{ข่าวสารการอนุรักษ์} ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ปี 2561

Page 1

ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ปี 2561

จดหมายข่าวงานอนุรก ั ษ์และพิพิธภัณฑ์ สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ (สพร.)

สารจากผูอ้ ำ� นวยการ จดหมายข่าวงานอนุรักษ์และพิพิธภัณฑ์ ฉบับที่ 4 เป็นฉบับสุดท้ายของปี 2561 ขอแนะน�ำเพจเฟสบุ๊คด้านงานอนุรักษ์ของ Fine Art Conservation Center มหาวิทยาลัยศิลปากร และการน�ำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมการเรียนรูข้ องกลุม่ ชาติพนั ธุม์ อ ถัดมาเป็นเรือ่ งราว ของวัตถุประเภทหอยมุก ทีพ่ บจากการขุดค้นทางโบราณคดีในพืน้ ทีม่ วิ เซียมสยาม ทีเ่ ป็นสิง่ บอกเล่าเรือ่ งราวประวัตขิ องพืน้ ทีไ่ ด้อย่างดี ปิดท้ายด้วย การวิธกี ารเขียนเลขทะเบียนวัตถุบนผ้าทีถ่ กู ต้อง และข้อแนะน�ำต่างๆ ทีเ่ หมาะสมกับการอนุรกั ษ์ผา้ ทัง้ นีห้ ากท่านมีขอ้ สงสัยเกีย่ วกับอนุรกั ษ์วตั ถุพพิ ธิ ภัณฑ์หรืองานคลังโบราณวัตถุ สามารถติดต่อได้ที่ ndmi.collectionstorage@gmail.com หรือจดหมายมาทีห่ อ้ งคลังโบราณวัตถุฯ ตามทีอ่ ยูใ่ นหน้าสุดท้ายนะครับ นายราเมศ พรหมเย็น รองผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผูอ้ ำ� นวยการสถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ

แนะน�ำ “Facebook Page:

Fine Art Conservation Center Silpakorn University”

#SiteReveiw

ปัฐยารัช ธรรมวงษา

จดหมายข่ า ว ฉบั บ นี้ ข อแนะน� ำ Facebook Page ด้านการอนุรักษ์วัตถุของศูนย์ อนุรักษ์ศิลปกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (Fine Art Conservation Center Silpakorn University) หรือ FAC ซึ่งอยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ศูนย์ฯ แห่งนี้ก่อ ตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ 30 มิถนุ ายน พ.ศ. 2560 เพือ่ เป็น แหล่งเรียนรูว้ ชิ าการทางด้านการอนุรกั ษ์ศลิ ปกรรม ใน Facebook Page ของศูนย์ฯ ได้นำ� เสนอ ข่าวสารในแวดวงอนุรักษ์ศิลปกรรม โดยมีการ แบ่งปันสาระความรู้ด้านงานอนุรักษ์ศิลปกรรม จากทั่วโลก ทั้งในรูปแบบ Video Clip, Website และ Facebook page ต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลความรู้ ทีเ่ ป็นประโยชน์กบั งานพิพธิ ภัณฑ์ ส่วนที่ส�ำคัญคือการน�ำเสนอบทความทาง ด้านงานอนุรักษ์ศิลปกรรม ทั้งเรื่องปัญหาและผล กระทบจากการจัดเก็บงานศิลปกรรมทีไ่ ม่ถกู วิธี เช่น

ปัญหาคราบเปือ้ นและสิง่ สกปรก ปัญหาจากเชือ้ รา ฝุ่นละออง มลพิษ ชนิดของแมลงที่เป็นอันตราย กับงานศิลปกรรม เช่น มอดชนิดต่างๆ หรือผีเสื้อ กินผ้า วิธีการท�ำความสะอาดวัตถุพิพิธภัณฑ์ใน ทุกขัน้ ตอน ทัง้ การตรวจสอบก่อนท�ำความสะอาด การวางแผนท�ำความสะอาด การท�ำความสะอาด โดยการเลือกใช้วสั ดุอปุ กรณ์ทเี่ หมาะสม ทางเลือก ในการท�ำความสะอาดวัตถุ สาเหตุทที่ ำ� ให้วตั ถุเกิด การเปลีย่ นแปลง การขจัดฝุน่ ละอองและสิง่ สกปรก วิธีการจัดเก็บงานศิลปกรรมต่างๆ เช่น การเก็บ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ท�ำจากกระดาษ การจัดเก็บเอกสาร โบราณ การใช้สารดูดความชืน้ หรือ Silica Gel การ จัดแสดงผลงานศิลปกรรม เช่น การเข้ากรอบรูป แสงกับงานศิลปกรรม นอกจากนีย้ งั น�ำเสนอวิธกี าร ท�ำกล่องเก็บภาพและเอกสารด้วยตนเอง ในรูปแบบ Video Clip ซึง่ เป็นประโยชน์ตอ่ การน�ำมาประยุกต์ ใช้ในการเก็บรักษาวัตถุพพิ ธิ ภัณฑ์ได้ดมี าก

ภาพหน้าเพจ Fine Art Conservation Center Silpakorn University

ทาง Page ยั ง มี บ ริ ก ารตอบค� ำ ถาม ปัญหาต่างๆ โดยนักอนุรักษ์ที่เป็นอาจารย์พิเศษ ในหลั ก สู ต รอนุ รั ก ษ์ ศิ ล ปกรรมมาตอบค� ำ ถาม ผ่านระบบกล่องข้อความ หรือ inbox /messages ผูท้ สี่ นใจสามารถเข้าระบบ Facebook และค้นหาจาก กล่องค้นหาด้วยค�ำว่า @fac.silpakornuniversity  ฉบับที่ 4

1


“มอแกน” หมูเ่ กาะสุรนิ ทร์ จังหวัดพังงา กับการจัดการแหล่งเรียนรูเ้ พือ่ ฟืน้ ฟูอตั ลักษณ์ทางวัฒนธรรม #MuseumAndPublic ศิรดา เฑียรเดช

บรรพบุรุษมอแกนอพยพสู่ท้องทะเล อันดามันในเขตประเทศไทยเป็นเวลานานกว่า 100 ปี มาแล้ ว มอแกนได้ เ ชื่ อ มโยงวิ ถี ชี วิ ต ตนเองกั บ ธรรมชาติโดยพวกเขาได้สืบทอดองค์ความรู้และ ภู มิ ป ั ญ ญาอั น ชาญฉลาดจากบรรพบุ รุ ษ ได้ แ ก่ การคาดเดาสภาพดินฟ้าอากาศ การจ�ำแนกระบบ นิเวศทางภูมศิ าสตร์ ระบบนิเวศน�ำ้ ระบบนิเวศลม ระบบนิเวศพืน้ ดิน ระบบนิเวศสัตว์ในทะเล รวมถึง การสร้างแผนทีเ่ ดินเรือ และแผนทีห่ าปลา จึงท�ำให้ มอแกนสามารถปรับตัวอยูร่ ว่ มกับธรรมชาติอย่าง กลมกลืนด้วยดีเสมอมา จนกระทัง่ มีปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ กับมอแกน โดย เริม่ จาก พ.ศ. 2504 ได้เกิดพระราชบัญญัตอิ ทุ ยาน แห่งชาติ ซึง่ มีสาระส�ำคัญว่าด้วยการคุม้ ครองและ ดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ ในกรณีของมอแกน แม้ ว ่ า จะไม่ มี ข ้ อ ตกลงที่ เ ป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร ระหว่างมอแกน และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ หมูเ่ กาะสุรนิ ทร์ แต่เป็นทีเ่ ข้าใจกันทุกฝ่ายว่ามอแกน เป็ น ชนพื้ น เมื อ งดั้ ง เดิ ม ที่ ส ามารถพั ก อาศั ย ใน หมูเ่ กาะสุรนิ ทร์นไี้ ด้ และต่อมา พ.ศ. 2547 ได้เกิด ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ ทางกรมอุทยานฯ ได้ประกาศ ให้ ม อแกนปรั บ ปรุ ง บ้ า นพั ก อาศั ย โดยสั่ ง ห้ า ม ไม่ให้สร้างบ้านแบบเสาสูงริมหาด เพื่อความเป็น ระเบียบและความปลอดภัยจากคลื่นสึนามิ การ ปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบบ้ า นพั ก อาศั ย นี้ เ อง ได้ ส ่ ง ผลกระทบต่อรูปแบบการอยู่อาศัยของมอแกน ตามไปด้วย นอกจากนีย้ งั มีเรือ่ งการบริจาคอาหาร และสิ่ ง ของยั ง ชี พ จากมู ล นิ ธิ หน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่ไม่สามารถกระจายไปสู่มอแกนอย่างทั่วถึง และ ปัญหาส�ำคัญทีส่ ะสมมานานคือการทีค่ นในท้องถิน่ และนักท่องเทีย่ วบนเกาะ เรียกมอแกนว่า “ชาวเล” ซึง่ ส�ำหรับมอแกนแล้วคือค�ำเรียกเชิงดูหมิน่ ถึงคนที่ ไม่ได้รบั การศึกษาเล่าเรียน มอแกนยินยอมทีจ่ ะถูก เรียกเป็น “ชาวไทยใหม่” มากกว่า “ชาวเล”1 ปัญหา เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบให้มอแกนขาดความมั่นใจ และภูมใิ จในวิถชี วี ติ วัฒนธรรมดัง้ เดิม จากเหตุการณ์ปัญหาข้างต้นท�ำให้มอแกน รุน่ ใหม่ตอ้ งการสร้างการยอมรับจากคนในท้องถิน่

เครือ่ งมือพืน้ ฐานทีเ่ รียบง่าย ได้แก่ ขวาน มีดพร้า ฉมวก และตะกร้าสานทีท่ ำ� ด้วยไม้ไผ่ทไี่ ว้ใส่หอย ปู เพื่อจับสัตว์น�้ำ ไปแลกเปลี่ยนกับข้าวสารอาหารและสิ่งจ�ำเป็นอื่นๆ กับพ่อค้าคนกลาง

และนักท่องเทีย่ วซึง่ เป็นคนต่างถิน่ จึงคิดฟืน้ ฟูความ เป็นตัวตนของพวกเขาโดยการรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตามวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับการ สืบทอดจากบรรพบุรุษ มอแกนได้ร่วมกันจัดการ ความรู้โดยการน�ำวิถีชีวิตวัฒนธรรมมอแกนผ่าน กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมภายใต้ กิจกรรมที่ชื่อว่า “มอแกนพาเที่ยว” ได้แก่ การจัด นิทรรศการในศาลาหมูบ่ า้ น (กระท่อมนิทรรศการ) การพานักท่องเที่ยว เดินชมและศึกษาเส้นทาง ธรรมชาติและวัฒนธรรม และการพานักท่องเทีย่ ว นั่งเรือ (ก่าบาง) ด�ำน�้ำดูปะการังตามอ่าวต่างๆ ซึง่ ล้วนเป็นกิจกรรมทีน่ ำ� เสนอวิถวี ฒ ั นธรรมมอแกน ด�ำน�้ำดูปะการังตามอ่าวต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้ได้ เรียกความภาคภูมใิ จในวีถชี วี ติ และวัฒนธรรมความ เป็นตัวตนของมอแกนกลับคืนมา เพราะแทนที่จะ ต้องอาศัยมัคคุเทศก์จากภายนอก แต่มอแกนได้ พิสูจน์ว่าสามารถเป็นมัคคุเทศก์พานักท่องเที่ยว เยี่ยมชมความงามบนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์ได้เอง เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่มีศักยภาพ และความรูพ้ นื้ บ้าน ทัง้ เรือ่ งป่าและทะเล อีกทัง้ ยัง ได้รบั การยอมรับและความสนใจจากคนในท้องถิน่

และกลุ่มนักท่องเที่ยวท่ามกลางสถานการณ์การ ท่องเทีย่ วทีเ่ ข้มข้นภายในอุทยานแห่งชาติหมูเ่ กาะ สุรนิ ทร์ ในวันนี้ เด็กมอแกนได้หดั เรียน เขียน อ่าน ภาษาไทย ผู ้ ใ หญ่ ม อแกนได้ สั ม ผั ส และเรี ย นรู ้ วัฒนธรรมของชาวเมืองที่เป็นนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้เรียนรู้ เข้าใจ ปรับตัว พั ฒ นาทางวั ฒ นธรรม ให้ เ ข้ า กั บ ความเหมาะ สมของยุคสมัย มอแกนได้มีการปฏิสัมพันธ์กับ คนนอกมากขึน้ ได้รว่ มคิด ร่วมท�ำกิจกรรมด้วยกัน หลายอย่าง แม้ลกั ษณะการใช้ชวี ติ ในแบบเดิมของ ชาวมอแกนจะเจือจางลงไปบ้างแต่ความรู้และ ภูมปิ ญ ั ญาทีส่ บื ทอดมาจากบรรพบุรษุ ยังไม่สญ ู หาย ไปจากความเป็นมอแกนแห่งหมูเ่ กาะสุรนิ ทร์ อีกทัง้ ยังสามารถร้อยรัดความเป็นกลุ่มชนและด�ำรง อัตลักษณ์ทางชาติพนั ธุข์ องตนไว้เป็นอย่างดี

มอแกนรุน่ ปัจจุบนั หันมานิยมใช้ “เรือหัวโทง” (ภาพล่าง) จึงท�ำให้ เรือก่าบาง (ภาพบน) ถูกลดความส�ำคัญ จนสูญหายไปจากวิถชี วี ติ ของสังคมชาวมอแกนในทีส่ ดุ

1

จากการวิจยั ของทีม ดร.นฤมล อรุโณทัย และพลาเดช ณ ป้อมเพชร นักวิจยั และผูช้ ว่ ยนักวิจยั จากสถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับส�ำนักงานทีป่ รึกษาด้านวัฒนธรรมภาคพืน้ เอเชีย - แปซิฟกิ (กรุงเทพฯ) ส�ำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการ สมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาลแห่งยูเนสโก และโครงการสิง่ แวดล้อม และการพัฒนาพืน้ ทีช่ ายฝัง่ และเกาะขนาดเล็ก (Environment and Development in Coastal Regions and in Small Island หรือ CSI) ได้ทำ� การศึกษาสถานการณ์กลุม่ มอแกน หมูเ่ กาะสุรนิ ทร์ หลังภัยพิบตั สิ นึ ามิ

2

ฉบับที่ 4

กิจกรรม “กระท่อมนิทรรศการ”

กิจกรรม “เดินชมและศึกษาเส้นทางธรรมชาติ”

อ้างอิง: - พลาเดช ณ ป้อมเพชร. “โลกของชาวมอแกน : มองจากความรูพ้ นื้ บ้านเกีย่ วกับทะเลและพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ” ใน ภูมปิ ญ ั ญากับการสร้าง พลังชุมชน (กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร, 2548). - จักรพันธุ์ กังวาฬ. “มอแกน: ยิปซีทะเลผูห้ ยุดเร่รอ่ น” สารคดี. ปีที่ 19, ฉบับที่ 220 (มิ.ย.2546): 118-148.


งานประดับมุกทีว่ งั ท้ายวัดพระเชตุพน #MuseumSiamStory

ปัฐยารัช ธรรมวงษา

จากการขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดี

ในพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) หรือมิวเซียม สยามในปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2550 ภายในหลุม ขุดค้นบริเวณวังที่ 1 ซึ่งเคยเป็นวังที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมืน่ เชษฐาธิเบนทร์ (ต้นราชสกุลโกเมน ณ อยุธยา) ได้พบชิน้ ส่วนเปลือกหอยมุกจ�ำนวนมาก (ภาพที่ 1) มีจำ� นวนถึง 520 ชิน้ ส่วนใหญ่เป็นหอยอูด คาดว่าเป็น เศษเปลือกหอยที่เหลือจากการท�ำงานประดับมุก (ภาพที่ 2) เศษเปลือกหอยเหล่านีแ้ บ่งได้เป็น 4 กลุม่ คือ แกนหอยซึง่ เหลือจากการตัดเปลือกออกไปแล้ว ก้นหอยซึง่ เป็นชิน้ ส่วนทีน่ ำ� มาท�ำมุกไม่ได้ ก้นหอย ติดแกนทีเ่ หลือจากการตัดเปลือก และเปลือกหอย ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ช่างจะน�ำไปประดับมุก รวมถึง เปลือกหอยมุกที่ถูกฝนขัดจนเรียบเนียนเพื่อน�ำไป ประดับตกแต่ง ทั้งหมดเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนการท�ำเครื่องประดับมุก หอยมุก เหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่ส�ำคัญในการท�ำมุกเพื่อใช้ ในงานประดับตกแต่ง เช่น บานประตูโบสถ์วิหาร เครือ่ งเรือนและเครือ่ งใช้ตา่ งๆ (ภาพที่ 3) สันนิษฐาน ได้ว่าบริเวณที่พบเปลือกหอยมุกอาจเป็นสถานที่ ท�ำงานประดับมุก หรืออาจเป็นสถานที่ส�ำหรับทิ้ง เปลือกหอยมุกจากการแปรรูปแล้ว

เปลือกหอยมุกในหลุมขุดค้นบริเวณวังที่ 1

ตามประวัตพิ บว่า เจ้าของวังในบริเวณนี้ 5 พระองค์เคยด�ำรงต�ำแหน่งเจ้ากรมมุกและกรมช่าง สิบหมู่ คือ กรมหมืน่ เชษฐาธิเบนทร์ (เจ้าของวังที่ 1 ในรัชกาลที่ 3) กรมหมืน่ อมเรนทรบดินทร์ (เจ้าของ วั ง ที่ 2 ในรั ช กาลที่ 3) กรมหมื่ น ภู มิ น ทรภั ก ดี (เจ้าของวังที่ 4 ในรัชกาลที่ 4) ทรงก� ำกับกรม ช่างสิบหมู่และเป็นผู้ก�ำกับการก่อสร้างพระพุทธ ไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่มีการ ประดับมุกลายมงคล 108 ประการที่พระบาททั้ง 2 ข้าง และกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ (เจ้าของ วังที่ 2 ในรัชกาลที่ 5) ทรงมีผลงานชิ้นส�ำคัญคือ บานประตูและบานหน้าต่างประดับมุกที่อุโบสถ ของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ส่วน โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีการสร้าง บูรณะ และปฏิสงั ขรณ์วดั เป็นจ�ำนวนมาก จึงมีความนิยม ใช้งานประดับมุกที่เป็นงานช่างชั้นสูง มาประดับ ตกแต่งบานประตูหน้าต่างของอาคารภายในวัด นอกจากนีใ้ นช่วงรัชกาลที่ 3 ยังมีบคุ คลทีม่ ชี อื่ เสียง และได้รบั การยกย่องว่ามีฝมี อื ยอดเยีย่ มในงานมุก คือ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ (เจ้าของวังที่ 5 ใน รัชกาลที่ 3 วังตั้งอยู่บริเวณสถานีต�ำรวจนครบาล พระราชวังในปัจจุบัน) ทรงเป็นผู้ท�ำบานประตู วิหารและอุโบสถประดับมุกให้กับวัดพระเชตุพน

ลักษณะของเปลือกหอยมุก ทีพ่ บในหลุมขุดค้นบริเวณวังที่ 1

วิมลมังคลาราม ซึง่ นับเป็นงานทีส่ วยงามยอดเยีย่ ม ทีส่ ดุ ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเลยทีเดียว เปลือก หอยมุกทีพ่ บในพืน้ ทีน่ ี้ จึงน่าจะมีสว่ นเกีย่ วข้องกับ งานประดับมุกของวัดต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3 - 5 วิธกี ารท�ำมุกคือการประดับมุกลงบนพืน้ ผิว ของไม้ โดยเริม่ จากการร่างลายบนพืน้ ผิวของวัตถุ จากนั้นแกะสลักให้เป็นลายตื้นๆ เพื่อให้สามารถ ฝังชิน้ เปลือกมุกลงไปได้ ส�ำหรับมุกจะต้องฉลุให้ได้ รูปร่างตามลายทีร่ า่ งแบบไว้บนพืน้ ผิว สามารถน�ำ เปลือกหอยมาใช้ประดับได้หลายชนิด เช่น หอยโข่ง เขียว หอยโข่งทะเล หรือหอยอูด (น�ำ้ เค็ม) หอยเป๋าฮือ้ หรือหอยร้อยรู (น�้ำเค็ม) หอยนมสาว (น�้ำเค็ม) หอยจาน (น�้ ำ เค็ ม ) และหอยกาบ (น�้ ำ จื ด ) เปลือกหอยเหล่านีจ้ ะมีการน�ำมาขัดให้เป็นประกาย แวววาว หากออกมาเป็นสีรุ้งจะมีศัพท์ทางช่าง เรียกกันว่า มุกไฟ ซึ่งนิยมน�ำมาใช้ในงานประดับ มุกชิน้ เอก เมือ่ น�ำมุกชิน้ ทีฉ่ ลุแล้วมาฝังในร่องลาย ที่แกะไว้ จากนั้นถมยางรักให้เต็มพื้นผิว ขัดจน ลายมุกปรากฏขึ้นมาเรียบเสมอกับผิวไม้ นับเป็น งานประณีตศิลป์ที่ต้องใช้เวลา ฝีมือ และขั้นตอน ทีซ่ บั ซ้อน

งานประดับมุกบนบานประตูอโุ บสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ทีม่ า: http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/images/ stories/rattanagosin/wat-rachbopit/wat-rachpopit7.jpg)

อ้างอิง: - วาทิต ธรรมเจริญ, “การศึกษาเปลือกหอยมุกทีไ่ ด้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพืน้ ทีก่ ระทรวงพาณิชย์ (เดิม).” สารนิพนธ์ศลิ ปศาสตรบัณฑิต สาขาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. - ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษา ขุดค้น และขุดแต่งทางโบราณคดี ภายในพืน้ ทีก่ ระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย, เอกสารเย็บเล่ม, 2550. - สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ. หิน ดิน อิฐ ฟืน้ ชีวติ สูพ่ พิ ธิ ภัณฑ์. กรุงเทพฯ: บริษทั บานาน่า สตูดโิ อ จ�ำกัด, 2552. - ศูนย์ขอ้ มูลไทยศึกษา.งานประดับมุก. ค้นเมือ่ 5 มกราคม 2561 จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/document/radio/งานประดับมุก.pdf

ฉบับที่ 4

3


รักษ์โบราณวัตถุ #PreventiveConservation

วรรณวิษา วรวาท

หนึ่งในภารกิจของงานพิพิธภัณฑ์

คือการท�ำทะเบียน ซึ่งการเขียนเลขทะเบียนวัตถุ เป็นขัน้ ตอนในการช่วยสงวนรักษาวัตถุ รักษ์โบราณ วัตถุฉบับนี้ขอน�ำเสนอเรื่องการเขียนเลขวัตถุบน วัตถุประเภทผ้าอย่างถูกวิธี และไม่ท�ำลายตัววัตถุ ให้เสียหาย ข้อค�ำนึงในการเขียนเลขวัตถุประเภท ผ้าคือ ไม่ควรเขียนเลขลงบนวัตถุโดยตรงเพราะ เป็นการท�ำลายคุณค่าและลวดลายปักบนวัตถุ ที่ส�ำคัญคือไม่ควรใช้ลวดเย็บกับวัตถุประเภทผ้า เนือ่ งจากระยะเวลาผ่านไป ความชืน้ จะท�ำให้โลหะ เกิดสนิมท�ำลายเส้นใยผ้าให้เสียหาย

อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ใ นการเขี ย นเลขวั ต ถุ มี ดั ง นี้ 1) เทปผ้าฝ้ายสีขาว ขนาด 6 มิลลิเมตร ยาว 20 - 25 มิลลิเมตรโดยประมาณ สามารถหาซือ้ ได้ จากร้านขายอุปกรณ์เย็บผ้าทั่วไป 2) ปากกาสีด�ำ ชนิดกันน�้ำ (pigma pen) วิธีการเขียนเลขวัตถุคือ เขียนเลขทะเบียนวัตถุลงบนเทปผ้าฝ้าย ตัดเทปผ้า ฝ้ายตามขนาดที่เหมาะสมจากนั้นเย็บเทปผ้าฝ้าย ด้วยมือลงบนวัตถุ จากนัน้ เย็บเนาทีข่ อบทัง้ 2 ด้าน (ด้านสั้น)โดยให้สังเกตเห็นได้ง่าย ทั้งนี้ไม่จ�ำเป็น ต้องเย็บทัง้ ป้าย และไม่ควรเย็บตรึงทะลุอกี ด้านของ

วัตถุ เนื่องจากฝีเข็มจะท�ำลายเส้นใยผ้า นอกจาก นัน้ ไม่ควรเย็บเทปผ้าฝ้ายก่อนเขียนเลขเพราะอาจ เกิดอุบตั เิ หตุหมึกปากกาเปือ้ นวัตถุได้ หากเป็นกระโปรงหรือกางเกง ขอแนะน�ำให้ เย็บขอบด้านในข้างหลังของวัตถุ เสือ้ แขนยาวควร เย็บบริเวณไหล่ซ้ายหรือตะเข็บด้านใน ส่วนวัตถุ ที่มีลักษณะแบน เช่น ผ้าพันคอ ผ้าซิ่น ควรเย็บ บริเวณตะเข็บด้านขวาล่าง ทั้งนี้ก่อนการท�ำงาน ทุ ก ครั้ ง ควรล้ า งมื อ เพื่ อ ป้ อ งกั น เหงื่ อ จากมื อ เมือ่ สัมผัสวัตถุ

อ้างอิง: Museum Australia (Victoria). The small museums cataloguing manual A guide to cataloguing object and image collections. Victoria: Museum Australia (Victoria), 2009.

ห้องคลังโบราณวัตถุและห้องปฏิบตั กิ าร สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ (สพร.) เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์: 0-2225-2777 ต่อ 101 โทรสาร: 0-2225-2775

e-mail: ndmi.collectionstorage@gmail.com Website: www.museumsiam.org, www.ndmi.or.th Facebook.com/museumsiamfan


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.