วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และการสืบสานประเพณี วิถีล้านนา

Page 1

วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และ การสืบสานประเพณี วิถีล้านนา


หนังสือ วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) : ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และการสืบสานประเพณี วิถีล้านนา

จัดท�ำโดย : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน​ ปีที่พิมพ์ : มกราคม ๒๕๖๒ พิมพ์ที่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ เรียบเรียง : ธนกร สุธีรศักดิ์ ภาพลายเส้น : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ ภาพประกอบ : พระธาตุเจ้าเข้าเวียง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่ม : ธนกร สุธีรศักดิ์ ออกแบบโดยใช้อักษร : SILPAKORN70yr, TF Sarabun New


ค�ำน�ำ ประเพณีถวายผลผลิตข้าวใหม่ และ ถวายฟืนเพื่อก่อไฟถวายเป็นพุทธบูชาของชาวล้านนามีมานาน แล้ว คนเมืองหรือชาวล้านนา เรียกว่า “ตานข้าวใหม่ ตานหลัวหิงไฟผะเจ้า” ประเพณีทั้งสองนี้จะจัดใน วันเดียวกันตามปฏิทินล้านนาหรือเดือนสี่เป็ง ถ้าเป็นปฏิทินไทยก็ประมาณต้นเดือนมกราคม ปีนี้ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๒ ที่มาของประเพณี คือ ชาวล้านนา มีความเคารพรักและหวงแหนพระพุทธศาสนา ท�ำเกษตรกรรมได้ ผลผลิตมา ก่อนที่จะบริโภคก็ท�ำบุญเสียก่อน เพื่อความเป็นศิริมงคล ปีหน้าถัดไปจะได้ผลผลิตเพิ่มมาก ขึ้น ส่วนการตานหลัวหิงไฟผะเจ้าเป็นกุสโลบายในกาถวายฟืนให้กับพระเพื่อก่อไฟหายหนาวและก่อไฟ เพื่อหุงหา อาหารได้ เพราะในสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้หลัวหรือฟืนทั้งนั้น ขออนุโมทนาขอบคุณกับคณะครูบาอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกท่าน และคณะศรัทธา ญาติโยมทุกหน่วยงานที่ช่วยจัดงานครั้งนี้ ขอให้ทุกท่านประกอบด้วยจตุรพิธพรชัย มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกประการเทอญ พระมหาชลัน ภูริวฑฺฒโน (ชลันรัตน์) เจ้าอาวาสวัดอินทราวาส (ต้นเกว๋น) ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒


สารบัญ หน้า ค�ำน�ำ สารบัญ - ๑ - วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) - ๒ - พุทธสถาปัตยกรรมล้านนา : วิหาร อุโบสถ หอธรรม - ๓ - สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในวัดต้นเกว๋น - ๔ - ประเพณีตานข้าวใหม่ หิงหลัวไฟพระเจ้า - ๕ - พระธาตุศรีจอมทอง และพระทักขิณโมลีธาตุ อ้างอิง

๑ ๔ ๑๑ ๑๘ ๒๑ ๓๑


-๑-

วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) ทิศใต้ นอกก�ำแพงวัดเป็นกุฏพิ ระ ทีย่ า้ ยออกไปสร้าง ขึ้นใหม่ และด้านหลังคือทุ่งนา ทิศตะวันออก เป็นทางเข้า-ออก ด้านหน้าวัดบริเวณ ลานทราย นอกก� ำ แพงมี ต ้ น ตาลขึ้ น เป็ น จ� ำ นวน มาก และด้านหน้าประมาณ ๑๐๐ เมตร เป็นคลอง ชลประทาน ทิศตะวันตก เป็นซอยเข้าหมู่บ้าน จากทางเข้าวัด ความหมายของวัด ที่เขียนไว้ในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวถึงกลุ่มค�ำที่ เกี่ยวข้องในกลุ่มค�ำว่า “วัด วัต วัตร” ดังนี้ ๑. วัด หมายถึง สถานทีท่ างศาสนา โดยปกติมโี บสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์ หรือนักบวช เป็นต้น ๒. วัต หรือ วตะ หมายถึง พรต ข้อปฏิบัติ ; ความ ประพฤติ ๓. วัตร (วัด วัตตระ) หมายถึง กิจพึงกระท�ำ หน้าที่ ธรรมเนียม จึงสรุปได้ว่า ค�ำว่า วัตร ซึ่งหมายถึงสถาน ที่ที่มีการปฏิบัติตามหน้าที่หรือศีล พรต ของพระสงฆ์ นั้นเอง ความหมายของชื่ อ วั ด สั มพั น ธ์ กั บชื่ อ ของต้ น ไม้ กล่าวคือ “ต้นมะเกว๋น” หมายถึง “ต้นตะขบ” คือ ที่ ขึ้นอยู่ภายในบริเวณวัด ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยน ชื่อวัดใหม่เป็น “วัดอินทราวาส” โดยตั้งตามนามของ เจ้าอาวาสผูส้ ร้างและบ�ำรุงพัฒนาวัดให้มคี วามรุง่ เรือง คือ ครูบาอินทร์ โดยการผสมชื่อของเจ้าอาวาสอินทร์ กับอาวาสออกมาเป็น อินทราวาส

ล้านนา เป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธ ศาสนา โดยปรากฏหลักฐานงานสถาปัตยกรรม คือ วิหาร โบสถ์ เจดีย์ ที่สร้างด้วยศรัทธาอยู่แทบทุกหน แห่งในล้านนา สิง่ เหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นถึงการให้ความ ส�ำคัญต่อศาสนาอย่างเด่นชัด นอกจากนั้นสิ่งที่ส�ำคัญคือ ส�ำนึกของชุมชนที่แสดง ถึงจิตสาธารณะ ร่วมมือร่วมใจท�ำงานร่วมกันโดย เฉพาะงาน “บุญ” ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ดังเช่นที่ “ชุมชนวัดต้นเกว๋น” อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ ทีต่ งั้ : วัดต้นเกว๋น ตัง้ อยูท่ ห่ี มู่ ๔ บ้านต้นเกว๋น ต�ำบล หนองควาย อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดมหา นิกาย บริเวณวัดต้นเกว๋น วัดแห่งนี้ มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ภายในวัดประกอบด้วย วิหาร ศาลาบาตร ศาลา จัตุรมุข กุฏิสงฆ์ ศาลาบ�ำเพ็ญบุญ และโรงครัว มีอาณาเขตติดต่อกับทิศต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ เป็นถนนสายเล็กๆ ที่อยู่ข้างวัดมีประตู ด้ า นข้ า ง และห่ า งจากก� ำ แพงวั ด ไปจะเป็ น คลอง ชลประทาน ๑


แต่กว่าที่วัดต้นเกว๋นจะมีสภาพเป็นเช่นทุกวันนี้ มี เรือ่ งราวและประสบการณ์ของการอนุรกั ษ์และพัฒนา โบราณสถานแห่งนี้เป็นมาอย่างยาวนาน ซึ่งศาสตรา จารย์กียรติคุณสุรพล ด�ำริห์กุล ได้บรรยายไว้ว่า การอนุ รั ก ษ์ ศ าสนสถานแห่ ง นี้ แ ทบไม่ ไ ด้ ใ ช้ ง บ ประมาณของทางราชการเลย แต่เป็นการด�ำเนินงาน ที่เกิดจากส�ำนึกและการมีส่วนร่วมของภาคประชา สังคม เดิมทีวัดต้นเกว๋นเป็นเพียงวัดเล็กๆ อยู่ในชนบทที่ ไม่มีใครรู้จัก ใน พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนท�ำ หน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ (ชื่อ หน่วยงานในขณะนัน้ ปัจจุบนั เปลีย่ นชือ่ เป็นส�ำนักงาน ศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่) ได้ส�ำรวจพบโดยบังเอิญ ซึ่ง ช่วงเวลานั้นถนนเข้าสู่วัดและหมู่บ้านต้นเกว๋นเป็นไป อย่างยากล�ำบาก เนือ่ งจากถนนเส้นเชียงใหม่.- สะเมิง ยังไม่มี และถนนเลาะคลองชลประทานยังไม่ได้รับ การพัฒนาเช่นทุกวันนี้ สภาพของวัดต้นเกว๋นช�ำรุด ทรุดโทรม สิ่งก่อสร้างแออัด ไม่ได้เป็นเหมือนเช่นที่ เห็นในทุกวันนี้ ช่วงเวลานัน้ จังหวัดเชียงใหม่มี นายชัยยา พูนศิรวิ งศ์ เป็นผูว้ า่ ราชการจังหวัด ซึง่ ท่านเป็นชาวเชียงใหม่ทรี่ กั บ้านเมือง และเป็นปกติในทุกๆปีจะรณรงค์ร่วมมือ กับชาวเชียงใหม่ทอดผ้าป่าสามัคคีหารายได้ไปบูรณะ ศาสนสถานส�ำคัญๆในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งศาสตราจาร ย์เกียรตุณสุรพล ด�ำริห์กุล ก็ได้มีส่วนร่วมบุญด้วย เสมอมา ดั ง นั้ น ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ จึ ง ได้ ข อให้ ผู ้ ว ่ า ชั ย ยาฯ สนับสนุนใช้เงินรายได้จากผ้าป่าสามัคคีทำ� การบูรณะ วิหารวัดต้นเกว๋น ซึง่ ผมและโยธาธิการจังหวัดในขณะ นั้นควบคุมการบูรณะ ครั้งนั้นได้บูรณะซ่อมแซมผนัง วิหาร เปลี่ยนไม้เครื่องบนและกระเบื้องมุงหลังคา ขณะเดียวกันได้รับความ

ร่วมมือจากคุณอนันต์ ฤทธิเดช เจ้าของเฮือนรัตนา ช่วยท�ำช่อฟ้าและป้านลม โดยถอดแบบและสลัก ลวดลาย ปิดกระจกจืน ท�ำสีโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ รวม ทั้งคุณศรีนุช วิไล (เสียชีวิตแล้ว) ช่างศิลปกรรมช่วย ซ่อมแซมปูนปั้นนาคราวบันได และอาจารย์พิทยา บุนนาคกับคณะช่วยซ่อมแซมประตูวิหารขึ้นใหม่ นับ แต่นนั้ มาวิหารวัดต้นเกว๋นได้รบั การเผยแพร่และมีชอื่ เสียงเป็นที่รู้จักในฐานะมรดกทางศิลปะ สถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามยิ่ง เป็นแหล่งเรียน รู ้ แ ละสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วทางวั ฒ นธรรมส� ำ คั ญ ของ เชียงใหม่ และถูกน�ำไปเป็นต้นแบบของการสร้างวิหาร ในที่อื่นๆเป็นอันมาก ปัจจุบันวัดต้นเกว๋น หรือวัดอินทราวาส ตั้งอยู่ใน เขตหมู่บ้านต้นเกว๋น ต�ำบลหนองควาย อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากหลักฐานอักษรเขียนที่ปรากฏ ในวิหารระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ซึ่งรวมทั้ง สิ่งก่อสร้างอื่นๆ น่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน ในสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ ท�ำไมมรดกศิลปะสถาปัตยกรรมที่งดงามเช่นนี้จึง มาปรากฏซุกซ่อนอยู่ในหมู่บ้านชนบทเล็กๆแห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าในสมัยโบราณครั้งที่ยังไม่มีการ ตัดถนนเส้นทางเชียงใหม่ – ฮอด เส้นทางโบราณทีจ่ ะ เดินทางจากเมืองเชียงใหม่ลงไปยังชุมชนทางตอนใต้ จะผ่านบ้านต้นเกว๋นและหมู่บ้านต่างๆ ไปตามล�ำดับ โดยเฉพาะยุ ค สมั ย เจ้ า ผู ้ ค รองนครที่ ยั ง มี ป ระเพณี อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดพระธาตุจอมทอง เข้ามายังเมืองเชียงใหม่ ขบวนแห่พระบรมสารีรกิ ธาตุ จะต้องหยุดพักประดิษฐานทีศ่ าลาจตุรมุข วัดต้นเกว๋น เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน เพื่อให้ศรัทธาประชาชนได้สัก การะบูชาสรงน�้ำสมโภชก่อนที่จะเดินทางต่อไปยัง เมืองเชียงใหม่ ดังปรากฏมณฑปไม้และรางรินสรงน�้ำ ๒


พระบรมสารีรกิ ธาตุเป็นหลักฐานอยูม่ าจนทุกวันนี้ ดัง นั้นจึงไม่แปลกใจที่วัดต้นเกว๋นเป็นงานช่างฝีมือ ชั้น สูงและมีแบบแผนทางศิลปะสถาปัตยกรรมที่งดงาม ลงตัว แต่การบูรณะวัดต้นเกว๋นยังไม่เรียบร้อยแล้ว คงเหลือสิง่ ก่อสร้างอืน่ ๆทีม่ สี ภาพช�ำรุดทรุดโทรมและ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๕๒๘ หน่วย ศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ ร่วมกับคณะกรรมาธิการล้าน นา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ ซึ่ง มีอาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเลขการ(เสียชีวิตแล้ว)เป็นผู้ ประสานงาน ได้ทอดผ้าป่ารณรงค์หาทุนมาท�ำการ บูรณะเพิ่มเติม และใน พ.ศ. ๒๕๒๙ คุณขรรค์ชัย บุน ปาน ผูอ้ ำ� นวยการและเจ้าของหนังสือพิมพ์มติชน เป็น ประธานทอดกฐินและบริจาคเงินเพิ่มเติมเพื่อสบทบ ทุนในการบูรณะ ซึง่ เงินรายได้ครัง้ นัน้ ใช้ในการบูรณะ ศาลาจตุรมุข และศาลาบาตร รวมทั้งสร้างก�ำแพงวัด ก่ออิฐเพิ่มเติมด้านทิศเหนือ (ซึ่งเดิมไม่มี) การบูรณะโบราณสถานในสมัยนั้นไม่ได้มีการจ้าง เหมาบริษทั เอกชนด�ำเนินการเช่นทุกวันนี้ แต่เป็นการ ด�ำเนินงานเองของเจ้าหน้าทีก่ รมศิลปากรและคนงาน ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนท�ำหน้าที่รับผิดชอบอยู่ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๐ จึ ง อ� ำ นวยการบูรณะวัด ต้น เกว๋นต่อโดยใช้เงินที่ได้รับบริจาคซื้อวัสดุเท่าที่จ�ำเป็น ใช้ช่างฝีมือและวัสดุอุปกรณ์ของหน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ ทีห่ มุนเวียนมาจากโครงการบูรณะอืน่ ๆ รวม ทัง้ ประสานความร่วมมือด้านแรงงานจากชาวบ้านต้น เกว๋นหมุนเวียนเข้ามาช่วยเหลือ

เดิมทีแนวก�ำแพงโบราณก่ออิฐของวัดมีอยูเ่ พียงสาม ด้าน คือด้านหน้าทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตก มีสภาพช�ำรุดเสียหาย ได้ท�ำการบูรณะจนเรียบร้อย โดยใช้ช่างฝีมือของหน่วยศิลปากรและชาวบ้านต้น เกว๋นหมุนเวียนมาด�ำเนินการ ส่วนด้านทิศเหนือเป็น พื้นที่โล่ง ไม่มีแนวก�ำแพง จึงก่อสร้างใหม่เพื่อให้เป็น ขอบเขตก�ำแพงแก้วครบสี่ด้าน ตามรูปแบบก�ำแพง อิฐโบราณ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในเขตก�ำแพงวัด แต่ เดิมมีศาลาไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณลานด้านหน้า วิหารและกุฏไิ ม้สองชัน้ กับอาคารอืน่ ๆ สร้างประชิดข่ม ศาลาบาตรและวิหารทางทิศใต้ ท�ำให้ภูมิทัศน์ของวัด ต้นเกว๋นแออัดไม่เหมาะสม ต่อมาเกิดพายุพัดศาลา ไม้ล้มลงเสียหาย ได้ประสานทางวัดและชุมชนไม่ให้ มีการสร้างขึ้นอีก และใน พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ร่วมมือกับ ชุมชนรื้ออาคารและกุฏิไม้ออกไปสร้างขึ้นใหม่นอก ก�ำแพงวัดทางด้านทิศใต้ โดยใช้งบประมาณซึง่ เป็นเงิน ของทางราชการก้อนเดียวทีบ่ รู ณะวัดแห่งนี้ พร้อมกัน นั้นกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและก�ำหนด ขอบเขตโบราณสถานตามแนวเขตก�ำแพงก่ออิฐเป็น โบราณสถานของชาติ ด้วยเหตุนี้ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ของวัดต้นเกว๋นจึงมีความงดงามลงตัว ส่งเสริมคุณค่า ของศิลปะสถาปัตยกรรมให้มคี วามโดดเด่นงดงามและ มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชมดังปรากฏทุกวันนี้ ใน พ.ศ. ๒๕๓๒ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรม ราชูปถัมภ์ประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น แม้ว่า เรื่องราวของวัดต้นเกว๋นของเมืองเชียงใหม่จะผ่านไป ร่วมสามสิบปีและผู้คนแทบจะลืมเลือนไปหมดแล้ว แต่ยังควรเป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์และตัวอย่าง ที่ดีของการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมอย่าง มีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ซึ่งทุกวันนี้มีอยู่ให้ เห็นน้อยมาก ๓


-๒-

พุทธสถาปัตยกรรมล้านนา : วิหาร อุโบสถ หอธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ศิ ล ปกรรมของล้ า นนาผู ก พั น อยู ่ กั บ วั ฒ นธรรม ประเพณี ความเชื่อและต�ำนานท้องถิ่น โดยมีแนว ค� ำ สั่ ง สอนในพุ ท ธศานาเป็ น หลั ก ศิ ล ปกรรมของ ล้ า นนามี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ดิ น แดนข้ า งเคี ย ง ทั้ ง ที่ เจริญขึ้นมาก่อนและเติบโตร่วมสมัยกันมา การรับ อิทธิพลระยะแรกด้านศิลปกรรมของล้านนาเกีย่ วข้อง กั บ ศิ ล ปะมอญ-พม่ า ต่ อ มาจึ ง มี ก ารปะปนกั บ กั บ ศิลปกรรมสุโขทัย ศิลปะจีนและเจริญเรือ่ ยมาจนถึงยุค ทองของล้านนาในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ขอบข่ายของศิลปกรรมล้านนาเผยแพร่ขยายไป ในแคว้นล้านช้างลงไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ในขณะ เดียวกันก็มกี ารแลกเปลีย่ นด้านศิลปกรรมกับดินแดน ทั้งสองด้วย ศิลปกรรมล้านนาค่อนข้างจะขาดหาย ไปเมื่อตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนกระทั่ง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ การเริ่มปลดแอกจาก อ�ำนาจทางการเมืองของพม่า โดยกลุ่มชนทางล�ำปาง ได้ประสบผลส�ำเร็จ ศิลปกรรมกลุ่มล�ำปางจึงโดดเด่น ขึ้น ในระยะนี้บทบาทของพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวพม่าเริ่ม มีมากขึ้นต่องานสร้างบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ดังนั้นอิทธิพลของศิลปะพม่ารุ่นหลังจึงเข้ามาปะปน ในที่สุด สถาปัตยกรรมในส่วนทีเ่ ป็นศาสนสถานนัน้ ค่อนข้าง จะกลมกลืนกับธรรมชาติ ศาสนสถานส่วนใหญ่ทเี่ หลือ อยู่มาจนถึงปัจจุบัน ล้วนแต่ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์ มาแล้วทั้งสิ้น เพราะชาวล้านนามีความเชื่อว่าการ บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามนั้นจะได้อานิสงส์ผลบุญ มากและจะได้พบพระนิพพานในที่สุด งานบูรณะ

เหล่านั้นมีทั้งการก่อครอบเพิ่มเติมขนาดให้ใหญ่ขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดไปจนถึงการรื้อ แล้วน�ำมาสร้างใหม่ เงื่อนไขของการบูรณะประกอบ กับต�ำนานที่มีอยู่มากมายล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของ การศึกษาด้านการก�ำหนดอายุการก่อสร้างได้อยูเ่ สมอ ศาสนสถานมีอยู่หลายประเภทแต่ที่สามารถศึกษา พัฒนาการของศิลปกรรมได้คอ่ นข้างมาก คือ เจดีย์ ซึง่ ใช้วสั ดุในการก่อสร้างทีค่ อ่ นข้างคงทนถาวร ส่วนวิหาร หอไตร และอุโบสถนั้น โครงสร้างส่วนบนมักใช้ไม้ เป็นองค์ประกอบความคงทนจึงน้อยกว่า ดังนัน้ วิหาร และอุโบสถที่เหลืออยู่จึงผ่านการบูรณะมาแล้วทั้งสิ้น แบบแผนวิหารพื้นเมืองล้านนา ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็ น ที่ ท ราบว่ า วิ ห ารที่ ส ร้ า งในดิ น แดนล้ า นนามี ความเป็นเอกลักษณ์ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและ งานศิลปกรรมประดับตกแต่งที่ล้วนแล้วแต่แสดงให้ เห็นถึงภูมิปัญญาของช่างผู้สร้าง ที่น�ำคติความเชื่อ ทางศาสนามาผสานกับรูปแบบงานสถาปัตยกรรมได้ อย่างลงตัว การสร้างวิหารของล้านนานั้นปรากฏมา ตั้งแต่การเริ่มรวบรวมดินแดนของพญามังรายและ สืบทอดกันอย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากจ�ำนวนของ วิหารที่สร้างในดินแดนนี้อย่างต่อเนื่อง ความศรัทธา ของชาวล้านนาทีม่ ตี อ่ การสร้างศาสนสถานเป็นสิง่ ทีม่ ี อย่างเต็มเปีย่ ม ทัง้ นีด้ ว้ ยความเชือ่ เรือ่ ง “การสร้างบุญ กุศล” ในสมัยโบราณจะมีจารึกกล่าวถึงเจตนารมณ์ใน การสร้างวิหารไว้ เพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย ๔


เพื่ อ สื บ ทอดพระศาสนาให้ ค รบ ๕,๐๐๐ วั ส สา ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต นอกจากนั้น ยังเพื่อเป็นหนทางแห่งการรอดพ้นจากอบายภูมิ ดัง เช่น จารึกของพระเจ้าอัตถวรราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๑ ด้วยความเชื่อว่าการสร้างวิหารเป็นการสร้างมหา กุ ศ ล จึ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด การสร้ า งวิ ห ารดิ น แดนล้ า นนา อย่างมากมาย ดังปรากฏในเอกสารของชาวจีนใน สมัยราชวงศ์หมิงและชิง ต่างกล่าวโดยรวมถึงดิน แดนที่ ผู ้ ค นมี ค วามศรั ท ธาในศาสนาที่ จี น เรี ย กว่ า “ป๋าไป่สีฟู่” ซึ่งก็คือ “ล้านนา” ดังปรากฏความว่า ... ประเทศป๋าไป่สีฟู่เป็นประเทศแห่งช้าง เครื่องหอม...ประชาชนมีจิตศรัทธา ปสาทะในพระศาสนา วัดและเจดีย์ พบเห็นได้ในทุกๆ หมู่บ้าน ดังนั้นจึงนับ จ�ำนวนวัดและเจดีย์ได้เป็นหมื่นๆ แห่ง ...

วิหารเก่าของล้านนาต่างถูกผาติกรรมเพื่อน�ำองค์ ประกอบต่างๆ เป็นส่วนประดับตกแต่งบ้านเรือน ร้านค้า และโรงแรม จึงพบการรื้อถอนวิหารหลังเดิม และวิหารหลังใหม่แทนที่อย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้ หลักฐานส�ำคัญทางศิลปกรรมของล้านนาจึงได้ถูกรื้อ ถอนไปจนหมดสิ้น บางแห่งยังคงมีการรักษาวิหาร โบราณไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดล�ำปาง เมื่อ มีการศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมและแบบแผน ของวิหาร ท�ำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคของการ สร้างที่เกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ ล้านนาไปอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม อีกทั้งพบ คติความเชือ่ กับการรับอิทธิพลด้านลวดลายต่างๆ จาก กลุ่มชนรอบข้าง ส�ำหรับวิหารรุ่นเก่าในล�ำปาง ได้แก่ วิหารหลวง วิหารพระพุทธ วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุ ล�ำปางหลวง, วิหารไหล่หนิ อ�ำเภอเกาะคา, วิหารจาม เทวี วัดปงยางคก อ�ำเภอห้างฉัตร, วิหารโคมค�ำ วัด พระธาตุเสด็จ, วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น อ�ำเภอเมือง, วิหารหลวง วัดเวียง อ�ำเภอเถิน จังหวัดล�ำปาง ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าในเขตอ�ำเภอห้างฉัตร เกาะคา และ เถินของจังหวัดล�ำปาง เป็นพื้นที่ของศิลปกรรมแหล่ง ใหญ่ที่ยังคงหลงเหลือวิหารรุ่นเก่าอยู่ ทั้งนี้เพราะเป็น พื้นที่ทางผ่าน และมิใช่จุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญในช่วง สงคราม อีกทั้งล�ำปางมิใช่เมืองหลวงของอาณาจักร ล้านนาจึงท�ำให้ยังคงรักษาวิหารรุ่นเก่าไว้ได้มิใช่น้อย วิหารล้านนาที่สร้างในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ แสดงให้เห้นถึงภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของสล่า (ช่าง) ชาวล้ า นนาที่ พ ยายามสร้ า งเอกลั ก ษณ์ ข องวิ ห าร ขึ้ น มา อี ก ทั้ ง ยั ง แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ กั บ สถาปัตยกรรม ของชาวจีน ชาวไทลื้อ ชาวลัวะ ที่ต่าง มีบทบาทเป็นส่วนหนึง่ ของสังคมล้านนามาตัง้ แต่อดีต ทั้งนี้เพื่อความกระจ่างในรูปแบบของวิหารที่มีการ สร้างในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ในจังหวัดล�ำปาง

นอกจากการสร้ า งวิ ห ารหรื อวัด ในล้านนาที่ เป็น ตัวศาสนสถานแล้ว ยังมี “การกัลปนา” ถวายที่นา ป่าหมาก ข้าพระไว้อุปัฏฐากวัดวาอารามเป็นจ�ำนวน มาก ดังปรากฏในจารึกโบราณของล้านนาเกือบทุก หลักที่ว่าด้วยการสร้างวัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ คุณค่าแก่วัดหรือวิหารของชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของล้านนาเริ่มต้นด้วยยุค ทองทีร่ งุ่ เรืองทางด้านศาสนาและสถาปัตยกรรม หาก แต่ในสมัยหลังกลับวุ่นวายด้วยภัยสงคราม จึงท�ำให้ หลงเหลือโบราณสถานทีเ่ หลือรอดจากภัยสงครามอยู่ ไม่มากนัก กอรปกับการที่ชาวล้านนานิยมซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์ศาสนสถานอยู่เสมอ จึงท�ำให้หลักฐาน ส�ำคัญหลายแห่งได้ถูกซ่อมแซมจนไม่เหลือร่องรอย เดิม ทั้งนี้ในช่วง ๔๐ ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่มีกระแส ความต้องการงานศิลปกรรมแบบโบราณเป็นที่แพร่ หลายในหมู่นักสะสมของเก่าและชาวต่างประเทศ ๕


จึงสรุปประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ ๑. ลักษณะของวิหาร ๒. แผนผังของวิหาร ๓. โครงสร้างของวิหาร ๔. ต�ำแหน่งการวางเสา

วิหารโถงของล้านนาเป็นวัฒนธรรมร่วมในการสร้าง วิหารที่ปรากฏในกลุ่มวิหารไทลื้อ ดินแดนสิบสองปัน นา ทั้งนี้ด้วยความสัมพันธ์ของชนชั้นผู้น�ำที่เป็นเครือ ญาติกัน ดังต�ำนานขุนบรม ต�ำนานพญาเจือง หรือ แม้แต่การสืบสายบรรพบุรุษเดียวกัน ตั้งแต่ราชวงศ์ มังราย ท�ำให้ทั้ง ๒ ดินแดนมีความใกล้ชิดสนิทสนม เป็นบ้านพีเ่ มืองน้อง ซึง่ ล้านนาก็ได้รบั วัฒนธรรมหลาย อย่างมาปรับให้เป็นแบบอย่างของตน ดังปรากฏวิหาร โถงในกลุ่มวิหารไทลื้อที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า ๓๐๐ ปี ที่วิหารวัดบ้างลึง เมืองฮ�ำ หรือวิหารวัดเจียง เมือง นูนในสิบสองปันนา ความแตกต่างของวิหารโถงใน สองดินแดนคือ วิหารไทลื้อจะมีการสร้างฝาผนังปูน ด้านล่างรอบวิหาร แต่ลา้ นนาจะเป็นการสร้างฝาย้อย ด้านบนรอบวิหาร สิง่ ทีย่ งั คงเหมือนกันคือการประดับ ตกแต่งด้วยลายทองบนพืน้ “หาง” สีแดงภายในวิหาร เป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้ง ๒ ดินแดน นอกจาก นี้ต�ำแหน่งของพระประธานของวิหารไทลื้อ จะอยู่ ในต�ำแหน่งห้องก่อนห้องสุดท้ายของวิหาร ที่ท�ำให้ ศรัทธาสามารถเดินประทักษิณรอบพระประธานเมื่อ ประกอบพิธีกรรมได้โดยสะดวก ในส่วนนี้วิหารล้าน นาบางแห่ง เช่น ที่วิหารหลวง วิหารน�้ำแต้ม วัดพระ ธาตุล�ำปางหลวง วิหารวัดป่าสัก เชียงแสน ก็อยู่ใน ต�ำแหน่งเดียวกัน

ลักษณะวิหารทีม่ กี ารสร้างก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ สามารถแบ่งรูปแบบออกได้เป็น ๒ แบบคือ วิหาร โถง และวิหารปิด กล่าวคือ ๑. วิหารโถง, วิหารป๋วย, วิหารไม่มีป๋างเอก วิหารโถงหรือวิหารที่ไม่มีป๋างเอกนั้น ก�ำหนดมา จากค�ำล้านนาโบราณที่เรียกฝาผนังว่า “ป๋างเอก” ลักษณะเด่นของวิหารรูปทรงนี้คือ มีการสร้างฝาผนัง ไม้เข้าสิน้ แบบฝาตาผ้า ทีเ่ รียกว่า “ฝาย้อย” หรือ “ฝา หยาด” ที่มีความสูงเพียงครึ่งหนึ่งของเสารับน�้ำหนัก ด้านนอกสุด และเปิดโล่งในส่วนทีต่ อ่ ลงมาจากฝาผนัง ทั้งหมด ท�ำให้ดูเป็นวิหารโถงโล่ง วิหารโถงมีหลาย ขนาด ตัวอย่างวิหารที่มีขนาดใหญ่ คือ วิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง ซึ่งมีการเปิดวิหารโถงทั้ง อาคาร ส�ำหรับต�ำแหน่งของพระประธาน มีลักษณะ บางประการคล้ายกับวิหารไทลื้อ คือตั้งในห้องก่อน ท้ายวิหารซึ่งสามารถเดินประทักษิณได้โดยรอบ ส่วน วิหารขนาดเล็กลงมาจะมีการสร้างฝาผนังปูนปิดส่วน ห้องท้ายวิหารซึง่ เป็นทีป่ ระดิษฐานพระประธาน เรียก ว่า “ห้องก้นตูพระเจ้า” จากหลักฐานวิหารที่เหลืออยู่ เชื่อว่าวิหารโถงเป็น วิหารรูปแบบแรกทีเ่ กิดขึน้ ในล้านนา เมือ่ ท�ำการศึกษา ต่อไปยังซากโบราณสถานร้างหลายแห่งของเวียงกุม กามและเวียงเชียงแสน ที่ร้างไปก่อนพุทธศตวรรษ ที่ ๒๔ เขื่อว่าวิหารหลายแห่งจะเป็นวิหารโถง ทั้งสิ้น

ขนาดของวิหารโถง วิหารโถงของล้านนานั้นมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ขึ้น อยูก่ บั ความส�ำคัญของวิหารและจ�ำนวนของศรัทธาวัด ที่มาท�ำบุญ ซี่งแบ่งรูปแบบออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑.๑ วิหารโถงขนาดใหญ่ หรือ “วิหารหลวง” เป็นวิหารที่กษัตริย์เป็นผู้สร้างหรือให้การอุปถัมภ์ จะ มีขนาดใหญ่เป็นประธานหลักของวัด วิหารหลวง นี้ตั้งอยู่ในต�ำแหน่งแกนเดียวกับเจดีย์ วิหารหลวง ๖


ที่สร้างในยุคทองของล้านนาจะมี “กู่พระเจ้า” เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน ๑.๒ วิหารโถงขนาดเล็ก เป็นวิหารทีม่ ขี นาดเล็ก ราว ๕ ห้อง ซึ่งเป็นได้ทั้งวิหารประธานของวัดที่เจ้า นาย พระเถระส�ำคัญสร้าง เช่น วิหารจามเทวี, วัดปง ยางคก, วัดไหล่หิน จังหวัดล�ำปาง รวมทั้ง “วิหารทิศ” ของวัดหลวง ซึ่งมีวิหารตั้งอยยู่ ประจ�ำทิศต่างๆ อันเปรียบได้ดังทวีปทั้ง ๔ ในแผนผัง จักรวาล ดังเช่น วิหารน�ำ้ แต้ม วัดพระธาตุลำ� ปางหลวง วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดล�ำปาง ทั้งนี้ยัง พบว่าวิหารบางหลัง เช่น วิหารน�้ำแต้ม ต�ำแหน่งของ ฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเดิมนั้นก็มิได้สร้าง ติดกับผนังวิหาร ๑.๓ วิ ห ารแบบกึ่ ง โถง เป็ น วิ ห ารที่ แ สดง พัฒนาการระหว่างการสร้างวิหารแบบโถงและวิหาร แบบปิด ทั้งนี้วิหารในรูปทรงนี้จะท�ำเป็นวิหารโถง ในช่วงห้องวิหารที่ ๑-๒ แต่ช่วงห้องที่ ๓ จะมีการ สร้างฝาผนังหรือ “ป๋างเอก” ปิดกั้นทั้งหมดวิหาร ใน รูปแบบนี้มีการสร้างตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา ได้แก่ วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำปาง ๑.๔ ต�ำแหน่งของประธาน การวางพระประธาน ในวิหารล้านนามีความคล้ายคลึงกับต�ำแหน่งพระ ประธานในวิหารไทลื้อ สิบสองปันนา ล้านช้าง และ เชียงตุง ซึ่งจะประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้ว (ฐานชุกชี) บริเวณห้องท้ายวิหาร ทัง้ นีส้ ามารถจัดรูปแบบได้ตาม การประดิษฐานพระพุทธรูปด้วย ได้แก่ วิหารโถงแบบธรรมดา เป็นวิหารที่มีลักษณะตาม ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่ไม่มีการสร้างกู่พระเจ้าเพื่อ ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน วิหารแบบมีกพู่ ระเจ้าภายใน เป็นวิหารทีส่ นั นิษฐาน ว่าสร้างตั้งแต่ช่วงยุคทองช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑

เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลสู่การคลี่คลายรูปแบบปิดในช่วง ท้ายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ต่อมา ๒. วิหารแบบปิด, “วิหารมีป๋างเอก” หรือ “วิหารปราการ” เนื่องจากว่าวิหารชนิดนมีการท�ำฝาผนัง หรือป่าง เอกตั้งแต่พื้นสูงจรดปรายเสาด้านนอกสุด ลักษณะ เด่นของวิหารทรงนี้คือ ใช้ฝาผนังปิดล้อมรอบสิ่ง ก่อสร้าง มีทั้งฝาผนังไม้และฝาผนังก่ออิฐถือปูน จาก การศึกษาพบว่าแต่เดิมใช้ฝาผนังไม้กอ่ นแล้วจึงเปลีย่ น มาเป็นปูนในภายหลัง ซึ่งต่อมาได้ปรับเปลี่ยนในเรื่อง โครงสร้างการรับน�้ำหนักให้ฝาผนังปูนนั้นเป็นฝาผนัง รับน�ำ้หนักแทนด้วย พบหลักฐานการสร้างวิหารทรง นี้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ดังปรากฏในการ สร้างสุวรรณอาราม ในจังหวัดล�ำพูน วิหารทรงนี้มี พัฒนาการในรูปแบบของตนเองอีกเช่น มีการสร้าง มณฑปปราสาทเชื่อมต่อกับตัววิหารเพื่อประดิษฐาน พระประธาน แทนที่กู่พระเจ้าในวิหารและถูกเรียก ชื่อว่า “วิหารทรงปราสาท “ ซึ่งเป็นรูปแบบวิหารที่ พบในเขตพื้นที่เชียงแสนและเชียงใหม่ แสดงให้เห็น ถึงการเชื่อมโยงกับมณฑปปราสาทแบบสุโขทัยและ คติการนับถือพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แบบมหายาน ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๕ วิหารทรงปิดก็เริ่มเปลี่ยน รูปแบบของแผนผังวิหารอีกครังหนี่ง


ลักษณะแผนผังของวิหาร วิหารล้านนาโดยทั่วไปนิยมสร้างอาคารยาว ๕-๙ ห้อง กว้าง ๓ ห้อง วางอาคารในแนวแกนตะวันออก ตะวันตก แต่ละห้องจะมีส่วนเครื่องบนหรือเครื่อง หลังคาที่ประกอบด้วยหลังคาจั่วและหลังคาปีกนก มี การลดชัน้ หลังคา ทีเ่ รียกว่า “ซด” โดยด้านหน้าลด ๒ ชัน้ คือลดทีม่ ขุ หน้า (ห้องที่ ๑) มุขรอง (ห้องที่ ๒) ส่วน หลังคาประธาน (ห้องที่ ๓) และ (ห้องที่ ๔) ไม่มีการ ลด ส่วนทางด้านหลังจะลดทีม่ ขุ หลัง (ห้องที่ ๕) ซึง่ การ ลดมุขนั้นจะสัมพันธ์กับลักษณะผังพื้นของวิหารและ ต�ำแหน่งของเสา โครงสร้างจัว่ และความสูงของหลังคา ในส่วนของแผนผังวิหารล้านนาโดยส่วนใหญ่นนั้ เมือ่ เข้าจากทางทิศตะวันออกด้านหน้าของตัวอาคารจะ พบว่า ในห้องที่ ๑ จะมีแผนผังที่ขนาดแคบที่สุด แล้ว เริม่ ขยายออกในห้องที่ ๒ และห้องที่ ๓ และหยุดคงที่ ในห้องที่ ๔ กลางวิหาร หลังจากนั้นในห้องท้ายวิหาร ที่ ๕ จะถูกลดขนาดผังพื้นลงมาอีกครัง การหยักเยื้อง ของแผนผังวิหารนีเ้ ป็นผลจากการออกแบบเพือ่ ท�ำให้ ผู้เข้าไปในตัวอาคาร สามารถเปิดมุมมองสายตา แล้ว พุง่ จุดสนใจเข้าไปสูพ่ ระประธานทีส่ อ่ งประกายภายใน ห้องท้ายวิหารที่ค่อนข้างมืดสลัว โดยไม่ทันรู้สีกถึง การบังคับให้พุ่งจุดสนใจไปยังพระประธานภายใน และในมุมกลับกันคือมองจากภายในห้องวิหารเมื่อ จะเดินออก และวิหารมีการบีบตัวลงในทุกช่วงห้องของวิหาร แล้วจึงเปิดโล่งเมื่อเดินออกมาจากห้องที่ ๑ ในรูป การณ์เช่นนี้จึงเป็นเหตุให้มีการเรียกวิหารเช่นนี้ว่า “วิหารบีบ” หรือ “วิหารหักจ๊อก” อันมีรูปแผนผัง สมมุติเปรียบเทียบได้ดัง “ส�ำเภานาวา” อันเสมือน พระธรรมค�ำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ น�ำพาสรรพสัตว์ให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์

โครงสร้างของวิหาร โครงสร้างของวิหารล้านนาเป็นโครงสร้างแบบ “ม้า ต่างไหม” ที่มีการถ่ายน�้ำหนักจากหลังคาวิหาร ลงมา ตามส่วนของขื่อต่างๆ ลงมาสู่เสาและหลังคาปีกนก ด้านล่าง ๒ ข้าง คล้ายลักษณะการถ่ายน�้ำหนักของ การบรรทุ ก ผ้ า ไหมบนหลั ง ม้ า ดั ง ปรากฏชื่ อ โครงสร้างของวิหารกานโถม ที่พญามังรายโปรดให้ ตัดไม้จากเมืองรอยมา “ปก” สร้างขึ้นที่เวียงกุมกาม ซึง่ ได้มกี ารกล่าวถึงของโครงสร้างทีใ่ ช้ เช่น “แปอ้าย” “แปยี่” “ชื่อม้าต่างไหม “ อันเป็นชื่อของโครงสร้างหลังคา วิหารล้านนาทีย่ งั คงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบนั ในชือ่ ของ โครงสร้างหลังคาแบบ “ม้าต่างไหม” และโครงสร้างนี้ เองทีส่ ลาได้สบื ทอดและพัฒนารูปแบบโครงสร้าง และ วิหารต่อไปในอีกหลายลักษณะ ผู ้ เ ขี ย นเชื่ อ ว่ า โครงสร้ า งม้ า ต่ า งไหมนี้ พั ฒ นามา จากโครงสร้างหลังคาบ้านของจีน โดยเพิ่มความสูง ของ “เสาตั้ง “ หรือ “เสาป่อก” ที่ภาคกลางเรียก ว่า “ตุ๊กตา” ที่มีหน้าที่ค�้ำระหว่างขื่อให้มีความสูง เพิ่มมากขึ้น เทคนิคการช่ า งนี้ เ กิ ด ด้ ว ยความสั มพั น ธ์ ร ะหว่ า ง ล้านนา และมีการติดต่อเดินทางค้าขายมาโดยตลอด โดยผ่านทาง สิบสองปันนาหรือ “เชอหลี”่ ทีม่ กี ารวาง โครงสร้างหลังคาแบบม้าต่างไหมเช่นเดียวกัน ในส่วนของปีกนกนั้น วิหารล้านนามีเอกลักษณ์คือ การใช้ขื่อม้ายี่ และขื่อม้าสาม ต่อเข้ากับ “เสาสะ โก๋น” (เสาทีต่ งั้ แนบข้างเสาหลวง) ส่วนขือ่ ม้าจะต่อเข้า กับเสาหลวง ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่พบในหลังคา ปีกนกของสิบสองปันนา แต่ทสี่ บิ สองปันนาช่วงปีกนก มีความกว้างมากกว่าของล้านนา โดยการขยายช่อง กว้างระหว่างเสาหลวงและเสาสะโกนนัน่ เอง นอกจาก ๘


นี้ในส่วนของค�้ำยันขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมที่สร้างไว้ รับน�้ำหนักของโครงสร้างม้าต่างไหมกับเสาหลวงนั้น ก็นา่ จะพัฒนามาจากค�ำ้ ยันใต้ขอื่ ของสิบสองปันนาอีก ด้วย ซึง่ ต่อมาจึงมีพฒ ั นาการต่อกลายเป็น “ขือ่ ตุม้ ” ที่ พาดรับน�ำ้ หนักขือ่ หลวง และขือ่ ปีกนก โดยมีการแกะ สลักไว้ได้ขื่อตุ้มเพื่อความงดงามอีกชั้นหนึ่ง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ “การวางแนวเสาหลวง”ที่พบ ว่ามีการใช้ความคิดในเรื่องของการสร้างจุดสนใจให้ กับพระประธานมา ใช้ร่วมกับแผนผังและโครงสร้าง ของวิหาร กล่าวคือ เสาหลวง ในต�ำแหน่งมุขหน้าใน ห้องที่ ๑ ๒ ๓ จะค่อย ๆ ขยายความห่างระหว่างเสา ออกทีละ ๕๐-๖๐ เซ็นติเมตร และเริ่มบีบกลับเข้ามา เล็กน้อยในห้องที่ ๔ ในต�ำแหน่งก่อนถึงพระประธาน เเม้ว่าขนาดแผนผังของห้องที่ ๓ และ ๔ จะมีขนาด เท่ากับก็ตาม แล้วความกว้างของช่วงเสาจึงคงที่ใน ห้องที่ ๕ ทั้งนี้เพื่อให้แนวเสาเป็นเส้นน�ำสายตาไป สู่พระประธานไปโดยตลอดห้องวิหาร และมีจุดที่ดู กระชับขึน้ ในกรอบแนวเส้นของเสาวิหาร ทีบ่ บี เข้ามา ในห้องที่ ๔ โดยไม่ให้รู้สึกถึงการบังคับกรอบสายตา มากเกินไปในห้องที่ ๕ จึงยังคงความกว้างของเสาให้ เท่ากับห้องที่ ๔ ทั้งที่ความกว้างของแผนผังวิหารใน ห้องที่ ๕ นั้นมีขนาดเล็กกว่า ทั้งนี้ต�ำแหน่งของลาย ทองทีป่ ระทับบนท้องเสาเองก็มสี ว่ นในการน�ำสายตา แม้ว่าจะเป็นวิหารโถงที่เห็นการเชื่อมที่ว่างภายนอก และภายในเข้ากันได้โดยง่ายก็ตาม

ต�ำแหน่งการวางเสาวิหาร การวางเสาวิหารล้านนานั้นแบ่งวิหารออกเป็นส่วน ในและส่วนนอก กล่าวคือส่วนในที่ใช้เป็นที่นั่งของ พุทธบริษัทหรือผู้มีจิตศรัทธา คือบริเวณห้องภายใน ของเสาหลวงทีม่ พี นื้ ทีก่ ว้างกว่าส่วนนอกทีเ่ ป็นบริเวณ เสาหลวงถึ ง เสาระเบี ย งหรื อ บริ เ วณปี ก นกทั้ ง ๒ ข้าง ซึ่งจะแคบและมีเพดานต�่ำกว่าส่วนใน และการ วางแผนผังเช่นนี้มีชื่อเรียกในสมัยซ้องว่า “จีนเซียงโต่วตี่เฉา ” ซึ่งหมายถึงการแบ่งผังเป็นสอง ส่วนด้วยการใช้เสาสองชั้นที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง ผังอาคารและโครงสร้างหลังคา นอกจากนั้นวิหาร ล้านนายังมีการใช้เสาใน ๓ รูปทรงตามต�ำแหน่งที่ ต่างกัน คือ เสารูปทรงสี่เหลี่ยม หรือ เสาระเบียงใช้ในส่วนด้าน นอกของตัวอาคารท�ำหน้าที่รับน�้ำหนักหลังคาปีกนก และฝาย้อย เสาแปดเหลี่ยม พบในต�ำแหน่งเสาคู่กลางบริเวณ ทางเข้าวิหารเท่านั้น เสารูปทรงกลม หรือเสาหลวงใช้ในส่วนด้านใน ทั้งหมดของวิหารท�ำหน้าที่รับน�้ำหนักจากโครงสร้าง ม้าต่างไหม โดยเลือกขนาดของต้นไม้ที่ใกล้เคียงกัน มาสร้าง


อุโบสถในล้านนา นิยมสร้างเป็นอาคารขนาดเล็กใช้ส�ำหรับการท�ำ สังฆกรรม หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับหมู่สงฆ์ เช่น การบวช และการ “ลงอุโบสถ” สวดโอวาทปาฏิโมกข์ เท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ชาวล้านนานิยมสร้างอุโบสถ ขนาดเล็ก กะทัดรัด นอกจากนั้นในอดีตการบวช ของล้านนา นิยมการบวชบนแพกลางแม่น�้ำ ซึ่งถือ เป็นพื้นที่ที่บริสุทธิ์ จึงไม่จ�ำเป็นต้องกระท�ำในอาคาร เมื่อมาสร้างเป็นอุโบสถจึงต้องก�ำหนดขอบเขตของ “สีมา” ด้วยก้อนหิน หรือ ใบเสมา อีกทั้งชาวล้านนา ยังมีประเพณีการใช้อุโบสถร่วมกัน ในหมู่บ้านหนึ่งๆ จึงอาจมีอโุ บสถเพียง ๑ หลัง ต่อวัดหลายวัด โดยสร้าง ในวัดที่เป็น “หัวหมวดอุโบสถ” คู่กับวิหาร หากแต่มี ขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ซัด ตัวอาคารอุโบสถและวิหาร มีลกั ษณะสถาปัตยกรรม คล้ายคลึงกันมากทัง้ ทางด้าน แผนผัง รูปทรงและการ ตกแต่ง เราสามารถสังเกตได้จาก ขนาดของอาคาร ซึ่งอุโบสถมักสร้างให้มีขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งมีการ ก�ำหนดเขตบริสุทธิ์ เรียกว่าเขตสีมา ซึ่งล้านนามี ประเพณีห้ามผู้หญิงเข้าในเขตเสมาด้วย

ที่อยู่ในหีดธรรม (หีบธรรม) ลงมาอ่าน การประดับ ตกแต่งและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของหอ ธรรมก็จะมีความคล้ายคลึงกับองค์ประกอบของวิหาร และอุโบสถ ต่างกันที่ขนาดและรูปลักษณ์ภายนอก ส�ำหรับหีดธรรมที่อยู่ในหอธรรม ชาวล้านนานิยม สร้างหีดธรรมในรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีการปิด ฝาด้านบนและมีการตกแต่งด้วยลายรดน�้ำปิดทอง หรือประดับกระจกอย่างประณีตบรรจง ภายในจะ บรรจุคัมภีร์ที่จารลงบนใบลานด้วยเหล็กแหลมแล้ว ท�ำการลบธรรม คือลูบด้วยเขม่าผสมน�้ำมันยางแล้ว เช็ดออก จะปรากฏอักษรธรรมที่จารไว้บนใบลานนัน คัมภีรเ์ หล่านัน้ จะท�ำ “ไม้ประกับธรรม” หรือ “ไม้กปั ธรรม ซึ่งเป็นไม้ประกบคัมภีร์ทั้ง ๒ ด้าน เพื่อไม่ให้ใบ ลานที่จารธรรมไว้คดงอซึ่งไม้ประกบธรรมนี้มักจะมี การประดับตกแต่งที่งดงาม เพราะชาวล้านนาเชื่อว่า หากถวายพระธรรมไว้กบั ศาสนา แล้วแต่งกัณฑ์เทศน์ ให้พระเทศน์จะได้บุญกุศลมาก เมื่อมีผู้มาถวายพระธรรมคัมภีร์มากจึงต้องสร้าง หีดธรรมไว้บรรจุ โดยมากแล้วมักจะน�ำหีดธรรมนี้ไว้ บนหอธรรม (หอพระไตรปิฎก) แต่ก่อนที่จะบรรจุ คัมภีร์ลงในหีดธรรมจะห่อด้วยผ้าห่อคัมภีร์ที่ทอขึ้น เอง ซึ่งการทอผ้าห่อคัมภีร์จะเป็นการแสดงให้เห็นถึง บทบาทของผู้หญิงที่ไม่สามารถบวชเรียนได้ หากแต่ ก็สามารถเป็นผู้ช่วยปกป้องดูแลศาสนาได้ด้วยการ ทอผ้าห่อคัมภีร์ นอกจากนั้นหญิงสาวบางคนอาจจะ ใช้เส้นผมของตนไปฝั้นเป็นเชือกร้อยคัมภีร์ใบลาน ที่ เรียกว่า “สายสยองคัมภีร์” ด้วยเชื่อว่าผลบุญนี้จะ ท�ำให้ตนเป็นผู้เฉลียวฉลาดสามารถบรรลุธรรมขั้นสูง เพื่อมุ่งสู่พระนิพพาน

หอธรรมในล้านนา หอธรรม หรือหอไตรล้านนา นิยมสร้างเป็นอาคาร ทรงโรงขนาดเล็กสองชั้น ชั้นบนมักเป็นอาคารไม้บาง ครัง้ มีระเบียงรอบคล้ายยุง้ ข้าว เพือ่ ป้องกันฝนสาด ใช้ ส�ำหรับเก็บรักษาคัมภีรแ์ ละพระไตรปิฎก ส่วนข้างล่าง มักเป็นเครือ่ งปูนหรือเปิดโล่งใช้สำ� หรับเป็นพืน้ ทีศ่ กึ ษา พระธรรม การขึ้นไปบนหอไตรเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะจะไม่มีการสร้างทางขึ้นถาวร แต่จะใช้บันได พาด เมื่อจะอ่านคัมภีร์ก็จะพาดบันไดขึ้นไปน�ำคัมภีร์

๑๐


-๓-

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในวัดต้นเกว๋น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ งานสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ของวัดต้นเกว๋น ถือว่าเป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมล้านนาที่ ควรค่าแก่การยกย่องในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมทีม่ ี คุณค่าอันโดดเด่นระดับสากล วิหารเครือ่ งไม้ทรงล้าน นา ศาลาทรงจัตรุ มุข และลานทราย ล้อมรอบด้วยศาลา บาตรและก�ำแพงวัด ตัง้ อยูท่ า่ มกลางภูมทิ ศั น์ของต้น ลานทีม่ คี วามสวยงาม ส่งเสริมท�ำให้อาคารมีความโดด เด่น แสดงถึงความงามทางด้านสุนทรียภาพ สัมพันธ์ กับสภาพแวดล้อมที่ถูกออกแบบและจัดวางอย่าง ลงตัว สามารถเชื่อมโยงไปถึงพุทธปรัชญาและหน้าที่ ใช้สอยทีส่ ำ� คัญในอดีตได้อย่างเป็นรูปธรรมและลึกซึง้ ที่ตั้งและผังบริเวณวัดต้นเกว๋น งานสถาปัตยกรรมในวัดต้นเกว๋น และกลุ่มอาคาร โดยรอบ ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านต้นเกว๋น ต.หนอง ควาย อ.เมื อ ง จ.เชี ย งใหม่ โดยต� ำ แหน่ ง ของวั ด จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ตัวอาคาร ทั้งหมดในเขตพุทธาวาสประกอบไปด้วยวิหารเครื่อง ไม้ทรงล้านนาซึ่งเป็นอาคารประธานที่ส�ำคัญที่สุด ของวัด หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก มีศาลา จัตุรมุขตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระวิหาร ทาง ทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ล้ อ มรอบด้ ว ยศาลาบาตร ทางด้านทิศตะวันออก เป็นประตูทางเข้าของวัด ประดับด้วยปูนปั้นรูปสิงห์สองตัว ตั้งอยู่เหนือเสา ประดับประตูทั้งสองข้าง ที่ว่างด้านหน้า ซึ่งเป็น ลานหน้าวัดในอดีต พบหลักฐานบ่อน�้ำโบราณ ล้อม รอบไปด้วยภูมิทัศน์ของต้นลานที่สวยงามนอกจาก ประตูทางเข้าหลักของวัดทางด้านทิศตะวันออกแล้ว

ยังมีประตูทางเข้าเล็ก ทั้งทางด้านทิศเหนือ และทิศ ใต้ประตูทงั้ สองสามารถเชือ่ มต่อกับเขตสังฆาวาสและ ชุมชนได้โดยสะดวก ความส�ำคัญของวัดและการออกแบบผัง ตามแนวคิดจักรวาล แม้ว่าวัดต้นเกว๋น จะเป็นศาสนสถานระดับชุมชน แต่ก็มีความส�ำคัญเทียบเท่ากับวัดหลวง เนื่องจาก มี ค วามเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ พิ ธี ก รรมที่ ส� ำ คั ญ ของเมื อ ง เชียงใหม่ นั่นคือ พิธีอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียง ซึ่งเป็นพิธีการที่ส�ำคัญของเมืองเชียงใหม่ และจะ จั ด ขึ้ น เฉพาะในโอกาสหรื อ วาระพิ เ ศษของเมื อ ง เท่านั้น กษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงจะเป็นประธาน ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดพระธาตุ ศรีจอมทอง ซึ่งเป็นพระธาตุคู่เมืองเชียงใหม่ เข้าไป ประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งระยะทางจากวัดพระธาตุศรีจอมทองไปถึงเมือง เชียงใหม่ ในอดีตต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการ เดินทาง วัดต้นเกว๋นจึงเป็นต�ำแหน่งทีเ่ หมาะสมในการ อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุมาประทับชั่วคราว ก่อน เคลื่อนเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ต่อไป ดังนั้น วัดต้นเกว๋น จึงปรากฏ หลักฐานของศาลาจัตุรมุข ซึ่งใช้เป็นศาลา ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว และเป็น สัญลักษณ์แทนพระเจดีย์หรือสถานที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุ ในฐานะตัวแทนของเขาพระสุเมรุ ตาม แบบแผนของการวางผังวัดล้านนาในอดีต ซึ่งมักมี วิหารและพระเจดีย์เป็นประธานของวัดในแนวแกน ตะวันออกตะวันตกนั่นเอง


แม้ไม่ปรากฏหลักฐานของพระเจดีย์ที่วัดต้นเกว๋น ดั ง ได้ กล่ า วเหตุ ผ ลข้ างต้ น แต่ก ารออกแบบผังยัง คงมีหลักฐานที่แสดงการเชื่อมโยงถึง แนวคิดเรื่อง คติจักรวาล และไตรภูมิ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ส�ำคัญ ในการออกแบบพุทธศิลป์และพุทธสถาปัตยกรรม ในวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างชัดเจน ลานทรายทั่ว ทั้ ง บริ เ วณวั ด ยั ง คงเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนทะเลศรี ทั น ดร ก� ำ แพงจั ก รวาลแทนด้ ว ยศาลาบาตรล้ อ ม รอบตัวพระวิหาร ในฐานะตัวแทนของ ชมพูทวีป ประตู สู ่ โ ลกุ ต รภู มิ รวมทั้ ง ยั ง อาจเชื่ อ มโยงไปถึ ง รู ป สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ มี นั ย ยะของการจ� ำ ลองเรื อ ส� ำ เภา

พาหนะน�ำมนุษย์และสรรพสิ่ง ข้ามทะเลศรีทันดร และสังสารวัฏไปสู่นิพานหรือการหลุดพ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิด ตามความเชื่อของพุทธศาสนา แบบเถรวาท วัดต้นเกว๋นจึงมีตัวอาคารทั้งหมดราย ล้อมไปด้วยลานทรายซึ่งเป็นการเน้นย�้ำสัญลักษณ์ ตามอุดมคติของชาวล้านนาในเรื่อง โลกและจักรวาล นอกเหนือจากการเป็นวัสดุสำ� คัญเพือ่ ดูดซับความชืน้ ป้องกันน�ำ้ ฝน และช่วยรักษาโครงสร้างอาคารทีเ่ ป็นไม้ ให้มอี ายุยาวนาน ส่วนเขาพระสุเมรุ ในวัดต้นเกว๋นถูก แทนด้วยศาลาจัตุรมุขดังได้กล่าวข้างต้นนั่นเอง

๑๒


ศาลาจัตุรมุข กรมศิลปากร ใช้ค�ำว่า ศาลาสรงน�้ำ (มณฑปจัตุร มุข)1 เป็นอาคารโถงเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ พื้นเมือง ตั้งอยู่ด้านหน้าของพระวิหาร ทางทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ เป็นอาคารทรงจัตุรมุข มีแผนผังรูปทรง กากบาทซึง่ มีมขุ ยืน่ ออกไปทัง้ สีด่ า้ น โดยหลังคามุขทาง ด้านทิศตะวันตก จะออกแบบให้อยูใ่ นแนวเดียวกันกับ ศาลาบาตร อาคารหลังนี้ไม่ปรากฏปีที่สร้าง แต่ใน เบื้องต้นสันนิษฐานว่า ทั้งศาลาบาตรและศาลาจัตุร มุขน่าจะสร้างในสมัยเดียวกัน เนื่องจากมีสัดส่วน ของอาคารและวัสดุก่อสร้างร่วมสมัยกัน นอกจาก นั้นผู้เขียนยังสันนิษฐานต่อเนื่องไปถึงลักษณะกลุ่ม อาคารทั้ ง หมดในวั ด ต้ น เกว๋ น ว่ า ศาลาบาตรและ ศาลาจัตุรมุข อาจมีอีกชุดหนึ่งทางด้านทิศเหนือ เพื่อ ให้องค์ประกอบซ้ายขวาของวัดมีความสมบูรณ์ ตาม แบบแผนในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมล้านนา ที่มีแนวคิดเรื่องดุลยภาพแฝงอยู่โดยทั่วไป สอดคล้อง กับความคิดเห็นของ รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ซึ่ง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีการอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียง ไว้ว่า ในอดีตนอกเหนือจาก พระบรมสารีริกธาตุจาก วัดพระธาตุศรีจอมทองแล้ว ยังมีพระธาตุอกี องค์หนึง่ จาก วัดพระธาตุเจ้าหนองโขง2 ซึ่งอยู่ใกล้เคียง พระ ธาตุองค์นี้มีความเกี่ยวข้องกับวัดต้นเกว๋นอย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งการอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียงของ เจ้านายในอดีตเป็นพิธีการที่ส�ำคัญและเอิกเกริก จึง มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการอัญเชิญพระธาตุ หรือ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ส�ำคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน มาสมโภชร่วมกันในพิธีการส�ำคัญดังกล่าว ดังนั้นจึง เป็นมูลเหตุสำ� คัญทีอ่ าจจ�ำเป็นต้องมีศาลาประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุหรือพระพุทธรูปส�ำคัญอีกหลัง หนึ่ ง คู ่ กั น สอดคล้ อ งกั บ ค� ำ บอกเล่ า ของชาวบ้ า น วั ด ต้ น เกว๋ น ที่ เ ล่ า สื บ ต่ อ กั น มาในท� ำ นองเดี ย วกั น

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานจากเอกสารใดรับรอง ข้อสันนิษฐานดังกล่าวนี้ การขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งผู้เขียน ขอเสนอให้มีการด�ำเนินการในอนาคต อาจจะสามารถสรุปข้อคิดเห็นที่ได้เสนอข้างต้นต่อไป ส�ำหรับลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของศาลาจัตุร มุข เป็นอาคารโถง มุงด้วยกระเบื้องดินขอ สัดส่วน และรูปทรงอาคารมีความอ้อยช้อย หลังคาจั่วแอ่น โค้ ง มี ห ลั ง คาซ้ อ นชั้ น ด้ า นบนอี ก ชั้ น หนึ่ ง บริ เ วณ กึ่งกลางของสันหลังคาเพื่อแสดงความส�ำคัญของตัว อาคาร ขนาดของตัวอาคารทั้งหมดมีการออกแบบ ให้สอดคล้องกับจังหวะและสัดส่วนของพระวิหาร ที่ อ ยู ่ ด ้ า นหลั ง ความสู ง ของอาคารพอเหมาะกั บ สัดส่วนของการใช้งาน ในฐานะที่ตั้งของพระบรม สารีริกธาตุและรางสรงน�้ำ อาคารเปิดโล่งทั้งสี่ด้าน เพือ่ สะดวกต่อการเข้าออกของเจ้านายและประชาชน ที่ ม าประกอบพิ ธี ก รรม ส่ ว นการประดั บ ตกแต่ ง อาคารนั้น พบว่าบริเวณสันหลังคามีการประดับ ลวดลายปูนปัน้ รูปเหราเลือ้ ยลงมาจรดส่วนปลายของ หลังคา และมีลวดลายแกะสลักไม้เป็นลวดลายดอก ประจ�ำยาม ประดับบริเวณใต้ท้องขื่อภายในอาคาร

๑๓


พระวิหาร วิหารหลังนี้ เป็นวิหารเครื่องไม้ทรงล้านนาขนาด ห้าห้องเสา ตัวอาคารหันด้านหน้าไปทางทิศตะวัน ออก หลังคาจั่วซ้อนชั้นด้านหน้าสามชั้นด้านหลัง สองชั้นตามแบบประเพณี ผนังก่ออิฐฉาบปูนยกพื้น สูงตามแบบอย่างของวิหารในสมัยฟื้นฟูการปกครอง ราวบันไดประดับด้วยลวดลายปูนปั้น รูปมกรคาย นาค มีงานแกะไม้และฉลุลาย ประดับบริเวณหน้าบัน แหนบข้างและปีกนก รวมไปถึง โก่งคิ้ว ช่องลม และ ค�้ำยัน ตามแบบศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาที่แสดง ถึงฝีมือช่างที่งดงาม และอ่อนช้อย เสาภายในอาคาร ประดับด้วยลวดลายทอง เทคนิคลายค�ำน�้ำแต้ม ผนัง ด้ า นหลั ง พระประธานประดั บ ด้ ว ยแผงพระพิ ม พ์ มี พ ระพุ ท ธรู ป ปางมารวิ ชั ย ประทั บ นั่ ง อยู ่ ใ นซุ ้ ม เรื อ นแก้ ว ซึ่ ง ประดั บ ด้ ว ยลวดลายไม้ แ กะสลั ก รู ป พญานาคและลายพันธุ์พฤกษา เหนือพระประธาน ประดับด้วยดาวเพดานซึ่งมีการเขียนลายและเตรียม พื้นด้วยเทคนิคแบบการท�ำเครื่องเขินโบราณ มีการ ประดับด้วยจกแก้วจืนแทรกบางส่วน

ส�ำหรับอายุของตัวอาคารไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าเริม่ สร้างในสมัยใด แต่สนั นิษฐานว่า น่าจะมาพร้อม กับการสร้างวัด และคาดว่าน่าจะได้รับการบูรณะ ซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ซ้อนกันหลายสมัย โดยครั้ง หลังสุดปรากฏหลักฐานจารึกอักษรล้านนาบริเวณ ฝ้าเพดานด้านทิศเหนือ ระบุปี พ.ศ. ๒๔๐๑ หรือ จุลศักราช ๑๒๒๐ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้ากาวิโล รสสุริยวงค์ เจ้าหลวงองค์ที่ ๖ ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันกับการเตรียมพิธี อัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียงในสมัยนั้น ซึ่งมีบันทึก ว่า ได้มีการท�ำพิธีอัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทอง เข้าไปสมโภชในเมืองเชียงใหม่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๐๕ ซึง่ เป็นครัง้ ที่ ๖ สอดคล้องกับจารึกระบุปที สี่ ร้างวิหาร ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเกิดขึ้นก่อนพิธีอัญเชิญพระธาตุ เล็กน้อย ดังนั้น จึงคาดว่าก่อนที่จะมีพิธีการส�ำคัญนี้ วัดต้นเกว๋นน่าจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ทั้งในส่วนของ วิหาร ศาลาจัตุรมุข และศาลาบาตร เพือ่ เตรียมฉลองพิธกี ารอัญเชิญพระธาตุดงั กล่าว และ เมื่อพิจารณารูปทรงของวิหาร ก็สอดคล้องกับแบบ อย่างของวิหารล้านนารุ่นหลัง ดังจะได้กล่าวต่อไป

๑๔


ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระวิหาร วิหารหลังนี้ มีการยกฐานอาคารสูง พร้อมทั้งก่อ ฐานบัวรับตัวอาคารทรงสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแบบ อย่างของการสร้างวิหารในยุคฟื้นฟูการปกครอง โดย เฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนเป็นต้น ไป ในสมั ย นี้ ป รากฏสกุ ล ช่ า งที่ ส� ำ คั ญ เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ รื้อฟื้นงานช่างฝีมือที่หายไปในช่วงพม่าปกครอง ทั้ง ในเมืองเชียงใหม่และใกล้เคียง ดังมีตัวอย่างอาคารที่ ส�ำคัญในกลุ่มนี้ เช่น วิหารวัดหางดง วิหารวัดท้าว ค�ำวัง อ.หางดง วิหารวัดดอนเจียง อ.แม่แตง วิหาร วัดปราสาท วิหารวัดเสาหิน อ.เมือง วิหารวัดป่าแดด และวิหารวัดพุทธเอ้น อ.แม่แจ่ม วิหารในกลุ่มนี้มี ลักษณะร่วมคล้ายกับวิหารวัดต้นเกว๋นหลังนี้ จึงถือ ได้ว่า อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างที่ส�ำคัญที่สุด ที่แสดง พัฒนาการของวิหารล้านนาได้เป็นอย่างดี วิหารใน ยุคนี้ จะนิยมท�ำหลังคาสูงชันกว่าวิหารล้านนาในยุค ทอง เมื่อเทียบกับ วิหารสกุลช่างล�ำปาง วัดพระธาตุ ล�ำปางหลวง วัดไหล่หนิ วิหารสกุลช่างเชียงใหม่ เช่น วิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์ เป็นต้น

แม้ว่าในส่วนของรูปทรงวิหารจะมีลักษณะแตกต่าง จากวิหารในช่วงล้านนายุคทองดังได้กล่าวไปแล้ว ข้างต้น แต่ในส่วนของโครงสร้างหลังคา วิหารหลังนี้ ยังคงมีระเบียบการซ้อนชั้น ตามแบบประเพณีเดิม กล่าวคือมีการซ้อนชั้นของหลังคาทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง สัมพันธ์กับแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายก เกล็ด ส่วนโครงสร้างของวิหาร ท�ำเป็นอาคารเครื่อง ไม้ที่มีโครงสร้างรับน�้ำหนักแบบเสาและคาน มีเสาคู่ ภายในท�ำหน้าที่ในการรับน�้ำหนักของหลังคาเครื่อง บน ทั้งหมด ตามแบบลักษณะโครงสร้างแบบม้าต่าง ไหม การประกอบโครงสร้าง ท�ำด้วยวิธกี ารใช้สลักและ เข้าเดือยแบบโบราณ ภายในโชว์โครงสร้างเครื่องบน ไม่มีฝ้าเพดาน ยกเว้นบริเวณห้องสุดท้าย เหนือพระ ประธาน หน้าบันและหน้าแหนบประดับด้วยลูกฟัก ไม้ และลวดลายทองตามแบบประเพณี

๑๕


ศาลาบาตร สร้างล้อมตัวพระวิหาร เป็นรูปตัวยู โดยมีแกนของ อาคารทางด้านทิศใต้ เชื่อมต่อกับ ศาลาจัตุรมุข ที่ อยู่ด้านหน้าพระวิหารได้ เป็นอาคารเปิดโล่ง มีผนัง ด้านเดียว ใช้ประกอบพิธกี รรมทางศาสนาในวันธรรม สวนะหรือเป็นที่พักของผู้เดินทางหรือฆารวาสที่มา ปฏิบัติธรรม หลังคาทรงจั่วโค้งแอ่น มุงด้วยกระเบื้อง ดินขอพื้นเมือง โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้แบบเสา และคาน เสาก่ออิฐฉาบปูน ประดับหัวเสาด้วยปูน ปั้นรูปบัว

ส�ำหรับอายุของตัวอาคารไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าเริ่มสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับการ บูรณะซ่อมแซมพร้อมกับการสร้างศาลาจัตุรมุขครั้ง หลังสุด เพื่อเตรียมฉลองพิธีการอัญเชิญพระธาตุเข้า เวียงในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และอาจมีรูป ทรงล้อมรอบตัววิหารขึน้ มาด้านทิศตะวันออกดังภาพ สันนิษฐาน ตามเหตุผลข้างต้นในส่วนของศาลาจัตรุ มุข

๑๖


องค์ประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรม ส�ำหรับงานประดับตกแต่งอาคาร ภายในวัดต้นเกว๋น ปรากฏหลักฐานการประดับลวดลาย ในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระวิหาร ศาลาจัตุรมุข และศาลาบาตร ด้วยช่างที่มีฝีมือ โดยอาคารที่ส�ำคัญที่สุดได้แก่ พระ วิหารจะปรากฏงานประดับตกแต่งประเภทลวดลาย แกะไม้ ประดับด้วยลวดลายทอง และกระจก บริเวณ หน้าบัน ปีกนก ปัน้ ลม หางหงส์ ผนังด้านสกัด ช่องลม ช่องหน้าต่าง ค�ำ้ ย�ำ้ หรือนาคฑัณฑ์ และแผงแล คอสอง ส่วนลายปูนปั้นและรักสมุก พบหลักฐานการประดับ บริเวณเสาแปดเหลี่ยมคู่หน้า ราวบันไดนาค และ ฐานบัว ลวดลายประดั บ ทั้ ง หมดที่ ป รากฏในในอาคาร ต่างๆ แสดงถึงพัฒนาการของงานประดับตกแต่ง

สถาปัตยกรรมช่วงหนึ่งที่ส�ำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้กระจก ซึ่งเป็นวัสดุและเทคนิคที่เกิดขึ้นใหม่ ในช่วงฟื้นฟูการปกครอง อย่างไรก็ตามเทคนิคใน งานตกแต่งส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายหน้าบัน แผงแล ปีกนก ลวดลายค�้ำยัน ช่องลม ตลอดจนถึง การตกแต่งอาคารภายใน เช่น การท�ำลายค�ำ ยังคง แสดงถึงลักษณะแบบอย่างของศิลปสถาปัตยกรรม ล้านนาที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคทอง อาจมีเทคนิคใน งานหัตถกรรมบางส่วนที่ถูกผสมผสานเข้ามาในงาน ตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่นการท�ำดาวเพดาน ด้วย เทคนิคการเขียนสีและลวดลวดลายแบบเครื่องเขิน ซึง่ สันนิษฐานว่า เกิดขึน้ ในช่วงสมัยฟืน้ ฟูการปกครอง เช่นเดียวกัน

๑๗


-๔-

ประเพณีตานข้าวใหม่ หิงหลัวไฟพระเจ้า ในช่วงปลายเหมันตฤดู เดือนสี่เหนือ หรือประมาณ เดือนธันวาคมถึงมกราคม ชาวล้านนามีประเพณี ส�ำคัญ ในวันขึ้น 15 ค�่ำ ของเดือน นั่นคือประเพณี “ตานข้าวใหม่” ภายหลังจากฤดูกาลการเก็บเกีย่ วข้าว ในวิถีชีวิตของชาวล้านนาแล้วนั้น ชาวนาต่างส�ำนึก ถึงคุณของ “ผีปู่ผีย่า ผีฟ้าผีน�้ำ ผีค�้ำดินด�ำ” อันได้แก่ ผีบรรพบุรษุ ผูบ้ กุ เบิกเนือ้ ไร่แดนนา ผีบนฟ้าทีป่ ระทาน สายฝน มีขุนน�้ำประจ�ำชนธารไหล ได้หล่อเลี้ยงข้าว กล้าเติบโตงาม ผีดินผู้ค�้ำหนุนมีคุณด้วยประทานเนื้อ ดินอันอุดมให้สมบูรณ์พูนผลจนส�ำเร็จเป็นเมล็ดข้าว จึงได้พากันจัดแย่งข้าวเปลือก ข้าวสารใส่กระทง พร้อมข้าวสุก อาหารคาวหวาน ขนม ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ ใส่กระบะบัตรพลี แล้วประกอบพิธเี ซ่นสรวง บูชาแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยดลบันดาลให้ผลผลิตเจริญ งอกงามได้สมปรารถนา โดยมีการกระท�ำพิธีกรรมนี้ สืบเนื่องต่อกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจวบจน ปัจจุบัน ภายหลังต่อมานั้น วิถีชีวิตของชาวล้านนา ได้มกี ารรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาหลัก เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในวิถีของการด�ำเนินชีวิต จึงส่งผลให้การเคารพสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิใ์ นทางคติความเชือ่ แบบดัง้ เดิมได้มกี ารผนวกรวมเข้ากับความเชือ่ ตามคติ ความเชือ่ ทางพระพุทธศาสนา โดยมีการจัดแต่งเครือ่ ง ประกอบพิธีกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งของพืชผลธัญญาได้ ถูกจัดไว้เพื่อส�ำหรับไหว้สาบูชาพระรัตนตรัยอีกด้วย ภายหลังพลังศรัทธาพระศาสนาเข้มข้นขึ้น จึงมีการ จัดถวายแก่พระรัตนตรัยเป็นหลักใหญ่ แต่ถึงอย่างไร ก็ตามชาวล้านนาก็มิได้ทิ้งคติเดิมของบรรพบุรุษที่ มีการกระท�ำสืบต่อกันมาแต่อย่างใด หากแต่เพียง

เปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีในการปฏิบัติต่างออกไป จากในอดีต กล่าวคือยังมีการท�ำบุญผ่านการ “ตาน ขันข้าว” คือ ส�ำรับอาหารอันมีข้าวใหม่เป็นหลัก เพื่อ อุทศิ ให้เจ้าแดนแผ่นนา เทวดาพระนางธรณี เจ้าทีแ่ ดน เจ้าแห่งเจ้าหน ตลอดจนญาติมิตรผู้ล่วงลับถ้วนหน้า ประเพณี “ตานข้าวใหม่” การตานข้าวใหม่ หรือ อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าท�ำบุญตักบาตร (ข้าวล้น บาตร) ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ออกไป อาทิ ตานข้าวหล่อบาตร ตานข้าวล้นบาตร และตานดอยข้าว ซึ่งแต่ละชื่อเกิดจากอาการที่เห็น คือเริ่มต้นทางวัดจะจัดภาชนะรองรับส่วนใหญ่เป็น บาตร ชาวบ้านที่น�ำเมล็ดข้าวไปท�ำบุญจะ “หล่อ” คือ เทเมล็ดข้าวลงในบาตร เมื่อเห็นอาการเช่นนี้จน ชินตาจึงเรียกกันว่า “ตานข้าวหล่อบาตร” และเมื่อ ข้าวเต็มบาตรก็เทข้าวออกกองไว้แล้วหงายบาตรขึ้น รับใหม่จนข้าวเต็มและล้นออกจึงเรียก “ตานข้าวล้น บาตร” สุดท้ายหลายบาตรเข้า กองเมล็ดข้าวก็ใหญ่ โตเหมือนภูเขา จึงเรียกว่า “ตานดอยข้าว” ซึ่งกองที่ เป็นข้าวสารของเห็นเป็นสีขาว เรียก “ดอยเงิน” ส่วน กองข้าวเปลือกเห็นเป็นสีเหลือง เรียก “ดอยค�ำ” โดย ชาวล้านนาจะน�ำข้าวเปลือก ข้าวสารใหม่ทไี่ ด้จากการ เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งส่วนมากจะเป็น ข้าวสารเหนียว เพราะชาวล้านนาแต่เดิมจะบริโภค ข้าวเหนียวเป็นหลัก บางบ้านอาจน�ำเอาข้าวใหม่มา ท�ำเป็นข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก รวมทั้งน�ำ เอาอาหาร น�ำ้ ตาล น�ำ้ อ้อยไปใส่บาตร ในการตานข้าว ใหม่นี้ โดยในบางวัดจะจัดให้มี “การสวดข้าวบาตร” ๑๘


สุดท้ายหลายบาตรเข้า กองเมล็ดข้าวก็ใหญ่โตเหมือน ภูเขา จึงเรียกว่า “ตานดอยข้าว” ซึง่ กองทีเ่ ป็นข้าวสาร ของเห็นเป็นสีขาว เรียก “ดอยเงิน” ส่วนกองข้าว เปลือกเห็นเป็นสีเหลือง เรียก “ดอยค�ำ” โดยชาว ล้านนาจะน�ำข้าวเปลือก ข้าวสารใหม่ที่ได้จากการ เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งส่วนมากจะเป็น ข้าวสารเหนียว เพราะชาวล้านนาแต่เดิมจะบริโภค ข้าวเหนียวเป็นหลัก บางบ้านอาจน�ำเอาข้าวใหม่มา ท�ำเป็นข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก รวมทั้ง น�ำเอาอาหาร น�้ำตาล น�้ำอ้อยไปใส่บาตร ในการตาน ข้าวใหม่นี้ โดยในบางวัดจะจัดให้มี “การสวดข้าว บาตร” ซึ่งหมายถึงการใส่บาตรพระขณะที่พระสงฆ์ สวดถวายพระ ต่างจากการท�ำบุญในวันพระปกติ ทั่วไป ที่จะน�ำข้าวไปใส่ในบาตรก่อนน�ำไปถวายพระ แต่การสวดข้าวบาตรช่วงเช้าจะคว�่ำบาตรไว้ก่อน ยัง ไม่ใส่บาตรกันทันทีจนกว่าจะไหว้พระรับศีลแล้วพระ สงฆ์ถึงจะสวดถวายพระพระ ช่วงนั้นชาวบ้านที่ไป ท�ำบุญก็จะลุกไปใส่บาตรที่ตั้งไว้ด้านหน้าพระสงฆ์ พิ ธี ต านข้ า วใหม่ ข องชาวล้ า นนาจะเริ่ ม ในวั น สี่ เป็ง หรือวันเพ็ญขึ้นสิบห้าค�่ำ เดือนสี่เหนือ หรือ เดื อ นยี่ ข องภาคกลาง ในวั น นี้ ช าวล้ า นนาจะแต่ ง ดา ข้าวตอกดอกไม้ไปใส่ขันแก้วตังสาม พร้อมกับ น�ำเอาข้าวเปลือกข้าวสารไปท�ำบุญถวายพระด้วย พิธที �ำบุญตักบาตรจะเหมือนกับการท�ำบุญในวันพระ ใหญ่หลายๆ ครั้งที่ผ่านมา เริ่มจาก การตานขันข้าว ไปหาบรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว จาก นั้นก็จะมาใส่ขันดอกหรือขันแก้วตังสาม บูชาท้าวทั้ง สี่ประจ�ำวัด และหอเสื้อวัดตามล�ำดับ จากนั้นก็จะ น�ำเอาข้าวสาร ข้าวเปลือกที่น�ำมา ไปใส่บาตรหน้า พระประธาน บางแห่งจัดภาชนะไว้กลางวิหาร เป็น ถังหรือกาละมังใบใหญ่ พร้อมทั้งบาตรพระหนึ่งใบ แต่ละคน จะน�ำข้าวสารไปใส่ในบาตร และเนื่องด้วย

จ�ำนวนข้าวที่แต่ละบ้านน�ำมาท�ำบุญมีจ�ำนวนมาก จึง ท�ำให้ล้นบาตรออกมา จึงเป็นที่มาของค�ำว่าข้าวล้น บาตร บางวัดมีการสร้างยุ้งข้าว หรือที่ชาวล้านนา เรียกว่า ถุงข้าว หรือหลองข้าว เพือ่ ใช้สำ� หรับเก็บข้าว เปลือกทีศ่ รัทธาญาติโยมน�ำมาท�ำบุญโดยเฉพาะ และ เมือ่ มีงานปอยส�ำคัญๆ ทางวัดก็จะน�ำเอาข้าวทีเ่ ก็บไว้ มานึ่งเลี้ยงแขก ซึ่งประเพณีการตานข้าวใหม่ของชาวล้านนานี้ถือ เป็นกุศโลบายของคนโบราณล้านนา ที่มีการสอด แทรกค�ำสอนแก่ลูกหลานให้มีความกตัญญูกตเวทิตา ต่อผูม้ พี ระคุณ โดยอาศัยฤดูหลังการเกีย่ วข้าวเป็นช่วง ท�ำบุญดังกล่าว นอกจากการไปท�ำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ และน�ำข้าวเปลือก ข้าวสาร ที่ ได้จากการเก็บเกี่ยวไปถวายพระสงฆ์แล้ว ส่วนหนึ่ง ก็น�ำไปตานให้ญาติผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการ แสดงความกตัญญูกตเวที ที่บุคคลเหล่านี้ท่านได้ บุกเบิกแผ้วถางผืนป่าทีร่ กร้าง มาเป็นท้องทุง่ อันกว้าง ใหญ่ไพศาล ให้เราได้ใช้เป็นแหล่งผลิตข้าวกล้า เป็นอู่ ข้าวอู่น�้ำมายังชนรุ่นหลังทุกวันนี้

๑๙


นอกจากในเดือนสี่เป็งจะเป็นประเพณีที่ชาวล้าน นาไปตานข้าวใหม่แล้ว เนื่องจากช่วงฤดูดังกล่าวเป็น ช่วงย่างเข้าสู่ฤดูหนาว จึงค่อนข้างมีอากาศที่หนาว เย็ น โดยเฉพาะแถบภาคเหนื อ ของประเทศ ชาว ล้านนาที่ไปท�ำบุญกันมักไปตั้งแต่เช้ามืด และเมื่อ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีอากาศที่เหน็บหนาว แล้ว ชาวล้านนาจึงมีคติความเชื่อว่าพระเจ้า (พระ ประธานในวิหาร) ซึ่งตามโบราณแล้วจะผ่านพิธีการ บวชพระเจ้าเช่นเดียวกับบวชพระสงฆ์ ดังนั้นจึงเชื่อ ว่าพระเจ้าก็มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกับคนเรา จึงได้จัด ให้วันนี้เป็นวันที่มีบูชากองหลัว (ฟืน)หิงไฟพระเจ้า และการห่มผ้าพระเจ้าหรือพระประธาน เหมือน พิธกี ารเปลีย่ นเครือ่ งทรงพระแก้ว ถวายเป็นพุทธบูชา “ประเพณีการเผาหลัวหิงไฟพระเจ้า” นี้ พระภิกษุ สามเณรและชาวบ้าน จะตัดไม้จี๋ (ไม้ชนิดหนึ่งในภาค เหนือ) ยาวบ้าง สั้นบ้าง มาก่อเป็นกองหลัว (กอง ฟืน) ท�ำเป็นเจดีย์ ด้านในใส่ฟางข้าวแห้งแซมบ้าง เล็กน้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิง แล้วจุดบูชาในตอนเช้ามืด เป็นการบูชาพระรัตนตรัยให้คลายความหนาวเย็น เริ่มจากพระสงฆ์จะน�ำน�้ำขมิ้นส้มป่อยมาประพรม ที่ ก องหลั ว ขณะที่ พ ระสงฆ์ เ ริ่ ม จุ ด ไฟผู ้ ที่ เ ฝ้ า ดู อ ยู ่ รอบๆ ก็จะสวดมนต์จนกระทั่งไฟติดทั่วแล้วจึงแยก ย้ายกันไปถวายข้าวปลาอาหารและท�ำบุญตักบาตร โดยกิจกรรมนี้มีการแฝงนัยของความหมายเพื่อ เผากิเลส ตัณหาให้หมดไป และเหตุผลอีกประการ หนึ่งเพื่อให้ผู้คนที่ไปร่วมท�ำบุญได้อาศัยความร้อน นั้ น ท� ำ ให้ ร ่ า งกายอบอุ ่ น ขึ้ น ก่อนจุด ไฟจะน�ำหลัว มั ด เล็ ก ๆ ไปประเคนพระพุ ท ธรู ป และพระสงฆ์ จากนั้ น พระสงฆ์ จ ะเป็ น ผู ้ ท� ำพิ ธี จุ ด ไฟ นั บ ว่ า เป็ น กุศโลบายของคนโบราณที่ได้สืบทอดกันมา ปัจจุบัน ประเพณี ต านข้ า วใหม่ ยั ง ปรากฏให้ เ ห็ น แทบทุ ก วั ด ในภาคเหนื อ ส่ ว นประเพณี ก ารเผาหลั ว หิ ง ไฟ

พระเจ้านั้นหลงเหลืออยู่เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น โดยประเพณีตานข้าวใหม่ และหิงหลัวพระเจ้านี้ จะ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเขตล้านนา ลาว และสิบสองปัน นา แต่ในปัจจุบันอาจจะจืดจางลงไปบ้างตามกาล เวลาในหัวเมืองใหญ่ๆ หากแต่ในชนบทก็ยังคงแพร่ หลายวัฒนธรรมนี้อยู่ และนอกจากนั้นประเพณีและ วัฒนธรรมนี้ยังมีความคล้ายคลึงกับประเพณีและ วัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ในเขตรัฐฉานของพม่า ที่ มีประเพณีที่คล้ายคลึงกัน เรียกว่า “ตานไม้เกี๊ยะ” อีกทั้งยังมีแบบพิธีการคล้ายกันนี้ในหลายชนเผ่าของ มณฑลยูนนาน ที่มีการเผากิ่งไม้ในเทศกาลปีใหม่ แม้วา่ จะมิได้เป็นการถวายและเพือ่ นับถือพระพุทธเจ้า นั้น ซึ่งทั้งนี้ประเพณีดังกล่าวน่าจะมีมาก่อนศาสนา พุทธและได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นพิธีกรรมทางพุทธใน ยุคหลัง

๒๐


-๕-

พระธาตุศรีจอมทอง และพระทักขิณโมลีธาตุ

วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ (พระธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวา) มี ขนาดประมาณเมล็ดข้าวโพด ลักษณะกลมเกลี้ยงสีขาวนวลเหมือนดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้า อโศกมหาราชเป็นผูอ้ ญ ั เชิญมาประดิษฐานไว้ทดี่ อยจอมทอง ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๑๘ ปัจจุบนั องค์พระธาตุถกู บรรจุ ไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น กลางพระวิหารจตุรมุข มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายพระเจดีย์ ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างโดยพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐ ๒๑


พระพุทธสรีระแล้วจึงได้แบ่งพระบรมธาตุเจ้า โดย พระสังฆเถระอย่างพระมหากัสสัปปะเถระ ได้เรียน ขอพระทักขิณโมลีธาตุ (พระบรมธาตุพระเศียรเบื้อง ขวา) จากมัลลกษัตริย์เมืองกุสินารา เมื่อได้มาจึงวาง พระบรมธาตุบนฝ่ามือแล้วอธิษฐานว่า “ด้วยแรง แห่งพุทธอธิษฐานที่พระองค์ทรงอธิษฐานไว้ ว่าจะ ให้พระบรมธาตุของพระองค์มาประดิษฐาน ณ ดอย จอมทอง” ซึง่ เมือ่ สิน้ ค�ำอธิษฐาน พระบรมธาตุกเ็ สด็จ ลอยขึ้นสู่นภากาศ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ แล้วจึง เสด็จมาสถิตอยูท่ โี่ กฏิแก้ววชิรเป๊ก ทีพ่ ระยาอังครัฏฐะ สร้างรอไว้ ตามค�ำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๘ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่ง อินเดีย ได้เสด็จมายังดอยจอมทอง พร้อมกับสิ่งขุด คูหาให้เป็นอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง และให้สร้าง สถูปไว้ภายในคูหานั้น เสร็จแล้วจึงน�ำพระบรมธาตุ เจ้าทีอ่ ยูใ่ นสถูป ทีพ่ ระยาอังครัฏฐะให้สร้างไว้บนยอด ดอยนัน้ เข้าไปไว้ในสถูปทีส่ ร้างใหม่ในคูหาใต้พนื้ ดอย จอมทอง แล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ�้ำคูหาเอา ไว้ แล้วทรงอธิษฐานว่า “กาลในภายภาคหน้า หาก พระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชนมีความเลือ่ มใส ในพระพุทธศาสนา ก็ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออก มาปรากฏแก่ผู้คนให้ได้กราบไหว้สักการะบูชา” แล้ว จึงได้เสด็จกลับ ราวปี พ.ศ. ๑๙๙๕ นายสร้อย นางเม็ง สองสามี ภรรยาที่อยู่ใกล้กับดอยจอมทองนั้น ได้ร่วมกันสร้าง “วัดศรีจอมทอง” ขึ้นบนยอดดอยจอมทอง แต่สร้าง วัดยังไม่เสร็จดี ทั้งสองได้ถึงแก่กรรมไปก่อน และใน ต่อมาถึงปี พ.ศ. ๒๐๐๙ ได้มีชายสองคนชื่อ สิบเงิน และ สิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัดศรีจอมทอง จนแล้วเสร็จ และมีพระสารีบุตรเภระเป็นเจ้าอาวาส องค์แรกของวัดศรีจอมทอง

มีตำ� นานเล่าเกีย่ วกับองค์พระธาตุวา่ ครัน้ พุทธกาล ดอยจอมทองเคยเป็นทีต่ งั้ จองเมืองอังครัฏฐะ ปกครอง โดยพระยาอังครัฏฐะ ครั้งพระยาอังครัฏฐะได้ทราบ ข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้า บังเกิดขึน้ แล้วในโลกนี”้ ซึง่ เพลานีพ้ ระองค์ประทับอยู่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย พระยาอังครัฏฐะก็เกิด ความเลื่อมใสในทันที พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานขอให้ พระพุทธองค์เสด็จมาโปรด ณ เมืองของตน เมื่อทรง ทราบด้วยพระญาณจึงเสด็จมาสูย่ งั เมืองอังครัฏฐะเพือ่ แสดงธรรมแก่เจ้าเมือง ทั้งยังทรงพยากรณ์ว่า “เมื่อ เราตถาคตนิพพานแล้ว ธาตุพระเศียรเบื้องขวาของ เราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ดอยจอมทองแห่งนี้” สิ้น เสียงตรัสแล้วจึงเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะ ทรง สดับพระด�ำรัสที่ตรัสพยากรณ์นั้นแล้ว จึงมีรับสั่งให้ สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้ เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมธาตุตามทีท่ รงพยากรณ์ไว้ ครั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมื อ งกุ สิ น ารา หลั ง เสร็ จ จากการถวายพระเพลิ ง ๒๒


การค้นพบองค์พระธาตุ

กาลล่วงมาถึงปี พ.ศ. ๒๐๔๒ ในสมัยพระธัมมปัญโญ เถระเป็ น เจ้ า อาวาสวั ด พระธาตุ ศ รี จ อมทอง ได้ มี ตาปะขาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ติดกับวัดนั้น เกิดนิมิต ฝันว่าเทวดาได้มาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยที่ ตั้งของวัดนี้ มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า และ พระบรมธาตุนนั้ จัดเสด็จออกมาให้ฝงู ชนได้กราบไหว้ สัการบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันนั้นให้ แก่เจ้าอาวาสฟัง เจ้าอาวาสจึงได้ท�ำการอธิษฐานจิต ว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้ เสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด” เมื่อ อธิษฐานแล้วในวันรุ่งขึ้นก็ได้พบพระบรมธาตุเจ้าอยู่ ในพระเกศโมลีของพระพุทธรูป ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ ภายในพระวิหารนั้น จึงเก็บรักษากันไว้โดยเงียบๆ

และรู้กันเพียงแค่เจ้าอาวาสแลตาปะขาว เมื่อครั้น พ.ศ. ๒๐๕๘ สมัยนั้นพระมหาสีลปัญโญ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง มีพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อ พระมหาพุทธิญาโณ มาจากเมืองพุกามได้สั่งให้ พระอานันทะ ผู้เป็นลูกศิษย์ไปสืบดูพระบรมธาตุที่ วัดศรีจอมทอง ซึ่งบางทีอาจจะทราบระแคะระคาย ที่วัดนั้นมีพระบรมธาตุ เมื่อพระอานันทะได้ไปถึงวัด ศรีจอมทองแล้วนั้น ได้ท�ำการสักการะบูชาอธิษฐาน จิตอยู่ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาสเมื่อได้เห็น อาการเช่นนั้นจึงน�ำเอาพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษากัน ต่อมานัน้ ออกมาแสดงให้พระอานันทะ พระอานันทะ จึงได้นำ� ความไปทูลพระดิลกปนัดา (พระเมืองแก้ว) ซึง่ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้น ให้ทรงทราบ ๒๓


พระบรมธาตุกับเจ้าผู้ครองนคร ในปี พ.ศ. ๒๐๖๐ เมื่อพระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ทราบความที่พระมหาพุ ท ธิ ญ าโณว่ า “พระบรมธาตุ เ จ้ า ได้ เ สด็ จ มา ประดิ ษ ฐานอยู ่ ที่ วั ด พระธาตุ ศ รี จ อมทอง ภายใน อาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนั้นแล้ว” ก็ มีพระทัยยินดีปิติปราโมทย์เป็นก�ำลัง จึงรับค�ำสั่ง แก่พระมหาพุทธิญาโณเถระว่า “ขอพระคุณเจ้าจง ไปจั ด การเริ่ ม ปฏิ สั ง ขรณ์ ป ลู ก สร้างพระวิหารหลัง หนึ่งให้เป็น ๔ มุข เหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ แล้ว ได้ ก ่ อ ปราสาทหลั ง หนึ่ ง ให้ เ หมื อ นปราสาทอั น มี อยู ่ ใ นพระอุ โ บสถวั ด โพธารามมหาวิ ห าร (วั ด เจ็ ด ยอด) ไว้ภายในท่ามกลางพระวิหารนั้นเพื่อเป็นสิ่ง ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า ให้เป็นอัครสถานอัน ประเสริฐต่อไป” ดังนี้ แล้วทรงประทานเงินหมื่น หนึ่งเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระเถระ รั บ ค� ำ พร้ อ มด้ ว ยตาปะขาวนั ก บุ ญ และนายช่ า ง ทั้งหลายไปสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วร่วมกับ

เจ้าอาวาสเริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท เริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท ในปีชวด อัฏฐศก พ.ศ. ๒๐๖๐ ตามแบบที่พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครสั่งนั้นทุกประการ เมื่ อ การก่ อ สร้ า งพระวิ ห ารและปราสาทส� ำ เร็ จ บริ บู ร ณ์ แ ล้ ว พระเถระจึ ง ไปทู ล ถวายพระพรให้ เจ้าผู้ครองนครทรงทราบ พระเมืองแก้วเจ้าผู้ครอง นครมีใจยินดีมากนัก จึงรับสัง่ ให้สวุ รรณช่างทองสร้าง โกศทองค�ำน�ำ้ หนักเพือ่ เป็นทีบ่ รรจุพระบรมธาตุ และ พร้อมด้วยเถรานุเถระ เสนาอ�ำมาตย์ชาวบ้านชาว เมืองออกไปท�ำมหกรรมฉลองเป็นมหาปางใหญ่ แล้ว เชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าไว้ในโกศทองค�ำตั้งไว้ภายใน ปราสาทนั้นแล้ว ทรงโปรดพระราชทานวัตถุไทยทาน และเครือ่ งแห่ไว้กบั พระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก และ ถวายข้าคนไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน�้ำ ไว้ส�ำหรับ ให้ปฏิบัติรักษาท�ำนุบ�ำรุงพระบรมธาตุให้เจริญถาวร สืบต่อไปตลอด ๕,๐๐๐ พระวัสสา

๒๔


การอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ พิธีอัญเชิญพระบรมธาตุจอมทอง พระทักขิณโมลี ธาตุ มาประดิ ษ ฐานยั ง เมื อ งเชี ย งใหม่ โดยมี ก าร อัญเชิญพระบรมธาตุจอมทองเข้ามาประดิษฐานใน เมืองเชียงใหม่หลายวาระ ถือเป็น “ราชประเพณี” อันงดงามของนครพิงค์เชียงใหม่ โดยในการอัญเชิญ พระบรมธาตุเข้าสูเ่ มืองเชียงใหม่นนั้ จะมีการอาราธนา อัญเชิญขึ้นเนื่องในวาระและโอกาสส�ำคัญของเมือง ตั้งแต่ในอดีตจวบจนปัจจุบันที่มีการรื้อฟื้นขึ้น เพื่อ ให้ประชาชนได้เคารพสักการะ ซึ่งในอดีตเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่จะเป็นผู้อัญเชิญพระบรมธาตุจากวัด พระธาตุศรีจอมทองมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ โดยมี ก ารแต่ ง รู ป ขบวนด้ ว ยเครื่ อ งสู ง ประกอบ ด้วย พัด พ้าว จามร บังวัน ช่อ ธงไชยฯ เครื่องสัก การะ ขบวนช้าง ขบวนม้า และประโคมดนตรี เป็น ธรรมเนียมปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายร้อยปี โดย ขบวนเสด็ จ จะมี ป ระชาชนมาคอยเคารพสัก การะ พระบรมธาตุตลอดเส้นทางเสด็จของพระบรมธาตุ ตั้ ง แต่ อ� ำ เภอจอมทอง อ� ำ เภอดออยหล่ อ อ� ำ เภอ สันป่าตอง อ�ำเภอหางดง และสิ้นสุดที่อ�ำเภอเมือง เชียงใหม่ โดยจะมีการอาราธนาพระบรมธาตุขึ้นพัก และให้ประชาชนสักการะก่อนเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ที่วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) อ�ำเภอหางดงก่อน ณ มณฑปสรงน�้ำพระธาตุ ศาลาจตุรมุขของวัดต้น เกว๋น (วัดอินทราวาส) พร้อมพิธีพุทธาภิเษกตลอด

ทั้งคืนจนถึงรุ่งสางภายในวิหารวัดต้นเกว๋น (วัดอิน ทราวาส) จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมธาตุจอมทอง เสด็จเข้ามายังเมืองเชียงใหม่ทางประตูช้างเผือก ซึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของก�ำแพงเมืองเชียงใหม่แต่เดิม ชื่อ “ประตูหัวเวียง” เป็นประตูชั้นในด้านทิศเหนือ โดยในสมัยก่อนถือเป็นประตูเอกของเมือง ในพระราช พิธีบรมราชาพิเษก กษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองยังประตู ทิศนี้ ประตูช้างเผือกสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ โดยถือเป็นประตูชัยตามความเชื่อของบรรพชนที่ให้ เปิดทักษาประตูเมือง รับพลังเดชแห่งเมืองทางทิศ เหนือของเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระบรมธาตุเสด็จมา ถึงยังประตูช้างเผือกนั้นจะมีการจัดรูปขบวนต้อนรับ พระบรมธาตุ เพื่อเป็นการน�ำสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่ เมืองเข้ามาประดิษฐาน ณ มณฑลพิธชี วั่ คราวใจกลาง เมืองเชียงใหม่ หรือ “ข่วงหลวง” ณ ลานอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนได้ประกอบ พิธีสรงน�้ำพระธาตุ ถวายเครื่องสักการะ และร่วมพิธี พุทธาภิเษก ก่อนจะน�ำพระธาตุกลับสู่วัดพระธาตุศรี จอมทองในวันรุ่งขึ้นตามเส้นทางที่เสด็จมา จากหลักฐานที่ปรากฏในบันทึกเเละจารึกต่างๆ เกี่ยวกับการอัญเชิญพระบรมธาตุจอมทองเข้าสู่เวียง เชียงใหม่นั้น มีการบันทึกและจารึกเหตุการณ์ในการ อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 8 ครั้งตามจารึกบันทึกดังนี้


การอัญเชิญพระธาตุเข้าเมืองครั้งเเรก เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๙๙ ตรงกับสมัยพระเเม่กุ ปลายราชวงศ์มัง ราย โดยมีการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ หอบาตร ในพระราชมณเฑียร ถือ เป็นการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเวียงครัง้ เเรก เเละครัง้ เดียวในสมัยของราชวงษ์มงั ราย ซึง่ ต่อมาหลังจากในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ เมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นประเทศราชของพม่าเป็นระยะเวลายาวนานกว่า ๒๐๐ ปี จึงท�ำให้ชว่ งระยะ เวลาดังกล่าวไม่มปี รากฏหลักฐานทีร่ ะบุถงึ การอัญเชิญพระธาตุเข้ามาประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่เเต่อย่างใด ครั้งที่ ๒ ภายหลังจากที่มีการฟื้นม่าน สร้างเมืองในช่วงยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง โดยพญากาวิละ พญาจ่าบ้าน เเละพระเจ้ากรุงธนบุรี กอบกู้เอกราชจากพม่าได้ส�ำเร็จ จึงเกิดเหตุการณ์พระธาตุอันตรธาน ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ โดยเหตุการณ์พระธาตุอันตรธานนี้กินเวลายาวนานกว่า ๙ ปี ซึ่งต้องท�ำพิธีอาราธนา กว่าสามครั้งจึงเสด็จกลับคืนมาสู่เมืองเชียงใหม่ และในปีพ.ศ. ๒๓๒๒ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งมีพระราชศรัทธาอย่างเเรงกล้า ในการอัญเชิญเข้าเมืองเชียงใหม่ โดยประดิษฐานที่พระราชนิเวศน์ เช่น เดียวกับสมัยพระเเม่กุ ให้ประชาชนสักการะบูชา โดยมีหลักฐานเป็นจารึก นับเป็นการอัญเชิญพระธาตุ เข้าเมืองเป็นครั้งที่สอง โดยปรากฏในจารึกหลักหนึ่งที่ยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองความว่า “... พ.ศ. ๒๓๑๓ องค์พระธาตุศรีจอมทองหายไป เวลากลางคืน ระหว่างวันที่ ๑๔๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๑๘ กษัตริยอ์ ยุธยาทรงยกกองทัพขึน้ มาตีเชียงใหม่ (คืนจากพม่า) และทรงแต่ตงั้ กษัตริ ย์เชียงใหม่ขนึ้ พระนาม มังราวชิรปราการก�ำแพงเพชร...ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๒๒ มีการอัญเชิญองค์พระธาตุศรีจอมทองทีห่ ายไปให้กลับมา ถึงวัน ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๒๒ องค์พระธาตุจึงเสด็จกลับมา...หลังจากที่องค์พระธาตุ กลับมาแล้ว มีการฉลองสมโภชน์ และได้รวบรวมข้าพระธาตุทเี่ คยมีแต่เดิม ให้มาเป็น ข้าพระธาตุดังเก่า จากนั้นกษัตริย์เชียงใหม่ ได้อาราธนาองค์พระธาตุเข้ามาจัดงาน สมโภชน์ ณ ทีร่ าชนิเวศน์ (คุม้ หลวง) เป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงอาราธนาองค์พระธาตุกลับ คืนสูว่ ดั พระธาตุศรีจอมทอง...ค�ำจารึกนีเ้ ขียนขึน้ ในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๓ …” ข้อมูลจากจารึก ๑.๒.๒.๑ วัดพระธาตุศรีจอมทอง พ.ศ. ๒๓๒๓

๒๖


ครั้งที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ (นับเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ) เเต่เหตุการณ์นี้ไม่ปรากฏใน บันทึกในต�ำนาน เเต่กลับปรากฏในจารึกที่เรียกว่าจารึกสุวรรณปราสาท ที่พบที่พุทธสถาน โดยกล่าวถึงพญา กาวิละ ราชบุตร ราชเทวี ได้สร้างสุวรรณปราสาท เพื่อประดิษฐาน พระธาตุ จากเมือง “อังครัฏฐะด้วยทอง” ซึ่งน่าจะหมายถึง เมือง อังครัฏฐะดอยทอง หรือเมืองจอมทอง มาประดิษฐานกลางเมืองเชียงใหม่ ความว่า “... พิธีเชิญพระธาตุจอมทองมาเวียงเชียงใหม่...พ.ศ. ๒๓๔๘ พระเจ้ากาวิละและ พระราชวงศ์ ได้ให้ช่างสร้างปราสาท นอกจากนั้นยังได้สร้างพระพุทธรูปทองค�ำ แล้ว บรรจุในผอบแก้ว ต่อมาได้อญ ั เชิญพระธาตุจากจอมทองมาประดิษฐานไว้ในปราสาท ในเวียงเชียงใหม่...รายละเอียดเหตุการที่กล่าวไว้ในจารึกไม่ชัดเจนนัก แต่เป็นที่รู้กัน โดยทั่วไปว่าแต่ละปี หรืออย่างน้อย ๒-๓ ปีจะมีการอัญเชิญพระธาตุจากจอมทองมา เชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะ ขบวนแห่พระธาตุจากจอมทองมาเชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕๕ กม. จะเคลื่อนไปเรื่อยๆ จึงใช้เวลาหลายวัน ที่พักแรม จุดสุดท้ายหรือก่อนสุดท้ายก่อนจะถึงเชียงใหม่คือวัดต้นเกว๋น อ�ำเภอหางดง ซึ่งอยู่ ใกล้กับทางแยกคลองชลประทานตัดกับถนนไปสะเมิง ห่างจากเชียงใหม่ประมาณ ๑๒ กม. ณ วัดต้นเกว๋นนี้ จะประดิษฐานพระธาตุไว้ในอาคารที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่ง ปัจจุบันยังคงมีให้เห็นอยู่...” ข้อมูลจากจารึก ๑.๒.๒.๑ เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๔๘ ครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๘ รัชสมัยพระเจ้าเชียงใหม่สุภัทระ ค�ำฝั้น เจ้าหลวงองค์ที่ ๓ ของนครพิงค์ เชียงใหม่ ได้นิมนต์พระบรมธาตุเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ มีปรากฏหลักฐานในต�ำนานพระธาตุเจ้าศรีจอมทองซึ่ง เรียบเรียงโดยพระมหาหมื่น วุฑฒิญาโณ ครั้งที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๕ ตรงกับสมัยพระเจ้ากาวิโลรส (เจ้าชีวิตอ้าว) โดยในช่วงเวลานั้นได้มีงานปอย (งานเฉลิมฉลอง) ฉลองวัดหัวข่วง โดยในต�ำนานพระบรมธาตุศรีจอมทองที่พระมหาหมื่นเรียบเรียงไว้ ไม่ได้ ให้รายละเอียดว่ามีการอัญเชิญพระธาตุเข้าเมืองหรือเปล่า เเต่ระบุว่า มีการถวายเครื่องไทยทานจ�ำเพาะเเก่ พระบรมธาตุจ�ำนวนมาก เเละในต�ำนานวัดต้นเกว๋นที่ระบุว่ามีการสร้างวิหารจตุรมุขประดิษฐานพระธาตุขึ้น ในช่วงนี้ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้มีการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และมีการ พ�ำนักแวะพักขององค์พระบรมธาตุ ณ ศาลาจตุรมุขที่วัดดินเกว๋น (วันอินทราวาส) และได้อัญเชิญเข้าสู่เมือง เชียงใหม่ ซึ่งก็น่าจะประดิษฐานพ�ำนักในครั้งนี้ ณ วัดหัวข่วง ๒๗


ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระราชบิดาพระราชายาเจ้า ดารารั ส มี ) ในขณะนั้ น มี ง านปอยเฉลิ ม ฉลองหอธรรมวั ด เชี ย งยื น เเละได้ มี ก ารอั ญ เชิ ญ พระบรมธาตุ มาโปรด ซึ่ ง มี ก ารบั น ทึ ก ปรากฏในต� ำ นานพระธาตุ เ จ้ า ศรี จ อมทองซึ่ ง เรี ย บเรี ย งโดยพระมหาหมื่ น ครั้งที่ ๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีการอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ เนื่องในโอกาส เมืองเชียงใหม่มีอายุเมืองครบ ๗๐๐ ขวบปี โดยมีการอัญเชิญพระบรมธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ลานพระบรม ราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อเป็นการสมโภชน์เมืองเชียงใหม่ และเพื่อเป็นสิริมงคลให้ประชาชนได้กราบ ไหว้สักการะและสรงน�้ำพระบรมธาตุในครั้งนี้ โดยการนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในประ บาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงเสด็จสรงน�้ำพระบรมธาตุ ซึ่งมีการประดิษฐาน เคียงกับพระพุทธรูปส�ำคัญของเมืองเชียงใหม่อีกสององค์คือ พระศิลา เเละพระเสตังคมณี จากวัดเชียงมั่น

๒๘


ภายหลังจากการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ในวาระสมโภชน์เมืองครบรอบ ๗๐๐ ขวบปี แล้วนั้น หลังจากนั้นถัดมา ๒๐ ปี เมืองเชียงใหม่ได้มีอายุเมืองด�ำรงมาจวบจนครบรอบ ๗๒๐ ปี ซึ่งถือเป็น วาระอันดีแห่งการอัญเชิญพระบรมธาตุจอมทองเข้าสูเ่ มืองเชียงใหม่เพือ่ เป็นการสมโภชน์ และความสิรมิ งคล แก่เมืองเชียงใหม่ ภายใต้การฟื้นฟูรูปแบบประเพณี และขนบธรรมเนียมในการอัญเชิญพระบรมธาตุ ภายใต้ ความร่วมมือและแรงศรัทธาของทุกหน่วยงานราชการ สถานศึกษา ตลอดทั้งประชาชนในทุกภาคส่วน จึง ส่งผลให้เกิดการรื้อฟื้นพิธีอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ นับเป็นครั้งที่ ๘ เกิดขึ้นในวันที่ ๑๐-๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

๒๙


โดยได้มกี ารอัญเชิญพระบารมธาตุเคลือ่ นตัวออกจากวัดพระธาตุศรีจอมทองราชวรมหาวิหาร อ�ำเภอจอมทอง ผ่านเส้นทางอ�ำเภอต่างๆ และอัญเชิญพระบรมธาตุแวะพ�ำนัก ณ วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) โดยมีมหรสพ สมโภชน์ตลอดทั้งคืน และในวันรุ่งขึ้นได้อาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ทางทิศ เหนือ ผ่านเข้าทางประตูช้างเผือก พร้อมทั้งอัญเชิญพระศิลา เเละพระเสตังคมณีจากวัดเชียงมั่น เข้าสู่ริ้ว ขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุสู่ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนสักการะและสรง น�้ำพระบรมธาตุ โดยตลอดทั้งคืนวันที่ ๑๑ มิถุนายนได้มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก และในเช้าวันที่ ๑๒ มิถุนายน ได้มีการตักบาตรพระสงฆ์จ�ำนวน ๗๒๑ รูป และท�ำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุกลับสู่วัดพระ ธาตุศรีจอมทองราชวรหมาวิหาร ๓๐


อ้างอิง ต�ำนานพระบรมธาตุจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, ไทยวัฒนาพานิช, พิมพ์ครั้งที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ วิถี พานิชพันธ์, วิถีล้านนา, ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ส�ำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ล้านนาคดีศึกษา, โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ : พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๕๗ สุรพล ด�ำริห์กุล, บทความการอนุรักษณ์วัดต้นเกว๋น, เขียนเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ส�ำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่. รายงานการบูรณะโบราณสถาน วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) งานบูรณะศาลาสรงน�้ำ, ศาลาบาตร ต�ำบลหนองควาย อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. จัดท�ำโดย บริษัทปริยะธรกิจจ�ำกัด. ๒๕๕๓. สนั่น ธรรมธิ, หนังสือชุดล้านนาคดี ประเพณีส�ำคัญล้านนา, โครงการเผยแพร่ข้อมูล ศิลปวัฒนธรรมล้านนา, ส�ำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๑, กรกฎาคม ๒๕๕๖ อัมรา อินทนนท์, ศิลปกรรมประดับวิหารวัดต้นเกว๋น อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่, บริษัท ลัคกี้ พริ้นติ้ง จ�ำกัด, กันยายน ๒๕๔๘ ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย, ศรีเลา เกษพรหม, ประชุมจารึกล้านนา เล่มที่ ๒ จารึก พระเจ้ากาวิละ พ.ศ. ๒๓๓๔-๒๓๕๗, คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๔๑ ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม, ประชุมจารึกล้านนา เล่มที่ ๑๐ จารึกในจังหวัดเชียงใหม่ ภาค ๒, คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๔๘

๓๑



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.