Slow Success ยิ่งใหญ่ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
Slow Success ยิ่งใหญ่ได้ด้วยก้าวเล็กๆ เกตุวดี & วสุ Marumura
กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์มติชน 2559
Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ • เกตุวดี & วสุ Marumura พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์มติชน, มกราคม 2559 ราคา 190 บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม เกตุวดี. Slow Success ยิ่งใหญ่ได้ด้วยก้าวเล็กๆ. - -กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 256 หน้า. 1. จิตวิทยาประยุกต์. I. วสุ มะรุมุระ, ผู้แต่งร่วม II. ชื่อเรื่อง. 158 ISBN 978 - 974 - 02 - 1459 - 5
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สอง แสงรัสมี • บรรณาธิการเล่ม : ปรียานุช หลักค�ำ นักศึกษาฝึกงานกองบรรณาธิการ : จุฑามาศ เหมอินทร์ • พิสูจน์อักษร : ปารดา นุ่มน้อย กราฟิกเลย์เอาต์ : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ภาพประกอบ : โอม ชนิตราภิรักษ์ ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ประชาสัมพันธ์ : สุชาดา ฝ่ายสิงห์ หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะทีด่ ขี องผูอ้ า่ น
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน (1) ค�ำน�ำผู้เขียน (2)
Haruki Murakami จากเจ้าของร้านแจ๊ซสู่นักเขียนนวนิยาย Best Seller Ikeido Jun นักเขียนนวนิยายที่ท�ำให้มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นไฟลุก Lily Franky จากคนว่างงานสู่เส้นทางนักแสดง นักวาด และนักเขียนผู้โด่งดัง Kikuchi Keiichi ผู้ก่อตั้ง “ร้านหนังสือตามใจฉัน” Yasuda Takao นักธุรกิจผู้สร้างก�ำไรจากความมืด Sakurada Atsushi MOS Burger เพื่อสายสัมพันธ์ Yoshida Tadao ผู้ก่อตั้งซิป YKK สินค้าชิ้นเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ Matsumoto Yukihiro โปรแกรมเมอร์ผู้สร้างภาษาใหม่ ให้กับคอมพิวเตอร์ Miyazaki Hayao ผู้สะกดคนให้ลืมโลกด้วยแอนิเมชั่น Miyamoto Shigeru ผู้บันดาลเกม Mario ให้กับ Nintendo
7 9 11 15 23 33 41 49 57 65 75 83 91
Nara Yoshitomo ผู้ไม่ทรยศต่อจิตวิญญาณความเป็นจิตรกร Issey Miyake ดีไซน์จะน�ำพามาซึ่งความสุขของมวลมนุษย์ Kengo Kuma โอะตาคุผู้ริเริ่ม “สิ่งก่อสร้างที่มองไม่เห็น” Satoh Taku ความพยายามน�ำไปสู่การค้นพบ Suzuki Ichiro เป้าหมายเล็กๆ ที่น�ำไปสู่การก้าวเดินที่ยิ่งใหญ่ Yamakawa Saki ผู้ก่อตั้ง Crazy Wedding ด้วยแนวคิด “Crazy” Tachibana Kokoro แม่ที่ไม่เคยด่าลูก Ozaki Mie แม่บ้านญี่ปุ่นที่ได้ไปพบผู้น�ำ EU Niitsu Haruko บทเรียนจากพนักงานท�ำความสะอาด สนามบิน Haneda Hitoto Yo เจ้าของเพลง Hanamizuki ที่ฮิตตลอดกาล Yamaguchi Eriko ผู้ชุบชีวิตชาวบังกลาเทศด้วยธุรกิจเพื่อสังคม Yamazaki Naoko นักบินอวกาศหญิงผู้ไม่ลืมความฝัน Abe Kei พนักงานโรงแรมผู้คอยอาชีพในฝันกว่า 10 ปี Tokunaga Sano คุณยายผู้ร�่ำรวย (ความสุข) Kondo Marie ผู้สามารถพลิกการจัดบ้านมาเป็นอาชีพ Chika Tillman เชฟที่พูดคุยกับลูกค้าและอาหาร Kuroyanagi Tetsuko นางสาว “โต๊ะโตะจัง” ผู้โดนปฏิเสธ มาเกือบครึ่งชีวิต Iwasaki Chihiro นักวาดนิทานภาพผู้อ่อนโยน Matsushita Mumeno สตรีผู้อยู่เบื้องหลัง ผู้ก่อตั้ง PANASONIC Horiuchi Yoshimi สาวญี่ปุ่นผู้พยายามปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ให้คนไทย
99 107 115 123 131 141 149 157
245 247 249
ประวัติผู้เขียน (1) ประวัติผู้เขียน (2) เอกสารอ้างอิง
163 169 175 181 187 195 201 209 217 225 233 239
ค�ำน�ำ ส�ำนักพิมพ์
“โตขึ้นอยากเป็นอะไร?” นี่คงเป็นค�ำถามที่เราครุ่นคิดกันตั้งแต่สมัยวัยเยาว์ เราอาจมีสิ่งที ่ ใฝ่ฝันและอยากจะเป็น แต่พอเราเติบโตขึ้นมา ด้วยสิ่งแวดล้อม ภาระ หน้าที ่ หรือกระแสสังคม ท�ำให้ความฝันเราค่อยๆ เปลีย่ นไปทีละนิด เพือ่ ให้ สอดคล้องกับ “ความส�ำเร็จ” ตามมาตรฐานสังคม จนท�ำให้เราต้องย้อนกลับ มาถามตัวเองอีกครัง้ ว่า “อยากเป็นอะไร” ทัง้ ๆ ทีเ่ รา “เติบโต” ขึน้ เป็นผูใ้ หญ่ แล้วก็ตาม “Slow Success ยิง่ ใหญ่ได้ดว้ ยก้าวเล็กๆ” หนังสือรวมเรือ่ งราวชีวติ ของชาวญี่ปุ่นทั้งชายและหญิง 30 คน ผู้ท่ีลงมือท�ำตามสิ่งที่รักและสิ่งที่ฝัน ด้วยความเพียรพยายามแบบวิถีชาวญี่ปุ่น สามารถก้าวผ่านความล้มเหลว มานับครั้งไม่ถ้วน และค่อยๆ ก้าวเดินไปสู่ชัยชนะด้วยก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ ตามแบบฉบับของตนเอง ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งราวของ Haruki Murakami จาก เจ้าของร้านแจ๊ซสูน่ กั เขียนนวนิยาย Best Seller, Miyazaki Hayao ผูส้ ะกด คนให้ลืมโลกด้วยแอนิเมชั่น, Yamakawa Saki ผู้ก่อตั้ง Crazy Wedding ด้วยแนวคิด “Crazy”, Kuroyanagi Tetsuko นางสาว “โต๊ะโตะจัง” ผู้โดน ปฏิเสธมาเกือบครึ่งชีวิต เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่พวกเขาท�ำยังเป็นพลัง Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
7
ขับเคลื่อนส�ำคัญและสร้างผลประโยชน์ต่อผู้อื่นอีกด้วย เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจจากชาวญี่ปุ่นในเล่มนี้เล่าผ่านโดยความ ตั้ ง ใจของ 2 คอลั ม นิ ส ต์ ผู ้ ร อบรู ้ เ กี่ ย วกั บ ประเทศญี่ ปุ ่ น ประจ� ำ เว็ บ ไซต์ Marumura ซึ่งก็คือ วสุ Marumura นักเขียนผู้ที่เคยไปใช้ชีวิตในญี่ปุ่น ทั้งเรียนและท�ำงานมานานถึง 10 ปี และเป็นเจ้าของแฟนเพจ Wasu’s thought on Japan จะมาเล่าถึงบุคคลญีป่ นุ่ ฝ่ายชาย และนักเขียนฝ่ายหญิง เกตุวดี Marumura หญิงสาวทีเ่ คยไปเรียนต่อทีญ่ ปี่ นุ่ ถึง 8 ปี และยังคลุกคลี กับความเป็นญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน เจ้าของแฟนเพจ Japan Gossip by เกตุวดี Marumura และเจ้าของผลงาน เมาท์ญี่ปุ่นให้คุณยิ้ม, สุโก้ย Marketing ใครๆ ก็ตดิ ใจญีป่ นุ่ และ กระซิบรักฉบับญีป่ นุ่ ซึง่ ได้ผลตอบรับอย่าง ดีเยี่ยม จะมาเล่าถึงบุคคลญี่ปุ่นฝ่ายหญิง หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังสือแรงบันดาลใจที่จะมาจุดไฟ ในตัวเราเท่านั้น แต่ยังเป็นหนังสือที่บอกเล่าถึงความส�ำเร็จในมุมมองที ่ แตกต่างออกไป ความส�ำเร็จที่ไม่ได้อยู่เพียงแค่ชื่อเสียง เงินทอง หรือก้าว ให้ถึงเส้นชัยได้เร็วกว่าใคร หากแต่เป็นชีวิตที่เรา “มีความสุข” ที่ทำ� ให้เรา ตอบตัวเองได้ว่า “เราอยากท�ำอะไร” ส�ำนักพิมพ์มติชน
8
เกตุวดี & วสุ Marumura
ค�ำน�ำ ผู้เขียน (1) เราทุกคนต่างมีชีวิตอยู่กันไปท�ำไม? คุณพอใจในตัวคุณเอง ณ ปัจจุบันนี้อยู่หรือเปล่า? ความส�ำเร็จของเราคืออะไรกันแน่? ค�ำถามเหล่านีอ้ าจจะเป็นค�ำถามทีเ่ ราเคยถามตัวเองกัน ความส�ำเร็จ ของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคนมอง อาจจะเป็นชื่อเสียง เงินทอง หรือมีความสัมพันธ์ที่ดี ก็แตกต่างกันไปกันตามแต่ละคน แต่ลึกๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่รู้สึกได้ในความส�ำเร็จคือ “ความภาคภูมิใจในตัวตนของเรา” คนญี่ปุ่นก็เป็นชนชาติหนึ่งที่มีความพิเศษ มีใครหลายคนที่ประสบ ความส�ำเร็จ เป็นหน้าเป็นตากัน แต่จากการเขียนหนังสือเล่มนี้แล้วท�ำให้ ผมพบว่า มันมีเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนให้กับคนญี่ปุ่นเหล่านั้น มันคือวิกฤตครับ อย่างที่เราทราบดีว่าประเทศญี่ปุ่นต้องประสบกับภัยธรรมชาติอย่าง แผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดที่โตโฮะคุใน ค.ศ.2011 ได้ส่งผลต่อ ชีวติ ของคนญีป่ นุ่ หลายต่อหลายชีวติ หากมองในประวัตศิ าสตร์ของญีป่ นุ่ แล้ว ก็มีเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อระดับสังคมญี่ปุ่นในภาพกว้างคือ ความพ่ายแพ้ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสภาพฟองสบู่แตกในยุคปี 90 จากเหตุการณ์ เหล่านี้ได้ท�ำให้วิถีคนญี่ปุ่นพบกับความหายนะ อันได้แก่ ไม่มีอาหารจะกิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีงานจะท�ำ หรือบางครั้งบางคราววิกฤตเหล่านั้นอาจจะ เป็นแค่เหตุการณ์ใกล้ตัวที่เกิดขึ้นกับเฉพาะคนคนนั้นเท่านั้น Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
9
แต่กม็ คี นญีป่ นุ่ บางคนสามารถก้าวข้ามพ้นวิกฤตนัน้ ได้ และสามารถ ประสบความส�ำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เงินทอง และมีความสัมพันธ์ ที่ดี แต่ในแก่นหลักจริงๆ ของผู้คนเหล่านี้แล้ว ลาภยศทั้งหลายเป็นเพียง เรือ่ งรอง แต่สงิ่ ทีเ่ ขาได้มาจากความส�ำเร็จนัน้ คือ “ความภาคภูมิใจในตนเอง” งานที่เขาได้ทุ่มเทลงแรงไป ได้ส่งผลลัพธ์ที่ดีกับเขาในภายหลัง แม้ว่าจะมี สถานการณ์เลวร้ายไม่ว่าในระดับประเทศญี่ปุ่นหรือว่าระดับคนตัวเล็กๆ เขาก็ผ่านพ้นมันมาได้ เพราะว่า สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ (และวีรสตรี) ค�ำพูดนีเ้ ป็นค�ำพูดที่ไว้สร้างขวัญก�ำลังใจให้พวกเรา ในชีวติ ของเรานี ้ ปัญหาเป็นเรื่องปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ มีผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านเคย กล่าวไว้ว่า “ขนาดของปัญหาจะท�ำให้ผู้ที่เผชิญหน้ากับมันสามารถเติบโต ขึ้นมาได้” ไม่วา่ จะเป็น “สภาพทีร่ สู้ กึ ไม่พงึ ประสงค์” และ “ปัญหาทีก่ อ่ กลายตัว จนเกิดความหายนะขึ้นมา” อาจเรียกได้ว่าล้วนอยู่บนเส้นทางที่ไปสู่ความ ส�ำเร็จ ซึ่งมันน่าจะสร้างสถานการณ์และเป็นเส้นทางที่จะน�ำไปสู่ความ ภาคภูมิใจในตัวของเราเอง มนุษย์ทกุ คนต่างต้องพบปัญหา ในหนังสือเล่มนีก้ ข็ อพูดถึงคนญีป่ นุ่ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าประเทศญี่ปุ่นก็ตกอยู่ในภาวะวิกฤต มาหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงคนญี่ปุ่นผู้เคยพบ ปัญหาหรือเผชิญกับวิกฤตในชีวติ หวังว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะท�ำให้คณ ุ ได้เรียนรู ้ แง่คิดของคนที่ฝ่าฟันมันมาได้และในที่สุดได้ “ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองท�ำ” และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างก�ำลังใจให้คุณมีแรง ฮึดในการลงมือ “ท�ำ” เพื่อที่คุณจะได้ค้นพบความภาคภูมิใจในตัวเองครับ วสุ Marumura
10
เกตุวดี & วสุ Marumura
ค�ำน�ำ ผู้เขียน (2) “ ’จารย์!...’จารย์ว่าหนูท�ำอะไรขายดี” เสียงแจ้วๆ ของนิสิตหญิงหน้าใสคนหนึ่งดังขึ้นมาหลังจากที่ดิฉัน วางไมโครโฟนลง หลังจากนั้นอีก 2 อาทิตย์ แม่หนูกลับมาหา ’จารย์ อีกครั้ง “ ’จารย์!...หนูเปิดร้านแล้วนะ ใน IG ขายดีด้วยยยย” แม่หนูไปซื้อเสื้อที่ประตูน�้ำมาขายต่อใน Instagram เห็นว่าเหนื่อย หน่อย แต่เดือนหนึง่ ก็ทำ� รายได้ได้หลักหมืน่ อยู ่ ถือว่าหาเงินเร็วใช้ได้สำ� หรับ ผู้ประกอบการหน้าใหม่หน้าใสๆ อย่างเธอ แต่พอดิฉนั ถามว่า “หนูขายของไปท�ำไม” เธอนิง่ ไปสักพักและบอกว่า อยากมีเงิน อยากรวย เมือ่ โดนถามต่อว่า “รวยแล้วไงต่อ” แม่หนูกอ็ งึ้ ไป... เธอยังคงเหมือน ลูกศิษย์คนอืน่ ๆ ส่วนใหญ่ของดิฉนั ทีย่ งั ตาลอยๆ เวลาคุยกันถึงเรือ่ งอนาคต ไม่รู้จะท�ำอะไร และยังโดนสังคมกระซิบบอกอย่างต่อเนื่องว่า “ต้องหาเงิน เยอะๆ แล้วจะดี” “ต้องท�ำงานบริษัทใหญ่ๆ” “ต้องเรียนจบสูงๆ” หนังสือเล่มนี ้ เขียนขึน้ มาเพือ่ แม่หนูของ ’จารย์ และใครอีกหลายคน ทีก่ ำ� ลังงงๆ กับชีวติ ว่าเราเรียนหรือท�ำงานไปเพือ่ อะไร ตลอดจนคนทีก่ ำ� ลัง บังคับตนเองให้ไล่ลา่ หาความส�ำเร็จ (ต้องรวย ต้องเด่น ต้องดัง ฯลฯ) ตามที ่ สังคมนิยาม (ยิ่งยุคนี้ ต้องส�ำเร็จให้ได้ไวๆ ด้วย ถึงจะเท่...) คนญี่ปุ่นทั้ง 15 ท่านที่ดิฉันเขียนถึง มีประวัติที่หลากหลาย และ อาจจะห่างไกลจากสิ่งที่คนในสังคมบอกว่า “ประสบความส�ำเร็จ” มากนัก บางท่านเป็นเพียงหญิงชรายากจน บางท่านเป็นแค่พนักงานท�ำความสะอาด Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
11
ธรรมดา หรือเป็นคุณแม่ของเด็กสาวใจแตก แต่ทุกท่านล้วนเป็นแบบอย่าง ของผูท้ พี่ บความหมายของชีวติ ผูพ้ บคุณค่าของงานตนเอง และคุณค่าของ ตนเอง สิง่ มหัศจรรย์ทดี่ ฉิ นั ค้นพบขณะเขียนต้นฉบับ คือนอกจาก 15 ท่านนี ้ จะค้นพบความหมายของชีวติ และเลือก “ใช้” ชีวติ ในแบบของพวกเธอแล้ว พวกท่านยังสร้างความหมายและคุณค่าของการมีชวี ติ อยู่ให้กบั ผูอ้ นื่ อีกด้วย ภาพวาดของ Iwasaki Chihiro เป็นแรงบันดาลใจให้ Kuroyanagi Tetsuko นึกถึงใบหน้าเด็กอันอ่อนโยน ตอนทีเ่ ธอเขียนหนังสือเรือ่ งโต๊ะโตะจัง และเมื่อเขียนเสร็จ เธอขอภาพเขียนของ Chihiro มาอยู่บนปกหนังสือเธอ หนังสือเรื่องโต๊ะโตะจังของ Kuroyanagi ท�ำให้ Horiuchi Yoshimi หลงรักการอ่านหนังสือ ทั้งๆ ที่ตาของเธอมองไม่เห็น เมื่อโตขึ้น Yoshimi จึงเดินทางมาเมืองไทย เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ ไทยรักการอ่าน โดยน�ำพาให้ พวกเขาได้พบหนังสือดีๆ ที่อาจเปลี่ยนชีวิตพวกเขา หวังว่าหนังสือเล่มนี ้ จะน�ำพาให้คณุ ผูอ้ า่ นได้พบความงดงามของชีวติ และคุณค่าของการเรียน การท�ำงาน หรือการมีชีวิตอยู่นะคะ
12
’จารย์ เกตุวดี Marumura
เกตุวดี & วสุ Marumura
Slow Success ยิ่งใหญ่ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
14
วสุ Marumura
Haruki Murakami จากเจ้าของร้านแจ๊ซสู่นักเขียนนวนิยาย Best Seller
Haruki Murakami (村上春樹) เป็นนักเขียนนวนิยายคนหนึ่งของ ญี่ปุ่นที่ประสบความส�ำเร็จทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น นวนิยายที่เขาเขียน ถูกแปลมาแล้วกว่า 50 ภาษา จุดเด่นของเรือ่ งทีเ่ ขาเขียนคือภาษาทีค่ อ่ นข้าง เรียบง่าย และบรรยายเรื่องโดยใช้การอุปมาอุปไมยแบบซับซ้อน แต่นั่น กลับท�ำให้มีกลุ่มผู้อ่านที่ชอบนวนิยายของเขาและตีความตาม พ่อแม่ของเขาอยากให้เขาตัง้ ใจเรียนและเข้าท�ำงานบริษทั ใหญ่ๆ แต่ Murakami กลับไม่ได้ท�ำตามที่พ่อแม่หวัง เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Waseda (ที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นดีของญี่ปุ่น) ในสาขาวรรณกรรม พร้อมกับเปิดร้าน Jazz Club และแต่งงานตัง้ แต่อายุ 23 ปี เขารูส้ กึ ว่าการ แต่งงานตั้งแต่ยังเด็กของเขาเป็นการแสดงความขบถต่อพ่อแม่ “ขบถ” ใน แง่นี้หมายความว่า การใช้ชีวิตของ Murakami ไม่ได้เหมือนคนญี่ปุ่นทั่วไป การเปิดร้าน Jazz Club ของเขาก็ต้องดิ้นรนไปเรื่อยๆ มีการกู้หนี้ ยืมสินเพื่อพาร้านไปให้รอด จนร้านเริ่มเลี้ยงตัวของมันเองได้ ซึ่งชีวิตก็ น่าจะเป็นที่พอใจและเขาอาจจะใช้ชีวิตอย่างสงบสุขต่อไปได้ แต่แล้ววันหนึ่ง ความรู้สึกที่เขาอยากจะเป็นนักเขียนนวนิยายก็โผล่ ขึ้นมาในขณะที่ชมการแข่งเบสบอลในสนามจินกุของทีม Yakult Swallow Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
15
กับทีม Hiroshima Carp หลังจากวินาทีนนั้ เขาได้ใช้เวลาทุกวันหลังปิดร้าน จนถึงวันรุ่งขึ้นนั่งเขียนนวนิยาย 3 ชั่วโมงต่อวัน พอเวลาผ่านมา 10 เดือน ก็เขียนหนังสือชือ่ ว่า “Hear the Wind Sing” ส่งเข้าประกวดรางวัลนักเขียน หน้าใหม่ และได้รางวัลอันดับ 1 แน่นอนว่า เขาคงไม่ได้ตั้งใจจะเอาการเขียนนวนิยายมาไว้เลี้ยงชีพ เขายังท�ำร้าน Jazz Club และใช้เวลาเขียนหลังปิดร้าน แต่เมือ่ เขียนนวนิยาย เล่มที่ 2 ชื่อว่า “Pinball, 1973” จบลง เขาก็ตัดสินใจเลิกท�ำกิจการร้าน Jazz Club และหันมาเขียนหนังสือเต็มเวลา แม้จะมีเสียงรอบข้างบอกว่า “ร้าน Jazz Club ก็จ้างคนอื่นมาท�ำแทนก็ ได้ ส่วนตัวเองก็เขียนหนังสือ ไปก็ได้” แต่ Murakami บอกว่า เขาต้องเต็มที่กับงานของเขา ปัจจุบนั Murakami เป็นนักเขียนที่โด่งดังระดับโลกคนหนึง่ ของญีป่ นุ่ และเราสามารถเรียกได้ว่างานเขียนของเขาเป็นงานเขียนแบบทดลองมาก ที่สุด อะไรที่ท�ำให้ Murakami กลายเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงขนาดนี้ สาเหตุหนึ่งก็อาจจะมาจากว่า เวลาเราอ่านหนังสือของ Murakami จะรู้สึก เหมือนโดนดึงไปอยู่ในโลกของเขา ทีเ่ ราอาจจะรูส้ กึ เห็นด้วยส่วนหนึง่ แม้จะ เป็นโลกที่พิศวง แต่เราก็ยังเห็นด้วย นอกจากนี้ สไตล์การท�ำงานของ Murakami ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของความส�ำเร็จ สไตล์การท�ำงานของเขา ก็คือ Murakami ตื่นนอนตอนตี 4 ท�ำงานวันหนึ่งราว 6 ชั่วโมงที่หน้าโต๊ะ ท�ำงานของเขา โดยไม่เอ่ยปากพูดกับใคร ช่วงบ่ายก็ออกก�ำลังกาย ด้วยการ ซ้อมวิ่ง ว่ายน�้ำ หรือขี่จักรยาน ตอนเย็นก็ฟังแผ่นเสียงเก่าๆ แล้วเข้านอน ตอน 3 ทุ่ม Murakami ได้กล่าวว่า การเขียนหนังสือต้องใช้สมาธิอย่างสูง ซึง่ เกิดจากการฝึกฝนของจิตใจ และอีกหนึง่ ในวิธกี ารฝึกฝนจิตใจของเขาคือ การออกก�ำลังกายที่ต้อง “สู้กับจิตใจของตนเอง” นั่นก็คือ การซ้อมวิ่งและ กีฬาอื่นๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
16
วสุ Marumura
เวลาที่ Murakami เขียนหนังสือเล่มใหม่ เขาจะก�ำหนดข้อจ�ำกัด ใหม่ๆ ให้กับตัวเอง สร้างความท้าทายให้ตัวเขาเองอยู่เสมอว่าจะเขียนเรื่อง ไปในแนวไหน จะเป็นโลกแห่งความเป็นจริงหรือว่าแฟนตาซี เขาจะต้อง ท้าทายตัวเองอยู่ตลอดเวลาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง Murakami มีคุณสมบัติอยู่อย่างหนึ่งคือการท้าชิงกับ “ตัวเขาเอง” ไม่ว่าจะยากเย็นล�ำบากเพียงใด เขาก็ตั้งเป้าหมายที่จะเอาชนะตัวเองให้ได้ ซึ่งการท้าทายในชีวิตเขามีดังนี้ครับ การท้าทายอย่างที ่ 1 ของเขาเริม่ ต้นขึน้ เมือ่ เขาคิดกับตัวเองว่า “ผม สามารถเขียนนวนิยายได้” ในขณะที่เขาก�ำลังดูเบสบอล เขาก็ประกาศต่อ หน้าภรรยาว่า “ผมเป็นนักเขียน” ซึ่งภรรยาของเขาเมื่อได้ยินครั้งแรกรู้สึก อายมาก แต่ Murakami กลับลงมือเขียนนวนิยายทันทีในคืนนั้น คงเป็น ลักษณะนิสยั ของเขาว่า คิดอยากจะท�ำก็ทำ� ทันทีเลย การเขียนนวนิยายของ เขาได้รับอิทธิพลมาจากหนังสือนวนิยายภาษาอังกฤษมือสองที่เขาซื้ออ่าน สมัยที่อาศัยอยู่โกเบ (ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือและมักมีชาวต่างชาติและกะลาสี น�ำเอาหนังสือมาขาย) เมื่อเขาเขียนนวนิยายจบก็ได้ให้ภรรยาของเขาดู แต่เธอยังไม่คดิ จะอ่านเลย... แน่นอนว่าต้นฉบับนวนิยายเรือ่ งแรกทีเ่ ขาเขียน มัน “เลอะเทอะ” มากจนเขาเขียนปรับปรุงหลายต่อหลายรอบ ก่อนจะส่ง ต้นฉบับไปประกวดรางวัลนักเขียนหน้าใหม่จนได้รางวัลชนะเลิศ ซึง่ กรรมการ ผู้ตัดสินกล่าวกันว่า “มันไม่ได้หมายความว่าเป็นงานที่ยอดเยี่ยม แต่เป็น งานที่แย่น้อยที่สุด” และได้กล่าวถึงในภายหลังว่า “มันเป็นงานที่ดี” บางคน ก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่าท�ำไมถึงเลือกงานของเขาให้ชนะเลิศ การท้าทายอย่างที่ 2 ของเขาคือ การเขียนนวนิยายที่ “ขายดี” ใน ญี่ปุ่น เขาจึงตัดสินใจเขียนนวนิยายที่ใกล้เคียงความเป็นจริงให้มากที่สุด เพือ่ ให้คนเข้าถึงได้ ซึง่ เรือ่ งทีเ่ ขาเขียนก็คอื “Norwegian Wood” มี “ความ รัก” เป็นธีมหลักของเรื่อง และได้ท�ำออกมาเป็น 2 เล่ม เพื่อความสะดวก ในการพกพาไปอ่าน เล่มที ่ 1 หน้าปกเป็นสีแดง เล่มที ่ 2 หน้าปกเป็นสีเขียว ท�ำให้นึกถึงเทศกาลคริสต์มาส และเป็นการเรียกหาผู้อ่านที่เป็นผู้หญิง Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
17
หนังสือเรือ่ ง Norwegian Wood ได้วางขายใน ค.ศ.1987 และเป็นนวนิยาย ที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่นมาหลายปี จนเพิ่งมาถูกลบสถิติภายหลัง ใน ค.ศ.2001 ความท้าทายอย่างที่ 3 คือการรักษาสภาพร่างกายให้มีสุขภาพ แข็งแรง เพือ่ ทีจ่ ะได้มแี รงเขียนหนังสือนวนิยายต่อไป ตรงนี ้ Murakami ได้ เล่าไว้โดยละเอียดในหนังสือเรื่อง “เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง” ว่า การมี สุขภาพที่ดี จะท�ำให้เขามีเรี่ยวแรงในการเขียนไปนานๆ ซึ่งชีวิตประจ�ำวัน ของเขาได้เอาการซ้อมมาเป็นเครื่องมือสร้างพละก�ำลังและสมาธิในการ ท�ำงาน เขาก�ำหนดว่าวันหนึง่ ต้องเขียนให้ได้ 10 หน้า แม้จะนึกอะไรไม่ออก ก็เขียนให้ถึง 10 หน้า หรือถ้าวันนี้ยังเขียนได้เรื่อยๆ แต่เมื่อเขียนครบ 10 หน้าแล้วก็หยุดทันที การที่จะควบคุมร่างกายและจิตใจของเราได้ มัน ต้องใช้พลังงานอย่างสูง ดีไม่ดอี าจจะสร้างพิษในใจและร่างกายเราได้ จึงต้อง อาศัยร่างกายที่แข็งแรง และการเขียนที่ท�ำมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำก็ ถือเป็นการฝึกพลังใจไปในตัว การท้าชิงอย่างที่ 4 ของ Murakami คือ การท�ำตัวสวนทางกับ สังคมญี่ปุ่น การตัดสินใจที่จะบริหารร้าน Jazz Club หรือความสนใจที่จะ เขียนนวนิยาย เขาบอกว่าเขาพยายามหลีกเลี่ยงจากค�ำสาปของความเป็น ญีป่ นุ่ “ความเป็นญีป่ นุ่ ทีว่ า่ คือ การท�ำตัวมีเหตุมผี ลแต่ขาดอารมณ์ความรูส้ กึ ของความเป็นมนุษย์ ไป” หากชีวิตคนญี่ปุ่นจะท�ำตามกรอบแบบแผนเพื่อ “ส่วนรวม” แล้วละก็ Murakami ไม่ได้สนใจว่างานของตัวเองจะต้องท�ำเพือ่ ส่วนรวม แต่งานของเขาจะต้องใส่ความเป็นมนุษย์ เล่นกับอารมณ์ความรูส้ กึ โดยตรง ซึ่งมีแนวโน้มว่า Murakami จะใช้สัญชาตญาณ (Intuition) ในการ เก็บข้อมูล แล้วก็ใช้การคิด (Thinking) อย่างตรงไปตรงมาในการตัดสินใจ ในการกระท�ำของเขา การท้าชิงอย่างที่ 5 คือ การท้าชิงในสไตล์การเขียนหนังสือที่เป็น แบบลักษณะเฉพาะของตนเอง หนังสือของ Murakami นั้นอาจจะอ่านยาก ดังนี้
18
วสุ Marumura
1. มักจะเล่าเรือ่ งจากมุมมองของตัวเอกของเรือ่ งและเรียกแทนตัวเอง ว่า “ผม” หรือ “โบะคุ” (僕) ในภาษาญี่ปุ่น เป็นการสร้างมายาว่าพระเอก ของเรื่องคือตัวผู้อ่าน 2. โดยส่วนมากตัวเอกของเรื่องมักจะเป็นคนที่ไม่มีสังคมกว้างขวาง มากนัก จึงท�ำให้ผอู้ า่ น (ที่ในบางครัง้ รูส้ กึ ถึงความโดดเดีย่ วของตัวเอง) เอา ตัวของเขาไปทับซ้อนกับตัวเอกในเรือ่ ง ราวกับว่าผูอ้ า่ นเป็นตัวเอกของเรือ่ ง เอง 3. เนื้อเรื่องจะแฝงความพิลึกพิลั่น ราวกับว่าก�ำลังมองดูใครสักคน เล่นมายากลที่เราไม่อาจทราบได้ ว่าเขาเสกนกพิราบออกจากหมวกมาได้ อย่างไร แต่เราก็รู้สึกเพลิดเพลินกับมายากลนั้น 4. เนื้อเรื่องของเขาเน้นการบรรยายว่าตัวเอกคิดว่าอย่างไรมากกว่า การบรรยายสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการท้าชิงนี้ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของ Murakami ท�ำให้เขาเขียนนวนิยายมาได้ถึง 13 เรื่อง และเรื่องสั้นจ�ำนวน นับไม่ถ้วน แล้วเราได้ตั้งเป้าหมายของตัวเองแล้วหรือยังครับ ชีวิตของเราอาจ จะมีหลายปัจจัยที่ขวางกั้น เราไม่อาจท�ำให้มันบรรลุได้ แต่เราได้พยายาม จัดการกับปัจจัยเหล่านั้นจริงๆ หรือไม่ครับ แน่นอนว่าบางครั้งเราไม่อาจ ควบคุมปัจจัยจากภายนอกได้ทุกอย่าง แต่ปัจจัยที่เราควบคุมได้คือภายใน ใจเรา และในขณะเดียวกันเอาเข้าจริงแล้ว “ใจของเรา” อาจจะเป็นสิ่งที่ ควบคุมยากที่สุดก็เป็นได้ การท้าทายทีว่ า่ อาจจะเป็นการท้าทายต่อสังคมปัจจุบนั ค่านิยมต่างๆ ซึง่ ยากทีจ่ ะฝืนกระแสนัน้ ๆ ได้ แต่ขอให้เชือ่ มัน่ ในตัวเองเข้าไว้ บางทีเราอาจ จะเป็นคนดื้อรั้นต่อสังคมได้ เราทุกคนคงอยากเป็นขบถเพื่ออิสระบางอย่าง ในชีวิตเรา ผลพวงจากผลงานของ Murakami คงเกิดจากการสะสมเสพผลงาน Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
19
ต่างๆ เขาไม่ได้เอาตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่น เขาท้าทายกับตัวเอง เอา ประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งที่เจอในชีวิตจริงกับที่เสพผ่านตัวหนังสือ มาเขียน เป็นหนังสือตามแนวของตัวเอง หลายครัง้ เราอาจชอบบอกว่า “เอ็งท�ำไม่ได้หรอก” “คนอืน่ เก่งกว่าแก” ศัตรูที่ช่ัวร้ายในจิตใจอันอ่อนแอของเรานี้ เราต้องเอาชนะให้ได้นะครับ ซึ่ง วิธกี ารเอาชนะไม่ได้อยูท่ ี่ How to แต่มนั อยูท่ ี่ Do คือคุณลงมือท�ำหรือเปล่า และหากทุกอย่างมันไม่เวิร์ก ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการท�ำไปเรื่อยๆ Murakami ท้าทายตัวของเขาเอง โดยที่ไม่ได้มองว่าเป็นอุปสรรค ต่อการฝ่าฟัน เราก็ควรท้าทายตัวเราเอง และไม่มองอุปสรรคนัน้ ให้นา่ กลัว จนเกินไปเสียก่อน
20
วสุ Marumura
ณ ที่ใดที่มีความหวัง แน่นอนว่ามันจะต้องมีบททดสอบของชีวิตอยู่ตรงนั้น Haruki Murakami
Slow Success ยิ่งใหญ่ ได้ด้วยก้าวเล็กๆ
21
22
วสุ Marumura