พลวัตอาภรณ์แห่งนครเชียงใหม่ : 100 Years Evolution of Chiang Mai Costume

Page 1




เชียงใหม่ เมืองแห่งความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีพลวัตตลอดมา ยาวนานกว่า ๗๒๒ ปี โดยปรากฏเป็นรูปธรรม เช่น รูปแบบทางสถาปัตยกรรม หรืองานนามธรรม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ โดยสิ่งที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงและพลวัตอย่างชัดเจนก็คือ เสื้อผ้าอาภรณ์ การ แต่งกายของชาวเชียงใหม่ ที่มีการปรับเปลี่ยนจากบริบททางสังคมที่ส่งอิทธิพลให้เมืองเชียงใหม่เกิดความหลาก หลายของรูปแบบเสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องแต่งกายของผู้คนในเมืองแห่งนี้ นับตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้ากาวิละ ฟื้นบ้าน สร้างเมือง จวบจนปัจจุบัน โครงการเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเชียงใหม่ (Chiang Mai City of Crafts and Folk Art) ร่วมกับสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกันจัดงานแสดงนิทรรศการ “พลวัตอาภรณ์แห่งนคร เชียงใหม่ (100 Years Evolution of Chiang Mai Costumes)” เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านงาน หัตถกรรมพื้นบ้าน และวิถีชีวิต ของเมืองเชียงใหม่ ให้ผู้คนของเมืองเชียงใหม่และผู้มาเยี่ยมเยือนนั้น ให้ความสนใจ และหันกลับมาร่วมกันใส่ใจอนุรักษ์ฟื้นฟู งานหัตถกรรม และวิถีวัฒนธรรมอันดีงามของชาวเชียงใหม่และล้านนา สืบไป รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ประธานโครงการเชียงใหม่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเชียงใหม่ (Chiang Mai City of Crafts and Folk Art)


พัฒนาการการแต่งกายของชาวเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนามาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเมืองขึ้น เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๙ และขนานนามว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ในที่ราบระหว่างแม่น�้ำปิงและดอยสุเทพ ซึ่งเคยเป็น ชุมชนของชาวลัวะมาก่อน ในระยะเริ่มแรกของราชวงศ์มังราย แม้ความเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรจะยังไม่เด่น ชัด แต่เมืองเชียงใหม่ก็เป็นหมุดหมายหลักส�ำคัญของการก่อร่างสร้างขึ้นของความเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ เมื่อ เริ่มเข้าสู่ยุคทองของล้านนาในสมัยพระยากือนาถึงพระเมืองแก้ว เชียงใหม่ในระยะนี้รุ่งเรืองถึงขีดสุด โดยเป็นทั้ง ศูนย์กลางทางการค้าขาย และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ภายในเมืองเต็มไปด้วยเหล่านักปราชญ์ราชเมธี ผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระธรรมคัมภีร์ จนสร้างอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมไปยังแว่นแคว้นน้อยใหญ่ใกล้ เคียง ก่อนที่จะค่อยๆโรยราลงมาเป็นล�ำดับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตองอู ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ เชียงใหม่ ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามามากกว่า ๒๐๐ ปี กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่า และฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้ง ภายใต้การช่วยเหลือ ของสยาม ได้กวาดต้อนชาวไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่จ�ำนวนมากมาจากสิบสองปันนา และรัฐฉานเข้ามาอยู่ในเมือง เชียงใหม่ เพื่อเป็นก�ำลังพลส�ำคัญให้การฟื้นฟูบ้านเมือง ดังที่เรียกกันว่ายุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” เชียงใหม่ ได้กลายเป็นศูนย์กลางของล้านนาอีกครั้ง ในฐานะประเทศราชของสยาม ก่อนที่การเมืองโลกสมัยใหม่ การล่า อาณานิคมของตะวันตกจะคืบคลานเข้ามา และส่งผลให้เชียงใหม่ค่อยๆ กลายเป็นส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร สยาม เมืองส�ำคัญประจ�ำมณฑลพายัพ และกลายเป็นจังหวัดเชียงใหม่ในที่สุด ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของเชียงใหม่มากกว่า ๗๒๒ ปี สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของเมือง เปรียบได้ดังชีวิต มนุษย์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความทุกข์ล�ำบากยากแค้น แต่ก็ด�ำรงอยู่มาได้อย่างสง่างาม เรื่องราวที่ผ่านมาใน อดีตเหล่านี้สร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมหลายอย่างให้แก่เมือง เป็นเสน่ห์ที่ชวนให้คนต่างถิ่นหลงใหลและ ต้องการมาเยี่ยมชมอยู่เสมอ หนึ่งในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญของเชียงใหม่ คือ การแต่งกายที่งดงามอ่อน หวาน ผู้หญิงสวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง เป็นภาพที่เด่นชัดเมื่อพูดถึงสาวเชียงใหม่ การแต่ง กายเป็นวัฒนธรรมที่มีพลวัต เปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมทางสังคม เมื่อความคิดของผู้คนเปลี่ยนแปลง ก็แสดงออก ความคิดนั้นผ่านการแต่งกาย เครื่องแต่งกายจึงเป็นสิ่งสะท้อนที่เด่นชัดที่สุด ของเปลี่ยนแปลงค่านิยม ความคิด ทัศนคติ ของผู้คนในแต่ละยุคสมัย การแต่งกายเป็นวัฒนธรรมที่สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม แบ่งยุคสมัยอ้างอิงกับประวัติศาสตร์ สังคมล้านนา โดยเริ่มจาก ยุคจารีตที่มีระยะเวลาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย สมัยพม่าปกครองล้านนา และช่วงแรก ของราชวงศ์ทิพยจักร ต่อมาสังคมเมืองเชียงใหม่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่ออิทธิพลการล่าอาณานิคมได้ แผ่ขยายเข้ามา เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองการปกครองและสังคมวัฒธรรม เรียกช่วงนี้ว่ายุคอิทธิพล อาณานิคม ต่อมาเมืองเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความสะดวกสบายของ การคมนาคม มีการรับอิทธิพลตะวันตกอย่างเต็มที่ เป็นยุคของสังคมเมืองสมัยใหม่ ก่อนที่ศิลปะวัฒนธรรมล้านนา จะได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. ๑๘๗๓) สนธิสัญญาเชียงใหม่ การเข้ามาของเสื้อฝ้ายสีขาว และอิทธิพลแฟชั่นตะวันตกยุควิกตอเรียน


ยุคที่ ๑ : สมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนระยะแรก หลังจากได้ขับไล่พม่าออกไปจากดินแดนล้านนาได้สำ�เร็จ พระยากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง โดยได้ กวาดต้อนชาวไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่จากรัฐฉานและสิบสองปันนา เข้ามาอาศัยในเมืองเชียงใหม่เป็นจำ�นวนมาก เมือง เชียงใหม่ในยุคนี้อยู่ในฐานะเมืองประเทศราชของสยาม โดยตั้งแต่สมัยพระยากาวิละ จนถึงสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ใน ระยะแรก เป็นช่วงเวลาประมาณ ๑๐๐ ปี ลักษณะการปกครองยังคงรูปแบบจารีตของเมืองในภูมิภาคนี้ มีอิทธิพลจากตะวัน ตกน้อยมาก สภาพสังคมยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากยุคก่อนหน้า การแต่ ง กายของผู้ ช ายชาวเชี ย งใหม่ ลั ก ษณะเด่ น ชัดมากที่สุดก็คือการสักบริเวณลำ�ตัวท่อนล่า งตั้งแต่เอว ลงไปจนถึงหัวเข่า นิยมสักกันทั้งมูลนาย ไพร่และทาส วัตถุประสงค์ก็เพื่อความสวยงามและแสดงออกถึงความ กล้าหาญอดทน ผู้ชายชาวเชียงใหม่มีผ้าผืนเดียวสำ�หรับ ปกปิดร่างกายท่อนล่าง เรียกว่า “ผ้าต้อย” ทำ�จากฝ้ายหรือ ไหมพันธุ์พื้นบ้าน หากผ้าพื้นสีเรียบนิยมสีเข้มอย่างสีน้ำ�เงิน หรือเป็นผ้าลายตาราง เรียกว่า “ผ้าตาโก้ง” วิธีนุ่งทำ�ได้ โดยวางกึ่งกลางผ้าไว้ที่ด้านหลัง จากนั้นจับชายทั้งสองข้าง รวบเข้าด้วยกันแล้วลอดใต้หว่างขานำ�ไปเหน็บไว้ด้านหลัง ในเวลาปกติจะชักชายขึ้นเหนือโคนขา เรียกว่า “เค็ดม่าม” เพื่อให้ทะมัดทะแมงและเห็นลวดลายสัก หากเป็นต้องไป งานราชการ จะดึงชายผ้าให้ยาวลงมาคลุมหัวเข่า ผู้มีเงิน จะคาดทับด้วยเข็มขัดอีกครั้งหนึ่ง สะพายถุงย่ามที่บรรจุ ตลับหมากพลู บุหรี่ใบยาสูบ และข้าวเหนียวห่อตอง มีบาง ครั้งที่โพกผ้าที่หัว สวมรองเท้าที่ทำ�ด้วยหนังควาย ๒ แผ่น เย็บติดกันด้วยเอ็นของสัตว์ ในฤดูหนาวจะมีผ้าพันคอ ทำ� จากฝ้ายหรือไหม ในชนชั้นสูงนิยมสวมเสื้อคลุมที่ตัดเย็บ จากผ้าสีขาวและผ้าแพรจีน ประดับที่ชายเสื้อด้วยเส้นไหม คำ�แวววาว การแต่งกายในโอกาสพิเศษของเจ้านายผู้ชาย แสดงอิทธิพลเสื้อผ้าแบบสยาม

อย่างชัดเจน คือ เสื้อคอตั้งแขนกระบอกกระดุม ๗-๙ เม็ด สวมสองชั้น ชั้นในมักเป็นผ้าฝ้ายสีขาว ชั้นนอกตัดจากผ้า ต่างประเทศ คาดเอวด้วยผ้าหนามขนุนจากญี่ปุ่น ซึ่งนิยม กลุ่มชนชั้นมูลนายของสยามในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ การแต่งกายผู้หญิงชาวเชียงใหม่ ในยุคจารีตทั้งเจ้า และสามัญชน ไว้ผมยาวและดูแลรักษาเป็นอย่างดี เกล้า มวยไว้ด้านหลังศีรษะอย่างเรียบร้อย ประดับผมด้วยสาย สร้อยลูกปัด ปิ่นรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมหรือวงกลม ทำ� จากทองคำ�หรือเงิน และที่ขาดไม่ได้คือดอกไม้หอมนานา ชนิด ผู้หญิงทุกคนจะเจาะหูเป็นรูใหญ่สวมใส่ต่างหูเหล่านี้ เรียกว่า “ท่อท้าง” หรือ “ลานหู” เครื่องประดับร่างกาย มีเพียงเล็กน้อย อาจเป็นกำ�ไลทองหรือเงิน หรือทำ�ลูกประ คำ�เล็กๆ ร้อยเข้าด้วยกัน หากเป็นเจ้านิยมใช้เครื่องประดับ ที่ทำ�ด้วยทองคำ�ทั้งหมด ส่วนไพร่มักทำ�จากทองเหลืองหรือ เงิน เครื่องแต่งกายท่อนบนเช่นเดียวกับผู้ชาย คือ ไม่นิยม สวมเสื้อ มีผ้า ๑ ผืน สำ�หรับปกคลุมร่างกายท่อนบน อาจ ห่มเฉียงไหล่ให้ชายด้านหนึ่งตกไปอยู่ข้างหลังคล้ายการห่ม สไบของชาวสยามเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยง บ้าย” หรือนำ�มาพันรอบหน้าอก เรียกว่า “มัดนม” คาดทับ ผ้าห่มด้วยสายสร้อยหรือสังวาล ซึ่งหากเป็นเจ้าจะใช้สังวาล ทองคำ�แท้ ใส่มากตั้ง ๒-๑๐ เส้น


ยุคที่ ๒ : แต่งกายของชาวเชียงใหม่ในยุคอิทธิพลอาณานิคม ภายหลังการเกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ก่อให้เกิดการแสวงหาดินแดนล่า อาณานิคมและการเข้ามาติดต่อค้าขายให้หลายประเทศของเอเชีย จักรวรรดินิยมตะวันตกได้เริ่มแผ่อิทธิพลสู่ดินแดนประเทศไทย ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ และมีอิทธิพลอย่างเข้มข้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ – ๕ ผลจากจักรวรรดินิยมที่เข้ามาในดินแดนล้านนาในทางการเมืองทำ�ให้รูปแบบการปกครองแบบรัฐจารีตของล้านนาเสื่อม สลายลง สยามได้จัดการรวมอำ�นาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สถาปนาระบบราชการแบบใหม่ ยกเลิกเมืองประเทศราช พร้อมกับการยกเลิก ชนชั้นมูลนาย ไพร่และทาส เป็นผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม เกิดชนชั้นกลางซึ่งเป็นชนชั้น ใหม่ในสังคมล้านนา ลักษณะเครื่องแต่งกายของชาวเชียงใหม่ในยุคนี้ เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่านิยมการสวมใส่เสื้อผ้าอย่างค่อยเป็นค่อย ไปชาวเชียงใหม่ส่วนหนึ่งที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์ จึงหันไปใส่เสื้อผ้าตามค่านิยมตะวันตก อีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปฏิวัติ อุตสาหกรรมในอังกฤษ เกิดการผลิตผ้าฝ้ายที่ทอจากโรงงานได้เป็นจำ�นวนมาก เสื้อจึงซื้อหาได้ง่ายและราคาถูกลง โดยเป็นเสื้อที่ ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีขาวเป็นหลัก แบบเสื้อมักมาจากเสื้อของชาวจีน (เสื้อกุยเฮง) หรือเสื้อชาวตะวันตก (เสื้อทรงมิชชั่นนารี) ในช่วง ระยะเวลานี้ นอกเหนือจากการรับเอาเสื้อมาใช้แล้ว ชาวเชียงใหม่ยังมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่านิยมเครื่องแต่งกาย ผู้ ช ายสามั ญ ชนชาวเชี ย งใหม่ ใ นยุ ค นี้ เริ่ ม สวมเสื้ อ กั น มากขึ้น แบบเสื้อสำ�หรับใส่ในชีวิตประจำ�วัน เป็นเสื้อ คอกลม สาบเสื้อผ่าหน้า แขนยาวหรือแขนสั้น แบบเสื้อ ดังกล่าวนี้คล้ายคลึงกับเสื้อของชาวจีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เสื้อกุยเฮง” และนุ่งกางเกงขึ้น เป็นรูปแบบมาจากจีนเช่น เดียวกัน เป็นกางเกงขากระบอกกว้าง มีทั้งแบบขายาวและ ขาสั้น ชาวเชียงใหม่เรียกกางเกงชนิดนี้ แบบขาสั้นประมาณ ครึ่งหน้าแข้งเรียกว่าว่า “เตี่ยวสะดอ” เจ้ า หลวงแต่ ง กายตามเครื่ อ งแบบที่ ร าชสำ�นั ก สยาม กำ�หนดลักษณะเด่นคือ “เสื้อราชปะแตน” มีที่มาจากชื่อ ภาษาอังกฤษว่า “RajPattern” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” เกิดขึ้นภายหลังจาก ร.๕ เสด็จประพาสอินเดียและพม่า สำ�หรับใช้เป็นยูนิฟอร์มแก่เจ้านายและขุนนางเมื่อเข้าเฝ้า ลักษณะเป็นเสื้อสีขาวหรือครีม คอตั้ง ติดกระดุมห้าเม็ด และกำ�หนดให้มีสีตามสังกัดกระทรวง ทำ�ให้ผ้าลายตาราง หรือ “ผ้าตาโก้ง” เสื้อพระราชทานราชปะแตนนี้ กลายเป็น ที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางของล้านนา ด้วย โดยนิยมสวมคู่กับโจงกระเบนสีเข้ม ในบางครั้งจะสวม คู่กับกางเกงขากว้างแบบจีนที่นิยมกันขึ้นในราวต้นรัชกาล ที่ ๖ การแต่งกายของผู้ชายรับเอาค่านิยมแบบตะวันตกเข้า มามากขึ้น เริ่มมีการสวมถุงน่องกับรองเท้าหนัง ยกเลิกการ ไว้ผมทรงมหาดไทย และหันมาตัดผมทรงรองทรง รวมไป ถึงค่านิยมการไว้หนวดปรกริมฝีปากด้วย นอกจากนี้ยังมีการ ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับเล็กๆน้อยๆ เช่น ห้อยสาย นาฬิกาพก หมวกฝรั่ง ไม้เท้า เป็นต้น

ผู้หญิงสามัญชนชาวเชียงใหม่ ในช่วงแรกของยุคนี้ยังมี ลักษณะคล้ายคลึงกับการแต่งกายตามแบบจารีต นิยมไว้ผม ยาว รวบไว้เป็นมวยเหนือท้ายทอย บางครั้งมีการ “อั่วช้อง” คือ การสอด “ช้อง” หรือเส้นผมปลอมเพิ่มเข้าไปกับผมจริง นุ่งซิ่นตาหรือซิ่นตีนจกตามฐานะของตน นอกจากนี้ความ นิยมในการสวมเสื้อมีมากขึ้น แบบเสื้อที่นิยมใส่กันแรกๆ จะ เป็นเสื้อแขนกระบอกรัดรูปพอดีตัว ได้รับอิทธิพลมาจาก แฟชั่นอังกฤษสมัยวิกตอเรียน และคงเป็นเสื้อผ้าสำ�เร็จรูปที่ ส่งมาขายจากอินเดียหรือพม่า ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอโรงงาน จากประเทศอังกฤษ ผู้หญิงสามัญชนชาวเชียงใหม่ได้ปรับ รูปแบบเสื้อลูกไม้อันหรูหราแบบตะวันตก เป็นเสื้อคอกลม ชายเสื้อเสมอเอว แขนยาวเสมอข้อศอก การ ประดับตกแต่ง ด้วยลูกไม้เพียงเล็กน้อยตามชายเสื้อ ผมแบบใหม่ทรง “อี่ ปุ่น” และแต่งผมด้วยการผูกริบบิ้นทั้งยังนิยมถือผ้าเช็ดหน้า สีขาวแบบฝรั่ง เครื่องประดับแบบจารีตค่อยคลายความนิยม ลง จากลานหูเปลี่ยนเป็นต่างหูประดับเพชรเม็ดเล็กๆ สวมจี้ ห้อยคอ หรือสร้อยข้อมือเส้นบางๆ เข็มขัดเงิน เป็นของใหม่ ที่เข้ามาพร้อมๆ กับพ่อค้าและช่างชาวจีน ผู้ ห ญิ ง ชนชั้ น สู ง และคหบดี ช นชั้ น กลางชาวเชี ย งใหม่ เกิดความเปลี่ยนแปลงค่านิยมการแต่งกายที่สำ�คัญ โดยนำ� เอารูปแบบการแต่งกายแบบตะวันตกเข้ามาผสมกับผ้าซิ่น แบบจารีตดั้งเดิม บุคคลสำ�คัญผู้เป็นผู้นำ�ทางการแต่งกาย ในยุคนั้น คือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีในรัชกาลที่ ๕ ได้ นำ�เสื้อแฟชั่นการสวมเสื้อลูกไม้แบบตะวันตกซึ่งนิยมในราช สำ�นักฝ่ายในสยามเข้ามาแพร่หลายในสังคมล้านนา


ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๕๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐-๑๙๑๐) เชียงใหม่ในสมัยปลาย ร.๕ อิทธิพลแฟชั่นตะวันตกยุคเอ็ดวาเดียน

ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๑๐-๑๙๒๕) เชียงใหม่ในสมัย ร.๖ อิทธิพลแฟชั่นตะวันตกยุคทีนส์


ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗ (ค.ศ. ๑๙๒๕-๑๙๔๓) เชียงใหม่ในสมัย ร.๗ อิทธิพลแฟชั่นตะวันตกยุคแฟลปเปอร์

ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๓๔-๑๙๔๖) เชียงใหม่ในสมัย ร.๘ ยุคมาลานำ�ไทย


ยุคที่ ๓ : แต่งกายของชาวเชียงใหม่ในยุคสังคมเมืองสมัยใหม่ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองใน เชียงใหม่ได้ทวีความเข้มข้นและเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมาเมืองเชียงใหม่ในยุคนี้มีความทันสมัย เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสร้างอำ�นาจและบทบาทให้แก่ชนชั้นกลาง การรับธรรมเนียมค่า นิยม และกระแสแฟชั่นแบบตะวันตก รูปแบบเครื่องแต่งกายของชาวเชียงใหม่ในยุคนี้ ได้สะท้อนสภาพความเปลี่ยนแปลง ทางสังคมให้ยุคนั้นได้เป็นอย่างดี กลายเป็นเครื่องแต่งกายที่เรียบง่าย แต่บ่งบอกความเป็นปัจเจก สะท้อนรสนิยมแบบชนชั้น กลางในช่วงเวลานั้น การแต่งกายของชาวเชียงใหม่ในยุคนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากแฟชั่นตะวันตกค่อนข้างสูง เป็นผลกระทบจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 เศรษฐกิจทั่วโลกทรุดตัว ผู้หญิงต้องออกทำ�งานนอกบ้านมากขึ้น เสื้อผ้าจึงมีรูปแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น เน้นความ กระฉับกระเฉงคล่องตัวในการทำ�งาน ผู้หญิงตัดผมสั้น ที่เรียกว่า ทรงบ๊อบ ทรงชิงเกิ้ล หรือทรงอีตันคร้อพ ค่านิยมตะวัน ตกได้ถาโถมได้สู่เมืองเชียงใหม่อย่างยากที่จะหยุดยั้งได้ ผ่านการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น สื่อสิ่งพิมพ์และการเข้ามา ภาพยนตร์อเมริกัน รวมไปถึงการเดินทางกลับมาของเหล่านักเรียนนอกที่มีหัวคิดก้าวหน้าทันสมัย รูปแบบเครื่องแต่งกายของผู้ชายชาวเชียงใหม่ซึ่งใน นิยมกันในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖–๗ ในบางส่วนยังคงนิยม เครื่องแต่งกายที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนหน้า คือ เสื้อ ราชปะแตน กับโจงกระเบนหรือกางเกงแพรแบบจีน โดย เฉพาะกางเกงจีนนั้น มีความนิยมมากขึ้น นอกจากนี้เครื่อง แต่งกายผู้ชายแบบตะวันตกก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ชาย เชียงใหม่ยุคนี้สามารถใส่สูทผูกเนคไท และสวมกางเกง ได้อย่างไม่เก้อเขิน นิยมพกเครื่องประดับเล็กๆ น้อยๆ ซึ่ง เป็นของนำ�เข้าจากยุโรป ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาข้อมือ หมวก สักหลาด เข็มขัด เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางการ แต่ ง กายของผู้ ช ายชาวเชี ย งใหม่ แ ทบจะไม่ แ ตกต่ า งจาก กรุงเทพในยุคเดียวกันเลย รูปแบบเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ในช่วงแรกยังคงรูป แบบเดิมที่นิยมสืบเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ คือ ผมทรง “อี่ ปุ่น” ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น เมื่อพระราช ชายาเจ้าดารารัศมี กลับมาประทับที่เมืองเชียงใหม่เป็นการ ถาวร ผู้หญิงชนชั้นกลาง และชาวบ้านทั่วไปนุ่งซิ่นไหม แบบเสื้อเปลี่ยนมาเป็นเสื้อตัวหลวม แขนสั้น ตามกระแส แฟชั่นแบบอาร์ตนูโวของฝรั่งเศสที่กำ�ลังเป็นที่นิยมอย่าง มากในยุโรป

จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ ๗ รูปแบบการแต่ง กายของผู้หญิงชาวเชียงใหม่ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง อย่างแรก คือ ทรงผม หญิงสาววัยรุ่นเชื้อสายเจ้านายและชนชั้น กลางหลายคน เลิกไว้ผมยาวตามค่านิยมจารีตดั้งเดิม หัน ผมตัดผมสั้นเพียงติ่งหูและดัดผมลอน เสื้อผ้ามีลักษณะ ตามแฟชั่นยุคแฟลปเปอร์ จุดเด่นของกระแสศิลปะในยุค นี้ คือการตัดทอนรูปทรงต่างๆ ให้กลายเป็นรูปเรขาคณิต แพทเทรินเสื้อผ้าลดทอนรายละเอียดที่ซับซ้อนลงคือ เสื้อ แขนกุด คอกลม คอบัว หรือคอกะลาสี มีริบบิ้นสอดใต้คอ เสื้อผูกให้เป็นโบว์ด้านหน้า ชายเสื้อยาวคลุมสะโพก ตัว เสื้อทรงตรงไม่เข้ารูป นุ่งกับกระโปรงทรงตรง หรือผ้าซิ่น ไหม ซึ่งมีการออกแบบลวดลายและสีสันใหม่ ซิ่นตาลาย ขวางเดิม ก็ถูกลดทอนให้เหลือลายขวางแค่บริเวณเชิงผ้า เท่านั้น หรือมิเช่นนั้นก็กลายเป็นผ้าซิ่นสีพื้นเรียบๆ ไม่มี ลายใดๆ สีสันก็ย้อมทอให้ตามรสนิยมตะวันตกที่เน้นสีโทน อ่อนหวาน เครื่องประดับเป็นเพชร ไข่มุก เครื่องเงิน หรือ ทองคำ�ขาว ไม่นิยมทองคำ� มีการสวมหมวกหรือใช้ผ้าโพก ผมเมื่อออกนอกบ้าน หรือใช้สายสร้อยคาดหน้าผากเมื่อ ออกงานราตรีสโมสร


ยุคที่ ๔ : เครื่องแต่งกายแบบพื้นเมืองในยุคฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้เมืองเชียงใหม่มีความเจริญก้าวหน้า ขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งส่งเสริมนโยบายให้เมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของเมืองท่องเที่ยวในภาคเหนือ เมือง เชี ย งใหม่ จึ ง มี ก ารขยายตั ว แบบก้ า วกระโดดอย่ า งไร้ ทิศทาง ก่อให้เกิดเติบโตกระแสการโหยหาอดีตและ กระแสนิ ย มวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ของกลุ่ ม ชนชั้ น กลาง ประเพณี และวัฒนธรรมล้านนาแบบดั้งเดิมได้รับการ ให้ความสนใจ และศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เกิดการ รื้อฟื้นค่านิยมดั้งเดิมขึ้นมาใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งการสร้างความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ล้านนาขึ้นอีกด้วย ผลจากการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียม ประเพณีเหล่านี้ อีกนัยหนึ่งยังเป็นไปเพื่อผลจากการ สร้างกิจกรรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ดังจะเห็นว่า กระแสการฟื้นฟูวัฒนธรรมในแต่ละช่วงของเชียงใหม่ นั้น ขึ้นอยู่กับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติแต่ละฉบับอย่างมีนัยสำ�คัญ การฟื้นฟูการแต่งกายแบบล้านนา เกิดขึ้นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อคุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้จัด งานเลี้ยงส่ง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ในบรรยากาศ การจัดเลี้ยงขันโตก หรือเรียกว่า “ขันโตกดินเนอร์” ใน งานนั้นได้กำ�หนดในบัตรเชิญให้แขกผู้มาร่วมงานแต่ง กายพื้นเมือง ผู้หญิงสวมผ้าซิ่นกับเสื้อแขนกระบอก เกล้ามวยทัดดอกไม้ ส่วนผู้ชายสวมเสื้อหม้อห้อม การ จัดงานขันโตกครั้งแรกได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมาก จึงมีการจัดครั้งต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๙ ทำ�ให้การจัดเลี้ยง ขันโตกเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นอัตลักษณ์ หนึ่งของล้านนา เช่นเดียวกันกับเครื่องแต่งกายแบบ ดั้งเดิมได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

ผลจากการฟื้นฟูวัฒนธรรมในช่วงนี้ ทำ�ให้รูปแบบ เครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ซึ่งมีลักษณะการแต่งกายคือ ผู้ชายใส่เสื้อคอกลม ผ่า หน้า แขนสั้น ย้อมหม้อห้อม เรียกว่า “เสื้อหม้อห้อม” กับกางเกงจีนขากว้าง ที่เรียกกันอย่างคุ้นเคยของชาว เชียงใหม่ว่า “เตี่ยวสะดอ” อาจจะคาดเอวด้วยผ้า ขาวม้าอีกครั้งก็ได้ ส่วนผู้หญิงจะใส่เสื้อคอกลม แขน กระบอกกับผ้าซิ่นลายขวาง ในยุคนี้ได้เกิดการประดิษฐ์ ผ้าซิ่นลายขวางแบบใหม่ขึ้น ตามรสนิยมของแฟชั่นยุค 60 โดยเป็นซิ่นที่มีลายขวางเป็นแถบสีขนาดใหญ่ เรียง สีกันอย่างงดงาม สีที่นิยมมักเป็นสีสดใส ทรงผมเกล้า เป็นมวย ประดับด้วยช่อดอกเอื้องผึ้งพร้อมห้อยอุบะ จากนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมีนโยบายส่ง เสริมการท่องเที่ยว โดยจัดให้ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปี ท่องเที่ยวไทย ต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๑- ๒๕๓๒ ให้เป็นปี ศิลปวัฒนธรรมไทย พ.ศ. ๒๕๓๙ เมืองเชียงใหม่ได้จัด งานเฉลิมฉลองสมโภชในวาระที่เมืองเชียงใหม่ได้ครบ รอบ ๗๐๐ ปี ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำ�ให้เกิดการ ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมล้าน นาอย่างต่อเนื่อง หัวข้อการศึกษาเรื่องเครื่องแต่งกาย และสิ่งทอล้านนา เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ได้รับความสนใจ โดยกลุ่มนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน ทางวิชาการ นิทรรศการ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ เกี่ยวข้องกับผ้าและเครื่องแต่งกายล้านนา เกิดขึ้นภาย หลังจากนั้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ทำ�ให้เกิด การตื่นตัวในการฟื้นฟูการแต่งกายล้านนาแบบดั้งเดิมที่ อิงอยู่กับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในดินแดนล้าน นา ชาวเชียงใหม่จึงหันกลับมาแต่งกายพื้นเมืองอีกครั้ง เมื่อมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น รวมไปถึงการแต่ง กายสำ�หรับการแสดงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว


คุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ และ คุณจรรยา นิมมานเหมินท์

ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓) การฟื้นฟูเครื่องแต่งกายล้านนา ในงานขันโตกดินเนอร์

พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อคุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้จัดงานเลี้ยงส่ง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ในบรรยากาศการจัดเลี้ยงขันโตก หรือเรียกว่า “ขันโตกดินเนอร์”


ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐) ชุดไทยพระราชนิยม และ นางงามจักรวาลในชุดไทย เรือนต้นกับการนุ่งผ้าซิ่นสันกำ�แพง

ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) ชุดล้านนาจากอิทธิพลสื่อละครโทรทัศน์

ช่วงยุคปี พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) ชุดล้านนาจากอิทธิพลสื่อละครโทรทัศน์


หลักสูตรการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์ ในการส่งเสริม ศึกษา และรวบรวมความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมรดกทางศิลปะ และวัฒนธรรม ของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยและ ภูมิภาคใกล้เคียง ให้การ ศึกษาแก่บัณฑิตหลายด้าน เช่น ด้านศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม การ ท่องเที่ยว การตลาดทางศิลปวัฒนธรรมและที่สาคัญที่สุด คือ การถ่ายทอดความรู้ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นให้แก่ประชาชน รวมถึงการสร้างจิตสานึก ร่วมให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง ที่ปรึกษาโครงการ รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ รศ. สุนันทา รัตนาวะดี คณะทำ�งาน วัชราภรณ์ ช่างเหล็ก ณัฐวุฒิ ทุนอินทร์ อรกัญญา อินทะวงศ์ วสิน อุ่นจะนำ� พรบัญชา ใหม่กันทะ

มงคลชัย ไชยวงค์ สิรภัทรชนน ยอดขอด พนิดา เขื่อนจินดา ปวิช ศิริอธิคม

นักศึกษาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม รุ่นที่ 9 ธนกร สุธีรศักดิ์ ณัฐพล แสนเมืองมา อาณัฐพล ชัยศรี ยศกร จันต๊ะวงค กฤติยา วัฒนกีบุตร ชื่อหนังสือ : พลวัตอาภรณ์แห่งนครเชียงใหม่ 100 Years Evolution of Chiang Mai Costumes ภายใต้โครงการ : โครงการจัดแสดงนิทรรศการ “พลวัตอาภรณ์แห่งนครเชียงใหม่” 100 Years Evolution of Chiang Mai Costumes จัดพิมพ์โดย : โครงการเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเชียงใหม่ (Chiang Mai City of Crafts and Folk Art) ร่วมกับ สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะ และวัฒนธรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-944849 และ 053-944433 กองบรรณาธิการ : ธนกร สุธีรศักดิ์, อาณัฐพล ชัยศรี, กฤติยา วัฒนกีบุตร, นายณัฐพล แสนเมืองมา, ออกแบบปก : อาณัฐพล ชัยศรี ออกแบบรูปเล่ม : กฤติยา วัฒนกีบุตร พิสูจน์อักษร : ธนกร สุธีรศักดิ์ พิมพ์ที่ : มิสเตอร์เจมส์ 17/5 ถนนชลประทาน ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-400174 E-mail : mr_james2011@hotmail.com



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.