“มนุษย์เป็นสัตว์พิการซ�้ำซ้อน ทั้งด้วยความยินยอมและความจ�ำยอม”
เนรเทศ ภู กระดาษ
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗
เนรเทศ • ภู กระดาษ
พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, ตุลาคม ๒๕๕๗ ราคา ๑๘๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ภู กระดาษ. เนรเทศ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๕๖ หน้า. ๑. นวนิยายไทย I. ชื่อเรื่อง 895.913 ISBN 978 - 974 - 02 - 1337 - 6 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : โมน สวัสดิ์ศรี • พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ศิลปกรรม : อริญชย์ ลิ้มพานิช ออกแบบปก : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองการเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ภาพลักษณ์ชีวิตในชนบท ส่วนใหญ่มักฉานฉายถึงความ เป็นอยู่แสนเรียบง่าย การอยู่กินอย่างสมถะ แตกต่างจากความ วุ่นวายในเมืองใหญ่ ซึ่งแท้แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้เป็น เช่นนั้นเสียทุกเรื่อง เนื่องจากเบื้องลึกของพวกเขายังวนเวียน อยู ่ กั บ ความขั ด สน บางคนถึ ง กั บ ต้ อ งหลบลี้ ค วามไม่ มั่ น คง ด้วยการเนรเทศตนเองไปสู่หลักแหล่งที่ดีกว่า วัฏจักรการเร่ร่อนเพื่อต่อลมหายใจของพวกเขาจึงมิใช่ ปรากฏการณ์ใหม่ แต่เกิดขึ้นกระทั่งคนในสังคมยอมรับว่าเป็น เรื่องธรรมดา เรื่องเล่าชาวบ้านที่ต้องเดินทางไปท�ำงานตามหัวเมือง ทอดทิง้ ปูย่ า่ ตายายให้ตอ้ งผจญชีวติ อยูก่ บั อนาคตทีไ่ ม่แน่นอนจึง เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ความหวังในการใช้ชีวิตอย่างมีอนาคต เนรเทศ 5
จึงเลือนรางเฉกเดียวกับสายหมอกยามเช้า อีกทั้งการเดินทาง ไปท�ำงานในเมืองใหญ่หรือการเดินทางจากเมืองใหญ่เพื่อกลับ ต่างจังหวัดก็ยังสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของคนทั่วไปได้เช่นกัน สภาพแวดล้อมของการเดินทาง ชีวิตที่ต้องทนอยู่กับ ระบบสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐานทีป่ ราศจากการแก้ไข ในสายตา ของคนชั้นกลางอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หากแท้จริงแล้ว สิ่งต่างๆ นับแต่ความเป็นอยู่ทั่วไป การพลัดพรากจากแหล่งที่ อยู่อาศัย การเดินทางที่แสนจะเนิบเนือยราวกับเป็นสิ่งที่ต้อง ยอมรับ ล้วนเกิดจากการสั่งสมบ่มเพาะทางสังคมตั้งแต่ยอด พีระมิดจนกระทบมายังฐานรากทั้งสิ้น “ภู กระดาษ” นักเขียนหนุ่มเลือดอีสานผู้เคี่ยวกร�ำการ เขียนมานับแต่เป็นนักกิจกรรม จึงทุ่มเทขีดเขียนนวนิยายที ่ บรรยายถึงอารมณ์และสภาพความเป็นจริงของคนพื้นถิ่น บอก เล่าการเดินทางด้วยภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ในการเขียนหนังสือ ของนักเขียนหนุ่มผู้นี้ ภายใต้นวนิยายชื่อ “เนรเทศ” ด้วยเนื้อหาของนวนิยาย นอกจากจะเน้นการบรรยาย ด้วยภาษาพื้นถิ่นแล้ว เค้าประเด็นที่ให้น�้ำหนักมิใช่แค่เรื่องเล่า ในชนบทเท่านั้น หากแต่ให้ความส�ำคัญกับบรรยากาศแวด ล้ อ ม เชื่ อ มโยงถึ ง ปรากฏการณ์ ท างการเมื อ งและสั ง คม ส่ ง สะท้ อ นไปยั ง ระบบการขนส่ ง ของประเทศอั น เป็ น ดุ จ กระจก มหัศจรรย์ที่ฉายให้เห็นความจริงอีกหลายด้าน เป็นความจริงที่ฉาบนอกสวยงาม ทว่าภายในกลวงโหวง ว่างเปล่า ราวกับความวิเศษและแสงเสียงที่ผ่านพบเป็นเพียง 6 ภู กระดาษ
การโฆษณาชวนเชื่อ นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นงานเขียนคุณภาพ ที่ฉีกขนบการเขียนอย่างธรรมดาไว้อย่างน่าสนใจ แม้แต่นัก เขี ย นมื อ อาชี พ ด้ ว ยกั น ก็ ยั ง รอคอยอ่ า นงานวรรณกรรมของ ผู้เขียนด้วยซ�้ำ ส�ำนักพิมพ์มติชน
เนรเทศ 7
ส�ำหรับ แม่ บุตรีทั้งสองของข้าพเจ้า, พาขวัญ ธรรมแก้ว และ ปันนา ธรรมแก้ว
๑
ยังมีหนึ่งครอบครัวในอีกนับมากหลายครอบครัวแต่คราว ปางนั้น คราวครั้งแต่สมัยพระเจ้าสามห�ำปางพู้น มีสมาชิกพ่อ แม่และลูกชายสองคน ได้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ไพรีกว้าง ได้ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่นกนานาชนิดร้องเพลงรื่นเริงนีนันทุกเช้า เย็น อวลหอมดอกคูนบานสดเต็มพวงพัว้ ก็ดกดืน่ หมูม่ วลแมลง ภู่ผึ้งได้กลั้วเกลือกชิดเชย ได้อาศัยอยู่ในเมืองบ้านอันร่มเย็น สงบสุข หาอยู่หากินกันไปอย่างเงียบงันในเสียงปากเสียงจาพูด คุยออกมาก็ดังอ่อมๆ แอ่มๆ ซับๆ แซบๆ และอยู่อย่างยากจน ข้นแค้นหน้าก�ำ่ ด�ำหมองอย่างเดียวกับพีน่ อ้ งป้องปายไทหมูบ่ า้ น อื่นๆ คนอื่นๆ ครอบครัวนั้นยังได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ฝนก็ตกต้องตาม ฤดูกาล ฟ้าร้องประเปรีย้ ง ฟ้าแล่บเมียบมาบ อาศัยอยูใ่ นหมูบ่ า้ น เนรเทศ 11
ที่ลมก็พานพัดมาส่วยส่ายตามฤดูกาล แดดก็ออกก็ส่องแจ้งจ้า ก้าแกว่นตามวันเวลาตรงเป๊ะ และได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ข้าว กล้างามเขียวฮีฮวย ล�ำต้นเท่าท่อนแขนท่อนขา เมล็ดเท่าผล กระท้อนสุกรีเรียวยาวเป็นศอก รวงก็ยาวเป็นวาสองวา ปูปลา งัวควาย ช้างม้า ปศุสัตว์ ไก่เป็ดก็อ้วนก็พีแข็งแรงและยังมีภูมิ ต้านทานโรคร้ายที่คอยสุมนานาชนิดอีกด้วย แต่ทว่าครอบครัวนั้นและครอบครัวของพี่น้องป้องปาย ไทร่วมหมู่บ้านได้เป็นเจ้าของครอบครองสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแต่ เพียงน้อยนิด พออยู่พอกิน พอได้ให้เก็บเกี่ยวบ�ำรุงเมืองบ้าน เท่านั้น โดยมีเจ้าที่ดินรายใหญ่ของหมู่บ้าน เจ้าของการประมง ปศุ สั ต ว์ ร ายใหญ่ ข องหมู ่ บ ้ า นก็ เ ป็ น แต่ ก วนบ้ า นที่ ไ ด้ รั บ การ แต่งตั้งโดยเจ้าเมือง มอบภาระหน้าที่ชีวิตรับผิดชอบให้มาดูแล หมู่บ้านแทนต่างหูต่างตา เก็บเกี่ยวหมากผล ข้าวน�้ำท่ามปลา ปศุ สั ต ว์ จ ากหมู ่ บ ้ า นและทั้ ง ของป่ า หาได้ จ ากคนในหมู ่ บ ้ า น บรรณาการให้เมืองอย่างบริบูรณ์พูนผลหลังจากหักกักเก็บไว้ เองบ้างจนล้นเหลือแล้ว กับบริวารมือเท้าของกวนบ้านไม่กี่คน ไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น ไม่กี่คนกี่ครัวเฮือนเหล่านั้นล้วนครอบครองท�ำเลดินด�ำ น�้ำชุ่มหลายร้อยหลายพันไร่ไว้สิ้น ครอบครองแหล่งท�ำการ ประมง การปศุสัตว์ชั้นเลิศไว้ทั้งสิ้น ในวันหนึ่งเหมือนกับทุกวันที่ผ่านมาที่พ่อกับแม่ต้องตื่น แต่ดึก ลุกแต่เช้าจับมีดพร้าและเสียมออกไปตามดงตามป่า ขึ้น ภูขึ้นผาหาขุดมันขุดกลอยมาต้ม มาหุงกิน หาหมากไม้ป่ามา 12 ภู กระดาษ
กินแทนต่างข้าวต่างปลา ปล่อยให้ลูกชายวัยเยาว์ยังน้อยสอง คนรอคอยอยู่ที่บ้าน บ้านที่อยู่นอกๆ อาณาเขตหมู่บ้านซึ่งติด อยู่กับที่นาของกวนบ้าน ที่ดินของครอบครัวจ�ำนวนน้อยนิด เท่าปลาตะเพียนดิ้นตาย พอแต่ได้ปลูกเฮือนหลังน้อยไว้ซุก หัวนอน และเพียงได้ท�ำนาปลูกข้าวแบบหยอดหลุมบ้าง ขุด หลุมหย่อนต้นกล้าลงบ้างในคราวเดือนเก้าเดือนสิบเท่านั้น แม้ ฝนจะตกต้องพอเหมาะพอดีตลอดทั้งฤดูกาล แต่ทว่าดินร่วน ปนทรายซีดขาวอยู่ใครอยู่มันก็นิ่งเฉยมึนตึง ปล่อยให้น�้ำซึม ผ่านอย่างรวดเร็ว ให้ไหลล่วงน�้ำฝนจากฟ้าไปยังดินชั้นบาดาล อย่างไร้อุปสรรคกีดขวางในชั่วพริบตา และระหว่างกลางวันที่ลูกชายทั้งสองคนนั่ง นอน และ เล่น รอคอยพ่อกับแม่อยู่นั้น ฝนก็ตกลงมาอย่างเดียวกับที่มัน เคยตกในแทบทุกวันที่ผ่านมาและตามฤดูกาล แต่วันนั้นอาจ จะตกหนักหนาแน่นกว่าทุกวันที่ผ่านมาอยู่บ้าง ฟ้าร้องครื้น ครั่น เปรี้ยงปร้าง ฟ้าแลบเมียบมาบวะวาบ ลมพัดรานแรงจน ต้นมะพร้าวโยกไหว ต้นถ่ม ต้นเปือยธรรมดาและเปือยเลือด ต้นกระบก ต้นขะหนวน ต้นขะยุงที่ยืนต้นอยู่บนเนินโพนดิน น้อยๆ ระเกะระกะดกหนาตามที่นาของกวนบ้านและบริวาร โยกไหว เม็ดฝนใหญ่เท่านิว้ ชีห้ นาแน่นรุนแรงเข้มข้นหนักหน่วง และยาวนานกว่าทุกวันอยู่มากหลายก็หนาวจนเยือกสยืด ก็ตุ่ม หนาวผุดผื่นขึ้นเป็นแผ่นปื้นเต็มเนื้อตัวร่างจ่อยจ๋องโซผอม ท้อง ร้องจ้อกๆ อะอ่ามอุกเอ้า มันจุกเสียดรุกรุมเสียยิ่งกว่าตัวเรือด รุมกินเลือดแม่ไก่ที่ก�ำลังฟักไข่นั่นเสียอีก ข้าวคือมันต้มมื้อ เนรเทศ 13
สุดท้ายก็ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา หนืดชื้นก็ล�ำบากหายใจ นก น้อยตามต้นไม้งอยคอนคบก็เหงาซึมสัปหงก และจนสองอ้าย น้องต้องก่อไฟขึ้นผิงอยู่ในบริเวณเพิงมุงหญ้าคาที่ต่อออกมา จากตัวบ้านส�ำหรับไว้ท�ำครัว และระหว่างที่อังอุ่นไอไฟอยู่นั้น ก็มีปูนาขนาดใหญ่กระดองแข็งตัวเท่าก�ำปั้นสี่ตัวคลานต้วม เตี้ยมตามกันเข้ามาในบริเวณที่พวกเขาก�ำลังนั่งผิงไฟกันอยู่ ดีใจจนลิงโลดก็ทั้งอ้ายทั้งน้องจึงได้จับมาจี่มาย่างไฟ แบ่งกัน กิน อ้ายกินหนึ่งตัว น้องกินหนึ่งตัว เหลือสองตัวเผื่อไว้ให้พ่อ กับแม่ได้กิน จี่ย่างไฟถ่านแดงๆ จนสุกส้มระเรื่อทั้งกระดองปูนา น�้ำ เดือดปุดฟูฟอดออกมาตามร่องช่องระยางค์และเหยกลิ่นหอม ชวนกิน น้องได้แต่กลืนน�้ำลายเอื้อกๆ รอคอย ท้องร้องจ้อกๆ ก็ทั้งอ้ายทั้งน้องรอคอย ปูนาสี่ตัวนี้มีชีวิตเหลือรอดมาได้อย่างไร มาจากไหนนั้น ก็ไหลหวื่นวือในหัวของทั้งอ้ายทั้งน้องแต่ก็เพียงปล่อยให้ไหล หลั่งหลากอยู่เยี่ยงนั้น เมื่อปูนาสุกทั้งสี่ตัวแล้วก็จึงได้พากันกิน สองตัวแรกนั้น กินจนหมดขา กระดอง ก้าม หมดทุกอย่างไม่ เหลือแม้เศษซาก น้องชายเลียริมฝีปาก อ้ายก็เรอเสียงดังออก มาราวกับเสียงเรอของเจ้าเมืองหลังกินข้าวกินปลาอิ่มหน�ำแล้ว สายลมหอบไอชื้นยังพัดหวื่อวือ เม็ดฝนยังเท่าเดิมถล่ม ลง และท้องของน้องชายก็ว่างโหวงจนได้แต่มองหน้าอ้าย ยิ้ม ส่งให้ ขณะที่อ้ายนั้นตาเขียวใส่ เป็นการปรามเบื้องต้น น้องก็ ยังมองออดอ้อน ละห้อยแท้แววตา อ้ายก็ยิ่งถมึงทึงแท้แววตา 14 ภู กระดาษ
และจนแล้วจนรอด ท้องที่ว่างโหวงก็ร้องโจ้กๆ อะอ่ามอุกเอ้า ขึ้นมาเข้มข้น ปูตัวแรกส�ำหรับน้องนั้นเคี้ยวแล้วกลืน ทว่ามัน ละลายและถูกดูดซึมอยู่บริเวณล�ำคอไปหมดสิ้นแล้ว ไม่เล็ด ลอดเหลือหลงลงไปได้ถึงท้องถึงกระเพาะถึงล�ำไส้อ่อนแก่แม้ แต่น้อย น้องก็จึงอ้อนวอน แต่อ้ายก็ต้องห้ามปรามไว้ น้องจึงว่า “อ้าย...กูกินบ่อิ่ม กูอยากกินอีก” อ้ายตอบ “กินบ่ได้หรอก เอาไว้ให้อีพ่ออีแม่ อดเอากลั้น เอาไว้บักหล่าบักค�ำ” น้องรบเร้า “กูบอ่ มิ่ น่ะ แบ่งให้อกี สักครึง่ ตัวได้บอ่ า้ ย อีพอ่ อีแม่บ่ด่าหรอก” อ้ายเริ่มโมโหขึ้นมาจึงเสียงแข็งออกไปว่า บ่ได้ก็คือบ่ได้ มึงอย่ามาอ้อนมาวอนกูหลาย ถูกสันแข้งตีนใหญ่ๆ ของกูเดี๋ยว นี้ละ แต่น้องชายก็ยังงอแงอ้อนวอน แววตานั้นละห้อยคือกัน กับแววตาของสุนัขจรจัดตามบริเวณลานคอนกรีตเอาต์ดอร์ให้ บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ นั่งจ�้ำเบ้าเงยหน้ามองอ้อนขอข้าวขอเศษอาหารจากคนกิน สี หน้าก็เหลืองเซียวราวกับคนขลุกอยู่แต่กะพยาธิฮ้ายโรคร้าย แรงนานาชนิด มันก็นานปี หลายปีหนนั่นแหละจึงจะได้กินปู กินปลาแบบนี้บ้าง มันไม่เคยเหลือรอดหลุดเล็ดหรือหลงเลย มาจากบ้านของกวนบ้านและบริวารได้ง่ายนัก เป็นเยี่ยงนี้แหละ ที่รสติดชุ่มปากมันจึงยวนใจให้อยากอยู่ตลอดได้ น้องชายไม่ลดละความพยายามในการอ้อนวอนขออ้าย เนรเทศ 15