บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร”
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” นพดล ปัทมะ
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๙
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” • นพดล ปัทมะ พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๙ ราคา ๒๕๕ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม นพดล ปัทมะ. บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร”. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙. ๒๖๔ หน้า. ๑. ปราสาทพระวิหาร. ๒. ไทย - - ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ - - กัมพูชา. I. ชื่อเรื่อง. ๓๒๗.๕๙๓๐๕๙๖ ISBN 978 - 974 - 02 - 1475 - 5
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการที่ปรึกษา : วรศักดิ์ ประยูรศุข • บรรณาธิการเล่ม : โมน สวัสดิ์ศรี นักศึกษาฝึกงาน : ยุวดี เผยศิริ • พิสูจน์อักษร : ศรีวิไล ปานสีทา กราฟิกเลย์เอาต์ : อรอนงค์ อินทรอุดม • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : วีระวัฒน์ ปัญญามัง ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำ ค�ำน�ำผู้เขียน บทคัดย่อ มายาคติและความจริงกรณีปราสาทพระวิหาร บทที่ ๑ ค�ำพิพากษาศาลโลกปี ๒๕๐๕ และการปฏิบัติตามค�ำพิพากษา บทที่ ๒ ที่มาของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตร และปัญหาเรื่องเส้นเขตแดน บทที่ ๓ ล�ำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก การด�ำเนินการในการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของไทย เหตุการณ์ส�ำคัญหลังการขึ้นทะเบียน และคดีความต่างๆ เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร บทที่ ๔ ล�ำดับความเป็นมาของการยื่นค�ำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา บทที่ ๕ สถานการณ์และปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกของกัมพูชา ในขณะที่ผมเข้ารับต�ำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๘ ๑๐ ๑๒ ๑๕ ๒๑
๒๗
๓๓
๔๒
๕๒
๕๗
บทที่ ๖ การด�ำเนินการและความพยายามปกป้องสิทธิทางด้านเขตแดน ของไทยก่อนการหารือที่กรุงปารีส บทที่ ๗ การหารือระหว่างฝ่ายไทย กัมพูชา และยูเนสโก ที่กรุงปารีส และการจัดท�ำร่างค�ำแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) บทที่ ๘ ร่างค�ำแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่กรุงปารีส คือความส�ำเร็จในการรักษาดินแดน บทที่ ๙ ค�ำแถลงการณ์ร่วมได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบทุกขั้นตอนก่อนลงนาม บทที่ ๑๐ การพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างค�ำแถลงการณ์ร่วม และแผนผังแนบท้ายโดยคณะรัฐมนตรี บทที่ ๑๑ ค�ำแถลงการณ์ร่วมท�ำให้ไทยสามารถปกป้องดินแดน และรักษาอธิปไตยไว้ได้อย่างสมบูรณ์ บทที่ ๑๒ ค�ำแถลงการณ์ร่วมไม่ท�ำให้ไทยเสียดินแดน ไม่มีผลกระทบต่อเขตแดน ไม่เป็นการยอมรับแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ บทที่ ๑๓ คณะกรรมการมรดกโลกมีอ�ำนาจเด็ดขาดที่จะเห็นชอบ ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ แม้ไทยไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็ตาม บทที่ ๑๔ ถ้าปฏิบัติตามค�ำแถลงการณ์ร่วม กัมพูชาจะไม่ไปยื่นขอตีความ ค�ำพิพากษาศาลโลกปี ๒๕๐๕ และศาลโลกไม่ได้ใช้ค�ำแถลงการณ์ร่วม เพื่อพิพากษาคดีตีความเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
๖๒
๖๘
๗๔
๗๙
๘๕
๙๐
๑๐๐
๑๐๔
๑๐๙
บทที่ ๑๕ การด�ำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ กรณีค�ำแถลงการณ์ร่วม กระท�ำไปโดยสุจริต เพื่อปกป้องดินแดน ไม่มีมูลเหตุจูงใจ หรือเจตนาที่แอบแฝงใดๆ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน บทที่ ๑๖ กระทรวงการต่างประเทศไม่มีเจตนาหรือจงใจฝ่าฝืนมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ บทที่ ๑๗ การลงนามในค�ำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่เป็นการสละสิทธิที่ไทยจะทวงคืนปราสาทพระวิหาร บทที่ ๑๘ ผมไม่ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด รวมทั้งไม่ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต บทที่ ๑๙ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ผมอโหสิกรรมให้กับคนที่รู้ส�ำนึกว่าท�ำกรรมอะไรไว้
๑๑๖
๑๒๐
๑๒๙
๑๓๒
๑๓๕
เอกสารภาคผนวก ๑๓๙ เอกสารภาคผนวกพิเศษ ๒๐๑ - ค�ำพิพากษาศาลโลกคดีตีความวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ ๒๐๒ - ค�ำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด�ำรงต�ำหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขแดงที่ อม.๖๓/๒๕๕๘ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘ ระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ และนายนพดล ปัทมะ จ�ำเลย เรื่อง ความผิดต่อต�ำแหน่งหน้าที่ราชการ ๒๔๑ นิยามศัพท์ ๒๖๑ ประวัติผู้เขียน ๒๖๒
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ในความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่หมุนเวียน เปลี่ยนผ่านอยู่ในวัฏจักรแห่งความขัดแย้ง จัดวางอยู่ท่ามกลางความมั่นคงระหว่าง ดินแดน กัมพูชาถือเป็นอีกประเทศเพื่อนบ้านที่ราชอาณาจักรไทยคบค้าสมาคมกัน อย่างสมานสามัคคีกลมเกลียว เนื่องด้วยภาษา วัฒนธรรม และความเป็นมาของ บรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกัน แม้จะมีรอยหมางอันเนื่องมาจากบาดแผลทางประวัติ ศาสตร์ แต่ด้วยสังคมร่วมสมัยที่ท�ำให้คนทั้งสองดินแดนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน จึง ท�ำให้รอยบาดหมางดังกล่าวเจือจางเหลือเพียงรูปเงา เว้นก็แต่ความขัดแย้งในกรณี “ปราสาทพระวิหาร” บริเวณระหว่างชายแดน ไทยกับกัมพูชา ด้วยปราสาทศักดิ์สิทธิ์ตามแบบของศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่ระหว่างแนวเทือก เขาพนมดงรักแห่งนี้ คือจุดส�ำคัญที่รวบรวมความโดดเด่นด้านอารยธรรมของทั้ง สองดินแดน มิใช่แค่เรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว การค้าขายตามแนวชายแดน หรือ การปักปันเขตแดนโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น แต่เป็นสถานที่ที่เก็บซ่อนเลือด เนื้อ ชีวิต และศักดิ์ศรีของหลายชนชาตินับแต่โบราณกาล ซึ่งหากไม่นับข้อกฎหมาย ไม่ว่าจากในหรือต่างประเทศ ทั้งสองดินแดนต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์หรือความเป็น เจ้าของด้วยมุมมองหนึ่งเดียวที่ว่า ปราสาทอันห่างไกลแห่งนี้หาใช่แค่ปราสาทหิน ไร้ความหมาย แต่เป็นแหล่งอารยธรรมที่รวบรวมความเป็นมา และเป็นตัวชี้วัด ผลประโยชน์ที่อยู่นอกเหนือตัวปราสาท 8 นพดล ปัทมะ
“นพดล ปั ท มะ” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู ้ บริหารประเทศที่เคยร่วมต่อสู้ให้แก่ประชาชนคนไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่กัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก โลกเพียงฝ่ายเดียว เหลื่อมซ้อนกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่เต็มไปด้วย ความชุลมุนวุ่นวาย โลดโผนไปด้วยการใส่ร้ายป้ายสีและการแสดงออกทางชาติ นิยมสุดขั้ว ท�ำให้ “นพดล” ต้องหวนกลับมาท�ำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ดัง กล่าวอีกครั้งผ่านหนังสือ บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร อธิบายผ่าน ข้อกฎหมาย แผนที่ฉบับต่างๆ ไล่เรียงอย่างมีตรรกะแห่งเหตุและผลตั้งแต่ค�ำ พิพากษาศาลโลกในปี ๒๕๐๕ การขึ้นทะเบียนมรดกโลก จนกระทั่งถึงการต่อสู ้ ในศาลโลกในปี ๒๕๕๔-๒๕๕๖ เพื่ออธิบายความจริงที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๗ ปีที่ผ่าน มาว่าเป็นอย่างไร ฝ่ายไทยและกัมพูชาใช้หลักฐานใดในการอ้างอิงเพื่อด�ำเนินการ ทางกฎหมาย ท่ามกลางการใส่ร้ายบิดเบือนระหว่างคนไทยด้วยกันว่ามิได้ตั้งอยู่บน ผลประโยชน์ของชาติ ทั้งที่มิได้รับทราบรายละเอียดอย่างแท้จริง หนังสือเล่มนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อให้คนไทยได้เข้าใจการต่อสู้ทางกฎหมายระหว่าง ประเทศ ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และพิสูจน์สัจธรรมทางการเมืองที่ว่า ไม่ว่า เรื่องราวจะถูกบิดผันสักเท่าไร “ความจริง” ย่อมจักปรากฏวันยังค�่ำ ส�ำนักพิมพ์มติชน
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 9
ค�ำน�ำ
ไม่น่าเชื่อว่ากรณีเขาพระวิหารอันเป็นเรื่องราวพิพาทเก่าแก่จาก รุ่นคุณพ่อคุณปู่เมื่อปี ๒๕๐๐ ต้นๆ ได้กลับมาเป็นปัญหาและเป็นข่าวดังในสังคม ไทยและนานาชาติอีกครั้งในเวลาอีก ๔๐ กว่าปี หรือร่วมๆ ครึ่งศตวรรษต่อมา วันเวลาที่ล่วงเลยไป ท�ำให้ความรับรู้เกี่ยวกับข้อพิพาทและผลการสรุปข้อ พิพาทโดยศาลโลกพร่าเลือนไป เมือ่ กัมพูชาเสนอขอน�ำปราสาทพระวิหารเป็นมรดก โลก ความงุนงงสงสัยจึงเกิดขึ้น ในช่องว่างของความไม่เข้าใจ เกิดการยัดเยียดข้อมูลที่บิดเบือน เริ่มจาก ข้อมูลพื้นฐานที่สุดก็คือ สิทธิเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของใคร ก่อนลุกลามไปสู ่ ประเด็นอื่นๆ และกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองอันทรงประสิทธิภาพเพื่อกล่าวหาอีก ฝ่ายหนึ่ง กรณีเขาพระวิหารจึงเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสอง ขั้วสองฝ่ายในสังคมที่ด�ำเนินมาอย่างดุเดือด ความสูญเสียจากกรณีนี้ เป็นเรื่องที่น่าจะประเมินกันอย่างตรงไปตรงมา ต่อไป แต่ในเบื้องต้น ผลที่ประจักษ์กันทั่วไปได้แก่ความบาดหมางระหว่างเพื่อน บ้านที่มีพรมแดนติดกัน การปะทะสู้รบที่ก่อการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน งบประมาณ และโอกาสในการท�ำมาหากินของผู้คนใหญ่น้อยตามแนวชายแดน รวมถึงการต่อสู้ คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลกอีกครั้ง ในอีกมุมหนึ่ง ส�ำหรับผู้ใฝ่หาสัจจะ กรณีปราสาทพระวิหารท�ำให้เกิดกระแส 10 นพดล ปัทมะ
ย้อนกลับไปศึกษา สร้างความสว่างไสวทางปัญญาเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ได้อยู่ไกล ตัวนี้เลย ถึงปลายปี ๒๕๕๘ คดีเขาพระวิหารได้ผ่านข้อยุติอีกครั้ง ด้วยค�ำตัดสินของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมือง ที่มีนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี ๒๕๕๑ เป็นจ�ำเลย หนังสือเล่มนี้ เป็นความพยายามของผู้เกี่ยวข้องในการที่จะน�ำเสนอข้อ เท็จจริงในเรื่องของปัญหาปราสาทพระวิหาร จากด้านของผู้ถูกกล่าวหา ที่ต้องจม อยู่กับข้อหาร้ายแรงมาร่วมสิบปี เพื่อให้การบันทึกประวัติศาสตร์ในกรณีนี้สมบูรณ์ รอบด้านที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ปราสาทพระวิหารไม่ใช่แค่เรื่องของปราสาทหินโบร�่ำโบราณยืนเด่นเหนือ แผ่นผาบนยอดเขา แต่เกี่ยวพันแนบแน่นชีวิตชะตากรรมของคนและประเทศอย่าง น้อย ๒ ประเทศที่เดินทางผ่านข้อขัดแย้งนี้ด้วยความยากล�ำบาก สร้างบทเรียน ส�ำคัญอีกหน้าหนึ่งด้วยค่าใช้จ่ายที่สลับซับซ้อน กองบรรณาธิการมติชน
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 11
ค�ำน�ำผู้เขียน
ช่วงชีวิตของคนไทยคงต้องการท�ำเพื่อชาติตามโอกาสและอาชีพ ของตน ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ด�ำรง ต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๕๑ หลังจากเข้าท�ำหน้าที่จึงทราบว่าปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก โลกเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องเร่งแก้ไข เพื่อมิให้การขึ้นทะเบียนมรดก โลกกระทบสิทธิทางด้านเขตแดนของไทย ตลอด ๕ เดือนเศษของการท�ำหน้าที่รัฐมนตรีกระทรวงส�ำคัญนี้ ผมได้ ท�ำงานร่วมกับข้าราชการกระทรวงและข้าราชการจากหน่วยงานอื่น จนสามารถ ปกป้องสิทธิทางด้านเขตแดนของไทยบริเวณปราสาทพระวิหารได้ส�ำเร็จ น่าเสียใจที่การปกป้องดินแดนโดยการท�ำค�ำแถลงการณ์ร่วม มีคนจ�ำนวน หนึ่งบิดเบือน ใส่ร้ายด้วยความเท็จ และดูหมิ่นเหยียดหยามว่าผมเป็นคนท�ำให้ เสียดินแดน มีการใช้วาทกรรมขายชาติ ครอบครัวและญาติพี่น้องถูกดูหมิ่นเหยียด หยาม มีกลุ่มการเมืองจัดตั้งยกพวกไปคุกคามญาติและพี่สาวของผมที่บ้านแฝก โคราช ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผม ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการท�ำหน้าที ่ ของผม ผมเป็นปุถุชนที่ย่อมมีความรู้สึก หลายครั้งรู้สึกเหนื่อย ท้อกับการถูกใส่ร้าย อย่างเป็นระบบ จนบางครั้งถามตัวเองว่า นี่หรือคือผลตอบแทนจากการตั้งใจท�ำ ความดี แต่ผมไม่ยอมแพ้ เพราะผมเชื่อมั่นว่าคนท�ำดีต้องได้ดี ธรรมย่อมชนะอธรรม 12 นพดล ปัทมะ
พึงชนะความเท็จที่อ่อนแอด้วยความจริงที่เข้มแข็ง และความจริงก็ชนะในที่สุด แม้จะด�ำเนินการปกป้องดินแดนและร่วมพิจารณากับหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ ผมถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ สภาผู้แทนราษฎรมีมติไว้วางใจผมด้วยคะแนน ๒๗๘ ต่อ ๑๖๒ นอกจากนั้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นถอดถอนผมต่อวุฒิสภา แต่ในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ วุฒิสภาลงมติไม่ถอดถอนผมออกจากต�ำแหน่ง ตามมาตรา ๒๗๓ ของรัฐธรรมนูญ สิ่งที่น่าเสียใจและเสียดายคือ การบิดเบือนเกิดขึ้นตลอด ๗ ปีที่ผ่านมา จนสังคมเกิดความสับสน ประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และค�ำแถลงการณ์ร่วมถูกท�ำให้เป็นประเด็นการเมือง และการบิดเบือนท�ำให้เกิด ความขัดแย้งทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนในที่สุดกัมพูชาไปยื่นขอตีความ ค�ำพิพากษาศาลโลกในปี ๒๕๕๔ ผมเห็นความมุ่งมั่นและความสม�่ำเสมอในการ โจมตีผมเรื่องค�ำแถลงการณ์ร่วม ถ้านักการเมืองใช้ความพยายามและมุ่งมั่นดัง กล่าวไปสร้างนโยบายและท�ำงานให้ประชาชน ผมเชื่อว่าจะมีโอกาสได้รับความ นิยมทางการเมืองขึ้นมาก ในวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ คณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ฟ้อง ผมต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมือง ในฐานความผิด ตามมาตรา ๑๕๗ ประมวลกฎหมายอาญา แต่ต่อมาในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองพิพากษายกฟ้อง (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่ อม.๖๓/๒๕๕๘ ปรากฏตามเอกสารภาคผนวกพิเศษ หน้า ๒๔๑) ผมไม่สามารถหาค�ำใดที่จะบรรยายความรู้สึกซาบซึ้งและส�ำนึกในความ ยุติธรรมที่ผมได้รับจากศาลในวันนั้น ผมเชื่อมาตลอดว่าศาลคือที่พึ่งสุดท้ายของ ประชาชน ความเชื่อของผมได้กลายเป็นความจริงในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘ ผมจะจ�ำผู้ประทานความยุติธรรมไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และจะมุ่งมั่นท�ำความดี ต่อไป บัดนี้ ฝุ่นควันแห่งความเท็จได้ถูกเม็ดฝนแห่งความจริงชะล้างไปหมดสิ้น แล้ว แสงสว่างแห่งสัจธรรมที่ว่า The truth shall set you free. ความจริงจะท�ำให้ ท่านเป็นอิสระ ได้สาดส่องไปในใจของผู้คนที่รักความเป็นธรรม เพื่อให้ได้รับรู้ทั่วกัน ว่า กระทรวงการต่างประเทศในยุครัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายนพดล บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 13
ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น คือผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที ่ โดยชอบเพื่อปกป้องดินแดนไทย ผมขออโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่สร้างเวรสร้างกรรมให้ ผมตลอด ๗ ปีที่ผ่านมานี้ หนังสือเล่มนี้ ผมตั้งใจเขียนเพื่อบันทึกความจริงว่าในช่วงเวลาหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรีได้ปกป้องดินแดน ไว้ส�ำเร็จ ผมได้รวบรวมทั้งข้อมูล ข้อเท็จจริง เอกสารที่ส�ำคัญที่เกี่ยวกับคดีปราสาท พระวิหารปี ๒๕๐๕ การเจรจาและการลงนามค�ำแถลงการณ์ร่วม การขึ้นทะเบียน มรดกโลก เหตุการณ์ภายหลังการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ค�ำพิพากษาศาลโลกปี ๒๕๕๖ รวมถึงค�ำชี้แจงข้อกล่าวหาและการบิดเบือนตลอด ๗ ปีที่ผ่านมา ผมมั่นใจ ว่าความจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่พี่น้องชาวไทยควรรู้ ผมขอขอบคุณเพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศและจากหน่วย งานอื่นๆ รวมทั้งพยานท่านอื่นๆ ที่ไปเป็นพยานในคดีและปกป้องความจริงอย่าง กล้าหาญ ขอบคุณพี่น้องที่เข้าใจและให้ก�ำลังใจผมมาตลอด ขอความสวัสดีและ ความเจริญรุ่งเรืองจงบังเกิดแก่ท่านทุกคน นพดล ปัทมะ
14 นพดล ปัทมะ
บทคัดย่อ
กั ม พู ช ายื่ น ขอขึ้ น ทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห ารเป็ น มรดกโลกฝ่ า ย เดียวในปี ๒๕๔๙ โดยค�ำขอแนบแผนที่รุกล�้ำพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน (พื้นที่ประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิในพื้นที่นี้) และถ้ากัมพูชา สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ตามแผนที่ดังกล่าวอาจมี ผลเสียต่อสิทธิทางด้านเขตแดนของประเทศไทย ไทยคัดค้านค�ำขอของกัมพูชาใน การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ ๓๑ ในปี ๒๕๕๐ ที่ประเทศนิวซีแลนด์ จนคณะกรรมการฯ มีมติเลื่อนวาระการพิจารณาออกไปในการประชุมสมัยที่ ๓๒ ในปี ๒๕๕๑ ที่ประเทศแคนาดา ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ และเหลือเวลาอีกเพียง ๕ เดือนเศษก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัย ที่ ๓๒ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ไทยจึงต้องเร่งรีบด�ำเนินการหาวิธีปกป้อง สิทธิทางด้านเขตแดนในพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตรให้ได้ เนื่องจากค�ำขอ ขึ้นทะเบียนของกัมพูชาค้างอยู่ในวาระการประชุม สถานการณ์ในขณะที่ผมเข้ารับต�ำแหน่งมีเงื่อนไขและข้อจ�ำกัดส�ำคัญ ๒ ประการคือ ๑) ข้อจ�ำกัดด้านระยะเวลาที่มีเพียง ๕ เดือนในการแก้ปัญหาก่อนการ ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ ๓๒ ๒) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ประเมินว่า โอกาสเลื่อนวาระการประชุมเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น ไปได้ยากและมีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการมรดกโลกจะขึ้นทะเบียนปราสาท บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 15
พระวิหารเป็นมรดกโลกในการประชุมสมัยที่ ๓๒ ที่ประเทศแคนาดาในเดือนกรก- ฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หากเลื่อนไม่ได้ กัมพูชาก็จะสามารถขึ้นทะเบียนตามค�ำขอที่ ยื่นไว้เดิม ซึ่งรุกล�้ำพื้นที่ทับซ้อนและสุ่มเสี่ยงในการเสียสิทธิและอธิปไตยในพื้นที่ ทับซ้อน เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแนวทางการปกป้องสิทธิทาง ด้านเขตแดนโดยต้องเจรจาท�ำความตกลงบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตาราง กิโลเมตรร่วมกันกับกัมพูชาให้ได้ก่อนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ถ้าเจรจาไม่ส�ำเร็จ ให้ เตรียมข้อบทรักษาสิทธิไว้บรรจุในมติคณะกรรมการมรดกโลก อย่างไรก็ตาม แม้มี การเจรจา ๒ ครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถตกลงเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนร่วม กันได้ เนื่องจากกัมพูชาปฏิเสธว่าไม่มีพื้นที่ทับซ้อน เมื่อแนวทางอื่นถึงทางตัน ผมจึงน�ำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปหารือสามฝ่ายที่กรุงปารีส แนวทางสุดท้ายคือ การเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก ไม่ให้น�ำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก และให้ ขึ้นทะเบียนได้เฉพาะตัวปราสาท จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่เปิดช่องอยู่ในขณะนั้น การเจรจาที่กรุงปารีสส�ำเร็จและมีการท�ำร่างค�ำแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) คณะผู้แทนไทยและผมได้เจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และสนับสนุนให้เขาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ กัมพูชาอยู่แล้ว โดยกัมพูชาต้องจัดท�ำแผนผังขอบเขตตัวปราสาทที่ลดขนาดลง ไม่ให้ล�้ำเส้นเขตแดนไทย และให้ใช้แผนผังใหม่นี้แทนแผนที่เชอมาที่ยื่นไว้ตั้งแต่ป ี ๒๕๔๙ ซึ่งแผนที่เชอมานี้รุกล�้ำและผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียน ถ้าจะ ให้เข้าใจง่าย อุปมาตัวปราสาทเป็นศาลพระภูมิและพื้นที่ทับซ้อนเป็นสนามหญ้า กัมพูชายื่นค�ำขอขึ้นทะเบียนทั้งศาลพระภูมิและสนามหญ้าไปแล้ว ไทยจึงไปเจรจา ให้เขาขึ้นทะเบียนเฉพาะศาลพระภูมิซึ่งเป็นของเขาและตัดสนามหญ้าออกเพราะ เป็นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน ดังนั้น จึงไม่มีผลเสียหายต่อประเทศไทย สาระและ หัวใจของค�ำแถลงการณ์ร่วมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยคือ ค�ำแถลงการณ์ ร่วมสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดย ไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน สมมุติว่าการเจรจาที่กรุงปารีสล้มเหลว ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่กัมพูชาจะสามารถขึ้นทะเบียนตามค�ำขอเดิม โดยมีแผนที่รุกล�้ำพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งอาจมีผลเสียหายต่อสิทธิทางด้านเขตแดนของไทย การขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาทตามแนวทางของค�ำแถลง 16 นพดล ปัทมะ
การณ์ร่วมจึงช่วยไม่ให้มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่ท่ีเป็นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเป็นมรดก โลก และท�ำให้ไทยสามารถรักษาสิทธิทางเขตแดนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยข้อ มติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ ๓๒ ปี ๒๕๕๑ ยืนยันว่ากัมพูชาได้ขึ้น ทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน นอกจากนั้น ในข้อ ๒๗ ของค�ำพิพากษาศาลโลกคดีตีความวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ระบุชัดเจนว่า คณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลก โดยไม่รวมถึงพื้นที่พิพาทระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทย ถ้ามีการด�ำเนินการตามค�ำแถลงการณ์ร่วม จะสามารถรักษาได้ทั้งความ สัมพันธ์ระหว่างสองประเทศและดินแดนไทย เนื่องจากในข้อ ๔ ของค�ำแถลงการณ์ ร่วมระบุว่า ในระหว่างที่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ท�ำการ ส�ำรวจและจัดท�ำหลักเขตแดนยังไม่เสร็จ ทั้งสองฝ่ายก็จะร่วมบริหารจัดการในพื้นที่ ทับซ้อนไปพลางก่อน อุปมาเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ ในระหว่างที่ตัวแทนทั้งสอง ฝ่ายรังวัดโฉนดยังไม่เสร็จ ก็น�ำที่ดินที่เป็นสนามหญ้าที่ต่างคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้า ของมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ร่วมกันไปพลางก่อน ไม่ต้องทะเลาะกัน ค�ำแถลงการณ์ร่วมและแผนผังแนบท้ายได้รับการพิจารณาและเห็นชอบ เป็นล�ำดับ ตั้งแต่การตรวจสอบแผนผังที่กัมพูชาจัดท�ำมาใหม่โดยกรมแผนที่ทหาร ว่าไม่ล�้ำเขตแดนไทย จึงน�ำเสนอร่างค�ำแถลงการณ์ร่วมและแผนผังแนบท้ายให้ สภาความมั่นคงแห่งชาติให้ความเห็นชอบ หลังจากนั้นจึงเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณา ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบค�ำแถลงการณ์ร่วมและแผนผัง รวมถึงเห็นชอบให้ ผมไปลงนามในค�ำแถลงการณ์ร่วม ผมไม่ได้ด�ำเนินการโดยพลการ และได้ด�ำเนิน การขอความเห็นชอบเป็นล�ำดับ การด�ำเนินการเป็นไปอย่างรอบคอบและโปร่งใส ในทุกขั้นตอน ในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีค�ำวินิจฉัยสรุปได้ ว่า ค�ำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาแม้ไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ไทย แต่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือสัญญา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ดังนั้น จึงเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ในขณะจัดท�ำค�ำแถลงการณ์ ร่วม เจ้าหน้าที่ และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 17
เป็นที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของกระทรวงและของรัฐบาลมีความเห็น และเชื่อโดยสุจริตว่า ค�ำแถลงการณ์ร่วมไม่เป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องได้รับความ เห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง เนื่องจากเป็นการแถลงเจตนารมณ์ ทางการเมืองที่ไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และไม่ก่อให้เกิด พันธกรณีระหว่างไทยและกัมพูชา และไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย ไม่มี ผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงต้องรับฟังและกระท�ำ ตามค�ำแนะน�ำของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และเชื่อในความเห็นโดยสุจริต ผมจึงไม่มีเจตนาหรือจงใจฝ่าฝืนมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ค�ำแถลงการณ์ร่วมไม่มีผลท�ำให้ราชอาณาจักรไทยต้องสละสิทธิในข้อสงวน ที่ประเทศไทยจะเรียกร้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมาในอนาคต เนื่องจากไม่ม ี ข้อความใดๆ ในค�ำแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่าไทยสละสิทธิการเรียกร้องเอาปราสาท พระวิหารคืน นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีความเห็นว่า การลงนามในค�ำแถลงการณ์ร่วมไม่เป็นการสละสิทธิที่ไทยจะทวง ปราสาทพระวิหารคืนแต่อย่างใดทั้งสิ้น ตามธรรมนูญศาลโลกในขณะนี้ ไทยหรือ กัมพูชาไม่สามารถรื้อฟื้นคดีปราสาทพระวิหารได้อีกแล้ว เพราะเลยก�ำหนด ๑๐ ปี ในการยื่นขอให้ศาลโลกแก้ไขค�ำตัดสินแล้ว และค�ำตัดสินของศาลโลกถือเป็นที่สุด ในการลงนามค�ำแถลงการณ์ร่วมนั้น ผมไม่มีเจตนาทุจริต ไม่ได้กระท�ำ เพื่อให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้ประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ผมไม่มีมูลเหตุจูงใจ อย่างอื่นแอบแฝงอยู่แต่อย่างใดทั้งสิ้น ผมไม่ได้กระท�ำไปเพื่อให้ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับสัมปทานน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การด�ำเนินการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ดร.ทักษิณ ชินวัตรไม่ได้ลงทุนในธุรกิจพลังงานในกัมพูชาหรือในพื้นที่ทับซ้อนทาง ทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา เอกสารที่น�ำมาอ้างโดยนักการเมืองและกลุ่มการ เมืองก็เป็นเอกสารที่ได้มาจากการตัดข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับเดิม ไม่มีหลักฐานอื่น ที่รับฟังได้ การด�ำเนินการของผมกระท�ำโดยชอบตามนโยบายของรัฐบาล ตามกฎ หมาย ผมท�ำงานร่วมกับข้าราชการและปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำของหน่วยงานของรัฐ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวงการต่างประเทศ ผมด�ำเนินการ ปกป้องสิทธิทางด้านเขตแดนตามค�ำแนะน�ำของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 18 นพดล ปัทมะ
กรมเอเชียตะวันออก และคณะท�ำงานว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ของกัมพูชา ในการด�ำเนินการเจรจาและจัดท�ำค�ำแถลงการณ์ร่วม ได้มีการปรึกษา หารือและเห็นชอบร่วมกันทั้งที่กรุงปารีส และหลังจากเดินทางกลับประเทศไทย โดยคณะท�ำงานว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ทุกคนเห็น ด้วยกับแนวทางของการท�ำค�ำแถลงการณ์ร่วม นอกจากนั้น ไม่เคยมีการทักท้วง จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมเอเชีย ตะวันออก กรมแผนที่ทหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาความ มั่นคงแห่งชาติ น่าเสียดายที่มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ร้ายผมด้วยความเท็จอย่างเป็น ระบบ มีการท�ำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นการเมืองและจุดกระแสคลั่งชาติจนเรื่องบาน ปลาย ก่อให้เกิดความตึงเครียดตามแนวชายแดน และความสูญเสียต่อทั้งชีวิต ของทหาร ประชาชน ตลอดจนความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ ที่ตึงเครียดในช่วงเวลาหนึ่ง จนกัมพูชาน�ำเรื่องเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง สหประชาชาติ และไปยื่นตีความค�ำพิพากษาศาลโลกในปี ๒๕๕๔ แม้จะถูกบิดเบือนมาตลอด ๗ ปี แต่ความจริงคือค�ำแถลงการณ์ร่วมช่วย ปกป้องดินแดน ไม่ท�ำให้เสียดินแดน ค�ำแถลงการณ์ร่วมเป็นหลักฐานที่แสดงว่า กัมพูชาสละท่าทีในการยึดถือเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ และยอมรับว่ามีพ้ืนที่ทับซ้อนเป็นครั้งแรก จนกระทรวงการต่างประเทศที่เตรียม ต่อสู้คดีร่วมกับคณะที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศประสงค์ที่จะใช้ค�ำแถลง การณ์ร่วมในการต่อสู้คดีตีความในศาลโลกในปี ๒๕๕๔ ซึ่งแสดงว่านักกฎหมาย ระดับโลกเห็นประโยชน์ของค�ำแถลงการณ์ร่วม อย่างไรก็ตาม คณะผู้ต่อสู้คดีเกรง ว่าอาจขัดค�ำสั่งศาลปกครองกลาง จึงไม่ได้ใช้ค�ำแถลงการณ์ร่วมเป็นพยานหลักฐาน ในคดีตีความค�ำพิพากษาของศาลโลก หลังจากการพิจารณาคดีตีความในศาลโลกเป็นเวลากว่า ๒ ปี ต่อมาใน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ศาลโลกจึงมีค�ำพิพากษาคดีตีความ (เอกสาร ภาคผนวกพิเศษ หน้า ๒๐๒) ผมขอเรียนว่า ๑) ไม่มีข้อความตอนใดของค�ำพิพากษาคดีตีความของศาลโลกที่อ้างถึง ค�ำแถลงการณ์ร่วม หรือใช้ค�ำแถลงการณ์ร่วมเป็นพื้นฐานหรือเหตุผลในการตัดสิน ว่าพื้นที่บริเวณปราสาทหรือ vicinity คือพื้นที่บริเวณใด บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 19
๒) ศาลโลกตีความโดยใช้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่อยู่ในส�ำนวน และในกระบวนพิจารณาคดีเดิม ในปี ๒๕๐๕ ๓) แนวทางของค�ำแถลงการณ์ร่วมที่เจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก ไม่ให้ไปขึ้นทะเบียน ได้รับการรับรองในย่อหน้า ๒๗ ของค�ำพิพากษาคดีตีความ พ.ศ.๒๕๕๖ ว่ากัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยไม่รวมถึง พื้นที่พิพาทระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทย จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าการ จัดท�ำค�ำแถลงการณ์ร่วมเป็นการปกป้องไม่ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนพื้นที่ทับซ้อนเป็น มรดกโลก ดังนั้น การกระท�ำของผมเป็นการปกป้องดินแดน ส่วนที่มีการกล่าวหาว่า ค�ำแถลงการณ์ร่วมท�ำให้เสียดินแดน จึงเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง มีประเด็นที่ต้องบันทึกไว้ว่า ค�ำแถลงการณ์ร่วมได้พยายามปกป้องไม่ให้ กัมพูชาขึ้นทะเบียนเกินบริเวณปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งไทยส่งมอบพื้นที่นี้ให้กัมพูชาตามค�ำตัดสินศาลโลกไปแล้วในปี ๒๕๐๕ (พื้นที่ ดังกล่าวคือพื้นที่ระบายด้วยสีแดงในรูปภาพที่ ๓ หน้า ๓๖) กล่าวอีกนัยหนึ่ง พื้นที ่ ที่ไทยสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกตามค�ำแถลงการณ์ร่วมมีพื้นที่เล็ก กว่าพื้นที่ยอดเขาพระวิหารอย่างมาก ต่อมาในปี ๒๕๕๖ ศาลโลกได้มีค�ำพิพากษา ในคดีตีความว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร (vicinity) ที่เป็นของกัมพูชาให้ หมายถึงยอดเขาพระวิหาร (promontory) ซึ่งพื้นที่ยอดเขาพระวิหารนี้กว้างกว่า พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่ขีดไว้โดยเส้นมติคณะรัฐมนตรีของไทยในปี ๒๕๐๕ (พื้นทีร่ ะบายด้วยสีแดงในรูปภาพที่ ๓ หน้า ๓๖) อุปมาอุปไมย ค�ำแถลงการณ์ร่วม จ�ำกัดให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะไข่แดง แต่หลังจากเรื่องบานปลายจนกัมพูชาไป ยื่นตีความ ศาลโลกตัดสินว่าพื้นที่ไข่ขาวบางส่วนก็เป็นของกัมพูชาไปด้วย ถ้ามีการปฏิบัติตามค�ำแถลงการณ์ร่วม ไทยและกัมพูชาจะจัดท�ำแผน บริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันไปพลางก่อนในระหว่างที่การส�ำรวจและปักปัน เขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งสองฝ่ายก็จะร่วมพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนซึ่งจะก่อให้เกิด ประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ ความสัมพันธ์ก็จะราบรื่น ไม่มีข้อพิพาทหรือความ ขัดแย้ง อันจะเป็นข้ออ้างหรือเหตุผลในการไปยื่นตีความค�ำพิพากษาศาลโลกอีก ครั้งหนึ่ง และผมมีความเห็นว่า กัมพูชาจะไม่ไปยื่นตีความค�ำพิพากษาศาลโลก ในปี ๒๕๕๔ 20 นพดล ปัทมะ
มายาคติและความจริงกรณีปราสาทพระวิหาร ความเท็จ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนาย นพดล ปัทมะ สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่ า งประเทศ เป็ น ผู ้ ย ก ปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา
ความจริง ไทยส่งมอบปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา แล้วตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ (๕๔ ปีที่แล้ว) หลังจากที ่ ไทยแพ้คดีในศาลโลกสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะ- รัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ส่งมอบ ไทยส่งมอบทั้งซากปราสาทและพื้นดินรองรับตัว เฉพาะซากปราสาทให้กัมพูชา แต่ดิน ปราสาทให้กัมพูชาไปแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี ๒๕๐๕ ใต้ซากปราสาทยังเป็นของไทย ไทยหรือกัมพูชาสามารถรื้อฟื้นคดีปรา- ขณะนี้ พ ้ น เวลา ๑๐ ปี ที่ จ ะรื้ อ ฟื ้ น คดี ไ ด้ แ ล้ ว เนื่องจากตามธรรมนูญศาลโลก ไทยหรือกัมพูชา สาทพระวิหารได้ตลอดเวลา สามารถรื้อฟื้นคดีได้ภายใน ๑๐ ปี นับแต่มีค�ำ พิพากษาในปี ๒๕๐๕ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนาย นพดล ปัทมะ สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่ า งประเทศ ท� ำ ให้ ไ ทย เสียดินแดนพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตาราง กิโลเมตร
รั ฐ บาลนายสมั ค ร สุ น ทรเวช และนายนพดล ปัทมะ สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เป็นผู้รักษาดินแดนและอธิปไตย ในพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตรไว้ จาก การท�ำค�ำแถลงการณ์ร่วมที่กัมพูชายอมตัดพื้นที่ ทับซ้อนออกไม่น�ำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก แต่ จะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารที่ไม่ ล�้ำเขตแดนไทยเท่านั้น
กัมพูชาขึ้นทะเบียนทั้งตัวปราสาทพระ กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร วิหารและพื้นที่ทับซ้อนเป็นมรดกโลก เท่านั้นเป็นมรดกโลก และพื้นที่ทับซ้อนไม่ได้รับ การเสนอให้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก ข้อเท็จจริงนี้ยืนยันโดยข้อ ๙ มติ คณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 (เอกสารภาค ผนวก ๑๕) และค�ำพิพากษาศาลโลกคดีตคี วาม พ.ศ.๒๕๕๖ ข้อ ๒๗ (เอกสารภาคผนวกพิเศษ หน้า ๒๐๒)
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 21
ความเท็จ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนาย นพดล ปัทมะ สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐบาล แรกทีส่ นับสนุนการขึน้ ทะเบียนปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
ความจริง การสนับสนุนกัมพูชาในการขึน้ ทะเบียนปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลกเกิดขึ้นในรัฐบาลก่อน หน้ารัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ตามที่ปรากฏ ว่าไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิ ห ารตั้ ง แต่ ปี ๒๕๕๐ ปรากฏตามข้ อ ๒ มติ คณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ ๓๑ ปี ๒๕๕๐ (เอกสารภาคผนวก ๑๐)
การเจรจาจั ด ท� ำ ค� ำ แถลงการณ์ ร ่ ว ม เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การ ลงทุนในเกาะกง หรือการแลกเปลี่ยน สัมปทานพลังงานในอ่าวไทยของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร
การจัดท�ำค�ำแถลงการณ์ร่วม กระท�ำเพื่อปกป้อง ดินแดนพื้นที่ทับซ้อน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ดร.ทักษิณไม่มีการลงทุนด้านพลังงานในกัมพูชา หรือในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา
การเจรจาและลงนามในค�ำแถลงการณ์ ร่ ว มกระท� ำ อย่ า งลุ ก ลี้ ลุ ก ลน ปกปิ ด อ�ำพราง และนายนพดล ปัทมะ เร่งรัด ในการด�ำเนินการคนเดียว
กัมพูชายื่นค�ำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกในปี ๒๕๔๙ (ก่อนผมเป็นรัฐมนตรี ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๕๑) กระทรวงการต่าง ประเทศต้องเร่งท�ำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้การ ขึ้ น ทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห ารของกั ม พู ช าไม่ กระทบสิทธิด้านเขตแดนของไทยให้ทันก่อนการ ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนกรกฎา- คม พ.ศ.๒๕๕๑ และสามารถเจรจาให้กัมพูชา ตัดพื้นที่ทับซ้อนออกส�ำเร็จตามที่ระบุในค�ำแถลง การณ์ร่วม กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอให้กรมแผนที ่ ทหารตรวจสอบแผนผังใหม่แนบท้ายค�ำแถลง การณ์ ร ่ ว มแล้ ว ว่ า ไม่ ล�้ำ เขตแดนไทย แล้ ว จึ ง เสนอให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นชอบค�ำ แถลงการณ์ร่วมและแผนผังแนบท้ายก่อน แล้ว ต่ อ มาจึ ง เสนอให้ ค ณะรั ฐ มนตรี พิ จ ารณาเห็ น ชอบก่อน ผมจึงไปลงนามในค�ำแถลงการณ์ร่วม ดังนั้น การพิจารณาจึงกระท�ำตามขั้นตอนอย่าง รอบคอบ โปร่งใส
22 นพดล ปัทมะ
ความเท็จ หากไทยไม่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในค�ำแถลง การณ์ ร ่ ว ม กั ม พู ช าจะไม่ ส ามารถขึ้ น ทะเบียนปราสาทพระวิหารในการประ ชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ ๓๒ ในปี ๒๕๕๑ ที่ประเทศแคนาดา
ความจริง คณะกรรมการมรดกโลกมีอ�ำนาจเด็ดขาดในการ เห็นชอบให้ทรัพย์สินใดเป็นมรดกโลก ไม่ว่าจะ มีการสนับสนุนของไทยหรือไม่ก็ตาม และแม้ ไทยคัดค้านการขึ้นทะเบียนในการประชุม แต่ คณะกรรมการมรดกโลกก็เห็นชอบให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียนได้ในปี ๒๕๕๑ นอกจากนั้น คณะ กรรมการมรดกโลกห้ามใช้และอ้างอิงค�ำแถลง การณ์ร่วมในการอนุมัติให้ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก ตามที่ปรากฏอย่างชัดเจนในข้อ ๕ ของมติคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ ๓๒ (เอกสารภาคผนวก ๑๕)
แผนผังแนบท้ายค�ำแถลงการณ์รว่ มเป็น แผนผังแนบท้ายค�ำแถลงการณ์ร่วมและแผน แผนที่ ไม่ใช่แผนผัง ผั ง ที่ กั ม พู ช าใช้ ขึ้ น ทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห าร เป็นมรดกโลกเป็นแผนผังที่ภาษาอังกฤษใช้ค�ำ ว่า graphic plan ไม่ใช่ค�ำว่า map ที่แปลว่า แผนที่ ค�ำแถลงการณ์รว่ มท�ำให้ไทยเสียดินแดน ค� ำ แถลงการณ์ ร ่ ว มไม่ ท� ำ ให้ ไ ทยเสี ย ดิ น แดน เป็นการยอมรับแผนที่มาตราส่วน ๑ : และไม่ เ ป็ น การยอมรั บ แผนที่ ม าตราส่ ว น ๒๐๐,๐๐๐ ที่กัมพูชายึดถือ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ที่ กั ม พู ช ายึ ด ถื อ ในทางตรง ข้ า ม ค� ำ แถลงการณ์ ร ่ ว มเป็ น หลั ก ฐานว่ า กั ม พู ช าสละท่ า ที ใ นการยึ ด ถื อ เส้ น เขตแดน ตามแผนที่ ม าตราส่ ว น ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ด้ ว ย ซ�้ ำ จนกระทรวงการต่ า งประเทศประสงค์ ที่ จ ะใช้ ค� ำ แถลงการณ์ ร ่ ว มเป็ น หลั ก ฐานชิ้ น หนึ่ ง ในการต่ อ สู ้ ค ดี ตี ค วามในศาลโลกในปี ๒๕๕๔ ถ้ า ค� ำ แถลงการณ์ ร ่ ว มมี ผ ลเสี ย ต่ อ ไทย กระทรวงการต่างประเทศคงไม่ประสงค์ ที่จะน�ำไปใช้ในศาลโลก
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 23
ความเท็จ ความจริง ค�ำแถลงการณ์ร่วมท�ำให้กัมพูชาไปยื่น ถ้ามีการปฏิบัติตามค�ำแถลงการณ์ร่วม และไม่มี ตีความค�ำพิพากษาศาลโลกปี ๒๕๐๕ การบิดเบือนท�ำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง เชื่อว่ากัมพูชาจะไม่ไปยื่นตีความค�ำพิพากษา ศาลโลกในปี ๒๕๕๔ เพราะทั้งไทยและกัมพูชา จะบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันตามข้อ ๔ ของค�ำแถลงการณ์ร่วมในระหว่างที่การส�ำรวจ และปักปันเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขต แดนร่วมยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้น จะไม่มีความ ขัดแย้งเกิดขึ้น ศาลโลกใช้ค�ำแถลงการณ์ร่วมประกอบ ในการตั ด สิ น และมี ค� ำ พิ พ ากษาคดี ตีความในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
24 นพดล ปัทมะ
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ในคดีตีความ ศาลโลกไม่สามารถใช้พยานหลักฐานและข้อ เท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังปี ๒๕๐๕ มาประกอบ การพิจารณาเพื่อตีความค�ำพิพากษาศาลในคดี เดิมในปี ๒๕๐๕ ได้ ดังนั้น ศาลโลกจึงไม่ได้ใช้ ค�ำแถลงการณ์ร่วมประกอบในการตัดสินและมี ค�ำพิพากษาคดีตีความในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
บันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร”
บทที่ ๑
ค�ำพิพากษาศาลโลกปี ๒๕๐๕ และการปฏิบัติตามค�ำพิพากษา
เพื่ อ ที่ จ ะให้ ผู ้ อ ่ า นเข้ า ใจเรื่ อ งราวต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ การขึ้ น ทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราจ�ำเ ป็นต้องรู้ความเป็นมาของคดี ปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชาที่ศาล ยุติธรรมระหว่างประเทศ (ต่อไป ในหนั ง สื อ นี้ จ ะเรี ย กว่ า “ศาลโลก”) ตั ด สิ น ใ นวัน ที่ ๑๕ มิถุน ายน พ.ศ.๒๕๐๕ หรือเมื่อ ๕๔ ปีที่แล้ว โดยสาระของค�ำพิพาก ษาที่มีผลผูกพันไทยและกัมพูชา ที่เรียกว่าข้อบทปฏิบัติการ (operative par agraphs) รวมถึงการปฏิบัติตามค�ำ พิพากษาพอสังเขปมีดังนี้ ๑.๑ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ตัดสินในปี ๒๕๐๕ ว่าอย่างไร ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ ศาลโลกได้ตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ระหว่างไทยและกัมพูชา ที่เรียกว่าข้อบทปฏิบัติการเป็นสามวรรค ดังนี้ วรรคที่ ๑ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา วรรคที่ ๒ ประเทศไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะต้องถอนกองก�ำลังทหาร หรือต�ำรวจ หรือผู้เฝ้ารักษา หรือผู้ดูแลอื่นๆ ซึ่งประเทศไทยส่งไปประจ�ำอยู่ที่ปราบันทึกประวัติศาสตร์ “มหากาพย์เขาพระวิหาร” 27
สาทหรือในบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนดินแดนกัมพูชา วรรคที่ ๓ ประเทศไทยต้องส่งคืนให้แก่กัมพูชา วัตถุซึ่งไทยอาจจะได้เคลื่อน ย้ายออกไปจากปราสาทหรือพื้นที่ปราสาท ความหมายของข้อบทปฏิบัติการ (ค�ำตัดสินที่คู่ความต้องปฏิบัติตาม) คือ ศาลโลกตัดสินให้กรรมสิทธิ์ในตัวปราสาทตกเป็นของกัมพูชาตามวรรคที่ ๑ และ ไทยต้องถอนทหารหรือต�ำรวจที่ประจ�ำอยู่ที่ตัวปราสาทหรือในบริเวณใกล้เคียง ปราสาทบนดินแดนกัมพูชาออกมาตามวรรคที่ ๒ แต่ศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขต แดน กล่าวคือ ศาลไม่ได้ตัดสินให้เส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาเป็นไปตาม แผนที่ภาคผนวก ๑ มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ (ต่อไปในหนังสือนี้จะเรียกว่า “แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐”) (ข้อบทปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ตามเอกสาร ภาคผนวก ๑) เนื่องจากศาลไม่ได้ก�ำหนดว่า “ดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา” ตามวรรคที่ ๑, “บริเวณใกล้เคียงปราสาทบนดินแดนกัมพูชา” ตามวรรคที่ ๒ และ “พื้นที่ปราสาท” ตามวรรคที่ ๓ มีพื้นที่กว้างขวางเพียงใด ท�ำให้กัมพูชามี ความเห็นแตกต่างจากไทย กัมพูชาจึงยื่นค�ำขอตีความค�ำพิพากษาปี ๒๕๐๕ ใน เดือนเมษายน ปี ๒๕๕๔ ดังที่จะอธิบายในบทที่ ๑๔ ๑.๒ ไทยก�ำหนดพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารเพื่อปฏิบัติตามค�ำพิพากษา ศาลโลกอย่างไร เนื่องจากศาลโลกไม่ได้ก�ำหนดว่า “บริเวณใกล้เคียงปราสาทบนดินแดน กัมพูชา” ตามวรรคที่ ๒ ของค�ำตัดสินว่ามีพื้นที่กว้างขวางเพียงใด ไทยจึงก�ำหนด บริเวณปราสาทฝ่ายเดียวโดยยึดหลักการให้เสียพื้นที่แก่กัมพูชาให้น้อยที่สุด ในวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ในการประชุมพิจารณาของหน่วยราช การต่างๆ ของไทยในการปฏิบัติให้เป็นไปตามค�ำพิพากษาศาลโลก ได้ยึดหลักการ คือให้ประเทศไทยเสียพื้นที่ให้น้อยที่สุด และที่ประชุมได้พิจารณาว่า เนื่องจาก ค�ำพิพากษาไม่ได้ก�ำหนดบริเวณปราสาทพระวิหารมา โดยปกติคู่กรณีต้องเจรจา ท�ำความตกลงกันต่อไป หรือมิฉะนั้นกัมพูชาอาจขอให้ศาลตีความหรือก�ำหนดขอบ เขตของค�ำพิพากษาได้ตามธรรมนูญศาลโลกข้อ ๖๐ แต่ในการก�ำหนดโดยความ สมัครใจของไทย ประเทศไทยควรก�ำหนดให้น้อยที่สุด (ปรากฏตามหนังสือลงวันที่ 28 นพดล ปัทมะ