Week #1 Factor of Consumer Product

Page 1

Consumer Packaging Design วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design สาขาเทคโนโลยีศิลป์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์


• รหัสวิชา : 44000004 • ชื่อวิชา : การออกแบบบรรุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค 
 Consumer Packaging Design

• เวลาเรียน ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง • จำนวน 3 หน่วยกิต ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มผู้ใช้ ประโยชน์ใช้สอย ความงาม ความปลอดภัย วัสดุและกรรมวิธีการผลิต บรรจุภัณฑ์ หลักการและขั้นตอนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค บริโภคเบื้องต้น


หน่วยที่ 1

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ สินค้าอุปโภคบริโภค


1.1

พื้นฐานของ สินค้าอุปโภคบริโภค วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

1.1.1 ความหมาย 1.1.2 ประเภทของสินค้าอุปโภคบริโภค 1.1.3 ปัจจัยหลักของสินค้าอุปโภคบริโภค


1.1.1

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

ความหมาย


วันที่ 23 กันยายน 2557. online available : http://th.wikipedia.org/wiki/การบริโภค

Consumer’s Product : ความหมาย •

การบริโภค อาจหมายถึง การใช้ประโยชน์จาก สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้ บริโภคหรือ บำบัดความต้องการของมนุษย์คือ

1. การ บริโภคสินค้าคงทน ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้ ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสิ้นหรือหมาดสภาพไป 
 ยังใช้ได้อีกเป็นเวลานาน แต่เมื่อการใช้ย่อมเกิดการ สึกหรอ

2. การบริโภคสินค้าไม่คงทน ซึ่งเป็นการบริโภคที่ ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสินไป เช่น อาหาร เครื่อง ดื่ม เป็นต้น


Consumer หมายถึง

ผู้บริโภค คือ ผู้ที่มีความสามารถในการซื้อสินค้าและ บริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือในครัวเรือน ผู้ บริโภคมีจำนวนมากทั่วประเทศ บางคนก็ตัดสินใจใน การซื้ออย่างมีระเบียบแบบแผนสามารถใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ได้คุ้มค่า


ผานิต เพียรมาก. 18/10/2008. ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer Products) : http://www.thaigoodview.com/node/17240.

Consumer’s Product : ความหมาย

ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ( Consumer Product ) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ ( สินค้าหรือบริการ) ที่ซื้อมาโดย ผู้บริโภคในขั้นสุดท้าย (End User) มีวัตถุประสงค์ใน การซื้อไปใช้เพื่อบริโภคโดยส่วนตัวหรือซื้อมาเพื่อ บริโภคในหน่วยของครัวเรือน เป็นต้น


1.1.2

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

ประเภท ของสินค้าอุปโภคบริโภค


ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์. http://www.praveetelearning.com/elearning_content.php?subject_id=1&chapter_id=9 [9 กันยายน 2554]

สินค้าอุปโภคบริโภคจำแนกได้ 4 ประเภท

• • • •

1. ผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ (Convenience products) 2. ผลิตภัณฑ์เลือกซื้อ

(Shopping Products)

3. ผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อ (Specialty Products) 4. ผลิตภัณฑ์ไม่แสวงซื้อ (Unsought Products)


1. Convenience Products •

1. ผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ (Convenience products) หมายถึง สินค้าประเภทที่ผู้ซื้อสามารถหาซื้อได้อย่าง สะดวก มีวางจำหน่ายตามร้านค้าโดยทั่วไปเป็น สินค้าที่ใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน 
 อย่างไรก็ตามอาจจะแบ่งผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ เป็นผลิตภัณฑ์ซื้อประจำ


>> 1. Convenience Products


1. Convenience Products


>> 1. Convenience Products

ได้แก่อาหาร สบู่ ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาล้างจาน ยาสีฟัน แชมพูสระผม ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์ซื้อ เมื่อถูกกระตุ้น เช่น การซื้อข้าวสารบรรจุถุงชนิดที่มี ของแถม การซื้อสบู่นกแก้วเพราะมีการลดราคา และ ผลิตภัณฑ์ซื้อฉุกเฉิน ได้แก่ ยารักษาแผลสด บริการ รถพยาบาล เป็นต้น


2. Shopping Products •

2. ผลิตภัณฑ์เลือกซื้อ(เปรียบเทียบซื้อ) (Shopping Products) หมายถึง สินค้าประเภทที่ผู้ซื้อจำเป็นต้อง มีการเปรียบเทียบด้านคุณภาพ ราคา หรือรูปแบบ ก่อนการตัดสินใจซื้อ ทั้งนี้เพราะสินค้าเหล่านั้นมี คุณภาพ ระดับราคา หรือรูปแบบที่ต่างกัน ผู้ซื้อจะใช้ ความพยายามในการแสวงหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่ตรง ตามความต้องการของตนมากที่สุด


2. Shopping Products

Honda Vezel


>> 2. Shopping Products

การซื้อผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบซื้อจะใช้เวลาในการ ซื้อนานกว่าผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ ผลิตภัณฑ์เปรียบ เทียบซื้อมีทั้งชนิดที่เป็นสินค้าแบบเดียวกัน และ สินค้าต่างแบบ

หากเป็นสินค้าแบบเดียวกัน ผู้ซื้อจะเน้นคุณภาพ และ ราคาเป็นสำคัญ แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ต่างแบบกัน ผู้ซื้อ จะเลือกรูปแบบก่อน แล้วค่อยพิจารณาคุณภาพ และ ราคาในลำดับต่อมา ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เปรียบ เทียบซื้อได้แก่รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า บ้าน


3. Specialty Products •

3. ผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อ (Specialty Products) 
 หมายถึง สินค้าที่คุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะพิเศษ ตรงใจของผู้ซื้อเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ซื้อจะมีการ ตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับการซื้อสินค้า การใช้ความ พยายามในการซื้อจะสูงมาก

ที่มา:แหล่งอ้างอิง http://noonoi.ssrw.ac.th/n5.htm , www.finansalife.com www.travel-is.com


3. Specialty Products


>> 3. Specialty Products

ดังนั้นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อไม่จำเป็นต้อง วางจำหน่ายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง ผลิตภัณฑ์ เจาะจงซื้อมักจะเป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน ราคาต่อหน่วยสูง เช่น เครื่องดนตรี ของใช้หรูหรา ที่ เน้นตรายี่ห้อ เครื่องแต่งกายที่เน้นตรายีห้อ อาหาร เสริมสุขภาพ เครื่องบันทึกเสียงที่เน้นตรายี่ห้อ เป็นต้น


4. Unsought Products •

4. ผลิตภัณฑ์ไม่แสวงซื้อ (Unsought Products) 
 หมายถึง สินค้าที่ผู้ซื้อไม่มีความต้องการซื้ออันเนื่อง มาจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็น หรือไม่รู้มาก่อนว่ามี ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นวางจำหน่าย อย่างไรก็ตามหากผู้ ขายใช้ความพยายามในการขายให้มากก็สามารถ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้ ผลิตภัณฑ์ไม่แสวง ซื้อสำหรับบ้านเราได้แก่ ประกันชีวิต อุปกรณ์ชูชีพ เครื่องทำน้ำแร่ หนังสือสารานุกรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ ที่เป็น นวัตกรรม ที่มา:แหล่งอ้างอิง http://noonoi.ssrw.ac.th/n5.htm , www.finansalife.com www.travel-is.com


4. Unsought Products


ขั้นตอน การตัดสินใจซื้อสินค้า ของผู้บริโภค Category: บรรจุภัณฑ์อาหาร [Food packaging โดยอาจารย์ปุ่น และ อาจารย์สมพร คงเจริญเกียรติ] Release Date: อาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:58 น.

http://www.foodnetworksolution.com/knowledge/content/138


• ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค

กลุ่มเป้าหมายที่ จับจ่ายซื้อสินค้ามีเหตุจูงใจที่แตกต่างกัน

• การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ต้องพยายามสนองตอบ ต่อสิ่งจูงใจของกลุ่มเป้าหมายที่จะให้เลือกสินค้า เช่น กลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยว เป็นต้น กลุ่ม เป้าหมายที่จะให้เลือกสินค้าอุปโภคบริโภคแตก ต่างกัน


พฤติกรรมการเลือกสินค้า อุปโภคบริโภค

Category: บรรจุภัณฑ์อาหาร [Food packaging โดยอาจารย์ปุ่น และ อาจารย์สมพร คงเจริญเกียรติ] Release Date: อาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:58 น.

http://www.foodnetworksolution.com/knowledge/content/138


(1) ซื้อน้อยแบบดาวกระจาย

กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มักจะเป็นคนโสด ครอบครัวขนาดเล็กและหนุ่มสาววัยรุ่นที่มี กำลังซื้อไม่มากนัก ซื้อสินค้าปริมาณน้อยชิ้น แต่อาจซื้อหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังการซื้อ

• การออกแบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายนี้จะต้อง

คำนึงถึงปริมาณต่อบรรจุภัณฑ์ที่น้อย มีความ สะดวกในการใช้และเก็บหลังการใช้


บรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก จากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ Bioway โดยผลงานการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ของ Marisol Escorza จากประเทศสเปน ซึ่งมาพร้อมกับขวดพลาสติกทรงโค้งเว้า เหมาะแก่การหยิบจับ นอกจากนี้ยังมีการทำลวดลายคล้ายกับเนื้อของผลไม้แต่ละชนิดทำให้เพิ่ม ความอยากลิ้มลองตัวผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น http://www.bunjupun.com/บรรจุภัณฑ์-ขวดพลาสติก-bioway/2011/10/18/.html#more-5587


บรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก “Easy Drink” เป็นผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของ Hsu Hsiang-Min, Liu Nai-Wen และ Chen Yu-Hsin


ซึ่งตัวขวดนั้นจะมีลักษณะพิเศษคือจะมีปาก ขวดเอียงทำมุม 45 องศากับตัวขวด ซึ่ง ประโยชน์ของมันก็คือทำให้เวลาเติมน้ำ ผ่านทางก๊อกน้ำทำได้ง่ายขึ้น และ เวลาดื่ม ไม่ต้องเอียงคอให้เมื่อย


บรรจุภัณฑ์กล่องอาหารกลางวันกระดาษ จาก ASDA Lunchboxes โดยการออกแบบของ Emma Smart นักศึกษา Graphic Design จาก Loughborough University


ภายในกล่องนั้นจะเป็นลาย กราฟิครูปจานและช้อนส้อม ใน หลากหลายบรรยากาศ โดยกล่อง อาหารกลางวัน ที่ออกแบบนี้ได้รับ รางวัลชนะเลิศรางวัล AD&AD Yellow Pencil อีกด้วย


(2) ซื้อมากแบบดาวเต็มฟ้า

กลุ่มเป้าหมายนี้อาจจะกว้างกว่าหรือมีมากกว่ากลุ่ม เป้าหมายแบบแรก

การออกแบบเพื่อการจับกลุ่มเป้าหมายนี้ให้ชัดเจนจึง ค่อนข้างลำบากมากกว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ มุ่งให้ความสำคัญต่อสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือจุด ขายเป็นหลักในการออกแบบ

พิจารณาสภาวะคู่แข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น อาหาร ขบเคี้ยวสำหรับผู้ชาย จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ สร้างความเป็นชายบนบรรจุภัณฑ์ และพยายามฉีก แนวจากคู่แข่งขัน


อาหารกล่องสำหรับ 2 ที่ โดย ผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของ Amy Louise Baker 
 ซึ่งตัวกล่องถูกออกแบบให้ สามารถถือพกพาได้อย่าง สะดวกสบายด้วยหูหิ้วด้านบน


นอกจากนี้เวลากางออกมาด้านใน ก็จะมีการพิมพ์ลวดลายให้เหมือน กับโต๊ะอาหารจีนโดยที่จะมี ตะเกียบติดมาด้วย เรียกได้ว่า พร้อมรับประทาน


บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งสำหรับไข่ไก่โดย Éva Valicsek สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่แตกต่างด้วย บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่ไข่ไก่แบบใหม่ล่าสุด จากประเทศ ฮังการี


โดยที่เลือกใช้วัสดุเป็นกระดาษ ลูกฟูกลอน E โดยเน้นโครงสร้าง รูปสามเหลี่ยมเพื่อใช้ช่วยในการ รองรับแรงเพื่อป้องกันตัว ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นไข่ไก่ที่แตกง่าย


(3) ซื้อแบบดาวดวงเด่น

• เป็นการซื้อแบบเฉพาะเจาะจง

เช่น การซื้อเครื่องดื่ม ชูกำลัง กลุ่มเป้าหมายจะสามารถกำหนดได้อย่าง เด่นชัด

• การออกแบบจะเน้นอรรถประโยชน์และภาพพจน์ของ สินค้าเป็นเกณฑ์ เหตุจูงใจในการซื้อสินค้าเหล่านี้ เป็นการซื้อเพราะความนิยมและความเชื่อถือ




(4) ซื้อแบบดาวหาง

การซื้อแบบไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือ เกิดความอยากได้ อย่างฉับพลัน เมื่อเห็นสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับนัก ท่องเที่ยวนับได้ว่าเป็นการซื้อแบบดาวหาง

การออกแบบจะเน้นสถานที่ผลิต ตราสินค้า ส่วน ประกอบทางโภชนาของสินค้า เป็นต้น ส่วนรูปแบบ กราฟิกจะสะดุดตาและสะดวกในการนำพา


บรรจุภัณฑ์สำหรับบะหมี่ จาก Noodeli โดยผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของ Helen Maria Bäckström จากประเทศสวีเดน โดยได้แรงบันดาลใจใน การออกแบบมาจาก Geisha ของญี่ปุ่น ซึ่งตัวกล่องจะมาพร้อมกับตะเกียบที่ ดูคล้ายกับปิ่นปักผมที่ดีไซน์ออกมาได้เข้ากันมาก


บรรจุภัณฑ์ถ้วยพลาสติก สวยๆจากผลิตภัณฑ์ Quaker Oats โดยผล งานการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ของ Brigid Eduarte ซึ่งออกแบบมาเพื่อประกวด ในงาน D&AD กับคอนเซป ที่ว่า “delicious treat for young professional women.” โดยตัวถ้วยถูก
 ครีเอทออกมาให้ดูน่ารับ ประทานด้วยการใช้รูปของ ผลไม้และส่วนผสมต่างๆ เป็นไฮไลท์ นอกจากนี้ตัวฝา ของถ้วยยังทำออกมายั่วให้ ลูกค้าเกิดความรู้สึกอยากที่ จะตักมันขึ้นมาชิมจริงๆ


New Marketing in Korea

by QR-Code




แหล่งที่มา: http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ผลิตภัณฑ์. (ค้นคว้าเมื่อ 23 พ.ย. 2555)

ประเภทของสินค้าอุปโภคบริโภค 1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) หมายถึง สินค้าหรือ บริการที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ความต้องการในการบริโภคสินค้า ประเภทนี้ มักเกิดขึ้นอย่างอิสระจากความต้องการและความคิดส่วนตัว 2. สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) หมายถึง สินค้าใน ตลาดอุตสาหกรรมผู้ซื้อจะซื้อไปเพื่อเป็นปัจจัยในการผลิต เพื่อการขาย ต่อ ผู้ซื้อสินค้าประเภทนี้เรียกว่าผู้ซื้อทางอุตสาหกรรม


1.1.3

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

ปัจจัยหลักของสินค้า อุปโภคบริโภค


>> ปัจจัยหลักของสินค้าอุปโภคบริโภค

1.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ สินค้า สะดวกซื้อ สะดวกใช้ อย่างแท้จริง


>> ปัจจัยหลักของตลาดสินค้าสะดวกซื้อ


>> ปัจจัยหลักของตลาดสินค้าสะดวกซื้อ

ราคาต่อหน่วยไม่สูง มี การลดแลก แจกแถม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ ซื้ออย่างรวดเร็ว จะได้ กำไรจาก การขาย ปริมาณมาก


>> ปัจจัยหลักของตลาดสินค้าสะดวกซื้อ

วางจำหน่ายอย่าง ทั่วถึง ครอบคลุม ตลาดให้กว้าง ใกล้ และสะดวกที่สุด


>> ปัจจัยหลักของตลาดสินค้าสะดวกซื้อ

โฆษณาประชาสัมพันธ์อย่าง สม่ำเสมอ ว่าสามารถหาซื้อ สินค้าได้จากไหน


>> ปัจจัยหลักของตลาดสินค้าสะดวกซื้อ

จัดกิจกรรมส่งเสริม การขายอย่าง สม่ำเสมอ จัดโชว์ สินค้าให้โดดเด่น เพื่อดึงดูดใจลูกค้า


http://www.foodnetworksolution.com/knowledge/content/138

Category: บรรจุภัณฑ์อาหาร [Food packaging โดยอาจารย์ปุ่น และ อาจารย์สมพร คงเจริญเกียรติ] Release Date: อาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:58 น.

1.2

พฤติกรรมของผู้บริโภค ในการซื้อสินค้า วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

1.2.1 ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค 1.2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค 1.2.3 การวิเคราะห์ระยะการมองของผู้บริโภค


1.2.1

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

ขั้นตอนในการ ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค


ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ของผู้บริโภค

• ส่วนประกอบต่างๆ ที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์จะได้รับ

การอ่านโดยทางประสาทตา ประสาทความรู้สึกของ คนจะอ่านข้อมูลเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่มี เช่น ยี่ห้อ สีสันในการออกแบบ หรืออาจมีการ เปรียบเทียบกับข้อมูลของบรรจุภัณฑ์คู่แข่งที่อยู่ ใกล้ๆ แล้วทำการวิเคราะห์ ขบวนการตัดสินใจดัง กล่าวนี้จะกระทำอย่างเร็วมากโดยใช้เวลาไม่กี่วินาที


ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้า สนใจ

ประทับใจ

เปรียบเทียบ

ตัดสินใจซื้อ

หารายละเอียด เพิ่มเติมเพื่อ
 ให้มั่นใจ


1.2.2

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

ปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมผู้บริโภค


ปัจจัยทางวัฒนธรรม วัฒนธรรม (Culture) เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สุดในการ กำหนดความต้องการและพฤติกรรมของมนุษย์ วัฒนธรรมเป็น สัญลักษณ์และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเป็นที่ยอมรับจากคนรุ่น หนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ประกอบด้วยสิ่งที่มีตัวตน (Intangible Concept) เช่น การศึกษา ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงค่านิยมและพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่ ได้รับการยอมรับภายในสังคม ใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ


ปัจจัยทางสังคม

เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอ้างอิง ครอบครัว บทบาท และสถานะของผู้ซื้อ


ปัจจัยส่วนบุคคล

การตัดสินใจของผู้ซื้อมักจะได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น อายุของผู้ใช้ วงจรชีวิตครอบครัว อาชีพ สภาวการณ์ทาง เศรษฐกิจ แผนการใช้ชีวิต บุคลิกภาพ และแนวความคิดเกี่ยวกับ ตนเอง


ปัจจัยทางจิตวิทยา

การเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งจัดปัจจัย ในตัวผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อและใช้สินค้า ปัจจัยทาง จิตวิทยาประกอบด้วยการจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ความเชื่อและ เจตคติ บุคลิกภาพและแนวความคิดของตนเอง


1.2.3

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

การวิเคราะห์ ระยะการมองของผู้บริโภค


การวิเคราะห์ระยะของการมองของ ผู้บริโภคเพื่อการตัดสินใจซื้อสินค้า

• ภายใต้สภาวะการจัดจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต

ขั้นตอนของ ความสนใจในบรรจุภัณฑ์ใดๆ ที่วางอยู่บนหิ้งมักจะเกิดในระยะ ประมาณ 3 เมตรขึ้นไปหรือในระยะที่คนผ่านหิ้งชั้น


• ขั้นตอนความประทับใจในบรรจุภัณฑ์จะเกิดในระยะ

ไม่เกิน 3 เมตรซึ่งเป็นระยะที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มอ่าน ได้ว่า สินค้าเป็นอะไร ผู้ผลิตเป็นใคร ในช่วงระยะไม่ เกิน 3 เมตรที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มอ่านรายละเอียดบน บรรจุภัณฑ์ได้


ความกว้างที่มองเห็นในแต่ละระยะจากหิ้ง


ผลการศึกษาการอ่านตามแนวดิ่งของหิ้งชั้น


ความกว้างที่มองเห็นในแต่ละระยะจากหิ้ง ผลจากการวิจัยพบว่าการ สร้างความประทับใจของบรรจุ ภัณฑ์ลูกค้าจะเกิดในระยะไม่เกิน 3 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่กลุ่มเป้า หมายเริ่มเห็น อ่าน หรือรู้ว่าเป็น สินค้าอะไร ผลิตโดยใคร และ จำรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นในระยะไม่ เกิน 1 เมตร ลูกค้าสามารถมองดู บรรจุภัณฑ์และทำการเปรียบ เทียบหารายละเอียด เพื่อความ มั่นใจ และใช้เป็นเหตุผลในการ ตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ


• ส่วนประกอบในการออกแบบที่สำคัญ

คือ ต้องทราบ ถึงจุดเด่นของสินค้า ที่เรียกว่า Unique Selling Point ซึ่งบรรจุภัณฑ์พยายามจะอวดและเชิญชวนให้ติดตาม รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยการหยิบขึ้นมาพิจารณา และเปรียบเทียบ


• การออกแบบให้เกิดความสนใจในระยะนี้

มักจะเกิดจากรูปทรง และส่วนประกอบโดยรวมของบรรจุภัณฑ์ เช่น ตราสินค้า เป็นต้น บ่อยครั้งที่เกิดจากโฆษณาหรือมีความทรงจำที่ดีมาก่อน ในบาง ครั้งอาจเกิดจากป้ายโฆษณา ณ จุดขาย ราคาที่ลดพิเศษหรือมีการ ส่งเสริมการขาย เป็นต้น


• ขั้นตอนที่เหลือ

คือ การเปรียบเทียบหารายละเอียด เพื่อความมั่นใจ การตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อนั้นมักจะ เกิดในระยะไม่เกิน 1 เมตร ระยะนี้เกิดขึ้นที่ระยะ ประมาณ 20 เซนติเมตร คือ ในระยะที่กลุ่มเป้า หมายจะหยิบบรรจุภัณฑ์ขึ้นมา ศึกษาเปรียบเทียบ และตัดสินใจ


สรุป

การเลือกซื้อสินค้าเพื่อนำมาอุปโภคบริโภค ผู้ บริโภคต้องรู้จักประเภทของสินค้าแต่ละ ประเภท เพื่อให้การใช้สินค้านั้นคุ้มค่ากับการ ใช้จ่ายเงิน ซึ่งในยุคของเศรษฐกิจที่หยุดชงัก ผู้ บริโภคต้องระมัดระวังการใช้จ่ายของ ตนเอง.เพื่อการประหยัด และเพื่อให้เกิดการ เก็บออม ที่มา:แหล่งอ้างอิง http://noonoi.ssrw.ac.th/n5.htm , www.finansalife.com www.travel-is.com


References

• ชัยรัตน์ อัศวางกูร. “ออกแบบให้โดนใจ”. กรุงเทพ. 2548.

•ผานิต เพียรมาก. “ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค” (Consumer

Products) 2551.ที่มา : http://www.thaigoodview.com/ node/17240. [28/10/2557].

•ปุ่น และ สมพร คงเจริญเกียรติ. “บรรจุภัณฑ์อาหาร”. กรุงเทพ. 2555.


Assignment #1 • ให้ นศ. คัดลอก บรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภค • รูปแบบบรรจุภัณฑ์ (ลงสีให้เหมือนจริง) • ภาพคลี่ของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ พร้อมบอกขนาด • **ให้เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำ SKD 
 มาทุกครั้ง

วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.