Muse Mag ฉบับที่ 6

Page 1

ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2558 – สิงหาคม 2558

The Power of Retro เมื่ออดีตขึ้นไทม์แมชชีนมาหาปัจจุบัน 3 หนุ่ม Polycat old school = old is cool?


ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2558 – สิงหาคม 2558

Contents 3 Muse Chat สารจาก ผอ.

4 Muse Idol

Polycat วันวานยังคูลอยู่

12 Muse Latitude

ปรากฏการณ์ ‘เดินหลงเวลา’ เทรนด์ยอดฮิตของดีไซน์และวัฒนธรรมรอบโลก

18 Muse Plus

เปิดบ้านพักประวัติศาสตร์ ‘หลวงราชไมตรี’

26 Muse Forward

ภาพยนตร์ หนังสือ ดนตรี ที่จะท�ำให้คุณคิดถึงอดีต

30 Muse Check in

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

กองบรรณาธิการ สุขุมาล ผดุงศิลป์ ภูษิต ช่วยชูฤทธิ์ ปิ่นมุข หนูนุ่ม ถิรดา วนศาสตร์โกศล ธนพร หมู่เจริญทรัพย์

นิตยสารเสริมแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์การเรียนรู้ โดย มิวเซียมสยาม | สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2225 2777 โทรสาร : 0 2225 2775 www.museumsiam.org, www.facebook.com/museumsiamfan

ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาและออกแบบศิลปกรรม โดย

บริษัท เปเปอร์คอรัส จ�ำกัด 32/9 ถนนพุทธมณฑลสายสาย 2 ซอย 21 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทร. 08 1919 5315 / 08 1513 4971

-2-


: เรื่อง ยาม ียมส มิวเซ

chat

เรื่องของเทรนด์ในสังคมไทยนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทรนด์มีวันมาและ มีวนั หมด หลายคนพยายามจะก้าวล�ำ้ น�ำเทรนด์ไปข้างหน้า แต่ปจั จุบนั นี้ เทรนด์ที่ ได้รับความสนใจมากขึ้นๆ คงหนีไม่พ้น ‘เทรนด์ย้อนยุค’ คนเราเมื่อผ่านกาลเวลา ก็จะโหยหาอดีต เก็บเกี่ยวมาเป็นประสบการณ์ จนบางครั้งก็น�ำอดีตเพื่อมารับใช้ ปัจจุบัน สร้างสรรค์งานใหม่ๆ ได้ ค�ำถามคือ ท�ำไมสิ่งของเก่าๆ ในยุคก่อนถึงกลับมาได้รับความสนใจในปัจจุบันได้ ไม่วา่ จะเป็นกล้องฟิลม์ กางเกงขาม้า รถโฟล์ก โรงแรม หรือแม้กระทัง่ เพลง เรียก ได้ว่าขณะที่โลกหมุนไปข้างหน้า แต่สิ่งที่เข้ามามีผลต่อความรู้สึกของผู้คนกลาย เป็นไลฟ์สไตล์ที่ย้อนยุค ใน muse mag เล่มนี้ เราจะพาท่านไปร่วมค้นหาผู้คนที่ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากเรื่องราวในอดีต ปรากฏการณ์ย้อนยุค เกิดขึ้นได้อย่างไรเพื่อบอกให้รู้ว่า กระแสนี้ไม่มีวันตาย เรามาหาค�ำตอบกันในเล่มนี้ ว่าท�ำไมกระแสย้อนยุคถึงไม่มีวันตาย ท�ำไมวัยรุน่ ถึง ได้หลงใหลในความเก่า ลองอ่านดูแล้วลองย้อนยุคไปด้วยกันครับ ราเมศ พรหมเย็น ผู้อ�ำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ -3-


-4-


เซีย พูฟิว วิภาส ม ช : ุญ เรื่อง าวรัตน์ บ น เ : ภาพ

idol

once more

วันวานยังคูลอยู่

คุยกับ 3 หนุ่ม Polycat ว่าด้วยดนตรียุค 80s ยุคโรลเลอร์เบลด แฟชั่น รองเท้าสกอลล์ วิธีจีบสาวแบบต้องรอ และเสน่ห์ของวันเก่าๆ ที่เราอาจสัมผัส ไม่ได้ในยุคนี้ 3 หนุ่ม Polycat คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หลงใหลในดนตรียุคเก่า มาพร้อมกับแนว ซินธ์ป็อป (Synthpop) ประกอบด้วยสมาชิก นะ-รัตน จันทร์ประสิทธิ์ (ร้องน�ำ) เพียว-เพียว วาตานาเบะ (เบส) และ โต้ง-พลากร กันจินะ (คีย์บอร์ด) พวกเขาน�ำกลิ่นอายจังหวะแบบยุค 80s (พ.ศ. 2523-2532) เสียงซินธิไซเซอร์ พร้อมเนื้อเพลงรักใสๆ ที่จริงใจ เมื่อได้ฟังก็เหมือนได้ย้อนเวลากลับไปอ่าน กลอนรักในหน้านิตยสารรายเดือนสมัยก่อนอีกครั้ง พร้อมปรากฏการณ์ยอด ฮิตกว่า 6 ล้านวิว ใน Youtube กับมิวสิกวิดีโอเพลง ‘พบกันใหม่’ ที่น�ำฟุตเทจ ภาพยนตร์ยอดฮิตเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ มาเรียบเรียงใหม่ เมื่อ Muse ฉบับนี้พร้อมจะพาคุณย้อนอดีตไปสัมผัสเสน่ห์ของวันวาน ก็ต้อง ไม่พลาดที่จะคุยกับ 3 หนุ่มกลุ่มนี้ ให้รู้กันไปว่า Old school = Old is cool จริงๆ นะ

-5-


ท�ำดนตรียุค 80s แบบนี้ พวกคุณชอบอะไรในอดีตยุคนั้นมาก ที่สุด

นะ : ผมชอบการแต่งตัว ทรงผม และแก็ดเจ็ตยุคนั้น พอมองย้อนกลับไปอุปกรณ์ เหล่านี้มันช่างล�้ำยุคมาก จากยุค 70s ที่คนฟังแผ่นเสียง มาถึงยุค 80s ที่มนุษย์ สร้างวอล์กแมน และฟังเพลงจากเทปคาสเซตต์ มันเปลี่ยนโลกเลยนะครับ ให้เรา สามารถเดินไปแล้วก็ฟงั เพลงจากทีไ่ หนก็ได้ เมือ่ ไรก็ได้ ผมจะอินกับการนัง่ รอเฝ้า อยู่หน้าวิทยุเพื่อที่จะได้ฟังเพลงที่เราชอบ ตอนนั้นผมเป็นเด็กและรอคอยฟังเพลง จากรายการพี่ ‘ดีเจเด็กดี’ เป็นคลืน่ local ทีเ่ ชียงใหม่ เพราะเราอยูใ่ นยุคทีต่ อนนัน้ ไม่สามารถหาฟังเพลงจากที่ไหนได้ เราก็ต้องรอเวลานี้แหละ เขาจะเปิดเพลง ของวงชนะเลิศการประกวด NESCAFE Music Challenge พอรู้ว่ารายการนี้มา 3 ทุ่ม ผมก็เตรียมเทปไว้อัด สิ่งที่น่าประทับใจคือปัจจุบัน วงที่เคยถูกน�ำมาเล่นใน รายการวิทยุตอนนัน้ ก็คอื รุน่ พีใ่ นวงการดนตรีทเี่ รามีโอกาสร่วมงานด้วยในตอนนี้ โต้ง : ผมยกให้คือสเกตบอร์ด ผมมีโปรสเกตบอร์ดที่ชอบมาก เสน่ห์ของยุค 80s ส�ำหรับผมคือความน่าตืน่ เต้น ฝีไม้ลายมือของคนทีบ่ กุ เบิกท่าใหม่ๆ มีแค่เขาคนเดียว ที่ท�ำได้ แต่ยุคนี้คือยุคที่คนทุกคนก็เป็นคนเก่ง เป็นคนมีฝีมือได้ เพราะดูจาก ยูทูป ฝึกซ้อมจากทีวี ซึ่งนี่ไม่มีใครผิดใครถูก แต่ส�ำหรับผม คนยุคก่อน ค�ำว่า เก่ง คือเก่งจริงๆ เพียว : ส่วนผมเป็นเด็กอ้วนเล่นเกม ดูทวี อี ยูบ่ า้ น แต่ผมจะเห่อมากในการดูละคร ย้อนหลังโดยการบันทึกเก็บไว้ เมือ่ ก่อนฉากประทับใจจากในละคร เราจะดูได้ตอน เรียลไทม์ คือดูได้ครั้งเดียว แต่ยุคนี้แค่พิมพ์เข้าไปในคอมพิวเตอร์ เราก็ดูได้แล้ว แต่ส�ำหรับผม การอัดวิดีโอคือเสน่ห์ของยุคนั้น บางครั้งเคยคิดว่ากดอัดแล้วแต่ไม่ ได้กดอัด ถ้าพลาดแล้วก็พลาดเลย -6-


“ความสำ � เร็จก็เหมือน การกรอเทป ต้องรู้จัก รอคอย ต้องอดทน”

แล้วจีบสาวกันอย่างไร

นะ : ต้องโทรเข้าบ้านเท่านั้น แล้วก็ต้องลุ้นว่าจะผ่านปราการพ่อแม่เขารึเปล่า (หัวเราะ) เพียว : อย่างเพือ่ นผม ก่อนกดโทรเข้าก็มนั่ ใจแล้วว่าไม่มอี ะไรหรอก แต่พอรับสาย ก็ได้ยินพ่อของเขาบอกว่า “เฮ้ย ตัวผู้โทรมา” ก็ต้องมีอารมณ์โดนด่า ไม่อย่างนั้น ก็ต้องนัดกันดีๆ จูนเวลาให้ตรงกัน 3 ทุ่ม ให้เธอมารอหน้าโทรศัพท์นะ บางทีก็จะ มีคุณแม่คอยแอบฟังจากสายโทรศัพท์อีกเครื่อง

เราเคยอ่านเจอประโยคว่า “เหตุผลที่ตายายคู่หนึ่งรักกันได้มา ตั้ง 65 ปี เพราะคุณยายตอบว่า ‘เราเกิดในยุคที่อะไรพังเรา ก็ ซ ่ อ ม ไม่ โ ยนทิ้ ง แล้ ว ซื้ อ ใหม่ ’ ” ในฐานะที่ คุ ณ ท� ำ ดนตรี แ ละ เพลงรัก คุณคิดอย่างไรกับความรักของคนยุคก่อน โต้ง : ผมเคยถามพ่อกับแม่ว่าจีบกันนานไหม รักกันอย่างไร เขาบอกว่านานมาก ล�ำบากมากกว่าจะได้จีบกัน ไม่มีโทรศัพท์ก็ต้องสื่อสารกันทางจดหมาย ถ้านัดกัน แล้ว เกิดมีคนติดธุระมาไม่ได้จริงๆ ก็ตอ้ งยืนรอเก้อ เพราะไม่มที ใี่ ห้โทรศัพท์ไปหา

นะ : เพราะกว่าการที่เขาจะได้เป็นแฟนกัน และได้เจอกันจริงๆ มันต้องผ่านการ รอคอยและใช้เวลา แต่ถ้าเป็นตอนนี้ก็คงแอดเฟรนด์ในเฟซบุ๊ก แอดไลน์ไปคุยกัน แล้ว ยิง่ ถ้าเป็นเมือ่ ก่อนเราออกมาท�ำงาน เราไม่มอี ปุ กรณ์สอื่ สาร ทัง้ วันเราก็จะไม่ ได้คยุ กับเขาเลยนะ กลับมาบ้านถึงจะได้คยุ เฉพาะตอนหัวค�ำ่ เท่านัน้ ความคิดถึงจึง มีคา่ มาก เนือ้ เพลงชนิด ‘บอกรักกับสายลมให้ลมพัดไปหาเธอ’ มันจึงเกิดขึน้ จริงๆ ว่าคนยุคนัน้ เขาคิดแบบนี้ ไม่ได้มาลอยๆ เพราะว่ามันไม่มวี ธิ ไี หนแล้วทีแ่ สดงความ คิดถึง เลยต้องพูดกับจันทร์แล้วให้จันทร์สะท้อนกลับไปหาเธอ -7-


“อย่างเพลงของพี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ที่ร้องว่า ‘อาจจะมี บางคราว เราพบใครใหม่ เกิดหวั่นไหวไปตามประสาคนไกลกัน’ ตอนนี้ไม่มีใครเขียนภาษาแบบนี้แน่ๆ คำ�คำ�นี้มันจริงใจ มันก็เหมือน คนยุคก่อนที่ทุกอย่างเรียบง่าย จริงใจ”

-8-


การเติบโตมาคาบเกี่ยวระหว่างยุคอนาล็อกกับดิจิทัล มีผลต่อ การท�ำงานเพลงของคุณไหม

นะ : ตอนจะท�ำอัลบั้มชุดที่ 2 นี้ ผมพยายามท�ำให้ตัวเองตัดความสะดวกทุกอย่าง แล้วลองคิดเพลงในยุคก่อนดู พยายามคิดให้เหมือนกับเราอยูย่ คุ ก่อน ย้อนกลับไป อยูใ่ นยุคทีผ่ มไม่มโี ทรศัพท์ ตอนเป็นเด็ก โตทีเ่ ชียงราย แล้วถ้าคิดถึงคนรัก ผมจะ พูดถึงคนรักอย่างไร ผมไม่ใช้โทรศัพท์มอื ถือ ไม่ดาวน์โหลดเพลงจากดิจทิ ลั แต่จะ ฟังเพลงด้วยเทป ฟังแผ่นเสียง ดนตรีสไตล์โมทาวน์ เพราะคิดว่าถ้าเราจะท�ำดนตรี ยุคเก่า เราควรได้แวดล้อมด้วยวิธีคิดแบบนั้น เพียว : ผมก็ตอ้ งไปอยูใ่ นถ�ำ้ พร้อมเขาด้วยครับ แต่คงไม่ได้ปดิ กัน้ เท่านะ แค่ไปรับ in put ที่ไม่ใช่ตอนนี้ เมื่อเราจะท�ำเพลงกันแบบนี้ เราต้องการที่จะมี ‘สุ้มเสียง’ แบบนี้ ก็ต้องเข้าใจและมาดูว่า เสียงนี้คืออะไร หาได้ที่ไหน เราดูคอนเสิร์ตของวง ดนตรีจากญีป่ นุ่ casiopea ยุค 70 ซึง่ แผ่นเสียงวงนีเ้ ขาจะบอกเลยว่าใช้เครือ่ งดนตรี อะไร แต่ยุคนี้คนส่วนใหญ่จะไม่บอก เพราะเป็นข้อมูลทางการค้า แต่ casiopea จริงใจ เพราะเขาภูมิใจว่าเขาใช้สิ่งนี้ในการสร้างงานของเขา

-9-


พอย้อนกลับไปสู่สิ่งแวดล้อมเก่าๆ เช่น กลับฟังเพลงด้วยเทป แล้วคุณเห็นอะไรบ้าง

นะ : ผมเห็นว่าคนยุคก่อนอยู่กับความอดทนรอคอยจริงๆ นะ กว่าที่เราจะข้ามไป ฟัง track 4 ก็ต้องกรอฟัง พอกรอไปแล้ว อ้าว ยังไม่ถึงนี่หว่า ก็ต้องกรอต่อ มัน เป็นเรื่องการอดทน โต้ง : ก็คล้ายๆ ตั้งแต่เรื่องจีบสาวแล้ว (หัวเราะ) เพียว : ตอนนี้เรามาอยูในยุคที่ฉาบฉวยไปหมดแล้ว แต่ในยุคนั้น การกรอเทป อาจเป็นวิธีที่สะดวกมากแล้วก็ได้ แต่พอเรามาอยู่ในยุคนี้ เรามีเพลงที่เลือกแทร็ก ได้ ท�ำให้มองการกรอเทปเป็นสิ่งที่เหนื่อยมากไปเลย เพลงสุดท้าย หน้า A ก็ต้อง กลับด้าน เทปยานต้องเข้าช่องฟรีซ ใช้ปากกามาหมุนๆ นะ : ถ้ามีอัลบั้มเต็ม ผมจะใส่เพลงหนึ่งเป็นเพลงกลับด้าน เพราะยุคนี้เราฟังซีดี แล้ว เราไม่รู้ว่าการกลับด้านไปหน้า B คืออะไร จะท�ำให้มีเสียงกลับด้านของเทป เป็นเสียงเงียบที่มีเสน่ห์แต่มาอยู่ในซีดี ให้รู้ว่านี่เป็นหน้า B แล้วนะ

ยุคดิจิทัลมาพร้อมกับความเร็ว คนต้องการอะไรเร็วๆ มีความ ส�ำเร็จเร็วๆ รวยเร็วๆ ได้ค�ำตอบเร็วๆ ในฐานะที่พวกคุณคือ ตัวแทนหนุ่มอนาล็อก คุณอยากจะบอกว่า... เพียว : ผมค้นพบว่า ชีวติ คือการมีเป้าหมายและรูจ้ กั อดทนและรอคอยครับ เพราะ เราเจอมาจริงๆ กับอัลบัม้ ชุดแรก (ปี 2012) ทีย่ อดขายอาจไม่ได้เปรีย้ งปร้าง ไม่มี คนรูจ้ กั พิสจู น์วา่ ไม่สำ� เร็จจากผลลัพธ์ แต่เราก็ไม่เคยท้อ เรามีความสุขทีไ่ ด้ทำ� และ เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ว่าจะท�ำอย่างไรต่อไป คงเหมือนคนท�ำธุรกิจก็ต้องมีเจ๊งกันบ้าง เราก็ตอ้ งพัฒนา เหมือนรถยนต์ทเี่ อาข้อเสียของรุน่ ทีแ่ ล้วมาพัฒนามาเป็นซีรสี ใ์ หม่ นะ : มันก็ต้องอดทน เพราะมันยากจริงๆ จากเมื่อก่อนสมาชิกมี 5 ตอนนี้เหลือ 3 ก็ผ่านร้อนผ่านหนาว ความส�ำเร็จก็เหมือนการกรอเทป ต้องรู้จักรอคอย ต้อง อดทน (หัวเราะ) พวกเรานิ่งขึ้นครับ จากเดิมที่อยากให้เพลงของเราปาร์ตี้มากๆ คนกระโดด แต่เราไม่ไปโฟกัสตรงนั้นแล้ว เราโฟกัสที่ความสวยงามของเพลง เรา โฟกัสในยามที่คนฟังไม่ได้ฟังคอนเสิร์ต แต่ถ้าเขาท�ำงานในออฟฟิศ หรือขับรถไป เที่ยว ไปส่งลูกที่โรงเรียน หรือความสวยงามของไลน์ดนตรี เมโลดี้ที่จริงใจ เพียว : เพราะที่ผ่านมาพวกเรามัวแต่ไปโฟกัสกับปลายทางมากเกินไป เช่น เรา จะเล่นคอนเสิร์ตแบบไหนให้คนชอบ เราเคยคิดถึงขั้นลองกระโดดตามเพลงเลย นะ แต่ไม่ได้คิดแค่ว่าเอาปัจจุบันตอนนี้ก็พอ แม้ว่าชุดความคิดแบบนี้ไม่มีถูกหรือ ผิด เพลงแดนซ์บางเพลงก็ตอ้ งใช้วธิ คี ดิ แบบนีเ้ พือ่ ประสบความส�ำเร็จ แต่เราอยาก หวนกลับมา Back to basic โฟกัสที่ชีวิตประจ�ำวันดีกว่า เพื่อให้ประสบความ ส�ำเร็จ ไม่ได้ไปเน้นที่จะแสดงสดต้องเป็นอย่างไร มาให้ความส�ำคัญกับภาษาของ เพลงที่สวยงามดีกว่า -10-


พวกคุณมักพูดว่า เพลงยุคก่อนมีความสวยงามของเนื้อเพลง ช่วยยกตัวอย่างให้ฟังได้ไหม

นะ : อย่างเพลงของพีเ่ บิรด์ -ธงไชย แมคอินไตย์ ทีร่ อ้ งว่า “อาจจะมีบางคราว เราพบ ใครใหม่ เกิดหวั่นไหวไปตามประสาคนไกลกัน” ตอนนี้ไม่มีใครเขียนภาษาแบบนี้ แน่ๆ ค�ำค�ำนีม้ นั จริงใจ มันก็เหมือนคนยุคก่อนทีท่ กุ อย่างเรียบง่าย จริงใจ เนือ้ เพลง ทีผ่ มเขียนและประทับใจ ตัวอย่างเช่น “ไม่รวู้ า่ ต้องโตท่ามกลางหมูด่ อกไม้มากมาย ขนาดไหน เธอจึงได้ครอบครองรอยยิ้มที่สวยงามขนาดนี้” เพราะผมก�ำลังเห็น เพื่อนผมถ่ายแฟชั่นเซตในสวนดอกไม้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนเพลงท่อนนี้ เหมือนเวลาทีค่ นยุคสมัยก่อนเขียนกลอนส่งหากัน เขามีเวลาพรรณาถึงความงาม เพียว : ผมว่าทีค่ นยุคก่อนมีเวลา มีความจริงใจในการสือ่ สาร เพราะคนสมัยก่อน ไม่มีตัวเลือกมาก เพราะเขาไม่ได้เข้าถึงสื่อมากเหมือนตอนนี้ หรือถ้าตอนนี้เราไป เดินสยาม เราคงเห็นคนหลายแบบ คนนีเ้ ป็นฮิปสเตอร์ไว้เครา คนนีเ้ ป็นฮิปฮอป คนนี้ อีทคลีน คนนี้ชอบเคป็อป ใครอยากจะเป็นอะไรก็เป็น แต่ถ้าเราย้อนไปในวันนั้น ทุกคนเหมือนกันหมด ทุกคนใส่รองเท้าสกอลล์เหมือนกันหมด ใส่เสื้อยืดไปดู คอนเสิร์ต ซึ่งมันคือการพูดภาษาเดียวกัน สนใจอย่างเดียวกัน โต้ง : ความเชยส�ำหรับผมมันสุดยอดมาก มันสนุกดีนะ แล้วคุณเคยมีรองเท้า สกอลล์ไหมครับ (หัวเราะ) -11-


It’s time to Turn Back Time เดินหลงเวลา

เรื่อง

์จิลิง

ดาร : มิส

e d u t i t la กระแสซีรสี ด์ าวน์ตนั้ แอบบี้ ยุควินเทจอันสุกสกาวจน พาเราติดงอมแงม การกลับมาอีกครั้งของรถเวสป้า ดีไซน์ใหม่หวนให้คิดถึงสมัยคุณปู่ยังหนุ่ม คลับเต้น สวิงงานอดิเรกยุคใหม่ของสาวออฟฟิศที่หลงใหลยุค ม้อดดี้ หรือแม้แต่การประกาศให้โทนสีแนวเรโทรแบบ Surf City เป็นคู่สีประจ�ำซีซั่นสปริงแอนด์ซัมเมอร์ปีนี้ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นปรากฏการณ์ ‘เดินหลงเวลา’ ของดีไซน์ และคัลเจอร์ทถี่ กู น�ำมากลับมาท�ำซ�ำ้ ตีความใหม่ และ เดินอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ไหนๆ Muse ฉบับนี้ เราพูดถึง The Power of Retro เราจึงขอน�ำเทรนด์ และปรากฏการณ์สดุ เฟีย้ วฟ้าวรอบโลกมาบอกเล่ากัน

ทำ�ความเข้าใจก่อนนะ

ระหว่าง ‘Vintage’ & ‘Retro’ ต่างกันอย่างไร

Vintage เป็นเรื่องของยุค รากศัพท์เริ่มต้นมาจาก Vintage Wine การหมัก ไวน์ทบี่ ง่ บอกถึงช่วงเวลาอันยาวนานเพือ่ ให้ได้ไวน์ชนั้ เลิศ จึงต้องมี ค.ศ. ก�ำกับ แต่เมือ่ ถูกน�ำมาใช้ในวงการดีไซน์หรือแฟชัน่ วินเทจสะท้อนถึงยุคสมัย (ERA) ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เฟอร์นิเจอร์วินเทจในยุค Victorian 1840 เดรสวินเทจยุค Gasby 1920 เอ่ยถึง Vintage Car คือ รถที่สร้างขึ้นช่วง 1917-1930 สรุปได้ว่า Vintage เป็นสิ่งของที่ผลิตขึ้นในยุคอดีตที่รุ่งโรจน์ โดย มีช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก�ำกับไว้ Retro เป็นเรือ่ งของสไตล์ ความเก่าจะลดลงมาน้อยกว่ายุควินเทจ ความหมาย แท้จริงของเรโทรคือ ความนิยมในสิง่ ทีพ่ น้ สมัยในปัจจุบนั ย้อนหลังไปประมาณ 20-30 ปี แต่ยังคงท�ำให้เรารู้สึกโหยหาอดีต นึกถึงความทรงจ�ำแสนหวานใน วัยเด็ก ไม่เพียงแต่จ�ำกัดในงานดีไซน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเพลง ภาพยนตร์ ดนตรีอกี ด้วย ความเรโทรคือความป็อปปูลาร์ในช่วง Mid Century คือปี 50s, 60s, 70s ขึ้นมา ดนตรีร็อกแอนด์โรลแบบเอลวิส เพรสลีย์ เพลงป็อปแบบ มาดอนน่าในยุค 80s เฟอร์นิเจอร์ในแบบสแกนดิเนเวียนสไตล์ หรือแม้แต่ เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบอนาล็อก -12-


มาเริ่มต้นหลงเวลากันเถอะ Festival

Summer Jamboree ฝันหวานกลางฤดูร้อนของวินเทจเลิฟเวอร์

‘ซัมเมอร์ แจมโบรี’ เทศกาลดนตรีย้อนยุคกลางฤดูร้อนที่ใหญ่ ว้าว โอลด์สกูล แถมโด่งดังทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของยุโรป จัดขึน้ ทีเ่ มืองเซนิกาเญีย (Senigallia) ประเทศ อิตาลี ในงานคุณจะเหมือนย้อนเวลาไปในยุค 50s-60s ท่ามกลางดนตรีรอ็ กแอนด์ โรล สวิง และดนตรีบลูส์ ทั้งจากฝั่งอเมริกันและยุโรป มีสาวพินอัพปากแดงผม บลอนด์กับเดรสสั้นสุดเก๋อันเป็นสีสันของงาน เหล่าคาราวานรถโบราณแบบ อเมริกันคลาสสิกหรือรถเท่ๆ แบบฉบับเจ้าพ่ออัลคาโปน นอกจากมาเปรี้ยว มา ฟังเพลง ยังมีคลาสสอนเต้นร�ำที่เปิดให้เรียนฟรี มีพร็อพเด็ดๆ ชวนให้เพลินไป กับอดีตในยุคกล่อง แถมมีบรรยากาศของรถขายอาหารฟู้ดทรักแบบยุคเก่า เมนู ต้นต�ำรับของไก่ทอดผูพ้ นั แซนเดอร์ เอากับงานนีส้ ิ ให้รายละเอียดได้ยอ้ นยุคไปถึง อาหารการกินเลย ปีนี้งานจัดขึ้น 1-9 สิงหาคม (เรียบเรียงข้อมูลและรูปจาก http://www.summerjamboree.com) -13-


นึกถึงพัดลม The VFAN™ จาก Vordano ชวน ให้นึกถึงตู้เย็น Smeg ของอิตาลี ที่ครั้งหนึ่ง แม่บ้านยุควินเทจจะต้องมีตู้เย็นดีไซน์คลาสสิกนี้ ติดบ้านเลยล่ะ

Design

Vornado Vfan ความเย็นแบบอเมริกันดรีม

ในยุคทีเ่ รายังไม่รจู้ กั ความเย็นจากแอร์คอนดิชนั เนอร์ Vernado คือแบรนด์ผนู้ ำ� ใน การสรรค์สร้างความเย็น ด้วยสองมือของ Ralph K. Odor นักออกแบบเครื่องบิน ทีน่ ำ� แนวคิดของใบพัดเครือ่ งบินมาประดิษฐ์เป็นพัดลมระบบมอเตอร์ ในยุค 1940s หลังยุคสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เขาได้ทาบทาม Richard Ten Eyck นักออกแบบชือ่ ดัง ในแวดวงอุตสาหกรรมขณะนั้น มาร่วมดีไซน์พัดลม Vornado Vfan จนกลายเป็น ไอคอนของช่วงปี ค.ศ. 1945 นับเป็นพัดลมตั้งโต๊ะดีไซน์โค้งมน ท�ำจากพลาสติก ที่เรียบ คลาสสิก แถมท�ำความเย็นระบายอากาศที่นับเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก สุดว้าวในยุคหลังชนะสงคราม นับเป็นสัญลักษณ์ของชาวอเมริกนั ดรีม ถึงขัน้ มีคน บอกว่า 2 ใน 3 ครัวเรือนของครอบครัวอเมริกัน ต้องมีพัดลมรุ่นนี้ไว้ครอบครอง ผ่านไป 70 ปี แบรนด์ Vernado ที่ยังคงคร�่ำหวอดในวงการอุตสาหกรรม ได้น�ำ พัดลมรุ่นไอคอนนิกของเขามาปัดฝุ่นอีกครั้ง ผลิตซ�้ำโดยใส่ดีไซน์ดั้งเดิม แต่เพิ่ม ความพรีเมีย่ มด้วยการเปลีย่ นเป็นสแตนเลสทัง้ ชิน้ และถูกตัง้ ชือ่ ทางการค้าว่า The VFAN™ นับเป็นหนึ่งตัวอย่างในการหยิบความเก่ายอดนิยมมาท�ำซ�้ำ แต่เปลี่ยน มุมมองเล่า จากเดิมคือขายนวัตกรรม วันนี้พัดลมตัวนี้ขายความเป็นต�ำนาน และ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความเก่าแบบเรโทรนั้นไม่มีวันตาย แถมยังขายได้เสมอ (เรียบเรียงข้อมูลและรูปจาก http://www.vornado.com/)

-14-


Travel

Pan Am Experience ไฟลต์นี้ ยุคเซเว่นตี้ส์นะจ๊ะ

Pan Am เคยเป็นสายการบินยอดนิยมของอเมริกัน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1927 บิน มาแล้วทั้ง 6 ทวีป จนกระทั่งเผชิญภาวะล้มละลายในปี ค.ศ. 1991 สายการบิน จึงปิดตัวลง แต่เพราะธรรมชาติของการเก็บความทรงจ�ำที่ดีของมนุษย์ Pan Am Experience จึงเกิดขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อบันทึกโมเมนต์ที่ดีเอาไว้ โดย Air Hollywood สตูดิโอผู้เซตฉากภาพยนตร์บนเครื่องบินที่ลอสแอนเจลิส ได้ชุบชีวิตให้ สายการบินนี้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง แล้วเที่ยวบินนี้คุณจะได้พบกับอะไรบ้างล่ะ Pan Am Experience คือสายการบิน จ�ำลองที่ยกเอาบรรยากาศยุค 1970s มาตั้งไว้ทั้งล�ำ แขกจะได้สัมผัสเครื่องบิน โบอิง 747 ล�ำแรกที่หรูหรา สะท้อนความเฟื่องฟูของยุคสมัยนั้น มีที่นั่งเบาะนุ่มๆ จิบแชมเปญเพลินๆ คลอด้วยเพลงของแฟรงค์ สินาตร้า แถมเหลือบมองยูนฟิ อร์ม ของแอร์โฮสเตสสาวแบบย้อนยุค ซึ่งนักบินและแอร์ต่างคงคาแรกเตอร์สมจริง เอาไว้แล้วพาคุณหลุดไปอีกยุคเลยล่ะ ทัง้ การฉายภาพประวัตขิ องสายการบิน ก่อน เทคออฟแอร์ต้องสาธิตอุปกรณ์ฉุกเฉิน (หนังสือให้อ่านบนเครื่องยังเป็น LIFE MAGAZINE อยู่เลย) ไฮไลต์ของที่นี่คือการสัมผัสบรรยากาศแบบเฟิร์สคลาส แม้ไม่ได้บินจริง แต่ก็เสิร์ฟด้วยอาหาร 4 คอร์ส ในอีกหนึ่งนิยามที่นี่บอกว่า พวกเขาเป็น Historic Museum ที่บันทึกยุคสมัยของอเมริกาเอาไว้ อยากมา ทดลองสัมผัสประสบการณ์นี้ต้องจองล่วงหน้าออนไลน์เท่านั้น (เรียบเรียงข้อมูลและรูปจาก http://www.panamexperience.com/) -15-


Hotel

Aman Resorts

บอกเล่าประวัติศาสตร์แบบไฮเอนด์

โรงแรมในเครือ Aman Resorts (อมัน) ถือเป็นเครือที่น�ำโลเกชั่น ประวัติศาสตร์ และการบริการระดับ 5 ดาว มาร้อยเรียงกันได้อย่างน่าทึ่ง อาทิ Aman Summer Palace ที่กรุงปักกิ่ง ส่วนหนึ่งของพระราชวังต้องห้าม ในเมืองหลวงของจีน ได้ถูก อนุรักษ์เป็นโรงแรมระดับไฮเอนด์ Aman Fayun ที่หางโจว หมู่บ้านไม้โบราณอายุ กว่าร้อยปีถูกประยุกต์เป็นห้องสวีตที่พักแล้วยังอบอวลด้วยกลิ่นหอมของไม้เก่า หรือแม้แต่การเปิดตัวสาขาล่าสุด Aman Canal Grande Venice อาคารเก่าสุด โรแมนซ์ริมคลองตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 16 ณ เมืองเวนิส อิตาลี ก็ถูกทวีมูลค่าเป็น โรงแรมห้าดาวในสไตล์นีโอ-เรอเนซองส์ ที่คว้ารางวัลจากนิตยสารท่องเที่ยวระดับ โลก Condé Nast Traveler: The Hot List 2014 แถมที่นี่คือสถานที่จัดงาน วิวาห์ของจอร์จ คลูนยี ์ กับศรีภรรยาคนสวย อามัล อลามุดดิน เมือ่ ปีทแี่ ล้วอีกด้วย (เรียบเรียงข้อมูลและรูปจาก www.amanresort.com)

Party

Rustic Chic Style วิวาห์แบบวินเทจ

แม้แต่งานปาร์ตี้เฉลิมฉลองยังถูกเทรนด์ Turn Back Times ก�ำหนดทิศทาง และ ดูท่าว่ากระแสนี้จะฮิตต่อไปได้อีกสักระยะ ความเอเลเกนซ์ของงานเตรียมหลบไป ชัว่ คราว เพราะความเรียบง่ายเป็นกันเองในสไตล์ Rustic Chic จะมาแทนที่ คุณจะ พบกับสไตล์หวานๆ ของเจ้าสาว ชุดผ้าชีฟองบางเบา สวมเวลคลุมเส้นผม ประดับ ดอกไม้ เจ้าบ่าวมาพร้อมรถโฟล์กพาหนะคู่ใจ แม้จะไม่มียุคสมัยอ้างอิงชัดเจน แต่ ความรูส้ กึ ชวนให้นกึ ถึงจัดงานปาร์ตขี้ องชาวนาทีพ่ กั อยูน่ อกเมือง แน่นอน พวกเขา เลือกที่จะมีภาพงานแต่งงานของพ่อแม่ของตนมาเป็นต้นแบบอ้างอิงหน้างานด้วย นะ บางคู่รักเลือกจะจัดงานในสวน โรงนาเก่า หรือแม้โรงละครสัตว์รกร้าง แขก ในงานไม่จำ� เป็นต้องมากมาย แต่ขอให้มาแบบอบอุน่ ในระดับคุณภาพ ตกแต่งด้วย พร็อพหน้างาน เช่น ป้ายไม้เก่า ดอกไม้แห้งแต่ถกู เติมแต่งให้มชี วี ติ ชีวา การ์ดเชิญ ท�ำมือเขียนตัวอักษร Calligraphy ด้วยปากกาคอแร้ง เสิร์ฟอาหารเป็นค็อกเทล หรือคานาเป้พอดีค�ำ ให้แขกในงานได้มีโอกาสพูดคุยกันถ้วนหน้า สะท้อนถึง รูปแบบตัวตนของเจ้าของงานทีเ่ ป็นกันเองเข้าถึงง่าย ไม่มพี ธิ รี ตี องของผูค้ นในอดีต (เรียบเรียงข้อมูลและรูปจาก http://enerlife.co/, http://theeverylastdetail.com/ และ pinterest.com) -16-


Cafe’

Dreamy Camera Cafe’ คาเฟ่กล้องฟิล์ม

40 ไมล์จากกรุงโซล เกาหลีใต้ ยังมีคาเฟ่ทผี่ สานความน่ารักมุง้ มิง้ บวกกับกลิน่ อาย เรโทรตามสมัยยุคอนาล็อก ยิ่งคนรักกล้องฟิล์มที่ขับรถมาแต่ไกลเป็นต้องหยุด ชะงัก เพราะแลนด์มาร์กอันแสนคลาสสิกเป็นกล้อง โรลีเฟล็กซ์ (Rolleiflex) ทวิน เลนส์สีแดง คาเฟ่นี้เกิดจากความรักของคู่สามีภรรยาแดนกิมจิที่อยากจะสร้าง คาเฟ่สักแห่งที่ลูกค้าหรือผู้มาเยือนสามารถบันทึกและแชร์ความทรงจ�ำเหล่านี้ได้ ประกอบกับสามี ปาร์ค ซุง ฮวน เคยสะพายกล้องเป็นช่างภาพมืออาชีพมากว่า 12 ปี พวกเขาจึงน�ำแรงบันดาลใจจากกล้องฟิลม์ ทีม่ หี น้าทีบ่ นั ทึกและถ่ายทอดความ ทรงจ�ำ มาเป็นเอกลักษณ์ชูโรง ทั้งนี้กว่าจะสร้างคาเฟ่ในโครงสร้างนี้ได้ พวกเขา ต้องได้รับการอนุมัติจากแบรนด์โรลีเฟล็กซ์ (Rolleiflex) จากเยอรมนีโดยตรง ใช้ เวลาด�ำเนินการพร้อมก่อสร้างกว่า 3 ปี เสน่ห์ของกล้องโรลีเฟล็กซ์นั้นไม่เพียงแต่รูปทรง แต่ยังเปรียบเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ ประวัติศาสตร์การวงการการถ่ายภาพเลยล่ะ เพราะถือเป็นกล้องขนาดพกพา รุ่นแรกๆ ของวงการ และมุมที่เก๋ไม่แพ้ใครคือบานหน้าต่างของร้าน ที่เปรียบ สะท้อนดังวิวไฟน์เดอร์ในกล้องฟิล์ม ในคาเฟ่แห่งนี้นอกจากมีกาแฟหอมๆ ยังมี มุมสะสมกล้องฟิล์มโบราณ The Rolleiflex 2.8F หรือ The Kodak Retina I จากปี 1948 สุดท้ายก่อนกลับ ที่นี่ยังมีบริการบันทึกภาพโมเมนต์ของลูกค้าผ่าน กล้องโพลารอยด์อีกด้วย (เรียบเรียงข้อมูลและรูปจาก http://www.theverge.com, https://www.facebook.com/cafedreamy) -17-


-18-


ิท ดำ�สน ิภาส า ภ ี ร ุญว :ว เรื่อง าวรัตน์ บ : เน ภาพ

+

River Reflections

น่ารัก น่าพัก เพลินงานอนุรักษ์ที่ริมน้ำ�จันทบูร บ้ า นหลวงราชไมตรี ณ ชุ ม ชนริ ม น�้ ำ จั น ทบู ร จั ง หวั ด จั น ทบุ รี คื อ บ้ า นพั ก ประวัติศาสตร์อายุราว 150 ปี ที่ผ่านการสืบทอดมาแล้ว 3 รุ่น เบื้องหลังความ งามทีถ่ กู อนุรกั ษ์ไว้อย่างทรงคุณค่านีม้ เี รือ่ งราวประทับใจแฝงไว้มากมาย ทัง้ ความ ร่วมมือของเจ้าของบ้านที่เปิดบ้านและให้สัญญาเช่า 30 ปี ด้วยค่าเช่าเดือนละ 1 บาท หรือการระดมทุนที่นับเป็นโรงแรมซึ่งมีเจ้าของหุ้นกว่า 500 ชีวิต และ 1 ใน 3 ของผู้ถือหุ้น ก็คือคนในชุมชนเอง Muse ฉบับนี้ จะพาคุณไปเปิดบ้านพักในรูปแบบ Historic Inn เมื่อการเข้าพัก ก็กลายเป็นการเรียนรู้ได้ โดยมีอาจารย์ธิป ศรีสกุลไชยรัก อาจารย์/สถาปนิก สตูดิโออนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน สถาบันอาศรมศิลป์ หนึ่งในหัวแรงหลัก ในการเป็นผู้จัดการโครงการร่วมพลิกฟื้นประวัติศาสตร์เปิดบ้านหลวงราชไมตรี อาจารย์ธิปจะมาเป็นตัวแทนของผู้น�ำทัวร์ พาเราหลุดเข้าไปในอดีตเมื่อ 150 ปี ที่แล้วอีกครั้ง -19-


“ผมเคยเข้าใจว่า เราอนุรักษ์ เพราะเสียดายในสิ่งที่สร้างใหม่ ไม่ได้ แต่วันนี้ผมเข้าใจแล้วว่า การอนุรักษ์ คือ รักษาสิ่งที่มี คุณค่าไว้ เพื่อส่งต่อให้คน รุ่นหลังได้เรียนรู้” -20-


บ้านหลวงราชไมตรีก่อนการบูรณะ

เคาะประตูบ้านหลวงราชไมตรี

หลวงราชไมตรี เดิมมีนามว่า ปูณ ปุณศรี แม้เป็นเพียงชาวบ้านท�ำงานค้าขาย ไม่ เคยรับราชการ แต่คุณงามความดีที่ท่านท�ำประโยชน์ไว้ให้กับแผ่นดิน ท่านได้รับ โปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น ‘หลวงราชไมตรี’ จากค�ำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ ณ ชุมชนริมน�้ำจันทบูร เล่าว่า หลวงราชไมตรี เป็นคนรูปหล่อ ผิวขาวเหลือง เดินหลังตรง บุคลิกสง่างาม ด้วยความเมตตา ท่านอุปการะส่งเสริมการศึกษาให้กบั เด็กๆ ทัง้ เด็กชายหรือเด็กหญิงจากต่างอ�ำเภอ ทีต่ อ้ งการมาศึกษาเล่าเรียนในตัวเมืองให้เข้ามาพักอาศัย ณ บ้านแห่งนี้ และได้รบั การอุปการะอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้ที่ท�ำให้บ้านพักประวัติศาสตร์แห่งนี้มี ห้องพักที่ตั้งชื่อว่า ‘ห้องนักเรียนชาย’ และ ‘ห้องนักเรียนหญิง’ หรือห้องครัวนายแม่ ทีเ่ ต็มไปด้วยบรรยากาศตามแบบ ‘ต�ำรับรัก’ ในอดีตนีค่ อื ห้อง ครัวที่ ยายฟอม-ภรรยาท่านหลวงราชฯ ผูช้ อบใช้เวลาส่วนใหญ่อยูใ่ นห้องเพือ่ เตรียม อาหารให้กับคุณหลวงและคนภายในบ้าน ระหว่างการบูรณะ ทีมงานได้ค้นพบ หลักฐานในอดีตทีห่ ลวงราชไมตรีเคยซือ้ ดอกกุหลาบให้ยายฟอมปลูกในกระบะตรง ระเบียงริมน�้ำ ห้องพักห้องนี้จึงถูกตกแต่งด้วยต้นกุหลาบสีแดงเข้ม ณ ระเบียงริม น�้ำ เป็นสัญลักษณ์ของกลิ่นอายความรัก ความใส่ใจ ของทั้งคู่ หลากหลายเรื่องราวที่เมื่อได้ฟังก็ล้วนหุบยิ้มไม่ได้ ถูกบรรจุเป็นความทรงจ�ำอยู่ใน บ้านพักประวัติศาสตร์หลังนี้ “ผมอยากให้คนได้มองอีกด้านเช่นกันว่า ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้ให้ความร่วมมือเปิด บ้านหลังนี้ ท่านจะภูมิใจมากแค่ไหนที่บ้านของบรรพบุรุษท�ำให้คนในชุมชนและ ผู้มาเยือนได้เรียนรู้ จากเดิมที่เด็กๆ ในชุมชนแทบไม่รู้จักบ้านหลังนี้เลย แต่เมื่อ เราท�ำโครงการนี้ พวกเขาได้สัมผัสประวัติศาสตร์ที่จับต้องได้” -21-


“การอนุรักษ์จะมีค่า เมื่อคนในชุมชน เป็นเจ้าของและร่วมกันดูแลประวัติศาสตร์ ของพวกเขาให้คงอยู่ต่อไป”

-22-


โจทย์แห่งการอนุรักษ์

เมือ่ ย้อนกลับไปสูจ่ ดุ เริม่ ต้นในการเข้ามามีสว่ นร่วม อาจารย์ธปิ ค่อยๆ ฉายภาพให้ เราเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสองปีที่แล้วอีกครั้ง “โจทย์ของพวกเราคือ จะท�ำอย่างไรให้เกิดการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วม ให้งาน อนุรักษ์เข้าไปรับใช้คนได้จริงๆ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม” กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ โครงการนี้เริ่มต้นด้วยโจทย์คู่ขนาน คือ งานอนุรักษ์ต้องเกิด และปากท้องของ คนในชุมชนก็ต้องอิ่ม เมือ่ หารือร่วมกันทุกฝ่าย ทีมงานได้โจทย์ปลายทางนัน่ คือ อนุรกั ษ์ควบคูก่ บั การท�ำ กิจการเพื่อสังคม นั่นคือไม่เพียงแต่จะบูรณะอาคาร แต่จะมีรายได้จากการบูรณะ คืนไปสู่สังคม โดยน�ำไปสู่แนวคิดของการสร้าง Museum Hotel / Historic Inn ที่พักที่สามารถเล่าเรื่องราวและให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้ “ให้คนไม่มีสตางค์ก็ไปเรียนรู้ได้ แต่ถ้าคุณมีเงินอยากสนับสนุนชุมชน เพียง จ่ายค่าที่พัก แล้วห้องพักนั้นก็จะถ่ายทอดเรื่องราวความรู้ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ นายแพทย์ปสารพงษ์ ปุณศรี ทายาทรุ่นที่ 3 เจ้าของบ้าน ที่ให้ทีมงานเช่าบ้าน หลังนี้ในราคาเดือนละ 1 บาท ทั้งยังช่วยตั้งค�ำถาม ท�ำให้โครงการเราคมชัดขึ้น” เมื่อได้อาคารต้นแบบแล้ว แต่มูลค่าในการปรับปรุงอาคารนี้ ประเมินออกมาอยู่ที่ ตัวเลข 8,800,000 บาท “ความท้าทายต่อมาคือ ค�ำถามว่าแล้วเราจะหาเงินต่อจากนี้ที่ไหน จึงเสนอกันมา ว่า แล้วมาหุน้ กันไหมล่ะ ก่อตัง้ ให้เป็นรูปแบบบริษทั และขายหุน้ กันเลย ถ้าท�ำแล้ว ก็ควรท�ำให้เป็นตัวอย่างเพื่อโครงการต่อๆ ไป อย่าท�ำแค่โรแมนติก” นีจ่ งึ เป็นทีม่ าของ โครงการร่วมทุนรักษ์ดบี า้ นหลวงราชไมตรี ในรูปแบบกิจการเพือ่ สังคม (Social Enterprise) ก่อตั้งภายใต้บริษัทจันทบูรรักษ์ดี จ�ำกัด “ในชุมชนมี 200 ครัวเรือน เราประเมินไว้วา่ วันขายหุน้ ขอตัง้ เป้าไว้ 40 ครัวเรือน เท่านัน้ โดยราคาต่อหุน้ คือ 1,000 บาท นัน่ หมายความว่า ถ้าเราได้เงินจากชุมชน ราว 40,000 บาท แต่ถ้ายอดไม่ถึง เราคิดว่าเราจะล้มเลิกโครงการ เพราะนั่น แปลว่า โครงการนี้ชุมชนไม่อยากมีส่วนร่วม แต่แล้ว...วันที่ขายหุ้นครั้งแรก เรา ได้ผู้ถือหุ้นจากคนในชุมชนจ�ำนวน 100 กว่าคน เป็นเงินล้านกว่าบาท นี่เป็นข้อ พิสูจน์ว่าพวกเราเดินมาถูกทาง” จากเสียงตอบรับในชุมชน น�ำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เมื่อชาวบ้านต่างร่วมใจ ไปขายหุ้นให้เพื่อนๆ ในจังหวัดข้างเคียง ทีมงานอาศรมศิลป์ขายหุ้นที่โรงเรียน รุง่ อรุณ กระจายต่อในโซเชียลเน็ตเวิรก์ และจากปากต่อปากทีเ่ ชือ่ ว่าสิง่ ทีท่ ำ� นีเ้ ป็น ประโยชน์ต่อสังคม บทสรุปของโครงการ ได้รับเสียงตอบรับจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด 501 คน จ�ำนวน 8,800 หุ้น -23-


เมื่ออนุรักษ์ตึกเก่า ชีวิตใหม่ก็ได้เริ่มต้น

บ้านหลังนีส้ ร้างด้วยสถาปัตยกรรมโคโลเนียลทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากปีนงั การอนุรกั ษ์ โครงสร้างอาคาร ทางทีมงานค�ำนึงถึงการรักษาคุณค่าของอาคารเดิมให้มากที่สุด โดยด�ำเนินการในรูปแบบ Adaptive Reuse จุดไหนเสียก็จะเสริมให้แข็งแรง ระหว่างห้องจะกั้นด้วยผนังเบา และพร้อมจะปรับตัวให้เข้ากับฟังก์ชันใหม่ใน อนาคตที่ปรับเปลี่ยนได้ ในขณะที่หนึ่งด้านปล่อยให้การอนุรักษ์อาคารก็ด�ำเนินต่อไป แต่บริบทที่รายล้อม ในชุมชนล้วนถูกปลุกให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งเช่นกัน “เราจัดตัง้ กระบวนการเพือ่ ให้เยาวชนมาศึกษาท้องถิน่ เรียกว่า ช�ำระประวัตศิ าสตร์ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวจากคนรุ่นเก่าสู่เยาวชนรุ่นใหม่ ผมจ�ำได้ว่าวันนั้นฝนตก ก็ ยังหวั่นใจว่าคุณย่าคุณยายจะมาร่วมกันหรือไม่ แต่ปรากฏว่ามากันเต็ม วันนั้น สนุกมาก คนที่เคยมาเที่ยวริมแม่น�้ำจันทบูรอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าแต่เดิมที่นี่มี ท่าเรือเยอะมาก ท่าเรือแต่ละท่ามีประวัตศิ าสตร์ทงั้ นัน้ เช่น มีทา่ เรือทีร่ ชั กาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสต้น ท่านี้เคยเป็นที่ล้างถั่วงอกของชุมชน แล้วคนเฒ่าคนแก่ เขาสนุกมากที่ได้เล่า นี่ท�ำให้ผมเห็นว่า คนที่ภูมิใจในตัวเองมันมีพลังมากแค่ไหน “เราไม่ได้ท�ำแค่อนุรักษ์บ้าน แต่เราก�ำลังขับเคลื่อนชุมชน โครงการต่อไปที่ผมจะ ร่วมสานต่อ คือเชิญชาวบ้านในละแวก มาเปิดบ้านตัวเองให้เป็นบ้านเรียนรู้ อาทิ บ้านที่เจียระไนพลอย เปิดสอนให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้กระบวนการเจียระไน พลอยเช่นในอดีต เป้าหมายคือแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ คนในก็ภาคภูมิใจที่ เขาเป็นตัวเอง เป็นครูที่ให้ความรู้ได้ “ตอนยังเด็ก ผมเคยเข้าใจว่า เราอนุรกั ษ์เพราะเสียดายในสิง่ ทีส่ ร้างใหม่ไม่ได้ แต่ ต่อมาก็พบว่า จริงๆ แล้วสิง่ ทีส่ ำ� คัญกว่านัน้ คือการรักษาสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าไว้ เพือ่ ส่งต่อ ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้” ประวัติศาสตร์จะห่างจากเราไปเรื่อยๆ ถ้าเราอนุรักษ์โดยที่ผู้คนไม่ได้เข้ามา สัมผัส คงเช่นการเห็นอาคารเก่าสักหลัง แต่เราไม่สามารถเรียนรู้ ไม่สามารถ ท�ำความรู้จักอาคารหลังนั้นได้ ก็เป็นแค่การเห็นแล้วผ่านเลยไป เช่นเดียวกับ การอนุรักษ์ การอนุรักษ์จะมีค่า เมื่อคนในชุมชนร่วมกันดูแลประวัติศาสตร์ ของพวกเขาให้คงอยู่ต่อไป -24-


บ้านพักประวัติศาสตร์ หลวงราชไมตรี

เดินทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มาสัมผัสบรรยากาศอัน แสนสงบและมีเสน่ห์

ราคา 1,100 – 2,650 บาท

https://www.facebook.com/baanluangrajamaitri http://www.baanluangrajamaitri.com/

-25-


เรื่อง

จำ� คำ�น่า

“เรียนรู้จากวันวาน ใช้ชีวิตอยู่ในวันนี้ มีความหวังกับวันพรุ่งนี้” -อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์-

se : Mu

m Tea

d

ar w r o f

ieดู v o M นังน่า ห

JURASSIC WORLD

ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเกิดทัน ช่วงเวลาวัยเด็กเมือ่ 2 ทศวรรษทีแ่ ล้ว ยอมรับ มาเสียเถิดว่าคุณเคยเข้าโรงภาพยนตร์เพื่อไปชม Jurassic Park และ ตื่นตาตื่นใจกับเสียงไดโนเสาร์ค�ำราม ส่วนในกรณีที่เกิดไม่ทัน เราก็เชื่อ ว่าคุณเองก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์โฮมวิดีโอกับหนังเรื่องนี้สักครั้ง… เมือ่ ยีส่ บิ สองปีทแี่ ล้ว ดร.จอห์น แฮมมอนด์ ใฝ่ฝนั อยากจะสร้างสวนสนุกที่ เติมเต็มความฝันของนักท่องเทีย่ วจากทัว่ โลก ให้ได้สมั ผัสกับความตืน่ เต้น และความน่าอัศจรรย์ใจของการได้เห็นไดโนเสาร์ตวั เป็นๆ วันนี้ ความฝัน ของเขาได้กลายเป็นความจริงแล้ว แต่ทว่าได้มีไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ แสนลึกลับฉายา อินโดไมนัส เร็กซ์ ผูซ้ งึ่ มีความร้ายกาจและความเฉลียว ฉลาดแต่ถกู สร้างขึน้ อย่างผิดจรรยาบรรณทางวิทยาศาสตร์ โดยดร.เฮนรี วู ทั้งเจ้าอินโดไมนัส เร็กซ์ ก็โตวันโตคืนแถมได้หลบหนีและหายตัวไปใน ป่าลึก งานนีส้ งิ่ มีชวี ติ ทัง้ หมดในจูราสสิก เวิลด์ ทัง้ ไดโนเสาร์ (ทีบ่ างพันธุ์ ก็อันตรายแล้วยังต้องหนาว) และมนุษย์ นักท่องเที่ยว เด็กๆ ล้วนตก อยู่ในอันตราย งานนี้บอกได้ค�ำเดียวว่า ยินดีต้อนรับสู่โลกของจูราสสิก เวิลด์ ภาพยนตร์ที่จะท�ำให้จินตนาการและความทรงจ�ำวัยเด็กของคุณ กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง เข้าฉาย : 11 มิถุนายน 2558 -26-


Fislm tival

fe กาลหนัง เทศ น่าดู (ก็)

EU Film Festival 2015 Thailand

เทศกาลภาพยนตร์สหภาพยุโรป 2015 ปีนี้คัดภาพยนตร์หัวกะทิ ประเด็นหนักหน่วงแต่สร้างแรงบันดาลใจ โดยคัดสรร 18 เรื่อง จาก 14 ประเทศสมาชิกในสหภาพ EU ทุกเรื่องมาพร้อมแนวคิด ‘New Life การเริ่มต้นชีวิตใหม่’ หลากรสชาติ โดยผู้ก�ำกับหยิบเรื่องราว ของการดิน้ รนเอาชีวติ รอดของมนุษย์ ทีม่ ผี ลพวงจากสงคราม ความรัก เชื้อชาติ ความรุนแรง และครอบครัว เพื่อที่จะก้าวเดินไปสู่ชีวิตใหม่ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เทศกาลนี้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้เรียนรู้ ความคิด สังคม และวัฒนธรรมของชาวยุโรป ผ่านความบันเทิงบน แผ่นฟิล์ม

หนังน่าดูในเทศกาล มีเรื่องอะไรบ้าง

Beautiful Youth หนังดรามาจากแดนกระทิง เรือ่ งราวของความรัก และการดิน้ รนของนาตาลีและคาร์ลอส ตัวแทนคนหนุม่ สาวในสังคม สเปนยุคปัจจุบัน ที่ใช้ชีวิตท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ พวกเขาไม่มี งานท�ำ และถึงกับต้องด�ำรงชีพด้วยการเล่นหนังโป๊ จนเมื่อนาตาลี เกิดท้อง เรื่องราวต่างๆ ล้วนถึงจุดวิกฤต Girlhood หนัง coming of age จากเยอรมนีที่สะท้อนถึงชีวิตของ วัยรุน่ ผิวสีในสังคมฝรัง่ เศสยุคปัจจุบนั มาเรียม เด็กสาวผิวสีทหี่ วั ไม่ดี เรียนไม่เก่ง ถูกครอบครัวท�ำร้าย การเป็นเด็กมีปัญหาท�ำให้เธอต้อง เปลี่ยนชื่อ ลาออกจากโรงเรียน และเริ่มขโมยของเพื่อให้ได้รับการ ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน มาเรียมก�ำลังเผชิญบททดสอบในการโตเป็น ผู้ใหญ่ครั้งส�ำคัญ Mr Hublot แอนิเมชั่นจากลักเซมเบิร์กที่คว้าออสการ์เมื่อปี 2014 ด้วยลายเส้นทีน่ า่ รัก บวกกับอารมณ์ฟลี กูด๊ ว่าด้วยชายหนุม่ และหมา ทีเ่ ขาเก็บมาจากข้างถนน กับการผจญภัยด้วยสายตาทีม่ องโลกในแง่ดี และพร้อมจะท�ำให้ทุกคนมีรอยยิ้ม

Let’s Check Out Now

โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ : 10-19 กรกฎาคม 2558 เชียงใหม่ : 24 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม เฉพาะขอนแก่น: (ชมฟรี) 7-9 สิงหาคม www.sfcinemacity.com หรือ www.facebook.com/EUinThailand -27-


kน o o b ังสือชว

หน นอดีต ย้อ

Vintage Trailer Style:

Buying, Restoring, Decorating & Styling the Small Place of Your Dreams ผู้เขียน Lisa Mora Vintage Trailer Style เล่าถึงบันทึกแสนเรโทรของรถบ้าน (หรือที่เรา รู้จักในนาม รถคาราวาน หรือรถแคมป์) ด้วยวิถีชีวิตในอดีตของผู้คนที่ ชื่นชอบการเที่ยวตะลอน รถบ้านส�ำหรับบางคนนั่นหมายถึงที่อยู่อาศัย บ้านเคลื่อนที่ส�ำหรับนักรอนแรมเลยทีเดียว รถบ้านได้รับความนิยมจาก ชาวอเมริกันทางฝั่งเหนือและยุโรป ในเล่มพาเราย้อนกลับไปชมบรรดารถบ้าน พร้อมคณะคาราวานที่แต่ง ทัง้ รถทัง้ บ้านได้คลาสสิก มีทกุ สไตล์ ทัง้ ป็อปหวานๆ แบบสีลกู กวาดสมใจ ไปจนถึงรถคาราวานเท่ๆ มันๆ ให้อารมณ์ฟังกี้ในยุค 70s ในเล่มบรรจุ ภาพถ่ายสวยๆ หวนสร้างแรงบันดาลใจกว่า 350 รูป ที่จะพาคุณย้อน ไปในยุคแห่งการเริ่มต้นช่วงปี 1930 อีกครั้ง พร้อมเกร็ดส�ำหรับมือใหม่ อยากจะรีโนเวตรถบ้านสักคัน ต้องเริ่มอย่างไรบ้าง ผู้เขียนคือหญิงสาว ผู้หลงรักเสน่ห์แบบอดีต ลิซ่า โมร่า บรรณาธิการของนิตยสาร Vintage Caravan อีกด้วย www.facebook.com/vintagecaravanmagazine

OLD SCHOOL หนังสือเล่มนี้มีระเบิด

ผู้เขียน : ณัฐชนน มหาอิทธิดล สำ�นักพิมพ์แซลมอน (SALMONBOOKS) เกิดทันกันไหม วัยเรียนกับตู้สติ๊กเกอร์ เด็กผู้ชายที่ต้องมีรถทามิย่าเป็น ไอเท็มคู่ใจ เราเล่นเกมแร็กนาร็อกออนไลน์ แถมฟอร์มวงดนตรีประกวด ฮอตเวฟ ผู้เขียน ณัฐชนน มหาอิทธิดล นิยามปรากฏการณ์นี้ว่า ระเบิด เวลา ที่จะพาเรากระเด็นกระดอนย้อนกลับไปเป็นเด็ก และสนุกกับอดีต อีกครั้ง -28-


Tonchabab Record Shop

c i s Mu

“ในร้านแผ่นเสียง สิ่งที่ชวนรื่นรมย์ที่สุดไม่ใช่การมีลูกค้าอยู่ในร้าน แต่คือการ มีลูกค้ามายืนร้องเพลงอยู่ในร้าน” นี่คือบันทึกส่วนหนึ่งที่ร้านแผ่นเสียงต้นฉบับ (Tonchabab record shop) ที่บอกเล่ากับลูกค้าของเขา และเมื่อการฟังดนตรี จากแผ่นเสียงไม่ใช่เพียงเรื่องของอดีตหรือคนรุ่นลุงเสมอไป Muse อยากแนะน�ำ ร้านแผ่นเสียงต้นฉบับร้านนี้ ที่ไม่ได้มีแค่แผ่นเสียง แต่ยังมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง บริการรับซ่อม หรือแม้แต่เทปคาสเซตต์หายาก พร้อมค�ำแนะน�ำส�ำหรับมือใหม่ หัดดื่มด�่ำฟังเพลงอีกด้วย เพลงเก่าหาฟังยากไปจนถึงเพลงใหม่ท่ีใครคุ้นหู ลอง แวะมาที่หน้าร้านแห่งนี้ดู ร้านต้นฉบับ หลังกระทรวงมหาดไทย ถนนบุญศิริ เสิร์ช Facebook : Tonchabab record shop

Museum Festival 2015

Art

สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ (สพร.) ชวนเทีย่ วงาน ‘Museum Festival 2015’ เทศกาลพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ธมี ‘ข้าว เกลือ โลหะ’ ทีจ่ ะพาไปเรียนรูจ้ ดุ เริม่ ต้นของวัฒนธรรม อีสานผ่านนิทรรศการในรูปแบบ Infographic ที่เข้าใจง่าย และพลาด ไม่ได้กับการรวมตัวของพิพิธภัณฑ์ในภาคอีสาน 30 แห่งมาไว้ในที่ เดียว ช้อปสินค้าต่อยอดไอเดียจากวัฒธรรมท้องถิ่น กิจกรรมเสวนา ตลอดจนรับชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสาน แล้วพบกันวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 19.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น เข้าร่วมงานฟรี รายละเอียดเพิ่มเติม www.facebook.com/museumsiamfan -29-


-30-


: ะภาพ ิการ ล แ ง เรื่อ รณาธ บร กอง

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก...

n

i k c e ch

มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ด้วยบัตร Muse Pass เอ่ยชื่อพิพิธภัณฑ์ เรามักจะคิดถึงสิ่งที่อนุรักษ์และ เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ของชนชั้นสูง แต่ด้วย แรงบันดาลใจของ อ.วราพร สุรวดี ที่อยากจะน�ำ เรื่องราว ‘ชนชั้นกลาง’ ของครอบครัวเล็กๆ ที่เธอ เติบโต เพือ่ สะท้อนประวัตศิ าสตร์สงั คมในยุคนัน้ เพือ่ ให้เยาวชนคนรุ่นหลังและผู้สนใจได้ศึกษาหาความรู้ ดังนั้นเมื่อคุณแวะมาที่นี่ เท่ากับคุณจะได้สัมผัสชีวิต ภายในอาคาร แบ่งเป็นห้องสำ�คัญ อาทิ ชาวบางกอกเมื่อ พ.ศ. 2480 ห้องรับแขก : จัดแสดงบรรยากาศของชาวบางกอก เครื่องเรือนไม้ทั้งโซฟาและ อาคารเรือนปัน้ หยามุงกระเบือ้ งว่าวสีแดงแห่งนีม้ ชี อื่ ว่า เก้าอี้นั่ง บรรยากาศในบ้านประกอบด้วยแก้วไวน์ เครื่องแก้วเจียระไนถูกน�ำมา พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (Bangkok Folk’s Museum) เรียงรายในตู้อย่างสวยงาม ตั้งอยู่ในเขตบางรัก จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์และ ความตั้งใจของ อ.วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่ง อยากจะจัดบ้านและทรัพย์สิน มรดกที่ได้จากมารดา คือ นางสอาง สุรวดี (ตันบุญเล็ก) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ เพือ่ ให้เยาวชนรุน่ หลังได้ศกึ ษา โดยได้ทำ� เรือ่ งยกบ้าน หลังนี้ให้เป็นสมบัติของกรุงเทพมหานคร

ห้องรับประทานอาหาร : ชวนย้อนไปถึงบรรยากาศยามเย็น ด้วยชุด dinner set ตามแบบวิถีตะวันตก โต๊ะรับประทานอาหาร 6-8 ที่นั่ง พร้อมเครื่องเคลือบ ภาชนะลายครามสไตล์จีน

ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ อาคารแต่ละหลังบอกเล่า เรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ สภาพชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ข องชาว บางกอกที่ มี ฐ านะปานกลางในช่ ว งก่ อ นและหลั ง สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งข้าวของเครื่องใช้ที่น�ำมา แสดงส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่เจ้าของบ้านได้ใช้งาน จริง ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมทีไ่ ด้รบั อิทธิพลมาจาก ตะวันตกซึง่ เป็นทีน่ ยิ มในยุคนัน้ เป็นอาคารไม้สองชัน้ หลังคาทรงปั้นหยา สร้างด้วยไม้ทาสีเลียนแบบผนัง ก่ออิฐถือปูนฝีมือช่างชาวจีน

และอาคารด้านหลัง เดิมเป็นตึกแถวเปิดให้เช่าขนาด 8 คูหา ต่อมาได้ยกเลิก สัญญา ปรับปรุงเป็นอาคารจัดแสดง 2 ชั้น น�ำเสนอประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของ ย่านบางรัก และมีโครงการที่จะจัดท�ำห้องสมุดไว้ให้บริการแก่คนในชุมชนอีกด้วย

ห้องหนังสือ : ห้องทีร่ วบรวมหนังสือของคุณหมอฟรานซิส คริสเตียน ชาวอินเดีย ซึ่งจบวิชาการแพทย์จากประเทศอังกฤษ (สามีของคุณแม่ อ.วราพร)

ในวันหยุดสุดสัปดาห์ หากมีเวลาว่างและอยากหวนเวลาไปท่องอดีตในยุค ‘เมื่อ คุณตาคุณยายยังเด็ก’ ลองมาแวะเทีย่ วท่องชมพิพธิ ภัณฑ์ทมี่ ชี วี ติ แห่งนีก้ นั ดูไหม… พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เปิดให้บริการวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00น. 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก โทร. 0-2233-7027 https://www.facebook.com/BkkMuseum -31-



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.