นิฮง เสน่ห์แบบญี่ปุ่น

Page 1

Nihon

な い よ り ま し だ よ

nai yo ri ma shi da yo

ยัง ดี กว า ไม มี นะ


นมัสการสุดท้าย แด่อาจารย์ผู้อ่านขยะที่ข้าพเจ้าส่งไปแต่ก็ยังหาทางให้คะแนน


นิฮง : Nihon

สุดารัตน์ อรรถประจง : จัดท�ำ พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2563 จ�ำนวน 1,000 เล่ม

ข้อมูลทางบรรณานุกรม

สุดารัตน์ อรรถประจง. นิฮง : Nihon กรุงเทพฯ: อินทนิล, 2563. 123 หน้า ที่ปรึกษา: ภาคภูมิ หรรณภา บรรณาธิการบริหาร: สุดารัตน์ อรรถประจง ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร: สุดารัตน์ อรรถประจง บรรณาธิการ: สุดารัตน์ อรรถประจง ผู้ช่วยบรรณาธิการ: สุดารัตน์ อรรถประจง ศิลปกรรม: สุดารัตน์ อรรถประจง พิสูจน์อักษร: สุดารัตน์ อรรถประจง




ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

โลกของเราหมุนเร็วขึ้นทุกวัน วันเวลาหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนและไม่หวนกลับ เทคโนโลยี เองก็พัฒนาไปได้รวดเร็วเกินศักยภาพของมนุษย์ สิ่งใหม่ๆเข้ามาและออกไปเร็วจนในบางทีเรา แทบตามไม่ทัน หลายคนพยายามวิ่งตามโลก จนบางทีเหนื่อยและนึกท้อใจอยากจะหยุด แต่ท�ำ ไม่ได้เพราะมันกลายเป็นความเคยชินของเราไปแล้ว เคยชินกับระบบที่เร่งรีบ เคยสิ่งกับการ เปลี่ยนแปลงกะทันหัน เคยชินกับสิ่งใหม่ที่เข้ามากลายเป็นสิ่งเก่าอย่างรวดเร็ว และในบางครั้งเรา รู้สึกทนแทบไม่ได้กับอะไรที่มันช้าเหลือเกิน เช่นการรอคอยให้นิยายสักเรื่องอัปเดต รอยคอยการ์ตูนเรื่องโปรด โดยที่เราเข้าใจว่ามันอัปเดต ช้าเหลือเกิน แต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช้าลง แต่มันก�ำลังขับเคลื่อนด้วยความเร็วปกติของมัน เป็นเราเองที่เคยชินกับความเร่งรีบ จนลืมมองธรรมชาติของบางสิ่งที่เป็นแบบเดิมไม่เคย เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นที่แม้ว่าโลกจะหมุนไปกี่ร้อยล้านรอบ แต่เขาก็ยังคงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมที่ที่ยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ท�ำจัดท�ำขึ้นเพื่ออยากให้ทุกคนได้หยุดพัก กลับมาใช้ระบบดั่งเดิมแบบ ชั่วคราว ปล่อยให้เวลาท�ำงานของมันไป และปล่อยให้ใจเราได้ล่องลอยไปกับความนิ่งสงบของ วัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่อ่านยิ่งอ่านยิ่งท�ำให้เรามองเห็นคุณค่าของสิ่งเก่าๆ ได้มากขึ้น หนังสือเล่มนี้อาจจะไม่ใช่หนังสือที่ดีที่สุด อาจจะไม่ได้ติดอันดับหนังสือขายดี แต่หวัง ว่ามันจะติดอันดับหนังสือในดวงใจของใครหลายๆ คน ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบกลิ่นดินที่เปียกฝน และ เช่นกันเราท�ำบางสิ่งให้ถูกใจทุกคนไม่ได้เช่นกัน ส�ำนักพิมพ์อินทนิล


ค�ำน�ำ

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูงกว่าหลายประเทศในแถบเอเชีย และยังคงสามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมเหล่านั้นไว้ได้มาจนถึงปัจจุบัน อาจจะมีบ้างที่เทคโนโลยีเข้า มามีบทบาทในบางเรื่องเพิ่มมากขึ้น แต่ชาวญี่ปุ่นก็สามารถปรับใช้วัฒนธรรมดั่งเดิมให้สอดคล้อง กับโลกในปัจจุบันได้อย่างลงตัว ประเทศญี่ปุ่นยังขึ้นชื่อในเรื่องการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งของหรือนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ และสิ่งประดิษฐ์ทุกชิ้นล้วนแล้วแต่สร้างและพัฒนามาจากปัญหาที่พวกเขาพบเจออยู่บ่อยๆ ไม่ว่า ปัญหานั้นจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม และหลายสิ่งหลายอย่างที่คิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยอดีต ใน ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นได้ถูกพัฒนาให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและใช้งานได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย เนื่องด้วยวัฒนธรรมที่ยาวนานของชาตินิยมอย่างญี่ปุ่นนั้นน่าหลงใหล บางสิ่งบางอย่าง เป็นเพียงสิ่งเล็กๆแต่กลับมีพลังที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ ด้วยความน่าหลงใหลและข้อสงสัยที่มีคนญี่ปุ่น ในยุคปัจจุบันว่าเขามีความเชื่อ ความศรัทธา หรือความผูกพันแบบไหนกันถึงยังคงสืบทอด วัฒนธรรมเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน และเกิดเป็นหนังสือ “นิฮง” เล่มนี้ขึ้นมา “นิฮง” (Nihon) เป็นค�ำจากภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า “ประเทศญี่ปุ่น” คล้ายกันกับค�ำว่า “นิปปง” (Nipon) แตกต่างกันที่ค�ำว่านิปปงเป็นการเรียกประเทศญี่ปุ่นที่เป็นทางการกว่าค�ำว่า นิฮง และค�ำนิฮงนี้หากออกเสียงให้ได้ตามส�ำเนียงญี่ปุ่นแท้ จะเป็นโทนเสียงที่มีเสน่ห์ และเป็น เอกลักษณ์ เพราะเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงได้ชื่อว่า “นิฮง” ทั้งความที่สอดคล้องกับเนื้อหาภายใน และโทนเสียงที่ใช้พูด มันแสดงความเป็นญี่ปุ่นได้ดีทีเดียว และผู้เขียนหวังว่าหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเล่มจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็ น้อย และหากผิดพลาดประการใด ผู้เขียนจะน�ำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อๆ ไปค่ะ ความงาม ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพราะมันขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ชม และหากให้ผู้เขียนนิยามความ งดงามที่แท้จริงของผู้เขียนเอง คงจะเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นนี้เองที่เป็นความงามที่น่าพึงพอใจที่สุด สุดารัตน์


หัวข้อ

สารบัญ

“โอชิโบริ”ผ้าขนหนูผืนเล็กในร้านอาหารกับธรรมเนียมการใช้ที่ควรเรียนรู้ เปิดปิดประตูเลื่อนแบบญี่ปุ่นอย่างไรให้ถูกใจและถูกต้อง เสื่อทาทามิความเรียบง่ายที่แสนวิเศษของบ้านแบบญี่ปุ่น เหตุใดธงรูปปลาคาร์ฟจึงมีความส�ำคัญในวันเด็กของญี่ปุ่น ฮินะมัตสุริ(HinaMatsuri)เทศกาลวันเด็กผู้หญิงของญี่ปุ่น ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ธรรมเนียมที่คงไว้ แม้เทคโนโลยีจะก้าวล�้ำไปแสนไกล นางเงือกผู้เตือนภัยหรือผู้เรียกหาสึนามิ? ลูกเขยถูกแกล้งเจ้าสาววิ่งหนีประเพณีแต่งงานสุดพีคของโอกินาว่า คาบาตะเมื่อชีวิตและสายน�้ำมาบรรจบกันที่ฮาริเอะ เสาโทริอิ(Torii)มีความส�ำคัญอย่างไรกับประเทศญี่ปุ่น ท�ำไมคนญี่ปุ่นใช้กิ่งไม้มีหนามแหลม และหัวปลาซาร์ดีนไล่สิ่งชั่วร้ายในวันที่3กุมภาพันธ์ ซันชินเครื่องดนตรีที่บรรเลงท่วงท�ำนองของโอกินาว่า เทศกาลปาถั่ว(เซ็ตสึบุน)ในฮอกไกโดนั้นแตกต่างจากที่อื่น หญิงร้อนรุ่มแห่งปี“ฮิโนะเอะอุมะ”หญิงต้องห้ามตามความเชื่อญี่ปุ่นโบราณ “คินสึงิ”Kintsugiร่องรอยแห่งความบอบช�้ำศิลปะแห่งการแตกร้าว เสน่ห์ด้านมืดญี่ปุ่นเกอิชาและโออิรัน อามะ(海女)อาชีพน่าเหลือเชื่อของผู้หญิงญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมากว่า2พันปี โต๊ะโคทัตสึ(Kotatsu)ความอุ่นอุ่นในฤดูหนาวของญี่ปุ่น ด้ายแดงแห่งโชคชะตา(運命の赤い糸)พันธนาการแห่งคู่แท้ที่ไม่อาจขาดจากกัน นกฮูกในความเชื่อของคนญี่ปุ่น ซามุไรและพ่อค้าว่าด้วยวิธีการกินปลาไหลที่ต่างกัน วิธีรับประทาน“เอโฮมากิ”เพื่อให้เป็นมงคลก่อนวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น ใบไม้นี้กินได้หรือไม่ได้?ค�ำถามที่มักได้ยินจากผู้ลองชิมคะชิวะโมจิเป็นครั้งแรก โฮโตอาหารของฝากถูกใจของชาวญี่ปุ่นที่มีต้นก�ำเนิดมาจากพื้นที่ป่า

หน้า 1-3 4-6 7-9 10-12 13-16 17-20 21-24 25-28 29-31 32-35 36-38 39-42 43-46 47-50 51-53 54-56 57-60 61-63 64-66 67-71 72-74 75-78 79-81 82-85


ซึคุชิหรือหญ้าหางม้าหญ้าแห่งฤดูกาลและความอร่อยแบบญี่ปุ่น ฮิกันบานะดอกไม้ที่น่ากลัวส�ำหรับคนญี่ปุ่น ดังโงะ(Dango)ขนมโบราณที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานับร้อยปี ขนมยัทสึฮาชิ(Yatsuhashi)ของฝากจากเกียวโตที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยได้รับ เพราะอะไรคนโอกินาว่าถึงนิยมกินหมูทั้งที่เป็นจังหวัดเกาะติดทะเลแท้ๆ ยาคุมิ(Yakumi)หนึ่งส่วนประกอบส�ำคัญที่เป็นมากกว่าแค่ของประดับ

86-88 89-92 93-97 98-102 103-105 106-108




“โอชิโบริ” ผ้าขนหนูผืนเล็ กในร้านอาหาร กับธรรมเนี ยมการใช้ที่ควรเรียนรู ้

nihon1


“โอชิโบริ” (おしぼり) ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ที่มีทั้งแบบชุบน�้ำอุ่นมาหมาดๆ และชุบน�้ำเย็น แบบที่ใช้กันในร้านอาหารร้านทั่วไปที่ไม่ใช่ร้านอาหารจานด่วน คงต้อง เคยเห็นผ้าขนหนูผืนเล็กๆ แบบนี้ วางเตรียมไว้บนโต๊ะอาหาร วัตถุประสงค์ในการใช้ จริงๆ ของโอชิโบริ คือ อะไร? แล้วชาวญี่ปุ่นเขามีมารยาทในการใช้อย่างไรบ้าง? ผ้าโอชิโบริมีประวัติศาสตร์อยู่คู่กับประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน แต่ที่เริ่ม มาได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคเอโดะ โรงแรมในยุคนั้นจะน�ำเอาผ้าเช็ด มือ กับถังน�้ำใส่น�้ำเตรียมไว้ส�ำหรับแขกที่จะมาพัก แขกผู้มาเข้าพักก็จะเอาผ้าเช็ดมือ จุ่มน�้ำ บิด แล้วเอามาเช็ดมือ ซึ่งค�ำว่า “บิด” ในภาษาญี่ปุ่นคือ “ชิโบรุ” (絞る) จึงเป็นที่มาของศัพท์ค�ำว่า “โอชิโบริ” ต่อมาในยุคสงครามวัฒนธรรม การใช้โอชิโบริก็เกือบจะหายไป แต่ช่วง หลังสงครามที่ร้านอาหาร เริ่มเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น ความนิยมในการใช้ผ้าโอชิโบ ริก็กลับมาอีกครั้ง จนการเตรียมโอชิโบริไว้ให้แก่ลูกค้ากลายเป็นธรรมเนียมของร้าน อาหารสืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

nihon2


ข้อควรปฏิบตั ิในการใช้โอชิโบริ - ใช้โอชิโบริเช็ดหน้าได้หรือไม่? หลายๆคนโดยเฉพาะคุณผู้ชายมักเผลอเอาโอชิโบริมาเช็ดหน้า ที่จริงแล้ว เราสามารถเอาผ้าโอชิโบริมาเช็ดหน้าได้ ไม่ถือเป็นการใช้งานผิดประเภทแต่อย่างใด แต่แค่สาวๆ ญี่ปุ่นเขาก็จะเมาท์ๆ กันว่า เป็นนิสัยแบบพวกลุงๆ เขาท�ำกัน - โอชิโบริใช้แล้วทิ้งหรือเปล่า? โอชิโบริส่วนใหญ่ที่ใช้กันตามร้านอาหารจะเป็นผ้าที่เช่ามาจากร้านที่ให้ บริการเช่าผ้าโอชิโบริ เพราะการซักและตากผ้าโอชิโบริเป็นจ�ำนวนมากในแต่ละวันถือ เป็นงานที่หนักไม่ใช่น้อยส�ำหรับร้านอาหาร ส่วนใหญ่จึงใช้บริการเช่าผ้าโอชิโบริจากผู้ ประกอบการร้านให้เช่าผ้าโอชิโบริ ดังนั้นหากโอชิโบริที่คุณได้รับไม่ใช่แบบกระดาษ แต่ เป็นผ้าขนหนู ห้ามทิ้งเป็นอันขาด ทิ้งได้แค่เฉพาะชนิดกระดาษเท่านั้นนะ - เอาผ้าโอชิโบริไปเช็ดอย่างอื่นได้หรือไม่ วัตถุประสงค์หลักในการใช้โอชิโบริก็คือ เช็ดมือ และผ้าส่วนใหญ่ก็จะถูกน�ำ ไปซักโดยร้านผู้ให้บริการเช่า และน�ำกลับมาวนแจกจ่ายให้กับตามร้านอาหาร ดังนั้น ไม่ควรน�ำเอาโอชิโบริไปเช็ดอะไรที่มีคราบสกปรกที่ซักออกได้ยาก เช่น โชยุ ซอส หรือ คราบน�้ำมัน เป็นต้น เพราะถ้าหลังจากน�ำไปซักแล้วคราบเหล่านั้นไม่หลุดออกไป ผ้า ผืนนั้นก็จะไม่สามารถน�ำกลับมาใช้ได้อีก นี่เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ผ้าโอชิโบริเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่น�ำมาฝากกันใน ครั้งนี้ หากท่าน เป็นคนหนึ่งที่เคยท่องเที่ยวไปในหลายประเทศ คงจะสัมผัสได้ว่า วัฒนธรรมการใช้ผ้าโอชิโบริถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่น ครั้งต่อไปหากได้มี โอกาสไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีเสิร์ฟผ้าโอชิโบริ ก็อย่าลืมใช้งาน อย่างถูกวิธีกันด้วยนะ

nihon3


เปิ ดปิ ดประตูเลื่ อนแบบญี่ป่ ุนอย่างไร ให้ถูกใจและถูกต้อง

nihon4


“ฟุซุมะ” 「襖」 คือประตูเลื่อนกรอบไม้กรุด้วยกระดาษ ชาวญี่ปุ่นใช้ในการ กั้นห้องออกจากกัน ตามขนาดของห้องที่วัดด้วยจ�ำนวนเสื่อทาทามิ ด้วยวัสดุที่ใช้ ท�ำให้ประตูมีน�้ำหนักเบา เลื่อนเปิดปิดได้ง่าย สะดวกสบาย และดูสะอาดตา แต่ที่ไม่ ง่ายเลยส�ำหรับคนต่างชาติ คือวิธีการเปิด-ปิดที่มีขั้นตอนที่ดูเรียบง่าย แต่ช่างซับซ้อน เหลือเกิน…มาเรียนรู้กันไว้หน่อย - การเปิดค่อยๆ ท�ำ อย่าได้รีบ การเปิดประตูเลื่อนที่ถูกต้องของญี่ปุ่น จะเริ่มต้นท�ำในท่านั่งแบบ “เสะอิซะ” 「正座」หรือการนั่งแบบญี่ปุ่น ที่ต้องนั่งทับลงไปบนส้นเท้า และยืดหลังให้ตั้งตรงอย่าง สง่างาม ส่งเสียงเป็นสัญญาณเพื่อบอกให้คนที่อยู่ในห้องรับรู้เสียก่อน จากนั้นจึงใช้มือ ข้างที่อยู่ตรงข้ามกับประตูเป็นจุดเริ่มต้น เช่น หากประตูที่จะเปิดต้องเลื่อนขวา ให้ใช้ มือซ้ายเริ่มต้น จับที่ช่องจับแล้วออกแรงดันอย่างนุ่มนวลให้ประตูเลื่อนเปิดเพียง ระยะ ใบหน้าของเรา แล้วจึงเลื่อนมือให้ต�่ำลง ดันประตูเลื่อนต่อไปให้ได้ระยะสุดแขนพอดี แล้วจึงสลับไปใช้มืออีกข้างหนึ่งเพื่อดันประตูเปิดไปให้สุด เท่านี้ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้น การเปิดประตูแบบญี่ปุ่นแล้วล่ะ nihon5


- การปิด ความประทับใจสุดท้ายก่อนจาก เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจภายในห้องแล้ว ให้เปิดประตูเพื่อออกจากห้องด้วยขั้น ตอนเดิม แล้วข้ามเส้นประตูกลับมานั่งอยู่ในท่า เสะอิซะ เช่นเดียวกับตอนเปิด จากนั้น ใช้มือข้างที่อยู่ฝั่งเดียวกับประตูจับส่วนล่างของบานแล้วดึงประตูกลับมาให้ได้ระยะ ใบหน้า แล้วค่อยสลับมืออีกข้างมาเพื่อดึงประตูต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากนั้นจึงจับที่ ช่องจับแล้วดันประตูปิดให้สุด เป็นอันว่าเสร็จสิ้นการปิดประตูอย่างสมบูรณ์แบบ ลุก ขึ้นยืนแล้วไปต่อได้! สิ่งส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ส�ำหรับการเปิด-ปิดประตูแบบญี่ปุ่นคือ ในระหว่างที่ท�ำ อยู่ ควรก้มศีรษะลงเล็กน้อย สายตามองต�่ำ และท�ำอย่างช้าๆ เพื่อให้ทุกการ เคลื่อนไหวของเราดูเป็นการกระท�ำอย่างตั้งใจ ใส่ใจ และมีสมาธิ ถือเป็นการฝึกฝนจิต อีกทางหนึ่งของญี่ปุ่นเลย แม้กระทั่งการเปิด-ปิดประตูก็มีขั้นตอนที่ดูเหมือนจะเรียบง่าย แต่เต็มไป ด้วยจังหวะที่ซับซ้อนไม่ธรรมดาสมเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นจริงๆ

nihon6


เสื่อทาทามิ ความเรียบง่ายที่แสนวิเศษ ของบ้านแบบญี่ปนุ่

nihon7


“ทาทามิ“ นึ่ งในสิ่ งที่ขาดไม่ได้ของบ้านแบบญี่ป่ ุน เสื่อทาทามิ ถือเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มี เอกลักษณ์พิเศษเฉพาะที่มีแต่ญี่ปุ่นเท่านั้นที่เราจะนึกถึง ค�ำว่า “ทาทามิ” มีที่มาจากค�ำว่า “ทาทามุ” 「畳む」 แปลว่า “พับ” ซึ่งเป็น ค�ำกริยาที่มักใช้กับเสื่อ ที่คนสมัยเฮอัน ราวศตวรรษที่ 8 (ประมาณสมัยอาณาจักร ทวารวดี) จะน�ำเสื่อออกมาใช้ และต้องพับเก็บเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปก็ กลายเป็นค�ำว่าทาทามิอย่างในปัจจุบัน แต่เสื่อทาทามิในสมัยนี้ อยู่ในลักษณะที่ไม่ สามารถพับเก็บได้อย่างสมัยก่อน ทาทามิ ทอจากหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “อิกุสะ” หรือ ต้นกก ซึ่งพืชชนิดนี้มี คุณสมบัติพิเศษ ที่ท�ำให้รู้สึกสดชื่น และสามารถสร้างความผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี เสื่อทาทามิยังมีคุณสมบัติในการดูดซับ ระบายความชื้น และรักษาความอบอุ่น และ ยังเก็บเสียงได้ดีด้วย ด้วยคุณสมบัติที่ครบครันของเสื่อทาทามิ ที่ดูดซับและระบายความชื้นได้ดี จึงเหมาะกับสภาพอากาศที่มีฝนตลอดทั้งปี แต่ก็รักษาความอบอุ่นได้ดีเช่นกัน จึงเป็น ข้อดีในฤดูหนาว ในขณะที่ฤดูร้อนก็ให้ความรู้สึกที่สบาย ผ่อนคลาย ถือเป็นองค์ ประกอบส�ำคัญของบ้านที่ลงตัว เข้ากันกับฤดูกาลทั้ง 4 ของประเทศญี่ปุ่นได้อย่าง สมบูรณ์แบบ nihon8


นอกจากจะเข้ากันดีกับสภาพอากาศแล้ว ยังสอดคล้องกับวัฒนธรรมของ ชาวญี่ปุ่นอีกด้วย เพราะเสื่อทาทามิ มีความยืดหยุ่นสูง จึงช่วยให้การ “เสะอิซะ”「正 座」หรือการนั่งแบบญี่ปุ่น ที่ต้องนั่งทับลงไปบนส้นเท้า และยืดหลังให้ต้ังตรงอย่างสง่า งาม สามารถท�ำได้อย่างสบายตัวมากยิ่งขึ้น ทาทามิก็เหมื อนกับวันเวลาที่ไม่เคยหยุดนิ่ ง เสื่อทาทามิท�ำมาจากวัสดุธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องปกติที่มันจะแปรสภาพไป ตามกาลเวลา จากสีเขียวอ่อนๆ จะเริ่มกลายเป็นสีน�้ำตาล และเริ่มหลุดลุ่ยไปตามการ ใช้งาน เมื่อถึงเวลาของมัน ทาทามิจะสามารถกลับด้านเพื่อใช้งานต่อได้ แน่นอนว่า เป็นงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการท�ำ ช่างผู้ช�ำนาญจะลงมือคลายเสื่อออกจากโครง ยึด จากนั้นจึงกลับด้านและเย็บกลับเข้าไปในสภาพเดิมอีกครั้ง เราก็จะได้เสื่อทาทามิที่ สะอาด สดชื่น ดูเหมือนใหม่อีกครั้ง แสงแดดเป็นเหตุผลหลักของการเปลี่ยนสีของเสื่อทาทามิ ส�ำหรับชาวญี่ปุ่น แล้ว ในแง่นี้เป็นสิ่งเตือนใจให้รู้สึกถึงวันเวลาที่ด�ำเนินไป เป็นสัญลักษณ์ของการผ่าน พ้นไปและไม่มีวันหวนกลับ nihon9


เหตุใดธงรู ปปลาคาร์ฟจึงมีความส�ำคัญ ในวันเด็กของญี่ป่ ุน

nihon10


วันเด็กญี่ปุ่นตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในวันหยุดในช่วงสัปดาห์ ทองหรือ Golden Week ของญี่ปุ่น วันเด็กในญี่ปุ่นเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองและขอพร ให้เด็กๆ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต หนึ่งใน สัญลักษณ์ส�ำคัญของวันเด็ก คือ “ธงปลาคาร์ฟ” โคยโนโบริ หรือ ธงรูปปลาคาร์ฟ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันเทศกาลเด็ก ผู้ชายในอดีต หรือวันเด็กในปัจจุบัน ซึ่งหากบ้านไหนมีลูกชายจะประดับธงรูปปลา คาร์ฟไว้หน้าบ้าน โดยทั่วไปธงจะประกอบด้วยปลาพ่อ (สีด�ำ) ปลาแม่ (สีแดงหรือชมพู เข้ม) และปลาลูก (สีฟ้า) บางบ้านก็ประดับเพิ่มปลาสีส้ม เขียว และม่วง ที่มีขนาดลด หลั่นกันมาตามจ�ำนวนและอายุของลูกๆ เหตุที่ประดับธงรูปปลาคาร์ฟเนื่องมาจาก ความเชื่อตามเรื่องเล่าของจีนว่า ปลาคาร์ฟนั้นสามารถว่ายทวนกระแสน�้ำในแม่น�้ำ ฮวงโหได้จนกลายเป็นมังกร ชาวญี่ปุ่นซึ่งได้รับอิทธิพลความเชื่อจากจีนจึงอยากให้ ลูกชายมีจิตใจที่เข้มแข็ง ต่อสู้กับความยากล�ำบากในชีวิตอย่างไม่ย่อท้อเหมือนดั่งปลา คาร์ฟ ปลาคาร์ฟกับความสดใสแห่งช่วงวันเด็ก ธงปลาคาร์ฟเป็นสัญลักษณ์ส�ำคัญของการสร้างความสุขและความพิเศษให้ กับวันเด็ก ทุกปีก่อนวันเด็ก สถานที่เรียนรู้ต่างๆ รวมถึงโรงเรียนจะให้เด็กๆ nihon11


ได้ประดิษฐ์ธงรูปปลาคาร์ฟพร้อมกับพ่อแม่หรือคุณครู เพื่อน�ำไปแขวนไว้ตามโรงเรียน อนุบาลหรือน�ำไปประดับไว้ที่บ้าน สายลมแห่งช่วงฤดูใบไม้ผลิจะพัดให้ธงปลาคาร์ฟ แกว่งไปมาเหมือนดั่งปลาที่แข็งแรงว่ายทวนกระแสน�้ำ

nihon12


ฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) เทศกาลวันเด็กผูห้ ญิงของญี่ปนุ่

nihon13


เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri) หรือ ฮินะ มัตสุริ จะจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม เป็นประจ�ำทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยเอโดะ Edo (1603-1867) เป็น เทศกาลเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่น โดยจะมีการตกแต่งตุ๊กตาญี่ปุ่น ที่ สวยงามหลายตัวบนชั้นวาง ที่ตั้งอยู่ภายในบ้าน ตามความเชื่อที่ว่า จะท�ำให้ลูกสาวมี สุขภาพแข็งแรงและมีความสุข บางครั้งเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl’s Festival) ชาวญี่ปุ่นรับเทศกาลนี้มาจากธรรมเนียมจีน ตามความเชื่อว่า จะสามารถ ขจัดเคราะห์ร้าย ให้ไปกับตุ๊กตาได้ โดยปล่อยตุ๊กตาลอยไปกับแม่น�้ำ ส่วนในประเทศ ญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข ขจัดพลังชั่วร้ายออก ไปจากชีวิต ประสบความส�ำเร็จ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสวย เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า “ฮัตสุ เซกุ” (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามา จัดโชว์ให้กับหลานสาว เริ่มน�ำตุ๊กตามาท�ำความสะอาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่ 3 มีนาคม ก็จะน�ำตุ๊กตาฮินะหรือ ฮินะนิงโย (hinaningyo) มาตั้ง โชว์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาที่ท�ำด้วยมือแบบดั้งเดิมวางไว้บนชั้น ปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช และเค้ก ที่ท�ำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมกิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และคิราชิซูชิ (chirashi sushi) nihon14


ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องน�ำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตา เจ้าชายโอไดริ-ซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะ-ซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุด ของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลัง ของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จ�ำลอง ว่ากันว่าจ�ำนวนชั้นจะมากหรือน้อยนั้น ก็เป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละ บ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ประมาณ 7 ขั้น จ�ำนวนตุ๊กตาและการตกแต่งจัดเครื่องแต่ง กายให้กับตุ๊กตาก็เป็นการแสดงออกถึง ฐานะเช่นกัน โดยทั่วไปในหนึ่งเซทจะมี ประมาณ 15 ตัว เป็นตุ๊กตาชาววังที่เริ่มตั้งแต่ จักรพรรดิ จักรพรรดินี เจ้าชาย เจ้าหญิง ผู้รับใช้ ฯลฯ ลดหลั่นกันลงมาตามล�ำดับ ในยุคแรกๆ การตั้งตุ๊กตาเป็นประเพณีของผู้มีอันจะกิน หลักๆ จะเป็นตุ๊กตา เจ้าชายและเจ้าหญิง โดยในสมัยโบราณนั้นจะมีการจัดท�ำตุ๊กตาฮินะขึ้นจากวัสดุพวก ไม้กระดาษที่ท�ำขึ้นมาอย่างง่ายๆ แล้วน�ำไปใส่กระด้งเล็กๆ ลอยแม่น�้ำหรือทะเลเพื่อ เป็นการสะเดาะเคราะห์ภาวนาให้ลูกสาวของบ้านนั้นเติบโตขึ้นโดยมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนเกิดเป็นประเพณีของผู้คนทุกฐานะ และเริ่ม ตกแต่ง ประดับประดา จัดท�ำเครื่องแต่งกายให้สวยงามมากขึ้น ใช้วัสดุที่ดีอย่างผ้า ไหมตัดเป็นเครื่องแต่งกายให้ตุ๊กตาในชุดกิโมโนเต็มยศ แบบโบราณ ซึ่งบางบ้านเป็น ตุ๊กตาประจ�ำตระกูลที่สืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปี nihon15


มีการบูชาและถวายเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งขนมหวานที่ชื่อว่า “อาราเร่” และขนมที่ท�ำมา จากข้าวเหนียว “คาชิวะ โมจิ” หรืออาจจะเป็นเค้กที่ท�ำจากข้าว พร้อมเครื่องดื่มพวก เหล้าขาวอย่าง “ชิโรสาเก ” และบูชาด้วยดอกไม้อย่างดอกท้อ เทศกาลน่ารักๆ นี้ แต่ละครอบครัวที่มีลูกสาวจะเลี้ยงฉลองพิธีนี้อย่างตั้งใจ มีการดื่มฉลองแสดงความ ยินดีและอวยพรให้เติบโตอย่างมีความสุข และในปัจจุบันก็เปิดโอกาสให้มีการสังสรรค์ กันในกลุ่มเพื่อนๆ เพิ่มขึ้น คืออาจจะชวนกันมาจัดปาร์ตี้กลางแจ้ง ทานอาหารร่วมกัน ที่บ้าน ซึ่งนับเป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่สามารถสร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข และสร้างความ สัมพันธ์อันดีให้กับคนในครอบครัว เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตามความเชื่อในเทศกาลฮินะ มัตสึริ (Hina matsuri) • มีความเชื่อกันว่าถ้าบ้านไหนจัดบูชาตุ๊กตาในวันที่ 3 มีนาคมแล้วนั้น หาก พ้นวันนี้ไปแล้วต้องรีบเก็บตุ๊กตาทันที เพราะหากประดับทิ้งไว้นานๆ จะท�ำให้ลูกสาว ขึ้นคานได้ แต่ก็มีอีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวว่า จะตั้งตุ๊กตาฮินะประดับไว้จนถึงวันเด็ก ผู้ชายในวันที่ 5 พฤษภาคม เพื่อเป็นการฉลองต่อเนื่องกันไปเลย จากนั้นจึงค่อยเก็บให้ เรียบร้อยเพื่อน�ำออกมาประดับในปีต่อๆไป • เทศกาลฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ เช่น โมโม โนะเซกุ (Momo-no-Sekku) เทศกาลตุ๊กตา (Doll’s Festival) เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl’s Festival) • ฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มาจากค�ำว่า ฮินะ (Hina) ซึ่งเป็นค�ำโบราณที่ หมายถึง ตุ๊กตา ส่วนค�ำว่า มัตสุริ (Matsuri) หมายถึง เทศกาล ข้อมูล ปากเซ ดอทคอม , บ้านฮามาโมโต้

nihon16


ไปรษณี ยบัตรอวยพรปี ใหม่ ธรรมเนี ยมที่คงไว้ แม้เทคโนโลยีจะก้าวล�้ำไปแสนไกล

nihon17


แม้เทคโนโลยีจะก้าวล�้ำจนผู้คนสามารถติดต่อกับญาติมิตรและคนที่รักได้ ง่ายผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่คนญี่ปุ่นจ�ำนวนมากยังคงส่งไปรษณียบัตรอวยพรปี ใหม่ให้ญาติมิตรเพื่อนสนิทในวันปีใหม่อยู่ มาดูประวัติการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปี ใหม่และเหตุผลที่คนญี่ปุ่นยังคงธรรมเนียมการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่แม้ว่า เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวล�้ำไปมากแล้วก็ตาม มีหลักฐานว่าการส่งไปรษณียบัตรนั้นเริ่มต้นตั้งแต่สมัยเฮอันในช่วงปี ค.ศ. 794-1185 จนกระทั่งในสมัยเอโดะที่เจ้าของธุรกิจร้านค้าส่งไปรษณียบัตรไปให้ลูกค้า ในวันขึ้นปีใหม่ และไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ที่ส่งให้ญาติได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังใน สมัยเมจิ ซึ่งในสมัยนั้นไปรษณีย์ได้ปรับปรุงจัดระบบเพื่อจัดส่งไปรษณียบัตรให้ถึงมือ ผู้รับในวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่นั้นมาก็มีการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่กันเรื่อยมา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ฉับไวสามารถส่งการ์ดอวยพร ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ แต่ก็ยังพบว่าคนญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยในการส่งไปรษณียบัตร อวยพรปีใหม่ต่อคนที่ 27 ใบ โดยบุคคลที่ส่งไปรณียบัตรนั้นมีตั้งแต่เด็กวัยอนุบาล จนถึงผู้สูงอายุเลยทีเดียว ไปรษณียบัตรที่หาซื้อได้จากไปรษณีย์และร้านค้าทั่วไป โดยมีลวดลายให้ เลือกหลากหลายแบบ แต่ลายส่วนใหญ่มักจะเป็นลายของสัตว์ตามปีนักษัตรนั้นๆ nihon18


บนไปรษณียบัตรมักมีข้อความกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับปีใหม่และมี พื้นที่ให้ผู้ส่งเขียนข้อความไปยังผู้รับ ไปรษณียบัตรอวยพรชนิดไม่เป็นทางการที่ออกแบบได้เอง โดยน�ำรูปถ่าย สมาชิกในครอบครัว ภาพวาดปีนักษัตร หรือรูปทิวทัศน์อื่น ๆ มาท�ำเป็นด้านหลังของ ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ เหตุผลที่คนญี่ป่ ุนยังคงธรรมเนี ยมการส่งไปรษณี ยบัตรอวยพรปี ใหม่ไว้ - ความรู้สึกที่ดีทางใจ ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่เปรียบเสมือนการเฉลิมฉลองปีใหม่ที่ก�ำลังจะมาถึง พร้อม กับการกล่าวแสดงความยินดีในการต้อนรับปีใหม่ การกล่าวค�ำอวยพรให้แก่กันและกัน การกล่าวขอบคุณส�ำหรับความเอื้อเฟื้อที่มีต่อกันและกันตลอดปีท่ีผ่านมา ตลอดจน การบอกเล่าเรื่องราวให้แก่เพื่อนฝูงซึ่งอยู่ห่างไกลกัน ซึ่งนอกจากจะสร้างสัมพันธไมตรี ที่ดีต่อกัน แล้วก็เป็นการสร้างคุณค่าทางใจว่ายังมีคนคิดถึงเราอยู่ - การส่งเพื่อประโยชน์ทางธรุกิจ กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ สถาบันการศึกษาและกวดวิชาต่างๆ nihon19


จะส่งไปรษณียบัตรไปให้ลูกค้าเพื่อแสดงความขอบคุณส�ำหรับการสนับสนุน ธุรกิจของพวกเขาตลอดทั้งปี - การส่งตามมารยาท คนญี่ปุ่นจ�ำนวนมากรู้สึกว่าการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่เป็นหน้าที่และ มารยาทที่ควรกระท�ำ เช่น การส่งไปรษณียบัตรไปยังผู้ที่ส่งมาให้ก่อน เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ • หากครอบครัวใดที่มีญาติเสียชีวิตในปีก่อนปีใหม่จะไม่มีการส่ง ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ ทั้งนี้ครอบครัวที่มีญาติเสียชีวิตจะต้องส่งไปรษณียบัตร เพื่อแจ้งว่าไม่สามารถส่งและรับไปรษณียบัตรได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือน ธันวาคม • เพื่อให้สามารถส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ไปถึงผู้รับในวันที่ 1 มกราคม ก็ควรจะส่งไปรษณียบัตรภายในวันที่ 15-27 ธันวาคม • ตามมารยาทเมื่อได้รับไปรษณียบัตรจากบุคคลหรือเพื่อนที่ไม่ได้ส่งให้ ตั้งแต่ตอนแรก ผู้รับควรส่งไปรษณียบัตรคืนผู้ส่งไม่ให้ล่าช้าเกินวันที่ 7 มกราคม ในความคิดของผู้เขียนแม้ว่าการเตรียมไปรษณียบัตรมีความยุ่งยากจากการ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงที่อยู่ที่จะส่งให้ผู้รับในแต่ละปี ตลอดจนต้องเขียนค�ำอวยพรด้วยมือ ไปยังญาติมิตร แต่ทุกวันที่ 1 มกราคม ครอบครัวผู้เขียนมักจะตั้งหน้าตั้งตารอรับ ไปรษณียบัตรตั้งแต่เช้า เพื่อจะรู้ความเป็นไปของเพื่อนฝูงที่ไม่ได้เจอกันตลอดทั้งปี แม้ ปัจจุบันนี้จะมีประเด็นว่าคนญี่ปุ่นจ�ำนวนไม่น้อยเริ่มไม่อยากรับส่งไปไปรษณียบัตร อวยพรปีใหม่เพิ่มขึ้น แต่เชื่อหรือไม่คะว่าพอย่างเข้าเดือนธันวาคม สิ่งที่คนญี่ปุ่นคิดว่า ต้องท�ำให้เสร็จไวๆ ก็คือการเตรียมไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่เพื่อส่งให้ญาติมิตรให้ ทันในวันที่ 1 มกราคมนั่นเอง

nihon20


นางเงือก ผูเ้ ตือนภัย หรือ ผูเ้ รียกหาสึนามิ?

nihon21


เช่นเดียวกันกับ “นางเงือก” ของตะวันตก นางเงือกของจังหวัดโอกินาวา (沖 縄県) ก็ถูกเล่าขานถึงเสียงเพลงและสึนามิที่มาพร้อมกับการปรากฏตัวของนางเงือก เช่นกัน ในขณะที่บางเกาะเล่าถึงนางเงือกในฐานะผู้ช่วยเหลือมนุษย์ บางเกาะก็เล่าถึง นางเงือกที่โกรธแค้นมนุษย์ - บทเพลงของนางเงือก ที่เกาะอิชิกาคิ (石垣島) ขณะที่ชาวประมงก�ำลังออกหาปลาตามชายฝั่งอยู่ จู่ๆ ก็มีอะไรบางอย่างมาติดอวนของตน เมื่อชาวประมงช่วยกันดึงอวนขึ้นมาก็พบผู้ หญิงหน้าตาสละสลวยที่มีท่อนล่างเป็นปลาติดอยู่ในอวน ชาวประมงคิดจะน�ำปลา ประหลาดนี้ไปขายแต่นางเงือกกลับขอร้องชีวิตไว้ โดยบอกว่าตนมีข่าวจะมาเตือนจึง ว่ายมาใกล้ชายฝั่ง ถ้ายอมปล่อยตนกลับลงทะเลตนจะบอกข่าวให้เป็นการแลกเปลี่ยน ด้วยความสงสัยและสงสารชาวประมงจึงยอมปล่อยนางเงือกลับลงทะเล นางเงือกว่ายหายไปในทะเลสีคราม ไม่นานเสียงร้องเพลงของนางเงือกก็ก้องไปทั้งเวิ้ง ทะเล บทเพลงเล่าถึงสึนามิที่จะมาถล่มเกาะทุกเกาะที่ขวางหน้าในวันรุ่งขึ้น ชาว ประมงที่ได้ยินจึงรีบหันเรือกลับไปยังหมู่บ้านและเตือนทุกคนให้หนีขึ้นไปบนภูเขา พร้อมส่งคนไปเตือนหมู่บ้านอื่นในเกาะใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านอื่นที่ไม่เชื่อก็ ยืนกรานที่จะอยู่ที่บ้านของตนต่อไป nihon22


และไม่ทันที่แสงแรกของวันรุ่งขึ้นจะปรากฏ ก�ำแพงน�้ำขนาดใหญ่ได้พัดพาทุกหมู่บ้าน หายไปในทะเล ยกเว้นชาวบ้านที่เชื่อค�ำของนางเงือกและหนีไปบนภูเขา - นางเงือกที่เพรียกหาสึนามิ วันหนึ่ง ชาวประมงของ เกาะอิราบุ (伊良部島) จับปลาประหลาดที่คล้าย มนุษย์ได้ แม้จะน�ำขึ้นมาบนบกแต่ปลานั้นยังคงหายใจแต่ก็อ่อนแอลงทุกที ด้วยความ เชื่อว่าปลานี้เป็นปลาวิเศษชาวบ้านจึงน�ำปลาประหลาดไปวางไว้ในครัวเพื่อแกงกินต่อ ไปในวันรุ่งขึ้น คืนวันนั้น หญิงชาวบ้านพาลูกที่ร้องไห้ไม่ยอมหยุดออกมาเดินเล่น ตอน นั้นเองที่หญิงชาวบ้านได้ยินเสียงสองเสียงพูดคุยกัน เสียงหนึ่งก้องมาจากทะเลและอีก เสียงก�ำลังหายใจรวยริน “เพื่อนเอ๋ย เจ้าหายไปไหน?” เสียงจากทะเลถาม “พวกมนุษย์จับข้ามาไว้ที่บ้านของมัน ข้าทรมานเหลือเกิน ส่งทะเลมาช่วยข้า ที” เสียงที่อ่อนแรงนั้นขอร้อง ทะเลจึงตอบกลับมาว่า “รุ่งสางของวันนี้เราจะไปรับเจ้า รอก่อนนะ” หญิงชาวบ้านได้ยินดังนั้นจึงน�ำ เรื่องประหลาดไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ทุกคนเชื่อว่าสึนามิก�ำลังจะมาและรีบหนีไปยัง ภูเขา ยกเว้นคนที่ไม่เชื่อ และเช้าวันต่อมาสึนามิก็ได้พัดพาหมู่บ้านให้หายลงทะเลไป พร้อมกับปลาประหลาดนั่น

nihon23


นางเงือกของโอกินาวามีลักษณะต่างกันไปตามเรื่องเล่าฉบับต่างๆ บ้างก็ว่า มีหน้าตาสวยงาม บ้างก็ว่าหน้าตาเหมือนวัว บ้างก็ว่ามีเสียงไพเราะ บ้างก็ว่านางเงือก สามารถพูดได้โดยไม่ขยับปาก หรือแม้กระทั่งสื่อสารกับทะเลได้ แม้นางเงือกจะมี ลักษณะที่หลากหลาย แต่เป็นไปได้ว่าต้นแบบของนางเงือกในโอกินาวาก็คือ พะยูน เช่นดียวกันกับนางเงือกของตะวันตก เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไปในทะเล ของโอกินาวา และอาจจะจุดประกายให้คนท้องถิ่นจินตนาการถึงนางเงือกนั่นเอง ไม่ว่านางเงือกในวัฒนธรรมของโอกินาวาจะเป็นผู้เตือนภัยหรือผู้น�ำสึนามิมา สู่มนุษย์ แต่เรื่องเล่านางเงือกที่มีอยู่แทบทุกภูมิภาคของโอกินาวาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับทะเล อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยังเห็นทะเล โอกินาวาที่สวยงามในทุกวันนี้ แต่นั่นคือความอุดมสมบูรณ์เพียงน้อยนิดจากที่ยังเหลือ อยู่ในอดีต และแม้แต่พะยูนที่เป็นต้นแบบของนางเงือกเองก็ก�ำลังหายไปจากทะเลแห่ง นี้ จนเป็นค�ำถามว่าหรือจะเป็นมนุษย์เองที่น�ำสึนามิมาท�ำลายทะเลกันแน่?

nihon24


ลูกเขยถูกแกล้ง เจ้าสาววิ่งหนี ประเพณี แต่งงานสุดพีค ของโอกินาว่า

nihon25


“โดโดอิ” ประเพณี แกล้งลูกเขยของเกาะโอกินาวา แม้ที่มาจะยังเป็นปริศนา แต่ “โดโดอิ (ドウドイ)” หรือ ประเพณีแกล้งลูกเขย (婿いじめ) ของโอกินาวาเป็นอีกหนึ่งประเพณีของชนชั้นขุนนางที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบัน ในเมืองนาโกะ (名護市) ของเกาะโอกินาวา (沖縄本島) ขั้นแรกของประเพณีนี้จะเริ่มจากการแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านของเจ้าสาวบนม้า ไม้ที่ท�ำง่ายๆ จากไม้ไผ่ท่อนเดียว การแกล้งเริ่มจากตรงนี้ เพราะในระหว่างที่ผู้ร่วม ขบวนจะตะโกนว่า “โดโดอิ” และตีกลอง เจ้าบ่าวจะถูกคนแห่ม้าไม้โยนและโยกให้ เจ็บตัว ซึ่งในอดีตมีบ้างที่บันทึกว่ามีการอนุญาตให้ผู้ร่วมงานปาหินใส่เจ้าบ่าวด้วย ยิ่ง เป็นในกลุ่มขุนนางและในวังแล้วยิ่งเล่นแรงถึงขั้นมีเจ้าบ่าวเสียชีวิตก็มี เมื่อเดินทางไป ถึง เจ้าบ่าวจะถูกต้อนรับด้วยส�ำรับอาหารที่ประกอบด้วยตะเกียบที่ท�ำจากฟาง ชาม อาหารที่มีตั๊กแตนและกบ และเหล้าที่มีพริกผสมอยู่ เหตุผลที่ต้องแกล้งเจ้าบ่าว นักคติชนวิทยาคาดว่าค�ำตอบอยู่ที่ความเชื่อใน เรื่องเล่าของเทพโอคุนินุชิโนะมิโกโกตะ (大国主命) ซึ่งต้องผ่านความยากล�ำบากกว่า จะได้เจ้าสาวของตนมา โดยเรื่องเล่านี้ถูกน�ำมาใช้อ้างอิงในประเพณีแกล้งลูกเขย เดิมทีประเพณีแกล้งลูกเขย มีจุดประสงค์เพื่อให้เจ้าบ่าวผ่านการทดสอบนานาประการ เพื่อให้มีความอดทน และสามารถมีความสุขในชีวิตแต่งงานได้ยันแก่เฒ่า nihon26


แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันจุดประสงค์ดังกล่าวจะถูกลืมและเหลือเพียงรูปแบบ พิธีเท่านั้นที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน หากสนใจอยากจะชมประเพณีโดโดอิก็สามารถชมได้ที่เมืองนาโกะในทุกๆ เดือนมกราคมของทุกปี โดยปัจจุบันพิธีนี้มีไว้เพื่ออวยพรให้หัวหน้าครอบครัว มี ครอบครัวที่สมบูรณ์พูนสุขเพียงเท่านั้น “นี บิจิ” ประเพณี เจ้าสาววิ่งหนี ของเกาะคุดากะจิมะ บนเกาะคุดากะจิมะ (久高島) ที่อยู่ไม่ไกลจากเกาะโอกินาวา มีประเพณีหนึ่ง ในการแต่งงาน นั่นคือ นีบิจิ (ニービチ) ที่เพี้ยนมาจากค�ำว่า “เนะบิคิ” แปลว่า “ถอน รากถอนโคน (根引き)” ที่มาของชื่อประเพณี เริ่มต้นมาจาก เกาะนี้เปรียบการที่เจ้า สาวต้องแต่งออกไปอยู่กินกับสามี เป็นการต้องออกจากบ้านที่เป็นรากเหง้าของตนเอง คล้ายกับต้นไม้ที่ถูกถอนรากถอนโคนออกไป ในส่วนของรายละเอียดนั้น ฮิงะ ยาสุโอะ (比嘉康雄, 2000) ได้เขียนไว้ในหนังสือดังนี้ “ในเย็นวันงาน ทางเจ้าบ่าวจะเดินทางมายังบ้านของเจ้าสาว ฝ่ายเจ้าสาว ที่พักอยู่ที่บ้านเพื่อนตั้งแต่เมื่อสามวันก่อน ก็จะเดินทางกลับมาที่บ้านตัวเอง โดยมี เพื่อนเจ้าสาวกว่าสิบคนล้อมไว้เพื่อร่วมพิธีมงคลสมรส ในพิธีจะมีการแลกจอกน�้ำและ เจ้าบ่าวจะหยิบก้อนข้าวโอนิกิริแล้วตะโกนเสียงดังว่า “อะเนเฮีย (アネーヒャー)” ที่ แปลได้ท�ำนองว่า “ขอบคุณสวรรค์” ก่อนจะกินข้าวก้อนนั้นเป็นอันจบพิธี หลังจากนั้น เจ้าสาวพร้อมเพื่อนจะไปอยู่ที่บ้านของเพื่อนบ้านและจะอยู่อย่างนั้นจนรุ่งเช้าของอีก วัน วันต่อมาเจ้าสาวจะต้องตื่นก่อนที่คนในบ้านเจ้าบ่าวจะตื่น โดยเจ้าสาวจะ ท�ำความสะอาดบ้านของเพื่อนบ้านที่ตนอาศัยอยู่ แล้วจึงกลับมารับประทานอาหารเช้า ที่บ้านตัวเอง ซึ่งจะประจวบเหมาะกับเวลาที่คนในบ้านเจ้าบ่าวจะตื่นพอดี แต่หลังจาก นั้นเจ้าสาวจะไม่ได้รับอนุญาตให้พักที่บ้านเพื่อนบ้านอีก หรือแม้กระทั่งบ้านของตัวเอง และต้องคอยวิ่งหนีพลางหาที่พักไปพลาง ในตอนกลางวันเจ้าสาวจะมาช่วยงานที่ไร่ของบ้านเจ้าบ่าว รวมถึงช่วยบ้านเจ้าบ่าว เตรียมอาหารเย็น แต่เจ้าสาวจะต้องแอบหนีออกจากบ้านเจ้าบ่าวไปโดยไม่แตะอาหาร เย็นและหนีไปแอบตามบ้านคนอื่นที่เจ้าบ่าวจะตามหาไม่เจอหรือเข้าไปแอบในอุตาคิ (御嶽) ที่ผู้ชายไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้ ซึ่งเจ้าบ่าวจะต้องออกวิ่งหาเจ้าสาวพร้อม เพื่อนของตน nihon27


ช่วงต้นสมัยโชวะ (昭和: ค.ศ. 1926-1989) นั้น โดยปกติจะก�ำหนดให้เจ้า สาวต้องวิ่งหนีเป็นเวลา 5 วัน แต่มีบางครั้งที่มีคนวิ่งหนีเป็นเวลาหลายเดือน นาน หน่อยก็หนึ่งปี หรือวิ่งหนีจนฝ่ายเจ้าบ่าวขอยกเลิกการหมั้นหมายก็มี เมื่อทางเจ้าบ่าวหาเจ้าสาวเจอ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ก�ำลังพาเจ้าสาวกลับ บ้านได้โดยไม่เกี่ยงว่าอีกฝ่ายจะตกลงหรือไม่ บางครั้งถ้าล�ำพังตัวคนเดียวไม่สามารถ พากลับไปได้ก็จะต้องให้เพื่อนเจ้าบ่าวที่มาด้วยช่วยพากลับบ้านเป็นอันจบ ซึ่งประเพณี แต่งงานเช่นนี้มีให้เห็นมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลก” ส�ำหรับที่มาของประเพณีนี้ มีการตั้งข้อสันนิษฐานในกลุ่มนักคติชนวิทยาที่ ศึกษาวัฒนธรรมของโอกินาวาไว้ว่า เนื่องจากการแต่งงานโดยส่วนใหญ่เป็นการ แต่งงานที่พ่อแม่เป็นผู้จัดให้ จึงต้องมีประเพณีนี้เพื่อเป็นการแสดงออกว่าเจ้าสาวไม่ อยากออกจากบ้านและไม่ได้สนิทสนมกับเจ้าบ่าว ทั้งที่เบื้องหลังแล้วทั้งสองฝ่ายอาจ จะรู้จักกันมาก่อนก็เป็นได้ ไม่ว่ายังไงก็ตาม แม้ประเพณีนีบิจิจะหายไปและโดโดอิจะแทบไม่มีให้เห็น แล้วในปัจจุบัน แต่อาจกล่าวได้ว่าทั้งสองประเพณีต่างเคยประเพณีที่มีเอกลักษณ์และ มีสีสันมาก ในจังหวัดโอกินาวา และยังรวมถึงประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

nihon28


คาบาตะ เมื่อชีวิตและสายน�้ำ มาบรรจบกันที่ฮาริเอะ

nihon29


หลายคนอาจจะรู้จักชุมชนฮาริเอะ (針江区) ในฐานะเมืองที่มีน�้ำสะอาดจน สามารถเลี้ยงปลาคาร์ปไว้ในทางระบายของเมืองได้ ซึ่งภาพความสะอาดของน�้ำที่นี่ สร้างความประทับใจให้กับคนไทยและชาวต่างชาติที่ได้เห็นจนเคยเกิดเป็นกระแสมา แล้ว แต่ท�ำไมน�้ำที่นี่ถึงได้สะอาดอย่างที่เห็น? มารู้จักวัฒนธรรมคาบาตะ (カバタ) ที่ เป็นหัวใจของชุมชนนี้กันเลยดีกว่า คาบาตะ เป็นรูปแบบวิถีชีวิตของชุมชนฮาริเอะ เมืองทากาชิมะ (高島市) จังหวัดชิกะ (滋賀県) โดยค�ำว่าคาบาตะเป็นวิธีการออกเสียงค�ำว่า “คาวาบาตะ (川端) ” ที่แปลว่าตลิ่งน�้ำของคนท้องถิ่น คาบาตะนับเป็นวัฒนธรรมสายน�้ำ (水文化) ที่ หาชมได้ยากในญี่ปุ่นและมีจุดเด่นที่ไม่สร้างมลภาวะทางน�้ำหลังการใช้งาน ท�ำให้น้�ำใน ทางระบายน�้ำของที่นี่สะอาดจนปลาคาร์พอาศัยอยู่ได้อย่างที่เห็น แต่วิถีชีวิตแบบคาบาตะจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าชุมชนฮาริเอะไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ กับเทือกเขาฮิระ (比良山脈) ที่เป็นต้นก�ำเนิดของน�้ำในหมู่บ้าน น�้ำจากหิมะที่ละลาย และน�้ำฝนจะซึมลงสู่ดินกลายเป็นน�้ำบาดาลที่อยู่ลึกลงไป 10-20 เมตร ใต้พื้นของ ชุมชนแห่งนี้ ท�ำให้น�้ำมีอุณหภูมิคงที่คือ 13 องศาเซลเซียสทั้งปี นอกจากนี้ เพราะฮาริ เอะตั้งอยู่บนพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมของปากแม่น้�ำอาโดกาวะ (安曇川) จึงท�ำให้น�้ำใน ชุมชนอุดมไปด้วยแร่ธาตุมากมาย

nihon30


คาบาตะเป็นระบบการใช้น�้ำที่เรียบง่าย ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนคาบา ตะ ชาวบ้านจะใช้ล�ำไผ่หนาๆ ปักลงไปในดินที่ความลึก 10-20 เมตร เมื่อปักลงไปถึง ทางที่น�้ำบาดาลไหลผ่านจะมีน�้ำผุดขึ้นมาตามปล้องไผ่ ซึ่งน�้ำบาดาลนี้จะถูกเรียกว่าโช วสุ (生水) น�้ำบาดาลจะถูกต่อท่อลงไปยังบ่อโอ่ง (壺池) น�้ำในบ่อนี้จะถูกใช้อุปโภค บริโภค เช่น ดื่มกินและล้างผักผลไม้เหมือนน�้ำประปาทั่วไป จากนั้นน�้ำที่เอ่อล้นจาก โอ่งก็จะไหลลงไปยังบ่อนอก (端池) ที่มีปลาคาร์ปอยู่ บ่อนอกจะเป็นบ่อที่ใช้ล้างเศษ ข้าวและเศษอาหารอื่น ๆ โดยอาศัยประโยชน์จากธรรมชาติของปลาคาร์ปที่หากินตาม พื้นท้องน�้ำในการก�ำจัดเศษอาหารและท�ำให้น�้ำสะอาดก่อนที่จะปล่อยน�้ำออกสู่ทาง ระบายน�้ำและลงไปตามท้องนาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ในบทความของโคอิเดะ โกโร่ (小出五郎) อดีตนักข่าว NHK ที่ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ไว้ ชุมชนฮาริเอะใช้น�้ำประปาแค่ส�ำหรับล้างรถ อาบน�้ำ และใช้ใน ห้องน�้ำเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเทียบกันแล้ว สัดส่วนการใช้น�้ำแบบคาบาตะในชุมชนจึงยังมี เยอะกว่า และเพราะน�้ำจากชุมชนฮาริเอะไหลเชื่อมไปยังทะเลสาบบิวะ (琵琶湖) ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น การใช้น�้ำแบบคาบาตะจึงมีบทบาทส�ำคัญในการรักษา คุณภาพน�้ำของทะเลสาบบิวะให้ยังสะอาดสวยงามอย่างที่เป็นในทุกวันนี้ ปัจจุบันมีท่ีพักในชุมชนและคอร์สทัวร์ชมคาบาตะของชุมชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฮาริเอะยังเป็นชุมชนและไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว จึงไม่มีร้านค้ามากนักใน ชุมชน แต่ส�ำหรับใครที่สนใจวิถีชีวิตเรียบง่าย ภูมิปัญญา และธรรมชาติของญี่ปุ่น ฮาริ เอะก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่น่าไปเยี่ยมชมเลยทีเดียว

nihon31


เสาโทริอิ (Torii) มีความส�ำคัญอย่างไรกับประเทศญี่ปนุ่

nihon32


เสาโทริอิ (Torii) เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปตามศาลเจ้าในประเทศญี่ปุ่น แทบ จะเปรียบได้ว่าเสาโทริอินี้เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศญี่ปุ่นรองลงมาจากภูเขาไฟฟูจิ เลยก็ว่าได้ เสาโทริอิสีแดงนี้มีที่มาจากลัทธิชินโตที่มีความเชื่อในเรื่องของภูตผีและเทพเจ้า ซึ่งใน สมัยก่อนชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ล้วนนับถือศาสนาชินโตหรือลัทธิชินโต จนเรียกได้ว่าเป็น ศาสนาประจ�ำชาติของประเทศญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว ลัทธิชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ค�ำว่าชินโตเกิดขึ้น จากอักษรคันจิหรืออักษรภาษาจีน 2 ค�ำรวมกันคือ “ชิน” (神 , shin ออกเสียงว่า “เสิน” ในภาษาจีน) ที่มีความหมายว่าเทพเจ้า และค�ำว่า “โต” (道 , to ออกเสียงว่า “เต๋า” ใน ภาษาจีน ) มีความหมายว่าวิถีทางหรือศาสตร์วิชา เมื่อน�ำมารวมกันจึงมีความหมาย ว่า ศาสตร์วิชาหรือวิถีทางแห่งเทพเจ้า โดยลัทธิชินโตนั้นมีความเชื่อว่าเทพเจ้ามีอยู่มากมายจนไม่สามารถนับได้หมด ไม่ว่าจะ ในป่า ภูเขา ทะเล แม่น�้ำ หรือท้องฟ้า ไม่เว้นแม้กระทั่งในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นา ก็ล้วนแล้วแต่มีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ทั้งนั้น จึงมีค�ำกล่าวที่ว่ายาโอะโยะโระสุ โนะ คามิ (Yaoyorozu no Kami) ที่หมายความว่าเทพแปดล้านองค์ เพื่อเป็นการเรียกเทพที่มีอยู่ มากมายจนนับไม่ถ้วนนั้นเอง nihon33


ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ลัทธิชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนา ประจ�ำชาติของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันลัทธิชินโตได้เริ่มเลือนหายไปจาก วัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่ยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือโอมิคุจิ (おみくじ Omikuji) หรือฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต หรือพิธีกรรมในวันขึ้นปีใหม่ที่ศาลเจ้าชินโต และคงเหลือไว้แค่เพียงในกลุ่มคนที่ยังคงรักษาระเบียบปฏิบัติของพิธีกรรมต่างๆ ใน อดีตเอาไว้เพียงเท่านั้น โทริอิ (鳥居 Torii) มีความหมายว่าที่ของนก ซึ่งที่มาของชื่อนั้นเนื่องจากคน ญี่ปุ่นมีความเชื่อว่านกเป็นสัตว์ที่สามารถสื่อสารหรือมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตหลังค วามตาย โดยความเชื่อนี้มีที่มาจากพิธีศพของ ยะมะโตะ ทะเกะรุ ที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน บันทึกโบราณ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ โดยกล่าวเอาไว้ว่าเมื่อทะเกะรุได้สิ้นชีพตักษัย แล้ว ได้ปรากฏร่างนกสีขาวขึ้นและบินไปเลือกสถานที่ฝังศพของตนเอง จึงท�ำให้สถาน ที่ฝังศพของเขาถูกเรียกว่า ชิระโทะริ มิซะซะงิ (白鳥陵) ที่มีความหมายว่า สุสานนกสี ขาว ซึ่งเสาโทริอินี้คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่นที่ตั้งเอาไว้บอกว่าอาณาเขตพื้นที่หลังซุ้ม ประตูนี้คืออาณาเขตของเทพเจ้า เพื่อให้ผู้คนที่ก�ำลังจะเดินผ่านเข้าไปได้เกิดความ ส�ำรวมและไม่แสดงพฤติกรรมใดใดที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่เทพเจ้า เสาโทริอิจะพบได้ทั่วไปตามทางเข้าศาลเจ้าในศาสนาชินโต อย่างในแผนที่ของ ประเทศญี่ปุ่นก็จะปรากฏรูปเสาโทริอิซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนศาลเจ้าต่างๆ และ นอกจากนี้เสาโทริอิยังสามารถพบเห็นได้ตามสถานที่ต่างๆ ที่เชื่อว่าเป็นเขตแดนของ เทพเจ้าหรือเชื่อว่าบริเวณนั้นอาจจะมีเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์ศิทธิ์สิงสถิตอยู่ ซึ่งบางครั้ง เราอาจจะพบเห็นเสาโทริอิได้ตามภูเขาหรือในป่าลึก ในสมัยก่อนเสาโทริอิจะถูกสร้างขึ้นด้วยไม้หรือหิน แต่ในปัจจุบันเสาโทริอิจะถูกสร้าง ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเพราะมีความทนทานมากกว่า โดยเสาโทริอินี้ส่วนมากจะถูก ทาด้วยสีแดงอมส้ม และคานด้านบนสุดจะถูกทาทับด้วยสีด�ำ ซึ่งส่วนประกอบของเสา โทริอิถูกแบ่งย่อยได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของโทริอิก็คือเสาฮะชิระ(柱 hashira) ทั้งสอง ข้าง 2. คานด้านบนที่วางทับระหว่างเสาฮะชิระทั้งสองเรียกว่าคาซากิ (kasagi 笠 木)

nihon34


3. มีคานไม้ที่เรียกว่านูกิ (nuki 貫) ท�ำหน้าที่ช่วยรักษาโครงสร้างไว้ด้วยกัน ทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน ทั้งสามอย่างนี้คือส่วนประกอบพื้นฐานของการสร้างเสาโทริอิทั่วไปที่พบเห็นได้ใน ประเทศญี่ปุ่น ยกเว้นแต่โทริอิแบบชิเมะ (Shime Torii) ที่จะใช้เพียงแค่เสาฮะชิระแค่ 2 ต้น ส่วนคานด้านบนจะใช้เชือกที่ท�ำจากฟางข้าวที่เรียกว่าชิเมะนาวะ (Shimenawa) แทนคานไม้คาซากิ ส่วนประกอบอื่นนอกจากนี้คือ • คานที่วางเอาไว้ใต้คานคาซากิ เรียกว่าชิมากิ (shimaki 島木) • แหวนตกแต่งเสาด้านบนเรียกว่าไดวะ (daiwa 大輪) • คุซาบิ (kusabi 楔) คือชิ้นไม้ประดับตกแต่งคานนูกิ • ท่อนไม้กาคุซุกิ (gakuzuka 額束) เชื่อมต่อระหว่างคานไม้ด้านบนสุดคาซากิและคาน ไม้ยึดนูกิ โดยส่วนมากบริเวณนี้จะใช้เป็นที่ติดแผ่นป้ายชื่อศาลเจ้านั้นเอง โดยลักษณะของเสาโทริอินั้นมีอยู่มากมายโดยสามารถแบ่งออกมาได้ถึง 20 ลักษณะด้วยกันแต่หลักๆ แล้วสามารถแยกได้สองประเภทคือ เสาโทริอิแบบชินเมอิ (神明系 , Shinmei) ซึ่งสามารถสังเกตุได้ว่าคานด้านบน จะมีลักษณะเป็นเส้นตรง เสาโทริอิแบบเมียวจิน (明神系 , myojin) เสาด้านบนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อย เสาประตูโทริอิไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความเชื่อ ศิลปะวัฒนธรรมใน สมัยก่อน แต่เสาโทริอิยังเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจให้ผู้ที่ก�ำลังจะผ่านเข้าไปยังสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์หรือสถานที่ ที่เต็มไปด้วยความศรัทธาได้เกิดความส�ำรวมทั้งกาย วาจา ใจ เพื่อเตรียมพร้อมส�ำหรับการรับพรและช�ำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไปด้วยนั้นเองค่ะ และหากได้มีโอกาสไปเยือนในสถานที่ ที่มีเสาโทริอิตั้งอยู่ นอกจากความ สวยงามแล้วเชื่อว่าหลายคน จะมีความรู้สึกต่อเสาโทริอิต้นนั้นๆ เปลี่ยนไปอย่าง แน่นอน

nihon35


ท�ำไมคนญี่ ปนใช้ ุ่ ก่ิงไม้มีหนามแหลม และหัวปลาซาร์ดีนไล่สิ่งชัว่ ร้าย ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์

nihon36


วันที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปีเป็นวันก่อนวันเริ่มต้น ฤดูใบไม้ผลิตหรือเซ็ตสึบุน (Setsubun) ในวันนี้จะมีกิจกรรมหลากหลายเพื่อปัดเป่าสิ่ง ชั่วร้ายและเสริมสร้างความเป็นมงคลและความโชคดีในชีวิต เช่น การปาถั่วเพื่อไล่ ปิศาจ และการรับประทานเอโฮมากิ (eho-maki) หรือซูชิม้วน เพื่อเสริมสร้างความเป็น มงคลและความโชคดี นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้วคนญี่ปุ่นทางตะวันตกก็มีการ ประดับบ้านด้วยกิ่งไม้ที่มีหนามแหลมและหัวปลาซาร์ดีนย่างหรือฮิอิรากิ อิวาชิ (Hiiragi Iwashi) คนญี่ปุ่นทางตะวันตกเชื่อว่ากิ่งไม้มีหนามแหลมและหัวปลาซาร์ดีนย่างจะกัน ไม่ให้ปิศาจและสิ่งชั่วร้ายเข้าบ้านได้ โดยมีความเชื่อว่าหนามแหลมที่ใบของต้นฮิอิรากิ (Osmanthus heterophyllus หรือ Holly Osmanthus) จะไปทิ่มตาของปิศาจและกลิ่นเหม็น ของหัวปลาซาร์ดีนย่างจะท�ำให้ปิศาจไม่กล้าเข้าใกล้ การประดับฮิอิรากิ อิวาชินั้นท�ำได้ง่าย เพียงน�ำหัวปลาซาร์ดีนย่างมาประดับ บนกิ่งไม้จากต้น Holly Osmanthus และน�ำไปวางไว้ที่ทางเข้าบ้านในวันก่อนวันเริ่มต้น ฤดูใบไม้ผลิคือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ และเอาออกในวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิคือวันที่ 4 กุมภาพันธ์ การทิ้งฮิอิรากิ อิวาชินั้นมีวิธีการตามความสะดวก เช่น หากบ้านอยู่ใกล้ ศาลเจ้าก็สามารถน�ำไปวางรวมกันที่ศาลเจ้า หรือเพื่อความสะดวกเพียงน�ำมาห่อด้วย กระดาษหนังสือพิมพ์และทิ้งไปพร้อมกับขยะเผาได้ nihon37


ไม่ใช่เฉพาะแค่ปิศาจหรือสิ่งชั่วร้ายจะกลัวหัวปลาซาร์ดีนย่างที่ประดับบนกิ่ง ไม้ที่มีหนามแหลม เรามนุษย์เองก็รู้สึกว่ามันน่ากลัว แล้วความเชื่อนี้ก็ใกล้เคียงกับคน ไทยที่ใช้ต้นไม้ที่มีหนามแหลมกันภูติผีปิศาจเช่นเดียวกัน

nihon38


ซันชิน เครื่องดนตรีท่ีบรรเลงท่วงท�ำนอง ของโอกินาว่า

nihon39


ถ้าเดินตามถนนคกคุไซโดริหรือตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของโอกินาว่า หลายคนน่าจะได้ยินเสียง “ซันชิน (三線)” เครื่องดนตรีพื้นเมืองของโอกินาว่าคลออยู่ ในบรรยากาศ ซึ่งท�ำนองที่ขึ้นๆ ลงๆ ชวนให้นึกถึงภาพคลื่นทะเลก็ชวนติดหูอยู่ไม่ น้อย แต่นอกจากนี้ ซันชินยังเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถแทนวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ของโอกินาว่าอีกด้วย ซันชินเป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 โดยมีต้นก�ำเนิดจากจีน และแพร่ หลายมายังอาณาจักรริวกิวซึ่งค้าขายกับจีน แล้วจึงถูกส่งต่อไปยังญี่ปุ่นในรูปแบบของ ชามิเซน (三味線) ที่เรารู้จัก ด้วยความที่ซันชินเป็นต้นแบบของชามิเซน จึงมีบางครั้งที่ ซันชินถูกเรียกรวบไปว่าชามิเซนด้วยก็มี แม้แรกเริ่มซันชินจะเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เฉพาะในราชส�ำนัก แต่ต่อมาซันชิน ก็เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวบ้านทั่วไป โดยนอกจากใช้ร้องเพลงบวงสรวงเทพใน พิธีกรรมแล้ว ซันชินยังเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ร้องเพลงปลอบยามเศร้า และเป็นสิ่งที่ขาด ไม่ได้ในงานรวมญาติมิตรหรือเวลาสังสรรค์ เช่นในอดีต หนุ่มสาวชาวริวกิวมักจะมารวมกันในวง “โมอาชิบิ (毛遊び)” หลังท�ำงานไร่ เพื่อพักผ่อนและสังสรรค์ รวมถึงบางครั้งอาจจะได้เจอคนที่ถูกใจด้วย โดยในวงอาชิบิที่ทุกคนจะมานั่งกิน คุย และเต้นร�ำกันนั้น จะต้องมีคนหนึ่งในวงที่ท�ำ หน้าที่ดีดซันชินสร้างบรรยากาศเสมอ nihon40


และแน่นอน คนที่ดีดซันชินจะไม่ได้มีเวลาไปคุยเล่นอะไรกับใครเพราะต้องคอยดีด เพลงให้เพื่อนๆ สนุกตลอดเวลา ที่น่าเศร้าก็คือ บางคนอาจจะท�ำหน้าที่ดีดซันชินมา ตลอดเลยไม่ได้ไปหาคู่อย่างคนอื่นเขาจนตัวเองแก่เป็นลุงก็มี เดิมทีตัวซันชินจะท�ำจากเนื้อไม้ตะโกโอกินาว่าที่มีความทนทานและเป็นที่ ต้องการอย่างมากแม้ในปัจจุบัน โดยเนื้อไม้ตะโกที่ใช้มักมาจากต้นตะโกที่มีอายุ มากกว่าร้อยปี เพื่อให้ไม้ต้นหนึ่งมีเนื้อมากพอที่จะท�ำซันชินได้หลายๆ เครื่อง อีกชิ้น ส่วนส�ำคัญของซันชินคือส่วนโด (胴) ที่ขึงด้วยหนังงูเหลือมพม่าหรือเวียตนาม ซึ่งจะ นิยมใช้หนังงูเหลือมแก่มากกว่างูที่ยังเด็ก และนอกจากนี้ ความไพเราะของซันชินจะขึ้น อยู่กับว่าใช้หนังส่วนไหนของงูด้วย แต่เพราะงูเหลือมเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และซันชินที่ ท�ำจากหนังงูเหลือมจะมีกลิ่นเหม็นจากน�้ำมันในหนังงูอีกทั้งยังดูแลยาก ซันชินใน ปัจจุบันจึงนิยมใช้ผ้าใบที่พิมพ์ลายงูเหลือมแทน

nihon41


นอกจากเครื่องซันชินที่เห็นขายทั่วแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ถ้าสังเกตดูเราจะ เห็นซันชินที่ท�ำจากกระป๋องวางขายอยู่ด้วย ดูเผินๆ แล้วอาจจะเหมือนซันชินของเล่น เด็ก แต่จริงๆ แล้วซันชินที่ท�ำจากกระป๋องหรือ “คันคาระซันชิน (カンカラ三線)” ก�ำเนิดขึ้นในช่วงเวลาที่มืดมิดที่สุดของโอกินาว่า โดยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาว โอกินาว่าที่เหลือรอดจากยุทธการโอกินาว่าถูกกักตัวอยู่ในค่ายของทหารอเมริกา ชาว โอกินาว่าที่เผชิญกับความโหดร้ายของสงครามและถูกกักตัวไว้ในค่ายโดยไม่สามารถ กลับบ้านของตัวเองได้นั้น ได้ใช้กระป๋องเปล่าในค่ายและไม้จากเตียงในค่ายมาท�ำซัน ชินขึ้นเพื่อร้องเพลงปลอบตัวเองและชาวโอกินาว่าด้วยกันจนผ่านช่วงเวลานี้มาได้

nihon42


เทศกาลปาถัว่ (เซ็ตสึ บนุ ) ในฮอกไกโดนัน้ แตกต่างจากที่อื่น

nihon43


ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีเทศกาลหนึ่งที่จัดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของ ญี่ปุ่น นั่นคือเทศกาลปาถั่ว หรือเทศกาลเซ็ตสึบุน จะมีการพูดค�ำว่า “Oni wa Soto, Fuku wa Uchi” ซึ่งมีความหมายว่า “สิ่งชั่วร้ายจงออกไป ความโชคดีจงเข้ามา” ขณะ ปาถั่ว เพื่อขับไล่ดวงวิญญาณร้ายและชักพาโชคลาภเข้ามาแทน โดยปกติในเทศกาลนี้จะใช้ถั่วเหลืองปาใส่คนที่แต่งตัวเป็นยักษ์ แต่ว่า ทาง แถบโทโฮคุ ฮอกไกโด และบางพื้นที่ในแถบคิวชูและคันโตไม่ใช้ถั่วเหลือง แต่จะใช้ ถั่ว ลิสงแทน

nihon44


รู ปพื้ นที่ท่ ีมีการใชถัว่ ลิสงในเทศกาลปาถัว่

เรามักจะเห็นเม็ดถั่วเหลืองกันซะเป็นส่วนใหญ่ แต่อันที่จริงแล้วมีพื้นที่ที่ใช้ ถั่วลิสงมากขนาดนี้เลยทีเดียว อีกทั้งจังหวัดจิบะที่ผลิตถั่วลิสงมากเป็นอันดับหนึ่งของ ญี่ปุ่นนั้นใช้ถั่วเหลือง แต่พื้นที่ที่ผลิตถั่วเหลืองมากอย่างฮอกไกโดกลับใช้ถั่วลิสงใน เทศกาลปาถั่วนี้ กล่าวกันว่าการปาถั่วในเทศกาลนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยมุโรมาจิ ส่วนช่วงที่เริ่มมี การปลูกถั่วลิสงในญี่ปุ่นนั้นเริ่มตั้งแต่สมัยเมจิ โดยที่ฮอกไกโดมีการเปลี่ยนมาใช้ถ่ัวลิสง ในช่วงโชวะปี 30-40 (ปี ค.ศ. 1955-1965) ซึ่งเป็นช่วงที่การผลิตถั่วลิสงในญี่ปุ่นค่อน ข้างแพร่หลาย เหตุผลของการใช้ถั่วลิสงแทนถั่วเหลืองยังไม่มีที่มาที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเหตุผลที่ภูมิภาค ทางเหนือใช้ถั่วลิสงมากกว่าก็เพราะ

nihon45


1.เก็บง่ายกว่า พื้นที่ทางเหนืออย่างฮอกไกโดมีหิมะเยอะ ท�ำให้เก็บถั่วที่ปาด้านนอกยาก จึง เปลี่ยนเป็นถั่วลิสงแทนเพื่อความสะดวก รวมถึงเวลาปาถั่วในบ้านก็สามารถเก็บกวาด ได้ง่าย เพราะถั่วลิสงมีเปลือกห่อหุ้ม ถั่วจึงไม่แตก 2.เก็บมากินต่อได้ ในเทศกาลนี้มีธรรมเนียมในการกินถั่ว โดยจะหยิบถั่วที่เหลือจากการปาแล้ว นั้นมากิน โดยมีความเชื่อว่าถ้ากินถั่วจ�ำนวนมากกว่าอายุตัวเอง 1 เม็ด จะท�ำให้ สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ซึ่งถ้าใช้ถั่วลิสงก็จะสามารถแกะเปลือกออกมารับ ประทานได้ง่าย แถมยังสะอาดกว่าอีกด้วย

nihon46


หญิ งร้อนรุ่มแห่งปี “ฮิโนะเอะอุมะ” หญิ งต้องห้ามตามความเชื่อญี่ ปนโบราณ ุ่

nihon47


วัฒนธรรมญี่ปุ่นถือเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่นิยมชม ชอบรู้จักกันไปทั่วโลก แต่พวกเขาก็มิได้สร้างมันขึ้นมาเองเสียทั้งหมด แต่รับเอามาจาก คนแผ่นดินใหญ่ น�ำวัฒนธรรมจีนเข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับตนเอง แต่เมื่อเป็นญี่ปุ่นแล้ว ชาติซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ เลือกรับ ปรับเปลี่ยน และพัฒนาได้เก่ง เขาน�ำมัน มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับตนเอง จนสามารถสร้างความแตกต่างอย่างลงตัวได้อย่าง น่ามหัศจรรย์ไม่ว่ากับเรื่องใดก็ตาม แต่ก็มีเรื่องหนึ่งที่ดูจะไม่สู้ดีนัก เป็นคติความเชื่อที่ยึดถือสืบต่อกันมาจน กระทั่งปัจจุบัน คือการส�ำรวจท�ำนายดวงชะตา และความเป็นไปของปีเกิดตามคติจีน โบราณ ซึ่งได้สร้างความหวาดผวาในทุก ๆ ครั้งที่ปีแห่งความอัปยศนี้จะวนเวียนมาถึง ชาวญี่ปุ่นได้ใช้แผนภูมิสวรรค์ตามแบบของจีนโบราณ เพื่อส�ำรวจดวงชะตา ตามปีเกิดในแต่ละปีของผู้คน โดยแผนภูมินี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • ภาคสวรรค์ ซึ่งเรียกว่า “ราศีบน” มี 10 ตัวอักษร แทนพลังงานสวรรค์ • ภาคปฐพี ซึ่งเรียกว่า “ราศีล่าง” มี 12 ตัวอักษร แทนพลังงานปฐพี ตัวอักษรทั้ง 2 ภาคจะถูกน�ำมาสลับเข้าคู่กันจนครบ ได้ 60 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะบ่ง บอกพลังงานที่ซุกซ่อนอยู่ในแต่ละปีของผู้ที่เกิดปีนั้น และเป็นที่มาของการจัดงาน “แซยิด” ครบรอบราศีตามแผนภูมิสวรรค์ทั้ง 60 แบบนั่นเอง nihon48


เมื่อส�ำรวจตรวจสอบตามแผนภูมิสวรรค์แล้ว จะมีปีหนึ่งที่จะวนมาทุกๆ 60 ปี ดูจะไม่สู้ดีนัก เพราะได้ชื่อว่า “ฮิโนะเอะอุมะ” : 丙午 ซึ่งเป็นปีแห่งพลังงานธาตุไฟ อันร้อนรุ่มรุนแรงเสียเหลือเกิน ตามประวัติศาสตร์ยังปรากฏทั้งเรื่องเล่า ต�ำนาน และบันทึกมากมายที่ สอดคล้องกับความเชื่อดังกล่าว เพราะมักจะเป็นปีที่เกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง แต่เรื่องเล่าที่ ดูจะเป็นการตอกย�้ำความเชื่อนี้ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยเอโดะ ต�ำนานเล่าขานกันว่า มีคู่รักคู่หนึ่งในสมัยนั้น ได้ถูกกีดกันจากครอบครัวฝ่าย หญิงไม่ให้พบเจอหน้ากัน ฝ่ายหญิงถูกกักขังไว้ให้อยู่แต่ในบ้านไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน และคนรัก จนชอกช�้ำใจยิ่ง ครั้นเมื่อนางทานทนต่อแรงเสน่หาที่สุมในใจดั่งไฟที่ร้อนรุ่ม อีกต่อไปไม่ไหว นางจึงปล่อยให้ไฟในใจนั้นครอบง�ำความคิด วางเพลิงครอบครัว ตนเอง เพื่อให้ได้ออกไปจากบ้านที่เป็นดั่งกรงขัง ที่ขวางกั้นความรักที่มีต่อชายอันเป็นที่รัก เป็นที่โจษจันไปทั้งเอโดะ เล่าขานสืบต่อกัน มาถึงความรุนแรงของอารมณ์รักของนางผู้ที่เกิดในปีฮิโนะเอะอุมะ นั่นจึงเป็นการตอกย�้ำความเชื่อที่มีแต่ด้ังเดิม ว่าหญิงสาวที่เกิดในปีนี้ มักจะ มีอารมณ์รุนแรง บ้างก็เชื่อว่าใครที่ได้เป็นคู่ครองก็จะได้รับเคราะห์ ส่งผลแก่ชายคู่ ครองให้มีอายุสั้นลง ฝังรากลึกอยู่ในความเชื่อของชาวญี่ปุ่นมาแต่ไหนแต่ไร แม้กระทั่ง ญี่ปุ่นจะก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่แล้วก็ตาม กลับยังสะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวต่อ ความเชื่อดังกล่าว ในปี 1966 (เมื่อ 52 ปีที่แล้ว) ได้ครบรอบปีที่ชะตาแห่งฮิโนะเอะอุมาได้เวียน มาบรรจบ ผลส�ำรวจก็เป็นที่น่าตกใจ พบว่าอัตราการเกิดลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ ความ เชื่อดังกล่าว ส่งผลให้ครอบครัวญี่ปุ่นจ�ำนวนมาก เลือกที่จะไม่ให้ก�ำเนิดลูกในปี 1966 เพราะเกรงว่าลูกของตนเองจะมีลักษณะนิสัยเป็นไปดั่งต�ำนานบอกเล่า นอกจากนี้ ยัง กลัวว่าลูกของตนจะใช้ชีวิตต่อไปด้วยความล�ำบาก เพราะจะถูกกีดกันจากสังคม อาภัพรัก ไม่เป็นที่ต้องการจากองค์กรต่างๆ เมื่อต้องสมัครเข้าท�ำงาน เป็นต้น ในทางกลับกัน ผลส�ำรวจจ�ำนวนมากของคนรุ่นที่เกิดในปี 1966 ก็สะท้อนมิติ ที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะอัตราการเกิดที่ลดลง ส่งผลให้คนรุ่นนี้ไม่ต้องเผชิญกับภาวะ การแข่งขันสูง เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ

nihon49


เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ หากฝังรากลึกอยู่ในสังคมใด ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะลบเลือนให้หายไปในพริบตา แต่เรื่องทุกเรื่องมักมีสองด้าน เสมอ ค�ำบอกเล่าและอดีตมีไว้เตือนใจให้เราพึงระวังตัวอันเป็นเรื่องดีเหมือนกัน แต่ การเปิดใจยอมรับ และอยู่กับปัจจุบันตรงหน้า ก็เป็นอีกเรื่องที่ส�ำคัญไม่แพ้กันเลย

nihon50


“คินสึ งิ” Kintsugi ร่องรอยแห่งความบอบช�้ำ ศิลปะแห่งการแตกร้าว

nihon51


ศิลปะแบบ Kintsugi มีแนวคิดที่สะท้อนถึงนิกายเซ็น ในวิถีแห่งวะบิ-ซะบิ (wabi-sabi) วิถีแห่งความไม่สมบูรณ์แบบ ความเรียบง่าย และการยอมรับตัวตนและ ความผิดพลาด ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกล้วนไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ แต่ละ อย่างล้วนต้องฝ่าฟันต้องผ่านเรื่องราวมากมาย ต้องเจอทั้งอุปสรรคและความส�ำเร็จ ในญี่ปุ่นมีศิลปะแขนงหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “คินสึงิ” (Kintsugi) ศิลปะที่ท�ำให้เราได้มองเห็น ความสวยงามของความไม่สมบูรณ์แบบและรอยแตกร้าว คินสึงิ (Kintsugi) คือศิลปะการซ่อมแซมถ้วยชามกระเบื้องหรือเซรามิคด้วย รักหรือยางไม้ โดยน�ำยางไม้มาเชื่อมชิ้นส่วนที่แตกหักของภาชนะหรือน�ำเศษกระเบื้อง ที่แตกหักมาประกอบเป็นงานศิลปะชิ้นใหม่ และก่อนที่ยางไม้จะแห้งก็น�ำทองมาทา ตรงรอยต่อนั้นเพื่อเพิ่มความสวยงาม เทคนิคการซ่อมแซมภาชนะที่แตกให้กลับมาใช้ได้นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโจมง ที่ เป็นยุคโบราณในญี่ปุ่น แต่เทคนิคการซ่อมแซมแบบคินสึงิเพิ่งจะมาเริ่มต้นขึ้นในสมัยมุ โรมาจินี้เอง ซึ่งในสมัยนี้เป็นยุคสมัยเดียวกับที่วัฒนธรรมการชงชาเริ่มต้นขึ้น ในต�ำนานได้กล่าวเอาไว้ว่าในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ท่านโชกุนอะชิกะงะ โยะชิมะซะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่แตกไปซ่อมแซมที่เมืองจีน nihon52


เมื่อถ้วยชานั้นถูกส่งกลับมาก็พบว่าได้ถูกดามไว้อย่างลวกๆ ด้วยโลหะ ซึ่งดูน่าเกลียด และไม่เหมาะสมกับฐานะ และเมื่อช่างฝีมือชาวญี่ปุ่นมาเห็นจึงท�ำการซ่อมแซมใหม่และลงสีทองเพื่อ เพิ่มความสวยงามให้แก่ถ้วยชา และนั้นคือการถือก�ำเนิดของศิลปะแบบคินสึงิ ศิลปะแบบคินสึงิ มีแนวคิดที่สะท้อนถึงนิกายเซ็น ในวิถีแห่งวะบิ-ซะบิ (wabi-sabi) วิถีแห่งความไม่สมบูรณ์แบบ ความเรียบง่าย และการยอมรับตัวตนและ ความผิดพลาด เฉกเช่น ร่องรอยแห่งการแตกร้าวที่เกิดขึ้นนั้นช่วยสะท้อนถึงสิ่งที่เคย เผชิญและยอมรับกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข ศิลปะแบบคินสึงิเป็นดั่งค�ำสอนที่คอยเตือนพวกเราว่า ทุกคนล้วนไม่มีใคร สมบูรณ์แบบ เพราะทุกรอยแผลเป็นย่อมมีเรื่องราว และทุกการแตกร้าวล้วนมีที่มา ทุกคนที่เคยมีเรื่องราวเลวร้ายในอดีตหรือก�ำลังต้องเผชิญกับปัญหาที่ยากจะแก้ไข จง ยืนหยัดและภาคภูมิใจกับสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งรอยแผลเป็นในจิตใจหรือ ร่างกาย เพราะสิ่งเหล่านั้นคือเครื่องบ่งบอกว่าต่อไปเราจะเข้มแข็งและยืนหยัดได้ อย่างสวยงาม ดังเช่น ศิลปะแห่งคินสึงิ

nihon53


เสน่ หด์ า้ นมืดญี่ ปนุ่ เกอิชา และ โออิรนั

nihon54


ทุกประเทศมีด้านมืดที่ปกปิดไว้ และมีบางเรื่องที่อยู่ในสถานการณ์ท่ีกึ่งเปิด เผย โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ที่สื่อต่างๆ มักจะน�ำเสนอข้อมูลใน ประเทศของตัวเองแบบครอบจักรวาลจนเป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก แต่ทว่า มุมมืด บางมุมที่สื่อเผยแพร่ออกมากลับมีเสน่ห์เล็กๆ ชวนให้ชาวต่างชาติหลงใหล จนบาง ครั้งต้องกลับมาค้นหาความเป็นมาบ้าง ศึกษาวิถีมุมมืดเหล่านั้นบ้าง อย่างเช่น อาชีพ เกอิชา และ โออิรัน เสน่ห์ของอาชีพที่เบื้องหน้าดูสวยงาม แต่คนที่ท�ำอาชีพนี้ในสมัยก่อนกลับทุกข์ตรมเหมือนนกน้อยที่ต้องกักขังหัวใจของตัว เองไว้ไม่ให้ไปตกหลุมรักใคร เกอิชา คือ ตัวท็อปผู้ให้ความบันเทิงในวงการนักแสดงศิลปะทางด้านดนตรี และร่ายร�ำแต่ไม่ได้ขายบริการ โออิรัน คือ ตัวท็อปผู้ให้ความบันเทิงเช่นกันแต่ขายบริการทางเพศด้วย หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของสาวงามในโยชิวาระจากละครญี่ปุ่นที่พล็อตเรื่อง เกิดขึ้นในยุคเอโดะ แยกสองอาชีพนี้ให้ออกโดยสังเกตจากการแต่งตัวที่ชัดเจนก็คือ เกอิชา ผูก โอบิไว้ด้านหลัง ส่วยโออิรัน ผูกโอบิไว้ด้านหน้า ยังมีแตกต่างกันที่ทรงผม การใช้เฉด ของกิโมโน การสวมรองเท้าเกี๊ยะ และการใส่ถุงเท้า nihon55


เกอิชาในปัจจุบันไม่ได้ถูกขายมาท�ำอาชีพนี้เหมือนสมัยก่อนแล้ว และไม่น่า จะมีเรื่องขายบริการเข้ามาเกี่ยวแต่อย่างใด สมัยนี้หญิงสาวที่สนใจเข้าไปท�ำก็ต้องผ่าน การฝึกฝนและสอบวัดความสามารถด้วยเช่นกัน ต้องเป็นเกอิชาฝึกหัดที่เรียกว่า ไมโกะ ก่อนไต่เต้าขึ้นไปตามล�ำดับ พวกเธอเป็นสีสันด้านวัฒนธรรมที่ใครไปเที่ยวย่านกิออน (Gion) จังหวัดเกียวโต ต้องอยากเจอตัวจริงสักครั้ง หากมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ ที่มีขบวนพาเหรด คนใส่ชุดย้อนยุค ให้ลองมองหาสังเกตสาวหน้าขาวๆ ให้ดี เช่น เราจะได้เห็นสาวๆ เกอิชาในขบวนเทศกาลกิออง (Gion Matsuri) ที่จัดขึ้นในช่วงหน้าร้อนเดือนกรกฎาคมที่ จังหวัดเกียวโตเป็นประจ�ำ ส่วนอาชีพ โออิรัน นางโลมชั้นสูงแทบไม่มีเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน หลงเลหือ ไว้เพียงขบวนแห่โออิรันช่วงเทศกาลชมซากุระ (Ichiyo Sakura Matsuri) ช่วงกลางเดือน เมษายนแถวย่านอาซาคุซะ จังหวัดโตเกียว อีกงานก็เทศกาลชมซากุระ (The Bunsui Sakura Matsuri Oiran Dochu) ที่เมืองทสึบาเมะ จังหวัดนีงาตะ และในเทศกาลมารุยา มะ ฮานะ (Maruyama Hana Matsuri) ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ศาลเจ้าอุเมโซโนะ มิ กะวะริ เทนมังงุ (Umezono Migawari Tenmangu Shrine) จังหวัดนางะซากิ

nihon56


อามะ (海女) อาชีพน่ าเหลื อเชื่อของผูห้ ญิ งญี่ ปนุ่ ที่สืบทอดกันมากว่า 2 พันปี

nihon57


ช่วงนี้ช่องไทยพีบีเอสใกล้จะน�ำซีรี่ส์ดังญี่ปุ่น “อามะจัง สาวน้อยแห่งท้อง ทะเล” มาฉายแล้ว ชวนนึกถึงรอยยิ้มน่ารักของสาวน้อยโนเน็น นางเอกในเรื่องเลยค่ะ สัปดาห์นี้เกตุวดีเลยขอเกาะกระแสซีรีส์นิดหนึ่งด้วยการน�ำเสนอเรื่องราวของ “อามะ” หรือ นักด�ำน�้ำ เผื่อใครดูซีรี่ส์จะได้ยิ่งอินนะคะ อามะ ภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 海女 แปลตามตัวคือ ผู้หญิงแห่งท้องทะเล หมาย ถึงผู้หญิงที่ท�ำอาชีพด�ำน�้ำงมหอย อาชีพนี้มีมาตั้งแต่ 2 พันปีก่อนหน้าแล้ว เหล่าผู้หญิง อามะจะว่ายน�้ำลงทะเลลึกไปงมหอยขึ้นมาขาย หอยที่พวกเธองมส่วนใหญ่เป็นหอยที่ มีราคาสูง เช่น หอยเป๋าฮื้อ หอยเม่น อย่างหอยเม่นตกกิโลละ 3 พันบาทเลยทีเดียว วิธีงมมีสองแบบ คือแบบงมคนเดียว น�้ำตื้นกว่า กับแบบมีคนช่วย โดยจะจับ เชือกและใช้ตุ้มน�้ำหนักถ่วงลงไป เนื่องจากอามะเป็นอาชีพอาชีพหนึ่ง พวกเธอก็จะงมหอยกันทั้งวัน เฉลี่ยวัน ละ 6 ชั่วโมง ด�ำผุดด�ำว่ายอยู่ในน�้ำแบบนั้น เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความอดทนและการ ฝึกฝนจนกว่าจะช�ำนานถึงจะสามารถท�ำอาชีพนี้ได้ อามะที่ฝึกใหม่ๆ อาจด�ำน�้ำได้ 4-5 เมตร แต่หากฝึกจนชิน พวกเธอก็สามารถด�ำดิ่งไปลึกได้ถึง 10 เมตร

nihon58


และแม้เทคโนโลยีอย่างถังอ๊อกซิเจนจะพัฒนาไปมาก แต่อามะทั้งหลายก็ยัง ใช้วิธีดั้งเดิม อย่างมากใส่แค่แว่นกันน�้ำ แล้วลงไปงมหอยแบบโบราณ ไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ว่ากันว่าพวกเธอด�ำน�้ำได้นานประมาณ 1-2 นาที การฝึกหายใจของอามะพวกเธอใช้การผิวปากตอนที่ลอยขึ้นมาบนผิวทะเล พวกเธอจะผิวปากดังวี้ด วี้ด จริงๆ แล้ว อันนี้เป็นเทคนิคเฉพาะของอามะจัง โดย เป็นการฝึกขับลมออกจากปอด เพื่อให้หายใจเอาอ๊อกซิเจนเข้าไปให้ได้มากที่สุด ท�ำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานขึ้น

nihon59


เหตุผลที่อามะมีแต่ผู้หญิงเป็นความจริงที่ปวดร้าว คือ ผิวผู้หญิงจะมีชั้นไข มันเยอะกว่าผู้ชาย ท�ำให้สามารถด�ำน�้ำได้นานกว่า ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีชุดประดา น�้ำกันความเย็น มีจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าผู้ชายทนความหนาวเย็นได้ไม่ดีเท่าผู้ หญิง อามะจึงเป็นผู้หญิงเสียส่วนมาก ว่ากันว่าอามะที่เก่งๆ งมหอยได้เยอะมักมีร่างกายอวบ (ล�่ำ) ค่ เพราะทนความหนาว เย็นได้ดีและด�ำน�้ำได้นาน ท�ำให้งมหอยได้เยอะ จังหวัดมิเอะจะประกอบอาชีพอามะเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนจังหวัดอื่นๆ อาจ มีเป็นงานเทศกาลบางครั้ง สถานที่ที่ไปง่ายหน่อย น่าจะเป็น Mikimoto Pearl Island จังหวัดมิเอะ ที่นี่มีบริการปิ้งหอยและกุ้งที่อามะเก็บมาให้ทานกันสดๆ ด้วย น่าภูมิใจ แทนคนญี่ปุ่นที่สามารถรักษาอาชีพดั้งเดิมที่มีมากว่า 2 พันปีไว้ได้นานขนาดนี้

nihon60


th.aliexpress.com

โต๊ะโคทัตสึ (Kotatsu) ความอุ่นอุ่นในฤดูหนาวของญี่ ปนุ่

nihon61


โคทัตสึ (Kotatsu) เป็นอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นจ�ำพวกหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็น โต๊ะขาเตี้ย ใต้โต๊ะจะติดตั้งเครื่องท�ำความอุ่น และมีผ้าห่มรอบด้าน เวลานั่งก็สอดขา เข้าไป เป็นตัวให้ความอบอุ่นได้ดีทีเดียว โคทัตสึ เรียกได้ว่าเป็นเหมือนภูมิปัญญาชาวบ้านของญี่ปุ่นเลย เพราะสิ่งนี้ ถือก�ำเนิดขึ้นครั้งแรกในยุคมุโรมาจิ ประมาณศตวรรษที่ 14 ในสมัยก่อนยังไม่มีฮีต เตอร์ที่สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ ชาวบ้านจึงประยุกต์เอาเตาอิฐที่ไว้ท�ำกับข้าวมาใช้ ให้ความอบอุ่น เรียกว่า อิโรริ

https://www.nautiljon.com

nihon62


คนสมัยก่อนก็จะนั่งล้อมวงกันหน้าอิโรริ ประกอบอาหารไปด้วย ผิงไฟไป ด้วย ต่อมาจึงได้แยกระหว่างที่นั่งกับที่ประกอบอาหาร และจึงเกิดไอเดียที่จะประดิษฐ์ โคทัตสึขึ้น ในยุคแรก โคทัตสึจะเป็นแบบ โฮริโกะทัตสึ ซึ่งเป็น โคทัตสึแบบใช้ถ่านใน การให้ความอบอุ่น โดยใต้โต๊ะจะขุดหลุมลงไป แล้วใส่ถ่านเอาไว้ จากนั้นก็ใช้ ตะแกรง ปิดฝาหลุม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเวลา เอาเท้าสอดเข้าไปใต้โต๊ะ ต่อมาในสมัยเอโดะ ประมาณศตวรรษที่ 17 ก็ได้มีการน�ำเอาผ้าห่มมาติดรอบโต๊ะ เพื่อเพิ่มความอุ่นเข้าไป อีกชั้น

เข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 20 ก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าในการให้ความอบอุ่นแทน โดยติดเครื่องท�ำความอุ่นใต้โต๊ะ จะใช้ก็แค่เสียบปลั๊ก สะดวกสบายกันไป ส�ำหรับโคทัตสึ (Kotatsu) ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามที่ได้บอกไปข้างต้น แบบที่ 1 แบบไฟฟ้า สามารถประหยัดพื้นที่ ไม่ต้องขุดหลุม เติมถ่านให้ วุ่นวาย แบบที่ 2 คือ โฮริโกะทัตสึ ซึ่งใช้ถ่านในการให้ความอบอุ่น ในปัจจุบันโฮริ โกะทัตสึ ก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ ตามเรียวกังต่างๆ หรือบ้านแบบญี่ปุ่นบางบ้าน แต่ไม่ ใช้ถ่านแบบสมัยก่อนแล้ว ใช้เป็นฮีตเตอร์ไฟฟ้าวางในหลุมแทนนั่นเอง nihon63


https://marry-xoxo.com/

ด้ายแดงแห่งโชคชะตา (運命の赤い糸) พันธนาการแห่งคู่แท้ท่ีไม่อาจขาดจากกัน

nihon64


ความเชื่อเรื่องด้ายแดงแห่งโชคชะตา ถ้าเทียบกับความเชื่อของไทยหรือ ความเชื่อของตะวันตกอาจจะเทียบเคียงได้กับเรื่องของเนื้อคู่ คู่แท้ หรือความเชื่อเรื่อง Soul mate หรือ Destined Flame นั่นเอง ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปช่วยงานเป็นล่ามและพิธีกรของโปรดักชั่นละครเรื่องหนึ่ง จากประเทศญี่ปุ่นที่คณะที่ผู้เขียนเรียนอยู่ ในช่วงท้ายของแต่ละรอบของละครจะมีการ เสวนาถาม – ตอบกับผู้ก�ำกับเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากผู้ชมที่มาชม ละครได้เป็นอย่างดี ละครเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นแนวคิดและความเชื่อของญี่ปุ่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของฤดูกาลสี่ฤดู จิตวิญญาณของธรรมชาติ การกลับชาติมาเกิด และหนึ่งในนั้นซึ่ง เป็นแก่นส�ำคัญของเรื่องก็คือ “ด้ายแดงแห่งโชคชะตา” หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「運命 の赤い糸」 (Unmei no akai ito) ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่คุ้นเคยหรือไม่ทราบ เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องนี้เท่าใดนัก ดังจะเห็นได้จากการเสวนาในช่วงท้ายของละคร ทุกรอบ จะมีค�ำถามเกี่ยวกับด้ายแดงแห่งโชคชะตานี้ทุกครั้ง วันนี้ผู้เขียนจึงขอน�ำเสนอ บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ทราบกัน ด้ายแดงแห่งโชคชะตาเป็นความเชื่อของประเทศในแถบเอเชียตะวันออก มี ต้นก�ำเนิดของความเชื่อมาจากประเทศจีน ภาษาจีนเรียกว่า 紅 หรือ หงเชี่ยน nihon65


โดยความเชื่อของจีนคือ หนุ่มสาวที่โชคชะตาก�ำหนดให้มาคู่กัน จะมีเชือกสีแดงที่มอง ไม่เห็นผูกอยู่ที่ข้อเท้าของแต่ละฝ่าย (ในความเชื่อของญี่ปุ่นเปลี่ยนจากเชือกสีแดงเป็น ด้ายสีแดงผูกอยู่ที่นิ้วก้อยของทั้งสองฝ่ายแทน) ต�ำนานเล่าว่าเทพเจ้าที่ชื่อว่า 月下老 (เยว่เชี่ยเหลา) เป็นผู้ควบคุมก�ำหนดด้ายแดงแห่งโชคชะตา คืนหนึ่ง ขณะที่เด็กชายคน หนึ่งก�ำลังเดินกลับบ้านอยู่นั้น ระหว่างเขาได้พบกับชายแก่คนหนึ่งยืนอยู่ใต้แสงจันทร์ (ซึ่งก็คือ 月下老 นั่นเอง) ชายแก่บอกกับเด็กชายว่าเด็กชายได้ถูกก�ำหนดให้เป็นคู่แท้กับ ภรรยาของเขา โดยมีด้ายแดงแห่งโชคชะตาผูกพันระหว่างทั้งสองคน ชายแก่ยังได้พา เด็กชายไปดูเด็กผู้หญิงซึ่งเป็นเจ้าสาวในอนาคตของเขาอีกด้วย แต่ด้วยความที่ยังเด็ก และไม่สนใจความรัก เด็กชายจึงขว้างก้อนหินใส่เด็กผู้หญิงแล้ววิ่งหนีไป หลายปีต่อมา เด็กชายได้เติบโตขึ้นเป็นหนุ่ม และก�ำลังจะเข้าพิธีแต่งงานซึ่ง พ่อแม่เป็นคนจัดการให้ ในคืนวันแต่งงาน เขาได้เข้าไปหาเจ้าสาวของเขาในห้องนอน เมื่อเขาเปิดผ้าคลุมออกก็พบว่าเจ้าสาวของเขาเป็นผู้หญิงที่สวยงามมาก แต่เธอมี เครื่องประดับชิ้นหนึ่งติดอยู่ที่บริเวณคิ้ว ชายหนุ่มถามเธอถึงสาเหตุที่เธอต้องติดเครื่อง ประดับชิ้นนี้ เธอเล่าว่า เมื่อตอนเธอยังเด็ก มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งขว้างก้อนหินใส่เธอ ท�ำให้เธอมีแผลเป็นบริเวณคิ้วติดตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชายหนุ่มจึงได้รู้ว่า ที่แท้แล้ว เจ้าสาวของเขาก็คือเด็กผู้หญิงที่ 月下老 ได้บอกว่าเป็นคู่แท้ของชายหนุ่มที่ผูกพันกัน ด้วยด้ายแห่งโชคชะตาเมื่อตอนเขายังเป็นเด็กนั่นเอง ความเชื่อเรื่องด้ายแดงแห่งโชคชะตา ถ้าเทียบกับความเชื่อของไทยหรือ ความเชื่อของตะวันตกอาจจะเทียบเคียงได้กับเรื่องของเนื้อคู่ คู่แท้ หรือความเชื่อเรื่อง Soul mate หรือ Destined Flame นั่นเอง ซึ่งด้ายแดงแห่งโชคชะตานี้จะเชื่อมโยงกับทั้ง สองฝ่ายตลอด ไม่ว่าทั้งคู่จะอยู่ที่ใด ณ เวลาใด หรือชาติภพใดก็ตาม ด้ายแดงนี้อาจ จะยืดตึง หรือพันกัน แต่ไม่อาจตัดขาดออกจากกันได้

nihon66


นกฮูกในความเชื่อของคนญี่ ปนุ่

nihon67


นกในภาษาญี่ปุ่น โดยทั่วๆ ไปจะเรียกกันว่า โทริ (Tori とり) แต่ถ้าเป็นเจ้านก ฮูก ที่ชอบนอนกลางวัน ตื่นกลางคืนเพื่อออกหากินนั้น คนญี่ปุ่นเค้าเรียกกันว่า ฟุคุโร (Fukurou ふくろう, 梟) ซึ่งเจ้านกฮูกญี่ปุ่นนี่ผูกพันกับความเชื่อของคนญี่ปุ่นมาช้านาน เชื่อกันว่าค�ำว่าฟุคุโร 梟 นั้นมาจากค�ำว่า Fuku 福 ที่แปลว่า “โชค” ส่วนค�ำว่า rou 郎 ที่มาต่อท้ายนั้น คนญี่ปุ่นมักใช้ไว้ต่อท้ายชื่อของเด็กผู้ชาย บ้างก็เชื่อว่ามาจาก ค�ำว่า fu 不 ที่แปลว่า “ไม่” และค�ำว่า kurou 苦労 ที่แปลว่า “ยากล�ำบาก ทุกข์ทรมาน” ท�ำให้ค�ำว่า Fukurou มีความหมายว่า “ไม่ล�ำบาก” นั่นเอง จึงไม่แปลกเลยที่จะท�ำให้เจ้านกฮูกญี่ปุ่น กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่ง ความโชคดี (Engimono 縁起物) หรือ Lucky Charm ของชาวญี่ปุ่นไปโดยปริยาย บางคน ก็เชื่อว่าสี ขนาด และรูปร่างของเจ้านกฮูกน�ำโชคนี้จะให้คุณ (หรือส่งผล) ในด้านที่แตก ต่างกันไป นอกจากจะน�ำโชคดีแล้วความเชื่อเกี่ยวกับนกฮูกในญี่ปุ่นก็แตกต่างกันไป ตามภูมิภาคด้วย บางพื้นที่เชื่อว่านกฮูกเป็นนกผู้ไข สามารถช่วยท�ำนายสภาพอากาศ ได้ บางพื้นที่ก็ผูกพันกับนกชนิดนี้มาก อย่างชาวไอนุบนเกาะฮอกไกโดซึ่งมีวิถีชีวิต ผูกพันกับสัตว์สองชนิดนั่นคือหมีและนกฮูก โดยพวกเขาเรียกนกฮูกชนิดหนึ่งว่า “Kotan Kor Kamuy” ที่แปลว่า “เทพเจ้าแห่งหมู่บ้าน” nihon68


และมีต�ำนาน เรื่องเล่าเกี่ยวกับนกฮูกอยู่หลายเรื่องเลยทีเดียว หรืออย่างที่ เมือง Tsukuba จังหวัดอิบารากิ (Ibaraki Prefecture) นกฮูกถือเป็นสัตว์สัญลักษณ์อย่าง เป็นทางการของเมืองเลยทีเดียว ทั่วทั้งเมืองจะพบรูปวาด รูปถ่าย หรือรูปปั้นของเจ้า นกฮูกนี้อยู่เต็มไปหมด แถมกรุงโตเกียวเองก็ยังมีการประดับครอบครัวนกฮูกไว้ที่หน้า สถานีชื่อดังและพลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นด้วย ที่นั่นก็คือสถานีรถไฟอิเคะบุคุโระ จากเหนือจรดใต้ของญี่ปุ่น คุณจะได้เห็นเรื่องราวและร้านขายของเกี่ยวกับ นกฮูกหลายแห่ง ทั้งใน Maruyama Zoo บนเกาะฮอกไกโด หมู่บ้านไอนุ (Ainu Kotan Village) ที่ทะเลสาบอะคัง บนเกาะฮอกไกโด หรือที่แหลมอิซุ (Izu Peninsula) บนเกาะ ฮอนชู ในช่วงหลังการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration) ราวปี 1868 ซึ่งญี่ปุ่นเริ่มเปิด ประเทศ ต้อนรับชาติตะวันตกมากขึ้น ภาพลักษณ์ของนกฮูกในสายตาคนญี่ปุ่นก็ถูกน�ำ เสนอให้คนต่างชาติได้รู้จักในแง่มุมที่ต่างออกไปด้วย นกฮูกได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความเฉลียวฉลาดและการศึกษาหาความรู้ ขณะที่ความเชื่อที่ว่านกฮูกเป็นสัญลักษณ์ ของความโชคดีและปกป้องผู้คนจากเรื่องร้ายๆ ก็ค่อยๆ จางหายไป

คนญี่ปุ่นเชื่อว่าโอมะโมะริ (Omamori) หรือเครื่องรางนั้นจะสามารถปกป้อง คุ้มครองจากสิ่งไม่ดีทั้งหลายได้ นอกจากนี้ยังมีไว้เพื่อเสริมสร้างความสุข ความสมหวัง ในชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย คนญี่ปุ่นจึงนิยมน�ำสัญลักษณ์รูปสัตว์น�ำโชคต่างๆ มาท�ำเป็น เครื่องราง ไม่ว่าจะเป็นแมว กระต่าย หรือแม้กระทั่งนกฮูก แน่นอนว่าเครื่องรางที่มีรูป นกฮูกนั้น เชื่อว่าจะเรียกโชคดีเข้ามา ท�ำให้ครอบครัวมีความสุข แต่ที่เชื่อกันอย่างสุดๆ ก็คือจะท�ำให้คนที่พกเครื่องรางมีสติปัญญาดี เรียนเก่ง สอบผ่านได้อย่างง่ายๆ จึงเป็น ที่นิยมในหมู่นักเรียน นักศึกษา ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็มักจะเสาะหามาให้บุตรหลาน หรือ เป็นของฝาก ของที่ระลึกส�ำหรับเด็กๆ เพราะที่ญี่ปุ่น เรื่องการเรียน มีการแข่งขันที่ค่อน ข้างสูง ชนิดที่ว่าตายกันไปข้างหนึ่งเลยทีเดียว ถ้าหากอยากจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ต้องเรียนพิเศษกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว nihon69


แม้จะเป็นความเชื่อ.. แต่คนญี่ปุ่นสมัยใหม่ ก็ยังพกพาเครื่องรางนกฮูกกัน ทั่วไป ดีไซน์นกฮูกสมัยนี้ออกแบบมาเพื่อคนรุ่นใหม่ ดูน่ารัก มีมากมายหลายแบบ เต็มท้องตลาด หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป มีทั้งแบบท�ำด้วยพลาสติก ไม้ หรือโลหะ ท�ำ เป็นเครื่องรางบ้าง ที่ห้อยโทรศัพท์บ้าง เคสโทรศัพท์ หรือไม่ก็สติกเกอร์บ้าง ท�ำเป็น รูปปั้น รูปแกะสลักก็เยอะแยะมากมาย แล้วของพวกนี้คงจะไม่หมดไปจากสังคมชาว ญี่ปุ่นง่ายๆ อย่างแน่นอน แต่คนญี่ปุ่นบางกลุ่มก็มองนกฮูกในสองลักษณะ มีทั้งในแง่ ดีและในแง่ร้าย อย่างนกฮูกที่เรียกว่านกฮูกยุ้งหรือนกแสกจะถือว่าน�ำสิ่งชั่วร้ายมาให้ เชื่อว่าเป็นนกปีศาจ คล้ายๆ กับบ้านเราเหมือนกัน ในสมัยก่อนถ้ามาเกาะหลังคาบ้าน ละก็ คงขนหัวลุกกันเป็นแถว เพราะคนไทยเชื่อว่าจะเป็นลางร้าย ถึงขนาดอาจจะมี คนในบ้านเสียชีวิตเลยก็ได้ ส่วนนกฮูกเหยี่ยวจะมีแต่คนชอบ เพราะเชื่อว่าเป็นผู้น�ำ สารจากเทพเจ้า จึงน�ำมาแต่สิ่งดีๆ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์การมีชีวิตอยู่ของนกฮูกในญี่ปุ่นกลับเริ่ม ล่อแหลม เพราะแม้นกฮูกจะมีประโยชน์ในการก�ำจัดหนูตามธรรมชาติ อย่างเช่นในไร่ นาแล้ว การอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับนกฮูกก็เริ่มล�ำบากขึ้น เพราะอุปสรรคบางอย่าง อาทิ ตาข่ายกั้นพื้นที่ระหว่างไร่นาหรือบ้านเรือน ก็สามารถเป็นกับดักคร่าชีวิตพวกมัน ได้แล้ว จนกระทั่งตอนนี้ในญี่ปุ่นมีคนริเริ่มที่จะสร้าง Fukuro no mori (ป่าแห่งนกฮูก) ขึ้นมา โดยสร้างกล่องไม้ให้เป็นรังของนกฮูกในป่า เพื่อที่ว่ามันจะได้คิดว่ากล่องเหล่า นี้เป็นบ้านของมัน มันก็จะอยู่ในพื้นที่ที่เราจัดให้ และสามารถอยู่ร่วมกันกับคนที่คิดว่า นกฮูกเป็นสัตว์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์จริงๆ ได้โดยไม่เบียดเบียนกันในที่สุดนั่นเอง nihon70


ข้อมูลเพิ่มเติม นกฮูก (Owl) นั่นมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อ ความศรัทธาของคนแต่ละท้อง ถิ่นแตกต่างกันออกไป บางประเทศก็เชื่อไปในทางลบ มองว่าน่ากลัว แต่บางประเทศก็ เชื่อว่าเจ้านกตาโต สายตาแหลมคมมองเห็นได้ชัดแม้ในยามค�่ำคืนนี้ มีความน่าสนใจ น่าจะกลายเป็นตัวแทนแห่งความเฉลียวฉลาด และถือให้มันเป็นตัวแทนของนักปราชญ์ ในสมัยก่อน ชาวอินเดียนแดงเชื่อว่านกฮูกเป็นนกของปีศาจ ใครที่พกพาขน นกฮูก จะถือว่าเป็นพวกพ่อมดหมอผี แต่ชาวอินเดียนพื้นราบในอเมริกาบางพวกกลับ เชื่อว่าขนนกฮูกจะช่วยปกป้องพวกเขาจากปีศาจร้าย บางพวกก็ว่านกฮูกเป็นสัตว์ผู้ พิทักษ์ ขณะที่ชาวมายาและชาวแอสแทก ก็เชื่อว่านกฮูกเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวพันกับ เทพเจ้าแห่งความตาย จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของการท�ำลายล้างและความตาย ส่วนชาว ยุโรปเชื่อว่านกฮูกเป็นนกแห่งเทพกรีก เทพีเอเธน่า (Athena Goddess) เทพีแห่งศิลปะ ผู้ เชี่ยวชาญกลศึก และการเกษตร สุขุมลุ่มลึก และชอบแปลงร่างเป็นนกฮูก มหาวิทยาลัย ในยุโรปหลายแห่งจึงนิยมใช้นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน แต่ชาวโรมันกลับไม่ค่อย ปลื้มนกฮูกเท่าไรนัก เพราะมันเป็นนกที่หากินกลางคืน มีความลึกลับ รังของมันอยู่ ที่ไหนก็หาได้ยาก ชาวโรมันจึงเชื่อว่าการเจอนกฮูกในตอนกลางวันถือเป็นลางร้าย และ ถือว่านกฮูกเป็นนกแห่งงานศพด้วย ในอินเดียจะถือว่านกฮูกสีขาวเป็นสัตว์ของเทพเจ้า แห่งความมั่งคั่ง จะน�ำความเจริญรุ่งเรืองมาให้ แต่.. เวลาพูดถึงนกฮูกทั่วๆ ไป กลับจะ มักจะเป็นการพูดเพื่อแสดงถึงความโง่ซะงั้น ถือว่าเป็นสัตว์ผู้น�ำโรคร้ายมาให้ และเป็น สัตว์ของเทพเจ้าแห่งความตายด้วย เป็นไงล่ะ แต่ละที่ก็เชื่อต่างๆ กันไป อย่างไรซะดู เหมือนความเชื่อเกี่ยวกับนกฮูกในหลายๆ ประเทศ จะออกไปทางร้ายมากกว่าดี …และ หลายๆ ที่ก็เชื่อกันในสองแง่มุม มีทั้งดีและร้าย เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่น

nihon71


ซามุไร และ พ่อค้า ว่าด้วยวิธีการกินปลาไหลที่ต่างกัน

nihon72


ประเทศญี่ปุ่น นับว่าเป็นประเทศที่มีตลาดผู้บริโภค “อุนะงิ”「鰻」หรือปลา ไหลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้ แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศเกาะที่ล้อมรอบด้วย ทะเล มีความหลากหลายในด้านอาหารทะเล แต่ปลาไหล ซึ่งเป็นปลาน�้ำจืด กลับ กลายเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้นๆ ติดอกติดใจชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย ย้อนกลับไปในอดีต หากจะมีการกินปลาไหลก็ต้องเป็นโอกาสพิเศษ หรือมี การเฉลิมฉลอง หรือฟื้นฟูเพิ่มพูนพลังบวกให้กับร่างกายและจิตวิญญาณโดยเฉพาะ เท่านั้น ชาวญี่ ปุ ่ น มี วิ ธี ใ นการจั ด เตรี ย มและปรุ ง อาหารที่ ท� ำ จากปลาไหลในแบบ พิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะอันโดดเด่น ที่เรียกว่า “Kabayaki”「蒲焼」คือวิธีปรุงโดยการ หมักด้วยซอสโชยุ สาเก น�้ำตาล ฯลฯ แล้วน�ำไปย่าง ฟังดูธรรมดา แต่ไม่มีอะไรธรรมดาส�ำหรับความเป็นญี่ปุ่น กว่าจะปรุงอาหาร ที่ท�ำจากปลาไหลให้ทุกคนได้ทานกันไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทุกขั้นตอนต้องใช้ความ ช�ำนาญ และความสามารถที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ถึงกับมีค�ำกล่าวอันลึก ซึ้งที่ว่า… “หากเจ้าประสงค์จะเรียนรู้การปรุงปลาไหลให้อร่อยล�้ำ อาจต้องใช้เวลาถึง 3 ปีเพื่อ หัดเสียบไม้, อีก 8 ปีส�ำหรับการถอนก้าง และหลังจากนั้น…คือการอุทิศทั้งชีวิตที่ เหลือ เพื่อฝึกฝนการย่างให้ช�ำนาญ” nihon73


ย้อนกลับไปราวสมัยเอโดะ ศูนย์กลางความเจริญของ 2 ฝากบนเกาะญี่ปุ่น ถูกแบ่งออกเป็น “คันโต” หรือโตเกียวปัจจุบัน…เมืองแห่งซามุไร อยู่ในฐานะเมือง หลวงแห่งใหม่ และ “คันไซ” หรือโอซากา เมืองท่าของพ่อค้า อยู่ในฐานะเมืองแห่ง ความมั่งคั่งทางการค้า คันโต จะผ่าปลาไหลเป็นแนวยาวจากด้านบน หรือหลังของปลาไหล ถือเป็น ธรรมเนียมที่ต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในแถบคันโต เมืองแห่งซามุไร ที่จะไม่ ยอมเห็นการผ่าปลาไหลจากด้านล่างซึ่งเป็นส่วนท้องเป็นอันขาด เพราะมันเปรียบ เสมือนการท�ำ “ฮาราคีรี” หรือพิธีกรรมในการคว้านท้อง เพื่อการฆ่าตัวตายอันทรง เกียรติของซามุไรนั่นเอง ในขณะที่ฝั่ง คันไซ นิยมผ่าปลาไหลเป็นแนวยาวจากด้านล่าง หรือด้านท้อง มักมีค�ำพูดเปรียบเปรยที่ว่า “คนคันไซมักจะชอบเปิดท้อง” ด้วยเหตุที่คนสมัยก่อนเชื่อ ว่าหัวใจคนเรานั้นอยู่ที่ท้อง อารมณ์และความคิดต่างๆ จึงถูกส่งมาจากท้องของเรา ค�ำพูดนี้จึงสะท้อนว่าคนคันไซเป็นคนตรงๆ เป็นคนซื่อๆ การผ่าท้องปลาไหลที่ตรง ข้ามกับวิถีของเมืองซามุไร จึงเป็นภาพติดตัวเมืองท่าแห่งการค้าของเหล่าพ่อค้า ที่ นิยมทานปลาไหลด้วยการเปิดท้องนั่นเอง ด้วยเหตุแห่งความแตกต่างนี้ จึงท�ำให้ปลาไหลเป็นภาพสะท้อนแห่งเอกลักษณ์ที่แตก ต่างกันของญี่ปุ่นฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก…ต่อไปนี้จะสั่งปลาไหลทานเมื่อไหร่ อย่าลืมสังเกตเป็นเกร็ดความรู้สนุกสนานก่อนทานกันดูนะ nihon74


วิธีรบั ประทาน “เอโฮมากิ” เพื่อให้เป็ นมงคล ก่อนวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปนุ่

nihon75


วันที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันก่อนวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิหรือ Setsubun ตามปฏิทินจันทรคติ ในวันนี้จะมีกิจกรรมหลากหลายเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และเสริมสร้างความเป็นมงคลและความโชคดีในชีวิต หนึ่งในกิจกรรมส�ำคัญได้แก่การ รับประทานเอโฮมากิ (eho-maki) หรือซูชิม้วน เอโฮมากิ เอโฮมากิเป็นซูชิม้วนที่ห่อรวมวัตถุดิบ 7 อย่าง ซึ่งสื่อถึงเทพเจ้าโชคลาภทั้ง เจ็ดในการดึงดูดโชคลาภและขอพรให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย การรับประทานเอโฮมากิน้ัน เริ่มต้นจากคนในพื้นที่คันไซซึ่งเชื่อการรับประทานซูชิม้วนแล้วจะท�ำให้มีความมั่งคั่ง และความโชคดีเข้ามา ซึ่งต่อมาตั้งแต่ประมาณปีค.ศ. 1998 ผู้คนทั้งประเทศก็ให้ความ นิยมในการรับประทานซูชิม้วนหรือเอโฮมากิในวันนี้ด้วย วิธีการรับประทานเอโฮมากิเพื่ อเสริ มสร้างความเป็ นมงคลและความโชคดี 1. ควรรับประทานเอโฮมากิทั้งแท่งโดยไม่ควรตัดเป็นแท่งสั้นๆ เพราะการ ตัดเอโฮมากิจะหมายว่าความโชคดีจะถูกตัดออกไป 2. ขณะรับประทานควรหันหน้าไปในทิศทางแห่งความโชคดี (eho, 恵方) ที่ ถูกก�ำหนดขึ้นตามปีนักษัตรทิศทางการรับประทานนั้นสามารถหาดูได้จากอินเทอร์เน็ต หรือบนพลาสติกห่อเอโฮมากิที่วางขายตามร้านค้าต่าง ๆ 3. ขณะรับประทานนั้นควรรับประทานอย่างเงียบๆ เพื่อจะได้มีจิตใจสงบ และสามารถอธิษฐานขอความโชคดีได้อย่างสัมฤทธิ์ผล nihon76


เอโฮมากิหลากหลายไส้ตามความชอบของผูบ้ ริ โภค ไส้พื้นฐานของเอโฮมากิประกอบด้วยวัตถุดิบ 7 ชนิด ได้แก่ เห็ดหอม คัม เปียว (เส้นใยสีขาวของฟักเขียวตากแห้ง) โคยาโดฟูหรือเต้าหู้แห้ง (วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิด จะถูกน�ำมาต้มกับโชยุ สาเก และน�้ำตาล) ไข่หวาน แตงกวา ปลาไหลย่าง และผงปลา หวานซากุระ เด็งบุ (Sakura denbu) ซึ่งวัตถุดิบทั้ง 7 ชนิดนี้จะสื่อไปถึงการมีสุขภาพที่ดี มีความสุข โชคดีและความมั่งคั่ง ทั้งนี้ต่อมาได้มีการดัดแปลงน�ำข้าวมาห่อด้วยวัตถุดิบ ต่างๆ เพื่อสร้างความน่าดึงดูดแก่ผู้บริโภคที่ชอบความอร่อยและต้องการเสริมความ เป็นมงคลให้กับชีวิต เช่น มีการดัดแปลงน�ำข้าวมาห่อปลาดิบ อาหารทะเล และไข่ปลา ต่าง ๆ เนื้ออบ เนื้อโกเบ และหมูทอดทงคัตสึ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเอโฮมากิในรูป แบบของโรลเค้ก เพื่อให้เด็กได้รับประทานได้ง่ายและมีความสุข ทั้งนี้สามารถหาซื้อ หรือสั่งจองเอโฮมากิง่ายๆ จากห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ทั่วไปในญี่ปุ่น

nihon77


เอโฮมากิในรู ปแบบของโรลเค้ก จริงๆแล้วการรับประทานเอโฮมากิหรือซูชิม้วนแล้วขอพรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากซูชิม้วนมักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตรและความยาว ตั้งแต่ 9-15 เซนติเมตร การรับประทานเพื่อให้หมดในครั้งเดียวโดยไม่เอาออกจาก ปากจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ เมื่ออยากได้ความโชคดีก็ต้องอดทน

nihon78


ใบไม้น้ ี กินได้หรือไม่ได้? ค�ำถามที่มกั ได้ยินจากผูล้ องชิมคะชิวะโมจิ เป็ นครัง้ แรก

nihon79


วันเด็กผู้ชายของญี่ปุ่นจะตรงกับวันที่ 5 พฤษาคมของทุกปี ในวันนั้นจะมี กิจกรรมส�ำคัญต่างๆ มากมาย รวมถึงการกินโมจิที่ห่อด้วยใบโอ๊ก เรียกว่า คะชิวะโม จิ (かしわもち, Kashiwa mochi) เพื่อภาวนาขอให้เด็กๆมีความสุขและมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรง คะชิวะโมจิท�ำจากส่วนผสมของแป้งข้าวจ้าว โจชินโกะ (Joshinko, 上新粉) และแป้งข้าวเหนียวอบแห้ง ชิระทะมะโกะ (Shiratama ko, 白玉粉) โมจิที่ได้จะถูกน�ำ มายักไส้ด้วยถั่วแดงหวานบดแล้วน�ำมาห่อด้วยใบโอ๊กหรือคะชิวะ คนญี่ปุ่นมีความเชื่อในการใช้ใบโอ๊กห่อโมจิ จากการที่ต้นโอ๊กหรือคาชิวะ เป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบจนกว่ายอดอ่อนจะแตกขึ้นมา คนญี่ปุ่นจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ความเจริญรุ่งเรืองของผู้สืบสกุล โดยสามารถหาซื้อคะชิวะโมจิมารับประทานได้ทั้งปี ไม่เฉพาะแค่ช่วงวันเด็กเท่านั้น มักมีค�ำถามจากเพื่อนคนไทยและต่างชาติว่าสามารถกินใบไม้ไปพร้อมกับโม จิได้เลยหรือไม่ จริงๆ แล้วคนญี่ปุ่นไม่กินใบโอ๊ก โดยจะลอกใบโอ๊กออกและกินเฉพาะ โมจิ แต่หากอยากลองกินก็ไม่เป็นอันตราย เพียงแค่ใบโอ๊กจะมีความเหนียวและแข็ง ซึ่งอาจท�ำให้ความอร่อยของโมจิและไส้ถั่วแดงนั้นลดลง อีกทั้งหากเสียดายอยากกิน จริงๆ ก็สามารถน�ำใบอ่อนของโอ๊กมาห่อโมจิแล้วน�ำไปนึ่งหรือเข้าไม่โครเวฟแล้วค่อย เอามากินก็ได้ nihon80


นอกจากความเชื่อดังกล่าวแล้ว ใบโอ๊คยังมีกลิ่นหอมที่ท�ำให้โมจิมีกลิ่นหอมอร่อยชวน ประทับใจ ทั้งยังมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจากสารชื่อยูเกนอล (Eugenol) ที่เปรียบเสหมือนสารกันบูดที่ ได้จากธรรมชาติอีกด้วย เพราะในอดีตญี่ปุ่นยังไม่มีตู้เย็น การใช้ใบโอ๊กห่อขนมจึงเป็นภูมิปัญญา ของคนสมัยก่อนในการช่วยยืดอายุอาหารจากการบูดเน่าเนื่องจากแบคทีเรีย รวมทั้งช่วยรักษา ความชุ่มชื้นในโมจิ ท�ำให้โมจินุ่มอร่อยนานแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็นก็ตาม อีกสรรพคุณหนึ่งคือป้องกัน มือเลอะในขณะกินโมจิ นอกจากความเชื่อที่คนญี่ปุ่นให้ความส�ำคัญเป็นอันดับแรกแล้ว ใบโอ๊กก็มีประโยชน์ทั้ง สร้างรสหอมอร่อยและช่วยยืดอายุของโมจิได้ หากมาญี่ปุ่นในช่วงวันเด็กผู้ชายอย่าลืมซื้อคะชิวะ โมจิที่วางจ�ำหน่ายอยู่ทั่วไปลองรับประทานดูนะ

nihon81


โฮโต อาหารของฝากถูกใจของชาวญี่ ปนุ่ ที่มีตน้ ก�ำเนิ ดมาจากพื้นที่ป่า

nihon82


อาหารหลากหลายชนิดเกิดขึ้นจากความประหยัดและความแร้นแค้นในอดีต ก่อนจะค่อยๆ กลายเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากคนญี่ปุ่นในที่สุด หนึ่งในอาหาร ดังกล่าวคือ โฮโต (ほうとう) หม้อไฟอาหารประเภทเส้น มีลักษณะคล้ายอุด้ง แต่มี รสชาติอร่อยที่เมื่อได้ลองแล้วต้องอยากซื้อเป็นของฝากให้กับญาติมิตรเพื่อนฝูง โฮโตเป็นอาหารประจ�ำท้องถิ่นของจังหวัดยามานาชิ ในชูบุ เป็นหม้อไฟที่ ประกอบด้วยเส้นสีขาวคล้ายอุด้ง แต่มีลักษณะแบนและกว้างกว่าเส้นอุด้ง น�ำมาต้ม รวมกับผักตามฤดูกาลในน�้ำซุปที่ท�ำจากมิโซะ โฮโตเกิดจากความยากล�ำบากในการปลูกข้าวในพื้นที่กลางป่าที่ล้อมรอบไป ด้วยภูเขาอุณหภูมิต�่ำและมีเศษดินภูเขาไฟ ในอดีตการขนส่งไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน คนในพื้นที่แถบนี้จึงปลูกข้าวสาลีและรับประทานอาหารที่ผลิตได้จากแป้งสาลีซ่ึงคือ เส้นโฮโต ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดแป้งสาลีจึงได้มีการเติมผักหลายชนิดที่มีตาม ฤดูกาลลงไปในหม้อไฟด้วย ในอดีตการเตรียมโฮโตต้องเตรียมเองตามบ้านเรือน แต่ปัจจุบันสามารถหา ซื้อโฮโตกึ่งส�ำเร็จรูปที่บรรจุเส้นและซุปมิโซะส�ำหรับปรุงรสวางจ�ำหน่ายอยู่ทั่วไป เพียง ต้มเส้น เติมผักและเติมซุปมิโซะลงไป ก็จะได้เมนูหม้อไฟอร่อยๆมารับประทานแล้ว nihon83


วิธีการเตรียมโฮโตจะเริ่มจากการเตรียมน�้ำซุปที่ได้จากส่วนผสมของมิโซะ และดาชิจากลูกปลาซาร์ดีนแห้ง น�ำมาต้มจนเดือดแล้วจึงเติมผักที่มีตามฤดูกาล และ อาจจะเติมเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ตามความชอบ หลังจากนั้นจึงน�ำเส้นที่ท�ำจากแป้งสาลี ลงไปต้ม แล้วน�ำมารับประทานร้อนๆ เสน่ห์ของหม้อไฟโฮโตคือกลิ่นหอมของน�้ำซุปมิโซะ ผสมกับกลิ่นหอมของผัก ต้มที่ผสมอย่างลงตัวกับเส้นจากแป้งสาลี โฮโตจะมีน�้ำซุปที่หนืดข้น เมื่อรับประทาน เข้าไปท�ำให้รู้สึกเหมือนละลายในปาก นอกจากรสชาติท่ีอร่อยแล้ว หม้อไฟโฮโตยัง เป็นหม้อไฟเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยวิตามินและเส้นใยอาหารจากผักตามฤดูกาล หากเป็นฤดูร้อนผักที่น�ำมาใส่มักจะเป็นผักที่ช่วยเพิ่มเรี่ยวแรง เช่น หอมใหญ่ ต้นหอม และมันฝรั่ง ส่วนในฤดูหนาวก็มักจะใส่ผักที่อุดมไปด้วยวิตามินที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ตลอดช่วงฤดูหนาว ได้แก่ ฟักทอง เผือก ผักกาดขาว แครอท เห็ดหอมและเห็ดชิเมจิ ทั้งนี้ฟักทองเป็นผักที่ได้รับความนิยมสูง เพราะเมื่อถูกเคี่ยวจนได้ท่ีเนื้อฟักทองจะ ค่อยๆ ละลายในน�้ำซุป ท�ำให้น�้ำซุปมีสีเหลืองนวลและมีรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า หากไปเยือนจังหวัดยามานาชิสามารถหาโฮโตรับประทานได้จากร้านอาหาร ท้องถิ่นและเรียวคัง ทั้งนี้ยังสามารถหาซื้อโฮโตกึ่งส�ำเร็จรูปที่มีเส้นดิบโฮโตและซองน�้ำ ซุปมิโซะบรรจุอยู่ในกล่องตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายของฝากไปเป็นของฝากที่ ถูกใจได้อีกด้วย

nihon84


ความแตกต่างของโฮโตและอุด้งนั้นต่างกันที่ขั้นตอนการเตรียมเส้น และ ส่วนผสม แม้ว่าอุด้งจะใช้แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบเหมือนกัน แต่เส้นโฮโตจะมีลักษณะ แบนและกว้างกว่า อีกทั้งยังนุ่มกว่าเส้นอุด้ง วิธีการเตรียมเส้นอุด้งนั้นมักจะเติมเกลือ ลงไปในส่วนผสมแป้งแล้วพักไว้ เมื่อจะน�ำมาปรุงเป็นอาหารก็มักจะน�ำเส้นอุด้งมาต้ม ล้างเกลือออกก่อน ท�ำให้เส้นอุด้งมีเนื้อสัมผัสหนึบ ส่วนการเตรียมโฮโตนั้นไม่มีการ เติมเกลือและพักไว้เหมือนอุด้ง เวลาน�ำมารับประทานก็น�ำมาต้มในส่วนผสมของน�้ำ ซุปมิโซะได้เลย จึงท�ำให้เส้นโฮโตนุ่มและมีเนื้อสัมผัสที่อร่อยและเป็นเอกลักษณ์

nihon85


ซึคชุ ิหรือหญ้าหางม้า หญ้าแห่งฤดูกาล และความอร่อยแบบญี่ปนุ่

nihon86


จัมีหญ้าชนิดหนึ่งที่คนญี่ปุ่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่รู้สึกตื่นเต้นที่ได้พบเจอและมัก จะกล่าวว่าฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มต้นแล้ว เมื่อพบเห็นหญ้งชนิดนี้ นั่นก็คือหญ้าหางม้าหรือ ซึคุชิ (Tsukushi หรือ 土筆 หรือ Horsetail) สัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของ ญี่ปุ่น หญ้าหางม้าหรือซึคุชิเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีล�ำต้น ถูกแบ่งออกสองแบบ คือ ล�ำต้นที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือสปอร์ มักจะพบเจอในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ และ ล�ำต้นที่มีสีเขียวที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จะเจริญขึ้นมาหลังจากล�ำต้นที่สร้างเซลล์ สืบพันธุ์เหี่ยวเฉา ล�ำต้นที่มีสีเขียวจะเติบโตผ่านหน้าร้อนและจะเหี่ยวเฉาเมื่อเข้าสู่ฤดู หนาว ล�ำต้นของหญ้าหางม้าที่คนญี่ปุ่นตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้พบเห็น คือ ล�ำต้นที่สร้าง สปอร์ซึ่งมีลักษณะเป็นปล้องสีออกน�้ำตาลและมีส่วนยอดคล้ายร่มหุบ หญ้าชนิดนี้มัก ขึ้นตามพื้นดินบริเวณสวนสาธารณะหรือชนบทของญี่ปุ่นในช่วงประมาณเดือนมีนาคม อันเป็นช่วงการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นมักจะรู้สึกยินดีเมื่อเห็นหน่อของ หญ้าหางม้า เพราะหมายถึงว่าความหนาวจะค่อยๆ หายไปและความอบอุ่นจะเริ่มเข้า มาแทนที่ nihon87


ด้วยลักษณะเด่นเป็นข้อปล้องและมีส่วนปลายคล้ายร่ม เด็กญี่ปุ่นมักน�ำ ล�ำต้นของหญ้าหางม้ามาเล่นซูโม่ คือ การเล่นที่มีผู้เล่นอย่างน้อยสองคนน�ำล�ำต้นของ หญ้าหางม้ามาพันและดึงกันไปมา หากหญ้าของคนใดขาดก่อนก็จะเป็นฝ่ายแพ้ หญ้าหางม้าอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ แคลเซียม ซิลิกา แมกนีเซียมและโพแทสเซียม ซึ่งมีประโยชน์ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก นอกจากนี้หญ้าหางม้ายังอุดมไปด้วยแร่ธาตุซิลิคอนซึ่งเสริมสร้างการผลิตคอลลาเจน ในร่างกายเพื่อช่วยให้ผิวพรรณและเส้นผมแข็งแรงเป็นเงางาม จากการเปรียบเทียบ ปริมาณแร่ธาตุในชาหญ้าหางม้ากับผักขมพบว่า ชาหญ้าหางม้ามีปริมาณแคลเซียม ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม และแมกนีเซียม สูงกว่าผักขมถึง 155, 5 และ 3 เท่า ตาม ล�ำดับ

ล�ำต้นของหญ้าหางม้าที่สร้างสปอร์จัดเป็นผักป่าที่หายากของญี่ปุ่นและมีให้ รับประทานได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ถึงกับมีการกล่าวว่าหากใครได้รับประทานเมนูหญ้า หางม้าจัดเป็นคนที่โชคดี หากมาญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิลองมองหาร้านอาหารที่จัด เสิร์ฟหญ้าหางม้ารับประทานดูนะ

nihon88


ฮิกนั บานะ ดอกไม้ท่ีน่ากลัวส�ำหรับคนญี่ปนุ่

nihon89


หลายคนที่ชอบดูอนิเมะหรือซีร่ีย์ญี่ปุ่นแนวแฟนตาซีอาจจะคุ้นเคยกับดอกไม้ ชนิดนี้ไม่มากก็น้อยทีเดียว โดยเฉพาะหากเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความตายหรือโลกหน้า เพราะคนญี่ปุ่นให้ดอกไม้สีแดงสดดอกนี้เป็นตัวแทนของความตาย “ฮิกันบานะ” เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือดอกฮิกันบานะมักจะบานในช่วงวัน วสันตวิษุวัตในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกวันวสันตวิษุวัต ว่า “ฮิกัน (彼岸) ” จึง เป็นที่มาของชื่อ “ฮิกันบานะ” ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่บานในช่วงวันวสันตวิษุวัต นอกจากชื่อ “ฮิกันบานะ” แล้ว ดอกฮิกันบานะยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ “มันจูชาเงะ (曼珠沙華) ” ชื่อนี้มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ดอกมันจูชาเงะถือ เป็นดอกไม้แห่งสวรรค์ (天上の花) ตามคัมภีร์ศาสนาพุทธ เชื่อกันว่าเมื่อก�ำลังจะมี เรื่องน่ายินดีหรือเรื่องมงคลเกิดขึ้น ก็จะมีดอกไม้สีแดงโปรยปรายลงมาจากท้องฟ้าเพื่อ เป็นการเฉลิมฉลอง อย่างไรก็ตาม ดอกฮิกันบานะยังมีชื่ออื่นที่น่ากลัว อย่าง “ชิบิโตะบานะ (死人 花) ” ที่แปลว่า “ดอกไม้คนตาย” และ “จิโกคุบานะ (地獄花) ” ที่แปลว่า “ดอกไม้นรก” เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่นเช่น “คิทสึเนะบานะ (狐花) ” ซึ่งแปลว่า “ดอกไม้จิ้งจอก” “สุเตโกะบานะ (捨て子花) ” ที่แปลว่า “ดอกไม้เด็กก�ำพร้า” “ยูเรบานะ (幽霊花)” ที่แปล ว่า “ดอกไม้วิญญาณ” และ “คามิโซริบานะ (剃刀花) ” ซึ่งแปลว่า “ดอกใบมีดโกน” nihon90


เนื่องจากดอกฮิกันบานะมีหัวซึ่งอุดมไปด้วยแป้ง ท�ำให้คนญี่ปุ่นสมัยก่อน นิยมขุดมาท�ำอาหารกินกันในช่วงขาดแคลน โดยจะน�ำหัวมาล้างให้สะอาดเพื่อให้พิษที่ อยู่ในหัวละลายไปกับน�้ำ อย่างไรก็ตาม หากล้างไม่สะอาดก็จะมีพิษหลงเหลืออยู่และ ท�ำให้เสียชีวิตได้ ถึงอย่างนั้นอาการจากการถูกพิษของฮิกันบานะก็มีทั้งแบบไม่หนักมา เช่น ท้องเสียและอาเจียน แต่หากอาการหนักก็อาจถึงเส้นประสาทเป็นอัมพาตและเสีย ชีวิตได้ในที่สุด นอกจากนี้ ในอดีตคนญี่ปุ่นเคยใช้วิธีการปลูกฮิกันบานะไว้รอบๆ หลุมศพ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวตุ่นหรือสัตว์กินเนื้อต่างๆ เข้ามาท�ำลายหลุมศพอีกด้วย ท�ำให้ดอก ฮิกันบานะเป็นดอกไม้ที่อยู่คู่กับหลุมศพนั่นเอง ดอกฮิกันบานะแต่ละสีมีความหมายมี ความหมายที่แตกต่างกัน นอกจากดอกฮิกันบานะสีแดงแล้ว ดอกฮิกันบานะยังมีสี เหลืองและสีขาวอีกด้วย

pxhere.com

สีแดง: ความคลัง่ ไคล้/ อิสรภาพ/ การกลับมาพบกันใหม่/ มีเพียงคุณเท่านั้นที่ฉันคิดถึง

nihon91


thegardenofzen.com

สีขาว:ที่ฉันปรารถนานั้นมีเพียงคุณคนเดียว/ฉันเฝ้ารอวันที่เราจะได้กลับมาพบกันอีกครัง้ แม้ว่าโดยทั่วไปเราจะรู้จักดอกฮิกันบานะในฐานะดอกไม้ท่ีเกี่ยวข้องกับ ความตาย แต่ใช่ว่าดอกฮิกันบานะจะมีแต่ความหมายที่น่ากลัวเสมอไป นอกจากนี้ ดอกฮิกันบานะยังถือเป็นดอกไม้สวยงามชนิดหนึ่งที่จะพลาดไม่ได้ในฤดูใบไม้ร่วงใน ญี่ปุ่น

nihon92


ดังโงะ (Dango) ขนมโบราณที่อยู่ค่กู บั คนญี่ปนมานั ุ่ บร้อยปี

nihon93


ขนมดังโงะ (Dango) ที่พบเห็นกันอย่างชินตานั้นถือเป็นขนมโบราณที่อยู่คู่กับ ชาวญี่ปุ่นมานับร้อยปี และยังเป็นขนมที่ท�ำหน้าที่ในการสะท้อนประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ขนมดังโงะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่นจนแทบจะกลายเป็นสัญ ลักษ์ของความเป็นญี่ปุ่นไปแล้ว ยิ่งในช่วงที่ดอกซากุระก�ำลังบานสะพรั่งขนมชนิดนี้ก็ มักจะได้รับความนิยมตามไปด้วยเสมอ ขนมดังโงะ ถ้าเทียบกันที่รสสัมผัส จะมีความคล้ายขนมญี่ปุ่นอีกสองชนิด อย่าง โมจิ และ ไดฟุกุ แต่ในด้านของส่วนผสมขนมดังโงะมีความแตกต่างจากขนมทั้ง สองชนิดข้างต้นนั้นโดยสิ้นเชิง 1. การนึ่ง ส่วนผสมของขนมดังโงะ จะมีแป้งข้าวจ้าวเป็นส่วนผสมหลักและ ในบางสูตรอาจผสมแป้งข้าวเหนียวอบพิเศษหรือแป้งชิระทะมะโกะ (Shiratamako) ลง ไปด้วย ซึ่งจะท�ำให้ตัวแป้งมีความแน่นท�ำให้สามารถเอาไปเสียบไม้ย่างได้ง่าย ใช้เวลา ในการนึ่งให้สุกประมาณ 30-60 นาที 2. การต้ม โดยส่วนมากถ้าหากเลือกท�ำให้สุกด้วยวิธีการต้มส่วนผสมของ แป้งจะใช้แป้งข้าวจ้าวและแป้งข้าวเหนียวอบพิเศษหรือแป้งชิระทะมะโกะ (Shiratamako) ในอัตราส่วน 50:50 ท�ำให้ตัวขนมดังโงะที่ได้มีความนิ่มและนุ่มชุ่มชื่นมากกว่าการ นึ่ง มักจะนิยมทานเลยโดยไม่ต้องน�ำไปย่างอีก ซึ่งการต้มแป้งดังโงะจะใช้เวลาน้อย กว่าการนึ่งเพียงแค่ 3-5 นาทีเท่านั้น nihon94


ขั้นตอนการท�ำโมจินั้นคือน�ำข้าวเหนียวที่หุงสุกใหม่มาต�ำในครกไม้ในขณะที่ ยังร้อนให้กลายเป็นแป้งโมจิที่มีความเหนียว โดยมักจะรับประทานแบบสดหรือน�ำไป ผสมอาหารอื่นๆ วัฒนธรรมการต�ำโมจินี้มักจะท�ำกันในช่วงเทศกาลปีใหม่

ส่วนขั้นตอนการท�ำไดฟุกุคือจะน�ำแป้งโมจิมาต่อยอดโดยการผสม ไส้ที่อาจจะท�ำจากผลไม้กวนหรือผลไม้สดลงไปเพื่อสร้างรสชาติที่แปลกใหม่ขึ้นมา แต่ส�ำหรับขนมดังโงะ จะท�ำมาจากแป้งข้าวจ้าว วิธีการท�ำขนมดังโงะให้สุก นั้นมีด้วยกัน 2 วิธี ขนมดังโงะ มีหลากหลายรสชาติและหลากหลายรูปแบบ ชื่อเรียกขนมดังโงะ ก็จะแตกต่างไปตามส่วนผสมของแป้งและน�้ำซอสราด ยกตัวอย่างเช่น มิตาราชิ ดัง โงะ (Mitarashi Dango) คือขนมดังโงะที่เคลือบด้วยซอสที่ท�ำมาจากซีอิ๊ว สาหร่ายคมบุ และน�้ำตาลทราย มิตาราชิ ดังโงะจะมีความหนึบหนับจากตัวดังโงะผสมผสานอย่าง ลงตัวด้วยรสชาติเค็มๆ หวานๆ ของน�้ำซอสมิตาราชิที่ใช้ • อัง ดังโงะ (An dango) คือดังโงะราดด้วยถั่วแดงกวน • คุซะ ดังโงะ หรือโยโมงิ ดังโงะ (Kusa dango) คือดังโงะสีเขียว ในส่วน ผสมของตัวแป้งจะใส่ใบโยโมงิลงไปด้วยส่วนมากจะราดด้วยถั่วแดงกวนเช่นกัน • โนริมากิ ดังโงะ (Norimagi dango) คือดังโงะราดด้วยซอสมิตาราชิแล้วน�ำ ไปย่างไฟอีกรอบจากนั้นห่อด้วยแผ่นสาหร่ายแห้ง • ซุนดะ ดังโงะ (Zunda dango) คือดังโงะราดด้วยซอสถั่วแระกวน และ นอกจากนี้ยังมีแบบที่น�ำเต้าหู้มาผสมลงไปในดังโงะและราดซอสรสชาติต่างๆ หรือจะ น�ำมายัดไส้ถั่วแดงกวนก็อร่อยเช่นกัน nihon95


คนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าขนมดังโงะมีต้นก�ำเนิดมาจากขนมโมทกะหรือขนมโม ทัก (Modak) ซึ่งเป็นขนมหวานจากประเทศอินเดียที่ใช้ในการถวายองค์พระพิฆเนศวร ในศาสนาฮินดู ในศาสนาฮิ น ดู เ ชื่ อ ว่ า ขนมโมทกะนี้ เ ป็ น ขนมที่ อ งค์ พ ระพิ ฆ เนศวรทรง โปรดปราน และจะเห็นขนมดังโงะปรากฎอยู่ในหนังสือที่ชื่อว่า The Shin Sarugaku Ki ที่ ถูกแต่งขึ้นในยุคเฮอัน (ค.ศ. 794-1185) ในช่วงศตวรรษที่ 10 ขนมดังโงะในสมัยนั้นถือเป็นของว่าง หรือขนมทานเล่นของบรรดาขุนนาง และชนชั้นสูงในสมัยนั้น เราจึงสามารถพบเห็นบันทึกเกี่ยวกับขนมดังโงะอยู่มากมาย ทั้งในพจนานุกรมเก่าแก่ที่มีชื่อว่า Wamyo Ruijusho (倭名類聚抄) รวมไปถึงหนังสือรวม ต�ำราอาหารเก่าแก่ของจีนอย่าง Chuujirui Ki อีกด้วย ในสมัยก่อนแป้งข้าวจ้าวไม่ได้หาง่ายอย่างทุกวันนี้ ส่วนผสมในการท�ำขนม ดังโงะจึงมีการใช้ข้าวบาเลย์, ข้าวสาลี, ลูกเดือยชนิดต่างๆ, ข้าวโพด, ถั่ว, มันหวาน หรือแม้กระทั่งเม็ดเกาลัด จึงท�ำให้ในปัจจุบัน และยังสามารถพบเห็นขนมดังโงะที่มี ส่วนผสมที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นได้ตลอดๆ ในอดีตขนมดังโงะถูกใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาในการบูชาเทพเจ้าของชาว ญี่ปุ่น ในบางต�ำนานเล่าว่าขนมดังโงะมีต้นก�ำเนิดมาจากร้านน�้ำชาเล็กๆ ในเกียวโตที่ มีชื่อว่าคาโมะ มิตาราชิ (Kamo Mitarashi) ร้านน�้ำชาแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับศาลเจ้าชิโมกา โมะ (Shimogamo) รูปทรงของขนมนั้นท�ำขึ้นมาเพื่อเลียนแบบฟองที่เกิดจากน�้ำบริสุทธิ์ ตรงบริเวณทางเข้าศาลเจ้านั้นเอง เดิมทีขนมดังโงะถูกใช้เพื่อบูชาเทพเจ้าและเทพธิดาที่อยู่ในศาลเจ้า มิตาราชิ ดังโงะแบบดั้งเดิมนั้นจะท�ำขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของผู้คนใน 1 ไม้จะมีท้ังหมด 5 ลูก ลูก บนสุดหมายถึงศีรษะ สองลูกต่อมาหมายถึงแขนทั้งสองข้างและสองลูกสุดท้ายแทน ความหมายของขาทั้งสองข้าง สีดั้งเดิมของมิตาราชิ ดังโงะจะเป็น สีแดง สีขาว และ สีเขียว ปั จ จุ บั น ขนมดั ง โงะถู ก น� ำ มาใช้ ใ นเทศกาลอั น เลื่ อ งชื่ อ ของประเทศญี่ ปุ ่ น อย่างเทศกาลชมดอกซากุระที่จะจัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่ดอกซากุระก�ำลังบาน สะพรั่ง คนญี่ปุ่นมักจะออกจากบ้านเพื่อมาชื่นชมความสวยงามของดอกซากุระในช่วง นั้น และหนึ่งในอาหารที่คนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับการชมดอกซากุระก็คือ ฮานามิ ดังโงะ (Hanami dango) ขนมดังโงะสามสีนั้นเอง nihon96


ฮานามิ ดังโงะประกอบไปด้วย สีชมพู สีขาว และสีเขียว ไล่จากบนสุดลงมาด้านล่าง ตามล�ำดับ และแต่ละสีจะมีความหมายแตกต่างกันไป • ความหมายที่ 1 แทนการออกดอกของซากุระ สีชมพูหมายถึงดอกที่ยังตูม เมื่อบานออกจะกลายเป็นสีขาว และสีเขียวคือใบไม้ • ความหมายที่ 2 แทนการสื่อความหมายของฤดูกาล สีชมพูหมายถึงดอก ซากุระเป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ผลิ สีขาวหมายถึงหิมะเป็นตัวแทนของฤดูหนาวที่เพิ่ง ผ่านไป ส่วนสีเขียวหมายถึงต้นไม้เป็นตัวแทนของหน้าร้อนที่ใกล้เข้ามา • ความหมายที่ 3 แทนความสวยงามของวิวทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ผลิ สีชมพู คือดอกซากุระหรือพระอาทิตย์ สีขาวคือหิมะที่ยังหลงเหลือ และสีเขียวคือต้นหญ้า เขียวชะอุ่ม ความหมายทั้งสามล้วนเป็นความหมายที่ผสานวัฒนธรรม และความสวยงามของ ญี่ปุ่นเอาไว้ด้วยขนมดังโงะ ซึ่งความนิยมของขนมดังโงะในเทศกาลชมซากุระก็ท�ำให้ เกิดวลีที่ว่า Hana Yori Dango (花より団子) ซึ่งหมายความว่า นอกจากชมความสวยงาม ของซากุระแล้วก็อย่าลืมทานขนมดังโงะให้อิ่มท้องด้วย ในวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 8 หรือราวเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ตามปฏิทิน จันทรคติในแต่ละปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วงในประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจะท�ำซึกิมิ ดัง โงะ (Tsukimi Dango) ขึ้นเพื่อใช้บูชาพระจันทร์ในเทศกาลนี้ ส่วนผสมของซึกิมิ ดังโงะ จะมีเพียงแป้งข้าวจ้าวและน�้ำตาล จะขนมดังโงะ วางเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับปิรามิด เป็นความเชื่อของคนญี่ปุ่นที่ว่าการวางแบบนี้ จะท�ำให้ขนมดังโงะได้อยู่ใกล้กับเทพเจ้ามากขึ้น ถึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่ขนมดังโงะก็ยังถือได้ว่าเป็นขนมที่ได้รับความ นิยมอยู่เสมอ เพราะเป็นดั่งสิ่งที่คอยสะท้อนถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีอันเก่าแก่ ในอดีตของคนญี่ปุ่น และในปีนี้หากใครได้ไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นในช่วงที่ซากุระก�ำลัง เบ่งบานก็อย่าลืมมองหาขนมดังโงะมาทานระหว่างการชมดอกซากุระเพื่อจะได้เข้าถึง บรรยากาศแบบญี่ปุ่นแท้ๆ

nihon97


ขนมยัทสึฮาชิ (Yatsuhashi) ของฝากจากเกียวโต ที่ไม่ว่าใครก็ตอ้ งเคยได้รบั

nihon98


หากใครเคยมีเพื่อนที่เพิ่งกลับจากการไปเที่ยวเมืองเกียวโต อาจจะเคยได้รับ ของฝากที่มีชื่อว่าขนมยัทสึฮาชิ (Yatsuhashi) กันมาบ้าง ขนมกล่องเล็กๆ ที่มีส่วนผสม ของข้าว ,น�้ำตาล และอบเชย ซึ่งขนมชนิดนี้ไม่ได้มีช่ือเสียงเพียงแค่เป็นของฝากขึ้นชื่อ เท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนหัวใจส�ำคัญของเมืองอันเก่าแก่แห่งนี้อีกด้วย เพราะไม่มีสิ่ง ไหนที่จะสามารถบอกได้ว่าเราได้ไปเยือนเมืองเกียวโตได้เท่ากับขนมยัทสึฮาชิอีกแล้ว และในบรรดาของฝากที่มีอยู่มากมาย ขนมยัทสึฮาชิครองอันดับหนึ่งส�ำหรับของฝาก ยอดนิยมที่ใครๆ ก็ซื้อเมื่อมาเยือนเกียวโตตลอดกาล รองลงมาจะเป็นพวกเครื่องราง และวัตถุมงคลจากวัดต่างๆ ขนมยัทสึฮาชิเป็นขนมที่มีความเก่าแก่มากที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นประวัติความเป็นมาก็อาจจะมีแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือมากที่สุดนั้นต้องย้อนกลับไปในสมัยเอโดะ มี พระภิกษุตาบอดรูปหนึ่งชื่อว่า ยัทสึฮาชิ เค็งเกียว (Yatsuhashi Kengyo) ท่านเป็นทั้งนัก ดนตรี นักแต่งเพลง ที่ชื่นชอบและหลงใหลในเครื่องดนตรีโคโตะ (Koto, 箏) เครื่อง ดนตรีประเภทสายของญี่ปุ่น ท่านยัทสึฮาชิ เป็นคนอ่อนน้อม เรียบง่ายและสมถะ เวลา รับประทานอาหารท่านยัทสึฮาชิจะคอยระมัดระวังเป็นอย่างมาก nihon99


ไม่ปล่อยให้อาหารเหลือทิ้งและเสียเปล่า หากวันไหนมีเศษข้าวเหลือติดก้นหม้อ ท่าน ยัทสึฮาชิก็จะน�ำมาท�ำเป็นของว่าง โดยน�ำเศษข้าวก้นหม้อมาผสมน�้ำตาลและอบเชย จากนั้นน�ำไปอบและเก็บไว้กินกับน�้ำชายามว่าง ซึ่งแนวคิดและวิธีปฏิบัตินี้ก็ยังถูก ถ่ายทอดแก่บรรดาชาวบ้านในระแวกใกล้เคียงอีกด้วย และหลังจากที่ท่านยัทสึฮาชิ เค็งเกียวมรณภาพ ร่างของท่านก็ได้ถูกน�ำไปฝัง ยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ใน วัดคองคาอิ โคเมียวจิ แต่ด้วยความรักและความศรัทธาที่ชาว บ้านมีให้จึงรู้สึกว่าเท่านี้อาจจะยังไม่เพียงพอต่อความรู้สึกของผู้คนที่มาเยี่ยมหลุมศพ ของท่านยัทสึฮาชิ หลังจากนั้น 4 ปี ขนมที่มีชื่อว่ายัทสึฮาชิ ก็ถือก�ำเนิดขึ้น โดยมีรูป ร่างเหมือนกับเครื่องดนตรีโคโตะที่ท่านยัทสึฮาชิรักมาก และสูตรของขนมก็ยังคงเป็น สูตรต้นต�ำรับเดิมที่ท่านยัทสึฮาชิเคยท�ำ โดยขนมชนิดนี้ถูกวางขายครั้งแรกที่ร้านน�้ำชา ท้องถิ่นที่อยู่ไม่ไกลจากวัดนั้นเอง

nihon100


ในตอนแรกขนมยัทสึฮาชิจะมีลักษณะคล้ายกับขนมเซ็มเบ และค่อนข้าง แข็งแต่บางกว่าเซ็มเบ ซึ่งความแข็งนี้มาจากกรรมวิธีในการท�ำ การอบด้วยอุณหภูมิที่ พอเหมาะจะท�ำให้แผ่นข้าวเกิดการโค้งมนท�ำให้มีรูปร่างคล้ายกับเครื่องดนตรีโคโตะ น�้ำตาลและอบเชยท�ำให้มีรสชาติ และเข้ากันได้ดีกับน�้ำชาร้อนๆ ขนมยัทสึฮาชิแบบ ดั้งเดิมนี้ถูกขายให้กับนักแสวงบุญและผู้มาเยือนในเมืองแห่งนี้ โดยวางขายครั้งแรกที่ ร้านโชโกอิน ขนมที่มาจากร้านนี้จึงถูกเรียกว่าโชโกอินยัทสึฮาชิ (Shogoin yatsuhashi) และหลังจากขนมเริ่มวางขายก็ได้รับความนิยมจากผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก จน สุดท้ายในปี ค.ศ. 1900 ขนมยัทสึฮาชิก็ถือได้ว่าเป็นของฝากประจ�ำเมืองเกียวโต ที่ไม่ ว่าใครผ่านมาก็ต้องหาซื้อกลับไปเป็นของฝาก ในสมัยก่อนการเดินทางไม่ได้รวดเร็วอย่างในปัจจุบัน ขนมยัทสึฮาชิท่ีถูกอบ จนแห้สามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือนดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าผู้รับจะได้รับของฝากที่ยังไม่ หมดอายุและสามารถรับประทานได้ สิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ท�ำให้ขนมชนิดนี้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1889 ขนมยัทสึฮาชิก็ ยังได้รับรางวัลเหรียญเงินในงาน Paris Expo ในฐานะขนมที่ได้รับความสนใจและชื่น ชอบจากผู้ที่มาร่วมงานอีกด้วย ถือได้ว่าขนมชนิดนี้สามารถสร้างชื่อเสียงและท�ำให้ ผู้คนรู้จักเมืองเกียวโตและประเทศญี่ปุ่นมากขึ้นอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ.1960 ก็มีการคิดค้นขนมยัทสึฮาชิแบบนิ่มขึ้นมาโดยท�ำมา จากแป้งข้าวที่น�ำมาหุงและตีให้คล้ายกันกับขนมโมจิ จากนั้นก็สอดไส้ถัวแดง หรือชา เขียว ขนมยัทสึฮาชิแบบนิ่มจะถูกห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมและจะรู้จักกันในชื่อว่าอันอิริ นามะ ยัทสึฮาชิ (an-iri nama yatsuhashi) ซึ่งนอกจากไส้ยอดนิยมอย่างถั่วแดง และ ชาเขียวแล้ว ขนมยัทสึฮาชิแบบนิ่มก็ยังมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรสชาติของตัวแป้ง และไส้ออกมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ถั่วด�ำ งา อบเชย เกาลัด สตรอว์เบอร์รี ช็อกโกแลต เป็นต้น และด้วยการคิดค้นและพัฒนามาอย่างยาวนานจึงท�ำให้ขนมยัทสึ ฮาชิยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้

nihon101


ในปั จ จุ บั น ถึ ง แม้ ว ่ า รู ป แบบดั่ ง เดิ ม ของขนมยั ท สึ ฮ าชิ แ บบนิ่ ม จะเป็ น รู ป สามเหลี่ยมอย่างที่เราคุ้นเคย แต่ก็ยังสามารถพบเห็นรูปแบบแปลกๆ ที่แตกต่างออก ไปจากเดิม เช่นรูปถุงเงินเล็กๆ หรือท�ำเป็นรูปดอกไม้ หรือแม้กระทั้งแบบแข็งที่เป็นต้น ต�ำรับก็ยังถูกน�ำมาท�ำเป็นรูปทรงแท่งม้วน ที่ดูแตกต่างไปจากเดิมมาก แต่ถึงกระนั้น รูปทรงแบบดั่งเดิมก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย หากท่านยัทสึฮาชิ เค็งเกียว ยังมีชีวิตอยู่ก็คงจะรู้สึกภาคภูมิใจที่ความ มัธยัสถ์ของเขาจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนและทุกสิ่งทุกอย่าง เฉกเช่น ตัวโน๊ตและบทเพลงของเขาที่ถูกทิ้งไว้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลังที่หลงใหลในท่วงท�ำนอง ของโคโตะฉันใด สิ่งที่ดูเรียบง่ายที่สุดของเขาก็สามารถพบเจอได้ตามบ้านเรือนทั่วไป ฉันนั้น

nihon102


เพราะอะไรคนโอกินาว่าถึงนิ ยมกินหมู ทัง้ ที่เป็ นจังหวัดเกาะติดทะเลแท้ๆ

nihon103


ในอดีตโอกินาว่าเคยมีเอกราชเป็นของตัวเอง ดังนั้นทั้งภาษา วัฒนธรรม รวมถึงอาหาร การกินจึงค่อนข้างแตกต่างจากคนบนเกาะใหญ่ อาหารประจ�ำท้องถิ่นที่ชาวโอกินาว่าภูมิใจน�ำ เสนออย่าง “ราฟุเต” (หมูสามชั้นตุ๋น) ก็มีส่วนประกอบหลักคือ “เนื้อหมู” ยิ่งไปกว่านั้น ที่นี่มีการ เลี้ยงหมูสายพันธุ์พื้นเมืองที่เรียกว่า “อากู” (Agu) เป็นหมูที่มีไขมันแทรกเป็นเส้นๆ รสชาติอร่อย และเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่โอกินาว่าเป็นเกาะติดทะเลแท้ๆ แต่ผู้คนกลับนิยมรับประทานเนื้อหมูมากกว่า อาหารทะเล เพราะชาวโอกินาว่าชื่นชอบการรับประทานหมูเป็นอย่างมาก จนมีค�ำกล่าวว่า “กิน หมูหมดทุกส่วนยกเว้นเสียงร้องและกีบเท้า” วัฒนธรรมการรับประทานหมูของชาวโอกินาว่าเข้าสู่ อาณาจักรริวกิวในสมัยเอโดะช่วงปี ค.ศ.1713 เนื่องจากคณะทูตสันถวไมตรีจากจีนกว่า 400 คน ได้เข้ามาพ�ำนักชั่วคราวอยู่ที่อาณาจักรริวกิวเป็นระยะเวลาราวๆ 8-9 เดือน จึงต้องมีการเตรียม อาหารต้อนรับ ซึ่งเนื้อหมูจัดเป็นวัตถุดิบที่จ�ำเป็นอย่างมากในการท�ำอาหารจีนเพื่อรองรับคณะทูต ใน 1 วัน ต้องใช้เนื้อหมูประมาณ 20 ตัว หากรวมระยะเวลาทั้งหมด 9 เดือนนั้น จะต้องใช้หมู จ�ำนวนมากถึง 5,000 ตัวเลยทีเดียว

nihon104


หมูพันธุ์อากู ในสมัยนั้นเนื้อหมูเป็นวัตถุดิบที่หาได้ยาก จึงมีการน�ำเข้าหมู และบังคับให้ แต่ละหมู่บ้านเร่งเลี้ยงหมูเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคของคณะทูตสันถวไมตรีจากจีน ตั้งแต่นั้นมาการเลี้ยงหมูจึงแพร่หลายไปทั่วทุกพื้นที่ในอาณาจักรริวกิว วัฒนธรรมการ รับประทานเนื้อหมูของชาวโอกินาว่าจึงไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการบังคับของ รัฐบาลในยุคสมัยนั้นนั่นเอง ถึงแม้ว่าในสมัยนั้นเนื้อหมูได้กลายเป็นที่นิยม เเละมีการรับประทาน กันอย่างแพร่หลายในอาณาจักรริวกิว แต่ชาวเมืองก็ถูกจ�ำกัดสิทธิ์ในการบริโภคเนื้อหมู เนื่องจากข้อจ�ำกัดในการเลี้ยงหมูของรัฐบาล ท�ำให้ไม่สามารถบริโภคได้บ่อยเหมือนที่ ผ่านมา ชาวเมืองและเกษตรกรที่เลี้ยงหมูเป็นอาชีพจึงเกิดความไม่พอใจ ลุกฮือขึ้นมา ประท้วงโดยการหยุดงาน เพื่อเรียกร้องให้สามารถรับประทานเนื้อหมูและเลี้ยงหมูได้ เหมือนเดิม วัฒนธรรมการรับประทานเนื้อหมูของชาวโอกินาว่านั้นมีที่มาอย่างจากการที่ ต้องต้อนรับคณะทูตสันถวไมตรีจากจีนนั่นเอง อาหารพื้นเมืองของชาวโอกินาว่ายังมีอีก หลากหลายเมนู และมีที่มาที่น่าสนใจให้เราได้ศึกษาอีกมากมาย nihon105


ยาคุมิ (Yakumi) หนึ่ งส่วนประกอบส�ำคัญ ที่เป็ นมากกว่าแค่ของประดับ

nihon106


อาหารญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยความหลากหลายของ รสชาติและวัตถุดิบ กว่าจะท�ำอาหารออกมาได้หนึ่งจานจึงต้องใช้ทั้งความใส่ใจ และ ความปราณีตพิถีพิถันเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะจัดสรรหลายๆ องค์ประกอบในจานให้ เกิดความลงตัวนั้นเอง ยาคุมิ (Yakumi, 薬味 ) เกิดจากการน�ำค�ำสองค�ำมารวมกันก็คือค�ำว่า ยาคุ (Yaku) มีความหมายว่ายา และมิ (Mi) ที่หมายถึงรสชาติ เมื่อน�ำมารวมกัน ยาคุมิ (Yakumi) จึงหมายถึงรสชาติของอาหารที่มีสรรพคุณเป็นยา วัตถุดิบที่สามารถน�ำมาใช้ท�ำ เป็นยาคุมิ ได้นั้นมีหลากหลายแต่โดยส่วนมากจะนิยมเลือกใช้พืช ผัก สมุนไพรที่มี สรรพคุณเป็นยา มีกลิ่นฉุน และรสชาติเผ็ดร้อนเสียเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ต้น หอม หัวไชเท้า พริก กระเทียม ขิง ใบชิโซะ วาซาบิ หรือส้มยุซุ เป็นต้น ยาคุมิจึงมีส่วนช่วยเพิ่มเติมรสชาติของอาหารจานนั้นให้มีความโดนเด่นยิ่ง ขึ้น ช่วยเพิ่มกลิ่น ความหอม และความอยากอาหารให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเลือก ใช้ยาคุมิ ส�ำหรับอาหารแต่ละจานก็มีความแตกต่างกันออกไปอีกด้วย ในปัจจุบันยาคุมิ ไม่ได้ถูกจ�ำกัดเพียงแค่พืช ผัก สมุนไพร เพียงอย่างเดียว เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา และอาหารทะเลบางจ�ำพวกก็สามารถถูก เรียกว่ายาคุมิได้เช่นเดียวกัน ซึ่งส�ำหรับเนื้อสัตว์ หรืออาหารทะเลส่วนมากจะมาในรูป แบบของอาหารตากแห้ง ยกตัวอย่างเช่น ปลาโอแห้ง, สาหร่ายแห้ง, กุ้งฝอยตากแห้ง, หรือปลาตัวเล็กๆ ตากแห้ง เป็นต้น nihon107


เมนูที่มียาคุมิ มีมากมายหลากหลายเมนู โดยส่วนมากจะถูกโรยหน้ามาบน จานอาหาร หรือเสิร์ฟมาเป็นเครื่องเคียงจานเล็ก ใช้รับประทานพร้อมกับน�้ำจิ้มหรือน�้ำ ซอส ยกตัวอย่างเช่น โซบะเย็น ซึ่งในหนึ่งจานจะถูกจัดเสิร์ฟแยกมาระหว่างเส้นโซบะ น�้ำซอสโซยุ และยาคุมิซึ่งประกอบไปด้วยต้นหอมซอย พริกญี่ปุ่น และวาซาบิ โดย เวลารับประทานก็จะใส่ยาคุมิตามปริมาณที่ชอบลงในน�้ำซอสจากนั้นก็จุ่มเส้นโซบะลง ในน�้ำซอสเพื่อรับประทาน จะช่วยเพิ่มรสชาติและความเผ็ดร้อนให้กับน�้ำซอสในโซบะ เย็นนั้นเองค่ะ หรือจะเป็นพริกป่นที่ถูกเสิร์ฟมาพร้อมกับอาหารจานร้อนต่าง ๆ เช่น ข้าวหน้าเนื้อ ข้าวหน้าแกงกะหรี่ก็ถือว่าเป็นยาคุมิ และแม้จะเป็นต้นหอมซอยที่ถูกโรย อยู่ในซุปมิโสะก็ถือได้ว่าเป็นยาคุมิเช่นเดียวกัน ยาคุมิในปัจจุบันจึงถือได้ว่ามีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ซึ่งการเลือก ใช้ยาคุมิแต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับพ่อครัวที่ประกอบอาหารจานนั้นๆ แต่ถึงจะมีความหลากหลายสักเพียงใดแต่สุดท้ายแล้วยาคุมิก็เป็นเพียงหนึ่งในส่วนประ กอบเล็กๆ ที่ถูกใส่ลงในอาหารเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อชูรสชาติของอาหารจานนั้นให้มี ความโดเด่นยิ่งขึ้น จึงถือเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ที่ท�ำให้อาหารจานนั้นสมบูรณ์นั้นเอง

nihon108


บรรณานุกรม mamonn. (2563). เปิดปิดประตูเลื่อนแบบญี่ปุ่นอย่างไรให้ถูกใจและถูกต้อง!!. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2561). เหตุใดธงรูปปลาคาร์ฟจึงมีความส�ำคัญในวันเด็กของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th mamonn. (2562). เสื่อทาทามิ : ความเรียบง่ายที่สุดแสนจะวิเศษของบ้านแบบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th mamonn. (2562). ซามุไร และ พ่อค้า : ว่าด้วยวิธีการกินปลาไหลที่ต่างกัน. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2562). ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ ธรรมเนียมที่คนญี่ปุ่นคงไว้แม้เทคโนโลยีจะ ก้าวล�้ำไปแสนไกล. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2562). วิธีรับประทาน “เอโฮมากิ” เพื่อให้เป็นมงคลก่อนวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิต ของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2562). ใบไม้นี้กินได้หรือไม่ได้? ค�ำถามที่มักได้ยินจากผู้ลองชิมคะชิวะโมจิเป็น ครั้งแรก. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2562). โฮโต อาหารของฝากถูกใจชาวญี่ปุ่นที่มีต้นก�ำเนิดมาจากพื้นที่ป่า. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2562). ซึคุชิหรือหญ้าหางม้า หญ้าแห่งฤดูกาลและความอร่อยแบบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th


kinyoubi. (2562). นางเงือก ผู้เตือนภัยหรือผู้เรียกหาสึนามิ?. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th kinyoubi. (2562). ลูกเขยถูกแกล้ง เจ้าสาววิ่งหนี ประเพณีแต่งงานสุดพีคของโอกินาว่า. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th kinyoubi. (2562). ท�ำไมฮิกันบานะถึงเป็นดอกไม้ที่น่ากลัวส�ำหรับคนญี่ปุ่น?. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th kinyoubi. (2563). คาบาตะ เมื่อชีวิตและสายน�้ำมาบรรจบกันที่ฮาริเอะ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ซากุระ เมืองร้อน. (2563). ท�ำไมคนญี่ปุ่นใช้กิ่งไม้มีหนามแหลมและหัวปลาซาร์ดีนไล่สิ่งชั่วร้ายใน วันที่ 3 กุมภาพันธ์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th kinyoubi. (2563). ซันชิน เครื่องดนตรีที่บรรเลงท่วงท�ำนองของโอกินาว่า. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th chibi-anngle. (2563). เพราะอะไรคนโอกินาว่าถึงนิยมกินหมู ทั้งที่เป็นจังหวัดเกาะติดทะเล แท้ๆ. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th chibi-anngle. (2563). รู้หรือไม่? เทศกาลปาถั่ว (เทศกาลเซ็ตสึบุน) ในฮอกไกโดนั้นแตกต่าง จากที่อื่น!. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ไอซึ. (2562). ขนมยัทสึฮาชิ (Yatsuhashi). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com ไอซึ. (2562). ยาคุมิ (Yakumi) หนึ่งส่วนประกอบส�ำคัญที่เป็นมากกว่าแค่ของประดับ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com THE 8TH RONIN. (2557). นกฮูกในความเชื่อของคนญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com


mamonn. (2562). หญิงร้อนรุ่มแห่งปี “ฮิโนะเอะอุมะ” : หญิงต้องห้ามตามความเชื่อญี่ปุ่นโบราณ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th ไอซึ. (2562). ดังโงะ (Dango) ขนมโบราณที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานับร้อยปี. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com ไอซึ. (2561). เสาโทริอิ (Torii) มีความส�ำคัญอย่างไรกับประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com บ้านฮามาโมโต้. (2563). เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก https://www.histours.co.th THE 19TH RONIN. (2560). เสน่ห์ด้านมืดญี่ปุ่น : เกอิชา และ โออิรัน. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com เกตุวดี. (2560). อามะ … อาชีพน่าเหลือเชื่อของผู้หญิงญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมากว่า 2 พันปี. สืบค้น เมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com MIHARU. (2558). โต๊ะโคทัตสึ (Kotatsu) ความอุ่นอุ่นในฤดูหนาวของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com SHIRAYURI SORAMI. (2557). ด้ายแดงแห่งโชคชะตา (運命の赤い糸). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com ไอซึ. (2561). Kintsugi ร่องรอยแห่งความบอบช�้ำ ศิลปะแห่งการแตกร้าว. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก www.marumura.com kunchom. (2563). “โอชิโบริ” ผ้าขนหนูผืนน้อยในร้านอาหารกับธรรมเนียมการใช้ที่ควรเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://anngle.org/th


‘S



นิฮง

ศิลปะแบบคินสึงิเป นดั่งคำสอนที่คอยเตือนว าทุกคน ล วนไม มีใครสมบูรณ แบบ เพราะทุกรอยแผลเป นย อมมีเรื่องราว และทุกการแตกร าวล วนมีที่มา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.