พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปรับปรุงใหม่)

Page 1


พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

เล็ก พงษ์สมัครไทย

ราคา ๑๔๐ บาท


พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร • เล็ก พงษสมัครไทย

ภาพจากปก

พิมพครั้งแรก : สำนักพิมพขาวฟาง พฤศจิกายน ๒๕๔๙ พิมพครั้งที่ ๒ (ปรับปรุงใหม) : สำนักพิมพมติชน กรกฎาคม ๒๕๕๖ ราคา ๑๔๐ บาท ขอมูลทางบรรณานุกรม เล็ก พงษสมัครไทย. พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๖. ๑๘๔ หนา : ภาพประกอบ. ๑. ราชสกุล- -พระบรมวงศานุวงศ- -กรุงรัตนโกสินทร I. ชื่อเรื่อง 929.79593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1131 - 0

(ปกหน้า-บน) พระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ในภาพจะเห็นพระเจ้าลูกเธอ เจริ ญ พระชนมายุ ไ ว้ พ ระเกศาทรง ดอกกระทุม่ กับพระเจ้าลูกเธอทีย่ งั ทรง พระเยาว์ ทรงเกล้าพระเมาฬี รอบด้วย มาลัยปักปิ่น (ปกหลัง-ล่าง) เจ้านายฝ่ายใน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่สวนศิวาลัยในพระบรม มหาราชวัง (ภาพจาก ราชพัสตราภรณ์. สำ�นักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของ ชาติ สำ � นั ก งานปลั ด สำ � นั ก นายก รัฐมนตรี จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)

หนังสือเลมนี้พิมพดวยหมึก ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อปกปองธรรมชาติ และสุขภาพของผูอาน

• ที่ปรึกษาสำนักพิมพ : สุพจน แจงเร็ว, จุฬาลักษณ ภูเกิด, นงนุช สิงหเดชะ • ผูจัดการสำนักพิมพ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผูจัดการสำนักพิมพ : รุจิรัตน ทิมวัฒน • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ บุนปาน • หัวหนากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจนอักษร : โชติชวง ระวิน I พัทนนลิน อินทรหอม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณรัตน • ออกแบบปก : มาลินี มนตรีศาสตร • ประชาสัมพันธ : ชัชญา สกุณา บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๑๓๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แมพิมพสี-ขาวดำ : กองพิมพสี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพที่ : โรงพิมพมติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู ๕ ถนนสุขาประชา สรรค ๒ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำหนายโดย : บริษัท งานดี จำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนน เทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


เจ้านายฝ่ายใน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวน ศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก ราชพัสตราภรณ์. สำ�นักงานเสริมสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)


สารบัญ

พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

คำ�นำ�พิมพ์ครั้งที่ ๒ คำ�นำ�พิมพ์ครั้งที่ ๑

ราชสกุล ราชินิกุล และสกุล ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ราชสกุล ราชินิกุล และสกุลสายพระชนก ราชสกุลและราชินิกุลสายพระชนนี

(๘) (๑๐)

๓ ๔ ๒๒

สายสัมพันธ์ราชสกุลพระเจ้าตากฯ กับราชสกุลจักรีวงศ์ จอมมารดาสำ�ลีวรรณ

๓๕

กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช เจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี พระพงษ์นรินทร์-พระอินทร์อภัย เจ้าจอมมารดาน้อย กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส-กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๓๗ ๓๙ ๔๐ ๔๐ ๔๑ ๔๕ ๔๖

วังหน้ากรุงรัตนโกสินทร์

๕๕


เล็ก พงษ์สมัครไทย (7)

สายสัมพันธ์สกุลอิสลาม มอญ และจีน ในราชินิกุลรัชกาลที่ ๓ และราชินิกุลรัชกาลที่ ๕ พระนมปริก พระนมเอก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมพิศว์ (บุนนาค) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๗๗

๑๐๗

๑๑๕

จากนางละครหลวง...สู่เจ้าจอมมารดา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๒๕

วาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

๑๕๑


ราชสกุล ราชินิกุล และสกุล ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


4 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินน ี าถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ปีวอก พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นพระธิดาใน พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และ หม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เป็นพระโอรส ใน นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ต้นราชสกุล “กิติยากร ณ อยุธยา” และ หม่อมเจ้าหญิงอัปษร สมาน (เทวกุล) กิติยากร หม่อมหลวงบัว กิติยากร เป็นธิดาของ นายพลเอก มหา อ�ำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน (กลาง) สนิทวงศ์) และ ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง) สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ราชสกุล ราชินิกุล และสกุล ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประกอบด้วยราชสกุล “กิติยากร ณ อยุธยา” ราชสกุล “เทวกุล ณ อยุธยา” ราชสกุล “สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” ราชินิกุล “สุจริตกุล” ราชินิกุล “ณ บางช้าง” และสกุล “พิศลยบุตร”

ราชสกุล ราชินิกุล และสกุลสายพระชนก

ราชสกุลกิติยากร ณ อยุธยา

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงเป็นต้นราชสกุล “กิติยากร ณ อยุธยา” นายพลตรี พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระจั น ทบุ รี น ฤนาถ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค�่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นพระราชโอรสพระองค์ ที่ ๑๒ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาอ่วม พระนามเดิม คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เจ้าจอมมารดาอ่วม เป็นธิดาคนที่ ๓ ของพระยาพิสณฑ์สมบัติ


เล็ก พงษ์สมัครไทย 5

หม่อมหลวงบัว กิติยากร และหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร


6 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

บริบรู ณ์ (ยิม้ พิศลยบุตร) หรือ “เจ้าสัวยิม้ ” กับ ขรัวยายปราง (สกุล เดิม “สมบัติศิริ”) ต้นสกุล “พิศลยบุตร” คือ หลวงบรรจงวาณิช (เหล่าบุน ่ โข่ย) โดยบรรพบุรุษของนายเหล่าบุ่นโข่ยเป็นจีนฮกเกี้ยน ที่เดินทางโดยเรือ ส�ำเภาแดง (เรืออั้งจุ๋น) มาจากเมืองอ้วงเก่ฉู่ มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศ จีน มาขึ้นชายฝั่งที่ประเทศไทย ณ จังหวัดสงขลา หรือจังหวัดจันทบุรี หรือจังหวัดระนองแห่งใดแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลีย้ งนายเหล่าบุน่ โข่ยอย่างสนิท เสน่หา และพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงบรรจงวาณิช ซึ่งท่าน มีบุตรและธิดากับท่านจาด และภริยาคนอื่นๆ จ�ำนวนหลายคน แต่ไม่ ทราบจ�ำนวนที่แท้จริง เช่น ๑. พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) ๒. นายพุก พิศลยบุตร ๓. บุตรชาย ซึง่ ขอรับพระราชทานนามสกุลใหม่เป็น “เลาหพันธ์” ๔. บุตรชาย ซึ่งขอรับพระราชทานนามสกุลใหม่เป็น “วิรยศิริ” พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ได้สร้างประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน หลายประการ เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เจ้าภาษีฝิ่น ท่าน เป็นผูย้ อมซือ้ โรงงานน�ำ้ ตาลซึง่ เรียกกันว่า “โรงน�ำ้ ตาลปล่องเหลีย่ ม” ที่เมืองนครชัยศรีจากชาวยุโรป เพื่อตัดปัญหาที่เจ้าของโรงงานน�ำ้ ตาล ชาวยุโรปโกงเงินค่าอ้อยชาวไร่ จากการรับ ซื้อ โรงงานน�้ำ ตาลจากชาวยุ โ รป ท�ำ ให้ ท ่ า นขอรับ พระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เพื่อขุดคลอง เพื่อใช้ขนส่งน�ำ้ ตาลมายังกรุงเทพฯ และใช้เป็น เส้นทางคมนาคมของประชาชน ความยาวจากคลองบางกอกใหญ่ไป ออกแม่น�้ำเมืองนครชัยศรี ความยาว ๖๒๐ เส้น และเพื่อให้คลองสาย นี้ตรงไม่คดเคี้ยวไปมา ท่านจึงมาวางแนวคลองด้วยวิธียิงปืนใหญ่ แล้ว ลากเส้นแนวคลองให้ตรงตามวิถกี ระสุนปืนใหญ่ในแต่ละจุด ซึง่ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน


เล็ก พงษ์สมัครไทย 7

นามคลองว่า “คลองภาษีเจริญ” ตามราชทินนามของผู้ขุด แต่คลอง นี้มาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ากันมาในสกุลว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หวั เสด็จพระราชด�ำเนินทางชลมารค ได้ทอดพระเนตรเห็น “อ่วม” กับน้องชายซึ่งยืนชื่นชมพระบารมีที่หน้าต่างชั้นบนของบ้าน และ “อ่วม” เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยิง่ นัก จึงทรงส่งคุณท้าวไปสูข่ อ “อ่วม” จากพระยาพิสณฑ์สมบัตบิ ริบรู ณ์ ผูเ้ ป็นบิดา ซึง่ ในตอนแรกบิดาไม่ยนิ ยอมถวายให้ เนือ่ งจากได้หมัน้ หมาย ไว้กับชายอื่นแล้ว แต่ภายหลังที่ได้เจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นที่เข้าใจ แล้ว จึงได้นอ้ มเกล้าฯ ถวายเป็นบาทบริจาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาอ่วม ประสูติพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ จากนั้นท่านก็ มีอาการป่วยมิอาจถวายการเลี้ยงดูพระเจ้าลูกยาเธอ รวมทั้งแสดงความ จงรักภักดีปรนนิบัติ ล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หวั ต่อไปได้ เจ้าจอมมารดาอ่วมได้กราบถวายบังคมขอพระบรมราชา นุญาตกลับไปรักษาตัวที่บ้านพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ผู้เป็นบิดา เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ทรงศึกษา เบื้องต้นในพระบรมมหาราชวังแล้ว จึงเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรป พร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธออีก ๓ พระองค์ คือ พระเจ้าลูก ยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (มหาอ�ำมาตย์เอก พระเจ้าบรม เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ต้นราชสกุล “รพีพัฒน์ ณ อยุธยา”) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ต้นราชสกุล “ประวิตร ณ อยุธยา”) และ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสรุ เดช ต้นราชสกุล “จิรประวัติ ณ อยุธยา”) นับเป็นพระราชโอรสรุ่นแรกในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เมือ่ ทรงส�ำเร็จการศึกษากลับมายังประเทศไทยในปีมะเมีย พ.ศ.


8 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรี นฤนาถ ต้นราชสกุลกิติยากร ณ อยุธยา


เล็ก พงษ์สมัครไทย 9

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรี นฤนาถ และหม่อมเจ้าหญิงอัปษรสมาน กิติยากร ทรงฉายพร้อมโอรสธิดา

๒๔๓๗ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ทรงรับราชการในต�ำแหน่ง อธิบดีกรมศึกษาธิการ สังกัดกระทรวงธรรมการ จากนั้นทรงย้ายไปรับราชการเป็นเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติแทน พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระ เจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จเสวยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ และ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาราชสมบัติต่อมาจนถึง ปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓ ผลงานที่ส�ำคัญของพระองค์ คือ ทรงวางพื้นฐาน การบริหารราชการกระทรวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งพัฒนาเป็นกระทรวงการคลังในปัจจุบัน ทรงมีส่วนร่วม อย่างส�ำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง ใน


10 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถทรงกราบถวายบังคมลาออกจากต�ำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์ และเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระ มี พระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สุรเชษฐาธิราช กิตติยากร วรลักษณสุนทรวีรวิจติ ร สรรพรัชดาธิกจิ โกศล วิมลรัตน มหาโกศาธิบดีธีรคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตา ธยาศัย ไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิบพิตร ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายพลตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรี นฤนาถทรงเป็นอภิรัฐมนตรี อภิรัฐมนตรีสภา เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มีฐานะสูงกว่า เสนาบดีสภา ท� ำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออภิรัฐมนตรีสภากลั่นกรองมติและงานของ เสนาบดีสภาแล้ว จะทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว เพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย และอภิรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วม ประชุมเสนาบดีสภาได้ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรนี ฤนาถประชวร ด้วยโรคมะเร็ง ได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และสิ้นพระชนม์ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔ พระชันษา ๕๗ ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อคั รราชทูตสยามประจ�ำประเทศฝรัง่ เศสถวาย พระเพลิงตามความประสงค์ของพระประยูรญาติ และอัญเชิญพระอัฐิ กลับมายังพระนคร นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรง เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงอัปษรสมาน เทวกุล พระธิดามหาอ�ำมาตย์


เล็ก พงษ์สมัครไทย 11

นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติแต่หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา

ราชสกุลเทวกุล ณ อยุธยา

มหาอ�ำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๒ ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (ซึ่งภาย หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาอัฐิขึ้นเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกยา เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ประสูติพระราชโอรสธิดา ๖ พระองค์ ประกอบด้วย ๑. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ประสูตปิ ีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ สิน้ พระชนม์ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๖ พระชันษา ๑๘ ปี ๒. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (มหา อ�ำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ต้นราชสกุล “เทวกุล ณ อยุธยา”) ๓. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูตปิ วี อก พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังทรงประสบอุบัติเหตุเรือ พระประเทียบล่มกลางล�ำน�้ำเจ้าพระยา จนสิ้นพระชนม์เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ๔. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา ประสูติ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น


12 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ถึงรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา เป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า พระบาทสมเด็จพระอัฏฐมรามาธิบดินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคตปีมะแม พ.ศ. ๒๔๙๘ พระชมมายุ ๙๓ พรรษา ในรัชกาลปัจจุบัน ๕. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรี ประสูติ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๐๖ ทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เสด็จสวรรคตเมือ่ ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๖. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ประสูติปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ ทรงเป็นเจ้านายชัน้ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์แรกทีเ่ สด็จไป ทรงศึกษาต่อยังต่างประเทศ ทรงรับราชการเป็นปฐมเสนาบดีกระทรวง ยุตธิ รรม ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ สวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล “สวัสดิวัฒน์ ณ อยุธยา” สิ้นพระชนม์เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่เมืองปีนัง พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อปี มะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ ทรงศึกษาเบื้องต้นในส�ำนักของพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกฤษณา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว และทรงศึกษาภาษามคธกับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) แต่ยงั มิทนั ทรงได้ศกึ ษาภาษาอังกฤษตามทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า


เล็ก พงษ์สมัครไทย 13

เจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริ เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตเสียก่อน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้า น้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ทรงเริม่ รับราชการเป็นพนักงาน ตรวจสอบบัญชีใน “ออดิต อ๊อฟฟิศ” ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบผลประโยชน์ของแผ่นดิน และจัดเก็บภาษี อากรของกระทรวงต่างๆ จากนัน้ ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ และพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เสด็จผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ทรงผนวชได้ ๑๕ วันก็ทรงลาสิกขา เพื่อทรงรับราชการในต�ำแหน่งราชเลขาธิการอีก ต�ำแหน่งหนึ่ง ซึ่งว่างลงเพราะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยา ภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นราชทูตพิเศษ เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า เทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกใน พระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมืน ่ เทวะวงศ์วโรปการ ระหว่างปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ ถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๗ พระเจ้า น้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ทรงรับราชการหลายต�ำแหน่ง คือ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งราชเลขาธิการ ทรงเป็นที่ปรึกษากระทรวงการ ต่างประเทศ และทรงเป็นผู้บัญชาการกรมบัญชีกลาง สังกัดหอรัษฎากร พิพัฒน์ ซึ่งพัฒนามาเป็นกระทรวงการคลังในปัจจุบัน ต่อมาในปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) กราบถวายบังคมลาออกจากต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวง การต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง


14 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโร ปการ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งแทน ซึ่งในขณะนั้นมีพระชันษา ๒๗ ปีเท่านั้น ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศขึ้นเป็น กรมหลวง ระหว่างทรงรับราชการ ทรงเป็นที่ ไว้วางพระราชหฤทัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงสนองพระบรมราโชบายด้านการต่างประเทศ ในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จไปใน งานกาญจนาภิเษก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินนี าถวิคตอเรีย ทรง รับพระภาระในการศึกษาดูงานระเบียบแบบแผนการปกครองของนานา อารยประเทศ แล้วกราบถวายบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตัง้ กระทรวงแบบ ใหม่ ๑๒ กระทรวง แทนเสนาบดีจตุสดมภ์ ซึ่งเป็นการบริหารราชการ แผ่นดินแบบเดิม ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ในการเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศญี่ปุ่น ทรงมีบทบาทในการร่างกฎหมาย เพื่ออ�ำนวยความ ยุติธรรมและประสิทธิภาพของการบริหารตามความจ�ำเป็นของยุคสมัย นอกจากนัน้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ยังทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรง เป็นองคมนตรี และทรงเป็นนายพันเอกนายทหารองครักษ์พิเศษ กรม ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เมือ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติแล้ว ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการขึ้นเป็น กรมพระ จากนัน้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือ่ นพระอิสริยยศเป็น สมเด็จฯ กรมพระยา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนก นิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบูลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลยสุนทร ปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานา


เล็ก พงษ์สมัครไทย 15

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

ปกรณ์ เกียรติก�ำจรจิรกาล บริบูรณคุณสารสมบัติ สุจริตสมาจาร วัตรมัทวเมตตา ชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณาธาดา กัลยาณ ธรรมิกนาถบพิตร มหาอ�ำมาตย์นายก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ ประชวรพระยอดหัวใหญ่ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๖ ปี ทรงรับราชการเป็นเวลา ทั้งสิ้น ๔๙ ปี โดยทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ๓๘ ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อย ทรงพระศพและประดิษฐาน


16 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

พระศพ ณ วังเทวะเวสม์ ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานตาม โบราณราชประเพณี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศ ทองใหญ่ ทรงพระศพและพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ปีเดียวกัน ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง มหาอ�ำมาตย์นายก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ ทรงเป็นต้นราชสกุล “เทวกุล ณ อยุธยา” ทรงเสกสมรส กับหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา สกุลเดิม “สุจริตกุล” ซึ่งนับเป็น ราชินิกุลรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ และเป็นราชนิกุลรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบัน

ราชินิกุลสุจริตกุล

ต้นสกุลสุจริตกุล คือ หลวงอาสาส�ำแดง (แตง) และท้าว สุจริตธ�ำรง (นาค) ตราประจ�ำสกุลสุจริตกุลจึงเป็นตรานาคพันแตง หลวงอาสาส�ำแดง (แตง) เกิดปีฉลู พ.ศ. ๒๓๒๔ รับราชการเป็น มหาดเล็กมาแต่รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั มีตำ� แหน่ง เป็ น สมุ ห ์ บ าญชี ก รมมหาดเล็ ก เวรฤทธิ์ ถึ ง รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดา ศักดิเ์ ป็นหลวงอาสาส�ำแดง ต�ำแหน่งเจ้ากรมเรือต้นซ้าย ท่านถึงแก่กรรม เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ อายุ ๗๑ ปี ท้าวสุจริตธ�ำรง (นาค) เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๕ รับราชการฝ่ายในมาตัง้ แต่รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวทองพยศ ต�ำแหน่งนายวิเสทกลางส�ำรับหวาน รับพระราชทานเบี้ย หวัดปีละ ๒ ชั่ง และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ควบคุมเลกวัดสุทัศนเทพ วรารามด้วย ท้าวทองพยศถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ อายุ ๗๙ ปี เมื่อแรกถึงอนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน�้ำหลวง อาบศพ หีบทองทึบ ฉัตรเบญจา ๔ กลองชนะ ๕ คู่ จ่าปี่ ๑ ประโคม ศพตามเกียรติยศอย่างเจ้าขรัวยายในพระเจ้าลูกยาเธอ แต่ต่อมาทรง


เล็ก พงษ์สมัครไทย 17

นาคพันแตง ตราประจำ�ราชินิกุล “สุจริตกุล”


18 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

คุณพระสุจริตธำ�รง (นาค) ต้นสกุลสุจริตกุล


เล็ก พงษ์สมัครไทย 19

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา


20 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือ่ นต�ำแหน่งขึน้ เป็น ท้าวสุจริตธ�ำรง มีบรรดา ศักดิ์เสมอด้วยท้าวนางสนองพระโอษฐ์ถือศักดินา ๑๐๐๐ หลวงอาสาส�ำแดงและท้าวสุจริตธ�ำรง มีบตุ รธิดา ๙ คน ประกอบ ด้วย ๑. และ ๒. เป็นหญิง ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์ ๓. เจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงษ์ สุจริตกุล) ๔. ท้าววนิดาพิจาริณี (เหม สุจริตกุล) ๕. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอม มารดาเปี่ยม ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ๖. พระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล) ๗. นายรองพันธ์ (หล่อ สุจริตกุล) ๘. เป็นหญิง ชื่อ ปุก ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์ ๙. เป็นชาย ชื่อ เหมือน ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์ นอกจากนั้น หลวงอาสาส�ำแดงยังมีธิดากับภรรยาอื่นอีก ๑ คน ก�ำพร้าแม่แต่ยังเป็นทารก คือ ขรัวนายสุด สุจริตกุล ซึ่งท้าวสุจริตธ�ำรง ได้เลี้ยงไว้ โดยให้ร่วมนมกับเจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี มหาอ�ำมาตย์นายก สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา เป็นสหชาติกัน คือ ประสูติและเกิด วันเดียวกัน คือ วันเสาร์ แรม ๗ ค�่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา เป็นธิดาคนที่ ๒ ของเจ้าพระยา สิริรัตนมนตรี (หงษ์ สุจริตกุล) และ คุณหญิงตาด ธิดาพระยาราช สงคราม (ทองอิน ธรรมสโรช) เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมได้ขอหม่อม ใหญ่ต่อเจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี ซึ่งเจ้าพระยาสิริรัตนมนตรีก็ยกถวาย มาเป็นหม่อมในมหาอ�ำมาตย์นายก สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโร ปการ ซึ่งขณะนั้นด�ำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า เทวัญอุไทยวงศ์ ประทับ ณ แพหน้าโรงเรียนราชินสี นุ นั ทาลัย จากนัน้ ได้ ย้ายไปประทับที่วังเชิงสะพานถ่าน เมื่อเกิดวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ คือ พ.ศ.


เล็ก พงษ์สมัครไทย 21

๒๔๓๖ เจ้านายและชนชั้นสูงของสังคมได้ร่วมกันจัดตั้งสภาอุณาโลม แดงหรือสภากาชาดสยาม เพื่อรักษาพยาบาลและเยี่ยมเยียนทหารที่ได้ รับบาดเจ็บจากสงคราม ซึ่งหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นกรรมการิณีขององค์กรแห่งนี้ด้วย เมื่อหน้าน�้ำปี พ.ศ. ๒๔๔๘ หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ได้ มีโอกาสรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรม วงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร เสด็จประพาสคลอง ๙ รังสิต จังหวัด ธัญญะบุรี (ปัจจุบันเป็นอ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี) พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร ประทับ เสวยพระกระยาหารกลางวันทีเ่ รือนพักของหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา และพระราชทานเสมาเงินมีพระบรมรูปแก่เด็กๆ ลูกชาวนาในต�ำบล นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด� ำรัสชมเชย ไข่เค็มของหม่อมใหญ่ ว่าเป็นที่ ๑ ในประเทศสยาม และไข่เค็มเป็นพระ กระยาหารโปรดในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจาก นั้นหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ยังได้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษ คือ ได้เป็น ผู้ถวายนมสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชร บูรณ์อินทราชัยเมื่อแรกประสูติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำรัสชมเชยว่า นมนี้ทำ� ให้พระโอรสมีพระมังสังมาก หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ได้รบั พระราชทานเบีย้ หวัดประจ�ำ ปีมาตัง้ แต่รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ตราบจนถึง อนิจกรรม และเมือ่ ท�ำบุญอายุ ๖๑ ปี แล้วหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานน�้ำสงกรานต์กับเงินปีละ ๓๐๐ บาท มาตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการอันสงบ ที่วังของนายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เมื่อ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ สิริอายุ ๗๘ ปี ๘ เดือน ท่านประสูติ พระโอรสธิดา ๑๑ องค์ พระธิดาองค์โต คือ หม่อมเจ้าหญิงอัปษร สมาน พระชายาในนายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรี นฤนาถ


22 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

ราชสกุลและราชินิกุลสายพระชนนี

ราชสกุลสนิทวงศ์ ณ อยุธยา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงเป็นต้น ราชสกุล “สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ ที่ ๔๙ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ประสูตแิ ต่ เจ้าจอมมารดาปราง เมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค�ำ่ เดือน ๘ ปีมะโรง ตรง กับวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ทรงมีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้า นวม” ซึง่ ในขณะนัน้ สมเด็จพระบรมชนกาธิราชทรงด�ำรงพระอิสริยยศ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล คือวังหน้ารัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมมารดาปรางเป็นกุลสตรี แห่งราชินิกุลบางช้าง แขวง เมืองบางช้าง ซึ่งได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดสมุทรสงคราม มีพื้นที่ ตัง้ อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น�้ำแม่กลองอันอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะ ปลูกพืชพรรณนานาชนิดประกอบกับชาวแม่กลองมีอุปนิสัยขยันท� ำมา หากิน สมุทรสงครามจึงเป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรขนาดใหญ่ใน ภาคกลางของประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และเป็นแหล่งผลิต อาหารส�ำคัญในยุคกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ แขวงเมืองบางช้าง มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระอมริน ทรา บรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชสมภพ และเป็นพระนิเวศน์สถานของพระองค์ท่าน ขณะ เดียวกันก็เป็นสถานที่เสด็จพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย ราชินิกุลบางช้าง คือ พระญาติวงศ์ในสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย พระญาติในสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินีเป็นราชินิกุลก่อน สกุลอื่นในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี เป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงพระองค์แรก เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ พระญาติ ใ นสมเด็ จ พระอมริ น ทรา บรมราชิ นี ก็ ขึ้ น สู ่ ฐ านะ


เล็ก พงษ์สมัครไทย 23

พระขรรค์กับรวงข้าว ตราประจำ�ราชสกุล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา


24 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

ราชินิกุลแต่นั้นมา เจ้าจอมมารดาปราง เป็นธิดาคนที่ ๔ ของ ขรัวตาบุญเกิด และ ขรัวยายทองอินทร์ ขรัวยายทองอินทร์เป็นหลานปู่ของท่านตาเจ้าแทน พระปิตุลาที่ ๒ ในสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี ขรัวตาบุญเกิดและขรัวยายทองอินทร์ มีความรู้ด้านการแพทย์ ได้รับราชการในพระราชส�ำนักและได้ถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าจอมมารดา ปราง ซึ่งเจ้าจอมมารดาปรางได้รับหน้าที่ถวายการอภิบาลแด่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ หัวเมื่อยังทรงพระเยาว์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลย ราชสมบัติในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ หม่อมเจ้านวมจึงทรงด�ำรงพระ อิสริยยศเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านวม พระองค์ได้รับ การศึกษาเบือ้ งต้นตามแบบฉบับของพระราชส�ำนัก ทรงมีความรูท้ างการ แพทย์ โดยทรงได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากขรัวตาบุญเกิดและขรัว ยายทองอินทร์ ทรงศึกษาพระพุทธศาสนา โหราศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านวม ทรงเป็นบุคคลสมัยใหม่ ทรงสนพระทัยในวิชาการแผนใหม่ของตะวันตก ซึ่งคณะมิชชันนารี อเมริกนั น�ำเข้ามาเผยแพร่ตงั้ แต่ปชี วด พ.ศ. ๒๓๗๑ ซึง่ พลเอก สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ในพระราชพงศาวดารกรุง รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ ความว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชพอพระ ราชหฤทัยเรียนภาษา หนังสืออังกฤษกับทั้งวิชาต่างๆ มีโหราศาสตร์ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พอพระราชหฤทัยจะ ทรงเรียนวิชาทหารเป็นที่ตั้ง กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งได้ทรงศึกษา วิชาแพทย์ไทยอยู่แล้ว ใคร่จะทรงศึกษาวิชาแพทย์ฝรั่ง แต่ไม่ประสงค์ จะทรงเรียนภาษาอังกฤษ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อยัง


เล็ก พงษ์สมัครไทย 25

เจ้าจอมมารดาปราง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


26 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

เป็นหลวงสิทธินายเวรเรียนวิชาต่อเรือก�ำปัน่ เป็นส�ำคัญ และภาษาอังกฤษ ก็ดูเหมือนจะเรียนได้บ้าง ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้านวม ทรงก�ำกับราชการ กรมหมอ ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นแพทย์ประจ�ำพระองค์ รวม ทั้งเป็นผู้รับสนองพระบรมราโชบายที่ส�ำคัญหลายประการ และในปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่นวงศาสนิท ปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัฐบาลอังกฤษส่ง เซอร์เจมส์ บรุ๊ค เป็นราชทูตเข้ามาขอ แก้สัญญาเกี่ยวกับภาษีและการค้าที่เคยท�ำไว้แต่ก่อน พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาสนิททรงเป็นผู้ตรวจร่างสัญญาพร้อมด้วยขุนนางตระกูล บุนนาคอีก ๒ ท่าน เมื่อตรวจร่างสัญญาเสร็จแล้ว จะน�ำไปถวาย “ทูล กระหม่อมพระ” คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ตรวจสอบ ก่อนแล้ว จึงทรงอ่านถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อมี พระบรมราชวินิจฉัย ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาธิราชสนิท ทรงก�ำกับ ราชการกรมมหาดไทย กรมพระคลังสินค้า และทรงเป็นทีป่ รึกษาราชการ แผ่นดินแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ด้วย จากนัน้ ใน ปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศ เป็น กรมหลวง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงสนพระทัยใน ด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ ทรงมีเรือส�ำเภาท�ำการค้ากับต่างประเทศ ๓ ล�ำ ทรงรับราชการเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพ ไปตีเมืองเชียงตุง ช่วงปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


เล็ก พงษ์สมัครไทย 27

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ ณ อยุธยา


28 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงเป็นประธานพร้อม ขุนนางตระกูลบุนนาค เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นต้น เพื่อพิจารณาข้อสัญญาของเซอร์จอห์น บาวริ่ง ซึ่งรัฐบาลอังกฤษส่งเข้า มาแก้สัญญาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งสัญญาของฝรั่งเศสและอเมริกา ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ขณะพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศา ธิราชสนิทมีพระชันษา ๕๓ ปี ได้เสด็จไปสรงน�ำ้ แล้วประชวรพระวาโย ล้มลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาเสด็จ พระราชด�ำเนินเยี่ยมไข้ ซึ่งถือกันว่าเสด็จไปให้เข้าเฝ้าครั้งสุดท้าย ก่อน ที่เจ้านายพระองค์นั้นจะสิ้นพระชนม์ แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง วงศาธิราชสนิททรงรักษาอาการพระประชวรได้ด้วยพระองค์เอง จน อาการดีขึ้น แต่ไม่หายขาด ทรงพระด�ำเนินไม่คล่อง ใช้พระหัตถ์ซ้าย ไม่ถนัด ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงอยู่ในฐานะพระบรมวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่ ทรงเป็นที่เคารพนับถือในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ด้วยการที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรง เชี่ยวชาญในวิชาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ตะวันตก จึงได้ทรง นิพนธ์หนังสือทางการแพทย์หลายเล่ม ประกอบด้วยต�ำราพระโอสถ พระนารายณ์ ต�ำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ ๒ และต�ำราสรรพคุณยาของ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท นอกจากนั้นยังได้ทรงนิพนธ์งานด้านอักษร ศาสตร์ไว้หลายเล่ม ประกอบด้วยเพลงยาวสามชาย ต�ำราเพลงยาว กลบทสิงโตเล่นหาง โคลงนิราศพระประธม โคลงสุภาษิตจินดามณี และทรงช�ำระพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งเป็นไปตาม พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ พระราชวังเดิมธนบุรี ขณะพระชันษา ๖๓ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง


เล็ก พงษ์สมัครไทย 29

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บ�ำเพ็ญพระราชกุศลตามโบราณราชประเพณี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงพระศพที่วัดอรุณ ราชวราราม (วัดแจ้ง) ซึ่งเป็นวัดประจ�ำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีพระโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๒๕ องค์ พระโอรสองค์ที่ ๒ คือ หม่อมเจ้าสาย ประสูติ แต่ หม่อมแย้ม บุตรีจางวางด้วงแห่งราชินกิ ลุ บางช้างได้รบั การถ่ายทอด วิชาความรู้จากพระบิดาไม่ว่าจะเป็นวิชาการแพทย์ วิชาการพาณิชย์ และวิชาการอื่นๆ ที่จ�ำเป็น ส�ำหรับการรับราชการสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศา ธิราชสนิทได้น�ำหม่อมเจ้าสายขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงใช้สอยติดพระองค์ตลอดมา เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทประชวรได้ กราบถวายบังคมทูลถวายสมบัติ แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ครั้นสิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่หม่อมเจ้าชาย หญิงทายาทตามสมควรแล้ว ทรัพย์มรดกที่เหลือนั้นได้พระราชทานแก่ หม่อมเจ้าสาย พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าสาย ด�ำรงต�ำแหน่ง จางวางกรมหมอ ถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าสายเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าสายสนิทวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงใช้สอยพระวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์อย่างสนิทเสน่หา ตรัสเรียกว่า “หมอ สาย” บ้าง “พระองค์สาย” บ้าง ถึงปีกนุ พ.ศ. ๒๔๒๙ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร ร.ศ. ๑๒๙ ในการนี้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ และได้รับพระราช ทานยศเป็น “นายพลเรือตรี” และ “นายพลเรือโท” ตามล�ำดับ ภายหลังนายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์


30 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)


เล็ก พงษ์สมัครไทย 31

ประชวร จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ และสนพระทัยในการ ประกอบกิจการด้านการพาณิชย์ มีการค้าขายและรับสัมปทานขุดคลอง รังสิต เป็นต้น นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ มีบุตร ธิดากับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ๘ คน อาทิ คนโต คือ นายพันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ แพทย์หลวงประจ�ำ พระราชส�ำนัก ภายหลังลาออกจากราชการเพื่อประกอบกิจการสืบแทน พระบิดา ธิดาคนรอง คือ หม่อมราชวงศ์เนือ่ ง ได้รบั ราชการเป็นเจ้าจอม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ประสูตพิ ระราชโอรสธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และพระเจ้า ลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ (พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทเรนทร ต้นราชสกุล “รังสิต ณ อยุธยา”) คนที่ ๓ คือ พลเอก มหาอ�ำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงศานุ ประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน (กลาง) สนิทวงศ์) ซึ่งเป็นพระอัยกา ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ เกิดในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ เมื่ออายุได้ ๖ ปีเศษ ท่านได้เข้าศึกษาวิชาหนังสือไทยที่ โรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ศกึ ษาภาษาอังกฤษขัน้ ต้น ในส�ำนักบูรามสามีที่โรงเรียนทหารมหาดเล็ก จนปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ออกไปศึกษาวิชาทหารบกที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อส�ำเร็จโรงเรียนนาย ร้อยทหารบก ณ กรุงโคเปนเฮเกนแล้วได้รับพระราชทานยศเป็นนาย ร้อยตรีกองทัพบกเดนมาร์ก จากนัน้ ได้เข้าศึกษาต่อทีโ่ รงเรียนเสนาธิการ ทหารอีก ๒ ปี จึงส�ำเร็จการศึกษาในปลายปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ ท่าน ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการทหารที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา ๖ เดือน ก่อนเดินทางกลับเข้ารับราชการ รวมเวลาศึกษาในต่างประเทศ ๑๑ ปี หม่อมราชวงศ์สท้าน (กลาง) เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในปี มะเส็ง พ.ศ. ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระ


32 พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในกรมยุทธนาธิการ ซึ่งเป็นกรมใหญ่ บังคับบัญชากรมทหารบกทั้งปวง เมื่อเริ่มต้นรับราชการ ท่านปฏิบัติ หน้าที่พิเศษไปช่วยราชการกระทรวงการต่างประเทศ ในการปักปันเขต แดนแผ่นดินฝั่งแม่น�้ำโขงซึ่งเป็นปัญหาระหว่างประเทศไทยกับประเทศ ฝรัง่ เศส จากนัน้ ได้รบั ราชการในต�ำแหน่งรองยกกระบัตรทัพบก และได้ ด�ำรงต�ำแหน่งผูบ้ งั คับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก และพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญา บัตรเป็น หม่อมชาติอุดม หม่อมราชนิกุล เมื่อท่านด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก ท่านได้บริหารจนโรงเรียนเจริญ รุ่งเรือง มีชอื่ เสียงเป็นทีน่ ยิ มของเจ้านาย ข้าราชการ และประชาชนทัว่ ไป ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๖ ขณะนั้นท่านอายุ ๓๖ ปี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมชาติอดุ ม ด�ำรงต�ำแหน่งเสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศเป็นนายพันเอก ซึ่งท่านด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเวลา ๕ ปีเศษ ขณะด�ำรงต�ำแหน่ง ท่านได้จัด วางระเบียบของกองทัพบกไว้เป็นอันมาก ท่านได้ตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ขึน้ เป็นครัง้ แรก และสอนวิชาเสนาธิการกิจด้วยตนเอง นอกจากนัน้ ท่าน ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับแคว้นอินโดจีนตอนเหนือ คือหลวงพระบาง ปลายรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย ไปรับราชการในต�ำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และได้ พระราชทานสัญญาบัตรซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนด้วยใบ ก�ำกับพระสุพรรณบัฏเป็นพิเศษ เป็น พระยาวงษานุประพัทธ วิบูลย ปริวัตรเกษตราธิบดี และได้รับพระราชทานยศเป็น นายพลโท หลัง ด�ำรงต�ำแหน่งรองเสนาบดีประมาณ ๖ เดือน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ รับพระราชทานยศ พลเรือนเป็นมหาอ�ำมาตย์เอก ผลงานระหว่างที่ท่านด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตรา ธิการ คือ การวางระเบียบบริหารงานบุคคลของกระทรวง การรับโอน กรมราชโลหกิจจากกระทรวงมหาดไทยรวมเข้ากับกรมทะเบียนที่ดิน


เล็ก พงษ์สมัครไทย 33

และราชโลหกิจ ท่านได้ส่งเสริมการเลี้ยงไหม กิจการชลประทาน จัดท�ำ ประตูระบายน�้ำ ขุดลอกคลองเพื่อการเกษตรและคมนาคม การบ�ำรุง พันธุ์ข้าวและอื่นๆ จากนั้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สถาปนาเป็นเจ้าพระยาในราชทินนามเดิม จากนั้นทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ยา้ ยไปด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการซึง่ ได้เปลีย่ น ชื่อเป็นกระทรวงคมนาคมในคราวเดียวกัน นายพลเอก มหาอ�ำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ ด�ำรง ต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา ๑๓ ปี จึงได้กราบถวาย บังคมลาออกจากราชการ เพื่อรับพระราชทานเบี้ยบ�ำนาญเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ พระยา มโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรีได้เชิญให้ท่าน ด�ำรงต�ำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ ตั้งแต่ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้น ท่านจึงพ้นต�ำแหน่งรัฐมนตรีแต่นั้นมา นายพลเอก มหาอ�ำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ ถึงแก่ อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ อายุได้ ๗๔ ปี ๔ เดือน ท่านได้รบั พระราชทานเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ชนั้ สูงสุด คือ ประถมาภรณ์ มงกุฎไทย ประถมาภรณ์ชา้ งเผือก ปฐมจุลจอมเกล้า รัตนวราภรณ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศ ท่านมีบุตรธิดาทั้งสิ้น ๑๔ คน ธิดาคนที่ ๙ เกิดแต่ท้าววนิดา พิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) คือ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระชนนีแห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


หนังสือประกอบการเขียน เฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดั พิมพ์เนือ่ งในพระราชพิธสี ถาปนาพระอิสริยศักดิ์ และบำ�เพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ สมเด็จพระเจ้าพีน่ าง เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖. ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์). ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล พิมพ์แจกเป็น ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุ ประพัทธ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔. ประวัติหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา. โอรสและธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑. พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และพระประวัติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์. โดยณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม หนังสือทีร่ ะลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดชสนิทวงศ์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘. พระประวั ติ แ ละพระเกี ย รติ คุ ณของพระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระจั นทบุ รี นฤนาถ องค์ปฐมเสนาบดี กระทรวงเศรษฐการ. กระทรวงเศรษฐการ จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๔. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสนัน่ บุณยศิรพิ นั ธ์ุ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๒. ลำ�ดับราชินิกุลบางช้าง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำ�รวจเอก ขุนวารินทรสัญจร (ขาว ณ บางช้าง) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม พระนคร วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑. ลำ�ดับสกุลสุจริตกุล ราชินีกุลรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ราชนิกุลรัชกาล ที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบนั . หนังสือในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิบลู ไอศวรรย์ (เปรียบ สุจริตกุล) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพ ศิรินทราวาส วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.