ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ปี 2561
จดหมายข่าวงานอนุรก ั ษ์และพิพิธภัณฑ์ สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ (สพร.)
สารจากผูอ้ ำ� นวยการ จดหมายข่าวงานอนุรกั ษ์และพิพธิ ภัณฑ์ ฉบับที่ 3 ประจ�ำปี 2561 ขอแนะน�ำหนังสือด้านการอนุรกั ษ์เชิงป้องกันจากห้องคลังโบราณวัตถุฯ ในเรื่องรักษ์วัตถุโบราณ ส่วนถัดไปเป็นเรื่องการสืบสานมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาด้านการแพทย์ไทยที่มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อด้วย เรือ่ งราวของพืน้ ทีม่ วิ เซียมสยาม ตอนที่ 3 ทีเ่ ข้าสูย่ คุ สมัยของรัชกาลที่ 6 ปิดท้ายด้วยสาระความรูด้ า้ นงานอนุรกั ษ์ซงึ่ ฉบับนีจ้ ะแนะน�ำเกีย่ วกับแมลง ทีเ่ ป็นส่วนส�ำคัญในการท�ำลายวัตถุจนเกิดสภาพเสียหาย รวมถึงวิธกี ารป้องกันวัตถุให้พน้ จากแมลง ทัง้ นีห้ ากท่านมีขอ้ สงสัยเกีย่ วกับอนุรกั ษ์วตั ถุพพิ ธิ ภัณฑ์หรืองานคลังโบราณวัตถุ สามารถติดต่อได้ที่ ndmi.collectionstorage@gmail.com หรือจดหมายมาทีห่ อ้ งคลังโบราณวัตถุฯ ตามทีอ่ ยูใ่ นหน้าสุดท้ายนะครับ นายราเมศ พรหมเย็น รองผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผูอ้ ำ� นวยการสถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ
แนะน�ำหนังสือ “รักษ์โบราณวัตถุ”
ปัฐยารัช ธรรมวงษา
#BookReview
เมื่อ พ.ศ. 2552 สพร. ได้จัดพิมพ์หนังสือ “รักษ์โบราณวัตถุ” ขึ้น มีผู้เขียน 2 ท่านคือ
คุณสมถวิล นิลวิไล และคุณศิริชัย หวังเจริญตระกูล หนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ของการ อนุรักษ์โบราณวัตถุเชิงป้องกัน โดยเน้นการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ท�ำให้วัตถุเสื่อมสภาพ ไม่ว่าจะเป็น ความชื้น แสง อุณหภูมิ แมลง จุลินทรีย์ มลภาวะ อัคคีภัย และภัยธรรมชาติ โดยสอดแทรกแนวทาง การป้องกันความเสียกายทีจ่ ะเกิดกับวัตถุเข้าไปด้วย เช่น วิธกี าร เครือ่ งมือ อุปกรณ์ ข้อควรปฏิบตั ติ า่ งๆ บทถัดมาเป็นเรือ่ งการดูแลรักษาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ โดยแบ่งเป็นหมวดหมูค่ รอบคลุมโบราณวัตถุ ในแต่ละประเภท ประกอบด้วย ทองค�ำ เงิน ทองแดงและโลหะผสมของทองแดง ตะกั่วและโลหะ ผสมของตะกั่ว เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา หิน เครื่องแก้ว ไม้ จักสาน สิ่งทอ งา กระดูก เขาสัตว์ ใบลาน กระดาษ หนังสัตว์ จิตรกรรม และภาพถ่าย ในแต่ละหมวดหมู่ได้ให้ขั้นตอนในการดูแลรักษาวัตถุ แต่ละประเภทไว้ดว้ ย ในบทสุดท้ายได้กล่าวถึงการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุทถี่ กู ต้องและไม่ทำ� ให้ เสื่อมสภาพ ที่ควรค�ำนึงถึงแท่นฐาน แสงสว่าง การใช้เครื่องปรับอากาศ ถือเป็นแนวทางในการป้องกัน ปัจจัยและความเสีย่ งต่างๆ ทีม่ ผี ลกระทบโบราณวัตถุได้อย่างดี หนังสือ “รักษ์โบราณวัตถุ” เป็นหนังสือเล่มเล็กจ�ำนวนเพียง 66 หน้า แต่ได้ให้ความรู้ด้านการ อนุรกั ษ์โบราณวัตถุเชิงป้องกันได้อย่างครอบคลุม และมีเนือ้ หาทีเ่ ข้าใจง่าย สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้กบั พิพธิ ภัณฑ์และนักสะสมสิง่ ของได้ หนังสือ “รักษ์โบราณวัตถุ” สามารถอ่านจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.knowledge-center.museumsiam.org เมือ่ ลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้ว เข้าไปใน Museum of Siam Publication สามารถเลือกรายการหนังสือเพือ่ เข้าไปอ่านและดาวน์โหลดเก็บไว้ได้ ฉบับที่ 3
1
การสืบทอดองค์ความรูแ้ ละภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์ ไทย #MuseumAndPublic
ศิรดา เฑียรเดช
หมอฉาย สุขเวช แพทย์แผนไทยผูม้ ชี อื่ เสียงในย่านคลองบางกอกน้อยในอดีต ทีม่ าของภาพ : ครอบครัวสุขเวช, ฉาย สุขเวช (พระนคร: โรงพิมพ์ ท่าพระจันทร์, 2512. พิมพ์แจกเพือ่ เป็นทีร่ ะลึกในงานฌาปนกิจศพ คุณหมอฉาย สุขเวช 6 เมษายน 2512), 4.
ในอดีตการรักษาโรคแบบการแพทย์
ไทย มีบทบาทส�ำคัญต่อผูค้ นทุกระดับชัน้ นับตัง้ แต่ ราษฎรจนถึงพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่ให้ความสนพระทัยในยาไทย ทีม่ พี ชื สมุนไพรเป็นเครือ่ งยาส่วนผสมในการรักษา เนื่ อ งด้ ว ยมี พ ระอาการประชวรพระยอด (ฝี ) บ่อยครั้ง และยาที่พระองค์ทรงค้นพบว่าสามารถ รักษาฝีอย่างดีคือสมุนไพรไทยชื่อว่าต้นเข็มขาว ซึ่ ง ปรากฏจากหลั ก ฐานในพระราชนิพนธ์เสด็จ ประพาสไทรโยคเมือ่ พ.ศ. 2520 ตอนหนึง่ ความว่า
เมือ่ เราไปทีน่ ำ�้ พุไทรโยคพบยาส�ำคัญเข้าต้นหนึง่ เห็นมีดอกขาวก็ไปเก็บเล่นเสียไม่ทนั นึกต่อ หมอเตือนขึน้ ว่าต้นเข็มนีแ่ หละท�ำเป็นยาเข็มเกลือ่ น ถ้าไม่มกี ต็ อ้ งใช้เข็มบ้านแต่ไม่ขลังเหมือนเข็มป่า เราจึงสัง่ ให้เก็บไป ยาเกลือ่ นฝีขนานนีข้ ลังนัก เราเคยใช้อยูเ่ สมอไม่ใคร่จะขาด ไม่ได้เป็นฝี มานานทีเดียว1 จากความส�ำคัญดังกล่าวจึงขอยกตัวอย่าง ชุมชนที่มีการสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา 1
“เบ็ดเสร็จราชการในกรมพยาบาล ปี 109 - 111” 21 มีนาคม รศ. 109 - 18 กันยายน รศ. 111, เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ, มร.5 ศ/45, ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 37.
2
ฉบับที่ 3
การแพทย์ไทย ดังนี้ ชุมชนบ้านบุเป็นชุมชนเก่าแก่ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตัง้ อยูใ่ นเขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เมื่อสืบค้นประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบุ จากเอกสารชั้นต้นสมัยรัชกาลที่ 52 พบว่าบ้านบุ เคยมีบทบาทส�ำคัญ ในฐานะศูนย์กลางการแพทย์ ไทยย่ า นคลองบางกอกน้ อ ยที่ มี อ ายุ ม ากกว่ า ศตวรรษ และจากค�ำบอกเล่าของผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ ทีย่ งั คง จดจ�ำเรือ่ งราวเมือ่ ครัง้ วัยเยาว์ได้ให้ขอ้ มูลว่า บ้านบุ เคยมี ห มอกลางบ้ า นหลายคน ที่ มี ฝ ี มื อ ชั้ น เลิ ศ ด้านการคิดค้นต�ำรับยา การปรุงยา และการรักษา ได้แก่ นายเอีย่ ม ขุนอัยรา (ปาน) หมืน่ ธน (กลัน่ ) อีกทั้งมีบ้านยาและร้านขายเครื่องยาสมุนไพรไทย หลายร้าน ส�ำหรับเป็นที่พึ่งพาแก่ชาวบ้านละแวก คลองบางกอกน้อย และย่านใกล้เคียงเมื่อยาม เจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ช่วงสงครามมหาเอเชีย บูรพา (พ.ศ. 2484 - 2488) ทีห่ มอและยารักษา โรคเป็นสิง่ จ�ำเป็นและหายากทีส่ ดุ ในช่วงเวลานัน้ ต่อมาภายหลัง พ.ศ. 2500 หมอกลางบ้าน บ้านยาและร้านขายเครื่องยาสมุนไพรไทยค่อยๆ เลื อ นหายไปจากบ้ า นบุ เนื่ อ งจากหมอบางคน ชราภาพลงมาก บางคนล้ ม ป่ ว ยและเสี ย ชี วิ ต ประกอบกับลักษณะเฉพาะขององค์ความรู้และ ภูมิปัญญาด้านนี้ มักถูกจ�ำกัดในกลุ่มทายาททาง สายเลือดและผู้ใกล้ชิดเท่านั้น กระทั่งกาลเวลา เปลี่ ย นผ่ า นไปตามยุ ค สมั ย เป็ น ผลให้ รู ป แบบ วัฒนธรรมการด�ำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ของผู้คนปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ความสนใจของ ทายาทและผู้ใกล้ชิดเรื่องการสืบทอด องค์ความรู้ และภูมิปัญญาด้านการแพทย์ไทยของบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ลดน้อยลงจนกระทั่งหายไป ปัจจุบัน องค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการแพทย์ไทยใน บ้านบุ จึงเป็นความรู้ฝังลึกที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ ใบลาน สมุดไทขาว สมุดข่อยที่บันทึกต�ำรับยา วิ ธี ป รุ ง ยา สรรพคุ ณ ยา หลั ก วิ เ คราะห์ ท าง โหราศาสตร์ในการรักษา และเครื่องมือเครื่องใช้ ในการปรุงยาที่ทายาทยังคงเก็บรักษาไว้ ส่วนร้าน ขายเครือ่ งยาสมุนไพรไทยในบ้านบุ ปัจจุบนั คงเหลือ เพียงร้านเดียว
องค์ความรู้และภูมิปัญญาการรักษาโรค ด้ ว ยการแพทย์ ไ ทย เป็ น มรดกวั ฒ นธรรมทาง ภูมิปัญญา ที่เป็นแบบอย่างย�้ำเตือนแก่ผู้ที่ได้รับ การสืบทอดองค์ความรูแ้ ละภูมปิ ญ ั ญาไม่วา่ จะด้าน ใดก็ตาม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความส�ำคัญ ในองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่ง หาแนวทางในการจัดการพัฒนาและปรับเปลี่ยน ความรู้ฝังลึก ที่มีอยู่ในตัวคนและวัตถุเครื่องมือ ให้ เ ป็ น ความรู ้ เ ปิ ด เผยสามารถน� ำ มาใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์แก่ผคู้ นในสังคมปัจจุบนั และภายภาคหน้า เพื่อให้องค์ความรู้และภูมิปัญญานั้น ไม่หยุดนิ่ง หรือสูญหายก่อนเวลาอันควร
2 หนังสือจากกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) เลขที่ 105/6190 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2448 (รศ. 124) ไปถึงกระทรวง นครบาลขอให้สงั่ อ�ำเภอในจังหวัดกรุงเทพฯ ทุกท้องทีท่ ำ� การส�ำรวจ จ�ำนวนหมอยาเชลยศักดิท์ รี่ กั ษาโรคราษฎร ผลจากบัญชีสำ� รวจพบ ว่า มีหมอยาเชลยศักดิท์ พี่ บในต�ำบลบ้านบุ อ�ำเภอบางกอกน้อย คือ นายเอีย่ ม นายปาน ขุนอัยรา (ปาน) และหมืน่ ธน (กลัน่ )
ยานารายณ์ถอนจักร (ยาแดง) ต�ำรับยาทีม่ อี ายุกว่า ๑๔๕ ปี ถูกคิดค้นขึน้ โดยหมืน่ ธน (หมอกลัน่ ) (ผูม้ รี ายชือ่ ปรากฏอยูใ่ นบัญชีสำ� รวจ หมอยาเชลยศักดิใ์ นต�ำบลบ้านบุเมือ่ รศ. ๑๒๔) ทีม่ าของภาพ: นายวีระ รุง่ แสง
นายวีระ รุง่ แสง เหลนตาของหมอกลัน่ ได้รบั การสืบทอดทอดภูมปิ ญ ั ญา
ก่อนเป็นมิวเซียมสยาม ตอนที่ 3 #MuseumSiamStory
ปัฐยารัช ธรรมวงษา
อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถ่ายเมือ่ ราว พ.ศ. 2464
ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงเห็น
ความส�ำคัญของการเศรษฐกิจและการพาณิชย์ อย่างมาก ทรงให้มกี ารจัดตัง้ กระทรวงพาณิชย์ ขึน้ ใน พ.ศ. 2463 และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท ด�ำรง ต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเป็นพระองค์แรก มี ส ถานที่ ตั้ ง คื อ พื้ น ที่ บ ริ เ วณสามเหลี่ ย ม ชายธงท้ายวัดพระเชตุพนฯ มีถนนสองสาย วิ่งมาบรรจบกันคือ ถนนสนามไชยและถนน มหาราช ตั ว อาคารออกแบบโดยสถาปนิ ก ชาวอิตาลีชื่อ นายมาริโอ ตามาญโญ (เป็น ผูอ้ อกแบบอาคารและสะพานส�ำคัญหลายแห่ง เช่ น พระที่ นั่ ง อนั น ตสมาคม สถานี ร ถไฟ หั ว ล� ำ โพง บ้ า นพิ ษ ณุ โ ลก และตึ ก ไทยคู ่ ฟ ้ า ท� ำ เนี ย บรั ฐ บาล) การออกแบบอาคารได้ ร่วมกับวิศวกรชื่อ นายกอลโล สปินโญ และ สถาปนิ ก ชื่ อ นายกวาเดรลลิ พร้ อ มกั บ นายวิตโตริโอ โนวี นายช่างจากเมืองมิลาน มาเป็นผูอ้ อกแบบลวดลายประดับอาคาร อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เป็น อาคารสู ง 3 ชั้ น ลั ก ษณะอาคารตามแบบ อิตาเลียน เรอเนสซองส์ อาคารมีผังเป็นรูป ตัว E ก่ออิฐถือปูน ด้านหน้ามีระเบียงยาว โครงสร้างอาคารเป็นแบบผสมระหว่างระบบ ผนังรับน�ำ้ หนักซึง่ เป็นเทคนิคโบราณ กับระบบ เสา - คานทีม่ คี อนกรีตเสริมเหล็กเป็นวัสดุหลัก ซึ่ ง ถื อ เป็ น วั ส ดุ ก ่ อ สร้ า งสมั ย ใหม่ ใ นยุ ค นั้ น
นับเป็นอาคารทีแ่ สดงถึงรอยต่อทางประวัตศิ าสตร์ สถาปั ต ยกรรมที่ อ ยู ่ ใ นยุ ค เปลี่ ย นผ่ า นจากการ ก่อสร้างโบราณมาสูส่ มัยใหม่ อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) มีลกั ษณะ เฉพาะที่ ส ะท้ อ นความนิ ย มในยุ ค สมั ย นั้ น อย่ า ง น่าสนใจ เช่น การจัดพืน้ ทีว่ า่ งเป็นสนามรูปวงกลม วงรี หรือครึง่ วงกลมด้านหน้าอาคาร และสร้างถนน ล้อมสนาม รวมถึงการวางอาคารให้เอียงไปจาก
แนวถนนด้านหน้า และเจาะประตูทางเข้าจากหัว มุมถนน การออกแบบผังอาคารแบบสมมาตรเป็น สี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้ามีมุขยื่นเพื่อเป็นจุดเด่น และเป็ น ทางเข้ า หลั ก เรี ย กว่ า ผั ง แบบปุ ณ ภพ การออกแบบให้มรี ะเบียงยาวตลอดด้านหน้าอาคาร เพื่อเป็นทางเดิน ทั้งสามารถกันแดดส่อง ฝนสาด ระบายความร้อนและความชื้นได้ การออกแบบ ลวดลายประดับอาคารที่เรียบง่ายขึ้นหากเทียบ กับสมัยรัชกาลที่ 5 สะท้อนแนวทางการออกแบบ ทีก่ ำ� ลังก้าวเข้าสูส่ ถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) รวมถึงการใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก และระบบเสา - คาน อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถูกใช้สอย ตัง้ พ.ศ. 2465 ถึง พ.ศ. 2532 เป็นระยะเวลา 67 ปี จนกระทั่งมีการย้ายที่ท�ำการกระทรวงพาณิชย์ ไปตัง้ ยังทีใ่ หม่ และได้มกี ารปรับเปลีย่ นอาคารเดิม โดยท�ำการอนุรกั ษ์อาคารแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2550 และพั ฒ นาเป็ น อาคารพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ารเรี ย นรู ้ “มิวเซียมสยาม” ปัจจุบันแม้หน้าที่ของอาคารได้ เปลีย่ นแปลงไป แต่ความงดงามของสถาปัตยกรรม ยังคงเดิม โดยเฉพาะการประดับตกแต่งด้วยปูนปัน้ ต่างๆ ซึง่ ผูเ้ ขียนจะบอกเล่าในฉบับต่อๆ ไป
อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) หลังการบูรณะ พ.ศ. 2550
อ้างอิง: - ฉลวย จารุภานานนท์, บก. การอนุรกั ษ์อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) โครงการอนุรกั ษ์และพัฒนาอาคารกระทรงพาณิชย์ (เดิม) เพือ่ จัดตัง้ เป็นพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ แห่งที่ 1 สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษทั ส�ำนักพิมพ์ สมาพันธ์ จ�ำกัด, 2550. - ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษา ขุดค้น และขุดแต่ง ทางโบราณคดี ภายในพืน้ ทีก่ ระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย, เอกสารเย็บเล่ม, 2550. - สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ. หิน ดิน อิฐ ฟืน้ ชีวติ สูพ่ พิ ธิ ภัณฑ์. กรุงเทพฯ: บริษทั บานาน่า สตูดโิ อ จ�ำกัด, 2552.
ฉบับที่ 3
3
รักษ์โบราณวัตถุ #PreventiveConservation
วรรณวิษา วรวาท
ประเทศไทย มี ลั ก ษณะอากาศ
แบบร้อนชืน้ ภายในห้องจัดแสดง และห้องจัดเก็บ วัตถุ จึงต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ภายในห้อง เพือ่ รักษาวัตถุให้อยูใ่ นสภาพทีเ่ หมาะสม โดยเฉพาะวัตถุประเภทผ้า นอกจากอุณหภูมิและ ความชืน้ แมลงยังเป็นตัวท�ำลายวัตถุอกี ด้วย
แมลงแต่ละชนิดจะด�ำรงชีวิตได้ในสภาพ อากาศที่แตกต่างกัน บางชนิดทนต่อความร้อน บางชนิดอยู่ในพื้นที่ความชื้นสัมพัทธ์สูง แมลงที่ พบบ่อยได้แก่ แมลงสามง่าม ผีเสื้อกินผ้า ด้วงขน สัตว์ ซึง่ เป็นภัยต่อผ้า มักพบในสภาพอากาศอบอุน่ ความชืน้ สูง และพืน้ ทีท่ แี่ สงสว่างเข้าไม่ถงึ สภาวะ
ดังกล่าวจะส่งผลให้แมลงแพร่พันธุ์ได้เร็ว เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จึงต้องเฝ้าระวังไม่ให้ แมลงเข้ า มาใกล้ หรื อ แพร่ พั น ธุ ์ บ ริ เ วณ ห้องจัดเก็บและห้องจัดแสดง หากแมลง เข้ามาท�ำลายวัตถุแล้ว อาจเป็นการยาก ที่ จ ะซ่ อ มแซมให้ ก ลั บ คื น ตามสภาพเดิ ม แมลงมักท�ำลายวัตถุที่มีองค์ประกอบของ โปรตีนและเซลลูโลส มีข้อสังเกตคือ หาก พบว่ามีมูลแมลง เศษผ้า หรือซากแมลง ในห้องจัดเก็บและห้องจัดแสดงควรก�ำจัด แมลงโดยทั น ที และควรหลี ก เลี่ ย งการ ใช้สารเคมีทสี่ มั ผัสกับวัตถุโดยตรง เนือ่ งจาก สารเคมีที่ใช้อาจเป็นการท�ำลายวัตถุเพิ่ม มากขึ้ น และควรปรึ ก ษานั ก อนุ รั ก ษ์ เ พื่ อ ซ่อมแซมต่อไป วิธกี ารป้องกันแมลง มีดงั นี้ 1) รักษา ความสะอาดภายในอาคารสม�่ ำ เสมอ 2) ตรวจสอบโดยรอบอาคารเป็นประจ�ำ ทุกเดือน 3) พยายามเฝ้าระวังแมลงโดย ใช้แผ่นกาวดักจับแมลง 4) วัตถุที่รับเข้า มาใหม่ควรตรวจสอบ และก�ำจัดแมลงให้ เรียบร้อยก่อนน�ำไปจัดแสดงหรือจัดเก็บ ขั้นตอนส�ำคัญคือ การใช้แผ่นกาว ดักแมลงในพื้นที่ที่เกิดปัญหาแมลงเข้ามา ท�ำลายวัตถุ ท�ำให้ทราบชนิดและปริมาณ ของแมลงเหล่านั้น เพื่อน�ำไปสู่การก�ำจัด แมลงได้ตรงสาเหตุ
อ้างอิง: - กลุม่ วิทยาศาสตร์เพือ่ การอนุรกั ษ์ กรมศิลปากร. “การอนุรกั ษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ : ผ้าโบราณ” เอกสารประกอบการอบรมวันที่ 28 - 30 มิถนุ ายน 2553. เอกสารอัดส�ำเนา. - www.nedcc.org/free-resources/preservation-leaftlets/3.-emergency-management/
ห้องคลังโบราณวัตถุและห้องปฏิบตั กิ าร สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ (สพร.) เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์: 0-2225-2777 ต่อ 101 โทรสาร: 0-2225-2775
e-mail: ndmi.collectionstorage@gmail.com Website: www.museumsiam.org, www.ndmi.or.th Facebook.com/museumsiamfan