ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย

Page 1



คํ า นิ ย ม

อธิบายได้อย่างครอบคลุม  แสดงความเข้าใจในระดับลึกที่ยอดเยี่ยมมาก  (Times Literary Supplement)

ผู้เขียนทั้งสองเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ผลิตงานประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยที่มีชีวิตชีวา และน่าอ่านมาก  (Financial Times)

การศึกษาประเทศไทย ที่มีกรอบความคิดที่ชัดเจนมาก  และลุ่มลึกอย่างยิ่ง  (BBC History Magazine)

ข้อมูลเพียบ อ่านแล้ววางไม่ลง  (South East Asia Research)


คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ผลิตงานที่วิเศษจริงๆ  ตีความได้เก่ง ท้าทายผู้อ่าน รวบรวมงานวิจัยล่าสุดทั้งภาษาไทย  และอังกฤษ และวิเคราะห์แบบฉีกแนว น่าประทับใจที่สุด  (Malcom Falkus, Bangkok Post)

เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ไทยเล่มแรก ที่เป็น “ประวัติศาสตร์”  ในความหมายสมัยใหม่  ใครที่อยากรู้ที่มาของสังคมปัจจุบัน  จุดแข็ง จุดอ่อน และศักยภาพ สู่อนาคตในโลกที่ไร้เสถียรภาพ  ต้องอ่านให้ได้  (Journal of the Siam Society)

สนองตอบความต้องการของทั้งผู้อ่านทั่วไป  และนักศึกษาที่เรียนประวัติศาสตร์  และแง่มุมต่างๆ ของสังคมไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน (ฉลอง สุนทราวาณิชย์, The Nation)



คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๗


ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย • คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๗ ราคา  ๓๙๕  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม เบเคอร์, คริส. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๔๓๒ หน้า.--(วิชาการ). ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงรัตนโกสินทร์สมัยประชาธิปไตย. ๒. ไทย-การเมืองและการปกครอง I. ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง 923.2593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1265 - 2

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์  วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • ผู้ช่วยบรรณาธิการ : เตือนใจ นิลรัตน์ พิสูจน์อักษร : วาสนา พุ่มพัดตุน • กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม ภาพปก : ตะวัน วัตุยา • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : มาลินี มนตรีศาสตร์ ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี  บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  ๑๑๑๒๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


ส า ร บั ญ ค�ำนิยม ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน เกี่ยวกับผู้เขียน

๓ ๑๕ ๑๗ ๒๐

ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ๑. ก่อนกรุงเทพฯ การก่อตัวของชุมชนในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เมือง เจ้าและรัฐ เมืองชายฝั่งทะเลเป็นใหญ่ สมัยของการพาณิชย์ สังคมอยุธยาตอนปลาย พุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ เสียกรุง สรุป

๒๓ ๒๔ ๒๗ ๓๑ ๓๓ ๓๖ ๓๙ ๔๒ ๔๘ ๕๒ ๕๕

๒. การเปลี่ยนผ่านของระบอบดั้งเดิมทศวรรษ ๒๓๒๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๐๐ จากอยุธยาถึงกรุงเทพฯ การแผ่ขยายดินแดน ตระกูลขุนนางใหญ่และกษัตริย์พุทธมามกะ เศรษฐกิจตลาดขยายตัว เจ้าสัว ความเจริญ แรงงานเกณฑ์ แรงงานอิสระ สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง สรุป

๕๘ ๕๙ ๖๑ ๖๔ ๖๘ ๗๑ ๗๕ ๘๒ ๘๕ ๘๗


๓. การปฏิรูปทศวรรษ ๒๔๐๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๕๐ ความเสื่อมสลายของระบอบการปกครองแบบเดิม การบริหารประเทศ การปักปันอาณาเขต สร้างพลเมือง สร้างความเป็นไทย สร้างพลเมืองที่ดีกว่า สถาบันกษัตริย์ ทันสมัย และอลังการ การละคร สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ นักคิดสามัญชน ขีดจ�ำกัดของความศิวิไลซ์ สรุป

๘๘ ๘๙ ๙๕ ๑๐๒ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๑๓ ๑๑๖ ๑๒๑ ๑๒๕ ๑๒๗ ๑๓๒

๔. ชาวนา พ่อค้า และข้าราชการ ทศวรรษ ๒๔๑๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๗๐ ภูมิทัศน์และสังคมชนบทเปลี่ยนรูป สังคมชาวนารายเล็ก เมืองท่าในสมัยอาณานิคม การค้าข้าวและการอุตสาหกรรมสมัยเริ่มแรก สังคมเมืองหลวงของรัฐชาติ ภูมิทัศน์และสังคม กรุงเทพฯ  สรุป

๑๓๖ ๑๓๗ ๑๔๒ ๑๔๘ ๑๕๒ ๑๕๗ ๑๖๐ ๑๖๕

๕. ชาตินิยมหลายมิติ ทศวรรษ ๒๔๕๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๘๐ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ยอมตาย การสร้างพื้นที่สาธารณะ การปฏิเสธสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สร้างความเป็นไทยเสียใหม่ ลูกจีนกับกระแสชาตินิยม การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ความเจริญและความชอบธรรม

๑๖๘ ๑๗๐ ๑๗๒ ๑๗๕ ๑๘๐ ๑๘๑ ๑๘๔ ๑๙๒


การพุ่งขึ้นของกองทัพ การสร้างวัฒนธรรมหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โลกที่ลัทธิชาตินิยมต่างๆ แข่งกัน มหาประเทศ มหาอาณาจักรไทย สงครามโลกครั้งที่ ๒  สรุป

๑๙๖ ๑๙๘ ๒๐๒ ๒๐๕ ๒๑๐ ๒๑๔

๖. สมัยอเมริกันและพัฒนาการ ทศวรรษ ๒๔๘๐ ถึงทศวรรษ ๒๕๑๐ จากสงครามโลกสู่สงครามภายใน การอุปถัมภ์จากสหรัฐ ภัยคอมมิวนิสต์ และทหารนิยม พัฒนาการและกลุ่มทุน เกษตรบุกเบิกเขตที่ราบสูง สังคมชาวนากับระบบตลาด บ้านกับเมือง อวสานของศักดินา สรุป

๒๑๘ ๒๒๐ ๒๒๕ ๒๓๔ ๒๔๐ ๒๔๕ ๒๔๙ ๒๕๑ ๒๕๔

๗. อุดมการณ์หลากหลาย ทศวรรษ ๒๔๘๐ ถึงทศวรรษ ๒๕๑๐ รัฐทหาร การแผ่ขยายอ�ำนาจของรัฐชาติ การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ ขบวนการฝ่ายซ้าย ป่าล้อมเมือง นักศึกษา ฝ่ายซ้าย ฝ่ายปฏิรูป ฝ่ายขวา ทางออก สรุป

๒๕๖ ๒๕๘ ๒๖๑ ๒๖๕ ๒๗๓ ๒๗๖ ๒๗๘ ๒๘๓ ๒๘๕ ๒๘๗ ๒๙๓ ๒๙๕


๘. โลกาภิวัตน์และสังคมมวลชน เศรษฐกิจเมืองเฟื่องฟู มังกรผงาดลาย สร้างชนชั้นกลาง ชนชั้นคนงานอาบเหงื่อต่างน�ำ้ สังคมชนบทปรับตัว ชนบทฮึดขึ้นสู้ สมัยสังคมมวลชน : สิ่งพิมพ์ สังคมมวลชน : การคมนาคมและสื่อสาร เฉลิมฉลองความหลากหลาย พรมแดนภายใน ความวิตกกังวลของฝ่ายอนุรักษนิยม สรุป

๒๙๘ ๓๐๐ ๓๐๕ ๓๑๐ ๓๑๒ ๓๑๗ ๓๒๓ ๓๓๐ ๓๓๒ ๓๓๖ ๓๔๑ ๓๔๔ ๓๔๖

๙. การเมือง จาก พ.ศ. ๒๕๑๙ อุดมการณ์ของชาติและเอกลักษณ์ของชาติ ทหารการเมือง และ “เปรมาธิปไตย” พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๓๗ พระมหากษัตริย์สถาบันสูงสุด ธุรกิจการเมือง  นักธุรกิจงัดข้อกับทหาร : สมัยชาติชาย ๒๕๓๑-๒๕๓๔ วิกฤตการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๕ การปฏิรูป หรือ “ธนกิจการเมือง” วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ปฏิกิริยากับวิกฤต ไทยรักไทย รัฐประหาร ๒๕๔๙ เสื้อแดง หลังพฤษภาคม ๒๕๕๓ สรุป

๓๔๘ ๓๕๐ ๓๕๒ ๓๕๖ ๓๖๒ ๓๖๕ ๓๖๘ ๓๗๓ ๓๗๙ ๓๘๒ ๓๘๕ ๓๙๔ ๓๙๙ ๔๐๕ ๔๐๘

ปัจฉิมบท : รัฐเข้มแข็งและสันติสุขของประชาชน เชิงอรรถ

๔๑๐ ๔๑๓


แผนที่ ๑. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ ๒. เมืองและอาณาจักรโบราณ ๓. ภูมิการเมืองก่อนการปฏิรูปสมัยรัชกาลที ่ ๕ ๔. เส้นพรมแดนสยาม วาดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๒ ๕. ประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที ่ ๒ ๖. ประเทศไทยร่วมสมัย ๗. ผลการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๑

๒๖ ๔๐ ๙๙ ๑๐๖ ๒๑๑ ๓๐๖ ๓๘๗

แผนภาพ ๑. ประมาณการประชากรภายในพรมแดนประเทศไทยสมัยใหม่ ๒. รายได้ต่อหัวตามราคาจริง พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๕๐

๕๕ ๓๐๑

รูปภาพ   ๑. พระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าปราสาททอง  (ภาพขยายมาจากภาพเขียน “กรุงศรีอยุธยา”  วาดโดย ดาวิด และโยฮันเนส วิงโบนส์ ชาวฮอลันดา) ๒. ริมฝั่งแม่น�้ำ กรุงศรีอยุธยาสมัยพระเพทราชา  (ภาพจาก สมุดรายวันของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์  Engelbert Kaempfer) ๓. พระสงฆ์เดินทางไปลังกา (ภาพเขียนจากสมุดภาพไตรภูมิ) ๔. ภาพเขียน “กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๖๖” (บน)  และ “แม่นำ�้ กับเรือในบางกอก”,  (ล่าง) วาดโดย ดร.จอร์ช ฟินเลย์สัน (George Finlayson)  นักธรรมชาติวิทยาที่เข้ามาส�ำรวจสยามและเวียดนาม ในปี ๑๘๒๑ และ ๑๘๒๒ (ภาพจาก THAI ART & CULTURE :  Historic Manuscripts from Western Collections. Heny Ginsburg. Silkworm Books. 2000) ๕. ครอบครัวของเจ้าสัวสมัยรัชกาลที ่ ๕ (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)  ๖. ชีวิตประจ�ำวันของสามัญชน ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง  ต้นรัตนโกสินทร์ (ภาพ Steve Van Beek)

๔๒

๔๖ ๕๐

๖๙ ๗๔ ๗๖


๑๗. (ซ้าย) พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที ่ ๔ ในฉลองพระองค์กษัตริย์สยาม ถ่ายภาพโดย จิตร จิตราคนี, (ขวา) พ.ศ.๒๔๐๗ ในฉลองพระองค์ แบบขุนนางจีน โดยผู้วาดนิรนาม และ (ล่าง) ภาพวาดทรงห้อมล้อม ด้วยนางสนม โดยผู้ติดตามของขุนนางฝรั่งเศส กงต์ เดอ โบวัวร์  ที่เข้าเฝ้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙  ๑๘. ขุนนางไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ ก่อนอิทธิพลของชาติตะวันตก  หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร) เครื่องแต่งกาย  และของตกแต่งมาจากหลายประเทศในเอเชีย ไทย จีน เปอร์เซีย  อาหรับ อินเดีย เฉพาะหนังสือเท่านั้นที่เป็นของฝรั่ง  (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ๑๙. พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที ่ ๕ ทันสมัยและเปิดเผยพระองค์  ปลายรัชสมัย (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ๑๐. สถาบันกษัตริย์และประวัติศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวชิราวุธ ทอดพระเนตรโบราณวัตถุ พ.ศ. ๒๔๕๐  (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ๑๑. ภาพริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยายังเป็นป่าในสมัยก่อนการขยายตัว ของนาบุกเบิก วาดโดย อองรี มูโอต์ พ.ศ. ๒๔๐๑  (ภาพจาก สยามสมาคม) ๑๒. หญิงท�ำงาน เป็นลูกหลานของเชลยศึกชาวลาวที่ถูกกวาด มาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดจากรูปถ่าย โดย จอห์น ทอมสัน ที่ไปเยือนเพชรบุร ี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๐๙ (ภาพจาก สยามสมาคม) ๑๓. คนจีนอพยพบนเรือมาจากจีนใต้  (ภาพจาก Thai Labor Museum) ๑๔. ภาพถ่ายแสดงชาวบ้านเล่นพนันข้างถนนสมัยรัชกาลที ่ ๕  ผู้หญิงยังไว้ผมสั้น ทั้งหญิงและชายยังนุ่งผ้า ห่มสไบหรือคล้องผ้า  โดยไม่มีการตัดเย็บ (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ๑๕. การ์ตูนจากหนังสือพิมพ์ศรีกรุง พ.ศ. ๒๔๗๔  เสียดสีสังคมสยามสมัยก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕

๙๔

๑๐๒ ๑๒๐

๑๒๓

๑๓๘

๑๔๔ ๑๕๕

๑๖๑ ๑๗๖


๑๖. นักปฏิวัติที่ปารีส พ.ศ. ๒๔๗๐ จากซ้ายไปขวา ควง อภัยวงศ์,   ปรีดี พนมยงค์, เทพ อภัยวงศ์ และหลวงวิจิตรวาทการ  (ภาพจาก หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ๑๗. ชาติอิสระและติดอาวุธ รูปปั้นนูนต�ำ่ ที่ฐานของอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๘๒ โดย ศิลป์ พีระศรี (Corrado Feroci)   เป็นครั้งแรกที่สามัญชนปรากฏตัวในประติมากรรมของรัฐชาติ  แต่ในบทบาทหลักเป็นทหาร (ภาพ ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์) ๑๘. แผนที่แสดงเส้นการเดินทางของชาวไทโบราณสู่สยาม  จัดพิมพ์โดยกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙   ๑๙. ผู้ที่ได้รับรางวัลที ่ ๑ การประกวดเครื่องแต่งกายประเภทเวลาบ่าย และในโอกาสพิเศษ คงจะเป็น พ.ศ. ๒๔๘๔ หรือ ๒๔๘๕  สมัยที่จอมพล ป. รณรงค์ให้เมืองไทยก้าวเข้าสู่ความทันสมัย  (ภาพจาก หนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ครบรอบศตวรรษ  จัดพิมพ์โดยมูลนิธิจอมพล ป. พ.ศ. ๒๕๔๐)  ๒๐. ทหารอเมริกันพักรบที่หาดพัทยา  (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๑. จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ขณะเดินทางไปตรวจราชการ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที ่ ๒๕-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖   (ภาพจาก หนังสืองานศพจอมพลสฤษดิ์) ๒๒. จอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ สั่งยิงเป้า ครอง จันดาวงศ์  และทองพันธ์ สุทธิมาศ เมื่อวันที ่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่ลานบินใกล้จังหวัดสกลนคร (ภาพ สะอาด อังกูรวัธ) ๒๓. พระมหากษัตริย์นักพัฒนา โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่น และโครงการชลประทาน ทศวรรษ ๒๕๑๐  (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๔. มวลชนเข้าร่วมการเมือง หนึ่งวันก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖  (ภาพจาก หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ๒๕. คนงานหญิงที่โรงงานฮาร่า ไม่ยอมถูกปลดจากงาน โดยเข้ายึดโรงงาน และด�ำเนินการผลิตต่อไปภายใต้ระบบสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๗

๑๘๕

๒๐๑ ๒๐๖

๒๐๙ ๒๓๒

๒๕๙

๒๖๔

๒๗๑ ๒๘๒ ๒๘๘


๒๖. นักศึกษาบาดเจ็บเลือดอาบหน้าในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หลังจากที่ทหารบุกเข้าควบคุมเมื่อวันที ่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  (ภาพจาก หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ๒๗. ผู้สนับสนุน พคท.ในพิธีมอบอาวุธให้กับกองทัพไทยที่อุ้มผาง  ธันวาคม ๒๕๒๕ (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๘. เกษตรกรเดินสู่การเมือง การประท้วงโครงการ คจก. บนถนนมิตรภาพ เดือนมิถุนายน  ๒๕๓๕  (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๙. มวลชนเคลื่อนขบวน รถมอเตอร์ไซค์ญี่ปุ่นช่วยโยงชนบทไทย กับตลาดและชาติ (ภาพ Steve Van Beek)   ๓๐. พฤษภาทมิฬ ผู้ประท้วงรายหนึ่งที่ถูกตีที่ถนนราชด�ำเนิน  เมื่อคืนวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๕  (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๓๑. ทักษิณ ชินวัตร ฉลองชัยชนะสงครามปราบยาเสพติด  (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ Bangkok Post) ๓๒. เสื้อแดงชุมนุมใหญ่ พฤษภาคม ๒๕๕๓  (ภาพจาก ศูนย์ภาพมติชน-ข่าวสด)

๒๙๒ ๒๙๔

๓๒๕ ๓๓๓

๓๗๑ ๓๙๓ ๔๐๔


คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์ “การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว” วลีนี้เพิ่งปรากฏอยู่ในบริบทสังคมไทยอย่าง ชัดเจนในระยะเวลาเพียงไม่เกิน ๑๐ ปีนี้เท่านั้น  หากย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าวิกฤตทางการเมืองเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ยังไม่เคยมี ครั้งใดที่คนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจเหตุบ้านการเมืองทั่วทุกหัวระแหงเช่น ใน พ.ศ. นี    ้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจึงนับว่ามีความส�ำคัญมากส�ำหรับวิถีชีวิตของ ผู้คน  และเราเชื่อมาตลอดว่า “การอ่าน” คือช่องทางหนึ่งที่จะท�ำให้เข้าใจใน เรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้น  ดังนั้น เราจึงเลือกที่จะน�ำเสนอ “ประวัติศาสตร์ไทย  ร่วมสมัย” หนังสือที่เขียนโดย คริส เบเคอร์ (นักประวัติศาสตร์) และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร (นักเศรษฐศาสตร์การเมือง)  ทั้งสองท่านเป็นนักวิชาการที่มีผลงาน เขียนและแปลร่วมกันหลายเล่ม เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ  โดยก่อนที่หนังสือเล่มนี้จะมาอยู่ในมือผู้อ่านคนไทย ได้ผ่านสายตาชาว ต่างชาติมาแล้วในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพราะใช้เรียนกันในวิชาประวัติศาสตร์ การเมืองของเอเชียในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศ รวมถึงบุคลากรชาว ต่างชาติที่จะมาประจ�ำหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยก็กล่าวขานถึงหนังสือเล่มนี้ จึงเรียกได้ว่า “ฝรั่งอ่านแล้ว แต่คนไทยเพิ่งจะได้อ่าน” ผู้เขียนทั้งสองท�ำให้เราเห็นภาพของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ไทยได้กระจ่างชัดขึ้น ผ่านภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะ เป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง นับตั้งแต่ก่อนที่ “รัฐชาติ” จะถือก�ำเนิดขึ้น จนถึงการก�ำเนิด “รัฐชาติ(ไทย)” และถูกขับดันให้ส�ำแดงพลัง ตัวตนจนซึมลึกอยู่ในวิถีชีวิตประจ�ำวันของคนในชาติอย่างแนบเนียน  อธิบาย ถึงสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจหลายครั้งหลายครา วิพากษ์ความซับซ้อนในการเปลี่ยนขั้วอ�ำนาจแย่งชิงความเป็นผู้น�ำและก�ำหนด ทิศทางในการบริหารประเทศโดยกลุ่มทุนใหม่ จนพัฒนามาสู่ “การเมืองเรื่อง (สองสี) ของคนไทยทุกคน” ในยุคปัจจุบัน  ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

15


กระทั่งไม่ว่าเราเดินไปบนถนนสายไหน ตรอกซอกซอยใด ก็มักจะได้ยิน คนพูดถึงความเหลื่อมล�ำ้ ในสังคมไทย  บ้างก็พูดถึงเหตุการณ์ทางการเมือง นัก การเมือง พรรคการเมือง และนโยบายต่างๆ ของพรรคนั้นพรรคนี้ เกิดการ วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา ตามแต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของแต่ละคน ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กก็เกิดชุดความคิดหลากหลาย แรกๆ อาจสื่อสารกัน เฉพาะกลุ่มในสิ่งที่คิดเห็นตรงกัน จากนั้นก็แพร่กระจายสู่วงกว้างอย่างรวดเร็ว หากเราไม่ได้มองเพียงว่า ความแตกต่างทางความคิดที่แบ่งขั้ว แบ่งฝัก แบ่งฝ่ายเช่นนี้ ท�ำหน้าที่แสดงความแตกแยกของผู้คนในสังคมเท่านั้น  เพราะ อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความเห็นต่างเหล่านี้ก�ำลังท�ำหน้าที่แสดงถึง “พัฒนา การ” ด้านการเมือง การปกครอง ของผู้คนทุกชนชั้นในสังคมไทยเป็นอย่างดี และเราได้แต่หวังว่า พลังของการอ่านโลก อ่านความจริง จะสามารถ พัฒนาและยกระดับความคิดของผู้คนในสังคมให้หลุดพ้นจากความทรงจ�ำเก่าๆ ที่เราควรเรียนรู้ได้จากประวัติศาสตร์กันเสียที ส�ำนักพิมพ์มติชน

16 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


คํ า นํ า ผู้ เ ขี ย น การเขียนประวัติศาสตร์ที่พบเห็นกันอยู่เสมอนั้นก็เพื่อสนับสนุนรัฐชาติ จึงมีแนวโน้มที่จะจินตนาการว่า “ชาติเป็นตัวประธาน แม้จะพัฒนาตามยุค  สมัย แต่เป็นหนึ่งเดียวตลอด เป็นตัวตนเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง” (ประเสนจิต ทวารา Prasenjit Duara)  ในงานประวัติศาสตร์หลายเล่ม “ชาติ” จะเป็นอะไร ที่มีอยู่เสมอ เกิดขึ้นแล้วเป็นธรรมชาติ แต่เพิ่งจะเป็นรูปธรรมในฐานะรัฐชาติ โดยเฉพาะเมื่อนักประวัติศาสตร์แนวรัฐชาตินิยมยิ่งท�ำให้เด่นขึ้น   อย่างไรก็ตาม เริ่มมีนักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันที่อยากจะหลีกเลี่ยง การเขียนประวัติศาสตร์ดังกล่าว โดยเลือกที่จะเขียนเกี่ยวกับผู้คน สิ่งของ ความ คิด ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือโลกทั้งมวล ขอให้เป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ชาติ หรือไม่ก็ เขียนงานประเภทที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชาติ และการผลิตสร้าง ประวัติศาสตร์ของชาตินั้นเอง หนังสือเล่มนี ้ เน้นให้รัฐชาติเป็นแกนเรื่อง แต่ไม่ได้มองรัฐชาติเป็นหนึ่ง เดียวตลอด หรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย  ในทางตรงกันข้าม ผู้สร้างรัฐชาติมีตัวตน และปะทะประสานกับพลังทางสังคมต่างๆ โดยตลอด  ดังนั้น เนื้อเรื่องหลัก ประการหนึ่งของหนังสือนี้คือ ที่มาของความเป็นชาติในเมืองไทย อธิบายว่า ความคิดเรื่องชาติเกิดขึ้นอย่างไร กลไกของรัฐชาติก่อร่างสร้างขึ้นอย่างไร และ เมื่อสร้างแล้วมีพลังทางสังคมต่างๆ พยายามใช้กลไกนั้นอย่างไร   เนื้อเรื่องหลักประการที่สองคือ วิวัฒนาการของพลังทางสังคมที่มีบท  บาทในการเกิด การเติบโต และการท�ำงานของชาติและรัฐชาติไทย  ดังนั้น เนื้อหาในบทต่อๆ ไปหลังจากความน�ำในบทนี้แล้วนั้น จึงจะขยายความเกี่ยวกับ เนื้อเรื่องหลักทั้งสองที่กล่าวมานี้สลับกันไป  ประมาณปี ๒๕๔๓ ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ขอให้เรา เขียนประวัติศาสตร์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ส�ำหรับผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาและผู ้ สนใจทั่วไป  เราใช้เวลา ๒-๓ ปีค้นคว้าหาข้อมูลส�ำหรับเขียนหนังสือนี้  ร่าง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

17


แรกที่เขียนนั้นเริ่มตั้งแต่หลักฐานโบราณคดียุคต้นๆ เรื่อยเรียงไปถึงการอพยพ ของชาวไท อาณาจักรไทยุคต้น การแพร่ขยายของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เมืองไทยสมัยอยุธยา และกรุงเทพฯ จวบจนสมัยปัจจุบัน  แต่ส�ำนักพิมพ์มหา วิทยาลัยเคมบริดจ์ต้องการพิมพ์หนังสือขนาดย่อมที่เน้นพัฒนาการช่วง ๒๐๐ ปี สุดท้ายเท่านั้น  ดังนั้น เราจึงเขียนอีกฉบับหนึ่งและเน้นเฉพาะช่วงสมัยใหม่ที่ พัฒนาเป็นรัฐชาติไทย ปรากฏเป็น A History of Thailand พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประ สบความส�ำเร็จมาก จนทางส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ต้องพิมพ์ใหม่ (reprinted) ทุกปีอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ได้ขอให้เราปรับปรุงเป็น edition ที่ ๒ ในปี ๒๕๕๒ และอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๕๖  ฉบับภาษาไทยนี้ปรับปรุงจากเล่ม ภาคภาษาอังกฤษ เรายังคงรูปแบบของการเขียนและการอ้างอิงแบบสากลในฉบับภาษา อังกฤษไว้ (เช่นการเขียนแบบกระชับ)  ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขอ ให้เราจ�ำกัดการอ้างอิง เพื่อไม่ให้หนังสือยาวเกินไป  ดังนั้น เราจึงมีเชิงอรรถ ก็ต่อเมื่อบอกแหล่งที่มาของค�ำกล่าวโดยผู้พูดเองในเครื่องหมายค�ำพูดเท่านั้น ในการเรียบเรียง ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เล่มนี้ผู้เขียนได้ประโยชน์ จากงานค้นคว้าวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ไทยในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาเป็นอย่าง มาก  ซึ่งส่วนมากเป็นผลงานของนักประวัติศาสตร์ไทยและนักวิชาการแขนงอื่น เนื่องจากเราได้จ�ำกัดการอ้างอิง จึงจะกล่าวถึงนักเขียนหลักๆ ที่เราได้ใช้งานของ ท่านแบ่งตามหัวเรื่องดังนี้  ประวัติศาสตร์ก่อนกรุงเทพฯ ศรีศักร วัลลิโภดม  พิเศษ เจียจันทร์- พงษ์  สุเนตร ชุตินธรานนท์  สรัสวดี อ๋องสกุล  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  ธีรวัต ณ ป้อมเพชร  Geoff Wade ;  สังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิธิ เอียว- ศรีวงศ์  สายชล สัตยานุรักษ์  พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์  Neil A. Englehart  Volker Grabowsky  Hong Lysa  N. A. Battye  Patrick Jory  Junko Koizumi ;  การปฏิรูป รัชกาลที่ ๕ ไชยันต์ รัชชกูล  ทวีศักดิ์ เผือกสม  อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์  พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล  ม.ร.ว.รุจยา อาภากร กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด  ธงชัย วินิจจะกูล  Craig Reynolds  Tamara Loos David Streckfuss  Ian Brown ;  สังคมเมือง พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร พรรณี  บั ว เล็ ก   จ� ำ นงศรี  รั ต นิ น   สุ พ จน์  แจ้ ง เร็ ว   พอพั น ธ์  อุ ย ยานนท์  ; สังคมชาวนา ฉัตรทิพย์ นาถสุภา  David Johnston  Atsushi Kitahara ; 18 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชาตินยิ มหลายมิต ิ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์  ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม  เออิจิ มู ร าชิม า  กอบเกื้อ  สุ ว รรณทัต เพีย ร  ธ�ำ รงศัก ดิ์ เพชรเลิศ อนัน ต์   สายชล สัตยานุรักษ์  เฉลิมเกียรติ ผิวนวล  มรกต เจวจินดา ไมยเออร์  วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร  เพ็ญพิสุทธิ์ อินทรภิรมย์  Matthew Copeland  Scot Barm E. B. Reynolds ;  สมัยอเมริกันและพัฒนาการ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ  ณัฐพล ใจจริง ชัยอนันต์ สมุทวณิช  สุรชาติ บ�ำรุงสุข  ฉลอง สุนทราวาณิชย์  สมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล  สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  เสกสรรค์ ประเสริฐกุล  เกษียร เตชะพีระ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  David Fineman  Kevin Hewison  Philip Hirsch ; สังคมและการเมืองร่วมสมัย ประจักษ์ ก้องกีรติ  ธงชัย วินิจจะกูล  ยศ สันต- สมบัติ  สุจิต บุญบงการ  ประภาส ปิ่นตบแต่ง  สมชัย ภัทรธนานันท์  เอนก เหล่าธรรมทัศน์  เกษียร เตชะพีระ  อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์  ธีรยุทธ บุญมี เวียงรัฐ เนติโพธิ์  Katherine Bowie  James Ockey  Duncan McCargo M. K. Connors ขอขอบคุณองค์กรและเพื่อนที่ช่วยหารูปภาพ  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หนังสือพิมพ์ The Nation  หนัง สื อ พิ ม พ์  Bangkok Post  สยามสมาคม  พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ รงงานไทย  เอนก นาวิกมูล  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์  ชัชวาลย์ ชาติ- สุทธิชัย  ดาวเรือง แนวทอง  เอกรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ  แคน สาริกา  ไกรฤกษ์ นานา  นัน ทิย า ตั้ง วิสุ ท ธิจิต   พนา จัน ทรวิโ รจน์   พิริย ะ ไกรฤกษ์   โกวิท สนั่นดัง  สะอาด อังกูรวัธ  ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา  สง่า ลือชาพัฒนพร โสมสุดา ลียะวณิช  สุภัตรา ภูมิประภาส  วารุณี โอสถารมย์  Steve Van Beek  Nick Nostitz ขอขอบคุณ วันรวี รุ่งแสง ที่ได้ช่วยกรุณาขัดเกลาส�ำนวนในร่างแรกๆ มิตรวิชาการหลายท่านที่ช่วยสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับค�ำกล่าวโดยเจ้าตัวของผู้พูด ที่เป็นภาษาไทย รวมทั้งศาสตราจารย์เออิจิ มูราชิมา  พอล แฮนด์ลีย์  สมฤดี นิโครวัฒนายิ่งยง  อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี  ส�ำหรับในกรณีที่ค�ำกล่าวที่อ้างถึงเป็น ภาษาอังกฤษมาแต่เดิม (หรือรายงานมาเป็นภาษาอังกฤษ) เราปรับให้เป็นภาษา ไทยในตัวบท แล้วคัดลอกภาษาอังกฤษของเดิมไว้ในเชิงอรรถ  ขอขอบคุณ สุภาภรณ์ ตรงกิจวิโรจน์  นัชญากรณ์ กิจตระกูล  ไพรินทร์ พลายแก้ว ที่ช่วย เรื่องการพิมพ์และเอกสารอย่างดีเยี่ยม คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

19


เ กี่ ย ว กั บ ผู้ เ ขี ย น คริส เบเคอร์ เกิดที่ประเทศอังกฤษ จบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ ๑ และปริญญาเอก

ประวัติศาสตร์อินเดียที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ  สอนประวัติศาสตร์เอเชีย อยู่ที่นั่นเมื่อเกือบสิบปี กระทั่งย้ายมาพ�ำนักอยู่ที่เมืองไทย เมื่อปี ๒๕๒๒  มีต�ำแหน่งเป็น ผู้อ�ำนวยการฝ่ายเทคนิคบริษัทวิจัย ผู้จัดการใหญ่บริษัทลินตาสสิงคโปร์ ผู้อ�ำนวยการฝ่าย การตลาดบริษัทจอห์นนี่วอล์คเกอร์ ศาสตราจารย์รับเชิญมหาวิทยาลัยเกียวโต  มีผลงานแปลภาษาอังกฤษ อาทิ ปาฐกถาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของรัชกาลที่ ๕ แปลและบรรณาธิการ ปากไก่และใบเรือ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์, กฎมณเฑียรบาลในกฎหมาย ตราสามดวง บรรณาธิการ, ยูเอ็นดีพี Thailand  National Human Development ๓ ฉบับ  ปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ บรรณาธิการกิตติมศักดิ์วารสาร Asian Review จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Journal of the Siam Society

20 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ผาสุก พงษ์ไพจิตร จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ  ปัจจุบัน

ด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ  เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว. (๒ ครั้ง) ได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เป็นศาสตรา จารย์ รับ เชิญ ที่ม หาวิท ยาลัย จอห์ น ฮอบกิ้น  มหาวิท ยาลัย วอชิง ตัน ที่ซ านดิเ อโก กริฟ ฟิ ซ เกียวโต โตเกียว (๒ ครั้ง) มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจภาคทางการและเศรษฐกิจนอก ระบบเป็นจ�ำนวนมาก  ผลงานวิจัยเรื่องแรก จากท้องนาถึงอ่างน�้ำอุ่น หรือ  From Peasant Girls to Bangkok Masseuses เป็นเบสท์เซลเล่อร์ขององค์การไอแอลโอที่เจนีวา แปลเป็น ภาษาญี่ปุ่น  คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตยไทย ผลงานร่วม ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จาก ป.ป.ช.  นักเขียนทั้งสองมีผลงานร่วมกันหลายเล่ม อาทิ Thailand’s Boom and Bust, Thaksin แปลเป็นภาษาอังกฤษ เวียดนาม เกาหลี, Thai Capital: After the 1997 Crisis ฉบับภาษาไทยคือ การต่อสู้ของทุนไทย เล่ม ๑-๒, งานแปลผลงานบางเรื่องของนายปรีด ี พนมยงค์ Pridi by Pridi, The Thai Village Economy in the Past ของฉัตรทิพย์ นาถสุภา,  งานเขียนร่วม เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดี เยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติ ฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์โดย Oxford University Press แปล เป็นภาษาญี่ปุ่น, งานแปลร่วม The Tale of Khun Chang Khun Phaen ได้รับรางวัล เบ็คเคอร์ส�ำหรับงานแปลวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี ๒๕๕๖ จากสมาคมศึกษา เอเชียที่สหรัฐอเมริกา (AAS)  นอกจากนั้นทั้งสองยังเขียนคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์รายวัน ไทยและอังกฤษ และหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศ อาทิ New York Times และ Wall Street Journal

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

21




ก่อนกรุงเทพฯ


รัฐชาติไทยที่เรารู้จักในปัจจุบัน ก่อตัวขึ้นเมื่อในช่วง  ๒๐๐ กว่าปีมานี้ ชื่อประเทศ เขตแดน เมืองหลวง  ความเป็น “ไทย” ในฐานะเป็นชาติหนึ่ง และ รูปแบบของรัฐบาล ล้วนเป็นสิ่งใหม่ทั้งสิ้น เพิ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นมาในช่วงเวลา ดังกล่าว  ชื่อ “ประเทศไทย” ก็ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ นี้เอง แม้ว่าจะได้ใช้ชื่อ “เมืองไทย” มานานกว่านี้แล้ว  เขตแดนปักปันกันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๕๒  “กรุงเทพฯ” เป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕   “ไทย” ในฐานะเป็นชาติ และกระบวนการสร้างกลไกรัฐชาติ ก่อตัว  ขึ้นมาในช่วงหลายปี และยังคงปรับแปรเปลี่ยนแปลงไป จนล่วงเข้ามาในภาวะ  ร่วมสมัย ณ ปัจจุบัน เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐชาตินี้ ได้รับมรดกตกทอดจากอดีตหลายสิ่งหลาย อย่าง  บทนี้จึงจะบรรยายให้เห็นแนวโน้มประวัติศาสตร์หลักๆ ที่ส่งผลกับโครง ร่างของมรดกประวัติศาสตร์นี้ ชุมชนบนที่ราบลุ่มเจ้าพระยา มีวิวัฒนาการมาหลายศตวรรษก่อนหน้า โดยมีรูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกับสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ เป็น ภูมิประเทศเขตร้อน มีป่าเขตร้อนชื้น ผู้คนตั้งรกรากเป็นกลุ่มๆ ตามเมืองใหญ่ มีเจ้าครอบครอง  สิ่งร้อยรัดผู้คนเข้าด้วยกันคือความสัมพันธ์ส่วนตัวแบบนาย กับบ่าว  ยุคสมัยของสงคราม ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จนถึงกลางพุทธ  ศตวรรษที่ ๒๑ มีการรบพุ่งกันบ่อยครั้ง  ระบบกษัตริย์ชายชาติทหารมีอำ� นาจ ยิ่งใหญ่จึงก่อตัวขึ้นโดยได้รับการหนุนช่วยด้วยพิธีกรรมตามลัทธิพราหมณ์ ความมั่งคั่งจากการค้าต่างแดน และระบบเกณฑ์แรงงานเพื่อการสงคราม  แต่จากประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ทั้งภูมิภาคเริ่มสงบร่มเย็น การ ค้าระหว่างประเทศขยายขึ้น  “อยุธยา” กลายเป็นเมืองท่าใหญ่ของเอเชียแห่ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

25


บุตร

ม.พรหม

ม.แ ดง

ขง

ม.โ

วดี ม.อิร

ลุมน้ำ เจาพระยา

ที่ราบสูง อีสาน ม.ม

ูล

นครวัด

ลุมน้ำโขง ตอนลาง

๒,๐๐๐ ม. ๑,๐๐๐ ม. ๒๐๐ ม. ๐

แผนที่ ๑ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณผืนแผ่นดินใหญ่

ก.ม.

๕๐๐


หนึ่ง โดยมีเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศที่กว้างขวางนับจากเปอร์เซียไปจรด เมืองจีน  ระบบการเมืองและเศรษฐกิจจึงเริ่มเปลี่ยนแปลง เห็นได้จากที่เศรษฐ กิจการค้าขยายตัว ระบบเกณฑ์แรงงานเริ่มเสื่อมสลาย ชนชั้นสูงก่อตัวแข็งแรง ขึ้น และศาสนาพุทธนิกายเถรวาทน�ำความคึกคักและพลังใหม่ๆ มาสู่ชุมชน

การก่อตัวของชุมชนในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์และ มีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งของโลก  ด้านทิศเหนือ แนวภูเขาเป็น เส้นแบ่งแยกภูมิภาคออกจากจีน ลงมาทางใต้มีทิวเขาหลายเทือกเรียงรายกัน แนวภูเขาพาดออกไปเสมือนนิ้วมือที่กางออก (แผนที่ ๑)  ที่ราบระหว่างเทือกเขา เหล่านี้ได้รับความอบอุ่นจากอุณหภูมิของเขตร้อน  ขณะเดียวกันได้รับน�ำ้ จาก แม่น�้ำสายใหญ่ทั้งห้า เกิดจากหิมะที่ละลายไหลรินมาจากภูเขาสูงของเอเชียด้าน ในไกลถึงทิเบต  และยังมีลมมรสุมพัดผ่านน�ำฝนมาตกชุกชุมปีละ ๔-๖ เดือน อากาศร้อนผนวกกับความชุ่มชื้นสูงท�ำให้บริเวณแถบนี้อุดมสมบูรณ์เป็นที่สุด พื้นที่นี้โดยธรรมชาติเป็นป่าชัฏทึบ ทั้งป่าไม้ผลัดใบทางด้านเหนือ แล้วค่อยๆ ขยับขยายเป็นป่าดิบชื้นทางด้านใต้ และป่าชายเลนแน่นหนาตามแนวชายฝั่ง ทะเล  อดีตกาลโพ้น สัตว์ป่าหลากชนิดอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้ดีกว่ามนุษย์ ทั้งช้าง วัวป่า ควายป่า เก้งกวาง ลิงค่าง เสือ งู จระเข้ แมลงหลากชนิด และ จุลินทรีย์ต่างๆ ผู้คนมีอยู่เพียงจ�ำนวนน้อยในช่วงแรกๆ จากหลายแสนปีที่แล้ว มีร่อง รอยของชุมชนล่าสัตว์และเก็บหาผลหมากรากไม้ที่พักพิงอยู่ตามถ�้ำ  แต่หลัก ฐานเหล่านี้ก็มีน้อยและไม่ชัดเจนมากนัก  การตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นหลังจากมีการ ปลูกข้าวและผลิตเครื่องใช้ท�ำด้วยส�ำริดประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อนปัจจุบัน และ เพิ่มขึ้นอีกมากในยุคเหล็กตั้งแต่ประมาณเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อนปัจจุบัน การตั้งถิ่นฐานในยุคโลหะนี้ พบว่าส่วนมากอยู่บนเนินล้อมรอบด้วยคูนำ�้ ทั้งนี้อาจจะเพื่อความปลอดภัย และอาจจะขุดไว้เพื่อเป็นที่เก็บน�้ำด้วย  ชุมชน โบราณนี้ปลูกข้าว เลี้ยงวัวควายและสุนัข ยังคงล่าสัตว์เก็บหาผลไม้และอาหาร อื่นๆ ในป่า  สิ่งของมีค่า เช่น ลูกปัด และกลองมโหระทึก เพื่อใช้ในพิธีกรรมได้ จากการค้าทางไกล  นักโบราณคดีสงสัยว่าน่าจะมีคนกลุ่มใหม่เข้ามาในภูมิภาค ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

27


ในยุคนี้ โดยเป็นผู้ที่น�ำเอาเทคนิคการปลูกข้าว การผลิตโลหะ การเลี้ยงสัตว์ และภาษา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า กลุ่มภาษามอญ-เขมร เข้ามา  คนกลุ่มใหม่นี้น่า จะกระจายไปตามชายฝั่งทะเล แต่คงจะอพยพไปสู่บริเวณด้านในตามฝั่งแม่น�้ำ จนไปถึงเขตที่ราบสูง เนื่องจากเป็นบริเวณซึ่งถากถางได้ง่ายกว่าและตั้งถิ่นฐาน ได้โดยมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยกว่า  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๐๐ ได้มีการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ซึ่งมีความ เป็นเมืองที่พัฒนาแล้ว  อินเดียจึงเป็นแหล่งที่มาของความรู้และเทคโนโลยี ชุมชนใหญ่เริ่มก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะตามบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้ ำโขงตอนล่าง ที่ ราบลุ่มเจ้าพระยา และเขตชายฝั่งทะเลของแหลมทองทั้งสองฟาก  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๕๐ ชุมชนที่บริเวณทั้งสองนี้รับตัวเขียนที่ยืมมาจากอินเดียใต้ เขียน ภาษาเขมรและมอญ  ที่ดินแดนเขมร ชาวนาเชี่ยวชาญการกักเก็บน�้ำจากฝน ทะเลสาบ และแม่น�้ำ ท�ำให้เลี้ยงชุมชนใหญ่ที่หนาแน่นได้  ผู้ปกครองเกณฑ์ ผู้คนในชุมชนใหญ่มาใช้ ปรับเอาความรู้เกี่ยวกับการอยู่ในเมือง การก่อสร้าง ศาสนา และการปกครองมาจากอินเดีย จึงสามารถสร้างชุมชนเมือง ระบบรัฐ และระบบกษัตริย์  เมืองหลวงอันวิจิตรพิสดารที่เมืองพระนคร (นครวัด) กลาย เป็นแบบอย่างที่เมืองเล็กๆ ชื่นชูและเลียนแบบกันทั่วไปหมด ทั้งที่บริเวณที่ราบ สูงโคราชและชุมชนตามที่ราบในลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยา วัฒนธรรมมอญ-เขมรสมัยแรกนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณชายฝั่งทะเล  และต่อมากระจายเข้าไปในเขตแผ่นดินใหญ่  ในสมัยต่อๆ มา ผู้คนและ  วัฒนธรรมอีกสายหนึ่งเคลื่อนเข้ามาจากทางด้านเหนือผ่านหุบเขามา  กลุ่มภาษาซึ่งรู้จักกันในนาม “ตระกูลไท” น่าจะมีแหล่งก�ำเนิดในบรรดา ผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของแม่น�้ำแยงซี ก่อนที่จีนฮั่นจะขยับขยายลงมาใน บริเวณนี้จากทางเหนือเมื่อ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ ปีก่อนปัจจุบัน  เมื่อกองทัพของ ฮั่นเข้ามาครอบครองชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีนเมื่อประมาณ ๑,๘๐๐ ปีก่อน ปัจจุบัน  ผู้คนกลุ่มภาษาตระกูลไทบางกลุ่ม ถอยร่นไปตั้งหลักแหล่ง ณ ที่ราบ หุบเขาด้านในของชายฝั่งทะเล  เมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ บางกลุ่ม เคลื่อนย้ายไปทางทิศตะวันตก  และในที่ สุ ด  กลุ ่ ม ภาษาไทส� ำ เนี ย งต่ า งๆ ก็ ก ระจายไปตามบริ เ วณ  วงแหวนครอบคลุมประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลเมตร  จากเขตลึกด้านในของแคว้น  กวางซี ไปจนถึงที่ราบของแม่น�้ำพรหมบุตร  ผู้คนเหล่านี้คงจะน�ำเอาความรู้  28 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เรื่องการปลูกข้าวใช้น�้ำจากล�ำธารไหลรินจากภูผามาด้วย   พวกเขาเลือกแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบแอ่งภูเขาซึ่งมีลำ� ธารเป็น แหล่งน�้ำให้ปลูกข้าวได้ อาจจะมีความสามารถด้านการรบพุ่งด้วยเนื่องจากต้อง ปกป้องตนเองจากการเผชิญหน้ากับจีน  ทั้งนี้ คนกลุ่มอื่นมองพวกเขาว่าเป็น นักรบฉกาจฉกรรจ์  ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนที่พวกไทจะเข้ามาบางส่วน ได้แก่ กลุ่มมอญ-เขมร ถอยร่นขึ้นไปบนภูเขาสูง  กลุ่มอื่นๆ ยอมอยู่ร่วมกับผู้มาใหม่ ที่เป็นผู้น�ำชาวนา-นักรบ ค่อยๆ พูด “ภาษาไท” ไปด้วย และบางกลุ่มสูญเสีย อัตลักษณ์ของกลุ่มตนเองไปในท้ายที่สุด กลุ่มไทมักจะตั้งหลักแหล่ง ณ บริเวณที่ราบลุ่มแม่นำ�้ ที่กว้างใหญ่ในเขต ภูเขาสูง  ทั้งนี้เฉพาะบริเวณแม่น�้ำโขงเท่านั้นที่บางพวกเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ โดยตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งแม่น�้ำตลอดเป็นแนว และข้ามภูเขาไปสู่บริเวณต้นน�้ำ ของแม่น�้ำเจ้าพระยา  อาจเป็นเพราะว่ากลุ่มไทนี้หนีพวกมองโกลซึ่งรุกไล่มาใน ช่วง พ.ศ. ๑๘๑๐-๑๘๕๐ หรือเดินทางมาค้าขาย หรือเพียงแต่มาเสาะหาบริเวณ ที่มีคนอาศัยอยู่น้อย  ช่วงแรกๆ กลุ่มนี้หยุดตั้งถิ่นฐานตามแนวเชิงเขา ใช้น�้ ำ ในธารที่ไหลลงจากภูเขาเพื่อท�ำการเพาะปลูก และมียอดภูเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ ท้ายที่สุดขยับขยายเข้าตั้งหลักแหล่ง ณ ที่ราบลุ่ม   กลุ่มใหม่ที่เข้ามา อยู่ร่วมกับผู้ที่อยู่มาก่อนได้ เพราะว่ามีเทคนิคการ ปลูกข้าวที่ก�ำหนดให้ต้องการที่ดินคนละพื้นที่กับกลุ่มเก่าเนื่องจากใช้แหล่งน�้ำ ที่ต่างกัน  พวกมอญ-เขมรเก็บกักน�้ ำฝนในบาราย พวกไทปรับความช� ำนาญ การใช้น�้ำจากล�ำธาร ภูเขา มาเป็นใช้น�้ำจากแม่น�้ำ  ในท้ายที่สุด “ภาษาไท” ซึ่ง  ณ ปัจจุบันคือ “ภาษาไทย” นั้นกลายเป็นภาษาหลักของเขตลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ถึงกระนั้นภาษาไทยเองมีร่องรอยของการผสานกับภาษาของกลุ่มต่างๆ  ไทย รับเอารากศัพท์และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียบเรียงถ้อยค�ำมาจากภาษาเขมร (และอาจจะมาจากภาษามอญด้วย)  ด้วยเหตุฉะนี้ ภาษาไทยจึงต่างจากภาษา ในกลุ่มตระกูลไทอื่นๆ (นักภาษาศาสตร์รายหนึ่งเรียกว่า เขมร-ไทย)  ชาวยุโรป สมัยแรกที่เข้ามาเยือนไทยคิดว่าผู้คนส่วนมากพูดภาษามอญ   กลุ่มชาวไทเข้ามาเมื่อไร และภาษาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไรนั้นไม่ชัดเจน  จารึกที่เขียนในภาษาไทยหลักแรกเมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๒ พบที่นครสวรรค์  แต่  หลักอื่นที่พบใต้นครสวรรค์ลงไป สลักด้วยตัวเขียนในภาษาเขมร มอญ หรือ  อินเดีย  จวบจนถึงราว พ.ศ. ๑๙๕๐ บ่งชี้ว่าภาษาเหล่านี้มีสถานะสูง  ครั้นถึง  ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

29


ราว พ.ศ. ๒๐๕๐ ชาวโปรตุเกสได้รับการบอกเล่าว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง  คือ “เมืองไทย”  แม้ว่าจะได้มีกลุ่มต่างๆ อพยพเข้ามาในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาเป็นระยะๆ แต่ประชากรของย่านนี้ก็ยังเบาบาง  เมื่อมีการถากถางป่า พื้นดินที่ถูกถากถาง อุดมสมบูรณ์มาก  แต่ในสภาพธรรมชาติไม่เหมาะส�ำหรับตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็น บริเวณที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บ เช่น มาลาเรีย และไข้ป่าต่างๆ ฤดูร้อนที่ยาวนานท�ำให้ที่ที่ห่างไกลจากแหล่งน�ำ้ ไม่เหมาะส�ำหรับการตั้งหลักแหล่ง ผู้คนจึงตั้งถิ่นฐานตามริมฝั่งแม่น�้ำหรือชายฝั่งทะเล  นอกบริเวณที่ราบนี้จึงยังคง เป็นป่าทึบจนกระทั่งเมื่อ ๒๐๐-๓๐๐ ปีมานี้เอง สภาพประชากรเบาบาง หมายความว่า มีที่ว่างเสมอส�ำหรับผู้อพยพมา ใหม่ ซึ่งก็ได้ท�ำให้สังคมมีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นโดยตลอด  ชาวกะเหรี่ยง เข้ามาตั้งรกรากบนภูเขาด้านทิศตะวันตกของที่ราบลุ่มเจ้าพระยา มาจากไหน และมากันเมื่อไรก็หลงลืมกันไปแล้ว  กลุ่มชาวมอญเข้ามาด้านตะวันตกเป็น ระยะๆ โดยข้ามภูเขามาเพื่อลี้ภัยจากปัญหาการเมือง ณ ถิ่นเดิม  ชาวมาเลย์ ล่องเรือมาจากเกาะต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเขตชายฝั่งทะเลของบริเวณด้าม ขวานของแหลมทอง  ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ พ่อค้าจีนผสมปนเปเข้ากันไปกับชุมชนตามเขตเมืองท่ารอบๆ อ่าวไทย และลง ไปด้านใต้ของแหลมทอง  ที่ราบสูงโคราชเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นจากประมาณ พ.ศ. ๒๒๕๐  เมื่อชาวลาว ชาวกุย อพยพมาจากบริเวณแม่นำ�้ โขง และบริเวณ ที่ราบสูงทางเหนือมีชาวภูเขาขยับย้ายเข้ามา หลังจากที่จีนฮั่นรุกไล่เข้ามาสู่จีนใต้ สภาวะประชากรเบาบาง ท�ำให้มีการแย่งชิงคน การตั้งหลักแหล่งต้อง  การผู้คนเพื่อสร้างเมือง และป้องกันตัวเอง  ผู้น�ำต้องการคนเพื่อช่วยท�ำนา ท�ำ การค้า สร้างบ้าน ผลิตของมีค่าและเป็นบริวาร  ช่วงแรกๆ มีการน�ำทาสมาจาก จีนและจากเกาะต่างๆ ของมลายู  การสงครามเป็นไปเพื่อกวาดต้อนผู้คนมาใช้ กองทัพที่มีชัยชนะกลับบ้านพร้อมกับทรัพย์สินที่ยึดมาและเชลยเป็นพรวน ช่าง ฝีมือมีค่าตัวสูง  ส่วนเชลยสงครามทั่วๆ ไปถูกน�ำมาเป็นคนรับใช้หรือส่งไปตั้ง ถิ่นฐาน ณ เขตบุกเบิกใหม่ๆ เพื่อผลิตข้าวปลาอาหารและเพิ่มจ�ำนวนผู้คนที่จะ ถูกเกณฑ์แรงงาน  จนกระทั่ง ๑๐๐-๑๕๐ ปีนี้เองก็ยังมี “ประเพณีตีข่า”  โดยมี ชุมชนซึ่งตั้งตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเสาะแสวงหาทาส ลักพาผู้คนจากชุมชน ภูเขา หรือจากรัฐเพื่อนบ้าน พาไปขายตามเมืองในเขตที่ราบลุ่ม 30 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เมือง บริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานนั้นมักอยู่ห่างไกลกัน โดยมีภูเขา มีป่าชัฏ หรือ มีทะเลขวางกั้นออกจากกัน  หน่วยการปกครองขั้นรากฐานคือเมือง ต้นแบบมา จากการตั้งหลักแหล่งตามที่ราบลุ่มในหุบเขา ที่มีก�ำแพงล้อมรอบ เป็นที่พ�ำนัก อาศัยของผู้ปกครองหรือ “เจ้า”  ชุมชนจะกระจุกกันเป็นกลุ่มๆ ล้อมรอบเมือง ที่เป็นศูนย์กลาง แทนที่จะกระจายออกไปเป็นแนวกว้าง  ทั้งนี้เพื่อปกป้องเมือง จากศัตรู สัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นักวิชาการบางคนเสนอว่ า สภาวะประชากรเบาบาง หมายความว่ า ที่ดินมีอยู่เหลือเฟือและแทบจะไม่มีค่าอะไร  อันที่จริงไม่เป็นเช่นนั้นเลย ที่ดิน ที่อุดมสมบูรณ์และอยู่ในแหล่งที่เหมาะสมมีน้อยและมีค่ามาก    ช่วงระยะแรกที่มีการก่อตั้งเมือง “เจ้า” เป็นเสมือนเจ้าที่ดินบริหาร  จัดการที่ดินและการเพาะปลูก  เมื่อชุมชนขยายใหญ่และมีความซับซ้อนมาก  ขึ้น เจ้าจึงผันตัวเองเป็นผู้ปกครองมากขึ้นๆ   หมู่บ้านบริหารจัดการที่ดินโดยชาวบ้านเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีการ จัดสรรที่ดินให้สอดคล้องกับจ�ำนวนคนและความต้องการด้านอาหารของครอบ ครัว  ชาวบ้านร่วมมือกันเพื่อสร้างเหมืองฝายและระบบส่งน�ำ้ ครอบคลุมบริเวณ กว้าง เป็นระบบชลประทานเพื่อปลูกข้าว  การแบ่งชนชั้นในสังคมก่อตัวขึ้น ผู้ เข้ามาตั้งหลักแหล่งกลุ่มแรกๆ มักเขยิบฐานะเป็นตระกูลชั้นน�ำ มีอภิสิทธิ์เหนือ ที่ดิน โดยต้องพร้อมที่จะจับอาวุธเพื่อปกป้องชุมชนเมื่อจ� ำเป็นด้วย  ขั้นต่อมา ผู้ที่มาตั้งหลักแหล่งในภายหลังอาจจะมีสิทธิเข้าถึงที่ดินได้ เฉพาะในฐานะเป็นผู้ ที่พึ่งพาตระกูลชั้นน�ำเหล่านี้  เชลยสงครามหรือทาสที่ซื้อหามาอาจไม่มีสิทธิที่จะ เข้าถึงที่ดินแต่อย่างใด  ผู้คนต้องส่งส่วยให้เจ้า ส่วนมากจะให้เป็นสิ่งของ และ บริการด้านแรงงาน เช่น ช่วยสร้างและซ่อมแซมวัง  ลูกหลานและญาติของเจ้า และตระกูลชั้นน�ำอื่นๆ ที่ช่วยบริหารดูแลกิจการของเมืองก็ได้รับส่วยและบริการ แรงงานจากหมู่บ้านตามแต่จะก�ำหนด เมืองที่เกิดขึ้นตามชายฝั่งแม่น�้ำบริเวณที่ราบลุ่มและรอบๆ ชายฝั่ง  ทะเลแตกต่างกันไปเล็กน้อย  แหล่งตั้งถิ่นฐานที่นิยมกันมากคือคุ้งน�้ำคดเคี้ยว โดยจะมีการขุดคลองตรงส่วนที่แคบที่สุดเพื่อสร้างเป็นคูเมืองโดยรอบ  เมือง แบบนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองในหุบเขา จะมีประชากรที่ท�ำมาหากินโดยการ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

31


ค้าขายมากกว่า และประชากรที่จะพึ่งพิงการท�ำนามีน้อยกว่า  ผู้ปกครองเป็น ผู้ซึ่งตั้งตัวขึ้นมาเพราะสั่งสมความมั่งคั่งจากการค้ามากกว่าที่จะเป็นผู้ที่สืบสาย มาจากตระกูลเก่าหรือเป็นนักรบ ส�ำหรับ “เมือง” เหล่านี้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่จะพัฒนาต่อไปเป็น  เมืองใหญ่ได้  อาจเป็นเพราะว่าเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นจึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิด  ปัญหาโรคระบาด หรือถูกโจมตีเพื่อแย่งชิงผู้คนและทรัพย์สิน   ประวัติของสุโขทัยสมัยต้นๆ มีต�ำนานการอพยพผู้คนทั้งเมืองไปยังเขต ของชาวมอญ เนื่องจากปัญหาโรคระบาด  ในต�ำนานหริภุญไชยหรือล�ำพูน คน ทั้งเมืองถูกกองทัพกวาดต้อนไปจนหมดสิ้น  ที่ราบลุ่มแม่น�้ำมูลที่อีสานในยุค ก่อนประวัติศาสตร์ เคยมีชุมชนตั้งหลักแหล่งอยู่หลายร้อยแห่ง  แต่ ๔๐๐ ปี ต่อมากลับกลายเป็นบริเวณไร้ผู้คนไปเสียสิ้น  เมืองท่าตามชายฝั่งทะเลมักจะ ถูกศัตรูหรือโจรสลัดเข้าโจมตีอยู่เสมอ  ในพงศาวดารนครศรีธรรมราชสมัย ต้นๆ เมืองก่อตั้งขึ้น ถูกทิ้งร้างแล้วก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ซ�้ ำแล้วซ�้ำอีก  สงขลาถูก “ท�ำลาย” ถึง ๒ ครั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๑  การผันแปรของภูมิประเทศอาจ ท�ำลายเมืองได้  แหลมสทิงพระซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งใหญ่ที่สุดของบริเวณด้ามขวานแหลมทอง ถูกทิ้งร้างเมื่อเขตชายฝั่งทะเล ขยับเขยื้อนไป  แหล่งที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองในที่ราบเจ้าพระยาหลายเมืองถูกทิ้ง ร้าง หรือชุมชนย้ายออกไปเมื่อแม่น�้ำเปลี่ยนเส้นทาง มีเมืองไม่กี่แห่งที่ประชากรตั้งหลักแหล่งเป็นที่ทางอยู่เป็นเวลายาวนาน  โดยไม่ได้ย้ายไปมาดังที่เกิดขึ้นในกรณีอื่นๆ  ทั้งนี้อาจจะเป็นท�ำเลเหมาะสม  ดังนั้น ความคิดเรื่อง “ชัยภูมิ” ซึ่งหมายถึง “ที่แห่งชัยชนะ” จึงเป็นสาขาหนึ่ง  ของความรู้ท้องถิ่น   “ชัยภูมิ” หรือสถานที่เหมาะสมเพื่อตั้ง “เมือง” นั้นต้องเป็นที่ซึ่งสร้าง คูรอบเมืองได้ง่ายหรือมีอยู่บ้างแล้ว  มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ภูเขาสูง หรือที่ แม่น�้ำสบกัน อันมีน�้ำและแหล่งผลิตอาหารอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งสภาพอากาศ เหมาะสม  ผู้ปกครองอาจจะจัดให้ “ชัยภูมิ” ดีขึ้นได้ด้วย  ดังจะเห็นได้ในค�ำ ประกาศศิลาจารึกของสุโขทัยที่เลื่องชื่อ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ผู้ปกครองโฆษณา เมืองเพื่อดึงดูดผู้ที่จะเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยอวดโอ่ถึงความสามารถด้านการ สงครามซึ่งจะปกป้องผู้คนได้  การันตีว่ามีอาหารอุดม (“ในน�้ำมีปลา ในนามี ข้าว”) ให้สัญญาว่ามีความเป็นธรรม เก็บภาษีต�่ำ และให้เสรีภาพในการค้าขาย 32 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ป่าวประกาศถึงการละเล่นและเทศกาลต่างๆ (“ใครจักมักเหล้นเหล้น ใครจักมัก หัวหัว ใครจักมักเลื้อนเลื้อน”)  และท้ายที่สุด กล่าวเน้นถึงจ�ำนวนวัดและศาล ความวิจิตรพิสดาร และความหลากหลาย๑

เจ้าและรัฐ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และ ๒๐ มีการปฏิวัติยุทธศาสตร์การ  สงคราม ซึ่งส่งผลให้เจ้าซึ่งมักใหญ่ใฝ่สูงสามารถขยายอาณาจักรได้  ส่วนหนึ่ง เกิดจากการใช้อาวุธปืน เริ่มจากปืนใหญ่จากจีนและอาหรับ และต่อมาคือการ ใช้ปืนคาบศิลาและปืนใหญ่คุณภาพดีกว่าจากโปรตุเกส  นอกจากนี้การปฏิวัติ ยุทธศาสตร์การสงครามเกิดจากการใช้ช้างและม้าเพื่อการขนส่งเพิ่มขึ้น มีวิธี การเกณฑ์คนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจจะมีจ�ำนวนคนให้เกณฑ์มากขึ้น เพราะว่าสภาพดินฟ้าอากาศดีขึ้น ท�ำให้ผลิตอาหารได้มากขึ้นด้วย เจ้าที่ต้องการเป็นใหญ่ เริ่มแรกเลยตีเอาเมืองที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามารวม กันเป็นกลุ่มเมือง ตามเขตภูเขา แว่นแคว้นต่างๆ  ก่อตัวขึ้นโดยยึดโยงกันเป็น เมืองตามลุ่มแม่น�้ำเป็นแหล่งๆ ไป  เจ้าจะส่งบุตรชายหรือเครือญาติไปปกครอง เหนือเมืองที่พ่ายแพ้  ผู้ปกครองจะกวาดต้อนหรือชักจูงให้ช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญ งานต่างๆ มาช่วยสร้างเมืองของตนให้วิจิตรและมีชื่อเสียงกว่าเมืองอื่นๆ มักจะ เชิดชูศาสนาพุทธ เพราะได้รับความนิยมมากในยุคนี้   ตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. ๙๕๐ ศาสนาพุทธได้เข้ามาแพร่ขยายอยู่ในบริเวณ  ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาแล้ว แต่มาร่วมกับเทพเจ้าของอินเดีย ซึ่งคงจะไม่ได้มีการ  แบ่งแยกกันชัดเจนว่าเป็นศาสนาอะไร หรือมีประเพณีปฏิบัติต่างกันอย่างไร   ครั้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ พระสงฆ์ได้น�ำเอาขนบศาสนาพุทธ  เถรวาทจากศรีลังกาเข้ามา  หลักฐานพงศาวดารศาสนาชี้ว่า ศาสนาพุทธนี้แพร่ กระจายออกไปอย่างกว้างขวางดังไฟป่า เนื่องจากผู้คนเลื่อมใสกันมาก  เจ้า สนับสนุนให้ก่อสร้างวัดอันวิจิตร อุปถัมภ์พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในการเรียนพระ อภิธรรม เก็บรักษาพระอัฐิ และสร้างพระพุทธรูป โดยเชื่อว่าเป็นแหล่งรวมของ อ�ำนาจด้านจิตวิญญาณ เมืองใหญ่ที่เติบโตขึ้นมาค่อยๆ พัฒนาคล้ายเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจของ กลุ่มเมืองย่อย  ทางทิศเหนือของลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา เมืองที่มีอ�ำนาจมากคือ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

33


“เชียงใหม่” ซึ่งพระยามังรายสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ณ ท�ำเลซึ่งถือว่าเป็นชัยภูมิชั้นยอด  พระยามังรายคงจะเป็นเจ้าชายไทที่มีเชื้อ สายมอญ-เขมร ตั้งตัวเป็นใหญ่ ณ แคว้นริมแม่น�้ำปิง และสยบเจ้าเมืองอื่นๆ ที่ตั้งเรียงรายตามลุ่มน�้ำอื่นไปทางทิศตะวันออก  เมื่อพระองค์สวรรคต ผู้คน นับถือเป็นวิญญาณบรรพบุรุษผู้ให้ก�ำเนิดแคว้นที่ขยายใหญ่ขึ้นนี้ และเจ้าองค์ ต่อๆ มาก็ต้องเลือกสรรมาจากผู้สืบเชื้อสายตระกูลศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นเวลาถึง ๒๐๐ ปี  เชียงใหม่พัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางอ�ำนาจอย่างแท้จริงในสมัยของเจ้าเมือง รุ่นต่อๆ มา  ผู้ซึ่งสร้างวัดอันวิจิตรตระการตาเป็นจ� ำนวนมาก และผู้ได้สร้าง สายสัมพันธ์เป็นพันธมิตรผ่านการอภิเษกสมรสกับเจ้าผู้ครองเมืองต่างๆ ไปทาง ตะวันออกจรดแม่น�้ำน่าน และไปทางเหนือข้ามแม่น�้ำโขงไป  ภูมิภาคนี้รู้จักกัน ในนาม “ล้านนา”  ส่วนด้านทิศตะวันออก เชื้อสายของพระเจ้าฟ้างุ่มที่หลวงพระ บางสถาปนาอาณาจักร “ล้านช้าง” ครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น�้ำโขงตอนกลางและ แควใหญ่น้อย พวกเมืองไทยที่อยู่ตามเชิงเขาเหนือพื้นราบของลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ก่อตั้ง กลุ่มเมืองอีกแห่งหนึ่ง ณ จุดเริ่มแรก  เมืองใหญ่ของกลุ่มคือ “สุโขทัย” ซึ่งมี ต�ำนานเล่าขานว่า “พระร่วง” เป็นผู้ก่อตั้งให้เป็นเมืองพุทธที่มีชื่อกระฉ่อนไกล ต่อมาตระกูลนี้ย้ายไปพิษณุโลก อาจเป็นเพราะว่าที่พิษณุโลกเจ้าเมืองสามารถ ป้องกันเมืองจากศัตรูได้ง่ายกว่าที่สุโขทัย  กลุ่มเมืองในบริเวณนี้ไม่มีชื่อเฉพาะ ที่โด่งดัง เมืองเพื่อนบ้านไปทางใต้เรียกขานกันว่า “เมืองเหนือ” กลุ่มเมืองอีกแห่งหนึ่งก่อตัวขึ้นในบรรดาเมืองท่าทางด้านล่างของแม่น�้ำ ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และรอบๆ ชายทะเลด้านบนของอ่าวไทย  โดยเฉพาะ ๔ เมืองซึ่งสถาปนาขึ้นหรือสถาปนาใหม่ภายใต้อิทธิพลเขมรเมื่อพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖-๑๗ คือ เพชรบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และอยุธยา  หลังจากที่ตระกูล ผู้น�ำของเมืองเหล่านี้แก่งแย่งกันเป็นใหญ่ ผู้น�ำที่อยุธยาผงาดขึ้นมาเหนือตระกูล อื่นๆ จีนเรียกย่านนี้ว่า “เสียน” (Xian) ซึ่งโปรตุเกสเรียกเพี้ยนไปเป็นสยาม เมืองศูนย์กลางแต่ละแห่งแผ่ขยายอิทธิพลเหนือเมืองใกล้เคียงในรูป  แบบเฉพาะ  เจ้าที่ยอมสยบสวามิภักดิ์ยังคงเป็นเจ้าอยู่ แต่อาจจะต้องส่งบุตร  สาวหรือน้องสาวให้เป็นบาทบริจาริกาของเจ้าเมืองใหญ่  บางทีอาจจะต้องส่ง  บุตรชายเข้ามารับใช้ด้วย เท่ากับเป็นตัวประกันให้เมืองขึ้นสวามิภักดิ   ์ ในกรณีพิเศษ เจ้าเมืองใหญ่อาจจะยกหญิงสาวสูงศักดิ์ให้มาเป็นภริยา ของเจ้าเมืองเล็ก หญิงสาวนี้อาจท�ำหน้าที่ข่าวกรองไปด้วย  เมืองที่ถูกสยบจะ 34 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ต้องส่งบรรณาการส่วนมากจะเป็นสิ่งของมีค่าหรือหายาก  ต่อมาก�ำหนดบรรณา การให้เป็นมาตรฐานคือ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของ มลายู  นอกจากนั้นเจ้าเมืองใหญ่จะให้เครื่องสูงแสดงยศศักดิ์เป็นการตอบแทน และเพื่อเสริมสถานะของเจ้าเมืองเล็ก บางทีเจ้าเมืองใหญ่จะให้สิ่งที่มีประโยชน์ ด้วย เช่น อาวุธและระบบการบริหารเมือง  เจ้าเมืองใหญ่รับรองว่าจะช่วยปกป้อง เมืองเล็กจากศัตรู และเจ้าเมืองเล็กก็ต้องตอบแทนด้วยการส่งทหารไปช่วยรบ เมื่อเจ้าเมืองใหญ่ต้องการเคลื่อนกองทัพ  แต่ในทางปฏิบัตินั้นการสนองต่อข้อ ตกลงที่ว่านี้ มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่แน่นอนเสมอไป หลักการของพันธมิตรทางการเมืองดังที่กล่าวมาคือ เจ้าเมืองใหญ่จะ  ไม่ท�ำให้เมืองเล็กกลืนไว้ในเมืองใหญ่ แต่จะช่วยให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อจะเป็น  เมืองขึ้นที่เพิ่มอ�ำนาจและชื่อเสียงของเมืองใหญ่  เจ้าเมืองใหญ่จะไม่โอ้อวด ถึงอาณาเขตที่กว้างใหญ่ แต่จะกล่าวถึงจ�ำนวนของเมืองที่ขึ้นอยู่กับตน  จอร์ช  คอนโดมินัส เรีย กระบบนี้ว ่ า  “emboxment” หรือ  “การเก็บ ไว้ ใ นกรอบ”  ด้วยหลักการดังกล่าว หมู่บ้านจึงถูกครอบครองภายในเมือง และเมืองเล็กถูก ครอบครองภายใต้อิทธิพลของเมืองที่เหนือกว่าขึ้นไป โดยอาจจะมีหลายระดับ ขั้นก็ได้  นักวิชาการบางท่านใช้ค� ำว่า มณฑล (mandala) หรือ รัฐแบ่งแยก (segmentary state) หรือกลุ่มรัฐ (galactic polity) (อันแตกต่างจากรัฐเดีย่ ว) เป็นค�ำเรียกระบบการเมืองนี้  แต่ “การเก็บไว้ในกรอบ” เป็นค�ำอธิบายให้เห็นถึง กลไกที่อยู่เบื้องหลังนั่นเอง ระบบดังกล่าวอาจมีวิวัฒนาการมาในกลุ่มเมืองตามที่ราบลุ่มหุบเขา ต่างๆ แต่ก็คงมีการรับเอาแบบอย่างบางประการจากระบบบรรณาการของจีน ซึ่งเมืองที่เขตชายทะเลได้รู้เห็นและเกี่ยวข้องด้วยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ จักรพรรดิจีนก�ำหนดให้ “รัฐเถื่อน” ส่งบรรณาการ โดยขอให้จักรพรรดิจีนยืนยัน การแต่งตั้งเจ้าองค์ใหม่ และยอมรับว่าวัฒนธรรมจีนเหนือกว่า  จักรพรรดิจีน ตอบแทนด้วยการส่งเครื่องสูงไปให้และรับที่จะปกป้องเมืองที่ส่งบรรณาการ  ใน ทางปฏิบัติจักรพรรดิจีนแทบจะไม่เคยส่งกองทัพเพื่อมาปราบเมืองบรรณาการที่ กระด้างกระเดื่อง หรือเพื่อปกป้องเมืองไหนเลย  แต่ “รัฐเถื่อน” โอนอ่อนตาม ความประสงค์ของจีน เนื่องจากได้ประโยชน์จากการค้าขายกับจีนซึ่งเป็นตลาด ใหญ่สุด   เมืองท่าบางแห่งในเอเชียอาคเนย์เลียนแบบจากจีน สร้างความสัมพันธ์  แบบบรรณาการกับเมืองใหญ่ที่ผงาดขึ้นมาเพื่อที่จะได้เข้าถึงตลาดที่ก�ำลังรุ่ง  ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

35


เรือง  เจ้าผู้ครองศูนย์กลางแห่งอ�ำนาจเหล่านี้จดบันทึกเมืองบรรณาการเอาไว้  ในศิลาจารึกหรือพงศาวดารเพื่อแสดงอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ เครือข่ายความสัมพันธ์ทางการทหารและการค้ามีความยืดหยุ่นและ ลื่นไหล  เมืองศูนย์กลางใหญ่ๆ รุ่งเรืองขึ้นมาแล้วก็ดับไป  ณ ที่ไกลปืนเที่ยง เมืองย่อยๆ ลงมาสร้างสายสัมพันธ์กับหลายเมืองใหญ่ขนานกันไปสองแห่งหรือ มากกว่านั้น  นอกจากนั้นแล้วระดับความส�ำคัญของสัมพันธภาพต่างๆ นี้ขึ้นๆ ลงๆ ลื่นไหลไปตามกาลเทศะ จาก พ.ศ. ๑๙๐๐ ต่อมากลุ่มเมือง ๔ แห่งที่ผงาดขึ้นมาในบริเวณ  รอบๆ ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา (ล้านนา ล้านช้าง เมืองเหนือ สยาม) เริ่มแข่งขัน  แย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกัน ก่อให้เกิดสงครามเป็นครั้งคราวเป็นเวลาหนึ่ง  ศตวรรษ  เจ้าเกณฑ์ทหารเป็นจ�ำนวนมากมาใช้ ท�ำให้ขนาดของกองทัพใหญ่  ขึ้น ชุมชนกลายเป็นสังคมทหาร และจริยธรรมแบบทหารเพิ่มความส�ำคัญ   กองทัพขนาดใหญ่รุกไล่ทำ� ลายเมือง และบังคับเคลื่อนย้ายผู้คน ท�ำลาย พืชผลที่ปลูกกันเอาไว้ และท�ำให้เกิดโรคระบาดแพร่กระจายไป  ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีเมืองไหนมีชัยอย่างชัดเจน  กองทัพอยุธยายึดเชียงใหม่ได้เมื่อกลางพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑ แต่ก็ไม่สามารถยึดไว้ได้ยาวนาน  เมืองใหญ่อาจท�ำลายซึ่งกัน และกั น  และกวาดต้ อ นเชลยไปเป็ น จ�ำ นวนมาก รวมทั้ ง ยึ ด เอาพระพุ ท ธรู ป และทรัพย์สินมีค่าไป  แต่ความห่างไกลกันท� ำให้ไม่อาจ “เก็บไว้ในกรอบ”  (emboxment) ได้อย่างถาวร  จากกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สงครามเหล่านี้ เริ่มเบาบางลง

เมืองชายฝั่งทะเลเป็นใหญ่ “ความมั่งคั่ง” ที่สั่งสมมาจากการค้ามีผลต่อเนื่องถึง “ภูมิรัฐศาสตร์”  ที่ลุ่มลึกและยาวนาน  การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับการต่อเรือมีประสิทธิ ภาพสูงขึ้น  จากพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อยุธยารุกคืบเข้าครอบครองบริเวณด้าม ขวานทอง และไปทางเหนือด้านแผ่นดินใหญ่ด้วย  ทั้งนี้ เพื่อควบคุมสินค้าป่า และสินค้าแปลกๆ ที่จีนต้องการ เช่น ไม้หอม งาช้าง นอแรด ขนนกสีสดใส อยุธยาเสนอสนองบรรณาการให้จักรพรรดิจีนเป็นอย่างดี จึงเป็นเมืองคู่ค้าที่จีน พอใจ  ครั้นถึงช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อยุธยาเข้าครอบครองเส้นทางการ 36 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ค้าที่ข้ามด้ามขวานแหลมทอง เท่ากับสร้างเส้นทางการค้าใหม่ที่โยงดินแดนด้าน ตะวันออกกับตะวันตกของด้ามขวาน ส่งผลให้สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิม ที่มีโจรสลัดชุกชุมในบริเวณช่องแคบมะละกาได้ อยุธยาจึงร�่ำรวยขึ้น เพราะเป็น ศูนย์กลางการค้า (entrepot) ที่เชื่อมหลายแหล่งตลาดเข้าด้วยกัน ทั้งจีนด้าน ทิศตะวันออก อินเดียและอาหรับด้านทิศตะวันตก และหมู่เกาะมลายูไปทาง ด้านทิศใต้  ชาวโปรตุเกสซึ่งเดินทางเข้ามาเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ กล่าว ขานถึงอยุธยาว่าเป็น ๑ ใน ๓ เมืองมหาอ� ำนาจของเอเชีย คู่เคียงกับจีนและ วิชัยนคร (Vijayanagar) ที่อินเดีย  อยุธยาแผ่ขยายอ�ำนาจไปยัง “หัวเมืองเหนือ” ได้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะ  รบชนะหรือเข้าครอบครองเป็นหลัก  แต่เป็นการควบรวมอย่างแยบยลผ่าน  กลไกทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย  อยุธยานั้นมั่งคั่งและเป็นศูนย์กลางการค้า จึงสามารถซื้อปืนจากโปรตุเกสและว่าจ้างทหารโปรตุเกสได้  แต่เมืองทางเหนือ มีประชากรมากจึงเกณฑ์ทหารได้มากกว่าเมื่อจ�ำเป็น แถมยังเชี่ยวชาญในการรบ พุ่งจึงมักจะป้องกันตนเองได้   ในภาวะสงคราม ผู้คนจากหัวเมืองเหนือถูกกวาดลงไปที่อยุธยา แต่ บ้างคงเข้ามาเองเพราะเห็นโอกาสในเมืองที่รุ่งเรืองขึ้น  ตระกูลชั้นน�ำของหัวเมือง เหนือก็ยังได้สร้างสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชั้นปกครองที่อยุธยาผ่านการแต่งงาน กัน นักรบฝ่ายเหนือเข้ามาเป็นแม่ทัพให้อยุธยา ขุนนางฝ่ายเหนือเข้าตั้งรกรากที่ อยุธยา และสอดประสานเข้ากันได้กับตระกูลขุนนางชั้นน�ำของอยุธยา  เมื่อเวลา ผ่านไปอยุธยาเองก็ค่อยๆ รับเอาระบบการบริหาร สถาปัตยกรรม วิถีปฏิบัติทาง ศาสนา และแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ประจ�ำวันของเพื่อนบ้านที่เมืองเหนือมาเป็นของ ตนเอง   อยุธยาได้เปรียบในด้านท�ำเลการค้า จึงเป็นเมืองหลวงของเครือข่ายรัฐ ที่ขยายใหญ่ขึ้นนี้ได้   แต่พิษณุโลก ท�ำหน้าที่เสมือนเมืองหลวงแห่งที่ ๒ (จนบางทีชาวโปรตุ เกสเรียกว่าเป็นรัฐแฝดหรือเมืองแฝด) เพราะว่าพิษณุโลกตั้งอยู่ ณ จุดยุทธ ศาสตร์ในการรบกับล้านนา  ท้ายที่สุดแล้วขุนนางฝ่ายเหนือกลับกลายเป็นผู้ สถาปนากษัตริย์ที่อยุธยา  โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ พระมหาธรรมราชา เจ้าเมือง พิษณุโลก ขึ้นเสวยราชย์แทนราชวงศ์อยุธยาเดิมได้ ช่วงระยะเดียวกันนี้ การค้าได้จุดประกายให้อยุธยาแข่งขันกับเมืองท่า ทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก ที่ราบลุ่มอิรวดีและเขตสามเหลี่ยมปากน�้ำ โขง มีเมืองซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากการค้าทางทะเลและได้ประโยชน์จากการอพยพ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

37


ของผู้คนลงมาทางใต้เสมือนเช่นที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยา  ไปทาง ทิศตะวันตก หงสาวดีเติบใหญ่ขึ้นและมีอ�ำนาจเหนือเมืองหลวงพม่าที่อังวะ  ไป ทางทิศตะวันออก นครวัดถูกทิ้งร้างเมื่อเมืองหลวงของเขมรย้ายไปตั้งที่ละแวก ณ ที่ราบลุ่มปากแม่น�้ำโขง  ดังนั้น เมืองหลวง-เมืองท่า หงสาวดี อยุธยา และ ละแวก จึงแก่งแย่งกันเพื่อเข้าควบคุมแหล่งของสินค้าป่าที่มีค่าและเป็นที่ต้อง การของตลาดที่เมืองจีน กษัตริย์ของ ๓ อาณาจักรนี้แก่งแย่งกันเป็นใหญ่  ยิ่งเมื่อท้องพระ  คลังเต็มไปด้วยก�ำไรจากการค้า และยังสามารถเกณฑ์ทหารได้จากบ้านป่าใน  เขตแผ่นดินใหญ่เป็นจ�ำนวนมาก พร้อมทั้งจ้างทหารรับจ้างชาวต่างประเทศได้  วัดวาอารามก็เต็มไปด้วยพระพุทธรูปและทองที่ได้มาจากการรุกรานเพื่อนบ้าน  ได้ส�ำเร็จ   กษัตริย์ทั้งสามองค์นี้จึงมีจินตภาพว่าตัวเองเป็นจักรวาทิน หรือผู้พิชิต  โลก ดังที่ได้มีการบรรยายไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง  ส�ำหรับการแข่งขันกัน เป็นใหญ่นี้ ด้านทิศตะวันตกได้เปรียบกว่า อาจเป็นเพราะว่าทิศนั้นคือแหล่งที่มา ของปืนใหญ่และทหารรับจ้างจากโปรตุเกส  สยามยาตราทัพไปโจมตีเมืองหลวง เขมรเสียราบคาบและแต่งตั้งกษัตริย์เขมรซึ่งยอมสยบกับอยุธยา  หงสาวดีเรียก ร้องให้สยามยอมรับสภาพเป็นเมืองขึ้น และร่วมมือกับขุนนางฝ่ายเหนือเข้าโจมตี และยึดอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒  หงสาวดีกวาดผู้คนไปเป็นจ�ำนวนมาก รวม ทั้งช่างฝีมือ พระพุทธรูป และทรัพย์สินมากมาย ยึดเอาช้างและเครื่องบรรณา การมีค่า ทั้งยังจับสมาชิกของพระราชวงศ์ไปเป็นบาทบริจาริกาและเป็นตัวประกัน อย่างไรก็ตาม การที่จะพยายามยึดโยงเมืองใดเมืองหนึ่ง “เก็บไว้ใน กรอบ” (emboxment) ดูจะยิ่งยากมากทีเดียว  ทั้งนี้เพราะว่าเมืองเหล่านี้ต่าง อยู่ห่างไกลกันและมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  อิทธิพลของสยามเหนือเขมร เสือ่ มถอยลงเมือ่  “ญวน” ผงาดขึน้ มาเป็นคู่แข่งท้าทายสยามได้  ท�ำนองเดียวกัน พระนเรศวร เจ้าชายสยามที่หงสาวดีจับเป็นตัวประกันไปเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ หนี การควบคุม ประกาศจะไม่ขึ้นกับหงสาวดี  หลังจากนั้นใช้เวลา ๑๕ ปี ตลอด ช่วงที่ครองราชย์ (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) ท�ำสงครามเพื่อที่จะต้านทานการรุกราน จากพม่า และเพื่อสถาปนาอยุธยาให้เป็นใหญ่ในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาตอนล่าง อีกครั้ง หลังรัชสมัยพระนเรศวร ยุคสงครามเริ่มถึงทางตัน เมืองหลักบนผืน แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมากถูกรุกรานปล้นสะดมอย่าง 38 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ราบคาบอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา  ผู้คนเริ่มกระด้างกระเดื่อง ไม่ยอมร่วมมือกับกษัตริย์ในการรบพุ่งเพียงเพื่อสนองตัณหาอ� ำนาจของเจ้า ราวๆ พ.ศ. ๒๑๐๗ นั้นเชลยที่ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีก่อกบฏครั้งใหญ่  ที่ อื่นๆ ผู้คนก็ต่อต้านหรือหลีกเลี่ยงสงครามโดยใช้วิธีต่างกันไป เช่น ติดสินบน นายที่เกณฑ์ทหาร บ้างหนีไปบวชพระ หรือหนีไปอยู่ในป่าห่างไกลเสีย  ดังนั้น เจ้าจึงเผชิญอุปสรรคนานัปการในการเตรียมทัพให้ยิ่งใหญ่เท่ากับที่เคยท�ำได้ใน อดีต  หลายเมืองลงทุนก่อสร้างก�ำแพงเมืองด้วยอิฐ ขยายคูรอบเมืองให้กว้าง ขึ้น และติดตั้งปืนใหญ่เพื่อต้านทานศัตรูให้ได้ผลมากขึ้น  ช่วงปี พ.ศ. ๒๑๓๐๒๑๔๕ ความพยายามตีเมืองต่างๆ ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า กองทัพจึงสลายตัว

สมัยของการพาณิชย์ เมื่ อ สงครามสงบสั ง คมก็ รุ ่ ง เรื อ ง หลั ง จากที่ พ ระนเรศวรเถลิ ง ราชย์ “อยุธยา” คือราชธานี เป็นศูนย์อ�ำนาจของที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ล้อมรอบด้วย เมืองใหญ่ๆ หรือมหานคร  แต่ละแห่งมีตระกูลเจ้าภายใต้อิทธิพลของอยุธยา ครอบครองอยู่ รวมทั้งเมืองเก่าที่ภาคเหนือ เมืองท่าต่างๆ รอบอ่าวไทย เมือง ตามเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามไปยังฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกที่บริเวณด้ามขวาน ทองและหัวเมืองที่ควบคุมเส้นทางไปโคราชทางทิศตะวันออก และกาญจนบุรี ทางทิศตะวันตก  ไกลออกไปจากเมืองเหล่านี้ก็คือเมืองบรรณาการที่รายรอบ อยู่  ความสวามิภักดิ์ของหัวเมืองรอบนอกเหล่านี้ขึ้นๆ ลงๆ เพราะว่ามีเมือง ใหญ่กว่าอื่นๆ ที่ส่งอิทธิพลเหนือเมืองเหล่านี้ด้วย  บางครั้งหัวเมืองบางแห่งก็ กระด้างกระเดื่องกับอยุธยาเพราะไปขึ้นกับเมืองใหญ่อื่นๆ หรือบางแห่งก็สวามิ ภักดิ์กับเจ้ามากกว่าหนึ่งแห่ง  หัวเมืองบริเวณรอบนอกที่ว่านี้ รวมทั้งเมืองท่า  ต่างๆ ตามบริเวณด้ามขวานทองลงไปทางใต้ซึ่งขึ้นอยู่กับเจ้าทางมลายูด้วย  และ ยังมีเมืองที่เขมร ลาว ล้านนา ไทยใหญ่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ถ่วงดุลอ�ำนาจระหว่าง อยุธยากับเวียดนาม จีน หรือพม่า คือมีความสัมพันธ์กับทุกๆ ศูนย์อ�ำนาจเหล่า นี้เพื่อถ่วงดุลกัน อยุธยารุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งในฐานะเป็นเมืองท่าเปิดเชื่อมเส้นทางการค้า  ระหว่างด้านตะวันออกและตะวันตก  ไปทางตะวันออกนั้น โตกุกาวาที่ญี่ปุ่น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

39


ม.อิรวดี

มอญ ง

พิษณุโลก

มะริด

เพชรบุรี

า น

ม.น

อาวไทย

อยุธยา

สยาม

ลพบุรี

เสนทางขนสงสินคา

สุพรรณบุรี กาญจนบุรี

ม.ป

เมืองเหนือ

สุโขทัย

ลำพูน

โคราช

เวียงจันทน

ละแวก อุดง

นครวัด

ม.มูล

เขมร

ม.ชี

ลานชาง

หลวงพระบาง

แผนที่ ๒ เมืองและอาณาจักรโบราณ

หงสาวดี

เชียงใหม

ลานนา ม.ยม

พมา ม.โข

ญวน เว


เปิดท�ำการค้าด้วยแบบมีเงื่อนไข  ไปทางตะวันตก จักรวรรดิซาฟาวิด (Safavid) และโมกุล (Mughal) เป็นตลาดใหญ่ และเป็นแหล่งผลิตสินค้ามีค่าหลายชนิด เส้นทางขนส่งสินค้าข้ามด้ามขวานทองที่อยุธยาควบคุมอยู่ เป็นที่นิยมของพ่อค้า แถบเอเชียมากขึ้น หลังจากที่พวกโปรตุเกสและดัตช์ (Dutch) เข้ามาครอบง�ำ เส้นทางสายใต้ที่ช่องแคบมะละกา  ดังนั้น อยุธยาจึงเจริญเติบโตจนอาจเป็น เมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเมืองที่มีความเป็นสากลมาก แห่งหนึ่งในภูมิภาค มีชุมชนจีน ญวน จาม มอญ โปรตุเกส อาหรับ อินเดีย เปอร์เซีย ญี่ปุ่น และชุมชนมาเลย์ต่างๆ จากหมู่เกาะ ตั้งถิ่นฐานอยู่รายรอบ พวกดัตช์เข้ามาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๗ เพื่อแย่งส่วนแบ่งการค้ากับญี่ปุ่นและตั้งชุมชน เพิ่มขึ้นมา  ฝรั่งเศสและอังกฤษก็ตามเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ราชส� ำ นั ก อยุ ธ ยาใช้ ป ระโยชน์ จ ากผู ้ ค นเหล่ า นี้  โดยเลื อ กรั บ เอาชาว มาเลย์ อินเดีย ญี่ปุ่น และโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารรักษาวัง จ้างจีนและเปอร์ เซียเป็นข้าราชการมีต�ำแหน่งดูแลการค้า จ้างช่างชาวดัตช์ให้ต่อเรือ จ้างวิศวกร ฝรั่งเศสและอิตาเลียนให้ออกแบบป้อมปราการและการชลประทาน จ้างอังกฤษ และอินเดียเป็นผู้ว่าราชการหัวเมือง และจ้างชาวจีน ชาวเปอร์เซียเป็นแพทย์ นอกจากนี้ยังมีชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง (ยามาดะ นางามาสะ) ชาวเปอร์เซียคนหนึ่ง (เฉกอะหมัด) และต่อมากรีกคนหนึ่ง (คอนสแตนติน ฟอลคอน) รับราชการ มีต�ำแหน่งและอ�ำนาจสูงในราชส�ำนัก   “พระมหากษัตริย์” โดยเฉพาะ พระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) เปิดรับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการส่งราชทูตไปแลกเปลี่ยนกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเปอร์เซีย พร้อมทั้งรับเอาแบบของเสื้อผ้าอาภรณ์และสถาปัตย กรรมจากเปอร์เซีย ยุโรป และจีน มาปรับใช้  ในการบริหารจัดการกับความเป็น “เมืองสากล” ของอยุธยานั้น  พระมหากษัตริย์ยอมให้มีเสรีภาพทางศาสนา รวม ทั้งการแผ่ขยายศาสนาคริสต์จนเป็นที่ประทับใจของชาวยุโรป (ซึ่งในเวลาเดียว กันนั้นเองก็สู้รบฆ่าฟันกันด้วยเรื่องศาสนาที่ยุโรป)  แต่การเปิดกว้างดังกล่าว ท�ำให้พวกฝรั่งเศสและเปอร์เซียหลงเชื่อไปว่าอาจจะชักชวนให้กษัตริย์และชาว สยามเปลี่ยนศาสนาได้  ความหลงผิดนี้ท�ำให้เกิดเหตุวิกฤตเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ จนฟอลคอนถูกประหารชีวิต ฝรั่งเศสถูกไล่ออกไป และอังกฤษต้องหลีกหนี ออกจากสยาม ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

41


ภาพที่ ๑ พระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง

สังคมอยุธยาตอนปลาย ในสมัยของการพาณิชย์นี้กษัตริย์อยุธยามีอ�ำนาจเป็นที่สุด เนื่องจาก ร�่ำรวยด้วยก�ำไรจากการค้า มีทหารรับจ้างช่วยรักษาความปลอดภัย และมีผู้ เชี่ยวชาญจากหลายประเทศช่วยการงานต่างๆ  กษัตริย์ได้รับก�ำไรสูงสุดจากการ ผูกขาดการค้าระหว่างประเทศ  นอกจากนั้นยังมีรายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้นเพราะ ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศขยายตัว ค่าใช้จ่ายด้านการสงครามก็ลดลง  ทรง ใช้ทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นลงทุนสร้างพระราชวังใหม่ๆ ที่อลังการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งพระอารามหลวงแห่งใหม่และที่ปฏิสังขรณ์ใหม่ จัดให้มีเทศกาลต่างๆ ที่ เลื่องลือ  และเมื่อกีย์ ตาชาร์ด บาทหลวงนิกายเจซูอิตจากฝรั่งเศส เดินทาง มาอยุธยาและได้ไปเยี่ยม วัดพระศรีสรรเพชญ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ เขาอุทานว่า “ไม่เห็นอะไรอย่างอื่นเลย นอกจากทอง...ตื่นตาตื่นใจอย่างเหลือแสนเมื่อเห็นรูป เคารพเพียงชิ้นเดียวที่ลำ�้ ค่ายิ่งกว่าสินทรัพย์ในโบสถ์ทั้งหมดของยุโรป” ๒  บรรดา ขุนนางใหญ่เมื่อไม่ต้องท�ำสงคราม ก็เอาเวลาและพละก�ำลังไปคล้องช้าง ล่าเสือ แข่งเรือ และประลองฝีมือสัประยุทธ์ต่างๆ  ราชส�ำนักฟื้นฟูและส่งเสริมการแต่ง กาพย์ โคลง กลอน และศิลปะการแสดง ที่ยกย่องเชิดชูชัยชนะและกามกรีฑา ของพระมหากษัตริย์และเทวา  42 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อ�ำนาจของกษัตริย์ถูกท�ำให้ดูยิ่งใหญ่มากขึ้นไปอีก แฝงด้วยความลี้ลับ และพิธีกรรมมากมาย  พระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙) ฟื้นฟูอารย ธรรมเขมรเป็นส่วนหนึ่งของไทย  ราชวงศ์อ้างว่า “สืบสายสัมพันธ์” โยงไปได้ถึง กษัตริย์สมัยนครวัด น�ำพราหมณ์จากอินเดียเข้ามาประกอบพิธีกรรมที่พิสดาร ในพระราชส�ำนัก สร้างวัดโดยอิงแบบแปลนของนครวัด มีนัยว่าเป็นที่สถิตของ ทั้งเทวะและกษัตริย์ในเวลาเดียวกัน  ทรงขยายพื้นที่ของพระราชวังหลวง ล้อม รอบด้วยก�ำแพงสูงหลายชั้นโดยมีทางเข้าแคบๆ เท่านั้น (ดูภาพที่ ๑)  องค์พระ มหากษัตริย์เป็นที่ต้องห้าม ทรงปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะเพียงปีละไม่กี่ครั้ง ในวโรกาสพิเศษเท่านั้น และมีข้อห้ามไม่ให้มอง  ชาวดัตช์ที่มาจากประเทศ สาธารณรัฐ เมื่อได้เห็นพระราชส�ำนักและพิธีกรรมต่างๆ ถึงกับกล่าวว่า “การ คารวะแบบนี้น่าจะใช้ส�ำหรับเทวะผู้ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าจะใช้ส�ำหรับองค์พระมหา กษัตริย์ซึ่งเป็นมนุษย์”  แต่ส�ำหรับชาวฝรั่งเศสผู้นิยมเจ้าแล้วเป็นสิ่งตื่นตาตื่นใจ จนกล่าวว่า “แถบถิ่นตะวันออกนี้ ไม่มีรัฐไหนอีกแล้วที่องค์กษัตริย์จะยิ่งใหญ่  มากไปกว่าสยาม” ๓ สังคมอยุธยาตอนปลายนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ชนชั้นคือ กลุ่มขุนนางที่ รับใช้กษัตริย์สักประมาณสองพันคนและครอบครัวของเขา และผู้ที่ถูกเกณฑ์  ให้เสียสละแรงงานบางส่วนเพื่อรับใช้ครอบครัวชนชั้นน�ำทั้งหลาย ขุนนางสมัยอยุธยาตอนปลายมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน มีต�ำแหน่ง หน้าที่เป็นทางการก�ำหนดไว้อย่างชัดเจนในท�ำเนียบ  แต่ละต�ำแหน่งมีราชทิน นามและยศก�ำกับ  ฐานะต�่ำสูงวัดได้ด้วยหน่วยที่เรียกว่า “ศักดินา” ๔ ระบบการ บริหารราชการแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนแรกดูแลพระราชวังและเมืองหลวง รวมทั้งการจัดเก็บข้าวจากนาหลวง ดูแลแรงงานของหลวง รักษาความสงบเรียบ ร้อย บริหารจัดการพระราชส�ำนัก และตัดสินคดีความในเมืองหลวงและราชธานี ส่วนที่ ๒ ดูแลกิจการทหาร ความสัมพันธ์กับเมืองใหญ่ และประเทศราช (เมือง บรรณาการ)  ส่วนที่ ๓ ดูแลการค้าระหว่างประเทศ ชุมชนชาวต่างชาติ และ ดูแลพระคลัง  ส่วนที่ ๔ คือพราหมณ์ ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องพิธีกรรม โหร และ การบันทึกจดหมายเหตุ การรับราชการ เป็นอภิสิทธิ์เฉพาะของตระกูลขุนนาง โดยจะถวายตัว บุตรชายให้เริ่มงานเป็นมหาดเล็กในราชส�ำนัก  การเลื่อนขั้นหลังจากนั้นขึ้นอยู่ กับความสามารถเฉพาะตัว เส้นสายของครอบครัวและพระราชอัธยาศัย  ตระ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

43


กูลขุนนางอาจจะเขยิบฐานะของตนโดยถวายบุตรสาวให้เป็นบาทบริจาริกา ด้วย ความหวังว่าบุตรสาวจะได้เป็นสนมคนโปรดของกษัตริย์และมีบทบาทส�ำคัญใน การเมืองราชส�ำนักอันซับซ้อน  สถานะของขุนนางระดับต่างๆ ดูได้จากเครื่อง ประกอบยศ มักเป็นหีบหมากและของมีค่าแบ่งเป็นหลายระดับ  บางครั้งขุนนาง ชั้นสูงจะได้รับข้าทาส ที่ดิน และผลผลิตบนที่ดินนั้นๆ ด้วย  ขุนนางอวดโอ่ แสดงสถานะของตนในที่สาธารณะพร้อมกับแสดงหีบหมากประจ� ำต�ำแหน่ง และขบวนของข้าทาสบริวารไปตามถนน  ขุนนางมีรายได้จากสิ่งของพระราช ทานเหล่านี้ รวมทั้งแสวงหารายได้ที่มาจากต�ำแหน่งทางการของตน โดยชัก เปอร์เซ็นต์จากภาษีที่เก็บให้หลวงหรือจากค่าปรับ หรือจากรับสินบน สมัยสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคน (รวมทั้งผู้หญิงบางคน) ที่ไม่ใช่ขุนนาง ถูกเกณฑ์แรงงานหรือถูกน�ำมาเป็นคนรับใช้ภายใต้ระบบที่รับมาจากกลุ่มชนชาว ไทที่เคยตั้งถิ่นฐานบนภูเขา  ไพร่ส่วนใหญ่ต้องลงชื่อในบัญชี อยู่ภายใต้การดูแล ของนายหรือมูลนาย  หากผู้ใดหลีกเลี่ยงก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองของนาย และ สูญเสียสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการเข้าถึงศาลเมื่อเกิดคดีความ  ไพร่ถูกเกณฑ์ มาท�ำงานเป็นระยะๆ เช่น เดือนเว้นเดือน หรือครั้งละครึ่งปี  เมื่อการสงครามเบาบางลง แรงงานเกณฑ์จะถูกใช้ท�ำงานอย่างอื่น  เช่น สร้างวัดและวัง หามเสลี่ยง พายเรือ หรือแบกหามของขึ้นลงเรือส�ำเภา  กษัตริย์และขุนนางผู้ใหญ่ควบคุม และบางทีก็แก่งแย่งแรงงานเกณฑ์เหล่านี้  ระหว่างกันเอง  วิถีปฏิบัติของอยุธยาเป็นแบบอย่างให้เมืองอื่นๆ ลอกเลียน เชลยสงครามไม่ต้องเข้าเกณฑ์ และมีสถานะเช่น ทาส  ไพร่อาจขาย ตัวเองเป็นทาส หรือถูกบังคับให้เป็นทาสเพราะเป็นหนี้หรือถูกท�ำโทษ  หัวหน้า ครอบครัวอาจขายเมียหรือลูกให้เป็นทาส ฐานะเป็นทาสเป็นระบบสืบทอด ลูก ทาสก็เป็นทาส ทาสมีราคาซื้อขายหรือไถ่ตัวได้  ระบบควบคุมแรงงานนี้ครอบ คลุมมาก จนพ่อค้ายุโรปไม่อาจหาลูกจ้างได้นอกเสียจากว่าจะขอความร่วมมือ จากขุนนางให้ช่วย และไม่อาจหาคนงานรับจ้างได้เลย หากทางการก�ำลังเกณฑ์ คนเป็นทหารเพื่อการสงคราม หรือเพื่องานโยธาขนาดใหญ่ บทบาทของผู้หญิง-ผู้ชาย แตกต่างกันไปตามสถานะทางสังคม  ใน บรรดาสามัญชน ผู้หญิงจะท�ำงานเต็มก�ำลัง  ชาวต่างชาติที่เข้ามาเยือนสยามทั้ง จีนเมื่อสมัยอยุธยาตอนต้น ไปจนถึงฝรั่งเศสและเปอร์เซียเมื่อแผ่นดินพระ นารายณ์ และชาวอังกฤษเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ล้วนตั้งข้อสังเกตว่า “การงานส่วนใหญ่นั้นผู้หญิงเป็นคนท� ำเสียทั้งสิ้น”  บางคนอธิบายว่า นี่เป็น 44 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เพราะระบบแรงงานเกณฑ์ ท�ำให้ผู้ชายต้องจากครอบครัวไปเป็นเวลาประมาณ ครึ่งปี  ในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยานั้น ครัวเรือนชนบทมักจะให้ความส�ำคัญ กับสายเลือดข้างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงพอๆ กัน และแบ่งมรดกให้เท่าๆ กัน การนับถือผีซึ่งอยู่ควบคู่กับศาสนาพุทธนั้นผู้ท�ำพิธีกรรมพิเศษจ�ำนวนมากเป็น ผู้หญิง  ในเรื่องขุนช้างขุนแผน อันเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน ตัวละครฝ่ายหญิงมี บทบาทเด่น บทบาทด้านเศรษฐกิจชัดเจนและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง หากแต่ในบรรดาตระกูลขุนนางและราชวงศ์นั้น ผู้หญิงเปรียบเสมือน  สินทรัพย์อย่างหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวมีเมียหลายคน เพื่อแสดงความเป็นใหญ่  และเพื่อเพิ่มจ�ำนวนทายาทสืบตระกูล  ครอบครัวใช้ลูกสาวเพื่อสร้างสายสัม พันธ์กับตระกูลหรือราชวงศ์อื่นๆ  ตามกฎหมายนั้น ผู้หญิงเป็นสมบัติของชาย เริ่มจากพ่อต่อมาก็ผัว (การแต่งงานนั้นประหนึ่งคือการขายลูกสาวจากพ่อสู่บุตร เขยหรือสามี)  และหากถูกขายมาก็เป็นสมบัติของเจ้าของที่ซื้อตัวมาเป็นทาส โคลงกลอนของราชส�ำนักบอกให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นสิ่งของสวยงามและเป็นส่วน ประกอบของเนื้อเรื่องเท่านั้น ไม่ใช่ตัวละครที่มีบทบาทและสาระอะไร  พงศาว ดารอยุธยาทั้งหมดนั้นกล่าวถึงผู้หญิงระดับน�ำแค่สองคน คนหนึ่งมีภาพเสมอ เหมือนผู้ชาย แปลงตัวเป็นนักรบชายชาติทหาร (พระศรีสุริโยทัย)  และอีกคน หนึ่งมีเพศวิถีที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของราชวงศ์ (ท้าวศรีสุดาจันทร์) ในสมัยของการพาณิชย์ สังคมอยุธยาเริ่มปรับเปลี่ยน ความเปลี่ยน  แปลงทวีขึ้นหลังแผ่นดินพระนารายณ์  ที่ส�ำคัญคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจ การค้ากอปรกับที่สงครามเบาบางลง ท�ำให้ระบบเกณฑ์แรงงานคลอนแคลนลง ไป  ผู้คนจ�ำนวนมากใช้เงินติดสินบนนายให้ลบชื่อพวกเขาออกจากบัญชีแรงงาน เกณฑ์  บางคนก็ไปขึ้นอยู่กับนายที่ไม่เคร่งครัดมาก บางคนยอมขายตัวเป็นทาส เพื่อหาเงินมาท�ำธุรกิจ  และเพื่อถูกละเว้นไม่ต้องเข้าเกณฑ์ บางคนหนีไปบวช พระ หลายๆ คนไปอยู่ป่าลึกเพื่อให้นายตามไม่พบ  ในสมัยราชวงศ์บ้านพลู หลวง (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐) ราชส�ำนักเกณฑ์แรงงานมาเป็นทหารได้ไม่กี่พันคน กษัตริย์ออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงการลงบัญชี ลงโทษนายที่รับสินบน ห้ามไพร่ ขายตัวลงเป็นทาส แฉโพยพระปลอมและสืบหาผู้ที่แอบไปอยู่ภายใต้การปกป้อง ของขุนนาง  การออกกฎหมายดังกล่าวครั้งแล้วครั้งเล่า บ่งชี้ถึงว่าระบบเกณฑ์ แรงงานเริ่มใช้ไม่ได้ผลมากขึ้นทุกที “ขุนนาง” ก็มีการเปลี่ยนแปลงในสมัยนี้  เมื่อครั้งที่สงครามชุกชุมนั้น บางคนที่มีฝีมือเป็นนักรบอาจจะไต่บันไดสังคมเขยิบฐานะของตนเองได้หากรบ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

45


ภาพที่ ๒ ริมฝั่งแม่น�้ำ กรุงศรีอยุธยาสมัยพระเพทราชา  (สมุดรายวันของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ Engelbert Kaempfer)

ชนะ เมื่อลู่ทางดังกล่าวลดความส�ำคัญลง ยังมีอีกสองช่องทาง  ทางหนึ่งคือได้ ท�ำงานกับ “พระคลัง” ซึ่งดูแลการค้าต่างแดน  หลายต�ำแหน่งนั้นกษัตริย์จ้าง คนต่างชาติ เพราะพวกเขามีความช�ำนาญเฉพาะ และเพราะว่าควบคุมได้ง่ายกว่า ดังนั้น ขุนนางไทยที่รับราชการในพระคลังจึงมีจ�ำนวนน้อยแต่เด่นมาก พวกเขา ร�่ำรวยได้เร็ว มีโอกาสค้าขายกับต่างเมือง และอยู่ในฐานะที่จะเรียกร้อง “ของ ก�ำนัล” จากพ่อค้าต่างแดนที่มาอยุธยา อีกลู่ทางหนึ่งคือผ่านการเมืองของราชส�ำนัก ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ จะคึกคักสุดขีดในช่วงของการสืบราชสมบัติ  ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์ต้องเป็นเชื้อ สายของพระราชวงศ์ และน่าจะเป็นเชื้อสายใกล้ชิดของกษัตริย์องค์ก่อน แต่ก็ ไม่มีกฎหมายสืบราชสมบัติที่ชัดเจนแน่นอน  ในทางปฏิบัตินั้น การสืบราชสมบัติ ส่วนมากเป็นผลของการประลองพละก�ำลังกันระหว่างน้องชาย พี่ชาย และบุตร ชายของกษัตริย์องค์ก่อน  ในสมัยสงคราม การประลองพละก�ำลังดังกล่าวเป็น เรื่องเข้าใจได้ และก็ดูมีเหตุผลเพราะว่าเป็นวิธีคัดเลือกกษัตริย์นักรบ  แต่มาถึง สมัยปลอดสงครามหลังแผ่นดินพระนเรศวร การสืบราชสมบัติกลายเป็นการ แก่งแย่งกัน  มิใช่เพียงในบรรดาสมาชิกของพระราชวงศ์ แต่ยังรวมทั้งกลุ่ม ขุนนางและทหารรักษาพระองค์ผู้ซึ่งสนับสนุนตัวเก็งที่แข่งขันกันขึ้นครองราชย์ ด้วยความหวังให้ตัวเองได้ขยับฐานะ  46 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การแก่งแย่งกันนี้เริ่มด้วยรบพุ่งกันที่ใจกลางเมืองหลวง และจบลงที่  การก�ำจัดขุนนางและสมาชิกของพระราชวงศ์ที่เป็นชายของฝ่ายพ่ายแพ้ ผู้ซึ่ง  อาจจะพยายามแย่งชิงราชบัลลังก์อีกในกาลต่อมา  ขุนนางซึ่งช่วยให้กษัตริย ์ ครองราชย์ได้ส�ำเร็จจะได้รางวัลเป็นต�ำแหน่ง ศฤงคาร ทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง  และเกียรติยศ ตระกูลขุนนางใหญ่พยายามที่จะสะสมทรัพย์และชื่อเสียงตลอดหลาย ชั่วอายุคน  ในบริเวณรอบนอกเมืองหลวงนั้น ขุนนางมักจะสืบทอดต�ำแหน่ง ภายในตระกูลเดียวกัน  ที่เมืองหลวง ขุนนางใหญ่ถวายลูกชายให้เป็นมหาดเล็ก เสนอตัวลูกสาวเป็นบาทบริจาริกา และพยายามเลือกอยู่ฝ่ายของราชส�ำนักข้างที่ จะได้ขึ้นครองราชย์  แต่กษัตริย์จ�ำกัดการก่อตัวของตระกูลขุนนางที่มีอ�ำนาจสูง  โดยเวียนต�ำแหน่งไปตามตระกูลต่างๆ ไม่ยอมให้ตระกูลใดตระกูลหนึ่งสืบทอด  ต�ำแหน่งส�ำคัญได้นาน  อีกทั้งเก็บภาษีเมื่อขุนนางตาย และควบคุมขุนนาง  เคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้สะสมทรัพย์  กษัตริย์มักจะหาเหตุลงโทษเรื่องการ รับสินบน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา  ผู้ตกเป็นจ�ำเลยจะถูกประหารชีวิตในที่ สาธารณะเพื่อประจานให้ตระกูลเสียหาย  หลังจากนั้นจัดสรรเมียและทาสให้ กับขุนนางอื่นๆ และจะเปิดเรือนให้ผู้คนเข้าไปฉกชิงสิ่งของได้  ชาวต่างชาติที่ ไปเยือนอยุธยาตั้งข้อสังเกตว่า ขุนนางผู้ใหญ่อยู่เรือนโอ่อ่าและล้อมรอบไปด้วย ข้าทาสบริวารจ�ำนวนมาก  แต่มักไม่สะสมสมบัติที่เปิดเผยยึดได้ง่าย  เพชรเป็น ที่นิยมมากเพราะว่าง่ายที่จะเก็บง�ำให้มิดชิด ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตระกูลขุนนางใหญ่เข้มแข็งขึ้น ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะว่าแบบแผนการค้าเปลี่ยนแปลงไป  หลังจากเหตุการณ์วิกฤต พ.ศ. ๒๒๓๑ พ่อค้าอังกฤษและฝรั่งเศสละทิ้งอยุธยา พ่อค้าชาวดัตช์ยังคงอยู่แต่ความ ใส่ใจอยู่ที่อื่น และท้ายที่สุดก็จากไปเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๘  อยุธยาหันไปค้ากับจีน และมลายูทางทิศใต้  จีนต้องการข้าวจากสยามเพื่อเลี้ยงผู้คน จึงให้มีการค้า แบบอิสระมากขึ้น  สยามเป็นแหล่งข้าวที่จีนพอใจ  ชาวจีนเดินทางอพยพมา  ตั้งถิ่นฐานที่สยาม จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ถึงประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน เมื่อ  พ.ศ. ๒๒๗๘  อย่างน้อยชาวจีน ๒ คนเขยิบฐานะเป็นถึงพระคลัง  คนแรกนั้น บาทหลวงฝรั่งเศสบันทึกว่า “ตั้งเพื่อนชาวจีนของตนให้ได้ต�ำแหน่งส�ำคัญมาก ที่สุด...ผลก็คือชาวจีนขณะนี้ท�ำการค้าขายทุกอย่างในราชอาณาจักร” ๕  จีนบาง คนแต่งงานกับผู้หญิงชั้นสูง บางคนค้าข้าว ผลิตก๋วยเตี๋ยว สุรา และเลี้ยงหมู เศรษฐกิจตลาดคึกคักขึ้นในบริเวณรอบๆ เมืองหลวง  ตลาดหลายแห่งที่อยุธยา ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

47


คลาคล�่ำไปด้วยเรือขนส่งผลผลิตจากลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ราชส�ำนักเพิ่มจ�ำนวน เหรียญตราที่ใช้กัน ออกกฎหมายก�ำกับสัญญาการค้า เชื้อเชิญเจ้าภาษีนายอากร ให้ประมูลเก็บภาษี  ที่ดินมีราคาซื้อขายกัน  สินค้าน�ำเข้า เช่น ผ้า เครื่องปั้น ดินเผา เครื่องแก้ว สินค้าเหล็ก มีคนต้องการมาก   การปล้นสะดมเพิ่มขึ้น จึงเกิด “ไพร่มั่งมี” คือไพร่ร�่ำรวยก่อตัวขึ้น ติดสินบนขุนนางเพื่อให้ได้ต�ำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์อยู่เนืองๆ  ที่เมือง หลวง การค้าท�ำให้ขุนนางร�่ำรวยและมีอ�ำนาจมากขึ้น จึงเริ่มสั่นคลอนระเบียบ สังคมที่กษัตริย์เคยควบคุมได้ การท�ำสงครามเพื่อสืบราชสมบัติเกิดขึ้นน้อยลง และมักจะจ�ำกัดอยู่ใน กลุ่มพระราชวงศ์  ดังนั้น ขุนนางจึงไม่เสียหายมาก ตระกูลใหญ่ไม่กี่ตระกูล มีโอกาสสะสมไพร่และทรัพย์สินหลายชั่วอายุคน บ้างก็เป็นครอบครัวท้องถิ่น บ้างก็มาจากตระกูลพราหมณ์ที่เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมในราชส�ำนัก บ้างเป็นตระ กูลนักรบเชื้อสายมอญซึ่งลี้ภัยมา  นอกจากนั้นยังมีตระกูลพ่อค้า ชาวเปอร์เซีย และจีน  ทีละน้อยๆ ตระกูลอภิสิทธิ์ชนเริ่มแสวงหามิเพียงแต่ความก้าวหน้าของ พวกเขา แต่ยังพยายามจ�ำกัดอ�ำนาจของกษัตริย์  เมื่อถึงเวลาที่จะแย่งชิงกันสืบ ราชสมบัติ ขุนนางที่ต่างจังหวัดบางคนเป็นขบถ แต่ไม่มีใครคุกคามเมืองหลวง ได้จริงๆ  กลุ่มชาวนาที่อยู่ไกลปืนเที่ยงและอ�ำนาจรัฐบางทีก็รวมตัวกัน แล้ว เคลื่อนขบวนเข้าโจมตีเมืองหลวงแต่ก็จะสู้ปืนใหญ่ไม่ได้  การต่อต้านอ� ำนาจ กษัตริย์ที่ไม่โจ่งแจ้งก็มี เห็นได้จากวิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา

พุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ พุทธศาสนาเถรวาทต่างจากพุทธศาสนานิกายอื่นๆ ตรงที่ให้ความส�ำคัญ กับพระสงฆ์และวัตรปฏิบัติ  หน้าที่ของพระสงฆ์นั้นเพื่อปกปักรักษาธรรมะ หรือค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยถือวินัยเคร่งครัด  พระสงฆ์บางรูปศึกษา พระคัมภีร์ รักษาไว้โดยลอกพระคัมภีร์ครั้งแล้วครั้งเล่า และสั่งสอนฆราวาส ตามพระคัมภีร์นั้น  พระบางรูปสอนโดยปฏิบัติเสมือนที่พระพุทธเจ้าด�ำเนินชีวิต เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับผู้อื่น พร้อมทั้งเข้าใจโลกอย่างลึกซึ้งด้วยการถือสันโดษ และท�ำสมาธิ  หน้าที่ของฆราวาสซึ่งรวมทั้งเจ้าผู้ปกครองนั้นคือ ค�้ำจุนพระสงฆ์ ด้วยการอุปถัมภ์และปกปักรักษาศาสนา  48 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ศาสนาพุทธแนวเถรวาทได้รับการยอมรับและแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาก็ด้วยเหตุผลเดียวกับที่อื่นๆ  กล่าวคือ หลักการ  เปิดกว้างและหลักการความเท่าเทียมกันของศาสนาพุทธนิกายนี้สอดคล้องกับ  รสนิยมของสังคมเมือง เช่น ชายทุกคนมีโอกาสที่จะบวชพระได้ ฆราวาสทุกคน มีโอกาสที่จะอุปถัมภ์ค�้ำจุนศาสนา และเข้าถึงการหลุดพ้นจากโลกียวัตถุในโลก ปัจจุบันได้ (นิพพาน) ในทางปฏิบัติ เถรวาทแท้ๆ นั้นปะปนอยู่กับวิถีปฏิบัติของศาสนาอื่นๆ  ซึ่งรวมทั้งการบวงสรวงเทวรูปฮินดู ความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ของผี โดยเฉพาะ  อ�ำนาจที่จะท�ำนายล่วงหน้าและส่งอิทธิพลสู่อนาคต เจ้าที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประทับใจกับเทพเจ้าฮินดู เพราะว่าเจ้าโยง อ�ำนาจของตัวเองกับอ�ำนาจของเทพเจ้าฮินดูได้ (พระนารายณ์ พระศิวะ) ตาม ตัวอย่างที่เห็นได้ที่นครวัด  ดังนั้น กษัตริย์อยุธยาจึงรับพราหมณ์เข้ามาช่วย วางแผนและประกอบพิธีกรรมในวัง  แต่ที่สยามลัทธิฮินดูก็ไม่ได้รับความนิยม จนมีคนนับถือกันอย่างกว้างขวาง  สิ่งที่เกิดขึ้นคือเทพเจ้าฮินดูกลายเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า และได้รับการยอมรับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมือนผีมีอิทธิฤทธิ์ของ ท้องถิ่น (เช่น นิยมให้สิงสถิตอยู่ในศาลพระภูมิ)  ดังนั้น พิธีกรรมที่พราหมณ์ ประกอบกิจในรั้วในวังจึงไม่ได้แผ่ขยายออกไปไกลเกินเขตรั้ววังมากนัก (ยกเว้น ในการตั้งศาลพระภูมิ) นอกจากนั้น เจ้าเห็นช่องที่จะยึดโยงเอาอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติของ ผีสางเทวดา หรือสิ่งปาฏิหาริย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีปฏิบัติในพุทธศาสนา เจ้ายึดโยงตัวเองกับอ�ำนาจอิทธิฤทธิ์ของผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่น พระพุทธ รูปศักดิ์สิทธิ์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ แม่น�้ำศักดิ์สิทธิ์ ช้างเผือก พระธาตุของพระพุทธ เจ้าที่ฝังอยู่ในเจดีย์ และฤๅษีรักสันโดษ  อย่างไรก็ตาม การยึดโยงดังกล่าวนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์  ดังนั้น เจ้าและเถรสมาคมจึงต่อรอง กันในเรื่องที่ว่าฝ่ายใดจะมีบทบาทเป็นผู้นำ� ด้านจิตวิญญาณและเป็นผู้น�ำทางการ เมือง เถรสมาคมต้องมีเจ้าคุ้มครองและอุปถัมภ์  และเพื่อเป็นการตอบแทน เจ้าอาจจะเรียกร้องอ�ำนาจด้านการบริหารเหนือพระสงฆ์  รวมทั้งเรียกร้องให้ สถาบันสงฆ์ยอมรับบทบาทด้านการปกครองของเจ้า  สถาบันสงฆ์ก็จะต่อรอง กับเจ้าให้ปกครองโดยเห็นแก่ประโยชน์ของผู้คน ทั้งจากมิติทางด้านวัตถุและ ด้านจิตวิญญาณด้วย เป็นการตอบแทนการยอมรับอ�ำนาจของเจ้า ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

49


สมัยที่มีการรบพุ่งอยู่ตลอดเวลา พระสงฆ์วิจารณ์เจ้าในกรณีที่เรียก  เก็บภาษีสูง เกณฑ์ผู้คนไปท�ำสงครามแม้แต่ในช่วงฤดูท�ำนา ฉุดฉวยผู้หญิง  หรือยึดทรัพย์สินไปตามใจชอบ ฆ่าสัตว์เพื่อความสนุก ดื่มสุราเมามาย หรือ  ไม่ก็มีพฤติกรรมเลวร้ายเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับฆราวาส  ส�ำนักสงฆ์ใหญ่บาง แห่งบันทึกพงศาวดารมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์เจ้าเป็นรายๆ ไป และเขียนสดุดี เจ้าที่ปกป้องเมืองจากผู้รุกรานด้วยความเชี่ยวชาญ ปกครองประชาชนด้วยความ เที่ยงธรรม มีความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจ และแน่นอนว่าให้ความค�้ ำจุน พระพุทธศาสนาและพระสงฆ์  ผลของกระบวนการต่อรองที่ละเอียดอ่อนดัง กล่าวจึงเกิดหลักการ “ธรรมราชา” คือเจ้าที่ปกครองตามหลักธรรมหรือค�ำสอน ของพระพุทธเจ้า ตามแบบอย่างของจักรพรรดิอินเดียคือพระเจ้าอโศกมหาราช ในพงศาวดารไทย ตัวแบบธรรมราชาคือ “เจ้า” ของสมัยสุโขทัย โดยกษัตริย์ องค์ท้ายๆ ใช้ธรรมราชาเป็นชื่อของพระองค์ หลังราวๆ ปี พ.ศ. ๒๑๕๐ พุทธศาสนาแนวเถรวาทได้รับความนิยมสูง มีการสร้างวัดใหม่ๆ เป็นจ�ำนวนมาก  ทั้งนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับที่การค้าขยายตัว

ภาพที่ ๓ พระสงฆ์เดินทางไปลังกา 50 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


และชนชั้นสูงเป็นอิสระมากขึ้น  มีการขยายวิหารให้กว้างใหญ่ขึ้นเพื่อให้รับคน ได้มาก  เจ้าลงทุนในโครงการต่างๆ เหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของขุน นาง  กษัตริย์อุปถัมภ์พราหมณ์มากกว่าพุทธ  พระนารายณ์ทรงสร้างหรือซ่อม วัดไม่กี่วัด ไม่ค่อยทรงออกงานพิธีกรรมของพุทธ และดูเหมือนว่าราชส� ำนักจะ เต็มไปด้วยขุนนางมุสลิมและคริสเตียน  วิกฤตใน พ.ศ. ๒๒๓๑ พระสงฆ์จัดตั้ง ฆราวาสให้จับอาวุธเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อสายของพระนารายณ์เป็นกษัตริย์องค์ ต่อไป กษัตริย์ที่สืบต่อจากพระนารายณ์ไม่ได้เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ แต่ ได้รับการยอมรับจากพวกขุนนาง  กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงลดการอุปถัมภ์ พราหมณ์ แต่ค�้ำจุนพระสงฆ์เพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน  พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๖-๒๓๐๑) และขุนนางในสมัยของพระองค์ สร้างและซ่อมวัดเป็น จ�ำนวนมากเสียจนภูมิทัศน์เหนือขอบฟ้าของอยุธยาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ทรง ถือวัตรปฏิบัติตามแนวพุทธอย่างเคร่งครัดจนทรงได้รับสมญาว่า “พระธรรม ราชา”  พระเกียรติคุณเลื่องลือไปถึงศรีลังกาถิ่นก�ำเนิดของพุทธเถรวาท  โดย ศรีลังกาได้ส่งคณะสงฆ์มาขอให้อยุธยาส่งพระสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูสถาบันสงฆ์เถร วาทที่เสื่อมถอยที่ศรีลังกาเสียใหม่ ขุนนางชื่นชูพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ก็แสวงหาอ�ำนาจที่จะมาก�ำกับ พระมหากษัตริย์ด้วย  พวกเขารับเอาอัคคัญญสูตร คัมภีร์ศาสนาพุทธสมัย แรกๆ ที่บอกว่ากษัตริย์มีวิวัฒนาการมาจากครั้งที่สังคมไร้กฎเกณฑ์บังคับให้ ผู้คนรวมตัวกัน “เลือก” คนที่ดีที่สุดเป็นกษัตริย์  ในประวัติของสมัยอยุธยา ตอนปลายที่ขุนนางเขียนขึ้นนั้น กล่าวถึงว่าการสืบราชสันตติวงศ์ทุกครั้งนั้น ที่ ประชุมของขุนนางเป็นผู้เลือกกษัตริย์  แต่นี่ก็เป็นเพียงการจารึกตามความมุ่ง หวังมากกว่าจากความจริง  ทั้งขุนนางและพระสงฆ์ต่างเน้นว่า กษัตริย์จะต้อง พิสูจน์ตัวเองอยู่เสมอว่า ดีที่สุดที่จะเป็นผู้ปกครองด้วยการกระท�ำตามหลัก ทศพิธ ราชธรรม คือ จริย วัต รที่พ ระเจ้ า แผ่ น ดิน ควรประพฤติเ ป็ น หลัก ธรรม ประจ�ำพระองค์ หรือคุณธรรมผู้ปกครองเมืองมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค อาชวะ มัทวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ   เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงจะเขียนในสมัยนี้นั้นท�ำนาย  ไว้ว่า เมืองจะล่มถ้าหากไม่มีการยึดถือหลักธรรมดังกล่าว ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

51


ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม์ จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตพิสดารทุกบ้านเมือง ----กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น�ำ้ เต้าอันลอยนั้นจะถอยจม ----กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล�้ำเมืองสวรรค์ จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ

เสียกรุง และแล้วใน พ.ศ. ๒๓๑๐ อยุธยาถูกโจมตีจนเสียเมืองให้กับพม่าเป็น  ครั้งที่ ๒  ความหายนะรุนแรงมากจนในงานประวัติศาสตร์ต่อๆ มาให้ภาพว่า พม่าเป็นผู้รุกรานสยามโดยตลอด และการป้องกันเมืองไทยจากการรุกรานของ พม่า จึงเป็นสาระหลักของประวัติศาสตร์ไทย  อันที่จริงนั้นการสงครามก่อน หน้านี้ซึ่งจบลงเมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๑๕๐ ได้น�ำความสงบมาสู่ภูมิภาค เนื่องจากมี การแบ่งอ�ำนาจกันลงตัว คือพม่ามีอิทธิพลอยู่เหนือดินแดนด้านในจากอังวะไป ถึงรัฐไทยใหญ่ ล้านนา  ล้านช้าง และสิบสองปันนา  ส�ำหรับอยุธยามีอ�ำนาจ ครอบคลุมเขตชายฝั่งจากด้านคอขวานของแหลมทองไปจรดทิศตะวันออกที่ เขมร  สงครามเป็นการกระทบกระทั่งกันเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แทบจะไม่มีความ ขัดแย้งระหว่างสยามและพม่าเป็นเวลาถึง ๑๕๐ ปี การที่พม่าเข้าโจมตีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด  ทั้งนี้ เป็นเพราะพระราชวงศ์ใหม่ที่พม่ามีความทะเยอทะยาน ต้องการแผ่ขยายอิทธิพล ไปทุกทิศทาง  แรงจูงใจคือหวังที่จะเข้าควบคุมบริเวณด้ามขวานทอง  แต่ใน ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่อังวะต้องการก�ำจัดอยุธยาออกไปจากสารบบ ของเมืองคู่แข่งเลยทีเดียว ในช่วงปลอดสงครามเมื่อ ๑๕๐ ปีก่อนหน้านั้น อยุธยาร�่ำรวยขึ้นและ  พัฒนาเป็นสังคมเมืองที่จัดเจนมากขึ้น  วัฒนธรรมมวลชนก่อตัวขึ้นในรูปของ  เพลงยาว ละคร และมหรสพตามวัด  แม้แต่กวีหลวงก็เขียนนิราศและเรื่อง  52 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ราวเกี่ยวกับความรักมากกว่าจะเขียนเกี่ยวกับชัยชนะของสงครามและเรื่องเกิน  จริงของพระราชวงศ์  คนธรรมดาทั่วๆ ไปด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันได้โดยไม่ต้อง  บังคับเกณฑ์ไปท�ำสงคราม และอุดมการณ์เรื่องความจงรักภักดียังไม่ลงหลัก  ปักฐาน เมื่อกองทัพพม่ารุกเข้ามา ชาวอยุธยาหลีกเลี่ยงที่จะถูกเกณฑ์ไปเป็น ทหารโดยติดสินบนมูลนาย บ้างก็หนีเข้าไปอยู่ในป่าลึกห่างไกลจากเส้นทางของ กองทัพ  เจ้าเมืองที่อยุธยาขอให้ช่วยเหลือนั้นมีไม่กี่แห่งที่ส่งทหารมา เมืองต่างๆ ที่อยู่ตามทางที่พม่าเดินทัพสู่อยุธยามุ่งปกป้องตนเองก่อนอื่น และส่วนมากก็ ยอมจ�ำนนกับพม่าเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ  บางกลุ่มบางพวกถูกกวาดต้อนเป็น เชลยรวมไปกับกองทัพพม่า บางพวกเข้าร่วมกับพม่าเสียเลยเพื่อหาประโยชน์ที่ จะได้ฉกฉวยทรัพย์สิน  ขุนนางอยุธยาพยายามที่จะต่อรองกับพม่าโดยอ้างถึง มนุษยธรรมตามหลักศาสนาพุทธซึ่งพวกเขาได้เคยพยายามใช้ก�ำกับพฤติกรรม ของกษัตริย์สยาม เปรียบเหมือนหนึ่งช้างสารที่สู้กัน บรรดาพืชพรรณไม้แล ใบหญ้าที่เกิดขึ้นตามพื้นแผ่นดินก็มีแต่จะแหลกละเอียดย่อยยับไป ...เพราะฉะนั้นให้ท่านทูลเจ้านายของท่านให้ยอมท�ำไมตรีเป็นทอง แผ่นเดียวกันเสีย...[เท่ากับ] ว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองประเทศมี พระทัยประกอบด้วยพระกรุณาไพร่ฟ้าประชาชนมิให้เดือดร้อน๖

กษัตริย์อยุธยาตระหนักดีว่าไม่สามารถเกณฑ์ทหารได้พอเพียง จึงได้ สร้างก�ำแพงให้สูงขึ้น ขยายคูเมืองให้กว้างขึ้น และซื้อปืนประเภทต่างๆ เป็น จ�ำนวนมาก จนพม่าเองงวยงงไปเมื่อพบปืนเหล่านี้สะสมอยู่ในคลังสรรพาวุธ หลังกรุงแตก  ยุทธศาสตร์ป้องกันเมืองดังที่ว่ามานี้ ยันศัตรูไว้ได้เพียงฤดูกาล เดียวเท่านั้น  ระหว่างที่รอให้น�้ำหลากจากลมมรสุมประจ�ำปี เพื่อสลายการโอบ ล้อมซุ่มโจมตี แต่พม่ายกทัพมาถึง ๓ ทัพ รวมกันแล้วจึงเป็นกองทัพที่ใหญ่มากกว่า ครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ช่วงนั้น  กองทัพพม่าตั้งค่ายนอกเมืองอยุธยาใน บริเวณวัดที่สร้างอยู่บนเนิน จึงตั้งมั่นอยู่ได้กว่า ๒ ปีแม้จะมีปัญหาน�้ ำท่วม ดังนั้น ข้าวปลาอาหารในเมืองจึงร่อยหรอ ท�ำให้ผู้คนจ�ำนวนมากหลีกหนีออก ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

53


ไปแบบเงียบๆ  ก�ำแพงเมืองพังทลายลงเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐  พงศาว  ดารพม่าจารึกว่า “ดังนั้นเมืองจึงถูกท�ำลาย” ๗ เป้าหมายของพม่านั้นไม่ต้องการบังคับให้อยุธยาเป็นประเทศราชส่ง  บรรณาการ แต่ต้องการก�ำจัดไม่ให้เป็นคู่แข่ง  การท�ำลายนั้นจึงมุ่งไปที่ทุกสิ่ง  ไม่ใช่แต่เพียงถาวรวัตถุ แต่รวมถึงผู้คน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และต�ำรา  ต่างๆ อะไรที่เคลื่อนย้ายได้ก็จะเอาไปไว้ที่อังวะ  ซึ่งการกวาดต้อนและยึดของ ทั้งหลายนั้นรวมทั้งกลุ่มขุนนาง ช่างฝีมือ พระพุทธรูป หนังสือ ต� ำรา และอาวุธ ตามที่มีจารึกไว้นั้น กวาดสมาชิกพระราชวงศ์ไปถึงสองพันคน  อะไรที่เอาไป ไม่ได้ก็ท�ำลายเสียสิ้น พังก�ำแพงและระเบิดคลังสรรพาวุธเสียราบเรียบ  วังและ วัดที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของอยุธยาในฐานะเป็นศูนย์กลางของกษัตริย์และศาสนา ถูกท�ำลายจนเหลือเพียงเถ้าถ่าน๘ การสู้รบด�ำเนินต่อไปกว่า ๔๐ ปี  บริเวณรอบๆ อยุธยาแทบจะปลอด ผู้คนอย่างสิ้นเชิง  การโจมตีนั้นเริ่มแรกมาทางล้านนา  ระหว่างทางก็จับเชลย เผาเอาทอง และหาเสบียงกรัง  นอกจากนั้น การโจมตีของพม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๕,  ๒๓๑๗ และ ๒๓๑๙ สร้างความหายนะแก่ล้านนามากเสียจนเชียงใหม่ถูกทิ้ง  เป็นเมืองร้าง และบริเวณกว้างด้านทิศเหนือของเมืองก็มีผู้คนอพยพออกไปเป็น จ�ำนวนมาก  พ.ศ. ๒๓๒๘-๒๙ พม่ากลับมาโจมตีอีก  คราวนี้น�ำทัพมากว่าหนึ่ง แสนคน แบ่งเป็นเก้ากอง (สงครามเก้าทัพ) ด้านเหนือสุดที่เข้ามาคือที่ล้านนา ด้านใต้สุดที่เข้ามาคือระนอง  ทัพผ่านไปที่ใดก็สร้างความหายนะเป็นบริเวณ กว้างขวาง  พิษณุโลกและหัวเมืองเหนืออื่นๆ ถูกทิ้งร้าง  ท้ายที่สุดพม่าถูกไล่ออกไปจากล้านนาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ถึง ๒๓๔๗ แต่เชียงใหม่ถูกท�ำลายจนมีสถานะเพียงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง และบริเวณภาคเหนือ นี้ก็ไม่ได้มีผู้คนกลับมาอาศัยอยู่ดังเดิมจนถึงทศวรรษ ๒๔๑๐  ทางใต้นั้นการ รบพุ่งกับพม่าเป็นครั้งคราวด�ำเนินไปจนถึง พ.ศ. ๒๓๖๒  ฝรั่งผู้มาเยือนนคร ศรีธรรมราชคนแรกใน พ.ศ. ๒๓๖๙ บอกว่า เมืองนี้ “ดูเสมือนจะไม่ได้ฟื้น” จากสงครามกับพม่าเลย และ “มีคนน้อยมาก การค้าก็ไม่ค่อยมี ทรัพยากรต่างๆ ก็ไม่ค่อยมีเสียเลย”  ๙  แม้กระทั่งที่เมืองส�ำคัญที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เช่น ราชบุรี ซึ่งถูกเผาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้นก็ยังคงเป็นเมืองร้างอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๓๔๓ บาง ส่วนยังถูกทิ้งร้างอยู่จนถึงทศวรรษ ๒๔๒๐ 54 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


70 60

ประชากร (ล้าน)

50 40 30 20

0

2343 2353 2363 2373 2383 2393 2403 2413 2423 2433 2443 2453 2463 2473 2483 2493 2503 2513 2523 2533 2543 2553

10

แผนภาพที่ ๑ ประมาณการประชากรภายในพรมแดนประเทศไทยสมัยใหม่ [หมายเหตุ : ประมาณการจ�ำนวนประชากรสมัยต้นรัตนโกสินทร์นนั้  อิงกับ ข้อมูลใน B. J. Terwiel, Through Travellers’ Eyes : An Approach to Early Nineteenth Century Thai History (Bangkok : Editions   Duang Kamol, 1989) ส�ำหรับจ�ำนวนประชากรจากหลัง พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มาจากส�ำมะโนประชากรทุกสิบปี]

สรุป ภูมิทัศน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน คือภาพนาข้าวผืนใหญ่ ลายตาหมากรุก ไม่ได้บ่งบอกถึงสภาพภูมิศาสตร์ในอดีตแต่อย่างใด  ในสมัย นั้นภูเขาและที่ราบปกคลุมไปด้วยป่าไม้  ในแผ่นดินพระนารายณ์ อยุธยาส่ง หนังกวางเป็นสินค้าออกถึงปีละประมาณสองแสนแผ่น บ่งบอกถึงความอุดม สมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า  การตั้งถิ่นฐานของผู้คนกระจัดกระจายไป และอยู่ กันเป็นหย่อมๆ ตามชายฝั่งของระบบแม่น�้ำ  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประ ชากรที่อาศัยอยู่ ณ บริเวณที่มาเป็นประเทศไทยในปัจจุบันน่าจะมีอยู่เพียงหนึ่ง ถึงสองล้านคน (แผนภาพที่ ๑)๑๐  ทางน�้ำเป็นเส้นทางคมนาคมที่ดีที่สุด  ดังนั้น ระบบแม่น�้ำจึงเป็นตัวก�ำหนดความต่างด้านวัฒนธรรม  พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ใช้ภาษาไทยกันในบริเวณเจ้าพระยาตอนล่างแล้ว (ใช้กันมานานเท่าไรตรงนี้ไม่ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

55


ชัดเจน)  ความมั่งคั่งจากการค้าท�ำให้อยุธยาเป็นเมืองส�ำคัญของบริเวณนี้  แต่ การตั้ง ถิ่น ฐานที่อ ยู ่ ห ่ า งๆ กัน  เป็ น หลัก ฐานบ่ ง บอกว่ า การเมือ งในแถบนี้ก็มี ลักษณะกระจัดกระจาย  กล่าวคือ แต่ละชุมชนใหญ่มีเจ้าผู้ปกครอง พร้อม ทั้งมีวิถีการเมืองและประเพณีของตนเอง  อยุธยาและเมืองคู่แข่งอื่นๆ ขยาย อิทธิพลโดยชักจูงให้เจ้าเมืองอื่นๆ เข้าสวามิภักดิ์และส่งบรรณาการ  ก่อนที่ อยุธยาจะเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น อยุธยามีอิทธิพลเหนือเมือง ต่างๆ ในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างและมีอิทธิพลแบบหลวมๆ เหนือเจ้าลาวและ เขมรไปทางตะวันออก และเหนือเมืองท่าตามบริเวณชายฝั่งทะเลไปทางใต้ของ แหลมทองที่มีทั้งไทย-จีน-มลายูอาศัยอยู่ โครงสร้างสังคมก่อนสมัยใหม่ มีรากฐานอยู่ที่ความสัมพันธ์แบบนาย กั บ บ่ า ว คื อ ชาวนาขึ้ น กั บ เจ้ า ครองเมื อ งในพื้ น ที่  ทาสขึ้ น กั บ นาย ไพร่ ขึ้ น กั บ มูลนายซึ่งมีหน้าที่ก�ำกับการเกณฑ์แรงงาน ขุนนางชั้นผู้น้อยขึ้นกับผู้อุปถัมภ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และเจ้าประเทศราชสวามิภักดิ์กับกษัตริย์ และกษัตริย์ขึ้นกับ จักรพรรดิจีน  แต่ละระดับความสัมพันธ์เหล่านี้ ผู้น้อยต้องให้ของ (เป็นผลผลิต หรือช่างมีฝีมือ) หรือแรงงานเพื่อตอบแทนที่ได้รับการปกป้องจากภัยผู้รุกราน ส�ำหรับเมืองธรรมดาๆ ล�ำดับชั้นของสังคมไม่ซับซ้อนมาก  แต่ที่เมืองใหญ่เช่น อยุธยา กษัตริย์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่สะสมทรัพย์ศฤงคารจากการท�ำสงคราม การค้าขาย และสร้างระบบช่วงชั้นสังคมที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง การขยายตัวของการค้าขายในเอเชีย ท�ำให้กษัตริย์อยุธยาสะสมความ  มั่งคั่ง สรรพาวุธ ทหารรับจ้าง และช่างฝีมือต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีจากยุโรป  เปอร์เซีย และจีน  กษัตริย์สถาปนาอ�ำนาจให้มั่นคงและส�ำแดงให้ได้รับรู้กันใน  ท้องถิ่นผ่านพิธีกรรม และใช้ทหารแผ่ขยายอ�ำนาจออกไป ซึ่งบางครั้งก็ปะทะ  กับกษัตริย์เมืองอื่นที่ท�ำเช่นเดียวกัน (เช่น กับอังวะ เขมร และเวียดนาม) ช่วงเวลาร้อยปีสุดท้ายของแผ่นดินอยุธยา การขยายตัวของเศรษฐกิจ พาณิชย์เริ่มกร่อนเซาะพระราชอ�ำนาจและการทหาร  ชนชั้นสูงที่ก่อตัวขึ้นแสวง หาวิธีปกป้องความมั่งคั่งจากรุ่นตัวไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไป  คนธรรมดาๆ ต่อต้าน ที่ต้องท�ำงานให้กษัตริย์ขุนนางและสละชีวิตเพื่อการสงคราม  การที่ศาสนาพุทธ ได้รับความนิยมสูงขึ้นน่าจะสะท้อนความต้องการมีชีวิตของตนเอง  ความกระ 56 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ด้างกระเดื่องต่อระบบศักดินาเดิมส่งผลให้อยุธยาสุ่มเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากพม่า อย่างไม่คาดคิดใน พ.ศ. ๒๓๑๐  ในระยะสั้น เหตุการณ์นี้ท�ำลายการค้าและ ลดทอนความมั่งคั่ง อีกทั้งน�ำกองทัพและวัฒนธรรมทหารสู่ความส�ำคัญอีกครั้ง แต่ในระยะยาว การเสียกรุงครั้งนั้นกลับปูทางไปสู่ความเจริญเติบโตของระบบ เศรษฐกิจ ตลาด และระบบสังคมใหม่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย

57


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.