ข่าวสารการอนุรักษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ธันวาคม 2556

Page 1

ข่าวสารการอนุรกั ษ์ ปีที่1 ฉบับที่ 4 ธันวาคม 2556

เรียน เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ข่าวสารการอนุรักษ์ฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของปี 2556 สาหรับฉบับนี้นาเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับ พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ คือปัญหาเกี่ยวกับเชื้อรา ทั้งเชื้อราที่เจริญอยู่บนวัตถุจัดแสดง เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า ตู้จัดแสดง เพราะ ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและพิพิธภัณฑ์จานวนมากไม่ได้ออกแบบให้อากาศสามารถ่ายเทได้อย่างสะดวก ทาให้เชื้อ ราเจริญได้ดี ข่าวสารการอนุรักษ์ฉบับนี้จึงได้เรียบเรียงเนื้อหาเหล่านี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจต้นตอของปัญหาและแนวทางใน การแก้ไข หากท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้สถาบันฯ ตามที่อยู่ด้านหลัง ทางสถาบันฯยินดีให้คา ปรึกษาครับ นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อานวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

กิจกรรม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติร่วมกับสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดอบรม เรื่องการทาความสะอาดโบราณวัตถุ ให้กับพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและบริเวณใกล้เคียง วันที่ 19 สิงหาคม 2556


ราที่ก่อให้เกิดโรคในคน ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเกือบตลอดปี เหมาะกับการเจริญของเชื้อราหลากหลายชนิด บางชนิดเจริญอยู่บน ข้าวของเครื่องใช้ เช่น ตู้หนังสือ ตู้เสื้อผ้า บางชนิดอยู่บนอาหาร เช่น ขนมต่างๆ ข้าวสาร ผลไม้ เป็นต้น ซึ่งเชื้อราเหล่านี้ มี ทั้งชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดโรคและก่อให้เกิดโรคกับคน เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ไม่ใช่พืชและไม่ใช่สัตว์ มีหลากหลายชนิด ทั้งที่ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดใหญ่ เช่น เห็ด ชนิดต่างๆ และเชื้อที่ที่มีขนาดเล็กต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น จดหมายข่าวอนุรักษ์ฉบับนี้ขอแนะนาให้รู้จักกับเชื้อราที่พบบ่อยและมีความสาคัญเพราะส่งผลต่อคน คือ แอสเปอร์จิลัส (Aspergillus) และ เพนนิซิเลียม (Penicilium) เพนนิซิเลียม เป็นเชื้อราที่พบได้ทั่วไป เป็นต้นเหตุที่ทาให้ผลไม้เน่าเสีย แต่ก็นามาใช้ประโยชน์ในการหมักอาหารได้ เช่น การทาเนยแข็ง เพนนิซิเลียบางชนิดสร้างสารพิษ เช่น พาทูลิน (Patulin) ทาให้ผลไม้เน่าเสีย เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง และ เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเพนนิซิลลิโอซีส (penicilliosis) พบโรคนี้ร่วมในผู้ป่วยเอสด์ทาให้มีอาการรุนแรงขึ้นและมักพบเชื้อรา ชนิดนี้ในผู้ป่วยเอสด์เป็นจานวนมากในพื้นที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเชื้อประจาถิ่นในประเทศพม่า กัมพูชา จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ไทยและเวียดนาม

แอสเปอร์จิลัส มีหลายชนิดที่สร้างสารพิษเช่น แอสเปอร์จิลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) ผลิตสารพิษที่สาคัญคือ อะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง พบในถั่วลิสง ข้าวโพด งา เครื่องเทศ และอาหารแห้งอื่นๆ สารนี้มีคุณสมบัติทน ความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส เชื้อแอสเปอร์จิลัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะก่อโรคได้ 3 แบบ คือ โรคแพ้เชื้อรา มีอาการหอบหืด เกิดจากการแพ้เชื้อรา หรือสปอร์ของเชื้อรารวมทั้งเศษของเชื้อรา โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ เช่นโพรงหลอดลมพอง ผู้ป่วยมักมีอาการไอเนื่องจากเสมหะเพิ่มขึ้นจากการระคายเคือง ผู้ป่วยบางคนอาจไอเป็นเลือดหรือมีการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โรคนี้พบกันมากในประเทศไทย โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลาบาก ถ้าเชื้อราแพร่กระจาย อย่างรวดเร็วจะทาให้ผู้ป่วยตายเร็วมาก

การป้องกันเชื้อรา ควรปฏิบัติดังนี้ คือ ไม่รับประทานอาหารที่ขึ้นรา และไม่รับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก พยายามรักษาความ สะอาดของร่างกาย อาหาร ที่พักอาศัย ไม่ใส่รองเท้าที่อับ ถ้าเท้าเปียกน้าต้องเช็ดให้แห้งก่อนที่จะใส่รองเท้า ถ้าที่พักอาศัยมีรา ขึ้น เปิดหน้าต่างประตูให้อากาศถ่ายเท ถ้าเลี้ยงนกควรหมั่นทาความสะอาดกรงนก ระวังตัวในการสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อราอาศัย อยู่ อย่าคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นแหล่งโรค นอกจากนี้ให้ระมัดระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่าเพรื่อ เพราะการได้รับยา ปฏิชีวนะนานๆ จะทาลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่อยู่ในร่างกายตามปกติ ทาให้ร่างกายเสียสมดุล ซึ่งจะทาให้เกิดโรคเชื้อราได้ ง่ายขึ้น


ปัญหาเชื้อราในพิพิธภัณฑ์ เชื้อรามักเกิดขึ้นในอาคารที่มีอากาศร้อนชื้นและอับ ขาดการระบายอากาศ หลายอาคารมีเครื่องปรับอากาศ สถาปนิก และวิศวกรมักออกแบบอาคารให้มีหน้าต่างและช่องแสงทาด้วยกระจก ซึ่งมักปิดตลอดเวลาโดยไม่มีช่องลมที่จะช่วยระบาย อากาศ บางอาคารเปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลาจากัด เฉพาะเมื่อมีเจ้าหน้าที่เข้าทางาน ส่วนใหญ่ปิดห้องไว้โดยไม่มีระบบ ระบายอากาศ เช่น หลังชั่วโมงทางานและวันหยุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งซอยพื้นที่ภายในเป็นห้อง เล็กห้องน้อยมากมาย การระบายอากาศมีข้อจากัด อาศัยเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว อาคารบางแห่งออกแบบให้มีแหล่งผลิต ไอน้าภายในอาคาร เช่น น้าพุ น้าตก บ่อปลา ห้องน้า ฯลฯ ซึ่งทาให้ความชื้นสัมพัทธ์ภายในอาคารอยู่ในระดับสูงมาก หรือ บางแห่งเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลาแต่ปรับอุณหภูมิให้ต่าเกินไป โดยไม่ควบคุมความชื้น บางครั้งพบว่า เครื่องปรับอากาศเก่า ประสิทธิภาพในการดูดความชื้นออกจากอากาศลดลง บ่อยครั้งปัญหาเกิดจากท่อน้าทิ้งของ เครื่องปรับอากาศอุดตัน ทาให้น้าไหลล้นเข้ามาในห้อง อาคารชั้นเดียวบางแห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับน้าใต้ดินสูง เช่น ริม แม่น้า ใกล้สระน้า หรือในพื้นที่ราบลุ่มที่มักมีน้าท่วมขัง จะมีความชื้นระเหยออกมาจากใต้ดินและจากผนังเข้ามาสะสมอยู่ ภายในห้อง เมื่อภายในห้องและภายในตู้มีความชื้นสูง อุณหภูมิลดลง และขาดการระบายอากาศ วัสดุต่าง ๆ ที่ ดูดซับความชื้นได้ดีจะดูดซับความชื้นไว้ ในขณะเดียวกัน ความชื้นส่วนเกินจะควบแน่นรวมตัวเป็นหยดน้าเกาะบนผิวที่เย็น ๆ เช่น กระจก โลหะ ไม้ หนังสัตว์ งาช้าง เครื่องปั้นดินเผา พลาสติก ฯลฯ และมีเชื้อราขึ้นเจริญ ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ ภายนอก อาคารเฉลี่ยประมาณ 40-100 % ภายในอาคารเฉลี่ยประมาณ 60-100 % ในฤดูฝน ช่วงที่มีฝนตกชุก ค่า ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยมักสูงกว่า 80 % เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน โดยทั่วไปเชื้อราจะเจริญได้ดีเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ สูงเกิน 70% ต่อเนื่องกัน 2-3 วัน และความชื้นที่วัสดุดูดซับไว้มีค่าสูงกว่า 18 % พื้นผิวที่มีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก สะสมจะมีเชื้อราขึ้นเจริญมากกว่าพื้นผิวที่สะอาด การแก้ปัญหาควรเริ่มด้วยการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือค้นหาแหล่งความชื้น เช่นสารวจหาจุดที่น้าฝนสาดเข้า จุดที่ หลังคารั่ว หรือท่อน้าประปาหรือท่อน้าทิ้งรั่ว ท่อน้าทิ้งของเครื่องปรับอากาศ น้าพุ บ่อปลา น้าตก รวมทั้งความชื้นที่ แทรกซึมมาจากใต้ดิน เมื่อพบแล้วรีบแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จากนั้นควร เพิ่มการระบายอากาศ โดย เปิดประตู หน้าต่าง หรือใช้พัดลมช่วยให้อากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ดีขึ้น ในกรณีที่อาคารไม่ได้ออกแบบให้มีช่องลมและช่องระบาย อากาศมากพอ อาจจาเป็นต้องปรับปรุงอาคาร ด้วยการเปลี่ยนหรือปรับปรุงหน้าต่าง ให้สามารถระบายอากาศได้ ตลอดเวลาพร้อมทั้งสามารถป้องกันการบุกรุกได้ด้วย หรืออาจต้องเจาะช่องระบายอากาศเพิ่มเติม ประตู หน้าต่างและ ช่องลมที่มีลักษณะเป็นบานเกล็ดหรือลายฉลุ จะช่วยระบายอากาศได้ดีมากและไม่เพิ่มภาระสาหรับเจ้าหน้าที่ในการเปิดปิด เหนือประตู หน้าต่างและช่องลม ควรมีกันสาดยื่นออกมาเพื่อช่วยป้องกันน้าฝนที่สาดเข้า มีเหล็กดัดป้ องกันการบุกรุก รวมทั้งมีมุ้งลวดเพื่อป้องกันแมลง บ่อยครั้งที่พบว่าปัญหาเชื้อราเกิดจากการใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ เพียงอย่างเดียว สาหรับเชื้อราที่เกิดขึ้นบนกระจกตู้ หรือในตู้ ควรทาความสะอาดด้วยทิชชูหรือสาลีชุบอัลกอฮอลเช็ดออก จากนั้นเช็ด ด้วยผ้าสะอาด หรือใช้น้ายาเช็ดกระจก ควรตรวจสอบส่วนอื่น ๆ ของตู้ตลอดจนสิ่งของที่อยู่ในตู้ ด้วยว่ามีร่องรอยของ ราหรือไม่ หากมีทาความสะอาดอย่างระมัดระวัง จนสะอาด หากพบเชื้อราควรรีบทาความสะอาดและวางผึ่งให้แห้งในที่ทมี่ ี อากาศถ่ายเทได้ดี เปิดตู้ทิ้งไว้ ให้ความชื้นระเหยออก 2-3 วัน


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุณปราโมทย์ จิราภรณ์

หนังสือเก่า สมุดไทย และใบลาน มีมอดกินเป็นรูยาว ๆ ควรทาอย่างไร มอดที่ชอบกินกระดาษและใบลานน่าจะเป็นมอดหนังสือและมอดยาสูบ ซึ่งตัวเต็มวัยมีสีน้าตาล ขนาดเล็ก ประมาณ 2-3 มม. มักพบตัวหนอนสีขาวขนาดเล็กๆ อยู่ในรูหรืออุโมงค์ที่ตัวหนอน กัดกินเป็นอาหาร ควรนาหนังสือ สมุดไทยและใบลานใส่ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นด้วยเทปกาวหรือหนังสติ๊ก นาไปแช่ใน ช่องแช่แข็งในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งทิ้งไว้ 3-5 วัน แล้วนาออกมาจากช่องแช่แข็ง วางทิ้งให้กลับสู่ อุณหภูมิหอ้ ง ประมาณ 3-5 ชั่วโมง จากนั้นเปิดถุงพลาสติกออก ใช้แปรงนุ่ม ๆ ปัดขี้มอดและซากแมลง ที่ตายแล้วออก ไข่ ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะตายหมด หากจะเก็บรักษาในตู้เดิม ควรนาหนังสือทั้งหมด ไปแช่แข็ง แล้วทาความสะอาดตู้ให้สะอาดหมดจด อุดรูหรือช่องว่างในตู้ให้หมด เพื่อป้องกันมิให้แมลงเข้า มาได้

คุณพรนิภา จิราภรณ์

มีผู้นาสีกระป๋องฉีดพ่นบนพระพุทธรูปและใบเสมาที่ทาด้วยหิน อยากทราบว่าจะล้างออกได้อย่างไร การล้างสีออกจากหิน ต้องตรวจสอบก่อนว่าสีที่ใช้เป็นสีประเภทใด แล้วเลือกตัวทาละลายที่ทาให้ชั้นสี บวมพองหรืออ่อนนุ่มขึ้น จากนั้นใช้ไม้ปลายแหลมหรือใบมีดผ่าตัดสะกิดหรือแซะอย่างระมัดระวัง ออกมาจากหิน ตัวทาละลายที่ละลายชั้นสี จะทาให้สารละลายของสีนั้น ๆ แทรกซึมลึกเข้าไปในผิวหิน ทาให้ผิวหินมีรอยด่างหรือคราบเปื้อนเป็นบริเวณใหญ่กว่าเดิม ซึ่งไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยวิธีง่ายๆ เพราะฉะนั้นควรทดลองใช้สาลีก้อนเล็ก ๆ จุ่มตัวทาละลายแล้ววางบนชั้นสีสักระยะหนึ่ง คอยสังเกตการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เริ่มจากตัวทาละลายที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ ก่อน เช่น อัลกอฮอล์ อะซีโตน เอทธิลอะซีเตท เอมิลอะซีเตท ฯลฯ ควรระวังตัวทาละลายที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เบนซีน ทาให้เป็นมะเร็ง ฯลฯ

ผู้จัดทา นางจิราภรณ์ อรัณยะนาค ที่ปรึกษาด้านงานอนุรักษ์ นายศุภกร ปุญญฤทธิ์ นางวัชนี สินธุวงศานนท์ นางสาวพัชรลดา จุลเพชร นายคุณาพจน์ แก้วกิ่ง นายพรพิชิต พรรัตน์

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ 4 ถ.สนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 022252777 ต่อ 109 fax 022251881-2 e-mail : pacharalada@ndmi.ro.th http://www.ndmi.or.th/home.php http://www.facebook.com/museumsiamfan



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.