The Myths of
Happiness
ที่ คิ ด ว่ า สุ ข กลั บ ไม่ ที่ คิ ด ว่ า ไ ม่ ก ลั บ สุ ข
Thai language translation rights belong to Matichon Publishing House arranged with InkWell Management LLC 521 Fifth Ave, 26th Floor, New York, NY. 10175, USA. through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.
The Myths of
Happiness
ที่ คิ ด ว่ า สุ ข กลั บ ไม่ ที่ คิ ด ว่ า ไ ม่ ก ลั บ สุ ข Sonja Lyubomirsky เขียน วิลาสินี เดอเบส แปล
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข • วิลาสินี เดอเบส แปล
จากเรื่อง The Myths of Happiness ของ Sonja Lyubomirsky Copyright © 2013 by Sonja Lyubomirsky. All rights reserved. Thai Language Copyright © 2014 by Matichon Publishing House. All rights reserved. พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, กุมภาพันธ์ 2557 ราคา 300 บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม ซอนญ่า ลิวโบเมอร์สกี. ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 392 หน้า. 1. การพัฒนาตนเอง. I. วิลาสินี เดอเบส, ผู้แปล II. ชื่อเรื่อง 158 ISBN 978 - 974 - 02 - 1246 - 1
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : วรางคณา เหมศุกล • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : มาลินี มนตรีศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ : กานต์สินี พิพิธพัทธอาภา
www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
ส า ร บั ญ
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้แปล บทน�ำ : มายาคติเรื่องความสุข ตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ บทที่ 1 ฉันจะมีความสุขเมื่อ... ฉันแต่งงานกับคนที่ใช่ บทที่ 2 ฉันจะไม่มีความสุขเมื่อ... ความสัมพันธ์ของฉันพังทลายลง บทที่ 3 ฉันจะมีความสุขเมื่อ... มีทายาทสืบสกุล บทที่ 4 ฉันจะไม่มีความสุขเมื่อ... ฉันไร้คู่เคียง
7 9 13 31 34 74 112
133
ตอนที่ 2 การงานและเงิน บทที่ 5 ฉันจะมีความสุขเมื่อ... ฉันพบงานที่ใช่ บทที่ 6 ฉันจะไม่มีความสุขเมื่อ... ไร้เงิน บทที่ 7 ฉันจะมีความสุขเมื่อ... ฉันรวย ตอนที่ 3 มองย้อนกลับ บทที่ 8 ฉันจะไม่มีความสุขเมื่อ... ผลตรวจร่างกายปรากฏออกมาว่าเป็นโรค บทที่ 9 ฉันจะไม่มีความสุขเมื่อ... ฉันรู้ว่าไม่สามารถเล่นเบสบอลต�ำแหน่งชอร์ตสตอป ให้กับทีมเดอะแยงกี้ส์ได้ บทที่ 10 ฉันจะไม่มีความสุขเมื่อ... ความรุ่งโรจน์ในชีวิตได้จบลงแล้ว บทสรุป : ณ ที่ซึ่งความสุขรออยู่จริง กิตติกรรมประกาศ หมายเหตุ
147 149 183 205 229 230
260 285 305 311 314
คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์
ในชีวต ิ คนคนหนึง่ มีเรือ่ งให้ตอ้ งคิดหรือวิตกกังวลอยูไ่ ม่กเี่ รือ่ ง ถ้าไม่นับปัจจัยพื้นฐานทั้งสี่ เรามักให้ความส�ำคัญกับเรื่องความสัมพันธ์ ความรัก และความส�ำเร็จในหน้าที่การงาน ตั้งแต่เล็กจนโต คนเรามักถูกปลูกฝังค่านิยมต่างๆ มากมาย ผ่าน การอบรมภายในครอบครัวและสถาบันการศึกษา ตลอดจนสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร นิยาย หรือละครทีว ี ชีวติ ทุกคนถูกก�ำหนดแบบแผนว่า ต้องตัง้ ใจ เรียนหนังสือ เมื่อเรียนจบแล้วต้องหางานการดีๆ ท�ำ ขั้นต่อไปคือเป็นเจ้า คนนายคนและหาเงินให้มากๆ เข้าไว้ นอกจากนีย้ งั ต้องหาคูค่ รองทีเ่ หมาะ สม เพื่อชีวิตครอบครัวที่ประสบความส�ำเร็จ จนกระทั่งเราเดินทางสู่ช่วง อายุมากขึ้น ก็ต้องเตรียมตัวรับกับบั้นปลายชีวิต บางทีแบบแผนดังกล่าวนี้อาจเป็นเพียง “มายาคติ” (Myth) อัน มาจากภาษากรีกซึ่งแปลว่านิทาน มายาคติคือความคิดความเชื่อที่ไม่ เป็นจริง แต่เรากลับยึดถือเป็นสรณะ ทั้งที่จริงแล้ว ความสุขอาจไม่จ�ำเป็น ต้องเกิดขึ้นจากแบบแผนที่สังคมวางไว้ ด้วยเหตุนี้เอง บางคนพอมีทุกอย่างแล้ว (งานดี เงินดี ครอบครัว ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
7
ดี) แต่กลับพบว่าตัวเองไม่มีความสุข คิดว่าชีวิตขาดอะไรไป จึงต้องมอง ออกไปข้างนอกเพื่อหาบางสิ่งมาเติมเต็ม แต่บางครั้งหากเราไม่หยุดคิด ทบทวน คอยแต่จะแสวงหาไม่รู้จักจบสิ้น เราก็จะไม่พบความสุขที่แท้จริง บางครั้งหนทางการค้นพบความสุขคือการมองไปรอบตัวเรา สุขหรือไม่ สุขขึ้นอยู่กับ “ทัศนคติ” หนังสือที่ท่านถืออยู่ในมือนี้จะแนะน�ำให้ท่านคิดทบทวนเกี่ยวกับ สิ่งที่บันดาลความสุข และเสนอแนะให้ลองมองไปรอบตัวจากจุดที่ยืนอยู่ ก่อนจะจมอยูก่ บั ความทุกข์ หรือตัดสินใจละทิง้ สภาพเพือ่ แสวงหาสิง่ ใหม่ๆ ที่ท่านเชื่อว่าจะพบความสุขได้ มีงานวิจัยสนับสนุนความคิดของผู้เขียน มากมาย จึงรับประกันได้ว่าน่าเชื่อถือ เราอยากให้ท่านลองท�ำวิธีการที่ ผู้เขียนแนะน�ำ และท่านจะพบว่าน�ำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ท่านคิดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนนักจิตวิทยาคู่กาย และ ท่านจะพบความสุขอันยั่งยืนได้ไม่ยากนัก ส�ำนักพิมพ์มติชน
8 วิลาสินี เดอเบส แปล
คํ า นํ า ผู้ แ ป ล
หนังสือซึ่งท่านถืออยู่ในมือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ช่วยอธิบายให้เรา เข้าใจชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต โดยอาศัยหลัก การทางวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ มาช่วยอธิบายจุดวิกฤตที่เราเผชิญอยู่ ท�ำ ให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้นและรู้จักตัดสินใจและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง อย่างมีสติรอบรู้ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เขียนครอบคลุมถึงปัญหาหัวเลี้ยวหัวต่อ ของผู้ใหญ่ นับตั้งแต่ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาเกี่ยวกับเงินทองและ การงาน และปัญหาเกี่ยวกับวัยกลางคนและเรื่องต่างๆ ที่ตามมา เมื่อแรกที่อ่านต้นฉบับ ดิฉันรู้สึกว่ามันน่าสนใจเพราะเป็นเรื่องที่ ใกล้ตวั มาก อ่านไปอ่านมายิง่ เห็นชัดว่าปัญหาบางอย่างก็ชา่ งสะท้อนภาพ ตัวเราเองทั้งในอดีตและในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ อ่านแล้วแบบว่าใช่เลย อย่างบางครั้งเกิดอาการจิตตก หนังสือก็ให้ข้อ เสนอแนะในการสร้างอารมณ์ทางบวกอย่างง่ายๆ เมื่อลองเอาไปปฏิบัติ ดู ปรากฏว่ามันช่วยได้จริงๆ ดังนัน้ ดิฉนั จึงหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือเล่ม นี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน และท�ำให้ท่านสามารถใช้เป็นแนวทาง ในการรับมือกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้ไม่มากก็น้อย อนึ่ง หนังสือเล่มนี้ ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
9
คงจะออกมาเป็นรูปเป็นร่างไม่ได้หากปราศจากคุณวรางคณา เหมศุกล บรรณาธิการเล่ม ผู้ช่วยแก้ไข ให้ค�ำแนะน�ำและขัดเกลาส�ำนวนให้เป็น อย่างดี ดิฉันจึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ดิฉันขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย วิลาสินี เดอเบส
10 วิลาสินี เดอเบส แปล
ที่ คิ ด ว่ า สุ ข กลั บ ไม่ ที่ คิ ด ว่ า ไ ม่ ก ลั บ สุ ข
“ชีวิตมีองค์ประกอบต่างๆ มากมาย จนเป็นไปไม่ได้และจะไม่มีวันเป็นไปได้ ที่จะให้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ตรงตามความคาดหวังของเรา” -ชาร์ล็อต บร็องเต
“ใครก็ตามที่ไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมี ย่อมไม่มีวันพอใจกับสิ่งที่เขาอยากมี” -โซเครตีส
“โอกาสมักเกิดขึ้นแก่ผู้มีจิตใจเตรียมพร้อม” -หลุยส์ ปาสเตอร์
บ ท นํ า มายาคติเรื่องความสุข
เราเกือบทุกคนต่างก็เชื่อในสิ่งที่ดิฉันเรียกว่า “มายาคติเรื่อง ความสุข” ซึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า การประสบความส�ำเร็จบางอย่างในวัย ผู้ใหญ่ (การแต่งงาน มีลูก หน้าที่การงาน และความร�่ำรวย) จะท�ำให้เรา มีความสุขไปตลอดชีวิต และหากประสบความล้มเหลวหรือโชคไม่ดี (มี ปัญหาสุขภาพ ไร้คู่ชีวิต ขัดสนเรื่องเงินทอง) จะท�ำให้เราไม่มีความสุข ตลอดไป ความเข้าใจแบบคร่าวๆ เกี่ยวกับความสุขเช่นนี้เป็นผลมาจาก วัฒนธรรมและยังคงเชื่อกันต่อมา ทั้งๆ ที่มีหลักฐานมากมายแสดงให้เห็น ว่าความสุขส�ำราญของเราไม่ได้ด�ำเนินไปตามทฤษฎีขาวและด�ำเช่นนั้น 1 มายาคติเกี่ยวกับความสุขท�ำนองนั้น เรื่องหนึ่งก็คือ “ฉันจะมีความ สุขก็ต่อเมื่อ ……….. (เติมค�ำในช่องว่าง)” ฉันจะมีความสุขเมื่อได้เลื่อน ต�ำแหน่ง เมื่อได้ตอบว่า “ครับ/ค่ะ” ต่อหน้าบาทหลวงในพิธีแต่งงาน เมื่อ ฉันมีลูก เมื่อฉันร�่ำรวย และอื่นๆ อีกมากมาย นั่นไม่ใช่ว่าการประสบ ความส�ำเร็จในเรื่องต่างๆ เหล่านั้นจะท�ำให้เราไม่มีความสุข เกือบร้อยทั้ง ร้อยมันจะท�ำให้เรามีความสุขแน่ๆ ปัญหาอยูท่ วี่ า่ ความส�ำเร็จต่างๆ เหล่านี้ ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
13
แม้แรกเริ่มจะท�ำให้เรารู้สึกปลาบปลื้มพอใจ แต่ก็ไม่สามารถท�ำให้เรา รูส้ กึ มีความสุขได้อย่างแท้จริง (หรือตราบนานเท่านาน) ดังทีเ่ ราเชือ่ ดังนัน้ เมื่อความส�ำเร็จในสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้ท�ำให้มีความสุขดังที่คาดไว้ เรา จึงรู้สึกว่าตนเองมีบางสิ่งผิดปกติหรือไม่ก็มีแต่เราคนเดียวเท่านั้นที่รู้สึก เช่นนี้ มุมมองอีกด้านหนึง่ เกีย่ วกับมายาคติในเรือ่ งความสุขทีผ่ คู้ นมากมาย หลงเชื่อและยังเป็นผลร้ายพอกันนั้นก็ใช่ว่าจะถูกต้อง มีคนเชื่อว่า “ฉันไม่ สามารถมีความสุข เมื่อ........(เติมค�ำในช่องว่าง)” เมื่อโชคชะตาผันแปร เกิดเรื่องร้ายขึ้นในชีวิตเรามักจะมีปฏิกิริยาเลยเถิด เรารู้สึกว่าไม่สามารถ มีความสุขได้อีกและชีวิตที่เคยมีมาได้จบสิ้นลงแล้ว ชีวิตรักของฉันมีปัญหา ฉันเดินตามความฝันของตัวเองได้ส�ำเร็จ แต่ก็รู้สึกเคว้งคว้างมากกว่าเดิม งานของฉันไม่เหมือนเดิม ผลตรวจเลือด ออกมาเป็นบวก ฉันมีเรื่องที่ท�ำให้เสียใจมากมาย ดิฉันหวังว่าหนังสือเล่ม นี้จะบอกคุณผู้อ่านอย่างชัดเจนว่า แม้อาจจะมีเรื่องต่างๆ ที่ท้าทายอย่าง ใหญ่หลวง และอาจท�ำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดย ถาวรก็ตาม แต่การตอบสนองของเราต่อปัญหาเหล่านั้นต่างหากที่เป็น ส่วนส�ำคัญ ตามจริงแล้วปฏิกิริยาตอบสนองในเบื้องตนของเรานั่นเองที่ ท�ำให้ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตกลายเป็นภาวะวิกฤต แทนที่จะเป็นภาวะ เปลี่ยนผ่านธรรมดาๆ ของชีวิตที่คาดการณ์ได้ น่าเสียดายที่ปฏิกิริยาตอบ สนองในเบื้องต้นของเรานั่นเองกลับมาเป็นตัวบังคับให้เราเลือกทางออก ที่เกินกว่าเหตุ (และมักจะก่อให้เกิดแต่ความเสียหาย) ตัวอย่างเช่น เมื่อ เรารู้สึกว่าไม่พอใจกับงานที่ท�ำอยู่อีกต่อไป ปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างแรกของ เราก็อาจเป็นการสรุปว่างานนั้นมีสิ่งผิดปกติและเริ่มมองหางานในบริษัท ใหม่โดยทันที จริงๆ แล้วเราสามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ โดยอาจ จะพยายามปรับเปลี่ยนและหันมาพิจารณางานของเราเอง เช่น กลับมา พิจารณาทบทวนความคิดและความรู้สึกของตนในปัจจุบัน 14 วิลาสินี เดอเบส แปล
หนังสือเล่มนีค้ รอบคลุมปัญหาหัวเลีย้ วหัวต่อของผูใ้ หญ่สบิ ประการ เริ่มจากปัญหาความสัมพันธ์ (การแต่งงาน การเป็นโสด การมีลูก) ตาม ด้วยปัญหาเกี่ยวกับเงินทองและการงาน (ความเบื่อหน่ายงาน ความ ส�ำเร็จ และความล้มเหลวทางการเงิน) และจบด้วยปัญหาเกีย่ วกับวัยกลาง คนและเรือ่ งต่างๆ ทีต่ ามมา (ปัญหาสุขภาพ การแก่ตวั และความผิดหวัง) คุณจะเริ่มอ่านปัญหาวิกฤตต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวคุณมากที่สุดหรือที่ คุณอยากรู้มากที่สุดก่อนก็ได้ตามสบาย ดิฉันหวังว่าเราทุกคนจะมีความ รู้สึกร่วมกับบางปัญหา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ดิฉันได้บรรยาย เอาไว้ เพราะปัญหาบางประการเหล่านั้นอาจจะสะท้อนภาพตัวเราใน อดีต ปัจจุบัน และในอนาคตก็ได้ เมื่ออายุมากขึ้น ความรับผิดชอบและ พ่ายแพ้สูญเสียก็ถาโถมเข้ามา ท�ำให้ชีวิตยุ่งยากและท้าทายขึ้นและบาง ครั้งก็สับสนยุ่งยากไปกว่าเดิม ดังนั้น การใช้เวลาพิจารณาเหตุการณ์ ส�ำคัญๆ และองค์ประกอบพื้นฐานของชีวิตเราอย่างละเอียด รวมทั้งมอง ดูว่าอะไรท�ำให้เรามีปฏิกิริยาโต้ตอบแบบนั้น จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ก่อนที่สิ่งต่างๆ จะเริ่มแย่ลงไป แทนที่จะรู้สึกหวาดกลัวหรือเศร้าสร้อยหดหู่ ภาวะวิกฤตของคุณ อาจจะเป็นโอกาสที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ส�ำคัญในทิศทาง ที่ดีก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเด็นส�ำคัญอยู่ที่ว่าคุณจะรับมือกับมันอย่างไร : ดังที่ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า โอกาสมักเกิดขึ้นแก่ ผู้มีจิตใจเตรียมพร้อม ดิฉันเลือกงานวิจัยมาจากหลากหลายแขนงที่ เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่จิตวิทยาเชิงบวก จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาบุคลิกภาพ และจิตวิทยาคลินกิ เพือ่ ช่วยพวกคุณผูก้ ำ� ลังเผชิญปัญหาพลิกผันทีส่ ำ� คัญๆ ของชีวติ ให้รจู้ กั เลือกทางเดินได้อย่างฉลาด ความรูท้ างวิทยาศาสตร์ทดี่ ฉิ นั น�ำมาอธิบายจะช่วยท�ำให้คุณมีมุมมองกว้างขึ้น โดยเฉพาะเป็นการมอง ส�ำรวจเหตุการณ์ของคุณจากมุมสูง และช่วยผลักดันให้คุณก้าวไปได้ไกล กว่าที่คิด ดิฉันบอกคุณไม่ได้ว่าให้เลือกทางไหน แต่สามารถช่วยหาทาง ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
15
เลือกต่างๆ เพื่อให้คุณตัดสินใจด้วยตัวเองได้อย่างมีสติรอบรู้และดีขึ้น ดิฉันสามารถช่วยให้คุณบรรลุถึงการมีจิตใจที่เตรียมพร้อม ซึ่งก็คือการ เข้าใจว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหนและไม่ได้อยู่ที่ไหน ภาวะวิกฤตของเรา หรืออีกนัยหนึ่งคือเมื่อเรารู้สึกว่าชีวิตจะไม่มี วันเหมือนเดิมอีกต่อไป หรือเมื่อถึงเวลาที่เราต้องรับสภาพความจริงบาง อย่าง หรือได้รับข่าวสารส�ำคัญๆ ทั้งหมดนี้เป็นช่วงเวลาส�ำคัญในชีวิต ของเราทั้งสิ้น มันเป็นช่วงเวลาที่เราจ�ำขึ้นใจและเก็บเอาไปครุ่นคิด เรา จ�ำเป็นต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนและหาทางออก นี่เป็นเรื่องถูกต้อง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราท�ำเช่นนี้เพราะสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น เรื่อง “ใหญ่โต” แต่เป็นเพราะว่าทางแยกที่ดูเหมือนจะมีแต่ความสิ้นหวัง นั้นอาจจะเป็นทางออกไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีในชีวิตเราก็ได้ งานวิจัย ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าคนที่เคยประสบความทุกข์ร้อนบางอย่างมา (เช่น ประสบเหตุการณ์แย่ๆ มาหลายครั้งหรือประสบภาวะผกผันในชีวิต) โดย ท้ายสุดแล้วจะเป็นคนที่มีความสุขมากกว่าคนที่ไม่เคยประสบความทุกข์ ร้อนเลย (และเป็นคนที่ไม่ค่อยเครียด เป็นกังวล ไม่ค่อยชอกช�้ำใจ หรือ เป็นทุกข์น้อยกว่า)2การผ่านความทุกข์ร้อนมาหลายครั้ง “ท�ำให้เราแกร่ง ขึ้น” และท�ำให้เราพร้อมมากขึ้นในการเผชิญกับสิ่งท้าทายและความทุกข์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตภายหลังไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ นอก เหนือไปจากการปรับตัวโดยทั่วไปให้เข้ากับสถานการณ์แล้ว นักวิจัยยัง แสดงให้เห็นว่าการท�ำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่ท้าทายในชีวิต ยังช่วย ให้เราก�ำหนดและคงความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้ ซึ่งเป็นการเสริมสร้าง ทัศนคติการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของเรา รวมทั้งยังท�ำให้เรา รับมือกับสาเหตุแห่งความเครียดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย 3ใน ที่สุดประสบการณ์ด้านลบทางอารมณ์ เช่น ความเศร้าโศก ความกังวล และความโกรธ ในช่วงภาวะวิกฤตของเรา–ถ้าอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ไม่ถึง ขั้นรุนแรงและเรื้อรัง–สามารถเป็นประโยชน์อย่างมากที่สุด เพราะประสบ 16 วิลาสินี เดอเบส แปล
การณ์ทางอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ท�ำให้เรารับมือกับภาวะขวัญเสีย ความ ผิดพลาดและปัญหาต่างๆ ที่เราต้องให้ความเอาใจใส่นั่นเอง สรุปความ ได้ว่า การเรียนรู้ที่จะมองให้พ้นไปจากความคาดหวังต่างๆ ที่มาพร้อม มายาคติเรื่องของความสุข อาจจะท�ำให้เรารู้สึกอึดอัดและทุกข์ทรมาน ในช่วงแรก แต่มันก็มีศักยภาพที่จะน�ำไปสู่พัฒนาการความก้าวหน้าและ ความส�ำเร็จได้ เราอาจมองว่าจุดหักเหส�ำคัญๆ มากมายเป็นทางแยกมากกว่า สองทางที่เราสามารถเดินต่อไป ปฏิกิริยาตอบสนองของเราต่อจุดหักเห เหล่านี้ (ซึ่งในขณะนั้นอาจดูเหมือน “ไม่สามารถแก้ไขได้”) เป็นส่วนหนึ่ง ทีจ่ ะก�ำหนดว่าผลของมันจะออกมาเป็นอย่างไร หากเราเข้าใจว่าความเชือ่ ในเรื่องความสุขมีอิทธิพลต่อค�ำตอบของเราอย่างไร ก็น่าจะเป็นไปได้ที่ เราจะรู้จักตอบโต้อย่างฉลาด ตามจริงแล้ว การไม่เข้าใจผลกระทบของ ความเชือ่ ผิดๆ ทีว่ า่ “ฉันจะมีความสุข เมือ่ [ฉันมีคชู่ วี ติ มีงาน มีเงิน มีลกู ]” อาจจะท�ำให้เราตัดสินใจผิดพลาดมาก เช่น การลาออกจากงานทีด่ ี ละทิง้ ชีวิตแต่งงานที่ดีพร้อม ท�ำลายสัมพันธภาพของเรากับลูกๆ ใช้จ่ายสุรุ่ย สุร่าย และท�ำลายความนับถือตัวเอง และหากเรายังคงเชื่อว่า “ฉัน ไม่ สามารถ มีความสุขได้ เมื่อ [ฉันไร้คู่ชีวิต ไร้เงินทอง หมดวัยหนุ่มสาว ไม่ ประสบความส�ำเร็จ]” เราก็อาจจะสร้างความคาดหวังแบบเข้าข้างตัวเอง ขึ้นมาโดยไม่เจตนา ดังเห็นได้จากการที่จุดหักเหต่างๆ เหล่านั้นกลับมา ท�ำลายความสุขและท�ำให้ชีวิตซึ่งยังคงเป็นที่น่าพอใจของเราเกิดความ เสียหาย วิธีการตอบโต้กับภาวะวิกฤตต่างๆ นั้นอาจจะมีผลกระทบอย่าง มหาศาลไปตลอดชีวิตของเรา ไม่ว่าเราจะยอมจ�ำนนต่อปัญหาทั้งๆ ที่ ควรจะสู้กับมันหรืออยู่เฉยๆ ทั้งๆ ที่ควรจะลงมือท�ำอะไร ในช่วงเวลาเหล่า นี้เราเลือกอนาคต ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
17
ครัง้ หนึง่ นานมาแล้ว มีชาวนาวัยชราคนหนึง่ อาศัยอยูท ่ ห ี่ มูบ ่ า้ น ยากจนในชนบท บรรดาเพื่อนบ้านของชาวนาคนนี้เห็นว่าเขามีอันจะกิน ทั้งนี้เพราะเขาเป็นเจ้าของม้าที่ใช้เก็บเกี่ยวพืชผลมานานหลายปี วันหนึ่ง ม้าคู่ใจของเขาก็หนีไป เมื่อเพื่อนบ้านได้ยินข่าวดังกล่าวจึงนัดมารวมตัว กันเพือ่ ปลอบโยนชาวนา “โชคไม่ดเี ลย” พวกเขากล่าวอย่างเห็นอกเห็นใจ “ก็อาจจะเป็นอย่างนั้น” ชาวนาตอบ เช้าวันรุ่งขึ้นม้าตัวนั้นกลับมาและ น�ำม้าป่ามาอีกหกตัว “เยี่ยมจริงๆ” เพื่อนบ้านชื่นชมยินดี “ก็อาจจะเป็น อย่างนั้น” ชายชราตอบ วันต่อมาบุตรชายของชาวนาพยายามผูกอาน และขึ้นขี่ม้าป่าตัวหนึ่งในฝูงนั้น แต่เขาถูกดีดตกลงมาขาหัก เพื่อนบ้าน ของชาวนามาเยี่ยมเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจในคราวเคราะห์ของบุตร ชาย “ก็อาจจะเป็นอย่างนั้น” ชาวนากล่าว วันถัดมาเจ้าพนักงานเกณฑ์ ทหารมาที่หมู่บ้านเพื่อเกณฑ์ชายหนุ่มให้ไปเป็นทหาร เมื่อเห็นว่าบุตรชาย ของชาวนาขาหักพวกเขาจึงมองข้ามไป เพื่อนบ้านแสดงความยินดีกับ ชาวนาที่เรื่องร้ายกลับกลายเป็นดี “ก็อาจจะเป็นอย่างนั้น” ชาวนาตอบ โคลงบรรทัดหนึ่งซึ่งตัดตอนมาจากบทกวี “Auguries of Innocence” ของวิลเลียม เบล้ค (William Blake) ทีว่ า่ “สุขและเศร้าคลุกเคล้า ถักทอ”(Joy and woe are woven fine) แสดงให้เห็นถึงคติพจน์จาก เรื่องที่ยกมาได้เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งยังช่วยตอบค�ำถามที่ว่า ท�ำไมมายา คติเรื่องความสุขจึงเป็นการส�ำคัญผิด เราอาจจะคิดว่าตัวเองรู้ว่าจุดหักเห บางอย่างน่าจะท�ำให้เราหัวเราะหรือร้องไห้ แต่ข้อเท็จจริงก็คือเหตุการณ์ ทางบวกและทางลบมักจะพัวพันกันอยู่ ส่งผลให้เกิดความคาดหมาย อย่างซับซ้อนมากเกี่ยวกับผลที่ตามมาซึ่งอาจจะไม่เป็นอย่างที่คิดก็ได้ ใน ท�ำนองเดียวกันเมื่อเรามองดูเรื่องดีเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นกับเราในอดีตที่ผ่าน มาและมองดูเรื่องที่เลวร้ายที่สุดด้วย เราอาจจะแปลกใจที่ได้เรียนรู้ว่า ทั้งสองเรื่องมักจะเป็นสิ่งเดียวกัน บางครั้งเราอาจจะอกหักรักคุด แต่การ เป็นโสดก็ท�ำให้เราเป็นตัวของตัวเองขึ้นและท�ำให้เราได้พบคนที่เหมาะสม 18 วิลาสินี เดอเบส แปล
มากกว่า เราอาจจะถูกให้ออกจากงานซึ่งท�ำมานาน แต่เหตุการณ์นั้น กลับกระตุ้นให้เราเปลี่ยนไปยังสายงานที่น่าตื่นเต้นมากกว่าก็ได้ หรือ บางทีเราอาจจะตืน่ เต้นดีใจทีข่ ายกิจการบริษทั ได้กำ� ไรมากมาย แต่ปจั จุบนั มานั่งเสียใจอยู่ว่าเป็นการท�ำพลาดครั้งใหญ่ในชีวิต4 กล่าวโดยสรุปก็คือ เรามั กจะไม่ ส ามารถรู้โดยทันทีว่าเหตุการณ์ใดจะเปลี่ยนชีวิตเราและ เปลี่ยนไปทางใด บางครั้งเหตุการณ์ในทางดี เช่น การถูกล็อตเตอรี่ ได้ เลื่อนต�ำแหน่ง มีลูก ก็อาจจะท�ำให้เกิดภาวะวิกฤตหรือสร้างความผิดหวัง ให้อย่างมาก เพราะท่าทีซึ่งไม่ปีติยินดีนักของเราต่อเหตุการณ์เหล่านั้น ขัดต่อความเชื่อในเรื่องที่ว่าอะไรควรจะท�ำให้เรามีความสุข บางครั้งเรื่อง ร้าย เช่น ตกงาน ฝันสลาย หรือสูญเสียคู่ชีวิตไป กลับกลายเป็นทางสู่สิ่ง ดีๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราคิดได้ว่า การเชื่อว่าเหตุการณ์แย่ๆ จะก่อผล เสียหายให้เราไปตลอดนั้นเป็นสิ่งที่ผิด ศาสตราจารย์ทิม วิลสัน จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย และศาส- ตราจารย์แดน กิลเบิร์ต พร้อมคณะจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ท�ำ การทดลองส�ำคัญๆ อย่างต่อเนื่อง โดยสรุปความว่าข้อผิดพลาดส�ำคัญ ของเราก็คือความเข้าใจผิดว่าเหตุการณ์ด้านลบอย่างหนึ่ง (เช่นได้รับการ วินิจฉัยว่ามีเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือถูกปลดออกจากงานที่เรารัก) จะท�ำให้ ชีวิตของเราสิ้นหวัง รวมทั้งเข้าใจผิดด้วยว่าเหตุการณ์ด้านบวกอย่างใด อย่างหนึ่ง (เช่นได้รับการจ้างงานไปตลอดชีวิตหรือได้รับค�ำตอบตกลงใน การขอแต่งงาน) จะท�ำให้เราดีใจอย่างเหลือล้น5 เหตุพนื้ ฐานทีเ่ ราคิดเช่นนี ้ ถูกสรุปเป็นคติพจน์อย่างดีไว้ในคุกกี้ท�ำนายทายทักที่ว่า : “ไม่มีอะไรใน ชีวิตส�ำคัญอย่างที่คุณคิด ทั้งๆ ที่คุณก�ำลังนึกถึงมันอยู่” หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ เราคิดว่าการเปลี่ยนแปลงในชีวิตมีผลต่อความสุขของเราอย่างเกิน จริง เพราะเราไม่ตระหนักว่าต่อไปในอนาคตเราอาจจะไม่นกึ ถึงมันอีกแล้ว ตัวอย่างเช่น เมือ่ เราพยายามจินตนาการว่าตัวเองจะรูส้ กึ ทุกข์ระทม ขนาดไหนเมื่อชีวิตรักล่มสลาย หรือพยายามจินตนาการว่าเราจะรู้สึก ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
19
ปลาบปลื้มขนาดไหนหลังจากที่เราหาเงินมาซื้อบ้านในฝันริมทะเลได้ ตามจริงแล้วเราละเลยที่จะค�ำนึงถึงว่าหลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว เมื่อ เวลาผ่านไปเป็นวัน สัปดาห์ และเดือน มันย่อมมีเหตุการณ์อื่นๆ เข้ามา แทรก ท�ำให้ความสุขหรือความทุกข์ของเราทุเลาเบาบางลงไป ปัญหา ต่างๆ ในชีวติ ประจ�ำวัน (เช่น การจราจรติดขัด หรือบังเอิญได้ยนิ ค�ำนินทา ว่าร้าย) และเรื่องต่างๆ ที่ท�ำให้อิ่มเอมใจในแต่ละวัน (เช่น พบเพื่อนเก่า โดยบังเอิญ) ดูเหมือนจะมีผลอย่างมากต่ออารมณ์ของเรา ดังนั้น มันจึง ท�ำให้ความเศร้าโศกจากการแยกทางกันทุเลาลง หรือท�ำให้ความดีอก ดีใจที่มีบ้านใหม่จางลง หากจะกล่าวไป มีสาเหตุอื่นอีกสองประการที่ท�ำให้เราออกนอกลู ่ นอกทาง ไม่สามารถคาดเดาความรู้สึกของตัวเองในอนาคตได้ ประการ แรกก็คือ เราไม่สามารถจินตนาการถึงผลกระทบของจุดเปลี่ยนแปลงที่ เราก�ำลังคาดการณ์อยูไ่ ด้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น พวกเรามากมายต่าง วาดภาพชีวิตการแต่งงานในอนาคตซึ่งประกอบด้วย การออกไปปิกนิก แบบโรแมนติกกันสองต่อสอง นั่งจิบแชมเปญใกล้เตาผิง มีเพศสัมพันธ์ บ่อยครั้งตามที่เราต้องการ รวมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการตัดสิน ใจเรื่องยากๆ ในชีวิต และมีลูกน้อยน่าเอ็นดูนอนหลับปุ๋ยอยู่ในอ้อมแขน โดยมีคู่ชีวิตของเราช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทุกครั้ง เรามีแนวโน้มที่จะไม่ นึกถึงความเครียด การที่ชีวิตมีขึ้นๆ ลงๆ ความรักใคร่ใหลหลงที่จืดจาง ลงไป ความขัดแย้ง การเข้าใจผิด และความผิดหวังจากความรักที่อยู่มา ยาวนาน-ทุกอย่างซึ่งเรามองข้ามไปในช่วงฮันนีมูนอันแสนสั้น ในท�ำนอง เดียวกันการนึกภาพว่าเราจะเป็นอย่างไรถ้าตกงาน หรือต้องเผชิญกับ ความโศกเศร้า หรือต้องอยู่เป็นโสด ล้วนแต่หดหู่และสิ้นหวังทั้งสิ้น สาเหตุประการที่สองที่ท�ำให้เราคาดการณ์ไม่ได้ก็คือ การที่เรา ประเมินอิทธิพลของสิ่งที่กิลเบิร์ตและวิลสันเรียกว่า “ระบบภูมิคุ้มกัน ทางจิตใจ” ต�่ำเกินไป แม้ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกัน 20 วิลาสินี เดอเบส แปล
เชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บ แต่เราก็ยังมีทักษะและความสามารถพิเศษ ซึ่งเราเองไม่ได้ใส่ใจหรือล่วงรู้ ตัวอย่างเช่น เรามีความสามารถพิเศษใน การท�ำความเข้าใจกับความล้มเหลวผิดพลาดของตัวเอง ไปจนถึงรู้จักใช้ ความพยายามอย่างหนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยปกป้องเราไม่ให้ล้มลุกคลุก คลานเมื่อเกิดคราวเคราะห์หรือเกิดความเครียด มนุษย์เราค่อนข้างเก่ง เรื่องการปรับตัวและรู้จักมองข้ามได้อย่างรวดเร็ว รู้จักอธิบายเพื่อแก้ ปัญหาหรือละทิ้งประสบการณ์แย่ๆ หรือเปลี่ยนให้มันเป็นไปในทางบวก เมือ่ เราลองนึกดูวา่ ตัวเองจะรูส้ กึ เป็นทุกข์อย่างไรเมือ่ รูว้ า่ ถูกตัดชัว่ โมงท�ำงาน ไปมากมาย เราอาจจะไม่มองว่าประสบการณ์ ความรู้สึกผิดหวังและ การสงสัยในตัวเองในเบื้องต้นจะบรรเทาลงไปเพราะเรามีร่างกายแข็งแรง มากขึ้น (จากการที่มีเวลาออกก�ำลังกายมากขึ้น) เราจะมีเวลาใกล้ชิดกับ ลูกมากขึ้น (จากการที่มีเวลาเพิ่มขึ้นในสนามเด็กเล่น) เราจะตระหนักได้ ว่า อันที่จริงตัวเองไม่ได้อยากเป็นนายหน้า (เรามีเวลาอยู่ด้วยกันสองต่อ สองยามดึกกับคู่ชีวิตมากขึ้น) และเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีวุฒิภาวะมากขึ้น (จากการส�ำนึกถึงคุณค่าของความพ่ายแพ้ที่ท�ำให้เราเห็นความแข็งแกร่ง ของตัวเอง โดยไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีอยู่) โปรดอย่าเข้าใจดิฉันผิด : ความ รู้สึกเป็นทุกข์ในเบื้องต้นจากการถูกปฏิเสธหรือตกงานนั้น ใช่ว่าจะเปลี่ยน ไปเป็นความยินดีปรีดาเสียเมื่อไหร่ แต่จากการค้นคว้าพบว่าระบบภูม ิ คุ้มกันทางจิตใจจะช่วยบรรเทาความทุกข์ไปได้6 ที่น่าสังเกตคือ ระบบภูมิคุ้มกันทางจิตใจของเราก็ยังท�ำงานหลัง จากเกิดเหตุการณ์ด้านบวกเช่นกัน ดังที่ดิฉันได้กล่าวถึงในบทที่ 2 บทที่ 6 และบทที่ 8 ว่ามนุษย์เรามีความสามารถอย่างมากในการปรับตัวให้เข้า กับความสัมพันธ์ใหม่ งานใหม่ รวมทั้งการเป็นเศรษฐีใหม่ และการ ปรับตัวได้ดีเช่นนี้เองท�ำให้แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอันแสนจะน่ายินดี ในชีวิตกลับไม่ได้สร้างความปลาบปลื้มอะไรมากนักเมื่อกาลเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “การปรับตัวให้เคยชิน” (hedonic adaptation) ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
21
และเป็นสาระส�ำคัญของหนังสือเล่มนี้ การที่มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเคย ชินกับเกือบทุกสิ่งในทางบวกที่เกิดขึ้นนั่นเองเป็นอุปสรรคอันยุ่งยากต่อ ความสุขของเรา อย่างไรก็ดี หากเราคิดว่าการได้งานใหม่ มีคนรักใหม่ มีบ้านใหม่ และการประสบความส�ำเร็จครั้งใหม่เป็นเรื่องธรรมดาแล้วละ ก็ ความสุขและความพอใจในสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะด�ำรงอยู่ได้อย่างไร จาก ค�ำถามข้อนี้ ดิฉันได้เสนอค�ำแนะน�ำจากหลักฐานเชิงประจักษ์ไว้เพื่อเป็น แนวทางให้เราก้าวพ้นหรือเอาชนะอุปสรรคข้อนี้ไปได้ อีกทั้งเพื่อช่วยให้ เราหาทางออกเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าและพบกับความสมหวัง เหตุผลของดิฉันก็คือ เมื่อเราเริ่มเข้าใจความคิดที่ผิดๆ และเข้าใจ อคติต่างๆ อันเป็นตัวกระตุ้นการตอบสนองของเราแล้ว เราก็จะเข้าใจว่า แม้ทางเดินต่อไปข้างหน้าอาจดูแจ่มชัดก็ตาม แต่มันไม่มีทางหนึ่งทางใด โดยตรงทีเ่ หมาะสมหรือทางหนึง่ ทางใดส�ำหรับเรือ่ งของเรา แต่มนั มีหลาย เส้นทาง ดิฉันหวังว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้จะช่วยท�ำให้เราเข้าใจแต่ละ เส้นทางอันมีลกั ษณะเฉพาะของตัวเองได้ดยี งิ่ ขึน้ มันมีความเสีย่ งมากมาย และหลายสิ่งอยู่ในสภาพเปราะบาง เพราะไม่ว่าเราจะเลือกเส้นทางไหน ก็ตาม เส้นทางนั้นย่อมจะมีผลกระทบมากมายต่อไปในภายภาคหน้า- โดยที่เราไม่สามารถเลือกท�ำใหม่ได้อีก เจมส์ ซอลเตอร์ เขียนไว้ในนิยาย เกี่ยวกับชีวิตการแต่งงาน เรื่อง Light Years ว่า “ทุกสิ่งที่เราท�ำ หรือแม้ แต่อะไรก็ตามที่เราไม่ได้ท�ำ ล้วนขัดขวางไม่ให้เราท�ำสิ่งตรงกันข้าม การ กระท�ำเป็นตัวท�ำลายโอกาสในทางเลือก และนั่นคือความขัดแย้งในตัว มัน”7
มัลคอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm Gladwell) เขียนไว้ในหนังสือ เรื่อง Blink:The Power of Thinking Without Thinking ซึ่งติดอันดับ ขายดี โดยขยายความคิดไว้ว่า การตัดสินใจในชั่วพริบตาโดยอาศัยข้อมูล 22 วิลาสินี เดอเบส แปล
น้อยนิดรวมทั้งใช้อารมณ์และสัญชาตญาณล้วนๆ มักจะเป็นการตัดสิน ใจที่ดีกว่าการใช้เหตุผลและการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน8 สื่อมวลชนกล่าว ขานถึงความคิดเช่นนี้ไปทั่ว ดังนั้น แนวคิดที่ท�ำให้รู้สึกดีเช่นนี้จึงเป็นที่ นิยมในหมู่ชนมากมาย แน่นอนที่ว่าการตัดสินใจและใช้วิจารณญาณ ในเรื่องส�ำคัญๆ โดยอาศัยสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม อะไรเลย! จึงเป็นที่ชื่นชอบอย่างยิ่งโดยเฉพาะในหมู่ชาวอเมริกันผู้โหยหา ทางออกในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ในหนังสือเล่มนี้ ดิฉันขอแย้งว่า การไตร่ตรองซ�้ำเป็นครั้งที่สอง หรือแม้แต่ครั้งที่สามอาจจะเป็นความคิดที่ดีที่สุด วิธีการของดิฉันก็คือ “จงคิด และอย่ากะพริบตา” การถกเถียงเรื่องความคิดแรกกับความคิดที่สอง (หรือล�ำดับต่อๆ มา) ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากันนั้นมีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ เพลโตและอริส- โตเติล ผู้เป็นนักปรัชญา นักเขียน และในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาก็ มีนกั จิตวิทยาสังคม รวมทัง้ นักจิตวิทยากลุม่ ปัญญานิยม ได้จำ� แนกความ แตกต่างในการท�ำงานของสมองออกเป็นสองส่วนในขณะที่เราต้องตัดสิน ใจและลงความเห็น9 ส่วนแรก (ซึ่งมีชื่อเรียกออกจะขัดหูว่า ระบบ 1 ดิฉัน จะเรียกว่า สัญชาตญาณ) คือที่แกลดเวลล์กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง Blink เมื่อเราใช้สัญชาตญาณการหยั่งรู้หรือใช้อารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้น ตัดสินใจว่าเราควรจะออกจากงานไหม นั่นคือการใช้ระบบสัญชาตญาณ การตัดสินใจเช่นนี้จะเป็นไปอย่างอัตโนมัติและรวดเร็วมากจนถึงขั้นที่เรา ไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าอะไรเป็นตัวจูงใจ ในหนังสือเล่มนี้ดิฉันจะอธิบายถึงความ เชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับความสุขของเราที่มีอิทธิพลต่อความคิดแรกๆ แต่ละ อย่างเหล่านี้ การท�ำงานของส่วนที่สอง (ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ระบบ 2 แต่ดิฉันจะเรียกว่า ส่วนที่มีเหตุผล) มีความสุขุมรอบคอบมากกว่า เมื่อ เราใช้เหตุผลหรือใช้เวลาคิดทบทวนในการตัดสินใจว่าจะลาออกไปหา ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
23
งานใหม่นั้น เราต้องรวบรวมก�ำลังและความพยายาม ใช้เวลาอย่างค่อย เป็นค่อยไป เราพินจิ พิเคราะห์อย่างระมัดระวังและเป็นระบบ และอาจจะ ใช้หลักการหรือกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ หนังสือเล่มนี้จะท�ำ ให้คุณฉุกคิดและช่วยคุณตัดสินใจ ช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา มีหนังสือในแวดวงจิตวิทยามากมายที่ระบุ ข้อผิดพลาดและอคติซึ่งท�ำให้มนุษย์ใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจ แย่ๆ10 ที่แน่ๆ ก็คือ มนุษย์เรามักจะท�ำผิดพลาดอย่างมหันต์เมื่อมีการ ตัดสินใจ นั่นก็เพราะว่าระบบสัญชาตญาณของเรา–ซึ่งพวกเราหลายคน ต่างเชื่อถือมาก–ใช้ทางลัดจากการใช้จิตในการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และแกมโกงซึ่งมักจะพาเราเข้ารกเข้าพง (“เธอได้ยินเรื่องยิงกันที่โรงหนัง หรือเปล่า ฉันอยู่ดูทีวีดีกว่า”) อย่างไรก็ดี แม้ระบบสัญชาตญาณจะมี อันตรายแอบแฝงอยู่ก็ตาม ความคิดวูบแรกตามสัญชาตญาณของเรา มักจะน่าจูงใจมากกว่าความคิดที่ไตร่ตรองเป็นล�ำดับที่สองหรือสาม อัน ที่จริงการตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณดูเหมือนจะเกิดขึ้นอย่างปุบปับ อัตโนมัติและโดยไม่ได้ถามหา เราจึงเผชิญกับมันอย่างที่เกือบจะเรียก ได้ว่าเป็นข้อมูล “ที่ให้มา” หรือข้อมูลซึ่งปฏิเสธไม่ได้11 ดังนั้น เมื่อเรารู้สึก อย่างแรงกล้าว่าเราต้องลาออกจากงาน–แม้ว่าความรู้สึกเช่นนั้นจะมีที่มา จากมายาคติเรื่องของความสุขก็ตาม–เรายอมรับว่าสัญชาตญาณที่ว่านั้น มีความหมายเป็นพิเศษและเห็นดีเห็นงามเพราะ “รู้สึกว่ามันถูกต้อง” จริงๆ แล้วเรามีแนวโน้มที่จะโอนเอียงไปในการใช้สัญชาตญาณมากกว่า แม้จะเห็นชัดว่าปราศจากเหตุผลก็ตาม ดิฉันไม่ได้หมายความว่าการคิดทบทวนสองหรือสามครั้งเป็นวิธีที่ ถูกเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมองและใจของเราให้ข้อคิดเห็นที่ขัด แย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงก็คือการตอบสนองเบื้องต้นของเรา (หรือความคิด วูบแรก) ในยามวิกฤตนั้น (เช่น “ชีวิตของฉันแย่ลงเรื่อยๆ” หรือ “ฉันคง จะไม่มีความรักได้อีก”) มัวหมองไปด้วยอคติของตนเองและเต็มไปด้วย 24 วิลาสินี เดอเบส แปล
ความคิดผิดๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เราเชื่อว่าอะไรควรจะท�ำให้เรามีความสุขหรือ ไม่มีความสุข ดิฉันมีวัตถุประสงค์ที่จะตีแผ่รวมทั้งแยกแยะอคติและความ คิดที่ผิดๆ เหล่านี้ ที่แน่ๆ ก็คือ เราจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร เมื่อเกิดการเปลี่ยน แปลงที่ส�ำคัญในชีวิต คุณจะเปลี่ยนปฏิกิริยาโต้ตอบที่เคยชินได้อย่างไร หรือคุณจะเปลีย่ นส�ำนึกทีเ่ กิดจากการใช้สญ ั ชาตญาณอันมีทมี่ าจากความ คิดผิดๆ เกี่ยวกับความสุขให้เป็นส�ำนึกที่เป็นเหตุเป็นผลได้อย่างไร หลัง จากที่คุณเข้าใจความคิดซึ่งมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาโต้ตอบของตัวเองแล้ว คุณก็ตอ้ งตัดสินใจว่าจะกระท�ำอย่างไรหรือจะเปลีย่ นทัศนคติหรือไม่ (และ อย่างไร) โดยวิธีนี้มายาคติเกี่ยวกับความสุขของคุณจะกลายมาเป็น จิตใจที่เตรียมพร้อม นั่นก็คือจิตใจที่ผ่านการเตรียมพร้อมมาเพื่อรู้จัก ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้เหตุผล และรู้จักคิดแทนการมองอะไรๆ เพียง พริบตาเดียว เมื่อคุณพิจารณาเรื่องที่ดิฉันมุ่งเน้นในบทที่ 1 ที่ว่าคุณรู้สึก เบื่อหน่ายชีวิตแต่งงาน ความคิดวูบแรกของคุณก็อาจจะประมาณว่า “ฉันรู้สึกไม่ได้รักสามีมากเหมือนเคย ชีวิตแต่งงานของเราต้องมีปัญหา แน่ๆ หรือเขาต้องไม่ใช่คนนั้นของฉันอีกต่อไปแล้ว” ดิฉันใช้หลักฐานทาง ด้านทฤษฎีและเชิงประจักษ์เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงความเชื่อผิดๆ ที่ซ่อน อยู่ในความคิดของคุณ เช่น ความคิดที่ว่าชีวิตการแต่งงานต้องเป็นที่น่า พอใจไปตลอด และชี้แนะเกี่ยวกับการจัดการกับปัญหา หาทางแก้ไข หรือแนะหาวิธีให้คุณจัดการกับสถานการณ์ของตัวเอง จากนั้นคุณจะ ตัดสินใจท�ำอย่างไรต่อไปในสภาพการณ์เช่นนี้? หากจะกล่าวไป นัก จิตวิทยาได้เสนอค�ำแนะน�ำมากมายที่ใช้ได้จริงและมีหลักฐานสนับสนุน12 ประการแรกคือพยายามจดจ�ำสัญชาตญาณเบือ้ งต้น หรือปฏิกริ ยิ า ฉับพลันเกี่ยวกับทางเลือกที่คุณปรารถนา โดยอาจจะจดไว้ก็ได้และจาก นัน้ ก็ลมื มันไปก่อน หลังจากทีค่ ณ ุ ใช้เวลาไตร่ตรองสถานการณ์ของตัวเอง อย่างเป็นระบบแล้ว คุณอาจจะกลับมาทบทวนปฏิกิริยาฉับพลันในเบื้อง ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
25
ต้นที่คิดไว้ เนื่องจากคุณมีข้อมูลใหม่ๆ หรือความเข้าใจที่ลึกซึ้งนั้นเอง ประการที่สอง ให้คุณมองหาความคิดเห็นจากคนนอก (เพื่อนฝูงที่เป็น กลางหรือผู้ให้ค�ำปรึกษา) หรือเพียงแค่พยายามมองสถานการณ์จากมุม มองของผู้สังเกตการณ์โดยไม่ล�ำเอียง สิ่งส�ำคัญคือคุณต้องไม่ผูกอยู่กับ รายละเอียดส�ำคัญๆ ของปัญหา (เช่น คุณก�ำลังประสบปัญหาชีวิตรัก จืดจางลง) และพยายามพิจารณาดูว่าปัญหาที่คุณประสบอยู่จัดอยู่ใน ประเภทของปัญหาใดอย่างกว้างๆ (เช่น เรือ่ งเสน่หท์ างกายในความสัมพันธ์ ที่อยู่มายาวนาน) ประการที่สาม ขอให้คุณพิจารณาดูสิ่งซึ่งตรงกันข้าม กับอะไรก็ตามที่สัญชาตญาณบอกให้คุณท�ำ และลองประมวลดูผลที่เกิด ขึ้นในใจของคุณ ท้ายสุด เมื่อคุณเดินมาถึงทางเลือกซึ่งเกี่ยวพันกับการ ตัดสินใจหลายๆ อย่าง (ไม่ใช่แค่เรื่องเดียว) คุณต้องประเมินทางเลือก ต่างๆ ควบคู่กันไปไม่ใช่แยกประเมินเป็นเรื่องๆ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจโดยพิจารณาทางเลือกต่างๆ “ควบคู่” กันไปนั้น ประสบผล ส�ำเร็จมากกว่าและมีแนวโน้มที่จะเกิดอคติน้อยกว่าการตัดสินใจ “เป็น เรื่องๆ” แม้ข้อเสนอแนะทั้งสี่ประการนี้จะไม่ใช่ยาวิเศษ แต่ก็มีศักยภาพที ่ จะน�ำเราให้ไปในทิศทางที่ตัดสินใจได้ดีขึ้นยามประสบปัญหาชีวิตและ เมื่อเกิดสภาวะวิกฤตต่างๆ อย่างไรก็ดี เราควรจะระมัดระวังด้วยว่าการ วิเคราะห์อย่างเป็นระบบรอบคอบนั้นต้องไม่กลายเป็นการครุ่นคิดวิตก กังวลหรือหมกมุ่นเกี่ยวกับทางเลือกในชีวิต การวิตกกังวลครุ่นคิดเป็น ความเคยชินซึ่งเป็นอันตราย เพราะมันมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดวงจร ความเสียหายที่รังแต่จะเพิ่มความเป็นทุกข์กังวลสิ้นหวัง และท� ำให้เรา “หย่อนขีดความสามารถเพราะครุ่นคิดมากเกินไปนั่นเอง” ถ้าความคิด ล�ำดับที่สองหรือสามของเราเกิดขึ้นซ�้ำซาก หรือวกวนไปมา นั่นแสดงว่า เราก�ำลังวิตกกังวลอยู่ ไม่ใช่ก�ำลังพินิจพิจารณา กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเราก�ำลังเผชิญกับความจริงบางอย่างหรือ 26 วิลาสินี เดอเบส แปล
เผชิญกับการเปลีย่ นแปลงส�ำคัญๆ ในชีวติ ย่อมเป็นธรรมดาทีเ่ ราต้องการ โต้ตอบโดยทันทีและเป็นไปตามสัญชาตญาณ แต่การใช้เวลาคิดอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปและไม่ด่วนสรุปนั้นมีประโยชน์มหาศาล ความคิดวูบ แรกนั้นจะพาเราไปได้เพียงครึ่งทาง ถึงแม้จะเป็นการยากที่จะบอกว่า ท�ำอย่างไรจึงเหมาะสมที่สุด เราก็สามารถเริ่มจากการปฏิเสธความคิด วูบแรก และหันมาเปิดหูเปิดตาหาค�ำตอบมากมายที่น่าจะเป็นไปได้ใน การแก้ไขมรสุมชีวิต ดิฉันไม่สามารถให้ค�ำแนะน�ำแต่ละท่านได้ว่าควรจะเลือกเส้น ทางใด พวกเราแต่ละคนต้องเลือกหาเส้นทางเฉพาะของตัวเอง ทางเลือก ไม่ว่าจะจ�ำเพาะเจาะจงหรือทางอ้อมก็ตามอาจจะเหมาะสมไม่มากก็น้อย เป็นประโยชน์หรือน่าพอใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องราวส่วนตัวของเรา กลุ่ม คนที่เราสามารถพึ่งพาได้ในยามยาก รวมถึงบุคลิกลักษณะส่วนตัว จุด มุ่งหมายและความพร้อมนั่นเอง นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อคนเรา ประพฤติปฏิบัติตัวเหมาะสมกับบุคลิกภาพ ความสนใจ และค่านิยมของ ตนแล้ว พวกเขาจะรู้สึกพอใจและเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น รวมทั้งประสบ ความส�ำเร็จและเอาใจใส่ในสิ่งที่ตัวเองท�ำมากขึ้น และรู้สึกว่าสิ่งที่ท�ำนั้น “ถูกต้อง” อีกด้วย13 ถ้าจะพูดให้ถกู หนังสือเรือ่ ง ทีค่ ดิ ว่าสุขกลับไม่ ทีค่ ดิ ว่า ไม่กลับสุข มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้การวิจัยล่าสุดทางวิทยาศาสตร์มาช่วย อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับจุดวิกฤตที่พวกเขาเผชิญอยู่ ช่วย ขจัดความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความสุขซึ่งผลักดันให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบใน ขั้นต้น และแนะน�ำวิธีซึ่งช่วยให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจได้เอง พร้อมทั้ง พัฒนาทักษะและอุปนิสัยใหม่ๆ ในการคิด เมื่อผู้อ่านเข้าใจส�ำนึกที่เป็น เหตุเป็นผลอย่างลึกซึ้งและรู้จักตีตัวออกห่างจากปัญหาเฉพาะของตัวเอง แล้ว พวกเขาก็จะมีจิตใจที่พร้อมส�ำหรับการเผชิญสภาวะวิกฤตครั้งต่อไป ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
27
แม้เริ่มแรกเราอาจจะรู้สึกหมดหวัง หรือสับสน หรือแม้แต่สลด หดหู่กับจุดวิกฤตในชีวิต แต่ในขณะเดียวกันมันเป็นโอกาสในการเปลี่ยน แปลงชีวิตของเรา หรืออย่างน้อยที่สุดก็ท�ำให้เรารู้จักมองภาพได้ชัดเจน ขึ้น ความรู้ความเข้าใจใหม่นี้จะท�ำให้เราสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ต่อไป ท้ายทีส่ ดุ คือ หนังสือ ทีค่ ดิ ว่าสุขกลับไม่ ทีค่ ดิ ว่าไม่กลับสุข ต้องการ บอกผู้อ่านว่า เราแต่ละคนสามารถรู้ได้ว่าตนเองจะก้าวไปในเส้นทางใดที่ จะท�ำให้ชีวิตสมหวังและประสบความสุข
28 วิลาสินี เดอเบส แปล
ตอนที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์
ปัญหาความทุกข์อันเกิดจากการไร้คู่นั้นสร้างความปวดร้าว เป็นอย่างยิ่งให้กับพวกเราหลายคน ดิฉันจึงหยิบยกมาเป็นสาระส�ำคัญ ในบทนี้ ตัวอย่างจ�ำเพาะที่ดิฉันเคยทราบมาก็คือความเครียดจากการ หย่าร้างนั้นเทียบเท่ากับความเครียดอันเกิดจากประสบการณ์รถชนทุกวัน เป็นเวลาหกเดือนทีเดียว วันหนึ่งเราอาจถามตัวเองว่าฉันควรจะอยู่กับ คู่ชีวิตต่อไปหรือควรจะเลิกกันดี หรือฉันควรจะรู้สึกมีความหวังกับชีวิต แต่งงานไหม หรือควรจะเลิกหวังที่จะพบเนื้อคู่ ค�ำถามเหล่านี้ตอบได้ยาก แต่ยังดีที่วงการศึกษาด้านจิตวิทยามากมายได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า ท�ำไมเราจึงตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตตั้งแต่แรก และยังอธิบายด้วยว่า สถานการณ์เหล่านั้นสามารถน�ำเราไปในแนวทางซึ่งมีลักษณะอย่างไร เมื่อเราพบว่าตัวเองก�ำลังประสบปัญหาหนักเกี่ยวกับชีวิตรักหรือครอบครัว ก่อนที่เราจะลงมือท�ำอะไรนั้น จ�ำเป็นที่จะต้องพิจารณาดูความคาดหวัง เชิงวัฒนธรรมของเราเกี่ยวกับการหาคู่ครองและการมีลูกหลานสืบสกุล เสียก่อน นั่นก็เพราะว่าพวกเราส่วนใหญ่ต่างก็เห็นด้วยและมีความคาด หวังเช่นนี้ เรารู้สึกมั่นใจว่าเมื่อเดินไปถึงหลักชัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
31
ตัวเองตั้งไว้ (พบคนที่ใช่เนื้อคู่หรือได้เป็นพ่อเป็นแม่คน) จะท�ำให้เรามี ความสุขไปตลอด และคิดว่าการเดินไปไม่ถึงหลักชัยเหล่านั้น (ไม่พบเนื้อ คู่ หรือคนที่ใช่กลับกลายเป็นไม่ใช่) จะท�ำให้เราทุกข์ระทมตลอดกาล ใน บทนีด้ ฉิ นั หวังว่าจะผลักดันให้พวกเราทุกคนเผชิญกับความคาดหวังรวมทัง้ ทัศนคติต่างๆ เหล่านี้ และท�ำให้เราหันมาพิจารณาดูงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ซึง่ แสดงให้เห็นว่าเราอาจจะผิดพลาดอย่างไร ตัวอย่างเช่น งานวิจยั หลาย ชิ้นระบุว่าคนเราสามารถปรับตัวได้ดีเป็นพิเศษเมื่อต้องพบกับสิ่งที่ท้าทาย เช่นเมื่อเป็นคนโสดหรือกลายเป็นคนโสด หรือเมื่อต้องอดทนกับบทบาท ของการเป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องลองผิดลองถูกและแสนยากล�ำบาก แต่ใน ทางกลับกันเราก็สามารถปรับตัวได้รวดเร็วดีในสภาวะการเปลี่ยนแปลง ด้านบวก เช่น การแต่งงานใหม่และการได้งานใหม่ เป็นต้น ทางห้อง ทดลองของดิฉันรวมทั้งห้องทดลองของนักจิตวิทยาสังคมและนักเศรษฐ ศาสตร์เชิงพฤติกรรมได้ท�ำการศึกษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับการ ที่เรามองข้ามคุณค่าของชีวิต และที่ส�ำคัญคือการที่เราสามารถเบี่ยงเบน หรือชะลอพฤติกรรมความเคยชินได้ยามที่เรารู้สึกเบื่อ เช่น เกี่ยวกับชีวิต และเรื่องเพศสัมพันธ์ของเราเอง บทเรียนจากงานวิจัยนี้อาจจะชี้น�ำให้เรา มีความเข้าใจลึกซึ้งและรู้จักแก้ปัญหาได้โดยไม่คาดคิด ดิฉันจะให้ข้อเสนอแนะไว้เพื่อคุณจะได้รู้ว่าท�ำอย่างไรตัวเองจึงมี ความสุขและสมปรารถนามากขึ้น โดยหาทางจัดการกับพฤติกรรมความ เคยชินซึ่งรังแต่จะสร้างความเสียหาย และท้ายสุดก็คือการตัดสินใจว่าถึง จุดไหนที่คุณควรจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อให้กลับไปมีความสุขดังเดิม ท�ำให้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันดีขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นการก้าวไปสู่การ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แม้ดิฉันจะไม่สามารถบอกคุณได้ว่าต้องท�ำอะไร แต่ดิฉันใช้ผลการวิจัยล่าสุดเหล่านี้ช่วยให้คุณมองเห็นหนทางที่ต้องเผชิญ ในขณะเดียวกันก็แนะวิธีการซึ่งคุณสามารถน�ำไปใช้พัฒนาหาค�ำตอบที่ เหมาะสมได้–หรือจะพูดให้ถูกก็คือเป็นค�ำตอบที่ถูกต้องส�ำหรับคุณนั่นเอง 32 วิลาสินี เดอเบส แปล
โชคดีที่การวิจัยใหม่ๆ มากมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ใกล้ชิดสามารถเผย ให้เห็นถึงวิธีคิดผิดๆ ที่ซ่อนอยู่ในปฏิกิริยาโต้ตอบของคุณต่อชีวิตการ แต่งงานหรือการหย่าร้าง หรือการเลี้ยงลูก หรือการเป็นโสด และความ เข้าใจใหม่นี่เองจะเป็นการเปิดสู่ทางเลือกที่เป็นไปได้ส�ำหรับตัวคุณ ทุกคน จะระลึกถึงตัวเองตอนใดตอนหนึ่งในงานวิจัย รวมทั้งระลึกถึงข้อสรุป จากวิทยาศาสตร์สาขาใหม่น ี้ หลังจากทีค่ ณ ุ เลิกมองสถานการณ์ของตัวเอง แบบขาวกับด�ำแล้ว (เช่น “ฉันต้องอยู่” หรือ “ฉันต้องไป”) ทางเลือกใน การก้าวเดินต่อไปของคุณจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
ที่คิดว่าสุขกลับไม่ ที่คิดว่าไม่กลับสุข
33