โรฮิงญา รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง

Page 1


โ ร ฮิ ง ญ า

รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง


ภาพจากปก

เด็กหญิงชาวโรฮิงญา ที่มา : Jake Dinneen


โ ร ฮิ ง ญ า

รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง ดุลยภาค ปรีชารัชช

ราคา ๑๔๐ บาท


โรฮิงญา รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง • ดุลยภาค ปรีชารัชช พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม ๒๕๕๘ ราคา ๑๔๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ดุลยภาค ปรีชารัชช. โรฮิงญา รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๑๕๒ หน้า. ๑. โรฮิงญา.  ๒. ชนกลุ่มน้อย- -พม่า.  I. ชื่อเรื่อง. 959.1 ISBN 978 - 974 - 02 - 1437 - 3

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม-ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รตั น์ • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ โรฮิงญา

คํ า น ํ า

(๖)

ป ฐ ม บ ท

รั ฐ ย ะ ไ ข่ แ ผ ่ น ด ิ นแ ล ะ ผ ู้ ค น

โ ร ฮ ิ ง ญ า ข้ อ ถ ก เ ถ ี ย ง  ว่ า ด ้ ว ย ถ ิ่ น ฐ า น แ ล ะ ต ้ น ร า ก

๒๐

โ ร ฮ ิ ง ญ า พ ล ว ั ต แ ล ะ ค ว า ม ข ั ด แ ย ้ ง

๓๘

ปั จ จิ ม บ ท

๑๒๐

บ ร ร ณ า น ุ ก ร ม

๑๒๕

ดุลยภาค  ปรีชารัชช (5)


ค�ำน�ำ

โรฮิงญา

ปมประเด็นร้อนโรฮิงญา เปรียบประดุจดั่งเกลียวคลื่นและแรง พายุที่รุกกระหน�่ำซัดสาดครูดไถจนสร้างรอยสึกกร่อนให้กับสังคมไทย ซึ่งแม้มวลคลื่นจะสงบราบเรียบไปชั่วขณะ หากแต่ก็มิมีใครล่วงรู้ได้ ว่า คลื่นยักษ์อันทรงพลังเช่นว่าจะย้อนกลับเข้ามาพัดตีชายฝั่งเมือง ไทยและกลุ่มรัฐชายทะเลรอบมหาสมุทรอินเดียในอีกเมื่อไร โดย เฉพาะแรงรุกของคลื่นในช่วงทิวาราตรีที่เต็มไปด้วยความมืดมน หม่นหมอง ทั้งจากเสียงร้องไห้ระงมของมนุษย์เรือโรฮิงญาที่บ้าน แตกสาแหรกขาดจนต้องร่อนเร่รอนแรมกลางทะเลพร้อมเรือนร่าง ที่สะบักสะบอมจากความโศกเคร้าหิวโหย และจากสภาวะมืดบอด พร่ามัวทางความคิดของสังคมไทยเอง ที่มิตื่นรู้โดยชัดแจ้งว่า สิ่งที่ พวกเขาอาจก�ำลังมองว่าเป็นปีศาจแห่งรัตติกาลที่จ�ำแลงแปลงร่าง ลงมาสถิตอยู่กับเกลียวคลื่นอันดามัน แท้จริงแล้วคือใคร มาจากไหน และมีพลังฤทธิ์ในการกวนแรงคลื่นให้โบกสะพัดแตกกระจายไปถึง ดินแดนใดได้บ้าง ผลกระทบที่ ต ามมาจากฉากรั ช นี ส ลั ว  คื อ  ความแตกตื่ น อลหม่านกระสานซ่านเซ็นไร้ทิศไร้ทางของความคิดผู้คน จนท�ำให้ สังคมไทยต้องเผชิญกับข้อตีบตันและทางคับขันในการถอนปมชนวน โรฮิงญาอย่างตรงจุดและถึงแก่น (6) โ ร ฮิ ง ญ า


แล้วเมื่อไรกันเล่าที่องค์สุริยันจะฉายแสงทาบทับเงามืดแห่ง รัตติกาลจนเบิกทางสว่างให้สังคมไทยได้รู้แจ้งมองเห็นถึงแก่นแท้ ที่ซุกซ่อนอยู่ในคลื่นมนุษย์โรฮิงญา และเพื่อเป็นการไขม่านปริศนา ใต้เงารัชนี ผู้เขียนจึงตัดสินใจปลุกความกล้าหาญเข้มแข็งทางวิชา การที่มีอยู่ในตัวเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศเมียนมาร์ (อันถือเป็นจุดก�ำเนิดหลักของกระแสคลื่นโรฮิงญาและเป็นพื้นที่ซึ่ง ผู้เขียนมีความสันทัดกรณีเป็นพิเศษ) ให้ลุกโชนเจิดจรัสขึ้นมาอีกครั้ง จนกลายเป็นที่มาของการรจนาหนังสือเรื่อง “โรฮิงญา รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์และความขัดแย้ง” ซึ่งก�ำลังอยู่ในมือท่านผู้อ่านขณะนี้ จริงอยู่ แม้หนังสือเล่มนี้จะไม่มีอานุภาพทางวิชาการที่เจิดจ้า ดุจพันแสงตะวันซึ่งพร้อมจะฉาดแสงฉายส่องลงมายังพื้นบรรณพิภพ อย่างเต็มอัตราจนสามารถขจัดความกระหายใคร่รู้เกี่ยวกับรากเหง้า โรฮิงญาได้เป็นปลิดทิ้ง ทั้งนี้เนื่องจากมวลสารที่ซ่อนอยู่ในตัวชนวน โรฮิงญากลับมีความซับซ้อนรุนแรงและหนักอึ้งเกินกว่าที่ผู้เขียน ผู้เดียวจะถอดสลักระเบิดเพื่อไขความกระจ่างและสร้างความปลอด ภัยให้กับสังคมได้ครบเครื่องถ้วนทั่ว กอปรกับปัญหาโรฮิงญาได้เริ่ม ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นประเด็นร้อนในระดับภูมิภาคพร้อม เกี่ยวพันโยงใยกับความผาสุกของมวลมนุษยชาติ ซึ่งดูแล้วอาจไม่ ยิ่งหย่อนไปกว่าเหตุจลาจลทางศาสนาระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม ในเมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศของอินเดีย หรือแม้แต่เหตุการณ์ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างชนเผ่าอูตูกับทุตซี่ในรวันดา ดังนั้น จึงเป็น เรื่องยากที่หนังสือนี้ซึ่งถูกเขียนขึ้นใต้กรอบเวลาอันจ�ำกัด (ภายใน ระยะเวลาราว ๓ เดือน) และมีความยาวเพียงแค่หนึ่งร้อยกว่าหน้า จะสามารถกลายสภาพเป็นยาอายุวัฒนะที่มีสรรพคุณวิเศษในการ รักษาโรคระแวงตื่นกลัวโรฮิงญาได้อย่างชะงัด แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผู้เขียนกลับเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า หนังสือนี้อาจมีมหิทธานุภาพบางอย่างอันเกิดจากปรากฏการณ์ อาทิตย์ทรงกลดที่อุบัติอยู่บ่อยครั้งในปีที่มีฝนหลงฤดู ตรงชั้นบรรยา ดุลยภาค  ปรีชารัชช (7)


กาศใกล้ผิวโลกที่ถูกห้อมล้อมด้วยหมู่เมฆจ�ำนวนมาก โดยตะวัน ทรงกลดมักส�ำแดงพลังออกมาเป็นภาพสะท้อนซ้อนกันของพระ อาทิตย์หลายๆ ดวงที่ถูกแวดล้อมประชิดด้วยเปลวรัศมีสีรุ้งซึ่งแม้ จะไม่เจิดจรัสพราวแสงอย่างแรงกล้า หากแต่ก็เต็มไปด้วยมนตรา สุริยันที่สาดแสงสลับสีระดะระดาเรียงรายระยิบระยับลามลอยอยู่ เหนือเมฆา จากส�ำนวนเปรียบเปรยที่น�ำแสดงมา หนังสือนี้จึงถูก ประพันธ์ขึ้นท่ามกลางความอึมครึมของเมฆหมอกหลังฟ้าคะนอง โรฮิงญา โดยมีลักษณะเป็นคู่มือไขปริศนาโรฮิงญาขนาดกะทัดรัด ที่ห้อมล้อมไปด้วยโลกทัศน์สีรุ้งอันเกิดจากการถักทอร้อยเรียงองค์ ความรู้หลากหลายแขนงเพื่อน�ำทางให้คนไทยได้พบกับความกระจ่าง ชัดเกี่ยวกับตัวตนต้นรากที่แท้จริงของชาวโรฮิงญา แต่ทว่าแสงตะวันสีรุ้งภายในหนังสือนี้ กลับมีลักษณะเป็น เพียงแค่แสงเปลวพหุสีสันแบบอ่อนๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ค่อยๆ เรียนรู้ ซึมซับรากเหง้าปัญหาโรฮิงญาในแต่ละมิติแบบพอสังเขป จนท�ำให้ ผู้อ่านเดินทางเข้าสู่สารัตถะของแก่นเรื่องได้อย่างไม่ยากเย็นนัก โดย หากผู้อ่านท่านใดสนใจจะศึกษาใคร่รู้ประเด็นต่างๆ เพิ่มเติมในระดับ ที่ลึกซึ้งขึ้น อาทิ พัฒนาการโรฮิงญาในทางประวัติศาสตร์ หรือความ ขัดแย้งโรฮิงญาในบริบทการเมืองการปกครองเมียนมาร์ ก็ย่อม สามารถจับจุดและน�ำแนวคิดพื้นฐานจากหนังสือเล่มนี้ ไปต่อยอด ขยายผลผ่านการค้นคว้าวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างความงอกงามให้กับ โลกวิชาการไทยสืบไป ท้ายที่สุด ผู้เขียนขอขอบพระคุณมิตรสหายที่ร่วมเดินทาง เคียงข้างไปด้วยกัน จนท�ำให้หนังสือนี้ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นใน โลกวิชาการ “โรฮิงญาศึกษา” ซึ่งอาจเป็นแขนงวิชาใหม่ในแวดวง การศึกษาไทย ขอขอบคุณคุณมณฑล ประภากรเกียรติ หัวหน้ากองบรรณา ธิการศิลปวัฒนธรรม (ฉบับพิเศษ) ส�ำนักพิมพ์มติชน ที่คอยกระตุ้น ทาบทามให้ ผู ้ เ ขี ย นยอมตั ด สิ น ใจเขี ย นหนั ง สื อ นี้ เ พื่ อ เผยแพร่ ชุ ด (8) โ ร ฮิ ง ญ า


ความรู้โรฮิงญาออกสู่สาธารณชนไทยท่ามกลางวิกฤติสังคมที่เต็ม ไปด้วยการเชือดเฉือนอย่างเผ็ดร้อนระหว่างฝ่ายที่เห็นอกเห็นใจ กับฝ่ายที่หวาดระแวงเกลียดชังชาวโรฮิงญา ขอขอบคุณคุณอับดุล กาลัม อดีตประธานชมรมโรฮิงญาแห่งประเทศไทย พร้อมกัลยาณ มิตรชาวโรฮิงญาอื่นๆ ที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม โดยการสนทนาแลก เปลี่ยนมุมมองกับบุคคลเหล่านี้ท�ำให้ผู้เขียนเกิดความกระจ่างรู้ใน ตัวตนโรฮิงญาที่ชัดเจนขึ้นตามล�ำดับ (นับตั้งแต่ที่พวกเราได้รู้จักกัน มาเมื่อราวสามปีที่แล้ว จนกระทั่งถึงช่วงกลาง พ.ศ. ๒๕๕๘/ค.ศ. ๒๐๑๕ อันเป็นปีที่โรฮิงญากลายเป็นเรื่องลุกลามบานปลายใหญ่โต ในสังคมไทยไปเสียแล้ว) สุดท้ายขอขอบคุณคุณซอว์ เท็ต กัลยาณมิตรเชื้อสายพม่า มุสลิม ผู้สนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับการบูรณาการสังคมในเมียนมาร์ โดย หากปราศจากมิตรภาพและการอภิปรายเชิงลึกที่เข้มข้นต่อเนื่อง กับสหายท่านนี้แล้ว ผู้เขียนก็คงมิอาจกล้าหาญพอที่จะน�ำเสนอมุม วิเคราะห์แปลกใหม่เกี่ยวกับโรฮิงญาใต้บริบทความขัดแย้งเมียนมาร์ ได้อย่างหนักแน่นและตรงไปตรงมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดุลยภาค ปรีชารัชช สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดุลยภาค  ปรีชารัชช (9)


สตรีชาวพุทธยะไข่ขณะก�ำลังต้อนรับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ณ สนามบินแห่ง  รัฐยะไข่ ที่มา : EPA/Myanmar Times

ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนเมื่อช่วงกลางปี  ค.ศ. ๒๐๑๓ ที่มา : Katey Hearth/www.mnnonline.org (10) โ ร ฮิ ง ญ า


กลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญา ขณะถูกควบคุมตัวที่ลังกาวีของมาเลเซียและที ่ อาเจะห์ของอินโดนีเซีย ที่มา : Manan Vatsyayana/AFP

ต�ำรวจเมียนมาร์ขณะลาดตระเวนส�ำรวจส�ำมะโนประชากรทางตอนเหนือของ  รัฐยะไข่ ที่มา : Khin Maung Win/Associated Press ดุลยภาค  ปรีชารัชช (11)


สตรีโรฮิงญา ณ ค่ายอพยพแห่งหนึ่งแถบชายแดนเมียนมาร์-บังกลาเทศ ที่มา : Andrew Stanbridge/Roads & Kingdoms

ชายโรฮิงญาที่เสียชีวิตจากเหตุจลาจลทางศาสนาพร้อมความโศกเศร้าของ  ครอบครัวและเพื่อนบ้าน ที่มา : Andrew Stanbridge/Roads & Kingdoms (12) โ ร ฮิ ง ญ า


ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ของเมียนมาร์ ขณะก�ำลังเดินทางเยือนรัฐยะไข่เมื่อปี  ค.ศ. ๒๐๑๓ โดยได้รับการต้อนรับจากบรรดานักการเมืองและชาวพุทธยะไข่  ท้องถิ่น ที่มา : AP

ดุลยภาค  ปรีชารัชช (13)


ชาวมุสลิมเชื้อสายอินเดียขณะก�ำลังร้องเพลงเฉลิมฉลองร�ำลึกพระเกียรติคุณ  ของ ‘จักรพรรดิบาฮาดูร์ซาห์นที่ ๒’ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โมกุลของ  อินเดีย ซึ่งถูกอังกฤษเนรเทศจนมาสวรรคตที่เมืองย่างกุ้งในปี ค.ศ. ๑๘๖๒ ที่มา : J.A. Berlie. The Burmanization of Myanmar’s Muslims (Bangkok : White Lotus, 2008)

(14) โ ร ฮิ ง ญ า


หนังสือของ J.A. Berlie หรือ Jean Berlie นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้  เชี่ยวชาญด้านสังคมมุสลิมในเอเชียและจีนแผ่นดินใหญ่ และอดีตนักวิจัย  ประจ�ำศูนย์เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยฮ่องกง (The University of Hong Kong) โดย Berlie ได้เคยลงภาคสนามเพื่อศึกษานโยบายบูรณาการสังคม  ของรัฐบาลเมียนมาร์ที่มีต่อชาวมุสลิม โดยเฉพาะชาวโรฮิงญา จนกลายมา  เป็นหนังสือขนาดกะทัดรัดที่ใช้ชื่อว่า “The Burmanization of Myanmar’s Muslims” หรือกระบวนการท�ำให้เป็นพม่าแท้ของกลุ่มมุสลิมเมียนมาร์

ดุลยภาค  ปรีชารัชช (15)



โ ร ฮิ ง ญ า

รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง


ป ฐ ม บ ท


เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ‘โรฮิงญา’ (โรฮีนจา/Rohingya/ရိုဟင်ဂျာ) คงมี คนไทยหรือคนพม่าจ�ำนวนมิน้อยที่อาจนึกถึงสิ่งประหลาดแปลกปลอม ในลักษณะที่ว่า มีคนพวกหนึ่งพยายามแฝงตัวเข้ามาปะปนกับคนกลุ่ม ใหญ่ โดยชนที่ว่านี้มีรูปพรรณสัณฐาน ฐานะทรัพย์สิน และอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมที่ดูต�่ำต้อยหรือแปลกแยกออกไปจากค่านิยมและความ รู้สึกนึกคิดของผู้คนกระแสหลัก จนท�ำให้ ‘โรฮิงญา’ กลายเป็นของ แสลงที่ไม่คู่ควรต่อการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มากนัก กระนั้น คงปฏิเสธ ไม่ได้เช่นกันว่าอาจมีคนอยู่อีกมิน้อยที่รู้สึกสงสารต่อชะตากรรมชีวิต ชาวโรฮิงญาที่ต้องเร่ร่อนระหกระเหินไร้รัฐไร้บ้านจนกลายเป็นชนชาย ขอบของรัฐและสังคม ซึ่งอย่างน้อยการยอมรับพวกเขาในฐานะเพื่อน มนุษย์คนหนึ่ง คงเป็นแนวทางส�ำคัญที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับเผ่าพันธุ์ วงศ์วานของพวกเขา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ท่ามกลางกระแสสังคมที่เต็มไปด้วยการปะทะขับหน่วงระหว่าง ความเกลียดชังกับความเห็นอกเห็นใจ สิ่งที่ยังคงมืดบอดพร่ามัวอยู่ใน สังคมทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากปัญหาโรฮิงญา โดยเฉพาะสังคมไทยคงหนี ไม่พ้นสภาวะขาดแคลนองค์ความรู้ (Body of Knowledge) เกีย่ วกับ สารัตถะตัวตนบรรพชนคนโรฮิงญาในแบบที่เป็นกลางปราศจากอคติ รวมถึงภาพความเกี่ยวพันระหว่างปัญหาโรฮิงญากับความขัดแย้งและ ความรุนแรงซึ่งครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งในเรื่องศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากนัยส�ำคัญดังกล่าว เพื่อเป็นการเบิกแสงสว่างทางภูมิปัญญาและ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมก่อนที่จะมีการ ตัดสินลงโทษหรือช่วยเหลือชนโรฮิงญาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หนัง สือนี้จึงถูกรังสรรค์ออกมาเพื่อช่วยคลี่คลายปมปัญหาและปรับเพดาน ทางความคิดเพือ่ ให้ผู้อ่านได้ทราบเรือ่ งราวทีแ่ ท้จริงเกีย่ วกับวิวฒ ั นาการ และความขัดแย้งโรฮิงญาอย่างถึงแก่น หนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายที่จะตอบค�ำถามพื้นฐาน ๒ ประการ ได้แก่  ดุลยภาค  ปรีชารัชช 3


๑. โรฮิงญาเป็นใคร มาจากไหน มีความเป็นมาทางประวัตศิ าสตร์ เช่นไร  ๒. ชนวนปัญหาโรฮิงญาเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับความขัดแย้งใน มิติใดบ้าง อย่างไร โดยจะเน้นไปที่บริบทของประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็น แหล่งต้นตอส�ำคัญของการอพยพออก และเป็นพื้นที่ต้นรากประวัติ ศาสตร์ของบรรพชนคนโรฮิงญา โดยเฉพาะเขตตอนเหนือของรัฐยะไข่ (ระไข่/Rakhine/ရခိုင်ပြည်နယ်) ประชิดพรมแดนบังกลาเทศ ซึ่งเต็ม ไปด้วยถิ่นฐานวานเครือโรฮิงญา รวมถึงถูกแวดล้อมไปด้วยกลิ่นอาย ความขัดแย้งแบบเข้มข้นและซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ไม่ละเลย ที่จะกล่าวถึงท่าทีของประเทศอื่นที่มีส่วนสัมพันธ์ต่อชุมชนโรฮิงญา เช่น บังกลาเทศ รวมถึงประเด็นเกี่ยวพันอื่นๆ ในระดับสากลที่อาจทับซ้อน เกี่ยวโยงกับปมชนวนโรฮิงญาในระดับท้องถิ่น อาทิ ความขัดแย้งทาง ศาสนาและชาติพันธุ์  ส�ำหรับโครงสร้างเนื้อหา ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยการฉายภาพองค์ ประกอบของแผ่นดินและผู้คนภายในรัฐยะไข่เพื่อให้ผู้อ่านได้คุ้นเคย ไปกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนชื่อเมืองและชื่อกลุ่มชาติ พันธุ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชนโรฮิงญา ต่อจากนั้นจึงเป็น การน�ำเสนอข้อถกเถียงเชิงลึกเกี่ยวกับจุดก�ำเนิด ต้นราก และตัวตน ชาวโรฮิงญา ซึ่งยังคงเต็มไปด้วยการโต้แย้งและการยกหลักฐานอ้างอิง ของนักวิชาการแต่ละส�ำนัก ถัดมาคือการไล่เรียงล�ำดับวิวัฒนาการชาว โรฮิงญาผ่านมิติความขัดแย้งนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เพื่อน�ำเสนอ ภาพพลวัตที่ลื่นไหลของพฤติกรรมโรฮิงญาในแต่ละห้วงเวลาทางประวัติ ศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นยุคโบราณ ยุคอาณานิคม และยุคหลังอาณา นิคม ต่อมาผู้เขียนมุ่งขับเน้นประเด็นความขัดแย้งโรฮิงญาออกเป็น ๓ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑. ความขัดแย้งทางศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ๒. ความขัด แย้ ง ทางการเมือ งการปกครอง และ ๓. ความขัด แย้ ง ระหว่างประเทศ โดยใช้ทั้งการประยุกต์แนวคิดทฤษฎีแบบสหศาสตร์ เพื่อวางกรอบวิเคราะห์ให้ดูรัดกุมแน่นหนา เป็นระบบระเบียบจนท�ำให้ 4 โ ร ฮิ ง ญ า


ผู้อ่านสามารถมองปัญหาโรฮิงญาได้ในระดับสากล รวมถึงมีการใช้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) ผ่านการส�ำรวจเอกสารและการ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกได้ท�ำหน้าที่สอดประสาน สนับสนุนความหนักแน่นของแนวคิดทฤษฎีอย่างมีแบบแผน ผู้เขียนเชื่อว่าการถ่ายทอดเรื่องราวโรฮิงญาผ่านพื้นข้อมูลทาง ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ในช่วงแรกแล้วจึงค่อย โยงเข้าหาการศึกษาวิเคราะห์เชิงแนวคิดและเชิงประจักษ์ (Empirical and  Conceptual Study) ผ่านการร้อยเรียงวิธีวิทยาบูรณาการแบบ สหศาสตร์ (Interdisciplinary Methodology) ที่ใช้ทั้งกรอบคิดทาง รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา รวมถึงวิเทศคดีศึกษา (Inter national Studies) และภูมิภาคศาสตร์ (Regional Studies) จะ ท�ำให้เกิดชุดความรู้ใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วยมโนทัศน์หลัก โครงสร้าง สารัตถะ และช่องทางเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับโรฮิงญา ที่มีลักษณะถึง แก่ น รอบด้ า น โดยองค์ ค วามรู ้ ที่ ถู ก วิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ขึ้ น มาใหม่ จะท�ำให้หนังสือเล่มนี้มีสมรรถนะในการสะกดรอยตามหาตัวตนต้นราก ที่แท้จริงของชาวโรฮิงญา และในการจับกระแสความขัดแย้งท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลงของประเทศเมียนมาร์ในยุคโลกาภิวัตน์

ดุลยภาค  ปรีชารัชช 5


ร ัฐ ย ะ ไ ข่ แ ผ ่ น ด ิ น แ ล ะ ผ ู้ ค น


ชาวโรฮิ ง ญามี ถิ่ น ฐานหนาแน่น อยู ่ ใ นรั ฐ ยะไข่ ข องเมี ย นมาร์ ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ศาสนา และเชื้อชาติ ซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชนโรฮิงญา มักมีความเข้มข้นคุกรุ่นอยู่ที่ เขตยะไข่และชายแดนเมียนมาร์-บังกลาเทศ ดังนัน้  การส�ำรวจดินแดน ยะไข่ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างจุดรอยต่อของภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้) จึงมีนัยส�ำคัญต่อการวางกรอบศึกษาเรื่องโรฮิงญา ขณะ เดียวกันเอกลักษณ์ภูมิศาสตร์ของรัฐยะไข่ ทั้งในแง่ภูมิประเทศที่มี ทั้งทุ่งราบเกษตรอันอุดมสมบูรณ์ เวิ้งอ่าว และแนวชายหาดที่ทอดตัว ขนานไปกับมหาสมุทรอินเดีย และคลังน�้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติจ�ำนวน มหาศาลใต้ อ ่ า วเบงกอล ตลอดจนเอกลั ก ษณ์ วั ฒ นธรรมประจ� ำ รั ฐ ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดทับซ้อนระหว่างอารยธรรมชมพูทวีปกับอารยธรรม สุวรรณภูมิ รวมถึงจุดตัดระหว่างวงชาติพันธุ์สายทิเบต-พม่ากับอินโดอารยันและดราวิเดียนจากฝั่งเอเชียใต้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่ส่งผลให้ประเด็นเรื่องโรฮิงญามีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับมิติทาง ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมในแผ่นดินยะไข่ รัฐยะไข่ หรือรัฐระข่าย คือรัฐชาติพันธุ์ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีพื้นที่ราว ๑๔,๒๐๐ ตารางไมล์ มีขนาดใกล้เคียงกับรัฐฉิ่นและประเทศไต้หวัน รวมถึงมี ขนาดใหญ่กว่าประเทศมอลโดวาเล็กน้อย รัฐยะไข่มีอาณาเขตด้าน เหนือติดกับรัฐฉิ่น ด้านตะวันออกติดกับภาคมะเกว ภาคพะโค และ ภาคเอยาวดี ด้านตะวันตกติดกับอ่าวเบงกอล และด้านตะวันตกเฉียง เหนือติดประเทศบังกลาเทศ โดยเส้นเขตแดนระหว่างเมียนมาร์กับ บังกลาเทศ วัดความยาวได้ราว ๑๖๘ ไมล์ ซึ่งแบ่งออกเป็นเขตแดน ทางบกกับเขตแดนตามร่องแม่น�้ำนัต/นาฟ (อรนุช, ๒๕๕๓ : ๑๕๑;  UNDP, 2015 : 9-11) จุดเด่นของภูมิประเทศรัฐยะไข่ คือแนวเทือกเขายะไข่ หรือ ที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เทือกเขาอาระกัน มีความสูงเฉลี่ยกว่า ๓,๐๐๐ ฟุต ทอดตัวค่อนไปทางฟากตะวันออกและตัดยาวจากเหนือลงใต้ โดย ดินแดนตอนเหนือของรัฐจะมีลักษณะเป็นที่สูงพร้อมถูกปกคลุมด้วย ดุลยภาค  ปรีชารัชช 7


แผนที่เมียนมาร์แสดงรัฐ ภาค และเขตปกครองแยกย่อย โดยมีรัฐยะไข่ตั้งอยู ่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ที่มา : The 2014 Myanmar Population and Housing Census : Rakhine State/Census Report Volume 3-K Department of Population, Ministry of Immigration and Population, Office No. 48, Nay Pyi Taw 8 โ ร ฮิ ง ญ า


แผนที่รัฐยะไข่แบ่งพื้นที่บริหารออกเป็น ๕ เขตหลัก ได้แก่ ซิจ์เต่ว (ซิตต่วย)  มองดอ มะเย่าก์อู เจ้าก์พยู และตั่งแตว ที่มา : The 2014 Myanmar Population and Housing Census : Rakhine State/Census Report Volume 3-K Department of Population, Ministry of Immigration and Population, Office No. 48, Nay Pyi Taw

ดุลยภาค  ปรีชารัชช 9


ป่าไผ่และดงไม้สัก แล้วค่อยลากตวัดลงใต้ โดยระหว่างขุนเขาจะมี แอ่งที่ราบลุ่มแม่น�้ำ ผุดตัวขึ้นเป็นหย่อมๆ ซึ่งมีทั้งเขตลุ่มน�้ำที่ค่อนข้าง คับแคบระหว่างหุบเขาทางตอนเหนือ ไปจนถึงเขตที่ราบลุ่มซึ่งมีลักษณะ แผ่กว้างทางตอนใต้ โดยเฉพาะแอ่งลุ่มน�้ำซิจ์เต่ว (ซิตต่วย) ซึ่งถือเป็น ที่ราบส�ำคัญทางการเกษตรและเต็มไปด้วยตะกอนโคลนตมตรงเขต สามเหลี่ยมปากน�้ำ นอกจากนั้น ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ยังมีล�ำน�้ำ อีกหลายสายที่ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ทางการเพาะปลูกและเป็น แหล่งก่อเกิดอารยธรรมโบราณ อาทิ แม่น�้ำมยู (เมยู) แม่น�้ำกะลาดั่น และแม่น�้ำเล-มโยะ ที่ไหลขนานเคียงกันไป (จากเหนือลงใต้) พร้อมมี ล�ำน�้ำสาขาไหลมาสมทบอีกเป็นจ�ำนวนมาก ส่วนพื้นที่ทางใต้ มีล�ำน�้ำ และแควธรรมชาติสายสั้นๆ ที่ไหลเลาะเลี้ยวมาจากเขตต้นน�้ำด้านบน ของเทือกเขายะไข่ อาทิ  คลองดะแล้ะ คลองอาม คลองอีง และคลอง มะอี่ (อรนุช, ๒๕๕๓ :  ๑๕๑-๑๕๒) ส�ำหรับพื้นที่ใกล้แนวชายฝั่ง พบว่าดินแดนด้านบนและตรง กลางรัฐ มีการผุดตัวของแนวภูมิประเทศอันซับซ้อน ทั้งร่องน�้ำตื้นและ หาดโคลนตมซึ่งเกิดจากการไหลทับถมของตะกอนดินปากแม่นำ  �้ รวม ถึงแนวโขดหิน เวิ้งอ่าว ตลอดจนป่าชายเลน ป่าพรุ และป่าชายหาด ส่วนพื้นที่ตอนกลางบางส่วนและตอนใต้ของรัฐ ปรากฏแนวขุนเขา ที่ทอดตัวขนานชายฝั่ง พร้อมมีภูเขาแยกย่อยยื่นลึกออกไปยังทะเล นอกจากนั้นยังพบเห็นอ่าวน�้ ำลึกซึ่งเหมาะกับการก่อสร้างอู่จอดเรือ และแนวชายหาดที่ขนานเคียงไปกับมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหาด งาปาลี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผืนหาดที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมียนมาร์ ขณะเดียวกันรัฐยะไข่ยังเต็มไปด้วยบ่อน�้ำมันและบ่อก๊าซใต้อ่าวเบงกอล จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะท้องทะเลใกล้เมืองซิจ์เต่วและเมืองเจ้าก์พยู ซึ่งนอกจากจะขุดพบหลุมน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว ยังเต็มไปด้วย บ่อโคลนเดือดที่บางแห่งตั้งอยู่บนเส้นรอยเลื่อนแผ่นดินไหวจนกลาย สภาพเป็ น ภู เ ขาไฟระเบิ ด ที่ มี เ ปลวไฟพวยพุ ่ ง ลามลอยอยู ่ บ นผื น น�้ ำ (Hadden, 2008 : 7) ในส่ ว นภู มิ อ ากาศ รั ฐ ยะไข่ มี อ ากาศแบบมรสุ ม เขตร้ อ น แต่ 10 โ ร ฮิ ง ญ า


เนื่องจากเป็นเขตชายฝั่งทะเลจึงท� ำให้อุณหภูมิไม่หนาวเย็นหรือร้อน อบอ้าวจนเกินไป ประกอบกับการพัดผ่านของลมมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้  จึ ง ท� ำ ให้ มี ฝ นตกชุ ก และอุ ท กภั ย ในบางพื้ น ที่ โดยลมมรสุ ม อ่ า ว เบงกอลที่เต็มไปด้วยกระแสพัดแรงและแปรปรวน มักรุกกระหน�่ำใส่ รัฐยะไข่จนสร้างความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนในวงกว้าง พร้อมดัน น�้ำเค็มให้ไหลทะลักเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต�ำ่ ใกล้แนวชายฝั่ง ประกอบ กับภาวะน�้ำทะเลหนุนสูงจากอ่าวเบงกอลอันเป็นผลจากปรากฏการณ์ โลกร้อน ได้ท�ำให้ผู้คนที่อาศัยริมน�้ำ โดยเฉพาะเขตบ่อกุ้งที่ห่างไกลจาก หมู่บ้านและไม่มีเนินสูงไว้หลบภัย ประสบเคราะห์กรรมจากอุทกภัย อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งปัจจุบันทางการเมียนมาร์ได้พยายามสร้างเนินดิน หลบภัยและฝายกั้นน�้ำเค็มตามพื้นที่ปากอ่าว รวมถึงปลูกป่าชายเลนไว้ กันคลื่นลมตามย่านต่างๆ เพื่อชะลอความรุนแรงจากอุทกภัย (อรนุช, ๒๕๕๓ : ๑๕๓-๑๕๔) ในแง่ของทรัพยากรท้องถิ่น รัฐยะไข่มีพื้นที่เพาะปลูกกว่าหนึ่ง ล้านเอเคอร์ โดยมีทั้งเขตปลูกข้าว เขตปลูกพืชสวนผลไม้ เขตปลูกผัก ชายฝั่งและเขตท�ำไร่บนดอย ในแผ่นดินพื้นราบซิจ์เต่ว ซึ่งเป็นเขตอุดม สมบูรณ์ทางการเกษตรในรัฐยะไข่ มักมีการปลูกข้าวเป็นหลัก พร้อม พืชผลอื่นๆ อาทิ ผักกาด งา กล้วย อ้อย หอมกระเทียม ข้าวโพด ยาสูบ ฯลฯ ส่วนตามแนวชายหาดจะมีสวนมะพร้าวและหมู่บ้านประมง ตั้งเรียงราย โดยเฉพาะการจับปลาและกุ้งทะเลด้วยเรือทันสมัย (UNDP, 2015 : 10-11) นอกจากนั้นยังพบเห็นการขุดบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้ง และการท�ำนาเกลือตามที่ราบชายหาดซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตพื้นเมืองของชาว ยะไข่ ขณะที่ชายแดนด้านที่ติดกับบังกลาเทศตามด่านส�ำคัญต่างๆ เช่น ที่เมืองมองดอ พบเห็นการส่งออกน�ำเข้าสินค้านานาชนิดจากเมืองค็อกซ์ บาซาร์ และจิตตะกองในบังกลาเทศ ส่วนด้านธุรกิจท่องเที่ยว โดย เฉพาะหลังจากเมียนมาร์เปิดประเทศรอบล่าสุดมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ชาวฝรั่งเศส ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี เดินทางเข้าชมสถานที่ท่อง เที่ยวทางประวัติศาสตร์ในรัฐยะไข่ตอนเหนือกันมากขึ้น โดยเฉพาะ แหล่งโบราณคดีอาณาจักรอาระกันที่เมืองมะเย่าก์อู (เมี๊ยะอู) และการ ดุลยภาค  ปรีชารัชช 11


ภู มิ ป ระเทศสมั ย สงครามโลกครั้ ง ที่  ๒ แสดงพื้ น ที่ ต อนเหนื อ ของรั ฐ ยะไข่  ซึ่งเป็นถิ่นฐานหนาแน่นของชาวโรฮิงญา โดยแบ่งออกเป็นเขตลุ่มแม่น�้ำนัต  (นาฟ) อันมีเมืองมองดอเป็นศูนย์กลางและลุ่มแม่น�้ำมยู (เมยู) อันมีเมือง  บูตีต่องเป็นศูนย์กลาง ขณะเดียวกัน ระหว่างเขตลุ่มน�้ำทั้งสองยังมีเทือกเขา  มยูกั้นขนาบจนต้องมีการเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม  นอกจากนั้นไกลออกไปทางฟากตะวันออก คือเขตลุ่มน�้ำกะลาดั่น ซึ่งเป็น  แหล่งก�ำเนิดอารยธรรมยะไข่โบราณพร้อมเป็นทุ่งราบอุดมสมบูรณ์ทางการ  เกษตร ที่มา : Booker Cooke/Hla Oo

12 โ ร ฮิ ง ญ า


ล่องเรือชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตชนบทตามล�ำแม่น�้ำเล-มโยะ (โปรดดู Travel-Myanmar.net และ Goldenlandpages.com) ส�ำหรับธุรกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับรัฐยะไข่ คือการขุด เจาะแหล่งพลังงานตามชายฝั่งทะเลซึ่งได้แก่ บ่อน�้ำมัน ๑๘ แห่งที่แบ่ง ออกเป็น ๓ ประเภทคือ บ่อน�้ำมันใกล้ชายฝั่ง ๗ แห่งคือ แปลงเอ-๑ (A-1) ถึงแปลงเอ-๗ (A-7) บ่อน�้ำมันทะเลน�้ำลึก ๙ แห่งคือ แปลง เอดี-๑ (AD-1) ถึงเอดี-๙ (AD-9) และบ่อน�้ำมันบนบกอีก ๒ แห่ง ได้แก่ แปลงเอ็ม-เจ้าก์พยู และแปลงแอล-ซิจ์เต่ว ในจ�ำนวนหลุมขุด ทั้ง ๑๘ แห่ง รัฐบาลเมียนมาร์ได้ทยอยลงนามท�ำสัญญาขุดเจาะน�้ำมัน และก๊าซร่วมกับบริษัทต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนร่วมระหว่าง บริษัทน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติของเมียนมาร์กับบริษัทแดวู พีแอนด์ที จ�ำกัด ของเกาหลีใต้ หรือการท�ำสัญญาร่วมกับบริษัท ESSAR ของ อินเดียในการขุดเจาะน�้ำมันบนบก รวมถึงการสร้างท่อขนส่งน�ำ้ มันและ ก๊าซธรรมชาติของรัฐบาลจีนจากเมืองท่าเจ้าก์พยูริมอ่าวเบงกอลตัดข้าม แผ่นดินพม่าและรัฐฉานเข้าไปออกสถานีปลายทางที่ภาคตะวันตกเฉียง ใต้ของจีน (อรนุช, ๒๕๕๓ : ๑๖๑) ในมิติการคมนาคม รัฐยะไข่มีเขาสูงกั้นขนาบอยู่ทางฟากตะวัน ออก มีแม่น�้ำล�ำคลองหลายสายไหลผ่านทั่วพื้นที่ภาคกลางและมีเวิ้ง ทะเลเป็นแนวยาวขนาบอยู่ทางตะวันตก ดังนั้น การขนส่งทางน�้ำจึง เป็นช่องทางส�ำคัญของรัฐยะไข่ ซึ่งมีทั้งการสัญจรตามล�ำแม่น�้ำและการ สัญจรทางทะเลผ่านเรือเดินสมุทร เช่น จากเมืองซิจ์เต่วขึ้นไปหัวเมือง ตอนในตามล�ำแม่น้�ำกะลาดั่น และจากเมืองซิจ์เต่วไปเมืองเจ้าก์พยูและ เกาะส�ำคัญต่างๆ อาทิ เกาะรัมแบร ส่วนเส้นทางบกจะมีทางรถยนต์ เชื่อมต่อกับเขตพม่าภาคกลางเพียงบางสาย เช่น ถนนข้ามช่องเขาอาม ไปยังฟากตะวันออกของเทือกเขายะไข่ แล้วโยงเข้าหาเมืองมีงบูของ พม่า ดังนั้น ในอดีตดินแดนยะไข่จึงเสมือนถูกตัดขาดจากหัวเมือง อื่นๆ ของพม่า อันเป็นผลจากสภาพการคมนาคมที่ยากล�ำบาก (อรนุช, ๒๕๕๓ : ๑๕๖-๑๕๙) กระนั้ น ก็ ต าม รั ฐ บาลเมี ย นมาร์ ไ ด้ พ ยายาม พัฒนาทางหลวงพิเศษจากเมืองหลวงใหม่เนปิดอว์ ตัดเลียบมาทางทิศ ดุลยภาค  ปรีชารัชช 13


ตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่รัฐยะไข่โดยตรง พร้อมสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำ เอยาวดีจากเมืองแปรเพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้กับการสัญจรระหว่าง รัฐยะไข่กับภาคพะโคของพม่า (ดูข่าวสารการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ของรัฐบาลเมียนมาร์ราวปี ค.ศ. ๒๐๐๖-๒๐๐๘ ได้ในสื่อทางการฉบับ ต่างๆ อาทิ The New Light of Myanmar) รัฐยะไข่ประกอบด้วยเมืองส�ำคัญหลายแห่ง อาทิ เมืองมองดอ ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือสุดของรัฐ และเป็นช่องทาง ผ่านไปยังบังกลาเทศ จึงเต็มไปด้วยท่าเรือข้ามแม่น�้ำนัต (นาฟ) และ ด่านตรวจคนเข้าเมือง นอกจากนั้น มองดอยังเต็มไปด้วยการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนมุสลิม โดยเฉพาะชาวโรฮิงญาและกลุ่มมุสลิมอื่นๆ ที่อพยพ มาจากเอเชียใต้ ส่วนเมืองเจ้าก์ต่อนับเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางเรือ กลไฟจากซิจ์เต่วไปเมืองปะและวะในรัฐฉิ่น จึงส่งผลให้กลายเป็นจุด แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างเขตดอยสูงกับเขตพื้นราบ ส่วนเมืองอาม ถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางทหารที่ตั้งประชิดช่องเขาอามโดยมีลักษณะ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ฟากตะวันตกกับตะวันออกของเทือกเขา ยะไข่ พร้อมเต็มไปด้วยด่านตรวจตราและค่ายทหารของกองทัพบก เมียนมาร์ ขณะที่เมืองซิจ์เต่วนับเป็นชุมทางคมนาคมทางน�้ำ ทางบก และทางอากาศ พร้อมเป็นเมืองเอกประจ�ำรัฐยะไข่ ตั้งอยู่บนปากแม่น�้ำ กะลาดั่น ส่วนเมืองเจ้าก์พยูซึ่งตั้งอยู่ตรงปากแม่น�้ำตั่งซิจ์บนเกาะรัมแบร ถือเป็นท่าเรือน�ำ้ ลึกขนาดใหญ่ซึ่งมีความส�ำคัญต่อการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศ (โปรดดู อรนุช, ๒๕๕๓ : ๑๖๗-๑๘๑) ส�ำหรับการแบ่งเขตปกครอง รัฐยะไข่แบ่งพื้นที่บริหารออกเป็น ๕ เขตหลัก ได้แก่ ซิจ์เต่ว มองดอ มะเย่าก์อู เจ้าก์พยู และตั่งแตว แต่ ล ะเขตประกอบด้ ว ยหั ว เมื อ งส�ำ คั ญ ต่ า งๆ อาทิ  ซิ จ ์ เ ต่ ว  มองดอ บูตีต่อง เจ้าก์ต่อ มโยะฮอง มีงปยา เจ้าก์พยู มะเหย่โบ่ง อาม รัมแบร หมั่ น อ่ อ ง ต่ อ งโก้ ะ  และตั่ ง แตว (Department of Population, 2015 : ii) ขณะเดียวกันเขตบริหารทั้ง ๕ เขตยังแบ่งแยกย่อยออก เป็ น อ�ำ เภออีก ราว ๑๗ แห่ ง  กิ่ง อ�ำ เภออีก  ๓ แห่ ง  และหมู ่ บ ้ า นอีก ประมาณ ๑,๑๖๔ แห่ง (อรนุช, ๒๕๕๓ : ๑๕๔) มีซิจ์เต่วเป็นเมือง 14 โ ร ฮิ ง ญ า


หลวงหรือเมืองเอกประจ�ำรัฐ ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งที่ท�ำการรัฐบาล รัฐ สภา และส�ำนักงานพรรคการเมืองต่างๆ ประจ�ำรัฐยะไข่ โดยถือเป็น สถาบันการเมืองการปกครองใหม่ท่ีเกิดขึ้นใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรม นูญฉบับ ค.ศ. ๒๐๐๘ ขณะที่เมืองซึ่งมีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่มาก ที่สุด คือราวๆ ๒ หรือ ๓ ใน ๔ ส่วน ของประชากรทั้งเมือง ได้แก่ เมืองมองดอและเมืองบูตีต่อง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ รัฐ  โดยถือ เป็ น เมือ งที่เ ต็ม ไปด้ ว ยการตั้ง ถิ่น ฐานของชุ ม ชนโรฮิง ญา ที่มักก่อปัญหาทางการปกครองและความขัดแย้งทางศาสนาชาติพันธุ์ อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะการจัดสรรอ�ำนาจที่เที่ยงธรรมระหว่างชุมชนพุทธ กับชุมชนมุสลิม (โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Bruce, 2001; Veen 2005) รัฐยะไข่ มีประชากรประมาณ ๓.๒ ล้านคน (Department of Population, 2015) แบ่งออกเป็นคนชนบทราว ๘๔.๒% และคน เมืองอีกราวๆ ๑๕.๘% (UNDP, 2007 : 11) โดยถึงแม้จะเต็มไป ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ หากแต่ปัญหาความ เหลื่อมล�้ำทางรายได้ระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบท รวมถึงสถานการณ์ ความขัดแย้งระหว่างชุมชนต่างศาสนาและชาติพันธุ์ กลับท�ำให้รัฐยะไข่ กลายเป็นหนึ่งในรัฐชาติพันธุ์ที่อาจประสบปัญหาความยากจนที่รุนแรง ที่สุดในเมียนมาร์ ส�ำหรับโครงสร้างศาสนาพบว่า ชนส่วนใหญ่หรือราว ๖๐% ประกอบด้วยชนที่นับถือศาสนาพุทธ (เน้นนิกายเถรวาท) ซึ่งมัก ได้แก่ ชาวยะไข่กับชาวพม่าแท้ โดยถือเป็นชนชาติหลักของประเทศ ตามมุมมองรัฐบาลเมียนมาร์ ขณะที่ชนส่วนน้อยอีกราวๆ ๓๐-๓๕% ได้แก่ กลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม (เน้นนิกายสุหนี่) อาทิ พวก โรฮิงญา พวกคามาน และพวกชาวจิตตะกองหรือชาวอินเดียเชื้อสาย อื่นๆ ที่อพยพมาจากเอเชียใต้ ส่วนประชากรที่เหลือมักประกอบด้วย กลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ (เน้นนิกายโปรเตสแตนต์) ฮินดู ซิกข์ และ ลัทธิบูชาภูตผี อาทิ ชาวฉิ่นที่เมืองตั่งแตวซึ่งนับถือศาสนาคริสต์และ ชาวฉิ่นที่เขตป่าเขาเมืองอามซึ่งนับถือผี หรือชุมชนอินเดียบางส่วนใน เมืองการค้าและเมืองชายแดนต่างๆ ซึ่งนับถือทั้งศาสนาฮินดูและซิกข์ ดุลยภาค  ปรีชารัชช 15


(โปรดดู  Department of Population, 2014 Population and Housing) ส่วนโครงสร้างชาติพันธุ์พบว่า ชาวยะไข่ถือเป็นชนพื้นเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนยะไข่มาเป็นเวลา ช้านาน ดังเห็นได้จากการก่อตัวของนครรัฐและอาณาจักรโบราณในเขต ลุ่มน�้ำซิจ์เต่ว กะลาดั่น และเล-มโยะ ขณะที่ชนชาติพม่าแท้ แม้จะมิใช่ ชนพื้นเมืองและชนกลุ่มใหญ่ของรัฐยะไข่ หากแต่ได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพล อย่างต่อเนื่องนับแต่การขยายอ�ำนาจของจักรวรรดิคองบองเข้าไปใน อาณาจักรยะไข่/อาระกัน รวมถึงมีการขยายครัวเรือนพร้อมตั้งถิ่นฐาน ผสมผสานปนเปไปกับพวกยะไข่ตามหัวเมืองใหญ่ในเขตที่ราบ เช่น ซิจ์เต่ว หรือตามเกาะส�ำคัญต่างๆ อาทิ เกาะยามบแยและเกาะมะนอง โดยทั้งพม่าแท้และยะไข่ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในสายตระกูลทิเบตพม่า (Enriquez, 1997 : 73-76) นอกจากนั้นยังปรากฏชุมชนชาติพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีเครือวานผสม ผสานระหว่างชนเชื้อสายทิเบต-พม่า กับชนเชื้อสายอื่นๆ ที่อพยพมา จากละแวกข้างเคียง เช่น รัฐฉิ่นของเมียนมาร์และเขตภูเขาจิตตะกอง (Chittagong Hill Tracts) ในบังกลาเทศ โดยชนชาติเหล่านี้มักตั้ง ถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตามป่าเขาทั่วภาคพื้นยะไข่ อาทิ พวกฉิ่น พวกไดแนะ พวกมโร และพวกคามี ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตต้นน�้ำ กะลาดั่นทางตอนเหนือของรัฐ หรือพวกคามาน ที่สืบสายมาจากชนเผ่า อินโด-อารยัน ผ่านปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองการค้าระหว่างจักรวรรดิ โมกุ ล กั บ อาณาจั ก รอาระกั น ในอดี ต  โดยส่ ว นมากมั ก นั บ ถื อ ศาสนา อิสลามและได้การรับรองสิทธิพลเมืองจากรัฐบาลเมียนมาร์ ส่วนชาว โรฮิงญาถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีชุมชนหนาแน่นอยู่ทางเมืองมองดอกับ บูตีต่อง รวมถึงตามพรมแดนแม่น�้ำนัตติดบังกลาเทศ หากแต่ยังไม่ได้ รับสิทธิพลเมืองจากรัฐบาลเมียนมาร์เหมือนชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ ใน รัฐยะไข่ จึงท�ำให้กลายสภาพเป็นคนไร้รัฐมาจนถึงทุกวันนี้ (Enriquez, 1997 : 45; Berlie, 2008 : 47-53) 16 โ ร ฮิ ง ญ า


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.