เพลินพุทธมณฑล Nakornpathom, Bhuddamonthon, Mahidol University

Page 1


บทบรรณาธิการ

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำ�เนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์  กับสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนท้องถิ่นอำ�เภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมซึ่ง เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีวัฒนธรรมประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ความเป็นมา อันยาวนาน  ในการนี้เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประจำ�ท้องถิ่นอำ�เภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ให้เป็นที่แพร่หลาย รวมถึงเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและเพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของ มหาวิทยาลัยมหิดลมากยิ่งขึ้น ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์  จึงขอเปิดตัววารสารเล่มใหม่ล่าสุด  โดยใช้ชื่อว่า “เพลินพุทธมณฑล” สำ�หรับเผยแพร่แก่ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นรวมถึงผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่ง วารสารเพลินพุทธมณฑล มีกำ�หนดจัดทำ�ปีละ ๓ ฉบับ (ราย ๔ เดือน) ทั้งนี้  ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาขอเชิญ ชวนผู้บริหาร คณาจารย์  หน่วยงานท้องถิ่น หรือผู้ที่สนใจทั่วไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งข้อมูลข่าวสารหรือ บทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารเพลินพุทธมณฑล สำ�หรับนำ�เสนอข้อมูลข่าวสารและสาระที่น่าสนใจและเป็น ประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่นอำ�เภอพุทธมณฑลต่อไป บรรณาธิการ

เพลินพุทธมณฑล

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่  ๑ ฉบับที่  ๑ (ตุลาคม ๒๕๕๘ – มกราคม ๒๕๕๙) ISSN ๒๔๖๕-๔๕๖๖ บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.อภิลักษณ์  เกษมผลกูล กองบรรณาธิการ นางสาวพัชรี  ศรีเพ็ญแก้ว นางสาววรรณิดา อาทิตยพงศ์ ออกแบบปก นายสุทธิพงษ์  ตะเภาทอง ออกแบบรูปเล่ม พิชญาพรรณ ฐิตาสยะวงศ์ จัดพิมพ์โดย ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา สำ�นักงานคณบดี  ชั้น ๗ อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ตำ�บลศาลายา อำ�เภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ การติดต่อ โทรศัพท์  ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๐๑ – ๘ ต่อ ๑๗๓๑ โทรสาร ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๑๐ Email: lats.mu@hotmail.com กำ�หนดเผยแพร่ ปีละ ๓ ฉบับ (ราย ๔ เดือน) พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด สามลดา  โทรศัพท์  ๐ ๒๘๙๕ ๒๓๐๐ – ๓, ๐ ๒๔๖๒ ๐๓๘๐

**หากสนใจร่วมส่งบทความหรือข้อมูลข่าวสาร เพื่อเผยแพร่ในวารสาร “เพลินพุทธมณฑล”

สามารถส่งเนื้อหาพร้อมข้อมูลติดต่อกลับได้ที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์  อีเมล lats.mu@hotmail.com (กรณีเขียนด้วยลายมือสามารถส่งข้อมูลได้ทางโทรสาร เบอร์  ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๑๐) ประกอบด้วยชื่อคอลัมน์  ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน   เนือ้ หา และภาพประกอบ ความยาวไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A4 (กรณีสง่ เฉพาะข้อมูลข่าวสาร ให้สง่ เนือ้ หาความยาวไม่เกินครึง่ หน้า  กระดาษ A4 พร้อมภาพประกอบ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล   โทร ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๐๑ – ๘ ต่อ ๑๗๓๑)

1


สารบัญ

บทบรรณาธิการ.................................................................๑ ส�ำราญกมลเริงรสพจนกานท์...........................................๓

พงษ์อรรถพร วีรพรพงศ์  (นามปากกา)

ภาพเก่าเล่าเรื่อง..................................................................๔

พระราชทานนาม “มหาสวัสดี”

อภิลักษณ์  เกษมผลกูล

ศาลายาในหน้าประวัติศาสตร์:.............................................๕

๑๒๐ ปี  ย้อนรอยเส้นทางประวัติศาสตร์  กับการเดินทางของพระอินทราธิบาลสู่  “ศาลายา” อภิลักษณ์  เกษมผลกูล

คุยกับคนดัง: .............................................................................. ๘

คุยกับนายอ�ำเภอพุทธมณฑล “นายอังกูร สุ่นกุล” วรรณิดา อาทิตยพงศ์

ลานชุมชน: ...............................................................................๑๒

เมื่อผักตบชวา (จากคลองนราภิรมย์) ให้ค่า มีคุณ วรรณิดา อาทิตยพงศ์

ร้อยเรื่องราว: ....................................................................... ๑๗

เรียนรู้  ต่อยอด บูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชน วรรณิดา อาทิตยพงศ์

ชาวพุทธมณฑล: ...................................................................๒๑ สวัสดีปีใหม่  พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง

ศิลปินแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๓   สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) วรรณิดา อาทิตยพงศ์

ข่าวสารมหาวิทยาลัยมหิดล ........................................ ๒๒ เกร็ดวิถีชีวิต: .................................................................๒๓

ประเพณีตักบาตรท้องน�้ำวัดสุวรรณาราม นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม

เล่าสู่กันฟัง: ............................................................................ ๒๕

งานวันรวมพลังผู้อาวุโสพุทธมณฑล

ประภา คงปัญญา

เรื่องเล่าชาวคลองโยง: ...................................................... ๒๗

บ้านนอก

วลี  สวดมาลัย

แนะน�ำหนังสือคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล..... ๒๘ ข่าวประชาสัมพันธ์อ�ำเภอพุทธมณฑล...........................๒๙ ศาลายาผ่านเลนส์............................................................๓๑

2


ส�ำราญกมลเริงรสพจนกานท์

พระศรีศากยะทศพลญาณ

ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ประทานพร พงษ์อรรถพร วีรพรพงศ์

พระศรี ศากยะ ทศ พลญาณ ประธาน พุทธ มณฑล สุทรรศน์

พุทธะโรจน์เรื้อง สวัสดิ์จรัสฉลอง ทิศพิสิฐวิจิตรตระกอง หยั่งสุริยะจ้า ในศุภสถานทิพย์นี้ เขตวิเศษวิสุทธิ์บวร วิวรรธน์นิรันดร สาธุจิตประสิทธิ์ให้

เรืองรอง เลิศหล้า กรรมรัศมิ์ แจ่มแจ้งเจิมใจ ศรีนคร ว่าไว้ ดิลก ห่างสิ้นเศษผง

๏ พรสรรค์สวรรค์วรพิสุทธิ์ พรแพร้วพระแผ้วจิรธำ�รง ๏ พรเพริศประเสริฐจตุรพิธ พรพรรควิศิษฏ์ถิรประทาน

ลุวิมุตติมนุญพงศ์ สิริสมเกษมศานต์ ศุภมิตรเจริญนาน สุมนัสพระธรรมธร

๏ ถิ่นทองศาลายา รักษาปัญญากร ๏ ถิ่นทองคลองโยงนั้น สายธารสานธรรมไซร้ ๏ ถิ่นทองมหาสวัสดิ์ ตำ�บลมีตำ�นาน

แดนวิชาอดิศร ป้องประเทศปกเกศไทย โยงผูกพันอย่างยิ่งใหญ่ เส้นทางลัดนมัสการ ชนพิพัฒน์ชาติไพศาล แหล่งคนดีมีจรรยา

๏ คืออำ�เภออันอุดมสมบูรณ์นัก คือแหล่งค้นแหล่งเรียนรู้ภูมิปรัชญา ๏ กี่ร้อยปีอำ�เภอนี้ก็เปี่ยมสุข กี่รุ่นแล้วที่สืบสานขับขานชัย

พุทธพิทักษ์ธรรมภิบาลคอยรักขา พุทธนำ�พาธรรมนำ�ทางสว่างใจ พุทธดับทุกข์ธรรมดักมารต้านทานได้ พุทธสุกใสธรรมนุสนธิ์ทุกคนเทอญ ๚ะ๛

3


ภาพเก่าเลาè เรื่อง

พระราชทานนาม “มหาสวัสดี” อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

ส�ำเนาต้นฉบับตัวเขียนหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ เรื่อง พระราชทานชื่อคลองมหาสวัสดี และคลองเจดีย์บูชา ปัจจุบันเก็บรักษา ณ ฝ่ายเอกสารโบราณ ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ในปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๕ หลังจากที่ขุดคลองเสร็จแล้ว ๒ ปี  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อคลองที่ขุดใหม่ว่า “มหาสวัสดี” เพื่อให้คู่กันกับคลอง “เจดียบูชา” ดังความปรากฏในหมายรับสั่ง รัชกาลที่  ๔ ดังนี้ “อนึง เพลาบ่าย ๔ โมงเสท นายนอยต�ำรวจวังมาสังวา ด้วยเจาพระยารวิวงษมหาโกษาธิบดีรับพระบรมราชโองการ ไสเกลาฯ ทรงพระกรรุณาโปรฏเกล้าฯ ด�ำรัษเหนือเกล้าสังวาคลองวัดไชยพฤกษมาลาขุดทลุออกไปล�ำแม่น�ำเมือง ณคอรไช ศรีนั้น ยังหาไดพระราชทานชื่อคลอง บัดนีพระราชทานชือวา คลองมหาสวัสดีจะไดคูกันกับคลองเจดีย”

4


ศาลายาในหนาé ประว ั ติศาสตรì

ศ า ล า ย า ใ น ห นé า ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต รì

๑๒๐ ปี ย้อนรอยเส้นทางประวัติศาสตร์ กับการเดินทางของพระอินทราธิบาลสู่ “ศาลายา”

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

ศ า ล า ย า ใ น ห นé า ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต รì เมื่อปี  พุทธศักราช ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้  พระ  อินทราธิบาล นายเสนองานประภาคาร เดินทางไปตรวจราชการในส่วนที่รับผิดชอบ ณ เมืองนครไชยศรี  โดยออก เดินทางระหว่างวันที่  ๑๓ - ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ในการนี้พระอินทราธิบาลได้เดินทางผ่าน บ้านศาลายา และได้บันทึกสภาพภูมิประเทศและความเป็นอยู่ของราษฎรไว้พอสังเขปใน “รายงานระยะทางเมือง นครไชยศรี” อันจักเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ศาลายา รายงานฉบับนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่  ณ หอ จดหมายเหตุแห่งชาติพระนคร เลขที่เอกสาร หจช. ม.ร.๕ ม/๒๙/๑ ต้นฉบับรายงานระยะทางเมืองนครไชยศรี ของพระอินทราธิบาล ระยะทางเมืองนครไชยศรี ม. ๒.๑๔/๖ วันที่  ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๕

ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า   พระอิ น ทราธิ บ าล  นายเสนองาน ประภาคาร ฃอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่า ละอองธุลีพระบาท ด้วยฃ้าพระพุทธเจ้าได้กราบถวายบังคมลา แล้วไปตรวจราชการตามหัวเมืองมณฑลนครไชศรีแลเมืองราช บูรีนั้น ได้ท�ำระยะทางกราบบังคมทูลพระกรุณาดังมีต่อไปนี้ วันที่  ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๕ เวลา ๒ ทุ่ม พร้อมกัน  ได้ออกเรือไปตามล�ำคลองบางกอกน้อย เวลา ๒ ทุ่ม ๒๕ มินิต  ถึงน่าโรงต้มฝิ่นเก่า เวลา ๔ ทุ่ม ๓๕ มินิต เข้าคลองมหาสวัสดี  เวลา ๕ ทุ่ม จอดที่น่าโรงพักพลตระเวรต�ำบลบางระนก แขวง  กรุงเทพฯ มีเรือราษฎรประมาณ ๔๐ ล�ำ จอดอยู่ด้วย ได้ถาม นายเป้า นายพลตระเวรๆ บอกว่าที่นี่มีพลตระเวร ๑๑ คน น่า ที่ฃองพลตระเวรนี้ส�ำหรับรับส่งเรือราษฎรในเวลากลางคืน ถ้า เรือราษฎรเฃ้ามาให้รอจอดอยู่ก่อนเมื่อถึงก�ำหนด แล้วมีพล ตระเวรไปส่งเรือราษฎร ก�ำหนดนั้นแล้วแต่คราวน�้ำที่จะไปได้  แต่เวลากลางวันนั้นบางทีก็ไปตรวจตามล�ำคลองบ้าง ที่โรงพัก นั้นมุงหลังคาสังกสีมีระเบียงรอบ มีปืนสะไนเตอ ๑๐ กระบอก  เวลา ๕ ทุ่ม ๓๐ มินิต พลตระเวรเป่าแตรสัญญาให้เตรียม ตัวออกเรือพร้อมกับราษฎร มีพลตระเวรแปดคนลงเรือสมปั้น พายตามไปส่งด้วย เวลา ๗ ทุ่ม ๒๐ มินิตถึงศาลากลางย่าน

5


ที่มีน�้ำแห้งต้องถ่อค�้ำเรือไปจนเวลา ๘ ทุ่ม ถึงต�ำบลหนองฟันแดง เรือติดไปไม่ได้  มีเรือราษฎรลูกค้าต่างๆ มีเรือเฃ้าเปนต้นติดอยู่ ประมาณ ๑๐๐ ล�ำเสด ตั้งแต่ศาลายาประมาณ ๑๐๐ เส้น เปนที่ตื้นมาก เรือราษฎรบางล�ำมาติดอยู่ถึง ๕ วัน แล้วยังไปไม่ได้  มีความล�ำบากมาก

ครไชยศรี สมัยรัชกาลที่ ๕

มืองน การประหารชีวิตโจรที่แขวงเ

วันที่  ๑๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๕ เวลา เช้าน�้ำแห้ง เรือยังไปไม่ได้  อยู่ที่ต�ำบลหนองฟันแดง แขวงเมืองนครไชศรี  แล้วขึ้นไป ที่โรงนาของราษฎรซึ่งอยู่ใกล้ที่เรือจอด ได้พบนายพึ่ง นายฉ�่ำ กับราษฎรชาวนาหลายคนเล่าความให้ฟังว่า เดิมมีความเดือดร้อน จริงๆ เพราะมีผู้ร้ายปล้นชุกชุม ผู้ร้ายปล้นเรือแลไล่กระบือเปนต้น ตั้งที่พลตระเวรส�ำหรับรับส่งเรือราษฎร แล้วผู้ร้ายตามล�ำคลอง ก็เงียบอยู่  แต่บนดอนที่ไกลจากล�ำคลองนั้นมีผู้ร้ายปล้นบางเดือนถึง ๙, ๑๐ รายบ้าง ตั้งแต่เจ้าเมืองคนใหม่มาว่าราชการให้คน เที่ยวตรวจจับผู้ร้ายถึงเดี๋ยวนี้ก็ยังตรวจจับอยู่เสมอ ในสี่เดือนที่ล่วงมาแล้วนี้ผู้ร้ายค่อยสงบลง การหากินของราษฎรในคลองนี้มีท�ำ นาอย่างเดียว แลที่เนื้อนานั้นเปนของพระองค์เจ้าแลราษฎรที่ท�ำนานั้นก็เป็นฃ้าพระองค์เจ้าโดยมาก ครั้นเวลา ๘ ทุ่ม น�้ำฃึ้นแล้ว ออกเรือมาตามล�ำคลอง และเหนเสาโทรเลขเอนอยู่  ๒ -๓ ต้น ดูน่ากลัวจะไม่ทนต่อไป เปนเพราะรอยกระบือลงคลองท�ำให้ตลิ่งพัง เกือบถึงเสาโทรเลขประมาณ ๑-๒ ศอกบ้าง เวลาย�่ำรุ่งถึงโรงพักพลตระเวรปากคลองมหาสวัสดีเหมือนกับโรงพักพลตระเวนก่อน

ภาพเมื่อแรกมีน้ำ�ประปาใช้ข

องชาวมณฑลนครไชยศรี รา

วสมัยรัชกาลที่ ๖

6


วันที่  ๑๕ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๕ เวลาย�่ำรุ่งแล้วกับ ๑๐ มินิต ออกจากปากคลองมหาสวัสดีมาตามล�ำน�้ำเมืองนครไชศรี  เวลาย�่ำรุ่งแล้ว ๒๐ มินิต แวะจอดเรือที่วัดงิ้วราย ขึ้นไปหาพระทรัพย เจ้าอธิการ ได้ถามถึงศุขทุกของพระแลราษฎร พระทรัพยเล่า ความให้ฟังว่ามีพระสงฆ์อยู่  ๒๙ รูป พระทรัพยมีความร�ำคานอยู่ด้วย พระในวัตนี้ห้ามปรามไม่ค่อยจะฟัง คือพระบางองค์ไม่เอา ใจไส่จะเล่าเรียน บางองค์บวชอยู่  ๓ พรรษา ยังอ่านหนังสือไม่ได้  แลชอบการเล่นต่างๆ มีเรือสมปั้นยาวเป็นต้น จะไปไหนค้างถึง   ๔ - ๕ คืน ก็ไม่ได้ลา แต่ราษฎรนั้นเมื่อก่อนก็มีความเดือษร้อนเพราะผู้ร้ายชุกชุมเต็มทีจนจะนอนบนเรือไม่ได้  ตั้งแต่เจ้าเมืองคน ใหม่มาว่าราชการให้ตรวจจับค่อยสงบลงบ้าง ยังมีอยู่บ้างคือเมื่อเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๑๕ มีผู้ร้ายปล้นกระบือนายฉิมต�ำบลลาน ตากผ้า ๑ ราย ที่ต�ำบลบางพร ๑ ราย เวลาเช้า ๔ โมง แล้วออกเรือไปตามล�ำน�้ำเห็นบ้านในต�ำบลงิ้วรายมี  ๒ หมู่ใหญ่  บ้านหมู่  ๑  มีการท�ำนาแลท�ำหม้อหวดฃายเปนต้น หมู่  ๑ ท�ำนาแลปลูกกล้วยกับอ้อยฃายเป็นต้น เวลาเช้า ๔ โมงกับ ๒๐ มินิต ถึงวัดโคกตาน แล้วขึ้นไปหาพระเกิด เจ้าอธิการๆ เล่าความให้ฟังว่ามีผู้ร้ายปล้น ๒ ราย เหมือนค�ำพระทรัพยพูด เวลานั้นนายอ�่ำ นายจิ๋ว ชาว บ้านโคกตานนั่งอยู่ที่นั่นด้วย ได้เล่าความถึงนายอากรค่าน�้ำ ปี  ร.ศ. ๑๑๔ ฃ่มฃี่ราษฎรเก็บค่าน�้ำเกินอัตรา คือมีเครื่องปานาติบาท แต่  ๒ สิ่ง ก็จดในใบเสร็จเปน ๓ สิ่ง แล้วเรียกค่าน�้ำเต็ม ๓ สิ่ง อิกอย่าง ๑ บังคับให้ราษฎรสาบาลว่าปีนี้ได้จับเครื่องมือปานาติ บาทสิ่งใดถึงเครื่องมือจะไม่มีของตนเองไปจับของที่อื่นก็ต้องเสียอากรตามอัตรา อิกอย่าง ๑ ให้สาบาลแทนบุตรภรรยาว่าไม่ได้ ไปจับเครื่องมือปานาติบาทถ้าสาบาลไม่ได้ต้องยอมเสีย ครั้นจะไม่ยอมจะไปฟ้องร้องก็คงเสียค่าธรรมเนียมความมากกว่าที่จะเสีย ให้นายอากร จึงยอมเสียเงินให้นายอากรดีกว่า เวลาบ่าย ๔ โมง ๕๐ มินิต ออกเรือล่องลงมาถึงปากคลองเจดีย์บูชา ต�ำบลบ้าน เหนือปากคลองนี้มีบ้านเรือนราษฎรประมาณ ๓๐๐ หลัง มีการค้าฃายต่างๆ มีการท�ำนาปานาติบาทด้วยโพงพางเปนต้น แล้วพบ  พระยามหาเทพฃ้าหลวงเทศาภิบาลมาจากกรุงเทพฯ แล้วจอดเรืออยู่กับพระยามหาเทพที่ปากคลองเพราะน�้ำแห้งยังไปไม่ได้  เวลา  ๙ ทุ่ม ๒๐ มินิต ออกเรือเฃ้าคลองเจดีบูชาแลอิก ๑๐ มินิต ถึงโรงพักพลตระเวรของผู้ว่าราชการเมืองนครไชยศรีตั้งไว้  แต่เดิมมี เพียงขุนรองปลัดกับผลตระเวร ๑๒ คน แต่โรงพักนั้นมุงหลังคา จากมีน่าที่เหมือนกับพลตระเวนในคลองมหาสวัสดี

(เนื้อความต่อจากนี้ไปเป็นเรื่องราวการตรวจราชการในเมืองนครปฐม ซึ่งจะขอไม่กล่าวในที่นี้)

7


คุยกับคนดัง

คุ

กั

คุยกับนายอ�ำเภอพุทธมณฑล

“นายอังกูร สุ่นกุล”

คุ

กั

ดั

วรรณิดา อาทิตยพงศ์

ดั

พูดถึง “นายอ�ำเภอ” เชือ่ ว่าหลายคนคงคุน้ เคยกับค�ำนีด้  ี ด้วยทุกจังหวัดแบ่งออกเป็นอ�ำเภอ แต่ละ อ�ำเภอเราต่างก็รู้ว่ามีนายอ�ำเภอประจ�ำอยู่  เราเห็นที่ว่าการอ�ำเภอ บ้านพักนายอ�ำเภอ ไม่ไกลจากทาง ผ่านบ้านเราเท่าไรนัก แต่เมื่อเจอค�ำถามว่านายอ�ำเภอท�ำอะไร? เชื่อว่าคงมีหลายคนเช่นกันที่บอกไม่ถูก  ยอมรับว่าเราเองก็  (เคย) เป็นหนึง่ ในนัน้

เพลินพุทธมณฑล ฉบับปฐมฤกษ์นี้  ผศ.ดร. อภิลักษณ์  เกษมผลกูล คณบดีคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัย  มหิดล พาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับนายอ�ำเภอคนใหม่ถอดด้ามของพุทธมณฑล ชวนนายอ�ำเภอคุยเรื่องชีวิต วัยเยาว์  กว่าจะมาเป็นนายอ�ำเภอ ความประทับในอ�ำเภอพุทธมณฑล ฯลฯ แล้วเราจะได้รู้จักกับ นายอ�ำเภอในแง่มุมที่ไม่เคยมองมาก่อน

“ระหว่างที่เรียนปริญญาโทไปได้ ๑ ปี กรมการปกครองก็เปิดสอบนายอ�ำเภอ ผมก็ไปสอบ คนสอบก็ร่วม ๓๐,๐๐๐ คนได้ ผมตั้งใจและเตรียมตัวเป็นปี เพราะว่ายังไงชีวิตนี้ต้องเป็นให้ได้ปลัดอ�ำเภอ เพราะพ่อเขาฝันอยากให้ลูกเป็นนายอ�ำเภอ” ชีวิตส่วนตัว ท่านนายอ�ำเภอเป็นคนจังหวัดอะไร เกิดที่ไหนครับ ผมเกิ ด เชี ย งใหม่   โตยะลา  พั ฒ นาที่ สุ ร าษฎร์ ธ านี   เปลี่ ย นบทบาทที่ ก รุ ง เทพฯ  ครั บ  คุณแม่เป็นคนเชียงใหม่  พ่อรับราชการแล้วย้ายไปอยู่ที่ยะลา ตอนผมเกิดแม่กลับไปเยี่ยมญาติ ที่เชียงใหม่  ก็เลยไปเกิดที่เชียงใหม่แต่กลับมาอยู่ที่ยะลา อยู่ได้ประมาณ ๗-๘ ปี  ก็ย้ายตามพ่อ รับราชการมาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี  จึงเรียนหนังสือที่สุราษฎร์ธานีจนจบมัธยมต้น มัธยมปลายกลับ มาเรียนที่กรุงเทพฯ ส่วนปริญญาตรีไปเรียนที่คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  พอจบเรียนจบก็ต่อปริญญาโททันทีที่คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แล้วท�ำไมท่านนายอ�ำเภอตัดสินใจเรียนคณะรัฐศาสตร์ ตอนแรกอยากเป็นต�ำรวจ เพราะพ่อเป็นต�ำรวจ ผมก็ได้สัมผัสกับการท�ำงานของพ่อ  ได้เห็นชีวิตการท�ำงานของต�ำรวจ เลยเกิดความรู้สึกว่าอยากจะเป็น พอเรียนมัธยมก็ใฝ่ฝัน  ที่จะสอบเข้านายร้อยต�ำรวจ แต่โชคไม่ดีสายตาสั้น ก็เลยมานั่งคิดว่าอะไรที่เหมาะกับ  ตัวเอง ก็พบว่าชอบงานลักษณะที่ได้ท�ำอะไรในต่างจังหวัด อยากจะรับราชการท�ำงาน  ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ไกลๆ คล้ายๆ กับตอนเด็กก็คิดเรื่องแต่งเครื่องแบบเท่ๆ  ก็เลยไปเรียนรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

8


หลั ง จากนั้ น ก็ ม าคิ ด ต่ อ ว่ า จบรั ฐ ศาสตร์ จ ะไปท�ำอะไร พ่ อ เป็ น ต�ำรวจ เพราะฉะนั้ น ชี วิ ต เขาก็ จ ะผู ก พั น กั บ ปลั ด อ�ำเภอ  นายอ�ำเภอ แล้วเขาก็รู้มาว่าถ้าเรียนรัฐศาสตร์  ก็ต้องไปสอบเป็นปลัดอ�ำเภอ แล้วก็ไต่เต้าเป็นนายอ�ำเภอต่อไป เพราะฉะนั้น  หลังจากที่จบรัฐศาสตร์มาก็ตั้งเป้าว่า ชีวิตนี้จะต้องสอบเป็นปลัดอ�ำเภอให้ได้  แต่ในขณะนั้น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย  เปิดสอบปลัดอ�ำเภอ ๔ ปี  ต่อ ๑ ครั้ง ซึ่งตอนที่ผมจบปริญญาตรีมายังไม่เปิดสอบ ระหว่างรอเปิดสอบ เลยตัดสินใจสอบเข้า ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างที่เรียนปริญญาโทไปได้  ๑ ปี  กรมการปกครองก็เปิดสอบนายอ�ำเภอ  ผมก็ไปสอบ คนสอบก็ร่วม ๓๐,๐๐๐ คนได้  ผมตั้งใจและเตรียมตัวเป็นปี  เพราะว่ายังไงชีวิตนี้ต้องเป็นให้ได้ปลัดอ�ำเภอ เพราะพ่อ เขาฝันอยากให้ลูกเป็นนายอ�ำเภอ ผมก็สอบได้ที่  ๕๔

คนสอบ ๓๐,๐๐๐ คนแล้วรับกี่คนครับ ในยุคนั้นยังมีการกระจายอ�ำนาจอยู่  โดยจะขึ้นบัญชีไว้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน คนที่ได้สอบได้  ๑,๐๐๐ คนแรกจะเรียกเป็น ปลัดอ�ำเภอ ซึ่งจะเรียกบรรจุภายใน ๒ ปีแรก ทยอยเรียกครั้งละประมาณ ๓๐๐ คน ส่วนคนที่ได้ล�ำดับ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ก็ไปเป็น ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบล เพราะฉะนั้น เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๙ พอผมสอบได้  ก็ได้บรรจุรุ่นแรกเลย เพราะสอบได้ที่  ๕๔ ตอนบรรจุครั้งแรก ทางกรมก็ได้ แต่งตั้งให้ไปเป็นปลัดนายอ�ำเภอที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  แล้วก็มาอยู่ที่อ�ำเภอปราณบุรี  ถือว่าเป็นอ�ำเภอแรกที่ได้สัมผัสชีวิตของ ความเป็นปลัดนายอ�ำเภอ เป็นอยู่  ๒ ปี

ไปรับต�ำแหน่งนายอ�ำเภอครั้งแรกที่อ�ำเภออะไร เป็นนายอ�ำเภอครั้งแรกที่อ�ำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  ก่อนที่จะมาอ�ำเภอพุทธมณฑล

แล้วตอนที่อยู่ที่สุรินทร์มีความประทับใจ หรือมีวีรกรรมอะไรเกิดขึ้นที่โน่นบ้าง อ�ำเภอเขวาสินรินทร์เป็นอ�ำเภอใหม่ที่แยกมาจากอ�ำเภอเมือง จึงอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนัก ห่างจากอ�ำเภอเมืองเพียง  ๑๘ กิโลเมตร สิ่งที่ผมประทับใจในอ�ำเภอเขวาสินรินทร์ก็คือในอดีตดินแดนแถบนี้อุดมไปด้วยขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ประเพณีของอาณาจักรขอมโบราณ เพราะฉะนั้นจุดเด่นของอ�ำเภอก็คือตรงนี้  ซึ่งบรรพบุรุษขอมเขามีไว้  และรุ่นหลานก็ พยายามจะสานต่อ ทั้งทางด้านการท�ำผ้าไหมและการท�ำเครื่องเงินมะเกือม ภาษาเขมรเรียกว่าเป็น “มะเกือม” แต่ว่าพอ เพี้ยนเป็นภาษาไทยแล้วก็มาเป็น “ประค�ำ” คือเป็นเครื่องเงินที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆ ใช้เป็นเครื่องประดับ สร้อยคอ ก�ำไล  กระเป๋า นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้าน “กันตรึม” ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ผมประทับใจแล้วก็ได้ไปสัมผัสที่จังหวัด สุรินทร์เพราะว่าในชีวิตไม่เคยอยู่อีสาน ไม่เคยเรียนไม่เคยท�ำงานที่อีสาน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ไป  แล้วอีกสิ่งที่ประทับใจก็คือ เมื่อผมไปรับต�ำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็ปรากฏว่าพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ท่าน  ได้เสด็จที่อ�ำเภอเขวาสินรินทร์  ท่านทรงโปรดเครื่องเงินมาก แล้วท่านก็ได้มาทรงฝึกการตีเครื่องเงินที่นั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ ประทับใจเพราะว่าพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จมา ถือว่าเป็นเกียรติภูมิของคนเขวาสินรินทร์

ความรู้สึกเมื่อมารับต�ำแหน่งนายอ�ำเภอที่นี่ แล้วพอเข้ามาอยู่จริงๆ ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมมาที่อ�ำเภอพุทธมณฑล ผมก็ไม่รู้มาก่อน เพราะว่าเดิมทีผู้ใหญ่วางผมไว้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วช่วง ก่อนค�ำสั่งออกผมก็คิดว่าผมน่าจะได้ไปอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วพอค�ำสั่งออกมาก็กลายเป็นอ�ำเภอพุทธมณฑล  ซึ่งยอมรับว่าตกใจครับ เพราะรู้สึกว่าอ�ำเภอพุทธมณฑลเป็นอ�ำเภอใหญ่  ก็ค่อนข้างงงเหมือนกันว่าท�ำไมผู้บังคับบัญชาไว้ วางใจผมถึงขนาดนั้น เพราะว่าไม่คาดคิดแล้วก็ไม่ได้คาดหวัง ซึ่งก็คิดว่าในเมื่อผู้บังคับบัญชาไว้วางใจให้มาท�ำหน้าที่ตรงนี้ ก็คงต้องท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุดไม่ให้ผู้บังคับบัญชาและชาวพุทธมณฑลผิดหวัง

9


แล้วพอได้ท�ำงานมาแล้วตอนนี้ รับต�ำแหน่งมาประมาณเดือนเศษๆ ได้มีอะไรที่ประทับใจ หรืออยากที่จะค้นหา เพิ่มเติมเกี่ยวกับอ�ำเภอพุทธมณฑลบ้าง ผมมาวันที่  ๑๖ พฤศจิกายน วันนี้วันที่  ๑๘ ธันวาคม ก็  ๑ เดือนกับ ๒ วัน พอดี  การที่ได้มาอยู่อ�ำเภอพุทธมณฑล สิ่งหนึ่ง ที่ผมมองก็คือแค่ชื่ออ�ำเภอก็ถือว่าเป็นสิริมงคลส�ำหรับตัวผมแล้ว ในมุมมองของผม อ�ำเภอพุทธมณฑลเป็นอ�ำเภอที่ค่อนข้างเป็น เมืองส�ำคัญของชาติก็ว่าได้  เพราะเป็นทั้งศูนย์กลางของพุทธศาสนา การศึกษา และยังเป็นเมืองปริมณฑลที่อยู่ติดกับกรุงเทพ  มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก สามารถที่จะเชื่อมต่อไปได้ทางเหนือและใต้  รวมทั้งสถานที่ส�ำคัญต่างๆ ก็มาตั้งอยู่ในอ�ำเภอ  พุทธมณฑลเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้เมืองค่อนข้างโตเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งจุดนี้เป็น  จุดที่ผมประทับใจในอ�ำเภอพุทธมณฑล

❝มีค�ำโบราณเขาบอกว่า นายอ�ำเภอต้องรู้ทุกเรื่อง แต่ไม่เก่งสักเรื่อง❞ ความประทับใจหลังการรับต�ำแหน่งมาหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เห็นอะไร แล้วก็อยากที่จะเริ่มท�ำอะไร ต้องกลับมามองดูว่าบทบาทของนายอ�ำเภอนั้นมีบทบาทอย่างไร จะท�ำอะไรได้บ้าง นายอ�ำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินนั้น จะมีหน่วยงานหลักๆ ก็คือ ส่วนที่หนึ่ง ท�ำภูมิภาคให้ไปรวมอยู่ที่จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น  ผู้บริหารสูงสุด ส่วนที่สองก็คืออ�ำเภอ ซึ่งมีนายอ�ำเภอเป็นผู้บริหารสูงสุด แล้วต่อจากนั้นก็จะมีต�ำบล มีหมู่บ้าน ต�ำบลก็จะมีก�ำนัน  หมู่บ้านก็จะมีผู้ใหญ่บ้าน  ส�ำหรับพื้นที่ของอ�ำเภอพุทธมณฑลมี  ๓ ต�ำบล ๑๘ หมู่บ้าน ถือว่ามีขนาดของเขตการปกครองไม่ใหญ่แต่ความเจริญ ความศิวิไลซ์สูง แต่จะมีหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับนายอ�ำเภอจริงๆ นั้นไม่กี่หน่วยงาน โดยทั่วไปก็จะมีส่วนราชการ เช่น พัฒนาชุมชน  สาธารณสุข สัสดี  การปกครอง และเกษตรที่ขึ้นกับนายอ�ำเภอโดยตรง อย่างต�ำรวจก็ขึ้นกับส่วนกลาง กองบัญชาการภาค ๗  แล้วก็นอกจากนั้นหน่วยงานส�ำคัญพวกกรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสถานศึกษาต่างๆ ก็ไม่ได้ขึ้นกับนายอ�ำเภอ แต่ว่าภารกิจ  ของนายอ�ำเภอที่กระทรวงก�ำหนดมานี้จะต้องเป็นผู้ประสาน คือประสานส่วนหน่วยงานต่างๆ ทุกส่วนที่อยู่ในพื้นที่ภายในอ�ำเภอ  ให้มาร่วมกันท�ำงานภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาล ให้บังเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งนโยบายของรัฐบาลก็คือทุกกระทรวง  ทบวง กรม นายอ�ำเภอก็ต้องท�ำหน้าที่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมันมีค�ำโบราณเขาบอกว่า นายอ�ำเภอต้องรู้ทุกเรื่อง แต่  ไม่เก่งสักเรื่องลักษณะจะเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้องท�ำต่อไปก็คือการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลทุกเรื่อง แต่ในการ  ขับเคลื่อนก็คงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ภาคีต่างๆ ทั้งหมด คงต้องร่วมคิดร่วมท�ำ เพราะว่าเวลาจะเดินไปถึง ฝั่งส�ำเร็จทุกส่วนนั้นก็ต้องค่อยๆ ขับเคลื่อน แต่สิ่งที่ต้องท�ำแน่นอนคือนโยบายของรัฐบาล ซึ่งผมมาอยู่ที่นี่ก็พบนโยบายของ รัฐบาลหลายเรื่อง เยอะมาก ผมก็เลยเอามาสรุปสั้นๆ ซึ่งคิดว่าหลังปีใหม่ผมก็คงจะให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางก�ำนัน  ผูใ้ หญ่บา้ น แล้วก็ระบบการปกครองส่วนท้องถิน่ ได้มองภาพชัดแล้วก็ร่วมกันขับเคลื่อน โดยจัดเป็น ๕ ป ๑๑ ปลอดครับ ๕ ป ได้แก่  ปรองดอง ปฏิรูป ประชาธิปไตย ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์  และปากท้อง ๑๑ ปลอด ได้แก่ ๑. ปลอดยาเสพติด  ๒. ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ๓. ปลอดอบายมุข  ๔. ปลอดการค้ามนุษย์  ๕. ปลอดผู้มีอิทธิพล  ๖. ปลอดภัยทุกเทศกาลและทุกฤดูกาล  ๗. ปลอดทุจริต ๘. ปลอดผู้ยากไร้ผู้ด้อยโอกาส  ๙. ปลอดขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

10


❝ผมเชื่อว่า น�้ำทุกหยดล้วนมีต้นน�้ำ คนทุกคนล้วนมีที่มา❞ สุดท้ายนะครับ เห็นแนวคิดดีๆ ในการพัฒนาอ�ำเภอพุทธมณฑลแล้วก็เห็นประสบการณ์การท�ำงานของ ท่านนายอ�ำเภอ อยากทราบว่าต้นแบบในการด�ำเนินการหรือว่าต้นแบบในการท�ำงานของนายอ�ำเภอเป็นใคร  อยากที่จะให้นายอ�ำเภอลองเล่าให้ฟัง พูดถึงต้นแบบของชีวิตการท�ำงาน ถ้าได้สัมผัสได้อยู่กับผู้บริหารท่านไหนก็จะซึมซับมานะครับ ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ ขึ้นเป็นเลขานุการของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  ๓ ท่าน ซึ่งผมก็คงต้องให้เครดิตท่าน เพราะว่าผมเชื่อว่า “น �้ำทุกหยดล้วนมีต้นน�้ำ  คนทุกคนล้วนมีที่มา” ที่ผมมีตัวตนทุกวันนี้ได้ก็เพราะว่าผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะหลักๆ ๓ ท่านนี้  ที่เปรียบเสมือนเป็นทั้งครูและ  ผู้บังคับบัญชาที่ให้การสนับสนุน เกื้อหนุนการท�ำงาน ท่านแรกต�ำแหน่งสุดท้ายท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่าน พลอากาศเอกคงศักดิ์  วันทนา เคยเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ แล้วผมก็ได้เป็นเลขานุการของท่านเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙  ในยุคที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประมาณหนึ่งปีเศษๆ  ท่านที่  ๒ ก็คือท่านวีระยุทธ เอี่ยมอําภา ท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และต�ำแหน่ง สุดท้ายท่านเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  และท่านที่  ๓ ก็คือท่าน เชิดศักดิ์  ชูศรี  ท่านเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดพะเยา แล้วก็ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ก็ไปเกษียณ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  คือทั้ง ๓ ท่านนี้  ผมอยู่กับท่านรัฐมนตรีคงศักดิ์  วันทนา ๑ ปี  อยู่ กับท่านวีระยุทธ ๔ ปี  แล้วก็อยู่กับท่านเชิดศักดิ์  ๓ ปี  รวมทั้งหมด  ๘ ปีที่อยู่กับผู้ใหญ่ทั้ง ๓ ท่าน ซึ่งทั้ง ๓ ท่านมีความคล้ายกัน ที่ มองเห็นก็คือความสุขุม รอบคอบ และจิตที่มีเมตตาธรรมต่อผู้ใต้ บังคับบัญชา การท�ำงานก็ค่อนข้างจริงจังแต่เรียบง่ายและประหยัด  เพราะฉะนั้ น ช่ ว งเวลาที่ อ ยู ่ กั บ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาทั้ ง   ๓  ท่ า นนี้   ก็ ไ ด้  หล่อหลอม ผมก็อาจจะซึมซับแนวความคิด แนวการท�ำงานของทั้ง  ๓ ท่านมา ก็ถือว่าเป็นบุคคลต้นแบบก็ว่าได้นะครับ. ๑๐. ปลอดโรคระบาด โรคยอดฮิตช่วงที่ผ่านมาก็คือไข้เลือดออก แล้วก็ในช่วงเดือนที่ผ่านมาอ�ำเภอพุทธมณฑลขึ้น เป็นอันดับ ๑ ของจังหวัดนครปฐมจาก ๗ อ�ำเภอ ผมมานี่ก็ให้ทางสาธารณสุขเขาจัดทีมรณรงค์  ล่าสุดเมื่อ ๓ วันที่แล้วไป ประชุมกับทางสาธารณสุขอ�ำเภอ เขาบอกว่าตัวเลขลดลง ก็แสดงว่าทุกพื้นที่ก็ได้ขับเคลื่อนกันอย่างจริงจัง  และ ๑๑ ก็คือปลอดทุกข์  ปลอดทุกข์ก็คือทางอ�ำเภอได้จัดให้มี  “ศูนย์ด�ำรงธรรม” ของอ�ำเภอพุทธมณฑลซึ่งจะเป็น หน่วยที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์  ความเดือดร้อนทุกเรื่องก็มาร้องเรียนได้ที่ศูนย์ด�ำรงธรรม โดยศูนย์ด�ำรงธรรมจะมีหน้าที่เป็น แกนกลางในการแก้ไขปัญหา* สรุปว่าภารกิจที่ต้องท�ำนั้นคงต้องขับเคลื่อนตามนโยบายของทางรัฐบาลเป็นวาระแรก ส่วนการขับเคลื่อนภายใน อ�ำเภอก็คงต้องฟังทุกภาคส่วนว่าแต่ละภาคส่วนมีไอเดียที่อยากจะท�ำอะไร แล้วอ�ำเภอก็พร้อมที่จะเดินไปด้วยกันกับทุกภาค ส่วน ซึง่ ของอ�ำเภอก็จะมีเวทีประชุมอยูบ่ อ่ ยๆ เพราะฉะนัน้ ตรงนีก้ จ็ ะเป็นเวทีทจี่ ะเปิดรับฟังความคิดเห็นของแต่ละภาคส่วนได้ เดื อ นหน้ า ก็จ ะจัด ประชุม สัญจรไปที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ครับ ก็คงต้องบอกว่า  การท�ำงานยุคนี้ต้องท�ำงานแบบ  ประชารัฐ (ประชา+รัฐ) ประชาก็คือประชาชน รัฐก็คือภาครัฐ ซึ่งนอกจากจะมีภาครัฐ ภาคประชาชนแล้วก็ต้องเอาภาค เอกชนเข้ามาด้วย แล้วก็รวมทั้งผู้ทรงความรู้ต่างๆ ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ คณาจารย์ก็ต้องมาให้ความคิดเห็นในการ ด�ำเนินเรื่องต่างๆ ที่หลากหลาย รวมทั้งองค์กรที่อยู่ข้างนอกก็ต้องช่วยกัน ก็คงไม่คิดเองว่าต้องเอาอย่างนี้อย่างนั้น แต่คง ต้องเป็นความคิดเห็นที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกๆ ภาคส่วน

11


ลานชุมชน

เมื่อผักตบชวา  (จากคลองนราภิรมย์) ให้ค่า มีคุณ วรรณิดา อาทิตยพงศ์

หากลองทอดสายตาไปยังริมคลอง นอกจากทิวทัศน์ริมคลอง อันเป็นเอกลักษณ์  บ้านไม้  ศาลาท่าน�ำ้ โดดเด่น สายน�ำ้ ไหลเอือ่ ยเฉือ่ ย  และที่ไม่พ้นสายตาคือ สวะกอเขียวที่ลอยละเรื่อย คุ้นตา ส�ำหรับคน ไกลก็ดูสวยงามไปอีกแบบ แต่ส�ำหรับคนใน สิ่งนี้อาจจะถูกมองเป็น ศัตรูชัดๆ  ใช่แล้ว เราก�ำลังพูดถึง “ผักตบชวา” ผักตบชวาเป็นพืชทีม่ ถี นิ่ ก�ำเนิดในทวีปอเมริกาใต้  โดยผักตบชวา  ในประเทศไทยนั้นมีผู้น�ำเข้ามาจากเกาะชวา (ประเทศอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน) ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที ่ ๕) ในปี  พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยเจ้านายฝ่ายในทีต่ ามเสด็จประพาส  ประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงน�ำกลับมาปลูก  ในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่ง  เกิดน�้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ท�ำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตาม  แม่นำ�้ ล�ำคลองทัว่ ไป และแพร่พนั ธุอ์ ย่างกว้างขวาง จนคนไทยทัว่ ประเทศ  พบเห็นและรู้จักกันเป็นอย่างดี ใครจะคิดว่าจากอ่างดินหน้าบ้าน จะกระจายไปถึงแหล่งน�้ำทั่ว ประเทศ แม่น�้ำ คู  คลอง ทั้งสายใหญ่  สายเล็ก ได้ต้อนรับผักตบชวาน้อง ใหม่กันถ้วนทั่ว ผักตบชวาจึงจัดเป็น “เอเลี่ยน สปีชี่ส์” หรือ “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น”  ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศใน ประเทศไทย มีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน ๑ เดือน ผักตบชวา เพียง ๑ ต้น อาจขยายพันธุ์ได้มากถึง ๑,๐๐๐ ต้น ถึงแม้น�้ำจะแห้งจน ต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง ๑๕ ปี  และทันทีที่ เมล็ดได้รับน�้ำที่เพียงพอ ก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป จนก่อให้เกิด ความเสียหายต่อแหล่งน�้ำหลายประการ อาทิเช่น ขัดขวางการระบาย และการไหลของน�้ำ กีดขวางการจราจรทางน�้ำ ท�ำให้ปริมาณออกซิเจน ในแหล่งน�้ำลดลง ตลอดจนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ศัตรูพืชบางชนิด และ ทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ท�ำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการก�ำจัดผักตบชวาจ�ำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ ประเทศไทยเท่านั้น อีกกว่า ๕๐ ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน ประเทศไทยเองเริ่มมีการก�ำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่  ๖ ถึงขนาดมีการออกพระราชบัญญัติส�ำหรับก�ำจัดผักตบชวา พ.ศ. ๒๔๕๖ ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้เข้า มาช่วยเหลือในการก�ำจัด เช่น น�ำไปผลิตเป็นของใช้  อาหารสัตว์  ท�ำปุ๋ย ฯลฯ

12


หากจากวันนั้นจนถึงวันนี้  ปัญหาผักตบชวาก็ยังคงมีอยู่  และไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปง่ายๆ ทว่าก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่า ผักตบชวา ก็ได้กลาย เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชิวิตของชาวริมน�้ำไปเรียบร้อยแล้ว  ไม่ใกล้ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยมหิดลนัก ข้ามสะพาน  ข้ามคลองมหาสวัสดิ ์ ผ่านสะพานข้ามคลองโยงจะพบกับชุมชน  วัดมะเกลือ เป็นชุมชนเล็กที่อยู่ติดริมคลองนราภิรมย์  ซึ่งเป็น  คลองที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  ๕ ตั้งอยู่ที่อ�ำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม เป็นคลองทีก่ นั้ กลางระหว่างจังหวัดนครปฐม  และจังหวัดนนทบุรี คลองนราภิรมย์เคยเป็นแหล่งน�้ำหล่อเลี้ยงชีวิต ของคนริมสองฝัง่ คลอง จนกระทัง่ เมือ่ เกิดนำ�้ ท่วมใหญ่ป ี ๒๕๕๔ ผักตบชวามหาศาลจึงถูกพัดพามาจนแน่นเต็ม ล�ำคลอง น�้ำเริ่มเน่าเสีย แถมคนที่นี่ยังไม่ช่วยกันรักษา สิ่งแวดล้อม ก�ำจัดเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด ส�ำหรับคนนอกอย่างเราๆ เห็นผักตบชวาใบเขียว  ออกดอกสีมว่ งสดใสก็สวยงามไปอีกแบบ แต่อย่างทีบ่ อก  ส�ำหรับคนในนั้นถือเป็นภาวะหวานอมขมกลืนอย่างบอก ไม่ถูก จะสลัดก็ไม่หลุด ไม่ว่าจะท�ำอย่างไรผักตบชวาก็ยัง ระบาดอยู่  ก็ต้องอยู่ร่วมกับผักตบชวาให้ได้ต่อไป แต่จะเป็นอย่างไรถ้าแทนที่จะมุ่งเสียงบประมาณกับ การก�ำจัดเพียงอย่างเดียว แล้วหันมาหาประโยชน์จากผัก ตบชวาไปด้วย

เมื่อผักตบชวา ให้ค่า มีคุณ ? ปัจจุบัน ปัญหาผักตบชวาที่แพร่หลายเต็มล�ำน�้ำ คู  คลอง จนกลายเป็นมลภาวะทางน�้ำ กลายเป็นปัญหาใหญ่ใน การสัญจร อีกทั้งท�ำให้น�้ำไหลไม่สะดวก เกิดการเน่าทับถม ท�ำให้ล�ำคลองตื้นเขิน มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์สัตว์ ทดลองแห่งชาติ  ร่วมกับชุมชนคลองนราภิรมย์  ต�ำบลคลอง โยง อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ร่วมกันหาแนวคิด ในการน�ำผักตบชวามาใช้ประโยชน์  โดยมีคณ ุ วลี  สวดมาลัย  ประธานกลุ ่ ม คนรั ก ษ์ ถิ่ น บ้ า นวั ด มะเกลื อ   เป็ น ผู ้ ริ เ ริ่ ม หา ทางฟื้นฟู  เริ่มจากคนไม่รู้  หมั่นหาข้อมูลจนรู้ว่าคุณสมบัติ พิเศษของ ผักตบชวา คือ น�้ำหนักเบา แห้งเร็ว ไม่ดูดซับ ความชื้น ประกอบกับทราบข่าวทางศูนย์สัตว์ทดลองแห่ง ชาติ  มหาวิทยาลัยมหิดล ก�ำลังหาวัสดุที่จะน�ำมาท�ำที่รอง นอนของสัตว์ทดลอง จากเดิมที่ใช้ซังข้าวโพดน�ำเข้าจาก ต่างประเทศที่มีราคาแพง

13


คุณวลี  จึงมีความคิดน�ำผักตบชวามาอบแห้งและน�ำไปเสนอขาย และไม่คาดคิดว่า ผักตับชวานี้จะขายได้  แถมราคาดีอีก ด้วย คุณวลีและชาวบ้านที่นี่จึงได้อาชีพใหม่  เก็บผักตบชวามาตากแห้งส่งขายเดือนละ ๓,๐๐๐ กิโลกรัม นับตั้งแต่มีการแปรรูป ผักตบชวาเป็นวัสดุรองนอน สามารถก�ำจัดผักตบชวาได้ถึง ๑๐๐,๐๐๐ กิโลกรัมต่อเดือน แค่เวลา ๑ ปี  น�้ำในคลองนราภิรมย์ก็ใส สะอาด สัตว์น�้ำเริ่มอยู่อาศัยได้  มีผักตบชวาให้เห็นเฉพาะใต้ถุนแต่ละบ้านที่เลี้ยงไว้เก็บขาย และไม่ใช่แค่คุณภาพน�้ำดีขึ้นเท่านั้น  คุณภาพชีวิตของคนริมสองฝั่งคลองที่นี่ก็ดีขึ้น บรรยากาศแห่งความเป็นมิตร เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่รื่นรมย์ก็เกิดขึ้นตามมา อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เพื่อพัฒนายังไม่หยุดอยู่แค่นั้น ล่าสุดนักศึกษาชั้นปีที่  ๔ สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดท�ำ “โครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านและเกษตรกร ชุมชนวัดมะเกลือ” ซึ่งเป็นผลงานในรายวิชาบูรณาการภาษาและวรรณคดีไทยเพื่อการพัฒนา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยได้ ร่วมมือกับศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ  วิจัยหาข้อสรุปเพื่อสร้างสรรค์กระดาษที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อเสนอทางเลือกใน การแปรรูปผักตบชวาซึ่งเป็นพืชน�้ำที่หาได้ง่ายในชุมชนวัดมะเกลือ จากพืชน�้ำที่ไม่มีประโยชน์กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษที่ สามารถวางจ�ำหน่ายได้  และสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านและเกษตรกรในชุมชนวัดมะเกลือ อันจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง คณะผู้จัดท�ำและคนในชุมชนวัดมะเกลือ เพื่อเป็นการปูทางให้แก่กลุ่มแม่บ้านและเกษตรกรชุมชนวัดมะเกลือได้มีทางเลือกในการ สร้างรายได้เสริมและเป็นแนวทางในการลดปริมาณผักตบชวาในคลองนราภิรมย์ สิ่งที่น่าสนใจคือพวกเขาเลือกที่จะน�ำองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้เล่าเรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างผลงานนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนรอบมหาวิทยาลัย

กระดาษผักตบชวา ทางเลือกใหม่? เริ่มจากลงพื้นที่ส�ำรวจปัญหาผักตบชวาในคลองนราภิรมย์  เก็บ ข้อมูลและศึกษาวิธีการท�ำกระดาษจากผักตบชวา รวมไปถึงสร้างความ คุ้นเคยกับคนในชุมชนวัดมะเกลือ จากนั้ น ทดลองหาวิ ธี ก าร  ส่ ว นผสมในการหมั ก  และจ�ำนวน  วันหมัก เพื่อให้ได้ลักษณะของเยื่อกระดาษที่ต้องการ รวมถึงลงพื้นที ่ ชุ ม ชนวั ด มะเกลื อ   เพื่ อ ตรวจสอบความเปลี่ ย นแปลงของเส้ น ใย  ผักตบชวา หลังจากผ่านกระบวนการหมักในระยะเวลาต่างๆ ได้แก่  หมัก ๗ วัน, ๑๔ วัน และ ๒๘ วันตามล�ำดับ เมื่อได้ผลที่ต้องการ  ก็ลงพืน้ ทีช่ มุ ชนอีกครัง้  เพือ่ ชักชวนกลุม่ แม่บา้ นและเกษตรกรมาร่วมกัน  ท�ำผลิตภัณฑ์กระดาษ โดยในครั้งนี้มีการใส่สีและลวดลายจากวัสดุ ธรรมชาติ  เช่นกลีบดอกบัว เพื่อเพิ่มความสวยงามอีกด้วย ทั่วไป

อ่านๆ ดู  เผลอๆ อาจนึกไปว่าเหมือนโครงงานวิทยาศาสตร์

แต่เดี๋ยวก่อน อย่าลืมว่านี่เด็กสาขาวิชาภาษาไทย พวกเขามี ฟังก์ชั่นพิเศษแถมท้ายมาด้วย ไม่เพียงจะทดลองหมักเยื่อผักตบชวาด้วยกลวิธีการหมัก ๒ วิธี คือ หมักด้วยโซดาไฟและน�้ำสัปปะรดเท่านั้น (น�้ำสัปปะรดท�ำให้เยื่อ มีความยุ่ยดีกว่า) หากยังมีการท�ำแพคเกจผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่ม มูลค่าอีกด้วย พร้อมกันนั้นยังเพิ่มเรื่องราวให้ผลิตภัณฑ์โดยน�ำข้อมูล ทางคติชน วรรณกรรม และวรรณคดีมาบูรณาการร่วมกับผลิตภัณฑ์ได้ อย่างน่าสนใจ

14


“ผักตบ” ในวรรณคดีไทย ในวรรณคดี ไ ทยหลายเรื่ อ งมี พู ด ถึ ง ผั ก ตบ  หลายคนคงนึ ก ภาพตามเป็นภาพผักตบชวา แต่จริงๆ แล้วผักตบที่พูดถึงนั้นคือ ผัก ตบ(ไทย) ที่นับวันน้อยคนนักที่จะรู้จัก ผักตบ(ไทย) ซึ่งมีอยู่คู่ชาวไทย มาแต่เดิม ส่วนผักตบชวานั้นเพิ่งเข้ามาจากชวา ในสมัยรัชกาลที่  ๕  แต่ด้วยความผักตบชวาขยายพันธุ์ออกไปตามแหล่งน�้ำต่าง ๆ ได้อย่าง รวดเร็วมาก ในขณะที่  ผักตบ(ไทย) ซึ่งมีอยู่แต่เดิมนั้นขยายพันธุ์ได้ ช้ามาก และมีข้อจ�ำกัด คือไม่สามารถลอยไปตามน�้ำได้เหมือนผักตบ ชวา ปัจจุบันจึงพบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะเพียงไม่กี่แห่ง คนไทยน้อยคนจะ มีโอกาสได้พบเห็นผักตบ(ไทย) ยิ่งการน�ำมาประกอบอาหารในฐานะ ผักยิ่งน้อยลงไปอีกหลายเท่า จึงอาจกล่าวได้ว่าผักตบ(ไทย) กลาย เป็นผักดั้งเดิมที่ถูกลืมก็ว่าได้

ผักตบ(ไทย)

คนไทยยุคเราๆ อาจหลงลืม แต่ในวรรณคดีหลายเรื่องยังมี การกล่าวถึง ผักตบ(ไทย) อยู่  แสดงให้เห็นว่าผักตบ(ไทย) อยู่คู่กับ วิถีชีวิตริมน�้ำของชาวไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลย  ทีเดียว

ในไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพญาลิไทย วรรณคดี สมัยสุโขทัย มีกล่าวถึงผักตบในฉัททันตสระซึ่งเป็นสระใหญ่  ๑ ใน  ๗ สระในป่าหิมพานต์  และเป็นที่อยู่ของพญาช้างฉัททันต์  ว่า “ฉัททันตสระ เป็นสระน�้ำในป่าหิมพานต์ มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ วา บริเวณใกล้เคียงมีป่าผักตบอยู่รอบๆ ความกว้างประมาณ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าผักตบนั้นมาชั้น นอกมีป่าดอกบัว ๗ อย่าง ได้แก่  นิลลุบล, ดอกรัตตุบล, รัตตุบล, เสตุบล, จงกลณี, ดอกบัวแดง, ดอกบัวขาว และดอกกระมุท  ดอกบัวทั้ง ๗ นั้นอยู่รวมกันติดกับดอกผักตบเป็นหมู่แลดูงดงามยิ่ง” นอกจากนี้ยังปรากฏในตอนที่กล่าวถึงมหาฉัพพรรณรังสี  รัศมี  ๖ ประการ ที่เปล่งออกจากพระสรีรกายของพระพุทธเจ้า ว่า “พระรัศมีอันหนึ่งแลมีพรรณเขียวงามดั่งดอกอังชัน แลดั่งดอกนี ลุบล แลดอกผักตบ ดังแววนกยูงแลปีกแมลงภู่”  ผักตบ(ไทย) มีใบรูปหัวใจปลายเรียวแหลม มีหูใบแหลม ดอกเกิดเป็นช่อกระจุก โผล่ออกมาตรงก้านใบ มีกลีบเลี้ยงหุ้มช่อ ดอกเอาไว้  ดอกมีสีน�้ำเงินอมม่วง นับว่าเป็นสีงดงามเป็นที่ชื่นชมของคนไทยในอดีต

15


นอกจากนี้  ในจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ยังจารึกเรื่องราวที่กล่าวถึงผักตบ โดยกล่าวถึงนางสงกรานต์ นางหนึ่งที่ทัดดอกสามหาว (ดอกผักตบ) คือ นางมโหธรเทวี  ซึ่งเป็นนางสงกรานต์วันเสาร์มีลักษณะ “ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว  อาภรณ์แก้วนิลรัตน์  ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)”

บูรณาการความรู้ สร้างเรื่องราวให้ผลิตภัณฑ์ กระดาษจากผักตบชวา ได้กระดาษโล่งๆ มาอย่าง เดียวก็คงไม่เก๋  นักศึกษาเลือกหยิบข้อมูลด้านวรรณคดี  วรรณกรรม  และคติ ช นมาใช้ ใ นการเพิ่ ม เรื่ อ งราวให้ ผลิตภัณฑ์กระดาษจากผักตบชวาของตนให้น่าสนใจขึ้น  แม้ผักตบที่กล่าวถึงในวรรณคดีจะเป็นผักตบไทย แต่ก็ ปฏิเสธไม่ได้ว่าผักตบอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน รวมไป ถึงผักตบชวาก็เช่นเดียวกัน ทางกลุ ่ ม นั ก ศึ ก ษาได้ เ ลื อ กข้ อ มู ล เรื่ อ งนางมโห ธรเทวี   ทั ด ดอกสามหาว  (ดอกผั ก ตบ)  มาออกแบบ เป็ น ลวดลายของการ์ ด ส�ำหรั บ เพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ ผลิตภัณฑ์กระดาษห่อของขวัญจากผัก ตบชวา รวมไปถึงท�ำเป็นการ์ดอวยพร อี ก ด้ ว ย  ได้ ทั้ ง คุ ณ ค่ า จากวั ส ดุ ใ กล้ ตั ว และเรื่ อ งราวภู มิ ป ั ญ ญาวั ฒ นธรรม  สอดแทรกอยู่อีกด้วย ผั ก ตบชวาจากคลองนราภิ ร มย์ ในวันนี้  จึงมีทั้งเรื่องราว ความเป็นมา มี ทั้ง “คุณ” และ “ค่า” ที่น่าสนใจ ไม่ใช่แค่ วัชพืชน�้ำที่รังแต่จะสร้างปัญหาอีกต่อไป

16


ร้อยเรื่องราว

เรียนรูé ตèอยอด บูรณาการ  เพื่อพัฒนาชุมชน

วรรณิดา อาทิตยพงศ์

งจัดเตรียมงาน ปนความตื่นเต้น ลั ำ � ก ่ ที ษา ก ศึ ก ั ยน ว ด้ ไป ก คั ก ึ งค อ ห้ อก บรรยากาศน ลอดหนึ่งภาคการศึกษา  เทต ม ่ ุ ารท  ก หม ไ ี ยด ว ้ ปด นไ า ่ ะผ อจ เสน ำ � กระวนกระวายใจว่าวันนี้การน จะออกดอกผลในวันนี้

นั ก ศึ ก ษาได้ น�ำองค์ ค วามรู ้ ด ้ า น  ศิ ล ปศาสตร์ ส าขาวิ ช าภาษาไทย  มาใช้ ใ น  การออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ ส ร้ า งอั ต ลั ก ษณ์  ให้ แ ก่ ข นมหวานร้ า นเจ๊ โ ส่ ย   ซึ่ ง เป็ น ร้ า น  เก่ า แก่ ชื่ อ ดั ง ในตลาดดอนหวาย  โดยใช้  ความรู ้   ด้ า นการแต่ ง กาพย์   เพิ่ ม เรื่ อ งราว  ให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์   และบู ร ณาการด้ า นการ  ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้ได้จริงโดดเด่ น  และสามารถดึงดูดลูกค้าได้  ในรูปเจ๊โส่ย  “แม่ ทู น หั ว ”  ของกลุ ่ ม เดิ น ทางมาชม  การน�ำเสนอผลงานของนั ก ศึ ก ษา  ด้ ว ย  ความภาคภูมใิ จในผลงานของลูกๆ

เมื่ อ วั น ที่   ๒๕  ธั น วาคม  ๒๕๕๘  ที่ ผ ่ า น มา นักศึกษาชั้นปี  ๔ สาขาวิชาภาษาไทย คณะ ศิ ล ปศาสตร์   มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล  ได้ น�ำเสนอ  ผลงานในรายวิชาบูรณาการภาษาและวรรณคดี ไทยเพื่อการพัฒนา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๘  นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้น�ำเสนอผลงานที่ใช้ระยะ เวลาตลอด ๑ ภาคการศึกษาในการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้วิชาต่าง ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างผลงานนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์  โดย เน้นพัฒนาภูมิปัญญาเดิมที่มีอยู่ในชุมชนรอบ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้สอดคล้องกับการน�ำ ผลงานไปใช้ได้จริง ทั้งนี้ผลงานของนักศึกษามี ทั้งหมด ๑๕ โครงการ ตัวอย่างเช่น

โครงการ “บรรจุภัณฑ์ จากขนมไทยโบราณสู่สินค้าขึ้นชืส่อร้ขอางอัตลักษณ์”   งตลาดน�้ำดอนหวาย

17


มองเผินๆ ก็เหมือนลวดลายขวดแก้วธรรมดาๆ  หากแท้จริงแล้วมีที่มาที่น่าสนใจ เนื่องจากทางกลุ่ม ได้เก็บลวดลายประติมากรรมจากวัดสาลวัน มรดก ทางศิลปะของชาวศาลายา มาถอดเป็นลายกราฟฟิก  พัฒนาเป็นลวดลายบรรจุภัณฑ์น�้ำองุ่นสมุนไพร ของกลุ่มแม่บ้าน ท�ำให้นักศึกษาและชุมชนได้ร่วม กันออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ทสี่ ร้างอัตลักษณ์ให้ชมุ ชน  เป็นการบูรณาการความรู้ด้านศิลปศาสตร์  ให้เกิด ประโยชน์แก่ชมุ ชนโดยรอบมหาวิทยาลัย

ประติมากรรม  าย ล ด ว าล น ฒ ั พ าร ก โครงการ งุ่นสมุนไพร) อ ำ ้ � (น   ์ ฑ ณ ั ภ ุ จ ร ร าบ น สู่การพัฒ

ช่องทางหนึง่ ในการเผยแพร่ความรูผ้ า่ นสติกเกอร์ไลน์  ด้วยความที่เป็นเด็กเอกไทยเลยต้องการที่จะเผยแพร่ความรู้ ด้านวรรณคดีไทยเรือ่ ง “กาพย์เห่ชมเครือ่ งคาวหวาน” โดยใช้บท ชมเครื่องหวาน ปรากฏชื่อของหวานที่เราไม่คุ้นหูและเกือบจะ เลือนหายไปในสังคม อย่างเช่น ลุดตี ่ ล�ำเจียก รังไร ช่อม่วง จ่า มงกุฎ น�ำขนมหวานมาเป็นตัวสติกเกอร์แทนอารมณ์ตา่ งๆ ของ คูส่ นทนาได้อย่างน่ารักและน่าสนใจ มีแผนวางขายในไลน์สโตร์  เร็วๆ นี้

โครงการสติ๊กเกอร์ไลน์ ชุด ขนมหวาน  จาก กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

โครงการ ก สู่การเล่าเรื่องราววัฒารเพิ่มมูลค่าฟางเหลือใช้ในนา   นธรรมข ภายใต้แนวคิด ‘ขอ้างวผ่านกระดาษฟางแปรรูป  ขวัญข้าว’

“ของขวัญข้าว” น�ำฟางข้าวที่เหลือใช้ในชุมชน มาแปรรูปเป็นกระดาษฟางข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  พร้อมกันนั้น ก็เล่าเรื่องวัฒนธรรมข้าวผ่านทางลวดลายบน กระดาษฟาง ได้แก่ลายพระแม่โพสพ เฉลว และมโหตร  กระดาษที่ได้นั้นสามารถน�ำมาใช้เป็นการ์ดอวยพร กระดาษ ห่ อ ของขวั ญ   หรื อ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ข ้ า วได้   เป็ น การบู ร ณาการ  องค์ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ วิ ช าต่ า งๆ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ก่ ชุ ม ชน  นาสุนทรี  ต�ำบลงิว้ ราย

18


พวงมโหตร คือ พวงอุบะที่ประดิษฐ์จากการ  น�ำกระดาษว่าว กระดาษสา หรือกระดาษแก้ว มา  พับแล้วใช้กรรไกรตัดสลับไปมาให้เป็นพวงห้อยเป็น ชั้นๆ เป็นงานช่างหรืองานฝีมือประเภทหนึ่งที่มีการ สั่งสม ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยสู่ลูกหลานในท้อง ถิ่น นอกจากนี้พวงมโหตรยังเกี่ยวข้องกับคติชนใน ด้านความเชื่อ ซึ่งคนสมัยก่อนเชื่อว่า เป็นสิริมงคล  ซึ่ ง สามารถเห็ น ได้ ต ามวั ด ในชนบทที่ น�ำพวง  มโหตรมาประดั บ ตกแต่ ง สถานที่ ต ่ า งๆ  ตาม  งานบุญงานประเพณี  งานรืน่ เริงต่างๆ พวงมโหตร เป็นหนึ่งในศิลปวัฒนธรรม โครงการการจัดการท�ำ  ที่ใกล้จะสูญหายไป และไม่เป็นที่รู้จักมากนัก  พวงมโหตรสร้างสรรค์  เนื่ อ งจากเป็ น การถ่ า ยทอดผ่ า นความทรงจ�ำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่าง เพื่อฟื้นฟู  โดยผู้สูงอายุในชุมชนและยังไม่มีการรวบรวม ยั่งยืน หรือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร อีกทั้งวัสดุ อุปกรณ์ทใี่ ช้ในการท�ำพวงมโหตรยังไม่มคี วามคงทนถาวรและเสือ่ มสลายได้งา่ ย ทางกลุ่มจึงได้จัดท�ำผลิตภัณฑ์ในการประดิษฐ์พวงมโหตรเพื่อจ�ำหน่าย เพื่อเผย แพร่ความรูใ้ นการท�ำพวงโหตรและอนุรกั ษ์ศลิ ปะการท�ำพวงมโหตรอีกช่องทางหนึง่  และที่ ส�ำคัญเป็นตัวอย่างในการสร้างอาชีพและสร้างผลก�ำไรให้คนในชุมชน ไม่เพียงเท่านั้น ยังจัดกิจกรรมเผยแพร่การท�ำพวงมโหตรตามโรงเรียนในชุมชน โดยรอบอีกด้วย ผลที่ได้คือน้องนักเรียนชั้นประถม โรงเรียนวัดงิ้วราย ได้น�ำความรู้เรื่องการ จัดท�ำพวงมโหตรไปใช้ในการจัดแสดงผลงาน และยิ่งไปกว่านั้นจากค�ำบอกเล่าของคุณครู อารีย ์ คุณครูโรงเรียนวัดงิว้ ราย เล่าว่า เด็กนักเรียนชายคนหนึง่ ถึงขัน้ บอกว่า จะเอาความรูน้  ี้ ไปท�ำพวงมโหตรในงานบวชของตนเองเมื่อโตขึน้  ทัง้ นักศึกษาและผู้นงั่ ชมต่างก็ประทับใจไป  ตามๆ กัน

19


นอกจากนี้ยังมีโครงการที่น่าสนใจอีกหลายโครงการ ที่ล้วนเป็นโครงการที่เน้นพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่   ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ในแง่มุมใหม่และใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็น โครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษ เพื่อสร้าง  รายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านและเกษตรกรชุมชนวัดมะเกลือ โครงการการประยุกต์ใช้  “วรรณคดีนิราศ” ในฐานะทุนทางวัฒนธรรมเพื่อ  ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ของผูป้ ระกอบการท้องถิน่ ในชุมชนบ้านใหม่  หรือโครงการหนังสัน้ ศาลายาน่าเทีย่ ว เพือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ ว  ในอ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นต้น จบงานน�ำเสนอในวันนั้นด้วยรอยยิ้มดีใจปนโล่งใจของบรรดานักศึกษา บวกกับรอยยิ้มภาคภูมิใจของทั้งบรรดาแม่ยก นักศึกษาและอาจารย์ประจ�ำวิชา สิ่งที่ทุ่มเทมาตลอดระยะเวลาหลายเดือนออกดอกผลงดงาม พร้อมกันนั้น สิ่งที่ได้ตามมาไม่ใช่ แค่คะแนนที่จะท�ำให้ผ่านรายวิชาไปได้  หากยังรวมถึง การได้เข้าไปคลุกคลีและสร้างส�ำนึกที่ดีร่วมกันต่อวัฒนธรรมและรากฐาน ของชุมชน การได้ท�ำอะไรให้ชุมชนที่ตนเข้ามาอาศัยและเล่าเรียนตลอดสี่ปี  ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษากับคนใน ชุมชน ดังที่คุณวลี  สวดมาลัย ประธานกลุ่มคนรักษ์ถิ่นบ้านวัดมะเกลือ แถมไว้ในตอนท้ายว่า “การเรียนรู้วันนี้  คงไม่จบเท่าที่วันนี้”

20


ชาวพุทธมณฑล

สวัสดีปีใหม่

พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง

ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๓  สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) วรรณิดา อาทิตยพงศ์

ช่วงเช้าของวันที ่ ๖ มกราคม ๒๕๕๙ ผศ.ดร.อภิลกั ษณ์  เกษมผลกูล คณบดีคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  และอาจารย์เก๋  แดงสกุล อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาภาษาไทย  คณะศิ ล ปศาสตร์   มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล  เดิ น ทางไปสวั ส ดี  ปี ใ หม่   พลเรื อ ตรี ม งคล แสงสว่ า ง  เจ้ า ของเสี ย งเห่ เ รื อ  สุดคลาสสิกคนหนึ่งของเมืองไทย เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคย  กั บ เสี ย งเห่ ข องท่ า นมาตั้ ง แต่ เ ด็ ก ผ่ า นเสี ย งตามโทรทั ศ น์  ที่ถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี  ครั้งนี้เราได้มีโอกาสมาคุยกับ  ท่ า นโดยตรง  เมื่ อ ไปถึ ง บ้ า นท่ า นซึ่ ง อยู ่ ใ นต�ำบลศาลายา  อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัย  มหิดล ศาลายานัก ท่านเดินออกมาต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วย ใบหน้ายิ้มแย้มเป็นกันเอง พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง เป็นศิลปินแห่งชาติ  พุทธศักราช ๒๕๔๓ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ปัจจุบันอายุ  ๗๕ ปี  (พฤศจิกายน ๒๕๕๘) เกิดเมื่อวันที่  ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี  เข้ารับราชการครั้งแรกใน แผนกเรือกล กอง เรือเล็ก กองทัพเรือ เมื่อขณะเข้ารับราชการนั้นเป็นระยะที่มีการฟื้นฟูประเพณีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เมื่อกองทัพ เรือประกาศรับสมัครข้าราชการในกองทัพเรือมาฝึกหัดเห่เรือ พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง ซึ่งเป็นผู้มีพรสวรรค์และชอบร้องเพลงมา ตั้งแต่เด็ก จึงสมัครเข้ารับการฝึกหัดและได้รับคัดเลือกเป็นคนหนึ่งในจํานวน ๕ ราย และได้รับการถ่ายทอดจากพันจ่าเอกเขียว  ศุขภูมิ  ซึ่งเป็นพนักงานนําเห่ในขณะนั้นและใกล้เกษียณอายุราชการ ต่อมากองทัพเรือจัดประกวดแข่งขันการเห่เรือ และพลเรือตรี มงคล แสงสว่าง ได้รับรางวัลชนะเลิศและรับมอบเป็นตัวยืนในการเห่เรือ จนกระทั่งเมื่อพันจ่าเอกเขียว ศุขภูมิ  เกษียณราชการในปี  ๒๕๑๑ พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง จึงได้รับหน้าที่พนักงานเห่สืบต่อมา  งานแรกในชีวติ ของพลเรือตรีมงคล คือ พระราชพิธสี มโภชกรุงรัตนโกสินทร์  ๒๐๐ ปี  ในปี  ๒๕๒๕ รัฐบาลจัดให้มงี านเฉลิมฉลอง  และมีพระราชพิธี  ยิ่งใหญ่  คือการเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พลเรือตรีมงคล แสงสว่าง จึงได้แสดง  ความสามารถในการเห่เรือเป็นครัง้ แรกและได้รบั มอบหมายให้เป็นพนักงานเห่ทกุ ครัง้ ทีม่ พี ระราชพิธสี าํ คัญตลอดมา และงานสุดท้าย  ของท่านคือ การเห่ขบวนเรือพระราชพิธี  ในการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปี  พ.ศ. ๒๕๔๖  แต่ใช่ว่าทุกครั้งที่เสด็จพระราชดําเนินทางชลมารค จะราบรื่นเสมอไป พลเรือตรีมงคล เล่าว่า ในช่วงปี  ๒๕๓๙ อยู่ดีๆ ก็มี พายุในตอนที่ท่านมาประจ�ำการ ตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้เสด็จลงเรือ แต่ทรงประทับอยู่ที่พระที่นั่งราชกิจ แต่ ก่อนที่จะประทับนั้นฉัตรและผ้าม่านร่วงลงน�้ำ ทหารและฝีพายต้องว่ายน�้ำลงไปเก็บ และในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชด�ำเนินจริงๆ ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะมีพายุและฝนตกหนักมาก ในช่วงแรกท่านก็เห็นว่าเมฆด�ำตั้งเค้ามาทางปากอ่าว พอเรือเริ่ม ออกตัวมา เมฆก็เริ่มอ้อมออกทางขวาเริ่มวน ท่านก็ไม่แน่ใจว่าเกิดได้อย่างไร เมื่อถึงสะพานพระปิ่นเกล้าทั้งพายุและฝนกระหน�่ำ

21


จนมองอะไรไม่เห็น พัดทุกอย่างกระจัดกระจาย เพียงแค่ระยะเวลาประมาณ ๕ นาที  แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงนิ่ง มาก ท่านเล่าให้ฟังย้อนถึงความหลังอันน่าตื่นเต้นในครั้งนั้น ท่านเกษียณอายุราชการและส่งไม้ต่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้มาสืบต่อหน้าที่  ในปี  ๒๕๔๔ แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ปรึกษาให้คณะ กรรมการจัดงานอยู่ แม้ว่าปีนี้ท่านจะอายุ  ๗๕ ปีแล้ว แต่สุขภาพร่างกายยังแข็งแรงเหมือนเพิ่งจะเกษียณมาใหม่ๆ ท่านเล่าให้ฟังด้วยน�้ำเสียง เปื้อนยิ้มว่า ท่านไม่มีโรคประจ�ำตัวและดูแลรักษาสุขภาพตัวเองอย่างดี  ท่านเล่าว่าออกก�ำลังกายโดยการปั่นจักรยานจากบ้านไป มหาวิทยาลัยมหิดลทุกวัน ประมาณวันละ ๑ ชั่วโมง พร้อมกันนั้นก็ดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้เพราะท่านมีเป้าหมาย ใหญ่ให้รอคอย “นึกๆ แล้วก็อยากเสี่ยงสักครั้ง ขอทิ้งท้ายได้ไหมก่อนตาย ขอเห่ได้ไหม เพราะสภาพร่างกายเรายังไหว เราไม่ได้ปล่อย” ถ้อยค�ำที่ทรงพลังจับใจเรา อายุที่ล่วงเลยมาเกือบค่อนศตวรรษ ท�ำอะไรจิตใจที่มุ่งมั่นจะท�ำในสิ่งที่ตนรักและความรักความ ทุ่มเทที่มีต่องานอย่างแรงกล้าไม่ได้เลยจริงๆ พาให้นึกถึงคุณจิโร โอเอะ ชายชราผู้อุทิศตัวเองให้ซูชิ  กล่าวถึงงานของตน ในสารคดี บันดาลใจ Jiro dream of Sushi  “จะเลิกท�ำเมื่อไรน่ะหรือ? กับงานที่เราทุ่มเทหนักมากขนาดนี้น่ะเหรอ? ผมรักในงานของผม และทุ่มเทชีวิตให้กับงาน  แม้ว่าผมจะอายุ  ๘๕ ปีแล้วก็ตาม”

ข่าวสารมหาวิทยาลัยมหิดล

พลเรือตรีมงคล แสงสว่างก็เช่นเดียวกัน.

มหิดลอินเตอร์  สานฝันเยาวชนอุดมปัญญาน�ำพาสุขสู ชè ุมชน วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาหนึ่งที่เปิดการเรียนการสอน  ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือ International Programs ภายใต้ก�ำกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีภารกิจ  หลักในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ตลอดจนการท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม  เพื่อพัฒนาก�ำลังคนที่มีคุณภาพเข้าสู่สังคม สร้างนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งในประเทศไทยได้บูรณาการภารกิจทั้งสี่ด้านเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ต่อบัณฑิตและสังคม โดยรวม ส่วนงานบริการวิชาการนั้นได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากงานบริการวิชาการโดยเน้นงานบริการหรืองานอาสา สมัครเป็นหลัก มาเป็นการท�ำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่แบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและเป็นหุ้นส่วนระยะยาวมากขึ้น  รวมทั้งมีการน�ำความรู้ทางวิชาการมาบูรณาการกับการท�ำงานเพื่อสังคม หรือที่เรียกว่าพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัย กับสังคม (University Engagement) อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบมากขึ้น มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทเป็นอย่าง  มากในการพัฒนาการกินดีอยู่ดี  แก้ปัญหาสังคม รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม  โครงการพันธกิจสัมพันธ์เพือ่ สังคม (Social Engagement) นับเป็นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมภาพลักษณ์และ  เผยแพร่ชื่อเสียงให้เกิดภาพพจน์ที่ดีเป็นที่ยอมรับในชุมชนและสังคม อาทิเช่น โครงการกิจกรรมอบรมภาษาอังกฤษ ให้แก่เยาวชน โครงการยุวชนพุทธมณฑลรักการอ่าน และโครงการ โรงเรียน วัด ชุมชน สานสัมพันธ์  เพื่อชุมชน  อุดมปัญญา ที่จัดโดยหน่วยงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม วิทยาลัยนานาชาติ  เป็นต้น  วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ก�ำหนดเป้าหมายตามนโยบายหลักด้านพันธกิจมหาวิทยาลัย  กับสังคม (Social Engagement) โดยการบูรณาการการท�ำงานเชิงวิชาการร่วมกับชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน  ร่วมคิดร่วมท�ำแบบหุ้นส่วน เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการใช้ความรู้  เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้  เพื่อน�ำชุมชนอุดมปัญญาน�ำพาสังคมอุดมความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป

22


เกร็ดวิถีชีวิต

เ   ก   ร็   ด   ชี   วิ   ต   วั   ด   สุ   ว   ร   ร   ณ

ประเพณีตักบาตรท้องน�้ำ วัดสุวรรณาราม๑

นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม๒

เ   ก   ร็   ด   ชี   วิ   ต   วั   ด   สุ   ว   ร   ร   ณ

ประเพณีตักบาตรท้องน�้ำจัดขึ้นที่วัดสุวรรณาราม หมู่ที่  ๑ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม  มากว่า ๕๐ ปี  เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระครูวิชัยวุฒิคุณ (หลวงพ่อดี  สุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส โดยการริเริ่มของ  นายถาวร เทียมปฐมไวยาวัจกรวัดในขณะนั้น โดยจัดขึ้นในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง  ในช่วงเช้าประมาณ ๐๘.๐๐ น. ณ บริเวณคลองมหาสวัสดิ์  หน้าวัดสุวรรณาราม โดยเป็นการท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แม่พระคงคา  และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่เสียชีวิตในคลองมหาสวัสดิ์  เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์คนที่อาศัยอยู่ริมคลอง  มหาสวัสดิ์จมน�้ำตายกันหลายรายและชาวบ้านเชื่อว่าการที่มีคนจมน�้ำตายวิญญาณผู้ตายจะสิงสถิตอยู่ในบริเวณนั้นจนกระทั่ง  มีคนจมน�้ำตายบริเวณนั้นอีกวิญญาณเดิมจึงจะได้ไปเกิดใหม่  ดังนั้นการจัดพิธีตักบาตรท้องน�้ำจึงเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการ  ท�ำให้ประชาชนทีอ่ ยูร่ มิ คลองมีความระมัดระวังบุตรหลานไม่ให้ตกนำ�้ ตายหลังจากการจัดประเพณีนขี้ นึ้ มา ปรากฏว่ามีคนจมน�ำ้ ตาย  น้อยลงมาก ในช่วงเวลานั้น พระวัดสุวรรณารามจะออกบิณฑบาต มีทั้งสายเดินและสายเรือ สายเรือจะใช้เรือบดหรือเรือส�ำปั้นเพรียว  ซึ่งเป็นเรือขนาดเล็ก พระนั่งกลางล�ำเรือได้รูปเดียว มีบาตรและส�ำรับวางไว้ข้างหน้า พระที่พายเรือต้องมีความช�ำนาญมากเพราะ เป็นเรือเล็กจมได้ง่าย ในวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ ประชาชนที่มาท�ำบุญที่วัดสุวรรณารามส่วนใหญ่  จะน�ำเรือที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวันมีทั้งเรือขนาด ใหญ่  เช่น เรือมาด เรือชะล่า หรือเรือขนาดเล็ก เช่น เรือส�ำปั้น เรืออีแปะ หรือเรืออีป๊าบ (หรือเรือจู๊ด) ชาวบ้านส่วนหนึ่งจะน�ำเรือ รับพระพร้อมด้วยบาตรและส�ำรับ เรือที่มีขนาดเล็กรับได้  ๑ รูป เรือล�ำใหญ่รับได้  ๒-๓ รูป ชาวบ้านจะเป็นผู้พายเรือให้พระนั่ง  ส�ำหรับผู้ที่ใส่บาตรจะอยู่ในเรือ ซึ่งจะจอดเรียงรายอยู่ริมฝั่งหรือบนท่าเรือ เมื่อเรือพระมาถึงก็จะน�ำอาหารคาวหวานตักใส่รวมทั้ง ถวายดอกไม้  ธูปเทียน และปัจจัย

๑  ๒

อภิลักษณ์  เกษมผลกูล. (๒๕๕๔). อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางสาวสมศรี เทียมปฐม. หน้า ๒๑ - ๒๔. อดีตผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และประธานสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

23


ประเพณีตักบาตรท้องน�้ำ บริเวณหน้าวัดสุวรรณาราม เมื่ อ   ๔๐  -  ๕๐  ปี   ก่ อ น  ประเพณี นี้ มี ผู ้ ม าร่ ว มงานเป็ น  จ�ำนวนมากจะเห็นเรือเต็มคลองมหาสวัสดิ์หลายร้อยล�ำ ประกอบกับ  วั ด สุ ว รรณาราม  ในช่ ว งนั้ น เป็ น ช่ ว งที่ ป ระชาชนมี ค วามศรั ท ธาต่ อ  พระครูวิชัยวุฒิคุณ (หลวงพ่อดี  สุวณฺโณ) มาก มีคนศรัทธาบวชที่วัด สุวรรณารามในช่วงเข้าพรรษาจ�ำนวนมากกว่า ๑๐๐ รูป เป็นประจ�ำ และในช่ ว งวั น เพ็ ญ กลางเดื อ น  ๑๒  ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งออกพรรษาได้ เ พี ย ง  ๑ เดือน ยังมีพระภิกษุอยู่หลายสิบรูป จึงมีญาติพี่น้องมาร่วมท�ำบุญ เป็นจ�ำนวนมาก ปั จ จุ บั น ไม่ มี พ ระบิ ณ ฑบาตทางน�้ ำ ในอ�ำเภอพุ ท ธมณฑลแล้ ว  เนื่องจากพระที่เคยพายเรือได้เริ่มมีอายุมากไม่สามารถบังคับเรือได้ดี ท�ำให้มีโอกาสล่มได้บ่อย ส่วนประเพณีตักบาตรท้องน�้ำประชาชนก็เริ่มมา น้อยลง เนื่องจากปัจจุบันมีทางรถยนต์ที่สะดวก จึงใช้เรือน้อยลงเรื่อยๆ  ประกอบกับจ�ำนวนพระภิกษุของวัดสุวรรณารามลดลงมากจึงมีญาติโยม มาท�ำบุญน้อยลง การจัดประเพณีดังกล่าวนอกจากจะเป็นการท�ำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้ พ ระแม่ ค งคาและผู ้ ที่ เ สี ย ชี วิ ต ในคลองมหาสวั ส ดิ์ แ ล้ ว   ยั ง เป็ น การ  อนุรักษ์ประเพณีที่มีการจัดท�ำกันมานานมากกว่าครึ่งศตวรรษและเป็น  การอนุรักษ์เรือและวิถีชีวิตริมคลองมหาสวัสดิ์ให้คงอยู่ตลอดไป องค์การ บริหารส่วนต�ำบลศาลายาได้ร่วมกับวัดสุวรรณารามผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ชมรมการท่ อ งเที่ ย วการเกษตร อ.พุ ท ธมณฑล จ.นครปฐม และสภา วัฒนธรรมอ�ำเภอพุทธมณฑล ได้เริ่มอนุรักษ์ประเพณีดังกล่าว ตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๕๒ ท�ำให้ประเพณีนี้มีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ซึ่งต่อไปน่าจะ กลายเป็นประเพณีในระดับจังหวัดต่อไป

24


เล่าสู่กันฟัง

ล่

สู่

กั

ฟั

ฟั

งานวันรวมพลัง

ผู้อาวุโสพุทธมณฑล เ

ล่

สู่

กั

ประภา คงปัญญา

สวั ส ดี ค ่ ะ   ท่ า นผู ้ อ ่ า น  ก่ อ นอื่ น ขอแนะน�ำคอลั ม น์   “เล่ า สู ่ กั น ฟั ง ”  ก่ อ นนะคะ  คอลั ม น์ นี้ เ ป็ น การน�ำเสนอเรื่ อ งราวดี ๆ  ที่เกิดขึ้นในอ�ำเภอพุทธมณฑล และความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ส�ำหรับเรื่องราวในฉบับแรก  ขอประเดิมด้วยเรื่องเล่าที่สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับผู้สูงวัยชาวพุทธมณฑลค่ะ  เมื่อวันที่  ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา นับว่าเป็นวันดีอีกวันหนึ่งของผู้อาวุโสพุทธมณฑล เพราะเป็นวันที่ตัวแทนผู้สูงวัย  จากต�ำบลต่างๆ มาร่วมแสดงพลังท�ำดีเพื่อพ่อของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หวั  ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ งานนีจ้ ดั ขึน้ ทีอ่ าคารสุชพี  ปุญญานุภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยการมีส่วนร่วม ระหว่างเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุอ�ำเภอพุทธมณฑล มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายด้านสุขภาพ  และเครือข่ายที่ท�ำงานด้านความสุข ได้แก่  บ้านดอกบัว ของ ศ.เกียรติคุณพญ.คุณสาคร ธนมิตต์  งานเริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่จึงมี การจัดเตรียมอาหารเช้าเพื่อเติมพลังผู้สูงอายุที่มาร่วมงานด้วยน�้ำเต้าหู้และปาท่องโก๋แสนอร่อย เมื่อผู้สูงอายุที่เข้าร่วมงานได้ลง ทะเบียนและนั่งประจ�ำกลุ่มโดยแยกตามชมรมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ช่วงพิธีถวายพระพรและพิธีเปิดงาน งานวันนี้ได้ พิธีกรคู่ที่รับส่งกันอย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด ไม่ขัดเขิน นับว่าพิธีกรมืออาชีพกันจริงๆ คือ เรือตรีธรรมรัตน์  อรุณสินประเสริฐ และ  คุณวาสินี  เชื้อวงษ์  ทั้งยังได้รับเกียรติจากนายอังกูร สุ่นกุล นายอ�ำเภอพุทธมณฑล มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมกับตัวแทน ชมรมผู้สูงอายุพุทธมณฑลขึ้นเวทีร่วมพิธีถวายพระพรและพิธีเปิดพร้อมกับท่านนายอ�ำเภอด้วย เมื่อจบพิธีเปิดงานแล้วก็เข้าสู่กิจกรรมเชิดชูผู้อาวุโสของพุทธมณฑล  ซึ่งก่อนวันจัดงานคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้อาวุโสของอ�ำเภอพุทธมณฑล  ที่ ด�ำเนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก ทรงงานของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว   คื อ  เป็นผู้มีความเพียร คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ประหยัด เรียบง่าย และ ด�ำเนิ น ชี วิ ต อย่ า งมี ค วามสุ ข ตามปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง  รางวั ล ที่  มอบให้ กั บ ผู ้ อ าวุ โ สครั้ ง นี้ ม าจากบ้ า นดอกบั ว   โดยเป็ น แนวคิ ด ของ  ศ.เกี ย รติ คุ ณ   พญ.คุ ณ สาคร  ธนมิ ต ต์   ที่ ต ้ อ งการแสดงความชื่ น ชม  ผู้อาวุโสในพุทธมณฑลเพื่อยกย่องและให้เกียรติกับผู้อาวุโสในชุมชน  ในวันงานได้มีการมอบรางวัลให้กับผู้อาวุโสที่ได้รับคัดเลือกเป็นรางวัล  พิเศษ ๒ รางวัล พร้อมเกียรติบัตร คือ คุณป้าสังวาลย์  ดวงสร้อยทอง   ได้รับรางวัล ชื่นชมเป็นพิเศษในกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า ๖๕ ปี  ส่วน  คุณป้าระเบียบ สวัสดิจ์  ู ได้รบั รางวัลชืน่ ชมเป็นพิเศษในกลุม่ ผูส้ งู วัยอายุ  ๔๕–๖๕ ปี  นอกจากนีย้ งั ได้มอบเกียรติบตั รให้กบั ผูอ้ าวุโสที่   เข้าร่วมการคัดเลือกครั้งนี้อีก ๖ ท่านด้วย รางวัลผู้อาวุโสชื่นชมยังรวมไปถึงรางวัลที่มอบให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติเหมือนกับรางวัลของผู้อาวุโส เป็นรางวัล ชื่นชมพิเศษพร้อมทุนการศึกษาจ�ำนวน ๒ ทุน และมอบ  เกียรติบตั รให้กบั นักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมการคัดเลือกอีก ๔ คน นักศึกษาทีไ่ ด้รบั ทุนการศึกษาคือ คุณสุธดิ า เจริญชัยนันท์  และพระองอาจ  ปัญฺญาทีโป ในช่วงเวลาของการมอบรางวัลเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความชื่นชมยินดีกันถ้วนหน้า เพราะได้ยินเสียงปรบมือ  ดังก้องไปทั่วทั้งงาน

25


ต่อมาเป็นช่วงเวลาของอาหารสมองเสริมความรู้และจุดประกายความคิดให้กับผู้สูงวัยในเวทีเสวนา “โครงการต้นแบบ  พุทธเกษตรตามแนวทางภูมิรักษ์ธรรมชาติ  : ความร่วมมือระหว่างผู้อาวุโส ชุมชน และมหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย” ผู้ร่วม เสวนาประกอบด้วยคุณณัฐนภนต์  หงษ์ศรีจินดา เรือตรีธรรมรัตน์  อรุณสินประเสริฐ และคุณลุงประทุม สวัสดิ์น�ำ ปราชญ์ชาวบ้าน  เวทีนี้เป็นการจุดประกายแนวคิดให้เกิดตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการสร้างพื้นที่เปิดในชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้พัฒนาอาชีพ  โดยน�ำวิถีธรรมชาติเข้ามาปรับเปลี่ยนระบบนิเวศ สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของการแบ่งปันระหว่างผู้อาวุโสในชุมชนกับเยาวชน เพื่อสร้างการเชื่อมต่อของภูมิปัญญา การน�ำแนวคิดการพัฒนาอันเนื่องจากพระราชด�ำริโครงการแก้มลิง แกล้งดิน มาประยุกต์ ใช้ในพื้นที่ให้เกิดวิถีเกษตรแนวใหม่  เช่น การปลูกผักบนต้นกล้วย การปลูกตะไคร้หอมเป็นแนวรั้ว การใช้ต้นกล้วยเป็นเรือน เพาะช�ำพืชผักสวนครัว เป็นต้น ผู้สูงวัยที่ได้ร่วมรับฟังบางท่านก็พยักหน้าอย่างเข้าใจ บางท่านก็ขมวดคิ้ว จึงคาดเดาได้ว่าเรื่องนี้   คงต้ อ งใช้ เ วลาในการท�ำความเข้ า ใจร่ ว มกั น อี ก หลายครั้ ง เพื่ อ ให้ เ กิ ด การลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง ได้   ด้ ว ยพลั ง กาย  พลั ง ใจ  และ ประสบการณ์อันทรงคุณค่าของผู้อาวุโสพุทธมณฑลที่ต้องการจะฝากสิ่งดีๆ ไว้เป็นทางเลือกแห่งอนาคตของลูกหลานชาวพุทธ มณฑล งาน “พุทธเกษตร” คงเกิดขึ้นสมดั่งเจตนารมย์ได้ในที่สุด เมื่อจบเวทีพุทธเกษตรก็เข้าสู่ช่วง “กิจกรรมสร้างสรรค์ระลึกถึงความดีของพ่อ”  เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการแสดงเห่ เ รื อ   โดยพลเรื อ ตรี ม งคล  แสงสว่ า ง  ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ   ต่ อ ด้ ว ย  กิจกรรมขยับร่างกาย โดยอาจารย์วรพล อ�ำภาพรรณ จากนั้นเป็นการแสดงจากตัวแทน  ผู ้ สู ง วั ย จากชมรมผู ้ สู ง อายุ ต ่ า งๆ  ในอ�ำเภอ  พุทธมณฑลจัดชุดการแสดงมาโชว์มีทั้งการร้อง  ร�ำ  เต้ น   อย่ า งสนุ ก สนาน  แต่ แ ฝงไว้ ด ้ ว ย  ความหมายของการท�ำความดีเพือ่ พ่อของแผ่นดิน  บางชมรมร่ ว มร้ อ งบทเพลงเทิ ด พระเกี ย รติ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว อย่ า งไพเราะ จั บ ใจ  บางชมรมจั ด ชุ ด การแสดงเพื่ อ พ่ อ   ที่  แต่ ง ตั ว กั น มาอย่ า งลื มวัยกันเลยทีเดียว ทุกชุด การแสดงเรียกเสียงปรบมือและเสียง หัวเราะจากผู้ร่วมงาน น�ำความสุขใจมามอบให้กับทุกคน ยังไม่หมดเท่านี้เพราะว่ายังมี วงดนตรีคุณสุมานัส กรรณเลขา มาขับกล่อมเพลงพระราชนิพนธ์และเพลงต่างๆ ที่สร้าง ความสุขให้กับผู้ร่วมงานกันถ้วนหน้า หลังจากจบการแสดงผู้ร่วมงานก็ได้เวลาร่วมรับประทานอาหารกลางวัน  ที่มาจากฝีมือผู้สูงวัยจากชมรมผู้สูงอายุแต่ละแห่ง ทั้งรสชาติและกลิ่นหอมชวน หิวกันไปทั้งงาน เช่น น�้ำพริกเห็ดและผักสด ผักลวก จัดมาบนถาดใบตองที่พับ  จั บ จี บ อย่ า งสวยงาม เป็ น ฝี มื อ จากชมรมผู ้ สู ง อายุ ลี ล าวดี สี ข าว คลองโยง ๑  ไข่พะโล้หอมน่าทานจากชมรมผู้สูงอายุบ้านวัดสุวรรณ ผัดหมี่แสนอร่อยจาก ชมรมผู ้ สู ง อายุ ต�ำบลมหาสวั ส ดิ์   แกงเขี ย วหวานลู ก ชิ้ น ปลานุ ่ ม ๆ  จากชมรม  ผู้สูงอายุโรงพยาบาลพุทธมณฑล และก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นรสเลิศจากศูนย์ผู้สูงอายุ มะลิซ้อน ตบท้ายด้วยผลไม้เพื่อสุขภาพจากกลุ่มอาสาป้านง อ�ำเภอพุทธมณฑล  ในงานนี้ไม่ได้มีเพียงแต่กิจกรรมบนเวทีเท่านั้น ยังมีนิทรรศการจากภาคีเครือข่าย ต่างๆ มาร่วมส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ  และที่น่าชื่นชมอย่าง ยิ่งคือความร่วมมือของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลต่างๆ ที่จัดกิจกรรมดีๆ มาเสริมให้ครบเครื่องครบครัน สร้างความสุข  ทั้งกายและใจ เช่น การฝังเข็ม การนวดคลายเส้น เป็นต้น ถึงแม้ว่างานนี้จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของการรับต�ำแหน่งประธาน  เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุอ�ำเภอพุทธมณฑลของพลเรือตรีสัมพันธ์  ภู่ไพบูลย์  และเป็นครั้งแรกของความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ชมรมผู้สูงอายุอ�ำเภอพุทธมณฑลกับสถาบันการศึกษาต่างๆ คณะท�ำงานก็มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะจัดงานให้เป็นแบบอย่างของ การเชิดชูผู้สูงวัย ซึ่งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นบทเรียนที่จะน�ำไปสู่การแก้ไขและพัฒนา เพื่อให้การจัดงานดีๆ  เช่นนี้เป็นโอกาสของการแสดงความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆ ฝ่าย ที่จะสร้างสรรค์งานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงวัยของ  พุทธมณฑลในทุกๆ ปีต่อไป

26


เรื่องเล่าชาวคลองโยง

เ รื่ อ ง เ ล่ า ช า ว ค ล อ ง โ ย ง

บ้านนอก

วลี สวดมาลัย

เ รื่ อ ง เ ล่ า ช า ว ค ล อ ง โ ย ง “บ้านนอก” ค�ำนี้เราไม่รู้หรอกว่าในพจนานุกรมแปลว่าอะไร เราจึงพาท่านมารู้จักกับบ้านนอกของเรา บ้าน นอกของเราอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครนัก ปัจจุบันใช้เวลาการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ ๑ชั่วโมง เมื่อ สักประมาณ ๔๐-๕๐ ปีมาแล้ว มีคนถามว่าวันหยุดนี้จะไปไหน เราจะตอบว่า “กลับบ้านนอก” ตอนนี้เราจะพาท่านมารู้จักกับบ้านนอกของเรากันก่อนนะ บ้านนอกของเราอยู่ในเขตปกครองของจังหวัด  นครปฐมและนนทบุรี  มีคลองเป็นเส้นทางคมนาคม ถ้าไม่ใช้เรือเราก็จะเดินไปมาหาสู่กัน คลองก็จะมีคลองเจ๊ก,  คลองซอยล่าง, คลองซอยบน, คลองศาลาแดง, คลองสิบ, คลองวัดเส, คลองเจ้า, คลองสหกรณ์, คลองโยง,  คลองวัดต้นเชือก คลองมหาสวัสดิ์, คลองทวี  และคลองขวาง เป็นต้น อันนี้แล้วแต่ว่าจะไปไหน เช่นถ้าจะไปศาลายา  เราก็จะใช้คลองขวางมาออกที่คลองมหาสวัสดิ์เพื่อขึ้นต่อรถไฟหรือรถยนต์ได้

บ้านนอกเราก็มีโรงเรียนนะ สมัยพ่อแม่เรา (ตอนนี้ท่านอายุ  ๘๐ กว่าแล้ว) มีสอนถึงชั้นประถมสี่  (สูงสุด)  แม่เล่าให้ฟังว่าจบ ป.๔ ก็เป็นครูได้แล้ว แต่แม่ไม่อยากเป็น ต่อมารุ่นฉันเรียนก็มีถึงประถมเจ็ด (ภูมิใจ ภูมิใจ ฉันเป็นนักเรียน  ป.๕, ป.๖, ป.๗ รุ่นแรกของโรงเรียน) ปัจจุบันนี้มีถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม เป็นโรงเรียนขยายโอกาส (ฉันไม่ค่อยเข้าใจนัก   เอาเป็นว่ามีตั้งแต่อนุบาล - ม.๓ แล้วกัน) สมัยฉันเรียน เริ่มเรียนตั้งแต่ชั้น ป.๑ นั่งเรียนบนศาลาวัด (สนุกดี) บนศาลาก็จะมีอยู่ประมาณ ๒ - ๓ ห้อง อยู่ตามมุม ต่างๆ ของศาลา เสาศาลาเป็นไม้ต้นใหญ่มาก แต่ละห้องก็จะมีกระดานด�ำแผ่นใหญ่ตั้งไว้  ไม่แน่ใจว่ามีป้ายห้องหรือไม่  นักเรียน จะมองเห็นกันหมด ส่วนเวลาเรียนฉันก็จ�ำไม่ได้แน่ว่าเข้าเรียนกี่โมง เลิกเรียนกี่โมง แต่ก็จะเรียกว่าเข้าเรียนเช้าและตอนบ่าย เวลา พักกินข้าวก็จะเรียกว่าพักกลางวัน ระหว่างเรียนเช้า - บ่าย ถ้าคุณครูนึกได้ก็จะปล่อยให้พัก อันนี้เรียกว่า “พักน้อย” ก็คือเวลา พักให้ไป “ดื่มน�้ำปัสสาวะ” บางวันคุณครูก็ลืมปล่อยให้พักน้อย ก็จะมีนักเรียนที่ต้องการพัก นักเรียนจะยกมือไว้จนกว่าคุณครูจะ อนุญาตให้พูดได้  เด็กก็จะบอกคุณครูด้วยเสียงดังว่า “คุณครูขาหนูขออนุญาตไปดื่มน�้ำปัสสาวะค่ะ” คุณครูก็จะยิ้มแล้วสอนต่อไป สักพัก แล้วบอกนักเรียนว่า “อ้าวนักเรียนใครต้องการไปดื่มน�้ำปัสสาวะครูอนุญาต ส่วนคนอื่นที่ไม่ต้องการดื่มน�้ำปัสสาวะก็พักได้”  ข้อความเหล่านี้มันอยู่คู่กับโรงเรียนของเราจริงๆ นะ คุณครูส่วนใหญ่เป็นคุณครูที่มีภูมิล�ำเนาที่อื่น คุณครูใหญ่ก็จะพาไปฝากตามบ้านคนในชุมชนถ้าเป็นครูหญิง ส่วนถ้าเป็น  ครูชายก็จะพักวัด อ้อ มีคุณครูที่เป็นคนที่อื่นแต่มาสอนจนได้ภรรยาที่ชุมชนมี  ๒ คน คือคุณครู  เทพ บุญสม ท่านเป็นครูใหญ่  และ  คุณตี๋ฉันจ�ำนามสกุลไม่ได้  ตอนฉันเรียน ป.๑ มีคุณครูประจ�ำชั้นชื่อ ช�ำนาญ ธัญญาวัฒนา ท่านเป็นคนศาลายา เวลามาสอนท่านจะขับเรือมาเองจาก ศาลายา ความประทับใจของฉันต่อคุณครูช�ำนาญ วันหนึ่งฉันไม่ได้ไปโรงเรียนจ�ำไม่ได้ด้วยเหตุผลอันใด จ�ำได้แต่ว่าคุณครูเดินมา หาที่บ้านแล้วอุ้มฉันไปโรงเรียน ความรู้สึกดีๆ ที่ฉันมีต่อโรงเรียนมันคงเกิดขึ้นตอนนั้นแน่เลย หลังจากนั้นฉันไม่เคยขาดเรียนอีกเลย  ฉันชอบการไปโรงเรียนมาก โตขึ้นอยากเป็นครูแบบครูช�ำนาญ การลงโทษของครู  ครูจะเรียกนักเรียนที่ท�ำผิดทุกคนออกมายืนหน้าชั้น แล้วครูก็จะบอกความผิดของแต่ละคนให้เจ้าตัวรู้  เด็กในห้องก็จะเรียนรู้ไปด้วย แล้วครูจะตี  (ท�ำโทษ) ครูจะให้เด็กยืนกอดอก คุณครูจะตีทีละคน มากน้อยไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าความ ผิดของแต่ละคน ไม้ที่ใช้ตีเรียกว่า “ไม้เรียว” ไม้เรียวนี้คุณครูไม่ได้เอามาเองหรอกนะ เด็กๆ จะเป็นคนหามาไว้ประจ�ำในห้องเรียน  ส่วนใหญ่จะท�ำจากกิ่งไม้ไผ่  (ไม้ไผ่จะมีปุ่มตรงรอยต่อของข้อ เด็กๆ ต้องพยายามเกลาให้เรียบที่สุด เพราะถ้าโดนตีแล้วตรงข้อมา

27


กระทบเนื้อ จะเจ็บมาก) ก็แปลกดีนะเตรียมไม้ไว้ท�ำโทษตัวเองก็ยังต้องเตรียม แต่ดูทุกคนก็ไม่เดือดร้อนอะไร เต็มใจภูมิใจในการ จัดหามา แบบต้องสวยดีกว่าของเพื่อนเวลาตีจะได้ไม่หัก ไม้เรียวนี้จะเหน็บไว้ที่ชายคาศาลาของแต่ละห้อง เด็กๆ จะมาโรงเรียนกันเอง ไม่ต้องมีพ่อแม่  ผู้ปกครองมาส่ง คุณครูก็ไม่ต้องไปยืนรับหน้าโรงเรียน การเดินทางของนักเรียน พอจะแบ่งสายดังนี้ ๑) สายดอน, สายคลองสิบ (ปัจจุบันคือ ต�ำบลหนองเพรางาย อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี)  ๒) สายคลองซอย, คลองเจ๊ก (ปัจจุบันคือ หมู่  ๓ หมู่  ๗ ต�ำบลคลองโยง อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม) อันนี้จะเดิน ลัดทุ่งนามาโรงเรียน ๓) สายคลองขวาง (ปัจจุบันคือ ริมคลองนราภิรมย์  พื้นที่จังหวัดนนทบุรีและนครปฐม) ก็จะเดินเลียบริมคลองทั้งสองฝั่งมา  ทางเดินก็จะเป็นทางดินที่คนเดินจนเป็นช่องข้ามสะพานไม้ที่มีทางน�้ำเข้าบ้านคนเป็นบางช่วง ข้างทางด้านหนึ่งก็จะเป็นคลอง  อีกด้านหนึ่งก็จะเป็นป่าสะแก และกอต้นหนามแมงดอ (อันนี้น่ากลัว) ผู้ใหญ่จะบอกว่าให้ระวังไว้อย่าให้หนามแมงดอต�ำได้  (หมายถึงทิ่มเข้าไปในเนื้อตัว) เพราะมันจะหักวิ่งเข้าไปจนถึงกระดูก จะปวดมาก เท่าที่จ�ำได้ยังไม่เคยเห็นใครโดนหนามแมงดอ  สักคน ๔) เด็กตลาด (อยู่ฝั่งตรงข้ามวัด พื้นที่จังหวัดนนทบุรี) เด็กตลาดจะดูพิเศษกว่าเด็กอื่นๆ ที่กล่าวมา เสื้อผ้าหน้าตาจะดู สะอาดสะอ้าน หน้าตาจิ้มลิ้ม ไม่ขะมุกขะมอมเหมือนเด็กสายอื่นๆ ด้วยมีพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นพ่อค้า คหบดี อาหารส่วนใหญ่เด็กจะกินข้าวเช้ามาจากบ้าน และจะเตรียมอาหารกลางวันมากินกันเอง ส�ำหรับคนบ้านไกล พ่อแม่ก็จะ เตรียมใส่ปิ่นโตมา ถ้าดูดีหน่อย (เท่) ก็จะมีกล่องข้าว (เป็นภาชนะอะลูมิเนียม เป็นกล่องสี่เหลี่ยม มีที่ใส่กับข้าวอยู่ในกล่องนี้ด้วย)  ส่วนฉันและเด็กตลาดก็จะวิ่งกลับมากินข้าวที่บ้าน ไม่ต้องห่อข้าวมากินที่โรงเรียน กินข้าวเสร็จก็จะเล่นอยู่ในบริเวณวัดนั่นแหละ  อาทิ  ทอยเส้น, อีตัก, หมากเดิน, ตาขะเหย่ง โหดหน่อยก็เล่นตี่จับ (อันนี้ต้องเล่นหลายคนและใช้ก�ำลังเยอะมาก)  ครูจะปล่อย (เลิกเรียน) พร้อมๆ กันทุกชัน้  ถ้าชัน้ ไหนยังไม่เลิกก็กลับบ้านไม่ได้ตอ้ งรอกัน เส้นทางกลับก็เหมือนขามาโรงเรียน รู้ยังบ้านนอกฉันอยู่ไหน ถ้ายังไม่รู้ขอต่อฉบับหน้านะ

แนะน� ำ หนั ง สื อ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เด็กบ้านนอก

พุทธมณฑลวัฒนา ๖๐ ปี นายแพทยวì ฒ ั นา เทียมปฐม  คลังปัญญาแหงè ชาวพุทธมณฑล พัชรี ศรีเพ็ญแก้ว

“พุทธมณฑลวัฒนา” เป็นหนังสือที่หน่วยวิชาการเชิง สร้างสรรค์และชุมชนสัมพันธ์  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัย มหิดล ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธมณฑลจัดพิมพ์ขึ้น เพื่อแสดง  มุฑิตาจิตในโอกาสเกษียณอายุราชการ ของนายแพทย์วัฒนา  เทียมปฐม ซึ่งเป็นบุคคลผู้เป็นที่รู้จักและเป็นที่เคารพยกย่อง ของชาวอำ�เภอพุทธมณฑล ในฐานะเป็นผู้มีคุณูปการต่ออำ�เภอ พุทธมณฑลอย่างยิ่งในหลายประการ ทั้งด้านการสาธารณสุข  และด้านสังคมและวัฒนธรรม เนื้อหาภายในหนังสือเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณี  วัฒนธรรม มรดกทางธรรมชาติ  และข้อมูลที่น่าสนใจของอำ�เภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อให้สามารถเป็นข้อมูลเบื้องต้นใน การศึกษาเรียนรู้  หรือสำ�หรับบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสถ่ายทอดและต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป ทั้งนี้  ผู้ที่สนใจสืบค้นข้อมูลสามารถเข้าใช้บริการได้ที่ห้องสมุด ชั้น ๒ อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  28 โทรศัพท์  ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๐๑ – ๘ ต่อ ๑๒๐๑ ในวันและเวลาราชการ


ข่าวประชาสัมพันธ์ อ�ำเภอพุทธมณฑล

การจัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์

ของอ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

คณะกรรมการอำ�นวยการจัดงานพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก ให้กระทรวงมหาดไทยขอความร่วมมือจังหวัดทุกจังหวัดจัดพิธีบำ�เพ็ญกุศลพระศพสมเด็จพระ ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในพิธีถวายดอกไม้จันทน์  ในส่วนภูมิภาค วัน ที่  ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา และให้ทุกอำ�เภอจัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์  ในพื้นที่อำ�เภอละ ๑ แห่ง  เพื่อให้คณะสงฆ์พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประชาชนทั่วไปในพื้นที่  ได้มีส่วนร่วมในการถวายความ อาลัยและร่วมรำ�ลึกถึงพระคุณูประการที่มีต่อบวรพุทธศาสนา รวมทั้งมีโอกาสร่วมในพิธีถวายดอกไม้จันทน์  เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัยในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก พร้อมเพรียงกันทั้งประเทศ  ในส่ ว นของอำ � เภอพุ ท ธมณฑลนั้ น   ได้ กำ � หนดจั ด พิ ธี ถ วายดอกไม้ จั น ทน์   ในวั น ที่   ๑๖  ธั น วาคม  ๒๕๕๘ ณ วัดมะเกลือ หมูท่  ่ี ๔ ตำ�บลคลองโยง อำ�เภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม โดยมีนายอังกูร สุน่ กุล  นายอำ � เภอพุ ท ธมณฑล เป็ น ประธานประกอบพิ ธี ว างดอกไม้ จั น ทน์   และพิ ธี เ ผาดอกไม้ จั น ทน์   ซึ่ ง การ  จั ด พิ ธี   ได้ มี ก ารจั ด แสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุ   การแสดงโขนกลางแปลง  ตอนตามกวาง  ยกรบ จากวิทยาลัยนาฏศิลปศาลายา มีผู้เข้าร่วมในพิธีประกอบด้วยพระสงฆ์จากทุกวัดในพื้นที่อำ�เภอ  พุทธมณฑล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมด้วยข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานในสังกัด กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ กลุ่มพลัง มวลชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่อำ�เภอพุทธมณฑล ประมาณ ๒,๐๐๐ คน

พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นขาœ ราชการที่ดีและพลังของแผ นè ดิน  เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

29


การจัดงานเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ อ�ำเภอพุทธมณฑลจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม   ๒๕๕๘ โดยจัดพิธีลงนามถวายพระพร พิธีถวายพระพรชัยมงคล   และพิธีถวายเครื่องราชสักการะ ในวันเสาร์ที่  ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘   เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ หอประชุมโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย   นครปฐม (พระต�ำหนักสวนกุหลาบมัธยม) และพิธีจุดเทียนถวาย  พระพรชัยมงคลในภาคค�่ำ ณ เทศบาลต�ำบลศาลายา เทศบาลต�ำบล  คลองโยง  องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต�ำบลมหาสวั ส ดิ์   โดยมี น ายอั ง กู ร  สุ่นกุล นายอ�ำเภอพุทธมณฑล เป็นประธานในพิธี  มีผู้เข้าร่วมพิธี ประกอบด้ ว ยหั ว หน้ า ส่ ว นราชการ  ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา  หั ว หน้ า  หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อม ด้วยข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานในสังกัด ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ  กลุ่มพลังมวลชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่อ�ำเภอ พุทธมณฑล

30


31


32



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.