1
สิมอีสาน วัดนกออก อำ�เภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
2
นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา หรือ รู้จักในชื่อ “โคราช” เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดใน ประเทศไทยและ มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ซึ่งเป็นจังหวัดที่จัดอยู่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกกันว่า “ภาคอีสานตอนล่าง”
3
4
ประวัติอำ�เภอปักธงชัย
ปักธงชัย เป็นอำ�เภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด สมัยโบราณ เดิมปักธงชัยเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ขอมเรืองอำ�นาจ ทั้งนี้สันนิษฐานได้จาก เขตอำ�เภอปักธงชัยมีซากปรักหักพังของปรางค์ หรือ เทวาลัยหลายแห่งที่เป็นศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ขอมนิยมสร้างตามเมืองต่างๆ ที่ตนปกครองอยู่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ตามความสำ�คัญของแต่ละเมือง เช่น ปรางค์นาแค ปราสาทสระหิน ปรางค์บ้านปรางค์ ปรางค์กู่เกษม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นก องระวังหน้าคอยสอดแนมข้าศึกและคอยปะทะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ข้าศึกยกทัพ ประชิดเมืองนครราชสีมาเร็วเกินไป เมืองปักในสมัยนี้จึงถูกตั้งและเรียกว่า “ด่านจะโปะ” ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2321 ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกกองทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์และได้รับชัยชนะ ขากลับ จึงได้กวาดต้อนเชลยชายหญิงพร้อมกับเพี้ยอุปราช และ ให้ไปพักอาศัยอยู่ที่ ด่านจะโปะครั้นชาวเมืองเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว เจ้าพระยา นครราชสีมา (ปิ่น) จึงกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตตั้งด่านจะโปะเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองปัก” (ยังไม่มีคำ�ว่าธงชัย) และได้ กราบบังคมทูลขอให้เพี้ยอุปราชเป็นเจ้าเมืองปักคนแรก พระราชทานนามว่า “พระยา วงศาอรรคราช” (ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นตระกูลวรธงไชย ขณะนี้) เมืองปักในสมัยนี้เป็น เมืองชั้นตรีขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา
5
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมา ยึดเมืองนครราชสีมาและได้กวาดต้อนชาวเมืองไป แต่ถูกคุณหญิงโมและชาว เมืองนครราชสีมาต่อสู้กับทหารเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะและได้พระราชทาน นามว่า “ ท้าวสุรนารี ” การกวาดต้อนเชลยคราวนั้น ทหารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมือง เวียงจันทน์ ได้มากวาดต้อนชาวเมืองปักทั้งชาวไทยโคราช และ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งชาวเวียงจันทร์ได้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จึง พร้อมใจกันจับอาวุธต่อสู้ขับไล่ทหารของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้กลับไป (ปัจจุบันชาว เวียงจันทน์เป็นบรรพบุรุษ ของชาวตำ�บลตะคุทั้งตำ�บล ตำ�บลเมืองปัก ตำ�บลสะแกราชบางหมู่บ้าน ตำ�บลตะขบบางหมู่บ้าน)
6
7
8
ความหมายของคำ�ว่า “ สิม ” สิมอีสาน หรือ โบสถ์อีสาน มาจากการที่ทางอีสานเรียก โบสถ์ว่า “สิม” ลักษณะโดยทั่วไปของสิม แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักตามสภาพของแหล่งที่ตั้ง คือ สิ มน้ำ�และสิมบก สิมน้ำ� เป็นสิมที่ตั้งอยู่ กลางน้ำ� เช่น สระ หนอง บึง
9
วัดที่ยังไม่มีวิสุงคามสีมา ส่วนใหญ่สิมบกเป็นสิมที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีลักษณะเป็น อาคารถาวร นอกจากนี้ สิมยังแบ่งตามลำ�ดับอายุก่อนหลังและลักษณะร่วมในรูปแบบ ได้เป็น 4 ประเภท คือ สิมก่อผนังแบบดัง้ เดิม สิมโถง สิมก่อผนังรุน่ หลัง และสิมแบบผสม “ สิม ” มาจากคำ�ว่า สีมา สิมมา หรือพัทธสีมา ที่ปรากฏในคำ�จารึกบนแผ่นหินที่ ประกาศเจตนาอุทิศของผู้สร้างปักไว้ด้านหลังสิมมีปรากฏอยู่ทั่วไป ความหมายของคำ� เหล่านี้ หมายถึง เขตแดนที่กำ�หนดในการประชุมทำ�สังฆกรรมอันเป็นกิจของสงฆ์โดยมี แผ่นสีมาหินเป็นเครื่องหมายแสดงขอบเขตรอบบริเวณตัวสิม
10
ประเภทของสิมอีสาน 1. คามสีมา คือ สิมที่สร้างในชุมชน
1.
2. อุทกเขปสีมา คือ สิมที่สร้างในน้ำ�
2.
11
ประเภทของสิมอีสาน 3. อัพภันตรสีมา คือ สิมที่สร้างในป่า
3.
12
13
บทบาทของสิม
ทำ�อุโบสถกรรมตามพระวินัย ทำ�วัตรเช้า-เย็น อุปสมบท สวดผ้ากฐิน ทำ�สังฆกรรม ปริวาสกรรม ปวารณา
ส่วนประกอบตกแต่งสิม
“สิมอีสาน” นอกจากจะมีรูปแบบที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น อีสานแล้วยังมีรายละเอียดของการตกแต่งอีกหลายประการที่ทำ�ให้ตัวสิมมีความงาม เพิ่มมากยิ่งขึ้น เราอาจแยกสิมออกเป็น 3 ส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ดังนี้ -ส่วนบน คือ ส่วนของหลังคาทั้งหมด จะมีส่วนประดับตกแต่ง เช่น ช่อฟ้า โหง่ ลำ�ยอง หางหงส์ เชิงชาย และสีหน้า เป็นต้น -ส่วนกลาง คือ ตัวสิม หากเป็นสิมโปร่งจะไม่ใคร่มีการตกแต่งมาเท่าสิมทึบ ซึ่งใน ส่วนนี้จะก่ออิฐฉาบปูนเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนประกอบตกแต่ง เช่น ประตู หน้าต่าง คัน ทวย ฮังผึ้ง และบางแห่งอาจมีฮูปแต้มทั้งภายนอกและภายใน ตลอดถึงฐานชุกชีพระ ประธานก็ถือว่าเป็นงานตกแต่งที่อยู่ในส่วนนี้ -ส่วนฐาน คือ ส่วนของแอวขันที่ก่ออิฐฉาบปูนทำ�เป็นโบกคว่ำ�-โบกหงาย และมีท้อง กระดานกระดูกงูตามรสชาติงานช่างของอีสาน ซึ่งมีการวางจังหวะและสัดส่วนแปลกไป จากช่างภาคอื่น
14
15
16
องค์ประกอบการตกแต่งสิม
17
ฮังผึ้ง คือ ตั้งอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าของอุโบสถ
หรือส่วนบนของประตูทางเข้า และ ชาวโคราชมีความเชื่อว่า ฮังผึ้ง ช่วยนำ�สิ่งไม่ดีออกจากร่างกายก่อนเข้าอุโบสถ
18
บันไดมกร คือบันได้ทางขึ้นก่อนเข้าอุโบสถ ซึ่งที่สร้างเป็นตัวมกรนั้นเป็น
เพราะมีความเชื่อว่าตัวมกร เป็นสัตว์สองสิ่งรวมกัน ระหว่างพญานาค และ สิงห์ สัตว์สองสิ่งนี้ในเชิงพระพุทธศาสนาแล้วสามาดูดกลืนสิ่งชั่วร้ายเช่นกัน
19
หางหงส์ คือส่วนที่ต่อท้ายของหลังคามีไว้เพื่อประดับตกแต่ง
ชาวไทโคราชจะสร้างหางหงส์เป็นรุปหัวพญานาค เนื่องจากเชื่อ ว่าพญานาคจะช่วยปกป้องคุ้มครอง และนำ�พาสิ่งชั่วร้ายออก จากพระพุทธศาสนาอีกด้วย
20
หน้าบัน คือ ส่วนที่อยู่ด้านบนของอุโบสถ มีไว้สำ�หรับเล่าเรื่องราวต่างๆ เช่น ภาพเรื่องรามเกียรติ์ หรืออาจเป็นภาพพรรณพฤกษา ภาพธรรมชาติ เช่น แสงดวงตะวัน เพราะเชื่อว่า เมื่อชาวบ้านได้เข้าอุโบสถแล้วควรได้รับ ความสว่างจากแสงพระพุทธเช่นเดียวกับแสงของดวงชชตะวัน
21
22
ช่อฟ้า คือส่วนประกอบตกแต่งอุโบสถที่อยู๋ด้าน บนสุด ส่วนใหญ่จะแกะสลักเป็นรูปตัวพญานาค เพื่อความโค้ง และรับกับตัวหางหงส์
23
เชิงชาย คือส่วนที่เชื่อมโยงระหว่าง ช่อฟ้า และหางหงส์
ส่วนเชิงชายของวัดนกออกนั้น ได้มีการสร้างประติมากรรม รูปสิงห์เป็นส่วนประกอบของการประดับตกแต่งเชิงชาย
24
ประวัติวัดนกออก ที่ตั้ง วัดนกออก ตั้งอยู่เลขที่ 56 หมู่ที่ 6 บ้านนกออก ตําบลนกออก อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 16 ไร่ 1 งาน 29 7/10 ตารางวาเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 20734 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2470 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณที่ตั้งชุมชนบ้านนกออก ที่มา : โปรแกรม Google earth, วันที่เข้าถึงข้อมูล 13 กันยายน 2559
25
สถาปัตยกรรมสิมวัดนกออก ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมวัดนกออก เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของพระอุโบสถหลังใหม่ ภายในอาคารปรากฏภาพจิตรกรรม บนเพดาน เป็นภาพจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านที่สวยงาม เป็นลวดลายภาพสัตว์ป่า หิมพานต์ ดวงดาราและลวดลายพรรณพฤกษา ซึ่งน่าจะเป็นภาพจิตรกรรมที่สะท้อน ความคิดความเชื่อในเรื่องจักวาลวิทยาแบบชาวบ้าน
26
27
28
จิตรกรรมบนเพดาน วัดนกออก ภาพจิตรกรรมภายในสิมวัดวัดนกออก ปรากฏอยู่เต็มพื้นที่ของเพดานโดย แบ่งภาพ ออกเป็น 3 ช่องตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคาร
29
รูปแบบจิตรกรรมบนเพดานช่องที่ ๑ เป็นภาพจิตรกรรมที่ประกอบไปด้วยภาพสัตว์ชนิดต่างๆมีทั้งรูปร่างเหมือนจริงตาม ธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ อยู่ท่ามกลางลวดลายพรรณพฤกษาและดวงดารา สามารถแยกออกตามประเภทและจำ�นวนได้ดังนี้
30
รูปแบบจิตรกรรมบนเพดานช่องที่ ๒ เป็นภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับจิตรกรรมในช่องที่หนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยภาพ สัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีรูปร่างเหมือนจริงตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ อยู่ท่ามกลาง ลวดลายพรรณพฤกษา และดวงดารา สามารถแยกออกตามประเภทและจำ�นวนได้ดังนี้
31
รูปแบบจิตรกรรมบนเพดานช่่องที่ ๓ เป็นภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับจิตรกรรมในช่องที่หนึ่งและช่องที่สอง ซึ่ง ประกอบไปด้วยภาพสัตว์ชนิดต่างๆที่มีรูปร่างเหมือนจริงตามธรรมชาติและเหนือ ธรรมชาติ อยู่ท่ามกลางลวดลายพรรณพฤกษา และดวงดารา สามารถแยกออกตาม ประเภทและจำ�นวนได้ดังนี้
32
ประวัติของผู้เขียนภาพจิตรกรรม
นายบุญมี กฐินฉิมพลี
จากการสอบถามชาวบ้านและเอกสารที่ได้มีผู้บันทึกไว้ ทราบว่า ช่างผู้วาดภาพจิตรกรรมที่วัดปทุมคงคานั้นคือ นายบุญมี กฐินฉิมพลี นายบุญมีเกิดเมือ่ ประมาณพุทธศักราช 2411 ถึง 2412 มีถิ่นกำ�เนิดเดิมอยู่ที่บ้านใกล้โพธิ์เมืองปัก มีพี่สาว 2 คน คนโตชื่อมณี คนรองลงมาไม่ทราบชื่อ(ทศ บารมีบรรณานุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่น้อย นวลฉิมพลี ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่4 หมู่ที่ 4 ตำ�บลงิ้ว อำ�เภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้สมรสกับนางทองพูน ซึ่งเป็นบุตรสาวคนเดียวของหลวงแสง และนางสวน ซึ่งอพยพ มาจากบ้านหนองบัวรองในตัวเมืองนครราชสีมา มาอยู่ที่ บ้านกุดกระดี่ ตำ�บลงิ้ว ในปัจจุบันคุณแม่น้อย นวล ฉิมพลี มีบุตร 7 คน คือ นางทับทิม แสงอรุณ , นาง สำ�เภา ผลฉิมพลี , นางกำ�ปั่น สุ่มฉิมพลี , นาง น้อย นวลฉิมพลี , นายชุ่ม กฐินฉิมพลี , นายชื่น กฐิน ฉิมพลี และ พระครูธวัชชโยดม (นายฉัตร กฐินฉิมพลี) นายบุญมี กฐินฉิมพลี มีผลงานทางด้านการเขียน ภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด อยู่ ห ลายแห่ ง ในเขตอำ � เภอ ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เท่าที่รวบรวมได้ คือ ผล งานการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดงิ้ว วัดมกุฎไทยา ราม วัดนกออก และวัดโคกศรีษะเกษ นับว่านายบุญมี กฐิน ฉิมพลี เป็นศิลปินที่มีผลงานทางด้านจิตรกรรมที่มีฝีมือ และมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาทางด้านวิชาการ และ ศิลปะ
33
34
35
36
สิมอีสาน วัดนกออก ภาพและเนื้อเรื่อง © 2016 (พ.ศ.2557) โดย หทัยกนก กวีกิจสุภัค สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย หทัยกนก กวีกิจสุภัค โดยใช้ฟอนต์ TH Niramit AS 14 pt หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่