เที่ยวลึกถึงรากฝากความทรงจำให้ขุนเขา

Page 1

เที่ยวลึกถึงราก ฝากความทรงจำ�ให้ขุนเขา กับ ๕ หมู่บ้าน ๓ สไตล์ ในจังหวัดพะเยา

เอกสารองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของชุมชน เป้าหมาย ๕ ชุมชนจังหวัดพะเยา 1


2


บ้านเล่าเรื่อง...เมืองบอกคน " แต่ละบ้านมีเรื่องราว ไม่ว่า สายน ำ� หมอกยามหนาว แดดยามเช้า สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละเมืองล้วนเล่าเรื่องราวของคน "

3


4


สารบัญ

บทนำ�: เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน วิถีเปลี่ยน

รู้จักพะเยา

สองสีสันสองวัฒนธรรม เมล็ดพันธุ์แห่งอิสาน งอกงามในล้านนา บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

๑๓

แอ่วบ้านไตยวน สักการะพระเจ้านั่งดิน บ้านพระนั่งดิน

๒๓

ไต่ผาล่องไพรกับความรู้บทใหม่ที่ไม่มีในต ำ�รา ท่องผา หานกยูง ที่บ้านศรีเมืองชุม

๓๓

เที่ยวถำ� ศึกษาวิถีพอเพียง ที่บ้านผาตั้ง

๔๓

เมืองแห่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ ที่บ้านปงใหม่

๕๓

5


พะเยาเมืองพญา เมืองพะเยาเมืองพญา

เมืองมหาอาณาจักร

สายนำ�แห่งความรัก

ที่รวมใจรวมแผ่นดิน

อู่ข้าวและอู่นำ�

กำ�แพงผาปราการหิน

ที่เกิดที่ทำ�กิน

ที่สำ�สมอารยธรรม

พระเจ้าพระตนหลวง ตนหลวงตนเลิศลำ� เอาตนเป็นที่พึ่ง ประโยชน์ร่วมเพื่อปวงชน

มิ่งดวงมณีศรีโคมคำ� ให้รู้ตนระลึกตน จึงสมมาตรสมกมล ต้องร่วมใจเป็นใจเดียว

เพื่อพะเยาเมืองพญา

สง่ายิ่งอยู่พริ้งเพรียว

ร่วมใจให้กลมเกลียว

กู้ยุคสมัยให้เมืองพะเยา

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (๒๒ มกราคม ๒๕๓๘)

6


เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน วิถีเปลี่ยน ในวันที่การท่องเที่ยวแบบจัดตั้ง การแสดงทางวัฒนธรรมแบบสาธิต เริ่มกลายเป็นสิ่งล้าสมัย การท่อง เที่ยวได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมมากมาย ส่วนหนึ่งจากบทความในเว็บไซต์ www.forbes.com ได้ กล่าวถึง กระแสของการท่องเที่ยวของโลกในปี ๒๕๖๐ สำ�หรับกลุ่มคนยุคใหม่ว่า คนกลุ่ม Millenials หรือ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง ๒๔-๓๕ ปี ได้เปลี่ยนนิยามการท่องเที่ยวจากผู้ชมการสาธิตทางวัฒนธรรม เป็นผู้ที่ เข้ามีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม พวกเขามองหาการเรียนรู้ชีวิต แสวงหาพื้นที่ใหม่ๆ มองหาความจริงแท้ (Authentic) ของแต่ละพื้นที่ อยากรู้ให้ลึกถึง ‘ราก’ ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คน ทำ�ให้เกิดความผูกพัน และเกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน (Cross-cultural Engagement) โดยพวกเขานิยมท่องเที่ยว คนเดียว นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่เน้นเรื่องจิตสำ�นึกไม่ทำ�ลายวิถีดั้งเดิม ไม่ทำ�ลาย ธรรมชาติ ซึ่งนำ�ไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยาในปัจจุบัน ที่ต้องการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตร ศิลปวัฒนธรรม เพื่อกระจายรายได้เกิดการท่องเที่ยว ชุมชน สนับสนุนนโยบายการเกษตรที่ปลอดภัย จึงมีการจัดกิจกรรม “การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบของ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๒ โดยประชารัฐ” จากการคัดเลือก ๕ ชุมชนในจังหวัดพะเยา ที่มีความโดดเด่น และเอกลักษณ์ที่ต่างกัน อันได้แก่ ชุมชน/หมู่บ้าน บ้านปงใหม่ หมู่ที่ ๘ ตำ�บลทุ่งกล้วย อำ�เภอภูซาง จังหวัดพะเยา ชุมชน/หมู่บ้าน บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ ๗ ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงคำ� จังหวัดพะเยา ชุมชน/หมู่บ้าน บ้านผาตั้ง หมู่ที่ ๖ ตำ�บลขุนควร อำ�เภอปง จังหวัดพะเยา ชุมชน/หมู่บ้าน บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง หมู่ที่ ๕ ตำ�บลสันโค้ง อำ�เภอดอกคำ�ใต้ จังหวัดพะเยา ชุมชน/หมู่บ้าน บ้านศรีเมืองชุม หมู่ที่ ๖ ตำ�บลลอ อำ�เภอจุน จังหวัดพะเยา จังหวัดพะเยา โดยสำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา จึงได้จัดทำ�เอกสารองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน เป้าหมาย ๕ ชุมชนจังหวัดพะเยา เล่าเรื่องราวของแต่ละชุมชนโดยเน้นที่ จุดแข็ง ความโดดเด่น และศักยภาพของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก อาทิ ความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม ความโดดเด่นเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และความโดดเด่นทางด้านการเกษตรปลอดภัย แหล่งผลิต อาหารและสมุนไพร ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ มุ่งเน้นการท่องเที่ยว ๓ H ได้แก่ Health Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Heritage Tourism การท่องเที่ยวมรดกเชิงวัฒนธรรม และ Herb Tourism การท่องเที่ยวเชิงสมุนไพร ภายในเล่มประกอบด้วยประวัติ การเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้าน จุดเด่น สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารแนะนำ�ภายในชุมชน ความสดใหม่ในแง่การท่องเที่ยวของทั้ง ๕ หมู่บ้าน เป็นเสมือนหนังสือที่ยังไม่ได้เปิดอ่าน เป็นการท่องเที่ยว ที่จะมอบประสบการณ์ และความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวทุกคน ที่รีวิวหรือบทความบนโลกอินเตอร์เน็ตที่ไหนก็ให้ ไม่ได้

7


8ความอุดมสมบูรณ์แห่งกว๊านพะเยา หล่อเลี้ยงหลายชีวิต สร้างอาชีพเลี้ยงปากท้องผู้คนมากมาย


รู้จักพะเยา เมื่อกล่าวถึงจังหวัดพะเยา ใครๆ ก็มักจะคิดถึง กว๊านพะเยา และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของ กว๊านพะเยาที่มีปลามากมาย ทำ�ให้ปลาส้มของ ที่นี่ขึ้นชื่อเลื่องลือไปด้วย จนกลายเป็นของฝากที่ ต้องซื้อหาติดไม้ติดมือกลับบ้าน แต่มากกว่านั้น จังหวัดพะเยายังมี เพชรเม็ดงาม อีกมากมายที่ิ รอให้ทุกคนไปค้นหา พะเยาตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่นำ�อิง แม่น�ำ เพียง สายเดียวที่ไหลย้อนขึ้นไปด้านเหนือ ทั้งนี้ เพราะมี ต้นน�ำ อยู่ที่ทิวเขาผีปันน�ำ กลาง ไหลมา ที่กว๊านพะเยาผ่านตัวเมืองแล้วออกไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอำ�เภอเทิง แล้วจึง ไหลลงแม่นำ�โขงที่อำ�เภอเชียงของจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ ๓๔ ของประเทศ มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในจังหวัด ถึง ๑๐ ชาติพันธุ์ ชื่อเดิมของพะเยาคือ ภูกามยาว หรือพะยาว อันที่จริงเมืองนี้จัดได้ว่าเป็นเมือง เก่าแก่โบราณมีอายุยาวนาน พะเยานั้นเกิดขึ้นจาก การขยายอำ�นาจของราชวงศ์ลวจังกราช พญาลาวเงินผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง ได้ส่ง ขุนจอมธรรมมาสร้างเมือง ราวปีพ.ศ. ๑๖๐๒ ทรงมีพระราชบุตรสองพระองค์คือ ขุนเจือง และ ขุนจอง ขุนเจือง หรือ พญาเจื๋องธรรมิกราช เป็นกษัตริย์ที่สามารถขยายอำ�นาจ สร้างเมือง ให้ก้านกุ่งรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักทั่วอุษาอาคเนย์ ภูกามยาว ดำ�เนินมาถึง รัชสมัยของ พญางำ�เมือง กษัตริย์องค์ที่ ๙ (ปีพ.ศ. ๑๘๐๑– ๑๘๔๑) ทรงปกครองเมืองด้วยราโชบายที่ ชาญฉลาด ทรงหลีกเลี่ยงสงครามและผูกมิตรไมตรี กับประเทศเพื่อนบ้าน ทรงเป็นพระสหาย กับ พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา และพระร่วง แห่งสุโขทัย ภูกามยาวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ล้านนา ในสมัยพญาคำ�ฟูในฐานะเมืองเล็กๆ ขึ้น กับเมืองเชียงราย หลังจากยุคที่ล้านนาตกเป็น เมืองขึ้นของพม่า พระเจ้ากาวิละได้รวบรวม ไพร่พลขับไล่พม่า กวาดต้อนผู้คนเข้าเมืองอีกครั้ง แต่ในปีพ.ศ. ๒๓๓๐ พะเยาก็ถูกทิ้งร้าง อีกครั้ง เมื่อพม่ายกทัพเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยพะเยา คือหนึ่งในเมืองที่เป็นทางผ่านทัพ

กลุ่มเจ้านายและไพร่พล ต่างพากันหนีไปที่ลำ�ปาง ในปีพ.ศ. ๒๓๘๖ เจ้าหลวงวงศ์ ได้นำ�ชาวเมืองพะเยา มาจากลำ�ปาง และฟื้นฟูเมืองอีกครั้ง พะเยาอยู่ ในฐานะเมืองขึ้นของลำ�ปาง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พะเยาก็เป็นส่วนหนึ่งของสยาม เหมือนกับ เมืองอื่นๆ ในภาคเหนือ พะเยาในเวลานั้นอยู่ใน ฐานะจังหวัด มีชื่อว่า จังหวัดบริเวณพะเยา ในปีพ.ศ. ๒๕๔๗ พะเยาได้กลายเป็นอำ�เภอพะเยา อยู่ภายใต้ การปกครองของจังหวัดเชียงราย จนกระทั่ง ในปี ๒๕๒๐ พะเยาจึงถูกตั้งให้เป็นจังหวัด ประกอบ ด้วย ๗ อำ�เภอ โดยมี นาย สัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็น ผู​ู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก บนเส้นทางแห่งกาลเวลาที่ยาวนาน ทำ�ให้พะเยา เป็นเมืองที่มีรากเหง้ามีเรื่องเล่า ความอุดมสมบูรณ์ ที่มีทั้งแหล่งอาหาร อย่างกว๊านพะเยา และสายนำ�อิง ที่เอื้อต่อการเพาะปลูก ที่นี่จึงเป็นแหล่งผลิตอาหาร ที่สำ�คัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือ อีกทั้งยังทำ�ให้พะเยา เป็นหมุดหมายของชาวต่างถิ่นที่ต้องการเข้ามา ทำ�การเกษตร และก่อร่างสร้างตัว เพราะประกอบ ด้วย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่เป็นแอ่งที่ราบ โอบล้อมด้วยภูเขาสูงและมีธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งหมดนี้จึงทำ�ให้พะเยามีต้นทุนทั้งทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ ดังเช่น ๕ หมู่บ้านท่องเที่ยวต้นแบบ จาก ๕ อำ�เภอ ที่มี ความโดดเด่นในแต่ละหมู่บ้าน แตกต่างกันไป อำ�เภอที่มีชื่อเรื่องสาวงามมาช้านาน คืออำ�เภอ ดอกคำ�ใต้ ด้วยความที่ใกล้เมืองมากเพียง ๑๑ กิโลเมตร จึงทำ�ให้อำ�เภอดอกคำ�ใต้มีความเจริญ สะดวกสบายไม่แพ้ในตัวเมือง ส่วนที่มาของชื่อ อำ�เภอดอกคำ�ใต้นั้น กล่าวกันว่า ในสมัยพญางำ�เมือง ทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพระร่วง หรือพ่อขุนรามคำ�แหง แห่งสุโขทัย พ่อขุนรามคำ�แหงเดินทางจากสุโขทัย ผ่านมายังเวียงโกศัย หรือเมืองแพร่ เกิดรอยเท้าช้าง ม้าที่ยำ�ลงดินเกิดเป็นร่องลึกเมื่อฝนตก จึงเกิดนำ�ขัง กลายเป็นสายนำ� เรียกว่าแม่นำ�ร่องช้าง มีความอุดมสมบูรณ์ มีดอกคำ�ใต้ขึ้นอยู่สอง ฟากฝั่ง จึงเรียกที่นี่ว่าบ้านดอกคำ�ใต้ ต่อมาชุมชน ขยายจึงกลายเป็นอำ�เภอ เรื่องลำ�นำ�ร่องช้างนั้นยังมี อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า

9


พิธีเวียนเทียนกลางนำ� ณ วัดติโลกอาราม

10


รู้จักพะเยา แต่ก่อนมีช้างผู้กำ�งาเขียวตกมัน วิ่งไล่ทำ�ร้ายคน ถูกพรานจากเมืองน่านไล่ฆ่าจึงวิ่งหนีมาติด หนอง หล่มและถูกฆ่าตายในหนองนำ� ช้างติดอยู่ในหนอง ๗ วัน ๗ คืน เมื่อฝนตกก็ชะเอาเศษซากของช้าง ไหลมา ตามลำ�นำ�จึงเรียกว่า ลำ�นำ�ร่องช้าง ซึ่งเป็น สายนำ�ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในอำ�เภอดอกคำ�ใต้ ความอุดมสมบูรณ์และระยะทางไม่ไกลเมืองนี้เอง ที่ดึงดูดกลุ่มชาวไทยอิสาน และชาวภูไท หลาย จังหวัดในภาคอิสานให้เดินทางรอนแรมหนีแล้งมา ตั้งรกราก ทำ�มาหากินเป็นชุมชนชาวอิสาน ในถิ่น ล้านนา ที่บ้านจำ�ไก่ ตำ�บลสันโค้ง ซึ่งมีพื้นที่ชุ่มนำ� เหมาะแก่การเพาะทำ�การเกษตรของอำ�เภอดอกคำ�ใต้ ต่อมาชุมชนนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง จากอำ�เภอดอกคำ�ใต้เดินทางต่อไปยัง อำ�เภอจุน แต่เดิมอำ�เภอจุนอยู่ในเขตการปกครอง ของอำ�เภอเชียงคำ� ชื่อของอำ�เภอนั้นตั้งชื่อตาม แม่นำ� อันที่จริงชื่อเดิมของบริเวณนี้คือ เมืองลอ เป็นเมืองโบราณเก่าแก่รุ่นเดียวกับเมืองพะเยา แต่ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ที่มีแม่นำ�ผ่านเชื่อว่าที่นี่ เป็นที่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ พบทั้ง โครงกระดูกและหลุมฝังศพใต้กำ�แพงเมืองเวียงลอ ทางทิศตะวันตก ที่นี่จึงพบซากโบราณสถาน จำ�นวนมาก เมืองลอสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นยังหา หลักฐาน ไม่ได้ เพียงแต่มีข้อสันนิษฐานว่า ในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗ เวียงลอได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นชุมชนที่มีผู้คน อาศัยอยู่แน่นหนาอยู่ก่อนแล้ว เพราะเป็นเส้นทางที่ เชื่อมเมืองต่างๆ อาทิ เมืองเชียงแสน เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองพะเยา เมืองน่าน และล้านช้าง ที่นี่ จึงเป็นเส้นทางสำ�คัญในการเดินทัพอีกด้วย ปัจจุบัน โบราณสถานเมืองลอ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมที่ลำ�ค่ายิ่งของตำ�บลลอ ซึ่งตั้ง อยู่บ้านศรีเมืองชุม ด้วยภูมิประเทศที่โอบล้อม ด้วยขุนเขา จึงทำ�ให้ที่นี่ เป็นหมู่บ้านที่มีแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การเกษตร และการท่อง เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน จากบ้านศรีเมืองชุมใช้เวลาสั้นๆ ขับรถก็มาถึง อำ�เภอเชียงคำ� แต่เดิมเป็นอำ�เภอที่อยู่ในการปกครอง ของจังหวัดน่าน แต่เมื่อมีการตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น อำ�เภอเชียงคำ�จึงโอนมาเข้ากับจังหวัดพะเยา เป็น อีกเมืองหนึ่งที่มีความสำ�คัญในแง่ประวัติศาสตร์ คือ เมืองเชียงคำ� ชื่อเดิมคือเมืองชะราว มีเรื่อง เล่าว่ามีเจ้าเมืองมาสร้างเจดีย์บนดอยนอกเมือง ต่อมา มีผู้พบแหล่งทองคำ�ขนาดใหญ่ที่ลำ�ธาร

หลังดอยนั้น จึงตั้งชื่อสถานที่นั้นว่า ดอยคำ� มีผลทำ�ให้ เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคำ�ไปด้วย มีพระเจ้านั่งดิน เป็นศูนย์รวมใจของคนในชุมชน ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านพระเจ้านั่งดิน เป็นชุมชน คนไตโยน หรือคนเมืองที่เปี่ยมด้วยความอารี และยังคงประเพณีวัฒนธรรมแบบคนเมือง ไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยอำ�เภอเชียงคำ�นั้นมี ชาวไตลื้อมาอาศัยอยู่มาก บางส่วนย้ายเข้ามาอาศัยที่ บ้านพระเจ้านั่งดินด้วย ชาวบ้านจึงมีอาชีพทอผ้า ลายนำ�ไหลแบบไตลื้อ นอกเหนือจากการทำ�การ เกษตร จากเชียงคำ�ขับรถมายังอำ�เภอภูซาง ชื่อเดิมของ ภูซางนั้นคือเมืองเชียงแรง เมืองโบราณอีกเมือง หนึ่งของพะเยา มีอายุไล่เลี่ยกับเมืองลอ เมืองคอบ และเมืองเทิง คาดว่าน่าจะอายุไม่ตำ�กว่า ๙๐๐ ปี ที่ อำ�เภอภูซางอากาศเย็น นำ�และดินดีเหมาะแก่ การเพาะปลูก ดังเช่นที่บ้านปงใหม่ หมู่บ้านเล็กๆ บนที่ราบหุบเขาที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ อากาศดี นำ�ดี ดินดี เกิดชุมชนเข้มแข็ง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรและสุขภาพ การเดินทางรอนแรมออกจากอำ�เภอภูซาง ไปสู่ บ้านผาตั้งที่อำ�เภอปงนั้นใช้เวลาไม่น้อยเลย แต่กลับ เพลิดเพลินด้วยทัศนียภาพสองข้างทาง ต้นไม้ร่มรื่น เย็นตา ชื่อของอำ�เภอปงนั้นมีเรื่องเล่า ว่ามาจากการ ที่พญานาคปลงโทษ หรือขอสมาโทษต่อพระพุทธเจ้า คำ�ว่าปง นั้นคาดว่ามาจากคำ�ว่าป๋ง ในภาษาเหนือ หรือปลงในภาษากลางนั่นเอง สถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็น ที่รู้จักในอำ�เภอภูซาง คืออุทยานแห่งชาติ ภูลังกา และถำ�ผาตั้งซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านผาตั้ง ในอดีต หมู่บ้านนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่สีแดง ได้รับ ผลกระทบในการทำ�สงคราม ที่นี่หลายๆ ครอบครัว จึงยังมีเรื่องเล่า ความทรงจำ�ที่แม้จะหวาดกลัวและ เจ็บปวด แต่ในความทรงจำ�ที่เจ็บปวดนั้นก็เป็นยา ที่ผลักดัน ตัวเองให้พวกเขากลับมาสู้กับความยาก ลำ�บากอีกครั้ง การท่องเที่ยวให้ ‘ถึง’ ซึ่งรากเหง้าแห่งวัฒนธรรม จะทำ�ให้เราสามารถเชื่อมโยง เรื่องราวของแต่ละ หมู่บ้าน รู้ที่มาที่ไป และสนุกกับการค้นพบเรื่องราว ได้เรียนรู้เรื่องใหม่นอกตำ�รา ได้เข้าใจผู้คนมากขึ้น ระหว่างทางการท่องเที่ยวจึงได้มิตรภาพที่สวยงาม กลับมาเป็นวิตามินให้จิตใจมากมาย

11


ชาวบ้านถวายจันหันยามเช้า ที่วัดใหม่ราษฎร์บำ�รุง ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทอีสาน ชาวผู้ไท และคนเมือง

12


สองสีสัน สองวัฒนธรรม บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง - บ้านพระนั่งดิน

เมล็ดพันธุ์แห่งอิสาน งอกงามในล้านนา บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

สิ่งที่ทำ�ให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในพื้นที่ต่างๆ ก็คือ การอพยพโยกย้ายหรือ ‘การยกครัว’ ย้ายถิ่นฐานไปอาศัยยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่ง เหตุผลหลักๆ ก็ได้แก่ปัญหาต่างๆที่อยู่รอบตัว คือ ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เช่น พื้นที่ทำ�กิน ไม่เพียงพอเพราะประชากรหนาแน่น ปัญหาโจร ผู้ร้ายชุกชุม และเหตุที่เกิดการโยกย้ายเพราะภัย พิบัติตามธรรมชาติ ในประเทศไทย กลุ่มชนที่มี สถิติการย้ายที่อยู่มากที่สุดคือกลุ่มคนอีสาน ทั้งนี้ เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคอิสานนั้นเป็น ที่ราบสูง บางพืน้ ที่เป็นเขตเงาฝน และลักษณะดินเป็น ดินปนทราย ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะกัก เก็บนำ�ไม่ได้ ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่ทั้ง ไทลาว และ ชาวผู้ไท ก็จำ�ต้องย้ายถิ่นฐาน จึงเกิดปรากฏการณ์ ‘อิสานย้ายถิ่น’ โดยเริ่ม มาตั้งแต่ระหว่างปี ๒๓๒๑-๒๔๕๓ ในช่วงปีดัง

กล่าวเกิดความแห้งแล้ง ชาวบ้านไม่สามารถส่ง ส่วยอากรได้ เมื่อมีการก่อสร้างสถานีรถไฟโคราช ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกทั้งทางส่วนกลาง มีความต้องการบุกเบิกพื้นที่เพาะปลูกในภาคกลาง หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง จึงทำ�ให้เกิดการจ้างแรงงาน เพื่อทำ�การเกษตร ซึ่งในยุคแรกๆ นี้เป็นการย้ายถิ่น เพียงช่วงรับจ้างทำ�นา เมื่อหมดฤดูกาลก็กลับบ้าน เดิม ต่อมาชาวอีสานก็โยกย้ายถิ่นฐานมากขึ้นเรื่อยๆ อีกส่วนหนึ่งนอกจากพื้นที่ทำ�กินแห้งแล้งแล้ว พื้นที่เพาะปลูกก็ยังไม่เพียงพอต่อประชากรที่ เพิ่มขึ้น ประชากรชาวอีสานจึงพากัน ย้ายถิ่น อย่างต่อเนื่องมีชาวอีสานย้ายมาทางภาคเหนือ แบบถาวร ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๒๐ มากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะอพยพมาอยู่จังหวัดเชียงราย และ ส่วนหนึ่งอพยพไปอยู่จังหวัดพะเยา และหนึ่งในนั้นคือ ชาวอีสานที่ย้ายมาอยู่ในพื้นที่อำ�เภอดอกคำ�ใต้ บ้านจำ�ไก่ ที่ปัจจุบันเรียกว่า ‘บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง’

13


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

รู้จักชาวไท-อีสานและชาวผู้ไท ภาคอิสานนั้น กว้างใหญ่ไพศาล ถึง ๑ ใน ๓ ของ ประเทศ มีจำ�นวนประชากรมากที่สุด จึงทำ�ให้มี ความหลากหลายของชาติพันธุ์ ไปด้วย อันได้แก่ ไทลาว (ไทอีสาน) ผู้ไท (ภูไท) ไทดำ� (ไทยทรงดำ� – ลาวโซ่ง) ไทกุลา (กูลา) ชาวกูย (กวย-ส่วย-เยอ) ชาวเขมร ไทญ้อ (ย้อ - เงี้ยว) ไทโส้ (กะโซ่) ไทแสก ไทข่า (บรู) ไทกะเลิง ในหนังสือเล่มนี้ขอกล่าวถึง เพียงไทลาว และผู้ไท ซึ่งเป็นประชากรหลักๆ ของ บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

ชาวไทลาว ชาวไทลาวเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดมีประชากรมาก ที่สุดในอิสาน ที่เรียกว่าคนลาวเพราะ ใช้ภาษา เดียวกันกับคนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ที่มาของคนไทลาว มีหลายทฤษฎี บางตำ�ราก็บอกว่าคนไทลาว ก็คือคนพื้นที่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือนั่นเอง โดยสันนิษฐานว่า มาตั้ง หลักแหล่งที่บ้านเชียงมากว่า ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว บาง ตำ�ราก็ว่า ชาวไทลาวก็คือชาวอ้ายลาวซึ่งเป็นสาขา หนึ่งของมองโกล เดิมอยู่ทางตอนบนของ แม่นำ� แยงซีเกียงแม่นำ�เหลืองก่อนที่จะอพยพเข้าไปครอง อิสานนั้นได้รวมตัวกันตั้งเมืองสำ�คัญขึ้น ๓ เมือง คือ นครลุง นครเงี้ยว และนครปา ต่อมาก็สู้รบ กับจีน แต่สู้ไม่ได้ก็พากันถอยร่นมาตั้งรกรากอยู่ที่ มณฑลยูนนานในปัจจุบัน แล้วก็ยังโดนจีนรุกราน อยู่ไม่วาย จึงอพยพลงมาอีกครั้ง มาตั้งอาณาจักร ใหม่คืออาณาจักรหนองแส แล้วก็แตกออกมา เป็น เมืองลาวเชียง คือล้านนา และลาวเวียง คือ ล้านช้าง ซึ่งคาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับชาวไทลาวใน ภาคอิสาน อีกตำ�ราหนึ่งก็กล่าวว่า คนไทลาวนั้นอาศัย อยู่ริมแม่นำ�โขง ทางตอนใต้ของแคว้น สิบสองปันนา และแคว้นสิบสองจุไทในเขตแม่นำ�ดำ�

14


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง ประเพณีชาวไทลาว ชาวไทลาวนับถือผีร่วมกับนับถือศาสนาพุทธนิกาย เถรวาท ร่วมกับศาสนาพราหมณ์ ชาวไทลาวนั้นจะมี จารีตประเพณีที่นับถือนั่นคือ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ฮีตสิบสอง คือประเพณีที่ถือปฏิบัติทั้ง ๑๒ เดือน คำ�ว่า ฮีต มาจากคำ�ว่าจารีต เช่นเดียวกับ ภาษาเหนือ ซึ่งพิธีกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ การเกษตร โดยฮีต ๑๒ มีดังนี้ เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม เป็นการทำ�บุญกับ พระภิกษุที่ต้องอาบัติและเข้าปริวาสกรรม เดือนยี่ บุญคูณลาน เป็นการทำ�บุญขวัญข้าวที่ ลานนวดข้าว เดือนสาม บุญข้าวจี่ คือการจี่ข้าวถวายแด่ พระภิกษุ เดือนสี่ บุญพระเวส คือการทำ�บุญเทศน์มหาชาติ เดือนห้า บุญสงกรานต์ คืองานสงกรานต์ เดือนหก บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีขอฝน เดือนเจ็ด บุญชำ�ฮะ เป็นการล้างสิ่งที่เป็น เสนียดจัญไรต่างๆ เดือนแปด บุญเข้าพรรษา คือการทำ�บุญ เข้าพรรษา เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นการทำ�บุญเพื่อ อุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต เดือนสิบ บุญข้าวสาก เป็นการทำ�บุญถวาย สลากภัต เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา คืองานออกพรรษา เดือนสิบสอง บุญกฐิน คือการทำ�บุญกฐิน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีหลายพิธีกรรมที่ยังตกทอด มาให้เห็นกันอยู่ ส่วน ‘คองสิบสี่’ คำ�ว่าคองมาจาก ครรลอง คือแนวทางการดำ�เนินชีวิต ๑๔ ข้อ อันได้แก่ ๑. ฮีตเจ้าคองขุน คือการปฏิบัติระหว่าง พระเจ้าแผ่นดินกับขุนนาง ๒. ฮีตท้าวคองเพีย คือ การปฏิบัติระหว่าง เจ้านายชั้นผู้ใหญ่กับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ๓. ฮีตไพร่คองนาย เป็นการปฏิบัติของราษฎร ต่อนายของตน ๔. ฮีตบ้านคองเมือง คือกฎระเบียบของบ้านเมือง จาก ๕-๙ เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติระหว่างคน ในครอบครัว อันได้แก่

๕. ฮีตปู่คองย่า ๖. ฮีตพ่อคองแม่ ๗. ฮีตสะใภ้คองเขย ๘. ฮีตป้าคองลุง ๙. ฮีตลูกคองหลาน ๑๐. ฮีตเฒ่าคองแก่ เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติของ ผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะต้องวางตน ให้เป็นที่เคารพของลูกหลาน ๑๑. ฮีตปีคองฮีตเดือน หมายถึง การปฏิบัติตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีใน ๑๒ เดือน ๑๒. ฮีตไร่คองนา หมายถึง ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติ ในการทำ�ไร่ทำ�นา ๑๓. ฮีตวัดคองสงฆ์ เป็นหลักสำ�หรับบุคคลที่ต้อง ปฏิบัติต่อพระศาสนา ๑๔. ฮีตเจ้าคองเมือง เป็นแบบแผนสำ�หรับ ผู้ปกครอง ด้วยความแร้นแค้นเพราะที่ทำ�กินที่แห้งแล้ง ชาวไทลาวจึงมีพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การเกษตรอื่นๆ เช่น การแฮกนา การแห่นางแมว ขอฝน

ของกินคนไทลาว ชาวไทลาวก็เหมือนกับชาวบ้านแถบอุษาอาคเนย์ ทั่วไป คือมีข้าวเป็นอาหารหลัก กินกับของจิ้มที่ทำ� ง่ายๆ เช่น นำ�พริก แจ่ว หรือป่น อาหารจานเด่นดัง ของลาวคงไม่แพ้ พวกส้มตำ� แกงหน่อไม้ แกงเห็ด ส่วนพวกอาหารจานเนื้อที่หรูหราราคาแพงจะกินกัน ก็แค่ในงานสำ�คัญๆ เท่านั้น

15


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง ชาวผู้ไท กลุ่มชาติพันธุ์ที่เดินทางรอนแรมมาจากทางตอนใต้ ของจีน พื้นที่ภาคเหนือของลาวและเวียดนาม ที่เรียก ว่าสิบสองจุไท เมื่อไทยได้เสียดินแดนให้กับ ฝรั่งเศส ในปี ๒๔๓๑ ชาวผู้ไท จึงย้ายมาอยู่ในภาคอิสาน ของไทย ด้วยภาษาที่คล้ายคลึงกับชาวไทลาว จึง ทำ�ให้ปรับตัวค่อนข้างง่าย กำ�เนิดของชาวผู้ไทจากพงศาวดารแถน เล่าว่า เทพสามีภรรยา ๕ คู่ อยู่สวรรค์มาจนหมดอายุขัย เลยเสกนำ�เต้าแล้วก็เข้าไปอยู่ในนั้น นำ�เต้าลอยลงบน พื้นดินแตกออกเป็น มนุษย์ ๕ คู่ โดยออกมาทีละคู่ คือ ข่าแจะ ผู้ไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำ�เนิดของมนุษย์ ๕ เผ่าพันธุ์ จากนั้นก็ได้ แยกย้ายกันตั้งรกรากที่อื่นๆ ชาวผู้ไทเองก็มาตั้ง รกรากที่เมืองแถง มีขุนลอคำ�เป็นหัวหน้าเวลาต่อมา ก็ขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตร ของขุนลอคำ� ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. ๑๒๗๔ ขุนลอได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. ๑๒๘๓ จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวผู้ไท ในดินแดน นี้ ๒ กลุ่มคือ ผู้ไทขาว ได้รับอารยธรรมจากจีนเพราะอยู่ใกล้ ประเทศจีน และเพราะอยู่ในเมืองหนาว จึงผิวขาว ผู้ไทกลุ่มนี้อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม ๔ เมือง ผู้ไทดำ� มาตั้งรกรากอยู่แถวแม่นำ�ดำ� เพราะ มีแหล่งนำ�บริบูรณ์ มีผิวคลำ�กว่า อาศัยอยู่ เมืองควาย เมืองคุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโมะ เมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น ๘ เมือง ๒ กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น ๑๒ เมือง จึงเรียกว่า แคว้นสิบสองจุไทย เมื่อถูกชาวจีนรุกรานถอยร่นลงมาอยู่ สปป.ลาว แล้วจึงย้ายมาไทย ในปัจจุบันนี้ชาวผู้ไท ต่างก็แยกย้ายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ในประเทศไทย ชาวผู้ไท ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่จังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และบางส่วนกระจาย อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อำ�นาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด และยโสธร

16

ความโดดเด่นของชาวผู้ไท ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การแต่งกายจากผ้าทอแบบผู้ไท ที่สวยงามละเอียด ลออ หนุ่มผู้ไทจะใส่เสื้อคอกลมแขนสั้นหรือคอจีน ผ่าหน้าติดกระดุมนุ่งกางเกงขาก๊วย ส่วนสาวผู้ไท นั้น ก็สวมเสื้อแขนกระบอกคอจีนสีดำ� ห่มผ้า สไบเฉียง และสวมผ้าซิ่นแบบชาวผู้ไทที่เรียกว่าซิ่นหมี่ตีนต่อ ซึ่งเป็นผ้าไหมหรือฝ้าย ย้อมสีแบบมัดหมี่ต่อชาย ที่ ผมนิยมประดับด้วยแพรฟอย หรือแพรมน ผ้าที่ทำ� เป็นสีต่างๆ ผูกที่มวยผม ชาวผู้ไทมีความสามารถและ ภูมิปัญญาในด้านการถักทอ สืบต่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ผ้าทอของชาวผู้ไท จึงมีความงดงามไม่แพ้ที่ใดๆ

ประเพณีชาวผู้ไท ด้วยสังคมชาวผู้ไทนั้นมากด้วยการถักทอ จึงมี ประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนุ่งห่มด้วย มีหลักเกณฑ์ในการแต่งกาย เช่น การมีผ้าใส่เอาบุญ หมายถึงเสื้อผ้าที่ตัดเย็บมาเพื่อใส่งานบุญ หรือการ ใช้ผ้าจ่อง หรือผ้าสำ�หรับคลุมหีบศพ และมีประเพณี การส้างเคิ้ง คือการถักทอจัดเตรียมเครื่องทอ เช่น ที่นอน หมอน เครื่องนุ่งห่ม ผ้าขาวม้า เพื่อเตรียม แต่งงาน หลังจากที่ฝ่ายชายมาขอ โดยที่การแต่งงาน จะเป็น การแต่งงานที่ฝ่ายหญิงแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย และลูกชายคนโตเป็นผู้สืบทอดตระกูล มีประเพณี เกี่ยวกับการเลี้ยงเด็กที่น่าสนใจคือ การป้อนอาหาร ให้กับเด็ก - เด็กอายุประมาณ ๑ สัปดาห์ ถึง ๘ เดือนให้ กินข้าวที่แม่เคี้ยวจนละเอียด เอาใส่ใบตองแล้ว เอาไปหมก - เด็กอายุประมาณ ๙ เดือน ถึง ๑ ปีครึ่ง ให้กิน ข้าวยำ� คือการเคี้ยวข้าวกับปลากับไก่แล้วเอาให้ ลูกกิน เหมือนกับการ ‘ม่าม’ ข้าวของคนเหนือ ของกินคนผู้ไท ชาวผู้ไท เป็นคนอยู่ง่ายกินง่าย ผักริมรั้ว หน่อไม้ ดองเกลือ หรือนำ�พริก กินกับของที่หาได้ เช่น กบ เขียด แมลง อาหารผู้ไทแต่ก่อน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมี ส่วนประกอบของเนื้อมากนัก


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

จากอิสาน...สู่ล้านนา เปลี่ยนอดีต ที่ขัดแย้ง…เป็นปัจจุบันที่เข้มแข็ง บ้านจำ�ไก่แต่เดิมนั้นเป็นป่าไผ่ เป็นพื้นที่ชุ่มนำ� คนเหนือเรียกนำ�จำ� หรือนำ�จำ� เป็นที่มาของชื่อ บ้านจำ�ไก่ พื้นที่นี้มีชุมชนอยู่ก่อนแล้วเป็นคนเมือง เมื่อ ชาวต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมเข้ามาลงหลักปักฐาน จากหนึ่งครอบครัวเป็นหลายครอบครัวแล้วขยาย เป็นชุมชน ความแตกต่างและขัดแย้ง จึงเป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ชาวไทลาวอพยพมาอาศัยอยู่ที่ บ้านจำ�ไก่ อำ�เภอดอกคำ�ใต้ จังหวัดพะเยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ส่วนชาวผู้ไทอพยพมาจากจังหวัด กาฬสินธุ์ราวปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ พวกเขาต่างหนี ความแห้งแล้ง หวังที่จะมาพึ่งดินแดนที่อุดม สมบูรณ์อย่างพะเยา เพื่อทำ�นาและก่อร่างสร้าง ตัว ขึ้นอีกครั้ง ดังเช่นครอบครัวของพ่อเก่ง วังทอง ชาวไทอีสานคนแรกที่ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง พ่อเก่ง เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พระมหาปั้น พระสงฆ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกับครอบครัว ของพ่อเก่งเป็นอย่างดี ได้เดินทางมายัง จังหวัดพะเยา เพื่อสอน พระสงฆ์และสามเณร ที่วัดศรีโคมคำ� ที่พะเยา ยังเป็นอำ�เภอขึ้นอยู่กับ จังหวัดเชียงราย พระปั้นได้พักอยู่ที่ วัดดอนเหล็ก บ้านดอกคำ�ใต้ ได้มีโอกาสออก

เยี่ยมเยียนพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ อยู่เสมอจนได้มาที่ วัดจำ�ไก่ขณะนั้นชาวบ้านทำ�นาเสร็จพอดี พระมหา ปั้นเห็นข้าวกอใหญ่เต็มท้องนาไปหมด นำ�ก็มีมาก เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านมหาปั้นได้กลับไปที่อิสานเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ที่จังหวัดอุดรธานี และ เยี่ยมวัดที่เคยบวชเรียน และจำ�พรรษาที่ประชานิมิตรบัวใหญ่จึงได้เล่าถึง ความอุดมสมบูรณ์ของดินและนำ�ที่บ้านจำ�ไก่ ให้ พ่อและแม่ของพ่อเก่งฟัง ซึ่งแตกต่างกับที่อิสานที่ มีแต่ความแห้งแล้งทำ�นาได้เพียงอย่างเดียวแถมยัง ได้ข้าวน้อยมาก เมื่อพระมหาปั้นกลับมาที่พะเยา อีกครั้ง พ่อเก่งซึ่งมีอายุเพียง ๑๔ ปีก็ติดตามมาด้วย เขามารับจ้างเกี่ยวข้าวที่บ้านดอกคำ�ใต้และได้มาเห็น ความอุดมสมบูรณ์ของดินและนำ� พอเสร็จจาก การเกี่ยวข้าวแล้วก็เดินทางกลับไปที่นครราชสีมา ไปเล่าเรื่องต่างๆให้พ่อแม่ฟังครอบครัวของเขาจึง ขายวัวไปหาซื้อที่นาที่บ้านจำ�ไก่ พ่อเก่งกับพี่ชายจึง เดินทางมาพะเยาซื้อที่ได้ ๕๒ ไร่ จึงเขียนจดหมายไป บอกพ่อและแม่ จากนั้นพ่อและแม่จึงขายที่ทั้งหมด พร้อมชักชวนเพื่อนมาด้วยช่วงปีพ.ศ. ๒๕๐๒ มี สองครอบครัว ครอบครัวแรกที่ย้ายมาที่บ้านจำ�ไก่ คือ ครอบครัวของพ่อเก่ง วังทอง และครอบครัวของ พ่อบุญ แสนเมือง แล้วก็มาซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อใช้ เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินส่วนใหญ่เวลานั้นยังเป็นป่า สงวน จากปากต่อปากพวกเครือญาติก็ต่างพูดถึง ความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนภาคเหนือ ดังนั้นใน ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ จึงได้มีชาวอีสานอพยพมาเพิ่มอีก จวบจนปัจจุบัน ในช่วงระยะแรกที่อพยพเข้ามาอยู่มีอุปสรรค หลายอย่างจนทำ�ให้หลายครอบครัวต้องอพยพ กลับไปยังบ้านเกิด เช่น กำ�แพงภาษาที่ทำ�ให้ คนไทลาว ผู้ไท มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนเหนือ ที่พูดคำ�เมือง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า แม้แต่ วัดชาวอีสานก็ต้องรวบรวมชาวบ้านสร้างวัด ที่พระ เทศน์ภาษาอิสาน เพราะฟังพระเทศน์ แบบชาวเหนือ ไม่รู้เรื่อง ในปัจจุบันจึงมีพระจากอิสานมาจำ�พรรษา อยู่ในชุมชนด้วย ต่อมาเมื่อแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันในชุมชนนานขึ้น จึงมีความเข้าใจกันมากขึ้น ปัจจุบันทั้งคนอีสานและคนล้านนาในพื้นที่เริ่มปรับตัว และยอมรับซึ่งกันและกัน จึงทำ�ให้เกิดการผสมผสาน ของวัฒนธรรมอย่างลงตัวจนเกิดเป็นชุมชน ท่องเที่ยว อิสานล้านนา สร้างอาชีพที่ยั่งยืน เกิดเป็นชุมชนที่ เข้มแข็ง

17


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

สนุกในความต่าง นั่งรถอีแต๊ก กินส้มตำ�ลาว ซื้อผ้าทอลูกผสมอิสานล้านนา เสน่ห์ของชุมชนนี้ คือ ความเนิบช้าสบายๆ แบบ คนเหนือ แต่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจของอิสาน เจือปน หากเดินเล่นในชุมชนก็จะได้ยินเสียงคน คุยกัน สลับไปมาสามภาษา คือภาษาลาว ภาษาผู้ไท และภาษาเหนือ และด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าใน พระพุทธศาสนา จึงมีวัดน่าเที่ยวอยู่หลายแห่ง เอาล่ะ พร้อมแล้วไปเที่ยวกัน เช้า เริ่มต้นที่ศูนย์การเรียนรู้ ในวัดบ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง ที่นี่มีการสาธิต ความ รู้ภูมิปัญญาต่างๆ มากมาย นอกจากจะทำ�ให้ดูแล้ว ยังมีโอกาสได้ลองทำ�เองด้วย • ฝึกทำ�ขนม เป็นขนมเทียนสูตรคนอิสาน ที่เรียกว่า ขนมหมก มีข้าวแต๋นหรือข้าวนางเล็ด อันใหญ่ๆ ให้ซื้อกลับเป็นของฝากด้วย • ฝึกทำ�บายศรีกับตุงผู้ไท • ชมสาธิตการทอผ้า แล้วก็ซื้อผ้าทอแบบอิสานใน ราคาผู้ผลิต • ชมสาธิตการจักสานลายละเอียด ออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ ทั้ง หวดนึ่งข้าว กระติ๊บข้าว • ชมสาธิตการทอเสื่อกก เริ่มตั้งแต่ตัดต้นกก จนเสร็จชิ้นงาน • ชมการทำ�สมุนไพรแปรรูป ดูการนวดแผนไทย เที่ยงวัน พักรับประทานส้มตำ�แซ่บๆ อาหาร มื้อเที่ยงแสนอร่อย ช่วงบ่าย • นมัสการพระธาตุน้อยจำ�ไก่ พร้อมเยี่ยมชม สวนเกษตรผสมผสาน • เที่ยวอ่างเก็บนำ�ห้วยชมพู • นมัสการพระธาตุหลวงจำ�ไก่ • นมัสการพระธาตุแก้วแสงมงคล ณ อินเดียน้อย แห่งล้านนา ในช่วงเย็น ก็จะมีการกินพาแลงคือ สำ�รับ อาหารเย็นของคนผู้ไท พร้อมการแสดงโปงลาง

18


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง

โฮมสเตย์และนำ�เที่ยว ที่พักของที่นี่มีหลายหลังที่เข้าร่วม แต่ละหลังก็มี ความแตกต่างกันไป โฮมสเตย์พร้อมอาหารรับรอง จำ�นวน ๑๕ หลัง ติดต่อโฮมสเตย์ได้ที่ ครูป้อม ๐ ๘๙๙๕ ๒๕๕๐ ๘ ต๋อง ๐ ๘๐๖๗ ๖๙๑๓ ๘ ราคาโปรแกรมท่องเที่ยว ๑ วัน ๔๐-๑๐๐ คน อาหารว่าง ๒ มื้อ อาหารกลางวัน ๑ มื้อ ราคาคนละ ๓๐๐ บาท ราคาโปรแกรมท่องเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน ๔๐-๑๐๐ คน อาหาร ๒ มื้อ เช้าและเย็น ราคาคนละ ๖๕๐ บาท ตำ�กว่า ๔๐ คน ราคาคนละ ๗๕๐ บาท *ข้อพึงปฏิบัติของโฮมสเตย์บ้านใหม่ราษฎร์บำ�รุง • เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว • ไม่เล่นการพนันและดื่มสุรา • ไม่ส่งเสียงดัง • ไม่กระทำ�กิริยาเชิงชู้สาวภายในบ้าน • หากต้องการไปที่ไหนต้องแจ้งเจ้าของบ้าน • เคารพช่วยกันรักษาวัฒนธรรม การปฏิบัติตาม คำ�แนะนำ�หรือขนบธรรมเนียมของชุมชน • ควรแจ้งเจ้าของบ้านให้ทราบเกี่ยวกับข้อมูล สุขภาพ การแพ้อาหาร ฯลฯ ก่อนการเข้าพัก

19


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านใหม่ราษฏร์บำ�รุง

ของอร่อยประจำ�ชุมชน เป็นอาหารที่เกิดการรวมกันของสองวัฒนธรรม อันได้แก่ แจ่วบอง หมกหน่อไม้ ไก่ใต้นำ� กะซูบ เมี่ยงตะไคร้ ซว้าไก่ แกงผักหวาน แกง ผักบวบ ข้าวจ่ี่ แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ ข้าวเกรียบ ฟักทอง อาหารเหล่านี้ ถ้าโฮมสเตย์บ้านไหนทำ�เรา ก็จะได้กิน ในส่วนของร้านอาหารนั้น ที่นี่มีร้านขึ้นชื่อของ อำ�เภอดอกคำ�ใต้ คือ ร้านครัวพิสมัย ขายขาหมู เยอรมัน ไส้กรอก ขนมปังและอาหารไทย โทร ๐ ๕๔๘๙ ๕๐๖ ๕, ๐๘ ๑๙๕๓ ๐๕๗ ๒

ท่องฤดูที่ชอบ เที่ยวเทศกาลที่ใช่ เดือนมกราคม

ฤดูปลูกกระเทียม

เดือนกุมภาพันธ์

บุญข้าวจี่และบุญทาน ข้าวใหม่

เดือนเมษายน

บุญสงกรานต์แห่ดอกไม้ วันที่ ๑๓ –๑๕

เดือนพฤษภาคม

บุญเบิกบ้าน

เดือนกรกฎาคม

บุญเข้าพรรษา

เดือนสิงหาคม

บุญข้าวประดับดิน

เดือนกันยายน

บุญข้าวสลาก

เดือนตุลาคม

บุญออกพรรษา งานสลากภัต

เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน เดือนธันวาคม

20

ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว


แผนทีต.สั่บนโคางนใหม ร าษฎร บ ำรุ ง อ.ดอกคำใต จ.พะเยา วัดรองชมภู ศูนยเรียนรูเกษตรอินทรีย อบต.สันโคง วั ด ห ว ยทรายเลื ่อน ๖

วัดพระธาตุแสงแกวมงคล วัดพระธาตุหลวงจำไก

๔๐๑๓

วัดจำไก

๗ โรงเรียนบานจำไก

วัดบุญงาม ๘

๓๐๕๐

๓๐๕๐

๑ ๔๐๑๓

๖ ๙

๑๐

๘ ๕ ๒ ๓ ๓ ๔ ๒ ๔๑๑ ๕ ๑๒ ๒ ๑๕ ๑ ๗ ๖ ๑ ๔ ๓ ๑๓ ๗ วัดราฏรบำรุง ๑๔ ๕

N

๒๐๐ เมตร

สัญลักษณ ที่พัก รานอาหาร โรงเรียน วัด, ศาล กิจกรรม ปาไม, อางเก็บน้ำ, สวน, คลอง ตลาด, รานคา

ที่พัก ๑. บานพอกง ดงเจริญ ๒. บานพอเจริญ สุพร ๓. บานหมื่น เชียงเครือ ๔. บานสุติ๋ม บุญเดช ๕. บานชาญชนะ อวรผสวะ ๖. บานแมสำลี อัปมานะ ๗. บานออยใจ จันทรงาม ๘. บานบุญจันทร กุลชาติ ๙. บานรัชกร นิลสิงขร ๑๐. บานพุทธชาติ โคตรพัฒน ๑๑. บานประมวล ไชยวารี

๑๒. บานหวานใจ ปูบุตรชา ๑๓. บานบุญมี ไชยรัตน ๑๔. บานบุปผา คนสนิท ๑๕. บานเกณฑ บุญเดช กิจกรรม ๑. กลุมสมุนไพรแปรรูป ๒. บานสมุนไพร ๓. จักสาน ๔. โปงลาง ๕. กลุมทอผา ๖. ทำขนม ๗. นวดแผนโบราณ ๘. ย่ำขาง ๙. เกษตรผสมผสาน อนุวัติ

รานอาหาร ๑. บอปลาพิศมัย ๒. รานอาหารชัยภูมิ ๓. กวยเตี๋ยวหวานใจ ๔. ไสกรอกอีสาน ๕. ปลาราบอง ๖. รานกวยเตี๋ยววริศรา ๗. รานอาหารนองโบว ๘. ไสกรอกอีสาน

21


22


แอ่วบ้านไตยวน สักการะพระเจ้านั่งดิน ที่บ้านพระเจ้านั่งดิน

หากจะกล่าวถึงคำ�ว่าไตยวนนั้นมีที่มาย้อนไปไกล ถึงตำ�นานสิงหนวัติ เมื่อครั้งสร้างเมืองบริเวณที่ราบ เชียงแสนในสมัยต้นพุทธกาลว่า สิงหนวัติกุมารได้นำ� ไพร่พลมาสร้างเมืองใหม่ ชื่อว่าเมืองโยนกนาคพันธุ์ และชาวเมืองก็เรียกว่า ชาวโยน ตามชื่อของเมือง แล้วจึงเปลี่ยนเสียงกลายมาเป็นชาวยวน ส่วนคำ�ว่า ‘คนเมือง’ เป็นคำ�ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เวลาใครพูด ถึงคนเหนือ ว่าเป็น ‘คนเมือง’ บางคนอาจจะยังไม่รู้ ว่าคำ�นี้หมายถึงอะไร คนเมืองก็คือกลุ่มชาวไตยวนซึ่ง เป็นชนกลุ่มใหญ่ในล้านนา การที่เรียกคนไตยวนเช่นนี้ เป็นเพราะ ในช่วงของการ เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ของพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. ๒๒๘๕ - ๒๓๕๘) มีการ กวาดต้อนผู้คนจากที่ต่างๆ มากมายหลากหลาย

ชาติพันธุ์ จึงมีการเรียกชาวไตโยนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เดิม ว่า ‘คนเมือง’ หมายถึงคนที่อยู่ในเมืองนี้มาก่อน ในช่วงรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการเคลื่อน ย้ายกลุ่มชาวไตยวน กว่า ๒๓,๐๐๐ คน หลังจากที่ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตีเมืองเชียงแสน และขับไล่ พม่าออกจากเมืองได้ ทรงแบ่งกลุ่มชาวไตยวนออก เป็น ๕ กลุ่ม ให้กระจายไปอยู่ยังที่ต่างๆ คือ ลำ�ปาง เชียงใหม่ น่าน สระบุรี และราชบุรี หลังจากนั้นก็มี การเคลื่อนย้ายไปอยู่ตามที่ต่างๆ คนเมืองในปัจจุบัน ในภาคเหนือกระจายตัวอยู่ที่ เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง แพร่ น่าน และบางส่วนในจังหวัดพะเยา หนึ่งใน อำ�เภอที่มีชาวไตยวนอาศัยอยู่มาก คือ ที่อำ�เภอ เชียงคำ� บ้านพระนั่งดิน

23


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน

รู้จักชาวไตยวน คนไตยวนนั้นมีภาษาพูดเป็นของตัวเอง ลักษณะ คล้ายภาษาลาว ทำ�ให้เมื่อก่อนคนภาคกลางเองก็ เรียกชาวเหนือว่าชาวลาว ด้วยความรุ่งเรืองของ ล้านนาทำ�ให้คนไตยวน มีภาษาพูด ภาษาเขียน และ มีวรรณกรรมเป็นของตนเอง คนไตยวนนับถือทั้งผี และศาสนาพุทธ ผีของชาวไตยวน ที่สำ�คัญคือผีปู่ย่า เป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ทุกบ้าน ของชาวไตยวนจะมีเรือนหลังเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่า ศาลพระภูมิ ที่จะต้องดูแลปัดกวาดและนำ�นำ�อาหาร มาให้ไม่ขาด เมื่อถึงเทศกาลสำ�คัญ ก็จะมีการไหว้ ผีปู่ย่าครั้งใหญ่ เช่น สงกรานต์ หรือวันศีลต่างๆ ในส่วนของการแต่งกายนั้น ชาวไตยวนในอดีต ผู้ชายก็ใส่เสื้อคอกลมและกางเกงย้อมคราม ส่วน ผู้หญิงนั้นก็ใส่ผ้าซิ่นที่มักจะต่อด้วยผ้าสามส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น หัวซิ่นนั้นมักจะใช้ผ้าขาว และตีนซิ่นนั้นมักจะต่อด้วยผ้าแดง หรือทอลายที่เป็น เอกลักษณ์ที่เรียกว่าผ้าตีนจก นิยมเย็บข้างเดียว ซิ่น แบบนี้มีชื่อว่า ‘ซิ่นต่อตีนต่อเอว’ ส่วนด้านบนนั้นสาว ไตยวนสมัยก่อนนิยมใช้ผ้าสีเข้มพัน หรือเคียนหน้าอก ส่วนผมก็มวยไว้กลางศีรษะ ประดับด้วยดอกไม้ หรือ ปิ่นเงิน ชาวไตยวนเป็นคนโอบอ้อมอารี รักสันโดษ ให้ความสำ�คัญกับเรื่องวงศาคณาญาติ และให้ ความสำ�คัญกับอายุและความอาวุโส คนไตยวนจึง อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ คอยพึ่งพาอาศัยกัน

ประเพณีชาวไตยวน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าชาวไตยวนนั้นนับถือผี พร้อมๆ กับการนับถือศาสนาพุทธ จึงมีประเพณี เกี่ยวเนื่องทั้งไหว้ผี และกิจกรรมทางศาสนาพุทธ การทานขันข้าว หรือตานขันข้าว เป็นการทำ� ทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ หรือบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือทำ�ทานเพื่อต่อกุศลสะสมบุญ

24


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน ให้กับตัวเองในภายภาคหน้า โดยจะทำ�อาหารเตรียม ใส่ถาดไปถวายพระที่วัด ซึ่งจะทำ�ในวันขึ้นปีใหม่ หรือ ช่วงวันสงกรานต์ และวันศีลใหญ่ เช่น เข้าพรรษา อาสาฬหบูชา พิธีส่งเคราะห์ พิธีส่งเคราะห์หมู่บ้าน คือการ ทำ�บุญใจบ้าน สะดือเมือง ซึ่งเป็นที่สถิตของเหล่า เทพาอารักษ์ต่างๆ เชื่อว่าใจบ้านเป็นศูนย์รวม จิตวิญญาณของหมู่บ้าน ซึ่งการส่งเคราะห์หมู่บ้าน เป็นพิธีการส่งนพเคราะห์ทั้ง ๙ ให้กับท้าวเวสสุวรรณ์ เทวโลกบาลซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่ภูตผีปีศาจ แต่ละบ้านก็ จะมีการส่งเคราะห์บ้านของตัวเอง โดยมีพิธีการ คือ จัดรั้วราชวัตร มีต้นกล้วยต้นอ้อยทำ�เป็นกระโจม มี สายสิญจน์ พันรอบและลากสายสิญจน์ออกไปรอบ บ้าน แล้วโยงเข้ากับบ้านอื่นๆ ไปหาใจบ้าน สืบชะตาหมู่บ้าน เป็นพิธีที่ทำ�หลังจากการ ส่งเคราะห์บ้าน โดยมีพระสงฆ์ จำ�นวนคี่ คือ ๕ รูป ๗ รูป หรือ ๙ รูป ก็แล้วแต่จำ�นวนพระภิกษุที่มี มา เจริญพระพุทธมนต์ โดยมีตัวแทนในการทำ�พิธี คือ ปู่จารย์จะทำ�การขึ้นขันท้าวทั้งสี่ เป็นการบอกกล่าว ให้ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ทิศอันได้แก่ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ และท้าววิรุฬหก ได้รับรู้ถึง การทำ�พิธีกรรม จากนั้นก็ทำ�พิธีทางสงฆ์ มีการเจริญ พระพุทธมนต์ และตามด้วยการถวายปัจจัย

ประเพณีจุดประทีปตีนกา หรือต๋ามประทีป ที่ เรียกประทีปตีนกา เพราะ ไส้ของประทีปนั้นขดเป็น รูปตีนกา ซึ่งมาจากเรื่องราวในตำ�นานของแม่กาเผือก ที่ฟักไข่ไว้ ๕ ฟอง อยู่ริมแม่นำ� แต่แล้วไข่ก็ถูกนำ�พัด พาไป ไข่แต่ละฟองก็ถูกฟูมฟักเลี้ยงดูโดยสัตว์ที่อาศัย อยู่ริมแม่นำ� แล้วก็แตกออกมาเป็นคน โดยไข่ที่ฟัก โดยแม่ไก่ เป็นมนุษย์ชื่อกุกกุสันโธ ไข่ที่นาคฟักเป็น คนมีชื่อว่าโกนาคมโน ไข่ที่เต่าฟักชื่อ กัสสัปโป ส่วน ที่โคดูแลชื่อ โคตโม และที่ถูกเลี้ยงโดยงูใหญ่ คือ เมตไตโย ทั้งหมดเมื่อได้กลับมาเจอกันอีกครั้งก็คิดถึง แม่กาเผือกผู้ให้กำ�เนิด ดังนั้น เพื่อรำ�ลึกถึงแม่กา ทุกครั้งในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ก็จะมีการจุดด้าย ตีนกาลอยนำ�ไป มนุษย์ที่เกิดจากไข่ทั้งห้าฟองของ แม่กา ก็อธิษฐานขอให้ตนเองได้ไปเกิดเป็น พระพุทธเจ้าซึ่งเราได้มีพระเจ้ามาเกิดแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกุกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสัปโป และพระโคตรมะ และยังเหลือพระองค์สุดท้าย คือ พระศรีอารยะเมตไตร ที่จะมาจุติในอนาคต การจุด ประทีปของชาวไตยวนนั้นก็เพื่อถวายบูชาแก่พระเจ้า ทั้ง ๕ พระองค์

ประเพณีตานข้าวใหม่ หลังจากฤดูเก็บเกี่ยว แล้ว ก็จะมีการทำ�บุญข้าวใหม่ หรือเรียกว่าตานข้าว ใหม่ เป็นการทำ�บุญให้กับปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษที่ให้ ผืนนาที่ทำ�กิน และ ผีขุนนำ� ที่ให้นำ�ท่าอุดมสมบูรณ์ ในการทำ�การเกษตร ประเพณีสลากภัต หรือตานก๋วยสลาก เป็นการ เตรียมของมาถวายวัดโดยการใส่ชลอม แล้วติด หมายเลข เมื่อเตรียมของถวายพระแล้ว ก็นิมนต์ พระสงฆ์มาจับสลากรับเอาก๋วยสลากตามหมายเลข นั้น การตานก๋วยสลากนี้ มีที่มาคือในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งถึงคราวข้าวยากหมากแพง เมื่อพระมา บิณฑบาต ศรัทธา บางคนก็ไม่สามารถเตรียมอาหาร มาได้มากนักไม่เพียงพอแก่พระสงฆ์ ดังนั้นจึงเกิดการ ทำ�บุญด้วยวิธีการจับสลากขึ้น

ของกินคนไตยวน อาหารคนไตยวน หรือคนเมืองนั้น เป็นที่รู้จัก กันดีว่า มีสิ่งที่ขาดไม่ได้คือข้าวเหนียว กับข้าวของ คนไตยวนแต่เดิมคืออาหารที่หาได้ง่ายๆ ผัก ปลา ตามท้องไร่ท้องนา เมื่อมีงานบุญ ก็จะทำ�การล้มหมู ล้มควายมาทำ�อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น แกงฮังเล ลาบ แกงอ่อม ส่วนขนมนั้นก็ประกอบ ด้วยแป้งข้าวเหนียว หรือข้าวเหนียว เช่น ขนมจ็อก หรือขนมเทียน ข้าวแต๋น

25


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน

จังหวะแช่มช้า และศรัทธาของชาวบ้านพระนั่งดิน ประชากรส่วนใหญ่ของอำ�เภอเชียงคำ�นั้น คือ ไตยวน และไตลื้อ ที่บ้านพระนั่งดินมีจำ�นวนคนไตลื้อ น้อยกว่าไตยวนมาก ในชุมชนเล็กๆ ที่เป็นเครือญาติ กันนี้ นับถือทั้งศาสนาพุธและศาสนาคริสต์ จึงพบ ป่าช้าแบบคริสต์ และป่าช้าแบบไทยอยู่ห่างกันเพียง ฟากถนนกั้น ด้วยความที่ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน แม้ว่านับถือศาสนาต่างกันก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่าง กลมกลืนและมีความสุขได้ พ่อหลวงบ้านพระนั่งดิน ได้เล่าให้ฟังว่า บ้านพระนั่งดินนั้นเป็นชุมชนที่อพยพมาจาก จังหวัดแพร่และจังหวัดน่านประมาณ ๒๐๐ กว่าปี มาตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ร่วมกันและได้มาเจอ พระเจ้านั่งดิน ซึ่งในตอนนั้นก็น่าจะที่มีคนอาศัยอยู่ ก่อนแล้วจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามองค์พระเจ้านั่งดิน เป็นบ้านพระนั่งดิน เมื่อได้เดินทางมาถึงที่บ้านพระเจ้านั่งดินแล้ว จะมี ความรู้สึกเหมือนที่นี่น่าจะเป็นเมืองเก่า เพราะถนน ซอยเล็กซอยน้อยต่างๆ ชวนให้คิดถึงเมืองโบราณ จึงได้พบข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์ผดุง ประวัง ประธานสภาวัฒนธรรมตำ�บลเวียง ซึ่งอ้างอิงอยู่ ในเว็บไซต์ ฮักเชียงคำ� (www.hugchiangkham. com) ได้กล่าวถึงการค้นพบเมืองโบราณที่มีกำ�แพง ดินและคูนำ�ล้อมรอบ ลักษณะคล้ายเลข ๘ กินเนื้อที่ ตั้งแต่หมู่บ้านเวียง หมู่บ้านดอนชัย หมู่บ้านดอนแก้ว และหมู่บ้านพระนั่งดิน อีกทั้งยังพบหลักฐานต่างๆ เช่น ศิลาจารึกที่แสดงว่าที่นี่เคยมีเมืองโบราณอยู่ อันได้แก่ ศิลาจารึกที่ค้นพบในวัดเวียงพระแก้ว ซึ่ง กล่าวว่าศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ตรงกับสมัยอยุธยา ซึ่งปัจจุบันนี้บางส่วนได้นำ� ไปเก็บไว้ที่วัดศรีโคมคำ� จึงสามารถสันนิษฐานได้ ว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นเมืองเชียงคำ�เก่าซึ่งคาดว่า มีอายุมากกว่า ๙๐๐ ปี มีชื่อเดิมว่าเวียงพางคำ� ก่อ ตั้งมาพร้อมกับเมืองชะราว ในคราวแรกคิดว่าสอง เมืองนี้อยู่คนละยุคกัน แต่เมื่อสังเกตดูการสร้าง บ้านแปลงเมืองของคนไตที่อพยพมาจากตอนใต้ ของจีน จึงเชื่อว่า น่าจะอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีอายุราวๆ ๑,๐๐๐ ปี ในสมัยของพระเจ้าสิง หนวัติกุมาร คาดว่าในสมัยนั้นสร้างเป็นเมืองเล็กๆ

26


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน และเติบโตขึ้น ภายหลัง จนกระทั่งในสมัย พ่อขุนจอมธรรม ได้รวมเอาเวียงพางคำ� หรือ เมืองเชียงคำ�ไว้เป็น หัวเมืองหนึ่งของ ภูกามยาว ต่อมาเมื่ออาณาจักร ล้านนาเรืองอำ�นาจ การปกครอง เมืองเชียงคำ�จึงขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแสน เมืองเชียงคำ� ก็ตกอยู่ภายใต้อำ�นาจของล้านนามาโดยตลอด (๒๑๐๑-๒๓๑๐) ในสมัยพญาคำ�ฟู เมื่อครั้งที่ พระองค์ยกทัพไปตีเมืองแพร่และเมืองน่าน ก็ได้มา พักกองทัพที่เมืองนี้ หลายครั้ง และมีบางตำ�นาน กล่าวว่าพญาคำ�ฟูนั้น ได้มาสวรรคตที่แม่นำ�คำ� ในเมืองเชียงคำ�เก่านี้เอง เมืองเชียงคำ�เก่าได้รับ ความเสียหายมากมาย โดยขบฏเงี้ยว ที่เข้ามาปล้น และยึดเมืองเชียงคำ�ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ดังนั้นเมื่อ พระยาดัสกรปลาสได้รับมอบหมายให้ยกกองทัพมา ปราบกบฏไทยใหญ่จนสำ�เร็จแล้วจึงได้ย้ายที่ทำ�การ ของเมืองไปไว้ที่ บ้านหย่วนซึ่งเป็นชุมชนชาวไตลื้อ แทน ปัจจุบันยังเห็นร่องรอยของความเป็นเวียง เก่า เพราะยังมี สะดือเมือง หรือหลักเมือง ตั้งอยู่ที่ วัดเวียงหลวง โดยเชื่อว่าต่อมาพระไชยเชษฐาธิราช ได้เคยนำ� พระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่นี่ ชั่วคราวจึงเรียก วัดนี้ว่า วัดพระเวียงแก้ว บ้านพระนั่งดินจึงเป็นส่วนหนึ่งของเวียงเชียงคำ� เก่า และยังเป็นที่ประดิษฐานพระที่สำ�คัญคือ พระเจ้านั่งดิน ศูนย์รวมจิตใจชาวบ้าน ประวัติการ สร้างพระเจ้านั่งดินนั้นยาวนาน มีตำ�นานกล่าวว่า เมืองเชียงคำ�เก่าเดิมชื่อเมืองพุทธรสะ ในสมัยนั้น พญาคำ�แดง เจ้าเมืองผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ สร้างวัดพระนั่งดิน ขึ้นมา มีนามว่าพระนั่งดิน ตาม ตำ�นานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวถึงตำ�นานพระนั่งดิน ว่า เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จมาถึงเวียงพุทธรสะพระองค์ ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำ� ในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาและประสาทพร ตรัสสั่ง พระยาคำ�แดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น ให้สร้าง รูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้ พอ สัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์ องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤาษี ๒ ตน และ พระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์ จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของ พระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้าง หนึ่งเดือนกับเจ็ดวัน จึงแล้วเสร็จ

ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ ได้เสด็จโปรดสัตว์ทั่วถึง แล้ว จึงได้เสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็น รูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้น เล็กกว่าองค์ตถาคต จึง ตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้ว พระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล รูปปั้นจำ�ลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไหว้ พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ได้ตรัสเทศนา กับรูปเหมือนที่ ให้สร้างขึ้นนั้นว่า "ขอให้ท่านจง อยู่รักษาศาสนาของกู ตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระ วรรษา" พระรูปเหมือนนั้น ได้กราบน้อมรับเอาแล้ว ประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้น พระรูปเหมือนดังกล่าว คือ องค์พระเจ้านั่งดิน ในปัจจุบันนี้เอง พระเจ้านั่งดินจึงไม่ได้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เหมือนพระประธานในวิหารทั่วไปในล้านนา ผู้เฒ่า ผู้แก่ได้เล่าว่า มีความพยายามสร้างฐานชุกชี และ อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี แต่ว่าเกิดเหตุอัศจรรย์ คือมีฟ้าผ่าที่วิหารถึง ๓ ครั้ง จึงได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินประดิษ ฐานบนพื้นดิน ที่เดิม ปัจจุบันนักท่องเที่ยวและผู้ศรัทธาในพระเจ้า นั่งดินมักจะเดินทางมาเพื่อขอพรจากพระเจ้านั่งดิน เพราะเชื่อว่าเมื่อขอสิ่งใดมักได้ตามประสงค์ นอกจาก นี้ยังมีการบูชานำ�มัน มีความหมายเพื่อให้กิจการต่างๆ ลื่นไหล ไม่มีอุปสรรค สำ�หรับชาวบ้านที่นี่ พระนั่งดิน คือศูนย์กลางของชุมชน

27


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน

ไหว้สาพระนั่งดิน นั่งซาเล้งชมเมือง ปั่นจักรยานหาตำ�นานขุนพลลาบ ความน่ารักของเมืองเล็ก ที่เป็นสังคมเครือญาติ ทำ�ให้เมื่อเดินไปทางไหนก็รู้สึกอบอุ่น ในแต่ละมุม ของเมืองมีเรื่องราวเล็กๆ ซ่อนอยู่ ลองมาลดจังหวะ ให้ช้าลงแล้วค่อยๆ เที่ยวที่นี่ ไม่ว่าจะไปนั่งพูดคุยกับ กลุ่มคุณตาคุณยายผู้มากอารมณ์ขัน ที่นั่งทำ�เทียนใน ศาลาใต้ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นในบริเวณวัด หรือไปดูโรงงาน ทอผ้าชุมชนที่ผลิตยูนิฟอร์มชุดพื้นเมืองให้เด็กนักเรียน เดินเล่นดูป่าชุมชน ซื้อตุ๊กตาถัก และอีกมากมาย ลองมาดูตัวอย่างการท่องเที่ยวชุมชนกันค่ะ ช่วงเช้า ทำ�บุญตักบาตรที่วัดพระนั่งดิน เที่ยวตลาดชุมชน - เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหิว ตามเขา ชิมอาหารแบบคนเมือง สักการะพระนั่งดิน - เสี่ยงเซียมซี ไหว้พระ ชมการสาธิตการทำ�เทียนคาถา - ภายใน วัดพระนั่งดินมีศาลาใต้ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เป็นที่ พบปะกันของกลุ่มผู้สูงอายุที่ลูกหลานต่างก็จาก ไปมีครอบครัวและทำ�งานต่างจังหวัด พวกเขามา รวมกลุ่มกันทุกวันเพื่อทำ�เทียนคาถา ขายใน วัดพระนั่งดิน จากนั้นก็ไปเที่ยวดูกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ชน และกลุ่มเกษตรกรที่ทำ�การประมงบ้านพระนั่งดิน อาหารเที่ยง ตามหาตำ�นานขุนพลลาบ - รับประทานอาหาร กลางวัน ที่ร้านลาบลุงรบ อาหารสูตรคนเมืองแท้ๆ ช่วงบ่าย เที่ยวชมโบสถ์คริสเตียน - ที่โบสถ์นี้ยังเป็น ศูนย์ฝึกฝีมือมีการสอนการทำ�ขนม เช่น ขนมเทียน หรือขนมจ็อก ช้อปปิ้ง - ตุ๊กตาถักเปลี่ยนชุดได้ที่บ้านถักทอ ช่วงเย็น มื้อเย็นที่โฮมสเตย์

28


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน

โฮมสเตย์และนำ�เที่ยว ที่บ้านพระนั่งดิน เพิ่งเปิดหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน โฮมสเตย์ได้ไม่นานแต่ก็มีความพร้อมในการต้อนรับ นักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ติดต่อที่พักโฮมสเตย์ที่ ผู้ใหญ่บ้าน ภูวนัย เกิดสุข โทร ๐ ๘๙๒๖ ๖๑๑๕ ๔

ของอร่อยประจำ�ชุมชน ร้านอาหารอร่อยของที่นี่คงหนีไม่พ้น อาหาร เหนือ ลาบแบบคนเมือง แกงอ่อม ข้าวเหนียว ที่บ้านพระนั่งดินมีร้านอาหารซึ่งเปิดมานาน คือ ลาบลุงรบ แม้วันนี้ลุงรบจะไม่อยู่แล้ว แต่รสชาติ อาหารก็ยังคงเหมือนเดิม ร้านลาบลุงรบ อยู่บริเวณ ใกล้กับวัดพระนั่งดิน โทร ๐ ๘๐๘๔ ๘๗๕๘ ๙, ๐ ๖๑๓๗ ๘๗๔๔ ๘

29


สองสีสันสองวัฒนธรรม- บ้านพระนั่งดิน

ท่องฤดูที่ชอบ เที่ยวเทศกาลที่ใช่ เดือนมกราคม

ประเพณีตานข้าวใหม่ เดือน ๕ เหนือ

เดือนเมษายน

งานเทศกาลสงกรานต์ มีการส่งเคราะห์หมู่บ้าน ส่งเคราะห์บ้าน และงาน ประเพณี ตานขันข้าว ๑๐๐ ขัน

เดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน

งานไหว้สาพระเจ้านั่งดิน จัด ขึ้นในวันแปดเป็งหรือวัน วิสาขบูชาของทุกปี

เดือนตุลาคม

งานสลากภัต

เดือนพฤศจิกายน ฤดูเกี่ยวข้าว เดือนธันวาคม

งานสวดมนต์ข้ามปี

การเดินทาง บ้านพระนั่งดินตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๗ ตำ�บลเวียง อำ�เภอ เชียงคำ� จังหวัดพะเยา จากในเมืองพะเยา เดินทาง โดยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ดอกคำ�ใต้ เชียงคำ� มาราว ๔ กิโลเมตร

30


แผนที่บานพระนั่งดิน

31


บนผาผึ้ง คือลานชมวิวที่สามารถมองเห็นบ้านศรีเมืองชุม และฝั่งตรงข้ามคือเจดีย์ห้วยตุ้ม

32


ไต่ผาล่องไพรกับความรู้บทใหม่ที่ไม่มีในตำ�รา บ้านศรีเมืองชุม-ผาตั้ง

ท่องผา หานกยูง ที่หมู่บ้านศรีเมืองชุม ชุมชนที่โอบล้อมด้วยป่าเขา มีธรรมชาติที่ยังคง ความอุดมสมบูรณ์นี้ ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่นำ�อิง มี ทั้งแหล่งนำ�ตามธรรมชาติ และมีเขื่อนยางอิงรอดกั้น ลำ�นำ�อิง สำ�หรับการเกษตร บ้านศรีเมืองชุมอยู่ใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ มีนกยูงเป็นสัตว์ประจำ� ท้องถิ่น มีประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สืบทอดกันมา แต่ช้านานคือประเพณีแห่ช้างแก้ว วัตถุประสงค์ เพื่อขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลและเพื่อสร้าง ความสามัคคีปรองดองให้แก่ชุมชน

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอมีลักษณะพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นลูกระนาด มีความลาดชันประมาณ ๓๐-๖๐% กินพื้นที่ ทั้งหมด ๒๓๑,๘๗๕ ไร่ เป็น พื้นที่ป่าในเขตอำ�เภอศรีเมืองชุมจำ�นวน ๑,๕๐๐ ไร่ พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ฤดูฝนเริ่ม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม มีอากาศ หนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิประมาณ ๒๑ องศาเซลเซียส

33


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม

คนรักษ์ป่า ป่าให้อาหารคน บ้านศรีเมืองชุมหมู่ที่ ๖ ในวันนี้ แต่เดิมคือ บ้าน ร่องย้าง หมู่ที่ ๓ ต่อมามีพ่ออุ้ยพรหม จันทร์ทิมา และ พ่ออุ้ยหนานสม พร้อมกับชาวบ้านอีกจำ�นวนหนึ่ง ได้แยกออกมาเป็นบ้านศรีเมืองชุม ด้วยสภาพ แวดล้อมอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ มีแหล่งนำ�ป่าไม้ มี ภูเขาล้อมรอบ มีภูมิทัศน์ที่ด ีผู้คนจึงพากันอพยพ มาอาศัยอยู่มากมาย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ บ้านศรีเมืองชุมจึงได้แยกการปกครองออกไป อีก คือบ้านใหม่พัฒนาซึ่งอยู่ในหมู่ที่ ๘ ปัจจุบัน บ้านศรีเมืองชุมประกอบอาชีพหลักคืออาชีพ ทำ�นาทำ�สวน และอยู่ในเขตรับผิดชอบของ เทศบาลตำ�บลเวียงลอ ชาวบ้านศรีเมืองชุม ๙๐% เป็นคนเมือง และ อีก ๑๐% เป็นคนอีสาน จึงมีการผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมอิสาน และวัฒนธรรมแบบคนเมือง จึงมี การตักบาตรข้าวเหนียวในตอนเช้า มีอาหารแนะนำ� ที่พลาดไม่ได้คือแจ่วบอง และนำ�ปู๋ ชาวบ้านดำ�รง ชีวิตเรียบง่าย น้อมนำ�ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ปรับใช้ ป่าของชุมชนนี้เปรียบเสมือนตู้เย็นขนาดใหญ่ ที่เก็บอาหารไม่มีวันหมด เป็นแหล่งต้นนำ� ที่ใช้ทำ�การ เกษตร ที่นี่จึงมีการไหว้ขุนต้นนำ�ทุกปีที่บริเวณตาด ห้วยป๋วย มีประเพณีแห่ช้างแก้วที่นี่ เพื่อให้ฝนตกต้อง ตามฤดูกาล สิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้ป่านี้ยังคงอุดมสมบูรณ์ คือ ความเชื่อของคนในชุมชน ในเรื่องผีขุนนำ� มีเทวา อารักษ์ที่ปกปักรักษาป่า และมีนกยูง สัตว์ป่าที่คนใน ชุมชนจะไม่ฆ่าและเอามาทำ�กินเป็นอันขาด ใคร เอาเนื้อนกยูงมากินผู้นั้นมักจะมีอันเป็นไป และไม่มี ความสุขความเจริญ ความเชื่อนี้เอง จึงทำ�ให้นกยูง ของบ้านศรีเมืองชุม ยังคงอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในป่า มีข่วงนกยูง ที่เหล่านกยูงจะลงมารำ�แพนหาง เล่นนำ�ทุกเย็น ซึ่งหากนักท่องเที่ยวต้องการที่จะชม นกยูงจะต้องอยู่ในความสงบและทำ�ตัวให้กลมกลืนกับ ธรรมชาติ มากที่สุด

ภาพด้านบน: บริวเวณผาสามเส้า ระหว่างทางก่อนถึงผาผึ้ง

เขื่อนยางอิงรอด ที่กั้นแม่นำ�อิงเพื่อการเกษตร

34


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม ธรรมชาติ ศาสนา และสายนำ� เกี่ยวร้อยชุมชน ชุมชนที่บ้านศรีเมืองชุมเป็นชุมชนที่มีทั้งชาวอิ สาน และคนเมืองอยู่ร่วมกัน แต่ทั้งสองชาติพันธุ์นั้นมี จุดร่วมที่เหมือนกันคือ ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา และความหวงแหนในแหล่งนำ� ผืนป่าที่ทำ�กิน เมื่อ ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกัน จึงทำ�ให้ผืนป่าที่นี่ค่อนข้าง อุดมสมบูรณ์ และมีสถานที่สำ�คัญทางศาสนาที่ได้รับ การบูรณะดูแลเป็นอย่างดี วัดที่สำ�คัญเป็นศูนย์รวมใจ ของชุมชนดังนี้ วัดพระธาตุดอยอิงรอด วัดนี้ไม่มีหลักฐานชัดแจ้ง ว่าสร้างขึ้นมาเมื่อใด สันนิษฐานได้เพียงว่า น่าจะสร้าง ขึ้นในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ไล่เลี่ยกับโบราณ สถานเวียงลอ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ อยู่ใกล้เคียง ชื่อของวัดพระธาตุอิงรอดมีตำ�นานที่มา สองเรื่องที่ยังไม่ได้สืบค้นว่าจริงหรือไม่ ในเรื่องแรก เมื่อสมัยก่อนวัดอิงรอดเชื่อมโยงกับโบราณสถาน เวียงลอ มีทหารกลุ่มหนึ่งหนีจากศึกสงครามจาก เมืองลอ มาหลบที่นี่แล้วข้าศึกตามหาไม่เจอ จึง ได้ ชื่อว่า อิงรอด คืออยู่รอดปลอดภัย และในเรื่อง เล่าจากผู้เฒ่าอีกเรื่องหนึ่งบอกว่า เมื่อก่อนมีเขาสอง ลูกชนกัน มีแม่นำ�อิงไหลผ่านเซาะภูเขาออกไป จึง เรียกว่า “อิงลอด” (ภาษาเหนือ ร และ ล นั้นออก เสียงไม่ต่างกัน) บริเวณที่นำ�เซาะเข้าไปนั้นกลาย เป็นถำ� มีปลานำ�จืด พวกปลาค้าวใหญ่ ที่คุ้นเคยกับ คน ในฤดูแล้งมีการจัดเวรยามราว ๒๐ คน ที่มาดูแล แหล่งนำ� บริเวณใกล้เคียงกับวัดและได้จัดเป็นจุดชม วิวของหมู่บ้าน ปัจจุบันมีพระอธิการปลัด พจน์ จารุธรรมโม เป็น เจ้าอาวาสดูแลวัดพระธาตุอิงรอด วัดป่าห้วยตุ้ม เดิมเป็นกองอิฐซากปรักหักพังของ เจดีย์ซึ่งคาดว่าเป็นยุคเมืองลอ ตามคำ�บอกเล่าของ ผู้เฒ่า ผู้แก่ เริ่มบูรณะเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ภายในเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปหยก กับ พระเบญจภาคี ทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ องค์ มีความหมาย แทนคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า และภายในพระ ธาตุยังบรรจุอิฐธาตุของครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน หลายองค์ ลักษณะพระธาตุเป็นรูปทรง แปดเหลี่ยม ระฆังควำ� ยุคทรงล้านนา โดยมี พระสุกี สุจิตโต เป็น เจ้าอาวาส สิ่งสำ�คัญที่พี่น้องชาวศรีเมืองชุมร่วมกันดูแลรักษา

นั่นคือ แม่นำ�อิง สายนำ�ที่หล่อเลี้ยงชุมชน เพื่อให้มีนำ� ใช้ในการเกษตรตลอดปี ที่นี่จึงมีการกั้นลำ�นำ�แม่อิง เป็นครั้งคราว โดยใช้ระบบเขื่อนลมในการกั้นนำ� ใน ฤดูนำ�หลากก็ปล่อยลมและให้นำ�ไหลตามปกติ บริเวณ ที่กั้นนำ� จึงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความสวยงาม ร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน แม่นำ�อิงที่สำ�คัญอีกที่หนึ่งของชุมชนคือ วังมัจฉา อยู่ระหว่างทางที่จะเดินขึ้นผาผึ้ง เป็นแหล่งนำ�ที่มี ปลาอาศัยอยู่ชุกชุมส่วนใหญ่เป็นปลาค้าวใหญ่ มีการ อนุรักษ์ไม่ให้มีการจับปลา ปลาที่ใช้สำ�หรับกินจะถูก เลี้ยงในกระชัง ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นการขอบคุณสายนำ� ชาวบ้านศรีเมืองชุม จะเดินทางผ่านวังมัจฉา ขึ้นดอยไปเพื่อเลี้ยง ผีขุน นำ�ที่ ตาดห้วยป๋วย มีการเลี้ยงผี เพื่อขอให้เกิดความ อุดมสมบูรณ์ และมีการแห่ช้างแก้วเพื่อขอฝน และให้ มีนำ�เพียงพอในการทำ�การเกษตร เส้นทางธรรมชาติที่เดินขึ้นจากตาดห้วยป๋วยไป อีกนั้นมีความสมบูรณ์ขนาดที่ว่า ชาวบ้านรอทำ� พิธีกรรมต่างๆ ก็สามารถเก็บเห็ด เก็บผักกลับไปทำ� อาหารได้เป็นหลายมื้อ สำ�หรับนักท่องเที่ยวแล้ว ขอ แนะนำ� ให้เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ขึ้นไปอีก จะ พบกับหินขนาดมหึมาสามก้อน เรียงตัวเป็นลักษณะ สามเส้า เรียกว่าหินสามเส้า เมื่อเดินสูงขึ้นไปอีกจะ พบกับผาผึ้ง บนลานหินผาผึ้ง จะมองเห็นทัศนียภาพ ที่สวยงามของเมืองป่าเขียวที่แน่นขนัด โดยฝั่ง ตรงกันข้ามยังมองเห็นทองจังโกของวัดป่าห้วยตุ้ม สะท้อนประกายอยู่ลิบๆ ชาวบ้านศรีเมืองชุม นอกเหนือจากการทำ�การเกษตรพอเพียง เพราะ ได้น้อมนำ�ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้แล้ว ชาวบ้านศรีเมืองชุมยังมีอาชีพเสริมจากการทำ�นา มี การรวมกลุ่มกัน ทำ�งานฝีมือ ทำ�ปุ๋ย โดยมีกลุ่มอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ชุมชนมากมาย เช่น กลุ่มนำ�พริกแม่บ้าน กลุ่มเย็บกระเป๋า และ ผ้าแฮนด์เมดอเนกประสงค์ กลุ่มนำ�ยาอเนกประสงค์ กลุ่มดินผสมปลูกต้นไม้ กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มนวดแผนไทยหลักสูตร ๗๒ ชั่วโมง กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ กลุ่มเลี้ยงปลาใน กระชังกลุ่มเลี้ย งไก่พื้นเมือง

35


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม

จุดชมวิวเนินเขาใกล้วัดอิงรอด เป็นบริเวณที่แม่นำ�อิงลอดเขา ที่มาของชื่อ "อิงรอด"

36


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม

ซุ่มดูนกยูง ชมวิวผาผึ้ง นมัสการพระธาตุอิงรอด พื้นที่ท่องเที่ยวและการใช้เวลาส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนี้คืออยู่ในป่า ดังนั้นหากมีเวลาแนะนำ�ว่าควร จัดตารางสักสองวันเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการชมแต่ละสถานที่ แต่ทั้งนี้กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บ้านศรีเมืองชุมก็มี โปรแกรมนำ�เที่ยวที่น่าสนใจมานำ�เสนอ ทั้งแบบ ๑ วันและ ๒ วัน ดังนี้ โปรแกรมที่หนึ่ง เที่ยวชุมชนหนึ่งวัน (ไป - กลับ)

๐๙.๐๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น.

๑๓.๓๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๕.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น. ๑๖.๓๐ น.

เขื่อนยางอิงรอดชมวิถีชีวิตคนเลี้ยงปลา เที่ยวชมวังมัจฉา ชมวิววัดพระธาตุอิงรอด วัดศูนย์รวมจิตใจของชุมชน พักรับประทานอาหาร เที่ยวชมนำ�บ่อเก๊าไก๋ อายุเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี ที่เป็นนำ�หล่อเลี้ยง ชุมชนมาตั้งแต่เริ่มแรก เที่ยวชม “ล้อมเจ้าน้อย” วัดป่าห้วยตุ้มวัดป่าโดยกลุ่มคณะศรัทธา ชาวอีสาน เที่ยวชมตาดห้วยป๋วย สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบพิธีแห่ช้างแก้ว ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เที่ยวชมหินสามเส้า หินผาผึ้ง เที่ยวชมร้านค้าชุมชน เตรียมตัวกลับบ้าน

โปรแกรมที่สอง ท่องเที่ยวชุมชน ๒ วัน ๑ คืน วันที่ ๑

๐๙.๐๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. ๑๕.๐๐ น. ๑๕.๓๐ น. ๑๗.๐๐ น. ๑๘.๓๐ น. ๒๑.๐๐ น. วันที่ ๒

๐๖.๐๐ น. ๐๘.๐๐ น. ๐๙.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น. ๑๖.๓๐ น.

สักการะพระธาตุอิงรอด ที่วัดพระธาตุอิงรอด เที่ยววังมัจฉา ให้อาหารปลา เที่ยวเขื่อนยางอิงรอด พักรับประทานอาหาร ชมบ่อเก๊าไก๋ เที่ยวชม “ล้อมเจ้าน้อย” ไหว้พระที่วัดป่าห้วยตุ้ม เพลิดเพลินกับเส้นทางธรรมชาติ ชมอ่างเก็บนำ�และชมข่วงนกยูง เข้าห้องพัก พักรับประทานอาหารพร้อมเพรียงกันรับชมการแสดงพื้นบ้าน สวดมนต์ก่อนนอนเข้าห้องพัก ตักบาตรข้าวเหนียว ชมตาดห้วยป๋วย ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เที่ยวชมหินสามเส้า ชมวิวที่หินผาผึ้ง พักรับประทานอาหาร เยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนบ้านศรีเมืองชุม ล่องแพ เยี่ยมชมร้านค้าชุมชน เดินทางกลับบ้าน

37


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม

โฮมสเตย์และนำ�เที่ยว ข้อมูลติดต่อ นายผดุง วงค์กา กำ�นันตำ�บลลอ ประธานที่ปรึกษา โทร ๐ ๙๓๑๓ ๘๗๓๐ ๘ นายเกรียงศักดิ์ อภิมหาธนาโชติ ประธานกลุ่ม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โทร ๐๘ ๗๑๘๓ ๒๘๙๓ นายนิคม วงค์กา เลขานุการกลุ่มฯ โทร ๐ ๙๗๙๘ ๙๑๘๗ ๙

การเตรียมตัวและข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยว สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องเตรียมมีดังนี้ ๑. รองเท้าผ้าใบ ๒. เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ๓. หมวกกันแดด ๔. ยากันยุง ยาดม ยาหม่อง ข้อพึงปฏิบัติ ๑. ห้ามนำ�เครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์เข้าสถานที่ ท่องเที่ยว ๒. ห้ามทิ้งขยะตามไหล่ทางโดยเด็ดขาด ๓. ผลไม้ในเขตสถานที่ท่องเที่ยวเก็บรับประทานได้ แต่ห้ามเก็บไปฝากผู้อื่น

38


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม

ของอร่อยประจำ�ชุมชน อาหารอร่อยของที่นี่ คือ อาหารเหนือที่ทำ�กิน เองในบ้าน และอาหารอิสานรสชาติจัดจ้าน ผักส่วน ใหญ่ได้มาจาก ผักที่ปลูกเอง และผักที่เก็บมาได้ จากในป่าแค่พอกินแต่ละมื้อ ได้แก่ นำ�พริกนำ�ปู๋ ผัก ลวก หน่อไม้นึ่ง นำ�พริกกะปิ ปลาทูทอด แกงแคหนัง แกงหน่อไม้ผักชะอม ลาบปลาเพี้ย ลาบปลาสร้อย ลาบปลาค้าว นอกเหนือจากนี้ที่นี่ก็มีร้านอาหารชุมชน ให้บริการอาหารง่ายๆ ในช่วงกลางวัน

39


ไต่ผาล่องไพร-บ้านศรีเมืองชุม

ท่องฤดูที่ชอบ เที่ยวเทศกาลที่ใช่ เดือนมกราคม

ทำ�บุญปีใหม่ทำ�บุญตานข้าว ใหม่

เดือนกุมภาพันธ์

จัดงานเทศกาลฤดูหนาว

เดือนมีนาคม

พิธีสรงนำ�พระธาตุอิงรอด

เดือนเมษายน

ประเพณีสงกรานต์ ทำ�บุญปี ใหม่รดนำ�ดำ�หัว ทอดผ้าป่า เลี้ยงผีปู่ย่า

เดือนพฤษภาคม

ทำ�พิธีบายศรีสู่ขวัญ

เดือนมิถุนายน

พิธีแห่ช้างแก้ว เลี้ยงผีขุนนำ�

เดือนกรกฎาคม

ทำ�บุญเข้าพรรษา แห่เทียน เข้าพรรษา

เดือนสิงหาคม

งานปลูกต้นไม้วันแม่แห่งชาติ

เดือนกันยายน

ทำ�บุญตานก๋วยสลาก

เดือนตุลาคม

ทำ�บุญทอดกฐิน

เดือนพฤศจิกายน ประเพณียี่เป็ง งานลอย กระทง เดือนธันวาคม

ทำ�บุญตักบาตรห้าธันวา ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

การเดินทาง จากในตัวเมืองพะเยามาทางแยกแม่ตำ� ระยะทาง จากสี่แยกแม่ตำ�ถึงสามแยก บ้านกิ่วแก้วรวมระยะทาง ๓๙ กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปบ้านศรีเมืองชุม ใช้ระยะทาง ๗ กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔๖ กิโลเมตร

40


41


พ่อสว่าง ใจเย็น ตัวอย่างเกษตรกร ที่นำ�ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ และประสบความสำ�เร็จ ในการเพาะงอกผักหวาน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวมากมาย

42


เที่ยวถ ำ� ศึกษาวิถีพอเพียง ที่บ้านผาตั้ง

เมื่อกล่าวถึงคำ�ว่า ‘ผาตั้ง’ นั้นอาจจะทำ�ให้เกิด การสับสนเพราะใช้ชื่อเดียวกับดอยผาตั้งที่เชียงราย บ้านผาตั้งนั้นตั้งชื่อตามถำ�ใหญ่ผาตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ชุมชนผาตั้งเป็น หมู่บ้าน ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่น ของจังหวัดพะเยา ในปีพ.ศ ๒๕๕๘ ถือเป็นต้นแบบที่ ขยายผลแนวคิดปรัชญาพอเพียงออกไปยังชุมชนอื่นๆ

กล่าวกันว่าบ้านผาตั้งเริ่มก่อตั้งชุมชนมานับตั้งแต่ ปี ๒๔๓๕ ชุมชนแห่งนี้ผ่านประวัติศาสตร์ร้อนหนาว มานานกว่า ๑๒๖ ปี ผ่านทั้งความอุดมสมบูรณ์ ความ แร้นแค้น ภาวะติดหนี้สิน ต้องออกไปหางานทำ� ต่างถิ่น และจนกระทั่งได้ปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง หลายๆ ครัวเรือน ก็สามารถปลดหนี้ได้ และ หลายๆ ครอบครัวก็กลับมาทำ�งานที่บ้านเกิด ของตัวเอง มีงานทำ� มีรายได้ปลอดหนี้สิน จึงทำ�ให้ เป็นชุมชนเล็กๆ ที่น่าเที่ยวน่าศึกษา

43


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง

กาลเวลาของบ้านผาตั้ง ในปีที่เริ่มก่อเกิดชุมชนบ้านผาตั้งนั้น คือปีพ.ศ. ๒๔๓๔ ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในพื้นที่นี้มีชาวบ้าน กลุ่มแรก เข้ามาทำ�ไร่ทำ�สวนเป็นชาวเมืองแพร่ คือ นายตา ปิมแปง หลังจากนั้นก็มี นายด้วง ธนะแปง และนางปึก เป็นภรรยาได้ยกครอบครัวมาจาก อำ�เภอ เด่นชัย จังหวัดแพร่ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ก็มี นายสุริยา ปัญจะจอม และนางจันทร์ตา ปัญจะ จอม พาครอบครัวมาจากบ้านดู่ อำ�เภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มาพักอยู่ที่บ้านเชียงบานเชียงคำ�แล้วมา ทำ�ไร่ ที่สบห้วยผาตั้ง ในปีพ.ศ. ๒๔๖๓ โดยมีบริวาร ที่มาร่วมตั้งหมู่บ้านผาตั้ง ๗ ครอบครัวมีรายชื่อดัง ต่อไปนี้ ๑. นายตา ปิมแปง ๒. นายด้วง นางปึก ธนะแปง ๓. นายสุริยา นางจันทร์ตา ปัญจะจอม ๔. นายถา นางต่อม มอญคำ� ๕. นายใจ นางขาว สุยะแสน ๖. นายจันทร์ นางใฮ บุณต่อ ๗. นายเหลา นางบัว เรียนเสถียร รวมมีประชากรประมาณ ๓๐ คน และได้ แต่งตั้งให้นายด้วง ธนะแปง เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านสบขาม ในปี ๒๕๖๔ หลังจากนั้นก็มีคนเข้ามา จากอำ�เภอจุน มาจากบ้านร้องเอี่ยน (ปัจจุบันคือ บ้านบอน อ.ปง) จากนั้นประชากรก็เพิ่มมากขึ้น ใน ปี ๒๔๖๘ เป็น ๓๐ หลังคาเรือนมีประชากรประมาณ ๑๕๐ คนได้แต่งตั้งให้ นายด้วง ธนะแปง เป็น ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านผาตั้ง ในช่วงเวลานั้น โจรผู้ร้ายชุกชุม พ่อด้วงผู้ใหญ่บ้านถูกโจรปล้นโดย การเอาพริกขี้หนูโขลกละเอียด โปะเข้าที่ตาสอง ข้างทำ�ให้นายด้วงมองไม่เห็นและปวดแสบปวดร้อน พยายามคลานไปที่หม้อนำ�เกือบ จะถึงหม้อนำ�พวก โจรก็ใช้มีดปลายแหลมแทงเข้าที่หลังด้านซ้ายของ นายด้วง และนายด้วงก็เสียชีวิตลงต่อหน้าลูกเมียที่ พวกโจรมัดติดไว้กับเสาบ้านในวันขึ้น ๑๔ คำ� เดือน ๑๐ เหนือ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาก็ไม่มีใครกล้าเป็น ผู้ใหญ่บ้านเพราะกลัวถูกฆ่าตาย เมื่อชุมชนไม่มีผู้นำ� ทำ�ให้มีปัญหาเพราะขาดการ ประสานงานกับทางอำ�เภอ ชาวบ้านจึงแต่งตั้งให้นาย

44


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง ยศ มโนชัย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ นายยศ มโนชัย ดำ�รงตำ�แหน่งถึงปี ๒๔๘๘ ก็เกษียณ อายุครบ ๖๐ ปีและแต่งตั้งนายสี สุพรม เป็นผู้ใหญ่ บ้านคนที่ ๓ จนถึงปลายปี ๒๔๙๔ ก็ เกษียณอายุ บ้านผาตั้งก็มีผู้ใหญ่บ้านดูแลชุมชนเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เกิดลมพายุครั้งใหญ่ นำ�ป่าไหล เข้าท่วมหมู่บ้าน สร้างความเสียหายและทำ�ให้บ้าน หลายหลังจมอยู่ในนำ� มีชาวบ้านที่หนีนำ�ไม่ทันและ เสียชีวิตถึง ๕๒ คน ชาวบ้านจึงต้องย้ายขึ้นไปอยู่บน ที่สูงกว่าเดิมดังเช่นปัจจุบัน ในช่วงเวลาหนึ่ง แม่ชิน ใจเย็น คนสำ�คัญในกลุ่ม แกนนำ�ในการพัฒนาบ้านผาตั้งเล่าให้ฟังว่า ในยุค สงครามปฏิวัติ บ้านผาตั้ง เคยเป็นทางผ่านไปยัง พื้นที่ขุมกำ�ลังของ พคท. หรือพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย บริเวณรอยต่อของจังหวัดพะเยา และจังหวัดน่าน บริเวณฐานที่มั่นดอยผาจิ ที่บ้าน สันติสุข และส่วนใหญ่กลุ่ม พคท. มักจะมาซื้ออาหาร เสบียงที่บ้านผาตั้ง ดังนั้นถำ�ผาตั้งจึงเป็นฐานของกอง ยุทธการ กองทัพภาคที่ ๓ ในการใช้ต่อสู้กับ พคท. ใน การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายจึงทำ�ให้บ้านผาตั้งได้รับ ผล กระทบไปด้วยทั้งในแง่ชีวิตและทรัพย์สิน แม่ชิน เล่าว่าในช่วงเวลานั้นแกได้ผ่านประสบการณ์เฉียด ตาย หลายครั้งในหมู่บ้าน ปัจจุบันร่องรอยของการ ปราบปราม พคท.มีให้เห็นเพียง พระพุทธรูปที่อยู่ภาย ในถำ�ที่เป็นที่พึ่งทางใจของทหารไทย วัด ป่า ถำ� ของสำ�คัญของชุมชน ศูนย์รวมจิตใจและศูนย์กลางของคนในชุมชน บ้านผาตั้ง คือวัดผาตั้ง กิจกรรม ร้านอาหารต่างๆ ก็ อยู่รายรอบ ประวัติของวัดผาตั้งนั้นกล่าวว่า สร้าง ขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ ภายในวัดมีวิหารเก่าแก่แบบ ล้านนา ที่ได้ทำ�การบูรณะได้ไม่นาน มีหอตีกลองปู่จา หอตีกลองปู่จานี้ไม่ได้มีเพื่อบอกโมงยาม แต่กลอง ปู่จานี้จะตีก็ต่อเมื่อมีงานบุญ เรียกชาวบ้านให้มาร่วม กิจกรรมงานบุญที่วัด ภายในวัดยังมีต้นลีลาวดี ที่ว่า กันว่าเก่าแก่ราว ๑๐๐ ปี และมีขนาดใหญ่ที่สุดใน จังหวัดพะเยา แม่ชิน ใจเย็น เล่าให้ฟังว่า

เมื่อครั้งที่ครูบาวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดผาตั้งป่วย ด้วยโรคริดสีดวงทวาร รักษาไม่หาย ได้นำ�เอากิ่ง ลีลาวดีมาจากพื้นที่ใดไม่ทราบ ๑ กิ่ง เพื่อนำ�ยาง ของต้นลีลาวดีมาทาที่ลำ�ไส้ใหญ่ที่โผล่พ้นทวารหนัก ออกมา เมื่อทาแล้วครูบาวงศ์ได้มอบกิ่งลีลาวดีให้แก่ ผู้สูงอายุผู้ชายคนหนึ่งนำ�มาปลูกไว้ในจุดที่ต้นลีลาวดี เติบโตในปัจจุบัน โดยไม่นานหลังจากที่นำ�ยางของกิ่งลีลาวดีทา แล้วลำ�ไส้ใหญ่ส่วนที่โผล่พ้นออกมาก็ลีบหาย อาการ เป็นปกติ ต้นลีลาวดีดังกล่าวไม่มีใครกล้าไปตัดแต่ง หรือ ตัดทำ�ลาย เติบโตขึ้นมาจนมีอายุเกือบร้อย ปี จะมี ดอกสีขาวตลอดทั้งปีงดงามมาก ใต้ต้นลีลา วดี จะมีประชาชนทั่วไปนำ�เต่ามาปล่อยและเลี้ยงไว้ ปัจจุบันเต่าออกลูกมากว่า ๑๐ ตัว ใกล้กับต้นลีลาวดี ชาวบ้านได้ทำ�รูปปั้นของครูบาวงศ์มาตั้งพร้อมศาลา หากปีใดที่มีงานบุญ เมื่อขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด ติด กิ่งก้านของต้นลีลาวดีก็จะขอขมาและตัดแต่งกิ่งเท่าที่ จำ�เป็น ปัจจุบันต้นลีลาวดีนี้ ก็กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านพากันมา ขอโชค ขอพรกันมากมาย ชุมชนบ้านผาตั้งนี้เป็นชุมชนที่เลื่อมใสใน ศาสนาพุทธ พร้อมๆ กับการนับถือผี ในชุมชนจึงมี การจัดงานเพื่อเลี้ยงผี ทั้งหลาย อาทิ ผีต้นนำ� ผีฝาย ผีต้นนำ�จำ�เดื่อ ที่อยู่ในป่า คนที่นี่จึงมีการดูแลจัดการ ป่าต้นนำ�เป็นอย่างดี นอกจากป่าไม้ที่ชุมชนหวงแหนแล้ว ถำ�ผาตั้ง ก็ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำ�คัญของชุมชน ถำ�ผาตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูนาง มีความยาวประมาณ ๗ กิโลเมตร ความลึกประมาณ ๘๐๐ เมตร ตั้งอยู่ บนภูเขาเตี้ย ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ รูป และภาพวาดฝาผนังรูปพระพุทธเจ้า นับตั้งแต่ สมัยการปราบปรามพรรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย หลังจากไหว้สาพระพุทธรูปด้านใน แล้ว ก็เดินชมถำ� ภายในมีโพรงถำ�เล็กๆ อยู่มากมาย ประกอบด้วยหินงอกหินย้อยสวยงามประกอบด้วย ถำ�เล็กธารสวรรค์ ถำ�เล็กผาตั้ง ถำ�เล็กเทพสถิต ถำ�เล็กธารหิมะ ถำ�เล็กวรรณประเวศ เหมาะสำ�หรับ นักท่องเที่ยวที่ชอบผจญภัย สามารถเข้าไปเที่ยวได้

45


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง

วัดผาตั้งศูนย์รวมใจของชาวบ้าน

46


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง

แค่เพียงพอ...ก็พอเพียง วิถีของชาวบ้านผาตั้ง

อะไรที่ทำ�ให้ชาวบ้านผาตั้ง ได้รับรางวัลชุมชน ตัวอย่างทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง หลายครั้ง ทั้งนี้ เพราะความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนที่มี ความ สามัคคี และต้องการที่จะเห็นการเติบโตอย่างยั่งยืน ของชุมชนเป็นไปอย่างปลอดหนี้สิน และความเครียด ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ หมู่บ้านผาตั้งก็ได้รับผลกระทบ ต่างๆ ตามมาทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม เกษตรกร ทำ�การเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ที่ทำ�ป้อนให้กับสังคมบริโภคอีกที ค่าใช้จ่ายในการ ทำ�การเกษตรจึงมีต้นทุนสูง มีการใช้ฮอร์โมน ปุ๋ย และ สารเคมี สิ่งที่ตามมาคือ หนี้สินที่เพิ่มพูน สุขภาพที่ ยำ�แย่ พร้อมๆ กับพื้นดินเพาะปลูกที่เสื่อมลง หลาย ครอบครัวเดินทางไปต่างจังหวัด หลายครอบครัว ไปแสวงโชค หางานทำ�ที่กรุงเทพ ดิ้นรนเพื่อส่ง ลูกหลานเรียนหนังสือ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขเรื่อง ความยากจนได้ จนกระทั่งมาเรียนรู้เรื่องการปลูกพืช สวนผสม ค่อยๆ เลิกใช้สารเคมี พยายามใช้วัตถุดิบที่มี ตามธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ทำ�ให้ มีอาหารกินทั้งปี เหลือก็ขาย อีกทั้งยังปลอดภัย

ดังเช่นบ้านสวนพอเพียงของ พ่อสว่าง ใจเย็น เกษตรกรที่ทำ�เกษตรสวนผสม และปลูกผักหวาน ป่าเป็นอาชีพเสริม โดยเริ่มการปลูกมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ปัจจุบันมีต้นผักหวานป่าจำ�นวน ๓,๐๐๐ ต้น และเพาะเมล็ดผักหวานงอกขาย ในราคาต้น ละ ๑๐ บาท สร้างรายได้ต่อเดือนเป็นเงินจำ�นวน มาก ความสำ�เร็จดังกล่าวนี้ขยายผลออกไป ทำ�ให้ หลายๆ บ้านเริ่ม เลิกใช้สารเคมี และลดการทำ�เกษตร เชิงเดี่ยว หันมาทำ�สวนผสมมากขึ้น ดังเช่นบ้านของ แม่อารีย์ ราชวงศ์คำ� จากเดิมที่มีหนี้สินมากมายจาก การทำ�การเกษตร เดินทางลงกรุงเทพเพื่อรับจ้าง และขายข้าวแกง แต่แล้วก็กลับมายังบ้านเกิด ทำ�การ เกษตรสวนผสม ลดรายจ่ายในการที่ต้องไปซื้อผักซื้อ ปลากิน เพิ่มรายได้ด้วยการขายผักในสวน ทำ�นำ� EM และนำ�ยาเอนกประสงค์ขายเป็นรายได้เสริม หนี้สิน ที่พอกพูนก็ลดลงและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สุขภาพ ก็แข็งแรงขึ้นเพราะทำ�การเกษตรแบบปลอดเคมี นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกลุ่มที่พยายามทำ�การเกษตร แบบปลอดสาร เพื่อให้อาหารในชุมชนเป็นอาหารที่ ปลอดภัย นำ�พาไปสู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืนและสุขภาพ ที่แข็งแรง

นอกเหนือจากการปลูกผักทำ�การเกษตรแล้ว ใน หมู่บ้านยังมีการทำ�อาชีพเสริม คือการทำ�ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย อินทรีย์ และงานหัตถกรรมอื่นๆ อาทิเช่น สิ่งประดิษฐ์ วัสดุจากเศษไม้ หัตถกรรมจักสาน ตะกร้า ข้อง ก๋วย จากไม้ไผ่ การถักสานจำ� สานหิง จากด้ายสังเคราะห์

47


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง

เที่ยวชุมชนบ้านผาตั้ง ชุมชนบ้านผาตั้งนี้เป็นดินแดนแห่งเศรษฐกิจ พอเพียง จึงเหมาะกับการเข้ามาเรียนรู้ในเรื่อง การ ทำ�การเกษตรแบบผสมผสานที่ทำ�อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้เที่ยวถำ�เดินป่า ศึกษาธรรมชาติอีกด้วย โปรแกรมนำ�เที่ยวบ้านผาตั้ง เช้า • ทำ�บุญตักบาตรที่วัดผาตั้ง ไหว้พระ ชมวัดเก่าแก่ และต้นลีลาวดี อายุร้อยปี • รับประทานอาหารเช้า • เดินทางไปดูสวนพอเพียง ศึกษาสวนเกษตร พอเพียงของพ่อสว่าง ใจเย็น • เที่ยวชมโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชน • เที่ยวถำ�ผาตั้ง - ชมหินงอกหินย้อย ภาพวาด ผนังถำ� และสักการะพระพุทธรูปในถำ� • รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านอาหารชุมชน ข้างวัด บ่าย • ปั่นจักรยานเที่ยวในชุมชน • ชมสวนทุเรียน • ชมหัตถกรรมการถักทอ จำ� หรือสวิง ข้องใส่ปลา จากด้าย

48


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง

โฮมสเตย์และนำ�เที่ยว ติดต่อโฮมสเตย์ ที่ ผู้ใหญ่บ้าน ปัน คำ�ฟั้น โทร ๐ ๙๘๓๗ ๔๘๐๘ ๗ และ ๐ ๙๕๖๘ ๔๘๖๘ ๖ การเตรียมตัวและข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยว สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องเตรียมมีดังนี้ ๑. รองเท้าผ้าใบ ๒. เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ๓. หมวกกันแดด ๔. ยากันยุง ยาดม ยาหม่อง ข้อพึงปฏิบัติ ๑. ห้ามนำ�เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าสถานที่ ท่องเที่ยว ๒. ห้ามทิ้งขยะตามไหล่ทางโดยเด็ดขาด

ของอร่อยประจำ�ชุมชน อาหารอร่อยประจำ�ชุมชนที่กลุ่มแม่บ้านคิดค้น ขึ้นมาเองนั่นคือ กล้วยป๊อบ เป็นกล้วยนำ�ว้าห่ามๆ นำ�มาหั่นเป็นเส้นแล้วทอดกรอบ จากนั้นก็นำ�มา ปรุงรสต่างๆ เช่น ใส่นำ�ตาล ใส่ผงปาปริก้า เป็น ของกินเล่นที่ขึ้นชื่อของชุมชน มีขายบริเวณข้างวัดผา ตั้ง นอกจากนี้ ในร้านนี้ยังมีขนมจีนนำ�เงี้ยว ของว่าง และของขบเคี้ยวอีกมากมาย

49


ไต่ผาล่องไพร-บ้านผาตั้ง

ท่องฤดูที่ชอบ เที่ยวเทศกาลที่ใช่ เดือนมกราคม

บุญตานข้าวใหม่เดือนสี่เป็ง

เดือนกุมภาพันธ์

จัดงานเทศกาลฤดูหนาว

เดือนมีนาคม

เลี้ยงผีต้นนำ�จำ�เดื่อ วันที่ ๑๙ มีนาคม ทุก ปี, เลี้ยงผีเจ้าบ้านเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ คำ� ของทุกปี

เดือนเมษายน

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ทำ�บุญ ปีใหม่รดนำ�ดำ�หัว เลี้ยงผีปู่ย่า

เดือนกรกฎาคม

เลี้ยงผีอ่างเก็บนำ�แม่กำ�ลัง เข้าพรรษา

เดือนสิงหาคม

เลี้ยงผีฝาย

เดือนกันยายน

ทำ�บุญตานก๋วยสลาก

เดือนตุลาคม

ทำ�บุญทอดกฐิน

เดือนพฤศจิกายน ตานธรรมยี่เป็ง งานลอย กระทง

การเดินทาง บ้านผาตั้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ ตำ�บลขุนควร อำ�เภอปง อยู่ห่างจากตัวเมืองพะเยาราวๆ ๑๐๕ กิโลเมตร

พิธีสืบชะตาบ้านของชาวบ้านผาตั้ง

50


51


ข้าวแคบของขบเคี้ยวของคนเมืองโดยกลุ่มผู้สูงอายุบ้านปงใหม่

52


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ ที่บ้านปงใหม่

พฤติกรรมการกินอาหารของคนในปัจจุบัน สามารถ ทำ�นายถึงโรคภัยในอนาคตที่จะมาเยือนได้ ทั้งนี้เพราะ พฤติกรรมการกิน และวิถีการใช้ชีวิตของคนนั้นขาด ความสมดุล กอปรกับในเวลานี้มีการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงอาหารมากขึ้น ซึ่งการท่องเที่ยวแบบ นี้ ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในเรื่องประสบการณ์อาหารของ นักท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ แต่ยังส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมของอาหาร

‘บ้านปงใหม่’ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นำ�เรื่องการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงอาหาร มาผนวกรวมกัน จนเป็นหมู่บ้านที่เหมาะแก่การมา เที่ยวชม ชิมอาหาร และบูรณาการสุขภาพไปในคราว เดียวกัน

53


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ-บ้านปงใหม่

‘บ้านปงใหม่’ ก่อนจะมาเป็นแหล่งผลิตอาหาร บ้านปงใหม่ เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีระบบนิเวศน์ ที่อุดมไปด้วยป่าไม้ และทุ่งหญ้า ซึ่งเหมาะแก่การ เลี้ยงสัตว์และการทำ�เกษตรกรรม ในเวลานั้นมี ชาวบ้าน บ้านปงหลวง ได้นำ�วัว ควายมาเลี้ยง บริเวณนี้ เมื่อมีคำ�บอกเล่ากันถึงสภาพ ความอุดม ในผืนป่าและ ทุ่งหญ้า ต่อมาก็มีเพื่อนบ้านพากันนำ� วัว ควายมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น และได้ก่อสร้างทำ�เพิงหรือ ที่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า “ป๋างวัวป๋างควาย” เพื่อ พักค้างแรมสำ�หรับเลี้ยงสัตว์ ในขณะนั้นก็มีผู้นำ�ทาง ความคิด และภูมิปัญญา คือ พ่อหนานปั๋น บัวติ๊บ ได้ เป็นผู้ริเริ่มตั้งรกรากถิ่นฐานมีการปลูกสร้างบ้านเรือน เป็นชุมชนยึดวิถีเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ กิน อยู่ พึ่งพิงธรรมชาติอย่างสงบสมดุล เป็นอาณาจักร ที่รายล้อมไปด้วย ทุ่งหญ้า ป่า นำ� และสัตว์เลี้ยง ภายใต้ความหมายของคำ�ว่า “ป๋างหลวง” ต่อ มาทางการจึงได้ตั้งชื่อว่า “บ้านปงใหม่” เป็นชื่อ เรียกตามหมู่บ้านต้นกำ�เนิดคือบ้านปงหลวงนั่นเอง รากเหง้าที่ยั่งยืนมายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี กลิ่นอาย และวิถียังคงอยู่หลงเหลือให้ลูกหลานได้สืบทอดเรียน รู้มาจนปัจจุบัน ชาวบ้านปงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นคนเมืองและมีส่วน หนึ่งเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ม้ง อาศัยอยู่ร่วมกัน มี ใจบ้าน และวัดปงใหม่เป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยังมี เจ้าหลวงคำ�แดงเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน คอยปกป้องคุ้มครองชุมชนให้อยู่รอดปลอดภัยและอยู่ อย่างมีความสุข ตำ�นานเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำ�แดง นั้นกล่าวไว้ว่า เจ้าหลวงคำ�แดง เป็นโอรสของพญางำ�เมือง กษัตริย์ ผู้ครองเมืองพะเยา เจ้าหลวงคำ�แดงครองราชย์หลัง จากพญางำ�เมืองสวรรคต ในปี ๑๘๕๗ หลังจากได้ ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ปราบกบฎเงี้ยวที่มารุกราน เมืองพะเยา และกำ�ราบข้าศึกจากเมืองอื่นๆ ปกป้อง เมืองไว้ได้ด้วยสามารถ เมื่อพระองค์สวรรคตแล้วจึง ทำ�ให้เป็นที่เคารพและอยู่ในใจของชาวพะเยา รวมไป ถึงชาวบ้านปงใหม่ทุกคน

54


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ-บ้านปงใหม่ ผญากับอาหารของชาวบ้านปงใหม่ คำ�ว่า ผญาเป็นคำ�เมือง หมายถึง ปัญญา ความฉลาด และองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการคิด ผญาล้านนาคือองค์ความรู้ที่สั่งสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวบ้านชุมชนบ้านปงใหม่ ได้ร่วมกันรื้อฟื้นความ รู้และภูมิปัญญา ของคนรุ่นเก่ามาปรับใช้ให้สมกับ ยุคสมัย และนำ�ไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนที่ เต็มไปด้วย สาระความรู้ และอิ่มท้อง นอกเหนือจากนี้ ทางชุมชนยังมีระบบการดูแล ผู้สูงอายุ ที่ลูกหลานจากไปทำ�งานไกลบ้าน ซึ่งทำ�ให้ เกิดปัญหา Skip Generation เช่นเดียวกับชุมชน ในชนบทหลายๆ พื้นที่ คือรุ่นปู่ย่าถูกทิ้งไว้ให้อยู่กับ หลาน ในขณะที่พ่อแม่นั้นออกไปหากินต่างจังหวัด ทิ้งหลานไว้กับปู่ย่าตายาย เมื่อสำ�เร็จการศึกษาก็ พากันย้ายออกไปทำ�งานในเมือง แล้วปู่ย่าตายายก็ อยู่กับบ้าน และ ไร่นา ที่ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำ�ต่อไป ได้ น่าดีใจที่มีกลุ่มลูกหลานหลายคนคิดกลับมาพัฒนา บ้าน มาช่วยดูแลผู้สูงอายุให้มีสังคม และช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน จัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ มาแปรรูป อาหาร และอุปกรณ์ทำ�อาหาร อาทิ มีการตีมีดทำ�ครัว มีดตัดไม้ขาย รวมกลุ่มผู้สูงอายุหญิงทำ�ข้าวแคบ มี การพลิกแพลงเปลี่ยนส่วนผสมต่างๆ ให้ดีต่อสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น ใส่งาดำ�บด ใส่ฟักทอง ใส่ ดอกอัญชัน หรือ ใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่มาทำ� กลุ่มผู้สูงอายุ ชายที่ทำ� เครื่องสีข้าวหมุนมือที่ทำ�จากไม้ ทั้งสองกลุ่ม นี้ ทำ�งานอยู่ใกล้ๆ กัน เอิ้นหยอกกันเรื่องลูกหลาน เปิดวิทยุฟังข่าว ฟังเพลงด้วยกันขณะทำ�งาน การจัดการแรงงานในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ อีกอย่างหนึ่งคือ การรวมกลุ่มกัน อบรม ทำ�อาหาร สร้างความรู้ให้กับแม่บ้าน เพื่อให้แม่บ้านรู้จักการ แปรรูปวัตถุดิบที่ปลูกมาใช้ และสามารถนำ�มาขาย ให้มีมูลค่า ไม่ว่าจะเป็น การแปรรูปสมุนไพรมาทำ�ยา ทำ�ลูกประคบ ยาดม เมื่อผลผลิตทางการเกษตรเหลือ มากมาย ให้รู้จักการแปรรูปอาหาร เช่นในฤดูกาลที่ ถั่วลิสงเหลือล้นตลาด ก็สามารถนำ�ถั่วลิสงมาทำ�คุกกี้ ขาย หรือทำ�ถั่วเคลือบโอวัลติน ออกขายสร้างรายได้ เสน่ห์ของคนบ้านนี้ จึงเป็นความกลมเกลียวกัน ในชุมชน ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประกอบกับคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาพื้นที่ของ

บรรพบุรุษ พวกเขาทำ�งานอย่างหนัก จนกลายเป็นที่ รู้จักและประสบความสำ�เร็จ เป็นจุดท่องเที่ยวสำ�คัญ ของหมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวน่าจะได้ไปสัมผัส เพราะ จะได้ทั้งอาหารท้องและอาหารสมอง สวนฮอมผญา : แหล่งรวมภูมิปัญญา ภายใต้ หลักคิด Health Farm อาหาร ผ้าและยาธรรมชาติ อาหารแปรรูปจากผักอายุยืนในสวนหลังบ้าน ไม่ นิยมใส่เครื่องปรุงรส เติมรสด้วยผงนัวผงชูรสของคน พื้นถิ่น มีกิจกรรม Work shop ห่อลูกประคบ กลับบ้าน ทำ�ยาดมสมุนไพรติดมือ บริการนวด พอกโคลน อบสมุนไพร ประคบ แช่มือแช่เท้า นิทาน บนผืนผ้า เรียนรู้ทำ�ผ้ามัดย้อมสีจากธรรมชาติผืนแรก ลายเดียวในโลก ฟาร์มเห็ดสุขใจ : ม่อนป่งบง อาณาจักรเล็กๆ ที่ หญิงสาวตัวเล็กที่หันหลังให้กับชีวิตในเมืองหลวง กลับบ้านเกิดสร้างฝันและทำ�จริง จนเป็นฟาร์มเห็ด สุขใจ มีกิจกรรม Work shop เรียนรู้การทำ�แหนม เห็ด ชมและเรียนรู้เส้นทางเห็ดทำ�ก้อน เปิดดอก เก็บ ปรุงอาหาร นำ�มาแปรรูปต่างๆ นานา สวนลมหายใจ : วิถีคนสวนที่มีอิสระในการคิด ทำ� ประกันชีวิตโดยการฝากเงินไว้ในดินในต้นไม้ เติบใหญ่ และงอกงามทุกวัน ด้วยรูปแบบเกษตรผสมผสาน ผักพื้นบ้าน ผลไม้ เพาะพันธุ์กบ เมนูอาหารจากกบ กลุ่มข้าวแคบธัญพืช : เส้นทางข้าว ทำ�เครื่อง สีข้าว คุณค่าข้าว เป็นวัฒนธรรม เป็นประเพณี เป็น ภูมิปัญญา

55


56


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ-บ้านปงใหม่

เที่ยวแบบปลอดสาร กินอาหารอร่อยที่ บ้านปงใหม่ ชุมชนบ้านปงใหม่เป็นชุมชนใหม่ที่บริหารจัดการ ดูแลโดยคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่า ทำ�งานร่วมกัน จึงทำ�ให้เกิดความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งทางชุมชนก็แนะนำ�โปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชน แบบทั้งอิ่ม ได้สุขภาพ และความรู้ไปในคราวเดียวกัน โปรแกรมที่ ๑ ท่องเที่ยวชุมชน ๑ วัน (ไป - กลับ) ๑. ดูวีดีทัศน์ ภาพรวมวิถีท่องเที่ยวชุมชน บ้านปงใหม่ ท่องเที่ยวเชิงชีววิถี สุขภาวะดี ตาม รอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "งาม สบาย เรียบ ง่าย รื่นรมย์" ๒. จิบกาแฟ-ชามะเดื่อ สมุนไพรต้ม ชมสวน แช่มือ แช่เท้า ผ่อนคลาย ๓. เข้าฟาร์มเห็ด ชิมเมนู เห็ด เห็ด พร้อมซื้อของ ฝากผลิตภัณฑ์เห็ดเป็นของฝาก ๔. ไปชม บ้านสวนลมหายใจ ชิมเมนูจากผัก พื้นบ้าน เมนูกบ ผ่อนคลาย รื่นรมย์กับบรรยากาศ สวนเกษตรผสมผสาน ๕. แวะลานวัฒนธรรม ดูเครื่องสีข้าวกล้องมือหมุน กลุ่มผู้สูงอายุ ดูการทำ�ข้าวแคบจากข้าวกล้อง ๖. ปิดท้าย ฮิมห้วยปู คอฟฟี่ & เบเกอรี่ จิบ เครื่องดื่ม ชิมเค้กไม้ไผ่ สุขใจกับบรรยากาศ ริมอ่าง ห้วยปู ผ่อนคลายสบายใจก่อนกลับ

โปรแกรมที่ ๒ ท่องเที่ยวชุมชน ๒ วัน ๑ คืน วันที่ ๑ • พานักท่องเที่ยว สักการะพระประธานรูปงาม • สักการะเจ้าหลวงคำ�แดง ศูนย์รวมที่พึ่งทางจิตใจ ของคนในชุมชน • ผ่อนคลายกับสปาพื้นบ้าน ที่สวนฮอมผญา นวด อบ ประคบ พอก แช่มือ แช่เท้า ทำ�ยาดม ส้มมือ หรือจะคลุกดินเปื้อนโคลน กับการย้อมผ้า สีจากธรรมชาติ • ทานอาหารมื้อเที่ยง เมนูเพื่อสุขภาพ พร้อม เมนูเห็ด • เที่ยวชม เรียนรู้ แหล่งผลิตเห็ด เห็ดแปรรูป เมนูเห็ด เห็ด ผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้าน สัมมาชีพ บ้านปงใหม่ • แวะชิมกาแฟ ฮิมห้วยปูคอฟฟี่ ผ่อนคลายกับ บรรยากาศอ่างห้วยปู • เข้าที่พักบ้านโฮมสเตย์ • ทานมื้อเย็น ขันโตก ลานวัฒนธรรม วันที่ ๒ • ไหว้สักการะ พระธาตุขุนบง ชมวิวอ่างห้วยบง • เยี่ยมชมกลุ่มเย็บผ้า ผ้าม้งแปรรูป • บ้านสวนลมหายใจ ชมสวนเกษตรผสมผสาน ชิมเมนูกบ • เที่ยวลานวัฒนธรรม ชมการทำ�เครื่องสีข้าวกล้อง มือหมุน การทำ�ข้าวแคบจากข้าวกล้อง การตีมีด และอุดหนุนผลิตภัณฑ์ กลุ่มผู้สูงอายุ เดินทาง กลับบ้าน

57


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ-บ้านปงใหม่

โฮมสเตย์และนำ�เที่ยว บ้านปงใหม่ มีกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วม โฮมเสตย์ ทั้งหมด ๑๕ หลัง สามารถติดต่อผ่านเพจ ฮักปงใหม่ อ้อมกอดบ้านเกิด อบอุ่นเสมอ ๑. นายสมพร เวียนรอบ ๐ ๙๓๗๒ ๐๐๖๖ ๐ (ผู้ใหญ่บ้าน) ๒. นายพิชิต กันทะรัตน์ ๐ ๘๕๖๒ ๑๕๑๖ ๘ ๓. นายเด่นชาย บัวติ๊บ ๐ ๘๒๑๘ ๗๑๙๖ ๕ ๔. น.ส.เอื้ออังกูร สุขใจ ๐ ๙๐๒๑ ๗๘๒๙ ๖ ๕. นายภัทรศักดิ์ วงศ์ใหญ่ ๐ ๙๓๑๕ ๑๙๗๔ ๔ การเตรียมตัวและข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยว สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องเตรียมมีดังนี้ การแต่งตัว สบายๆ เตรียมของใช้ส่วนตัว (สำ�หรับ ผู้ที่ต้องการพักบ้านโฮมสเตย์) เคารพในกฎระเบียบ ข้อบังคับของหมู่บ้าน หรือ บ้านโฮมสเตย์

58


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ-บ้านปงใหม่

‘หัวอิหยอ’ ของอร่อยประจำ�ชุมชน ชุมชนที่โดดเด่นเรื่องอาหารนี้ นอกเหนือจาก อาหารเหนือของคนเมืองอร่อยๆ ที่หากินได้ทั่วไปแล้ว ที่นี่ ยังมีอาหารโบราณ ที่หากินได้ยากและหาคนรู้จัก กรรมวิธีในการปรุงน้อยเต็มที นั่นคือ เมนูยำ�หัวอิหยอ ของบ้านปงใหม่ หัวอีหยอ หรือบุกไข่ เอามากินเป็นหัวสดๆ เลย ไม่ได้ เพราะเมื่อกินไปแล้วจะคันคอมากเลยทีเดียว แม่จวน วงศ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวอิหยอ เล่าให้ฟัง ว่า แกเอาต้นอิหยอมาจากม้ง ปลูก แล้วก็เอาหัวมากิน กรรมวิธีการทำ�ก็ซับซ้อนเหลือประมาณ ต้องเตรียม นำ�ขี้เถ้าก่อน โดยการเอาขี้เถ้ามากรองนำ� แล้วเอา นำ�ด่างใสๆ ที่ได้มาต้ม ทิ้งให้เย็นแล้วจึงนำ�มาใช้ต้ม หัวอิหยอ ที่ปอกเปลือกแล้ว ต้มหัวอิหยอจนเปื่อย บี้ลงในผ้าขาว แล้วคั้นผ่าน นำ�จนละเอียดเป็นเม็ดเหมือนทราย นำ�มายำ�ใส่ มะนาวพริกป่น กระเทียม หอมแดง เกลือ ผงชูรส ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ และ ใบมะกรูด เป็นเมนูที่พลาดไม่ได้ ของหมู่บ้านนี้ นอกเหนือจากเมนูแนะนำ�แล้ว ยังมีร้านอาหาร อร่อยๆ รสชาติดีอยู่หลายร้าน ซึ่งมีรายชื่อดังนี้ สวนฮอมผญา จำ�หน่าย กาแฟ เมนูผลไม้ ผักในสวน เมนูเพื่อสุขภาพ ฟาร์มเห็ดสุขใจ ฟาร์มเพาะเห็ดที่เตรียมต้อนรับ ทุกคนด้วย เมนู เห็ด เห็ด แหนมเห็ด นำ�พริกเห็ด ยำ�เห็ด แกงเห็ด ครัวป้าซอย ขายก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ข้าวมันไก่ ข้าวซอยไก่ อาหารตามสั่ง ร้านป้าอ้อ ขายส้มตำ� ไก่ย่าง ร้านน้องแหวว ขายก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ร้านกาแฟฮิมห้วยปู ขายกาแฟ และเบเกอรี่

59


ยลแหล่งอาหาร และบูรณาการสุขภาพ-บ้านปงใหม่

ท่องฤดูที่ชอบ เที่ยวเทศกาลที่ใช่ เดือนมกราคม

งานบุญตานข้าวใหม่

เดือนเมษายน

๔ เมษายน ของทุกปี มีการ เลี้ยงผีชาวบ้าน, ๑๓ เมษายน ของทุกปี จัดประเพณีสงเคราะห์ บ้าน, เมษายน ของทุกปี มี ประเพณีพิธีรดนำ�ดำ�หัวผู้สูง อายุ/บายศรีผู้นำ�

เดือนพฤษภาคม

เลี้ยงผีขุนนำ�

เดือนกรกฎาคม

ทำ�บุญแห่เทียนพรรษา

เดือนตุลาคม

ทำ�บุญวันออกพรรษา/ กิจกรรมตักบาตรเทโว

เดือนพฤศจิกายน งานวันยี่เป็ง /ลอยกระทง/ จิ๊กองหลัว/แห่ผะตี๊บสีสาย (อาบนำ�ปี๋ใหม่ ผิงไฟพระเจ้า)

การเดินทาง จาก อ.เมือง จ.พะเยา ระยะทางมา อ.ภูซาง ประมาณ ๙๐ กม. จาก อ.เมือง เข้า อ.ดอกคำ�ใต้ มา อ.จุน มา อ.เชียงคำ� แยกขวา โรงเรียนภูซาง วิทยาคม มา ประมาณ ๑๐ กม. ถึงบ้านปงใหม่

60


61


62


ที่ปรึกษา นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร นายณรงค์ศักดิ์ เฉลิมเกียรติ นายวัฒนา พุฒิชาติ นายไพศาล วิมลรัตน์ คณะทำ�งาน นางสายรุ้ง ธาดาจันทน์ นางสาว นนทยา พวงงาม นางกชพร วิสุทธินันท์ นางสาว ณัฐนฎา ณ น่าน นางอนุสรา โสตถิกุล นางปรานี สุทธิพรมณีวัฒน์ นางอรไท จรัสดาราแสง นางสาวนราภรณ์ มหาวงค์ นางมนต์รัก ธีรานุสรณ์ นางสายรุ้ง สันทะบุตร นายธรณิศ อรุณรัตน์ นางสาวแสงจันทร์ ใจวงศ์ นางวันทณี คำ�วัง นางสาว รจนา กล้าหาญ นางเสาวภา สุวรรณสิงห์ นายไสว ไชยเมือง นางสาว วรประภา พินิจสุวรรณ

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ประธานคณะทำ�งาน ผู้อำ�นวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักจัดการงานทั่วไปชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการการเงินและบัญชีชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ผู้อำ�นวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เลขานุการคณะทำ�งาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำ�งาน

บรรณาธิการ นางณิทธกานต์ ชอบทำ�ดี จัดทำ�โดย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมหานที แมกกาซีน

ผลิตโดย

63


เที่ยวลึกถึงราก ฝากความทรงจำ�ให้ขุนเขา

กับ ๕ หมู่บ้าน ๓ สไตล์ ในจังหวัดพะเยา เอกสารองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน เป้าหมาย ๕ ชุมชนจังหวัดพะเยา

โดย สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

ผลิตโดย

64


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.