เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
สารบัญ
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
หมายเหตุบรรณาธิการ
(๗)
ค�ำน�ำ
(๘)
๑. เทศกาลจีนคืออะไร
๒
๒. เปิดประตูสู่เทศกาลจีน
๕
๓. ฤดูกาล ปฏิทิน กับเทศกาลจีน
๙
๔. จากฤดูกาลสู่เทศกาล
๒๕
๕. วิวัฒนาการของเทศกาลจีน
๒๙
๖. องค์ประกอบของเทศกาลจีน
๔๒
๗. เทศกาลจีนในไทย
๔๕
๘. แนวทางการศึกษาเทศกาลจีน
๔๘
๙. การเซ่นไหว้ในเทศกาลจีน
๕๑
๑๐. ตงจื้อ (ตังจี่-ตังโจ็ยะ) : ปฐมบทของเทศกาลจีน
๘๙
๑๑. ล่าปา : เทศกาลใหญ่ประจ�ำเดือนสิบสอง
๑๑๘
๑๒. ลี่ชุน : เทศกาลเริ่มวสันต์ ปีใหม่แห่งการเกษตร
๑๒๗
๑๓. ตรุษจีน : ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
๑๓๓
๑๔. หยวนเซียว : เทศกาลปิดท้ายตรุษจีน
๑๘๓
(5)
ถาวร สิกขโกศล
๑๕. เทศกาลเดือนยี่ • เทศกาลจงเหอ • เทศกาลมังกรวสันต์ • เทศกาลบูชาเส้อ (เสื้อบ้าน) • เทศกาลดอกไม้
๒๑๘
๒๕๔
๑๖. เทศกาลชุนเฟิน (ชุงฮุง)
๑๗. เทศกาลเช็งเม้ง (ชิงหมิง) : เทศกาลใหญ่เดือนสาม
๒๕๙
๑๘. เทศกาลเดือนสี่
๒๘๗
๑๙. สารทขนมจ้าง : เทศกาลใหญ่เดือนห้า
๒๙๗
๓๒๖
๒๐. เทศกาล ๖ ค�่ำเดือนหก
๒๑. เทศกาลเดือนเจ็ด
๓๓๗
๒๒. สารทจีน : เทศกาลแห่งความเกื้อกูลและกตัญญู
๓๖๗
๒๓. เทศกาลไหว้พระจันทร์ : ความกลมเกลียวของชาติ-ครอบครัว
๓๙๓
๒๔. เทศกาลฉงหยาง : เทศกาลประจ�ำเดือนเก้า
๔๒๕
๒๕. เทศกาลกินเจ
๔๔๗
๕๐๔
๒๖. เทศกาลเสื้อหนาว
๒๗. เทศกาลเซี่ยหยวน : เทศกาลเพ็ญปลาย ไหว้เทพแห่งท้องน�้ำ
๕๑๖
๒๘. ส่งท้ายเทศกาลจีน
๕๒๓
๕๒๙
บรรณานุกรม
(6)
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
หมายเหตุบรรณาธิการ เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
เนื่องจากหนังสือเทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับสังคม และวัฒนธรรมของจีน ซึง่ มีคนจีนหลายกลุม่ ภาษาด้วยกันจึงเขียนโดยยึดการถ่าย เสียงจากภาษาจีนกลางเป็นหลัก อย่างไรก็ตามค�ำจ�ำนวนมาก เช่น ชื่อเทศกาล อาหาร สิง่ ของต่างๆ ฯลฯ เขียนด้วยภาษาแต้จวิ๋ เนือ่ งจากคนจีนในไทยส่วนใหญ่ เป็นคนแต้จวิ๋ ค�ำภาษาแต้จวิ๋ จึงเป็นทีค่ นุ้ เคยอยูโ่ ดยทัว่ ไป การอ้างอิงเปรียบเทียบ กับภาษาแต้จิ๋วจึงเป็นความจ�ำเป็นที่ช่วยให้เข้าใจง่าย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เพื่อมิให้เป็นที่สับสนแก่ท่านผู้อ่านจึงก�ำหนดรูปแบบ อักษรที่ต่างกันไว้ดังนี้ ๑. ค�ำหรือข้อความใดที่ออกเสียงตามแบบจีนกลางจะคงรูปอักษรปกติ ๒. ค�ำหรือข้อความใดที่ออกเสียงตามแบบแต้จิ๋วก็ใช้เป็นตัวเอน ๓. กรณีที่ผู้เขียนอ้างอิงข้อความจากต้นฉบับอื่นๆ โดยใส่เครื่องหมาย ค�ำพูด “....” ก�ำกับ ข้อความนั้นทั้งหมดจะใช้ตัวเอน โดยค�ำหรือข้อความที่เป็น ภาษาจีนกลางจะใช้ตัวเอนปกติ ส่วนภาษาแต้จิ๋วจะใช้ตัวเอนเข้ม ๔. ชื่อสถานทีแ่ ละบุคคล ได้ถือตามหลักทัว่ ไป กล่าวคือถ้าคุน้ เคยกันตาม เสียงจีนอื่นอยู่แล้ว ก็คงไว้ตามนั้น เช่น คงเรียก ฮกเกี้ยน ไม่ใช่ ฝูเจี้ยน, ปักกิ่ง ไม่ใช่ เป่ยจิง, โจโฉ ไม่ใช่ เฉาเชา เป็นต้น โดยไม่มีการก�ำหนดตัวพิมพ์ที่ต่างกัน แต่อย่างใด บรรณาธิการ
(7)
ถาวร สิกขโกศล
ค�ำน�ำ
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
หนังสือเรื่อง เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ เล่มนี้ เป็นงานที่ผู้เขียนภูมิใจ มากเล่มหนึง่ เพราะใช้เวลาค้นคว้าและสะสมความร้มู ากกว่าเรือ่ งอืน่ ลงมือเขียน ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ตอนนั้นมีหนังสือค้นคว้าภาษาจีนอยู่เพียง ๒ เล่ม ประกอบกับติดภาระอื่น ท�ำให้ทิ้งค้างไว้กว่า ๑๐ ปี จนปี พ.ศ. ๒๕๔๙ คุณ สุพจน์ แจ้งเร็ว ได้ขอให้เขียนเรือ่ งเทศกาลจีนทีน่ า่ สนใจในแต่ละเดือนลงนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม จึงได้เขียนเรือ่ ง เทศกาลสารทจีน ลงฉบับเดือนสิงหาคม ๒๕๔๙ เป็นเรือ่ งแรก แล้วเขียนเทศกาลอืน่ ๆ ลงในฉบับต่อๆ มา จนจบเทศกาลขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) ในฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ แล้วเว้นไปอีก จนปี ๒๕๕๕ จึงได้ เขียนเทศกาลขึ้น ๗ ค�่ำเดือนเจ็ด และเทศกาลกินเจลงต่อจนจบ เรื่องจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเขียนลงในช่วง พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓ กลับได้รวมเล่มออกมาก่อน ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๕ ผู้เขียนไปบ้านที่แต้จิ๋วเกือบ ๒๐ ครั้ง ได้ ถือโอกาสศึกษาและร่วมกิจกรรมในเทศกาลหลายเทศกาลกับญาติมิตร ทั้งได้ซื้อ หนังสือเกี่ยวกับเทศกาลจีนอีกหลายสิบเล่ม ได้ประสบการณ์ตรงและข้อมูลเรื่อง เทศกาลจีนเป็นอันมาก เทศกาลจีนที่เขียนลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมคัดเฉพาะเทศกาลที่เคย แพร่หลายในประเทศไทย ยังมีเทศกาลส�ำคัญและเทศกาลเก่าทีน่ า่ สนใจอีกหลาย เทศกาลครบทั้ง ๑๒ เดือน ควรรวมไว้ด้วยเพื่อให้ครบสมบูรณ์ จึงได้เขียนเพิ่ม เติม ท�ำให้มีเทศกาลที่น่ารู้ทั้งหมดกว่า ๒๐ เทศกาล ครบทั้ง ๑๒ เดือน ในฉบับ รวมเล่มนี้ (8)
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
ส่วนเทศกาลที่พิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมนั้นก็ได้แก้ไขเพิ่มเติม บาง เทศกาลเพิม่ เติมมากจนเท่ากับเขียนใหม่ เช่น เทศกาลตงจือ้ นอกจากนีย้ งั ได้เพิม่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทศกาลจีนอีกหลายเรื่อง ดังท่านจะดูหัวข้อเรื่องได้จาก สารบัญ และทีส่ ำ� คัญได้เขียนเรือ่ งการเซ่นไหว้ในเทศกาลจีนไว้เป็นแนวทางปฏิบตั ิ แก่ท่านผู้อ่านอีกด้วย ท�ำให้หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสมบูรณ์รอบด้าน ใช้เป็นต�ำรา ค้นคว้าและคู่มือเซ่นไหว้ในเทศกาลจีนได้อย่างดี โดยท่านจะรู้ที่มา พัฒนาการ จุดมุ่งหมาย คุณค่าสาระ ตลอดจนแนวทางปรับการเซ่นไหว้ให้เหมาะแก่ยุคสมัย ทุกเทศกาล แต่ต้องอาศัยวิจารณญาณและศรัทธาของท่านเป็นส�ำคัญ เทศกาลจีนเป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรม มีความแตกต่างกันตามยุคตามถิน่ ไม่มีถูกผิดแน่นอน ผู้เขียนจึงเพียงแต่ศึกษาค้นคว้าจากหนังสืออ้างอิงกว่า ๕๐ เล่ม สอบถามผู้รู้และร่วมกิจกรรมในเทศกาลเหล่านั้นเท่าที่จะท�ำได้ แล้วรวบรวม ข้อมูลมาน�ำเสนอให้ผอู้ า่ นได้พจิ ารณาเลือกแนวทางปฏิบตั ทิ เี่ หมาะสมของท่านเอง อย่างมากก็เสนอแนวทางทีค่ วรจะเป็นตามทัศนะของผ้เู ขียนไว้ ซึง่ ท่านจะเห็นด้วย หรือไม่ก็ได้ เพราะในเรื่องประเพณี วิถีชีวิตชาวบ้านนั้น ไม่ควรเอาความเห็นหรือ ความถูกใจของตนเองไปยัดเยียดเป็นความถูกต้องของคนอื่น แต่ละชุมชนแต่ละ บ้านย่อมมีประเพณีปฏิบัติของตน หนังสือเล่มนี้จึงขอท�ำหน้าที่เพียง รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเทศกาลต่างๆ ที่น่าสนใจของจีนมาเสนอท่านผู้อ่านเป็นส�ำคัญ หากมีข้อบกพร่องหรือเรื่องที่ ไม่ถูกใจท่านก็โปรดอภัย ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ได้รับความช่วยเหลือจากมิตรสหายหลายท่าน ความรู้หลายเรื่องได้จากอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน คุณสมชัย กวางทอง พาณิชย์ และเฮียไช้ผู้รอบรู้เรื่องประเพณีของชาวบ้านจีน คุณวิภา จิรภาไพศาล ช่วยทักท้วง ท�ำให้ผเู้ ขียนต้องค้นคว้าเพิม่ เติมเพือ่ ตอบข้อกังขาหรือโต้แย้งกับเธอ และเธอยังช่วยเป็นธุระพิมพ์ตวั อักษรจีนทัง้ หมดให้ อาจารย์จตุวทิ ย์ แก้วสุวรรณ์ ช่วยพิมพ์บรรณานุกรมภาษาจีนให้ น้องๆ ในคณะท�ำงานได้ช่วยท�ำต้นฉบับและ รูปเล่มให้อย่างสวยงาม ที่ส�ำคัญคือ คุณสุพจน์ แจ้งเร็ว ผู้กระตุ้นให้เขียนหนังสือ เล่มนี้ และคุณอพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ ผู้ประสานงาน ผู้เขียนขอขอบคุณทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ ถาวร สิกขโกศล ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ (9)
ถาวร สิกขโกศล
๑
เทศกาลจีนคืออะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนิยามค�ำ “เทศกาล” ไว้ว่า “น. คราว สมัยที่ก�ำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อท�ำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ท�ำนาสิน้ สองเทศกาลมาแล้ว” ค�ำทีม่ คี วามหมายคล้ายเทศกาลความหมายแรกอีกค�ำหนึง่ คือ “นักขัตฤกษ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนิยามค�ำนีไ้ ว้วา่ “น. งานรืน่ เริงตามธรรมเนียม ตามฤดูกาล เช่น งานสงกรานต์ งานลอยกระทง” สองค�ำนีม้ จี ดุ เน้นต่างกัน เทศกาล เน้นช่วงเวลา นักขัตฤกษ์ เน้นงานรืน่ เริง ในเทศกาล และเจาะจงเฉพาะเทศกาลตามฤดูกาล ในภาษาจีนมีคำ� ส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลอยู่ ๒ ค�ำ คือ เจี๋ยญื่อ (节 日) และ ซุ่ยสือ (岁时) ค�ำ เจี๋ยญื่อ ประกอบด้วยค�ำ เจี๋ย (节) ซึ่งหมายถึง ข้อ (ของต้นไม้) ปล้อง ท่อน ตอน, กับค�ำว่า ญื่อ (日) ซึ่งหมายถึง วัน ดวงตะวัน เจี๋ยญื่อคือวัน อันเป็นช่วงแห่งการจัดงานเทศกาล ซึ่งพจนานุกรมภาษาจีนเพื่อการใช้งาน (应 用汉语词典) อธิบายความหมายว่า “วันที่ระลึกหรือวันที่ควรเฉลิมฉลอง เช่น ตรุษจีนเป็นวันเทศกาลตามปรัมปราคติของชาวจีน” พจนานุกรมภาษาจีน
ตุ้ยเลี้ยง หรือกลอนคู่ลายสือศิลป์ที่ชาวจีนทุกถิ่นหามาติดประตูประดับหน้าบ้านเพื่อเฉลิมฉลอง เทศกาลตรุษจีน (ภาพจาก ห้องสมุดภาพมติชน)
3
ถาวร สิกขโกศล
ปัจจุบัน (现代汉语词典) อธิบายแยกวันเทศกาลหรือเจี๋ยญื่อออกเป็น ๒ ประเภท คือ “๑. วันที่ระลึก เช่น วันที่ ๑ พฤษภาคมเป็นวันแรงงานนานาชาติ ๒. วันเซ่นสรวงบูชาหรือเฉลิมฉลองที่สืบทอดกันมา” ค�ำ ซุ่ยสือ ประกอบด้วยค�ำ ซุ่ย (岁) หมายถึง ปี ขวบ และค�ำ สือ (时) เดิมหมายถึง ฤดูทั้งสี่ ซุ่ยสือ หมายถึง ฤดูทั้งสี่ในรอบปี ซึ่งปกติมีช่วงเวลาที่ แน่นอน ต่อมาจึงหมายถึงช่วงเวลาที่แน่นอนในรอบปีคือวันเทศกาลตาม ฤดูกาลอีกด้วย ซึ่งมักมีคำ� ประกอบบ่งความหมายให้ชัดเจน เช่น “ซุ่ยสือเจียเจี๋ย (岁时佳节) เทศกาลมงคลตามฤดูกาลหรือนักขัตฤกษ์ในรอบปี เทศกาลรุน่ แรก ของจีนเป็นเทศกาลตามฤดูกาลหรือนักขัตฤกษ์ จึงนิยมใช้ศัพท์นี้เรียกเทศกาล จีนด้วย องค์ประกอบส�ำคัญของเทศกาลคือ ช่วงเวลาและกิจกรรม เช่น เทศกาล จงชิว อยู่กลางเดือนแปดจีน กิจกรรมส�ำคัญคือไหว้พระจันทร์ ตรุษจีนเป็น เทศกาลใหญ่ มีช่วงเวลาหลายวันและกิจกรรมหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่วันส่งเจ้า ขึ้นสวรรค์ในวัน ๒๓ ค�่ำ หรือ ๒๔ ค�่ำเดือนสิบสอง ไปจนถึงวันรับเจ้ากลับลงมา สู่โลกมนุษย์ในวัน ๔ ค�่ำ หรือ ๕ ค�่ำเดือนอ้าย ทุกเทศกาลมีที่มา จุดมุ่งหมาย วิวัฒนาการ และคุณค่าต่างๆ ที่น่ารู้น่าศึกษาอย่างยิ่ง เทศกาลที่น�ำเสนอในหนังสือนี้จ�ำกัดวงอยู่แค่เทศกาลที่ตกทอดกันมา ตามปรัมปราคติของจีนเท่านั้น ไม่รวมเทศกาลรุ่นใหม่ เช่น วันแรงงาน วันเด็ก
4
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
๒
เปิดประตูสู่เทศกาลจีน
ทุกชาติย่อมมีเทศกาลเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประเพณี จีนก็เช่น เดียวกัน เนื่องจากเป็นชาติเก่าแก่ มีมรดกอดีตสั่งสมตกทอดกันมาเป็นเวลา ช้านาน เทศกาลจีนจึงมีมาก ไม่เว้นในแต่ละเดือน บางเดือนมีมากกว่าหนึ่ง เทศกาล เช่น ๗ ค�่ำเดือนเจ็ด เป็นวันเทศกาลดาวเลี้ยงควายพบดาวสาวทอ (七夕节) วัน ๑๕ ค�่ำ เป็นวันเทศกาลสารทจีน (中元节) ๘ ค�่ำเดือน สิบสองเป็นวันเทศกาลล่าปา (พระพุทธเจ้าตรัสรู้ตามพุทธประวัติจีน) วัน ๒๓ หรือ ๒๔ ค�่ำเป็นวันส่งเจ้าขึ้นสวรรค์เข้าสู่เทศกาลตรุษจีน โดยที่จีนมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล หลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จีนปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ไหหล�ำ จีนแคะ ฯลฯ เทศกาลที่ได้รับความ นิยมในแต่ละถิ่นแต่ละจีน จึงมีทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน เช่น จีนปักกิ่งปัจจุบัน ไม่มีเทศกาลสารทจีน จีนแต้จิ๋วไม่มีเทศกาล ๗ ค�ำ่ เดือนเจ็ด เทศกาลใหญ่ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย เป็นเทศกาลร่วมของจีนทุกถิ่น ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน (春节) เช็งเม้ง (清明节) เทศกาลขนมจ้าง (端午 节) และไหว้พระจันทร์ (中秋节) เทศกาลใหญ่ที่ส�ำคัญรองลงไปได้แก่ เทศกาลหยวนเซียว (元宵节) เทศกาล ๗ ค�่ำเดือนเจ็ด (七夕节) เทศกาลฉงหยาง (重阳节) เทศกาล ล่าปา (腊八节) เทศกาลตงจื้อ (冬至节-ตังโจ็ยะ) จีนทางใต้ ทั้งฮกเกี้ยน กวางตุ้ง แต้จิ๋ว (中元节) เป็นเทศกาลส�ำคัญอีกเทศกาลหนึ่ง ดังกล่าวแล้วว่าเทศกาลของแต่ละถิ่นไม่เหมือนกัน ปัจจุบันจีนทางเหนือ ไม่ค่อยมีเทศกาลตงจื้อ มีเทศกาลล่าปาเป็นเทศกาลส�ำคัญ แต่จีนใต้ไม่ค่อยมี เทศกาลล่าปา มีเทศกาลตงจื้อ ไหว้ด้วยขนมบัวลอยเป็นเทศกาลใหญ่ ฉะนั้น ๘ เทศกาลใหญ่ของจีนทางเหนือส่วนมากได้แก่ ตรุษจีน หยวน เซียว ชิงหมิงหรือเช็งเม้ง สารทขนมจ้าง ๗ ค�่ำเดือนเจ็ด ไหว้พระจันทร์ ฉงหยาง และล่าปา ส่วนของจีนใต้โดยทัว่ ไปมีเทศกาลตงจือ้ (ตังโจ็ยะ) เป็นเทศกาลส�ำคัญ เทศกาลที่ ๘ แทนเทศกาลล่าปา สารทจีนบางถิ่นเป็นเทศกาลส�ำคัญ บางถิ่น เป็นเทศกาลระดับรอง แต่ส่วนมากมีเหมือนกัน ปัจจุบันสื่อในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์มักบอกว่าเทศกาล ส�ำคัญของจีนมี ๘ เทศกาล โดยไม่บอกให้ชัดว่าเป็นจีนกลุ่มไหน จีนกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือจีนแต้จิ๋ว ๘ เทศกาลส�ำคัญที่สื่อ ในเมืองไทยมักอ้างถึงคือเทศกาลของจีนแต้จิ๋ว อันได้แก่ เทศกาลตรุษจีน หยวน เซียว เช็งเม้ง ขนมจ้าง สารทจีน ไหว้พระจันทร์ และตังโจ็ยะหรือตงจื้อ ถ้านับ 6
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
“เอี่ยเหล่าเอี๊ย” การเชิญเทวรูปเจ้าออกมาแห่แหนในชุมชน ภาพนี้ขบวนแห่ก�ำลังเตรียมพร้อมรอ เวลาอยู่หน้าศาลเจ้า
ดูจะมีแค่ ๗ เทศกาล แต่คนแต้จิ๋วนับเป็นแปด เพราะเทศกาลตรุษจีนนั้น เขาแยกเป็น ๒ เทศกาลคือ เทศกาลสิ้นปีเก่า (除夕节) กับเทศกาลวสันตฤดู (春节) หรือขึ้นปีใหม่ที่เมืองไทยเรียกว่าวัน “เจียงวยะชิวอิ้ด” ซึ่งในเมืองไทย กิจกรรมหดหายกลายเป็นแค่ส่วนย่อยของเทศกาลตรุษจีนแบบไทย ถ้าถือเอาความแพร่หลายและความคึกคักเป็นเกณฑ์แล้ว เทศกาลใหญ่ ของจีนในปัจจุบันโดยรวมไม่เจาะจงถิ่นมี ๗ เทศกาลคือ ตรุษจีน หยวนเซียว เช็งเม้ง สารทขนมจ้าง เทศกาล ๗ ค�่ำเดือนเจ็ด ไหว้พระจันทร์และเทศกาล ฉงหยาง ส่วนเทศกาลล่าปาและตงจื้อ (ตังโจ็ยะ) ปัจจุบันไม่ค่อยคึกคักและใน บางถิ่นสูญไปแล้ว จัดเป็นเทศกาลระดับรอง เรื่องส�ำคัญก็คือปัจจุบันเทศกาลใหญ่ของจีนทุกถิ่นในเมืองจีนไม่มี เทศกาลกินเจ ในประเทศจีนเทศกาลนี้เป็นเทศกาลเฉพาะของวัดลัทธิเต๋า ใน หมู่ชาวบ้านแทบไม่มี แต่แพร่หลายมากในประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ความจริงเทศกาลส�ำคัญของจีนก็ไม่ได้จ�ำกัดว่าต้องมีแค่ ๗ หรือ ๘ 7
ถาวร สิกขโกศล
บางถิ่นอาจมี ๙ หรือ ๑๐ เทศกาล และยังมีเทศกาลระดับรองอีก รวมแล้ว กว่า ๑๐ เทศกาลแทบทุกถิ่น เพียงแต่ปัจจุบันหลายเทศกาลเสื่อมไปตามกระแส สังคมสมัยใหม่ ไทยเป็นถิ่นจีนโพ้นทะเลใหญ่ที่สุด มีจีนหลายกลุ่มภาษา ที่ส�ำคัญได้แก่ แต้จิ๋ว แคะ ไหหล�ำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน เทศกาลจีนในไทยจึงมีความหลาก หลาย และมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ด้วย บางเทศกาลได้รับความนิยมแพร่หลาย ไม่เฉพาะในหมู่ผู้มีเชื้อสายจีนเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าเทศกาลตรุษจีนและสารท จีน คนไทยแท้ๆ ไม่น้อยก็พลอยร่วมไปด้วย แม้ในพระราชพิธี ๑๒ เดือนก็มี พระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีนรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่ง โดยที่เทศกาลจีนเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยไม่น้อย จึงเป็นเรื่องน่า ศึกษาอย่างยิ่ง แต่ดังได้กล่าวแล้วว่า เทศกาลจีนมีมากมายหลายหลาก ยาก ที่จะศึกษาให้ละเอียดสมบูรณ์ได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอเฉพาะเทศกาล ที่น่ารู้ กล่าวคือ เป็นเทศกาลที่ยังมีผู้ปฏิบัติอยู่ในวงกว้าง เทศกาลเฉพาะกลุ่ม จะกล่าวถึงแต่กลุ่มของชาวจีนที่มีอยู่ในประเทศไทย หากเป็นเทศกาลเก่าที่เลิก ไปแล้วก็ต้องเป็นเทศกาลที่มีความส�ำคัญในแง่ใดแง่หนึ่ง ควรแก่การศึกษา โดยเลือกเทศกาลที่น่าสนใจในแต่ละเดือนไว้ครบ ๑๒ เดือน บางเดือนมีมากกว่า หนึ่งเทศกาล ล้วนเป็นเทศกาลที่มีคุณค่าน่าศึกษา
8
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
๓
ฤดูกาล ปฏิทิน กับเทศกาลจีน
เทศกาลเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิต ของชนผู้เป็นเจ้าของ วิถีชีวิตของคนต้องขึ้นกับธรรมชาติแวดล้อมเป็นเบื้องต้น จึงมีสว่ นแปรเปลีย่ นเวียนไปตามวันเดือนปีและฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิง่ การท�ำ มาหากิน ดังมีค�ำกล่าวในภาษาจีนว่า “วสันต์ไถหว่าน คิมหันต์เติบโต ศารทเก็บ เกี่ยว เหมันต์สะสม” หรืออีกอย่างหนึ่งว่า “วสันต์ไถ คิมหันต์คราด ศารทเกี่ยว เหมันต์เก็บ” ช่วงฤดูร้อนข้าวก�ำลังเติบโตจึงต้องคราดหญ้า ในสังคมจีนเก่า การท�ำนาเป็นอาชีพหลักของประชาชน และต้องสอด คล้องกับฤดูกาล ถ้าหว่านข้าวเร็วหรือช้าไปจะท�ำให้ได้ผลเก็บเกี่ยวไม่ดีหรือ ไม่ได้เลย ฉะนั้นคนจีนโบราณจึงพยายามศึกษาวิถีแห่งฤดูกาล แล้วจดบันทึก ท�ำปฏิทินไว้ใช้เป็นเครื่องบอกวันเดือนปี ที่ส�ำคัญคือก�ำหนดการกสิกรรมให้ เหมาะสมกับฤดูกาล และใช้บอกวันเทศกาลให้แน่นอนด้วย เพราะเทศกาลจีน รุ่นแรกเป็นเทศกาลอันเนื่องด้วยฤดูกาลและการกสิกรรม ฉะนั้นจึงควรศึกษา เรื่องฤดูกาลและปฏิทินจีนไว้เป็นปฐมฐานของเรื่องเทศกาลจีน
เดือน ปี ฤดูกาล เดือน ปี ฤดูกาล เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์และ ดวงจันทร์ เดือนเป็นไปตามอิทธิพลของดวงจันทร์ ฤดูเป็นไปตามอิทธิพลของ ดวงอาทิตย์ ส่วนปีมี ๒ แบบ คือ รอบปีสุริยคติกับรอบปีจันทรคติ ปีในปฏิทิน จีนเก่าใช้ทั้ง ๒ แบบควบกัน เดือนเกิดจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก ๑ รอบกินเวลาประมาณ ๒๙ ๑/๒ วัน ดังนั้นปฏิทินจีนจึงก�ำหนดให้เดือนใหญ่มี ๓๐ วัน เดือนเล็กปกติมี ๒๙ วัน เดือนใดจะมี ๒๙ หรือ ๓๐ วันต้องค�ำนวณอย่างละเอียดไม่มีหลักตายตัวอย่าง ปฏิทินไทยซึ่งถือหลักเดือนคู่เป็นเดือนเต็มมี ๓๐ วัน เดือนคี่เป็นเดือนขาดมี ๒๙ วัน ครบรอบ ๑๒ เดือน เป็น ๑ ปีจันทรคติ ฤดูกาลเกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยแกนของโลกท�ำมุมเอียง ๒๓ ๑/๒ องศากับแนวซึ่งตั้งฉากกับวิถีโคจรของโลก ขณะเดียวกันโลกก็หมุน รอบตัวเองไปด้วย ท�ำให้ส่วนต่างๆ ของโลกหมุนเวียนกันรับแสงสว่างจากดวง อาทิตย์มากน้อยต่างกัน เกิดเป็นฤดูกาลขึ้น พื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศจีนตั้งอยู่ในเขตอบอุ่นเหนือ ๑ ปี มี ๔ ฤดู คือ ใบไม้ผลิ (วสันต์) ร้อน (คิมหันต์) ใบไม้ร่วง (ศารท) และฤดูหนาว (เหมันต์) 10
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
แต่ละฤดูแบ่งเป็นกาลย่อยตามลักษณะดินฟ้าอากาศได้อีก ๖ ช่วง รวม ๑ ปี ๒๔ ช่วง ภาษาจีนเรียกว่า “เอ้อร์สือซื่อเจี๋ยชี่” (ยี่จับสี่โจ็ยะขี่ 二十四节气) หมายถึง “สภาวะอากาศ ๒๔ จักรราศี” ภาษาอังกฤษว่า “Twenty-four Solar Terms” เนื่องด้วยกาลย่อยของฤดูแต่ละช่วงส่วนมากกินเวลา ๑๕ วัน (บาง ช่วงอาจมี ๑๔ หรือ ๑๖ วัน) จึงขอแปลค�ำ “เจี๋ยชี่ (节气)” เป็นภาษาไทยว่า “อุตุปักษ์” หมายถึง “ปักษ์อันเป็นช่วงย่อยของฤดู” เรียกสั้นๆ ว่า “ปักษ์” เมื่อ ครบรอบ ๔ ฤดู ๒๔ ปักษ์ ๓๖๕ วัน เป็น ๑ รอบปีสุริยคติ การแบ่งช่วงของฤดูย่อยเป็นอุตุปักษ์นี้มีความเป็นมายาวนาน ในยุค ชุนชิว (๒๒๗ ปีก่อนพุทธศก-พ.ศ. ๖๗) แห่งราชวงศ์โจวตะวันออกปรากฏชื่อ อุตุปักษ์ ๔ ชื่อ คือ “ชุนเฟิน (春分) วสันตวิษุวัต”, “ชิวเฟิน (秋分) ศารท วิษุวัต”, “เซี่ยจื้อ (夏至) ครีษมายัน” และ “ตงจื้อ (冬至) เหมายัน (เห-มายัน)” ทั้งหมดล้วนเป็นช่วงส�ำคัญของฤดูทั้งสี่ ค�ำว่า “วิษุวัต” เป็นศัพท์บัญญัติทางดาราศาสตร์ ภาษาอังกฤษว่า Equinox แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” คือจุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง กลางวันกับกลางคืนในโลกจะยาวเท่ากัน มีอยู่ ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ในฤดูใบไม้ผลิ และศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ในฤดูใบไม้ ร่วง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนค�ำว่า “อายัน” ในศัพท์ครีษมายัน (ครีษม+อายัน) และเหมายัน (หิมะ +อายัน) นั้นแปลว่า “การมาถึง” ทางดาราศาสตร์หมายถึงจุดหยุด หรือจุดสุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง ภาษาอังกฤษว่า Solstice ครีษมายัน (Summer Solstice) คือจุดสุดทางเหนือในฤดูร้อน กลางวันจะยาว ที่สุด เหมายัน (Winter Solstice) คือจุดสุดทางใต้ในฤดูหนาว กลางคืนจะยาว ที่สุด สองจุดนี้อยู่ตรงข้ามกัน ค�ำอธิบายนี้อธิบายตามปรากฏการณ์บนท้องฟ้าซึ่งสมมุติว่าดวงอาทิตย์ โคจรรอบโลก แต่ความจริงแล้วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วิชาดาราศาสตร์ ปัจจุบันก�ำหนดให้วงกลมเส้นสุริยวิถี (Ecliptis) บนท้องฟ้ามีค่าของมุมที่ จุดศูนย์กลาง ๓๖๐ องศา จุดเริ่มอยู่ที่จุดวสันตวิษุวัต มีค่าของมุมเป็น ๐ องศา ดวงอาทิตย์มาอยู่ที่จุดนี้ ซึ่งความจริงคือโลกโคจรมาถึงจุดนี้ในวันที่ ๒๐ หรือ ๒๑ มีนาคม จากนั้นก็โคจรไปทางใต้ถึงจุดครีษมายันเมื่อวันที่ ๒๑ หรือ ๒๒ มิถุนายน ค่าของมุมเป็น ๙๐ องศา เมื่อถึงจุดนี้ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวง อาทิตย์เต็มที่ ท�ำให้ดินแดนแถบซีกโลกเหนือ เช่น จีน ไทย มีกลางวันยาวสุด 11
ถาวร สิกขโกศล
จุดศารทวิษุวัตนั้นอยู่ด้านตะวันออกของดวงอาทิตย์ ตรงข้ามกับจุดวสันตวิษุวัต ค่าของมุมเท่ากับ ๑๘๐ องศา โลกโคจรมาถึงจุดนี้ในวันที่ ๒๓-๒๔ กันยายน จุดวิษวุ ตั ทัง้ สองนี้ ขัว้ โลกเหนือและขัว้ โลกใต้รบั แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เท่ากัน กลางคืนกับกลางวันจึงยาวเท่ากัน เมือ่ โลกโคจรไปถึงต�ำแหน่ง ๒๗๐ องศา ขั้วโลกเหนือจะหันออกจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ดินแดนแถบซีกโลกเหนือจึงมี กลางคืนยาวสุด ต�ำแหน่งนีอ้ ยูด่ า้ นเหนือของดวงอาทิตย์ทำ� ให้คนบนซีกโลกเหนือ เห็นดวงอาทิตย์โคจรคล้อยต�ำ่ ไปทางใต้ เรียกว่าตะวันอ้อมข้าว จุดนี้คือเหมายัน (เห-มา-ยัน) ตกช่วงวันที่ ๒๒-๒๓ ธันวาคม จุดทัง้ สีน่ ที้ างดาราศาสตร์สากลถือเป็นจุดเริม่ ฤดูของดินแดนในเขตอบอุ่น เหนือ คือ วสันตวิษุวัตเริ่มฤดูใบไม้ผลิ ครีษมายันเริ่มฤดูร้อน ศารทวิษุวัตเริ่ม ฤดูใบไม้ร่วง เหมายันเริ่มฤดูหนาว แต่จีนถือเป็นกลางฤดู ทั้งนี้เพราะใช้เกณฑ์ แบ่งฤดูต่างกันซึ่งไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียด ตั้งแต่ยุคชุนชิวเป็นต้นมา คนจีนแบ่งอุตุปักษ์ของฤดูละเอียดยิ่งขึ้น จน ถึงยุคต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (พ.ศ. ๓๓๗-๕๕๑) มีชื่ออุตุปักษ์ครบ ๒๔ ปักษ์ เป็นครั้งแรกในหนังสือหวยหนันจื่อ ของหลิวอัน (พ.ศ. ๓๖๔-๔๒๑) แต่ละปักษ์ ห่างกัน ๑๔-๑๖ วัน เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในบางช่วงมีอัตราความ เร็วแตกต่างกันเล็กน้อย หลิวจั๋ว (พ.ศ. ๑๐๘๗-๑๑๕๑) นักดาราศาสตร์สมัย ราชวงศ์สุย (พ.ศ. ๙๖๐-๑๑๖๑) จึงแบ่งเส้นสุริยวิถีเป็น ๒๔ ช่วง แต่ละช่วงมี ระยะห่างเท่ากันช่วงละ ๑๕ องศาตามหลักดาราศาสตร์ปัจจุบัน เมื่อดวงอาทิตย์ (ที่ถูกคือโลก) โคจรมาถึงจุดต่อของแต่ละช่วงก็เข้าสู่อุตุปักษ์ใหม่ ตามหลัก ดาราศาสตร์ปัจจุบันเริ่ม ๐ องศาที่จุดวสันตวิษุวัตหรือชุนเฟิน (春分) ของจีน แต่ทางจีนถือเอาปักษ์ “ลีช่ นุ (立春) เริม่ วสันต์” เป็นอุตปุ ักษ์แรกของปี อุตปุ ักษ์ ทั้ง ๒๔ ปักษ์มีชื่อและข้อมูลที่ควรทราบดังนี้ ๑. ลี่ชุน (立春) แต้จิ๋วว่า “หลิบชุน” แปลว่า เริ่มวสันต์ หรือเริ่มฤดูใบไม้ ผลิ เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ (ที่จริงคือโลก) โคจรมาถึงจุด ๓๑๕ บนเส้นสุริยวิถี ใน วันที่ ๔-๕ กุมภาพันธ์ ถึงอุตุปักษ์นี้อากาศเริ่มคลายหนาว หิมะเริ่มละลาย หญ้า เริ่มขึ้น ๒. อี๋ว์สุ่ย (雨水) หรือ อวี๋สุ่ย แต้จิ๋วว่า “อู๋จุ้ย” ปกติอักษรอวี่ (雨) แต้จิ๋ว อ่านว่า “โหว” แต่ภาษาหนังสืออ่านว่า “อู้” แปลว่า “ฝน” เมื่อรวมกับค�ำว่า “จุ้ย (水) น�้ำ” (ซึ่งภาษาหนังสือนิยมอ่าน สุ่ย ตามเสียงจีนกลาง) เสียงวรรณยุกต์ จะผันแปรเป็น “อู๋จุ้ย (雨水)” แปลว่า ปักษ์ “น�้ำฝน” เพราะฝนเริ่มตก ไม่ 12
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
วสันตวิษุวัต
ครีษมายัน
เหมายัน
ศารทวิษุวัต
ต�ำแหน่งของโลกบนเส้นสุริยวิถีใน ๒๔ อุตุปักษ์
ได้แปลว่า ปักษ์มีนำ �้ ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วอ่านว่า “อู่จุ้ย (有水)” อย่างคนที่ไม่รู้ หนังสือจีนมักเข้าใจผิด ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรมาถึงจุด ๓๓๐ องศา ในวันที่ ๑๙-๒๐ กุมภาพันธ์ ๓. จิงเจ๋อ (惊蛰) แต้จิ๋วว่า “เก็งเต๊ก” อักษร 惊 ภาษาแต้จิ๋วสามัญ หรือภาษาพูดอ่านว่า “เกีย” (มีเสียงนาสิก) ภาษาหนังสือต้องอ่านว่า “เก็ง” แปล ว่า “กลัว สะดุ้ง ตกใจ” ชื่ออุตุปักษ์นี้แปลว่า “สัตว์จำ� ศีลสะดุ้ง” เพราะเสียง ฝนตกฟ้าร้องท�ำให้สัตว์ที่จ�ำศีลในฤดูหนาว เช่น กบ สะดุ้งตื่นออกมาใช้ชีวิต ตามปกติ ปักษ์นี้ฝนเริ่มตกมาก เหมาะแก่การไถหว่าน เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๓๔๕ องศา ในวันที่ ๕-๖ มีนาคม ๔. ชุนเฟิน (春分) แต้จิ๋วว่า “ชุงฮุง” ตามอักษรจีนแปลว่า “กึ่งฤดูใบไม้ ผลิ” เพราะเมื่อโลกโคจรมาถึงจุด ๐ องศา ในวันที่ ๒๐ หรือ ๒๑ มีนาคม วันนั้น จะเป็นวันกึ่งกลางฤดูใบไม้ผลิพอดี กลางคืนกลางวันก็ยาวเท่ากัน อากาศ หายหนาว เย็นสบาย แต่อุตุปักษ์นี้มีชื่อไทยเป็นศัพท์บัญญัติว่า “วสันตวิษุวัต” ๕. ชิงหมิง (清明) แต้จิ๋วว่า “เช็งเม้ง” ชื่ออุตุปักษ์นี้หนังสือ อธิบาย เดือน ฤดู ๗๒ กาล (เย่ว์ลิ่งชีสือเอ้อร์โฮ่วจี๋เจี่ย 月令七十二候集解) อธิบายว่า “ถึงปักษ์นสี้ รรพสิง่ ผุดผ่องและแจ่มใส” และหนังสืออธิบายความหมาย ๒๔ อุตุปักษ์ อีกเล่มหนึ่งกล่าวว่า “ถึงปักษ์นี้สรรพสิ่งผุดผ่องและแจ่มใส อากาศ สดชื่น (清) ทิวทัศน์แจ่มใส (明)” หนังสืออีกเล่มหนึ่งสรุปไว้ว่า “สรรพสิ่ง ในโลกงอกงามในปักษ์นี้ ล้วนผุดผ่อง (ชิงเจีย๋ 清洁) และแจ่มกระจ่าง (หมิงจิง้ 13
ถาวร สิกขโกศล
明净) จึงเรียกว่าปักษ์ ผ่องใส (清明)” หรืออาจเรียกว่า ปักษ์ “แจ่มใส”
ก็ได้เพราะบรรยากาศสดชื่นแจ่มใส เย็นสบาย ต้นไม้เขียวขจี บุปผชาติผลิดอก สะพรั่ง ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรมาถึงจุด ๑๕ องศา (หรือเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ จุด ๑๕ บนเส้นสุริยวิถี) ในวันที่ ๔-๖ เมษายน ๖. กู๋อี่ว์ (谷雨) หรือ กู๋อวี่ แต้จิ๋วว่า “ก๊กอู้” (ไม่อ่าน กกโหว) เริ่มเมื่อ โลกโคจรถึงจุด ๓๐ องศา ในวันที่ ๒๐-๒๑ เมษายน อุตุปักษ์นี้ฝนตกมากหล่อ เลี้ยงธัญชาติทั้งหลาย จึงเรียกว่า กู๋อี่ว์ แปลว่า “ฝนธัญชาติ” ๗. ลี่เซี่ย (立夏) แต้จิ๋วว่า “หลิบเห่” แปลว่า เริ่มฤดูร้อน หรือ “เริ่ม คิมหันต์” เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๔๕ องศา ในวันที่ ๕-๖ พฤษภาคม ๘. เสียวหม่าน (小满) แต้จิ๋วว่า “เสียวมั่ว” แปลว่า “รวงน้อย” ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ออกรวง ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๖๐ องศา ในวันที่ ๒๑๒๒ พฤษภาคม ๙. หมางจ้ง (芒种) แต้จิ๋วว่า “หมั่งเจ้ง” อักษรหมาง (芒) ตัวนี้แปลว่า ขน หมายถึงธัญชาติที่เมล็ดหรือฝักมีขน เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง เกาเหลียง ข้าวโพด อักษรจ้ง (种) ในทีน่ แี้ ปลว่า ปลูก ปักษ์นเี้ ป็นปักษ์ทขี่ า้ วสาลี ข้าวบาร์เลย์ ซึง่ ออกรวงในปักษ์ “เสียวหม่าน-รวงน้อย” สุกต้องรีบเก็บเกีย่ ว พร้อมกับรีบปลูก ธัญชาติขนพวกข้าวฟ่าง เกาเหลียงไปด้วย เพราะถ้าปลูกไม่ทันปักษ์นี้จะไม่ได้ผล หนังสืออธิบายเดือน ฤดู ๗๒ กาล จึงอธิบายความหมายชื่ออุตุปักษ์นี้ว่า “ธัญชาติขนปลูกได้ในปักษ์น”ี้ และหนังสืออีกเล่มหนึง่ อธิบายว่า “ธัญชาติขนปลูก ได้ในปักษ์นี้ พ้นปักษ์นี้ไปแล้วจะไม่ได้ผล” จึงเรียกว่าอุตุปักษ์ “ปลูกธัญชาติ ขน” ปักษ์นี้ชาวนางานยุ่งที่สุด ต้องเก็บเกี่ยวและไถหว่านให้ทันลมทันฝน ปักษ์นี้ เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ (หรือโลกโคจรมา) อยู่ที่ ๗๕ องศาของเส้นสุริยวิถี ในวันที่ ๖-๗ มิถุนายน ๑๐. เซี่ยจื้อ (夏至) แต้จิ๋วว่า “เห่จี่” แปลว่า “จุดสูงสุดของฤดูร้อน” กลาง วันยาวสุด แต่ศพั ท์บญ ั ญัตดิ าราศาสตร์เรียกว่า “ครีษมายัน” เริม่ เมือ่ โลกโคจรถึง จุด ๙๐ องศา ในวันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๑๑. เสียวสู่ (小暑) แต้จิ๋วว่า “เสียวซู่” แปลว่า “ร้อนน้อย” แต่ความจริง อากาศร้อนมาก เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๑๐๕ องศา ในวันที่ ๗-๘ กรกฎาคม ๑๒. ต้าสู่ (大暑) แต้จิ๋วว่า “ไต่ซู่” แปลว่า “ร้อนมาก” คืออากาศร้อนจัด หรือร้อนที่สุดในรอบปี เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๑๒๐ องศา ในวันที่ ๒๓-๒๔ กรกฎาคม 14
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
๑๓. ลี่ชิว (立秋) แต้จิ๋วว่า “หลิบชิว” แปลว่า “เริ่มฤดูใบไม้ร่วง” หรือ “เริ่ม ศารท” อุตุปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๑๓๕ องศา ในวันที่ ๗-๘ สิงหาคม ๑๔. ชู่สู่ (处暑) แต้จิ๋วว่า “ชู้ซู่” แปลว่า “ร้อนคลาย” หรือ “คลายร้อน” เริ่ม เมื่อโลกโคจรถึงจุด ๑๕๐ องศา ในวันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ๑๕. ไป๋ลู่ (白露) แต้จิ๋วว่า “แปะโหล่ว” แปลว่า “น�้ำค้างขาว” เริ่มเมื่อโลก โคจรถึงจุด ๑๖๕ องศา ในวันที่ ๘-๙ กันยายน ปักษ์นี้อากาศเริ่มเย็น น�้ำค้างตก เห็นเป็นสีขาวจับไปทั่ว ๑๖. ชิวเฟิน (秋分) แต้จวิ๋ ว่า “ชิวฮุง” ตามอักษรจีนแปลว่า “กึง่ ฤดูใบไม้รว่ ง” เพราะเมื่อโลกโคจรมาถึงจุด ๑๘๐ องศา ในวันที่ ๒๓ หรือ ๒๔ กันยายน ซึ่ง เป็นวันเริ่มอุตุปักษ์นี้ก็จะถึงวันกึ่งกลางฤดูใบไม้ร่วงพอดี กลางคืนกลางวันยาว เท่ากันอีกครั้งหนึ่งในรอบปี อากาศหายร้อน เย็นสบาย แต่อุตุปักษ์นี้มีชื่อไทย เป็นศัพท์บัญญัติว่า “ศารทวิษุวัต” ๑๗. หานลู่ (寒露) แต้จิ๋วว่า “หั่งโหล่ว” แปลว่า “น�้ำค้างยะเยือก” อากาศ เย็นมากจนน�้ำค้างเกือบแข็ง ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๑๙๕ องศา ในวันที่ ๘-๙ ตุลาคม ๑๘. ซวงเจี้ยง (霜降) แต้จิ๋วว่า “ซวงกั่ง หรือ ซึงกั่ง” แปลว่า “น�ำ้ ค้างแข็ง ตก” ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๒๑๐ องศา ในวันที่ ๒๓-๒๔ ตุลาคม อากาศหนาวจนน�้ำค้างกลายเป็นน�้ำแข็งจับอยู่ทั่วไป น�้ำค้างแข็งนี้ทางอีสานเรียก “แม่คะนิ้ง” ไทยใหญ่เรียก “เหมยขาบ” ชื่ออุตุปักษ์นี้อาจแปลให้กระชับว่า “เหมย ขาบตก” หรือ “น�้ำแข็งตก” ๑๙. ลี่ตง (立冬) แต้จิ๋วว่า “หลิบตัง” แปลว่า “เริ่มฤดูหนาว” หรือ “เริ่ม เหมันต์” เมื่อโลกโคจรมาถึงจุด ๒๒๕ องศา ในวันที่ ๗-๘ พฤศจิกายน ๒๐. เสียวเส่ว์ (小雪) แต้จิ๋วว่า “เซียวเสาะ” แปลว่า “หิมะน้อย” ปักษ์นี้เริ่ม เมื่อโลกโคจรถึงจุด ๒๔๐ องศา ในวันที่ ๒๒-๒๓ พฤศจิกายน หิมะจะเริ่มตก ๒๑. ต้าเส่ว์ (大雪) แต้จิ๋วว่า “ไต่เสาะ” แปลว่า “หิมะมาก” ปักษ์นี้เริ่มเมื่อ โลกโคจรถึงจุด ๒๕๕ องศา ในวันที่ ๗-๘ ธันวาคม ช่วงนี้หิมะตกหนัก ๒๒. ตงจื้อ (冬至) แต้จิ๋วว่า “ตังจี่” แปลตามอักษรจีนว่า “จุดสูงสุดของ ฤดูหนาว” กลางคืนยาวสุด แต่ศัพท์บัญญัติดาราศาสตร์เรียกว่า “เหมายัน” เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๒๗๐ องศา ในวันที่ ๒๒-๒๓ ธันวาคม ๒๓. เสี่ยวหาน (小寒) แต้จิ๋วว่า “เซียวฮั้ง” แปลว่า “หนาวน้อย” แต่ความ จริงอากาศหนาวมากแล้ว ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๒๘๕ องศา ในวันที่ 15
ถาวร สิกขโกศล
๕-๖ มกราคม ๒๔. ต้าหาน (大寒) แต้จิ๋วว่า “ไต่ฮั้ง” แปลว่า “หนาวมาก” คืออากาศหนาว จัด ปักษ์นี้เริ่มเมื่อโลกโคจรถึงจุด ๓๐๐ องศา หรือเห็นดวงอาทิตย์อยู่บนเส้น สุริยวิถีที่จุดนี้ในวันที่ ๒๐-๒๑ มกราคม สิ้นสุดในวันที่ ๔-๕ กุมภาพันธ์ เป็น อุตุปักษ์สุดท้ายของปี อุตุปักษ์เลขคี่ เช่น ลี่ชุน ชิงหมิง เรียกรวมกันว่า “เจี๋ยชี่ (节气)” อุตุปักษ์เลขคู่ เช่น อี๋ว์สุ่ย ชุนเฟิน เรียกว่า “จงชี่ (中气)” การจ�ำแนกอุตุปักษ์ย่อยของฤดูนี้อาศัยลักษณะดินฟ้าอากาศ ปรากฏ การณ์ธรรมชาติและการกสิกรรมเป็นเกณฑ์ กสิกรรมส�ำคัญของจีนคือการท�ำนา ซึ่งปกติท�ำได้ปีละ ๒ ครั้ง ครั้งแรกไถหว่านฤดูใบไม้ผลิ เก็บเกี่ยวฤดูร้อน ครั้ง หลังไถหว่านฤดูร้อน เก็บเกี่ยวฤดูใบไม้ร่วง ข้าวของจีนมี ๓ ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ ภาษาจีนกลางเรียกว่า “มั่ย (麦)” แต้จิ๋วว่า “แบ๊ะ” ตระกูลข้าวฟ่างและเกาเหลียง มีหลายชนิด จีนโบราณเรียกรวมว่า “จี้ (稷) เจ็ก” และตระกูลข้าวเจ้าข้าวเหนียว ซึง่ เรียกว่า “เต้า (稻) เต๋า” สองตระกูลแรกใช้นำ�้ น้อย ระยะเวลาปลูกสัน้ ตระกูล หลังใช้น�้ำมาก ใช้เวลาปลูกนานจึงจะเก็บเกี่ยวได้ ภาคเหนือครั้งแรกปลูก ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ ครัง้ หลังปลูกข้าวฟ่าง บางแห่งอาจปลูกข้าวเจ้าข้าวเหนียว ได้ด้วย ส่วนภาคใต้ปลูกข้าวเจ้าทั้ง ๒ ครั้ง บางแห่งอาจปลูกข้าวฟ่างด้วย แต่ ข้าวสาลีปลูกได้ไม่ดี ในสมัยโบราณคนจีนคงท�ำนาได้หนเดียวคือ “วสันต์ไถหว่าน คิมหันต์ เติบโต ศารทเก็บเกี่ยว เหมันต์สะสม (เข้ายุ้งฉาง)” ต่อมามีสายพันธุ์ข้าวมาก ขึ้น การชลประทานดีขึ้นจึงปลูกได้ ๒ หน ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ปลูกต้น ฤดูใบไม้ผลิ เก็บเกี่ยวได้ในปักษ์หมางจ้ง (ปลูกธัญชาติขน) แล้วปลูกข้าวฟ่าง และข้าวเหนียวข้าวเจ้าต่อ ข้าวฟ่างเริ่มเกี่ยวได้ในช่วงปักษ์ลี่ชิว (เริ่มศารท) ส่วน ข้าวเจ้าข้าวเหนียวเริ่มเกี่ยวได้ในปักษ์ชิวเฟิน (ศารทวิษุวัต) แต่ไปเสร็จสิ้นจริงๆ ในปักษ์ลี่ตง (เริ่มเหมันต์) พ้นจากปักษ์นี้เป็นอันเสร็จนารอบสอง ค�ำว่า “ตง” (冬) เหมันต์ ฤดูหนาว นั้น เดิมแปลว่า “สิ้นสุด แล้วเสร็จ” คือเสร็จงานไร่นา นั่นเอง แต่ทางภาคใต้อากาศไม่หนาวจัด จึงปลูกเผือกมันได้อีกรอบหนึ่ง และ ขุดเก็บหัวในต้นฤดูใบไม้ผลิ การท�ำนาในเมืองจีนต้องท�ำให้ตรงอุตุปักษ์ หากไม่ตรงเวลา เช่น ข้าว ฟ่างถ้าปลูกช้า เกินปักษ์หมางจ้ง (ปลูกธัญชาติขน) จะไม่ได้ผล ข้าวเจ้าข้าวเหนียว 16
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
๑ ๓
๒ ๔
๑. จี้ : ข้าวฟ่าง ๒. เต้า : ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ๓. เสี่ยวมั่ย : ข้าวสาลี ๔. ต้ามั่ย : ข้าวบาร์เลย์
17
ถาวร สิกขโกศล
ของทางใต้ต้องไถหว่านตั้งแต่ปักษ์อวี๋สุ่ย (น�้ำฝน) กับจิงเจ๋อและด�ำให้ทันปักษ์ ชุนเฟินและชิงหมิง ถ้าด�ำไม่ได้เพราะน�้ำมากหรือน้อยเกิน ไปด�ำในปักษ์ลี่เซี่ย แม้จะมีน�้ำพอ ข้าวก็จะไม่แตกกอ ไม่ออกรวงหรือออกแต่ได้ผลน้อยมาก ปฏิทนิ จึงต้องบอกอุตุปักษ์ควบไว้กับเดือนด้วย เพื่อใช้เป็นคู่มือส�ำคัญในการท�ำนา ปฏิทินนี้จึงได้ชื่อว่า “หนงลี่ (农历)” แปลว่า “ปฏิทินกสิกรรม” หรือ “ปฏิทิน เกษตร” อันเทียบได้กับปฏิทินจันทรคติของไทย ปฏิทนิ เกษตรของจีนใช้ทงั้ จันทรคติและสุรยิ คติควบกัน กล่าวคือ ก�ำหนด เดือนตามจันทรคติ ฤดูกาลและอุตุปักษ์ตามสุริยคติ ท�ำให้รอบปีเหลื่อมล�้ำ กัน เพราะถือ ๑๒ เดือน เป็น ๑ ปี ปฏิทินจีนปัจจุบันค�ำนวณเดือนหนึ่งได้ ๒๙.๕๓๐๖ วัน ๑ ปีมี ๓๕๔.๓๖๗๒ วัน แต่ปีสุริยคติตามรอบฤดูกาลและอุตุ ปักษ์มี ๓๖๕.๒๔๒๒ วัน มากกว่าปีจันทรคติอยู่ประมาณ ๑๐ วัน ๒๑ ชั่วโมง จึงต้องแก้ไขโดยวิธีเพิ่มเดือน (อธิกมาส) และเพิ่มวัน (อธิกวาร) เพื่อให้รอบปี ทั้ง ๒ ระบบพอดีกัน เริ่มฤดูใบไม้ผลิหรืออุตุปักษ์ลี่ชุน (เริ่มวสันต์) ต้นเดือน อ้ายหรือไม่ก็ปลายเดือนสิบสอง วิธีการดังกล่าวนี้เป็นอย่างเดียวกับจันทรคติของไทย ซึ่งแท้จริงแล้ว ใช้สุริยคติควบด้วย ๑ ปีสุริยคติของโหรไทยค�ำนวณได้ ๓๖๕.๒๕๕๗๕ วัน (มากกว่าจีน ๐.๐๑๖๕๕ วัน) อธิกมาสและอธิกวารมีกำ� หนดแน่นอนว่า อธิกมาส ที่เดือนแปด (มีเดือนแปดสองหน) และอธิกวารที่เดือนเจ็ด ซึ่งปกติมี ๒๙ วัน (สิน้ เดือนแรม ๑๔ ค�ำ่ เดือนเจ็ด อธิกวารจะสิน้ เดือนวันแรม ๑๕ ค�ำ่ ) แต่อธิกมาส และอธิกวารของจีนมีหลักการละเอียดซับซ้อนกว่าของไทย ซึ่งไม่ขอกล่าวถึง รายละเอียด หลักการใหญ่เรื่องอธิกมาสของจีนกับไทยใช้หลัก ๑๙ ปี ใส่อธิกมาส ๗ ครั้งเหมือนกัน แต่ปีที่มีอธิกมาสของจีนส่วนมากจะก่อนของไทย ๑ ปี เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จีนมีเดือนเจ็ดสองหน ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ไทยมีเดือนแปดสองหน แต่บางปีก็ตรงกัน เช่น ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ จีนมีเดือนสี่สองหน ไทยมีเดือนแปด สองหน การคิดอธิกมาสแบบ ๑๙ ปี ๗ ครั้งนี้ จีนค้นพบตั้งแต่ยุคชุนชิว ก่อน กรีกโบราณถึง ๑๖๐ กว่าปี ถึงยุคราชวงศ์จิ้นตะวันออก จู่ชงจือ (พ.ศ. ๙๗๒๑๐๔๓) ค�ำนวณการใส่อธิมาสได้ละเอียดสอดคล้องกับความจริงมากขึ้นเป็น ๓๙๑ ปี ใส่อธิกมาส ๑๔๔ ครั้ง ส่วนของไทยยังเป็น ๑๙ ปี มีอธิกมาส ๗ ครั้ง อยู่จนปัจจุบัน 18
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
ปี ๒ ระบบ คิดอายุ ๒ แบบ การใช้ปี ๒ ระบบควบกันนี้ทำ� ให้คนจีนมีวิธีคิดอายุ ๒ แบบไปด้วย คือ คิดปีเต็มตามสุริยคติ คิดปีเต็มตามจันทรคติ โดยเอาเดือนที่เพิ่มของปีอธิกมาส ไปคิดรวมกัน ได้ครบ ๑๒ เดือน ก็นับอายุเพิ่มได้อีก ๑ ปี ทว่าการคิดอธิกมาส เรื่องอายุนี้ มีหลักง่ายๆ ว่า ๓ ปี มีอธิกมาส ๑ ครั้ง (เท่ากับ ๒๑ ปี ๗ ครั้ง) หรือ ๕ ปี มีอธิกมาส ๒ ครั้ง (เท่ากับ ๒๐ ปี ๘ ครั้ง) ฉะนั้นคนอายุ ๗๒ ปี ถ้าคิดอธิกมาสระบบ ๓ : ๑ จะได้อายุ ๗๔ ปี คนอายุ ๖๐ ปี ถ้าคิดระบบ ๕ : ๒ จะได้อายุ ๖๒ ปี การเขียนอายุผู้ตายที่โคมในพิธีศพของชาวจีนนั้น นิยมเขียนอายุเติม ตามจันทรคติ ซึ่งภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า หยุ่นนี้ (จีนกลางว่า ญุ่นเหนียน) เพราะ ท�ำให้ได้อายุเพิ่มขึ้น แต่ในทางปฏิบัติมีเคล็ดเรื่องโชคลางเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คือ ถือว่าเลขอายุตัวท้ายนั้น ๑, ๒, ๖ และ ๗ ถือเป็นเลขมงคล เลข ๓, ๔, ๕, ๘, ๙ และ ๐ ถือเป็นเลขอัปมงคล อายุผู้ตายที่โคมต้องลงท้ายด้วยเลขมงคล เท่านั้น เช่น คนตายอายุ ๗๑ คิดปีเติมแล้วได้ ๗๓ ถ้าคู่ครองยังมีชีวิตอยู่ก็เขียน เป็นอายุ ๗๖ แต่ถ้าคู่ครองตายแล้วก็เขียนเพียง ๗๒ เท่านั้น
ปฏิทิน : เครื่องมือบอกวัน เดือน ปี ฤดูกาล จีนมีปฏิทินอย่างง่ายๆ ใช้มาตั้งแต่ราชวงศ์เซี่ย (๑๕๒๗-๑๐๕๗ ปีก่อน พุทธศักราช) แล้วมีพัฒนาการเรื่อยมาถึงราชวงศ์โจวตะวันออก (๒๒๗ ปีก่อน พุทธศก-พ.ศ. ๓๒๒) จีนมีปฏิทินใช้แพร่หลายอยู่ ๓ แบบ คือ แบบเซี่ย แบบ ซาง และแบบโจว และยังมีแบบอื่นอีก เช่น ปฏิทินจวนซีว์ เดือนอ้ายของปฏิทิน โจวตรงกับเดือนสิบเอ็ดของปฏิทินเซี่ย เดือนอ้ายของปฏิทินซางตรงกับเดือน สิบสองของปฏิทนิ เซีย่ แว่นแคว้นในยุคนัน้ ใช้ปฏิทนิ ต่างกัน จึงขึน้ ปีใหม่ไม่ตรงกัน เช่น ราชส�ำนักโจวและแคว้นฉีใช้ปฏิทินโจว แคว้นหาน แคว้นวุ่ย และแคว้นเจ้า ใช้ปฏิทินเซี่ย แคว้นซ่งใช้ปฏิทินซาง ปฏิทินไทยตรงกับปฏิทินโจว เมือ่ จิน๋ ซีฮอ่ งเต้ (ฉินสือ่ หวงตี)้ รวมแคว้นทัง้ หมดเข้าด้วยกันแล้ว ใช้ปฏิทนิ จวนซีว์ซึ่งเร็วกว่าปฏิทินโจว ๑ เดือน เดือนอ้ายของปฏิทินจวนซีว์ตรงกับเดือน สิบของปฏิทินเซี่ย (ปฏิทินไตในยูนนานตรงกับปฏิทินจวนซีว์ของราชวงศ์ฉิน) แบบแผนนี้ใช้ต่อมาจนถึงต้นราชวงศ์ฮั่น ปี พ.ศ. ๔๓๙ พระเจ้าฮั่นอู่ตี้จึงประกาศ 19
ถาวร สิกขโกศล
ใช้ปฏิทินไท่ชูซึ่งปรับปรุงมาจากปฏิทินเซี่ย ต่อมาแม้จีนจะปรับปรุงปฏิทินใหม่ อีก ๑๐๐ กว่าครั้ง แต่ก็ใช้ปฏิทินไท่ชูเป็นพื้นฐานแทบทั้งสิ้น หลักการส�ำคัญของปฏิทินแบบนี้คือ น�ำอุตุปักษ์ ๒๔ ปักษ์ เข้ามาควบกับ เดือนและใช้เป็นเกณฑ์กำ� หนดว่าจะใส่อธิกมาสเดือนไหน ปกติเดือนหนึ่งจะมี ๒ อุตุปักษ์ แต่เนื่องจากรอบปี ๒๔ อุตุปักษ์ มีวันมากกว่ารอบปี ๑๒ เดือนอยู่ ๑๐ วัน ๒๑ ชั่วโมง ดังนั้น ๒-๓ ปี จะมีอุตุปักษ์เกินมา ๑ อุตุปักษ์ คือจะมีอยู่ เดือนหนึ่งมีอุตุปักษ์เลขคี่ (เจี๋ยชี่) เพียงอุตุปักษ์เดียว ขาดอุตุปักษ์เลขคู่ (จงชี่) เดือนนั้นจึงเป็นเดือนไม่สมบูรณ์ ต้องใช้เป็นเดือนอธิกมาสที่เรียกว่า “ญุ่นเย่ว์ (闰月)” ของเดือนที่ผ่านไป เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ปฏิทินจีนมีเดือนเจ็ดสองหน เรียกว่า “ญุ่นชี (闰 七)” เพราะเดือนเจ็ดหลังมีอตุ ปุ ักษ์ที่ ๑๗ ไป๋ลู่ (น�้ำค้างขาว) เพียงปักษ์เดียว เริม่ ที่วัน ๑๖ ค�่ำ อุตุปักษ์ที่ ๑๘ ชิวเฟิน (ศารทวิษุวัต) เริ่มตรงวัน ๒ ค�ำ่ เดือนแปด อุตุปักษ์ที่ ๑๖ “ชู่สู่ (ร้อนคลาย)” ก็เริ่มที่วัน ๓๐ ค�ำ่ ของเดือนเจ็ดแรก เดือนที่มี ตัววันอุตุปักษ์เลขคี่ (เจี๋ยชี่) เพียงปักษ์เดียว ไม่มีวันอุตุปักษ์เลขคู่ (จงชี่) อยู่ต่อ จากเดือนไหนต้องเป็นเดือนอธิกมาสของเดือนนั้น ด้วยหลักการนี้ท�ำให้เดือนกับฤดูคลาดเคลื่อนกันน้อยที่สุดจนก�ำหนดได้ แน่นอนว่า เดือนหนึ่ง (เดือนอ้าย)-เดือนสามเป็นฤดูใบไม้ผลิ เดือนสี่-หกเป็น ฤดูร้อน เดือนเจ็ด-เก้าเป็นฤดูใบไม้ร่วง เดือนสิบ-สิบสองเป็นฤดูหนาว เดือน ปกติมี ๒ อุตปุ กั ษ์ เดือนอธิกมาสมีอตุ ปุ กั ษ์เดียว ปีปกติมี ๒๔ อุตปุ กั ษ์ ปีอธิกมาส มี ๒๕ อุตุปักษ์ แต่วัน ๑ ค�่ำเดือนอ้าย อันเป็นวันแรกของปีจันทรคติกับวัน ลี่ชุน (เริ่มวสันต์) ซึ่งเป็นวันแรกของปีสุริยคติอยู่ใกล้กัน เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ วันขึ้น ๑ ค�่ำ เดือนอ้าย ตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ หลังวันลี่ชุน (เริ่มวสันต์) วัน ที่ ๔ กุมภาพันธ์ เพียง ๒ วัน ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ วันขึ้น ๑ ค�่ำเดือนอ้าย ตรง กับวันที่ ๒๙ มกราคม ก่อนวันลี่ชุน วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๖ วัน บางปีวันขึ้น ๑ ค�่ำเดือนอ้าย ก็ตรงกับวันลี่ชุน เช่น ปี พ.ศ. ๒๓๑๕ และปี พ.ศ. ๒๓๕๓ อนึ่งปี พ.ศ. ๒๕๖๒ วัน ๑ ค�่ำเดือนอ้าย ตรงกับวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ หลังวัน ลีช่ นุ เพียงวันเดียว ปฏิทนิ แบบนีจ้ งึ ปรับเดือนกับฤดูให้สอดคล้องกันได้มากทีส่ ดุ เป็นภูมิปัญญาที่จีนค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. ๔๓๙ และใช้ตลอดมาจนปัจจุบัน ปฏิทินแบบนี้เหมาะแก่การกสิกรรม ปฏิทินจีนปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมา จากปฏิทินไท่ชูจึงมีชื่อเป็นทางการภาษาจีนว่า “หนงลี่ (农历)” แปลว่า “ปฏิทิน กสิกรรม” หรือ “ปฏิทินเกษตร” ดังกล่าวแล้วข้างต้น 20
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
เนื่องจากปฏิทินต่างๆ ที่จีนปรับปรุงใช้สืบทอดกันมากว่า ๒,๐๐๐ ปี มี ปฏิทินไท่ชูเป็นแม่บท การก�ำหนดวันเดือนปีในเทศกาลจีนจึงเป็นแบบแผน เดียวกันมาช้านานจนเป็นระเบียบลงตัวดังที่ใช้ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าปฏิทิน เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่สุดในการบอกฤดูกาลและวันเทศกาล
กานจือ : ระบบนับเวลา วัน เดือน ปี ของจีน กานจือเป็นระบบการนับเวลา วัน เดือน ปี และนักษัตรที่จีนค้นพบและ ไทยรับมาใช้ตั้งแต่โบราณ “กาน” มาจากค�ำว่า “เทียนกาน (天干)” แปลว่า “ก้านฟ้า” ค�ำไทยเรียก “แม่มอื้ ” “จือ” มาจากค�ำว่า “ตีจ้ อื (地枝)” แปลว่า “กิง่ ดิน” ค�ำไทยเรียก “ลูกมื้อ” “กานจือ” จึงแปลว่า “ก้านฟ้า-กิ่งดิน” หรือ “แม่มื้อ-ลูกมื้อ” “กิ่งดิน” หรือ “ลูกมื้อ” มี ๑๒ ล�ำดับ เดิมใช้เป็นชื่อจักรราศีบนท้องฟ้า ต่อมาใช้ บอกเวลาเป็นช่วงยาม ยามละ ๒ ชั่วโมง ก�ำกับบอกปีนักษัตร และเคยใช้เป็นชื่อ เดือนด้วย แต่ยุคหลังไม่ค่อยนิยมใช้ “ลูกมื้อ” หรือ “กิ่งดิน” (ตี้จือ) ๑๒ ล�ำดับ มีดังนี้ ล�ำดับ ชื่อจีนกลาง ชื่อไทย เวลา (น.) เดือน ปีนกั ษัตร ๑. จื่อ (子) ไจ้ ๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ สิบเอ็ด ชวด ๒. โฉ่ว (丑) เป๊า ๐๑.๐๐-๐๓.๐๐ สิบสอง ฉลู ๓. หยิน (寅) ยี๋ ๐๓.๐๐-๐๕.๐๐ อ้าย ขาล ๔. เหม่า (卯) เม้า ๐๕.๐๐-๐๗.๐๐ ยี่ เถาะ ๕. เฉิน (辰) สี ๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ สาม มะโรง ๖. สื้อ (巳) ไส้ ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ สี่ มะเส็ง ๗. หวู่ (午) ซง้า ๑๑.๐๐-๑๓.๐๐ ห้า มะเมีย ๘. เว่ย (未) เม็ด ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ หก มะแม ๙. เซิน (申) สัน ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ เจ็ด วอก ๑๐. อิ่ว (酉) เล้า ๑๗.๐๐-๑๙.๐๐ แปด ระกา ๑๑. ซีว์, ซวี (戌) เสด ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ เก้า จอ ๑๒. ไฮ่ (亥) ไก๊ ๒๑.๐๐-๒๓.๐๐ สิบ กุน ยามจื่อเป็นยามแรก คนจีนจึงถือว่าเริ่มวันใหม่เมื่อ ๒๓.๐๐ น. หรือ ๕ ทุ่ม แต่ที่ถือเอาเดือนสิบเอ็ดเป็นเดือนจื่อ (ชวด) เพราะจีนใช้ชื่อลูกมื้อทั้ง สิบสองนี้บอกล�ำดับเดือนในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งเดือนสิบเอ็ดของปฏิทินปัจจุบัน 21
ถาวร สิกขโกศล
เป็นเดือนแรกของปี จึงตัง้ ชือ่ เดือนอ้ายในครัง้ นัน้ ว่าเดือนจือ่ เดือนอ้ายของปฏิทนิ ปัจจุบันเป็นเดือนสามของปฏิทินโจว จึงเรียกเดือนหยิน (ขาล) อนึ่งวันตงจื้อ (เหมายัน) ซึ่งเป็นวันปีใหม่ทางดาราศาสตร์ก็อยู่ในช่วงเดือนจื่อ (ชวด) จึงถือ เดือนนี้เป็นเดือนแรกของปีทางดาราศาสตร์อีกด้วย ปฏิทินปัจจุบันซึ่งมีรากฐานมาจากปฏิทินเซี่ยถือว่าขึ้นปีใหม่เดือนหยิน (ขาล) แต่เดือนจื่อ (ชวด) ก็ยังเป็นเดือนสิบเอ็ดเหมือนเดิม การนับเดือนนี้ต่อมา ใช้ชื่อแม่มื้อก�ำกับหน้าลูกมื้อ เหมือนนับปีและนับวัน ซึ่งจะอธิบายในตอนต่อไป ท�ำให้ ๑ รอบเล็กมี ๑๒ เดือน ๑ รอบใหญ่มี ๖๐ เดือน แต่ภายหลังไม่ค่อยได้รบั ความนิยมจึงเลิกใช้ไป คงเหลือแต่ชอื่ ลูกมือ้ เป็นชือ่ เดือนทัง้ ๑๒ เดือนเหมือนเดิม ส่วน “เทียนกาน-ก้านฟ้า” หรือแม่มื้อนั้นใช้ก�ำกับหน้ากิ่งดินในการบอก ปี เดือน และวัน เพื่อให้ได้รายละเอียดชัดเจนขึ้นว่าเป็นปีนั้นวันนั้นรอบไหน ส�ำหรับไทยใช้บอกเลขตัวท้ายจุลศักราชด้วย เทียนกานหรือแม่มื้อมี ๑๐ ล�ำดับ ดังนี้ ล�ำดับ ชื่อจีนกลาง ชื่อไทย เลขตัวท้ายปีจุลศักราช ๑. เจี่ย (甲) กาบ ๖ ๒. อี่ (乙) ดับ ๗ ๓. ปิ่ง (丙) ระวาย ๘ ๔. ติง (丁) เมิง ๙ ๕. วู่ (戊) เบิก ๐ ๖. จี่ (己) กัด ๑ ๗. เกิง (庚) กด ๒ ๘. ซิน (辛) ลวง ๓ ๙. เญิ่น (壬) เต่า ๔ ๑๐. กุ่ย (癸) กา ๕ ในการบอกปีหรือเดือนต้องใช้แม่มื้อและลูกมื้อควบกัน แม่มื้อเลขคี่ควบ ข้างหน้าลูกมื้อเลขคี่ แม่มื้อเลขคู่ควบลูกมื้อเลขคู่ เริ่มตั้งแต่เจี่ยจื่อ (กาบไจ้) อี่โฉ่ว (ดับเป๊า) ปิ่งหยิน (ระวายยี) ติงเหม่า (เมิงเม้า)...เญิ่นเซิน (เต่าสัน) กุ่ยอิ่ว (กาเล้า) แล้วเริ่มที่แม่มื้อเจี่ย (ไจ้) ใหม่เป็นเจี่ยซีว์ (กาบเสด) อี่ไฮ่ (ดับไก๊) ครบ ๑๒ ปี ลูกมื้อเป็น ๑ รอบเล็ก จากนั้นเริ่มรอบเล็กที่ ๒ ที่ปีปิ่งจื่อ (ระวายไจ้) ติงโฉ่ว (เมิงเป๊า) ต่อไปเรื่อยๆ จนครบ ๕ รอบเล็ก ๖๐ ปี (หรือเดือน) เป็น ๑ รอบใหญ่ของรอบปีหรือรอบเดือน ข้อส�ำคัญต้องไม่ใช้แม่มื้อกับลูกมื้อที่เป็น 22
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้
เลขคู่และเลขคี่ควบกันเป็นอันขาด ด้วยวิธีนี้ชื่อลูกมื้อ (กิ่งดิน) จะบอกให้รู้ว่าเป็นปีนักษัตรอะไร ชื่อแม่มื้อ (ก้านฟ้า) ที่อยู่ข้างหน้าจะบอกให้รู้ว่าเป็นปีนักษัตรนั้นรอบที่เท่าไรใน ๕ รอบ ๕ รอบเล็กรวมเป็น ๑ รอบใหญ่ คือ ๖๐ ปี ด้วยเหตุนี้คนจีนจึงนิยมท�ำแซยิดหรือ ฉลองวันเกิดของตนเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี เพราะชื่อปีแม่มื้อ ลูกมื้อ และปีนักษัตร จะเหมือนกับปีที่ตนเกิดทั้งหมด เช่น คนเกิดปีชวดเจี่ยจื่อ (กาบไจ้) พออายุครบ ๖๐ ปีชวดนั้นก็จะเป็นปีเจี่ยจื่ออีก แต่ปีชวดรอบอื่นๆ จะไม่ใช่ปีเจี่ยจื่อเลย รวมความว่าการนับปีด้วยระบบกานจือ (แม่มื้อลูกมื้อ) ๑ รอบเล็ก (จุล จักร) มี ๑๒ ปี ๕ รอบเล็ก หรือ ๖๐ ปี เป็น ๑ รอบใหญ่ (มหาจักร) ส�ำหรับไทยนัน้ เมือ่ รับจุลศักราชมาใช้ ได้นำ� ชือ่ แม่มอื้ ก�ำกับบอกเลขตัวท้าย ของจุลศักราชด้วย เผอิญเมื่อเริ่มจุลศักราช ๑ (พ.ศ. ๑๑๘๒) นั้นเป็นปีกุนกัดไก๊ (己亥) จี่ไห จึงใช้แม่มื้อ “กัด (จี่)” ซึ่งเป็นอันดับ ๖ ก�ำกับเอกศก (จุลศักราชที่ ลงท้ายด้วยเลข ๑) แม่มื้อ “กาบ (เจี่ย)” ซึ่งเป็นอันดับ ๑ ก�ำกับฉศก (จุลศักราชที่ ลงท้ายด้วยเลข ๖) ดังปรากฏในตารางข้างต้น ปีระกา พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นปีจอ จุลศักราช (จ.ศ.) ๑๓๖๘ จึงมีชื่อปีแบบไทยเดิมตามระบบแม่มื้อลูกมื้อว่าปี “ระวายเสด” ตรงกับภาษาจีนว่า “ปิ่งซีว์ (丙戌)” ส่วนในการบอกวันนั้นก็ใช้วิธีเดียวกับบอกปีคือ ใช้แม่มื้อก�ำกับลูกมื้อ แต่ ไม่มีปีนักษัตร (และจุลศักราช) เข้ามาเกี่ยว เนื่องจากเดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน ๑ รอบเล็กของการนับวันจึงใช้รอบของแม่มื้อ คือรอบละ ๑๐ วัน ๓ รอบเล็กเป็น ๑ เดือน ๒ เดือนเป็น ๑ รอบใหญ่ เช่น วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่ง เป็นวันเทศกาลตงจื้อ มีชื่อวันตามระบบกานจือ (แม่มื้อลูกมื้อ) ว่าวัน “อี่อิ่ว (己酉)” ไทยเดิมว่า วันดับเล้า การเรียกชื่อวันแบบนี้ปัจจุบันในปฏิทินจีนและ คนจีนยังใช้อยู่ ในการบันทึกเรื่องส�ำคัญ เช่น วันเกิด วันตายของคนต้องบอก ชื่อวันแบบนี้ไว้ด้วย ส่วนคนไทยเลิกใช้มานานแล้ว ใช้ชื่อวันอาทิตย์ จันทร์ ฯลฯ แทน การเรียกชื่อวันและปีตามระบบแม่มื้อลูกมื้อ (กานจือ) นี้ สมัยโบราณใช้ แพร่หลายทั่วไปในกลุ่มคนไทยทุกถิ่น ทั้งไทลื้อในจีน ไทแดง ไทด�ำ ไทขาวใน เวียดนาม ไทใหญ่ในพม่า ไทอาหมในอินเดีย ลาว ไทยอีสาน ไทยล้านนา และ ไทยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานเรื่องนี้ในศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก เช่น จารึกหลักที่ ๓ ว่า “ศักราช ๑๒๗๙ ปีระกา เดือน ๘ ออก ๕ ค�ำ่ วัน ศุกร์ หนไทยกัดเล้า” หลักที่ ๔๕ ว่า “จุลศักราช ๗๕๔ มหาศักราช ๑๓๑๔ ขอม 23
ถาวร สิกขโกศล
ปีวอก ไทยปีเต่าสัน เดือนสี่บูรณมี ขอมวันพฤหัสบดี ไทยวันเต่าเม็ด” เนื่องจาก ใช้มานานจึงถือว่าเป็นชื่อแบบไทยเดิม เรียกว่า “หนไทย” ส่วนปีชวด ฉลู ฯลฯ เรียกว่าปีขอม วันอาทิตย์ จันทร์ ฯลฯ เรียกว่าวันขอมบ้าง วันเม็ง (มอญ) บ้าง น่าเสียดายที่ปัจจุบันคนไทยไม่รู้ชื่อจักชื่อปีและวันแบบเก่านี้แล้ว ส่วนจีนยังใช้ระบบกานจือบอกชื่อยาม (เวลา) วันและปีอยู่ ชื่อเดือนนับ ตามตี้จือ (ลูกมื้อ) ทั้ง ๑๒ ชื่อแม้เลิกใช้แล้ว แต่ชื่อที่ตั้งก�ำกับเดือนไว้ตั้งแต่ครั้ง ราชวงศ์โจวตะวันตกก็ยงั ไม่เปลีย่ นแปลงดังกล่าวแล้วข้างต้น วันเทศกาลจีนบาง วันก�ำหนดวันตามระบบนี้ เช่น วัน “ชุนเส้อ” บวงสรวงเสื้อบ้านในฤดูใบไม้ผลินั้น ก�ำหนดเอาวันวูท่ ี่ ๕ นับแต่วนั ลีช่ นุ มา ในปฏิทนิ จีนจึงบอกชือ่ ปีและวันตามระบบ กานจือ (แม่มื้อลูกมื้อ) ไว้ด้วยเสมอ อนึ่งการจดบันทึกเหตุการณ์ส�ำคัญของ คนจีนก็นิยมใช้ระบบนี้ควบกับวันเดือนปีสมัยใหม่ไว้ด้วย เพื่อให้แม่นย�ำชัดเจน ยิ่งขึ้น เช่น ฮ่องกงกลับเป็นของจีนเมื่อ ๐๐.๐๐ น. (เที่ยงคืน) วันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ ตรงกับปีติงโฉ่ว เดือนปิ่งวู่ วันเจี่ยเฉิน ยามจื่อ จีนเป็นชาติน่าชื่นชมที่เขาไม่ทิ้งมรดกวัฒนธรรมของตัวเอง กลับ น�ำมาใช้ร่วมกับของใหม่ได้อย่างดี
24
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้