อิบนุตัยมียะฮฺที่ข้าพเจ้ารู้จัก

Page 1


อิบนุตัยมียะฮฺ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก

อุมัร บินอะลี อัลบัซซาร | เขียน มัรยัม อ. | แปล


ชื่อหนังสือ: อิบนุตัยมียะฮฺที่ข้าพเจ้ารู้จัก เขียน : อุมัร บินอะลี อัลบัซซาร แปล : มัรยัม อ. บรรณาธิการ : มุฏมะอินนะฮฺ ตรวจทานวิชาการ : นาอีม วงศ์เสงี่ยม พิสูจน์อักษร : อิบติซาม ศิลปกรรม : ซัลสะบีล ปก : คอนซา พิมพ์ครั้งที่ 1 : มกราคม 2557 ราคา 90 บาท จัดพิมพ์โดย : สำ�นักพิมพ์มิรอาต 61 ซ.เทอดไท 11 ถ.เทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 http://miratbooks.wordpress.com | www.facebook/miratbook mirat.books@gmail.com พิมพ์ที่ : นัตวิดาการพิมพ์ 457/202-203 ตรอกวัดจันทร์ใน (เจริญกรุง 107) ถ.เจริญกรุง บางคอแหลม กรุงเทพฯ 10210 โทร 02-2916530 จัดจำ�หน่ายโดย : อาลีพาณิชย์ 1579 ถ.เพชรเกษม ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90114 โทร 07-4266277, 089-8767511 แฟกซ์ 07-4258487 เว็บไซต์ www.aleepanich.com -ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ โดยไม่มีเจตนาแสวงหาผลกำ�ไรหากพบหนังสือชำ�รุด หรือมีข้อผิดพลาดด้านการพิมพ์ โปรดส่งกลับมาเปลี่ยนเล่มใหม่ตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์มิรอาตด้านบน โดยสำ�นักพิมพ์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด


“แน่ น อน ในทุกๆ ศตวรรษ

อัลลอฮฺจะทรงส่ง ผู้ที่จะมาฟื้นฟูศาสนา ของอุมมะฮฺนี้” เศาะฮีหฺ อัลญามิอฺ (1874) และ อัสสิลสิละฮฺอัศเศาะฮีหะฮฺ


เกณฑ์การสะกดคำ�ทับศัพท์ภาษาอาหรับที่ใช้ในเล่ม

• พยัญชนะ เทียบ พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย

หมายเหตุ

อาหรับ

ไทย

‫القرآن‬

อัลกุรอาน

‫ا‬

อะลิฟ

‫ء‬

ฮัมซะฮฺ

อ อ์

‫ب‬

บาอ์

‫َباب‬

บาบ

‫ت‬

ตาอ์

‫َت َي ُّمم‬

ตะยัมมุม

‫ث‬

ษาอ์

‫ثمود‬

ษะมูด

‫ج‬

ญีม

ญ จญ์

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “ญ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “จญ์”

มีคำ�ยกเว้น ๒ กรณี ที่ใช้เป็น ฮ คือ ِ -หาอ์-กัสเราะฮฺ–ยาอ์ (‫)حي‬ َ -หาอ์-ฟัตหะฮฺ-มีม (‫)ح ْم‬

‫ح‬

4

ตัวอย่าง

หาอ์

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ "อ" กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “อ์”

‫ إبراهيم‬อิบรอฮีม ‫َس َبأ‬ สะบะอ์

‫ِج رْ ِبيل‬ ‫حج‬

ญิบรีล หัจญ์

‫حُم ََّمد‬

มุฮัมมัด

‫ رمحة‬เราะหฺมะฮฺ ‫ َص ِحيْح‬เศาะฮีหฺ

‫خ‬

คออ์

‫خالد‬

คอลิด

‫د‬

ดาล

‫ُدنْيا‬

ดุนยา

‫ذ‬

ซาล

ِ ‫ذو‬ ‫الق ْعدة‬

ซุลกิอฺดะฮฺ

‫ر‬

รออ์

‫َر َمضان‬

เราะ มะฎอน


5 เทียบ พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย

ตัวอย่าง หมายเหตุ

อาหรับ

ไทย

‫ز‬

ซาย

‫زَ ْيتون‬

ซัยตูน

‫س‬

สีน

‫ُس ْورة‬

สูเราะฮฺ

‫ش‬

ชีน

‫َش ْعبان‬

ชะอฺบาน

‫ص‬

ศอด

‫َصدَ قة‬

เศาะดะเกาะฮฺ

‫ض‬

ฎอด

‫ُضحى‬

ฎุหา

‫ط‬

ฏออ์

‫طاغوت‬

ฏอฆูต

‫ظ‬

ซออ์

‫ظال‬

ซอลิม

‫ع‬

อัยนฺ

อ อฺ

‫غ‬

ฆ็อยนฺ

‫ف‬

‫عقيقة‬ ‫اعتكاف‬

อะกีเกาะฮฺ อิอฺติกาฟ

‫غَنيمة‬

เฆาะนีมะฮฺ

ฟาอ์

ِ‫ح‬ ‫فاتة‬

ฟาติหะฮฺ

‫ق‬

กอฟ

‫قارون‬

กอรูน

‫ك‬

กาฟ

‫كتاب‬

กิตาบ

‫ل‬

ลาม

‫َليْىل‬

ลัยลา

‫م‬

มีม

‫مصعب‬

มุศอับ

‫ن‬

นูน

‫نَبيل‬

นะบีล

‫و‬

วาว

‫وليمة‬

วะลีมะฮฺ

‫هـ‬

ฮาอ์

ฮ ฮฺ

ฮารูน เกาะฮฺวะฮฺ

‫ي‬

‫هارون‬ ‫َق ْه َوة‬

ยาอ์

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “อ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “อฺ”

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “ฮ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “ฮฺ”

‫ييى‬ َْ‫ح‬

ยะหฺยา


• สระ สระภาษา อาหรับ

ตัวอย่าง คำ�อ่าน

หมายเหตุ

-ะ เ - าะ

ใช้กับพยัญชนะ

อาหรับ

ไทย

‫َح ِديث‬

หะดีษ

-ิ

‫ِربا‬

ริบา

-ุ

‫ُركوع‬

รุกูอฺ

_َ ‫ا‬

-า -อ

‫َمالك‬

มาลิก

-َ (ฟัตหะฮฺ)

(กัสเราะฮฺ)

(ฎ็อมมะฮฺ)

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

ใช้กับพยัญชนะ

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

‫ َر َم َضان‬เราะมะฎอน

‫صالح‬

ศอลิหฺ

-ِ ‫ي‬

-ี

‫ِميْزان‬

มีซาน

-ُ ‫و‬

-ู

‫ُر ْوح‬

รูหฺ

-َ ‫ْي‬

-ั ย -็ อย

ใช้กับพยัญชนะ

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

‫ ُسلَ ْيمان‬สุลัยมาน ‫ َق ْي ُنقاع‬ก็อยนุกออฺ

หมายเหตุ การเทียบพยัญชนะและสระข้างต้นปรับเปลี่ยนจากหลักการ เทียบพยัญชนะและสระที่เรียบเรียงโดยห้องสมุดอิกเราะอ์ โดยอ้างอิงจาก หนังสือคำ�เขียนเทียบศัพท์อิสลามศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ

6


7 เพิ่มเติมส่วนที่ปรับเปลี่ยนจากหนังสืออ้างอิงดัง กล่าว นอกเหนือจากตารางข้างต้น 1.ไม่ใช้ – หลัง อัล ทั้งกรณีลามเกาะมะรียะฮฺ และลาม ชัมสียะฮฺ เช่น อัลบะเกาะเราะฮฺ อัชชัมสฺ 2-ใช้ -ยฺ ในค�ำที่ลงท้ายด้วย ‫( ّي‬ยาอ์ที่มีชัดดะฮฺ) เช่น อัลบุคอรียฺ ยกเว้นค�ำว่า นะบี 3.ไม่ใช้ รฺ ในคำ�ที่สะกดด้วย ‫ ر‬เช่น อุมัร อัลเกาะมัร แต่จะใช้ รฺ ในคำ�ที่มี ‫ ر‬เป็นตัวสะกดตัวที่สอง บัดรฺ (‫ )بدر‬อบูบักรฺ (‫)أبوبكر‬

• อื่นๆ - การอ้างอิงอายะฮฺอัลกุรอานจะระบุในรูป (ชื่อสู เราะฮฺ ลำ�ดับที่ของสูเราะฮฺ : ลำ�ดับที่ของอายะฮฺ) เช่น หากนำ�มา จากสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ อายะฮฺที่หนึ่ง จะเขียนว่า (อัลฟาติหะฮฺ 1 : 1) - อ่านว่า ซุบหานะฮูวะตะอาลา แปลว่า มหา บริสุทธิ์แด่พระองค์และพระองค์ทรงสูงส่งยิ่ง (ใช้หลังพระนาม ของอัลลอฮฺ) - อ่านว่า ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แปลว่า ขอการสรรเสริญและความสันติจงประสบแด่ทา่ น (ใช้หลังชือ่ ของ ท่านนะบีมุฮัมมัด) - อ่านว่า เราะฎิยลั ลอฮุอนั ฮุ แปลว่า ขออัลลอฮฺ พึงพอพระทัยในตัวท่าน (ใช้หลังชื่อของเศาะหาบะฮฺ) อ่านว่า เราะหิมะฮุลลอฮฺ แปลว่า ขออัลลอฮฺ เมตตาท่าน (ใช้หลังชือ่ ของสะลัฟ อุละมาอ์ คนศอลิหฺ หรือพีน่ อ้ ง มุสลิมที่เคารพที่ได้เสียชีวิตลงไปแล้ว)


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ |‫امل ُ َقدِّ َم ُة‬ ‫الر ِح ْي ِم‬ ْ‫ب‬ َّ ‫الر ْح َم ِن‬ َّ ‫ِس ِم الله‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเปี่ยมกรุณายิ่ง ผู้ทรงปรานีเสมอ

มนุษย์เราเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ของตั ว เองและผ่ า นประสบการณ์ ข องผู ้ อื่ น ในประการหลังนีเ่ องทีท่ �ำให้การรับรู-้ รับฟังเรือ่ ง ราวของใครบางคนก่อให้เกิดคุณประโยชน์เหลือ คาด ยิ่งหากใครบางคนที่ว่านั้นมีความแสนดี อย่างเป็นพิเศษ การรับฟังเรื่องราวของเขายัง ท�ำให้เรารู้สึกทึ่งในตัวเขาเพิ่มขึ้นอีกกระทง และนี่น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่ท�ำให้ในหน้า ประวัติศาสตร์มีใครหลายคนไม่เคยตาย หนังสือเล่มนีน้ �ำเสนอเรือ่ งราวของผูช้ าย คนหนึ่งที่ไม่เคยตาย เขายังมีชีวิตชีวาเสมอในวง ศึ ก ษาอิ ส ลามตามมั ส ญิ ด ทั้ ง เล็ ก ใหญ่ ใน มหาวิทยาลัยชั้นน�ำของโลกอาหรับ และในหัวใจ ของใครหลายคนที่ดุ่มเดินไปบนเส้นทางน่ารัก หลายสาย โดยเฉพาะสายที่ เ รี ย กกั น ว่ า การ แสวงหาความรู้ 8


9

เรือ่ งราวของเขาทีถ่ กู น�ำเสนอในหนังสือ เล่มนี้ไม่ใช่อัตชีวประวัติที่เรียงล�ำดับอย่างมีขั้น ตอนนับแต่เกิดจนตาย และไม่ใช่หนังสือประวัติ ส่วนตัวที่คนดังนั่งจับปากกาเล่าถึงตัวเองอย่าง ถ่อมตนบ้าง ถล่มตนบ้าง แต่มนั คือหนังสือทีบ่ อก เล่าเรื่องราวบ่าวคนหนึ่งของอัลลอฮฺในเชิงวิถี ชี วิ ต คุ ณ ลั ก ษณะ และวั ต รปฏิ บั ติ บ างอย่ า ง จากสายตาของลูกศิษย์ที่มีโอกาสได้ใช้เวลาบาง ช่วงบางตอนของชีวิตเคียงข้างอาจารย์ที่รักและ อยากเล่าขานให้ใครๆ ได้รักด้วย หากเราๆ ทีก่ �ำลังไขว่คว้าหาแรงบันดาล ใจจากเรื่องราวของใครต่อใครได้ลองพินิจหน้า ประวัติศาสตร์อิสลามอย่างเพ่งพิศ เราย่อมจะ พบว่าบนเส้นทางอันเที่ยงตรงนี้ มีใครหลายคน เหลือเกินที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ชีวิตได้ อย่างชนิดที่เหล่านักค้นนักคิดของโลกปัจจุบัน ต้องชิดซ้าย และบางที คุ ณ อาจพบว่ า หนึ่ ง ในแรง บันดาลใจที่ว่านั้นก็คือผู้ชายคนนี้เอง ...ผู้ชายที่ชื่อ อิบนุตัยมียะฮฺ ส�ำนักพิมพ์มิรอาต เราะบิอุลเอาวัล 1435 | มกราคม 2557


ค�ำน�ำผู้แปล| ‫امل ُ َقدِّ َم ُة‬

แด่ทุกผู้ที่ร่วม (อยาก) รู้จักบุรุษท่านนี้ สมั ย ก่ อ นตอนที่ เ ริ่ ม สนใจใฝ่ รู ้ เ รื่ อ ง ศาสนาเคยได้ ยิ น ชื่ อ บุ ค คลท่ า นนี้ บ ่ อ ยมาก อิบนุตัยมียะฮฺ, อิบนุตัยมียะฮฺ, อิบนุตัยมียะฮฺ – นึกในใจ “ไม่ธรรมดา” ไม่นานก่อนหน้านี้ ได้มีส่วนรู้เห็นในการ จัดท�ำหนังสือเรื่อง สารจากเรือนจ�ำแห่งความ หวัง (ส�ำนักพิมพ์มริ อาต) ซึง่ เป็นงานรวมจดหมาย ของอิบนุตัยมียะฮฺ ท�ำให้ต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่ม เติมจนรู้จักท่านมากขึ้น – นึกในใจ “ยิ่งกว่าไม่ ธรรมดา” ส�ำหรั บ ผู ้ แ ปลแล้ ว หนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ หนังสือที่แสดงความ “ยิ่งกว่าไม่ธรรมดา” ที่สุด ในบรรดาแหล่งข้อมูลอื่นๆ (อันน้อยนิด เท่าที่ กู เ กิ้ ล ภาคอั ง กฤษจะเอื้อ อ�ำนวย) ที่ไ ด้ สืบ ค้ น ข้อมูลเกี่ยวกับบุรุษในความทรงจ�ำท่านนี้

10


11

เป็นความยิ่งกว่าไม่ธรรมดาที่ไม่อาจ กลั้นใจเก็บง�ำไว้ได้คนเดียว

มัรยัม อ.


สารบัญ|‫ال َف ْه َر ُس‬

เกณฑ์เทียบคำ�ทับศัพท์อาหรับ-ไทยที่ใช้ในเล่ม คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ 8

สารบัญ 12

คำ�นำ�สำ�นักผู้แปล

4

10

สาเหตุที่ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเล่มนี้ 14 วันเกิดและชีวิตในวัยเด็กของอิบนุตัยมียะฮฺ

ความรอบรู้และความจำ�ที่เป็นเลิศ 22

หนังสือและงานเขียนของอิบนุตัยมียะฮฺ

การเรียนการสอน 32

17

28

ความเป็นปฏิปักษ์ต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺและอะฮฺลุลฮะวา 37

อิบาดะฮฺของอิบนุตัยมียะฮฺ

ความยำ�เกรงของอิบนุตัยมียะฮฺ 53

45


ความมักน้อยต่อดุนยา 58 ความถ่อมตนของอิบนุตัยมียะฮฺ 65 ลักษณะภายนอกและการแต่งกายของอิบนุตัยมียะฮฺ

71

อิบนุตยั มียะฮฺกบั ปาฏิหาริยแ์ ละการอ่านเหตุการณ์ ในอนาคต 75 ความเอื้อเฟื้อของอิบนุตัยมียะฮฺ

84

ความกล้าหาญของอิบนุตัยมียะฮฺ 89

ความอดทนและการยืนหยัดในสัจธรรมของอิบนุตัยมียะฮฺ ตราบจนวันที่ท่านเสียชีวิต 98

อัลลอฮฺทรงทำ�ให้ชัยคฺเป็นหลักฐานในยุคสมัยของท่าน เป็นผู้จำ�แนก ระหว่างความจริงกับความเท็จ และเป็นตัวอย่างของผู้ที่หวังโลกหน้า มิได้หวังผลตอบแทนในโลกนี้ 103

การเสียชีวิตของอิบนุตัยมียะฮฺ 109

อ้างอิง 116 เกี่ยวกับผู้เขียน 132


สาเหตุทข่ี า้ พเจ้า

...

เขียนหนังสือเล่มนี้


15

ต อนที่ข้าพเจ้าทราบข่าวการ จากไปของชัยคุลอิสลาม ตะกียดุ ดีน อะบีอบั บาส อะหฺ มั ด บิ น อั บ ดุ ล หะลี ม บิ น อั บ ดุ ส สะลาม บินตัยมียะฮฺ ซึ่งท่านคือผู้รู้ ผู้ให้การชี้แนะ แก่อมุ มะฮฺนี้ ท่านเป็นอิมาม เป็นมุจญ์ตะฮิด1 เป็น ผู้ปกป้องชะรีอะฮฺและสุนนะฮฺของท่านนะบี บรรดาผูร้ แู้ ละผูท้ ปี่ รารถนาให้สงิ่ ดีงามประสบแก่ มวลมุสลิมได้บอกแก่ข้าพเจ้าว่า “คุณมีโอกาสได้พบปะและคลุกคลีอยู่ กับชัยคฺ คุณรูจ้ กั บุคลิกลักษณะนิสยั ของท่าน ถ้า คุณเขียนอะไรสักหน่อยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้รู้มา บ้างก็คงจะดีสินะ เผื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อ บางคนในอุมมะฮฺนี้ที่ผ่านมาอ่าน เพราะอุมมะฮฺ เราจะได้รับความเมตตาหากว่าเรารู้จักรำ�ลึกถึง บุคคลที่ตั้งตนอยู่บนคุณงามความดีทั้งหลาย” ข้าพเจ้าได้ตอบพวกเขาไปว่า


“ผมมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่กับท่านเพียงแค่ ไม่กี่วันเองครับ แล้วผมก็ทราบถึงคุณลักษณะที่ ดีงามเพียงบางประการของท่าน (จากบรรดา ความดีงามมากมายที่ท่านมี) เท่านั้นเอง” อย่างไรก็ดี ตัวข้าพเจ้าเองก็เห็นว่าสิ่งที่ พวกเขาเสนอมานั้นถือเป็นสิทธิและหน้าที่ของ ข้าพเจ้าทีจ่ ะต้องกระทำ�ให้ลลุ ่วง เพราะผู้ทเี่ ป็นผู้ รู้จะต้องใส่ใจในการเผยแผ่สิ่งที่เขาคิดว่ามีคุณ ประโยชน์และความดีงามต่อมวลมุสลิม ด้วยเหตุ นีเ้ อง ข้าพเจ้าจึงใช้ความสามารถอันน้อยนิดของ ตัวเองเขียนเล่าเรื่องราวคุณธรรมความดีงาม ของชั ย คฺ เพื่ อ ว่ า ผู้ อ่ า นจะได้ ท ราบถึ ง ความ ประเสริฐของบุรุษท่านนี้

16


วั น เกิ ด และชี ว ิ ต ในวั ย เด็ ก

...

ของอิบนุตัยมียะฮฺ


สำ�หรับวันเกิดของชัยคฺนั้น ผู้รู้ หลายคนได้บอกข้าพเจ้าว่าท่านเกิดในวันที่ 10 เราะบิอุลเอาวัล ฮ.ศ. 661 ที่เมืองหัรรอน2 ท่าน ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่งท่านอายุได้ 7 ปี หลัง จากนั้นบิดาของท่านก็ย้ายไปยังกรุงดามัสกัส ท่านได้รบั การเลีย้ งดูเป็นอย่างดีทนี่ นั่ แล้วอัลลอฮฺ ก็ทรงบ่มเพาะคุณสมบัติทีด่ ีทีส่ ดุ ในด้านต่างๆ ไว้ ในตัวท่าน ซึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความประเสริฐ ความอุทิศตน และความฉลาดหลักแหลมของ ท่านนัน้ ปรากฏออกมาชัดเจนตัง้ แต่ตอนทีท่ า่ นยัง เล็ก เพื่อนที่ซื่อสัตย์คนหนึ่งซึ่งรู้จักกับชัยคฺ บอกข้าพเจ้าว่า สมัยที่ชัยคฺยังเป็นเด็กหนุ่ม ท่าน มักจะเดินไปยังห้องสมุด ระหว่างทางทีจ่ ะไปห้อง สมุดนัน้ มีบา้ นของยิวคนหนึง่ อยู่ ยิวคนนีม้ กั จะทัก ถามท่านเกีย่ วกับประเด็นต่างๆ ไปเรือ่ ยๆ เขาทำ� 18


19

เช่นนี้อยู่เสมอเพราะเห็นว่าชัยคฺเป็นเด็กที่ฉลาด หลักแหลม ส่วนชัยคฺเองก็จะตอบคำ�ถามของยิว คนนี้กลับไปอย่างรวดเร็วฉับไวจนทำ�ให้ยิวคนนี้ ต้องทึ่ง เรื่องเป็นแบบนี้ไปสักระยะหนึ่ง คือเมื่อ ใดก็ตามที่อิบนุตัยมียะฮฺพบกับยิวคนนี้ ท่านก็จะ ให้ความรูแ้ ก่เขาไปทีละนิดทีละน้อยเพือ่ ยืนยันว่า สิ่ ง ที่ เ ขากำ � ลั ง ยึ ด ถื อ อยู่ นั้ น เป็ น ความเท็ จ จน กระทั่ ง ในที่สุด ชายคนนี้ก็เ ข้ารับอิสลามและ กลายเป็นมุสลิมที่ปฏิบัติตามหลักการศาสนา อย่างเคร่งครัด และนี่ก็คือบะเราะกะฮฺที่ชัยคฺได้ รับตั้งแต่ท่านยังเด็ก ตั้ ง แต่ เ ล็ ก มาแล้ ว ที่ ชั ย คฺ จ ะใช้ เ วลา ทัง้ หมดจดจ่ออยูก่ บั การศึกษาเล่าเรียน ท่านท่อง จำ�อัลกุรอานทั้งหมดได้ตั้งแต่ยังเล็ก หลังจาก ท่องจำ�อัลกุรอานได้แล้วท่านก็ศกึ ษาและท่องจำ� หะดีษ ฟิกฮฺ และภาษาอาหรับ จนกระทัง่ เป็นเลิศ ในทุกๆ วิชา นอกจากนี้ท่านก็ขะมักเขม้นในการ เข้าร่วมหัลเกาะฮฺ3 เพื่อศึกษาหาความรู้และฟัง การรายงานหะดีษและอาษาร4 ท่านได้ศึกษาตำ�รับตำ�ราหลายเล่มผ่าน ทางบรรดาผูร้ ทู้ ที่ รงคุณวุฒ5ิ สำ�หรับตำ�ราหะดีษ เล่มสำ�คัญ อาทิเช่น อัลมุสนัด ของอะหฺมัด,


อัศเศาะฮีหฺ ของอัลบุคอรียแฺ ละมุสลิม, อัลญามิอฺ ของอัตติรมิซียฺ, อัสสุนัน ของอะบูดาวูด, อันนะ สาอียฺ, อิบนุมาญะฮฺ และอัดดาเราะกุตนียฺ ชัยคฺ ได้ฟังคนอ่านตำ�ราเหล่านี้ให้ฟังหมดทั้งเล่มและ หลายครั้งด้วยกัน ตำ�ราหะดีษที่ชัยคฺท่องจำ�เป็น เล่มแรก คือ อัลญัมอฺ บัยนะ อัศเศาะฮีหัยนฺ ของอัลหุมัยดียฺ มีหนังสือในศาสตร์ของอิสลามเพียงไม่กี่ เล่มที่ชัยคฺไม่ได้อ่าน และอัลลอฮฺก็ทรงประทาน ความโปรดปรานให้แก่ท่านด้วยการให้ท่านมี ความสามารถในการท่องจำ�หนังสือเหล่านี้ได้ อย่างรวดเร็วและแทบไม่ลมื เลยทีเดียว สารเกือบ ทุ ก อย่ า งที่ ชั ย คฺ ไ ด้ อ่ า นและฟั ง จะเข้ า ไปอยู่ ใ น ความจำ�ของท่าน ทัง้ ถ้อยคำ�ทีใ่ ช้ในสารและความ หมายของสารนั้น เหมือนกับว่าความรู้ได้ถูก หลอมรวมเข้ า กั บ เลื อ ดเนื้ อ และทุ ก ส่ ว นใน ร่างกายของท่าน ชัยคฺไม่เพียงแค่หาความรู้จาก ทีน่ นั่ นิดทีน่ หี่ น่อย แต่ทา่ นจะศึกษาจนกระทัง่ ท่าน มีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในทุกๆ ด้าน นอกจากนีแ้ ล้ว ชัยคฺยงั เป็นหนึง่ ในบุคคล ทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ ในเรือ่ งคุณธรรมความดีและความ ประเสริฐในเรื่องต่างๆ อัลลอฮฺทรงให้ท่านแบก 20


21

รับภาระที่คนทั่วไปไม่อาจรับไหว พระองค์ทรง นำ�พาท่านให้ได้พบกับความเกษมสำ�ราญในทุก แง่มุมของชีวิต และพระองค์ทรงทำ�ให้ผลลัพธ์ จากการเป็นผู้นำ�ของท่านเป็นสัญญาณอันชัด แจ้งแก่คนทั่วไป จนกระทั่งทุกคนที่มีปัญญาต่าง เห็นตรงกันว่า ชัยคฺเป็นหนึ่งในบุคคลที่ท่านนะบี เคยพูดถึงตอนที่ท่านกล่าวว่า “แน่นอน ใน ทุกๆ ศตวรรษอัลลอฮฺจะทรงส่งผู้ที่จะมาฟื้นฟู ศาสนาของอุมมะฮฺนี้”6 ทั้งนี้ เพราะอัลลอฮฺทรง ฟื้นฟูชะรีอะฮฺของศาสนานี้ซึ่งถูกลืมไปนานแล้ว ผ่านทางชัยคฺ และพระองค์ทรงทำ�ให้ชัยคฺเป็น หลักฐานแก่คนทุกผูใ้ นยุคสมัยของท่าน มวลการ สรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผูอ้ ภิบาลแห่ง สากลโลก


ความรอบรู ้ และความจำ�ที่เป็นเลิศ

...


23

หากจะกล่าวถึงความรูอ้ นั กว้าง ขวางของชัยคฺแล้ว นั่นย่อมหมายรวมถึง •ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของอัลกุรอาน •ความสามารถในการถอดหาประโยชน์ ยิบย่อ ยจากอัลกุร อานอย่างละเมีย ด ละไมที่สุด •ความรู้เกี่ยวกับค�ำกล่าวของบรรดาผู้รู้ ที่อรรถาธิบายอัลกุรอาน •กลวิธีการน�ำค�ำกล่าวของผู้รู้เหล่านั้น มาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ทั้ ง หมดนี้ คื อ ความรู ้ ที่ อั ล ลอฮฺ ท รง ประทานให้แก่ชัยคฺ ท่านโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ใน ทักษะความสามารถทัง้ หมดนี้ และเป็นแบบอย่าง ที่ทุกคนพยายามที่จะลอกเลียน ถ้ามีใครยกอายะฮฺอลั กุรอานขึน้ มาในชัน้ เรียนของชัยคฺ ท่านจะท�ำการอรรถาธิบายความ หมายของอายะฮฺนนั้ และคาบเรียนนัน้ ก็จะจบลง


ด้วยเรือ่ งนี้ ชัน้ เรียนของท่านใช้เวลาเรียนในแต่ละ วันค่อนข้างยาวนาน และในนั้นจะไม่มีคนคอย อ่านอายะฮฺต่างๆ ที่ท่านจัดเตรียมไว้ส�ำหรับการ สอนในแต่ละวัน แต่คนทีจ่ ะท�ำหน้าทีน่ คี้ อื ใครก็ได้ ที่อยู่ตรงนั้น ซึ่งเขาจะอ่านอายะฮฺที่เขาอยากจะ อ่าน แล้วอิบนุตัยมียะฮฺก็จะอธิบายสิ่งที่คนๆ นั้น อ่าน โดยปกติแล้วชัยคฺจะไม่หยุดสอนจนกว่า เวลาเรียนจะหมดลง ซึ่งผู้ที่เรียนกับท่านย่อมรู้ดี ว่า ถ้าไม่เป็นเพราะเวลาหมดลงเสียก่อนแล้ว ชัยคฺจะลงลึกในเรือ่ งทีท่ า่ นก�ำลังอธิบายอยูต่ อ่ ไป อีกในหลายๆ แง่มุม แต่ท่านต้องหยุดเพื่อให้ผู้ ฟังได้พักบ้าง ยกตั ว อย่ า งเช่ น ท่ า นเคยสอนตั ฟ สี ร 7 อายะฮฺทวี่ า่ [ ٌ‫الل َأ َحد‬ َُّ‫ ] ُق ْل ُه َو ه‬ท่านใช้เวลาอธิบาย นานมากจนได้เป็นหนังสือเล่มใหญ่หนึ่งเล่มจบ นอกจากนี้ ท ่ า นก็ เ คยตั ฟ สี ร อายะฮฺ ที่ ว ่ า 8 ِ ‫الرحمْ َ ُن َعلىَ ا ْل َع ْر‬ [ ‫ش ْاس َت َوى‬ َّ ] ซึ่ ง สามารถจั ด ท�ำ ออกมาเป็ น หนั ง สื อ 35 เล่ ม เคยมี ค นบอก ข้าพเจ้าว่าท่านได้เริ่มท�ำการรวมเล่มตัฟสีรอยู่ ซึ่งหากว่าเสร็จเรียบร้อยแล้วตัฟสีรนั้นอาจมี ความยาวถึง 50 เล่มจบเลยทีเดียว 24


25

ส�ำหรับความรอบรู้ของอิบนุตัยมียะฮฺใน เรือ่ งสุนนะฮฺของท่านเราะสูลลุ ลอฮฺ เหตุการณ์ ต่างๆ ในชีวิตของท่าน ปาฏิหาริย์ที่อัลลอฮฺ ทรงประทานให้แก่ท่าน ความรู้ว่าหะดีษไหน เศาะฮีหฺ หะดีษไหนเฎาะอีฟ เช่นเดียวกับค�ำพูด การกระท�ำ ความคิดเห็น ความประเสริฐของ บรรดาเศาะหาบะฮฺ อิบนุตัยมียะฮฺเป็นผู้ที่ เชี่ยวชาญยิ่งในความรู้เกี่ยวกับศาสตร์เหล่านี้ ชัยคฺมคี วามรูเ้ กีย่ วกับเรือ่ งดังกล่าวอย่าง ถูกต้องแม่นย�ำ และท่านก็เป็นคนที่หาความรู้ เหล่านี้ได้รวดเร็วที่สุดหากว่าท่านต้องการ ท่าน ไม่เคยยกหะดีษหรือฟัตวาขึน้ มานอกจากว่าท่าน จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของมันได้อย่างถูกต้อง หรือบอกได้วา่ หะดีษนัน้ มีสถานะทีเ่ ศาะฮีหฺ หะสัน ฯลฯ หรือบอกชื่อเศาะ-หาบะฮฺที่รายงายหะดีษ นั้นๆ เมื่อมีคนขอให้ท่าน บอกที่มาที่ไปของสาย รายงานหะดีษต่างๆ แทบจะไม่มีเลยสักครั้งที่ ท่านไม่สามารถบอกเขาได้ มีเ รื่อ งที่น ่ า ทึ่ง เรื่อ งหนึ่ง เกิด ขึ้ น ตอนที่ ชัยคฺถกู จับขังอยูท่ อี่ ยี ปิ ต์ในครัง้ แรก ท่านถูกห้าม ไม่ให้อ่านหนังสือใดๆ ทัง้ สิ้น แต่ในช่วงเวลานี้เอง ท่านกลับเขียนหนังสือขึ้นมาเป็นจ�ำนวนหลาย


เล่มทั้งบางและหนา ในหนังสือเหล่านี้ท่านได้ยก หะดีษ ระบุผู้รายงานหะดีษ ยกค�ำพูดของเศาะหาบะฮฺ ระบุรายชื่อผู้รู้ด้านหะดีษ ยกต�ำรับต�ำรา พร้อมรายชือ่ ผูเ้ ขียนผลงานนัน้ ๆ ซึง่ ท่านสามารถ อ้างอิงแหล่งข้อมูลเหล่านีไ้ ด้อย่างถูกต้องแม่นย�ำ ทั้งหมด นอกจากนี้ ท่านยังสามารถบอกได้อีก ด้วยว่าหะดีษแต่ละบททีม่ สี �ำนวนต่างกันนัน้ อยูใ่ น หนังสือเล่มไหนและอยูต่ รงส่วนใดในหนังสือเล่ม นั้นๆ ทั้งหมดนี้มาจากความจ�ำของท่านล้วนๆ เพราะในเวลานั้นท่านไม่มีหนังสือสักเล่มที่จะใช้ เปิดอ้างอิงได้เลย หนังสือทีท่ า่ นเขียนในช่วงเวลา ดังกล่าวถูกผลิตขึ้นและได้รับการตรวจสอบใน เวลาต่อมา ซึ่งอัลฮัมดุลิลละฮฺ ผลปรากฏว่าไม่มี เลยสักเล่มทีม่ ขี ้อผิดพลาดแม้เพียงจุดเดียว และ หนึ่งในหนังสือเหล่านั้นคือ อัสสาลิม อัลมัสลูล อะลา ชาติม อัรเราะสูล9 ทั้งหมดนี้ก็คือความ โปรดปรานที่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ได้ให้แก่ท่าน โดยเฉพาะ อัลลอฮฺยังทรงโปรดปรานท่านด้วยการ ให้ท่านมีความสามารถในการจ�ำแนกความคิด เห็น ค�ำพูด และการวินจิ ฉัยของบรรดาผูร้ ใู้ นเรือ่ ง 26


27

ทีแ่ ตกต่างกันออกไป อีกทัง้ ความสามารถในการ จดจ�ำได้ว่าความเห็นของผู้รู้ในแต่ละสมัยนั้น ความเห็นของใครในเรือ่ งใดทีม่ หี ลักฐานแข็งแรง อันไหนมีหลักฐานอ่อน อันไหนเป็นทีย่ อมรับ และ อันไหนถูกปฏิเสธ ชัยคฺมีความรู้ลึกซึ้งว่าความ เห็นใดของพวกเขาเป็นความเห็นที่ถูกต้องและ ใกล้ เ คี ย งกั บ สั จ ธรรมมากที่ สุ ด ท่ า นถึ ง กั บ สามารถบอกได้ว่าความเห็นของผู้รู้แต่ละคนนั้น มีที่มาที่ไปจากไหนบ้าง ความรอบรูข้ องชัยคฺนนั้ มีมากจนถึงจุดที่ ว่า ถ้ามีคนถามท่านเกี่ยวกับเรื่องสุนนะฮฺของ ท่านเราะสูล แล้ว ท่านสามารถมองเห็นทุก ค�ำพูดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ทุกค�ำพูดของ เศาะหาบะฮฺของท่าน และทุกค�ำพูดของบรรดาผู้ รู้ ตั้งแต่ค�ำพูดแรกไปจนถึงค�ำสุดท้ายเป็นภาพ ชั ด เจนอยู ่ ใ นใจของท่ า น หลั ง จากนั้ น ท่ า นก็ สามารถเลือกใช้ค�ำพูดไหนมาอ้างก็ได้ หรือจะละ ไม่เอ่ยอ้างถึงค�ำพูดใดก็ได้ ทุกคนที่เคยรู้จักชัยคฺ หรือเคยอ่านผลงานของท่านต่างเห็นพ้องต้องกัน ในเรื่องนี้


หนั ง สื อ และงานเขี ย น

...

ของอิบนุตัยมียะฮฺ


29

สำ�หรับหนังสือและงานเขียน ประเภทอืน่ ๆ ของชัยคฺนนั้ จำ�นวนของมันมากเกิน กว่าที่ข้าพเจ้าจะสามารถกล่าวหรือไล่เรียงออก มาได้หมด อันทีจ่ ริงข้าพเจ้าก็สงสัยอยูเ่ หมือนกัน ว่าจะมีใครที่สามารถบอกชื่อผลงานของท่านได้ ครบถ้วนหรือเปล่า ทั้งนี้เพราะท่านได้เขียนงาน ไว้ ม ากมายเหลื อ เกิ น และงานของท่ า นก็ ถู ก เผยแผ่ไปทั่วทั้งแผ่นดิน ที่จริงข้าพเจ้าไม่เคยไป เหยียบแผ่นดินไหนแล้วไม่พบหนังสือของชัยคฺอยู่ ที่นั่นเลย หนังสือของท่านบางเรือ่ งมีความยาวถึง 12 เล่มจบ บางเรื่องมีความยาว 7 เล่มจบ บาง เรือ่ งมีความยาว 5 เล่มจบ บางเรือ่ งก็ 3 บางเรือ่ ง ก็ 2 และบางเรื่องก็เล่มเดียวจบหรือน้อยกว่านั้น ซึง่ จำ�พวกหลังนีม้ มี ากเกินกว่าจะบรรยายได้หมด ส่วนฟัตวาหรือคำ�ตอบที่ชัยคฺเคยตอบ ปัญหาต่างๆ ไว้นนั้ มีจ�ำ นวนมากเกินกว่าจะนับได้


ไหว แต่กม็ คี นเคยรวบรวมมันออกมาเป็นหนังสือ 17 เล่มจบ โดยจัดเรียงบทตามหัวข้อเรื่องทาง ฟิกฮฺทีอ่ ียิปต์ และหนังสือชุดนี้กเ็ ป็นทีร่ ู้จกั กันดี10 นอกจากนี้แล้วก็ยงั มีหนังสือทีร่ วบรวมคำ�ตอบที่ ชั ย คฺ ต อบไว้ เ กี่ ย วกั บ ประเด็ น ต่ า งๆ อี ก กว่ า 40,000 ประเด็น ซึ่งมิตรสหายของท่านเป็นผู้ รวบรวมไว้ เมือ่ มีคนถามชัยคฺเกีย่ วกับเรือ่ งใดก็ตาม น้อยครั้งมากที่ชัยคฺจะไม่ตอบคำ�ถามนั้นกลับไป อย่างรวดเร็วฉับพลัน ซึง่ นัน่ ถือเป็นเรือ่ งปกติของ ท่านทีท่ กุ คนทราบกันดี11 แล้วต่อจากนัน้ คำ�ตอบ ของชัยคฺกจ็ ะกลายเป็นหนังสือในเวลาต่อมา เป็น หนังสือทีค่ นอืน่ จะต้องใช้เวลายาวนานในการหา หลักฐานอ้างอิงและนำ�หลักฐานเหล่านั้นมาร้อย เรียงเข้าด้วยกัน และถึงแม้ว่าจะมีใครทำ�เช่นนั้น จนเสร็จสมบูรณ์ดีแล้ว ความเชี่ยวชาญของเขา ในการตอบคำ�ถามก็ยังไม่อาจเทียบเคียงกับคำ� ตอบที่ชัยคฺได้ให้ไว้อย่างครอบคลุมอยู่ดี12 ชัยคฺตาญุดดีน มุฮัมมัด รู้จักกันในนาม อิบนุอัดเดารียฺ เคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านเคย เรียนกับอิบนุตยั มียะฮฺในชัน้ เรียนหนึง่ วันนัน้ มียวิ คนหนึง่ ถามท่านบางอย่างเกีย่ วกับเรือ่ งเกาะดัร13 30


31

ยิวคนนี้ได้ส่งคำ�ถามถามท่านเป็นบทกลอนแปด วรรค เมื่ออิบนุตัยมียะฮฺเห็นดังนั้น ท่านหยุดคิด ครู่หนึ่งก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียนคำ�ตอบ ท่าน เขียนอะไรยุกยิกของท่านไปเรื่อยๆ พวกเราเอง คิดว่าท่านคงจะเขียนตอบกลับไปธรรมดา เมื่อ ท่านเขียนเสร็จแล้ว บรรดามิตรสหายของท่านก็ ลองอ่านคำ�ตอบที่ท่านเขียนไว้ดู ปรากฏว่าชัยคฺ ได้เขียนคำ�ตอบนั้นเป็นบทกลอน 184 วรรค โดย มีกลอนคำ�ถามแทรกอยูใ่ นกลอนคำ�ตอบนัน้ ด้วย ความรู้ของท่านปรากฏให้เห็นเด่นชัด มากในกลอนคำ�ตอบนี้ เพราะถ้าหากว่าใครสัก คนต้องการจะอธิบายกลอนบทนี้แล้ว เขาก็ต้อง เขียนอธิบายยืดยาวเป็นหนังสือถึงสองเล่มด้วย กัน นีเ่ ป็นแค่ตวั อย่างความสามารถทีไ่ ม่ธรรมดา ของชัยคฺเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีฟัตวา และคำ�ตอบของชัยคฺอกี เป็นจำ�นวนมากทีย่ ากจะ มีฟัตวาและคำ�ตอบของใครเทียบเคียงได้!


สำนักพิมพ์มิรอาต

อิ บ นุ ต ั ย มี ย ะฮฺ ท ี ่ ข ้ า พเจ้ า รู ้ จ ั ก

อันที่จริง หากคุณจะลองถามคนทั่วไปที่นี่ ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับชัยคฺมากมาย นักว่า “ใครที่มีความมักน้อย ต่อดุนยามากที่สุดในยุคนี้ ใคร ที่ปฏิเสธสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต ในโลกนี้มากที่สุด และใส่ใจใน การแสวงหาอาคิเราะฮฺที่สุด?” พวกเขาก็จะตอบว่า “ฉันไม่เคย เห็นใครสู้อิบนฺ ตัยมียะฮฺในเรื่อง นี้ได้เลย”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.