3.3 week 4
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
หลักการ เขียนแบบร่าง
3.3.1 การเขียนภาพแสดงรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ 3.3.2 การเขียนภาพคลี่ของบรรจุภัณฑ์
3.3.1
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
การเขียนภาพ แสดงรายละเอียด
ภาพแสดงรายละเอียด Detail •
เป็นการเขียนภาพแสดงลักษณะการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ ตามที่ผู้ออกแบบคิดไว้ การเขียนภาพเน้นจุดหรือบริเวณที่ ต้องการแสดงในลักษณะ 3 มิติ หรือการแสดงให้เห็นการ ติดตั้ง การประกอบชิ้นส่วนอื่นๆเข้ากับชิ้นงาน ด้านล่างของ ภาพประ กอบ ควรเขียนข้อความอธิบายประกอบเพื่อความ เข้าใจ และควรลงสีประกอบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความ สนใจ
การเขียนภาพแสดงรายละเอียด
•
ภาพแสดงรายละเอียด (Detail) บรรจุภัณฑ์ คือการเขียนภาพที่นักออกแบบ ต้องการแสดงการใช้งานบรรจุภัณฑ์ เช่น การเปิด -ปิด การพับ การจับ ถือ หิ้ว เก็บ เป็นต้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าใจ ถึงการใช้งานที่ถูกต้องของบรรจุภัณฑ์
ความสำคัญของภาพ Detail •
ความสำคัญของภาพแสดงราย ละเอียด คือ สามารถแสดงสิ่งที่ผู้ เขียนไม่สามารถ อธิบายออกมา เป็นภาษาเขียนได้ นอกจากนี้ ภาพประกอบงานพิมพ์ ไม่ว่าจะ เป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ บรรจุภัณฑ์ ปกเทป แผ่น พับ แผ่นปลิว ฯลฯ ส่วนใหญ่ ล้วนต้องใช้ภาพประกอบทั้งสิ้น
3.3.2
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
การเขียนแบบภาพคลี่ ของบรรจุภัณฑ์
การเขียนแบบภาพคลี่บรรจุภัณฑ์ •
ภาพคลี่คือ การเขียน ภาพเต็มขนาดพื้นที่ผิว ของบรรจุภัณฑ์ เสมือน กางออกบนพื้นที่ราบ ภาพ คลี่เกิดจากการร่างแบบ ที่ เรียกว่าการเขียนแบบ ภาพคลี่ (Pattern) โดย การเขียนแบบภาพคลี่ ก่อนที่ชิ้นงานจะถูกนำไป ใช้ในการผลิตจริงต่อไป
รูปแบบภาพคลี่พื้นฐาน
•
รูปทรงปริซึม
•
รูปทรงพีระมิด
•
รูปทรงกระบอก
•
รูปทรงกรวย
ตะเข็บของบรรจุภัณฑ์
ตะเข็บนั้นมีมากมายชนิด เพื่อความเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท ตะเข็บสามารถ ยึดต่อ ให้แข็งแรงได้โดยตัวมันเอง เช่นการเชื่อม การย้ำหมุด การเย็บ การติดกาว เป็นต้น ในการ พับขอบชิ้นงานเพื่อความแข็งแรงของงานนั้น มุมที่ตะเข็บจะตัดเป็นมุม 45 องศา จะทำให้งานที่ พับชนกันพอดีไม่เกยกัน
ขั้นตอนการเขียนแบบภาพคลี่ 3.1 เขียนแบบแผ่นคลี่ของชิ้นงานที่ออกแบบเรียบร้อยแล้ว ลงในกระดาษแบบ ที่ต้องการ 3.2 คัดลอกแบบแผ่นคลี่จากกระดาษแบบ ลงบนผิววัสดุที่ต้องการทำบรรจุ ภัณฑ์ เช่นกระดาษแข็ง ผ้า แผ่นพลาสติก กระดาษลูกฟูก เป็นต้น 3.3 ใช้มีดตัดวัสดุบรรจุภัณฑ์ ตามแนวรอยเส้นร่าง ตัดวัสดุในส่วนที่ไม่ต้องการ ออก เหลือแผ่นคลี่ที่จะนำไปทำบรรจุภัณฑ์ไว้ 3.4 นำภาพแผ่นคลี่ที่ได้ ไปพับขึ้นรูปเป็นรูปร่างตามแบบที่ออกแบบไว้ 3.5 ยึดติดส่วนประกอบของชิ้นงานเข้าด้วยกัน ตรวจสอบความประณีต เรียบร้อยของด้านต่างๆ 3.6 นำบรรจุภัณฑ์ที่ได้ ไปตกแต่งรายละเอียดอื่นๆ เช่น ส่วนประกอบ การแต่ง สี การเคลือบ เป็นต้น
วิธีการเขียนภาพคลี่ 1. การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนาน เป็นการใช้เขียนแผ่นคลี่ วัตถุที่มีรูปทรงลูกบาศก์ รูปทรงกระบอกรูปทรงเหลี่ยม เพราะขอบด้านของวัตถุย่อมขนานกันเสมอ 1.1 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนานวัตถุรูปกล่องสี่เหลี่ยม 1.2 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนานวัตถุรูปทรงกระบอก 1.3 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนานวัตถุรูปทรง 6 เหลี่ยม
2. การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นรัศมี การเขียนแบบภาพคลี่ด้วยวิธีพิรามิด
การเขียนแบบภาพคลี่ด้วยวิธีรัศมี
2.1 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นรัศมีวัตถุรูปทรงพีระมิด 2.2 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นรัศมีวัตถุทรงกรวยกลม
3. ภาพคลี่วิธีใช้รูปสามเหลี่ยม
การเขียนภาพคลี่ของวัตถุรูปทรงพีระมิดเอียง รูปทรงกรวย เอียงรูปข้อต่อ และรูปทรงอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีเส้นขนาน และวิธีเส้นรัศมีได้
3. ภาพคลี่รูปสามเหลี่ยม
ภาพคลี่สามเหลี่ยมพิรามิด ฐาน 4 เหลี่ยม
3. ภาพคลี่รูปสามเหลี่ยม
ภาพคลี่รูปทรงพีระมิดฐาน 3 เหลี่ยม
Marianne Rosner, Klimchuk and Sandra A. Krasovec.(2006). PACKAGING DESIGN Successful Product Branding from Concept to Shelf. John Willy & Son Inc. USA. (หน้า 126-127)
3.3.3
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
การเขียนแบบภาพแสดง การใช้งานของบรรจุภัณฑ์
Instructional Illustration Instructional illustration คือ ภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์เพื่อ ให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภค โดยได้ถูกกำหนดให้เป็นภาพที่แสดง ข้อมูลการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งภาพประเภท นี้ โดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นถึง วิธีการ กระบวนการ หรือขั้น ตอน การใช้งานบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้อง และตอบสนอง วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการแนะนำวิธีการใช้งานที่ถูกต้องให้ แก่ผู้บริโภค
ภาพแสดงการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ Instructional Illustration
ภาพแสดงการเปิดกล่องชา และการหยิบซองชาออกมาจากถาด
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเขียนภาพประกอบ
Instructional Illustration • การรับรู้ของภาพที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม • ภาพประกอบ, ภาพถ่าย, ไอคอน, สัญลักษณ์และตัวอักษรที่ ประกอบกันขึ้นในรูปแบบที่เป็นสร้างภาษาภาพที่ช่วยให้ กระตุ้นการมองเห็น • จินตภาพที่ควรสื่อความหมายที่ตรงจุด และมีความเหมาะสม เพื่อที่จะสื่อสารบุคลิกของตราสินค้าและคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจง ชัดเจน และผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย
• ภาพทั้งหมด รูปแบบ ภาพ และสี เป็นสิ่งสำคัญ ที่นับว่าเป็น กลยุทธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ • จุดเด่นของภาพ ต้องเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสะดุดตาบนบรรจุภัณฑ์ • จินตภาพควรได้รับการออกแบบ ให้เหมาะสมกับบริบทของรูป แบบการใช้งาน
References
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
1. เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์. (2557) การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สมุนไพร ชาเชียงดาสันมหาพน. งานสร้างสรรค์เฉพาะตน. มทร.ล้านนา เชียงใหม่. 2. ยุทธพงษ์ สืบภักดี. [20 ก.ค. 2557].ความหมายของภาพประกอบเรื่อง คือ อะไร?. online Available : http://www.yuttapong.com/?p=387. [20 ก.ค. 2557] 3. Marianne Rosner, Klimchuk and Sandra A. Krasovec.(2006). PACKAGING DESIGN Successful Product Branding from Concept to Shelf. John Willy & Son Inc. USA. 4. _____________. (2555). แบบร่างและการนำเสนอ (online) available: http://NETRA.LPRU.AC.TH/~WETA/C3/C3_PRINT.HTML. [20 ก.ค. 2557]
Assignment # 2 ให้นักศึกษาจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเขียนแบบบรรจุภัณฑ์ เขียนแบบภาพแสดงการใช้งาน Instructional Illustrations ของบรรจุภัณฑ์ เขียนภาพคลี่ Pattern ของบรรจุภัณฑ์ ตกแต่งลายเส้นและลงสีภาพ ให้เรียบร้อยสวยงาม ส่งงานในเวลาที่กำหนด วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์