สัมมนาการเงิน-Brexit

Page 1

United Kingdom’s withdrawal from the European Union

Present by นางสาวปวีณา โล่ห์มหาเดช 6020224148

นางสาวอังคณา บุญพลอย 6020224154


Page 1

ทำ�ไมอังกฤษอยากออกจากอียู

Page 2

สารบัญ

ผลกระทบอะไรบ้างหากอังกฤษออกจากอียู ผลกระทบต่อไทยมากน้อยเพียงใด

Page 4

นัยยะต่อสหราชอาณาจักร

Page 5 นัยยะต่อสหภาพยุโรป

Page 6

นัยยะต่อไทย ผลกระทบทางอ้อมต่อไทย

Page 7

ผลกระทบจากเหตุการณ์ Brexit ต่อธุรกิจใน ประเทศอังกฤษ

Page 10

ประโยชน์ของไทยที่มีโอกาสได้รับจากการเกิด เหตุการณ์ Brexit


ทำ�ไมอังกฤษ อยากออกจากอียู

การกำ � เนิ ด ของสหภาพ ยุโรป หรือ อียู เป็นการรวมตัวกัน ของกลุ่มประเทศสมาชิกในยุโรป ภายใต้กรอบเศรษฐกิจการค้าเสรี เป็นพัฒนาการของกลุ่มประเทศ เศรษฐกิจเสรี ที่ต้องการรวมกลุ่ม การค้าให้มีความเข้มแข็งมีฐานที่ กว้างขวาง และ ความเป็นหนึ่ง เดี ย วกั น ของกลุ่ ม ประชาคมโดย เริ่ ม ต้ น จากการเปิ ด เสรี ท างการ ค้า ทยอยลดกำ�แพงภาษีการค้า ระหว่ า งกั น จนไม่ มี ภ าษี ซึ่ ง เป็ น กำ�แพงกีดกันสินค้าของประเทศ อื่น และ เปิดเสรีการลงทุน การ เคลื่ อ นย้ า ยเงิ น ทุ น ระหว่ า งกั น การเคลื่ อ นย้ า ยแรงงานระหว่ า ง กันอย่างเสรี และ มีการใช้เงินสกุล เดียวกัน

สำ�หรับสาเหตุที่ อังกฤษ อยู่ๆ ก็อยากออกจาก อียูหรือสมาชิกสหภาพ ยุโรปขึ้นมานั้น เกิดจาก ปัญหาของ เศรษฐกิจในกลุ่ม อียู เนื่องจาก สมาชิก เองก็มีความแตกต่างกันไปมีทั้งประเทศที่ มีเศรษฐกิจใหญ่และร่ำ�รวย อย่าง เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศษ และประเทศสมาชิกที่ยัง สร้างเนื้อสร้างตัว โดยเฉพาะประเทศยุโรป ตะวันออก ที่เพิ่งเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ จากเดิมที่เป็นแบบสังคมนิยมมานานมาสู่ เศรษฐกิจเสรีและเมื่อประเทศสมาชิก เกิด ปัญหาเศรษฐกิจขึ้นโดยเฉพาะ กรีซ ที่เผชิญ ปัญหาจนเกือบล้มละลาย และยังมีสมาชิก อีกหลายประเทศทีมีปัญหาเศรษฐกิจเช่น เดียวกัน ปัญหาเศรษฐกิจนี้ทำ�ให้ประเทศ ร่ำ�รวย จำ�เป็นต้องใช้งบประมาณในการ เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟู เพื่อพยุงไม่ให้ปัญหา ลุกลามอังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องช่วย เหลือทางการเงิน ต้องสูญเสียงบประมาณ ไปจำ�นวนมาก ทำ�ให้คนอังกฤษรู้สึกไม่ พอใจ ว่าทำ�ไม่รายได้ของพวกเขาต้องเอา ไปช่วยเหลือคนอื่น และซ้ำ�ร้ายการไหล ข้าวของแรงงานจากสมาชิกในกลุ่มอียู ได้ หลั่งไหลเข้าไปในอังกฤษจำ�นวนมาก ทำ�ให้ เกิดปัญหาการแย่งงานคนอังกฤษจำ�นวน มาก และ การเข้ามาทำ�งานของคนนอก ประเทศโดยเฉพาะคนจาก ยุโรปตะวันออก นั้น ยังได้รับสวัสดิการ การดูแล เหมือนกับ แรงงานคนอังกฤษ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้ต้องใช้งบ ประมาณของรัฐบาลอังกฤษทั้งสิ้น กระแส ความไม่พอใจเหล่านั้น บวกกับปัญหา อื่ น ทั้ ง เรื่ อ งอำ � นาจการลงทุ น นอกกลุ่ ม ฯ อำ�นาจในการตัดสินใจบางอย่างที่ต้องขอ ความเห็นชอบจาก อียู ทำ�ให้ประชาชนคน อังกฤษอยากออกจากการเป็นสมาชิก อียู เพราะเห็นว่าประโยชน์ที่เขาได้ไม่คุ้มเสีย


ผลกระทบอะไรบ้างหากอังกฤษออกจากอียู หากอังกฤษออก หมายถึงการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจอียู จะล่าช้าออกไปอีกนาน และอาจจะเป็นการสั่นคลอนสถานะของ กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ ของกลุ่มการค้า เสรีที่ยุโรปเป็นต้นแบบล่มสลายลงไป และ ร้ายแรงถึงขึ้นต้องมาเซตระบบกันใหม่เลยที เดียวและในส่วนของอังกฤษเอง เศรษฐกิจ จะเกิดการหดตัวอย่างแรง เนื่องจาก จะมี การเคลื่อนย้ายทุนออกจากอังกฤษจำ�นวน มาก จะส่งผลให้เงินปอนด์ของอังกฤษ อ่อนค่าลงอย่างแรงสำ�หรับผลกระทบต่อ เศรษฐกิจโลก แน่นอนว่า เหตุการณ์นี้อาจ ส่งผลให้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกล่าช้า ออกอีก

ผลกระทบต่อไทยมากน้อยเพียงใด

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/news/1027337/human-resourceswatch-what-can-thailand-learn-from-brexit-

ผลกระทบต่อไทย หาก อังกฤษ ออก จากอียู นักวิชาการหลายสำ�นักมองตรงกันว่า ผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นและกระทบต่อไทย นั้น คือ ค่าเงินจะเกิดความผันผวน ด้วยเหตุที่ ค่า เงินปอนด์จะอ่อนค่าลงมาก เงินทุนจะไหลเข้า ตลาดสหรัฐฯ หรือญี่ปุ่น ทำ�ค่าเงินเอเชีย–เงินบาท ผันผวนไปด้วย ต้องเตรียมรับมือให้ดี ส่วนผลก ระทบในด้านการค้า มีการประเมินว่า กระทบต่อ ไทยค่อนข้างน้อย เนื่องจากอังกฤษเป็นตลาดส่ง ออกของไทยในสัดส่วนไม่เกิน 2 % และตลาด อียูเองก็มีสัดส่วนไม่ถึง 10 % ดังนั้นจะมีผลกระ ทบบ้าง แต่ไม่มากนัก


การเจรจาข้อตกลง Brexit ระหว่าง นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ และ EU สามารถเกิดได้ 2 กรณี คือ


นัยยะต่อสหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรจะออกจาก EU รูปแบบใดทั้ง Soft Brexit หรือ Hard Brexit ต่างส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร แต่ใน กรณีแบบ Hard Brexit จะเกิดผลกระทบค่อนข้างมาก โดยธนาคารกลาง ของอังกฤษคาดการณ์ว่า มีผลทำ�ให้เศรษฐกิจ UK หดตัวลงประมาณร้อยละ 7-10 เนื่องจาก UK มีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในปี 2561 ถึงร้อย ละ 46.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด สินค้าที่ส่งออกไป EU จะถูกเก็บภาษี นำ�เข้าและมาตรการกีดดันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเหมือนประเทศนอกกลุ่ม สหภาพยุโรป ทำ�ให้สินค้าของสหราชอาณาจักรมีราคาสูงขึ้น อาจะส่งผลทำ� มห้รายได้จากการส่งออกของสหราชอาณาจักรลดลง และในด้านการนำ�เข้า สินค้าจาก EU จะมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลต่อต้นทุนและความสามารถใน การแข่งขันของสหราชอาณาจักร


นัยยะต่อสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เนื่องจาก สัดส่วน การส่งออกและนำ�เข้าของ EU ไป UK ในปี 2561 มีประมาณร้อยละ 6.53 และ 4.32 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม การที่ราคาสินค้าจากสหราชอาณาจักรมีราคา สูงขึ้นอันเป็นผลจากอัตราภาษี อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงโครงสร้างธุรกิจของ สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรที่มีห่วงโซ่อุปทานเชื่อมโยงกัน


นัยยะต่อไทย

การหดตัวของเศรษฐกิจหราชอาณาจักรอาจเป็นผลมาจาก Brexit ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกของไทยไปยัง สหราชอาณาจักร แต่ไม่ว่าสหราช อาณาจักรมีการตกลง Brexit แบบใด จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้าง น้อย เนื่องจาก สัดส่วนการส่งออกและนาเข้าของไทยกับสหราชอาณาจักรมีไม่ มากนัก โดยในปี 2561 มีเพียงร้อยละ 1.6 และ 1.2 ตามลำ�ดับ


สินค้าส่งออกของไทยไปสหราชอาณาจักรที่สำ�คัญ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ สำ�หรับสินค้านำ�เข้าของไทยจากสห ราชอาณาจักรที่สำ�คัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อุปกรณ์ไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ และเชื้อเพลิงที่ได้จากแร่


ผลกระทบทางอ้อมต่อไทย เศรษฐกิจของไทยอาจจะได้ รับผลกระทบทางอ้อมจากเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปซึ่งได้รับผลกระทบ จาก การหดตัวของเศรษฐกิจสหราช อาณาจักร อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงิน ไทยน่าจะได้รับผลกระทบตามความ ผันผวนในตลาดการเงินโลกที่สูงขึ้น โดย เฉพาะค่าเงินปอนด์และค่าเงินยูโรที่ คาดว่ามีแนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจาก อาจชะลอแผนการใช้นโยบายการเงิน แบบเข้มงวด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ ส่งออกและนำ�เข้าของไทย โดยจะเห็น ว่าค่าเงินปอรด์อ่อนค่าลงมากหลังจาก ช่วงลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน 2016


ผลกระทบจากเหตุการณ์ Brexit ต่อธุรกิจในประเทศอังกฤษ ธุรกิจร้านอาหาร ในเดือนกันยายน 2559-2560 ภัตตาคารเลิกกิจการ ไปมากถึง 985 แห่ง และกันยายน 2560-2561 ในปี 2561 มีภัตตาคารเลิกกิจการไปอีก 1,219 แห่ง คนอังกฤษรู้ว่า ต่อไปในอนาคต ผู้คนจากประเทศอื่นในสหภาพยุโรปจะ เข้ามาเยือนอังกฤษได้ยากขึ้น เรื่องการค้าขายก็จะต้องจ่าย ภาษีศุลกากรในอัตราที่สูง เศรษฐกิจจะแย่ ทำ�ให้คนอังกฤษ ระมัดระวังการใช้จ่ายจึงไม่ไปทานข้าวนอกบ้าน ธนาคารและบริษัทการเงิน ธนาคารและบริษัทการเงินหลายแห่งกำ�ลังย้าย ทรัพย์สินและงานออกจากสหราชอาณาจักร เนื่องจากอยู่ ในช่วงใกล้ออกจากเบร็กซิทบรรดาบริษัทให้บริการทางการ เงินประกาศแผนย้ายเงินลงทุนถึง 1 ล้านล้านปอนด์ หรือ ราว 42.6 ล้านล้านบาทไปที่สหภาพยุโรป ธนาคารหลายแห่ง ย้ายไปตั้งสำ�นักงานใหม่ในเยอรมนี ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ และ ประเทศอื่นๆในอียูเพื่อปกป้องความมั่นคงของธุรกิจในภูมิ ภาคหลังเบร็กซิท หมายความว่าพวกเขาต้องย้ายทรัพย์สิน สำ�คัญไปด้วยเพื่อทำ�ให้หน่วยงานที่กำ�กับดูแลของอียูพอใจ บริษัทอื่นๆกำ�ลังเคลื่อนย้ายทรัพย์สินเพื่อให้ความคุ้มครอง ลูกค้าของพวกเขาจากความผันผวนของตลาด และความ เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเรื่องกฎระเบียบที่อาจทำ�ลายสห ราชอาณาจักรและอียู ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมบริการทางการเงินคิดเป็นประมาณ 12% ของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร และมีการจ้างงานถึง 2.2 ล้านคนโดย EY ได้ติดตาม 222 บริษัทที่ให้บริการการเงิน ที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่การลงประชามติใน เดือนมิ.ย.59 โดยระบุว่า “ มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ” ของจำ�นวนบริษัทที่ประกาศว่าจะย้ายพนักงาน การดำ�เนิน การ และทรัพย์สินไปที่อียู เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับเบร็ก ซิทจำ�นวนงานที่ย้ายออกจากสหราชอาณาจักรในอนาคตอัน ใกล้อยู่ที่ 7,000 อัตรา จากการประเมินของ EY ซึ่งประเมิน ว่าจะสร้างความเสียหายให้กับอังกฤษอย่างน้อย 600 ล้าน ปอนด์จากภาษีที่หายไป

อุตสาหกรรมยานยนต์ นายทากาฮิโระ ฮาจิโง ประธานและซีอีโอของ ฮอนด้า มอเตอร์ ประกาศว่าแผนการปิดโรงงานในเมือง สวินดอน ประเทศอังกฤษในปี 2021 ในการแถลงข่าว ในวันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 62 โรงงานแห่งนี้เป็นฐาน การผลิตแห่งเดียวของฮอนด้าในยุโรป และผลิตยานยนต์ 160,000 คันต่อปี ราวร้อยละ 35 ของจำ�นวนนี้ได้ส่งขาย ยังยุโรป ขณะที่ส่วนที่เหลือจะนำ�ส่งออกยังญี่ปุ่น สหรัฐ ฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่จากสหรัฐฯ ประกาศแผนปิดโรงงานผลิตเครื่องยนต์ในเวลส์ สหราช อาณาจักร ภายในเดือนกันยายนปี 2020 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศพัฒนา กลุ่มสหภาพยุโรปมีแนวโน้มขาดดุลบัญชีเดิน สะพัดมากขึ้นจากการบริโภคสูงที่เกินกว่าศักยภาพที่ ประเทศผลิตได้ ทำ�ให้มีการนำ�เข้าสินค้าและบริการจาก ต่างประเทศและมีการนำ�เข้าสูงกว่าการส่งออก ภาครัฐ เองก็มีการจัดทำ�งบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งจะต้องมี การกู้ยืมจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้การขาดดุล งบประมาณและการขาดดุลการค้ากลายมาเป็นปัญหาที่ สะสมมายาวนาน ดังนั้นประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ก็จะมีเงินไหลออก และเงินดังกล่าวไหลเข้าสู่ประเทศที่ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดนั่นเอง หรือกล่าวได้ว่ามีการไหล ออกของเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปเข้าสู่ จีน ญี่ปุ่น และประเทศเอเชียอื่นที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าเหล่านี้มีแนว โน้มแข็งค่าขึ้นอีกด้วย

ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 ไตรมาส 4/61 สห ราชอาณาจักร ขาดดุลบัญชีเดินร้อยละ 4.4/GDP ลดลง จากร้อยละ 5.0/GDP ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งในรูปของ มูลค่า (23.7 พันล้านปอนด์) และสัดส่วนของ GDP และ เมื่อเปรียบเทียบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 2561 เท่ากับร้อยละ 3.9/GDP ในขณะที่ขาดดุลในปี 2560 เท่ากับร้อยละ 3.3/GDP


UK current account balances as a percentage of gross domestic product, Quarter 1 (Jan to Mar) 2016 to Quarter 4 (Oct to Dec) 2018

เงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ค่าเงิน ปอนด์อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องประกอบกับบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การนำ�เข้าสินค้าของ ประเทศอังกฤษมีต้นทุนที่สูงขึ้นส่งผลทำ�ให้สินค้าภายใน ประเทศต้องปรับสูงขึ้นก่อให้เกิดเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้น

อย่างรวดเร็ว จาก 0.3% ในเดือนมกราคม ปี 2016 กลายเป็น 2.7% ในเดือนเมษายน 2017 ทำ�ให้ค่าใช้ จ่ายของประชาชนชาวอังกฤษต้องเพิ่มสูงขึ้น จากการ ที่ต้องจ่ายไปกับปัจจัยพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน อาหาร หรือค่าสาธารณูปโภคทำ�ให้เงินเหลือใช้ลดลง


อัตราเงินเฟ้อที่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้าน CPIH (Consumer Prices Index including owner occupiers’ housing costs) แยกแต่ละ Sector Contributions to the CPIH 12-month rate, UK, Jan 2016 to April 2019

UK Retail Sales Volume Including Fuel

เนื่องจากเศรษฐกิจส่วนใหญ่ผูกกับแรงซื้อของผู้บริโภค ด้านสำ�นักงานสถิติแห่งชาติได้ย้ำ�เตือนถึงการพึ่งพาการใช้จ่าย ของผู้บริโภคต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สภาวะดังกล่าวทำ�ให้ผู้บริโภคต้องหาทางลดรายจ่าย โดยสอดคล้องกับอีกผลสำ�รวจหนึ่ง ที่ระบุว่า ผู้บริโภคมีมุมมองเชิงลบต่อการใช้จ่าย ดูได้จากช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของต้นปี 2017 ที่ยอดค้าปลีกตกต่ำ�ลงอย่างมาก ในรอบหลายปีแน่นอนว่า การลดรายจ่ายของผู้บริโภคจะส่งผลต่อธุรกิจค้าปลีก


ประโยชน์ของไทยที่มีโอกาสได้ รับจากการเกิดเหตุการณ์ Brexit ภาคเอกชน ผู้นำ�เข้าส่งออก Brexit ถือเป็นโอกาสที่ไทยจะได้กระชับ ความสัมพันธ์กับทั้งอังกฤษและสหภาพยุโรปมากขึ้น เนื่องจาก Brexit จะทำ�ให้ระบบการค้าของอังกฤษ และยุโรปเกิดการหยุดชะงักชั่วคราว ทำ�ให้ไทย ได้มีโอกาสพูดคุยกับอังกฤษเรื่องการเจรจาความ ตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ทั้งสหภาพยุโรป และอังกฤษ หากมีการจัดทำ� FTA กับไทยจะเป็น กลไกหนึ่งที่จะช่วยขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันใน อนาคต โดยสภาผู้นำ�นักธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (TUBLC) พร้อมอำ�นวยความสะดวกให้ภาคเอกชน ไทยเข้าไปลงทุนในอังกฤษ

นักลงุทน จากเหตุการณ์ Brexit ไม่ชัดเจนอาจ ทำ�ให้จีดีพีของสหภาพยุโรปและอังกฤษไม่ขยาย ตัวจากเดิม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าเงิน ปอนด์ เงินยูโรรวมถึงค่าเงินบาทก็มีความผันผวน มาก โดยค่าเงินปอนด์และยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่า ลง ส่วนค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้นัก ลงทุนอังกฤษและยุโรปเข้ามาลงทุนในอาเซียนถึง 10%



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.