การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑

Page 1


การเมืองในสถาปัตยกรรม สมัยรัชกาลที่ ๑


สถาปัตกรรมสมัยรัชกาลที่  ๑ : ศึกษาท�ำไม อย่างไร ด้วยหลักฐานอะไร


เป็ น ที่เ ข้ า ใจในวงวิช าการทั่ว ไปว่ า  งานศิล ปะและสถาปั ต ยกรรมต้ น รัตนโกสินทร์ ก�ำหนดขอบเขตเวลาเอาไว้ระหว่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาล ที่ ๓ (ราว พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๘) และก็แทบเป็นฉันทามติว่า งานช่างในช่วง นี้เน้นการสืบต่อสายสกุลช่าง ตลอดจนโลกทรรศน์และอุดมคติทางสังคมใน ลักษณะที่ไม่แตกต่างนักจากสมัยอยุธยาตอนปลาย วลีที่มักได้ยินกันอยู่เสมอ คือ ยุคต้นรัตนโกสินทร์ อุดมการณ์หลักคือ ความพยายามที่จะฟื้นฟูหรือ จ�ำลองความเป็นอยุธยาให้กลับมาอีกครั้ง  แน่นอน กรอบความคิดข้างต้น ไม่ผิด แต่ก็คงพูดได้ไม่เต็มที่นักว่าเป็นกรอบที่ช่วยให้เข้าใจงานช่างในช่วงเวลา ดังกล่าวได้ถูกต้องทั้งหมด

สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่  ๑ :  ยังมีประเด็นอะไรให้ศึกษาอีกหรือ เมื่อมีโอกาสท�ำงานค้นคว้าเรื่อง “ความหมายทางสังคมและการเมืองใน สถาปัตยกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๕๑๑ ผู้เขียนได้รับการถามบ่อยครั้งว่า งานช่างสมัยนี้มีอะไรหลงเหลือให้ ศึกษาอีกหรือ หรือไม่ก็ตั้งข้อสังเกตแบบสรุปตามทัศนะดั้งเดิมของนักวิชาการ รุ่นก่อนๆ ว่า งานยุคนี้ถูกผลิตขึ้นในภาวะสงครามที่เป็นการลอกเลียนงาน สมัยอยุธยาปลายเป็นหลักจนไม่น่าจะมีประเด็นอะไรที่จะศึกษาทางรูปแบบ ศิลปะสถาปัตยกรรมได้อีก  ยังไม่นับประเด็นว่าด้วยร่องรอยงานช่างในยุคนี้ที่เรียกได้ว่าถูกเปลี่ยน แปลงครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แม้แต่งานที่เชื่อแน่ได้ว่าสร้างสมัยรัชกาล ที่ ๑ ก็ยังมีข้อจ�ำกัดในแง่ของการบูรณปฏิสังขรณ์นับครั้งไม่ถ้วนในช่วงเวลา ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา จนสิ่งที่เราเห็นปัจจุบันอาจไม่เหลือร่องรอยของงานช่าง รัชกาลที่ ๑ เลยก็ว่าได้ อันน�ำมาซึ่งข้อกังขาต่อหลักฐานที่จะสามารถใช้เป็น ตัวแบบในการศึกษาว่าจะสามารถท�ำให้งานเขียนชิ้นนี้เดินไปได้อย่างราบรื่น มากน้อยแค่ไหน ค�ำถามเหล่านี้สร้างความลังเลพอสมควรแก่ผู้เขียน แต่ภายในเวลาไม่ นาน หลังจากที่ได้มีโอกาสส�ำรวจงานวิชาการที่นอกเหนือไปจากแวดวงศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่ถูกผลิตขึ้นในช่วงเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา เช่น ประวัติ ศาสตร์ รัฐศาสตร์ และวรรณกรรมศึกษา เป็นต้น กลับท�ำให้เริ่มเห็นว่า ยุค ชาตรี ประกิตนนทการ 3


รัชกาลที่ ๑ และรวมไปถึงต้นรัตนโกสินทร์ทั้งหมดนั้นมีพัฒนาการทางประวัติ ศาสตร์ และวัฒนธรรมหลายด้านที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างอย่างมีนัย ส�ำคัญออกไปจากสมัยอยุธยาตอนปลายมากกว่าที่เคยเข้าใจกัน๒  ความแตกต่างที่งานในแวดวงอื่นได้บุกเบิกไว้ ส่งผลให้ผู้เขียนเริ่มมอง เห็นว่า ลักษณะเฉพาะดังกล่าวย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะถูกสะท้อนหรือแสดง ออกผ่านงานช่างไม่มากก็น้อยเช่นเดียวกัน  และหากเป็นจริงก็จะช่วยสร้าง ความเข้าใจใหม่ๆ ที่มีต่องานช่างในสมัยรัชกาลที ่ ๑ เพิ่มขึ้น แม้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า วงวิชาการประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมหรือ ศิลปะก็เริ่มพบการอธิบายในลักษณะเช่นนี้บ้างเช่นเดียวกันกล่าวคือ เริ่มพบ แนวโน้มการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมยุคต้นรัตน โกสินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของยุคสมัย มิใช่หยุดนิ่งหรือลอกเลียนสมัยอยุธยา ตอนปลายแต่เพียงอย่างเดียว  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณางานในกลุ่มนี้ อย่างละเอียด ผู้เขียนก็พบว่า มุมมองในลักษณะนี้มีอยู่อย่างจ�ำกัด และภาย ใต้งานที่มีอยู่น้อยนิดเหล่านั้น ยังพบปัญหาในการอธิบายที่น่าตั้งเป็นข้อสังเกต อยู่ ๒ ประการ ดังต่อไปนี ้ ประการแรก ยุคต้นรัตนโกสินทร์ในสายตานักประวัติศาสตร์ศิลปะและ สถาปัตยกรรมกลุ่มนี้ถูกอธิบายแบ่งเป็น ๒ ช่วงย่อยคือ  ช่วงที่หนึ่ง เป็นสมัยแห่งการรื้อฟื้นและสืบทอดงานช่าง ตลอดจนวัฒน ธรรมประเพณีต่างๆ จากสมัยอยุธยาตอนปลาย๓ ช่วงนี้ถือโดยทั่วไปว่า อยู่ใน ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งยังได้รับการอธิบายในลักษณะไม่มีพัฒนาการในเชิง รูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมเฉพาะของยุคสมัยขึ้นอย่างเด่นชัด เป็นแต่ เพียงการหยิบยืมรูปแบบจากสมัยอยุธยาตอนปลายมาใช้ โดยมีอุดมคติร่วม ของยุคสมัยที่ต้องการจะย้อนไปเหมือนเมื่อ “ครั้งบ้านเมืองดี”  ช่วงที่สอง เป็นยุคที่มีการพัฒนารูปแบบงานช่างขึ้นใหม่ โดยมีลักษณะ เฉพาะตัวที่แตกต่างจากอยุธยาตอนปลายอย่างเกือบจะสิ้นเชิง  รูปแบบดัง กล่าวถูกพัฒนาขึ้นภายใต้อิทธิพลศิลปะแบบจีนในสมัยรัชกาลที่  ๓ (เริ่มเห็น ร่องรอยบ้างในสมัยรัชกาลที่ ๒) ซึ่งปรากฏการณ์นี้เป็นที่รู้จักในวงวิชาการภาย ใต้ชื่อ “ศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม”๔ ต้นรัตนโกสินทร์ที่ถูกแยกออกเป็น ๒ ช่วงย่อยดังกล่าว ท�ำให้นักวิชา การที่สนใจศึกษาค้นคว้ายุคต้นรัตนโกสินทร์ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ให้ความสนใจศึกษางานช่างสมัยรัชกาลที ่ ๑ ไม่มากนัก  4 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


• พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่เชิงสะพานพระพุทธ  ยอดฟ้า

กระแสหลั ก ของงานศึ ก ษาต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ มุ ่ ง ความสนใจไปที่ ส มั ย รัชกาลที่ ๓ ภายใต้ทัศนะที่เชื่อว่า เป็นช่วงเวลาที่มีความเคลื่อนไหวในเชิงพัฒนา การทางศิลปะและสถาปัตยกรรมสูง ดังปรากฏให้เห็นจากงานศึกษามากมาย ตลอดเวลาหลายสิบปีมานี๕้   ประการที่สอง เป็นผลสืบเนื่องจากประการแรก กล่าวคือ ในจ�ำนวนงาน ศึกษางานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่มีอยู่ไม่มากนัก ก็ยังคงเน้นการศึกษาลงไปที่ ประเด็นการจัดหมวดหมู่รูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรม โดยไม่ได้สนใจ ความคิด ความเชื่อ หรืออุดมคติที่แฝงอยู่เบื้องหลังงานช่างเหล่านั้น เพราะ กรอบความคิ ด ความเชื่ อ ที่ ไ ด้ รั บ การผลิ ต ซ�้ำ ต่ อ ๆ กั น มาว่ า  ยุ ค สมั ย นี้ คื อ สืบทอดอุดมคติทั้งหมดมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายใต้ฐานคิดในท�ำนอง ว่า สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นช่วงที่เพิ่งผ่านกลียุคหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา  ดังนั้น การพัฒนาในเชิงช่างจึงยังไม่เกิดขึ้น  ชาตรี ประกิตนนทการ 5


การอธิบายเช่นนี้ เสมือนว่า การสร้างศิลปะและสถาปัตยกรรมเลียน แบบอยุธยาตอนปลายในสมัยรัชกาลที ่ ๑ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางประวัติศาสตร์ เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติของช่วงสงครามที่งานช่าง จะต้องหยุดชะงัก

งานช่างสมัยรัชกาลที่  ๑  ศึกษาอะไรกันไปแล้วบ้าง ผู้เขียนขออนุญาตอธิบายรายละเอียดงานศึกษางานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ผ่านมาในวงวิชาการไทยเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงข้างต้น ซึ่งจากการส�ำรวจเรา สามารถแบ่งงานศึกษาออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ๓ ประเภท ดังนี้ หนึ่ง เป็นงานเขียนในรูปแบบบรรยายพรรณนาประวัติศาสตร์ ศิลปะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑ จากต�ำนาน ค�ำบอกเล่า และความ ทรงจ�ำ โดยงานกลุ่มนี้ไม่ได้เขียนในรูปแบบงานวิชาการปัจจุบัน แต่บางชิ้น ได้กลายเป็นเสมือนเอกสารชั้นต้นส�ำคัญให้กับงานวิจัยเกี่ยวกับงานช่างสมัย รัชกาลที่ ๑ ในเวลาต่อมา ที่ส�ำคัญคือ “ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖ เรื่อง ต�ำนานวังเก่า” โดยสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื้อหา สาระ เป็นการบรรยายภูมิสถานโดยทั่วไปของพระราชวังและวังต่างๆ ที่ได้มี การสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา๖ และงานเขียนอีกชิ้นคือ “ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๓” โดยผู้แต่งท่านเดียวกัน พ.ศ. ๒๔๖๒ เนื้อหา อธิบายต�ำนานวังหน้าตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๕๗ งานชิ้นส�ำคัญที่แสดงทิศทางแบบเดียวกันคือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูวัฒนธรรม” โดย พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทย ลาภพฤฒิยากร พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่เน้นประเด็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมอยุธยาใน สมัยรัชกาลที่ ๑ อาทิ ขนบธรรมเนียมประเพณี  ศาสนา วรรณกรรม และ ศิลปะแขนงต่างๆ๘ งานชิ้นนี้จะกลายเป็นเรื่องเล่ากระแสหลักต่อมาจนปัจจุบัน โดยสรุ ป  งานกลุ ่ ม นี้ มิ ไ ด้ มุ ่ ง เน้ น งานสถาปั ต ยกรรม แต่ ใ ห้ ภ าพของ บรรยากาศและสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ในภาพรวม ซึ่งเป็น หลักฐานส�ำคัญให้แก่การศึกษาในระยะเวลาต่อมา สอง เป็นงานที่เน้นรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเป็นหลัก 6 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


โดยศึกษาไปที่การก�ำหนดอายุสมัย และการจัดหมวดหมู่รูปแบบงาน ช่างอย่างละเอียด  อย่างไรก็ตาม งานกลุ่มนีก้ ย็ งั ถือว่าเป็นงานศึกษาทีอ่ ยู่ภาย ใต้กรอบความคิดที่มองว่า สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นยุคที่มุ่งเน้นการรื้อฟื้นและ สืบทอดทุกสิ่งจากอยุธยาตอนปลาย  ตัวอย่างที่ส�ำคัญคือ “พระมหาปราสาท และพระราชมณเฑีย รสถานในพระบรมมหาราชวัง ” โดย ม.ร.ว. แสงสู ร ย์ ลดาวัลย์ พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื้อหาเน้นอธิบายประวัติพระมหาปราสาทและพระ ราชมณเฑียรสถาน รวมไปถึงการอธิบายรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไว้อย่าง ละเอียด ทั้งขนาด ลักษณะทั่วไป และการตกแต่งต่างๆ๙ งานอีกชิ้นที่ให้ภาพรูปแบบสถาปัตยกรรมและพัฒนาการที่เปลี่ยนไปใน เขตพระบรมมหาราชวังสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้ดีคือ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” และ “อธิบายสังเขป พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๑”๑๐ โดย เสนอ นิลเดช ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ และ พ.ศ. ๒๕๒๖ ตามล�ำดับ ซึ่งเป็นงานยุคแรกๆ ที่อธิบายเกี่ยวกับการสร้าง การปฏิ สังขรณ์ รวมทั้งพัฒนาการทางรูปแบบของอาคารชุดนี้ งานของจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ เรื่อง “ศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นอีกชิน้ ทีใ่ ห้ภาพงานช่าง รัชกาลที่ ๑ ได้ดี แสดงประวัติความเป็นมาของอาคาร และลักษณะรูปแบบ ทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่างๆ อย่างละเอียด๑๑ หลังจากนั้น งานศึกษาและจัดหมวดหมู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัย รัชกาลที่ ๑ จะเกิดขึ้นตามมาอีกมาก เช่น “รูปแบบเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่างสมัยรัชกาลที่ ๑-๓” โดย ชัยณรงค์ ดีอินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๔๑๒ “พุทธปรางค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์” โดย ศิริวรรณ เวชวิทย์ พ.ศ. ๒๕๓๔๑๓ เป็นต้น  สาม เป็นงานที่มุ่งวิเคราะห์แนวความคิดการออกแบบและคติ สัญลักษณ์ที่ปรากฏในงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ซึ่งแนวทางนี้โดย ภาพรวมยังปรากฏน้อยมากในวงวิชาการที่ศึกษางานสมัยรัชกาลที่  ๑ เช่น “เอกในงานสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระอารามหลวง : การ วิเคราะห์ผังบริเวณ” โดย อนุวิทย์ เจริญศุภกุล พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื้อหาเป็นเรื่อง ของการวิเคราะห์การวางผังวัดโดยเลือกตัวแบบ ๖ วัด ได้แก่ วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม, วัดสุทัศนเทพวราราม, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, วัดเทพ ธิดาราม, วัดราชนัดดาราม และวัดอรุณราชวราราม โดยอธิบายว่า การวางผัง ชาตรี ประกิตนนทการ 7


วัดมีลักษณะแตกต่างจากอยุธยา อาทิ การใช้พระอุโบสถมาวางในแนวแกน นอนขวางพระวิหารของวัดสุทัศน์ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นต้น๑๔ แต่งาน ชิ้นนี้ก็ยังคงมุ่งศึกษาไปที่การออกแบบในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นหลัก โดยมิได้ กล่าวถึงสมัยรัชกาลที ่ ๑ มากนัก งานของเสมอชัย พูลสุวรรณ เรื่อง “สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรม ไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึง ๒๔” เป็นอีกชิ้นที่น่าสนใจในแง่การ อธิบายคติสัญลักษณ์เกี่ยวกับจักรวาลตามคติพุทธศาสนาเถรวาทที่แฝงไว้ ในการออกแบบสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยใช้วัด สุทัศน์และวัดพระเชตุพนเป็นตัวแบบในการอธิบาย๑๕  อย่างไรก็ตาม เนื้อหา หลักเน้นสมัยรัชกาลที ่ ๓ เช่นเดียวกัน งานที่ น ่ า สนใจที่ สุ ด คื อ  “การศึ ก ษาการออกแบบสถาปั ต ยกรรมวั ด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม” โดย วัชรี วัชรสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งถือเป็นงาน บุกเบิกที่พยายามเข้าใจแนวคิดในการวางผังวัดพระเชตุพน สมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ละเอียดที่สุด ที่ส�ำคัญ เป็นการศึกษาที่ตั้งอยู่บนหลักฐานเอกสารร่วมสมัย ที่น่าสนใจหลายอย่าง โดยเสนอว่า การออกแบบเขตพุทธาวาสเป็นการจ�ำลอง “มัชฌิมประเทศ” ในชมพูทวีป๑๖ นอกไปจากงานชิ้นนี้ก็ไม่มีงานในแนวนี้ปรากฏ อีก จากภาพรวมทั้ง ๓ ประเภท เห็นได้ชัดว่า การศึกษางานช่างสมัยรัชกาล ที่ ๑ มีปริมาณน้อยหากเทียบกับในช่วงสมัยอื่น โดยเฉพาะถ้าเทียบกับงานช่าง สมัยรัชกาลที่ ๓ อีกทั้งงานส่วนใหญ่ที่ปรากฏจะมีลักษณะเน้นในเชิงรูปแบบ ศิลปะสถาปัตยกรรมมาก ขาดซึ่งงานศึกษาที่เน้นให้เห็นความคิดที่อยู่เบื้อง หลังงาน  เหนืออื่นใด งานทั้งหมด (อาจยกเว้นงานของวัชรีเพียงชิ้นเดียว) ล้วน ผลิตซ�้ำกรอบความคิดว่าด้วยความสืบเนื่องกันระหว่างรูปแบบงานช่างสมัย อยุธยาตอนปลายกับสมัยรัชกาลที ่ ๑ แทบทั้งสิ้น

ประเด็นที่ควรศึกษาคืออะไร ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ วิธีมองเช่นนี้แม้มีส่วนถูกแต่ไม่ได้ช่วยให้เกิด ความเข้าใจงานช่างสมัยรัชกาลที่  ๑ อย่างรอบด้านเท่าที่ควร เพราะแม้แต่ ประเด็นการจ�ำลองหรือลอกเลียนแบบ จากการศึกษาของผู้เขียน ซึ่งจะกล่าว 8 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


ถึงในเนื้อหาบทต่อๆ ไป ก็ได้ท�ำให้พบข้อสังเกตที่อยากจะทดลองน�ำเสนอใน ที่นี้ว่า อุดมคติหรือสิ่งที่เรามักเข้าใจกันว่าเป็นความต้องการที่รื้อฟื้น ความเป็นอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น เป็นเพียงกุศโลบายทางการ เมืองของพระองค์ มากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “การรื้อฟื้นอยุธยา” หรือการหวนค�ำนึงถึง “ครั้ง บ้านเมืองยังดี” ที่เรามักพบปรากฏอยู่ในเอกสารตัวเขียนที่เหลืออยู่ในช่วง รัชกาลที่ ๑ และต้นรัตนโกสินทร์นั้น ในทัศนะผู้เขียนมีสถานะเป็นนโยบาย (อีกแง่หนึ่งคือเป็นความตั้งใจ) ที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมและการเมือง ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคพระเจ้ากรุงธนบุรีมาสู่ยุคต้นราชวงศ์จักรี มากกว่า ที่จะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของงานช่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในยุคสงคราม ที่ส�ำคัญ “ความเป็นอยุธยา” แม้จะเป็นอุดมคติที่สังคมต้นรัตนโกสินทร์ ต้องการรื้อฟื้นจริง แต่ “ความเป็นอยุธยา” ก็มิใช่อุดมคติทั้งหมดที่ชนชั้นน�ำ สมัยรัชกาลที่ ๑ ต้องการย้อนกลับไปสู่สถานภาพเช่นนั้น เพราะการเสียกรุง ศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้สร้างค�ำถามต่อระบบการเมืองการปกครองของ สมัยอยุธยา ตลอดจนรากฐานทางวัฒนธรรมประเพณีเก่าๆ หลายๆ อย่างแก่ ชนชั้นน�ำใหม่ทั้งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ ๑ มากมาย งานศึกษาทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นแสดงให้เห็นบริบททางสังคมแบบ ใหม่ที่แวดล้อมยุครัชกาลที ่ ๑ ที่แตกต่างจากยุคก่อนหน้านั้นซึ่งส่งผลให้ความ คิดและอุดมคติของชนชั้นน�ำเปลี่ยนแปลงไปจากอยุธยามาก ไม่ว่าจะเป็นการ เจริญเติบโตมากขึ้นทางเศรษฐกิจการค้า โดยเฉพาะการค้าส�ำเภาที่เป็นส่วน ส�ำคัญก่อให้เกิด “วัฒนธรรมกระฎุมพี” ในยุคต้นรัตนโกสินทร์๑๗ หรือความ คิดทางพระพุทธศาสนาสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว๑๘ หรือแม้แต่ การที่ชนชั้นน�ำใหม่สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเพียงชนชั้นขุนนางในสมัยอยุธยาที่ มิใช่เชื้อสายกษัตริย์ ซึ่งประเด็นนี้ได้ส่งผลให้แนวคิดว่าด้วยกษัตริย์และรัฐ สมัยต้นราชวงศ์จักรีมีความแตกต่างมากพอสมควรจากอยุธยาตอนปลาย๑๙ นอกจากนี้ จากการศึกษาเอกสารร่วมสมัยและการลงภาคสนามส�ำรวจ สถานที่จริงก็ได้ท�ำให้ผู้เขียนพบว่า งานศิลปะและสถาปัตยกรรมหลายชิ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญจาก สมั ย อยุ ธ ยาตอนปลาย อาทิ   คติ นิ ย มในการสร้ า งระเบี ย งคดล้ อ มรอบ พระอุโบสถ ซึ่งไม่เคยปรากฏในสมัยอยุธยาเลยไม่ว่าจะยุคสมัยใด การยก ชาตรี ประกิตนนทการ 9


พระแก้วมรกตขึน้ เป็นพระพุทธรูปทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของราชอาณาจักร ทัง้ ทีพ่ ระพุทธ รูปองค์นี้ไม่เคยได้รับความสนใจจากกษัตริย์อยุธยามาก่อน หรือแม้กระทั่ง ความนิยมในการเลือกพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถเป็นปางสมาธิ แทนที่จะเป็นปางมารวิชัยตามขนบประเพณีเดิมของสังคมไทย เป็นต้น ซึ่งข้อ สังเกตในประเด็นทั้งหลายนี้ ยังไม่ได้รับการศึกษาและอธิบายในเชิงประวัติ ศาสตร์สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างจริงจังมากนัก  ดั ง นั้ น  การอธิ บ ายงานช่ า งในยุ ค นี้ ค วรหากรอบความคิ ด ใหม่ ที่ไม่ได้มุ่งมองแต่ความสืบเนื่องจากอยุธยาตอนปลายเป็นด้านหลัก อีกต่อไป แต่ควรเริ่มพิจารณาความแตกต่างระหว่างอยุธยาตอนปลาย กั บ ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ ใ ห้ ม ากขึ้ น  ซึ่ ง ประเด็ น นี้ มั ก ถู ก มองข้ า มไปใน งานศึกษากระแสหลักที่ผ่านมา  ยิ่งไปกว่านั้น ควรพยายามอธิบายว่า อะไรคือสาเหตุในเชิงแนวความ คิดและอุดมการณ์ที่น�ำไปสู่การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ในรูปแบบดังกล่าว โดยมุ่งไปที่การสร้างความเข้าใจภายใต้บริบททางสังคม และการเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๑ ว่ามีเหตุปัจจัยอย่างไรที่ผลักดันให้เกิดการ สร้างงานช่าง มากกว่าที่จะมุ่งเน้นไปที่การอธิบายในเชิงการจัดหมวดหมู่รูป แบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรม หรือการอธิบายในเชิงพัฒนาการลวดลาย หรือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นกระแสหลักของการศึกษาที่ผ่าน มาเช่นเดียวกัน สมมติฐานหลักที่น�ำมาสู่งานศึกษานี้คือ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สมัยรัชกาลที่ ๑ มิได้มีแต่ความสืบเนื่อง ลอกเลียน และรื้อฟื้นรูปแบบสถา ปัตยกรรมอยุธยาอย่างตรงไปตรงมา แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นภายใต้บริบทเฉพาะ ของยุคสมัย ทั้งนี้ การศึกษาจะมุ่งอธิบายความสัมพันธ์กับหลักฐานข้อมูลทางประวัติ ศาสตร์ในหลากหลายรูปแบบที่นอกเหนือจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรมเพียง อย่างเดียว อาทิ คัมภีร์ทางศาสนา๒๐ สมุดภาพโบราณ หลักฐานทางศิลปกรรม ตลอดจนหลักฐานในเชิงความคิดทางการเมือง เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องท�ำเข้าใจร่วมกันในเบื้องต้นก่อนที่จะเริ่ม อ่านหนังสือเล่มนี้ก็คือ ในวงวิชาการที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงงานช่างสมัยรัชกาล ที่ ๑ มักจะมองภาพงานช่างในแบบที่เป็นภาพรวมอย่างเป็นเอกภาพในเชิง ความคิดและรูปแบบงานช่าง (สกุลช่าง) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด 10 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


ภายใต้พระราชด�ำริของรัชกาลที ่ ๑  การมองเช่นนี้ท� ำให้เกิดการละเลยอิทธิพลเชิงช่างบางประการที่เป็น ลักษณะเฉพาะของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า สมัยรัชกาล ที่ ๑) หรือแม้กระทั่งกลุ่มช่างของเจ้านายชั้นสูงพระองค์อื่นๆ ที่มีลักษณะแตก ต่างกันออกไปมากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งถือเป็นลักษณะส�ำคัญประการหนึ่งที่วงวิชา การทางศิลปะและสถาปัตยกรรมในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ไม่ได้ให้ความส�ำคัญ ต่อความแตกต่างนี้มากเท่าที่ควร  ทั้งที่ในความเป็นจริงจากเอกสารร่วมสมัย ตลอดจนหลักฐาน เชิงประจักษ์ในตัวงานศิลปะและสถาปัตยกรรมเองก็ได้แสดงให้เห็น อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า งานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างน้อยที่สุดควร ที่จะถูกอธิบายแยกออกเป็น ๒ สกุลช่าง คือ สายสกุลช่างของรัชกาล ที่ ๑ (วังหลวง) และสายสกุลช่างของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงห นาถ (วังหน้า) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญหลายประการ อันเกิดจากบริบทเฉพาะในยุคแรกสถาปนาราชวงศ์จักรีโดยตรง เป็นที่ทราบดีว่า วังหน้า รัชกาลที่ ๑ มีพระราชอ�ำนาจมากมาตั้งแต่สมัย กรุงธนบุรี ถือเป็นบุคคลหนึ่งในกลุ่ม “ลูกน้อง” คนสนิทของพระเจ้ากรุงธนบุรี มีความสามารถในการรบและมีความเจริญก้าวหน้าในราชการอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับเจ้าพระยาจักรี  (รัชกาลที่  ๑)๒๑ ทรงด�ำรง ต�ำแหน่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ว่าราชการเมืองพิษณุโลก ควบคุมก�ำลังพลเป็น จ�ำนวนมาก นอกจากนี้ยังทรงมีสัมพันธไมตรีกับเหล่าเมืองประเทศราชดีมาก กว่ารัชกาลที่ ๑ ไม่ว่าจะเป็นล้านนา ล้านช้าง ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใต้ และภาคตะวันออก๒๒ เมื่อตั้งราชวงศ์จักรีและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว เจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง กรมพระราชวั ง บวรมหาสุ ร สิ ง หนาท วั ง หน้ า  ว่ า ราชการ พระนครกึ่งหนึ่ง๒๓ ท�ำให้อ�ำนาจบารมีดังกล่าวที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้ากรุง ธนบุรีก็ดูจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น สถานะที่สูงส่งขึ้นนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในเชิง โครงสร้างและการแย่งชิงความชอบธรรมกันระหว่างวังหลวงกับวังหน้าอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ พ.ศ. ๒๓๓๙ ที่มีกรณีลากปืนใหญ่ ขึ้นก�ำแพงวังหลวง-วังหน้า จนเกือบจะรบกัน สิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของวังหน้าก็ล้วนสร้างขึ้นอย่างใหญ่โต วิจิตรบรรจง และมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับวังหลวง ไม่ว่าจะเป็นพระ ชาตรี ประกิตนนทการ 11


• พระบวรราชานุสาวรีย์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้าในสมัยรัชกาล  ที่ ๑) ที่หน้าวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

12 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


ราชวังบวรสถานมงคล วัดนิพพานารามหรือวัดพระศรีสรรเพชญ์ (วัดมหาธาตุ ในปัจจุบัน) และวัดชนะสงคราม เป็นต้น และด้วยความยิ่งใหญ่งดงามของ สถาปัตยกรรมวังหน้า สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพยังทรงพระนิพนธ์ ต�ำนานที่เล่าสืบกันมาว่า วังหน้าตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อรัชกาลที่ ๑ สวรรคต และพระองค์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์จะเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังบวรฯ ตามแบบ อย่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไม่เสด็จมาอยู่วังหลวง๒๔ ยิ่งเมื่อดูเอกสารบันทึกของคนร่วมสมัย หลายชิ้นก็แสดงให้เห็นชัดถึง การยกย่องวังหน้ามากกว่าวังหลวง อาทิเช่นใน สังคีติยวงศ์ สมเด็จพระวันรัตน ได้เขียนยกย่องรัชกาลที่ ๑ ว่าทรงเป็น “พระศรัทธาธิกโพธิสัตว์” แต่ยกย่องให้ กรมพระราชวังบวรฯ เป็น “พระปัญญาธิกโพธิสัตว์” ที่ใช้เวลาในการบ�ำเพ็ญ บารมีเพื่อบรรลุธรรมเร็วกว่า “พระศรัทธาธิกโพธิสัตว์” ถึง ๒ เท่า๒๕ สายชล สัตยานุรักษ์ วิเคราะห์ไว้น่าสนใจว่า โครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ใหญ่พระพระเชตุพน โดยรัชกาลที่ ๑ นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเหตุผลจากความต้อง การที่จะสร้างความสัมพันธ์พิเศษกับสมเด็จพระวันรัตน ซึ่งเป็นพระราชาคณะ ที่มีบทบาทสูงในรัชสมัย อีกทั้งยังเป็นการคานอิทธิพลของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดส�ำคัญที่สุดของกรมพระราชวังบวรฯ๒๖ ด้วยบริบทการต่อสู้แข่งขันทางอ�ำนาจ และบารมีระหว่างวังหลวงกับ วังหน้าดังกล่าว จึงเห็นว่าการศึกษางานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงไม่สามารถ พิจารณารวมในลักษณะสายสกุลช่างเชิงเดียวภายใต้พระราชนิยมของรัชกาล ที่ ๑ พระองค์เดียวได้อีกต่อไป แต่ควรจะต้องแยกการศึกษาออกจากกัน และ จากงานศึกษาบางชิ้นก็ชี้ประเด็นความแตกต่างทางศิลปะและสถาปัตยกรรม เหล่านี้เอาไว้บางแล้ว๒๗ ซึ่งจะไม่ขออธิบายละเอียด ณ ที่นี้ เนื่องจากจ�ำเป็น จะต้องศึกษาแยกเป็นงานเขียนอีกชิ้นหนึ่ง  นอกจากนี้ งานช่างภายใต้การอุปถัมภ์ของเจ้านายพระองค์อื่น ก็ควร ถูกศึกษาในลักษณะที่แยกออกไปด้วยเช่นกัน แน่นอน ไม่ปฏิเสธถึงลักษณะ ที่มีร่วมกันหลายอย่าง แต่ผู้เขียนเห็นว่าจ�ำเป็นจะศึกษาแยกเฉพาะออกไปเป็น กรณีๆ เนื่องจากเราไม่สามารถพิจารณางานช่างแบบภาพรวมที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันได้อีกต่อไป จากที่อธิบายมาทั้งหมด งานชิ้นนี้จึงเกิดขึ้นโดยต้องการที่จะศึกษาเน้น ไปที่งานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยตรงภายใต้กรอบแนวคิด ๓ ประการ ดัง ต่อไปนี้ ชาตรี ประกิตนนทการ 13


• ภาพเก่าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม สถาปัตยกรรมของวังหน้า

14 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


หนึ่ง เน้นการศึกษาหาลักษณะเฉพาะหรือลักษณะที่แตกต่างระหว่าง ศิ ล ปะสถาปั ต ยกรรมในสมั ย อยุ ธ ยาตอนปลายกั บ ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์   ส่ ว น ประเด็ น ความเหมื อ นหรื อ สื บ ทอดต่ อ เนื่ อ งกั น ระหว่ า ง ๒ ยุ ค นั้ น  แน่ น อน ไม่ปฏิเสธว่ามีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก แต่เนื่องจากทุกท่านสามารถหาอ่านได้จาก งานวิชาการกระแสหลักอยู่แล้ว ฉะนั้นจะไม่ขอกล่าวซ�้ำ สอง ศึกษาเพื่อหาค�ำอธิบายว่า อะไรคือสาเหตุที่ก่อให้เกิดการสร้าง สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในรูปแบบดังกล่าว โดยมุ่งท�ำความเข้าใจภายใต้ บริบททางสังคมและการเมืองในยุครัชกาลที ่ ๑ เป็นหลัก สาม ศึกษาเฉพาะงานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่มีหลักฐานเอกสารอันน่า เชื่อถือได้ว่าถูกสร้างขึ้นโดยพระราชด�ำริโดยพระองค์เองหรือเชื่อได้ว่าอยู่ภาย ใต้การอุปถัมภ์ใกล้ชิด เพื่อน�ำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนต่อแนวคิดของ รัชกาลที่ ๑ โดยตรง

หลักฐานอะไร ที่ควรน�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ ประเด็นงานศึกษาในงานชิ้นนี้ ไม่อาจใช้หลักฐานเพียงแค่งานศิลปะ และสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใช้ชุดหลักฐานหลายอย่าง เพื่อน�ำไปสู่การตีความในเชิงแนวคิด ความหมาย หรือแม้แต่อุดมการณ์ที่อยู่ เบื้องหลังงานช่างดังกล่าว ดังนั้นผู้เขียนจึงได้วางกรอบในการวิเคราะห์และ ตีความโดยอาศัยหลักฐานข้อมูลที่สำ� คัญ ๓ ส่วน ดังต่อไปนี้ หนึ่ง ข้อมูลจากการส�ำรวจภาคสนามและท�ำการสันนิษฐานรูปแบบทาง ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ส�ำหรับกรณีศึกษา ที่ส�ำคัญบางชิ้น เพราะหลักฐานในปัจจุบันส่วนใหญ่ล้วนถูกซ่อมแปลงไปอย่าง มากในหลายยุคสมัย ดังนั้นจ�ำเป็นจะต้องท�ำการสันนิษฐานรูปแบบดั้งเดิมเป็น ล�ำดับแรก เพื่อจะน�ำไปสู่การท�ำความเข้าใจแนวคิดหรืออุดมคติทางสังคมที่อยู่ เบื้องหลังต่อไป   สอง ตัว บทงานเขีย นและวรรณกรรมที่ถู ก เขีย นขึ้น ร่ ว มสมัย จะช่ ว ย ท�ำหน้าที่ในการสะท้อนวิธีคิด คติความเชื่อ ตลอดจนอุดมการณ์ทางสังคม ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมได้  ซึ่งงาน ศึกษาครั้งนี้ได้ก�ำหนดเอกสารชิ้นหลักเอาไว้ ๒ กลุ่มคือ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา  ชาตรี ประกิตนนทการ 15


ซึ่งเป็นเอกสารร่วมสมัยชิ้นส�ำคัญที่แต่งขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีอยู่ทั้งสิ้นทั้ง ๒ ส�ำนวน และกลุ่มเอกสารที่รู้จักกันในชื่อ สมุดภาพไตรภูมิ ๒๘

ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา  “ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา” รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้พระราชาคณะ และอาลักษณ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตค้นพระไตรปิฎกแล้วเรียบเรียงแต่งใหม่ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๖ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ พระองค์ทรงพระราชปรารภ ว่า ไตรภูมิกถา ที่แต่งไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๖ (เรียกกันทั่วไปว่า ไตรภูมิโลก  วินิจฉยกถา ส�ำนวนที่ ๑๒๙) นั้นแยกกันแต่งเป็นส่วนๆ คารมไม่เสมอกัน และ ที่ยังคลาดเคลื่อนก็ยังมีอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) จางวางกรมราชบัณฑิตช�ำระดัดแปลงขึ้นใหม่เป็น “ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ส�ำนวนที่ ๒”๓๐ แต่เดิม เมื่อนักวิชาการต้องการอธิบายแนวคิดและคติสัญลักษณ์ใน งานสถาปัตยกรรมยุคต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นภาพจ�ำลอง คติความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาลทางพุทธศาสนานั้น เกือบทั้งหมดจะ อธิบายโดยอ้างอิงกับเนื้อหาคัมภีร์ “ไตรภูมิพระร่วง” เป็นหลัก  “ไตรภูมิพระร่วง” นักวิชาการส่วนมากเชื่อว่า เป็นพระราชนิพนธ์ของ พระมหาธรรมราชาลิไทย และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการไทยมากที่สุดว่าเป็น เสมือนคัมภีร์แม่บทในการอธิบายความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาลตามคติ พุทธศาสนาในสังคมไทย โดยเนื้อหาภายในมีลักษณะการเล่าเรื่องโดยสังเขป แยกออกเป็น ๓ ส่วน คือ กามภูมิ, รูปภูมิ และอรูปภูม๓๑ ิ กามภูมิ คือ เรื่องราวที่ว่าด้วยภพภูมิของมนุษย์ สัตว์ต่างๆ เปรต อสูร สัตว์นรก และเทวดา   รูปภูมิ คือ เรื่องราวที่ว่าด้วยภพภูมิของรูปพรหมชั้นต่างๆ อรูปภูมิ คือ เรื่องราวที่ว่าด้วยภพภูมิของอรูปพรหมชั้นต่างๆ ทั้ง ๓ ภูมิ (ไตรภูมิ) ข้างต้น จะถูกเล่าอธิบายโดยเชื่อมโยงกับลักษณะ ทางกายภาพของจักรวาลอันเป็นที ่ เกิด-ดับ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยลักษณะ ทางกายภาพของจักรวาลที่ส�ำคัญอันเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนาแต่โบราณ ประกอบไปด้วยจักรวาลที่มีสัณฐานกลม แกนกลางของจักรวาลคือเขาพระ สุเมรุ อันเป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นต่างๆ และสัตว์หิมพานต์นานาชนิด  เหนือขึ้นไปเป็นวิมานของเทวดาและพรหมชั้นต่างๆ ลงไปใต้เขาพระ 16 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.