อัลฟะวาอิด: บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม

Page 1


‫الفواﺋﺪ‬ อัลฟะวาอิด

: บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม

(เล่ม1)

บางบทเรียนจากชีวิตปราชญ์คนส�ำคัญ สู่ทุกหัวใจคนสามัญผู้มีศรัทธา

เขียน| อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ แปลและเรียบเรียง| นาอีม วงศ์เสงี่ยม


อัลฟะวาอิด

: บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม เล่ม1 เขียน| อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ แปล| นาอีม วงศ์เสงี่ยม บรรณาธิการ| มุฏมะอินนะฮฺ ตรวจทานวิ ช าการ| อ.อาหรีฝีน ยาชะรัด พิ สู จ น์ อั ก ษร| อัยนุนและมินนะตุลลอฮฺ ศิลปกรรม| ซัลสะบีล ภาพปก| http://www.flickr.com/ พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2558

ราคา 220 บาท

อิบนุก็อยยิม, อัลเญาซียะฮฺ. อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม (เล่ม 1).-- กรุงเทพฯ : นัตวิดาการพิมพ์, 2558. 310 หน้า. -- (อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม). 1. ศาสนาอิสลาม--หลักค�ำสอน. I. นาอีม วงศ์เสงี่ยม, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 297.22 ISBN 978-616-382-348-9

จัดพิมพ์โดย : ธีรวุฒิ วงศ์เสงี่ยม ส�ำนักพิมพ์มิรอาต 61 ซ.เทอดไท 11 ถ.เทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 เว็บไซต์ | http://miratbooks.wordpress.com เฟสบุ๊ค | www.facebook/miratbook อีเมล| mirat.books@gmail.com พิมพ์ที่ : นัตวิดาการพิมพ์ 457/202-203 ตรอกวัดจันทร์ใน (เจริญกรุง 107) ถ.เจริญกรุง บางคอแหลม กรุงเทพฯ 10210 โทร.02-2916530 จัดจ�ำหน่ายโดย : อาลีพาณิชย์ 1579 ถ.เพชรเกษม ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90114 โทร.07-4266277, 089-8767511 แฟกซ์ 07-4258487 เว็บไซต์ www.aleepanich.com •ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่โดยไม่มีเจตนาแสวงหาผลก�ำไร• หากพบหนังสือช�ำรุด หรือมีข้อผิดพลาดด้านการพิมพ์ โปรดส่งกลับมาเปลี่ยนเล่มใหม่ตามที่อยู่ส�ำนักพิมพ์มิรอาตด้านบน โดยส�ำนักพิมพ์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด



เกณฑ์การสะกดคำ�ทับศัพท์ภาษาอาหรับที่ใช้ในเล่ม • พยัญชนะ ตัวอย่าง

เทียบ

พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย

หมายเหตุ

อาหรับ

ไทย

‫القرآن‬

อัลกุรอาน

‫َس َبأ‬

อิบรอฮีม สะบะอ์

‫ا‬

อะลิฟ

‫ء‬

ฮัมซะฮฺ

อ อ์

‫ب‬

บาอ์

‫َباب‬

บาบ

‫ت‬

ตาอ์

‫َت َي ُّمم‬

ตะยัมมุม

‫ث‬

ษาอ์

‫ثمود‬

ษะมูด

ญีม

ญ จญ์

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “ญ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “จญ์” มีคำ�ยกเว้น ๒ กรณี ที่ใช้เป็น ฮ คือ -หาอ์-กัสเราะฮฺ–ยาอ์ (‫ِ)حي‬ -หาอ์-ฟัตหะฮฺ-มีม (‫َ)ح ْم‬

‫حج‬

ญิบรีล หัจญ์

‫ج‬

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ "อ" กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “อ์”

‫إبراهيم‬

‫ِج رْ ِبيل‬ ‫رمحة‬ ‫َص ِحيْح‬ ‫م َّمد‬ َ ُ‫ح‬

เราะหฺมะฮฺ เศาะฮีหฺ มุฮัมมัด

‫ح‬

หาอ์

‫خ‬

คออ์

‫خالد‬

คอลิด

‫د‬

ดาล

‫ُدنْيا‬

ดุนยา

‫ذ‬

ซาล

‫ر‬

รออ์

‫َر َمضان‬

เราะ มะฎอน

ِ ‫ذو‬ ‫الق ْعدة‬ ซุลกิอฺดะฮฺ


ตัวอย่าง

เทียบ

พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย

หมายเหตุ

อาหรับ

ไทย

‫ز‬

ซาย

‫َز ْيتون‬

ซัยตูน

‫س‬

สีน

‫ُس ْورة‬

สูเราะฮฺ

‫ش‬

ชีน

‫َش ْعبان‬

ชะอฺบาน

‫ص‬

ศอด

‫َصدَ قة‬

เศาะดะ เกาะฮฺ

‫ض‬

ฎอด

‫ُضحى‬

ฎุหา

‫ط‬

ฏออ์

‫طاغوت‬

ฏอฆูต

‫ظ‬

ซออ์

‫ظال‬

ซอลิม

‫ع‬

อัยนฺ

‫غ‬

ฆ็อยนฺ

อฺ ฆ

‫ف‬

ฟาอ์

‫ق‬

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “อ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “อฺ”

‫عقيقة‬

‫اعتكاف‬

อะกีเกาะฮฺ อิอฺติกาฟ

‫َغنيمة‬

เฆาะนีมะฮฺ

ِ‫ح‬ ‫فاتة‬

ฟาติหะฮฺ

กอฟ

‫قارون‬

กอรูน

‫ك‬

กาฟ

‫كتاب‬

กิตาบ

‫ل‬

ลาม

‫َليْىل‬

ลัยลา

‫م‬

มีม

‫مصعب‬

มุศอับ

‫ن‬

นูน

‫نَبيل‬

นะบีล


ตัวอย่าง

เทียบ

พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย ‫و‬

วาว

‫هـ‬

ฮาอ์

ฮ ฮฺ

‫ي‬

ยาอ์

หมายเหตุ

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “ฮ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “ฮฺ”

อาหรับ

ไทย

‫وليمة‬

วะลีมะฮฺ

‫َق ْه َوة‬

ฮารูน เกาะฮฺวะฮฺ

‫هارون‬ ‫ييى‬ َْ‫ح‬

ยะหฺยา

• สระ สระภาษา คำ�อ่าน อาหรับ

หมายเหตุ

-ะ (ฟัตหะฮฺ) เ - าะ ใช้กับพยัญชนะ

-ِ (กัสเราะฮฺ)

-

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

ตัวอย่าง อาหรับ

ไทย

‫ َح ِديث‬หะดีษ ‫ َر َم َضان‬เราะมะฎอน

-ิ

‫ِربا‬

ริบา

-ُ (ฎ็อมมะฮฺ)

-ุ

‫ُركوع‬

รุกูอฺ

_َ ‫ا‬

-า -อ -ี

‫ِميْزان‬

มาลิก ศอลิหฺ

-ِ ‫ي‬

‫َمالك‬ ‫صالح‬

-ُ ‫و‬

-ู

‫ُر ْوح‬

-َ ‫ْي‬

ใช้กับพยัญชนะ

-ั ย -็ อย ใช้กับพยัญชนะ

-

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

-

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

มีซาน รูหฺ

‫ ُس َليْامن‬สุลัยมาน ‫ َقيْنُقاع‬ก็อยนุกออฺ


หมายเหตุ การเทียบพยัญชนะและสระข้างต้นปรับเปลีย่ นจากหลักการเทียบพยัญชนะ และสระที่เรียบเรียงโดยห้องสมุดอิกเราะอ์ โดยอ้างอิงจากหนังสือคำ�เขียน เทียบศัพท์อิสลามศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มเติมส่วนที่ปรับเปลี่ยนจากหนังสืออ้างอิงดังกล่าว นอกเหนือจาก ตารางข้างต้น 1.ไม่ใช้ – หลัง อัล ทั้งกรณีลามเกาะมะรียะฮฺ และลามชัมสียะฮฺ เช่น อัลบะเกาะเราะฮฺ อัชชัมสฺ 2.ใช้ -ยฺ ในคำ�ทีล่ งท้ายด้วย ‫( ّي‬ยาอ์ทมี่ ชี ดั ดะฮฺ) เช่น อัลบุคอรียฺ ยกเว้น คำ�ว่า นะบี และอะลี 3.ไม่ใช้ รฺ ในค�ำที่สะกดด้วย ‫ ر‬เช่น อุมัร อัลเกาะมัร แต่จะใช้ รฺ ในค�ำที่มี ‫ ر‬เป็นตัวสะกดตัวที่สอง บัดรฺ (‫ )بدر‬อบูบักรฺ (‫)أبوبكر‬ • อื่นๆ - การอ้างอิงอายะฮฺอลั กุรอานจะระบุในรูป (ชือ่ สูเราะฮฺ ล�ำดับทีข่ องสูเราะฮฺ : ล�ำดับ

ที่ ข องอายะฮฺ ) เช่ น หากน�ำมาจากสู เ ราะฮฺ อั ล ฟาติ ห ะฮฺ อายะฮฺ ที่ ห นึ่ ง จะเขี ย นว่ า (อัลฟาติหะฮฺ 1 : 1) - อ่านว่า สุบหานะฮูวะตะอาลา แปลว่า มหาบริสทุ ธิแ์ ด่พระองค์และพระองค์ ทรงสูงส่งยิ่ง (ใช้หลังพระนามของอัลลอฮฺ) - อ่านว่า ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แปลว่า ขอการสรรเสริญและความ สันติจงประสบแด่ท่าน (ใช้หลังชื่อของท่านนะบีมุฮัมมัด) อ่านว่า เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แปลว่า ขออัลลอฮฺพึงพอพระทัยในตัวท่าน (ใช้หลังชื่อของเศาะหาบะฮฺ) อ่านว่า เราะหิมะฮุลลอฮฺ แปลว่า ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน (ใช้หลังชื่อของ สะลัฟ อุละมาอ์ คนศอลิหฺ หรือพี่น้องมุสลิมที่เคารพที่ได้เสียชีวิตลงไปแล้ว)


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ‫بسم اهلل الرمحن الرحيم‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผูท้ รงกรุณาปรานี ผูท้ รงเมตตาเสมอ หากนับตั้งแต่ช่วงเวลาที่เราเริ่มนึกฝันอย่างเป็นเรื่อง เป็นราวว่าอยากจะจัดพิมพ์หนังสือที่ชื่อ “อัลฟะวาอิด” ของผู้ รูค้ นส�ำคัญอย่างอิมามอิบนุลก็อยยิม จนกระทัง่ ถึงวันทีห่ นังสือ เล่มนี้อยู่ในมือท่านผู้อ่าน ก็เป็นเวลายาวนานกว่า 5 ปี ที่จริงแล้ว ตั้งแต่ปีแรกๆ ของช่วงเวลาดังกล่าว เราก็มี ต้นร่างของฉบับแปลเสร็จทัง้ เล่มอยูใ่ นมือ เป็นฉบับทีแ่ ปลจาก ภาษาอังกฤษ โดย ‘อุมมุอบิ าดุรเราะหฺมาน’ และเป็นฉบับทีเ่ รา เคยคัดสรรเนื้อหาบางส่วนไปตีพิมพ์ภายใต้ชื่อปก “ณ ที่ว่าง เปล่าและบริสุทธิ์” เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ทว่าในขั้นตอน การตรวจทาน ดูเหมือนว่าเราไม่อาจพอใจทีจ่ ะจัดพิมพ์หนังสือ เล่มส�ำคัญนี้ได้ด้วยฉบับแปลดังกล่าว นั่นเป็นเหตุผลที่เรา ตัดสินใจปล่อยงานแปลทั้งเล่มนั้นค้างไว้ เพื่อหาทางแปลตรง จากต้นฉบับภาษาอาหรับที่น่าจะถูกต้อง ครบถ้วน และคลาด เคลื่อนได้น้อยกว่าการแปลผ่านภาษาที่สองอีกทอดหนึ่ง


ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ ในช่วงเวลาต่อมาเรา ก็ได้ร่วมงานกับ อ.นาอีม วงศ์เสงี่ยม นักวิชาการรุ่นใหม่ที่จบ การศึกษาทางด้านการสอนภาษาอาหรับมาโดยตรงและผลิต งานแปลออกมาอย่างต่อเนื่องในระยะหลัง ทว่าเมื่อท่านเริ่ม ลงมือแปลแล้วพิจารณาขนาดของต้นฉบับภาษาอาหรับเทียบ กับฉบับแปลไทย ก็เล็งเห็นตรงกันว่า เพื่อไม่ให้ฉบับแปลหนา จนยากจะอ่าน ซึง่ ย่อมหมายถึงราคาทีส่ งู จนยากจะซือ้ ด้วยนัน้ สมควรจะแบ่งเนื้อหาฉบับแปลไทยออกเป็นสามเล่ม โดยจะ ทยอยแปลทีละเล่ม เพื่อไม่ให้ช่วงเวลาระหว่างความฝันกับ ความจริงของเราต้องยืดยาวออกไปอีก แม้ว่า ”อัลฟะวาอิด” เล่ม 1 จะเสร็จสมบูรณ์สู่มือท่าน ภายใต้ความปลาบปลื้มและภูมิใจของทีมงานส�ำนักพิมพ์ แต่ เราก็ต้องสารภาพอย่างตรงไปตรงมาว่างานชิ้นนี้ของเราเต็ม ไปด้วยอุปสรรคไม่นอ้ ยเลย โดยเฉพาะในแง่ของส�ำนวนภาษา และรายละเอียดทางการประพันธ์ที่เราต้องพยายามยืนอยู่ ระหว่างการรักษาเนื้อความของต้นฉบับที่มีอายุขัยหลายร้อย ปีเอาไว้ กับการพยายามสื่อสารให้คนอ่านในยุคนี้เข้าใจ เพือ่ หลีกเลีย่ งความยุง่ ยากในหลายรูปแบบ เราตัดสิน ใจตัดเนือ้ หาบางส่วนทีม่ บี ริบทผูกพันกับยุคสมัยของผูเ้ ขียนอัน ยากทีผ่ อู้ า่ นของทีน่ แี้ ละในวันนีจ้ ะเข้าใจออกไป อาทิเช่น อุปมา


โวหารบางอย่างที่ใช้กันเฉพาะคนอาหรับยุคก่อน หรือโคลง กลอนทีต่ อ้ งอาศัยภูมริ ทู้ างวัฒนธรรมเฉพาะถิน่ และเฉพาะกาล ในการถอดความ ในขณะที่เนื้อหาบางส่วนที่มีลักษณะเป็น นั ย ยะหรื อ มี โ ครงสร้ า งประโยคที่ ซั บ ซ้ อ น เราก็ เ ลื อ กที่ จ ะ ถ่ายทอดออกมาในลักษณะของการตีความหรือการเรียบเรียง ส�ำนวนภาษาใหม่ให้ง่ายต่อการท�ำความเข้าใจในภาษาไทย แทน พูดมาถึงตรงนี้ ท่านผูอ้ า่ นทีไ่ ม่ใช่คอวิชาการหรือแฟน คลับหนังสือเก่าขึ้นหิ้ง อาจเริ่มกลืนน�้ำลายและมองหาที่ว่าง ใกล้ตัวเพื่อจะวางหนังสือเล่มนี้ไว้สักพักก่อน ขอเตือนเลยว่า อย่าเพิ่งตัดสินใจท�ำอะไรก่อนจะเปิดอ่านเนื้อหาด้านในของ หนังสือเล่มนี้ เผือ่ ว่าท่านอาจพบบางสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อชีวติ และ หัวใจ อย่างที่ใครหลายคนเคยได้พบมาก่อนแล้ว ถูกเผงและใช่ที่สุดหากคิดว่านี่คือหนังสือศาสนาที่ บรรจุไว้ด้วยหลักการหนักแน่นอย่างที่บรรดาหนังสืออ่านเอา เพลินไม่มี แต่ที่มากไปกว่านั้น นี่ยังเป็นหนังสือพัฒนาตัวเอง หนังสือขัดเกลาจิตใจ ไปจนถึงหนังสือรวบรวมค�ำคมที่ลึกซึ้ง กว่าค�ำคมตามสเตตัสของใครต่อใคร เป็นค�ำคมที่ไม่บาดใจ แต่เยียวยารักษาหัวใจไม่ให้เป็นแผล


ขอขอบคุณทุกผู้มีส่วนร่วมในการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ ไม่วา่ จะเป็นผูเ้ ขียน ผูแ้ ปล ผูต้ รวจทาน ผูจ้ ดั อาร์ตเวิรค์ ผูพ้ สิ จู น์ อักษร หรือผู้ท�ำแม้เพียงงานเล็กน้อยใดในกระบวนการจัดท�ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่ของเราที่ช่วย เขียนค�ำนิยมให้หนังสือเล่มนี้ อันได้แก่ ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา, เชคริฎอ อะหมัด สมะดี และดร.อณัส อมาตยกุล และเหนือสิ่งอื่นใด ต้องขอขอบคุณพระเจ้าของเรา ผู้ทรง จัดวาง ผู้ทรงจัดการ และผู้ทรงจัดให้ แท้จริงการจัดวางของ พระองค์นั้นสุดยอด การจัดการของพระองค์นั้นแสนเยี่ยม และการจัดให้ของพระองค์นั้นไร้ค�ำบรรยาย ส� ำ นั ก พิ ม พ์ มิ ร อาตขอน� ำ เสนอหนั ง สื อ เล่ ม นี้ แ ด่ ทุกหัวใจ เป็นบันทึกจากชีวิตของบ่าวคนหนึ่งที่เราหวังว่าท่าน จะได้พบความดีงามในมัน และหวังจะได้พบมันในบันทึกด้าน ขวาของเราเอง

ส�ำนักพิมพ์มิรอาต มีนาคม 2558 | ญะมาดัลอูลา 1436


ค�ำนิยม ค�ำนิยม (1)

ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ‫احلمد هلل رب العاملني والصالة والسالم عىل أرشف األنبياء واملرسلني وعىل آله‬ ، ‫ وبعد‬،‫وصحبه ومن تبعهم إىل يوم الدين‬

อิสลามสอนมนุษย์ให้รู้จักใช้สติปัญญาเพื่อทบทวนตัวเอง และใคร่ครวญสัญญาณทัง้ หลายของอัลลอฮฺ ไม่วา่ จะเป็นอัลกุรอาน หรือ มัคลูกทัง้ หลายของพระองค์ โดยมีวตั ถุประสงค์ให้มนุษย์ได้รจู้ กั ตัวตนทีแ่ ท้ จริง รู้จักพระผู้อภิบาลที่แท้จริง รู้จักขอบคุณในความเมตตาของพระองค์ และรู้จักปฏิบัติหน้าที่ในฐานะบ่าวที่พึงปฏิบัติต่อพระองค์และต่อเพื่อน ร่วมโลก โดยมีอลั กุรอานและสุนนะฮฺของท่านนะบี เป็นธรรมนูญชีวติ ท�ำให้มนุษย์ด�ำรงอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมี เกียรติบนโลกนี้ และได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในวันอาคิเราะฮฺ การใคร่ครวญอัลกุรอานเป็นการเพิ่มพูนอีมาน ท�ำให้เกิดแสง สว่างแก่จิตใจ สร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในเมื่ออัลกุรอานคือวิถีชีวิตของ มนุษย์ ดังนั้นการใคร่ครวญอัลกุรอานจึงถือเป็นการใคร่ครวญชีวิตและ ตัวตนของมนุษย์เอง การใคร่ครวญการสร้างของอัลลอฮฺกเ็ ป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยเพิม่ พูนอีมาน อีกทางหนึ่ง ท�ำให้มีศรัทธาที่หนักแน่น ท�ำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในความ เที่ ย งแท้ ข องอั ล กุ ร อาน ท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ ต ระหนั ก ในความยิ่ ง ใหญ่ ข อง พระผู้สร้างและยอมรับในความอ่อนแอของตนและสิ่งถูกสร้างต่างๆ หนังสือ “อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม” เป็น สินทรัพย์ทางปัญญาอันล�ำ้ ค่าอีกชิน้ หนึง่ ทีอ่ ดุ มไปด้วยการคิด ใคร่ครวญ และทบทวนถึงวิถีชีวิตต้นแบบตามความมุ่งหมายของอัลกุรอาน รวมถึง


การใคร่ครวญชีวติ และสิง่ ถูกสร้างทัว่ ไปอันน�ำไปสูก่ ารค้นพบสัจธรรมทีแ่ ท้ จริง โดยบทใคร่ครวญดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่เร้าใจ และเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความหมายที่คมล�้ำ ได้รับทั้งบทเรียน คติเตือน ใจ และความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ สมดังชื่อหนังสือ “อั ล ฟะวาอิ ด ” ที่แปลว่า “ประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ อั น มากมาย” ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นขุมคลังทางความคิดและ ปัญญาของผู้อ่านอีกเล่มหนึ่ง และเป็นตัวจุดประกายส�ำหรับผู้ที่ประสงค์ จะใคร่ครวญอัลกุรอาน ใคร่ครวญชีวิต ตลอดจนข้อเท็จจริงของสรรพสิ่ง ทั้งมวล ต้องขอขอบคุณอาจารย์นาอีม วงศ์เสงี่ยม ที่ได้ทุ่มเทความ พยายามในการแปลหนังสือเล่มนีแ้ ละถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย และ ต้องขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มิรอาตที่ได้จัดพิมพ์และเผยแผ่หนังสืออันมี คุณค่าเล่มนีเ้ พือ่ ประโยชน์ตอ่ สาธารณชนและสังคม ญะซากุมลุ ลอฮุคอ็ ย รอน ขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺโปรดฮิดายะฮฺพวกเราสู่ทางน�ำที่เที่ยงตรง และความดีงามทุกประการ อิศลาฮฺวิถีชีวิตของพวกเราให้สอดคล้องกับ ทางน�ำแห่งอัลกุรอานและแนวทางการด�ำเนินชีวติ ของท่านเราะสูลลุ ลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงได้ยินและทรงตอบรับค�ำวิงวอนเสมอ َ ‫ ُسبْ َح‬،‫م َّم ٍد َو َعلىَ آلِ ِه َو َص ْحبِ ِه َو َس َّل َم‬ ‫ان َر ِّب َك َر ِّب ا ْل ِع َّز ِة َعماَّ َي ِص ُف ْو َن‬ َ ُ‫اهلل َعلىَ نَبِ ِّينَا ح‬ ُ َّ‫َو َصلى‬ ِ َ‫وسلاَم علىَ ا رس ِل والحْ م هلل رب ا ْلعالم‬ َ ْ‫َ َ ٌ َ لمُْ ْ َ ينْ َ َ َ ْ دُ َ ِّ َ ين‬

ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี


ค�ำนิยม (2)

เชคริฎอ อะหมัด สมะดี ‫بسم اهلل الرمحن الرحيم‬ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปราณีเสมอ การสรรเสริญทัง้ มวลเป็นกรรมสิทธิแ์ ห่งอัลลอฮฺผสู้ อนอัลกุรอาน แก่มนุษย์ ผู้สอนให้มนุษย์รู้จักภาษา การขอพรและความสันติสุขจงมีแด่ ผู้มอบประโยชน์แก่ประชาชาติอิสลามด้านความรู้และปรัชญาหลาก หลายแขนง จงมีแด่เครือญาติของท่าน เหล่าเศาะหาบะฮฺ และผู้ปฏิบัติ ตามทางน�ำอันชัดแจ้งของเขาเหล่านั้นตราบจนวันแห่งการสอบสวน ห้ อ งสมุ ด เมื อ งไทยถื อ เป็ น แหล่ ง สะสมความรู ้ แ ละศิ ล ปะ วิทยาการหลากหลาย เนือ่ งจากผูท้ รงคุณวุฒติ า่ งแข่งขันกันในการน�ำเอา ศาสตร์และองค์ความรูม้ ากมายจากทุกภาษามาถ่ายทอดเป็นภาษาไทย จึงมีทั้งข้อมูลที่ถูกแปลมาจากแหล่งความรู้ของภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน แม้แต่ภาษาญี่ปุ่น, จีน, และอินเดียเองสู่ภาษาไทย ทั้งหมดนี้ล้วน ถูกน�ำเสนอเป็นคลังความรูม้ ากมายบนชัน้ หนังสือของห้องสมุดเมืองไทย แต่เนื้อหาการแปลที่มาจากศาสตร์และความรู้ที่เป็นภาษา อาหรับแล้วถูกถ่ายทอดเป็นภาษาไทยยังถือว่ามีอยูจ่ ำ� นวนน้อยมาก โดย เฉพาะเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับมรดกทางวิชาการอิสลามซึง่ ล้วนถูกถ่ายทอด เป็นภาษาต่างๆ ของโลกมาแล้วเกือบทัง้ หมด แต่ยงั คงรอคอยโอกาสทีจ่ ะ ถูกแปลและถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย อัลลอฮฺได้ชว่ ยเหลือให้พนี่ อ้ งของเรา อาจารย์นาอีม วงศ์เสงีย่ ม และส�ำนักพิมพ์มริ อาตได้จดั พิมพ์หนังสืออันทรงคุณค่าทีถ่ อื เป็นต�ำราทาง มรดกวัฒนธรรมอิสลาม โดยนักประพันธ์ผู้เลื่องชื่อ โด่งดัง ท่านสามารถ


พบหนั ง สื อ ภาคแปลไทยของท่ า นนี้ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ย นั่ น คื อ หนั ง สื อ “อัลฟะวาอิด” ของอิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ นั่นเอง ไม่มผี บู้ นั ทึกประวัตขิ องอิบนุลก็อยยิมคนใดกล่าวถึงหนังสือเล่ม นี้ในสารบบของต�ำราอิบนุลก็อยยิม หนังสือเล่มนี้ยังไม่มีทั้งบทน�ำและ ค�ำน�ำเช่นหนังสือทัว่ ไปของอิบนุลก็อยยิม เหมือนเป็นหนังสือทีถ่ กู รวบรวม จากการบันทึกของอิบนุลก็อยยิม หรือจากลูกศิษย์ของท่านบางคน มีการ กล่าวถึงว่าอิบนุลก็อยยิมได้ระบุผเู้ ขียนหนังสือเล่มนีไ้ ว้ในหนังสือเล่มหนึง่ ของท่าน อัลลอฮฺย่อมรู้ถึงข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร แต่ไม่มีใครสงสัยว่า เนื้อหาที่อยู่ในหนังสือ “อัลฟะวาอิด” เล่มนี้เป็นค�ำพูดของอิบนุลก็อยยิม เพราะมีวิญญาณและความงดงามในการประพันธ์ของท่านอยู่ นอกจากนีอ้ บิ นุลก็อยยิมยังมีหนังสืออีกเล่มหนึง่ ซึง่ อยูใ่ นหมวด เดียวกับหนังสือ “อัลฟะวาอิด” นั่นคือ หนังสือ “บะดาอิอุลฟะวาอิด” (‫ )بدائع الفوائد‬แต่เนื้อหาส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับเกร็ดความรู้ทาง ไวยกรณ์อาหรับ แม้ว่าจะมีเกร็ดความรู้จากศาสตร์อื่นๆ อยู่อีกมากมาย ก็ตาม แตกต่างจากหนังสือ “อัลฟะวาอิด” เล่มนีท้ อี่ ดุ มไปด้วยเกร็ดความ รูม้ ากมายอันเกีย่ วกับการอบรมขัดเกลาจิตใจ และส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับผล แห่งความรู้ นัน่ คือ การปฏิบตั แิ ละการได้ใกล้ชดิ กับอัลลอฮฺ ตลอดจน ศิลปะในการท�ำอิบาดะฮฺต่างๆ อิบนุลก็อยยิมมีต�ำรับต�ำราอีกเป็นจ�ำนวนมากที่เหมาะควรแก่ การแปลการถ่ายทอดเพือ่ ให้นกั อ่านชาวไทยได้รบั ประโยชน์ เช่น หนังสือ “มะดาริญุสสาลิกีน – ‫( ”مدارج السالكني‬แม้ว่าฉบับย่อจะควรน�ำมา แปลกว่าก็ตาม), หนังสือ “อิอลฺ าม อัลมุวกั กิอนี – ‫ ”إعالم املوقعني‬และ หนังสือ “อะหกามุ อะฮฺลิซซิมมะฮฺ – ‫ ”أحكام أهل الذمة‬ต�ำราเหล่านี้ ถือว่าอยูใ่ นหมวดของสารานุกรม หากถูกน�ำมาแปลย่อมส่งผลอย่างมาก ต่อระบบการศึกษาไทย หนังสือลักษณะนีอ้ าจถูกถ่ายทอดอย่างค่อยเป็น


ค่อยไปมิใช่เพียงครัง้ เดียว หรือส�ำนักพิมพ์หนึง่ อาจเข้ามารับผิดชอบแล้ว คัดเลือกนักแปลผู้มีประสบการณ์หลายๆ ท่านร่วมกันทยอยแปลเหมือน ที่อาจารย์นาอีมทยอยแปลหนังสือ “อัลฟะวาอิด” ของเราเล่มนี้ออกมา ก็ได้เช่นกัน ต�ำราของอิบนุลก็อยยิมถือเป็นตัวอย่างแห่งแก่นความรู้ใน วัฒนธรรมอิสลามยุครุ่งเรืองของอารยธรรมอิสลาม ต�ำรับต�ำราของท่าน ถูกประพันธ์ออกมาอย่างยอดเยี่ยมในแง่ความเข้มข้นของเนื้อหาและ ความสวยงามของความหมาย บรรดานักวิชาการและผู้มีความรู้ล้วน เอาใจใส่ตอ่ หนังสือและต�ำราของอิบนุลก็อยยิม อีกทัง้ พวกเขายังได้หยิบ เอาเกร็ดความรู้ ทัศนะ มุมมอง และการตรวจสอบความถูกต้องของท่าน มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง อันบ่งบอกถึงความรู้อันสูงส่งและความ เข้าใจอันลึกซึ้งของท่าน ตลอดจนคุณค่าของหนังสือที่ท่านได้ประพันธ์ สมควรทีร่ ะบบการศึกษาไทยจะเชิดชูตำ� ราของอิบนุลก็อยยิม เพือ่ ให้ผคู้ น ได้ท�ำความรู้จักกับสารานุกรมแห่งความรู้ในรูปแบบใหม่นี้ ลักษณะส�ำคัญทีส่ ดุ ซึง่ ท�ำให้ตำ� ราของอิบนุลก็อยยิมมีความโดด เด่นคือ การที่หนังสือของท่านเพียงเล่มเดียวแต่สามารถให้ประโยชน์ได้ อย่างมากมายหลากหลาย ท�ำให้ผู้อ่านได้เดินทางท่องดินแดนแห่งความ รู้อันกว้างขวางไปพร้อมกับผู้ประพันธ์ระหว่างการศึกษาหัวข้อเดียวด้วย ส�ำนวนการน�ำเสนอที่สวยงามและด้วยค�ำพูดที่เฉียบคม ในภาพรวมแล้วถือว่าการได้แปลหนังสือของอิบนุลก็อยยิมเล่ม ใดก็ตามย่อมเป็นขุมคลังและทรัพยากรทางความรู้อันส�ำคัญของภาษา และวัฒนธรรมนั้นๆ


เล่มนี้

ขอแสดงความยินดีกับวงการหนังสือเมืองไทยที่ได้มีหนังสือ

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาผู้ใฝ่รู้ชาวไทยทั้งหลายส�ำหรับ อุทยานแห่งความรู้ใหม่เพื่อการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ ขอแสดงความยิ น ดี กั บ นั ก อ่ า นคนไทยทุ ก คนที่ ไ ด้ มี ห นั ง สื อ “อัลฟะวาอิด” อันจะท�ำให้เขาได้ลิ้มรสและมีความสุขกับวัฒนธรรม อิสลาม ขอขอบคุณผู้แปลในความทุ่มเทด้านการแปลและเรียบเรียงใน ครั้งนี้ ขอบคุณส�ำนักพิมพ์มิรอาตในความพยายามน�ำเสนอวัฒนธรรม อาหรับและอิสลามให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เช่นเดียวกันขอขอบคุณผู้ทรง คุณวุฒแิ ละนักอ่านผูก้ ระหายความรูท้ สี่ งั่ สมมันด้วยการอ่านหนังสือแปล จากทุกวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมอิสลามและอาหรับ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺองค์อภิบาลแห่ง สากลโลก เชคริฎอ อะหมัด สมะดี ผู้อ�ำนวยการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไวท์แชนเนล


ค�ำนิยม (3) ดร.อณัส อมาตยกุล

หนังสือ “อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม เล่ม 1” ที่อยู่ในมือของท่านนี้เป็นหนึ่งในหนังสือคลาสสิกของวรรณกรรมในโลก อิสลามที่เขียนโดย อิมามในแนวทางสะลัฟผู้มีชื่อเสียง โดยชื่อของท่านที่ คุ้นเคยแก่ประชาคมอิสลามที่สุดคือ “อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ” ค�ำว่า เญาซียะฮฺ นั้นได้มาจากการที่บิดาของท่านเป็นครูใหญ่แห่ง มัดเราะสะฮฺ (โรงเรียนหรือวิทยาลัยทางศาสนา) ทีม่ นี ามว่า อัลเญาซียะฮฺ ที่ตั้งอยู่ในกรุงดามัสกัส ดินแดนชาม หรือซีเรียในปัจจุบัน ท่านมีนามเต็มว่า ชัมสุดดีน อบูอับดิลลาฮฺ มุฮัมมัด อิบนุอบี บักรฺ อิบนุอัยยูบ อัซซารียฺ อัลฮัมบาลียฺ ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองอัซซาร ทางตอนใต้ของซีเรีย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 เดือนเศาะฟัร ปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 691 ตรง กับปีคริสตศักราชที่ 1292 หรือเป็นปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 13 และ 14 ท่านได้ศกึ ษาเล่าเรียนในปฐมวัยจากคณาจารย์หรืออุละมาอ์แห่งยุคสมัย เช่น อัชชิฮาบ อัลนาบิลีซียฺ หรือ จาก อบูบักร อิบนุอับดิดดาอิม เป็นต้น ท่านได้ศึกษาวิชาฟิกฮฺ หรือ นิติศาสตร์อิสลามจากฟุเกาะฮาอ์ (นักนิติศาสตร์อิสลาม) มากมายหลายท่าน หนึ่งในจ�ำนวนนั้นก็คือ ท่าน อิ ส มาอี ล อิ บ นุ มุ ฮั ม มั ด อั ล หั ร รอนี ยฺ ศึ ก ษาวิ ช าอั ล อุ ศู ล (หลั ก การ นิตศิ าสตร์) จากท่าน อัศศอฟียฺ อัลฮินดียฺ แต่ทสี่ ำ� คัญทีส่ ดุ และทรงอิทธิพล ต่อท่านมากที่สุดก็คือ ได้ใช้ชีวิตอยู่เป็นศิษย์และศึกษาเล่าเรียนอย่าง ยาวนานถึง 17 ปี กับ อัลอิมาม อัลมุญัจดิด (ผู้ฟื้นฟู) ตะกียุดดีน


อิบนุตัยมียะฮฺ ท่านได้เติมเต็มห้องสมุดของโลกอิสลามไว้ด้วยผลงานเขียน มากมายและหลากหลายสรรพวิชา เฉพาะหนังสือเล่มนีก้ เ็ ป็นงานรวบรวม ข้อเขียนของท่านที่แตกต่างจากงานเขียนทั่วไปตรงที่เป็นเพียงการน�ำ เสนอหลักฐานและค�ำอธิบายแบ่งไว้เป็นบทเป็นประเภท หากแต่ได้ผกู รวม สิง่ ทีเ่ ป็นปัญญา เป็นหิกมะฮฺทที่ า่ นได้รบั จากอัลลอฮฺไว้พร้อมในแต่ละบท แต่ละเนือ้ หา ซึง่ ในแต่ละโอกาสในแต่ละครัง้ ทีท่ า่ นได้รบั ความโปรดปราน ให้มองเห็นข้อคิดใด ปัญญาใด ท่านจะรีบบันทึกไว้ดว้ ยปากาและหมึกใน หน้ากระดาษที่ต่อมาผูกรวมไว้เป็นหนังสืออันทรงคุณค่านี้ หนังสือนีจ้ งึ กลายเป็นหนึง่ ในประภาคารแห่งแสงสว่างและทาง น�ำ ท่านได้พรรณนาให้เราเห็นบทบาทและหน้าที่ของหัวใจ และท�ำให้เรา สามารถใช้ให้หวั ใจโน้มเอียงไปสูก่ ารเรียนรู้ การปฏิบตั แิ ละการนอบน้อม ส�ำรวมตน ท่านยังได้พยายามอธิบายให้เราได้เห็นโรคต่างๆ ของหัวใจ เพือ่ ที่เราจะได้หลีกเลี่ยงและไม่กล�้ำกลายไปสู่เหตุและปัจจัยแห่งการเกิดโรค ดังกล่าว และท�ำให้เราสามารถเข้าถึงอุทยาน ปัญญาและแสงสว่างได้.... อินชาอัลลอฮฺ อิ บ นุ ก็ อ ยยิ ม อั ล เญาซี ย ะฮฺ สิ้ น ชี วิ ต หลั ง อิ ช าอ์ ในค�่ ำ คื น วั น พฤหัสบดีที่ 13 เดือนเราะญับ ปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 751 ตรงกับปีคริสต ศักราชที่ 1350 ร่างของท่านฝังอยู่ที่เชิงเขากอซียูน ในกรุงดามัสกัส โดย ทิ้งไว้เบื้องหลังซึ่งผลงานเขียนมากมายในวรรณกรรมเพื่อความศรัทธา และการฟื้นฟู หนึ่งในบรรดาผลงานเขียนของท่าน คือหนังสือ “อัลฟะวาอิด : บันทึกความคิดอิบนุลก็อยยิม” นี้ ซึ่งได้รับการคัดสรรเพื่อน�ำมาแปล เป็นภาษาไทยทีส่ ละสลวยและงดงามโดยอาจารย์นาอีม วงศ์เสงีย่ ม และ


จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์มิรอาต นับเป็นอีกหนึ่งความปลาบปลื้มที่ได้เห็น อาจารย์นาอีม วงศ์เสงี่ยม คัดสรรหนังสือนี้มาแปลเพื่อน�ำเสนอแก่ผู้อ่าน ชาวไทย ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการและอีกหนึ่งตัวชี้วัดมาตรฐานการ เข้าถึงวรรณกรรมอิสลามทีไ่ ต่สงู ขึน้ จนกล่าวได้วา่ สังคมมุสลิมได้มหี นังสือ ในระดับคลาสสิกไว้อ่านเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเล่ม ขออัลลอฮฺทรงโปรดรับผลแห่งความวิริยะและการทุ่มเทของ ท่านอิมาม อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺที่มีอันเนื่องจากหนังสือนี้ และแก่ อาจารย์นาอีม วงศ์เสงี่ยมในการทุ่มเทแปลและถ่ายทอดองค์ความรู้ หิ ก มะฮฺ แ ละปั ญ ญาจากงานเขี ย นอั น ยิ่ ง ใหญ่ นี้ สู ่ สั ง คมมุ ส ลิ ม ใน ประเทศไทย และให้สารัตถะแห่งองค์ความรู้อันยังประโยชน์ในหนังสือนี้ ได้ก่อเกิดศรัทธา ตักวา ความอิคลาศ มุญาฮะดะฮฺ และญิฮาดเพื่อเป็น คุณูปการแก่มนุษยชาติผู้เป็นลูกหลานและวงศ์วานแห่งอาดัมโดยถ้วน หน้า...อามีน ดร.อณัส อมาตยกุล (อาจารย์ประจ�ำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) บ้านดิน โรงเรียนร็อบบานียฺ เขายายเที่ยง จ.นครราชสีมา



สารบัญ 4 8 12

กฎทอง บทเรียน เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ บทเรียน เกร็ดความรู้ บทเรียน บทเรียน บทเรียน บทเรียน

22 27 33 65 73 79 87 95 113 119 125 131 137 145 149 153 159 165 171

เกณฑ์การทับศัพท์อาหรับ-ไทยที่ใช้ในเล่ม ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำนิยม สารบัญ เงื่อนไขที่จะท�ำให้ได้รับประโยชน์จากอัลกุรอาน ความครอบคลุมของสูเราะฮฺกอฟในประเด็นพื้นฐานความ ศรัทธา จุดเด่นของชาวบัดรฺ คุณค่าของแผ่นดิน เนื้อหาที่ครอบคลุมของสูเราะฮฺฟาติหะฮฺ 2 วิธีในการรู้จักอัลลอฮฺ หะดีษที่ครอบคลุมเรื่องแก่นแท้แห่งการเคารพภักดี ความคล้ายคลึงระหว่างบัลลังก์ของอัลลอฮฺกบั หัวใจของบ่าว ผลลัพธ์จากการใคร่ครวญสัญญาณต่างๆ ของอัลลอฮฺ สิ่งที่ขัดแย้งกันจะไม่อยู่ร่วมกัน บทเรียนจากสูเราะฮฺอัตตะกาษุร ข้อควรระวัง การรู้จักอัลลอฮฺและการรู้จักตัวเอง ความหึงหวงมี 2 ประเภท ข้อคิด ข้อควรรู้ และข้อตักเตือน ข้อคิดจากเรื่องราวของอาดัม การเดินทางของสัลมาน อัลฟาริสียฺ เพื่อแสวงหาสัจธรรม แด่ผู้มีบาดแผล


เกร็ดความรู้ บทเรียน บทเรียน บทเรียน เกร็ดความรู้ บทเรียน กฎทอง บทเรียน เกร็ดความรู้ บทเรียน บทเรียน เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ กฎทอง บทเรียน บทเรียน บทเรียน เกร็ดความรู้ บทเรียน เกร็ดความรู้ เกร็ดความรู้ บทเรียน

บทเรียนและหิกมะฮฺ 183 แก่นแท้ของดุนยา 187 น่าประหลาดใจยิ่งนัก 191 สาเหตุแห่งการฝ่าฝืน 195 ข้อคิดและเกร็ดความรู้ 205 แก่นแท้ของความกลัวและความหวัง ี ระโยชน์ตอ่ ทัง้ ผูเ้ ป็น 209 การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺมป ศัตรูของพระองค์และผู้เป็นมิตร 213 ความรักอย่างลึกล�้ำมาจากการรู้จักอย่างลึกซึ้ง ้ น�ำมาซึง่ ความปลอดภัย 217 การควบคุมหัวใจและลิน 221 ความย�ำเกรงคือต้นทุนของผู้เป็นบ่าว 225 มารยาทดีต่อผู้คนและย�ำเกรงต่ออัลลอฮฺ 227 หนทางสู่อัลลอฮฺ 231 อิ ท ธิ พ ลของค� ำ ว่ า “ไม่ มี พ ระเจ้ า อื่ น ใดนอก จากอัลลอฮฺ” ขณะเสียชีวิต 235 กิจการของบ่าวอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์ 239 ตราบใดชีวิตยังมี ปัจจัยยังชีพก็ต้องมา 243 รวมข้อคิดและค�ำตักเตือน 247 เรื่องของลิ้น 251 ย�ำเกรงอัลลอฮฺและแสวงหาปัจจัยยังชีพ 255 ความผิดและหนี้สิน 257 ทางน�ำและการต่อสู้ 261 การเป็นศัตรูรูปแบบต่างๆ 267 ประเภทของผู้รู้และผู้ศึกษาหาความรู้ 177


บทเรียน บทเรียน บทเรียน บทเรียน บทเรียน

271 277 283 293 303

ตอนส�ำคัญจากชีวประวัติท่านเราะสูล ความหวังลวง หิกมะฮฺในการให้อาดัมเป็นสิ่งถูกสร้างสุดท้าย ข้อคิดจากเรื่องราวของอาดัม การปรากฏของพระผู้เป็นเจ้า




กฎทอง

เงื่อนไขที่จะท�ำให้ได้รับประโยชน์ จากอัลกุรอาน

หากท่ า นต้ อ งการได้ รั บ ประโยชน์ จ ากอั ล กุ ร อาน ท่านต้องรวบรวมสมาธิขณะอ่านและสดับฟังอัลกุรอาน จดจ่อ สนใจอย่างผู้ที่ก�ำลังพูดและสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าของตน อัลกุรอานคือบทสนทนาจากอัลลอฮฺที่มีมาถึงตัวท่านโดยตรง ผ่านค�ำพูดเราะสูลของพระองค์

อัลลอฮฺ

กล่าวว่า

َ ‫إِ َّن يِف َذلِ َك َل ِذك َْرى لمِ َن ك‬ ٌ‫الس ْم َع َو ُه َو َش ِهيد‬ ٌ ‫َان َل ُه َق ْل‬ َّ ‫ب َأ ْو َأ ْل َقى‬

ความว่า “แท้จริงในการ(ท�ำลายประชาชาติกอ่ นๆ) นั้น แน่นอนย่อมเป็นข้อตักเตือนแก่ผู้มีหัวใจหรือรับฟัง โดยที่เขามีความตั้งใจจริง” [กอฟ 50 : 37] ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ก็เพราะเราจะได้รบั ประสิทธิผลจากสิง่ ใด อย่างเต็มรูปแบบ ก็ตอ่ เมือ่ มีแรงจูงใจ มีจดุ ทีพ่ ร้อมรับ , มีเครือ่ ง มือครบครัน , และปราศจากปัจจัยทีจ่ ะมาขัดขวางการบรรลุสู่ 27


ประสิทธิผลนั้น อายะฮฺข้างต้นได้ตอบโจทย์ทุกประการนี้ด้วย ถ้อยค�ำที่กระชับ ชัดเจน และตรงเป้าหมายที่สุด ที่ว่า “แท้จริงในการนั้น ค�ำกล่าวของอัลลอฮฺ แน่นอนย่อมเป็นข้อตักเตือน” ซึง่ หมายรวมถึงเนือ้ หาตัง้ แต่ ต้นสูเราะฮฺกอฟจนกระทัง่ ถึงต�ำแหน่งนี้ นีค่ อื ตัวสร้างแรงจูงใจ ค� ำ กล่ า วของพระองค์ ที่ ว ่ า “แก่ ผู ้ มี หั ว ใจ” นี่ คื อ ต�ำแหน่งทีพ่ ร้อมรับข้อมูลต่างๆ หัวใจในอายะฮฺหมายถึงหัวใจ ที่มีชีวิตชีวาซึ่งร�ำลึกถึงอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์กล่าวว่า ٌ ‫الش ْع َر َو َما َين َب ِغي َل ُه إِ ْن ُه َو إِ اَّل ِذك ٌْر َو ُق ْر‬ ﴾٦٩﴿‫ني‬ ِّ ‫َو َما َع َّل ْمنَا ُه‬ ٌ ِ‫آن ُّمب‬ ِ ‫لِي‬ َ ‫نذ َر َمن ك‬ ‫َان َح ًّيا‬ ُ

ความว่า “เรามิได้สอนกวีนิพนธ์แก่เขา (มุฮัมมัด) และไม่เหมาะสมแก่เขาที่จะเป็นกวี คัมภีร์นี้มิใช่อื่นใด เลยนอกจากเป็นข้อตักเตือน และเป็นคัมภีร์อันชัดแจ้ง เพื่อตักเตือนผู้ที่มีชีวิต” [ยาสีน 36 : 69–70] กล่าวคือผู้ที่ หัวใจของเขามีชีวิตชีวานั่นเอง ค�ำกล่าวของอัลลอฮฺทวี่ า่ “หรือรับฟัง” หมายถึง ตัง้ ใจ ฟัง เงี่ยหูฟังสิ่งที่ถูกกล่าวถึง ซึ่งประเด็นนี้เป็นเครื่องมือที่จะ ท�ำให้ได้รับประโยชน์จากค�ำพูด

28


ส่วนค�ำกล่าวของพระองค์ที่ว่า “โดยที่เขามีความ ตั้งใจจริง” คือมีจิตใจจดจ่อ ไม่ขาดสมาธิ อิบนุกุตัยบะฮฺได้กล่าวว่า : จงฟังคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ด้วยจิตใจจดจ่อและมีความตั้งใจ ไม่เหม่อลอย นี่ยังชี้ให้เห็น ด้วยว่าสิ่งที่จะห้ามมิให้ได้รับประโยชน์จากอัลกุรอานก็คือ “การมีหัวใจที่หลงลืม” หัวใจที่ปราศจากการใคร่ครวญหรือ พิจารณาและไตร่ตรองในสิ่งที่ถูกกล่าวถึง

ดังนั้น เมื่อมีสิ่งที่สร้างแรงจูงใจนั่นคือ “อัลกุรอาน” มีจุดรับนั่นคือ “หัวใจที่มีชีวิตชีวา” มีเครื่องมือที่จะช่วยในการตอบรับนั่นคือ

“การเงี่ยหูฟัง” และปราศจากสิ่งที่จะมาขัดขวางนั่นคือ “การเพิก

เฉยต่อเนื้อหาและไปนึกถึงสิ่งอื่น”

เมื่อเงื่อนไขเหล่านี้ครบครัน ผลลัพธ์ก็คือ การได้รับ

ประโยชน์อย่างเต็มที่

อิบนุกอ็ ยยิมกล่าวว่า : เราเคยกล่าวถึงหิกมะฮฺและบท เรี ย นของอายะฮฺ นี้ ห ลายประการไว้ ใ นหนั ง สื อ ชื่ อ “อิ จ ญ์ ติ ม าอุ ล ญุ ยู ช อั ล อิ ส ลามี ย ะฮฺ อะลา ฆ็ อ ซวิ ล มุ อั ฏ ฏิ ล ะฮฺ วัลญะฮฺมยี ะฮฺ” ผูท้ หี่ วั ใจมีชวี ติ ชีวาจะจดจ่อจิตใจของตนอยูก่ บั 29


ความหมายของอัลกุรอานแล้วเขาจะพบว่าความหมายนั้นได้ ถูกจารึกลงในหัวใจของตน ดังนั้น เขาจึงอ่านอัลกุรอานชนิด ขึ้นใจ ขณะที่บางคนอ่านโดยไม่มีความพร้อม ไม่มีจิตใจ จดจ่อ ไม่มชี วี ติ ชีวาอย่างเต็มที่ เขาจึงยังคงต้องการสิง่ ทีจ่ ะมา จ�ำแนกระหว่างสัจธรรมและความเท็จ โดยที่สภาพจิตใจและ พื้นฐานทางสติปัญญาของเขายังไม่อาจท�ำให้เขาบรรลุถึง ระดับของคนที่มีจิตใจจดจ่อซึ่งรับรู้ว่าอัลกุรอานคือสัจธรรม โดยกลุ่มคนดังกล่าวนี้แบ่งออกเป็นสองประเภท

ประเภทแรก คือ

บุคคลที่ประจักษ์สัจธรรมด้วยสองตาของเขา ประเภทที่สอง คือ

บุคคลที่มั่นใจต่อสัจจะของผู้แจ้งข่าว โดยเขากล่าว ว่า เพียงพอแล้วที่เราจะเชื่อมั่นเพราะมาจากแหล่ง ข่าวนี้

คนในประเภทหลั ง นี้ นั บ ได้ ว ่ า อยู ่ ใ นระดั บ ของผู ้ มี ศรั ท ธา ส่ ว นประเภทแรกอยู ่ ใ นระดั บ ของอิ หฺ ส าน (สูงกว่าศรัทธา)1 เพราะเขาได้บรรลุสรู่ ะดับความรูอ้ ย่างแท้จริง 1 ในหะดีษท่านนะบี ให้ความหมายของ “อิหฺสาน” ว่า คือ การที่ท่านภักดีต่อ อัลลอฮฺประหนึ่งเห็นพระองค์ แม้ท่านจะไม่เห็นพระองค์แต่พระองค์นั้นเห็นท่าน

30


(อิลมุลยะกีน) ขณะที่หัวใจของเขาก็บรรลุถึงระดับการเห็น อย่างแท้จริง (อัยนุลยะกีน) โดยเขามีความเชื่อมั่นอย่างมั่งคง ชัดเจนชนิดที่น�ำเขาออกจากการปฏิเสธศรัทธาไปสู่อิสลาม การเห็นอย่างแท้จริง (อัยนุลยะกีน) มี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่เกิดขึ้นในโลกนี้ และชนิดที่เกิดขึ้นในโลกหน้า การเห็นอย่างแท้จริงทีเ่ กิดขึน้ ในโลกนีค้ อื การสามารถ ใช้หัวใจมองสิ่งเร้นลับที่บรรดาเราะสูลน�ำมาบอกได้ประหนึ่ง เห็นมันด้วยตา ส่วนการเห็นในโลกหน้าก็คือการได้พบเห็นสิ่ง เหล่านั้นด้วยสายตาจริง หลังจากที่เคยเห็นด้วยความศรัทธา ในโลกนี้ ดังนั้น คนที่อยู่ในขั้นดังกล่าวข้างต้นจึงได้เห็นอย่าง แท้จริงในทั้ง 2 ระดับ

(ผู้แปล)

31



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.