บทที่ 5 วัสดุบรรจุภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค
5.3 บรรจุภัณฑ์พลาสติก 5.3.1 คุณสมบัติพื้นฐานของพลาสติก 5.3.2 รูปแบบของบรรจุภัณฑ์พลาสติก 5.3.3 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ บรรจุภัณฑ์พลาสติก
บรรจุภัณฑ์พลาสติก พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “พอลิเมอร์” มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ POLY (แปลว่า หลายๆ) บวกกับ MEROS (แปลว่า ส่วน) พลาสติกจัดได้ว่าเป็นสารอินทรีย์ซึ่ง ประกอบด้วยธาตุหลัก 3 อย่างคือ คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน มีน้ำหนักโมเลกุลสูง เมื่ออยู่ใน สภาวะปกติ จะมีสถานะเป็นของแข็ง แต่สามารถทำให้ไหลได้หากใช้ ความร้อนและความดัน ภายใน ระยะเวลาที่เหมาะสม
5.3.1
คุณสมบัติพื้นฐาน ของพลาสติก
พลาสติกที่นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ ในประเทศไทย ได้แก่ 1. PE (Polyethylene) 2. PP (Polypropylene) 3. PVC (Polyvinylchloride : U) 4. PS (Polystyrene) 5. PET (Polyethylene terephalate) 6. กลุ่ม PVDC (Polyvinylidene chloride), P.A. (Polyamide), lanomer, EVOH (Ethylene Vinylacahal copolymer) พลาสติกใน กลุ่มนี้ไม่นิยมใช้เป็นพลาสติกเดี่ยว นิยมใช้เคลีอบกับวัสดุชนิดอื่นๆ เช่น AI, กระดาษ
PE : Polyethelene เป็นพลาสติกที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์ นิยมผลิตเป็น ถุง,ฟิล์ม ขวด และเครื่องใช้ในครัวเรือนพลาสติกในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. LDPE (Low density polyethylene) นิยมผลิตเป็นถุง ฟิล์ม หด (Shink film) และฟิล์มยืด (Streth film) หรือใช้เคลือบกับ วัสดุภัณฑ์ชนิดอื่น เพื่อช่วยในการปิดผนึกและป้องกันน้ำ 2. HDPE (High density polyethylene) นิยมผลิตเป็นขวด ถาด เครื่องใช้ในครัวเรือน เพราะเป็นพลาสติกที่มีความคงรูป ได้ดีกว่า LDPE หรือใช้เคลือบกับวัสดุภัณฑ์อื่น เพื่อเพิ่มความ แข็งแรงและช่วยในการปิดผนึก
การใช้งาน : สามารถใช้บรรจุผลิตภัณฑ์อาหารที่มีต่อการซึมผ่านเข้า ออกของก๊าซ เช่น ผักผลไม้สด (LDPE) เฉพาะ LDPE ยอมให้ ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ป้องกันความชื้นได้ดี เหมาะกับอาหาร หรือ สินค้าอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่ต้องการความชื้นไม่เหมาะสำหรับบรรจุ ของเหลวที่มีส่วนผสมของตัวทำละลาย (solvent)
PP : Polypropylene เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ PE แต่ความ ทนทานต่อความร้อนได้สูงถึง 120oC (ในขณะที่ LDPE ทนร้อนได้ 80oC) ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี มี ความทนทานต่อสารเคมี ตัวทำละลาย วิธีการผลิตฟิล์ม ทำให้เกิดฟิล์ม 2 ชนิด OPP (oriented polypropylene) และ CPP(cast polypropylene)
การใช้งาน : สามารถใช้บรรจุภัณฑ์อาหาร สินค้า อุตสาหกรรมทุกชนิดไม่เหมาะกับอาหารสดจำพวกพักผล ไม้ เพราะอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำใช้บรรจุอาหารร้อน ได้ (CPP) นิยมเรียกว่า ถุงร้อน
PVC
เป็นพลาสติกที่สามารถทำให้มีความยืดหยุ่นและปรับปรุงแต่ง คุณสมบัติของพลาสติกได้มาก ดังนั้น จึงก่อให้เกิดปัญหาในการ ใช้งานกับอาหาร เนื่องจากสารที่เติม (plasticizer) หรือ สารตั้งต้น (monomer) สามารถหลุด (migrate) ออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้
PS : Polystylene
เป็นพลาสติกที่นิยมใช้มากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นฟิล์มที่มีความ ใส มีความมันวาวและเหนียว ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำและมี ความคงรูปดี จึงเหมาะสำหรับการผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีความเร็วสูง
PS : Polystylene
การใช้งาน : ใช้ห่อหรือทำถุงบรรจุผลิตผลเกษตรเช่น ผัก ผล ไม้ ไม้ตัดดอกเพราะก๊าซและไอน้ำผ่านเข้า – ออกได้ดีและนิยมทำ เป็นหน้าต่างของกล่องกระดาษแข็ง เพื่อให้สามารถมองเห็นสินค้าได้ดี เนื่องจากสามารถเคลือบด้วยไอของอะลูมิเนียม (metalizing) ได้ดี จึง นิยมทำเป็นถุงสำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูป ทำให้สามารถคงรูปได้ดี
PET เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติในด้านป้องกันการซึมผ่านของ ไอน้ำที่ดี ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก และป้องกัน การซึมผ่านของไขมันได้ดี มีความใสและความเหนียวสูง สามารถใช้เคลือบกับไอของอะลูมิเนียมได้ จึงนิยมผลิต เป็นถุงที่ต้องการใช้อุณหภูมิสูง
PET
การใช้งาน : ได้รับความนิยมในการผลิตเป็นขวดสำหรับบรรจุ ของเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำดื่ม และน้ำมัน นอกจากนี้ยังใช้เคลือบกับ วัสดุอื่น ผลิตเป็นถุงสำหรับใช้ต้ม, นึ่งฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูง
5.3.3
รูปแบบของ บรรจุภัณฑ์พลาสติก
1. ฟิล์มพลาสติก 1. ฟิล์มพลาสติก คือพลาสติกที่เป็นแผ่นบางๆ ใช้ห่อ หรือทำถุง เช่น
1.1 ถุงเย็น ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิเอทีลีน (PE) ชนิดความ หนาแน่นต่ำ (LDPE) ใช้บรรจุของเย็นสามารถบรรจุอาหารแช่แข็งได้
1.2 ถุงร้อน ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิพอพิลีน (PP) มีลักษณะใสมากหรือ พอลลิเอทีลีน (PE) ชนิดความ หนาแน่นสูง (HDPE) ก็ได้
1.3 ถุงหูหิ้ว ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิเอทีลีน (PE) ชนิด ความหนาแน่นต่ำ (LDPE) และเป็นพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาหลอม ใช้ใหม่
1.4 ถุงซิป เป็นถุงที่มีปากถุงล็อคได้ทำมาจากพลาสติก ชนิด พอลลิเอทีลีน (PE) ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE)
1.5 ถุงพลาสติกหลายชั้นประกบติดกัน บางครั้งเป็นพลาสติกชนิดต่างๆ บางครั้งเป็นพลาสติกกับแผ่นอลูมิเนียม เรียกว่า ลามิเนท (Laminate) ใช้บรรจุ อาหารที่สามารถอุ่นด้วยการนำถุงลงต้มในน้ำเดือดได้ ถุงที่สามารถป้องกันไม่ ให้อากาศเข้าได้เลย ถุงที่สามารถกันชื้น กันไขมันและกันแสงได้ เป็นต้น
1.6 พลาสติกหดรัดรูป (Shrink Film) ฟิล์มชนิดนี้ จะหดตัวเมื่อได้รับความร้อน ตัวอย่างเช่นพลาสติกหุ้มห่อกล่องนมที่แพคขายคราวละ 6 กล่องเป็นต้น หรือ ฉลากที่ใช้ระบบการพิมพ์ลงบนฟิล์มชนิดนี้ เช่น ฉลากของขวดโค๊ก เป็นต้น
2. ภาชนะพลาสติก 2.1 ขวดพลาสติก
2.1.1 ขวดทำจากพอลลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้บรรจุ น้ำมัน น้ำผลไม้
2.1.2 ขวดทำจากพอลลิเอทีลีน (PE) ชนิดความหนาแน่นสูง ใช้บรรจุนม น้ำดื่ม ยา สารเคมี ผงซักฟอก เครื่องสำอาง
2.1.3 ขวดทำจากพอลลิเอสเธอร์ (PET) ใช้บรรจุน้ำอัดลม เบียร์
2.2 ถ้วยพลาสติก ถัวยไอศรีม ถ้วยสังขยา
2.3 ถาดและกล่องพลาสติกแบบมีฝาและไม่มีฝา นิยมใช้ บรรจุอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จ
2.4 สกินแพค (skin pack) และบริสเตอร์แพค (blister pack) เป็น ภาชนะพลาสติกที่ทำจากแผ่นพลาสติก ที่ขึ้นรูปด้วยความร้อนแล้วนำมา ประกบหรือประกอบกระดาษแข็ง ซึ่งแผ่นพลาสติกดังกล่าวทำมาจาก พอลลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ตัวอย่างเช่น แผงยา แปรงสีฟันเป็นต้น
5.3.4
ผลกระทบต่อส่งแวดล้อม ของบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของพลาสติก ข้อดี พลาสติกสามารถนำมารีไซเคิล หรือ แปรรูปใหม่ได้ แต่ พลาสติกที่ได้ที่คุณภาพด้อยลงและควรใช้พลาสติกกลุ่มเดียวกันมาแปรรูป ใหม่ พลาสติกจำพวก HDPE มีความแข็งแรง นิยมผลิตเป็นกล่อง, ลวด, ขวด ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชนิดนี้ สามารถมีอายุการใช้งานยาวนาน กว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุอื่นจึงนำมาใช้ซ้ำได้สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร อาหารไม่นิยมนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นวัสดุที่มีการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์มากที่สุด และมีพลาสติกหลายชนิด PE และ PET จัดเป็นกลุ่มมีความปลอดภัยสูงโดยเฉพาะเมื่อใช้กลับอาหาร การพิจารณาข้อดีข้อเสียต้องพิจารณาชนิดของพลาสติกร่วมด้วย
ข้อเสีย พลาสติกชนิด PVC และ Polystyrene เป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะสารตั้งต้น (monorner) คือ Vinyl chiorkle ซึ่งเป็น monorner ของ PVC และ Styrene ซึ่งเป็น monorner ของ Polystyrene monorner เหล่านี้จัดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) นอกจากนี้กระบวนการรีไซเคิล PVC จำทำให้เกิด chlorine ในบรรยากาศ ซึ่งอาจทำให้เกิดกรด HCl ได้การใช้พลาสติกบรรจุอาหารจำทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารที่ใช้เป็น ส่วนผสมของพลาสติก การเผาพลาสติกโดยรวมจะก่อให้เกิดสารพิษใน บรรยากาศจากสารที่เป็นส่วนประกอบของพลาสติก พลาสติกเป็นโพลลีเม อร์ที่ได้จากการสังเคราะห์สารไฮโครคาร์บอน พลาสติกสารเหล่านี้จะถูก ออกซีไซด์ด้วยแสง(uv light) ออกซิเจน และความชื้นเมื่อทิ้งไว้ตาม ธรรมชาติ แต่ใช้เวลานาน ปัจจุบันการผลิตจะเติมสาร antioxklant ทำให้ การย่อยสลายใช้เวลานานขึ้นมากกว่า 10 ปีขึ้นไป