“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ๖

Page 1


“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ๖


๑ บทนำ�


ตามโครงสร้ า งพระราชส� ำ นั ก รั ต นโกสิ น ทร์ ซึ่งรับอิทธิพลมาจากอโยธยา พระราชส�ำนักฝ่ายใน อยู่ในพื้นที่ทั้งหมดของพระราชฐานชั้นใน ถือว่าเป็น ที่ ร โหฐาน พื้ น ที่ ส ่ ว นพระองค์ ข องกษั ต ริ ย ์ ส�ำ หรั บ ประทับพักผ่อนหาความส�ำราญส่วนพระองค์ร่วมกับ “นางใน” ซึ่งได้แก่ พระมเหสี พระสนม เจ้าจอม พระราชธิดา ข้าบาทบริจาริกา ข้าราชส�ำนักฝ่ายใน กษัตริย์จงึ แวดล้อมไปด้วยผู้หญิงทีอ่ ยู่ในฐานะ “เมีย” และ “คนรับใช้” เป็นพระราชสมบัตสิ ว่ นพระองค์ ภาย ใต้กฎมนเทียรบาลที่เข้มงวด ไม่ให้มีความสัมพันธ์ ทางเพศกับชายอืน่ และการตรวจตราผูช้ ายเข้าออกใน พระราชส�ำนักฝ่ายในอย่างเคร่งครัด ผู้ชายที่สามารถ อยู่ในพระราชส�ำนักฝ่ายใน จึงมีเพียงกษัตริย์กับพระ ราชโอรสที่ยังไม่ได้ผ่านพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งอายุ มากที่สุดไม่เกิน ๑๓ ชันษา เพราะพระราชพิธีโสกันต์ เป็นพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านช่วงวัยจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ เพื่อ ป้องกันการร่วมเพศกับนางในที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็น ความกังวลและระแวดระวังอย่างมากในพระราชส�ำนัก ฝ่ายใน๑ เนื่องจากระบบการแต่งงานแบบ “ผัวเดียว หลายเมีย” มีความส�ำคัญอย่างมากส�ำหรับกษัตริย์


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอย่หู วั ทรงฉายกับ (แถวหลังจากซ้าย) คุณหญิง เฉลา อนิรุทธเทวา, เจ้าพระยารามราฆพ, พระยาอนิรุทธเทวา และคุณประจวบ สุขุม (แถวหน้าจากซ้าย) พระนางเจ้าสุวัทนา และพระสุจริตสุดา ในงานฤดูหนาวราว พ.ศ. ๒๔๖๗ (ภาพจาก ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาอนิรุทธ เทวา (ม.ล. ฟื้น พึ่งบุญ) พ.ศ. ๒๔๙๔)

ไม่เพียงเพื่อแสดง “บารมี” เพราะยิ่งมีเมียและสาวรับใช้มากก็ยิ่งเป็น ที่ เ ชิ ด หน้ า ชู ต า ประกาศความมั่ ง คั่ ง และความสามารถในการเลี้ ย ง ดูบริวารไพร่พลได้๒ แต่ยังเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองที่ กษัตริย์จะต้องสมรสกับธิดาเจ้านายเชื้อพระวงศ์เพื่อป้องกันการแย่งชิง พระราชสมบัติ กับลูกสาวหลานสาวขุนนางข้าราชการให้เป็นเครือญาติ เกี่ยวดองกันเพื่อดึงความจงรักภักดีและสร้างฐาน และกับธิดาเจ้าเมือง ประเทศราชเพื่อเป็นตัวประกัน ป้องกันเจ้าเมืองภายใต้การปกครอง 4 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


กระด้างกระเดือ่ งหรือหันไปจงรักภักดีกบั รัฐอืน่ เป็นการรักษาเสถียรภาพ ทางการเมืองภายนอก นอกเหนือจากสนองความส�ำราญและความ ต้องการทางเพศ เช่นหญิงสาวจากชนชัน้ ต่างๆ ทีง่ ามต้องพระเนตร หรือ มีความสามารถเป็นพิเศษต้องพระราชอัธยาศัย เป็นนักฟ้อนร�ำ นักมโหรี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นางในทุกนางจะได้ปรนนิบัติรับใช้กษัตริย์ อย่างใกล้ชิด เป็นที่โปรดปรานและถวายงานไปตลอด เช่นเดียวกับที่ ไม่ใช่นางในทั้งหมดจะได้เป็นพระมเหสีเทวีเสมอไป อาจเป็นเพราะยัง ไม่เคยทรงพบเห็น ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย หรือยังไม่มีผลประโยชน์ ซึ่งก็มีตั้งแต่พระบรมวงศ์ไปจนถึงข้าราชการในราชส�ำนักฝ่ายในและ บริวารของบรรดาพระมเหสีเทวี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม ส่วนใหญ่ เป็นลูกสาวหลานสาวของผูด้ มี ชี าติตระกูลถูกส่งเข้ามาถวายตัวปรนนิบตั ิ เจ้านายตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อศึกษาอบรมคุณสมบัติแบบชาววังภายใต้การ ปกครองของเจ้าส�ำนักต่างๆ นางในกลุ่มนี้มีสิทธิ์ขอลาออกไปใช้ชีวิต สังคมภายนอก หรือหากยังคงรับใช้เจ้านายของตนอยู่และเป็นผู้มี ความรู ้ ค วามสามารถอาจได้ เ ลื่ อ นเป็ น ข้ า ราชการ พนั ก งานซึ่ ง เป็ น ต�ำแหน่งอย่างเป็นทางการ๓ ในการปรนนิบัติรับใช้กษัตริย์ นางในแต่ละนางจึงมีบทบาท หน้าที่แตกต่างกันตามความถนัด เช่น เจ้าจอมมารดาเที่ยงบังคับ บัญชาการห้องพระเครื่องต้น เป็นผู้ตั้งเครื่องและถวายงานในเรื่อง ต่างๆ ในราชส�ำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ ในราชส�ำนักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าคุณ จอมมารดาแพถวายเครื่องส�ำอางเมื่อตื่นบรรทม ตั้งเครื่องพระกระยา หารต้ม ถวายการรับใช้ในห้องบรรทมเมื่อเสด็จขึ้นจากราชการจนถึง เช้าอย่างใกล้ชิดในต้นรัชกาล, พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีเป็นราช เลขานุ ก าร, พระองค์ เ จ้ า สายสวลี ภิ ร มย์ ค วบคุ ม ดู แ ลห้ อ งพระ เครื่ อ งต้ น , เจ้ า จอมมารดาอ่ อ นตั้ ง เครื่ อ งเสวย, เจ้ า จอมเอี่ ย ม ถวายงานนวด, เจ้าจอมมารดาเหมถวายงานทุบ, เจ้าจอมเอิบแต่ง พระองค์และเปลื้องฉลองพระองค์๔ หากเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงองค์ใด มีความรู้ความสามารถด้านใดเป็นพิเศษมักเป็นพระอาจารย์ฝึกสอนวิชา ชานันท์ ยอดหงษ์ 5


นั้นๆ เช่น ด้านอักษรศาสตร์ วิชาช่างฝีมือ ส�ำหรับนางในเชือ้ พระวงศ์ชนั้ ล่าง เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม ตลอด จนลูกหลานข้าราชการที่ถวายตัวและเคยรับราชการมาตั้งแต่รัชกาล ก่อน หรือสามัญชนที่อยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของเจ้านายระดับสูง จะ รับราชการเป็นพนักงานปฏิบัติงาน มีต�ำแหน่งเรียกต่างๆ ตามลักษณะ งาน เช่น พนักงานพระภูษา พนักงานพระสุคนธ์ พนักงานพระสุทธารส พนักงานเฝ้าหอพระมณเฑียร พนักงานเช็ดกวาดห้องบนพระที่นั่งไป จนถึงพนักงานลงพระบังคน โขลนดูแลคุกในพระราชวัง โดยได้รับค่า ตอบแทนเป็นเบี้ยหวัดส่วนพระองค์๕ หรือเป็นนางมโหรี นางละคร ขับ ร้องฟ้อนร�ำถวายเพื่อความส�ำราญส่วนพระองค์๖ นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ พระราชทานพระบรมราชานุญาตส�ำหรับ ข้าราชส�ำนักฝ่ายใน นางพนักงานหรือเจ้าจอมทั้งหลายที่ไม่มีโอรสธิดา ทูลลาออกจากราชการไปอาศัยนอกพระบรมมหาราชวังได้ และเจ้าจอม มารดาสามารถกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตออกจากพระบรม มหาราชวัง เพื่อตามเสด็จไปอภิบาลดูแลพระราชโอรสที่เจริญชันษาใน วังที่ประทับใหม่๗ จึงมีนางในบางส่วนต่างค่อยๆ แยกย้ายออกมาอยู่ นอกพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ นางในบางนางต่างทยอยออกจาก พระบรมมหาราชวังมาประทับในพระราชวังสวนดุสิต สวนสุนันทา และ พญาไท หลังจากรัชกาลที่ ๕ สวรรคต พ.ศ. ๒๔๕๓ รัชกาลที่ ๖ ก็โปรด เกล้าฯ ให้สร้างและต่อเติมสวนสุนันทา เพื่อให้เจ้านายฝ่ายในย้ายจาก พระบรมมหาราชวังมาประทับทีส่ วนสุนนั ทา๘ นอกจากนีบ้ รรดาพระบรม วงศานุวงศ์ฝ่ายใน เจ้านายฝ่ายในชั้นสูงหลายพระองค์ย้ายไปประทับใน วังส่วนพระองค์ วังพระราชโอรส ส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นพระราชนัดดา ของรัชกาลที่ ๕ ก็มีวังของพระบิดาอยู่ต่างหาก๙ แม้พระบิดาน�ำมาฝาก ฝังกับเจ้านายชัน้ ผูใ้ หญ่ในพระบรมมหาราชวังเพือ่ การศึกษา แต่สามารถ ขออนุญาตกลับไปประทับที่วังของพระบิดาได้เป็นครั้งคราวหรือขอ กลับไปอยู่เป็นการถาวรตามต้องการ ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ ๖ อ�ำนาจของกษัตริย์ก็มั่นคงพอ 6 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


จนไม่จ�ำเป็นต้องแต่งงานกับลูกหลานสาวขุนนางมูลนายเพื่อสร้างเครือ ญาติ ความเป็นพวกเดียวกันและดึงความจงรักภักดีอกี ต่อไป เพราะการ บริหารราชการควบคุมโดยพระบรมวงศานุวงศ์ อีกทัง้ รูปแบบการบริหาร รัฐเปลี่ยนไปแล้ว ขุนนางทั้งส่วนกลางและหัวเมืองกลายเป็นข้าราชการ ที่รับพระราชทานเงินเดือนจากกษัตริย์ ไม่ได้เป็นมูลนายที่มีรายได้และ กองก�ำลังจากระบบไพร่เช่นแต่ก่อนสมบูรณาญาสิทธิราชย์๑๐ อย่างไรก็ตาม เหตุผลประการส�ำคัญที่ท�ำให้พระราชส�ำนักของ รัชกาลที่ ๖ มีจ�ำนวนนางในน้อยคือ พระองค์ทรงรับอุปการะชาย หนุ่มมาเป็นข้าราชบริพารมหาดเล็กรับใช้ส่วนพระองค์แทนการ อภิเษกสมรส มีพระมเหสีเทวี ข้าบาทบริจาริกา นับตัง้ แต่ด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งกว่าที่พระองค์ จะมีพระมเหสีก็บั้นปลายพระชนมชีพแล้ว นางในในรัชกาลที่ ๖ จึงมีจ�ำนวนน้อยมาก ขณะที่ในรัชกาล ที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระภรรยาเจ้า เจ้าจอม มารดา และเจ้าจอมทั้งหมด ๕๔ พระองค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงมีพระสนมเอก ๑ นาง และเจ้าจอมมารดา ๓๑ นาง๑๑ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระอัครมเหสี มเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ทั้งสิ้น ๑๕๒ พระองค์๑๒ กว่าที่รัชกาลที่ ๖ จะทรงเริ่มสนพระราชหฤทัย มีนางในอย่างเป็นทางการเมื่อมีพระชนมายุ ๓๘ พรรษา ทรงประกอบ พระราชพิธีหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ประทับในพระต�ำหนักจิตรลดา รโหฐาน ซึ่งพระองค์เสด็จเยี่ยมทุกวัน๑๓ ทั้งคู่มักทรงปรากฏพระองค์ใน พื้นที่สาธารณะด้วยกันเสมอ โดยปราศจากข้าราชบริพารชายหนุ่มที่เคย ปรนนิบัติรับใช้นั่งเคียงข้างจนเป็นที่สังเกตและพูดถึง๑๔ พระราชส�ำนักฝ่ายในจึงเริ่มมีข้าราชส�ำนักที่เป็นผู้หญิงหรือนาง พระก�ำนัลอย่างจริงจัง แต่ก็เพื่อตามเสด็จพระคู่หมั้นของพระองค์ ในเวลาที่โปรดให้โดยเสด็จพระราชด� ำเนินตามงานพระราชพิธีต่างๆ เท่านั้น ซึ่งทรงคัดเลือกหญิงจากตระกูลชั้นสูงด้วยพระองค์เอง เช่น ศรี ชานันท์ ยอดหงษ์ 7


พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี (ภาพจาก ราชพัสตราภรณ์. สำ�นัก งานสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เฉลิม พระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)

8 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


ไกรฤกษ์ และเปรื่อง สุจริตกุล๑๕ ขณะเดียวกันก็มีผู้มาถวายตัวเป็น นางในจ�ำนวนมาก๑๖ แต่ ๔ เดือนต่อมา ทรงถอนหมั้นโดยทรงให้เหตุผลว่าไม่เพียง “พระราชอัธยาศัยและพระอัธยาศัย...มิได้ต้องกัน” แต่พระองค์เจ้า วัลลภาเทวีมี “...เส้นประสาทไม่ปรกติ...อาจจะมีผลอันไม่พึงปรารถนา ในทางสืบราชสันตติวงศ์ต่อไปได้...” ๑๗ มากไปกว่านั้น ยังพระราชทาน โซ่ทองไปเกาะไม่ให้ออกจากพระบรมมหาราชวัง จากนั้น ดูเหมือนว่าพระองค์ก็ทรงคบหากับน้องสาวต่างแม่ ของอดีตพระคู่หมั้นอย่างเปิดเผยซึ่งทั้งคู่ทรงพบกันระหว่างที่พระองค์ ทรงหมั้นอยู่แล้ว หลังจากประกาศถอนหมั้นไม่ถึงเดือนพระองค์ก็ ทรงสถาปนาให้เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ และประกาศพระราชพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งพระองค์ทรงประกาศว่าจะทรงมีพระมเหสีเทวีเพียง หนึ่งพระองค์๑๘ แต่ก็ไม่ได้อภิเษกสมรส หลังจากเฉลิมพระยศได้ ๑ เดือน ๑๙ วัน พระองค์ก็ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรสกับลูกสาว ของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม) ชื่อ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริต กุล) เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นอดีตนางก�ำนัล พระคู่หมั้นพระองค์แรกและราชเลขานุการในพระองค์ ถวายงานจัด เครื่องดนตรี เครื่องสายผสมบรรเลงถวายทุกเวลาค�่ำ๑๙ และทรง “แยก กันอยู่” กับพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณที่ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เสมือน รางวัลปลอบพระทัย ๔ เดือนต่อมา เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรง อภิเษกสมรสกับ ประไพ สุจริตกุล น้องของพระสุจริตสุดา และ แต่งตั้งให้เป็น พระอินทราณี ต�ำแหน่งพระสนมเอก และเมื่อ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงได้โปรดสถาปนาให้เป็น พระวรราชชายา เธอ พระอินทรศักดิศจี เพื่อยกระดับเป็นชนชั้นเจ้า ทั้งนี้เพราะทรง เชื่อว่าพระนางทรงมีครรภ์และจะให้ประสูติเจ้าฟ้า ซึ่งถ้าเป็นพระราช โอรสจะได้สืบสันตติวงศ์๒๐ ชานันท์ ยอดหงษ์ 9


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ (ภาพจาก ราชพัสตราภรณ์. สำ�นัก งานสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เฉลิม พระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)

10 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


เนื่องจากทรงเข้าพระราชหฤทัยว่ามีพระหน่อในพระครรภ์ พระ วรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี จึงกลายเป็นที่ทรงโปรดปรานเป็น อย่างมาก ทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดทุกสกุล และได้รับ การสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ซึ่ง เป็นยศสูงศักดิ์เท่าสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๕ ในพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕ และแทบตลอด เวลาที่ทรงว่างจากราชการ รัชกาลที่ ๖ จะเสด็จฯ ไปประทับด้วย แม้ เวลาเสวยพระกระยาหารกลางวัน พระองค์ก็โปรดเสวยที่พระต�ำหนัก พระบรมราชินี แทนการเสวยร่วมกับราชบริพารคนสนิทอย่างแต่ก่อน เมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่ใดแม้ในต่างจังหวัด ก็ โปรดให้ตามเสด็จด้วย๒๑ แต่หลังจากทีอ่ า้ งว่าทรงแท้งบ่อยครัง้ พระนาง จึงถูกเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก “พระบรมราชินี” เป็น “พระวรราชชายา” ใน พ.ศ. ๒๔๖๘๒๒ และในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ ลงวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สั่งห้ามไม่ให้น�ำพระอัฐิของพระนางมาคู่กับ พระบรมอัฐิของพระองค์ “เพราะตั้งแต่ได้มาเป็นเมียข้าพเจ้า ก็ได้บำ� รุง บ�ำเรอน�้ำใจข้าพเจ้าเพียง ๑ เดือนเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมาเอาแต่ความร้อน ใจหรือร�ำคาญมาสู่ข้าพเจ้าเป็นเนืองนิตย์” ๒๓ หลังจากนั้นรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนา เครือแก้ว อภัยวงศ์ นางสนมนางละครในกรมมหรสพ ธิดาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หลานยายของท้าวศรีสุนทรนาฏ ผู้อ�ำนวยการละครหลวงฝ่ายใน ใน พระบรมมหาราชวัง๒๔ ให้เป็น เจ้าจอมสุวัทนา ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ซึ่ง เหตุที่พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นเจ้ามีพระอิสริยยศเป็น พระนางเจ้าสุวท ั นา พระวรราชเทวี ทัง้ นี้ “เพือ่ ผดุงพระอิสริยยศแห่ง พระกุมาร ทีจ่ ะมีพระประสูตกิ าลในเบือ้ งหน้า” ๒๕ แต่ปรากฏว่าได้ประสูติ พระราชธิดา สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ใน วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ก่อนสวรรคตเพียง ๑ วัน แม้พระองค์ทรงเริม่ มีพระมเหสีเทวี พระสนม พระคูห่ มัน้ เพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ช่วง ๖ ปีสดุ ท้ายของรัชกาล เริม่ จ้างนางในมีเบีย้ หวัดเงินเดือนให้ แต่โปรดเกล้าฯ ให้รับใช้พระมเหสีเทวีที่แยกส่วนกับพระองค์ที่ยังคง ชานันท์ ยอดหงษ์ 11


พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) (ภาพจาก ราชพัสตราภรณ์. สำ�นักงานสร้าง เสริมเอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)

12 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา

ชานันท์ ยอดหงษ์ 13


พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ภาพจาก ราชพัสตราภรณ์. สำ�นักงานสร้าง เสริมเอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)

14 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


ใช้สอยและรับการถวายงานจากนายในเด็กหนุ่ม๒๖ พระองค์ยังคงเสด็จ เข้าที่พระบรรทมพร้อมกับบรรดาข้าราชบริพารชาย การถวายอยู่งาน ในห้องพระบรรทมอย่างงานนวดและผลัดเปลี่ยนฉลองพระองค์ยัง คงเป็นหน้าที่ของมหาดเล็ก ส่วนพระชายาพระมเหสี พระองค์โปรด ให้ขึ้นเข้าเฝ้าเป็นครั้งคราว หรือเมื่อทรงต้อนรับแขกเมืองและเสวย พระกระยาหาร ซึ่งจะร่วมโต๊ะเสวยกับเจ้าพระยารามราฆพ พระสหาย และมหาดเล็กคนโปรดด้วย๒๗ ด้วยเหตุนี้ บทบาทหน้าที่ของข้าบาทบริจาริกาคอยถวายงาน ปรนนิบัติรับใช้กษัตริย์อย่างใกล้ชิดกลายมาเป็นหน้าที่ของมหาดเล็ก ชายหนุ่มที่พระองค์ทรงคัดเลือกและอุปการะไว้ แม้จะมีข้าราชส�ำนัก ฝ่ายในเพศหญิงปฏิบัติหน้าที่ในพระราชฐานชั้นใน แต่ก็ไม่ใช่บทบาท หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรงหรือรับใช้ส่วนพระองค์ เว้นแต่ นางพนักงานพระภูษาส่วนพระองค์ และควบคุมห้องเครื่องเสวยคาว หวาน ซึ่งเป็น คุณท้าวอินทรสุริยา (ม.ล. เชื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) พี่สาว เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวา มหาดเล็กคนโปรด๒๘

ชานันท์ ยอดหงษ์ 15


เชิงอรรถ ๑ จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำ �นักในสมัย รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติ ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑, น. ๘๘.; พรศิริ บูรณเขตต์, “นางใน : ชีวิตทางสังคมและบทบาทในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ ๕”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐, น. ๕๖. ๒ Loos, Tamara, “Sex in the Inner City : The Fidelity between Sex and Politics in Siam” in The Journal of Asian Studies 64 : 4 (Nov., 2005), pp. 881-909. ๓ พรศิริ บูรณเขตต์, เรื่องเดียวกัน, น. ๕๙. ๔ วรรณพร บุญญาสถิต, จอมนางแห่งสยาม : ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๖ กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. (กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บคุ๊ ส์, ๒๕๕๒), น. ๖๘-๖๙. ๕ สาระ มีผลกิจ, ราชสำ�นักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. (กรุงเทพฯ : มิวเซียม เพรส, ๒๕๕๑), น. ๑๗๐-๑๗๑. ๖ จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, เรื่องเดียวกัน, น. ๑๑๘-๑๑๙. ๗ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๑๖, ๑๑๘. ๘ วรรณพร บุญญาสถิต, เรื่องเดียวกัน, น. ๗๔-๗๕, ๘๓. ๙ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๒๒. ๑๐ Mead, Kullada Kesboonchoo, The Rise and Decline of Thai Absolutism. (London : Routledge, 2004). ๑๑ สมบัติ พลายน้อย, พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์วัง หน้า. (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๓๖), น. ๒๑๖-๒๔๒. ๑๒ พรศิริ บูรณเขตต์, เรื่องเดียวกัน, น. ๗๖. ๑๓ ทวี มุขธระโกษา, พระมหาธีรราชเจ้า. (พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๐๖), น. ๖๐๙. ๑๔ Greene, Stephen Lyon Wakeman, Absolute Dreams : Thai Government under Rama VI, 1910-1925. (Bangkok, Thailand : White Lotus, 1999), p. 132. ๑๕ ภายหลังได้รับการสถาปนาให้เป็น พระสุจริตสุดา พระสนมเอก

16 “ น า ย ใ น ” สมัยรัชกาลที่ ๖


๑๖ ลาวัณย์ โชตามระ, พระมเหสีเทวี. (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๒), น. ๑๑๙. ๑๗ จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, เรื่องเดียวกัน, น. ๑๘๔. ๑๘ ทวี มุขธระโกษา, เรื่องเดียวกัน, น. ๖๑๘-๖๑๙. ๑๙ วรรณพร บุญญาสถิต, เรื่องเดียวกัน, น. ๗๑. ๒๐ ทวี มุขธระโกษา, เรื่องเดียวกัน, น. ๖๔๓. ๒๑ ลาวัณย์ โชตามระ, เรื่องเดียวกัน, น. ๑๖๒-๑๖๔. ๒๒ ทวี มุขธระโกษา, เรื่องเดียวกัน, น. ๖๔๖. ๒๓ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, บันทึกเรื่องพระราชพินัยกรรมรัชกาลที่ ๖ “ฉบับ เต็ม”. (August 14, 2006, http://somsakwork.blogspot.com/2006_08_01_archive. html). ๒๔ หญิงอันเป็นทีร่ กั ของพระเจ้าแผ่นดิน. (กรุงเทพฯ : สมาคมนิสติ เก่าอักษร ศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘), น. ๗๑. ๒๕ ทวี มุขธระโกษา, เรื่องเดียวกัน, น. ๒๔๗-๒๔๘. ๒๖ เจรียง ลัดพลี, “ชีวิตข้าหลวงสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระ วรราชชายาในรัชกาลที่ ๖” ใน มานวสาร ๙ : ๑๐ (ตุลาคม ๒๕๒๙), น. ๓๔๔๒.; ๙ : ๑๑ (พฤศจิกายน ๒๕๒๙), น. ๒๙-๓๙. ๒๗ อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำ�เนินพระราชทานเพลิงศพ พระสุจริต สุดา (เปรื่อง สุจริตกุล). อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำ�เนินพระราชทานเพลิง ศพ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ท.จ.ว. พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๖ ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖, น. (๑๕). ๒๘ จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, เรื่องเดียวกัน, น. ๑๕๒.

ชานันท์ ยอดหงษ์ 17


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.