ชีวิตไม่ทิ้งให้ว่างเปล่า

Page 1


ชีวิต ไม่ทิ้ง ให้ว่างเปล่า



ชีวิตไม่ทิ้งให้ว่างเปล่า

我的環台夢──劉金標的73歲自行車環島日記

หลิวจินเปียว (劉金標) เรื่อง หลานลี่เจวียน (藍麗娟) เรียบเรียง เรืองรอง รุ่งรัศมี แปล

›› กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2558


ชีวิตไม่ทิ้งให้ว่างเปล่า • เรืองรอง รุ่งรัศมี แปล 我的環台夢──劉金標的73歲自行車環島日記

First Published in Taiwan in 2007 by CommonWealth Magazine Co., Ltd. Story by King Liu (劉金標) Text written by Goya Lan (藍麗娟) Photography by Xu hao xuan (徐浩軒) Thai translation Copyright © 2015 by Matichon Publishing House Published by arrangement with CommonWealth Magazine Co., Ltd. Through Little Rainbow Agency. ALL RIGHTS RESERVED. พิมพ์ครั้งแรก :  สำ�นักพิมพ์มติชน, ตุลาคม 2558 ราคา  275  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม หลิวจินเปียว. ชีวิตไม่ทิ้งให้ว่างเปล่า. --กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 208 หน้า. 1. การขี่จักรยาน. I. เรืองรอง รุ่งรัศมี, ผู้แปล II. ชื่อเรื่อง. 796.6 ISBN 978 - 974 - 02 - 1438 - 0 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : ทิมา เนื่องอุดม • บรรณาธิการเล่ม : จันทรัตน์ สิงห์โตงาม พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ • กราฟิกเลย์เอาต์  : อัสรี เสณีวรวงศ์ ออกแบบปก-ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์  • ประชาสัมพันธ์  : สุชาดา ฝ่ายสิงห์ หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล ค�ำน�ำเสนอ

9 11 13

ขอให้มีผู้คนมากยิ่งกว่านี้ติดตามการกระท�ำอันสง่างามของเขา โดย เฮ่อเฉินต้าน ผู้อ�ำนวยการบริษัทจงฮว๋าโทรคมนาคม เกริ่นน�ำ เพลงฝึกหัดปั่นรอบเกาะของผม ความฝัน >> ภารกิจ DAY 01 ออกสตาร์ท ผมคึกคักราวกับเด็กประถมที่จะไปเดินทางไกล ฉันปั่น ฉันคิด : จักรยานกลายเป็นสัญลักษณ์ของรสนิยมและความทันสมัย มาเชียร์ด้วยใจ : จูเจิ้งฟู ผู้จัดการบริษัทอานต้าเทคโนโลยี มาเชียร์ด้วยใจ : หูหรงฮว๋า ผู้กล้าที่ปั่นจักรยานรอบโลก DAY 02 ชีวิตเริ่มต้นที่อายุเจ็ดสิบ ผมเพิ่งอายุสามขวบเท่านั้นเอง ฉันปั่น ฉันคิด : จักรยานที่ท�ำให้คนเสพติดได้ก็คือจักรยานที่ดี

17

26

40


DAY 03 “ระยะชนก�ำแพง” ของการปั่น ฉันปั่น ฉันคิด : ก้าวสู่การเป็นแนวหน้า เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค มาเชียร์ด้วยใจ : คุณตู้หลิวเยว่เจียว ผู้อ�ำนวยการบริษัทไจแอนท์ DAY 04 รถโบราณที่คิดถึง ฉันปั่น ฉันคิด : ธุรกิจต้องเติบโตจึงจะรักษาบุคลากรเอาไว้ได้ มาเชียร์ด้วยใจ : จางหงเต๋อ ผู้จัดการบริษัทเจี้ยนต้าหลุนไท

46

56

DAY 05 บทเรียนชีวิต : มิตรภาพ 68 ฉันปั่น ฉันคิด : รถจักรยานคันแรกของผม มาเชียร์ด้วยใจ : อู๋เหนิงหมิง ผู้อ�ำนวยการบริษัทเคเอ็มซี DAY 06 เกาสง วัยหนุ่ม ฉันปั่น ฉันคิด : ความเป็นมาเป็นไปของการแข่งขันปั่นรอบเกาะไต้หวัน มาเชียร์ด้วยใจ : หลิวหวังหลิ่วเสีย ภรรยาผู้อ�ำนวยการหลิว บริษัทไจแอนท์ มาเชียร์ด้วยใจ : เจี่ยงกวังชั่น ประธานคณะกรรมการจักรยานเมืองเกาสง DAY 07 สงครามคือการรบก่อนเริ่มยิง ฉันปั่น ฉันคิด : ยึดกุมโอกาส ก่อตั้งไจแอนท์

80

96


DAY 08 ผมพิชิตโซ่วข่าส�ำเร็จแล้ว ฉันปั่น ฉันคิด : สร้างไจแอนท์จากความมุ่งมั่นทุ่มเท มาเชียร์ด้วยใจ : สวี่ลี่จง โฆษกและผู้ช่วยพิเศษ บริษัทไจแอนท์ DAY 09 ตามหา 319 หมู่บ้าน จักรยานดีที่สุด ฉันปั่น ฉันคิด : วิสัยทัศน์อันยาวไกลไร้ที่สิ้นสุดของไต้หวัน มาเชียร์ด้วยใจ : ยินอวิ่นเผิง ประธานบริหารนิตยสารเทียนเซี่ยกรุ๊ป DAY 10 เฉิงกงเมืองน้อย ความฝันล่าปลากระโทงแทง ฉันปั่น ฉันคิด : สร้างไต้หวันให้เป็นเกาะแห่งจักรยาน มาเชียร์ด้วยใจ : ควั่งลี่เจิน ประธานองค์การบริหารส่วนอ�ำเภอไถตง DAY 11 ปั่นรอบเกาะ พิธีก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ ฉันปั่น ฉันคิด : อย่าฝึกแต่กระบวนท่าโดยไม่ฝึกก�ำลัง มาเชียร์ด้วยใจ : หวังจื้อเหลียง ผู้ก่อตั้งบ้านพักสือทีหยวน DAY 12 ความท้าทายที่มิได้คาดหมาย มาเชียร์ด้วยใจ : ตี๋ม่าวชาง ศาสตราจารย์วิทยาลัยเทคโนลีต้าฮั่น อดีตโค้ชจักรยานทีมชาติ

104

116

126

136

146


DAY 13 เมื่อก�ำหนดเป้าหมายแล้วก็จะไม่เปลี่ยนแปลง ฉันปั่น ฉันคิด : ปฏิรูป มาเชียร์ด้วยใจ : เฉินฮว๋ายเอิน ผู้ก�ำกับภาพยนตร์เรื่อง “เพลงฝึกหัด” DAY 14 รู้สึกเหมือนไปแช่น�้ำพุร้อน ฉันปั่น ฉันคิด : รถจักรยานไม่มีทางให้เดิน มาเชียร์ด้วยใจ : ตู้ซิ่วเจิน รองผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ และหัวหน้าแผนกการเงินบริษัทไจแอนท์ DAY 15 การทดสอบครั้งสุดท้ายของการปั่นรอบเกาะ มาเชียร์ด้วยใจ : ซุนต้าเหว่ย ผู้อ�ำนวยการบริษัทโฆษณาเหว่ยไท่ มาเชียร์ด้วยใจ : ลว๋อเสียงอาน ผู้จัดการใหญ่บริษัทไจแอนท์

บันทึกท้ายเล่ม ค้นพบตัวตนใหม่

154

166

178

199

บันทึกเหตุการณ์ส�ำคัญของหลิวจินเปียว อุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นรอบเกาะ ประกาศนียบัตร ปั่นรอบเกาะ

204 207 208


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

ทีไ่ ต้หวันเรามักได้ยนิ ค�ำว่า “เทีย่ วรอบเกาะ” อยูบ่ อ่ ยๆ เพราะเกาะไต้หวันมีภเู ขาสูงกว่า 3,000 เมตรพาดยาวเหนือจรดใต้ เมืองต่างๆ รายล้อมอยูบ่ ริเวณชายฝัง่ รอบนอก การเดินทาง รอบเกาะใช้เวลาเพียงประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึง่ ท�ำได้ทงั้ ขับรถรอบเกาะ ขีม่ อเตอร์ไซค์รอบเกาะ นั่งรถไฟรอบเกาะ หรือที่ก�ำลังนิยมกันในขณะนี้คือ ปั่นจักรยานรอบเกาะ การเดินทางรอบเกาะถือเป็นหมุดหมายส�ำคัญและเป็นสถิติอย่างหนึ่งของชาวไต้หวัน แต่หากผ่านพ้นช่วงวัยหนึ่งมาแล้ว คนส่วนใหญ่อาจไม่มีเวลามากพอให้วางภารกิจตรงหน้าไป ท�ำตามความฝันปั่นรอบเกาะให้เป็นจริง ในฐานะผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั  GIANT ผูผ้ ลิตจักรยานพรีเมีย่ มอันดับหนึง่ ของโลก อดีตประธาน มูลนิธวิ ฒ ั นธรรมใหม่จกั รยาน ผูร้ เิ ริม่ จัดการแข่งขัน Tour de Taiwan และผูท้ ผี่ ลักดันให้ไต้หวัน กลายเป็นเกาะแห่งจักรยานมาตลอดหลายสิบปี คุณหลิวจินเปียวเองก็มีความฝันว่าสักวันเขา จะปั่นจักรยานเที่ยวให้รอบเกาะไต้หวัน หน้าทีก่ ารงานท�ำให้เขาไม่สามารถเจียดเวลามาท�ำตามฝัน วันเวลาก็ลว่ งเลยจนเข้าสูว่ ยั ชรา แต่แล้วประโยคบันดาลใจจากภาพยนตร์เรือ่ ง “เพลงฝึกหัด” ทีว่ า่  “เรือ่ งบางเรือ่ งไม่ทำ� ตอน นี้ ชั่วชีวิตก็คงไม่ได้กระท�ำ” ก็จุดประกายให้เขาตัดสินใจปั่นจักรยานรอบเกาะไต้หวันขณะอายุ 73 ปี ท่ามกลางเสียงคัดค้านของครอบครัว ลูกน้องคนสนิท หรือแม้แต่แพทย์ 9


ระหว่ า งการเดิ น ทาง 15 วั น  กั บ ระยะทาง 927 กิ โ ลเมตร ให้ อ ะไรมากกว่ า ที่ คิ ด คุณหลิวจินเปียวพาเราไปรู้จักเกาะไต้หวัน ความเป็นมาและเป็นไปของวงการจักรยานไต้หวัน ชีวิตที่เคยเผชิญความล�ำบาก แง่คิดด้านธุรกิจและการบริหารองค์กร รวมทั้งโลกทัศน์ของชาย อายุ 73 ปี ผู้ประสบความส�ำเร็จในชีวิต เรียกได้ว่ามีคุณค่าควรแก่การซึมซับทุกตัวอักษร การปั่นรอบเกาะของคุณหลิวจินเปียวครั้งนี้ท�ำให้กระแสนิยมปั่นจักรยานคึกคักไปทั่ว เกาะไต้หวัน เกิดการพัฒนาวงการจักรยาน ปรับปรุงเส้นทางจักรยาน และมีกิจกรรมเกี่ยวกับ จักรยานขึน้ มากมาย เพราะแน่นอนว่าหากชายคนหนึง่ ทีอ่ ายุ 73 ปี สามารถปัน่ รอบเกาะส�ำเร็จ ใครเล่าจะปฏิเสธการปั่นจักรยานได้อีก ส่วนส�ำหรับตัวคุณหลิวจินเปียวเอง การปั่นรอบเกาะไม่เพียงสร้างสถิติและมอบชีวิต ใหม่ให้เขา แต่เปรียบเสมือนการย้อนทบทวนตนเอง ย�้ำเตือนว่ากว่าจะมีวันนี้เขาผ่านอะไรมา บ้าง ชีวิตของเขาจะไปถึงจุดไหน   ยิ่งไปกว่านั้น คุณหลิวจินเปียวอาจไม่รู้ตัวเลยว่าทุกถ้อยค�ำของเขาได้มอบแรงบันดาลใจ ที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้อ่าน ไม่แน่ว่าเมื่อร่วมเดินทางกับคุณหลิวจินเปียวไปในหนังสือเล่มนี้จนจบ เราจะหวนนึกถึงความฝันวันวานที่เคยปล่อยทิ้งไว้ในซอกหลืบความทรงจ�ำ แล้วถามตัวเองว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะท�ำความฝันให้เป็นจริงบ้าง เพราะการพิชิตอะไรบางอย่างย่อมน�ำไปสู่เป้าหมายที่ไกลกว่าเดิม ท้าทายกว่าเก่า และ สร้างคุณค่าแก่ชีวิต ดังทีค่ ณ ุ หลิวจินเปียวกล่าวไว้วา่  “ชีวติ ไม่ทงิ้ ให้วา่ งเปล่า” ไม่วา่ อายุเท่าไรก็ไม่สายเกินไป ที่จะเดินตามฝัน ส�ำนักพิมพ์มติชน

10


คำ�นำ�ผู้แปล

เรื่องบางเรื่องไม่ท�ำตอนนี้ ชั่วชีวิตก็คงไม่ได้กระท�ำ

ผมได้ดหู นังเรือ่ ง “เพลงฝึกหัด” ของเฉินฮว๋ายเอินผ่านแผ่นดีวดี ลี ขิ สิทธิน์ อกซึง่ ได้มาจาก ร้านนายแว่นที่จตุจักร  ดูแล้วก็ชอบ  ประทับใจค�ำพูดที่ว่า “เรื่องบางเรื่องไม่ท�ำตอนนี้ ชั่วชีวิต ก็คงไม่ได้กระท�ำ” หนังที่ดูแล้วชอบผมมักจะแบ่งปันกับเพื่อนสนิทชาวไต้หวันของผม  จากนั้น อีกระยะหนึ่งก็บังเอิญไปเจอหนังสือ “ปั่นรอบเกาะ” ของหลิวจินเปียวที่ร้านหนังสือมือสอง ย่านเยาวราช ก็เลยซื้อมาอ่านรวมๆ กับหนังสือภาษาจีนอื่นหลายเล่ม อ่านหนังสือจบเล่ม แล้วชอบ จึงเอาไปให้เพื่อนอ่านต่อเช่นเคย ผมกับเพื่อนเก่าคนนี้แบ่งหนังกันดูแบ่งหนังสือกันอ่านมานาน รู้รสนิยมกันค่อนข้างลึก หนังสือจ�ำนวนไม่น้อยในตู้หนังสือภาษาจีนของผมเป็นของขวัญของฝากที่เขามอบให้ หนังสือ ภาษาไทยจ�ำนวนหนึ่งในตู้หนังสือของเขาผมก็หาไปให้จากร้านหนังสือมือสอง  เรานัดกันว่า จะกลับไปชมสวนประติมากรรมของจูหมิงร่วมกัน เขาพูดกับผมบ่อยๆ ว่าอย่ารีบเป็นอะไร ไปนะ เดี๋ยวจะออกค่าตั๋วเครื่องบินให้ไปเที่ยวด้วยกัน  เพื่อนผมเป็นคนแข็งแรง เป็นคนออกก�ำลังกาย ชอบวรรณกรรมและศิลปะ เขาอ่าน หนังสือหลายภาษา จีน, อังกฤษ, ไทย, เยอรมัน ช่วงหลังเขาพยายามเรียนภาษาเวียดนามจน เริ่มใช้สื่อสารพื้นฐานได้ น่าเสียดายที่เขายังไม่ได้อ่านงานวรรณกรรมเวียดนาม เขาท�ำมาหา 11


เลี้ยงชีพด้วยงานธุรกิจ เลี้ยงใจด้วยความงามและความรู้ เขาคอยเป็นห่วงสุขภาพผม ผมไม่ ค่อยห่วงเขาเรือ่ งนี ้ ก็เขาออกจะแข็งแรง ผมจะคอยชวนเขาไปงานศิลปะ วรรณกรรม หรือดนตรี พาเขาไปอยู่กับโลกทางสุนทรีย์ที่เขาใฝ่หาเป็นครั้งคราว เวลาไปเจอเกสต์เฮ้าส์ที่ผมชอบผมจะ คิดถึงเขา บางแห่งก็มีโอกาสพาเขาไป เราคบกันแบบนี้ เริ่มแรกเขาพาผมไปสู่แวดวงมิตรสหายของเขาตอนผมไปเรียนหนังสือ ที่ไต้หวัน พอเขามาอยู่เมืองไทยผมก็พาเขามาสู่แวดวงมิตรสหายของผมบ้าง ผมดิ้นรนอยู่กับ แวดวงหนังสือ เขาต่อสูอ้ ยูก่ บั อาชีพธุรกิจ เรามีโครงการไปเทีย่ วด้วยกันมากมายทีว่ างเอาไว้ในใจ ทุกครัง้ ทีผ่ มมีหนังสือออกใหม่ ผมจะต้องเอาไปให้เขาอ่าน ในตูห้ นังสือของเขามีหนังสือ ผมครบ ช่วงท�ำต้นฉบับหนังสือ “ค�ำส่องใจ” ก็ยังตั้งใจว่าจะเอาไปให้ คราวนี้น่าจะเลี้ยงข้าว เลี้ยงเบียร์เขาบ้าง แต่แล้วยังไม่ทันท�ำต้นฉบับไปถึงไหน เพื่อนผมก็เกิดเส้นเลือดในสมอง แตก อยู่ห้องไอซียูราวสัปดาห์หัวใจก็หยุดเต้น ผมไปเยี่ยมเพื่อนที่นอนไม่รู้สึกตัวในโรงพยาบาลและไปงานศพ คิดถึงเขา คิดถึงหนัง กับหนังสือของเขาในตู้หนังสือของผม และคิดถึงหนังกับหนังสือของผมในตู้หนังสือของเขา มันควรจะอยู่แบบนั้นต่อไป มันควรจะอยู่เป็นเพื่อนกันในตู้ของเพื่อน หนังสือ “ค�ำส่องใจ” ออกมาช่วงปลายปี 2013 ผมมอบให้เพือ่ นหลายคน แต่ไม่มโี อกาส ให้เขา ชีวิตด�ำเนินต่อไป วันหนึ่งผมเล่าถึงหนังสือของหลิวจินเปียวให้ทางส�ำนักพิมพ์มติชน ฟังว่าผมชอบหนังสือเล่มนี้ ที่ประชุมพิจารณาผ่านให้ติดต่อลิขสิทธิ์เพื่อแปล ผมหาหนังสือใน ตู้ตัวเองไม่พบ หนังสือคงอยู่ในตู้ของเพื่อน ต้องฝากคนซื้อให้ใหม่จากไต้หวัน ระหว่างแปล หนังสือเล่มนี้ผมคิดถึงเพื่อนบ่อยๆ นึกถึงเวลาพูดคุยกัน บางเวลาก็นึกถึงภาพเขาขี่จักรยาน เราน่าจะได้ไปเที่ยวไต้หวันด้วยกันปีนี้ “เรื่องบางเรื่องไม่ท�ำตอนนี้ ชั่วชีวิตก็คงไม่ได้กระท�ำ” ผมอยากให้เพื่อนอ่านฉบับภาษาไทยของเล่มนี้จัง ผมมีงานค้างที่อยากให้เพื่อนมีความ สุขร่วมเวลาที่ได้จับต้องรูปเล่มของมันอีก ผมรู้ว่าเขามีความสุขเมื่อผมเอาหนังสือเล่มใหม่ให้ เขาทุกครั้ง                                                                          เรืองรอง รุ่งรัศมี                                                                         ฤดูฝน 2015 12


คำ�นำ�เสนอ

ขอให้มีผู้คนมากยิ่งกว่านี้ติดตามการกระท�ำอันสง่างามของเขา

เฮ่อเฉินต้าน

ผมขีจ่ กั รยานอยูบ่ อ่ ยๆ และเป็นคนชอบขีจ่ กั รยานด้วย  อายุมากเข้านอกจากใช้แทนการ เดินแล้ว ยังค่อยๆ ท�ำให้การขีจ่ กั รยานกลายเป็นการออกก�ำลังกายในชีวติ ประจ�ำวัน  เปรียบกับ ท่าน ผอ.หลิวจินเปียว การออกก�ำลังกายแบบของผมกลายเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยไปเลย อย่างท่าน ถึงจะเรียกว่าเป็นมืออาชีพ  ผมจับปากกาขึ้นมาเขียนในวันนี้ นอกจากด้วยความเลื่อมใสจาก ก้นบึ้งของหัวใจแล้วก็อยากแบ่งปันสิ่งดีๆ เล็กน้อยที่ได้รับในฐานะนักปั่นสมัครเล่น เพื่อให้เรา ทุกคนมีเหตุผลที่จะรักการปั่นจักรยาน ส่วนใหญ่แล้ว ผมมักจะปั่นจักรยานในเมือง  เพื่อความปลอดภัย ผมหลีกเลี่ยงถนน ใหญ่ๆ อย่างสุดความสามารถ โดยเฉพาะถนนช่วงที่มีรถสาธารณะมาก เพื่อไม่ต้องทนสูด ไอเสียรถยนต์ ผมจะระมัดระวังส�ำรวจตรวจสอบป้ายสัญญาณจราจรทีก่ ำ� หนดเวลาและควบคุม ความเร็วในการปั่น หลีกเลี่ยงการต้องไปรอสัญญาณไฟจราจรที่ทางแยก  ถ้าหากหลีกเลี่ยง ไม่พ้น ผมจะหาวิธีอ้อมไปทางบาทวิถีเพื่อหลีกเลี่ยงแก๊สพิษที่พ่นออกมาบนท้องถนนอย่างสุด ความสามารถ เป็นการเพิ่มการ “วางแผน” ไว้ในการออกก�ำลังกาย แอบเสพรับความสุขของ ความเป็น “มือสมัครเล่น” ผมชอบขี่จักรยานในเมือง เพราะว่าผมชอบมองดูผู้คนสารพัดสารพัน อีกทั้งผมก็ชอบ 13


ความน่าตื่นตาตื่นใจตามตรอกซอกซอย ไม่ว่าจะเป็นกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ใหญ่ หรือว่าเสียง ของเด็กๆ ที่ดังแว่วมาจากสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือร้านกาแฟที่มีบุคลิกเฉพาะตัวซึ่งเพิ่มมากขึ้น ทุกวัน ผมใส่ใจกระทั่งการประดับตกแต่งในร้านที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล เมืองอยู่รอบๆ ตัวคุณ นี่เอง ชีพจรเต้นอยู่ทุกวัน เปลี่ยนแปรอยู่ตลอดเวลา  ความรู้สึกอย่างนี้ท�ำให้ผมมีความสุขที่ อาศัยอยู่ในเมืองตลอดมา และกระตุ้นให้ผมมีโอกาสท�ำงานร่วมกับท่าน ผอ.หลิวอีกครั้ง

จากยานพาหนะสู่อุปกรณ์เพื่อสันทนาการ

จ�ำได้ว่าใน ค.ศ.1997 ตอนที่ผมอยู่ในต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการแผนกการจราจรของเมือง ไทเปนั้น เลนส�ำหรับรถเมล์โดยเฉพาะซึ่งออกแบบเป็นตารางหมากรุกก�ำลังก่อตัวเป็นรูปเป็น ร่าง รถไฟฟ้าใช้งานได้สองเส้นทางแล้ว การคมนาคมในเขตเมืองก�ำลังเดินไปในทางของมัน ควร ถึงเวลาทีจ่ ะน�ำรถจักรยานมาให้มวลชนใช้เดินทางระหว่างเปลีย่ นยานพาหนะหนึง่ สูอ่ กี พาหนะ หนึ่ง และสามารถใช้เดินทางในเขตเมือง เทียบเคียงจากประสบการณ์ของเบลเยียมและฮอลแลนด์ในยุโรป ผมวางแผนผลักดันให้ มีรถจักรยานสาธารณะในเขตเมืองไทเป หวังจะติดตัง้ ทีจ่ อดจักรยานซึง่ มี “จักรยานสาธารณะ” ทีไ่ ม่ลอ็ กกุญแจในจุดทีม่ คี วามปลอดภัยและเป็นพืน้ ทีพ่ กั ผ่อน สนับสนุนให้ประชาชนขีจ่ กั รยาน เพือ่ ประหยัดเวลา สามารถไปจอดคืนทีอ่ กี จุดจอดหนึง่ โดยไม่ตอ้ งคืนทีจ่ ดุ จอดเดิม เพือ่ ให้ผอู้ นื่ น�ำไปใช้ต่อได้ โดยไม่ครอบครองรถจักรยานไว้ใช้ส่วนตัวเป็นเวลานานหรือไม่ขี่กลับบ้าน  ด้วย เหตุนี้จึงจ�ำเป็นต้องมีจักรยานที่มีลักษณะพิเศษซึ่งแยกแยะได้ง่ายจ�ำนวนมากๆ  ผมเอาความคิดนีไ้ ปปรึกษาท่าน ผอ.หลิวด้วยความเกรงใจ คาดไม่ถงึ ว่าท่านรับปากมอบ จักรยานให้ 600 คันโดยไม่คิดเงิน ทั้งยังสัญญาว่าจะดูแลเรื่องการซ่อมบ�ำรุงและการคืนรถ ข้ามเขต (ค�ำมั่นสัญญานี้ท�ำให้ประจักษ์ชัดในเวลาต่อมาว่าส�ำคัญและล�้ำค่าอย่างยิ่ง)  ดังนั้น ครึ่ ง ปี ห ลั ง ของ ค.ศ.1997 รถจั ก รยานกลุ ่ ม แรกจึ ง ปรากฏตั ว ให้ เ ห็ น ใน 10 พื้ น ที่ ส� ำ หรั บ ท�ำกิจกรรมของชาวเมืองไทเป  จักรยานกลุ่มใหญ่ที่เด่นสะดุดตา (ล้อหน้าเล็ก ล้อหลังใหญ่) จอดเรียงรายให้ประชาชนได้ใช้งานฟรีและได้รับเสียงชื่นชมทันตา หลังจากนั้น ด้วยสาเหตุหลายประการ ความคิดเดิมไม่สามารถด�ำเนินการต่อไปได้ จึง เคลื่อนย้ายจักรยานไปใช้ในเขตพักผ่อนเลียบแม่น�้ำ  ท่าน ผอ.หลิว มิได้ล้มเลิกความตั้งใจไป กับอุปสรรคทีเ่ จอ กลับยิง่ ทุม่ เทมากขึน้ กว่าเดิม รถจักรยานเพิม่ จ�ำนวนถึง 1,000 คัน ชาวไทเป 14


ในเขตรอบนอกก็ได้รับประโยชน์จากการกระท�ำนี้  การเพิ่มรถจักรยานอีก 1,000 คัน ท�ำให้ ผมยิ่งเลื่อมใสในน�้ำใจและแรงสนับสนุนที่ต่อเนื่องของท่าน ท่าน ผอ.หลิวขี่จักรยานรอบเกาะไต้หวันได้ส�ำเร็จ กระตุ้นเร้าการตัดสินใจของผู้คน มากมาย และมีสว่ นเร่งให้ผมท�ำงานร่วมกับท่านเป็นรอบทีส่ อง  บริษทั จงฮว๋าเตีย้ นซิน่  (จงฮว๋า โทรคมนาคม) จะใช้พิกัด GPS ในโทรศัพท์มือถือเป็นหลักฐานข้อมูลยืนยันการขี่จักรยานรอบ เกาะไต้หวันของมูลนิธิวัฒนธรรมใหม่จักรยาน (CISS, Cycling Island Service System) นักปัน่ สามารถอัพโหลดภาพตนเองและสถานทีท่ ขี่ จี่ กั รยานผ่านได้เป็นระยะ โดยเชือ่ มต�ำแหน่ง พิกดั เข้ามาเพือ่ ให้คนในครอบครัวสามารถติดตามความคืบหน้าของคุณได้ตลอดเวลา เท่ากับว่า มีคนเฝ้าติดตามเส้นทางของคุณอยู่ทุกระยะ คอยเป็นก�ำลังใจให้คุณ  มิตรสหายที่ไม่สามารถ ลางานต่อเนื่อง 15 วันเพื่อปั่นรอบเกาะก็สามารถใช้หลักฐานข้อมูลนี้แบ่งการปั่นจักรยานออก เป็นช่วงสั้นๆ ตามวาระโอกาส  โทรศัพท์มือถือที่พกติดตัวกลายเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะ ติดต่อกับหน่วยสนับสนุนของบริษัทไจแอนท์ไปโดยปริยาย ความห่วงใยของญาติอยู่ใกล้ๆ ข้างหูของเรา เป็นพลังขับดันให้มุ่งไปข้างหน้าด้วยความฮึกเหิม

ขี่จักรยานรอบเกาะพัฒนาสุนทรียารมณ์

ความร่วมมือของจงฮว๋าโทรคมนาคมและการสนับสนุนในแนวหลังของบริษัทไจแอนท์ ท�ำให้อันตรายจากการปั่นจักรยานรอบเกาะลดลงอย่างมากนับจากนั้นมา และความสนุกที่จะ แสดงศักยภาพได้อย่างเป็นอิสระก็เพิม่ สูงขึน้ มาก ทุกคนมีอสิ รภาพยิง่ กว่าเดิม สามารถวางแผน เส้นทางได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น กล้าไปเสพลิ้มรสชาติอันน่าอัศจรรย์ใจมากยิ่งขึ้น  การขี่ จักรยานรอบเกาะไม่เพียงทดสอบก�ำลังและความมุง่ มัน่ ทัง้ หมด แต่ยงั สามารถยกระดับประสาท สัม ผัสในการเสพรับความงามและความรู้สึกทางอารมณ์ของตน และเพื่อนร่วมปั่นที่ร่วมใน ประสบการณ์กายและใจด้วยกัน ยิ่งจะผูกพันกันล�้ำลึก สามารถฝากดูแลความเป็นความตาย ของกันและกันได้ ความตัง้ ใจส่วนตัวของท่าน ผอ.หลิวบรรลุผลงดงาม ผมไม่รจู้ ะแสดงความยินดีอย่างไรดี ได้แต่ตงั้ ความหวังว่าจะได้รว่ มท�ำงานอย่างใกล้ชดิ ยิง่ ขึน้  กระตุน้ เร้าให้มผี คู้ นมากยิง่ กว่านี ้ ตาม ติดรอยล้อของท่านอย่างสง่างามสักครัง้  เพือ่ ให้ชวี ติ ไม่ตอ้ งรูส้ กึ ผิดทีไ่ ม่ได้กระท�ำบางสิง่ บางอย่าง ผู้คนทุกวัยพร้อมใจกันมุ่งไปข้างหน้า ให้รอยล้อบดไปบนทาง กลายเป็นกีฬาใหม่อันน่าชื่นชม 15


ของไต้หวันดังที่ท่าน ผอ.หลิวปรารถนาจะเห็น ขอน้อมร่วมแสดงความยินดีด้วยข้อเขียนนี้ ขอคารวะเกริ่นน�ำด้วยข้อเขียนนี้

เฮ่อเฉินต้าน ผู้อ�ำนวยการบริษัทจงฮว๋าโทรคมนาคม เคยด�ำรงต�ำแหน่งประธานกองโทรคมนาคมเมืองไทเป รองประธานกิจการคมนาคม กระทรวงคมนาคม

16


เกริ่นนำ� เพลงฝึกหัดปั่นรอบเกาะของผม

>> ความฝัน

ผมอายุ 73 ปีแล้ว ไม่ใช่คนหนุ่ม คุณสมบัติดูเหมือนจะไม่เหมาะที่จะท้าทายกับการขี่ จักรยานรอบเกาะไต้หวัน  แต่วา่ ความฝันนีอ้ ยูใ่ นใจผมมาสิบกว่าปีแล้ว ผมหวังว่าวันหนึง่ จะวาง งานลงได้ ไปขี่จักรยานรอบเกาะ ขี่ไปถึงไหนก็เที่ยวไปถึงนั่น ที่ไหนมีของอร่อยก็จอดแวะกิน แต่แล้วการงานที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายก็ดึงระยะห่างระหว่างความฝันกับการกระท�ำของผมออกไป ผมไม่เคยได้ย่างเท้าก้าวเดินไปสู่เส้นทางรอบเกาะสายนี้เลย เดือนธันวาคม 2006 ผมดูหนังเรือ่ ง “เพลงฝึกหัด” ในหนังมีคำ� พูดประโยคหนึง่  เหมือน จะพูดกับตัวผมเป็นการเฉพาะ “เรื่องบางเรื่องไม่ท�ำตอนนี้ ชั่วชีวิตก็คงไม่ได้กระท�ำ” ผมคิด ด้วยอายุของผม ถ้าไม่ไปขี่จักรยานรอบเกาะไต้หวันตอนนี้ วันข้างหน้าคงไม่ได้ไปท�ำมันจริงๆ ดังนั้น ผมจึงขอให้มิตรสหายและมูลนิธิวัฒนธรรมใหม่จักรยานช่วยวางแผนเส้นทางในการขี่ จักรยานรอบเกาะของผม ตอนทีผ่ มพูดถึงแผนการปัน่ รอบเกาะขึน้ มา ท�ำให้หลายคนเป็นกังวล ในจ�ำนวนนัน้ รวมถึง ภรรยาและพีส่ าวของผม และผูจ้ ดั การใหญ่ของบริษทั ไจแอนท์ (GIANT) ล้วนแต่ไม่สนับสนุนเลย พวกเขาเชื่อว่าผมอายุ 73 ปีแล้ว ไม่เหมาะที่จะปั่นจักรยานรอบเกาะ  แต่ว่าผมเป็นคนนิสัย 17


แบบนี้ตลอดมา เรื่องใดที่ตัดสินใจไปแล้ว ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงตัวผมได้ จะมองว่า เป็นทิฐิมานะหรือความมุ่งมั่นก็แล้วแต่ ถึงอย่างไรผมก็จะท�ำสิ่งท้าทายนี้

สถิติส่วนตัว 100%

ผมคิดมาตลอดว่า ในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ จะต้องสร้างสถิติอะไรอย่างหนึ่งให้ได้  การ ประสบผลส�ำเร็จในด้านอาชีพการงานไม่อยู่ในความหมายนี้  โลกภายนอกมองว่าผมบริหาร บริษัทไจแอนท์จนกลายเป็นหมายเลขหนึ่งของวงการจักรยาน แต่ผมมองว่าอาชีพการงาน ประสบผลส�ำเร็จนั้นไม่ใช่สิ่งที่ผมสร้างขึ้นได้ด้วยตัวคนเดียว ทว่ายังประกอบด้วยโอกาสทาง ธุรกิจ ความพยายามร่วมกันของทั้งองค์กร สภาวการณ์ระหว่างประเทศ นโยบายของรัฐบาล เป็นอาทิ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ครบถ้วนจึงสามารถประสบความส�ำเร็จได้  แต่การขี่จักรยาน รอบเกาะนั้นไม่เหมือนกัน มันอาศัยก�ำลังกายและขาทั้งคู่ของผมเอง 100% ต้องท�ำให้ส�ำเร็จ ลุล่วงด้วยตัวเอง สร้างสรรค์เอง ท�ำเองน�ำเอง ไม่มีใครแย่งชิงไปได้ ส�ำหรับผมแล้วความหมาย ของสถิติเหล่านี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ชีวิตไม่ทิ้งให้ว่างเปล่า ผมจะสร้างสถิติส่วนตัว 100% อันมีค่าสูงสุดให้กับชีวิต บนแผนที่โลก ไต้หวันเป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่ง แต่ใช้เท้าทั้งคู่ของตนเองปั่นให้จบระยะ ทัง้ หมด ระหว่างทางย่อมมีอปุ สรรคการจราจรอยูไ่ ม่นอ้ ย ช่วงขึน้ เนินชัน ทางอุโมงค์ รถบรรทุกหิน เป็นต้น และยังต้องเผชิญกับแดด ลม และฝน  ผมคิดว่าด้วยอายุของผม ขีส่ กั ช่วงระยะหนึง่ ไม่มี ปัญหา แต่การท้าทายระยะไกลขนาด 927 กิโลเมตร ย่อมจะมีความยากล�ำบากเกิดขึน้ มากมาย ผมมีความคิดจริงจังอย่างหนึ่งว่า การท�ำศึกนั้นเริ่มท�ำก่อนการเปิดฉากยิง สมรรถนะ ร่างกายของผมคือ 73 ปี ไม่ควรแพ้การรบนี้เนื่องเพราะอาวุธไม่ดี ถ้าไม่ตระเตรียมให้พร้อม สมบูรณ์เสียก่อนย่อมเกิดปัญหากลางทางแน่  ถ้าหากวันไหนใช้แรงเกินขีดจ�ำกัด วันถัดไปย่อม ไปต่อไม่ไหว ถ้าหากเกิด “ธาตุไฟแตก” จะมิกลายเป็นเรื่องตลกไปหรือ ดังนัน้  ตัง้ แต่เดือนกุมภาพันธ์ 2007 ผมก็เริม่ ฝึกซ้อมและปรับสภาพร่างกายตนเองด้วย การปั่นจักรยานไปท�ำงาน ผมปั่นจักรยานจากบ้านในตัวเมืองไถจงไปถึงบริษัทที่ต�ำบลต้าเจี่ย อ�ำเภอไถจง ระยะทางเที่ยวเดียว 42 กิโลเมตร ระหว่างทางยังต้องไต่ข้ามเนินสูงชันมากของ ต้าตู้ซาน ช่วงเริม่ ต้นการซ้อม ผมรูส้ กึ ว่าไกลมาก รวมเวลาทีไ่ ต่ขา้ มเนินต้าตูซ้ านก็นานถึง 2 ชัว่ โมง 18


ครึ่ง  จากนั้นผมก�ำหนดปั่นจักรยานสัปดาห์ละ 2 ครั้งอย่างสม�่ำเสมอ บางครั้งขี่ไปกลับระยะ ทาง 84 กิโลเมตรในวันเดียว กลางทางนอกจากเข้าห้องน�้ำแล้วก็ไม่มีการหยุดพัก หลังจากช่วงฝึกปั่น ผมจึงเริ่มเข้าใจกระจ่างถึงสิ่งที่เรียกว่า “ระยะชนก�ำแพง” ของการ ฝึกปั่น และค้นพบปัญหาหลายเรื่องระหว่างนี้ แค่ปัญหาเรื่องอานนั่ง ผมก็เปลี่ยนไปแล้ว 8 ครั้ง  แรกเริ่ม ผมยังเข้าไม่ถึงเคล็ดลับ ส�ำคัญของการปัน่ จักรยาน ใช้เพียงแค่เท้าทัง้ คูใ่ นการถีบ จึงท�ำให้เจ็บก้น  ตอนแรกผมติวา่ อาน นั่งแข็งเกินไปจึงเปลี่ยนมาใช้อานนั่งที่นิ่มกว่าและมีขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาผมก็ค้นพบอีกว่าอาน นั่งที่นุ่มเกินไปกลับจะเพิ่มแรงเสียดสีกับก้นผู้ขี่ อีกทั้งหากอานใหญ่เกินไป ขาทั้งคู่ก็จ�ำเป็นต้อง ปรับตัวตามไปด้วย เมื่อขี่ไปนานๆ จะไม่สบายเนื้อสบายตัวเลย  ในที่สุดตอนที่ทุกอย่างเข้า ที่เข้าทางนั้น ผมก็เปลี่ยนกลับไปใช้อานแข็งแบบเดิม ความยาวของแฮนด์ ผมก็เปลี่ยนมาแล้ว 3 แบบ ขนาดมาตรฐานที่ประกอบมาจาก โรงงานคือ 100 เซนติเมตร ผมรู้สึกว่ายาวเกินไป ท�ำให้ต้องโน้มตัวไปข้างหน้ามากเกินไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นขนาด 60 เซนติเมตร ผมก็รู้สึกว่าสั้นไปอีก จึงต้องเพิ่มให้ยาวขึ้น  ที่ขัดแย้ง กันมากก็คือ ที่พูดกันว่าควรขี่จักรยานด้วยท่าที่เหมาะสมนั้น กลับไม่ใช่ท่าตายตัวที่ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง  ตัวอย่างเช่น ความต้องการในช่วงเริ่มฝึกขี่กับความต้องการเมื่อซ้อมจนเข้าที่เข้า ทางแล้ว มันไม่เหมือนกัน  ดังนั้นก่อนที่จะกลายเป็น “มือเก๋าเกม” หรือก่อนที่จะเข้าที่เข้าทาง ก็มักติโน่นตินี่ว่า ตรงนั้นไม่ดีตรงโน้นไม่ดี สิ่งนี้ท�ำให้ผมคิดโยงไปถึงการออกแบบและการผลิตรถจักรยาน มักจะพิถีพิถันเรื่อง สเปค รถสเปคสูงก็คือรถชั้นสูง รถสเปคต�่ำก็คือรถราคาถูก  แต่ว่ารถจักรยานนั้นท�ำมาให้ คนขี ่ ควรจะคิดค้นและออกแบบสร้างเพือ่ สนองตอบต่อความต้องการทีแ่ ท้จริงของผูข้   ี่ ตัวอย่าง เช่น ควรสร้างรถจักรยานส�ำหรับนักปั่นฝึกหัด และนักปั่นที่ฝึกได้เข้าที่เข้าทางอย่างดีแล้วเป็น การเฉพาะ บางคนอาจพูดว่า เมื่อก่อนนี้คุณก็เคยปั่นจักรยานไม่ใช่หรือ ท�ำไมเมื่อก่อนถึงไม่ได้ให้ ความส�ำคัญกับปัญหาข้อนี้  เมื่อก่อนนี้เคยมีช่วงหนึ่งที่ผมปั่นจักรยานไปท�ำงาน แต่ตอนนั้น ผมพักอยู่ที่ต�ำบลชาลู่ อ�ำเภอไถจง ห่างจากบริษัทที่ต้าเจี่ยเพียงแค่ 23 กิโลเมตร ระยะทาง เท่ากับแค่ครึง่ เดียวจากตัวเมืองไถจงไปต�ำบลต้าเจีย่  ปัน่ ไปกลับ ร่างกายทีแ่ ข็งแรงย่อมพอสูไ้ หว ตอนนั้น ผมเป็นแค่มือสมัครเล่น ไม่ได้มุ่งมั่นจริงจัง บางครั้งก็ลองขี่จักรยานไฟฟ้าด้วยจุดมุ่ง 19


หมายเพื่อท�ำความเข้าใจกับตัวสินค้า  แต่เมื่อจะไปท้าทายด้วยการปั่นรอบเกาะเป็นเวลานาน และด้วยระยะทางไกลๆ ก็จำ� เป็นต้องจริงจังมากขึน้  รวมทัง้ ต้องรูด้ ว้ ยว่าจะขีจ่ กั รยานอย่างไรให้ รูส้ กึ สบาย สามารถเปล่งศักยภาพของร่างกายได้ด ี ท�ำความเร็วได้ดแี ละท�ำได้ในระดับมาตรฐาน รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ล้วนต้องพิจารณาทั้งสิ้น ตอนที่เริ่มฝึกความแข็งแกร่งของร่างกายเพื่อให้ได้ก�ำลังส�ำหรับโครงการครั้งนี้  ผมขี่ จักรยานเสือภูเขา XTC ไมโครคาร์บอน ต่อมาค้นพบว่าแม้การยึดเกาะพืน้ ถนนของรถประเภท นี้จะดี แต่เป้าหมายของผมคือการปั่นรอบเกาะ เวลาขี่รอบเกาะ ระนาบของแฮนด์จับเสือภูเขา บังคับให้อยู่ในท่วงท่าเดียว เมื่อขี่ไปนานๆ แขนและฝ่ามือจะเกิดอาการเหนื่อยล้าได้  แน่นอน นี่อาจเป็นเพราะผมอายุมาก ท�ำให้ร่างกายค่อนข้างมีปฏิกิริยาตอบสนองไว  ดังนั้น ต่อมาผม จึงเปลี่ยนไปใช้จักรยานเสือหมอบซึ่งมีแฮนด์จับโค้ง  ข้อดีของแฮนด์โค้งคือสามารถจับได้หลาย ต�ำแหน่ง เช่นนีร้ า่ งกายก็ไม่ตอ้ งอยูใ่ นท่าเดียว เมือ่ ขีท่ างไกลไปรอบเกาะจึงไม่ทำ� ให้รสู้ กึ ไม่สบาย ฝึกซ้อมช่วงสัปดาห์แรก ผมก็พบกับปัญหาปวดเอว  ผมมีอาการกระดูกงอกอยู่แต่เดิม ซึ่งแสดงอาการเป็นครั้งคราว สัปดาห์แรกของการซ้อมปั่นจักรยาน ผมพบว่าเอวมีอาการปวด เล็กน้อย นอกจากนี้ ความปวดก็ไม่ได้หายไปในเวลาอันสั้น ผมกังวลว่าอาจเป็นเรื่องยุ่งยาก ขึ้นได้ จึงไปหาหมอ คุณเฉินเสวียหมิง รองผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลเมโทรฮาร์เบอร์ ถ่ายเอ็กซเรย์และตรวจ ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ผมภายใน 2 ชั่วโมง หลังจากตรวจสภาพร่างกายแล้ว เขาพูดว่า “อาการปวดเอวของคุณยังห่างไกลขัน้ ทีต่ อ้ งผ่าตัดครับ  ถ้าคุณต้องการจะปัน่ จักรยานต่อก็จำ� เป็น ต้องใช้แถบคาดเอว” โดยทั่วไปแล้วภาวะเลวร้ายที่สุดของปัญหาเส้นประสาทก้นกบคือผ่าตัด คุณหมอพูดอย่างนี้ ผมจึงเกิดความเชื่อมั่นอย่างมาก ถ้าหากยกเลิกความฝันปั่นรอบเกาะไต้หวันเพราะปวดเอว แล้วผมยังต้องรอไปถึงไหน ชัว่ ชีวติ นีค้ งเป็นไปไม่ได้ ดังนัน้ เมือ่ คุณหมอให้ผมคาดแถบรัดเอว ผมก็คาดแถบรัดเอว ก็เท่านัน้ เอง! ผมเคยถามคุณหมอว่า “ท�ำไมผมถึงปวดตรงนี้ได้”  เขาบอกว่า “อ้อ คุณอายุ 73 ปีแล้ว ถ้าไม่ปวดนั่นปวดนี่ก็เป็นเรื่องประหลาดละครับ”  ผมคิด คนอายุ 73 ปี ยากที่จะไม่เจ็บป่วย อีกทั้งการเจ็บป่วยที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องธรรมชาติ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวปัจจุบันนี้มีอัตราส่วน ที่มีอาการปวดบั้นเอวสูง ดังนั้น ผมจึงรู้สึกว่าไม่ต้องไปกังวลและเน้นย�้ำเรื่องการปวดเอวเป็น 20


พิเศษ แม้ว่ามันจะมีอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางเวลาปวดขึ้นมา แม้จะเดินก็ยังล�ำบากมาก แต่ ผมจ�ำต้องอยู่ร่วมกับอาการปวดหลังอย่างสันติ ดังนั้นระหว่าง 3 เดือนที่ซ้อมปั่นจักรยาน ผม จึงคาดแถบรัดเอวเวลาซ้อมตลอดเส้นทาง ช่วงปั่นซ้อม คนขับรถของผมคอยขับระวังหลัง ดูแลความปลอดภัยของผม  ผมไม่ได้ จ้างโค้ชเป็นที่ปรึกษา โดยพื้นฐานแล้วคือการฝึกซ้อมด้วยตัวเอง ค่อยๆ สรุปปรับรายละเอียด กับตัวเอง ฝึกจนสามารถปรับจังหวะการหายใจและการถีบขาให้ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ต่อมา ผมฝึกจนสามารถก�ำหนดจ�ำนวนครั้งในการถีบได้ สามารถเพิ่มจ�ำนวนครั้งจากนาทีละ 65 ครั้งไปถึง 70 ครั้ง เมื่อขึ้นเนินลงเนินหรือสวนทางลมก็ปรับและควบคุมความเร็ว ช่วย ให้ไม่เปลืองเรี่ยวแรง รักษาสมรรถนะร่างกายให้มีจังหวะย�่ำเท้าถีบรถในอัตราที่แน่นอนได้ ยิง่ ปัน่  ผมก็ยงิ่ รูส้ กึ ว่าร่างกายเป็นหนึง่ เดียวกับจักรยาน ถึงเวลานีจ้ งึ ค้นพบว่ารถจักรยาน ไจแอนท์ของเรามีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งคือ ขี่ไปนานๆ แล้วจะรู้สึกเสพติด  รถของบริษัท อื่นๆ ก็อาจมีลักษณะเช่นนี้ แต่รถจักรยานราคาถูกที่ผลิตในปริมาณมากๆ ย่อมจะไม่มีคุณ สมบัติที่ท�ำให้เกิดการเสพติดแบบนี้  ดังนั้น ต่อมาผมจึงนิยามคุณลักษณะพิเศษของจักรยาน ไจแอนท์ว่า เป็นรถจักรยานที่ขี่แล้วติด โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ความเร็วในการปั่นของผมเพิ่มขึ้นทุกที ตอนเริ่มต้นซ้อมปั่น ปั่นเพียง ขาเดียวจากไถจงไปถึงต้าเจี่ยใช้เวลานาน 2 ชั่วโมงครึ่ง ถึงตอนท้ายของช่วงฝึกซ้อมเวลาหด สั้นเหลือ 1 ชั่วโมง 45 นาที สมรรถนะของร่างกายท�ำให้ผมรู้สึกเป็นสุข ยิ่งขี่ก็ยิ่งท�ำได้อย่างใจ วันที่ 7 พฤษภาคม ผมจะเริ่มท้าทายการปั่นจักรยานรอบเกาะไต้หวัน สงครามเริม่ รบก่อนการเปิดฉากยิง สมรรถนะของร่างกายและอาวุธผมตระเตรียมพร้อม ไว้แล้ว

>> ภารกิจ

ปี 1985 ผมอยูใ่ นต�ำแหน่งประธานกรรมการบริหารสมาคมจักรยานไต้หวัน สิง่ นีท้ ำ� ให้ รู้สึกถึงภารกิจที่ใหญ่ไม่น้อยในการเผยแพร่การออกก�ำลังกายด้วยจักรยาน เวลานัน้ ผมคิดว่า ถ้าหากนักกีฬาจักรยานของไต้หวันสามารถสร้างชือ่ ในระดับนานาชาติ ก็จะยกระดับภาพลักษณ์ของไต้หวันให้สูงขึ้นได้  ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่าถ้าหากไต้หวันจัดการ แข่งขันปั่นจักรยานรอบเกาะไต้หวันในระดับนานาชาติ ก็จะสามารถสร้างนักกีฬาให้ไต้หวันได้ 21


แต่ว่าสมาคมจักรยานในเวลานั้นขาดแคลนทุนด�ำเนินการ งบประมาณรวมทางด้านกีฬามีไม่ เพียงพอ จ�ำเป็นต้องอาศัยการบริจาคจากแวดวงธุรกิจ อีกทั้งบุคลากรที่จะช่วยงานก็ยังมีน้อย เกินไป ผู้คนจ�ำนวนมากต่างไม่เชื่อว่าไต้หวันจะสามารถจัดงานแบบนี้ได้  คุณแฮนเซน (Hansen) กรรมการชาวเดนมาร์ก ถึงกับแสดงความคลางแคลงใจว่า “พวกคุณมีกันแค่ไม่กี่คนยัง คิดจะจัดงานหรือ”  ต่อมาผมใช้ทนุ ส่วนตัวไปยุโรปเพือ่ หาข้อมูลการแข่งขันตูรเ์ ดอฟร็องซ์  เมือ่ กลับมาก็ทุ่มเทจัดการแข่งขันขึ้นจนส�ำเร็จโดยเริ่มต้นจากศูนย์ กรรมการชาวเดนมาร์กท่านนี้ เกิดความเลื่อมใสอย่างมากและได้สละเวลาเป็นอันมากเพื่อร่วมจัดการแข่งขันปั่นรอบเกาะ ไต้หวันด้วย เพื่อประสานงานด้านระบบการจราจรในการแข่งขันปั่นรอบเกาะไต้หวัน ผมติดต่อ ประสานงานกับสถานีต�ำรวจและหน่วยงานรัฐในแต่ละท้องถิ่นทั่วไต้หวันด้วยตัวเอง เพื่อลด ความสับสนวุ่นวายทางการจราจรที่จะรบกวนนักกีฬาระหว่างการแข่งขัน ผลสุดท้ายได้สร้าง ความผูกพันต่อโค้ชระดับชาติในแวดวงจักรยานหลายๆ คน เช่น คุณเจี่ยงกวังชั่น คุณซือเต๋อ หยาง คุณตีม๋ า่ วชาง และประธานคณะกรรมการปฏิบตั งิ าน คุณเผิงเจีย้ นหย่ง เราต่างได้บม่ เพาะ อารมณ์ปฏิวัติอันลึกซึ้งร่วมกัน ทว่าผ่านความมุ่งมั่นบากบั่นนาน 8 ปี ถึงปี 1993 ก็ยังต้องพบความยากล�ำบากต่างๆ นานา เนื่องจากคนปั่นจักรยานของไต้หวันยุคนั้นมีอยู่ไม่มาก นักกีฬาก็มีน้อยเช่นเดียวกัน หลังจากพยายามมานาน 8 ปี ความฝันที่จะสร้างนักกีฬาระดับนานาชาติโดยผ่านการจัด แข่งขันปั่นรอบเกาะยังคงไม่เป็นดั่งหวังนัก  ค้นหาที่มาที่ไปจนถึงที่สุดแล้ว ผมคิดว่าต้องให้ ความส�ำคัญกับพื้นฐานอย่างลึกซึ้ง สร้างให้มีประชากรนักปั่นและนักกีฬาจักรยานให้มากยิ่ง ขึ้น  ดังนั้น ในปี 1989 ผมจึงก่อตั้งกองทุนไจแอนท์เพื่อการกีฬาขึ้น ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อมา เป็นมูลนิธิวัฒนธรรมใหม่จักรยาน มุ่งท�ำหน้าที่ผลักดันกีฬาขี่จักรยานโดยเฉพาะ การกระท�ำนี้ ค่อยๆ ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไป โรงเรียนระดับต่างๆ พากันสร้างทีมจักรยาน ประชากร นักปั่นเพิ่มขึ้นทุกที ผมเป็นผู้รับผิดชอบของมูลนิธิวัฒนธรรมใหม่จักรยานและเป็นคนในธุรกิจจักรยานด้วย ผมเชื่อว่าการปั่นจักรยานมีส่วนช่วยด้านสุขภาพ การสันทนาการ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมกระตุ้นความผูกพันและความบันเทิงร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก เป็นกีฬาเพื่อความ ปรองดองของสังคม  ผมถือว่าผลิตภัณฑ์ของตนเองคือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การผลักดันกีฬา 22


ปั่นจักรยานคือภารกิจของผม

สร้างเกาะจักรยาน

นอกจากนี้ การที่ผมมุ่งมั่นกับการสร้างไต้หวันเป็นเกาะจักรยาน (Cycling Island) ยัง เป็นการยกระดับพื้นฐานอุตสาหกรรมให้สูงขึ้นด้วย ในอดี ตนั้ น  ลั ก ษณะของธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมไต้ ห วั น คื อ การรั บจ้ า งผลิ ต  หรื อ  OEM (Original Equipment Manufactures) ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ลูกค้า ต้องการให้เราท�ำอย่างไร เราก็ท�ำไปแบบนั้น  แต่เราในฐานะโรงงานผู้ผลิตกลับไม่เข้าใจความ ต้องการของตลาดโดยสิ้นเชิง  ปัจจุบันต�ำแหน่งมหาอ�ำนาจในการรับจ้างผลิตจักรยานของ ไต้หวันถูกจีนแผ่นดินใหญ่แทนที่แล้ว ไต้หวันจ�ำเป็นต้องสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมของตนเอง ให้ได้ และต้องพยายามมุ่งทิศทางสู่การผลิตจักรยานคุณภาพสูงจึงจะมีโอกาส ทว่าการไปสู่ระดับคุณภาพสูงไม่ใช่แค่เอาแต่พูด แต่ยังต้องทุ่มเทท�ำให้เป็นจริงด้วย ตลาดที่แข็งแรงภายในประเทศคือพื้นฐานของอุตสาหกรรม มีแต่สร้างตลาดภายใน ประเทศให้คึกคัก อุตสาหกรรมจึงจะเติบโตแข็งแรง  มาตรฐานอุตสาหกรรมรถยนต์เยอรมัน เจริญรุ่งเรืองได้เพียงนั้นก็เพราะมีตลาดที่แข็งแกร่งในประเทศเยอรมนี  คนฝรั่งเศสและอิตาลี มีความต้องการสินค้าทันสมัยสูง  ดังนั้น ธุรกิจสินค้าแฟชั่นทั้งในฝรั่งเศสและอิตาลีจึงเติบโต และแข็งแรง  ไต้หวันก็เช่นเดียวกัน ไต้หวันคือศูนย์กลางการส่งออกรถจักรยานคุณภาพสูงของ โลก ถ้าหากปราศจากตลาดภายในที่แข็งแกร่ง ขาดแคลนผู้บริโภคที่มีข้อเรียกร้องต่อจักรยาน อย่างเคร่งครัด ผลิตภัณฑ์ย่อมไม่อาจยกระดับขึ้นสูง และไต้หวันย่อมไม่อาจเป็นมหาอ�ำนาจ แห่งจักรยานคุณภาพสูงได้ ไม่เพียงในด้านการผลิตที่ต้องท�ำเช่นนี้ ด้านการค้นคว้าวิจัยก็ต้องท�ำเช่นนี้ด้วย  เรา เรียกร้องว่าการค้นคว้าวิจัยจ�ำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ความคิดสร้างสรรค์ก็อาจตก เข้าไปอยู่ในวังวนของการหลงใหลได้ปลื้มอยู่กับความคิดตัวเอง ปิดประตูสร้างรถอยู่แต่ในบ้าน ทว่ากลับล้มเหลวในตลาด  ด้วยเหตุนี้บุคลากรด้านการค้นคว้าวิจัยจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีสนามรบ เหมือนที่คนฝึกเพลงยุทธ์จะต้องมีเวทีประลอง  ในอดีตนั้นเราขาดแคลนตลาด ภายในประเทศ สนามรบของเราล้วนแต่อยู่นอกประเทศ มักรับรู้เพียงครึ่งๆ กลางๆ หรือรู้มา ผิดพลาดเกี่ยวกับข่าวคราวของผลิตภัณฑ์และข้อมูลด้านการตลาดที่ลอยข้ามฟ้าข้ามทะเลมา เดี๋ยวนี้ผมให้ความส�ำคัญต่อตลาดภายในประเทศเป็นอย่างยิ่ง หวังอย่างมากว่าจะสามารถน�ำ 23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.