เสียงตอบรับแนวคิดของเดวิด โอเว่น “โอเว่น...แสดงเหตุผลที่น่าคล้อยตามว่า แมนฮัตตัน ฮ่องกง และเมืองเก่า ขนาดใหญ่หลายเมืองในยุโรป มีความเป็นสีเขียวมากกว่าเมืองที่มีประชากร หนาแน่นน้อยกว่า เพราะผู้อยู่อาศัยมีเปอร์เซ็นต์การเดิน ขี่จักรยาน และใช้ บริการขนส่งมวลชนสูงกว่าการขับรถยนต์ส่วนตัว พวกเขาใช้โครงสร้างพื้น ฐานและบริการสาธารณะร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า พวกเขา อาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กกว่า ใช้พลังงานสร้างความอบอุ่นให้บ้านของพวกเขา น้อยกว่า (เพราะบ้านเหล่านั้นมักจะใช้ผนังร่วมกัน) และพวกเขามีแนว โน้มน้อยที่จะสะสมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เปลืองพลังงาน หนังสือที ่ มีลักษณะทั้งชวนท้าตีท้าต่อยและบีบบังคับเล่มนี้ ให้ความสนุกสนานเมื่อ คิดถึงค่าใช้จ่ายที่กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบชนบทผู้อ่อนไหว นักสิ่งแวดล้อมที่มี จิตใจสูง และคนรวยก�ำลังเสียไป เพื่อสร้างความส�ำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่ สูงขึ้น” เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ บุ๊ก รีวิว “เดวิด โอเว่น เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่สมควรได้รับความนับถือ เขาใช้เวลา มากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ส�ำรวจจังหวะของสิ่งแวดล้อม ท�ำการวิจัยเพื่อเขียน หนังสือยอดเยี่ยมซึ่งตอนนี้อยู่เบื้องหน้าเรา สไตล์การเขียนของโอเว่นดีเยี่ยม และเฉลียวฉลาด มันไม่ใช่ธรรมชาติของเขาที่จะเป็นนักเตือนภัย แต่นี่คือ หนังสือเตือนภัยอย่างแท้จริง ซึ่งบางทีจะเป็นมากกว่านั้นเสียอีก เพราะโอเว่น บอกเล่าอย่างจริงจังมาก แค่ข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวก็ท�ำให้รู้ว่าการใช้
โวหารรุ่มรวยเป็นเรื่องไม่จ�ำเป็นในการเน้นย�้ำความเร่งด่วนของปัญหาแต่ อย่างใด ไม่มีใครสามารถโบกไม้กายสิทธิ์ และเปลี่ยนหายนะด้านสิ่งแวด ล้อมของเมืองบางเมืองให้เป็นแบบแมนฮัตตันได้ทันที ด้วยอพาร์ตเมนต์สูงๆ ในเมืองที่หนาแน่น ระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และคนเดินเท้า จ�ำนวนนับไม่ถ้วน มีโอกาสมากที่เรายังคงล้มลุกคลุกคลานไปตามทาง ท�ำ ตามใจตัวเอง และปิดตาของเราไม่มองดูความจริงจนกระทั่งมันชนเราอย่าง แรง พร้อมด้วยผลกระทบที่ไม่น่าปรารถนาและอาจจะถึงขั้นหายนะ ซึ่งคง จะเกิดขึ้นไม่นานนี้” เดอะ วอชิงตัน โพสต์ “เดวิด โอเว่น มักสุขใจเสมอกับความเข้าใจอันลึกซึ้งและความท้าทายของ เขาที่มีต่อแนวคิดแบบดั้งเดิม ในหนังสือเล่มนี้ เขาท�ำอย่างนั้นอีกครั้งด้วย การเจาะทะลวงความเชื่อปรัมปราเกี่ยวกับการอยู่อาศัยในพื้นที่ชนบทอัน เงียบสงบที่เชื่อว่าดีต่อระบบนิเวศ และย�้ำเตือนเราว่าท�ำไมการอาศัยอยู่ใน เมืองจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มันเป็นชัยชนะของแนว คิดและการเขียนที่ชัดเจน” วอลเตอร์ ไอแซคสัน ผู้เขียนหนังสือ “สตีฟ จ๊อบส์” “ในขณะที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้ต�ำหนิติเตียนว่าแมนฮัตตันเป็นฝันร้ายด้านสิ่ง แวดล้อม แต่จนถึงขณะนี้แมนฮัตตันกลายเป็นเมืองสีเขียวที่สุดในอเมริกา การโต้แย้งนี้ได้กระตุ้นปลุกเร้าเจตนารมณ์ของผู้วางผังเมืองที่ห่วงใยระบบ นิเวศ ข้อเขียนที่ลื่นไหลและจิกกัดของโอเว่นส่งเสียงปะทุดังเปรี้ยง ด้วยข้อ เท็จจริงอันน่าทึ่งที่สร้างความเข้าใจถ่องแท้ที่สามารถเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ผลลัพธ์ก็คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ที่ยากล�ำบากของสิ่งแวดล้อมโลกที่น่า สนใจแบบต้านทานไม่อยู่ ซึ่งโค่นความคิดแบบดั้งเดิม และชี้หนทางที่จะน�ำ ไปสู่การแก้ปัญหาที่ปฏิบัติได้” พับลิชเชอร์ส วีกลี่
แน่ ใจหรือว่าช่วยโลก? The Conundrum
เดวิด โอเว่น เขียน นงนุช สิงหเดชะ แปล
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2556
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล 11. ปัญหาที่ยากจะแก้ 12. เผาสรรพสิ่ง 13. เชื้อเพลิงฟอสซิลในฐานะบัตรเครดิต 14. การฝังกลบขยะที่มีใบรับรอง “สีเขียว” 15. ปัญหาก็มีนวัตกรรมเหมือนกัน 16. ชุมชนเขียวที่สุดในสหรัฐอเมริกา 17. เรียนรู้จากแมนฮัตตัน 18. รักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว 19. สโมสรเซียร์ร่าหรือสโมสรแมนฮัตตัน? 10. สโมสรเซียร์ร่าหรือสมาคมผู้เกษียณอายุ? 11. ท�ำไมน�้ำมันเลวร้ายกว่าถ่านหิน 12. ให้พวกเขากินกะหล�่ำปลีสิ?
7 9 13 25 30 36 40 44 49 55 60 63 67 71
13. จราจรติดขัดไม่ใช่ปัญหาสิ่งแวดล้อม 80 14. การขนส่งสาธารณะที่เลวร้ายส�ำหรับสิ่งแวดล้อม 86 15. รถไฟความเร็วสูงและความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ “พรีอุส” 91 16. ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ค�ำตอบ 97 17. วิลเลียม สแตนลีย์ เจวอนส์ 101 18. ค�ำถามเกี่ยวกับถ่านหิน 106 19. ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้การบริโภคพลังงาน โดยรวมสูงขึ้นได้อย่างไร 113 20. การเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ของภาวะ “เด้งกลับ” 120 21. ความส�ำคัญของการ “น้อยลง” 131 22. “กรีนคาร์” ที่แท้จริงดูเหมือนอะไร? 137 23. ความเหลือเฟือและก๊าซธรรมชาติราคาถูก ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 145 24. ไฟส่องสว่างราคาถูกและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 150 25. การใช้น�้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ช่วยแก้ปัญหาน�้ำของโลกที่ก�ำลังเลวร้ายลง 154 26. เผาขยะไม่ใช่ค�ำตอบ 160 27. เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ “กรีน” 167 28. กรีนหรือไม่กรีน? 176 29. เล่นว่าว 179 30. ใช้ประโยชน์จากลมโดยไม่ต้องมีกังหัน? 185 31. เศรษฐศาสตร์แห่งนวัตกรรมที่น่าท้อแท้ 192 32. จากห้องแล็บสู่โครงข่ายไฟฟ้า 198 33. นวัตกรรมถอยหลัง 203 34. ปัญหาที่แก้ยาก 212
คํานําสํานักพิมพ์
ตั้ ง แต่ ศ ตวรรษที่ 19 เป็ น ต้ น มา โลกเราหมุ น ไปอย่ า งไม่ หยุดยั้งด้วยเทคโนโลยีอันก้าวหน้า ที่หวังว่าจะช่วยให้ชีวิตมนุษยชาติ สุขสบายขึ้น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง มนุษย์จึงค่อยตระหนักได้ว่าเราอาจบริโภคพลัง งานกันมากเกินไปเสียแล้ว แต่ ณ จุดนั้น เราเองก็เคยชินกับความสบาย เสียจนละทิ้งสิ่งที่ได้มาไม่ลง มนุษย์จึงหันไปพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อท�ำให้การใช้พลังงานของเราดู “มีประสิทธิภาพ” มากขึ้นกว่าเดิม และ เข้าใจเอาเองว่า สิ่งนี้แหละที่จะช่วยโลกของเรา การรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก หันมาใช้ถุงผ้าแทน เป็นวิธีการที่ด ี ในแง่ของการ “ลด” การใช้สารที่ไม่เป็นมิตรกับอากาศ แต่เราอาจลืม มองไปว่าปริมาณการผลิตถุงผ้าที่ “เพิ่ม” ขึ้นอย่างรวดเร็วตามโรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ จะสร้างมลพิษตามมาอีกมากน้อยแค่ไหน (และเราก็ ยังใช้ถุงพลาสติกอยู่ดี) หรือการที่ผู้คนหันมาเลือกใช้รถยนต์ไฮบริดที่ช่วย ประหยัดน�้ำมันได้มาก และถูกปลอบให้สบายใจจากผู้ผลิตว่าเรามีส่วน ในการช่วยโลกแล้ว อาจเป็นปัจจัยในการเพิ่มปริมาณการผลิตในอุตสาห- แน่ใจหรือว่าช่วยโลก? 7
กรรมรถยนต์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้ปริมาณเชื้อเพลิงมหาศาล...สิ่งเหล่านี ้ คือปัญหาที่แก้ยาก (Conundrum) ตามที่ชื่อหนังสือภาษาอังกฤษบอกไว้ หนังสือ “แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?” เล่มนี้ จะเผยแนวคิดที่ฉีกทุกกฎ สิ่งแวดล้อมที่เราเคยรู้มา ด้วยการชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เราคิดมาตลอดเกี่ยวกับ วิธีในการลดการใช้พลังงาน ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้จริง หน�ำซ�้ำ ยังเป็นการบ่อนท�ำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมตั้งค�ำถามกับเราเองว่า เมื่อถึงเวลาที่จะต้อง “สละ” ความสะดวกสบายเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม จริงๆ เราจะท�ำได้มากน้อยแค่ไหน? เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ คุณอาจจะใช้เวลานิ่งคิดสักพักหนึ่ง และ ตอบตัวเองได้ว่าคุณจะท�ำอย่างไรกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวคุณต่อไป ส�ำนักพิมพ์มติชน
8
นงนุช สิงหเดชะ แปล
คํานําผู้แปล
ปั ญ หาโลกร้ อ นอั น เนื่ อ งมาจากสิ่ ง แวดล้ อ มถู ก ท� ำ ลายให้ เสื่อมทรามลงเพราะฝีมือของมนุษย์ ถือเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกระดับ สังคมพยายามตีฆ้องร้องป่าวให้ตระหนักกัน ขณะเดียวกันความเชื่อหรือ แนวคิดหลักในการลดปัญหาโลกร้อน ก็คือการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานโดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ล�้ำหน้า เรามักพูดกันว่า เมื่อเราผลิตอุปกรณ์หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้พลัง งาน โดยให้อุปกรณ์นั้นๆ ใช้พลังงานน้อยลง พร้อมทั้งสามารถผลิตอุปกรณ์ นั้นโดยใช้วัสดุหรือวัตถุดิบน้อยลง (ท�ำให้มีขนาดเล็กลง) เราก็จะช่วยโลก ประหยัดพลังงานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เอง แต่หนังสือเล่มนี้จะ “ย้อนศร ฉีกกฎ” ทุกความเชื่อที่เรามีเกี่ยวกับ การรักษาหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะยิ่งเรามีนวัตกรรมและประ สิทธิภาพเรื่องพลังงานมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งกระตุ้นให้บริโภคพลังงาน มากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตที่ล�้ำหน้า ท�ำให้สินค้าต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้ามีราคาถูกลง ท�ำให้คนหาซื้อมาครอบครองได้ง่ายขึ้น จึงไป แน่ใจหรือว่าช่วยโลก? 9
เพิ่มจ�ำนวนผู้บริโภคขึ้นโดยปริยาย รถยนต์ที่ประหยัดน�้ำมันก็ยิ่งกระตุ้นให้คนขับรถมากขึ้น ไกลขึ้น หรือบางทีก็น�ำเงินที่ได้จากการประหยัดน�้ำมันนั้นไปใช้ในกิจกรรมอย่าง อื่นที่ท�ำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น หากใครคิดว่าการอาศัยอยู่ตามชนบท หรือตามชานเมือง จะช่วย รักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า หรือคิดว่าการอยู่อาศัยในบ้านเดี่ยวตามชาน เมืองที่ไม่แออัด จะดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการอยู่คอนโดมิเนียมในเมือง ที่แออัดหนาแน่น หนังสือเล่มนี้จะท�ำให้คุณตะลึงอย่างคาดไม่ถึง เชื่อหรือไม่ เมืองที่อากาศสะอาดที่สุด กรีนที่สุดในสหรัฐ กลับเป็น นิวยอร์กที่จอแจ ไม่ใช่เมืองบ้านนอกอย่างพอร์ตแลนด์ ในรัฐโอเรกอน เช่นเดียวกับที่ฮ่องกง โตเกียว ก็เป็นเมืองกรีนที่สุด อย่างที่หลายคนคาด ไม่ถึง หัวใจส�ำคัญอยู่ตรงที่ประชากรในเมืองเหล่านี้ใช้ระบบขนส่งมวลชน เป็นส่วนใหญ่ ใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยมาก จึงก่อมลพิษน้อยและใช้เชื้อ เพลิงน้อย ขณะเดียวกันการที่มันแออัด ท�ำให้มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า โรงเรียน หรือที่ท�ำงานอยู่ใกล้ๆ ในระยะเดินถึง ผิดกับคนที่อาศัยอยู่ตามชานเมือง จ�ำเป็นต้องใช้รถยนต์มากใน การเดินทางไปท�ำกิจกรรมชีวิตประจ�ำวัน เพราะสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นโรงเรียน ร้านค้า ที่ท�ำงาน ร้านซักรีด อยู่ห่างไกลจากที่พักอาศัยมาก หนังสือเล่มนี้จะกลายเป็นทางเลือกส�ำหรับทุกคนเกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและยั่งยิืน นงนุช สิงหเดชะ
10
นงนุช สิงหเดชะ แปล
แน่ ใจหรือว่าช่วยโลก? The Conundrum
1 ปัญหาที่ยากจะแก้
ระหว่างฤดูร้อนปี 2010 ผมมีโอกาสไปบรรยายที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบรรยายเรื่องการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยก่อนหน้าที่ผมจะบรรยายประมาณ 2 วัน มีชาวเมลเบิร์นคนหนึ่งถาม ผมว่าแก่นส�ำคัญของสิ่งที่ผมจะบรรยายคืออะไร และเมื่อผมเริ่มอธิบาย เขาก็บอกให้ผมหยุด “ลืมเรื่องทั้งหมดนั่นเลย” เขาพูด “แค่บอกผมว่า ควรซื้ออะไรดี” เขาเต็มใจที่จะเชื่อว่าโลกเราตกอยู่ในอันตราย แต่เขา อยากได้ค�ำอธิบายจากใครสักคนหนึ่งที่ตรงดิ่งไปสู่แนวทางแก้ปัญหาเลย มากกว่า ในท�ำนองว่า รถของผมเป็นปัญหาหรือเปล่า บอกผมว่าควร ขับรถอะไรแทน ผมใช้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ไม่ถูกต้องใช่ไหม ถ้างั้นผมจะ เปลี่ยนมัน เคาน์เตอร์ในครัวของผมไม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใช่ไหม ถ้า อย่างนั้นผมจะเปลี่ยนไปเป็นอะไรก็ได้ตามที่คุณบอก นี่เป็นแนวทางที่พวกเราส่วนใหญ่คิด ไม่ว่าเราจะคิดว่าเราคิด หรือไม่ก็ตาม พวกเราเป็นนักบริโภคตัวยง และการตอบสนองของเราต่อ ปัญหาทุกประเภทมักจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคไม่รูปแบบใดก็รูปแบบ แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?
13
หนึ่ง เมื่อเราพูดว่า แค่บอกฉันว่าควรซื้ออะไรดี นั่นก็เกี่ยวข้องกับการ บริโภคแล้ว ความท้าทายเกิดขึ้นเมื่อการบริโภคกลายเป็นประเด็นปัญหา ในตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ปล่อยคาร์บอนได- ออกไซด์ ใช้น�้ำ ทิ้งขยะ ท�ำลายแหล่งที่อยู่ และความเครียดของประชากร เราจะเริ่มต้นคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการท�ำสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลงได้อย่างไร ในเมื่อความรู้สึกและความเข้าใจของเราที่มีต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ ความเป็นอยู่ที่ดีส่วนบุคคลตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเราต้องมีสิ่งต่างๆ มากขึ้น โลกของเราเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกวันจนยาว เป็นบัญชีหางว่าว แต่ทว่าสิ่งที่เรียกว่าแนวทางแก้ปัญหา หรือยุทธศาสตร์ เพื่อ “ความยั่งยืน” ของเรานั้นมีลักษณะที่ว่า ถ้าไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ การแก้ปัญหาเลยก็จะท�ำให้ปัญหาที่แท้จริงเลวร้ายลงไปอีก เราหลอก ลวงตัวเองอย่างเหลือคณานับในหลายๆ ด้าน รถยนต์ขายดีที่สุดในสหรัฐ อเมริกาทั้งในอดีตและปัจจุบันก็คือรถปิกอัพฟอร์ด เอฟ-ซีรีส์ ซึ่งตอนนี้ มาพร้อมกับทางเลือก นั่นก็คือเครื่องยนต์ “อีโคบูสต์” วิ่งได้ไกล 16 ไมล์ (25.74 กิโลเมตร) ต่อน�้ำมัน 1 แกลลอน (3.78 ลิตร) เมื่อวิ่งในเมือง ในปี 2009 โตโยต้าออกโฆษณาทางโทรทัศน์ว่า “พรีอุส” (Prius) รถยนต์ ไฮบริดยอดนิยมซึ่งใช้พลังงานผสมทั้งน�้ำมันและไฟฟ้า วิ่งได้ไกลกว่า เมื่อเทียบกับรถยนต์อื่นๆ ในรุ่นเดียวกันที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินธรรมดา โฆษณาชิ้นนี้เผยแพร่ไปทั่วโลก ในนั้นจะเห็นภาพรถยนต์พรีอุสวิ่งผ่าน และทันใดนั้นพื้นดินที่รถวิ่งผ่านก็มีดอกไม้บานสะพรั่งขึ้นมา ดนตรีแห่ง ความสุขเริ่มบรรเลง เด็กๆ ที่ติดปีกผีเสื้อลอยตัวอยู่เหนือกลุ่มเด็กๆ ที่หุ้ม ห่อด้วยกลีบดอกไม้ เมฆบนท้องฟ้ามีชีวิตชีวา และอาคารต่างๆ ที่อยู่ไกล ออกไปเปล่งประกายแวววาว ราวกับว่ารถยนต์ได้ดูดเอาสิ่งเลวร้ายไปจาก โลก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่ผู้บรรยายโฆษณาสาธยายเอาไว้ว่า “ความกลมกลืนระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และเครื่องจักร” ในปี 2010 เพื่อนคนหนึ่งของผมซึ่งเป็นคนมองการณ์ไกล พาผมไปนั่งรถยนต์ไฮบริด อีกยี่ห้อหนึ่งคือ “ฟอร์ด ฟิวชั่น” (Ford Fusion) เนื่องจากเขาเชื่อในแนว
14
นงนุช สิงหเดชะ แปล
คิดเรื่องขั้นตอนการประหยัดเชื้อเพลิง อย่างการเบรกอย่างนุ่มนวลและ หลีกเลี่ยงการออกรถอย่างกระโชกโฮกฮาก แผงหน้าปัดรถยนต์ที่บอก ปริมาณเชื้อเพลิงของเขาจึงเต็มไปด้วยภาพของใบไม้สีเขียวที่สานเข้า ด้วยกัน อันเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของประโยชน์ที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ชัดเจนว่าเราเป็นผู้มอบให้จากเจ้าสิ่งที่พ่นควันออกทางท่อไอเสียคันนี้ท ี่ เราก�ำลังขับไปอย่างไร้จุดหมาย ผมเองจบระดับวิทยาลัย แต่ก็รู้สึกสะดุ้ง เจ็บแปลบกับคุณความดีที่ปัญญาอ่อนบ้องตื้นนี้ ซึ่งเป็นความรู้สึกแบบ เดียวกับตอนที่ผมทิ้งกระป๋อง ขวด และหนังสือพิมพ์กองเบ้อเร่อไว้ตรง ปากทางเข้าบ้านของผมเองเพื่อรอให้รถบรรทุกมาเก็บไปรีไซเคิล หนึ่งในเล่ห์กลยอดนิยมของเราในการท�ำให้โลกเป็นสีเขียว ก็คือ การจัดกรอบใหม่ให้กับความชื่นชอบการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยหรูหรา ว่ามันคือของขวัญส�ำหรับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์คันใหม่ เครื่องท�ำ ความอบอุ่นให้กับสระว่ายน�้ำที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ รถไฟที่วิ่งได้ เร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมงที่ท�ำให้การเดินทางระหว่างเมืองเต็มไปด้วยความ รื่นรมย์และแพงน้อยลง มะเขือเทศที่มีรสชาติดีกว่าเดิม เหล่านี้คือการ เสียสละหลายอย่างที่พวกเราเตรียมจัดท�ำขึ้นส�ำหรับอารยธรรมในอนาคต พร้อมด้วยนโยบายลงทัณฑ์ทางเศรษฐกิจหลากหลายซึ่งมีเป้าหมายอยู ่ ที่จีน ความสามารถในการหลอกลวงตัวเองของเราเป็นเรื่องน่าใจหาย ตัวอย่างเช่น อะไรคือคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมของผมในการเดินทางไปครึ่ง โลกเพื่อบรรยาย 45 นาทีให้กับคนออสเตรเลียจ�ำนวน 200-300 คนฟัง ซึ่งคนเหล่านี้อย่างแรกเลยอาจเป็นเพราะพวกเขาได้รับการคัดเลือกให้มา นั่งฟังผม จึงอาจถูกโน้มน้าวล่วงหน้าให้เห็นด้วยกับอะไรก็ได้ที่ผมจะพูด ในปัจจุบันนี้การเดินทางทางอากาศมีสัดส่วนการใช้พลังงานประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งโลกและเป็นตัวผลิตก๊าซเรือนกระจก จากน�้ำมือมนุษย์ การเดินทางไปเมลเบิร์นของผม (พร้อมด้วยบัตรสโมสร กอล์ฟและเฮิร์ตซ์ #1 คลับโกลด์ส�ำหรับเช่ารถ) เกี่ยวข้องอย่างมากกับ ทั้งสองเรื่อง เช่นเดียวกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยน แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?
15
แปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งจัดขึ้นในโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2009 การประชุมดังกล่าวดึงดูดให้ผู้แทนจากประ เทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมถึง 30,000 คน รวมทั้งผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ที่ลง ทะเบียนไว้ นักข่าวหลายพันคน บล็อกเกอร์ ผู้สังเกตการณ์ ผู้สนับสนุน ผู้คัดค้าน และคนอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากสถานที ่ ห่างไกลจากเดนมาร์กมาก การป้องกันขัดขวางไม่ให้โลกประสบหายนะ เป็นเป้าหมายทรงคุณค่าในแง่ที่ชิงลงมือป้องกันไว้ก่อน และแม้แต่ใน ยุคของการสื่อสารด้วยสไกป์ (การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยภาพและ เสียงแบบเรียลไทม์) และไอโฟน ก็ไม่มีอะไรมาทดแทนความพึงพอใจ ได้เต็มที่เหมือนการพูดคุยแบบเห็นหน้ากันจริงๆ แต่ถึงกระนั้นหากนัก กาลวิทยา (climatologist) นักสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่รัฐ และคนอื่นๆ ซึ่งก�ำลังพยายามอย่างจริงจังที่จะนึกให้ออกว่าจะท�ำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับ ก๊าซเรือนกระจก ไม่สามารถพบปะพูดคุยกันได้โดยไม่ต้องเดินทางข้าม มหาสมุทร แล้วจะคาดหวังอะไรจากพวกเราซึ่งอาจมีข้อมูลน้อยกว่า มี พันธสัญญาน้อยกว่า และมีแรงจูงใจน้อยกว่าที่จะเสียสละความสะดวก สบายของเราเอง ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงที่ว่าพวกเราทั้งหมดต่างเป็นพวกมือถือสาก ปากถือศีล ถึงแม้ว่าเราจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ (ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง รอยเท้าคาร์บอน หรือคาร์บอน ฟุตพริ้นต์*ขนาดใหญ่ กรุณาตรวจสอบ ตารางการเดินทางและจ�ำนวนของผู้ที่เดินทางด้วยเครื่องบินบ่อยๆ ว่ามี เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในนั้นด้วยหรือไม่) ประเด็นก็คือ แม้แต่ใน * Carbon Footprints คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมของมนุษย์ ครอบคลุมตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประ กอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ซึ่งจะท�ำให้ ทราบว่ากว่าจะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเท่าไร โดยแสดงออกมาในรูปของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์-ผู้แปล
16
นงนุช สิงหเดชะ แปล
ตอนที่เราท�ำในสิ่งที่เชื่อว่าเป็นความตั้งใจที่ดีที่สุด บ่อยครั้งความพยายาม ของเราก็มักขัดขวางเป้าหมายของเรา นั่นคือปัญหาที่ยากจะแก้ กัปตันเจมส์ คุก แล่นเรือจากอังกฤษในเดือนสิงหาคม ปี 1768 ในการเดินทางไกลครั้งแรกจากทั้งหมด 3 ครั้งที่ท�ำให้เขามีชื่อเสียง เขาและลูกเรือไปถึงออสเตรเลียในอีก 2 ปีให้หลัง เรือของพวกเขาคือ เอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ใช้ลมเป็นพลังในการขับเคลื่อน อย่างไรก็ ตาม การเดินทางจ�ำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาย อย่าง น้อยก็อยู่ในรูปของเชื้อเพลิงมนุษย์และชีวิตมนุษย์ (มีเพียง 56 คนจาก ทั้งหมด 94 คนที่เดินทางมาจากอังกฤษพร้อมเรือล�ำนี้มีชีวิตรอดกลับไป) ในทางตรงกันข้าม การเดินทางของผมไปออสเตรเลียเมื่อปี 2010 เป็น ปาฏิหาริย์ของประสิทธิภาพ เพราะยานพาหนะของผมเป็นผลิตภัณฑ์แห่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ด�ำเนินมาหลายทศวรรษ เครื่องบินสามารถ บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือได้มากกว่าเรือเอนเดฟเวอร์ของกัปตันคุกเกือบ 5 เท่า ไม่จ�ำเป็นต้องหยุดซ่อมระหว่างทาง ไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและ บาดเจ็บ ใช้เวลาเดินทางจากนิวยอร์กถึงเมลเบิร์นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และมันเป็นเพียงหนึ่งในการเดินทางระหว่างประเทศหลายร้อยเที่ยวที่ไป ถึงเมลเบิร์นในวันนั้น เที่ยวบินของผมบริโภคพลังงานในปริมาณมหาศาล ความจริง แล้วสัดส่วนในส่วนของผมในการผลาญเชื้อเพลิงทั้งเที่ยวไปและกลับมาก กว่าปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ผู้อยู่อาศัยบนโลกใช้ส�ำหรับจุดประสงค์ทุก ชนิดโดยเฉลี่ยต่อปี1เสียอีก แต่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มาพร้อมกับการ บินสมัยใหม่ไม่ได้อยู่ที่ว่าเครื่องบินของพวกเราก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง ปัญหาก็คือ เป็นเพราะความชาญฉลาดทางวิศวกรรมที่น�ำมาใช้สม�่ำเสมอ ค�ำนวณบนพื้นฐานของตัวเลขจากงานเขียนเรื่อง “พลังงานที่ยั่งยืนโดยปราศจาก อากาศร้อน” ของเดวิด เจ. ซี. แมคเคย์ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ
1
แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?
17
เราจึงลดการเผาผลาญจากการเดินทางระยะไกลได้มาก ซึ่งในทุกวันนี ้ อุปสรรคใหญ่ในการเดินทางระยะ 10,000 ไมล์ส�ำหรับการเดินทางไป เยือน 1 สัปดาห์ แทบไม่ใช่เรื่องราคาตั๋ว (ต้นปี 2011 ราคาตั๋วต�่ำมาก แค่ 600-700 ดอลลาร์ ส�ำหรับการบินเที่ยวเดียวระหว่างนิวยอร์กและ เมลเบิร์น หรือไม่ก็ “ฟรี” เพราะใช้วิธีแลกไมล์) แต่เป็นความไม่ราบรื่น ของการใช้เวลาทั้งวันนั่งดูภาพยนตร์และนอนบนเก้าอี้เอนหลังที่มีเบาะนุ่ม มากกว่า เมื่อใครๆ พูดถึงการลดการใช้พลังงานและรอยเท้าคาร์บอนจาก การเดินทางด้วยเครื่องบิน พวกเขามักจะมุ่งไปที่สิ่งต่างๆ อย่างการปรับ ปรุงการออกแบบเครื่องยนต์ ปีก และล�ำตัวเครื่องบินอยู่เสมอ และบางที ก็ใช้ระบบที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อย่นระยะเส้นทางบินและขจัด ความล่าช้า อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดนี้ผลประโยชน์ทั้งหมดที่เราจะได้รับ จากเรื่องเหล่านี้มีน้อยมาก เครื่องบินโดยสารทุกวันนี้มีประสิทธิภาพเรื่อง การประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องบินช่วงต้นทศวรรษ 1960 ราว 75 เปอร์เซ็นต์ และหลักฟิสิกส์แห่งการบินยิ่งท�ำให้ใช้พลังงานต�่ำลงไปอีก แต่ถึงแม้ว่าศักยภาพในการลดการใช้พลังงานเพิ่มเติมจะมีมาก แต่ผล กระทบหลักของนวัตกรรมที่ว่ามาทั้งหมดก็เป็นสิ่งเดียวกับผลกระทบหลัก ของนวัตกรรมทั้งมวลตั้งแต่ยุคของกัปตันเจมส์ คุก กล่าวคือ พวกเขา ท�ำให้การเดินทางง่ายขึ้น ถูกลง สะดวกขึ้น และดึงดูดมากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงกระตุ้นให้เราเดินทางมากขึ้น การบินจากนิวยอร์กไปเมลเบิร์นในปี 1958 ด้วยเครื่องบินซูเปอร์ คอนสเตลเลชั่นของบริษัทล็อกฮีด ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบใช้ใบพัด บริโภค พลังงานต่อคนมากกว่าเครื่องบินที่ผมนั่ง อย่างไรก็ตาม มัน “สะอาด” ต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า มันต้องแวะจอดที่ซานฟรานซิสโก ฮาวาย เกาะ แคนตัน ฟิจิ และซิดนีย์ และค่าโดยสารส�ำหรับชั้นราคาถูกเที่ยวเดียวก็ม ี ราคาประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของรายได้เฉลี่ยของครอบครัวอเมริกันใน ปีนั้น ถ้าหากการเดินทางด้วยเครื่องบินที่ช้าและแพงพอๆ กัน เป็นทาง
18
นงนุช สิงหเดชะ แปล
เลือกเดียวส�ำหรับการเดินทางไปออสเตรเลียในทุกวันนี้ ผมและทุกคนที่ เดินทางพร้อมกับผมก็คงจะอยู่บ้านกันหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวด ล้อม วิธีเดียวที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพอย่างไม่คลุมเครือในการลด ก๊าซคาร์บอนและรอยเท้าพลังงานจากการเดินทางทางอากาศ ก็คือบิน ให้น้อยลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยี เราเข้าใจอยู่แล้วว่าท�ำอย่างไรจึงจะบินน้อยลง ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้อง อาศัยการค้นพบครั้งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์เลย แต่ความสนุกของการ ไม่เดินทางไปไหนอยู่ตรงไหน การเดินทางเป็นเรื่องตื่นเต้นโรแมนติก เป็นการเติมความรู้และสร้างชีวิตชีวาให้กับหลายล้านคนทั่วโลก จึงท�ำให้ เราเดินทางมากอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้แทนที่จะใช้วิธีลดการเดินทาง ส่วนบุคคล พวกเรากลับพูดถึงนวัตกรรมด้านการบินและประสิทธิภาพที่ ดีขึ้น หรือไม่ก็เยียวยาบ�ำบัดมโนธรรมของเราด้วยการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ให้กับองค์กรที่สัญญาว่าจะ “ชดเชย” ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอัน เนื่องมาจากการเดินทางอย่างไร้จุดหมายของเรา ขณะเดียวกันเราก็เดิน หน้าขยายสนามบิน (อาคารใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ดูไบ แต่ไม่ใช่ตึกเบิร์จ คาลิฟา ซึ่งเป็นอาคารที่สูงกว่าตึกเอ็มไพร์สเตตของสหรัฐ 2 เท่า แต่กลับ เป็นอาคารผู้โดยสาร 3 ของสนามบินนานาชาติดูไบ) นอกจากนี้ เรายัง ให้เงินอุดหนุนแก่สายการบินและผู้ผลิตเครื่องบิน คิดค้นหนทางต่างๆ ที ่ จะบีบอัด “อย่างมีประสิทธิภาพ” เพื่อเพิ่มจ�ำนวนเครื่องบินมากขึ้นในเส้น ทางบินที่มีอยู่แล้ว อีกทั้งใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อรณรงค์ทางการ ตลาด ซึ่งมีจุดประสงค์ที่ท�ำให้เราและคนอื่นๆ ปรารถนาจะขึ้นไปอยู่ใน อากาศและอยู่ในเส้นทางที่บางทีเรียกว่า “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” เพื่อ คุกคามสิ่งแวดล้อมในทุกซอกมุมของโลก นั่นคือปัญหาที่ยากจะแก้ ในปี 2004 ซอล กริฟฟิธ หนุ่มออสเตรเลียผู้ซึ่งก�ำลังเรียน ปริญญาเอกที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ชนะรางวัลมูลค่า แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?
19
30,000 ดอลลาร์ ซึ่ ง มอบให้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า จะเป็ น นั ก ประดิษฐ์อย่างเหนือชั้นทุกปี กริฟฟิธเป็นผู้ท้าชิงที่โดดเด่นในเรื่องนี้ นีล เกอร์เชนเฟลด์ หนึ่งในอาจารย์ของเขา บรรยายลักษณะของกริฟฟิธให้ ผมฟังว่า “เป็นเครื่องยนต์แห่งการประดิษฐ์” และว่า “กับซอลนั้น เมื่อคุณ กดปุ่ม ‘ไป’ เขาก็จะพ่นสารพัดโครงการออกมาในทุกทิศทางเท่าที่คุณจะ จินตนาการได้” คณะกรรมการตัดสินประทับใจอุปกรณ์ที่กริฟฟิธประ ดิษฐ์ขึ้นมาเป็นพิเศษ นั่นก็คือเลนส์แว่นตาราคาถูกที่ผลิตขึ้นตามความ ต้องการของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งตั้งใจท�ำขึ้นส�ำหรับประชาชนในประเทศ ยากจน เขาคิดกระบวนการผลิตได้หลังจากหารือปัญหาด้านสุขภาพของ ประเทศโลกที่สามกับรัฐมนตรีศึกษาประเทศเคนยา ขณะเดียวกันระบบ ส�ำหรับรองรับงานของกริฟฟิธก็ได้จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วโดยคณะ บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และหอเกียรติยศนักประดิษฐ์แห่งชาติ กระบวนการผลิตเลนส์แบบดั้งเดิมต้องใช้แม่พิมพ์ราคาแพงนับ พันชิ้น เลนส์เปล่าขนาดใหญ่เป็นพิเศษจะถูกขึ้นรูปในพลาสติก หลัง จากนั้นช่างเทคนิคจะท�ำการกรอและขัดเงาเลนส์ให้เข้ากับใบสั่งของลูกค้า กริฟฟิธบอกผมว่า “ผมต้องการจะสร้างเครื่องจักรที่สามารถลบล้างความ จ�ำเป็นในการพึ่งพาโรงงานผลิตทั้งหมด เพื่อให้คุณสามารถพิมพ์เลนส์ ได้ตามต้องการ” ดังนั้น เขาจึงสร้างอุปกรณ์ตั้งโต๊ะ ซึ่งผู้ควบคุมเครื่องที่ ฝึกฝนมาเพียงเล็กน้อยก็สามารถเปลี่ยนของเหลวที่แข็งตัวเร็วให้กลาย เป็นเลนส์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที เครื่องจักรดังกล่าวประกอบด้วยแม่ พิมพ์เดี่ยวที่ใช้งานได้ครอบจักรวาล พร้อมกับวงแหวนโลหะที่ปรับได้ คล้ายกับกระทะท�ำเค้กขนาดเล็ก กล่าวคือ ระหว่างคู่ของเยื่อหุ้มบางๆ ที่ยืดหยุ่นได้สามารถควบคุมระดับความนูนและความเว้าด้วยระบบไฮ- ดรอลิกแบบง่ายๆ (ในเครื่องมือต้นแบบนั้น เป็นกระบอกส�ำหรับฉีดยา ให้ม้า 1 คู่ บรรจุเบบี้ออยล์ไว้ภายใน) กริฟฟิธอธิบายว่า “เพียงแค่ป้อน รูปร่างและขนาดของเลนส์ที่ต้องการพร้อมกับแรงกดเข้าไป คุณก็สามารถ ก�ำหนดจ�ำนวนของเลนส์ได้อย่างไม่สิ้นสุด” ในปี 2007 เขาชนะเงินรางวัล
20
นงนุช สิงหเดชะ แปล
500,000 ดอลลาร์ของทุนแมคอาร์เธอร์ ซึง่ เป็นทุนทีม่ อบให้กบั คนอัจฉริยะ ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ตัดสินของทุนแมคอาร์เธอร์ระบุว่า ผลงานประดิษฐ์ แว่นตา “มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐศาสตร์ของเลนส์ชนิดปรับแก้ ในชุมชนห่างไกลและได้รับบริการไม่เพียงพอทั่วโลกได้” แต่การชนะรางวัล ในท้ายที่สุดแล้วก็จบลงอย่างง่ายดายกว่าการ เปลี่ยนแปลงโลก เครื่องพิมพ์เลนส์ของกริฟฟิธไม่เคยหาตลาดได้ “มัน กลายเป็นว่าเราก�ำลังแก้ไขปัญหาที่ผิด” เขาบอกผม “การสร้างโรงงาน และติดตั้งเครื่องจักรส�ำหรับผลิตเลนส์มีราคาแพง แต่เมื่อใดที่คุณมีสัก 1 แห่ง คุณก็สามารถผลิตเลนส์ราคาถูกได้ แล้วก็น� ำไปส่งมอบให้ประ ชาชนที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ โดยเสียค่าแสตมป์ในการส่งเพียง 1 หรือ 2 ดอลลาร์” แท้ที่จริงแล้วสิ่งประดิษฐ์ของกริฟฟิธชี้ถึงปัญหาที่ได้รับการ แก้ไขมาก่อนหน้านี้แล้วหลายปีด้วยราคาต�่ำสุดโดยแรงงานจีนและการ ขนส่งทางเรือทั่วโลก เขากล่าวว่าประเด็นปัญหาแท้จริงของแว่นสายตา ในประเทศก�ำลังพัฒนาไม่ใช่การผลิตเลนส์ แต่อยู่ที่การทดสอบสายตา และเขียนใบสั่งตัดแว่นส�ำหรับประชาชนที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ น้อยหรือเข้าไม่ถึงเลย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐศาสตร์ มากกว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ประสบการณ์ดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อความคิดของกริฟฟิธ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่กัดกินเขาอยู่ในตอนนี้ เขายังคงเป็นเครื่องยนต์ แห่งการประดิษฐ์ โครงการหลายอย่างของเขาเมื่อไม่นานมานี้ มีสามล้อ ส�ำหรับขนส่งสินค้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า อันเป็นรูปแบบของฉนวนราคาไม่ แพงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโอริงามิ (origami-ศิลปะการพับกระดาษ แบบญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นวิธีผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยลมอันต่างไปจากวิธีธรรมดา ทั่วไปอยู่ด้วย แต่กริฟฟิธไม่เหมือนกับวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์หลาย คนที่ร่วมงานกับเขา เขาบอกผมว่า เขา “ไม่ใช่คนมองเทคโนโลยีในแง่ ดี” ที่เชื่อว่าปัญหาพลังงานและสภาพภูมิอากาศของโลกจะยอมสยบต่อ การที่มนุษย์เพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันเฉลียวฉลาดเป็น 2 เท่า แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?
21
ไม่ว่าจะเป็นโครงการเชิงนิเวศแมนฮัตตัน หรือโครงการอพอลโลสีเขียว กริฟฟิธเชื่อว่าความจ�ำเป็นเร่งด่วนที่สุดด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่การค้นพบ ครั้งส�ำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่ดูเหมือนปาฏิหาริย์ แต่คือการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมมนุษย์อย่างใหญ่หลวงชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันเป็นการ ปฏิวัติความสัมพันธ์ของเรากับพลังงานและการบริโภค ในการเสนอผล งานของเขาเมื่อปี 2009 เขาตั้งใจจะมอบปากกามงต์บลองค์และนาฬิกา โรเล็กซ์ให้กับลูกชาย (ซึ่งในเวลานั้นอีก 2-3 เดือนจึงจะคลอด) การกล่าว อุปมาอุปไมยดังกล่าวของเขาหมายถึง “เทคโนโลยีที่เป็นมรดกตกทอด” หรือข้าวของที่มีคุณภาพสูง ใช้พลังงานน้อย ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้ใช้ได้ ตลอดชีวิต แทนที่จะทิ้งและซื้อหามาใหม่อย่างรวดเร็ว แม้เราจะเชื่อว่าความคิดของกริฟฟิธถูกต้อง แต่จะมีพวกเราสักกี ่ คนที่จะเลือกอย่างอิสรเสรีในการเปลี่ยนชีวิตของเราไปถึงระดับที่กริฟฟิธ ตั้งใจ และไม่ว่าเราจะเปลี่ยนหรือไม่ แรงผลักดันทางการเมือง เศรษฐกิจ และศีลธรรมใดจะเข้มแข็งเพียงพอที่จะน�ำเราไปสู่แนวคิดเดียวกันเพื่อ สร้างความแตกต่าง นั่นเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ ช่วงปลายปี 2008 มีบางอย่างเกิดขึ้น อันเป็นสิ่งที่แม้แต่นัก สิ่งแวดล้อมและนักกาลวิทยาที่มองโลกในแง่ดีที่สุดก็ไม่คาดหวังว่าจะเกิด นั่นคือพลังงานและรอยเท้าคาร์บอนของโลกลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญ แต่ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเผ่าพันธุ์มนุษย์บรรลุการ รู้แจ้งเห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นมาอย่างกะทันหัน แต่เกิดขึ้นเพราะ ราคาน�้ำมันสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์และเศรษฐกิจโลกย�่ำแย่ ค�ำอธิบายที่ เข้าใจได้ง่ายคือ ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์รายใหญ่ ของโลกมักรุ่งเรืองเสมอ และเมื่อเผชิญกับภาวะย�่ำแย่ บรรดาผู้บริโภค ก็ตอบสนองด้วยการบริโภคน้อยลง โรงงานผลิตที่ปิดตัวลงก็ไม่มีการเผา ถ่านหิน เมื่อประชาชนตกงานหรือกังวลว่าจะตกงาน พวกเขาก็จะประ
22
นงนุช สิงหเดชะ แปล
พฤติตัวในฐานะสมาชิกแม่แบบของสภาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ พวก เขาขับรถน้อยลง ดับเตาหลอม ปิดไฟในห้องที่ไม่มีคนอยู่ ปิดเครื่องท�ำ ความอบอุ่นสระว่ายน�้ำ อยู่ได้โดยไม่ต้องมีเครื่องปรับอากาศ ตัดสินใจ ไม่ไปชิคาโกในวันขอบคุณพระเจ้า และซื้อสิ่งของโดยขาดความยับยั้ง ชั่งใจน้อยลง แม้แต่คนรวยก็นั่งขัดสมาธิอยู่เฉยๆ และผลจากการหยุด ชะงักทางเศรษฐกิจ ท�ำให้ปัญหาหลายอย่างด้านสิ่งแวดล้อมที่เราสร้าง หยุดชะงักลงด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่เริ่มขึ้นในปี 2008 สร้าง ความเจ็บปวดแผ่ไปทั่วบริเวณส่วนใหญ่ของโลก แต่มันก็ใส่เวลากลับมา ให้กับนาฬิกาคาร์บอนด้วย ไม่มีคนที่มีเหตุผลคนใดจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจพังทลาย เพื่อใช้ เป็นกลยุทธ์ในการรักษาพลังงานและสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม จากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม มีหลายอย่างเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่ควรกล่าวถึง ความท้าทายอยู่ตรงการค้นหาหนทางที่จะไม่ก่อให้เกิด หายนะเพื่อให้บรรลุผลอย่างเสมอกันในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการ บริโภคที่ลดลงโดยไม่ก่อความทุกข์ล�ำบากให้กับมนุษย์ นั่นเป็นปัญหาที่ ยากหินทีเดียว เพราะก็เป็นอย่างที่ประสบการณ์เมื่อไม่นานมานี้พิสูจน์ให้ เห็น ในช่วงเวลาที่ย�่ำแย่ แม้แต่ประเทศรวยที่สุดก็มุ่งความพยายามไป ที่การไม่ท�ำให้การลดใช้พลังงานและปล่อยคาร์บอนที่ถือเป็นความโชคดี ที่ค้นพบโดยบังเอิญนี้เป็นเรื่องถาวร แต่กลับท�ำให้สิ่งเหล่านี้หายไปด้วย การลดภาษีพลังงาน ช่วยเหลือผู้ผลิตที่ล้มละลาย ลดต้นทุนการกู้ยืมเงิน กระตุ้นให้มีการขยายเมืองออกไปด้วยการให้สิ่งจูงใจแก่บริษัทสร้างบ้าน และผู้ซื้อบ้าน ท�ำให้ระบบการควบคุมสิ่งแวดล้อมอ่อนแอลง และเปิด ระบบนิเวศที่เปราะบางอยู่แล้วให้กับการหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรม ชาติ เราอาจเชื่อว่าเราใส่ใจต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกที่ก� ำลัง หยั่งลึกนี้ และก็เพียงแค่รอคอยนักวิทยาศาสตร์ นักสิ่งแวดล้อม นักการ แน่ใจหรือว่าช่วยโลก?
23
เมื อ ง และคนอื่ น ๆ ให้ คิ ด อย่ า งมี เ หตุ ผ ลและลงมื อ ปฏิ บั ติ แ นวทางแก้ ปัญหาที่มีประสิทธิภาพในนามของเรา อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เรารู้อยู่แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องท�ำและเป็นสิ่งที่เรามีมานานแล้ว เรา เพียงแค่ไม่ชอบค�ำตอบ นั่นคือปัญหาที่ยากจะแก้
24
นงนุช สิงหเดชะ แปล