Muse Mag ฉบับที่ 5

Page 1

ฉบับที่ 5 มีนาคม 2558 – พฤษภาคม 2558

Why So Fast? Make It Slow. คุยกับเจ-มณฑล จิรา “ศิลปะแห่งการใช้ชีวิต เราทุกคนออกแบบได้” Keep calm and go to festival คัดสรรเทศกาลแห่งความเนิบช้าทั่วโลก แต่มันส์นะ พูดเลย


ฉบับที่ 5 มีนาคม 2558 – พฤษภาคม 2558

Contents 3 Muse Chat กระต่ายกับเต่า

4 Muse Idol

Slow Life ในวันสบายๆ ของเจ-มณฑล จิรา

12 Muse Latitude

ตะลอนเทศกาลแห่งความเนิบช้าจากทั่วโลก

16 Muse Plus

ฟาร์มลุงรีย์ สวนผักกลางเมืองในโรงรถ

22 Muse Forward

ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะที่สร้างแรงบันดาลใจรอบตัวคุณ

26 Muse Check in

ชวนมาเที่ยวเทศกาล ‘หลงรัก’ เรื่อง ‘รัก’ แสนน่ารักของผู้คน ทั้งสิบชาติพันธุ์

กองบรรณาธิการ สุขุมาล ผดุงศิลป์ ภูษิต ช่วยชูฤทธิ์ ปิ่นมุข หนูนุ่ม สุธิดา บุปผากลิ่น

นิตยสารเสริมแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์การเรียนรู้ โดย มิวเซียมสยาม | สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2225 2777 โทรสาร : 0 2225 2775 www.museumsiam.org, www.facebook.com/museumsiamfan

ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาและออกแบบศิลปกรรม โดย

บริษัท เปเปอร์คอรัส จ�ำกัด 32/9 ถนนพุทธมณฑลสายสาย 2 ซอย 21 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทร. 08 1919 5315 / 08 1513 4971

-2-


: ะภาพ ิการ ล แ ง เรื่อ รณาธ บร กอง

chat

กระต่ายกับเต่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว กระต่ายผู้ปราดเปรียวท้าเต่าต้วมเตี้ยมหลังตุงมาวิ่งแข่ง กัน ด้วยความมั่นใจเกินร้อยว่าชนะแน่ ผลการแข่งขันเป็นอย่างที่พวกเรารู้กันดีมาตั้งแต่เด็กว่า เต่าเป็นผู้ชนะ แม้ในนิทานอีสปเต่าจะชนะกระต่าย แต่เต่าก็ยงั คงเป็นสัญลักษณ์อมตะของ ‘ความ ช้า’ อยู่ดี ในยุคที่โลกแข่งขันด้วยความเร็ว ทั้งความเร็วในการสื่อสาร ความเร็วในการให้ บริการ ความเร็วในการเดินทางขนส่ง ดูเหมือนว่าจะไม่มีที่ทางส�ำหรับ ต เต่า ผู้ เชื่องช้า

ฉบับที่แล้วเรามีค�ำถามทิ้งท้ายว่า “สมุดเล่มเล็กๆ ที่ เ ป็ น แรงบั น ดาลใจให้ พี่ ปู ลุ ก ขึ้ น มาท� ำ นิ ต ยสาร Cheeze และยังเก็บไว้อยู่จนทุกวันนี้มีชื่อว่าอะไร” ค�ำตอบคือ : STREETFA 5 คนเก่งที่ตอบค�ำถามถูกต้อง ได้รับรางวัล ผ้าปิดปากยักษ์และหนังสือปลุกยักษ์ ได้แก่ 1. คุณสุพิศ โล่ห์ประธาน 2. คุณศิริพร วันฟั่น 3. คุณอรุณี ไชยวงค์ 4. คุณอลงกรณ์ บุญรังษี 5. คุณภัทร์วลัย นูนคาน กรุณาติดต่อ museumsiam@ndmi.or.th เพื่อขอรับรางวัล

แต่ช้าก่อน... ส�ำหรับคติความเชื่อทางเอเชีย เต่ากลับเป็นที่รู้จักในแง่ของความ มีอายุยืนยาวและแข็งแกร่ง จึงมีความเชื่อเรื่องการท�ำบุญปล่อยเต่าเพื่อการมีอายุ ทีย่ นื ยาว ฝ่ายต�ำนานฮินดูเชือ่ ว่ามีเต่ายักษ์อทุ ศิ ตัวเป็นฐานอันแข็งแกร่งเพือ่ รองรับ โลกอยู่ นอกจากนี้เต่ายังเป็นที่นับถือในฐานะตัวแทนของความพากเพียร มุ่งมั่น จนประสบผลส�ำเร็จ ชาวจีนยกย่องเต่าให้เป็นหนึ่งในเทพผู้คุ้มครองทิศทั้งสี่ โดย มีหน้าที่พิทักษ์ทิศเหนือ ตัวแทนของฤดูหนาว และเป็นเทพเจ้าแห่งน่านน�้ำทั้งปวง ฟังแบบนี้แล้วค่อยรู้สึกยุติธรรมกับเต่าหน่อย และถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่าวิถี S-L-O-W เนิบๆ แบบเต่าๆ ก็ไม่เลวนัก แม้จะช้า แต่อายุยืนยาว แข็งแกร่ง มุ่งมั่น คุณก็ควร รีบพลิกอ่าน Muse เล่มนี้ เพราะมีคนคิดแบบคุณเพียบเลย!! กองบรรณาธิการ

-3-


-4-


ิวเซีย มพูฟ ุญวิภาส ช : เรื่อง าวรัตน์ บ : เน ภาพ

idol

Slow = สบาย ในความหมายของ J-Montonn Jira คุยกับเจ-มณฑล จิรา

ในวันที่จังหวะชีวิตช้าลงกว่าเดิม (แต่สบายกว่าเดิมเป็นสองเท่า) Muse ฉบับนี้ บุกไปถึงห้องประชุมของเจ-มณฑล จิรา และทีมผู้จัดงาน Wonderfruit Festival ผู้เนรมิตไลฟ์ อีโค-สไตล์เฟสติวลั ทีเ่ ป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์เมือ่ ปลายปีทแี่ ล้ว แม้ชว่ งทีเ่ ราไปสัมภาษณ์จะเป็นเวลาแค่ตน้ ปี แต่ทีมงานเล็กๆ (ผู้ปั้นงานยักษ์) กลุ่มนี้เตรียมประชุมส�ำหรับงานใหญ่ปลายปี 2015 นี้แล้ว เบื้องหลังของ บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ทีมงาน Muse ติดต่อผ่านเลขาของคุณเจเพื่อสัมภาษณ์ทางอีเมลล่วงหน้า จากนั้นจึงรอคิว เพื่อนัดถ่ายรูปในวันที่เขาเดินทางเข้าเมืองสัปดาห์ละครั้ง! ใช่แล้วล่ะ คุณอ่านไม่ผิด ผู้ชายที่มีลุคเป็นดีเจหนุ่ม นักดนตรี มิวสิกไดเร็กเตอร์ และเป็นหนุ่มปาร์ตี้คนนี้ วางแผนเข้าเมืองสัปดาห์ละหนึ่งวัน ในอินสตาแกรม ของเขามียอด Follow เป็น 0 (แต่คนกด Follow เขากว่า 35,833 คน) ค�ำว่า Slow Life ไม่ได้มีอิทธิพล ส�ำหรับเขา ที่เป็นและใช้ชีวิตอยู่นี้คือชีวิตที่ช้าเพราะชอบและออกแบบไว้จริงๆ ยิ่งพอคุยกันออกรสแล้ว ท�ำให้ เราทราบว่าในการออกแบบชีวิตเขามีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หลายอย่างที่ ‘รู้แล้วจะทึ่ง’

นิยามคำ�ว่า Slow Life ของเจ-มณฑล แตกต่างออกไป เขาไม่ได้มองว่าชีวิต Slow จะต้อง เนิบช้า แต่ชีวิตที่ดำ�เนินไปอย่างสบายๆ มากกว่า เพราะเราได้ออกแบบรูปแบบการดำ�เนินชีวิต เราเอง นั่นล่ะ Slow จึงเท่ากับสบายในสไตล์ของเขา มนุษย์เรามีเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากัน 1 ปี เรามี 8,760 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ท�ำไมในแต่ละปี เรายังเผลอพูด ค�ำว่า “ไม่มีเวลา” ออกมาซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า แต่เจกลับบอกเราว่า ตอนนี้เขาสนุกกับชีวิตมาก เพราะแม้จะงานยุ่ง ทุกวัน แต่ทุกวันเขากลับมีเวลาเหลือเฟือเพื่อตัวเอง -5-


เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม ตอนนี้เจมณฑลสนุกกับโปรเจ็กต์อะไรอยู่ บ้าง

และตอบกลับวันละ 2 ครั้ง ไม่อย่างนั้นชีวิต เราก็ต้องติดต่อกันตลอดเวลา ต้องคอยจ�ำ ว่า เดีย๋ วเราจะตอบเมลหาคนนีน้ ะ แล้วพอมี เสียงโทรศัพท์มา เราก็เริ่มเขว ยิ่งสมัยนี้ทุก นอกเหนือจากงาน Wonderfruit ปีที่แล้ว คนสือ่ สารกันทุกเวลา ผมไม่คอ่ ยเห็นด้วยนะ เราก็เตรียมตัวส�ำหรับงาน Wonderfruit เวลาใครบอกว่า “โอเคเราจะติดต่อกันได้ ปีนี้ ร่วมท�ำดนตรีให้กับวง 25 hours ท�ำ ตลอดเวลานะ โทรหากันเมื่อไรก็ได้” ความ สตูดิโอเพลงของตัวเองในนาม Samutpraคิดส่วนตัวของผม ฮ้า…ไม่เห็นดีเลย ท�ำไม karn Sound ปีที่แล้วผมโชคดีมากที่ได้ร่วม ทุ ก คนจะติ ด ต่ อ เราได้ ต ลอดเวลา จะคุ ย งานกับศิลปินชาวสวิดิช และร่วมท�ำดนตรี อะไรก็ได้ เมื่อผมไม่ถนัดกับไลฟ์สไตล์ตรงนี้ เป็นมิวสิกไดเร็กเตอร์ให้กับ HUGO ใน ผมเลยบล็อกตรงนั้นไป ผมมีกฎของตัวเอง อัลบั้ม Deep in the Long Grass เดือน ไว้ว่า เราอยากจะเช็กอีเมลเมื่อไร เราถึงจะ มีนาคมนี้เราวางแผนจะไปเล่นคอนเสิร์ตกับ เช็ก และเมือ่ นัน้ แหละเราจะถึงเห็นมัน ไม่ใช่ เล็ก-ฮิวโก้ที่นิวยอร์ก ให้อีเมลหรือโทรศัพท์มาบอกเราว่า ดูฉันสิ อีเมลเข้ามาแล้ว ต้องตอบนะ ขนาดยังไม่ ท�ำงานเยอะขนาดนี้ แต่เราทราบมา ตอบมันยังอยู่ในความคิดของเราเลย แต่ ว่าคุณวางแผนเข้าเมือง (กรุงเทพฯ) ไม่ใช่ผมไม่ชอบหรือเข้าถึงยากนะ เพียง เพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะอะไร “ผมให้คุณค่ากับการมีเวลา แต่ไม่อยากให้มันมากวนช่วงเวลาของเรา จึงตั้งกฎให้ตัวเองเช่นนั้น สำ�หรับผม เวลาก็เปรียบเหมือน เพราะเรามีตารางชีวิตที่จัดสรรไว้อยู่แล้ว (หัวเราะ) เพราะกรุงเทพฯ มีการจราจรที่ ติดขัดไง ผมไม่ชอบใช้เวลาอยู่บนท้องถนน freedom อย่างหนึ่งในชีวิต” อีกอย่างเพราะผมมีคุณฟ้า (เลขาส่วนตัว) ผมจึงพยายามส่งทุกอย่างให้เขา หลายๆ คน นานๆ วันละ 2 ชั่วโมง แต่สัปดาห์นี้เข้ามา ทุกวันเลยนะ เพราะมีประชุม บางอย่างเราก็ยืดหยุ่นให้ตัวเองไป ที่ จะคิดว่าเจ-มณฑลเป็นคนเข้าถึงยากเหรอ เปล่าเลย ผมแค่พยายาม ตัง้ กฎเพราะเราเอาไลฟ์สไตล์ตวั เองเป็นตัวตัง้ เราไม่ชอบขับรถ เราก็ จะโฟกัสในสิ่งที่ผมท�ำเท่านั้นเอง ออกแบบให้เข้าเมืองสัปดาห์ละวัน นัน่ คือวันพุธเพราะรถไม่ตดิ แล้ว แล้วเวลาที่มีประสิทธิภาพเจ-มณฑลเป็นอย่างไร เราก็เข้ามาประชุม เข้ามาท�ำธุระในเมืองให้ครบ จากนัน้ อีก 6 วัน ก็ ตื่นมาอันดับแรกจะไม่ได้เช็กโทรศัพท์ เพราะกลัวว่าถ้าเราดู มีงาน เป็น My Time มันคือช่วงเวลาคุณภาพของเราทีเ่ ราจะได้สร้างสรรค์ เข้ามาให้เราต้องแก้ปัญหา พอไปเล่นโยคะจะไม่มีสมาธิแล้ว ดังนั้น งาน ท�ำเพลงในสตูดิโอ เล่นโยคะ ปลูกผักสวนครัว เมื่อเช้าผมเพิ่ง เมื่อไม่เช็ก สมองเราจะไม่รับรู้ ปีน้ีพยายามจะขยับตารางชีวิตให้ ฟังรายการวิทยุ เขาอธิบายในสิ่งนี้พอดีว่าท�ำไมเราต้องตั้งเวลาให้ เปลี่ยนเป็นตื่น 7 โมง แล้วโยคะชั่วโมงครึ่ง เพราะเมื่อปีที่แล้ว ช่วง ตัวเอง เราต้องดีไซน์ทุกอย่างรอบตัวเราให้เป็นพลังงานบวก ท�ำสิ่ง ปลายปีผมทุ่มเทให้กับงาน Wonderfruit จนไม่ได้ฝึกฝนโยคะเลย รอบข้างเอือ้ ให้เราอยากจะท�ำงาน อยากจะสร้างสรรค์ มีแรงกระตุน้ แต่ชว่ งต้นปีนยี้ งั ว่าง เลยพยายามเริม่ ต้นกลับมาโยคะสัปดาห์ละวัน ไม่ขเี้ กียจ เราอยากจะตืน่ เช้าไปออกก�ำลังกายตอนเช้า พอมีรทู นี ตรง เพือ่ ทีอ่ ย่างน้อยมันจะฟืน้ ฟูให้เรา จากนัน้ ก็ขยับเป็นเล่นโยคะสัปดาห์ นี้ ทุกอย่างก็ราบรื่น ไม่รู้สึกเบื่อ พอเราอยู่ในสิ่งรอบตัวตรงนี้ ไม่ใช่ ละ 3 วัน ท�ำจนเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ ไม่ได้คดิ ว่าจะเหนือ่ ย บางครัง้ ในเมือง ไม่มใี ครมากวน แต่เราก็ไม่ตดั สังคมนะ ผมเลยไม่เหงา การ ความขี้เกียจมันก็มาหาเราอยู่แล้ว แต่สิ่งเหล่านี้มันก็เหมือนกับการ ดีไซน์รูทีน พอเราคอนโทรลได้ งานก็ออกมามีประสิทธิภาพ ทีเ่ ราต้องลืมตาตืน่ ขึน้ มานัน่ แหละ เราไม่สามารถจะขีเ้ กียจลืมตาตืน่ ได้ แล้วพอหลังจากทีเ่ ราลุกขึน้ มาท�ำโยคะ เราจะรูส้ กึ ดีกบั ตัวเองมาก นั่นแปลว่าคุณเชื่อว่า เราทุกคนออกแบบชีวิตได้ การที่เราดีไซน์ environment รอบตัวเรา เท่ากับเราดีไซน์ชีวิต ผม ดีใจที่วันนี้ไม่ได้ขี้เกียจนะ จะล็อกไว้เลยว่าวันหนึ่งเราจะเช็กโทรศัพท์ เช็กข้อความ เช็กอีเมล -6-


Slow = สบาย

Slow life is not a trend, it’s my routine life.

“ค�ำว่า Slow Life ส�ำหรับผม มันคือความรู้สึก สบายสบาย ท�ำในสิ่งที่เหมาะสมกับเรา ถ้าให้มอง ค�ำค�ำนี้ มันคือสิ่งที่ ‘อยู่อย่างนี้สบาย’ ถ้าไม่ต้อง รีบท�ำอะไร ท�ำงานน้อยๆ บ้าง มันก็สบาย ท�ำงาน ให้พอดีตัวที่จะอยู่ได้ มันก็สบาย เมื่อเราจัดสรรให้ รู้สึกว่างานมันไม่ได้เยอะ พอท�ำในสิ่งที่ชอบ คุณ ก็จะรู้สึกเหมือนว่าคุณไม่ได้ท�ำงาน คุณก็สบาย”

คุณฝึกฝนโยคะและเป็นนักมังสวิรัติมากี่ปีแล้ว

ผมเล่นโยคะมา 24 ปีแล้ว เริ่มตอนอายุ 13 ปี เพราะโยคะเป็นรูทีนที่ดี ที่ผ่าน มาผมเคยลองออกแบบรูทีนหลายๆ แบบ ลองศึกษาหลายๆ อย่างแล้วมาดูว่า ร่างกายเราชอบอะไรมากกว่ากัน ผมไม่ชอบออกก�ำลังกายให้หัวใจเต้นเร็ว โยคะ นี่ล่ะเหมาะกับผมที่สุด ผมเริ่มเล่นโยคะก่อนเป็นมังสวิรัติ จุดเริ่มต้นคือตอนอยู่ ม.6 ผมมีโอกาสไปแคมป์ปิ้งที่โรงเรียน 3 สัปดาห์ และจาก กิจกรรมตรงนั้น ครูแนะน�ำว่าถ้าเล่นโยคะอยู่แล้ว ลองไม่กินเนื้อสัตว์ดูสิร่างกาย จะแข็งแรงขึ้น พอผมกลับมาจากค่ายก็ไม่ได้กลับมากินเนื้อสัตว์อีกเลย ยิ่งพอเล่น โยคะก็รู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อเรายืดได้มากขึ้น อดทนและแข็งแรงขึ้น ดังนั้นทุกวันนี้ ผมออกแบบให้ตั้งแต่ 7 โมง ถึงบ่ายเป็น my time เราท�ำสวน พยายามศึกษา ปลูกผักต่างๆ ปลูกสมุนไพร เช่น ใบมิ้นต์ การท�ำสวนเราก็เรียนรู้จากการอ่าน ด้วยตัวเอง ผมท�ำสวนมา 4 ปีแล้ว

ฟังดูก�ำลังใช้ชีวิตเหมือนคุณลุงเลยนะ

(หัวเราะ) ใช่ เพราะความสนใจของเราอาจจะไม่เหมือนคนวัยเดียวกันแล้ว อีก หนึ่งสิ่งที่ผมเริ่มต้นในปีนี้คือใส่แต่เสื้อผ้าสีด�ำ เพราะตั้งใจจะประหยัดเวลาในการ คิดว่าวันนีจ้ ะใส่อะไรดี ตอนแรกคิดว่าจะตัดเสือ้ ผ้าเองแต่สดุ ท้ายก็เปลีย่ นเป็นย้อม เสื้อผ้าเป็นสีด�ำให้หมดเลยง่ายกว่า ที่คิดแบบนี้เพราะเราผ่านจุดที่เราพีคมาแล้ว ก็เป็นไปได้ เวลาที่เราฟังประสบการณ์ของแต่ละคน เช่น บางคนออกไปตามหา -7-


ตัวเองด้วยการสร้างบริษทั ไปมีความส�ำเร็จทางการเงิน แต่พอจุดหนึง่ เขาก็ตอ้ งกลับ มาดูว่าสิ่งที่เติมเต็มความสุขในชีวิตของเขาอยู่ตรงไหนกันแน่ แล้วเขาก็จะรู้ว่า จุด ทีเ่ ติมเต็มชีวติ เราตรงนัน้ ก็แค่การได้ลงมือท�ำในสิง่ ทีอ่ ยากจะท�ำเท่านัน้ เอง นัน่ ล่ะ คืออิสระในการใช้ชีวิตที่หลายๆ คนต้องการ แต่กว่าเขาจะรู้ กว่าเขาจะค้นหาได้ บางคนก็ใช้เวลานานมาก เพราะเราโตมาแบบตั้งค�ำถามว่า เราควรจะท�ำอะไร และที่บ้านก็บอกว่าเราควรจะหางานที่มั่นคง มีเงิน มีความส�ำเร็จ มันมีหลายเคส ที่คิดว่า ถ้าถึงตรงนั้นปุ๊บ เราอาจจะไม่ต้องไปหาอิสระอื่นๆ ก็ได้ เพราะพอมีเงิน เราก็ไม่ต้องท�ำงาน ตอนอายุมากๆ เราจะได้มีโอกาสเดินทาง แต่ว่าบางคนพอ ท�ำงานเยอะมากแล้ว อิสระมันหายไปหมด มีนัด ต้องประชุม เพราะเขามีธุรกิจ ที่เขาปล่อยไม่ได้ จนหลงลืมไปว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร ตัวผมเลยออกแบบ สิง่ แวดล้อมและตารางชีวติ ทีจ่ ะยังคงมีเวลาและมีอสิ ระให้ทำ� ในสิง่ ทีช่ อบ คือดนตรี โยคะ เดินทางบ้างถ้ามีโอกาส

โลกโซเชี ย ลยั ง มี อิ ท ธิ พ ลส� ำ หรั บ คุ ณ อยู ่ ไ หม เหตุ ผ ลที่ อินสตาแกรมของเจ-มณฑลไม่ฟอลโลว์ใครเลย

มันคือเหตุผลเดียวกับที่ผมตอบเมลวันละ 2 เวลานั่นแหละ ถ้าเราอยากจะรู้อะไร เราก็จะไปหาเอา เราไม่อยากให้คนบอกว่า “ดูนี่นะ ตามเทรนด์นะ” ผมไม่อยาก โดนบังคับด้วยข้อมูลข่าวสารทีค่ ณ ุ ต้องรู้ มันเหมือนเป็นการบังคับเราโดยอัตโนมัติ ว่า คนนี้ป๊อปปูลาร์ รูปนี้เราต้องเห็น ผมอยากจะเป็นคนที่เลือกเองว่าเราอยากจะ ดูอะไร เหมือนกับการดูทวี ี ผมก็ไม่ดทู วี แี ล้ว เพราะเขาเป็นคนเลือกมาให้เราดู แต่ ผมจะดูใน Youtube เพราะเราเลือกที่จะดูได้ในเวลาที่เราอยากจะดู ไม่ใช่ 2 ทุ่ม ต้องมานั่งรอดูซีรีส์ อย่างน้อยเราก็ไม่ถูกดึงเข้าเทรนด์นี้ เทรนด์นั้น พอเราได้เห็น และสัมผัสมันมาเรื่อยๆ เทรนด์ของแชร์ในโซเชียลมันเริ่มเยอะเกินไปแล้วนะ เรา เป็นพวก anti sharing ผมไม่ฟอลโลว์ใครมา 2 ปีแล้วนะ เพราะคิดว่ามันน่าจะ เสียเวลา ส�ำหรับผมเวลาก็เปรียบเหมือน freedom อย่างหนึง่ ในชีวติ ถ้าเรามีเวลา ตรงนั้น เราควบคุมได้ว่าอยากท�ำอะไร อยากจะท�ำกับใคร เราท�ำในสิ่งที่ไม่อึดอัด

ย้ อ นกลั บ ไปที่ บ อกว่ า ตั ว เองเลยจุ ด พี ค มาแล้ ว แล้ ว ชี วิ ต เคย ไขว้เขวหลงทางไหม

ไม่ ผมไม่เคยหลงทาง แต่ผมคงเห็นและรู้จักตัวเองเร็ว แต่ไลฟ์สไตล์แต่ละแบบก็ ไม่ได้เหมาะกับทุกคน บางคนก็อาจจะแฮปปีท้ ปี่ ระสบความส�ำเร็จในหน้าทีก่ ารงาน แต่ตัวผมเอง ผมรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรโดยที่เราไม่ต้องไปลองเดินหลงทางก็ได้ เรารู้ว่าเราเริ่มเล่นโยคะตั้งแต่อายุ 13 เรารู้ว่าเราอยากจะท�ำงานทางด้านดนตรี ตอนเรียนมหาวิทยาลัย เราก็ตัดสินใจเดินทางนี้เลย มันก็เหมือนมีอะไรมาบอก ว่าสิ่งที่คุณท�ำ มันถูกทางแล้วนะ เราก็ตามความรู้สึกไป แล้วพอผลงานก็เป็นตัว วัดว่า เอ๊ะ ความรู้สึกเราก็ถูกนะ พอไปท�ำอย่างอื่นก็รู้สึกไม่ถูก

-8-


คุณอยู่ในวงการมานาน ท�ำดนตรีมานาน บางครั้งปัญหาของ การท�ำสิ่งเดิมๆ นานๆ คือความท้าทายลดน้อยลง คุณมีวิธี จัดการมันอย่างไร

“สิ่งแวดล้อมรอบตัวจะเป็น สิ่งที่เปลี่ยน productivity ได้มากที่สุด ดังนั้นเราต้อง ออกแบบมัน”

การทดลองสิ่งใหม่ๆ ยังจ�ำเป็นส�ำหรับผมที่ท�ำให้งานเดินหน้าไปได้ กลับกันถ้าเรา ไม่ลอง เอาแต่อยูเ่ ฉยๆ เพราะทุกอย่างมันดีอยูแ่ ล้วในสิง่ ทีท่ ำ� คิดแบบนีจ้ ะท�ำให้เรา แก่ เช่นเดียวกันกับการจัดงาน Wonderfruit มันเป็นสิ่งใหม่ที่ผมสนุกมาก เวลา ลองท�ำอะไรใหม่ๆ ท้าทายและเหมือนได้เดินออกจากคอมฟอร์ตโซน Wonderfruit คือผลของการเอาใจใส่ ทุ่มเทเวลาและท�ำงานอย่างหนัก ซึ่งสุดท้ายผลลัพธ์อันน่า มหัศจรรย์ก็จะตอบแทนกลับมา ยิ่งสนุกที่ได้เห็นกลุ่มคนที่กล้าทดลองอะไรใหม่ๆ ด้วยกัน ท�ำให้เราก้าวข้ามแบบแผนเดิมๆ และเกิดขึ้นอีโค-ไลฟ์สไตล์เฟสติวัล ครั้งแรกในเอเชีย

ยังต้องสรรหาแรงบันดาลใจอยู่ไหม

เวลาไปดูงาน แรงบันดาลใจเหล่านี้คือสิ่งที่เราจดจ�ำไว้แล้ว momentary inspiration ผมก็เก็บสะสมไว้ เมื่อก่อนผมไปงานโชว์เทศกาลต่างๆ ก็ได้ตรงนั้นมาเยอะ มาก ตอนนี้คิดว่าผมดึงดูดมาพอแล้ว เราก็พยายามจ�ำโดยที่ไม่ต้องไปหามาแล้ว มันเต็มกระป๋อง เหมือนเมื่อก่อนผมไปเที่ยวดึกๆ ได้โดยไม่ดื่มเหล้า ก็เพราะเรา จ�ำได้ว่าตอนที่เราดื่มเหล้าเรารู้สึกอย่างไร แล้วเราก็แค่ recall มันขึ้นมา เช่นเดียว กับ inspiration ที่เรามีมันเยอะแล้ว พอได้ท�ำงานจริงๆ เราค้นพบว่า inspiration คือ 1 เปอร์เซ็นต์ อีก 99 เปอร์เซ็นต์คือลงมือท�ำ

หนังสือและงานศิลปะที่เจ-มณฑลเสพอยู่ในขณะนี้

ผมพยายามอ่านและไขว่คว้า วิ่งไล่ตามสิ่งรอบตัวน้อยลง เหมือนที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์บอกว่า “Reading, after a certain age, diverts the mind too much from its creative pursuits. Any man who reads too much and uses his own brain too little falls into lazy habits of thinking.” บางครั้งที่เราอ่านหนังสือ มากไปมันจะไปจ�ำกัดความคิดสร้างสรรค์ของเรา ถ้าทุกคนอ่านแต่หนังสือของ คนอืน่ มันก็จะจ�ำกัดให้เราคิดตามแพตเทิรน์ นัน้ ถ้าอ่านมากๆ แล้วก็เชือ่ ตามมากๆ มันก็ไม่ครีเอทีฟแล้ว บางอย่างต้องลงมือท�ำเองเท่านั้น ถึงจะรู้

ทุกวันนี้ปิดสวิตช์ให้ตัวเองกี่โมง

ผมเพิ่งเปลี่ยนตารางนอนให้ตัวเองเป็น 4 ทุ่ม จากเมื่อก่อนตี 1 ปีที่แล้วผมท�ำงาน ทั้งวัน แบ่งเวลาเป็น 3 โซน เช้า กลางวัน ดึก แต่ตอนนี้เวลาเช้าของผมเปลี่ยน เป็น my personal time ท�ำงาน กินข้าว ดูสวน ช่วงบ่ายกะสองถึงเริ่มท�ำงานถึง 6 โมง แล้วตัดกะกลางคืนออกไป ไม่ท�ำงานดึกเหมือนก่อนแล้ว ขอพักผ่อน เก็บ แรงไว้ลุย Wonderfruit สิ้นปีดีกว่า (ยิ้ม)

-9-


“บางคนออกไปตามหาตัวเองด้วยการสร้าง บริษัท ไปมีความสำ�เร็จทางการเงิน แต่พอ จุดหนึ่งเขาก็ต้องกลับมาดูว่าสิ่งที่เติมเต็ม ความสุขในชีวิตของเขาอยู่ตรงไหนกันแน่ แล้วเขาก็จะรู้ว่า แค่ได้ลงมือทำ�ในสิ่งที่อยาก จะทำ�เท่านั้นเอง นั่นล่ะ คืออิสระในการในการ ใช้ชีวิตที่หลายๆ คนต้องการ”

-10-


About Wonderfruit The Eco Life Style Festival

ไอเดียของการสร้างสรรค์ Wonderfruit เริ่มต้นจากบริษัท สแครทช์เฟิร์สท์ จ�ำกัด โดยมี เจ-มณฑล และประณิธาน พรประภา ร่วมมือกันในฐานะ Director of Scratch and Wonderfruit พวกเขาหยิบความเชื่อในการใช้ชีวิตอย่างเรียบ ง่ายและยั่งยืนมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นประสบการณ์และไลฟ์สไตล์แบบใหม่ที่ มีเอกลักษณ์ อาทิ การแสดงดนตรีจากศิลปินนับร้อย งานศิลปะอินสตอลเลชั่น กลางแจ้ง ละคร หนัง เวิร์กช็อปสอนท�ำอาหาร ท�ำเครื่องประดับ กิจกรรมกลาง แจ้งอย่างขี่ม้า ปั่นจักรยาน และโยคะ นักชิมยังจะได้เพลิดเพลินกับอาหารฝีมือ พ่อครัวมิชลินสตาร์ ประสบการณ์เหล่านี้จะดึงดูดให้ทุกคนได้มองเห็น ได้ยิน ได้ ลิ้มรส และได้รู้สึกถึงความแปลกใหม่ แต่ในความแปลกใหม่ก็มีองค์ประกอบของ สิ่งที่คุ้นเคย Wonderfruit ยกเอาอีโคฟาร์มมาไว้ใจกลางงาน รณรงค์ให้ทกุ คนใช้วสั ดุทสี่ ามารถ ย่อยสลายลงในดิน มีการใช้เครื่องกรองน�้ำส�ำหรับใช้ภายในงาน รวมถึงการ สร้างเวทีจากพืชและวัสดุรีไซเคิล นับเป็นสีสันที่ใหม่และสนุกที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนปี 2015 นี้ ดีกรีความสนุกรับรองคูณสอง การันตีโดยไดเร็กเตอร์หนุ่มชุดด�ำ Muse Idol ฉบับนี้ เจ-มณฑล จิรา

-11-


Keep Calm and Slow Down Your Life ตะลอนเทศกาลแห่งความเนิบช้า หากแกลสตันเบอร์รี่ (Glastonberry) ที่อังกฤษ ฟูจิ ร็อก เฟสติวัล (Fuji Rock Festival) ที่ญี่ปุ่น หรือโคชเชลา (Coachella) แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นสวรรค์ส�ำหรับคนรักเทศกาลดนตรีแล้ว รอบตัวเราบนโลกใบนี้ยังมี เทศกาลแห่งความสนุกอะไรอีกบ้าง เมื่อ Muse ฉบับนี้ เราพูดถึงศิลปะแห่งการใช้ชีวิตอย่างช้าๆ โดยหันมา มองเห็นรายละเอียดรายล้อมรอบตัว หวนกลับคืนสู่ความเรียบง่าย และ ท�ำให้ชวี ติ มีความสุข เชือ่ ไหมว่าบางครัง้ ความช้า ความละเมียดก็สามารถ กลายเป็นเรื่องแสนสนุก เพลิดเพลิน และน�ำไปสู่การเรียนรู้ใหม่ๆ ได้ ลองมาดูเทศกาลทั่วโลกกันบ้างว่าเขาสนุกกับวิถี Slow Down นี้อย่างไร

-12-

เรื่อง

์จิลิง

ดาร : มิส

e d u t i t la


Wanderlust Festival

Wanderlust Festival เทศกาลที่นิยามตัวเองว่าเป็น Lifestyle Festival ถึงวันนี้ ก็มีอายุกว่า 6 ปีแล้ว งานนี้เริ่มต้นครั้งแรกกลางฤดูร้อนปี 2009 โดยผู้ก่อตั้งคือ เหล่าโยคีรุ่นใหม่ทั้ง 7 คน ผู้หลงใหลในศาสตร์โยคะ (แต่พวกเขาก็ชื่นชอบใน ดนตรีเช่นกัน) พวกเขามองว่าชีวิตคนเรานอกจากการงาน การเงิน ความส�ำเร็จ ชีวิตก็ควรมีโหมดแห่งความผ่อนคลายเหลืออยู่ไว้บ้าง จึงมองหากิจกรรมเพื่อการ ปลดปล่อยอิสระและแสวงหาความสุขด้านอืน่ ๆ เทศกาลนีจ้ ดั ครอบคลุมทัง้ อเมริกา แคนาดา แถมกระโดดข้ามมาไกลถึงนิวซีแลนด์ จนขยายอาณาจักรไกลกว่า 11 แห่งแล้วในปี 2015 นี้ ไม่เพียงมีแต่ไลน์อัพดนตรี Wanderlust Festival ยังมี กิจกรรมต่างๆ ทีอ่ อกแบบมาเพือ่ เติมพลังแห่งจิตใจ แต่ทสี่ ำ� คัญคือไม่ทงิ้ ความสนุก

มาทำ�อะไรที่ Wanderlust Festival

เพราะโลเกชัน่ ของ Wanderlust ไม่ธรรมดา ถูกเนรมิตแตกต่างกันไป ทัง้ โคโลราโด ซานฟรานซิ ส โก งานจึ ง มี กิ จ กรรมโยคะกลางทะเลสาบ โยคะกลางหุ บ เขา ความสูงกว่า 10,000 ฟุต โยคะริมชายหาด โยคะบนเซิร์ฟบอร์ด (ก็มีด้วย) ฝึกฝนโยคะไปก็มีดีเจมาเปิดแผ่นสร้างเสียงดนตรีตามจังหวะไป ที่ส�ำคัญจะไป เดี่ยว หรือไปเป็นก๊วนก็ท�ำได้ เพียงเตรียมไปนอนกลางหุบเขา กางเต็นท์ ปล่อย ชีวิตให้หยุดนิ่งเหมือนคุณมาเข้าแคมป์ ฟังเดี่ยวเปียโนกลางแจ้ง พร้อมฟังเหล่า นักพูดมาถ่ายทอดประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจในหัวข้อต่างๆ ดืม่ ด�ำ่ ศิลปะเสร็จ ก็มากินอาหารแนว Raw Food แสนอร่อย และหวนกลับคืนสูช่ วี ติ กลางธรรมชาติ อย่างแท้จริง อีกหนึง่ สีสนั ในงานคุณจะได้ชมกับสตรีตอาร์ต หรืองานศิลปะจัดวาง ของเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้พื้นที่แห่งนี้มาโชว์ผลงาน ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม : www.wanderlust.com

-13-


Farm Festival

ชวนคุณมาเดินเท้าเปล่าเหยียบย�ำ่ และเต้นร�ำไปกับเสียงดนตรี เทศกาลดนตรีกลาง แจ้งทีเ่ ริม่ ต้นกลางฟาร์มแห่งหนึง่ ในเมืองซัมเมอร์เซต ประเทศอังกฤษ ทีไ่ ม่เพียงน�ำ ความสนุกสนานมารวมไว้ในฟาร์ม แต่เทศกาลนีย้ งั น�ำไปสูก่ ารท�ำแชริตี้ ซึง่ ธีมแชริตี้ ปีที่แล้วของเขาคือ การไถ่ชีวิตวัวเพื่อส่งมอบให้กับชาวนาที่แร้นแค้นในแอฟริกา โดยร่วมมือกับองค์กร www.sendacow.org.uk

มาทำ�อะไรที่ Farm Festival

มาเต้นร�ำ มาเข้าเต็นท์ทำ� งานคราฟต์ มาประกวดประดิษฐ์หมวกแฟนซี มากินอาหาร โฮมเมด มาดูศิลปินวาดงานศิลปะบนเฟรมผ้าใบสดๆ มาดูเด็กๆ ร่วมเวิร์กช็อป รีดนมวัวด้วย (แน่ล่ะ เพราะเทศกาลนี้มีจุดประสงค์หลักคือสนับสนุนภาค เกษตรกรรม ชาวนา) และเพือ่ ให้เป็นเทศกาลแห่งการแบ่งปันเต็มรูปแบบ เทศกาล นีจ้ ะเปิดรับเหล่าคนหนุม่ สาวกว่า 300 คน อาสาสมัครมาท�ำงานนีค้ อยจัดการขยะ รีไซเคิล นับเป็นเทศกาลดนตรีสุดสร้างสรรค์ ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม www.farmfestival.co.uk

-14-


Laneway Learning

แม้ชื่อจะสอดคล้องกับเทศกาลดนตรี Laneway Festival แต่เลนเวย์เลิร์นนิ่ง แตกต่างจากนัน้ เลนเวย์เป็นกิจกรรมยามเย็นเพือ่ เติมเต็มชีวติ หลังเลิกงานของคน เมือง ระดับความบิ๊กอาจไม่ถึงเฟสติวัล แต่เปรียบเป็นชุมชนของคนรักการเรียนรู้ มากกว่า เลนเวย์เลิรน์นิ่งเริ่มต้นในเมืองเล็กๆ เจาะจงเฉพาะกลุ่มอย่างเมลเบิร์น ซิดนีย์ และข้ามฟากมาฝั่งเอเชีย ประเดิมที่สิงคโปร์ คลาสเพื่อการเรียนรู้ เหมาะ ส�ำหรับคนที่รักจะกระโจนหาสิ่งใหม่ๆ คันไม้คันมือ โดยกิจกรรมที่น�ำมาสอนนั้น อยู่ในรูปแบบสุขง่ายๆ Happy & Simply เพราะพวกเขาเชื่อว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ คือการเติมเต็มชีวิตให้สมดุลอีกด้านหนึ่ง

มาทำ�อะไรที่ Laneway Learning

มีกิจกรรมเรียนจัดดอกไม้ ฝึกเขียนตัวอักษรโบราณ จัดสวนสวยในขวด เรียนรู้ ศาสตร์แห่งการดืม่ และจับคูอ่ าหาร เรียนเทคนิคการถ่ายภาพแบบ Light Painting เรียนเต้นร�ำแบบยุค 70s เปิดกว้างให้คนเข้ามาเป็นได้ทงั้ ผูส้ อนและผูเ้ รียน เพราะ ชาวเลนเวย์เชื่อว่าสังคมแห่งการแบ่งปันส�ำคัญที่สุด ดังนั้นใครที่คิดว่าตนเองถนัด หรือสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ สนใจอยากจะเป็นครู (Speaker) ผู้สอนก็ท�ำได้ ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม www.lanewaylearning.com

Sydney Tea Festival

คนออสเตรเลียมีวิถีคล้ายๆ คนอังกฤษคือพวกเขารักการดื่มชาเป็นชีวิตจิตใจ เพราะเชื่อว่าชาหนึ่งแก้วท�ำให้คนได้ผ่อนคลาย จิบชา 1 แก้ว ปัญหาที่ว่ายากก็ง่าย และผ่อนคลายขึ้น นี่คือเทศกาลส�ำหรับคนรักการดื่มชา พร้อมทั้งรวมศาสตร์และ ศิลป์ของอาหาร ดนตรี งานสร้างสรรค์ คลาสเวิร์กช็อป ในงานคุณจะได้สนุกกับ การจับคู่ชากับอาหารศาสตร์ต่างๆ รู้ไหมว่าจิบชาคู่กับชีสก็ได้อารมณ์ไปอีกแบบ

มาทำ�อะไรที่ Sydney Tea Festival

แม้จะเป็นงานอีเวนต์เล็กๆ แต่ปีที่แล้ว Sydney Tea Festival ก็ต้อนรับผู้ร่วมงาน กว่า 5,500 คนเลยทีเดียว ถ้าเป็นคอเครื่องดื่มอาหาร คุณจะได้เพลิดเพลินไปกับ เหล่าฟู้ดทรัค และร้านใหม่ๆ มาสร้างสรรค์เมนูเครื่องดื่ม มีเวิร์กช็อปสร้างสรรค์ เมนูชาในสไตล์ของตัวเอง ผสมชาและค็อกเทลรสสดชื่น ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม www.sydneyteafestival.com.au -15-



เซีย พูฟิว วิภาส ม ช : ุญ เรื่อง วรัตน์ บ า น เ าพ :

+

The Down to Earth (worm) Guy :

ผู้ชายติดดิน

การใช้ชีวิตคือศิลปะอย่างหนึ่ง เส้นสายในชีวิตบางคนอาจเต็มไปด้วยเส้นที่ เคลื่อนไหวรวดเร็ว สีสันเจิดจ้า แต่บางคนก็พอใจกับเส้นสายที่เนิบช้า เลื่อนไหล ด้วยความนุ่มนวล ภาพวาดลายเส้นฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm) เป็นภาพผูช้ ายร่างท้วม อารมณ์ ดี เคราดก สวมใส่เอี๊ยมและแว่นตาด�ำ ชวนให้เราคิดไปว่าลุงรีย์คนนี้ ต้องเป็นคุณ ลุงสูงวัย ใจดี รักดิน รักหนอน และรักการปลูกผักเป็นชีวติ จิตใจ แต่เมือ่ เรามาพบ กับลุงรีย์ตัวจริงวันนี้ ที่คิดไว้ใช่ครึ่งหนึ่ง และไม่ใช่เสียครึ่งหนึ่ง แท้จริงแล้ว ลุงรีย์ หรือ ชารีย์ บุญญวินิจ เป็นเด็กหนุ่มอายุเพียง 27 ปี เขาผ่าน ประสบการณ์มาแล้วหลากอาชีพ ทั้งนักออกแบบ ช่างปั้นเครื่องเคลือบดินเผา ผู้ช่วยเชฟที่ฟู้ดแลนด์ แต่ทุกอาชีพที่เขาสนใจและเรียนรู้ล้วนน�ำมาสู่จุดเชื่อมโยง ในวันนี้ของอาชีพนักเลี้ยงไส้เดือน เกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่ปลูกสตรอเบอร์รี่ลูกแดง ฉ�่ำกลางเมืองหลวง ลุงรีย์สลัดคราบชีวิตการท�ำงานในเมืองสู่การก่อตั้งอาณาจักร เล็กๆ ของตัวเองที่เขาเรียกว่า ‘สวนผักโรงรถ’ ปัจจุบันเขาแบ่งปันพื้นที่ตรงนี้ เป็นศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักกลางเมือง รวมไปถึงธุรกิจเพาะเลี้ยงมูลไส้เดือน จ�ำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ เขาสามารถอธิบายได้เข้าใจง่ายเหลือเกินว่า แท้จริงแล้ว วัฏจักรของอาหารสามารถเริ่มต้นได้ด้วยไส้เดือนนี่ล่ะ -17-


ผมจะทำ�ฟาร์มเป็นแฟชั่น

“ผมท�ำหลายอาชีพมากครับ แต่ทกุ อย่างทีเ่ ล่าเป็นจุดเชือ่ มโยงกัน เริม่ จากอาชีพผูช้ ว่ ยกุก๊ ท�ำให้ผมเห็นเศษผักเหลือทิง้ เป็นจ�ำนวนมาก ผม จึงกลับมาคิดว่ายังมีอาชีพอะไรอีกบ้างที่เกี่ยวข้องกับเศษผัก ผมเคย เห็นธุรกิจพลาสติกเหลือใช้ยังตีเป็นมูลค่าได้ แต่ถ้าเศษผักล่ะ จะถูก ตีเป็นมูลค่าได้บ้างหรือไม่ จุดเริ่มต้นตรงนี้ ผมเห็นอะไรที่มันยั่งยืน” ลุงรีย์เล่าด้วยน�้ำเสียงอารมณ์ดี เขาต้อนรับทีมงาน Muse ณ บริเวณ ลานโล่ง เก้าอีไ้ ม้ทมี่ พี นักพิงสบาย ใต้ตน้ หูกวาง ยามทีล่ มพัด ช่างเย็น สบาย สมแล้วที่สถานที่แห่งนี้คือสวนผักโรงรถใจกลางเมือง “ผมจึงนึกถึงไส้เดือน ไส้เดือนเป็นจุดร่วม แต่ผมรู้แค่ว่าไส้เดือน ก�ำจัดผักขยะได้ และเพราะนิสัยช่างคิดจากการเป็นดีไซเนอร์มา ก่อน ผมจึงใส่แบรนด์ดงิ้ และอาร์ตเวิรก์ ลงไปในงานอดิเรก” ใช่ เขาย�ำ้ ว่าจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงฟาร์มไส้เดือนเป็นแค่งานอดิเรกเท่านั้น ปีแรก ลุงรีย์ผลิตมูลไส้เดือนดินจากการตระเวนไปเรียนรู้จากฟาร์ม หลายๆ แห่ง และหนึ่งในนั้นมีฟาร์มจากจังหวัดราชบุรี เปรียบเป็น ครูที่น�ำความรู้ให้เขารดน�้ำพรวนดินต่อ “ผมมีแค่ไส้เดือน แต่การที่ ผมจะท�ำให้คนรู้ว่า ตรงไหนดินดี ตรงนั้นมีไส้เดือน อย่างเดียวคง ไม่พอ ไส้เดือนเอาไปท�ำอะไรได้อีกบ้าง ผมก็หาลูกค้าของตัวเองบ้าง เช่น ตลาดไก่ชน นกกรงหัวจุก ปลามังกร ที่จะกินไส้เดือนเป็นเหยื่อ หรือน�้ำหมักมูลไส้เดือน” เมื่อปีแรกผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือนดินได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดี ปีที่สองเขาผลิตน�้ำหมักมูลไส้เดือนดิน “เรา ยกระดับจากอาชีพนักเลีย้ งไส้เดือนเป็นเกษตรกร ตอนนีผ้ มรูแ้ ล้วว่า เกษตรกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติ “ปีที่สองผมหยิบอาวุธลับขึ้นมา โดยท�ำให้ครอบครัวเข้าใจมากขึ้นว่า ผมก�ำลังท�ำอะไรอยู่ ผมเลือกท�ำเมนูอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ออกขาย ตามงานอีเวนต์ นั่นคือ ‘กิมจิ ผัก 9 ชนิด’ ปุ๋ยของผมส่งไปปลูก ผัก เอาผักกลับมาท�ำอาหาร ขณะที่ท�ำอาหารเกิดเศษผัก แล้วเอา เศษผักไปให้ไส้เดือนดินเกิดปุ๋ย ส่งปุ๋ยไปปลูกผัก ได้วงกลมอาหาร ขึ้นมาหนึ่งวง” -18-


เกษตรกรคือศิลปิน

2 ปีแรก ลุงรีย์เล่าว่าเขาตระเวนออกอีเวนต์ไปทั่วทุกตลาด สามารถมีผลิตผล ของฟาร์มลุงรีย์ไปเป็นส่วนหนึ่งได้หมด ทั้งตลาด Farmer Market หรือแม้แต่เวที คอนเสิร์ต หรือในงาน Wonderfruit Festival ฟาร์มลุงรีย์ก็ได้รับเชิญให้ไปโชว์ ผลงานในฐานะศิลปิน ความเป็นศิลปินที่ลุงรีย์หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงผักของเขาคือ การน�ำความคิด สร้างสรรค์วางไว้อยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด การตกแต่งจากสองมือ ที่สร้างสรรค์ให้ฟาร์มแห่งนี้เปรียบเป็นแกลเลอรี วิธีการน�ำเสนอบรรยากาศของ ฟาร์มอารมณ์ดีที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาเรียนรู้ รวมไปถึงการรดน�้ำ พรวนดิน ค่อยๆ บรรจงปลูกพืน้ ทีส่ เี ขียวให้งอกงาม ราวกับเขาก�ำลังระบายผืนเฟรมผ้าใบให้เป็นงาน ศิลปะชิ้นงามหนึ่งชิ้น กะหล�่ำปลีใบใหญ่ พ่อไก่กระพือปีกในเล้า ก็เปรียบเป็นงาน มาสเตอร์พีซที่อธิบายความเป็นศิลปะในฟาร์มแห่งนี้ได้อย่างดี “ผมตั้งใจจะท�ำฟาร์มให้เป็นแฟชั่น” เขากล่าวด้วยความมั่นใจ ด้วยการฉีกขนบว่า เรือ่ งเกษตรกรรมจะจ�ำกัดทีค่ นบางกลุม่ คนทีม่ พี นื้ ทีม่ ที อ้ งนาเป็นของตัวเองเท่านัน้ เองหรือ แท้จริงแล้วคนทุกคนสามารถผลิตอาหารให้ตวั เองได้ แค่เริม่ จากการปลูก จากพื้นที่เล็กๆ ในบ้านของเราเอง “ทุกๆ ครั้งที่มีคนถามผมว่าผมท�ำอะไร ผมจะบอกเลี้ยงไส้เดือน ผมออกอีเวนต์ ไปทั่ว เอาไส้เดือนไปเหยียบทุกเวที แต่ตอนปีที่สอง ผมรู้แล้วว่าไส้เดือนผมมีดี อย่างไร ตอนนี้ปีที่สามแล้ว ผมเลิกออกอีเวนต์ เราจะจัดการอย่างไร ผมขอทุน สสส. ออกมาเป็นศูนย์เรียนรู้ เป็นสวนผักโรงรถ สวนผัก หรือการท�ำเกษตร เล็กๆ ก็ทำ� ได้” เมือ่ ไม่นานมานี้ ลุงรียแ์ ละชาวคณะ (ซึง่ ก็คอื อดีตคนทีเ่ คยมาเรียน เวิรก์ ช็อปกับเขานัน่ เอง) ได้ตงั้ กลุม่ Thailand Young Farmer อายุเฉลีย่ 27-30 ปี แต่ละคนก็จะมีผลิตผลของตัวเอง เช่น นักปลูกผักสลัด นักปลูกเห็ด นักเลี้ยงกุ้ง นักเลี้ยงไก่ นักปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งทั้งหมดตั้งต้นจากการเป็น ‘นักเลี้ยงไส้เดือน ด้วยกันทั้งนั้น’ ผลิตผลทุกอย่างมาจากมูลไส้เดือนดิน โดยลุงรีย์เป็นผู้เพาะพันธุ์ ไส้เดือน ส่งปุ๋ยไส้เดือนให้ ซึ่งสิ่งที่เขาท�ำอยู่ตอนนี้คือการเป็นต้นน�้ำของสายพาน การผลิตเลยล่ะ “คนส่วนใหญ่มองว่า ไว้อายุ 40-50 ปี ค่อยเก็บเงินแล้วเออรี่ตัวเองไปต่างจังหวัด ในมุมมองของผม ผมท�ำแบบนั้นไม่ทันหรอกครับ ผมเอง 27 แล้ว ผมยังรู้สึก เลยว่าถ้าคิดจะท�ำภาคกสิกรรมจริงๆ เราต้องมีแรง เราจึงเห็นภาพชาวนาฝรั่งที่ เขายังหนุ่มยังแน่นหลายคนอยู่ นั่นเพราะเขามีก�ำลัง ถ้าผมคิดจะลงลึกในภาค เกษตรกรรม ผมก็ต้องรู้ว่าเราจะลงมือท�ำอะไร แต่อย่างน้อยผมรู้แล้ว ผักสลัด ผมก็รู้จัก เลี้ยงกุ้งผมก็รู้จัก ถ้ารอจนถึงวันที่คิดว่าพร้อม ตอนนั้นเราอาจไม่มีแรง ไม่มีความรู้ความสามารถ หรือความทะเยอทะยาน มันจะถอยลง แต่ทุกวันนี้ผม ใช้ชีวิตตั้งแต่วันนี้ Live Life กระโจนลงไปเลย” -19-


“ถ้ารอจนถึงวันที่คิดว่าพร้อม ตอนนั้นเราอาจไม่มีแรง ไม่มีความรู้ความ สามารถ หรือความทะเยอทะยานถอยลงแล้วก็ได้ แต่ทุกวันนี้ผมใช้ชีวิต ตั้งแต่วันนี้ ตอนนี้ Live Life กระโจนลงไปเลย” เกษตรกรรมสมัยใหม่

“แล้วท�ำไมต้องสร้างฟาร์มให้เป็นแฟชั่น” เราถามลุงรีย์ เขาตอบว่า จุดแข็งของ ฟาร์มลุงรีย์คือดีไซน์ เขาเชื่อว่างานเกษตรกรรมออกแบบได้ ทั้งวิธีการเลี้ยง การ ท�ำแพ็กเกจจิ้ง รูปแบบการออกอีเวนต์ “ผมยอมรับว่าเราปรุงแต่ง แต่ทั้งหมดก็เพื่อน�ำเสนอสิ่งใหม่ ผมมองเกษตรแบบ ดีไซเนอร์ เกษตรของผมน�ำด้วยความคิดสร้างสรรค์ เอาวิธกี ารตาม ถ้าไม่มคี วามคิด สร้างสรรค์ จะไม่น�ำไปสู่สิ่งเหล่านี้ อาจไม่มีนักศึกษา วัยรุ่นที่อายุยังไม่ถึง 20 มา สนใจวิธีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกผักด้วยตัวเอง และต่อไป คนอาจจะแย่งก้างปลา แย่งผักก็ได้ เพราะผมจะสอนวิธีการเลี้ยงไส้เดือน” นี่ เป็นสิ่งที่เขาพิสูจน์แล้ว เขาจัดตั้งคอร์สเล็กๆ ว่า ‘สมาคมชมเดือน’ สอนกรรมวิธี เริ่มต้นการเลี้ยงไส้เดือนง่ายๆ ลุงรียน์ ยิ ามวิถเี กษตรกรรมสมัยใหม่สนั้ ๆ ว่า คือการเริม่ ต้นจากคนรุน่ ใหม่ รูปแบบ ของการท�ำเกษตรในเมือง Urban Farm คนในชุมชนเมืองก็สามารถสร้างอาหารได้ ฟาร์มลุงรีย์คือสไตล์ที่สร้างวงกลมเล็กๆ พอเพียง ที่ถูกตีแผ่โดยคนรุ่นใหม่ และที่ เขาให้คำ� จ�ำกัดความตัวเองว่า ‘ลุงรีย’์ นัน่ เพราะเขาต้องการให้ลงุ รียน์ นั้ เป็นตัวแทน ของใครก็ได้ทคี่ ดิ จะเริม่ ต้นปลูกผัก สร้างพืน้ ทีส่ เี ขียว “ไม่ตอ้ งเป็นผมหรอก ขอแค่ เป็นใครก็ได้ที่หวนกลับมาสู่วิถีธรรมชาติ” -20-


Slow Life & Slow Plant

“นิยามค�ำว่า Slow Life เปรียบเสมือนหนังสือที่เรา เลือกอ่านเอง เราหยิบอ่านเวลาไหนก็ได้ เรามีเวลา เรามีสิ่งที่เราเลือกแล้ว เช่นทุกวันนี้ผมไม่มีเวลาเลิก งาน ตื่นมาก็เริ่มงานได้ตลอดและจะหยุดเมื่อไรก็ได้ แต่บทจะท�ำ ท�ำไม่หยุด หลายๆ คนเจองานแล้วไม่ใช่ งาน ที่เป็นความชอบ จะหยุดไม่ได้หรอก ผมโชคดีที่ ค้นพบสิ่งที่ใช่” https://www.facebook.com/unclereefarm เดื อ นมี น าคมนี้ เตรี ย มพบกั บ คอร์ ส ปลู ก ผั ก สลั ด ส�ำหรับมือใหม่-จนถึงมืออาชีพ สอนโดยลุงรีย์ หนุ่ม อารมณ์ดี

-21-


เรื่อง

se : Mu

m Tea

d r a w for จำ� คำ�น่า

“ผมเป็นคนเดินช้า แต่ผมไม่เคยเดินถอยหลัง” อับราฮัม ลินคอล์น

ieดู v o M นังน่า ห

PK ผู้ชายปาฏิหาริย์

ถ้า 2 ปีก่อน วงการบอลลีวู้ดพาเราอิ่มเอมใจไปกับ The Lunch Box ปีนี้เขาก็มี ไม้เด็ดเป็นภาพยนตร์เรื่อง PK ผู้ชายปาฏิหาริย์ หนังอินเดียฟอร์มเล็กที่หลายคน ยกนิว้ ให้เป็นหนังอินเดียยุคใหม่ทดี่ ที สี่ ดุ เรือ่ งหนึง่ ในประวัตศิ าสตร์บอลลีวดู้ เลยล่ะ PK เป็นหนังแนวดราม่า-คอเมดี-แฟนตาซี มีครบรส น�ำแสดงโดย อาเมียร์ ข่าน ซุป’ตาร์บ้านเขา เล่าถึงมนุษย์ต่างดาวที่เดินทางมาท�ำวิจัยที่โลกมนุษย์แต่กลับถูก ขโมยรีโมตเรียกยานอวกาศไป ท�ำให้เขาต้องออกตามหารีโมตเพื่อจะได้กลับบ้าน แต่เมื่อเขาไปถามใครๆ ก็มีแต่คนบอกว่า “พระเจ้าเท่านั้นแหละที่จะน�ำรีโมตมา คืนให้ได้” PK จึงตัง้ ค�ำถามและออกตามหารีโมตยานแม่จากพระผูเ้ ป็นเจ้า ว่าแต่... พระผู้เป็นเจ้าหน้าตาเป็นอย่างไรล่ะ? PK กลายเป็นคนประหลาดในสายตาคนใน สังคม แต่เสน่หข์ องหนังคือ เรือ่ งง่ายๆ ทีเ่ ราไม่เคยมองหรือสนใจมัน เพียงต้องการ ให้คุณเปลี่ยนความคิดต่อโลกใบนี้ก็จะเห็นค�ำตอบอีกด้าน หรือแม้เรื่องราวหนักๆ อย่างลัทธิ ความเชือ่ ศาสนา ก็ถกู หยิบยกมาเล่าและตัง้ ค�ำถามอย่างตรงไปตรงมา ผ่านสายตาของ PK มนุษย์ต่างดาว FYI : หนังยังสร้างสถิติใหม่ในฮอลลีวู้ดด้วยการเป็นหนังอินเดียที่เปิดตัวสัปดาห์ แรกใน Top Ten บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศที่อเมริกา ก่อนที่จะท�ำรายได้สูงสุดใน ประวัติศาสตร์ด้วยรายได้กว่า 3,200 ล้านบาท เข้าฉาย : 12 มีนาคม 2558 เครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ -22-


X+Y เธอ+ฉัน = เรา

หนัง coming of age ว่าด้วยการเติบโตในจิตใจของตัวละครมา อีกแล้ว แต่คราวนี้เป็นการน�ำคณิตศาสตร์และความรักมาผสาน เป็นเรื่องเดียวกัน จะเป็นได้อย่างไร แถมยังได้หนุ่มน้อยเอซา บัตเตอร์ฟีลด์ จาก Hugo มารับบทเด็กผู้ชายที่มีปัญหาในการเข้า สังคม เขาไม่กล้าพูด คนก็เลยเข้าใจว่าเขาไม่มีความคิด กลับกัน เขามีพรสวรรค์ในคณิตศาสตร์เป็นเลิศ ได้รับโอกาสเข้าแข่งขันใน งานคณิตศาสตร์โลกและได้พบกับเพื่อนใหม่ชาวเอเชีย ที่นี่เองเขา ก็ได้พบว่าการใช้ชีวิตและความรัก และมิตรภาพที่เปลี่ยนแปลง ตัวเขาไปตลอดกาล เข้าฉาย : 26 มีนาคม 2558

Night in

หนังที่คุณสามารถหามาดูได้ ในวันที่อยากเติมเต็มโหมด Slow Life ในชีวิต

The Darjeeling Limited / Wes Anderson (2007)

สามพีน่ อ้ งตัวแสบทีแ่ ยกย้ายกันไปมีชวี ติ ของตัวเองก่อนจะกลับมา รวมตัวกันเพราะงานศพของพ่อ พวกเขามีเหตุให้เดินทางร่วมขบวน รถไฟคันเดียวกันในชื่อ Darjeeling Limited พร้อม ‘สัมภาระ’ มากมาย เพื่อออกไปตามหาแม่ซึ่งหลบมาบวชเป็นแม่ชีบนเชิงเขา หิมาลัย เพียงเพื่อจะถามแม่ว่า “ท�ำไมแม่ไม่ไปงานศพพ่อ” ตลอด ทริปพวกเขาทะเลาะกันตลอดทาง แต่ระหว่างนั้นยังได้เห็นการ เปลี่ยนแปลง แถมยังเป็นการเดินทางที่หนักอึ้งเพราะต้องแบกทั้ง ภาระและทิฐิ ค�ำตอบของหนังเฉลยให้เราเห็นว่าเพราะปลายทาง ไม่ใช่คำ� ตอบ ระหว่างทางและการปลดเปลือ้ งความหนักอึง้ นัน้ ออก ไปต่างหาก ชีวิตก็ง่ายสบายเยอะเลย -23-


kน o o b ือน่าอ่า หนังส

The 4-Hour Work Week / Timothy Ferriss

นี่เป็นหนังสือที่เราได้รับค�ำแนะน�ำจาก Muse Idol ฉบับนี้ พี่เจ-มณฑล จิรา น่า สนใจอย่างไร เกี่ยวเนื่องอย่างไรกับคนที่อยากมีชีวิต Slow Life สบายๆ หนังสือ เล่มนี้ติดอันดับหนังสือขายดีมา 7 ปีแล้ว เขียนโดย Timothy Ferriss ชายหนุ่ม ผู้ตั้งค�ำถามกับตัวเองว่าปัจจุบันเราท�ำงานไปท�ำไม ค�ำว่า Slow Life ของเฟอร์ริส ไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า ต้ อ งมี วั น สบายๆ เนิ บ ช้ า แต่ คื อ การออกแบบชี วิ ต ให้ มี ประสิทธิภาพ ขยันท�ำงานให้เต็มที่ เขาเชื่อว่าชีวิตท�ำงานหนักเพื่อหาเงินมาซื้อ เค้ก (Cake) ตุนไว้ แล้ววันหนึ่งก็พบว่ามันเน่าแล้ว ช่างไม่มีประโยชน์เอาเสียเลย เฟอร์ริสออกแบบให้ 1 สัปดาห์ ต่อให้มีเวลาแค่ 4 ชั่วโมง เราก็ท�ำงานเสร็จได้ และเปลี่ยนมุมคิดเรื่องเค้กก้อนใหญ่ไป เราเองก็สามารถท�ำงานไปด้วย ซื้อเค้กไป ด้วย และกินไปด้วยในทุกๆ วันให้เต็มที่ นี่คือเทรนด์ของโลกใบนี้ที่หลายๆ คนจะ Work to make a living มาเป็น Work to make a lifestyle

Tiny World Terrariums : A Step-by-Step Guide to Easily Contained Life

by Michelle Inciarrano and Katy Maslow (มีจ�ำหน่ายที่ร้านหนังสือ คิโนะคุนิยะ) ส่วนเล่มนีเ้ หมาะส�ำหรับเติมเต็มโหมดวันหยุดผ่อนคลายเสียจริง ท่ามกลางเทรนด์ จัดสวนจิว๋ หนังสือเล่มนีพ้ าเราฝึกฝนเทคนิคทีอ่ า่ นแล้วเข้าใจง่ายจนอยากจะให้มอื เลอะดินเสียเดี๋ยวนี้ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกขวดส�ำหรับการจัดรูปแบบต่างๆ เทคนิคปลูกเจ้ามอสจิ๋ว จะว่าไปการปลูกต้นไม้จิ๋วนี้ก็ตอบโจทย์คนที่อยากสัมผัส ความร่มรื่นสบายตาจากสีเขียว และพบความสบายใจหลีกหนีจากความวุ่นวาย ด้วยนะ

เดินไปหาความสุข /

ชิงชิง กฤชเทียมเมฆ : KOOB PUBLISHNG

บันทึกการเดินทางของชิงชิง สาวน้อยนักวาดภาพประกอบที่บอกลาเมืองเพื่อ เดินทางเข้าป่าปีนเขาทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยมีเป้าหมายขึน้ สูย่ อดเขาโมโกจู เธอได้ประสบการณ์จากการเดินทางอย่างคาดไม่ถึง ลองถูกตัดขาดจากโลก ภายนอก (ดูบ้าง) ได้ฟังเสียงลมหายใจของตัวเอง และที่ส�ำคัญการเดินทางครั้งนี้ ของเธอคือการเดินไปหาความสุข -24-


นอนเอนกายไปกับ Anthology

ถ้า Kinfolk คือไลฟ์สไตล์แมกกาซีนแห่งยุค Anthology ก็คือตัวแทนความ รื่นรมย์แบบเฟมินีน จุดเริ่มต้นของแมกกาซีนเล่มนี้ฟอร์มตัวเป็นรูปเป็นร่างครั้ง แรกในคาเฟ่ทซี่ านฟรานซิสโก โดยเพือ่ นรักนักเขียนฟรีแลนซ์ทงั้ สองคนทีต่ อ้ งการ ท�ำหนังสือว่าด้วยการเฉลิมฉลองการใช้ชีวิต โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ว่าด้วย Slow Life ในปี 2010 บรรจุเรื่องราวมุมสบายๆ ของเหล่าอาร์ทิสต์ พาไปดูงานคราฟต์ ร่วมสมัย น�ำเสนอรูปแบบการจัดสวนศิลปะ และในฉบับถัดๆ มา Anthology ก็ น�ำเดินมาในทิศทางนี้ตลอด คือมองว่าชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่ใช้ไปในแต่ละวัน ด้วยความรืน่ เริง จึงไม่แปลกทีบ่ ล็อกของพวกเขาจะสรรหาเรือ่ งราว D.I.Y ทุกอย่าง ออกแบบเนื้อหามาให้สอดคล้องกับชีวิตที่ไม่เร่งรีบ มีเวลาพิจารณารายละเอียด ความสุขรอบตัว (สังเกตว่าปกหลายๆ ปกจะน�ำเสนอภาพคนนอนเอกเขนกเอนกาย ด้วยความผ่อนคลายทั้งสิ้น) เราชอบแนวคิดของ Anh-Minh Le หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เธอบอกว่าแม้เธอจะสนุกกับการอ่านออนไลน์แค่ไหน แต่เธอก็เชื่อว่าสื่อกระดาษ ย่อมไม่มวี นั ตาย ผูค้ นก็ยงั ต้องอ่านในสิง่ ทีจ่ บั ต้องได้ และคงดีไม่นอ้ ยถ้าในวันหยุด แมกกาซีน Anthology ได้อยู่ในมือของผู้อ่าน ระหว่างที่นั่งเอนหลังบนม้านั่ง มี เพียงแค่หนังสือเล่มโปรดก็เพียงพอ http://anthologymag.com/

aศrิลปt์น่าชม

แคนล่อง คะนองลำ� /

งาน

Joyful Khaen, Joyful Dance

นิทรรศการภาพถ่ายทีบ่ อกเล่าชีวติ และศิลปะของหมอล�ำ ศิลปะแขนงหนึง่ ทางภาค อีสานที่ผูกพันกับชีวิตผู้คนมาช้านาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งประวัติศาสตร์ และบริบทของสังคมไทย ผ่านกลอนหมอล�ำประเภทต่างๆ เครื่องดนตรี การแต่ง กาย และภาพถ่ายของหมอล�ำแต่ละประเภท รวมถึงฉายภาพย้อนไปในวันทีห่ มอล�ำ คือความบันเทิงอันดับหนึง่ ด้านการแสดง อีกหนึง่ เสน่หข์ องนิทรรศการคือการบอก เล่าความเป็นหมอล�ำในยุคสมัยทีผ่ คู้ นล้วนหวนหากระแสท้องถิน่ นิยม เช่น ในวิดโี อ บันทึกการแสดงหมอล�ำของกลุม่ บางกอกพาราไดซ์ น�ำโดยดีเจมาฟไซ ทีเ่ ปลีย่ นให้ สถานะ ‘ความเป็นอื่น’ อย่างดนตรีหมอล�ำ ก้าวข้ามจากความนิยมในเมืองหลวง อย่างกรุงเทพมหานครไปโด่งดังในระดับนานาชาติ ถึง 31 มีนาคม 2558 ณ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ซ.เกษมสันต์ 2 (สถานี รถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ) เปิดทุกวัน เวลา 09.00-20.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม -25-


-26-


พ: ละภา ิการ แ ง ื อ ่ เร รณาธ บร กอง

n

i k c e ch

รู้ยัง?! ชาวเอเชียเขาหลง‘รัก’กัน

เพราะอาเซียนไม่ได้เพิ่งเกิด!! แต่กลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์กันมาแสนนาน เริ่มจากรู้จัก เรียนรู้ และต่อยอดทั้งความ แตกต่าง-คล้ายคลึงกลมกลึงเป็นวัฒนธรรมร่วม จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของในแต่ละพื้นที่ ‘หลงรัก’ นิทรรศการประสานอาเซียน ได้หยิบยกเรื่องราวของ ‘วัฒนธรรมรัก’ ที่ ได้จาก ‘ต้นรัก’ พืชไม้ใหญ่ในวงศ์เดียวกับมะม่วง มะปราง มะกอกป่า มาเป็น ตัวอย่างการเชือ่ มต่อกันระหว่างพืน้ ที่ ผ่านการค้าขายหรือแม้การท�ำสงคราม และ ยังเปิดมุมมองใหม่ที่ได้น�ำความรู้ดั้งเดิมจากรุ่นต่อรุ่นมาสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เพราะ ‘รัก’ เติบโตและเบ่งบานได้ดีในแถบนี้ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมหลง ‘รัก’ ขึ้นที่จีนและญี่ปุ่น ก่อนจะแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ แถบคาบสมุทรซึ่งลุ่มหลงใน ‘รัก’ ไม่แพ้กัน เมื่อ ‘รัก’ เดินทางจากป่าลึก ผูกพัน สายใยวัฒนธรรมรัดรึงยึดโยงไปทั่วเอเชีย คนบนดอยเก็บ ‘รัก’ ป้อนเข้าสู่หัวเมือง คนเมืองส่งขายต่อเป็นสินค้ามีคา่ เพราะเป็นทีต่ อ้ งการของผูค้ นใกล้ไกล บ้างส่งเป็น ส่วยบรรณาการแด่เมืองหลวง ฝ่ายช่างฝีมือจากต่างส�ำนักและชาติพันธุ์ก็ถ่ายเท เทคนิค ถ่ายทอดทักษะการท�ำเครื่อง ’รัก’ กันไปมา อย่างไม่รู้จบ...เป็นเช่นนี้มา ต่อเนื่องยาวนาน พูดแบบภาษารักได้ว่า วัฒนธรรมหลง ‘รัก’ ช่วยประสานผู้คน ในประชาคมอาเซียนให้เข้ามา ‘รัก’ กัน ลองมาดูซิว่า เรื่อง ‘รัก’ ของผู้คนทั้งสิบชาติพันธุ์ มีอะไรน่ารักๆ บ้าง ดีไม่ดี คุณอาจจะ ‘หลงรัก’ โดยไม่รู้ตัว... นิทรรศการ ‘หลงรัก’ เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ตั้งแต่ 3 มีนาคม จนถึง 28 มิถุนายนนี้ เวลา 10.00 - 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม (ท่าเตียน) เข้าชมฟรี!! สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2225-2777 ต่อ 123 หรือ www.facebook.com/museumsiamfan -27-


นทิรรศการประสานอาเซยีน

-28-


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.