อัลฟะวาอิด เล่ม 2

Page 1


‫ف‬ ‫ال�وا�دئ‬

อัลฟะวาอิด บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม (เล่ม 2)


อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม เล่ม 2 เขียน | อิบนุลก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ แปล | อุมมุอิมาเราะฮ์ บรรณาธิการ | มุฏมะอินนะฮฺ ตรวจวิชาการ | เราะห์มะฮฺ ต�ำราเรียง พิสูจน์อักษร | อุมมุอิบาดิรเราะหฺมาน และ มินนะตุลลอฮฺ ศิลปกรรม | Alfa © ภาพประกอบ pixabay.com พิมพ์ครั้งที่ 1 | มกราคม 2562 ราคา 220 บาท ISBN

จัดพิมพ์โดย :

ธีรวุฒิ วงศ์เสงี่ยม ส�ำนักพิมพ์มิรอาต 12 ซอยแมนไทย ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 Email: mirat.books@gmail.com Facebook: www.facebook.com/miratbook

พิมพ์ที่ :

นัตวิดาการพิมพ์ 457/202-203 ตรอกวัดจันทร์ใน เจริญกรุง107 ถ.เจริญกรุง บางคอแหลม กรุงเทพฯ 10210 โทร 02-2916530

ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการน�ำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่มีเจตนาแสวงหาผลก�ำไร แต่ควรระบุที่มา


ค�ำนิยม (1)

‫احلمــد هلل رب العاملــن والصــاة والســام علــى أشــرف األنبيــاء واملرســلني‬ ، ‫ وبعد‬،‫وعلى آله وصحبه ومن تبعهم إىل يوم الدين‬

อิสลามสอนมนุษย์ให้รู้จักใช้สติปัญญาเพื่อทบทวนตัวเองและ ใคร่ครวญสัญญาณทั้งหลายของอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นอัลกุรอาน หรือ มัคลูกทั้งหลายของพระองค์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้มนุษย์ได้รู้จักตัวตน ที่แท้จริง รู้จักพระผู้อภิบาลที่แท้จริง รู้จักขอบคุณในความเมตตาของ พระองค์และรูจ้ กั ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นฐานะบ่าวทีพ่ งึ ปฏิบตั ติ อ่ พระองค์และ ต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนะบี เป็น ธรรมนู ญ ชี วิ ต ท�ำให้มนุษย์ด�ำรงอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีเกียรติบนโลกนี้ และได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในวันอาคิเราะฮฺ การใคร่ครวญอัลกุรอานเป็นการเพิ่มพูนอีมาน ท�ำให้เกิดแสงสว่างแก่ จิตใจ สร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในเมื่ออัลกุรอานคือวิถีชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น การใคร่ครวญอัลกุรอานจึงถือเป็นการใคร่ครวญชีวิตและตัวตน ของมนุษย์เอง การใคร่ครวญการสร้างของอัลลอฮฺกเ็ ป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยเพิม่ พูนอีมาน อีกทางหนึ่ง ท�ำให้มีศรัทธาที่หนักแน่น ท�ำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในความ เที่ยงแท้ของอัลกุรอาน ท�ำให้มนุษย์ตระหนักในความยิ่งใหญ่ของ พระผู้สร้างและยอมรับในความอ่อนแอของตนและสิ่งถูกสร้างต่างๆ


หนังสือ “อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม” เป็น สินทรัพย์ทางปัญญาอันล�ำ้ ค่าอีกชิน้ หนึง่ ทีอ่ ดุ มไปด้วยการคิด ใคร่ครวญ และทบทวนถึงวิถชี วี ติ ต้นแบบตามความมุง่ หมายของอัลกุรอาน รวมถึง การใคร่ครวญชีวติ และสิง่ ถูกสร้างทัว่ ไปอันน�ำไปสูก่ ารค้นพบสัจธรรมที่ แท้จริง โดยบทใคร่ครวญดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ สวยงามและเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความหมายทีค่ มล�ำ้ ได้รบั ทัง้ บทเรียน คติเตือนใจ และความรูใ้ นศาสตร์แขนงต่างๆ ทีห่ ลากหลาย ซึง่ ล้วนเป็น ประโยชน์สมดังชือ่ หนังสือ “อัลฟะวาอิด” ทีแ่ ปลว่า “ประโยชน์ทไี่ ด้รบั อันมากมาย” ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นขุมคลังทางความคิดและ ปัญญาของผูอ้ า่ นอีกเล่มหนึง่ และเป็นตัวจุดประกายส�ำหรับผูท้ ปี่ ระสงค์ จะใคร่ครวญอัลกุรอาน ใคร่ครวญชีวติ ตลอดจนข้อเท็จจริงของสรรพสิง่ ทั้งมวล ต้องขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มิรอาต ที่ได้จัดพิมพ์และเผยแผ่ หนังสืออันมีคณ ุ ค่าเล่มนีเ้ พือ่ ประโยชน์ตอ่ สาธารณชนและสังคม ญะซากุมุลลอฮุค็อยรอน ขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺโปรดฮิดายะฮฺพวกเราสูท่ างน�ำทีเ่ ทีย่ งตรง และความดีงามทุกประการ ปรับปรุงวิถีชีวิตของพวกเราให้สอดคล้อง กับทางน�ำแห่งอัลกุรอานและแนวทางการด�ำเนินชีวติ ของท่าน เราะสูลลุ ลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงได้ยนิ และทรงตอบรับค�ำวิงวอนเสมอ ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี


ค�ำนิยม (2)

‫بسم هللا الرمحن الرحيم‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ การสรรเสริญทัง้ มวลเป็นกรรมสิทธิแ์ ห่งอัลลอฮฺผสู้ อนอัลกุรอาน แก่มนุษย์ ผู้สอนให้มนุษย์รู้จักภาษา การขอพรและความสันติสุข จงมีแด่ผมู้ อบประโยชน์แก่ประชาชาติอสิ ลามด้านความรูแ้ ละปรัชญา หลากหลายแขนง จงมีแด่เครือญาติของท่าน เหล่าเศาะหาบะฮฺ และ ผู้ปฏิบัติตามทางน�ำอันชัดแจ้งของเขาเหล่านั้นตราบจนวันแห่งการ สอบสวน ห้องสมุดเมืองไทยถือเป็นแหล่งสะสมความรูแ้ ละศิลปะวิทยาการ หลากหลาย เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างแข่งขันกันในการน�ำเอาศาสตร์ และองค์ความรู้มากมายจากทุกภาษามาถ่ายทอดเป็นภาษาไทย จึงมี ทัง้ ข้อมูลทีถ่ กู แปลมาจากแหล่งความรูข้ องภาษาอังกฤษ, ฝรัง่ เศส, สเปน แม้แต่ภาษาญี่ปุ่น, จีน, และอินเดียเอง สู่ภาษาไทย ทั้งหมดนี้ล้วนถูก น�ำเสนอเป็นคลังความรูม้ ากมายบนชัน้ หนังสือของห้องสมุดเมืองไทย แต่เนือ้ หาการแปลทีม่ าจากศาสตร์และความรูท้ เี่ ป็นภาษาอาหรับแล้ว ถูกถ่ายทอดเป็นภาษาไทยยังถือว่ามีอยู่จ�ำนวนน้อยมาก โดยเฉพาะ เนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับมรดกทางวิชาการอิสลามซึง่ ล้วนถูกถ่ายทอดเป็น ภาษาต่างๆ ของโลกมาแล้วเกือบทัง้ หมด แต่ยงั คงรอคอยโอกาสทีจ่ ะถูก


แปลและถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย อัลลอฮฺได้ชว่ ยเหลือให้สำ� นักพิมพ์มริ อาตได้จดั พิมพ์หนังสืออัน ทรงคุณค่าที่ถือเป็นต�ำราทางมรดกวัฒนธรรมอิสลาม โดยนักประพันธ์ ผูเ้ ลือ่ งชือ่ โด่งดัง ท่านสามารถพบหนังสือภาคแปลไทยของท่านนีเ้ พียง เล็กน้อย นั่นคือ หนังสือ“อัลฟะวาอิด” ของอิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ นัน่ เอง ไม่มผี บู้ นั ทึกประวัตขิ องอิบนุลก็อยยิมคนใดกล่าวถึงหนังสือ เล่มนี้ในสารบบของต�ำราอิบนุลก็อยยิม หนังสือเล่มนี้ยังไม่มีทั้งบทน�ำ และค�ำน�ำเช่นหนังสือทั่วไปของอิบนุลก็อยยิม เหมือนเป็นหนังสือที่ ถูกรวบรวม จากการบันทึกของอิบนุลก็อยยิม หรือจากลูกศิษย์ของท่าน บางคนมีการกล่าวถึงว่า อิบนุลก็อยยิมได้ระบุผเู้ ขียนหนังสือเล่มนีไ้ ว้ใน หนังสือเล่มหนึง่ ของท่าน อัลลอฮฺยอ่ มรูถ้ งึ ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร แต่ ไม่มีใครสงสัยว่าเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือ “อัลฟะวาอิด” เล่มนี้เป็นค�ำพูด ของอิบนุลก็อยยิม เพราะมีวิญญาณและความงดงามในการประพันธ์ ของท่านอยู่ นอกจากนีอ้ บิ นุลก็อยยิมยังมีหนังสืออีกเล่มหนึง่ ซึง่ อยูใ่ นหมวด เดียวกับหนังสือ “อัลฟะวาอิด” นั่นคือ หนังสือ “บะดาอิอุลฟะวาอิด” (‫ )بدائــع الفوائــد‬แต่เนื้อหาส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับเกร็ดความรู้ ทางไวยากรณ์อาหรับ แม้ว่าจะมีเกร็ดความรู้จากศาสตร์อื่นๆ อยู่อีก มากมายก็ตาม แตกต่างจากหนังสือ “อัลฟะวาอิด” เล่มนีท้ อี่ ดุ มไปด้วย เกร็ดความรู้มากมายอันเกี่ยวกับการอบรมขัดเกลาจิตใจ และส่วนที่


เกี่ยวข้องกับผลแห่งความรู้ นั่นคือ การปฏิบัติและการได้ใกล้ชิดกับ อัลลอฮฺ ตลอดจนศิลปะในการท�ำอิบาดะฮฺต่างๆ อิบนุลก็อยยิมมีต�ำรับต�ำราอีกเป็นจ�ำนวนมากที่เหมาะควรแก่ การแปลการถ่ายทอดเพือ่ ให้นกั อ่านชาวไทยได้รบั ประโยชน์ เช่น หนังสือ “มะดาริญสุ สาลิกนี – ‫( ” مدارج السالكني‬แม้วา่ ฉบับย่อจะควรน�ำมาแปล มากกว่าก็ตาม), หนังสือ “อิอลฺ ามาม อัลมุวกั กิอนี – ‫ ” إعالم املوقعني‬และ หนังสือ “อะหกามุ อะฮฺลิซซิมมะฮฺ – ‫ ” أحــكام أهــل الذمــة‬ต�ำราเหล่านี้ ถือว่าอยูใ่ นหมวดของสารานุกรม หากถูกน�ำมาแปลย่อมจะมีประโยชน์ อย่างมากต่อระบบการศึกษาไทย หนังสือลักษณะนี้อาจถูกถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิใช่ เพียงครั้งเดียว หรือส�ำนักพิมพ์หนึ่งอาจเข้ามารับผิดชอบแล้วคัดเลือก นักแปลผู้มีประสบการณ์หลายๆ ท่านร่วมกันทยอยแปลเหมือนที่ ส�ำนักพิมพ์มิรอาตยอยแปลหนังสือ “อัลฟะวาอิด” เล่มนี้ออกมาก็ได้ เช่นกัน ต�ำราของอิบนุลก็อยยิมถือเป็นตัวอย่างแห่งแก่นความรูใ้ น วัฒนธรรมอิสลามยุครุง่ เรืองของอารยธรรมอิสลาม ต�ำรับต�ำราของท่าน ถูกประพันธ์ออกมาอย่างยอดเยี่ยมในแง่ความเข้มข้นของเนื้อหาและ ความสวยงามของความหมาย บรรดานักวิชาการและผู้มีความรู้ล้วน เอาใจใส่ต่อหนังสือและต�ำราของอิบนุลก็อยยิม อีกทั้งพวกเขายังได้ หยิบเอาเกร็ดความรู้ ทัศนะ มุมมอง และการตรวจสอบความถูกต้อง ของท่านมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง อันบ่งบอกถึงความรู้อันสูงส่ง และความเข้าใจอันลึกซึ้งของท่าน ตลอดจนคุณค่าของหนังสือที่ท่าน ได้ประพันธ์


สมควรที่ระบบการศึกษาไทยจะเชิดชูต�ำราของอิบนุลก็อยยิม เพื่อให้ผู้คนได้ท�ำความรู้จักกับสารานุกรมแห่งความรู้ในรูปแบบใหม่นี้ ลักษณะส�ำคัญทีส่ ดุ ซึง่ ท�ำให้ตำ� ราของอิบนุลก็อยยิมมีความ โดดเด่นคือ การทีห่ นังสือของท่านเพียงเล่มเดียวแต่สามารถให้ประโยชน์ ได้อย่างมากมายหลากหลาย ท�ำให้ผู้อ่านได้เดินทางท่องดินแดน แห่งความรูอ้ นั กว้างขวางไปพร้อมกับผูป้ ระพันธ์ระหว่างการศึกษาหัวข้อ เดียวด้วยส�ำนวนการน�ำเสนอทีส่ วยงามและด้วยค�ำพูดทีเ่ ฉียบคม ในภาพรวมแล้วถือว่าการได้แปลหนังสือของอิบนุลก็อยยิมเล่ม ใดก็ตามย่อมเป็นขุมคลังและทรัพยากรทางความรู้อันส�ำคัญของภาษา และวัฒนธรรมนัน้ ๆ ขอแสดงความยินดีกบั วงการหนังสือเมืองไทยทีไ่ ด้มหี นังสือเล่มนี้ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาผู้ใฝ่รู้ชาวไทยทั้งหลายส�ำหรับ อุทยานแห่งความรู้ใหม่เพื่อการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ ขอแสดงความยินดีกบั นักอ่านคนไทยทุกคนทีไ่ ด้มหี นังสือ “อัลฟะวาอิด” อันจะท�ำให้เขาได้ลิ้มรสและมีความสุขกับวัฒนธรรม อิสลาม ครั้งนี้

ขอขอบคุณผูแ้ ปลในความทุม่ เทด้านการแปลและเรียบเรียงใน

ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มิรอาตในความพยายามน�ำเสนอ วัฒนธรรมอาหรับและอิสลามให้เกิดขึ้นในเมืองไทย


และขอขอบคุณผูท้ รงคุณวุฒริ วมถึงนักอ่านผูก้ ระหายความรูท้ ี่ สั่ ง สมมั น ด้ ว ยการอ่ า นหนั ง สื อ แปลจากทุ ก วั ฒ นธรรม โดยเฉพาะ วัฒนธรรมอิสลามและอาหรับ การสรรเสริญทัง้ มวลเป็นกรรมสิทธิแ์ ด่อลั ลอฮฺองค์อภิบาลแห่ง สากลโลก เชคริฎอ อะหมัด สมะดี ผู้อ�ำนวยการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไวท์แชนเนล


ค�ำนิยม (3)

‫بسم هللا الرمحن الرحيم‬

หนังสือ “อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม” ที่ อยู่ในมือของท่านนี้ เป็นหนึ่งในหนังสือคลาสสิกของวรรณกรรมใน โลกอิสลามที่เขียนโดยอิมามในแนวทางสะลัฟผู้มีช่ือเสียง โดยชื่อของ ท่านที่คุ้นเคยแก่ประชาคมอิสลามที่สุดคือ อิบนุกอยยิม อัลเญาซียะฮฺ ค�ำว่า เญาซียะฮฺ นั้นได้มาจากการที่บิดาของท่านเป็นครูใหญ่แห่ง มัดเราะสะฮฺ (โรงเรียนหรือวิทยาลัยทางศาสนา) ทีม่ นี ามว่า อัลเญาซียะฮฺ ที่ตั้งอยู่ในกรุงดามัสกัส ดินแดนชาม หรือซีเรียในปัจจุบัน ท่านมีนามเต็มว่า ชัมสุดดีน อบูอบั ดุลลอฮฺ มุฮมั มัด บินอบีบกั ร อิบนิอัยยูบ อัซซารียฺ อัลฮัมบาลียฺ ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองอัซซาร ทางตอนใต้ของซีเรีย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 เดือนซอฟัร ปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 691 ตรงกับปีคริสตศักราชที่ 1292 หรือเป็นปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 13 และ 14 ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนในปฐมวัยจากคณาจารยฺหรืออุลามาอ์ แห่งยุคสมัย เช่น อัชชิฮาบ อัลนาบิลีซียฺ หรือ จาก อบูบักร บินอับดิล อัดดาอิม เป็นต้น ท่านได้ศึกษาวิชาฟิกฮฺ หรือ นิติศาสตร์อิสลามจากฟุกอฮาอ์ (นักนิติศาสตร์อิสลาม) มากมายหลายท่าน หนึ่งในจ�ำนวนนั้นก็คือ


ท่านอิสมาอีล บินมุฮัมมัด อัลหัรรอนียฺ ศึกษาวิชาอัลอุศูล (หลักการ นิติศาสตร์) จากท่าน อัศซอฟียฺ อัลฮินดีย แต่ที่ส�ำคัญที่สุด และทรง อิทธิพลต่อท่านมากทีส่ ดุ ก็คอื ได้ใช้ชวี ติ อยูเ่ ป็นศิษย์และศึกษาเล่าเรียน อย่างยาวนานถึง 17 กับ อัลอิมาม อัลมุญัจดิด (ผู้ฟื้นฟู) ตะกียุดดีน อิบนิตัยมียะฮฺ ท่านได้เติมเต็มห้องสมุดของโลกอิสลามไว้ดว้ ยงานเขียนมากมาย และหลากหลายสรรพวิชา เฉพาะหนังสือเล่มนี้ก็เป็นงานรวบรวม ข้อเขียนของท่านที่แตกต่างจากงานเขียนทั่วไปตรงที่เป็นเพียงการ น�ำเสนอหนักฐานและค�ำอธิบายแบ่งไว้เป็นบทเป็นประเภท หากแต่ได้ ผูกรวมสิ่งที่เป็นปัญญา เป็นหิกมะฮฺที่ท่านได้รับจากอัลลอฮฺไว้พร้อม ในแต่ละบท แต่ละเนื้อหา ซึ่งในแต่ละโอกาส ในแต่ละครั้งที่ท่าน ได้รับความโปรดปรานให้มองเห็นข้อคิดใด ปัญญาใด ท่านจะรีบบันทึก ไว้ด้วยปากาและหมึกในหน้ากระดาษที่ต่อมาผูกรวมไว้เป็นหนังสืออัน ทรงคุณค่านี้ หนังสือนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในประภาคารแห่งแสงสว่างและ ทางน�ำ ท่านได้พรรณนาให้เราเห็นบทบาทและหน้าที่ของหัวใจ และ ท�ำให้เราสามารถใช้ให้หัวใจโน้มเอียงไปสู่การเรียนรู้ การปฏิบัติ และ การนอบน้อมส�ำรวมตน ท่านยังได้พยายามอธิบายให้เราได้เห็นโรค ต่างๆ ของหัวใจ เพือ่ ทีเ่ ราจะได้หลีกเลีย่ งและไม่กล�ำ้ กลายไปสูเ่ หตุและ ปัจจัยแห่งการเกิดโรคดังกล่าว และท�ำให้เราสามารถเข้าถึงอุทยานและ ปัญญาและแสงสว่างได้....อินชาอัลลอฮฺ อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺสิ้นชีวิตหลังอิชาอ์ ในค�่ำคืนวัน พฤหัสบดีที่ 13 เดือนรอญับ ปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 751 ตรงกับปี


คริสต์ศักราชที่ 1350 ร่างของท่านฝังอยู่ที่เชิงเขากอซียูน ในกรุง ดามัสกัส โดยทิ้งไว้เบื้องหลังซึ่งผลงานเขียนมากมายในวรรณกรรม เพื่อความศรัทธาและการฟื้นฟู หนึง่ ในบรรดาผลงานเขียนของท่าน คือหนังสือ “อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม” นี้ ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ มิรอาต ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการและอีกหนึ่งตัวชี้วัดมาตรฐานการ เข้าถึงวรรณกรรมอิสลามที่ไต่สูงขึ้น จนกล่าวได้ว่าสังคมมุสลิมได้มี หนังสือในระดับคลาสสิกไว้อ่านเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเล่มแล้ว ขออัลลอฮฺทรงโปรดรับผลแห่งความวิริยะและการทุ่มเทของ ท่านอิมาม อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺที่มีอันเนื่องจากหนังสือนี้ และ แก่ส�ำนักพิมพ์มิรอาตในการทุ่มเทถ่ายทอดองค์ความรู้ หิกมะฮฺและ ปัญญาจากงานเขียนอันยิ่งใหญ่นี้สู่สังคมมุสลิมในประเทศไทย และ ให้สารัตถะแห่งองค์ความรูอ้ นั ยังประโยชน์ในหนังสือนีไ้ ด้กอ่ เกิดศรัทธา ตักวา ความอิคลาศ มุญาฮะดะฮฺ และญิฮาดเพื่อเป็นคุณูปการแก่ มนุษยชาติผู้เป็นลูกหลานและวงศ์วานแห่งอาดัมโดยถ้วนหน้า...อามีน ดร.อณัส อมาตยกุล โรงเรียนร็อบบานียฺ เขายายเที่ยง จ.นครราชสีมา


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ِ ‫بِس ِم‬ ‫الرِحي ِم‬ َّ ‫الر ْحَ ِن‬ َّ ‫هللا‬ ْ

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานีเสมอ การได้เรียนรู้วิธีคิดของคนเจ๋งๆ ถือเป็นอาหารโอชะของ สติปัญญา ยิ่งคนเจ๋งๆ ที่ว่านั้นเป็นใครคนที่ผูกพันแนบแน่นกับอัลลอฮ์ และศาสนาของพระองค์ การได้เรียนรู้วิธีคิดของเขายังเป็นอาหารของ จิตวิญญาณเพิ่มอีกส�ำรับ ใครที่ได้รู้จัก อิบนุลก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ แม้เพียงผิวเผิน ย่อม ต้องนับท่านเป็นหนึ่งในคนที่พึงศึกษาวิธีคิดอย่างไร้ข้อกังขา ท่านคือ ปราชญ์คนส�ำคัญของโลกมุสลิมยุคศตวรรษที่ 13 ซึง่ สร้างผลงานระดับ “ต�ำนาน” ที่แวดวงวิชาการอิสลามยังอาศัยเป็นแหล่งข้อมูลส�ำคัญ ตราบจนปัจจุบัน “อัลฟะวาอิด” เป็นอีกหนึง่ ผลงานของอิบนุลก็อยยิมทีส่ ะท้อน วิธีคิดอันเป็นระบบระเบียบและลุ่มลึกของท่านได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น คล้ายสมุดบันทึกความคิดและความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของท่าน ซึ่งแน่นอนว่าการได้อ่านสมุดบันทึกของคนอย่างอิบนุลก็อยยิมย่อม เพียงพอให้เรารู้สึกอิ่มเอม


อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะคล้ายสมุดบันทึกความคิดดังที่ กล่าวมา ท�ำให้การจัดวางหัวข้อและเนื้อเรื่องค่อนข้างไม่มีแบบแผน ดังนัน้ เพือ่ หลีกเลีย่ งความยุง่ ยากในหลายรูปแบบ ทางกองบรรณาธิการ จึงตัดสินใจจัดล�ำดับเนื้อเรื่องบางส่วนใหม่ รวมทั้งตัดเนื้อหาที่มีบริบท ผูกพันกับยุคสมัยของผูเ้ ขียนอันยากทีผ่ อู้ า่ นของทีน่ แี่ ละในวันนีจ้ ะเข้าใจ ออกไป เช่น อุปมาโวหารบางอย่างทีใ่ ช้กนั เฉพาะคนอาหรับยุคก่อน หรือ โคลงกลอนที่ต้องอาศัยภูมิรู้ทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นในการถอดความ ในขณะทีเ่ นือ้ หาบางส่วนทีม่ ลี กั ษณะเป็นนัยหรือมีโครงสร้างประโยคที่ ซับซ้อน เราก็เลือกที่จะถ่ายทอดออกมาในลักษณะของการตีความ โดยปรับส�ำนวนภาษาให้ง่ายต่อการท�ำความเข้าใจในภาษาไทยแทน กระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนเหล่านี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้หนังสือ แปลเล่มที่ 2 นี้ ทิ้งช่วงจากเล่มที่ 1 ไปพอสมควร ทั้งที่มีผู้อ่านจ�ำนวน มากทวงถามมาโดยตลอด (เราตั้งใจแบ่งหนังสือ “อัลฟะวาอิด” ฉบับ แปลไทย ออกเป็น 3 เล่ม เพื่อความเหมาะสมในด้านปริมาณเนื้อหา และราคาจ�ำหน่าย) ขอขอบคุณอัลลอฮ์ที่ช่วยเหลือให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดท�ำทุกท่าน รวมถึงคณาจารย์ ผูม้ เี กียรติทรี่ ว่ มเขียนค�ำนิยมให้แก่หนังสือเล่มนี้ ตลอดจนผูอ้ า่ นทุกท่าน ทีต่ ดิ ตามผลงานของส�ำนักพิมพ์มริ อาตด้วยดีเสมอมา นี่คือหนังสือเล่มส�ำคัญอีกเล่มหนึ่งที่เราภูมิใจน�ำเสนอแด่ท่าน และแด่สงั คมมุสลิม เพือ่ เรียนรูว้ ธิ คี ดิ ของปราชญ์ระดับต�ำนาน ทีจ่ ะช่วย ซึมซับเอาสิง่ ดีงามมาเติมเต็มทัง้ สติปญ ั ญา จิตวิญญาณ และชีวติ ของเรา


นี่คืออีกหนึ่งผลงานที่เราสุขใจล้นเหลือเมื่อได้จัดท�ำ และหวัง จะสุขใจเหลือล้นเมื่อได้พบมันในวันแห่งการตอบแทน...อินชาอัลลอฮฺ ส�ำนักพิมพ์มิรอาต มกราคม 2562 | ญุมาดัลอุลา 1440


สารบัญ ค�ำนิยม ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ สารบัญ 20

30 36 38 42 48 50 54

58 62 64 68 70 80

เกร็ดความรู้ อย่าเข้าใกล้ผู้ตั้งตนเป็นศัตรูต่อ

ชาวอัลกุรอานและสุนนะฮฺ บทเรียน ความประเสริฐของอะบูบักรฺ ข้อเตือนใจ ข้อคิดจากสุนัขล่าเนื้อ บทเรียน มิตรแท้ของชัยฏอน บทเรียน ฐานที่มาของการฝ่าฝืน เกร็ดความรู้ ประเภทต่างๆของการละทิ้งอัลกุรอาน เกร็ดความรู้ ความสมบูรณ์ที่ชีวิตต้องการ เกร็ดความรู้ส�ำคัญ ให้ชีวิตของท่านในทุกๆ วัน มีหัวใจไว้เพื่ออัลลอฮฺ เกร็ดความรู้ ว่าด้วยเรื่องของ “ความรู้” บทเรียน ศรัทธาจากภายนอกและภายใน กฎส�ำคัญ การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ เกร็ดความรู้ ข้อร้องเรียนของคนเขลา กฎทอง บทเรียนจากสูเราะฮฺอัลอันฟาล อายะฮฺที่ 24 เกร็ดความรู้ส�ำคัญ บางทีสิ่งที่เราไม่ชอบอาจเป็นสิ่งที่ดี กับตัวเราเอง


90 เกร็ดความรู้ ความสมถะต่อดุนยา 96 กฎส�ำคัญ พื้นฐานของความดีคือ

100 106 114 118 124 130

134 142 144 148 152 156 160

180 186 198 206 208

การเชื่อในพระประสงค์ของอัลลอฮฺ

นานาข้อคิด เกร็ดความรู้ส�ำคัญ ภัยจากผู้รู้ที่หลงผิด บทเรียน ภัยจากนักปฏิบัติ (อิบาดะฮฺ) ที่ผินหลังให้ความรู้ เกร็ดความรู้ส�ำคัญ ศรัทธาและความรู้คือสิ่งดีสุดที่พึงแสวง บทเรียน ความศรัทธา : การรู้จักและการรักอัลลอฮฺ เกร็ดความรู้ส�ำคัญ ความสุขจากการยอมทิ้งบางสิ่ง

เพื่ออัลลอฮฺ

กฎส�ำคัญ ทางของผู้ศรัทธา vs ทางของผู้กระท�ำชั่ว บทเรียน 10 เรื่องที่มนุษย์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ บทเรียน สิทธิของอัลลอฮฺที่มีเหนือบ่าว บทเรียน การมอบหมายที่แท้จริง ค�ำตักเตือน วันเวลาของชีวิต บทเรียน รูปแบบของความสมถะ เกร็ดความรู้ส�ำคัญ การไม่ท�ำตามค�ำสั่งใช้ร้ายแรงกว่า

การฝ่าฝืนข้อห้าม บทเรียน ด้วยการร�ำลึกและขอบคุณ บทเรียน อัลลอฮฺจะมอบความง่ายดายแด่ผู้แสวงหาทางน�ำ บทเรียน ทางน�ำกับความเมตตา vs ทางหลงกับความทุกข์ บทเรียน ผูกชีวิตไว้กับเป้าหมายอันสูงส่ง บทเรียน พึงระวังการโกหก


212

218 222 224 230 238

เกร็ดความรู้ส�ำคัญ เพราะบ่าวมิได้รู้คุณ-โทษของสิ่งต่างๆ

อย่างแท้จริง บทเรียน เงื่อนไขที่จะท�ำให้ได้รับประโยชน์จากความรู้ บทเรียน ผลเสียของการท�ำตามอารมณ์ บทเรียน นิยามของมารยาท บทเรียน หัวใจคือตัวตัดสิน บทเรียน อุปนิสัยที่ดีและอุปนิสัยที่ไม่ดี



เกร็ดความรู้ อย่าเข้าใกล้ผู้ตั้งตนเป็นศัตรูต่อ ชาวอัลกุรอานและสุนนะฮฺ

ท่านจงหลีกห่างจากบุคคลที่ตั้งตนเป็นศัตรูต่อกลุ่มชนที่ ปฏิบัติตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺ เพื่อที่ความเสียหายของเขาจะได้ ไม่มาเปรอะเปื้อนท่าน พึงระวัง ศัตรูสองประเภทที่พาให้ผู้คนจ�ำนวนมากต้อง พบกับความพินาศ หนึ่ง คือ คนที่ใช้ข้อคลุมเครือและปั้นแต่งค�ำโกหกเพื่อให้ผู้อื่น หันเหอออกจากแนวทางของอัลลอฮฺ สอง คือ คนที่ดุนยาและอ�ำนาจของเขาท�ำให้คนหลง มนุษย์เรามีศกั ยภาพและความพร้อมทีถ่ กู สร้างมาเพือ่ บางสิง่ และความสุขสมของเราจะเกิดขึน้ เมือ่ ได้ใช้ศกั ยภาพของตนไปในสิง่ นัน้

20


ใครที่ถูกสร้างมาให้ตอบสนองรวดเร็วต่อความโกรธ เขาย่อม รูส้ กึ ว่าตนเองได้ปลดปล่อยเวลาทีใ่ ช้พลังจากความโกรธกับเรือ่ งต่างๆ คนที่ถูกสร้างมาให้มีความหลงใหลด้านการกินดื่ม เวลาแห่งความสุข ของเขาก็จะอยู่กับการได้ดื่มกิน เช่นเดียวกัน ผู้ใดที่ตัวตนของเขาถูกสร้างมาให้มีศักยภาพ อย่างเต็มที่ต่อความรักในอัลลอฮฺ การกลับเนื้อกลับตัว และการมี หัวใจผูกพันกับพระองค์ แน่นอนว่าความสุขของคนผู้นี้ย่อมหมายถึง การได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของเขาให้เป็นไปเพื่อรักพระองค์ตลอด เวลา การลิ้มรสความสุขอื่นใดนอกเหนือจากนี้ล้วนต�่ำต้อยและไม่จีรัง อย่างดีสุดที่พอจะหวังได้จากการลิ้มรสความสุขอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ เรื่องของอัลลอฮฺ คือความสุขที่ไม่เกิดประโยชน์และโทษใดๆ แก่เขา โอ้ผู้ไร้อาวุธแนบกาย (เปรียบเปรยคนที่ไม่ละอายในการ กระท�ำบาปและหัวใจมีโรค) ท่านจงระวังความชาญฉลาดของผูย้ ำ� เกรง ในอัลลอฮฺ เพราะเขาคือคนที่มองเห็นการงานที่ท่านปกปิดอ�ำพรางไว้ จากสายตาผู้อื่นอย่างทะลุปรุโปร่ง สุบหานัลลอฮฺ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์) : เพราะจิตใจ ดวงเดียว เป็นบ่อเกิดความหยิ่งผยองของอิบลีส ความอิจฉาของกอบีล ความยะโสของอ๊าด การละเมิดฝ่าฝืนของสะมูด ความหาญกล้าอย่าง เบาปัญญาของนัมรูด ความอวดดีของฟิรเอานฺ ความหลงระเริงของ กอรูน ความไม่ละอายในบาปของฮามาน การคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต�่ำ ของบัลอาม (ชายยิวผู้บิดพลิ้วต่อนะบีมูซา ถูกกล่าวถึงในสูเราะฮฺอัล อะอฺรอฟ อายะฮฺท1ี่ 75-177) เล่หเ์ หลีย่ มของชาวยิวผูด้ กั ปลาในวันเสาร์ 21


ความดือ้ ดึงของอัลวะลีด และความโง่เขลาของอะบูญะฮฺล เมื่อเราพูดถึงพฤติกรรมบางอย่างของสัตว์ เช่น อีกามีความ ละโมบในอาหาร สุนัขมีความตะกละตะกลาม นกยูงร�ำแพนหางอย่าง โอ้อวด นิสัยไม่ดีของด้วง ตะกวดไม่รู้จักบุญคุณ อูฐกับสัญชาตญาณใน การแก้แค้น ความดุร้ายของเสือดาว ท่าทีข่มขู่วางอ�ำนาจของราชสีห์ หนูจอมสร้างความเดือดร้อน งูกับความชั่วร้าย ลิงใช้ชีวิตไร้สาระ สุนัขจิ้งจอกแฝงความเจ้าเล่ห์ ค้างคาวหลบซ่อนอ�ำพราง และหมาใน ที่แสนเกียจคร้าน เหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ออกมาจากสภาพจิตใจ อันเป็นตัวตนของสัตว์นั้นๆ เช่นเดียวกับลักษณะนิสัยบางอย่างของ มนุษย์ที่เกิดจากสภาพจิตใจ ต่างกันตรงที่มนุษย์มีความสามารถใน การยกระดับจิตใจตัวเองให้ตา่ งจากเดียรัจฉานได้ ตัวตนตามธรรมชาติ ทีถ่ กู กล่าวมาสามารถปรับปรุงให้ดขี นึ้ ได้โดยผ่านการฝึกฝน แต่หากเขา ปล่อยปละละเลยจิตใจโดยไม่เข้าไปจัดการควบคุม มนุษย์ผู้นั้นก็จะ ตกอยู่ในสถานภาพไม่ต่างจากสัตว์ ผลลัพธ์ของการเป็นเช่นนั้นคือ สินค้าที่เขาเสนอขายต่ออัลลอฮฺตามสัญญาจะไร้ซึ่งคุณภาพโดยสิ้นเชิง อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสไว้ว่า ُ َ َ ْ ُ ْ َ ٰ َ َ ْ َ َّ َّ ْ‫نف َس ُهم‬ ‫إِن الل اشتى مِن المؤ ِمن ِني أ‬

“แท้จริงอัลลอฮฺนนั้ ได้ทรงซือ้ จากบรรดาผูศ้ รัทธาซึง่ ชีวติ ของ พวกเขา” (อัตเตาบะฮฺ 9 : 111) ฉะนั้น ท่านต้องมอบสินค้าชิ้นนี้ (คือชีวิตของท่าน) ให้ผู้ซื้อ (คืออัลลอฮฺ) ก่อนที่มันจะเสียหายด้วยน�้ำมือของท่าน เพราะเมื่อเป็น 22


เช่นนั้นแล้ว ผู้ซื้อย่อมไม่ตกลงรับสินค้า พระองค์รู้ดีถึงต�ำหนิของสินค้า ทุกชิ้นก่อนที่ท่านจะเสนอขาย จงมอบชีวิตจิตใจของท่านแก่พระองค์ เสียตั้งแต่ในเวลาที่ยังมั่นใจได้ว่าสินค้านั้นจะไม่ถูกตีกลับ ระดับของผู้ซื้อ ค่าตอบแทน และคนกลางที่ถูกส่งมาเรียกร้อง ให้เกิดการท�ำสัญญานี้ ล้วนเป็นตัวก�ำหนดคุณภาพของสินค้า ซึ่งเมื่อ มองความสูงส่งยิ่งใหญ่ของผู้ซ้ืออย่างอัลลอฮฺ ราคาค่าตอบแทนของ สินค้าที่สูงลิบลิ่วอย่างสวรรค์ ต�ำแหน่งอันทรงเกียรติของผู้ชี้ชวนให้ เกิดสัญญาอย่างเราะสูล ย่อมหมายถึงสินค้านัน้ ต้องอยูใ่ นระดับคุณภาพ สูงมากเท่านัน้ โอ้มนุษย์ผู้ปราดเปรื่อง ท่านเคยรับรู้ถึงคุณค่าชีวิตตนหรือไม่? จักรวาลทั้งหลายล้วนถูกสร้างมาเพื่อท่าน ท่านคือผู้ถูกชุบเลี้ยงจาก สายธารแห่งความเมตตา ความโปรดปรานนานาที่ท่านได้รับในชีวิต ถูกหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนภายใต้การดูแลจัดการของอัลลอฮฺ ผู้ทรง ให้ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ส�ำนึกรู้ต่อความเมตตาอ่อนโยนนั้นเลย สรรพสิ่ง ต่างๆ เป็นเหมือนต้นไม้ที่งอกงามโดยมีตัวท่านออกดอกเป็นพืชผล เป็นเหมือนรูปทรงที่มีตัวท่านเป็นนัยยะส�ำคัญ เป็นดั่งเปลือกหอยที่มี ตัวท่านเป็นไข่มกุ ทุกสรรพสิง่ ทีอ่ ลั ลอฮฺสร้างเสมือนนมอันเป็นทีม่ าของ เนยอย่างท่าน เหมือนอัลลอฮฺต้องการจะบอกว่า สิ่งที่เราก�ำหนดให้แก่เจ้า ถูกขีดเส้นไว้ชัดเจน แต่เจ้ายังคงไม่เข้าใจความหมายในการน�ำมันมา ใช้อย่างแท้จริง 23


เมือ่ ใดทีเ่ จ้าเขวีย้ งหอกแห่งการวิงวอนออกไป จงขอสิง่ นัน้ จาก ฉันด้วยความบริสุทธ์ใจ จงร้องขอฉันด้วยตัวของเจ้าเอง จากภายใน ของเจ้า แล้วเจ้าจะพบว่าฉันอยู่ใกล้เจ้าเหลือเกิน ฉะนั้น เมื่อต้องการ ขอ จงอย่าขอผ่านผู้อื่น เพราะที่จริงแล้วฉันอยู่ใกล้กับเจ้ามากกว่า คนผู้นั้นเสียอีก และเมือ่ เจ้าทราบถึงคุณค่าชีวติ ตัวเองแล้ว อย่าดูแคลนมันด้วย การท�ำบาป อิบลีสจะท�ำให้เจ้าอยู่ห่างจากเรา พึงระลึกเสมอว่าอิบลีส คือผู้ปฏิเสธที่จะสุญูดต่อเจ้า เจ้าสืบเชื้อสายจากบิดา (อาดัม) ช่าง น่าประหลาดนัก ทีเ่ จ้ายอมประนีประนอมกับมันแต่ละทิง้ เราได้อย่างไร? หากในหัวใจเจ้ายังมีความรักต่อเรา ร่องรอยนัน้ จะปรากฏออกมาให้เห็น ผ่านการปฏิบตั ขิ องเจ้า เมื่อหัวใจถูกชุบเลี้ยงด้วยความรักต่ออัลลอฮฺ ความหิวโซ ของอารมณ์ใฝ่ต�่ำจะมลายหายไป หากความรักที่ท่านมีต่ออัลลอฮฺ คือรักที่แท้ ท่านย่อมไม่ ต้องการอยู่ร่วมกับบุคคลที่ท�ำให้ท่านหลงลืมพระองค์ มันเป็นไปไม่ได้ ทีค ่ นผูอ ้ า้ งว่ารักอัลลอฮฺจะยังต้องการใครบางคนมาคอยย�ำ้ เตือนให้

เพราะนั่นหมายถึงถ้าไม่มีคนผู้นั้น เขาก็ จะไม่รำ� ลึกถึงพระองค์ มาตรฐานความรักทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ คืออย่างน้อยความ รักนัน้ จะต้องท�ำให้ทา่ นไม่หลงลืมการระลึกถึงผูเ้ ป็นทีร่ กั นึกถึงผู้เป็นที่รักของตัวเอง

เมือ่ บ่าวทีร่ กั อัลลอฮฺตดั สินใจเดินทางเพือ่ ไปพบกับผูเ้ ป็น ทีร่ กั ของเขา นัน่ เท่ากับเขาก�ำลังยกกองทัพของตนร่วมไปด้วย ความรัก 24


ในอัลลอฮฺประจ�ำอยู่แดนหน้าของทัพ ความหวังในเมตตาของพระองค์ เหมื อ นเสี ย งเร่ ง เร้ า สั ต ว์ พ าหนะให้ รี บ รุ ด ไปข้ า งหน้ า ความคิ ด ถึ ง พระองค์จะช่วยน�ำทาง มีความกลัวเกรงในอ�ำนาจของพระองค์เป็นตัว ประคับประคองให้อยู่ในเส้นทาง และเมื่อกองทัพใกล้ถึงที่หมายคือ โลกหน้า เพื่อเข้าพบพระองค์ กองทัพจะรีบหยิบยื่นของก�ำนัล (คือการ ฏออะฮฺ) ที่ถูกเตรียมมาให้ไป เมื่อบ่าวได้พบกับผู้เป็นที่รักของเขาแล้ว พระองค์จะทรง ทดสอบเขาด้วยการมอบรางวัลมากมายเป็นการตอบแทน เพือ่ ดูวา่ เขา จะสนใจแต่ของทีไ่ ด้รบั หรือไม่ หากเป็นเช่นนัน้ ก็ถอื ว่าของเหล่านัน้ เป็น โชคลาภส�ำหรับเขา หรือความสนใจของเขาจะจดจ่ออยูก่ บั ผูม้ อบรางวัล (คืออัลลอฮฺ..ซึง่ ผลตอบแทนของความสนใจนัน้ คือการได้เห็นพระพักตร์ ของพระองค์ - ผู้แปล) เรือของหัวใจบรรทุกสัมภาระไว้เต็มล�ำ สัมภาระทั้งหมดใน เรือถูกล�ำเลียงมาเพื่อกษัตริย์ผู้ทรงยิ่งใหญ่เท่านั้นมิใช่เพื่อใครอื่น ขณะ ที่ลมโชยใกล้ยามเช้าพัดมาเยือน นั่นคือสัญญานล่องเรือออกสู่ล�ำน�้ำ ครั้นรุ่งสาง ทั้งเรือและเสบียงที่ถูกน�ำมาก็จอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้ว (อิบาดะฮฺที่สั่งสมมาของบ่าวถูกตอบรับ - ผู้แปล) พวกเขาเดินทางตัดผืนทะเลทรายแห่งอารมณ์ใฝ่ต�่ำด้วย ฝ่าเท้าอันมั่นคงและจริงจัง มันไม่ได้ไกลอย่างที่คิด เมื่อพ้นจากการ เดินทางในเส้นทางสู่การเข้าพบพระเจ้า พวกเขาจึงได้พักในภายหลัง ก้าวเข้าสู่ดินแดนอันเป็นที่หมาย (คืออาคิเราะฮฺ) และสุขสบายกับ ผลก�ำไรที่ได้รับไปชั่วนิจนิรันดร์ 25


คนกลุ่มหนึ่งได้สะสางพื้นที่ในหัวใจของพวกเขาจากความ หมกมุ่นในดุนยา และสร้างปะร�ำแห่งความรักต่ออัลลอฮฺขึ้นมาแทนที่ บางครั้ง ดวงตาของพวกเขาคอยสอดส่ายรักษาสัจธรรมในหนทางของ พระองค์ และในบางครั้ง ดวงตาเหล่านั้นก็โปรยปรายหยาดน�้ำตาแห่ง ความกลัวเกรงพระองค์ ปะร�ำแห่งความรักจะไม่ถูกปักหลักลงที่ใด นอกจาก ณ พื้นที่ ว่างเปล่าและบริสทุ ธ์จากบาปทัง้ หลาย (หัวใจทีจ่ ะมีอลั ลอฮฺอยูใ่ นนัน้ ได้ จะต้องเป็นหัวใจที่บริสุทธิ์และปราศจากภาคีอื่นใด - ผู้แปล) พึงตระหนักถึงงบประมาณชีวต ิ ทีท ่ า่ นท�ำสูญหายไปใน หนทางที่อัลลอฮฺไม่พึงพอพระทัย จงร�ำ่ ไห้ออกมาดั่งผู้ท่ร ี ู้ดีว่าสิ่งที่ ตนสูญเสียไปนั้นมากมายขนาดไหน หากท่านนึกได้ว่าบรรดาผู้เป็น ทีร ่ ก ั ของอัลลอฮฺได้รบ ั ความเมตตาโปรดปรานจากพระองค์มาก เท่าใด ความยากล�ำบากที่ท่านประสบในดุนยาจะไม่ท�ำให้ท่านรู้สึก เศร้าใจเลยแม้แต่น้อย

ถ้าลองสูดหายใจเข้า-รับลมในยามเช้า (ได้ลิ้มลองรสชาติ การท�ำอิบาดะฮฺในช่วงก่อนย�่ำรุ่ง - ผู้แปล) หัวใจที่เมามัวในดุนยาก็จะ ฟื้นคืนสติ คนที่เดินเรื่อยเปื่อยสะเปะสะปะ ย่อมท�ำให้เขาหมดแรงใน การเดินไปโดยปริยาย ขณะทีผ่ มู้ สี จั จะจะวางเป้าหมายทีต่ นตัง้ ใจจะไป ให้ถึงไว้เบื้องหน้าเสมอ

26


เหล่าทหารยามรักษาการล้วนพึงใจทีจ่ ะอดหลับอดนอน ด้วยเพราะรู้ดีว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงได้ยินพวกเขาเสมอ ผู้ใดที่สภาพของโลกหน้าฉายชัดส�ำหรับเขา การไม่แยแส โลกใบนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดายส�ำหรับเขา ยามใดที่เหยี่ยวออกล่า มันจะลืมความเคยชินที่ได้เกาะอยู่ บนแขนของผูเ้ ลีย้ ง (จะออกตามหาความพึงพอใจของอัลลอฮฺ ต้องยอม สละความคุน้ เคยและสุขสบายบางอย่างในชีวติ ไป - ผูแ้ ปล) โอ้ฝ่าเท้าอันแสนทรหด จงยืดหยัดที่จะแบกรับหน้าที่ เหลือ อีกนิดเดียวเท่านัน้ นึกถึงความหอมหวานทีจ่ ะได้รบั เมือ่ ไปถึงทีห่ มายเข้า ไว้ แล้วความขมขืน่ ทีไ่ ด้ตอ่ สูจ้ ะเป็นเพียงเรือ่ งเล็กน้อย ท่านรูด้ วี า่ สถานทีพ่ ำ� นักทีแ่ ท้จริงของผูศ้ รัทธานัน้ อยูท่ ใี่ ด ดังนัน้ จงตระเตรียมจิตวิญญาณให้พร้อม ความมุ่งมั่นตั้งใจที่สูงส่งที่สุดคือ ความมุ่งมั่นของคนที่เตรียมตนเพื่อเข้าพบผู้เป็นที่รัก (อัลลอฮฺ) เขายื่น ของก�ำนัลออกไปเบื้องหน้าผู้ที่เขาต้องการพบ (มุอฺมินหยิบยื่นความ ภักดีต่ออัลอฮฺเสมอ ตลอดช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตในดุนยา – ผู้แปล) เมื่อ มาถึงที่หมายได้ส�ำเร็จ เขาจึงได้รับการแจ้งข่าวดีด้วยความพึงพอใจ อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า َ ُ َ ُ ‫َوق ّد ُِموا ِلنفسِك ْم‬

“และจงประกอบ (การงาน )ล่วงหน้าไว้ส�ำหรับตัวของ พวกเจ้า” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 223) 27


สวนสวรรค์พอใจทีจ่ ะรับการปฏิบตั ติ ามข้อบังคับใช้ในศาสนา จากท่าน และการยอมละทิ้งบาปท�ำให้นรกไม่ต้องการท่าน แต่ท่าน ต้องทุ่มเทจิตวิญญาณทั้งหมดเท่านั้น ท่านถึงจะคู่ควรได้รับความรัก จากอัลลอฮฺ เพื่ ออัลลอฮฺแล้ว มันช่างหอมหวนเหลือเกิน ช่วงเวลาที่เท้า แห่งการภักดีของบ่าวได้เหยียบย�ำ่ ไปบนผืนดินด้วยความโหยหาที่ จะได้พบพระองค์

เมื่ อ ใดที่ ม นุ ษ ย์ ม อบหั ว ใจของเขาให้ กั บ การปฏิ บั ติ ต าม บทบัญญัตขิ องอัลลอฮฺ และเห็นพ้องกับกฎหมายของพระองค์ แม้วา่ มัน จะค้านกับความรู้สึกตามธรรมชาติเดิมของเขาก็ตาม เมื่อนั้น ดวงใจ ของมนุษย์จะด�ำรงมั่นอยู่กับการภักดี ทั้งหัวใจและการภักดีจะเคลื่อน ไปพร้อมกันเสมอ

28



บทเรียน ความประเสริฐของอะบูบักรฺ

อะบูบักรฺเปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติของผู้ประเสริฐ เป็นรอง เพียงท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม : เขาเป็นสองรอง จากท่านเราะสูลในการเข้ารับอิสลาม ในความเสียสละเพื่อศาสนา และในความสมถะ เป็นที่สองในการขึ้นรับต�ำแหน่งผู้น�ำแทนท่านบน หน้าแผ่นดิน ในเรือ่ งอายุขยั ของชีวติ และแม้กระทัง่ สาเหตุในการเสียชีวติ ของเราะสูล เขาก็ยงั เหมือนกัน การเสียชีวติ ของท่านเราะสูลเป็นผลจาก ร่องรอยของยาพิษ (ทีท่ า่ นได้รบั จากแพะทีร่ บั ประทานในสงครามค็อยบัร) ส่วนอะบูบกั รฺโดนวางยาพิษจนสิน้ ชีวติ ในบรรดาเศาะหาบะฮฺ 10 คนทีไ่ ด้รบั รองสวรรค์ มีอย่างน้อย 4 คนทีเ่ ข้ารับอิสลามจากการเชิญชวนของอะบูบกั รฺ นัน่ คือ อุษมาน บิน อัฟฟาน, ฏ็อลหะฮฺ บินอุบัยดิลลาฮฺ, อับดุรเราะหฺมาน บิน เอาฟฺ และ สะอฺด บิน อะบีวักกอศ (และตัวอะบูบักรฺเองก็อยู่ในรายชื่อผู้ได้รับรอง สวรรค์ด้วย)

30


ในวันทีอ่ ะบูบกั รฺเข้ารับอิสลาม เขามีเงินติดตัวอยูส่ หี่ มืน่ ดิรฮัม และได้บริจาคทั้งหมดนั้นไปในช่วงเวลาที่อิสลามต้องการมันมากที่สุด การบริจาคของเขาจึงถูกตีคา่ สูงอย่างมหาศาล จนท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม เอ่ยปากว่า “ไม่มีทรัพย์สมบัติใดเป็นประโยชน์ต่อฉัน มากเท่ากับทรัพย์ของอะบูบักรฺอีกแล้ว” อะบูบักรฺนับว่าประเสริฐกว่าผู้ศรัทธาในยุคของฟิรเอานฺ (ที่ปรากฏในเนื้อหาสูเราะฮฺฆอฟิร) เพราะผู้ศรัทธาในตอนนั้นปกปิด ความศรัทธาของตน แต่อะบูบกั รฺประกาศศรัทธาของตัวเองให้ผอู้ นื่ รับรู้ และประเสริฐกว่าผู้ศรัทธาในวงศ์วานของยาซีน (หมายถึงผู้ศรัทธา ในวงศ์วานของนะบีอิลยาส ตามที่ปรากฏในอายะฮฺที่ 30 สูเราะฮฺ อัศศอฟฟาต) เพราะเขาต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเพียงชั่วยามหนึ่ง ขณะที่อะบูบักรฺต่อสู้เพื่อศาสนาเป็นระยะเวลาหลายปี ทั้งอัลกุรอานและหะดีษต่างก็พูดถึงความประเสริฐของ อะบูบักรฺ และทั้งชาวมุฮาญิรีนและอันศอรต่างก็ร่วมกันให้สัตยาบัน แต่งตัง้ ท่านเป็นผูน้ ำ� พึงระลึกไว้เถิด พวกทีร่ สู้ กึ เกลียดชังชายผูน้ อี้ ยูใ่ นหัวอกจนมอบ นรกให้แก่เขา ทุกครัง้ ทีค่ ณ ุ ความดีของอะบูบกั รฺถกู เอ่ย เราะวาฟิฏ (กลุม่ ชีอะฮฺสุดโต่งที่ประณามอะบูบักรฺ) และพวกปฏิเสธศรัทธาทั้งหลายคง ไม่ได้ยินด�ำรัสที่อัลลอฮฺตรัสว่า

31


َْ َ ُ ْ ْ َ‫ان اثْن‬ َ ِ َ‫ث‬ ‫ار‬ ‫غ‬ ِ ِ ‫ي إِذ هما ِف ال‬

“เขาเป็นคนที่สองในสองคน ขณะที่ทั้งสองอยู่ในถ�้ำนั้น” (อัตเตาบะฮฺ 9 : 40) ทุกครัง้ ทีอ่ สิ ลามเรียกร้องสิง่ ใด อะบูบกั รฺไม่เคยมีทา่ ทีอกึ อัก หรือปฏิเสธ เขายังคงด�ำเนินอยู่บนทางอันเที่ยงตรงอย่างเข้มแข็ง ไม่ลดละ อดทนต่อคมดาบของศัตรูอย่างแน่วแน่ เคยบริจาคมากมาย เท่าใดก็ยังคงบริจาคอยู่เช่นนั้นไม่ลดน้อยลง กระทั่งร่างถูกห่ออยู่ใต้ ผ้าขาวในวาระสุดท้าย ใครเล่าคือมิตรสหายของเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นคนแรกๆ ที่ศรัทธาต่อท่าน คนที่ท่านเราะสูลจะตอบ อย่างรวดเร็วทุกครั้งที่เขาเอ่ยถาม ใครคือคนแรกและคนสุดท้ายที่ยืน ละหมาดข้างท่าน แล้วใครกันที่นอนเคียงข้างท่านเราะสูลวันที่ธุลีดิน กลบหน้า ฉะนั้น พวกท่านพึงท�ำความรู้จักสิทธิของเพื่อนบ้านท่านนี้ ของเราะสูลให้จงดี วันที่ชนกลุ่มหนึ่งตกศาสนาเพราะไม่ยอมจ่ายซะกาต (หลัง การเสียชีวิตของท่านนะบี) อะบูบักรฺคือผู้ที่ลุกขึ้นตัดสินปัญหาด้วย ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและละเอียดอ่อนต่อตัวบทหลักฐานของศาสนา คนทีร่ กั อะบูบกั รฺยอ่ มรูส้ กึ ยินดีทกุ ครัง้ ทีไ่ ด้ยนิ ถึงความประเสริฐของเขา ส่วนคนที่เกลียดชังเขาย่อมโกรธเคือง ผู้ท่ีกล่าวประณามคนอย่าง อะบูบก ั รฺชา่ งน่าสงสารนัก คนเหล่านัน ่ งทุกสถานที่ ้ พยายามหลีกเลีย ที่ผู้คนกล่าวขานถึงคุณความดีของเขา แต่ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน ก็ไม่มีทางหนีพ้นเลย

32


ครั้งแล้วครั้งเล่าที่อะบูบักรฺเสียสละทั้งตัวเองและทรัพย์สิน เพื่อท่านเราะสูลยามมีชีวิต และเป็นเพื่อนข้างกายของท่านเราะสูล ยามอยู่ในหลุมฝังศพ ความประเสริฐของอะบูบักรฺประจักษ์ชัดจนหมด ข้อสงสัย หากใครยังสามารถปิดตาตนเองจากแสงจ้าของดวงอาทิตย์ใน ช่วงกลางวันได้ ก็นบั ว่าเป็นเรือ่ งแปลกมากทีเดียว ทั้งนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอะบูบักรฺ เข้าไป ในถ�ำ้ ทีไ่ ม่เคยมีผใู้ ดอยูอ่ าศัยมาก่อน สถานทีท่ ไี่ ม่คนุ้ ชินและเปล่าเปลีย่ ว ท�ำให้อะบูบักรฺหวาดหวั่น ท่านเราะสูลจึงกล่าวแก่เขาว่า “อะไรท�ำให้ ท่านคิดว่าเราอยู่กันเพียงสองคนเล่า ในเมื่ออัลลอฮฺคือผู้ที่สามใน นี้” เมื่ออะบูบักรฺได้ยินดังนั้นก็สงบลง ความกลัวและกังวลของชาย ผู้หวาดหวั่นถูกยกออกไปสิ้น เขาอยู่ในถ�้ำอย่างปกติสุขเหมือนเคยอยู่ ในนั้นมาเนิ่นนาน ตามที่ผู้มอบความช่วยเหลือในครั้งนั้นกล่าวไว้ใน คัมภีร์ของพระองค์ว่า َْ َ ُ ْ ْ َ‫ان اثْن‬ َ ِ َ‫ث‬ ِ ِ‫ي إِذ هما ِف الغار‬

“...เขาเป็นคนที่สองในสองคน ขณะที่ทั้งสองอยู่ในถ�้ำนั้น” (อัตเตาบะฮฺ 9 : 40) ความรักต่ออะบูบกั รฺนบั เป็นความเทีย่ งธรรมอย่างยิง่ ดังนัน้ ผู้ใดโกรธเกลียดเขา ผู้นั้นก็คือคนที่มีจิตส�ำนึกต�่ำช้ายิ่ง อะบูบักรฺเป็น เศาะหาบะฮฺทดี่ แี ละใกล้ชดิ นะบีทสี่ ดุ หลักฐานต่างๆ ทีไ่ ด้ยกไปมีนำ�้ หนัก มากพอแล้ว หากการขึน้ เป็นผูน้ ำ� ของท่านไม่ถกู ต้องจริง มุฮมั มัด อิบนุล หะนะฟียะฮฺ (บุตรชายของอะลี บิน อะบีฏอลิบ) คงไม่ยอมรับในตัวท่าน 33


ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เราไม่ได้รกั อะบูบกั รฺเพราะอารมณ์ และ ไม่ได้คดิ ดูถกู เศาะหาบะฮฺทา่ นอืน่ แต่อย่างใด เพียงพอแล้วทีจ่ ะยกค�ำพูด ของอะลี บิน อะบีฏิลิบที่กล่าวถึงอะบูบักรฺไว้ว่า : เราะสูลของอัลลอฮฺ

พึงพอใจอะบูบก ั รฺเพราะสิง ่ ทีเ่ ขาท�ำเพื่อศาสนาของเรา และเราเองก็ ไม่ได้พอใจเขาเพราะเป้าประสงค์ในดุนยา ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉัน จะต้องจัดการพวกเราะวาฟิฏ (เหล่าคนทีด ่ า่ ประณามอะบูบก ั รฺ) ให้ได้

เราทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาสิทธิ์ให้แก่อะบูบักรฺ ด้วยการ ชื่นชมท่านและยืนยันในคุณความดีของท่านที่ประจักษ์ชัดต่อสายตา ของเรา ฉะนั้น เราถือว่าข้อครหาที่พวกเราะฟิเฏาะฮฺใส่ไคล้ท่านเป็น เรื่องไร้สาระโดยสิ้นเชิง

34



ข้อเตือนใจ ข้อคิดจากสุนัขล่าเนื้อ

ท่านฝึกสุนัขจนมันสามารถอดกลั้นต่อธรรมชาติของตัวเอง ไม่ กินสิ่งที่ล่ามาได้ เพราะส�ำนึกในบุญคุณที่ท่านเลี้ยงดูมันมา และเพราะ กลัวอ�ำนาจในการควบคุมของท่าน แต่ในทางกลับกัน กีม่ ากน้อยแล้วที่ อัลลอฮฺผกู้ ำ� หนดบทบัญญัตไิ ด้สอนสัง่ ท่าน แต่ทา่ นก็เพิกเฉย ไม่ยอมรับ คนโง่ที่ล่าเพื่อตัวเอง สิ่งที่ล่ามาได้ย่อมเป็นที่ต้องห้ามส�ำหรับ เขา แล้วคนเขลาที่กระท�ำแต่การงานสนองอารมณ์ความต้องการของ ตนเล่าจะเป็นอย่างไร? ในตั ว มนุ ษ ย์ ร วมไว้ ซึ่ ง ปั ญ ญาของมะลาอิ ก ะฮฺ อารมณ์ ของสั ต ว์ และการฝั ก ใฝ่ ต่ อ เสี ย งเพรี ย กของชั ย ฏอน แน่ น อน ว่ า มนุ ษ ย์ โ ดยส่ ว นมากแล้ ว มี ทั้ ง สามอย่ า งนี้ ถ้ า สามารถเอาชนะ อารมณ์ ใ ฝ่ ต�่ ำ ของตั ว เองได้ เขาจะขึ้ น มาอยู่ สู ง กว่ า ระดั บ ของ มะลาอิกะฮฺ แต่ถ้าปล่อยให้อารมณ์ใฝ่ต�่ำเอาชนะตัวเองได้ ก็จะตก ไปอยู่ตำ�่ กว่าระดับของสุนัข

ถ้าสุนัขล่าเพื่อเจ้านาย เจ้านายจะให้ส่วนแบ่งในการล่าแก่ มัน แต่ถ้ามันล่าเพื่อตัวเอง มันไม่มีทางได้รับส่วนแบ่งนั้น พื้นฐานของ 36


ลักษณะต่างๆ ในตัวบ่าว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว น่าชมเชยหรือน่าต�ำหนิ จะ ไม่พ้นไปจากคุณลักษณะของผู้ทรงให้และผู้ทรงระงับ อัลลอฮฺ สุบฮา นะฮุวะตะอาลาได้ทำ� ให้ปวงบ่าวเวียนวนอยูใ่ นขอบเขตของสองประการ นี้ ฉะนั้น บ่าวที่สัตย์จริงในการเป็นบ่าว โชคลาภของเขาก็จะผูกอยู่กับ สองประการข้างต้นเช่นกัน คือ ขอบคุณเมื่อมีการให้ และร้องขอจาก พระองค์ยามที่ถูกห้ามหรือระงับจากบางสิ่ง อัลลอฮฺทรงให้บางอย่างเพื่ อที่บ่าวจะได้ขอบคุณ และไม่ ให้บางสิ่งเพื่ อที่บ่าวจะได้หันไปพึ่ งพิ งพระองค์ มนุษย์ยังคงเป็น ผู้ขอบคุณที่ยากจนเสมอ

37



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.