การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ (public relations photography) การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับองค์การต่อบุคคลทั้งภายนอก และภายในองค์การ แม้ว่าจะยึดหลักแนวคิดความจริงนิยมเช่นเดียวกับการถ่ายภาพข่าว แต่เป็นความจริงเฉพาะภาพ ที่สร้างภาพลักษณ์ (image) ด้านบวกต่อองค์การ ดังนั้นจึงเปลี่ยนจุดเน้นมาที่การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นตัวหนาสีเขียวซึ่งเป็นสีประจากระทรวงเกษตรฯ โดยแสดงถึงภาคเกษตรกรรมและ ความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีภาพถ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารกิจกรรมในองค์การ หรือเพื่อเสนอข่าวใน หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 1. การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ 1.1 ประเภทของภาพประชาสัมพันธ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) การถ่ายภาพสถานที่ขององค์การ อาคารและสถานที่ขององค์การมี ความสาคัญอย่าง มากต่อการสร้างภาพลักษณ์ขององค์การ เนื่องจากเป็นรูปธรรมที่คนภายนอกมองเห็นครั้งแรก การออกแบบตกแต่ง อาคารสถานที่ควรสอดคล้องกับการวางแนวทางขององค์กร เช่น หากวางแนวทางขององค์การว่ามีความทันสมัยด้วย เทคโนโลยี ควรสื่อสารถึงการออกแบบตกแต่งภายนอกและภายในสถานที่ที่ดูทันสมัยด้วยสีสัน รูปทรง และวัสดุ ตกแต่งภายใน ในทางตรงกันข้ามหากเป็นองค์กรที่เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม รูปลักษณ์ของการออกแบบตกแต่งควร เน้นความรู้สึกที่อบอุ่น คลาสสิก โดยใช้วัสดุที่เป็นศิลปะไทยในการตกแต่ง 2) การถ่ายภาพบุคคล การถ่ายภาพบุคคลเป็นการสะท้อนถึง บุคลิกลักษณะของบุคคล และหากบุคคลนั้นเป็นผู้บริหารองค์การก็จะสะท้อนถึงลักษณะองค์การนั้นด้วย ผู้บริหารจึงเปรียบเสมือนตัวแทน ของสมาชิกทั้งหมด ดังนั้น ฝ่ายประชาสัมพันธ์จึงควรดูแลให้ผู้บริหารมีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ เพราะ ภาพถ่ายเป็นสิ่งที่อยู่ยาวนานในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ หรือแม้แต่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น การประชาสัมพันธ์ ภายในองค์การให้สมาชิกรู้สึกไว้วางใจที่มีผู้บริหารที่เป็นกันเอง ภาพผู้บริหารควรแต่งตัวในลักษณะสบายๆ และมีการ จัดท่าทางให้เป็นธรรมชาติ แต่หากจะสื่อสารผู้บริหารต่อคนภายนอกว่า องค์กรนี้มีความทันสมัยทั้งในระดับชาติและ ระดับนานาชาติ ช่างภาพควรสื่ออารมณ์ผู้บริหารด้วยเครื่องแต่งกาย และจัดวางท่าทางที่สง่างาม เป็นต้น 3) การถ่ายภาพกิจกรรมขององค์การ การดาเนินงานประชาสัมพันธ์ที่สาคัญอีกประการ หนึ่ง คือ การสร้างกิจกรรมขององค์การขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไป หรือกลุ่มเป้าหมายได้รู้จักและจดจา องค์การนั้นๆ โดยช่างภาพประชาสัมพันธ์ต้องบันทึกกิจกรรมต่างๆ ไว้ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรก นาขวัญ พิธีเปิดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ กิจกรรมเนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาพการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติที่สาคัญ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการนิยมใช้กล้องดิจิตอลกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ในที่นี่จึงจะขอกล่าวถึงการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ด้วยกล้องดิจิตอล เพื่อให้สอดคล้องกับการนาไปใช้ประโยชน์ได้ใน ปัจจุบัน 1.2 ประเภทของกล้อง แบ่งตามประเภทการใช้ฟิล์ม มี 2 ประเภท ดังนี้ 1. กล้องใช้ฟิล์ม เป็นกล้องถ่ายภาพบันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง โดยการจาลอง ภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง หรือฟิล์มถ่ายภาพ ซึ่งจะบันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนาไป ผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร
โดย งาน Social Multimedia ควบคุมโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชม
2. กล้องไม่ใช้ฟิล์ม หรือกล้องดิจิตอล เป็นกล้องถ่ายภาพที่ไ ม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบดิจิตอล ผ่านวงจรอิเล็กทรอนิคส์ภายในกล้อง โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ซึ่งสามารถนาไปตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม ต่างๆ เช่น Photoshop หรือใช้งานในรูปแบบต่างๆได้ โดยกล้องดิจิตอลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 2.1 กล้องดิจิตอล Ultra-Compact เป็นกล้องเอนกประสงค์ ขนาดเล็ก กะทัดรัด สามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่ น้าหนักเบา บาง ราคาค่อนข้างสูง มีรุ่นให้เลือกน้อย ระบบเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ค่อนข้างจากัด การใช้งานไม่สะดวก เนื่องจากปุ่มควบคุมต่างๆ จะเล็ก จับไม่ค่อยถนัด 07’เหมาะสาหรับ ผู้หญิง หรือใช้ในการทางานที่ต้องพกพาเป็นประจา
2.2 กล้องดิจิตอล คอมแพ็ค คือ กล้องชนิดพกพาที่ไม่สามารถเปลี่ยนถอดเลนส์ได้ เป็น กล้องที่ออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เน้นไปในทางระบบอัตโนมัติหรือมีฟังก์ชั่นช่วยเหลือมากกว่าให้ผู้ใช้ปรับตั้ง เอง รูปร่างของกล้องมีตั้งแต่ขนาดเล็กกระทัดรัดไปจนถึงขนาดที่จับถนัดมือ หรือบางตัวก็เลียนแบบหน้าตากล้อง SLR แบบย่อส่วน
2.3 กล้องดิจิตอล DSLR (Digital Single Lens Reflex) เป็นกล้องดิจิตอลที่สามารถ เปลี่ยนถอดเลนส์ได้ และเป็นกล้องที่ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ในการถ่ายภาพดีพอสมควร เนื่องจากมีฟังก์ชั่ นการทางานที่ ซับซ้อนและมีลุกเล่นต่างๆ เพิ่มเข้ามามากกว่าในกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค อีกทั้ง ให้ผู้ใช้ปรับตั้ง ค่าต่างๆ เองได้ตาม ต้องการ รูปร่างขงกล้องค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากขนาดเซ็นเซอร์รับภาพใหญ่กว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็คและยัง ต้อง รองรับเลนส์และฟังก์ชั่นการทางานที่ซับซ้อนอีกด้วย
โดย งาน Social Multimedia ควบคุมโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชม
Nikon D 5500
Nikon D 4
2.4 กล้องดิจิตอลขนาดใหญ่ เป็นกล้องระดับมืออาชีพ ขนาดค่อนข้างใหญ่และหนัก ราคา สูง มีฟังก์ชั่นในการบันทึกภาพครบครัน มีอุปกรณ์เสริมมากกว่า สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เหมาะสารับการ ถ่ายภาพโฆษณาหรือภาพประกอบนิตยสาร
กล้อง Hassel lad ซึ่งเป็นกล้องขนาดใหญ่ 1.3 ความสัมพันธ์ของรูรับแรงและความเร็วชัตเตอร์ กล้องที่มีโหมดการถ่ายภาพแบบ Manual จะสามารถปรับค่าทั้งสองได้เอง แต่กล้องที่มีเฉพาะโหมด การถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ ค่าทั้งสองจะถูกกาหนดให้โดยกล้องเอง 1.3.1 รูรับแสง (Aperture ) เป็นช่องที่ควบคุมให้แสงผ่านเข้าไปตกที่เซนเซอร์รับแสงใน ปริมาณต่างๆ ซึ่งขนาดของรูรับแสงนั้นจะวัดหน่วยเป็น F-number โดยที่ค่า F-number มากๆ หมายถึงรูรับแสง แคบ แสงสามารถผ่านเข้าไปได้น้อย ส่วนค่า F-number น้อยๆ หมายถึงรูรับแสงกว้าง แสงสามารถผ่านเข้าไปได้มาก ดังภาพด้านล่าง ตัวกาหนดปริมาณของแสงที่จะผ่านเลนส์เข้าไปสู่ตัวรับ
โดย งาน Social Multimedia ควบคุมโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชม
เรียกว่า f-stop หรือ f-number เลขยิ่งน้อย รูรับแสงยิ่งกว้าง = แสงผ่านเลนส์เข้าไปสู่ตัวรับได้มาก 1.3.2 ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) เป็นความเร็วในการเปิด /ปิด ช่องรับแสง เพื่อควบคุมเวลาที่ให้แสงผ่านเข้ามา แสดงเป็น ตัวเลขในหน่วยวินาที โดยที่ ความเร็วชัตเตอร์สูง หมายถึง เวลาที่แสงสามารถผ่านเข้าสู่กล้องมีน้อย ซึ่งได้ภาพที่หยุด การเคลื่อนไหวของวัตถุ เช่น 1/500,1/125 วินาที เป็นต้น ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่า หมายถึง เวลาที่แสงสามารถผ่าน เข้าสู่กล้องได้นาน ซึ่งจะได้ภาพที่เห็นการเคลื่อนไหวของวัตถุ เช่น 1/8,1/2,1/2, 1 วินาที เป็นต้น 1.4 การเลือกความละเอียดของภาพ รูปแบบไฟล์ภาพของกล้องทุกรุ่นสนับสนุนรูปแบบ JPEG เมื่อเลือกไฟล์ภาพแบบนี้ จะต้อง เลือกอีกสองอย่างคือ ระดับความละเอียดของภาพ และระดับคุณภาพของภาพ โดยระดับความละเอียดของภาพนั้น กล้องแต่ละรุ่นสามารถเลือกระดับความละเอียดสูงสุดตามคุณสมบัติของกล้องนั้นๆ เช่น 5,8 หรือ 10ล้านพิกเซล ซึ่ง สามารถเลือกความละเอียดต่ากว่านั้นได้ด้วย แต่ตัวเลือกในกล้องบางรุ่นอาจไม่ได้บอกมาเป็นจานวนล้านพิกเซล แต่จะ บอกเป้นขนาด กว้างXยาว ของภาพ เช่น 1280X960 พิกเซล เป็นต้น การเลือกระดับความละเอียดของภาพมัก ขึ้นอยู่กับการงานเป็นหลัก โดยทั่วไปหากต้องการนาภาพไปพิมพ์ในขนาด 4X6 นิ้ว (จัมโบ้) ได้สวยงาม ก็ควรเลือก ความละเอียดประมาณ 1280X960 หรือ 1600 X1200 พิกเซลขึ้นไป แต่ถ้าต้องการนาไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องกร ความละเอี ย ดมาก เช่ น พิ ม พ์ ห นั ง สื อ หรื อ โปสเตอร์ แ ผ่ น ใหญ่ ควรถ่ า ยที่ มี ค วามละเอี ย ดสู ง ๆ ซึ่ ง ต้ อ งแล้ ว แต่ ความสามารถของกล้องด้วย 1.5 เงื่อนไขในการเลือกฟอร์แมตของไฟล์รูป ฟอร์แมตของไฟล์รูปที่นิยมในกล้องทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ JPEG และ RAW โดย JPEG เป็น ฟอร์แมตที่มีการบีบอัดเพื่อลดขนาดของข้อมูลและยอมให้มีการสูญ เสียคุณภาพของภาพได้บ้าง ส่วน RAW คือการ จัดเก็บเป็น “ข้อมูลดิบ” ของภาพที่ได้จากเซ็นเซอร์รับแสงโดยตรงและไม่มีการสูญเสียคุณภาพ จึงบีบอัดได้ไม่มาก อย่าง JPEG การเลือกฟอร์แมตของไฟล์ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการยาภาพไปใช้งาน โดยการถ่ายภาพในรูปแบบ JPEG ไฟล์ที่ได้ไม่สามารถปรับแต่งได้มากนัก เพราะผ่านการแปลงสีและบีบอัดมาแล้ว แต่การถ่ายภาพในแบบ RAW สามารุนาภาพนั้นมาใช้โปรแกรมปรับแต่งเพิ่มเติมได้หลากหลาย ดังนั้น งานที่ต้ องวการความแน่นอน ควรถ่ายใน รูปแบบ RAW เก็บไว้ ส่วนภาพโดยทั่วไปที่ต้องการความง่ายในการจัดการภาพ ควรใช้รูปแบบ JPEG 1.6 การจัดองค์ประกอบทางศิลปะของภาพ (Principles of Composition) การนาเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ ได้แก่ เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม เรียกว่า การจัดองค์ประกอบศิลป์ (Art Composition) ซึ่งเป็นส่วนสาคัญที่จะ แสดงให้ผู้ชมรับรู้และสัมผัสถึงวัตถุประสงค์ของภาพแต่ละภาพ โดยต้องคานึงถึงปัจจัย ดังนี้ โดย งาน Social Multimedia ควบคุมโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชม
1. สัดส่ วน (Property) หมายถึง ความสั มพัน ธ์กัน อย่า งเหมาะสมระหว่ างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง รวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่าง องค์ประกอบทั้งหลาย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นามาจัดรวมกัน 2. ความสมดุล (Balance) หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้าหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่ เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของส่วนต่าง ๆ ใน รูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงในงานศิลปกรรมนั้นจะต้องคานึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น ถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป หรือ เบา บางไปก็จะทาให้ภาพนั้นดูเอนเอียง และ เกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม 3. จังหวะลีลา (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ากันขององค์ประกอบ เป็นการซ้าที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กันมาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้น จนถึงขั้นเกิด เป็นรูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจากการซ้าของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟ หรือเกิดจากการเลื่อน ไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้าหนัก 4. การเน้น (Emphasis) หมายถึง การกระทาให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะ จะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่งที่มีความสาคัญ กว่าส่วนอื่น ๆ เป็นประธาน งานที่ไ ม่มีจุดสนใจ หรือ ประธานจะทาให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ากันโดยปราศจากความหมาย ดังนั้น ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมาเป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะทาให้ผลงาน 5. เอกภาพ (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้าน รูปลักษณะ และด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว การ สร้างงานศิลปะ คือ การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน ความยุ่งเหยิง เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่ สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน 1.7 การตกแต่งภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทางานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สี เขียว (Green) และสีน้าเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทาให้ เกิดเป็นจุดสีเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) เมื่อนามาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภท คือ 1. ภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของ จุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี หรือเรียกว่า พิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกาหนดจานวน พิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง หากกาหนดจานวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทาให้มองเห็น ภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากาหนดจานวนพิกเซลมากก็จะทาให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้น การกาหนดจานวน พิกเซลจึงควรกาหนดให้เหมาะสมกับงานที่จะสร้าง เช่น งานที่มีความละเอียดน้อย หรือภาพสาหรับเว็บไซต์ ควร กาหนดจานวนพิกเซล ประมาณ 72 ppi (pixel / inch คือ จานวนพิกเซลใน 1 ตารางนิ้ว) แต่ถ้าเป็นงานแบบพิมพ์ เช่น นิตยสาร ปกหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ ควรกาหนดประมาณ 300 - 350 ppi เป็นต้น 2. ภาพกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทาง คณิตศาสตร์ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง มักนิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการ ออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบอาคาร การสร้างการ์ตูน เป็นต้น โดยโปรแกรมที่นิยมใช้ สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3Ds Max โดย งาน Social Multimedia ควบคุมโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชม
1.8 โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ใช้เพือ่ การประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้ 1. Photo Retouching เป็นโปรแกรมที่เหมาะสาหรับการแก้ไข ตกแต่งภาพ และทาเอฟ เฟกต์ให้กับภาพที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจมาจากภาพถ่ายจริง ได้แก่ Adobe PhotoShop, Corel Photopaint, PaintShop 2. Graphic Illustrator โปรแกรมสาหรับการออกแบบงานกราฟิก หรืองาน Lay out ซึ่ง เป็ น งานสองมิ ติ มี ก ารเขี ย นรู ป ในลั ก ษณะการเน้ น เส้ น รู ป ทรงเรขาคณิ ต ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ รู ป ถ่ า ย ได้ แ ก่ Adobe Illustrator, CorelDraw 3. Computer Aided Design โปรแกรมสาหรับการเขียนภาพที่แสดงออกถึงมิติ ขนาด ที่ ให้ความชัดเจนของวัตถุที่ต้องการสร้างขึ้นมา ได้แก่ Auto CAD, Prodesign 4. 3D Photo Realisticn โปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ ที่มีมวลและปริมาตร และ มีคุณสมบัติของพื้นผิว จนเกิดความสมจริงของแสง และเงา ได้แก่ 3D studio MAX, Auto CAD 3D 5. Presentation โปรแกรมกราฟิกสาหรับช่วยในการนาเสนองานในลักษณะเป็นสไลด์ ประกอบคาบรรยาย มีการสร้างภาพกราฟฟิกที่ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น กราฟชนิดต่าง ๆ หรือการสร้าง แผนผังการจัด องค์กรโปรแกรมประเภทนี้ ส่วนมากใช้ในงานธุรกิจ 6. Animation เป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวตามลาดับ โปรแกรมจะแสดงภาพเป็น ลาดับให้แลดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว โดยอาจมีเทคนิคต่างๆ ประกอบการแสดงภาพ เช่น การซ้อนภาพ ,เลื่อนภาพ, การเลื่อนภาพให้หายไปได้ และการแปลงภาพ รวมถึงมีลักษณะการโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วย 1.9 ระบบสืบค้นข้อมูลภาพประชาสัมพันธ์ คลังข้อมูล คลังข้อมูล (data warehouse) คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูล จากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา องค์กรที่จะต้องจัดการเก็บข้อมูล อาจเก็บรวบรวมอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นเทปแม่เหล็ก ดิสก์เก็ต หรือในแผ่นซีดี อย่างไรก็ตาม หากมีข้อมูลแต่ไม่มีการจัดการ หรือการบริหาร ข้อมูลที่ดี ก็จะทาให้องค์กรยากต่อการดาเนินงาน สาหรับในประเทศไทยแนวความคิดคลังข้อมูลได้ถูกนาเข้ามา ใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์หรือหน่วยงานที่จาเป็นต้องอาศัยข้อมูลทา การวิเคราะห์ยอดขายในอนาคต การเปรียบเทียบยอดขายในปัจจุบันกับยอดขายที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อเป็น แนวทางสาหรับการกาหนดแผนงานต่อไปในอนาคต ในการประชาสั ม พั น ธ์ คลั ง ข้ อ มู ล ยั ง เป็ น แหล่ ง รวบรวมคลั ง ภาพที่ ใ ช้ เ พื่ อ การ ประชาสัมพันธ์ โดยหากมีการจัดระบบหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบก็จะง่ายต่อการค้นหา และสามารถนาภาพเก่า และใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทางานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดความซ้าซ้อนของข้อมูล **************************************
โดย งาน Social Multimedia ควบคุมโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชม