99 ต่อ 1
เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ
Chuck Collins เขียน ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำนิยม ค�ำน�ำผู้เขียน ค�ำน�ำผู้แปล บทน�ำ
1. แยกออกจากกัน 2. ใครคือพวก 1 เปอร์เซ็นต์ 3. การใช้อิทธิพลชักใยกฎเกณฑ์เศรษฐกิจของพวก 1 เปอร์เซ็นต์ 4. ชีวิตในกลุ่ม 99 เปอร์เซ็นต์ 5. เครื่องจักรความเหลื่อมล�้ำแห่งวอลล์สตรีต 6. ความเหลื่อมล�้ำท�ำลายทุกสิ่งที่เราห่วงใย 7. ความเหลื่อมล�้ำด้านความมั่งคั่งบดขยี้เศรษฐกิจ 8. เมื่อยักษ์ 99 เปอร์เซ็นต์ตื่น
7 9 11 15 21 28 43 59 70 79 91 102 111
9. พลิกเกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 10. กล้าเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อสลายความมั่งคั่งแบบรวมศูนย์
123 134
บทสรุป : โอกาสแห่งความเท่าเทียม กิตติกรรมประกาศ เกี่ยวกับผู้เขียน
163 171 173
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ในช่ ว ง 2-3 ปีที่ผ ่านมา เชื่อ ว่าหลายคนที่ติดตามข่า วต่างประเทศ คงคุ้นหูคุ้นตากับการประท้วงของกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Occupy Wall Street (ยึดครองวอลล์สตรีต) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งปักหลักประท้วงอยู่เป็น เวลานาน โดยมีเป้าหมายเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องลดความ เหลื่อมล�้ำด้านรายได้ กระจายความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรมเท่าเทียม ข้อความที่โดดเด่นบนป้ายประท้วงของพวกเขาก็คือ We are the 99 Percent (เราคือพวก 99 เปอร์เซ็นต์) เป้าโจมตีของพวกเขาก็คือ พวกคนโคตรรวย 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นพวก “วอลล์สตรีต” อันได้แก่บริษัท-นักธุรกิจในแวดวง ตลาดหุ้น ธนาคาร สถาบันการเงิน ตลอดจนบรรษัทข้ามชาติ การประท้วงของกลุ่ม Occupy Wall Street มีมูลเหตุส�ำคัญ มาจากวิกฤตการเงินครั้งรุนแรงในปี 2008 น�ำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งบริษัทในวอลล์สตรีตเป็นผู้ก่อเหตุ ซึ่งตลอดมา คนเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มมั่งคั่ง เป็นพวก 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากร 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 7
ทั้งหมดกว่า 300 ล้านคนในสหรัฐ แต่กลับครองสินทรัพย์มากที่สุด มากกว่าสินทรัพย์ของคน 99 เปอร์เซ็นต์รวมกันมหาศาล พวกมั่งคั่ง 1 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้สูงกว่า คน 99 เปอร์เซ็นต์ร้อยเท่าพันทวี เพราะพวกนี้มีอิทธิพลและควบคุม บงการการออกกฎกติกาทางเศรษฐกิจ การเสียภาษี โดยล็อบบี้ผ่าน นักการเมือง ยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งน�ำไปสู่สภาพ “คนรวยยิ่งรวยขึ้น คน จนยิ่งจนลง” แทนที่ช่องว่างทางรายได้และสถานะทางเศรษฐกิจจะ แคบลง สภาพที่ ว ่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น เฉพาะในสหรั ฐ อเมริ ก า แต่ เ กิ ด ขึ้ น ทั่วโลก นั่นคือคนส่วนน้อยกลับถือครองทรัพย์สินรวมกันมากกว่าคน ส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้การประท้วงในลักษณะเดียวกับกลุ่ม Occupy Wall Street แพร่กระจายไปทั่วโลกรวมทั้งเอเชีย นี่เป็นการตื่นขึ้นมาสู้ของคน 99 เปอร์เซ็นต์ ที่รู้สึกโกรธขึ้น เจ็บ ปวดกับการถูกเอาเปรียบจากพวกมั่งคั่ง 1 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ยอดบนสุด หนังสือเล่มนีจ้ ะฉายภาพให้เห็นว่า ใครบ้างคือพวก 1 เปอร์เซ็นต์ และพวกเขามีรายได้ต่อปีเท่าไร พวกเขาชักใย บงการอยู่เบื้องหลัง นักการเมืองอย่างไร ใครคือพวก 99 เปอร์เซ็นต์ และเราจะมีทางออก จากปัญหาความเหลื่อมล�้ำที่หยั่งรากลึกนี้อย่างไร ส�ำนักพิมพ์มติชน
8 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ค�ำนิยม
หลายปีมาแล้ว ตอนใกล้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครัง้ ใหญ่ในปี 2008 ฉันโต้แย้งกับชัค คอลลินส์เรื่องความเหลื่อมล�้ำ เขาเพิ่งริเริ่มโครงการ หนึ่ ง ที่ ชื่ อ ว่ า คณะท� ำ งานว่ า ด้ ว ยความเหลื่ อ มล�้ ำ สุ ด ขั้ ว (Working Group on Extreme Inequality) มีเป้าหมายเพื่อให้การศึกษาแก่ ประชาชนเกี่ยวกับ ช่องว่างใหญ่โตมโหฬารในด้านความมั่งคั่งและ รายได้ ที่ แ บ่ งแยกคนอเมริกันออกจากกัน เป็นเป้าหมายซึ่งฉันเห็น ด้วยสุดจิตสุดใจ ทว่าค�ำถามเหน็บแนมของฉันก็คือ แล้วใครล่ะจะสน ดังที่แครอล เกรแฮม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวไว้ในปีนั้น “คนที่มีปัญหา กับความเหลื่อมล�้ำก็มีแต่พวกเสรีนิยมที่ร�่ำรวยเท่านั้น” ในการโต้แย้งกับชัค ฉันอ้าง “ช่างประปาโจ” ผู้ซึ่งคัดค้านข้อ เสนอของโอบามาที่จะขึ้นภาษีเงินได้ส่วนที่เกิน 250,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี นั่นก็เพราะเขาเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าตัวเองจะมีรายได้เลย เกณฑ์ดังกล่าวหลังจากก่อตั้งธุรกิจซ่อมประปาของเขาเอง ฉันแย้งว่า นี่เป็นความหลงผิดอันยิ่งใหญ่ของชาวอเมริกัน ที่เชื่อว่าด้วยการท�ำงาน 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 9
หนั ก ความฉลาดหลั ก แหลม การคิ ด เชิ ง บวก หรื อ การสวดภาวนา จะท�ำให้ไม่ว่าใครก็สามารถกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านได้เกือบจะในชั่ว ข้ามคืน ดังนั้น ส�ำหรับคนส่วนใหญ่ ความเหลื่อมล�้ำจึงไม่ใช่ปัญหา มันเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้บรรลุความส�ำเร็จมากยิ่งขึ้น เอาละ ชัคพูดถูก ในช่วงเวลาหลายปีที่เราคุยกัน ระบบการ เงินอเมริกันอ้วนฉุพังทลายลง เผยให้เห็นว่าความเหลื่อมล�้ำเป็นพลัง บั่นทอนเสถียรภาพที่อันตราย คนรวยลงทุนอย่างหนักในแผนการ ลงทุนสุ่มเสี่ยงประเภทต่างๆ ที่คนจนและชนชั้นกลางหน้ามืดตามัวพอ จะเชื่อหรือถูกลวงล่อให้หลงเชื่อ ไม่กี่ปีมานี้ขณะที่เศรษฐกิจอยู่ใน ภาวะถดถอยแบบไม่รู้จุดจบ เราได้เรียนรู้ว่าความเหลื่อมล�้ำสุดขั้ว ราคาแพงแค่ไหน เมื่อวัดจากอัตราการว่างงาน การยึดทรัพย์จ� ำนอง และความยากจนที่พุ่งสูงขึ้น แต่ชัค คอลลินส์อธิบายทั้งหมดนี้ได้ดีกว่าฉันมาก กระจ่างแจ้ง เร้าใจ และใช้กราฟิกช่วยเมื่อจ�ำเป็น ในฐานะนักเคลื่อนไหวที่ท�ำงาน กับปลายทั้งสองด้านของสเปกตรัมทางเศรษฐกิจ ระหว่างประชาชน ผู้มีรายได้ต�่ำที่พยายามต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด กับเศรษฐีที่เป็นห่วง อนาคตของประเทศ ชัคถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญตัวกลั่นของเราในเรื่อง ความเหลื่อมล�้ำ และหลังจากคุณอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณก็จะเป็นอีกคน หนึ่งเช่นกัน บาร์บาร่า เออห์เรนไรช์
10 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ค�ำน�ำผู้เขียน
ความเหลื่อมล�้ำสุดขั้วด้านความมั่งคั่งก�ำลังบั่นทอนคุณค่าที่เราเคย ยึดถือ สั ง คมของเราอยู ่ ใ นสภาวะทนทุ ก ข์ ท รมานจากเกลี ย วมรณะ แห่งความเหลื่อมล�้ำขณะที่ความไม่สอดคล้องกันของความมั่งคั่งและ อ�ำนาจสั่งสมเพิ่มพูน และยิ่งเสื่อมทรามลง การแยกขั้วดังกล่าวนี้ ก�ำลังฉีกทึ้งชุมชนออกจากกัน บั่นทอนสถาบันประชาธิปไตย ท�ำให้เรา เจ็บป่วยและไม่มีความสุข และสั่นคลอนเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ ของเรา เป็นเวลายี่สิบปีที่ผมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามให้การ ศึกษาแก่ประชาชนในวงกว้างเกี่ยวกับอันตรายของความเหลื่อมล�้ำ สุดขั้วด้านรายได้และความมั่งคั่งเหล่านี้ มันเป็นห้วงเวลาที่สิ้นหวัง ท้อแท้ บ่อยครั้งที่มีคนบอกผมว่า “ความเหลื่อมล�้ำไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ที่จะพูดเกี่ยวกับเศรษฐกิจ” และ “คนอเมริกันไม่สนเรื่องความเหลื่อม ล�้ำหรอก” บางครั้งผมก็คิดว่าพวกที่ไม่เห็นด้วยเหล่านี้พูดถูก 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 11
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้วการสนทนาเกี่ยวกับความเหลื่อมล�้ำ ทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างเหลือเชื่อ ขบวนการยึดครองวอลล์ สตรีต (Occupy Wall Street) มีส่วนให้เกิดการยกระดับครั้งใหญ่ใน การพูดคุยกันถึงขบวนการ “เราคือคน 99 เปอร์เซ็นต์” (We are the 99 Percent) แต่ก็มีความเคลื่อนไหวอื่นๆ เกิดขึ้นด้วยทั่วโลก เช่น การ ประท้วงบนท้องถนนทั่วโลกอาหรับและยุโรป หนังสือเล่มนี้น�ำภาพอันแจ่มชัดของสภาวะความเหลื่อมล�้ำของ สหรัฐและทั่วโลกมารวมกันไว้ในที่เดียว ที่ส�ำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ มันน�ำ เสนอเส้ น ทางในอนาคตข้ า งหน้ า ส� ำ หรั บ เราที่ จ ะพลิ ก เปลี่ ย นความ เหลื่อมล�้ำเหล่านี้ ส่ ว นแรกของหนั ง สื อ ตอบค� ำ ถามสองค� ำ ถาม ใครคื อ พวก 1 เปอร์เซ็นต์ และ 99 เปอร์เซ็นต์ คน 1 เปอร์เซ็นต์ และ 99 เปอร์เซ็นต์ ใช้อ�ำนาจอย่างไร บทที่อยู่ตอนกลางๆ ของหนังสือเล่มนี้ตรวจสอบว่า ความเหลื่อมล�้ำเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุใดมันจึงเป็นเรื่อง ส�ำคัญ บทท้ายๆ ตรวจสอบความเคลือ่ นไหวต่างๆ ทีจ่ ะสร้างเศรษฐกิจ ส�ำหรับคน 100 เปอร์เซ็นต์ น�ำเสนอแนวคิดด้านนโยบายและวิสัยทัศน์ ที่จะขับเคลื่อนเราไปสู่เศรษฐกิจใหม่ที่เข้มแข็งและยั่งยืน นักวิจารณ์บางคนปฏิเสธความง่ายของกรอบความคิด 99 ต่อ 1 โดยชี้ให้เห็นได้อย่างถูกต้องว่าภายในทั้งสองเซ็กเมนต์มีกลุ่มย่อยๆ และความหลากหลายคละเคล้ากันอยู่ เห็นได้ชัดว่า 99 ต่อ 1 นั้น ส่วนหนึ่งเป็นสถิติประชากร อีกส่วนหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ ทว่ามันก็เป็น แว่นขยายอันทรงความหมายและทรงพลังส�ำหรับการท�ำความเข้าใจ ห้วงนี้ของประวัติศาสตร์ ตามที่หนังสือเล่มนี้อธิบายไว้ บางคนขั ด เคื อ งกั บ การเน้ น ที่ พ วก 1 เปอร์ เ ซ็ น ต์ และกรอบ ความคิดว่าด้วย “สงครามชนชั้น” ที่น�ำมาใช้ (เราส�ำรวจคนหลาย ร้อยคนให้ช่วยเสนอความคิดส�ำหรับตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ ค�ำแนะน�ำหนึ่ง 12 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ที่ฮาดีก็คือ “กินคนรวย : ต�ำรับกับข้าวเพื่อยุติสงครามชนชั้น”) มุมมองของผมเองก็คือ เราต้องการให้ทุกคน คนทั้ง 100 เปอร์ เซ็นต์ มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ไม่สมดุลของเรา เราต้อง การพันธมิตรที่มีความพร้อมทุกคนเท่าที่เราสามารถหาได้ ผมเติบโต มาในกลุ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผมจึงไม่เกลียดพวกเขา พวกเขาคือ ครอบครัวและเพื่อนในวัยเด็กของผม ผมรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่คนกลุ่ม ใหญ่มาก และผมได้รับแรงบันดาลใจจากคนจ�ำนวนมากในพวก 1 เปอร์เซ็นต์นี้ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจควรจะด�ำเนินไปเพื่อทุกคน และต้อง การจะลงมือท�ำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในบทที่ 8 ผมอภิปราย ถึงบทบาทส�ำคัญของคน 1 เปอร์เซ็นต์ในการลงมือสร้างเศรษฐกิจ ส�ำหรับคน 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกสองวันผมจะล็อกออนเพื่ออ่านโปรไฟล์และภาพที่มีคนโพสต์ ไว้ในเว็บไซต์หนึ่งของกลุ่ม “We are the 99 Percent” สิ่งหนึ่งซึ่งผม รู้แน่ก็คือเงื่อนไขพื้นฐานที่ท�ำให้เกิดขบวนการ 99 เปอร์เซ็นต์ การไร้ งานท�ำ ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ค่าตอบแทนซีอีโอสูงลิ่ว ภาระหนี้ ของนักศึกษาที่ไม่มีปัญญาใช้คืน ความยากจนไม่รู้จบ และวิถีชีวิต ชนชั้นกลางที่ล่มสลาย จะไม่หมดไปโดยเร็ว ในขณะเดียวกัน เซ็กเมนต์ของชั้นบนสุด 1 เปอร์เซ็นต์ และ บรรษัทข้ามชาติสองสามพันบริษัทก็ยึดกุมสื่อและกระบวนการทางการ เมืองของเราไว้อย่างเหนียวแน่น และสกัดขัดขวางการเปลี่ยนแปลง พวกเขาสร้างความร�่ำรวยทางวัตถุขึ้นมาจากความเหลื่อมล�้ำสุดขั้วใน หลายทศวรรษที่ผ่านมา แรงกดดันจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงอุบัติขึ้น ผมมองโลกในแง่ดีว่าเรามีโอกาสดีมากที่จะไม่เพียงพลิกเปลี่ยน ความเลวร้ายอย่างสุดๆ ของความเหลื่อมล�้ำเหล่านี้เท่านั้น ทว่ายังจะ จัดระเบียบเศรษฐกิจส�ำหรับคน 100 เปอร์เซ็นต์ให้ตอบสนองต่อความ 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 13
ท้าทายทางด้านนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจที่เราร่วมกันเผชิญอยู่ด้วย พวกเราแต่ละคนต่างมีบทบาทให้เล่น เราต้องการความร่วมแรง ร่วมใจของทุกคน ความตั้งใจของผมส�ำหรับหนังสือเล่มนี้ก็คือการมี ส่วนเกื้อหนุนขบวนการนี้ ชัค คอลลินส์ บอสตัน, แมสซาชูเซตส์ กุมภาพันธ์ 2012
14 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ค�ำน�ำผู้แปล
ความเหลื่อมล�้ำมีอยู่ทั่วโลก และเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนทุกคนเท่า เที ย มกั น อย่ า งสมบู ร ณ์ แ บบ ทว่ า ปั ญ หาความเหลื่ อ มล�้ ำ ที่ เ ป็ น ภั ย คุกคามต่อทุกคนบนโลกอยู่ในเวลานี้คือความเหลื่อมล�้ำสุดขั้วที่ช่อง ว่างนับวันถ่างขยายออกห่างจากกันไปเรื่อยๆ และผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย ของมันก็คือโลกที่ล่มสลายของทุกคน ในหนังสือ “99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ” น�ำ เสนอกรอบการมองปัญหาความเหลื่อมล�้ำด้านความมั่งคั่งของโลก ที่ส่งผลแพร่ลามไปในทุกปริมณฑลของชีวิตคนในสังคมทุกประเทศ โดยอาศัยข้อมูลอ้างอิงชัดเจนเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาที่ก�ำลังเกิดขึ้น และ น�ำเสนอแนวทางในการแก้ไข แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้ว ชัค คอนลินส์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ดู เหมื อ นจะแลเห็ น ความหวั ง อั น เลื อ นรางในการแก้ ไ ขปั ญ หาความ เหลื่อมล�้ำ แต่เขาก็ยังมีความหวัง ความหวังที่ว่านั้นมาจากการมองเห็นปรากฏการณ์ความตื่นตัว 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 15
ของคนทั่วโลกต่อปัญหาความเหลื่อมล�้ำสุดขั้ว ทั้งคน 99 เปอร์เซ็นต์ที่ อยู่ในส่วนฐาน และบางส่วนของคน 1 เปอร์เซ็นต์บนยอดของพีระมิด ทางเศรษฐกิจและสังคม “99 ต่อ 1” โดยความตั้งใจของผู้เขียนเป็นเสมือนคู่มือฉบับ รวบรัดเพื่อท�ำความเข้าใจปัญหาความเหลื่อมล�้ำอันซับซ้อน พร้อม ตัวอย่างรูปธรรมที่มีข้อมูลอ้างอิง และแนวทางส�ำหรับการก้าวไปข้าง หน้าเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงในโลกใบนี้ด�ำเนินไปเพื่อคนทุกคน ไม่ใช่โลกทีอ่ ำ� นวยประโยชน์ให้เพียงเฉพาะคนเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ข้างบน โลกที่ว่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดยการร่วมมือกันของคนส่วนใหญ่
16 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์
99 ต่อ 1
เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ
บทน�ำ เราคือคน 99 เปอร์เซ็นต์ ถึงพวกเขาจะจมอยู่กับความแร้นแค้น ความยากล�ำบากแสนสาหัส และความ ป่าเถื่อน, แต่พวกเขาจะไม่ยอมทนกับคณาธิปไตย อเล็กซิส เดอ ท็อกเกอวิลล์ (1805-1859)
Photo © John Quigley
99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 21
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2011 เว็บไซต์หนึ่งปรากฏขึ้น เร่งเร้าให้คนแชร์ภาพ ถ่ายและเรื่องราวจากประสบการณ์ของการเป็นคนในกลุ่ม 99 เปอร์ เซ็นต์ หญิงสาวคนหนึ่งเขียนว่า : ฉันเคยฝันว่าจะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรก แต่ตอนนี้ฉัน ฝันถึงการได้งานที่มีประกันสุขภาพ ทหารผ่ า นสงครามอิ รั ก อายุ ยี่ สิ บ เจ็ ด ปี ค นหนึ่ ง อธิ บ ายว่ า เขา ได้รับมอบหมายให้ปกป้องประชาชนอเมริกันแต่กลับค้นพบว่าตัวเขา “ลงเอยด้วยการท�ำก�ำไรให้ผู้รับเหมาที่มีเส้นสายทางการเมือง” ผมกลับมายังประเทศซึ่งเศรษฐกิจถูกถล่มจนพินาศโดยเหล่า นายธนาคารที่มีเส้นสายเหมือนกันและไร้จริยธรรมเช่นเดียวกัน...นี่ เป็นครั้งที่สองที่ผมต่อสู้เพื่อประเทศของผม และเป็นครั้งแรกที่ผมรู้จัก ศัตรูของผม ผมเป็นพวก 99 เปอร์เซ็นต์ ป้ายที่เขียนด้วยลายมือชิ้นหนึ่งบอกว่า : ผมอายุยี่สิบ ไม่มีปัญญาเข้ามหาวิทยาลัย มีงานไม่มากนัก ที่ผมมีคุณสมบัติถึง และส่วนที่เหลือก็ “ไม่รับสมัครงาน” บอกผม หน่อย จริงๆ แล้วผมอยู่ไปเพื่ออะไร ผมเป็นพวก 99 เปอร์เซ็นต์ บนอีกเว็บไซต์หนึ่ง จัดท�ำขึ้นเพื่อเป็นปากเสียงให้กับสมาชิกของพวก 1 เปอร์เซ็นต์ซึ่งสนับสนุนพวก 99 เปอร์เซ็นต์ คาร์ล ชเวเซอร์ ที่ปรึกษา ด้านการลงทุนเขียนว่า :
22 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ผมท�ำเงินได้หลายล้านจากการศึกษาคณิตศาสตร์สินทรัพย์ จ�ำนองและพันธบัตร และการช่วยนายธนาคารให้ผ่านการสอบหลัก สูตรนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Chartered Financial Analyst Exam) มันไม่ยุติธรรมที่ผมเกษียณมาอย่างสบายอกสบายใจหลังจาก เคยท�ำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินมาก่อน ในขณะที่คนซึ่ง ท�ำงานเป็นพยาบาล ครู และอื่นๆ วิตกกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต การดูแลสุขภาพ และการศึกษาของลูกๆ พวกเขาคือกระดูกสันหลังของประเทศนี้ที่เปิดทางให้ผมประสบ ความส�ำเร็จ ผมยินดีจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถมองเห็นอนาคต ที่มั่นคงอยู่ข้างหน้าเหมือนที่ผมเห็น ผมเป็นพวก 1 เปอร์เซ็นต์ ผมอยู่ข้างคน 99 เปอร์เซ็นต์ (ซึ่งเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอเมริกา) เก็บภาษีผมเถอะ เหล่านี้คือเรื่องราวที่ก�ำลังขับเคลื่อนการสนทนาใหม่ในสหรัฐและทั่ว โลก และต่อไปนี้คือสถิติ - คน 1 เปอร์เซ็นต์ ถือครองทรัพย์สินส่วนตัวร้อยละ 35.6 ของ ทั้งหมด มากกว่าคน 95 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ล่างสุดถือครองรวมกัน คน 1 เปอร์เซ็นต์ถือครองสินทรัพย์ทางการเงินร้อยละ 42.4 เปอร์เซ็นต์ของ ทั้งหมด มากกว่าคน 87 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ล่างสุดถือครองรวมกัน - คนมั่งคั่งที่สุดในรายชื่อจากฟอร์บส์ 400 มีทรัพย์สินมากกว่า คนอเมริกันระดับล่างสุด 150 ล้านคน
99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 23
- ในปี 2010 บริษัทใหญ่ที่สุดของสหรัฐ 25 จาก 100 บริษัท จ่ายเงินให้ซีอีโอของพวกเขามากกว่าที่จ่ายภาษีให้สหรัฐ เหตุผลหลัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะบรรดาบริษัทต่างๆ ในโลกของพวก 1 เปอร์เซ็นต์ ใช้สวรรค์ภาษีนอกอาณาจักรเพื่อเลี่ยงภาษีในสหรัฐ - ในปี 2010 คน 1 เปอร์เซ็นต์ท�ำรายได้ 21 เปอร์เซ็นต์ของ รายได้ทั้งหมด - ระหว่างปี 1983-2009 มากกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าทรัพย์ สินที่เพิ่มขึ้นเป็นของคน 1 เปอร์เซ็นต์ และร้อยละ 82 ของมูลค่าทรัพย์ สินที่เพิ่มขึ้นเป็นของคน 5 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่บนสุด ในช่วงเดียวกันนี้ มูลค่าทรัพย์สินของคน 60 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ล่างสุดลดลง - กลุ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ของโลกซึ่งเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีกัน เกือบทั้งหมด เป็นเจ้าของทรัพย์สินมูลค่า 42.7 ล้านล้านเหรียญ มาก กว่าทรัพย์สินคนระดับล่างสุดที่อาศัยอยู่บนโลก 3,000 ล้านคนรวมกัน - ขณะที่มาตรฐานการด�ำรงชีวิตของชนชั้นกลางพินาศย่อยยับ ยอดขายสินค้าหรู เช่น นาฬิกาข้อมือราคาเรือนละ 10,000 เหรียญ และรถสปอร์ตลัมโบร์กีนี กลับพุ่งกระฉูด - ระหว่างปี 2001-2010 สหรัฐอเมริกากู้ยืมเงินกว่า 1 ล้านล้าน เหรี ย ญเพื่ อ ตอบสนองคนรวยผู ้ เ สี ย ภาษี ที่ มี ร ายได้ เ กิ น 250,000 เหรียญด้วยสิทธิพิเศษที่ไม่ต้องเสียภาษีจ�ำนวนมาก รวมถึงการลด ภาษียุคบุชในปี 2001 คนอเมริกันส่วนใหญ่ยอมทนต่อความเหลื่อมล�้ำที่เพิ่มมากขึ้นเหล่านี้ มานับสิบๆ ปี ส่วนใหญ่เพราะพวกเขาเชื่อว่าทุกคนมีโอกาสไต่บันได แห่งความส�ำเร็จ วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 และเสียงร�่ำร้องเปี่ยมพลัง ของขบวนการ “เราคื อ คน 99 เปอร์ เ ซ็ น ต์ ” ท� ำ ลายมายาภาพของ สังคมแห่งโอกาสดังกล่าวลงจนป่นปี้ 24 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
สารเจ็ดข้อของหนังสือเล่มนี้
คนจ�ำนวนมากขึ้นๆ ก�ำลังให้ความสนใจกับความเหลื่อมล�้ำ สุดขั้วด้านความมั่งคั่งที่ปรากฏขึ้นท่ามกลางพวกเรา และพวกเขาก�ำลัง ตั้งค�ำถาม มันเกิดขึ้นเช่นนี้ได้อย่างไร กฎกติกาเปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างไร ใครคือกลุ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ พวกเขาเลวร้ายกันหมดเลยหรือ ท�ำไมมีกฎหมายหลายฉบับมากผ่านสภาคองเกรสที่เอื้อประโยชน์ให้ พวก 1 เปอร์เซ็นต์แทนที่จะเป็นพวก 99 เปอร์เซ็นต์ และที่ส�ำคัญที่สุด เราสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้หรือไม่ คน 99 เปอร์เซ็นต์มีความหวัง ไหม คุ ณ ไม่ต ้อ งอ่านหนัง สือ หมดทั้ง เล่ม เพื่อที่ให้ได้ค�ำตอบอย่า ง รวดเร็ว ผมมีความตั้งใจเจ็ดประการส�ำหรับหนังสือเล่มนี้ เป็นประเด็น ต่างๆ ที่ผมหวังให้คุณในฐานะผู้อ่านได้รับ ความเหลื่อมล�้ำเป็นเรื่องส�ำคัญส�ำหรับคุณ ลองคิดถึงสิ่งที่ คุณห่วงใยอย่างลึกซึ้ง เด็กๆ สุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒน ธรรม ที่ อ ยู ่ อ าศั ย และเวลาว่ า งที่ คุ ณ มี ในทุ ก ๆ เรื่ อ งที่ คุ ณ ห่ ว งใย ความเหลื่อมล�้ำสุดขั้วในด้านความมั่งคั่งของหลายทศวรรษที่ผ่านมา ท�ำลายล้างและบั่นทอนสิ่งเหล่านี้ลง เราก�ำลังด�ำเนินชีวิตอยู่ในเกลียวมรณะแห่งความเหลื่อม ล�้ ำ ความเหลื่อมล�้ำที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ ทั้งในด้านความมั่งคั่ง อ� ำนาจ และโอกาส มีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงพลวัตอันน่าตกใจในลักษณะที่มี ส่วนท�ำให้สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งก�ำลัง เสื่ อ มทรามหมุ น วนลงด้ า นล่ า ง ความเหลื่ อ มล�้ ำ ที่ สั่ ง สมเพิ่ ม พู น ก็ เหมื อ นเช่ น หลุ ม ด� ำ มั น จะดู ด พลั ง ชี วิ ต ออกจากชุ ม ชน และท� ำ ลาย สุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ สวัสดิภาพและความสุขของเรา เราไม่มี ทางเลือกเลยนอกจากทุ่มเทพลังงานเพื่อยับยั้งแรงดึงดูดเหล่านี้ 99 ต่อ 1 คือแว่นขยายอันทรงพลังส�ำหรับท�ำความเข้าใจ 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 25
ห้วงแห่งประวัติศาสตร์นี้ กรอบความคิด 99 ต่อ 1 คือวิธีอันทรง พลังที่จะเข้าใจสิ่งซึ่งก�ำลังเกิดขึ้นในสังคมและเศรษฐกิจของเรา มันคือ หนทางส� ำ หรั บ คนที่จ ะน�ำประสบการณ์ข องพวกเขาออกมาใช้และ ท�ำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิต เรา มันยังมีนัยทางการเมืองที่ส�ำคัญส�ำหรับการเลือกตั้งอีกด้วย ผู้ สมัครรับเลือกตั้งบางคนอาจจะหาเสียงในฐานะ “ผู้สนับสนุนพวก 99 เปอร์เซ็นต์” เราควรจะใช้กรอบความคิด 99 ต่อ 1 และท�ำงานภายใต้ กรอบดังกล่าว บางคนมีส่วนรับผิดชอบต่อความเหลื่อมล�้ำเกินขอบเขต ค�ำอธิบายง่ายๆ ว่าความเหลื่อมล�้ำขยายตัวได้อย่างไรก็คือเซ็กเมนต์ เล็ ก ๆ ของพวก 1 เปอร์เซ็นต์ที่อ ยู่บ นยอด ซึ่ง ครองฐานที่มั่นอยู่ใน สถาบันทางการเงินแห่งวอลล์สตรีต หาทางพลิกแพลงกฎกติกาของ เศรษฐกิจตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวก 1 เปอร์ เซ็นต์ด้วยรายจ่ายของพวก 99 เปอร์เซ็นต์ กฎเกณฑ์ต่างๆ ถูกเบี่ยง เบนให้เข้าข้างพวกที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์มากๆ ด้วยค่าใช้จ่ายของ พวกลูกจ้าง กฎเกณฑ์เหล่านี้รวมถึงมาตรการและนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวโยงกับการจัดเก็บภาษี การค้าโลก กฎระเบียบ และการใช้จ่าย สาธารณะ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เหล่านี้น�ำไปสู่ความไม่สมดุล ของความมั่งคั่งและอ�ำนาจอย่างขนานใหญ่ที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองทั่วทั้งโลก พวก 1 เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่คนกลุ่มใหญ่ ใช่ว่าทุกคนในพวก 1 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่บนสุดต้องถูกประณามส�ำหรับการใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิก แพลงกฎเกณฑ์ ใช่ว่าทุกคนในกลุ่มล่าง 99 เปอร์เซ็นต์จะไม่ต้องรับ ผิดชอบต่อการขยายตัวของความเหลื่อมล�้ำ ภายในกลุ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ มีคนที่อุทิศตนเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ดีส�ำหรับทุกคน เป้าหมายของสิ่งที่ เราสนใจและด�ำเนินการควรจะอยู่ที่ “นักชักใย” ภายในกลุ่ม 1 เปอร์ 26 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
เซ็นต์ พวกที่ใช้อ�ำนาจและความมั่งคั่งของพวกเขาส่งอิทธิพลต่อเกม เพื่อให้พวกเขาและบริษัทของพวกเขามีอ�ำนาจและความมั่งคั่งมาก ขึ้น นี่เป็นข่าวดีเพราะนักพลิกแพลงกฎเกณฑ์แม้จะเปี่ยมอ�ำนาจแต่ ก็ไม่ได้ถือไพ่ทุกใบไว้ในมือ และมีพันธมิตรจ�ำนวนมากมายในกลุ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่างๆ เพื่อโลกที่ยุติธรรมและ เท่าเทียมมากกว่านี้ บริษัทและธุรกิจไม่ใช่กลุ่มใหญ่ เช่นเดียวกับปัจเจกบุคคล ในกลุ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นผู้เล่นที่มีความหลากหลาย พวก 1 เปอร์ เซ็นต์ของบริษัทต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกันเช่นกัน มีบริษัทข้ามชาติ เครื่องจักรความเหลื่อมล�้ำแห่งวอลล์สตรีต หลายพันบริษัท ที่เป็นตัว ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์กติกา แต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังมี บริษัทอื่นๆ และธุรกิจเมนสตรีตที่สร้างขึ้นมาให้อยู่อย่างยั่งยืนอีกเป็น ล้านๆ ที่ท�ำให้ชุมชนของเราเข้มแข็งและมีส่วนได้ส่วนเสียในระบบ เศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ให้คน 100 เปอร์เซ็นต์ เราต้องปกป้องตัวเอง จากผู้เล่นที่เลวร้าย จากบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อปล้นสะดม ซึ่งโมเดล ธุรกิจมุ่งเน้นการโยกต้นทุนมาให้สังคม ลดการจ้างงาน และสกัดความ มั่งคั่งจากชุมชนและเศรษฐกิจที่ดีของเรา ความเหลื่อมล�้ำเหล่านี้แก้ไขได้ ต่อไปนี้คือข่าวดี เราสามารถ พลิกเกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำได้ เราสามารถเปลี่ยนแปลง สภาพการณ์ต่างๆ ที่ก�ำลังซ�้ำเติมความเหลื่อมล�้ำได้ ความจริงแล้วเรา เคยท�ำสิ่งนี้มาก่อน ในศตวรรษที่ผ่านมาหลังยุคชุบทอง (Gilded Age - ยุคทองของการคอร์รัปชั่นของสหรัฐในช่วงปี 1865-1901-ผู้แปล) เมล็ดพันธุ์ของขบวนการทางสังคมใหม่เพื่อแก้ไขความเหลื่อมล�้ำด้าน ความมั่งคั่งเหล่านี้ก�ำลังแตกหน่ออยู่ทั่วโลก หนั งสื อ เล่ม นี้คือ เรื่อ งราวเกี่ยวกับสิ่ง ที่เ กิดขึ้นและวิธีที่เ ราจะ สร้างเศรษฐกิจซึ่งด�ำเนินไปเพื่อทุกคน 99 ต่อ 1 เกลียวมรณะแห่งความเหลื่อมล�้ำ 27