ศิ ล ปะลาว
ภาพจากปกหน้า
๑
๒
๓
๔
(๑) ลายเส้นปูนปั้นรูปมกรคายนาคประดับพลสิงห์ หอพระแก้ว เมืองเวียงจัน (ทีม่ า : สงวน รอดบุญ, พุทธศิลปลาว, พิมพ์ครัง้ ที ่ ๒ (กรุงเทพฯ : สายธาร, ๒๕๔๕). (๒) พระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลก หอพระแก้ว เมืองเวียงจัน มีจารึกที่ฐาน พ.ศ. ๒๒๙๘ (๓) งานประดับกระจกบนผนังหอไว้ทศิ ใต้ของสิมวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง (๔) ลายเส้นปูนปั้นรูปมกรประดับตะเฆ่ชายคาอุโบสถ หอพระแก้ว เมืองเวียงจัน (ทีม่ า : สงวน รอดบุญ, พุทธศิลปลาว, พิมพ์ครัง้ ที ่ ๒ (กรุงเทพฯ : สายธาร, ๒๕๔๕). ภาพจากปกหลัง
๒
๑ ๓
(๑) ช่อฟ้า หรือสัตตะบูรพิ นั (สัตบริภณ ั ฑ์) กึง่ กลางสันหลังคาสิมวัดเชียงทอง เมือง หลวงพระบาง (๒) ธาตุทรงปราสาท เป็นประธานของวัดมหาธาตุ (ทาดน้อย) เมืองหลวงพระบาง (๓) สิมวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง
ศิ ล ปะลาว
ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ราคา ๑๘๐ บาท
ศิลปะลาว • ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม ๒๕๕๗ ราคา ๑๘๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ประภัสสร์ ชูวิเชียร. ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๑๖ หน้า.- -(ประวัติศาสตร์ศิลปะ). ๑. ศิลปกรรมลาว. I. ชื่อเรื่อง. 709.951 ISBN 978 - 974 - 02 - 1336 - 9
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการเล่ม : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : กานต์สินี พิพิธพัทธอาภา
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองการเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบั ญ ศิลปะลาว
คำ�นิยม คำ�นำ�
(๘) (๑๒)
๑ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม
๒
ผู้คนสองฝั่งโขง ชุมชนโบราณ บ้านเมืองของล้านช้าง หลักฐานทางโบราณคดีและชุมชนยุคแรก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีศักดิ์สิทธิ์ที่สองฝั่งโขง ศิลปกรรมยุคแรกเริ่ม ศิลปกรรมก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในดินแดนล้านช้าง ประวัติศาสตร์สังเขปของอาณาจักรล้านช้าง
๑๕ ๑๙ ๒๑ ๒๖
สมัยอาณาจักรล้านช้าง เชียงดงเชียงทอง และเวียงจัน สมัยล้านช้างสามนครรัฐ
๒๖ ๒๗ ๒๙
ภูมิศาสตร์สองฝั่งโขง ดินแดนวัฒนธรรมลาว-ล้านช้าง
สมัยต�ำนาน
๓ ๗ ๙
๒ ประวัติศาสตร์ศิลปะลาว-ล้านช้าง วัฒนธรรมพุทธศาสนาของล้านช้าง
๓๒
สถาปัตยกรรมศิลปะลาว-ล้านช้าง
ธาตุ
๓๓ ๓๖
สิม และอาคารหลังคาคลุม อาคารทางศาสนาแบบอื่นๆ
๓๗ ๕๑ ๖๒
ประติมากรรมศิลปะลาว-ล้านช้าง พระพุทธรูปล้านช้าง จิตรกรรมและงานประดับตกแต่งของศิลปะลาว-ล้านช้าง ฮูปแต้ม : จิตรกรรมฝาผนังลาว
๖๗
ลายฟอกค�ำ งานสลักไม้ “ควัดแกะ” งานประดับกระจก สรุป
๓ แหล่งเรียนรู้และสถานที่ส�ำคัญ ทางประวัติศาสตร์ศิลปะ วัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง
วัดปากคาน เมืองหลวงพระบาง วัดมหาธาตุ (ทาดน้อย) เมืองหลวงพระบาง วัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง วัดใหม่สุวรรณภูมาราม หลวงพระบาง ธาตุพูสี หลวงพระบาง หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เมืองหลวงพระบาง (พระราชวังเจ้ามหาชีวิต) ธาตุหลวง นครเวียงจัน วัดสีสะเกด นครเวียงจัน หอพระแก้ว นครเวียงจัน พระธาตุศรี โคดตะบอง เมืองท่าแขก (6) ศิลปะลาว
๖๘
๘๑ ๘๓ ๙๓ ๙๗ ๑๐๓ ๑๐๕
๑๐๙
๑๑๐ ๑๑๙ ๑๒๐ ๑๒๔ ๑๒๖ ๑๒๙ ๑๓๐ ๑๓๒ ๑๓๘ ๑๔๕ ๑๔๘
๔ ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ศิลปะลาว กับดินแดนไทย ๑๕๓ สถาปัตยกรรม ธาตุหรือเจดีย์
สิม สถาปัตยกรรมปลีกย่อย : หอไตร
๑๕๕
๑๕๕ ๑๖๔ ๑๗๗
ประติมากรรม พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง ฮูปแต้ม
๑๗๙
สรุป
๑๙๒
บรรณานุกรม
๑๙๙
๑๗๙
๑๘๔
ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร (7)
ค� ำ นิ ย ม ศิลปะลาว
หนังสือชุด “ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน” เกิดขึ้น เนื่องด้วยการที่ประเทศในภูมิภาคนี้ประกาศรวมตัวกันเป็นประชาคม อาเซียน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังนั้น ในทุกภาคส่วนของแต่ละประเทศ จึงมีความตื่นตัวเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น อันเป็นการเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับการเข้าร่วมประชาคมดังกล่าว ศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญอย่างหนึ่งของ ประชาชาติ อ าเซี ย น ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการเรียนการสอน ศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานข้อมูลด้านศิลปกรรมอยู่ ระดับหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์กลางความรู้ทางด้านศิลปกรรม โบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้คณาจารย์ในภาควิชาฯ จึงได้ร่วมกันจัดท�ำชุดต�ำราความรู้เรื่อง “ศิลปกรรมในเอเชียตะวัน ออกเฉี ย งใต้ ” ตามโครงการเข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น โดยได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากงบประมาณแผ่ น ดิ น คณะโบราณคดี มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร เพือ่ จัดท�ำต�ำราในครัง้ นี ้ ซึง่ เลือกเขียน ๕ ศิลปะ ได้แก่ ศิลปะ เวียดและจาม ศิลปะเขมร ศิลปะพม่า ศิลปะลาว และศิลปะชวา ส่วน ชุดที่ ๒ ที่จะตามมาได้แก่ ศิลปะไทย (เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน) วัฒนธรรมดัง้ เดิมของผูค้ นในภูมภิ าคนีม้ พี ฒ ั นาการมาในลักษณะ เดียวกัน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสังคมล่าสัตว์จนสู่สังคม
เกษตรกรรม มีหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าสังคมยุคแรก เริ่มนี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น วัฒนธรรมหัวบินเนียน ต่อมาเมื่อเข้าสู่ ยุคโลหะ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมชัดเจนขึ้น เช่น มีวัฒนธรรม ดองซอน วัฒนธรรมยุคส�ำริด ที่พบกลองมโหระทึกในลักษณะเดียวกัน และในช่ ว งก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ต อนปลายได้ พ บหลั ก ฐานว่ า ผู ้ ค นใน ภู มิ ภ าคนี้ เ ริ่ ม มี ก ารติ ด ต่ อ แลกเปลี่ ย นวั ฒ นธรรมซึ่ ง กั น และกั น เช่ น เครื่องประดับ ก�ำไล ตุ้มหู ที่มีรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญในภูมิภาคนี้ คือ การ รับวัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย โดยได้พบหลักฐานว่า ศาสนา เริ่มเข้ามาเผยแผ่แล้วตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๙ ทั้งศาสนาพุทธ และฮินดู ดูเหมือนว่าในระยะเริ่มแรกนั้นศาสนาเข้ามาปรากฏหลักฐาน ขึ้นพร้อมๆ กัน เพียงแต่ผู้คนในภูมิภาคเลือกรับศาสนาที่เหมาะสมกับ ตนเองหรือตามความศรัทธาที่อาจเกิดจากผู้น�ำเป็นส�ำคัญ ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้ลักษณะทางวัฒนธรรมเริ่มแตกต่างกัน อันส่งผลในงานศิลป กรรมที่ตามมานั้นเกิดความแตกต่างกันตามไปด้วย เช่น ชนชาติที่ เลือกรับศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ชวา (ในประเทศอินโดนีเซีย) จาม (ในประเทศเวียดนาม) และเขมร ส่วนชนชาติทเี่ ลือกรับพุทธศาสนา ได้แก่ พม่า ไทย และลาว งานศิลปกรรมเกิดจากศรัทธาความเชื่อทางศาสนา ชนชาติที่ เลือกรับศาสนาฮินดู มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและลัทธิเทวราชา ท�ำให้ มีการก่อสร้างศาสนสถานที่มีความยิ่งใหญ่มั่นคงเพื่อเทพเจ้า ส่วน หลักปรัชญาของพุทธศาสนา มีความเชื่อเรื่องนิพพานเป็นเรื่องสูงสุด เพราะฉะนั้นการสร้างศาสนสถานเป็นเพียงเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา สมถะ เรียบง่ายและเหมาะกับคนในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่ง ของศาสนสถานในพุทธศาสนาที่มีความยิ่งใหญ่ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น ในศิลปะพม่า ซึ่งเกิดจากความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังนั้นจากความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดย เฉพาะงานศิ ล ปกรรมที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการสะท้ อ นความคิ ด และ ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร (9)
ความเชื่อทางศาสนาของแต่ละชนชาติ จึงปรากฏในงานศิลปกรรม ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นศาสนาเดียวกันก็ตาม ส่วนหนึ่งของแนวคิด คติการก่อสร้างนั้นเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบศิลปกรรมย่อม มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม อันเป็นเรื่อง ของงานช่าง แม้ว่าจะมีการรับและส่งอิทธิพลให้แก่กันในบางเวลาและ โอกาสก็ตาม เช่น ปราสาทที่สร้างในศิลปะชวา ต่างจากปราสาทเขมร และปราสาทจาม หรือเจดีย์ในศิลปะพม่าก็มีลักษณะและรูปแบบต่าง จากเจดีย์ในประเทศไทย เป็นต้น ดังนั้น ชุดโครงการต�ำราประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จึงต้องการแสดงให้เห็นหลักฐานทางด้านศิลปกรรมของแต่ละ ประเทศว่ามีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไรในแต่ละยุคสมัย การเริ่มต้น การสืบเนื่อง ความรุ่งเรือง และความเสื่อม ในส่วนที่เหมือน ส่วนที่ แตกต่าง และเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร จาก ชุดโครงการต�ำราดังกล่าว ได้น�ำมาปรับปรุงเป็นหนังสือชุด “ประวัติ ศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน” จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์มติชน โดย แยกเล่มเป็นศิลปะในแต่ละประเทศเพื่อง่ายต่อการอ่านและท�ำความ เข้าใจ โดยในเนื้อหาหลักของศิลปกรรมแต่ละประเทศจะประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนที่ ๒ ประวัติ ศาสตร์ศิลปะ ส่วนที่ ๓ แหล่งเรียนรู้และสถานที่ส�ำคัญทางประวัติ ศาสตร์ศิลปะ และส่วนที่ ๔ คือ ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะกับดินแดนไทย ในนามของคณะผู ้ จั ด ท� ำ ขอขอบคุ ณ คณบดี ค ณะโบราณคดี (ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ช วลิ ต ขาวเขี ย ว) ที่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ และได้ สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าด�ำเนินการจัดท�ำโครงการต�ำราในครั้งนี้ และขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชน ที่ได้ให้ความส�ำคัญอย่างมากต่อ งานศิลปวัฒนธรรม และได้จัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเผย แพร่ความรู้สู่สาธารณชน คณะผู้จัดท�ำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดความรู้นี้จะเป็นประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ที่จะท�ำให้ทั้งคนไทยและประชาคมอาเซียนได้มีความรู้ (10) ศิลปะลาว
ความเข้าใจในวัฒนธรรมซึ่งกันและกันได้ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งการท�ำความ เข้าใจในงานศิลปกรรมร่วมกันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้า ใจและความร่วมมือร่วมใจกันในเชิงสร้างสรรค์ของประชาคมอาเซียน ที่จะขับเคลื่อนไปในอนาคต อันจะเป็นผลดีต่อกันมากกว่าการที่แต่ละ ชาติจะหวังผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจเป็นส�ำคัญ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖
ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร (11)
คำ�นำ�
ศิลปะลาว
ศิลปะลาว-ล้านช้าง เป็นศิลปะที่มีความใกล้ชิดกันมากกับศิลปะ ในประเทศไทย ทั้งโดยสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ร่วมกันในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และภาษาวัฒนธรรมที่ร่วมกันมาแต่อดีตก่อนการมี รัฐชาติแบบสมัยใหม่ ทีท่ ำ� ให้มกี ารแบ่งเส้นเขตแดนประเทศดังในปัจจุบนั ศิลปะลาว-ล้านช้างนี้มีร่องรอยว่าเกิดขึ้นโดยมีความเกี่ยวพันกับศิลปะ ไทยและศิลปะอืน่ ๆ ตามระยะเวลาทีม่ กี ารส่งรับอิทธิพลกัน จึงปรากฏว่า บางครัง้ ศิลปะลาว-ล้านช้างเองก็กลับเข้ามามีบทบาทและแตกหน่ออยูใ่ น ดินแดนประเทศไทยปัจจุบนั เป็นจ�ำนวนมาก อันได้แก่ พืน้ ทีใ่ นภาคอีสาน และบางส่วนในภาคกลาง-ภาคตะวันออก ซึง่ เป็นมรดกจากปรากฏการณ์ ทางประวัติศาสตร์ที่มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มคนในวัฒนธรรมลาวจาก ถิ่นก�ำเนิดในฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขงลงมายังดินแดนที่เป็นประเทศไทยใน ปัจจุบัน ปัจจัยอีกประการที่ท�ำให้ศิลปะลาว-ล้านช้างมีลักษณะโดดเด่น เฉพาะตัวคือการเป็นพืน้ ทีล่ กึ เข้าไปภายในทวีป ไม่มเี ส้นทางออกสูท่ ะเล ได้สะดวก ซึ่งท�ำให้เกิดการตกค้างของรูปแบบเก่าที่จะผสมผสานกับ รูปแบบที่เข้าไปใหม่จนกลายเป็นลักษณะท้องถิ่นที่ไม่ปรากฏในแหล่ง
งานช่างต้นแบบที่ใด นอกจากนั้นเมื่อช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ลง มานัน้ รัฐล้านช้างทัง้ ๓ แห่งคือ หลวงพระบาง เวียงจัน และจ�ำปาสัก ต่ า งก็ ต กอยู ่ ใ นอารั ก ขาของสยาม จึ ง พบว่ า ศิ ล ปะลาวในระยะเวลา ดังกล่าวได้เก็บสะสมเอาลักษณะที่ถ่ายทอดจากศิลปะรัตนโกสินทร์ ไปเป็นอย่างมาก จึงยิ่งท�ำให้ศิลปะลาวมีลักษณะร่วมกันกับศิลปะไทย จนบางครั้งยากที่จะแยกกันได้ออก ผู้เขียนหวังว่าการเรียนรู้ศิลปะลาว-ล้านช้างจะเป็นทางที่จะ ท�ำความเข้าใจหลักฐานวัฒนธรรมของ “เครือญาติ” ที่ใกล้ชิดกับเรา มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในอนาคตจะได้รวมกันในนาม ของความร่วมมือประชาคมอาเซียน (AC) อย่างชัดเจนมากกว่าในแง่ ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร (13)
ศิลปะลาว
๑ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม
ภูมิศาสตร์สองฝั่งโขง ดินแดนวัฒนธรรมลาว-ล้านช้าง
สองฝั่งแม่น�้ำโขงอันเป็นต้นก�ำเนิดวัฒนธรรม-ศิลปกรรมแบบ ล้านช้าง ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาวและบางส่วนของประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่า จะมีแม่น�้ำโขงและเทือกเขาเป็นเส้นแบ่งดินแดนทางการปกครองใน ปัจจุบัน แต่ด้วยลักษณะทางกายภาพถือเป็นพื้นที่ที่ต่อเนื่องเกี่ยวข้อง ไม่แบ่งแยกออกจากกัน (ภาพที่ ๑) ภู มิ ลั ก ษณ์ ข องฝั ่ ง ซ้ า ยและฝั ่ ง ขวาของแม่ น�้ ำ โขงมี ลั ก ษณะที่ ค่อนข้างแตกต่างกัน อันเป็นปัจจัยที่ท�ำให้มนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่อยู่ อาศัยตั้งแต่อดีตมีวิถีชีวิตและการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่หลาก หลาย แต่ทั้งหมดก็มีการไปมาหาสู่ติดต่อกันระหว่างชุมชนตลอดเวลา จนเป็นกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน คือกลุ่มทีจ่ ะเรียกว่าวัฒนธรรมล้านช้าง ในระยะต่อมา ฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขง มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงไล่เรียงจากเหนือ ไปใต้ ตั้งแต่แขวงหัวพัน ซ�ำเหนือ เชียงขวาง และหลวงพระบาง (ภาพ ที่ ๒) ขนาบอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของแม่น�้ำโขง เทือกเขานี้คั่นเขต ระหว่างเวียดนามกับลาวในปัจจุบัน โดยมีช่องเขาเล็กๆ หลายแห่ง ที่ใช้ติดต่อกับเวียดนามได้ ส่วนทางฝั่งตะวันตกเป็นที่ราบเล็กๆ เชิง เทือกเขาทีล่ าดลงไปสูแ่ ม่นำ�้ โขง ทีร่ าบขนาดใหญ่ทสี่ ดุ ทีส่ ำ� คัญคือ ทีร่ าบ เวียงจัน อยู่ในลาวภาคกลาง (ภาพที่ ๓) มีล�ำน�้ำสาขาน้อยใหญ่ที่เกิด จากภูสูงไหลลงสู่แม่น�้ำโขงเป็นระยะ เช่น ล�ำน�้ำอู ล�ำน�้ำคาน (หลวง พระบาง) ล�ำน�้ำป่าสัก (ไหลลงที่เวียงจัน) และล�ำน�้ำเซบั้งไฟ (ไหล ลงแม่น�้ำโขงที่แขวงค�ำม่วน)๑ ฝั่งขวาแม่น�้ำโขง ที่เลียบไปกับล�ำน�้ำจะเป็นตลิ่งสูง จากนั้นไป ทางทิ ศ ตะวั น ตกคื อ ผื น ดิ น ราบกว้ า งใหญ่ ใ นเขตภาคอี ส านของไทย โดยมีเ ทือ กเขาภู พ านทอดตัว ตามแนวตะวัน ออกเฉีย งใต้ - ตะวัน ตก เฉียงเหนือ แบ่งทีร่ าบนีอ้ อกเป็นแอ่งขนาดใหญ่ ๒ แอ่ง คือ แอ่งโคราช
ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร 3
ภาพที ่ ๑ แผนทีแ่ สดงภูมภิ าคสองฝัง่ โขงในวัฒนธรรมล้านช้าง คือดินแดนประเทศ สปป.ลาว และภาคอีสานของไทยในปัจจุบนั ซึง่ นับเนือ่ งเป็นภูมปิ ระเทศทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กันมาตั้งแต่อดีต ที่มา : สุรศักดิ์ ศรีส�ำอาง, ล�ำดับกษัตริย์ลาว (กรุงเทพฯ : ส�ำนักโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๔๕).
4 ศิลปะลาว
ภาพที่ ๒ แม่น�้ำโขงทางตอนเหนือของ สปป.ลาว มีลักษณะเป็นแม่น�้ำที่ไหลผ่าน หุบเขาสูงมีที่ราบแคบๆ สองฝั่งแม่น�้ำ
ภาพที่ ๓ แม่น�้ำโขงเมื่อไหลลงมาถึงภาคกลางของ สปป.ลาว จะมีความกว้างมาก ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ราบเวียงจันซึ่งเป็นผืนแผ่นดินราบกว้างใหญ่ที่สุดของลุ่ม น�้ำโขงใน สปป.ลาว ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร 5
ทางทิศใต้ และแอ่งสกลนครทางทิศเหนือ ทั้งแอ่งโคราชและแอ่ง สกลนครยกตัวสูงจากลุ่มน�้ำเจ้าพระยาขึ้นมาด้วยเทือกเขาดงพระยา เย็นทางทิศตะวันออก และเทือกเขาพนมดงเร็กที่ยกสูงจากแผ่นดิน เขมรต�่ำทางทิศใต้ เทือกเขาส�ำคัญเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นหินทราย จึงสามารถพบเห็นลักษณะภูมิประเทศแบบแปลกๆ ได้เสมอ เช่น เพิง หินรูปดอกเห็ด (ภูพระบาท-เสาเฉลียง) หรือหลุมรูปหม้อ (แก่งตะนะสามพันโบก) ตามท้องน�้ำเก่า ล�ำน�้ำส�ำคัญ ๒ สายในแอ่งโคราชคือแม่น�้ำมูลและแม่น�้ำชี ไหลลงมาจากเทือกเขาทางทิศตะวันตกไปตะวันออกรวมกับแม่น�้ำโขง ที่ปากมูล (เขตจังหวัดอุบลราชธานีปัจจุบัน) และล�ำน�้ำสงครามกับ ล�ำน�้ำโมงของแอ่งสกลนคร ไหลจากภูพานลงสู่แม่น�้ำโขงทางทิศเหนือ (เขตจังหวัดหนองคายและบึงกาฬปัจจุบัน) เห็นได้ว่า สภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานและ ขยายชุมชนให้กว้างใหญ่ขึ้นคือทางฝั่งขวาแม่น�้ำโขงหรือภาคอีสานของ ไทย เพราะเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ในขณะที่ฝั่งซ้ายมักเป็นที่ราบแคบๆ ที่ถูกขนาบด้วยแม่น�้ำโขงและเทือกเขา หลักฐานของมนุษย์ในสมัยเริ่มแรก แสดงถึงการเดินทางไปมา หาสู่กันระหว่างสองฝั่งโขง และติดต่อเนื่องออกไปถึงภูมิภาครอบข้าง ด้วย ได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของไทยเลยออกไป ทางทิศตะวันตกสู่กลุ่มชุมชนรอบอ่าวเมาะตะมะในพม่า เชื่อมโยงถึง อ่าวตังเกี๋ยของเวียดนามทางตะวันออก ทางเหนือคงอาศัยล�ำน�้ำโขง ไปติดต่อกับล้านนาตะวันออกในกลุ่มเมืองเชียงแสน-พะเยา-แพร่-น่าน (และลงไปจนถึงลุ่มน�้ำปิง-วัง เช่นกัน) ส่วนทางใต้เมื่อข้ามช่องเขาพนม ดงเร็กลงมาก็จะเข้าสู่เขตที่ราบลุ่มทะเลสาบของกัมพูชา เส้นทางติดต่อดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ค้าขายและวัฒนธรรม มีผลให้ชุมชนสองฝั่งโขงพัฒนาขึ้นกลายเป็น รัฐขนาดใหญ่ในที่สุด
6 ศิลปะลาว
ผู้คนสองฝั่งโขง แม้มีหลักฐานว่ามนุษย์ได้เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำ โขงตั้งแต่หลายพันปีมาแล้ว แต่ก็ไม่อาจทราบถึงชนชาติของมนุษย์ ในอดีตได้ จึงเข้าใจว่ากลุ่มคนที่อยู่อาศัยติดต่อกันไปมาในลุ่มน�้ำโขง คงเป็นคนที่พูดภาษาในตระกูลไท-ลาว และ มอญ-เขมร เป็นหลัก๒ (ภาพที่ ๔) เชื่อว่าในระยะแรกคนที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร คงมีบทบาท เป็นหลักในดินแดนแถบนี้ เพราะพบหลักฐานจารึกภาษาโบราณใน ตระกูลมอญ-เขมร อายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ กระจายตัวอยู่ ในแหล่ ง โบราณคดี ส องฝั ่ ง โขง ต่ อ มามี เ หตุ ใ ห้ ค นกลุ ่ ม นี้ ถ อยร่ น ลง ไปอยู่ในบริเวณที่ราบรอบทะเลสาบเขมร จัดตั้งอาณาจักรพระนคร ยโศธรปุระขึ้นแทน ส่วนเล็กน้อยที่เหลือกลับกลายเป็นชนพื้นเมือง กระจัดกระจายกันอยู่ตามป่าดงชายขอบที่ราบลุ่มน�้ำต่างๆ
ภาพที่ ๔ ผู้คนดั้งเดิมในลุ่มน�้ำโขงเป็นคนพูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร และไท-ลาว ภาพถ่ายของชาวตะวันตกที่เข้ามาส�ำรวจแม่น�้ำโขงเมื่อราว ๑๐๐ ปีมานี้ ยังแสดง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของกลุ่มคนเหล่านี้บางส่วนอยู่ ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร 7
กลุ่มคนที่พูดภาษาไท-ลาว เริ่มพัฒนาวัฒนธรรมของตนสืบต่อ จากกลุ่มแรก โดยการรับวัฒนธรรมศาสนาจากอินเดีย ทั้งจากการ ติดต่อกับที่ราบลุ่มน�้ำเจ้าพระยา และทะเลสาบเขมร ในที่สุดหลักฐาน ของคนกลุ่มหลังนี้ปรากฏขึ้นอย่างช้าในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ และชัดเจนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยมีเอกสาร ต�ำนาน และจารึก เป็นสิ่งยืนยัน แม้ว่าคนจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่มภาษา แต่รูปแบบวัฒนธรรมคง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีภาษากลางใช้ร่วมกัน ใช้ระบบความเชื่อ ในเรื่องธรรมชาติและและวิญญาณ ยกย่องเพศแม่เป็นใหญ่ในสังคม จึงปรากฏรูปแบบพิธีกรรมที่เน้นการบูชาดินฟ้าอากาศและผีบรรพบุรุษ โดยให้ผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม น�ำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของ ชุมชน แม้ ใ นระยะหลั ง อิ ท ธิ พ ลจากพุ ท ธศาสนาจะมี บ ทบาทมากขึ้ น ในลุ่มน�้ำโขง แต่ความเชื่อในเรื่องดังกล่าวยังแทรกซึมอยู่ในระหว่าง บรรทัดของพิธีกรรมทางศาสนา เห็นได้จากการเซ่นไหว้บูชาผีที่เป็น อารักษ์ในที่ต่างๆ แม้แต่วัดวาอารามหรือพระธาตุเจดีย์ ในระยะหลัง คือพุทธศตวรรษที ่ ๒๔ เป็นต้นมา เกิดการเคลือ่ น ย้ายผู้คนไปมาระหว่างพืน้ ทีส่ องฝั่งโขงครัง้ ใหญ่ อันเป็นผลจากสงคราม ระหว่างกรุงเทพฯ-เวียงจัน ผู้คนส่วนใหญ่จากฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขงข้ามมา เป็นประชากรส่วนใหญ่ในที่ราบสูงโคราช และถูกกะเกณฑ์ให้ลงมาตั้ง ชุมชนอยู่ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา อันประกอบด้วยชาวพวน กลุ่มเวียงจัน (ลาวเวียง ลาวแง้ว ลาวตี้) หรือชาวโซ่ง (ไททรงด�ำ) ที่กระจัดกระจาย อยูใ่ นเขตจังหวัดสระบุร ี ลพบุร ี สุพรรณบุร ี ราชบุร ี และเพชรบุร ี ปัจจุบนั ส่ ว นในประเทศ สปป.ลาว ปั จ จุ บั น แบ่ ง กลุ ่ ม ประชากรตาม ถิ่นฐานที่อยู่ คือ กลุ่มลาวลุ่ม ได้แก่ประชากรที่อาศัยบนพื้นราบและ ชุมชนเมือง กลุ่มลาวเทิง คือคนลาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูงขึ้นไปจาก ที่ราบลุ่ม และกลุ่มลาวสูง คือชาวเขาและชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัว บนเทือกเขาสูงทางตอนบนขึ้นไปตลอดจนชายแดนระหว่างประเทศ
8 ศิลปะลาว
ชุมชนโบราณ บ้านเมืองของล้านช้าง ดูเหมือนว่ากลุ่มคนไท-ลาว จะมีความผูกพันกับการด�ำเนินชีวิต แบบเกษตรกรรม โดยตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น�้ำเป็นส�ำคัญ ดังนั้น เมื่อชุมชนมีการขยายตัวขึ้นจนมีลักษณะเป็นสังคมเมืองและพัฒนา ไปสู่ระบบรัฐ จึงต้องปรับปรุงรูปแบบการใช้พื้นที่ของชุมชนให้ดีขึ้น พร้อมทั้งยังคงสภาพที่ตอบสนองความต้องการมูลฐานของวัฒนธรรม ดั้งเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด ลักษณะดังกล่าวนี้พบเห็นได้ในชุมชนโบราณ ในลุ่มแม่น�้ำต่างๆ ที่เป็นบ้านเมืองของกลุ่มคนไท-ลาว ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนของชุมชนของล้านช้างที่ชัดเจนก่อน หน้าพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งสัมพันธ์กับเอกสารต�ำนานหรือพงศาวดาร เว้นแต่แหล่งโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติ ศาสตร์จนถึงทวารวดีในแถบสองฝั่งโขง ซึ่งมีการใช้ธรรมชาติจ�ำพวก เพิงผาหรือเนินดินธรรมชาติส�ำหรับอยู่อาศัย เมืองเชียงดงเชียงทอง หรือหลวงพระบาง (ภาพที่ ๕-๖) ถูก สถาปนาเป็นศูนย์กลางของล้านช้างตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เป็น ต้นมา ลักษณะส�ำคัญของเมืองหลวงพระบางคือเป็นจุดที่แม่น�้ำคาน ไหลลงสู่แม่น�้ำโขง ถือเป็นชุมทางส�ำคัญในการติดต่อระหว่างแม่น�้ำโขง กับบ้านเมืองทางเหนือขึ้นไป โดยมีจุดหมายตาส�ำคัญคือ พูสี (ภูศรี) อันถูกก�ำหนดให้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำเมือง (ภาพที่ ๗) และเป็น ตัว แทนของศู น ย์ ก ลางจัก รวาลตามความเชื่อ ของศาสนาฮิน ดู - พุ ท ธ ศาสนาในสมัยหลังโดยการสร้างพระธาตุเจดีย์บนยอดเขา คติเช่นนี้ พบร่ ว มกั น อยู ่ ใ นชุ ม ชนโบราณหลายแห่ ง ในสมั ย ใกล้ เ คี ย งกั น เช่ น เมืองศรีสัชนาลัยหรือเวียงโบราณบางแห่งทางล้านนา เป็นต้น๓ เมื อ งหลวงพระบางถู ก ก� ำ หนดด้ ว ยสภาพทางภู มิ ศ าสตร์ คื อ ที่ราบแคบๆ ระหว่างแม่น�้ำและภูเขา มีการสร้างก�ำแพงเมืองล้อมรอบ บางส่วน และใช้แม่น�้ำโขงเป็นแนวปราการทางทิศเหนือและตะวันออก จึงมีรูปแบบที่ไม่เป็นเรขาคณิต
ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร 9
ภาพที่ ๕ เมืองหลวงพระบาง หรือเชียงดงเชียงทอง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว ริมแม่น�้ำโขงบนที่ราบแคบๆ ที่แม่น�้ำคานไหลลงสู่แม่น�้ำโขง
ภาพที ่ ๖ ภาพถ่ายจากดาวเทียมของเมืองหลวงพระบาง และเห็นแม่นำ�้ คานทีไ่ หล มาบรรจบกับแม่น�้ำโขงทางตอนเหนือของเมือง ที่มา : www.google.com 10 ศิลปะลาว
ภาพที ่ ๗ พูส ี หรือ ภูศรี เป็นภูเขา เตี้ ย ๆ ใจกลางเมื อ งหลวงพระ บาง อั น เป็ น คติ เ กี่ ย วกั บ ภู เ ขา ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระจ� ำ ชุ ม ชนที่ มี อ ยู ่ ทั่วไปในภูมิภาคนี้
ในที่ราบของลาวตอนกลาง มีเมืองเวียงจันซึ่งคงเจริญขึ้นมา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นชุมชนส�ำคัญ ต่อมาสมเด็จพระไชย เชษฐาทรงย้ายศูนย์กลางของล้านช้างจากเชียงดงเชียงทองลงมายัง เวียงจันในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม ท�ำให้เมืองเวียงจันสามารถพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่และยังเป็น ศูนย์กลางของล้านช้างจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ภาพที่ ๘) เมือง เวี ย งจั น ตั้ ง อยู ่ ที่ ป ากร่ อ งน�้ ำ ป่ า สั ก ทางทิ ศ เหนื อ ไหลลงสู ่ แ ม่ น�้ ำ โขง ๔ คล้ายคลึงกับเมืองหลวงพระบางที่ตั้งอยู่ปากแม่น�้ำคาน ผังของเมืองเวียงจันเป็นรูปโค้งตามแม่น�้ำโขง (ภาพที่ ๙) ที่แบ่ง เมืองนี้ออกเป็น ๒ เมือง คือเมืองฝั่งซ้ายที่เป็นนครหลวงเวียงจันใน ปัจจุบัน กับเมืองพานพร้าวในอ�ำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ฝัง่ ขวาจะเห็นได้วา่ เมืองเวียงจันฝัง่ ซ้ายมีความส�ำคัญและมีขนาดใหญ่โต กว่ า เนื่อ งจากเป็ น ที่ตั้ง ของสถานที่ส�ำ คัญ ต่ า งๆ คือ พระราชวัง และ พระมหาธาตุหลวงประจ�ำเมือง ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร 11
ภาพที่ ๘ เมืองเวียงจัน เป็นนครหลวงของ สปป.ลาวในปัจจุบัน และยังเคยเป็น ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านช้างในอดีตมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ปี ในภาพคือ ประตูชัยอันเป็นสัญลักษณ์ของเมือง
12 ศิลปะลาว
ภาพที่ ๙ แผนที่เมืองเวียงจันที่จัดท�ำโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อราว ๑๐๐ ปีมาแล้ว ที่มา : Henry Parmentier, L’art du Laos (Paris : EFEO, 1988).
แนวก�ำแพงของเวียงจันฝั่งซ้ายขุดขึ้นล้อกับแม่น�้ำโขงเป็นแนว โค้งยาว นอกจากแนวก�ำแพงชั้นในแล้ว ยังพบแนวก�ำแพงชั้นนอกของ เวียงจันที่โอบล้อมอาณาบริเวณกว้างขวางของที่ราบเวียงจันไว้ เข้าใจว่า เป็นแนวก�ำแพงทีส่ ร้างเพือ่ แสดงอาณาเขตของพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมอันเป็น ทรัพยากรหลักของเมือง เมือ งขนาดเล็ก ตามสองฟากฝั ่ ง แม่ น�้ำ โขงในเขตอิท ธิพ ลของ ล้านช้าง มักมีลักษณะคล้ายเมืองเวียงจัน คือใช้แม่น�้ำโขงเป็นปราการ ด้านหนึ่งของเมืองตามยาว แล้วขุดคูน�้ำก่อก�ำแพงด้านที่เหลืออีกสาม ด้าน เมืองแบบนี้มีรูปร่างยาวไปตามแม่น�้ำโขงจึงไม่เป็นรูปเรขาคณิต หุ บ เขาที่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นของลาวทางตอนเหนื อ และตะวั น ออก จนถึงลาวภาคใต้ ย่อมไม่เป็นสภาพที่เหมาะสมในการพัฒนาชุมชน ขึ้นเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ มีเพียงเมืองเล็กในที่ราบระหว่างหุบเขา ที่มีล�ำน�้ำขนาดเล็กไหลผ่าน ที่ส�ำคัญคือเมืองเชียงขวาง หรือ เมือง พวน เมืองคูน (ภาพที่ ๑๐) ผศ. ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร 13