเมรุม�ศ พระที่นั่งทรงธรรม

ศ�ล�ลูกขุน 1-3 “ศาลาลูกขุน” เป็นอาคารโถงไม่มผี นัง ใช้เป็นที่ สำาหรับข้าราชการชัน้ ผูใ้ หญ่เฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท


รับเสด็จ รวมทั้ง ใช้เป็นอาคารบริการ ในงานพระราชพิธีครั้งนี้มี ศาลาลูกขุน 3 แบบ ศาลาลูกขุน 1 จำานวน 4 หลัง ตั้งอยู่ทิศเหนือ และทิศใต้ของพระเมรุมาศ ฝั่งละ 2 หลัง ศาลาลูกขุน 2 จำานวน 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และทิศใต้ของพระที่นั่งทรงธรรม และ ศาลาลูกขุน 3 จำานวน 5 หลัง ตั้งอยู่นอกรั้วราชวัติทางทิศใต้ของ มณฑลพิธี ทั้ง 3 แบบ มีสถาปนิกผู้ออกแบบหลัก 2 ราย ได้แก่ นายธนารัตน์ สอดทรัพย์ สถาปนิกปฏิบัติการ และนายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำานาญการ สำานักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร การออกแบบศาลาลูกขุนทัง้ 3 แบบ ออกแบบตามลำาดับฐานานุศกั ดิ์ ของผู้ใช้สอยอาคาร


Royal Funeral Pyre - 020


พระเมรุมาศที่มองจากฐานไปยัง ยอดสูงสุด ทำ�ให้เห็นโครงสร้าง เหล็กที่แข็งแรง มั่นคง


Royal Funeral Pyre - 024

ศ�ล�ลูกขุน 1 ใช้เป็นที่สำาหรับข้าราชการชั้น ผูใ้ หญ่เฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท เป็นอาคารโถงขนาด ใหญ่ ยกพื้นสูงเพื่อความสง่างาม หลังคาหลักเป็น ทรงจั่ว และมีหลังคาปะรำาตลอดความยาวอาคาร ทั้ง 2 ข้างเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอย ความสูงของ หลังคาปรับให้เหมาะสมกับพระเมรุมาศ หลังคา ทรงจั่วภควัม เปรียบในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็น พระโพธิสัตว์ ออกแบบหน้าบันให้เป็นสัญลักษณ์ เครื่องบูชาลายเครื่องทองน้อย ซึ่งเป็นเครื่องสักการ บูชาพระมหากษัตริย์ งานศิลปกรรมประดับตัวอาคาร เป็นลวดลายดอกไม้ต่างๆ แสดงถึงการสักการะ และสื่อถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อการพัฒนา

สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ศ�ล�ลูกขุน 2 ใช้เป็นที่สำาหรับข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ในลำาดับรองลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นอาคารโถงขนาดย่อมลงมากว่าศาลาลูกขุน 1 หลังคาทรงจั่วภควัม ยกพื้นสูงเช่นเดียวกับศาลา ลูกขุน 1 แตกต่างกันตรงลวดลายหน้าบัน เป็น ลวดลายพานพุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องสักการบูชาเช่นกัน ศ�ล�ลูกขุน 3 อยู่นอกรั้วราชวัติ เป็นอาคาร ทีใ่ ช้สาำ หรับงานบริการในช่วงพระราชพิธี หลังคาทรง ปะรำาตัดเรียบ และเนื่องจากเป็นอาคารบริการนอก มณฑลพิธี จึงลดการใช้สีทอง และลดการประดับ ลวดลายลงตามฐานานุศักดิ์ของอาคาร

ทับเกษตร/ ทิม “ทับเกษตร” และ “ทิม” ออกแบบโดยนาย ณรงค์ฤทธิ์ ทองแสง สถาปนิกปฏิบัติการ สำานัก สถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ทับเกษตร มี 4 หลัง เป็นอาคารทีส่ ร้างอยูท่ มี่ มุ ทัง้ สีข่ องพืน้ ที่ เพือ่ กำาหนด ขอบเขตของมณฑลพิธี การออกแบบทับเกษตรครั้ง นี้ เป็นอาคารเครื่องยอดชั้นบรรพแถลง 3 ชั้น อิงรูป แบบการประดับตกแต่งจากพระเมรุมาศ ออกปีกทัง้ สองข้างอาคารหลังคาจัว่ ภควัม เชือ่ มต่อกับรัว้ ราชวัติ และทิม ใช้เป็นที่สำาหรับข้าราชการที่มาในพระราช พิธีพัก และฟังสวดพระอภิธรรม


ทิ ม มี 8 หลั ง เป็ น อาคารที่ พั ก ของพระสงฆ์ แพทย์ ห ลวง เจ้าพนักงาน และเป็นที่ประโคมปี่พาทย์ประกอบพิธี สร้างติดแนวรั้ว ราชวัติทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างด้านหน้าโล่ง ด้านข้าง และ ด้านหลังออกแบบให้มผี นังสูง หรือพนักตามความเหมาะสมในการใช้งาน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 4 ซึง่ เป็นคติธรรมเรือ่ ง ไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา

1.2 อาคารประกอบพระเมรุมาศ นอกมณฑลพิธี

“พลับพล�หน้�พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปร�ส�ท” สำาหรับเจ้านาย ฝ่ายในประทับ ทอดพระเนตรริ้วขบวน และถวายบังคมพระบรมศพ ออกแบบโดยนายปฏิบตั ิ ทุย่ อ้น สถาปนิกชำานาญการ สำานักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เนือ่ งจากครัง้ นีเ้ ป็นพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์ การออกแบบจึงมีความพิเศษ เป็นหลังคาจัว่ ตรีมขุ จัว่ ประธาน และจัว่ ซ้ายขวา ลวดลายเป็นลักษณะเดียวกัน คือลายหม้อดอก (ปูรณฆะตะ) กับลายหงส์ ต่างกันที่เทคนิคการทำา คือจั่วประธานจะ เป็นลายยา หรือลายแบบลงยา ส่วนจั่วซ้ายขวาจะเป็นเทคนิคการฉลุ ผ้าทองย่นสาบสี ลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่งทั้งหมดของอาคารหลังนี้ ทั้งลวดลายทางสถาปัตยกรรม และลวดลายศิลปกรรม จะเน้นเป็นลาย พันธุพ์ ฤกษา เพือ่ แสดงถึงความเป็นผูห้ ญิง ส่วนสีจะเน้นความกลมกลืน กับอาคารประกอบพระเมรุมาศ ใช้สีขาว เทา ทอง เป็นหลัก

พลับพล�ยก “พลับพล�ยก” หรือ “พลับพล�อ�ค�รทรงโถง” ใช้สำาหรับ พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ประทับเพื่อรอรับส่ง พระบรมศพในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ประกอบด้วย “พลับพลา ยกหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” เป็นอาคารสำาหรับสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ประทับระหว่างพระราชพิธี อัญเชิญพระบรมโกศลงจากพระยานมาศสามลำาคาน และอัญเชิญขึ้น ประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ก่อนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ สดับปกรณ์ ถือเป็นจุดประทับแรกที่มีความสำาคัญ ออกแบบโดยนาย สัญชัย ลุงรุ่ง สถาปนิกปฏิบัติการ และนายพงศ์พิพัฒน์ ศรีวราลักษณ์ สถาปนิกชำานาญการ สำานักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร การออกแบบเป็นอาคารตรีมุขโถงโล่ง ไม่มีผนัง ที่ประดับยกสูง ปีกด้านข้างซ้าย ขวา หลังคาทรงปะรำา ปีกอาคารปะรำาด้านขวาใช้เป็นที่ สำาหรับประดิษฐานเครือ่ งประกอบพระราชอิสริยยศของในหลวง รัชกาล ที่ 9 ด้านซ้ายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร หน้าบันทั้ง 3 ด้าน เป็นลายเทพนม จั่วประธานมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว หน้าบันเป็นลายเทพนม จั่วด้านข้างซ้ายขวา ข้างเทพนม ประดับพาน พุ่ม แสดงถึงทวยเทพเฝ้ารับเสด็จ สีอาคารใช้โทนสีขาวทอง ลวดลาย ศิลปกรรมผ้าทองย่น เป็นลายดอกบัว แสดงถึงการถวายความเคารพ ด้วยดอกบัว เปรียบเสมือนในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นพระโพธิสัตว์ ความพิ เ ศษอี ก อย่ า งหนึ่ ง ของพลั บ พลายกหน้ า วั ด พระเชตุ พ น วิมลมังคลารามในครัง้ นี้ มีการสร้างห้องสรง 2 ห้อง เป็นอาคารแยกหลังคา ทรงปะรำา สำาหรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ “พลับพล�ยกท้องสน�มหลวง” ด้านหน้าทางเข้ามณฑลพิธี ออกแบบโดยนายนฤพร เสาวนิตย์ สถาปนิกปฏิบตั กิ าร สำานักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ออกแบบให้มีขนาด และสัดส่วนใหญ่กว่าพลับพลายก ในพระราชพิธีครั้งก่อนๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสัดส่วน และขนาดของ พระเมรุมาศ และตามฐานานุศักดิ์แห่งการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์ แนวคิดในการออกแบบจะยึดตามหลักโบราณราชประเพณี เป็น อาคารโถงทรงตรีมุข มุขด้านหน้าเพิ่มมุขประเจิด องค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรมต่างๆ ออกแบบโดยแฝงความหมายให้เป็นที่ประทับของ เทพ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ คือ เครื่องลำายองรวยระกาทรงวิมาน ซึ่งแปลงมาจากรูปวิมานเทวดาใน จิตรกรรม หน้าบันมุขประเจิดประดับลายซ้อนไม้ ทำาเป็นรูปเทวดาถือ ช่อกระหนก เหนือเศียรเป็นลายหน้ากาล ส่วนปีกด้านข้างซ้าย ขวา หลังคาทรงปะรำา ปีกอาคารปะรำาด้านข้างขวา ใช้เป็นทีส่ าำ หรับประดิษฐาน เครือ่ งประกอบพระราชอิสริยยศของในหลวง รัชกาลที่ 9 ส่วนด้านซ้าย เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร หน้าบันด้านซ้าย และขวา ประดับลายซ้อนไม้ เขียนพระคาถา เรียกว่า คาถาขอขมาพระสงฆ์ เป็นปัจฉิมคาถา ก่อนเสด็จสวรรคตของ

พลับพล�ยกพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปร�ส�ท

02 ประติมากรรม ประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 นอกจากจะยึดตาม โบราณราชประเพณี หลักไตรภูมิตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตลอดจน ความเชือ่ ตามศาสนาพราหมณ์แล้ว ยังมีความโดดเด่นกว่าทุกพระเมรุที่ ผ่านมา ตรงที่ประติมากรรม โดยเฉพาะเทวดา จะปั้นตามแบบศิลปะ รัชกาลที่ 9 คือคล้ายคลึงมนุษย์ มีกล้ามเนื้อ แววตาเหมือนจริง แต่ ตั ด ทอนรายละเอี ย ดของความเป็ น มนุ ษ ย์ ใ นบางส่ ว น เพื่ อ ให้ เ ข้ า สู่ ความเป็นอุดมคติตามหลักเทวนิยม โดยศึกษาต้นแบบมาจากงานของ พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลป์ชัย) ศิลปินเอกในรัชกาลที่ 5-7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ได้รับการ ขนานนามว่า “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” และพระพรหมพิจติ ร บรมครู ทางด้านศิลป สถาปัตยกรรมไทย


1. ประติม�กรรมนูนตำ่�พระโพธิสัตว์ ความสูงประมาณ 1 ฟุต ปรากฏอยู่บนบรรพ แถลงบนชั้นเชิงกลอนชั้นที่ 7 บริเวณปากองค์ระฆัง 2. เทวด�ยืนรอบพระเมรุม�ศ เป็นเทวดาเชิญฉัตร ประดับรอบชัน้ ที่ 3 บริเวณ บันไดนาคทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่ รวม 8 องค์ รับผิดชอบโดยนายภราดร เชิดชู ประติมากรชำานาญ การพิเศษ สือ่ ความหมายว่าเทวดามารับเสด็จในวาระ ที่เสด็จกลับสู่ทิพยสถาน 3. เทวด�นั่งรอบพระเมรุ เป็นเทวดาเชิญพุ่มโลหะ และเชิญบังแทรกนั่ง รอบพระเมรุ 32 องค์ จำาแนกเป็น เทวดานั่งคุกเข่า เชิญพุ่มโลหะ 8 องค์ และเทวดานั่งคุกเข่าเชิญ บังแทรก 24 องค์ ต้นแบบดินเหนียวปั้นโดยนาย ภราดร เชิดชู ประติมากรชำานาญการพิเศษ สำาหรับ เทวดานัง่ คุกเข่าเชิญพุม่ โลหะประดับอยูช่ นั้ ที่ 3 ส่วน เทวดานัง่ คุกเข่าเชิญบังแทรก ประดับอยูช่ นั้ ที่ 1 และ ชั้นที่ 2 ในบริเวณมุมพระเมรุมาศ และบันไดทาง ขึ้น โดยเทวดานั่งคุกเข่าเชิญบังแทรกในชั้นชาลาที่ 1 สวมมงกุฎยอดนำ้าเต้า ตาเหลือบลง ส่วนชั้นชาลา ที่ 2 เทวดาสวมมงกุฎยอดชัย ตามองตรง

Royal Funeral Pyre - 028

ความพิเศษของประติมากรรมในครั้งนี้ จะมี ขนาดใหญ่มากขึน้ และจำานวนชิน้ มากกว่าทุกพระเมรุ ที่ผ่านมา โดยมีมากถึง 606 ชิ้น ส่วนใหญ่หล่อ ไฟเบอร์กลาส และบางส่วนเป็นปูนปลาสเตอร์ โดย นั บ ตั้ ง แต่ ชั้ น ชาลาที่ 3 ลงไป จะประดั บ ด้ ว ย ประติมากรรม ท้าวจตุโลกบาล เทวดา ครุฑ ราชสีห์ คชสีห์ นาคราวบันได ตลอดจนสัตว์ประจำาทิศ รอบ ฐานพระเมรุมาศมีสระนำา้ และเขามอจำาลอง ประดับ สัตว์หิมพานต์ต่างๆ โดยการปั้นประติมากรรมท้าว จตุโลกบาลในครัง้ นี้ ถือเป็นครัง้ แรกซึง่ ไม่เคยปรากฏ ในงานพระเมรุมาก่อน ซึ่งประติมากรในครั้งนี้ ส่วน ใหญ่เป็นข้าราชการในกลุม่ ประติมากรรม สำานักช่าง สิบหมู่ กรมศิลปากร สำาหรับประติมากรรมปั้นลวดลาย และหล่อ ส่วนประกอบประดับตกแต่งพระเมรุมาศหลักๆ มี 15 ประเภท ได้แก่

เทวดาประดับรอบพระเมรุมาศ โดยมีทั้งเทวดานั่งและเทวดายืน ในส่วนของเทวดานั่ง ประกอบด้วย เทวดานั่งคุกเข่าเชิญพุ่มโลหะและ เชิญบังแทรก ซึ่งเทวดานั่งคุกเข่า เชิญพุ่มโลหะ ประดับชั้นที่ 3 ส่วน เทวดานั่งคุกเข่าเชิญบังแทรก ประดับอยู่ชั้นที่ 1 และ 2 บริเวณ มุมพระเมรุมาศและบันไดทางขึ้น


4. ครุฑยืนรอบพระเมรุม�ศ ความสูง 2 เมตร ประดับอยูบ่ นชัน้ ที่ 2 บริเวณ สะพานเกรินทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก อย่างละ 1 คู่ รวม 6 องค์ โดยนายพิทักษ์ เฉลิมเล่า ประติมากรชำานาญการ เป็นผู้ปั้นต้นแบบ ครุฑยืน ทั้ง 2 องค์ แตกต่างตรงที่องค์หนึ่งมีรูปกายเป็นครึ่ง มนุษย์ครึง่ นกอินทรี ขาเป็นมนุษย์ หางเป็นพญานาค ปีกนกลู่ลง บริเวณลำาคอประดับสังวาลนาค มือถือ ดอกบัวถวายแด่ในหลวง รัชกาลที่ 9 แนวคิดในการ ปั้น มีความเป็นไทยร่วมสมัย เพราะต้องการสื่อถึง อิทธิบาท 4 และพละ 5 ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งประชาชนสามารถน้อมนำาหลักธรรมดังกล่าวไป ใช้ในการดำาเนินชีวิต ส่วนอีกองค์ รูปกายเป็นครึ่ง มนุษย์ครึ่งนกอินทรี แต่ขาเป็นนก ช่วงแขนลู่ลงเพื่อ แสดงถึงความเคารพ และรับเสด็จในหลวง รัชกาล ที่ 9 สู่สรวงสวรรค์ ปีกสยายประดับลวดลายเครื่อง ทรงของพญานาค สื่อถึงความเชื่อมโยงโลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกบาดาล ลวดลายร่วมสมัยที่ผสม ผสานลายไทย และศิลปะสมัยใหม่

5. ท้�วจตุโลกบ�ลทั้งสี่ ประกอบด้วย ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวธตรฐ ท้าว วิรปู กั ษ์ และท้าววิรฬุ หก ความสูง 2 เมตร อยูช่ นั้ ที่ 2 ประจำาทิศทั้งสี่ของพระเมรุมาศ โดยท้าวจตุโลกบาล สื่อความหมายเทวดาที่รักษาทุกข์สุขของมนุษย์โลก ไว้ทั้ง 4 ทิศ และทำาหน้าที่ป้องกันอันตรายที่จะเกิด แก่มนุษย์โลก “ท้�วเวสสุวรรณ” เป็นเจ้าแห่งยักษ์ประจำาทิศ เหนือ รับผิดชอบงานปั้นโดยนายอัษฎายุธ อยู่เย็น ประติมากรปฏิบตั กิ าร ท้าวเวสสุวรรณทำาหน้าทีป่ กปักษ์ ดูแลทรัพย์ของโลกมนุษย์ แววตาดุดัน ทรงอำานาจ ประติ ม ากรศึ ก ษาจากพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ พระนคร โดยนำาเอาศิลปะสมัยลพบุรีมาประยุกต์ให้ เข้ากับศิลปะร่วมสมัยของรัชกาลที่ 9 “ท้�วธตรฐ” ประติมากรคือนายภคคีตา แก้ว กัญญา นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน ท้าวธตรฐ เป็นผู้ปกครองประจำาทิศตะวันออก ปกครองเหล่า คนธรรพ์ วิทยาธร และนางไม้นางอัปสร ประติมากร ตัง้ ใจปัน้ ให้สงู สง่า ใบหน้างดงาม แย้มยิม้ อย่างคนทีม่ ี


เจ้าหน้าที่นําประติมากรรมนาค 1 เศียร นาค 3 เศียร นาค 5 เศียร และนาค 7 เศียร มาติดตั้งบริเวณ ราวบันไดนาค ประดับพระเมรุมาศ ซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่มีการสร้าง ราวบันไดนาคพระเมรุมาศ

Royal Funeral Pyre - 030


ดนตรีในหัวใจ ลักษณะเด่นคือ มือซ้ายทรงพิณ เชือ่ ม โยงถึงในหลวง รัชกาลที่ 9 ทีท่ รงเป็นนักดนตรี ด้าม พิณเป็นเศียรช้าง เพื่อให้เข้ากับงานไทย เครื่องทรง ลายดอกไม้ได้แนวคิดมาจากศิลปินที่นิยมนำาลูกปัด มาร้อย แต่ปรับให้เป็นดอกไม้ ถือเป็นประติมากรรม เพียงชิ้นเดียวในงานพระเมรุมาศครั้งนี้ ที่มีเครื่อง ทรงลายดอกไม้ “ท้�ววิรูปักษ์” ผู้ปกครองประจำาทิศตะวันตก ประติมากรโดยนายมงคล ฤาชัยราม ประติมากร ปฏิบตั กิ าร เนือ่ งจากท้าววิรปู กั ษ์เป็นเจ้าแห่งพญานาค มีฝงู นาคเป็นบริวาร ประติมากรจึงใส่เรือ่ งราวพญานาค ในงานปัน้ ลวดลายคล้ายหนังปลากระเบนสือ่ แทนนำา้ มือขวาอยู่ในท่าประทานพร ท่าทางการเคลื่อนไหว เหมือนกับพระพิรุณที่พระราชวังพญาไท สวมมงกุฎ ที่มียอดนาคสามเศียร มีหนวด ประทับยืนบนแท่น ฐานที่ประดับลายพญานาค “ท้�ววิรุฬหก” ผู้ปกครองประจำาทิศใต้ มีอสูร เป็นบริวาร ปั้นโดยนายจุมพลภัทร์ มั่นเกษวิทย์ ประติมากรปฏิบัติการ ท้าววิรุฬหกมีรูปร่างสูงสง่า น่าเกรงขาม ลักษณะเด่นมีงูเลื้อยพันมือซ้าย ฝ่ามือ จับคองู ส่วนมือขวาทรงทวน 6. เทพนม

ท้�วเวสสุวรรณ (ล่�ง) 1 ใน 4 ท้าวจตุโลกบาล แววตาดุดัน ทรงอํานาจ เป็นเจ้าแห่งยักษ์ประจําทิศ เหนือ ทําหน้าที่ปกปักษ์ดูแลทรัพย์สิน ของโลกมนุษย์

ประดับรอบท้องไม้พระเมรุมาศองค์ประธาน สร้างโดยศูนย์ศลิ ปาชีพ เกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศลิ ปาชีพสีบวั ทอง จ.อ่างทอง ออกแบบ และ ควบคุมการสร้างโดยนายสุดสาคร ชายเสม ทีป่ รึกษา คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ ประกอบ ด้วย “เทพนมนัง่ ส้น” จำานวน 28 องค์ และ “เทพนม แกะไม้กลีบลายพระโกศ” จำานวน 56 องค์ และ ขนาดใหญ่ จำานวน 24 องค์ 7. ครุฑยุดน�ค ประดับรอบท้องไม้พระเมรุมาศองค์ประธาน จำานวน 28 องค์ จัดสร้างโดยศูนย์ศิลปาชีพ เกาะ เกิด จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพสีบัว ทอง จ.อ่างทอง ออกแบบ และควบคุมการสร้างโดย นายสุดสาคร ชายเสม ที่ปรึกษาคณะกรรมการฝ่าย จัดสร้างพระเมรุมาศ 8. เทพชุมนุม รอบฐ�นท้องไม้พระเมรุม�ศชั้นล่�ง จั ด สร้ า งโดยศู น ย์ ศิ ล ปาชี พ เกาะเกิ ด จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง ออกแบบ และควบคุมการสร้างโดยนาย สุดสาคร ชายเสม ที่ปรึกษาคณะกรรมการฝ่ายจัด สร้างพระเมรุมาศ ประกอบด้วย

“เทพชุมนุมฐานไพทีนั่งราบ” 24 แบบ จำานวน 132 องค์ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ครุฑพนมนั่ง ราบยอดนำา้ เต้า 16 องค์ 2.เทวดาพนมนัง่ ราบ 32 องค์ ประกอบด้วย พระประโคนธรรพตาพระพุทธรูปยอด ลำาโพงห่มหนังเสือ พระปัญจสิงขรยอดนำา้ เต้าห้ายอด หน้ามนุษย์ ธตรฐยอดบัด (เดินหน) วิรปู กั ษ์ยอดนาค วิรุฬหกหน้ามนุษย์ ยอดหางไก่ และเทวดายอดชัย 3. พานรพนมนัง่ ราบ 20 องค์ ประกอบด้วย หนุมาน ทรงเครือ่ งอินทรชิต พาลีไม่ใส่เสือ้ ชมพูวราชยอดชัย องคตยอดสามกลีบ สุครีพยอดบัด และ ประเภทที่ 4. ยักษ์พนมนั่งราบ จำานวน 64 องค์ ประกอบด้วย สวัสดีมาร ทศกัณฑ์ จักรวรรดิ สวมมงกุฎหางไก่ เวสสุวรรณ สวมมงกุฎยอดนำา้ เต้าเหลีย่ ม มังกรกัณฐ์ สวมมงกุฎยอดนาค อินทราชิต สวมชฎากาบไผ่ เดินหน ทศคิรีวันหน้าแบบอินทรชิต ใส่งวงช้าง ยอดเดินหน ทศคิรีธรหน้าแบบอินทรชิตยอดช้าง ตาจระเข้ สัทธาสูร ยอดจีบ และทัพนาสูรยอด สามกลีบ ทัง้ นีร้ ปู แบบการปัน้ ส่วนใหญ่ศกึ ษาจากงาน ประติมากรรมประดับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่มียักษ์ ประดับบริเวณบันได ส่วนบรรดาหัวโขน เป็นศิลปะ รัตนโกสินทร์ ส่วนเครื่องทรงต่างๆ ออกแบบเป็น ศิลปะต่างๆ เช่น ศิลปะอยุธยา โดยเลือกเครื่องยอด ที่เป็นทรงสูง มีเครื่องยอดสง่างาม ถือเป็นการรวม เหล่าทวยเทพที่มีความหลากหลายที่สุดที่เคยมีมา สื่อถึงเหล่าองค์เทพต่างๆ ได้มาเฝ้ารอรับเสด็จกลับ สู่สรวงสวรรค์ 9. ร�วบันไดน�ค 1 เศียร น�ค 3 เศียร น�ค 5 เศียร และน�ค 7 เศียร จั ด สร้ า งโดยศู น ย์ ศิ ล ปาชี พ เกาะเกิ ด จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง ออกแบบ และควบคุมการสร้างโดยนาย สุดสาคร ชายเสม โดยบันไดนาคชั้นที่ 1 นาคเศียรเดียว รูปแบบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ได้ต้นแบบจากเรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช บันไดนาคชั้นที่ 2 “เหราพต” เป็น นาค 3 เศียร อ้างอิงจากประติมากรรมนาค พบที่ เตาวัดมะปรางค์ จ.สิงห์บรุ ี รูปแบบศิลปะสมัยสุโขทัย จำานวน 8 ตัว บันไดนาคชั้นที่ 3 นาคทรงเครื่อง 5 เศียร พญาวาสุกรีนาคราช เป็นนาคสวมมงกุฎ ยอดชัย ต้นแบบจากราวบันไดนาควัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี ศิลปะสมัยอยุธยา จำานวน 8 ตัว บันได นาคชั้นที่ 4 ชั้นพระเมรุมาศองค์ประธาน เป็นชั้นที่ สำาคัญที่สุด เป็นนาคนิรมิตพญาอนันตนาคราช มี 7 เศียร ต้นแบบจากปราสาทพระเทพบิดร ศิลปะสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ละเศียรมีหน้าเป็นเทวดา ตามคัมภีร์พระนารายณ์บรรทมสินธุ์บนแท่นพญา อนันตนาคราช และชั้นสำาซ่าง เป็นนาคเศียรเดียว


Royal Funeral Pyre - 034

จำานวน 8 ตัว ออกแบบนาคโดยยึดปรัชญาธรรม ตัวพญานาคได้ถูกมกรกลืนกินเข้าไป เปรียบชีวิตที่ ถูกเวลากลืนกินทุกขณะ การสร้างราวบันไดนาคประดับพระเมรุมาศ ครั้งนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่มีการสร้างราวบันไดนาค พระเมรุมาศ และยังเป็นครัง้ แรกทีม่ กี ารประดับเลือ่ ม เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสีสันต่างๆ

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 แผนกวิจติ รศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา กรุงเทพฯ และนาย นครินทร์ ศรีเมฆ จิตอาสา โดยต้นแบบราชสีห์ของ นายนพรัตน์ มีลกั ษณะพิเศษตรงทีม่ อี ณ ั ฑะข้างเดียว และลิ้นดำา เชื่อกันว่าเป็นสิริมงคล และอายุยืน

10. คชสีห์-ร�ชสีห์

ประกอบด้วยช้าง 1 คู่ ม้า 1 คู่ โค 1 คู่ และสิงห์ 1 คู่ ประดับทางขึ้นบันไดชั้นที่ 1 ยึดตามความเชื่อ เรือ่ งไตรภูมติ ามคติศาสนาพุทธ ในเรือ่ งเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์ และสระอโนดาต โดยเชื่อกันว่ามีหิน ก้อนหนึง่ ทีเ่ ป็นแหล่งกำาเนิดแม่นาำ้ ศักดิส์ ทิ ธิ์ หินก้อน นั้นมี 4 ด้าน แต่ละด้านประกอบด้วย หัวช้าง หัวม้า หัวโค และหัวสิงห์ ซึ่งมีนำ้าพ่นออกมา เกิดเป็นปัญจ มหานที หรือแม่นำ้าศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย หล่อเลี้ยงชมพู ทวีป (โลกมนุษย์) ได้แก่ แม่นำ้าคงคา แม่นำ้ายมุนา แม่นำ้ามหิ แม่นำ้าอจิรวดี และแม่นำ้าสรภู “ช้าง” ปัน้ โดยนายอัษฎายุธ อยูเ่ ย็น ประติมากร ปฏิบัติการ สื่อถึงความสุข ความอุดมสมบูรณ์ของ

ประดับบันไดทางขึน้ ในชัน้ ที่ 2 ทัง้ 4 ทิศ รวม 8 องค์ คชสีห์เป็นสัตว์หิมพานต์ ลำาตัวเป็นราชสีห์ หัว เป็นช้าง เรียกว่าครึ่งช้างครึ่งราชสีห์ คชสีห์เป็นตรา สัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม แทนถึงเสนาบดี ฝ่ายกลาโหม ส่วนราชสีห์ เป็นตราสัญลักษณ์ของ กระทรวงมหาดไทย แทนถึงเสนาบดีฝ่ายมหาดไทย “คชสีห”์ ปัน้ โดยนายอนุเทพ พจน์ประศาสตร์ จิตอาสา ส่วน “ราชสีห”์ มี 2 ต้นแบบ ต้นแบบแรกปัน้ โดยนาย นพรัตน์ บุญมี นายช่างศิลปกรรมชำานาญงาน และ ต้นแบบที่ 2 ปัน้ โดยนายวายุพดั รัตนเพชร นักเรียน

11. สัตว์มงคลประจำ�ทิศ

พื ช พั น ธุ์ ธั ญ ญาหาร อั น เนื่ อ งมาจากพระมหา กรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงดำาเนิน โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริมากมาย จนนำา ความอุดมสมบูรณ์มาสู่ประเทศชาติ “ม้า” ปั้นโดย นายนพรัตน์ บุญมี นายช่างศิลปกรรมชำานาญงาน ลักษณะเด่นเป็นม้ามงคล มีอณ ั ฑะทองแดงข้างเดียว มีความเฉลียวฉลาด ขนตัง้ พอง ยกขาหน้าขึน้ ข้างหนึง่ เพื่อแสดงความเคารพในหลวง รัชกาลที่ 9 12. สัตว์หิมพ�นต์ “สัตว์หมิ พ�นต์” สัตว์ทปี่ ระดับตกแต่งรายรอบ พระเมรุมาศตามคติเรื่องโลก และจักรวาล ซึ่งมีเขา พระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภณ ั ฑ์ และดาษดื่นด้วยสิงสาราสัตว์นานาพันธุ์ โดยสัตว์ หิมพานต์ประดับพระเมรุมาศ ประกอบด้วย ช้าง 10 ตระกูล สิงห์ 4 ตระกูล ม้า 4 ตระกูล และ โค 8 ตระกูล และสัตว์ผสม เกือบ 200 ชิ้น ใน สระอโนดาต ในพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ประกอบด้วย ช้าง


ตระกูลพรหมพงศ์ (ตระกูลช้างทีก่ าำ เนิดจากเทวฤทธิ์ ของพระพรหม) จำานวน 10 หมู่ ได้แก่ ฉัททันต์ อุโบสถ เหมหัตถี มงคลหัตถี คันธหัตถี ปิงคัล ดามพหัตถี ปั ณ ฑรนาเคนทร์ คั ง ไคย กาฬวกะหั ต ถี และ สัตว์ผสมอีก 4 กลุ่ม ประกอบด้วยกรินทร์ปักษา (ช้างผสมนก) วารีกุญชร-กุญชรวารี (ช้างผสม ปลา) สิงหกุญชร (ช้างผสมสิงห์) และพญานาค หัวช้าง (ช้างผสมพญานาค) ซึง่ เป็นสัตว์ผสมทีค่ ดิ ขึน้ ใหม่ ช้างแต่ละเชือกอยู่ในท่านอน ลุก นั่งไม่ซำ้ากัน ความโดดเด่นคือการออกแบบให้เป็นศิลปะ ร่วมสมัยประจำารัชกาลที่ 9 โดยนำาลักษณะของ “งาอ้อมจักรวาล” ของพระเศวตอดุลยเดชพาหนซึ่ง เป็นช้างเผือกประจำารัชกาลที่ 9 มาใส่ในหมวดของ “อุโบสถ” ช้างทัง้ 30 เชือก ทำาจากไฟเบอร์กลาส รับ ผิดชอบงานปั้นโดย วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ส่วนสัตว์หิมพานต์ที่เป็นสิงห์ ม้า และโค มี จำานวนรวมกว่า 150 ชิ้น ในสระอโนดาตทิศตะวัน ออก ตะวันตก และทิศใต้ ตามลำาดับนั้น รับผิด ชอบโดยคณะช่างปั้นปูนสด จ.เพชรบุรี นำาโดยนาย สมชาย บุญประเสริฐ ช่างปั้นจังหวัดเพชรบุรี โดย สิงห์ 4 ตระกูล ได้แก่ ไกรสรราชสีห์ บันฑุราชสีห์ ติณสีหะ และกาฬสีหะ ส่วนม้า 4 ตระกูล ประกอบ ด้วย วลาหก อัสสาชาไนย สินธพ และอัศดร และ

โค 8 ตระกูล ได้แก่ โคอุสุภราช โคกระบิน โคหา โคหงส์ โคสีเมฆ โคสีทองแดง โคมีลายดุจเกล็ดปลา โคสีดังเสี้ยนโตนด นอกจากนี้ มีสตั ว์หมิ พานต์ทเี่ ป็นสัตว์ผสมเพิม่ อีก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกินรี กินนร นรสิงห์, กลุ่ม หงส์, กลุ่มนกทัณฑิมา หัสดีลิงค์ วายุภักดิ์ การวิก และกลุ่มนาค นาคปักษิณ สุบรรณเหรา เหราพต ตลอดจนมีลิง สิงหพานร พานร มฤค มัจฉานุ สาง แปลง นกยูง นรเหรา ปลานิล ปลาในวรรณคดี ทั้งหมดปั้นปูนปลาสเตอร์ 13. ครุฑประดับหัวเส� จำ า นวน 12 ชิ้ น มี ความพิ เ ศษกว่ า ทุ กพระ เมรุที่ผ่านมา ที่โคมไฟเป็นหงส์ แต่ครั้งนี้เป็นครุฑ เพราะต้องการสื่อว่าในหลวง รัชกาลที่ 9 คือพระ นารายณ์อวตารลงมา และมีครุฑเป็นพาหนะ โดย นายสมชาย ศุภลักษณ์อำาไพพร นายช่างศิลปกรรม อาวุโส ออกแบบลายเส้นครุฑยุดนาค โดยศึกษา ค้นคว้าข้อมูลงานประติมากรรมสมัยโบราณ โดยครุฑหัวเสามี 2 ขนาด ความสูง 1.75 เมตร จำานวน 4 ชิ้น ประดับอยู่ชั้นที่ 3 และขนาด 1.5 เมตร จำานวน 8 ชิ้น ประดับอยู่ชั้นที่ 2 และ บางส่วนทีพ่ ระทีน่ งั่ ทรงธรรม ครุฑอยูใ่ นอิรยิ าบถกาง

แขน มือทั้งสองข้างจับนาค โดยครุฑความสูง 1.75 เมตร ปั้นโดยนายภราดร เชิดชู ประติมากรชำานาญ การพิเศษ และขนาด 1.5 เมตร ปั้นโดยนายภคคีตา แก้วกัญญา นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน 14. คุณทองแดง-คุณโจโฉค�บไปป์ สุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาลที่ 9 คุณทองแดง และ คุณโจโฉ อยู่ในอิริยาบถนั่งขนาบด้านซ้าย และด้าน ขวาของพระจิตกาธาน “คุณทองแดง” เป็นสุนัขเพศ เมีย พันธุ์ไทย งานประติมากรรมจึงมีลักษณะเชิง สัญลักษณ์ หรืออุดมคติ มีลักษณะนุ่มนวล เพื่อสื่อ ถึงความเป็นไทย ขณะที่ “คุณโจโฉ” เป็นสุนัขเพศ ผู้ พันธุ์เทศ งานประติมากรรมจึงมีลักษณะของ ศิลปะตะวันตก มีความเป็นธรรมชาติ ตรงไปตรงมา คุณโจโฉมีลกั ษณะเด่นตรงทีค่ าบไปป์ ทัง้ คุณทองแดง และคุณโจโฉ ปั้นโดยนายชิน ประสงค์ ข้าราชการ บำานาญ อดีตผู้อำานวยการส่วนประติมากรรม

คุณทองแดง (ขว�) - คุณโจโฉค�บไปป์ (ซ้�ย) สุนัขทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ประดับอยู่ด้านข้างของพระจิตกาธานภายใน พระเมรุมาศองค์ประธาน



ต้นแบบปูนปลาสเตอร์คุณทองแดง และต้นแบบดินเหนียวคุณโจโฉ สุนัข ทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ประดับอยู่ด้านข้าง ของพระจิตกาธานภายในพระเมรุมาศ องค์ประธาน ปั้นโดยนายชิน ประสงค์


03 พระจิตก�ธ�น “พระจิตก�ธ�น” ใช้สำาหรับประดิษฐานหีบ พระบรมศพจันทน์ และพระโกศจันทน์ ออกแบบโดย นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม สำานัก สถาปัตยกรรม รูปแบบของพระจิตกาธานในครั้งนี้ ยึดตามโบราณราชประเพณี โดยจัดสร้างตามรูปแบบ พระจิตกาธานในพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรม ศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ 6 ทรงบุษบกชั้นเรือนยอด 9 ชั้น แต่มีขนาดใหญ่ กว่า มีความสูง 10.825 เมตร ยาว 5.52 เมตร กว้าง 4.02 เมตร ตามขนาดของพระเมรุมาศของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่วนโครงสร้างพระจิตกาธาน ทำาด้วยไม้สกั แกะ สลักลายปิดทองล้วงสี หรือการปิดทองหน้าลาย ซึ่ง เป็นเทคนิคโบราณ ข้างลายใช้สีครีมงาช้างเพื่อให้ กลมกลืนกับสีหีบพระบรมศพจันทน์ และพระโกศ จันทน์ ชั้นบนสุดประดับ “ยอดพรหมพักตร์” แกะ จากไม้จันทน์ มีความหมายถึงพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ส่วนฐานของ พระจิตกาธานเป็นลายฐานสิงห์ แสดงถึงฐานานุศกั ดิ์ ลายบัวเชิงบาตร แกะลายให้เป็นลักษณะกลีบดอกบัว ส่วนฐานจะย่อไม้ ย่อมุม มีความโค้งให้ความรู้สึก นิ่มนวล สะท้อนพระจริยวัตรอันงดงามของในหลวง รัชกาลที่ 9 เครื่องสดประดับพระจิตก�ธ�น

Royal Funeral Pyre - 040

“เครื่องสดประดับพระจิตก�ธ�น” ในพระ ราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ซึง่ กองศิลปกรรม สำานักพระราชวัง ได้มอบหมายให้นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นักจัดการงานในพระองค์ชำานาญการ สำานักพระราชวัง และอาจารย์โรงเรียนช่างฝีมอื ในวัง ชาย ผู้ดูแลการจัดทำา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดโอกาสให้ตัวแทน ช่างฝีมือเครื่องสด ช่างแทงหยวก 4 ภูมิภาค เข้า ร่วมถวายงาน ประกอบด้วย ช่างราชสำานัก สำานัก พระราชวัง ช่างแทงหยวกสกุลช่างฝั่งธนบุรี (วัด อัปสรสวรรค์) ช่างแทงหยวกสกุลช่าง จ.สงขลา ช่างแทงหยวกสกุลช่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี จ.มหาสารคาม ช่างแทงหยวกสกุล ช่าง จ.เพชรบุรี และตัวแทนช่างฝีมือจัดทำาเครื่องสด ประดับพระจิตกาธานจากสถาบันอาชีวศึกษาจาก 4 ภูมิภาค ร่วมถวายงาน โดยหลังคาชั้นเรือนยอดจะประดับด้วยเครื่อง สด ได้แก่ งานช่างแทงหยวก งานแกะสลักของอ่อน และงานช่างประดิษฐ์ดอกไม้ รูปแบบการตกแต่ง หลังคาเรือนยอดพระจิตกาธาน ประดับด้วย การ ร้อยกรองดอกไม้สดเป็นตาข่ายทุกชั้น ขอบปิดด้วย ลวดลายแทงหยวก เรียกว่า “รัดเกล้า” สาบลาย ช่องกระจกด้วยกระดาษทองอังกฤษ ประดับลวดลาย ดอกประจำายามทีท่ าำ จากเปลือกมะละกอดิบ ซ้อนชัน้

เป็นดอกดวง ทีม่ มุ ชัน้ ของเรือนยอดแต่ละชัน้ ประดับ ด้วย กระจังทิศ กระจังเจิม ประดิษฐ์จากกาบกล้วย ตานี สาบกระดาษทองอังกฤษ ด้านบนประดับประดา ด้วยดอกไม้ไหวที่ประดิษฐ์เป็นดอกปาริชาต ปัก ประดับเว้นระยะห่างกัน เพื่ อ ถวายพระเกี ย รติ สู ง สุ ด การจั ด ทำ า พระ จิตกาธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 จะแตกต่างจาก พระจิตกาธานที่ผ่านมา คือจัดทำาเทวดาชั้นพรหม วรรณะสีขาวนวลนั่งคุกเข่า พระหัตถ์ทรงถือพระ ขรรค์ ประดับหน้าเสาชั้นเรือนไฟ จำานวน 8 องค์ เพื่อเฝ้าพิทักษ์รักษา ในวาระที่เสด็จสู่สรวงสรรค์ พระจิตกาธานยังประดับด้วย “ดอกปาริชาต” จำานวน 70 ดอก เท่ากับ 70 ปี ที่ทรงเสด็จขึ้น ครองราชย์ ประดับรอบชั้นรัดเอว ที่ประดิษฐาน พระโกศจันทน์ 16 ดอก หมายถึง สวรรค์ 16 ชั้น ในรูปลักษณ์ความหมายของไตรภูมิ ส่วนที่เหลือ ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ไหว ดอกไม้เฟื่อง ออกนามว่า ดอกปาริชาตเช่นกัน เหมือนดอกไม้ที่ร่วงลงมาจาก สรวงสรรค์ ซึ่งในตำานานเป็นดอกไม้บนสรวงสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ การประดิษฐ์ดอกปาริชาตจะใช้ดอกสีเหลือง สีประจำาวันพระราชสมภพ และสีชมพูอมม่วง หรือ ชมพูอมแดง สีกำาลังวันของรัชกาลที่ 9 ผนวกเป็นสี ยืนพืน้ ในส่วนของเกสรใช้เมล็ดธัญพืช คือ เมล็ดข้าว พันธุ์หอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ประเทศไทย และเป็นข้าวพันธุ์หอมมะลิที่ดีที่สุด เมล็ดข้าวโพดจาก จ.เพชรบูรณ์ จ.เชียงใหม่ และ จ.กาญจนบุรี ถัว่ เขียว ถัว่ แดง จากเกษตรกรเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา และถัว่ ทอง ใจกลางของดอกปาริชาต เกสรชัน้ ในสุด ประดิษฐ์จากพลอยนพรัตน์ ประกอบ ด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน ไพลิน มุกดาหาร เพทาย และไพฑูรย์ จาก จ.จันทรบุรี สำาหรับกล้วยที่ใช้แทงหยวก ใช้ต้นกล้วยตานี ตามโบราณราชประเพณี จำานวน 55 ต้น เพราะ มีลำาต้นใหญ่ ยาวตรงเสมอ กาบกล้วยชั้นในสีขาว นวล อมนำ้าดี ใบตองสีเขียว การประดับดอกดวงจะ

ประดิษฐ์ด้วยการใช้พิมพ์ทองเหลือง แกะลวดลาย ในลวดลายต่างๆ อาทิ ลายใบเทศ ดอกประจำายาม ฯลฯ ส่วนดอกไม้สดจะเน้นดอกรัก ดอกมะลิ และ กลีบดอกกล้วยไม้ย้อมสีจำาปา และดอกบานไม่รู้โรย ย้อมสีกรองกลีบเป็นสีชมพูอมแดง

04 จิตรกรรม ภ�พเขียนจิตรกรรมฉ�กบังเพลิง “ฉ�กบั ง เพลิ ง ” เป็ น เครื่ อ งกั้ น ทางขึ้ น ลง พระเมรุมาศ มักเขียนเป็นรูปเทวดา มีลักษณะเป็น ฉากพับได้ ติดไว้กับเสาทั้ง 4 ด้าน บริเวณบันได ขึ้ น ลงพระเมรุ ม าศ เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ห็ น การถวาย พระเพลิงพระบรมศพ และใช้บังลม โดยในส่วนของ พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ฉากบังเพลิง ประกอบด้วย 4 ด้าน ล้อมรอบพระจิตกาธาน ด้านหน้า และด้าน หลังเขียนภาพจิตรกรรมที่แตกต่างกัน แนวคิดการ ออกแบบพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ยึดคติความเชื่อ ตามหลักเทวนิยมทีว่ า่ พระมหากษัตริยค์ อื สมมติเทพ ซึง่ อวตารมาจากพระนารายณ์ ด้วยเหตุน้ี การออกแบบ ฉากบังเพลิงจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ “พระนารายณ์ อวตาร 9 ปาง” โดยปางที่ 9 คือ ในหลวง รัชกาล ที่ 9 ที่ทรงประทับอยู่ในพระบรมโกศ ส่วนพระนารายณ์อวตาร 8 ปาง ที่ปรากฏบน ฉากบังเพลิง จะเป็นเรื่องราวพระนารายณ์อวตาร ฉบับพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 6 ดังนี้ ทิศเหนือ ปางที่ 1 มัสยาอวตาร (ปลากรายทอง) ปางที่ 2 กูรมาวตาร (เต่า) ทิศตะวันออก ปางที่ 3 วราหาวตาร (หมูป่า) ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร (นรสิงห์) ทิศใต้ ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร (พราหมณ์ปรศุราม หรือ ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ) ปางที่ 7 รามาวตาร (พระราม ในรามเกียรติ์) ทิศตะวันตก ปางที่ 8 กฤษณาวตาร (พระกฤษณะ) ปางที่ 10 กัลกยาวตาร (มนุษย์ ขี่ม้าขาว) ความพิเศษอีกอย่างคือ การอัญเชิญโครงการ อันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริ ทีค่ ดั สรรโครงการเด่นๆ 24 โครงการจากกว่า 4,000 โครงการ มาถ่ายทอด บนฉากบังเพลิง ตามหมวดดิน นำ้า ลม ไฟ โดย ทิศเหนือ หมวดนำ้า ทิศตะวันออก หมวดดิน ทิศ ใต้ หมวดไฟ และทิศตะวันตก หมวดลม โดยมีราย ละเอียด ดังนี้ ด้ � นทิ ศ เหนื อ ประกอบด้ ว ย โครงการอั น เนื่องมาจากพระราชดำาริในหมวดนำ้า 6 โครงการ ได้ แ ก่ ฝนหลวงแก้ ปั ญ หาความแห้ ง แล้ ง ในภาค อีสาน เลือกพื้นที่วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฝาย ต้นนำ้า เพื่อชะลอนำ้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บนำ้า เขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์ เพื่อเก็บกักนำ้าไว้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนนำ้า โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มนำ้าปากพนังอันเนื่องมาจาก พระราชดำาริ กังหันนำ้าชัยพัฒนา เครื่องกลเติม อากาศบำาบัดนำ้าเสีย


ด้ � นทิ ศ ตะวั น ออก โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชดำ า ริ ใ น หมวดดิน 6 โครงการ ได้แก่ ดินกรวด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ฮ่องไคร้ ดินเค็ม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ดินทราย ศูนย์ ศึ ก ษาการพัฒ นาเขาหินซ้อน และโครงการหุ บกะพง-ดอนห้ ว ยขุ น ดินดานลูกรัง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ดินพรุ ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาพิกุลทอง ดินเปรี้ยว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ด้�นทิศใต้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริในหมวดไฟ 6 โครงการ ได้แก่ สบูด่ าำ ปลูกเพือ่ สกัดนำา้ มัน สามารถใช้แทนนำา้ มันดีเซล ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน โรงงาน ผลิตไบโอดีเซล ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาพิกลุ ทอง เชือ้ เพลิงอัดแท่ง แกลบ อัดแท่ง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ก๊าซชีวภาพ โครงการส่วน พระองค์สวนจิตรลดา พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ ไฟฟ้าสำาหรับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณดาวเทียม ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้ กังหันนำ้าผลิตไฟฟ้าที่ประตูนำ้าคลองลัดโพธิ์ ด้�นทิศตะวันตก โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริในหมวดลม 6 โครงการ ได้แก่ กังหันลม โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำาริ บ้าน หนองคอไก่ จ.เพชรบุรี เพื่อการผันนำ้าจากที่ตำ่าชักนำ้าขึ้นที่สูง กังหัน ลม โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำาริดอยม่อนล้าน จ.เชียงใหม่ กังหันลม โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ผลิตไฟฟ้าด้วย พลังงานลมและกังหันลมสูบนำ้า ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลม ตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เป็นที่มาของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และบางกระเจ้า ปอดของกรุงเทพฯ พระราชดำาริพื้นที่บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุ ท รปราการ เป็ น พื้ น ที่ สี เ ขี ย วและเป็ น ปอด ของกรุงเทพฯ เนื่องจากลมมรสุมจากอ่าวไทยจะพัดเอาอากาศบริสุทธิ์ ที่ผลิตจากพื้นที่แห่งนี้เข้าฟอกอากาศเสียในกรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า ปีละ 9 เดือน นอกจากนี้ ยังมีภาพเขียนกลุ่มเทวดา ที่สื่อความหมายว่าเหล่า เทวดามารับเสด็จ ในวาระเสด็จสู่สวรรคาลัย ด้ า นหลั ง ของฉากบั ง เพลิ ง ทั้ ง 4 ด้ า น มี ล วดลายเหมื อ นกั น ทุ ก ด้าน แบ่งเป็น ด้านบน มีพ ระปรมาภิ ไ ธยย่ อ “ภปร” พร้ อม ดอกดาวเรื อ งสี เ หลื อ ง ซึ่ ง เป็ น สี ป ระจำ า วั น พระราชสมภพ แทรก กลางพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” รอบข้างเป็นอุบะดอกมณฑาทิพย์ เชื่อกันว่าเป็นดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ ที่ร่วงหล่นเฉพาะเกิดเหตุการณ์ สำาคัญแก่ชาวโลก ขนาบด้านซ้าย และขวา พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ด้วยพุม่ ต้นมณฑาทิพย์ทอง สือ่ ถึงการถวายสักการะแด่ในหลวง รัชกาล ที่ 9 ด้านล่างประกอบด้วยดอกไม้มงคล ความโดดเด่นของงานเขียนจิตรกรรมบนฉากบังเพลิง จะปิดด้วย ทองคำาเปลว โดยใช้วิธีโบราณที่ใช้ในการเขียนภาพฝาผนัง ใช้กาวจาก ยางไม้มะเดื่อ การปิดทองคำาเปลวจะปิดเฉพาะส่วนที่ต้องการเน้น หรือ

ส่วนที่โดดเด่น ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องทรง ชฎาของเทวดา และของ พระนารายณ์ และตัดเส้นด้วยทองคำาเปลว การเขียนภาพจิตรกรรมฉากบังเพลิง นับเป็นศิลปะรัชกาลที่ 9 มีนายมณเฑียร ชูเสือหึง จิตรกรเชี่ยวชาญ สำานักช่างสิบหมู่ กรม ศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ จิตรกรชำานาญ การพิเศษ สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ข้าราชการสำานักช่างสิบหมู่ และจิตอาสา เป็นผู้เขียนสี ภ�พเขียนจิตรกรรมฝ�ผนังพระที่นั่งทรงธรรม ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระทีน่ งั่ ทรงธรรม มีความพิเศษตรง ทีส่ ะท้อน “ศ�สตร์พระร�ช�” ผ่านโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำาริ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 จำานวน 46 โครงการ มีความสัมพันธ์กับการ จัดภูมิสถาปัตย์รอบนอก ที่สะท้อนถึงความเป็นนักคิดนักพัฒนาของ พระองค์ท่าน ทั้ง 3 ด้านของพระที่นั่งทรงธรรมแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริที่ไม่ซำ้ากัน โดยเรียงร้อยเรื่องราว ต่อเนื่องกันไปทั้งผนัง ผนังที่ 1 ตำาแหน่งกลางของพระที่นั่งทรงธรรม แสดงเรื่องราว โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำาริในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 19 โครงการ ผนังที่ 2 ตำาแหน่งมุขด้านขวาของพระที่นั่งทรงธรรม แสดงเรื่อง ราวโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริในพื้นที่ภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 13 โครงการ และผนังที่ 3 ตำาแหน่งมุขด้านซ้ายของพระที่นั่งทรงธรรม แสดง เรื่องราวโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ ในพื้นที่ภาคกลาง และ ภาคใต้ รวม 14 โครงการ ทั้งหมดออกแบบโดยนายมณเฑียร ชูเสือหึง จิตรกรเชี่ยวชาญ เขียนสีบนผ้าใบแคนวาสโดยข้าราชการสำานักช่างสิบหมู่ และจิตอาสา วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์


Royal Funeral Pyre - 042


05 ภูมิทัศน์ ภูมิสถ�ปัตยกรรม

Royal Funeral Pyre - 046

การวาง “ผั ง ที่ ตั้ ง ” และออกแบบ “ภู มิ สถ�ปัตยกรรม” พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 รับผิดชอบ โดยนายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำานัก สถาปัตยกรรม กรมศิลปากร จำาลองพระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ มีแนวคิด ของภูมจิ กั รวาล ภาพสวรรค์ และสวนแบบไทยๆ เพือ่ สื่อว่าเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุดในวาระเสด็จ กลับสู่สวรรค์ โดยภูมิสถาปัตยกรรมที่อยู่ลานรอบ ฐานพระเมรุมาศ เป็นการออกแบบโดยตีความจาก แผนภูมจิ กั รวาล เปรียบพระเมรุมาศกับเขาพระสุเมรุ

บริเวณรอบๆ เป็นจักรวาล ประกอบด้วย สัตบริภณ ั ฑ์ คีรี มหาสมุทร ทวีปทั้ง 4 ได้แก่ อุตรกุรทุ วีป อยู่ทาง เหนือของเขาพระสุเมรุ ปุพพวิเทหะ อยูท่ างตะวันออก ของเขาพระสุเมรุ ชมพูทวีป (โลก) อยู่ทางใต้ของ เขาพระสุเมรุ และอมรโคยาน อยู่ทางตะวันตกของ เขาพระสุเมรุ ลานรอบฐานพระเมรุมาศ มีบ่อนำ้า หรือสระอโนดาต มีป่าหิมพานต์ และสัตว์หิมพานต์ พื้นที่ด้านนอกรั้วราชวัติ ทางทิศเหนือเป็นทาง เข้าหลักของพระเมรุมาศ เป็นงานภูมสิ ถาปัตยกรรม ที่ แ สดงถึ ง พระราชกรณี ย กิ จ หรื อ งานโครงการ หลวงในพระราชดำาริของในหลวง รัชกาลที่ 9 เช่น โครงการพระราชดำาริที่เกี่ยวกับหญ้าแฝก ข้าว การ ขุดบ่อแก้มลิง กังหันชัยพัฒนา ฝายนำ้าล้น ต้นยาง นา ต้นมะม่วงมหาชนก ดอกหน้าวัวสีชมพู ในส่วน ของนาข้าว จะมีขอบคันนาซึง่ ออกแบบเชิงสัญลักษณ์

ให้เห็นเป็นเลขเก้าไทย (๙) สีดินทอง เป็นเชิง สัญลักษณ์สื่อว่าพระเมรุมาศสร้างขึ้นถวายให้กับ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ภู มิ ส ถาปั ต ยกรรมพระเมรุ ม าศในครั้ ง นี้ มี ความพิเศษตรงที่มี “นำ้า” เป็นองค์ประกอบหลัก การวางผังที่ตั้ง และการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม พระเมรุมาศครั้งนี้ คำานึงถึงนำ้าเป็นสำาคัญ สระอโนด�ต “สระอโนด�ต” รอบพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นงาน พระเมรุมาศครัง้ แรกทีส่ ร้างสระอโนดาต โดยการทำา สระจริง เป็นสระนำา้ สีมรกต ประดับตกแต่งด้วยสัตว์ หิมพานต์ประมาณ 200 ชิ้น แบ่งเป็นสัตว์ 4 ชนิด ตามไตรภูมิ คือ ช้างประจำาทิศเหนือ สิงห์ประจำาทิศ


ประดับสัญลักษณ์เลข ๙ 3.กระถางเก้าเหลี่ยม ขนาดกลางติดลายนูน 4.กระถางเก้าเหลี่ยมขนาด ใหญ่ 100 เซนติเมตร ประดับสัญลักษณ์เลข ๙ 5.กระถางเก้าเหลี่ยมลายคราม 6.กระถางทรงกลม ตามแบบกระถางในงานฉลอง 60 ปี แห่งการครอง ราชย์ 7.กระถางหูสิงห์ ประดับพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” และตราจักรี และ 8.กระถางเขามอ และมี ส่วนประกอบเพิ่มเติมคือกี๋ หรือฐานรอง “ลวดล�ย” ที่ประดับบนกระถาง เลือกใช้ “ดอกด�วเรือง” เนือ่ งจากมีสเี หลืองตรงกับสีวนั พระ ราชสมภพ สื่อถึงความเป็น “นิรันดร์” เพื่อสื่อถึง ความรักชั่วนิรันดร์ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีให้ พสกนิกร และความรักทีพ่ สกนิกรมีตอ่ พระองค์ทา่ น นอกจากนี้ ยังมีรูป “กระต่�ย” ประดับ 5 ตัว คือ ปีพระราชสมภพ และวันพระราชสมภพ ส่วน “กี๋” จะฉลุลวดลายเครื่องแขวนดอกไม้ สด ดอกมะลิ สื่อถึงความรักที่บริสุทธิ์ ผู้ออกแบบได้ แทรกลวดลายผ้าจกราชบุรี วัฒนธรรมพื้นถิ่น โดย เลือกใช้ลายมะลิเลือ้ ย ให้สอดรับกับลายเครือ่ งแขวน และยังนำาลายคลื่น ที่ได้แรงบันดาลใจจากพระราช นิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” มาแทรกไว้ในชั้นล่าง สุดของฐานกี๋ และกระถางบางรูปแบบ ลายคลื่นที่ แฝงอยู่หมายถึง ความเพียร ปัญหา และอุปสรรค ไม้ดอก ไม้ประดับตกแต่ง

ตะวันออก ม้าประจำาทิศตะวันตก และโคประจำาทิศ ใต้ รวมถึง ประดับด้วยโขดหินทีอ่ อกแบบให้เป็นโขด หินแบบไทยๆ ตามภาพจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากนี้ มีการขุดบ่อนำ้ามุมทแยงทั้ง 4 ด้าน ของพระเมรุมาศ เพื่อปลูกบัวหลวง และต้นไม้นำ้า โครงก�รพระร�ชดำ�ริ “โครงก�รพระร�ชดำ � ริ ” บริ เ วณโดยรอบ พระเมรุมาศ ยังถูกออกแบบภูมทิ ศั น์ทสี่ อื่ ถึงพระราช กรณียกิจของในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยจำาลองนาข้าว โครงการหญ้าแฝก ต้นยางนา บ่อนำา้ แก้มลิง ฝายนำา้ ล้น เครื่องดันนำ้า และกังหันชัยพัฒนา โดยพันธุ์ข้าว จะนำามาปลูกทางด้านทิศเหนือ ส่วนกังหันชัยพัฒนา จะติดตั้งในบ่อน้ำา จำานวน 3 ตัว นอกจากนี้ ยังมี

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริอื่นๆ กระถ�งเซร�มิก “กระถ�งเซร�มิก” ประดับพระเมรุมาศ กรม ศิลปากรมอบหมายให้นายวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ทายาทโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ ออกแบบ และ ผูกลาย โดยรูปทรงของกระถางจะเป็นทรง “เก้า เหลี่ยม” มีแนวคิดมาจากเหรียญ 5 บาทสมัยก่อน ที่เป็นเหรียญเก้าเหลี่ยม และมีต้นแบบจากกระถาง ที่รัชกาลที่ 5 ทรงซื้อจากอิตาลี กระถางเซรามิ กที่ ใ ช้ ป ระดั บในงานพระราช พิธีครั้งนี้มี 8 รูปแบบ ได้แก่ 1.กระถางเก้าเหลี่ยม ขนาดเล็ก (ทรงตรง) ประดับสัญลักษณ์เลข ๙ 2.กระถางเก้าเหลี่ยมขนาดกลาง 80 เซนติเมตร

การออกแบบ และตกแต่ง “ไม้ดอกไม้ประดับ” พระเมรุมาศ รับผิดชอบโดย “สวนนงนุช พัทยา” โดย นายกัมพล ตันสัจจา ผู้อำานวยการสวนนงนุช พัทยา ได้ศึกษาพันธุ์ไม้มงคล และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ ออกแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่ด้านในพระเมรุมาศ และอาคารประกอบต่างๆ รวมถึง ภูมิทัศน์เกี่ยวกับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริโดยสวนนงนุช พัทยา ได้จัดเตรียมไม้ใหญ่ เน้น “ต้นตะโก” 90 ต้น ประดับนอกรั้วราชวัติ ฝั่งตะวันออก รวมถึง พันธุ์ไม้ สำาคัญ ได้แก่ ต้นใบไม้สีทอง ต้นแก้ว ต้นแก้วแคระ หน้าวัวใบสีเหลือง หรือ “King of Kings” ดอกดาว เรือง ข่อยช่อ บอนไซ ต้นไทรเกาหลีแท่ง ต้นเข็ม เชียงใหม่ กล้วยไม้ดิน บัวสีเหลือง และสีขาว จะ เน้นพันธุ์ไม้ที่ให้ดอกสีเหลือง สีประจำารัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ ยังมีไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ “มูลนิธิ โครงการหลวง” ได้คัดเลือกไม้ดอกไม้ประดับเมือง หนาว 3 ชนิด ที่เหมาะกับสภาพอากาศร้อน ได้แก่ เบญจมาศ โซลิกแอสเทอร์ และเดเลีย โดยเบญจมาศ จะเป็นดอกไม้หลักในการประดับ นำามาจากศูนย์ พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก จำานวน 6 สายพันธุ์ รวมทั้ง โซลิกแอสเทอร์ ซึ่งที่มีลักษณะดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก เพื่อเสริมพระเมรุมาศให้สง่างาม ส่วน เดเลีย จะนำามาจากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ โดย ไม้ดอก ไม้ประดับทั้งหมด จะเน้นดอกสีเหลือง สื่อ ถึงวันพระราชสมภพ


06 ร�ชรถ ร�ชย�น ในพระร�ชพิธี ถว�ยพระเพลิงพระบรมศพ “ร�ชรถ ร�ชย�น” เป็นหนึง่ ในเครือ่ งประกอบ พระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และพระบรม วงศานุ ว งศ์ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ฐานานุ ศั ก ดิ์ ข องผู้ ใ ช้ การใช้ราชรถ ราชยานในราชสำานัก มีมาแต่ครั้ง โบราณกาล ปรากฏหลัก ฐานชัดเจนในสมัยกรุ ง ศรีอยุธยา และเป็นราชประเพณีสบื เนือ่ งต่อมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรด เกล้าฯ ให้สร้างราชรถขึ้นใหม่ 7 องค์ เพื่อใช้ในพระ ราชพิธีถวายพระเพลิงพระอัฐิ สมเด็จพระปฐมบรม มหาชนก เมื่อปี 2339 ประกอบด้วย พระมหาพิชัย ราชรถ พระเวชยันตราชรถ ราชรถน้อยทั้ง 3 องค์ และราชรถเชิญเครื่องหอม 2 องค์ ราชรถเหล่านี้ยัง คงใช้ในพระราชพิธีมาจนถึงปัจจุบัน โดยราชรถที่ใช้ในพระราชพิธีครั้งนี้ ประกอบ ด้วย พระมหาพิชัยราชรถ ราชรถน้อย 3 องค์ และราชรถปืนใหญ่ และราชยานที่ใช้ในพระราชพิธี ประกอบด้วย พระที่นั่งราเชนทรยาน พระมห�พิชัยร�ชรถ “พระมห�พิชัยร�ชรถ” มีลักษณะเป็นราช รถทรงบุษบก ทำาด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ใช้เพื่อ การอัญเชิญพระโกศพระอัฐสิ มเด็จพระปฐมบรมมหา ชนก (ทองดี) ออกพระเมรุ เมื่อปี 2339 ต่อมาใช้ อัญเชิญพระบรมโกศพระมหากษัตริย์ และพระโกศ พระบรมวงศ์จนถึงปัจจุบัน ร�ชรถน้อย 3 องค์ “ร�ชรถน้อย 3 องค์” มีลักษณะเป็นราชรถ ทรงบุษบก ขนาดเล็กกว่าพระมหาพิชัยราชรถ ทำา ด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกสร้างขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ในอดีตทำาหน้าที่เป็นรถพระนำา อ่านพระอภิธรรมนำาขบวน เรียกอย่างย่อว่า “รถสวด” ทำาหน้าที่โปรยข้าวตอก เรียกอย่างย่อว่า “รถโปรย” และสำาหรับโยงภูษาโยง จากพระบรมโกศ เรียกอย่าง ย่อว่า “รถโยง” Royal Funeral Pyre - 048

ร�ชรถปืนใหญ่ “ร�ชรถปืนใหญ่” จัดสร้างขึ้นใหม่โดยกรม สรรพาวุธ ทหารบก เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระโกศ พระบรมศพในหลวง รัชกาลที่ 9 ในการจัดสร้างใหม่ กรมสรรพาวุธได้ศึกษารูปแบบตามงานถวายพระ เพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปร เมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 โดยโครงสร้างราชรถปืนใหญ่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ราชรถปืนใหญ่ส่วนหลัง และราชรถปืน ใหญ่ส่วนหน้า มีคานบังคับสั้น เชือกชุดชัก 2 เส้น ด้านงานศิลปกรรม ประดับตกแต่ง ดำาเนินการโดย สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พระย�นม�ศส�มลำ�ค�น “พระย�นม�ศส�มลำ�ค�น” สำาหรับอัญเชิญ พระบรมโกศจากพระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาทใน พระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชยั ราชรถ ซึง่ จอดเทียบรออยูใ่ กล้พลับพลายกบริเวณทิศ ตะวันออกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งร�เชนทรย�น “พระที่นั่งร�เชนทรย�น” มีลักษณะเป็นทรง บุษบก ทำาด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจก สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ใช้ในเวลาพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำาเนินโดยขบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียก ว่า “กระบวนพยุหยาตราสี่สาย” นอกจากนี้ ยังใช้ใน การอัญเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิของพระมหา กษัตริย์ หรือพระโกศพระอัฐิ ของพระบรมวงศานุ วงศ์จากพระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง พระร�เชนทรย�นน้อยองค์ใหม่ “พระร�เชนทรย�นน้อยองค์ใหม่” ในงาน พระราชพิ ธี ค รั้ ง นี้ จั ด สร้ า งโดยสำ า นั ก ช่ า งสิ บ หมู่ กรมศิลปากร เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระบรมราช สรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช จากพระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธีท้อง สนามหลวงไปยังพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่น่งั ราชยานทรงบุษบก สร้างด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจกทั้งองค์ พระเสลี่ยงกลีบบัว “พระเสลี่ ย งกลี บ บั ว ” เป็ น พระราชยาน สำ าหรั บสมเด็จ พระสัง ฆราช หรือ พระราชาคณะ นั่งอ่านพระอภิธรรมนำาพระโกศพระบรมศพ พระ ศพ จากพระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาทออกจาก พระบรมมหาราชวัง ไปยังพระมหาพิชัยราชรถที่วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม และนำาขบวนพระราช อิสริยยศ พระอิสริยยศ เมื่อเชิญพระโกศพระบรม ศพ พระศพ เวียนรอบพระเมรุ สร้างด้วยไม้ปิดทอง ประดับกระจกทัง้ องค์ มีคานหาม 2 คาน ลำาคานเป็น

ไม้กลมกลึงทาสีแดง ปลายกลึงเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ มีรูปทรงกลม หรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียวขึ้น ไป หัวเม็ดเสาเกย ปิดทองประดับกระจก ลำาคานทำา ด้วยไม้กลึงกลมทาสีแดงเรียบ ปลายคานประดับหัว เม็ดปิดทองประดับกระจก แท่นพระเสลี่ยง มีลักษณะเป็นฐานสิงห์บัวลูก แก้ว หน้ากระดานล่างปิดทองเรียบ เหนือเส้นลวด ประดับกระจังตาอ้อย ปิดทองประดับกระจก บัว อกไก่แกะสลักลายรักร้อย ปิดทองประดับกระจก ขอบลูกแก้วประดับกระจังฟันปลา ปิดทองทั้งด้าน บน และด้านล่าง ท้องไม้ทาสีแดงเรียบ ลวดลายบัว ประดับกระจังฟันปลาปิดทอง บัวหงายแกะสลักลาย บัวรวนปิดทองประดับกระจกซ้อนเส้นลวดเดินเส้น ทอง หน้ากระดานบนประดับลายประจำายามก้ามปู ประดับเส้นลวดเดินเส้นทอง เหนือหน้ากระดาน บนประดับกระจังตาอ้อยซ้อนลายกลีบบัว ปิดทอง ประดับกระจก 3 ด้าน ขอบบนเหนือลายกลีบบัวทำา เป็นราวพนักพิงกลม ติดซี่ลูกกรงโปร่งปิดทองเรียบ ประดับกระจังปฏิญาณใหญ่รูปกลีบบัว ด้านนอกปิด ทองประดับกระจก ส่วนด้านในปิดทองเรียบ 3 ด้าน พนักพิงหลังซึ่งซ้อนอยู่ในกระจังปฏิญาณ ด้านหน้า ปิดทองเรียบ ด้านหลังแกะสลักลายปิดทองประดับ กระจก


พระเสลี่ยงแว่นฟ้� “พระเสลีย่ งแว่นฟ้�” เป็นพระราชยานขนาดเล็ก สำาหรับอัญเชิญ พระลองในพระบรมศพ พระศพ ลงจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไป ยังเกยเทียบพระยานมาศสามลำาคานที่นอกกำาแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาทด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นฐานแท่นไม้สี่เหลี่ยมสลัก ลาย ปิดทองประดับกระจกทัง้ องค์ ตัวแท่นฐานเป็นฐานสิงห์ปากบัว หน้า กระดานล่างลงรักปิดทอง ประดับกระจกลายดอกประจำายาม ฐานสิงห์ ปิดทองประดับกระจก บัวหลังสิงห์ปิดทองประดับกระจก เส้นลวดเดิน เส้นทองซ้อนประดับด้วยลายเม็ดประคำา พื้นพระเสลี่ยงลาดด้วยพรมสี แดง ทั้ง 4 มุมติดห่วงเหล็กทาสีแดง คานหามทั้ง 2 คานทาสีแดงเรียบ ปลายคานเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองเรียบ

ผ้�ม่�นพระมห�พิชัยร�ชรถ-ผ้�ม่�นร�ชรถ 3 องค์ ในการบูรณะปฏิสงั ขรณ์ราชรถราชยาน และเครือ่ งประกอบ ในงานพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้ ดำาเนินการจัดทำาผ้าม่านพระมหาพิชัยราชรถใหม่ทั้งหมด จำานวน 4 ผืน ออกแบบโดยนายนภดล แกล้วทนงค์ นายช่างศิลปกรรม สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ใช้ลวดลายเทพนม เพื่อเป็นการ ถวายพระเกียรติสงู สุด ขอบผ้าม่านใช้ลายฟักก้ามปู สำาหรับผ้าม่าน พระมหาพิชยั ราชรถถือว่ามีขนาดใหญ่ ทุกผืนมีความยาวประมาณ 3 เมตร กว้าง 1.20 เมตร ปิดทองประดับกระจก ปิดทองคำาเปลว 100 % ทั้งผืนและประดับกระจกด้านหลัง จากนั้นเย็บผ้าโดยใช้ ไหมโลหะปักเพิ่มความสวยงามยิ่งขึ้นเมื่ออยู่กับสีทอง ส่วนผ้าม่านประดับบุษบกพระทีน่ ง่ั ราเชนทรยาน พระราเชนทร ยานน้อย และราชรถน้อย องค์ละ 4 ผืน รวมทั้งสิ้น 12 ผืน นั้น กรมศิลปากร มอบหมายให้ กลุ่มผ้าทอยกทองจันทร์โสมา จ.สุรินทร์ ดำาเนินการ มีขนาดความกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 1.30 เมตร ความโดดเด่นของผ้าม่านราชรถดังกล่าวเป็นผ้าตาด ทองแท้ ทอด้วยเส้นไหมสีเหลืองย้อมจากเปลือกลูกทับทิมกับเส้น เงินแล่งเส้นเล็กๆ ทำาให้เกิดแสงระยิบระยับ ทอเป็นลายโคมผ้าหรือ ลายตาตัก๊ แตน นับเป็นการฟืน้ ฟูการทำาผ้าตาดทองงดงามดัง่ สมัย โบราณเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีพระบรมศพ ร.9


จุก 2 ชั้น แต่ละชั้นมีดอกไม้ทิศ และบนสุดเป็นปลี ยอด ส่วนปากพระโกศจันทน์ ประดับด้วยเฟื่องอุบะ และพู่ไม้จันทน์ ห้อยสลับกันไปรอบ หีบพระบรมศพจันทน์

07 พระบรมโกศ พระโกศจันทน์ Royal Funeral Pyre - 052

“พระโกศจันทน์” ออกแบบ และจัดสร้างโดย นายสมชาย ศุภลักษณ์อำาไพพร นายช่างศิลปกรรม อาวุโส สำานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พระโกศ จันทน์ ประกอบด้วย ฝา ตัวพระโกศ และฐานพระ โกศ ตัวพระโกศจันทน์ สร้างขึ้นโดยล้อตามพระ โกศทองใหญ่ มีพระลองในอยู่ด้านใน ถือเป็นเครื่อง แสดงถึงพระเกียรติยศสูงสุด จะถูกใช้อัญเชิญพระ

โกศพระบรมศพประดิษฐานยังพระจิตกาธานภายใน พระเมรุมาศ การออกแบบยึดหลักคติความเชื่อว่า พระมหากษัตริยค์ อื เทพเจ้า หรือพระราม ทีอ่ วตารมา จากพระนารายณ์ โดยมีพาหนะคือครุฑ ลวดลายของ พระโกศจันทน์จงึ ออกแบบเป็นลายบัวกลีบขนุน จาก เดิมที่เป็นลายใบเทศ มีเทพนมอยู่ตรงกลาง ประดับ อยู่รอบพระโกศจันทน์แปดเหลี่ยม ยอดพระโกศ จันทน์ทำาเป็นยอดมงกุฎเตี้ย ล้อตามพระลองใน ฝาพระโกศจันทน์ ฉลุลายดอกไม้ไหวต่อก้าน ตรงมาลัยทองจะมีดอกไม้ทิศ แบ่งเป็น 8 ทิศ ถัด จากดอกไม้ทศิ ตามชัน้ ยอดเชิงบาตรปักด้วยดอกไม้ ไหว 3 ชั้น ลดขนาดไปเรื่อยๆ ถัดขึ้นไปเป็นเกี้ยวรัด

“หีบพระบรมศพจันทน์” หรือ “ฐ�นพระ โกศจันทน์” เป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติอย่างหนึ่ง สำาหรับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ถูกออกแบบ และรังสรรค์อย่าง งดงามโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อำาไพพร นายช่าง ศิลปกรรมอาวุโส โดยหีบพระบรมศพจันทน์ จะ ประดิษฐานเหนือพระจิตกาธานในพระเมรุมาศ คูก่ บั พระโกศจันทน์ทจี่ ะประดิษฐานอยูเ่ หนือหีบพระบรม ศพจันทน์อีกชั้น ลวดลายบนหีบพระบรมศพจันทน์สื่อถึงความ เป็นไทย ได้แก่ ลายเครือเถา ลายหน้ากระดาน ลาย กระจัง ลายบัวถลา รวมถึง ลายเครือเถาครุฑ ที่สื่อ ถึงรัชกาลที่ 9 ประดับรอบหีบพระบรมศพจันทน์ จำานวน 132 องค์ ซึง่ ครุฑแต่ละองค์ประกอบด้วยชิน้ ส่วน 53 ชิน้ การประกอบองค์ครุฑ รวมทัง้ ลวดลาย ต่างๆ จะนำางานไม้ที่ฉลุแต่ละส่วนมาประกอบซ้อน กันเป็นชั้นๆ เพื่อให้เห็นลวดลายชัดเจน มีมิติ และ เกิดความงดงาม หีบพระบรมศพจันทน์ยังประกอบด้วยงานฉลุ ลายอื่นๆ อาทิ อุบะ ช่อไม้ไหว เฟื่อง รวมถึง พุ่มข้าว บิณฑ์ ประดิษฐานอยูเ่ หนือฝาหีบพระบรมศพจันทน์ พระโกศพระบรมอัฐ ิ / พระโกศทองคำ�ลงย� “พระโกศพระบรมอัฐิ” ในครั้งนี้ มีทั้งหมด 6 องค์ 4 แบบ ประกอบด้วย พระโกศทองคำาลงยา ประดับรัตนชาติทรงพระบรมอัฐเิ ก้าเหลีย่ ม หรือพระ โกศองค์หลัก สำาหรับประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรี มหาปราสาท และพระโกศแปดเหลี่ยมอีก 5 องค์ สำาหรับทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั สมเด็จ พระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์


อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราช กัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยพระโกศพระบรมอั ฐิ สำ า หรั บ ทู ล เกล้ า ฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 สถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา เป็นผู้รับ ผิดชอบจัดสร้าง ภายใต้การควบคุมของนายสมชาย ศุภลักษณ์อำาไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส ส่วน อีก 5 องค์ สำานักช่างสิบหมู่รับผิดชอบควบคุมทุก ขั้นตอน ออกแบบโดยนายช่าง 3 คน พระโกศพระบรมอั ฐิ อ งค์ ห ลั ก ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่นำาไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรี มหาปราสาท ออกแบบโดยนายอำาพล สัมมาวุฒ ธิ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ เป็นพระโกศเก้า เหลี่ยมตลอดองค์เป็นครั้งแรก เพื่อให้สอดรับกับ สถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ 9 ยอด มีแนวคิดสื่อ ถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระบรมราโชวาทของ พระองค์ หรือ 9 คำาสอนพ่อ โดยเฉพาะปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ทีพ่ ระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ลักษณะโดยรวมของพระโกศองค์นี้ ประกอบ ด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐาน สิงห์ ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานล่าง ประดับด้วย ลายประจำายามก้ามปู เหนือขึ้นมาเป็นลายแข้งสิงห์ ประดับด้วยกาบแข้งสิงห์ ปากสิงห์ พื้นลายลงยาสี แดงทำาเป็นลายก้านขดใบเทศ 9 ด้าน เหนือลายแข้ง สิงห์เป็นลายบัวหลังสิงห์ เหนือจากฐานสิงห์ประกอบ ด้วยฐานบัวเชิงบาตรซ้อน 2 ชัน้ ถัดขึน้ มาเป็นลายบัว หงายรับหน้ากระดาน ส่วนฐานประกอบด้วยลายท้อง ไม้ ลายกลับบัวหงาย ลายเกสรบัว ประดับรัตนชาติ โดยลวดลายส่ ว นฐานตามแบบพระราชประเพณี แสดงโครงสร้างใช้สำาหรับตั้งสิ่งที่สำาคัญ ควรเคารพ และบ่งบอกฐานานุศักดิ์พระมหากษัตริย์ ส่วนองค์พระโกศเป็นลายกลีบบัวจงกลซ้อน ขึ้นไปหาปากพระโกศ จำานวน 4 ชั้น ตรงกลางเป็น พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” เมือ่ นำาไปประดิษฐานบน พระวิมานพระบรมอัฐิในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะหันด้านนี้ออก โดยพระปรมาภิไธยย่อวางบน รัตนชาติ ส่วนฝาพระโกศทำาเป็นยอดทรงมงกุฎเกีย้ ว มาลัยทองเรียงลำาดับขึ้นไปตั้งแต่ชั้นที่ 1, 2, 3 และ 4 เรียกว่า “ทรงจอมแห” ส่วนยอดพระโกศสร้าง 2 แบบ ได้แก่ แบบพุ่มข้าวบิณฑ์ ทำาด้วยเงินบริสุทธิ์ ประดับเพชร และแบบสุวรรณฉัตร ฉัตร 9 ชั้น ทำา ด้วยทองคำาลงยาประดับเพชร สำาหรับเครื่องประดับ พระโกศ ทำาด้วยเงินประดับด้วยเพชร อย่างดอกไม้ เอว ดอกไม้ไหว หรือดอกไม้เพชร เฟื่องอุบะ และ ดอกไม้ทิศ มีขนาดลดหลั่นกันตามความเหมาะสม ยอดพระโกศสร้างเป็นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หรื อ ฉั ต ร 9 ชั้ น เป็ น ฉั ต รทองประดั บ ลวดลาย กรวยเชิง ประดับเพชรที่มีกระจังเข็มขัดล้อม ใช้ อั ญ เชิ ญ พระโกศพระบรมอั ฐิ จ ากพระเมรุ ม าศ เข้ า พระบรมมหาราชวั ง กระทั่ ง เก็ บ รั ก ษาไว้ บ น

พระวิมานพระบรมอัฐิ จะถอดเปลี่ยนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ นอกจาก พระโกศทองคำาลงยาแล้ว ยังมีพระโกศศิลา และฐานไม้กลึงแกะสลัก ลงรักปิดทองสำาหรับรองรับยอดพระโกศเมื่อถอดผลัดเปลี่ยนในงาน ราชพิธี พระโกศทองคำาลงยาองค์นี้ ขนาดฐานกว้าง 20 เซนติเมตร วัดจาก ฐานถึงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ สูง 80 เซนติเมตร วัดจากฐานถึงยอดฉัตร สูง 99 เซนติเมตร รัตนชาติทใ่ี ช้ประดับพระโกศเป็นเพชรเจียระไนสีขาว มีขนาดเล็ก และใหญ่ตามความเหมาะสม รวม 5,368 เม็ด ส่วนยาสี ที่ใช้ตกแต่งพระโกศมี 3 สี ได้แก่ สีเหลือง สีประจำาวันพระราชสมภพ สีแดง สีแห่งความเข้มแข็ง การหลอมรวมดวงใจของคนในชาติ และสี เขียว สีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของประเทศ สำาหรับพระโกศทองคำาลงยาแปดเหลี่ยม ที่ออกแบบโดยนาย สมชาย ศุภลักษณ์อำาไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส จะมีขนาดเล็ก กว่าพระโกศลงยาที่เป็นพระโกศองค์หลัก โดยใช้แนวคิดเดียวกับการ ออกแบบพระโกศจันทน์ คือพระนารายณ์ทรงครุฑ โดยองค์พระโกศมีบวั กลีบขนุนหุ้มอยู่โดยรอบ 8 เหลี่ยม ใจกลางเป็นเทพยดาพนมมือ ด้าน ล่างมีครุฑยุดนาคหน้าอัดยืนรายอยู่ตามท้องไม้ที่ฐาน ส่วนสีที่ใช้ลงยา ได้แก่ สีขาว สีชมพู สีเขียว สีเหลือง เป็นหลัก แซมด้วยสีนำ้าเงิน โดยสี เหลือง และขาว สือ่ ถึงวันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือวัน จันทร์ สีเขียว เป็นสีของเดชของวันพระราชสมภพ สีชมพู สื่อถึงความ เป็นมงคล อายุ และสีนาำ้ เงิน สือ่ ถึงนำา้ และสีของสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ยังมีพระโกศทองคำาลงยาที่ออกแบบโดยนายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ ชำานาญการพิเศษ ได้ออกแบบตาม แนวความคิดตามหลักศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อกันว่าพระมหากษัตริย์ เปรียบเหมือนสมมติเทพ สถิตอยู่บนสรวงสวรรค์บนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เมื่อสวรรคต เปรียบเสมือนการเสด็จ สูส่ วรรคาลัย ถือเป็นการถวายพระเกียรติยศแสดงความเคารพอย่างสูง ในวาระเสด็จคืนสู่เทวพิภพ ณ ดินแดนเขาพระสุเมรุ พระโกศองค์นี้มี ลักษณะพิเศษคือ มีครุฑพนมทำาด้วยโลหะเงิน ประจำาอยู่ทั้ง 8 ทิศของ ฐานพระโกศ เปรียบได้กบั ครุฑพนมปกปักรักษาพระบรมอัฐขิ องในหลวง

หีบพระบรมศพจันทน์ เป็นฐานของพระโกศจันทน์ ประดิษฐานเหนือพระจิตกาธาน ภายในพระเมรุมาศ


วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทกุ พระองค์ โดยลวดลายบน ช่อไม้จันทน์ ออกแบบโดยใช้ลายดอกไม้เทศซ้อนไม้ ทั้งหมด แต่วิธีการผูกลายเพื่อให้เกิดเป็นลายต่างๆ จะแตกต่างกัน ส่วนวิธกี ารทำาช่อไม้จนั ทน์ จากเดิมเป็นดอกไม้ เทศซ้อนไม้ คือนำาแผ่นไม้แบนๆ มาฉลุซ้อนกัน แต่ ช่อไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีครั้งนี้ ไม่ได้ซ้อนไม้ เพียงอย่างเดียว แต่ใช้วิธีแกะลายด้วย เพื่อให้นูนสูง และเพิ่มมิติมากขึ้น ท่อนฟืนไม้จันทน์ “ท่อนฟืนไม้จนั ทน์” ออกแบบโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อำาไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส โดย ท่อนฟืนไม้จันทน์จะใช้ทั้งหมด 24 ท่อน แต่ละท่อน มีหน้ากว้าง 2 นิว้ ยาว 60 เซนติเมตร ออกแบบโดย ใช้ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ส่วนหน้าฟืนเป็นลายดอก ประจำายาม จะใช้วิธีทำาลายรดนำ้า ต่างจากทุกครั้ง ที่ใช้วิธีฉลุลายปิดทอง โดยจะฉลุลายเฉพาะส่วนบน และส่วนล่างของท่อนฟืน แต่ครั้งนี้จะมีลวดลายที่ หน้าฟืนด้วย

Royal Funeral Pyre - 056

รัชกาลที่ 9 หรือยามเสด็จฯ ไปในวิมานต่างๆ จะมี ครุฑพนมเป็นพาหนะรับใช้อยู่ทุกทิศ ลักษณะโดยรวมของพระโกศองค์นี้ เป็นรูปทรง กระบอกแปดเหลี่ยมปากผาย ฝาพระโกศเป็นทรง ยอดมหามงกุฎแปดเหลี่ยม ลงยาสีประดับรัตนชาติ ส่วนฐานล่างเป็นหน้ากระดานฐานสิงห์ ลวดลายของ หน้ากระดานเป็นลักษณะลายประจำายามก้ามปู มี ดอกประจำายามทิศประดับที่มุมทั้ง 8 ทิศ ลงยาสีฟ้า ประดับรัตนชาติ ถัดขึ้นมาเป็นฐานสิงห์ และบัวหลัง เจียด หรือหลังสิงห์ หน้าฐานสิงห์มีลวดลายประดับ ลงยาสีชมพู และสีเขียว ท้องสิงห์ประดับลวดลาย ประจำายามลงยาสีฟา้ และชมพู ถัดขึน้ ไปเป็นท้องไม้ ทรงแปดเหลี่ยม มีลักษณะพิเศษคือ บริเวณมุม ทั้งแปดทิศของท้องไม้ ประดับด้วยครุฑพนมซึ่งทำา ด้วยโลหะเงิน ถัดขึ้นไปเป็นลวดลายบัวหงาย ลงยา สีชมพูประดับรัตนชาติ หน้ากระดานแปดเหลี่ยม ลวดลายเป็นลูกฟักก้ามปู ลงยาสีประดับรัตนชาติ ตัง้ กระจังเจิม และกระจังตาอ้อยลงยาสีประดับรัตนชาติ ถั ด ขึ้ น ไปอี ก เป็นลวดลายกระจังปฏิญาณรอบเอว

พระโกศ รองรับด้วยบัวเกสรกระจังปฏิญาณลงยา สีฟ้า และประดับรัตนชาติ สำ า หรั บ เอวของพระโกศประดั บ ด้ ว ยดอกไม้ เอว และเกสรทำาด้วยโลหะเงินประดับรัตนชาติ องค์ พระโกศเป็นทรงกระบอกปากผาย ประดับลวดลาย บัวกลีบขนุนซึง่ เป็นลายรักร้อยซ้อนกันขึน้ ไป ภายใน กลีบลงยาสีฟา้ และสีชมพูประดับด้วยรัตนชาติ โดย กลีบของบัวกลีบขนุนทำาซ้อนกันขึ้นไป 4 ชั้น จนถึง ปากกระบอกที่ผายออก โดยสีที่ใช้ลงยา ได้แก่ สีฟ้า สีเขียว และสีชมพู ช่อไม้จันทน์ “ช่อไม้จันทน์” ออกแบบโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อาำ ไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส มีทงั้ หมด 7 แบบ ได้แก่ ช่อไม้จันทน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใน รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ


ลายครุฑหน้าอัด (หน้าอัด ภาษาช่าง แปลว่า หน้าตรง) ประดับหีบพระบรมศพ จันทน์ โดยทำ�เป็นงานลายซ้อนไม้ (บน) เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรนำ�ฝาหีบ พระบรมศพจันทน์ มาประกอบกับ หีบพระบรมศพจันทน์ (ซ้าย)




สถิตในดวงใจไทย

นิรันดร์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.