Siampakorn Vol.1

Page 1


สยามปกรณปริวรรต เลม ๑ งานสํารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมทองถิ่นภาคกลาง

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล บรรณาธิการ

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๕๔


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สยามปกรณปริวรรต เลม ๑ งานสํารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมทองถิ่นภาคกลาง ISBN 978-974-11-1471-9 พิมพ์ครั้งแรก ๕๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่

ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิรัตน์ คําศรีจันทร์ อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์

ผู้ก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์และอดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ อดีตรองผู้อํานวยการสถาบันสาธารณสุขอาเซียน หัวหน้างานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บรรณาธิการ อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว นายดรณ์ แก้วนัย

เจ้าหน้าที่วิจัยประจําศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา นักวิชาการอิสระ

ภาพปก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดพระปรางค์มุนี ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ภาพลายเส้นท้ายเรื่อง ภาพเทวดาสอยผลไม้ ลายเส้นในสมุดไทยดํา วัดท่าน้ําตื้น อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี ออกแบบปก: นายกานต์ พฤทธานนมท์ (www.2digitalstudio.com)


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

คํานํา นับแต่โบราณมา วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับวรรณคดีท้องถิ่นอย่างมาก เรียกว่าตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะเมื่อจะเกิดก็ ต้องมีความเกี่ย วพัน กับวรรณกรรมตํ าราแพทย์และตํ าราโหราศาสตร์ เมื่อเกิด แล้ว มีพิธี รับขวัญ มีบททําขวัญ เมื่อเจริญวัยขึ้นต้องโกนจุก มีบททําขวัญจุก เมื่อเริ่มเรียนหนังสือ ก็เริ่มต้องเรียนรู้ตํารา และคําสอนสําหรับเด็ก ได้ฟังและอ่านวรรณกรรมนิทาน ฝ่ายชายเมื่ออายุครบบวช มีบททําขวัญนาค เมื่อบวช แล้ วต้ องเรี ยนรู้ว รรณกรรมพระพุทธศาสนา ฝ่ ายหญิ งเรีย นรู้ วรรณกรรมคํา สอนของหญิ ง การวางตัว และ มารยาทต่างๆ ในการเป็นแม่ศรีเรือน เมื่อหญิงชายชอบพอกันก็อาจเขียนเพลงยาวหรือร้องเพลงเกี้ยวกัน เมื่อ จะประกอบกิจการอาชีพต่างๆ ก็มีวรรณกรรมตําราเป็นศาสตร์เฉพาะ เมื่อตายแล้วก็มีสวดพระมาลัย และสวด คฤหัสถ์ เรียกได้ว่า ผูกพันตั้งแต่เกิดจนตายโดยแท้ แม้ว่าปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับวรรณคดีท้องถิ่นจะไม่แน่นแฟ้นดังเดิม แต่การศึกษา วรรณคดีท้องถิ่นก็ยังคงมีความสําคัญ เพราะการศึกษาวรรณคดีท้องถิ่นจะช่วยให้เข้าถึงและเข้าใจวัฒนธรรม ไทยใกล้ชิดมากขึ้น ได้มองเห็นความแตกต่างและความหลากหลายในสังคมไทยที่อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขสืบ มา ที่ สํ า คั ญ ยั ง จะช่ ว ยให้ เ รา (และคนไทยส่ ว นใหญ่ ) ได้ “เห็ น ” ถึ ง อั จ ฉริ ย ภาพของบรรพบุ รุ ษ ทั้ ง ในเชิ ง มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจนํามาประยุกต์ พัฒนาและใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบันสมัย อันจะนําพา ประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ในที่สุด ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาในฐานะหน่วยงานวิจัยด้านไทยศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพยายามอย่างยิ่งในการที่จะส่งเสริม สนับสนุนและเผยแพร่องค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ไทยศึกษา รวมทั้งผลิตงานวิจัยและโครงการด้านไทยศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม งานสํารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่น นับเป็นงานหนึ่งที่ศูนย์ฯ ให้ความสําคัญ และดําเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นสูญหายหรือถูกทําลาย เนื่องจากสถานการณ์ของวรรณกรรมท้องถิ่น ในปัจจุบันกําลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการคุกคามเพื่อผลประโยชน์โดยเฉพาะประโยชน์ในเชิงพุทธพาณิชย์ จึง จําเป็นอย่างยิ่งที่ศูนย์ฯ จะเร่งเก็บข้อมูลดังกล่าวก่อนที่ข้อมูลอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสําคัญของชาติจะสูญ หายไป นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการดําเนินงานดังกล่าว โดยจะได้จัดโครงการและจัดพิมพ์ เอกสารในลักษณะนี้เป็นประจําต่อเนื่องทุกปี เพื่อนําไปสู่การจัดทําฐานข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ต่อไป


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

การจัดพิมพ์หนังสือ “สยามปกรณ์ปริวรรต” ในครั้งนี้ คณะทํางานได้คัดสรรวรรณกรรมจํานวนหนึ่งมา ปริวรรต ได้คัดเลือกและนํามาจัดพิมพ์จํานวน ๑๐ เรื่อง แบ่งเป็น หมวดวรรณกรรมนิทาน จํานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ษรีเมืองกลอนสวด ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ และ สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัด จันทบุรี หมวดวรรณกรรมคําสอน จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ โลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ หมวดวรรณกรรมตํารา จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี หมวด วรรณกรรมศาสนา จํานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี มหาเวสสันดร ชาดก กัณฑ์มหาราช ฉบับวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี พระอานิสงส์การสร้างสะพาน ฉบับวัดเขาชําห้าน จังหวัด จันทบุรี มรณสงคราม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี และ พระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี หมวดพงศาวดารและประวัติศาสตร์ จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ กฏหมายหลักไชย ฉบับวัด พิกุลทอง สิงห์บุรี โดยศูนย์ฯ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของศูนย์ฯ และเครือข่าย เป็นผู้ปริวรรต และ เขียนบทนําเรื่อง เพื่อจะยังประโยชน์แก่ผู้อ่านให้ทวีมากขึ้น ในนามของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาขอกราบขอบพระคุณเจ้าอาวาสวัดปากกิเลน วัดไตรรัตนาราม วัดวังโพธิการาม วัดกาญจนบุรีเก่า วัดทุ่งลาดหญ้า วัดศรีอุปลาราม วัดท่าน้ําตื้น และวัดเทวสังฆาราม จังหวัด กาญจนบุรี เจ้าอาวาสวัดเกยไชยเหนือ และวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เจ้าอาวาสวัดวิหารขาว วัดพิกุล ทอง วัดจุฬามุนี วัดจําปาทอง วัดพระปรางค์มุนี วัดศรัทธาภิรม และวัดพรหมเทพาวาส จังหวัดสิงห์บุรี ที่กรุณา อํานวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลของคณะทํางานเป็นอย่างดี ขอขอบคุณวัฒนธรรมจังหวัดตราด วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ วัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี วัฒนธรรม จังหวั ด ลพบุ รี คุ ณทิพวรรณ อิน นั น ทนานนท์ นั กวิ ช าการวัฒ นธรรมชํ า นาญการจั งหวั ดนครสวรรค์ ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ฟ้อน เปรมพันธุ์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ อาจารย์ปราโมช ทองอ่อน นักวิชาการอิสระจังหวัดนครสวรรค์ ที่กรุณาประสานงาน อํานวยความสะดวก และ ให้คําแนะนําอันเป็นประโยชน์ระหว่างการเก็บข้อมูลของคณะทํางาน ท้ายสุด ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา เป็น อย่างสูง ที่กรุณาร่วมเดินทางเก็บข้อมูล อนุเคราะห์ข้อมูล ประสานงาน ตลอดจนให้คําแนะนํา และข้อคิดอัน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดําเนินงานของศูนย์ฯ ในครั้งนี้ จนทําให้การดําเนินงานสําเร็จลุล่วงด้วยดี และ ขอบคุณอาจารย์วริศรา โกรธินทาคม เลขานุการศูนย์ฯ นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว เจ้าหน้าที่วิจัยประจําศูนย์ฯ อาจารย์สายป่าน ปุริวรรณชนะ คุณอุมาวรรณ ทองสุพรรณ คุณดรณ์ แก้วนัย นักวิชาการอิสระ นายธนภัทร พิริย์โยธิ นกุล และนายนัฐพร ปะทะวัง นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิ ลปศาสตร์ ที่ได้พยายามทุ่มเท ทํางานอย่างอุตสาหะตลอดการดําเนินงาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

ในนามของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “สยามปกรณ์ปริวรรต” เล่มนี้ จะเป็น ประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น และสร้างแรงบันดาลใจให้คนในท้องถิ่นอยากรู้จักท้องถิ่นของตนเอง มากขึ้นผ่านการศึกษางานวรรณกรรม อันจะช่วยให้งานศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นงอกงามไพบูลย์ไม่มีสิ้นสุด

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศาลายา


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

สารบัญ คํานํา ........................................................................................................................................................ ค บทนํา: รายงานการดําเนินงานโครงการ“สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ประจําปี ๒๕๕๔ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล พัชรี ศรีเพ็ญแก้ว .............................................................................................................................. ๑ หมวดวรรณกรรมนิทาน ษรีเมืองกลอนสวด ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ................................................................................................................ ๑๕ สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ดรณ์ แก้วนัย ............................................................................................................................ ๒๑๗ หมวดวรรณกรรมคําสอน โลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ นัฐพร ปะทะวัง ......................................................................................................................... ๒๗๗ หมวดวรรณกรรมตํารา พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี นัฐพร ปะทะวัง ......................................................................................................................... ๓๐๗ หมวดวรรณกรรมศาสนา กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี สายป่าน ปุริวรรณชนะ ............................................................................................................. ๓๓๓ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช ฉบับวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี ดรณ์ แก้วนัย ............................................................................................................................ ๓๖๕ พระอานิสงส์การสร้างสะพาน ฉบับวัดเขาชําห้าน จังหวัดจันทบุรี อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ............................................................................................................. ๓๘๓ มรณสงคราม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี ดรณ์ แก้วนัย ............................................................................................................................ ๓๙๒


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี นัฐพร ปะทะวัง ......................................................................................................................... ๔๒๕ หมวดพงศาวดารและประวัติศาสตร์ กฏหมายหลักไชย ฉบับวัดพิกุลทอง สิงห์บุรี เขมฤทัย บุญวรรณ .................................................................................................................. ๔๔๓ ภาคผนวก โครงการสยามปกรณ์ปริวรรต .................................................................................................................. ๔๗๗ คําสั่งแต่งตั้งกรรมการโครงการสยามปรณ์ปริวรรต ................................................................................. ๔๘๑ แนะนําศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ............................................................................................................... ๔๘๓ รายชื่อคณะกรรมการบริหารศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา .............................................................................. ๔๘๕


สยามปกรณปริวรรต งานสํารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมทองถิ่นภาคกลาง


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

บทนํา: รายงานการดําเนินงานโครงการ“สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ประจําปี ๒๕๕๔ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล๑ พัชรี ศรีเพ็ญแก้ว๒ วรรณคดีท้องถิ่นเป็นสิ่งสําแดงออกถึงจิตวิญญาณ ความคิด ความเชื่อ พลัง จินตนาการและความฝัน อันงดงามของชาวบ้านไทย ที่กลั่นกรองผ่านภาษาถ้อยคําและท่วงทํานองท้องถิ่นด้วยความตั้งใจ ไม่เพียงความ ไพเราะรื่นหูเท่านั้นที่เป็นผลพลอยได้จากการรังสรรค์ผลงานอันประณีตเหล่านี้ หากแต่วรรณคดีท้องถิ่นยังมี บทบาทอย่างสําคัญยิ่งในการเป็นสื่อกลางที่จะถ่ายทอดให้เราเข้าใจท้องถิ่นต่างๆ ได้ลุ่มลึกมากขึ้น ในฐานะที่ ท้องถิ่นต่างๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมไทย ปัจจุบันยังคงมีวรรณคดีท้องถิ่นอีกเป็นจํานวนมากที่ยังไม่มีการค้นพบ ทั้งเพลงพื้นบ้านต่างๆ ที่ร้องกัน อยู่เฉพาะในท้องถิ่นและคนนอกพื้นที่ไม่รู้จัก วรรณกรรมลายแทงต่างๆ ที่ยังคงซ่อนอยู่ ตลอดจนคัมภีร์ใบลาน และสมุดไทยเรื่องต่างๆ ที่บันทึกความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อความเจริญของมนุษยชาติ การเก็บข้อมูลวรรณคดี ท้องถิ่นจึงมีความจําเป็นและเป็นภาระหน้าที่ที่สําคัญอย่างยิ่งของนักวิชาการด้านวรรณคดีท้องถิ่น ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ จึงได้จัดโครงการ “สยาม ปกรณ์” เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บ รวบรวมข้อมูล ปริวรรตและเรียบเรียง พร้อมทั้งวิเคราะห์เอกสารโบราณ อันจะนําไปสู่การเผยแพร่และพัฒนา องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติในเชิงมนุษยศาสตร์ ระหว่างนักวิชาการ นักศึกษา กับปราชญ์ชาวบ้านหรือชุมชนท้องถิ่น การสํารวจข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา เดินทางออกสํารวจและเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาค กลาง ตั้ ง แต่ วั น ที่ ๙ – ๑๑ และ ๑๘ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด เขตภาคกลาง เบื้ อ งต้ น คณะทํางานได้ดําเนินการเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัด นครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี โดยในแต่ละจังหวัดมีรายละเอียดของการเก็บข้อมูล ดังต่อไปนี้

๑ ๒

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และอาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าหน้าที่วิจัยประจําศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๑.จังหวัดกาญจนบุรี ในการเก็ บ ข้ อ มู ล ณ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ในวิ ท ยาเขตของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลนั้ น คณะทํ า งานได้ ล งพื้ น ที่ ทั้ ง หมดจํ า นวน ๘ วั ด ได้ แ ก่ วั ด ปากกิ เ ลน วั ด ไตรรั ต นาราม วั ด วั งโพธิ การาม วั ด กาญจนบุรีเก่า วัดทุ่งลาดหญ้า วัดศรีอุปลาราม วัดท่าน้ําตื้น และวัดเทวสังฆาราม โดยการเก็บข้อมูลวรรณกรรม ท้องถิ่นนั้น คณะทํางานได้ดําเนินการเก็บข้อมูลทั้งในเชิงบริบทของข้อมูล อาทิ ประวัติวัด นิทานอธิบายภูมินาม ของพื้นที่ ตลอดจนยังได้สําเนาเอกสารโบราณเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อนําไปปริวรรต และจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป จากการดําเนินงานของคณะทํางานในครั้งนี้ ทําให้เกิดเครือข่ายทางวิชาการด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ภาคกลางกั บ ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ฟ้อน เปรมพั น ธุ์ และคณะ จากภาควิ ช าภาษาไทย คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี ซึ่งจะได้พัฒนาเป็นภาคีร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัย ราชภัฎกาญจนบุรี ในการดําเนินงานด้านวรรณกรรมท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรีต่อไป อย่างไรก็ตาม จากการดําเนินการเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นทั้ง ๘ วัด พบว่า มีเพียง ๓ วัด ได้แก่ วัดกาญจนบุรีเก่า วัดท่าน้ําตื้น และวัดเทวสังฆาราม ที่มีการเก็บรักษาเอกสารโบราณไว้ คณะทํางานจึงได้ ดําเนินการสํารวจเอกสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้ วัดกาญจนบุรีเก่า (วัดนางพิม) เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระราชรัตนวิมล (พยุง ฐิตสีโล) ปัจจุบันดํารงตําแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีด้วย ศูนย์ฯ ได้รับความกรุณาให้สําเนาเอกสาร โบราณทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงสมุดไทย ๒ ฉบับ ได้แก่ ตํารายา และคัมภีร์พระมาลัย ซึ่งนอกจากการเก็บ ข้อมูลแล้ว คณะทํางานยังได้แนะนําวิธีเก็บรักษาเอกสารโบราณ และดําเนินการอนุรักษ์เอกสารโบราณเพื่อ ป้องกันการชํารุดเสียหายและเพื่อให้เกิดสะดวกในการเก็บรักษา

คณะทํางาน นําโดยอาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ขณะดําเนินการอนุรักษ์เอกสาร ณ วัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

วัดท่าน้ําตื้น เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระอธิการกมล อิสิญาโณ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติวัดว่า แต่ เดิมวัดนี้ชื่อ “วัดท่าม้าตื่น” และศูนย์ฯ ได้รับอนุญาตให้สําเนาเอกสารซึ่งเก็บรักษาไว้ในกุฏิเจ้าอาวาส โดย เอกสารส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ชํารุดเสียหาย มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มีสภาพสมบูรณ์ ทั้งนี้คณะทํางานได้สําเนา เอกสารโบราณพร้อมทั้งทําความสะอาดและจัดเรียงเอกสารให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น วัดเทวสังฆาราม เป็นวัดที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฟ้อน เปรมพันธุ์ นําคณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ ศึกษา ไปเก็บข้อมู ล โดยพบสมุดข่อยและใบลานจํานวนมาก เก็บอยู่ในห้องเก็บของที่กํา ลังอยู่ระหว่างการ ดําเนินการรวบรวมและจัดเรียงให้เรียบร้อย ซึ่งคณะทํางานได้สําเนาเอกสารสมุดข่อยและใบลานเพียงบางส่วน เท่านั้น นอกจากนี้ยังได้เก็บภาพลายผ้าห่อพระคัมภีร์เพิ่มเติมด้วย

คณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ฟ้อน เปรมพันธ์ ภายหลังดําเนินการอนุรักษ์เอกสาร ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ๒.จังหวัดนครสวรรค์ ในการดําเนินการเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่น ณ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในวิทยาเขตของ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น คณะทํางานได้ดําเนินการประสานงานไปยังสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ โดย ได้รับความร่วมมือจากคุณทิพวรรณ อินนันทนานนท์ นักวิชาการวัฒนธรรมชํานาญการ ในการนําลงพื้นที่เพื่อ เก็บข้อมูลจากการการสํารวจพบว่ามีเพียงบางวัดที่สามารถให้เก็บข้อมูลและเอกสารได้ เนื่องจากเอกสารเก็บ รักษาไว้เป็นอย่างดีภายในพิพิธภัณฑ์ของวัด ได้แก่ วัดเกยไชยเหนือ และอีกวัดที่เก็บรักษาไว้ภายในพระอุโบสถ ได้แก่ วัดเกาะหงษ์


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และคุณทิพวรรณ อินนันทนานนท์ นักวิชาการวัฒนธรรมชํานาญการ ณ สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ วัดเกยไชยเหนือ เก็บรวบรวมเอกสารโบราณไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ของวัด โดยคณะทํางานได้สํารวจพบ ทั้งสมุดข่อยและใบลานสภาพสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ เอกสารโบราณที่พบมีทั้ง ตําราปลูกข้าว ไตรภูมิพระ สังคหะ จิตรกรรมบนสมุดไทย ฯลฯ ทั้งนี้คณะทํางานได้ดําเนินการสําเนาเอกสาร พร้อมทั้งดําเนินการอนุรักษ์ เอกสาร วัดเกาะหงษ์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระอธิการบุญชู อินฺทสโร ได้อนุญาตให้คณะทํางานของศูนย์ฯ เข้าเก็บข้อมูลและสําเนาเอกสารที่เก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์ปราโมช ทอง อ่อน นักวิชาการในท้องถิ่น ในการนําเอกสารอื่นๆ มาให้สําเนาภาพ ทั้งยังพาชมสถานที่สําคัญๆ ภายในวัด และ ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัดอีกด้วย ๓.จังหวัดสิงห์บุรี การเก็บข้อมูลในจังหวัดสิงห์บุรี คณะทํางานได้ติดต่อประสานงาน และเข้าเยี่ยมคารวะ วัฒนธรรม จังหวัดสิงห์บุรี ณ สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อขอคําแนะนําและข้อคิดอันเป็นประโยชน์ต่อการ ดําเนินงานของคณะทํางาน ซึ่งได้รับความร่วมมือและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดต่างๆ ที่คาดว่ามีเอกสารโบราณอยู่ จากการสํารวจพบว่า มีบางวัดที่ได้เผาทําลายเอกสาร หรือนําไปทํามวลสารพระเครื่อง คณะทํางานจึงเก็บ ข้อมูลและสําเนาเอกสารโบราณได้เพียง ๒ วัด ที่เก็บรักษาเอกสารเป็นอย่างดี คือ วัดพิกุลทอง และวัดพรหม เทพาวาส


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ขณะเข้าเยี่ยมคารวะวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี ณ สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี วั ด พิ กุ ล ทอง เก็ บ รั กษาเอกสารโบราณเป็ น อย่ า งดี ภ ายในพิ พิธ ภั ณฑ์ ของวั ด ซึ่ งคณะทํ า งานได้ รั บ อนุญาตให้สําเนาเอกสารและดําเนินการอนุรักษ์เอกสารเพื่อป้องกันการชํารุดของเอกสาร อีกทั้งได้ยังได้จัดทํา บัตรรายการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้กับวัด

คณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ขณะดําเนินการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี


| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

วัดพรหมเทพาวาส (วัดชลอน) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระอธิการปัญญา ปสนฺโน ได้อนุญาตให้ คณะทํางานเข้าเก็บข้อมูลและสําเนาเอกสาร ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีภายในพิพิธภัณฑ์ของวัด โดยเอกสารที่ พบส่วนใหญ่เป็นใบลานจํานวนมากทั้งที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ และพบสมุดข่อยอีกจํานวน ๓ ฉบับ

คณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าอาวาสวัดพรหมเทพาวาส ณ วัดพรหมเทพาวาส จังหวัดสิงห์บุรี ๔. จังหวัดลพบุรี การเก็ บ ข้ อมู ล ในจั งหวั ด ลพบุ รี คณะทํ า งานได้ ดํ า เนิ น การติ ด ต่ อประสานงานและเข้ า เยี่ ย มคารวะ วัฒนธรรมจังหวั ดลพบุ รี เพื่ อขอคํ าแนะนํ า ซึ่งได้ รับ ความร่ว มมื อและให้ข้อมู ลเกี่ย วกั บวั ดต่ างๆ ที่คาดว่า มี เอกสารโบราณ จากนั้นคณะทํางานได้เดินทางไปเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นจํานวน ๒ วัด ซึ่งพบว่าทั้ง ๒ วัด มีเอกสารโบราณอยู่ ได้แก่ วัดตองปุ และวัดไลย์

อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ขณะเข้าเยี่ยมคารวะวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี ณ สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

วัด ตองปุ เป็ น วั ด มอญเก่ า แก่วั ด หนึ่ งของจั งหวั ด ลพบุ รี เจ้า อาวาสรูป ปั จ จุ บั น คื อ พระมหาณรงค์ วฑฺฒโน ได้อนุญาตให้คณะทํางานเข้าเก็บข้อมูล ดําเนินการอนุรักษ์เอกสารและสําเนาเอกสาร โดยเอกสาร โบราณที่พบเป็นสมุดข่อยและใบลานจํานวนมาก เก็บรักษาไว้ทั้งในกุฏิพระ และพิพิธภัณฑ์ที่กําลังจัดตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังมีเอกสารบางส่วน เช่น ตํารายา โหราศาสตร์ ฯ ที่เก็บรักษาในกุฏิเจ้าอาวาส

คณะทํางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ขณะดําเนินการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ วัดตองปุ จังหวัดลพบุรี วัดไลย์ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เอกสารโบราณที่พบมีเพียงใบลานที่เก็บไว้ใน วิห ารของวั ด ซึ่ งศู น ย์ ฯ สามารถเก็ บ สํ า เนาเอกสารได้ ครบเนื่ องจากมี ใบลานที่ เ ป็ น ของเก่ า อยู่ จํ า นวนน้ อย นอกจากนั้นเป็นใบลานที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ทั้งสิ้น โดยพบร่ายยาวมหาชาติ (กัณฑ์กุมาร) สํานวนท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้ คณะทํางานยังได้ดําเนินการอนุรักษ์เอกสารเพื่อป้องกันการชํารุดเสียหายของเอกสาร สถาพการณ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง: บทสรุปจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม การเดินทางสํารวจและเก็บข้อมูลภาคสนามของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาในครั้งนี้ ทําให้พบว่าข้อมูล เอกสารที่เคยได้รับการสํารวจจากหน่วยงานต่างๆ ก่อนหน้านั้น เมื่อตรวจสอบกับสิ่งที่สํารวจในปัจจุบันพบว่าไม่ ตรงกับเอกสารโบราณที่มีอยู่จริงในวัด หลายวัดมีเอกสารเพิ่มขึ้น เนื่องจากอาจมีการรวบรวมและพบเพิ่มเติม หลายวัดมีเอกสารลดลงเนื่องจากการชํารุดหรือสูญหาย ซึ่งหากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาอนุรักษ์หรือเก็บข้อมูลไป ปริวรรตอย่างทันท่วงที ข้อมูลอันเป็นมรดกสําคัญของชาติทั้งวรรณคดี ตํานานต่างๆ เอกสารบันทึกเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์สําคัญ เอกสารที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ทั้งหมดอาจสลายไปพร้อมๆ กับสภาพเอกสาร ที่ผุกร่อนไปตามกาลเวลา


๑๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

นอกจากนี้ คณะทํางานของศูนย์ฯ ยังพบว่าปัจจุบันค่านิยมของพระสงฆ์ได้เปลี่ยนไป มีเพียงพระสงฆ์ จํานวนหนึ่งเท่านั้นที่เ ห็นความสํ าคัญและเห็นคุณค่าของเอกสารโบราณที่ ตกทอดมายังรุ่นของตน ขณะที่ มี พระสงฆ์อีกจํานวนมากที่ไม่เห็นความสําคัญ ทั้งยังทําลายเอกสารโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก เหตุผลหลายประการ ทั้งอาจเกิดจากการไม่รู้ตัวอักษรขอมหรืออักษรไทยโบราณทําให้อ่านไม่ออกหรืออ่านแล้ว ไม่เข้าใจจึงไม่ใส่ใจที่จะเก็บรักษา หรือจากความเข้าใจผิดที่คิดว่านําเอกสารโบราณที่ตนเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์มาแปร รูปเป็นส่วนประกอบหนึ่งในพระพุทธรูป หรือพระเครื่องแล้วจะช่วยเพิ่มคุณค่ามากขึ้น ทั้งนี้ถือเป็นเรื่องสําคัญ ยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสําคัญและเข้ามาจัดการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้สมบัติของชาติ ต้องสูญ สิ้ น ไปตลอดกาล โดยศู นย์ ส ยามทรรศน์ศึกษาขอเสนอแนะแนวทางแก่ห น่ ว ยงานที่ รั บ ผิด ชอบและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ ๑.ควรจัดการประชุมชี้แจงในสื่อสาธารณะให้คนส่วนใหญ่ของชาติรับทราบว่าเอกสารโบราณต่างๆ เช่น สมุดข่อย ใบลาน ฯ นั้น เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและควรให้ความสําคัญ รวมทั้งปรับทัศนคติหรือค่านิยมที่ผิดๆ เสีย ใหม่ทั้งในหมู่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน เพื่อให้ทุกฝ่ายรับรู้และเข้าใจนําไปสู่การร่วมกันอนุรักษ์มรดกอัน ทรงคุณค่านี้ไว้ ๒.ควรส่งเสริมให้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรอักษรขอมและอักษรไทยโบราณ เพื่อที่พระสงฆ์หรือผู้ที่ สนใจสามารถเรียนรู้และอ่านอักษรขอมได้ ทําให้เข้าใจเนื้อหาในเอกสารโบราณและเห็นคุณค่ามากขึ้น ๓.ควรจั ด อบรมแก่ พระสงฆ์ และพุ ทธศาสนิ กชนที่ เ กี่ ย วข้ องในเรื่ องของวิ ธี ดู แลและการเก็ บ รั กษา เอกสารโบราณต่างๆ เพื่อที่สามารถเก็บรักษาเอกสารโบราณได้อย่างถูกวิธี ๔.ควรมีการสั่งการไปยังวัดต่างๆ ให้เก็บรักษาเอกสารโบราณ และบันทึกหรือคัดลอกข้อมูลไว้ เพื่อ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลังได้ ภูมิภาคภาคกลางถือเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขุมทรัพย์ทางวรรณคดี ข้อมูลที่ได้จากการดําเนินการสํารวจของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาที่ได้ในครั้งนี้ นับเป็น เพียงเสี้ยวหนึ่งของ “คลังปัญญา” ของชาวภาคกลางเท่านั้น ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนําข้อเสนอแนะ ข้างต้นไปปฏิบัติได้อย่างทันท่วงที ข้อมูลและเอกสารโบราณต่างๆ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติก็จะ สามารถธํารงคุณค่าและอยู่คู่ชาติไทยไปตราบนานเท่านาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑

ผ้าห่อคัมภีร์ภาคกลาง: ผืนผ้ากับศรัทธาแห่งสาธุชน

ผ้าห่อคัมภีร์ของวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี

ผ้าห่อคัมภีร์ของวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี


๑๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ผ้าห่อคัมภีร์ของวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี

ผ้าห่อคัมภีร์ของวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓

หมวดวรรณกรรมนิทาน


๑๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕

ษรีเมืองกลอนสวด ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล๓ เรื่อง “ษรีเมือง” หรือ “พระศรีเมือง” เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าและมีความน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่า จะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยเท่าใดนักสําหรับผู้ศึกษาวรรณคดีไทย ทั้งยังมิได้ปรากฏหลักฐานว่าเคยมีการจัดการ แสดงละครเรื่องนี้มาก่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า “นิทานเรื่อง พระศรีเมืองนี้ มีแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่มิใช่ชาดก ทํานองจะเป็นเรื่องนิทานพวกพราหมณ์หาเข้า มา”๔ ภูมิหลังต้นฉบับเรื่องพระศรีเมือง ต้นฉบับเรื่องพระศรีเมือง หรือกลอนสวดเรื่องษรีเมืองนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่แผนกเอกสารโบราณ สํานักหอสมุดแห่งชาติ โดยแบ่งต้นฉบับเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เป็นกลอนสวด และกลุ่มที่เป็นกลอนบทละคร มีรายละเอียดดังนี้ ต้นฉบับสมุดไทยหมวดวรรณคดี หมู่กาพย์ (กลอนสวด) จํานวน ๒ เล่มสมุดไทย ษรีเมือง สมุท ๓ สมุดไทยขาว เลขที่ ๕๐๗ มัดที่ ๕๙ (ตั้งแต่นางสุวรรณเกสรคลอดบุตรที่สํานักพระ ฤๅษีตาไฟ จนลูกของนางอายุได้ ๗ ปี พระศรีเมืองจึงตามไปพบ จนถึงสองอนุชายกพลออกไปรับกลับเมืองฯ) ประวัติ พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย๕ ประทาน พ.ศ.๒๔๖๐ พระษรีเมือง เล่ม ๑ สมุดไทยขาว เลขที่ ๕๐๘ มัดที่ ๕๙ (ตั้งแต่พระศรีเมืองประสูติแล้วลาไปเข้าป่า หาเรียนวิชา จนถึงพระศรีเมืองได้ชั่ง รูปทองได้นางสุวรรณเกษรเป็นชายาฯ) ประวัติ พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศร สร้อย ประทาน พ.ศ.๒๔๖๐ ต้นฉบับสมุดไทยหมวดวรรณคดี หมู่กลอนบทละคร อักษร ศ จํานวน ๙ เล่มสมุดไทย ศรีเมือง เล่ม ๑ สมุดไทยดํา เลขที่ ๗ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ๓

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และอาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พระราชดํารัสในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และบทละคร เรื่อง พระศรีเมือง (กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร, ๒๕๑๐), หน้า ก. ๕ พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๖๘) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ประสูติเมื่อบวรราชาภิเษกแล้ว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี ๔


๑๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ศรีเมือง เล่ม ๑ สมุดไทยดํา เลขที่ ๘ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๒ สมุดไทยดํา เลขที่ ๙ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๓ สมุดไทยดํา เลขที่ ๑๐ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๔ สมุดไทยดํา เลขที่ ๑๑ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๕ สมุดไทยดํา เลขที่ ๑๒ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๖ สมุดไทยดํา เลขที่ ๑๓ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๗ สมุดไทยดํา เลขที่ ๑๔ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ศรีเมือง เล่ม ๘ สมุดไทยดํา เลขที่ ๑๕ มัดที่ ๑๒๖ ตู้ ๖/๕ ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทาน วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘

ต้นฉบับสมุดไทยษรีเมือง สมุทร ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๗

เนื้อเรื่องบทละครเรื่องพระศรีเมือง แบ่งเป็นตอนทั้งหมด ๑๐ ตอน ดังนี้๖ ตอนที่ ๑ พระศรีเมืองเรียนวิชา พระเจ้าโขมพัสตร์เจ้าเมือง โขมราฐมีพระโอรสชื่อพระศรีเมือง พระ ศรีเมืองมีพระพี่เลี้ยงสี่คน วันหนึ่งพระศรีเมืองเสด็จประพาสอุทยาน ได้พบพญาหงส์ทอง ซึ่งถวายลูกหงส์ให้ พระศรีเมืองจึงนํามาเลี้ยงไว้ในอุทยาน ต่อมาพระเจ้าโขมพัสตร์ตั้งพระทัย จะให้พระศรีเมืองอภิเษกสมรสกับ นางบุษบาธิดาของอุปราช แต่โหรแนะนําให้รอปีหน้า พระศรีเมืองจึงทูลพระเจ้าโขมพัสตร์ขอไปศึกษาวิชาในป่า กับโควินทฤาษี เมื่อพระศรีเมืองจะลากลับเมืองพระโควินทฤาษีได้ชุบศรให้เป็นอาวุธ คู่กายพระศรีเมือง ตอนที่ ๒ หงส์อาสาหาคู่ให้พระศรีเมือง หงส์ทองเห็นว่าพระศรีเมืองมีความรู้แต่ยังไม่มีคู่จึงคิดจะหาคู่ให้ พระศรี เ มื อง หงส์ ท องเที่ ย วไปยั ง เมื อ งต่ า งๆ จนพบนางสุ ว รรณมาลี ธิ ด าพระเจ้ า พิ น ทุ ทั ต เจ้ า เมื องยโสธร หงส์ทองนําดอกไม้มาถวายนางและเล่าเรื่องพระศรีเมืองให้นางฟัง นางสุวรรณมาลีไม่เชื่อ หงส์ทองจึงนําความ มาบอกพระศรีเมือง พระศรีเมืองมอบสารและธํามรงค์ไปถวายนาง นางตอบสารและให้นําสไบมาถวายพระศรี เมือง พระศรีเมืองกับพี่เลี้ยงทั้งสี่ลาพระโควินทฤาษี ตอนที่ ๓ พระศรี เ มืองเข้า เมื องยโสธร หงส์ นํ า พระศรี เ มืองและ พี่ เ ลี้ย งเดิ นทางมาเมื องยโสธร ระหว่างข้ามแม่น้ําพบจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งพระศรีเมืองรบกับจระเข้ จระเข้แพ้และอาสาพาพระศรีเมืองข้ามแม่น้ํา เมื่อเข้าเมืองยโสธรได้ พระศรีเมืองและพี่เลี้ยงได้อาศัยอยู่กับยายมาลาตามาลีในอุทยาน ตอนที่ ๔ พระศรีเมืองได้นางสุวรรณเกสร นางสุวรรณเกสรและพระธิดาองค์อื่นๆ ออกประพาส อุทยาน พระศรีเมืองจึงให้หงส์นําสร้อยไปถวาย นางสุวรรณเกสรได้พบพระศรีเมืองก็หลงรัก และวางอุบาย ให้ พระศรีเมืองเข้าไปในปราสาทของนาง พระศรีเมืองลอบเข้าปราสาทของ นางสุวรรณเกสรได้นางเป็นชายา แล้วก็กลับมาอยู่กับตายายในอุทยาน ตอนที่ ๕ ท้าวพินทุทัตให้ธิดาเสี่ยงคู่ พระเจ้าพินทุทัตจะให้พระธิดาทั้งเจ็ดอภิเษกสมรสจึงประกาศให้ เจ้าเมืองต่างๆ หล่อรูปของตนด้วยทองคํามาชั่งกับรูปทองคําของพระธิดา ถ้าน้ําหนักเท่ากับพระธิดาองค์ใดก็ จะยกพระธิดาองค์นั้นให้ พระยาจันทวงศ์ พระยาหงส์และเจ้าเมืองอื่นๆ หล่อรูปของตนแล้วเดินทางเข้าเมือง ยโสธร นางสุวรรณเกสรเอาทองชั่งตามน้ําหนักตนแล้วหล่อเป็นรูปพระศรีเมือง จากนั้นก็ส่งรูปทองไปถวายพระ ศรีเมือง เมื่อถึงเวลาพระเจ้าพินทุทัตให้ชั่งน้ําหนักรูปทองคํา รูปทองคําของพระศรีเมืองหนักเท่ากับนางสุวรรณ เกสร ส่วนรูปทองคําของพระยาจันทวงศ์หนักเท่ากับนางประภา พระยาจันทวงศ์ต้องการนางสุวรรณเกสรจึง คืนนางประภาให้ พระเจ้าพินทุทัตและผูกพยาบาทพระศรีเมือง ตอนที่ ๖ อภิเษกพระศรีเมือง พระเจ้าพินทุทัตจัดงานอภิเษกให้พระศรีเมืองและนางสุวรรณเกสร พระศรีเมืองทูลขอพี่เลี้ยงทั้งสี่ของนางสุวรรณเกสรให้พี่เลี้ยงทั้งสี่ ทั้งหมดก็ไปอยู่ในเมืองยโสธร ตอนที่ ๗ ท้าวโขมพัสตร์ไปรับพระศรีเมือง พระศรีเมืองคิดถึงพระราชบิดาจึงให้หงส์นําข่าวของตนไป แจ้งยังเมืองโขมพัสตร์ พระเจ้าโขมพัสตร์ให้พระมณีรัตน์กับพระพัทธวงศ์โอรสอุปราชจัดทัพไปรับพระศรีเมือง พระศรีเมืองให้กองทัพพักที่เมืองยโสธร

สยาม ภัทรานุประวัติ, “พระศรีเมือง, บทละคร”, นามานุกรมวรรณคดีไทย (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา, ๒๕๕๐).


๑๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ตอนที่ ๘ พระศรีเมืองชมสวน นางสุวรรณเกสรพร้อมกับพระธิดาองค์อื่นๆ เชิญพระศรีเมืองและ พระอนุชาประพาสสวน พระมณีรัตน์ได้พบกับนางประภาก็พอพระทัย ส่วนพระพัทธวงศ์ก็พอพระทัยนางศรี สุดา นางประภากับนางศรีสุดาส่งหมากไปถวายพระมณีรัตน์และพระพัทธวงศ์ พระโอรสทั้งสองก็ฝากพระ ธํามรงค์มาให้พระธิดาทั้งสอง หลังชมอุทยานแล้วก็พากันกลับวัง ตอนที่ ๙ ท้า วศรีเมืองทูลลาท้า วพิน ทุทัต พระศรีเมืองปรึกษานางสุวรรณเกสรจะกลับเมืองโขม ราฐ นางสุวรรณเกสรขอตามเสด็จด้วย พระศรีเมืองและนางสุวรรณเกสรจึงไปทูลพระเจ้าพินทุทัต พระศรี เมืองพานางสุวรรณเกสรและพระอนุชาออกจากเมืองยโสธร ตอนที่ ๑๐ พระศรีเมืองรบกับพระยาจันทวงศ์ ระหว่างทางกลับเมืองโขมราฐ กองทัพพระศรีเมือง ผ่านชายแดนเมืองพระยาจันทวงศ์ พระยาจันทวงศ์ทราบข่าวก็ยกทัพมาขวางและให้พระศรีเมืองส่งนางสุวรรณ เกสร พระศรีเมืองท้ารบ พระยาจันทวงศ์จึงให้นายฤทธิรงค์และนายทรงวิชามาสะกดทัพเพื่อจับพระศรีเมือง รุกขเทวดาช่วยปลุกพระศรีเมือง นายฤทธิรงค์นายทรงวิชาเห็นว่าสะกดทัพไม่ได้ผลก็กลับมาทูลพระยาจันทวงศ์ พระยาจันทวงศ์ให้พระยาหงส์พระอนุชาจัดทัพออกรบกับพระศรีเมือง พระศรีเมืองกลุ่มที่เป็นสํานวนกลอนบทละครนั้น ภายหลังกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณได้คัดเนื้อ เรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ จากนั้นพระองค์จึงทรง ประทานพระวินิจฉัยบทละครเรื่องพระศรีเมือง ดังปรากฏในจดหมายโต้ตอบกับเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ซึ่งแนบอยู่กับต้นฉบับสมุดไทยว่า๗ ...บทละคอนเรื่องพระศรีเมืองนั้น ที่ มีในหอพระสมุด ฯ หามี ไม่ มีแต่แต่งเป็นกาพย์ หนังสือสวด (แต่ต้นฉบับก็ไม่บริบูรณ์) เป็นสํานวนแต่งและฝีมือเขียนครั้งกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า เรื่องพระศรีเมือง ตัวเรื่องก็ตรงกับในบทละคอน เพราะฉะนั้นเป็นอันได้ความว่า นิทานเรื่อง พระศรีเมืองนี้ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่มิใช่ชาดก ทํานองจะเป็นเรื่อง นิทานพวกพราหมณ์หาเข้ามา เช่น เรื่องพระนล บทละคอนเรื่องพระศรีเมืองนั้น พิเคราะห์ดูสํานวนที่แต่งเป็นบุคคลชั้นสูง อาจจะเป็น พระราชนิพนธ์ กระบวนกลอนเป็นกลอนเก่ารุ่นรัชกาลที่ ๑ ถ้าเป็นพระราชนิพนธ์ไซร้ ผู้ที่จะ แต่งก็อยู่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ หรือสมเด็จพระบวรราชเจ้ารัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ หรือจะเป็นกรมพระราชวังหลัง รวมใน ๗ พระองค์นี้

ปัจจุบันยังไม่พบต้นฉบับจดหมายดังกล่าว เข้าใจว่าคงจะสูญไปคราวย้ายหอพระสมุด วชิรญาณ จึงทําให้ไม่ทราบ ข้อความทั้งหมด เข้าใจว่าจะทรงพระนิพนธ์สําหรับใช้ประกอบในจัดแสดงสมุดไทยพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง พระศรีเมือง ณ งานแสดงพิพิธภัณฑ์ที่สวนลุมพินี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ เพื่อแสดงฝีมือ (ลายมือ) อันงดงามของอาลักษณ์ในพระราชสํานัก แก่ชาวต่างประเทศ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙

พระราชนิพนธ์บทละคอนที่ปรากฏอยู่ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้ า เจ้าอยู่หัว หาเหมือนสํานวนกลอนบทละคอนเรื่องพระศรีเมืองไม่ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จ พระบวรราชเจ้ารัชกาลที่ ๑ มีเพลงยาวปรากฏอยู่ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า รั ช กาลที่ ๓ ก็ มี บ ทละคอนเรื่ อ ง ขุ น ช้ า งขุ น แผนปรากฏอยู่ ห าใกล้ กั บ บทละคอนเรื่ อ ง พระศรีเมืองไม่ จึงเห็นว่าน่าพิจารณา แต่ว่าจะเป็น พระราชนิพนธ์สมเด็จพระบวรราชเจ้า รัชกาลที่ ๒ หรือกรมพระราชวังหลัง พระราชนิพนธ์บทกลอนของสมเด็จพระบวรราชเจ้า รัชกาลที่ ๒ มีอยู่น้อย ได้พิมพ์ไว้ในหนังสือบวรราชนิพนธ์ที่ข้าพเจ้าส่งมาพร้อมกับจดหมาย ฉบับนี้ แต่พระราชนิพนธ์กรมพระราชวังหลังนั้น บทกลอนไม่ปรากฏเลย ได้ยินกล่าวกันแต่ ว่า หนั งสื อเรื่องเลี ยดก๊กนั้น เป็ นของกรมพระราชวังหลังทรงอํ านวยการแปล๘ แต่ความที่ ปรากฏเพียงนั้นก็ไม่แสดงว่าจะทรงบทกลอนไม่ได้ ข้าพเจ้าคิดช่างใจดู นึกว่าบทกลอน เรื่องพระศรีเมืองนี้เห็นจะเป็นพระราชนิพนธ์กรมพระราชวังหลัง จึงไม่ปรากฏว่ามีฉบับ แห่งหนึ่งแห่งใด แม้ในพระราชวังบวร๙ อย่าว่าแต่ไม่มีฉบับที่ อื่นเลย ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยิ น ทีเดียวว่ามีบทละคอนเรื่องพระศรีเมือง พึ่งมาทราบในครั้งนี้ เห็นว่าต้นฉบับ จะมาตกอยู่ใน หอหลวงตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ หรือรัชกาลที่ ๒ ไม่มีที่อื่นอีก จึงไม่มีใครทราบ... บทละครเรื่องพระศรีเมือง เป็นกลอนบทละครที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่งชัดเจน อย่างไรก็ตามที่หน้าปกสมุด ไทยมีข้อความเป็นลายมือเขียนของอาลักษณ์ระบุว่า “พระราชนิพนธ์บทลครเรื่องพระศรีเมือง” ทําให้เกิดข้อ สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นผลงานของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ แต่ เ ดิมมานั้ น หอพระสมุ ดวชิ รญาณมี เ พี ยงต้ นฉบั บคํ า กาพย์ (หรือที่ หอสมุด แห่ งชาติร ะบุไว้ ว่า เป็ น “กลอนสวด”) เรื่องพระศรีเมือง จํานวน ๒ เล่ม คือ เล่ม ๑ กับเล่ม ๓ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

น่าจะทรงหมายถึงเรื่อง ไซ่ฮั่น มากกว่า เพราะในพระนิพนธ์เรื่อง ตํานานสามก๊ก ของพระองค์เองก็ทรงระบุไว้ว่า “กรมพระราชวังหลังทรงอํานวยการแปลเรื่องไซฮั่น” และเรื่องไซฮั่นนี้เองที่เชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อการรังสรรค์วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ซึ่งเคยเป็นข้าฯ ในกรมพระราชวังหลังด้วย ส่วนเรื่อง เลียดก๊ก นั้น ในบาญแผนกระบุว่า แปลในสมัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒ ซึ่งเป็นปีที่กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขเสด็จทิวงคตแล้ว ปรากฏนามผู้รับรับสั่งให้เป็น พนักงานแปล ซึ่งล้วนแต่ผู้มีศักดิ์สูง และทรงความสามารถถึง ๑๒ ท่าน หนึ่งในจํานวนผู้แปลเรื่องเลียดก๊กก็คือ พระสัมพันธวงศ์ เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี พระราชโอรส ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ๙ ผู้เขียนได้พบในภายหลังว่า เรื่องพระศรีเมืองก็มีพบอยู่ในพระราชวังบวรด้วย เนื่องจากปรากฏว่าในประวัติสมุดไทย หมวดวรรณคดี หมู่กาพย์ (กลอนสวด) เรื่อ ษรีเมือง จํานวน ๒ เล่ม ว่า พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย ประทานให้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ (ก่อนที่รัชกาล ที่ ๖ จะพระราชทานฉบับกลอนบทละคร ๘ ปี) ซึ่งพระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย (พ.ศ. ๒๓๙๙๒๔๖๘) นี้ ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ประสูติเมื่อ บวรราชาภิเษกแล้ว ประสูติแต่เจ้าจอม มารดาวันดี


๒๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เจ้าอยู่หัวพระราชทานต้นฉบับบทละครพระศรีเมืองให้หอพระสมุด จํานวน ๘ เล่ม ซึ่งบทละครพระศรีเมือง ฉบับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนั้น ปรากฏข้อความในหน้าต้นสมุดไทย ความว่า บทละคอนเรื่องพระศรีเมืองในสมุดเล่มนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดํารงราชานุภาพดํารัสให้พระนิมิตอักษร (พุฒ เสนาลักษณ์) จําลองจากต้นฉบับซึ่งพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานมาเป็นสมบัติหอพระสมุด เพื่อนําออกแสดงพิพิธภัณฑ์สวน ลุมพินี แสดงฝีมืออาลักษณ์ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ แต่การแสดงคราวนี้งด๑๐ ด้วยพระวินิจฉัยดังกล่าวทําให้ปัจจุบันจึงถือกันว่า บทละครเรื่องพระศรีเมือง เป็นพระราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เรื่องย่อนิทานเรื่องพระศรีเมือง (เนื้อความตามบทละครเรื่องศรีเมือง ก่อนพระศรีเมืองกลอนสวด) มีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่าท้าวโขมพัสตร์ ครองกรุงโขมราฐ มีพระมเหสีชื่อว่านางสุวรรณอําไพ มีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่าพระศรีเมือง พระศรีเมืองมีพี่เลี้ยง ๔ คน ชื่อว่าสุริยาคน ๑ รัตนาวันคน ๑ อภัยสุริยวงศ์ คน ๑ พินทุวงศ์คน ๑ วันหนึ่งพระศรีเมืองออกไปเที่ยวสวน มีพระยาหงส์ตัวหนึ่งพาลูกมาเล่นน้ําที่สระในสวน พบพระศรี เมืองเข้าก็มีความรักใคร่ จึงถวายลูกแก่พระศรีเมืองตัวหนึ่ง พระศรีเมืองก็พามาเลี้ยงไว้ในวัง ต่อมาท้าวโขมพัสตร์คิดจะอภิเษกพระศรีเมืองกับนางบุษบา ธิดาท้าวสุริยวงศ์ราชอนุชาซึ่งเป็นอุปราช จึงสั่งให้โหรหาฤกษ์ โหรทูลว่าฤกษ์ในปีนี้ยังไม่ดี ขอให้เลื่อนไปปีหน้า ท้าวโขมพัสตร์จึงให้รอการไว้ ฝ่ายพระศรีเมืองเห็นเป็นโอกาสที่จะไปเที่ยวแสวงหาวิชา จึงปรึกษากับหงส์ หงส์จึงแนะนําให้ไปเรียน วิชากับพระฤาษีที่ในป่าหิมพานต์ พระศรีเมืองเห็นชอบด้วย จึงทูลลาพระบิดาพาพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ให้หงส์เป็นผู้นํา ทางไปยังสํานักพระโควินทฤาษี ขอศึกษาวิชาความรู้อยู่ในสํานักนั้น พระโควินท์ก็ให้ พระศรีเมืองศึกษาวิชาจน เชี่ยวชาญแล้วชุบศรให้เล่ม ๑ วันหนึ่งหงส์รับอาสาว่าจะไปเที่ยวสืบหาดูนางที่ประกอบด้วยลักษณะสมควรเป็นมเหสี พระศรีเมืองก็มี ความยินดียอมอนุญาต หงส์เที่ยวไปตามเมืองน้อยใหญ่ ไปพบนางสุวรรณเกสรธิดาท้าวพินทุทัตกับนางสุวรรณ มาลีที่เมืองยโสธร ซึ่งกําลังไปชมสวน หงส์จึงคาบพวงดอกไม้ลอบเข้าไปถวายแล้วแจ้งความถึงเรื่องพระศรีเมือง ให้นางสุวรรณเกสรฟัง นางสุวรรณเกสรไม่เชื่อ หงส์จึงกลับมาบอกพระศรีเมือง พระศรีเมืองจึงให้หงส์นําสาร กับธํามรงค์กลับไปให้ นางสุวรรณเกสรก็ตอบสารและมอบผ้าสไบให้หงส์กลับมาถวายพระศรีเมือง พระศรีเมือง กับพี่เลี้ยงก็ลาพระโควินทฤาษีให้หงส์นําทางมาเมืองยโสธรมาถึงแม่น้ําแห่งหนึ่งกว้างใหญ่ พระศรีเมืองจึงให้พี่ ๑๐

การแสดงพิพิธภัณฑ์ในคราวนั้นงดไปเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑

เลี้ยงผูกแพพากันข้ามน้ําพบจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งขึ้นขวางหน้า เกิดรบกันขึ้น จระเข้สู้ไม่ได้ ยอมแพ้รับอาสาพา พระศรีเมืองมาส่งถึงฝั่ง พระศรีเมืองพาพี่เลี้ยงทั้ง ๔ มาถึงเมืองยโสธร จึงพากันเข้าไปอาศัยยายมาลาตามาลีอยู่ ในสวน พอประจวบนางสุวรรณเกสรพาน้องสาวทั้ง ๖ ออกมาชมสวน พระศรีเมืองจึงให้หงส์คาบสร้อยทอง ลอบไปถวายนางสุวรรณเกสร ต่างได้เห็นตัวมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน นางสุวรรณเกสรจึงสั่งพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ของตนให้บอกยายมาลาตามาลีจัดที่ให้พระศรีเมืองอยู่เป็นการลับๆ รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งนางจึงให้พี่เลี้ยงออกมา สนทนากับพระศรีเมือง พอเวลากลางคืนพระศรีเมืองก็ลอบเข้าไปหานางสุวรรณเกสรในปราสาท ได้ร่วมรัก สมัครสังวาสกัน แล้วพระศรีเมืองก็กลับออกมาอาศัยอยู่ในสวน ครั้งนั้นท้าวพินทุทัตคิดจะให้ธิดาทั้ง ๗ มีคู่ จึงให้สารไปถึงพระยาจันทวงศ์ พระยาหงส์ ๒ พี่น้อง และ ท้าวพระยาทั้งร้อยเอ็ดพระนคร ว่าให้หล่อรูปของตนด้วยทองคํามาชั่งกับรูปราชธิดา ถ้าน้ําหนักรูปของใคร เท่ากับรูปธิดาองค์ใด ก็จะยกให้แก่ผู้นั้น พระยาจันทวงศ์ พระยาหงส์กับพระยาร้อยเอ็ดพระนครจึงหล่อรูปของ ตนๆ ด้วยทองคํา เสร็จแล้วพากันยกทัพมายังเมืองยโสธร ส่วนนางสุวรรณเกสรเมื่อทราบความนั้น จึงให้พี่เลี้ยงทั้ง ๔ เอาทองคํามาชั่งน้ําหนักให้เท่าตัว แล้วให้พี่ เลี้ยงไปจ้างช่างทองให้หล่อรูปพระศรีเมืองลอบส่งไปให้ นัดแนะว่าถ้าถึงเวลาชั่งรูปกัน ขอให้พระศรีเมืองเอา รูปนั้นเข้ามาชั่ง พอถึงเวลานัดประชุมชั่งรูป พระศรีเมืองก็พารูปของตนไปในที่ประชุม พร้อมกับพระยาจัน ทวงศ์พระยาหงส์และพระยาทั้งร้อยเอ็ดพระนคร ท้าวพินทุทัตจึงให้ชั่งรูปท้าวพระยาทั้งหลายกับทั้งรูปธิดาโดย ลําดับ รูปนางประภาน้องสาวนางสุวรรณเกสรหนักเท่ากับรูปพระยาจันทวงศ์ รูปนางสุวรรณเกสรหนักเท่ากับ รูปพระศรีเมือง แต่พระยาจันทวงศ์ไม่พอใจนางประภา พอใจนางสุวรรณเกสร จึงขอเปลี่ยนกับพระศรีเมือง พระศรีเมืองไม่ยอมให้ พระยาจันทวงศ์โกรธผูกพยาบาท เลยบอกคืนนางประภาแก่ท้าวพินทุทัต อ้างว่ายังเด็ก นักไม่สมควรจะเป็นมเหสี แล้วต่างยกทัพกลับไปเมืองของตนๆ ท้าวพินทุทัตก็จัดการอภิเษกพระศรีเมืองกับนาง สุวรรณเกสร พระศรีเมืองจึงขอนางพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ให้แก่พี่เลี้ยงทั้ง ๔ ของตน วันหนึ่งพระศรีเมืองคิดถึงพระบิดามารดา จึงใช้ให้หงส์ไปทูลท้าวโขมพัสตร์ถึงเรื่องที่ได้ไปเรียนวิชา จนกระทั่งไปได้นางสุวรรณเกสร ท้าวโขมพัสตร์จึงให้พระมณีรัตน์กับพระพัทธวงศ์โอรสท้าวสุริยวงศ์อุปราชยก ทัพไปรับพระศรีเมืองที่เมืองยโสธร ให้หงส์เป็นผู้นําทางไป กุมารทั้ง ๒ ยกไปถึงปลายด่านเมืองยโสธรแล้ว จึง ใช้ให้หงส์เข้าไปบอกแก่พระศรีเมือง พระศรีเมืองจึงให้พี่เลี้ยงทั้ง ๔ ออกไปรับกุมารทั้ง ๒ พาเข้ามาเฝ้าท้าว พินทุทัต ทูลถึงเรื่องที่พระบิดาใช้ให้มารับกลับไป แล้วให้กุมารพักอยู่ที่เมืองยโสธร ต่อมาวันหนึ่ง นางสุวรรณเกสรเชิญพระศรีเมืองกับกุมารทั้ง ๒ ไปชมสวน พาน้องสาวทั้ง ๖ ไปด้วย พระมณีรัตน์ไปเห็นนางประภาและพระพัทธวงศ์ไปเห็นนางศรีสุด า ซึ่งเป็นน้องสาวนางสุวรรณเกสร ก็เกิ ด ความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ถึงได้ลอบให้ของที่ระลึกกัน พอกลับจากเที่ยวสวนแล้ว พระศรีเมืองจึงปรึกษากับ นางสุวรรณเกสรถึงเรื่องที่จะไปเยี่ยมเมืองโขมราฐ นางสุวรรณเกสรขอตามไปด้วย พระศรีเมืองจึงไปทูลลาท้าว พินทุทัต แล้วพานางสุวรรณเกสรและกุมารทั้ง ๒ ยกทัพออกจากเมืองยโสธร เดินทัพผ่านไปทางปลายแดน เมืองพระยาจันทวงศ์ พระยาจันทวงศ์รู้ข่าวจึงยกทัพมาตั้งสกัดทาง แล้วมีสารไปถึงพระศรีเมืองว่า ขอให้ส่ง นางสุวรรณเกสร ถ้าไม่ส่งจะจับตัวฆ่าเสีย พระศรีเมืองไม่ยอมส่ง และมีสารตอบท้ารบ พระยาจันทวงศ์จึงให้ นายฤทธิรงค์นายทรงวิชามาสะกดทัพจับพระศรีเมือง พฤกษเทวดามาปลุกพระศรีเมืองให้ตื่นขึ้น นายฤทธิรงค์


๒๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

กับนายทรงวิชาตกใจก็หนีกลับไปบอกพระยาจันทวงศ์ พระยาจันทวงศ์โกรธ แต่งให้พระยาหงส์น้องชายเป็น ทัพหน้ายกมารบกับพระศรีเมือง พระมณีรัตน์กับพระพัทธวงศ์อาสาเป็นทัพหน้า พระพัทธวงศ์ได้ชนช้างกับ พระยาหงส์ฆ่าพระยาหงส์ตาย พระยาจันทวงศ์ยกหนุนมาเข้ารบกับพระมณีรัตน์ พอพระศรีเมืองหนุนมาทัน ก็ แผลงศรไปฆ่าพระยาจันทวงศ์ตาย พระศรีเมืองจึงให้จับอํามาตย์ของพระยาจันทวงศ์มาซักถามว่า ผู้ที่ไปสะกด ทัพเมื่อเวลากลางคืนนั้นคือใคร ขอให้ส่งตัว อํามาตย์ทูลว่าถูกศรตายเสียทั้ง ๒ คนแล้ว (เนื้อความตามกลอนสวดเรื่องพระศรีเมืองต่อจากบทละคร) เมื่อพระศรีเมืองฆ่าพระยาจันทวงศ์พระยาหงส์ตายแล้ว ได้ธิดา พระยาจันทวงศ์ชื่อจันทสุริยา ธิดา พระยาหงส์ชื่อลักษณวดี เป็นชายาอีก ๒ คน แล้วยกทัพมาถึงเขาอัสสกรรณจึงพักร้อนอยู่ที่นั่น มีพระยายักษ์ตนหนึ่งชื่อท้าวนนทจิตต์ ครองเมืองอัสดงค์ เที่ยวมาพบกองทัพพระศรีเมืองเข้า จึงทํา ให้เกิดมืดมนอนธการแล้วลักพระศรีเมืองกับนางสุวรรณเกสรไป ไปถึงกลางทางพระศรีเมืองล่อลวงท้าวนนท จิตต์พานางสุวรรณเกสรหนีได้ ครั้นมาถึงฝั่งน้ําแห่งหนึ่งพระศรีเมืองจึงเอาผ้าผูกเอวเข้ากับนางสุวรรณเกสรขี่ ขอนว่ า ยข้ า มมา เกิ ด พายุ ใหญ่ พัด ผ้า ขาดจากกั น น้ํ า ซั ด นางสุ ว รรณเกสรขึ้ น บกได้ (พระอิ น ทร์ แปลงเป็ น ) พราหมณ์ชรามาบอกว่าพระศรีเมืองยังไม่ตายในน้ํา แล้วชี้หนทางให้ไปหาพระฤาษีตาไฟ นางสุวรรณเกสรไป ตามทิศที่พราหมณ์ชราชี้ ก็พบฤาษีตาไฟ จึงอาศัยอยู่ในที่นั่น เวลานั้นนางสุวรรณเกสรมีครรภ์ไปแล้ว ฝ่ายพระมณีรัตน์กับพระพัทธวงศ์ เที่ยวตามหาอยู่ ๓ วันไม่พบพระศรีเมือง จึงสั่งหงส์กับพี่เลี้ยงพระศรี เมืองทั้ง ๔ คนให้เที่ยวสืบหาพระศรีเมือง หงส์และพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ก็เที่ยวตามไปจนถึงอาศรมพระโควินท์จึงพัก คอยฟังข่าวอยู่ที่นั่น แต่หงส์พยายามบินไปเที่ยวตรวจทุกวัน ฝ่ายนางสุวรรณเกสรมีครรภ์ถ้วนกําหนดก็ประสูติโอรส ที่อาศรมพระฤาษีตาไฟ ฝ่ายพระศรีเมืองน้ําพัดไป ๓ วันจึงขึ้นบกได้ พอหงส์เที่ยวตามไปพบเข้า หงส์จึงพาพระศรีเมืองมาอยู่ กับพระโควินทฤาษี พระศรีเมืองคิดจะไปตามนางสุวรรณเกสร พระโควินท์จึงชุบม้าให้เหาะได้และชุบศรพระ ขรรค์ให้พระศรีเมืองอีก พระศรีเมืองจึงลาฤาษีขึ้นม้าเหาะไปกับหงส์ไปหยุดพักอยู่ตามทาง พอท้าวนนทจิตต์ เจ้าเมืองอัสดงค์พาพวกโยธามาเที่ยวล่าเนื้อพบเข้า จําได้ว่าพระศรีเมืองที่ตัวจับไปในครั้งก่อน ก็ให้โยธาเข้า ล้อมจับ เกิดรบกัน ท้าวนนทจิตต์สู้ไม่ได้ก็หนีไป พระศรีเมืองกลับมาเล่าให้พระโควินท์ฟัง แล้วลาไปตามนาง สุวรรณเกสรอีก ฝ่ายพระมณีรัตน์กับพระพุทธวงศ์ เมื่อยกทัพกลับมาถึงเมืองโขมราฐทูลถึงเรื่องที่ไปรับพระศรีเมืองจน พระศรีเมืองหาย ท้าวสุริยวงศ์อุปราชกริ้วกุมารทั้ง ๒ จะฆ่าเสีย ท้าวโขมพัสตร์ขอไว้ แล้วบอกข่าวไปถึงท้าว พินทุทัต ท้าวสุริยวงศ์จึงให้กุมารทั้ง ๒ ยกทัพออกตามอีก กุมารทั้ง ๒ มาพักอยู่ที่เขาอัสสกรรณซึ่งเกิดเหตุพระ ศรีเมืองหาย ไปพบฝูงนางกินนรถามได้เรื่องราวที่พระศรีเมืองพลัดไป แล้วกุมารทั้ง ๒ ก็ยกทัพไปถึงอาศรมพระ โควินท์พบกับพระศรีเมืองแล้วกุมารทั้ง ๒ ก็อยู่เล่าเรียนวิชาพอสมควร พระศรีเมืองจึงพากุมารทั้ง ๒ กลับมา เมืองโขมราฐ ท้าวโขมพัสตร์จึงให้จัดการอภิเษกพระศรีเมืองกับนางบุษบา จนนางบุษบามีครรภ์ พระศรีเมือง จึงลาท้าวโขมพัสตร์ไปตามนางสุวรรณเกสร ไปพักอยู่ที่อาศรมพระโควินท์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓

ฝ่ายนางสุวรรณเกสรอยู่ด้วยฤาษีตาไฟ จนกุมารอายุได้ ๗ ขวบ ฤาษีให้ชื่อกุมารว่าสาคร แล้วเอาลูก ราชสีห์ตัวหนึ่งมาชุบให้เป็นเพื่อนให้ชื่อว่าสิงหกุมาร กุมารทั้ง ๒ นั้นเที่ยวลองศิลปศรอยู่เป็นนิตย์ วันหนึ่งพระศรีเมืองลาพระโควินท์ไปตามนางสุวรรณเกสร ไปหยุดพักอยู่ที่ใกล้อาศรมพระฤาษีตาไฟ ปล่อยให้ม้าเที่ยวกินหญ้า พระสาครกับสิงหกุมารมาพบ ก็เข้าจับม้า ม้าหนีไปหาพระศรีเมือง เกิดรบกันแต่ ศิลปศรไม่กินกัน ต่างไต่ถามได้ความแล้วก็พากันเข้าไปหาฤาษี พระศรีเมืองได้พบกับนางสุวรรณเกสร พระศรี เมืองกับนางสุวรรณเกสรอยู่ปฏิบัติฤาษีอีก ๓ เดือน ส่วนนางประภาชายาพระมณีรัตน์ (ไม่รู้ว่าได้กันเมื่อไร) ก็ประสูติธิดาองค์หนึ่งชื่อนางชลคัพภา ส่วน ท้าวพินทุทัตเมื่อได้ทราบข่าวว่าพระศรีเมืองกับนางสุวรรณเกสรหายตามทาง ก็ยกทัพมายังเมืองโขมราฐ ฝ่ายพระศรีเมืองอยู่กับฤาษีตาไฟถ้วน ๓ เดือน จึงสั่งหงส์ให้มาทูลพระบิดาขอให้จัดกระบวนออกไปรับ ท้าวโขมพัสตร์จึงให้พระมณีรัตน์กับพระพัทธวงศ์ออกไปรับ (กลอนสวดเรื่องพระศรีเมืองเล่ม ๓ หมดเท่านี้สังเกตเค้าเรื่องก็เห็นจะจบเพียงเข้าเมือง แม้จะมีกลอน ค้างอยู่อีกก็คงไม่มาก) เรื่ องพระศรี เ มื องนี้ แม้ จ ะเป็ น ที่ แพร่ห ลายในวงจํ า กั ด แต่ คงจะได้ มีผู้ ได้พบเห็ น รู้จั กอยู่ บ้ าง เพราะ ปรากฏอยู่ในบทละครเรื่อง อุณรุทร้อยเรื่อง ของคุณสุวรรณ๑๑ กวีหญิงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่ได้กล่าวถึงตัว ละครในเรื่องพระศรีเมืองไว้ ดังนี้ จึงชักอาชาร่อน แล้วพระศรีเมืองเรืองไชย

ยังยอดศิงขรเนินไศล ก็เข้าในคูหาวานรินทร์๑๒

กลอนสวดเรื่องพระศรีเมือง นั บเป็นวรรณคดีที่ทรงคุ ณค่าอีกเรื่ องหนึ่งของไทย ที่ก อปรไปด้วย เสน่ห์ในมิติต่างๆ อย่างไรก็ตามหากมีการศึกษาค้นคว้ากันอย่างลึกซึ้งต่อไป อาจได้องค์ความรู้ใหม่ๆ อันเป็น คุณูปการต่อวงวรรณคดีไทยเพิ่มเติมขึ้นอีกก็เป็นได้

๑๑

คุณสุวรรณผู้นี้เป็นธิดาพระยาอุไทยธรรม (กลาง) ราชินิกุลบางช้าง ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม (พระยาอุไทย ธรรมผู้นี้เป็นบุตรของเจ้าคุณหญิงแก้ว พระขนิษฐาร่วมพระชนกพระชนนีในสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินีในรัชกาลที่ ๑) กับ คุณหญิงน่วม วสุธาร ได้ถวายตัว รับราชการฝ่ายใน ณ ตําหนักกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ คุณสุวรรณ สิ้นชีพในราวรัชกาลที่ ๕ ๑๒ กรมศิลปากร, บทละคอนเรื่องพระมะเหลเถไถ อุณรุทร้อยเรื่อง ระเด่นลันได (กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, ๒๕๑๔), หน้า ๔๖.


๒๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรณานุกรม ภาษาไทย จตุพร มีสกุล. การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครนอก พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. วรรณลดา: รวมบทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาและวรรณคดีไทย.กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔. ประคอง นิมมานเหมินท์. นิทานพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓. พระราชดํารัสในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และบทละคร เรื่อง พระศรีเมือง. กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร, ๒๕๑๐. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๕. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ศิราพร ณ ถลาง. ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการ เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษร-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘. ศิลปากร, กรม. บทละคอนเรื่องพระมะเหลเถไถ อุณรทร้อยเรื่อง ระเด่น-ลันได. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, ๒๕๑๔. ศิลปากร, กรม. ปัญญาสชาดก เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๔๙. สยาม ภัทรานุประวัติ. “พระศรีเมือง, บทละคร.” นามานุกรมวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา, ๒๕๕๐. สากลกิจประมวล (ม.ล.แปลก เสนียวงศ์), พระยา และ ยิ้ม บัณฑยางกูล. กรมพระราชวังหลัง. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, ๒๕๓๔. เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. บทละครนอกสมัยกรุงศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๕. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิการ). บทละครเรื่อง พระศรีเมือง พระราชนิพนธ์ในกรมพระราชวังบวร สถานพิมุข. นครปฐม: สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๒. อารดา กีระนันทน์. “ละครนอก.” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทย-พาณิชย์, ๒๕๔๒.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕

พระษีรเมือง เลม ๑๑๓ กลอนสวด ๕๐๘ หมวด วรรณคดี หมู่ กลอนสวด ชื่อ พระษี ร เมื อ งเลม ๑ เลขที่ ๕๐๘ มั ด ที่ ๕๙ ตู้ ๑๑๔ ชั้น ๑/๒ ประวัติ พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย ประทาน พ.ศ.๒๔๖๐ เนื้อความตั้งแต่ พระศรีเมือง ประสูติ แล้วลาไปเข้าป่าหาเรียนวิชา จนถึง พระศรีเมืองได้ชั่งรูปทอง ได้นางสุวรรณเกษรเป็นพระชายาฯ หน้าต้นพระษีรเมืองเลม ๑ ๏ ยอกอรประนม ไห้วพระสัรรเพชสํมาเดจมุณี (ไม่ปรากฏ) โปรดทัวษากํลให้พํนทุกฃา (ไม่ปรากฏ) นําสัตร์ไห้แคล้วรากแล้วริ้าว (ไม่ปรากฏ) คูณพระสงฆ์ ยังสอนฝูงสัตร์ษาระพัดนาๆ ๏ จักกล้าวราวเรื่อง สืบๆกันมา แต่ทั่หิงนาร ๏ เอโกอะนัคเร ชื่อกรุงโฃม่ราช เชือทศมะหิมา ๏ เปนเจ้าสมบัด เรืองฤทธีใม่ มีไครจะทัน

เลืศลํานารี เพราเพรืดเฉีดฉัน พระสนํมกรํม่ใน่ย

๑๓

นับนิวบังคํมด้วยใจภักดี ปิ่นเก่ลาธาตีรทัวโลกคะโลกา เทวามะนุศครุดนาดอะสูรา คูณพระสาศ่นาเปนยอ ประเสีดเลิศลําในํพํบพะโมลี อะบายทั้งสี่คูณพระ ผู้มีจิตร์ตรงทรงสีลษีรลา ไห้พ้นทุกฃาเพราะท่ารโปรดปราน ถึงพระษีรเมือง ก็ทั่งโพที ญาณ สุขโฃมะนาเม สืบวํงพํงษาคุณา ชือท้าวโฃม่พัด ครอบครองไอยส่วัน

มีใน่นิ่ทาน สืบ ๓ กัน ยังมีภารา (ไม่ปรากฏ) กระสัตร์สื่บกัน ปินเกลาพบพะไตร

๏ องอัค่มเหษีร มีศีรสุกไสัย ชอสูวรรณะอําไพย ได้หมืนหํกพัน

“พระษีรเมือง เลม๑.” หอสมุดแห่งชาติ.หนังสือสมุดไทยขาว.อักษรไทย.ภาษาไทย.เส้นหมึก.ม.ป.ป.เลขที่ ๕๐๘.๑๔๔ หน้า.หมวดวรรณคดี.


๒๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ชาวแมพระสนํม ตามมู่ตามกรํม ยอมเลือกยอมสัน แต่ล่วนงามๆดีๆ เข้าเฝาเจาไอยสวรร อัดแอแจจัน ทรํงธรรมเส่วยเมือง ๐ เมืองขึนผู้ทอน สวยสาอากอร บ่อหอนแคนเคือง เปนทําม่แททัด สมบัดตินองเนือง สุดสิ่นปินเมือง รอยเอดบูรี ๐ (ไม่ปรากฏ)พํนทงม้า อํงคะรักซ้ายขวา เสนามํลตืร หัวมืนหัวพัน โทษทันใม้ยมิ เมืองพระจักตืร บ่อมีโรคา ๐ อยู่มาเทวี องค์อักคะมะเหษีร เจาทรํงครันมา ครันถวนกํานํฎ คลอดโอรํฏษา เปนราช่บุตรา โฉมงามอําไพย ๐ เมือคลอดกูมาร นั้นให้บันดาน อัศะจันวัรรไหว ฃุนเฃาโอนออน ษาคอนเปนไฟ ตีฟองนองในย ลํมไหญ่พัดภา ๐ เมกฆ์กลุมเปนควัน แผนดินไหวหวัน ศะนั่นทิดษา ฝํนตํกถังแถว นองแนวลํงมา เทวันหันษา ทัวพบษากล ๐ แล้วบันดารหาย ฝายแสงสูริฉาย ส่วางเวหา(ไม่ปรากฏ) (ไม่ปรากฏ)เหลืองเรืองรอง ทัวทองษากํล พิศ่ดูนัาคํน เหมือนท่องทาบทา ๐ ทัวทองพระณะคอน ศิรเหลืองเรืองออน อระชอนรดจะนา หญอมหย้าบ์าไม้ เฃาไหญ่พฤกษา เหลืองสํดรํจ่นา ดวยบูรรณ์กูมาร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๗

เหนโอรดษา รูบทรงวงภักตร์ ดุจเจ้าวมาร เถ้าแก่พราหมชี แตรสังฆ์มะโหรีย์ เข้ามาพร้อมกรร พระผู้โฉมงาม เอาเรีกนีมิตร์ พระนามเจ้าฟ้า บังเกีดอัศะจัน จงคลอดผู้มี ชื่อพระสีเมีอง จัดแจงแตงไห้ พีเลียงแมนํม บําเร่อรักษา สํารั่บยอดสร่อย ยอมลูกเสฎี พีเลียงท้าวไทย อยูในดํงดอน แหว้นแควนหีมํภาร โผผินบีนมา บินลํงอาไส ชมพรรมิ่งไม่ เสจะบางตุมบาง

๏ สมเดจบิดา เลิดพ์าสงสาร หน้ารักษไครจะบ์าน ลงมาแต่สวรรณ์ ๐ จึงสั่งสาวศีร เจรีญเชีญฃวัน ไบ่ศรีเจ๊ดชั้น ทําฃวันลูกญา ๏ จริงไห้พระนาม ตามเรีกชะตา เลืองทัวทิษษา ชือว่าศีรเมือง ๏ เมือประสูทนั้น ดีนบ้าฟ้าเหลีอง รัศะหมีรุงเรีอง ผู้เรีองฤทธา ๐บิดารักษ์ไครย ทุกสิ่งนาๆ พระสะน่มหนักหนา หมีให้เคีองใจย ๐มะหัดเลกนอยๆ นับรอยขึนไปย เสนีนอยไหญ่ เชือวํงกระสัตรา ๐ ยังมีพระยาหํง บ์าไมกฤศะหน้า บ่อวารเหลือตรา กับหมู่บริวาร ๐ เคยมากรุงไตร ในสวนอุทยาร ดอกไบ่ตระการ บารสํารานนักหนา


๒๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๚๛ ญาณี ๚๛ ๐ วันนั้นพระบูณเรีอง กับมูทิรวาร ๐ พีเลืยงเล้นางนํม ฝูงเดกมากนับพัน ๐ ครันถึงอุทยาน จําบ์าษาระพี ๐ พิกุนแล้บุนนาก ชงโคโยทะกา ๐ดอกแต้วแลแก้วเกด ชมพล้างทางเด่นไป ๐เทิ่ยวชมพรรณ์บุบผา ชํมกุศะบาบาร ๐ เมือนั้นพระยาหํง ดังเทพณ่รังสัน ๐ คิดแล้วบิ่นลํงไป ฃาเหนเปนยิ่นดิ่ ๐เอาบุดมาถ่วายใว้ อย่าคิ่ดอุเบกฃา ๐บัดนั้นพระศีรเมีอง ทารนีมาแตไนย ๐ เอาบุดมายํกให้ย จะรักดังชิวา ๐ ทังณีเหดด้วยบุญ มีจิตร์คิดผูกพรร ๐ ทังทองฟ่งงท้าวไทย คอยยู่ฃาจะฃอลา ๐ แลวภากันบินไป กับมูบริวาร ๐ เมือนั้นพระษีรเมือง จึงกลับเฃ้าวังใน่ ๐ ทูลว่าลูกออกไป พระยาหํงบินตรํงมา

อํงพระศีรเมืองทะกูมาร เสจสํารานในสวนขวัน ตามระงมออกมาพลัน ตามทรํงธรรมมาสวนศีร เทียวสํารานชํมมาลี มาลุลีกระดังงา มีหล้ายหลากหอมหนักหนา มะลิ่ลาหอมเอาใจย ทังเทียนเทดแล้เทื่ยนไทย ถึงสนไหญ่หมิทันนาน ตรายเตรมากับบ่อริวาร เหล้นสํารานยกยอกกัน แลเหนองค์พระทรงธรรม ก็บ่อทันโฉมผู้มี จับไห้ไกลอํงค์พระศีรเมือง มิ่บูนจิ่งยิ่งหนักหน้า เปนฆ้าไชยฃองพระราชา ฝากชิ่วากันสืบไป ใด้ฟังเรีองก็สํงสัย งามกระไรยแกล่งสันมา เราขอบใจทารหนักหนา ไปเมิ่อหน้าใม้เดียดฉัน ได้อุดนุนไว้ด้วยกัน จะรักษ์กันดั่งชิ่วา ส่งบุดให้ใจบืรดา จึงมาหาบริ่วาร เข้าใน่ไพรพะนาสัน อยูสํารานในพํงไพร ผู้รุงเริ่องยํศะไกล เฝ้าทาวไทยพระบิดา สวนชํมดอกไม่ในอุทะยา เอาปักษาผู้ลูกชาย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙

๐ มาให้ไว้แกฃา แล้วลาฃาผันผาย ๐จึงทาวโฃม่พัด บุญฃองพระลูกยา ๐ท้าวพิศ่ดูหํงทอง ฉายเฉิ่ดเลิ่ศทุกอัน ๐ ปีกหางอยางประดับ ไครเหนเปนพิศ่ไมย ๏ สั่งให้ตีกรํงทอง ประดับด้วยแก้วจิ่นดา ๐ จะกิ่นสิ่งอันไดย ให้คํนพระยาบาล ๐ ฝ้ายราช่เหมหํง พุดพลอดชอดไปมา ๐ ฝายท้าวสูริวงษา ฝ้ายหน้าเจาจุมพํน ๐ ท้าวมีราช่บุตืร พระนามตามวํงษา ๐ รูบโฉมงามโสภา งามจริ่งยิ่งกว้าเฃยื่น ๐ มีน้องสองพระองค์ เปนชายสายสุดใจย ๐ ผู้พี่ชือมณีรัตณ์ รูบโฉมโลมโลกา ๐ สวนว่าพระษีรเมีอง รูบโฉมโลมสํงสาร ๐ รักษ์ไครในหํงทอง เชาๆเอาออกมา ๐ คําคําให้นอนตรํง เข้าฃองอันตองใจย ๐ วันหนึ่งปลอยหํงไปย หํงทองบังคํมลา

งามหนักหน้ากวาทังหล้าย แต่ลูกชายฃาภามา ใด้ฟ่งงอัฎเรงหันษา เปนวาศ่นาเค้ยคูกัน งามเรืองรองดั่งแกล้งสัน ดั่งสูวันณะอําไภย ด้วยแก้วรัดอันจับใจ งามกระไรดั่งนีนา งามเรืองรองอันโสภา ไส่ปักษาให้สําราน ตามชอบใจฃองเปรื่ยวหวาน เปนนิ่จการทุกเวลา อยู่ในยกรงคอยหันษา รูเจรร่จายิ่งกว่าคํน เปนมะนุทปินฝู้วะดํน ครองษากํนแต่แรกมา งามมีษีรแมโสภา ชื่อบุษ่บาเทวาเฃยื่น ดวงภักตราดั่งทองเจียน ไครเหนเพืยงจักขาดใจ เกิดตามวํงษ์พํงท้าวไทย ท้าวพิศ่ไมยดั่งแก้วตา พระอํงค์ทํท่วงษา เลียงรักษามาชานาร ยอมลือเลีองทัวจักกระวาร ไคร่บ่อปานดั่งเทวา ไม้มีสองดั่งแก้วตา อุ่มเช้ยชํมพิรํมใจย ผูษาทรงหุมห่อไว้ ตรรดตราให้ทุกเวลา เข้าป่าไมยไพรยพรึ่กษา แล้วโผผินบีนขึ้นไป


๓๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ครันถึงป่าหิมะภาร เลนนําสํารานใจย ๐ สํงแลวบีนกลับมา โควินทะฤาษี ๐ แล้วคาบพวงมาลา ซึ่งมีใน่หิมมะภาร ๐ ถึ่งกรุงโฃมํราช ยํกปีกกระพืวัน ๏ ทูลวาฃ้าเทยิ่วใป เมือฃาบินกลับมา ๏ เมือนันพระษีรเมีอง มาแจงแหงคะดี ๐ ยอกอรใม้ลูบปักษรี บิลมาแตปาใหญ ๏ เราจะลาพระบิดา ชํานานการพิดที ๏ วาแล้วเชยชํมหํง แลวสงใหยตรวดตรา

ลํงสํารานใน่สะไหญ่ ชมดอกไมยใน่ส่ษีร เหนสาลาพระมุณี รเรีองฤธิไครจะปาน สูมํลทาอันหอมหว้าน บีนทะยานลํงมาพลัน เฃ้ากราบบาทพระทรงธรรม์ ถวายพรงดวงมาลา สํารานใจยเปนนักหนา เหนสํา(ไม่ปรากฏ)มูนี (ไม่ปรากฏ)เลีองดูปักษรี มีโสมนัดในพระใท วันนีพี่ใปเทยิ่วใกล พํบสาใลยพระมูนี เรยรวิทัพระฤาษรี ยูสักปีจะกลับมา ใหยเฃากรํงจงไสยยา รักสาหํงกูจํงดี

สูรางคะนาง สํมเดจผูวะนาฏะ ตรีตรึกนึกใน ดวยอํงค์พระษรี เปนปิ่นธอรณี ครอบครองมํลตรี ตามวํงพํงษา ตรัดแก้วอะนุท จึงมีพํชะนาฏ ว่าลูกจอมฃวัน

๏ เมื่อนันพระบาท เจากรุงบูรี พระใทยภูมี จําเริญใหญมา ควนภารบูรี กับนางบุศะบา เสนีเสนา เหนจะสํมควนกัน คิดแล้วหมี(ไม่ปรากฏ) ผูรวมชีวัน ประภาดดวยพลัน เรานันทัง(ไม่ปรากฏ)


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑

ครอบครองนีเวษ ตัวฃาเจากับพี จัก(ไม่ปรากฏ) ตามปราเวณี ฤาวาคัดคอง จักเหนเปนไฉน กํมเกลากราบลํง พระคูนโปรภเกลา ใมคัดบัน(ไม่ปรากฏ) ตามเล่าเพาพํง พระคุนลนฟา นองรักจักใดย ใดฟังนอง(ไม่ปรากฏ) ชืนชํมโสม่นัด จีกใหยเริ่มงาน ใหหาโหรา จะใหคับใลย ใหเริ่กมํงคํน แทน(ไม่ปรากฏ)ลาลัง เรงเร้วอยานาร ขุนโหน(ไม่ปรากฏ) ใดฟังเสณา รองเรียกพรรญา (ไม่ปรากฏ)พลูตะบัน

ควบอุบ(ไม่ปรากฏ) ตามสูริวํงษา ยอมมีโรคา ใหครองกรุงใกร (ไม่ปรากฏ)พีคิดเทานี กระสัตรสืบใป หมีตองพระใทย ทูนไปเทิ่ดนารา (ไม่ปรากฏ)จริงทางสูริวํง แล้วทูนฉะลองมา พุดทีเหลือตรา ตามแตภูวะในย (ไม่ปรากฏ)จักสืบสูริวํง ต่อๆ(ไม่ปรากฏ)ใปย นักกวาแดนใตร พิงโพธิสํมภาน สมเดจเจาฟา ขันทวาฑร จึงตรัศหมิ่นาร แดงกานมงคํ(ไม่ปรากฏ) จึงสังเสนา เฑมาบัดดํน ในการสะยุมภํล จะ(ไม่ปรากฏ)ลูกญา เสนารับสัง เถิงบาลโหรา โองการให้หา เฑใปยจงพลัน บัดนันโหรา ใหยหากวดขัน เฑมาเร้วพลัน ใหทันเร้วรา


๓๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ผ้าฃาวพันพูง ขวาใดยสมุด บัดเดยิ่วเสนา ยอกอนชุลี ไมรูเหดผํล นิ่งนังตังใจ้ย มีโองการตรัศ วาเราจักเสก ใหครองนักคะรา ตัวเรานีนา ฃับลัยในยลัก เฤกภานาที รารับพระชํงคา ชวนกันฃับใลย ปีเดีอนคืนวัน ปีกุลสัพ(ไม่ปรากฏ) คืนหาคําพลัน เทวาจ่อระลี ราหูเหาหาร ลักคะณะเปนเอก อังคานกับจัน เหนแล้วปราจัก จักมิมะเหษรี เกยีดดิยํดนักหนา

ชวยสํมปัดนุง รุงรังหนักหนา อุตะลูดวิ่งมา ภาตัวเฃาใปย กราบลํงสามที ตัวสันหวันใหวย จะมกํละได(ไม่ปรากฏ) คอยฟัง(ไม่ปรากฏ) จึงทาวโฃมพัด แกโหนพฤกทา พระโอรฎษา เปนปิ่นธอระณิ กับนางบุศะบา โรคาอยายี กงจักราษริ ยังจักใดยกัน บัดนันโหรา กํมเกลาอะพีวัน ในยพระเคราะนัน เฤกภานาที วันศุกเดีอนหํก พุทเปนราษรี เจตชันนาที ภาษรีเดยีวกัน อาทีดอังคาน แตลวนดัวฃะยัน อยูเมกพรอมกัน อยู(ไม่ปรากฏ)สบตรา พุทนําหนาลัก ยีมพรางทุลมา เถีงษีกัลญา ใมมีใครจะทัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓

ทรํงพระปันญา สัตตุรคีดราย พระใทเธอนัน จะหาเฤกใชย จักใดฤาหมี(ไม่ปรากฏ) ปีเดีอนชัณะษา ฃาพระพุท(ไม่ปรากฏ)เจ้า วาในยปีนี จักเสกน่อไทย จึ่งทําการใด้ ใด้เมือพระราม ใด้น้างกลับมา ปรากฎยํดสัก ใม้เหมียนโหนทาย ตัดเก้ลาเสียบไวย ทวนถีอพีปราย ผ้าผอนแพรพรัน เงีนทองเสื่ยผ้า ตามคําโหรา จํางํดไว้ยกอ่น ในการพิดธี

ฤทธีเดชแกล้วกลา ยิ่งกวากวดฃัน แพพายพรํงธรร รวดเร้วหนักหนา ตรัศถามโหนใปย เสกพระลูกญา ถายใปยณะโหรา จักเหนเปนใฉนย ขูนโหนทูนเลา ฃ่อกราบทูลไทย ไม้มีเฤกไหญ่ ใม้ได้ณะพระอา รุงขึ่นปีไหมย เชกใชยนักหนา ตามนางษีดา ครอบครองภํพ่ไตรย จักมีลาพหนัก ทัวโลคแดนไตรย เคลือนคลายพีดไป อย่าใดยกัรรุณา พระพังโหนทาย ประทารโหรา ษาระพันนาๆ แก่โหนมากมี ตรัดบอกอะนุชา ปีน้าจึงดี ผ่อน(ไม่ปรากฏ) วีวาหะมํงคล

ญาณี วันหนึงพระษีรเมีอง ขึนเฝาผู้วะดํน

ผู้รุงเรีองทัวษากน ทูลอยู่บํนแก่ราชา


๓๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ลูกรักษ์จักลาไปย รําเรยีนการวิชา ไปหาพระมุณี ชุมสอนพระฃันใชย จึ่งท้าวโฃมะพัด จะใปเรยีนวิท จะฃัดก็หมีใด อัดอันพันทะวี ทําเนยีมน่อกระสัตร ควนใปยใหยเสาะหา คิดแล้วจิงแล้วจริงปราใสย ราเรยีนการพิทธี จะใหครองราใชย กับองค์บุศบา พระรับพํชํนาฏ แล้วลายังสํการ ทูลวาลูกจะไปย ฃอลาพระมารดา แล้วลูกจะกลับมา พระอํงจํงปรานี เมีอนันพระชํลํณี จะไปยเรยีนวิชา หํนทางนันกันดาน แรดทงกลางพํงภี ลูกรักจักตก(ไม่ปรากฏ) ปาเตรีนเดีนแตตัว ฤาษรีแลมูนี ใครยรู้จะภาไปย กรีเมีองจรึงกมเกลา ลูกไปยใมยยูท แตภอรําเรยีนใดย ฃอพอนปกเกษรี

ในพํงไพรสะแวงหา ไปเมือน้าไม้เปนไร ตังพีททีอยู่ปาไหญ ใด้เสจ์แล้วจักกลับมา ใด้ฟังอํฤโอรํฏษา แส่วงพระมูนี จะใหยไปยก็ใชยที เปน(ไม่ปรากฏ) จําพรากพรัดหาวิชา เรีองฤทธาจริงจะดี พ่อจะไปยหาฤาษรี ในยปีนีจํงกลับมา เปนเอกไอยสวรรญา เรงกลับมายายูนาร กราบกับบาทพระผูบาล กมกราบกรานพระมารดา ลาผูวะไนยโปรดเกศา เรยีนวิชาพระมูนี กราบบาทาฝาชุลี วันพรุงณีจะฃอลา ฟังคะดีโอรดษา เถิงในยปา(ไม่ปรากฏ)ลี มิยักมารแลเสีอษรี ทังผีปานาภิงกลัว ไปยกะไรยพ่อทูนหัว น้ากลัวนักจักบัลใล้ย รู้แห่งทียู่ทีในย จรึงจะใดยเรยีนวิชา พระแมเจายาโสกา จะคืนมาพระบูรี จะอยูไย้ยนะชํลํณี วันพรุงนีจะฃอลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕

ฝายว่าพระชลํณี ขัดนักเหนจักทา พอใปยระวังอํง ทีขัมทํากันใพย โบรานทารว่าไว้ย รูบรศแลวาจา ทังนีท่ารย่อมห้าม รักษาองค์จงดี ว่าแล้วจริงออยภอน จํงมีเดโชใชย สัตตรูจะคีดราย ใหใดการวิชา แล้วใหใดกลับมา รอยปียามีความใฃย ศริเมอีงเรอีงคะจอน กํมเกลากับบาทา ออกมาหํงทอง ใปหาพระฤาษรี คอยยูเทีดสาวษรี (ไม่ปรากฏ)ใปยใมยยูชา พีเลยีงแลนางนํม รํารักทังวังในย พระหามวายาใปย เราไปเรยีนฤทธี ใหสังให้ประดับหํง ตาบสรอยหอยระยา ประดับหํงเสจ์แล้ว จึงทรํงผู้สาทอง ชายแครงแลชายไห้ว รัดอํงแก้วสูรีการ ท้าวทรงมํงกุฏเกจ์ งามจีงยิงเทวา

ฟังคะดีพระลูกญา มีวาจาสังสอนไปย ยาลืมหลํงจริงตรึกใตรย ทีดีใสรยจําเอามา ยาหลํงใหล้ยในยสะเนหา ทังเสภาแลมลตรี อยาลวนลามความโลคี จะเปนศรีจํนบันใลย พอจะจอนใปยทางเกัล ทังโรกใภยยามีทา ใหทําลายทัวทีดษา ปราบฃา(ไม่ปรากฏ)ทัวแดนใตร ครองภาราแทนทาวใทย รฎเรยีนใดแล้วกลับมา รับพระภอรใสยเกศา แล้วทักสิ่นพระชํลํณิ เราทังสองจะจ่อระลี เรยีนฤทธีจะกับมา ทังพีเลยีงแลเสนา จักกลับมายารอนใจย ไหยระงํมใมยมีใจย ทูลฃอใปยด้วยผูมี ไชวีใสยฃองสาวศรี ใม่ถึงปีจะกลับมา บันจํงด้วยแก้วจีนดา สองบาทากําไหลทอง พระคลาศสแคล้วเฃ้าในหอง ฉะล้องอํงทรงสังวาร สอดกําไหลอันโอลาร ประภานรัดจัดแจมตา แต่ลว่นเพชสรอเวหา ลอยลํงมาแต่อําภอร


๓๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เสจ่ทรงพระฃันแก้ว ทั่งองค่ณ่(ไม่ปรากฏ) พีเลียงแล้นางในย บ้างเข้ากอด(ไม่ปรากฏ) ทังปวงใด้พึงบูน จะใดยพึงภาไคร

อันเพรอดแพรวท่ณุษร แล้วบทจอนยางออกมา ปิมขาดใจยด้วยราชา ทูลเกสาแลวรําไรย เจาประคูณจะหนีไป พระซัรดไวย(ไม่ปรากฏ)

บัดนั้นพีเลื่ยงทังสี่ แล้วทูลฉะหลองมา สิงไรยใดยโปรดเกศา เปนฃ้ายูไตชุลี ฃอไปยตามเสจะผูมี เกลีอกมีพญาธิโรคา พระจงโปรฤใด้ เปนฃ้ากราบมอยชีวิด จิงพระษรีเมอีงเรอีงษรี ไดยฟังคะดีทังษรีพีเลยีง (ไม่ปรากฏ) โฉมยํงทรงพระเมตา ด้วยฃาก็ตามนําใจ จํงเรงผูกอาชาในย (ไม่ปรากฏ)แก่นองเร้วรา พีเลยีงไดฟังก็หันษา ผูกม้าทีนั่งย่างดี ประดับด้วยแก้วมะณี ขับคีชํานานการณะรํง ตางคํนจัดแจงแตงองค์ ตรงมาถ่วายราชา พระอํงขึนทรงอาชา ตามเสดจ์มาด้วยพลัน ออกจากพระณะคอน ชอน(ชวน)กันทีลาพรําไรย บายหน้าเข้าป่าพํงไพร

ยอกอ่นชูลีอะพีวาท

ฉะบังง

ฃาบาดบริจา เปนเพอีนพระษรี ฃอรองบาทา เกลีอกมีพญา... (ไม่ปรากฏ)ไคลคลา ขับคลองวองไวย ชอน(ชวน)กันวิ่งมา อานเบาะเมาะดี แล้วจูงม้าทรง พีเลยีงชวยขว้า ผายผันสาวษีรกํานัน หํงทองนําไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๗

เดีนไพรมาหล้ายราตืร ลุถึงอาสมมุณี ผู้มีตระบะชานไชย ลํงจากหลังอาชาในย ท้าวไทยผู้มีปรีชา เมือนั้นโควินมะหา กํมเก้ลากราบกราน แลดูพระราช่กูมาร บอปานด้วยโฉมท้ามไทย ถามวาเจ้ามาแต่ไนย บอกใหเราแจ้งกิจา กูมารฟังสารทูลมา ภาขามาแตบูรีย ฃาอยู่โฃมํราชํทานี ซือท้าวโฃมํพัดราชา ฃ้าลาบิดามารดา เทียวหาผู้มีฤทธิ สงไรยใดโปรดปราณี อยู่ไต่ชุลีบาทา ปรํนนีบัดทุกวันเวลา วิชาจะขอเรยีนไปย ดาวบํทใด้ฟงงสารไขย รักษ์ไครเปนพํนปัญา ออกมารําเรยีนวิชา เมือหน้าจะเปนไรยมี ดาวบํทจัดแจง ทังสี่พีเลยีงอาไสย สอรให้เลาเรยีนเพยีนไป ว่าไรจําใดทุกอัน สอรพระษีรเมีองทรํงธัรรษ ชอนกันจํงรักภักดี (ไม่ปรากฏ)แผ้วทุลี ทั่งสี่ก็ตักขึนมา

โควินฤาษีร เข้าไปกราบไหว้ เหนพระราชาเข้ามา ดุจํท้าวมัควาน ประสํงสิ่งไรย หํงทองปักษา บิดาฃ้านี มาเรยีนวิชา ฃอฝากเกษีร จําเรีญปัญา ชืนชํมดีใจย จําเรีญริฎทา กุดีดให้แกผู้มี ปัญาวองไว้ย กับพีเลยีงนั้น น้ําในไม้มี


๓๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เช้าๆเฃ้าไพรพฤกษา ถวายทุกวัน (ไม่ปรากฏ)พลองฃองนัน ฃะหนุนฃะหน้นนาๆ ทูเรยินมังคุดพุทรา (ไม่ปรากฏ)วาระกํารําไย มอง(มวง)ปรางมะทรางมะไฟ้ เกบใด้ก็ภากันมา เอามาถํวายราชา เอามาถวายมุนี นวดฟันค้นบาททุลี ให้พระฤาษีรนิตรา ดาวบํทมีความ(ไม่ปรากฏ) เรยืนมาก็จํบครํบครั้น ภอใด้สามเดือนเจดวัน ชวนกัน(ไม่ปรากฏ)ปิร ฝายพระษีรเมีองเรีองษีร ไม้มีผู้ใดทารทัด ดาวบํททําผิดทีพลัน สํนั่นสํเทีอนธอระณี เมือนั้นหํงทอง ด้วยพระษีรเมีองเรีองไชย รูบโฉมประโลมเอาใจย จะคู่จะควนด้วยโฉม สัตร์ตืรผู้ใดยๆ จะผิดหวํงพลํงไหล จะหาคู่ไห้ชอบใจย ไห้สํมด้วยโฉมราชา คีดแล้วกํมเกล้าทูลมา เปนฃ้าอยู่ใตชุลี ฃอไปยเทียวหานารี อันมีกระบะเดชา

เกบผํลพํลามา เดือดกุลูกจัน ส่มสรอยนอยหน้า กล้อยออยนอยไหญ (ไม่ปรากฏ)พฤกษา โบกปัดพัดวี ฝื่กสอนวิชา เรยืนจบครํบครั้น รําเรียนฤทธี ชุบสอ(ไม่ปรากฏ)พระฃัน ปักษีตืรตรึกคะดี ลูกท้าวดาวใดย โลมรักไค้รในโฉม นอท้าวดาวไดย ฃ้าบาทบอริจา ทุกกรุงบูรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙

เมีองใดมีราชํทิดา อันทรํงเบญจะกัลยานี คู่ควนดวยอํงพระษีร(ไม่ปรากฏ) มาแจงคะดีราชา ได้ฟังปักษาบันชา ก็ตองหืฤาไทย ตรัดว่าน้องมาขอบใจย เสาะหาให้พํบนารี นองจะจํงรักษ์ภักดี ต่อสามราตืรจึงมา หํงทองกํมเกล้ากราบลา รอนมาด้วยอีท่ฤทธี เทียวไปทุกกรุงราชํธานี อันทีประกอบชอบใจย ไม้ภํบสํบใจยไครๆ หมีได้ทรํงเบญจะกัลญา วันหนึงโผผีนบีนมา ลํงมาอยู่ภักสําราญ จับลํงทีสวรอุทยาน กรุงยํดโสทอนบูรีย์

รูบโฉมโลมโสภา ฃ้าจะจอระลี (ไม่ปรากฏ) พีเจ้าจํงไป พีไปบัดนี บินขึนเวหา เสาะหานารี ลูกท้าวดาวใด ถูกตองสูริยา สมเดจ์ผู้ภาร

สุรางคะนาง จะกลาวบํทไป ชื่อพินทุทัด ครอบครองธานี รีพํลโยธา เสนีเสนา มิงม้าอัศด่อน โฉมเฉีดเลืศฟา เปนทีรักษ์ไคร

บัดนียํกไว้ย ถึงทาวไทธีบอดี กระสัตร์เรืองษีร เมีองยํดโสทอน ทาวมีสักดํา แกล้วกล้าพะลากอร (ไม่ปรากฏ)กุญชอน เกลีอนกล้นปัตะภี องค์อักคะฉายา อยิ่งกว่านารีย์ ตองใจยผู้มี


๔๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พระนามมาระษีร เพราะเพรีดเฉีดฉัน แต่ล่วนสาวนอยๆ ขึนเฟ้าเจ้าฟา ถึง(ไม่ปรากฏ)นารีย์ นางในวิมาร ดุจดั่งสูวัน ชื่อสูวันณะเกสร อายุกัลญา นางในราสี ชือสีประภา จิ่มลิ่มพิรมเพรา อายุโฉมฉาย ชื่อสีสูดา ชืออิ่นพีมํน ชือจันทะ(ไม่ปรากฏ) ภัก(ไม่ปรากฏ)ฉายเฉีด องค์นางพาดพุด ทรงเบญกัลญา ทิดาองค์กอร งามดั่งนางสวรร กลิ่นเนีอมาระษีร โฉมงามประเสิฏ ไครเหนเพงพิด ปิมจะคลังเปนบ้า

ชื่อสูวันมาลา พระสะนํมแปดฟัน ดุดจะดาวดา(ไม่ปรากฏ) แชมชอยรํดจะนา เปนนีด(ไม่ปรากฏ) มีราชํบุตีร มีสีเฉีดฉัน บอปานแจมจัน อันมดราคีย์ ทิดดาองค์กอร อ่อระชอนมีสี ได้สิบหาปี พางเพืยงอับอาย องค์นิงทัดมา หน้าคฤเดีอนฉาย เกลืยงเกลาทังกาย ได้สิบสีปี องค์ทัดลํงมา เลิ่ดฟานารีย์ ชอบกลมีษีร มีสีโสภา องค์นิงงามเลืด ชือกลืบบุศ่บา ชือสุดรจะนา ทังเจดนารีย นางสูวันณะเกสร ฉอพัรณะรังษีร ฉอฉันฤาดี ดั่งกลิ่นบุษบา บูญนางลําเลิ่ด ไดส้างสํมมา รูบนั้นติดตา ด้วยโฉมออระไทย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑

เคยไปประภาด ทีสอน(สวน)อยุทะยาน เถ้าแก่นางในย กํานันฃันที เส่ดจ์ทรงวอทอง ครันถึงอยุทยา กับนางทังสี บ้างเกบบูบผ้า สาระพรรดอกไม สะสํงวารี ไหล่ยกันใน่นํา บ้างเดดบัวบาร ปิดตาหาเรน บ้างแฝงในนํา หัวรอะกันรา วันนั้นบางออน เทียวเกบดอกไมย เกบแล้วจอระลี เหนนางแตไกล ยิงเลงยิงพิด ทรงเบญจะกัลญา นางสุดจิตรา จะหาเปรียบเทียบ สํมควรด้วยอํง

ทังเจดเยาวะราช ชํมพัรรณมาไล สํารานบานใจย แหแหนแนนมา ฃอเฝาชาวที หอมลอมชายข้ ปิดปองบังมา เทียวเกบมาไลย ยอกยิกสิกสิ่อ พีเลียงนางในย จําปางอนไกย มีในอุทยาร แลวลํงสะษีร เลนนําสําราน บ้างดําบ้างคล่าน แซรมเกล้าเกศา แล้วชวนกันเล่น เหล่นไหล่ยไปมา บางดําเทืยวหา กับนางสาวสี นางสูวันณะเกสร ไปสํงวารี ทีในสวรษีร ตรายเตรเรมา หํงทองดูไปย รูบโฉมโสภา ตองฅิจ์ในยะนา เพรืดพรอมทังองค์ ดุจะนางหองพ์ ธรรมาสูงสง เทียมรูบทรง ษีรเมีองเรีองไชย


๔๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คาบพวงมาลา ยํกปีกประนํม ถวายพวงดอกไม เหนหํงทอง คาบพวงดอกไม พิศ่ดูปักษา เปนพะญาปักษี ฃํนปีกฃํนหาง แกมแก้วแพรวพรัน สํารับกระสัตร ชะรอยหํงนี หมีใช่ยอยู่ป่า เยีอนถ้ามปักษีร อยู่ดาวแดนไดย มาแต่ไนนั่น ตัวฃ้านีไสย ฃ้าเปนฆาใชย สีเมีองเรีองฟ้า ได้ครองสํมบัด บิดาจะให้ย เสกกับมาระษีร ด้วยนางอยู่ในย จึงลาบิดอร รําเรยีนวิชา

คิดแล้วปักษา โผผาลงไป บังคํมออระไทย แกนางกัลญา นางสูวันณะเกษร บํททะจอรเข้ามา มาให้กัลญา ดุจ์ะมาแตส่วรร หํงทองตัวนี ใม้มีไครยจะทัน ดุจะย่างสูวรร งามสํดรํจะนา ประดับเนาวะรัต กําไลซายขว้า ผู้มีใช้ยมา ดูหน้าอัศจรร คิดแล้วเทิ่ด ทารนีคํมสัน บอกไปยจํงพลัน บอกกันกอรรา หํงทองบอกไปย หมีใชยอยู่ป่า ท้าวไทยราชา นอเจ้าธอระนี ทาวโฃมํพัด โฃมํราชบูรีย์ ราใชยธานี บุศ่บาเทวา พระไม้ปลํงใจย สูรีวํงพงษา บทะจอรออกมา ในยปาพํงพี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓

ฤาธาปรากํฎ ใชยให้ยฃามา เทืยวทุกบูรีย์ พระสีเมีองนั้น แม้นถึงเทวา ด้วยโฉมทาวไทย มาภบกัลญา สมควนกันแล้ว สมบัดพัศถาน ฟังหํงวิงวอน แหงพระษีรเมีองผู้เรืองฤท ให้ยคิดพิศะหวํง พีว่าทังนี ด้วยพระษีรเมีอง เปนกระสัตร์ตรา พีว่าทังนี พระไม้รู้แหง หมีใช่ยวิไสย จะมีสําคัน ใม้เหนสิ่งอัน หํงทองแซรงว่า ขอนั้นแมเจา ฃ้าไม้มุสา ฃ้าจักกลับไป

อยู่ด้วยดาวบํท รําเรยืนฤทธี เสาะหามะเหษีร ทีดดาท้าวไทย เหนไม้ยสํมกัน งามลําแดนไตร ยอมมาหลงไลย งามไครจะปาน แต่ฃ้าเสาะมา เลิ่ดฟ้าสงสาร ดวงแก้วบอปาน บอปานสององค์ นางสูวรรณะเกษร ชะออนรูบทรง บอกเรืองพระองค์ ด้วยทรงราชา น้างตอบปักษีร เรายังกังฃา ผู้เรืองฤทธา ครอบครองกรุงไตร ว่าร้ายมะเหษีร นองยังกิ่รงใจย ตําแนงกรุงไตร หํงยาเจรจา ถ้าจริ่งย่างนั้น มากับปักษา เปนสําคันมา เปนหน้าอายใจย หํงทองว่าเลา อยาใด้สํงไสย แซรงว่าออระไทย ทูลแก่ราชา


๔๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

จะมีพระไทย แล้วฃ้าจะกลับ เอาสําคันมา ลานางกัลญา บินขึนเวหา จําเภวะกุดีด

ถ้าท้าวแจงใจย ยีนดีหนักหนา มายังอุทยา ถวายแกเทวี ว่าแล้วปักษา ด้วยใจภักดี บายน้าจอระลี มาด้วยฤทธา

ญาณี ฝายว่านางสูวัน ชวนหํกผู้นองยา เช้าแม่เข้าแวดลอม ครันมาถึงวังในย แล้วลามาประสาด เข้าหองอันบันจง ฝายหํงปินตรํงไป สัมนักพระอาจาริ์ย์ บังคํมพระษีรเมือง ฃ้าไปเทียวหล้ายวัน กระสัตร์กรุงไดๆ วานนีปักษีรมา นางมาเล่นสวนษีร นอทาวดาวแดนได ฃ้าเหนปิมขาดใจย พระเหนจะยินดี พระฟังคําปักษีร ดั่งหํงภานางมา ด้วยเปนวาศหนา เคลือนคลายคอยหายรอน อายุสักคีปี นอทาวดาวแดนได หํงทองจึงทูลไป

ครันษายันจวนเวลา กลับเข้ามายังวังในย แหแหนพรอมมาไสวย ไปกราบไหว้ท้าวสองอํงค์ เสดจ์ลิ่นลาดดั่งนางหํง ทังเจตอํงค์อยู่สําราน ตามแนวไพ้รมาถึงสะการ บีนทะยานลํงมาพลัน จึงบอกเรืองแก่ทรํงธรร ในยคอบคันทะเสมา เหนเทาไรยไม้ชอบตา ภํบกัลญาอันชอบใจย เหนเทวีเปนพิศใมย ไม้เหมือนโฉมนางเทวี หมีอาจไกลนางโฉมษีร ยิ่งกว่านีพระราชา เรงยีนดีเปนหนักหนา ให้ยภารฟ้ากอดแน้บนอน ใด้สร่างมาแต่ปางกอร ตอบปักษีรไปทันใด พระบูรีนางอยู่ไนย อยู่ไกลไก้ลจํงบอกมา ว่ายุไสราวสิบหา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕

เปนนอกระสัตรา พระนามนางเทวี ไม้แจงว่าซือไรย ชมสวนอุทยาน เล่าเริ่องพระราชา นางแต่ยิ่มสวรสรร ถ้าพระจํานํงใจย เมือนั้นพระโฉมยํง ลูบไลทัวกายา นองจะเฃยืนสารให้ย ทํามะรํงน้องวํงนี เอาไปถวายนาง ให้นางไว้ต้างอํงค์ เฃยืนแล้วเอาทํามะรํง สารใฃไปด้วยกัน โผผีนบีนทะยาน ลํงจับกิ่งพฤกษา แลหาไหม้เหนอํงค์ เมือไรยนางเทวี เลงแล้วก็เลเลา ฤาว่าพระบิดา ตรายเตรเทยืวเรหา ผะวํงคิ่ดสงไส

พินทุทัดรัตนาไมย ใม้รู้ทีจะถามใถ่ย วันนั้นไส้นางออกมา ฃ้าเดระฉานลํงไปหา อันโสภาให้ชอบใจย จะฟังนั้นยังกินใจย เหนจะได้สําคันมา ใด้ฟังหํงเร่งหันษา ที่ปักษา(ไม่ปรากฏ)างภาที พีเอาไปให้มาระษีร ให้เทวิใว้แทนอํงค์ ให้เหนทางในพิศวํง พระทรํงเฃยืนอักสอรพลัน ผูกฅอหํงเข้าด้วยพลัน หํงทองนั้นบังคํมลา มาหมีนานถึงอุทยาน อันเค้ยมาจับทุกที หํงทองทรํงกรรแสงษีร จะจรลีกลับออกมา ไม้เหนเจาหลากหนักหนา ใม้ไห้มาฤาวาไรย สวนมาลาทุกแหงไป จับอยู่ใน่รํมพฤกษา

สูรางคะนาง นางสูวรรณเกษร ชวนหํกนารีย์ เราจะยาตร้า บิดามารดา ลูกจะลิดลาด เกบบุศบาบัน

เมือนั้นบังออน ผู้ทรงลักขะนา ผู้เปนกระนิ่ฏา ไปชมสวรขวัน ขึนมากราบลา กํมเกล้าอะพีวาษ ประภาษไพรวัน ทีใรสวรสิ่อ


๔๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ครันได้ฟังอัฏ เจ้าจะยุระยาต ละวังอํงจํงดี ระวังระไว้ย ไปเหลนสักครู ภากันกลับมา ฟังพระบิดา กํมเกล้ากราบลา ปิดบังมูลี ขอเฝ้าเชาวที ครันถึงสวรขวัน เทยวเกบบุศบา บางวายบางดํา แตนางสูวัน ออกมายังที เหนนางเทวี โผผินบิ่นลํง ยํกปีกวันทา ใมเหนนางมา เหนนางเสจมา บอกเรอีงอันมี แกพระนเรนสูน พระเรงยิ่นดี ดุจคลังเปนบา

ท้าวพิดทุทัด กับพระชลนี ประภาดสวนษีร จะตองดูสูริยา สังนางผู้ไหญ่ ทังเจดกัลญา อย่าอยู่ให้ชา ยังวังมาระษีร ทังเจดกัลญา ยอกอรชุลิ มาทรงวอษีร มารทองรํจนา พรอมด้วยสาวษีร แหแหนแนนน้า ชวนกันลิลา ด้วยสาวษีร แล้วลํงสํงหนา ยางเหลรทุกที จอรจันบํทษรี หํงทองเคยมา หํงทองปักษีร ดีใจยนักหนา จับตรํงกัลญา แล้วทูนเทวี ฃามายูถา โสกามองษรี ปักษายินดี ถวายแก่กัลญา ฃาไดยใปยทูล ผูเริ่องฤทธา เปรมปรีหันษา ดวยออระเทวี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๗

มาให้แกบังออน กับพระธรรมรํง ใหยปักษรี อยาแหนงแคลงใจย เนือคูกันแล้ว สมกันนักหน้า ชืนชํมยินดี ดุจะไดยอิงแอบ ยิ่มยวนสวนสัน ใหยราชสารมา อันฃอราชสาร มาถึงเรานี มาถึงภูวะในย เปนทางไมยตืร นีมีสารตรา ว่าพระภูวะในย ยังใม้ยเหนองค์ แต่ตอบคะดี เหมือนเราเปนใจย ถ้าไครๆรู้ หํงทองจึงว่า ผู้มีปีรชา โลกีวีไสย ทําได้ทุก....

จึงเฃยืนอักษร ตามทางใมตรี ฃองอํงค์ผูมี มาถวายผูมี สิ่งนึงสิ่งไรย บูญใดยสางมา ดุจแก้วจิ่นดา ใมยมีใครยจะทัน นางฟังปักษรี ดังใดยเสวยสวรร แนบอํงค์ทรํงธรร แล้วดวยคะดี ซึ่งพระราชา กันพฎปักษรี ตามกานโลกิ ดูลากนักหนาก ชอบแตสารใฃย เปนเจากรุงนครา มีแตกอรมา มาถึงกระสัตืร จะทําฉันไดย ใหยมาภาที รูบทรงสํงศีร ใม้ยเหนแกตา จะรับสารใว้ย จะไครได้ราชา อํดสูหนักหนา ไห้เราเข้าใจย หํงษ์ทองปักษา ตอบว่าจาไปย เจายารอนใจย (ไม่ปรากฏ)


๔๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ครันจะกลับไป จะทรงสารตร้า นับเดีอนนับวัน ในอํงค์นํงลัก แจงมาทูกสิง ฃอชีนอระไท ดู่ดูปักษรา นางแกลงทําเส แตตอบปักษรา จะว่าใมนับ ทันใด่บากหน่า ว่าแลวเทวิ แหวนแกวบันจํง เอามาเพงพีศ ชวงชอตอตา เล็กลําสําดี ดูจทํามรํง นางรับแหวนใว่ ครันเราจะ(ไม่ปรากฏ) กลัวเกลือกสาวสี รู้ทัวตัวฆา แล้วจึงจะให้ มาแจงกิจา วาแลวเทวี

ท้าวมาอยูไพร ทูลไท้ใอยสวรร ไปมาหากัน จะเนิ่นนารไป ท้าวมีความรักษ์ เปนสุดอาใล่ ความจิงภูวะในย ทรงอารสาร (ไม่ปรากฏ) นางกลาวสูนธร ชางจํานั้นจา เลกํลมารยา ไปตามคะดี ครันเรามิ่รับ หํงทองปักศรี มาหาเราณี รับเอาสาวศรี กับพระธรรมรํง ผูกฅอปักษา ตองติจในยนา วาวาบจับใจ แหวนแกวใบนี อยางนิหาใหน อํงค์ทาวหัศใน กับสารให่มา จึงว่าปักศรี (ไม่ปรากฏ)สารตรา เสนีเสณา เปนคํลไม้ดี หํงษ์อย่าเพีอไป (ไม่ปรากฏ) แก่พระยาปักษีร ลาหํงกลับมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๙

จรึงชวนนารีย์ (ไม่ปรากฏ) เราจ่อยาตรา ชวนกันยอร่ยาตร แกเทาเชาแม มาถึงวังในย ยอกรชูลี มายังปราสาด ทังเจดกัลญา เคาหองบังออน พีเหลยิ่งทยฑา นางจึงคลายศีล ว่าพระผู้วะในย มีสุพอักษร แก่พระคนิฐา หํงษ์ทองมาแจง บอกขาวอักขะเรษ ในกาลมํงคล แตมาพรรณนา ถ้าพีเหาะได้ย พี(ไม่ปรากฏ) ไม้มีอันใด ได้ยแต่แหว้นน้อย ให้พระยาปักษา

ครันถึงสศรี ทังหํงกรนี สํมคอนแล้นา เคาสู่วั่งในย ทังเจตนางนาฎ แสนสาวสะใหว แห่หอมลอมไป ขึนเฝาราชา กับพระชลนี ชวนกรรกัลบ(ไม่ปรากฏ) พํนราชเคหา อยูกาเปรมปีรย์ นางสูวัณเกษร ขึนแทนมณี เขามาพัศวี แผนทองสารตรา ทรํงอ่านสารใขย บอรมเชษฎา ออยภรไห้มา เปนมิ่งมงคล นุชอยากินแหนง ตามขออยูบํล ตามเหดเพดผล ได้ทราบคะดี ช่รอยวาสหนา ถึงอํงค์มาระสี ใม้ยอยู่ไยดี ให้ถึงกัลํญา พีมาอยูไพร จํนใจยหนักหนา (ไม่ปรากฏ)พีมา มาเปนสําคัน


๕๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

แตภอชนุชทรง กรุงทังส(ไม่ปรากฏ)งนี จะเปนสวั้นท้อง จํงตอบสารรตรา พีฃอกอดจูบ ยานอยฤาใท นางมีพระไท้ย ดุจ่ใด้พิ่รํม ชินชํมหันษา ยิ่มย่วนสวนสัน ซรอนอะไรยนั้น อานแล้วหมิ่ให้ ฃอดูรู้บาง ฤาหมิ่ให้ฃ้า ใม้มีหน้าตา นารไปเมือหน้า จะบอกเล่าไคร แกใขยบายเบียง พิว่าสํงไสย ยืดไปยเมือหน้า ถึงรายถึงดี ปฤกษาหาฤา ถ้าหมีไว้ใจย ฃ้าเปนฃ้าไช่ย

ถวายมาต่างองค์ อย่าใด้ยเดียดฉัน ไมตืรผูกพัน แผนเดยีวกรรไป ถ่าจะกรรูนา มาให้แจงใข โลมลูบนูชไป พีฃอสะมา แจงในสารไฃย ปัติพักหนักหนา เชยชํมราชา ด้วยใด้สําคัน ซรอนไว้ในผ้า พีเลียงเหนพิ่ศะกิดทูลพลัน เหนหลากหนักหนา หนังสืออะไรย รู้บางเลยนา ย่าพรางเกษา รู้แลวๆไป ฤาเหนว่าฃ้า กลับกลอกนอกใจย แมจะเชือไย ตามพระปัญา นางฟังพีเลียง ด้วยพระปัญา นองไม้มุสา นองจะพึงไคร นับว่าเปนพี นองจําแจงใฃย นับถือสืบไป จะให้เหนฤา พีเลียงทูลไปย อยูใตพระบาท


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๑

เหนฃ้ากลับกลอก บอกความตามซื้อ

นอกใจฤา เทืดออระเทวี จึงนางออระไท แจงความตามใน ตํนมูนคะดี (ไม่ปรากฏ)นองลิ่น(ไม่ปรากฏ)วน ประภาดสวนษีร เทียวเกบมาลี ทีในอุทธะยา ยังมีพระยาหํงษ โผผินบีนตรํง คาบพวงมาลา ยกปีกประนํม เชยชํมหันษา ถวายพวงมาลา แลวทูลคะดี ว่าพระษีรเมือง ผู้มีฤทธิเรีอง นอเจ้าธอระนี ชือท้าวโฃมะพัด กระสัตร์ทีบอดี ครองกรุงบูรีย์ โขมราช่ภารา บิดาจะให้ย ครอบครองราใช่ย พระใม้ปราฎหน้า มาอยู่พํงภี รําเรียนวิชา ในพระมะหา ดาวบํดยํศะไตร ใช่ยไห้ปักษา เทียวทุกภารา กระสัตร์กรุงไกร จะหามะเหษีร อันทีตองใจย หํงทองกลับไปย อันนีหํกมา มีสุพะอักษร ฃองพระผูทร มาถึงนองญา กับแหวนทํามะรํง พระอํงค์ใหยมา เรีองโรดโชดฟา ดูน่าอัศะจัน พิดูคูคิด ดุจะดังดวงจิตร รักรอมชีวัน สิ่งนิงสิ่งใรย จะใวยใจยกัน เราจะผอนผัน คิดฉันใดยดี


๕๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

นันฤาหมีใชย ฃอชํมแหว้นแก้ว อักษรผูมี หมีใครสํงใหย พีเลียงทูนใปย นางทรํงแหวนมา รับเอาแหวนเกลีอง ประดับเพชยอด ดุจะทาวเวดสูวัน ชูฃึ่นสอดสอง แสงสางสะวางไปย ดุจะลองลอยฟา สํารับจักกระพัท ไนโลกคธาตรี พระสีเมีองนัน มีอิดริทธี เอามาใชใด ประเสีดเลิดฟา ยางดีมีคา ใปถ่วายบาท่บํง กับตอบสารษรี นานใปฃางชาย ตอบแตสมควน ยาหนักยาเบา

พีเลียงวาใวย ทีใชยพรางดี พรายแพรวรัศะมี ทรํงใหยหํงมา นางกัมแหวนใวย สํงแตสารมา สํงใสยยูรา ใหพีเลียงพลัร ทังษีรพีเลียง เพราเพรีดเฉีดฉัน สอดแ(ไม่ปรากฏ)มแกนกัน ทรํงแก้วจีนดา รัศะหมีเรีองรอง ทุกหองกัลญา ในราช่เคหา ลํงมาแตสัวรร พระมะหาเนาวะรัด สูริวงพํงพัรร ใมมีเทยิมทัน ยํดกานักหนา เพยีงพญาปักษรี บีนบํนเวหา ใหไปใหมา คูควนเทวี จําเอาภูษา ใหพระยาปักษรี ตางอํงเทวี ใหตองลําเนา ยาทําใจยงาย จะจูดูเบา ฟังนําสํานวน ตามเรีองสารตรา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๓

อันงามบอวร กับผานางทรํง ประเสีฎเลีดฟา เฃาฃองกระการ พีเลียงเอาใป ยาใหกํานัน กับสุพสารตรา มาถึงสวนฃวัน เฃ้าแจงคดี กับทังสารตรา เชีอเชีนปักษรี แล้วซรํงหํงทอง รบเอาสารา โผผีนบีนมา เรียวรัดบัดใจย พีเลียงเยีองยอง ครันถึงวังใน่ย กราบทูลกัลญา โฉมออระเนือเกลื่ยง เข้าหองรําภึง บันเทีงเรีงรี โผผินบีนตรํง ถึงอาสมดาวบํท เข้าไปอพีวัน

จริงเฃียนอักษร ทรํงแผนเงีนตรา บันจํงรํจ่นา ดังกลิ่นนางสวรร ใหยแตงอาหาร ทุกสิ่งทุกพัรร สํงใหยหํงพลัน รูเรีองคดี พีเลียงรับผา ลาแลจอรลี สําคันปักษรี แกพญาหํงทอง แล้วใหยภูษา โพชํนาสมผอง ใหกีนโดยปอง ให้บีนกลับมา หํงษทองปักษา ผู้สาสะใบย เข้าปาพงไพร มาใน่เวหา ครันซรํงหงทอง ชวนกันกลับมา เข้าไปวันทา ตามขอคะดี นางฟังพีเลียง ชืนชํมยีนดี คีดถึงพระษีร กลับพีเลียงพลัน ฝายพระยาหงษ มาสองสามวัน ทรํงพรํดนักทัน แถลงแก่ราชา


๕๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คอยหาเทวี ครันนางมาถีง ได้แจงกีจา ใส่สูวรรณพารทอง แล้วไห้สารตรา มาถวายพระษีร

ฃ้าไปครังนี หมีใครจะออกมา ฃ้าจึงเข้าหา แก่ออระเทวี นางใหเฃอง มาไห้ปักษีร ผูสาเทวีย์ จํงทราบบาทา

ญาณี เมีอนั้นพระษีรเมีอง โฉมษีรเร่งปีรดา พิศดูพระผูษา ชอชันงามบันจํง หอมกลิ่นยูอายอ พระไห้เบีกบาน ในลักคะนะอักษรษีร กราบทวายบังคํมคัน ซึงใหอักษรไป พระองค์ทรํงศักดา เมีองคืนรอยเอดเมิอง คูครองฃองทาวใท คอนีนอง(ใปรากฏ)ใจ ลูกทาวหลานพญา จะมีแตสารรไป จะใดครองบูรี นองนีจรรทประเทศ ใมควนดัวยผูวะในย กรูงโฃมบูรีย์ ภูคํรในภารา บอกมาว่ารักษนอง ถ้าพระรักจิงไสร

ได้ฟังเรีองแหงปักษา รับษาราผูสาทรํง งามรํดจะนาอันสุกสํง ดุจะผ้าทรงนางวีมาร หลับกลิ่นหอมหว้าน แล้วทรํงอานอักษรพลัน (ไม่ปรากฏ) พระทรํงธรรผูเชถา นางทรามในยอักษรมา มีฤดทาครองกรุงใกร เดจฟุงเฟืองคจรไป อาหาใมในบอกมา ยังสํงไสรให่กังฃา มากนักหนาในบูรี มาทรํงใหเหนจะดี มีความสุกค์ไมทุกใจ ทังยํดเดชไมสูงใหญ พระแตให่ปักศรีมา ใชปักศรีเปนเสนา รูเจรรจาใดเมือใร คูนพระทองจะมีใหน ใหเสนามา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๕

วากลาวตอบิดร ใหนองตอบสารรมา จะตอบกันไปมา เอาหนาไปใวใหน หักเกรงพระทรํงฤท จําเปนจําตอบมา ครันจํบอารรสารรใข มีความประเสมศรี สารรนางให่มานี ภูษาเปนสําคัน พิเลียงทูนราชา จ(ใปรากฏ)เราจะแกใฃ กับเครีองประดับอํงค์ พระว่าจะชา ใหหํงนําทางใป เหนจะใด้ท่วงที พีเลียงทูลตอบมา จะชาอยูว่าไรย จึงชวนกันเข้ามา ฃอลาพระมูนี พระคูณใด้ยปกเกลา อยิ่งกว่าคูณบิดา จะช่าก็หมีทัน ทังอํงพระชล่นี ฃอภรพระคูณเจ้า (ไม่ปรากฏ) ไปยถึงกรุงไกร ดาวบํทระทํดใจ จึงตอบพระหลานยา เทอเอาตํารามา ปีนีลาบไหญ่ ถ้าจะกลับไปเมีอง แต่ว่าใม้สูดี จะลาพสองเทดี

ถ่าอวยภรตามปราฎหนา เหนเปนน่าบัดศรีใจ ถ่าเมีอน่าคํลรูไป พรผูวะในทรํงปัญา แตคีดๆเปนนักหนา ฃอการฟาจํงปรานี พระผูวะในยเรงยีนดี เรียกทังสีพีเลียงพลัน เหนทวงทีเปนคํมสัน จะผอนผันประการใด่ ถอยคํามาว่าพํนใจ ให(ไม่ปรากฏ) ใปอีกศักครา สํารับอํงค์ไฉยา เราจะลาพระมูนี เคาอาใสรในสวนศรี พีทังสีเหนกระไรย พระบันชาฃ้าชอบใจย (ไม่ปรากฏ)นไปจะเสียที กราบวันทาพระฤาษีร ไปบูรีเยี่ยนบิดา แก่ฃ้าเจาอยิ่งหนักหนา พระเจ้าตาโปรดปรานี พระผูวะในจะมองษีร จะโสกีใหรําไรย ไว้ยปํกเกลาเปนษีรไป ใม้ช่านักจักกลับมา ความรักษ์ใครเจาหนักหนา ตาจะอวยภอนให้ไปย ดูชะตาพระผูวะใน ไปทิศไดยแตลวนดี จะฦาเลียงใด้ศักษีร ไปทิศนีจะคํมสัน กว่าเก่านับรอยพัรร


๕๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คีดอันไดยใด้สิ่งนั้น เจาถามพระฤาษีร จะใด้กลับฤาหาใม้ย ฤาษีรตอบท้าวไทย เปนไหญ่ในภารา ถ้าจะไปทีดนี ครันถึงซืรงเฃาไหญ่ มีทางอยู่สองแพรง รอยเอดพระบูรีย ถ้าไปทางคางช้าย อยาไปณะหลานอา เจากราบพระฤาษีร หงส์ทองเทียวถ่องไป พํบนางหนิงรํจะนา ชือว่านางเกษร หล่ารจะลาไปกอร ถ้าใด้ดั่งจีนดา ดาวบํดจึงบอกให้ จะใด้ดั่งใจยปูน แต่ว่าจะชะณะ จะใด้ครองธานี แลวจึงอวยภอนให้ย ให้สํมดังจีนดา พระฃันแลสองษีร รักษาใว้อยาไว้ใจ พระรับเอาพระภอร ทักสินไหว้สามลา ตาวบํดระทํดใจ พระออกจากกุดดี พีเลียงตามสะพรัง พระยาหํงภาตรํงมา ฝายหํงบีนแตเชาว บีนดูสัตวตรูไป

แม้นรํบกันจะมีไชย ไปทิดนียังกระไรย ฃอจํงใด้โปรดเกษา ตอปีไม่ยจะใด้มา แทนบีดาครองกรุงไกร้ย ตาจะชีอบอกให้ไป ชื่ออัศกรรณคีรี ทางหนึ่งแยกไปกรุงษีร ทังเมีองจันทะเสมา มียักกรายอยุ่หนักหนา ไปขางขวาใม้มีไพย หลายรักษ์นีมีอาไล้ย ถึงกรุงไกรยํดโสธร เปนทีดางามบอวร ฦาคะจอนทุกภารา ฃอพระภอนปกเกษา หล่ารจะมาแทนพระคูณ หล่านจะไปเหนใม้สูน เหน(ไม่ปรากฏ)วุนกับไพยรี เปนกระบะทัวกรุงษีร ใด้เปนไหญ่ในภารา เจาจะไปเปนสุกฃา ปรายฆ้าสึกให้บันไล่ย เรีองฤทธีปราบแดนไตรย จํงมีไช่ทุกเวลา ยอพระกอนเนือเกษา ฝายน้ําตารักมุณี รํารองใหรักพระษีร (ไม่ปรากฏ)นฤาษีเสจลีลา เสจเข้ายังไพรพฤกษา เหลียวดูให้รําไรย นําราชาเข้าปาไหญ กลัวโพยไพยจะบีทา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๗

สูรางคนาง ชมพัลมิ่งไม้ คะหนุนคะหนัน ปริงปราง(ไม่ปรากฏ) วา เดีอดุกทุกตอง ทูเรยีนแมงคูด ชํมสรอยนอยใหญ ตูมงอมหอมหวาน มะมวงมะปราง ยึ่นเลบเกบมา กลวยใขตานี กลวยนากกลวย(ใม่ปรากฏ)รน พีเลยีงเกบใด คะหนูนสํามะลอ ลางทราบลีนจี เงาะแงงแตงกวา เกลีอนกลาดดาดไป พูทซอนพูทลา พูทจีนกิลนหวารร แขกูมกทูมวัรร ศักโสกสํนสรอย รกรวยกลวยปา

เสจเข้าดํงไหญ่ ใน่ไพรพฤกษา อีนจันนาๆ หนอยน้ารําไยย ขวีดขวาดมะหาดพลอง เปนทองแถวไป ลมูดมะใฟ มีในหีมวา ม่พ้ราวน้าวตาน กิ่งก่ารสาขา มะทรางนาๆ เสวยเลนเยนใจ รอยสิ่นๆ จิ่ หากมูกใสวย ษาร่พรมีในย กีนเปนภักษา เษาเกมะลอกอ ยอยํมพูดทรา งามดีณพีอา มีทวนทูกประการ ชํมพรรดอกใม บางตูมบังบารร พูทนาพูทตัาน บาลสฤรํจ่ณา กะถิ่นอิ่นจรร แกมกัรรณีกา หอยยอยลงมา จําปาจําปีย


๕๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เทยีนใทยใพยเทษ ชํงโคโยทะกา พุทชาดมาตุลิ สรอยฟาการะเกฎ พิกุนบบุนนาก ทิงทัอนซอนซู ดุจะกลินฉายา ยํกผาขืนจูบ หอมกลินดอกไม้ย กลินนอนคอนเชย โคมุทษุดบัน เหมิอนกลินกัละยา กลินนอนชอนชิท หอ่มห้วยมาลา เมือใร้ยจะได้ย หงทอง(ไม่ปรากฏ) อัศกันคิริ ทซูนเยิอมเวหา พระไมรูเหง จึงถามปักสิ จะลืกไห้ยพํน ว่าทางนีใสร ทีพระดาวบํท ถ่าไปคางขาว

ดอกแตวแกวเกษ วีเสดหอมดี มะลิลาสารภี สิสํมชํมภู มัตรําคําเทด ชายเนทแลดู มิมากอะ(ไม่ปรากฏ) ดูหนาพึงไจ้ย หอมกลินมาลา ติดผาไส่บั้ย ไลลูบพิศะไหม้ เมิอนกลินฉายา กลินนุชะรําเหย ดอยกลินเรยิมอา กลินนันไมมา ติดผาไส่บัย กลินนุชสุดจิด แสนสะนิทพีศไม้ย คิดอาอรไท้ย แนบทรวงเรยิมอา ครอนพล้างเดินพล้าง มาเถิงผูผา มิสิโสภา บังแสงสุริยํง เถิงทางสามแพรง ทํา(ไม่ปรากฏ) ทางนิดูชะงํน กํนใดเลานา หํงทองถูนไป เปนสองมรคา ทรํงพรํดบอกมา จะถึงบูรีย์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๙

บอกมาวาราย เมิอกาลีเลา บินคามบูรีย์ สํานักลักแลง แตจักหมายทีด ดาวบอกใว จึงชักม์าทรํง สีกลัดตัดตรํง แตลวนมะนี ส่รํงเสยีงแจวๆ สาลิกาแคกเตา โนรีสัตวา เงอีก(ไม่ปรากฏ)วตัวใหญ ศิลงโครงโตรงตรูม จับเรยีงเคยีงคู่ กางปีกรํารอง การเวกเสยีงาอง นกประกระทา ขะมินบีนวํน ไกเถีอรไกฟา ไกแก้วแจวฃรร กาเยียวเฉียวฉีน หัดดีนฉวยฉาบ โควีนกีนจา

ถ่าไปคางทราย จักภพยักศรี ใม้มาพิ(ไม่ปรากฏ) สูงลํนพํนใจ จึงใมรูแหง ดวยบีลคึ่นใกล นีบูรีออระไท คาวขาวบูรีศรี พระใดฟังหํง เลยีบเลยีมคีรี ตามดํงพีฤกศรี ชวงชอทอตา นํกในเขาแกว ใพรเราะหนักหนา กระเวาโกนจา ฟังน่าเอนดู ฃูมฃามเข้าไป นํกใสรยเคาหู อีลุมชมพู ตามมูปักษา ชมนํกยุงท่อง อยู่ชองผูผา รํารองไปยมา จับเคยีงเรยีงรัน นํกยางนางนอร โดยควรผายผัรร สรอยราเบญวรร อังงชันบีนมา กระตั้วบัวบีน บีนจับพฤกษา คางชางวางมา ดูหน้าพึงใจย ชมพลางทางเดิน


๖๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ไตตามพะเนีน ชมหมูมะฤคี โตเตนเหล่นไลย แรดชางเสือหมี ละมั่งกวางทราย ชางตรับทรับมัน บางรอกออกเล่น หลีงจุ่นหลีงโทน ชะนีผีปา ลํงจากผูผา มาหลายราตืร ภํบแมน้ําไหญ่ หงส์ทองมองเหน จะขามกํลได จอระเฃเหรา มาถึงคํงคา จะไปตามแก้ว กว่าจะขามไป ตัดแพไมไผย ทําแพขามไปย ขามคํนกับม้า เรงเร้วบัดนี พีเลียงทังสี่ ตัดเอาไม่ไผ้ท เอามาพูกพัน

เฃาเฃยีวเลียวไปย เสือษีรมีใน ขํบกัดฟันกรร ชมพระยาราชษีร ทีในยหิมะวรร ผันผายตามกัน ผินผันแลนมา กระตายกระเตน ตายเตนพฤกษา ทะโมนโจนมา ดูหน้าตํกใจย ชํมพลางเดีนมา เข้าปาพํงไพรย ผูมีจอระไปย ฦกลํนคํล่ณา กว้างยี่สิบเส้น บินลํงปฤกษา ไกลสุดลูกตา มากลํนพํนใจ พระก็ตอบปักษา จะว่ากํลได แนวเนีนนําไลย ใด้ทางถึงเดีอนครา จําเราแกใฃย ให้จํงหนักหนา ใม้เปนไรยนา จะใด้ดั่งใจย จึงสัรงพีเลียงทังสี ตัดแพฉับใวย รับสังประดังกันไป มากพํนคํลณา จึงตัดเถาวัน รัดมันหนักหนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๑

ครันผูกแพเสจ ทูลเชิลราชา พะยูงจูงม้า ขึนแพครํบครัน หงส์ภาบินไปย

ระเหดเข้ามา จํงทราบพระไทย ษีรเมีองราชา ลํงมาแพไหญ่ ชวนกันคล้าไคล ถึงกลางคํงคา

ฉบงง ยังมีพระยากุมภา ฤทธากล้าหารชารไชย อยู่ในยปลองทํานําไสย นับใด้ถึงแปดสีบวา มีบอริวารมากหนักหนา แกล้วกลัาในการชีงไช่ เขดนั้นทารทราบสันไว้ กีนน้ําทีในคํงคา จรเฃเอาเปนภักษา ลงมาไม้รอดขึนไป เหลีอบแลเหนแพเตีบไหญ เข้าไกลก็เหนราชา หลากใจไครอะหังกา คามมาจะไปแหงไดย กูจักพุงว่ายเข้าไป จักใด้เอาเปนภักษา คีดพลางวางวูจูมา สองตาตะลาเปลวไฟ้ ถึงเข้าโถมเอาบัดใจย เข้าไปจะคาบราชา เดชะพระเวดคาถา รักษาอยู่ทุกคํนไปย โผมาจะคาบอาชาใน เหดไรยฉะนีเลานา

เตีบไหญมะหึมา กวางรีจะมีใน เรีองอีดฤทธา สิ่งสัตวพรัดไป เสือสางชางม้า ลอยลองทองไปย ทังคลทังม้า กฎแพไมไผย แพลงอีทฤทธา กฎแพลํงไว้ ดาวบํดให้มา อ่าปากหมีใด้ย


๖๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เอาหางแกวงไกัวไปมา เปนคลืนละลอกกระฉอกฉาน จึงพระษีรเมีองทะกูมาร ทะยารมากํฎแพลํง จะเข้าชว้ยเอาพระอํงค์ พระอํงเข้าตอกุมภี โถมเข้าแทงเอาหล้ายที โบยตีสะนันหวันไหวั หั้มหั้นพันทัวตัวไปย แดงไปทัวทังคํงคา บัดนั้นพระยากุมภา อ่าปากหมีใด้ดังใจย แวงวัดพลัดนีออกไปย เข้าไกลก็กลัวฤทธี บัดนั้นหงส์ทองปักษีร ปักษีรกรีวโกรดโกรธา โถมเข้าจีกเอากุมภา กุมภากระนํกตกใจย รองฃอชีวิดจีดใจย อย่าให้ฃ้ามวยเลัยนา กูมารฟังสารตอบมา ฤทธากลัาแลวอย่าหนีไป แม้นหมึงไปอยู่แหงไดย จักพล่านให้มวยชีวา กุมภีตํกใจยหนักหนา จักฃอเปนฆ้าสืบไป อย่าให้ฃ้ามวยบันไลย ฃ้าไส่ยจักฃอแทนคูณ ใด้โปรดงํดโทดเอาบูญ ชีวีดอยูใตบาทา พระอํงพระเมตา เขามาจะสรรยากรร

นําใน่คํงคา เหนกุมภีภาล พระฃันอันทรํงฤท พีเลียงทังสี โลหิดลามไลย เจบปวดหนักหนา ลอยหลองอยู่ไน่ย แลเหนกุมภี จีกหูจีกตา ฃ้าขอเปนฆ้าไท วาเว่ยกุมภา จักแพล่งสีนไชย รองฃอชีวา มีกิจสิ่งไดย อย่าใหคาสูน รองเรยีกกูมภา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๓

กูมภาเคามาฉับพัลน (ใม่ปรากฏ)สรร่ร้วกลัวใภย์ พระเหนโลหีษลามใหล ทาวใทจึงแกหอญา ถ่าทัวทังตัวกูมภา มิชาก์ษูนหายไป แหงเหอีดทีเหลีอดลามใหัล ดังใดนําทีพมา(ไม่ปรากฏ) กูมภีดีใจนักหนา รวมทาพระยิงกวาแดนใตร ถามวาทามาจะใปยในย บอกฃาใหยรูบางรา กูมารฟังสา เราจะใคลคลาใปย ยํดโสทอนบูรี จะใปเสาะหามะเหษรี เมอีงโฃมะราชภารา กูมภีวาแกราชา ตํกฃ้าจะภามขามไปย ให้ถึงฟากฝังชะลาไลย ลํงใปนังหลังกุมภา พีเลยีงสิคํนอาชา หมีชากอภาขามไปย เรวกว่านาวาใช่ไบย บัดใจก์ถึงฟังพัลน จรเขทูนพระทรํงธรร ทรํงธรรมีกีจสิ่งใดย มาบอกใหคาแจงใจย หมีให่พระเปนอรรตะราย กูมารฟังสารรก์ยีมพราย ทังหลายจะลาทรรไป จรเขกราบลาทาวใท ยังในยคูหานัดที

ท้าวษรพระฃัน แดงทัวต้วไป ปวดเจบกายา สูนหายคลายใจ กราบกลา ยูดาวแดนใดย ไปลอบตอบมา เรายูบูรี จะค่ามคํงคา พระอํงดีใจ ลํงหลังกุมภา มาด้วยฉับไว ถ่าเมือหน่านั้น จชวยแกใข คอยอยูสบาย ลาแลวดําใป


๖๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สูรางคนาง หํงทองพาไป พระอํงค์ขึนนัง พีเลยีงทังศรี ชํมใมยสัตวตางๆ นํก(ไม่ปรากฏ) สิ่งสัตว จากนั้นสามวรร (ไม่ปรากฏ) หงส์ทอง(ไม่ปรากฏ) ชือ(ไม่ปรากฏ) หํงษ์ภาเดีนไก้ล มาถึงทานี เมีอง(ไม่ปรากฏ) ฝูงคํนฤาเลีอง บาวนอยคํนนี (ไม่ปรากฏ) ฤานอท้าวไท แต่กอนบอเหน ถึงอํงเทวา ดุจ่พระนาราย ตางๆลืมหลํง ชวนกันอะพีวัน

เสจ์คึนฟังใด เคาในพฤกศรี เหนีอหลังพาชีว ตามเสจดวยพลัน เคาดํงพํงกวาง หลายยางหลายพรร แออัด(ไม่ปรากฏ)มกรร ถึงแดนภารา ชือรอยเอด(ไม่ปรากฏ) เปนเรีองกันมา (ไม่ปรากฏ)ถึงภารา (ไม่ปรากฏ) ไครจะทัน หมีใด้เข้าไปย ตามแถว(ไม่ปรากฏ) บูรีย์เฃมฃัน (ไม่ปรากฏ)ยํดโสทอน เสจเข้าใน่เมือง เมีองพระนะคอน มีษีรออระชอน หยาดฟ้าลํงมา มาแตหํนได กรุงนักคะรา งามเชนนีหันา ใม้งามเทียมทัน ทรงม้าเฉีนฉาย เมือแตงแกลงสัน ด้วยองทรงธรร ชมโฉมราชา

กลับไปหน้าโนนเทีษณะเจ้าล่ําพ้าวเภ้าพานภักตร์วิไลยลัคะณาฃองพีเอย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๕

หน้าปลายน้องแก้วพีเอ๋ยใม้เคยเฃียน(ไม่ปรากฏ) ใม้สูดีดอกนา หํงษ์ทองภาไป (ไม่ปรากฏ) วรัดบัด(ไม่ปรากฏ) ถีงอุทะยาน ภอเข้าไปสํบ ภํบยายกับตา รักษามาลา ฃองเจ้าทานี ตาเถ้าผู้ผัว หน้าตาหน้ากลัว ชิอตากูลี ยายเถ้าผู้เมืย สัมเสียสีนที จะ(ไม่ปรากฏ) อีชือยายกาลา สมเดจํผู้วะใน่ แลเหนแตไกล เดีนเข้าไปหา สองเถ้าเพ่งพีด ตองตีดในยะนา คีดว่าเจ้าฟา นอ(ไม่ปรากฏ)ภํพ่ไตร กราบถวายบังคํม นํบนิวประนม บังคํมทูลไป รูบคฤเทวา พอมาแตในย จะไปแหงได ฃอทราบบาทา พระจึงบอกไป เราอยูเมีองไกล มาต่างภารา จําทูลสารไฃ ผู้วะในไช่มา ตา(ไม่ปรากฏ)ดูฃ้า ชวยภาเข้าไป กราบทูลราชา ตามขอสารตรา ฃ้าจะแถลงใฃย ทาววาอะนีจา แกลงคาฤใร ใมเคาไปใด กัลวพระอฤยา (ไม่ปรากฏ)จึงวาไปย ตาไปใมใด แตยายเมตา เคาไปภายในย ทูนใททีดา วามีผูมา ลักเกบมาลี


๖๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ต้วยายนีนอ จะพิศทูนนาง พอมาทังนี หมีใดเคาใจ ทังหาพระอํง หงทองปักษา ๒ อยาวุนวาย ชือกรุงโฃมราช เลอิงฦาอือใปย สํมเดจ่ฟา โฉมงามเฉีดฉัน ฃาจริงบํทจร ลําบากยาใจย จะฃอเหนนาง ยายเอนดูฃา คะดีในใจย โฉมงามหนักหนา ควนดวยออระไท ถาใดยกันสํม ดุจะแก้วแกมทอง ชะรอยวาสะนา ยากเหนแปลกใจย วันนีแลนา นางเคยจอรจัรร

ยายรองหัวเราะ ตะมูกอูอี คัดขวางสิ่นที ยายหลากนักหนา มาแตเมืองใด โทสาคูนนา รูบทรํงโสภา งามลํนพํนใจย พระจรีงบอกยาย เรายูเมอิงใกล เชีอชาดทาวใทย ทูกกรุงณะคร วาพระบิดา กรุงยํดโสทร ชือสูวันณะเกสอน กับพีเลยิงมา เฃาตรอกออกใพร้ย ปิมจะสินชิวา งามยังเทวา จะฃออาใสย สองเถาใดฟัง หวังจรึงตังใจย ใตยฟาหาใน พระราชทิดดา สะกีดกันชํม งามหนักงามหนา เรอิงนองจับตา ชักมาใดยกัน คิดแล้วปราใสย พรางใยยทรํงธรร เวลากลางวัน มาสํงคํงคา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๗

กัมนันสาวษรี แล้วเสจสิ่นลาด ศักครูจะมา ทีนีผูชาย ทังหากูมาร ซอนอํงจฺงใด ษรีเมอีงเรอีงฝา แมนนางยออกมา ฃ้าจะซรอนตัว พีเลยีงษรีคํน ใปอยูใหยพํน ฝายพ(ไม่ปรากฏ) ปักษา สร้อยตาบปันจํง ไปยถวายเทวี ว่าน้องหอบหราง สิ่งหนึงสิ่งไรย ทุกดังอํกแตก จะฃอหนหน้า รับเครีองรํจ่นา มาจับคอยถ้า ทีนางเทวี กับม้าภาชี สมเดจ์ผูทอร ออกมาหมีช่า

ทังเจดนารี มามากนักหน้า ประภาดมาลา พระยารอนใจย เหนจะวุนวาย มาใดยเมีอใรย คิดอานแกใฃย ยาใหเหนตัว พัระฝังยายว่า บันชายีมหัว ยายตายากลัว อยูบนเคหา แตพฏมาตํน จํงเรงใคลคลา ฝูงคํลเฃามา ใปคอยถานาง จงเอาเครีองทรํง สุกสงตางๆ บอกคะดีนาง มาหากัลญา ฃัดสินจนใจย ฃอฝากชีวา เปนแฃกเมีองมา ฝากราชไมยตืร หงษ์ทองปักษา กราบลาผู้มี พฎกสาสวนษีร เคัยเสดจ์ออกมา พีเลียงทังสี่ ชวนกันกราบลา ยอกอรวันทา จากสวนอุทะยาน


๖๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ชวนกันจอระลี ทาวทังสององ แล้วลามาสะถาน กํานันสาวษีร ครัยถึงอุทะยาน พีเกบดอกไม่ นางเทียวบํทะจอน มาเกบดอกไมย หงษ์ทองเคัยมา วันทากราบใหว้ ทูลว่าฃ้ามา สีบหาราตรี สํมเดจ์ผูวะนาฏ รอบรํบมลใบ ทูกทํน(ไม่ปรากฏ)วดหา พิเหลยิ่งทังศรี ใหฃานําทาง ลําบากยากกาย ระหํกระเหีน มาพํบกูมภา ใด้รํบตอติ วิเวกษะงัด แล้วมาเฃ้าเขด เมีองจันทะเสมา

ฝายเจดนารีย์ ขึ่นเฝาผูบาล ผูทรงจักระภาน สวนขวันทันไดย ฃอเฝาเชาวที แวดลอมไส่วย สํารานพระไทย แล้วสํงคํงคา นางสูวันณะเกษร แตอํงฉายา ชายในยะณตหา คอบถ้าทุกที หํงทองเข้าไปย ออระไทโฉมษีร ช่ากว่าทุกที จึงเหนกัลญา บัดนีพระบาท คีนโดยโหยหา หมีใดใสยา ใมตํารํงกาย พระลาฤาศรี ชวนกรรผันผาย ปีม(ไม่ปรากฏ) ตังต้าย ในปาพีงภี พระใมเคยเดีน ตําเนีนคีรี ในมะหานัดที กุมภีอับปะรา แตบูกไพรชัด ด้วยหมูมะฤกคา ร้อยเอดภารา ลําบากยากใจย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๙

เข้าในสวนษีร เรีอนยายมาลา กลัวว่าจะหมีได้ สร้อยตาบเนาวะรัต ให้นุช่ทรํงพลาง ฃอเชีนกัลญา ฃอใด้เหนหน้า ถ้าไม้เหนนุช สิ่งนึงสิ่งไดย รู้ว่าผู้มี อันเฃาทับอํก ดุจใด้ฝากฟา ด้วยนุชกํานัด กระสันปันปวน ดวงภักตร์คฤจัน ชริงมาถวายฃอง นางจึงรับใว้ย ภอเหนทังสี พีเลียงรับใวัย นางว่าแกหํงษ หํงทองมาว่า ข้าใม้ใด้ให้พ(ไม่ปรากฏ) แตฃ้าทูลฃาว ท้าวแจ้งคะดี

มาถึงเมีองนี เส่ดจ์ขึนอาไสย พระ(ไม่ปรากฏ) ร(ไม่ปรากฏ)มใจย ภํบองค์ฉายา ให้เครีองประดับ เปนเครีองวัดถา ฃองตางภารา มาเกบมาไลย ค่างเรีอนยายตา แตภอชืนใจย ปิมสุดชีวา ฃอใด้เมตา นางฟังปักษีร จอระลีตามมา ยํกจากกาย วิมารเมีองส่วรร มีความปัตีพัด ใน่อํงค์ทรํงทัน ยิมยวนสวนสัน อันมํดราคี ตรัดแกหํงษ์ทอง ขอบใจปักษีร เลียวไปทันที พีเลยีงตามมา นางยืนของให้ ใส่หอผูษา ผูทรํงปิรษา จะทากํลไดย หํงษ์ทองทูลไป (ไม่ปรากฏ)ลี เรีองราวเทวี ด้วยออระฉัยา


๗๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ผุดนั่งผุดลูก จึงลาฤาษีร บุกชัดลัดปา ตั้งแต่รํบกวน ให้นําเอาขาว มาแจ้งอรไทย จึงบอกทังสี่ ว่าพระยาหํงษ์ ทังสี่กัลญา ฃอเชีนกัลญา ให้พระเหนอํง ฃ้านอยจะไปย ฟังรายฟังดี ว่าแล้วชวนหํงษ์ ครันถึงเคหา เหนนางเทวี มาย้งเคหา แกพระผูวะในย ไหมาประภาด ขางริมเคหา นางชอนท้งสิ

พระใม้อยู่สุก รําจวนครวนหา จอระลีตามมา ลําบากยากใจย ครันมาถึงสวน ฃ้านอ้ยราไป เรีองราวมีใน สุดแต่จะเมตา นางฟังปักษีร พีเลียงฉัยา ยํนเลกํลหนักหนา จะคีดกํลไดย พีเลียงทูลมา แวดชายกรายไปย อย่าให้สํงไส ยังเรีอนยายตา จะได้ภา(ไม่ปรากฏ) จะได้มาปฤกษา ภากันตรํงมา นางเดีนแต่ไกล หํงษ์ทองปักษีร ตรายเตรเรไป เขามาแจงใฃย ตามเริองคะดี ข้าเชีนนางนาฎ พํนฝูงนารีย เรีอนยายมาลิ พิเลยีงเทยีวมา

ญาณี เมีอนั้นพระศีรเมีอง ดูจดังพระ(ไม่ปรากฏ) นตรา

ใดฟังเรีองก์หันษา ใดนางฟามาแนบอํงค์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๑

ปืนพิศติจตรึงใว นําทิพมาโสกสํง พระลูกขืนเยยีมมอง แกรกๆแวกขางฝา ส้วรหํงบอกความแล้ว จับถักอาไสย ฝายว่าพระษีรเมียง เหลียวดูนางกัลญา ยืนคอยแลนั่งคอย แวกฝาเยื่ยมน้าไป แมนแทแนแกใจ ใรๆใย่จึงช่า สว่นนางออระฉัยา พีเลียงผูรวมใจ นางสั่งพีเลียงไหญ ถามว่าเกบมาลา พีเลี่ยงรับเสาวะนี มาถึงจึงเรียกเข้าไป สว่นยายตะมูกบิ่ ขา(ไม่ปรากฏ) นะแมอา ยายเอยเขามานี แต่เชาใม้เอาไ(ไม่ปรากฏ) ยายว่าวันนีไสร้ย ต่าแก่ใม้นําพา พีเลียงเดีนเข้ามา ยายเอยฃอน้ํากีน แลเหนพระทรํงธรร งวยงํงหลํงพิศไมย รูบโฉมกะใรฉะนี สํมกับพระทิดา พระรู้ว่าพีเลียง ฃอเชินนางนงคราน

ลูยลุดใปดังใจจํง ใหพระอํงฆ์เปนขีนมา ดูตามชองใม้วางตา ไยจิงช่าอยูว่าไรย ก็คลาดแค้ลวบีนกลับไป ๆ อยูกิ่งไมในอุทะยาน เนตรชําเลีองใม้วางตา ใม้เหนมาหน้าหลากใจย นางสาวนอยไปอยู่ไหน เหนไหวๆไกลสุดตา รับขวันไปมาแมมา พีคอยหาจะฃาดใจย ตรายเตรมาเกบมาไลย ไหลชิ่งกันพลันเดีนมา พีจํงไปเรีอนยายตา ใว้ให้ล้าบ้างฤาไรย กราบทวีแล้วคลาไคล ยายมาไหลยู่ฤานา ฃานอูอีว่าเจาฃา เชินเข้ามารองอยูไย เกบมาลาใด้เทาใรย เอาไปใว้ที่ไหนนา ฃ้าปวยใขยไม้ใด้หา ไปเทียวหาสูรากีน ถึงเคหาดังใจยถะวิน ปีนขึนเรีอนคลายเข้าไป ดุจดังสูวันงามสุกไสย ลืมกราบไห้วพระราชา ใม้เหนมีเหมีอรราชา งามหนักหนาใครบอปาน จึงบายเบียงแกลงกล้าวสาร มาใน่สะถานนีกอรรา


๗๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พีเลียงจึงบังคํม มาแต่หนไดนา ทีนีเปนหา(ไม่ปรากฏ) เหดไรยมาซรอนเรน พระว่าเรามาหา ภอจวนเจัาวขางใน่ เจ้ามาก็ดีแลว จะฃอสํนทะนา เหนยังจะกะไร ฤาจะใม้เมตา นางตอบพระราชา เปนพํนความคิดไป พระจึงตอบไปเลา จะใด้พํบเทวี ตัวนองมาแตไกล จะเหมีอนดังพีฃ้า พีเลียงกับน้องเลียง จะภึงกันสืบไปย นางฟังพระราชา พระว่าเหนใม้สูน ฃอเชินพระผูวะนาฏ ในทีปั(ไม่ปรากฏ) ฃอน ฃ้านอยจะฃอลา ไปหานางมาระศีร ถาแล้วกํมกราบไห้ว บอกแก่ยายมาลา ยายออกไปคอยทา ว่าพลางๆเดีนไปย กํมเกล้าอพีวาด ฃ้สขึนไปเคหา มะนุชครุดเทวา พระเรียกฃ้าเฃ้าไป

กอนประนํมทูลราชา แตก่อรฃ้าใม้เคยเหน (ไม่ปรากฏ) ทังเช้าวเยน ทําเชนนีดีแลวฤา ยายมาลาทีสวนขวัน ขึนอาไสเรีอนยายตา เชืนนางแก้วเข้ามาหา ศัานอยาจึงคอยไป นําพระไทยนางกัลญา เจาจํงว่าแตจีงไป ฃ้าจะว่าดวยใม้ให้ จะย้างใจนางเทวี สุดแตเจาจะปรานี ก็เพราะพีจะเมตา จะอาไส่ใครเลานา ไปเมีอหน้าจะถึงใจย ถึงนอนเคียงใม้เปนไรย เมือหน้าไซรจะแทนคูณ (ไม่ปรากฏ) อนสองตายิมละมูล จะเปนคูนเมือเข้านอน ไปไส่ยาดบํนอาดออน ตําหนักนางเทวี พระภารฟาจํงจอระลี ชวนเทวีเกบมาลา จึงออกไปจากเคหา นางจะมาเกบมาไลย (ไม่ปรากฏ) มาลาถวายไทย บัดเดียวใจยถึงฉายา ทูลนางนาฎคนิถา เหนราชางามพิศไม บอใด้มาเปรียบเทียมไทย พีไรวาหน้าเอนดู


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๓

สิ่งฃองๆท้าวไท ถ้าว่าจะเอนดู ฃ้าเหนพระลําบาก ใมมีซิงรีพํล ฃ้าทูลใหยทาวใปย ตํานักของฉายา นางฟังพีเลียงวา ยิมยวนสวนภาที เทียวเกบพรรณ์ดอกไม้ เกบใด้ใสหอผ้า ถึงเรีอนยายมาลา (ไม่ปรากฏ) แก้วเกดิวเสดหนัก ชํงโคโยทะกา ชํมพลางช้ายหางตา แกรกๆแหกฝามอง นวรนางเรงฃวยเฃีน ทําแสงโกรดกํานัน แล้วเรียกยายมาไหล เดดดวงพวงมาลา พระราชาคอยรองไปย มีคูนอยาสูนใจย นางทําเปนใม่รู้ พีเลยีงจืงตอบแทน มายูแล้วหมีหนํา ใปบอกตํารวดใน พระจืงร้องตอบใปย มาจับฃ้าจะว่า หมีทันจะอะไรย พีเลียงกัยฃ้าเอง พระพิศโฉมกัลญา แนงนอยชอยเฉีดฉัน

ถวายไปแก่โฉมตูร ให้โฉมตูรทรํงตามจน ใด้ความยากกระเหหํน มายูบนเรอีนตายาย บันทํมในยแทนสิลา พระราชาเรงยิ่นดี นางกัลญากระเสมศรี ชวนทังสีพีเลียงมา พีเลียงไหลชีงบุบผา ตรายเตรมาด้วยยีนดี มักตรําแลจําปี สาระภีกระดังงา ทังสํนสักกิ่งสาฃา มะลิลาจําปาทอง ดูเคหาทุกแหงหอง เนตร์สอดสอ้งภอตองกัน ทําสะเทีนภักผินผัน ชวนกันเลนใม้เหนมา เดีนเฃ้าไก้ลริมเคหา (ไม่ปรากฏ) ฉันฃอมาลีบางเปนไร เมือหน้าไปจะปลูกแทน แก้ลงทําใขยหูใม่เงยแงน แค่นจะว่าน่าอายใจย ทั้รมจะว่าเจ้าของไยย ให้ยมาจับบัดนี้นา ตํารอดในยกัลวนักหนา เจาให้ฃ้าเฃ้ามาเอง แกลงว่าใด้เหนเมาะเมง จะเปนเรื่องกันสืบไป ดุจนางฟาสุลาไล พุดผาดไปดั่งจันตรา


๗๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ตําใตยน่มะนุช แม้นถึงนางนาคา ดุจย่างนางอักษร หํงว่าใม้พิดเลย ฝายนางเกบดอกไม สาวสันกัลญา นางเส่ดจ์เยืยระยาด กับพีเลียงทังสี กลับเข้าไปวังงใน แลวลามาปรางปรา

โฉมงามสุดทัวโลกา ใม้มาเปรียบเทียบเทียมเลย งานออระชอนน้าชํมเชย ใด้มาเชยสักนอยรา เหนจะไก้ลจวนเวลา ติดตามมาจะรู้คะดี คอยลินลาดมาสะษีร ชวนนาริย์หํกกัลญา เสจ์คลาไคลขึนเฝาบิดา เจดกัลญาอยู่สําราน

ฉบงง เมือนันพระราชกูมา เหนนางจากสะถาน ผู้บารสะลํดระทํดใจ แวกชองตามมองดูไป เปลาอํกเปลาใจย เมือไรยจักกลับออกมา ให้รําจวนครวนหา จากนุชเอกา ควนฤาเจามาหนีไป รําสับรําสํนจนใจย ลําๆจะไคร ไปตามนางแกวพีเอ๋ย ลํงจากเรีอนยายตา เหลียวแลแปรหา ราชาใม้สํมปราฎาดี คลับ(ไม่ปรากฏ) ลายชายเหมีอนษีร เจาเกบมาลี มาเกบข้างนีบางรา พีจะชวยเกบมาลา พะยักกวักหา พีเลียงหมีภามา แอบพีอยู่ไยณะนองเอ๋ย อย่าหนีพีเลย ทรามเชยเจามาเทีดรา เมือนั้นหํงทองปักษา โผผินบีนมา เพือว่าจะแจงคะดี พีเลียงจูงม้าภาชี มาถึงพระษีร ก็วันชุลีวันทา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๕

เหนพระละเมอเพอหา ใม้มีสะติสํมประดี สวมสอดกอดเอาทันที ฟังพีอย่าครวนหา หํงทองปลอบโยนราชา นางมาทีนีฤาไร พระจํงระงับดับใจ พรุงนีจะกลับออกมา ยุดยั่งฟังพีดีกว่า หมีช้าจะใด้ดั่งใจย พระฟังพีเลียงแถลงไขย ตอยใด้สะตีขึนมา หํงว่าจรีงจังหนักหนา เหนว่าใม้ปูนปานโฉม แม้นใด้ใม้เสืยทีโลม ให้สีพีเลียงแ_งใจย นางให้ขึนไปอาไส จะไปบัดนีด้วยกัน จึงบอกยายตาดวยพลัน ไปอยู่ตํานักสวนษีร แล้วสั่งมิ่งม้าภาชี กีนญาอยู่นอกภารา คําๆจึงกลับเข้ามา เรามาสํานักอาไสย ม้าตํนรับคําผู้วะใน่ ไปเทียวกีนญาสําราน จิงพระษีรเมีอง(ไม่ปรากฏ) กูมาร กับสีพีเลียงราชา ขึนบํนตํานักรํจะนา เข้าหองสูวันณะอําไภ เปนทีหลับแลสุกไส สํารั่บฉายาบันทํม

ครวนถึงกัลญา เปนไฉ่นฉะนี จํงโปรดเกษา นางเข้าวังใน่ ตืรตรึกปฤกษา ระงับดับใจ นางในหองฟา พระพัรระณาโฉม บํนตํานักใน่ ฃ้าจะผายผัน พีจงจอระลี เรีอนยายกับตา ลิลาคลาไคล ลีนลาจากสะถาน สํารั่บฉายา มารบังวํงใน


๗๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หองนอกเปนทีเชยชํม สํารั่บบอรํมมะสุกฃา เสจํเข้าหองรํดจะนา จึงเอาผูษาสะใบย ใลลูบกอดจูบพิศใหม เมือไรจะใด้แนบนาง แกลงทีงเรืยมใว้ไกลคาง นวนนางชัางใม้ปรานี จากนุชเพยงสุดชีวิ เมือไรจะลินลามา พีเลียงเคียงข่างชายขว้า จํงมาระงับดับใจ พรุงนีดีหรายออระไท ทาวไทอย่าทุกเลยนา พระฟังพีเลียงทูลมา พระมาระงับดับใจย หยีกยอกพูดจาปราไส กับสีพีเลียงราชา

แสนสาวพระสะหนํม ขึนแทนไสยา หวนหอมเอาใจย เปลืยวเปลาอ่างว่าง โอโอะแก้วพี ปลอบโยนราชา จะมาให้ใด้ คอยคลายโสกา หํงทองอําไภย

สูรางคนาง นางสูวรรณะเกษร คีดถึงพระบาท ปานนีพระภารฟา จะใด่ร่วมหอง แมันนองไปใด้ นองจะจอระลี ด้วยอํงทรํงสัก หากแกรงอํานาด กับความนินทา

เมือนั้นบังออน เข้าหองฉายา ผูวะนาฏเชฐา จะมา(ไม่ปรากฏ) งษีร เมือไรยพระทอง ครองนุชนารีย์ ใม้อยู่ไยดี ให้ถึงราชา นองเปนทุกนัก จักโสกโสกา พระราชบิดา จะติดตัวไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๗

นางคอยอํดกลัน จึงสั่งทังสี ให้วิเสดใน่ ออกมาลาลัง ให้นางสาวษีร แตงเครืองโพช่นา พีโรธามาด แต่ง(ไม่ปรากฏ) ตางๆ ใสรภารพระษีร จัดแจ้งใส่รภาร แลวยํกขึนไปย นางให้ยํกมา นางผู้เนือเกลืยง ถวายแกปิรเก้ลา ตัวมาหมีใด ตระบัดย่างเยือง พีเลียงเหนนาง จึงร่องถามว่า เหนพีเลียงมา คิดว่าเสนี นุมนอยไฉยไลย เราเปนฃ้าไช่ย ทาวทัวสีองค์ เหนแปลกหนักหนา

รันจวนปวนปัน ระงับดับใจย พีเลียงลํงไป แตงโพชนา พีเลียงรับสั่ง สั่งตอกันมา วีเสทชายขว้า สํารับเทวี บัดนั้นนางนาฎ (ไม่ปรากฏ) เสดสาวษีร ลว่นยางดีๆ ลวนทองรํดจะนา ฃองคาวฃองหวาน กระการโอชา ถวายไทบิดา ว่างใว้หองใน่ย จึงสรังพิเลียง จงลอบเอาไปย วาเราจํงใจย นองบังคํมมา สาวษีรรับเครือง มาถึงอุทะยา วีงวางออกมา เจาจะไปไนย ทังสีกัลญา กระนํกตํกใจย มํนตืรท้าวไทย ทังสีคํลมา นางจึงบอกไป พระราชทิดา เดีนตรํงเข้ามา จะว่าสิงไรย


๗๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เรามาคอยทา ตัวเรานีนา ษีรเมีองเรีองไช่ จําให้รู้ถอย เราเปนฃ้าไช่ นารไปเมือหน้า รู้ว่าพีเลียง ชืนชํมยีนดี เหตไรยวันนั้น ว่ากล้าวเกลืยงทางไมตืร ดว้ยใจยภักดี กํมเกล้าวันทา พิศดูโฉมฉาย กมเกล้าถวายฃอง ถวายแก่ภารฟา คุนนางลํนฟา ทังตัวฃองเจ้า ลูบหลังลูบไหล เกลีอกรู้เนือความ พระรับเสวยของ แล้วให้เชฐา กีนโพชนา ยอก(ไม่ปรากฏ) นางหมีไครไป

พีเลียงบอกมา เจาอย่ากีนใจย เปนฃ้าทาวไท มาตางภารา พีลํงมาคอย คะดีเดียงษา อยู่ใตบาทา จะใด้ยพึงกัน ทังสีเนือเกลืยง พระองค์ทรํงธรร มีจติร์กระสัน ใม้เหนผู้มี ฝายพระพีเลียง ภากันเข้าไปย ถึงองค์พระษีร นั่งนอบยอบกาย ดุจพระอีนตรา ทาวนองให้มา จํงทราบพระไทย พระจึงตอบมา นักกวาภํพ่ไตร คุนเลาถึงไน พีใด้เมตา พระยาลวนลาม ทราบถึงกัลญา ทาวนองให้มา พีเลียงทาวไท พีเลียงรับมา พูดจาปราไสย ด้วยมีนําใจย จากพระราชา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๙

ทูลนางเนือเกลียง เมือคําวันนี ถึงปรางกัลญา พระจํงโปรดเกล้า อํามาดเสนา หอมลอมออระไท นัก(ไม่ปรากฏ) ดฃันที ฃ้านอยจะเชีน จํงโปรดเกษา เจาว่าทังนี ความรักกัลญา จะเปนประการได หมีใด้ว่าไรย ลามาถึงนางนาฎ กราบทูลกัลญา พระจักจ่อระลี จักคิดกะใรย ทูนหามผูบาล พรอมกัรสะพรัง ทังพระทะวาน จะลองลอยฟา (ไม่ปรากฏ) กว่าใมกลัว ฃาคีดฉะงํน จักเฃ้ามาใดย

พระสั่งพีเลียง ผู้ร่วมชีวา พีจะไปยหา เจาอย่าสูนใจย พีเลียงทูลเลา จักไปกํลได เฃามากองไฟ้ รอบปรางรํจนา กํานันสาวสี หอมลอชายขวา ให้นางเส่ดจ์มา จะไปกํลได พระตอบสาวสี นองขอบใจยเจา จักช่าอยู่ไย่ย ตามแต่บูญา พีเลียงตํกใจย กํมเกล้ากราบกราน อพีวาษวันทา ทวนทีทุกประการ ว่าในราตืร เฃ้ามาราชถาร แล้วใมยเปนกาน ใมยฟังเลยนา ฃอเฝาลอมครั้ง พิทักรักษา ลันดานตรึงตรา เฃามากํลใดย พระยิมแยมหัว อยาใหยตํกใจย เลกํลทาวไทย ดังนีเลานา


๘๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หมีใด้(ไม่ปรากฏ) ชร่อยทาวนี เรียนมาแตปา พีจํงบายเบียง เข้าหองหลับนอน แล้วพีทังสี ออกมาลา(ไม่ปรากฏ) สาวสีกํานัน ตามยามเวลา ทูลแกกัลญา นวดฝันคั่นบาท บันเทีงเรีงรีย์ สมเดจผู้มีย์ พีอยู่ขางหลัง นองรักจักไปย เสดจ์เฃ้าใน่หอง ทรงรํดสูคํล เฟืองฟุงจรลี ลวดล้ายวิจิด ชายแครงแสงเสิฏ ทรํงสังวานวัน ทองบุฉะลุฉะเลา ธรรมรํงทรํงถ่วน ดุจทาวโกษีร

นางฟังพีเลียง รู้ด้วยปัญา เธอมีวิชา ตอพระมุนณี จึงสรังพีเลียง สรังนางสาวษีร พีพอนจํงดี จํงกลับเข้ามา พี่เลียงรับสั่ง สรั่งนางชายขว่า ชวนกันนิตรา รักษาเทวี แล้วกลับเข้ามา ธิดาโฉมษีร พระราชเทวี อยู่ทีหองใน่ ครันคําราตืร สรั่งพีเลียงใว้ย ระวังระไวย ยังจั่งมาระษีร สัรงแลวพรรทอง แทนทองเทวี เลีศลํนรูจี ใม้มีเทียมทัน ทรงผูษาสิด แก้วแกมสูวัน งานเลิดแกมกัน รุงเรีองรัศหมี ตามติดพิศเพราะ แก้วเก่ายางดี แต่ลวนมะนี เส่ดจ์จากวิมาร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๑

แกมมอระกฎเกล่ด ทรํงพระฃันแกว พีเลียงกราบกราน ผาดแพลงสิงหนาฎ หมีได้ยอทอ ครันแล้วจอระลี ฝูงคนสะพรัง นังยามตามเพลีง พระเสจผายผัน นํบนิวบังคํม สมเดจ์มุณี แล้วจึงอํมอาน อันเรีองฤทธีเดด นารายอีนสวน อินพรํมยํมมะราด ทัวทังจักกระวาร มาเปนประทาน พระเวทฤาษีร อันจะประจัน ว่าแลวหมีช่า ฝูงคํนลับไหล ถึงประตูไหญ่ บางกรํนบางคราง บางนอนยํกฃา

ทรํงมํงกุฎเพด สีแดงแสงฉาน พรายแพรวฉัดชะวาน ชํมโฉมผู้มี เสดจ์ออกจากอาด ดุจราชษีร ราตอราชไพรีย์ จากตําหนักพลัน ถึ่งพระถะวานหวัง รอบวังแจมจัน รุงเรีองกวดขัน ยืนตรงพระถวาน ยอกอรประนํม ตังนะมัศการ ฤาษีรอาจาริ์ย์ พร(ไม่ปรากฏ) ศคาถา เดชะพระเวท ฃอจํงเทวา ชักชวนกันมา ครุดธานาคี จัตุโลกคะบาน พฤกษาคีรีย์ ทําการพิดที ทีฃ้าเปาไป ฃอให้ฝูงคํน ให้นอนหลับใหล เป่าคาถาไป ใม้ฟืนกายา พระเดีนเข้าไป เหนนคํนนิตรา บางควงพะว่า แก่ผาเปลียกาย


๘๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บางก่าวคีกลาก บางนอนขํบเขี้ยว ละเมอละหมาย พลักทะวานไหญ่ เข้าถึงวังใน่ ประสาดนีฤมํน แสนสาวเดืยระดาษ แต่ล่วนสาวน้อย ลับทุกกัลญา สาวษีรสะไวย ดามเทียนไช่สะว่าง ฝูงนางหลับอยู่ นอนอยู่บํนอาด ปิดบังมารทอง พระเดีนผันผาย นอนอยู่ข่างเตียง เทียนยามตามแจง พระเสจเข้าไปย ดุจดังเนีอทอง พระภักตร์เฉีดฉัน เสาวะภากเมาลี พระทํนเหมีอนแยม เนตร์คลําดําสีน พระเกษกัลญา

บางนอนตํามาก อาปากนอนงาย บางเขียวนําล้าย ลับใม้เวนคํน พระเดีนเข้าไป เผยออกบัดดน เขาไปยไพรชล สูวันกัลญา เสจ์ขึนประสาด ลับสะนีดนิตรา แชมชอยรํจนา เปนหน้าเอนดู เสจ์เข้าหองใน่ นอนเปนหมู่ๆ ใน่ปรางโฉมตรู ใม่รู้สึกกาย แลเหนนุช่นาฎ แทนแก้วเฉีดฉาย เรีองรองรํจนาพันะราย เข้าแฝงมารไช่ เหนสีพีเลียง ระงับลับไหล สองแสงอําไภย นังขางเทวี พิศะโฉมทาวนอง อันมํดราคี ดุลจันเปลงษีร งามสํดรํจนา โอฎคือชาดแตม แกมคฤปรางปรา ดังนินละวัน ดุจแมงภุทอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๓

ดุจษณะเรท เตานํมกลํมเกลือง พระกอรทังสอง อ่อนแอ่นออระชอน เทียมเทียบเปรียบใด้ ประเสิ่ดเลิ่ดฟ้า กลิ่นติดผาทรํง จูบแกมแนมนํมอ นุช่ษาลั่บไหล อาคํมวิเสด ปลุกพลางทางจูบ นุช่ตืนขึ้นมา นางเรียกสาวสัน พีเลียงทัวสิ่ จะทําเปนไฉ่น ลํงจากแท่นทอง ดุจพระณะราย ดวงกักลัคะกถ สํารับจักกระพัด ฤๅลองลอยฟา นางเรงปวนปัน นํบนิ่วประนํม มะนุดเทวา จรงบังอสดใจย

คิ่วคอมสุดเนตร์ กั่งไว้ทังสอง ภางเพียงบัวทอง ดังงวงไอยะรา เอวดังกินอน อักสอนบอมา จํนไตรตริงษา ควนครองภํพ่ไตร ๐ ย่อกอนลูบอํง หอมฟุงเอาใจ เชยชํมออระไท ใม้ฟืนกายา ๐ จึงแก้พระเวษ ดาวบํดให้มา ไล้ลูบกายา เหลิ่อบเหนผู้วะใน ๐ เร่งคิดอัศ่จัรร กํานันนอกใน่ กรํนผีหายใจ จํนใจหนักหนา ๐ คิดแลวลํดอํงค์ ทรํงดูอํงคราชา เฉิ่ดฉายจับตา ยิ่งยวดกวดขัน ๐ ทรํงเคริ่องกระสัตร์ สูริวงพํงพัน ลํงมาแต่สวรร ดวยโฉมผูวะในย ๐ คิดแล้วบังคํม แล้วทูนถามใปย เสจะมาแตใน้ ฃืนมาในสาร


๘๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พีทักรักษา กองนอยกองใหญ เหดไรยผูบาล ใครเปนชูเมีย กํานันสาวษรี อูกอสดขีนมา ใพเราเพราะเพยิ่ง แจวเจอิ่นเฉอิ่ยฉํา จึรงตอบนุช่ใปย จะไครใดยเมีย ความยากปิมตาย ดวยความเส่นหา (ไม่ปรากฏ) พี่(ไม่ปรากฏ)ยิ่งมาด้วย ความยากพํนใจย ราชไมตืรจิตร์ สิ่งหนึงสิ่งใด ใด้บากหากหน้า พระว่านีไส้ร ถ้าพระรักนอง มาทําเชนณี บิดามารดา พระผู้ทรํงเดด เหนว่าทาวไท

๐ อํามาดแลเสนา เตมนาพระลาน ฟืนไฟฉัดชะวาน ใมกลัวอาญา ๐ ใครสังไครเสีย นัดแนะใหมา ทาศีกัลยา ใมเกรงพระใทย ๐ พระฟังสูระเสยิ่ง ดุจะเสยิ่งเรใรย เลิศะลํานําใจย ไครใมยใหมา ๐ ใครยใมยสังเสีย จรึงทรังเฑมาหา เกยิ่ดกายเฑมา นุช่ยาตัดใจย ๐ บุกปัดสัดป่า คํงคานําให้ล ปิมมวยกลางไพร จํนถึงอุทะยา ๐ ฃ่อฝากชีวิท ใว้ในคะนิฐา จํงใด้เมตา จํงมาปรานี ๐ นางตอบผูวะใน่ ชางใม้บัดษรี ตามเรืองประเวนี เหนดีฤๅไร ๐ ถ้าพระมาว่า เจากรุงภํบพะไตร ปํกเกดอยู่ใน่ ทรํงพระเมตา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๕

เหนนองจะยอน แม้นทาวหมิ่ให้ พระมีปัญา เจ้าว่าทังนี เปนประเวนี ยองแจงแกใจ พีภานราไช่ พีใมปลํงใจย รําเรยีนวิชา ถึงอํงค์นองทาว ชะรอยวาษํหน้า มีความยิ่นดิ่ ดวยมิ่จิ่ตใฝ้ย จรึงลาฤๅษริ่ ถึงสวนอุทะญา พิ่ใดสังไวย จะมาหานุชะ เปนตานใมหนี กราบทูลทาวใทย ทิใหนพระอํงค์ ดวยพีพลัดมา พีจ่จ่อร่ฬี กราบทูลบิ่ดดอน มาทําการใหญ

๐ ถ้างออยภอน ผอนด้วยราชา อย่าใด้สํงกา ตรึกให้แจงใจ ๐ พระตอบมาระษีร เหนดีพํนไปย โลกีวิไส หงทูลกัล่ญา ๐ บิดาจะให้ กับนางบุษะบา ออกใปยยูปา พระมะหามูณี ๐ หํงใปยบอกคาว พีทรายคะดี พีกับมาระษรี ดวนอ่อระฉายา ทํนอยูหมิ่ใดย ถึงนุชหนักหน้า จ่อระลิ่ตามมา ภ่อเหนเทวี ๐ พิ่เลยีงออกใป วาในยราตริ่ ผูสุจชีวี จากแก้วกลั่ญา ๐ ถาพี่เฑใป ฃ่ออ่อระฉายา จะทรํงเมตา ตางกรุงภํพ่ใตรย ๐ ถานุชปรานี กลับใปยกรูงไตร ใหอวยพอรใชย วิวาหัมํงคล


๘๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พระวานิ่ใส พระเหนวาฑ้ ใดมาคาหํงส ใดทูลทาวใทย จรึงนองจะปลํง สืบใปยเมิ่อน เจาวาทังนิ่ ตัวพิสัดมา จะจูเฑ้าใปยทรู (ไม่ปรากฏ) วาพีอุกอาฎ ชอบไจกัลป์ยา เปนมิด่ไมตริ่ แมนถิ่งทาวรู ลูบลังลูบใล ผลักไสพระหัด พระมาฃํมเหง อาฏอกบุกมา เหดใรยพระเจา มาทําวุนวาย จะรองใหมิ่ จะใหยเสนา ทําโพยโปยติ่ เชิ่นพระเพสจ่ใปย

๐ นางตอบผูวะในย นองเรงคิดชะงํน ชัวชาคํลจํน ทูลบาดา ๐ ถาพระผูวะไนย ทาวใมกัรรุณา วาทรํงเมตา คอนคิ่ดต่อใปย ๐ พระตอบเสาวะณิ่ เอาเยยิ่งยางใคร แตภา(ไม่ปรากฏ)ใล้ย ทูนใททิ่ดดา ๐ ทาวจะกริสโกรด จะใหลํงโทษา ลวงราชอาญา ยูแล้วเปนไฉ่นย ๐ ถาเจากับพิ่ คอยคิ่ดต่อใปย ไมสูเปนใรย นุชใดเมตา ๐ นางฉวยส่บัด หน้ามาโกรธา ใมเกรงบิ่ดา ถึงปราสาทษรี ๐ ถึงใมเกรงเรา ใมเกรงผูมิ่ ใหยอายส้าวษริ่ ทัวทังวังในย ๐ รูถึงบิ่ดา มาจับตัวใปย นาทิ่บัลใลย ใหพํนรําคาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๗

ยภํกขับพิ่ ตัวพีนิ่นา ตํกมันกล้าหาร นาทิ่จะตาย ถาใครปลอบโยน จรึงฃับคีใด(ไม่ปรากฏ) ใหยพิถูกตอง นาหัวตัวใคร พิ่คิ่ดมุงหมาย โกศแสนแมนมา จะหํมลํงใวย พิ่ใมนายหนิ่ ใดยคว้ามลําบาก ตัดรอนพิ่ใด้ พระหัดไคร่ขว่า เลาโลมโฉมน้อง ลูบหน้าลูบหลัง อย่าตัดไมตรื วัดแวงแฃงฃัน พระกล้าวแตเพราะ ยุดมือถือฃ้า ตองนํมชํมปราง อิ่งแอบแนบทรวง รองรักพลักไส่

๐ พระตอบมาระษีร เอะหมิ่เปนการ ดังพาญาราช่สาร ในยกาลชิ่งใชย ๐ ถาใครคิดราย ดวยอิดฤทธิใตร ออนโอนเอาใจย วาจะใหยสะบาย ๐ นุช่แกรงร่อง จําจองจํนตาย จะใดยความคอ้าย วาจะฝากไมยตริ่ ๐ แตเชนเสนา พี่ใมยถอยหนิ่ ใหยเตมปัต่ภิ่ นุชนองนาสํงกา ๐ เรยิ่มมาโดยยาก ดวยคว้ามสะเนหา นุชใม้เมตา กุมกอรเทวี ๐ ขึนยังแทนทอง ถูกตองมาระษิ่ร รอยชังปรานิ่ พีใด้บากมา ๐ นางฉวยสะบัด ตองนองไญหนา มาเก้ลาะเจร่จา ชอบแลวฤๅไฉน ๐ พระอํงใม้วาย เจาชองพิ่ไรย ดุจดวงมาไลย พีไญนะนองอา


๘๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หยิ่กค่อพระหัด ทําใด้ทําดี ไครเปนทาษา ว่ากล้าวแมพ่อ นาฤๅว่ารัก น้านอยพระไทย พิ่เลิ่ยงสาวสัน ทําสะบิ่งสะบัด ลํดอํงลํงนิ่ กระโบมโลมไหล นางโกรดทาวนัก น้านอยวิญา กลัวจะยอนใจ อย่าเลยจะวาง คิดแลวผูมี ความรักนํงคราน เจาใว้เอนดู ซรุกซรอนนอนปา ฃองนางกัล่ญา เอาขึนบาดบ่า จึงอย่างลํงไป อย่าเพ่อไปกอ่น ภูษาฃ้าหาย พระหํมมานิ่

๐ นางขวนนางกัด หน้าขัดวิ่ญา ใม้มีเมตา ฃองทาวฤๅไรย ๐ ใม้มาสู่ฃ่อ ทําตามน้ําใจ หานหักนักไป ด้วยพระผูมี ๐ นางเริ่ยกกํานัน ใมฟืนสํมประดิ่ ฃัด(ไม่ปรากฏ)แสนทวี ยังใม้เมตา ๐ พยุดกอรไว้ย นุชใด้กัรรุณา คอนควักไปมา ดวยพระผูมิ่ ๐ สูมเดจผูวะใน อ่อระไทโฉมษีร กอรนางเทวี วางอ่อระฉายา ๐ พิ่ใด้ธ่อระมาร หํกหานเข้ามา คอยอยู่เทิ่ดรา กว้าจะมวยบันนไลย ๐ จึงภูษา ซึ่รงให้หํงษ์ไปย ฃ่อลาอ่อระไทย จากแทนมะณี ๐ นางยุดพระกอร เนือความยังมี วุนวายสินทิ่ ภูษาฃอลไคร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๙

ผ้าทรํงผืนนิ่ แลกกับทํามัรํง มาตูจับไครๆ เอะเจาสํานวน เดิ่มผ้าเฃาหาย เอามาหอยบ่า ผูษาพืนนิ่ แลกกับทํามะรง ทรงมานันแหวนไคร แต่ฃองเจาไซร กอรสอดกอจูบ เอนดูพิ่รา กูดุ:ผุชอร เหนนองบูญนอย ไครจะว่าใด้ พระไทยกําน้ด พระรู้กลนาง โอบอูมสะนิด ใจพิ่จะขาด แม้นพิ่กืลนใด้ จักกืลนเทวี ดุจทองแกมแก้ว บูญเจาลําเลิ่ด เทวาทังหลาย

๐ พระตอบมาระศิ่ร มิ่ผู้เอาไป สํงมห้มาไว้ย ได้ลักมา ๐ นางทรงพระสวร แกไฃยหนักหน้า ผูรายลักไป จะว่ากํลได ๐ พระตอบเสาวะนิ่ ของเจาคฤไคร ซืงพิจํงใจย บอกไปกอ่นรา ๐ ฃองเลาจะไครใด้ เสิ่ยดายหนักหนา ลูบไหลไปมา นุชอย่าตัดใจย ๐ นางคว้นพระกอร ทําใด้ทําไปย รู้ถอยอะไร ทําเล่นเทิ่ดรา ๐ แตปากภ่อตัด ใน่ความสะเนหา ใม้วางกลั่ญา ภาขึนแทนมะนิ่ ๐ โอสายสุศวาด ดวยยนุชนารีย ใม้ใว้ยมารษีร เข้าไว้ใน่กาย ๐ เนือคูกันแลว ใม้มิ่ระคาย ประเสิ่ดเพิ่รดพราย จํงชักนํามา


๙๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

อิ่งแอบแนบข่างนาง ก่อระเกิ่ยวๆ แคบ ก่อร่สอดกอดคว้า อิ่งแอบแนบเคล้า จบแกมแถมนํม เตงตังทังคู่ เกลิ่ยวกลํมสํมสะนิ่ด ดุจดอกสัตะบุด ไสยสํฎรํจ่ณา คอยรับสูริ่ฉาย ภูม่ริ่นปิ่นอ่ง ลิ่ชิ่นชํมยิ่นดิ่ จูบปรางนุช่นาฎ เชยชมสํมภด ดวยความสะเนหา ติ่ปิ่กสนัน ตรัดแกว่อร่นุช พิ่จะลาไปยยัง กํานันฃันทิ่ รูถึงบิดร เจ้าอย่าโสกา ใดฟังผูทร พระล่นองใวย เมิ่อใรยผูมิ่

๐ ว่าพรํบชมพลาง ทางหืระหันษา ก่อร่แนบชํงคา นุชหน้าเอนดู ๐ พระเพลาทับเพลา รํดรืนชืนชา เชยชํมวํมสู่ ชูใจยเรีนยณา ๐ สองสํมชํมชิด ตองติดวิญา พิงพุดขึนมา อยู่ในชลทิ่ ๐ พิ่งแยมกีลบบาล ทรํงเกสรสี เคลาคลีงมา ทังสองกระสัตรา ๐ พิ่รํมสํสะวาด ดุจ่ขาดวิญา ใม้คลาดคะบิฏา มิ่ดกลูมคลุมใจย ๐ ใกลแก้วแจ้วฃัน ใกลสูริโยไทย ดูสุดอาใลย ยังสวยอุท่ยา ๐ ครันจะยูนิ่ จักลวงนิ่นทา ความรอ(ไม่ปรากฏ) พิ่จักจ่อร่ลอ่ ๐ นางสูวรรณเกสร อํกรอนแสนถวี เสจ่ใปสวนษริ่ จักเสจ่กัลบมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๑

วาต่อราตริ่ จักหํมมาหานุช เจาจงคอยถา เอววันลวันเฃา เสจ่ลุกจากอาด โฉมนางมาระษิ่ร หมิ่ไครจะไปย จูบแล้วรับฃวัน แตคําจะมา ออกจากปรางใน ถึงพระกวาน เสจถึงสํวนษิ่ร พิ่เลยิ่งทังสิ่ บังคํมทูลถวย เหตผํลกํลได้ แตต้นคะดิ่ แล้วยกยอกกัน เสจ่เข้าไส พิ่เลิ่ยงสิ่นาง ใม้รู้แยบยํน ว่าพรู้มิ่ (ไม่ปรากฏ) สาวษิ่รกํานัน ใม่ฟืนกายา

๐ บอกมาระษริ่ เมิ่อคําเวลา ผูสุศ่เนหา พิ่เถิ่ดณะเทวี ๐ จูบแล้วจูบเลา เจายาหมองษรี ลิ่นลาดจ่อร่ลิ่ กอดเอาบาทา ๐ พระกลับมากอด จํนใจยหนักหนา นุชอยาโสกา ให้ถึงเทวิ่ ๐ ว่าแลวเสจ่ไป ทางไทยจ่อระลิ่ ลั่นดานดิบดิ่ ขึนตํานักใน่ ๐ หํงทองปักษิ่ร ชืนชมมิ่ดใจย เนือความขางใน ฃ่อทราบบาทา ๐ พระบอกถวนนีถ จํยใด้กัลญา สาวสันหันษา บํนแทนมะนิ่ .๐. คือรุงขึ้นรวงๆ คอยฟืนสํมประดิ่ เลกํลมาระษิ่ร เธอเสดจ์เข้ามา ๐ แต่คิ่ดนิ่กระไรย หลับนักหลับนา ชวนกันนิ่ตรา ดูหน้าอัศะจาร


๙๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เหนดวงภักตรา ทูลถามเทวี ฤๅพระทรงทัน พิ่เลิยงคิ่ดแหลม แลลอดสองซอ้ง แม่อย่าพรางซ้า ยิ่มพลางบายเบยิ่ง คืนนิ่ราชา นองรักหลับไลย ครัยตืนขึนแลว นางเล่าทุกอัน รงเชาราชา ผู้คํลรักษา ตรัดพลางทางถาม แสนสาวช่าวใน ให้วิเสดใน่ ไปถวายทรํงทัน พิ่เลิ่ยงจ่อระลิ่ ไปถวายทรํงฤท แล้วยิ่กยอกกัน ลักลอบไปมา ครันคําเวลา ครันเชาลิลา มิ่จิตร์ผูกพัน

๐ พิศะดูกัล่ญา ผิดกว่าทูกวัน คืนนิ่อัศะจรร เธ่อเสดจ์เข้ามา ๐ เหนนางยิมแยม ใช่ชายหางตา ใน่หองกัล่ญา ทางมาอยู่ไนย ๐ ยางฟังพิ่เลิ่ยง จึงบอกความไป เสดจ์เฃ้ามาหา ใม้รู้ว่ามา ๐ เธ่อปลุกนองกว ปลุกพิ่หนักหนา ษาระพันณาๆ ลินลากลับไปย ชางบุกบันมา ไครรู้เมือไรย ถอยคว้ามอืนไป ใม้รูคะดี ๐ พิ่เลียงจึงไป แตงเคริ่องยางดิ่ ทุกวันราตืร ทําตามบันชา เช่าเยนเปนนิต พิ่เลิ่ยงราชา ผูกพันหันษา เปน นิ่จะนั(ไม่ปรากฏ) ฝายพระราชา เสดจ์มาทุกวัน ออกมาสวนฃวัน ทุกวันเวลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๓

.๐.ญาณี.๐.

๐ บํดนีตํกไว้ย ๐จะกล้าวบํดไป เจ้ากรุงนัคะรา ๐ ตรัดแกนางนองรักษ ทิดาฃองเรานี ๐ จะละไว้หิมใด้ ไปถึงพระราชา ๐ เอาทองนักเทาอํง ให่เอามาเมีองนี ๐ ถ้ารูบได้ไครชังใด้ ตรัดสรังแกเสนา ๐ ไมถึงรอยเอคอํง ให้ยํกมาฉับพลัน ๐ เสนารับสังพลัน พรอมกันทีสาลา ๐ ใน่สุพ่สารตรา ผูมีเดจช่หาวหาร ๐ ทางทรํงทํศธัรรมา เปนทีสะโมสอร ๐ ทิดา(ไม่ปราฏ) องค์ พระอํงทรํงเมตา ๐ ให้เอาทองทํามะชาด ชังขึนนักเทาอํงค์ ๐ มาชังกับรูบนาง จะใหพระทิดา ๐ เขยีนแล้วเอาสารตรา จําทูลฃาวสารไป ๐ ทังทาวจันทะวัง แจกทัวทุกบูริน ๐ ฝายทาวจันทะวํง เทงพระรอยเอดนั้น ๐ ต่างคนต่างดีใจ มาใว้เปนฉายา

ถึงพระราชา ผู(ไม่ปรากฏ)ตณาริย์ ผูเปนอัค่มเหษีร เจดนีย์งามโสภา เราจักให้มีสา(ไม่ปรากฏ) ทังรอยเอดพระมูริย์ หล่อรูบทรํงพระผูมี ชังกับรูบพระทิดา เราจะให้เปนฉายา เฃืยนสารตราจํงฉับพลัน พะญาทํงพะญาจัน จะรังวันพระทิดา จึงชวนกัรแลนออกมา เฃียนสารตราหทิ่ทันนาร ว่าราชาจอมจักกระภาร ใด้ภารกรุงยุดโสธร แกไพร้ฟาประชาอร จอมกระสัดร์ขัดตียา มีรูบทรํงตองลํคะนา ใน่พระราอยเอดอํง งามสะอาดอันสูงสง หล่อรูบทองพระราชา ถ้ารูบค่างท้างนั่กกว่า เปนฉายาพระอํงไป ให้เสนาผู้เขาใจย (ไม่ปรากฏ)อยเอดพระบูริย พระหํงผู้เรีองษีร แลวเสนีกลับมาพลัน พระหํงผู้แฃงฃัน ชวนกันหล่อรูบราชา เราจะใด้พระทิดา เลีองฦๅชาทุกบูรย


๙๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ กูจะใด้นางสาวนอย อันแชมชอยเปนมะเหษีร เมือเกาเถ้าอับปีร ทีนีกูใมนําถา ๐ ล่างอํงแกฟันหัก ใจยหึกหักด้วยตันท กูจะแต่งซรืงกายา ให้ทิดาทาวภ่อใจย ๐ ล่างอํงหวังอาฃ้าว ยากใด้สาวมาพิศ่ไหม จํากูจะแกไฃย ให้ยนางเหนเปนนุมนา ๐ ฝํนหมึกปํนน้ํามํน เอาขึนปั่นเกล้าเกศา ทีนีพระทิดาเหน หน้ากูรักแทบตาย ๐ ล่างอํงทําสะเน ทําแสนเลเทถุบาย หมีสาวก็แมมาย ทีนีตายกูแล้วนา ๐ แลวสั่งให้เตรียมพํน ทังพะหํนละโยธา เสนีแลเสนา ทังม้ารํฏคํชํไกร ๐ จัดสาวทังเช้าวแม่ นางเถาแกฝายนอกใน จัดสันเกนกันไป รับอ่อระไทพระทิดา ๐ ครันแลวจึงยํกพํน ให้รีบรํนกลั้นกันมา เมียงจันทะเสมา ยํกโยทามาพรอมกัน ๐ ครันถึงยํดโสธอร ให้หยุดนีกอรพํนละขัน ใหตั่งพลับพลาพลัน มาพรอมกันทุกภารา ๐ จึงแต่งบันนาการ อันโอภานให้เสนา มาถวายพระราชา พินทุทัดผู้เรีองษีร ๐ จึงทางพินทุทํด องการตรัดแกเสนี กระสุตร์ทุกบูริย์ วันพรงนีให้เข้ามา ๐ (ไม่ปรากฏ)รูบเฃ้ามาชัล หน้าทีนังในสาลา ลังใด้รู้บฉายา จะวิวาหะมํงคํล ๐ เสนากํมกราบไหว ลาทาวไทมาบัดดํน ทูลแก่เจ้าวนายตํน ตามเหดผํนทางสังมา ๐ ฝาย(ไม่ปรากฏ)หํกนาริย รู้คะดีก็โสกา ถ้าได้ทีชัวช่า เหนเปนหน้าบัดษีรใจย ๐ ถ้าใด้ทีนุมน้อย อันแชมชอบไม่เปนไร ตางอํงตางทุกใจ รํารองไห่ทุกนาริย์ ๐ ฝายว่านางสูวัน เรงโสกสันแสนทะวี อํกเอ๋ยตัวกูนี หมิรู้ทีจะเจร่จา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๕

๐ หมีว่าก็หมีใด้ จะว่าไสรกลัวอาญา คิดถึงพระราชา อนิจจาจะทําไฉน ๐ อํกเอ๋ยแสนลําบาก จะแตกครากทํากันได้ เมือคําจะทูลไทย ภาหนีไปให้พํนบิ่ดา ๐อย่าเล่ยจะแกไฃฃย ให้พีเลียงสอดไปหา ชางทองฃองราชา (ไม่ปรากฏ) ๐ (ไม่ปรากฏ) ให้หล่อรูบราชา อันรํจนา ให้หล่อรูบพระผูมี ๐ คิดแลวเรียกพีเลยีง นางเนือเกลียงผู้มีษีร เอาทองฃองเรานี ไปให้แก่นายชางทอง ๐ ให้หล่อรูบราชา อันรํจนาใม่มีสอง ให้แลวดึงใจปวง แตในคืนวันนีนา ๐ พีเลยีงรับเอาทอง จํงเยอิ่งยองออกใปยหา ชางล่อตีราคา อล่อรูบใดยดังใจย ๐ หนักเทารูบเทวี จีงจ่อร่ลีมาชุบใวย ครัยถึงจรึงกราบใวย ใดมาแล้วรูบราชา ๐ นางเหนรูบทองคํา จันเลีศ่ลํางามโสภา ชืนชมก็หันชา สํมปราฏหนานางเทวี ๐ พีเจาจํงเอาใปย ใหทาวใทยทีสวนษรี กราบทูนพระผูมี วันพรงนีใหยเฃามา ๐ เอารูบเฃามาชัง น้าทีทีนังทาวพา ซรึงยํดมา รอยเอดองค์ ๐ พีเลยีงเอารูบใปย เถึงทาวใทยดังใจยจํง ทูลแกพระโฉมยํง นางจํานํงแกลงใหยมา ๐(ไม่ปรากฏ)พรุงนีจะชังกัน ใหยทรํงธัรรเฃามา พรอมดวยทาวพญา นางโสภาเปลพํลไจย ๐ บัดนันพระษรีเมอิง ใทยฟังเรอิ่งก็แจงใจย ยีมยวนสวนตอบใปย จํงทูลใทยาโสกา ๐ แมนรูบนางชังใดย กับรูบใทยที(ไม่ปรากฏ) ใหยาสํงกา ทูนกัล่ญา ๆ ทุกใขย ๐ สาวษริบังคํมลา มาหมิ่ชาถึงวังในย กราบทูลทานทีใปย (ไม่ปรากฏ)


๙๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ (ไม่ปรากฏ)เธ่อทีสังมา ๐ นางนาฏเรงชืนชํม ดังใดแก้วจีนดา ๐ (ไม่ปรากฏ)เบดที ตระเตรยีมอํงผูวะในย ๐ ตางอํงสํงคํงคา ผูบะ(ไม่ปรากฏ)ทยเชีงทอง ๐ แล้วทรํงพระสังวาน กุนทํนมํลมุดดา ๐ ทําม่รํงทรํงพระหัด (ไม่ปรากฏ) ๐ ครันมากีงวังในย บํคํมพระราชา ๐ ฝายวาพาขัน มีใดยบังคํมใทย ๐ ประพฤดปราใสย ทัวทุกทาวพา ๐ ฝายว่าพระสีเมอีง อยู่ในยอุทํยาน ๐ ทรํงรดสูคํนท่เลิ่ด พีเลยิ่งผันทองทา ๐ ทรํงมหาสีกกํพัด ชายแครงแสงเฉิดฉัน ๐ สอยสํนวิมลรับ ทับทรวงดวงมนี ๐ ทาวมงกุฎแก้ว เนบทัดดอกใมยทอง .๐. แล้วทรํงพระฃันแก้ว ดั่งป่อรํมพรํมสิกอน ๐ พิเสนีฃ้างษรีอํง อูมเอารูบทององคี ๐ เดีนมาตามท่นํน แตกตืนกันวิ่งมา

มีพีรํมก็หันษา เฑใสยาพีร(ไม่ปรากฏ)ในย ทาวรอยเอดภํพใตร้ย จะเฃาใปยชังรูบทอง สคํนทอัน(ไม่ปรากฏ) หลวนม่อร่กํฏรํจณา แก้วสูริการสองเวหา สอดมะหากําใลยทอง แสงจํารัดยูเถอีกทอง เปนแถวถอ่งส่นันมา จริงเฑใปยชากราบวันทา พรอมกันนาพระโรงใชย เมอิ่งทารนันเปนเมอิงใญย ฃืนใปยนังดวยราชา ตามในยทางเส่นหา เปนผาสุกฃ่สําราน ผูรุงเรอีงยอดสํงสาร พระผูบาลสํงคํงคา กลินบันเจิษพระเวหา ผัดภักตราดังดวงจัน ลวนเนาว่รัดแกมเคริ่อวัน สังวานรัดอันรูจีย ตาบประดับทับทีมษรี กอนลอดษรีกําใลยทอง อันเพริ่ดแพร้วใมมีสอง ดังลอยลองจากอําภร อันเลิศ่แล้วท่นูสอน แล้วบท่จอนทรงภาชี ลวนรูบทรํงงามมีษรี ตามผูมีงามรัดจ่ณา ฝายฝูงคํลเปนโลกา วาเทวามาแตในย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๗

๐ รูบโฉมงามยางนี ใครยเหนมีฃางฤๅใรย หมีใชยยุตําใตย เจาพํภ่ใตรย(ไม่ปรากฏ)ปลงเพดมา ๐ ฝูงหญีงในยต่ลาด ไจยจํขาดดวยราชา ชวนกันวิ่งตามมา ดูราชาทุกคํลใปย ๐ สาวแกแลแมมาย ใหยหวุนวายในยนําใจย ตางคลตางจะใครย ใดยมากอดสักนอยรา ๐ ลางนางอูมมองตาม พระโฉมงามใปยดวยรา ใมยกลัวความนินทา ดวยเส่นหาเปนพลใจย ๐ ลางคํลวีงมาถาม พระโฉมงามจ่ใปยใน้ย เชิญยูดกอนเปาะ ใรย มา(ไม่ปรากฏ)มากราบฃ้าบางรา ๐ ลางคํนทีเข้าใจ จึงบอกไปว่าเธ่อมา ชังรูบนางกัล่ญา พระบิดาให้ปาวไป ๐ เธ่อหาตางการา งามหนักหนาอยู่เมืองได สมค่วนด้วยอ่อระไทย นางสูวรรณ่กัล่ญา ๐ พระเสดจ์มาถึงวัง ลงจากหลัวอาชา ตําเนีนเดีนเข้ามา ทองพระโรงพระผูมี ๐ หมีใด้กลัวอํานาด เสจลินลาดดังราช่ษีร กระษัตร์ทุกบูรีกล้า ฤทธิพระราชา ๐ ถึงเจ้ากรุงธานี วันชุลีลํงสามลา แลวนั่งลํงตรํงหน้า กระษัตรารอยรอดอํง ๐ เธ่อนีมาแตไนย อยู่เมืองไดยงามหนักหนา เฉีดโฉมโลมโลกา ย่าง(ไม่ปรากฏ)แต่เมืองอิ่น .๐. จึงทาวพินธุทัด จอมกระษัตร์ผู้โฉมฉีน แลเหนพระผูพิน เรงคิดถะวินในพระไทย ๐ ฤๅว่าท้าวรอยเอด ฤๅอยู่เฃตบ้านเมีองไดย อาดอํงคเฃ้ามาในย งามกะไรยจะบาดตา ๐ ตําใตใม้เหนมี รูบร้างยางนีเหมือนเทวา ดวงภักตร์ลักขะนา ถึงจันตราบ่อปูนปาน ๐ (ไม่ปรากฏ)เปรืยบท้าวรอยเอด ดังเอาเพชคันแสงฉาน เปรียบด้วยปัดสาทาร พระกูมรงามหนักหนา ๐ ถ้าใด้กับแจมจัน นางสูวรรณ์กัล่ยา สํมคํวนกันหนักหนา แม้นเมืองฟาใม้เทียมทัน


๙๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ คิดแล้วจึงถามมา ว่าดูราพระทรํงธัรรมา แต่หํนไนยนั้น วํงพํงพันอยู่เมืองไดย ๐ เปนหน่อกระษัตรา ขัติ่ยาอยู่กรุงไหน จํงบอกให้แจ้งใจย เหตไฉนเจาจึงมา ๐ เมือนั้นพระษีรเมีอง จึงบอกเรีองราชา ฃ้ามาแต่ภาร โฃมราชพระนูริย์ ,๐, เปนหน่อจอมกระษัตร์ โฃมพัทผู้เรีองษีร ฦๅไปท้าบูรีย์ (ไม่ปรากฏ)ผู้ทรํงเมตา ๐ ให้เอารูบทองดี งานมีษิ่รอันโสภา ชังขึนเทากายา หล่อ(ไม่ปรากฏ)เมีองผูมี ๐ จะชังกับทิดา อันตัวฃ้าไรยมะเหษีร จึงมาวันชุลี พระผู้มีตามบูญา ๐ จะฃอชังรูบทรํง ฃ่อพระอํงทรงเมตา ถ้าใด้ดังปราฏ่หนา ฃ่าเปนฆ้าพระอํงไป ๐ จึงทาวพีนธุพัด ใด้ฟังอํฏก่อดิ่ใจย จึงตรึกในพระไทย เธ่อนีโฉมงามหนักหนา ๐ เปนหน่อทาวโฃฃมะพัท วํงกระษัตร์ยอ่มฤๅชา สํมกับพระลูกญา นางสูวรรณะเทวี ๐ ถ้าชัวกันหํมใด้ย จะแก้ไฃน้องสาวษีร ให้ใด้กับผู้มี เธ่ออํงนีมีบุญา ๐ คิดแลวจึงปราไสย เราปาวไปทุกภารา ทังนีตามบุญยา ใค้ผามาใร้ด้วยกัน ๐ ตรัดสั้งแก่งเสนา เอาตราชูเข้ามาพลัน แฃวันขึ้นกล่างโรงคัน จะชังกันบัดนีนา ๐ แลวทาวพินอุทิด จอมกระษัตร์กลับเข้ามา จึงสังเจตทิดา แตงกายาจํงฉับพลัน ๐ แสนสาวแลชาใน่ เรงออกไปให้พรอมกัน ทังเจดจีงจ่อมจัน ชวนกันสํงพระคํงคา ๐ แลวทรํงสูคํนฑะรํด กลีนปรากฎฟุงหนักหนา แว้นทองสองกายา ทรํงผูษาชายเชีงคอง ๐ มีสีตางๆ กัน พืนเดีรควันอันบันจํง ผ้าบางย่างยอกตอง ทรํงฉะหลองซรับกายา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๙

๐ สะไน้กรองทองแกมแก้ว อันเพิ่รดแพรวงามโสภา ตาบสรอยหอยระยา ทังมะหาสังวารวัน ๐ สองกอนอันบันจํง สอดทํามะรงอันแสงฉัน มํงกํฏแกวแพรวพรายพรัน ทรํงสูวันนะมาลา ๐ ออนแอ้นออระชอน ดังกินนอนรอนเวหา งานพีญีงเทวา เมีอลิลาลํงมาดีน ๐ จึงเสจยุระยาด เดีนนาฏงามเฉษฉิน ตามกันออกมาสีน กินณะรี(ใม่ปรากฏ) ๐ (ไม่ปรากฏ) พีเลยีงเลนางใน่ พรอมกันท้องพระโรงใช่ นางดูไปทังเจดอํงค์ ๐ หมีใด้ชอบใน(ไม่ปรกฏ) ทังภักตราและรูบทรํง พ่ญาจันพ่ญาหํง รอยเอดอํงไม้เปนการ ๐ แลเห่นพระษีรเมีอง งามรุงเรีองฉัดฉะวา รงทาวเจาวีเกีน ทะยานฟาลงมาดีน ๐ ทาวนีอยู่เมีองได งามกะไรยเพรีดเฉีดฉีน ทาวพามาทังสีน เฉีดฉีนเหมือนราชา ๐ จะเปรียบด้วยพระองค์ เหมีองเอาหํงไปเปรียบกา เอาสัจใน่สูทามา เปรียบเทวาได้เมือไรย ๐ ชวนกันดูผูมี พระอํงนีอยู่เมีองไหน เดชะบูณกูใด้ พระอํงนีใม้ทุกเลย ๐ ล่างอํงคิดใน่ใจย ฃ่อจํงใด้เราเตีดเอ๋ย จะใด้กอดชมเชย ใม้คลาดเลยสักเวลา ๐ (ไม่ปรากฏ)นางคิดบํนผี ให้ใด้อํงนีใว้แกฃ้า จะบํนเทวะดา ให้มีง่านสักสามวัน ๐ อย่าใด้รอยเอดอํง พาหํงพาจัน แสนสาวชาวกํานัน ชวนกันดูใม้พริบตา ๐ ฝายว่านางสูวรร นางคีดพรันอยู่หนักหนา นางเสืยงด้วยสัจา เดชะข้าเปนคุไทย ๐ รูบทาวบันดามา ชังกับฃ้าให้เข้าไป ด้วยบูญฃองทาวไทย เทวใด้โปรดเกสร


๑๐๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

.๐. สูรางคะนาง .๐. สํมเดจผูวะนาฏ จึงสังลํงไปย เอารูบเข้ามา ใด้ทร่างสมมา ถ้าไครชังใด้ จํงสังเสนี พระราชทิดา หนังสือ เจ้าพราช

๐บัดนั้นพระบาตร เจากรุงนคะรา ให้ทาวพะญา ลังกับรูบเทวิ ๐ ตามแตบูญยา กับนางมาระษีร จะให้เทวี ให้ชังรูบพลัน ๐ กับรูบฉายา อํงค์ใดๆ นันเสนารับ

(สิ้นสุดเนื้อความเล่ม ๑ เพียงเท่านี้)


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๑

ษีรเมีองสมุท ๓๑๔ กลอนสวดเลขที่ ๕๐๗ มัด ที่ ๕๙ ตู้๑ ๑๔ ชั้ น๑/๒ พระองค์ เจ้ าหญิ งพิ มพั บศรสร้อย ประทานพ.ศ. ๒๔๖๐ ชื่อหนังสือ ศรีเมือง เล่ม ๓ ฉบับ ความเก่า ลักษณ กลอนสวด ประวัติ พระองค์เจ้าพับศรส้อยถวาย ๒/๔/๖๐ หมายสําคัญ อักษร ศ. ที่ ๘๗.ก ที่เก็บตู้ ว.ด เนื้อเรื่อง ตั้งแต่ นางสุวรรณเกสรคลอดลูก ที่สํานัก พระฤๅษีตาไฟ จนลูกของนางอายุได้ ๗ ปี พระศรีเมืองจึงตาไปพบ จนถึงสองอนุชายกพลออกไปรับกลับเมือง ฯ ๐ ไปช่วยนางสูวัณเกสร อักษรก็ชวนกันมา ๐ นางสุดจิตรา ลงมาก็เตมกุฏดิ ๐นางทด(ไม่ปรากฏ)มารษรี บ่มีเดาชวยอัดแอ ๐ นางสุดจิตราพันแปร แกไขมีใหขัดสัน ๐ทานท้าวเจาวิ่มา(ไม่ปรากฏ) ของพระฤๅษรีตาไฟ ๐ ประลํงเกสาทรามไวย ทรามไวจํงคลอดเทิ่ดรา ๐ครันใดยามไชเวลา ประสุทพระราชกูมาร ๐ รูปโฉมโลมใจยใครจ่ปาน บ่วบ้านดวยโฉมทรํงทัน ๐ จึงใหบังเกิ่ดอัศจัน เมกมอกก็ออกเปนควัน ๐ นางสุทธรมาแจมจัน มาสํงนําทิพโอลา ๐ จึงวางลํงในเบาะผ้า ปํกหํมกูมารทนไชย

๑๔

ฝูงเทพนิกอน ทุกหองฝากฟ้า หนุนหลังเทวี เปนหม่วตําแย จึงเอานํามํน รํดทัวตัวไป นางสุวรรณกัลยา แม้นเจาวิ่มาร ฟ้าดินไวยว้น รับเอาจอมขวัน เอาผาทิพมา

“ษรีเมืองสมุท๓” หอสมุดแห่งชาติ.หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทยภาษาไทย. เส้นหมึก. ม.ป.ป. เลขที่ ๕๐๗.๑๔๖ หน้า.หมวดวรรณคดี


๑๐๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ สับเสดสํมเดจหัศไน ชวนกันเคาไปอวยภอน ๐ จึงถว้ายนามภอน ชือพระสาคอนสูริ่วํง ๐ ใหเลอีงเรอีงอิดริทีรํง จํงสืบพระวํงพํงพัน ๐ ไดจํงใดสิงนัน เปนใหญไนคันท่เสมา ๐ ครันแล้วชวนกันวันทา กลับมาไพรชํลวีมาร ๐ เมอีนันตาไฟทรํงญาน อันงามโอลานโลกา ๐ ยินดีมีความส่เนหา เชยชํมพีรํมเปรมปรี ๐ ฟืนไฟหาใหเทวี มุนนีก็อุมหลานมา ๐ มาไวทีบัณ่สาลา ใหพระนัดาบันทํม ๐ เท่อเฝ้าคลึงเคลาเชยชํม เท่ออุมไปส่งมารดา ๐ เชาๆ เท่อเคาในป่า เอาใหนางเทวี ๐ รักหลานบ้านสุดชีวี มีใหอ่นาทอนไจย ๐ สูรางค่นาง นางสูวัณเกสร ยํกลูกทูนเกลา จ่ทําเปนไฉ่น ใดความลําบาก แมนเกีดในเมือง

เทวานอยใหญ บุดนางบังออน อายุยืนยํง ยามีใครทัน ตาไฟม่หา เหนราช่กูมาร ยํกเอาหลานมา ใหพิงอักคี จึงผูกเปลผา เวลาเส่วยนํม เกบผํลพฤกษา ตาไฟมุนี

๐ เมีอนันบังออน คิดเถิ่งผูว่ไน โสกเสรารําไรย ปลืมไจยเมยีอา ๐ เกีดมาเมิ่อยาก กําพราบิดา จ่เลอีงฤาทฺ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๓

เจาปูเจาญ้า ทังสองภารา พิ่เลยิ่งแม รับมิงสิงขวัน จแวดล้อมเจา เรามาตํกยาก เหนแตพระตา ฤาสินสุดบุณ ฤาขืนใดแล้ว เทยิ่วหาเมยีนี ใดฟังคดี เท่อกลันมีใด อุมเอาหลานมา ปอนผํลผลา ใหนอนเปลผา รับมิงสิงขวัน เกบพัรร่ดอกใบ เยายัวใหเหลน รักสาพระล้าน กล้าวเถึงท้าวไทย ว้ายยูในนํา ลอยลองไปมา พระภาย(ไม่ปรากฏ) หอบเอารา(ไม่ปรากฏ) ฝังนํานที

จ่พรอมเพรยิ่งกัน ๐ เจายายเจาตา จ่มาหืฤาหัน นํมสนมนับพัน สํมโพทลูกญา ๐ นางแกนางเถา ดุจ่ด้าวดารา ลําบากนักน้า ยูในพํงพี ๐ โอเจาพคุน ในกลางนัดที แก้วจ่วร่ลี่ ริมฟังพระคงคา ๐ เมอินันฤาสี เทวีโสภา รําไรยนักน้า ยังกุฏิพลัน ๐ สสํงกายา พฤกษาเพอีกมัน เวลาทุกวัน พระราชกูมาร ๐ (ไม่ปรากฏ) ตางตางตระการ เปนสุคสําราน เปนทนานมา ๐ บํทนียํกใหว สิเมีองรา ตรํกตรํานักน้า ใดสามราตรี ๐ วันนันกระบัด พัดเคาฟังนที เคามาเถึงที่ ดวยบุณราศ


๑๐๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สินสุดกําลัง เทยิ่วหานองรัก โอแก้วพี่อาจ คาบคันนองญา ฤๅอาจํมนัที ฤๅว่าดีนใด ดูรอยบํทบาด ไมเหนไมภํบ ผันแปรแลเลยีว เต่รดเตรเรไป ฤาสินชีพแล้ว ใหพีรอนรํน ใดความลําบาก เปนกําสิงไร พีจ่เทยีวหา ชีวีผัวแก้ว จ่กลิงเกลอีกคาย ซ่วภํบโฉมยํง เดยีวเทยีวไปใน คิดๆ ผ่วํง จ่ตายเปนผี ตามแน้วสาคอน แมนใมภํพนอง จ่มวยบันไล

๐เสจ่ขึนเถึงฝั่ง คอยทรํงเดีนมา อํงอัคฉายยา มาเปนไฉ่น ๐ ฤๅนึงมัจฉา สุศวาดพี่ไป แก้วพี่บันไลย สัคไปอํงเดยีว ๐ เทยีวหานุชนาฎ ตามหาดทรายเขยีว เทยีวจํบอํงคเดยีว เทยีวตามแน้วชํล ๐ ฤๅนุชเจาขืนได เคาในไพรสํน โฮแก้วกัปตํน ทํนเวทนา ๐ โอเจาเพอีนยาก ผากันนีมา หายในคํงคา กว้าจ่ใดพํบอํงค ๐ถาใมภํพแล้ว เหนใมคืนคํง หายทร้ายกลางพํง ทีในเมอีงผี ๐ ฤๅนุชคืนไดย ดํงพํงพี ปลํงคางไหนดี ฤาจ่ตามไปย ๐จ่เทยีวหากอน เกลีอกจ่พํบอ่อร่ไทย จ่ครองตัวไยย ไปตามกัล่ยา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๕

ต้ามแน้วสาชํล เทยีวหาแหงใด เวยีนไปเวยีนมา ลอยมาโรยไร เคาใถลใชยนอง อํกใหหาศี โผผินบินหวน คิดว่านองรัก มีใช่กัล่ญา บางผุดบางดํา รองดวยสําเนยีง เคาชิดผิดไป เหนสูรีโยไท ชรอยลํมใญ ฝากฝังคํงคา ขืนฟังใดแล้ว ตัวของเราเคา ลืนสัดกลับไป อํกพี่จ่คราก แมนรูแห่งหํน ใหพํบกัลญา สัดมาฟากนี่ เทยีวหาริมนํา เมิ่อใรยจ่ใด

๐ คิดแล้วจ่อร่ดิน ดูรอยบาทา ใมใดสํบตา ใมเหนเทวี ๐ แลเหนขอนไม คิดว่ามารสี ยํกสองมืตี เพอีนยากฺเรยีมอา ๐ เหนนํกนางนวน ลงในยคํงคา เจากวักกวักเรยีกหา โสการําไรย ๐ แลเหนเงอีกนํา คิดว่าทรามวัย สุดเสยีงท้าวใทย รําใหโสกา ๐ พระเลงเลแลไป ดูลากนักน้า พัดใหกลับมา เมีอแรกคามไป ๐ ดีร้ายนองแก้ว แมนแทแกไจย ฟังมีใคคค ถึงฝั่งแรกมา ๐ โอกําจําจาก พลัดพรากฉายา จ่เทยีวคํนหา นองนอยกลอยใจย ๐ ฤๅว่ามารศรี ดวยพีฤๅไฉ่น ครวนครํารําไรย พบแก้วพี่อา


๑๐๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คํนคว้าหาจํบ เหนตํนพระไทร สุดแรงราศเคา รองเรยีกกัสญา ยทอดอํงคลํงรํา เคลีมคลามลับใลย โผผินบินทอง ใดใมระภํบ ฟังคําคาที รอนตรํงเคามา บํนถิงไทรทอง เอะนันอะไรย สีเมืองผูวไน ใมเหนแจมสู ดูลากนักน้า ปลุกพระราชา ปลุกแล้วปลุกเล่า ฤามวยบันไลย สินแรงทรํงสัก ทังอํดอาหาน คอยฟื้นกายา ลุกขืนตํารง ถอดเอาหํงทอง คิดว่ามีใค

๐ ใมเหนใมภํบ ใมภํบกัล่ญา กิงใหญสข้า ภักอาไส ๐พระใหโหยหา สุดกําลังไป ครวนครํารําใร รํมไทรสาข้า ๐วันนันทํงทอง เทยีวหาราทแหง ตระกลับมาเถึง ตํนพระไทร ๐ เนอยีภักนักน้า จับลํงอาไสย แล้วมองลํงไปย ไตรํมพฤกษา ๐ แลเหนท้าวไท นอนนึงนิตา วันกัลญา ไฉยาไปใน้ย ๐ คิดแล้วปักษา พลางมารําใรย พระเจาเปนไฉ่น ใมใหวกายา ๐ ดวยเนอียพระเนอียภัก หอบหิวโรยรา บวร่มารทรังมา ขืนมาทันไจย ๐ แลเหนราชหํง ทรํงกายท้าวไทย ฟุมฟ่องเนดไลย เหนพี่แลนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๗

ใมบอกออกใด สอืนรําไร นองใดเห้นน้า โสกเสราโสกา ถามหาจอมขวัน ใมเหนบังออน แตเริ่มเดีมที นองนีกลับมา กับนางอ่อรไท ผูกมัดรัดอํง ขีขอนใมใหญ เถึงกลางนัที ใหเคลีอนเลอีนไป ข้ากับเทวี บัดเดยีวผูสา ใมภํบโฉมสี นองว้ายเทรทรัง (ไม่ปรากฏ) เทยีวหาอ่อรไทย ใมพํบนํงนุช อดยากอาหาน กอดหํงเคาไว ดีร้ายนางแก้ว จ่บึ่รมา

๐กอดหํงรองให อัดอันวินญา สุดไจยนองอา ดังภํบบิดอน ๐ฝ่ายพ่ญาปักษา รํารักผูทอน นางสูวันเกสร ไปยูแหงใด ๐พระบอกปักษรี ยักษณีภาไปย ดันป่าพํงไพร ลํงขามนัทที ๐เปลอีงเอาผาทรํง กับนางเทวี ลอยไปดิบดี มีลํมใหญมา ๐พัดขอนใมใหญ วุนว้ายนักน้า ว้ายนัททีมา ข้าดกันออกไป ๐เลยีวหาเทวี ภางเพยีงคาดใจย ตายนองนีใม รูเหดการ ๐ ครันนิงขืนใด ตามแถ้วทาร เพยีงสุดปราน บ่วรมารกายา ๐ ว่าพลางทางให ฟุมฟายนําตา ตายแล้วนานอง ชิวิดยูใยย


๑๐๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ยูไปใดความ พีกลับไปบอก พี่เลยีงรวมใจ ทูนแกท้าวไท ว่านองมอด่มวย ทีฟังนัทที ชํลเนดใลล้ง ดินร่ด้าวท้าวซุด เอนดูนางคราน ดีร้ายจะเหน เราจ่เทยีวกา ดีรายจ่ใด พระยาโสกนัก แล้วทูนคดี ใหยํกโยธา พีเลยีงทังสี่ จ่เทยีวขฺนหา ติดตามพระไปกว่า กับสีกัลญา เพยีงดังบันไล มิ่ใครจวรลี ครนจ่ยูไสร จึงข้ากับหมา จึงไปอาไส โควินฤาษรี

๐ จ่ตายไปตาม โสกแสนแคนใจย กับนองสองไท ใหแจงคดี ๐ใหเอาข้าวไป บิตุเรคชํล่นี ตายดวยเทวี ใหแจงเหดการ ๐หํงหองใดฟัง ครืดังท่อทาร เพยีงสินสุดปราน จไปแหงไดย ๐แมรว่าตายเปน ทรากทรํบออร่ไทย ตามคํงคาไล เหนรอยบาทา ๐แล้วปลอบนองรัก เอนดูฉายา พระษรีอ่นุท กลับไปกรุงไกร ๐แตขาปักษรี ทูนสาสองไทย ในป่าพํงไพร จ่พํบผูมี ๐ สํมเดจอ่นุท เสนามํนตรี รองใหรักษรี ไปกรุงภารา ๐ จําเปนจําไป กลัวไภยักสี พีเลยีงภทยูหาผูมี พระไทมุนี เปนพระอาจาร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๙

แตคํนในป่า ขัดสํนจํนใจ วันนีดีฉาน ยาผึงผ่วํง ถาแมนมิตาย พบแก้วกัสญา สีเมอีงเรอีงฟ้า จึงชวนปักษรี ตามแน้วนําไลย หํงทองท่ยาน โอแมไจบุน แมนเถิงมารดา แมขวํนขว้ายให อาบนําทาแปง หาใหจ่ทัน จ่พึงบุณโท มาสูนหายไป เทยีวดูราชา ฝากฝังคํงคา มีใคภานภํบ กราบทูนท้าวไท ยูสํานักไน พีเลยิ่งผูว่ไน จ่ใดหาสี

๐เท่อใหเทยีวหา เปนทหึงนาน มิใดพํบภาน โดดเดยีวเทยีวมา ๐จึงภํบพระอํงค เถึงอํงคฉายา ดีรายจ่มา พระยาทุกไจย ๐ใคฟังปักษา คอยมาคลายไจย จ่วร่ลีคลาไคล หารอยบาทา ๐ใมพํบใมภาน บินบํนเวหา มีบุนคุนนักน้า ใมมาเทยีมทัน ๐จ่กินสิ่งใด ทุกสิงทุกอัน ตํบแตงแกลงสัน ยิงคุนมารดา ๐พีคิดจํงไจย ทังสองกระสัตรา ลากไจนักน้า ใมเหนล้ากไจย ๐แล้วบินมาขามมา เทยีวหาอ่อร่ไทย ตระลํบกลับไป ใมภํบเทวี ๐จําเรากลับไปย โควินมุนี ใหแจงค่ดี ตามบุนไฉยา ๐ พระฟังปักษี


๑๑๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เหนชอบค่ดี มาเราจ่ไป ยังพระม่หา หงนํงนํามวร่คา เกบพํลพฤกษา เส่วยพลางทางไห ปริงปรางล่มุท ซํมซูกลูกจัน คิดเถิงไฉยา เปนกาม่สิงไร แต้งแต้วแก้วเกด เชีนเส่วยดวยพี เคยเคเคาคลึงคู เคยสุค่ส่วัด ดังฤๅเยาว่มาน เหมือนเสยีงเทวี เคาใกลใชนอง ทรํบภักลํงไว เมอีนเสยีนเจาเนาะ การ่เวกเสยีง หารูว่าปา โนนแล้วแก้วพี ครันเดีนเคาชิด โอกําจําให

จึงมีวาจา ใหถึงสาลา ด้าวบํดยํศไกร ๐ว่าแล้วเสจ่มา เคาป่าพํงไพร นาๆ ไสว รํารักกัล่ญา ๐ทุเรยีนมังคุด ยุดเกบเอามา สาร่พันพฤกษา โสกามองสี ๐เส่วยพลางทางให จึงไกลเทวี วีเสดหวานดี เปนสุค่สําราน ๐ เคยกินเคยยู รวมรํดสํงสาร สาร่พัดชืนบาน ควนนีพีไป ๐ฟังเสยีงปักษรี แก้วพี่ฤๅไฉ่น นํกรองกองไพร รําไรครวนหา ๐กระเว้าเสยีงเพราะ รองเรยีกพี่มา กองเมอีนนองเรยีก โสการําไรย ๐ฟังเสยีงโนรี ทนรับจับไจย เหนผิดพระไทย พรัดแก้วพี่นา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑๑

เหมอีนกลินอ่อร่ไท ยิสุนยีโถ ม่ลิกระดังงา แคฝายสรอยฝา รวยรวยประทีนเหม จําเปนจําให เมอีนกลินบังออน เดีนพลางทางให บําท่จรจ่วร่ เลอิบเหนผูมี วิงมาประนม กอดบาทโสกสัน เหนพระผูมี เอ่อผํนทุกแล้ว แตชวนกันหา สีเมอีงบังคํม พีเลยีงทังสี กอดบาทเคาไว เหดผํนตํนความ ยักสาภาไปยาง นางสูวันกัลยา ตาใหเทยีวหา หํงทองโดดเดยีว ชวนกันรองให

๐หอมพัรร่ดอกไม้ คดทรวงเรยีมมา ชํงโคโยท่กา หอมมาชืนไจย ๐มัดตรําลําไย ตรํงน้าเรยิ่งไปย อีนกลินอ่อร่ไท จากเจาสายส่มอน ๐สายยุดพุทชรอน เกสรเทวี รําไรมองสี สีเถึงอาสํมพลัน ๐พีเลยีงทังสี ชืนชํมหืฤๅหัน บังคํมทรํงทัน อัดอันโสกา ๐โควินฤๅษรี ลุกวิงมาหา หลานแก้วกูอา เพยีงจ่มวยบันไลย ๐ภาเคาอาสํม กราบบาดรําไรย ดุจ่ไม่มีไจย รําใรโสภา ๐ด้าวบทจึงถาม แตพลัดโยธา ไรณ่ล้านอา ไปยูแหงได ๐พีเลยิ่งกลับมา ทังป่าพงไพร เรเทยีวเสาะไปย ทุกวันเวลา


๑๑๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

แล้วเลาคดี แตจากพระไป พํบมารยักสา คันดํงพํงป่า จึงคามนัที เทยีวอ่อร่ไท หลานว่ามีใด เปนบุญจิงสํบ หาใมชีวา นองแก้วไปไหน มุงมายมาหา แทนคุนทานไท เหมอีนภาเจา เปนตายใมรู ว่าแล้วราทซํบ ทรํงโสกโสภี กลิงเกลอีกเสอีกเกลา เปนกําลํงไร ลูกใคพึงบูน ดุจบังเกีดเกลา คุนยูเกศา จึงมาหายไป ทังสีรองให มีอาจ่กลัน

๐พระกราบฤๅษรี ทวนถีนาๆ จํนใดนางมา มันภาหลานไปย ๐ภากันหนีมา เถึงคํงคาไลย เทวิพลัดไป ไมพํบเลยนา ๐ทูนแล้วรองให เหนบาทบาทา พํบพญาปักษา มอศ่มวยบันไล ๐พีมารอดแล้ว (ไม่ปรากฏ) พระตาไนไพร ผูเปนไอยะกา ๐น้ามานอยไจย ไปชัดเสยีคํงคง ทิงยูเอกา พักเรไร ๐ พีเลยีงทังสี รํารักอ่อรไท แมเจาไปไน ดังนีเลานา ๐โอเจาประคุน ปํกเกลาเกศา พุทิเจานิ่นา ไมมีใครจ่ทัน ๐เปนกําสิงโรย จากไททรํงทัน รําไรโสกสัน เนดครืทารา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑๓

จึงถามผูมี พีเลยีงทังสี ปลอบโยนหลานยา ดูลมทางทปราง แตจ่พลัดพราก มีผูเอาไป ทายว่ายังนาน จึงจ่ใดนอง กูจ่ชันชี พีเลยื่งราชา เคาหองรําพึง ใมว้ายรักใคร พีใดยากจํน คิดว่าบันไลย มีใดเหนน้า ชํล่เนดไลยลัง ใมรูเจร่จา นําตาลังไลย เทๆจ่วร่ลี เกบผํล่ลูกไม ปัดแผ้วษาลา ฟินไฟนําทา นวดฝันขันบาด ด้าวบํดกระเสมสัน

๐โควินฤๅษรี หลานรักภังงา โสกีไยนา กูใหคล้ายไจย ๐เท่อเคานังทน เหนใมเปนเรย ลําบากในไพร เลยีงไวดิบดี ๐ทรึงจ่ภํบภาร ลวงเคาเจ็ดปี มาตรองบูรี แตวันนีไปย ๐ษรีเมอีงเรอีงฟ้า ดวยมาคลายไจย คิดเถึงอ่อร่ไทย เปนนิจอัดตรา ๐กอดเอาหมาตํน ดวยนองนักน้า ทีไนคํงคา พีหมาสืบไปย ๐หมาตํนไดฟัง คิดเถึงอ่อร่ไทย แตมมารําไรย ดวยพรัดราท ๐ยูดวยฤๅษรี เคาไพรพฤกษา มาถ่ว้ายอัตรา เปนนีจ่นิรัน ๐ปรํนนิบัดอัดตรา หามาครํบครัน ผูว่นาฏทุกวัน รักใครนักน้า


๑๑๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คิดเถึงมาร่สี บอกแกมุนี หลานรักข่อลา ริมแม่นําไล เกลอีกจ่ภํบ (ไม่ปรากฏ) รวงรอยนองนอย มาร่สีแล้วจ่ กราบบาทา ความรักผูมี ว่าเจาจ่ตรํกตรํา เสจ่ดวยบาทา วันนีวันดี จ่กองอัคี ชุบอาทไน เหาะเหีนไป จ่ใดเทยีวทํา เดีนดงพํงพี เลิศลําแดนไตร ถาใคภาชี เทยีวหาอ่อร่ไท เคามาเรยีบเรยีง

๐ฝายพระผูมี สูวรรกัล่ยา ฤๅษรีพระตา ไปหาเทวี ๐ตามแก้วแน้วไพร ทีพลัดโฉมสี (ไม่ปรากฏ) (ไม่ปรากฏ) (ไม่ปรากฏ) (ไม่ปรากฏ) บํท่สีมา (ไม่ปรากฏ) ๐โควินฤๅสี จึงตอบวาจา ชอกชําหนามหน้า ตาเปนทุกไจย ๐ว่าแกผูมี เปนวันโชกไชย ตังพิทีไหญ พระขันษรษรี ๐ใหมีฤทิไกร ไดดวยอิทฤที ไฉยามาร่สี ลําบากยากไจย ๐คุนบุณพระเจา (ไม่ปรากฏ) จ่ขี่เหาะไปย จ่ใดทวงที ๐จึงเรยีกเลยีง กององอัคีพิที


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑๕

๐ ขินนังบันลังเรอีงสี ส่มาญานอานอาคํม ๐ปลุกเสกเลกยันประถํม ร่ดํมดวยอิทวิทยา ๐จึงใหจุงหมาอาท มาไวคางกองอัคี ๐อานเวทตามเพทมุนี เคาในทีกองกูนดวยพลัน ๐ ชุบษรสินพระขัน จ่หัมจ่หันโกลา ๐ บัดเดยีวพ่ญาอาท ยืนยูในกลางอัคี ๐ แกล้วกลางดังหมาสูรสี ฤทิห้าวหารทนไชย ๐ เผนโผนโจนออกจากไฟ สูงใดเจดโยดดวยพลัน ๐ จึงกลับลงมาอ่พีวัน หูหางก็ชันดังยํน ๐ แล้วรูเจร่จาดังคํน อาดจ่พ่จํนไพรี ๐ จึงพระโควินยินดี จํงมิ่ตระบะเดท ๐ สัตรูภายแผอับปะรา ยักษาจํงแผฤทที ๐ แล้วทรํงพระขันษรษรี จํงปราบไภรีบันไลย ๐ ฝ่ายพระเมอีงเรอีงไชย กราบไหวยกับบาททา ๐ โปรดเกลาพุทิเจาข่อลา เทยีวไปในป่าพงไพร ๐ จึงสังพิ่เลยีงรวมใจ ยาใหทานเคอีงวิญา

สํารวมอินทรี โอมอานอาคํม สินษรรจ่นา จึงพลักภาชี เรอีงฤทไครจ่ทัน พูนเกีดขืนมา ข้าวยางสําลี เหาะเหีนขืนไปย ฤๅษรีทรํงทัน ดุจหมาเมอีงบํน อวยภอนไชสี มะนุดครุฑา ใหแก่ผูมี ชืนชํมดีไจย สํมเดจพระตา จํงพีเลาใส


๑๑๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ด้าวบํทรทํดนักน้า เชยชํมพิ่รํมเปรมปรี ๐ พอไปใหมีใชษรี ญามีพ่ยาติโรคา ๐ พีเลยีงทังษรีนิ่นา กับตาที่สาลาไลย ๐สีเมอีงรับภอนท้าวไท ท้าวไทประดับอาท ๐เบาะอานภานรัดขายขว้า แกมม่วรกํฎสํดสี ๐ ทองบุปรุโปรงงามดี โมลีประกวดลวดล้าย ๐ หมาทรํงยํงยิงพัณราย เฉีดฉายลํงมาแต่สวัน ๐ เสจทรํงสินไชยพระขัน ผาดผันออกจากสาลา ๐ หมาตํนทําอิทริททา มาดวยกําลังภาชี ๐ เหาะมากับพญาปักษรี หงทองก็รีลงมา ๐ เถึงฟังดังใจยครวนหา ตามแน้วคํงคาสาชํน ๐ คํนขวาหาทัวไพรสํน ขืนมาเทยีวคํนในไพร ๐ คํนพลางๆ โสกาไลย ใปยูแหงใคนองอา ๐ หมาตํนเทยีวคันเสาะหา หาทังสองฟากนัที ๐ (ไม่ปรากฏ) ใมภํบเทวีเลยนา ๐ เมือนันษรีเมอีงราชา ไฉยาเจาไปแหงใด

กอดเอาหลานญา จํงภํบเทวี ใหยูคอยทา กราบแล้วออกไปด ลวนแก้วจินดา รองรับจับสี ดุจหมาพระภาย หํงนําจ่วงจัน เหาะขืนเวหา มาเถิงนัทที ดูรอยบาทา ใมภํบนีฤๅมํน โอแก้วกลอยใจย ขามไปขามมา ใมภํบตระลํบจ่วรลี ทรงโสกโสกา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑๗

๐ ฤาว่ามอดม้วยบันไลย ไมภํบไมภารไฉยา ๐ จรดํนเทยีวดํนในป่า ทรึงดํนมาแตในราตรี ๐ มวร่คาทีภานางหนี แตแรกยักษรีภาไปย ๐ ไมสํบพํบนางอ่อร่ไท ในรํมพระไทรสาฑ้ ๐ จึงสังมิงหมาอาชา นองยาจ่ยูพระไทร ๐ สังแล้วหมาแก้วจรไปย ก็ไปเทยีวหาพฤกษา ๐พระอํงคทรงโสกโสกา พีตามเจามาณ่เทวี ๐ตายเปนใมเหนทรากผี ล่พใิ่ หรําโสกา ๐ ทอดอํงคงํงผ้ายนําตา ราชาใมเปนสมประดี ๐ (ญานี)

๐ บัดนียํกไวย นนท่จิดอ่สูรี ๐ กับพลส่กํล่ไกร ล้าเนือในไพรพํง ๐ ใลจับหมูกวางทราย แรดทงที่กลางป่า ๐ วันนันกระเวนป่า แลเหนภาชีทน ๐ ยักสีเลงแลไป ประดับแก้วจินดา ๐ ชวนกันลอมภาชี โหรองกึกกองไพร ๐ เมิ่อนันหมาภาชี บางถือเคริ่องสาตรา

เยีวหาเทาใด ในดํงพฤกษา หวยทารคีรี เฑยุทอาใส จํงไปกินญา หํงทองรวมไจ คิดเถึงไฉยา โอนุชนารี ครวนครํารําหา

จกล้าวบํดไปเถึงยักสี จากกรุงสีอัศดง เคาในไพรอันร่หํง ดวยจิตปลํงเปนภักษา ฟุงยักรายหาบคอนมา ยักสากินเปนอาหาน เตรเรมาในดํงดาน เทยีวท่ยานกินย้ามา หมาของไถรลากนักหนา หลํงสัดมาแตหํนใด จับมาขีเลนเปนไร บางเคารไลจับอาท เหนยักสีมานักน้า คลุมเคามาจับภาชี


๑๑๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐รับไวใหกลับลัง จ่จับไปใหนาย ๐ บางเคาจับหูหาง บางฉวยเอาเชอีกใหญ่ ๐ บัดนั้นหมาภาชี เผนโผนโจนเคาหา ๐ ทีบทยแลบ่ายคว้า ทูกมารใมทานใดย ๐ พํล่มารโกรดโกรทา บางโผนเคาโจนตี ๐ บางยิงดวยปืนไฟ ไม่ทุกตองอาชา ๐ ภาชีเคาคํบกัด วิงมาหาทาวไท ๐ เมือนันพระษรีเมือง ยักษรีติดตามมา ๐ ท้าวทรํงษรพระขัน ว่าเวยอสูรี ๐ หมากูปลอยกินย้า จ่จับเอาไปใหน ๐ บัดนันจึงยักสี เท่อนีทีนีมา ๐ วันนันมันลอบหนี ลอมใวใหมันคํง ๐ บางวิงร่เหดมา คํนหนีทีในไพร ๐ กับหมาอาชาไนย: มามันมีฤททา ๐ เมอีนันนํนท่จิค ดีใจใครจ่ทัน ๐ ครันเถึงจึงรองไป เทยีวหานอยฤๅน่า

มันใมฟังแทงใหตาย หมาแสนรายวิงนีโยย บางวิงวางเคากันไว วิงเคาไปผูกอาชา ต่วฤททีดวยยักสา กัดยักสาลํมดาดไป สองท่าวน้าดีดโขกไป บางบันใลมวยเปนผี ใออาชามีฤทที แทงฝันมิ่เปนโกลา บางพุงไปดวยสาตรา หมูยักสาโกรดครืไฟ เยยีบต่วฟัดมวยบัลไลย ทีตํนไทรอันสาขา เนดชําเลืองเหนอาชา เตมทังป่าพ่นาลี ออกปองกันหมาภาชี ใลภาชีกูวาไรย ในกลางป่ามาจับใยย จํงบอกให้กูรูรา เหนผูมีงามโสภา กูจําน้าใดมันคํง เราตองตีทีกลางดํง จํงไปทูลแก่ท้าวไทย เถึงยักสาทูนทันไจย มายูใตตํนพฤกษา ลอมเคาไวใคคํลนา ไลยักสาชิงไชกัน ผูมีฤททิแขงขัน ลุกหุนหันรันวิงมา จับใหใคใอมุคสา นีกูมาใอจังไรย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑๙

๐ พลมารกลุมเคามา จ่เคาจับท้าวไทย ๐ พระองคจึงรองไป ลักอุมเอากูมา ๐ ถาแมนกูรูตัว มิงใมใคคืนไป ๐ ลูกสาวมึงมียู จึงภาเอากูมา ๐ สํงสานแตไพรพํล ตัวมึงใอแสนราย ๐ นนทจิดครันใดฟัง เรงรํนพํลยักสา ๐ กูหากคิดปรานี ยูในเนือมืกู ๐ พระองค์ทรงหมาตํน รีพํลกลํนเคามา ๐ หัวฑดแลตีนฑด ลํมลุกคลุกพัลวัน ๐ นนท่จิดโกรฎโกรทา เผนโผนโจนเคาตี ๐ หมาตํนเคาคํปกัด ท้าวหวดดวยพระขัน ๐ นนท่จิดเรอีงฤททา เคาจับอาชาไนย ๐ พลมารกลุมหันเคา ทิงควางยูวางวู้ ๐ พระขับหมาผันผาย ลํมทับรดับไน ๐ นํนท่จิดแผลงษรไป ตรังตรวยพวยเคามา ๐ พระอํงคจับษรแก้ว ษรมารไมทานใด

ลอมอาชายูไสว รุกเคาไปเปนโกลา รุกมาใยใอยักสา จากโยทาดวยเพื่อใค จ่ตัดหัวมืงเสยีบไวย ใอจังไรอหังกา จ่ใหกูฤาไรนา ใอโจนป่าน้าใมอาย จ่เปนปํนพลอยชิบหาย เหนจ่ตายบัดนีนา ตาแดงครังดังสูริยา จับตัวมาสํงใหกู ใมฆาตีเสยีทังคู ใอสูรูอหังกา เคาผ่จํนดวยยักสา พระราชาใลฟาดฟัน ไลเรือราดร่เหดหัน ตายนับพันเตมบือร่นี เหนยักสาตายเปนผี พระผูมียักษรพลัน เยยีบต่วฟัดหัวขาดพลัน ตายนับพันเกลอีนกลาดไปย ต่วติดมาพระดินไวย รองเรยีกใพรมาชวยกู หอมลอมเจาไวพรังพรู บางสูรํบตระลํบไปย ทีบมารนันรเนินไป ลุกขืนไดวางออกมา ฟาดินไวทังเวหา จ่เข่นข้าพระทรงไชย อันเลิศแล้วจึงแผลงไป หักบันไลทุกเลมมา


๑๒๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐นํทท่จิดจึงแผลงษร เจดหัวยอมตัวกลา ๐ พระหวดดวยพระขัน ค่อขาดแล้วใมตาย ๐ พระอํงจึงแผลงษร ข่ยิกจิกนาคา ๐นันท่จิดกริวโกรฏ เปล้วปลาบวับวาบไป ๐พระจึงแผลงษรสิท ใหลลังพลังออกมา ๐ ใลดาดมาในป่า ลึกลํนเปนผํนไป ๐ นันทจิดมีริดนัก เปนลํมมานักน้า ๐ ผาดโผนขืนเวหา (ไม่ปรากฏ)หมาอาชาไนย ๐พํลมารเคาอึงมี่ บางเอาต่ของรัน ๐พระขับภาชีชาน มวยมุดสุดชีวา ๐ มาตนเคาใลกัด (ไม่ปรากฏ) ๐ ยักษาหาพันปลาย : เลอิดดังสมุทโท ๐ พระจับเอาพรํมมาท ทุกนํนทจิดตรา : ๐ นํนท่จิดอานพระเวท เดชเวทฤที ๐ นํนท่จิดไนไจย จ่คลายอายเทวา ๐ ยาเลยจ่เหาะนี แมนมันติดตามไปย

จากพระกอนเปนนาคา รัดอาชาไวทัวกาย ฟันเทาใคใมเหอีดหาย เคาติดกายรัดอาชา จากพระกอนเปนครุดทา นากยักสาก็หายไป นักจับษร(ไม่ปรากฏ)แผลงเปนไฟ จ่ใหใมเอาอาชา อันเรอีงฤทเปนทารา ใฟยักสาวีนาดไป มากนักน้าเถาใดๆ มารตํกใจว้ายไปมา ฉวยจับจักซัดทิงมา พัดคํงคาแหงเหอีดไป ตีราชายูหวันใหว รองเรยีกไพรมาชวยกัน จับภาชีอันแขงขัน บางฟันฟาดกระนาบมา (ไม่ปรากฏ) ต่อยักษา เตมทังป่าพ่นาลี เยยีบต่วฟัดกัดยักษรี ถีบดวยท้าวมวยบันไล แตลมตายเทาใดๆ ทียังโลกนเถามา ยํกขืนภาคยิ่งยักสา ตํกลํงมายังบ่วร่นี อันวิเสดของยักษรี ษรผูมีลุดออกมา ตัวกูไสรก่ไรนา จุต่วริทพํนคิดไปย ไปบูรีใหผํนไภ จ่ใดตํวกันเตมที


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๒๑

๐ คิดแล้วถอยออกมา แล้วเหาะท่ยานหนี ๐ พํลมารทีเลีดตาย ตํกใจใมยืนตรํง ๐ พระขับภาชีทน นํนทจิดอสูรา ๐ พระชกหมางกลับมา ส่สํงคํงคาไล ๐ ทํงทองเทยีวทองไป มาถ่วายพระราชา ๐ ครันพระสเว่ยแล้ว ยังบะนสาไล ๐ เสจ่ทรํงอาทไน มาดวยอิทฤที ๐ เคาไปยังอาสํม โควินพระอาจาน ๐ ด้าวบดยํศ่ยง ยังภํบรอยบาทา ๐ พฤกสาพ่นาลี จํงเลาใหเคาใจ ๐ เมือนันพระษรีเมือง หลานไปหาไฉยา ๐ พฤกษาแลถานํา ใมภํบนางอ่อร่ไท ๐ เทยีวไปภํบขุนยัก ใครบกันนักน้า ๐ ตัวมันตองษรษรี ติดตามเถาใดๆ ๐จ่ตามไปเมอีงมาร หลานจึงกลับขืนมา ๐ คาวบํทจึงฑนตอบ จ่ททวงทีไป

ทําริดทาดังอัคคี ไปบูรีอัศ่อดํง แตกกระจายนี่เคาพํง วิงเคาดํงลัดลอดมา เหาะท่ยานไล่ยัหษา กลัวนักน้าเหาะหนีไป ตํนพฤกษาภักอาไส สํารานไจกับอาชา เกบพํล่ไมอันโอลา ใหท้าวเส่วยสํารานไจย ชวนทํงแก้วจ่กลับไป แจงกิจใหแกมุนี หํงท้าวไทนําจ่วร่ลี เถึงกุฎดีมีทันนาน กราบบังคํมท้าวทรํงญาน มอบกํมกรานกับบาทา ถามพระอํงดวยเมตตา นางไฉยาบางฤๅไร คํนถวนทีเปนไฉ่น เปนยางไรณ่หลานอา จึงบอกเรอีงแกพระตา เทยีวคํนหาทุกแหงไป ทังเถอินทําผ่นาไล หลายรําใหเถึงไฉยา ทีมันลักเอาหลายมา พํลโยทามันประไลย มันดันนีสูนหายไป มีใดภํบขุนยักสา จ่ปวยการหาไฉยา กราบบาทาใหแจงใจย เจาวาชอบตามมันไย จ่ใดตามเจาไฉยา


๑๒๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ษรีเมอีงกราบกับบาทา อําลาราคพระไอย่กา ออกมายังสาลา สกเสราหาเจาเทวี ๐ พีเลยีงปลอบเอาใจ คอยยูไปในกุฎดี ปรํนนีบัดพระมุนี ทุกราตรีใมคลาดคลา สูรางค่นาง กล้าวเถึงสองไท ใหเรงรีพํล เสนีเสนา ขีนเฟ้าพระบาท โสกเสราโสกี ไปรับปินเกลา จึงยํกนีกอน กลับมาเถึงจันท่ กับพ่ญาหํง เคามาสัประยุด พ่ญาหํงพ่ญาจัน เคาป่าไพรวัน อัศ่กันผูผา ยํกจากนันไป มืดมํนคํนท่การ ใมเหนน้ากันเสยีง เกีดการกูลี เปนเหควนวุนว้าย ชงหมาวัวควาย มีใครรูว่า

๐ บํดนียํกไวย ผูเปนอ่นุชา ผ่หํนโยทา มาล้ายราตรี ผูว่นาฎสองสี พลางทูนกิจาร ๐ ว่าขาพุทิเจา ษรีเมอีงราชา บบํท่จอน ภาราใดรํบพุงกัน ๐ พ่ญาจันท่วํง ยํกพํลแขงขัน ต่วยยุดดวยกัน มวศ่มวยบันไล ๐ ยกจากเมอีงจัน มาเถึงเข้าไหญ ตังพลับพลาไชย ภํบมารยักษรี ๐ มันแกลงบันดาน ทัวทังพํงพี ส่นันพฤกษี ทัวทุกโยทา ๐ รีพํลโกฏปล้าย อัศ่จันนักน้า วุนว้ายโกลา เปนเหดฉันไค


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๒๓

สํมเดจทรํงทัน นางสูวัณเกสร พระม่เหษรีไหไหญ ผูขุดพระอํง นารีทังลอง พระบิดาใหปัน เลาะไปในป่า ใมภํบพระอํง อํามาดเสนี หํงทองปักสี ริพํลโยทา กลัวจ่เกีดไภ ครวนครํารําไร นางทังสีอํง ส่อืนไปมา เจากรุงโขม่ราช สูวันณ่อําไพ (ไม่ปรากฏ)รวงษร บุศ่บาโฉมยํง สาวสีกํานัน อือิงคนี กัม่สิงโคเลย พลัดพรากจากไป ใมรูเหดว่า

๐ ครันแจงแสงฉัน มาสูนหายไปย พระยืนรอนท้าวไท หายไปดวยกัน ๐ ยังแตโฉมยํง พญาหํงพ่ญาจัน นองนางสูวัน แกชาสองสี ๐ใหเทยีวคํนหา เถึงสามราตรี ผูทรํงรัศ่มี เพยีงมวยบันไลย ๐ พีเลยีงทังสี ยูเทยีวหาไท (ไม่ปรากฏ) ยูโสร จึงยํกริบมา ๐ ทูนพลางทางให เถึงพระเชฎา เรงทรํงโสภา เพยีงสินชีวี ๐ เมอีนพระบาท ใดฟังค่ดีนาง จิดไจใม(ไม่ปรากฏ) พีลาพรําไร ๐ ทังท้าวสูริวํง ทรํงโสกาไลย โสกสันรําไรย ไปขังกรุงภารา ๐ โอพระลูกเอย มามีเวรา เปนไฉ่นลูกอา จ่เปนกํลได


๑๒๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ทีในป่ากวาง ฤๅยักคีนี มันภาท้าวไป ฝุงสุคหัศ่ดี ฤๅนึงว่ายัก ภาเอาเจาฟ้า ใมรูทีคิดขัด โอพระลูกรัก ไตรจ่แจงให เรงใหโสกา โอพระเพอีนยาก กํานันสาวสี ท้าวสูรีวํง ว่าแกพีนอง เจาเปนอ่นุชา เอาแตส่บาย ชอบแตงโยธา ใหคุมสาวสี ใหรูจักที ตัวเปนนองรัก ละเสยีกลับมา สองกูมารโสด ไครชางคิดอาน จํงเรงทูนไป

๐ ฤๅนํงผีสาง มันกินน่ไท ฟุงผีในไพร กินเปนภักสา ๐ ฤๅนิ่งปักษรี กินพระราชา มันลักลอบมา ไปแล้วฤๅไฉ่น ๐ อัดอันตันจิด สํนจํนไจย พว่จักคิดไฉน พ่วทราบค่ดี ๐ ฝ่ายพระมารดา ครวนครําหาสี มาจากชล่นี ชวนกันโสกา ๐ เมือนันพระอํงค ผูเปนอ่นุชา ทังสองบุตรา จํงรักภักดี ๐ พระพีสูนหาย กลับมาบูรี เสนามนตรี จัตุรํงกลับมา ๐ แจงอัฎค่ดี ตค่คีเดยิ่งสา ทรํงสักเมตา ชอบแล้วฤๅไฉน ๐ ควนใหสํงโทด ใหมวยบันไลย เหดการนีไสร ใหแจงเร้ารา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๒๕

ฑ้พระพุทิเจา เมือพระหาย หาเทยีวหาราท พีเลยีงทังสี รอนโรกโสกหา ใหฑสองไท ยังจ่จ่วร่ลี ให้เอาเคามูน ทังณีอาคญา จึงตรัดค่คี ถาการณ่รํงสอง อาษาพระพิ่ ติดตามเถาได ยังเดกเลกนอย ยาเอาโทสา ใดฟังพียา คอลคลายพระไทย ว่าสองกูมาร ผูเปนปินเกลา หาใมจ่มวย เลยีงไวฑ้ยนา แตลวนคํนดี คิดอานนีเหน ว่าผูใหญใว

๐ สองอํงคกํมเกลา ข่วรับอาญา ไปข่ารองให ใมภํบท้าวไท ๐ เสนามํนตรี ดังใมมีใจย ปรกสากันไป คุมพลํกลับมา ๐ พีเลยิงทังสี ไปเทยีวคํนหา มาทูนราชา ใมผํนเกษรี ๐ ครันใดฟังอัท (ไม่ปรากฏ) อํงคใมนี กราบมวยชีวา ๐ พระพีหายไป ใมภํบราชา รูทอยฤๅนา แกสองกูมาร ๐ ท้าวสูรีวํงสา บันทว่าท้น ตรัดไปมีนาน เสยีแรงเลยีงมา ๐ หากเกรงพระเจ้า บังเกีดเกสา ตายดวยอาญา : ชัวชาจังไรย ๐ อํามาดมํนตรี จัดแจงใหไป ฤๅไฉ่นเหน ใจนักน้า


๑๒๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

มาดแมนมีใด กูจ่พีขาตร ใมคิดนํานา เสนีเสนา เรงติดตามหา กวาจ่พํบท้าวไท ย่วกรชูลี ลาแล้วออกไป จัตุรงคทงหมา เมอีงยํดโสทอน ใหกลับไปเมอีง ทูนแกท้าวไท เครีองบันนากาน ทังใหส้าวสี รีพล่โยทา นีโรคโพช่นา โยทามํนตรี กราบลาจุมพํน เสจ่ขืนชงตํน ออกจากพรณคอน เทยีวหาพระสี เทยีวทัวทังป่า หวยล่หานทาน ใมภํบโฉมฉาย

๐ จํงกลับตามไป หลานรักกูมา ดวยราช่อาญา ยาชาเรงไป ๐ เลอีกเอาโยทา อันกลาทนไชย ในป่าพํงไพร จึงใหกลับมา ๐พีนองสองสี ตํกใจนักน้าน ใหเตรยีมโยทา ท่หานทนไชย ๐ พวกพํล่นีกอน มาสํงท้าวไทย เอาเรอีงนีไป บิดาไฉยา ๐ แล้วไปประทาน ถ่วายไปนักน้า เสนีเสนา มากมายทุกคน ๐ เงิ่นทองเลีอผา มีใดขัดสน ยินดีทุกคํน ไปยังบูรี ๐ พระพีนางสองคํน ยํกพํลเสนี บํทจอนพงพี ทุกแหงแพรงพราย ๐ ดันดํนคํนหา พฤกษาทังหลาย นําเถอีนทังหล้าย ทรํงโสกโสกา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๒๗

พระยูปกเกล้า หาบุญพระไม มาปกเกสา จ่สินสุทบุน แมนนองรูด้าว จ่ปลงชิพไป พลางหาท้าวไท เชีงเขาอัศ่กัน ใหตังพลับพลา เถีนถําลําเนา แมนพํบยักใม จ่ข่วต่วมัน หวยเห้วพ่เนีน เถึงยอดคีรี ปรากํฏรํจ่นา เขยีวขําอําไภ บางข้าวดังเพช ถวนถีทุกอัน แน้วนองกองกึก กระลํบกระทํบกัน เถึงพืนพรสุทา แสนส่นุกไชน รวยร่รืนชืนไจ เปนสุด่ลําราน

๐ โอพระพีเจา มีความสุกมา นองใดเวท่นา ใหนองดีไจย ๐ โอเจาพระคุน พระแล้วฤๅไฉ่น ว่าท้าวบันไลย ใมคืนภารา ๐รําพลางทางให ในไพรพฤกษา ล้ายวันนานมา เชีงเขาดวยพลัน ๐ใหคํนบํนเข้า สองเจาโสกสัน ถอยนีกัน ใมพรัยเลยนา ๐ตามตรอกทรอกเถึน เดีนตามกันมา แสงสีโสภา ใมมีทใครทัน ๐สีเลอีงเรอีงไป สีแดงแสงฉัน แกมเกลดพรายพรัน เปนลันกันมา ๐ นําไสไลคึก ใลตรํงลํงมา ส่นันผูผา เปนป่วท่วทาน ๐ นําไสไลยอย อยาองอํงสํนาน : นําไลในทาน แล้วเทยีวคํนมา


๑๒๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ดุจพืนบ่วร่นี แสงแก้วแว้ววาม รํมรืนพฤกษา สีแดงแสงเลอีง ดุจ่ดังแทนทอง เปนทีอาไว ทังเชทังเยน พีนองสองสี ชวนกันหันสา หารอยเรรอน ไนโตรกโทรกทาน ยอกกันร่รี บางจับร่บํา บางสาดนําตอง รูปโฉมโสภา อํามาดเสนา แลเหนกิณ่รี เคาแผงไพรวัน ใมมีไภพอม เอ้วอํงส่แลม ดวงภักลัค่ปรา ไรเกดเนครอง งามจิงยิงวาด ไครเลยจ่เทา

๐ บํลยอดคีรี คาดดวยลีลา อ่รามเมคา เฉอียชําอําไภ ๐ แสงแก้วรุงเรอีง เรอีงคาดไป ของท้าวหัศ่ใน ฟุงเทพ่กิณ่รา ๐ เคยมาเทยีวเหลน เปนนิจ่อัตรา เสนีเสนา ชืนชํมเปรมปรี ๐ ยังมีกินนอน มาลงนัดที ฉัชวานรูจี ทีไนคํงคา ๐ ลางนางฟอนรํา ทําเพลงหันสา รํารองไปมา ดุจ่นางไนส่วัน ๐ พีนองสองรา พีเลยีงทรํงทัน ม่มีมาพลัน คูนางกิณ่รา ๐ ล่ไมล่มอม งามพรอมนักน้า แกมครืปรางปรา เลีดเพรีดเพรา ๐ นํมครีบัวทแง ดุจ่ทองหล่วเหล้า นวยนาดเพรีดเพรา ยัวเยาไจทย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๒๙

นองจ่บายเบยีง พีจํงแอบแฟง นองจ่พีปราย ทังสองยุร่ยาด ครัยเคามาใกล ดูกอนสาวสี อํดสาเลยีวลัด ดวยแสนคํานึง มีไจพ่ายฟัน จ่ใดภาที นุชยาแคลงไจย จํงคิดเมคา แลเหนผูมี ม่นุดเทวา โฉมงามอําไพ เจามาแตไหน ลวงเคาไน อวดอุกบุกมา พรากพรัดสัดมา ฤามีอ่นุ จ่มาหาใคร ใคฟังกิณ่รี ตัวพีนีเลา โขม่ราชา

๐ จึงสังพีเลยีง ไปหาโฉมฉาย ยาใหแจงกาย ดวยมิศ่ใมตรี ๐ สังแล้วแคล้วคลาด แฝงชยพฤกษาสี ปราไสกิณ่รี เชือทดนางส่วัน ๐ พีบุกไพรชัด เดีนป่ามาครัน : เถึงแจมจัน ทุกวันเวลา ๐ เชีนมาหาพี ดวยความส่เนหา พีใดบากมา พีมาแถไกล ๐ จึงฝุงกีณ่รี รูปโฉมโลมไจย เสจ่มาแหไหน ดังเทพ่ลํงมา ๐ คิดแล้วถามไป ทังสองโสภา ถินกิณ่รินปักษา จ่ไปแห่งไรย ๐ ฤๅเสยีภารา แตทานีใด สันทังจํงใจย ทีในผูผา ๐พระพีนองสองสี จึงมีวาจา น่วเจานัครา ทังสองพระอํง ๐ บิดาจ่ให


๑๓๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ครอบครองเวยีงใช จ่ใครใครคู จึงลาพระอํง ดูราชทิดา ใมชอบพระไท ชวนกันจวร่ลี ว่านางกิณรี พีบุกไพรฉัด จึงใคเหนนา เชื่อทศนาง ควนอุพิเสก นุช่นองจํงใด ใคฟังทรํงหัน จึงตอบสองอํง พระแถลงมาว่า จ่มาสังวาส ผิดเผดกินนอน เทพ่ทุกราสี อันเชิ่อกินณ่รา ยอมเชีวสูงค้า ใดครองกรุงไกร เลีศลําอําพํล ใดรวมรํดรัก ยอมมีตํารา

พีใมประสํง รวมรูจิดปลํง ออกมาพงพี ๐ เทยีวทุกภารา รอยเอ็ดบุรี พีใมยินดี มาจากภารา ๐จึงแจงคดี ยูยอดผูผา เฉลียวลัดเลาะมา นุชเพยีงขาดไจย ๐ ทูกตองลัค่นา ฟานามาพิศไหม เปนเอกราไชย ทรํงพระเมตา ๐ กินนอนทังนัน ปวนปันหันสา ผู้ทรงภัสดา หุยน้าบัดสี ๐ อันม่นุดชาด ดวยหมูกิณรี แตกอนไมมี จมาในไภย ๐ สององตอบมา ชัวช้าเมีอไรย อัศวีไลย แตกอนมา ๐ เมอีนเจาสูทํน กับนางม่โนรา นางเปนปักษา มาแตกอนไกล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓๑

เปนมิดไมตรี ใครจ่นินทา พลางเดีนเคาไกล ขวยเขีนเดีนหนี พระยาลามลวน ขาเปนปักษา ใมเมตาพี รักเจาจริงจัง คิดตังไจย โฉมตรูดูมวย พลางเดินเถลไถล กุมกอนมาร่สี โอภาปราใส ตองนํมชํมนอง (ไม่ปรากฏ)ศ่เนหา เคามาวุนวาย บางเคากอดรัด (ไม่ปรากฏ) ทริกทรี กอนกอดสอดคลอง จูบแกมจูบเนด ทุกนางกิณ่รา หึงกันวุนว้าย นางนันแสนคม ชายรูนายหยี

๐ อันเจากับพี จ่ดีกันไปย ลวงว่ากันใด นุช่ใดเมตา ๐ ฝ่ายนางกิณ่รี แล้วมีวาจา เสสวนเคามา กลัวอิทริทิไกร ๐ ดูกอนกิณ่รี ควนตัดอาไถย รอยชังหนีไย (ไม่ปรากฏ)ราช่ไมตรี ๐จ่ข่อยูดวย มีใดนายนี ปราไสกิณ่รี ไวทังสองรา ๐ลูบลังลูบไหล นุชใดเมตา ทังสองกัลยา ดวยนางกิณ่รี ๐กินนอนทังหลาย รอบอังผูมี (ไม่ปรากฏ)ยวนยี ดวยพระราชา ๐ทังสองพีนอง ดวยความส่เนหา จูบเกดกัล่ยา ดวยความยินดี ๐ กินนอนทังลาย ตัดภ่อพาที ลินลํมสินที เพราะปาดสามาน


๑๓๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ว่านางคํนนัน คบหากับชาย ปากกลาน้าดาน ว่าอีคํนนัน รวมรํดสํมจอน ติดตามนอยไป ว่าชอบขอบไจย กินนอนทังหลาย ชวงชิงราชา ดวยนุช่กํานัด บางเคากอดจูบ ใมนายคลายใจ เหนนางกินนอน คิดในพระไท ไหพํบเชฎา เจาเทยีวยูนี ยังเหนยักสา บานเมอีงมันไสย ตังพรํทพิ ยูแหงหํนได เจาเหนม่นุด จํงนางกัล่ญา ไดพงฤๅสาย ขาเหนยักสา จับม่นุดไป

๐นางนึงบอกพลัน เปนคํนใจภาน วุนว้ายชานาน ดีแล้วเมือใรย ๐ นางนึงช่วกัน เฉีดฉันผํนไจย เพดพ่ญาทอนไพร พึงใดตัวมา ๐ พระทํคเคาใกล เจามีปัญา วุนว้ายเคามา ทังสองผูวไน ๐ บางเคากอดรัด สองอํงทรํงไชย ไลลูบพิศ่ไหม ดวยโฉมสองรา ๐ ฝายสองผูทอน กลุ้มกันเคามา จ่ไปเลาะหา จ่ทนีกไป ๐ จึงถามกิณ่รี ในคีรีใหญ มันมาพํงไพร ยูแหงได(ไม่ปรากฏ) ๐ อ่นึงฤๅษรี ทีมีบัณ่สาลา บอกใหพีรา ยูแหงไดนา บอกใหแจงไจย ๐ กินนอนทังล้วย จึงบอกผูว่ไน มันมาเทยีวไพร ใดล้ายวันมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓๓

ยูทิดคางนี ชือเมอีงอัศดํง มีอิทฤทธา จ่พํบมุนนี เท่วทรํงพรํดทา เดีนใมไกลใกล จึงรูเรอิงร้าว ถามไถใดการ เลาโลมกิณ่รี เอกอํงทรํงพรํด คอยยูจํงดี ยูดวยกิณ่รา ฝายฝุงกิณ่รา ยูดวยนองกอน จ่ภาพระไป ไปดวยมีใด ตอยยูเทีดรา ทังสองจ่วร่ลี แลเหนกิณ่ริ ทรํงโฉมวิไล ตางๆ วิงมา ครันวุนวาย ชวนกันวิงนี บินขีนเวหา

๐ อันเมอีงยักสี ไปยากนักน้า เชีอวํงยักสา มหามันไย ๐ ถาเปทิดนิ มีสาลาไลย ไนป่าพํงไพร สักสามราตรี ๐ พระใดฟังค้าว ว่าพระฤๅษรี กูมารยินดี พีจ่ข่วลา ๐ ใปหาด้าวบํท ข่วเรยีนเวีชา แล้วพีจ่มา นุช่ยาอาไลย ๐ แล้วเสจ่เดีนมา ติดตามผูว่ไนย พระยารอนไจย ใหเถึงมุนี ๐ พระตอบออร่ไท จ่เสียทวงที ขาลามาร่รี มาเถึงเสนา ๐ บัดนันเสนี ติดตามท้าวมา ชอบใจนักน้า : บังคํมผูมี ๐ กินนอนทังหลาย ตํกไจยนักน้า ม่มีโกลา ตางอํงตาไปย


๑๓๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สํมเดจพระแก้ว ลํงจากคีรี เถึงพลับพลาไช เราต่ดันดํน เลยีวลัดตัดกรํง ทรึงนางกิณ่รี (ไม่ปรากฏ)มาลัง เดาดํงพํงกวาง ชางหมา ไสว เสจ่ขืนชางตํน เลยีวลัดตัดตรํง ครั้นคําแรมรา เคาดํงพํงพี จึงใหเสนา ดูสาลาไล สุดปลายยอดใม โควินฤๅษรี จึงกลับลํงมา ยูเชีงผูผา จ่เปนกุฎดี ทีแถ้วแน้วไพร พีนองสองสี สังใหยํกพํล ครัยใกลสาลา

๐ กินณ่ราไปแล้ว ชวนเสนาใน จ่วรีลีกลับไป จึงสังเสนี ๐ไทยยํกรีพํล ไปในพงพี คามดํงพฤกษรี บอกทอดใหไป ๐เสนารับสัง ใหยกพลไกร ตามนางบอกไป ริบรํนพํลมา ๐ พระพนองสองคํน ยํกพํลเคาปา ตามดํงพฤกษา สํานักอาไส ๐ รุงเชาจ่วร่ลี บุกชัดตัดไป ขีนพฤกษาใหญ ยูแหงไดนา ๐ เสนาขีนไป แลเหนสาลา ผูมีปรีชา ทูนแกผูว่ไน ๐ ฑ้เหนสาลว ไนป่าพงไพร ฤๅษรีฤไร ไกลสุดลูกตา ๐ ใดฟังเสนี ดีใจนักนา เรงรํนกันมา ใหยุดทับไชย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓๕

ไทยเทยิวกินฐา แลเหนรีพํล จึงเกีนเคาไป บัดเดยีวหมา ชํบลํงกับบาท หมาตํนโสกา อํามาดเสนี ตางตางโสกา พํบท้าวฤๅไร ทํงทอปักสา ไปพบท้าวไท แทบสินสุทปราน สูวัณ่เกสร มาสูนหายไป เทยีวหาเทวี อํามาดเสนี ซํบภักใหรํา คิดเถึงกัล่ญา พีจํงนําขา จ่ใดกราบบาด ใหแจงเหดผํน น้าบัดเดยีวป่ว แลเหนพระอํงค กับพระฤๅศรี

๐ วันนันอาชา ไนปาพํงไพร ลํนเกลอีนไส่ว เถึงพํลโยธา ๐ แลเหนสองอํงค ทรํงวิงตรํงเคามา ผูว่นาฎสองรา รองใหรําไรย ๐พระพีนองสองสี โกสุมกันเคาไป ถามหาผูว่ไน ใมภํบภาน ๐ หมาตํนบอกม(ไม่ปรากฏ) (ไม่ปรากฏ)หาภูบาน ยูไนแน้วทาร ทีในนัที ๐ แคนางบงออน ใมพํนมาร่ษรี ทีในนัดที ทุกวันเวลา ๐ พีน้องสองษรี ไพรพํลโยธา ครวนครําโสกหา ทุกทัวตัวคํน ๐ ว่าแกอาชา ใหเถึงบัดดํน ผูว่นาฏจุมพํล แตตํน : เดีมที ๐ หมาตํนนานํา ชาภามากุฏดี ผูทรํงธัวร่ณี นังยูดวยกัน


๑๓๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

กราบกับบาทา กับพระด้าวบํท ชวนกันเสกสัน กอดเอาพระนาง อัคอันพระไท ทรํบพระภักตรา ทังสองอ่นุชา เกีดเหดเผดผัน พระจํงโปรฎปราน แตตํนค่ดี พีกับเทวี นิกในพระไท ดํนดันรันไป จ่ขามสาชํล ขีขอนลอบมา ขืนซัดขอยไมๆ พีกับไฉยา พลัดกับเทวี เทยีวหาอ่อร่ไท จีงใดประสํบ ภาพีกลับมา กลิงเกลอีกเสอีก พีนองสองอํงค รํารักมาร่สี

๐ วิงวางเคามา โสภาโสกสัน ทรงพรํดนักท่น กับบาทบาทา ๐ สํมเดจพระทอง : ทังสองอ่นุชา เนดใลออกมา กับพระกูมาร ๐ ครันคลายโสกา ถามหาเยาว่มาร แตตํนอากาน ใหนองไหวไจย ๐ พระบอกสองสี ยักสีภาไป นีในพงไพร จ่กลับขืนมา ๐ หลํงทางกลางไพร เถึงฟังคงคา ใหพํลยักษา เถึงฟังนที ๐ใหเกีดลํมใหญ เปนสํมประดี ภากันไหวนี ทีในคํงคา ๐ ครันพีขืนใด ไม่ภํบกัญล่ญา พํบพ่ญาปักษา หาพระมุนี ๐ บอกพลางพระอํง ลํงทรํงกันแสงสี ดังจ่ปลํงชีวี สูวันกัลญา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓๗

นองมากราบเกลา เสจ่ไปแหงใด ตรัดดวยนองยา นองใดพึงบุน จ่หาไหนใด รักนองสองสี กลิงเกลอีกเสอีก อัดอันตันจิด ทังถามภูทอน รีพํลมํนตรี พีเลยีงทังษรี ชวนกันรองให ใดฟังคดี กลันโสกมีใด แล้วปลอบนัดา พ่วยาโลภนัก มีชาจ่พํบ นางใมเปนไร กับสองนีอไท อํดกลันพระไท กับพระม่หา นวดเฟันบาทา ค้าวบทรักใคร ใหเรยีนเขยีนอาน

๐โอพระพีเจา รองพระบาทา จึงใมมาหา เมอีนเฝ้าทุกที ๐ โอเจาพระคุน เยนเกดเกษรี เมอีนไทเทวี ดุจดังอุทอน ๐ รําพลางสองอํง ลํงกับแพนดินคอน คิดเถึงบังออน นอนนิงแนไป ๐ อํามาดเสนี ลอยมารําไร ดุจ่ใมมีใจ รํารักภัสญา ๐ โควินฤๅษรี เทว่มีนําตา เนดใลออกมา ใหคอยคลายไคย ๐ เอานําลูบภัก(ไม่ปรากฏ) จักมวยบันไล ประสํบอ่อร่ไท ฟังตาเทีดรา ๐ ษรีเมอีงเรอีงไช คอยคอยคลายวินญา ยูในสาลา โควินอาจาน ๐ ปรํนนิบัดรักสา ทังสามกูมาร มีใจชืนบาน ชํานานวิชา


๑๓๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สํมเดจ่พระพี จ่ลามุนี กลับไปภารา ล่หอยคอยหา ชวนกันเคามา แตมายูนี ไปเยยีนพระเจา ใมยุปชา กราบบาทพระตา ใดฟังพระลาน เท่วมีอาไล พ่อไปจํงดี ไปยูแหงใด ยาเอารีพํล มาดวยละนา หมามิงยิงยํง กับพ่ญาปักษา พ่อยานอนไจ ยามีความรอน สัตรูคิดราย ใดครองบุรี รับภอนพระเจา ชอนนองสองอํงค ฟุมยนําตา

๐ ยูหลายราตรี ตรัดแกนองยา ฤๅสีไคลคลา โขม่ราช่บูรี ๐ ท้าวจ่โสภา เราทังสามสี กราลามุนี เปนชานานมา ๐ ข่วลาภานเกลา ท้าวทังสามรา นักหลานจักกลับมา เทยีวหาเทวี ๐ โควินอาจาน ว่าจ่บํท่ษรี รําไรโสกี แล้วรีบกลับมา ๐ เกลอกนางอ่อร่ไท จ่ใดเทยีวหา ส่กํล่โยทา ลําบากยากไจย ๐ มาแตพระอํง ผูทรํงฤททีไกร ปัญาวองไวย สํงสานเมวี ๐ แล้วจึงอวยภอน โรคาราวี แพภายหยายนี แทนเทพบิดา ๐ สีเมยีงกํมเกลา ใสเกลาเกสา กราบลํงสามลา รักพระมุนี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓๙

ยํกเคงดํงกวาง พีเลยีงทังสี จุงพ่ญาอาชา ขามหวยเห้วผา มาล้ายราตรี มาเถึงกรุงไกร ฝุงคํนฤๅเลอีง วิงมาตอนรับ บังคํมดุศ่ดี บางมากราบไหว บางรําบางฟ้อน ชืนชมหันสา แสนสาวส่พรัง นางกระสัดทุกอํงค มารับผูมี รับษรพระขัน ขีนปรางประสาด สํมเดจบิดา กระสัดสามอํง ทรํงกันแสงให ประนํดบํท่สี ท้าวโข่มพัททัง อํงคพระมารดอน กอดเอาลูกญา

๐ หํงทองนําทาง ตามทางพฤกษา เสนีเสนา มาตามผูว่ไนย ๐ เดีนคอคลอดมา คํงคํานําไลย ผูมิผํนไพร โขม่ราบุรี ๐ เสจ่เคาในเมอีง ทัวเมอีงผูมี คํานับพระษรี ทัวทังภารา ๐ ลางกันดีใจ รองใหโสกา นอนผ่วา ดวยพระผูมี ๐ เสจ่เคาในหวัง มารับผูมี ลํงจากปรางสี กราบเกลาวันทา ๐ ฝายนางพระกํานัน นําเสจ่เคามา อ่พีวาดวันทา กับพระชํล่นี ๐ ทังท้าวสูรีวํง ผูทรํงธ่วร่ณี : รําไรโสกี ทังสามกระสัตรา ๐ ฝายสามกระสัด พระอ่นุชา เสจ่จอนออกมา โสการําไรย


๑๔๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

แตใปจากนี พระนองกลับมา แตรํารองให เสาะหาฤๅษรี หํงทองมาทูน ว่าไปภารา ครันยกพํลกลับ เหดกานเปนไฉ่น จึงพลัดนีกอน กราบลํงกับบาท จึงทูนค่ดี ลูกไปเทยีวหา เอกอํงทรํงพรํด หํงทองเทยีวทา อันชืว่บูรี ท้าวจึงเสกให กับอ่อร่แจมจัน ใหหงทองรอน ยํกพํล่มํนตรี จึงยํกนิกอน เถึงจันท่เสมา ยํกพํล่กางกัน ใดชันชางกัน จึงยํกเคลอีนคลาย

๐ ไถถามค่ดี ยากเปนไฉน บอกว่าหายไป จํนบัดนีนา ๐ ไปเทยีวพงพี รําเรยีนวิชา ตามมูลจกิจา เมอีงยํดโสทอน : ๐ ใหนองไปรับ มาเถึงสิงขอน ทีไนดํงดอน จัตุรํงค่โยธา ๐ สํมเดจ่ผูว่นาฏ ท้าวทังสามรา มีแตลังมา รําเรยีนฤที ๐ แทงพระด้าวบํด โควินฤๅษรี ภํบราช่ทานี กรุงยํดโสทอน ๐ ท้าวจึงเสจ่ไป ครอบครองพระณ่คอน สุวัณ่เกษร มาแจงกิจา ๐ โปรดใหสองสี ไปรับลูกญา บํท่จอนกลับมา เกีดเหดวุนวาย ๐ พ่ญาหํงพญาจัน ตังมันมากมาย ท้าวนันเถึงตาย มาเถึงคีรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๔๑

มันทําริทา กับอํงอ่อร่ไท เถึงกลางพํงพี ชวนนางเทวี พลัดพรากจากนาง แตเทยีวหา ภาลูกกลับมา เท่อชุบภาชี เทยีวหานางคราน ซึงมันภาหนี ใดรํบพุงกัน ลูกจึงกลับมา กับพลถ่หา มาหาบาท่บง กราบกับบํท่สี ครันใดแจงเหด ทงสามพระอํง ดวยพระลูกยา ทรํงโสกโสกา นางสีประภา เกลอีกกลิงนิงไป บุศ่บาเทวี แสนสาวกํานัน เพยีงพระสุทา

๐ นํนท่จิดยักสา ภาขาจ่วร่ลี ภาไปบูรี ลูกนีมันมา ๐ มาภํบนัดที ลํงคามคํงคา ทีกลางชํลทา เปนชาหึงนาน ๐ จึงพํบปักษา หาพระอาจาน ใหคีท่ยาน ริมฟังคงคา ๐ จึงภํบยักสี มากลางหิม่วา มารนันอัปะรา ยูดวยมุณี ๐ พํบสองกูมาน วนกันจ่วรลี ผูทรํงฤทที จํงทราบบาทา ๐ สมเดจ่บิตุเรด แหงพระลูกญา เรงทรํงโสกา ลําบากยากไจย ๐ นางกระสัดทังหา ตางมารําไร กัล่ญาดวงไจ รํารักพีญา ๐ นางลักส่ว่ดี สีจันกัล่ญา ชวนกันโสกา จ่ทรุดทําลาย


๑๔๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ชวนกันโสกี เชาแมแกเถา รํารักเจานาย สํมเดจ่ลุกญา มายังเรอีนทอง แสนสาวชาวไน คิดเถึงท้าวนอง ขีนยังแทนแก้ว ทรํงโสกโสกา พีมาเถึงแล้ว แมนนุชตายจาก ใมรักชีวี ตํกตรําลําบาก อุมหนียักสา พลัดจากพีไป รักพีทีสุด จ่หาไหนใด ซืสดต่วพี ปรํนนิบัดรักสา มีใหเคอีงไจ รุคิดกิจกาน กับแทนยํศยํง โอแก้วพีอาจ่ ทรํงกันแสงไห

๐ อํามาดเสนี รํารักฤๅสาย โสกเสาปางตาย ลําบากยากไจย ๐ ครัยคลายโสกา กราบบาทผูว่ไน เคาหองผิศ่ไหม แวดลอมราชา ๐ เสจ่เดาในหอง สูวรรกัล่ญา พรายแพร้วม่หา รํารักผูมี ๐ โอพระนองแก้ว คใมเหนมารสี ข่วภํบทรากผี พีเลยทรามไวย ๐ โอนุชเพอีนยาก ด้วยกันไนไพร คามคํงคาไล ไมรูค่ดี ๐ โอเจาว่อร่นุช เสิศลําสัตรี เมอีนไทมาร่สี ไมมีไครปาน ๐ เจารูอัฏ่ยา เฝ้าพ่ญาบาล สิงไรใมภาร ไพรฟาข้าไทย ๐ พระทอดอํงลํง ทรํงโสกาไล มาเปนไฉน ส่อืนไปมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๔๓

นางลักส่ว่ดี สุคานารี เหนทาวโสกา แสนส้าวชาวที นวดฝันคันบาด ปลอบโยนเอาไจ เกลอีกอํงทรํงกา ใดเจาพระเดจ โบกปัดผัดวี คอยคลายพระไท ยูไนประสาท สาวสันกัล่ยา เชาเยนเปนนิจ ทังท้าวอุ่ปราท กับมารดาไท ใมมีไภทุก แตลวนส้าวนอย บําเร่อผูมี ญาณี .๐.

๐ ฝ่ายท้าวโข่มพัท กับพระอุนุชา ๐ ปรึกษากันพีนอง จ่เสกสองน่วไท ๐ ตรัดสังเสนาไน จ่ใหดูเรีกภา ๐ อํามารับอํงการ รองเรยีกขุนโหนพลัน

๐ เมอีนนันเทวี สีจันสูรียา อ๊งคษรีประภา ชวนกันเคาไปย ๐ กับนางสาวสี เคามาไส่ว ผูว่นาฏจอมไตร สํมเดจ่ผูมี ๐ พระยาโสกนัก จักมวยชีวี ปํกเกดษรี ทุกนางกัล่ญา ๐ สีเมอีงเรอีงไชย ตรัดใดวิญา พระรา(ไม่ปรากฏ)หา เปนผาสุกไจย ๐ ขืนเฝ้าทรํงฤท ใมเคอีงพระไทย ผูว่นาฎชานไชย ทุกวันราตรี ๐ ยูเยนเปนกา กับฝุงนารี แชมชอยมีวี ทุกวันเวลา จอมกระสัดกรุงภารา เสจ่ออกน้าพระโรงไชย เราทังสองคิดกันไวย ใหครอบครองคันท่เสมา เรงเร้วไปหาโหรา หาเคามาจํงฉับพลัน วิงลํนลานังกังหัน ใหหาทารจํงฉับไวย


๑๔๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ วันนันขุนโหรา เพอีนบาวหอมลอมไป ๐ บางสาวเคายังเคยีง : เพอีนส้าวเคานังปํน ๐ พระสํงฆนังชัดนํา นักการรองเคามา ๐ ขุนโหนตํกประมา งํดนอยนึงเปนไร ๐ เงีนทองเราจ่ให ขุนโบดผูนองชาย ๐ นักกานรองบอกกล้าว จ่เอานองเคาถ่ลัน ๐ ใมไปจ่ลากตัว ภามาเถึงชาลา ๐ ขุนโหนคิดคํานึง นังตรึกทอนไจไญ ๐ บัดนันจอมกระสัด จ่เสกโอรํดสา ๐ กับนางบุศ่บา ทรึงทายว่ารายดี ๐ขุนโทนดุดารา พรอมมุลคูนหานไป ๐ ครุงนีเหนดีนัก ทรํงเดจม่หืมา ๐ ทุกทัวยอมกลัวเดจ ครังนีมีลาพไหญ ๐ ท้าวฟังโหนทายทัก ทังทาวสูรีวํงษา ๐ ตรัดใหพระราชทาร แก้วแหวนแลแพรพรัน

ทําวิวาเปนการไหญ ภ่วโหนไสรทํามํงคํน เพอีนบาวเรยีงยูสับสํน รํดนํามํนเปนโกลา บํนพืมภําอานคาถา สังใหหาโหนเคาไป วันนีขาทําการไหญ พ่วข่ไหวยาวุนว้าน จํงแกไขชวยเบยีงบาย เพอีนทักทายแนเมอีนกัน ใดเทยีสาวทําดึงดัน จ่พลอยกันกระมังนา โหรากลัวลํงอาญา ใหโหราเฝ้าท้าวไทย ใหกระลึงดวยเสยีไจ ลืมกราบไวพระราชา โองการตรัดแกโหรา ครองไพรฟาบูรี หาเรีกพาตามสักสี ไนครังนยังก่ไร เอาฉ่ตาขืนขับไลย แล้วทุนไทพระราชา จ่มีกาทัวฌลก : ปราบฆาสึกทัวแดนไตร ทุกประเทดมาพึงไท เสกน่วไทครองภารา พระทรํงสักชอบอัคชา พระภักตราแจมครีจัน ของตระการเปนรางวัน แกโหนนันมากคํลนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๔๕

.๐. สูรางค่นาง เจากรุงโขมราช เรงบาดม้ายไป บานนอกขอกนา มาอ่พีวัน เมอีงนอกเมอีงใน ขาเฝาทังปวง แสนสาวกํานัน ท้าวเจาท้าวนาย อํามาดเสนา สามสิบเกาหอง เพดานมารกัน พรํมเจยีมมุลี ฉัดนอยฉัดไญ แทนทีพีเสก ราชวัดฉัดทํง สํารับพรามชี ไบสีเงีนทอง ดอกไมร่ทา ลวนแก้วแพร้วพรัน กานนอกการไน กํานํดดํฏเขยีน หุนล้าวหุนมอน โมงครุมปรํบใก ตามพ่นักงาน

๐ บัดนันพระบาท ตรัดรัดสังเสนา ใหทัวทัศา เมอีงคืนทังปวง ๐ ใหแคงบันนาการ ทัวทุกกระทรวง เมอีงไหญเมอีงหลวง ทัวทังภารา ๐ ลูกขุนหัวพัน ฟายในมรายขว้า ขายไบฏีกา พฤททาพรามชี ๐ ใหปลูกโรงทอง ใหงามรูจี ตาชันกาษรี ปูลาดดาดบํน ๐ ใหรายฉัดไช ฉัดลายเบญจรํง : แทนเอกบันจํง อันงามรํจ่นา ๐ ทังโรงพิทที จ่สํงเกสา เรอีงรองโอลา โคมแก้วโคมเวยีน ๐ เบญจาเจดฉัน ใหชางวาดเขยีน กานไหญเวยีนเทยีน ตามพ่นักงาน ๐ โขนนังล่คอน ฟอนรําชํานาน ติไมน้าฉาน ยาขาดสักอัน


๑๔๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ออกมาพรอมพรัง กานนอกกานไน ใดเสจ่ทังนัน รัศ่หมีเรอีงรอง ทังโรงพิดที สําเรทเสจการ สองพระพีนอง ใหเชีนพรามชี พระโหนพีไช ใหนางคางไน พรอมพรังตังไว แตรสังคํนดํนตรี เคามาเกลอิ่นกลาด เชาวแมแกเถา นางไนทังปวง เคามากราบบาท เชือเชีนพระอํงค ทังนางบุศ่ษา นบันเจิ่ดเลิศ่ ทรํงผูสาตํน ทองแกมม่นี ตาบติดพิศาดาน ทํารํงคาเมอีง สูวัณ่มาลา

๐ เสนารับสัง บาดหม้ายเปนควัน แจกจายครํบครัน ตามพ่นักงาน ๐ โรงปก้วโรงทอง ราช่วัดฉัดฉว่าง ไบสีโอลาน กลับมาทูนไทย ๐ ครันแจงแสงทอง สังเสนาไน ทําพิทีไน มาใหเรีกคี ๐ แล้วสังเคาไป เรงยํกไบสี ในโรงพิที เครอิ่งเหลนทังปวง ๐ ม่โหรีปีภาค จํวทุกกระทรวง เลาลูกหลานหลวง ใหแตงตัวมา ๐ สังแล้วเยยีร่ยาด ษรีเมอีงราชา ส่สํงคํงคา ใหสํงวารี ๐ทรงส่นับเพลาแก้ว แล้วยางทิพรังสี เลีศลันรูจี ชวงฉ่วฟ่วตา ๐ ทรํงม่หาสังวาร กําไลชายขว้า รองเรอีงจับตา กันเจยีกม่นี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๔๗

แกมม่วร่กํดเกด ทรํงษรพระขัน เสจ่ออกน้ที หมูมุค่เคยีรคาด เสจ่ขืนชางตํน ดุจ่ดังอินตรา แหเสนาอัดแอ เดีนตามกระบวน ดุจ่ดารากอน ทํงไชส่ลอน บังแสงสูฉัน เพยีงผืนพระสุทา โครมครึกกึกกํอง พระพีนองสองอํงค ใหเคลอิ่นพํลไป ชีพรามนักสิท มาคอยรับส่เดด จุงกอนเคาที มอบเฝาเกลอิ่นกลาด นับมืนนับแสน ทุกท้าวพ่ญา ใหแตงบุศ่บา ผูสาพืนทอง ทรงพระสังวาร

๐ ทรํงทํงกุฏเพช เพรีดพรายลายษรี อันเรอีงริที ยังเกยชาลา ๐ พีเลยีงอํามาด กราบเกลาวันทา มํงคํนโสภา เสจ่จากอําภอน ๐ ใหเคลอินแกน (ไม่ปรากฏ)นํมส่ลอน แตลวนอ่อร่ชอน แวดล้อมจันทรา ๐ พัดโบกจามอน ฉัดไชชายขว้า แจจันแหมา ส่นันวันไวย ๐ แตรสังฆองกลอง โหรองเอาไฮ ทรฺงมโนไม ยังโรงพิที ๐ ฝ่ายประโรหิด พฤทาโยคี นําเสจ่จ่วร่ลี โรงไชรันต่นา ๐ เสนาอํามาด เปนลันกันมา แนนทังภารา ชํมโพททีสํมภาร ๐ สํมเดจ่มารดา ดุจ่นางวิ่มาร รองเรอิ่งโอลาน ลวนแก้วมณี


๑๔๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

กําไลยํศยํง กันเจยิกกุนทํน มํงกุฏม่นี ทรํงเครอิ่งเพริ่ดพราย สาวสีกํานัน ใหแตงกายา เจาชาวแมแกเถา เชิ่นส่เดดนางนาด มายังโรงคัน จึงตุงพระกอน ยังโรงพิทที แสนล้าวชายขว้า ส่เดาะเคราะเจา จึงเปลอืงเครอิ่งทรํง ใหทรงเครอิ่งใม ฝายคางนักสิท เอานําสังฃอน ใหสํงเกสา พระเหนผูไญ จึงลํนฆองไช เอาแว้นอัคี เสนาเสนี ปีภาดปีแก้ว ใหเวยีนเทยีนไช

๐ ตาบสรอยหอยอํง ทําม่รํงเรอีงสี วีมํลรูจี สูวัณ่มาลา ๐ นางกระสัดทังหลาย หอมลอมกัล่ญา เฉิ่ฉันรํจนา ดุจ่นางไนสวัน ๐ แหหอมลอมมา กํมเกลาอ่พีวัน ยุร่ยาดผายผัน พิททีรํจ่นา ๐สํมเดจ่มารคอน นวนนางบุศ่บา แทนทีโอลา หอมลอมส่ไหว ๐ แล้วใหโหนเถา ทังสองอ่อร่ไท สองอํงออกไป อันงามรํจนา ๐ จึงพระปุโรหิด ชีพรามพฤททา ย่วกอนเคามา ตามเพดพรามชี ๐ ครันใดเรีกไช ใหเบีกไปษรี วันไวปัตภี เคาจุดเทยีนไช ๐ แตรสังดํนตรี ไหรองกองไป แจ้วจเจอียจับไจย ใดเถึงเจดครา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๔๙

ผูดีมีกา ตางๆอวยภอน ยืนรอยประสาท ครอบครองภารรา สัตรูคิดราย ทัวทุกแดนไตร มอบเวนเสต่ฉัด บานเมอีงไพรฟา ใหแหพระษรี บันดาฑ้หลวง ทังมูค่ห่บ่วดี ถว่ายเครอิ่งบันนา แก้วเกาเนาวรัด บุตรีบุตรา เครอิ่งนากเครอิ่งทอง เลนครืนอึงมี โขนนังร่บํา สํมโฟทราชา สํมเดจพระแก้ว เชยชํมบุศ่บา ลันเทีงเรีงรี ว่าน่นุชสุดจิด โอรแอบแนบเน้น จูบชายจูบขวา

๐ โบกควันตรํงภัก พฤกโหรา ย่วกอนวันทา ทรํงเดโชไชย ๐ ข่วใหเจ้าฟา ยามีโพยไภ แพภายหนีไกล มานอมดุศ่ดี ๐ ท้าวโขม่พัท สํมบัดิเรอิ้งษรี เสนามนตรี ครอบครองนัครา ๐ หมูมุค่ทังปวง ทุกท้าวพ่ญา เสทถีประชา มากมายกายกอง ๐ บางถ่ว้ายสํมบัด เสีอผาเงีนทอง นาๆ ทังผอง มากพํลคํล่นา ๐ ฝายการบุรี ทัวทังภารา มวยปลําคูลา เจดวันราตรี ๐ ครันเสจกานแล้ว สูปรางม่นี ผูมึงมาร่สี ดวยนางกัล่ญา ๐ เกลยิ่วกลํมชํมชิด สํมสานิ่ดส่เนหา คลึงเคลนบุศ่บา นุ่ชนาเอนดู


๑๕๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ยูดวยกัล่ญา พระสานํมกรํมวัง เชยชํมสํมสู เสนามํนตรี ไพรฟาประชา บานเมอีงท้าวไท สํมภานพระลูก คาหาบ่วดี ชํมบูนเจาฟา ใมนายคลายเคลอีน กับนางนํงนาฎ แสนสาวชาวที มีใถเคลอีนคลาด โลมเลาเฝาชม ยูมาอ่อร่ไท (ไม่ปรากฏ)ใหสาวสี ครันนางเทวี ทุกวันเวลา พระคิดคํานึง สูวรรณ่เกสร ทรํงกันแสงให

๐ ษรีเมอีงราชา บุศ่บาโฉมตรู ขับคังพรังพรู เปนผากาไจย ๐ ครอบครองบูรี ใมมีโพยไภย่ ใมมาเดอิ่งใจย เปนกานักน้า ๐ เคาเลิ่อเกลิ่อทูก แผทัวโลกา : เสทถีประขา ทัวทุกบูรี ๐ ยูใดเจดเดอีน บุศ่บาโฉมสี เยาว่ราชเทวี พีรํมชมโจย ๐ บูศ่บานางนาฏ รักส่นิดพิศ่ไม พีรํมยวนไจย เจาทรํงครันมา ๐ สํมเดจ่ผูมี พีทักรักสา นารีบุศ่บา มีใดเคอีงไจย ๐ ยูมาวันนึง เถึงนางอ่อร่ไท เพอีนรอนท้าวไท ในหองไสยา

หน้าปล้ายพระษรีเมอืง ๐ เหลมสาม

สกสนพนทวี

๐ เสจ่เหนีอแทนที รันจวนปวนหา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕๑

โอรนุชเพอนยาก ไมรูขาวว่า ฝายเจาใดทุก ฤๅวายชีพแล้ว มอดมวยบันไล จ่ว้านสาคอน ฤๅจ่มอดมวน โธแก้วพีอา โดดเดยีวเทยีวไป ใมเหนรอยบาท โอคิด(ไม่ปรากฏ) สุดานารี ใมเหน(ไม่ปรากฏ)วรนุช พีจ่ทีวร ยูไปใดความ (ไม่ปรากฏ)ตรัดพุดจาดวย ชํลเนดลังไล เหนพระผูมี จึงขืนไปทูน แกนางบุศ่บา ทรํงโผ(ไม่ปรากฏ)นัก สูรวัณเกสร พระไมภาที อํงอัศ่ฉัยา นางจันสูรี

จําจากกล่ยา จ่เปนฉันใด ๐ (ไม่ปรากฏ) ยากเยนเปนไฉน โธแก้วกลอยไจย ไนกลางคํงคา ๐ เจานักอุทอน ตรํกตรํานักน้า ตายดวยฝุงปลา เปนน้าไจหาย ๐ ฤๅนุชขืนใด ลําบากยากกาย ทีแน้วหาดทราย คราควรยีมอา ๐ เหนแตสองสี อํงคสีประภา ผูสุดเส่นหา มารคราไคร ๐ จ่ข่วไปตาม โสกแสนแดนไจย นางสา(ไม่ปรากฏ)ไช ดังท่อทารา ๐ เมิ่วนันส้าวสี ทรํงโสกโสกา ตามมูลกิจจา กับสองเทวี ๐ ว่าพระทรํงสัก รําระกมาร่สี เรารอนแสนทวี ดวยกํานันไน ๐ ฝายนางบุศ่บา กระนํกตํกใจ ยางปีมบาบันไล


๑๕๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

จึงเสจขืนไป ทังนางกระสัตรี เคาไปกราบบาท ทรํงพระเมตา สูวัณเกสร พระจ่ไปเสาะหา เมยีทังสามนี ตํกตรําลําบาก เมยีใมขัดของ สํมเดจผูว่ไน จึงยํกพระกอน (ไม่ปรากฏ) ทังสามกัล่ยา เทยีวหาอ่อรไท เกลอีกจ่ประลํบ ใมภับแขมจัน ครองกันจํงดี แสนสาวชาวไน ใมชาจ่มา สํมเดจ่ผูมี พรอมดวยเสนี เคาเฝาท้าวไท เสนานอยไหญ เราจักจนไป เทยีวหากัลญา

ยังหองไสยา ๐ นางลักส่ว่ดี ฟุมฟายนํา(ไม่ปรากฏ) ผูว่นาฎเชฎา จํงโปรดปรานี ๐ คิดเถีงบังออน เพอิ่นรอนผูมี ไฉยามาร่สี มีใหขัดใจ ๐ ดวยนางใดยาก เอนดุอ่วรไทย ใหพระมองใจ ยาใดสํงกา ๐ พระฟังบังออน กอดสามว่นิดา เหนสุค่ทุกกัน ๐ พีจ่ลาไป ทีในหิม่วัน ภํบนางจอมขวัน จ่กลับคืนมา ๐ ทังสามเทวี ยามีฉันทา ยาใคโสกา ครอบครองกรุงไกร ๐ ครันรุงราตรี ออกทีโรงไช มํนตรีไส่ว ในโรงรัตนา ๐ พระจึงตรัดเปน ทีในภารา ในไพรพฤกษา สูวันเทวี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕๓

บานเมอีงภารา กานนอนกานไน เราจ่จ่วร่ลี หานางเทวี หํงทองปักบา เราจ่เอาไป กราบเกลาเดยีระคาด ฃ่วตามเสจ่ไป พีทักรักสา ขอบใจเสนี หํนทางไปยาก ครังนีมีให หมามิงยิงยํง ใมรยูชานัก ชวยกันรักษา เสจ่เคากราบ เรอิงไชบังคํม เปนไหญกัปพระชํล่ สํมเดจ่เจาฟา ไปเทยีวเลาะหา ไนคํงพํงพี ใมมวยบันไล ทิงควางรางไว เสยีแรงภามา

๐ ช่วยกันรักสา ทังสามสี จัดใหจํงดี แตอํงเสจ่ไป ๐ เทยีวไนพํงพี ตามบุณอ่อร่ไท ปญาวองไว กับหมาอาชา ๐ พีเลียงอํามาด ทุดฉ่ลองมานบันชา เทยีวในหิม่วา เปนเพอีนผูว่ไน ๐ พระตอบค่ดี พีเลยีงรวมใจ ลําบากไนไพร : ยากพํลโยธา ๐ จ่ไปแตอํงค ผูทรํงฤททา เราจักกลับมา ภาราเวยีงไชย ๐ ว่าแล้วแคล้วคลาด บาทบิตุเรด กํมเกษณ่เรท ไนแล้วทูนคดี ๐ ลูกรักจักลา ปินเกลาท่วรนี ไฉยามาร่สี ตามบูณกัล่ญา ๐ เกลอืกนางอ่อร่ไท จ่ใดภามา เสจ่ไปเอกา เปนคํนไมดี


๑๕๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พระคุรยูเกลา ฃ่วรับพระภอน ใหภํบเทวี กับจอมกระสัด แลเหนลูกนอล จ่ลาไปปา นาทีท้าวไท ครันจ่ใหไป ท้าวทังสองสี เจาจากไปแล้ว ครอบครองใพรฟา จ่จากแมไป ปิมมวยบันไล ใดความลําบาก ฟังคําแมว่า จ่ยูไนป่า จ่ใดไปหา นีนางพลัดไป วาเปนกับตาย จ่ไปเทยีวคํน ซุกซอนนอนปา โฉมยํงนํงลัก แตตรึกดูกอน ชอบแล้วแมไม

๐ ฃ่วลาพระเจา ได้โปรฏเกษรี จ่จอนพํงพี ลูกจ่กลับมา ๐ ท้าวโข่มพัท ผูเปนมารดา ล่หอนโสกา เทยีวหาเวที ๐ ครันจ่ขดโว จ่มันมองสี เกลอกไรจ่มี อดอันตันไจย ๐ สวมกอดลูกแก้ว จ่เหนน้าใคร เสนาฆาไท ก่ไรณ่ลูกอา ๐ ไปครังนึงไสร แทบใมใคกลับมา ตํกยากนักน้า เจายาเพ่วไป ๐ รูว่าไฉยา แหงหํนตําบํนได ใมมายากไจย ทีในคํงคา ๐ ใมรูแยบคาย ใมมายเจร่จา เหนผํนปันญา ส่นุกฤๅไรย ๐ รูแล้วว่ารัก แมไมตัดใจ ผันผอนพระไท ขัดพระลูกญา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕๕

คุรบุญพระเจา ปรยิบสิงได วทูนเจาฟา ลูกรักปิมตาย จึงภับปักสา เถึงสาลาไล ว่านางอ่อร่ไท มีผูเอาไป จึงชุบอาชา ฟากฟังคํงคา แล้วกลับคืนมา ภํบสองน่วไห จ่ทายสิงใด จ่ฃ่วกราบบาท ไปหาพระจา อันความเปนตาย ลุกไมย่วท่ว เทยีวหาอ่อร่ไท ลูกใดสันยา ว่าจะกลับมา ชานานปานนี ยามีไภทุก ฃ่วฝากนํงนุช กับสองกัล่ยา

๐ บรีเมอีงกํมเกลา ปํกเกลาเกสา ใมเทยีมเลยนา ใหทราบพระไท ๐ เมอีนางสูนหาย ริมคํงคาไล ภาลูกกลับไป ฤๅษรีพระตา ๐ เท่อบอกลูกไว ใมมวยชีวา เลยีงใวในปา ใหลูกขี่ไป ๐ เหาะไปเทยีวหา แตแรกคลาไคล ยังสาลาไล ภากันหลับมา ๐ พระตาขาไสร เท่อแนนักน้า พระราชมารดา ใหแนะบอกไป ๐ กอดมาเป็นชาย จ่เวนผุได ฃ่วลาไป ใดโปรฏปรานี ๐ เมอีลูกจ่มา ไวแกมุนี เทยีวหามาร่สี ท้าวจ่คอยหา ๐ คอยยูเปนกา พ่ญาติโรคา อํงคบุศ่บา ยูไตทูลี


๑๕๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สองอํงคทรงยํด จ่ขัดนักไป จ่ว่าเรานี ใดเปนเพอินรอน เราเปนผูไญ ควนใหราชา เจาจ่ไปปา ตามแตพระไท แมนภํบเทวี สีพีเลยิงตํน เสนาเสนีจักไป ฃ่วรับพระภอน โสกแสนแคนขัด เจาไปจงดี ใทใดอ่อรอไม ผูมีฤทเดด อินพรํมยม ใหพํบไฉยา ทังสามผูว่ไน กํมเกลากราบลา หานางเทวี สวมสอดกอด คอนนุเทีดณ่เจา พีจ่ข่วลา

๐ ใดฟังโอรํด ปรีกษาค่ดี เหนไมชอบที รักแตบุศ่บา ๐ นางสุวันเกสร แตกอนเกามา ยาใหฉันทา ไปหาเทวี ๐ จีงมีบันชา : เทยีวหามาร่สี ขัดไปไยมี ภากันกลับมา ๐ ใหเกนนรีพํล ไปดวยลูกยา โดยหองเวหา ๐ถับพ่ญาปักษร ฟาทังสามผูว่ไน ๐ ทังสามกระสัด จึงอวยภอนไช ยามีทุกไภ ดังไจจินดา ๐ ฃ่วจงเทเวท ครุททานาคา ชวยชักราชา ภามาบูรี ๐ พระษรีรับภอนไช มาไสเกษรี มาปรางม่นี ทังสามกัล่ญา ๐ ครันมาเถึงหอง (ไม่ปรากฏ)ไฉยา ยาเสราโสกา เคาปาพํงพี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕๗

ใหหายสํงไส นางจันสูริยา นางลักส่ว่ดี หานางอ่อร่ไท จูบแล้วรัยขวัน ทังสามกัล่ญา ปํกปองครองกัน พีทักรักสา รุงขืนพรุงนี อันงามยํศยํง พระจากเมยีไป ปํกเกลาเกสา แสนสาวชาวไน เชาแมแกเถา รองใหอืงมี พระเสจ่เคาที ทรํงสูคํนทา ผูสามาลา สินไชเสีศแล้ว เสต่ทรํงหมามิง แสนลาวกํานัน แตกเบยีดกัน คอยดูเจาฟา

๐ พระตาบอกไวย ว่ารายกับดี เจาญามองษรี ฟังคําพีรา ๐ พีจะลาไป ใมชาจ่มา นุชกลันโสกา คอยยูจังดิ ๐ แสนสาวกํานัน ยามีราคี บิดาชํลนี พีจ่ไคลคลา ๐ นางกระสัดสามอํงค ทรํงโลกโสกา เมอีไรจ่มา : ใหเยนเกสี ๐ ชวนกันรองให ใมเปนสํมประดี โลกเสามองสี ทังวังราชา ๐ ครันรุงราตรี ส่ลํงคํงคง รํดปรากํดนักน้า เสดสับทุกอัน ๐ ขัดพระขันแก้ว คลาดแคล้วจ่วร่จัน ยวดยิงไครจ่ทัน ย่วกอนดุศ่ดี ๐ อํามาดเสนา อ่นันภารา จ่ทรํงภาชี


๑๕๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ฉ่บงง ๐

๐ บัดนันสํมเดจ่ผูมี ย่วกรชูลีวันทา ๐ กราบไวทังสามกระสัตรา ใหเหาะขีนโดยฤทที ๐ แกล้วกลาดังหมาสุร่ษรี ไปใดโยชนิงพลัน ๐ ทักสินพระณ่คอนทรํงทัน เฉีดฉันดังพระอินตรา ๐ ตางๆ เหนอิทฤททา ใดฟาใมเทยีบเทยีมทัน ๐ ฃ่วใหใดอ่อร่แจมจัน ใหพลันกลับมาบูรี ๐ ปักษานาหมาภาชี โควินผูเปนอาจาน ๐ ลํงจากลังภาชีชาน อาจารผูมีปรีชา ๐ จึงเอาทูบเทยีนมาลา วันทาดวยใจภักดี ๐เมือนันโควินฤาษรี ยินดีดวยความส่เนหา ๐ ลุกมาสาสวมกอดหลานญา คอยหาเจานอยเมอีไรย ๐ นัดาไปชายูไย ดวยเจาสุวันกัล่ญา ๐ จ่ใดไปเทยีวเลาะหา พลัดยูในปาพํงไพร ๐ เคาไปใดการฤๅไฉ่น ใดไมแล้วไมนําภา ๐ สีเมอีงกํมเกลาทูนมา หลานลาเคาไปกรุงไกร ๐ ทังสามกระสัดทนไช เสกใหครองภารา

จึงทรํงภาชี จึงขับอาชา โผนโดยฤทที หํงภาผายผัน กราบเกลาวันทา นวนนางสูวัน ตรํงมากุฤดี เคาไปกราบกราน เคาไปบูชา เหนพระผูมี จูบเกลาเกสา ตาเปนทุกไจย สํงสารไฉยา ทิงควางนางไว แจงไจพระตา ชืนชํมดีใจ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕๙

๐ กับนางว่วนุชลดบุศ่บา จ่มาก็เกรงพระไท ๐ ยูนานหลานเปนทุกไจย หลานไสรจึงลาออกมา ๐ ฤๅษรีจึงมีวาจา เทยีวหาใหพํบบังออน ๐ ยุดเสียใหหายภักกอน จึงจอนไปตามไฉยา ๐ เมอีสีเมอีงราชา ทีในสาลากุฏดี ๐ ปรํนนีบัทรักสามุนี มีใหอ่นาทอนไจย ๐ พฤกสานําถาฟืนไฟ ถ่ว้ายทาวไททุกเวลา ๐ นวดฝันคันบาทบาทา ยูมาใดล้ายราตรี

หลานจึงยูชา คิดเถึงทานไท ครังนีแลนา กินยูลํบนอน ยูดวยพระตา ยางทําทุกที เทยีวหามาไว ปรํนนีบัดรัดสา

.๐. สูรางค่นาง .๐. กล้าวเถึงอ่อร่ไท ยูดวยบิดา ใดเถึงเจดปี กับพระอาจาร ด้าวบํมรักใคร ใหเรยีนวิชา แนะนําบอกให ดาวบํทชุบให จักแก้วแพร้วพรัน เทว่คิดคํานึง หลานกูไปเทยีว

๐ บํดนียํกไวย สูวันเทวี ม่หามุณี ทีบัณ่สาลา ๐ เฝาเลียงกุมาร พีทักรักสา มีใจปรีดา แกล้วกลาไครจ่ทัน ๐ สังสอนสิงใด จําใดทุกอัน สินไชพระขัน อันเรอีงฤทธา ๐ ยูมาวันนึง เถึงราชนัดา อํงคเดยีวเอกา


๑๖๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

จ่ใดไครมา ขืนบํนเขาไหญ ตามเพดมุณี ครันออกจากชาน ภาลูกจ่วร่ลี เหนพระด้าวบํท ภําบุเคามา ฃ่วบุดทานไว เหลนกับนัดา ไปยูกุฏดี ใดฟังมุนิ จึงใหลูกชาย แล้วลาผายผัน กับบุดราช่ษรี บอกแกแจมจัน ใดราช่สีมา ฝายนางสูวัน เอามันมาไย เหลนดวยกูมาร จ่ใดยังยุค ยาเอามาไว ฃ่วพระทรํง ใดฟังอ่อร่ไท จึง(ไม่ปรากฏ)แจมจัน

เปนเพอีนกูมาร ๐ คิดแล้วเท่อไป สํารับนังชาน มีแตบูราน กลับมาสาลา ๐ มีนางราชสี มาตามม่วร่คา ทรํงพรํดจ่รียา กํมเกลาดุศ่ดี ๐ ด้าวบํทว่าไป เปนเพอีนพระสี ในปาพํงพี เปนเพอีนเหลนกัน ๐ จึงนางราช่ษรี ชืนชมหืฤหรร ถ่ว้ายแกนักทัน ยังถํารัตะณา ๐ ฝายพระมุณี ภากันเคามา สูวรรกัล่ยา ใหแก่กูมาร ๐ ใหเปนเพอีนกัน ว่าแกอาจาร ลูกสัดใจภาร ใมรูใจมัน ๐ ถาเปนม่นุธ ส่มักรักกัน มันใจฉ่กัน ฃับมันเสยีรา ๐เมีอนันตาไฟ เหนชอบนักน้า ยาพรันเลยนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๖๑

ใวนักงานตา เปนม่นุทชาด ว่าแล้วมีชา ทําดวยฤทที โยนเคาอัคี เดช่พระเวท เปนกุมารา รุปทรํงสํงสี ออกมาประนํม กํมเกลํากราบกราน ใหนาม่กอน ชืสิงห่กูมาร ดวยทศสิงห่รา ฝายนางสุวัน มีอิดริดทา ภากันออกไป ชาคอนสูรีวํง เจาสิงห่กูมาร เปนพระอ่นุชา มีอิคฤทที รูทังสาตรา สํมเดจ่มุณี ภากันเทยีวไป เหนตํนรังไหญ

จ่ทําใหดี ๐ ชุปลูกสิงห่ราช เพอีนเลนโฉมสี มากองอัคี พระเวทสาศ่ดา ๐ จับลูกราช่ษรี แล้วรายคาถา วีเสทริดทา แนงนอยนํงคราน ๐ อายุเจดปี ใมมีปุนปาน บํงคมอาจาร กับบาทบาทา ๐ ฤๅษรีอวยภอน แกกูมารา หาวหารนักน้า มีใคกลัวใคร ๐ เปนเพอีนเหลนกัน ชืนชมผองใส แกล้วกลาชานไชย เทยีวเหลนอัตรา ๐ ฝายว่าพระอํง ผูเปนเชฏา ผูชานริทา จํงรักภักดี ๐ สาคอนสูรีวํง รํงเสีศ่ลําโลกี แกล้วกลาราวี รักดังแก้วตา ๐ ทังสองน่วไท ไนไพรพฤกษา สุงใดพันวา


๑๖๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

มีกิงสาขา กิงการคํด(ไมปรากฏ) ใญกวาพฤกษา บังแสงสูรีฉัน ผูมีฤททีรัง ยํกลูกขืนผาด ดินฟาวันไว ลํมพับยับไป ยิงกวาฟารอง สิงสัดไนปา แผนดินไหววัน เนิอนํกยูใกล แก้วหูแตกตาย กับนางเทวี ใดยินส่นัน ตํกใจนักน้า ไปภํบยักมาร จึงชวนบิดา จ่ตามออกไป กระนํกตํกไจ เท่อจึงบุมบาม โฉมนางเยาว่มาร ทรํงท่นูสอน ส่นันลันไพร

ใดโยชนึงหลัน ๐ ตํนไญพันออม คอมเพราเพรีดเฉีดฉัน ไนป่าหิม่วัน รํมมิดปิดไปย ๐ สาคอนสูรีวํง จึงขึนสินไช เยาว่ราชแผลงไป ส่นันทิศา ๐ ถูกตํนรังไหญ เสยีงใดคํล่นา กึกกํองเวหา เพยีงหูแตกตาย ๐ ส่เทอีนเลอีนลัน จ่ทรุดทําลาย นํคยูตํกใจขวันหาย มากพํลคํลนา ๐ สํมเดจ่มุณี สีสูวันกัลยา ครืนครันโกลา เปนเทดฉันได ๐ ฤๅสองเภาพาน ต่วยุดชิงไช ม่หาตาไฟ ดูสองกูมาร ๐ บัดนันตาไฟ จับไมท้าวกราน มาตามพระหลาน มาตามบิดา ๐ เหนพระสาคอน ยิงตํนพฤกษา วันไลพระสูทา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๖๓

สํมเดจ่มารดา

ใมมีไภทุก กับพระมุนี รําเรนียเขยีนอาน

กริวโกรฏคฤไฟ ๐ จับไมไลรัน ทําใหตํกใจ มันมาชิงไช ทังพระเจาตา ๐ นางโกรฏวุนว้าย ตีชายตีขว้า วิงนีมารดา กระนํกตํกไจ ๐ ตาไฟมุณี ตีหลานกูไย ษรสิทชานไช ไลตียาไยนา ๐ จึงนางเยาว่มาร ใหกลับคืนมา มาบัณ่สาลา เปนสูคสําราน ๐ ยูเยนเปนสุก โรกไภใมภาน ฤๅษรีอาจาน ชํานานวิชา

๐ เมอีนันพระษรีเมอีง ยูในบัณ่สาลา ๐ ยูมาใดลายวัน ยูนักจักชาไป ๐ ไปเทยีวหาเทวี จึงเคามาวันทา ๐ หลานจ่ฃ่วลาท้าว ทรุกซํนดํนดันไป ๐ นางจ่ยูทิดได เหนือไคแหงไคดี

ผูรุงเรอิง(ไม่ปรากฏ) กับโควินมุนนินไน พระทรํงทันตรืกนึกไน จ่ลาไทพระเจาตา ในพํงพีแลคํงคา กราบสามลาแล้วทูนไป ไปสิบข้าวนางทรามไว ไนพํงไพรหาเทวี ข่วจําใดโปรดเกษรี โปรดเกสีใหแจงไจย

ลูกไจฉ่กัน คิดว่ายักสา วิงหานอยไป จับไมไลปาย พีนองสองสี ทรุกซอนเคาปา รองหามเทวี หลานกูนีฤๅ ลองอิทฤททิไกร เรยีกสองกูมาร ชวนใหจ่วร่จัน ส่ลํงคํงคา

.๐. ญาณี .๐.


๑๖๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ด้าวบํดฟังเจาว่า ใหไปเฉยีงทิดไต ๐ ฝูทรึงเลยีงนางไว จ่ใดนางไฉยา ๐ แตว่าใมเปนไร ใดมากขืนกวานัน ๐ พระฟังคําฤๅษรี รับภอนไสเกสา ๐ เหาะขืนพระเวหา ไปเฉยีงทิดห่วร่ดี ๐ครันเถึงฟังนัที ลํดเลยีวเทยีวเลาะหา ๐ แหงไดก็ไมภํบ โอโอะนางเทวี ๐ พี่ตามมาหาเจา ใหพีแสนโสกหา ๐ จึงว่าแกปักษา ทีริมฝังนัทที ๐ มาเราจ่เทยีวไป ตัดไปในดํงดาน ๐ หํงทองจึงทุนไป จ่ยูหาไฉยา ๐ เราจ่เคาในปา หมายทิดใหตรํงไป ๐ สีเมอีงใดฟังหํง เสจ่เคาในพฤกษา ๐ ขามหวยแลเห้วผา เสาะสางหานางไป ๐ เนอิ่เบอิ่แลเสอิ่สาง ฉ่นีแลผีปา ๐ มาใกลอาสํมบํด จาไฟพระมุณี

ยํกกมือขวาขืนชีไป จํงจําไวยาคลาดคลา มีฤททีไกรเปนนักน้า ตําราว่าจ่รํบกัน จ่ใดลาพอันกวดขึน เรงภายผันภานางมา วันชูลีลํงสามลา เสจ่ออกมาทรํงภาชี หํงทองภาท้าวบํท่ษรี ตามฤๅษรีเท่อบอกมา ทีผูมีคามคํงคา แน้วคํคาหาเทวี รอยกระลับไมภํบศรี แกลงซัดพีไวเอกา พระขวันเขาของเรยีมอา ฃ่วเหนน้านางเทวี เรามาหานางมาร่ษรี เถึงสามทีใมภํบภาน หาไนไพรอันพิสาร ตามอาจารบอกทิดมา ว่านีไสรชอบนักน้า ทีคํงคาจ่ชาไป เทยีวคํนหานางอ่อร่ไท ตามท้าวไทเท่อบอกมา ขืนหมาทรํงก็ไคลคลา หาไฉยาทุกแหงไป เทยีวในผาพ่นาไล ชํมมิงไมส่กุณา ทังแรดชางกลางหิม่วา เทยีวเลาะมาเจดราตรี ผูทรํงพรํดเรอิ่งริทที ทีเทวียูอาไส


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๖๕

๐ วันนันพระเดีนปา เคายุดภักอาไส ๐ หํงทองเทยีวทองไป มาก่ว้ายพระราชา ๐ จึงสังหมาภาชี กินญาสํารานใจ ๐ สังแล้วจึงพระบาท หํงทองจับพฤกสา ๐ มาตํนเทยีวเคาไป นําญามีอุดํม ๐ วันนันพระสาคอน ออกไปเทยีวไพรสาง ๐ ทรํงษรพระขันไช เทยีวไปในหิม่วา ๐ เสอีสีแลมีเหมน แรดชางกวางเดิ่นนี ๐ ชมพลางๆ เดีนมา เผอีกภูคูสุกไส ๐ แตเรามาเทยีวเหลน หมานีมิริทที ๐ แล้วว่าเรายาทํา คอนเดีนแอบแฝงไร ๐ แลเหนประดับเครอิ่ง แตลวนแก้วมนี ๐ สองอํงคทรํงปันญา ฉ่รอยหมาทรํงนัน ๐ จับเอาตัวมันไว ม่นุชฤๅยักสา ๐ เจาไปรับคางโนน เกลอีกมันจ่นีเรา ๐ ฝายเจานองฤๅสาย ษาคอนผูเชฏา

ตองสูริยารอนพระไท ทีรํมไทรอันสาขา หาพํลไมอันโอชา ใหพระเส่วยสํารานใจ จํงจ่วร่ลีเรเทยีวไป สักครูไญจังกลับมา เสจ่ไสยาดพีรํมยา เฝาราชาใหบันทํม แทบจ่ไคลเถึงอาสํม หมาชีนชํมกินสําราน ลามารดอนกับอาจาน สองกูมารประพาดมา ยืนจักใหอ่นุชา ชํมพฤกษาส่กุณี กระตายเตนเหนตัวภี ลิงคางมีฉ่นีไพร แลเหนหมาทาชาไน ข้าวกระไรสําลี ใมเคยเหนในพํงพี ลองสอนสีเหลยเปนไร จ่เปนกําติดตัวไป บังเคาไปใกลภาษี งามรุงเรอืงรัศ่มี เบาะอานมียูครํบครัน ผิดสัดปาหิม่วัน ของกุมพันมันปลอยมา ใหเจาของมันตามมา ปลอยหมามาเคาเขตเรา พีจ่โผนเคาจับเอา ชวนกันเคาจับตัวรา คอนแวคชายดอมเคามา วิงเคามาจับภาชี


๑๖๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ เมอิ่นันอาชาไนย เทวันฤๅจันตรี ๐ เคามาจับภาชี ทังสองงามโสภา ๐ เรามาเทยีวกินญา เปนลูกเตาฃองไคร ๐ พีนองทังสองสี ภาชีอ่หังกา ๐ ใครใหมึงถามกู ดีแล้วยานีไป ๐ หมาตํนท่ยานนี ชวยใดหมาอาชา ๐หมาตันโกรฏโกรทา นอยจอยเทานีไสร ๐ ว่าพลางโผนเคาไป สําทับไวใหกลัว ๐ พีนองทังสองสี โถมเคาเอาษรรัน ๐ หมาตํนจ่เหาะนี ยืชักเคาพลักไส ๐ สองเจาเคาฉุดไว มาใกลไทรสาขา ๐ หํงทองเหนอาชา บังเคายุดเกลาผม ๐ หํงทองปลุกท้าวไท มีคํนใลจับหมา ๐ เมอีนันพระษรีเมอีง ตืนขืนแล้วแลไป ๐ ใครหน่อบังอาจนัก ม่นุดครุดนาคา ๐ นอยจอยทังสองอํงค อายุกาเจดปี

เลอีบแลไปเหนสองสี ทังสองนีงามโสภา หมาวิงหนีแล้วรองมา วิงเคามาจ่ทําไม ทังสองรายูทีไหน เคามาไลเราไยนา ฟังภาชีโกรฏโกรทา บังอาจว่าเปนลูกไคร ใอสูรูจักบันไล พลางเคราไลจับอาชา เจาสองสีไลติดมา ชวยกันครามิใหใป อ่หังกามาจับใคร จ่บันไลไมรูตัว ครันเคาใกลแล้วยิมหัว ตัวจํงถอยออกไปพลัน เหนภาชีทําคํมสัน ภาชีนันแทบบันไล เจาสองสีมีใหไป อือึงไปทังพฤกษา อาชาไนดีดึงมา ทีราชาเทอบันทํม สองเจาครามาร่งํม บังลุกลํมภากันมา พระผูว่ในลุกขืนรา ฉุดกันมากึกกองไพร ผูรุงเรอีงริททีไกร เรงลากใจพระราชา จ่ว่ายักฤๅเทวา บังอาจมาจับภาชี รูปทรํงงามมีสี กุมารนีมีริททา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๖๗

๐ ลูกทาวดาวแดนใด ฤนึงบุดเทวา ๐ จ่ถามใหแจงการ หมาเรามีริทที ๐ คิดแล้วลุกออกไป พระขันอันรจนา ๐ รองไปดวยวาจา ใลจับหมาเราใย ๐ เมือนันสองน่วไท รูบโฉมงามโสภา ๐ มนุดฤๅยักษา หมานีมีเจาของ ๐ หมานียูกลางป่า เคาเขดเราจับไว ๐ ตัวทารมาแต่ไหนมา ว่าเปนเจาของหมา ๐ ษรีเมืองจึงตอบมา หมาตํนเราปลอยไป ๐ มิ่ใดคิดเกรงใจ กลับว่าเรามุษา ๐ พีนองทังสองสี ตัวว่าน้าแค้นใจ ๐ เราคิดว่าผูใหญ น้าชั่งอหังกา ๐เหนเราเปนเดกกวา จ่รํบกันฤาไร ๐ สีเมอีงจึงตอบไป จ่ต่วร่วริททาที ๐ ตัวตนกระจอยรอย จ่สูดวยเพลีงการ ๐ ตัวตํนเทาเรอีดโรย ว่ากูเทาผูผา

งามกระไรจ่บาตา แปลงเพดมาจับภาชี สองกูมารมีสักสี เหดไรนีรเทดมา ทรํงสินไชเรอีงฤทธา ยืนยูน้าตํนพระไทร กูมารามาแตไน ใครใชใหติดตามมา เลงแลไปเหนราชา ตําใต้ฟ้าไม่มีสอง ฤาเทวาเจาไทรทอง คิดแล้วรองตอบคําไป มาดูว่าหมาของใคร หมาจังไรวิงนีมา ยูไตรํมพฤกษา พูดมุสาใมชอบใจ เรามุดสาว่าเป็นไฉ่น ตัวจับไลรุกเคามา เราผูใหญเทยีมบิดา อ่หังกาไมเกรงใจ ตอบค่ดีพระพระผูว่ไน อวดอางไปเทยีมบิดา จ่ว่าไปจ่อายน้า แคนจ่ว่าไมเกรงใจย รุกเคามาทีสินใช จ่พลานใหมวยชีวา ทานผู้ใหญ่กลัวนักน้า นีนาใมเปนการ เถาหิงหอยอันสาทาน สองกูมารยาเจรจา คิดในใจอ่หังกา ดีจํงมาชิงไชยกัน


๑๖๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ใดฟังพระผูบาน ชวนเดกใหรํบกัน ๐ ทารว่าตัวของท่าร ผูเขา(ไม่ปรากฏ) เถาใด ๐ ตัวเราครืเหลกเพช จ่เจาะเปนภักสา ๐ อ่นึงฟักนําเตา พริกเหลกจ่จํงพลาน ๐ ภาชินีเรามา จ่จับไปเลยีงไว ๐ ครันตามมาเถึงนี ทําเปนจ่หักหาน ๐ ชวยชักเอาพระขัน หมานีมีเจานาย ๐ บัดนันอาชาใน เผนโผนโจนออกมา ๐ วิงมาหาทาวไท แตรํบกับยักมาร ๐ ภิงเหนสองน่วไท แตเอาคันษรตี ๐ ภาชีมีความกลัว ยืนแฝงยืนแฝงตํนพระไทร .๐ฉบัง.๐

สองกูมารตอบไปพลัน เราจ่พรันแล้วเมีอไรย เปรยีบปูนบ้านดวยเขาใญ ทําไมไครใดฤานา ใมขามเข็ดแกสีลา ถอนสีลาใมทํนทาน ใญเสยีเปลาไมเคาการ ใหเดยีระทานยับเยินไป เราใมฆาใหบันไล ใหนองขีเลนสําราน ว่าหมานีเปนของทาร คํนน้าดานไมอับอาย จ่ฟันต่วหมาใหตาย ฆาใหตาใออาชา เรงตํกใจเปนนักน้า กลัวฤทาสองกูมาร อาขาในไมต่อตาน กูพลานเสยีเตมบืวร่นี ฤททีไกรใดแสนท่วี ทูกภาชีแทบบันใลย ผองนังหัวใมกลับไป ดูท้าวไทจ่รบกัน

๐ เมีอนันษรีเมืองทรํงทัน ไลฟันพีขาดอาชา ๐ พระองคจึงรองถามมา ตัวกลามาชิงไชกัน ๐ ว่าพลางทางทรํงพระขัน จ่ใหเจานันกลับไป ๐ ฝ่ายพระสาคอนน่วไท จึงแผลงสินไชเคามา ๐จ่ใหปกเอาราชา เคามาบูชาท้าวไท

เหนกูมารนัน ทําไมกับหมา ออกมาปองกัน กริวดกรดครืไฟ กลับเปนมาลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๖๙

๐ สีเมืองจับสอนแผลงไป จ่ใหไปตองสองรา ๐ กลายเปนของกินนาๆ พ่วาร่กํารําไยย ๐ มวงปรางม่ทรางม่ไฟ เกบใดเอาเปนพักสา ๐ เสวยพลางพลางแผลงษร เขามาบูชาผูมี ๐ สีเมอีงจึงแผลงษรสี สับปีกทนํมเนย ๐ มาใหสองอํงคเส่วย เส่วยเปนผา(ไม่ปรากฏ)ไจย ๐ กูมารบันดารสอนไป เคามาคํารํบบูชา ๐ ษรีเมอีงผูเรอีงริททา เปนโภชณาทุกพรร ๐ ทุกสิงปิงจีมีมัน อัศ่จันก็เปนฉันใด ๐ ษรีเมอีงเคอีงแคนพระไท เหดใดดังนีพีอา ๐ เมีอนันหํงทองปักษา เปนน้าถวินกินไจย ๐ จ่มีเหดผํนกํลใด เหมีอนไทบ่รํมราชา ๐ ดูครบจํบบาทา เมอีนพระราชาพํนไจย ๐ ฤาบุดของนางอ่อร่ไท ครันนางก็ใคล้ายเคอีน ๐ จ่ดูที่ไหนเหมอีน ทอดพระเนดดูใหเตมไจย ๐ ฟังปักษาทูลไข ท้าวคิดสํงใสนักน้า

ดินฟ้าวันไวย กลวยออยนอยนา ทังสองน่วไท มาเปนเครอิงบุบผา เปนโพชนาสาลี ทังสองส่เบย เปนทูบเทยีนไข ชักษรแผลงมา ษรไมกินกัน จึงถามหํงไป กราบทูนราชา กุมารผุใญ ดวงภัลัคนา เมีอพลัดกันไป ข่วพระองคจํงเบอีน เหนชอบพระไท


๑๗๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ จึงมีสันทรวาจา เจามาแตแหงหํนใด ๐ บิดามารดาเจาใสร บอกใหเราแจงเทีดรา ๐ รํบกันอัศจันนักน้า กลับเปนเคาตอกเทยีนไชย ๐ เราคิดผ่วํงสงใส ยูแหงหํนใดพ่วอา ๐ กูมารฟังสานตอบมา ว่ามาเปนน้านอยไจย ๐ บิดามารดาทารไสร บอกใหเรากอนเทีดรา ๐ ภูบาลตอบกูมารว่า ตัวข้าจ่บอกเจาไห ๐ แล้วเจาสําแดงแจงไข จ่ใดแจงเหตคดี ๐ เรามาแตราช่ทานี ชือว่าสูวัณ่เกสร ๐ เราชือสีเมอีงผูทอน ทืกลางสาคอนนัดที ๐ เรามาเทยีวหามารศรี เทวีไปยูแหงใด ๐เราบอกใหเจาแจงใจย ใหเรารูเรอีงบางรา ๐ จึงพระสาคอนวํงสา เจาคิดจินดาในใจ ๐ มารดาทรํงโสกาไล พลัดกันทีในสาคอน ๐ ออกชือวาสูวรรณ่เกสร อันนามกอนตองกัน ๐ แล้วแผลงสินไชไปนัน อัศจันแกใจนักน้า

ถามกูมารา ทรํงนามชือใด ษรเจาแผลงมา ถินถานเจาไสร ถามเถิงมารดา ยูดาวแดนใด เจาถามเรามา ยาอําพรางไวย กับเจาเทวี พรัดกับบังออน ใดเถิงเจดปี เจจํงแถลงไข ใดฟังราชา บอกว่าท้าวไท เมอีนชือมารดอน ษรใมกินกัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๗๑

๐ ครันกูจ่พรางราชา จําว่าแตตามจึงไป ๐ คิดแล้วจึงตอบท้าวไท จ่ภาไปหาพระตา ๐ เราไมรูค่ดีเดยีงสา ยาชามาไปดวยกัน ๐ จึงพระษรีเมอีงทรํงทัน บัดนันก็เรยีกปักษา ๐ เรยีกทังมิงหมาอาชา จ่เคาไปหาสองบูดรี ๐ บัดเดยีวมิงหมาภาชี ดีจ็ภากันมา ๐ ครันเถิงสองกูมารา ราชาก็พิสแลดู ๐ ใคฬาจ่หาใครคู ยิงดูยิงติดตองไจย ๐ ดุจทรํงอํงคท้าวหัศไหน มีใคจ่คาดวางตา ๐ ดูทรงอํงคพระอ่นุชา สองราไมรวมครันกัน ๐ ชํมพลางเคารับขวัน กระเสมสันดวยใจภักดี ๐ จ่เคาอุมเอาพระษรี ลุงนีมาทําวุนวาย ๐ สาคอนบ่ทจอนผันผาย เยอีงกรายมาตามมรรคา ๐ พระอํงทรํงหมาอาชา เดีนมาตามสองกูมาร ๐ ครัยถึงกุดดีทีส่ถาน เคาไปกราบกรานวันทา ๐ สีเมืองกับพ่ญาปักษา ยังใมเคามากุฎดี

จ่ตองมุดสา จ่ไครเคาไจย ไปถามพูดจา ชืนชมหืฤหรร จํงเรงออกมา หํงทองปักษรี เหนโฉมโสภา ประเสีดเลีดยู พิศเพ่งเลงไป ไมเหมือนพียา ปลอบโยนทรํงทัน สองอํงคเดีนหนี ภาพระนองชาย หํงทองปักษา สํมบํทอาจาน ยูยังสาลา


๑๗๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ เมอีนันตาไฟมุณี มีโสม่นัดจินดา ๐ สวมกอดเอาพระนัดดา ไปหยูดวยอันใด ๐ กูมารกราบกรานทูนไป ใดกับมิงหมาภาชี ๐ หลานจักไลจับหมาขี หลานิ่นิ่จึงติดตามไป ๐ ยังมีม่นุดยุศ่ไกร ขาไสรก่ต่วฤททา ๐แผลงษรไม่ตองกายา เปนโพชนาทุกอัน ๐ ชิงไชษรใมกินกัน เพอีนนันกาอาใส ๐ จ่เคามาหาท้าวไท จํงใดแจงแหงเหดค่ดี ๐ บัทนันตาไฟมุณี ฤาษรีเท่วแจงในไจย ๐ ดีรายผัวนางอ่อรไท พลัดกันทีในคํงคา ๐ ฤาษรีดีใจนักน้า ยาชาจํงเรงออกไป ๐ รับเท่อเคามาสาใล ใหแจงในข่วค่ดี ๐ กูมารกํมกรานมุนี ออกมายังพ่ราชา ๐ ครันเถึงจึงบอกราชา ทานนาเคาไปกุดี ๐ ษรีกับพ่ญาปักษรี เคาอันชูลีวันทา ๐ นอมเสยินลํงใดสามลา ดาไฟผูเรืองริทที

ครันเหนสองสี พ่วไปเทยิ่วป่า หลานไปเทยีวไพร มันร่เหดเตรดหนี ออกมาชิงไช คางข้าแผลงมา หลานจึงผายผัน หลานมาแจงใข ใดฟังค่ดี มิ่ใชอืนไกล ว่าแกนัดดา จ่ใคถามไถ ลาพระฤาษรี พระตาใหหา มายังกุดดี สํมเดจม่หา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๗๓

๐ ถามไทโรกไภยังมี ยังมีมาเขยีนบีทา ๐ ยังคอยมีความสุกข้า ขานอยมากราบทูนไทย ๐ บัดนันม่หาตาไฟ เราไสรไม่มีโรคา ๐ ทุกโสกดรกไภบิทา มีใดเค้ามาแพ้วพาน ๐ รักสาจัตุพรํมวิ่หาร ชานนานมาล้ายปี ๐ ตัวทานกับพ่ญาปักษรี พูรียูแหงหนใดย ๐ ทานมาทังวํนสิงใด เหดใดจึงสัดจอนมา ๐ ฤาเสียบานเมอีงภารา ยุกยาวีชาสิงใด ๐ จํงบอกใหเราแจงใจย เหดไรมารับหลานกู ๐ ษรีเมอีงใคฟังพิดหู ว่ากูรํบกับกูมาร ๐ ประนํมกํมเกลาทูนสรร ยูโขม่ราชภารา ๐ โขม่พัดเปนทารบิดา ชืว่าสุวัณ่เกสร ๐ ทิดาเจากรุงพาณ่คอน หํงรอนมาแจงกิจา ๐ ฑลาฤาษรีไคลคลา บิดาใหชังรุบกัน ๐ รูบข้ากับรูปนางแจมจรร ทาวนันจึงวีวา ๐ ยูดวยนางสูวรรกัสญา ใชใหอ่นุชาสองสี

สัดรายราวี ในบาทมุลีกา แจงความตามใน สัดรายในป่า ชําเพงในชาน มาแต่ในนี ในดํงพงไพร ฤามาแสวงหา ทานเปนผูใหญ คาวบํท(ไม่ปรากฏ) เดีมเมอีงเดฉาน ครอบครองนัค่รา เมอีงยํคโสธรอน ไปเถิงภารา ชังขืนไดกัน สํมเดจบิดา


๑๗๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ มารับกลับไปบูรี ยักษรีมันทําวุนวาย ๐ มืดมนพวกพํลทังล้าย วุนว้ายใมเปนสํมประดี ๐ มันภาข้ากับเทวี ข้าหนีมันกลับมาคืนมา ๐ หลงทางในกลางหิม่วา จึงภากันคามนัที ๐ พลัดกับไฉยามาร่สี ขานีก็ลอยสัดไป ๐ ขืนใดเทยีวหาอ่อร่ไท กลับไปยูดวยมุนี ๐ เทอชุบมิงหมาภาชี ใหขีไปหาไฉยา ๐ เทยีวคํนแน้วชํลคํงคา เทยีวหามาเถึงเจดปี ๐ มาภํบพีนองสองสี ขานีก็ต่วชิงไชย ๐ ษรเปนเข้าตอกดอกไม่ สองไทจึงภาข้ามามา ๐ กราบบาทพระราชบิดา เปนขายูโตทูลี ๐ เมีอนันตาไพ่ฤาศี เทอมีม่โนนํกใน ๐ เทอนีผัวนางอ่อไท ว่าไรก็ตองคํากัน ๐ ว่าแกกูมารหลานขวัน ท้าวนันเท่อเปนบิดา ๐ เมอีนันสาคอนราชา เคามากราบกรานดุศดี ๐ ษรีเมอีงอุมเอาพระษรี ใมมีส่ติวิญา

ครันเถิงคีรี กระจัดพรัดพราย มาในพํงพี มาภํบคํงคา ในกลางนัดที ปิมมวยบันใจ แกล้วกลาราวี ใมภบไฉยา ชวนรํบต่วตี เรงอัศ่จรรไจย จํงโปรดเกศา ใดฟังค่ดี แมนแทแกไจย เจาจํงอพิ่วัน รูวาบิดา ทรํงโสกโสภี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๗๕

๐ หงทองฟูมฟายนําตา ก็มาพิ่ลาพรําไร ๐ ญาณี ๐

มิงหมาอาชา

๐ ฝายว่าสุวัน ฮ่อร่แจมจันมาแต่ไพร เคาในสาลาไล เลงแลไปในกําตา ๐ใดยินเสยีงรําไรย อือึงไปในสาลา ตําเนีนนางเดีนมา ถึงสาลาเหนท้าวไทย ๐ จําใดว่าทรํงทัน นางผายผันวิงเคาไป กราบบาทพระผูว่ใน นางรําใหทรํงโสกา ๐ ษรีเมอีงผูเรอีงสัก เบอีนพระภักเหนไฉยา ผิศ่วงปลํงวิญา พระราชาเพยีงขาดใจ ๐ สวมกอดเอานองแก้ว ดังตายแลวเกีดมาใม เทยีวหานอยเมีอไร ปิมมีใคเหนไฉยา ๐ ซบภักลํงกับเกด นําพระเนดดังทารา หํงทองแลอาชา ทรํงโสกาใหรําไร ๐ ทอดอํงลํงกับที กลางกุดดีมุนีใน ตางอํงตางรําใร ส่ลํบไปทังสองอํง ๐ ทํงทองแลอาชา ดังชีวาปลํดปลํง ชีวิดไมคืนคง ทอดตัวลํงนิงแนไป ๐ บัดนันพระสาคอน เหนมารดอนมวยบันไล ตระนักเรงตํกใจ กอดแมไวทรํงโสกา ๐ กลึงเกลอีกเสอีกพระอํง ผอยมอยปลํงชีวา ทังสามกระสัดตรา เพยีงชีวาพีลาไล ๐ ฤาษรีผูบิดา เหนสามราพิลาไล กระนํกเท่อตํกไจย นําตาไลทรํงโสกา ๐ เอานําเคาโทรมสํง รดพระองค์ทัวกายา ทังสามกระสัตรา ฟืนคืนมาคอยคลายใจ ๐ ลุกขืนกราบวันทา พระบิดาผูตาไฟ แล้วทรํงโสกาไล ตรัดปราไสความทุกกัน ๐ นางสูวรรณเกสร เลาทุกรอนแกทรํงทัน เมอีพลัดกันวันนัน เมยีโสกสันว้ายเคามา ๐ ขืนใดถึงฝังแล้ว หาพระแก้วริมคํงคา ใมเหนพระราชา รอยบาทาใมเหนมี


๑๗๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ เมยีเทยีวยูริมฝัง เมยีจ่มวยชีวีกลึง ๐ ยังมีพรามฉ่รา จึงภาข้าผันผาย ๐ เมยีคิดเถึงพระทอง พรามเถาจึงบอกว่า ๐ เมยีจึงเซซังไป กราบกรานวันชูลี ๐ แตเมยีรํารองให เจาประคุณของเมยีอา ๐ ษรีเมืองผูเรอีงฬา แตพี่นีโสกสัน ๐ ใมภํบเจาเทวี เพอีนยากของเรยีมอา ๐ บัดนันจึงหมาตํน จํบบาทนางอ่อรไท ๐ อิกทังพ่ญาหํง ปีกปํกของปักษา ๐ เอนดูท้าวภูผัว ใมใดมาพํบสี ๐ นางฟังหํงทองว่า โฉมยงทรํงคันไล ๐ พ่วเจาของเมยีเอย เปนกําใดทํามา ๐ พระฟังนางเทวี วิบากมาจากกัน ๐ ทีนียาใดเสวย กําเวราเรา ๐ มาเราจักเคาไป เอนดูสองแจมจัน ๐ เทยีวหาไมพํบเจา ทูนแกสองผูมี

สุดกําลังไมสํมประดี ยูทีกลางหาดทราย มาบอกว่าทาวใมตาย จากหาดทรายดํนเดีนมา นองรํารองเดีนตามมา ใกลสาลาพระมุนิ เถึงสาไลของพระชี พระฤาษรีทรํงเมตตา ทีสาใลเพยีงม่วร่ณา เมยีคิดว่าไมภํบกัน มีบันชาไปดวยพลัน เทยีวดํนดันในหิมวา ดังนึงพี่จ่ม่วร่ณา ดังชีวาจักบันไลย คอยจ่วร่ดํนคุกเคาไป ม่โนไมรําโสภา คอยบินลํงใกลกัล่ยา รําโสภารักเทวี คํนหาทัวทังพํงพี พระผูมีเพยีงบันไล กับอาชาทูนอ่อรไท กอดบาทไวรําโสกา นองใมเคยใคเวทนา จึงพลัดพรากใดจากกัน ทรํงดสกีแล้วรับขวัน กําหํนลังเราทํามา ทุกในภาราดวยสิน ทํามาแตหํนลัง พระเวยีงไชไอส่วรร เจาโสกสันถึงเทวี ทีกลับเคายังกรุงษรี ทาวโสกีดวยพียา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |๑๗๗

๐ ครันว่าวาย(ไม่ปรากฏ) เลา จึงสองทาวกับพระอา คิดอานกานวีวา แตงบุศบาผูโฉมสี ๐ เสกขืนกับพียา ครองภาราพระบูรี ยุดวยนางมาร่ษรี ใดประมาณเดอีนสิบวัน ๐ พี่คิดท่วินหา ในอุรายิงป่วนปั่น จึงลาบิดาพลัน เทยีวดํนดันในพงพี ๐ ชมํมเดดพระลูกยา เรีองฤททาใชภ่วดี หมาตํนเรอีงฤทที เอาสอนตีเพยีงขันโล ๐ อันว่าอาชาน รํบยักมารเรอีงฤททีไกร ฆามารมวยบันไล แผฤททิไกรพระลุกยา ๐ แล้วอุมพระลูกรัก ขืนใสตักทูนเกศา จ่ใดภานภารา สืบวํงสาแทนบิดดอน ๐ แล้วตตรัดถามอ่อร่ไท นันลุกใครนังบังออน ภักตราไสรแสนงอน เทยีวเรรอนเลนไปมา ๐ นางทูนท้าวผัวขวัน กุมารนันเปนสัดป่า นามกอนชือสิงหรา พระไอกย่กาใหหลานขวัน ๐ เปนบุทนางราชสี พระมุนีเทยีวไพรสัน ข่วมาชุบคืนพลัน เหลนดวยกันกับนัดดา ๐ พระฟังนางเทวี ออุมิราช่สีชํมไปมา เคาไปในภารา ดวยบิดาฤากุมาร ๐ สิงห่ราจึงทูนเลา ข้าพุทิ่เจาไมทัดทาร จักภาไปส่ถานหา เมยีใหฤๅไรนา ๐ พระอํงทรํงสวนสี ลูกคํนนีดีนักนา แมนไปในภารา จ่หาใหเปนมากมาย ๐ สิงห่ราคิดดีใจ จ่หาใหแล้วตีตาย จึงทูนพระพีชาย เราผันผายจากเจาตา ๐ (ไม่ปรากฏ) (ไม่ปรากฏ) เคาสุพระภารา ทานจักภาเราจ่วรลี ๆ ๐ ทานว่าจ่ภาไป แล้วจ่ใหเมยีมากมี ทังสองนองกับพี มาจ่วรลีไปภารา ๐ เทพสูวัณสาคอน ฟังกล้าวกลอนสิงห่รา พระอํงทรํงสวนรา นิใอบาฟาว่าโรย


๑๗๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ พิลาบ ๐

๐ วิงไปแตลวนๆ จ่ตีเลนเปนยางม้า ๐ สิงห่จึงทูนพิ่ ใหผํนสาลาใล ๐ พระอํงทรํงสวนสี สํารวนกันไปมา

ใมสมควนกลัวไอย่กา มึงจ่ว่าประการใด แมรตาตีวิ่งนีไป จ่ตีใครใดเลานา ใอคนนี่ชางเจร่จา จํนสูริยาคําแสงใส

๐ ครันคําสูริยา พิ่รมชํมนองหองทองพิศไม ๐ พิ่รํมชํมนอง สํารานพระไทใครจักปูนบ้าน ๐ เราจ่เคาไป ตัวพีกับเจาเราครองภารา ๐ นางจึงทูนเลา จักวาพบกันหุนหันลินลา ๐ เมีอคลอดลูกญา มิ่ใหอะนาทอน ๐ ครันจําเริ่นมา ไตรเพดสิงไรเจาใดทุกอัน ๐ครันว่าพํบกัน ท้าวจักนอยไจยใคลํนคํล่นา ๐ พระฟังโฉมงาม เรายุสาไลยาเภ่อไคลคลา ๐ สองกระสัดเจร่จา บันทํมสํมสูรวมรุยินดี ๐ ครันรุงสุริยา กราบบาทฤาษรีผูมีฤททิไกร ๐ ชวยเลยีงนัดดา หาใมสองราชีวาเปนผี ๐ ด้าวบทว่าไป หาใมเทวีถึงม่วร่ณา ๐ ข้าเดีนรองให มาชวยไฉยาใมร่มาเถึงการ

สองกระสัดราเคาสาลาไล จากอํกพีไปเจดปีประมาร พิศวาดในหองร่รืนชืนบาน สองรวมสํงสานสํารานวิญา สูพระเวยีงไชสํมเดจ่บิดา จักเปน(ไม่ปรากฏ)ขาพานพาไอส่วัน จักดวนลาท้าวเกรงใจไอย่กา พระคุนเจาตาเทากับบิดอน ปรํนริบัดรักสาอํดตาลับนอน ใลเปลเวนอันรองใหรับขวัน สังสอนวิชาจํบครํบครัน ตาเฝ้าสอนสั่งรุงเรืองฤทธา จักควนหวนหันเคาสูภาราใค เอนดูพระตาจักนอยพระไท เจาว่าชอบความตามราช่วิญา สักสามเดีอนตราจึงคอยจวร่ลี แตคําสูริยาจํนส่วางแสงสี ชํมโฉมมาร่ศีจํนสุรีแสงใส สีเมอีงราชาเสจ่สุลาไล พระคุนนิไสรหลานไสเกสี ทังสองกัล่ยาจึงรอดชีวี ใครอดชีวีดวยพระไอย่กา เปนบุญอ่อร่ไทมาภํบอาตมา เมอี่คลอดลูกยาเพยีงจ่สินปราน แล้วเชิ่นเทพ่ไทมาทังจักก่วาน บุญพระกูมารยิงยวดนักน้า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๗๙

๐ บัดเดียวนิงไสร กระสัดอํงคใดป่วใดนัดา ๐ เพยีงตํนไมเลา ใญสินทังดังม้าย ๐ เจาทรงฤททา ตํนรังใญนักลํงบัทดํน ๐ พระจึงทูนเลา ข้าบาทนอนนูไมรูกิจจา ๐ เจาไปเทยีวเลน ใลจับหมาส่นันพํงไพร ๐ แล้วรองถาถาย หวดดวยคันสอนออนทังกายา ๐ หมาตนนีไสร รํบกับยักมานสังหารเปนผี ๐ด้าวบัดสวนวัน มาภํบกันแล้วจักไปภารา ๐ พระจึงทูนเลา จ่ลาบาท่บํงคํงสูเวยีงไช

เจาเรีองฤททิไกรยิงยวดโลกา เจาทรํงฤททาดังอํงคพระณ่ราย ดุจ่ผูเข้า(ไม่ปรากฏ) ชั่วฟ้าชั่วดิน ใครใมทําร้ายใคเลยสักคํน แผลงสอนในข้าเปนโกลาหํน ริททาสากํนใครจ่ประจํนนัดา หลานชองพระเจาทรํงอิดฤททา แตปลอยม้ามากินย้าพํงไพร ชังสอดเนคเหนมึงหมาอาชาใน ขาบาทตํกใจวิงวางออกมา ว่ากล้าวมากมายโลตีอาชา หมากลัวริททานักแนนแสนท่วี กล้าหานชานไชมีใช่ภ่วดี หมากลัวฤททีพระกูมารา หลานกูขะยันมีอิทฤททา เอนดูนัดดาจักมาจากไป จ่ยูกราบทาวสักสามเดอีนปลาย บิตุเรศชล่ไนหอยคอยทา

๐ สุรางคนาง ๐ เทยีวเกบผํล่ไม สวนนางเทวี เยนลํงแล้วเลา เกบผลผลา เทยีวทองจ่วร่ดํน (ไม่ปรากฏ) มีความสุก ทุกเมือชีวัน เกบผํลลูกไม ทีในดํงดาน

๐ ครันเชาเคาไพร กับพระลูกยา ยูทีสาลา พระเจาไคลคลา ถ่ว้ายพระมุนี ๐ สวนว่าหมาตํน กับพ่ญาปักสี ยูในผ่นาลี ป่วทุกภาน ๐ แตทําฉันนัน เทยีวในดํงดาน มาถ่ว้ายอาจาร เปนจําเนยีนมา


๑๘๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

กล้าวถึงกรุงไกร สํมเดจเทวี เปนอัค่ฉัยา ทวนทํศ่มาดพลัน เจาเจบอุทอน เมีอยามราตรี รําจวนครวนคราง เจาเอยมานี เจบครันนักน้า ใดยินเสาว่นี เจาวิงวางมา เถึงจึงนังใกล ทูนทาวผัวขวัน เสาว่นีเรงไป ว่าพี่สีประภา เถึงวังผูว่ไน ทูนว่าไฉยา เชีนส่เดจ่กจอน พระโฉมงาม ขืนบํนแทนทอง ยาทรํงโสกา บัดนีจํงพลัน กราบทุนพระบาท (ไม่ปรากฏ)

๐ เรอีงนียํกไว ทีในภารา นางสีประภา ของพระผูมี ๐ โฉมยงทรํงครัน จักประสุดโฉมษรี บังออนเทวี ยวดยิงนักน้า ๐ คิดเถิงพี่นาง รองเรยีกค่นิถา ชวยพีดวยรา มาเปนไฉ่น ๐ สีสุดาเทวี พี่นางเรยีกหา มีชาบัดใจ เปนฉันใดนา ๐ ฤๅเจาเจบครัน นิงยุใยนา ปลุกไทพีญา มาเจบอุทอน ๐ สาวใชแลนไป กราบเกลาถ่ว้ายกอน มาเจบอุทอน บัทนีเร้วรา ๐ สูริยาฟังความ วิงลํงมา ประคองนองยา แมจงแขงใจ ๐แล้วสังกํานัน ทูนท้าวชํล่ใน บิตุราชผูไกร พระองคจ่ขุนโหรา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๘๑

วิงมาลาลัง ว่าอํงคสีส่ไภ บัทนีไฉยา ทูนทาวมารดา ทูนท้าวภานเภลา เชิ่นเสจ่ผายผัน ถอยคําวาจา สองกระสัดเยีองยาง บัทใจใมชา เคาสูปรางโช ขืนบํนแทนที แมยาโสกสัน จึงมีวาจา หม่อนวดหม่อยา เอามาไวใน ยูไหนไปเอา ไมร่วังเจาพา นี่มิ่ใช่กาน เหมาประดัง คอยประโคมนัด ภํพไตรเรงหา เรงหามาไว หลานนอยคลอดมา นางนํมทังนัน

๐ สาวใชรับสัง ทูนพระมารดา เสจในปรางปรา มาเจบพระครัน ๐ พระโอรํดสา ว่าเสจเร้วพลัน สองท้าวจ่วร่จัน บัทนีเทีดรา ๐ สองหาวใดฟัง จังสาวสีทูนมา จากปรางรํจนา มาเถึงปรางส่วัน ๐ สองกระสัดคลาไคล โอรํษดวยพลัน เทวีแจมจัน อํดกลันนะลูกอา ๐ ทานท้าววํงสา สังเถาแกไป หามาจํงไวย นามุกสุรีการ ๐ หม่อตําแยเลา ตัวมายานาน เทยีวหาเปนนาน ของมึงฤาไฉ่น ๐ หองกลองแตรสัง ยูน้าโรงโช ดาเจาปินเกลา มาใวใดทุกอัน ๐ กอนเสาเตาไฟ บัทนีจํงพลัน ใดขวาใหทัน เรงใหสํงมา


๑๘๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

โคลนจาทังนัน ประสุดเมีอไร ใหพระหลาน

๐ พี่เลยิ่งสาวสัน เรงจัดเรงหา จ่ใดเคามา เส่วยนํมพลัน

๐ ฉบัง ๐ ๐ ยามไชภ่วใกลไก่ขัน เจบพันจ่กลันนาภี ๐กอดบาทของท้าวสามี เมยีนีเพยีงจ่มวยม่วร่นา ๐ บัดนันทานท้าวมารดา ว่าแมอํดสาแขงไจย ๐ ยามดีมีภ่วเปนไร จักคลอดใหใดแลนา ๐ จึงโฉมนวนนางสุดา พียาอํดสาแขงใจ ๐ ใจจิดเจาคิดอาใล พีนางเกสรกัลญา ๐ แมนยูจักดูส่นิถา เวรามาจากกันไป ๐ คิดพลางทางนําเนดไล เกษรสูวันกัลญา ๐ ยามใชภ่วใดเวลา มีชาก็คลอดมาร่สี ๐ โฉมงามเลีดลําโลกี แจมสีครืเพงเดอีนฉาย ๐ ใอย่กีจ่วร่ลีผันผาย มํร่ส่สํงดกายา ๐ แลวเอาทารํดโอลา แล้วภามาสูแทนทอง ๐ ไอย่กาเคามาประคอง คอยถ่วายพรอ่อร่ไฉยา

ประภาแจมจัน ใดโปรดเกสี เคาใกลไฉยา ลูกนอนอ่อรไท เคาใกลเชถา เถึงอํงคอ่อร่ไท โอโอะอะนิจา เถึงอํงคอ่อร่ไท เจบครันขืนมา เปนกูมารี อุมองคนพัณ่ราย ฉ่โลมโทรมทา แมนํมมาจอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๘๓

๐ สังแตรเซงแซไปมา เวลาก็งามบันจํง ๐ ทีนันพระยาดพระวํง เถาแกเชาแมนําๆ ๐ แล้วชําร่อํงกัลญา ใหสํงทาราป่วมีนาร ๐ ฟืนไฟเคาไปในส่ถาร บันทํมแต่ท่านอักคี ๐ หมอนวดหม่อยาอึงมี่ จ่วร่ลีมาเยยีนนัดา

โหนทายฉ่ตา เคามากลุมอํง โฉมนางประภา ใหนางนํงคราน ทานท้าวสองสี

๐ สูรางคนาง ๐ ทังอํงกระสัด สองท้าวเยีองยาง ขืนยังม่หา เจางามเลีศแล้ว ภักตราล่ออง งามเลีดเพรีดพราย จักใหทําขวัน ใหแตงไปสี ยาติวํงทังนัน ฆองกลองส่นัน ใบสีเงีนทอง พรามพรึกเสนี พรามเถาเคามา เวยีนเทยีนทําขวัน ประโคมครืนไป

๐ ทานท้าวโชม่พัท พระพัส่ดา เถึงปรางรํจนา แทนแก้วพัณ่ราย ๐ ชํมพระหลานแก้ว ดังเพงเดอีนฉาย ดังทองพัณราย ดังนางในส่วัน ๐ ครันใดสามวัน หลานนอยดวยพลัน มนีครํบครัน เคามามากมี ๐ บางมาทําขวัน โหนหานาที เรอีงรองรัศมี เคามาโรงไช ๐ ครันใดเวลา ยังประสาดไช ส่นันวังใน อ่เนกนาๆ


๑๘๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เจาเสจ่จวร่ลี ชํมเชยพระหลาน ในลุกขืนรา ฉุดกันมา ๐ เมอีนันพระษรีเมอีง ตืนขืนแล้วแลไป ๐ ใครหน่อบังอาจนัก ม่นุดครุดนาคา ๐ นอยจอยทังสองอํงค อายุ(ไม่ปรากฏ)เจดปี ๐ ลูกทาวดาวแดนใด ฤนึงบุดเทวา ๐ จ่ถามใหแจงการ หมาเรามีริทที ๐ คิดแล้วลุกออกไป พระขันอันรจนา ๐ รองไปดวยวาจา ใลจับหมาเราใย ๐ เมือนันสองน่วไท รูบโฉมงามโสภา ๐ มนุดฤๅยักษา หมานีมีเจาของ ๐หมานียูกลางป่า เคาเขดเราจับไว ๐ ตัวทารมาแต่ไหน ว่าเปนเจาของหมา ๐ ษรีเมืองจึงตอบมา หมาตํนเราปลอยไป ๐ มิ่ใดคิดเกรงใจ กลับว่าเรามุษา

๐ บุศบาเทวี ทําขวันนัดา สํารานวิญญา มีคํนใลจับหมา กึกกองไพร ผูรุงเรอีงริททีไกร เรงลากใจพระราชา จ่ว่ายักฤๅเทวา บังอาจมาจับภาชี รูปทรํงงามมีสี กุมารนีมีริททา งามกระไรจ่บาตา แปลงเพดมาจับภาชี สองกูมารมีสักสี เหดไรนีรเทดมา ทรํงสินไชเรอีงฤทธา ยืนยูน้าตํนพระไทร กูมารามาแตไน ใครใชใหติดตามมา เลงแลไปเหนราชา ตําใต้ฟ้าไม่มีสอง ฤาเทวาเจาไทรทอง คิดแล้วรองตอบคําไป มาดูว่าหมาของใคร หมาจังไรวิงนีมา มายูไตรํมพฤกษา พูดมุสาใมชอบใจ เรามุดสาว่าเป็นไฉ่น ตัวจับไลรุกเคามา เราผูใหญเทยีมบิดา อ่หังกาไมเกรงใจ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๘๕

๐ พีนองทังสองสี ตัวว่าน้าแค้นใจ ๐ เราคิดว่าผูใหญ น้าชั่งอหังกา ๐เหนเราเปนเดกกวา จ่รํบกันฤาไร ๐ สีเมอีงจึงตอบไป จ่ต่วร่วริททา ๐ ตัวตนกระจอยรอย จ่สูดวยเพลีงการ ๐ ตัวตํนเทาเรอีดโรย ว่ากูเทาผูผา ๐ ใดฟังพระผูบาน ชวนเดกใหรํบกัน ๐ ทารว่าตัวของท่าร ผูเขา(ไม่ปรากฏ) เถาใด ๐ ตัวเราครืเหลกเพช จ่เจาะเปนภักสา ๐ อ่นึงฟักนําเตา พริกเหลกจ่จํงพลาน ๐ ภาชินีเรามา จ่จับไปเลยีงไว ๐ ครันตามมาเถึงนี ทําเปนจ่หักหาน ๐ ชวยชักเอาพระขัน หมานีมีเจานายฆา ๐ บัดนันอาชาใน เผนโผนโจนออกมา ๐ วิงมาหาทาวไท แตรํบกับยักมาร ๐ ภิงเหนสองน่วไท แตเอาคันษรตี

ตอบค่คิ่พระพระผูว่ไน อวดอางไปเทยีมบิดา จ่ว่าไปจ่อายน้า แคนจ่ว่าไมเกรงใจย รุกเคามาทีสินใช จ่พลานใหมวยชีวา ทานผู้ใหญ่กลัวนักน้า ทีนีนาใมเปนการ เถาหิงหอยอันสาทาน สองกูมารยาเจรจา คิดในใจอ่หังกา ดีจํงมาชิงไชยกัน สองกูมารตอบไปพลัน เราจ่พรันแล้วเมีอไรย เปรยีบปูนบ้านดวยเขาใญ ทําไมไครใดฤานา ใมขามเข็ดแกสีลา ถอนสีลาใมทํนทาน ใญเสยีเปลาไมเคาการ ใหเดยีระทานยับเยินไป เราใมฆาใหบันไล ใหนองขีเลนสําราน ว่าหมานีเปนของทาร คํนน้าดานไมอับอาย จ่ฟันต่วหมาใหตาย ใหตาใออาชา เรงตํกใจเปนนักน้า กลัวฤทาสองกูมาร อาขาในไมต่อตาน กูพลานเสยีเตมบืวร่นี ฤททีไกรใดแสนท่วี ทูกภาชีแทบบันใลย


๑๘๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

.๐ฉบัง.๐

๐ ภาชีมีความกลัว ยืนแฝงตํนพระไทร

ผองนังหัวใมกลับไป ดูท้าวไทจ่รบกัน

๐ เมีอนันษรีเมืองทรํงทัน ไลฟันพีขาดอาชา ๐ พระองคจึงรองถามมา ตัวกลามาชิงไชกัน ๐ ว่าพลางทางทรํงพระขัน จ่ใหเจานันกลับไป ๐ ฝ่ายพระสาคอนน่วไท จึงแผลงสินไชเคามา ๐ จ่ใหปกเอาราชา เคามาบูชาท้าวไท ๐ สีเมืองจับสอนแผลงไป จ่ใหไปตองสองรา ๐ กลายเปนของกินนาๆ พ่วาร่กํารําไยย ๐ มวงปรางม่ทรางม่ไฟ เกบใดเอาเปนพักสา ๐ เสวยพลางพลางแผลงษรมา เขามาบูชาผูมี ๐ สีเมอีงจึงแผลงษรสี สับปีกทนํมเนย ๐ มาใหสองอํงคเส่วย เส่วยเปนผา(ไม่ปรากฏ)ไจย ๐ กูมารบันดารสอนไป เคามาคํารํบบูชา ๐ ษรีเมอีงผูเรอีงริททา เปนโภชณาทุกพรร ๐ ทุกสิงปิงจีมีมัน อัศ่จันก็เปนฉันใด

เหนกูมารนัน ทําไมกับหมา ออกมาปองกัน กริวดกรดครืไฟ กลับเปนมาลา ดินฟ้าวันไวย กลวยออยนอนนา ทังสองน่วไท เปนเครอิงบุบผา เปนโพชนาสาลี ทังสองส่เบย เปนทูบเทยีนไข ชักษรแผลงมา ษรไมกินกัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๘๗

๐ ษรีเมอีงเคอีงแคนพระไท เหดใดดังนีพีอา ๐ เมีอนันหํงทองปักษา เปนน้าถวินกินไจย ๐ จ่มีเหดผํนกํลใด เหมีอนไทบ่รํมราชา ๐ ดูครบจํบบาทา เมอีนพระราชาพํนไจย ๐ ฤาบุดของนางอ่อร่ไท ครันนางก็ใคล้ายเคอีน ๐ จ่ดูที่ไหนเหมอีน ทอดพระเนดดูใหเตมไจย ๐ฟังปักษาทูลไข ท้าวคิดสํงใสนักน้า ๐ จึงมีสันทรวาจา เจามาแตแหงหํนใด ๐ บิดามารดาเจาใสร บอกใหเราแจงเทีดรา ๐ รํบกันอัศจันนักน้า กลับเปนเคาตอกเทยีนไชย ๐ เราคิดผ่วํงสงใส ยูแหงหํนใดพ่วอา ๐ กูมาร(ไม่ปรากฏ)สานตอบมา ว่ามาเปนน้านอยไจย ๐ บิดามารดาทารไสร บอกใหเรากอนเทีดรา ๐ ภูบาลตอบกูมารว่า ตัวข้าจ่บอกเจาไห ๐ แล้วเจาสําแดงแจงไข จ่ใดแจงเหตคดี ๐ เรามาแตราช่ทานี ชือว่าสูวัณ่เกสร

จึงถามหํงไป กราบทูนราชา กุมารผุใญ ดวงภัคลัคนา เมีอพลัดกันไป ข่วพระองคจํงเบอีน เหนชอบพระไท ถามกูมารา ทรํงนามชือใด ษรเจาแผลงมา ถินถานเจาไสร ถามเถิงมารดา ยูดาวแดนใด เจาถามเรามา ยาอําพรางไวย กับเจาเทวี


๑๘๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ เราชือสีเมอีงผูทอน ทืกลางสาคอนนัดที ๐ เรามาเทยีวหามารศรี เทวีไปยูแหงใด ๐ เราบอกใหเจาแจงใจย ใหเรารูเรอีงบางรา ๐ จึงพระสาคอนวํงสา เจาคิดจินดาในใจ ๐ มารดาทรํงโสกาไล พลัดกันทีในสาคอน ๐ ออกชือวาสูวรรณ่เกสร อันนามกอนตองกัน ๐ แล้วแผลงสินไชไปนัน อัศจันแกใจนักน้า ๐ ครันกูจ่พรางราชา จําว่าแตตามจึงไป ๐ คิดแล้วจึงตอบท้าวไท จ่ภาไปหาพระตา ๐ เราไมรูค่ดีเดยีงสา ยาชามาไปดวยกัน ๐ จึงพระษรีเมอีง บัดนันก็เรยีกปักษา ๐ เรยีกทังมิงหมาอาชา จ่เคาไปหาสองบูดรี ๐ บัดเดยีวมิงหมาภาชี ดีจ็ภากันมา ๐ ครันเถิงสองกูมารา ราชาก็พิสแลดู ๐ ใคฬาจ่หาใครคู ยิงดูยิงติดตองไจย ๐ ดุจทรํงอํงคท้าวหัศไหน มีใคจ่คาดวางตา

พรัดกับบังออน ใดเถิงเจดปี เจจํงแถลงไข ใดฟังราชา บอกว่าท้าวไท เมอีนชือมารดอน ษรใมกินกัน จ่ตองมุดสา จ่ไครเคาไจย ไปถามพูดจา ทรํงทันชืนชมหืฤหรร จํงเรงออกมา หํงทองปักษรี เหนโฉมโสภา ประเสีดเลีดยู พิศเพ่งเลงไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๘๙

๐ ดูทรงอํงคพระอ่นุชา สองราไมรวมครันกัน ๐ ชํมพลางเคารับขวัน กระเสมสันดวยใจภักดี ๐ จ่เคาอุมเอาพระษรี ลุงนีมาทําวุนวาย ๐ สาคอนบ่ทจอนผันผาย เยอีงกรายมาตามมรรคา ๐ พระอํงทรํงหมาอาชา เดีนมาตามสองกูมาร ๐ ครัยถึงกุดดีทีส่ถาน เคาไปกราบกรานวันทา ๐ สีเมืองกับพ่ญาปักษา ยังใมเคามากุฎดี ๐ เมอีนันตาไฟมุณี มีโสม่นัดจินดา ๐ สวมกอดเอาพระนัดดา ไปหยูดวยอันใด ๐ กูมารกราบกรานทูนไป ใดกับมิงหมาภาชี ๐ หลานจักไลจับหมาขี หลานิ่นิ่จึงติดตามไป ๐ ยังมีม่นุดยุศ่ไกร ขาไสรก่ต่วฤททา ๐แผลงษรไม่ตองกายา เปนโพชนาทุกอัน ๐ ชิงไชษรใมกินกัน เพอีนนันกาอาใส ๐ จ่เคามาหาท้าวไท จํงใดแจงแหงเหดค่ดี ๐ บัทนันตาไฟมุณี ฤาษรีเท่วแจงในไจย

ไมเหมือนพียา ปลอบโยนทรํงทัน สองอํงคเดีนหนี ภาพระนองชาย หํงทองปักษา สํมบํทอาจาน ยูยังสาลา ครันเหนสองสี พ่วไปเทยิ่วป่า หลานไปเทยีวไพร มันร่เหดเตรดหนี ออกมาชิงไช คางข้าแผลงมา หลานจึงผายผัน หลานมาแจงใข ใดฟังค่ดี


๑๙๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ดีรายผัวนางอ่อรไท พลัดกันทีในคํงคา ๐ ฤาษรีดีใจนักน้า ยาชาจํงเรงออกไป ๐ รับเท่อเคามาสาใล ใหแจงในข่วค่ดี ๐ กูมารกํมกรานมุนี ออกมายังพ่ราชา ๐ ครันเถึงจึงบอกราชา ทานนาเคาไปกุดี ๐ ษรีกับพ่ญาปักษรี เคาอันชูลีวันทา ๐ นอมเสยินลํงใดสามลา ดาไฟผูเรืองริทที ๐ ถามไทโรกไภยังมี ยังมีมาเขยีนบีทา ๐ ยังคอยมีความสุกข้า ขานอยมากราบทูนไทย ๐ บัดนันม่หาตาไฟ เราไสรไม่มีโรคา ๐ ทุกโสกดรกไภบิทา มีใดเค้ามาแพ้วพาน ๐ รักสาจัตุพรํมวิ่หาร ชานนานมาล้ายปี ๐ ตัวทานกับพ่ญาปักษรี พูรียูแหงหนใดย ๐ ทานมาทังวํนสิงใด เหดใดจึงสัดจอนมา ๐ ฤาเสียบานเมอีงภารา ยุกยาวีชาสิงใด ๐ จํงบอกใหเราแจงใจย เหดไรมารับหลานกู

มิ่ใชอืนไกล ว่าแกนัดดา จ่ใคถามไถ ลาพระฤาษรี พระตาใหหา มายังกุดดี สํมเดจม่หา สัดรายราวี ในบาทมุลีกา แจงความตามใน สัดรายในป่า ชําเพงในชาน มาแต่ในนี ในดํงพงไพร ฤามาแสวงหา ทานเปนผูใหญ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙๑

๐ ษรีเมอีงใคฟังพิดหู ว่ากูรํบกับกูมาร ๐ ประนํมกํมเกลาทูนสรร ยูโขม่ราชภารา ๐ โขม่พัดเปนทารบิดา ชืว่าสุวัณ่เกสร ๐ ทิดาเจากรุงพาณ่คอน หํงรอนมาแจงกิจา ๐ ฑลาฤาษรีไคลคลา บิดาใหชังรุบกัน ๐ รูบข้ากับรูปนางแจมจรร ทาวนันจึงวีวา ๐ ยูดวยนางสูวรรกัสญา ใชใหอ่นุชาสองสี ๐ มารับกลับไปบูรี ยักษรีมันทําวุนวาย ๐ มืดมนพวกพํลทังล้าย วุนว้ายใมเปนสํมประดี ๐ มันภาข้ากับเทวี ข้าหนีมันกลับมาคืนมา ๐ หลงทางในกลางหิม่วา จึงภากันคามนัที ๐ พลัดกับไฉยามาร่สี ขานีก็ลอยสัดไป ๐ ขืนใดเทยีวหาอ่อร่ไท กลับไปยูดวยมุนี ๐ เทอชุบมิงหมาภาชี ใหขีไปหาไฉยา ๐ เทยีวคํนแน้วชํลคํงคา เทยีวหามาเถึงเจดปี ๐ มาภํบพีนองสองสี ขานีก็ต่วชิงไชย

คาวบํท(ไม่ปรากฏ) เดีมเมอีงเดฉาน ครอบครองนัค่รา เมอีงยํคโสธรอน ไปเถิงภารา ชังขืนไดกัน สํมเดจบิดา ครันเถิงคีรี กระจัดพรัดพราย มาในพํงพี มาภํบคํงคา ในกลางนัดที ปิมมวยบันใจ แกล้วกลาราวี ใมภบไฉยา ชวนรํบต่วตี


๑๙๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ ษรเปนเข้าตอกดอกไม่ สองไทจึงภาข้ามามา ๐ กราบบาทพระราชบิดา เปนขายูโตทูลี ๐ เมีอนันตาไพ่ฤาศี เทอมีม่โนนํกใน ๐ เทอนีผัวนางอ่อไท ว่าไรก็ตองคํากัน ๐ ว่าแกกูมารหลานขวัน ท้าวนันเท่อเปนบิดา ๐ เมอีนันสาคอนราชา กราบกรานดุศดี ๐ษรีเมอีงอุมเอาพระษรี ใมมีส่ติวิญา ๐ หงทองฟูมฟายนําตา ก็มาพิ่ลาพรําไร ๐ ญาณี ๐

๐ ฝายว่าสุวันฮ่อ เคาในสาลาไล ๐ใดยินเสยีงรําไรย ตําเนีนนางเดีนมา ๐ จําใดว่าทรํงทัน กราบบาทพระผูว่ใน ๐ ษรีเมอีงผูเรอีงสัก ผิศ่วงปลํงวิญา ๐ สวมกอดเอานองแก้ว เทยีวหานอยเมีอไร ๐ซบภักลํงกับเกด หํงทองแลอาชา ๐ ทอดอํงลํงกับที ตางอํงตางรําใร ๐ ทํงทองแลอาชา ชีวิดไมคืนคง

เรงอัศ่จรรไจย จํงโปรดเกศา ใดฟังค่ดี แมนแทแกไจย เจาจํงอพิ่วัน รูวาบิดาเคามา ทรํงโสกโสภี มิงหมาอาชา

ร่แจมจันมาแต่ไพร เลงแลไปในกําตา อือึงไปในสาลา ถึงสาลาเหนท้าวไทย นางผายผันวิงเคาไป นางรําใหทรํงโสกา เบอีนพระภักเหนไฉยา พระราชาเพยีงขาดใจ ดังตายแลวเกีดมาใม ปิมมีใคเหนไฉยา นําพระเนดดังทารา ทรํงโสกาใหรําไร กลางกุดดีมุนีใน ส่ลํบไปทังสองอํง ดังชีวาปลํดปลํง ทอดตัวลํงนิงแนไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙๓

๐ บัดนันพระสาคอน ตระนักเรงตํกใจ ๐ กลึงเกลอีกเสอีกพระอํง ทังสามกระสัดตรา ๐ ฤาษรีผูบิดา กระนํกเท่อตํกไจย ๐ เอานําเคาโทรมสํง ทังสามกระสัตรา ๐ ลุกขืนกราบวันทา แล้วทรํงโสกาไล ๐ นางสูวรรณเกสร เมอีพลัดกันวันนัน ๐ มาขืนใดถึงฝังแล้ว ใมเหนพระราชา ๐ เมยีเทยีวยูริมฝัง เมยีจ่มวยชีวีกลึง ๐ ยังมีพรามฉ่รา จึงภาข้าผันผาย ๐ เมยีคิดเถึงพระทอง พรามเถาจึงบอกว่า ๐ เมยีจึงเซซังไป กราบกรานวันชูลี ๐ แตเมยีรํารองให เจาประคุณของเมยีอา ๐ ษรีเมืองผูเรอีงฬา แตพี่นีโสกสัน ๐ ใมภํบเจาเทวีดังนึง เพอีนยากของเรยีมอา ๐ บัดนันจึงหมาตํน จํบบาทนางอ่อรไท ๐ อิกทังพ่ญาหํง ปีกปํกของปักษา

เหนมารดอนมวยบันไล กอดแมไวทรํงโสกา ผอยมอยปลํงชีวา เพยีงชีวาพีลาไล เหนสามราพิลาไล นําตาไลทรํงดสกา รดพระองค์ทัวกายา ฟืนคืนมาคอยคลายใจ พระบิดาผูตาไฟ ตรัดปราไสความทุกกัน เลาทุกรอนแกทรํงทัน เมยีโสกสันว้ายเคา หาพระแก้วริมคํงคา รอยบาทาใมเหนมี สุดกําลังไมสํมประดี ยูทีกลางหาดทราย มาบอกว่าทาวใมตาย จากหาดทรายดํนเดีนมา นองรํารองเดีนตามมา ใกลสาลาพระมุนิ เถึงสาไลของพระชี พระฤาษรีทรํงเมตตา ทีสาใลเพยีงม่วร่ณา เมยีคิดว่าไมภํบกัน มีบันชาไปดวยพลัน เทยีวดํนดันในหิมวา พี่จ่ม่วร่ณา ดังชีวาจักบันไลย คอยจ่วร่ดํนคุกเคาไป ม่โนไมรําโสภา คอยบินลํงใกลกัล่ยา รําโสภารักเทวี


๑๙๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ เอนดูท้าวภูผัว ใมใดมาพํบสี ๐ นางฟังหํงทองว่า โฉมยงทรํงคันไล ๐ พ่วเจาของเมยีเอย เปนกําใดทํามา ๐ พระฟังนางเทวีทรํง วิบากมาจากกัน ๐ ทีนียาใด ดวยสินกําเวรา ๐ มาเราจักเคาไป เอนดูสองแจมจัน ๐ เทยีวหาไมพํบเจา ทูนแกสองผูมี ๐ ครันว่าวาย(ไม่ปรากฏ) เลา คิดอานกานวีวา ๐ เสกขืนกับพียา ยุดวยนางมาร่ษรี ๐ พี่คิดท่วินหา จึงลาบิดาพลัน ๐ ชมํมเดดพระลูกยา หมาตํนเรอีงฤทที ๐ อันว่าอาชาน ฆามารมวยบันไล ๐ แล้วอุมพระลูกรัก จ่ใดภานภารา ๐ แล้วตรัดถามอ่อร่ไท ภักตราไสรแสนงอน ๐ นางทูนท้าวผัวขวัน นามกอนชือสิงหรา ๐ เปนบุทนางราชสี ข่วมาชุบคืนพลัน

คํนหาทัวทังพํงพี พระผูมีเพยีงบันไล กับอาชาทูนอ่อรไท กอดบาทไวรําโสกา นองใมเคยใคเวทนา จึงพลัดพรากใดจากกัน โสกีแล้วรับขวัน กําหํนลังเราทํามา เสวยทุกในภารา เราทํามาแตหํนลัง พระเวยีงไชไอส่วรร เจาโสกสันถึงเทวี ทีกลับเคายังกรุงษรี ทาวโสกีดวยพียา จึงสองทาวกับพระอา แตงบุศบาผูโฉมสี ครองภาราพระบูรี ใดประมาณเดอีนสิบวัน ในอุรายิงป่วนปั่น เทยีวดํนดันในพงพี เรีองฤททาใชภ่วดี เอาสอนตีเพยีงขันโล รํบยักมารเรอีงฤททีไกร แผฤททิไกรพระลุกยา ขืนใสตักทูนเกศา สืบวํงสาแทนบิดดอน นันลุกใครนังบังออน เทยีวเรรอนเลนไปมา กุมารนันเปนสัดป่า พระไอกย่กาใหหลานขวัน พระมุนีเทยีวไพรสัน เหลนดวยกันกับนัดดา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙๕

๐ พระฟังนางเทวีอ เคาไปในภารา ๐ สิงห่ราจึงทูนเลา จักภาไปส่ถานหา ๐ พระอํงทรํงสวนสี แมนไปในภารา ๐ สิงห่ราคิดดีใจ จึงทูนพระพีชาย ๐ เคาสุพระภารา ทานว่าจ่ภาไป ๐ (ไม่ปรากฏ) ทังสองนองกับพี ๐ เทพสูวัณสาคอน พระอํงทรํงสวนรา ๐ วิงไปแตลวนๆ จ่ตีเลนเปนยางม้า ๐ สิงห่จึงทูนพิ่แมร ใหผํนสาลาใล ๐ พระอํงทรํงสวนสี สํารวนกันไปมา

อุมิราช่สีชํมไปมา ดวยบิดาฤากุมาร ข้าพุทิ่เจาไมทัดทาร เมยีใหฤๅไรนา ลูกคํนนีดีนักนา จ่หาใหเปนมากมาย จ่หาใหแล้วตีตาย เราผันผายจากเจาตา ทานจักภาเราจ่วรลี ๆ แล้วจ่ใหเมยีมากมี (ไม่ปรากฏ) มาจ่วรลีไปภารา ฟังกล้าวกลอนสิงห่รา นิใอบาฟาว่าโรย ใมสมควนกลัวไอย่กา มึงจ่ว่าประการใด ตาตีวิ่งนีไป จ่ตีใครใดเลานา ใอคนนี่ชางเจร่จา จํนสูริยาคําแสงใส

๐ พิลาบ ๐ สองกระสัดรา พิ่รมชํมนอง จากอํกพีไป พิศวาดในหอง สํารานพระ สองรวมสํงสาน สูพระเวยีงไช ตัวพีกับเจา

๐ ครันคําสูริยา เคาสาลาไล หองทองพิศไม เจดปีประมาร ๐ พิ่รํมชํมนอง ร่รืนชืนบาน ไทใครจักปูนบ้าน สํารานวิญา ๐ เราจ่เคาไป สํมเดจ่บิดา เราครองภารา


๑๙๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

จักเปน(ไม่ปรากฏ) จักดวนลาท้าว จักวาพบกัน พระคุนเจาตา ปรํนริบัดรักสา (ไม่ปรากฏ) ใลเปลเวนอัน สังสอนวิชา ไตรเพดสิงไร ตาเฝ้าสอนสั่ง จักควนหวนหัน ใคท้าวจักนอย เอนดูพระตาจัก เจาว่าชอบความ เรายุสาไลยา สักสามเดีอนตรา แตคําสูริยา บันทํมสํมสู ชํมโฉมมาร่ศี สีเมอีงราชา กราบบาทฤาษรี พระคุนนิไสร ทังสองกัล่ยา หาใมสองรา

ขาพานพาไอส่วัน ๐ นางจึงทูนเลา เกรงใจไอย่กา หุนหันลินลา เทากับบิดอน ๐เมีอคลอดลูกญา อํดตาลับนอน มิ่ใหอะนาทอน รองใหรับขวัน ๐ ครันจําเริ่นมา จํบครํบครัน เจาใดทุกอัน รุงเรืองฤทธา ๐ครันว่าพํบกัน เคาสูภารา ไจยใคลํนคํล่นา นอยพระไท ๐ พระฟังโฉมงาม ตามราช่วิญา เภ่อไคลคลา จึงคอยจวร่ลี ๐ สองกระสัดเจร่จา จํนส่วางแสงสี รวมรุยินดี จํนสุรีแสงใส ๐ ครันรุงสุริยา เสจ่สุลาไล ผูมีฤททิไกร หลานไสเกสี ๐ ชวยเลยีงนัดดา จึงรอดชีวี ชีวาเปนผี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙๗

ใครอดชีวี เปนบุญอ่อร่ไท หาใมเทวี เมอี่คลอดลูกยา แล้วเชิ่นเทพ่ไท มาชวยไฉยา บุญพระกูมาร เจาเรีองฤททิไกร กระสัดอํงคใด เจาทรํงฤททา ดุจ่ผูเข้า ชั่วฟ้าชั่วดิน ใครใมทําร้าย แผลงสอนในข้า ตํนรังใญนัก ริททาสากํน หลานชองพระเจา ข้าบาทนอนนู แตปลอยม้ามา ชังสอดเนดเหน ใลจับหมา ขาบาทตํกใจ ว่ากล้าวมากมาย หวดดวยคันสอน

ดวยพระไอย่กา ๐ ด้าวบทว่าไป มาภํบอาตมา ถึงม่วร่ณา เพยีงจ่สินปราน ๐ ข้าเดีนรองให มาทังจักก่วาน ใมร่มาเถึงการ ยิงยวดนักน้า ๐ บัดเดียวนิงไสร ยิงยวดโลกา ป่วใดนัดา ดังอํงคพระณ่ราย ๐ เพยีงตํนไมเลา (ไม่ปรากฏ) ใญสินทังดังม้าย ใคเลยสักคํน ๐ เจาทรงฤททา เปนโกลาหํน ลํงบัทดํน ใครจ่ประจํนนัดา ๐ พระจึงทูนเลา ทรํงอิดฤททา ไมรูกิจจา กินย้าพํงไพร ๐ เจาไปเทยีวเลน มึงหมาอาชาใน ส่นันพํงไพร วิงวางออกมา ๐ แล้วรองถาถาย โลตีอาชา ออนทังกายา


๑๙๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หมากลัวริททา กล้าหานชานไช กับยักมาน หมากลัวฤทท หลานกูขะยัน มาภํบกันแล้ว เอนดูนัดดา จ่ยูกราบทาว จ่ลาบาท่บํงคํง บิตุเรศชล่ไน

นักแนนแสนท่วี ๐ หมาตนนีไสร มีใช่ภ่วดีรํบ สังหารเปนผี พระกูมารา ๐ด้าวบัดสวนวัน มีอิทฤททา จักไปภารา จักมาจากไป ๐ พระจึงทูนเลา สักสามเดอีนปลาย สูเวยีงไช หอยคอยทา

๐ สุรางคนาง ๐ เทยีวเกบผํล่ไม สวนนางเทวี เยนลํงแล้วเลา เกบผลผลา เทยีวทองจ่วร่ดํน (ไม่ปรากฏ) มีความสุกป่ว ทุกเมือชีวัน เกบผํลลูกไม ทีในดํงดาน กล้าวถึงกรุงไกร สํมเดจเทวี เปนอัค่ฉัยา

๐ครันเชาเคาไพร กับพระลูกยา ยูทีสาลา พระเจาไคลคลา ถ่ว้ายพระมุนี ๐สวนว่าหมาตํน กับพ่ญาปักสี ยูในผ่นาลี (ไม่ปรากฏ)ทุกภาน ๐แตทําฉันนัน เทยีวในดํงดาน มาถ่ว้ายอาจาร เปนจําเนยีนมา ๐เรอีงนียํกไว ทีในภารา นางสีประภา ของพระผูมี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙๙

ทวนทํศ่มาดพลัน เจาเจบอุทอน เมีอยามราตรี รําจวนครวนคราง เจาเอยมานี เจบครันนักน้า ใดยินเสาว่นี เจาวิงวางมา เถึงจึงนังใกล ทูนทาวผัวขวัน เสาว่นีเรงไป ว่าพี่สีประภา เถึงวังผูว่ไน ทูนว่าไฉยา เชีนส่เดจ่กจอน พระโฉมงาม ขืนบํนแทนทอง ยาทรํงโสกา บัดนีจํงพลัน กราบทุนพระบาท พระองคจ่ (ไม่ปรากฏ) วิงมาลาลัง ว่าอํงคสีส่ไภ บัทนีไฉยา

๐ โฉมยงทรํงครัน จักประสุดโฉมษรี บังออนเทวี ยวดยิงนักน้า ๐ คิดเถิงพี่นาง รองเรยีกค่นิถา ชวยพีดวยรา มาเปนไฉ่น ๐ สีสุดาเทวี พี่นางเรยีกหา มีชาบัดใจ เปนฉันใดนา ๐ ฤๅเจาเจบครัน นิงยุใยนา ปลุกไทพีญา มาเจบอุทอน ๐ สาวใชแลนไป กราบเกลาถ่ว้ายกอน มาเจบอุทอน บัทนีเร้วรา ๐ สูริยาฟังความ วิงลํงมา ประคองนองยา แมจงแขงใจ ๐แล้วสัง กํานัน ทูนท้าวชํล่ใน บิตุราชผูไกร (ไม่ปรากฏ)ขุนโหรา ๐ สาวใชรับสัง ทูนพระมารดา เสจในปรางปรา มาเจบพระครัน


๒๐๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ทูนทาวมารดา ทูนท้าวภาน เชิ่นเสจ่ผายผัน ถอยคําวาจา สองกระสัดเยีองยาง บัทใจใมชามา เคาสูปรางโช ขืนบํนแทนที แมยาโสกสัน จึงมีวาจา หม่อนวดหม่อยา เอามาไวใน ยูไหนไปเอา ไมร่วังเจา นี่มิ่ใช่กาน เหมาประดัง คอยประโคมนัดดา เรงหามาใว เรงหามาไว หลานนอยคลอดมา นางนํมทังนัน โคลนจาทังนัน ประสุดเมีอไร ใหพระหลานนา

๐ พระโอรํดสา ว่าเสจเร้วพลัน เภลาสองท้าวจ่วร่จัน บัทนีเทีดรา ๐ สองหาวใดฟัง จังสาวสีทูนมา จากปรางรํจนา เถึงปรางส่วัน ๐ สองกระสัดคลาไคล โอรํษดวยพลัน เทวีแจมจัน อํดกลันนะลูกอา ๐ ทานท้าววํงสา สังเถาแกไป หามาจํงไวย นามุกสุรีการ ๐ หม่อตําแยเลา ตัวมายานาน พาเทยีวหาเปนนาน ของมึงฤาไฉ่น ๐ หองกลองแตรสัง ยูน้าโรงใช เจาปินเกลาภํพไตร ใดทุกสิ่งอัน ๐ กอนเสาเตาไฟ บัทนีจํงพลัน ใดขวาใหทัน เรงใหสํงมา ๐ พี่เลยิ่งสาวสัน เรงจัดเรงหา จ่ใดเคามา เส่วยนํมพลัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๐๑

๐ ฉบัง ๐ ๐ ยามไชภ่วใกลไก่ขัน เจบพันจ่กลันนาภี ๐ กอดบาทของท้าวสามี เมยีนีเพยีงจ่มวยม่วร่นา ๐ บัดนันทานท้าวมารดา ว่าแมอํดสาแขงไจย ๐ ยามดีมีภ่วเปนไร จักคลอดใหใดแลนา ๐ จึงโฉมนวนนางสุดา พียาอํดสาแขงใจ ๐ ใจจิดเจาคิดอาใล พีนางเกสรกัลญา ๐ แมนยูจักดูส่นิถา เวรามาจากกันไป ๐ คิดพลางทางนําเนดไล เกษรสูวันกัลญา ๐ ยามใชภ่วใดเวลา มีชาก็คลอดมาร่สี ๐ โฉมงามเลีดลําโลกี แจมสีครืเพงเดอีนฉาย ๐ ใอย่กีจ่วร่ลีผันผาย มํร่ส่สํงดกายา ๐ แลวเอาทารํดโอลา แล้วภามาสูแทนทอง ๐ ไอย่กาเคามาประคอง คอยถ่วายพรอ่อร่ไฉยา ๐ สังแตรเซงแซไปมา เวลาก็งามบันจํง ๐ ทีนันพระยาดพระวํง เถาแกเชาแมนําๆ

ประภาแจมจัน ใดโปรดเกสี เคาใกลไฉยา ลูกนอนอ่อรไท เคาใกลเชถา เถึงอํงคอ่อร่ไท โอโอะอะนิจา เถึงอํงคอ่อร่ไท เจบครันขืนมา เปนกูมารี อุมองคนพัณ่ราย ฉ่โลมโทรมทา แมนํมมาจอง โหนทายฉ่ตา เคามากลุมอํง


๒๐๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ แล้วชําร่อํงกัลญา ใหสํงทาราป่วมีนาร ๐ ฟืนไฟเคาไปในส่ถาร บันทํมแต่ท่านอักคี ๐ หมอนวดหม่อยาอึงมี่ จ่วร่ลีมาเยยีนนัดา

โฉมนางประภา ใหนางนํงคราน ทานท้าวสองสี

๐ สูรางคนาง ๐ ทังอํงกระสัด สองท้าวเยีองยาง ขืนยังม่หา เจางามเลีศแล้ว ภักตราล่ออง งามเลีดเพรีดพราย จักใหทําขวัน ใหแตงไปสี ยาติวํงทังนัน ฆองกลองส่นัน ใบสีเงีนทอง พรามพรึกเสนี พรามเถาเคามา เวยีนเทยีนทําขวัน ประโคมครืนไป เจาเสจ่จวร่ลี ชํมเชยพระหลาน ไอย่กีไอย่กา

๐ ทานท้าวโขม่พัท พระพัส่ดา เถึงปรางรํจนา แทนแก้วพัณ่ราย ๐ ชํมพระหลานแก้ว ดังเพงเดอีนฉาย ดังทองพัณราย ดังนางในส่วัน ๐ ครันใดสามวัน หลานนอยดวยพลัน มนีครํบครัน เคามามากมี ๐ บางมาทําขวัน โหนหานาที เรอีงรองรัศมี เคามาโรงไช ๐ ครันใดเวลา ยังประสาดไช ส่นันวังใน อ่เนกนาๆ ๐ บุศบาเทวี ทําขวันนัดา สํารานวิญา เคามาพรอมกัน ๆ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๐๓

จําเรีนใญมา ว่วร่โฉมประเสีด นางในส่วรร หลานรักโฉมงาม โฉมงามประเสีด ไอย่กีรับขวัน อ่อร่เนีอเกลยิ่งคอย เจาสอนพูดพลอด ทานท้าวไอย่กา

๐ คอยเลยีงรักษา ใดล้ายเดอีนพลัน ลําเลีดเฉีดฉัน ไมทันไฉยา ๐ ไอย่กาถ่วายนาม ชํล่ภาแจมจัน ลําเลิ่ดนางส่วัน ทุกวันเวลา ๐ คอยโลมคอยเลยีง ยิ่งจําเริ่นมา ฉ่ชอดเจร่จา รักยิงแสนทวี

๐ ญาณี ๐ ๐ อํามาดอันถือสาร ใกลเถึงฟังนที ๐ นังยูฝังนัที บัดเดยีวใมอึดใจ ๐ ผาดผุดขืนมินาน แลเหนขุนเสนา ๐ ดูรามูเสนี ตัวทานจ่ไปไหน ๐ เสนารองว่าไป สีเมอีงผูภานเกลา ๐ จักไปกรุงทานี สานสีมียูไสร ๐ แกอํงของพรบาท ค่ดีมิในสาน ๐ บัทนันทาวกุมภี แจงว่าพระทรํงทัน ๐ มาเราจ่สํงให บัทใจมิใดชา

มามีนารเถึงพํงภี ทีกุมภียูอาใส เรยีกกุมภีไปทันใด ใดยินไปเถึงกุมภา นําฉาดฉานเปนโกลา รองถามมาดวยทันใจ มารองมีเรยีกเราใย เปนยางไรมาแดนเรา ตัวเราไสรขาพระเจา ท้าวไชเราใหคลาไคล พระม่เหสีของผูว่ไน ทาวใหไปถ่ว้านยสาน เปนบิตุราดอํงนางคราน วานทานสํงดวยเทีดรา ฟังค่ดีถีทุกอัน ใหจ่วร่จันไปภาภารา ทานคลาไคลไปเร้วรา ภาเสนาคามนัที


๒๐๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ อํามาดครันเถึงฝัง ลัดป่าพ่นาลี ๐ครันเถึงบอกเสนี ว่าทับทียํกไป ๐ ใหเกีดกานกูลี สีเมอีงผูเรอีงฟ้า ๐ ยังแตสองกูมาร บัทนียํกเคาไป ๐ (ไม่ปรากฏ) ทูนตามเรอีงกิจา ๐ เมีอนันจอมกระสัด เสจ่ออกพระโรงคัน ๐ บัดนั้นจึงเสนา ขุนนางภาบํท่จอน ๐ อํามาดจึงถว้ายสาร แล้วจึงยืนสวนตรา ๐ อํามาดรับเอาสาร ว่าอํงพระบุตรี ๐ ใหเกีดการโกลา ใมแจงว่าเปนไฉ่น ๐ แตสองอ่นุชา เคาไปในส่ถาน ๐ กราบทูนใหทราบบาท หายไปทีในป่า

เดีนล้าลังเคาพํงพี เจดราตรีเถึงเวยีงไช ขาชูลีของท้าวไท ยังมีใดเถึงภารา ในภํงภีเถึงพลับพลา กับไฉยาสูนหายไป กับนํงครานสองอ่อรไท สูราไชพระทรํงทัน (ไม่ปรากฏ) ทราบบาทาเจาใอส่วัน ภินทุทัดพระทรงทัน เสนาเฝ้ายูส่ลอน อันทีมาจากดํงดอน เฝาผูทรปินโลกา กํมกราบกรานลํงสามลา ถ่วายท้าวเจาบ่วร่นี แลวก็อานแจงคดี เสจ่นีราชแตกลางไพร ทังเจาฝาสุนหายไป หาเทาไรไมภํบพาน คืนภาราจากดังดาร แจงอาการจึงจรมา พรึงพระราช่ทิดา ทังสองราผูผัวขวัน

ใดฟังสารา โอพระทิดา ทังท้าวผัวขวัน

๐สํมเดจพระราชา ใมร่มามีขวัน พ่วมาอัศ่จัน มาสูนหายไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๐๕

๐พิลาบ ๐ ยูในพํงพี มันภาลูกแก้ว พระคิดสํงไส ไนย่เนดฝุมฟอง ตรัดบอกม่เหสี บุตรีบุตรา มืดมํนเคามา บัดนีลานตรา ว่าเจาหายไป ใดฟังสามี สุดสินบูนแล้ว ทงงมาวพัศดา กันแสงส่ลํบ ทังสี่ค่นิถา ทรํงกันแสงสัน เสจ่ไปกลางทาง ควนฤๅหายไป หายจากพลับพลา ทําอิดฤทที กินเปนอาหาน (ไม่ปรากฏ)บันไล ตายดวยยักสี ชวนกันรองถอง

๐ฤาวายักสี เปนขินีไพร กินแล้วฤาไฉ่น ดวยเจาสองรา ๐ เสจจากโรงทอง เถึงแทนรํจนา ว่าเจาพีอา สองราหายไป ๐ เจายูพลับพลา สองราหายไป มาแตกรุงไกร ทังสองลูญา ๐ นางผูชํลนี กระนํกตํกไจ ฤๅแก้วแม่อา มาหายดวยกัน ๐ ตังกานไมตรํง ลํงกับแทนสุวัน วิงมาดวยพลัน กับทาวมารดา ๐ โอพระพีนาง ลากใจนักน้า หรือไรสองรา น้ามาสํงไส ๐ ฤาว่ายักสี มาพาเอาไป ขุนมารแห่งไหน เสยีแล้วแลนา ๐ เอนดูพระพี่ แล้วณ่อํกอา ทั่วทองปรางปรา


๒๐๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บิตุเรดมารดา อํงการแจ้วๆ จัดแจงรีพํล เจาจ่จ่วร่ลี ส่เถอีนเกลีอนกลํน บานนอยเมอีงใญ รํดรัดหัดถี ขางในขางน้า เสนาคลาดแคล้ว พํล่จัดสําเรจ ข่วพระทรํงทัน ทุกในพระไท ชวนพระม่เหษรี ทังสีกัลญา กับสิทิดา แตรสังฆองกลอง ทาวยํกพํล่ไกร วิงเปนสิงคลี บางขึนกูบทอง บางเดีนม่วร่คา นังลํงรองให ดวยกลัวอายา ตามแตโทดนัน เคาในพํงไพร คิดถึงลูกรัก

ไมเปนสํมประดี ๐ ครันว้ายโสกแล้ว ใหเตรยีมเสนี พหํนมนตรี โขม่ราชภารา ๐ เสนาเตรยีมพล เรงพํลโยทา ใลกันเคามา มากมีเลีอตรา เกนมาพรอมกัน ๐ ครันจัดพํลแล้ว ทูนเจาไอส่วัน เสจแล้วดวยพลัน ใดโปรดเกสา ๐ ท้าวฟังทูนไข ยิงใดคํล่นา บุตรีโสภา มาสูโรงไช ๐ทังทาวมารดา เสจ่ทรํงรํถไช กึกกองวันไว ออกจากพระณ่คอน ๐ แกเถาสาวสี ตามรํฎไฉยา เรอีงรองตามมา ลํมปะท่กัน ๐ ทีเดินใมใด ตามไปใมทัน เพยีงว่าอาสัน โปรดเกสา ๐ ท้าวยกพํลไป ทรํงโสกโสกา เพยีงจักมวรนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๐๗

ใหตังพลับพลา

ทาวยํกพํลจอน มาเถึงคํงคา กุมภาฤททิไกร

ประทับแรมไพร ๐ ครันเวลาคํา เสจ่เคาหองใน โสภารําไร ลูกนอยแมอา ๐ ทังสีอ่รร่ไท เถึงพระเชถา นางชางหายกลางป่า เมอีไรจ่พํบกัน ๐ ส่วนท้าวชล่นี พระทรวงโสกสัน ทิดาดวงจัน แมมาหายไป ๐ ครันรุงทิณ่กอน เคาดํงพํงไพร มิ่ชาบัดใจ ยูในนัที

๐อํามาดทีเคยมา อันทียูนที ๐ กุมภาอันมีฤท ครันเหนพลโยทา ๐ อํามาดรองบอกมา บิดานางอ่อร่ไท ๐ ท้าวจักไปเวยีงไช บัดนีนางโฉมสี ๐ ท้าวจึงเสจ่จ่วร่ลี จํงทานใดเมตา ๐ บัดนันท้าวกุมภี ป่วรีวารนับมืนพัน

รองเรยีกหาท้าวกุมภี มาบัดนีจงเร้วรา ใดฟังกิจพุดขืนมา รองถามว่าจ่ไปใน นีราชาเจากรุงไกร ม่เหสีของพระอํงค ดวยอ่อร่ไทพระบุตรี ประชวนใคล้ายวันมา เยยียบุตรีสีโสภา ชวยทรํงใหไปดวยพลัน ฟังค่ดีถีทุกวัน เรยีกมาพลันบัทเดยีวใจ

สูริยาตํกตํา สูวัณพลับพลา คิดถึงสายใจ เลารํารองให้ โอพระพีนาง นองนอยคอยหา สองกอนคอนตี รําใรใหหา จากราไชส่วัน

๐ญาณี๐


๒๐๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๐ คมทังคํงคา แนนทังส่มุทไท ๐ รีพํลแลทังหมา รัดรัฎแลหัดถี

รีพํลทังนัน ท้าวพินทุทัด บุญของผูว่ไน ออกนามลูกยา กลัวบูญเจานัก ถําอ่โรมาทัน

ไมรูว่าสักเท่าไร ข้ามไปใดดังท่วร่นี ทังเสนาแลเสนี คามนัทีสํารานใจ ๐ บัดเดยีวขามเถึงฟังพลัน ชวนกันคลาไคล ดีเนีอดีไจ ท้าวไทเขยขวัน ๐ตัวเจาใมมา กุมภาตัวสัน ลูกรักจอมขวัน พ่อมาหายไป

๐ พิลาป ๐ เคาพระณ่คอน หัวเมอีงปลายคาน ทับมาแตไหน อืนไกลเจากรุง บังออนเกสร ภาราพินทุ ว่าจอมจักระภาร ทิดาท้าวหาย เรงเร้วทูนไข

๐ ท้าวยํกพํลจอน โขม่ราช่กรุงไกร เอาสารบัดใจ บอกไปเร้วรา ๐ เสนาใช่ว่า นัคราบิดา กัล่ยาท้าวเจา ทัดทรํงไช ๐ หัวเมอีงแจงการ เจากรุงภํพไตร วุนวายคลาไคล เชิ่นส่เดจลิลา

๐ ญาณี ๐ ๐ ครันไกลพระบูรี ว่าท้าวเจาภารา

ใหเสนีทูนกรรูนา เสจ่มาเยยีนพระบุตรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๐๙

๐ (ไม่ปรากฏ) บาดจึงคลาไคล จึงทูนพระจักกรี ๐อ่นุชาว่าท้าวพินทุทัด บิตุเรศนางกัล่ญา ๐ บัดนั้นจึงพระบาท ว่าท้าวเจาภารา ๐ ท้าวคิดในพระไท จํงเจาทังสองสี

เถึงกรุงไกรของผูมี ทาวสูรีอ่นุชา องกระสัดเจาภารา ทีหายไปในพังพี ฟังอํามาดทูนกิจา พระบิดานางเทวี เร่งเร้วไปทูรเจ่าร่ลี ไปรับทาวเคานครา

๐ สูรางคนาง ๐ รับสังบิตุรํง ทรํงหมาภาชี ครันเถึงราชา เคาสูภารา ตรัดทรํงโสกนัก เชิ่นส่เดจเสจ่จา ใดฟังค่ดี สองกระสัดทรํง ทรํงคํช่สาร กับพระทิดา แสนสาวชาวที่ ตามส่เดจอ่อร่ไท บันจุลุถึง ประทับชางตน ยังเกยสูวัน นําเสจจ่วร่จัน ท้าว(ไม่ปรากฏ)

๐ กูมารสองอํงค กระบัดลินลา จ่วร่ลีออกมา กํมเกลาถ่ว้ายกร ๐ ขอเชินบิดา สํมเดจผูทอน เพยีงจักมวยมอน เคาสูภารา ๐ ท้าวทํงสองสี เขยขวันส่เนหา เครื่องยางเยอีงลินลา กล้าจากพลับพลา ๐ สวนฉายา ทรํงรํดอําไภ มากมีส่ไว ม่มีนี่นั่น ๐ บัดเดียวบ่วหึง เวยีงไชไอส่วัน บัดดนดวยพลัน แล้วเสจ่ลินลา ๐ สองอํงทรํงทัน สูแทนรํจ่นา จ่วร่อนยังพิ่


๒๑๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

มันม่หาแทนทอง บังคํมสองกระสัด ท้าวสุรีวํง ท้าววันชูลี เจาอ่พิวัน แล้วทูนถามไป พี่นางสองรา แจงว่าบังออน พี่นางสองสี เสจ่ยูปราง ตรัดสังสาวสี นําส่เดจโฉมยํง พี่นางประภา ชํมพระนัดา บัดบุนเรอีง กลับมาบุรี เมีอยักกุมพัน วิงลํงสายส่มุท จํงลองส่เน่หา ว่าเจาลํงหาย จึงท้าวผัวรัก อํดสาจ่วร่ เหนว่าทรํง(ไม่ปรากฏ) ว่าพระด้าวบํด ดูว่ามาร่สี

สูริยาบังคํมชูลี ๐ ฝ่ายท้าวพินทุทัด ทังอํงม่เหสี (ไม่ปรากฏ) สองกระสัดอันมา ๐ สีองเฉีดฉัน ทังสีกระสัดตรา เถึงไทเชฎา บัดนี้ยุไหน ๐ พี่นางเกสร เจานูนหายไป บัดนีเปนไฉ่น ใดขวทราบเกสา ๐สมเดจ่ชลนี บัดนีเร้วรา สูอํงเชถา ประสูดบุตรี ๐ เชินพระไอน่กา สํารานกายี สีเมอีงภูมี ยังมีพบไฉยา ๐ เจาพลัดจากกัน ไลสองลูกญา เถลสุดลูกตา เจามาพลัดกัน ๐ ดูว่าใมตาย ยูในหิม่วัน เพยีงจักอาสัน จนตามหามาร่สี ๐ ยาทรํงทุกนัก จักภํบเทวี ทรํงพรดพํงพี มีมวยบันไล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑๑

เจาจักเทยีวหา ทามีภํพกัล่ยา เวยีงใชเจาสันญา ช่ลเนดไลลัง เสียดายทิดา รักอํงคอ่อร่ไท เผ้าสองเทวี ชํมเชยนัดา สองนางคอยคลาย สูปรางโฉมฉาย ชมเชยหลานนอย เถงพระทิดา ตรัดสังเสนา วิ่เสดในนอก พํลมาเทาไร สูดูตรวดตรา สิงไรมํดเลา ยาใหคาดวัน คอยสําราน ตายายใมรู ใมมีอ่ไรมา พีเลยีงสาวสี ยานอยพระไท ไอย่กาจ่ทําขวัน

๐ สีเมืองเรอีงผ่า จํนพํบอ่อรไท ไมร่มไมร่มา บัดนีแลนา ๐ สองทาวใดฟัง ทังสองทาวไท แมมาหายไป ยิงกวาทังล้าย ๐ สวนสีกระสัดตรี พี่นางโฉมฉาย คอยมาส่บาย เถึงพระเชถา ๐ ฝ่ายพระตายาย เจาสูวันประภา คอยคลายวิญา เจามาหายไป ๐ ฝ่ายท้าววํงสา ใหเลยีงพลไกร บอกจํงทั่วไป เลยิ่งใหอิมนํา ๐ วัณล่สามเวลา ใหทัวเถิงกัน เบีกเอาดวยพลัน อํดยากอันมา ๐ สองกระสัดชํมหลาน ดวยราช่นัดา จอนจูลิลา ทํามิงสิงขวัน ๐แมนเถึงบูรี จักใดทําขวัน กลับไปไอส่วรร ยอดมิงส่เนหา


๒๑๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เคยชํมนารี ทุกคําคืนวัน คอยคลายโสกา กล้าวเถึงผูว่ ยูบัณ่สาลา กับพระฤาษรี พระไทคํานึง บุศ่ษานองรัก ทังทาวชํล่ใน จักเคาไปสุ จ่เหาะเหีนไป จักภาเทวี ดวยอํงอ่อร่ไท แดดนานายชาย จักภาไฉยา เคาไปไปบูรี ว่าพบไฉยา พบทังน่วไมม ไมร่มีโยทา จักขอริพํนพ่ จักรับอ่อร่ไท อ่นุชาสองสี ออกมารับป ขอท้าวบิดา

๐ ทาวยูบูรี นางราช่ทิดา นันเปนทุกขา ทิดามารสี ๐ เรอีงนียกไว ไนยเมอีงผูมี ทีป่าพํงพี สํารานพระไท ๐ ยุมาวันนึง เถึงอํงคอ่อร่ไท เจาจักเปนไฉ่น จักทุกแสนท่วี ๐ แล้วเลาตัวกู เวยีงไชบูรี ทีในวิถี เหาะทีเวหา ๐ ทีใหนจ่ไปใด ใมเคยสูรียา ต่องจ่มองภักตรา จ่วร่ดํนหํนใด ๐ พีหํงจ่วร่ลี ค่ดีทูนไท ยูป่าพงไพร พระโอรํถสา ๐ จ่เคาภารา ไพรฟ้าข้าไท หํนคํช่ไกร เคาสุภารา ๐ ข่อใหผูมี เจาคุมโยทา สูในภารา ใดโปรดเกสี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑๓

รับสังพระเจา บัดเดยีวเหีนเหาะ ใดสามราตรี หํงทองเคาไป จับตรํงแกลแก้ว จึงพ่ญาหํงสา เรืองริททิไกร (ไม่ปรากฏ) จักลุเวยีงไช เจาเดีนไปใด จักเหาะเวหํน ทังสามกระสัตรา เสนาสามํน ใหสองอ่นุชา รับอํงผูว่ไน ทังสองทานท้าว ว่าพระขุนเรอีง ภํบแก้วกัล่ญา ตรัดแก่ผูว่ใน ว่าพระหลานชาย ภํบทังพรสี ข่วพํลโยทา รับเคาบูรี ใหสองน่วไม

๐ หํงทองฟังทาว ใสเกลาชุลี จําเภาะบูรี เคาสูภารา ๐ ครันเถิงเวยีงไช สูปรางรํจ่นา จ่แจ้วเจร่จา ทูนพลันทันใด ๐ บัดนีขุนเรอีงชัย ภารพํบม่เหษรี ยูทีสาลาไล ยากยิงนักน้า ๐ คอยดวยพระออร่ไท มาทางกลางป่า ยากผํนคํลนา จักมาฉันใด ๐ จ่ขี่รีพล จ่วร่ดํนคลาไคล คุมโยทาไป เคาสูภารา ๐ ฟังหํงทองกล้าว ชืนชมหันสา สีเมอีงลูกยา จักคืนทานี ๐ สองกระสัดดีใจ อ่นุชาโฉมษรี ใดภํบเทวี นัดายาใจ ๐ เจาใหหํงมา ลินลาออกไป บัดนี้เร้วไวย ไปรับพียา


๒๑๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ใดฟังบันชา บัดเดยีวจัดพํล เรงเร้วออกไป รํดแก้วแว้วไว เทยีมดวยราชสี รับพระนัดา สังสองลูกยา บัดนีพียา ว่าพํบบังออน หํงมาทูนไข ใหพระพีนอง ไปรับเชถา บิดดามาสัง บิตุเรศมารดาล ใคแจงค่ดี ท้าวทังสองรา แลวจักใคชํม นัดานันใสร รับพระผูวไน สองกระสัดดีใจ ตายแล้วเกีดมา รับพระผูว่ไน กระสัดทังสอง สองอํงวันชูลี

๐ ทารท้าววํงษา ดีราช่หืฤไท พ่หํนคํช่ไกร รับราช่นัดา ๐ รับอังคสีส่ไภ สํารับกัล่ญา ผอันมีศักดา ดวยชางกระโจมทอง ๐ แล้วกลับเคามา ว่าพระภูทอน ยูป่าดํงดอน ยูบัณ่สาลา ๐ บัดนีเจาให ข่วพํลโยทา ทังสองลินลา เถึงพระฤาษรี ๐ สองกระสัดใดฟัง ชืนชํมยินดี ของนางเทวี ชืนชํมดีใจ ๆ ๐ ใคฑ้วทิดา ชืนราชหฤไท พิ่รมดีใจ สํมใจนักน้า ๐เชีนพ่วเรงไป ลูกนอยแม่มา ยิงใดคํล่นา ใดภํบบุตรี ๐ เจาไปพ่วไป เคาสูบูรี รับรองวาที ลินลาคลาไคล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑๕

ประเสีดเลีส่ลํน กรีทาพ่นีกอน เลยีงพํลส่กล่ไกร เสยีงพํลมํนตรี แสนสาวชาวใน ส่เด่จรอยชัง จัดใหบํท่จอน จ่นับโกฏิแสน สํมเด่จ่บิดา โฉมงามมีสี รับนางจอมขวัน รับนางสีส่ไภ พระทองสอสีน ออกจากวังใน พํลรํดคํชา ปัต่พีใววัน เนีอเบีอเสีอสี เสยีงพํลวาดไว ฝุงสัดลิงโลด ฝุงสัดในป่า เมีอสองแมฉาย ตามแท้วแน้วใม สิบหาราตรี เคาแดนม่หา

๐ เสจ่ทรํงชางตํน ยํกพํลจรไป ส่ทอนวาดไหว ม่มีนีนัน ๐ ออกจากบูรี ม่มีในวัง จัดน้าชังรับ ทีในพฤกษา ๐ ทาวทารมารดอน ไปรับทิดา แนนอ่รัญ่วา ตรัดใหคลาใคล ๐ ทารท้าวชัล่นี สังใหคลาใคล นันมากเลอีไตร แก้วแม่เร้วรา ๐ครันใดเริ่กดี ยํกพลลิ่นลา วาดไหวภารา มิงหมาแสงไส ๐ ชางดนชางกัน ส่นันพํงไพร วิงนีสรอนไป ปิมหูจะแตกตาย ๐ พํลแนนแสนโกฏ อํกควําขวันหาย บางมาชอนตาย ยํกพัลลินลา ๐ หํงทองนําไป เคาในพรืกษา เถึงทีสาลา ตาไฟฤาษรี


๒๑๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ยูบัณสาลา ใดยินเสยีงพํล ดีรายสองสี ไนย่เนดแล หํงหุนพระอํง ว่าสองอ่นุชา บอกอ่อร่ทรามไว สํมเดจบิดา รับพระบังออน พวกพํลส่กํลไกร อ่นุชาสองสี

๐ สีเมืองราชา เมือรุงราตรี เกลอีนกลํนปํต่พี เจาเสจ่ออกมา ๐ คิดยูบัดเดยีว เลยีวจึงเหนปักษา ผุทรํงริททา มารับส่เดจจอน ๐ ฟังหํงขานไข ท้าวนองสายมอร ใหอ่นุชาจอน เคาสูภารา ๐ตรัดกันทันใจ เถึงบัณ่สาลา จ่วร่ลีลินลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑๗

สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ดรณ์ แก้วนัย๑๕ บทนํา วรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก เป็นชาดกลําดับที่ ๔๑ ในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทาง พระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่น แพร่หลายในยุคนั้น แล้วนํามารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๐ – ๒๒๐๐ โดยเขียนไว้ด้วยภาษา บาลี มีทั้งคําประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น ๕๐ ชาดก สําหรับแก่นของวรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก นี้เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ตอนเสวยพระชาติเป็นพระ สังขปัตตะเพื่อบําเพ็ญทานบารมี การแสดงให้เห็นความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม ดังวิบากกรรมในชาติปางก่อน ของพระโพธิสัตว์ที่เคยแกล้งสามเณรน้อยให้จมน้ําจนเปียกปอน เพื่อล้อเล่นสนุกสนานทําให้ต้องพบกับความ ทุกขเวทนาว่ายน้ําในมหาสมุทรถึง ๗ วัน ๗ คืน แต่ด้วยบารมีแห่งกรรมดีที่สั่งสมมาพระองค์จึงผ่านพ้นวิบาก กรรมต่างๆ นั้นและประสบความสุขในมหาสมบัติในชีวิต และเมื่อละโลกนี้ไปแล้วก็บังเกิดในสวรรค์ วรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก นี้มีแพร่หลายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทยอยู่หลายฉบับ ทั้งที่ ปรากฏรวมอยู่ในปั ญญาสชาดกสํานวนต่างๆ และที่แยกออกมาเฉพาะเรื่ อง สังขปัตตขาดกเพียงเรื่องเดีย ว สําหรับต้น ฉบับที่แยกออกมาเพียงเรื่องเดียวนั้น ปัจจุบัน ที่สืบค้นพบมีทั้งสิ้น ๒๑ สํานวน และบั นทึกอยู่ใน ใบลานทั้งสิ้น ประกอบด้วย ๑. อักษรธรรมล้านนา ๑๔ ฉบับ ๒. อักษรธรรมอีสาน

ฉบับ

๓. อักษรขอม

ฉบับ

๔. อักษรมอญ

ฉบับ

จังหวัดจันทบุรีก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่กระจายของวรรณกรรมเรื่องนี้ จากการศึกษาพบว่าใน อดีตตามวัดต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรีมีการแสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง สังขปัตตชาดกนี้ให้แก่ชาวบ้านได้สดับ ตรับฟังในวันพระ โดยจะแสดงสลับกับชาดกหรือนิทานธรรมะเรื่องอื่นๆ ส่วนวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ นั้นจะแสดงพระธรรมเทศนาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวันสําคัญหรือเทศกาลนั้นๆ เช่น วันออกพรรษาแสดง พระธรรมเทศนา เรื่อง เวสสันดรชาดก หรือวันมาฆบูชาแสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง พระเจ้าสิบชาติ เป็นต้น สําหรับเอกสารต้นฉบับเรื่องสังขปัตตชาดกในจังหวัดจันทบุรีนั้นพบว่าบันทึกอยู่ในใบลานเพียง ๒ ฉบับ เท่านั้น เนื่องจากมีเอกสารต้นฉบับจํานวนมากที่ชํารุดและสูญหาย ส่วนต้นฉบับเรื่องนี้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด คือ ฉบับของวัดใหญ่พลิ้ว ตําบลพลิ้ว อําเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งต้นฉบับจารลงบนใบลานและใช้อักษร ๑๕

นักวิชาการอิสระ เครือข่ายศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลับมหิดล


๒๑๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ขอม ภาษาบาลีขอม และภาษาไทยในการบันทึก รวม ๓ ผูก ๑๖ และฉบับที่นํามาปริวรรตนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยพระสมุห์สม และคณะ จัดสร้างขึ้น จากการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร. นิย ะดา เหล่ าสุ นทร พบว่ า ชาดกในปัญ ญาสชาดกทั้งที่เ ป็ น ต้นฉบับตั วเขี ยนยังไม่ได้ ตีพิมพ์และที่ เป็ นฉบั บพิมพ์แล้วมี ความสํา คัญในด้ านที่ มีอิทธิพลต่อการเกิ ดขึ้น ของ วรรณกรรมร้อยกรองของไทยทั้งสิ้น ๒๑ เรื่อง๑๗ สําหรับเรื่องสังขปัตตชาดกนั้น พบว่า มีอิทธิพลทําให้เกิด วรรณกรรมร้อยกรองเรื่องสังขปัตคํากาพย์ ซึ่งวรรณกรรมร้อยกรองเรื่องนี้เนื้อเรื่องโดยรวมมีลักษณะคล้ายคลึง กับเรื่องในชาดกแต่รายละเอียดของเรื่องแตกต่างออกไปและแต่งด้วยคําประพันธ์ประเภทคํากลอน จึงเรียกชื่อ ว่า สั งขปั ตคํ า กาพย์ ต้ น ฉบั บ บั นทึ กในสมุ ดไทยขาวด้ว ยอั กษรไทย ภาษาไทย ปั จ จุบั น เก็ บ รั กษาที่ ห อสมุ ด แห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ และสันนิษฐานว่าน่าจะเคยใช้สวดให้ชาวบ้านฟังมาก่อน หอสมุดแห่งชาติจึงจัด เรื่องนี้สังขปัตคํากาพย์นี้อยู่ในหมวดวรรณคดี หมู่กลอนสวด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร ได้อธิบายว่า กลอนสวดเป็นคําเรียกประเภทของวรรณกรรม ประเภทหนึ่ง หมายถึง วรรณกรรมคํากาพย์ที่นํามาอ่านเป็นทํานองสวด วรรณกรรมประเภทนี้แต่งด้วยคํากาพย์ ชนิดต่างๆ ได้แก่ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธ ศาสนา โดยมีทั้งเนื้อหาที่มุ่งสอนข้อธรรมะโดยตรงและโดยอ้อมซึ่งได้แก่เรื่องชาดกและเรื่องที่แต่งเลียนแบบ ชาดก วรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก จึงมีลักษณะวรรณกรรมชาดกซึ่งประกอบด้วยด้วยปัจจุบันวัตถุ อดีต วัตถุ คาถา และสโมทาน การดําเนินเรื่องเป็นไปตามเหตุการณ์ ไม่ซับซ้อน ลักษณะคําประพันธ์เป้นแบบร้อย แก้ว โดยมีการยกคาถาภาษาบาลีตั้งแล้วอธิบายขยายความ ตัวละครในเรื่องสมจริง คือ มีการแสดงอารมณ์ เหมือนกับปุถุชนทั่วไป การใช้ภาษา มีการใช้ภาษาถิ่นภาคกลางแทรกด้วยคําและสํานวนที่เป็นภาษาพูดในท้องถิ่นจังหวัด จันทบุรี โดยใช้ภาษาที่ง่ายในการสื่อความหมาย แต่มีศิลปะในการใช้ถ้อยคําที่มีความไพเราะและเหมาะสมกับ ฐานะของบุคคลและสถานการณ์ต่างๆ ในเรื่อง นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการใช้คําซ้ํา คําซ้อน และคําที่มีสัมผัส เพื่อให้เกิดความไพเราะและเน้นความหมายอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ วรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดกยังมีการใช้ โวหารภาพพจน์หลายชนิด ที่พบมากคือ การอุปมา อุทาหรณ์ และการอ้างถึง สภาพสังคมที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นสังคมที่ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์ เป็นผู้มีอํานาจสูงสุด การแบ่งชนชั้นทางสังคมเป็นไปแบบไม่เคร่งครัด ชนชั้นกษัตริย์มีความนิยมอภิเษกกับชน ชั้นเดียวกัน เพื่อรักษาวงศ์กษัตริย์และประโยชน์ทางด้านการเมือง ในขณะเดียวกันความสัมพันระหว่างคนที่ต่าง ชนชั้นกันในด้านอื่นๆ กลับไม่มีช่องว่างนัก มีลักษณะเป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากกว่า ๑๖

ดุลยา ทับถม, การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกฉบับจังหวัดจันทบุรี, วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐ : หน้า ๑– ๒. ๑๗ นิยะดา เหล่าสุนทร, ปัญญาสชาดก: ประวัติและความสําคัญที่มตี ่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย (กรุงเทพฯ : แม่คําฝาง, ๒๕๓๘), หน้า ๕๒ – ๕๔, ๑๓๔.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑๙

วรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกนี้นอกจากจะมีความสําคัญในการก่อให้เกิดวรรณกรรมร้อยกรองของ ไทยเรื่องอื่นๆ แล้ว วรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกฉบับวัดใหญ่พลิ้ว อําเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ยังมี คุณค่ าในแง่ ของการเป็ น วรรณกรรมท้ องถิ่ น ที่ ช่ ว ยบั น ทึ กสภาพสั งคมในท้ องถิ่ น จั น ทบุ รี แสดงถึ งประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการทํา ศพ และพิธีสัตยาธิษฐาน ความเชื่อเรื่องกรรม ความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ เป็นต้น ตามแก่นพระพุทธศาสนาที่ เน้นเรื่องการทําความดี เว้นความชั่ว และทําจิตใจให้บริสุทธิ์ ลักษณะต้นฉบับวรรณกรรม เรื่อง สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว อําเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ต้นฉบับวรรณกรรม เรื่อง สังขปัตตชาดก ฉบับนี้ มีลักษณะสําคัญ ดังนี้ ลักษณะต้นฉบับ ต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว อําเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี นี้บันทึก อยู่ในใบลานที่จารด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย ฉบับล่องชาด ไม่มีประกับ จํานวน ๓ ผูก๑๘ อักษรขอมไทย เป็นอักษรที่คนตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ถือว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ จึงใช้ อั กษรขอมนี้ ใ นการบั น ทึ ก ตํ า ราและเรื่ องราวในทางพระพุ ทธศาสนา เช่ น บทสวดมนต์ คั มภี ร์ ต่ า งๆ และ วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น เอกสารใบลานเป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่งที่มีการจารเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานซึ่งเป็น วัสดุธรรมชาติที่นํามาจากใบของต้นลาน เนื่องจากคนไทยสมัยโบราณนิยมจารเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ลงบนใบลาน จึงนิยมเรียกเอกสารใบลานนี้ว่า คัมภีร์ใบลาน การบอกเลขหน้าในใบลานจะใช้เครื่องหมาย “อังกา” คือ ตัวอักษรที่จารไว้บริเวณกึ่งกลางด้านซ้าย ของด้านหลังใบลานแต่ละใบ เพื่อใช้บอกหน้าของหนังสือใบลานนั้น อักษรที่ใช้ในการบอกหน้าใบลานจะใช้ อักษรแบบเดียวกับอักษรที่จารในเรื่อง โดยจะใช้พยัญชนะในอักษรนั้นๆ จํานวน 33 ตัว ผสมกับสระ ๑๒ ตัว เริ่มตั้งแต่อักษรตัวแรก คือ ก ผสม กับรูปสระ ๑๒ ตัว สําหรับต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกนี้เริ่มตั้ง แก่ ก ถึง เฉ ส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นจารด้านหน้าและด้านหลังของใบลานหน้าละ ๕ บรรทัด ที่ปกของทุกๆ ผูก จะมี การจารชื่อเรื่องและหมายเลขผูกไว้ ทั้งที่เป็นอักษรขอมและอักษรไทย เฉพาะหน้าปกของผูกที่ ๑ เท่านั้นที่มี การบันทึกบอกชื่อผู้สร้าง ปีที่สร้าง และระบุสถานที่เก็บรักษาต้นฉบับไว้ด้วย ผู้แต่งและผู้สร้างต้นฉบับ ต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้วนี้คณะผู้สร้างประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์ ๖ รูป ฆราวาสชาย ๖ คน และฆราวาสหญิ ง ๖ คน กล่า วคือ พระสมุ ห์ สม เป็ น หัว หน้า คณะมี พระมหาเฉื่ อย ๑๘

“พระสังขปัตชาฎก,” หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จังหวัดจันทบุรี, ใบลาน, ๓ ผูก อักษรขอม, ภาษาบาลี – ไทย, เส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ, พ.ศ. ๒๔๗๐, เลขที่ จบ.บ. ๒๖๕/๑-๓.


๒๒๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พระฟัก พระหนุ่ม พระวาด พระจ้อย นายทองศุก นายชิ่น นายห่อ นายนาก นายจบ นายฉึง นางจุ๊ย นางยิ้ม นางเหงียม นางทรัพย์ นางเสย นางตี๋ ตามลําดับ การร่วมกันสร้างหนังสือถวายไว้ในพระพุทธศาสนานี้สันนิษฐานว่าอาจสร้างขึ้นในโอกาสสําคัญหรือวัน สําคั ญในทางพระพุ ทธศาสนา เนื่ องจากร่ว มกัน สร้ างเป็น หมู่คณะ ถือเป็ นการทํ าบุญ ประการหนึ่งและเป็ น ค่านิยมในทั่วทุกภาคของประเทศไทย อายุของต้นฉบับ ในต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกไม่ปรากฏวันและเดือนที่สร้างต้นฉบับ ปรากฏเพียงปีที่สร้าง ดังข้อความว่า “จัดสร้างไว้ในอารามวัดใหญ่พลิ้วเมื่อปีเถาะ นพศก พระพุทธศาสนาล่วงได้ ๒๔๗๐ พรรษา” (หน้า ๑/๑ – ๑/๒ ของฉบับถ่ายสําเนา) ข้อความข้างต้นแสดงว่าต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องนี้ ฉบับนี้ ถูกสร้างขึ้นในปีเถาะ นพศก พุทธศักราช ๒๔๗๐ หรื อตรงกับ ปี จุ ล ศั กราช ๑๒๘๙ และปี รั ต นโกสิ น ทร์ ศก ๑๔๖ ซึ่ งตรงกั บ สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมอายุถึงปัจจุบัน ๘๔ ปี (ณ พ.ศ. ๒๕๕๔) จุดมุ่งหมายในการสร้าง การสร้ า งหนั ง สื อ คั ม ภี ร์ หรื อ วรรณกรรมทางพระพุ ท ธศาสนานั้ น ถื อ ว่ า เป็ น การสื บ ทอด พระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง การคัดลอกคัมภีร์หรือวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเพื่อเก็บรักษาไว้ที่วัดในประเทศ ไทย ผู้สร้างและผู้คัดลอกมักแสดงความปรารถนาของตนไว้ แต่ในวรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก นี้ไม่ได้กล่าว ไว้ เพียงแต่ระบุสถานที่ในการเก็บรักษาต้นฉบับให้เป็นสมบัติของวัดใหญ่พลิ้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี วรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก ฉบับนี้ แม้จะไม่ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างอย่าง ชัดเจน แต่การสร้างวรรณกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายในการสร้างแฝงไว้ด้วยเสมอ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา มักมีจุดมุ่งหมายในการสร้างเพื่อจูงใจพุทธศาสนิกชนให้เลื่อมใสใน พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าและการปฏิบัติตนเป็นคนดี เพื่อความบรรลุธรรมชั้นสูงต่อไปในอนาคต วรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าในตอนท้ายของแต่ละผูกจะปรากฏคํากล่าว ของพระสงฆ์ผู้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ เช่น “อาตมาภาพรับทานวิสัชนามาในเรื่องราว สังขปัตตชาฎก สมมุตติ ยุตติไว้แต่เพียงนี้ฯ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้” เป็นต้น ซึ่งจะเป็นรูปแบบการเขียนกัณฑ์เทศน์ในพระพุทธศาสนา รูปแบบหนึ่ง ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าการสร้างวรรณกรรมเรื่องนี้และเก็บรักษาไว้ในวัดจึงมีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ ใช้ แสดงแก่ พุทธศาสนิกชนในโอกาสสําคั ญหรื อในวันสํ าคั ญทางพระพุทธศาสนา เพื่อแสดงคุณธรรมของพระ โพธิสัตว์ในการบําเพ็ญทานบารมีก่อนที่ จะกลับมาตรั สรู้เป็นพระพุ ทธเจ้าในชาติสุดท้าย นอกจากคุณธรรม ดังกล่าวแล้วยังเป็นแทรกคติธรรมคําสอนการครองเรือนระหว่างสามีภรรยา การคบค้าสมาคม เพื่อกล่อมเกลา จิตใจในผู้สดับตรับฟังกระทําความดี และเจริญในหน้าที่การงานของตนตามสถานภาพอีกด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๒๑

ที่มาของต้นฉบับ ต้นฉบับวรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก ฉบับนี้มีการระบุไว้ว่า “จัดสร้างไว้ในอารามวัดใหญ่พลิ้ว” ใน หน้าแรก ต้นฉบับวรรรณกรรมเรื่องนี้จึงถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดใหญ่พลิ้ว อําเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางวัดใหญ่พลิ้วจึงได้มอบเอกสารใบลานต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องสังข ปัตตชาดกให้แก่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จังหวัดจันทบุรี เพื่อเก็บรักษาและอนุรักษ์ให้ชนรุ่นหลังได้ ศึกษา เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ จึงได้ทําการสําเนาเอกสารใบลานฉบับนี้เพื่อนํามาจัดเก็บและ ปริวรรตเผยแพร่ต่อไป ลักษณะอักษรที่ใช้ในการบันทึก วรรณกรรมเรื่อง สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว บันทึกเรื่องราวบนใบลานดัวยอักษรขอม ภาษา บาลี-ไทย หรือที่นิยมเรียกว่า อักษรขอมไทย อักษรขอม เป็นอักษรที่มีอิทธิพลต่อการเขียนหนังสือของคนไทยในอดีตอย่างมาก เป็นอักษรที่ใช้ควบคู่ กับอักษรไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากตําราวิชาการ คาถาอาคม หรือคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาบาลีนั้นมักจะบันทึกด้วยอักษรขอม เพราะเชื่อกันว่า อักษรขอมเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ รูปแบบอักษรที่ใช้ในการบันทึกวรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดก จึงมีดังนี้ พยัญชนะ พยัญชนะอักษรขอมที่พบในวรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดก มี ๒ รูป คือ ๑) พยัญชนะตัวเต็ม คือ รูปพยัญชนะที่เขียนเต็มรูปแบบของอักษรขอมไทย ทําหน้าที่เป็น พยัญชนะต้น พยัญชนะประสม และบางครั้งทําหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวสะกด ในต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องสังข ปัตตชาดกปรากฏรูปพยัญชนะตัวเต็ม ตัวเต็ม ๓๒ ตัว ๒) พยัญชนะตัวเชิง คือ รูปพยัญชนะที่ใช้เขียนไว้ใต้พยัญชนะตัวเต็มหรือสระ ไม่สามารถเป็น พยัญชนะต้นได้ ทําหน้าที่เป็นพยัญชนะประสมและตัวสะกด ตัวตามในหลักสังโยคของภาษาบาลีได้ ในต้นฉบับ วรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกปรากฏรูปพยัญชนะตัวเชิง ๒๙ ตัว รูปพยัญชนะในวรรณกรรมเรื่องสังขปั ตตชาดกนี้พบว่ าเป็ นพยั ญชนะขอมไทยน้อยกว่ ารู ป พยัญชนะไทยอยู่ ๙ ตัว ที่ขาดไปได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ และ ฮ โดยมีวิธีการดังนี้ - พยัญชนะ ด ในคําไทยปัจจุบัน อักษรขอมใช้รูป ฑ หรือ ต เขียนปะปนกันไป - พยัญชนะ ฝ ในคําไทยปัจจุบัน อักษรขอมไทยใช้รูป ช ส และ ทรฺ เขียนแทน ปะปนกันไป - พยัญชนะ บ ในคําไทยปัจจุบัน นิยมใช้พยัญชนะ ป ในอักษรขอมเขียนแทนหรือ ใช้ ป ในอักษรขอมที่แปลงรูปมีหาง และใช้ทั้งสองรูปปะปนกันไป


๒๒๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

- พยัญชนะ ฟ ในคําไทยปัจจุบัน อักษรขอมไทยใช้วิธีการแปลงรูป พ เป็น ฟ - พยัญชนะ ฃ ฅ ในต้นฉบับไม่มีการใช้ มีแต่การใช้รูปพยัญชนะ ข และ ค เท่านั้น - พยัญชนะ ฎ ไม่ปรากกรูปในต้นฉบับ แต่เมื่อต้องการบันทึกคําไทยที่เขียนด้วย พยัญชนะ ฎ จะปรากฏใช้รูปพยัญชนะ ฏ และบางครั้งใช้รูปพยัญชนะ ฑ ก็มี - พยัญชนะ ฮ ไม่ปรากฏในต้นฉบับนี้ สระ รูปสระในต้นฉบับวรรณกรรมเรื่องนี้มี ๒ ประเภท คือ สระจม และสระลอย ๑) สระจม คือ สระที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะทีปรากฏในเรื่องสังขปัตตชาดกมี ๒๓ ตัว เช่น อะ อา อิ อี อึ อื เป็นต้น ๒) สระลอย คื อ สระที่ ส ามารถนํ า มาเขี ย นเป็ น คํ า ได้ โ ดยไม่ ต้ อ งประสมกั บ พยั ญ ชนะ ใน วรรณกรรมเรื่องนี้มีรูปสระลอยปรากฏอยู่ ๙ ตัว ในต้นฉบับของวรรณกรรมเรื่องนี้ได้ปรากฏรูปสระลอยเพิ่มขึ้นอีก ๒ ตัว คือ สระ อึ ลอย และ สระ อื ลอย โดยการนําสระ อิ ลอย มาดัดแปลงด้วยการเติมนิคหิต อํ และเครื่องหมายฟันหนูลงไป วรรณยุกต์ ในต้นฉบับเรื่องนี้ปรากกใช้รูปวรรณยุกต์ในอักษรขอมไทย ๒ รูป คือ รูปวรรณยุกต์ต้นฉบับ (อักษรขอม ไทย) และวรรณยุกต์ปัจจุบัน ได้แก่ เอก โท ตรี จัตวา ตัวเลข ตัวเลขที่พบในต้นฉบับของวรรณกรรมเรื่องนี้พบเกือบทุกตัวยกเว้นเลข ๙ ที่ไม่มีปรากฏ และบางครั้งใช้ การเขียนอักษรแทนตัวเลข เครื่องหมายประกอบการเขียน เครื่องหมายประกอบการเขียน หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้กํากับพยางค์ คํา วลี ประโยค เพื่อช่วยใน การอ่านออกเสียงพยางค์ คํา วลี ประโยค นั้นๆ ให้ถูกต้องตามลักษณะการใช้ ในวรรณกรรมเรื่อง สังขปัตต ชาดก นี้ปรากฏเครื่องหมายประกอบ ได้แก่ ไม้หันอากาศ วิสรรชนีย์ ฝนทอง อังคั่นเดี่ยว/เปยยาล ฟันหนู อัง คั่นคู่ นิคหิต อังคั่นวิสรรชนียโคมูตร ไม้ยมก เครื่องหมายลบคําผิด ไม้ไต่คู้ เครื่องหมายแทรก วงเล็บปีกกา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๒๓

บรรณานุกรม กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตําราเรียนอักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โครงการตําราภาษา – จารึก ลําดับที่ ๓ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. คนึงนิจ จันทร์กระวี. “ลักษณะอักษรและอักขรวิธีไทยในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ตอนต้น.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. ดุลยา ทับถม. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสังขปัตตชาดกฉบับจังหวัดจันทบุรี.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. ตรีศิลป์ บุญขจร. “วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐. ตรีศิลป์ บุญขจร. วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗. นิยะดา เหล่าสุนทร. ปัญญาสชาดก : ประวัติและความสําคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แม่คําผาง, ๒๕๓๘. พงษ์จันทร์ คล้ายสุบรรณ์. วรรณคดีศาสนาและขนบประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ บํารุงสาส์น, ๒๕๒๘. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖. “พระสังขปัตชาฎก,” หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จังหวัดจันทบุรี, ใบลาน, ๓ ผูก อักษรขอม, ภาษาบาลี – ไทย, เส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ, พ.ศ. ๒๔๗๐, เลขที่ จบ.บ. ๒๖๕/๑-๓.


๒๒๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๒๕

สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ๚ ข้าพเจ้า ๚ พระมหาเฉื่อย, พระฟัก, พระหนุ่ม, พระจาด, พระจ้อย, นายทองศุก, นายชิ้น, นายห่อ, นายนาค, นายจบ, นายฉึง, ฯ นางจุ๊ย, นางยิ้ม, นางเหงียม, นางทรัพย์, นางเสย, นางตี๋, ฯ พระสมุห์สมหัวหน้าจัดสร้างไว้ในอารามวัดใหญ่พลิ้ว เมื่อปีเถาะนพศก ะ๛ ฯ พระสังขปัตตชาดกฯ ฯ พระพุทธศาสนาล่วงได้ ๒๔๗๐ พรรษา ะ๛

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕) (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ฯ พระสังขปัตตชาดก ผูก ๑ ฯะ ๚ มหาพฺรหฺมสํฆา มหิทฺธิกาติ อิทํ สตฺถา เชตวเน วิ หรนฺโต อตฺตโน ทานปารมึ อารพฺภ กเถสิ เอก ทิวสมฺหิ ภิกฺขุ สมฺมสภายํ กถํ สมฏฺฐเมสุ อาวุโส ตถาคโต ปรมาภิสมฺโภธึ ปตฺวา ปถมทาน ปารมึ อาทิโตโหติ ๚ สตฺถา อันว่าองค์สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้า วิหารนฺโต ครั้งหนึ่งเสด็จสําราญอยู่ในพระเช ตวันมหาวิหารใกล้กรุงสาวัตถี อารพฺภ ทรงพระมหากรุณาปรารภถึงพระทานบารมีของพระองค์ให้เป็นอุบัติเหตุ กเถสิ จึง ตรัส พระสธรรมเทศนาเรื่องราวพระสังขปัตตชาดกนี้ให้เป็นผล ยุติด้วยบทต้นพระคาถาว่า มหาพฺรหฺมสํฆา มหิทฺธิกาอิติ เป็นปฐมอาทิฉะนี้ก่อน หิ ดังจะให้วิตถารในเรื่องราวนิทานสังขปัตตชาดกนี้ ปางเมื่อสมเด็จ พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ใน พระเชตวันมหาวิหารครั้งนั้น เอกทิวสํ อยู่มาวันหนึ่ง พระภิกขุสงฆ์ทั้งปวงสันนิบาตประชุมกัน ในโรงธรรมภาคสาลา สั่งสนทนาเจรจาแก่กันว่า

หน้า ๓/๑ – ๓/๒ กา (บรรทัดที่ ๑) อาวุโส ดูกรอาวุโส สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าของเรานี้ พระองค์มีพระทัยยินดีในที่จะ บําเพ็ญพระทานบารมี (บรรทัดที่ ๒) พระทานบารมีของพระองค์นั้นล้ําเลิศประเสริฐใหญ่หลวง เป็นปัจจัยให้สําเร็จแก่พระสร้อย เพชฤชุดาญาณ เป็น (บรรทัดที่ ๓) บรมครูหมู่นิกรเทพามนุสสา พุทธเวนัยถึงเพียงนี้แล้ว น้ําพระทัยของพระองค์ก็ยังมิได้อิ่มที่จะ บําเพ็ญทานบารมี


๒๒๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เมื่อพระภิกขุสงฆ์ทั้งปวงสนทนาเจรจาดังนี้ ก็ทราบไปถึงทิพยโสตธาตุสมเด็จพระมหากรุณา พระองค์ออกจากพระ คันทกุฎีแล้วก็เสด็จพระพุทธดําเนินมาสู่โรงธรรมภาคยสาลา นิสีทนาการ ทรงนั่งเหนือบัญญัต ตาอาศน์ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ทั้งหลาย ท่านทั้งปวงมาสั่งสนทนากันด้วยอรรถคดีเป็นประการใด พระสงฆ์ทั้งปวงก็ กราบทูลสนองพระพุทธฎีกาโดยนัยที่ตนสนทนา กันมาแต่หลัง จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรสงฆ์ทั้งปวง พระตถาคตนี้จะได้อิ่มในที่จะบําเพ็ญ ทานบารมีนั้นหามิ ได้ สันดานของตถาคตนี้ยินดีในทานยิ่งนัก เมื่อตถาคตเสวยพระชาติเป็นบรมโพธิสัตว์ยังสร้าง พระบารมีอยู่แต่ปาง ก่อนนั้น ถึงจะต้องภัยได้ทุกขเวทนาสาหัสสากันเป็นประการใดๆ ก็ดี ตถาคตจะได้เบื่อหน่าย คลายจากที่บําเพ็ญ ทานบารมีนั้นหามิได้ มีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้ว ก็ดุษฎีภาวะนี่งอยู่ พระภิกษุทั้งปวงจะใคร่ แจ้งในอดีตนิทานจึงกราบทูลอาราธนาสมเด็จ

หน้า ๔/๑ – ๔/๒ กิ (บรรทัดที่ ๑) พระพุทธองค์เจ้าก็นําเอาอดีตนิทานพระสังขปัตตชาดกมาโปรดประทานพระสธรรมเทศนาว่า ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ทั้งปวง อตีเต (บรรทัดที่ ๒) กาเล ในอดีตกาลล่วงแล้วแต่หลัง ยังมีพระบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่า พระ เจ้ายศ (บรรทัดที่ ๓) มหาราชบรมบพิตรเสวยสมบัติอยู่ในเมืองโปตรีนคร มีอโศกราชเป็นแว่นแคว้น พระองค์เสวย สมบัติเป็น (บรรทัดที่ ๔) ยุตติธรรม บริบูรณ์ไปด้วยพลพหลจตุรงคเสนา แสนสุริยโยธา ข้าเฝ้าธุลีพระบาทเป็นอันมาก พระเจ้า (บรรทัดที่ ๕) ยศมหาราชมีพระอัครมเหสีทรงพระนามชื่อว่า สุตกิตติราชเทวี ตถา ครั้งนั้นยังมีบรมกษัตริย์ อีกพระองค์หนึ่งเล่าทรง (บรรทัดที่ ๑) พระนามชื่อว่า พระเจ้าอังกุรมหาราชได้เสวยสมบัติในโลหทวีป มีพระอัครมเหสีทรงพระนาม ชื่อว่า นางอนงคเสนา เอกโต ชาโต (บรรทัดที่ ๒) [กษัตริย์ทั้งสอง คือ พระเจ้ายศมหาราช] กษัตริย์ทั้งสองนี้ เธอเป็นทองแผ่นเดียวกัน กิริยาว่า นางสุตกิตติราชเทวี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๒๗

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ที่เป็นพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้ายศมหาราชนั้น เป็นกนิษฐภคินีน้องสาวของพระเจ้าอังกุร มหาราช แรกเริ่มเดิมที นั้น พระเจ้าอังกุรมหาราชให้แต่สําเภาพันหนึ่ง บรรทุกเต็มไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ก็อันเชิญ พระสุตกิตติราชเทวี ผู้เป็นพระเจ้าน้องยาเธอให้เสด็จขึ้นสู่สําเภากับด้วยยศบริวารเป็นอันมากแล้วก็ส่ง เข้ามาถวายแก่พระเจ้ายศมหาราช

หน้า ๕/๑ – ๕/๒ กี (บรรทัดที่ ๑) อันเสวยสมบัติอยู่ในเมืองโปตรีนคร พระสุตกิตติราชเทวีนั้น เมื่อได้มาเป็นพระอัครมเหสีแห่ง พระเจ้ายศมหาราช ก็เป็นที่ (บรรทัดที่ ๒) ชอบพระไทยยิ่งนัก ตทา อมฺหากํ โพธิสตฺโต ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้ พระองค์เสวยพระชาติเป็น (บรรทัดที่ ๓) เทวบุตรอยู่ในดาวดึงส์พิภพ ตโต จวิตฺวา พระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้นจุติจากสวรรค์แล้วก็จุติลงมา บังเกิดในครรภ์ (บรรทัดที่ ๔) แห่งพระสุตกิตติราชเทวี ผู้เป็นอัครมเหสีแห่งพระเจ้ายศมหาราชนั้น ปฏิสนฺธิกฺขเณขณะเมื่อ พระบรมโพธิ(บรรทัดที่ ๕) สัตว์ลงมาปฏิสนธินั้น สมเด็จพระมารดาเผอิญให้หนักพระครรภ์มีครุวนาดุจดังว่าพระครรภ์นั้น เต็มไปด้วยแก้ววิเชียร เป็นทั้งนี้แต่พอจะให้ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

พระมารดารู้ว่าทรงพระครรภ์แล้วก็อันตรธานหายในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระสุตกิตติราชเทวี เมื่อทรงพระครรภ์พระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้น นางพระยามี พระทัยปรารถนาจะใคร่บําเพ็ญทาน จึงกราบทูลแก่สมเด็จพระภัสดาสามี พระยศมหาราช พระองค์ก็ให้กระทํา โรงทานนั้น ๖ แห่ง คือ ประตูเมืองทั้ง ๔ แลท่ามกลางพระนครนั้นแห่ง ๑ หน้าพระลานนั้น แห่ง ๑ เป็นหกแห่งด้วยกัน แล้วก็จําหน่ายทรัพย์วันละหกแสนๆ ให้พระราชเทวีเจ้าบําเพ็ญพระทานบารมี สําเร็จมโนรถ ความปรารถนา มหาสตฺเต กุจฺฉิตฺเต เมื่อสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าเสด็จอยู่ในคัพโภทรชนนีมารดา ครั้งนั้น เผอิญให้ส่วยสาอากรบังเกิดขึ้นมาก

หน้า ๖/๑ – ๖/๒ กุ (บรรทัดที่ ๑) จะนับจะประมาณมิได้ บรรดาท้าวพระยาสามลราชในสกลชมภูทวีปนั้น ต่างองค์ก็แต่งเครื่อง ราชบรรณาการ ดอกไม้เงินทองสิ่งของนานาส่งเข้า


๒๒๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

มาถวายแก่พระเจ้ายศมหาราชนั้นเป็นอันมาก สมเด็จพระราชเทวีเจ้า เมื่อทรงพระครรภ์ถ้วน ทศมาส ๑๐ เดือน แล้วก็ประสูติพระราชโอรสอันประกอบด้วยบุญลักขณะอันล้ําเลิศ ที่ฝ่าพระหัตถ์แห่งสมเด็จพระมหาบุรุษ เจ้านั้นปรากฏเป็นลายดุจลายสังข์ เหตุดังนั้นพระญาติปยูรวงษานุวงษ์ทั้งปวง จึงถวายพระนามพระบรมโพธิสัตว์ชื่อว่า สังขปัตต ราชกุมาร โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตวเจ้าเมื่อพระองค์ทรงวัฒนาการกับด้วยกุมารทั้งหลายอัน เป็นบริวารเป็นอันมาก ก็ทรงพระสิริเสาว-

(บรรทัดที่ ๑) ภาคย์งามขึ้นทุกวันๆ มีครุวนาดุจดังพระจันทร์ในสุขปักษ์ดิถี เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษาได้ ๑๕ – ๑๖ ปี แล้วมีรูปโฉมสิริวิลาศงามเลิศ ปรากฏรจนา (บรรทัดที่ ๒) ยิ่งนัก มิใช่ว่าจะงามแต่พระรูปพระโฉมหามิได้ ทั้งน้ําพระทัยท้าวเธอนั้นก็งาม เหมาะว่าเป็น กุศลยินดีที่จะบําเพ็ญทาน (บรรทัดที่ ๓) บารมี จะได้รู้เบื่อรู้หน่ายหามิได้ สตสหสฺสานิ วิสชฺเชตฺวา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าจําหน่ายทรัพย์ วันละ ๖ แสน ให้เป็นทานทุก (บรรทัดที่ ๔) วันๆ เป็นนิรันดรมิได้ขาด ราชา ส่วนสมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช ผู้เป็นพระเจ้าลุง อันเสวย สมบัติอยู่ในโลห(บรรทัดที่ ๕) ทวี ป นั้ น มี พ ระราชธิ ด าพระองค์ ห นึ่ ง ทรงพระนามชื่ อ ว่ า รั ต นวดี ทรงเบญจกั ล ยาณี สิ ริ เสาวภาคย์ เป็นอันงาม ดุจดังว่านางเทพอัปสรกัญญา หน้า ๗/๑ – ๗/๒ กู (บรรทัดที่ ๑) ในดาวดึงสสวรรค์ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช ผู้เป็นพระบิดานั้น พระองค์มีพระทัย ประสงค์จะให้พระรัตนวดีราชธิดานั้นแก่พระสังขปัตตราช(บรรทัดที่ ๒) กุมาร ผู้เป็นพระราชนัดดา ลิกฺขาเปตฺวา ท้าวเธอจึงให้จิตรกรช่างเขียนวาดรูปพระราชธิดาใส่ ในสุพรรณบัฏแผ่นทอง (บรรทัดที่ ๓) แล้วก็ให้แต่งศุภอักษรเป็นเรื่องราวว่า เรานี้มีพระทัยประสงค์จะใคร่เห็นพระภักตราพระสังข ปัตตราชกุมาร ผู้เป็นพระราชนัดดา (บรรทัดที่ ๔) ข้อหนึ่งเราจะให้สมบัติในโลหทวีปกับทั้งพระรัตนวดีราชธิดาแห่งเราแก่พระสังขปัตตะ ผู้เป็น พระราชนัดดา สมเด็จพระเจ้ายศ(บรรทัดที่ ๕) มหาราชแลพระนางนาถสุตกิตติราชเทวีจงส่งสังขปัตตราชโอรสให้ออกมาสู่สํานักแห่งเราใน โลหทวีปนี้เถิด ครั้นแต่งศุภอักษรเสร็จ (บรรทัดที่ ๑) แล้ว พระองค์ก็ให้ตกแต่งสําเภาบรรทุกให้เต็มไปด้วยเครื่องราชบรรณาการทั้งปวง แล้วก็ส่ง ราชทูตให้นําราชสาส์นกับทั้งสุพรรณบัฏแผ่นทองที่วาด


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๒๙

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

รูปพระรัตนวดีราชธิดากับทั้งพระธํามรงค์คู่หนึ่ง พระธํามรงค์วงหนึ่งนั้นแล้วไปด้วยแก้วปัทม ราช พระธํามรงค์วงหนึ่งนั้น แล้วไปด้วยแก้วอินทนิล พระธํามรงค์ทั้งคู่นี้พระราชทานให้แก่พระสังขปัตตราชกุมารทูโต ราชทูตก็ถือพระราชสาส์นลงสําเภาใช้ใบไป ข้ามมหาสมุทมาจากโลหทวีปเร่งรีบไปถึงเมืองโปตรีนคร แล้วก็จอดสําเภาเข้าไว้ ขึ้นไปสู่ที่เฝ้า พระเจ้ายศมหาราช ถวายเครื่องราชบรรณาการกับทั้งราชสาส์นแลสุพรรณบัฏที่วาดเขียนรูปพระราชธิดา แล พระธํามรงค์ทั้งคู่ที่พระราชทานให้แก่พระบรม-

หน้า ๘/๑ – ๘/๒ เก (บรรทัดที่ ๑) โพธิสัตว์ พระสังขปัตตราชกุมาร ณ กาลครั้งนั้น ราชา สมเด็จพระเจ้ายศมหาราช บรมกษัตริย์ ท้าวเธอทรงอ่านศุภอักษรด้วยพระองค์เอง (บรรทัดที่ ๒) แจ้งในศุภอักษรนั้นแล้วก็ทรงโสมนัสปรีเปรมในพระกมลหฤทัย ทรงใส่ซึ่งพระธํามรงค์ทั้งคู่แล้ว ก็ทอดพระ(บรรทัดที่ ๓) เนตรดูรูปโฉมพระบวรราชธิดาสุนิสาสะใภ้ในสุพรรณบัฏแผ่นทอง ก็ยิ่งทรงพระโสมนัสปรีเปรม ในพระกมลหฤทัยเป็นกําลังแล้ว (บรรทัดที่ ๔) ก็ทรงซึ่งพระธํามรงค์แลสุพรรณบัฏที่วาดรูปสุนิสาสะใภ้นั้นให้แก่พระบรมโพธิสัตว์ พระบรม โพธิสัตว์ก็รับเอาแผ่นทองมาพินิจพิจาร(บรรทัดที่ ๕) ณาดูพระรูปพระโฉมแห่งรัตนวดีในแผ่นทอง แล้วก็บังเกิดความเสน่หาอาลัย รักใคร่ในพระ รัตนวดี เป็นทั้งนี้ด้วยวาสนาบารมีของพระบรมโพธิ(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

สัตว์เจ้าเคยเป็นคู่กันมาแต่บุพชาติปางก่อน ราชา ตสฺส สกฺการํ กตฺวา สมเด็จพระเจ้ายศ มหาราชพระองค์จึงพระราชทานรางวัลแก่ราชทูตนั้นเป็น อันมาก แล้ วพระองค์ก็แต่งศุ ภอักษรเป็น เรื่องราวว่ า ข้อซึ่งสมเด็จพระเจ้ าอังกุ รมหาราชมี พระทัยประสงค์จะมอบไอศุริยสมบัติกับทั้งพระรัตนวดีราชธิดาให้แก่พระเจ้าลูกเรา เรานี้ขอบคุณแห่งพระองค์ยิ่งนักหนา เรา จะส่งพระสังขปัตตะผู้เป็นพระโอรสาธิราชให้ไปสู่สํานักแห่งพระองค์ ครั้งนี้แต่งศุภอักษรเสร็จแล้ว จึงให้ช่างเขียนรูปพระบรม โพธิสัตว์เจ้าใส่ในแผ่น ทองแล้วก็มอบให้แก่ราชทูต กับทั้งเครื่องราชบรรณาการเป็นอันมาก ถวายมาแก่พระเจ้าอังกุร มหาราช ราชทูโต ราชทูตนั้นก็ถวาย


๒๓๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หน้า ๙/๑ – ๙/๒ ไก (บรรทัดที่ ๑) บังคมลาลงมาสู่สําเภาใช้ใบไปสู่โลหทวีป ครั้นถึงแล้วก็ขึ้นเฝ้านําเอาพระราชสาส์นกับเครื่อง ราชบรรณาการแลแผ่นทองที่วาดรูป (บรรทัดที่ ๒) พระบรมโพธิสัตว์นั้น เข้าถวายแก่พระเจ้าอังกุรมหาราช แจ้งประพฤติเหตุข่าวสาร แล้วก็ทรง พระโสมนัส (บรรทัดที่ ๓) ปราโมทย์เบิกบาน ท้าวเธอจึงประสานแผ่นทองที่วาดรูปพระบรมโพธิสัตว์นั้น ใ ห้ แ ก่ พ ร ะ ราชธิดา กาลนั้น สา (บรรทัดที่ ๔) รตนวตี สมเด็จพระรัตนวดีก็รับเอาแผ่นทองนั้นมาพิ นิจพิจารณาดูพระรูปพระโฉมพระสิ ริ วิลาศของพระบรมโพธิสัตว์ (บรรทัดที่ ๕) พระนางยิ่งดูไปๆ ก็ยิ่งมีน้ําพระทัยปฏิพัทธ์รักใคร่ผูกพันกระสันด้วยความเสน่หา ยังมิทันที่จะ ได้พบได้เห็นกัน เห็นแต่รูปเขียนก็ให้บังเกิดความรักใคร่ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ทั้งนี้ด้วยวาสนาบารมีเคยสันนิวาสกันมาแต่บุพชาติปางก่อน ทั้งนี้ว่าด้วยฝ่ายข้างสมเด็จพระ เจ้ายศมหาราชผู้เป็นพระราชบิดาของพระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ครั้นพระองค์ส่งเสียราชทูตไปแล้วก็เสด็จสู่ปรางค์ปราสาท พระสุตกิตติราชเทวีผู้ เป็นเอกอัครมเหสี แล้ว จึงมีพระโองการตรัสปรึกษาเนื้อความที่จะส่งพระโอรสาธิราชไปสู่สํานักพระเจ้าลุงยังกรุงโลห ทวีป เทวี ครั้งนั้นสมเด็จพระสุตกิตติราชเทวี พระนางเธอมิได้มีพระทัยปรารถนาที่จะให้พระเจ้าลูกไปให้ห่างไกลพระองค์ เลย เมื่อใดทรงฟังพระสามีว่าจะส่งพระราชโอรส ไปสู่โลหทวีป วันนั้นนางพระยาเจ้ามีพระหฤทัยกัมปนาถหวาดหวั่นไหวไปด้วยความโศก ซึ่งจะ วิโยคพลัดพรากจากพระปิโยรส นางพระยา

หน้า ๑๐/๑ – ๑๐/๒ โก (บรรทัดที่ ๑) เจ้าจึงมีพระเสาวนีย์กราบทูลว่า พระพุทธิเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่ามหาสมุทรนี้ใหญ่กว้างพิลึกพึงกลัว ยิ่งนักหนา พหุจนฺฑมจฺฉา ประกอบด้วยปลาร้ายเป็นอันมาก (บรรทัดที่ ๒) นิลาลมฺโภ ธรรมดามหาสมุทรนี้หาที่ยุดหน่วงมิได้ ปุตฺโต จ สงฺขปตฺตกุมาโร พระสังขปัตต กุมารผู้เป็นพระเจ้าลูกของ (บรรทัดที่ ๓) เรานี้สิยังเด็กนักหนา ยังไม่วายกลิ่นน้ํานมมารดาอีกพระเจ้าข้า พระองค์จะส่งพระเจ้าลูกไป ในทางกันดารนั้น พระองค์ไม่ทรงทราบหรือ (บรรทัดที่ ๔) ว่ามหาสมุ ทรนี้ กว้ างใหญ่ ประกอบไปด้ วยภัย อันตรายเป็นนั กหนา ภทฺ เท ดู กรพระน้องผู้ มี พักตร์อันเจริญ ซึ่งพระมหาสมุทรกว้างใหญ่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓๑

(บรรทัดที่ ๕)

ประกอบด้วยภัยอันตรายมากนั้น พี่ก็รู้แจ้งเต็มใจอยู่แล้ว แต่จะว่าพิจารณาไปให้ละเอียดนั้น อาศัยบุญกับกรรม เมื่อกรรมถึงแล้วถึงจะอยู่

(บรรทัดที่ ๑)

เบื้ องบนปรางค์ ป ราสาทอั น มี พื้น ได้ ๗ ชั้น สะพรึบ พร้ อมด้ วยจตุ ร งคเสนาโยธาทหารเป็ น ประการใดๆ ก็ดี ก็ย่อมถึงพินาศฉิบหายด้วยอุปัทวะ อันตรายอันใดอันหนึ่ง อันจะหนีกรรมนั้นหนีไปมิได้ บุญมีอยู่แล้วถึงจะตกในปากปลาอันร้าย แลปากมังกรแลปากติปิงคลมหามัจฉา เป็นประการใดๆ ก็ดี ที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิตหามิได้ ย่อมจะได้รอดชีวิตโดยสิริสวัสดี นี่แล ดูกรพระน้องแก้วพี่จะว่า ให้เจ้าฟัง พ่อค้าทั้งหลายอันอาศัยไปมาค้าขายในท้องพระมหาสมุทร แลได้สมบัติพัสถาน แก้ว แหวนเงินทองทั้งปวงบริบูรณ์ดังความ ปรารถนา เพราะไปมาในท้องมหาสมุทรนั้นก็มีอยู่มากกว่ามาก เมื่อคิดไปฝ่ายหนึ่งเล่า ท้าว พระยาทั้งหลายที่ปรารถนาสมบัติกระเกรียมจุตรงคเสนา ยกโยธา

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

หน้า ๑๑/๑ – ๑๑/๒ เกา (บรรทัดที่ ๑) ไปตีบ้านเมือง ไปกระทําการสงคราม รบพุ่งฆ่าฟันกันเป็นนักหนา จึงได้สมบัติพัสถานเช่นนั้น จะมิยากลําบากกายกว่านี้อีกหรือ อันพระโอรสของเราจะ (บรรทัดที่ ๒) ไปนี้ จะไว้ใจไม่ได้ก็แต่ข้ามมหาสมุทรอย่างเดียว ถ้าข้ามไปถึงฝั่งแล้วก็จะได้ไอศุริยสมบัติ เสมอ ด้วยสมบัติอม(บรรทัดที่ ๓) รินทราธิราชโดยสะดวกง่ายดาย ไม่พักลําบากยากใจเลย เออก็เราจะมิให้พระลูกไปนี้พระลูก เจ้าจะมิเสียใจ (บรรทัดที่ ๔) หรือ ราชาเทวี พระพุทธิเจ้าข้า กระหม่อมฉันเป็นสตรีนี้มีน้ําใจอ่อน มีความรักลูกมาก มิใคร่ จะให้พระลูกเจ้านั้นไปห่างไกลได้ (บรรทัดที่ ๕) กระหม่อมฉันว่าไปครั้งนี้ด้วยสามารถที่รักลูก ควรมิควรตามแต่พระองค์จะทรงพระกรุณา โปรด ราชา โพธิสตฺตํ ปกฺโกสาเปตฺตวา สมเด็จพระเจ้ายศ(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) บรรทัดที่ ๓)

มหาราชบรมกษัตริย์จึงมีพระโองการตรัสให้หาพระบรมโพธิสัตว์เข้ามาสู่ที่เฝ้าแล้ว อลงฺกา ราเปตฺวา ให้ประดับประดาด้วยเครื่อง อลังการอันวิจิตรบรรจง โภชาเปตฺวา ยังพระโอรสเจ้าเสวยพระกระยาหารสําราญพระทัยแล้ว พระองค์ก็ตรัสให้ โอวาทความสั่งสอนว่า ตาต ดูกรสังขปัตพ่อยอดรักของบิดา สมเด็จพระเจ้าลุงสิตั้งพระทัยจะ ใคร่เห็นเจ้า เจ้าจงออกไปสู่โลห-


๒๓๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ทวีป ปานฉะนี้นี่พระเจ้าลุงจะมิบ่นหา ตั้งตาคอยเจ้าอยู่แล้วหรือ เจ้าจงออกไปเถิดพ่อ ไปแล้ว ก็จะได้สมบัติพระเจ้าลุง ข้อหนึ่งเล่า เจ้าได้สมบัติแล้วอย่าได้ประมาท จงอุสสาหสงคราะห์แก่นักปราชญ์ราชบัณฑิตแล สุริยโยธา ธรรมดาว่ากษัตริย์เสวยสมบัตินั้น ถ้า

หน้า ๑๒/๑ – ๑๒/๒ กํ (บรรทัดที่ ๑) เอาพระทัยใส่เลี้ยงดูสุริยโยธา เลี้ยงดูนักปราชญ์ผู้มีปัญญาไว้แล้ว สมบัตินั้นจะถาวรตั้งมั่น มิได้ เป็นอันตรายแก่หมู่ปัจจามิตรข้าศึกทั้งปวง มีพระ(บรรทัดที่ ๒) โองการไปตรัสให้โอวาทความสั่งสอนแก่พระโอรสฉะนี้แล้ว จุมฺพิตฺวา ท้าวเธอก็จูบกระหม่อม จอมเกล้าชมเชยพระปิยบุตรของพระองค์แล้ว (บรรทัดที่ ๓) ก็ส่งพระโอรสเจ้าลงสู่สําเภาอันตกแต่งวิจิตรบรรจง สะพรั่งพร้อมไปด้วยยศศักดิ์บริวารทั้งปวง มีชัยทัตตอํามาตย์ แล (บรรทัดที่ ๔) วัททวามุขพราหมณ์ เป็นประธานในกาลนั้น กิริยาว่า วัททวามุขพราหมณ์นั้น เป็นสหายกันกับ พระบรมโพธิสัตว์ ชัยทัตตอํา(บรรทัดที่ ๕) มาตย์ก็เป็นคนสนิทคุ้นเคยกันกับสมเด็จพระเจ้ายศมหาราชบรมบพิตร ท้าวเธอจัดแจงแต่งให้ ไปกับด้วยพระบรมโพธิสัตว์ มหาสตฺโต (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

มาตาปิตโร วนฺทิตฺวา สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าเมื่อจะไปสู่โลหทวีปครั้งนั้น พระองค์ถวาย บังคมปางสมเด็จพระปิตุราชมาตุชนนี กระทํา ประทักษิณสิ้นตติยวาระแล้ว ก็เสด็จลงจากปรางค์ปราสาท ฝ่ายสมเด็จพระสุตกิตติราชเทวี ผู้ เป็นพระชนนีนั้น เธอก็เสด็จออกมา ตามส่ งพระราชโอรสจนกระทั่ งถึ งเชิ ง อั ฒ จรรย์ พระนางมี พระเนตรทั้ งสองนั้ น ชุ่ มไปด้ ว ย อัสสุชลธารา ทรงพระกันแสงพลางทาง มีพระเสาวนีย์ตรัสว่า ตาต พ่อเอย พ่อสังขปัตพ่อยอดรักของมารดา ถ้าพ่อไปแล้วน่าที่มารดา นี้จะอยู่อนาถา อันชีวิตของมารดานี้ เนื่องอยู่ด้วยชีวิตของพ่อ พ่อไปแล้วอย่าอยู่ช้านัก จงมาหามารดาเร็วๆ พลันๆ สมเด็จพระสุต กิตติราชเทวีเจ้าตรัสสั่งฉะนี้แล้ว ก็ทอดพระเนตร

หน้า ๑๓/๑ – ๑๓/๒ กะ (บรรทัดที่ ๑) แลตามพระโอรสไปจนสุ ดคลองพระเนตรแล้ ว เธอก็ กลั บเข้ าสู่ ปรางค์ ปราสาทราชนิ เวศน์ กาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ลงสู่สําเภาแล่นไป (บรรทัดที่ ๒) ในท้องมหาสมุทรได้ ๗ วัน เมื่อวันครบ ๗ นั้น ก็บังเกิดลมพายุใหญ่คลื่นโยนกระแทกสําเภา สําเภานั้นก็แตกอับปางลง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓๓

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔)

(บรรทัดที่ ๕)

ในกลางพระมหาสมุทร มหาชนา อันว่าชนทั้งปวง ก็ปริเวทนาการร่ําร้องไห้ ยกมือขึ้นไหว้ บวงสรวงแก่เทพยดาอารักษ์ ทั้งปวงที่เคยนั บถือ ก็ กล่า วเป็น คาถาว่ า มหาพฺรหฺ มสงฺฆา มหิทฺธิกา กจฺจายถ สุมเหสฺสร เทวสงฺฆา จนฺทเทวา รวิเทวา สมุทฺท เทวา อมฺเห อิโต มารถ โน สรณา จ ตุมฺเห โหถาติ อธิบายในบาทพระคาถาว่า ข้าแต่เทวดา เจ้าทั้งปวงเป็นว่ามหาพรหม ทรงมหิทธิฤทธิ์แลมเหศวรผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระอาทิตย์พระจันทร์สมมติเทวาอันรักษาปากอ่าวปากช่องสิ้นทั้งปวง พระ เจ้าข้า จงกรุณาแก่ข้าพเจ้าด้วยช่วยรักษาข้าทั้งปวงให้พ้นจากภัย คือความตาย สรณา โหถ เทพเจ้าทั้งหลายจงเป็นที่พึ่งแก่ข้าทั้งหลายเหล่านี้ด้วยเถิด มหาชน ทั้งปวงพากันร้องไห้ร่ําไรมีประการ ต่างๆ ฉะนี้ฯ พระบรมโพธิสัตว์พระองค์จะได้ร่ําร้องไห้กราบไหว้บวงสรวงบนบานผีสางเทวดา เหมือนอย่างมหาชน ทั้งปวงนั้นหามิได้ พระองค์เข้าพระทัยว่าสําเภาจะจมลงในมหาสมุทรแท้แล้วพระบรมโพธิสัตว์ เจ้า ก็ขยําขัณทสกรกับสัปปิ เสวยให้อิ่มแล้ว พระองค์จึงเอาผ้าเนื้อดีสองผืนชุบน้ํามันนุ่งเข้าให้มั่นกับพระองค์แล้ว พระองค์ ก็ถือเอาแผ่นกระดานอันใหญ่ปรารภที่จะข้ามพระมหาสมุทร

หน้า ๑๔/๑ – ๑๔/๒ ข (บรรทัดที่ ๑) มหาชเน มจฺฉกจฺฉเมหิ ขาทิยมาเนหิ ทิสฺวา พระองค์ทอดพระเนตรเห็นมหาชนทั้งปวงนั้น เป็นเหยื่อแก่เต่าปลาเป็นอันมาก คนทั้งหลายเหล่านั้น (บรรทัดที่ ๒) หามีกระดานที่จะข้ามไป ไม่ก็ปริเทวนาการร้องไห้ควรจะสงสารสังเวชยิ่งนัก พระบรมโพธิสัตว์ เห็นแล้ว ก็มีมีความเอ็นดูกรุณา (บรรทัดที่ ๓) มาทรงพระดําริว่า อาตมานี้ยังมีชีวิตอยู่แลจะให้คนทั้งปวงตายเสียนี้มิสมควรเลย ควรอาตมา จะสงคราะห์คนเหล่านี้เถิด (บรรทัดที่ ๔) ทรงพระดําริฉะนี้แล้วพระองค์ก็พระราชทานแผ่นกระดานที่อยู่ในหัตถ์ของพระองค์นั้น ให้แก่ มหาชนคนทั้งปวง แต่บรรดา (บรรทัดที่ ๕) ที่ ไ ม่ ไ ด้ แ ผ่ น กระดานในกาลนั้ น ชยฺ ย ทตฺ เ ต ฝ่ า ยชั ย ทั ต ตอํ า มาตย์ นั้ น จึ ง ห้ า มปรามว่ า ขอ พระราชทานธรรมดาว่าสําเภาเสียแล้ว แลว่ายข้ามพระม(บรรทัดที่ ๑)

หาสมุ ทรนี้ จ ะได้ อ าศั ย แก่ แ ผ่ น กระดาน จะรอดชี วิ ต ก็ เ พราะแผ่ น กระดาน เออก็ เ หตุ ไ ฉน พระองค์ได้แผ่นกระดานแล้วจึงเอาแผ่นกระดานให้แก่คนทั้งปวงเสีย


๒๓๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เล่า ดูกรชัยทัตตอํามาตย์ ผู้ใดได้เห็นคนผู้อื่นต้องภัยได้ทุกข์ช่วยแก้ไขให้พ้นทุกข์ โสบุคฺคโล บุคคลผู้นั้นจัดเป็นผู้อัน ประเสริฐอุดมกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ชัยทัตตอํามาตย์จึงกราบทูลต่อไปอีกเล่าว่า พระพุทธิเจ้าข้า ธรรมดาว่าเป็นกษัตริย์นี้ ถึงจะเสีย สมบัติทั้งปวงก็เสียไปท่านไม่ยอมเสียพระองค์เลยเป็นอันขาด ดูกรชัยทัตตอํามาตย์ อันบัณฑิต ชาตินักปราชญ์อย่างท่านว่า มาฉะนี้ที่เป็นประเพณีกษัตริย์อันเป็นสามัญ มิได้เป็นนิสัยแห่งโพธิสัตว์ อันแสวงหาโพธิญาณ ธรรมดาบุคคลผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ

หน้า ๑๕/๑ – ๑๕/๒ ขา (บรรทัดที่ ๑) นั้น ถ้าเห็นผู้อื่นต้องภัยได้ทุกข์แล้วก็ย่อมมีเมตตากรุณา เป็นหัวหน้าย่อมสู้เสียชีวิตของอาตมา ให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้อื่น จะ (บรรทัดที่ ๒) ได้เอื้อเฟื้อแก่ร่างกายเสียดายชีวิตของอาตมาหามิได้ ก็เหมือนกันกับตัวเราในครั้งนี้ ด้วยเรา ปรารถนาพระโพธิญาณ จึงกระทําซึ่ง (บรรทัดที่ ๓) พระปรมัตถบารมีเป็นทานฉะนี้ เมื่อเราได้สําเร็จที่ประสงค์ได้ตรัสเป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว เราจะขนสัตว์โลกกับทั้งเทวโลก (บรรทัดที่ ๔) ให้ข้ามพ้นจากโอฆสงสาร มีพระโองการตรัสแก่ชัยทัตตอํามาตย์ฉะนี้แล้ว พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ก็ว่ายข้าม (บรรทัดที่ ๕) พระมหาสมุทรด้วยพระองค์เอง ดุจดั่งว่าท่อนทองอันกลิ้งอยู่เหนือลูกระลอก ณ กาลครั้งนั้น กถํ โพธิสตฺโต สมุทฺธมชฺเฌ นิมุตฺโต จึงมีคําปุจฉาถามเข้ามา (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ว่า อาศัยแก่ผลอกุศลกรรมเป็นประการใดมาทันให้พระบรมโพธิสัตว์ พระบรมโพธิสัตว์จึงต้อง ว่ายน้ําในมหาสมุทรได้ความลําบาก จึงวิสัชนา ว่า อกุศลกรรมอันพระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้กระทําไว้แต่ปางก่อนนั้น นักปราชญ์พึงรู้เถิดว่า กิร ดังได้ยินมาเมื่ออดีต ชาติหนหลัง ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้ กับทั้งพระรัตนวดีได้เป็นสามีภริยากัน อยู่ ในเมืองพาราณสี เอกทิวสํ อยู่มาเพลาวันหนึ่งสองสามีภริยานั้นพากันลงไปสู่ท่าน้ํา ขณะนั้น ขรัวเจ้าสามเณร น้อยองค์ ๑ ขี่เรือ เล็กพายมาในแม่น้ํา สองผัวเมียนั้นครั้นแลเห็นเจ้าสามเณรพายเรือมา ปรารถนาจะหยอกพระ สามเณรเล่น ก็กระทุ่มน้ําให้เป็น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓๕

หน้า ๑๖/๑ – ๑๖/๒ ขิ (บรรทัดที่ ๑) ระลอกเข้าเรือสามเณร เรือสามเณรนั้นก็จมลงได้ความลําบากสองผัวเมียก็หัวเราะเยาะเย้ย เล่นตามอัชฌาสัยของอาตมา อาศัยอกุศล (บรรทัดที่ ๒) กรรมเท่านี้แล พระบรมโพธิสัตว์จึงได้เสวยทุกขเวทนา ต้องว่ายน้ําในมหาสมุทรฉะนี้ ใช่จะได้ ความลําบาก (บรรทัดที่ ๓) แต่ชาติเดียวนี้หามิได้ แต่พระบรมโพธิสัตว์ได้ความลําบากเวทนาด้วยว่ายน้ําในมหาสมุทร เช่นนี้ถึง ๕๐๐ ชาติ นี้ (บรรทัดที่ ๔) แล บุคคลผู้มีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่นว่า กรรมนิดหน่อย อันกรรมนี้ถึงมาตรแม้นว่าน้อย ก็อาจจะ ให้ผลให้ตนได้ความทุกข์ยากมากกว่า (บรรทัดที่ ๕) เห็นปานฉะนี้ ชยทตฺโต ชัยทัตตอํามาตย์ได้กระดานแผ่นหนึ่งก็เกาะไปบนกระดานลอยไปใน มหาสมุทรตามลูกคลื่นถึง ๗ วัน ๗ คืน (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ก็ตกถึงท่าเมืองโปตรีนคร ตกว่ากลับหลังคืนมาของเมืองแห่งพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อชัยทัตตะ ขึ้นฝั่งได้แล้ว มีกายอันเหี่ยวแห้ง เพราะว่าอดอาหารไม่ได้รับ ประทานถึง ๗ วัน นาตชฺชโต ความอยากอาหารนั้นเบียดเบียนเป็นกําลัง สาฏเกมทฺธิตฺวา ชัยทัตตอํามาตย์จึงบิดผ้าสาฎกให้แห้งแล้วนุ่งผืน ๑ ห่มผืน ๑ ค่อยเดินเซซังเข้าไปตามถนนอันใหญ่ตรง เข้าไปสู่นคร ฝ่ายสมเด็จพระสุตกิตติราชเทวี ผู้ เป็นพระชนนีพระบรมโพธิสัต ว์ วั นเมื่อสมเด็ จพระบรมโพธิสัต ว์จะจมลงในพระ มหาสมุทรวันนั้น พระนางเธอก็ทรงพระสุบินนิมิตรฝันในเพลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ในลักขณะพระสุบินนิมิตรนั้นว่า ยังมีบุรุษผู้หนึ่งดําล่ําสัน ใหญ่โต รตฺตกฺโข มีตาทั้งสองนั้นแดง

หน้า ๑๗/๑ – ๑๗/๒ ขี (บรรทัดที่ ๑) นุ่ ง ผ้ า แดงมี มื อ ถื ออาวุ ธ แล่ น มาด้ ว ยกํ า ลั ง ดู พิ ลึ ก พึ ง กลั ว ยิ่ ง นั ก ฝ่ า ยนั้ น ครั้ น แล่ น มา ก็ ฉุ ด กระชากลากพระเทวีนั้น ให้ล้มลงเหนือพื้นแล้ว (บรรทัดที่ ๒) ก็ควักเอาพระเนตรเบื้องขวาฯ อุรํ ภินฺทิตฺวา แล้วก็แหวะพระอุระทรวงล้วงเอาดวงหฤๅทัย พระโลหิตไหลโทรมพระ (บรรทัดที่ ๓) องค์ ฝ่ายนั้นจะได้มีความกรุณานั้นหามิได้ฯ ควักได้พระเนตรเบื้องขวากับดวงหฤทัย แล้วก็พา ไปตามอัชฌาสัย (บรรทัดที่ ๔) ของอาตมาฯ สา ปภุชฺฌิตฺวา เมื่อนางพระยาเจ้ าตื่นจากที่ บรรทมแล้ วก็ส ะดุ้งตกประหม่ า พระองค์สั่นสําคัญจะว่าจริง ก็ยก


๒๓๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕)

พระหัตถ์ลูบนัยเนตรและพระอุทร เห็นเป็นปรกติดีอยู่จึงรู้ว่าฝัน นางพระยาเจ้าก็เศร้าพระทัย สลดจิต รําพึงไปว่าแท้จริง พระสุบินนิมิตรอันนี้

(บรรทัดที่ ๑)

ปาปโก ลามกยิ่งนัก อันตรายจะมีแก่เราหรือ หรือจะมีแก่พระราชสามี หรือจะมีแก่พระราช โอรสเป็นประการใด รําพึงไปๆ ก็ยิ่งมี พระทัย กั มปนาท ปรารภถึ งพระโพธิ สัต ว์ เ จ้า เป็น กํ า ลัง สมเด็ จนางพระยาเจ้ าลุ กจากที่ สิ ริ ไสยาสน์นั้น แล้วก็ทรงพระ กันแสงพลาง พระนางเสด็จขึ้นเฝ้าพระสามี กราบทูลแจ้งในพระสุบินนิมิตรแต่ต้นจนอวสาน ราชา ตํ สุตฺวา สมเด็จ พระเจ้ายศมหาราชพระองค์ได้ทรงฟังซึ่งพระสุบินนิมิตร ก็พิจารณาเห็นว่าร้ายกาจหยาบช้ายิ่ง นัก แต่ทว่าท้าวเธอประกอบไปด้วย พระปัญญากลัวว่าพระราชเทวีจะทรงพระโศกนัก จึงตรัสเล้าโลมเอาพระทัย พระราชเทวี ภทฺ เท ดูกรพระน้องรักผู้มีพักตรอันเจริญ

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

หน้า ๑๘/๑ – ๑๘/๒ ขุ (บรรทัดที่ ๑) มาจินฺตยิ เจ้าอย่าได้ทุกข์โศกปริวิตกไปเลย พระสุบินนิมิตรอันนี้เป็นด้วยธาตุกําเริบ จึงให้เจ้า ฝันวิปริตผิดประหลาดฉะนี้ อันจะเป็นเหตุ (บรรทัดที่ ๒) เป็นการสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นพี่เห็นว่าหาเป็นไรไม่ สมเด็จพระเจ้ายศมหาราชตรัสเล้าโลมเอาใจพระ ราชเทวีดังนี้ (บรรทัดที่ ๓) จําเดิมแต่ วัน นั้น ไป สองกษัต ริย์ ก็ส มาทานพระอุ โบสถศีล กระทํา บุญอุ ทิศแผ่ ผลไปถึงพระ โอรสาธิราชนั้น หวังจะให้ผล (บรรทัดที่ ๔) บุญที่พระองค์กระทํานั้นไปให้คุ้มครองป้องกัน อภิบาลรักษาพระราชโอรสของพระองค์ สตฺต เม ทิวเส เมื่อวันเป็นครบ ๗ (บรรทัดที่ ๕) สมเด็จบรมกรุงกษัตริย์เสด็จออกทรงนั่งในท้องพระโรงอันใหญ่ แวดล้อมไปด้วยอํามาตย์ ราช เสวกทั้งปวง หมอบเฝ้าอยู่เป็นยศบริวาร (บรรทัดที่ ๑) ขณะนั้นพอชัยทัตตอํามาตย์เข้าไปถึงราชกระกูล คนทั้งปวงเห็นชัยทัตตอํามาตย์เดินเซซังเข้า มา ให้แปลกประหลาดในอกในใจนักหนา ต่าง (บรรทัดที่ ๒) คนต่างก็บอกแก่กันว่า ชัยทัตตอํามาตย์มาแล้วๆ เหตุไฉนหนอชัยทัตตอํามาตย์จึงมีกายเศร้า หมอง เดิน (บรรทัดที่ ๓) เซซังเข้ามาแต่ตัวผู้เดียวฉะนี้ ฝ่ายชัยทัตตอํามาตย์นั้นเดินร้องไห้เข้าไปสู่ที่เฝ้า สมเด็จพระบรม กษัตริย์ ครั้นถึงจึงถวายบังคม (บรรทัดที่ ๔) แล้วกราบทูลว่า พระพุทธิเจ้าข้า สําเภาพระโอรสาธิราชนี้ แตกทําลายลงในท้องมหาสมุทร พระโอรสาสูญหายไปในท้อง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓๗

(บรรทัดที่ ๕)

มหาสมุทรแล้ว ณ กาลครั้งนี้ ตํ สุตฺวา มาตาปิตโร กษัตริย์ทั้งสองผู้เป็นบิดามารดา ได้ทรงฟัง ชัยทัตตอํามาตย์กราบทูลวันนั้น ก็มีพระกมลหฤทัย

หน้า ๑๙/๑ – ๑๙/๒ ขู (บรรทัดที่ ๑) อัด อั้น ตัน ไปด้ว ยความโศก สองกษั ตริ ย์ท้าวเธอบ่มิอาจจะดํ ารงทรงพระกายอยู่ ได้ ก็ ถึงซึ่ ง วิสัญญีภาพสลบไป ทอดพระองค์ลงนิ่งแน่ไป ในสถานที่นั้นฯ (บรรทัดที่ ๒) สพฺเพ เต อมจฺจา อันว่าอํามาตย์ราชเสนา ข้าเฝ้า ผู้น้อยผู้ใหญ่ แต่บรรดาที่อยู่ในที่เฝ้านั้นก็มิ อาจที่จะอดกลั้นความโศก (บรรทัดที่ ๓) ได้ ต่างคนต่างก็ร้องไห้กลิ้งเกลือกไปมา ตา อิตฺถิโย ฝ่ายว่าหญิงทั้งหลาย เป็นต้นว่าพระสนม กรมท้าวแม่เฒ่าแก่ แลนางราช (บรรทัดที่ ๔) กัญญา แต่บรรดาอยู่ในพระราชวัง ต่างคนต่างก็สยายซึ่งเกศา อุรํ ปหรนฺตา ยกมือทั้งสองขึ้นตี อก แล้วก็โศกาทุ่มทอดกายา (บรรทัดที่ ๕) ล้มทับกันไปมา มีพรรณนาดุจดังว่า สาละวันป่าไม้รังอันต้องลมยุคันธวาศรําพายพัดให้หักล้ม ระทมทับกันไปมาในสาละวันป่ารัง ฯ ตมตฺถํฯ สาลวสมฺป(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

มทฺธิตา มาลุเตน ปมทฺธิตา เสนิติ ปุตฺตา จ ทารา จ ยสราชนิเวสเน ฯ โอโรธา จ กุมารา จ เวสิยานา จ พฺรหฺมณา พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกณฺฑุงฺ กสฺมา โน วิชฺชเหสฺสตีติ ฯ ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ทั้งหลาย มหาชนทั้งปวง แต่บรรดาอยู่ในเรือน หลวงแห่งสมเด็จ แห่งสมเด็จพระเจ้ายสมหาราช เป็นต้นว่าลูกหลวง ลูกอํามาตย์แลราชกระกูลแลพระมเหสี พระสนมกรมท้าวแม่เฒ่าแก่ภายใน ภายนอกเศรษฐีคหบดี คนมั่งมีแลเข็ญใจ พ่อค้าชาวนา นายช้างนายม้า แต่บรรดาที่รู้ข่าว พระ บรมโพธิสัตว์เจ้าเสียสําเภา ก็พากันร้องแซ่ไปทั้งพระราชวัง ล้มกลิ้งเกลือกทอดทับกันไป มีอุปมัยดังสาละวันป่าไม้รังอันลม วายุคันธวาศรําพายพัด ก็หักทับกันไปในประเทศป่ารัง

หน้า ๒๐/๑ – ๒๐/๒ เข (บรรทัดที่ ๑) ฝ่ายสมเด็จพระสุตกิตติราชเทวี ผู้เป็นพระชนนีพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อสลบอยู่ประมาณครู่หนึ่ง ก็ค่อยได้สติสัมปฤดีขึ้นมา นางพระยาเจ้า (บรรทัดที่ ๒) จึงเสด็จอุฏฐาการทรงนั่งทอดพระเนตรแลเห็นชัยทัตตอํามาตย์อันหมอบอยู่เบื้องหน้า จึงมี เสาวนีย์ตรัสถาม (บรรทัดที่ ๓) ว่า ดูกรชัยทัตตอํามาตย์ ตัวท่านกับพระโอรสของเรานี้เกิดร่วมวันทันคืนกันสนิทชิดเชื้อกันมา แต่ยังเป็นพาลทารก กราบเท่ากาล


๒๓๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

บัดนี้ ตัวท่านนี้เป็นทั้งมิตรสหายเป็นทั้งเสวกอันสนิทของพระเจ้าลูกแห่งเรา เมื่อไปก็ไปกับ พระเจ้าลูกเรา เหตุไฉนท่านจึงละพระลูก เราเสีย มาแต่ตัวผู้เดียวฉะนี้ ชัยทัตตอํามาตย์ได้ฟังพระเสาวนีย์ตรัสดังนั้น สตฺตทา ภิชฺชมาน หทโย วิย มีดวงหฤทัยดุจดังว่าจะ แตกทําลายออกไปได้ ๗ ภาค มีเนตรทั้งสองนองไปด้วยน้ําอัสสุชลธารา จึงกราบทูลพระกรุณา ว่า อยฺเย ข้าแต่พระแม่อยู่หัว เจ้า สมเด็จพระเจ้าลูกนี้องอาจนักพระพุทธิเจ้าข้า ขณะเมื่อแรกสําเภาจะจมลงวันนั้น สมเด็จ พระเจ้าลูกก็ได้กระเกรียมพระองค์เสวยขัณธสกรจนอิ่มหน่ําสําเร็จแล้ว ก็ทรงผ้าเนื้อดีสองผืน อันชุ่มไปด้วยน้ํามัน ครั้นแล้วพระ องค์ก็ถือเอาแผ่นกระดานอันใหญ่สําหรับที่จะข้ามพระมหาสมุทร โน ผลกานิ พระพุทธิเจ้าข้า สมเด็จพระลูกเจ้านั้น เธอทอดพระเนตรเห็ นมหาชนคนทั้ งปวง อันหากระดานจะข้า มมิได้ร้ องไห้ร ะเหระหน ก็ มี พระทัยเอ็นดูกรุณา กระดานของพระองค์ให้แก่คนเหล่านั้น

หน้า ๒๑/๑ – ๒๑/๒ ไข (บรรทัดที่ ๑) กระหม่ อ มฉั น ก็ ไ ด้ ห้ า มปรามหลายครั้ ง หลายคราว สมเด็ จ พระลู ก เจ้ า ก็ ไ ม่ เ ชื่ อ ถ้ อ ยฟั ง คํ า กระหม่อมฉันเลย พระองค์ตั้งพระทัยที่จะให้สํา(บรรทัดที่ ๒) เร็จแก่พระโพธิญาณ พระราชทานแผ่ นกระดานแล้ว ก็ทรงพระโสมนัสปรีดา ว่า ยข้า มพระ มหาสมุทร (บรรทัดที่ ๓) ด้วยกําลังของพระองค์ ครั้นต้องระลอกซัด พระลูกเจ้ากับกระหม่อมฉันต่างผลัดกัน กระหม่อม ฉันแลไปไม่เห็นพระลูก (บรรทัดที่ ๔) เจ้า แล้วมีพระทัยวัตถุอันหมกไหม้ไปด้วยความโศก ปรารถนาจะใคร่ตายเสียในมหาสมุทรเสีย นั้นอีก อาศัยด้วยกรรมหากรักษาอยู่ (บรรทัดที่ ๕) กระหม่อมฉันจึงมิได้ตายพระเจ้าข้า เมื่อพิจารณาไปนี้ตัวกระหม่อมฉันเป็นคนบุญน้อยจึงมิได้ ติดตามพระเจ้าลูกไปในมหาสมุทร ติดไป (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒

นี้หรือ หนึ่งเล่าตัวกระหม่อมฉันนี้หากตัญญูมิได้เป็นผู้อกตัญญู มิได้รู้จักคุณสมเด็จพระเจ้าลูก จึงมิได้ติดตามพระเจ้าลูกไป เมื่ออันตรายมาถึงพระองค์ ชัยทั ตตอํา มาตย์ กราบทู ลเท่า นั้น แล้ ว ก็ ร้องไห้กลิ้งเกลื อกเสื อกซบอยู่ ตรงหน้ าพระที่นั่ งใน กาลครั้งนั้น น่าสงสารด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓๙

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

สมเด็จพระราชเทวีพระนางมีความโศกกลุ้มกลัดอัดอั้นในพระทัย นางก็ทรงพระกันแสงพิลาป ร่ําไร ด้วยพระคาถาว่า ฯ สกุณี หตปุตฺตาว สุญฺญํ ทิสฺวา กุลาวํ จีรํ ทุกฺเข นชฺฌายิสฺสํ สุญฺญํ อาตมฺมิมํ ปรํ สกุณี หต ปุตฺตาว สุ ญฺญํ ทิ สฺวา กุ ลาวกํ กิ สาปณฺ ฑ ภวิ สฺสามิ ปิ เ ยปุ ตฺ เ ต อปสฺ สนฺ ติ ฯ ลฯ สานุ น จากวากิ ว ปลฺลลสฺมึ อนุทเก กีสาปณฺฑ ภวิสฺสามิ

หน้า ๒๒/๑ – ๒๒/๒ โข (บรรทัดที่ ๑) ปิเยปุตฺเต อปสฺสนฺตีติ ฯ อธิบายพระคาถาว่า สังขปัตตเจ้าแม่เอย พ่อสังขปัตตะปานฉะนี้ พ่อ จะไปอยู่แห่งหนตําบลใด พ่อจะขึ้นได้จากพระมหาสมุทรแล้ว (บรรทัดที่ ๒) หรือยัง หรือว่าพ่อดับสูญหายวายชนม์เสียในน้ําในกลางมหาสมุทร แต่นี้ไปมารดานี้จะรําลึกถึง เจ้าจะไปในเรือนหลวง (บรรทัดที่ ๓) อันเป็นที่อยู่ของเจ้าแม่ได้เห็นแต่เรือนเปล่า มารดานี้มีแต่จะเศร้าโศกเสวยมหันตทุกข์อันใหญ่ ยิ่งมีพระครุวนาดุจดังว่าแม่นกมีผู้มาพราก (บรรทัดที่ ๔) เอาลูกไปเสียไกลอกเห็นแต่รังเปล่าก็ซบเซาเศร้าอยู่สิ้นกาลช้านาน ถ้ามิดังนั้นอกของแม่นี้มี ครุวนาดุจดังว่าแม่นกอันนายพราน (บรรทัดที่ ๕) เข่นฆ่าลูกเกิดกับอกเสียให้จําตาย ฝ่ายว่าแม่นกเมื่อมิได้เห็นบุตรของอาตมาก็บังเกิดความสุข โศกาจนซูบผอม เทียวระเสือดระสังไปในทิศา (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

นุทิศต่างๆ แลมีฉันใดก็ดี มารดานี้น่าที่จะเป็นฉะนั้นเที่ยงแท้นักหนา ถ้ามิฉะนั้นอกของมารดา นี้เปรียบเหมือนนางนกมีลูกอันจําจาก ไปไกลมิได้พบลูกแล้วก็โศกเศร้าซบเซาอยู่เหนือเปลือกตมสิ้นกาลนาน จนซูบผอม ฉันใดก็ดี มารดานี้ก็ จะเป็นเช่นนั้น เจ้าแม่เอยพ่อสังขปัตตะ พ่อยอดรักของมารดาดังฤๅเจ้ามากระทําให้แม่นี้เป็น คนอนาถา เจ้าพลัดพรากจากอกของมารดาในครั้งนี้ นี่เป็นเหตุด้วยพระเจ้าลุงประโลมพ่อด้วยพระอัครมเหสี ประโลมด้วยพ่อด้วยราชสมบัติ ถ้าหา มีใครประโลมไม่แล้ว ที่ไหนพระลูกข้าจะพลัดพราก จากอุทรมารดา ปุราเณ กตํ กมฺมํ ชะรอยว่าเวรอันมารดาได้กระทําไว้แล้วชาติก่อนๆ มารดา ได้พรากลูกเนื้อแลลูกนกจากรังจึงมาได้ความทุกข์โทมนัสร้อนรนกระวนกระวาย

หน้า ๒๓/๑ – ๒๓/๒ เขา (บรรทัดที่ ๑) อยู่ไม่รู้วาย เกิดมาชาตินี้เราแม่ลูกจึงได้พลัดกัน อนิจจาเอยก็กรรมนี้ไม่เว้นไม่ละบุคคลผู้ใดเลย แต่พระลูกของข้าประกอบไปด้วยสีลา-


๒๔๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

จารวัตรยินดีที่จะบําเพ็ญทาน อนุเคราะห์แก่สัตว์ กะทําวัตรปฏิบัติแก่บิดามารดาถึงเพียงนี้ ยัง มาถึงซึ่งภาวะเป็นอนิจจัง มิได้พ้นอนิจจังเลย เจ้าแม่เอย ถ้าพ่อดับสูญสวรรคตแม่นแท้แล้ว มารดานี้มิขออยู่สืบต่อไป นางพระยาเจ้าทรงพระ กันแสงพิลาปร่ําไรมีประการต่างๆ แล้วกราบทูลพระสามีว่า พระพุทธิเจ้าข้า กระหม่อมฉันนี้ ถ้าปราศจากพระราช โอรสแล้วอันจะมีชีวิตสืบต่อไปหามิได้ กระหม่อมฉันจะขออําลาไปเที่ยวสืบเสาะแสวงหาพระ ราชโอรสตามริมฝั่งพระมหาสมุทร ถ้าพบ พระเกศเกศา นขาแลพระอัฏฐิ สิ่งใดสิ่งหนึ่งแห่งพระลูกเจ้าแล้ว กระหม่อมฉันจะเก็บฟืนมาให้ มากจะกองก่อเป็นเชิงตะกอนถวายพระเพลิงพระศพพระโอรสแล้ ว ก็ โ ลดโผนโจนเข้ า ไปในกองเพลิ ง สั งหารผลาญชี วิ ต เสี ย ให้ ม้ ว ยมุ ด สุ ด สิ้ น ไปตาม พระโอรส ณ กาลครั้งนั้น ราชา สมเด็จพระเจ้ายศมหาราชจึงมีพระราชโองการตรัสห้ามว่า ภทฺเท ดูกรพระน้องแก้วผู้ ยอดรักผู้มีพักตรอันเจริญ ซึ่งเจ้าจะ ไปเที่ยวเสาะแสวงหาพระลูกนั้นจงยับยั้งอยู่ก่อนเถิด พี่จะให้พราหมณ์ไปบวงสวงแก่เทวดาอัน รักษามหาสมุทร จะให้ขอนิมิตรฝันดูก่อน เมื่อแจ้งในฝันแล้วจงเสด็จไปต่อภายหลัง ตรัสแก่พระราชเทวีฉะนี้ แล้ว จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่พราหมณ์

หน้า ๒๔/๑ – ๒๔/๒ ขํ (บรรทัดที่ ๑) ปโรหิตว่า ดูกรอาจารย์ ท่านจงไปพลีกรรมบวงสวง แก่เทพยดาแล้งจงขอฝันให้รู้แจ้งว่า พระ ลูกเรานั้นจะเป็นประการใดฯ ปโร (บรรทัดที่ ๒) หิโต ฝ่ายปโรหิตพราหมณ์ก็ไปกระทําตามพระองการตรัสสั่ง ฝ่ายเทพยดาที่รักษามหาสมุทร นั้นจึงสําแดงกายให้ปรากฏ (บรรทัดที่ ๓) แล้ ว ก็ บ อกเหตุ ว่ า ดู ก รมหาพราหมณ์ ท่ า นจงกราบทู ล แก่ ส มเด็ จ บรมกษั ต ริ ย์ ด้ ว ยเถิ ด ว่ า พระสังขปัตตนั้น จะได้ (บรรทัดที่ ๔) เป็ น อั น ตรายในท้ อ งมหาสมุ ท รนั้ น หามิ ไ ด้ พระสั ง ขปั ต ตนั้ น จะได้ ผ่ า นพิ ภ พ ครอบครอง ไอศุริยสมบัติในโลหทวีปสําเร็จ (บรรทัดที่ ๕) ความปรารถนา เมื่อจะกระทําการราชาภิเษกนั้น เทวดาจะนําเอาวิมานดอกไม้มารับพระเจ้า ยศมหาราชไปสู่โลหทวีป ครั้นสําเร็จการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๔๑

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ราชาภิเษกแล้ว เทวดาจะนํามาส่งให้ถึง พระนครดังเก่า เทพยดาบอกเหตุฉะนี้ แล้วก็อันตรธานหายไปฯ อาตมาภาพรับทานวิสัชนามา ในเรื่องราวสังขปัตตชาดก สมมติยุตติไว้ แต่เพียงนี้ฯ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ๚ะ๛

๚ พระสังขปัตตชาฎก ผูก ๒ ๚ะ๛ หน้า ๒๕/๑ – ๒๕/๒ (บรรทัดที่ ๑) ฯ พระสังขปัตตชาดก ผูก ๒ ฯ พระสังขปัดชาฎกฯ (ภาษาไทย) วัดใหญ่พลิ้ว (บรรทัดที่ ๑) ๚ ปโรหิโต วิภาตาย รตฺติยา เทวตาย วจนํ (บรรทัดที่ ๒) รญฺโญนิ เวเทสิ ฯ ราชา ตํ สุตฺวา ตุฏฺฐจิตฺโต โลมหํ (บรรทัดที่ ๓) สิชาโต เทวํ ปกฺโกสาเปตฺวา ชีวติ อมฺหากํ (บรรทัดที่ ๔) ปุตฺโตติ วิภาตาย รตฺติยา ฯ ครั้งเพลารุ่งเช้า (บรรทัดที่ ๕) ปโรหิโต พราหมณ์ปโรหิตก็ หน้า ๒๖/๑ – ๒๖/๒ ค (บรรทัดที่ ๑) นําเอาประพฤติเหตุอันนั้นมากราบทูลแก่พระเจ้ายศมหาราช พระเจ้ายศมหาราชจึงมีพระ โองการตรัสว่าแก่พระราชเทวีว่า ภทฺเท ดูกรพระน้องผู้มี (บรรทัดที่ ๒) พักตรอันเจริญ เจ้าอย่าเศร้าโศกไปนักเลย พระโอรสของเรานี้หาเป็นอันตรายไม่ พระพุทธิเจ้า ข้า ทําไฉนพระ (บรรทัดที่ ๓) องค์จึงรู้แจ้งว่าลูกของเราไม่เป็นอันตราย อ้อพึงรู้เพราะสมุทรเทวดา สมเด็จบรมกษัตริย์เธอ ตรัสเล่าเนื้อความ (บรรทัดที่ ๔) ปโรหิตพราหมณ์กราบทูลนั้นให้แจ้งแก่พระราชเทวีแต่ต้นจนอวสาน พระนางก็คลายจากความ โศกโศกา (บรรทัดที่ ๕) ที่นี้จะจับว่าข้างวัททวามุขพราหมณ์ เป็นสหายของพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อกําลังระลอกซัดพา ไปเพลาเช้าก็ตกถึงท่าโลหทวีป ขึ้นฝั่งได้แล้ว (บรรทัดที่ ๑) วัททวามุขพราหมณ์ก็ค่อยเดินตามมรรคาอันใหญ่ อุยฺยานํ ปวีสิตฺวา เข้าในสวนอุทยานแล้วก็ ลงอาบน้ําชําระกายในสระโบกขรณี (บรรทัดที่ ๒) เก็บผลไม้ในสวนอุทยานนั้นบริโภคอิ่มหนําสําเร็จแล้ว วัททวามุขพราหมณ์ก็ขึ้นนอนเหนือแผ่น ศิลาอันเป็นมงคล (บรรทัดที่ ๓) ภายในสวนอุทยาน อุยฺยานปาโล ฝ่ายนายอุทยานบาลอันรักษาสวนนั้น เมื่อเที่ยวไปดูผลไม้แล ดอกไม้ในสวนพระ-


๒๔๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

อุทยานนั้น ก็เห็นวัททวามุขพราหมณ์นอนอยู่เหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ปรมโพเธตฺวา จึง ปลุกพราหมณ์ให้ลุกขึ้น แล้วก็ไต่ถามว่า อยฺย ดูกรมหาพราหมณ์ท่านนี้ชื่อไรมาแต่ไหน ท่านนี้เป็นไรจึงมานอนอยู่เหนือ แผ่นศิลา เออเรานี้หลงมาแต่โปตรีนคร

หน้า ๒๗/๑ – ๒๗/๒ คา (บรรทัดที่ ๑) เรานี้มีนามกรชื่อว่า วัททวามุขพราหมณ์ เป็นสหายพระสังขปัตตราชกุมาร เออท่านนี้เป็น สหายของพระสังขปัตต ก็บัดนี้สมเด็จพระลูกเจ้า (บรรทัดที่ ๒) เสด็จไปอยู่ในสถานที่ใด ดูกรนายอุทยาน พระสังขปัตตราชกุมารมาสําเภาเดียวด้วยกันกับเรา สําเภาแตกจมลงใน (บรรทัดที่ ๓) ท่า มกลางมหาสมุ ทร พระลู กเจ้า นั้ นสู ญ หายไปในท้ องมหาสมุ ทร นายอุ ทยานบาลได้ ฟังก็ ร้องไห้โศกา วัททวามุข(บรรทัดที่ ๔) พราหมณ์จึงถามว่า ทวีปอันนี้หรือชื่อว่า โลหทวีป อาม เออทวีปอันนี้แลชื่อว่าโลหทวีปสีฆํ พฺ ราหฺมณํ คเหตฺวา (บรรทัดที่ ๕) ว่าแล้วนายอุทยานบาลก็พาวัททวามุขพราหมณ์นั้นเข้าไปสู่พระราชวังโดยเร็วพลัน ครั้นถึงจึง กราบทูลแจ้งประพฤติเหตุทั้งปวงแก่สมเด็จ(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

พระเจ้าอังกุรมหาราช แลพระนงคเสนาราชเทวี กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้ทรงฟังข่าวสารว่า พระโอรสาธิราชเจ้าสําเภาแตกสูญหายไป ในท้องมหาสมุทรครั้งนั้น มีพระกมลหฤทัยกลุ้มกลัดไปด้วยความโศกโศกา สพฺเพ อมจฺจา อํามาตย์ราชเสนาข้าเฝ้าทั้ง ปวงนั้น ต่างคนต่างก็ร้องไห้พิลาปร่ําไรกลิ้งเกลือกไปมา มีครุวนาดุจดังว่ามีท้าวอันขาดควรจะ สงสารสังเวชนี่นักหนา สพฺเพ อนฺเตปุริกา ฝ่ายว่านางอันเตปุริการาชนารี พระสนมกํานัลในทั้งปวง แต่บรรดาอยู่ในพระนิเวศเรือน หลวงนั้น ต่างคนต่างก็สยายซึ่ง เกสา อุ รํ พาเลตฺ ว า ยอกรค่ อ นอุ ร ะทรวงโศกาอาดู ร ภาพ เสี ย งร้ อ งไห้ นี่ เ ซ็ ง แซ่ ไ ปทั่ ว ทั้ ง พระราชวัง ณ กาลครั้งนั้น

หน้า ๒๘/๑ – ๒๘/๒ คิ (บรรทัดที่ ๑) เทวี สมเด็จพระอนงคเสนาราชเทวีทรงพระกันแสงพลางพระนางกราบทูลพระภัสดาสามีว่า พระพุทธิเจ้าข้า พระสังขปัตตราชนัดดามา (บรรทัดที่ ๒) เป็นอันตรายครั้งนี้ ก็เพราะเหตุพระองค์ส่งศุภอักษรไป ถ้าพระองค์ไม่ส่งศุภอักษรไป พระสังข ปัตตก็ไม่ข้ามมหาสมุทรมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๔๓

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ไหนเลยจะเป็นอันตรายเล่า ดูกรเจ้าอนงคเสนา พระนางอย่าว่าดังนี้เลย ธรรมดาว่าสัตว์เกิดมา ในวัฏฏะสงสารนี้ ผู้ใด ผู้หนึ่งจะพ้นกรรมมหามิได้ เมื่อกรรมมาถึงแล้วก็ย่อมวิบัติไปตามกรรม แต่ทว่าพี่นี้พิจารณา เห็นว่าพระสังขปัตตผู้ เป็นราชนัดดาแห่งเรานี้มีรูปโฉมสิริวิลาศอันบริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะ บุคคลบริบูรณ์ด้วย มหาบุรุษลักษณะ ปานดัง พระนัดดาหลานของเรานี้ ที่จะทํากาลกิริยาเป็นอาการมรณา จะตายในท่ามกลางอายุศมนั้น หามิได้ บุคคลอยู่ในศีลในสัจจะรักษา สุจริตธรรมเห็นปานดังหลานเรานี่ฉะนี้ น่าที่เทวดาอันรักษาสมุทรจะช่วยอภิบาลบํารุงให้พ้น ภัยอันตรายเป็นอันเที่ยงแท้ เทวํ สปสฺสาเสตฺวา สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราชนั้นตรัสโลมเล้าเอาพระทัยพระราชเทวีด้วย ประการฉะนี้แล้ว จึงให้ วัททวามุขพราหมณ์บริโภคโภชนาหารสําเร็จแล้วก็พระราชทานเรือนอันเป็นที่อยู่ให้แก่วัททวา มุขพราหมณ์ วัททวามุขพราหมณ์ก็เข้า ไปในเรื อนพระราชทานแล้ว ก็ ร้องไห้ พิลาปครวนคร่ํ า รํา พึ งถึ งสมเด็จ พระบรมโพธิ สั ตว์ ว่ า แท้จริงถ้อยคําโลกทั้งหลายว่าไว้ว่า พราหมณ์นี้ดี

หน้า ๒๙/๑ – ๒๙/๒ คี (บรรทัดที่ ๑) คําอันนี้หาสัจจะหาจริงไม่ ถ้าว่าพราหมณ์จะดีอย่างว่ามานั้นแล้ว น่าที่แลใจของเราจะแตกจะ ทําลาย ด้วยเหตุพลัดพรากจากพระสหาย (บรรทัดที่ ๒) อันเป็นที่รัก นี่ใจอาตมายังดีอยู่ ยังหาแตกทําลายไม่ ดังอาตมาติเตียน ใจอาตมานี้กล้าแข็ง นักหนา วัททวามุขพราหมณ์ (บรรทัดที่ ๓) ติเตียนตนเองดังนั้นแล้ว เหนื่อยลําบากกาย ทอดตัวลงนอนก็หลับสนิทไปในกาลครั้งนั้น ตสฺมึ ขเณ รตนวติปิโข ขณะนั้น (บรรทัดที่ ๔) สมเด็จพระรัตนวดีราชธิดา อนงฺคสริรา นางประดับประดาพระองค์ด้วยเครื่องสัพพาภรณ์ทั้ง ปวง ว่าจะขึ้นเฝ้าสมเด็จ (บรรทัดที่ ๕) พระบิดา ปวุตฺตึ สุตฺวา พระนางได้ยินข่าวว่า สมเด็จพระสังขปัตตราชกุมารเจ้าสําเภาเสื่อม สูญหายไปในท้องพระมหาสมุทร ก็บังเกิด (บรรทัดที่ ๑) ความโศกศัลย์เป็นมหันตทุกข์ พระหฤทัยนั้นเดือดดิ้นปริ่มประหนึ่งว่าจะแตกจะทําลายระบาย ลมอัสสาสะปัสสาสะนี้ร่อนๆ ออกมากจากนาสิก (บรรทัดที่ ๒) พระรัตนาวดี มิอาจจะกลั้น ความโศกไว้ ได้พระเนตรทั้งสองนองไปด้วยน้ําพระอัสสุชลธารา เปลื้องเครื่องประดับออกจากพระองค์แล้ว ก็


๒๔๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เข้าไปสู่ห้องพระบรรทมชั้นใน ทรงพระกันแสงไห้พิลาปจนสิ้นสติสมปฤดีสลบไปนิ่งแน่แล้ว ขณะนั้นก็ฟื้นขึ้น นางมัลลวิกาสาว ใช้นั้นฟังอยู่ในสถานที่นั้น เหตุพระรัตนาวดีทรงพระกันแสงโศกนัก สาวใช้จึงกราบทูลว่า อยฺเย ข้าแต่พระแม่ทูลกระหม่อมแก้ว พระแม่เจ้าอย่าโศกเศร้าไปนักเลย พี่เอยพี่สาวใช้สุดอกสุดใจอยู่แล้วที่จะให้น้องอด กลั้นความโศกนั้นได้ พี่ก็

หน้า ๓๐/๑ – ๓๐/๒ คุ (บรรทัดที่ ๑) ย่อมรู้อยู่เต็มใจ ทุกข์อันใดจะใหญ่หลวงเท่าทุกข์สตรีม่ายหามิได้ ธรรมดาว่าสตรีเป็นม่าย ทสภาตโร ถึงมาตรแม้นว่าจะมีพี่ชายได้ละสิบจะมี (บรรทัดที่ ๒) ที่หยิบได้ละร้อย จะมีภาชนะใช้สอยได้สิ่งละพันพร้อมบริบูรณ์ถึงเพียงนั้น ก็ไม่พ้นทุกข์ความ นินทา ขึ้นชื่อว่าเป็นม่ายนี้ (บรรทัดที่ ๓) ชายทั้งหลายมักดูหมิ่นดูแคลน จับมือถือบ่ากระชากลากคร่าตะละว่า กาตอมรุ้ง กระทําได้ กระทําเอาตามอําเภอใจอาตมา หญิงม่ายนี้หน้าเจ็บ (บรรทัดที่ ๔) หน้าอายใจเป็นท่าคนทั้งหลายเขานินทา พี่สาวใช้เอย อันว่าราชรถจะปรากฏก็เพราะมีธงชัย จะมีควันไฟก็อาศัย (บรรทัดที่ ๕) แก่เปลวเพลิงอันลุกลาน สตรีจะงามก็เพราะมีผัว สตรีมีผัว ผัวได้สุขก็สุขด้วยผัว ผัวได้ทุกข์ก็ ทุกข์ด้วย ร่วมสุขร่วมทุกข์กับสามีของอาตมา (บรรทัดที่ ๑) ตํ เว เทวา เทพยดาเจ้าในสุราลัยเมืองสวรรค์ ก็จะสรรเสริญว่าขอบใจนักหนา ยากที่สตรีอื่น จะกระทําได้ เหมือนน้ําใจเราฉะนี้ นี่แน่ (บรรทัดที่ ๒) พี่สาวใช้ ตัวน้องครั้งนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นม่าย เออจะอยู่ให้เป็นม่ายเอกากายฉะนี้ จะวิเศษอะไรมี ตายไปตามพระราชสามีเถิดเห็น (บรรทัดที่ ๓) ว่าจะประเสริฐกว่า นางชาวใช้จึงกราบทูลว่า อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้าอยู่หัว คําปรัมปราว่า แก้วมุกดาหารแล (บรรทัดที่ ๔) แก่นจันท์ที่บรรเทาร้อน เหตุไฉนแก้วมุกดาหารแลแก่นจันท์จึงบรรเทาร้อนของพระแม่เจ้ามิได้ เล่า อ่อพี่สาวใช้บุราณท่านว่าไว้ก็จริงอยู่ ว่า (บรรทัดที่ ๕) แก้ ว มุ ก ดาหารแลแก่ น จั น ท์ นี้ เ ป็ น ที่ บ รรเทาได้ แ ต่ ร้ อ นภายนอก อั น ร้ อ นภายในนั้ น แก้ ว มุกดาหารแลแก่นจันท์บรรเทา หน้า ๓๑/๑ – ๓๑/๒ คู (บรรทัดที่ ๑) เสียไม่ได้ อันร้อนด้วยความทุกข์ความโศก ถึงจะได้ยาอื่นๆ มาระงับนั้นก็ระงับมิได้ ถ้าเว้นไว้ แต่ได้เห็นบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้ใดเป็นที่รัก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๔๕

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕) (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ได้เห็นผู้นั้นแล้ว นั้นแลจะบรรเทาร้อนอันบังเกิดด้วยความโศกนี้ได้ อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า กระนั้นพระแม่เจ้าจงเอา แผ่นทองที่วาดรูปพระลูกเจ้านั้นมาทอดพระเนตรเถิด จะได้บรรเทาเสียซึ่งความโศก เออพี่สาว ใช้ว่านี้ก็ควรนักหนา จิตฺตปตฺตกํ คเหตฺวา พระรัตนวดีก็ลุกขึ้นด้วยตนเอง จึงอันเชิญแผ่นทองอันวาดรูปพระบรมโพธิสัตว์เจ้า เอามาวางลงตรงพระพักตร์ทอด พระเนตรดูรูปในแผ่นทอง คิดว่าจะบรรเทาเสียซึ่งความโสกก็บ่มิอาจจะบรรเทาเสียได้ ยิ่งดูก็ ยิ่งไห้น้ําพระชลนัยไหลลงหลั่งๆ พระเนตรทั้งสอง ฟูมฟองไปด้วยพระอัสสุชลธารา นางพญามิอาจที่จะทอดพระเนตรอยู่ได้ ซบพระพักตร์ลงกับ แผ่นทอง แล้วก็ทรงพระกันแสงไห้ควรจะสงสาร สังเวชนักหนา สาวใช้จึงกราบทูลว่า อยฺเย ข้าแต่พระแม่อยู่หัวเจ้า เหตุไฉนพระองค์จึงทรง กันแสง เล่า ไม่ทอดพระเนตรดูรูปพระลูกเจ้าในแผ่นทอง อ่อตัวข้านี้ร้องไห้ด้วยมาคิดถึงตัวว่าตัวนี้บุญ น้อยเป็นคนวาสนาหามีได้ อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้าๆ เป็นถึงพระราชธิดา มีสมบัติพัสฐานสฤงคารบริวารนักหนาถึงเพียงนี้ นี่จะ ว่าบุญน้อยอย่างไร อนิจจา พี่สาวใช้ ยังว่าคนอื่นเขาว่าจะช่วยแก้ช่วยไขมิรู้ก็มาใส่เอาเอง ทําไมเจ้านี้เห็นว่าข้านี้มีบุญ กระนั้นหรือ ขอรับพระเสาวนีย์กระหม่อมฉันเห็นว่าพระแม่

หน้า ๓๒/๑ – ๓๒/๒ เค (บรรทัดที่ ๑) มีบุญจริงแล้วสุดแท้แต่จะโปรด พี่สาวใช้เอย จะว่ามีบุญอย่างไร ถ้ามีบุญแล้วพระสามีก็จะมา ให้เห็นพระพักตร์ นี่สิพระภัสดามามิทัน (บรรทัดที่ ๒) จะได้เห็นพระพักตร์ ก็สูญหายตัวต้องเป็นม่ายฉะนี้ แล้วว่าข้านี้มีบุญอย่างไร อยฺเย ข้าแต่พระ แม่เจ้าอยู่หัว ธรรม(บรรทัดที่ ๓) ดาว่าสตรีนี้ ถ้าได้อยู่กินกับด้วยสามีๆ ไปจาก ถ้ามิดังนั้นสามีตายจากนั่นแลเขาเรียกเป็นม่าย อย่างพระแม่เจ้ากระนี้จะว่าเป็นม่าย (บรรทัดที่ ๔) กระไรได้ พี่สาวใช้เอยข้าก็หาเคยไม่ แต่ว่าข้าดิ้นเขาว่าอยู่ ว่าสตรีคนใดถ้าท่านผู้ใหญ่ยกให้กัน แล้ว ถึงมิได้อยู่กินด้วยกันก็ดี ก็ (บรรทัดที่ ๕) จัดได้ชื่อว่าเป็นม่าย ข้าแต่พระแม่เจ้า เกน ทินฺนา ก็องค์พระแม่เจ้านี้ใครยกให้เล่า สมเด็จพระ บิดานั้นสิเจ้ายกให้ ท่านส่งข่าวสารไป (บรรทัดที่ ๑) ครั้งนั้นพี่สาวใช้ไม่รู้ดอกหรือ กระหม่อมฉันทราบอยู่ แต่ว่าทําไมกะส่งข่าวสารไปเท่านั้น ดูดุพี่ ช่างว่าได้ ว่าทําไมกะข่าวสารส่งไปเท่านั้น


๒๔๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ธรรมดาว่ า เป็ น กษั ต ริ ย์ ต รั ส คํ าใดแล้ ว ก็ จ ริ งคํ า นั้ น ประเพณี มีสื บ มา พระบรมกษั ต ริ ย์ แล พราหมณ์ย่อมเจรจา คําเดียว ว่าสิ่งใดแล้วก็จริงสิ่งนั้น ที่จะได้หวนหันผันแปรกลับกลอกเป็นสองนั้นหามิได้ ตรัส เท่านั้นแล้วก็ทรงพระกันแสงไห้ สะอื้ น โศกา พระปรารถนาจะเจรจาด้ ว ยพระรู ป ในแผ่ น ทอง ก็ มี ค วามละอายแก่ ส าวใช้ ปรารถนาจะให้สาวใช้ไปเสียจากสถาที่นั้น จึงมีพระเสาวนีย์ดํารัสว่า มลฺลวิเก ดูกรเจ้ามัลลวิกา หทยวิปลาห ข้านี้ร้อนรนกระวนกระวาย ในหัวอกหัวใจเป็นนักหนา

หน้า ๓๓/๑ – ๓๓/๒ ไค (บรรทัดที่ ๑) ปทุมสรํ คนฺตวา เจ้าจงลงไปสู่สระบัวเอาฝักแลเหง้าบัว แลตักเอาน้ําที่ใสมาให้ข้าสักหน่อย ข้า แต่พระแม่เจ้า กถํ โอหาย คมิสฺสามิ (บรรทัดที่ ๒) กระหม่อมฉันจะละพระแม่เจ้าไว้แต่พระองค์เดียวจะไปเสียกระไรได้ ไปเถิดเจ้าไปอย่าได้เป็น ห่วงเป็นใยด้วยข้าเลย รูปสมเด็จพระลูก(บรรทัดที่ ๓) เจ้าที่ในแผ่นทองนี้อยู่เป็นเพื่อนน้องอยู่แล้วพี่ไปเถิด นางมัลลวิกากลัวจะขัดพระอัชฌาสัย ก็ คลานออกไปภายนอก (บรรทัดที่ ๔) ลงสู่สระเพื่อจะตักน้ํา แต่นางมัลลวิกาคลานคล้อยหลัง พระรัตนวดีก็ตั้งแต่จะทรงพระโศกยิ่ง นัก ดูรูปในแผ่นทองนั้น (บรรทัดที่ ๕) ก็ยิ่ งให้ ส ะอื้น ทรงพระกั น แสงครวญคร่ํา ร่ํ าไร ตรั ส แก่ รู ปในแผ่ นทองว่ า อยฺ ย ปุ ตฺ ต ข้ า แต่ สมเด็จพระลูกเจ้า โกเม โทโส (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

โทษน้องนี้มีประการใด พระองค์มิได้ตรัสจํานรรจาเลย พระอยู่หัวของน้องเอย เพราะพระองค์ จํานงน้องรัตนวดีโดยสุจริต มิได้คิดแก่ เหนื่อยยากลําบากพระองค์ทรงอุสสาหะข้ามพระมหาสมุทรมายังมิทันที่จะได้เห็นพระพักตร์ก็ มาเป็นอันตรายสําเภาแตกทําลาย สูญหายในท้องมหาสมุทรเป็นสุดอกสุดใจ ส่วนวัททวามุขพราหมณ์สิเขารอดมาได้ แต่พระลูก เจ้านี้มาสูญ หายไป หรือว่าพระสมุทรเทวดาชักชวนพระองค์ไว้ พระองค์หลงอยู่ด้วยสมุทรเทวดาแล้วหรือ ไฉนจึงไม่เสด็จมา พุทฺธงฺกุโร พระทูลกระหม่อมของน้องเอย น้องได้ยินเขาเล่าลือว่า พระองค์ปรารถนาพุทธภูมิ เป็นเนื้อนา หน่อพุทธังกูร อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง พระทัยประกอบ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๔๗

หน้า ๓๔/๑ – ๓๔/๒ โค (บรรทัดที่ ๑) ไปด้วยกรุณา ถ้าเป็นใครได้ทุกข์ต้องภัย แล้วก็ดูเมีนมิได้ เออก็เหตุไฉนจึงไม่เอ็นดูน้อง ทําให้ น้องต้องเป็นม่าย ปรโลกํ (บรรทัดที่ ๒) สจฺจํ คโต ทูลกระหม่อมของน้องเอย ถ้าพระองค์วายพระชนม์สูญไปสู่ปรโลกจริงๆ แล้วน้อง จะต้องขอตายตามเสด็จไป (บรรทัดที่ ๓) จะประโยชน์ อะไรกั บ ชี วิ ต นิ ด หนึ่ งเท่ า นี้ ตายเสี ย ดี กว่ า อยู่ เป็ น คนทนเวทนาขอถวายชี วิ ต ติดตามพระภัสสดาไปในเมืองผี (บรรทัดที่ ๔) พระรัตนวดีทรงพระกันแสงคลาง นางเอาพระภูษาสะไบกระหวัดเกี่ยวเข้า เป็นห่วงชายข้าง หนึ่งนั้น ผูกพันเข้ากับ (บรรทัดที่ ๕) เสาปรางค์ปราสาท ปาเท วนฺทิ พระนางถวายบังคมบาทแห่งรูปในแผ่นทองแล้วก็ทูลลาว่า อยฺย ปุตฺต ข้าแต่พระลูกเจ้า ภวนฺตํ อาปุจฺฉามิ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

กระหม่อมฉันขอถวายบังคมลาฝ่าพระบาทแล้ว เกิดมาชาตินี้วาสนาบารมีน้อง ด้วยบุญตัวน้อย ไม่ได้เป็นคู่อยู่กับพระองค์แล้ว เกิดไปในภายหน้าให้เป็นบาทบริจาทาสี แห่งพระองค์เถิด ตรัสเท่านั้นแล้วก็เอาห่วงพระภูษาสวมพระศอ ประสงค์จะผูกพระศอเสีย ให้ สูญพระชนม์ในกาลนั้น วิชโย ขณะนั้นพอนางวิชัย ผู้เป็นพระนมของพระรัตนวดี ยืนมองดูอยู่แทบพระบาทเห็นพระ รัตนวดีเอาห่วงพระภูษาสวม พระศอก็ตกใจ นางนมก็มันมิมนาแล่นเข้าไปกอดเอาพระรัตนวดีเข้าไว้ แล้วก็ทูลถามว่า อยฺเย ข้าแต่พระแม่อยู่หัวเจ้า เหตุไฉน เล่าพระแม่จึงกระทํากรรมอันหยาบช้าสาหัสฉะนี้มิควร ข้าแต่พระแม่วิชัย แม่เห็นอย่างไรจึงว่า ไม่ควร ก็เมื่อพระลูกเจ้าไม่คิดชีวิต

หน้า ๓๕/๑ – ๓๕/๒ เคา (บรรทัดที่ ๑) อุสสาหะข้ามสมุทรมาเพราะรักข้า จึงมาเป็นอันตรายหายสูญไปในมหาสมุทรก็เพราะรักข้า พระลูกเจ้ามาเสียชีวิตเพราะข้าแล้ว (บรรทัดที่ ๒) ข้าจะเสียชีวิตเพราะพระลูกเจ้าบ้าง เออเมื่อกระนั้นแม่วิชัยเห็นอย่างไรจึงว่าไม่ควร ข้าแต่พระ แม่เจ้าๆ (บรรทัดที่ ๓) จะเสียชีวิตให้เหมือนกันกับพระลูกเจ้านั้น ก็ชอบอยู่แลแต่ทว่าจะเป็นผลเป็นประโยชน์อะไร กับที่เสียชีวิต จะเสีย (บรรทัดที่ ๔) ชีวิตทั้งนี้เพราะว่าปรารถนาจะได้พบกันกับพระลูกเจ้ากระนั้นหรือพระเจ้าข้า องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดประ-


๒๔๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕)

ทานพระธรรมเทศนาไว้ว่า จะได้พบได้ประกันในปรโลกนั้น ก็อาศัยแก่อุสสาหะบําเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตา ภาวนา อันจะพบจะปะกัน

(บรรทัดที่ ๑)

เพราะเสียชีวิตแก่กันนั้นหามิได้ พระแม่เจ้าจงฟังคําข้าเถิด ถ้าแลพระแม่จะใคร่พบจะใคร่ปะ กันกับพระลูกเจ้าจงอุสสาหะครองพระชนม์ไว้ ตั้ง พระทัยบําเพ็ญการกุศลน่าที่แลพระแม่เจ้าจะได้สําเร็จมโนรถความปรารถนาเป็นอันเที่ยงแท้ สมเด็จพระรัตนวดีได้ทรง ฟัง ก็ชื่นชอบขอบคําแห่งนางวิชัย จึงรับเอาความโอวาทสั่งสอนแห่งนางวิชัยผู้เป็นพระนม ขณะนั้นพอนางมัลลวิกาสาวใช้นําเอารากบัว แลน้ําอันเย็นใสเข้าไปถวาย นางวิชัยจึงว่าแก่นางมัลลวิกาว่า ทําไมเจ้าจึงทิ้งสมเด็จพระแม่เจ้า ให้อยู่แต่ผู้เดียว นางมัลลวิกา จึงว่าแก่ซึ่งจะโทษฉันนั้นหาได้ไม่ สมเด็จพระแม่เจ้าเธอตรัสใช้จึงได้ไป ฝ่ายพระรัตนวดีจึงว่า แม่วิชยอย่าครึ่งอย่าโกรธเขาเลย ฉันใช้ให้

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

[ ๒/๒๒/๑ ๒/๒๒/๒ ๒/๒๒/๓ ๒/๒๒/๔ ๒/๒๒/๕

๒/๒๓/๑ ๒/๒๓/๒

(ข้อความต้นฉบับสําเนาจากหน้า เคา ไม่ครบ ๒ หน้า ผู้ปริวรรตจึงนําข้อความจาก งานวิจัยของ ดุลยา ทับถม ซึ่งปริวรรตไว้มาเพิ่มเติ่ม เพื่อให้เนื้อหาครบถ้วน ตั้งแต่ เครื่องหมาย [ - ] เป็นต้นไปดังนี้) เขาไปเอง ตโต ปฏฺฐาย จําเดิมแต่นั้นไปพระรัตนวดีก็อุสสาหะบําเพ็ญทานการกุศล รักษาศีล ห้าประการ สมาทานอุโบสถ ศีลแล้วก็อุทิศแผ่ผลบุญไปถึงสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็มีฯ เรื่องราวพระรัตนวดียกไว้ก่อนฯ บัดนี้จะกลับกล่าวพระสังขปัตต บรมโพธิสัตว์สืบต่อไปฯ ปางเมื่อพระองค์พระราชทานซึ่งแผ่นกระดานให้แก่มหาชนทั้งปวง แล้ว ก็ทรงพระโสมนัสปรีดา พิจารณาถึง ทานของพระองค์ว่า สุทินฺนํ วต เม ทานํ ดังเราชมทานบบารมีอันเราได้บําเพ็ญคราวนี้ ได้ชื่อ ว่าบําเพ็ญเป็นอันดี เป็นปรมัตถบารมีอันประเสริฐ รําพึงถึงทานบารมีแห่งพระองค์ด้วยประการฉะนี้แล้ว พระบรมโพธิสัตว์ก็ บ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ําเค็มอธิษฐานซึ่งพระอุโบสถศีล แล้วก็กระทําความเพียรว่ายข้ามมหาสมุทรด้วยกําลังพระองค์ไปตามกระแสคลื่น ๗ วัน ๗ คืน ก็บรรลุถึงฝั่งโลหทวีป ตีรํ ปตฺวา เมื่อถึงซึ่งฝั่งได้นั้น เป็นเพลาสายัณฑ์ต ะวันเย็นลงโพล้เ พล้ สาฏเก โอมทิ ตฺวา สมเด็ จพระบรมโพธิสัต ว์บิดผ้ า สาฎกให้แห้งแล้วก็นุ่งผืนหนึ่ง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๔๙

๒/๒๓/๓ ๒/๒๓/๔ ๒/๒๓/๕

ห่มผืนหนึ่ง เข้าไปนั่งภายใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วก็ยกพระหัตถ์เบื้องซ้ายนวดพระหัตถ์เบื้องขวา แล้วก็นวดพื้นพระบาททั้งสอง ระงับพระองค์หน่อยหนึ่ง แล้วก็อุฏฐษการลุกจากต้นไม้ เที่ยวจงกลมไปๆ มาๆ ที่หาดทรายอัน ขาวงานบริสุทธิ์ดุจดังว่าแผ่นเงิน หตฺถิยูถญฺจ ปกฺขิยูถญฺจ ทิสฺวา ท้าวเธอทอดพระเนตรไปเห็ นหมู่ช้างแลเนื้อนกทั้งหลายอั น เที่ยวเป็นหมู่เป็นเหล่า สมัครสโมสรพลึงเคล้าเชยชมซึ่งญาติ ]

หน้า ๓๖/๑ – ๓๖/๒ (บรรทัดที่ ๑) แห่งตนๆ ก็มีความสังเวชสงสารซึ่งสมเด็จพระบิดามารดา พระองค์ทรงพระดําริว่า แท้จริงหมู่ เนื้อนกทั้งหลายนี้เป็นสัตว์เดียรัจฉาน (บรรทัดที่ ๒) ปราศจากธรรมสัญญาจะรู้ธรรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็หามิได้ ยังว่ามีความรักใคร่ผูกพันในญาติแห่งตน มิได้ละเมิดทิ้งขว้าง (บรรทัดที่ ๓) เสียทะซึ่งญาติแห่งตนๆ อหํ มนุสฺสา ตัวอาตมะเป็นมนุษย์รู้ยศรู้ธรรมควรแลหรือมาละเมีน สมเด็จพระบิดามารดาเสีย ข้าม (บรรทัดที่ ๔) สมุทรมาถึงเพียงนี้ พระคุณทูลกระหม่อมพระมารดาความรักใคร่ในลูกมีคุณแก่ลูกนี้มากมาย นักหนา ใครเลยจะเหมือน (บรรทัดที่ ๕) พระมารดา กุจฺนิยา จ ธาเรตฺวา แต่พระมารดาทรงพระครรภ์พระลูกรักลําบากด้วยรักษา ครรภ์ช้านานถึง ๑๐ เดือน เมื่อประสูติแล้วก็ฟูมฟักรักษาให้ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ลูกนี้นอนแนบแอบพระอุระทรวง ให้เสวยพระถันปิโยธร เพลาที่ลูกจะลงเสวยนั้นเล่า พระเจ้า แม่ก็เอาพระทัยใส่ปฏิบัติแก่ลูกวันละสามเวลา พระมารดาได้ความลําบากเพราะบํารุงรักษาเลี้ยงดูอาตมานี้เป็นอันมากกว่ามาก ควรแลหรือ อาตมามาทั้งพระมารดาเสียได้ เพราะ แก่สตรีแลสมบัติ อนิจจาสังขปัตตเอย เมื่อคิดไปแล้วก็ใจหาย ยิ่งคิดก็ยิ่งสังเวชสลดพระทัยนัก ด้วยสมเด็จพระมารดา ราคต กาเล เมื่อแรกอาตมาจะมานั้นเล่า สมเด็จพระมารดาเจ้าก็ทรงพระโศกกันแสง ให้พระชลนัยไหลนองฟูม ฟองพระพักตรา มีพระวาจาพิไรร่ําพร่ําสั่งนั้นเล่าก็ควรที่จะเอ็นดูยิ่งนัก อมฺมา สุตฺวา พระคุณ ทูลกระหม่อมแม่เจ้าเอย ถ้ารู้ข่าวว่าลูกเสีย


๒๕๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

[ ๒/๒๖/๑ ๒/๒๖/๒ ๒/๒๖/๓ ๒/๒๒/๔ ๒/๒๒/๕

๒/๒๗/๑ ๒/๒๗/๒ ๒/๒๗/๓ ๒/๒๗/๔ ๒/๒๗/๕

(ข้อความต้นฉบับสําเนาจากหน้านี้ ไม่ครบ ๒ หน้า ผู้ปริวรรตจึงนําข้อความจากงานวิจัย ของ ดุลยา ทับถม ซึ่งปริวรรตไว้มาเพิ่มเติ่ม เพื่อให้เนื้อหาครบถ้วน ตั้งแต่เครื่องหมาย [ - ] เป็นต้นไปดังนี้) สําเภาว่ายน้ําอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร รู้เนื้อความอันนี้แล้ว ไหนเลยพระแม่เจ้าจะมีจิตใจมีใจ ไหนเลยพระแม่เจ้าจะเป็นอันเสวย น่าที่แล จะทรงพระโศกเสวยพระทุกข์ลําบากครวญคร่ํา แต่ปฐมยามค่ําตราบเท่าถึงอรุณรุ่งแสงกว่าจะ สิ้นสุดแรงที่จะร้องร่ํา มีครุวนาดุจดังว่าแม่น้ําอันน้อยต้องแสงพระอาทิตย์แล้วเหือดแห้งไปในเทศกาลคิมหันต์ฤดู หตฺตปุตฺตาวเธนุกา ถ้า มิดั งนั้น สมเด็ จพระมารดาจะทรงพระโศกาเดื อดร้ อน มีครุ วนาดุจ นางโคแม่ ลูกอ่ อนอั น พเนจรใจกล้ามาพิฆาตฆ่า เอาลูกไปจากอก นางโคนั้นเล่าก็แล่นระเสิดระสังเซซังเที่ยวร้องก้องกระเวนหาถึงลูกแห่งตน ไม่เป็นอันกินอันอยู่ ไม่เป็นอันหลับ อันนอนแลมีฉันใด สมเด็จพระชนนีมารดาแห่งอาตมานี้ก็น่าที่แลจะเป็นฉันนั้นเที่ยงแท้นักหนา มิใช่แต่จะเศร้าโศกแต่สมเด้จพระมารดานี้หามิได้ ถึงสมเด็จพระบิดานั้นเล่าก็จะเศร้าโศกกันแสงไห้สิ้นกาลช้านาน มีครุวนาดุจกุญชรชาติช้างสาร อันนายพรานมาเข่นฆ่าชีวิต ลูกให้จําตายจากอก ได้เสวยซึ่งความทุกข์โทมนัสเดือดร้อนร้องไห้กระวนกระวายถึงลูกแห่งตน ไม่เป็นอันที่จะกินน้ํากินหญ้า แลมีอุปมาฉันใดก็ดี สมเด็จพระบิดาแห่งอาตมานี้น่าที่จะเป็นฉะนั้น สา นูน กปณา อมฺมา อนิจจาพระมารดาของอาตมานี้ จะเป็นกําพร้าลูก ความคิดถึงบุตรวิโยกโศกเศร้าด้วยลูกนี้ จะย่ํายีพระกมลหฤทัยของมารดาให้ แหลกเหลว ไหนเลยพระมารดา]

หน้า ๓๗/๑ – ๓๗/๒ ฆา (บรรทัดที่ ๑) เจ้าจะครองพระชนม์ชีพอยู่ได้ สมเด็จพระบิดานั้นเล่า ก็จะโศกเศร้าจะถึงซึ่งดับสูญสวรรคต เหมือนกันกับสมเด็จพระมารดา ยิ่งคิดก็ยิ่งสังเวชใน (บรรทัดที่ ๒) พระทัย จะเหลียวแลชะแง้หาสักเท่าใดๆ ก็ไม่เห็นพระบาทสมเด็จพระชนนี ขอเดชเดชะพระ ทานบารมี อันข้านี้ (บรรทัดที่ ๓) ปรารถนาพระโพธิญาณสร้างสมอบรมมาจงช่วยคุ้มเกรงรักษาสมเด็จพระมารดาแลบิดาแห่ง ข้าพเจ้าให้อยู่เย็น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เป็ น สุ ขสวั ส ดี อย่ าให้ ท้ า วเธอมี ภั ย อั น ตรายสิ่ ง ใดสิ่ งหนึ่ ง ให้ อยู่ สุ ขสวั ส ดี พิพัฒ น์ มั งคลเถิ ด สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ เจ้าทรงพระกันแสงพิราปร่ําไรถึงพระบิดามารดาด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็อุสสาหะหยุดยั้งตั้ง พระทัย พิจารณาพระไตรลักษณ์มาหักเสีย ซึ่งความโศกแล้วพระเจ้าก็หยุดประทับอยู่ที่ริมหาดทรายแทบฝั่งมหาสมุทร จึงพิจารณาไปถึง ทานบารมีแห่งพระองค์ ทรงบําเพ็ญแล้วเป็นอันดี ฯ ตทา ปุณฺณมี อุโปสถ อโหสิ ฯ สุริเย อฏฺฐงฺคมิเต จนฺโท อุคฺคจฺฉิ ฯ ตทา เอโก พฺราหฺมโณ ธุตฺตจิตฺตโก ทสสหสฺส ตินฺนํ ธาเรนฺโต ธน สามิเกหิ โปธิยมาโน ทาตุงฺ อสกฺโกนฺโต อคฺคานํ มาเรตุงฺ กาเหตํ รตฺตึ นครโต นิกฺขมิตฺวา อรญฺญํ ปวิสิตฺวา รชุยา ปาเส กตฺวา เอกํ รุกฺขํ อารุยฺห สาขา สุ ปาสํ กตฺ วา อตุ ต โน ติ วรํ พนฺ ธิตุ งฺ อารพฺ ภ าติ ฯ วั น นั้ น เป็ นวั น เพ็ ญ อุ โบสถ พระ อาทิตย์อัสดงคตแล้ว พระจันทร์ก็ส่อง แสงสว่างกระจ่างแจ้งขึ้นมาในนภาลัยประเทศอากาศ ตทา ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่ง เป็น นักเลงสกาไปกู้นี่หนี้เขามาเล่นสกา เป็น

หน้า ๓๘/๑ – ๓๘/๒ ฆิ (บรรทัดที่ ๑) ทรัพย์หมื่นตําลึง ครั้นเจ้าทรัพย์เขาตักเตือนจะเอาทรัพย์ของเขา พราหมณ์นั้นไม่มีทรัพย์จะ ให้แก่เจ้าหนี้ เพลากลางคืนก็ออกไปสู่ป่าขึ้นสู่ต้น (บรรทัดที่ ๒) ไม้ในที่ใกล้พระบรมโพธิสัตว์เจ้ายืนอยู่ จึงเอาเชือกข้างหนึ่งผูกเข้ากับต้นไม้ หางเชือกข้างหนึ่ง ผูกเป็นห่วง ปรารถนาจะผูกคอตายเสีย (บรรทัดที่ ๓) ให้พ้นเจ้าหนี้ มหาสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เห็นพราหมณ์กระทําดังนั้นก็ร้องห้ามว่า ดูกร พราหมณ์ท่านอย่าฆ่าตัว (บรรทัดที่ ๔) เสียไม่ดี ทุลฺลกํ มนุสฺสตํ เกิดมาเป็นมนุษย์ได้ด้วยยาก บุญตัวทีเดียวจึงได้เป็นมนุษย์ เออก็เหตุ ไฉนท่านจึงจะมาฆ่าตัวเสียฉะนี้ (บรรทัดที่ ๕) พราหฺมโณ ตํ สุตฺวา พราหมณ์ได้ยินเสียงพระบรมโพธิสัตว์ร้องห้ามขึ้นไปจึงแลลงมาเห็นพระ บรมโพธิสัตว์อันประ(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒)

กอบด้วยสิริวิโสวิภาคย์เป็นอันงาม พราหมณ์จึงดําริว่า อยํ มหาปุริโส ท่านผู้นี้น่าที่จะเป็นมหา บุรุษอันประเสริฐ อาจจะสามารถจะบรรเทา เสียซึ่งความทุกข์แห่งเราได้เที่ยงแท้ คิดแล้วพราหมณ์ลงจากต้นไม้ เข้าไปสู่ที่ไกล้พระบรม โพธิสัตว์ ยกอัญชุลีกร


๒๕๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ประนมแล้วก็แลดูพระธํามรงค์ทั้งคู่อันใส่อยู่ในพระหัตถ์แห่งพระบรมโพธิสัตว์ แล้วจึงมาดําริว่า ถ้าแลอาตมาได้พระ ธำมรงค์สองวงนี้แล้วก็อาจจะเปลื้องหนี้ทั้งปวงได้สิ้น อาจจะสามารถจะเลี้ยงบุตรภรรยาได้ ทํา ไฉนจะคิดอ่านประการใดดี จึงจะฆ่าบุรุษ ผู้นี้เสียได้ ดําริมาฉะนี้แล้วพราหมณ์ผู้นั้นก็กระทําอาการอย่างประหนึ่งว่ามีความรักใคร่ใน สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ กระทําเป็นสนิทชิดชมแล้ว

หน้า ๓๙/๑ – ๓๙/๒ ฆี (บรรทัดที่ ๑) จึงบอกเล่าความทุกข์ของตัวให้พระบรมโพธิสัตว์เจ้าฟังว่า พระเจ้าข้าๆ เจ้านี้เป็นหนี้เขาอยู่ มากถึงหมื่นตําลึง ไม่มีทรัพย์จะให้เขา (บรรทัดที่ ๒) ข้าพเจ้านี้หนีเขามา มาบัดนี้ว่าจะผูกคอตายเสียให้พ้นเจ้าหนี้ นี้หากว่ามาปะพระองค์ๆ ห้าม ปรามไว้จึงยับยั้งอยู่ จึงมิได้ฆ่า (บรรทัดที่ ๓) ชีวิตเสีย พระเจ้าข้าได้กรุณาข้าพเจ้าเอาชีวิตไว้แล้ว พระองค์จงช่วยเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้นจาก หนี้เขาด้วยเถิด ดูกรพราหมณ์ (บรรทัดที่ ๔) ทําไฉนเราจึงจะเปลื้องหนี้ของท่านได้ พระเจ้าข้าถ้าพระองค์โปรดประธานพระธํามรงค์แก่ข้า พระบาท ก็อาจจะสามารถจะเปลื้องหนี้ทั้งปวง (บรรทัดที่ ๕) ได้ ดูกรพราหมณ์อย่าวิตกเลย เราจะให้สําเร็จความปรารถนาแห่งท่าน องฺคุลิโต มุญฺจิตฺวา พระบรมโพธิสัตว์ตรัสแล้วก็ถอดพระธํามรงค์ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

วงหนึ่งออกจากพระหัตถ์ แย้มพระโอษฐ์ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ท่านจะปรารถนาพระธํามรงค์ ของเราๆ ก็จะให้สําเร็จความปรารถนาแห่งท่าน อันจะ หวงไว้ด้วยมัจฉริยธรรมหามิได้ น้ําพระทัยของเรานี้เลื่อมใสยินดีที่จะบําเพ็ญทานบารมี ทาน เราได้บําเพ็ญ บั ด นี้ ข อจงเป็ น ปั จ จั ย ให้ เ ราได้ ต รั ส แก่ พ ระสร้ อ ยสรรเพชฤชุ ด าญาณ จะได้ ข นสั ต ว์ ใ ห้ พ้ น จากวัฏฏสงสาร ให้ถึง ซึ่งฝั่งอมฤตมหานิพพานในอนาคตกาลโน้นเถิด มีพระวาจาตรัสบัลลือสีหนาท ปรารถนาพระ โพธิญาณด้วย ประการฉะนี้แล้ว ก็ป ระทานพระธํา มรงค์ว งหนึ่งให้ แก่พราหมณ์ผู้ นั้น แล้ ว จึ งตรัส ว่า ดู กร พราหมณ์ท่านจะไปก็ไปให้เป็นสุขเถิด

หน้า ๔๐/๑ – ๔๐/๒ ฆุ (บรรทัดที่ ๑) พระเจ้ า ข้ า ประเทศราวป่ า อั น นี้ ประกอบด้ ว ยภั ย อั น ตรายเป็ น อั น มาก อั น จะไปในเพลา กลางคืนนี้ ข้าพเจ้ามิอาจจะได้ เพลาพรุ่งนี้ข้าพเจ้าจึงจะไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕๓

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

กับพระองค์ ดูกรพราหมณ์ ท่านจะอยู่ไปกับเราต่อเพลารุ่งเช้าก็ตามใจเถิด พราหมณ์จึงถามว่า ข้าแต่พระ มหาบุรุษราช พระองค์มาแต่ใหน เออเรานี้มาสําเภาๆ เสีย เราว่ายน้ําอยู่ในพระมหาสมุทรได้ ถึง ๗ วัน เรา ถึ งขึ้ น ฝั่ งได้ พระเจ้ า ข้ า ถ้ า ดั งนั้ น พระองค์ มิลํ า บากพระกายนั ก หนาหรื อ เชิ ญ พระองค์ จ ง บรรทมเหนือตักแห่งข้าพเจ้าให้หลับระงับ พระกายนี้เ สีย ให้ สบายเถิด สมเด็ จพระบรมโพธิสัต ว์ มีพระบวรสัน ดานมากไปด้ว ยสั ทธา พระองค์ก็เชื่อถ้อยฟังคําแห่งพราหมณ์ ด้วยมาดํ าริ ว่า เรามีคุณแก่ พราหมณ์ผู้นี้ แล้ว ไฉนเลยพราหมณ์ ผู้นี้จ ะทํ าร้า ยแก่ อาตมาเล่ า พระองค์หาความรังเกียจบ่มิได้ ก็นอนหลับอยู่เหนือตักแห่งพราหมณ์ผู้นั้นๆ ครั้นเห็นพระบรมโพธิสัตว์เจ้าบรรทมหลับ ก็มา ดําริว่า ทําไฉนหนอจึงจะได้ธํามรงค์ให้สิ้นทั้งสอง วง อย่าเลยกูจะควักตาเบื้องซ้ายเบื้องขวาแห่งบุรุษผู้นี้เถิด ควักตาออกได้ทั้งสองข้างแล้วก็จะ งมงายอยู่ กูจึงจะเอาพระธํามรงค์ ให้สิ้นทั้งสองวง คิดแล้วพราหมณ์ผู้นั้นเป็นคนอกตัญญู ประทุษร้ายแก่มิตร ก็กอดรัดคอพระ บรมโพธิสัตว์เจ้าเข้าให้มั่นด้วยแขน ทั้งสอง แล้วก็ควักพระเนตรเบื้องซ้ายเบื้องขวาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้าด้วยมือทั้งสองซ้าย ขวาฯ มหาสตฺโต เวทนาติภูโต สมเด็จพระ-

หน้า ๔๑/๑ – ๔๑/๒ ฆู (บรรทัดที่ ๑) พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเสวยเวทนาก็ผวาตื้นขึ้นจากพระบรรทม เข้าพระทัยว่าพราหมณ์ผู้นั้น กระทําร้ายแก่พระองค์ๆ ก็รัดพราหมณ์ผู้นั้นเข้าไว้ ด้วย (บรรทัดที่ ๒) พระพาหาทั้งสอง พระองค์สิทรงพระมหากํา ลังมาก ดุจดั งว่าพญาคชสาร เมื่ อพระองค์รั ด พราหมณ์เข้าไว้ด้วยพระพาหา พราหมณ์ (บรรทัดที่ ๓) ผู้นั้นได้ความลําบากเวทนา มีครุวนาดุจดังว่า ยนต์หีบอ้อยมาหีบไว้ มรณภยภีโต พราหมณ์นั้น สะดุ้งตกใจกลัวภัย (บรรทัดที่ ๔) คือความตายเป็นกําลัง จึงวิงวอนขออภัยว่า พระเจ้าข้า ข้าพเจ้านี้ได้กระทําผิดแล้ว ข้าพเจ้า เป็นคนชั่วหาปัญญามิได้ มากระทําแก่พระองค์ (บรรทัดที่ ๕) นี้ผิดนักหนา พระองค์จงกรุณาให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิด โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ก็โลมเล้าเอาใจว่า ท่านอย่าวิตกเลย


๒๕๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เราไม่ทําอันตรายแก่ท่านดอก เออก็เหตุไฉนท่านมาคิดอ่านมุ่งหมายกระทําร้ายแก่เราเล่าฯ พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดอ่านกระทําร้ายแก่พระองค์นี้เพื่อประโยชน์อยากจะใคร่ ได้พระธํามรงค์ให้สิ้นทั้งสองวง ดูกรพราหมณ์ แต่แรกท่านจะบอกแก่เราว่าปรารถนาทั้งสองวง เราก็จะให้แก่ท่านสิ้น อย่าว่าแต่พระธํา มรงค์นี้เ ลย พราหมณ์เอย ถ้ามีผู้ ใดมาขอมังสังและพระศอ พระเศียร แล ดวงใจแห่งเรานี้ก็ดี เราก็อาจสามารถจะ แหวะจะผ่าให้เป็นทานสําเร็จความปรารถนา อันความเรารักพระทานบารมีนี้ยิ่งกว่ารักพระ ชนม์ชีพแห่งเราได้ร้อยเท่าพันทวี สมเด็จพระบรมโพธิ สั ต ว์ เ จ้ า บั ล ลื อ สี ห นาทฉะนี้ แล้ ว ก็ ข่ม เสี ย ซึ่ งความทุ ก ขเวทนา จะได้ ผู กจิ ต ไว้ ในความ ทุกขเวทนานั้นหามิได้ พระองค์ก็ถอดพระ-

หน้า ๔๒/๑ – ๔๒/๒ เฆ (บรรทัดที่ ๑) ธํามรงค์แก้วอินทนิลออกจากพระหัตถ์ แล้วก็ตั้งพระทัยต่อพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ แล้ว เธอก็พระราชทานธํามรงค์แก้วอินทนิลให้ (บรรทัดที่ ๒) แก่พราหมณ์อกตัญญูกาลครั้งนั้น พฺราหฺมโณ หตฺถ กุตฺโถ พราหมณ์ผู้นั้นก็ชื่นชมโสมนัสปรีดา มาดําริว่า ทีนี้แล (บรรทัดที่ ๓) อาตมาจะได้เลี้ยงชีวิตเป็นสุขแล้ว ปายาสิ พราหมณ์ผู้นั้นก็ออกจากสํานักพระบรมโพธิสัตว์ แล้วก็ไปในเพลาปัจจุส(บรรทัดที่ ๔) มัยจะใกล้ รุ่ง ตถา ปญฺจสตฺต โจรา ครั้ งนั้น ยังมีโ จรห้ าร้อยมั่วสุ มอยู่ในที่ใกล้บรรดานั้น พฺ ราหฺมณํ ทิสฺวา (บรรทัดที่ ๕) โจรทั้งหลายครั้นเห็นพราหมณ์เดินมาก็ออกไปจับเอาตัวพราหมณ์ ตีชิงเอาธํามรงค์สองวงได้ แล้วก็ควักตาพราหมณ์ผู้นั้นเสีย แล้วก็เอาตัว (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

พราหมณ์กับพระธํามรงค์เข้าไปถวายแก่พระยามานทุสราชๆ ก็ให้กรากกรําจําซึ่งพราหมณ์ผู้ นั้นไว้ ก็ได้เสวยซึ่งความทุกขเวทนาอันสาหัส ด้วยโทษที่ตัวกระทําประทุษร้ายแก่ท่านผู้มีคุณ มิได้ตรงต่อท่านผู้มีคุณ ตทา กาเล ในกาลครั้ง นั้น ยังมีพรานป่าสองคน คือนายสิงห์ คนหนึ่ง ชื่ อว่า นายกุ ญชรคนหนึ่ ง พรานทั้ งสองคนนี้ บ้านเรือนอยู่ในที่ใกล้สวน อุทยานแห่งสมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช อรุณฺณ อุคจฺฉนฺเต เพลาอรุณรุ่งขึ้นมาแล้ว นายพรานทั้งสองก็ถือเอาธนูแลหน้าไม้ออกจาก บ้านเพื่อจะไปหาเนื้อ เมื่อเดินตามกันไปใน ประเทศราวป่าชัฏก็พบสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์อันอยู่ในราวป่า อุปสงฺกมิตฺวา พรานป่าทั้ง สองก็เดินเข้าไปใกล้แล้วก็ถามว่า อยฺย ข้าแต่ท่านๆ นี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕๕

หน้า ๔๓/๑ – ๔๓/๒ ไฆ (บรรทัดที่ ๑) มาแต่ไหน ภคยานปฺปตฺโต อ่อข้านี้หรือเป็นคนเสียสําเภาสัญจรมา ก็เหตุไฉนเล่าจักขุของท่าน จึงเป็นเช่นนี้ ใครทําให้แก่ท่าน อ่ออันนี้ (บรรทัดที่ ๒) ด้วยเรากระทํากรรมไว้แต่ปางก่อน พรานป่าทั้งสองได้ฟังพระบรมโพธิสัตว์เจ้ากล่าวถ้อยคํา เป็นสุภาษิตดังนั้น จึงว่าแก่กันว่า ท่านผู้นี้ (บรรทัดที่ ๓) เป็นสัตบุรุษ กล่าวถ้อยคําอันไพเราะ เป็นสุภาษิต เราทั้งสองนี้สมควรที่จะคบหาสมาคมด้วย ท่านผู้นี้ ว่าแก่กันฉะนี้แล้วจึงว่าแก่พระ(บรรทัดที่ ๔) พระบรมโพธิสัตว์ว่า บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งสองนี้ จะรับเอาตัวท่านไปเลี้ยงไว้ ท่านจะไปหรือมิไป ประการใด ถ้าแลท่าน (บรรทัดที่ ๕) กรุณาจะพาเอาข้าพเจ้าไปเลี้ยงไว้ก็ตามแต่น้ําใจแห่งท่านทั้งสองเถิด เต ตํ หตฺเถ คเหตฺวา พรานป่าทั้งสองก็จูงมือพระบรมโพธิสัตว์เจ้า (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

พามาสู่เรือนแห่งตนแล้ว ช่วยใส่ยาตาให้พระบรมโพธิสัตว์เ จ้า แล้วก็ให้บริโภคโภชนาหาร ตกแต่งที่นอนให้ ปฏิบัติรักษาอยู่สิ้นสอง สามวัน โรคจักษุแห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้นก็อันตรธานหาย แต่ทว่าหายแต่แผลตาจะ ได้หายแลเห็น นั้นหามิได้ พรานป่าทั้งสองจึงว่าแก่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าว่า อิทํ ฐานํ อติสมฺภาธํ ท่านอยู่ที่นี่ คับแคบนัก เพลากลาง วันข้าพเจ้าจะพาไปไว้ในสวนอุทยาน ไปนอนเล่นอยู่ที่แผ่นศิลาอันเป็นมงคล ในสวนอุทยานจะ ได้หรือมิได้ พระบรมโพธิสัตว์ ก็ว่าตามแต่ใจท่านทั้งสองเถิด ตโต ปฏฺฐาย จําเดิมแต่นั้นเพลาเช้า พรานป่าทั้งสองก็ให้ พระบรมโพธิสัตว์เจ้า

หน้า ๔๔/๑ – ๔๔/๒ โฆ (บรรทัดที่ ๑) อาบน้ําชําระกายให้บริโภคโภชนาหารแล้ว ก็เอาไปไว้ในสวนอุทยาน ให้นั่งอยู่เหนือมงคลศิลา อาศน์ เพลาเย็นๆ แล้ว (บรรทัดที่ ๒) ก็พากันไปรับพระบรมโพธิสัตว์มาสู่เรือนแห่งตนก็มีฯ คจฺฉนฺเต ปน กาลนฺตเร เอกทิวสํ รตนว ติราชกญฺญา ปุเร อภิรมฺมิตุงฺ (บรรทัดที่ ๓) อสกฺโกนฺติ อุกฺกณฺฐิวิโนทตฺถํ อุยฺยานํ คนฺตุงฺ กามา มหนฺเตน ปริวาเรน นครโต นิกฺขมิฯ อนฺ เต ปุรปาลกา มนุสฺสา อิโต (บรรทัดที่ ๔) จิตฺโต จ ปทาวิตฺวา ปุริเส ปติกฺกมาเปนฺติฯ เอกทิวสํ ในกาลวันหนึ่ง สมเด็จพระรัตนวดีราช กัญญา ให้บังเกิดความเดือดร้อน


๒๕๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕)

รําคาญ มิอาจจะที่จะทนทานอยู่ในพระนครได้ พระราชธิดาก็มีพระทัยปรารถนาจะไปเชยชม สวนพระอุทยาน เพื่อประโยชน์บรรเทาเสียซึ่งความ

โศกฯ มหนฺเตน ปริวาเรน นครโต นิกฺขมิตฺวา นางพระยาเสด็จออกจากพระนคร ด้วยยศ บริวารเป็นอันมาก อนฺเต ปุรปาลก มนุสฺสาฯ ฝ่ายว่าบุรุษ (บรรทัดที่ ๒) ที่รักษาอยู่ในสวนนั้น แล่นไปแล่นมาแต่ข้างโน้นข้างนี้ ขับไล่พวกผู้ชายให้ออกเสียนอกสวนฯ ตทา ครั้งนั้น (บรรทัดที่ ๓) สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้นอยู่เหนือแผ่นศิลา ได้ยินเสียงอื้ออึงคนึงมา จึงมีพระวาจาถาม นายพรานทั้งสองว่า เสียงอึง (บรรทัดที่ ๔) มานั้ น เป็ น เสี ย งอะไร พรานป่ า ทั้ งสองก็ บ อกว่ า พระรั ต นวดี ร าชธิ ด าเสด็ จ ออกมาชมสวน อุทยาน เสียงอึงนั้นนายตํารวจ (บรรทัดที่ ๕) เขาไล่คน ข้าพเจ้าทั้งสองนี้อยู่มิได้ จะลาไปบัดนี้แล้ว เออถ้ากระนั้นฉันจะมิต้องไปด้วยหรือ พรานป่าจึงว่า ทําไมแก่ท่านเป็นคนวิการตามืดตาบอด หน้า ๔๕/๑ – ๔๕/๒ เฆา (บรรทัดที่ ๑) ถึงจะอยู่ก็จะเป็นอะไรมี จงอยู่ที่นี้เถิด พระบรมโพธิสัตว์ได้ยินพรานบอกพระนามสมเด็จพระ รัตนวดีราชธิดา จึงทรงพระดําริว่า พระ(บรรทัดที่ ๒) รัตนวดีที่เป็นธิดาสมเด็จพระเจ้าลุงแห่งเรากระมั่ง ดําริฉะนี้แล้วพระบรมโพธิสัตว์เจ้าก็ถาม พรานป่าว่า ทวีปอันนี้เขา (บรรทัดที่ ๓) ร้องเรียกว่าทวีปอันใด อยฺย ข้าแต่เจ้า ทวีปอันนี้ชื่อว่าโลหทวีป บอกเท่านั้นแล้วพรานป่าก็ หลีกออกไปจากสวนอุทยาน (บรรทัดที่ ๔) รตนวติ อุ ยฺ ย านํ ปวิ สิ ตฺ ว า สมเด็ จ พระรั ต นวดี เ มื่ อ เสด็ จ เข้ า ไปสู่ ส วนอุ ท ยาน แล้ ว ก็ ทอดพระเนตรเชยชมซึ่งรุกขชาติ (บรรทัดที่ ๕) ทั้งหลาย อันทรงซึ่งดอกผลวิจิตรต่างๆ อย่างประหนึ่งว่าต้นไม้ในป่าพระหิมพานต์ ชมทั้งพระ โบกขรณีมีน้ําอันใสประกอบไปด้วยเบญจะบัวอุบล (บรรทัดที่ ๑) มีพรรณ ๕ ประการ ประกอบไปด้วยสกุณณชาติปักษา หากมาร่ําร้องกึกก้องไพเราะเสนาะ สนั่น ยิ่งฟังก็ยิ่งทรงพระโศกศัลย์ปั่นป่วนรันจวนพระทัย พระ(บรรทัดที่ ๒) รัตนวดีมิอาจจะบรรเทาเสียซึ่งความโศกนั้นได้ ก็ทรงพระกันแสงไห้ พระอัสสุชลนัยไหลลง โทรมพระพักตรา ฝ่ายว่า (บรรทัดที่ ๓) นางมัลลวิกาสาวใช้นั้นเที่ยวไปเก็บเอาผลไม้แลดอกไม้ที่ประหลาดๆ นั้นมาถวายพระรัตนวดี อิ โต จิโต อนุ (บรรทัดที่ ๔) วิจรติฯ นางมัลลวิกาเที่ยวไปมาข้างโน้นข้างนี้ ก็เหลือบแลไปเห็นสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อัน นั่งอยู่เหนือแผ่นศิลาอาศน์ (บรรทัดที่ ๑)


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕๗

(บรรทัดที่ ๕)

อัน เป็ นมงคล นางก็นึ กสงสั ย ว่ า ใครหนอมานั่ งอยู่ที่แผ่ น ศิล าอั นเป็ น มงคล ฉงนสนเท่ ห์ ใจ นักหนา นางมัลลวิกาก็เดินเข้าไปใกล้

หน้า ๔๖/๑ – ๔๖/๒ ฆํ (บรรทัดที่ ๑) แล้วก็ร้องถามว่า บ่าวน้อยนี้มาแต่ไหน ทําไมมานั่งอยู่ที่นี่ พระบรมโพธิสัตว์ก็บอกว่า ข้านี้เป็น คนตามืดเป็นคนเสียสําเภาสัญจรมา (บรรทัดที่ ๒) อาศัยอยู่ดอก นางมัลลวิกาได้ฟังแล้ว ก็เดินด่นกลับมาสู่สํานักพระรัตนวดีแล้ว ก็ทูลว่า อยฺเย ข้าแต่พระแม่อยู่ (บรรทัดที่ ๓) หัวเจ้า ยังมีชายน้อยคนหนึ่งรูปร่างงามนักงามหนา แต่ทว่าตานั้นมืด มานั่งอยู่บนแผ่นศิลาอัน เป็นมงคล กระหม่อม (บรรทัดที่ ๔) ฉั น ถามว่ า มาแต่ ไ หน บอกว่ า สํ า เภาเสี ย สั ญ จรมาอาศั ย อยู่ เชิ ญ พระแม่ เ สด็ จ ไปดู ด้ ว ย กระหม่อมฉัน เกลือกว่านายคน (บรรทัดที่ ๕) นั้น เผื่อจะมาสําเภาเดียวกันกับพระลูกเจ้ากระมั่ง สมเด็จพระรัตนวดีได้ทรงฟังนางมัลลวิกา ทูลดังนั้นปรารถนาใคร่ฟังข่าวแห่งสมเด็จ(บรรทัดที่ ๑)

พระบรมโพธิสัตว์เจ้า จึงให้นางมัลลวิกาพาไป แต่พอทอดพระเนตรเห็นพระบรมโพธิสัตว์แล้ว ก็ปราศจากความโศก พระนางท้าวเธอ (บรรทัดที่ ๒) ชื่นชมโสมนัสนักหนา เป็นเหตุทั้งนี้ก็เพราะวาสนาบารมีเคยสันนิวาสกันมาแต่ชาติปางก่อน พระรัตนวดีจึงไปประดิษฐานยืน (บรรทัดที่ ๓) อยู่ ณ เบื้องหน้าพระบรมโพธิสัตว์ นางมัลลวิกาจึงมีพระวาจาถามพระบรมโพธิสัตว์ว่า พ่อเอย พ่อหนุ่มน้อย (บรรทัดที่ ๔) ตามืด สมเด็จพระราชธิดาเสด็จมาถามเนื้อความท่าน พระบรมโพธิสัตว์ก็ตอบว่า ท่านจะถาม ว่ากระไรก็ถามเถิด พระรัตน(บรรทัดที่ ๕) วดีก็มีพระวาจาถามว่า ตาของท่านนี้เสียด้วยเหตุผลเป็นประการใด ใครกระทําให้จึงเสียตา ข้า แต่พระราชธิดา จักขุข้าพเจ้าเสียทั้งนี้ หน้า ๔๗/๑ – ๔๗/๒ ฆะ (บรรทัดที่ ๑) ก็เ พราะกรรมที่ ได้ กระทํา มาแต่ ชาติ ก่อนๆ ได้กระทํ ากรรมอั นลามกไว้ จึงมาได้ ความทุ กข์ ลําบากเห็นปานฉะนี้ อันธรรมดาเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ถ้ากระทํา (บรรทัดที่ ๒) อกุศลกรรมด้วยกายแลวาจา แลน้ําใจแล้วกรรมนั้นก็เป็นของตน จะติดตามให้ผลไป กระทําไว้ ดีก็ให้ผลดี กระทํา (บรรทัดที่ ๓) ไว้ชั่วก็จะได้ชั่ว กระทําไว้อย่างไรก็จะได้อย่างนั้น มีครุวนาดุจจดังพืชอันจะให้ผล ธรรมดาว่า พืชอันจะให้ผลนั้น ย่อม


๒๕๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ให้ผลตามเดิม พืช อย่างไรก็ให้ผลอย่างนั้น พืชดีก็จะให้ผลดี พืชชั่วก็จะให้ผลชั่ว อันนี้แลมี ครุวนา ฉันใด บุคคลในโลกนี้ จะจนจะมีจะดีจะชั่ว จะทุกข์จะสุขนั้นก็เพราะพืช คือกุศลแลอกุศลที่ตน กระทําไว้ กระทําไว้ดีแล้วจะกลับ

(บรรทัดที่ ๑)

ได้ชั่วนั้นหามิได้ กระทํามาอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น ก็เหมือนตัวข้านี้แล แต่ปางก่อนได้กระทํา กรรมอันหยาบช้าไว้ จึงมาได้เสวยซึ่งความลํา (บรรทัดที่ ๒) บากเวทนา เอตฺตกํ ธมฺมเทศนํ สุตฺวา สมเด็จนางพญารัตนวดีได้ทรงฟังพระสธรรมเทศนามี ประมาณเท่านั้น ก็มีพระทัยชื่น(บรรทัดที่ ๓) ชมโสมนัสจึงมีพระเสาวนีย์ตรัสว่า อยฺย ข้าแต่ท่าน ถ้อยคําของท่านนี้เป็นสุภาษิต วาจาเพราะ นัก (บรรทัดที่ ๔) เพราะหนา นางพระยาตรัสเท่านั้นแล้ว ก็เรียกนางมัลลวิกาว่า มลฺลวิเก ดูกรเจ้ามัลลวิกาเจ้า เร็วๆ ไวๆ (บรรทัดที่ ๕) ไปเอาทองมาให้สักพันตําลึง นางมัลลวิการับพระเสาวนีย์แล้วก็ไปเอาทองพันตําลึงมาถวาย สุวณฺณสหสฺสํ คเหตฺวา สมเด็จนางพญาเธอก็ถือ หน้า ๔๘/๑ – ๔๘/๒ ง (บรรทัดที่ ๑) เอาถุงทองพันตําลึง แล้วจึงมีพระเสาวนีย์ตรัสว่า อยฺย ข้าแต่ท่าน ข้าพเจ้านี้ยินดีนัก ในถ้อยคํา แห่งท่าน อันกล่าวเป็นสุภาษิต ทอง (บรรทัดที่ ๒) พันตําลึงนี้ข้าพเจ้าบูชาถ้อยคําสุภาษิตของท่าน จงรับเอาทองพันตําลึงกาลบัดนี้ สมเด็จพระ บรมโพธิสัตว์เจ้า เมื่อพระองค์ (บรรทัดที่ ๓) ได้ทรงฟัง จึงมาดําริว่า อาตมานี้มีแต่จะให้ทาน เออก็มาบัดนี้นี่จะรับทาน อาตมาจะรับกระไร ได้ ทรงพระดําริฉะนี้ (บรรทัดที่ ๔) แล้วก็มีพระวาจาว่า อยฺเย ดูกรแม่ๆ เป็นอัครราชธิดา มีบุญญาภิสมภาร แต่ตรัสว่าจะประทาน ทอง (บรรทัดที่ ๕) เท้านี้ก็ดีอยู่แล้ว เอาแต่พระเสาวนีย์ที่ตรัสนั้นเป็นของประทานเถิด ทองนั้นอย่าประทานให้ เลย ฝ่ายพระรัตนวดีก็ตอบว่า อยฺย (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓)

ข้าแต่ท่าน ทองนี้สมควรแก่ท่านอยู่แล้ว ท่านจงอนุเคราะห์แก่ข้า เชิญช่วยรับเอาไว้เถิด เมื่อ พระรัตนวดีอ้อนวอนให้รับซึ่งทอง วันนั้นสมเด็จพระบรมโพธิสัต ว์จึงมาทรงพระดําริว่ า พระราชธิด าจะให้ รับให้ได้ แล้ว อาตมะจําจะรั บเอาไว้ให้แก่ พรานทั้งสองเถิด เขามีคุณแก่อาตมามากอยู่ อาตมานี้จะรับไว้แทนคุณเขาเถิด ดําริฉะนี้แล้ว พระองค์ก็แบพระ หัตถ์ออก เพื่อจะรับทอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕๙

(บรรทัดที่ ๔)

ณ กาลครั้งนั้น นางมัลลวิกาสาวใช้จึงแลไปเห็นลายสังข์ที่ฝ่าพระหัตถ์พระบรมโพธิสัตว์เจ้า จึง กระซิบ (บรรทัดที่ ๕) ทูลแก่พระรัตนวดีว่า พระแม่เจ้าจงแลดูที่ฝ่ามือนั้นก่อนเป็นไร กระหม่อมฉันแลเห็นเป็นลาย สังข์อยู่แล้ว คนนี้แลจะเป็นพระสังขปัตต หน้า ๔๙/๑ – ๔๙/๒ งา (บรรทัดที่ ๑) พระลูกเจ้าแล้วกระมัง ส่วนพระรัตนวดีทอดพระเนตรแลดู แล้วก็ดําริว่า ทําไฉนจะรู้จักแน่ว่า คนนี้แลพระลูกเจ้า พระนางเธอทรงพระดําริ (บรรทัดที่ ๒) ฉะนี้แล้ว ก็ส่งทองพันตําลึงให้แก่พระบรมโพธิสัตว์ๆ ก็รับเอาทองไปวางไว้ในที่ใกล้พระองค์ พระรัตนวดีก็ถอยออก (บรรทัดที่ ๓) มาจากสถานที่นั้นหน่อยหนึ่ง จึงมีพระเสาวนีย์ตรัสปรึกษากันกับด้วยสาวใช้ว่า มัลลวิกาสาวใช้ ทําไฉนเราจึงจะรู้จักกระหนัก (บรรทัดที่ ๔) แน่ ว่าคนนี้เป็นพระลูกเจ้าหรือมิใช่ ทําอย่างไรจึงจะรู้แน่ อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าเอารูปใน แผ่นทอง (บรรทัดที่ ๕) มาเปรียบดูนี่แลแม่จะเห็นเป็นประการใด เออดีสาวใช้ว่าชอบแล้ว จงรีบไปเถิดแม่ไปๆ เอา แผ่นทองนั้นมา นางมัลลวิกาก็ไปนําเอา (บรรทัดที่ ๑)

แผ่นทองนั้นมาถวาย สมเด็จพระรัตนวดีนั้นก็เลงแลดูแผ่นทอง แล้วก็ดูพระบรมโพธิสัตว์ดูๆ พระบรมโพธิสัตว์แล้วก็ (บรรทัดที่ ๒) ดูรูปในแผ่นทอง แล้วจึงมีพระเสาวนีย์ตรัสปรึกษาด้วยสาวใช้ พี่จะเห็นกระไรด้วยข้าดูให้เห็น หลายหูหลายตาด้วยกัน พี่ดู (บรรทัดที่ ๓) ดุเหมือนรูปในแผ่นทองหรือไม่ อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้า เหมือนรูปแล้ว แต่ทว่าแปลกกันถนัด แปลกที่สําคัญ (บรรทัดที่ ๔) ทีเดียว แปลกที่ไหนพี่สาวใช้ว่าแปลกที่สําคัญ อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้าๆ ทําเป็นไม่เห็นแล้วเล่า ก็ตานั้น (บรรทัดที่ ๕) เหมือนอยู่หรือ รูปในแผ่นทองนั้นตาดีอยู่ นี่เป็นไรตาจึงเป็นกระเจาะเล่า หรือว่าวาสนาของ พระแม่เจ้าเฉพาะ จะได้ที่ตาเจาะแล้วกระมัง ดูดุพี่สาวใช้เยาะข้า หน้า ๕๐/๑ – ๕๐/๒ งิ (บรรทัดที่ ๑) เล่นทีเดียว จะได้ที่ตาเจาะหรือจะได้ที่ตาดีก็ตามเถิด เราว่ากันที่เหมือนนี่สิ ทําไฉนจึงจะหาย สงสัย อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้า อันเราจะดูเองนี้ไม่ (บรรทัดที่ ๒) สิ้นสงสัย ถ้าจะไปหาวัททวามุขพราหมณ์มาให้ดูนั้นแลเห็นจะสิ้นสงสัย วัททวามุขพราหมณ์นั้น เขาสิเป็น (บรรทัดที่ ๓) สหายกั นกับพระลูกเจ้า มาสํา เภาลํา เดียวกันกับ พระลู กเจ้า เออพี่ สาวใช้ว่านี้ ชอบแล้ว ถ้ า กระนั้นจงไปร้องเรียก


๒๖๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

วัททวามุขพราหมณ์มา นางมัลลวิกาก็ไปพาวัททวามุขพราหมณ์ เข้าไปสู่สํานักพระรัตนวดีๆ จึงชี้บอก แก่วัททวามุขพราหมณ์ว่า บุรุษที่นั่งอยู่เหนือบัลลังค์ศิลาอาศน์นั้น ท่านรู้จักหรือไม่ วัททวามุข พราหมณ์แลไปเห็นก็รู้จักชัดว่าเป็นองค์ พระบรมโพธิ สั ตว์ ก็ ร้องไห้ ป ริ เวทนาการร่ํ าไรในกาลครั้ งนั้ น สพฺพา อนฺ เ ต ปุ ริ กา ฝ่า ยว่ า นางสาวใช้ทั้งหลายมีสมเด็จพระรัตนวดีเป็นประธาน ต่างคนต่างก็มิอาจที่จะกลั้นความโศกอยู่ได้ ก็ ร้องไห้ร่ํารักสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ เสียงนี่ กระไร เซ็งแซ่ไปทั้งสวนอุทยาน ณ กาลครั้งนั้นฯ วัททวามุขพราหมณ์นั้นครั้นค่อยสว่างความโศกลงแล้ว จึงถามว่า เหตุไฉน พระเนตรทั้งสองซ้ายขวาของพ่อ จึงมาวิปริตเป็นเช่นนี้ นี่ใครทําให้แก่พ่อหรือ ดูกรพราหมณ์นึกดูเถิด ทุกข์ภัยบังเกิดมีแก่สัตว์ อันท่องเที่ยวอยู่ใน สงสารวัฏฏ์นี้ ก็อาศัยแก่กรรมเป็นปัจจัย กรรมนี้ย่อมติดตามสัตว์ทั้งปวงมา มีครุวนาดุจกงจักร อันหันไปตามรอยเท้าแห่งโค

หน้า ๕๑/๑ – ๕๑/๒ งี (บรรทัดที่ ๑) ทุกขเวทนาบังเกิดมีแก่เราครั้งนี้นี่อาศัยแก่กรรม ขณะนั้นพระรัตนวดีมีพระเสาวนีย์ตรัสใช้ให้ นางมัลลวิกาสาวใช้เอาเนื้อความนั้นเข้า (บรรทัดที่ ๒) ไปกราบทูลให้แจ้งแก่สมเด็จพระบิดา ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราชแลพระอนงคเสนาราช เทวี เมื่อได้ทรงทราบว่า (บรรทัดที่ ๓) พระบรมโพธิสัตว์มาอยู่ในสวนอุทยานแล้วก็ชื่นชมโสมนัสปรีดา เสด็จออกไปสู่สวนอุทยานกับ ยศ(บรรทัดที่ ๔) บริวาร วัททวามุขพราหมณ์นั้น ครั้นเห็นกษัตริย์ทั้งสองเสด็จมาถึงใกล้แล้ว จึงกราบทูลแก่พระ บรมโพธิสัตว์ว่า (บรรทัดที่ ๕) พระเจ้าข้า สมเด็จพระเจ้าลุงกับพระเจ้าป้าเสด็จออกมาถึงสํานักพระองค์แล้ว โพธิสตฺตสฺส หตฺถ คเหตฺวา วัททวามุขพราหมณ์ทูลพลาง (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒)

ทางจับเอาข้อพระหัตถ์แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ นําไปให้ถวายบังคมแทบพระบาทสมเด็จ พระเจ้าลุงแลพระเจ้าป้า ณ กาลครั้งนั้น ราชา มหาสตฺตํ อาลิงฺคิตฺวา สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราชบรมกษัตริย์ผู้เป็นพระเจ้าลุงนั้นก็ สวมกอดพระบรมโพธิสัตว์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๖๑

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕) หน้า ๕๒ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เข้าไว้กับอุระแล้วก็ทรงพระกันแสงพิลาปร่ําไร ควรจะสงสารนักหนาทั้งสมเด็จพระเจ้าป้าแล พระสนมกรมท้าวแม่ เฒ่าแก่ แลอํามาตย์ราชเสนา แต่บรรดาที่ตามเสด็จออกไปครั้งนั้นก็ร้องไห้ นี้ไม่เว้นเลยแต่สัก คนหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลุงนั้น ครั้นคลายเสื่อมส่างสว่างความโศกแล้ว ก็มีพระโองการดํารัสถามว่า ดู กรสังขปัตต ตาพ่อเสียทั้งนี้ด้วยเหตุผล เป็นประการใด ใครทําให้แก่พ่อ ขอพระราชทานกระหม่อมฉัน ได้เสวยทุกข์ทั้งนี้ก็เพราะอกุศลกรรมที่ได้กระทําไว้แต่ปางก่อน จึงได้เสวยทุกขเวทนามาในกาลบัดนี้ฯ อาตมาภาพรับประทาน วิสัชชนามาในเรื่องราวสังขปัตตผูกสอง ก็สมมุติ ยุตติไว้แต่เพียงนี้ เอวํ ก็มี ๚ พระสังขปัตตชาดก ผูก ๓ ๚ ะ๛

หน้า ๕๓ (บรรทัดที่ ๑)

พระสังขปัตตชาดก ผูก ๓ ฯ พระสังขปัตชาดกฯ วัดใหญ่พลิ้ว (ภาษาไทย)

หน้า ๕๔ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ฯ โทวาริก มนุสฺส คนฺตวฺา ตสฺสาคมนํ โญ นิเวเทสุงฺ ราชา ตํ สุตฺวา ตุฏฺฐจิตฺโต เทวึ อนงฺคเสนํ รนวติยา สทฺธึ ตสฺสา ปจฺจุตฺตมนตฺถาย มหนฺเตหิ ปริวาเรหิ มหาสตฺโต มาตุอาคมนํสุตฺวา มหาราช อหํ อมฺมาย ปจฺจุตฺตมนํ คจฺฉามีติฯ บัดนี้จะว่าข้างพระสุตกิตติ-

หน้า ๕๕/๑ – ๕๕/๒ จ (บรรทัดที่ ๑) ราชเทวี ผู้เป็นพระชนนีมารดาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้นสืบไป ปางเมื่อนางพญาเจ้ารู้แจ้งใน ความอันสมุทร (บรรทัดที่ ๒) เทพวดามาบอกแก่สุปุณณพราหมณ์ว่า พระลูกเจ้านั้นมิได้เป็นอันตรายในท้องพระมหาสมุทร จะได้เสวย (บรรทัดที่ ๓) สมบัติในโลหทวีปเที่ยงแท้ นางพญาเจ้าจึงสั่งให้จัดแจงแต่งสําเภาสําเร็จแล้ว นางก็ถวายบังคม ลาพระราชสามี


๒๖๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ลงสู่สําเภากับด้วยบริวารทั้งปวง แล้วก็ให้ชักใบแล่นมาเข้าได้ถึงท่า ก็พอประจวบกันกับวันอัน สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราชได้ประสบพบกับพระเจ้าหลานในสวนอุทยาน ฝ่ายว่าคนทั้งหลายที่เป็นเจ้าพนักงาน รักษาปากอ่าว ได้ฟังข่าวรู้ว่าสําเภาพระสุตกิตติราช เทวีมาถึง ก็นําเอาเนื้อความเข้ากราบทูลแก่พระเจ้าอังกุรมหาราชว่า บัดนี้องค์สมเด็จพระบวร กนิษฐามาถึงท่าแล้ว สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช เมื่อพระบาทท้าวเธอทรงทราบว่า พระบวรกนิษฐามาตามพระราชโอรส สําเภามาถึง ท่าแล้ว ตุฏฺฐจิตฺโต ท้าวเธอ ท้าวเธอก็มีพระทัยชื่นชมโสมนัส มีพระโองการดํารัสสั่งให้พระอนงคเสนาราชเทวีกับพระรตน วดีราชธิดานั้น เสด็จ ลงไปต้อนรับพระบวรกนิษฐถึงท่าที่สําเภากับด้วยยศบริวาร มหาสตฺโต มาตุ อาคมานํสุตฺวา สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เมื่อพระองค์ได้ทรงฟังว่าสมเด็จพระมารดาเสด็จตามมา จึงกราบทูลแก่พระเจ้าลุงว่า ขอ พระราชทานกระหม่อมฉันนี้จะขอลงไปต้อนรับ

หน้า ๕๖/๑ – ๕๖/๒ จา (บรรทัดที่ ๑) สมเด็จพระมารดาสักน่อย ตาต ดูกรพ่อ คิลาโน เจ้าเป็นคนป่วยอยู่อย่าไปเลย นั่งอยู่กับลุงเถิด ขอพระราชทานสมเด็จพระมารดา (บรรทัดที่ ๒) ทรงพระอุสสาหะ เสด็จข้ามมหาสมุทรมามิได้คิดแก่พระชนม์ ทั้งนี้ก็เพราะหม่อมฉันๆ จะเฉย อยู่ไปต้อนรับพระมารดานี้ (บรรทัดที่ ๓) ไม่สมควรพระพุทธิเจ้าข้า ดูกรพ่อสังขปัตต เจ้าอยู่เถิดอย่าไปเลย สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ ขัด พระเจ้าลุง (บรรทัดที่ ๔) ไม่ได้ ก็นั่งอยู่กับพระเจ้าลุงในสวนพระอุทยาน ฝ่ายสมเด็จพระอนงคเสนากับพระรัตนวดีนั้น ก็เสด็จลงไปต้อนรับยังฝั่ง (บรรทัดที่ ๕) มหาสมุ ท รกั บ ด้ ว ยบริ ว ารทั้ งปวง ครั้ น ถึ งจึ ง ถวายบั ง คมสมเด็ จ พระมารดาแห่ ง พระบรม โพธิสัตว์แล้วก็เชิญเสด็จให้ขึ้นสู่สุวรรณ(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒)

สิวิกากาญจน์คานหามทอง นําเสด็จเข้าไปสู่สวนอุทยาน อุยฺยานํ ปวิสิตฺวา เมื่อเสด็จไปถึงสวน อุทยานแล้ว ก็มีพระเสาวนีย์ตรัสถาม มม ปุตฺโต องค์พระสังขปัตตลูกข้านี้อยู่ที่ไหน พระนางอนงคเสนาก็บอกว่านั่งอยู่กับพระเจ้าลุง เหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๖๓

สา อุกฺกณฺทิตฺวา สมเด็จพระสุตกิตติราชเทวีเจ้านั้น เธอกระสันเป็นทุกข์ถึงบวรพระโอรสาช้า นามาแล้ว พระทัยเธอนั้นหวั่นๆ (บรรทัดที่ ๔) ที่จะใคร่พบพระบวรโอรสา นางพญามีความรักพระเจ้าลูกนี้สุดกําลัง แต่จะเสด็จไปด้วยคาน ทองหามทองสิเห็นว่าจะช้าเล่า (บรรทัดที่ ๕) สิวิกาย โอตาเรตฺวา นางพญาก็เสด็จลงจากสิวิกากาญจน์แล้วก็แล่นไปด้วยเร็วพลัน แต่พอถึง มงคลศิลาอาศน์ ถวายบังคมบาทพระเชษฐาแล้ว หน้า ๕๗/๑ – ๕๗/๒ จิ (บรรทัดที่ ๑) ก็ ส วมกอดพระลู กไว้ กับ อก แล้ ว ก็ ท รงพระโศกากั น แสงไห้ ส ะอึ กสะอื้ น นิ่ งแน่ ไปมิ ได้ ต รั ส จํานรรจา มีประมาณสักครู่หนึ่งค่อย (บรรทัดที่ ๒) สว่างพระโศกโศกา เมื่อคลายวายพระโศกลงแล้ว สมเด็จพระราชเทวีจึงมีพระเสาวนีย์ตรัสว่า ตาต พ่อเอย (บรรทัดที่ ๓) พ่อสังขปัตต เมื่อพ่อมาจากมารดาได้ ๗ วัน มารดาอยู่ภายหลัง เสวยพระสุบินนิมิตรฝันว่า มี ชายผู้หนึ่งมาควัก (บรรทัดที่ ๔) เอาดวงพระเนตรเบื้องขวากับหฤทัยแห่งมารดาได้แล้วก็นําไป พระลูกเอย จําเดิมแต่มารดาได้ เสวยสุบินนิมิตรอันนี้ (บรรทัดที่ ๕) พระชนนีก็ตั้งอยู่แต่จะทรงพระกันแสงไห้ถึงเจ้าทุกวันทุกเวลา มารดานี้อุตส่าห์รักษาพระอุ ทยาพระอุโบสถศีล รับ (ประ) ทานโภชนาหาร (บรรทัดที่ ๓)

(บรรทัดที่ ๑)

แต่เพลาเดียวเป็นนิจนิรันดร มารดาอุตสาหะปฏิบัติทั้งสิ้น ด้วยมีความปรารถนาจะใคร่พบพ่อ บัดนี้มารดาก็ได้มาพบปะกับพ่อสําเร็จความปรารถนา (บรรทัดที่ ๒) แล้ว จําเดิมแต่นี้ไปเบื้องหน้า อชรามโร พ่ออย่าได้รู้แก่รู้ชรารู้ไข้รู้เจ็บรู้ตายเลย เจ้าจงเจริญสิริ สวัสดี (บรรทัดที่ ๓) มงคลเป็นบรมสุข ทุกอิริยาบถเถิด เมื่อสมเด็จพระราชเทวีเจ้า ทรงพระกันแสงคลางทั้งอวย พระพรให้แก่พระราชโอรส (บรรทัดที่ ๔) ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายนางพระสนมกรมชาวแม่ แลบริษัททั้งหลาย แต่ที่ได้ฟังเสียง พระราช เทวีเธอทรงพระกัน(บรรทัดที่ ๕) แสงนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งก็มิอาจจะที่จะอดกลั้นความโศกได้ ก็ร้องไห้แซ้ไปทั่วทั้งในสวนอุทยาน ฝ่าย สมเด็จพระราชเทวีเจ้านั้น ครั้น หน้า ๕๘/๑ – ๕๘/๒ จี (บรรทัดที่ ๑) เมื่อค่อยระงับความโศกแล้ว ก็ทอดพระเนตรเห็นพระพักตราพระบวรโอรสา จึงมีพระวาจา ดํารัสถามว่า พ่อเอยเหตุผลนี้เป็นอย่างไร ทุกอิริ(บรรทัดที่ ๒) ยาบถเถิดฯ เมื่อสมเด็จพระราชเทวีเจ้าทรงพระกันแสงพลางทั้งอวยพระพรให้แก่พระราชโอรส ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระราชโอรส


๒๖๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

เสียดวงจักขุทั้งสองซ้ายขวาฉะนี้ พระบรมโพธิสัตว์เธอถวายบังคมทูลว่า อมฺม ข้าแต่สมเด็จ พระมารดา อั น จั กขุ ทั้งสองซ้ า ยขวาของกระหม่ อมฉั น เสี ย ทั้ งนี้ นี่ เ ป็ น เหตุ ด้ ว ยพราหมณ์ คนหนึ่ งมั น มา กระทําร้าย พระบรมโพธิสัตว์เจ้าก็เล่าเรื่องราว แต่ หลั ง ให้ มารดาเจ้า ฟังแต่ ต้ นจนอวสาน เหมื อนนัย ที่สํ าแดงมาแล้ว แต่ หลั ง สมเด็ จพระ มารดาได้ทรงฟังก็ทรงพระพิลาป ว่าอนิจจาเอย พราหมณ์กระไรชั่งโลภล้นเหลือประมาณ ลูกเรากระทําคุณ เออก็ควรแลหรือไม่ รู้จักคุณพระลูกเรา กลับมาประทุษร้าย แก่พระลูกเรา ตํ ขณเญว ราชา ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช จึงมีพระโองการตรัสว่า อยํ กุมาโร พระสังขปัตตราชกุมารนี้ อุตสาหะข้ามมหาสมุทรมาเพื่อประโยชน์จะใคร่ได้ธิดาแห่งเรา จึงมา ได้ความทุกข์ความยาก ลําบากเวทนาเห็นสภาพปานฉะนี้ ธิตรํ ปสฺสามิ ปฏิญาตา เรานี้ก็ได้ปฏิญาณไว้ว่า จะให้ธิดา แก่ สังขปัตต ถึงเจ้าสังขปัตตเป็นคนอันธการเสียตาแล้วก็ดี ที่เราจะได้กลับถ้อยคืนคําเสียนั้นหา มิได้ อิมสฺส ทาตญฺจ เราจะยกนางรัตนวดี

หน้า ๕๙/๑ – ๕๙/๒ จุ (บรรทัดที่ ๑) ธิดาแห่งเราให้แก่เจ้าสังขปัตตราชกุมาร ตามคําที่เราได้ปฏิญาณไว้ อชฺชตา ปฏฺฐาย จําเดิมแต่ นี้ไปพระรัตนวดีเจ้าจงเป็นบาทบริจา (บรรทัดที่ ๒) แห่งพระสังขปัตตเถิด เมื่อท้าวเธอมีพระโองการตรัสฉะนี้ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็ถวาย บังคมรับพระราชโองการแห่งสมเด็จพระ(บรรทัดที่ ๓) เจ้าลุงๆ ก็ให้อัญเชิญพระบรมโพธิสัตว์เข้าไปสู่พระนคร กับด้วยพระราชธิดา วสาเปตฺวา ก็ให้ พระบรม(บรรทัดที่ ๔) โพธิสัตว์เจ้าอยู่ในมรรคสังวาสกับด้วยพระราชธิดา อยู่ในปรางค์ปราสาทอันวิจิตร เปรียบปาน ประดุจดังวิมานแห่งเทวดา (บรรทัดที่ ๕) สะพรึบพร้อมแวดล้อมไปด้วยสาวสุรางค์นางในทั้งปวงกาลนั้นฯ ฝ่ายสมเด็จพระรัตนวดีผู้มีศี ลาจารวัตร ก็ตั้งพระบรมโพธิสัตว์ไว้ (บรรทัดที่ ๑)

ในที่เป็นเทวดา ปฏิบัติรักษาเคารพนบนอบ จะได้ดูหมิ่นถิ่นแคลนนั้นหามิได้ฯ เรื่องราวรัตนวดี ได้อยู่กับพระสังขปัตตจะยกไว้ก่อน บัดนี้จะว่า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๖๕

(บรรทัดที่ ๒)

ด้ว ยพราหมณ์พญามานทุ ษราชที่ได้พระธํา มรงค์ทั้งสองวงไว้ กับ พราหมณ์ อกตัญ ญูนี้ สืบไป พญามานทุษราชเธอมีพระทัยปรารถนาจะถวายพระธําม(บรรทัดที่ ๓) รงค์ทั้งคู่นั้น เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการ บพิตรเธอจึงใช้ให้ราชบุรุษทั้งหลาย นําเอาพระ ธํามรงค์ทั้งคู่กับพราหมณ์ (บรรทัดที่ ๔) อกตัญญูที่จําไว้นั้นส่งเข้ามาถวายแก่สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช ณ กาลครั้งนั้น มหาชนา ตํ นิยมานํ ทิสฺวา มหา(บรรทัดที่ ๕) ชนชาวพระนครเมื่อเห็นพราหมณ์อกตัญญูอันราชบุรุษทั้งหลายผูกพันธนาการจําจองนํามา ถวายวันนั้น ก็เอิกกะเริกกําเริบเป็นโกลาหลเกลื่อนกล่นชวนกัน หน้า ๖๐/๑ – ๖๐/๒ จู (บรรทัดที่ ๑) มาดูพราหมณ์ผู้นั้น รตนวติยา บริจาริกา ฝ่ายนางสาวใช้แห่งสมเด็จพระรัตนวดีนั้น ครั้นได้ยิน เสียงพูดจาอื้ออึงคนึงมา ก็ชวนกัน (บรรทัดที่ ๒) ออกมาดูบ้าง ครั้นเห็นพราหมณ์ผู้นั้นแล้ว เอาเนื้อความเข้าไปบังคมทูลแจ้งแก่พระรัตนวดีๆ นั้นครั้นแจ้งก็มีพระทัย (บรรทัดที่ ๓) ปรารถนาจะใคร่ทอดพระเนตรดูบ้าง ตพฺภนฺตรโต นิกฺขมิตฺวา นางพญาก็เสด็จออกจากห้องใน สีหบัญชร (บรรทัดที่ ๔) วิวริตฺวา จึงเปิดออกซึ่งสีหบัญชรช่องพระแกล แล้วพระนางก็ทอดพระเนตรแลดูพราหมณ์อัน ราชบุรุษจําจองมานั้น (บรรทัดที่ ๕) ขณะนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้ามีพระทัยใคร่จะเสวยน้ําขัณฑสกร จึงมีพระวาจาตรัส เรียกหาพระรัตนวดีๆ มิทันจะ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ได้ยินพระบรมโพธิสัตว์เรียกถึง ๓ ครั้ง พระรัตนวดีถึงได้ยินเสียงพระบรมโพธิสัตว์ สกฺการ ปาณกํ อาเนตฺวา พระรัตนวดี จึงเข้าไปในห้องนําเอาน้ําขัณฑสกรอันประกอบด้วยกลิ่นหอม เป็นอันดีนั้น น้อมเข้าไป ถวายแก่พระบรมโพธิสัตว์ๆ เจ้านั้นมีขัตติยมานะนึกน้อยพระทัยว่า พระรัตนวดีดูหมิ่นพระองค์ๆ จะได้รับน้ํา ขัณฑสกรนั้นหามิได้ จึง มีพระวาจาตรัสขัดข้องแก่พระรัตนวดีว่า ธรรมดาสตรีจะดูหมิ่นสามีนั้นย่อมอาศัยแก่เหตุแปด ประการ ทลิทฺทตา คือ สามีเป็นคนเข็ญใจ ๑ อาตุรตา คือสามีเป็นโรค ๑ ชิณฺณตา คือ สามีแก่ชรา ๑ สุราโสณฺทิตา


๒๖๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หน้า ๖๑/๑ – ๖๑/๒ เจ (บรรทัดที่ ๑) คือ สามีเป็นนักเลงสุราเล่นเบี้ยชนไก่ ๑ ปุฏฺฐิกตา คือ สามีมือง่อย ๑ อุมฺมตฺตกา คือ สามีเป็น บ้าคลั่งไป ๑ สพฺพกิจฺเจสุนานุวตฺตนตา คือ สามี (บรรทัดที่ ๒) โง่ทําการอะไรไม่เป็น ๑ สพฺพธนอนุปฺปาธเนน คือ สามีมิอาจจะกระทําการให้เกิดทรัพย์ได้ ๑ ประสมเข้าเป็นแปดประการด้วย (บรรทัดที่ ๓) กัน สตรีที่ดูหมิ่นสามีได้นั้นย่อมดูหมิ่นด้วยเหตุ ๘ ประการฉะนี้ เป็นธรรมดาอยู่แล้วฯ ขึ้นชื่อว่า สตรีถ้าสามี (บรรทัดที่ ๔) เข็ญใจแล้วก็ย่อมมักดูหมิ่นดูแคลนว่าล้อว่าเลียน ไม่เคารพนบน้อม ทั้งนี้เหตุสามีเข็ญใจ เมียจึง ดู (บรรทัดที่ ๕) หมิ่นได้นี้มีมากกว่ามาก ก็สามีเป็นโรคนั้นเล่า ที่ผู้หญิงเขาดีเขาก็มีความเคารพยําเกรง ถ้า หญิงที่ชั่วนั้น ถ้าเห็นสามีเป็นไข้เห็นว่าทํา (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

อะไรไม่ได้แล้ว ก็ดุเอาว่าน้อยๆ ใหญ่ๆ หยาบช้าทารุณไม่ยําเกรง เพราะว่าสามีเป็นไข้ไม่มี อาชา สตรีจึงดูหมิ่น ที่สามีชรานั้น เล่าก็มักดูหมิ่นสามีอาศัยว่าธรรมดาคนแก่มักรักเมียสาว ถ้าบุรุษแก่ได้เมียสาวแล้วถึงเมียสาว จะตะคอกขู่เข็ญตะหวาด ดุเอา สักเท่าใดๆ อ้ายเฒ่าก็ยิ้มเฉยเสีย เอาใจดีต่อเมียสาวนั้นแลเมียจึงข่มเหงได้ ข้างเมียนั้นเล่า เขา ไม่คิดเวทนา เห็นว่าตะแกหลงรักแล้วก็มักจักข่มเหง ที่สามีนักเลงกินเล่าเมาสุรานั้น ถึงเมียจะไม่เกรงข่ม แหงก็ไม่นึกเวทนาเลย มุฏฺฐิกตา แสนสงสารนักหนา แต่ที่สามีมือง่อยจะจับจะกุมอะไรนั้นมันก็ไม่ถนัดฉะนี้ นางเมีย เห็นว่าผัวจะจับตัวไม่ได้แล้ว ก็

หน้า ๖๒/๑ – ๖๒/๒ ไจ (บรรทัดที่ ๑) ล้อหลอกให้แล้วก็แล่นหนีไป ก็ยังเหล่าสตรีที่สามีเป็นบ้ามักข่มเหงสามีนั้น ด้วยเหตุอันใด อัน บ้าครึ่งตัวนั้นมักพล่ําๆ เผลอๆ (บรรทัดที่ ๒) ว่าอะไรก็ไม่ยั่งไม่ยืน เมื่อหาสติสัมปชัญญะมิได้จะกระทําการทั้งปวงผิดๆ ถูกๆ นั้นแลเมียจึง ข่มเหงได้ เพราะ (บรรทัดที่ ๓) เหตุอย่างนี้ ที่สามีโง่นั้นฯ เล่า ทําอะไรก็ไม่เป็น จะจักตอกหลาวหวายแต่สักเส้นก็จักไม่ได้ จะ สานกระบาย (บรรทัดที่ ๔) แต่สักใบหนึ่ง ก็จับเข้าไม่ถูก ชายเช่นนี้ก็เป็นที่ภรรยาดูหมิ่น ที่สามีไม่รู้จักทํากินนั้นเล่าก็เป็นที่ ภรรยาจักดูหมิ่น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๖๗

(บรรทัดที่ ๕)

ได้ อาศัยว่าตัวพึ่งมือเสีย ได้กินก็เพราะน้ํามือเขา จะหึกหักด่าว่าตีโบยเขาก็ตีมิได้ ต้องอดต้อง กลั้น ความละอายนั้นก็สิ้นไป

(บรรทัดที่ ๑)

ก็จนใจอยู่ พึงเข้าใจเถิดว่า สตรีดูหมิ่นสามีนั้น ย่อมดูหมิ่นด้วยเหตุ ๘ ประการนี้ นี่แลเหมือน ดังตัวเรา ครั้งนี้เป็นโรคจักขุๆ แห่งเรานี้มืดมน มิได้เห็นหนสิ่งอันใด พระรัตนวดีจึงดูหมิ่นได้ เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้ามีพระ วาจา ตรัสฉะนี้ พระรัตนวดีได้ฟังก็สะดุ้งตกพระทัย ประหนึ่งว่าหัวใจจะแตกทําลายได้ถึง ๗ ภาค พระนางกราบลงแทบ แทบพระบาทพระราชสามีแล้วก็ขอขมาโทษว่า พระพุทธิเจ้าข้า อญฺญาวิหิตตฺตา ข้าพระบาท นี้สาละวนที่จะส่งจิตไปสู่ ที่อื่น มิทัน ที่จะได้ยิน เสีย งที่พระองค์ตรั สเรี ยก ใช่ว่ าได้ยิ นแล้ วจะแกล้ งนิ่งเสียนั้ นหาบ่มิได้ ขมถ เม อปราธํ พระองค์จงทรงพระ

(บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

หน้า ๖๓/๑ – ๖๓/๒ โจ (บรรทัดที่ ๑) กรุณาพระราชทานอภัยให้แก่ข้าผู้เป็นบาทบริจานี้เถิด เมื่อสมเด็จพระรัตนวดีอ้อนวอนขอโทษ ท้าวเธอถึง ๒ – ๓ ครั้ง แล้วพระบรมโพธิ(บรรทัดที่ ๒) สัตว์เจ้า ท้าวเธอก็มิได้ให้อภัย พระรัตนวดีก็เสด็จไปสู่ที่เฝ้าสมเด็จพระบิดามารดา ตํ ปวุตฺตึ อาโรเจสิ จึงกราบทูล (บรรทัดที่ ๓) ประพฤติเหตุอันนั้นให้แจ้งแก่สมเด็จพระบิดามารดาๆ ก็ตรัสว่า อมฺม ดูกรแม่รัตนวดี ธรรมดา (บรรทัดที่ ๔) เกิดมาเป็นสตรีลูกกระกูลสูงศักดิ์ปานประหนึ่งว่าพระลูกรักฉะนี้ ไม่ควรเลยที่พระลูกรักจักทํา ให้พระสามีเจ้าได้ความโทม(บรรทัดที่ ๕) นัสขัดเคือง ขมาสิ เจ้าจงไปขออภัยโทษ ให้พระราชสามีอดโทษให้จงได้ ในกาลบัดนี้ฝ่ายพระ รัตนวดีผู้ประกอบด้วย (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔)

ปัญญา นางก็อันเชิญสมเด็จพระบิดาแลพระสุตกิตติราชเทวี ผู้เป็นแม่ผัวนั้นมานั่งให้พร้อม เพรียงกันแล้ว ก็อัน เชิ ญ พระราชสามี มาด้ ว ย สิ วิ กากาญจน์ คานหามทอง ให้ พ ระราชสามี นั่ ง เหนื ออาสนะอั น สมควรแล้ว นางก็ชําระสะสงชําระพระองค์ ประดับประดาไปด้วยเครื่องสรรพาภรณ์ทั้งปวงแล้วก็เข้าไปสู่ที่ประชุม กระทําสักการบูชาพระ รัตนตรัย ด้วยดอกไม้แลของหอม ธูปเทียนเครื่องบูชาทั้งปวงมีประการต่างๆ แล้วก็บ่ายพระพักตร์เฉพาะต่อบุรทิศ ตะวันออก คุกเข่าลงเหนือพื้นปฐ-


๒๖๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕)

พี กระทําอัญชุลีกรประนมนมัสการเหนือเศียรเกล้าแล้ว พระนางก็ตั้งสัจจาอธิษฐานว่า นโม อันว่าประนมน้อมนมัสการ เม

หน้า ๖๓/๑ – ๖๓/๒ เจา (บรรทัดที่ ๑) แห่งข้าพระพุทธเจ้า อตฺถ จงมี พุทฺธานํ แก่สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยสิริโสวิ ภาคย์เป็นอันงาม อหํ สามิเกน ปโกสิตา ตัว (บรรทัดที่ ๒) ข้าพเจ้านี้ ขณะเมื่อพระราชสามีร้องเรียกนั้น ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว แลแกล้งนิ่งเสียนั้นหามิได้ ทุก วันข้าพเจ้าตั้ง (บรรทัดที่ ๓) ใจว่าจะปฏิบัติสามีมิได้ประมาท บ่มิได้ดูหมิ่นถิ่นแคลน อันนี้เป็นความสัจจะความจริง ด้วยเดช ความสัจจะความจริงของ (บรรทัดที่ ๔) ข้าพเจ้านี้ วาม อกฺขี ขอให้ดวงพระเนตรเบื้องซ้ายแห่งพระราชสามีเจ้าจงบังเกิดปรากฏให้ ประจักดีดังเก่า ให้ประ (บรรทัดที่ ๕) จักแก่ตาเทวดา แลมนุษย์ทั้งหลายในกาลบัดนี้ อธิฏฺฐานสมนนฺตรํ ในลําดับอันพระรตนวดี อธิษฐานดังนั้น พระเนตรเบื้อง (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ซ้ายแห่งพระบรมโพธิสัตว์ก็บังเกิดปรากฏเป็นปรกติดีดังเก่า ด้วยกําลังอธิษฐาน มหัศจรรย์ก็ บังเกิดมี มหาปฐพีก็กัมปนาทหวาด หวั่ นไหว มหาสาครอั นใหญ่ก็ดีฟองนองระลอกกระฉอกกระฉ่ อน เขาพระสุเ มรุก็เอนอ่ อน หวั่นไหวไปมา อกาลวิชฺชตา ใช่ เทศการฟ้ า จะแลบ นิ จฺ ฉ รี สุ ฟ้ า ก็ เ ปล่ ง แปลบ จํ า หวั ด ฉวั ด เฉวี ย นในห้ อ งพระเวหา จุ นฺ ท จุณฺณสมิสฺสา ปญฺจ วณฺณกุสุมา หน้าผลดอกไม้อันมีพรรณ ๕ ประการ เจือไปด้วยแก่นจันท์นั้น ก็ตกลงมากระทําสักการบูชา เทพบุตรแลเทพธิดา ก็ ชวนกันร้องส้องสาธุการมากกว่าร้อยกว่าพัน มหาชนคนทั้งหลายเห็นอัศจรรย์ ครั้งนั้นต่างคนก็ ต่างยกอัญชุลีกร ประนมสรรเสริญพระเดชพระคุณ

หน้า ๖๔/๑ – ๖๔/๒ จํ (บรรทัดที่ ๑) แห่งสมเด็จพระรัตนวดีราชธิดา เห็นความจริงของนางพญา ณ กาลครั้งนั้น มหาสตฺโต สยเมว อุฏฺฐายํ ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อพระ(บรรทัดที่ ๒) องค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเป็นปรกติดังเก่าแล้ว พระองค์ก็อุฏฐาการจากอาสนะแล้วก็ถวาย บังคมสมเด็จพระมารดา แลพระเจ้าอังกุรม(บรรทัดที่ ๓) หาราชผู้เป็นพระเจ้าลุง แลพระเจ้าป้า จึงกราบทูลว่า พระพุทธิเจ้าข้าๆ พระองค์จะขอกะทํา สัจจาบารมีอธิฏฐานบ้าง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๖๙

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

(บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

อาม เออพ่อจงอธิษฐานไปเถิดฯ พระบรมโพธิสัตว์ก็บ้วนพระโอษฐ์แล้วจึงบ่ายพระพักตร์ต่อบุร ทิศ แล้วก็ยกอัญชุลีกรประนม ตั้งเหนืออุตตมงคลสิโรธ แล้วก็กระทําซึ่งสัจจาอธิษฐานว่า นโม อันว่าประนมน้อมนมัสการ เม แห่งข้าพเจ้า อตฺถ จงมี แก่สมเด็จพระพุทธเจ้า แลพระปัจเจกโพธิเจ้า แลพระอรหันตเจ้าทั้งปวง ในอดีตแลอนาคต แล ปัจจุบัน อุปานิตมงฺษ รุจิ อกฺขี ยุตฺตลํ ตัวข้าพเจ้านี้ ขณะเมื่อพราหมณ์ผู้มีสันดานมากไปด้วยโลภเจตนา ควักเอาดวง เนตร ทั้ ง ซ้ า ยขวา โลหิ ตไหลอาบโทรมพระพั ก ตร์ ข้ า ได้ ค วามเวทนาอั น สาหั ส เห็ น ปานดั ง นี้ ก็ ดี ข้าพเจ้านี้จะได้ขึงโกรธแก่พราหมณ์ ผู้ประทุษร้ายนั้นหามิได้ อันนี้เป็นความสัจจะความจริงของข้าพเจ้า ด้วยเดชเดชะความสัจจะ อันนี้ ทกฺขิณกฺขี ขอ ให้พระเนตรเบื้องขวาแห่งข้าพเจ้านี้จงบังเกิดเห็นเป็นปรกติดีดังเก่ากาลบัดนี้ฯ แต่พอสิ้นคํา อธิษฐานแห่งพระบรมโพธิสัตว์ลง อันว่าดวงเนตรเบื้องขวา

หน้า ๖๕/๑ – ๖๕/๒ จะ (บรรทัดที่ ๑) งามดุจดังว่าดวงแก้วอินทนิล ก็บังเกิดความปรากฏเป็นปรกติดีดังเก่า ตสฺมึ ขเณ ขณะนั้น อัศจรรย์ก็บันดาลบังเกิดมีดุจนัยย์ (บรรทัดที่ ๒) ที่สํ าแดงมาแล้ วแต่ หลั ง ครั้ นนั้ นเทพยดาผู้ มีมหิ ทธิ ฤทธิ สั กดาอานุภ าพมาก ก็นํ า เอาวิมาน ดอกไม้อันเป็นทิพย์ไปรับ (บรรทัดที่ ๓) สมเด็จพระบิดา แห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้า กับปโรหิตาจารย์ อันอยู่ในเมืองโปตรีนคร สมเด็จ พระบิดา (บรรทัดที่ ๔) แห่งพระบรมโพธิ สัต ว์กับปโรหิ ตาจารย์ขึ้นนั่ งในวิ มานดอกไม้ๆ นั้น ก็เ ลื่อนลอยมาในกลาง นภาลัยประเทศเวหามาบรรลุ (บรรทัดที่ ๕) ถึงโหทวีปแล้ววิมานดอกไม้นั้นก็ร่อนลงในที่ไกล้แห่งปรางค์ปราสาทฯ วทฺทวามุโขตํทิสฺวา วัทธวามุขพราหมณ์แลเห็นวิมานดอกไม้ (บรรทัดที่ ๑) ก่อนคนทั้งปวง ก็ชี้บอกให้ชนชาวพระนครทั้ งปวงดู แต่ พอชนทั้งปวงแลเห็นพร้อมกันแล้ ว ทิพยวิมานนั้นก็ลงปดิษฐานเหนือสีหบัญชรช่อง (บรรทัดที่ ๒) พระแกล พระเจ้าอังกุรมหาราชทอดพระเนตรแลเห็น ก็ทรงพระโสมนัสปรีดา เสด็จออกมา ต้อนรับแล้วก็ถวายบังคมประนม (บรรทัดที่ ๓) กรเชื้อเชิญ พระเจ้ายศมหาราชให้ทรงนั่งเหนือราชอาสนะอันประกอบประเสริฐกาลนั้นแล้ว ท่านทา-


๒๗๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ยกจะสงสัยว่าทําไมพี่เมียจึงไหว้น้องเขยเล่า อ่ อ เป็ น พี่ เ มี ย ก็ จ ริ ง แล แต่ ท ว่ า บุ ญ น้ อ ยกว่ า น้องเขย ท่านเป็นแต่น้องเขย นั้นบุญท่านมีมาก พึงเข้าใจเถิดว่า พระเจ้ายศมหาราชนั้น เธอมีบุญญาภิสัมภารมาก พระเจ้า อังกุรมหาราชผู้เป็นพี่เมียจึงต้องถวายบังคม

หน้า ๖๖/๑ – ๖๖/๒ ฉ (บรรทัดที่ ๑) ฉะนี้ กุมารํ อุปคุยฺหิตฺวา สมเด็จพระเจ้ายศมหาราชนั้นเมื่อเสด็จถึงจึงสวมกอดพระราชโอรส สังขปัตตราชกุมารเข้าไว้กับพระอุระแล้ว สีเส (บรรทัดที่ ๒) จุมฺภิตฺวา จูบกระหม่อมจอมเกศแล้ว ก็อวยพระพรว่า ตาต ปิยปุตฺต ดูกรพ่อสังขปัตตลูกรักษ ของบิดา ภวํ (บรรทัดที่ ๓) ชีวิตุ เจ้าจงมีพระชนม์วัสสา อายุสถาพรสิ้นกาลช้านาน อย่ารู้มีอุปัทธวโภยภัยอันตรายสิ่งใด สิ่งหนึ่งเลย พ่อจง (บรรทัดที่ ๔) เสวยสมบั ติ เ ป็ น บรมสุ ข ได้ ๑๐๐ พระวั ส สาเถิ ด ตรั ส อวยพระพรฉะนี้ แ ล้ ว ท้ า วเธอก็ ทอดพระเนตรดูพระโอรสกับพระสุนิ(บรรทัดที่ ๕) สาศรีสะไภ้ เห็นรูปโฉมสิริวิลาศงามเสมอกัน ท้าวเธอก็ยิ่งมีพระทัยชื่นชมโสมนัสปรีดา ตถา ปน อมจฺจา ในกาลครั้งนั้น อํามาตย์ทั้ง (บรรทัดที่ ๑) หลายก็นําข่าวสารแห่งพญามารทุษราชเข้าไปกราบทูลพระเจ้าอังกุรมหาราชบรมบพิตรว่า ขอ พระราชทานบัดนี้พญามาน(บรรทัดที่ ๒) ทุษราชใช้ให้ราชทูตนําเอาเครื่องราชบรรณาการมาทูลกระหม่อมถวาย บัดนี้ราชทูตมาอยู่แทบ ประตูวัง จึง (บรรทัดที่ ๓) มีพระราชโองการดํารัสว่า ท่านจงไปพาเอาตัวราชทูตเข้ามาเถิด อํามาตย์ทั้งหลายก็ออกไปพา เอาตัวราชทูตเข้าไปสู่ที่เฝ้า (บรรทัดที่ ๔) ราชทูตทั้งหลายถวายบังคมแล้ว ก็ถวายพระธํามรงค์ทั้งคู่แก่สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราช แล้ว ก็กราบทูลว่าพระธํามรงค์สองวงนี้ (บรรทัดที่ ๕) พระเจ้ามานทุษราชมาถวายเป็นเครื่องราชบรรณณาการ สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราชรับเอา พระธํามรงค์สองวงนั้นมาทอดพระเนตร หน้า ๖๗/๑ – ๖๗/๒ ฉา (บรรทัดที่ ๑) ดู ก็รู้ว่าเป็นธำมรงค์ของพระองค์ เธอจึงส่งพระธํามรงค์สองวงนั้นให้แก่พระเจ้ายศมหาราช แล้วก็ตรัสถามว่า พระเจ้าข้า (บรรทัดที่ ๒) พระธํามรงค์ทั้งคู่นี้ข้าพเจ้าถวายไปให้แก่พระสังขปัตต แต่ครั้งส่งศุภอักษรไป พระองค์ยังจะจํา พระธํามรงค์ทั้งสองวงนี้ได้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๗๑

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕) (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

อยู่หรือๆ มิได้เป็นประการใด ดูกรสมเด็จบรมบพิตร ข้าพเจ้าจําได้อยู่ พระธํามรงค์สองวงนี้ บรมบพิตรประทาน ให้ แ ก่ พ ระสั ง ขปั ต ตจริ งอยู่ พระเจ้ า อั ง กุ ร มหาราชจึ ง หยิ บ พระธํ า มรงค์ ส่ ง ให้ แ ก่ พ ระบรม โพธิสัตว์ แล้วก็มีพระราช โองการดํารัสว่า ราชทูต ดูกรราชทูตพระธํามรงค์ทั้งคู่นี้พญามานทุษราชได้มาแต่ไหน ขอพระ ทานได้มาแต่สํานักแห่งพราหมณ์ ผู้หนึ่ง ครั้นถามพราหมณ์ผู้นั้นๆ มันก็ให้การว่า เป็นของมาณพอันเสียสําเภา ขอพระราชทาน ตัวพราหมณ์นั้นกระหม่อมฉันก็เอาตัวมาด้วย จึ ง มี พ ระโองการตรั ส ว่ า ท่ า นจงออกไปเอาตั ว พราหมณ์ นั้ น เข้ า มา จึ ง กราบทู ล ว่ า ขอ พระราชทาน พราหมณ์ผู้นั้นมี จักขุวิกล แล้วก็พันธนาจําจองอยู่ จะพาเข้าไปสู่ที่เฝ้าเห็นมิบังควร ครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว ได้ทรงฟังว่า พราหมณ์ผู้นั้นพันธนาการก็มีความเอ็นดูกรุณา จึงกราบทูลพระเจ้าลุงว่า ขอพระราชทาน จง ให้ราชบุรุษถอด พราหมณ์ออกเสียเถิด อย่าจําไว้เลย พระเจ้าอังกุรมหาราชก็ตรัสสั่งให้ถอดเครื่องพันธนาจํา จองออกเสีย แล้ว

หน้า ๖๘/๑ – ๖๘/๒ ฉิ (บรรทัดที่ ๑) ก็ให้เอาตัวพราหมณ์ผู้นั้นเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระเจ้าอังกุรมหาราชๆ ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์แต่ ไกลจึงตรัสถามพระบรมโพธิสัตวว่า ดูกรพ่อ (บรรทัดที่ ๒) สังขปัตต พราหมณ์ผู้นี้หรือมันกระทําร้ายแก่พ่อ ขอพระราชทาน พราหมณ์ผู้นี้แลกระทําร้าย กระหม่อมฉัน สรํ สุตฺวา (บรรทัดที่ ๓) ฝ่ายพราหมณ์ผู้นั้นครั้นได้ยินเสียงพระบรมโพธิสัตวก็บังเกิดความสะดุ้งตกใจกลัวเป็นกําลัง มิ อาจจะสามารถจะทรง (บรรทัดที่ ๔) ตัวอยู่ได้ก็ล้มลงเหนือพื้นพระสุธา ในกาลนั้น มหาสตฺโต ตํ ทิสฺวา สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เห็น (บรรทัดที่ ๕) พราหมณ์นั้นล้มลงเหนือแผ่นดินก้มีความกรุณาเป็นกําลัง อาสนาวุฏฺฐาย พระองค์จึงลุกจาก อาสนะ เสด็จไปพยุง (บรรทัดที่ ๑) พราหมณ์ขึ้นแล้ว ก็โลมเล้าเอาใจว่า ดูกรพราหมณ์ มาภายิ ท่านอย่าได้กลัวเราๆ หาพยาบาท แก่ท่านไม่ ตรัสฉะนี้แล้ว (บรรทัดที่ ๒) พระบรมโพธิสัตวก็กระทําอธิษฐาน สําแดงสัจจกิริยาว่า ดูกรพราหมณ์ เราเห็นท่านมาครั้งนี้ ที่ เราจะมีความพยา(บรรทัดที่ ๓) บาทแก่ท่าน คิดจะทําร้ายแก่ท่านนั้นหามิได้ อันนี้เป็นความสัจจะแห่งเรา ณ กาลบัดนี้ ด้วย เดชความสัจจะอันนี้


๒๗๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

ขอให้จักขุของข้าทั้งสองซ้ายขวาให้ปรากฏเป็นปรกติดีดังเก่า ด้วยอํานาถความสัจจะแห่งเรา ณ กาลบัดนี้ แต่พอสิ้นคําแห่งอธิษฐานลงแล้ว อันว่าจักขุแห่งพระบรมโพธิสัตวซ้ายขวา ก็ปรากฏเห็นเป็น ปรกติดีดังเก่า พราหมณ์ผู้นั้นก็ชื่นชม โสม-

หน้า ๖๙/๑ – ๖๙/๒ ฉี (บรรทัดที่ ๑) นัสปรีดา อุทานํ อุทาเนสิ จึงเปล่งซึ่งอุทานวาจาว่า อโห ดังข้าพระบาทชื่นชม กลยานมิตฺเตน สํ สตฺโต อันว่าสภาวคบหาสมาคม (บรรทัดที่ ๒) กับด้วยกัลยาณมิตร เห็นปานดังพระองค์ฉะนี้ ประกอบด้วยคุณควรจะอัศจรรย์ เวรํนาม นตฺถิ ท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรแล้ว (บรรทัดที่ ๓) ไม่รู้ผูกเวรกับผู้ใดผู้หนึ่งเลยเป็นอันขาด ข้าพระบาทมิได้เคยเห็นเลย พึงมาได้เห็นใน ครั้งนี้ ดูกรพราหมณ์ (บรรทัดที่ ๔) มาปุน เอวํ มิตฺตทุพฺภิกมฺมํ อันว่ากรรมอันเป็นประทุษร้ายแก่มิตรเห็นปานดังนี้ ย่อมนํามาซึ่ง ความฉิบหายในอิธโลก (บรรทัดที่ ๕) แลปรโลก แต่นี้ไปท่านจงสละเสีย อย่าได้กระทําซึ่งกรรมอันประทุษร้ายแก่มิตร เห็นปานฉะนี้ สืบต่อไป พระเจ้าข้าๆ พระบาทประทุษร้าย (บรรทัดที่ ๑) ต่อพระองค์อันเป็นกัลยาณมิตร ก็ได้เสวยผลกรรมเห็นประจักแก่ตาโลกอยู่แล้ว แต่นี้ไปข้าพระ บาทไม่กระทํากรรมเช่นนี้อีกแล้ว สมเด็จ(บรรทัดที่ ๒) พระบรมโพธิสัตว์ก็พระราชทานทองพันตําลึงให้แก่พราหมณผู้นั้นๆ ก็อวยชัยสิริสวัสดิพิพัทธ มงคล แก่สมเด็จ (บรรทัดที่ ๓) พระบรมโพธิสัตว์ แล้วก็ถวายบังคมลาไปตามอัชฌาสัยแห่งตน ฝ่ายสมเด็จพระบรมโพธิสัตวผู้ มีพระทัยประกอบด้วย (บรรทัดที่ ๔) กตัญญู พระองค์ระลึกถึงพรานป่าทั้งสอง คือ นายสิงหแลนายกุญชร ปรารถนาจะตอบคุณ แห่งนายพรานทั้งสองจึงกราบทูลแก่พระเจ้า (บรรทัดที่ ๕) อั ง กุ ร มหาราชว่ า ขอพระราชทานกระหม่ อ มฉั น มี ใ จปรารถนาใคร่ เ ห็ น พรานทั้ ง สอง ที่ กระหม่อมฉันได้อาศัยกินอยู่หลับนอนในสํานักแห่ง หน้า ๗๐/๑ – ๗๐/๒ ฉุ (บรรทัดที่ ๑) เขาแต่ก่อนมา ราชา สาธุ สมฺปติจฺฉิตฺวา สมเด็จพระเจ้าลุงก็รับวาจาว่า สาธุ แล้วก็มีพระราช โองการตรัสสั่งอํามาตย์ให้ไปหาตัวนาย (บรรทัดที่ ๒) พรานป่าทั้งสองนั้นมา ราชา ทวาเร ถเปตฺวา อํามาตยก็ไปพาเอาตัวพรานป่าทั้งสองมาไว้ แทบประตูพระราชวัง แล้วก็เข้าไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๗๓

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕) (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

กราบทูลแก่สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ๆ ก็เข้าไปใกล้นายพรานป่าทั้งสอง ก็สวมกอดนายพราน ทั้งสอง แล้วก็ จู ง มื อ เข้ า ไปสู่ ที่ เ ฝ้ า พระเจ้ า อั ง กุ ร มหาราช แล้ ว ทู ล ว่ า ขอพระราชทานกระหม่ อมฉั น รั บ พระราชทานเศวตรฉัตรเศรษฐี ให้แก่พรานป่า แล้วจะรับพระราชทานบ้านส่วยพันหนึ่งให้แก่พรานป่าทั้งสองนั้น เทหิตาต ดูกรพ่อจะให้อย่างไร ก็ให้ตามใจของพ่อเถิด ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์เมื่อได้โอวาทฉะนี้แล้ว ก็พระราชทานเศวตรฉัตรเศรษฐกับบ้านส่วยพัน หนึ่งให้แก่นายพรานทั้งสอง ปญฺจสีเล ปติฏฺฐาเปตฺวา แล้วก็ให้นายพรานทั้งสอง ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ แล้วพระองค์ก็ส่งไป ทานปฺปการานิ สพฺพมงฺคลานิ กตฺวา ฝ่าย สมเด็จพระเจ้าอังกุรมหาราชก็ให้ตกแต่งการราชภิเษกมงคลมีประการต่างๆ แล้วอัญเชิญพระ บรมโพธิสัตว์ กับพระรัตนวดีให้นั่งเหนือกองแก้ว แล้วก็ราชาภิเษกพระบรมโพธิสัตวให้ครองมไหยสุริยสมบัติ ในโลหทวีป กับด้วยพระรัตนวดีราชธิดา เมื่อสําเร็จจการราชาภิเษกแล้ว เทพยดาผู้มีมหิทธิฤทธิ์ ก็อัญเชิญ สมเด็จพระบิดาของพระบรมโพธิสัตว์

หน้า ๗๑/๑ – ๗๑/๒ ฉู (บรรทัดที่ ๑) ขึ้นสู่วิมานดอกไม้ทิพย์ แล้วก็นํามาส่งถึงพระนครดังเก่า ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรตฺวา ฝ่าย สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็อยู่เสวยสิริราช (บรรทัดที่ ๒) สมบัติโดยยุติ ธรรม ระงับ เสียซึ่งกายทุ จริต วจีทุจ ริต มโนทุจริ ต ทานาทีนิ บุญฺญานิกตฺวา พระองค์ทรงพระอุตสา(บรรทัดที่ ๓) หะกระทําการกุศลมีต้นว่าให้ทานแลรักษาศีล เมื่อสิ้นพระชนมายุแล้วก็ได้ไปอุปัตติบังเกิดใน สวรรค์สักกเทว(บรรทัดที่ ๔) โลก ก็มีด้วยประการฉะนี้ ๚ สตฺถา อิมํ ธมฺมเทสนํ อาหริตฺวา ฯ สจฺจานิ ปกาเสตฺวา สจฺจปริ โยสาเน ชาตกํ สโมธา(บรรทัดที่ ๕) เนสิ ฯ ตทา มาตาปิตโร มหาราช กุมานิ อเหสุงฺ สึโหสาริปุตฺโต กุญฺชโรมหาโมคฺคลฺลาโน อโหสิ ทุพฺภิตพฺราหฺมโณ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒)

เทวทตฺโต รตนวติราหุมาตา สงฺขปตฺตกุมาโรอหํเมว เอวํปาเรถชาฏกนฺติฯ สงฺขปตฺตชาตกํ นิฏฐิตํฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค นํามาซึ่งเรื่องราวสังขปัตตชาดกมาตรัสพระสธรรมเทศนาจบลงแล้ว จึงประชุมชาติชาดก ยก เป็นบาลีว่า ตถา มาตาปิตโร


๒๗๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

หน้า ๗๒/๑ (บรรทัดที่ ๑) (บรรทัดที่ ๒) (บรรทัดที่ ๓) (บรรทัดที่ ๔) (บรรทัดที่ ๕)

พระราชบิดามารดาในกาลครั้งนั้นกลับชาติมา คือ พระสิริสุทโธนมหาราช แลพระสิริมหา มายา ผู้เป็นพระพุทธบิดา พุทธมารดาในครั้งนี้ฯ สึโห สิงหอํามาตย์ในครั้งนั้นกลับชาติมาคือพระสารีบุตร พุทธอัครสาวก ในครั้งนี้ฯ กุญฺชโร นายกุญชรพราหมณ์ในครั้งนั้น กลับชาติมาคือพระมหาโมคคัลลานในกาลบัดนี้ ทุพฺภิตพฺ ราหมฺโณ อันว่า เฉ พราหมณ์ผู้ควักพระเนตรของพระบรมโพธิสัตว์ในครั้งนั้นกลับชาติมา คือพระเทวทัตต์ในกาล บัดนี้ รตนวติ พระนางรัตนวดีราชเทวี ผู้เป็นพระอัครมเหสีของพระสังขปัตตในครั้งนั้นกลับชาติมา คือ พระพิมภา ผู้เป็นพระมารดาแห่งพระราหุลในกาลบัดนี้ สงฺขปตฺตกุมาโร พระสังขปัตต ราชกุมาร กลับชาติมา อหํเอวํ คือ องค์พระตถาคตในกาลบัดนี้ สําแดงมาในสังขปัตตชาดก ก็ยุตติไว้แต่เพียงนี้ ๚ พระสังขปัตตชาดก จบบริบูรณ์ ๚ ะ๛ ๚ ะ๛


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๗๕

หมวดวรรณกรรมคําสอน


๒๗๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |๒๗๗

โลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ นัฐพร ปะทะวัง ๑๙ โลกนิติ หรือโลกนีติ เป็นสุภาษิตเก่าแก่ที่สันนิษฐานว่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา๒๐ โดยนักปราชญ์ ได้ เลือกสรรคาถาที่เป็นสุภาษิต ภาษาบาลีและสันสกฤตซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ อาทิ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย คัมภีร์พระธรรมบท ฯลฯ นํามาแปลแล้วแต่งเป็นร้อยแก้วบ้างร้อยกรองบ้าง ที่รู้จักกันดีคือ โคลงโลกนิติ พระ นิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร๒๑ อันขยมบรมนเรศเรื้อง พระผ่านแผ่นไผททรง แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ หวังประชาชนให้ ครรโลงโลกนิตินี้ มีแต่โบราณกาล เป็นสุภสิตสาร กลดั่งสร้อยสอดคล้อง

รามวงศ์ สืบไท้ โอวาท อ่านแจ้งคําโคลง นมนาน เก่าพร้อง สอนจิต เวี่ยไว้ในกรรณ (กรมพระยาเดชาดิศร: โคลงโลกนิติ, ๒๕๕๐, น.๖)

ซึ่งนิพนธ์ขึ้นในที่คราวพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเช ตุพนวิมลมังคลารามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔ โดยมีพระราชประสงค์ให้จารึกตําราต่างๆ ลงบนแผ่นศิลาเพื่อเป็นแล่ง ศึกษาศิลปวิทยาการของคนในสมัยนั้น ในการนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเด ชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่าซึ่งคัดลอกต่อกันมาจนปรากฏถ้อยคําผิดเพี้ยนเป็นจํานวนมาก นํามาชําระ แก้ไขใหม่ให้ถูกต้องตามพระบาลี แล้วจึงแต่งเป็นคําโคลงจารึกไว้ ณ สถานที่แห่งนั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๖๔๐ หอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ได้ชําระโคลงโลกนิติของเก่าเทียบกับ สํานวนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรทรงชําระและทรงนิพนธ์เพิ่มเติม๒๒ แล้วจัดพิมพ์ขึ้น ๑๙

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ ๔ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมศิลปากร. (๒๕๕๓). ประชุมโคลงโลกนิติ. ๒๑ ต้นสกุล เดชาติวงศ์ ๒๒ น้ําเพชร สายบุญเรือน. (๒๕๔๘). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๑ ชื่อวรรณคดี. มูลนิธิสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษา ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘. ๒๐


๒๗๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ใหม่ มีคาถาภาษาบาลีและสันสกฤตเท่าที่พบในคราวนั้นพิมพ์กํากับไว้ข้างต้นของโคลงโลกนิติด้วย โดยใช้ชื่อว่า “ประชุมโคลงโลกนิติ” การตรวจสอบชําระ โลกนิติ ฉบับที่ปริวรรตและจัดพิมพ์ครั้งนี้ ผู้ปริวรรตได้ปริวรรตจากต้นฉบับสมุดไทยขาว ฉบับวัด เกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจารด้วยอักษรไทย และอักษรขอมบาลี เส้นหมึกสีดํา หน้าละห้าบรรทัด แต่ง ด้วยร้อยแก้ว ไม่ปรากฏปีที่แต่ง แต่ปรากฏเดือนที่แต่งว่าเป็นเดือนเจ็ด และปรากฏชื่ผู้เขียนว่า สัมฤทธิ์ พร้อม ทั้งยังได้บอกความปรารถนาอันเป็นอานิสงส์ที่คิดว่าจะได้จากการเขียนวรรณกรรมเรื่องนี้ว่า “ขอให้ผลบุญช่วย ให้ตนมีปัญญาและเจริญในทางธรรม มีอายุถึงอายุขัยอย่าได้มีกรรมมาผจญ ให้คนทั้งหลายเมตตา นึกอะไร ขอให้สมความปรารถนา” ในท้ายเรื่องดังนี้ ขา ฯ ชืสําฤท พูเฃียน ณะวัน … คํา เดีอน ๗ ฯ ขา ฯ ฃ่​่อสวนบุนบุนจํง ชวย ฯ ขา ๚ เทีด ฃ่​่อไห ฯ ฃา ฯ มีปันยาและจําเรินคังฟายธรัม และมีอายุส่ม่จํน ถึงอายุไฃ ยาไหมีป่จุบันน่กัมมาป่จํน ฯ ขา ฯ จงคลาดแคล้ว ไหชํนทังหลายเมดตา ฯ ขา ฯ ไห ฯ ขา ฯ บ่​่อริบูนจ่นึกอ่ไรใหใดสําเรดความปราท่หนา ๚ะ ในการปริวรรตครั้งนี้ ผู้ปริวรรตมีความสนใจในเรื่องของคาถา ที่ปรากฏอยู่ในโลกนิติฉบับที่จัดพิมพ์ และปริวรรตครั้งนี้ ด้วยเห็นว่ามีคาถาที่เหมือนและคล้ายคลึงกับคาถาที่ปรากฏใน “ประชุมโคลงโลกนิติ” อยู่ เป็นจํานวนมาก จึงได้ทําการศึกษาเปรียบเทียบ ก็พบว่า จากจํานวนคาถาทั้งสิ้น ๖๙ บท ที่ปรากฏในโลกนิติ ฉบับที่จัดพิมพ์ครั้งนี้ มีมากถึง ๖๗ บทที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับคาถาที่ปรากฏใน “ประชุมโคลงโลกนิติ” ดัง จะได้แสดงให้เห็นในตารางเปรียบต่อไปนี้ คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ

โลกนิตํิ ปวกฺขามิ นานาสตฺถสมุทฺทิตํ มาคเธ เนวสํเขปํ วนฺทิตฺวา รตนตฺตยํ

โลกนีตึ ปวกฺขามิ นานาสทฺทสมุฏฺฐิตํ มาคเธเนว สํเขปํ วนฺทิตฺวา รตนตฺตยํ

นิติโลเกปุริสสฺส สาโรมาตาปิตา อาจริโย จ มิตฺโต ตสฺมา หินิตึปุริโสวิชญฺญา ญาณิมหา โห ติ พหุสฺสุโตจ

นีติ โลเก ปุริสสฺส สาโร มาตาปิตา อาจริโย มิตฺโต ตสฺมา หิ นีตึ ปุริโส วิชญฺญา ญาณี มหา โหติ พหุสฺสโตจ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๗๙

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ อลสสฺสกุโตสิปฺปํ อสิปฺปสฺสกุโตธนํ อธนสฺสกุโตมิตฺตํ อมิตฺตสฺสกุโตสุขํ อสุขสฺสกุโตปุญฺญํ อปุญฺญสฺสกุโตสิวํ

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ อลสสฺส กุโต สิปฺปํ อสิปฺปสฺส กุโต ธนํอมิตฺตสฺส กุโต สุขํ อสุขสฺส กุโต ปุญฺญํ อปุญฺญสฺส กุโต นิพฺพานํ อลสสฺส กุโต สิปฺปํ อสิปปฺ สฺส กุโต ธนํอธนสฺส กุโต มิตฺตํ อมิตฺตสฺส กุโต สุขํ อสุขสฺส กุโต ปุญฺญํ อปุญฺญสฺส กุโต นิพฺพานํ

สิปฺปาสมํธนํนตฺถิ อิธโลเกสิปฺปมิตฺตํ

สิปฺปโํ จรานคณฺหนฺติ ปรโลเกสุขาวหํ

สิปฺปสมํ ธนํ นตฺถิ อิธ โลเก สิปฺปํ มิตฺตํ

สปฺปํ โจโร น คณฺหติ ปรโลเก สุขาวหํ

อปฺปกํนาติมญฺเญยฺย จิตฺเตสุตํนิฏฺฐเปยฺย วมฺมิกูทกพินฺทว จิเรนปริปูรติ

อปฺปกํ นาติมญฺเญยฺย จิตฺเต สุตํ นิธาปเย วมฺมิโกทกพินฺทู จ จีเรน ปริปูรติ

ขุทฺโทตินาติมญฺเญยฺย วิชฺชํวาสิปฺปํวาอถ เอกํปิปริโยทาตํ ชีวติ กปฺปโกรณํ

ขุทฺโทติ นาติมญฺเญยฺย เอกมฺปิ ปริโยทาตํ

วิชฺชํ วา สิปฺปมถวา ชีวิตกปฺปการณํ

เสเลเสเลนมณิกํ วเนวเนนจนฺทนํ

คเชคเชนมุตฺติกํ ถาเนถาเนนปณฺฑิตํ

เสเล เสเล น มณิกํ วเน วเน น จนฺทนํ

คเช คเช น มุตฺติกํ ฐาเน ฐาเน น ปณฺฑิตํ

ปณฺฑิโต สุตปฺปสนฺโน สุเตสินาคนฺตพฺพํว

ยตฺถอตฺถิติเจสุโต มหุสฺสาเหนตํถานํ

ปณฺฑิโต สุตสมฺปนฺโน มหุสฺสาเหน ตํ ฐานํ

ยตฺถ อิตฺถีติ เจ สุโต คนฺตพฺพํว สุเตสินา

สินฺเน สิปฺปํ สินฺเนธนํ สิเนกามสฺส โกธสฺส

สิเนปพฺพตมารุยฺหํ สิเนปญฺจคุเณอิเม

สินฺเน สิปฺปํ สินฺเน ธนํ สินฺเน กามสฺส โกธสฺส

สินเฺ น ปพฺพตมารุยฺหํ อิเม ปญฺจ สินฺเน สินฺเน

อปุฏฺโฐปณฺฑิโตเภริ พาเลปุฏฺโฐปิ

ปจฺธนฺโนโหติปุจฺฉิโต พหุปิภณิเตสทา

อปุฏฺโฐ ปณฺฑิโต เภรี พาโล ปุฏฺโฐ อปุฏฺโฐปิ

ปชฺชุนฺโน โหติ ปุจฺฉิโต พหุมฺปิ ภณฺเต สทา

โปฏฺฐเกสุจยํสิปฺปํ ยตฺถกิเจสมุปฺปนฺเน

ปรหตฺเถจยํธนํ นตํสิปฺปํ นตํธนํ

โปฏฺฐเกสุ จ ยํ สิปฺปํ ยถา กิจฺเจ สิมุปฺปนฺเน

ปรหตฺเถสุ จ ยํ ธนํ นตํ สิปฺปํ นตํ ธนํ


๒๘๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ ชลปฺปมาณํ กมุทนาทฺทยํ กุลปฺปมานํ วินโย ปทานํ พยตฺติปฺปมาณํ กถิตวากยํ ปถวิปฺปมาณํ ติณมิลาตํ อปฺปสุโตสุตํอปฺปํ ททกํ อปฺปสนฺโต

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ ชลปมาณํ กุมุทมาลํ กุลุปมาณํ วินโย ปธานํ พยตฺติปฺปมาณํ กถิตวากฺยํ ปฐวิปฺปมาณํ ติณมิลาตํ

พหุมญฺญติมานวา สินฺ อปฺปสฺสุโต สุตํ อปฺปํ กุเปโตยํ วมณฺฑโก ทุโตทกมปสฺสนฺโต

พหํุ มญฺญติ มานวาสินฺ กูเป โตยํว มณฺฑุโก

ถ ปถมํนปราจิโตสิปฺปํ ตติยํนปราจิโตธมฺมํ

ทุติยํนปราจิโตธนํ จตุถํกึกริสฺสติ

ปถมํ น ปราชิโต สิปฺปํ ตติยํ น ปราชิโต ธมฺมํ

ทุติโย น ปราชิโต ธนํ จตุตฺถํ กึ กริสฺสติ

พรตฺตาปุตฺตตีมาลเส พรตฺตโกปุชิโตโลโก

อพรตฺตโกภารหารีโก พรตฺตปุตฺตทิเนทิเน

พฺรตฺตา ปุตฺรกิมาลเส พฺรตฺโต ปูชิโต โลเก

อพฺรตฺโต ภารหาริโก พฺรตฺตา ปุตฺร ทิเน ทิเน

มาตาเวรีปิตฺตา สตฺรู สภามชฺเฌนโสภติ

เคนพาเลนลกฺขิตา หํสมชฺเฌพโก ยถา

มาตา เวรี ปิตา สตฺรุ สภามชฺเฌ น โสภติ

เกน พาเลน สิกฺขิตา หํสมชฺเฌ พโก ยถา

กณฺฑกาคิริโกติกฺขติ อญฺชนามิตกฺขายํ อุปฺปลสฺสปลฺลโกสุคนฺธํ กุลปุตฺตรูโปโกปวตฺตยี สมติภาโว

กณฺฑกาคติริโก ติกฺขติ โก อญฺชนํ มิลกฺขิยํ อปฺปลสฺส ปลฺลเลโกสุคนฺธํ กุลปุตฺตรูโป โก ปวตฺตติ สมติภโว

นรสํ อโกตมฺพลํ อโลณกํตุพฺยญฺชนํ

อธนสฺสอลงฺกตํ พยากรณํอสิปฺปสฺส

น รสํ อโก ตมฺพุลํ อโลณเนตุ พยญฺชนํ

อธนสฺส สงฺกตมฺปิ พฺยากรณํ อสิปฺปสฺส

สุสูสาสุตสมฺปนฺโน ปญฺญายอตฺถํชานาติ

สุตปญฺญายวฒติ อตฺโถญาโต สุขาวโห

สุสฺสูสา สุตสมฺปนฺโน ญาย อตฺถํ ชานาติ

สุตปญฺญาย วฑฺฒติปญฺ อตฺโถ ญาโต สุขาวโห

โภชนาเมถุนานิทฺทา วิชาวิเสโสโปสสฺส

โคเนโปเสปิวิชติ หิโนโคณสโมภเว

โภชนํ เมถุนํ นิทฺทา วิชฺชา วิเสโส โปสสฺส

โคเณ โปเสปิ วิชฺชติ หีโน โคณสโม ภเว

นตฺถิปิวิชาสมํวิตํ นจอตฺตสมํเปมํ

นจพยาธิสโมริปุ นจกมฺมสมํพลํ

นตฺถิ วิชฺชาสมํ ธนํ น จ พฺยาธิสโม ริปุ น จ อตฺตสมํ เปมํ น จ กมฺมสมํ พลํ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๘๑

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ หํโสมชฺเฌนกากานํ สิโหคุนฺนํนโสภเต คทฺรภมชฺเฌจตุรงฺโค พาลมชฺเฌจ ปณฺฑิโต

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ หํโส มชฺเฌ น กากานํ สีโห คุนฺนํ น โสภ เตคทฺรภมชฺเฌ ตุรํโค พาลมชฺเฌ จ ปณฺฑิโต

ยาวชิวมฺปิเจพาโล นโสธมฺมํวิชานาติ

ปณฺฑิตํ ปยิรูปาสิ ทพฺพิสูปรสํยถา

ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิตํ ปยิรูปาสติ น โส ธมฺมํ วิชานาติ ทพฺพี สูปรสํ ยถา

มหุตมปิเจวิญฺญู ขิปฺปํ ธมฺมํวิชานาติ

ปณฺฑิตํ ปยิรูปาสิ ชิวหาสุปรสํยถา

มุหุตฺตมปิเจ วิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ โส เว ธมฺมํ วินาชาติ ชิวหา สูปรสํ ยถา

วินาสตฺถํนคจฺเฉยฺย ปณฺฑิตฺวทฺทคูวาณิโช

สุโรสงฺคามภูมิยํ วิเทสคมโนตถา

วินา สตฺถํ น คจฺเฉยฺย ปณฺฑิตวทฺธคู วาณิโช

สูโร สงฺคามภูติยํ วิเทสคมโน ตถา

ธนนาสํมโนตาปํ วญฺจนญฺจอวมานํ

ฆเรทุจฺจริตานิจ ปณฺฑิโตนปกาเสยฺย

ธนนาสํ มโนตาปํ จนญฺจ อวมานํ

ฆเร ทุจฺจริตานิ จ วญฺ ปณฺฑิโต น ปกาสเย

อตฺตานุรูปกํวากยํ อตฺตานุรูปกํโกธํ

สภาวรูปกํปิยํ โยโสชานาติ ปณฺฑิโต

อตฺตานุรูปกํ วากฺยํ อตฺถานุรูปกํ โกธํ

สภาวรูปกํ ปิยํ โย ชานาติ สปณฺฑิโต

โกกิลานํสทฺทํรูปํ วิชารูปํอรูปานํ

นารีรูปํปติพฺพตา ขมารุปํตปสฺสินํ

โกกิลานํ สทฺทํ รูปํ วิชฺชา รูปํ อรูปานํ

นารีรูปํ ปติพฺพตา ขมา รูปํ ตปสฺสินํ

อิตฺถินญฺจธนํรูปํ ภิกฺขุนญฺจธนํสิลํ

ปุรสิ านํวิชาธนํ ราชูนญฺจ ธนํพลํ

อิตฺถินญฺจ ธนํ รูปํ ปุริสานํ วิชฺชา ธนํ ภิกฺขุนญฺจ ธนํ สีลํ ราชูนญฺจ ธนํ พลํ

กึสาโสภาวตาปสา ริสาจวิชาโสภา

ถูลาโสภาจตุปฺปาทา ปุ กีสา โสภาว ตาปสา อิตฺถิโสภาสสามิกา ริสา จ วิชชฺ า โสภา

ถูลา โสภา จตุปฺปทา ปุ อิตฺถี โสภาว สามิกา

ปญฺจรตฺยาสุคนฺธพฺพา สตฺตรตฺยาธนุคฺคหา เอก ปญฺจรตฺยา สุคนฺธพฺพา สตฺตรตฺยา อนุคฺคหา เอก มาสาสุภริยา อฒมาสาสิสฺโสมลา มาสา สุภริยา อฑฺฒมาสา สิสฺสา มลา หึ รมฺมติปํ หํ รมฺมติโป ถิ รมฺมติปุ ภิ รมฺมติธํ

หึ รมติ ปํ

หํ รมติ โป ถี รมติ ปุ

ขุ รมติ ธํ


๒๘๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ ชิณฺณมนฺนํปสํเสยฺย ทารญฺจคตโยพฺพนํ รณปฺรตาคตํสุรํ สสฺสญฺจเคหมาคตํ

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ ชิณฺณมนฺนํ ปสํเสยฺย ทารญฺจ คตโยพฺพนํ รณปฺรตฺตาคมํ สูรํ สสฺสญฺจ เคหมาคตํ

ทฺวิตฺรี ปตินาริจ สกุโณทฺวิตฺรี ปาสญฺจ

วิหารทฺวิตฺรี ปติภิกฺขุ กตมายาพหุตรํ

ทฺวิตฺริปติมาริโย สกุโณ ทฺวิตฺริปาสญฺจ

วิหารทฺวิตฺริภิกฺขุ จ กตมายา พหุตรํ

ทุชฺชนํปหาราทนฺติ อิตฺถินํพยสนาทนฺติ

มิตทํ นฺติอภณิกา ราคีนํอปยโภชนา

ทุชฺชนํ ปหารา ทนฺติ อิตฺถินํ พฺยสนา ทนฺติ

ติตฺตํ ทนฺติ อภณิกา ราคีนํ อปฺปโภชนา

รตฺตีหินานจนฺทิมา หํสหินาโปกฺขรณิ

วิจหิ ินานอณฺณวา ปตินากญฺญานโสภเต

รตฺติวินา น จนฺทิมา หํสวินา โปกฺขรณิ

วิจวิ นิ า ณ อณฺณวา ปติวินา กญฺญา โสภเต

ปตินาชนิตํโภคํ ปุริโสหินาปธาโน

อิตฺถิยาวาสุคุตฺตนํ อิตฺถีสุจิสุตํยถา

ปฏินา ชนิตํ โภคํ ริโสว หิ ปธาโน

อิตฺถิยาว สุคุตฺตนํ ปุ อิตฺถี สูจิ สุตฺตํ ยถา

สพฺพานทิวงฺกคติ สพฺพิตฺถิโยปาปํกเร

สพฺเพกฏฺฐมยาวนา ลภมานานิวากเต

สพฺพานที วงฺคนที สพฺพิตฺถิโย กเร ปาปํ

สพฺเพ วนา กฏฺฐามยา ลภมาเน นิวาตเก

วิวาทสิลิจ อุสุยฺยภาณินี พหุปสฺสนฺตคณฺหิ พหุ วิวาทสิลี จ อุสฺสุยฺยภาณินิ ปสฺสนฺตุ ตณฺเห พหุ ปากกินิ อตฺตนฺตภตฺติปรเตหนิวาสี นาริ ปาตกฺกินี อคฺคนฺตภตฺติ ปรเคหวาสินิ สาปุตฺตสตํปตาปิปุมา นารี จตฺตา ปุตฺตสตํปิ ปุมา ภตฺเตสุมณฺเฑ สุชนิวกนฺตินี คุยฺเหสุถาเน สุ ภคินีอาหริ กมฺเมสุภตฺเตสุกริวทาสินี ภยฺเยสุ มนฺตีสยเนสุรามินี รูเปสุสิกฺขิ กุปเนสุขมนี สา นารีเสฏฺฐีติวทนฺติปณฺฑิตา กายสฺสเภทาจิเวภ เวยฺย

ภตฺเตสุ มณฺเฑสุ ชนนีว กนฺตินี คุยฺเหสุ ฐาเนสุ ภคินีว อาหิรี กมฺเมสุ ภตฺเตสุ กรีว ทาสินี ภเยสุ มนฺตี สยเนสุ วามนี

สามามิคกฺขิตนุมชฺฌคตา สุรุสุเกสิสมปนฺติ ทนฺติ คมฺภีรนาภิยุวติสุสีลิ หินกุเลชาติ ปิสา วิวาเห

สามา มิคฺคขีตนุมชฺฌคตฺตา สุรู สุเกสี สมปนฺติ ทนฺตี คมฺภีรนาภี ยุวตี สุสีลี หีนกุเลสุ ชาตีปิ จ สา วิวเห


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๘๓

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ สรทํรตุกาลากํ ภริยานํรูปวตี เชฏฺฐาปธานํปุตาน ทิสานอุตฺตรํปธานํ

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ สารทํ รตุกาลานํ ภริยานํ รูปวตี เชฎฺโฐ ปธานํ ปุตฺตานํ ทิสานํ อุตฺตรํ ปธานํ

ยาอิจฺเฉยฺย ปุริสํนารี สามิกํอปจฺจาเยยฺย

ชาติชาติปุนปฺปุนฺนํ อินทฺ ํวปริจาริกา

ยา อิจฺเฉ ปริสํ นารี ชาติ ชาติ ปุนปฺปุนํ สา มิกํ อปจาเยยฺย อินฺทํว ปริจาริกา

โยอิจฺเฉปุริสํโปโส ปรทารํวเชยฺย

ชาติชาติปุนปฺปุนํ โธตปาโทวกทฺทมํ

โย อิจฺเฉ ปุริสํ โปโส ปรทารํ วิวชฺเชยฺย

อติมหลฺลโกโปโส ตสฺสาวสานุสนฺธาติ

อาเนสิติมฺพรุถนึ ตํปราภวโตมุขํ

อติมหลฺลโก โปโสอาเนติ ติมฺพรุตฺถนึ ตสฺสา วส นุสนฺทาติ ตํ ปราภวโต มุขํ

เอกยามํสเยราชา ฆราวาโสติยาโมว

ทฺวยิ ามญฺโจวปณฺฑิโต จตุยาโมตุยาจโก

เอกยามํ สเย ราชา ฆราวาโส ติยาโม จ

ธนวาสุติโยราชา ปญฺจยตฺถนวิชฺชนฺติ

นทึเวโชตถากเม นตตฺถทิวสํวเส

ธนวา โชติโย ราชา นที เวชฺโช ตถา อิ เมปญฺเจ ยตฺถ น วิชฺชนฺติ น ตตฺถ ทิวสํ วเส

ยสฺมึปเทเส นมาโน นจวิชาตโมโกจิ

นเปมํนจพนฺทวา นตตฺรทิวสํวเส

ยสฺมึ ปเทเส น มาโน น จ วิชฺชาคโม โกจิ

น เปมํ จ น พนฺธวา น ตตฺร ทิวสํ วเส

อปุตฺตกํฆรํสุญฺญํ อสิปฺปสฺสมุขสุญฺญํ

รฏฺฐํสุญฺญํอราชิกํ สพฺพสุญฺญํทลิทฺทกํ

อปุตฺตกํ ฆรํ สุญฺญํ อสิปฺปสฺส มุขํ สุญฺญํ

รฏฺฐํ สุญฺญํ อราชิกํ สพฺพสุญฺญํ ทลิทฺทกํ

ธนมิจฺเฉวานิชฺเชยฺย ปุตฺตมิจเฉตรุนิตฺถึ

วิทยมิจเฉภชฺเชสุตํ ราชมจฺจํอิจฺฉาคเม

ธนมิจฺเฉ วาณิชฺเชยฺย ปุตฺตมิจฺเฉ ตรุณิตฺถี

วิทฺยมิจฺเฉ ภเช สตํ ราชมจฺจํ อิจฺฉาคเม

นฏฺโฐยติอสนฺตุฏฺโฐ นฏฺฐาลชฺชาจคณิกา

สนฺตุฏฺโฐจมหิปติ อนลชฺชากุลธิตา

นฏฺโฐ ยติ อสนฺตุฏฺโฐ นฏฺฐา ลชฺชา จ คณิกา

สนฺตุฏฺโฐ จ มหีปติ นิลชฺชา กุลธีตโร

ปกฺขินํ พลมากาโส ทุพฺพลสฺสพลํราชา

มจฺฉานมุทกํพลํ กุมารานํโรธพลํ

ปกฺขีมํ พลมากาโส ทุพฺพลสฺส พลํ ราชา

มจฺฉานมุทกํ พลํ กุมารานํ รุทํ พลํ

ชาติ ชาติ ปุนปฺปุนํ โธตปาโทว กทฺทมํ

ทฺวิยามญฺจ ปณฺฑิโต จตุยาโม ตุ ยาจกา


๒๘๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ

ขมาชาคริยุฏานํ นายกสฺสคุณาเอเต

สํวภิ าโคทยิกฺขนา อิจฺฉิตพฺพาสตํขณา

ขมา ชาคริยุฏฺฐานํ นายกสฺส คุณา เอเต

สํวิภาโต ทยิกฺขนา อิจฺฉิตพฺพา สตํ คุณา

สกึวทนฺติราชาโน สกํิสปฺปุริสาโลเก

สกํสิ มณพฺรหฺมณา เอเตธมฺมาสนนฺตโน

สกึ วทนฺติ ราชาโน สกํ ิสปฺปุริสา โลเก

สกํิ สมณพฺราหฺมณา เอส ธมฺโม สนนฺตโน

อลสฺโสคีหิกามโภคินสาธุ อสญฺญิโตปพฺพชฺชิโตนา อลโส คิหิกามโภคี น สาธุ อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ อชาอนิสมฺมการินสาธุ ปณฺฑิโต สาธุ ราชา น สาธุ อนิสมฺมการิ โย ปณฺฑิโต โกธโนตมฺปินสาธุ โกธโน ตํ น สาธุ ทุฏฺฐภริยสํวาโส สสปฺเปจฆราวาโส

โทโสจิตรทาสโก มจฺจุเอวนสํสโย

ทุฏฺฐภริยสํวาโส โทสจิตฺตรทาสโก สสปฺเปจ ฆเร วาโส มุจฺจุ เอว น สํสโย

มุฬฺหสิโสปเทเสน อสตํสมฺปโยเตน

กุทาริภรเณนจ ปณฺฑิโตอวสิทติ

มุฬฺหสิสฺโส ปเทเสน อสตํ สมฺปโยเคน

กุทารี ภรเณน จ ปณฺฑิโต อวสีทติ

สุขํรุกฺขสฺสฉายาว ตโตอาจริโยสุขํ

ตโตญาติมาตาปิตา ตโตพุทฺธสฺสเนกธา

สุขํ รุกฺขสฺส ฉายาว ตโต อาจริโย รญฺโญ

ตโต ญาติ มาตาปิตุ ตโต พุทฺธสฺส เนกธา

ภมราปุปฺผมิจฺฉนฺติ มกฺขิกาปูติมิจฺฉนฺติ

คุณมิจฺฉนฺติสุชนา โทสมิจฺฉนฺติทุชนา

ภมราปุปฺผมิจฺฉนฺติ มกฺขิกา ปูติมิจฺฉนฺติ

คุณมิจฺฉนฺติ สุชฺชนา โทสมิจฺฉนฺติ ทุชฺชนา

มาตาหินสฺสทุภาสา อุโภมาตาปิตาหินา

ปิตาหินสฺสทุกิริยา ทุภาสาจทุกิริยา

มาตา หีนสฺส ทุภาสา อุโภ มาตาปิตา หีนา

ปิตา หีนสฺส ทุกฺริยา ทุพฺภาสา จ ทุกิริยา

มาตาเสฏฺฐสฺสสุภาสา อุโภมาตาเสฏฺฐา

ปิตาเสฏฺฐสฺสสุกิริยา สุภาสาจสุกิริยา

มาตา เสฏฺฐสฺส สุภาสา ปิตา เสฏฺฐสฺส สุกฺริยา อุโภ มาตา เสฏฺฐา สุภาสา จ สุกฺริยา

มาตาปุตากิริปาปํ ราชารฏฺฐํกรํปาปํ

สิสโฺ สปาปํครุตถา ราชาปาปํปโรหิโต

มาตา ปุตฺตกรํ ปาปํ ราชา รฏฺฐกรํ ปาปํ

สิสฺสา ปาปํ คุรู ตถา ราชา ปาปํ ปุโรหิโต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๘๕

คาถาในโลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ อโกเธนชิเนโกธํ อสาธุํสาธุนาชิเน กทริยญฺจทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ

คาถาในประชุมโคลงโลกนิติ อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อสาธุํ สาธุนา ชิเน ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจ นาลิก วาทินํ

อทนฺตทมนํทานํ ทาเนนปิยวาจาย

ทานํสพฺพตฺถสาธกํ อุนฺนมนฺตินมนฺติจ

อทนฺตํ ทมนํ ทานํ ทาเนน ปิยวาจาย

ทานํ สพฺพตฺถ สาธกํ อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จ

ทานํสิเนหเภสชฺชํ ทานํยสสฺสเภสชฺชํ

มจฺเฉรํโทสโนสถํ มจฺเฉรํกปฺปโนสถํ

ทานํ สิเนหเภสชฺชํ ทานํ จ ยสเภสชฺชํ

มจฺเฉรํ โทสโนสถํ มจฺเฉรํ กปโนสถํ

พหูนมปฺปสารานํ ติเณนโยตฺตํวตฺตเต

สมคฺคิยาชยาชเย เตนนาโคปิพนฺธติ

พหูนมปฺปสารานํ ติเณน วตฺตเต โยตฺตํ

สามคฺคิยา ชยํ ชเย เตน นาโคปิ พนฺธติ

สหาโยอสมตฺโถปิ นิวาเตปติโกอคฺคิ

เตชสากึกริสฺสติ สยเมวูปสมฺมติ

สหาโย อสมตฺโถ จ นิวาเต ชลิโต อคฺคิ

เตชสา กึ กริสฺสติ สยเมวูปสมฺมติ

ส่วนคาถาอีก ๒ บทที่เหลือ ก็คือ บทที่ว่า “สุติสมฺมติสํขยาจ โยคานิติวิเสสกา คนฺตพฺพาคนิกาเจว ธนุเภทาจปุรนา ติกิจฺฉาอิติหาสาจ โฏติมายาจฉนฺทติ เกตุมนฺตาจสทฺทาจ สิปฺปฏฺฐารสกาอิเม” และ “พหโว ยตฺถเนตฺตาโร สพฺพปณฺฑิตมานิโน สพฺเพมหคฺคมิจนฺติ เตสํกมฺมํวินสฺสติ” ซึ่งมีความน่าสนใจว่าอาจจะเป็น คาถาในประชุมโคลงโลกนิติบทใดบทหนึ่งที่ยังไม่มีคาถาก็ได้ นอกจากนี้แล้ว ผู้ปริวรรตยังได้ศึกษาที่มาของคาถาจึงเขียนกํากับไว้ใต้คาถาในประชุมโคลงโลกนิติโดย ศึกษาเฉพาะคาถาทั้ง ๖๗ บทที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับโลกนิติฉบับที่ปริวรรตและจัดพิมพ์ครั้งนี้ พบว่ามี มากกว่า ๖๐ บท ที่ระบุที่มาว่ามาจากคัมภีร์โลกนิติ ส่วนที่เหลือนั้นไม่ได้ระบุว่ามาจากคัมภีร์อะไรจึงกล่าวได้ว่า โลกนิติฉบับที่ปริวรรตและจัดพิมพ์ครั้งนี้ คาถาส่วนใหญ่หรืออาจจะเป็นทั้งหมดมาจากคัมภีร์โลกนิติ๒๓ หมายเหตุ* ในสมุดไทยเล่มนี้นอกจาก “โลกนิติ” แล้ว ในท้ายเล่มยังได้พบวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า “กายนคร” เป็นวรรณกกรรมที่เกี่ยวกับนําเอาสภาวะจิตและสภาวะกายของมนุษย์มาผูกขึ้นเป็นเรื่องราว ๒๓

เพราะคาถาที่ไม่ได้ระบุว่ามาจากคัมภีร์ใด อาจเกิดจากข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์แต่ละครั้ง และเมื่อพิจารณาถึง ระยะเวลาในการจัดพิมพ์ตั้งแต่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๐ ถึงครั้งที่พิมพ์ล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นฉบับที่ผู้ปริวรรตใช้ประกอบ การศึกษา ก็เป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึง ๙๓ ปี รวมเป็นจํานวนที่พิมพ์ทั้งสิ้น ๓๔ ครั้ง


๒๘๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หรือนิทาน ซึ่งจากการตรวจสอบ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและปีที่แต่ง และเมื่อพิจารณาตัวอักษรก็พบว่าเป็นคน ละลายมือกับผู้ที่เขียน “โลกนิติ” ผู้ปริวรรตเล็งเห็นว่าจะประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย จึงได้นํามารวมพิมพ์ ไว้ด้วย เนื้อหาสาระโดยสังเขป โลกนิติ ฉบับที่ปริวรรตและจัดพิมพ์ครั้งนี้ เริ่มด้วยบทนมัสการพระรัตนตรัย และกล่าวชี้แจงเรื่อง ดังนี้ โลกนิตํิ ปวกฺขามิ นานาสตฺถสมุทฺทิตํ มาคเธเนวสํเขปํ วนฺทิตฺวา รตนตฺตยํ อหํ อันวาข้า วนฺทิตฺวา ใหว้แล้ว รตนตฺตยํ ซึ่งประชุมสามแห่งพรรัตน ปวกฺขามิ จักกล่าว โลกนิตํิ ซึ่งคัมภิร์ชือวาโลกนิติ นานาสตฺถสมุทฺทิตํ อันวาจาริ ยยกมาแตคัมภิรต่างต่าง มาคเธเนว โดยมคธภาษาแท้จริง สํเขปํ เมาะ สํเขเปน โดย สงเขษ นิติโลเกปุริสสฺส สาโรมาตาปิตา อาจริโย จ มิตฺโต ตสฺมา หินิตึปุริโส วิชญฺญา ญาณิมหาโหติ พหุสฺสุโตจ นิติ อันว่านิติสาตร สาโร ชือวาเปนแกนสาร ปุริสสฺส แห่งบุรุป มาตาปิตาจ ชื่อว่าเปนมานดาแลบิดาก๎ดิ อาจริโยจ ชื่อวาเปนอาจาริยก๊ดิ มิตฺโตจ ชื่อวาเปนมิตร ปุริสสฺส แห่งบุรุป โลโก ในโลก หิเมาะ ยสฺมา เหตุใด ตสฺมา เหตุดังนั้น โยปุริโส อันวาบุรุษผูใด วิชญฺญา รู นิตึ ซึ่งนิติสาตร โสปุริโส อันวา บุรุษผูนั้น มหาญาณิ มิปญามาก พหุสฺสโตจ เปนพหูสูตรแทจริง โหติ มิ จากนั้นก็จะกล่าวถึงเนื้อหาของโลกนิติในบทต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ “ความรู้” (หรือ ศิลป ศาสตร์) และ “นักปราชญ์” อาทิ การไม่ให้ดูหมิ่นศิลปศาสตร์ที่แม้จะมีอยู่เพียงน้อยนิด แต่หากรู้จนเชี่ยวชาญ ก็สามารถเลี้ยงชีพได้ ดังปรากฏในบทประพันธ์ที่ว่า ขุ ทฺ โ ทติ น าติ ม ญฺ เ ญยฺ ย วิ ชฺ ชํ ว าสิ ปฺ ปํ ว าอถ เอกํ ปิ ป ริ โ ยทาตํ ชี วิตกปฺปโกรณํ ปูคฺคเล อันวาบุทคน นาติมญฺเญยฺย อยาพึงดูหมิ่น วิชํวา ซึ่งวิชา ปากก๎ดี อถ อันหนึงโสด สิปฺปํวา ซึ่งศิลปสาตรมิอก๎ดี ขุทฺโทติ วาน้อย เอกํปิ วิชฺชํ แมอันวาวิชาอันนึง ปริโยทาตํ บริสุทธิแท้จริง ชิวิตกปฺปการณํ เปนเหตุสํา เหร๊จเลี้ยงซีวิตร การยกย่องบัณฑิตว่าเป็นบุคคลหายาก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๘๗

เสเลเสเลนมณิกํ คเชคเชนมุตฺติกํ วเนวเนนจนฺทนํ ถาเนถาเนนปณฺ ฑิตํ มณิกํ อันวาแก้วม่ณี นอตฺถิ มิได้มิ เสเลเสเล ในภูเฃาทั้งปวง มุตฺติกํ อันวาคชสารเผือก นอตถิ หมิใดมี คเชคเช ในชางทั้งปวง จนฺทนํ อันว่าแกน จันทน์ นอตฺถิ หมิใด้มี วเนวเน ในป่าทั้งปวง ปณฑิตํ เมาะ ปณฺทิโต อันว่า บุรุษมิปัญา นอตฺถิ หมิได้มี ถาเนถาเน ในทีทั้งปวง การกล่าวถึงลักษณะของผู้มีปัญญา มหุ ต มปิ เ จวิ ญฺ ญ ู ปณฺ ฑิ ตํ ปยิ รู ป าสิ ขิ ปฺ ปํ ธมฺ มํ วิ ช านาติ ชิ ว หา สุปรสํยถา วิญฺญู อันว่านักปราช้ มิปัญา เจปยิรูปสิ ผิวเข้าไกล้แลคบหา ปณฺ ฑิตํ ซึ่งนักปราช มหุตมปิ แม้นครู่นึง วิชานาติ รู้ ธมฺมํ ซิงธรรม ขิปฺปํ เรวพลัน กึอิว ดูจสิ่งดังฤๅ ชิวหายถา ดุจลิ้น ชานาติ รู้ สุปรสํ ซึ่งรศแห่งแกง การกล่าวถึงลักษณะของนักปราชญ์ อตฺตานุรูปกํวากยํ สภาวรูปกํปิยํ อตฺตานุรูปกํโกธํ โยโสชานาติ ปณฺฑิโต โยปุคฺคโล อันว่าบุทคนผูใด้ ชานาติ รู้ วากยํ ซึ่งถอยคํา อตฺตานุ รูปกํ อันสมควนแก่ตน ชานาติ รู้ ปิยํ ซึ่งรัศบุตร สภาวรูปกํ สมควรแกตน โลเก ในโลก ชานาติ รู้ โกธํ ซึ่งความโกรธ อตฺตานุรูปกํ ด้วยสมควรแก่ ตน โลโก ในโลก โสปุคฺคโล อันว่าบุทคนผู้นัน ปณฺฑิโต ชือวาเปนนักปราช นอกจากนี้แล้ว โลกนิติ ยังกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ อีก อาทิ เรื่องการระวังมารยาทและคําพูด ชลปฺปมาณํ กมุทนาทฺทยํ กุลปฺปมานํ วินโยปทานํ พยตฺติปฺปมาณํ กถิตวากยํ ปถวิปฺปมาณํ ติณมิลาตํ ปุคฺคโล อันว่าบุทคํน โลเก ในโลก ชาเนยฺย พึงรู้ ชลปฺปมาณํ ซึ่งประมาณน้ําฤกแลตื้น กมุทนาทฺทยํ ซึ่งรู้ประมาณ ก้านกมุท ชาเนยฺย พึงรู้ กุลปฺปมาณํ ซึ่งรูประมาณตระกูลอันตัมแลประ เสรีฐ วินโยปทานํ ดวยอาการกายและวาจา ชาเนยฺย พึงรู พยตฺติปฺปมาณํ ซึ่ง ประมาณแห่งปัญา กถิตวากยํ ด้วยคําเจรจา ชาเนยฺย พึงรู ปถวิปฺปมาณํ ซึง ประมาณแผนดีนอันดิแลร้าย ติณมิณตํ ดวยหญ้าอันเหียวแลมิไดเหียว แนะเรื่องการเลี้ยงดูบุตรของบิดามารดา


๒๘๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

มาตาเวรีปิตฺตา สตฺรู เคนพาเลนลกฺขิตา สภามชฺเฌนโสภติ หํสมชฺ เฌ พโก ยถา มาตา อันวามาดา เวรี ชือเวรี ปิตา อันวาบิ่ดา สตฺรู ชื่อวา ศัตรู โลเก ในโลก เกน ดวยเหตุดังฤๅ มาตาปิตา อันวามานดาบิดา นลกฺขิตา หมิใด้ยังบุตรให้เรียนรู้ พาเล ในเมีอกาลอันน้อย ปุตฺโต อันว่าบุตร นโสภติ มิ ใด้งาม สตามชฺเฌ ในทํากลางทิประชุม กึอิว ดุจสิ่งดังฤๅ พโกยถา ดุจนกยาง นโสภติ หมิใด้งาม หํสมชฺเฌ ในทามกลางแห่งฝูงหงษ ตสฺมา เหตุมีใด้รู้ซึงวิชา นั้น สอนเรื่องการดําเนินชีวิตตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยชรา ถ ปถมํนปราจิโตสิปฺปํ ทุติยํนปราจิโตธนํ ตติยํนปราจิโตธมฺมํ จตุถํกึกริสฺสติ ปุคฺ คโล อันวาบุทคน นปราจิโต หมิ่ได้รู้ สิปฺปํ ซิงศิลปสาตร ปถมํ ในปถไวย นปราจิโต มิได้สําสม ธนํ ซึ่งธรัพย ทุติยํ ในทุติ่ยไวย นปราจิโต หมิไดรู ธมฺมํ ซึ่งธรรม ตติยํ ในตติยไวย ปุคฺคโล อันว่าบุทคน กึกริสฺสติ จะกระทํา เปนดังฤๅ จตุตถํ ในไวเปน คํารพสี ฯลฯ จากเนื้อหาสาระที่ปรากฏในโลกนิติดังกล่าว วรรณกรรมคําสอนเรื่องนี้จึงถือได้ว่าคุณค่ายิ่ง โดยเฉพาะ ผู้ที่ได้นําไปประพฤติปฏิบัตินั้นก็ย่อมจะเกิดผลดีทั้งต่อตนเอง และต่อสังคม ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๘๙

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. ประชุมโคลงโลกนิติ. มปท. ,๒๕๕๓. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ชีวิตและงานของสุนทรภู่. กรุงเทพ: บรรณศิลป์, ๒๕๑๖. เดชาดิศร, กรมพระยา. โคลงโลกนิติ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๕๐. น้ําเพชร สายบุญเรือน. นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๑ ชื่อวรรณคดี. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘. พ.ณ ประมวญมารค. ประวัติคํากลอนสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, ๒๕๐๑.


๒๙๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙๑

โลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ๚ะ ๏ โลกนิ นมตฺถุ ผูก ๑ ๚ะ ๚ะ ๏ นมตฺถุ ๏ โลกนิตํิ ปวกฺขามิ นานาสตฺถสมุทฺทิตํ มาคเธเนวสํเขปํ วนฺทิตฺวา รตนตฺตยํ ฯ อหํ อันวาข้า วนฺทิตฺวา ใหว้แล้ว รตนตฺตยํ ซึ่งประชุมสามแห่งพรรัตน ปวกฺขามิ จักกล่าว โลกนิตํิ ซึ่งคัมภิร์ชือวาโลกนิติ นานาสตฺถสมุทฺทิตํ อันวาจาริยยกมาแตคัมภิรต่างต่าง มาคเธเนว โดยมคธภาษา แท้จริง สํเขปํ เมาะ สํเขเปน โดยสงเขษ๒๔ ฯ นิติโลเกปุริสสฺส สาโรมาตาปิตา อาจริโย จ มิตฺโต ตสฺมา หินิตึปุริโสวิชญฺญา ญาณิมหาโหติ พหุสฺสุโตจ ฯ นิติ อันว่านิติสาตร สาโร ชือวาเปนแกนสาร ปุริสสฺส แห่งบุรุป๒๕ มาตาปิตาจ ชื่อว่าเปนมานดา แลบิดาก๎ดิ อาจริโยจ ชื่อวาเปนอาจาริยก๊ดิ มิตฺโตจ ชื่อวาเปนมิตร ปุริสสฺส แห่งบุรุป โลโก ในโลก หิ เมาะ ยสฺมา เหตุใด ตสฺมา เหตุดังนั้น โยปุริโส อันวาบุรุษผูใด วิชญฺญา รู๒๖ นิตึ ซึ่งนิติสาตร โสปุริโส อันวาบุรุษผูนั้น มหาญาณิ มิปญา๒๗มาก พหุสฺสโตจ เปนพหูสูตรแทจริง โหติ มิ ๏ อลสสฺสกุโตสิปฺปํ อสิปฺปสฺสกุโตธนํ อธนสฺสกุโตมิตฺตํ อมิตฺตสฺสกุโตสุขํ อสุขสฺสกุโตปุญฺญํ อปุ ญฺญสฺสกุโตสิวํ ฯ สิปฺปํ อันวาวิชาความรู้ กุโตอตฺถิ จ่มิแตทิดังฤๅ เมาะ วาหามิได้ อลสสฺส แก๒๘คนเกียดคร้าน ธนํ อันวาทรัพย กุโตอตฺถิ จมิแตทิดังฤๅ อสิปฺปสฺส แก่บุทคน๒๙ อันหาวีชามิได้ มิตฺตํ อันวามิตร กุโตอตฺถิ จมิ แตทิดังฤๅ อธนสฺส แกบุทคน อันหาธรัพยมิได้ สุขํ อันวาความศุข กุโตอตฺถิ จมิแตทิดังฤๅ อมิตฺตสฺส แกบุ ทคน อันหามิตรหมิได้ ปุญฺญํ อันว่าบุญ กุโตอตฺถิ จมิแต่ทิดังฤๅ อสุขสฺส แกบุทคํนอันหาศุขหมิได้ สิวํ อัน วาพระนิพพาน กุตฺโตอตฺถิ จมิแต่ทิดังฤๅ อปุญฺญสฺส แกบุทคํนอันหาบุญหมิได้ ฯ สิปฺปาสมํธนํนตฺถิ สิปฺปํโจรานคณฺหนฺติ อิธโลเกสิปฺปมิตฺตํ ปรโลเกสุขาวหํ ฯ ธนํ อันวาธรัพย สมํ เสม้อ สิปฺปา ดวยวิชา นตฺถิ หามิได้ โจรา อันวา โจรทั้งหลาย นคณฺหนฺติ ลักเอามิได้ สิปฺปํ ซึงศีลปศาสตร มิตฺตํ เปนมิตร อิธโลเก ในโลกนี้ สุขาวหํ นํามาซึ่งความศุข ปรโลเก ใน ปรโลกเบื้องหน้า ๒๔

สังเขป บุรุษ ๒๖ รู้ ๒๗ มีปัญญา ๒๘ แก่ ๒๙ บุคคล ๒๕


๒๙๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ อปฺปกํนาติมญฺเญยฺย จิตฺเตสุตํนิฏฺฐเปยฺย วมฺมิกูทกพินฺทว จิเรนปริปูรติ ฯ ปุคฺคเล อันว่าบุทคํน นาติมญฺเญยฺย อยาพิงดูหมิน สุตํ อันว่าสดับ ปริปูรติ เต๊ม จิตฺเต ในจิตร จิเรน ด้วย นาน วมฺมิกูทกพินฺทอิว ดุจปลวกแลยาดน้ํา ปูรตึ เต๊ม จิเรน ดวยนาน ฯ ขุทฺโทตินาติมญฺเญยฺย วิชฺชํวาสิปฺปํวาอถ เอกํปิปริโยทาตํ ชีวิตกปฺปโกรณํ ฯ ปูคฺคเล อันวาบุทคน นาติมญฺเญยฺย อยาพึงดูหมิ่น วิชํวา ซึ่งวิชาปากก๎ดี อถ อันหนึงโสด สิปฺปํวา ซึ่ง ศิลปสาตรมิอก๎ดี ขุทฺโทติ วาน้อย เอกํปิวิชฺชํ แมอันวาวิชาอันนึง ปริโยทาตํ บริสุทธิแท้จริง ชิวิตกปฺ ปการณํ เปนเหตุสําเหร๊จเลี้ยงซีวิตร ฯ เสเลเสเลนมณิกํ คเชคเชนมุตฺติกํ วเนวเนนจนฺทนํ ถาเนถาเนนปณฺฑิตํ ฯ มณิ กํ อั นวาแก้ ว ม่ณี นอตฺ ถิ มิได้ มิ๓๐ เสเลเสเล ในภู เฃาทั้งปวง มุ ตฺ ติกํ อั น วาคชสารเผื อก นอตถิ หมิใดมี คเชคเช ในชางทั้งปวง จนฺทนํ อันว่าแกนจันทน์ นอตฺถิ หมิใด้มี วเนวเน ในป่าทั้งปวง ปณฑิตํ เมาะ ปณฺทิโต อันว่าบุรุษมิปัญา นอตฺถิ หมิได้มี ถาเนถาเน ในทีทั้งปวง ฯ ปณฺฑิโต สุตปฺปสนฺโน ยตฺถอตฺถิติเจสุโต สุเตสินาคนฺตพฺพํว มหุสฺสาเหนตํถานํ ฯ ปณฺฑิโต อันว่านักปราช สุตปฺปสนฺโน เลีอมไสด้วยสดับ คนฺตพฺพํว พึงไปแทจริง เจสุโต ผิแล บุทคนได้สดับ อตฺถิอิติ วามิ๓๑ ยตฺถ ถาเน ในทิใด ตํถานํ อันว่าที่นั้น สุเตสินา อันบุทคนแสวงหาซึ่งสดับ คนฺตพฺพํว พิงไปแท้จริง มหุสฺสาเหน ด้วยอุตสาหเปนอันมาก ฯ สินฺเน สิปฺปํ สินฺเนธนํ สิเนปพฺพตมารุยฺหํ สิเนกามสฺส โกธสฺส สิเนปญฺจคุเณอิเม ฯ ปุคฺคเล อันวาบุทคน สินฺเน พิงเริยนช้าช้า สิปฺปํ ซึ่งศิลปสาตร ปุคฺคเล อันวาบุทคํน สินฺเน พีง แสวงหาชาชา ธนํ ซึ่งธรัพย ปุคฺคเล อันวาบุทคน อารุยฺหํ เมาะ อารุยฺหนฺโต เมีอขี้น ปพฺพตํ สูภูเขา สินฺ เน พีงฃึ้นช้าช้า ปุคฺคเล อันวาบุทคํน สินฺเน พีงเสพนอยนอย กามสฺส ซิงกามคุณ ปุคฺคเล อันวา บุ ทคํน สินฺเน พีงไห บังเกีดน้อยน้อย โกธสฺส ซึ่งความโกรจ ปุคฺคเล อันวาบุทคํน อิเมคุเณ ยังคุณทั้งหลาย นี้ ปญฺจ ห์า๓๒ สินฺเน ใหเกีดช้าช้า ฯ สุติสมฺมติสํขยาจ โยคานิติวิเสสกา คนฺตพฺพาคนิกาเจว ธนุเภทาจปุรนา ติกิจฺฉาอิติ- หาสาจ โฏติมายาจฉนฺทติ เกตุมนฺตาจสทฺทาจ สิปฺปฏฺฐารสกาอิเม ๏ อิ เ มสิ ปฺ ป า อั น วาศิ ล ปสาตร อฏฺ ฐ ารส ๑๘ สุ ติ จ คื อสดั บ ก๎ ดี สมฺ มติ จ คื อรู้ ธ รรมสาตรก๎ ดี สํขยาจ คือรู้นั บ ก๎ดี โยตาจ คื อรู้ ถากฟัน แลเจาะไชเปนต้น ก๎ดี นิ ติจ คื อรู้ นิ ติส าตรก๎ดี วิ เสสกาจ คื อรู้ พยากรณ มิยาตราเปนต้นก๎ดี คนฺตพฺพาจ คือรูเพรงดีดสีตีเป่าก๎ดี คนิกาจคือรู้ดีดนิ้วมือก๎ดี ธนุเภทาจ คือรู้ ธนูแลน่าไม้ก๎ดี ปุรณาจ คือรู้เจรจาก๎ดี ติกิจฉาจ คือรูเยิยวยาก๎ดี อิติหาสาจ คือรูบทกลอนเปนทิรินเริงก๎ดี โฏติจ คือรู้ไตรยเพทก๎ดี มายาจ คือรู้ฬอลวงก๎ดี ฉนฺทติจ คือรู้ฉันทสาตรรก๎ดี เกตุจ คือรู้เดิ่รฃ่าวสารก๎ดี มนฺ ตาจ คือรู้มนตร์ก๎ดี สธฺธาจ คือรู้คัมภีสัทาก๎ดี โหนฺติ มี โลเก ในโลกนี้ ฯ ๓๐

มี ว่ามี ๓๒ ห้า ๓๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙๓

อปุฏฺโฐปณฺฑิโตเภริ ปจฺธนฺโนโหติปุจฺฉิโต พาเลปุฏฺโฐปิ พหุปิภณิเตสทา ๏ ปณฺฑิโต อันวานักปราช โลเก ในโลก อปุฏฺโฐ อันวาบุท่คนมิใดถาม เภริ ดุจดังวากลอง โหติ มี ปณฺฑิโต อันวานักปราช ปุจฺฉิโต อันว่าบุทคนถาม ปจฺทโน ดังห่าฝน โหติ มี พาโล อันวาคนพาล ปุฏฺโฐปิ อันวาบุทคนถามก๎ดี อปุฏฺโฐปิ อันบุทคนมิใดถามก๎ดี ภณิเต กลาว พหูปิ แมนมาก สทา ทูกเมีอ ฯ โปฏฺฐเกสุจยํสิปฺปํ ปรหตฺเถจยํธนํ ยตฺถกิเจสมุปฺปนฺเน นตํสิปฺปํ นตํธนํ ฯ ยํสิปฺปํ อันว่าศิลปสาตรอันใด อตฺถิ มี โลเก ในโลก โปฏฺฐเกสุ ในไบฬาร ยํธนํ อันวาธรัพยอัน ใดก๎ดี อตฺถิ มี ปรหตฺเถ ในมือแหงผูอื่น ยตฺถกิจฺเจ ในเมือกิจอันใด สมุปฺปนฺเน บังเกิดมี ตํสิปฺปํ อันวา ความรู้อยูในไบฬารนัน สปฺปํ ชือวาความรู้ นโหติ หามิใด้ ตํธนํ อันว่าธรพยอันอยู่ในมือแห่งพูอืนนั้น ธนํ ชือว่าธรัพย นโหติ หามิใด ฯ ชลปฺปมาณํ กมุทนาทฺทยํ กุลปฺปมานํ วินโยปทานํ พยตฺติปฺปมาณํ กถิตวากยํ ปถวิปฺป-มาณํ ติณมิลาตํ ฯ ปุคฺคโล อัน ว่าบุทคํ น โลเก ในโลก ชาเนยฺย พึงรู้ ชลปฺ ปมาณํ ซึ่งประมาณน้ําฤกแลตื้น กมุ ท นาทฺ ทยํ ซึ่ งรู้ป ระมาณก้ า นกมุ ท ชาเนยฺย พึ งรู้ กุ ลปฺ ป มาณํ ซึ่ งรูป ระมาณตระกู ล อั น ตัม๓๓แลประเสรี ฐ วินโยปทานํ ดวยอาการกายและวาจา ชาเนยฺย พึงรู พยตฺติปฺปมาณํ ซึ่งประมาณแห่งปัญา กถิตวากยํ ด้วย คําเจรจา ชาเนยฺย พึงรู ปถวิปฺปมาณํ ซึงประมาณแผนดีนอันดิแลร้าย ติณมิณตํ ดวยหญ้าอันเหียวแลมิได เหียว ๏ อปฺปสุโตสุตํอปฺปํ พหุมญฺญติมานวา สินฺททกํ อปฺปสนฺโต กุเปโตยํ วมณฺฑโก ๏ อปฺปสุโต อันว่าคนสดับน้อย โลเก ในโลก พหุมญฺญติ สําคัญว่ามาก สุตํ ซึงสดับ อปฺปํ น้อย เดียว มานวา มิมานะ มณฺฑโกว ดุจกบตัวน้อย อปฺปสนฺโต อันมิ่เคยเหน สินฺททกํ ซึงน้ําในมหาสมุทร พหุมญฺญติ สําคัญว่ามาก โตยํ ซึ่งนํา๓๔ กูเป ในบ่อ ๏ ถ ปถมํนปราจิโตสิปฺปํ ทุติยํนปราจิโตธนํ ตติยํนปราจิโตธมฺมํ จตุถํกึกริสฺสติ ๏ ปุคฺคโล อันวาบุทคน นปราจิโต หมิ่ได้รู้ สิปฺปํ ซิงศิลปสาตร ปถมํ ในปถไวย นปราจิโต มิได้ สําสม ธนํ ซึ่งธรัพย ทุติยํ ในทุติ่ยไวย นปราจิโต หมิไดรู ธมฺมํ ซึ่งธรรม ตติยํ ในตติยไวย ปุคฺคโล อันว่า บุทคน กึกริสฺสติ จะกระทําเปนดังฤๅ จตุตถํ ในไวเปนคํารพสี๓๕ ๚ พรตฺตาปุตฺตตีมาลเส อพรตฺตโกภารหารีโก พรตฺตโกปุชิโตโลโก พรตฺตปุตฺตทิเนทิเน ฯฯ ปุตฺต ดูกรเจาผูเปนบุตร ตวํ อันวาเจา กึํอาลเส เหตุฤๅแลเกียดคร้าน ตวํ อันวาเจา พรตฺตา จง เรียนวีชา ปุตฺต ดูกรเจาผู้เปนบุตร ตวํ อนวาเจา พรตฺตา จงเรียนรู้ ทิเนทิเน ทุกวันๆ ปุคฺคโล อันวาบูชา

๓๓

ต่ํา น้ํา ๓๕ คํารบสี่ ๓๔


๒๙๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

คน อพรตฺตโก มีไดรูวีชา ภารหารีโก เปนผูนําไปซึงภารแหงผูอืน พรตฺตโก อันวาบูชาคํนอันรูวีชา ปูชีโต อันเทวดามนุษบูชา โลเก ในโลก ฯฯ มาตาเวรีปิตฺตา สตฺรู เคนพาเลนลกฺขิตา สภามชฺเฌนโสภติ หํสมชฺเฌพโก ยถา ฯฯ มาตา อัน วามาดา เวรี ชือเวรี ปิตา อันวาบิ่ดา สตฺรู ชื่อวาศัตรู โลเก ในโลก เกน ดวยเหตุดังฤๅ มาตาปิตา อัน วามานดาบิดา นลกฺขิตา หมิใด้ยังบุตรให้เรียนรู้ พาเล ในเมีอกาลอันน้อย ปุตฺโต อันว่าบุตร นโสภติ มิใด้ งาม สตามชฺเฌ ในทํากลางทิประชุม กึํอิว ดุจสิ่งดังฤๅ พโกยถา ดุจนกยาง นโสภติ หมิใด้งาม หํสมชฺเฌ ในทามกลางแห่งฝูงหงษ ตสฺมา เหตุมีใด้รู้ซึงวิชานั้น ๚ กณฺฑกาคิริโกติกฺขติ อญฺชนามิตกฺขายํ อุปฺปลสฺสปลฺลโกสุคนฺธํ กุลปุตฺตรูโปโกปวตฺตยี สมติภาโว ๚ะ ๏ โกปุคฺคโล อันว่าบุทคนดังฤๅ ติกฺขติ เสี้ยม กณฺฑกาคีรี ซึ่งหนามในภูเฃา สมติภาโว อันวาภาว แหลมเองแทจีง โกปุคฺคโล อันวาบุทคนดังฤๅ ปวตฺตยิ พีงหยอด อญฺชนา ซึ่งญาตา มิคกฺขายํ ในตาแห่ง เนื้อ สมติภาโว อันว่าภาว่ผองไสเองแทจรีง โกปุคฺคโล อันว่า บุทคนดังฤๅ ปวตฺตยิ ไสลง สุคนธํ ซึงฃอง หอม ปลฺลเล ในเปือก สมติภาโว อันวาภาหอมเองแทจริ่ง อุปฺปลสฺส แหงอุบน โหติ มี ปุคฺคโล อันว่าบุ ทคน กุลปุตรูโป มิสภาวเปนลูกตระกูล โก เมาะ เกนปุคฺคเลน อันบุทคนดังฤๅ ปวตฺตยิ ให้เปนไปมอวาใคล เสียบษร สมติภาโว อันวาภาวเปนเองแทจริ่ง ๏ นรสํ อโกตมฺพลํ อธนสฺสอลงฺกตํ อโลณกํตุพฺยญฺชนํ พยากรณํอสิปฺปสฺส ฯ อโกตมฺพลํ อันวาหมากพลูหาปูนมิ่ใด้ รสํ มิรศ นโหติ หามิ่ได้ อลงกตํ อันว่าเคิ่องประดับกาย ปุคฺคสฺส แหงบุทคน อธนสฺส อันหาธรัพยมิใด้ รสํ เปนรศ นโหติ หามิใด้ พยญฺชนํ อันวาสูปพญัณชน นโลณกํ หาเกลีอหมิใด้ รสํ เปนรศ นโหติ หามิ่ใด้ พยากรณํ อันว่าบัญหา พยากรณ ปุคฺคลสฺส แห่ง บุทคล อสิปฺปสฺส อันหาศิลปสาตรหมิ่ใด้ รสํ เปนรศ นโหติ หาหมิใด้ ๚ะ ๏ สุสูสาสุตสมฺปนฺโน สุตปญฺญายวฒติ ปญฺญายอตฺถํชานาติ อตฺโถญาโต สุขาวโห ๏ สุสูสา อันวาบุทคนอันปลารพย๓๖เปนอันดี ไดกิริยาอันฟังแลกําหนด สุตสมฺปนฺโน อันบริบูรณ ด้วยสูตร วฒติ เจรีญ สุตปญฺญาย ด้วยปัญาอันเกีดแต่สดับ ชานาติ รู อตฺถํ ซึ่งอรรถ ปญฺญาย ด้วยปัญา อตฺโถ อันวาอรรถ ยาโต อันบทคนรู้ สุขาวโห นํามาซึ่งความศุข ๏ โภชนาเมถุนานิทฺทา โคเนโปเสปิวิชติ วิชาวิเสโสโปสสฺส หิโนโคณสโมภเว ๚ โภชนา อันว่ากิ่ริ่ยาอันบริโภคซึ่งโภชนก๎ดี้ เมถุนา อันว่ากิ่ริ่ยาอันเสพซึ่งเมถูนก๎ดี้ นิททา อันวากิริยา อันหลับก๎ดี้ วิชติ มี โคเนปิ ในวัวก๎ดี้ โปเสปิ ในบุรุษก๎ดี้ โลเก ในโลก วิชา อันว่าวีชา วิเสโส เปนฃอง วีเสศ โปสสฺส แหงบุรุษ โปโส อันว่าบุรุษ หิโน ถอยจากความรู้ โคณสโม เสมอดังโค ภเว พึงมี ๚

๓๖

ปรารภ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙๕

นตฺถิปิวิชาสมํวิตํ นจพยาธิสโมริปุ นจอตฺตสมํเปมํ นจกมฺมสมํพลํ ๚ะ วิตํ อันวาธรัพย วิชาสมํ เสมอด้วยวีชา นตฺถิ หมิ่ได้มี โลเก ในโลก ริปุ อันว่าศตรู พยาธิสโม เส มอดวยพยาธิ นตฺถิ หาหมิได้ เปมํ อันวาความรักษ อตฺตสฺมํ เสมอดวยตน นตฺถิ หาหมิ่ได้ พลํ อันวา กําลัง กมฺมสมํ เสมอด้วยกรรม นจอตฺถิ หาหมิไดแทจรีง ๏ หํโสมชฺเฌนกากานํ สิโหคุนฺนํนโสภเต คทฺรภมชฺเฌจตุรงฺโค พาลมชฺเฌจ ปณฺฑิโต ฯ หํโส อันว่าหงษ วสนฺโต อยู มชฺเฌ ในท่ามกลาง กากานํ แห่งกาทังหลาย นโสภเต หมิใด้งาม โลเก ในโลก สิโห อันวาราชสีห วสนฺโต เมีออยู่ มชฺเฌ ในท่ามกลาง คุนฺนํ แห่งวัวทังหลาย นโสภโต หมิ ใด้งาม จตุรงฺโค อันว่าม้าอัศดร วสนฺโต เมีออยู มชฺเฌ คทฺรภานํ แห่งลาทังหลาย ปโสภเต หมิใด้งาม ปณฺฑิโต อันวานักปราช วสนฺโต เมีออยู พาลมชฺเฌ ในท่ามกลางแห่งพวกพาล นโสภเต หมิใด้งาม ๚ ยาวชิวมฺปิเจพาโล ปณฺฑิตํ ปยิรูปาสิ นโสธมฺมํวิชานาติ ทพฺพิสูปรสํยถา ฯ พาโล อันว่าคนอันทพาล เจปยิรูปาสิ ผิแลไปไกล้แลคบหา ปณฺฑิตํ ซึ่งนักปราช ยาวชีวมฺปิ แม้น ตราบท้าวสินชีวิตร โส ภาโพ อันคนพาลนั้น นวิชานาติ มิได้รู ธมฺมํ ซึ่งธรรม กึอิว ดูจสิงดังฤๅ ทพฺพียถา ดุจดังทรรพี นวิชานาติ หมิได้รู สุปรสํ ซึ่งรศแห่งแกง ๚ มหุตมปิเจวิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรูปาสิ ขิปฺปํ ธมฺมํวิชานาติ ชิวหาสุปรสํยถา ฯ วิญฺญู อันว่านักปราช้ มิปัญา เจปยิรูปสิ ผิว๓๗เข้าไกล้แลคบหา ปณฺฑิตํ ซึ่งนักปราช มหุตมปิ แม้นครู่นึง วิชานาติ รู้ ธมฺมํ ซิงธรรม ขิปฺปํ เรวพลัน กึอิว ดูจสิ่งดังฤๅ ชิวหายถา ดุจลิ้น ชานาติ รู้ สุปรสํ ซึ่งรศแห่งแกง ๚ วินาสตฺถํนคจฺเฉยฺย สุโรสงฺคามภูมิยํ ปณฺฑิตฺวทฺทคูวาณิโช วิเทสคมโนตถา ฯ สุโร อันว่าโยธาอันกล้า วินา เว้นแล้ว สตฺถํ ซึ่งสัตถคืออาวุดธ นคจฺเฉยฺย หมิพีงไป สงฺคามิภูมึ สูทิ่สงคราม ปณฺฑิโต อันว่านักปราช วินา เวนแล้ว สตฺถํ ซึ่งคัมภิร นภาเสยฺย หมิพึงกล่าว ตถา อันหนึ่ง โสธ วานิโช อันว่าพานิช วินา เว้นแล้ว สตฺถํ ซึ่งพวกเพิ่อน นคจฺเฉยฺย หมิพึงไป อทฺทคู สู่ทางไกล ปุคโล อันว่าบุทคน วิเทสคมโน ไปสู่ประเทศอื่น วินา เว้นแล้ว สตฺถํ ซิงพวกเพือน นคจฺเฉยฺย หมิพีงไป ตถา เห มีอนดังนั้น ๚ ธนนาสํมโนตาปํ ฆเรทุจฺจริตานิจ วญฺจนญฺจอวมานํ ปณฺฑิโตนปกาเสยฺย ฯ ปณฺฑิโต อันวานักปราช นปกาเสยฺย หมิพึงสําแดง ธนนาสํจ ซึ่งฉิ่บหายธรรพยก๎ดี้ มโนตาปิจ ซึ่ง เดิ่อดร้อนจิ่ตรก๎ดี้ ทุจริตานิจ ซึ่งทุจริ่ตกรรมก๎ดี้ ฆเร ในเรือน วญฺจนญฺจ ซึ่งฬอลวงก๎ดี้ โลเก ในโลก ๚ะ ๏ อตฺตานุรูปกํวากยํ สภาวรูปกํปิยํ อตฺตานุรูปกํโกธํ โยโสชานาติ ปณฺฑิโต ๚ะ ๏ โยปุ คฺ คโล อั น ว่ า บุ ท คนผู ใ ด้ ชานาติ รู้ วากยํ ซึ่ ง ถอยคํ า อตฺ ต านุ รู ป กํ อั น สมควนแก่ ต น ชานาติ รู้ ปิ ยํ ซึ่ ง รั ศบุ ต ร สภาวรู ป กํ สมควรแกตน โลเก ในโลก ชานาติ รู้ โกธํ ซึ่ งความโกรธ อตฺตานุรูปกํ ด้วยสมควรแก่ตน โลโก ในโลก โสปุคฺคโล อันว่าบุทคนผู้นัน ปณฺฑิโต ชือวาเปนนักปราช ๚

๓๗

ผิว หมายถึง ถ้า, หาก, แม้น


๒๙๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

โกกิลานํสทฺทํรูปํ นารีรูปํปติพฺพตา วิชารูปํอรูปานํ ขมารุปํตปสฺสินํ ฯ สทฺทํ อัน ว่าเสียง รู ปํ เปนรูป โกกิลานํ แห่งนกกระเหว่าทั้ งหลาย ปติ พฺพตา อันว่ าประฏิบั ติ ผัวเปนอันดี้ นารีรูปํ เป็นรูบแห่งนาง วิชา อันว่าความรู้ รูปํ เปนรูบ ชนานํ แห่งชนทั้งหลาย อรูปานํ อัน มิรูปสันฐ์านมิได้งาม ขมา อันวาอดใจ รูปํ เปนรูป ตปสฺสินํ แห่งพระฤๅสีมูนิทั้งหลาย ๚ อิตฺถินญฺจธนํรูปํ ปุริสานํวิชาธนํ ภิกฺขุนญฺจธนํสิลํ ราชูนญฺจ ธนํพลํ ฯ รู ปํ อั น ว่ า รู ป ธนํ เปนธรรั พย อิ ตฺ ถิ นํ แห่ ง ญิ ง ทั งล้ า ย วิ ช า อั น ว่ า ความรู้ ธนํ เปนธรั ร พย ปุริสานํ แหงบุรษทั้งหลาย สิลํ อันวาศีล ธนํ เปนธรัย๓๘ ภิกฺขูนํ แหงภิขุทั้งหล้าย หลํ อันวากําลัง ธนํ เปนธรพย ราชูนํ แห่งพญาทั้งหลาย ๚ะ ๏ กึสาโสภาวตาปสา ถูลาโสภาจตุปฺปาทา ปุริสาจวิชาโสภา อิตฺถิโสภาสสามิกา ฯ ตาปสา อั นวาพระดาบศทั้ งหลาย กิสาว ผอมแทจริง โสภา งาม (ปุ ริสา) จตุ ปฺปาทา อันวา ๓๙ สต จตุบาททั้งหลาย ถูลา ทิ โสภา งาม ปุริสา อันว่าบุรุษทั้งหลาย วิชา มิความรู้ โสภา งาม อิตฺถิ อันว่าหญิง สสามิกา ประกอปดวยสามี โสภา งาม ฯ ปญ ฺจ รตฺ ย าสุ ค นฺ ธ พฺ พ า สตฺ ต รตฺ ย าธนุ คฺ ค หา เอกมาสาสุ ภ ริ ย า อฒมาสาสิ สฺ โ สมลา ฯ สุคนฺธพฺพา อันว่าช่างพีนทั้งหลายอันดี้ ปญฺจารตฺยา ปราศจากพินห้าวัน มลา ฉิบหาย ธนุคฺค หา อันว่านายธหมัง ธนูทังหลาย สตฺตรตฺยา เว้นจากธนูเจดวัน มลา ฉิ่บหาย สุภริยา อันว่าภิริยาอันดี้ เอกมาสา ปราศจากผัวไดอินหนึง มลา ฉิบหายคิดเปนอืน สิสฺโส อันว่าศิส อฒมาสา ปราศจากครูกึ่งเดิ่อน มาลา ฉิบหาย ๚ หึ รมฺมติปํ หํ รมฺมติโป ถิ รมฺมติปุ ภิ รมฺมติธํ ๚ะ หึ อันว่ากระบือ รมฺมติ ยินดี้ ปํ ในเปีอก หํ อันว่าหงษ รมฺมติ ยินดี้ โป ในโบกขรณี ถิ อัน ว่าญีง รมฺมติ ยินดี้ ปุ ในบุรุษ ภิ อันว่าภิขุ รมฺมติ ยินดี้ ธํ ในธรรม ๚ะ ๏ ชิณฺณมนฺนํปสํเสยฺย ทารญฺจคตโยพฺพนํ รณปฺรตาคตํสุรํ สสฺสญฺจเคหมาคตํ ๏ นโร อันว่าบุรุษ ปสํเสยฺย พึงสรรเสริญ อนฺนํ ซึ่งเข้า ชิณฺณํ อันยอย ปสําเสยฺย พึงสรรเสริญ ทารญฺจ ซึ่งภรรยา คตโยพฺพนํ ซึ่งภรรยา คตโยพฺพนํ มิไวยอันล่วงแล้ว ปสํเสยฺย พึงสรรเสริญ สุรํ ซึ่งสุร โยธา รณปตฺราคตํ อันกลับมาแต่ที่รบ ปสํเสยฺย พึงสรรเสริญ สสฺสญฺจ ซึ่งเข้า เคหมาคตํ อันมาถึงเรือน ๚ ทฺวิตฺรี ปตินาริจ วิหารทฺวิตฺรี ปติภิกฺขุ สกุโณทฺวิตฺรี ปาสญฺจ กตมายาพหุตรํ ฯ นารีจ อันวานาง ทฺวิตฺรีปติ เสพสองผัวสามผัว ภิกฺขุ อันวาภิกขุ วิหารทฺวิตฺรีปติ ออกจากวิหารสอง แห่งแลสามแห่ง สกุโณ อันว่านก ทฺวิตฺรีปาสํ จากบวงสองครั้งสามครั้ง กตมายาพหุตรํ กระทํามานยามาก แท้จริง ๚

๓๘ ๓๙

ทรัพย์ สัตว์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙๗

ทุชฺชนํปหาราทนฺติ มิตํทนฺติอภณิกา อิตฺถินํพยสนาทนฺติ ราคีนํอปยโภชนา ฯ นโร อันว่าบุทคน ทุชฺชนํ ยังคนราย ทนฺติ ให้รงับเสีย ปหารา ดวยประหาร มิตฺตํ ยังมิตร ทนฺติ ให้รงับเสีย อภนิกา ด้วยหมิใด้เจรจา อิตฺถินํ ยังหญีง ทนฺติ ให้รงับเสีย พยสนา ด้วยมิได มอบสมบัติ ราคีนํ ยงคนกํานัดในราค ทนฺติ ไห้รงับเสีย อปฺปโภชนา ด้วยบริโภคน้อย ๏ รตฺตีหินานจนฺทิมา วิจิหินานอณฺณวา หํสหินาโปกฺขรณิ ปตินากญฺญานโสภเต ฯ รตฺติ อันว่าราตรี หินา ปราศ จนฺทิมา จากพระจันทร นโสภเต มิได้งาม อณฺณวา อันว่าสมุท วิจิหินา ปราศจากคลีน นโสภเต หมิได้งาม โปกฺขรณี อันว่าสบัว หํสหินา ปราศจากหงส นโสภเต หมิได้ งาม กญฺญา อันวานาง หินา ปราศ ปตินา จากผัว นโสภเต หมิได้งาม ๚ ปตินาชนิตํโภคํ อิตฺถิยาวาสุคุตฺตนํ ปุริโสหินาปธาโน อิตฺถีสุจิสุตํยถา ฯ โภคํ อันว่าสมบัติ ปตินา อันผัว ชนิตํ ให้บังเกีด อิตฺถิยา อันว่าญีง สุคุตฺตนํว รักษาแท้จรีง หิ เหมาะ สจฺจํ จรีง ปุริโสว อันวาบุรุษ ปธาโน เปนประธาน อิตฺถี อันว่าหญีง สุจิสุตฺตํยถา ดูจดังด้ายตาม เฃ๊ม ๚ สพฺพานทิวงฺกคติ สพฺเพกฏฺฐมยาวนา สพฺพิตฺถิโยปาปํกเร ลภมานานิวากเต ฯ สพฺพานที อันว่าแม่น้ําทั้งปวง วงฺกคติ มีกระแสอันคด สพฺเพวนา อันว่าปาทั้งปวง กฏฺฐมยา สํา ๔๐ เหรฐ ด้วยฟืนแล้วไปด้วยไม้ สพฺพิตฺถีโย อันว่าญีงทั้งปวง ลภมานา เมือได้ นิวากเต ซึ่งทีสงัด กเร เมาะ กเรยฺยุํ พึงกระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ๚ วิวาทสิลิจ อุสุยฺยภาณินี พหุปสฺสนฺตคณฺหิ พหุปากกินิ อตฺตนฺตภตฺติปรเตหนิวาสี นาริสา ปุตฺตสตํปตาปิปุมา ฯ ยานารี อันว่านางจําพวกได วิวาทสิลี มีปรกติวิวาท อุสยุ ฺยภาณินี มีปรกติกลาวริศยา ปสฺสนฺตคณฺ หิ กําหนดซึ่งชายอันเล๊งแลดู พหุปากกินี มีปรกติหูงต้มดีนเตีบ อตฺตนฺตภตฺตี มีปรกติกินกอนสามี ปรเตหวา สิ มีปรกติขินสู่เรือนท่านมาก สานาริ อันว่านางนั้น ปุตฺตสตํ มิบุตรรอยหนึ่ง ปุมา อันชาย ปตฺตา พึงสละ เสีย ๚ ภตฺเตสุมณฺเฑ สุชนิวกนฺตินี คุยฺเหสุถาเน สุภคินีอาหริ กมฺเมสุภตฺเตสุกริวทาสินี ภยฺเยสุมนฺตีสยเน สุรามินี รูเปสุสิกฺขิ กุปเนสุขมนี สานารีเสฏฺฐีติวทนฺติปณฺฑิตา กายสฺสเภทาจิเวภเวยฺย ๏ ยานารี อันว่านางได กนฺตินี ตกแต่งยังสามีใหยินดี้ ภตฺเตสุ ในกาลเมีอบริโภคก๎ดี้ มณฺเฑสุ ใน กาลประดับนู่งห่มก๎ดี้ ชนิอิว ประดุจดังมานดา อาหิริ ละอายยิง ถาเนสุ ในทิทั้งล้าย คุยฺเหสุ อันลับ ภคิ นิอิว ประดูจน้องสาว กริ กระทําเคารพ กมฺเมสุ ในการงานทั้งหลายก๎ดี้ ภตฺเตสุ ในการลเฃาไปใกลแห่ง ผัวก๎ดี้ ทาสินิอิว ประดูจดังทาษี มนฺตี เปนทีปฤกษา ภยฺเยสุ ในกาลเมีอไภมิ่ วามนี มิปรกตินอนเบี้ยงซาย สเยเนสุ ในกาลเมีอนอน สิกฺขิ มีวัฏเปนอันดี้ รูเปสุ ในกาลตกแต่งรูปให้เปนทียีนดี้ ขมฺมนี อดกลั้น กูปเนสุ ในกาลเมี่อโกรธ ปณฺฑิตา อันว่านักปราช วทนฺติ กลาว อิติ ดังนี้ สานาริ อันว่านางนั้น เสฏฺฐี ประเสริฐ สานาริ อันวานางนั้น ภเวยฺย พึงบังเกีด ทเว ในสวัรร เภทาจ เหตุทําลาย กายสฺส ซึ่งชีวิตินทริย ๚ะ ๔๐

สําเร็จ


๒๙๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ สามามิคกฺขิตนุมชฺฌคตา สุรุสุเกสิสมปนฺติทนฺติ คมฺภีรนาภิยุวติสุสีลิ หินกุเลชาติ- ปิสาวิวา เห ฯ ยายุวติ อันว่าญีงหนุ่มผูได้ สามา มีเนี้อแลผิวหนังดังทอง มคกฺขี มิตาดําดูจตาเนื้อ ตนุมชฺฌ คตา มีทามกลางองคอันน้อย สุรุ มีลําฃาอันงาม ตนไญ่และปลายนอยดังงวงกุนชรร สุเกสี มีผมอันยาวงอนขึ้น เบี้องบํน สมปนฺติทนฺติ มีรเบียบฟันอันชีดเสมอ คมฺภิรนาภิ มิสดืออันฤก สุสิลิ มีมารยาตรอันดี้ สายุวตี อันวานางหนุมนั้น ชาติปิ แม้นบังเกิด หินกุเล ในตรกูลอันต่ําช้า วิวาเห ควรจภิเศก ๚ สรทํรตุกาลากํ ภริยานํรูปวตี เชฏฺฐาปธานํปุตาน ทิสานอุตฺตรํปธานํ ฯ รตุกาลานํ ล้ํารดูทั้งหลาย สรท อันว่าสรทกาลคือกติกมาศ ปธานํ เปนประธาน ภริยานํ ล้ําภิริยา ทั้งหลาย รูปวติ อันวาภิริยารูปงาม ปธานํ เปนประธาน ปุตฺตานํ ล้ําบูตรทั้งหลาย เชฏฺโฐ อันวาบูตรผูใหญ่ ปธานํ เปนประธาน ทิสานํ ล้ําทีศทั้งหลาย อุตฺตรํ อันวาอุดอรทิศ ปธานํ เปนประธาน โหติ มี ๚ ยาอิจฺเฉยฺย ปุริสํนารี ชาติชาติปุนปฺปุนฺนํ สามิกํอปจฺจาเยยฺย อินฺทํวปริจาริกา ๚ ยานาริ อันว่านางได้ อิจฺเฉ พึงปรารถนา ปุริสํ ซึ่งบังเกีดเปนบุรุษ ปุนปฺปุนฺนํ เนีองเนีอง ชาติชาติ ทุกชาติทุกชาติ สานารี อันวานางนั้น อปจฺจาเยยฺย พึงเคารพอุปถาก สามิกํ ซึ่งสามี อิวปริจาริกา ดูจดัง เทพดาบริจาริก อปจฺจายนฺติ เคารพ อินฺทํ ซึ่งพระอินทะ ๚ โยอิจฺเฉปุริสํโปโส ชาติชาติปุนปฺปุนํ ปรทารํวเชยฺย โธตปาโทวกทฺทมํ ฯ โยโปโส อันวาบุรุษใด้ อิจฺเฉยฺย พึงปรารถนา ปุริสํ ซึ่งเกีดเปนบุรุษ ปุนปฺปุนํ เนีองเนีอง ชาติชาติ ทูกชาติทูกชาติ โสปุรโิ ส อันวาบุรุษนั้น วิวชฺเชยฺย พึงลเว้นเสีย ปรทารํ ซึ่งภรรยาแห่งทาน โปโสยถา ดูจ ว่าบุรุษ โธตปาโท มีท้าวอันชําระแล้ว วิวชฺเชติ เว้นเสีย กทฺทปํ ซึ่งเปีอก ๏ อติมหลฺลโกโปโส อาเนสิติมฺพรุถนึ ตสฺสาวสานุสนฺธาติ ตํปราภวโตมุขํ ๏ โปโส อันว่าบุรุษ อติมหลฺลโก แก่ยิ่งนัก อาเนสิ นํามา ยุวตึ ซึงหญีงหนุ่ม ติมฺพรุถนึ มีเตามี สันถารดังลูกพลับ โปโส อันบุรุษ อนุสนฺธาติ ไปตาม วสํ ซึ่งอํานาท ตสฺสาอิตถิยา แหงหญีงนั้น ตํ อนุสนฺธานํ อั้นว่ากริยาอันไปตามอํานาทแห่งหญีงนั้น มุขํ เปนเหตุ ปราภวโต แหงความฉิบหาย ๚ อิตฺถีกณฺโฑนิฏฺฐิโต ๚ะ เอกยามํสเยราชา ทฺวิยามญฺโจวปณฺฑิโต ฆราวาโสติยาโมว จตุยาโมตุยาจโก ๚ะ ราชา อันว่าพญา สเย พึงผทม เอกยามํ ยามเดียว ปณฺฑิโต อันว่านักปราช สเย พึงนอน ทฺวิ ยามญฺจเอว สองยามแทจรีง ฆราวาโส อันว่าฆราวาศ สเย พึงนอน ติยามาว สามยาม ยาจกาตุ แมอันว่า ยาจกทั้งหลาย เสยฺยํ พึงนอน จตุยาโม สี่ยาม ๚ ธนวาสุติโยราชา นทึเวโชตถากเม ปญฺจยตฺถนวิชฺชนฺติ นตตฺถทิวสํวเส ฯ อิเมสภาวา อันว่าสภาวทั้งหลายนี้ ปญฺจ ห้า ธนวา คือคนมีธรรพยก๎ดี สติโย คือคนมีปัญามาก ราชา อันว่าพญา นทิ คือแมน้ําไญ ตถา อหนึงโสด เวโช คือ แพศ นวิชฺชนฺติ หมิได้มี ยตฺถปเทเส ใน ประเทศที่ใด้ นโร อันวานรชาติ นวเส อยาพึงอยู่ ตตฺถปเทเส ในประเทศที่นั้น ทิวสํ ประมาณวันหนึง ๚ะ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙๙

ยสฺมึปเทเส นมาโน นเปมํนจพนฺทวา นจวิชาตโมโกจิ นตตฺรทิวสํวเส ฯ นโร อันวาชน มาโน นบถือตัว นโหติ หาหมิได้ เปมํ อันว่าความรักษ นโหติ หมิไดมี พนฺทวา อันว่าเผ่าพันธุ นโหติ หมิได้มี โกจิปคฺคโล อันว่าบุทคนผูหนึ่ง วิชาตโม เรียนความรู้ นโหติ หาหมิใด้ ยตฺถปเทเส ในประเทศทีใด้ นโร อันว่าบุทชน นวเส อยาพึงอยู ตตฺรปเทเส ในประเทศทีนั้น ทิวสํ ประ มานวันนึ่ง ๚ อปุตฺตกํฆรํสุญฺญํ รฏฺฐํสุญฺญํอราชิกํ อสิปฺปสฺสมุขสุญฺญํ สพฺพสุญฺญํทลิทฺทกํ ฯ ฆรํ อันว่าเรือน อปุตฺตกํ หาบุตรรมิได้ สุญฺญํ สูญเปล่า โลเก ในโลก รฏฺฐํ อันว่าเมือง อราชิกํ หาท้าวพญาหมิได้ สุญฺญํ สูญเปล่า มุขํ อันว่าปาก อสิปฺปสฺส อันคนหาศิลปสาตรมิใด้ สุญฺญํ สูญเปล่า ทลิทฺทกํ อันวาคนยาก สพฺพสุญฺญํ สูญเปล่าทั้งปวง โหติ มี โลเก ในโลก ๚ ธนมิจฺเฉวานิชฺเชยฺย วิทยมิจเฉภชฺเชสุตํ ปุตฺตมิจเฉตรุนิตฺถึ ราชมจฺจํอิจฺฉาคเม ฯ นโร อันวาบุทคน อิจเฉ พึงปลาถนา ธนํ ซึ่งธรัพย วานิชฺเชยฺย พึงค้าฃาย อิจฺเฉ พึงปราถนา วิทยํ ซึ่งรู ภชฺเช พึงเสบ สุตํ ซึ่งคนพหูสูต อิจฺเฉ พึงปราถนา ปุต ซึ่งบุตร ภชฺเช พึงเสพ ตรุณิตฺถํิ คือ หญีงหนุ่ม นรา อันว่าบุทคน อิจฺเฉ พึงปราถนา ราชมจฺจํ ซึ่งกิริยาเปนราชอํามาตย อิจเฉคเม พึงตามใจ จ้าว ๚ นฏฺโฐยติอสนฺตุฏฺโฐ สนฺตุฏฺโฐจมหิปติ นฏฺฐาลชฺชาจคณิกา อนลชฺชากุลธิตา ฯ ยติ อันว่าภิกขุ อสนฺตุฏฺโฐ หมิใด้สันโดฐ นฏฺโฐ ฉิบหาย มหิปติ อันว่าจ้าวแผ่นดิน สนฺตุฏฺโฐ สัน โดฐ นฏฺโฐ ฉิบหาย คณิกา อันวานครโสภินี ลชฺชา ลอาย นฏฺฐา ฉิบหาย กูลธิตา อันว่าธิดาตระกูล อนลชฺชา หมิรู้ลอาย นฏฺฐา ฉิบหาย ๚ ปกฺขินํ พลมากาโส มจฺฉานมุทกํพลํ ทุพฺพลสฺสพลํราชา กุมารานํโรธพลํ ฯ อากาโส อันว่าอากาษ พลํ เปนกําลัง ปกฺขิ แห่งสัตวปีกทั้งหลาย อุทกํ อันว่าน้ํา พลํ เปนกําลัง มจฺฉานํ แห่งปลาทั้งหลาย ราชฺชา อันว่าพระญา พลํ เปนกําลัง ทุพฺพลสฺส แห่งคนกําลังน้อย โรทํ อันว่า ร้องไห้ พลํ เปนกําลัง กุมารานํ แหงกูมารทั้งหลาย ๚ ขมาชาคริยุฏานํ สํวิภาโคทยิกฺขนา นายกสฺสคุณาเอเต อิจฺฉิตพฺพาสตํขณา ฯ เอเตคุณา อันว่าคุณทั้งหลายนี้ ขมา คือกิริยาอันอดกลั้นก๎ดี้ ชาคริยํ คือหมั่นตื่นก๎ดี อุฏฺฐานํ คือ กิริยาอันนั่งลุกก๎ดี้ สํวิภาโค คือกิริยาจําแนกก๎ดี้ ทยา คือกิริยาอันกรุณาก๎ดี้ อิกฺขณา คือกิริยาอันเล๊งแลดูก็ดี้ นายกสฺส แห่งผู้ไหญแลมานดาบิดาแลทาวพญาเปนตน สตํ อันสปรุษทั้งหลาย อิจฺฉิตพฺพา พึงปราถนา ขณา ทูกขณ๔๑ ๚

๔๑

ทุกขณะ


๓๐๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สกึวทนฺติราชาโน สกํิสมณพฺรหฺมณา สกํิสปฺปุริสาโลเก เอเตธมฺมาสนนฺตโน ฯ ราชา อันว่าพญา วทนฺติ กล่าว สกํิ คราวเดียว สมณพฺรหฺมณา อันว่าสมณพราหมณ วทนฺติ กล่าว สกํิ คราวเดี ยว สปฺ ปุริสา อันว่าสปรุษ วทนฺติ กล่าว สกํิ คราวเดียว เอเตธมฺ มา อัน ว่าธรรม ทั้งหลายนี้ สนนฺตโน เปนโบราณธรรม โลเก ในโลก ๚ อลสฺโ สคีหิก ามโภคินสาธุ อสญฺญิโตปพฺพชฺชิโตนาสาธุ อชาอนิสมฺมการินสาธุ ปณฺฑิโต- โกธ โนตมฺปินสาธุ ฯ คีหิ อันว่าครหฐ๔๒ กามโภคี บริโภคกาม อลสฺโส เกิยจคร้าน สาธุ ดิ นโหติ หามีใด้ ปพฺพชชิโต อันว่าบรรพชิต อสญฺญิโต หมิใด้สํารวมกายแลวาจาแลจิตร สาธุ ดี นโหติ หามิได้ ราชา อันว่าพญา อทิ สมฺมการิ มีปรกติหมิใด้พิจารณาแลกระทํา สาธุ ดี นโหติ หามิใด้ ปณฺฑิโต อันว่านักปราช โกธโน มิ โกรธเปนธรรมดา ตมฺปิปณฺฑิตสฺสโกธนํ อันว่ากิริยาอันโกรธแห่งนักปราชนั้น สาธุ ดี นโหติ หามิใด้ โลเก ในโลก ๏ ทุฏฺฐภริยสํวาโส โทโสจิตรทาสโก สสปฺเปจฆราวาโส มจฺจุเอวนสํสโย ฯ โยนโร อันชนทั้งหลายได ทุฏฺฐภริยสํวาโส สังวาศด้วยภิริยาหมิดี้ โทโสจิตรทาสโก ไชทาษมิจิตร อันหยาบก๎ดี้ สสปฺเปจ ฆราวาโส อยูในเรีอนอันมีงูก๊ดี้ โสนโร อันว่าชนทั้งหลายนั้น มจุเอว ชื่อว่าตายแท้ จรีง นสํสโย หาสงไศรหมิใด้ ๚ พหโว ยตฺถเนตฺตาโร สพฺพปณฺฑิตมานิโน สพฺเพมหคฺคมิจนฺติ เตสํกมฺมํวินสฺสติ ฯ สพฺเพชนา อันว่าชนทั้งปวง เนตฺตาโร เปนใหญ พหโว มาก ยตฺถปเทเส ในประเทศใด สพฺเพชนา อันวาชนทั้งปวง ปณฺฑิตมานิโน นับถือ ตนวามิปัญา อิจฺฉินฺติ ปราถนา มหคฺคํ ซึ่งเปนใหญแลเลีศ กมฺมํ อันวาการงาน เตสํชนานํ แห่งชนทั้งหลายนั้น วินสฺสติ ฉิบหาย ๚ มุฬฺหสิโสปเทเสน กุทาริภรเณนจ อสตํสมฺปโยเตน ปณฺฑิโตอวสิทติ ฯ ปณฺฑิโต อันวานักปราช อวสิทติ ซุดจม มุฬฺหสิสฺโสปเทเสนจ ดวยสอนสิศอันเปนพาลก๊ดี้ กุทาริภ ริเณนจ ด้วยบําเรอภิริยาอันชั่วก๎ดี้ อสตํสมฺปโยเตนจ ด้วยสองเสพด้วยอสปรุษก๎ดี้ ๏ สุขํรุกฺขสฺสฉายาว ตโตญาติมาตาปิตา ตโตอาจริโยสุขํ ตโตพุทฺธสฺสเนกธา ๏ ฉายาว อันวาเงาแท้จรีง รุกฺขสฺส แห่งตนไม้ สุขํ เปนศุข ญาติมาตาปิตา อันว่าเงาแห่ง ญาติแล บิดามานดา สุขํ เปนศุข ตโตรุกฺขฉายาโต กว่าเงาแห่งตนไม้ อาจริโย อันว่าเงาแห่งอาจาริย สุขํ เปนศุข ตโต กว่าเงาแห่งญาติแลบิดามานดานั้น ฉายา อันวาเงา อญฺญา แห่งพญา สุขํ เปนศุข ตโต กว่าเงาแห่ง อาจาริยนัน ฉายา อันวาเงาคือพระสาศนา พุทฺธสฺส แห่งพระเจา สุขํ เปนศุข ตโต กว่าเงาแห่งพญานั้น อเนกทา โดยปการเปนอันมาก ๚ ภมราปุปฺผมิจฺฉนฺติ คุณมิจฺฉนฺติสุชนา มกฺขิกาปูติมิจฺฉนฺติ โทสมิจฺฉนฺติทุชนา ๚ะ

๔๒

คฤหัสถ์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๐๑

ภมรา อันว่าแมลงภูทั้งหลาย อิจฺฉนฺติ ปราถนา ปุปฺผํ ซึ่งดอกไม้ สุชนา อันว่าสาธุชนทั้งหลาย อิจฺฉนฺติ ปราถนา คุณํ ซึ่งคูณ มกฺขิกา อันว่าแมลงวันทั้งหลาย อิจฺฉนฺติ ปราถนา ปูตํิ ซึ่งฃองเน่า ทุชนา อันวาคนชั่วทั้งหลาย อิจฺฉนฺติ ปราถนา โทสํ ซึ่งโทษ ๚ มาตาหินสฺสทุภาสา ปิตาหินสฺสทุกิริยา อุโภมาตาปิตาหินา ทุภาสาจทุกิริยา ฯ ปุโต อันว่าบุตรทั้งหลาย มาตาหินสฺส แห่งมานดาอันต่ําชา ทุภาสา กลาวคํา หมิดี้ ปุโต อันว่า บุตร ปิตาหินสฺส แห่งบิดาอันต่ําชา ทุกิริยา กระทําหมิดี้ มาตาปิตา อันว่ามาน๔๓บิดา อุโภ ทั้งสอง หินา ต่ําช้า ปุตา อันวาบุตร ทุภาสาจทุกิริยาจ กล่าวหมิดี้กระทําหมิดี้ก๊ดี้ ๚ะ ๏ มาตาเสฏฺฐสฺสสุภาสา ปิตาเสฏฺฐสฺสสุกิริยา อุโภมาตาเสฏฺฐา สุภาสาจสุกิริยา ๏ ปุตฺตา อันว่าบุตร มาตาเสฏฺฐสฺส แห่งมานดาอันประเสรีฐ สุภาสา กลาวดี้ ปุตตา อันวา บุตร ปิตาเสฏฺฐสฺส แห่งบิดาอันประเสรีฐ สุกิริยา กระทําดี้ มาตาปิตา อันว่ามานดาบิดา อุโภ ทั้งสอง เสฏฺฐา ประเสรีฐ ปุตฺตา อันบุตร สุภาสาจ มิวาจาดีก๊ดี้ สุกิริยาจ มีกิริยา ดีก๊ดี้ ๏ มาตาปุตากิริปาปํ สิสฺโสปาปํครุตถา ราชารฏฺฐํกรํปาปํ ราชาปาปํปโรหิโต ๚ะ ๏ ปุโต อันว่าลูก อกริ กระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ยถา ฉันใด้ มาตา อันวามานดา อกริ ไดชือว่า กระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ตถา เหมีอนดังนั้น สิสฺโส อันวาสิศย อกริ กระทํา ปาปํ ซึงบาป ยถา ฉันได้ ครุ อันวาครู อกริ ไดชือวากระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ตถา เหมิอนดังนั้น รฏฺฐ อันวาชาวเมือง กรํ กระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ยถา ฉันได้ ราชา อันวาพญา อกริ ไดชือวากระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ตถา เหมิอนดังนั้น ราชา อัน วาพญา อกริ กระทํา ปาปํ ซึ่งบาป ยถา ฉันได ปโรหิโต อันวาประโรหิต อกริ ไดชือว่ากระทํา ปาปํ ซึ่ง บาป ตถา เหมีอนดังนั้น ฯ ในพระคาถานี้อยาพีงถีอ เอาวากรรมอันผูหนึ่งกระทําแลผูนึงจ่ได จ่เปนดังนั้นหาหมิได้ ผู้ใดกระทํา ผู้นันก๊ได้ แต่ทว่าโลกยโวหารวาบุตรดิ บิดามานดาก๊ได้ชือว่าดี ศิษดีครูก๊ไดชือวาดี ข้าร้ายจ้าวก็ได้ชือว่าร้าย พญาร้ายปโรหิตก็ไดชือว่าร้าย เปนแต่โลกยโวหารฉะนี้ ๚ะ อโกเธนชิเนโกธํ อสาธุํสาธุนาชิเน กทริยญฺจทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ ฯ นโร อันวาชน ชิเน พึงผจญ โกธํ ซึ่งบุทคนอันโกรธ อเกเธน ด้วยหาความโกรธหมิได้ ชิเน พึง ผจญ อสาธุํ ซึ่งบุทคนอันเปนอกุศล สาธุนา ด้วยกุศล ชิเน พึงผจญ กทริยญฺจ ซึ่งบุทคนตระหนิ ทาเนน ด้วยกิริยาอันให้ ชิเน พึงผจญ อลิกวาทินํ ซึ่งบุทคนอันเจรจามุสาวาท สจฺเจน ด้วยคําสตย ๚ะ ๏ อทนฺตทมนํทานํ ทานํสพฺพตฺถสาธกํ ทาเนนปิยวาจาย อุนฺนมนฺตินมนฺติจ ฯ ทานํ อันว่าทาน อทนฺตทมนํ มีกิริยาอันยังชนอันหมิได้เสียพยศให้เสิยพยศ ทานํ อันว่าทาน สพฺพ สาธกํ ยังประโยชนทั้งปวงให้สําฤิฐ ชนา อันวาชนทั้งลาย อุนฺนมนฺติ อ่อนในเบี้ยงบนก๊ดี้ นมนฺติจ นอมไป ก็ดี้ ทาเนน ดวยทานก๊ดี้ ปิยวาจาย ด้วยกล่าววาจาอันเปนที่รักษก๊ดี้ ๚ ทานํสิเนหเภสชฺชํ มจฺเฉรํโทสโนสถํ ทานํยสสฺสเภสชฺชํ มจฺเฉรํกปฺปโนสถํ ๚ ๔๓

มารดา


๓๐๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ทานํ อันวาทาน สิเนหเภสชฺชํ เปนยาแห่งความรักษ มจฺเฉรํ อันวาตระหณี่ โทสโนสถํ เปนยาแห่ง ความชัง ทานํ อันว่าทาน เภสชฺช เปนยา ยสสฺส แห่งยศ มจฺเฉรํ อันวากระนี๔๔ กปฺปโนสถํ เปนยาแห่ง ความกําพร้าผูเดิยว ๚ะ พหูนมปฺปสารานํ สมคฺคิยาชยาชเย ติเณนโยตฺตํวตฺตเต เตนนาโคปิพนฺธติ ฯ นโร อันว่าบุทคน อาชเย อาจผจญ ชเย ซึ่งฆ่าศึกอันจพึงผจญ สามคฺคิยา ด้วยพร้อมเพรียง อปฺป สารานํ แห่งชนทั้งหลายอันปราศจากคุณแก่นสาร พหูนํ เปนอันมาก โลเก ในโลก โยตฺตํ อันวาพวน ชเนน อันชน วตฺตเต ฟั่น ติเณน ด้วยหญ้า นโร อันว่าชน พนฺธติ ผูก นาโตปิ แมซึงช้าง เตนโยเตน ด้วยพวนนั้น ๚ะ สหาโยอสมตฺโถปิ เตชสากึกริสฺสติ นิวาเตปติโกอคฺคิ สยเมวูปสมฺมติ ฯ สหาโย อันวาเพีอน ยสฺสนรสฺส แห่งชนผู้ได้ อสมตฺโถปิ หมิอาจผจญซึ่ง ฆาศิก๔๕ได้ โสนโร อันชน นั้น กํ​ํกิ ริสฺสติ จกระทําเปนดังฤๅ เตชสา ด้วยเดชะ อคฺคิ ดุจหนึงไฟ ปติโต ตกยู นิวาเต ในทีปราศจาก ลม อุปฺปสมฺมติ ดับ สยํเอว ด้วยตนเองแท้จรีง ๚ะ ปุคฺคโล อัน วาบุ กคํ ลอกตปุญฺโญ มีบุ นอั นตํน หมิ่ไดกะทํา ปติลีย ติ ลับลี ปติห ญฺญติ เดีอดรอน ปุคฺคโล อันวาบุกขํล กตปุญฺโญ มีบุนอันตํนไดกะทํา ปิยตรํ เปนทีรัคโดยวิเสด บุคฺคลสฺส แหงบุคขํน ปุคฺค โล อันวาบุกขํน อกตญฺญุตาพลยฺย หมิ่ไดรูจักคุนแลวทําลาย ตร แหงทาน ตํชเน อันชํนนัน คชฺชติถาเน จะไปไนทีไดได โสชโน อันชํนนัน อพธฺธโร หมิ่ไดจําเรีน มารํ อันวามาน อชินิ ประจํน ปุนปฺปุนํ เนีอ งเนียง ทุกฺขาวหํ นํามาซึงความทุก อตฺตสยํเอว ดวยตํนเองแทจีง อปิโย หมิ่ไดเปนทีเอนดู ชนานํ แห่งชํน ทังลาย สุชนา อันชํนวิเสด มหาปญฺโญ มีสะติ่มาก พหูอชาสยํ มีอชาไสมาก สุพํ งาม ชโน อันวาชน คนฺ หาหิ ถืเอา ทิธิมานํ ซึงที่ทิมานะ ชนา อันชํนทังลาย อลสฺโส เกิยดคราน มิตฺตํ ซึงสะมาคํม ตชฺชติเอก ถาเน จะไปรวมไนทีอันเดิยวนัน ชโน อันชน คนฺหาหิมโนตวํ ถืเอาไจแหงทัน ตวํ อันวาทาน ปิโย ชอบไจ มิตํ จ่ไครคํบหา จิเรน ดวยนาน พนฺทนํ ครืพูกมัน มิตฺตมตํ เปนเพีอนตาย ๚ะ๛ บํดนีใมมีบาลี ฃอง ฯ ขา ฯ ชืสําฤท พูเฃียน ณะวัน … คํา เดีอน ๗ ฯ ขา ฯ ฃ่​่อสวนบุนบุนจํงชวย ฯ ขา ๚ เทีด ฃ่​่อไห ฯ ฃา ฯ มี ปันยาและจําเรินคังฟายธรัม และมีอายุส่ม่จํนถึงอายุไฃ ยาไหมีป่จุบันน่กัมมาป่จํน ฯ ขา ฯ จงคลาดแคล้ว ไหชํนทังหลายเมดตา ฯ ขา ฯ ไห ฯ ขา ฯ บ่​่อริบูนจ่นึกอ่ไรใหใดสําเรดความปราท่หนา ๚ะ

๔๔ ๔๕

ตระหนี่ ข้าศึก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๐๓

กายนคร กายนคร กองรูปสิบแปดนั้น คือดิน น้ํา ลม ไฟ พร้อมอาหารสาม... หญิงชายหมายวัตถุชีวิต รูปหนัง สิบแปดนี้ชื่อว่า กายนครนั้น ธรรมชีวิตจิตนั้นเป็นเจ้าแก่กายนคร เพราะว่ารู้อารมณ์ทั้ง ณ ทั้งหลายนั้น ฉวน จิตเป็นอุปราชเหตุเป็นใหญ่ในกายนครนี้ เมื่ออารมณ์ทั้งหกมาถึงกายนครนี้ ฉวนจิตก็เสวยอารมณ์ทั้งหลายนั้น เหตุดังนั้นจึงเรียกว่าอุปราช โผฏฐัพพจิตย่อมกําหนดอารมณ์แล้วส่งให้แก่จิต เหตุดังนั้นจึงกล่าวว่าเสนาบดี ฯ สันติรนจิตนั้นชื่อ สทิคามาต เพราะสันติรณจิตย่อมกําหนดอารมณ์แล้วส่งไปโผฏฐัพพ-จิตนั้น เหตุดังนี้ชื่อ ว่า สทิคามาต ฯ สมบัติธนจิตรับเอาอารมณ์แล้วก็ส่งไปถึงชื่อว่า วินิจฉัยอํามาตย์นั้นกิน ฯ ว่าวิญญาณทั้งหก นั้นชื่อว่า ทวารบาลประตู เพราะวิญญาณย่อมกระทํากิจการพญา จึงเรียกว่า ทวารบาลประตู ฯ ประสาททั้ง ห้าเป็นบานประตู เพราะประสาททั้งห้านั้นย่อมให้หับเผยด้วยวิญญาณทั้งหลาย เหตุดังนั้นชื่อว่า บานประตู ฯ ทวารทั้งสแห่งนั้น คือ ตาสอง หูสอง ปากหนึ่ง ทวารอุจจาระหนึ่ง เป็นเก้าประการประตู ฯ แลครอกทั้งหกแห่ง นั้น คือ วิถีหกประการ มหาอํามาตย์ห้าสิบสองนั้น คือ เจตสิกธรรม ห้าสิบสอง นักการเจ็ดคนนั้นคือ ผสฺโส มี ลักษณะถูกต้องอารมณ์ เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ ประดุจดังพระมหากษัตริย์เสวยโภชนาหารนั้น วิญฺ ญา มีลักษณะสําคัญอารมณ์ดุจนายช่างอันสําคัญไม้จะได้การแล้วนั้น ฯ เจตนา มีลักษณะคืออารมณ์ประดุจตน พญามีช้างเป็นต้น อันปรารถนาจะสําเร็จกิจแห่งตน เอกคตา มีลักษณะมีริษยาประดุจน้ําอันเต็มกระออม นั้น ชิวิตินฺทฺรียํ มีลักษณะเลี้ยงอารมณ์ ประดุจดังว่าน้ําอันเลี้ยงบ่อธรรมชาติ มีอุบลเป็นต้น ผิดังนั้นประดุจ มารดาเลี้ยงบุตรอันตนนั้น ฯ มนสิกาโร มีลักษณะกระทําให้ใส่ใจดุจนายสารถีขับมา เจตสิกธรรม ทั้งเจ็ด ประการนี้ ได้ว่านักการเป็นใหญ่ในจิตทั้งปวงนั้น ฯ ตนบําเรอหกนั้น คือ วิตกฺกโก มีจิตยกขึ้นสู่อารมณ์ประดุจดัง ว่านกเมื่อพึงจะบินนั้นแลกางปีกอยู่นั้น ฯ อวิจาโร มีลักษณะพิจารณาอารมณ์ดุจนกเมื่อตีปีกบินไปนั้น ฯ อาทิโมกฺโข มีลักษณะมิพึงในอารมณ์ดุจอินทขิลนั้น ฯ วิริยํ มีลักษณะพยายามดุจดังเมื่อเหยียดออกไปนั้น ฯ ปีติ มีลักษณะอิ่มเป็นอารมณ์ ฯ ฉนฺโท มีลักษณะยินดีอารมณ์ เจตสิกธรรม หกประการนี้ชื่อ ปกีรณ ประพฤติการ บําเรอก็ได้ชื่อว่าตนบําเรอหกคน ฯ พาลฺล อํามาตย์สิบสี่คน คือ โมโห มีลักษณะให้ประดุจไปในที่อันมืด อหิรีกํ มีลักษณะมิได้ละอายแก่บาป ดุจสุกรบมิได้เกลียดคูถนั้น ฯ อโนตปฺปํ มีลักษณะบมิได้กลัวแก่บาป ดุจแมงเม่า อันมิได้กลัวแก่ไฟ ฯ อุทฺทจฺจ มีลักษณะฟุ้งซ่านอยู่ดุจธงชัยอันถูกลมนั้น ฯ โลโภ มีลักษณะโลภจะได้สมบัติแห่ง ท่าน ฯ ทิฎฺฐิ มีลักษณะอันทิฐิดุจเห็นพยับแดดนั้นว่าน้ํา ฯ มาโน มีลักษณะถือยศศักดิ์ยกยอตัวดุจธงชัยอยู่ใน ยอดปราสาทนั้น ฯ โทโส มีลักษณะขึ้งโกรธดุจอสรพิษ ฯ อิสฺยา มีลักษณะริษยาเบียดเสียดเห็นท่านมั่งมีแล้วจะ ให้ ท่า นฉิ บ หายเสี ย ฯ มจฺ ฉริ ยํ มี ลั กษณะตระหนี่ ซ่อนสมบั ติ แห่ งตนไว้ ฯ กุ กฺกุจฺ จํ มี ลั กษณะรั งเกี ย จ ฯ ถิ นํ กรฑาง มี...มักง่วงโง่ วิจิกิจฺฉา มักสงสัย วิเจตสิกธรรมพญาสิบสี่ประการนี้ชื่ออกุศล เหตุย่อมประพฤติที่ให้สัตว์ ทั้งสี่ไปสู่อบายทั้งสี่ชื่อว่า พาลอํามาตย์ ฯ บัณฑิตอํามาตย์ยี่สิบห้าคนนั้น คือ สทฺทา มีลักษณะอันใสดุจแก้วแห่ง พระยาจัก สติ มีลักษณะคํานึง อหิรีกํ รู้ละอายแก่บาป ฯ อโนตปฺป มีลักษณะรู้กลัวแก่บาปดุจสตรีมีสามีนั้น ฯ อโลโภ มีลักษณะมิได้ลาภ ฯ อโทโส มีลักษณะมิโกรธ ฯ อโมโห มีลักษณะมิได้หลง ฯ กายฺยปสฺสติ มีลักษณะ ยินดีมัธยัสถ์กาย จิตฺตปสฺสทิ มีลักษณะจิตยินดี ฯ กายฺยลหุตา มีสภาวะเบาแห่งกาย ฯ จิตฺตลหุตา มีสภาวะ แห่งจิต ฯ กายมุทุตา มีสภาวะอ่อนแห่งกาย จิตฺตมุทุตา มีสภาวะอ่อนแห่งจิต ฯ กายฺยกมฺมยตา มีสภาวะรู้ควร


๓๐๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

แห่งกาย ฯ จิตฺตกมฺมยตา มีสภาวะรู้ควรแห่งจิต ฯ กายทาตุยตา มีสภาวะรักษากาย จิตฺตปาตุยตา มีสภาวะ รักษาจิต ฯ กายฺยยุชุกตา มีสภาวะ...แห่งกาย ฯ จิตฺตยุชุกตา มีสุภาวะ...แห่งจิต เจตสิกธรรมพญายี่สิบห้านี้ จบ กายนครเท่านี้แล ฯฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๐๕

หมวดวรรณกรรมตํารา


๓๐๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๐๗

พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี นัฐพร ปะทะวัง๔๖ อธิไทโพธิบาทว์ หรือ ภาษาโหรเรียกว่า โพไทธิบาทว๔๗ เป็นวรรณคดีตําราโหราศาสตร์ที่เก่าแก่เล่ม หนึ่งของไทย มีทั้งฉบับที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง๔๘ โดยเฉพาะฉบับที่เป็นร้อยกรองปรากฏหลักฐาน คือ มี การบันทึกวรรณคดีเรื่องนี้ไว้ในตําราพิชัยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘๔๙ ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง มีนาย ชํานาญอักษร หมื่นทิพกวี หมื่นพิมลอักษร หมื่นทิพไม้ตรี หมื่นเทพไม้ตรี และหมื่นรัดไม้ตรี เป็นผู้จําลองขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ดังปรากฏความในบานแผนกว่า วันอังคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๙ ค่ํา จุลศักราช ๑๑๔๔ ปีขาลจัตวาศก ข้าพระพุทธิเจ้า นาย ชํานาญอักษร หมื่นทิพกวี หมื่นพิมลอักษร หมื่นทิพไม้ตรี หมื่นเทพไม้ตรี หมื่นรัดไม้ตรี ชุบ ข้า พระพุทธิเจ้า นายชํานาญอักษร นายบุญคงอาลักษณ์ ทาน ๒ ครั้ง โดยจําลองขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจุฬาโลกมหาราช การที่วรรณคดี โหราศาสตร์ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตําราพิไชยสงครามนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีความสําคัญ และเป็น ประโยชน์ต่อการสงครามในยุ คสมั ยนั้น ไม่น้ อย ครั้นต่ อมาในรั ชสมั ยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้ า เจ้าอยู่หัว ยังได้มีการนําเรื่อง อธิไทโพธิบาทว์นี้ไปจารึกไว้ในแผ่นศิลาที่หน้าพระมหาเจดีย์วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม๕๐ ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ที่สําคัญของชาวสยามในสมัยนั้น

๔๖

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชัน้ ปีที่ ๔ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ส. พลายน้อย. (๒๕๔๙). วรรณคดีอภิธาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์คํา. ๔๘ สยาม ภัทรานุประวัติ. (๒๕๔๘). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๑ ชื่อวรรณคดี. มูลนิธิสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษา ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘. ๔๙ ตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑. (๒๕๔๔). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. ๕๐ สยาม ภัทรานุประวัติ. (๒๕๔๘). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๑ ชื่อวรรณคดี. มูลนิธสิ มเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘. ๔๗


๓๐๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

การตรวจสอบชําระ พระสมุ ท อธิ ไ ทยโพธิ บ าท ฉบั บ ที่ จั ด พิ ม พ์ ค รั้ ง นี้ ผู้ ป ริ ว รรตได้ ป ริ ว รรตจากต้ น ฉบั บ สมุ ด ไทยดํ า วัดตองปุ๕๑ อ.เมือง จ.ลพบุรี ซึ่งจารด้วยอักษรไทย และอักษรขอมบาลี เส้นหรดาล หน้าละสี่บรรทัด ไม่ ปรากฏชื่อผู้แต่งและปีที่แต่ง ในการนี้ผู้ปริวรรตได้เปรียบเทียบกับ อธิไท-โพธิบาทว์ ใน “ตําราพิชัยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘” ก็พบว่าทั้งเนื้อความ และรูปแบบฉันทลักษณ์เหมือนกันเกือบทุกประการอาทิ บทประณามพจน์ ๏ ขอถวายวรวันทศาสดา แลสงฆศีลาจารย์ ๏ ขอถวายประนมศิวถาน มหันตเดชฤทธา ๏ ไหว้อินทร์แลพรหมอันปรานุเทวล้ําสรวงสวรรค์ ๏ ไหว้ไทธิบดินทรงธรรม์ มหามหันตคุณา ๏ หนึ่งข้าไหว้คุณพระอาคุณานุคุณสามารถ

วรธรรมโอฬาร์ วิษณุราชอันมาร กฏยิ่งเทวา ผ่านเผ้าไอศวรรย์ จารย์อันศึกษา๕๒ (ตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑, ๒๕๔๔, น. ๒๕๑)

๏ ฃอถวายวรวันทสาศดา แลสงฆศีลาจารย ๏ ฃอถวายประนมศิวถาน มหันตเดชฤทธา ๏ ไหว้อินทรและพรหมอันปรา นุเทวล้ําสรวงสวรรค์ ๏ ไหว้ไทธิบดินทรทรงธรรม มหามหันตคุณา

๕๑

วรธรรมโอฬา วิศนุราชอันมาน กฎิยิ่งเทวา ผ่านเผ้าไอศวรรย

ตองปุ เป็ น ภาษามอญ หมายถึ ง ที่ ร วมพล จากประวั ติ ข องวั ด ดั ง กล่ า วจึ ง เชื่ อ ได้ ว่ า วรรณกรรมเรื่ อ งนี้ มี ความสัมพันธ์กับสถานที่ในฐานะวรรณกรรมที่ถูกใช้ประโยชน์ในยามเกิดศึกสงคราม ๕๒ จัดทําคําอ่านปัจจุบันในตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ โดยนางสาวเอมอร เชาวน์สวน นักภาษาโบราณ ๕


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๐๙

๏ หนึ่งข้าไหว้คุณพระอา คุณานุคุณสามารรถ

จารยอันศึกษา (พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ฉบับวัดตองปุ)

หรือ โคลงสามบทสุดท้ายในพระสมุทอธิไทยโพธิบาท ฉบับวัดตองปุ ว่า ๏ นาคาคิชฌราชฟ้า นกแสกนกยางขาว แม้นลงมาจับราว ดีแลร้ายนั้นขรึ้ง ๏ เบื้องบูรรพทรัพยจักสิ้น อาคะเนเพลิงมลาย ทักษิณตัวจักตาย หรดีทิศนั้นไส้ ๏ ปัจจิมจได้ลาภล้ํา พายัพยศุขสวัสดี อุดรเทียรจักมี อิสานยทิศนั้นไส้

เดือนดาว ปลวกผึ้ง ทิศที่ ใดนา กึ่งเพี้ยงเสมอกัน ฉิบหาย เล่าไหม้ วายชีพ ผิดด้วยฝูงโจร นารี จักได้ มาลาภ ท่านท้าวบูชา

ในตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ ก็ปรากฏเช่นเดียวกันว่า ๏ นาคาคิชฌะราชฟ้า นกแสกนกยางขาว แม้นลงมาจับราว ดีแลร้ายนั้นขรึ้ง ๏ เบื้องบูรพทรัพย์จักสิ้น อาคเนย์เพลิงพราย ทักษิณตัวจะตาย ในหรดีทิศนั้นไซร้ ๏ ปัจจิมจะได้ลาภล้ํา พายัพสุขสวัสดี อุดรเพียงจักมี อีสานทิศนั้นไซร้

เดือนดาว ปลวกผึ้ง ที่ทิศ ใดนา กึ่งเพี้ยงเสมอกัน ฉิบหาย มเล่าไหม้ วายชีพ ผิดด้วยฝูงโจร นารี จักได้ มาลาภ ท่านท้าวบูชา


๓๑๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ดังนั้นจากการศึกษาเปรียบเทียบครั้งนี้ จึงสามารถสรุปได้ว่า อธิไทโพธิบาทว์ทั้งสองฉบับนี้ เป็นฉบับ เดียวกัน แต่เนื่องจากการคัดลอกจึงทําให้เนื้อความ หรือถ้อยคําบางแห่งแตกต่างกันบ้าง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปรกติ วิสัยสําหรับวงวรรณกรรมไทย เนื้อหาในพระสมุทอธิไทยโพธิบาท พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ดําเนินเรื่องด้วยกาพย์ฉบัง ๑๖ จํานวน ๑๔๔ บท และจบด้วยโคลงสี่สุภาพ จํานวน ๓ บท เนื้อหาในพระสมุทอธิไทยโพธิบาทเริ่มด้วยบทไว้ครูตามขนบการแต่งวรรณกรรมโบราณของไทย โดยเริ่มจาก ไหว้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นอันดับแรก จากนั้นก็ไหว้ พระอิศวร พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม พระมหากษัตริย์ และอาจารย์ ตามลําดับ ลําดับต่อมา ก็จะกล่าวถึงเทวดาซึ่งรักษาทิศทั้ง ๘ เรียกว่า “อัษฏิกบาล” ได้แก่ ๑. พระอินทร์๕๓ รักษาทิศบูรพา ๒. พระเพลิง หรือพระอัคนี รักษาทิศอาคเนย์ ๓. พระยม๕๔ รักษาทิศทักษิณ ๔. พระนารายณ์๕๕ รักษาทิศหรดี ๕. พระพิรุณ๕๖ รักษาทิศประจิม ๖. พระพาย รักษาทิศพายัพ ๗. พระโสม๕๗ รักษาทิศอีสาน ๘. พระไพศรพณ์๕๘ รักษาทิศอุดร ซึ่งจะแสดงอุบาทว์ต่างๆ และเรียกอุบาทว์เหล่านั้นตามเทวดาที่แสดงเหตุ ดังนี้ ๑. อุบาทว์พระอินทร์ มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - ฟ้าผ่าประตูมณเฑียร ปราสาท โรงม้า โรงช้าง ฯลฯ - เกิดรุ้งตอนกลางคืน ๕๓

ในไตรภูมิพระร่วง ว่า ท้าวธตรฐ เป็นอธิบดีครองทิศนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล ในไตรภูมิพระร่วง ว่า ท้าววิรุฬหก เป็นอธิบดีครองทิศนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล ๕๕ ในดิกชันนารี ของ มอเนีย วิลเลียมส์ เป็น ไนรฤติ ส่วน ฉบับ จอห์น เดาซัน เป็น พระสูรยะ (ส. พลายน้อย. (๒๕๔๙). วรรณคดีอภิธาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์คํา.) ๕๖ ในไตรภูมิพระร่วง ว่า ท้าววิรูปักข์ เป็นอธิบดีครองทิศนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล ๕๗ ไทยเข้าใจว่าเป็นพระจันทร์ แต่ตามพจนานุกรมของวิลเลียมส์ว่า เทวดาประจําทิศอีสาน ชื่ออีศะ หรืออีศาณ คือพระอิศวร ชื่อก็ตรงกับทิศ อนึ่งคําว่า โสมะ ใช้เรียกพระอิศวรก็ได้ (ส. พลายน้อย. (๒๕๔๙). วรรณคดีอภิธาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์คํา.) ๕๘ ในไตรภูมิพระร่วง ว่า ท้าวกุเวร เป็นอธิบดีครองทิศนี้ และเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล ๕๔


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑๑

- พระมหากษัตริย์ตกพระแท่น คานหาม ตกช้าง ตกม้า - พระมหากษัตริย์ชอบอยู่ป่า ไม่โปรดอยู่วัง - อํามาตย์มุขมนตรี ติเตียน ทะเลาะวิวาทกัน - นักปราชญ์ และญาติผิดใจกัน - สัตว์ป่าเข้าพระนคร วัวแหกคอก - วัวตัวเมียขึ้นทับวัวตัวผู้ - จวักหักในมือ บ่าวไพร่ร้อนใจ ๒. อุบาทว์พระเพลิง มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - แผ่นดินครากออกกลางเมือง - เสโล โตมร พระขรรค์ ไม่ควรหักก็หัก - ถ้วยชามไม่ได้มีรอยร้าวมาก่อน อยู่ๆ ก็แตกเอง - หนูไม่กลัวคน - บุตร ภรรยา ข้าทาสระริกระรี้กัน - กล้วยออกเครือกลางลําต้น - รัศมีพระอาทิตย์เย็น รัศมีพระจันทร์ร้อน - ฤดูกาลแปรปรวน - ไฟลุกเองในเตา - เห็นไฟลุกในเรือน แต่แท้จริงแล้วไม่มี - เวลากลางคืนนอนไม่หลับ รู้สึกระคายรําคาญตัว ๓. อุบาทว์พระยม มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - วัวกําลังเทียมเกวียนตาย - วัวตายคู่ไถคู่แอก - ม้าออกลูกมีสองหัว หรือในคราวเดียวกันมีสองตัว - ผีโคลงเรือน ส่งเสียงหัวเราะระริกระรี้ - ป่วยไข้ไม่หาย - มดแมลงเกิดมาก - นกแสก นกเค้า นกอุก นกทุงเกรียน เหยี่ยว ฯลฯ บินเข้ามาในเรือน - งูสิง งูบ้องตะลา งูเห่า และงูพิษต่างๆ เข้ามาในเรือน - เห็นแร้งสมจรกันตอนกลางวัน


๓๑๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๔. อุบาทว์พระนารายณ์ มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - ฆ้อง ระฆัง เครื่องดนตรีพิณพาทย์ กลอง และสังข์ ดังขึ้นเอง - มีน้ําไหลออกจากพระรูป - มีสุริยุปราคา และจันทรุปราคาในเดือนเดียวกัน - แม่น้ําลําคลองมีสีเลือด ไม่ช้าก็กลับมาใสเหมือนเดิม - เลือดและเหงื่อออกที่องค์พระพุทธรูป - อาวุธ ครกสากผุดขึ้นตีกันเอง - จอมปลวกย้ายที่ - พระอาทิตย์ทรงกลดสีดําคล้ายควันไฟ - พระสงฆ์สร้างอาวุธเครื่องยุทธกรรมไว้ในกุฏิ - น้ําล้นออกจากหม้อน้ํา - หอกดาบออกดอก - ข้าวแกงเป็นเลือด - ข้าวไหลทะลักออกมาจากหม้อ - พระพุทธรูปล้มตะแคง ๕. อุบาทว์พระพิรุณ มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - ผลไม้ที่เคยหวานกลับเปรี้ยว - ฝนตกน้ําท่วม - ลูกไม้เคยออกลูกก็ไม่ออก - มีหมอกและน้ําค้างผิดเวลา - มวนเกิดมากในนา - ฝนแล้ง - คนคลอดลูกเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ - สัตว์ออกลูกเป็นคน - กบ คางคก ขึ้นครัว ๖. อุบาทว์พระพาย มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - ไม่ใช่ฤดูมรสุม แต่มีลมพายุ - อากาศวิปริต ทําให้ต้นไม้โยก - โรงเรือนเสียหายและลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า - ต้นไผ่ล้ม ภูเขาพัง - ช้าง เสือ สิงห์ หมี เม่น วิ่งหนีกันอลหม่าน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑๓

- นกบินซ่อนตัว - เมฆรูปร่างเหมือนวัว - เห็นเป็นรูปคน ช้าง สิงห์ เสือ ม้า กา ครุฑ ลอยอยู่บนท้องฟ้า ๗. อุบาทว์พระโสม มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - น้ําผึ้งในตุ่มไหเดือดพุ - ผลไม้ออกลูกเป็นอย่างอื่น - สุนัขออกลูกในเตาไฟ - หนูทํารังในเตาไฟ - สุนัขขึ้นไปเดินบนหลังคา - ได้ยินเสียงผีพูดกันบนต้นไม้ - ปลวกขึ้นในเตาไฟ - ดอกเห็ดงอกในเตาไฟ ๘. อุบาทว์พระไพศรพณ์ มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ผิดปรกติ ดังนี้ - หนูกัดเสื้อผ้าแพรพรรณ - ไฟไหม้เสื้อผ้าอย่างไม่ควรที่จะไหม้ - ทํานาได้ข้าวมากเกินควร - ข้าวเปลือกตําได้ข้าวสารมากผิดปรกติ - เงินทองในเรือนมักหาย - เต่าเข้าใต้ถุนเรือน แล้วคลานขึ้นไปบนเรือน - แมวออกลูกบนที่นอน - ข้าวสารงอกใบ - จระเข้ผุดขึ้นในบ่อ - เสาเรือนตกน้ํามัน - บัวสัตตบรรณผุดขึ้นในบ้าน - ตะพาบน้ําตายอยู่ใต้ถุนเรือน เมื่อกล่าวถึงลักษณะอุบาทว์ต่างๆ แล้ว ในแต่ละอุบาทว์ก็จะบอกถึงวิธีแก้โดยการแต่งเครื่องสักการบูชา ซึ่งเครื่องสักการบูชาสําหรับเทวดาผู้รักษาทั้ง ๘ ทิศนั้น ก็จะมีลักษณะที่เหมือน กัน คือ ประกอบด้วย ๑. ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ๒. แก้วแหวนเงินทอง ภูษาแพรพรรณ ๓. โภชนาผลาหารต่างๆ


๓๑๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

อาทิ ๏ อุบาทวเท่านี้อินทรา สําแดงพระเคราะห์นรชน ๏ เกิดแก่ผู้ใดเร่งรน บังคับสการทังผอง ๏ แก้วแหวนแพรพรรณเงินทอง สุคนธมาลาพรรณ ๏ โภชาผลาผลทุกอัน มหาประเสริอดิบูชา ๏ ภักดีเดียวอาจให้ทรา เป็นคุณศรีสุภผล

ผู้มีมหึมา บูชาด้วยมนตร ทูปทีปตรกอง ในเวทยมหันต ทรุดโทษคณา

หรือ ๏ อุบาทเท่านี้พระพาย แก่คนผู้เคราะหราวี ๏ เร่งแต่งสการพลี คํานับประดับผลาหาร ๏ นานาสุปพยัญชนตระการ แลโภชนโอชโอชา ๏ ปายาศมธุรศกระยา ดิเรกจงยวดยง ๏ มาไลยไกรกรองบันจง สุคนธกลิ่นกําจร ๏ เงินทองแพรภูษาภรณ์ วิไลยบูชาถวาย

พระองคอุบาย บูชาจงดี นมส้มนมหวาน สงงเวยนานา ทูปทีปจํานง นพรัตนบวร

นอกจากนี้แล้ว ยังบอกคาถาสวดมนต์บูชาเทวดาที่แสดงอุบาทว์นั้นๆ เพื่อให้ช่วยขจัด ปัดเป่าเภทภัย ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้พ้นไป อาทิ ๏ ในเวทยมหันตนารายน ประเสรอดิไว้มหึมา ๏ จัญไรไภยโทษโรคา อุบาทวอุบัดดิเหือดหาย

ด้วยพระมนตรหมาย ทุกขโศกโศกา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑๕

๏ โอฺม นหรตีทิสินารายนเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สวฺโว อุปาท สพฺพทุกฺข สพฺพโสก สพฺพโรควินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม นารายนเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาง (อุบาทว์พระนารายณ์) ๏ จงต้งงมนสุทธบูชา ดิเรกฉเพาะพระโสม ๏ จัญไรไภยโทษอันโรม ทงงปวงจดาลดับหาย ๏ จักอยู่เปนศุขสบาย ลิขิตไว้เปนอักษร

ด้วยพระมนตรา รุมราวีโจม ด้วยพระมนตรหมาย

๏ โอฺม อุตฺตรทิสโสมเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพทุกฺข สพฺพโสก สพฺพโรคนฺตราย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม โสมเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาสฺวาหาง (อุบาทว์พระโสม)

โหรศาสตร์ ไสยศาสตร์ แม้จะเป็นเรื่องที่ค้านต่อความคิด ความเชื่อ ของสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ สําหรับสังคมไทยในอดีตนั้น เรื่องราวเหล่านี้แทรกซึมอยู่ทุกวิถีการดําเนินชีวิตอย่างสอดคล้องและกลมกลืน อย่างน้อยที่สุดก็ทําให้มนุษย์เกรงกลัวและเคารพต่อธรรมชาติ วรรณคดีเรื่องนี้ จึงเป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่จะ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ เหล่านั้นได้อย่างดียิ่ง


๓๑๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรณานุกรม ตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๔๔. ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด ศิวะพร. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ใน งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ณ เมรุพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๗) ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์,๒๕๓๙. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๕. ลิไทย, พญา. ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา,๒๕๔๕. ส. พลายน้อย. วรรณคดีอภิธาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์คํา,๒๕๔๙. สยาม ภัทรานุประวัติ. นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๑ ชื่อวรรณคดี. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑๗

๏ พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ๏ ฃอถวายวรวันทสาศดา แลสงฆศีลาจารย ๏ ฃอถวายประนมศิวถาน มหันตเดชฤทธา ๏ ไหว้อินทรและพรหมอันปรา นุเทวล้ําสรวงสวรรค์ ๏ ไหว้ไทธิบดินทรทรงธรรม มหามหันตคุณา ๏ หนึ่งข้าไหว้คุณพระอา คุณานุคุณสามารรถ ๏ จักกล่าวโดยไนยประกาศ ซึ่งเกอดแก่ฝูงโลกีย ๏ ฃอแจ้งโดยวาระบาฬี อุบาทวอุบัดดินานา ๏ ผี้๖๐ฟ้าผ่าแผ่นพสุธา มณเฑียรราชปราสาท ๏ ผ่าพฤกษอารักษพินาศ แลโรงคเชนทรพระภู ๏ ราษตรินทรเหนอินทรธนู๖๑ ประจักษในโพยมอากาศ ๏ หนึ่งองคบพิตรพลําพลาด คานหามคเชนทรพาชี ๏ หนึ่งโสดท้าวไทยินดี แลละพระมณเฑียรวัง

๏ หนึ่งมุกขมนตรีตริะชัง ๕๙

วรธรรมโอฬา วิศนุราชอันมาน๕๙ กฎิยิ่งเทวา ผ่านเผ้าไอศวรรย จารยอันศึกษา อธิไทยโพธิบาท ในพระคําภีร์ ผ่าพระทวารา ผ่าโรงอัศวชาติ รัศมีสว่างดู ตกเตียงราชอาศน อยู่ไพรพนาลี

ชิงกันดีหวัง

มาน หมายถึง มี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.๖๔๖) ผี้ หมายถึง ถ้า หาก แม้น ๖๑ อินทรธนู หมายถึง สายรุ้ง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.๙๔๗) ๖๐


๓๑๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

วิวาทวน๖๒วุ่นวาย ๏ หนึ่งปราชญแลญาติทั้งหลาย บควรคิดแค้นเคืองคา ๏ หนึ่งสัตวในป่าหล้า๖๓มา หนึ่งโคแลเสียคอกเคย ๏ หนึ่งวัวตัวเมียขึ้นเดย เมถุนกวนกามกล ๏ หนึ่งจรหวักหักในมือตน รําคาลบพบเคหา ๏ อุบาทวเท่านี้อินทรา สําแดงพระเคราะห์นรชน ๏ เกิดแก่ผู้ใดเร่งรน บังคับสการทังผอง ๏ แก้วแหวนแพรพรรณเงินทอง สุคนธมาลาพรรณ ๏ โภชาผลาผลทุกอัน มหาประเสริอดิบูชา ๏ ภักดีเดียวอาจให้ทรา๖๔ เป็นคุณศรีสุภผล ๏ ในลักษณอักษรพระมนตร ด่งงนี้จะไว้ให้เห็น

ผิดกันเองหมาย เข้าในนัครา ตัวผู้หวังเชย หนึ่งไพร่ร้อนรน ผู้มีมหึมา บูชาด้วยมนตร ทูปทีปตรกอง ในเวทยมหันต ทรุดโทษคณา อุปเทศนิพนท

๏ โอฺม ปุรวทิสิอินฺทเทวตา สหคณปริวาราย อาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพโสก สพฺพโรค อุปทฺทววินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม อินฺทเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาสฺวาหาง ๚ อุบาทวพระอินทร ๑๚ะ๛ ๏ ผี้แผ่นดินคราก๖๕ออกเปน ในท่ามนครประจักษ ๖๒

คลองร่องไปเหน

เปรียเทียบกับจารึกวัดพระเชตุพนฯ เป็น “กัน” ล่า ๖๔ ซา แปลว่า ลดน้อย ๖๕ คราก หมายถึง ยืดขยายออกแล้วไม่คืนตัว (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.๑๖๘) ๖๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑๙

๏ หนึ่งเสโลหโตมรขรรค แลหักอําเภอใช่การ ๏ ถ้วยชามบมิได้ร้าวร้าน พันเออน๖๖แลแตกตัวเอง ๏ หนึ่งหนูบมิได้กลัวเกรง แลร้องจจิกรอบตน ๏ หนึ่งบุตรภรรยาข้าคน ระริกกะรีปรีดา ๏ หนึ่งกล้วยออกเครือแครงครา อุบาทวอุบัดดิให้เหน ๏ หนึ่งรัศมีพระสุรยเย็น กระอุกกระหลับร้อนรน ๏ เหมันตคิมหันตวัสสนต ระดู๖๘บเปนตามกาล ๏ หนึ่งอัคคีในเชองกราน ประอุกแลลุกลามเลือน ๏ หนึ่งเหนไฟเรืองในเรือน ที่แท้บมีอัคคี ๏ หนึ่งนิทไทรในราษตรี กระหยะแลผงเรือดไร ๏ หนึ่งโสดหากอยู่ในใจ กระมลจิตรระเลอง๗๐ ๏ อุบาทวเท่านี้พระเพลอง อํานาจสําแดงให้เหน ๏ เกอดแก่ผู้ใดอย่าเอย็น๗๑ จะถึงอย่าได้เบกษา ๏ เร่งแต่งสการบูชา ๖๖

พันเอิญ หรือ เผอิญ ครื้นเครง ๖๘ ฤดู ๖๙ เหย้า ๗๐ ระเริง ๗๑ เย็น ๖๗

บมิภอที่หัก ฟัดไม้ไล่ฉาน แล่นเลี้ยวคฤ้นเครง๖๗ เปนศุขใจตน กลางลํามายา รัศมีพระจันทรเปน แปรปรวนอลวน บมิเป่าพัดพาน พันเออนหากเหมือน บมิหลับด่งงมี หน่ายหย่าว๖๙เรือนใน ผู้เรืองฤทธิเรอง ใจเลอยความเข็น แก้วแหวนมุกดา


๓๒๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หิรัญรัตนแพรพราย ๏ ลาชา๗๒บุษบาเรียบราย สุคนธโภชนาหาร ๏ ถวายด้วยพระมนตรโอฬาร ในเวทยกิจมหันต ๏ อาจบําบัดดิโทษภยันต จะมาทงงเหือดหาย ๏ พระมนตรอักษรจักหมาย ด่งงนี้ในลักษณพระมนตร

ทูปทีปทงงหลาย อุปเทศาจารย จัญไรไภยอัน ไว้ให้สืบสาย

๏ โอฺม อาคเนยทิสิอคฺนีเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพโสก สพฺพโรค สพฺพทุกฺขวินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม อคฺนีเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหาสฺวาหางฺง ๚ อุบาทวพระเพลอง ๒ ๚ะ๛ ๏ ผี้โคเคียงเกวียนเดอรหน ประอุกแลขุกวอดวาย ๏ หนึ่งโคเคียงคู่ไถตาย อุบาทอุบัดดิพึงกลัว ๏ ม้าคลอดตัวเดียวสองหัว ก็ดีพิบัดดินานา ๏ หนึ่งผีชักเรือนแครงครา แลร้องระริกขิกสรวล ๏ หนึ่งไข้แล้วเล่าทบทวน นิรันตรําคาลใจ ๏ หนึ่งมดแมลงเมลน๗๓เรือดไร พิบัดดิรุมราวี ๏ นกแสกเค้าคูดปักษี นกอุกแลนกทุงเกรียน ๏ เหยี่ยวรุ้งตบยุงทุงเทียน ๗๒ ๗๓

ว่า เมล็น

ไปทันแก้ปรน ในแอกอุบาย คราเดียวสองตัว เนืองนิตยมายา ฝันร้ายรําจวร เกอดมากหลากไภย นกเคราะหเอาผี นกไส้ไก่เถื่อน

ลาชา หมายถึง ข้าวตอก เอมอร เชาว์สวน นักภาษาโบราณ ๕ จัดทําคําอ่านปัจจุบันตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ ใช้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๒๑

แลบินมาเข้าเคหา ๏ งูสิงสอรชุนบองถลา๗๔ ๗๕ เห่าพิศมนานา มาขึ้นยังเรือนซอกซอน ๏ แร้งจับก็ดีแร้งสมจร กลางวันบมิห่อน แลเหนประจักษ์แก่ตา ๏ อุบาทวเท่านี้พญา ยมราชมหา มหิทธิหากให้เหน ๏ เร่งแต่งบูชาอย่าเอย็น ใจอยู่จัดเปน ภยันตรายเร่งรน ๏ ลาโชบุษโบแลสุคนธ ทูปทีปสกล หิรัญรัตนวัดถา ๏ โภชาผลาผลนานา สุปพยญช์น์ฆฤตา๗๖ มธุกะษีรทธี๗๗ ๏ บูชาด้วยมนตรอันมี วาระพระบาฬี ลิขิตไว้สืบสาย ๏ จัญไรไภยโทษอันตราย จักดาลดับหาย สําเดาะ๗๘ ๗๙ทังเคราะหยายี ๏ โอฺม ทกฺษิณทิสยมเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพทุกฺขสพฺพโสก สพฺพโรควินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม ยมเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาง ๚ อุบาทวพระยมราช ๓ ๚ะ๛ ๏ ผี้ฆ้องกงงสดานดนตรี แลสังขศับทดงงเอง ๏ หนึ่งโสดควรรูปพระเพรง แลไขชโลธารา ๗๔

พินพาทยเภรี พันเอนเปนเอง

ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “งูสิงสวรตบองกุลผลา” บองถลา น่าจะเป็น บ้องตะลา หมายถึง งูชนิดหนึ่ง ตะยองสะลา ก็ว่า (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.๔๖๖) ๗๖ ฆฤตา หมายถึง เนยใส ๗๗ ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “มธุกะษีทธี” ๗๘ เปรียบเทียบกับจารึกวัดพระเชตุพนฯ และต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “ลํา เดาะ” ๗๙ สําเดาะ น่าจะหมายถึง สะเดาะ คือทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม ๗๕


๓๒๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ เดือนเดียวมีอุปราคา ระวิศศิทงงสอง ๏ หนึ่งน้ําไหลหลั่งนานนอง ครั้นแล้วก็สุทธิใสสรง ๏ หนึ่งโลหิตเหงื่อไหลลง แลองคพระโยกยรร ๏ หนึ่งอาวุทธติงต้องกัน ผุดขึ้นแลตีกันเอง ๏ หนึ่งจอมปลวกคลาที่เพรง พันเออนตระหนกตกใจ ๏ หนึ่งพระสุริยก้งงกลดใน อันดําชรอ่ําอัศจรรย ๏ สงงฆราชพวกภิกษุพรรค ไว้ในกุฎีดูดี ๏ สักครายตกพรายปัถพี ชไลแลเตมฟองฟู ๏ หนึ่งหอกดาบดุออก๘๐ดู จะกินก็เปนโลหิต ๏ หนึ่งหม้อเข้าพลวกวิปริต แลล้มจรแคงพระกาย ๏ อุบาทวเท่านี้พระนารายน แก่คนผู้เคราะหบีทา ๏ เร่งแต่งสการบูชา สุพรรณแพรลํายอง ๏ ลาชาบุษบาไกรกรอง สุคนธโภชาหาร ๏ ฆฤตามธุขิรตระการ

“ดอก” “หมาย”

ราหูพาธา เปนโลหิตหนอง ออกแต่พระองค หนึ่งครกสรากอัน ช้างม้าตื่นเอง วงดุจควันไฟ ส้างเครื่องยุทธกรรม กลออมอันมี เข้าแกงปลาปู พระรูปเรืองฤทธิ ศรีไวยกูณบหมาย๘๑ แก้วแหวนนานา ทูปทีปทังผอง นานาผลาหาร

๘๐

เปรียบเทียบกับจารึกวัดพระเชตุพนฯ และต้นฉบับตําราพิไ ชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น

๘๑

เปรียบเทียบกับจารึกวัดพระเชตุพนฯ และต้นฉบับตําราพิไ ชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๒๓

ประดับคํานับน้อมถวาย ๏ ในเวทยมหันตนารายน ประเสรอดิไว้มหึมา ๏ จัญไรไภยโทษ๘๒โรคา อุบาทวอุบัดดิเหือดหาย

ด้วยพระมนตรหมาย ทุกขโศกโศกา

๏ โอฺม นหรตีทิสินารายนเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สวฺโว อุปาท สพฺพทุกฺข สพฺพโสก สพฺพโรควินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม นารายนเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาง ๚ อุบาทวพระนาราย ๔ ๚ะ๛ ๏ หนึ่งโสดผลพฤกษทงงหลาย เปนส้มแลผิดอาการ ๏ หนึ่งฝนตกไหลท่อธาร ระดูประเทศนานา ๏ หนึ่งโสดดอกลูกพฤกษา จําหุดิโหจ์บมิเปน ๏ หนึ่งหมอกน้ําค้างหยาดเอย็น มาเปนประจักษมายา ๏ หนึ่งเกิดมวนมากในนา ครั้นแล้วตระบัดแห้งหาย ๏ มานุษยเกิดลูกกลับกลาย ประเพทนานาพรรณ ๏ ฝ่ายสัตวทงงหลายมีครรภ อุไทยอุทัจ่พึงกลัว ๏ หนึ่งกบค้างคกขึ้นครัว พิบัดดิเทียรนานา ๏ อุบาทวพิระพิรุณราชา สักการเครื่องบงงคม ๏ โภชาผลาผลเนยนม ตระการหลากนานา ๏ แก้วแหวนแพรพรรณภูษา ๘๒

รศหวานกลับหลาย น่านนองพิศดาฎาร เคยเปนทุกครา ใช่การจะเปน ฝนไขธารา เปนสัตวทงงหลาย เปนมานุษยผรร จัญไรไภยพัว สําแดงเร่งหา กล้วยอ้อยขนุนขนม มาไลยมาลา

เปรียบเทียบกับจารึกวัดพระเชตุพนฯ และตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “โพย”


๓๒๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ทังทูปปทีปสุคนธ ๏ บูชาถวายด้วยพระมนตร ลิขิตไว้อักษร ๏ เปนศรีสถิตยเสถียรสถาพร มนัศให้เหือดหาย

อุปเทศนิพนท อาจดับทุกขทร

๏ โอฺม ปจฺจิมทิสวรุณเทวตา สหคณปริวารา อาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพทุกฺข สพฺพโสกสพฺพโรควินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม วรุณเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาง ๚ อุบาทวพระพิรุณ ๕ ๚ะ๛ ๏ หนึ่งใช่มรสุมพระพาย แลพัดพยุหหนักหนา ๏ ไม้ไล่โพไซรพฤกษา แลหักระนาศพาดกัน ๏ อากาศเกลือนกลุ้มเปนควัน พยุหศับทบันฦๅ ๏ เรือนโรงภาไลยหักปือ๘๓ ด่งงนกยยุ่งพลุ่งบิน ๏ ไผ่ผากรากค่นระลุง๘๔ดิน กระทังกระแทรกแหลกลง ๏ สารเสือสีหหมีเหม้นชง ระนับระนาศวุ่นวาย ๏ ปักษีปักษา๘๕ทงงหลาย หาพฤกษซุ่มซ่อนตัว ๏ หนึ่งเหนเมฆดุจรูปวัว มานุษยในคัคนานต

๘๓ ๘๔

ลง”

๘๕

จักพัดวุ่นวาย ยูงยางยับพา พร้าวตาลโยกยัน หวนหอบขึ้นคือ

เงื่อมแง่ศิขรินทร ซอกซอนดอนดง ต่างบินผรรผาย เหนดุจรูปตัว

ปือ หมายถึง มาก หรือ เต็ม ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “คลรลุง” ส่วนจารึกวัดพระเชตุพนฯ เป็น ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “ฝูงปักษีปักษ”


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๒๕

๏ หนึ่งเหนดุจรูปคชสาร แลรูปพยัฆอาชา๘๖ ๏ หนึ่งโสดเหนรูปกา ประจักษแจ้งแม่นหมาย ๏ อุบาทเท่านี้พระพาย แก่คนผู้เคราะหราวี ๏ เร่งแต่งสการพลี คํานับประดับผลาหาร ๏ นานาสุปพยัญชนตระการ แลโภชนโอชโอชา ๏ ปายาศมธุรศกระยา ดิเรกจงยวดยง ๏ มาไลยไกรกรองบันจง สุคนธกลิ่นกําจร ๏ เงินทองแพรภูษาภรณ์ วิไลยบูชาถวาย ๏ ด้วยพระมนตรอักษรหมาย ด้วยใจอันแพ่งภักดี ๏ อุบาทวฆาฎร้ายราวี จัญไรทั้งไภยเหือดหาย ๏ สําเดาะ๘๗ทั้งเคราะหให้วาย เป็นคุณศรีสุภผล ๏ ในลักษณอักษรพระมนตร จะไว้จงแจ้งสืบไป

ดุจรูปสิหปาน ดุจรูปครุทธา พระองคอุบาย บูชาจงดี นมส้มนมหวาน สงงเวยนานา ทูปทีปจํานง นพรัตนบวร สําหรับพระพาย โรคาราคี โทษให้หุดหาย ดั่งนี้อย่าฉงน

๏ โอฺม วาโยวยเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพทุกฺข สพฺพโสก สพฺพโรควินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม วาโยเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาสาหาง ๚ อุบาทวพระพาย ๖ ๚ะ๛

๘๖ ๘๗

ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ เป็น “รูปอาชา” ดูอ้างอิง ๒๐ และ ๒๑


๓๒๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ หนึ่งน้ําผึ้งอ้อยมธุไร พันเออนแลเดือดพุพราย ๏ หนึ่งโสดผลพฤกษ์ทังหลาย เปนพรรณอื่นอัษจรรย ๏ หนึ่งสัตวสุนักขผายผรร ในครัวประชีเตาไฟ ๏ หนึ่งใช่ที่หนูอาไศรย แลหนูไปทํารูรงง ๏ หลังคาใช่ที่หมาหวงง ไปขึ้นแลไต่ไปมา ๏ หนึ่งได้ยินผีเจรจา แลฟงงตระหนักแก่กรรณ ๏ หนึ่งโสดปลวกพวกโลนพรรณ มาพุในเตาอักคี ๏ เตาเพลิงใช่พื้นปัถพี แลเห็ดมางอกดอกแซรง ๏ อุบาทพระโสมสําแดง จงแต่งสการบงงคม ๏ โภชาปายาศเนยนม ประดับทุกสิ่งสุปเพียญช์น์ ๏ ลาชะเสาวคนธทูปเทียร กมุทบัวสัตบรรณ ๏ มาไลยไกรกรองเวจวรรณ พิพิทธพรายภูษา ๏ จงต้งงมนสุทธบูชา ดิเรกฉเพาะพระโสม ๏ จัญไรไภยโทษอันโรม ทงงปวงจดาลดับหาย ๏ จักอยู่เปนศุขสบาย ลิขิตไว้เปนอักษร

ไว้ในตุ่มไห พลิดลูกกลับกลาย ขึ้นคลอดคลายครรภ ในใต้เตาไฟ ใจดลหมาซงง ในบนพฤกษา อุบัดดิอัษจรรษ เปนที่อัคนี เขนกวดรวดแรง ขนุนขนันเขนียวขนม บุษบาบัวเผียน นพรัตนสุพรรณ ด้วยพระมนตรา รุมราวีโจม ด้วยพระมนตรหมาย

๏ โอฺม อุตฺตรทิสโสมเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพทุกฺข สพฺพโสก สพฺพโรคนฺตราย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๒๗

๏ โอฺม โสมเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาสฺวาหาง ๚ อุบาทวพระโสม ๗ ๚ะ๛ ๏ หนึ่งผ้าแพรภูษาภรณ แลหนูมากัดอัษจรรย ๏ หนึ่งผ้าแพรภูษาสรรพ จะไหม้แลไหม้วูวาม ๏ ทํานาได้เข้ามากคาม ระบอบอันชอบไร่นา ๏ ตินลาหีบได้เตลา๘๘ ทํานุกทําเนียมบูราณ ๏ ทัญญาตําได้ตันดุลาน๘๙ เปนวิปริตผิดคลอง ๏ หนึ่งอยู่พันเอินเงินทอง ในเรือนพันเอินมักหาย ๏ หนึ่งถุนเรือนโรงทงงหลาย แลเต่าวูวามคลานมา ๏ เข้าถุนคลานขึ้นเคหา มาคลอดในแท่นนิทไทร ๏ หนึ่งเข้าสารแช่งอกใบ จรเข้ผุดอัษจรรย ๏ หนึ่งเสาเรือนโรงตกมัน มางอกในบ้านบนดอน ๏ หนึ่งเตาพาบน้ํามามรณ หนึ่งคลังประอุกทําลาย ๏ อุบาทวพระไพรสพหมาย เฉพาะผู้เคราะหราวี ๏ เร่งแต่งบูชาจงดี บรรจงทุกสิ่งสุปเพียญช์น์

๘๘

จารึกวัดพระเชตุพนฯ ใช้ว่า ติลาทึบไว้เตลา น่าจะเป็น ตัณฑุล หมายถึง ข้าวสาร ๙๐ ข้าวบิณฑ์ ๘๙

ใช่ที่หนูฟอน บมิภอเพลิงพรรณ ยิ่งนักบมิตาม มากพ้นอัดตรา มากหลากเหลือการ มักตกเนืองนอง ใช่ที่เต่าหมาย หนึ่งแมวมายา หนึ่งบ่อน้ําใน หนึ่งบัวสัตบรรณ ในถุนซรอกซอน แก่คนทงงหาย เข้าบิน๙๐บายศรี


๓๒๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ผลผลาปายาศทูปเทียน พิกุลไกรจําปา ๏ สุรภีวรรดีมะลิลา สุพรรณแพรเพลิดพราย ๏ ภูษาลงงการ์ภรณถวาย เฉพาะพระองคไพรสพ ๏ จงต้งงใจใสสุทธนบ บพิตรพระปราณี ๏ อุบาทวฆาฎร้ายราวี รําคาลทงงปวงเหือดหาย ๏ อยู่เอย็นเปนศุขสบาย ภิรมยศรีสุภผล ๏ ในลักษณอักษรพระมนตร ดั่งนี้อย่าได้สงไส

บุษบาบัวเผียน แก้วแหวนนานา ด้วยพระมนตรหมาย ภักดีเคารพย๙๑ โรคาราคี สมบูรรณ๙๒ภูลกาย

อาจาริยนิพนท

๏ โอฺม อิสานฺสทิสไพสพฺพเทวตา สหคณปริวาราอาคจฺฉนฺตุ ปริภุญฺชนฺตุสฺวาหาย ๏ โอฺม สพฺพอุปาท สพฺพอุปทฺทว สพฺพทุกฺข สพฺพโสก สพฺพโรคนฺตรายวินาสาย สพฺพสตฺรูปมุจฺจติ ๏ โอฺม ไพสพฺพเทวตา สทารกฺขนฺตุ สฺวาหสฺวาหาง ๚ อุบาททวพระไพรสพ ๘ ๚ะ๛ ๏ ปุพฺพถาเนธนํนาสฺสติ อาคเนอคฺคิทยฺหกํ ทกฺขิเณมรณญฺเจว หรติเย โจรเมวจ ปจฺฉิเมลภเตนารี พายพฺเยสุขํลพฺภตํ อุตฺตเร สพฺพลาภํ อิสานฺเย ราชปูชิตํ ๚ พระคาถานี้สําหรับทิศทงง ๘ ทิศนั้นด่งงนี้แล ๚ะ๛ ๏ บุรรพทิศทรัพยจักฉิบหาย อาคะเนเพลิงจักไหม้ ทิศทักษิณจักถึงมรณ ทิศหรดียจักบงงเกิดโจร ทิศปัจจิมจักได้นาง ทิศพายัพย์จักได้ทรัพย ทิศอุดรจักได้ลาภมาก ทิศอิสานยท้าวพญามหากระษัตรจัก บูชา ๚ะ๛

๙๑ ๙๒

ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ ใช้ว่า คํารพย สมบูรณ์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๒๙

๏ นาคาคิชฌราชฟ้า นกแสกนกยางขาว แม้นลงมาจับราว ดีแลร้ายนั้นขรึ้ง ๏ เบื้องบูรรพทรัพยจักสิ้น อาคะเนเพลิงมลาย ทักษิณตัวจักตาย หรดีทิศนั้นไส้ ๏ ปัจจิมจได้ลาภล้ํา พายัพยศุขสวัสดี อุดรเทียร๙๔จักมี อิสานยทิศนั้นไส้

๙๓ ๙๔

เดือนดาว ปลวกผึ้ง ทิศที่ ใดนา กึ่งเพี้ยงเสมอกัน ฉิบหาย เล่าไหม้๙๓ วายชีพ ผิดด้วยฝูงโจร นารี จักได้ มาลาภ ท่านท้าวบูชา

ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ ใช้ว่า อาคเนเพลิงพราย มเล่าไหม้ ต้นฉบับตําราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๑๑๘ ใช้วา่ เพียง


๓๓๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓๑

หมวดวรรณกรรมศาสนา


๓๓๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓๓

กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี สายป่าน ปุริวรรณชนะ∗ ความนํา มงคลทีปนี หรือ มังคลัตถทีปนี เป็นชื่อคัมภีร์ชั้นอรรถกถาซึ่ง พระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนาขึ้น ณ อาณาจักรล้านนา เพื่อขยายความ มงคลสู ตร ซึ่งเดิมปรากฏอยู่ใน พระสุต ตันตปิฎก ขุททกนิก าย ขุททก ปาฐะ๙๕ คําว่า ทีปนี หมายถึง “คําอธิ บายเรื่ องใดเรื่องหนึ่งในพระไตรปิฎกออกไปอย่ างพิสดาร และมีการ อ้างอิงจากคัมภีร์อื่นๆ เป็นเครื่องประกอบ”๙๖ ในกรณีของ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี๙๗ เป็นการอธิบายมงคลทั้ง ๓๘ ประการ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตามที่เหล่าเทวดาได้กราบทูลถาม ณ เชตวันมหาวิหาร เมือง สาวัตถี๙๘ ว่ามงคลแต่ละข้อมีลักษณะเช่นไร นับตั้งแต่ข้อแรก คือ อเสวนา จ พาลานํ ไปจนข้อสุดท้าย คือ เขมํ โดยยกนิทานที่มีมาในอรรถกถาพระไตรปิฎกมาประกอบเป็นอุทาหรณ์ อาทิ มงคลข้อที่ว่า สุภาษิตา จ ยา วาจา ผู้จรนาคัมภีร์ได้ยกอุทาหรณ์จาก นิทานโคนันทวิศาล นิทานกินนรากินนรีสองสามีภรรยา และ นิทานบุรุษมี บุตร ๗ คน ซึ่งมีมาใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เพื่อเป็นตัวอย่างความประพฤติของผู้มีวาจาเป็น สุภาษิต เป็นต้น อนึ่ง ในการสํารวจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ณ วัดตองปุ อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยศูนย์สยาม ทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ พบว่ามีสมุดข่อยเรื่อง กาพย์มงคลทีปนี๙๙ จารด้วยตัวอักษรไทย เส้นหมึก ฉันทลักษณ์รูปแบบกลอนเพลงยาว ระบุอย่างชัดเจนว่านํา เนื้อหามาจากคัมภีร์ซึ่งผู้ประพันธ์เรียกชื่อว่า มงคลทีปนี ดังความในตอนต้นเรื่องกล่าวว่า ฃอแต่งเรี่องมงคนปรนนิบัด ตามกระแสมีแน่ในคัมภีร์ ∗

ระจงจัดในคําพระชินณะษรี ชื่อมงคนทิบปะนีไว้เทียบทาร

นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย (คติชนวิทยา) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราช วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๒๕), หน้า ๑๑๗-๑๑๘. ๙๖ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา, วรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทย (กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จํากัด, ๒๕๔๕), หน้า ๙๓. ๙๗ ผู้วิจัยหมายถึง คัมภีร์มงคลทีปนีแปล สํานวนของพระครูปัญญามุนี (อ่อน) ฉบับพิมพ์ที่โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งผู้แปลระบุว่าแปลจากคัมภีร์มงคลทีปนีฉบับภาษาบาลีของพระสิริมังคลาจารย์ ๙๘ ภาษาบาลีว่า “สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม...ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺ ฐาสิฯ เอกมนฺ ตํ ฐิต า โข สา เทวตา คาถาย อชฺ ฌภาสิ ” (อ้ างถึ งใน พระครู ปัญ ญามุ นี (อ่ อ น), คั มภี ร์ม งคลทีป นีแ ปล (กรุงเทพฯ: ธรรมบรรณาคาร, ๒๕๒๗), หน้า ญ) ๙๙ เรียกชื่อตามที่ผู้ประพันธ์ระบุไว้ตอนจบเรื่องว่า “สิ้นกาพย์มงคนทีปนี” ๙๕


๓๓๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ชื่อ “คัมภีร์มงคนทิบปะนี” ที่กล่าวถึงนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะได้แก่ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี กระนั้นเมื่อ สํารวจดูเนื้อหาพบว่า ผู้ประพันธ์กล่าวถึงเฉพาะมงคลประการที่ ๑ การไม่คบคนพาล และประการที่ ๒ การคบ บัณฑิตเท่านั้น อีกทั้งหลังจากจบเนื้อหาของกาพย์มงคลทีปนียังมีคํากลอนอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับคําสอนในทาง พุทธศาสนา รวมถึงกาพย์สุรางคนางค์ซึ่งสันนิษฐานว่าตัดตอนมาจากวรรณคดีนิทานเรื่อง สรรพสิทธิ์ชาดก ปรากฏแทรกอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้กาพย์มงคลทีปนีจะอธิบายมงคลแต่เพียง ๒ ประการแรก ผู้ประพันธ์ก็ยังได้ใช้กลวิธี การยกนิทานมาเป็นอุทาหรณ์เช่นเดียวกับคัมภีร์มังคลัตถทีปนี อีกทั้งนิทานที่ยกมายังมีบทบาทสําคัญในการสั่ง สอนโดดเด่น กว่ าคํ า สอนที่ ป รากฏอยู่ อย่า งตรงไปตรงมา กระทั่ งกล่า วได้ ว่ า วัต ถุ ป ระสงค์ในการสั่ งสอนนั้ น เปรียบเสมือน “แกนกลาง”ที่เรียงร้อยนิทานแต่ละเรื่องเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เอง ผู้วิจัยจึงใคร่ขอศึกษากาพย์มงคลทีปนีในฐานะ “วรรณกรรมคําสอนอันเนื่องในพุทธ ศาสนา” โดยจะศึกษาในประเด็นที่ว่า เหตุใดกาพย์มงคลทีปนีจึงกล่าวถึงมงคลเพียง ๒ ประการ นิทานที่ยกเป็น อุทาหรณ์นั้นเหมือนหรือต่างจากคัมภีร์มังคลัตทีปนี อีกทั้งมีที่มาจากคัมภีร์ใดในพุทธศาสนา และเนื้อหาของ นิทานแต่ละเรื่องส่งผลต่อ “สาระสําคัญ”ของกาพย์มงคลทีปนีหรือไม่ อย่างไร เนื้อหาและนิทานอุทาหรณ์ของกาพย์มงคลทีปนี กาพย์ มงคลที ปนี ขึ้น ต้ นด้ วยบทนมัส การพระรั ตนตรัย และบทบูช าคุ ณบิด า มารดาและครู อาจารย์ ประกอบกั บ การขอพรให้ คุณของสิ่ งที่ ไ ด้ เ คารพบู ช านั้ น ช่ ว ยป้ องกั น ภยั น ตรายและอํ า นวยสวั ส ดิ ผ ลในการ ประพันธ์ ดังความว่า ฃ่อวันทิดตะวาพระนาโถ คํารับวาจังตั้งนะโม ตัดสะภะคะวะโตสํามา สํามาพุดทัดสะ ประจงจัดมุ่งมาดปราฏทะหนา ถวายกายต่างเครื่องสการา จะบูชาเบื้องบาดทะยุคุน อันทรงนามชื่อพระอะระหัง อันเพิกพังกงจักด้วยมักผล เป็นยอดทัคคีในบุกคน ด้วยประจนเบญมารให้รานรอน นะมัดสิกตะวาข้าจะไหว้ ด้วยน้ําใจภินโยสะโมษร ทั้งพระธรรมเจ้าเนาวะโลกย์ขะอุดร พระปรียัดดิทําคําสอนสาดสะดา ต่างประทีบส่องทะวีบชมภูสะว่าง ให้กระจ่างจากมืดทรืงโมหา ทั้งพระสงผู้ทรงสินลา ทั้งพระบาริสุดทิสีไสย อันชูลีการที่จะวันทา สะเนหาน้อมประนมบังคมไหว รักตะนังทรืงพระรัตะณะไตร ประณามน้อมพร้อมใจวาจีกาย นิ่วันทาโดยสํามาคารวะ เปรื่องสะละราคีมิให้หมอง กระกุนยดล้ําเลีดเพริดพราย แล้วถวายอะภิวาดวันทา พระคุนคูรปูเจ้าลําเภาภัก ได้เตีอนตักเฝ้าฝึกให้สืกษา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓๕

ทั้งคุนคูรบิดตุเรดพระมารดา ฃอเดชคุนทั้งสิ่นเปนปิ่นปก ฃอสะติปัญญามานุกูน

ให้รักษาเกลากระมอมท่นอมคุน ชวยยิบยกอันตะรายให้หายสูน ช่วยเพิ่มพูนสาระภัดสะวัดดี

หลังจากบทนมัสการผู้ประพันธ์ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การประพันธ์ไว้อย่างชัดเจนว่า “ไว้เป็นแบบ ฉบับสํารับบูรุด รักษาตัวบอริสุดเปนแกนสาร” และเริ่มกล่าวถึงมงคลประการแรกว่า“อย่าซ่องเสบสมาคม นิยมภาร จะเสียการภาตนให้มนมัว” เมื่อจบแล้วก็กล่าวถึงมงคลประการต่อมาว่า “บันยัดตาจะเสวันนา๑๐๐ นั้น จงหมายหมั่นมุ่งมาทปราทหนา” ในส่วนเนื้อหาของกาพย์มงคลทีปนี ในประการที่ว่าด้วยการไม่คบคนพาลนั้น ผู้ประพันธ์ได้กล่าวถึง ลักษณะนิสัยของคนพาล พร้อมยกนิทานอุทาหรณ์ประกอบ ได้แก่ นิทานเรื่องกิ้งก่าได้ทอง นิทานเรื่องหมูท้า ราชสีห์ นิทานเรื่องทรพีทรพา นิทานเรื่องธิดาเศรษฐีปรารถนาโจรเป็นสามี นิทานเรื่องพี่สะใภ้คบชู้กับน้องสามี นิ ท านเรื่ อ งพระเจ้ า อชาตศั ต รู ห ลงเชื่ อ พระเทวทั ต สั ง หารพระบิ ด า ส่ ว นประการที่ ว่ า ด้ ว ยการคบบั ณ ฑิ ต ผู้ป ระพัน ธ์ ได้ กล่ า วถึงคุ ณของการคบบั ณฑิต ว่ า มีป ระการต่ า งๆ โดยยก นิทานเรื่องฤๅษี ฌ าณเสื่ อม มาเป็ น อุทาหรณ์ ทั้งนี้เนื้อหาของนิทานเรื่องต่างๆ ที่กล่าวถึงในกาพย์มงคลทีปนีมีดังนี้ นิทานเรื่องกิ้งก่าได้ทอง เล่าว่ากิ้งก่าได้ทรัพย์ ๕ ช่าง เกิดลําพองใจไม่ถวายบังคมพระเจ้าวิเท หะ พระองค์จึงพิโรธลงพระอาญา นิทานเรื่องหมูท้าราชสีห์ เล่าว่าหมูตัวหนึ่งนอนเกลือกกับอาจม เห็นราชสีห์ก็ร้องท้าสู้ ฝ่าย ราชสีห์รังเกียจไม่เข้าใกล้ ทําให้หมูยิ่งลําพองใจ นิทานเรื่องทรพีทรพา เล่าว่าทรพีวัดรอยเท้าบิดา เมื่อสังหารบิดาแล้วก็เกิดกําเริบใจ ไปเที่ยว ท้าผู้อื่นสู้จนเสียทีถูกพาลีสังหาร นิทานเรื่องธิดาเศรษฐีปรารถนาโจรเป็นสามี เล่าว่าโจรผู้หนึ่งต้องพระราชอาญาถูกกุมตัวผ่าน หน้าปราสาท ๗ ชั้นของธิดาเศรษฐี นางเห็นโจรก็รักใคร่ถึงแก่ไม่กินข้าวปลาอาหาร เศรษฐีสงสารลูกจึงนําทรัพย์ ไปไถ่ตัวโจรนั้นมาให้ธิดา แม้นางจะปรนนิบัติโจรโดยดี แต่วันหนึ่งเมื่อโจรผู้สามีเกิดอยากดื่มสุรากลับวางแผน ลวงนางไปฆ่าชิงทรัพย์ โดยหลอกนางว่าจะไปแก้บนที่รอดจากโทษประหารแก่เทพยดาที่เขาโจรฆาต ธิดาเศรษฐี หลงเชื่อก็ตามสามีไปแต่ลําพัง เมื่อทราบความประสงค์ที่แท้จริงของสามีก็เฝ้าอ้อนวอนขอชีวิต ทว่าโจรก็ไม่ เมตตา นิทานเรื่องพี่สะใภ้คบชู้กับน้องสามี เล่าว่าบุรุษผู้หนึ่งมีภรรยาใจทรามคบชู้กับน้องชายสามี กระทั่งคิดจะฆ่าสามีเสีย วันหนึ่งหลังจากสามีกลับจากป่าก็ทําอุบายให้สามีไปอาบน้ํา แล้วให้ชายชู้ลอบฟันคอ สามี ฝ่ายสามีด้วยความรักภรรยาก็กลับชาติมาเกิดเป็นงูเรือน เป็นวัว เป็นสุนัข แต่เมื่อนางสงสัยว่าเป็นสามีก็ สังหารเสียทุกชาติ โดยในชาติที่สามีเกิดเป็นสุนัขนั้นถูกนางใช้กระสอบทรายผูกคอถ่วงน้ํา

๑๐๐

ปญฺฑิตานญฺจ เสวนา


๓๓๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

นิทานเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูหลงเชื่อพระเทวทัตสังหารพระบิดา เล่าว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเมื่อ ยังมิได้รู้จักคําสอนของพระพุทธองค์ได้หลงเชื่อคํายุยงของพระเทวทัตว่า ให้ชิงราชสมบัติเสียจากพระเจ้าพิม พิสารผู้เป็นพระบิดา พระเจ้าอชาตศัตรูจึงเข้าไปในท้องพระโรงหมายจะสังหารพระเจ้าพิมพิสารแต่ถูกจับได้ เสียก่อน ทว่าพระเจ้าพิมพิสารนอกจากจะไม่ทรงเอาโทษแล้วยังทรงให้สิทธิ์ในราชบัลลังก์ ต่อมาพระเทวทัตก็ยุ ให้พระองค์สังหารพระบิดาเสียด้วยการคุมขังให้อดพระกระยาหาร แต่พระเทวีพระมารดาของพระเจ้าอชาต ศัตรูก็ลอบนําพระกระยาหารไปถวายด้วยการซ่อนไว้ในมวยพระเกศา ในฉลองพระบาท และโชลมทาพระฉวี เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบจึงห้ามพระมารดาเข้ าเฝ้าพระบิดาอีก ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารอาศัยการเดิ น จงกรมภาวนาทําให้ทรงพระชนม์อยู่ได้ พระเจ้าอชาตศัตรูจึงรับสั่งให้ฝานพระบาทแล้วเอาน้ําเกลือราด จนใน ที่สุดพระเจ้าพิมพิสารก็สวรรคต เผอิญในวันเดียวกันนั้นพระเทวีของพระเจ้าอชาตศัตรูประสูติพระโอรส พระ เจ้าอชาตศัตรูจึงทรงทราบว่าความรักของบิดาที่มีต่อบุตรเป็นเช่นไร เมื่อพระองค์รับสั่งให้ปล่อยพระบิดาก็ทรง โทมนัสพระทัยที่ทรงทราบว่าพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตแล้ว นิทานเรื่องฤๅษีฌาณเสื่อม เล่าว่าชายผู้หนึ่งเล่นเบี้ยจนเป็นหนี้สิน หนีเจ้าหนีเข้าไปในป่าพบ พระฤๅษี พระฤๅษีก็สอนให้ชายผู้นั้นเจริญภาวนาจนได้ฌาณ วันหนึ่งขณะที่กําลังเหาะด้วยกําลังฌานเผอิญได้ยิน เสีย งหญิ งก็เ กิดจิ ตเสน่ห า ทํ าให้ ฌานเสื่ อมตกลงยังพื้นดิ น ต่ อมาได้อยู่กินฉัน ท์สามีภรรยากับ หญิงนั้น ฝ่า ย ภรรยาเกิดในตระกูลโจรก็เฝ้ารบเร้าให้สามีออกโจรกรรม เมื่อสามีกระทําตามเช่นนั้นกลับถูกทางการจับได้ ต้องโทษพันธนาการประจานอยู่ ครั้งนั้นพระฤๅษีผู้อาจารย์เหาะไปบิณฑบาตพบเข้าจึงสั่งสอนให้รําลึกถึงพระ ธรรม เมื่อผู้เป็นลูกศิษย์ได้ยินดังนั้นจึงรําลึกถึงองค์ฌาณกระทั่งกลับได้ฌาณเช่นเดิม เมื่อเป็นเช่นนั้นเครื่อง พันธนาการก็หลุดออกจากร่าง ชายนั้นก็เหาะหายไป เมื่อจบความเรื่องมงคลประการที่ ๒ แล้ว ผู้ประพันธ์ก็กล่าวคําสอนให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นึกถึง ทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ ไตรลักษณ์ อสุภกรรมฐาน มรรคมีองค์แปด กุศลและอกุศลกรรมบท พรหมวิหารธรรม ขันติ สัจจะ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ กายานุสสติ เทวตานุสสติ อุปัสสมานุสสติ เพื่อความไม่ประมาท อันจะทําให้ไปเกิดในสุคติภพ ลักษณะความเป็นวรรณกรรมคําสอนในพุทธศาสนาของกาพย์มงคลทีปนี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้ยึดถือปฏิบัติตามมงคลประการที่ ๑ การไม่คบคน พาล และมงคลประการที่ ๒ การไม่คบบัณฑิต ส่งผลให้กาพย์มงคลทีปนีมีลักษณะเป็น “วรรณกรรมคําสอน”ที่ ชัดเจน โดยประการแรกนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่า การที่กาพย์มงคลทีปนีเลือกกล่าวถึงเฉพาะมงคล ๒ ประการ ข้างต้น ก็ด้วยเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานที่เพียงพอสําหรับการดํารงชีวิตของผู้คนในสังคมท้องถิ่น ต่างจากมงคลอีก ๓๖ ประการที่เหลือซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้ง อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติขั้นสูงในพุทธศาสนา ลักษณะดังกล่าวนี้ แสดงถึงความมุ่งหมายสําคัญของผู้ประพันธ์ในการสอนหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่เข้ากับคนท้องถิ่นอย่าง ชัดเจน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓๗

ประการที่สอง ความเป็นวรรณกรรมคําสอนของกาพย์มงคลทีปนีมาจากกการเลือกใช้นิทานอุทาหรณ์ เพื่อเป็นตั วอย่า งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ ให้แก่ผู้อ่า น-ผู้ฟัง อัน เป็น ลักษณะของ “เทศนา โวหาร”ซึ่งสุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา อธิบายลักษณะของโวหารดังกล่าวนี้ว่า เทศนาโวหารก็คือ แสดงให้แจ่มแจ้งด้วยโวหารหรือสํานวน กล่าวคือ เป็นการใช้ โวหารจูงใจผู้อ่านให้คล้ อยตาม ให้ เห็นดี เห็นงามตามข้อความที่ เราต้ องการจะให้ เข้าใจ เพราะฉะนั้น กล่าวโดยสรุป การเขียนแบบเทศนาโวหารก็คือ การจูงใจให้ คล้อยตามนั่นเอง...และในที่สุด มีการเล่าเรื่องประกอบหรือยกถ้อยคําอันคมขํา หรือ คําอันเป็นคติของคนสําคัญมาประกอบด้วยเพื่อให้เห็นจริงจังยิ่งขึ้น๑๐๑ อนึ่ง การใช้นิทานอุทาหรณ์นี้เป็นลักษณะสําคัญที่พบในวรรณกรรมที่มุ่งสอนใจมาตั้งแต่โบราณ โดยใน วงวรรณกรรมอินเดียนั้น ปรากฏว่ามีการสอดแทรกนิทานอุทาหรณ์ลงในวรรณกรรมเป็นครั้งแรกใน มหากาพย์ มหาภารตะ๑๐๒ ทั้งนี้กุสุมา รักษมณี ยังได้จัดให้ชาดกในพุทธศาสนาเป็นนิทานอุทาหรณ์ประเภทหนึ่งด้วย๑๐๓ ทําให้กล่าวได้ว่าการใช้นิทานอุทาหรณ์เป็นกลวิธีหนึ่งในการรจนาวรรณกรรมคําสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่ง กาพย์มงคลทีปนีก็เลือกใช้กลวิธีดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น เว้นแต่นิทานเรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรูหลงเชื่อพระเทวทัตสังหารพระบิดา และ นิทานเรื่อง ทรพีทรพา แล้ ว นิ ทานอุ ทาหรณ์ เ รื่องต่า งๆ ในกาพย์ มงคลที ป นียั งมีที่มา หรือเห็น ได้อย่ างชั ดเจนว่ าได้ รั บ อิทธิพลจากนิทานใน อรรถกถาชาดก อรรถกถาธรรมบท และ อรรถกถาเถรีคาถา ผู้วิจัยใคร่ขอแสดงให้เห็น อย่างชัดเจนในที่นี้ดังนี้ เรื่อง ที่มา เนื้อเรื่องในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก นิ ทานเรื่ อ งกิ้ งก่ าได้ กกั ณ ฏกชาดก ขุ ท ทก พระโ พธิ สั ต ว์ เ ส ว ยพระช าติ เ ป็ น พระเจ้ า วิ เ ทหราช ทอง นิกาย ทอดพระเนตรเห็นกิ้งก่าตัวหนึ่งมีปกตผงกหัวถวายบังคมทุก ทุกนิบาติ ครั้ ง ที่ เ ห็ น พระองค์ จึ ง พระราชทานทองผู ก คอกิ้ ง ก่ า เมื่ อ กิ้งก่านั้นได้ทองแล้วก็เกิดลําพองใจ ไม่ถวายบังคมเช่นที่เคย

๑๐๑

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา, เจิมจันทน์กังสดาล ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย (กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หน้า ๕๕. ๑๐๒ กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต (นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวท ยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๕), หน้า ๔๐. ๑๐๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘.


๓๓๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เรื่อง

นิ ท านเรื่ อ งหมู ท้ า ราชสีห์ นิ ท า น เ รื่ อ ง ธิ ด า เศรษฐี ปรารถนาโจรเป็ น สามี

นิทานเรื่องพี่สะใภ้ คบชู้กับน้องสามี

นิทานเรื่องฤๅษีฌาณ เสื่อม ๑๐๔

ที่มา

เนื้อเรื่องในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ทําให้พระเจ้าวิเทหราชพิโรธ รับสั่งให้ราชบุรุษเนรเทศกิ้งก่า เสียจากพระราชอุทยาน๑๐๔ สูกรชาดก ขุททกนิกาย พระโพธิ สัต ว์เ สวยพระชาติ เ ป็น ราชสี ห์ สุกรตัว หนึ่ งเอาตั ว ทุกนิบาติ เกลือกอาจมมาท้าให้รบกับตน ราชสีห์ปฏิเสธ และกล่าวว่า ตนรังเกียจสุกรจึงปล่อยให้แพ้ภัยตัวเอง๑๐๕ อรรถกถาภัททากุณฑลา พระภัททากุณฑลเกสีเ ดิมเป้ นธิ ดาเศรษฐี วัน หนึ่ งมองจาก เถรี หน้าต่างของปราสาทชั้น ๗ เห็นโจรผู้หนึ่งต้องโทษให้ตระเวน เถรีคาถา ปัญจกนิบาต ประจานก็หลงรัก รบเร้าให้บิดามารดานําโจรนั้นมาให้เป็น สามีนาง ที่สุดบิดามารดาก็ตามใจ เมื่อนางได้โจรเป็นสามีก็ ปรนนิ บั ติ ดู แ ลอย่ า งดี แต่ โ จรผู้ เ ป็ น สามี เ กิ ด โลภอยากได้ เครื่องประดับของนางจึงลวงนางว่าได้บนบาทเทวดาที่เขา โจรฆาฏไว้ ให้ ร อดตาย บั ด นี้ จึ งต้ องไปแก้ บ น นางหลงเชื่ อ ติ ด ตามโจรไปโดยลํ า พั ง แต่ เ มื่ อ ถึ ง เขาโจรฆาฏสามี ก ลั บ เปิดเผยว่าจะฆ่านางเสีย นางอ้อนวอนเท่าไรก็ไม่ยอมไว้ชีวิต จึงออกอุบายผลักโจรให้ตกหน้าผาจนตาย หลังจากนั้นก็ออก บวชในสํานักปริพาชก ได้ฉายาว่า “กุณฑลเกสี” ต่อมาจึงได้ บวชในพุทธศาสนาและบรลุอรหัตตผล๑๐๖ อรรถกถาธรรมบท หญิ งผู้ ห นึ่ งถู กชาวเรื อจั บ ผู ก คอด้ ว ยกระสอบทรายถ่ ว งน้ํ า เรื่องชน ๓ คน พระศาสดาตรัสเล่าถึงบุพพรรมของหญิงนั้นว่า ในชาติก่อนๆ ขุททกนิกาย บาปวรรค นางได้จับสนัขที่เคยเกิดเป็นสามีของนางเมื่อ ๓ อัตภาพก่อน ถ่วงน้ําด้วยกระสอบทราย เหตุเพราะอายที่สุนัขนั้นติดตาม นางไปทุกแห่งด้วยความรัก เกิดมาชาตินี้นางจึงต้องใช้วิบาก กรรม๑๐๗ ๑) มุทลักขณชาดก ขุทก ๑) พระโพธิ สั ต ว์ เ สวยพระชาติ เ ป็ น ดาบส วั น หนึ่ งเหาะไป นิกาย เอกนิบาต บิณฑบาตในวัง เห็นนางมุทุลักขณามเหสีของกษัตริย์นุ่งห่ม

มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๒๕), หน้า ๑๒๒. ๑๐๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗-๑๒. ๑๐๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๑ ภาค ๑ (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราช วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๒๕), หน้า ๓๔๒-๓๕๖. ๑๐๗ มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๕ (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรม ราชูปถัมภ์, ๒๕๕๒), หน้า ๕๖-๖๑.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓๙

เรื่อง

ที่มา ๒) จุลลโลภนชาดก ขุททกนิกาย ติกนิบาต

เนื้อเรื่องในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ไม่เรีบยร้อยก็เกิดกําหนัดจนฌานเสื่อม ภายหลังเมื่อเห็นโทษ ของกามจึงสามารถเจริญฌาณได้เช่นเดิม๑๐๘ ๒) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าอนิตคันถิ มีพระ ชายาโฉมงาม ต่ อ มาถู ก พระมารดาเลี้ ย งอกอุ บ ายให้ ไ ป ประทับอยู่ป่า พระชายาก็โดยเสด็จด้วย ต่อมามีดาบสผู้ได้ ฌาณเหาะมาเห็นพระชายาของพระเจ้าอนิ ตคันถิก็หลงรั ก ฌาณจึ งเสื่ อม เหาะไม่ ได้ดั งเดม พระโพธิสัต ว์ตรั สคาถาให้ ดาบสนั้นเห็นโทษของหญิง ทําให้ดาบสได้สติ เจริญฌาณจน สามารถเหาะกลับไปได้๑๐๙

การที่ผู้ประพันธ์นํานิทานในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มาใช้เป็นนิทานอุทาหรณ์ในกาพย์มงคล ทีปนี แสดงถึงความรอบรู้เรื่องราวในพุทธศาสนาของผู้ประพัน ธ์ และแสดงถึงลักษณะเด่นของวรรณกรรม ประเภททีปนี ตลอดจนเป็นการนําเอา “นิทานอุทาหรณ์”ในพุทธศาสนา มาใช้ประกอบสร้างเป็นวรรณกรรมคํา สอนทางพุทธศาสนาได้อย่างกลมกลืน การศึกษาเปรียบเทียบกาพย์มงคลทีปนีกับคัมภีร์มังคลัตถทีปนีในฐานะ “นิทานต้นเรื่อง” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า กาพย์มงคลทีปนีระบุที่มาของเนื้อเรื่องอย่างชัดเจนว่านํามาจากคัมภีร์ “มงคลทีปนี” ดังนั้น หากพิจารณาวรรณกรรมเรื่องนี้ในฐานะวรรณกรรมคําสอนในพุทธศาสนา ก็ควรศึกษา เปรียบเทียบกับคัมภีร์มังคลัตถทีปนีในฐานะของ “คัมภีร์ต้นเรื่อง” ทั้งนี้ผู้วิจัยจะได้ใช้ทฤษฎีการแพร่กระจาย ของนิทานมาเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมทั้ง ๒ เรื่องด้วย การแพร่กระจายของนิทาน หมายถึง การที่นิทานเรื่องหนึ่งๆ ได้ถูกนํามาถ่ายทอดจนกลายเป็นนิทาน เรื่องเดียวกันสํานวนต่างๆ กระนั้นไม่ว่าสํานวนของนิทานจะเปลี่ยนไปอย่างไร เอกลักษณ์ของนิทานก็จะต้อง ยังคงอยู่๑๑๐ หากใช้มุมมองดังกล่าวนี้ศึกษากาพย์มงคลทีปนีเปรียบเทียบกับคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ผู้วิจัยพบว่า นอกจากการคงชื่อเรื่องไว้แล้ว เอกลักษณ์ที่ยังคงอยู่ของวรรณกรรมนิทานเรื่องนี้ ได้แก่ การใช้นิทานอุทาหรณ์ เพื่อเป็นอธิบายเรื่องมงคลในทางพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นของ “มงคลทีปนี”

๑๐๘

มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๒๕), หน้า๑๔๖-๑๕๓. ๑๐๙ มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๒๕), หน้า ๑๐๘-๑๔๔. ๑๑๐ ศิราพร ณ ถลาง, ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน (กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒), หน้า ๑๕๐.


๓๔๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ยิ่งไปกว่านั้น ในการอธิบายมงคลประการที่ ๑ การไม่คบคนพาล ยังปรากฏนิทานเรื่อง พระเจ้าอชาต ศัตรูหลงเชื่อพระเทวทัตสังหารพระบิดา ซึ่งในคัมภีร์มังคลัตถทีปนีนั้น นิทานเรื่องนี้เป็นนิทานอุทาหรณ์เรื่องแรก และเป็นเรื่องเดียวที่นํามาใช้ในการอธิบายมงคลประการที่ ๑ แม้จะมีรายละเอียดของเรื่องที่ต่างกันบางประการ ดังนี้ รายละเอียดของเรื่อง ๑) พฤติกรรมการซ่อนพระกระยา หารของพระเทวีคราวแรก ๒) พฤติกรรมของพระเทวทัตหลัง พร ะ เจ้ า อ ช า ต ศั ต รู ท รง ก ลั บ พระทัย ๓) ผลกรรมของพระเทวทัต และ พระเจ้าอชาตศัตรู

มังคลัตถทีปนี ซ่อนไว้ในฉลองพระองค์คลุม๑๑๑

กาพย์มงคลทีปนี ซ่อนไว้ในมวยพระเกศา

กลิ้งศิลา / ปล่อยช้างนาฬาคีรี

(ไม่กล่าวถึง)

ตกนรก แต่เมื่อพ้นจากนรกจะได้ตรัส เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า๑๑๒

(ไม่กล่าวถึง)

การปรากฏนิทานเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูหลงเชื่อพระเทวทัตสังหารพระบิดาในวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง สามารถเป็นเครื่องยืนยันได้ว่ากาพย์มงคลทีปนีมีที่มาจากคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ทั้งนี้สาเหตุของการ “รักษา” นิทานเรื่องนี้ไว้แต่เพียงเรื่องเดียวนั้น ประการแรกน่าจะเป็นด้วยความโดดเด่นของค่านิยมเรื่องความกตัญญูต่อ บิดามารดาในสังคมไทย ซึ่งหากผู้ใดละเมิดค่านิยมดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงแก่ทําอันตรายบิดามารดาก็จะ ถือว่ากระทําพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อย่างยิ่ง ส่วนอีกประการหนึ่งน่าจะเป็นด้วยท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีซึ่งอยู่ ใกล้เคียงกับจังหวัดลพบุรีอันเป็นพื้นที่ที่พบกาพย์มงคลทีปนีมี ตํานานพระนอนจักรสีห์ ซึ่งเป็นเรื่อง “ลูกฆ่า พ่อ” ส่งผลให้นิทานเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งมีสาระสําคัญเรื่องดังกล่าวได้รับการคงไว้ ส่วนในประเด็นเรื่องข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นในกรณีของวรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้นั้น ผู้วิจัยใคร่ขออ้างถึง แนวคิดของฟอน ซีดอฟ (Von Sydow) นักคติชนวิทยาชาวสวีเดนซึ่งได้กล่าวว่า เมื่อนิทานแพร่กระจายไปยัง ต่างวัฒนธรรม ปรากฏการณ์หนึ่งที่มักเกิดขึ้น ได้แก่ การเกิดเป็นสํานวนท้องถิ่น (oicotypification)๑๑๓ ซึ่งใน ที่นี้ผู้วิจัยจะศึกษาความเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของขนบนิยมการประพันธ์ และในแง่ของนิทานอุทาหรณ์ที่ปรากฏ ในวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง

๑๑๑

พระครูปัญญามุนี (อ่อน), คัมภีร์มงคลทีปนีแปล (กรุงเทพฯ: ธรรมบรรณาคาร, ๒๕๒๗), หน้า ๘. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐-๑๒. ๑๑๓ ศิราพร ณ ถลาง, ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน (กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒), หน้า ๑๕๑. ๑๑๒


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๔๑

ในแง่ของขนบนิยมการประพันธ์นั้น กาพย์มงคลทีปนีเริ่มต้นเรื่องด้วยบทบูชาพระรัตนตรัย บิดามารดา และครูอาจารย์ จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งต่างจากคัมภีร์มังคลัตทีปนีที่เริ่มต้นด้วย ปณามคาถา กล่าวถึงการ ถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก และสรรเสริญคุณของมงคลสูตร ต่อด้วย อุปฺปตฺติคาถา ว่าด้วยสาเหตุที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงมงคลสูตร๑๑๔ สาเหตุของความต่างนี้สันนิษฐานว่ามาจากวัตถุประสงค์ การแต่งที่ต่างกัน กล่าวคือ คัมภีร์มังคลัตทีปนีมุ่งอธิบายขยายความเนื้อหาในพระสุตตันตปิฎก ส่งผลให้ผู้รจนา กล่าวถึงไตรสรณคมน์อันเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดในพุทธศาสนา สรรเสริญคุณของมงคลสูตรอันเป็นคัมภีร์ตั้งต้น และกล่าวถึงมูลเหตุของการแสดงพระธรรมเทศนา ในขณะที่กาพย์มงคลทีปนีมุ่งสอนแบบอย่างความประพฤติ แก่บุคคล จึงไม่จําเป็นต้องกล่าวถึงที่มาของมงคลสูตร อีกทั้งยังมีบทไหว้ครูที่บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดาและครูอาจารย์ตามขนบนิยมของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง๑๑๕ ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าความ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็น “ลักษณะท้องถิ่น” ที่เกิดขึ้นในการประพันธ์กาพย์มงคลทีปนีประการหนึ่ง วัตถุประสงค์การประพันธ์ที่ต่างกันนี้ยังส่งผลต่อความแตกต่างของอวสานพจน์ในวรรณกรรมทั้งสอง เรื่องด้วย กล่าวคือ ในขณะที่คัมภีร์มังคลัตถทีปนีซึ่งผู้รจนาสร้างสรรค์ขึ้นในฐานะ “คัมภีร์” เพื่ออธิบายขยาย ความพุทธวจนะ กล่าวถึงคุณอันบุคคลจะได้รับจากการปฏิบัติตามมงคลทั้ง ๓๘ ประการ ว่าจะเป็นปัจจัยนําสู่ สุคติภพและพระนิพพาน ตลอดจนมีอธิษฐานพจน์ให้ตนเองมีความเจริญสวัสดี มีปัญญารู้พระไตรปิฎก ได้เป็นผู้ ดํารงพุทธศาสนาไปจนตราบเข้าสู่นิพพานในเบื้องหน้า และให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้สร้างคัมภีร์นี้ต่อๆ ไป เจริญด้วยจตุ รพิธพร๑๑๖ กาพย์มงคลทีปนีซึ่งพิจารณามงคลในแง่ “แบบแผนพฤติกรรม” โดยมุ่งการสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เป็นหลักจึงมีบทอวสานพจน์เป็นคําสอนพฤติกรรมอันควรประพฤติ และกล่าวถึงสุคติภพอันเป็นผลจากการ กระทําพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นแรงจูงใจ ส่วนในประเด็นเรื่องนิทานอุทาหรณ์ที่ปรากฏในกาพย์มงคลทีปนีนั้น นอกจากเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู หลงเชื่ อพระเทวทั ต สั งหารพระบิ ด าแล้ ว นิ ท านเรื่ องอื่ น ๆ ที่ พบล้ ว นแต่ เ ป็ น นิ ทานคนละเรื่ องกั บในคั มภี ร์ มังคลัตถทีปนี ดังนี้ ลําดับ

นิทานที่ปรากฏเฉพาะใน กาพย์มงคลทีปนี มงคลประการที่ นิทานเรื่องกิ้งก่าได้ทอง นิทานเรื่องหมูท้า ๑ ราชสีห์ นิทานเรื่องทรพีทรพา นิทานเรื่อง ธิด าเศรษฐีป รารถนาโจรเป็ น สามี นิทาน เรื่องพี่สะใภ้คบชู้กับน้องสามี ๑๑๔

นิทานที่ปรากฏเฉพาะใน คัมภีร์มังคลัตถทีปนี -

พระครูปัญญามุนี (อ่อน), คัมภีร์มงคลทีปนีแปล (กรุงเทพฯ: ธรรมบรรณาคาร, ๒๕๒๗), หน้า ๑-๕. อภิ ลั ก ษณ์ เกษมผลกู ล , วรรณคดี ท้ อ งถิ่ น ศึ ก ษา (นครปฐม: สาขาวิ ช าภาษาไทย คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๑), หน้า ๒๑๑-๒๑๒. ๑๑๖ พระครูปัญญามุนี (อ่อน), คัมภีร์มงคลทีปนีแปล (กรุงเทพฯ: ธรรมบรรณาคาร, ๒๕๒๗), หน้า ๔๗๓-๔๗๔. ๑๑๕


๓๔๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ลําดับ

นิทานที่ปรากฏเฉพาะใน กาพย์มงคลทีปนี มงคลประการที่ นิทานเรื่องฤๅษีฌาณเสื่อม ๒

นิทานที่ปรากฏเฉพาะใน คัมภีร์มังคลัตถทีปนี นิทานนกแขกเต้า นิทานช้าง นิทานโสมราช นิทานพระยาทธิวาหนะ นิทานพาณิชย์เจ็ดร้อย นิทานสังกิจจสามเณร

เมื่อพิจารณาเนื้อหาของนิทานที่พบเฉพาะในกาพย์มงคลทีปนีแต่ละเรื่องจะพบว่า ประการแรกนั้น พบว่ามีนิทานถึง ๓ เรื่อง ที่กล่ าวถึงการเลือกคนที่ไม่เหมาะสมมาเป็นคู่ครอง ได้แก่ นิทานเรื่องธิดาเศรษฐี ปรารถนาโจรเป็นสามี นิทานเรื่องพี่สะใภ้คบชู้กับน้องสามี นิทานเรื่องฤๅษีฌาณเสื่อม ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่า การ แทรกนิทานอุทาหรณ์ที่มีเนื้อหาดังกล่าวนี้เป็นส่วนใหญ่เป็นเพราะการมีครอบครัวเป็นขั้นตอนชีวิตสําคัญของคน ไทยโบราณแทบจะทุกคน การเลือกคนดีมีคุณธรรมอันจะช่วยให้ชีวิตครอบครัวดําเนินไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง จึงเป็นเรื่องสําคัญที่ทั้งหญิงและชายควรตระหนักเป็นอย่างยิ่ง ประการต่อมา การสอดแทรก นิทานเรื่องทรพีทรพา ไว้อธิบายคุณลักษณะของคนพาลว่า ได้แก่ บุคคล ที่เนรคุณบุพการี สันนิษฐานว่าเป็นด้วยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับ นิทานเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูหลงเชื่อพระ เทวทัตสังหารพระบิดา และด้วยท้องถิ่นเมืองลพบุรีพบนิทานประจําถิ่นหลายเรื่องที่มีที่มาจากวรรณคดีนิทาน เรื่อง รามเกียรติ์ อาทิ ตํานานเมืองลพบุรี ตํานานทะเลชุบศร ตํานานเขาวงพระจันทร์ เป็นต้น เรื่องราวต่างๆ ในรามเกียรติ์ รวมถึงเรื่องราวของทรพีทรพา จึงน่าจะเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เมื่อนํามาอ้างถึงในฐานะนิทาน อุทาหรณ์จึงสามารถเข้าใจได้ง่าย ส่วนประการสุดท้าย การอ้างถึง นิทานเรื่องกิ้งก่าได้ทอง และ นิทานเรื่องหมูท้าราชสีห์ สันนษฐานว่า มาจากการที่นิทานทั้งสองเรื่องเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย โดยนิทานเรื่องแรกนั้นเป็นที่มาของสํานวน “กิ้งก่า ได้ทอง” อันหมายถึง ผู้ที่ได้ดีเพียงเล็กน้อยก็หยิ่งทะนงลืมตน ส่วน นิทานเรื่องหมูท้าราชสีห์ ก็ปรากฏอยู่ใน โคลงโลกนิติ บทที่ ๙ และบทที่ ๑๐ ความว่า หมูเห็นสีหราชท้า กูสี่ตีนกูพบ ท่านกลัวท่านอย่าหลบ ท่านสี่ตีนอย่าได้ สีหราชร้องว่าโอ้ ทรชาติครั้นเห็นกู ตัวมึงใคร่รบดนู กูเกลียดมึงกูให้ ๑๑๗

ชวนรบ ท่านไซร้ หลีกจาก กูนา วากเว้วางหนี พาลหมู เกลียดใกล้ มึงนาศ เองนา พ่ายแพ้ภัยตัว๑๑๗

คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, โคลงโลกนิติ (กรุงเทพฯ: กองทุนสมเด็จพระสังฆราช, ๒๕๓๖), หน้า ๓.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๔๓

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าในการสํารวจรายชื่อวรรณกรรมโบราณ ณ วัดตองปุ อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่พบวรรณกรรมนิทานเรื่องมงคลทีปนี ยังพบวรรณกรรมชื่อ โลกนิติคําโคลง ด้วย ทําให้ตั้งข้อ สันนิษฐานได้ว่า คงมีความรับรู้เรื่องโคลงโลกนิติอยู่ในบรรดาผู้ได้รับการศึกษาจากสํานักเรียนวัดตองปุ รวมถึง ผู้ประพันธ์กาพย์มงคลทีปนีด้วยเช่นกัน การศึกษาเปรียบเทียบกาพย์มงคลทีปนีกับคัมภีร์มังคลัตถทีปนีในประเด็นต่างๆ ที่ได้กล่าวมา ได้เป็น เครื่องยืนยันว่า กาพย์มงคลทีปนีมีที่มาจากคัมภีร์มังคลัตถทีปนี เพราะปรากฏนิทานเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู หลงเชื่อพระเทวทัตสังหารพระบิดาเป็นนิทานอุทาหรณ์อธิบายมงคลประการที่ ๑ การไม่คบคนพาล แต่ใน ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนเอานิทานที่คนในท้องถิ่นรู้จักมาใช้เป็นนิทานอุทาหรณ์ในวรรณกรรมเรื่องนี้ด้วย สรุป กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่ใช้กลวิธีการ สั่งสอนแบบยกนิทานอุทาหรณ์มาเพื่ออธิบายมงคลประการที่ ๑ การไม่คบคนพาล และมงคลประการที่ ๒ การ คบบัณฑิต อันเป็นกลวิธีเดียวกับคัมภีร์มังคลัตถทีปนี โดยนิทานอุทาหรณ์ที่นํามาใช้มีทั้งนิทานเรื่องพระเจ้า อชาตศัตรูหลงเชื่อพระเทวทัตสังหารพระบิดา ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี และนิทานอุทาหรณ์เรื่อง อื่ น ๆ ที่ นํ า มาจากอรรถกถาพระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก ทั้ ง ที่ เ ป็ น นิ ทานชาดกและนิ ทานธรรมบท ทั้ ง นี้ การใช้ นิ ทาน อุทาหรณ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนคติธรรมเป็นกลวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมอินเดีย รวมถึงในสังคม พุทธศาสนาด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษากาพย์มงคลทีปนียังเป็นเครื่องยืนยันว่า วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องนี้ได้รับอิทธิพล จากคัมภีร์มังคลัตถทีปนีในฐานะที่เป็น “คัมภีร์ต้นเค้า” ทั้งในแง่เนื้อหา กลวิธี และนิทานอุทาหรณ์เรื่องสําคัญที่ ยั ง คงปรากฏอยู่ แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ก็ พบลั ก ษณะการปรั บ เปลี่ ย นวรรณกรรมพุ ทธศาสนาจากเดิ ม ที่ เ ป็ น “คัมภีร์” ให้กลายเป็นวรรณกรรมคําสอนที่เข้ากับวิถีชีวิตและความรับรู้ของคนท้องถิ่น


๓๔๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๔๕

กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี คํารับวาจังตั้งนะโม สํามาพุดทัดสะ ถวายกายต่างเครื่องสการา อันทรงนามชื่อพระอะระหัง เป็นยอดทัคคีในบุกคน นะมัดสิกตะวาข้าจะไหว้ ทั้งพระธรรมเจ้าเนาวะโลกย์ขะอุดร ต่างประทีบส่องทะวีบชมภูสะว่าง ทั้งพระสงผู้ทรงสินลา อันชูลีการที่จะวันทา รักตะนังทรืงพระรัตะณะไตร นิ่วันทาโดยสํามาคารวะ กระกุนยดล้ําเลีดเพริดพราย พระคุนคูรปูเจ้าลําเภาภัก ทั้งคุนคูรบิดตุเรดพระมารดา ฃอเดชคุนทั้งสิ่นเปนปิ่นปก ฃอสะติปัญญามานุกูน ฃอแต่งเรี่องมงคนปรนนิบัด ตามกระแสมีแน่ในคัมภีร์ ไว้เป็นแบบฉบับสํารับบูรุด อย่าซ่องเสบสมาคมนิยมภาร ...........(ความขาด)........... ........................................ เห็นทรรพเฃาจะเอาเป็นประโยชณ ถ้าเปนทีแล้วไม่มีจะลดใคร ทําลวงลบกลบเกลี่อนให้เงี่อนหาย .........(ความขาด).................. ........................................... ปลืนปลอกกลอกประสบด้วยลมลวง เชิงหลายย่างลางที่ตีสะนิด

ฃ่อวันทิดตะวาพระนาโถ ตัดสะภะคะวะโตสํามา ประจงจัดมุ่งมาดปราฏทะหนา จะบูชาเบื้องบาดทะยุคุน อันเพิกพังกงจักด้วยมักผล ด้วยประจนเบญมารให้รานรอน ด้วยน้ําใจภินโยสะโมษร พระปรียัดดิทําคําสอนสาดสะดา ให้กระจ่างจากมืดทรืงโมหา ทั้งพระบาริสุดทิสีไสย สะเนหาน้อมประนมบังคมไหว ประณามน้อมพร้อมใจวาจีกาย เปรื่องสะละราคีมิให้หมอง แล้วถวายอะภิวาดวันทา ได้เตีอนตักเฝ้าฝึกให้สืกษา ให้รักษาเกลากระมอมท่นอมคุน ชวยยิบยกอันตะรายให้หายสูน ช่วยเพิ่มพูนสาระภัดสะวัดดี ประจงจัดในคําพระชินณะษรี ชื่อมงคนทิบปะนีไว้เทียบทาร รักษาตัวบอริสุดเปนแกนสาร จะเสียการภาตนให้มนมัว ...................................... สันชาดชั่วมืดมิดในจิดใจ ถึงบาพบุนคุนโทดไม่คิดได้ เหนทางได้ยิมหัวให้ยั่วใจ แยบคายมันคงสีนสงไส ............................. ............................... ภ่อเหนงวงลวงตับเหมือนตุกแก ทําปกปิดมิดเม้นไม่เห็นแผล


๓๔๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เลียวลดคดในฅอทําง่อแง เอาแต่ได้ใจคอธอระลัก มิ่แต่หมายค่างจะควิดคิษจะชน ธ่อระยกคดคิษทังมิดญาติ สมคะเนเอาทุกท่าไม่ว่าใคร อย่าระคนคบหาเหมือนยาพิด ฉะนะใหนเล่นด้วยช่วยกระภื ทั้งโกหกพกลมประสบประสาร น่าเนื่อใจเสือเหลือทะมิน ท่ารผู้ใดเม็ตาจงการุน แต่ภอภีมิ่พะยดไม่อดออม ไม่รู้จักคุนท่ารสันดารโฉด ทั้งหูแว้วปากไวใจก็เบา ได้อะใรสักนิดก็ขิตรยิ่ง อวดเป่อเย่อกระทีนยกบกยกหัดน์ฟัด พี่เคราะดูเหมือรสุนักลักนมพราม ไม่เจียมตัวว่าจิ่งจอกทําลอกลิ่ง มันไม่รู้ว่าหมูอยู่เพียงหมู ย่อจิดขิตรฅะยับเฝ้าลับตา ทําแต่ตัวหัวพะงกยกพะงับ ท้าววี่เท่๑๑๘เธ่อเสดจเสรจไป ถ่าวเหนผิดพิดสะวงทร่งพิ่โรต โปรดอยู่ด้วยเหนไม่ม้วยทรืงชีวา ก่อเหมือนกันกับคลพานสันดารคช มิ่แต่คดกะจะงอต่อออกไป เพราะน้ําจิตคิษเหนว่าเปนชอบ ไม่เรื่อกว่าที่รักมักที่ชัง ชั้นเพื่อนรัวหัวบ้านเที่ยวรานมด๑๒๐ เหนผูใดเง่าโงภาโลภาร ๑๑๘

ท้าววิเทหะ พ้นอาญา ๑๒๐ หมด ๑๑๙

เหมือนประแจกนไส่ไว้ในกน ไม่รู้จักคุนโทษประโยชน์ผน ถึงคนอืนกันเองไม่เกรงใจ ได้โอกาศแล้วจะกรงอย่าสงไส คบผู้ใดให้ร้ายเมือปลายมือ จนสิ่นริดเมาเบืออย่าเชื่อถือ เหมือนกระสือปรอบห่าเที่ยวหากิน ทั้งโวหารการกลอกก็ปลอกปลิ่น ใครหลงสี้นกินมดไม่อดออม เหมือนทําคุนให้เยื่อแก่เสือผอม ก็โดดค่อมไล่กระลบจะคบเอา กลับมาโกรธคิดหมายทําร้ายเขา เหมือนน้ําเต่าเปลิอกนอกละลอกซัด ทําสุงสิ่งเจรรจาเหมือรหมาสะบัด ทําสะบัดฃนพองทํานองลิ่ง กําเริบความคิดในจิตยิ่ง หมายจะชิงเอาสมบัดกระสัดตา มันไม่ดูว่าสะกุนหมาอยู่เพียงหมา เหมือนกิ่งก่าได้ทองลําพองใจ กูมีทรรพห้ากรําทํายิ่งได้ ฃะยิ่มใจภบท่ารไป่วันทา พิ่คาดโทดโกรธครึงอ้ายกิ่งก่า พนอะญา๑๑๙โทดทันให้บันไล จะกําหนดไม่เที่ยงอยู่เพียงใหน จะคัดง้างอย่างใรก็ไม่ฟัง ไม่รอบคอบคิดค่างน่าว่าค่างหลัง ไม่ระรั้งหุนหวนให้ควนกาน ไม่เงื่อดงดหึกฮักทําหักหาน เอาเนื้อท่ารมาเจือไส่เนื้อเอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๔๗

เหนเฃาตกต่ําแล้วเที่ยวสําทับ ถ้าเสมอกันเฃ้าเฃาไม่เกรง เฉลียวฉลาดคาตขิตให้ทูกใจ ทั้งยกย่อฬ๑๒๒ใจให้นียม ทําให้น้ํามูกราน้ําตาตก ไม่สมเภดเวทนาภากรรเอา เที่ยวยุแย่เหมือนตําแยเฃาเยี่ยวรด ใครคบไว้เหมือรเอาไฟเข้าไส่เรือน อยู่ที่ใหนควิด๑๒๔ที่นั่น ก่อเปนเหตุให้ฉาวเที่ยวร้าวราน มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก จับลิ้นไม่ทูกเหมือนลูกลม จะพูจาเหมือนกะลาตั้งแขมเรือ ปากหวานกนเปลี่ยวเที่ยวอูบาย ทางจะหนีทีจะไหลหมิไชชัว เหมือนหนึงกาหากินปลอนปลีนไป ตกนะรกยกไว้มันไม่เหน ทั้งดือดึงถือดีไม่มีกลัว เที่ยวหักน่ากล่าปากเที่ยวถากถาง เขาไม่ทันหารฮึกนึกว่าดี ยกส่นตีนปิ่นตะลาดพราดตะลิ่ง ก่องแก่งเกาะแกะเที่ยวแระราน เฃารู้เท่าเฃาขี้คร้านจะรานบาง เหนเฃาเกลียดกลับคิดว่าเฃากลัว ถือว่างามตามจิดจะริดยิ่ง ไม่สะดุงว่าพิดจิดสะเทือน เหมือนสุกรนอนถมอาจมกรัว ว่าข้าเอยใครกล่าถือว่าดี ๑๒๑

ระคาง ล่อ ๑๒๓ จริต ๑๒๔ ขวิด ๑๒๒

ให้เยินยับโดยทางค่างขุมเหง ก็ย้ายทางเพรงยักทางไปค่างลม เหนรักคาง๑๒๑ทางใหนก็ไม่สม ภอทะลมกดส้ําฃะอยําเอา เพราะโกหกลวงฬช่อของเขา ให้มืดเมาโลภาหน่วยตาเฟือน ทนสะบดขดขิตทั้งมิดเพื่อน วาจาเบือนใจบิดจะริด๑๒๓ภาร ใจฉะกันเฉโกด้วยโวหาร ในอาการกลีงกลอกดูออกกลม ดูวองแท้แก้ผูกลูกประสม ทั้งคารีษรีคารมก็คมคาย ใครพะวงหลงเชื่อเหลือฉิบหาย แยบคายหมายชอฬอน้ําใจ ปั่นน้ําเปนตัวขึ้นก็ได้ ถึงบาพกําทําไมมันไม่กลัว ด้วยเชื่อเชนชาติพานสันดานชั่ว ยกแต่ตัวค่มท่ารทั้งตาปี เข้าคัดง้างย่างจะชนให้ป่นปี้ เที่ยวจุกจิกจู้จี้ไล่จันทาน ทํากรุงกริ่งขะนองลําพองหาร เอามือประสารกนหอยให้ลอยตัว เพราะเฃาชังน้ําน่ากะลาหัว สําคันตัวดีใจเมือนไส้เดือน ทั้งเพริดพริงไม่มีใครผู้ใดเหมือน จิดขะเยือนยิ่งยวดค่างอวดดี ทําอวดตัวร้องประกาศกับราชสี ก็มาซีสูกันไม่ พรันพริง


๓๔๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ราชสีเกลียดขี้ไม่เข้าไกล ตะคอกคู่แผดเสียงสําเนียงหึง เหมือนคลพานๆ ไปเฃาไม่พรั่น กําเริบจิกขิกว่าตัวกล่าดี วัดรอยตีนบิดาเหนว่าเท่า กําเริบฤดคิษกล่าเที่ยวถาชน ธรชนคนโฉดแล้วโหดหึก ใครจะสูกูเล่ากูเอาตาย เหนเฃาดีกว่าตัวนังหัวลุก อิดฉาตาเปนมันเที่ยวฉันทา .............(ความขาด)............. แขะใค้ฃืนว่าสาระภรร ...................................... ...................................... .............(ความขาด)......... มิ่หาไม่เปล่า ๆ จับเข้ายัด ยิบเอาแยบแอบร้ายเฃ้าป่ายปะ คนภารแล้วจะให้ใครจําเริน อันคนภารที่จะอดพะยดร้าย ถ้าคบเข้าภาเราให้เมามัว อย่าคบขิตมิดญาติสันชาติพาร อย่ารวยรื่นชื่นชมนียมเลย ถึงจะเปนญาติมิดขิดสะละ เถึงสะนิดชิดตัวเปนผัวเมีย เเม้นผู้หญิงเหนผัวตัวเปนภาร เหนว่าไม่อดพะยดร้าย ...........(ความขาด)........... ....................................... ด้วยคนภารถ้าจะว่าประดาเสีย อันมหะนุดทุดจะริดจิดทะมิน เหมือนตํานารนีทารเล่าเรื่องบาฬี เที่ยวทําโจระกํานั้นร่ํามา ให้ลงพระราชอายาถึงสาหัด

หมูดีใจอวดกล่าตาขะมึง ทําทีปึงให้เขาว่าตัวกล่าดี เฃาขี้กร้านเอาไม้สั่นไปรันขี้ เหมือนธอระภีไม่มีนึกรู้สึกตน ก็ควิดเอาชีวาบิดาป่น จนเสียตนสูภาลีชีวีวาย ขะะเนนึกปึงปันหมั่นหมาย ไม่มีอายผีสางเทวะดา ใจกระตุกเตือนจิตริดสะยา กลาวฃวันนินทาสาระภรร ................................... .......................................... ........................................ คอดคอนแขะไค้ด้วยใจคัด ....................................... ตามสะบัดหมายจะเอาให้เขาเยิ่น เอาจนละเริศรางให้หางเหิน ใครอย่าเมีนหมายมากประมาดตัว อย่าได้หมายที่จะดีมีแต่ชั่ว อย่าเกลือกกลัวให้มีราคีเลย ไม่ต้องการหญิงชายทั้งหลายเอย ถึงคนเคยหลีกไกลอย่าได้เยี่ยม อย่าปนปะลีกทางใหหางเสีย จะย่ารางหางเสียไห้ใกลกาย จงธอระมารน้ําใจเสียใหหาย จงยักยายเสียใหสิ้นมลทินตัว .......................................... .......................................... ถึงลูกเมียขิดหมายทํารายสิน มิมีจินตะนานึกจะตริกตรา ว่ายังมีโจนหนึ่งน้ําใจกล่า จนพระยาเธอจับบังคับพลัน สาระภัดยากยิ่งทุกสิงสัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๔๙

จักแจงเกนไปตระเวนเสียสามวัน ว่ายังมีทิดามะหาเสรฐี ปลูกประสาดเจดชันเป็นลันไป นางเหนโจนมีจิตขิตสะวาด นึกสะทอนนอรนิ่งไม่ติ่งตน หมีได้กินโภชนากระยาหาร นางสุดทนจึงแสดงให้แจงความ ความรักลูกไปไถ่พันตําลึง นางรักใครโจรยิ่งเอาจิงจัง ทั้งตบแตงโภชนาเอามาให้ ประนิบัติจงรักด้วยภัคดี โจรภารสันดารกากนึกยากเล่า นางวอรถามจริงแสดงเเจ้งกิดจา แรงสินบนพนประมารนารหนักหนา ไม่บอกจิ่งนิ่งไว้ประไรนาร นางแต่งเคริ่องเสร็จสับสํารับทุกสิ่ง แล้วชวนเชีนเดีนตําเนินไป โจรจึงให้ทาษรีอยู่ที่นั้น จริงยุดยังนั่งลงสนทะนา นางเตือนว่าแก้อารักเสียซิเจ้า เราจะเอาเครื่องประดับที่ในตน นางตอบว่าอะนิจาจะกีนเล่า มาไปบ้าเทิดฉันนจะให้กิน จะฆ่าเจ้าเราจะเอาเครื่องประดับ นางตกใจรู้ด้วยกลัวใภ โอ้เสียแรงน้องรักเปนหนักหนา เอนดูเทิดน้องฃอทรืงชีวัน มิ่เปนเรื่องข้อ่าง๑๒๖อยู่ยางนี่ โอ้แม่หญิงจงจําเปนตํารา ถ้าบูรุดอย่าหาภรรยามิด ๑๒๕ ๑๒๖

ยุบล ข้ออ้าง

อย่าให้มันดูเยียงกันต่อไป บิดาปรานีรักใคร แล้วก็ให้ลูกนั้นอยู่ชั้นบน ก็หมายมากสาระภัดจะขัดสน จะแจ้งอยู่บน๑๒๕อายจิดจริงปิดความ บิดาเหนอาการจริงปลอบถาม บิดาเหนว่ามิงามก็มิฟัง บิดาจึงให้สมอารมวัง เข้าหนังปรนนิบัดเฟ่าภัดวี นางมิได้ไช้ทาศทาษรี แต่เช่นนี้มีอยู่นารประมารมา ทํานอรเศรานิ่งเฉยไม่เงยน่า ว่าฃ้าบนเทวาไว้ช้านาร นางตอบว่าอะนิจาน่าสงสาร ไปแก้ท่ารเสียให้พ้นมลทินใภ ให้ชายหญิงทาษาเอามาให้ ถึงเขาใหญ่โจรคาษสะอาดตา แล้วภากรรตําเนินบนเฃีนผา บนบรรพตานุชนน้องทังสองคน โจรจริงเล่าเรื่องความตามนุสน เพราะกังวนเข้าเจ้าเล่ากิน ทรรพของเราเท่าใรกินไม่สีน โจนทะมิ่นตอบว่าข้าไม่ไป กรงทรรพสีนเราหาเอาไม่ ร่ําพีใรวอรว่าสารภรร จะมาฆ่าชีวาให้อาสัน โจรฉะกันใจชะกาดไม่เมตา มิไชจะแกลงแตงไว้ว่า อย่าได้หาสามีที่เปนภาร ทุดจะริดเหลือแสนไม่เปนแกนสาร


๓๕๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

จงชักมาให้เหนเปนนิทาร ได้ภรรยาน่าเปนไม่เหนชั่ว ทําชู้กับน้องผัวไม่กลัวตาย ให้ชูน้องคอยมาดพีคาดผัว ชูก็ไปคอยหมายพิชายตน ฝ่ายสามีกลับมาแก่ป่าใหญ่ พอรักเมียนิกะไรไปทํางาร เมียจะหามะกรูดส้มป่อยให้ ฝ่ายสามีพิศวาดประมาทตัว ภอกิ่งท่ารักน้ําจะชําระ เมือดับจิตจิตอาไรใจยังพัน แต่เปนสัตแล้วยังขิดน้ําจิดรัก ฝ่ายว่าหญิงแพรดส่ยาในตาเฟอืน ทําลายล้างเสียให้วางวายชีวิด ฝ่ายงูเรือนแดภอดับกลับเปนงัว งัวสี้นชนปัติสนเปนสูนัก นางเหนน่ามาสะนิดไม่ขิดอาย แต่เวียนฆ่ามาเชนนี้ถึงสี่ชาด อันหญิงภารการชั่วติดตัวตน ทังหญิงพารชายพารสันดารพิด ท่าผู้ไดคบเข้าภาเมามัว เมือนของเน่าจะเอาเครื่องหอมอบ ถ้าทูกต่องเข้าสักนอยก็พลอยเปน จะชักเรืองว่าแต่ยอภอสังเกต ครั้งเมือพระยาชาติสัดตูร จีงคบหาวิสาสะกับเทวะทัด พระเทวะทัดเธอทิบายถวายภร คนเกิดมาเหมือนกันทุกวันนี้ ชีวิดนี้ไม่เปนที่ประมาร ลางคนตายแต่เด็กตายแต่นุ่ม ลางทีตายต่อกายแก่ชะรา เหมือนตัวของบ่อพิดถ้าขิดดู ถ้าชวยม้วยมรนาชีวาใล

ในตํานานนันว่ากะทาชาย ไม่รักผัวสุจะริดน้ําจิตง่าย จะยักย้ายท่ายเทด้วยเล่กน อูบายตัวบอกสังเกตทรืงเหตุผล ..........(ความขาด).......... ทําแขะใค้วอรว่าน่าสงสาร ไปอาบสนารเสียให้สิ้นมลทินตัว พอเอาไปชําระสะหัวเสีย กําลังมัวก็ไปทําเหมือนคํามัน น้องชายฉะคอพาดคาดสะบั้น ประวัดหันกลับมาเกิดเปนงูเรือน สารภัดไม่มีใครผู้ใดเหมือน เหนงูเรือนเหมือนจะรู้ว่าผัวตน เพราะน้ําจิดขิดเหนว่าเปนชั่ว อีหญิงชั่วมันก็ล้างให้วางวาย เพราะนางรักที่นางไม่หางหาย เอาบ่อทรายท่วงน้ําเสียสายชน ดูร้ายกาดธอระลักอักกูสน ใครปะปนมีแต่จะแพ้ตัว ไม่มีขิตพ์ละอดพะยดชั่ว แม้นพันพัวตัวตนจะปนเปน ไม่มีกลบลบกลิ่นให้สินเหมน ดั่งหนิ่งเปนพระยาชาติสัดตูร ให้เหนเหตุเหมือนจะชีว่ามีอยู่ ยังไม่รู้องพระชินนะวง ไม่แขงขัดขืนคําทีรําสอร ว่าดูกอรพระราชกูมาร ไม่เทียงที่อะนิดจังจะสังขาน จะว่านารฤาเรวจะมรณา ก็ตายชุมเชนนี้นี่หนักหนา ไม่รู้ว่าจะตายหมายเมือใร ท่าจะอยู่ยืนยาวสักคราวใหน ก็ชวดไปไม่ได้ภารทรืงบ้านเมือง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕๑

จะคอยท่าบิดาชะราแก่ วันก็กีนอายุสีนทุกวันเปลือง จิ่งขิดอ่านกานเข้าเอาสมบัด จับประหารชีวิดพระบิดา ค่างบ่พิดเปนกระษัดตรขัดติยา เมือนบิดากับสํามาสําพุดโท กูมารรับอะภิวาดเทวะทัด เทวะทัดสําเรดกิดดั่งจิดใจ ปางน่อกระษัดรขัดติยา ถือพระแสงแกว่งโลดโดดทะยาร เสดจดึงดื่อด้วยถือผิด เข้าในวังหวังจะวิ่งชิ่งนะคร จะกล่าวถึงชาวปอม๑๒๗พวกลอบวัง ก็ออกพร้อมล้อมจับกูมารา ปางกระษัดร์ขัติยาเจ้าทานิน เสดจออกทองพระโรงรัดฉัดชะวาร เสนาราบกลาบประนมบังคมก้าว พวกล้อมวังกรงยอบมอบแสดง ฃอเดชทรงพระกรรุณา พระลูกท้าวเสดจเพลานี้ กระมอมฉันซอนก้น๑๒๙เคาชิงจับ กรูงกระสัดทราบเสดงแจงกีดจา ขิ้นหนังแทนเทยีมเธ่อเสมอท้าว พ่อดวงจีดขีดเหนเปนย้งใรย พระกุมานนอมประนมบังโคมทุน ลูกขิดผลานชีวิดพระบิดา กรุงกระสัดวาสมบัดทังนี้ไสย จําเพาะฆาบิดาเอาทานีรร พ่อยาฆาชีวาบิดาเลย ๑๒๗

ป้อม พิมพิสาร ๑๒๙ ซ้อนกล ๑๒๘

มันไม่แน่นอนใจไม่ได้เรื่อง ได้ครองเมืองจะชะแรแก่ชะรา เป็นกระษัตรเสียเดียวนี้เทิดดีกว่า อาตะมาจะฆ่าอ่งสําพุดโท อาตมาก็จะเปนพระนาโถ เปนยาดติโยโยมกรรเช่นนั้นไป หมิ่ได้ขัดขิดหวนทั้งดวนได้ ถวายภรคล้าใคลหมิ่ได้นาร พระใทกล่าจิดเหี่ยมกําแหงหาร หมายประหารชีวิดพระบิดร เพราะคบคิษเทวะทัดเธ่อเสียมษร ไม่ผันพ่อนเพ่งพิจารนา รักษาองค์พรอมพรั่งอยู่ค่างน่า แล้วภามายังท้องพระโรงทาร ที่บ่อดินปิ่นภบภิมพี่สาร๑๒๘ แวกวีสูดรูดมารออกสําแดง คอยฟังค่าวขัดความตามตําแน่ง ทูนแถลงแจ้งความตามขะดี พระอาดยายกไส่ไว้เกษริ่ พระแสงที่ถือโลดกระโดดมา จะฃอรับพระราชทานทริ่งโทสา ตร้ฏไหห้าลูกน้อยขรอบพระไทย ประโลมเลาลูกนอยละหอยไหย จงเลาไปไหแจงแกบิดา น่เรนสูนจงประทานทรีงโทสา เพราะวังวาจักปองขรองบุริน พ่อยาไหยไขรยเล่าไหยเจาสีน สมบัดสีนเมือนไสยหยูไน่มือ จะเส่วยโพไขยใมยใดยฤา


๓๕๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หรือพ่อคีดกลับกลายเมือปลายนึง พระตรัษพร้างทางประสาษพระภรไหย พระกุมานสมอารมขีด พระเทว่ทัดวันหนี่งจีงมาห้า สําเรดคิษจีศปองใคยขรองเมือง พระเทวะทัดวาบ่อรมบ่พิศ อัตมาจะทร้มเนยีบเปรปีบทีบ้าย จับสูนักเข้าไสยใหวไนกร้อง สูนักมัรรแสบทองพ่อเตมที เมือนบอพิดอดีศารรกานเดียวนี้ พระบิดาชีวังยังใมยตาย ก็จะขินคงคับจับหมอพิษ๑๓๐ จงประหานชีวันไหยบันไรย พญาชาดตีสตุ้ร๑๓๑พุว่นาษ ฆาแตผูเปนเจาพระอาจารร แต่เพียงนี่บิดตุรงยังทรงโปรด เอาสัดตรามาพัน๑๓๒ไหยบันไลย เทวะทัดจึงว่ามหากระสัดบอพิด อย่าพักค่าเคียวศตร้าสาระพัษ แต่เท่านี้พักประดักประเดิศ ยายูชาภาจะยับจะกลับกร้าย บางบ่อคืนปีนอามาคราชษรี คํารบรับวาจะจับพระบิดร เสดจอ้อกขางนาเสนาร้าบ เว่ยๆ เสนาจับบิดากูพาไปย ฝ่ายเสนาฟังว่าน่าสังเวช ไมยอ้าดคัดกลัวจ่พีดชีวิดยับ มาถึงผูทรนะเรนสูน พีมพิสารรพระองทรงฟัง ๑๓๐

บพิตร พญาชาติศัตรู ๑๓๒ ฟัน ๑๓๑

บิดาหฤายาไมยใหยาใดยคีษ มอบนะขอนโพไคใหเปนสีด อายาสีดกีจการรทังบ้ารเมือง กระสัตราแจงขวามไปยตามเรือง ไม่คัษเขืองตองฆาบิดาต้าย ยาพ่วงหลงคีดทําจิดงาย ยังมีชายโชดชัวหวดตัวดี นําใจยปองค้งวัยมีไหนี ค่หคัดนังนีไปยใดส่บ้าย ถือวาดีไคยสมอารมมหมาย จร่เขืองระค้ายขินยังไรย ภารหาเปนสีดบ่อพิดไมย อย่าไหยส้มบัดเขีนใหยีนหน้ารร พังโอวาดหว้าจาที่ว้าขารร จ่ไหยผลานบิดาคาจ่นไจย ประทารโทดยกสัมบัดไหย จะเสือมไนยสุรีวงพงกระสัศ แต่ขิดเพียงจฆาหฤาม้าขัษ ขังขัดไวยาใดยลดไหอดตาย เชือรูบเทีดไหมม้ากไมยาคอง้าย ทําไมตายเชือเปนไญ ไดยีนอือเฝาเจานะคอ้รร เทวทัศถว่ายภรอําล้าไปย บังโคมกราบกรุงกระสัดตํารัษไซ้ย เอาเขาไสยกรุฃังกูบังคับ ไหสมเพดพวกไชยไหยไปจับ คํารบรับกราบลาละล้าละลัง บังโคมทูนแจงความตามรับสั่ง ว่ารับสั่งแล้วเจ้าเล้าเอ้าเร้าไปย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕๓

ยาเกรงไจยต้องพิษเพราะตั้วเร้า สะอื้นพรางถางเชีนดําเนินไปย จะเกล้าทื่งองอัคชาเยด สังไหจับบ่พิดพระบิดา จึงเอาเคาเคร้าไสยใวยในยม้วยผน ม้าทีงค่ปรคลเขยิ่งยุเรยิ่งร้าย เหนองพระพัศดานําตาต้ก สงกร้รแสงโสกสรรหรําพรรไปย พระโอรดรุแจงแสดงอรรถ นางยักไสยในฉะลองพระบาทา เขาทูนความห้ามมิไหนางใส่เกือก สไบห่มกรุมซีกเข้าปิดบัง พระยาชาติสัดตรูผู้วะเรด เพราะพระราชบิดามาหากรร องค์การตรัษตัดความเพื่อห้ามคาด เสนามาแสดงแกล้งกิดจา นางกระษัตรฟังอัดทรงวีโยก ขิดถึงบุตรสุดแข้นใหแสนเคือง กระมอมฉันทูนไว้พระไม่เชื่อ ทีนี้แน่แท้ทักประจักตา โอ้พระคูนทูลกระหม่อมของเมียเอ๋ย สักชีวันนั้นจะมีชีวีวาย ...............(ความขาด)........... ........................................... โหนเท่าทายหมายแน่แต่กําเนิด เมียขิดฆ่าพยายามด้วยความกลัว มาเหนภักสักประเดียวจะเลียวลับ จะลําบากยากงายจะตายเปน กําหนดวันไม่ทันจะถึงไหน สุดอาไลใจเมียจะคาดแล้ว ๑๓๓ ๑๓๔

เศร้า องค์โอรสา

เสนาเทร้า๑๓๓บังโคมนําตาไลย เอาเขาไสยกรุฃังเมือนสังม้า ไดแจ้งเห้ดวาองโรดสา๑๓๔ ไหยชีวาสะวันนะคดเพราะอดตาย เสจะดวยสาวสะนมนางท้งล้าย จีงบ้อกนายผูคุมเข้าไหเค้าใปย แล้วยีบยกโพชนาเอามาไห แต่เช่นนี้คือไค้ยลายวรรม้า องกานตรัษหามมีไหยใสเกสา ให้พัดสะดายอดฅอภอประทัง จึงบดเคล้าเข้าเกลือกลับมังสัง เข้าไปนั่งให้เลียเสวยเคยทุกวัน สดับเหตุว่าบิดาไม่อาสัน ได้เสวยทุกวันนิรันมา มิให้พระราชมารดาเข้ามาหา บอกยุภายอดมิ่งมงคนเมือง กําสกโสกซูบกรอมจนผอมเลีอง พีไรเรืองทูนกระสัดพระภัศดา ถือว่าเนื้อเปนชายไม่หมายฆ่า จะธ่อระมาธ่อระกําลําบากกาย ไม่ควรเลยขิดไปน่าใจหาย เพราะลูกร้ายหมายข้าบิดาตาย ....................................... ....................................... ภ่อก่อเกิดชันณะสาก็ว่าชั่ว พ่อทูนหัวห้ามไว้จึงได้เปน ภ่อเมียกลับแล้วที่ใหนจะได้เหน หมิได้เหนพระทูลกระหม่อมแล้ว จะบันไลดอกพระทูนกระหม่อมแก้ว แจ้ว ๆ สูระเสียงนางโสกา


๓๕๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

พ่ายพวกเสนาบันดาเฝ่า ทุกตัวคนทนอันตันปัญญา ก็ขิดถิ่งเจ้านายจะตายม้วย ปฤกษากรรอั้นอ้นจนน้ําใจ นางยกกอนอ่อนเกล่าอันชูสี กระม่อมฉันพิดพลังแต่หลังมา คอยอยู่เทีดกระม่อมฉันจะลาแล้ว นางกันแสงกําสดสลดใจ ฝ่ายองค์ภิมพี่สารที่บ่อดี สะติตั้งด้วยกําลังพระโสดา อดเสวยเนยนมกระยาหาร พระฉะวีผิวพ่องทองอุใร ปางณะรินทร์ปีนณะครขะจรจบ ประภาดถามเรืองความพระบิดา เสนารับกราบประนมบังคมทูน เอ่อองเหนเท่อทําเปนยังใร เท่อผอมซูบผิดรูบอย่างใรบ่าง ยืดไปเองอย่าให้เท่อจงกรม เองเอ่อพวกชางกระลาบก๑๓๕ เอาน่ําเคลือรดทราให้ราไปย กระล้ายกตกไจยไดยสะดับ มีไหยไขรยจะสูดทุกระไจยใหระแวง พากันมาถึงพระยาพิมพีส้ารร โอพระองค์ทรงเดชเดโชไชย ใดโปรดเกล้าเชาราชบริสิ้น มาตองขังแล้วมีน่าทรําจะฆ้า ฟ่ายพระยาพีมพีษร้ารรผูวะเรฏ ไมยวิตกที่ทรงโสกาไลย ผุวะไนยมีใดยตรัฎประพาษกีด มอบประนมโหยใหยไมยแสต้ง หฤาเพราะฃังกูใวยชาทีว่าค้าน ๑๓๕

กัลบก

สิ่นทังเลาที่ภีทักอยู่รักสา เวทนาสงสารรําคารใจ สุดจะช่วยผันแปรจะแก้ไฃย สงสารองค์ออระไทเจ้าโสกา เสวนีขอประทารทริ่งโทสา ทริ่งเวลาอย่าไห่มีแต่นี้ไป อันเมียแก้วหาได้กลับมาอีกไม่ เลืออาไลใจจะคาดลินลาดมา มะเหสีลับเนดทะเวดหา ภาวะนาจงกรมระบมไป เดชะญานชูกายหาตายไม่ ก็อยู่ไปหลายวันประมารมา เครื่องพี่ภบเมืองราชครึหา มรนาแล้วฤายังเปนยังใร ณะเรนสูนกระสัดไม่ตัดไส ขอเดชเท่อได้เดินจงกรม ฃ่อเดชมังสังพองละอองสม พระอิศยมโปรดปรานประการใด ไปยทะลกฟาบ้าท้าเชือดใหยเลือดไลย แล้วนาบไฟยใหทานน้รรแต่งแดง คํารับรับพัชนาหนําตาไลย อดสาแฃงฃืนฃีนจําครรไลย เฃากราบกรานกรึกกรองแล้วรองไหย คยเปนไญยอษกระสัษคัษติยา ค่าแพนดินชูบเลียงไมเดียงสา เชือดบ้าท้าน้าระอาไจย ทอดพระเนษเหนเสนามาสะไวย ชะรอยพระราชบุดใหยม้าจัดแจ้ง จึงวีนีดหกเล้าชาวชังแสง ไมยประจักจิดแจงใมยแขร้งไจย ก็เนินมาชานานจนป่านนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕๕

จะมีใจรปรงใหยที่ไหนเล่า จึงใชยใหเสนาชําระ จิงแย้มเยือนเออีนอัดตรัฏวาจา จะทัมไมยในยประสงพระองค้าร๑๓๖ กะล้าบกพงตรัฏไหยอัดอ้รร จึงกราบไวยทูนมูนคดีไพย ไหยเชอีศเนี้อน้าปไฟยไษรนําเกรือ พิมพีสารรบิ่พีดแจงกิดจ้า กรศ๑๓๗ว่าดูข้าเจ้าเล่าเสนา สั่งใหยทําแล้วก็จําจะทําใปย เสนารับอับพิวาฏพระโอรศ ดวยสูดค้ษจํานงพระองค้ารร สะมาสบจบจิดเคากรีดท้าว แล้วรัดชําน้ําเกรือแสบเลือไจย สงสารองพงพิมพิสารแสน ทั่งเจบแสบร้อนเนื้อก็เลือละ โพชนาอาหารไม่ผ่านเลย ไม่มีศูกขทูกทนพ้นปันยา อดเสวยเสยสะวางทางจงครม อะนาดจิดอิดหนาระอาใจ ในอะดิษชาติกอรใครใส่เกือก ไสยเกือกเข้าไปในอุประจาร เราท่ารทั้งหลายอย่าหมายขิด เหนว่าน้อยพลอยกรรไม่นําภา อย่าถือจิดขิดเหนเมือนเช่นว่า ยังเปิดไหยทํากําทําลําภาย อย่าถือคําต่ําชาดประมาทมิ่น ครั้นจะทําพูดงามตามสบาย ถ้าทํากํากําก่อทําระยําไป ถึงน้อยนิดติดตนเปนมนทิน ๑๓๖ ๑๓๗

พระโองการ ตรัส

นวกเคร้ายาวครูมออักรุมรัง ท้ฃาวทรงสังเกฏทริ่งเหดค้าร ยาโสกเศร้าจงแจ้งแสดงสรร ยานิ่งนานม้าเองย้าเกรงใจย บังโคมวรรว้าท้านําตาไลย รับสั่งไซร้ใหยพ้าพระบาทา ดูเหนเหลือแล้วพระพูดที่เจ้าข้า พระองเยียดบาทายืดอ้อกไปย อันอ้ายากระสัดไมยคัษไดย จะเกรงไจยตัวเราไปยเข้าย้า อย่าถือโทดอดอ้อมกระมอ้มฉัร บทารโทสาฃออาไภย เปนรอยหยาวเชื่อดจนเลือดไลย เอานาบไฟยไม้บังจนพังวะ หมีใคยแฃนคิดดังหนทางพระ สุดจะทนสมเพดเวทะนา ไดยเสวยแตคองพระทูกข้า จะธร่มาร่ภาน้รรรําไปย บาทละบมจะดําเนินไม่เดินไดย เพราะท้าวทํากําไว้แต่ไรยมา เท่อเข้าไปในเจดียะถาร คะตินี้ต้องฝานพระบาทา ว่าบาพนิดหนึ่งไซร้ไม่หนักหนา บุญมากกว่าก็จะกลบลบกรรไป บาระมีทีทรางไมล้างใดย .........(ความขาด).......... ว่าหากินภอมื้อไม่ซื้อฃาย ครั้นตัวตายบาพไม่ว่าหาภอกิน ทําเท่าใรได้เท่านั้นเมือนกรรสิ้น ไม่ยักสิ้นเปนเงาตามเราไป


๓๕๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เมือนพระยาภิมภีสารพระโสดา ไม่เนิ่นช้าชีวันจะบันไล ฟายพวกเสนาบันดาเฟา ภากรรมาแสดงแจ้งอาการ ในวันนั้นคะดีมีสองเรื่อง จะทูนละอองทรงทรรมกรรุณา เรากราบทูนเรื่องสารกูมารกอร ปฤกษาพร้อมน้อมปรรนมบังคมคัน ขอเดชะองค์พระมะเหสี พระยาชาดิสัดตูรพระผู้บาล รู้ว่าบุตรสุดแสนเส่นหา ไม่ทันพิศภักตราให้ปรานี ให้เฉียวฉุนหุนจิตรถึงบิตุเรฎ เมื่อวันสมเดดพระราชมารดา พระแเจงวาบิดานีรักบุด แล้วเออีนอัดตรัฏวาเสนาพลัน เสนาจองซ่องศบประจบทูล พระบิตุรงชีวงลับดับชีวี ให้กรุมตรัสอัดอั่นตันอูระ รูสึกตัวชั่วฆ่าบิดาตาย จะชักนิทารมาให้เหนเปนแต่ย่อ ว่าภบภารสันดารเปนภารไป ยังคิดห่วงบ่วงมารเปนจะฃัน ถ้าภาระจะชักนําแนะจะแวะวน แม้นคบการภารพากว่าจะกลับ เหมือนงัวหายภายหลังจริงตั่งคอก ดุจพระยาชาติสัดตูรเมือรู้สีก ต่องปันจะนันตะริยกําระยํายับ บาระมีควนที่ถึงมักผล ท่ารทั้งหลายจงจําเป็นตํารา อย่าว่าคนเหมือนกรรจนชั้นไม้ บรเพดภรรเนี่ยวเป็นเกลียวกรม คลทุกข์วันตันหายังมากหนา

พระบาทาต่องเชือดจนเลือดไหล จุดติไปสู่สวรรค์ชั้นวิมาร ก็โสกเศราเปล่าจิดขิดรสงสาร ไปทูลสารกระสัดขัดติยา ค่างในเนื่องก่อประสูดโอรดสา พวกเสนาปฤกษาพูดจากรร ให้พระองค์ปรีเปรมกระเสมสัน อะภิวันทูลเรื่องพระกูมาร พระภรรปีประสูดบุตรสงสาร ให้เสียวส้านทราบสิ้นทั้งอินทรี กระสัดตราปรีเปรมกระเสมศรี ดั่งชีวิดหัดไทในยะนา ชะร้อยเหตุพระองค์จะหันษา ประสูดกูออกมาก็เหมือนกรร พระคูนสุศแสนจิดขิตระสรร เองซวยกรรทอดบิดากูมาทิ ณะเรนสูนทิบ่อดินปิ่นเกสี ที่บ่อดีทราพว่าบิดาตาย โสกประทะโหยให้พระใทหาย แสนเสียดายบิดาด้วยอาไล ให้หายข้อที่พะวงสิ้นสงไศรย ด้วยน้ําใจมะนุดบุตรทุชน ไม่จริงจังแจ้งประจักในมักผล ด้วยจิตรตนจะยับจะกลับกลอก เสียเยินยับโทษกรไม่ถอนออก ดังหนามยอกออกได้ค่างในยับ ได้สํานึกหวนจิตรจริงขิตรกลับ เป็นคนบาพภารเคราะเพราะภารพา ยังไปทนอะบายอยู่ภายน่า ถ้าคบหาภาให้ใจนิยม ที่ต้นใรรศชาดไม่ฟาดฃม ยังเฟื่อนฃมรศชาศประลาดไป กีเลดราดเภิกภักหาฟังไม่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕๗

เห็นลาพแล้วโลพละโมบไป อย่าคบภารภารภาไปหาพิด ท่ารทั่งหลายบัญญัติตกระบัดตัว ด้วยต่องพุดฏิ่ตําราห้าม ประกอบกรรใร่นาเที่ยวหากิน ใครอย่าได้ภารภบสมคบหา เกิดก่อการบาพทํายาบคาย บันยัดตาจะเสวันนา๑๓๘นั้น คบนักปราชที่ท่านดีมีปฤชา แม้นสงสารสิงใดให้ไปถาม สิ่งทุกข์โสกสารภัดไม่ขัดเคือง มิ่แต่ความสวัดสัดถาผล จะได้รู้สารภัดทั้งอรรถแปร แม้นคุ้นเคยคบหาวิสาสะ จะผองแผ้วพากายใหหายมัว ทรัมดานักปราฎชาษบรรทิด มีแต่ท้างกูสนพลอะบาย เปรียบเมือนค้ามหาสะมูด ส้นออกไปยแล้วคงแต่ยั่งยืน พูดจาแต่ล่คําเมอืนอํามะฤด ไมยมีคิษอีษยาวิราดน ถ้าผูไดยฃบหาเหมือนยาพิษ ท้งสะตีบันยาม้าเพิ่มพูน ทวีคุนทุกข์โสกสรรสิ่งอรรใดย คงจะมดมนทีนสีนทูระ ยาส่งไสยบาลีมีที่อาง เมือนตํานานหนีทารรล้าวนียาย เล่นเบียเสียทรับจนย้บย้อย ระยัมยับย้าดโทรเทียวโรเร เพราะเสียจนสนสูกเทียวบูกปา เจายอบด้วยทะวายวารชูลี ๑๓๘

ปญฺฑิตานญฺจ เสวนา

จริงเตือนให้บ่ํายัดระมัดตัว ไม่มีจิตรละอดพะยดชั่ว อย่าเกรีอกกรัวติดในตนเป็นมนทีน จะเกิษความสุจริดเป็นนิจสิน ถ้าหลงลิ้นภารภาหาอะบาย ทั้งชั่วนี้ชั่วน่าภานิบหาย กรรแสสายรดทรรมไม่นําภา จงหมายหมั่นมุ่งมาทปราทหนา จงไปมาหาสู่ให้เนืองๆ ท่ารจะได้แจ้งความไปตามเรื่อง ก็ปรดเปรื่องด้วยอํานาจหนักปราชแท้ เป็นมงคนล้ําเลิดประเสิดแน่ ตามกระแสที่พรั้งได้ยั้งตัว เหมือนชําระมลทินให้สิ้นชั่ว จะพาตัวไหยเปนสุกสะนุกสบาย จะขิดข้างทางพิศอยาคิษม้าย จะเผยผ้ายวัจนังค่อยั่งยืน หมีได้ซรุดโซรมยับลงกับคลื่น แตพีนแดนกระพีไมยมีปน ควนคะฤคลําเลิดประเสีฏผน เหรรใจรยจนเมดตาใหยการุน จะยีบยกโรครายไหยหายสูรร จะสิ้นสูนสาระพัดอูบัดทะวะ ทาไดไปยพุดจาวีสาสะ เพยียงบรรย้งไคยรอดใมวอษว้าย แจงกระจ่างบอกสํานักเปนม้รรม้าย วายังมี่กระท้าชายมันโลเล เจานีคอยทูกวรรเที่ยวหรรเห ก็สัดเสไปยไนยปาพะนาลี ก็ไคลคลาพ่อปรสบพบฤาษี พระมุนหนีมีจิดคิษเมตา


๓๕๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บวดให้เหนเปนฤาร์ษีรที่อาสม สอนไหยปรนนีบัดวิปัศนา ไนยวรรนึงเขาชานบรรดานเหาะ จีดกระวัดพลัดตกลงปัตพี จีงเกี้ยวพาราศีรกรรทีนรร มายูเรอินพ่อตาแลแมย้าย หากินอื่นสารพัดไม่คัดสน ขัดเมียไมยไคยตองไปยทํา ลงอายาตามศานูโทดที่ ก่อวรรนรรพระอาจานบรรดานไจย เหรรคลมาลากจิดไหยพิดไจย ไม่มีจิดขิดตรสมเพ็ดเวทนา ว่าท่ารเอยอย่าได้เลยลืมสะละ ชายนั้นได้สะติดํารีทรรม สําแดงเหตุเพดชานบันดารเหาะ เรื่องเช่นนี้มีมาถ้าทิบาย ถ้าคบภารๆ ภาไปหาพิด

ไหยจําเรินทางพรมวีหารร ขรันยูมาก็จําเริญทางโลกี มาจําเพาะสดับนารีสี ด้งสําลีไมยเจบเปนเน้บกาย กับยิ่งนัลใดยสังวาฆเมอีมาดย้าย บ้ารรนัรรายลวนพวกโจรระกํา อิเมียเฟาบนพีไรยรํา จนทิ่งกําข้าวก่อจับเอาตัวไปย ตะเวนรองฆองตีตามนีไสย จะเทยีวถือไปบินที่บาฏราษตะนา จีงเขาไปยใกล่ทามทักรูจักน้า จริงให้โอวาทาสี่ห้าคํา หนทางพระนันเป็นไรจริงไม่ร่ํา เครื่องจองจําลุกครากออกจากกาย ลอยจําเภาะเมคาเวหาหาย ท่ารทั้งหลายจงตั้งสะตีตน

กลัป น่าปลายมงคลทิปนี คบบันดิดขิดภาไปหาผล จงกรองให้แน่เหนแจ้งแห่งอยู่บน ระมัดตนหวงตัวอย่ามัวไป ไม่เลงผลยนประโยชแลโทดคุร บาพแลบุนย่างใรเอาใจไส่ ให้มีมนกระวัดในพระรัตณะไตร จงอย่างใจไตรลักสะณะญาน ครืทุกขังอะนิดจังอะนัดตา เราเกิดมาเวียนวงในสงสาร ทุกฃังทุกพนจะทนทาร จะประมารทุกมีอยู่สี่กอง ชะราชาติพะยาดทีมรณ ทุกข์ประทะทุกทนให้มนหมอง เราท่ารหญิงชายอย่าหมายปอง ให้พ้นกองจากทุกที่ทับกาย อะจีรังสังขารเราท่ารเอ๋ย ไม่เที่ยงแท้แน่เลยอย่าขิตรหมาย จุติเอากําเนิดเวียนเกิดตาย จนชั้นกายแก่นสารก็ไม่มี เมื่อเติบใหญ่เหมือนดังเขาชักหุ่น ภอสิ้นบุญทาตุดับกลับเปนผี ทั้งเน่าเหมนดีร้ายไม่เข้าที สํารับที่จะถมจมแผ่นดิน อะนัดตาสูนเปล่าไม่เข้าเรื่อง มีแค่เครื่องป่วยกายไม่หายสิ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕๙

กายเกิดกายจมถมแผ่นดิน อัดตังเราเปนหาเหนไม่ อะเปตะวินยาโนโอเมือตาย อะทิเสสะติจะทอดทิ้ง นิรัดถังวะคะริงคะรังนี้ ไม่ได้การศักสิงจิงน่อกาย ถ้าจะไช้ค่างกรงก็กรงไป จนคนตายกายเน่าไม่เข้าเรื่อง คนกลับเกลียดกลัวไซร้ไม่นําภา อะนิดจาขิตรมาน่าสังเวด เมือยังเปนคนถือตนกะไรเลย งามโฉมงามนิ้วทั้งคิ้วผม นมเตงโครงครัดคร่ํากําดัดดี ยิ่งขิตรไปก็ยิ่งใหสะลดจิด ลิ้นทะล้นพร่นน่าฃนพอง ขิดเห็นเป็นอะศุพะกํามะถาร มีชีวิดขิดจะทํามาหากิน พระอัดถังงขิกะมัก๑๓๙จงรักใคร อย่าประมาดลุอํานาดแก่โลโภ อันชีวีชีวาคาดอย่ามาดหมาย สารภัดสิ่งไร้ไช่ของเรา อันสิ่งอื่นหมื่นหนึ่งไม่ถึ่งได้ ใครอดซร่ารักษาพะยายาม อักกูสนผลกําทรรมบด มะโนกําสามนั้นเป็นกําทําด้วยกาย กายกรรมทําด้วยกายนั้นองค์สาม ทศกูสนละกรรมทํากันมา อีกทั้งองอุโบสด อย่าประมาทละเมินเจริญทาร อย่าให้ยาบบาฟทําห้าสิบดวง ทร่างเสบียงไปค่างน่าทําให้ภอ ๑๓๙

อัฐฏังคิกมรรค

ทั้งแร้งกาหมากินจนสิ้นกาย อะยังกาโยยังกายทั้งหลาย ตุตโนสุนเปล่าดายกายไม่ดี ปัดทะวิงเหนือพืนปัดถะภีศรี ไม่มีดีนิ่งนอนเหมือนท่อนไม้ ถ้าไม้ตายต่องการทํางารได้ ถ้าจะไช้ค่าคดก็คดตา ไม่เปนเครืองสําภะระได้สักท่า ใครอย่าปราทหนากายาเลย น่าสมเพดญิงชายทั้งหลายเอ๋ย เมือคนเอยยังไม่ตายว่ากายดี ดูน่าชมผิวผองละอองสี สิ้นชีวีพะอืดพังพืดพอง พี่นิดคิดดูให้เหนเปนน้ําหนอง อัดทิกองเกลือนกลาดอยู่ดาดดิน อีกประการหนี่งเล่าเราทั้งสิ้น จนถะวินถิ่งสํามาอาชีโว อย่าพะวงสงไสใจโมโห ทั้งโทโสอดกลันให้บรรเทา ให้เล่งดูรูบกายตายแล้วเปล่า ถิ่งของเขาสักนิดไม่ติดมา ถ้ า เว้ น ไว้ รั ต ะนั ง (ศิ้ น ทั้ ง หลาย) แก้ ว ทั้ ง สาม ท่ารก็ตามติดมารักษาภาเราไป จิ่งกําหนดอย่าได้ละเอาใจใส่ วาจีสี่ที่ดีให้เจรจา ก็ต่องห้ามยุกยิกเหมือนสิกขา จงรักษาสินห้าสมาทาร จงกําหนดไห้เหนเป็นแก่นสาร จงทรมารน้ําใจแลในฅ่อ มักลัดลวงดวงจิตรให้ขิตภ่อ อย่าย่อท้อทางทําภาวะนา


๓๖๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เอาสะติเปนทุนอย่าละเมิน จงจําเริญจัดตุพรหมวีหาร คือเมตากรรุณามุทุตา อุเบกขาสี่อย่างหนทางพรหม ถือฃันติแล้วอย่าตีให้ขันแตก เหมือนเช่นแขกว่าเล่นไม่เหนสม ความสัดจังตั้งไว้ในอารมณ์ ...........(ความขาด).......... .................................... ...................................... .................................... ให้มีกะตันญูรู้คุนคล ทั้งกัตเวทีให้มีตอบ จะประกอบความสวัดพีภัดผล ให้มานะสิการะไว้กับตน เปนมงคนพ้นโทดที่อะบาย พูดทาทรรมมาสังคานุสะติ จงดําริมุ่งมั่นสําคันหมาย ทั้งสีลาจาคานั้นอย่าคลาย อย่าห่างกายอดซร่าตรึกลําฤกบุญ หนึ่งเทวากายานุดสะติ จงดําริวิตกออย่ามกมุ้น อุปสรรคนานารักษาคุน จิดกระตุ่นอะนาลมหายใจ ทั้งสี่อย่างเปนหนทางให้สํานึก ถึงอย่างเดียวถ้าจะนึกนั้นก็ได้ แต่ให้มีสะติดําริไป สักอย่างหนึ่งอย่างใดว่าคํารพย์ พุทธคุนให้ดําริอิติปิโส จนพุทโทพะคะวาว่าให้จพ ทรรมคุรสวาคยาว่าให้ครพ วินญูหิดติจนจพพระทรรมคุน สังฆคุนตั้งแต่สุปติปันโน จนถึงโลกัดสาติดําริว่า ครืคุนพระพุทพระทรรมพระสังฆา อันสีลานุสติดําริขิด ............(ความขาด)................. .............................. ............................................. .............................. ให้พิจารนาปานามีองห้า อีกสินอะทินนามีองสี่ กาเมสุมุสาสุรานั้นก็ดี มีองสี่ที่ให้นึกลําลึกปอง แล้วนึกสีลาค่างน่าค่างหลัง อีกทั้งตัวรักสาอย่าให้หมอง จาคานุสะติให้กริกกรอง นึกถึงกองกูสนผลทาร ไว้แล้วก็ให้นึกลําฤกหา ถึ่งค่างน่าก็ให้จิดเร่งขิดอ่าน เทวานุสะติดําริการ ดูอย่างท่ารฟูงเทพยุดา ที่อย่างนั้นท่านทร่างบุนอย่างนั้น จริงขี่นไปสู่สวรรค์ด้วยหันสา กายะคะตาอะนาปา อุปัศมานานุศติดําริไป เปนหนทางค่างวิปัศนาญาร เราท่ารจงได้เอาใจไส่ อย่าประมาดพลาดพลังจงตั้งใจ จะได้ไปสู่สุดขะติภบเอ๋ย ฯ สิ้นกาบมงคลทิปนี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๖๑

(ความแทรก ๑) ฉันแต่งไว้ด้วยใจบอริสุด ใครได้ฟังว่าได้ภารภร ฉันแต่งกลอนสอนเตือนสะติไว้ เพราะแต่งมาอย่างนี้ยังหมิเคย ฃอหนักปราชที่ฉะลาดช่วยเฉลียว เป็นค่างประกอบชอบพิดในจิตรใจ ไม่ได้เลือกถ้าว่าดีแลชั่ว อย่าประมาทพลาดไปให้ระวัง อย่าพูดมากไม่ยากดีสักทีหนึ่ง ประทุกเสือเรือหนักขี้มักจม ถ้าเรวหนักไม่ทันยั้งจะพลั้งท่า ถ้าคลาดหนักขี้มักวิ่งจะชิงบิน ถ้าแคบหนักขี้มักคับขะยับยาก ถ้าเบาหนักขี้มักปลิวละลิ่วลม ถ้าชันนักขี้มักย่นทรืงหนทาง ถ้าถือไม่มีชองจะกรองบาง ถ้าไม่ขิตรขี้มักภิดไม่มีคุน ถ้าผู้ใดใครหมายทําร้ายเขา ถ้าจะจับๆ ให้มั่นขั้นให้ตาย ถึงใครเขาเอาความมาถามเลา แม้นเดกพูดชอบเอาเป็นครู เกิ่ดเป็นคนแล้วอย่าได้ไว้ไจยคน ............................................. .......................................... ยอมเวยีนวนทรรทูกธระมารร อัรรคูสนแลกูสนเปนตนเหศ ปลงจีดคิดใปยเด็ดไปไม่จีรัง เอามาหักหายใจให้เปนสูน นวงเอาคุนพระทรัมฃัรรใหยมัรรก้าย๑๔๐ ๑๔๐

หน่วงเอาคุณพระธรรมขันธ์ให้มั่นกาย

ก็สมมุดคัดห่างลงค่างจพ จงคํารบจําคําอย่าลืมเลย ขออาภัยเทิดท่ารทั้งหลายเอ๋ย ถ้าละเลยพิศพลังอยู่ยังใร ตกแต่งเตีมเพิ่มคิดประดิศไสร สํารับไว้ให้ท่ารได้อ่านฟัง ถึงพลั้งยั้งตัวกลับถอยหลัง จาฤกฟังไว้ในอารม อย่าโกรงกริงกลอกหนักมักจะล้ม ถ้าสูงหนักขี้มักล้มลงจมดิน ถ้าช้าหนักขี้มักล้าเขาไปสิ้น ถ้ากล่าหนักขี้มักบิ่นจะสิ้นคม ถ้ากว่างมากไม่มีจะไส่ภ่อให้สม ถ้านักหนักขี้มักยุ่งจะต่องสาง ถ้ายาวหนักขี้มักค่างจะคาดทุน ถ้าห่างหนักขี้มักกว่างตกไต่ถุน ถ้าขิตรหนักขี้มักคุ่นเคืองระคาย อย่าเบาใจดูให้เหนกระเสนกระสาย ดูแยบคายอย่าคะยับจับหางงู อย่าหูเบาฟังหูนิ่งไว้หู อย่าลบลู่เดกนั้นด้วยอันดี ...........(ความขาด)....... .................................. ไมยบอริสูดสิ้นสิ่งหวงบวงสงสาร จงตรองการดูให้เหนเปนอะนิดจัง ใปยทนทะเวดยูไนกองพระทุกขัง เอาบุนกําเปนที่ตังกับความตาย ทิ่งความทุกค็จะเท้าเบ้าสะบ้าย ทั้งยิ่งชายอดสาคิศจีดรําพึง


๓๖๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

อรรเกิดมาในยมะนูดนีสูดย้าค อดทราถอนผ่อนจิดพินิดรําพึง แม้นโลบลงคงจะใหยตัวเนอียเนต๑๔๑ คงจะตายเทยิ่งแท้เปนแน่ไจย ยามกมูนคูนคิศในยความชั่ว อ้รรมีจนนั้นก็ผลษ์บูนกรรม แต่ดวงจิดขิดให้ปลอดอย่าสอดแคล้ว อันร่างกายของเราสักกี่วัน แม้นรักตนฃวนฃวายเอาตัวรอด ทิ่สิ่งชั่วนั้นอย่าประมาทไป อันปากคนสรรเสริญแลนินทา อย่าเชื่อฟังนี่โน่นให้โยนยาว อันมีดีชั่วทุกตัวสัตว์ อย่าน้อยจิตขิดกลัวว่าตัวจน จงปรนนิบัดตามอรรถที่สั่งษร ให้มั่นตรองมองหาที่ภึ่งภิง สงวนชาติอย่าให้ปราชนั่นเติยนติ ที่สิงซึ่งเปนกําเร่งยํากลัว คอยเจริญวัดจะนาเป็นผาศุข ถ้าเห็นทุคภารธรชนเปนคนจร .........(ความขาด)................ ............................................ ผู้สนองได้กรึกกรองในการบุน ส่วนถ้อยคําพุทธดีกาเท่อ อันทรับพ่สัด๑๔๒เกีษมาไนมะนุด ...................................... ..................................... . ..................................... ความล้บยาไหยใจลวาง มีหรืจะประกวดเทียวอวศรู ๑๔๑ ๑๔๒

เหนื่อยเหน็ด สรรพสัตว์

ยามักมากโดยโมโหตัรรหาหึง ละลึกถึงคุนพระรัตนะใตร มยสิ้นเสนอายุเราไปตงไนย เรงรักใครคุรพระสะทรัม อย่าเชื่อตัวหวามีทีอุประถั้ม์ แม้นใครทําคงถึงเป็นเที่ยงทัน ดั่งดวงแก้วสว่างสุดมะนุดสวรรค์ คงอันตะรายจากมะนุดไป ให้ประกอบตามพุททวีไสย ยับยั้งใจอย่าให้มีราคีคาว เทศหนาว่าเป็นโลกขสามหาว อันคํากล่าวก็ไม่เปนเช่นคําคล พระเจ้าตรัสว่ากูสนและอะกูสน น้ําใจคนอดซร่าตั้งสัตจังจริง ซึ่งทุกร้อนก็จะคลายทั้งชายหญิง ของที่สิงจะเปนบุนให้คุ้มตัว รักษาสะรีอย่าประวิงที่สิงชั่ว เทพทั่วก็จะช่วยอํานวยภร ให้ทร่างทุกข์ภินโยสะโมษร จงตัดรอนอย่าร่วมรักสมาคม ..................................... ..................................... เชื่อคุนให้ชํานารเสนอ ท่ารอวยเอ่อสั่งสอนให้ทุกประกาน .............(ความขาด)............. .......................................... .......................................... ตรึกนึกคิศพีนิดดู ปะเสือปะชางยาใคยหยู เอาไวสูรบรับเผืออับจน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๖๓

เกิศเปนชายหมายหารักษราชาด ยาทะนงองคงอาศประมาษคน เปนมะนุดเมอื่นกัรรแต่ฉันปู๑๔๓ เกีดเปนชายหมายมาดประหมาดชาย ผูแตงแสดงคําฃอคําคิศ จะเปนกูสนผลพลา ยังไม่ทีงนีภารคราใดย ฃไหไดพบประสบพาน จงทูกภบทูกชาดยาคราษแคร้ว ศักสีสะตีแลปันยา ไหยสักดาวะราริดประสีดกลา คารวะเมอืนหนึงอะนันทะวง ขึ้นชือว่าลําบากความยากใร้ เเม้นสัดตรูมู่ภัยจะหมายคช ฃอภบพระอาริยเมือท่ารตรัส ทร่างกูศลษาระภรรรบรรพชา ให้มีบิดาแลมารดาจขะนาญาติ ให้สํามะคีรดนิดเหมือนจิตใจ

เมอินจามจูรีราชรักสาขน อย่ามีนคนวาไครจะทรัมไมย หัวไหมมีมีแตตีนยังเดินใดย จงฟังคําจําไวยเปนตํารา เพราะนามจิตมุงมาดปราษทนา ฃ่อไหยคาสม้เรศ๑๔๔แกพระนียพารร ยังเวียนอยู่ไนยวัดตะนะสงสารณ ภบแตท่ารทีดีมีปรีชา ไหยภองแผ้วมนทีนสีนโทสา เมือนพระสาสารีบุศพูดทะวง เมอืนโมคลาอารีสง พุทธองค์อะนุชาตะถาคด ทั้งเฃนใจไร้ญาติให้คาดหมด จะเปลืองปลดพะยดยับอัปะรา จิตรกระวัดในพระบาทสาดสะหนา แล้วตัวข้าฃอเกิดคติใด ๆ อีกทั้งลูกเมียร่วมสวาทพิดไสมย กว่าจะได้พระนิบภารสํารานเอย

(ความแทรก ๒)๑๔๕ เจ้าเปนคูหา จะยูอาไศรย เจาตายจากพี อันตัวของข้า เจาเปนคงคา จะฃออิงแอบ เจ้าเปนคีรี ๑๔๓

อันต้วของข้า เปนพระยาราดชษรี ในยถ้ํามนี กว่าชีวิตรพี๑๔๖ จะมาโทรมทรุด เป้นใม้ยงิ้วฉิมพาลี วิมารสูงสุด จะเปนพระยาครุด ฝากฝังยั้งยุด ใมยรางหางน้อง อันตัวพียา จะเปนปลาทอง แนบพัลวัน น้องจะคอยลอยลอง ไน้ยทองคงคา อันว่าตัวพี จะเปนพฤกษา

แต่ชั้นปู สําเร็จ ๑๔๕ คนละลายมือกับผู้คัดลอกมงคลทีปนี ๑๔๖ กว่าชีวิตพี่ ๑๔๔


๓๖๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

งอกขึนเปนกอ้น ชะงอนผูผา ๑๔๗ ทรัพสิท ปริชา อุธอรรอ้นเรา สรอยเสร้าโสกสัน เหนือพื้นปัถพี มิใดยวาดไวย

ชั่วนีชั่วนา ฃ่อหยาไกลยกัน ครวญคร่ารําหา โสการําพรรณ พระองทรงธรรม สินสัมประฤาดี ครั้นต้องนําคาง.....

(หมดฉบับแต่เท่านี้)

๑๔๗

คาดว่าคัดลองมาจากนิทานเรื่องสรรพสิทธิ์ชาดก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๖๕

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช ฉบับวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี ดรณ์ แก้วนัย๑๔๘ บทนํา ประเทศไทยมีวรรณกรรมท้องถิ่นจํานวนมากแต่จะเห็นได้ว่า การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นยังมีไม่มาก นัก ทั้งนี้ คงเป็น เพราะค้น หาต้ น ฉบั บได้ย าก ปั จจุ บั น การศึกษาวรรณกรรมท้ องถิ่ นได้ ขยายวงกว้า งมากขึ้ น เนื่องจากมีหน่วยงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นหลายหน่วยงาน เช่น สถาบันทักษิณคดี ศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ศูนย์สยามทรรศน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏต่าง เป็นต้น วรรณกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์หากจะแยกตามวัสดุที่ใช้จารึกหรือบันทึกอาจจะแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. วรรณกรรมใบลาน มีทั้งที่จารเป็นอักษรขอม อักษรไทยน้อย และอักษรไทย เช่น ทศชาติ มหาชาติ ตํารายา ตําราโหราศาสตร์ พระอภิธรรม บทสวดมนต์ เป็นต้น บางเรื่องอาจจะมีหลายสํานวนโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งมหาชาติ ๒. วรรณกรรมสมุ ด ไทยหรื อสมุ ด ข่ อย มี ทั้งเรื่ อ งศาสนา ไสยศาสตร์ คาถาอาคม ตํ า รายา ตํ า รา โหราศาสตร์ สุภาษิตคําสอน นิทาน และนิราศต่างๆ วรรณกรรมทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้นไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนว่าประเภทใดใช้จารลงในใบลาน ประเภทใดใช้เขียนในสมุดข่อย พบว่ามีแต่งปนกันไปทั้งสองประเภท เรื่องเดียวกันอาจจะมีทั้งที่เป็นใบลานและ สมุดข่อย อย่างไรก็ดี วรรณคดีที่ได้รับยกย่องและนิยมแต่งกันมากที่สุดในประวัติวรรณคดีไทยนั้นคงไม่มีเรื่องใด เท่าเรื่องมหาชาติ เพราะตามหลักฐานปรากฏว่ามีเรื่องมหาชาติอยู่หลายสํานวนด้วยกัน คือ ๑. มหาชาติคําหลวง เป็นมหาชาติเรื่องแรกที่แปลเป็นภาษาไทย แต่งเป็นคําหลวง คือ ประกอบด้วย โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นประธานให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ สําหรับใช้สวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟังในวันนักขัตฤกษ์ ต้นฉบับเดิมสูญ หายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตโกสินทร์ โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่ง

๑๔๘

นักวิชาการอิสระ เครือข่ายศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๓๖๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ซ่อม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ ได้แก่กัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ มหาชาติคําหลวง นี้ มีศัพท์เป็นคาถาภาษามคธแทรกตลอดเรื่อง ทําให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องได้ยาก๑๔๙ ๒. กาพย์มหาชาติ แต่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าทางธรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๕ เพราะปรากฏในพระราช พงศาวดารว่า เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๙๖๔ พ.ศ. ๒๑๔๕ พระเจ้าทรงธรรมโปรดให้นักปราชญ์ราช บัณฑิต แต่ งมหาชาติคําหลวงขึ้น ซึ่งสมเด็จ กรมพระยาดํา รงราชานุ ภ าพทรงสัน นิษฐานว่า หมายถึ ง กาพย์ มหาชาติ ที่เราเรียกว่ากาพย์มหาชาตินั้นก็เพราะเหตุว่าหอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับหนังสือมหาชาตินี้ กัณฑ์ กุมารฉบับหลวง ซึ่งแน่ใจว่าเป็นสํานวนครั้งกรุงเก่า ต้นฉบับมีชื่อว่า กาพย์กุมารบรรพ ต่อมาได้อีกฉบับหนึ่งชื่อ กาพย์วนประเวสน์ เห็นว่าแต่งดีถึงขนาดพอเปรียบกันได้ จึงเรียกตามชื่อต้นฉบับเดิมว่า กาพย์มหาชาติ เดิม เข้าใจว่ามีครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ แต่ที่ปรากฏอยู่ในหอสมุดแห่งชาติเพียง ๓ กัณฑ์เท่านั้น คือ กาพย์วนประเวสน์ กาพย์กุมารบรรพ และกาพย์สักกบรรพ แต่งเป็นร่ายยาว มีคาถาบาลีแทรกเป็นตอนๆ แต่น้อยมีกาพย์ภาษาไทย มาก สําหรับใช้เทศน์ให้คนฟังเข้าใจเรื่องง่ายขึ้นกว่ามหาชาติคําหลวง แต่มีเสียอยู่ที่ยาวเกินไป ไม่เหมาะจะ นํามาเทศน์ให้จบในวันเดียวได้๑๕๐ ๓. มหาชาติกลอนเทศน์หรือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรง สันนิษฐานว่า เมื่อมีหนังสือมหาชาติขึ้นแล้วพระจึงนําไปเทศน์จึงเรียกว่าเทศน์มหาชาติ การเทศน์มหาชาติจึง เป็นกลอนและเป็นทํานองต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเป็นต้นมา ดังนั้น มหาชาติที่ใช้ สําหรับเทศน์จึงเรียกว่า มหาชาติกลอนเทศน์ ต่อมาภายหลังเห็นว่าหนังสือมหาชาติสมัยสมเด็จพระเจ้าทรง ธรรมนี้ยาวไป เพื่อจุดประสงค์จะเทศน์ให้จบในวันเดียว จึงได้มีการแต่งหนังสือชุดมหาชาติขึ้นหลายสํานวน ด้วยกัน แม้มาในชั้นหลังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังแต่งเพิ่มเติมอีกมากมาย ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้คัดเลือกสํานวนที่ดีเยี่ยมแต่ละกัณฑ์ มาจากมหาชาติกลอน เทศน์ที่มีมากมายหลายสํานวนและให้ชื่อตามชาดกว่า มหาเวสสันดรชาดก ด้วยเหตุที่มหาชาติกลอนเทศน์แต่ง เป็นร่ายยาว ไม่ใช่กลอนแบบที่เข้าใจกัน จึงเรียก มหาเวสสันดรชาดกนี้ว่า ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๕๑ ๔. มหาชาติคําฉันท์ เท่าที่พบในหอสมุดแห่งชาติเป็นสํานวนของ น.อ. หลวงสํารวจวิถีสมุทร ร.น. แต่ง เสร็จราว พ.ศ. ๒๕๐๒ แต่งเป็นร้อยกรองประกอบด้วยฉันท์ กาพย์ และร่าย เพื่อเปลี่ยนรสของผู้อ่านให้ได้

๑๔๙

เสนีย์ วิลาวรรณ, ประวัติวรรณคดีและการประพันธ์, กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, ๒๕๑๗. หน้า ๓๐ วรรณดี เอื้อสถาพร และคณะ, คู่มือมหาเวสสันดรชาดก, กรุงเทพฯ: คุรุสภา, ๒๕๑๓. หน้า ๒. ๑๕๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒ – ๓. ๑๕๐


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๖๗

สํานวนแปลกๆ กันไป นอกจากนี้ยังมีที่เป็นพระนิพนธ์ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา เป็น ต้น๑๕๒ ๕. ลิลิตมหาชาติ มีปรากฏอยู่ในหอพระสมุดรวม ๘ กัณฑ์ เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบําราบปรปักษ์ ๒ กัณฑ์ นอกนั้นขอแรงพระภิกษุแต่งกัณฑ์อื่นๆ๑๕๓ ๖. มหาชาติคํากลอน แต่งเป็นกลอนสุภาพโดยกวีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เท่าที่พบในสมุดข่อยมี เพียงกัณฑ์กุมารเท่านั้น เรียกว่า กุมารคํากลอน๑๕๔ มหาเวสสันดรหรือมหาชาติจึงเป็นวรรณคดีโบราณที่ถือว่าเป็นเพชรน้ําเอกในบรรดาชาดกทั้งหลายใน คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่มีคุณค่าแก่อนุชนรุ่นหลังทั้งในแง่ของความไพเราะ ความซาบซึ้งในรส วรรณคดี ความงามของภาษา และสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความ เชื่อ และจิตใจของคนในยุคสมัยต่างๆ ในการสั่งสมบารมีทั้งสิบชาติของพระพุทธเจ้า และพระชาติที่สําคัญที่สุด คือ พระชาติที่พระองค์ประสูติเป็นพระเวสสันดรชาดก และจุดมุ่งหมายของการแต่งที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นการแสดงธรรมทางพุทธศาสนาโดยมีตัวอย่างเป็นนิทานชาดก เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจและจดจําได้ง่ายขึ้น วินเตอร์นิทซ์กล่าวอ้างสัทธรรมปุณฑริกสูตรว่า “พระพุทธองค์ทรงเข้าใจดีถึงความแตกต่างแห่งสติปัญญาของผู้ สดับพุทธพจน์ พระองค์จึงทรงมีวิธีการหลายประการในอันที่ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ตรัสสอนด้วยการ เล่ านิ ทานสนุ กสนาน คื อ ทั้ งสอนและให้ความเพลิด เพลิ นไปพร้ อมกั น สํา หรับ ผู้ฟังนั้น ไม่ แต่จ ะได้ รับ ความ เพลิดเพลินในปัจจุบันชาติเท่านั้น แต่ยังจะได้สู่สุคติภพเมื่อถึงมรณกรรมไปแล้วอีกด้วย....๑๕๕” ทางพุทธศาสนาฝ่ า ยเถรวาท พระมหาเวสสัน ดรชาดกนั บ เป็ น เรื่ องยิ่ งใหญ่ เ ทีย บด้ว ยมหากาพย์ ร า มายณะ และมหาภารตยุทธ์ของชาวฮินดูที่เดียว ประจักษ์พยานที่นับว่ามหาเวสสันดรชาดกมีอิทธิพลต่อคนไทย มาช้านาน คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยสมัยสุโขทัย ล้านนาไทย อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์๑๕๖

๑๕๒

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔. ๑๕๔ ดู พิพิธภัณฑ์วัดเกาะ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี “กุมารคํากลอน,” ฉบับสมุดข่อย ๔. ๑๕๕ สุวนีย์ ชวนสนิท, “วิเคราะห์รา่ ยยาวมหาเวสสันดรชาดกทางวัฒนธรรมไทย,” วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๙, หน้า ๒. ๑๕๖ มณี พยอมยงค์, “การวิเคราะห์และเปรียบเทียบมหาชาติฉบับภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้,” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๑๙, หน้า ๓. ๑๕๓


๓๖๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

มหาเวสสันดร กัณฑ์มหาราช สํานวนวัดไลย์ กั ณฑ์ ม หาราชเป็ น กั ณฑ์ ที่ ๑๑ ใน ๑๓ กั ณ ฑ์ ของมหาเวสสั น ดรชาดก ต้ น ฉบั บ ที่ นํ า มาปริ ว รรตนี้ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นต้นฉบับที่สืบเนื่องมาจากยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยมีลักษณะต้นฉบับดังนี้ ที่มา ต้นฉบับปกหน้าและปกหลังไม่มี แผ่นที่ ๑ ชํารุด มีบางหน้าที่ตัวหนังสือลบเลือนไม่สามารถ อ่านได้ จึงไม่ทราบที่มาว่าใครแต่ง แต่จากการศึกษาเนื้อความของต้นฉบับหน้า ๑๓ ได้กล่าวถึงรสชาติอาการ ฉุนของกัญชาว่า กัญชาที่ชูชกไปพบฉุนเหมือนกัญชาของจังหวัดเพชรบุรี ดังนั้น ต้นฉบับอาจจะเป็นสํานวนที่ แต่งมาจากจังหวัดเพชรบุรีก็ได้ ลักษณะ ต้นฉบับเป็นสมุดข่อยสีดํา ตัวหนังสือสีทอง/สีขาว กัณฑ์มหาราชนี้ต้นฉบับแต่งเป็นร่ายหรือกลอนเทศน์ซึ่งจะปรากฏว่าเนื้อหากล่าวคําแทนตัวเทศน์อยู่ หลายแห่ง ซึ่งเถลไถลออกนอกกัณฑ์เพื่อให้ผู้ฟังนําเงินมาติดกัณฑ์เทศน์ อันเป็นลักษณะของการเทศน์มหาชาติ ที่ผู้ฟังเมื่อเกิด ประทับใจหรื อศรั ทธาต่ อน้ํา เสีย งของพระที่เ ทศน์ นั้นจะบูชากัณฑ์ เทศน์ด้ว ยการนํา เงิน มาติ ด บริเวณธรรมาสที่พระนั่งเทศน์ นอกจากนี้ ลักษณะอีกประการหนึ่งของต้นฉบับกัณฑ์มหาราชนี้วิธีแต่งจะแทรกบทแหล่แกะบายศรีไว้ ด้วย ในตอนที่พระเจ้าสญชัยทําพิธีบายศรีรับขวัญกัณหาชาลี ในยุคก่อน ๆ บทร้ องแหล่แกะบายศรี มักจะมีผู้ ขอให้ห มอทํา ขวั ญ ร้องต่ อจากตอนเชิ ญขวัญ (นาค) ก่อนที่จะมีพิธีเวียนเทียนเบิกบายศรี บทร้องแหล่แกะบายศรีจะเป็นการบรรยายให้เห็นถึงความสวยงามในฝีมือ ช่างที่ได้แกะสลักบายศรีในแต่ละชั้นเป็นภาพต่าง ๆ ที่สวยงาม โดยในเนื้อเรื่องกัณฑ์มหาราชนี้ยังได้บรรยายถึง นิทานเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วบวชเณร ด้วย นอกจากนี้ ยังบรรยายถึงความอลังการในการทําพิธีบายศรีรับขวัญพระนัดดาของพระเจ้าสญชัยไว้เป็น อันมาก สําหรับพิธีบายศรีซึ่งถือเป็นประเพณีในท้องถิ่นไทยมานมนาน ก่อนการทําขวัญแต่ละครั้งมักมีการ บายศรีก่อนเสมอ บายศรี เป็นภาษาเขมร บายแปลว่า ข้าวสุก ศรี เป็นคําสืบมาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญในความหมายปัจจุบัน รวมกันเป็นบายศรี จะขอแปลว่าข้าวขวัญ ทําไมแปลศรีว่า มิ่งขวัญ ก็ เพราะศรีหรือสิริเป็นสิ่งสิงอยู่ในร่างกายคน ทําให้คนเป็นเจ้าของได้รับโชคลาภมีความอุดมสมบูรณ์เป็นมงคล๑๕๗ ในภาคเหนือเรียกบายศรีว่า ใบศรี เช่นเดียวกับกัณฑ์มหาราชที่นํามาปริวรรตในครั้งนี้ ใบศรีดังกล่าวจะเป็น อย่างที่เห็นทํากันแพร่หลายตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคกลาง ซึ่งมีแต่ใบตองนมแมวไม่มีข้าวและกรวยข้าว และ ภาคใต้เรียกบายศรีว่า ใบศรี เช่นเดียวกัน เสียงบายและใบใกล้เคียงกันมาก ส่วนภาคอีสานเรียกบายศรีว่า บาศ รี ซึ่งอาจจะเพี้ยนไปจากคําบายศรีก็ได้ บายศรีที่ทราบกันโดยเฉพาะในภาคกลางมีสองอย่าง คือ บายศรีปากชามและบายศรีใหญ่

๑๕๗

เสถียร โกเศศ, ฟื้นความหลัง เล่ม ๓, พระนคร: สํานักพิมพ์ศึกษิตสยาม, ๒๕๑๒: หน้า ๑๒๔.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๖๙

๑. บายศรีปากชาม คือ เอาใบตองม้วนกลมเป็นรูปกรวย ข้างในกรวยใส่ข้าวสุก เอากรวยตั้งคว่ําไว้ กลางชามขนาดใหญ่ๆ คือให้ยอดแหลมของกรวยอยู่ข้างบน บนยอดมีก้านไม้เสียบไข่เป็ดต้มสุกปอกเปลือกแล้ว ฟองหนึ่ง ไข่นี้เรียกว่า ไข่ขวัญ บนยอดไข่ขวัญบางทีก็มีก้านไม้เสียบต่อขึ้นเป็นยอดขึ้นไปอีก และเสียบดอกไม้ที่ ก้าน โดยมากใช้ดอกมะลิเป็นเครื่องประดับให้ดูสวยงามแล้วเอาใบตองมาพับไปพับมาให้เป็นรูปพนม คือ แหลม เรียวหลายๆ อัน แล้วซ้อนทับให้เหลื่อมล้ํากันเป็น ๓ หลั่น ๓ ชั้น ชั้นละ ๓ ยอด จึงมีรูปคล้ายห่อข้าวต้มน้ําวุ้น แต่ยอดเรียวแหลมมากกว่า ใบตองที่พับซ้อนกันนี้มีขนาดเล็กกว่ากรวยข้าว นี้เรียกว่า นมแมว เอานมแมวทั้ง ๓ อันนี้วางเรียงรอบกรวยข้าว ให้ปลายยอดของนมแมวโผล่ขึ้นเหนือปากชาม ตอนล่างของนมแมวแต่ละอันมีหาง สําหรับหักพับแล้วเอาไม้กลัดๆ ไว้ รองใต้กรวยข้าว บางรายทํานมแมวเป็น ๔ อันก็มี และเย็บติดไว้กับกรวยข้าว ไปในตัว เหตุนี้บายศรีปากชามจึงเรียกว่า บายศรีนมแมว อีกชื่อหนึ่ง นอกจากนี้ยังเอาใบตองมาตัดเป็นรูปคล้าย ใบไม้ แต่ตามริมขอบใบตัดหยักไปมาอย่างฟันเลื่อยลดหลั่นกันขึ้นไป ตอนกลางตัดแหว่งเป็นหน้าจั่วกลายๆ รวม ๓ ใบ แต่ที่มี ๔ ใบก็มี นี้เรียกว่าตัว เต่า หรือ แมงดา เพราะมีรูปร่างคล้ายเช่นนั้น เอาแมงดาทั้ง ๓ ใบนี้ วาง แทรกระหว่างนมแมว ตอนล่างของแมงดามีใบตองเป็นหาง หักพับรับตอนล่างของหางนมแมวอีกที การจัดทําบายศรีให้เอากล้วยน้ําไทยตัดฝานตามยาวรวม ๓ ชิ้น เสียบไว้ที่นมแมวอันละชิ้นและเอา แตงกวา ๓ ชิ้ น ตั ด ฝานตามยาวเหมื อนกั น เอาวางไว้ ที่แมงดาละชิ้ น ถ้ าไม่ พิถีพิถัน จะเอาชิ้ นกล้ ว ยและชิ้ น แตงกวาที่กล่าวมานี้วางเรียงรอบๆ โคนกรวยข้าวก็ได้ บางทีถ้าไม่ใช้แตงกวาเปลี่ยนเป็นใช้ขนมต้มขาว ๓ ก้อน แทนก็มี หรือจะเติมขนมอื่น เช่น ขนมฝอยทองเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ นอกจากนี้มีดอกไม้ธูปเทียนอย่างละ ๓ สํารับ ปักแทรกรอบปากชาม และจะมีดอกไม้ เช่น ดอกมะลิเสียบยอดหรือแทรกตามกลีบของนมแมวเพื่อให้ดูงาม ด้วยก็ได้ แล้วยังต้องมีด้ายสายสิญจน์เด็ดขนาดผูกข้อมือได้พาดตามนมแมวทุกอัน ด้ายนี้ คือ ด้ายที่ผูกขวัญ ถ้า ไม่ใช่เรื่องผูกขวัญก็ไม่ต้องมี ๒. บายศรีใหญ่ บายศรีใหญ่นี้มีวิธีทําเช่นเดียวกับใบศรี (บายศรี) ในกัณฑ์มหาราชที่นํามาปริวรรตครั้ง นี้ เพียงแต่ว่าในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนามักจะแต่งเติมสีสันให้วิจิตรพิสดารเกินจริงไปบ้าง แถมยังแทรก วรรณคดีเรื่องอื่นๆ มาไว้ในเครื่องบายศรีที่แกะสลักด้วย อย่างไรก็ดี บายศรีใหญ่ที่ปัจจุบันนิยมทํากันมักเอาใบตองมาหักพับให้มียอดแหลมๆ อย่างยอดกระทง เจิมหลายๆ อัน เอาใบตองที่พับเป็นยอดแหลมเหล่านี้ให้ชนกันเป็นคู่ๆ แล้วโค้งให้เป็นวงกลมมีขนาดเท่ากับ แป้น เมื่อโค้งเป็นวงแล้วจะเห็นยอดแหลมๆ ยื่นออกไปทั้งข้างบนและข้างล่าง เอาวงที่มียอดแหลมๆ ทั้งข้างบน และข้างล่างนี้ตรึงรอบขอบไม้แป้นรูปกลมๆ ตรงกลางแป้นเจาะรู มีไม้ยาวเป็นแกนกลางไม้แป้นนี้วางซ้อนกัน เป็นชั้นๆ ไว้ระยะห่างตามสมควร แต่มีขนาดแบนแต่ชั้นล่างถึงชั้นบน ตั้งแต่ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก เรียวขึ้น ไปตามลําดับ ตามปกติมักมี ๕ ชั้น ถ้าจะทําเพียง ๓ ชั้น หรือยืดออกไปเป็น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น ก็ทําได้ แต่ ๙ ชั้นไม่ค่อยนิยมทํากัน เพราะจะใหญ่โตและสูงมากทําให้การทรงตัวของแกนบายศรีไม่มั่นคง นอกจากนี้อาจจะ


๓๗๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ทําเป็นพิเศษขนาดใหญ่ก็ได้แล้วแต่ว่าจะใช้ในงานพิธีราษฎร์หรือพิธีหลวง ชั้นเหล่านี้วางเครื่องอาหาร ขนม และ ผลไม้ทุกชนิดทุกชั้นสําหรับเลี้ยงขวัญ บนยอดของบายศรีใหญ่ตั้งชามหรือโถขนาดเล็ก โดยมากเป็นชามเบญจรงค์หรือจะใช้ขันสวยๆ ขนาด เล็กแทนก็ได้ ประดับด้วยพุ่มดอกไม้ ในตําราบายศรีเก่าบางตํารากล่าวว่า ตั้งบายศรีปากชามไว้บนชั้นยอดของ บายศรีใหญ่ บายศรีใหญ่นี้บางทีก็เรียกว่าบายศรีตั้งหรือบายศรีชั้น ถ้าทําอย่างดีก็จะแกะสลักเป็นรูปตุ๊กตาเป็น เรื่องละครที่รู้จักกัน ดังเช่นในกัณฑ์มหาราชที่นํามาปริวรรตนี้เล่าถึงวรรณคดีเรื่องขุนแผน ตอนพลายแก้วบวช เณร แล้วออกไปบิณฑบาตที่บ้านของนางพิม เป็นต้น หรือจะแกะเป็นลวดลายสวยๆ ประดับไว้ตามชั้นบายศรี ด้วยก็ได้ นอกจากนี้บายศรีใหญ่ยังมีไม้ไผ่สุกผ่าซีก ๓ ซีก พันด้วยผ้าขาว เอาขนาบเข้ารอบข้างบายศรีแล้วผูก ด้วยด้าย ๓ เปลาะ เพื่อให้บายศรีมั่นคงไม่โคลงเคลง แล้วเอายอดใบตองอ่อนบริสุทธิ์ ๓ ยอดปะทับปิดซีกไม้ เอาผ้าอย่างดีมีราคา โดยมาเป็นผ้าส้ารบับหรือผ้าตาดทองคลุมให้รอบบายศรีอีกชั้นหนึ่ง ผ้านี้เรียกว่า ผ้าห่อ ขวัญ นอกจากตัวบายศรีใหญ่แล้วก็ต้องมีเครื่องประกอบบายศรีใหญ่ คือ ๒.๑ ขันปักแว่นโลหะสําหรับเวียนเทียนมีด้วยกัน ๓ ขัน (บางทีมีขันเดียว) ใส่ข้าวสารมีแว่นเวียน เทียนปักอยู่ขันละ ๕ แว่น ติดเทียนแว่นละ ๓ เล่ม ๒.๒ เทียน ๓ เล่ม ปักบนเชิง เรียกว่า เทียนชัย ๒.๓ น้ํามันหอมหรือกระแจะใส่ภาชนะ สําหรับควักป้ายใส่เทียนที่แว่น ๒.๔ พานใส่ใบพลูเรียงซ้อนกัน แต่จะซ้อนกี่ใบไม่ทราบชัดกับตลับแป้งเจิมอยู่ในนั้นด้วย ๒.๕ ด้ายผูกข้อมือมีหลายเส้น รวมใส่ไว้ในพานรองใบพลู ๒.๖ มะพร้าวอ่อนปอกเปลือก เฉาะปากรองพาน มีช้อนสําหรับตัก เครื่องประกอบดังกล่าวนี้ใช้ขนาดใหญ่เพราะมีการเวียนเทียนด้วย ซึ่งอาจจะลดหรือเพิ่มแล้วแต่ความ จําเป็น เช่น อาจจะมีหัวหมู โต๊ะเงิน เครื่องอาหารต่างหากอีกหลายโต๊ะ หรือหากทําขวัญอย่างอื่นที่ไม่ใช่ทํา ขวัญคนก็อาจจะลดสิ่งที่ไม่จําเป็นลงก็ได้ เป็นต้น ถ้าเป็นเครื่องประกอบของหลวงโดยมากมักเป็นจํานวน ๓ และภาชนะที่ใช้ก็เป็นจํานวน ๓ เป็น แก้ว ทอง เงิน เช่น แว่นเวียนเทียนเป็นแก้ว ทอง หรือเงิน ขันเชิงเทียนและพานเป็นแก้วทองเงินเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับบายศรีแก้ว บายศรีทอง และบายศรีเงิน ในเนื้อเรื่องนั้นเป็นการทําบายศรี ๗ ชั้น จํานวน มีจํานวนหน้าทั้งหมด ๓๔ หน้า ลั ก ษณะอั ก ษร ตั ว คาถาเป็ น ภาษาบาลี เ ขี ย นด้ ว ยตั ว ขอมไทยตั ว เอี ย ง อั ก ษรที่ เ ป็ น ภาษาไทยสมั ย รัตนโกสินทร์ตอนต้นเขียนเป็นตัวเอียงเช่นกัน ไม่ปรากฏวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา เนื้อเรื่องโดยย่อ กัณฑ์มหาราชมี เ นื้อหากล่ าวถึ ง ชูช กเฒ่า ที่ ไปขอพระโอรสและพระราชธิด า กัณหา ชาลี จากพระ เวสสันดรแล้ว ก็ฉุดลากสองกุมารเพื่อเดินทางกลับบ้าน โดยระหว่างทางลากไปพลางทุบตีไปพลาง ด้วยหวังจะ กลับไปหาภรรยาโดยเร็ว เมื่อถึงทางแยกเข้าเมืองกลิงคราฐ เทพยดาก็ดลบันดาลให้ชูชกเดินเข้ามาในเมืองสีพี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๗๑

พระเจ้ากรุงสญชัยก็ได้ทรงสุบินประหลาดว่า มีชายอัปลักษณ์นําดอกบัวตูมและดอกบัวบานมาถวายให้ พระองค์รับมาทัดที่พระกรรณแล้วก็ทรงตื่นบรรทม เหล่าโหรก็ถวายคําทํานายว่า พระราชวงศ์ที่พลัดพรากจาก ไปจะเสด็จคืนวัง วันรุ่งขึ้นนั้นเฒ่าชูชกจูงกุมารน้อยผ่านหน้าพระลาน พระราชาทรงเฉลียวพระทัย จึงให้เรียกตัวเฒ่า อัปลักษณ์และกุมารน้อย มอมแมมแต่ผิวพรรณเปล่งปลั่งนั้นเข้ามาเฝ้า เมื่อพระราชาสอบถาม ชูชกก็กราบทูลว่าได้รับบริจาคมามิได้ไปฉุดคร่ามาที่ใด พระราชาจึงทรงรู้ว่ า ๒ กุ มารน้ อยนั้นเป็นหลานของพระองค์ จึงทรงไถ่ตัวหลานและพระราชทาน รางวัลให้แก่ชูชกมากมาย ทั้งยังจัดอาหารคาวหวานชั้นเลิศมาให้แก่ชูชกอีกด้วย ขอทานเฒ่าไม่เคยเห็นอาหารชั้นดี มีความโลภจะกินให้หมด จึงกินเข้าไปไม่หยุดจนกระทั่งท้องแตก ตายไป พระราชาเจ้ากรุงสญชัยทรงจัดพิธีเวียนเทียนบายศรี สมโภชรับขวัญหลานเป็นที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติ อานิสงส์ ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาราชจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็น พระราชา เมื่อจากโลกมนุษย์ไปจะได้ไปเสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร ครั้น บารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติ อันตัดเสียซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะเป็นต้น ข้อคิดประจํากัณฑ์ คนดีตกน้ําไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน


๓๗๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรณานุกรม พิธภัณฑ์วัดเกาะ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. กุมารคํากลอน ฉบับสมุดข่อย. ม.ป.ป. ประทุ ม สุ ว รรณคั งคะ. “การศึ กษามหาเวสสั น ดรชาดกฉบั บ ถิ่ นใต้ จ ากต้ น ฉบับ วั ด มั ชฌิ มาวาส สงขลา.” วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าจารึ ก ภาษาไทย ภาควิ ช าภาษา ตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๖. ปิยนารถ โภคามาศ. “การศึกษาเวสสันดรชาดกฉบับท้องถิ่นภาคใต้.” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. มณี พยอมยงค์. “การวิเคราะห์และเปรียบเทียบมหาชาติฉบับภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ, ๒๕๑๙. วรรณดี เอื้อสถาพร และคณะ. คู่มือมหาเวสสันดรชาดก. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, ๒๕๑๓. สมาน โซ๊ะเหม. “ มหาชาติฉบับเมืองเพชรบุรี กัณฑ์ชูชก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘. สุวนีย์ ชวนสนิท. “วิเคราะห์ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกทางวัฒนธรรมไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๙, หน้า ๒. เสนีย์ วิลาวรรณ. ประวัติวรรณคดีและการประพันธ์. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, ๒๕๑๗. หน้า ๓๐ เสฐียรโกเศศ. ฟื้นความหลัง เล่ม ๓. พระนคร: สํานักพิมพ์ศึกษิตสยาม, ๒๕๑๒: เสฐียรโกเศศ. ขวัญและประเพณีการทําขวัญ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๑๙. อณุภา อัศวปิยานนท์. “การศึกษามหาเวสสันดรชาดกฉบับท้องถิ่นอีสานจากต้นฉบับวัดกลางโคกค้อ จังหวัด กาฬสินธุ์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชา ภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๗๓

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช ฉบับวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี หน้าที่ ๑

………………………………………………………………………… (ชํารุด)

หน้าที่ ๒ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

สมัยฮ่อหนุ่มๆ สาวๆ เล่าก็บ้ากลอนชอบข้างบ้ากาดเสียนี่พ่อ พอยิ่งทําหน้า ......จ้อ แล้วก็ยิ่งหัวร้อกันงันๆ ปัจจุบันไม่ใคร่จะคิดแล้ว ก็คิดจะเอาที่ขันๆ ไม่เอาเงินมาติดกัณฑ์นี่จะให้มันขันไปอย่างไร ถ้าแม้นติดเข้าบ่อยๆ ท่านคง ปล่อยให้ร่ําไป ถึงตั้งนโมคงโตใหญ่ เสียงคงใสขึ้นทุกที รูปขอสะมาอาภัยจะว่าไปตามบาลี ครั้นจะร่ําพร่ําเพ้อ จะว่ารูปนี้เลอะเสียเต็มที เชิญคุณโยมนั่งตั้ง มโนฟังนโมแลชนละนี จงหน่วงจิตให้จงดี จะได้ไปสู่ที่นิฤๅพาน ๚๛ จตฺตาโร ธมฺมาฯ

หน้าที่ ๓ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

อันว่าพระพรทั้ง ๔ ประการ อันประเสริฐเกิดในสันดาน ท่านทายกอุบาสกอุบาสิกา ที่ มีใจศรัทธาอุตสาหะมาฟังเทศน์ ท่านผู้ใดได้รับกัณฑ์มหาราช ถึงจะตายไปปราศคงไม่ เป็นเปรต หมั่นปลงธรรมสังเวช ไอ้คนที่เทศน์ดูเหมือนกะแร้ง เพราะอยากกินคาย เรื่องกัน อุตส่าห์ดันจนตาแดง รูปเหมือนไก่พึ่งสอนขัน ในเชิงพนันยังไม่แข็งฯ ดิฉันเทศน์อยู่ข้างแผลง ใช่จะแกล้งวิสัชนา ทั้งซุ่มเสียงก็เป็นหวัด มันให้ขัดนะ โยมขา ที่ท่านหนุ่มๆ ก็อยากสนุก มักจะฟังที่มุกเฮฮา ที่ท่านผู้

หน้าที่ ๔ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

แก่ก็จะนึกโกรธ ก็จะขุดเอาโคตรของรูปขึ้นด่า นี่แหละเฮๆ ฮาๆ มัน ไม่เป็นคาถาบาลี แม้นจะฟังให้มันฮ่อก็ติดฬอเข้ามาอีกสักหน่อจี ถึงจะ ตกอเวจีก็เป็นที่อุ่นใจ หากว่ายมบาลเขาจักซักถาม รูปก็จะแก้ความสงสัย ว่าคุณโยมน่ะแกศรัทธากะดิฉัน มาติดกัณฑ์ด้วยปัจจัย อันทํา กุศลนี่ก็เป็นประโยชน์ จงตั้งโสตให้สุกใส เปรียบเหมือนหว่านข้าวลงไว้ ในน้ําจะกลายเป็นยาไปเสียเมื่อไร คุณโยมอย่าขัดเคืองใจน้อย

หน้าที่ ๕ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒

เลยคุณโยมขา ถ้าแม้นทําบุญกับพระมหาราช ด้วยเงินบาทที่คุณ โยมศรัทธา วิมานน้อยๆ จะลอยอยู่ท่า คุณโยมอยู่แล้วเจ้าประ-


๓๗๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

คุณ๚๛ © (อักษรขอมบรรทัดที่ ๓ หน้า ๕ – ๘) วันนั้นเฒ่าชราปรารถนาย่าง พาสองกูมาร พงมาในป่า พอพระสุรียาจวนจะพลบ เฒ่านึกกลัวเสือสีผีธะมบจะพบพาน เฒ่าจึงงมซมซานหาต้นไม้ เฒ่าคิดอยู่แต่ในใจ ว่าต้นไม้เมื่อตะกี้ เขาชวนฝันร้องจูจีว่าพลัดตก ถ้าจะคิดบิดพลิ้ว ไปขึ้นต้นงิ้ว เมืองนรก จามีใครขัดว่าพลัดตก ละต้องได้ชกกันปากเจือะ แล้วไอ้เฒ่า

หน้าที่ ๖ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕

ก็เดินเรือะมากลางเถื่อน พบรูไส้เดือนดูลดเลี้ยว ดูกลางข้างลึก ลําราวกะทําภูเขาเขียว จึงเอาเถาวัลย์พันเกลียวเข้าให้ดิบดี แล้ว ผูกพระกัณหาชาลีไว้ปากรู ไอ้เฒ่าก็มุดคุดคู้ ลงในรูไส้เดือน พบบ้านเมืองเหย้าเรือนออกเกลือนกลาด มีร้านตลาดขายผ้าลาย ดู เหลือแหล่จนตาเลือน พอโรงเจ๊กไส้เดือนมันขาย มีข้าวของวาง

หน้าที่ ๗ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕

ออกเกลื่อน ลูกสาวเจ๊กไส้เดือนก็มีดีๆ ชูชกก็เร็วรี่ แวะเข้าซื้อ หนีกิน ๑๐ เบี้ย เมางัวเงี้ยเดินงุ่มง่าม เฒ่าก็เดินมาตามวิถี กอบ อวิจีประเดี๋ยวใจ เห็นเปลวไฟลุกสาหัส บรรดาสัตว์ในนรกดูสกกปรกเปรตทั้งนั้น ยมบาลเอาขวานฟันเสียงชัวะชะ ต้มในกระทะทองแดง ดู ปานหน้าปิ้งปลาแห้ง เฒ่าเดินมาพบยมบาล ยืนถือขวานลุกเป็นไฟ เห็นชู-

หน้าที่ ๘ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

ชกเดินมาสําคัญว่าพระมาลัย พากันยกมือไหว้วันทนา ชูชกหัวเราะร่าถามถึงเวลาสัตว์นรก ว่าไอ้ที่นั่งหัวทะลกนั้นบาปกรรมมันทําสิ่งใดไว้ ยมบาลจึงบอกอยู่ บนว่าไอ้นี่เป็นคนรูตปลาไส ชูชกจึงถามต่อไปว่า ไอ้คนนั้นไซร้ ดูประหลาด มันทํากรรมไว้อย่างไรน่ะนาย จึงต้องปีนปลายต้นผักกาด ยมบาลจึงบอกไปว่า ไอ้ใจมึงองอาจ มันทํากรรมไว้ไม่เล็ก มันผิดเมียเจ๊กที่ปลายตลาด ครั้นตายจากเมือง คน จึงต้องขึ้นต้นผักกาด นั่นแล ๚

หน้าที่ ๙ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔

ตระไคร้ © วันนั้นพระโฉมยงพงษ์จักกะปิ่นกินแกงกก ต้องพาสองบังอรย้อนวกมา ขึ้นต้นไม้ใหม่ เฒ่านึกอยู่ในใจว่าขึ้นอะไรนี่บ่อยๆ ประเดี๋ยวก็ขึ้นปะดอย ฉาน ต๊กต๋อยก็จะตาย ก็นี่มันชีวิตรูปวอดวาย ก็จะอายพวกเขามาก เขาจะว่าไอ้ผีไม่ มีญาติ ผีไม่มีเงินบาทจะใส่ปาก ถ้าแม้นว่าอุปัฏฐากให้เงินใส่ปากเสียเดี๋ยว


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๗๕

บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

นี้ รูปก็จะอุตส่าห์ปีนป่าย ถึงจะตกตายก็ตามที เฒ่าก็เอากัณหาชาลี เร็วรี่มาใน ไพร่ พอปะต้นตระไคร้เข้าต้นหนึ่ง มันโตครัน เดินรอบต้น ๑๕ วัน ยังไม่ตลอด

หน้าที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑

ข้างต้นโตปลายคอดแลดูขัน เป็นต้นไคร้เมืองสวรรค์ สําหรับจะได้แกงกันกับปลาสวาย ถึงว่า

บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

จะแกงกับปลากรายก็ได้เมื่อวันกรุด(ตรุษ) เกิดเมื่อครั้งขรัวพุดวัดทองปุ ฉันต้นตระไคร้ได้จุ เป็นสิบกระจาด ต้นตระไคร้นี้ประหลาดนักหนา เติบโตเต็มประดาดูพิลึก ยอดกระทั้งถึง เมืองอัมรินทร์ กระทุ้งใต้ถุงพระอินทร์อยู่กึกๆ รากมันหยั่งลึกถึงโลกัลย์ ไม้ตระไคร้นั้นใหญ่ครัน ครอบทวีป ไอ้ที่ขาวเขียวเกลียวกลีบเกลื่อนอากาศ ครือใบตระไคร้นี่แหล่ะมันคาด เป็นขี่ลม ในเมืองเปรตก็บ่นระงมอยู่ทุกคน ว่าแกงปลาไหลไม่ได้ใส่ต้นตระไคร้

หน้าที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕

เลยสักครั้ง ในเมืองเปรตนั้นแพงนักหนา คนจะหาสิบชั่ง ก็ไม่มีที่ขายพวกเปรต ทั้งหลายได้รับประทานแต่ราก ต้นตระไคร้นี้อยากไม่มีใครขาย ราคางผ้าแพรผ้า ลายตลอดตลาดดาดดื่น ขายกันผืนละ ๑๖ เบี้ย ต้นตระไคร้แพงสําเสียนาประศก ก็นี่แหล่ะ จะว่าปัดฤๅโกหกก็ตามใจ แล้วเฒ่าจังไรก็เดินเลยมา ตามมฤคาไม่หยุดหย่อนถึงเมือง นครเข้าทันใด เฒ่าก็หยุดอาศัยที่สันลา พอเห็นสีแก้วเพื่อนเดินมา

หน้าที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

กัญชา © โส ชูชโก ๚ วันนั้นไอ้เฒ่าพุงโร โตกว่าพุงเรา เมื่อพาพระพี่น้องทั้งสองเจ้า มาในไพร ด้วยเมื่อตะกี้เขาร้องขึ้นมาจะให้ว่าต้นไม้ใหม่ ครั้นจะขึ้นต้นอะไรเขาก็ขืนได้ไป เสียทั้งเมือง จําจะต้องยักเยื้องให้มันผิดกับเขา เป็นกลอนต้นคนเดาดันตะรังโกหกให้ คุณโยมท่านฟังเล่นสักบท ถึงใครจะเห็นไปเสียทั่ว รูปก็จะออกตัวเสียเพียงว่าขี้ปด แล้วไอ้เฒ่าหลังคดก็เดินมา เห็นต้นกัญชาเข้าต้นหนึ่ง จําเพาะพึงมีกาลีเฒ่าก็ผูกพระ กัณหาชาลีไว้เข้าใต้ต้น แล้วก็ขึ้นไปบนคาคบ พอแหงนชะแง้แลประสบ พอไม่

หน้าที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕

พบกัญชาช่อ ไอ้เฒ่าก็เอื้อมแขนศอกออกไปสุดข้อ เด็ดเอาช่อกัญชามา เอามาดมๆ ชมดู เอะไอ้นี่เขียวอยู่เจียวสี่วา เป็นฝอยยาแดงๆ ออกราชีๆ กัญชานี่เห็นจะฉุน ชาด เพชรบูรีเม็ดไม่มีเลยพ่อคุณ หยิบย่ามล้วน ๆ วุ่นลงจากบ่า แล้วหยิบหม้อคุงกากะลาดํา เป็นหม้อครูคู่ชีวิตสูบติดมาจนออกคร่ํา แสนประเสริฐเลิศลาหม้อน้ํานั้นก็ลึก โตก็เป็นไม้ ราชวังขุดดังเสียงคลืกๆ ถ้าไม่เคยชักทําหักหึก มันเมาลึกเอาแทบเข็ด ถึง


๓๗๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรทัดที่ ๖

ที่คอเก่าๆ ถ้าถูกท่าเข้าน้ําลายคงเล็ด ครันจัดแจงแต่งเสร็จ เลือกเม็ดขึ้น

หน้าที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

วางบนมือ ใส่ในเขียงพหุหมูเล็ก หยิบมีดเหล็กเอามาถือ ประสมยาทําตาปรือ มือหั่น ขะแยะฉวยเหล็กไฟตีแฉะๆ ถูกหินฉาดเป็นประกายปรายปราดเข้าติดฉุด แล้วก็เอื้อมมือ ไปหยิบมงกุฎหัวดินปั้น เอามาสวมคอใส่หัวพลันแน่นสนิท ถูกสํารับกระชับฉิดไม่ ห่างเหิน เอาไฟจุดดูดเดินล้นขลัก ผที ตกพลัวะไม่มีดี ไอ้เฒ่าก็วางหม้อคุงกาทํา ตายิบหยียิงฟันแหง มันเล่นเอาคอหอยแทบแตกระแหง ลงนอนหวดคอตะแคงยิ้ม แห้งหัวเราะกากขลักๆ ในใจในคอมันให้ตะเขวียนตะขวัด คิดถึงสมบัติบรมมะจักร อยากกิน

หน้าที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

ไอ้นี่อยากกินไอ้นั่น ลงคบคากตะปันเจียนเงือกหัก ยังชมคากตะปันว่าชั่งมันดีนัก แล้วไอ้ เฒ่าทรลักษณ์ยังสํากลักเขาอีกเป็นไป เดี๋ยวกลักออกกบแกมขยับจะแถมหินเหล็กไฟ ลง นอนแบสบายใจยิ้มไปยิ้มมา พิศดูตัวของตนก็หายแก่ดูงามแงขึ้นเป็นนักเป็นหนา แล้ว ไอ้ชันนะสาของตัวดูให้ถ้วนถี่ อ้อห้อ พอครบ ๑๔ เข้าปีหน้า แล้วพิศเพ็งเล็งดูพา หนตาเล็กง้าเป็นหลายอย่าง ไอ้ที่ทะลุปรุบางก็กลายเป็นดอกลอกกระจ่าง ไอ้เฒ่าจึง ว่า พาหลายอย่างนี้มีราคา พอแกผ่าออกดูแลเห็นงูที่หว่างขา ไอ้เฒ่าจึงว่าอนิจจาๆ

หน้าที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

ธูป ที่หว่างขาก็มีงู เอะนี่เห็นจะเป็นงูเห่าเสียแม่นมั่น ดูดอกจันออกจุนหจู ไอ้เฒ่าจึงว่าเจ้า งูเอ๋ย เจ้างูนี่ไม่มีรูดอกหรือเรา มาเลื้อยเล่นเผ่นโผนอยู่ที่โคนขาเขา ยังไม่ไป เสียอีกเล่า ไอ้งูเห่าหัวกะบวย ว่าแล้วยังนอนกลิ้งเอ้าๆ ยังกลับไข่ทิ้งไว้อีกสอง หน่วย ฤๅเจ้างูจะมาช่วยให้เรารวยอีกสักห้าชั่ง ว่าแล้วผงกหัวขึ้นฟัง ทําคอ งําสําอาง เอ๊ะแล้วก็จะเป็นยานางดอกกระมั่ง อนิจจังเอ๋ยอนิจจัง ใครเคย พบพังอย่างนี้ ยานางเรือยานางก็ถูกแท้ในท้องที่ ไอ้นี่ยานางสับประดนอะไร

หน้าที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

มุสา แต่ชันยานางคนก็มี แล้วตาชีก็นอนเหนือฯ สาครตปฺปพนฺตเร ฯ เหนือคาคบไม้นั้นแล ๚๛ © วันนั้นเฒ่าชราเที่ยวหาที่อาศัย พบต้นหนึ่งไว้ไม่มีไม้ไม่มีปอย มีแต่ต้นนิ่งๆ ไม่มีกิ่งไม่มีกอย มันไม่เป็นไม่เป็นม่อยเปลือกปล่อยไปสู้แข็ง ไม่สู้สั้นไม่สู้ยาว ต้นตัวปลายแดง มันมิใช่ของแข็งอย่าระแวงวุ่นไป น่าคลําน่าลูบต้นธูปจุด ไฟ เฒ่านึกในใจว่า ตัวเราใหญ่ราวกับยักษ์ ครั้นจะขึ้นไปค้างขนกลัวต้นมันจะหัก ไอ้เฒ่าทรลักษณ์เยื้องยักไปไม่เดินเถลไลถ เดินไถลไถมา พบเข้าอีกต้นหนึ่งชอบกล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |๓๗๗

หน้าที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

ครัน ถึงแ-......แกะเฉพาะเล่น...พองแก้มเขาตึก..เ-องกัน ถึงจะถูกรูปถ้า สองสามพัน ถ้าแม้นฉันก็ไม่เสียดาย แกะเป็นหนูพิมนิ่มน้องได้ฟังสายทองเปรียบ ปราย ยิ้มอยู่ในหน้าระอาอายแล้วค่อนระคายอยู่ใน ---ว่าให้พิศดูอะไรเช่นนี้ ว่านางจะ ครองตัวฉันไม่มีผัวดอกค่ะพี่ จะทรงผนวชบวชเป็นชีจนสิ้นชีวีวายวาง แล้วหัวเราะ กันที่ในห้องอยู่ทั้งสองพี่น้องนาง จนดึกดื่นเดือนใสพ่างทั้งสองนางก็หลับไป © ครั้น ถึงชั้นเจ็ดแกะกะละเม็ดเป็ดพราย แม่ขํากับแม่ไขยแม่รําใยกับแม่ถมยา แกะเป็น เณรแก้วเลิศแล้วฤๅชา ครั้นสุริยนสนธยาเณรยิ่งระอาใจครวญ คิดถึงพิมนิ่ม

หน้าที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

น้อยไห้ละห้อยโหยหวน ได้สบตาหน้านวลเสมือนจะชวนให้ชื่นใจ พี่รักเหลือเนื้อ เย็นน้องจะเห็นฤๅหาไม่ มีทะจิตฤๅมีทะใจฤๅเจ้าจะไม่ผูกพัน แล้วสิ้น เอาผ้า สีทับทิมที่หนูพิมล้วนใส่กัน ออกห่มพลางทางกระสันไห้หวาดหวั่นใจครวญ ระเหยหอมสีทับทิมเหมือนกลิ่นหนูพิมนิ่มพวัน หอมระรื่นชื่นชวนให้ปั่นป่วนอารมณ์ อนาจหนาวน้ําค้างพรอยพร่างพร่ําพรม ได้สีทับทิมของพิมห่มชั่งอุ่นอารมณ์รําเพย โอ้ๆ เมื่อไรจะได้ชมแม่ปลื้มอารมณ์ของเรียมนี้เอย เดชบุญคุณเคยอย่าให้เลยล่วงลอย ถ้าแม้นพี่ได้กับพิมน้อง พี่จะประคองแต่ค่อยๆ เจ้าเณรก็ครวญหวนละห้อย

หน้าที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

แต่พอม้อยๆ ก็หลับไป เสียงระฆังงังๆ เกือบจะสว่างแสงใส เสียงไก่เอกวิเวก ในเกือบจะไขอุทัยแสงทอง เจ้าเณรก็ตื่นฟื้นตัว แล้วล้างหน้าเป็นนวลละออง จึงตํา ริกริกร้องเพลงยาวให้ต้องใจนาง ครั้นสําเร็จเสร็จประสงค์จําล้างลงกระดาษฝารั่ง รีบครองผ้าละล้าละลัง แล้วลุกขึ้นนั่งภาวนา เณรก็ตั้งนโมทําผงปิโยผัดหน้า ตะพายบาตรยาตราออกจากวัดป่าเลไลย์ ถึงสุพรรณทะพาราในตะนาของใคร รีบ...มายังย่านใหญ่ที่อาศัยสีประจัน ยืนสํารวมมัธยัสถ์ดูราวกับครัดเคร่งครัน อกใจไหม้ในฝันกระสันถึงสีกา แกะเป็นหนูพิมนิ่มน้อยยอดสร้อยเสน่หา

หน้าที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒

ครั้นเช้าตรู่พระสุริยา นางผัดหน้าเป็นนวลละออง เขาร้องบอกว่าพระมา แล้วก็เยี่ยมหน้าต่าง มอง พบ พี่เณรเข้าโดยปอง แล้วยิ้มย่องยี่ยวนใจ ให้เขาคดข้าวใส่ขันหยิบลูกจันทน์มาสองใบ


๓๗๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

กับโถลายแดงแกงปลาไหลรีบลงบันไดเดินมา ถึงเณรก็นั่งวางขันไว้บนชั้นหลัง ผ้า แล้วนั่งลงวันทาด้วยกิริยาพาที เณรแลพบสบตานางเบือนหน้าผินหนี แล้ว ลุกขึ้นจับทับพี เจ้าเณรก็รี่เข้าไปรับ เณรเห็นพิมค้อนช้อนหางตา เณรยักคิ้วขวาอยู่ขวับๆ เปิดฝาบาตรขึ้นรับแล้วงุบงับเอาคันตะภี เอาเพลงยาวยื่นให้ยิ้มละมัยอยู่ในที เห็นข้าไท ไม่มีจึงพาทีเคาะสีกาพิม เมื่อคืนนี้หนาวอุราได้พึ่งพาสีทับทิม ยังหอมชุ่มกรุ่มกริ่ม

หน้าที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗ บรรทัดที่ ๘

ทําขวัญชาลี เปื้อนกลิ่นหนูพิมนิ่มอนงค์ พี่นึกรักหนักใจเพศตะมาดหมายแม่รูประหงส์ ขออาลัยไมตรี กรง (ตรง) หนูพิมจงปลงเปิดตา ยายสีประจันแกเยี่ยมหน้าต่าง เจ้าเณรก็ห่างออกมา แล้ว เดินดัดลัดป่าก็ยุติกาจบกัณฑ์ ๚๏ วันนั้นสมเด็จเจ้ากรุงสญชัยราชา ตรัสสั่งเสนาคอย พลัน ให้เร่งแต่งเครื่องทําขวัญ เครื่องสมโพธินั้น เร่งให้แต่งกันเข้ามา มโหรีปี่พาทย์ นานา เร่งมาให้พร้อมกัน ตรัสสั่งชาวในทําบายศรีพลัน สิ้นทั้ง ๗ ชั้น ประกอบด้วยแก้ว ชัชวาล ตกแต่งให้งามโอภาส ล้นเกล้าชาวงานเคยแกะประดับบายศรี ให้นางทองมา แกทองมี นางทองดีคนขยัน นางอ่อนกะนางด้วง นางพวงกะนางมัน แม่ลูกอินกะ แม่ลูกจัน นางขวัญกะนางเวียง นางสมกะนางสาห่มผ้าสะไบเฉียง นางชุมกะนาง

หน้าที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗ บรรทัดที่ ๘

เชียงนั่งเรียงเคียงกัน ให้เอาแฟงเอาฟักบ้างปักอ่างครัน ทําเป็นรูปไอ้นั้นยืน ในกันทันที จึงให้นางทองตัดใบตองกล้วยตานี เย็บบายศรีดูดีสาหัด ให้ว่อง นางพวงเพาเจ้าวางไม้กลัด บ้างฉีกบ้างตัดบ้างก็พับประกับกัน ตั้งพานแว่น ฟ้าดูโสภาเชิดฉัน ช่างแกะทั้งนั้นช่วยกันวุ่นวาย แกะประขันประกวดแกะเป็น ลวดลาย ช่างแกะทั้งหลายวุ่นวายแกะเครื่องบายศรี © บายศรีชั้นต้น นางสีกะนางสนแกะ เป็นคนธรรพ์ แต่ล้วนผู้หญิงตีฉิ่งติ่งกรับ บ้างตีนาทับ (กรีฑาทัพ) บ้างขับเพลงสวรรค์ © แกะ เป็น ฝูงนก บ้างหอยบ้างหก กระหนกเครือวัลย์ แกะเป็นตารอดกอดคอยายจัน ยังกอบเกียวพันเป็นอันดับมา © ครั้นถึงชั้นสอง นางแก้วนางทอง พวงดอก

หน้าที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕

มาลา แกะเป็นวรวงศ์กับองค์สุริยา นอนในศาลาเขาพาพี่ไป แกะเป็นวรวงศ์ เที่ยวหาพระองค์ เข้าดงออกไพร แกะเป็นเศรษฐีโบยตีท้าวไท ใส่กรุจําไว้ พาโลราชา © ครั้นถึงชั้นสาม แกะเป็นพระรามไปตามมฤคา แกะเป็นทศกัณฑ์ลักนางสีดา แกะเป็นปักษรสะดายุชิงชัย © แกะเป็นรามาไปตามปรีดา เข้าป่าพงไพร แกะเป็นพระลักษณ์น้องรักท้าวไท ท้าวให้ชิงชัยสู้กับอสูรา ©


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๗๙

บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗ หน้าที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗ หน้าที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

ครั้นถึงชั้นสี่ แกะเป็นนารีนางสวรรค์นานา แกะเป็นมงกุฎนางสุดชะดา แต่ล้วนนางฟ้าเปลี่ยนหน้าสลอน © แกะเป็นเทเวศน์ นรายณ์นเรศร์ อยู่

ในอาภรณ์ แกะเป็นอัมรินทร์ถือสินกงศร แกะเป็นกินนร ร่าร่อนตามกัน ครั้นถึงชั้นห้า แกะเป็นเจ้าฟ้า พระสูธนทรงธรรม์ ไปตามนางนาถ ไกรลาศเมืองสวรรค์ นกอินทรีย์นั้นพาท้าวไคลคลา © แกะเป็นพระสูธน ไปพบนีฤมล โฉมนางมโนราห์ในเขาไกรลาศ อากาศะเวหา แกะเป็น มโนราห์ชื่นชมยินดี © ครั้นถึงชั้นหก แกะเป็นรูปนกสารพันปักษี แกะเป็นแขกเต้า เคล้านางโนรี แกะเป็นทรพีสู้กันกับทรพา แกะเป็นพญาครุฑจับนาคอุตลุต ยุดด้วยกําลัง แกะเป็นเทวินถือศีลเทสังข์ ถูกวางกระจัง เห็นงามเฉิดฉาย © ครั้นถึงชั้น เจ็ด ประดับด้วยเพชรเลื่อมๆ พรายๆ ประกับทับทิม มรกตเฉิดฉาย มณีศรีพร่าย เห็นงามรจนา © ร่ายเครื่องบายศรี เอาจานอย่างดีใส่มัจฉะมังสา คอหมูชูชี้ ปิ้งจี่นาๆ ไก่พะแนงแต่งมา มากมายหลายอย่าง © เก๋ากับรอก หมูพล่ากับมะกอก แยยํากับมะปราง ไส้กรอกใส่เลือด เชือดแต่บางๆ ล่อปลาดุกย่าง จิ้มกับน้ําปลา ส่วนชุปคาย ห่อหมกปลาไหล ทอดมัน ปลาฝา แต่งให้ครบครัน สารพันนานา ร่ํามากจักช้า ว่าให้เป็นที © ให้แต่ง

หน้าที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

ของหวาน ถ้วนถี่ทุกประการ ใส่จานอย่างดี คายนกกรอด ใส่ยอดบายศรี ยกมาตั้งที จึงให้ทําขวัญ © พริกพา พราหมณ์ ชี เสนามนตรี พร้อม กันอยู่ไสว ข้าสาวพ่อแม่ เฒ่าแก่ ชาวใน พร้อมกันทันใจ จึงให้ทําขวัญ © ขวัญได้ฤกษ์ดี ลั่นฆ้องสามที ให้เป็นสําคัญ ประโคมดนตรี มะมี นีนัน แตรสังข์ครืนครัน สนั่นวังใน © เนื้อนันทรงนั้น ท้าวจึงเชิญขวัญ ทั้งสองหน่อไท้ พระขวัญเจ้าเอย เชิญมาจงไว ขวัญอย่าเที่ยวไป เชิญขวัญเจ้ามา เชิญขวัญพระทรามวัย ขวัญเจ้าตกใจ เมื่อต้องอาญา เมื่อตาพราหมณ์เฒ่า พา

หน้าที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒

เจ้าไคลคลา เชิญขวัญเจ้ามา ขวัญอย่าได้ไป เชิญขวัญกัณหา เมื่อเฒ่า ชรา พามาในไพร ขวัญอย่าเร่ร่อน เที่ยวนอนในไพร เชิญขวัญหน่อไท้


๓๘๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

เจ้ากลับคืนมา เชิญขวัญพระชาลี ขวัญแม่กัณหา อย่าได้อยู่ช้า สู่พา ราโดยจง ขวัญอย่าเที่ยวอยู่ ชมมะราชหงส์ ขวัญเจ้าสององค์ มาชม เงินทอง เชิญขวัญโฉมยงค์ มาชมเครื่องทรง อันงามเรืองรอง ขวัญเจ้ามาชม พระสนมทั้งผอง กองแก้วกองทอง เรืองรองรจนา เชิญขวัญสอง .... ...................... ขวัญเจ้ากัณหาเชิญมาด้วย

หน้าที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

กัน ครั้นเชิญขวัญแล้ว จึงเอาแว่นแก้ว มาทั้งสามอัน ให้จุด อัคคี ขมีขมัน จึงพระทรงธรรม์ เวียนเทียนทันใจ © ทําตามระบอบ เวียนเทียนเจ็ดรอบ จึงดับเทียนชัย เสร็จแล้วด้วยพลัน โปก ขวัญทันใจ ให้ต้องทรามวัย ทั้งสองพระองค์ © เฉลิมเจิมพระพักตรา ชาลีกัณหา ทั้งสองโฉมยงค์ ท้าวสญชัยราช ทั้งพระยาตรี จง อวยพรพระองค์ ทั้งสองกษัตรา © ให้อายุเจ้ายืน ถึงพันพระวัสสา ทั้งโรคคะโรคา อย่าระได้ย่ํายี่ ทั้งพระเดชเฟื้องฟุ้ง ไปทุกกรุงศรี ร้อยเอ็ด

หน้าที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗ หน้าที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖ บรรทัดที่ ๗

สวด บูรี ถวายสุวรรณะมาลา ขวัญเจ้าจงมา ดังกรัดเรือกกรัดหา(ตรัสเรียกตรัสหา)นั่นแล ๛ © สนฺโธ สนฺธา สนฺโธ โส กตฺตรญฺญูนํ เอย ญานํ ภาเวตินี ๆ อย่าให้สะนีๆ กํ อสงฺเวยฺย กีรมึ จิ เน ธิ กตานํ เอย ตานํ เอย ไปหาให้ สไนยฺย ไปทําไม ย ภู มี ยา ปตฺติยา เว เจว วื วา เม ปฐมํ อุปฺปสมฺปนฺนิยหา เสติ เสติ ทุกฺขา ปติ กอ ปทํ ๆ ทนฺธาติญูงฺ เอย สมตกฺขา หกฺห อาหา ห อเอะทิ ปตฺเตยฺยํ เอย วิริยา เอย วิมํสา เอย ตสฺสามิ สวดซะเมน © อิสิสัตตะโล สะระสัง ระเสิน โชติกันหัง เง ฯ ว่าจะพึ่งกล่าวพจนีวัดว่าจะเที่ยวไปวัด ว่าจะกัดเจ้าข้าวตังฯ วิสัมเนมารุกข้า รุกขาตัง มาทอดจงเอย ทอดจงโอระชา

มะในนา เอย ในนาโน้นแน่ นั่งเรียงเคียงแม่ ก็มาแลดูตู ห่มสีชมภูใคร่มาสู่ เจ้าแล้วฤๅยังๆ พ่อตายเร้า ปติเรากระแทเร้า นั่งอยู่เมาข้าว ว่าฟังสํารวจ หลวงชีหกคะเมน ยัดตะเถรตายลวด แชและแหแรแทตึง ปัตตะลึงติงชา มะนา ในนาเอย ในนาอิตินิโล มะติดจะปิง ติดจะปิงก็มาวิ่งออกโร อิตินิโลเว้ย ก็มา ลักข้าวถัง กูว่าจะช่วยเอาตีนหน้า กูว่าจะคว้าเอาขาหลัง ทรุดก้นเอ้ยลงนั่ง สุด แล้วแต่ท่านจะติดกัณฑ์ ๛ © นโมเมพุทฺธ เตชสฺส รตฺตนตฺตยสฺส ธมฺมิกา ฯ เตชพฺพ ปรสิฏฺฐิเรือสี สีสิทฺธิเทวา นราภย ปรเมสุราฯ เชยฺยฯ ธนฺรตา รหิร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๘๑

หน้าที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓

อสฺส ฑอนฺมโนเมยฺ คนฺทสฺส วิรานิ ชขุนฺนิ ๚ เชยฺย ๆ อสฺสฑอนฺต ยาสินฺ คลาคลินฺ หกฺขวิสร ๚ เชยฺย ฯ ตชฺชพนฺนิกร กนฺทคคิริ วร นิสฺล ชาลสฺ จินฺตนา ๚ เชยฺย

หน้าที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕ บรรทัดที่ ๖

อาตฺมาภาพขอจคนพระกิรสิริวคิตินจอมคนพระชนน............................ จงมีแก่บพิตร ผู้มีปหิสสรธิบดี ผู้ประเสริฐล้ํา ด้วยผลานิ อาตมาภาพ จะวิสัชนาในคัมภีร์พระมหาปัฏฐานอนันตนัยยโฑ .... พอ ............พระปัญญาบารมี แม้นอาตมาภาพนี้วิสัชนา .............ยุตติโดยเราท่านอรรถาธิบายพระธรรมเทศนาบทใด ………..ขอพระเมตตารุณา พระชารุณาคุณา พระขนิฐาคุณาให้

หน้าที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ บรรทัดที่ ๓ บรรทัดที่ ๔ บรรทัดที่ ๕

........อาตมาภาพผู้มีสติปัญญาอันชอบ ขอเจริญพรฯ ๛ ……..พระสธรรมเทศนา เป็นบุปผาประเสริฐเรืองเรียงเคียงกันมา พระผสฺน....วิ.....นา ต่อแต่พระสงฆ์ น ตรเณต ถึงพระยมชา ...........พระ...ชา ยุตติวาระพระบาลีแต่เท่านั้น ลําดับนี้ อาตมาภาพ จะวิสัชนพระมหาอนันตานทีเจ็ด สืบต่อไป พอเป็น-


๓๘๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๘๓

พระอานิสงส์การสร้างสะพาน ฉบับวัดเขาชําห้าน จังหวัดจันทบุรี อภิลักษณ์ เกษมผลกูล๑๕๘ ความนํา การสร้างสะพานนับเป็นบุญใหญ่อย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน เพราะนอกจากจะเป็นการบํารุงอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาให้ถ้วนถึง ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ยังเชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์มากอีกด้วย ทั้งโดยนัยความหมายของคํา ว่า “สะพาน” นี้ ดังใน มหาปรินิพพานสูตร หมายถึง ... เหล่าชนที่จะข้ามสระ คือตัณหาอันเวิ้งว้างต้องสร้างสะพาน คือ (อริยมรรค) พ้นเปือกตม ก็และขณะที่ชนกําลังผูกทุ่นอยู่ หมู่ชนผู้มีปัญญา ข้ามได้แล้ว ฯ …๑๕๙ ใน นารทพุทธวงศ์ที่ ๙๑๖๐ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวสรรเสริญพระนารทพุทธเจ้า ความ ว่า ... สมัยนั้น ในระยะโยชน์หนึ่งโดยรอบ ใครๆ ไม่ต้องตามประทีปโคมไฟ พระพุทธ รัศมีส่องให้สว่างจ้าในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดํารงอยู่เพียง นั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย พระศาสนาของพระองค์งามวิจิตร ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนท้องฟ้าย่อมงามวิจิตรด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น พระ นราสภพระองค์ นั้นทรงสร้างสะพานไว้มั่นคง สํ าหรับให้คนที่เ หลือดํา เนินข้ามกระแส สงสารแล้วเสด็จนิพพาน แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น และพระ ขีณาสพผู้มีเดชเทียบไม่ได้เหล่านั้นก็หายไปหมดสิ้นแล้ว ... นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงความหมายของ “สะพาน” ในแง่ของความเปรียบ โดยเชื่อว่าการทําบุญด้วยการ สร้างสะพาน จะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้เห็นทางสว่างทุกครั้งที่มืดมนเหมือนมีคนมาชี้ทางให้ เรื่องการสร้างสะพานนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสรรเสริญผู้สร้างสะพานไว้ใน วนโรปสูตร๑๖๑ ว่าเป็นผู้มีบุญ อยู่ในธรรมและสมบูรณ์ด้วยศีล และเป็นผู้ไปสวรรค์ ดังความว่า

๑๕๘

อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ๑๖๐ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ นารทพุทธวงศ์ ๑๖๑ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุตต์ อาทิตตวรรค วน ๑๕๙

โรปสูตร


๓๘๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

… เทวดาทู ล ถามว่ า ชนพวกไหนมี บุ ญ เจริ ญ ในกาลทุ กเมื่ อทั้ งกลางวั น และ กลางคืน ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้ไปสวรรค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ ไม้ (ใช้ร่มเงา) สร้างสะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ําเป็นทาน และบ่อน้ําทั้งบ้านที่พัก อาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์ ฯ นอกจากนี้ใน เสตุทายกเถราปทาน๑๖๒ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงผลานิสงส์แห่งการสร้าง สะพานไว้ว่า ... เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ใช้คนให้สร้างสะพานในที่เฉพาะพระพักตร์ของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จจงกรมอยู่ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ให้สร้าง สะพานใดไว้ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน เราเผา กิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทําเสร็จแล้วดังนี้... ใน จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถริยาปทาน๑๖๓ ... ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติขึ้น แล้ว พระนครหงสวดีเป็นที่อยู่อาศัยแห่งสกุลของพระสัมพุทธเจ้า มีแม่น้ําคงคาไหลผ่าน ทางประตูพระนครหงสวดี ในกาลทั้งปวงภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนเพราะแม่น้ําไปไหนไม่ได้ น้ําเต็มเปี่ยมวันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้างสัปดาห์หนึ่งบ้าง เดือนหนึ่งบ้าง สี่เดือน บ้าง ภิกษุเหล่านั้นจึงไปไม่ได้ ครั้งนั้น รัฐบุรุษผู้หนึ่งมีนามว่าชัชชิยะ มีทรัพย์เป็นสาระ ของประโยชน์ของตนเห็นภิกษุทั้งหลาย ได้ให้นายช่างจัดสร้างสะพานที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ําคง คา ครั้งนั้นประชาชน ให้นายช่างสร้างสะพานที่แม่น้ําคงคาด้วยทรัพย์หลายแสนและ รัฐ บุ รุษนั้ น ได้ให้ นายช่า งสร้ า งวิ ห ารที่ ฝั่งโน้ นถวายแก่ส งฆ์ สตรี บุรุ ษ สกุ ลสู งและต่ํ า เหล่ า นั้ น ได้ ให้ ส ร้ า งสะพานและวิ ห าร ให้ มีส่ ว นเท่ า กั น กั บ ของรั ฐ บุ รุ ษ นั้ น หม่ อ มฉั น ทั้ งหลายและมนุ ษย์ เ หล่ า อื่ น ในพระนครและในชนบท มี จิ ต เลื่ อ มใส ย่ อมเป็ น ธรรม ทายาทแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สตรี บุรุษ กุมารและกุมารีมากด้วยกันต่างก็ขนเอา

๑๖๒

ราปทาน

๑๖๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย เถราปทาน สาลปุปผิวรรค

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย เถรีอปทาน ขัตติยกัญญาวรรค หัสสพราหมณกัญญาเถริยาปทาน

เสตุทายกเถ จตุราสีติส


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๘๕

ทรายมาเกลี่ยลงที่สะพานและวิหาร กวาดถนนแล้วยกต้นกล้วย หม้อมีน้ําเต็มและธงขึ้น จัดธู ป จุร ณ และดอกไม้เ ป็น สักการะแด่ พระศาสดา ครั้ นสร้า งสะพานและวิห ารแล้ ว นิมนต์พระพุทธเจ้าถวายมหาทานแล้วปรารถนาความตรัสรู้ พระมหามุนีปทุมุตระมหาวีร เจ้าผู้เป็นที่เคารพแห่งสรรพสัตว์ ทรงทําอนุโมทนาแล้ว ตรัสพยากรณ์ว่า เมื่อแสนกัปล่วง ไปแล้ว จึงมีภัทรกัป บุรุษนี้ได้ความสุข ในภพน้อยภพใหญ่แล้ว จักบรรลุโพธิญาณ บุรุษ และสตรีที่ทําหัตถกรรมทั้งหมด จักมีในที่เฉพาะหน้าในอนาคตกาล ด้วยวิบากแห่งกรรม นั้นและด้วยการตั้งเจตจํานงไว้ ประชาชนเหล่านั้นเกิดในเทวโลกแล้ว เป็นบริจาริกาแห่ง พระองค์ เสวยทิพยสุขและมนุษยสุขมากมายท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ตลอดกาล นาน ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ หม่อมฉันทั้งหลายมีกุศลกรรมอันทําดีแล้ว ย่อมได้รูป สมบัติ โภคสมบัติ ยศ ความสรรเสริญและความสุขเป็นที่รัก ซึ่งเป็นผลที่ปรารถนาทั้งปวง เนืองๆ ในหมู่มนุษย์ที่ละเอียดอ่อน และในเทวโลก ในภพนี้ซึ่งเป็นภพหลัง ในนิทานกถา พระพุทธประวัติตอนต้น ฉบับพระพุทธโฆสเถระ กล่าวถึงการบําเพ็ญบารมีของสมเด็จ พระพุทธเจ้ าโคดม เมื่อครั้ งที่เ สวยพระชาติ เป็ น สุ เมธดาบส และพระนางพิ มพาได้ เกิ ดมาเป็ น นางสุมิตตา พราหมณี อาศัยอยู่ในเมืองอมรวดีนคร ในเวลานั้นเป็นสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระทีปังกรพุทธ เจ้า อันเป็นพระพุทธเจ้าลําดับที่ ๔ ในมหากัป ครั้งนั้น ชาวนครอมรวดีได้อัญเชิญเสด็จพระทีปังกรให้มารับมหา ทานในนคร ในวันที่พระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จพุทธดําเนินมาพร้อมกับพระสาวกขีณาสพจํานวน ๔ แสนรูปนั้น มหาชนผู้มีศรัทธาจํานวนมากก็พากันมารอรับเสด็จ และได้ช่วยกันถากถางทาง และปรับพื้นที่ขรุขระมีน้ําขังให้ ราบเรียบ เพื่อให้พระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จดําเนินได้โดยง่าย ระหว่างที่ชาวเมืองกําลังรอรับเสด็จ โดยมีส่วนเมือง อีกกลุ่มหนึ่งช่วยกันปรับทางกันอยู่นั้น สุเมธดาบสได้เหาะผ่านมาแลเห็นมหาชนกําลังปรับถนนกันอยู่ก็ลงมา ถาม เมื่อรู้ว่าพระทีปังกรพุทธเจ้ากําลังจะเสด็จดําเนินมาก็มีศรัทธา ขอร่วมในการปรับถนนด้วย ชาวเมืองเห็นว่า ท่านสุเมธดาบสเป็นผู้มีฤทธิ์ จึงได้แบ่งงานบริเวณที่เป็นหลุมเป็นแอ่ง และมีน้ําท่วมขังมาก ให้ท่านดาบส สุเมธ ดาบสนั้นกําลังมีใจปีติที่จะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า คิดว่าหากตนใช้ฤทธิ์ปรับถนน แม้จะเสร็จเร็ว แต่ก็ไม่ชื่นใจ ไม่สม กับที่ตนมีศรัทธา จึงได้อดทนขนดินทรายมาถมหลุมบ่อด้วยแรงกายเช่นสามัญชนทั่วไป ในขณะที่สุเมธดาบสยัง ปรับพื้นที่ยังไม่เสร็จดี พระทีปังกรพร้อมพระสาวกทั้ง ๔ แสนรูปก็เสด็จดําเนินมา สุเมธดาบสเห็นไม่ทันการณ์ เพราะยังมีบ่อที่น้ําท่วมขังอยู่ช่วงตัวหนึ่ง จึงตัดสินใจทอดตัวลงนอนเป็นสะพานปิดทับแอ่งน้ํานั้น ตั้งใจถวาย ชีวิตให้พระทีปังกรและพระสาวกเดินไปบนแผ่นหลังของตน


๓๘๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

สุเมธดาบสขณะทอดตัวเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าเสด็จข้ามคูน้ํา ภายหลังได้รับการพยากรณ์ให้เป็นพระพุทธเจ้าในสมัยพระพุทธเจ้าทีปังกร พระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จมายืนอยู่ที่เบื้องศีรษะของสุเ มธดาบส ทรงตรวจสอบดูด้ วยพระสัพพัญ ญุ ตาญาน ก็รู้ว่าสุเมธดาบสผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีเต็ม สมควรได้รับลัทธยาเทศน์ได้แล้ว พระองค์ จึงได้ทรงตรัสพยากรณ์ว่า ท่านทั้งหลายจงดูดาบสผู้มีตบะอันรุ่งเรืองนี้ ดาบสนี้กระทําความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสําเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วย แสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า โคตม ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่า กบิลพัสดุ์ จักเป็นที่อยู่อาศัย พระมารดาทรงพระนามว่ามายา พระบิดาทรงพระนามว่าสุ ทโธทนะ พระอุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พระอานนท์เป็นพุทธ อุปฐาก พระเขมาเถรีเป็นอัครสาวิกา พระอุบลวรรณาเถรีเป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณ แก่กล้า แล้ วออกมหาภิ เนษกรมณ์ ตั้ งความเพีย รอย่า งใหญ่ รับ ข้า วปายาสที่โ คนต้น ไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ําเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑล และจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์ ชาวเมืองและเทพเทวดาทั้งหลายในที่นั้น เมื่อได้ฟังพุทธพยากรณ์แล้ว ต่างก็กล่าวสาธุการ สนั่นดังไป ทั่วทั้งไตรภูมิ ในสังคมไทยมีคัมภีร์หนึ่งที่กล่าวถึงอานิสงส์ของการสร้างสะพานโดยเฉพาะเรียกกันว่า “อานิสงส์การ สร้างสะพาน” กล่าวถึงเรื่องพระมหากบิลเถร หรือบ้างเรียกว่า พระกปิลัตเถระ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๘๗

ความเป็นมาของต้นฉบับ เรื่อง “เสตุทานานิสํสกถา พระอานิสงส์สร้างสะพาน” นี้เป็นฉบับเมืองจันทบุรี ต้นฉบับเป็นใบลาน ฉบับล่องชาด จารด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เรื่องนี้จัดเป็นวรรณคดีไทยพระพุทธศาสนาประเภทที่เรียกว่า “วรรณกรรมอานิสงส์” คือวรรณกรรมที่เล่าถึงอานิสงส์ของการกระทําบุญกิริยาในลักษณะต่างๆ รวมทั้งอธิบาย ถึงการกระทําบุญกิริยาลักษณะนั้นๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาล ทั้งในสมัยพระพุทธเจ้าโคดม และ สมัยของพระอดีตพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ สาระสําคัญของเรื่อง “เสตุทานานิสํสกถา พระอานิสงส์สร้างสะพาน” กล่าวถึงเรื่องราวในสมัย พุทธกาลเมื่อครั้ งที่ ภิกษุพากั นสรรเสริญ ที่พระมหากบิลเถรสามารถทําให้ น้ําในมหาสมุทรแข็งกระด้ างเป็ น สะพานเพื่อจะข้ามมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจึงตรัสเล่าถึงเหตุที่มาของความอัศจรรย์ ดังกล่าวว่า ในอดีตชาติพระมหากบิลเถรบังเกิดเป็นจัณฑาลในสมัยพระพุทธเจ้ากุกกุสันโธ เห็นพระสงฆ์เดินลุย โคลนตมไปบิณฑบาต จึงปรึกษากับภรรยาว่าจะพากันไปรับจ้างเพื่อหาเงินมาสร้างสะพาน แล้วก็สามารถหา งานมาสร้างสะพานจนเสร็จ เมื่อตายไปไปเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ แล้วไปเกิดเป็นกษัตริย์ เมื่อสวรรคตแล้วก็ ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอานิสงส์จากการสร้างสะพานทั้งสิ้น ตัวอย่างต้นฉบับ


๓๘๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เสตุทานานิสสํ กถา พระอานิสงส์สร้างสะพาน ฉบับเมืองจันทบุรี ฯ นมตฺถุ ฯ เอวเมวสุตํ เอกํสมยํภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน วิหรโนตฺ๑๖๔ อนาถบิณฑิกสป อาราเม มหากบิลฺลเถรํ อารพภกเถสิ ฯ เอตํสุตํ อันว่าสูตรนี้ เมเมาะมยา อันข้า อานนฺทเถเรน ผู้ชื่อว่าอานนท์เถรเจ้าหากได้สวนาการสดับ มา ภควโตสวนฺ๑๖๕ขา เฉภาะพระภักตร์สมเด็จพระผุ้มีพระภาคย์ เอวกวารํ ประมาณครั้งเดียวก็จําได้ เอกํ สมยํ อยู่มาในกาลครั้งหนึ่ง ฯ ภควา อันว่าสมเด็จพระบรมศาสดาจาริยเจ้า วิหรโนตฺ เสด็จอยู่ในพระเชตุวัน มหาวิหาร อาศัยเมืองสาวัตถีเป็นที่โคจรบิณฑบาต สมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จสําราญพระทัยในสถานที่นั้น สิ้นกาลช้านาน อารพฺภ ทรงพระปรารภถึงมหากบิลเถรให้เป็นเหตุ กเถสิ สมเด็จพระบรมโลกเชตุ๑๖๖ จึงได้ตรัส พระสัทธรรมเทศนา ให้เป็นผลแก่สาธุชนในศาสนา ตามด้วยคําสนทนาแห่งภิกขุทั้งปวง โดยพระบาฬีว่า ภิกฺ ขุธ มฺ มภาคฺ ก ยํ สนฺ นิ ปตฺ ติ โ ต อธิ บ ายว่ า อยู่ มาในกาลวั น หนึ่ ง พระภิ กขุ ทั้งหลายเป็ น อั น มากมา สันนิบาตประชุมกันในโรงธรรมสภาคยศาลา วณฺณยนฺตา พากันสรรเสริญ พระมหากบิลเถรเจ้าว่า อาวุโส ดูกร อาวุโสทั้งหลาย อจฺฉริยํ ควรจะอัศจรรย์นักหนา พระมหากบิลเถรเจ้านี้ ท่านมีบุญอย่างไรหนอ จึงมาอธิษฐาน น้ําในแม่น้ําให้แห้งแข็งกระด้างเป็นแผ่นศิลาไปได้ อานิสงส์อย่างนี้ได้สร้างไว้แต่ปางก่อนเป็นอย่างไรหนอ น่า อัศจรรย์ยิ่งนักหนาอย่างนี้ แลต่างองค์ก็ต่างสนทนา ก็พากันนั่งอยู่ในโรงธรรมสภาคยศาลาอันใหญ่ ด้วยประการ ฉะนี้ ภควา องค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงสําราญพระอิริยาบถอยู่ในคันธกุฎี ทิพฺพโสตํ ได้ ทรงสดับด้วยพระโสตอันเป็นทิพย์ คนฺธกุฏีโต นิกฺขมิตฺวา พระพุทธองค์จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เพื่อจะ โปรดประทาน พระสธรรมเทศนา เสด็จมาโดยอนุกรมลําดับขึ้นสู่โรงธรรมภาคยศาลา นิสิทิตฺวา ทรงนั่งเหนือ ธรรมาสน์อาสนะ ที่พระภิกขุสงฆ์ตกแต่งไว้เป็นอันดี แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสถามพระภิกขุทั้งปวงว่า ภิกฺขุเว ดูกร สงฆ์ทั้งหลาย ท่านทั้งปวงมานั่งประชุมกันในสถานที่นี้แล้ว แลพากันมาสนทนาในกาล บัดนี้ ด้วยเหตุผลอย่างไร เป็นธรรมสากัจฉา ฤๅเป็นติรัจฉานกัจฉาเป็นประการใด ท่านจงบอกแก่ตถาคตให้แจ้ง ในถ้อยคําแห่งท่านสนทนากัน ในกาลบัดนี้ เตภิกฺขุ ฝ่ายว่าภิกขุสงฆ์ทั้งหลายนั้น จึงกราบทูลพระมหากรุณาให้ทรงทราบว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่ พระผู้ทรงสวัสดิโสภาคเป็นอัน(มาก) พระพุทธเจ้าฃ้า กระหม่อมฉันทั้งปวงนี้พากันสรรเสริญซึ่งพระมหากบิลเถร ผู้มีอายุ ครั้นแล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็กราบทูลตั้งแต่ต้นจนอวสานที่สุด ดุจแสดงมาแล้วแต่หนหลัง ๑๖๔

(?) (?) ๑๖๖ โลกเชษฐ์ ๑๖๕


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๘๙

สตฺถา องค์สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ ครั้นได้ฟังดังนั้น จึ่งมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกขเว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุพเพกาเล แต่ในกาลก่อนล่วงลับไปแล้วช้านานตั้งแต่ครั้งศาสนาพระพุทธเจ้าทรง พระนามชื่ อว่า กุกกุ สันโธ ในต้นแห่งภั ททกัป (นั้น ) พระมหากบิ ลเถร ลูกพระตถาคตนี้ ได้ไปบังเกิดเป็นคน จัณฑาล เอกทิวสํ อยู่มาในกาลวันหนึ่ง โสจันฑาโล ฝ่ายว่าบุรุษจัณฑาลนั้น ออกจากบ้านไปเพลาเช้า ตํทิสวา ก็ ได้ทัศนาการเห็นพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเป็นอันมาก อันเป็นพุทธชิโนรสอันเที่ยวโคจรบิณฑบาตเป็นสมบัติทาน จาริก สํารวมอินทรีย์ตามพุทธาวาท ทรมานกาย อุตสาหะระงับจิตรลงสู่วิเวก เมื่อเดินตามมรรคมรรคา มาถึงที่ แห่งหนึ่งเป็นที่เปือกตม ก็พากันลงลุยไปในเลน ดุจนี้ลําบากยิ่งนักหนา มีผ้าสบงแลจีวรนั้น เปียกกรําไปด้วยน้ํา แลตมเป็นอันมาก โสปุริโส บุรุษจัณฑาลผู้นั้น ครั้นเห็นแล้วก็บังเกิดมีความสังเวชในใจยิ่งนัก ครั้นกลับมาถึงบ้านแล้ว จึง ปรึกษากันกับภรรยาว่าจนจริงๆ เราจะกระทําอย่างไรดีจึงจะได้ทรัพย์มาสร้างสะพาน เมื่อปรึกษากันฉะนี้แล้ว ฯ สามิโก ฯ ฝ่ายสามีจึ่งว่าเราจะเที่ยวไปแสวงหามาให้จงได้ เอามาปลูกเป็นสะพานขึ้นไว้ จะได้เป็นที่อาศัยไปมา แห่งชนทั้งปวง มีพระภิกษุสงฆ์เป็นต้น ภนฺเต ดูกรเจ้า เราทั้งสองคนนี้พากันไปรับจ้าง เอาแต่พอได้ทรัพย์มาแล้ว จะได้เอาไปซื้อไม้มาปลูกขึ้นไว้ เมื่อสองผัวเมียปรึกษาพร้อมกันแล้ว ก็มีใจผ่องแผ้วด้วยปีติ แลก็พากันไปเที่ยว รับจ้างเขา กระทําการทั้งปวง ได้ทรัพย์มาแล้วก็เอาไปซื้อไม้มาทําสะพานข้ามให้พ้น(อามิส) ที่ติดเปื้อนผ้าสบง จีวร ครั้นแล้วก็แต่งการฉลองสะพาน จึงทําปณิธานถวายเจตนา ให้เป็นที่อาศัยไปมาแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง มีภิกษุ มาแต่จตุรทิศทั้ง ๔ เป็นต้น (ตถุพากจกาตวา) สองสามีภรรยาได้กระทําการกุศลประมาณเท่านี้ มีจิตรนั้นยินดี ในผลทาน ที่ตนกระทํามาแล้วแต่หลัง อนุสสริตวา แล้วก็อุตสาหะระลึกถึงกองการกุศลของตนนั้นทุกวันทุก เวลาไปมิได้ขาดเลย ครั้ น เมื่ อ จะได้ ม รณา กุ ศลนั้ น ก็ ป รากฏมโนทวารวิ ถี ใ ห้ เ ห็ น เป็ น ช่ อ งแถวสะพานทองแกมแก้ ว งาม ประเสริฐก็บังเกิดความโสมนัสในดวงจิตร ครั้นทําลายเบญจขันธ์สิ้นชีวิตแล้ว ก็จะได้ไปบังเกิดในวิมานแก้ว สูง ประมาณได้ ๕๐ โยชน์ มีนางเทพอัปสรกัญญา สองหมื่นแวดล้อมเป็นบริวาร ที่บริเวณทิพยสถาน ประกอบไป ด้วยทิพยอุทยานแลสระโบกขรณี อันเดียรดาษไปด้วยปัญจ(ปัจ) ทั้ง ๕ ประการ แลทิพยวิมานทั้งสองสามีภิริยา นั้น ดูพิลึกแล้วไปด้วยแก้วผลึกแลทองคําธรรมชาติงามสะอาดไปด้วยแก้วแกมทอง อันเรืองรองไปด้วยรัศมีสีสัน พรรณนาสัณฐาน ครึกครื้นไปด้วยเครื่องประดับเป็นแสงระยับห้อยย้อยไปด้วยพวงมาลามาไลย อันปักเกลื่อนไป ทั้งธงไชยธงกระดาษ แต่ล้วนกระดึงส์ห้อยย้อย แลกังสดาลประสานเสียงสําราญน่าใคร่ฟังใคร่ดู น่าเชยน่าชม งามเป็นคู่ๆ ร้อยพวงสุมาลีห้อยย้อยเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในทิพยพิมานทอง มีเทพอักษร๑๖๗อรชรน่าชม เสียงระงมไปด้วยขับร้องแลฟ้อนรําระบําถวาย เสียงมโหรีพิณพาทย์ระนาดฆ้องมีเสียงเสนาะเพราะนักหนาน่า ฟัง ประพฤติเป็นไปทั้งนี้ก็เพราะอานิสงส์ที่เทพบุตรแลนางเทพธิดานั้นได้ปลุกสะพานให้เป็นทานแก่สรรพสัตว์ ทั้งปวง มีภิกษุสงฆ์เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ โส เทวปุ ต โต เทพบุ ต รนั้ น ครั้ นจุ ติ จ ากดาวดึ งส์ วิ มานแล้ ว ก็ ได้ ลงมาเกิ ดในมนุ ษย์ โ ลกนี้ ขตฺ ติ ย ปฏิสนธิ ถือเอาปฏิสนธิในครรภธรแห่งขัตติยกษัตริย์ในเมืองพาราณสีมหานครราชธานี ครั้นพระราชกุมารมีวัย ๑๖๗

เทพอัปสร - นางฟ้า


๓๙๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

วัฒนาการใหญ่กล้า บรมขัตติยาธิบดีผู้เป็นพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระราชกุมารก็ได้ครองเครื่องสมบัติแทน พระราชบิดา จึงไปรับเอานางขัตติยาแล้วเอามาภิเษกเป็นเอกอัครมเหสีเป็นใหญ่กว่าสุรางค์นารีทั้งปวง แต่พา กันเสวยราชสมบัติเป็นบรมกษัตริย์ เป็นเอกราชอันประเสริฐสิ้นกาลช้านานประมาณถึงสองหมื่นปีเป็นกําหนด มรณํ กตฺวา ครั้นกระทํากาลกิริยาตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์ สักกเทวโลกเสวยรมย์ชมสมบัติใน ดาวดึงส์สิ้นกาลช้านาน ครั้นสิ้นอายุทิพย์แล้วก็จุติจากสวรรค์ แล้วก็ได้มาบังเกิดเป็นบรมกษัตริย์อันประเสริฐใน มนุษย์โลกนี้อีกเล่า ตกว่าชนทั้งสองสามีภิริยาได้เสวยมนุษย์สมบัติแลสวรรค์ดังนี้ก็ได้ด้วยอานิสงส์ที่ตนได้สร้าง สะพานนั้นแลส่งให้ พุทฺโธโลเก อุปปณฺโณ เมื่อบังเกิดขึ้นซึ่งพระพุทธเจ้าในโลกนี้ ก้ได้มาบังเกิดเป็นพระมหากบิลราช รู้ชัด ว่ า พระสั มมาสั ม พุ ทธเจ้ าได้ ต รั ส แล้ ว ก็ พากั น ไปเฝ้ า พระพุ ทธองค์ ด้ ว ยอุ ป นิ สั ย ส่ งให้ ก็ได้ มี คิด ระลึ กถึ งพระ พุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นนิจ ตั้งจิตรใคร่พบพระพุทธองค์ จึงอุตสาหะกับเสนาน้อยใหญ่ ทิสฺวา แล้วจึงมาพบแม่น้ําอันใหญ่ขวางหน้า แล้วจึงตั้งสัจจาธิษฐานยังอุทกธาราให้แข็งกระด้าง ยังราชรถทั้งคนที่เดิน เท้าให้ข้ามมาได้สําเร็จ ดังความปรารถนาทั้งสององค์กับทั้งพระอัครมเหสี ก็พากันข้ามอุทกวารี ก็พากันมาโดย อนุกรมลําดับ จนกระทั่งถึงสมเด็จพระสรรเพชฌพระพุทธองค์ ครั้นถึงจึงถวายบังคมบาทยุคลธรทั้งคู่ ปูเชสิ กระทําสักการบูชาด้วยสุคนธบุปผามาลามาไลย ธูปเทียนดอกไม้ต่างๆ แล้วก็ขอบรรพชา สมเด็จ พระมหากรุณาเจ้าก็ทรงอนุญาตให้บรรพชา เมื่อพระมหากบิลได้บรรพชาแล้วก้ได้สําเร็จพระอรหันต์ดับกิเลส เป็นสมุจเฉทมหาร นี่แลทานปัจจัยทานานิสงสอธิบดี กระทําครั้งนี้ก็ต้องตามเยี่ยงอย่างพระอริยเจ้าแต่ปางก่อน ที่ท่านได้กระทํามาแล้วนั้น เมื่อท่านทานานิสงสอธิบดี กระทํากุศลในครั้งนี้ก็มีผลานิสงส์เป็นอันมากอยู่ แต่ มิหนําซ้ําชักชวนพวกพ้องคณาญาติทั้งปวง มากระทําการฉลองได้ถวายกัปปิยจังหันแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระประ ติมากรเป็นต้น เป็นประธาน ก็จะได้อานิสงส์ยิ่งขึ้นไปกว่าเก่า ได้ร้อยเท่าพันทวี สุวณฺณปพฺพโตวิย เปรียบ ประดุจภูเขาทองมิได้เศร้า แต่ล้วนทองทั้งแท่งงามบริสุทธิ์ แล้วมีบุคคลเอาแก้ว ๗ ประการ มีมาประดับเข้าอีก เล่า ภูเขาทองก็ยิ่งงามขึ้นไปกว่าเก่า งามทั้งสีทอง ทั้งสีแก้ว มีครุวนาดุจดังภูเขาทอง แต่ทองนั้นก็สีงามอยู่แล้ว แลยังได้แก้วมาประดับเข้าอีกแล้วก็งามยิ่งขึ้นไปเหมือนกันกับท่านทายกทายิกาทั้งหลาย มาสร้างซึ่งสะพาน กระทําการกุศลสิ่งใดก็ดี แค่สร้างนั้นยังได้บุญอยู่แล้ว ครั้นฉลองยิ่งได้บุญนั้นมากขึ้นไปอีกเล่า ได้ร้อยเท่าพันทวี อาจให้ได้มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ แลว่าคณาบารมียังได้แก่กล้า ก็จะได้สําเร็จแต่สวรรคสมบัติ ท่านทั้งปวงจง มีจิตรปฏิพัทธ์ยินดีในพระรัตนตติยาธิคุณเจ้า ผู้มีปัญญาเป็นหัวหน้า กลปนา จงอุทิศแผ่ผลไปให้แก่บิดามารดาคณาญาติของ(ปวง)อาตมา ที่กระทํากาลกิริยาตาย ล่วงลับ ไปแล้วในปรโลก เบื้องหน้านั้นด้วยกุศลแห่งท่านทายกทายิกาทั้งปวงเมื่อภายหลังก็จะบ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือพระอมตะมหานครนฤพาน อันดับเสียซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณาทุกข์ทั้งปวง มิได้ เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏสงสาร ครั้นถึงนิพพานแล้วก็จะเป็น เอกันตบรมสุข มิได้เชื่อไปด้วยทุกข์ทั้งปวง อัน พระนิพพานธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอรหันตาขีณาสพเจ้าทั้งปวงล่วงลับไปแล้ว มากกว่าเม็ดทรายทั้ง ๔ สมุทร นี่ แลอาตมาภาพแสดงมาย่อๆ พอเป็นสังเขปกถา เป็นธรรมสวนานิสงส์ ก็ควรแก่เวลาแต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มี ฯ **********************************


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙๑

ข้าพเจ้าผู้เป็นสัตรีภาพ มีนามชื่อว่า นางบุญ ได้มีจิตต์ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทุนทรัพย์ สร้างหนังสืออานิสงส์สร้างสะพานผูกนี้ไว้เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่มิตร ผู้มีจิตรผ่องไสยต่อพระพุทธศาสนา ด้วยกัน จะได้สดับธรรมที่เป็นธรรมคําสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้ตรัสพระสธรรมเทศนาไว้ นั้น และขอให้ข้าพเจ้าถึงซึ่งประโยชน์ .... ประการ เป็นลําดับไป จนตลอดถึงซึ่งผลมรรคมหานครนิฤพานใน อวสาน .... เทอญ


๓๙๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙๓

มรณสงคราม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี ดรณ์ แก้วนัย ๑๖๘ บทนํา สําเนาสมุดลาน หมวดวรรณคดี หมู่ร้อยแก้ว เรื่อง มรณะสงคราม ฉบับวัดพลับ ตําบลบางกะจะ อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เลขที่ จบ.บ. ๔๔๑/๑: ๑ ก- ๑ ข ๓ ผูก ตู้ ๔ ช ๕/๕ นี้ ต้นฉบับจารด้วยใบลานใช้ อักษรขอมไทยในการจาร แบ่งเป็น ๒ สํานวน ได้แก่ ๑. สํานวนที่สร้างโดยนางสวน เพื่ออุทิศให้นายจัน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๐ และอุทิศให้พระพุทธศาสนา ๒. สํานวนที่สร้างโดยนางทุย ไม่ระบุปี พ.ศ. เพื่ออุทิศให้พระพุทธศาสนา จากการศึ กษาประวั ติ ศ าสตร์ ที่ เ กี่ ย วข้ องกั บ วั ด พลั บ และช่ ว งเวลาที่ แต่ งวรรณกรรมเรื่ องนี้ ทํ าให้ สันนิษฐานได้ว่า มูลเหตุจูงใจในการแต่งน่าจะเกี่ยวข้องกับ ๒ เหตุการณ์ คือ ๑. ช่วงที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองจันทบุรี ราว พ.ศ. ๒๓๑๐ ตามตํานานเล่าว่า วัดพลับ เดิมชื่อ วัดสุวรรณติมรุธาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตําบลบางกะจะ อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ราวปี พ.ศ. ๒๓๐๐) สร้างโดยชาวจีนแต้จิ๋ว เพราะใน สมัยนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่หนาแน่น จนกลายเป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดของทางภาคตะวันออก ได้นิมนต์พระ อาจารย์ทอง จากวัดแห่งหนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อ) อยู่ใกล้วัดโบสถ์พลอยแหวน ร่วมกับพระธุดงค์จากกรุงศรีอยุธยา ช่วยกันสร้าง เดิมชื่อวัดสุวรรณติมรุธาราม แปลว่า วัดพลับทอง ด้วยใกล้วัดมีต้นพลับอยู่จํานวนมาก ชาวบ้านจึง พากันเรียก วัดพลับ บ้างก็เรียก วัดพลับบางกะจะ เพราะวัดตั้งอยู่ใกล้ ตลาดเก่าบางกะจะ วัดพลับมีความเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชเมื่อครั้งเป็นที่พระยาวชิรปราการ ได้พา ทหาร ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่ามุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกของไทย ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าเป็น ครั้งที่ ๒ พระยาวชิรปราการ สู้รบฟันฝ่าพาสมัครพรรคพวกเคลื่อนทัพลงไปจนถึงเมืองระยอง ณ ที่แห่งนี้ พระ ยาวชิรปราการได้สถาปนาตนเป็น พระเจ้าตากสิน โดยการยอมรับจากไพร่พลทั้งปวง ครั้นจะเคลื่อนทัพเข้าสู่ เมืองจันทบูร (จันทบุรี) แต่ พระยาจันทบูรไม่ยอมอ่อนน้อม กลับปิดประตูเมืองสั่งทหารป้องกันเชิงเทินอย่าง เข้มแข็ง แต่ท้ายที่สุดก็แพ้กุศโลบายอันแยบคายของพระเจ้าตากสิน โดยตรัสให้หลวงพิชัยอาสา เรียกประชุมแม่ ทัพนายกองว่า คืนนี้จะต้องเข้าตีเมืองจันทบูรให้จงได้ และในเย็นวันนั้นเอง หลังจากเหล่าทหารและรี้พลกิน อาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าตากสินได้สั่งแม่ทัพนายกองว่า เราจะตีเมืองจันท์ในค่ําวันนี้ เมื่อกองทัพหุง ข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายและไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อย (ทุบ) หม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้า ๑๖๘

นักวิชาการอิสระ เครือข่ายศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๓๙๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองจันท์ไม่ได้ในค่ําวันนี้ ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว ในที่สุดก็ตี เมืองจันทบูรได้สําเร็จ จากตํานานคําบอกเล่าสืบต่อกันมา ก่อนกองทัพพระเจ้าตากสิน จะเข้าตีเมืองจันทบูรได้มีการทําพิธี ทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพลับ (วัดพลับ ตําบลบางกะจะ อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี) สร้างพระยอดธงและ ประพรมน้ํามนต์ให้กับทหารทุกคนในกองทัพ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกําลังใจทหารให้เกิดความฮึกเหิม กล้ารบ เพื่อชาติมากขึ้น ด้วยพุทธคุณทําให้ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดตลอดกาล นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังให้พุทธคุณ ด้านโชคลาภ เมตตามหานิยม อีกด้วย ดังข้อความที่อ้างถึงในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบรัดเล กล่าวว่า “ ครั้น ณ วันพฤหัสบดี ศก เพลาเช้าอุษาโฆษยามพฤหัสบดีตรัสให้ยกพลนิกายสรรพ ด้ ว ยเครื่ อ งสรรพาวุ ธ ออกจากเมื องระยอง พระสงฆ์ สี่ รู ป นํ า เสด็ จ มาประทั บ รอนแรมโดย ระยะทางห้ า วั น ถึ งตํ า บลบ้ า นบางกะจะหั ว แหวน ครั้ น ณ วั น จั น ทร์ ศ ก จึ งยกไปใกล้ เมื อ ง จันทบุรี ” หรือข้อความที่กล่าวถึงในหนังสือประวัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชหรือพระเจ้าตากสิน มหาราช ว่า “ ฝ่ายพระยาจันทบุรีคาดว่าเจ้าตากคงขัดเคือง บางทีจะหาเหตุนํากําลังไปตีเมือง จันทบุรีก็ได้ จึงปรึกษาขุนรามหมื่นช่อง การที่จะรบกับเจ้าตากนั้นยากนัก ด้วยเจ้าตากมีฝีมือ จึงต้องคิดกลอุบายล่อเจ้าตากเข้าไปไว้ในเมืองจันทบุรีเสียก่อน จึงคิดจะกําจัดได้โดยง่าย พระ ยาจั น ทบุ รี จึงนิ มนต์ พระสงฆ์ สี่ รู ป เป็ น ทู ตมาเชิ ญ เจ้ า ตากลงไปจั น ทบุ รี เมื่ อพระสงฆ์ มาถึ ง ระยองเป็นเวลาที่เจ้าตากอยู่ที่เมืองชลบุรี รอคอยอยู่จนเจ้าตากกลับ เมื่อเจ้าตากทราบความว่า พระยาจันทบุรีเต็มใจช่วยเจ้าตากปราบยุคเข็ญ เห็นว่าระยองเป็นเมืองเล็ก เชิญเจ้าตากไปตั้ง ตัวที่จันทบุรีเป็นที่มีเสบียงอาหารบริบูรณ์ เพื่อจะได้ปรึกษาเตรียมกองทัพรบพม่าเอากรุงศรี อยุธยาคืนมาจากข้าศึกให้จงได้ เจ้าตากก็ยินดี เจ้าตากทราบอุบาย มิพักพลหายเหนื่อยแล้วก็ให้พระสงฆ์ทูตนําทางลงมายังจันทบุรี เมื่อมาถึงห่างจากจันทบุรี ๒๐๐ เส้น ที่บางกระจะหัวแหวน พระยาจันทบุรีให้หลวงปลัดมารับ และบอกว่าพระยาจันทบุรีได้จัดทําเนียบที่พักไว้ริมน้ําข้างฟากใต้ตรงข้ามกับเมือง เจ้าตากก็สั่ง ให้ทหารเคลื่อนที่ตามไป แต่ยังไม่ถึงเมืองจันทบุรีมีผู้มาบอกให้เจ้าตากทราบว่า พระยาจันทบุรี คิดกับขุนรามหมื่นซ่องเรียกระดมคนไว้ข้างในเมือง จะออกโจมตีเจ้าตากเมื่อเวลากําลังข้ามลํา น้ําข้างใต้เมือง ”


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙๕

จากข้ อความและตํ า นานดั งกล่ า วจะเห็ น ว่ า สถานที่ ตํ า บลบางกะจะที่ กล่ า วถึ งนั้ น เป็ น สถานที่ แห่ ง เดี ย วกั บ บริ เ วณที่ ตั้ งของวั ด พลั บ ตํ า บลบางกะจะในปั จ จุ บั น ซึ่ ง มี ความเกี่ ย วข้ องกั บ เหตุ การณ์ สํ า คั ญ ทาง ประวัติศาสตร์ในการรวบรวมกําลังเพื่อกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่าอีกด้วย ซึ่งนอกจากข้อความดังกล่าวแล้ว ภายในบริเวณวัดยังปรากฏสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช และสระน้ํา ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตามตํานานกล่าวว่า ได้นําน้ําบริเวณ พระเจดีย์กลางน้ํา ณ วัดพลับ แห่งนี้ มาใช้ประกอบในการ ทําน้ําพระพุทธมนต์ เนื่องในงานพิธีมงคลต่าง ๆ ในครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ทําการกอบกู้ชาติ แผ่นดิน กล่าวคือ ก่อนพระยาวชิรปรากร (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช) จะเข้าตีเมืองจันทบูร (จันทบุรี) นั้น ได้มาทําพิธีทางพระพุทธศาสนา พาเหล่าบรรดาทหารหาญมาประพรมน้ํามนต์ที่วัดพลับ ก่อนออกสู้รบ เพื่อ เป็นการสร้างขวัญและกําลังใจ ฉะนั้น ผู้แต่งคงเคยได้รับการเล่าขานถึงการสู้รบครั้งสําคัญครั้งนี้และชุมชนที่ผู้แต่งอยู่อาศัยก็มีส่วน เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ด้วยจึงผูกเรื่องให้เป็นอุทธาหรณ์สอนใจคนรุ่นหลังให้ทราบว่า สงครามนั้นมีแต่ความ สูญเสียและคราบน้ําตาของผู้เป็นญาติที่ยังคงมีชีวิตอยู่ภายหลัง และอุปมาเหมือนชีวิตสรรพสัตว์ที่ต้องเผชิญกับ ความตายทุกผู้ทุกนามไม่ว่ายากดีมีจนทั้งโลกนี้ พรหมโลก หรือแม้แต่พระอริยบุคคลก็ยังต้องทําสงครามกับ ความตายในชาติสุดท้าย ๒. ช่วง พ.ศ. ๒๓๙๐ ซึ่งเป็นปีที่สร้างวรรณกรรมเรื่องนี้นั้น เป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทย (ประเทศสยามในขณะนั้น) เกิดพิพาทกับญวน เนื่องจากเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์เอาใจออกห่างจากไทยไปสวามิภักดิ์กับญวน การทําสงครามในครั้ง นี้ นั้ น ใช้ ก องทั พ บกและกองทั พ เรื อ เมื อ งจั น ทบุ รี เ ป็ น เมื อ งชายทะเลทางทิ ศ ตะวั น ออกอยู่ ใ กล้ กั บ ญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกรงว่า ญวนจะยึดเอาเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่นเพื่อทําการต่อสู้กับไทย และ เมื องจั น ทบุ รี ในขณะนั้ น ตั้ งอยู่ ใ นที่ ลุ่ มไม่ เ หมาะสมที่ จ ะใช้ เ ป็ น ฐานทั พต่ อสู้ กั บ ญวน ฉะนั้ น จึ งได้ โ ปรดฯ ให้ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองออกมาสร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้นมาใหม่ที่บ้านเนินวง ตําบลบาง กะจะ ตําบลที่จะสร้างเมืองใหม่ตั้งอยู่ในที่สูง อยู่ห่างจากเมืองเดิมไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๘ กิโลเมตร เป็น ชัยภูมิที่ดี เหมาะแก่การสร้างฐานทัพต่อสู้ข้าศึก ลักษณะของเมืองที่สร้างมีกําแพงสร้างด้วยศิลา ป้อมคู ประตู ๔ ทิศ เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ ๑๔ เส้น ยาว ๑๕ เส้น มีปืนใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องใบเสมา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ ภายในเมืองได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ดังปรากฏอยู่ในวัดโยธานิมิตว่า ได้ฝังอาถรรพณ์หลัก เมืองที่บ้านเนินวง ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ํา เดือน ๔ ปีมะแม จุลศักราช ๑๑๙๗ คลังเก็บอาวุธกระสุนปืนใหญ่ และคลังดินปืน กับทั้งสร้างวัดชื่อ “วัดโยธานิมิต” ขึ้นภายในเมืองใหม่นั้นด้วย จะเห็ น ว่ า เหตุ ก ารณ์ ที่ ส องนี้ จ ะเกี่ ย วข้ อ งกั บ ตํ า บลบางกะจะเช่ น เดี ย วกั บ เหตุ ก ารณ์ ค รั้ ง แรก ซึ่ ง สันนิษฐานได้ว่า ผู้แต่งซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวคงจะเคยเห็นกองทัพของเจ้าพระยาพระคลัง และซึมซับ เอากับบรรยากาศของกองทัพเพื่อตรียมทําสงครามกับญวนไว้มาก เห็นได้จากวรรณกรรมเรื่องนี้มีคํากล่าวถึงคํา


๓๙๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ว่า โยธา ปืน การแต่งกายของทหาร จตุรงค์ทั้งสี่เหล่าทัพ เป็นต้น ซึ่งทําให้ผู้อ่านเห็นภาพของกองทัพได้อย่าง ชัดเจน ทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เขียนแต่งเรื่องมรณะสงครามขึ้นโดยใช้กลวิธีในการ เปรี ย บเที ย บการต่ อ สู้ กั บ กิ เ ลสในจิ ต ใจสรรพสั ต ว์ เ หมื อ นกั บ การทํ า สงคราม ซึ่ ง ผู้ เ ขี ย นได้ ซึ บ ซั บ มาจาก ประสบการณ์ที่ได้ รับ ฟังมาหรื อจากประสบการณ์ต รงของตนเอง เพื่อใช้ ในการแสดงธรรมพระเทศนาของ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นจากบ่วงมารต่อไป มรณะสงครามถือเป็นวรรณกรรมในพระพุทธศาสนาและเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งซึ่งสามารถ ยกขึ้นมาแสดงในโอกาสงานฌาปนกิจศพของผู้เสียชีวิตในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะพรรณนาถึงอานิสงส์ของผู้ ได้กระทําฌาปนกิจศพบุคคลในฐานะต่างๆ และแสดงหัวข้อธรรมตั้งแต่การให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ คือ สมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่สุด เพื่อให้สามารถเอาชนะมรณะสงครามที่สัตว์โลกหลีกหนีไม่ได้ วรรณกรรมทั้งสองสํานวนผู้สร้างถวายมีเจตนาอุทิศไว้ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น และได้เสนอแนะให้ผู้ แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ (พระสงฆ์) ใช้คําสรรพนามสําหรับเรียกผู้ที่รับฟังพระธรรมเทศนาไว้ใน หน้า ๒/๑ - ๒/๒ ว่า ถ้าแสดงธรรมแก่ขุนนางให้ใช้คําเรียกขุนนางว่า บพิตรปัจจยทานาธิบดี แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาหรือ พลเมื องทั่ วไปใช้ว่า ปัจจยทานาธิ บดี ดั งบรรทัดที่ ๑ ว่า ถ้าจะสํา แดงท่ านขุ นนาง จึงว่า ดูกรบพิตรปัจจย ทานาธิบดี ถ้าเป็นแค่พลเมือง ว่า ดูกรปัจจยทานาธิบดี เทคนิคในการนําเสนอผู้แต่งใช้ตัวอักษรขอมไทยบาลีหนึ่งบทก่อน แล้วอธิบายหรือพรรณนาด้วย อักษรขอมไทยจนกว่าจะสิ้นกระแสความและก็เริ่มต้นใหม่จนกระทั้งจบเป็นตอนๆ ไป อันเป็นรูปแบบการแต่ง วรรณกรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนา ประการสําคัญผู้แต่งได้ใช้การอุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คําเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับคําว่า “เหมือน” เช่น คือ ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก ปาน ดังนี้ เป็นต้น โดยเนื้อหาจะเปรียบเรื่องธรรมะกับการทําสงครามซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ๑. หอกน้อยแลหอกใหญ่ กล่าวคือ ทุกขเวทนา ๒. มีหมู่คชสารศึกย่ําเหยียบซึ่งที่รบ กล่าวคือ บังเกิดความคับแค้นใจร่ําไรไห้สะอื้น ๓. ลูกกระกูลกุลบุตร อันกอปรด้วยปัญญา ความเพียร จะรบฆ่าศึก คือ กิเลศสงครามในภายในนั้น ย่อมเจริญจิตรโอสมถกัมมัฏฐาน ๔ แลวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๓ ๔. แลมีจักราวุธอันแหลมอยู่ในมือ กล่าวคือ อินทรีย์ห้า พลห้า สมัปธานสี่ จึ่งทําลายซึ่งค่ายอัน หมั้นคือ ทิฏฐิ ด้วยขันทรตนาวุธอันคมกล้า กล่าวคือ ปัญญาโลกุตตรธรรมอันประเสริฐ ๕. จึงหักเสียซึ่งธงไช คือ มานะ อุธัจจะ กุกกุจจะ แห่งมหาโยธาทั้งสาม คือ ราคะโทสะโมหะโยธา ให้ล้มลงแล้ว ก็ไล่กําจัดฆ่าศึก คือ กิเลศน้อยใหญ่ให้พินาศพ่ายแพ้แล้ว ก็เข้าสู่เมืองแก้วอมตม หานครนิพพาน ได้พระโลกุตตรสัมบัติแล้วก็ยกขึ้นซึ่งวิมุตติเสวตฉัตร คือ พระอรหัตตผลอัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙๗

ประเสริฐนี้ฯ นักปราชญ์ทั้งหลายมีสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตรัสว่า กุลบุตรเห็นป่านดั่ง นี้จึ่งว่าชนะกิเลศศัตรูในมรณสงครามฯ เนื้อหาโดยย่อ เนื้อหาของใบลานทั้งสองสํานวนแบ่งออกเป็น ๓ ตอน เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ๑. มรณะสงคราม มรณะสงครามเป็นพระธรรมเทศนาที่พรรณนาและอุปมาเปรียบสรรพสัตว์ทุกชนชั้นตั้งแต่มนุษย์ เทวดา พรหม และพระอริยสาวก ล้วนต้องต่อสู้กับพญามัจจุราช คือ ความตาย ซึ่งทุกสรรพสัตว์จะหลีกเลี่ยงไป ไม่พ้น เพียงแต่พระอริยบุคคลชั้นสูงเหล่านั้นเมื่อบรรลุถึงพระอรหันต์แล้วหากประสบกับพญามัจจุราชแล้วจะไม่ เศร้าโศก ทุกขเวทนา และเมื่อละสังขารแล้วจะไม่กลับมาเกิดอีก กล่าวคือ เข้าสู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุขเป็น ที่สุด พระธรรมเทศนาได้พรรณนาถึงสาเหตุที่ทําให้สรรพสัตว์ต้องผจญกับมรณะสงครามไม่มีที่สิ้นสุดและ วิธีปฏิบัติให้ได้รับชัยชนะในสงครามไว้ ดังนี้ สัตว์โลกที่มีมานะ อุธัจจะ กุกกุจจะ อันเป็นกิเลสและกําลังหลักแห่งมหาโยธาทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ จะทําให้เกิดความร่ําไร รําพัน ความคับแค้นใจ ทุกข์โศก เมื่อต้องพลัดพรากจากคนที่ตนรัก เสียง ร้องไห้และน้ําตาของหมู่ญาติที่เกิดจากความอาลัยเหล่านั้นเปรียบได้กับเสียงฆ้องกลองในกองทัพ เมื่อไม่รู้วิธี เอาชนะสงครามแห่งความตายจึงต้องทุกขเวทนาอยู่ในโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งเปรียบดั่งถูกหอกน้อยใหญ่ที่คอย ทิ่มแทงกายและจิตของสัตว์โลกจวบจนสิ้นชีวิตและวนเวียนกลับมาเกิดอีกภพแล้วภพเล่า ผู้ ที่ จ ะหลุ ด พ้ น จากความทุ ก ข์ ใ นสงครามนี้ ไ ด้ ต้ อ งอาศั ย บุ ญ กุ ศ ลที่ แ ต่ ล ะบุ ค คลบํ า เพ็ ญ มา ประกอบด้วยสติ ปัญญา และความเพียร และวิธีปฏิบัติให้ได้รับชัยชนะนั้นคือ การเจริญสมถะกัมมัฏฐาน ๔ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๓ เริ่มตั้งแต่มีศรัทธา รักษาศีลอันบริสุทธิ์ เจริญสมาธิ และมีความเพียรคอยทําลาย กิเลสน้อยใหญ่ และอาศัยปัญญา เป็นที่สุด โดยปัญญาที่ใช้ในการพิจ ารณาในกุศล เรียกว่า ปัญญานุปัสสนา ๗ ประการ คื อ พิจารณาเห็ น สังขารเป็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา เห็นโทษในสังขารและเหนื่อยหน่ายจะใคร่พ้น การหลุดพ้นจากสังขารเป็นสุขที่ เที่ยงแท้ และเห็นว่าการสละซึ่งกิเลสอันไม่มีเป็นแก่นสารนั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง กล่าวคือ พระนิพพาน เมื่อพิจารณาดังนั้นแล้วก็ใช้พระสติปัฏฐาน ๔ ประการ ซึ่งเปรียบเหมือนการขึ้นม้าสินธุพ ได้แก่ ธรรมะ คือ อินทรีย์ ๕ พล ๕ สัมมัปปธาน ๔ เพื่อทําลายค่ายอันเป็นที่มั่นของข้าศึก คือ ทิฏฐิ ด้วยอาวุธที่คม กล้า คือ ปัญญาโลกุตตรธรรม จึงจะหักเสียซึ่งธงชัย คือ มานะ อุธัจจะ กุกกุจจะ แห่งมหาโยธาทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะได้ และเมื่ อกํ า จัด ฆ่า ศึ กคื อกิ เ ลสน้อยใหญ่ให้ พิน าศพ่ ายแพ้ แล้ว ก็ เ ข้า สู่เ มื องแก้ ว อมตมหานคร นิพพาน


๓๙๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๒. อานิสงส์แห่งการกระทําฌาปนกิจศพ เนื้ อความของวรรณกรรมตอนหนึ่ งได้ กล่ าวถึ ง การเจริ ญ มรณานุ ส ติ ในโอกาสที่ ได้กระทํ า การ ฌาปนกิจศพบุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นการปลอบประโลมเจ้าภาพที่จัดงานฌาปนกิจศพแต่ละครั้งขึ้น ให้มีความอิ่ม เอิบ มีความยินดีกับกุศลที่กระทําลงไป และลดความเศร้าโศกเสียใจลงได้บ้าง การกระทํากุศลดังกล่าวต้อง ประกอบไปด้วยศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส และระลึกถึงคุณความดีของผู้เสียชีวิตอยู่เสมอ หากบุคคลใดมี สติจะไม่เศร้าโศก เพราะเมื่อกระทํามรณานุสติไว้ในใจ โดยคิดเห็นว่าร่างกายนี้มิได้เป็นแก่นสาร เป็นทรัพย์ สาธารณะมีวันที่จะดับสูญ ก็จะเกิดมีปัญญาหักหารซึ่งความโศกได้ และยังได้รับอานิสงส์ ดังนี้ ๑. บุคคลใดไม่ประมาทระลึกถึงร่างกายของตน พิจารณาให้เห็นเป็นอนิจฺจัง จะได้ผลอานิสงส์ ๑๗ กัปป์ ๒. บุคคลใดพิจารณาปลงจิตคิดเห็นว่าเป็นทุกข์จะได้อานิสงส์ ๑๘ กัปป์ ๓. บุคคลใดเห็นว่าเป็นอนัตตาจะได้อานิสงส์ ๒๐ กัปป์ ๔. บุคคลผู้ได้กระทําฌาปนกิจศพแห่งบิดามารดา ผู้นั้นจะได้อานิสงส์หนึ่งหมื่น ๕. บุคคลใดปลงศพพระสงฆ์จะได้อานิสงส์ ๒ พัน ๖. บุคคลใดปลงศพที่ไม่มีญาติจมอยู่ในแผ่นดิน จะได้อานิสงส์แสนหนึ่ง ๗. บุคคลใดปลงศพที่ไม่มีญาติลอยน้ําอยู่ จะได้อานิสงส์สี่หมื่น ๘. บุคคลผู้ใดมีศรัทธาได้ปลงศพผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์ สองแสนห้าหมื่น ๙. ผู้ใดช่วยปลงศพเพื่อนบ้านเพื่อนเรือน ผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์ ๓ หมื่น ๑๐. บุคคลใดปลงศพครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ จะได้อานิสงส์ล้านหนึ่ง ๑๑. บุคคลใดปลงศพญาติของตนจะได้อานิสงส์หมื่นหนึ่ง ๑๒. บุคคลใดปลงศพสามเณร ผู้มีศีลวัตร ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้นั้นจะได้อานิสงส์สามสิบสองกัน (กัลป์) ๑๓. บุคคลใดช่วยนิมนต์พระสงฆ์บังสุกุลจะได้อานิสงส์สองพันกัน สําหรับลักษณะของอานิสงส์นั้นจะอาศัยจิตศรัทธาเลื่อมใสของผู้กระทําโดยแท้ ถ้ากระทําด้วยกลัว ว่าเขาจะติฉินนินทา และกระทําด้วยความละอายแก่ใจ ไม่ได้เป็นองค์แห่งศรัทธาแท้เช่นนั้นจะได้ผลานิสงส์ลด น้อยถอยลงไป ถ้าผู้ใดกระทําด้วยถือยศถาบรรดาศักดิ์ กระทําเพื่อชื่อเสียง ให้เขาสรรเสริญว่าตนร่ํารวยกระทํา ฌาปนกิจด้วยมโหรสพเช่นนี้ มิได้มีศรัทธาแท้ในที่จะกระทํากุศล ผลอานิสงส์นั้นก็น้อยลงไป ต่อเมื่อได้บุคคล อุตสาหะกระทําด้วยพระวิปัสสนาญาณอันเป็นศรัทธาแท้นั้น จึงจะได้ผลานิสงส์ล้ําเลิศประเสริฐ ถึงกระทําน้อยก็ ได้ผลมาก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙๙

๓. คัมภีร์พระมหาวิบาก คัมภีร์พระมหาวิบากเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่ว่าด้วยเรื่องนิมิตทั้ง ๓ ประการ กล่าวคือ การ สืบต่อของวิญญาณแห่งสรรพสัตว์อันประกอบไปด้วยอารมณ์ ๓ ประการ คือ กัมมะ กัมมะนิมิต และ ตตินิมิต ๑. กัมมะ นั้นได้แก่ กุศลและอกุศล อันบุคคลระลึกได้ในเวลาใกล้จะถึงแก่ความตาย ถ้ามีสติระลึก ได้ถึงศีล ทาน การกุศล เมื่อแตกกายทําลายขันธ์ ๕ แล้วก็จะไปจุติในสวรรค์ ๒. กัมมะนิมิต เป็นอารมณ์แรกแห่งปฏิสนธิจิต คือ แต่ก่อนนั้นตนได้ไปกระทําบุญและบาปในที่ต่าง ๆ จะปรากฏในมโนทวารให้เห็นแจ้งชัดเหมือนเห็นด้วยตา ถ้าได้ฆ่าสัตว์จําพวกใด ก็จะให้เห็นสัตว์จําพวกนั้นมา ปรากฏ ถ้าได้ถวายทานแก่พระสงฆ์ใดก็จะเห็นพระสงฆ์องค์นั้นมาปรากฏ เป็นอารมณ์ในอดีตมาปรากฏในมโน ทวาร ถ้าได้บําเพ็ญศีลทาน การกุศล เมื่อจะใกล้ตายผูกพันเอาเป็นอารมณ์แล้วตาย ได้ชื่อว่า กัมมะนิมิตเป็น ปัจจุบัน บังเกิดในทวารทั้ง ๕ ฝ่ายข้างบาปก็เหมือนกันถ้ากระทําเมื่อจะใกล้ตายได้ชื่อว่ากัมมะนิมิตเป็นปัจจุบัน บังเกิดในทวารทั้ง ๕ เมื่อตายไปก็จะปฏิสนธิจิตในภพเบื้องหน้าตามวิถีจิตนั้น ๓. ตติกัมมะนิมิต เป็นอารมณ์ปัจจุบันที่มาปรากฏในมโนทวาร เมื่อสัตว์ทั้งหลายใกล้จะตายและ จะเกิดในนรกนั้นจะเห็นตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏ เช่น เห็นเปลวเพลิงในนรกลุกโชติช่วง บ้างตายก็เห็น เพลิงในนรกนั้นวูบขึ้นมาเผากายของตน บ้างตายก็เห็นหม้อน้ําใหญ่เต็มไปด้วยน้ําทองแดงอันเดือดพล่าน บ้าง ตายก็เ ห็นนายนิริยบาลถืออาวุธจะมาทิ่มแทงสั บฟัน บ้ างตายก็เห็น แร้งตัว ใหญ่ๆ กาตัว ใหญ่ๆ เท่าเกวียนมี จะงอยปากเป็นเหล็กมีเปลวไฟแวดล้อม บ้างตายก็เห็นสุนัขนรกมีฟันและเขี้ยวเป็นเหล็ก แล่นเข้ามาจะกัดจะทึ้ง จะฟัดจะฟันกินเนื้อและเลือดเป็นอาหาร เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่ตายแล้วจะไปบังเกิดในมนุษย์นั้นจะเห็นตตินิมิตเป็นชิ้นเนื้อท้องของมารดาเป็นคนมา ปรากฏในมโนทวาร สัตว์ที่ตายแล้วจะไปบังเกิดในเทวโลกนั้น จะเห็นทิพยวิมานและทิพยกามพรึก และนางเทพอัปสร เป็นต้น มาปรากฏในมโนทวาร บ้างตายมีตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏแล้ว มีผู้เป็นกัลยาณมิตรมาช่วยให้สติอารมณ์ระลึกขึ้นมา ได้ถึงกุศล ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยได้ ตตินิมิตฝ่ายข้างนรกก็หายไปกลับได้ตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์มาปรากฏใน มโนทวารตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ บ้างตายนั้นตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์มาปรากฏแล้ว อาศัยเหตุที่ระคนด้วยพาล พาลให้เสียสติอารมณ์ ให้บังเกิดโลภะ โทสะ โมหะขึ้นในเมื่อใกล้จะล้มตาย ตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์ก็อันตรธานหาย นิริโยตตินิมิตฝ่าย ข้างนรกมาปรากฏในมโนทวาร ตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดในนรกเป็นอย่างนี้ก็มี บ้างตายตตินิมิตฝ่ายข้างมนุษย์มาปรากฏแล้วก็อันตรธานหายไป กลับได้ตตินิมิตดิรัจฉานกําเนิด เป็นต้นว่า เห็นป่าดงพงไพรมาปรากฏในมโนทวาร ตายแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ก็มี บ้างตายเห็นตตินิมิต ข้างสัตว์ดิรัจฉานมาปรากฏ อาศัยกัลยาณมิตรช่วยให้สติ อารมณ์ จิตนั้นก็น้อม ไปในกองการกุศล ตตินิมิตฝ่ายข้างดิรัจฉานก็อันตรธานหายไป กลับได้ตตินิมิตฝ่ายข้างมนุษย์มาปรากฏในมโน ทวาร ตายแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในมนุษย์โลก


๔๐๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

อักขรวิธี มรณะสงครามทั้ง ๓ ตอน นี้มีเทคนิคในการนําเสนอโดยเขียนเป็นตัวอักษรขอมไทยบาลีหนึ่งบท ก่อน แล้วอธิบายหรือพรรณนาด้วยอักษรขอมไทยจนกว่าจะสิ้นกระแสความและก็เริ่มต้นใหม่จนกระทั้งจบเป็น ตอนๆ ไป ๑. ที่มาของอักษรขอมไทย อักษรขอมไทยเป็นตัวอักษรโบราณอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาร่วมสมัยกับการ ใช้อักษรธรรมล้านนาในภาคเหนือและอักษรธรรมอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวอักษรชนิดนี้เรียกชื่อว่า “ อักษรขอมไทย ” เพราะว่าเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบคล้ายอักษรขอมโบราณและได้มีการเพิ่มเติมตัวอักษรและ อักขรวิธีให้สามารถบันทึกได้ครบถ้วนตามระบบเสียงภาษาไทย ๒. การใช้อักษรขอมไทย จากหลักฐานที่เป็นจารึกอักษรขอมไทยแสดงให้เห็นว่าคนไทยสมัยสุโขทัยได้ศึกษาเรียนรู้อักษรขอม ไทยจนสามารถนํามาใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ได้ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาเขมร ได้มีการใช้ตัวอักษร ชนิ ด นี้ สื บ ทอดต่ อมาในสมั ย อยุ ธยาจนถึ งสมั ย กรุ งรั ต นโกสิ น ทร์ เช่ น เดี ย วกั บพระธรรมเทศนาเรื่ อง มรณะ สงคราม ต่อมาช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้มีการพิมพ์พระธรรมคําสอนและหนังสือต่างๆ เกิดขึ้นส่งผล ให้การใช้อักษรขอมไทยจารลงบนใบลานหรือเขียนบนสมุดไทยน้อยลงเป็นลําดับ เช่นเดียวกับการเรียนการสอน อักษรไทยในวัดจนยุติลงในที่สุด แต่โดยเหตุที่ตัวอักษรขอมไทยใช้บันทึกพระธรรมคําสอนที่เป็นภาษาบาลีและ วรรณกรรมทางพุทธศาสนาต่างๆ เป็นส่วนใหญ่คนไทยทั่วไปจึงนิยมยกย่องว่าเป็นตัวอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้เขียน คาถาและยันต์ต่างๆ มาโดยตลอด ดังนั้นในปัจจุบันจึงพบเห็นการเขียนอักษรขอมไทยในลักษณะนี้เท่านั้น ๓. วัสดุที่ใช้บันทึก เนื่องด้ วยตัวอั กษรขอมไทยใช้ บัน ทึกหลักธรรม ชาดก และเรื่องราวต่างๆ ที่เ กี่ย วเนื่ องกับ พุทธ ศาสนา ดังนั้นจึงพบว่าบรรพชนไทยใช้อักษรขอมไทยจารลงบนใบลานมากกว่าวัสดุอื่นเช่นเดียวกับพระธรรม เทศนาเรื่ อ งมรณะสงครามซึ่ ง ต้ น ฉบั บ จารลงในใบลาน นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง พบการใช้ แ ผ่ น หิ น แผ่ น โลหะ ค่อนข้างมากในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา วัสดุอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ก็คือ กระดาษที่ทําจากต้นข่อยที่เรียกว่ า “กระดาษข่อย” ซึ่งเมื่อนํามาทําเป็นสมุดไทยจะเรียกว่า “สมุดข่อย” มีทั้งสมุดข่อยสีขาวที่เรียกสั้นๆ ว่า “สมุด ไทยขาว” และสมุดข่อยสีดําที่เรียกว่า “สมุดไทยดํา” ๔. ความสําคัญของอักษรขอมไทย ตัวอักษรขอมไทยนั้นมีความสําคัญ ๒ ประการ ดังนี้ ๔.๑ ตัวอักษรขอมไทยเป็นตัวอักษรโบราณที่พบว่ามีการใช้เป็นบริเวณกว้างกว่าอักษรโบราณของ ท้องถิ่นอื่นๆ เพราะพบใช้ในจารึกและเอกสารโบราณทั้งในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกของประเทศ ไทย จึงทําให้มีปริมาณของเอกสารจํานวนมาก ๔.๒ ตัวอักษรขอมไทยใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ทั้งทางศาสนจักรและอาณาจักรตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้น ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๐๑

นักปราชญ์ราชบัณฑิตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้ใช้ อักษรขอมไทยบันทึกภาษาไทย ภาษาบาลีและภาษาเขมร ทั้งการบันทึกพระราชกรณียกิจด้านการทํานุบํารุง พระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ สภาพสังคม ความเชื่อ และวิถีชีวิตส่วนหนึ่งของบรรพชนไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการใช้ อักษรขอมไทยบัน ทึกพระธรรมคํา สอนดังปรากฏในเรื่องมรณะสงคราม และวรรณกรรมตลอดจน ศาสตร์อื่นๆ เช่น ตํารายา ตําราโหราศาสตร์ เป็นต้น ๕. ศัพท์ที่น่าสนใจ ปัจจัยทานาธิบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในการให้ปัจจัยเป็นทานหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าภาพใน การ ถวายทาน พระโยคาวจร หมายถึง ท่านผู้มีความประพฤติประกอบความเพียรเพื่อให้ถึงความเป็นผู้ ประเสริฐ สมถะกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ได้แก่ การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม เป็นการบําเพ็ญเพียรทางจิตโดยใช้สมาธิเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการใช้ ปัญญาและมุ่งให้จิตสงบระงับจากนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้ บรรลุความดีเป็นสําคัญ วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา ทําให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง เป็น การปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็น โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนาม รูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตร ลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัว ของธาตุ ๔ คือ ดิน น้ํา ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น สังขาร หมายถึง สังขารหมายถึงร่างกาย ตัวตน สสาร สิ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือถูก ปรุงแต่งขึ้นจากธาตุ ๔ สังขารในความหมายนี้แบ่งเป็น ๒ คือ สังขารมีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) คือสิ่งมีชีวิต มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จํา คิด รู้อารมณ์ได้ ได้แก่มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) คือ สิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีจิตวิญญาณ รับ จํา คิด รู้อารมณ์ไม่ได้ ได้แก่ต้นไม้ ภูเขา ดิน น้ํา รถ เรือ เป็นต้น สังขารในความหมายนี้ จัดเป็นรูปขันธ์ในขันธ์ ๕ มิใช่สังขารขันธ์ และมีลักษณะเสมอกันโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


๔๐๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ขันธ์ ๕

หมายถึง

นิพพาน

หมายถึง

ตัวตนหรือชีวิตของตน อันประกอบด้วยฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่แยก ออกเป็น ๕ ขันธ์หรือกอง อันประกอบด้วย รูป (กาย) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านได้แยกให้เห็นตามความเป็นจริงอย่าง ปรมัตถ์ว่า ความเป็นตัวตนหรือชีวิตนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่ หมายถึงเป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา จึงย่อมมีความไม่ เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เป็นไปตามสามัญ ลักษณะของสังขารทั้งปวงตามพระไตรลักษณ์ เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือชีวิตตนลงเมื่อรู้ เห็นตามความเป็นจริงของธรรมหรือสิ่งทั้งหลาย สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

คุณค่าของวรรณกรรม เรื่อง มรณะสงคราม การศึกษาพระธรรมเทศนาเรื่องมรณะสงครามจะได้ทั้งความสนุกสนานไปกับเนื้อเรื่อง ทําให้รู้กลวิธี การนําเสนอธรรมะในสมัยนั้น ได้เกร็ดความรู้ในการปฏิบัติตนตามสมควรแก่สถานภาพในสังคมปัจจุบัน การ บําเพ็ญบารมีตามหลักพระพุทธศาสนา และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดสูงสุดของชีวิต เพราะพระธรรมเทศนา เรื่อง มรณสงคราม เป็นการแสดงธรรมตั้งแต่ขั้นทาน รักษาศีล บําเพ็ญสมาธิ จนถึงปัญญา ซึ่งเป็นธรรมะชั้นสูง ซึ่งผู้ที่ศึกษา สดับตรับฟัง และนําไปปฏิบัติแล้วเมื่อบารมีแก่กล้า ก็อาจบรรลุคุณธรรมชั้นสูงกล่าวคือพระอรหัน ตผลได้ และบรรลุนิพพานในที่สุดของชีวิต การศึกษาอักษรโบราณนอกจากจะได้ข้อคิด ธรรมะเพื่อนําไปปฏิบัติตนเพื่อความสุขสงบในปัจจุบัน ชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการศึกษาวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทย ซึ่งนับวันที่จะเสื่อมสลายไปกับกาลเวลา เนื่องจากมีผู้ศึกษาและอนุรักษ์อักษรประเภทนี้น้อยลง จึ งถื อเป็ น การส่ ง เสริ มและสนั บ สนุ น การศึ กษา วัฒนธรรมของชาติ และนําเนื้อความอันเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นมาเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาและได้รับ ประโยชน์ตามสมควรแก่ตนต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๐๓

บรรณานุกรม กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตําราเรียนอักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โครงการตําราภาษา – จารึก ลําดับที่ ๓ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอํานวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๒. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ฉบับ หมอบรัดเล. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์โฆษิต, ๒๕๕๔, หน้า ๒๐ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖. พลตรีจรรยา ประชตโรมรัน. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘, วัดพลับ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จากเว็บไซต์ พระเจ้ากรุงธน http://www.phrachaokrungthon.com


๔๐๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๐๕

มรณสงคราม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี ปกหน้า มรณสงครามเผด็จจบบริบูรณ์แล หน้า ๑/๑ – ๑/๒ (บรรทัดที่ ๑) จึงหักเสียซึ่งธงไชย คือ มาน อุธัจจ กุกกุจจ แห่งมหาโยธาทั้งสาม คือ ราค โทษ โมห ในมรณ สงคราม ฯ ดูกรบพิตรปัจจยทานาธิบดี อันว่ากิริยาแห่งพระโยคาวจรกุลบุตรผู้มีเพียรภาพ หน้า ๒/๑ - ๒/๒ (บรรทัดที่ ๑ )ฯ ถ้าจะสําแดงท่านขุนนาง จึงว่า ดูกรบพิตรปัจจยทานาธิบดี ถ้าเป็นแค่พลเมือง ว่า ดูกรปัจจย ทานาธิบดี (บรรทัดที่ ๑) ฯ ตสฺมิงฺมรณายุทฺเธปริเทวปริวารํ อุรสฆฏสทฺเธหิเภริยาสมากุลํ สมุสฺสิตโมหกณฺฑํอสฺสุรุหิ รมกฺขิตํ สตฺติโตมรสมากณฺณํมาโนทฺธจฺจ โทมนสฺสขีลกณฺฑํ (บรรทัดที่ ๒) หิตํ ภิมทฺทมานหตฺถีหิอุจายาสานิสมฺภวํ มหาโยธาหิสมฺปนฺนํ ฯ อาตมาภาพขออํานวยพระพร ทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วัณณ สุข พล จงถาวร (บรรทัดที่ ๓) วัฒนการแก่ปัจจยะทานาธิบดีทั้งปวง วาระนี้ อาตมาภาพจะรับทานวิสัชนาในมรณสงคราม ปจฺทบัปการ สนองพระสัทธากว่าจะยุตติกาลด้วยเวลา ฯ ตลมํ (บรรทัดที่ ๔) มรณยุทฺเธ ในที่สนามมรณสงครามนั้น ปริเทวปริวารํ มีแต่ความร่ําไรอาไสยรักษ์ซึ่งกันเป็นยศ ปริวาร อุรสํฆฏสทฺเทหิเภริยาสมากุล (บรรทัดที่ ๕) อากุลไปกับเสียงฆ้องกลองในกองทัพ กล่าวคือ เสียงตีอกร่ํารักษ์กัน สมุสฺสิตโมหกณฺฑํ มีปืน พิศปคําทราบอันยกขึ้นในสงคราม กล่าวคือ โมหันธการอวิชา อันตรอมช้ําใน หน้า ๓/๑ – ๓/๒ (บรรทัดที่ ๑) ในสันดาน อสฺสุรุหิรมกฺขิตํ มีโลหิตอันติดไปในสงคราม กล่าวคือ น้ําตาอันหมู่ญาติร้องไห้รักษ์ สตฺติโตมรสมากิณฺณํ อาเกียรไปด้วยหอกน้อยแลหอกใหญ่ กล่าวคือ ทุกขเวทนา (บรรทัดที่ ๒) อันเสียบแทงอยู่ภายในกายแลจิตร มาโนทฺทจฺ จ โทมนสฺส ขีลกณฺฑหิตํ กอปรด้วยขวากแล หนามอันแหลม เรี่ยรายอยู่ไนสนามทัพ กล่าวคือ มานแลจิตร (บรรทัดที่ ๓) อันฟุ้งทร่าน (ซ่าน) โทมนัสสลักทรวง ภิมทฺทมานหตฺถีหิ อุปายสานิสมฺภวํ มีหมู่คชสารศึกย่ํา เหยียบซึ่งที่รบ กล่าวคือ บังเกิดความคับแค้นใจร่ําไรไห้สะอื้น มหา (บรรทัดที่ ๔) โยธาหิสมฺปนฺนํ กอปรด้วยโยธา กล่าวคือ กุศลา กุศลอันผจญกัน แลมรณยุทธสงครามนั้น เมื่อ ประพฤทธิ์เป็นไปด้วยประการใดๆ สุดแท้แต่


๔๐๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕) ว่าโยธาฝ่ายใดมีกําลังกายแลสุรภาพแกล้วกล้าสามารถ แลมีอุบายถ่ายเทที่จะให้ชัยชนะเป็น อาทิ โยธาฝ่ายนั้นก็ชนะฆ่าศึกในการยุทธมรณสงคราม ฯ เราท่านทั้งหลายอัน (บรรทัดที่ ๑) เป็นลูกกระกูลกุลบุตร อันกอปรด้วยปัญญา ความเพียร จะรบฆ่าศึก คือ กิเลศสงครามใน ภายในนั้น ย่อมเจริญจิตรโอสมถกรรมมัฏฐาน ๔ แลวิปัสสนากรรมมัฏฐาน ๓ นั้น (บรรทัดที่ ๒) ให้ เ ป็ น ดั ง ค่ า ยขั น ฑ์ อั น มั่ น คง ปริ ว าเรตฺ ว า แล้ ว จึ่ งแวดล้ อ มป้ องกั น คนด้ ว ยหมู่ อํ า มาตย์ กล่าวคือ ปโรปฌานกุศลธรรมห้าสิบเสศ มีประเภทสัทธาเป็นต้น (บรรทัดที่ ๓) มีปัญญาโสภณํ เป็นปริโยสาน วงล้อมซึ่งอาตมต่างๆ โดยรอบ ทารุปฺปิตฺวา แล้วจึ่งสวมสอดใส่ ซึ่งเสื้อและเกราะ อันกล่าวคือ ศีลอันบริสุทธิ์ (บรรทัดที่ ๔) ปฏิมุตฺวา จึ่งใส่หมวกอันหมั้นเหมาะ กล่าวคือ สมาธิอันหมั้นในกุศลธรรมภายใน พฺนฺธยิตฺวา แล้วจึ่งพันธ์ผ้าเป็นแผ่นมกุฏาเบื้องบน กล่าวคือ กะทํามน (บรรทัดที่ ๕) สิการกุศลไว้ในจิตร พินิตด้วยอุบายอันปัญญามากโดยอันควรจําเริญได้ อุสฺสาเปตฺวา จึ่งยกขึ้น ซึ่งธงไช กล่าวคือ กะทําจิตรให้เป็นใหญ่รักษ์ใคร่ และความเพียรและตั้งใจลงปลง หน้า ๔/๑ – ๔/๒ กา (บรรทัดที่ ๑) ปัญญาพิจารณาในกุศล สตฺตวิธานุปสฺสนายตชฺชิตฺวา แล้วกะทําสิงหนาทตวาดศัตรูหมู่กิเลศคือ ฆ่าศึกภายในให้หนีไปเป็นอันพลันด้วยเสียงฯ กล่าวคือ ปัญญานุปัสสนาเจ็ดประการ คือ พิจ (บรรทัดที่ ๒) รณาเห็นสังขารเป็นทุกขํอนิจจํอนัตตา เห็นโทษในสังขารและเหนื่อยหน่ายจะใคร่พ้น ๑ เห็น โทษในสังขารแล้ว เห็นว่าปราศจากความยินดีรักษ์ใคร่ในสังขารนั้น (บรรทัดที่ ๓) เป็นสุขเที่ยงแท้กอปรด้วยแก่นสาร ๑ เห็นว่าดับสังขารนั้นเป็นศุขเที่ยงแท้ ๑ เห็นว่าสละ ละซึ่งกิเลศอันหามีเป็นแก่นสารนั้น เป็นนิพพานศุข ๑ เป็นปัญญานุปัสสนา (บรรทัดที่ ๔) เจ็ดประการดังนี้แล้ว ลําดับนั้นก็ขึ้นสู่สินทุพพาชีชาติตัวประเสริฐ กล่าวคือ ปัญญาอันประดับ ด้วย อัสสาลัชการาภรณรตนามัย กล่าวคือ พระสติปัฏฐานสี่ประการ ฯ (บรรทัดที่ ๕) แลมีจักราวุธอันแหลมอยู่ในมือ กล่าวคือ อินทรีย์ห้า พลห้า สมัปธานสี่ จึ่งทําลายซึ่งค่ายอัน หมั้นคือ ทิฏฐิ ด้วยขันทรตนาวุธอันคมกล้า กล่าวคือ ปัญญาโลกุตตรธรรมอันประเสริฐ แล้ว (บรรทัดที่ ๑) จึงหักเสียซึ่งธงไช คือ มานอุธัจจกุกกุจจแห่งมหาโยธาทั้งสาม คือ ราคโทษโมหโยธาให้ล้มลง แล้ว ก็ไล่กําจัดฆ่าศึกคือกิเลศน้อยใหญ่ให้พินาศพ่ายแพ้แล้ว ก็เข้าสู่เมืองแก้วอมตมหา (บรรทัดที่ ๒) นครนิพพาน ได้พระโลกุตตรสัมบัติแล้วก็ยกขึ้นซึ่งวิมุตติเสวตฉัตร คือ พระอรหัตตผลอันประเสริฐ นี้ฯ นักปราชญ์ทั้งหลายมีสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตรัสว่า กุลบุตร (บรรทัดที่ ๓) เห็นป่านดั่งนี้ จึ่งว่าชนะกิเลศศัตรูในมรณสงครามฯ ดูกร(บพิตร)ปัจจยทานาธิบดี อันว่า กิริยาแห่งพระโยคาวาจรกุลบุตรผู้มีเพียรภาพ ผจญอกุศลศัตรู


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๐๗

(บรรทัดที่ ๔) นั้น ได้ ฉัน ใด (บพิ ต ร)ปั จ จยทานาธิ บ ดี จงมี ส ติ ร ฤกอย่ า ลื มกุ ศล เป็ น ต้ น ว่ า ทานศี ล ภาวนา อุสสาหะเพียรเพื่อจะผจญฆ่าศึกศัตรู คือ พญามัจจุราช ให้ได้ซึ่งชัยชนะใน (บรรทัดที่ ๕) ครั้งนี้ มีอุปมาดั่งพระโยคาวจรกุลบุตรผู้มีปัญญาวิริยภาพ อันผจญฆ่าศึกภายในนั้น ฯดูกร (บพิตร) ปัจจยทานาธิบดีอย่าได้สะดุ้งตกใจกลัว อันว่าศัตรู คือมัจจุราชนั้น ถ้า (บพิตร)ปัจจยทานา หน้า ๕/๑ – ๕/๒ ก (บรรทัดที่ ๑) ธิบดี ผจญซึ่งศัตรูคือหมู่กิเลศได้แล้ว นอเชยฺยา จึงว่าจะไม่ชนะนั้นหาบ่มีได้ สพฺพํสงฺขารคตํ อันว่าสังขารธรรมอันมีปัจจัยตกแต่งมามีแต่จะทําลายเป็นแท้ แลสังขารธรรมทั้งหลาย (บรรทัดที่ ๒) สมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ว่าหามีได้เที่ยง อันว่า สภาวะหามีได้เที่ยงนั้น คือ ความตาย นั้น ปราศจากความอายแลความสะดุ้งหวั่นไหว ย่อมยังสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (บรรทัดที่ ๓) อันทรงอนันตญาณคุณให้ถึงซึ่งอนิจจมรณธรรมได้ เหตุดังนั้น บพิตรปัจจยทานทายกทั้งปวงจง ทรงดําริซึ่งพระไตรลักษณะญาณว่า สังขารธรรม คือ มี (บรรทัดที่ ๔) สิ่งอันมีปัจจัยเป็นต้นตกแต่งให้บังเกิดมานี้ ย่อมเป็นอนิจจํเป็นทุกขํเป็นอนัตตา ที่จะหาว่า เที่ยงหามีได้ อันว่าสัตว์ทั้งปวงเกิดมาในโลกย์นี้ มี ชาติ ชรา พยาธิ ติดตามเบียด (บรรทัดที่ ๕) เบียน มรเณนอพฺภาหโต ความมรณนั้นมาฆ่าให้ขันธ์ทําลายตายไปเป็นธรรมดา ใครผู้ใดที่จะ พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณ นั้นหามีได้เป็นแท้ ยถาปิเสณ อันว่าภูเขาใหญ่ไพบูรณ์ (บรรทัดที่ ๑) ล้วนศิลาสูงสุดเจียรจรดอากาษ อันลมแลน้ําทั้งหลายพัดมาแต่ทิศทั้งสี่ เบียดเบียนกระทบเข้า แล้ว ภูเขานั้นก็ทําลายไปทุกวันๆ แลเขานั้นก็ล้มลงในทิศทั้งสี่โดยลําดับกัน แลมี ครุวณาฉันใด (บรรทัดที่ ๒) อันว่าชราแลมรณนี้ ก็เบียดเบียนย่ํายีซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิได้เลือกเว้นมีอุปมาดังนั้น ฯ อันว่าฝูง สัตว์ทั้งหลายใด อันมีมิตรสหายสัมพันธพงษาเป็นอันมาก ฯ มหทฺธ (บรรทัดที่ ๓) นา มีมหันตสมบัติยศศักดิ์เป็นเสฏฐี มีมิคารมาตาและเมณฑุกะเสฏฐีเป็นอาทิ จะคิดสิ่งใดได้ ดั่งปรารถนามีบุญญาธิการมาก ท่านผู้มีทรัพย์ทั้งหลายนั้น ก็ไปยังมุขมรรค (บรรทัดที่ ๔) พญามัจจุราชประดุจดังพระจันทรเทวบุตรอันเข้าสู่มุขทวารแห่งอสุรินทราหู ฯ ราชวรา อันว่า สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชทั้งหลายผู้ประเสริฐ อันกอปรด้วยพระเกียรติยศ (บรรทัดที่ ๕) แลบริวารยศเป็นอันมาก มีสมเด็จพระเจ้ามหาสมมุติวงษ์เป็นอาทิ แลบรมกระษัตริย์ทั้งหลาย นั้น ก็ย่อมเสด็จเข้าสู่ปากพญามัจจุราชสิ้น ประดุจดั่งพระจันทรเทวบุตรอันประเวศเข้าสู่ หน้า ๖/๑ – ๖/๒ กี (บรรทัดที่ ๑) ช่องโอฏฐแห่งอสุรินทราหู ฯ อนึ่ง อันว่า บรมกระษัตริย์จักรพัตราธิราช คือ พระเจ้าทัฬหเนมี แลพระเจ้ามหาสุทัศนจักรพัตราธิราชเป็นต้น ล้วนพหลบุญญริทธิ์มหิทธิพลามหาบรักก (บรรทัดที่ ๒) เมศรวิเสศ ด้วยพลพพลาเกียรติยศปรากฏ กอปรด้วยอิศรภาพแผ่ไปในจาตุทวีปทั้งสี่ แลอา กาษ กอปรด้วยแก้วเจ็ดประการอาจจะเสด็จไปได้ในมหา


๔๐๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) สมุทร กอปรด้วยหมู่พหลจตุรงคทั้งสี่ ไปเก็บแก้วในรตนาสุวรรณชมภูนุทได้ ด้วยจักรรตนานุ ภาพแล้วแลเสด็จกลับคืนมาสู่พระราช (บรรทัดที่ ๔) ธานี เสพซึ่งศุขจักรวัตติราชสมบัติด้วยอเนกอัจฉิริยะอัศจรรย์ แลบําเพ็ญพระราชกุศลมีศีลแล ทานเป็นอาทิอนันต์ทุกวัน ๆ มา มีมหาสมบัติ (บรรทัดที่ ๕) สมบูรณ์แล้วก็วิบัติมิเที่ยงแท้ ยังวิบัติปรวนแปรประเวศเข้ายังมุขทวารแห่งพญามัจจุราช (กับ ทั้งแก้วเจ็ดประการได้ดังนี้) จะป่วยกล่าวไปใยซึ่งสัตว์สามัญนั้นเล่า อนึ่ง.. อันว่า (บรรทัดที่ ๑) สมเด็จท้าวสหัสเนตร อันเป็นอิศรวาเชฏฐเทวราช แลประดับด้วยเทวสุดาดรุณี อนันตนางฟ้า เฝ้าล้อมเรียงรอบโดยระเบียบ ขันตอเนกสหัศสํขยา แลแวดล้อมไปด้วย นิกร..รันทรรศ (บรรทัดที่ ๒) ธานพฺสุรสุราวิชาธรเทวครุฑราชปักษา อันประดับด้วยทิพยลัจการ แก้วกาญจนมกุฏาประภา ภรณวิโรจ เป็นบริวาร แลเสด็จอยู่ในอมรวิมานมาศมหันต (บรรทัดที่ ๓) เวชยันตวิเชียรรัตนามหาปราสาทอันประเสริฐ ด้วยเครื่องประดับสรรพลัจการ เสวยทิพย สมบัติโอฬารเลิศยศ ปรากฏด้วยทิพยอธิปไตย เป็นใหญ่กว่าเทพยเจ้า (บรรทัดที่ ๔) ทั้งสองชั้นฟ้า กอปรด้วยทิพยวราราชสมบัติ แล้วก็กลับวิบัติบ่มิเที่ยงแท้ แปรปราศจากจุติเข้า ในอํานาจพญามัจจุราชได้ มหาเตโชวสฺสวติ (บรรทัดที่ ๕) ประการหนึ่ งอั น ว่ า เทพวบุ ต รวั ส สวติ มาราธิร าช อั น มี มหิ ทธิ (ริ ทธิ ) เตโชพลพหลบุ ญ ริ ทธิ มหิศรานุภาพ อันอาจสามารถจะผจญซึ่งประชุมชนในชั้นฉกามาพจร ด้วยกําลังริทธิ์ของ หน้า ๗/๑ – ๗/๒ กุ (บรรทัดที่ ๑) อาตมา อาจผจญพระมหาวิสุทธิเทพพสัพพัญญูเจ้า โฆสาเปตฺวา ให้ร้องป่าวประกาศพลโยธา มารทั้งปวงแล้ว ก็ขึ้นทรงพญาคิริเมฆมหาคชสาร มีมารบริวารแวด (บรรทัดที่ ๒) ล้อมแล้วเสด็จไปสู้ควงไม้พระมหาโพธิในขณะนั้น ก็รบพระมหาบุรุษราชด้วยหมู่มารอํามาตย์ มหาเสนา แพ้อํานาจพระมหาสมมุติวงษ์บารมี (บรรทัดที่ ๓) ปลาตา ก็ประลาศหลีกหนีไปแตกตื่นไป ทิ้งฉัตรแลธงไชยไว้ ณ ที่นั่น พาซึ่งพวกพลขันธขึ้นยัง พื้นพิภพภารามหาปรนิมิตฺรวสฺสวดีเทวโลกย์แล้ว (บรรทัดที่ ๔) ก็เสวยทิพยศุขสมบัติอันบริบูรณ์ ก็ยังวิบัติบ่เที่ยงแท้แปรประเวศ เข้ายังเขตรมุขทวารแห่ง พญามัจจุมารได้ดังนี้ ฯ มหาพรหมฺาโน อันว่าท้าว (บรรทัดที่ ๕) มหาพรหมทั้งหลาย อันกอปรด้วยมหิทธิริทธิ์อันยังจักรวาลอันมากกว่าพัน ให้สว่างรุ่งเรืองไป ด้วยรังสี อันกลบลบรัศมีพระอาทิตย์พระจันทร์อันนับได้ร้อยดวงพันดวง แลโชตช่วงชัชวาลไป (บรรทัดที่ ๑) หามีได้ขาด แลอรูปพรหมทั้งหลายอันเสวยซึ่งสันตสุขมศุขอันระงับ แลมีอายุศม์ยืนแปดหมื่นสี่ พันมหากับป์อายุศม์แผ่นดิน แลรูปาพจรพรหมทั้งปวง อันทรงซึ่งริทธานุภาพ แลอายุศม์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๐๙

(บรรทัดที่ ๒) ยืนนับกับป์ด้วยกับป์แผ่นดิน ครั้นสิ้นอายุศม์สมบูรณ์ในสมบัติแล้ว ก็เกิดวิบัติบ่เที่ยงแท้ แปร ปราศจากอิทธิริทธิ์ทิพพายุศม์ เข้าในปากพญามัจจุราชได้ดั่ง (บรรทัดที่ ๓) นี้ ฯ โยเถโร อันว่าพระมหาเถระเจ้า พระองค์ใด อันทรงอิทธิริทธิ์อภิญญาณสมาบัติอันล้ําเลิศ อันสมเด็จพระบรมไตรโลกย์นาถเจ้า ตรัสสรร (บรรทัดที่ ๔) เสริญว่า ประเสริฐกว่าพระสงฆ์สาวกอันทรงซึ่งอิทธิริทธิ์ในพระพุทธศาสนา โสเถโร อันว่าพระ มหาเถระเจ้าอันปรากฏด้วยพระเกียรติยศดังพรรณนานั้น (บรรทัดที่ ๕) คือ พระโมคคัลลานะเถระเจ้าอันเป็นทุติยอัครสาวกกอปรด้วยอิทธิริทธิ์อภิญญาณสมาบัติดังนี้ แล้ว ก็วิบัติบ่เที่ยงแท้ ย่อมประเวศเข้าสู่มุขทวารแห่งพญามัจจุราชกับทั้งอิทธิริทธิ์ หน้า ๘/๑ – ๘/๒ กู (บรรทัดที่ ๑) สันตศุขสมาบัตินั้นฯ สตฺเตสุ อนึ่งบรรดาสัตว์ทั้งหลายอันมีในอนันต์จักรวาฬนั้น เท่าเว้นไว้แต่ สมเด็จพระอนันตญาณสัพพัญญูพระองค์เดียว นอกกว่านั้นสัตว์แต่สักคนหนึ่งแลจะมี (บรรทัดที่ ๒) ปัญญาเสมอด้วยพระสารีบุตรเถระเจ้าหามิได้ แลพระมหาธรรมเสนาบดีเถระเจ้านั้น กอปร ด้วยปัญญาโลกีย อาจจะนับเม็ดฝนอันตกในสกลชมภูได้ ว่าเม็ด (บรรทัดที่ ๓) ใหญ่ และน้ อยตกในประเทศที่ นั้น เท่า นั้น ๆ และกอปรด้ว ยโลกุ ตรปัญ ญาอั นอาจตรั สรู้ พระ จตุราริยสัจจ์ทั้งสี่ โสฬสาการํ แลพระญาณอัคคสาวก (บรรทัดที่ ๔) บารมี อั น พระสั ท ธรรมราชมุ นี เ จ้ า ตรั ส โทมนาการว่ า มี ปั ญ ญายอดยิ่ งกว่ า อริ ย สาวกเจ้ า ทั้งหลายในพระวรพุทธศาสนา อสีติมหาสาวกาปิ (บรรทัดที่ ๕) อนึ่งอันว่าพระอสีติมหาสาวกเจ้าทั้งหลายนั้นทรงพระปัญญาวิสาวัตถะแกล้วกล้า ฉลาดในพระ สรรพธรรมทั้งหลาย แลแตกฉานในพระปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ แลกําจัดเสียซึ่ง ส....ร (บรรทัดที่ ๑) มืดมัวคือกิเลศให้นิราศสิ้นหาเสศบ่มิได้ ด้วยญาณโลกีย์รัศมีแห่งพระองค์ อันโชตนาการสว่าง กระจ่างแจ้ง อันว่าพระอัคคสาวกเจ้า และพระมหาสาวกเจ้า แลพระม(บรรทัดที่ ๒) หาสาวกเจ้าทุกพระองค์ อันทรงพระโลกีย...โลกุตรญาณสมบัติสมบูรณ์แล้ว ก็ยังถึงซึ่งวิบัติบ่อ เที่ยงแท้แปรปรวนวิปริตตนามธรรมดับสูญ (บรรทัดที่ ๓) สู่พระนิพพานแล้วด้วยพระนิพพานธาตุ อันมีวิบากขันธ์แลกรรมมัชรูป อันเสด็จสืบปฏิสนธิไป นั้นหามิได้ สพฺเพนรา อันว่ามนุษย์นรชาติทั้งหลายทั้งปวง (บรรทัดที่ ๔) อันกอปรด้วยปัญญา มีบุญญบารมีมาก ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณด้วยปัญญา พระองค์ เอง หาผู้จะบอกกล่าวมิได้ บริบูรณ์ไปด้วยญาณสมบัติ (บรรทัดที่ ๕) ดังนี้แล้ว ก็ยังถึงซึ่งวิบัติมิอาจจะล่วงพญามัจจุราชได้ ก็เข้าสู่พระนิพพานดุจดวงประทีปอัน สว่างรุ่งเรืองแล้วและดับไปฯ ดูก่อนบพิตรปัจจยทานาธิบดี โยนาโถ อันว่าสมเด็จ


๔๑๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หน้า๙/๑ – ๙/๒ เก (บรรทัดที่ ๑) พระบรมโลกนาถเจ้าพระองค์ใดอันมีพระดําเนินอันงามด้วยศิริวิลาศล้ําเลิศ และกอปรด้วย พระบรมรูปกายอันวิจิตร อันเทพามนุษย์จะเปรียบบ่มิได้ แลกอปรด้วยทวัตติงษมหาบุรุษลักษณะ (บรรทัดที่ ๒) สามสิบสอง แลได้ตรัสแก่บรมพุทธาภิเษกสมบัติ ณ ควงไม้พระมหาโพธิ แลมี พระบรม มโนฏฐอันบริบูรณ์ไปด้วยอริยศีล สมาธิคุณ เป็น (บรรทัดที่ ๓) อาทิ อัน บังเกิดด้ วยบวรปัญญานุภ าพอันพระองค์บํ าเพ็ญมามีกําหนดนั บด้ว ยโกฏิกัป ป์อัน ล่วงเลยเป็นมหาวิสัทธิพรหมยิ่งกว่าท้าวมหาพรหมทั้งหลาย (บรรทัดที่ ๔) ในสกลจักรวาฬ แลทรงซึ่งพระทศพลเวสารัชชญาณ แลพระอนาวรญาณ ประดับด้วย พระภัก ษรมหาธิคุณอันประเสริฐ หาช้…เสมอ (บรรทัดที่ ๕) เหมือนมิได้ เป็นบรมครูสั่งสอน ฝูงนิกรเทพามนุษย์สัตว์ทั้งปวง เป็นอัคคมนุษย์บุรุษอาชาไนย ฉะนี้แล้ว ก็ยังมิล่วงพญามัจจุราชได้ เสด็จเข้าสู่พระนิพพานดับสูญ...-าร (บรรทัดที่ ๑) ประดุจดวงประทีปแก้วอันกอปรด้วยโอภาษร เริ่มอันสว่างทั่วโลกธาตุแลดับสูญไป จะป่วย กล่าวไปใยในสัตว์หมู่คน อันมีกุศลน้อยที่จะหามีถึงซึ่งความตายนั้น ดูก่อน(บพิตร)ปัจจยทานาธิบดี (บรรทัดที่ ๒) อันว่าสภาวะมีปัจจยตกแต่งให้บังเกิดแล้วจะเที่ยงแท้แต่สิ่งหนึ่งนั้นหาบ่มิได้ย่อมอนิจจังมิได้ พ้นจากความตาย นี่แหละท่านทั้งปวงจงยังปัญญามนสิการใน (บรรทัดที่ ๓) ไตรลักษณะญาณนี้เถิด ก็จะเกิดบุญญราศีอันพิเศษเป็นอุปนิสัยไปภายหน้า แม้มาตรวาศนา บารมีแก่กล้า ก็จะพลันถึงซึ่งรัตนมหานิเวส (บรรทัดที่ ๔) คือพระอมตมหานครนิพพาน เป็นที่ระงับเสียซึ่งสรรพทุกข์ทั้งปวง ล่วงลับซึ่งจตุรโอฆะกันดาร ทั้งสี่ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ พระสัทธรรมเทศนา (บรรทัดที่ ๕) ก็ยุติการด้วยเวลา ฯ มรณสงคราม ข้าพเจ้าจานสําเร็จ จับเดิมแต่พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๓๙๐ พระวัสสา เศษเดือนล่วงได้เดือนหนึ่งกับ ๒๓ วัน ปจฺจุปฺปนฺนเอฬกสํวจฺฉร ----------------------หน้า ๑๐ (บรรทัดที่ ๑) วสนฺตรดู ปฐมาสาทมาศสุกปกฺขติตฺถีภูมฺมวาร ฯ แม้ข้าพ (บรรทัดที่ ๒) เจ้าจะอุบัติไปในปราปรภพเบื้องหน้า ขึ้นชื่อว่าทุคฺคตอนาถาแล้ว (บรรทัดที่ ๓) อย่าบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเลย เดชกุศลข้าพเจ้าทานไว้ในพระพุทธ (บรรทัดที่ ๔) ศาสนาครั้งนี้ขอให้เป็นคนปรีชาฉลาดในสรรพธรรมทั้งปวงและ (บรรทัดที่ ๕) กิจการทั้งหลายตราบท้าวกว่าจะได้สําเร็จอัคคบรมโมกขธรรมอันพิเศษ หน้า ๑๑/๑ – ๑๑/๒ (ปกหลัง) วัดพลับ พระมรณสงคราม จบปริปุณโณ หนังสือมรณสงครามผูกนี้ นางสวนสร้างให้นายจัน ไว้ใน พระพุทธศาสนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑๑

หน้า (ว่าง) หน้า ๑๒/๑ – ๑๒/๒ (บรรทัดที่ ๑) โยบุคฺคโล มนสิการกํ กตฺวา จิตฺตํ อฉโต มรณานุสฺสตึ (บรรทัดที่ ๒) มหพฺผลานิสงฺษํ อตฺถีตีติ. (บรรทัดที่ ๑) อาตมาขออนุโ มทนาปุญกับกุศลเจตนาแห่งปั จจยทานทายก ผู้ประกอบไปด้วยสัทธา เป็ น กามาพจรมหากุศล อบอวลไปกับโสมนัสญาณสัมปยุตต อสํขาริก..... (บรรทัดที่ ๒) ฝ่ายอุกฏฺฐบังเกิดในมโนทวารวัณณวิถีจิตร เป็นเหตุที่จะให้คิดตรึกตรองในกองการกุศล พร้อม ไปด้วยโลภณ สาธารณ์เจตสิกธัมมสัมปยุตต (บรรทัดที่ ๓) เกิดประดับกับสัมปฏิจฺฉนฺนก ทางอารมณ์ ฝ่ายจิตรประสาทจึงนิยมให้เลื่อมใสจึงกะทําการ กุสลได้ต่างๆ อย่างทายกฉะนี้ บ้างก็เป็นกตัญญูกตเวทีตติถิง (บรรทัดที่ ๔) คุณท่านผู้มีคุณ อันตายไปสู่ปรโลกย์ฯ ทีบุคฺคล มีสติก็ไม่เศร้าโศกโสกา กะทําซึ่งมรณานุสสติ ไว้ในใจ คิดเห็นว่าร่างกายนี้มิได้เป็นแก่นเป็นสาร เป็นทรัพย์สา (บรรทัดที่ ๕) ธารณ์เครื่องสาบสูญ สําหรับแต่ว่าจะเพิ่มพูนพระสัทธาให้หนาเลยเปล่าๆ ไม่เข้าการ มีปัญญา หักหารซึ่งความโศกได้ดังนี้ก็มีผลานิสงส์ล้ําเลิศประเสริฐนักหนา สมด้วยวาระพระบาฬีว่า หน้า ๑๓/๑ – ๑๓/๒ ก (บรรทัดที่ ๑) อนิจฺจํสตรสกปฺปํ ทุกฺขอฏฺฐารสกปฺปํ อนตฺตาวีสติกปฺปาฯ อธิบายว่า สัตว์จําพวกมิได้ประมาท อุตส่าห์ระลึกถึงร่างกายของอาตมา พิจารณาให้เห็นเป็นพระอนิจฺจํ (บรรทัดที่ ๒) สผลํ จะประกอบไปด้วยผลอานิสงส์ ๑๗ กัป ถ้าพิจารณาปลงจิตรคิดเห็นว่าเป็นพระทุกขํ อฏฺฐารสกปฺปํ จะได้อานิสงส์ ๑๘ กัป ถ้าเห็นว่าเป็นอนัตตา (บรรทัดที่ ๓) จะได้ อ านิ ส งส์ ๒๐ กั ป ป์ ดั ง พรรณนามาฉะนี้ แล้ ว มี ห นํ า ซ้ํ า กระทํ า ฌาปนกิ จ กเฬวิ รากฌากสพฺว แห่งบิดา มารดาหมู่คณาญาติดังนี้ ก็จะมีอานิสงส์ล้ําเลิศประ (บรรทัดที่ ๔) เสริฐนักหนา สมเด็จพระมหากรุณาจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสประทานไว้ว่า โยบุคฺคโล บุคคลผู้ได้ กระทําฌาปนกิจปลงศพแห่งบิดามารดา สผลา ผู้นั้นจะได้อานิสงส์ (บรรทัดที่ ๕) หมื่นหนึ่ง ถ้าปลงศพพระสงฆ์จะได้อานิสงส์ ๒ พัน ถ้าผู้ใดปลงศพอันหาญาติมิได้จมอยู่ใน แผ่นดิน จะได้อานิสงส์แสนหนึ่ง ปลงศพอันหาญาติมิได้ลอยน้ําอยู่ จะได้อานิสงส์สี่หมื่น หาก (บรรทัดที่ ๑) บุคคลผู้ใดมีสัทธาได้ปลงศพผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์ ๒ แสนห้าหมื่น สปติวิสเก ผู้ใด ช่วยปลงศพเพื่อนบ้านเพื่อนเรือน ผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์ ๓ หมื่น ถ้าปลง (บรรทัดที่ ๒) ศพแห่ งครู อุปั ช ฌาจารย์ จะได้ อานิ ส งส์ ล้ า นหนึ่ ง ถ้ าได้ ป ลงศพแห่ งญาติ ของอาตมาจะได้ อานิสงส์หมื่นหนึ่ง สามเณรํ ถ้าผู้ใดได้ปลงศพแห่งสามเณร


๔๑๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) อันประกอบไปด้วยสีลวตฺตปตฺติปฏึ ผู้นั้นจะได้อานิสงส์สามสิบสองกัน ผู้ช่วยนิมนต์พระสงฆ์บัง สกุณนั้น จะได้อานิสงส์สองพันกัน อันลักขณะจะมีอานิสงส์นั้น (บรรทัดที่ ๔) ก็อาศัยแก่น้ําจิตรที่เลื่อมใสโดยแท้ ถ้ากระทําด้วยกลัวเขาติฉินนินทา แลกระทําด้วยละอายแก่ ใจ มิได้เป็นองค์สัทธาแท้อย่างนั้น จะได้ผลานิสงส์ก็ถอยน้อยลงไป (บรรทัดที่ ๕) ถ้าผู้ใดกะทําด้วยถือยศถาบรรดาศักดิ์มากหน้ามากตา จะกะทําให้ลือชาปรากฏ ถือแต่ยศเห็น แต่จะให้เขาสรรเสริญ ว่าผู้นั้นมั่งมีกะทําฌาปนกิจ ประกอบด้วยมโหรสพนักหนาฯ เห็นแต่ยศถาเช่นนี้ หน้า ๑๔/๑ – ๑๔/๒ กี (หน้านี้มี ๒ สําเนา) (บรรทัดที่ ๑) สลมากุล ในกุล.......พญามัจจุราชนั้นกึกก้องไปด้วยเสียงกลองชัยแลกองชนะ คือเสียงศเนาะ อุรศเนาะธรวงแห่งหมู่ญาติขับ แต่บรรดาที่มากไปด้วยความรักความกรุณา (บรรทัดที่ ๒) สมุสฺสิสตโมหกณฺฑํอสฺสุรุหิรมกฺขตํ พญามัจจุราชยกขึ้นซึ่งลูกศรคือโมหะ ลูกศรนั้นอาบไปด้วย เลือดแห่งปัจจามิตร อันกล่าวคือน้ําตาแห่งบุคคลอัน (บรรทัดที่ ๓) หาสติ มิไ ด้ ต่ า งให้ รั กคนแล้ ว ก็ ถึงแก่ ความตาย ด้ ว ยอํ า นาจหลงฯ แท้ ทะจิ งบุ คคลอั น เป็ น อันธพาลหาปัญญามิได้ ไม่ขวนขวายในกาลกุศล ไม่พิจารณาให้เห็นเป็น (บรรทัดที่ ๔) พระอนิจฺจํพระทุกฺขํพระอนตฺตา แลร้องไห้รักตัวกลัวตายๆ ด้วยหาสติปัญญามิได้ ตายด้วยหลง บุคคลจําพวกนี้ก็จะได้ชื่อว่าแพ้แก่พญามัจจุราช ต้องศรแห่งพญามัจจุราช (บรรทัดที่ ๕) ล้มลงในที่ยุทธภูมิ ได้ชื่อว่าพญามัจจุราชฆ่าเสียให้ตายด้วยลูกศร แล้วแลยกขึ้นซึ่งลูกศรอัน อาบไปด้วยโลหิตขึ้นชูไว้ สติโตมรมากิณฺณํกายิกเวทนายปิ ใช่แต่เท่านั้นในกอง (บรรทัดที่ ๑) ทัพหลวงแห่งพญามัจจุราชนั้น สะพรั่งไปด้วยหอกใหญ่แลหอกซัด คือ มรณทุกอันบังเกิดใน กรัชกาย ให้ร้อนรนกระวนกระวายทั่วสรรพางค์กาย ควรจะอนิจจํสังเวชนี้นักหนา ในประเทศที่มรณะ (บรรทัดที่ ๒) สงครามนั้น พญามัจจุราชให้ไล้ไว้ซึ่งขวากหนาม คือ มานะแลอุธัจจะแลโทมนัส ฯ แท้ทะจริง มานะอันมีลักขณะให้ถือเนื้อถือตัวตั้งอหังฺการ มมังฺการ นั้นก็ดี อุธัจจะอันมี (บรรทัดที่ ๓) ลักขณะให้ฟุ้งให้ซ่านเตรดเตร่ไปในอารมณ์ต่างๆ โทมนัสอันมีลักขณะให้น้อยเนื้อต่ําใจนั้นก็ดี อกุศลเจตสิกทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นขวากหนาม (บรรทัดที่ ๔) แห่งพญามัจจุราช ๆ ไล้ไว้ให้เดินไปในประเทศที่มรณสงคราม ใช่แต่เท่านั้น อุปายาสทุกฺ อันมี ลักขณะให้เหือดแห้ง ไห้สะอื้นอยู่หั่กๆ บ่มีรู้เหือดนั้น (บรรทัดที่ ๕) จัดเป็นช้างสารตัวกล้าแห่งพญามัจจุราชๆ ย่อมไล่เข้าไปให้ย่ําเหยียบหมู่ปัจจามิตร ในประเทศ ที่มรณสงครามฯ แต่บรรดาอกุศลกรรม อันเป็นบาปหยาบช้านั้น แต่ล้วนเป็นพวกแห่งพญา หน้า ๑๕/๑ – ๑๕/๒ กุ (บรรทัดที่ ๑) มัจจุราช เป็นทหารแห่งพญามัจจุราชสิ้นทั้งนั้น เหตุฉะนี้จึงว่าสงครามพญามัจจุราชนี้ เป็น สงครามใหญ่อย่าไว้ใจเลย นตตฺถหตฺถีนํภูมิ ในมรณสงครามนั้น จะได้มีที่ตั้งพล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑๓

(บรรทัดที่ ๒) ช้างพลม้าพลราชรถบทจรเดินเท้าหามิได้ ถึงจะมีจตุรงคพลเสนาโยธาทหารมากสักเท่าใดๆ ก็ มิอาจที่จะยกเอาจตุรงคพลนิกายมาต่อประยุทธได้ นจาปิมนฺต (บรรทัดที่ ๓) ยุทฺเธน ถึงจะมีความคิดมากก็มิอาจที่จะเอาความคิดมาต่อประยุทธซึ่งมรณสงครามนั้นได้ อัน จะแก้ตัวได้นั้นแก้ด้วยอํานาจกุศล แก้ได้ด้วยอํานาจมิได้ประมาท เมื่อ (บรรทัดที่ ๔) ไม่ประมาทมีสติมั่นผูกพันอยู่ในศีลทานการกุศล มีดําเนินปฏิสนธิย่างไปสู่สุขคติภพได้แล้ว ก็ได้ ชื่อว่าชนะแก่มรณสงครามฯ บุคคลผู้เป็นบัณฑิตชาติ (บรรทัดที่ ๕) ปรารถนาจะให้มีสิริสวัสดีชัยชนะในที่มรณสงคราม ก็พึงมีสติระลึกถึงศีลบารมีทานบารมี แต่ บรรดาที่ตนได้สะสมอบรมมา เอาสัทธาแลปัญญาสติแลสมาธินั้น เป็นเครื่องสรรพยุทธ (บรรทัดที่ ๑) ศาสตราวุธอันวิเศษ ป้องกันเสียซึ่งโยธาทหารแห่งพญามัจจุราช อย่าให้เข้ามาย่ํายี่บีฑาได้ ให้ เอาเยี่ยงอย่างพระโยคาวจรที่กระทําความเพียรในห้องพระสมถกัมมัฏฐาน แลพระวิ (บรรทัดที่ ๒) ปัสสนากรรมฐาน แลหักหาญล้างผลาญเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส วฒยิตฺวากมฺมฏฺฐานํพลโกฏฺฐกมิ ทิวสํ แท้ทะจริงพระโยคาวจรกุลบุตรที่มีปัญญานั้น (บรรทัดที่ ๓) เปรียบปานดั่งมหาโยธา อันเป็นยอดทหาร เมื่อจะกระทําการสงครามต่อยุทธด้วยข้าศึกคือ กิเลสนั้นก็ตั้งลงซึ่งค่ายมั่น คือพระสมถกัมมัฏฐานเอากุศลธรรมทั้งห้า (บรรทัดที่ ๔) ประการ ปล่อยเป็นอํามาตยราชเสนาสพรึกพร้อม ล้อมซ้ายแลขวา กตวจกญกลทิสํ ทรงซึ่ง เสื้อเกราะอันพิเศษคือพระจตุปาวิสุทฺธศีล (บรรทัดที่ ๕) พระธรงเศียรซึ่งพระมาลา คือ พระสมาธิจิตร ทรงพระมหามงกุฎแก้ว อันรุ่งเรืองพิจิตรโอฬาร โอภาส คือ โยนิโสมนสิการ อันมีลักขณะให้กําหนดกฎหมายในกุศลธรรมทั้ง หน้า ๑๖/๑ – ๑๖/๒ กู (บรรทัดที่ ๑) ปวงด้วยสามารถอุบายปัญญา อุสสาเปตฺวา ยกขึ้นซึ่งธงไช คือ ทั้งอธิบดีสี่ประการ คือนั น ทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตตาธิบดี วิมังสาธิบดี ตชฺเชตฺวา บันลือซึ่งสุรสิงหนาท (บรรทัดที่ ๒) ขู่ต วาดซึ่ งหมู่ ปั จ จามิ ต รคื อกิ เลส ด้ว ยสุ รสํ า เนีย ง คื อ อนุ ปั ส สนาเจ็ด ประการ คื อ อนิ จ จา นุปสฺสนา พระทุกฺขานุปสฺสนา พระอนตฺตานุปสฺสนา พระ (บรรทัดที่ ๓) นิพฺพิทานุปสฺสนา พระวิราคานุปสฺสนา พระนิโรธานุปสฺสนา พระปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนา ก็เผ่น ขึ้นซึ่งอาชาไนยสินธุพตัวประเสริฐ ม้าสินธุพนั้น (บรรทัดที่ ๔) ประดั บไปด้ ว ยแก้ ว เจ็ ด ประการ คื อ พระโพชฌงค์ ทั้งเจ็ ด มี ส ติ ปั ฏ ฐานทั้ งสี่ ป ระการ เป็ น ผู้รักษาเท้าม้าทั้งสี่ เมื่อสถิตนั่งเหนือหลังสินธุพชาชาติพาชี คือ องค์แห่ง (บรรทัดที่ ๕) ปัญญาด้วยประการฉะนี้แล้ว พระโยคาวจรเจ้าก็ทรงซึ่งจักราวุธ คือ อินทรีย์ 5 พระสมัปธานสี่ ด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่งนั้น ทรงซึ่งพระแสงขรรค์อันคมกล้า กล่าวคือ


๔๑๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๑) พระอริยมคฺคโอตริตฺวา ขับซึ่งม้าอาชาไนยสินธุพลงสู่ที่ยุทธภูมิกระทําการสงครามด้วยหมู่ ปัจจามิตรคือกิเลสมาร ฟาดฟันเสียซึ่งค่ายมั่นแห่งกิเลสมาร คือทิฏฐิให้หักทําลายกระจัดกระจายลงแล้ว (บรรทัดที่ ๒) พระโยคาวจรเจ้าก็ตัดเสียซึ่งธงไชยแห่งข้าศึก ๓ ต้น คือ มานะต้น ๑ อุธัจจะต้นหนึ่ง กุกกุจ จะต้นหนึ่ง ตัดธงชัย ๓ ต้นนี้ให้ขาดสิ้นแล้ว ลําดับนั้น พระโยคาวจรเจ้า (บรรทัดที่ ๓) ก็ไล่กระโจมฟันตัดสีลแม่ทัพทั้ง ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาดตกลงในที่ยุทธภูมิ สังหาร นายทัพให้พินาศสิ้นทั้งสามคน วิธํเสตฺวา ขจัดเสียซึ่งข้าศึกอันเป็นบริวาร (บรรทัดที่ ๔) คือกิเลสธรรมอันเศษให้ปราศจากสิ้นเสร็จแล้ว พระโยคาวจรเจ้าก็เสด็จเข้าสู่เมืองแก้ว คือ พระอมตะมหานิพพาน ยกขึ้นซึ่งพระวิมุตติเศวตเสวยสุขภิรมย์ชม (บรรทัดที่ ๕) สมบัติ คือ พระโลกุตรธรรมอันประเสริฐตามประเพณีแห่งพระอริยเจ้าทั้งปวงทํานองพระ อริยบุคคลผจญเสียซึ่งกิเลสมารนี้ แลมีฉันใด บุคคลผู้มีปัญญาปรารถนาจะได้หากชนะซึ่ง หน้า ๑๗/๑ – ๑๗/๒ เก (บรรทัดที่ ๑) มรณสงครามก็พึงปฏิบัติเอาเยี่ยงอย่างดังนั้น แลพระอริยบุคคลผจญเสียซึ่งกิเลสนั้น สําเร็จ ด้วยสัทธาแลปัญญา สติแลสมาธิ อันเป็นพระโลกุตรบุคคลผู้เป็นบัณฑิตชาติ (บรรทัดที่ ๒) ปรารถนาจะให้ชนะแก่มรณสงครามนี้ จะหาปัญญาพระโลกุตรอย่างพระอริยบุคคลนั้น หายัง มิได้ ได้แต่ปัญญาโลกีย์ เอาเถิด แต่ปัญญาโลกีย์นี้ (บรรทัดที่ ๓) ถ้าบังเกิดมีในสันดานแล้ว ก็อาจที่จะเอาตัวรอดพ้นจากอัปปายอบายภูมิได้ เมื่อมีสติปัญญา พิจารณาเห็นอนิจจัง สังเวช เห็นแท้ว่าเกิดมาแล้วก็เที่ยงที่จะตาย (บรรทัดที่ ๔) จะมั่นจะคงจะเที่ยงจะแท้หามิได้ เกิดมาแล้วก็มีแต่ความตายเป็นที่สุด ขณะเมื่อจะตายแล้ว ใครที่จะช่วย จะได้เป็นที่พึ่งแต่ศีลทาน เมื่อมีปัญญาพิจา (บรรทัดที่ ๕) รณาเห็นฉะนี้แล้ว ความกลัวตายก็จะปราศจากสันดาน สตินั้นก็จะผูกพันอยู่ในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จะระลึกถึงศีล บารมี ทานบารมี ที่อาตมาได้สะสมอบรมมา (บรรทัดที่ ๑) เมื่อมีสติปัญญาอยู่ฉะนี้แล้ว ดําเนินปฏิสนธิก็จะย่างไปสู่สุคติเป็นแท้ เมื่อปฏิสนธิย่างไปสู่สุคติ ภพได้แล้ว ก็จักได้ชื่อว่า มรณสงครามตามวิสัยแห่งเราท่านทั้งปวง แต่ (บรรทัดที่ ๒) บรรดาที่มีปัญญาเป็นโลกิยปัญญา ถ้าอกุศลติดตามมาทัน กระทําลายปัญจขันธ์แล้ว ก็ตกไป ในอบายภูมินั้น ได้ชื่อว่าแพ้แก่มรณสงคราม เป็นใจความ (บรรทัดที่ ๓) ว่ากุศลและอกุศลที่สัตว์ทั้งปวงระลึกได้ในการเมื่อจะใกล้ตายนั้น ก็ได้ชื่อว่ากรรมเป็นอดีตแท้ ปรากฏแต่ในมโนทวารสิ่งเดียวเป็นอารมณ์แห่ง (บรรทัดที่ ๔) ปฏิสนธิจิตเป็นปฐมแลอารมณ์แห่งปฏิสนธิจิตที่จัดเป็นอารมณ์โครพฺยสองนั้น ชื่อว่า กมฺมนิมิตฺ คือแต่ก่อนนั้นตนได้ไปกระทําบุญแล (บรรทัดที่ ๕) บาป ในประเทศที่ใดได้กระทําบุญแลบาปเป็นประการใดๆ แลมาปรากฏในมโนทวารให้เห็น แจ้งดุจเห็นด้วยจักขุ ถ้าได้ฆ่าสัตว์จําพวกใด ก็ให้เห็นสัตว์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑๕

หน้า ๑๘/๑ – ๑๘/๒ ไก (บรรทัดที่ ๑) จําพวกนั้นมาปรากฏ ถ้าได้ถวายทานแก่สงฆ์องค์ใด ก็ให้เห็นพระสงฆ์องค์นั้นมาปรากฏ อย่าง นี้แลเรียกว่ากมฺมนิมิต เป็นอดีตมาปรากฏในมโนทวาร ถ้าได้บําเพ็ญศีลทานกาลกุ (บรรทัดที่ ๒) ศลเมื่อจะใกล้ตายผูกพันเอาอารมณ์แลตายนั้น ได้ชื่อว่ากมฺมนิมิตเป็นปัจจุบัน บังเกิดในปัญจ ทวารฝ่ายข้างบาปก็เหมือนกัน ถ้ากระทําในกาลเมื่อจะ (บรรทัดที่ ๓) ใกล้ ต ายได้ ชื่ อว่ า กมฺ ม นิ มิ ต เป็ น ปั จ จุ บั น บั งเกิ ด ในปั ญ จทวาร กั ม มนิ มิต เห็ น ปานดั งนี้ เป็ น อารมณ์ โครพฺย สองแห่งปฏิสนธิจิตประดิษฐานอยู่ (บรรทัดที่ ๔) ในภพเบื้องหน้า แลอารมณ์แห่งปฏิสนธิจิต ที่จัดเป็นอารมณ์ โครพฺภ สาม ชื่อว่าตตินิมิตนั้น ได้แก่วัณณายตน เป็นปัจจุบันอารมณ์มาปรากฏในมโนทวาร ในการเมื่อสัตว์ทั้งหลาย (บรรทัดที่ ๕) สพฺพทํ จะกระทําการกิริยา นิริเยอุปชฺฌมานานํ แท้ทะจริงสัตว์ทั้งหลายที่ตายแล้ว และจะ บังเกิดในนรกนั้น ย่อมเห็นตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏ อตฺตนาโล (บรรทัดที่ ๑) หกุมทีอาทีหิ เป็นต้นว่าเห็นเปลวเพลิงในนรกลุกรุ่งโรจน์โชตนาการ บ้างตายก็เห็นเพลิงในนรก นั้น วูบขึ้นมาเผาเอากรัชกายแห่งตน บ้างตายก็เห็นหม้อเหล็กอันใหญ่ (บรรทัดที่ ๒) เต็มไปด้วยน้ําทองแดงอันเดือดพล่าน นิริยปาเล บ้างตายก็เห็นนายนิริยบาลถือศาสตราวุธ จะ มาทิ่มแทงสับฟัน กากคชฺฆาทโย บ้างตายก็เห็นแร้งตัวใหญ่ๆ (บรรทัดที่ ๓) กาตัวใหญ่ๆ เท่าๆ เรือนเกวียนมีจะงอยปากเป็นเหล็กรุ่งเรือง เป็นเปลวไฟแวดล้อม บ้างตาย ก็เห็นสุนัขนรกมีฟันแลเขี้ยว แลไปด้วยเหล็ก เล่นเข้ามาจะกัดจะทิ้ง (บรรทัดที่ ๔) จะฟัดจะฟันกินเนื้อแลเลือดเป็นอาหาร คพฺภเสยฺยกตมาปชฺฌมานานํ แลสัตว์ที่กระทําการ กิริยาแล้ว จะไปบังเกิดในมนุษย์นั้น ย่อมเห็นตตินิมิตเป็นชิ้นเนื้อ (บรรทัดที่ ๕) เห็นคพฺภแห่งมารดาเป็นคนมาปรากฏในมโนทวาร เทเวสุอุปชฺฌมานานํ แลสัตว์ที่ตายแล้วจะ ไปบังเกิดในเทวโลกนั้น ย่อมเห็นทิพยวิมานแลทิพยกามพรึก แลนางเทพอัปสร เป็นต้น หน้า ๑๙/๑ – ๑๙/๒ โก (บรรทัดที่ ๑) มาปรากฏในมโนทวาร นิริเยอุปฏฺฐิเต บ้างตายตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏแล้ว ท่านผู้เป็น กัลยาณมิตรช่วยให้สติอารมณ์ระลึกขึ้นมาได้ซึ่งการกุศลได้ระลึกถึง (บรรทัดที่ ๒) คุณพระรัตนตรัยได้ตติฝ่ายข้างนรกก็หายไปกลับได้ตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์มาปรากฏในมโน ทวาร กาลํกตฺวา กระทําการกิริยาแล้วก็ได้ไปบังเกิดในมนุษย์สวรรค์ (บรรทัดที่ ๓) เป็นอย่างนี้ก็มี เทวโลเกอุปฏฺฐิเต บ้างตายนั้นตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์มาปรากฏแล้ว อาศัยเหตุ ที่ระคนด้วยพาล พาลให้เสียสติอารมณ์ (บรรทัดที่ ๔) ให้บังเกิดโลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นในการเมื่อใกล้จะล้มตายสิ้นชีวิต ตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์ก็ อันตรธานหาย นิริโย ตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏใน


๔๑๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕) มโนทวาร กาลํกตฺวา กระทําการกิริยาแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในนรกเป็นอย่างนี้ก็มี มนุสฺสโลเก อุปฏฺฐิเต บ้างตายตตินิมิตฝ่ายข้างมนุษย์มาปรากฏแล้ว (บรรทัดที่ ๑) ก็อันตรธานหายไป กลับได้ตตินิมิตดิรัจฉานกําเนิด เป็นต้นว่า เห็นป่าเห็นดงเห็นพงเห็นไพรมา ปรากฏในมโนทวาร กระทําการกิริยาแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ก็มี (บรรทัดที่ ๒) ติ ร จฺ ฉ านโยนิ ย าอุ ป ฏฺ ฐิ ต าย บ้ า งตายเห็ น ตติ นิ มิ ต ข้ า งสั ต ว์ ดิ รั จ ฉานมาปรากฏ อาศั ย กัลยาณมิตรช่วยให้สติ อารมณ์ จิต (บรรทัดที่ ๓) นั้นก็น้อมไปในกองการกุศล อนฺตรธายติ ตตินิมิตฝ่ายข้างดิรัจฉานก็อันตรธานหายไป กลับ ได้ตตินิมิตฝ่ายข้างมนุษย์มาปรากฏในมโนทวาร กะทํา (บรรทัดที่ ๔) การกิริยาแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในมนุษย์โลก เป็นดังนี้ก็มี ตกว่าวัณณายตน อันเป็นปัจจุบันมา ปรากฏในมโนทวารอย่างพรรณนามานี้แล ได้ชื่อว่าตติยนิมิตเป็น (บรรทัดที่ ๕) อารมณ์โครพฺยสามแห่งปฏิสนธิจิต ประดิษฐานอยู่ในภพเบื้องหน้า เป็นใจความว่าปฏิสนธิจิต ทั้งปวง ซึ่งมีอารมณ์ ๓ ประการ คือ กมฺมนิมิต หน้า ๒๐/๑ – ๒๐/๒ เกา (บรรทัดที่ ๑) คือตตินิมิต ดุจดังพรรณนามาฉะนี้ สทฺธาสมฺปยุตฺตํ ถ้าสัมปยุตไปด้วยสัทธา มีสัทธาเกิดกับดับ พร้อมสัทธินทรีย์สัมปยุต ก็ได้ชื่อว่าประกอบไปด้วย (บรรทัดที่ ๒) สทฺธินทรีย์ ถ้าหาสทฺธินทรีย์เกิดกับดับพร้อมไม่ได้ ปญฺญาสมฺปยุตตํ มีปัญญาเกิดกับดับพร้อม ปญฺญินฺทริยํ ก็ได้ชื่อว่าประกอบด้วยปัญญินทรีย์ เหตุฉะนี้จึงมี (บรรทัดที่ ๓) พระพุ ทธฎีกาโปรดประทานข้อวิ สัชนาว่า บุคคลอันมิ ได้บั งเกิด เป็น สตรีภ าพ แลมิป ฏิสนธิ ประกอบไปด้วยสัทธานั้น นตตฺถ ได้ชื่อว่า อิตถินทรีย์ บัง (บรรทัดที่ ๔) เกิดมีได้ สทฺธินฺทริยํอุปชฺชติ คงจะบังเกิดมีแต่สัทธินทรีย์ อิตฺถีภาวรูปสฺสอภาโว เพราะเหตุว่า ปฏิสนธิจิตร หาอิตถีภาวรูปมิได้ (บรรทัดที่ ๕) เกิดกับดับพร้อมด้วยสัทธา ดุจพรรณนามาฉะนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ พระสัทธัมเทศนา ยุตติสมควรกับเวลาฯ จบปริปุณโณฯ หน้า ๒๑/๑ – ๒๑/๒ (บรรทัดที่ ๑) พระมรณสงคราม จบปริปุณโณฯ .................. หน้า ๒๒/๑ – ๒๒/๒ (บรรทัดที่ ๑) อนุโมทนาบุญด้วยกุศลเจตนาแห่งปัจจยทานทายกผู้ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นกามาพจรมหา กุศล อบอวลไปด้วยโสมนัสสญาณสัมปยุต อสงฺขาริกไตร...


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑๗

(บรรทัดที่ ๒) บังเกิดในมโนทวาร วั ณณะวิถีจิต เป็นเหตุที่จะให้คิดตรึ กตรองในกองการกุศล พร้อมด้ว ย โลภณสาธารณเจตสิกธัมมสัมปยุต เกิดไปกับสัมปฏิจฺฉนฺกโร… (บรรทัดที่ ๓) รับเอาอารมณ์ ฝ่ายจิตรประสาทจึงนิยม ให้เลื่อมใสจึงกะทําการกุสลได้ต่างๆ อย่างทายกฉะนี้ บ้างก็เป็นกตัญญูกตเวทิตฺติถิง บ้างผู้มีคุณ (บรรทัดที่ ๔) อันตายไปสู่ปรโลกที่มีสติก็ไม่เศร้าโศกโศกา กระทําซึ่งมรณานุสสติไว้ในใจ คิดเห็นว่าร่างกายนี้ มิได้เป็นแก่นเป็นสาร เป็นทรัพย์สาธารณ์เครื่องสาบสูญ (บรรทัดที่ ๕) สําหรับแต่ว่าจะเพิ่มพูนพระสัทธาให้หนาเลยเปล่าๆ ไม่เข้าการ มีปัญญาหักหารซึ่งความโศก ได้ดังนี้ก็มีผลานิสงส์ล้ําเลิศประเสริฐนักหนา สมด้วยวาระพระบาฬีว่า... หน้า ๒๓/๑ – ๒๓/๒ ก (บรรทัดที่ ๑) ทุกฺขํอฏฺฐารกปฺ ปํ อนตฺต าวีส ติกปฺ ปา อธิบ ายว่ า สั ตว์จํ าพวกใดมิได้ ประมาท อุต ส่าห์ ระลึ ก ร่างกายของอาตมาพิจารณาให้เห็นเป็นพระอนิจจัง สผลํ จะประกอบไปด้วย... (บรรทัดที่ ๒) กปฺป ถ้าพิจารณาปลงจิตคิดเห็นว่าเป็นพระทุกฺขํอฏฺฐารสกปฺปํ จะได้ผลานิสงส์ ๑๘ กัป ถ้าเห็น ว่าเป็นพระอนัตตา จะได้อานิสงส์... (บรรทัดที่ ๓) พรรณนามาฉะนี้ แล้วมีหนําซ้ํากระทําฌาปนกิจ ปลงศพแห่งบิดามารดา หมู่คณาญาติดังนี้ ก็ จะมีอานิสงส์ล้ําเลิศประเสริฐนักหนา สมเด็จพระมหากรุณาจึงมีพระพุทธ (บรรทัดที่ ๔) ฎีกาตรัสประทานไว้ว่า โยบุคฺคโล บุคคลผู้ได้กระทําฌาปนกิจปลงศพแห่งบิดามารดา สผลา ผู้นั้นจะได้อานิสงส์หมื่นหนึ่ง ถ้าปลงศพพระสงฆ์จะได้อานิสงส์หมื่นหนึ่ง (บรรทัดที่ ๕) ถ้าผู้ใดปลงศพอันหาญาติมิได้จมอยู่ในแผ่นดิน จะได้อานิสงส์แสนหนึ่ง ปลงศพอันญาติมิได้ ลอยน้ําอยู่ จะได้อานิสงส์สี่หมื่น ถ้าบุคคลผู้ใดมีสัทธาได้ปลงศพผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์สอง (บรรทัดที่ ๑) แสนห้าหมื่นๆ สปติวิสเก ผู้ใดช่วยปลงศพเพื่อนบ้านเพื่อนเรือน ผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์ ๓ หมื่น ถ้าปลงศพแห่งครูอุปัชฌาจารย์จะได้อานิสงส์ล้านหนึ่ง ถ้าได้ปลงศพแห่งญาติ (บรรทัดที่ ๒) ของอาตมาจะได้อานิสงส์หมื่นหนึ่ง สามเณรํ ถ้าผู้ใดได้ปลงศพแห่งสามเณร อันกอปรไปด้วย สีลวตฺตปตฺติปฏิ ผู้นั้นจะได้อานิสงส์ ๓๒ กัน ผู้ช่วยนิมนต์พระ (บรรทัดที่ ๓) สงฆ์บังสกุณนั้น จะได้อานิสงส์สองพันกัน อันลักขณะจะมีอานิสงส์นั้น ก็อาศัยแก่ น้ําจิตรที่ เลื่อมใสโดยแท้ ถ้ากระทําด้วยกลัวเขาติฉินนินทา แลกระทําด้วยละอาย (บรรทัดที่ ๔) แก่ใจ มิได้เป็นองค์สัทธาแท้อย่างนั้น จะได้ผลานิสงส์ก็ถอยน้อยลงไป ถ้าผู้ใดกระทําด้วยถือ ยศถาบรรดาศักดิ์มากหน้ามากตา จะกะทําให้ลือชาปรากฏ ถือแต่ยศเห็น (บรรทัดที่ ๕) แต่จะให้เขาสรรเสริญ ว่าผู้นั้นมั่งมีกะทําฌาปนกิจ ประกอบด้วยมโหรสพนักหนาฯ เห็นแต่ยศ ถาเช่นนี้ มิได้มีศรัทธาแท้ในที่จะกะทํากุศล... หน้า ๒๔/๑ – ๒๔/๒

กา


๔๑๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๑) ผลอานิ ส งส์ นั้ น ก็ น้ อ ยลงไป ต่ อ เมื่ อ ได้ บุ ค คลอุ ต สาหะกะทํ า ด้ ว ยพระวิ ปั ส สณาญาณ เป็นอตฺตสทฺธาแท้นั้น จึงได้ผลานิสงส์ล้ําเลิศประเสริฐ ถึงกระทําน้อยก็ได้มาก... (บรรทัดที่ ๒) อานิสงส์นี้จะพรรณนาไปก็จะเนิ่นช้า ทายกลิปรารถนาจะใคร่ฟังพระสัทธัมเทศนา ว่าในคัมภีร์ พระมหาวิปาก ยากที่บุคคลจะฟังได้ ด้วยเมื่อใดบุคคลมีสติปัญญา (บรรทัดที่ ๓) เป็นพหูสูต พร้อมทั้งจิตแลวาจาจึงจะนั่งฟังได้ในเรื่องราวคัมภีร์พระมหาวิบากนี้ยากนักหนา ปัจจยทายกผู้ประกอบไปด้วยสัทธาปรารถนาจะใคร่ฟัง ปติฏฺฐิตํ (บรรทัดที่ ๔) จะอุ ต ส่า ห์ ตั้ งโสตทวารวิ ถีส ดั บ ฟังดั งสุว รรณภาช นจฺ ต าทองควรที่ จ ะรองรั บซึ่ งน้ํ านมแห่ ง นางพญาราชสีห์ กล่าวคือรสพระสัทธัมเทศนา อันรูปจะวิสัชนาไปก็มีด้วยประการ (บรรทัดที่ ๕) ฉะนี้ ฯ นทาเนสํ สตฺ ตานํกมฺ มํกมฺมนิ มิตฺ ตํต ติ นิมิตฺต นฺติ ตีหิ อารมฺมเณหิส มฺ ปยุ ตฺต านิป ฏิส นฺ ธิ วิญฺญาณานิโหนฺติ มรณกาเลกุศลากุศลสกฺขาตํกมฺมสริตฺวา (บรรทัดที่ ๑) กาลํกตฺวาปรโลกปรายนา มหนฺตยุชฺฆนนฺฐานํตนฺตฺวาอเหสุนฺติ ปฏิสนฺธิวิญญาณานิ แลปฏิสนธิ วิญญาณแห่งสรรพเราท่านทั้งปวงนี้ ประกอบไปด้วยอา (บรรทัดที่ ๒) รมณ์สามประการคือ กัมมประการหนึ่ง กัมมนิมิตรประการหนึ่ง ตตินิมิตรประการหนึ่ง กัมม นั้นได้แก่กุศลแลอกุศล อันบุคคลระลึกได้ในการใกล้จะถึงแก่ (บรรทัดที่ ๓) มรณภาพ ในการจะดับขันธ์ขาดจากชีวิตตินทรีมีปรโลกเป็นที่ดําเนินอย่างเขาสุรทานที่ยุทธ ภูมิอันใหญ่หลวงกระทําสงครามด้วยพญามัจจุราชแลสงครามด้วยประ (บรรทัดที่ ๔) ยุทธมั่นชิดติดพันกันอยู่นั้น ถ้ามีสติระลึกได้ซึ่งศีล ทาน การกุศลแล้ว อย่าสงสัยเลยที่จะไม่มี ชัยชนะ อันมีสติมั่นผูกพันกันอยู่ในศีล ทาน การกุศลแล้ว (บรรทัดที่ ๕) กะทําลายปัญจขันธ์ก็จะมีแต่สวรรค์เป็นเบื้องหน้า บุคคลผู้ใดมีปัญญาปรารถนาจะกะทําการ สงครามให้มีชัยชนะแก่พญามัจจุราชนั้น พึงอุตสาหะบําเพ็ญศีล ทาน การกุศล... หน้า ๒๕/๑ – ๒๕/๒ กิ (บรรทัดที่ ๑) ในทางพระกรรมฐานยังสติแลปัญญาให้บังเกิดกล้าในสันดานสั่งสมซึ่งเครื่องสรรพศาสตราวุธ คือ สัทธาแลปัญญาสติ แลสมาธิให้มากไว้แต่เนิ่นๆ เสบียงอาหารคือ (บรรทัดที่ ๒) ศีล ทาน การกุศลนั้น พึงสั่งสมไว้ให้มากๆ หากหาไว้แต่เนิ่นๆ หาไว้อย่าให้รู้ขาด อันจะหา อาวุธเมื่อจวน หาเสบียงอาหารเมื่อจวนนั้น หายากหาไม่ (บรรทัดที่ ๓) ทั้งนี้ สงครามพญามัจจุราชนี้มิใช่พอดีพอร้ายเมื่อใด เมื่อใดเป็นสงครามอันใหญ่ยอดสงคราม ทั้งปวง พญามัจจุราชนั้น ประกอบไปด้วยเสนาโยธาทหารมากกว่ามาก (บรรทัดที่ ๔) นักมหาภัยทั้ง ๒๕ ประการ มีราชภัย แลโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัยเป็นต้นนั้น แต่ส่วนเป็นโยธา ทหารยกมาเบื้องหน้าแห่งพญามัจจุราช (บรรทัดที่ ๕) สิ้ น ทั้ งนั้ น ทุ คติ ส กรรมกรทั้ ง ๓๒ ประการ เป็ น ต้ น ว่ า มั ด ถู กตี รั น จํ า จองฆ่ า ฟั น ราชทั ณฑ์ มี ประการต่างๆ แต่บรรดานี้กระทําแก่นักโทษทั้งปวงนั้น แต่ส่วนนับเนื่องเข้าในเสนากองหน้า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑๙

(บรรทัดที่ ๑) แห่งพญามัจจุราชสิ้นทั้งนั้น ถึงฉันนวุตติ ๙๖ ประการ ที่บังเกิดในกายทวารเป็นต้นว่า จักขุ โรค โสตโรค ฆานโรค ชิวหาโรค กายโรค สีลโรคที่บังเกิดเพื่อลม (บรรทัดที่ ๒) เพื่อเล่น เพื่อเสมหะ เพื่อโลหิต มีประเภทวิปริตต่างๆ นี้ มิใช่อื่นใช่ไกลเลย แต่ล้วนเป็นทหาร แห่หน้าพญามัจจุราชสิ้นทั้งนั้น ซึ่งชราทุกข์อันมีลักขณะให้แก่เฒ่าชรา (บรรทัดที่ ๓) ให้ตามืดหูหนักให้ฟันหักแก้มตอบสันหลังคดถดถอยกําลังลงนี้ก็มี ในคนแต่ส่วนเป็นเสนาแห่ง พญามัจจุราช เป็นกองหน้าแห่งพญามัจจุราชสิ้นทั้งนั้น (บรรทัดที่ ๔) ปริเทวปริวารํ พญามัจจุราชซึ่งเป็นกองหลังนั้นกอปรไปด้วยบริวารสพรึกพร้อมล้อมซ้ายแล ขวาหน้าแลหลัง คือปริเทวทุกข์แห่งหมู่ญาติทั้งหลาย อันมีความรัก (บรรทัดที่ ๕) ความกรุณา แลเข้ามาแวดมาล้อม เราให้ร้องไห้รําลึกถึงบุคคลผู้ตาย อุรสํขตสนฺเภหิเภริโฆสส มากลํ ในกองหลวงแห่งพญามัจจุราชนั้น กึกก้องไปด้วยเสียงแห่งกลองชัย หน้า ๒๖/๑ – ๒๖/๒ กี (บรรทัดที่ ๑) แลกลองชนะคือเสียงเศนาะอุรเศนาะธรวงแห่งหมู่ญาติทั้งหลาย และบรรดาที่มากไปด้วย ความรักความกรุณา สมุสฺสตโมหกณฺฑํอสุรุหิรมกฺขิตํ พญามัจจุราชยกขึ้นซึ่งลูกศรคือโมหะ (บรรทัดที่ ๒) ลูกศรนั้นอาบไปด้วยเลือดแห่งปัจจามิตร กล่าวคือน้ําตาแห่งบุคคลอันหาสติมิได้ ร้องไห้รักตน แล้วก็ถึงแก่ความตายด้วยอํานาจหลงแท้ที่จริงบุคคลอันเป็น (บรรทัดที่ ๓) อันธพาลหาปัญญาไม่ได้ ไม่ขวนขวายในการกุศล ไม่พิจารณาให้เห็นเป็นพระอนิจจัง พระทุก ขัง พระอนัตตา แลร้องไห้รักตัวกลัวตาย ตายด้วยหาสติปัญญา (บรรทัดที่ ๔) มิได้ตายด้วยหลง บุคคลจําพวกนี้ก็ได้ชื่อว่าแพ้แก่พญามัจจุราช ต้องสอนแห่งพญามัจจุราช ล้มลงในที่ยุทธภูมิ ได้ชื่อว่าพญามัจจุราชฆ่าเสีย (บรรทัดที่ ๕) ให้ตายด้วยลูกศรแล้วแลยกขึ้นซึ่งลูกอันอาบไปด้วยโลหิตขึ้นชูไว้ สติโตปรมากิณฺณกายิกเวท นายปิ ใช่แต่เท่านั้น ในกองทัพหลวงแห่งพญามัจจุราชนั้นสะพรั่งไป (บรรทัดที่ ๑) ด้วยหอกใหญ่ แลหอกซัด คือมรณทุกข์อันบังเกิดในกรัชกายให้ร้อนรนกระวนกระวายทั่วสกล สรรพางค์กาย ควรจะอนิจจังสังเวชนี่หนักหนา ในประเทศที่มรณสงครามนั้น (บรรทัดที่ ๒) พญามัจจุราชให้ไล้ไว้ซึ่งขวากแลหนามคือมานะแลอุธัจจะ แลโทมนัส แท้ทะจริงมานะอันมี ลักขณะให้ถือเนื้อถือตัว ดังอหงฺการ มมงฺการนั้นก็ดี อุธัจจะอันมีลักขณะให้ฟุ้งให้ (บรรทัดที่ ๓) ซ่านเตร็ดเตร่ไปในอารมณ์ต่างๆ นั้นก็ดี โทมนัสอันมีลักขณะให้น้อยเนื้อต่ําใจนั้นก็ดี (อุธัจจะ อันมีลักขณะให้ฟุ้งให้ซ่าน) อกุศลเจตสิกทั้ง ๓ นี้ (บรรทัดที่ ๔) จัดเป็นขวากหนามแห่งพญามัจจุราชๆ ไล้ไว้ให้เดินไปในประเทศที่มรณสงคราม ใช่แต่ เท่านั้น อุปายาสทุกฺ อันมีลักขณะให้เหือดแห้ง ไห้สะอื้นอยู่หั่กๆ


๔๒๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๕) บ่ มี รู้ เ หื อ ดนั้ น จั ด เป็ น ช้ า งสารตั ว กล้ า แห่ ง พญามั จ จุ ร าชๆ ย่ อ มไล่ เ ข้ า ไปให้ ย่ํ า เหยี ย บหมู่ ปัจจามิตร ในประเทศที่มรณะสงครามฯ แต่บรรดาอกุศลกรรม อันเป็นบาปหยาบช้านั้น หน้า ๒๗/๑ – ๒๗/๒ กุ (บรรทัดที่ ๑) แต่ ล้ ว นเป็ น พวกแห่ ง พญามั จ จุ ร าช เป็ น ทหารแห่ งพญามั จ จุ ร าชสิ้ น ทั้ งนั้ น เหตุ ฉะนี้ จึ งว่ า สงครามพญามัจจุราชนี้ เป็นสงครามใหญ่อย่าไว้ใจเลย นตตฺถหตฺถีนํภูมิ ในมรณสงครามนั้น (บรรทัดที่ ๒) จะได้มีที่ตั้งพลช้างพลม้าพลราชรถบทจรเดินเท้าหามิได้ ถึงจะมีจตุรงคพลเสนาโยธาทหาร มากสักเท่าใดๆ ก็มิอาจที่จะยกเอาจตุรงคพลนิกายมาต่อประยุทธได้ (บรรทัดที่ ๓) นจาปิ มนฺ ต ยุ ทฺเ ธน ถึ งจะมี ความคิ ด มากก็ มิอ าจที่ จ ะเอาความคิ ด มาต่ อประยุ ท ธซึ่ ง มรณะ สงครามนั้นได้ อันจะแก้ตัวได้นั้นแก้ด้วยอํานาจกุศล (บรรทัดที่ ๔) แก้ได้ด้วยอํานาจมิได้ประมาท เมื่อไม่ประมาทมีสติมั่นผูกพันอยู่ในศีลทานการกุศล มีดําเนิน ปฏิสนธิย่างไปสู่สุคติภพได้แล้วก็ (บรรทัดที่ ๕) ได้ชื่อว่าชนะแก่มรณะสงครามฯ บุคคลผู้เป็นบัณฑิตชาติปรารถนาจะให้มีสิริสวัสดีชัยชนะในที่ มรณะสงคราม ก็พึงมีสติระลึกถึงศีลบารมี ทานบารมี แต่บรรดาที่ตนได้สะสมอบรมมา (บรรทัดที่ ๑) เอาสัทธาแลปัญญาสติแลสมาธินั้น เป็นเครื่องสรรพยุทธศาสตราวุธอันวิเศษ ป้องกันเสียซึ่ง โยธาทหารแห่งพญามัจจุราช อย่าให้เข้ามาย่ํายีบีฑาได้ ให้เอา (บรรทัดที่ ๒) เยี่ ย งอย่ างพระโยคาวจรที่ กระทํา ความเพี ย รในห้ องพระสมถกั มมั ฏ ฐาน แลพระวิ ปัส สนา กรรมฐาน แลหักหาญล้างผลาญเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส (บรรทัดที่ ๓) วฒยิตฺวากมฺมฏฺฐานํพลโกฏฺฐกํมิทิสํ แท้ทะจริงพระโยคาวจรกุลบุตรที่มีปัญญานั้นเปรียบปาน ดั่งมหาโยธา อันเป็นยอดทหาร เมื่อจะกะทําการสงคราม (บรรทัดที่ ๔) ต่อประยุทธด้วยข้าศึกคือกิเลสนั้นก็ตั้งลงซึ่งค่ายมั่น คือพระสมถกัมมัฏฐานเอากุศลธรรมทั้ง ๕ ประการ ปล่อยเป็นอํามาตยราชเสนาสพรึก (บรรทัดที่ ๕) พร้อม ล้อมซ้ายแลขวาหน้าแลหลัง กตวจกญกลทิสํ ทรงซึ่งเสื้อเกราะอันพิเศษคือ พระจตุปา วิสุทฺธศีล พระธรงเศียรซึ่งพระมาลา คือ พระสมาธิจิตรอันตั้งมั่นธรง หน้า ๒๘/๑ – ๒๘/๒ กู (บรรทัดที่ ๑) ทั้งพระมหามงกุฎแก้ว อันรุ่งเรืองพิจิตรโอภาษ คือ โยนิโสมนสิการ อันมีลักขณะให้กําหนด กฎหมายในกุศลธรรมทั้งปวงด้วยสามารถอุบายปัญญา อุสสาเปตฺวา (บรรทัดที่ ๒) ยกขึ้นซึ่งธงไช คือ ทั้งอธิบดีสี่ประการ คือ นันทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตตาธิบดี วิมังสาธิบดี ตชฺ เผตฺวา บันลือสีหนาทขู่ตวาดซึ่งหมู่ปัจจามิตร (บรรทัดที่ ๓) คือกิเลส ด้วยสุรสําเนียง คือ อนุปัสสนา ๗ ประการ คือ อนิจจานุปสฺสนา พระทุกฺขานุปสฺสนา พระอนตฺตานุปสฺสนา พระนิพฺพิทานุปสฺสนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๒๑

(บรรทัดที่ ๔) พระวิราคานุปสฺสนา พระนิโรธานุปสฺสนา พระปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนา ก็เผ่นขึ้นซึ่งอาชาไนย สินธุพตัวประเสริฐ ม้าสินธุพนั้นประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ (บรรทัดที่ ๕) คือ พระโพชฌงค์ทั้ง ๗ มีสติปัฏฐานทั้งสี่ประการ เป็นผู้รักษาเท้าม้าทั้ง ๔ เมื่อสถิตนั่งเหนือ หลังสินธุพชาติพาชี คือ องค์แห่งพระปัญญาด้วยประการฉะนี้แล้ว พระโยคาวจรเจ้าก็ทรงซึ่ง จักกา (บรรทัดที่ ๑) วุธ คือ อินทรีย์ ๕ พระสมัปธาน ๔ ด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่ง พระหัตถ์ข้างหนึ่งนั้น ทรงซึ่งพระ แสงขรรค์อันคมกล้า กล่าวคือพระอริยมคฺคโอตริตฺวา ขับซึ่งม้าอาชาไนยสินธุพลงสู่ที่ (บรรทัดที่ ๒) ยุทธภูมิกะทําการสงครามด้วยหมู่ปัจจามิตรคือกิเลสมารฟาดฟันเสียซึ่งค่ายมั่นแห่งกิเลสมาร คือทิฏฐิให้หักทําลายกระจัดกระจายลงแล้วพระโย (บรรทัดที่ ๓) คาวจรเจ้าก็ตัดเสียซึ่งธงชัยแห่งข้าศึกทั้ง ๓ ต้น คือ มานะต้น ๑ อุธัจจะต้นหนึ่ง กุกกุจจะต้น หนึ่ง ตัดธงชัย ๓ ต้นนี้ให้ขาดสิ้นแล้ว ลําดับนั้น พระโยคาวจร (บรรทัดที่ ๔) เจ้าก็ไล่กระโจมฟันตัดสีลแม่ทัพทั้ง ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาดตกลงในที่ ยุทธภูมิ สังหารนายทัพให้พินาศสิ้นทั้ง ๓ แล้ว วิธํเสตฺวา (บรรทัดที่ ๕) ขจัดเสียซึ่งข้าศึกอันเป็นบริวารคือกิเลสธรรมอันเศษให้ปราศจากสิ้นเสร็จแล้ว พระโยคาวจร เจ้าก็เสด็จเข้าสู่เมืองแก้ว คือพระอมตะมหานิพพาน ยกขึ้นซึ่งพระวิมุตติเศวต หน้า ๒๙/๑ – ๒๙/๒ เก (บรรทัดที่ ๑) ปวรฉนฺท เสวยสุขภิรมย์ชมสมบัติ คือ พระโลกุตรธรรมอันประเสริฐตามประเพณีแห่งพระอริย เจ้าทั้งปวงทํานองพระอริยบุคคลผจญเสียซึ่งกิเลสมารนี้ แลมีฉันใดบุคคล (บรรทัดที่ ๒) ผู้มีปัญญาปรารถนาจะให้ชนะแก่มรณสงครามก็พึงปฏิบัติเอาเยี่ยงดังนั้นอย่างดังนั้น แลพระ อริยบุคคลผจญเสียซึ่งกิเลสนั้น สําเร็จด้วยสัทธาแล (บรรทัดที่ ๓) ปัญญา สติแลสมาธิ อันเป็นพระโลกุตรบุคคลผู้เป็นบัณฑิตชาติปรารถนาจะให้ชนะแก่มรณ สงครามนี้ จะหาปัญญาพระโลกุตรอย่างพระอริย (บรรทัดที่ ๔) บุคคลนั้น หายังมิได้ ได้แต่ปัญญาโลกีย์ เอาเถิด แต่ปัญญาโลกีย์นี้ถ้าบังเกิดมีในสันดานแล้ว ก็ อาจที่จะเอารอดตัวรอดพ้นจาก อปฺปาย อบายภูมิได้ เมื่อมีสติ (บรรทัดที่ ๕) ปัญญาพิจารณาเห็นอนิจจัง สังเวช เห็นแท้ว่าเกิดมาแล้วก็เที่ยงที่จะตายจะมั่นจะคงจะเที่ยง จะแท้หามิได้ เกิดมาแล้วก็มีแต่ความตายเป็นที่สุด ขณะเมื่อจะตายแล้ว ใครที่จะช่วยได้ (บรรทัดที่ ๑) จะได้ เ ป็ น ที่ พึ่ ง แต่ ศี ล ทานการกุ ศ ล เมื่ อ มี ปั ญ ญาพิ จ ารณาเห็ น ฉะนี้ ความกลั ว ตายก็ จ ะ ปราศจากสันดาน สตินั้นก็จะผูกพันอยู่ในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จะระลึกถึงศีล บารมี (บรรทัดที่ ๒) ทานบารมีที่อาตมาได้สะสมอบรมมาเมื่อมีสติปัญญาอยู่ฉะนี้แล้ว ดําเนินปฏิสนธิก็จะย่างไปสู่ สุคติเป็นแท้ เมื่อปฏิสนธิย่างไปสู่สุคติภพได้แล้ว ก็จักได้ชื่อว่า


๔๒๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

(บรรทัดที่ ๓) มรณสงครามตามวิสัยแห่งเราท่านทั้งปวง แต่บรรดาที่มีปัญญาเป็นโลกิยปัญ ญา ถ้าอกุศล ติดตามมาทัน กะทําลายปัญจขันธ์แล้ว ก็ตกไปในอบายภูมินั้น ได้ชื่อว่า (บรรทัดที่ ๔) แพ้แก่มรณสงคราม เป็นใจความว่ากุศลและอกุศลที่สัตว์ทั้งปวงระลึกได้ในการเมื่อจะใกล้ตาย นั้น ก็ได้ชื่อว่ากรรมเป็นอดีตแท้ ปรากฏแต่ในมโนทวารสิ่งเดียวฯ (บรรทัดที่ ๕) เป็นอารมณ์แห่งปฏิสนธิจิตเป็นปฐมแลอารมณ์แห่งปฏิสนธิจิตที่จัดเป็นอารมณ์ โครพฺยสอง ชื่อว่า กมฺมนิมิตฺ คือแต่ก่อนนั้นตนได้ไปกะทําบุญแลบาป ในประเทศที่ใดๆ หน้า ๓๐/๑ – ๓๐/๒ ไก (บรรทัดที่ ๑) ได้กะทําบุญแลบาปเป็นประการใดๆ แลมาปรากฏในมโนทวารให้เห็นแจ้งดุจเห็นด้วยจักขุ ถ้า ได้ฆ่าสัตว์จําพวกใด ก็ให้เห็นสัตว์จําพวกนั้นมาปรากฏ ถ้าได้ถวายทานแก่สงฆ์ใด (บรรทัดที่ ๒) ก็ให้เห็นพระสงฆ์องค์นั้นมาปรากฏ อย่างนี้แลเรียกว่า กัมมนิมิต เป็นอดีตมาปรากฏในมโน ทวาร ถ้าได้บําเพ็ญศีลทานการกุศลเมื่อจะใกล้ตายผูกพันเอาเป็นอารมณ์แล้ว (บรรทัดที่ ๓) แลตายนั้น ได้ชื่อว่ากัมมนิมิตเป็นปัจจุบัน บังเกิดในปัญจทวารฝ่ายข้างบาปก็เหมือนกัน ถ้า กะทําในกาลเมื่อจะใกล้ตายได้ชื่อว่ากัมมนิมิตเป็นปัจจุบันบังเกิดในปัญจทวาร (บรรทัดที่ ๔) กัมมนิมิตเห็นปานดังนี้ เป็นอารมณ์ โครพฺย สองแห่งปฏิสนธิจิตประดิษฐานอยู่ในภพเบื้อง หน้า แลอารมณ์แห่งปฏิสนธิจิต ที่จัดเป็นอารมณ์ โครพฺภ (บรรทัดที่ ๕) สาม ชื่อว่าตตินิมิตนั้นได้แก่วัณณายตน เป็นปัจจุบันอารมณ์มาปรากฏในมโนทวาร ในกาล เมื่อสัตว์ทั้งหลายจะกะทําการกิริยา นิริเยอุปชฺฌมานานํ แท้ทะจริง (บรรทัดที่ ๑) สัตว์ทั้งหลายที่ตายแล้ว แลจะบังเกิดในนรกนั้น ย่อมเห็นตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏ อตฺต นาโลหกุมทีอาทีหิ เป็นต้นว่าเห็นเปลวเพลิงในนรกลุก (บรรทัดที่ ๒) รุ่งโรจน์โชตนาการ บ้างตายก็เห็นเพลิงในนรกนั้น วูบขึ้นมาเผาเอากรัชกายแห่งตน บ้างตายก็ เห็นหม้อเหล็กอันใหญ่เต็มไปด้วยน้ําทองแดงอันเดือดพล่าน (บรรทัดที่ ๓) นิริยปาเล บ้างตายก็เห็นนายนิริยบาลถือศาสตราวุธ จะมาทิ่มแทงสับฟัน กากคิชฺฆาทโย บ้าง ตายก็เห็นแร้งตัวใหญ่ๆ กาตัวใหญ่ๆ (บรรทัดที่ ๔) เท่าๆ เรือนเกวียนมีจะงอยปากเป็นเหล็กรุ่งเรือง เป็นเปลวไฟแวดล้อม บ้างตายก็เห็นสุนัข นรกมีฟันแลเขี้ยว แลไปด้วยเหล็ก แล่นเข้ามาจะ (บรรทัดที่ ๕) กัดจะทิ้งจะฟัดจะฟันกินเนื้อแลเลือดเป็นอาหาร คพฺภเสยฺยกตมาปชฺฌมานานํ แลสัตว์ที่กะทํา การกิริยาแล้ว จะไปบังเกิดในมนุษย์นั้น ย่อมเห็นตตินิมิต หน้า ๓๑/๑ – ๓๑/๒ โก (บรรทัดที่ ๑) เป็นชิ้นเนื้อเห็นคัพภแห่งมารดาเป็นคนมาปรากฏในมโนทวาร เทเวสุอุปชฺฌมานานํ แลสัตว์ที่ ตายแล้วจะไปบังเกิดในเทวโลกนั้น ย่อมเห็นทิพยวิมานแลทิพยกามพรึก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๒๓

(บรรทัดที่ ๒) แลนางเทพอัปสร เป็นต้นมาปรากฏในมโนทวาร นิริเยอุปฏฺฐิเต บ้างตายตตินิมิตฝ่ายข้างนรก มาปรากฏแล้ว ท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรช่วย (บรรทัดที่ ๓) ให้สติอารมณ์ระลึกขึ้นมาได้ซึ่งการกุศลได้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยได้ตติฝ่ายข้างนรกก็หายไป กลับได้ตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์มาปรากฏในมโนทวาร กาลํ (บรรทัดที่ ๔) กตฺวา กะทําการกิริยาแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์เป็นอย่างนี้ก็มี เทวโลเกอุปฏฺฐิเต บ้างตาย นั้นตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์มาปรากฏแล้ว อา (บรรทัดที่ ๕) ศัยเหตุที่ระคนด้วยพาล พาลให้เสียสติอารมณ์ให้บังเกิดโลภะ โทสะ โมหะขึ้นในการเมื่อใกล้ จะล้มตายสิ้นชีวิต ตตินิมิตฝ่ายข้างสวรรค์ก็อันตรธานหาย นิริโย (บรรทัดที่ ๑) ตตินิมิตฝ่ายข้างนรกมาปรากฏในมโนทวาร กาลํกตฺวา กะทําการกิริยาแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดใน นรกเป็นอย่างนี้ก็มี มนุสฺสโลเกอุปฏฺฐิเต บ้างตายตตินิมิตฝ่ายข้างมนุษย์มาปรากฏแล้ว (บรรทัดที่ ๒) ก็อันตรธานหายไป กลับได้ตตินิมิตดิรัจฉานกําเนิด เป็นต้นว่า เห็นป่าเห็นดงเห็นพงเห็นไพรมา ปรากฏในมโนทวาร กะทําการกิริยาแล้ว ก็ (บรรทัดที่ ๓) ได้ไปบังเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ก็มี ติรจฺฉานโยนิยาอุปฏฺฐิตาย บ้างตายเห็นตตินิมิต ข้าง สัตว์ดิรัจฉานมาปรากฏ อาศัยกัลยาณมิตรช่วย (บรรทัดที่ ๔) ให้ ส ติ อารมณ์ จิ ต นั้ น ก็ น้ อ มไปในกองการกุ ศ ล อั น ตรธายติ ตติ นิ มิ ต ฝ่ า ยข้ า งดิ รั จ ฉานก็ อันตรธานหายไป กลับได้ตตินิมิตฝ่ายข้างมนุษย์ (บรรทัดที่ ๕) มาปรากฏในมโนทวาร กระทําการกิริยาแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในมนุษย์โลก เป็นดังนี้ก็มี ตกว่า วณฺณายตน อันเป็นปัจจุบันมาปรากฏในมโนทวารอย่างพรรณนามานี้แล ได้ชื่อ หน้า ๓๒/๑ – ๓๒/๒ เกา (บรรทัดที่ ๑) ว่ า ตติ ย นิ มิต เป็ น อารมณ์ โ ครพฺ ย สามแห่ งปฏิ ส นธิ จิ ต ประดิ ษฐานอยู่ ใ นภพเบื้ องหน้ า เป็ น ใจความว่าปฏิสนธิจิตทั้งปวง ซึ่งมีอารมณ์ ๓ ประการ คือ กมฺมนิมิต คือ (บรรทัดที่ ๒) ตตินิมิต ดุจดังพรรณนามาฉะนี้ สทฺธาสมฺปยุตฺตํ ถ้าสัมปยุตไปด้วยสัทธา มีสัทธาเกิดกับดับ พร้อมสัทธินทรีย์สัมปยุต ก็ได้ชื่อว่า (บรรทัดที่ ๓) ประกอบไปด้วยสัทธินทรีย์ ถ้าหาสัทธินทรีย์เกิดกับดับพร้อมไม่ได้ ปญฺญาสมฺปยุตฺตํ มีปัญญา เกิดกับดับพร้อม ปญฺญินฺทริยํ ก็ได้ชื่อว่าประ (บรรทัดที่ ๔) กอบด้วยปัญญินทรีย์ เหตุฉะนี้จึงมีพระพุทธฎีกาโปรดประทานข้อวิสัชนาว่า บุคคลอันมิได้ บังเกิดเป็นสตรีภาพ แลมีปฏิสนธิประกอบไปด้วยสัทธานั้น น (บรรทัดที่ ๕) อตฺถ ได้ชื่อว่า อิตถินทรีย์ บังเกิดมีได้ สทฺธินฺทริยํอุปชฺชติ คงจะบังเกิดมีแต่สัทธินทรีย์ อิตฺถี ภาวรูปสฺสอภาโว เพราะเหตุว่า


๔๒๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๒๕

พระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี นัฐพร ปะทะวัง๑๖๙ วรรณกรรมเรื่องพระมาลัย เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย๑๗๐ แต่จะ ปรากฏมากในภาคกลางและภาคใต้๑๗๑ ซึ่งก็มีทั้งพระมาลัยคํากาพย์ คัมภีร์พระมาลัย รวมถึงพระมาลัยกลอน สวดนี้ ด้ วย หรื อแม้ แต่ ในราชสํ านั กสมั ยอยุ ธ ยาก็ได้ นํ า วรรณกรรมเรื่ องมาแต่ งเป็ น วรรณกรรมคํ า หลวง๑๗๒ เรียกว่า พระมาลัยคําหลวง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร๑๗๓ ๑๗๔วรรณกรรมเรื่องนี้จึงถือได้ว่ามีความสําคัญ และอยู่ในความรับรู้ของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน สําหรับที่มาของวรรณกรรมเรื่อง พระมาลัย ในประเทศไทยนี้ สุภาพรรณ ณ บางช้าง พบว่า ไม่ได้มา จาก มาเลยยสูตร ของลังกา หากแต่แต่งขึ้นในประเทศไทยในนี้เอง ส่วน มาเลยยสูตร ที่ว่านั้น คือ มาเลยย เทวัตเถรวัตถุ ซึ่งได้เค้าเรื่องมาจาก มาเลยยกะ ของพม่า และในลังกาเองก็ไม่ปรากฏวรรณกรรมเรื่องพระ มาลัยนี้๑๗๕ พระมาลัย ตามประวัติกล่าวว่า เป็นพระอรหันตเถระองค์สุดท้ายในโรหนชนบทลังกาทวีป หลังจากที่ พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานได้ห้าร้อยปี พระมาลัยนั้นมีอิทธิฤทธิ์มาก วันหนึ่งได้ลงไปโปรดสัตว์ในเมืองนรก บรรดาสัตว์นรกเล่านั้นก็ได้ขอให้พระมาลัยบอกญาติพี่น้องของตนให้ทําทานแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลส่งไปให้ พระ มาลัยจึงนําข่าวมาบอกแก่มนุษย์ทั้งหลาย วันหนึ่งพระมาลัยนําดอกบัวที่ชายยากจนเข็ญใจผู้หนึ่งนํามาถวายไป ๑๖๙

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ปรมินท์ จารุวร. ใน สุกญ ั ญา สุจฉายา, บรรณาธิการ. (๒๕๔๘). พิธีกรรม ตํานาน นิทาน เพลง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทายาลัย. ๑๗๑ สุกัญญา ภัทราชัย, บรรณาธิการ. (๒๕๓๘).วรรคดีท้องถิ่นพินิจ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๑๗๒ คําหลวง เป็นชื่อเรียกวรรณคดีโบราณประเภทหนึ่ง ซึ่งยังมีความเห็นต่างกันเป็นสองทางคือ ทางหนึ่งเข้าใจว่าคํา หลวงเป็นหนังสือสําหรับสวด เพราะมีแบบแผนกําหนดเสียงสูงต่ําสําหรับสวด เช่น หนังสือพระมาลัยคําหลวง และมหาชาติคํา หลวง อีกทางหนึ่งเข้าใจว่า หนังสือที่เป็นคําหลวงไม่จําเป็นต้องเป็นหนังสือสําหรับสวด เช่น พระนลคําหลวง ก็ไ ม่ได้แต่ง สําหรับสวด พระเวทย์วรวิสิฐ (เซ็ง ศิวะ ศริยานนท์) สรุปว่าคําหลวงคือหนังสือชนิดพระราชนิพนธ์ เช่น พระราชนิพนธ์ อิเหนา, รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๒ ที่เรียกว่าคําหลวง ก็ถือว่าหนังสือนั้นๆ มีขึ้น แต่งขึ้นโดยพระบรมราชโองการ และคําว่า หลวง ถ้าจะเข้าประกอบนามก็หมายความเฉพาะว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น เรือหลวง รถหลวง เป็นต้น (ส. พลายน้อย. (๒๕๔๙). วรรณคดีอภิธาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์คํา.) ๑๗๓ ศิลปากร, กรม. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (๒๕๔๕). วรรณกรรมสมัยอยุธยาเล่ม ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว. ๑๗๔ นักวรรณคดีบางท่าน เช่น ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา เชื่อว่าไม่ใช่พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ๑๗๕ สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (๒๕๓๓). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๗๐


๔๒๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระอินทร์ถึงกุศลกรรมที่เทพบุตรเหล่านั้นได้ทําไว้ ในอดีตชาติ ครั้นพระศรีอาริยเมตไตรยเสด็จมานมัสการพระเจดีย์จุฬามณี พระองค์ได้สั่งความพระมาลัยว่า จะลงมาประกาศศาสนาเมื่อศาสนาของพระสมณโคดมสิ้นสุดลง ผู้ใดใคร่เกิดในศาสนาของพระองค์ ต้องฟัง เทศน์มหาชาติให้จบภายใน ๑ วัน พระมาลัยจึงได้นําความกลับมาเล่าให้มนุษย์ทั้งหลายฟัง ส่วนชายยากจน เข็ญใจที่ถวายดอกบัวพระมาลัยนั้น เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามอุบลเทวบุตร ทั้งนี้ก็ ด้วยอานิสงส์ของการถวายดอกบัวนั้น เนื้อหาสาระโดยสังเขป เรื่อง พระมาลัยกลอนสวด ฉบั บที่ปริ วรรตและจัด พิมพ์ในครั้งนี้ ต้นฉบั บเป็น สมุดไทยขาว(พลัด ) เขียนด้วยเส้นหมึกสีดํา แต่งด้วยคําประพันธ์ประเภทกาพย์ ปรากฏทํานองสวด คือ “เชิด” และ “ฉันท” ไม่ ปรากฏชื่อผู้แต่งและปีที่แต่ง ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่วัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากเป็นฉบับพลัด เนื้อความที่ปรากฏจึงไม่สมบูรณ์ เหลือเพียงแต่เนื้อความในตอนที่กล่าวถึง เปรตเท่านั้น การกล่ า วถึ งเปรต ในพระมาลั ยกลอนสวดนี้ มีอยู่ หลายจํ า พวก อาทิ เปรตสู จิโ ลมา ซึ่งมี ขนเป็ น เข็ม๑๗๖ ดังปรากฏในบทประพันธ์ที่ว่า ๏ ขนเข็มยอกปาก ปลายเส้นเข็มขน ๏ บาปมันส่อท่าน ให้เข้าเกาะกัน ๏ ขนเข็มยอก ยอกงอกออกมา ๏ ยอกเข้าไปในแข้ง งอกทั่วเข็มขน

มากนักเหลือทน งอกออกท้องพลัน จะเอารางวัล เป็นอันยากนักหนา เข้าในต้นขา โดยแข้งแห่งตน ปวดนักเหลือทน อยู่ในฝ่าตีน

เปรตที่มีอัณฑะใหญ่เท่าตุ่ม ปรากฏในบทประพันธ์ที่ว่า ๏ ยังมีเปรตหนึ่ง มีอัณฑะใหญ่ ๑๗๖

เจือ สตะเวทิน. (๒๕๒๒). ตํารับวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ

ลําบากเหลือใจ เติบเท่าตุ่มหาม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๒๗

๏ เลื้อยลงจนดิน เปื่อยเน่าลามปาม ๏ เมื่อจะเดินไป พาแล่นระเสิดระสัง ๏ ครั้นเมื่อจะนั่ง จึงฝืนขึ้นมา ๏ ครั้นเมื่อจะนั่ง จึงโขย่ง ๏ จึงแบกขึ้นเล่า เหนื่อยนักโอ้เอ้ ๏ แร้งกานกกะกรุม พาบินด้วยแรง ๏ ร้องครางอิดๆ เจ็บปวดนักหนา

ดุจดังถุงย่าม เหม็นโขงพึงชัง แบกขึ้นบนหลัง เซไปเซมา มันคับหว่างขา นั่งทับมันลง ปวดนักโก้งโค้ง ลุกขึ้นโอ้เอ้ พาแล่นโซเซ สิ้นถอยแรง จิกสับยื้อแย่ง ไปสู่เวหา ทนเวทนา เพียงจะสิ้นชนม์

หรือเปรตที่มีขนเป็นศร ดังปรากฏในบทประพันธ์ที่ว่า ๏ ยังมีเปรตหนึ่ง รูปนั้นพิกล ๏ ปืนนั้นยอกเข้า ทั้งตัวย่อมปืน ๏ เจ็บแสบปวดนัก แร้งกาจิกตน ๏ ปืนนั้นยอกปาก เลือดไหลออกมา

ทั้งตัวย่อมขน ขนนั้นเป็นปืน ทั้งตัวขวยขืน ยอกเข้าซอกซ้น ร้องครางอะดักอะดน พาไปเวหา จมูกแลตา โซมทั่วทั้งตน

นอกจากนี้แล้วยังกล่าวถึงเปรตอื่นๆ อีก เช่น เปรตที่มีขนเป็นดาบ เปรตที่ตัวเน่าเหม็น เปรตหัวด้วน เป็ นต้ น ซึ่งในการกล่ า วถึ งเปรตแต่ ล ะจํ าพวกนั้ น ก็ มักจะประกอบไปด้ว ยลักษณะของเนื้ อหาที่ สํ าคั ญสอง ประการ คือ ๑. กล่าวถึงสภาพที่น่ารังเกียจหรือความทุกข์ทรมานของเปรต และ ๒. กล่าวถึงมูลเหตุที่เป็น เช่นนั้น เช่น การกล่าวถึงเปรตที่มีขนเป็นดาบว่า


๔๒๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ยังมีเปรตหนึ่ง เส้นขนทั้งตน ๏ ขนนั้นยอกเข้า เป็นดาบเชือดลง ๏ อดเจ็บบมิได้ แร้งกาจิกพลาง ๏ ร้องครางอิดๆ เจ็บปวดนักหนา ๏ ฝูงเปรตหมู่หนึ่ง ใจร้ายอกุศล ๏ ขนเป็นหอกดาบ บาปฆ่าหมูขาย ๏ จะตกรก แต่ละเส้นละหน ๏ ละทีๆ บาปตนราวี

เจ็บปวดเหลือทน เป็นดาบเชือดลง แทงทั่วทั้งตน ทั่วสารพางค์ ร้องไห้อิดคราง พาไปเวหา ทนเวทนา เพียงจะสิ้นชนม์ เมื่ออยู่เป็นคน ย่อมฆ่าหมูขาย เพราะทําบาปบมิอาย เลี้ยงลูกเมียตน นับเท่าเส้นขน นับชาติแต่ละที ยิ่งก้าวพ้นปี ฆ่าหมูเลี้ยงตน

จากบทประพันธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้แต่งกล่าวถึงสภาพที่น่ารังเกียจหรือความทุกข์ทรมานของเปรต ว่า เจ็บปวดเหลือทน เส้นขนทั้งตน เป็นดาบเชือดลง, อดเจ็บบมิได้ ร้องไห้อิดคราง แร้งกาจิกพลาง พา ไปเวหา ร้องครางอิดๆ ทนเวทนา เจ็บปวดนักหนา เพียงจะสิ้นชนม์ ฯลฯ และกล่าวถึงมูลเหตุที่เป็น เช่นนั้น ว่า เมื่ออยู่เป็นคน ใจร้ายอกุศล ย่อมฆ่าหมูขาย ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็สอดคล้องกับความมุ่งหมาย ของวรรณกรรมเรื่อง พระมาลัย คือ ต้องการให้คนกลัวการทําบาป และทําแต่ความดี องค์ความรู้จึงเป็นส่วน หนึ่งที่จะช่วยโน้มน้าวจิตใจคนในสมัยนั้นได้ ทั้งนี้การใช้ภาษาในวรรณกรรมเรื่องนี้ ก็มีส่วนสําคัญยิ่งในการช่วยให้เกิดจินตภาพขึ้นภายในจิตใจของ คนในสังคม อันจะนํามาสู่ความเกรงกลัวการทําบาป กล่าวคือ มีการใช้ภาษารุนแรงด้วยถ้อยคําที่เรียบง่าย สื่อ ความหมายชัดเจน แต่ที่เด่นชัดที่สุดคือการซ้ําคําและซ้ําความ การซ้ําคํา เป็นการใช้คําเดียวกันหลายแห่งในบทประพันธ์หนึ่ง โดยที่ยังคงความหมายเดียวกัน เพื่อ เป็นการเน้นย้ําน้ําหนักความให้หนักแน่นยิ่งขึ้น พระมาลัยกลอนสวดนี้ปรากฏกลวิธีทางภาษาประเภทนี้เป็น จํานวนมาก ดังจะได้ยกตัวอย่างคําประพันธ์ต่อไปนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๒๙

๏ ร้องครางอิดๆ ตัวสั่นระท่าว ๏ ตีนสั่นมือสั่น เจ็บปวดทั้งตัว ๏ หูเน่าปากเน่า จมูกดวงตา

ดิ้นล้มดิ้นตาย สะท้านทั้งตัว ตามืดขุ่นมัว พ้นที่จะคณนา เหม็นโขงนักหนา เน่าเปื่อยทรุดโทรม

จากบริบทของเนื้อความนี้ แสดงให้เห็นภาพของความเจ็บปวดและการทนทุกข์ทรมานอย่างแสน สาหัส โดยจะสังเกตได้ว่าผู้แต่งคําซ้ําว่า “ดิ้น” “สั่น” “เน่า” ๒-๓ ครั้ง นั่นย่อมทําให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์ คล้อยตามต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการเน้นย้ําให้เห็นภาพของความเจ็บปวดทรมานยิ่งๆ ขึ้น ส่วนการซ้ําความ คือ การใช้กลวิธีการซ้ําคํา ในลักษณะที่ซ้ําเนื้อความเดิม ทําให้เนื้อความสอดคล้อง กันไปด้วย ดังปรากฏในบทประพันธ์ที่ว่า ๏ บาปคนฆ่าเนื้อ แร้งกาจิกกิน ๏ บาปคนฆ่าเนื้อ แร้งกาจิก ๏ บาปคนเนื้อ แร้งกาเสี่ยวไป ๏ เจ็บปวดเหลือทน ร้องครางคนเดียว ๏ บาปคนฆ่าสัตว์ นกกะกรุมแร้งกา

วัวควายเป็นอาจิณ รุมกันยื้อเอา ไว้แต่โครงเปล่า เนื้อตนนั้นไป เจ็บปวดฉันใด ทนเจ็บคนเดียว แต่คนอยู่เปลี่ยว ทนเวทนา ให้มรณา จิกทึ้งเนื้อตน

จากคําประพันธ์บทนี้จะเห็นได้ว่า กวีซ้ําคําต่างๆ มากมาย และเมื่อพิจารณาจากเนื้อความแล้ว คําที่ ซ้ําเหล่านี้ก็ล้วนอยู่ในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพของภาพทุกข์ทรมานทั้งสิ้น การร้อยเรียงเป็นโครงสร้างความ เหล่านี้ จึงเรียกว่าเป็นการซ้ําความ วรรณกรรมเรื่องพระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงคติความเชือ่เรื่อง พระมาลัยว่าได้แพร่หลายอยู่ในท้องถิ่นอย่างไรเท่านั้น หากแต่ยังได้แสดงให้เห็นถึงคติเรื่องการตาย และความ ศรัทธษในการสร้างคัมภีร์ของพุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า เรื่องพระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัด กาญจนบุรีเก่า เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีที่ทรงคุณค่าเรื่องหนึ่ง


๔๓๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรณานุกรม เจือ สตะเวทิน. ตํารับวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ,๒๕๒๒. ศิลปากร, กรม. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยอยุธยาเล่ม ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๔๕. ศุภร บุนนาค และสุริยา รัตนกุล. สุนทรียภาพจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร. พระนคร:แพร่พิทยา,๒๕๑๒. ส. พลายน้อย. วรรณคดีอภิธาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์คํา,๒๕๔๙. สุกัญญา สุจฉายา, บรรณาธิการ. พิธีกรรม ตํานาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทายาลัย,๒๕๔๘. สุกัญญา ภัทราชัย, บรรณาธิการ. วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๓๘. สุจิตติ์ วงษ์เทศ. ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ “อยุธยายศยิ่งฟ้า”. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๔. สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. เจิมจันทน์กังสดาล : ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย.กรุงเทพฯ: โครงการตํารา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๔๘. สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. หวังสร้างศิลป์นฤมิตเพริศแพร้ว : การสืบทอดขนบกับการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการตําราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑. สุภาพรรณ ณ บางช้าง. วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๓.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓๑

พระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี (กล่าวถึงเปรต) ๏ ฝูงเปรตหมู่นี้ ฆ่าเนื้อเบื่อ๑๗๗ปลา ๏ ฆ่าเนื้อวัวควาย แทงสัตว์ให้อยู่ ๏ ฆ่าทรายแลเนื้อ ฆ่าสัตว์ทั้งหลาย ๏ บาปคนฆ่าเนื้อ แร้งกาจิกกิน ๏ บาปคนฆ่าเนื้อ แร้งกาจิก๑๗๘ ๏ บาปคนเนื้อ๑๗๙ แร้งกาเสี่ยว๑๘๐ไป ๏ เจ็บปวดเหลือทน ร้องครางคนเดียว ๏ บาปคนฆ่าสัตว์ นกกะกรุม๑๘๑แร้งกา ๏ ยังมีเปรตหนึ่ง เส้นขนทั้งตน ๏ ขนนั้นยอกเข้า เป็นดาบเชือดลง ๏ อดเจ็บบมิได้ แร้งกาจิกพลาง ๑๗๗

๔๘๙)

๑๗๘

เบื่อ หมายถึง วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.

น่าจะเป็น แร้งกาจิกเอา น่าจะเป็น บาปคนฆ่าเนื้อ ๑๘๐ หมายถึง เฉี่ยว ๑๘๑ นกตะกรุม ๑๗๙

ใจบาปหยาบช้า บมิได้อดสู บมิได้เอ็นดู ดิ้นล้มดิ้นตาย ฆ่าวัวฆ่าควาย แต่ล้วนสี่ตีน วัวควายเป็นอาจิณ รุมกันยื้อเอา ไว้แต่โครงเปล่า เนื้อตนนั้นไป เจ็บปวดฉันใด ทนเจ็บคนเดียว แต่คนอยู่เปลี่ยว ทนเวทนา ให้มรณา จิกทึ้งเนื้อตน เจ็บปวดเหลือทน เป็นดาบเชือดลง แทงทั่วทั้งตน ทั่วสารพางค์ ร้องไห้อิดคราง พาไปเวหา


๔๓๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ร้องครางอิดๆ เจ็บปวดนักหนา ๏ ฝูงเปรตหมู่หนึ่ง ใจร้ายอกุศล ๏ ขนเป็นหอกดาบ บาปฆ่าหมูขาย ๏ จะตกรก๑๘๒ แต่ละเส้นละหน ๏ ละทีๆ บาปตนราวี ๏ ยังมีเปรตหนึ่ง รูปนั้นพิกล ๏ ปืนนั้นยอกเข้า ทั้งตัวย่อมปืน ๏ เจ็บแสบปวดนัก แร้งกาจิกตน ๏ ปืนนั้นยอกปาก เลือดไหลออกมา ๏ เปรตหมู่หนึ่ง ใจร้ายอกุศล ๏ บาปคนยิงนก ขนเป็นปืนสิ้น ๏ ขนเข็มยอกปาก ปลายเส้นเข็มขน ๏ บาปมันส่อท่าน ให้เข้าเกาะกัน ๏ ขนเข็มยอก ยอกงอกออกมา ๑๘๒

ทนเวทนา เพียงจะสิ้นชนม์ เมื่ออยู่เป็นคน ย่อมฆ่าหมูขาย เพราะทําบาปบมิอาย เลี้ยงลูกเมียตน นับเท่าเส้นขน นับชาติแต่ละที ยิ่งก้าวพ้นปี ฆ่าหมูเลี้ยงตน ทั้งตัวย่อมขน ขนนั้นเป็นปืน๑๘๓ ทั้งตัวขวยขืน ยอกเข้าซอกซ้น ร้องครางอะดักอะดน๑๘๔ พาไปเวหา จมูกแลตา โซมทั่วทั้งตน เมื่อยังเป็นคน ย่อมยิงนกกิน ในโลกแดนดิน ยอกทั่วทั้งตน มากนักเหลือทน งอกออกท้องพลัน จะเอารางวัล เป็นอันยากนักหนา เข้าในต้นขา โดยแข้งแห่งตน

นรก “ปืน” โบราณใช้เรียก ศร หน้าไม้ หรือเกาทัณฑ์ ๑๘๔ น่าจะหมายถึง อึดอัดเต็มทน (เทียบ อะดักอะเดี้ย อะดักอะเดื่อ อะดักอะแด้ หมายถึง อึดอัดเต็มทน, คับแคบ ใจเต็มทน, เต็มแย่ (พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.๙๒๘) ) ๑๘๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓๓

๏ ยอกเข้าไปในแข้ง งอกทั่วเข็มขน ๏ แร้งกาปากเหล็ก ช่วงชิงกิน ๏ ยอกเข้าในท้อง ปลายเส้นเข็มขน ๏ อันเปรตหมู่หนึ่ง ยุยงลวงล่อ ๏ ขนเข็มพองแข็ง บาปมันยุยง ๏ เข็มแทงทั้งตน บาปใจอาธรรม์ ๏ ยังมีเปรตหนึ่ง มีอัณฑะใหญ่ ๏ เลื้อยลงจนดิน เปื่อยเน่าลามปาม ๏ เมื่อจะเดินไป พาแล่นระเสิดระสัง๑๘๖ ๏ ครั้นเมื่อจะนั่ง จึงฝืนขึ้นมา ๏ ครั้นเมื่อจะนั่ง จึงโขย่ง๑๘๘ ๏ จึงแบกขึ้นเล่า เหนื่อยนักโอ้เอ้ ๏ แร้งกานกกะกรุม พาบินด้วยแรง ๏ ร้องครางอิดๆ เจ็บปวดนักหนา ๑๘๕

ปวดนักเหลือทน อยู่ในฝ่าตีน ต่อสัตว์พาบิน จิกทึ้งเนื้อตน ปวดร้องครางรน ออกมาโดยคอ เป็นคนขี่ส่อ เป็นคนซ่อนทรง ทิมแทงปรุปรง ให้เข้าเกาะกัน ครางรนตัวสั่น เห็นแก่สินไหม ลําบากเหลือใจ เติบเท่าตุ่มหาม ดุจดังถุงย่าม เหม็นโขง๑๘๕พึงชัง แบกขึ้นบนหลัง เซไปเซมา มันคับหว่างขา นั่งทับมันลง ปวดนักโก้งโค้ง๑๘๗ ลุกขึ้นโอ้เอ้ พาแล่นโซเซ สิ้นถอยแรง จิกสับยื้อแย่ง ไปสู่เวหา ทนเวทนา เพียงจะสิ้นชนม์

หมายถึง กลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ทิ้งค้างไว้หลายวัน หมายถึง ซัดเซไป โซเซไป หนีซกุ ซ่อนไป (พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, ๒๕๓๙, น.๖๙๒) ๑๘๗ หมายถึง โก่งก้นให้โด่ง ๑๘๘ โขย่ง หรือ กระโหย่ง หมายถึง ทําให้สูงขึ้น ๑๘๖


๔๓๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ฝูงเปรตหมู่หนึ่ง เป็นนายครองพล ๏ ย่อมบังคับความ เป็นเจ้าบ้านเมือง ๏ ผู้ใดไร้ทรัพย์ ว่าความมิกรง ๏ เห็นแก่สินจ้าง แต่ปากแต่เสียง ๏ ผู้ใดให้ทรัพย์ บรรดาจะเสีย ๏ ผู้ใดเข็ญใจ ผิดชอบกดไว้ ๏ บมิถามตามโทษ บมิได้เบิกเผย ๏ บมิถามตามระบอบ คําเขาทั้งสอง ๏ ปฏิเสธพากเสร็จ บมิได้พิจารณา ๏ บมิเป็นกราชั่ง๑๙๐ บมิได้คิดดู ๏ บังคับบมิเป็น แบกเซไป ๏ บาปบังความ อัณฑะแห่งตน ๏ ปากเน่าคอเน่า บาปบังคับความ ๏ เป็นปุ่มปอ เป็นเหนียงเป็นไต

๑๘๙

ตรง ตราชั่ง ๑๙๑ ตราชู ๑๙๐

เมื่อยังเป็นคน เป็นเจ้าบ้านเมือง ให้เขาแค้นเคือง ว่าความบมิกรง๑๘๙ เร่งข่มมันลง เป็นคนลําเอียง ว่าความลําเอียง งุบงับดับเสีย คิดอ่านไกล่เกลี่ย ให้ได้สินไหม บมิให้วันใด บมิให้ถามเลย บมิถามตามจําเลย คําเขาทั้งสอง บมิถามตามลํานอง บมิได้นําพา บมิได้พิพากษา บมิได้คิดดู บมิเป็นกราชู๑๙๑ ตามนัย อัณฑะใหญ่ เจ็บปวดเหลือทน บมิเป็นกุศล เติบเท่าตุ่มหาม ลิ้นเน่าลามปาม เห็นแก่สินไหม เป็นคอพอกใหญ่ เป็นหูดเป็นฝี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓๕

๏ ยังมีเปรตหนึ่ง ทั้งตนย่อมฝี ๏ เล็บตีนเล็บมือ ฝีนั้นหัวกลาย ๏ หญิงนั้นจึงแกะ ทุกวันประนินทิน ๏ เร่งแกะฝีกิน เน่าเปื่อยบรู้หาย ๏ แร้งกานกกระกรุม พาบินขึ้นบน ๏ สับปากจมูก นกกะกรุมแร้งกา ๏ ร้องครางอิดๆ ตัวสั่นระท่าว๑๙๓ ๏ ตีนสั่นมือสั่น เจ็บปวดทั้งตัว ๏ หูเน่าปากเน่า จมูกดวงตา ๏ เปื่อยเน่าทั้งตน ทั้งตัวทรุดโทรม ๏ ยังหมู่หนึ่งฤๅ เขาอังเชิญไป ๏ มันลงผีเท็จ เป็นพ่อแม่สู ๏ กูนี้เผ่าพันธุ์ กูจะให้สูหาย ๏ สูเร่งบนหมู วัวควายตัวใหญ่ ๏ เอาเงินผูกคอ หมากพลูใส่พาน ๑๙๒ ๑๙๓

สาละวน น่าจะเป็น ระส่าย

เป็นหญิงอัปรีย์ เปื่อยเน่าระสาย เปื่อยเน่าบรู้หาย เหม็นอยู่อาจิณ เกล็ดฝีนั้นกิน ค่ําเช้าเพรางาย ฝีนั้นเร่งกลาย ฝีนั้นหัวเน่า จิกสับสลวน๑๙๒ ไปสู่เวหา จิกหูตอดตา ยื้อแย้งเรี่ยราย ดิ้นล้มดิ้นตาย สะท้านทั้งตัว ตามืดขุ่นมัว พ้นที่จะคณนา เหม็นโขงนักหนา เน่าเปื่อยทรุดโทรม บมิเป็นรูปโฉม เจ็บปวดเหลือใจ เมื่อชาติก่อนไกล ให้ทรงผีดู มันย่อมว่ากู ปู่ย่าตายาย แห่งสูทั้งหลาย สูอย่าร้อนใจ เหล้าข้าวเป็ดไก่ สูบรรจงพลัน หม้อข้าวอย่านาน เหล้าเข็นบนบานพลัน


๔๓๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ขวัญข้าวเนื้อปลา กูจึงจะวาง ๏ แสร้งลงผีเท็จ มันลวงล่อคน ๏ บาปๆ มดเท็จ เล็บตีนเน่าใน ๏ บาปๆ มดเท็จ ตาเน่ามืดมน ๏ บาปๆ มดเท็จ จมูกเป็นฝี ๏ บาปๆ มดเท็จ เลือดเน่าพุพอง ๏ บาปๆ มดเท็จ ทั้งตัวย่อมผี ๏ บาปๆ มดเท็จ กินเนื้อหนองเอง ๏ บาปๆ มดเท็จ กินเกล็ดฝีตน ๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตยืนนาน ๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตบมีดี ๏ บาปๆ มดเท็จ เน่าเปื่อยทั้งตัว ๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตฉกรรจ์ ๏ บาปๆ มดเท็จ ตัวสั่นระรัว ๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตตัวสั่น

๑๙๔

น่าจะเป็น ร่าย

มีหัวมีหาง ให้สูเป็นคน ใส่กระหม่อมไล่๑๙๔กล ให้เขาเชื่อใจ ให้ฆ่าเป็ดไก่ มือเน่าพิกล ตัวเปื่อยทั้งตน ปากเน่าเป็นผี ไหว้นบแก่ผี หูเน่าเป็นหนอง ทั้งตัวพุพอง เป็นหูดเป็นฝี ให้เขาดูดี แกะฝีกินเอง เชื่อมนต์ครื้นเครง กินหนองแห่งตน กล่าวเท็จให้ฉงน เป็นนิจกาล ลวงให้บนบาน ยิ่งกาลพันปี ให้เขาบนผี เปื่อยเน่าทั้งตัว ย่อมว่าเขากลัว เพราะตนอาธรรม์ ทําตีนมือสั่น เหม็นเน่าทั้งตัว ว่าให้เขากลัว ระเริ่มงกงัน ว่าเท็จผิดธรรม์ ยิ่งกว่าไฟลน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓๗

๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตปวดตน ๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตซอนทรง ๏ บาปๆ มดเท็จ เป็นเปรตบเสบย ๏ ผู้เชื่อแม่มด หัวเป็นหัวควาย ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัวคน ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัววัว ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัวทราย ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัวคน ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นเป็ดมัน ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัวคน ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นแร้งกา ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัวคน ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นแรดกวาง ๏ ผีเปรตว่าเท็จ ตัวเป็นตัวคน ๏ ผู้เชื่อแม่มด ตัวเป็นตัวควาย ๏ ผีเปรตว่าเท็จ ตัวเป็นตัวคน

ให้ขอบน ยิ่งกว่าแทงลง ว่าให้เขาหลง บมิพบพระเลย ไหว้ผีชมเชย เป็นอสุริกาย เอาบาปเป็นนาย ตัวเป็นตัวคน ทิฐิมงคล หัวเป็นหัววัว ย่อมว่าให้กลัว หัวเป็นหัวทราย ย่อมว่าถอยหาย หัวเป็นหัวคน ย่อมว่าบานบน หัวเป็นเป็ดมัน นอนมุดเอาขวัญ หัวเป็นหัวคน แล้วไหว้วอนบน หัวเป็นแร้วกา ย่อมเซ่นเหล้ายา หัวเป็นหัวคน ย่อมผูกเบี้ยบน หัวเป็นแรดกวาง ย่อมผีสาง หัวเป็นหัวคน กล่าวเท็จให้ฉงน หัวเป็นหัวควาย นับผีว่านาย หัวเป็นหัวคน กล่าวเท็จให้ฉงน หัวเป็นหัวเสือ


๔๓๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ ผีเปรตกล่าวเท็จ ตัวเป็นตัวเสือ ๏ อสุรกายโลกนี้ ฆ่ากันทุกวัน ๏ อสุรกาย เป็นนิจกาล ๏ ผู้โจทนา๑๙๕ เซ่นเหล้าแก่ผี ๏ จําเลยรู้แท้ ว่าผีนี้หนา ๏ ตายไปเป็นผี บาปเมื่อเป็นคน ๏ เป็นผีลําบาก ชื่อว่าเป็นผี ๏ แต่บาปนั้นแล้ว ฆ่าเป็ดฆ่าไก่ ๏ บรรดาบาปจะสิ้น ผู้เซ่นภายหลัง ๏ ทั้งว่าเซ่นเหล้า เหมือนเพิ่มบาปไป ๏ ผู้แม่มด ดุจภิปราย

ผู้ใดแลเชื่อ หลากหลายพรรณ ย่อมถ่อยเบียนกัน เป็นนิจกาล แต่เทียวอยู่ผลาญ มากกว่าพันปี ว่าเหตุดังนี้ ว่าบาปหนักหนา จึงแก้ปริศนา ปิ่มเป็นมงคล เพราะอกุศล ได้ขึ้นบัญชี ยากแสนทวี ลําบากเหลือใจ เร่งเซ่นส่ําไป ส่ําไปภายหลัง บาปนั้นกลับยัง เสมือนเพิ่มบาปไป บาปนักเหลือใจ ให้ผีทั้งหลาย เป็นอสุรกาย กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ฯฉันฯ

๏ เมื่อนั้น ว่ายังมี เปรตผู้หนึ่ง เห็นพึงกลัว ๏ ยมบาล เอาเชือกเหล็ก ร้อนกว่าร้อน มัดทั้งตน มีแต่ตัว ไม่มีหัว เปรตหัวด้วน เห็นพิกล ดิ้นระด่าว๑๙๖ ครางอดน๑๙๗ เขาเร่งคาด เร่งกรึงลง ๏ ยมบาล เอาเหล็กแหลม ร้อนเป็นไฟ กรึงมันลง ๏ เปรตนั้น ดิ้นเหลือทน บนปลายหอก ร้อนนักหนา เอาหอก ปักอกลง ชูขึ้นไป ๑๙๕

หมายถึง ทักท้วง หรือฟ้อง หมายถึง อาการที่ดิ้นสั่นรัวไปทั้งตัว หรือเร่าร้อน ๑๙๗ น่าจะหมายถึง อะดักอะดน คืออึดอัดเต็มทน ๑๙๖


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓๙

ในเวหา ถ้าจะนับ จะคณนา ยืนอยู่มาก กว่าพันปี ๏ เปรตหัวด้วน ปวดร้อนนัก เป็นอัปลักษณ์ ร้ายอัปรีย์ ๏ มีหัว อยู่ในท้อง ส่วนจมูก อยู่เบื้องบน ปากอยู่รูทวาร น่าบัดสี มีดวงตา อยู่อกตน มีรูปนั้น เป็นพิกล ทนลําบาก ยากนักหนา ๏ แร้งปาก กาปากเหล็ก นกกะกรุม รุมกันมา ๏ เปรตนั้น จะเป็นปิ่มเป็น ส่วนจะตาย ปิ่มตาย เดินเข้า สับจิกตา หูจมูก ขาดเรี่ยราย ทนลําบาก ยากเหลือหลาย ยืนอยู่มาก กว่าพันปี ๏ เปรตนั้น เมื่อเป็นคน อยู่แว่นแคว้น พระบุรี ๏ ชวนเพื่อนไป รุกรณ ปล้นเอาท้น แทงฆ่าฟัน ราชครึก๑๙๘ เมืองมีศรี ชายผู้นั้น ใจอาธรรม์ เป็นคน ใจฉกรรจ์ ชกตีเอา คนเดินทาง ๏ เล็งเห็น สิ่งสินเขา ลอบลักเอา บวายวาง ๏ ปล้นเอา สิ่งสินท่าน ให้เจ้าทรัพย์ กระจักกระจาย๑๙๙ บกลัว บเกรงขาม ลักช้างม้า แลวัวควาย บมิกลัว บละอาย ปล้นฟันตี เอาทรัพย์เขา ๏ บาปปล้นท่าน ให้เจ้าทรัพย์ เป็นทรพล ไร้อับเฉา ๏ บาปปล้นท่าน ให้เจ้าทรัพย์ แล่นหลีกไป ปรากซ่อนทรง ยมบาล เขาจึงเอา เชือกเหล็กแดง เร่งคาดลง เหล็กแหลม เร่งกรึงลง เพราะบาปตน แทงยิ่งเข้า ๏ บาปชกท่าน ชิงของท่าน ให้เจ้าทรัพย์ นั้นอับเฉา ๏ บาปปล้นท่าน ร้องกระหวาด๒๐๐ ให้เจ้าทรัพย์ ตกใจกลัว เป็นเปรต อยู่ตัวเปล่า มีแต่ตัว บมีหัว เป็นเปรต ไม่มีหัว มีแต่ตัว เห็นพิกล ๏ บาปปล้นท่าน ตีเอาท่าน ให้เจ้าทรัพย์ เป็นทรพล ๏ บาปรุกรน ปล้นของท่าน ให้เจ้าทรัพย์ เมินตาแล เป็นเปรต รูปพิกล มีดวงตา อยู่อกตน เปรตผู้ ปรวนแปร ปากกลับอยู่ รูทวารตน ๏ บาปรุกรน ปล้นเอาท่าน ให้เจ้าของ นั้นทรพล ๏ บาปช่วยชก ชิงของท่าน คุกคําราม อยู่ครื้นเครง บรรดาปาก จะอยู่บน กลับลงอยู่ รูทวารเอง เป็นเปรตอยู่วังเวง มีหัวอยู่ ในท้องตน ๏ บาปปล้นท่าน ตีเอาท่าน ให้เจ้าของ ตกใจฉงน ๏ ตาขาด จมูกแหก หัวด้วนแฉก แตกเรี่ยราย บรรดาจมูก จะอยู่บน รูปทั้งนั้น ก็เคลื่อนหาย ร้องอิดๆ ร้องครางตาย บาปปล้นท่าน มาถึงตน ๚ เชิด ๚๛

๑๙๘

น่าจะหมายถึง ราชคฤห์ กระจัดกระจาย ๒๐๐ ตวาด ๑๙๙


๔๔๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๏ เมื่อนั้นบัน๒๐๑เปรตอสุรกาย ต่างๆ ก็มือไหว้สมเด็จพระไลย ๏ ตูข้าลําบากเหลือใจ จงนําเอาคดีนี้ไปบอกแต่ญาติกา ๏ ขอพระบอกจงหนักจงหนา ให้ฝูงญาติกาเร่งกระทําบุญ ๏ ให้จําเริญพระพุทธคุณ มาเถิงตูข้าอย่านาน ๏ ให้ญาติกาให้ทาน จําศีลสร้างพระแล้วภาวนา ๏ เราจะได้อนุโมทนา ตูข้าจะรับเอาทันใจ

๒๐๑

น่าจะเป็น บรรดา

นรกทั้งหลาย ขอพระเถรมาไลย ขอพระกรุณา อุทิศส่วนบุญ ให้เร่งบันดาล อุทิศส่วนกุศลมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๔๑

หมวดพงศาวดารและประวัติศาสตร์


๔๔๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๔๓

กฏหมายหลักไชย ฉบับวัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

เขมฤทัย บุญวรรณ ๒๐๒

บทนํา หลักไชยเป็นหลักกฎหมายที่สําคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา และอาจปรากฏร่วมสมัยกับกฎหมายตราสาม ดวงก็เป็นได้ หลักไชยนี้มีไว้เพื่อใช้พิจารณาคดีความต่าง ๆ ให้มีความยุติธรรม จากการสํารวจเอกสารพบว่าใน วรรณคดีในสมั ยรั ตนโกสิ น ทร์ ตอนต้น บางเรื่ อง๒๐๓มี การกล่ าวถึ งหลั กไชยและในแบบเรีย นภาษาไทยตํา รา แบบเรียนปถม กกา หัดอ่าน หน้า ๙๐ ได้กล่าวถึงหลักไชยไว้ว่า “แม้เปนเสมียน เร่งขีดเร่งเขียน เรียนกฎเรียนหมาย กรมศักดิ์หลักไชย ให้รู้มากมาย รู้บาทรู้หมาย ตกแต่งบัตรา จงรู้ถี่ถ้วน รู้ทั้งสํานวน ควรพิจารณา รู้คัดข้อถาม ความแพ่งอาญา รู้การปฤกษา เทียบชี้สํานวน...” นอกจากนี้ในอักขราภิธานศรับท์ ของ หมอบรัดเลย์ หน้า ๖๒๐ ได้อธิบายความหมายหลักไชยไว้ว่า “หลักไชย, เปนชื่อกฎหมายเรื่องหนึ่งนั้น.” เมื่อเป็นเช่นนี้หลักไชยจึงนับได้ว่ามีความที่สําคัญในสมัยนั้น หลักไชยได้มีการเผยแพร่และบันทึกไว้ในแต่ละท้องถิ่นด้วยเช่นกัน นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าหลักไชยเป็น กฎหมายที่สําคัญฉบับหนึ่ง และจากการสํารวจฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในเบื้องต้นพบว่า หลักไชยได้ บันทึกไว้ในท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ภาคตะวันตก ๑ เล่ม ภาคตะวันออก ๑ เล่ม ภาคใต้ ๑๒ เล่ม ภาคกลาง ๑ เล่ม แล้วยังมีบางส่วนที่เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ อีกทั้งหลักไชยที่กําธร เลี้ยงสัจธรรมได้ปริวรรตและจัดพิมพ์ เผยแพร่ขึ้นอีกหนึ่งเล่มด้วย และจากการสํารวจครั้งนี้ทําให้เห็นว่ากฎหมายหลักไชยพบมากในท้องถิ่นใต้จึงอาจ กล่าวได้ว่าหลักไชยนั้นเป็นกฎหมายที่สําคัญฉบับหนึ่งในภาคใต้ เพราะได้มีการบันทึกไว้หลายสํานวนแล้วยัง บันทึกเป็นภาษาถิ่นใต้อีกด้วย ส่วนหลักไชยสํานวนวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี ที่พบนี้เป็นอีกสํานวนหนึ่งที่แสดงถึงความสําคัญของ กฎหมายที่ มีการเผยแพร่และได้ แพร่ กระจายไปยั งท้องถิ่นต่ าง ๆ เพื่อเป็น หลักดําเนินการในกระบวนการ ยุติธรรมในท้องถิ่นหรือในสังคมนั้น ๆ

๒๐๒ ๒๐๓

อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กําธร เลี้ยงสัจธรรม,หน้า ๗.


๔๔๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ลักษณะเนื้อหาและเนื้อหาโดยสังเขป ลักษณะเนื้อหา หลักไชยสํานวนวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี บันทึกในสมุดไทย มีความยาว ๙๒ หน้าสมุดไทย มีสภาพค่อนข้างชํารุด จึงทําให้มีเนื้อความไม่สมบูรณ์และไม่ต่อเนื่องนัก อีกทั้งไม่ได้ระบุปีและระบุผู้ที่บันทึกไว้ เนื้ อ หาในหลั กไชยสํ า นวนนี้ แ บ่ งออกเป็ น สองส่ ว นสํ า คั ญ กล่ า วคื อ ส่ ว นที่ ห นึ่ งเป็ น หลั กไชย มี เ นื้ อหาและ รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ วิ ธี การพิ จ ารณาความหรื อข้ อ กฎหมายซึ่ งเป็ น วิ ธี ทางกระบวนการยุ ติ ธ รรม โดยแบ่ ง เนื้อความกฎหมายเป็นกระทงและแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็นอย่างชัดเจน และอีกส่วนหนึ่งเป็นบทพระอัยการ และ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งส่วนนี้อยู่ในกฎหมายตราสามดวง มีการแบ่งเนื้อความกฎหมายเป็นมาตรา อย่างชัดเจนเช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าหลักไชยสํานวนวัด.พิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการบันทึกหลักไชยส่วน หนึ่งและเป็นการรวบรวมบันทึกกฎหมายหลักที่จําเป็นเพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในการพิจารณาคดีความในท้องถิ่นอีก ส่วนหนึ่ง -

เนื้อหาโดยสังเขป เนื้อหาหลักไชยสํานวนนี้มีข้อกฎหมายหลายส่วนประกอบกันทั้งที่เป็นข้อกฎหมายหลักไชยและ กฎหมายที่เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง ซึ่งประกอบด้วยข้อกฎหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๑. กระทงความแก่ กั น ๙ กระทง เป็ น ข้ อ พิ พ าทระหว่ า งคู่ ก รณี ใ นเรื่ อ งต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ การเหยี ย บแตง การเรี ย กเอาเงิ น ไพร่ ภู ด าด ๒๐๔ฉ้ อ ราษฎร์ การขอผู้ ห ญิ ง มาเป็ น ลู ก แล้ ว ผู้ ห ญิ ง ท้ อ ง การยืมเรือไปส่ง การติดใจในหนังสือฟ้อง การเอาจอบฟันคันนารุ้ง๒๐๕ การตัดไม้ล้มไปทับหลังคาเรือน และการไปยุ่งกับภรรยาของผู้อื่นขณะที่สามีไม่อยู่ ๒. การฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ จํานวน ๑๘ มาตรา ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง โดยใน กฎหมายตราสามดวงมี ๑๙ มาตรา แต่ในหลักไชยสํานวนนี้มี ๑๘ มาตราและมีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ๓. วิธีการการพิจารณาพยานและพิสูจน์ข้อเท็จจริง ได้แก่ กรณีฝากทอง กรณีพายเรือชนกัน กรณีโคชนคนเสียชีวิต กรณีเมียน้อยและเมียหลวงที่ขอลูกมาเลี้ยง กรณีพนันกันเรื่องต้นตาล กรณีหนังสือ ประกัน ๔. พระชินสีห์ตั้งอํามาตย์ทั้ง ๘ คน ให้หาความแก่กัน ได้แก่ คนหนึ่งคางคกปากบ่อ คนหนึ่ง ถ่อเรื อหาความ คนชื่ อนามระรั ว คนหนึ่ งชื่ อว่ าหอมสิน ไวกลั ว เอาทรั พย์ คนหนึ่ งรู้ความ คนหนึ่ งชื่ อ เต่าพุดสดดะเบาะคน คนหนึ่งชื่อว่าทางสะเมาะ มีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ๕. คดี ต ามบทพระอั ย การ ซึ่ ง มี อ ยู่ ใ นกฎหมายตราสามดวง ได้ แ ก่ หนั ง สื อ นั ด การหนี จ าก กระลาการ การทําเลขยันต์ ในส่วนนี้มีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ -

๒๐๔ ๒๐๕

เสมียน รุ้ง แปลว่า กว้างโค้ง, โค้ง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๔๕

๖. คดีความในพระราชกฤษฎีกาและบทพระอัยการ ๕ มาตรา ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง ๗. ลักษณะสักขีหรือตัดพยาน ในคัมภีร์พระสรรพศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และมี การระบุมีศุภมัศดุที่ชัดเจน ในส่วนนี้มีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ๘. ลักษณะโจทก์หรือคดีตัดฟ้อง ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ บทพระอัยการต้องห้าม ๒๐ ประการ ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และมีการระบุมีศุภมัศดุที่ชัดเจน ๙. ลักษณะตัดฟ้อง ตัด สํานวน ในคั มภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง ในส่วนนี้มีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ๑๐. หลั ก ความ ๕ ประการ ได้ แ ก่ ความอั น หนึ่ ง ดั งกระแสน้ํ าไหล ความอั น หนึ่ งดั ง กบเต้ น ความอันหนึ่งดังชายกระตุก ความอันหนึ่งราชสิงหดําเนิน ความอันหนึ่งเม็ดงาเม็ดข้าวสารหักปรากฏกันอยู่ ๑๑. กฎฝ่ายพยาน ๓ ประการ ๑๒. การพิพากษาสองสถาน มีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ สํานวนภาษา หลักไชยสํานวนวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรีมีการบันทึกโดยใช้ถ้อยคําตรงไปตรงมา ชัดเจน และสั้น กระชับได้ใจความสมบูรณ์ จากเนื้อหาสาระของกฎหมายที่บันทึกมีลักษณะสํานวนภาษา ดังนี้ การเริ่มต้นของเนื้อหา การเริ่มต้นของเนื้อความของกฎหมายเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเหตุของการมีหลักความหลักไชย โดยเริ่มว่า “ศุภมัสดุ๒๐๖ พระพุทธิเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการ ให้ทิศาปาโมกข์๒๐๗ ให้แต่งเป็นกรมกษัตริย์ และ พระอัยการ พระธรรมนูญไว้ สําหรับแผ่นดินมานาน….” แสดงให้เห็นว่าหลักที่ใช้นี้พระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นผู้มี พระราชโองการให้นํามาเป็นหลักใช้ปฏิบัติและเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั้งหลาย การเริ่มต้นเนื้อความนี้ ไม่ได้ระบุปีว่าบันทึกหรือประกาศใช้เมื่อใด ในส่วนเริ่มต้นนี้ได้มีการใช้ความเปรียบ เพื่อให้เห็นว่าบุคคลที่ใช้หลักนี้เป็นบุคคลกลุ่มใด และเป็น ประโยชน์แก่ผู้มีปัญญาน้อย ความว่า -

“...ตระกลาการประดุจหนึ่งกา ลูกความประดุจหนึ่งอาหาร อันร้อนอันเย็น แลทิศา ปาโมกข์ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต จึงแต่งกระทงความ หากันแก่กันไว้ เป็นลักษณะความเป็น นามหลักไว้ใช้ เพื่อจะให้เป็นประโยชน์ปัจจัยแก่กุลบุตรผู้มีปัญญาน้อย...”

๒๐๖ ๒๐๗

เป็นคําใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความทีส่ ําคัญ อาจารย์ผมู้ ีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง


๔๔๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

นอกจากนี้ยังได้บอกถึงประโยชน์ถึงการพบหรือใช้หลักไชยว่าจะทําให้เป็นผู้มีปัญญาที่ประเสริฐ เปรียบประดุจเป็นโคมแก้ว มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและเจริญรุ่งเรือง แล้วยังเป็นที่พึ่งแก่ผู้ที่มีปัญญา น้อยด้วย ความว่า “ถ้าผู้ใดพบหลักความ นามหลักไชยนี้ ผู้นั้นจะบังเกิดมีปัญญาเป็นประเสริฐ สว่างรุ่งเรือง ประดุจหนึ่งโคมแก้ว ถ้าแลลูกไพร่จะได้เป็นพระเป็นหลวง ถ้าแลยาจกจะได้เป็นหมื่นดาบทอง ถ้าเป็นกรมการจะได้เป็นผู้รั้งเมืองครองเมือง มาตรว่าตกไปสักการะที่ใด ๆ ก็ดีจะเป็นที่พึ่งแก่ สัตว์ผู้มีปัญญาอันน้อย...” เนื้อความกฎหมาย เนื้อความมีการลําดับเนื้อหา ใช้คําที่สั้น ตรงไปตรงมา อธิบายเข้าใจง่ายและ ชัดเจน นอกจากนี้มีวงคําศัพท์ที่ใช้ในกฎหมาย เช่น พิพากษา เป็นสัจ สังกิจทิพยาน สุภากระลาการ หมอ ความ สํานวน โจทก์ จําเลย หนังสือประกัน พยาน กระทง พิสูจน์ ฟ้อง แพ้ รับกัน กดหมาย ให้การ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าคําศัพท์เหล่านี้เป็นคําศัพท์ที่ใช้เฉพาะกฎหมาย เพราะเป็นคําศัพท์ที่อยู่ในกลุ่ม ความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้านเนื้อความกฎหมายในที่นี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วนตามเนื้อหาที่ปรากฏในหลักไชยสํานวนนี้ กล่าวคือ ส่วนที่เป็นเนื้อหาของหลักไชยและส่วนที่มีเนื้อหาที่มีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง ดังนี้ ส่วนที่เป็นเนื้อหาของหลักไชยนั้นมีเนื้อความเป็นการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาสื่อความ ตรงไปตรงมา ค่อนข้างเป็นเรื่องใกล้ตัวหรือพบเห็นวิถีชาวบ้าน ใช้วิธีการอธิบายโดยมีการระบุชื่อบุคคลที่ชัดเจน ว่าในการพิจารณาคดีความนั้น ๆ ใครมีกรณีพิพาทกับใคร และเกิดเหตุการณ์หรือข้อพิพาทใด ตัวอย่าง กระทง ความแก่กัน ๙ กระทง เช่น นายจันเดินเหยียบแตงนายมี ขุนแสงหาว่าขุนเดโชยืมเรือไป หมื่นแก้วหาว่า นายจิดตัดไม้ล้มทับหลังคาเรือน นายจงฟ้องหมื่นยศศรีราชเรื่องเอาเงินไพร่ เป็นต้น การระบุว่าชื่อบุคคลทําให้ ทราบว่ าใครพิ พาทกั บใครและพิ พาทกั น เรื่ องใด ซึ่ ง มี ลํ า ดั บ การอธิ บ ายว่ าใครพิ พาทกั บใคร เรื่ อ งใด และ พิจารณาหรือชี้ขาดเช่นใด การอธิบายเช่นนี้ทําให้ได้รายละเอียดและเข้าใจเนื้อความของกฎหมายได้ชัดเจน ถูกต้อง เช่น นายจงฟ้องหมื่นยศศรีราช เรื่องเอาเงินแก่ไพร่ พิพากษาว่านายจงแพ้ ตัวอย่าง -

“คู่หนึ่งหากันว่าดังนี้ตามจริงโดยอรรถทิศาปาโมกข์ ไพร่เข้างานเดือนอยู่มิได้ จริงจาก หมื่นยศศรีราชเรียกเอาเงินแก่ไพร่ว่าขาด เมื่อพิพากษา โจทก์ สถานท่านผู้พิพากษา ๆ จํ า เลย จริง ว่าซึ่ง โจทก์หาจําเลยรับกันในสํานวนนั้นพอฟังได้ขอโจทก์มิรับเอาคํามิรับไปสอบ ครั้นพิสูจน์ต่อกันนั้น โจทก์ ก็ชอบให้ยกไว้ก่อน ข้อหาโจทก์จําเลยรับ เอาคํามิรับเป็นสอบ อ้างสังกิจทิพ จําเลย ยานนั้นก็ โจทก์ จําเลย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๔๗

ชอบ ให้นําสุภากระลาการไปเชิญตาม ขออ้างเมื่อพิพากษาขาดว่าข้อซึ่งนายจงฟ้อง กล่าวโทษหมื่นศรีราช ท่านผู้พิพากษาให้ฟังเอาคําพิพากษา ๆ สถานซึ่งกระลาการ พิพากษาไว้ แก่ ก่อนนั้น เป็นพิพากษาขาดใด เห็นว่านายจงแพ้แลจนในสํานวน ก็ชอบให้แต่งระวางไปปรับ โทษนายจงจะเป็นประการใด ๚” นอกจากนี้แต่ละกระทงนั้นยังมีวิธีการกล่าวทีละกระทงอย่างชัดเจน มีการใช้ข้อความเริ่มต้นใน แต่ละกระทงเพื่อเน้นย้ําว่าเป็นการกล่าวถึงกระทงความแก่กัน คือ “โดยอรรถทิศาปาโมกข์” การอ้างข้อความ เช่นนี้ทําให้มีความน่าเชื่อถือ ส่วนตอนท้ายของแต่ละกระทงเมื่อมีการตัดสินคดีความแล้วจะลงท้ายด้วยข้อความ ที่ว่า “จะเป็นประการใด” เช่น “กระทงหนึ่งหากันโดยอรรถทิศาปาโมกข์ นายใจหานายสาว่าทํานาเคียงไร่กลัว แลนายสา เอาจอบฟันคันนารุ้ง ให้เป็นคุ้งเข้ามา ถึงเนื้อนา ฯข้า.... เห็นว่านายสาอยู่ระวางอุงรุ้งนั้น เห็น เท็จสับปลับข้างนายสายอยู่นั้น ก็ชอบให้ระวางไปปรับฝ่าโจทก์ ย จะเป็นประการใด” จําเลย “กระทงหนึ่งหากันโดยอรรถทิศาปาโมกข์ ขุนแสงหาขุนเดโช ว่ายืมเรือมีที่ไป เมื่อ จริง ขุนเดโช ไปเอาเรือมาส่ง เดโช จริง

ขุนเดโชเอา...ถ้าเป็นคนปัญญาน้อย ก็จะแพ้ขุนแสง ๆคิดแต่จะให้ขุน

ปรับไหมทําขวัญเรือ ก็ชอบให้ระวางไปปรับ ว่าขุนแสงฟ้องหากล่าวโทษ ขุนเดโชมิเป็นสัจนั้น โทษขุนแสง นั้นจะเป็นประการใด” ส่วนวิธีการการพิจารณาพยานและพิสูจน์ข้อเท็จจริง แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ตัดสินและพิจารณานั้นคือ พระเจ้าอยู่หัว นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้มีอํานาจในการตัดสินชี้ขาดในการพิจารณาส่วนนี้คือใคร ตัวอย่าง “... ฯข้าฯ ถามช่างเลื่อยทั้งสองคนรับว่าฝากกะจีนไว้ ทองด้วยหามิได้ โจทก์รับจริงแล พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าความจริงของเจ้าทอง จึงเอาช่างเลื่อยมาแยกถามกันดู...” “ว่ากระทาชายสองคน พายเรือชนกัน กลางน้ําเรือแตกทั้ง ๒ ข้าง แตกแตกเท่ากัน คน นั้นก็เท่ากัน ให้พิจารณาเอาเป็นแพ้ข้างหนึ่ง ๚ กระทาชายสองคน มารดาเป็นไข้ทั้งสองจะ


๔๔๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ปรับค่าเผาผีแก่ไพล พระเจ้าอยู่หัวจึงพิจารณา เห็นว่าปีเดือนข้างหนึ่งนั้นร้าย จึงชนชายคน หนึ่งเข้าให้เอาค่าเผาผีแก่ชายเคราะห์...” วิธีการการพิจารณาพยานและพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ไม่มีการระบุชื่อเช่นเดียวกับกระทงความแก่กัน แต่จะใช้สรรพนามว่า ฯข้าฯ ซึ่งการใช้คําเรียกเช่นนี้คล้ายเป็นการบอกเล่าที่เข้าใจได้ง่ายและอาจเป็นทําให้ เข้าใจวิธีการปฏิบัติได้กระจ่าง เนื้อหาในส่วนนี้จึงเสมือนเป็นการนําเรื่องที่เกิดขึ้นมาบันทึกไว้ว่าเกิดเรื่องใด และ มีวิธีดําเนินการพิจารณาความอย่างไร ตัวอย่าง “หาว่าชายคนหนึ่งมาลวงเรือน ฯข้าฯ จับได้มีผู้รู้เห็นถามชายนั้น ๆ มิรับจึงพิสูจน์ต่อกัน แลชายเจ้าทรัพย์นั้นแพ้แก่ผู้ร้าย จึงให้พิจารณาหาความจริงคืน จึงให้พิสูจน์ใหม่ ผู้ร้ายแพ้แก่ เจ้าทรัพย์ ฯ ด้วยหาผิดลวงเอาสิ่งของ หาว่าลวงเรือนจริงมิรับ ถามจําเลย ๆ ให้การว่าหาความ ฯข้าฯ หาเท็จไม่ถ้าฟ้องเคลือบแฝง ดังนี้อย่าให้กระลาการรับเอาว่า ถ้าฟ้องอิงแอบอยู่แลให้ การเคลือบแฝงอยู่ ก็ให้เอาเป็นแพ้ในสํานวน” ๑ “ฯข้าฯ ซื้อขนมจีนห่อหนึ่ง ฯข้าฯ ยังมิได้กิน ฯข้าฯลงอาบน้ํา ฯข้าฯ เอาแหวนหนัก ใส่ไว้ในห่อขนมจีน ฯข้าฯจึงฝากไว้แก่ช่างเลื่อยจึงลงอาบน้ํา แลช่างเลื่อยเห็นจึงเอาทอง ฯข้าฯ ถามช่างเลื่อยทั้งสองคนรับว่าฝากกะจีนไว้ ทองด้วยหามิได้ ...” ส่วนที่มีเนื้อหาที่มีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง เนื้อหาในส่วนนี้มีการลําดับเนื้อความที่เป็นมาตราชัดเจน ใช้คําว่า “มาตรา” จึงทําให้แยกว่าเนื้อหาในแต่ละตอนนั้นมีบทบัญญัติจํานวนเท่าใด เช่น ๒ มาตราหนึ่ง ผู้มีคดีทําหนังสือฟ้องร้องแก่ขุนการ ในลักษณะหนังสือร้องนั้นมีชื่อ โจทก์เขาชื่อร้องฟ้องหลายคนให้ขุนการ เรียกเขาผู้เขาชื่อมาถาม ถ้ารับว่าเขาชื่อร้องฟ้องจึง จริงให้ชุนการเขียนโฉนดฎีกา ตราสารไปให้ส่งผู้มี คดีออกมาพิจารณา ถ้าถามผู้เขาชื่อร้อง ฟ้องมิรับมิได้ เขาชื่อร้องฟ้องท่านพึ่งให้พิจารณา ถ้าคดีเขารวมกัน เขาให้ความให้คนหนึ่ง ว่าแผนมันผู้ว่า ชน ๓ เขานั้นชนด้วย ถ้าผู้ว่าแพ้เขาทั้งนั้นก็แพ้ด้วย มาตราหนึ่ง ผู้ชักนําภัยฆ่าชื่อช้างม้าวัว ควาย ชักนํากู้หนี้ถือสินชักนําเขามาถามลูกเมีย แลชักซื้อชักขายสารพัดทั้งปวงถ้า ช้างม้าโค กระบือแลทาสลูกหนี้ หนีหายผัวเมียเกิดวิวาทประการใด อย่าให้ว่าแก่ผู้ชักนํานั้นเลย เพราะ ให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๔๙

สํานวนภาษาในส่วนนี้เป็นมีความทางการ และไม่มีการอธิบายรายละเอียดเพียงแต่บอกว่าแต่ละมาตรา มีบทบัญญัติว่าสําคัญอย่างไร ไม่ได้มีการพิจารณาความหรือคู่กรณีให้เห็นชัดเจน มีเพียงเนื้อความของกฎหมาย ที่จําเป็นหรือสําคัญที่ให้ผู้ใช้กฎหมายทราบเท่านั้น เพราะเป็นบทบัญญัติที่มาจาก คัมภีร์พระสรรพ ศาสตร์ และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ก็เป็นได้ ซึ่งได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ามาจากคัมภีร์ใด พร้อมทั้งระบุมีศุภมัสดุ จึงทําให้ทราบว่าบัญญัติช่วงใด เช่น ๑๙ “ มาตราหนึ่ง ใน นครบาลว่าเป็นโจทก์ก็ดีหาว่า สับฟันฆ่าตีท่านตายก็ดี แลผู้ หนึ่งหาในอาญานั้นผู้เดียว นั้นว่ากรรโชกริบเอา รูปพรรณสิ่งสิน ท่านถ้านี้กําลังให้ ด้วยอยู่ใน นครบาล ให้แต่งทนายต่างตัวแต่ในอาญา ถ้าหาทนายต่างตัวนี้ได้ ให้เรียกทรัพย์นั้นไว้ใน อาญา ฯ ให้มันแก่ในนครบาล ถ้านั้นแก้ใน นครบาลนั้นฉิบหาย จึงให้ส่งทรัพย์นั้นแก่โจทก์ ..” ๑ มาตราหนึ่ง มีผู้ร้องฟ้องกล่าวโทษมีผู้มาบอกเล่า ว่าชายทําชู้ด้วยภรรยาแลมี ผู้ทําร้ายแก่ตัว วิญญาณ ทรัพย์ด้วยประการใดก็ดี มิได้เห็นแก่จัดดู แลมีแต่ผู้บอก เล่า ท่านว่าให้ อวิญญาณ เรียกหาเอาตัวผู้เล่านั้นมาถามก่อน ถ้าผู้บอกเล่ารับสมฟ้องจึงให้เอาตัวต้องพิพาทมาพิจารณา ...” “ที นี้ จั ก กล่ า วในลั ก ษณะโจทก์ เฉกคดี ตั ด ฟ้ อ ง จั ด เป็ น มู ล คดี ใ นคั ม ภี ร์ พระ ธรรมศาสตร์ มี พ ระบาฬี ดั ง นี้ ....ที นี้ จ ะสํ า แดงสาขดี อ ธิ บ าย จากมู ล คดี มี ม าตรา โดย พระราชบัญญัติเป็นอันมาก สืบ ๆ กันมาดังนี้ ศุภมัสดุ ๑๕๙๑ ศก สังวัจชรเชฐมาเสศุกข ปั ก เขเอกาทศรี อ าติ ต ยวารพระบาทสม เด็ จ เอกทธรวี ส อนบรมนาถบรมบพิ ต รพระพุ ท ธิ เจ้าอยู่หัว ศรีองค์สมเด็จพระนารายณ์เป็น เจ้าผู้ทรงทศพิธราชธรรม อันมหาประเสริฐเสร็จ ในพระที่นั่ง....”


๔๕๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

นอกจากนี้บทบัญญัติต่างๆ เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับสังคมส่วนใหญ่โดยภาพรวมสังเกตได้จากใช้คํา ว่า “ทวยราษฎร” ไม่ใช่ระบุเฉพาะบุคคลหรือกรณีของผู้ใดผู้หนึ่ง เช่น ๑๖ มาตราหนึ่ง ทวยราษฎรกล่าวหาพิพาทกัน ด้วยทรัพย์สิ่งของสิ่งใดพิจารณายังมิ เสร็จแลโจทก์จําเลย เอาทรัพย์สิ่งของซึ่งมิได้กล่าวหา ไปกระการใดอีกเล่า ท่านว่าเป็นคดี เพิ่มเติมให้รับไว้บังคับบัญชา การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ดังนี้ - เครื่องหมายฟองมันหรือตาไก่ เพื่อเริ่มต้นเนื้อความใหม่หรือขึ้นข้อความใหม่ เช่น “ มาตราหนึ่ง ทาสลูกหนี้ส่งเงินแก่เจ้าหนี้ ถ้าเจ้าเงินเจ้าหนี้มิรับ ๓ ลาให้ร้องฟ้องประทับ ส่งให้เจ้า กระทรวงแพ่งปรับสบถ้าเจ้าเงิน รู้เนื้อความแล้วถ้าติดใจว่าประการใด ๆ ให้ออกมาว่ากล่าวในเวียงกําหนดสาม วัน นอกเวียง ๗ วัน...” - เครื่ องหมายอังคั่นคู่ “๚” เพื่อบอกการจบเนื้อความใหม่ เช่น “ผู้เสนาธิบดี พิจารณาแล ประกอบไปตามปรีชา จงให้เห็นผิดแลชอบทั้ง ๕ ประการดังท่านกล่าวไว้ ๚” - เครื่องหมายไม้ยมก “ๆ” ซ้ําคําที่ทําหน้าที่คนละหน้าที่กัน เช่น “ท่านผู้พิพากษา ๆ นายเถ ดฟ้องหากล่า วโทษ หมื่น จงษรยุ ดมิจ ริง เอาเท็จสั บปลั บมากล่ าวหาหมื่ นจงษรยุด ๆ ให้การนายเถดรั บใน คําให้การหมื่นจงษรยุด” อ่านว่า ท่านผู้พิพากษา พิพากษานายเถดฟ้องหากล่าวโทษ..... อ่านว่า ...เอาเท็จสับปลับมากล่าวหาหมื่นจงษรยุด หมื่นจงษรยุดให้การนายเถดรับในคําให้การ หมื่นจงษรยุด เนื้อความในหลักไชยสํานวนนี้ มีสํานวนภาษาสองลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ ลักษณะที่อธิบาย รายละเอียดคล้ายเป็นการเล่าเรื่องและบันทึกการพิจารณาความที่เกิดขึ้นในสังคม ณ ขณะนั้นและลักษณะที่ เป็นทางการที่ระบุชัดเจนว่ามีข้อกําหนดหรือบทบัญญัติในแต่ละบทชัดเจนที่สั้น กระชับและได้ใจความ ประโยชน์และคุณค่า หลักไชยสํานวนนี้แม้ว่าไม่ได้ระบุปีที่ชัดเจน แต่เป็นเอกสารที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อสังคม เพราะเป็นหลักฐานที่บันทึกถึงเหตุการณ์ในสังคม ณ ขณะนั้นว่ามีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างไร นับได้ว่า หลักไชยเป็นกฎหมายที่สําคัญฉบับหนึ่งที่มีการกล่าวถึงการตัดสินคดีความต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม อีก ทั้งยังเป็นหลักความในการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีกรณีที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการพิจารณา ที่ยุติธรรม ซึ่งการพิจารณาความนั้นมีการตรวจสอบหลักฐาน รวมถึงการสืบพยานอันเป็นประโยชน์ต่อการ พิจารณาคดี โดยไม่คํานึงว่าบุคคลผู้นั้นจะมียศถาบรรดาศักดิ์หรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้การพิจารณาคดีความ ต่างๆ ที่ปรากฏในหลักไชยนี้ควรนําไปเป็นแบบหลักปฏิบัติในการพิจารณาคดีเพื่อให้เกิดความยุติธรรม และเป็น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕๑

ข้อบังคับที่ทุกคนควรปฏิบัติในกระบวนการทางยุติธรรม อนึ่งหลักไชยยังมีประโยชน์ต่อสําหรับบุคคลทั้งหลาย ที่รู้ เพราะจะมีความเจริญก้าวหน้าและบังเกิดปัญญาอันประเสริฐ นั่นแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของกฎหมาย ฉบับนี้ จึงกล่าวได้ว่าหลักไชยสํานวนนี้ช่วยให้ได้เรียนรู้สังคมและให้ความรู้รวมถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ทั้ง ด้านประวัติศาสตร์ ภาษา และกฎหมายอีกด้วย


๔๕๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

บรรณานุกรม กรมศิลปากร ประถมก กา ปถมกกาหัดอ่าน ปฐมมาลา อักษรนิติ แบบเรียนหนังสือไทย. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๓ กําธร เลี้ยงสัจธรรม . หลักไชย : ตํารากฎหมายครั้งกรุงศรีอยุธยา.กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖ ชวน เพชรแก้ว . วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ๒๕๔๘.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕๓

กฏหมายหลักไชย ฉบับวัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ๑ ศุภมัศดุ พระพุทธิเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการ ให้ทิศาปาโมกข์ ให้แต่งเป็นกรมกษัตริย์ และพระอัยการ พระธรรมนูญไว้ สําหรับแผ่นดินมานาน แลทิศาปาโมกข์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต พร้อมกันว่าบุคคล ในแผ่นดิน แต่นี้สืบไปแลนา จะมีปัญญาเป็นอันพาล จะว่าราชการก็ดี จะพิจารณาเนื้อความก็ดี จะมีปัญญาอันน้อย จะ แก้ไขมิสิ้นข้อ ให้แจ้งแอบแฝงเห็นประท้วงติง แลตระ ๒ ลาการประดุจหนึ่งกา ลูกความประดุจหนึ่งอาหาร อันร้อนอันเย็น แลทิศาปาโมกข์ให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิต จึง แต่งกระทงความ หากันแก้กันไว้ เป็นลักษณะความเป็นนามหลักไว้ใช้ เพื่อจะให้เป็นประโยชน์ปัจจัย แก่กุลบุตร ผู้มีปัญญาน้อย ถ้าผู้ใดพบหลักความ นามหลักไชยนี้ ผู้นั้นจะบังเกิดมีปัญญาเป็นประเสริฐ สว่างรุ่งเรืองประดุจ หนึ่งโคมแก้ว ถ้าแลลูกไพร่จะได้เป็นพระเป็นหลวง ถ้าแลยาจกจะได้เป็น ๓ หมื่นดาบทอง ถ้าเป็นกรมการจะได้เป็นผู้รั้งเมืองครองเมือง มาตรว่าตกไปสการะที่ใด ๆ ก็ดีจะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ ผู้มีปัญญาอันน้อย ถ้าบุคคลผู้ใดๆ พบหลักความนามหลักไชยนี้ ทิศาปาโมกข์ทั้งเก้า ทิศาปาโมกข์จะเข้าสิงสู่ผู้ นั้นๆ จะมีปัญญาอันประเสริฐดียิ่งขึ้นไป แลบุคคลจะมีเสมอเหมือนนั้นหามิได้ ถ้าเป็นขุนโรงศาล ลูกความมิได้ ขาดศาล ถ้าเป็นนายความสินบนมิรู้ขาดเลย ถ้าผู้ใดมิคํานับผู้นั้นประมาทมีปัญญาน้อย ๔ จะถอยยศถอยศักดิ์แล๚ะ๛ อาจาริยทิศาปาโมกข์ คนแต่งเป็นกระทงความ หากันแก่กัน ดูเพื่อจะเป็น ประโยชน์ดังนี้๚ะ๛ คู่หนึ่งหากันตามสัจตามจริง โดยอรรถแห่งทิศาปาโมกข์ หาว่านายมีขับนกแตงอยู่ นายจันเดินมาเหยียบแตงนายมีเสียจริง ครั้นนายมีว่าด้วย นาย ต่อ นายมีก็ด่านายจันเข้าชัด หามิได้ ต่อ นายมีล้มลงฟกช้ําดําเขียวเป็นหลายแห่ง ฯข้าฯ นายจันให้การแตงนายมีเสียอยู่แล้ว หามิได้ จริง ต่อ ฯข้าฯ หามิได้


๔๕๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๕ ล้ม จึงเหยียบนายมีเห็น ฯข้าฯ เหยียบแตงเสีย นายมีจึงวิ่งมาล้มลง ลง ฟกช้ําดําเขียวเป็น หามิ ไ ด้ จริง หลายแห่ง สิ้นคําแต่เท่านี้ เมื่อพิพากษาสองสถาน ผู้พิพากษา ๆ ว่าข้อซึ่งโจทก์หาจําเลยรับกัน จริง โจทก์ โจทก์ ในสํานวน ฟังเอาคําโจทก์ จําเลย นั้นเป็นได้ แล้วข้อซึ่งโจทย์มิรับ เอาคํามิรับสอบ จําเลย ครั้น โจทก์ พิสูจน์ต่อกันนั้น ก็ชอบให้ยกไว้ก่อนแล้วข้อซึ่ง จําเลย สุภากระลาการ

โจทก์ อ้างสังกิจทิพยาน นั้นก็ชอบให้ จําเลย

นํา

๖ ไปเชิญพยานตามข้ออ้าง นายมีหานายจัน เป็นหัวใจความว่า เหยียบแตงเสีย นายจันรับ ๆ แล้วให้การแตงเสีย อยู่แล้วนั้น นายมีว่าหามิได้ ข้อหนึ่งมิรับว่ามิเห็น นายจันเหยียบเสียนั้นนายมีว่าหามิได้ เมื่อพิพากษา ๑ ขาดเห็นมีสับปลับ มาว่ากล่าวหา หามิเป็นสัจ ข้อหนึ่งมิรับนายมี เห็นว่าแตงนั้นเสียนายจันจึงเหยียบ ๚ คู่หนึ่ง หากันว่าดังนี้ตามจริงโดยอรรถทิศาปาโมกข์ ไพร่เข้างานเดือนอยู่มิได้ จริงจากหมื่นยศศรีราชเรียกเอาเงินแก่ ไพร่ ๗ ว่าขาด เมื่อพิพากษา โจทก์ สถานท่านผู้พิพากษา ๆ ว่าซึ่งโจทก์หาจําเลยรับกันในสํานวนนั้นพอ จําเลย จริง ฟังได้ขอโจทก์มิรับเอาคํามิรับไปสอบ ครั้นพิสูจน์ต่อกันนั้นก็ชอบให้ยกไว้ก่อน ข้อหาโจทก์จําเลยรับ เอาคํามิรับ โจทก์ อ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบ ให้ โจทก์ นําสุภากระลาการไปเชิญตาม ขออ้าง เป็นสอบ จําเลย จําเลย เมื่อพิพากษาขาดว่าข้อซึ่งนายจงฟ้อง กล่าวโทษหมื่นศรีราช ท่านผู้พิพากษาให้ฟังเอาคําพิพากษาๆ สถานซึ่ง กระลาการ พิพากษาไว้แก่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕๕

๘ ก่อนนั้น เป็นพิพากษาขาดใด เห็นว่านายจงแพ้แลจนในสํานวน ก็ชอบให้แต่งระวางไปปรับ โทษนายจงจะ เป็นประการใด ๚๒ กระทงหนึ่งหากันตามจริง โดยอรรถทิศาปาโมกข์นายอูเป็นภูดาด จะมิได้ ต่อ ฉ้อ จริง มิรู้ ราษฎร์หามิได้ ฯข้าฯนายอูให้การว่าอูเป็นภูดาด ฉ้อราษฎร์หามิได้ เมื่อพิพากษา ๆ สถานท่าน จริง จริง โจทก์ พิพากษา ๆ ว่า จําเลย รับกันในสํานวนนั้นให้รับก็ฟังเอาคํา โจทก์ นั้นได้แลซึ่ง โจทก์ มิรับ จําเลย จําเลย โจทก์ ไป จําเลย ครั้นพิสูจน์ต่อ ๙ กัน นั้นก็ชอบให้ยกไว้ก่อนแล ซึ่งโจทก์หาจําเลยมิรับ เอาคํามิรับไปสอบ โจทก์ อ้างสังกิจทิพยานนั้น จําเลย โจทก์ ก็ชอบให้ จําเลย นําสุภากระลาการไปเชิญพยานตามข้ออ้าง เมื่อพิพากษาขาดท่านผู้พิพากษา ๆ ว่า นายบุญมีหานายอูเป็นภูดาด ว่าจะมิได้ฉ้อราษฎร์หามิได้ แลจะมินั้นนายอูปฏิเสธว่ามิรู้ เอาคํามิรู้มาสอบนาย มีโจทก์ ๆ ว่าจะต่อด้วยจนถึงพิสูจน์ แลคําซึ่งนายอูดาด นายบุญมีติดใจว่า ให้การตามฟ้องแลนาย ๑๐ บุญมี ๆ รับคําให้การนั้น ฯข้าฯ ติดใจอยู่ แลท่านผู้พิพากษาว่านายบุญมี แก้คําให้การว่าฉ้อราษฎร์นั้น แก้ว่าหา มิได้นั้น เห็นว่านายบุญมีมีหนังสือฟ้อง แลซึ่งนายอูติดใจนั้นก็ชอบด้วยถ้อยคําของนายอู ก็ชอบให้ ๓ ระวางใบปรับว่าจะฟังเอา คําบุญมีหนีหนังสือฟ้องร้องนายบุญมีได้ฤๅประการใด ๚ กระทงหนึ่งหากันโดยอรรถ ทิศาปาโมกข์ นายแพงหาว่าหมื่นศรีรักษา ขออีนา ๆ เลี้ยงเป็นลูก อีนาท้องลูก ๆ อีมา ลูกหมื่นศรีรักษา จริง ด้วย ต่อ ฯข้าฯ จริง จริง หามิได้ ๑๑ หมื่นศรีรักษาให้การ ฯข้าฯ ขออีมาเลี้ยงเป็นลูก อีมามีท้องลูก ด้วยชาย ลูกอีมาเป็นหลานข้า ฯข้าฯ จริง หามิได้ จริง เมื่อพิพากษา ๆ สถานท่านผู้พิพากษา ๆ ว่า โจทก์ รับกันในสํานวนฟังเอาคํา โจทก์ นั้นได้ข้อซึ่ง จําเลย จําเลย


๔๕๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

โจทก์หาจําเลยมิรับ เอาคํามิรับไปสอบโจทก์ ๆ จําเลยครั้นพิสูจน์ต่อกันนั้น ก็ชอบให้ยกไว้ก่อน แลซึ่งโจทก์หา จําเลยมิรับเอาคํา เอาคํามิรับไปสอบโจทก์ ๆ จะเลยอ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบ โจทก์ นําสุภา จําเลย กระลาการไปเผชิญพยานตามข้อ ๑๒ อ้าง ฯ เมื่อพิพากษาฟังเอาคํา อีมามีท้องลูกด้วยหมื่นศรีรักษา นั้นหามิได้ แลหนังสือฟ้องนั้นจะให้ หมื่นศรี รักษาสมรสด้วยอีมาจนมีท้องลูก หามิได้ แลนายแพงหาเลี้ยงชายครอบงําแอบแฝงอยู่ แลนายแพงรับว่าอีมามี ท้องลูกด้วยชายอื่น แลข้อซึ่งหมื่นศรีรักษาให้การว่าอีมามีท้องลูกด้วยชายนั้น แลนายแพงแก้คําให้การนั้นว่า จริง ครั้นจะมิรับว่าอีมามีท้องด้วยชาย จะแก้ว่าหามิได้นั้น กลัวกระลาการจะซัก ว่าหญิงแลหญิงหนึ่งกันยอม จะมีท้องด้วยกันฤๅนาย ๑๓ แพงกลัวจะต้องซัก จึงรับอีมามีท้องลูกด้วยชายจริง ในพิพากษาขาดเห็นว่าเห็นเพ่งเอาเท็จมิจริงมา ๔ กล่าวหา ๆ ถ้ามิเป็นสัจนั้นก็ชอบให้ระวางไปปรับโทษ นายแพงจะเป็นประการใด ๚ กระทงหนึ่งหากันโดย อรรถทิศาปาโมกข์ ขุนแสงหาขุนเดโช ว่ายืมเรือมีที่ไป เมื่อขุนเดโชไปเอาเรือมาส่ง ขุนเดโชเอา จริง จริง ต่อ หามิได้ เมื่อมาที่เรือ เรือยังมิทํา มิรู้ ฯข้าฯ ขุนเดโชให้การว่า ฯข้าฯ ยืมเรือขุนแสงมีที่ไป แล จริง จริง ฯข้าฯ เอาเรือมานั้นเมีย ฯข้าฯ ไป ๑๔ หน้าต้นท่านเอย ๑๕ ๑ มาตราหนึ่ง มิใช่คดีตน แลคดีบิดามารดาปู่ ย่าตายายป้านาอาบุตรภรรยาญาติ พี่น้องของตนเก็บ เอา เนื้อความผู้หนึ่งซึ่งมิใช่เป็นเนื้อ ความเรื่องเดียวกันมากฎมาร้องฟ้อง ผู้นั้นบังอาจให้มาความเมือง ๒ ท่า น ๆ ว่ า ละเมิ ด ให้ ไหมโดย ยศถาศั กดิ์ อย่ า ให้ รั บ ฟ้ องไว้ พิจ ารณา มาตราหนึ่ ง ราษฎรผู้ มีคดี มี กฎหมายเท่าขุนการด้วยมีเนื้อความใด ๆ หามิได้ให้เรียกและผู้มีคดีข้างหนึ่ง มากฎหมายภายหลัง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕๗

๑๖ ให้ เ รี ย ก ให้ เ อากฎหมายซึ่ งให้ เ รี ย กนั้ น เป็ น โจทก์ หาแลผู้ มีอรรถคดี พากั น มากฎหมายพร้ อมกั น ให้ คํ า กฎหมายให้เรียกคอยกัน ให้ขุนการรับ เอาไว้ท่านอาด้วยลูกขุนให้พิเคราะห์ดูถ้าข้างหนึ่ง เป็นความอาญาข้าง หนึ่ง เป็นความนครบาลให้เอาทางนครบาลว่าก่อน หาแลความนครบาลด้วยกัน ทั้งสองไปก็ดี ถ้าแลเป็นความ นครบาลด้วยกันทั้งสองไปก็ดี ให้พิเคราะห์ดู พาฟ้องข้างผู้ใดว่าทํา แก่ตน ให้ อุก ฉกรรรจ์ ๑๗

๓ ฟ้องผู้นั้นเป็นโจทก์ มาตราหนึ่ง ผู้มีคดีมาร้องฟ้องในวันเดียวกัน ถ้าฝ่ายข้างหนึ่งมาให้การฟ้องรับเขียน เอาถ้อยคําเอาไว้เสร็จ แล้วแลฝ่ายข้างหนึ่งมาฟ้องเล่าให้เอาฟ้องก่อนนั้น เป็นโจทก์ ถ้าผู้มาฟ้องก่อนให้การยัง อุก หาสิ้นเสร็จ เรื่องความใหม่ฝ่ายข้างหนึ่งมาฟ้องเล่าให้พิเคราะห์ดู ถ้าฟ้องข้างผู้ใดวาทํา ฉกรรรจ์ ๔ แก่ตนให้เอาฟ้องผู้นั้นเป็นโจทก์ มาตราหนึ่ง ราษฎรทําหนังสือฟ้องร้องกัน ด้วยเนื้อความใด ๆ แล กระลาการ ๑๘ เรียกเอามา พิจารณาไถ่ถามต่อกันแลอ้างว่า โดยกฎหมายต้องกันกับหนังสือร้องก็ให้กระลาการเร่งพิจารณา ตามหนังสือร้องแลคํากฎสืบไป หาคํากฎมิต้องกันกับหนังสือร้อง อย่าให้พิจารณาเพราะให้ข้าง ๕ หนึ่งเสียตัว มาตราหนึ่ง ผู้ใด ๆ ทําหนังสือร้องเรียนหาความ แก่กันด้วยกิจสิ่งใดก็ดี ให้ใส่ชื่อผู้มีคดีใน หนังสือ ร้องนั้นจงสิ้นชื่อถ้าแลในหนังสือร้องนั้น ขาดชื่อนั้นก็ดีเหลือชื่อก็ดีท่านว่าละเมิด ให้ไหม ๑๙

๖ ลาหนึ่งเป็นแต่พินัยลอง แล้วให้พิจารณาตามหนังสือร้องนั้น มาตราหนึ่ง ผู้ใด ๆ มีคดีมาฟ้องร้องเรียนหา ความแก่กันแห่งหนึ่งแล้ว ยังไม่ได้พิจารณาสําเร็จ แลไปฟ้องร้องเรียนแห่งหนึ่งเล่าท่านว่าทําดังนี้ เป็น ๗ สองศาลให้ไม่ลาหนึ่งตามบรรดาสาขดีเป็นแต่พินัยลอง แล้วว่าให้ตามฟ้องร้องก่อนนั้น มาตราหนึ่ง ราษฎร ทําหนังสือร้องฟ้องความแก่กัน ในกรมใด ๆ กระลาการทอดโฉนดฎีกาตราสารไปให้มูล ๒๐ นายส่งผู้ต้องคดีแล มันผู้ต้องคดีรู้สารขดี แล้วนั้นมิได้นา แก้พิพากษาโดยเขาหา มันไปฟ้อง ซ่อนเนื้อคดีเขา กล่าวหาก็ดี กระลาการได้ถามแล้วแลความยังมิได้พิจารณาสําเร็จ ฝ่ายจําเลยให้ไปฟ้องร้องกล่าวโทษโจทก์เล่า ท่านว่าละเมิดให้นายโดยครั้นตราสาขดีลาหนึ่งเป็นพินัยลอง แล้วให้พิจารณาโดยหนังสือร้อง ๘ โจทก์แล สํานวนนั้นสืบไปให้เห็นเท็จแลจริง มาตราหนึ่ง ผู้มีคดีทั้งหลายทํา


๔๕๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๒๑ หนั งสื อ ฟ้ องร้ อ งแก่ มูล ลู กขุ น กรมการโรงศาลกรมใด ๆ ด้ ว ยเนื้ อความอุ ท ธรณ์ น ครบาลอาญา แลแพ่ ง เนื้อความใด ๆ ก็ดี แลหากันคนหนึ่ง สองคน ๆ ไปจนถึง ๙ คนก็ดี ถ้าแลมิได้ให้เรียกท่านอาอย่า ๑๐ ๙ ให้สุภากระลาการ รับเอาฟ้องผู้นั้นไว้พิจารณาขึ้นฟ้องให้แก่มันซึ่งมิได้ให้ละเมิดนั้น มาตราหนึ่ง ราษฎรมา ร้องฟ้อง ด้วยคดีประการใด ๆ แลมิได้ตั้งสังกัดมูลนาย อย่าพึ่งรับไว้ ๒๒

๑๐ คั บ บัง ชา เป็นอันขาดทีเดียวให้ส่ง ตัวผู้หาสังกัดมูลนายมิได้นั้นแกสารขดีเอาเป็นคนลวง มาตรา หนึ่ง ด้วยราษฎรทั้งหลายวิวาทกัน ด่า กันด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ถ้าฟ้องร้องพิพากษากล่าวหากัน ตี ให้ มาร้องฟ้องแต่ใน ๑๕ วันพ้นกว่านั้นอย่าให้รับฟ้องไว้บังคับบัญชา เป็นอันขาดทีเดียว อนึ่งรู้เห็นว่าโจรลัก ทรัพย์สิ่งของตนไป ขอความพอเป็นสินไหมพินัย โทษเขา ๒๓ เช่า ซึ่งยอมกัน ได้นั้นก็ดีแลความ ฝาก ทรัพย์สิ่งของแก่กัน ประการใดก็ดี แลความว่าช้าผูกมัดจําพวก ยืม กันเป็นตนก็ดี อนึ่งมีผู้ใดบอกเล่าว่าเมียมีชู้ ผัวรู้จักตัวชู้ปรากฏแล้วก็ดี ถ้าแลกล่าวหาฟ้องร้องกันท่านให้ฟ้อง แต่ในสามเดือนลงนาพ้นกว่านั้น อย่าให้รับฟ้องบังคับบัญชา ถ้าป่วยไข้แลมีคือราชการไป กลับมาแล้วให้ร้อง ฟ้องคดีนั้น แต่ในเดือนหนึ่งลงมา พ้น ๒๔

๑๑ กว่านั้นไปอย่าให้รับฟ้องไว้พิจารณาเลย มาตราหนึ่ง ถ้าทาสเข็ญใจเอาเบี้ยนายเงินด้วยประการใด ๆ ฟ้อง ให้เรียก ฯ นายเงินออกมา ตั้งโรงศาลท่านว่าให้มันส่งเงินค่าตัวมันแก่นายเงินเสียก่อน จึงให้ฟ้องอย่าให้มันฟ้อง เหนือเงินท่าน ถ้าเจ้าเงินทําผิดเป็นความมหันต์โทษ ถ้าไม่ส่งค่าตัวก็รับฟ้อง ไว้พิจารณาได้ ๑๒ มาตราหนึ่ง ทาสลูกหนี้ส่งเงินแก้เจ้าหนี้ ถ้าเจ้าเงินเจ้าหนี้มิรับ ๓ ลาให้ร้องฟ้องประทับ ส่งให้เจ้า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕๙

๒๕ กระทรวงแพ่งปรับสบถ้าเจ้าเงิน รู้เนื้อความแล้วถ้าติดใจว่าประการใด ๆ ให้ออกมาว่ากล่าวในเวียงกําหนดสาม วัน นอกเวียง ๗ วัน ถ้ามันละเมินเสีย มิได้ออกมาว่าในสามวัน ๗ วันแลมันจะออกมาว่ากล่าว อย่า ๑๓ พึ่งให้ว่ากล่าวสืบไปเลย มาตราหนึ่งผัวเมียวิวาทแก่กันว่าชายหยาบช้าตีด่า พ่อ แลญาติแห่งหนึ่งก็ดี แม่ เป็นโจรผู้ร้ายแลกระทําผิด เป็นมหันต์โทษประการใดก็ดี แลทุบถองชกตีฟันแทงถึงสาหัส ก็ดีแลพ่อแม่หญิงมิส ๒๖ มัครชายเลี้ยงด้วยหญิง มิสมัครเลี้ยงด้วยชาย ให้หญิงร้องฟ้องเรียกมา พิจารณาตามบทพระอัยการ ๑๔ มาตราหนึ่ง หญิงทาสไถมาเอาเงินก็ดี พี่น้องลูกหลานเอาเงินก็ดี เขาสู่หาข่มขืนด้วยแรง หญิงมิยอมยื่น ร้องแรกมีสักขีพยานแลมัน มาร้องฟ้องเรียนจะส่งค่าตัว มันไม่รับ ประทับส่งไปตามกระทรวง ถ้ามันว่าชาย ข่มขืนครั้งหนึ่งสองครั้งแล้ว แต่มิได้ร้องแรกให้มีสักขีพยาน ๒๗ ต่อภายหลังจึงได้ร้องแรก นั้นท่านว่าหญิงร้ายจะแเกล้งกระบัตรสินท่านจึงกล่าวโทษ เอาเงินแลพี่น้อง ๑๕ ลูกหลานเอาเงิน อย่าให้รับบังคับบัญชาต่อไป มาตราหนึ่งทรัพย์สิ่งของแลทาส สีสา ช้างม้าโค กระบือหายได้ตัวคืนมา ถ้าแลเอาทรัพย์จะหาความแก่ ผู้ลักควรให้ว่าแต่ใน ๑๑ วัน พ้นกว่านั้นไปมิควร เดือน ที่จะความแก่ผู้ลักนั้นเลย เพราะเหตุมิได้เอามากฎหมายแต่ แรกได้มานั้น ๒๘ ๑๖ มาตราหนึ่ง ทวยราษฎรกล่าวหาพิพาทกัน ด้วยทรัพย์สิ่งของสิ่งใดพิจารณายังมิเสร็จแลโจทก์จําเลย เอา ทรัพย์สิ่งของซึ่งมิได้กล่าวหา ไปกระการใดอีกเล่า ท่านว่าเป็นคดี เพิ่มเติมให้รับไว้บังคับบัญชา ๑๗ มาตราหนึ่ง ทุบตีกันหัวแตกฟันหักเอามากฎหมายยังแพ่งอาญาให้พิจารณาสืบไป ถ้าอยู่ถึง ๔๓ วันมา กฎหมาย… ๒๙ แก่พยานก็ดี มิใบสัจปรับมาแล้ว อย่าเพิ่งเอาสินไหมพินัยก่อน ให้ไว้ไปสามวันจะให้

โจทก์ ติงทุเลา จําเลย พระเจ้าอยู่หัว แต่งพราหมณ์อันสัตย์ซื่อ มาปรึกษาติงทุเลา จะถึงพยานก็ให้เอาติงทุเลาไปสืบก่อน ให้เห็น ความก็ชอบ ของโจทก์จําเลยคืนหาว่า ฯข้าฯ ซื้อขนมจีนห่อหนึ่ง ฯข้าฯ ยังมิได้กิน ฯข้าฯลงอาบน้ํา ฯข้าฯ


๔๖๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เอาแหวนหนัก ทอง ฯข้าฯถาม

ใส่ไว้ในห่อขนมจีน ฯข้าฯจึงฝากไว้แก่ช่างเลื่อยจึงลงอาบน้ํา แลช่างเลื่อยเห็นจึงเอา

๓๐ ช่างเลื่อยทั้งสองคนรับว่าฝากกะจีนไว้ ทองด้วยหามิได้ โจทก์รับจริงแลพระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าความจริงของเจ้า ทอง จึงเอาช่างเลื่อยมาแยกถามกันดู ว่ากินขะจีน(ขนมจีน) แดงฤๅขาว ช่างเลื่อยให้การผิดกัน จึงให้ช่างเลื่อย ใช้ทอง ฯ หาว่า ฯข้าฯ กู้เงิน ได้วานผู้มีชื่อเอาเงิน ไปวางเป็นต้นมีในสาร...รร ฯข้าฯ เจ้าเงินมิรับอ้างทิพยานสมจริง ให้เอาพยานมาแยกถาม ว่าชายนี้วานตัวไปวางเงินนั้น เจ้าเงินละเอียดเงินบาท นั่งอยู่ที่ไหนใส่ ๓๑ ถุงอะไรพยานให้การผิดกัน จึงเรียกเอาเงินให้แก่เจ้าเงิน ฯข้าฯ... ฯข้าฯ ใส่มือเขาไว้ ครั้นฯข้าฯจะเอาแหวนผู้ นั้นมิให้ ครั้นถามชายนั้น ๆ ชายนั้นมิรับหาพยานมิได้ จึงให้สืบพยานจึงภูดาดผู้คุม ให้ชายถือเอาแหวนนั้น นําไปถึงบ้าน ครั้นชายผู้นั้นนํากระลาการผู้คุมไปถึงบ้าน แลภรรยาชายนั้นถามว่าไปไหนมา จึงได้แหวนมาจึงรู้ ว่าเป็นแหวนของชายโจทก์นั้น ๚ ว่ากระทาชายสองคน พายเรือชนกัน กลางน้ําเรือแตกทั้ง ๒ ข้าง ๓๒ แตกแตกเท่ากัน คนนั้นก็เท่ากัน ให้พิจารณาเอาเป็นแพ้ข้างหนึ่ง ๚ กระทาชายสองคน มารดาเป็นไข้ทั้งสอง จะปรับค่าเผาผีแก่ไพล พระเจ้าอยู่หัวจึงพิจารณา เห็นว่าปีเดือนข้างหนึ่งนั้นร้าย จึงชนชายคนหนึ่งเข้าให้เอา ค่าเผาผีแก่ชายเคราะห์ คืนนั้นมาจอดเข้าหาเพื่อนชาย คนนั้นหนึ่งได้พายเรือมาลงเรือ ชายนั้นก็ร้องให้บ้าน ช่วยจับได้ถามชายนั้น ๆ ให้การเรือของ ฯข้าฯ จึงคอนมา ๆ เป็นเรือนี้ของเข้า ๚ ท่านพิจารณาให้เห็นที่จริง แล กรมการจึงพิจารณาว่า ๓๓ ให้ผ่าเรือออกสองซีกจึงให้ไปบ้านคนละซีก จึงรู้ว่าเรือของชายนี้ ๚ ชายคน....เรือ มาเป็นเกลือกับชาวบ้าน เออ ชายชาวเรือนั้นคิดอ่านผีเขาดายนั้น เอามาถึงลงไว้ที่เรือนเกลือชาวบ้านนั้นครั้นกลางคืนจึงเอาไฟเผาเรือน ชาวบ้านเกลือเสีย แล้วเอาเมียชาวเกลือนั้นลงในเรือแล้วออเกลือชาวบ้านนั้นสําคัญว่า เมียของตัวนั้นตายใน ไฟ จึงร้องให้รักแล้วจึงนิมนต์พระมาบังสุกุล แล้วชาวเกลือนั้นก็ให้มาช่วยเผาผี ครั้นเผาแล้วชายชายชาวเรือนั้น ก็พาเอาเมียของ ๓๔ ชาวเกลือชาวบ้านนั้นไปฝากยายกับตาช้านานแล้ว จึงให้ผู้เฒ่าผู้แก่ไปสู่ขอปลูกหออยู่ด้วยกันช้านาน แล้วจึงพา กันมาหาชาวเกลือ ๆ ก็จับมากดหมาย ครั้นถามชายชู้ ๆ ว่าหลานยายกับตาให้มาสู่ขอมีพยานรู้เห็น ครั้นถาม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๖๑

พยานชายชู้รู้รับสิ้น ครั้นพิจารณาเป็นเมียชายชาวบ้านนั้นจริง ๚ หาว่าโคกินข้าวเปลือกแลไล่ชนเรือนเข้า ๆ เอาหอกแทงถูกโค ๆ นั้นจึงออกมา ตายบานประตูผู้ไล่แทงนั้น ๆ ชักหอกเข้าไปในบ้าน แลชายเจ้าโค ๆ นั้นเห็น โคตาย ๓๕ อยู่กับประตูบ้านผู้แทงนั้น ครั้นถามผู้แทงนั้น ๆ มิรับให้พิจารณา ให้...ในบ้านนั้นจริงให้ถึงพยาน ๚ หาว่าชาย คนหนึ่งมาลวงเรือน ฯข้าฯ จับได้มีผู้รู้เห็นถามชายนั้น ๆ มิรับจึงพิสูจน์ต่อกันแลชายเจ้าทรัพย์นั้นแพ้แก่ผู้ร้าย จึง ให้พิจารณาหาความจริงคืน จึงให้พิสูจน์ใหม่ ผู้ร้ายแพ้แก่เจ้าทรัพย์ ฯ ด้วยหาผิดลวงเอาสิ่งของ หาว่าลวงเรือน จริงมิรับ ถามจําเลย ๆ ให้การว่าหาความ ฯข้าฯ หาเท็จไม่ถ้าฟ้องเคลือบแฝง ดังนี้อย่าให้กระลาการรับเอาว่า ถ้าฟ้อง ๓๖ อิงแอบอยู่แลให้การเคลือบแฝงอยู่ ก็ให้เอาเป็นแพ้ในสํานวน ๚ ถ้าเมียน้อยว่าหาความเมียหลวงว่า ขอลูกมา เลี้ยงมาลูก ฯข้าฯ เสียอันเมียน้อยมันมาฆ่าเสียเอง หาความเมียหลวงถามเมียหลวง ๆ มิรับให้พิจารณา ๆ ให้ เห็นที่ความจริง กระลาการพิจารณาให้เมียน้อยแลเมียหลวงเอาผ้าห่มไปวางไว้ทั้ง ๒ ข้างให้ไกลกัน แล้วให้เมีย น้อยแลเมียหลวงแก้ผ้าเสียทั้งสองคน ให้เอาผ้าห่มนั้นมา ถ้าข้างใครแก้ผ้าไปเอาผ้าห่มนั้นมาได้ผู้นั้นมามิได้ผู้นั้น ๓๗ มิได้ทํา ๚ หาว่า ฯข้าฯ ไม่อยู่ชายนี่มาทําชู้ด้วยภรรยา ฯข้าฯ ถึงชํา....ว่าชายนี้ให้อยู่ด้วยกันกับเมีย จึงทําชู้ด้วย ถ้าจะหาว่าหญิงนี้นอกใจมิได้ด้วย ไม่อยู่กับเมียแล้ว ๚ หาว่าโค ฯข้าฯ ผูกกินหญ้าชายนี้เดินมาโค ฯข้าฯ จึงขาด จริง ให้การว่าชายนี้ผูกโคไว้ให้กินหญ้า โคเห็นฯข้าฯ เดินมาว่าชายนี้ชากด้วยเชือกให้มันขาดออก แล ชายนี้ยังมิพบยังฟ้องว่าโคหาย ๚ ยังมีสองคนไปป่าแลมีต้นตาลอยู่กลางบ้าน นั้นต้นหนึ่งครั้นสองคน ๓๘ กลับมาชายคนหนึ่งนั้นเห็นต้นตาลจะถึงแล้ว แลชายคนหนึ่งว่ามิใช่ต้นตาลแล ชายสองคนจึงพนันกันทําหนังสือ ให้แก่กัน ครั้นชายสองคน เดินมาเห็นต้นตาล จริงชายผู้แพ้หามิให้เงินแก่ชายผู้นั้น ๆ นั้นให้การครั้นกระลาการ ถาม แลชายนั้นว่ามิใช่ต้นตาลนั้นมิรับ ครั้นโจทก์นํามาดูพบต้นตาล แลกระลาการจึงเรียกเอาเงินตามหนังสือ สัญญา แลจําเลยนั้นว่าเมื่อพนันกันเห็นแต่ปลายตาล ครั้นนํามาดู ๆ กัน


๔๖๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๓๙ ต้นตาล ฯข้าฯ ติดใจ ๚ หาว่าชายประกันชายคนหนึ่ง ซึ่งไปรับเงิน...ลงต่อ ฯข้าฯ จึงทําหนังสือประกันแก่ ฯ ข้าฯ ในหนังสือประกันว่าชายที่รับเงินหลวง หลบหลีกหนีหายไป ให้กันแลดอกเบี้ยแก่ ฯข้าฯ ครั้นอยู่มาลูกหนี้ ตาย จะเอาเงิน ฯข้าฯ ตามหนังสือประกัน ฯข้าฯ ติดใจอยู่จะว่าในหนังสือประกันนั้น ว่าพิจารณามรดกหลวง ของผู้ตายนั้นสิ้นแล้วแลให้คิดเอากับ ฯข้าฯ หามิได้จึงมีระวางไปปรับ ๆ มาว่าผู้ใดกู้เงินทองอขง พระผู้เป็น เจ้าอยู่หัวถึง ๙ ปีก็ดี ๒๐ ๔๐ ให้สืบสาวญาติพี่น้อง ผู้ตายนั้นมาทุกภาคเสร็จจงควร ซึ่งว่านายประกันนี้ร้องแล แต่ลูกขุนปรึกษานายประกันทุ เล่าว่า ฯข้าฯ มิได้เป็นหนี้หลวง ฯข้าฯเป็นแต่นายประกัน สิ่งของผู้ตายนั้นอยู่พระหลวงคลังแล้ว ฯ อันหนึ่งถ้า จะถามดูความ ถ้ามันจะรับก็สิ้นข้อ ถ้ามันจะแบ่งก็ออกก็ให้รับแลเนื้อความออกให้เห็นจริงกันก่อน ถ้าจะรับให้ เนื้อความไม่เห็นจริงแล้วอย่าเพื่อให้เอา๚ อนึ่งสองคนเป็นสหายแก่กัน คนหนึ่งหาเมียมิได้ คน ๔๑ หนึ่งมีเมียแล้ว แลเมียชายนั้นสาวรักกลัวกับชายมีเมียนั้นแล ....มิได้จึงว่าสหาย เจ้าเมียนั้นก็ให้ไปสู่ขอเขาให้ เขาจะเอาทุน ๑หนึ่งแลเรายืมสหายไปไว้ เราได้เงินแล้วจะเอามาส่ง แลสหายนั้นก็ให้มันไปมัน ไปทีเดียว แลผัวหญิงนั้นให้เกาะวานพาเมีย ฯข้าฯ แลเอาเมีย ฯข้าฯ ไว้เป็นเมียของตัวถามชายชู้มิรับ ๆ แต่ว่า วานเอาเมีย ก็ให้การว่าผัวรับชู้รับเป็นคําเดียวกันนั้น ก็ให้กระลาการพิจารณา ให้รู้ว่าหญิงนอกใจผัว๚ ๔๒ กระลาการพิจารณาให้ไปถามชาวบ้าน ๆ ให้การว่าสหายอันไปไว้พ่อแม่ สหายนั้นเมียชายได้บอก ๚ นบนิ้ว ประนม ฯลฯ พระชินสีห์จึงตั้งอํา (มาตย์)ไว้เป็น ทั้ง ๘ คน ๆ หนึ่งคางคกปากบ่อ คนหนึ่งถ่อเรือหาความ คนชื่อ นามระรัว คนหนึ่งชื่อว่าหอมสินไวกลัวเอาทรัพย์ คนหนึ่งรู้ความ คนหนึ่งชื่อเต่าพุดสดดะเบาะคน หนึ่งชื่อว่า ทางสะเมาะถ้าหาความแก่กัน นายหมอความไปหาคนรู้ความ ถึงบ้านผู้ความจึงขอไม้ผู้รู้ความ ลําหนึ่งนายผู้รู้ ความ ก็ให้แลนายหมอ ๔๓ ความจึงตัดเอาไม้ไป ๔ ลําแลนายรู้ความจึงให้เกาะว่าขอไม่ลํา ๑ ...หมอความรับว่าจริง ๚ จึงให้การว่า ฯ ข้าฯ ขอลํา ๑ ให้ ฯข้าฯ ๑ ตัดเอาลํา ๑ ฯข้าฯก็ตัดเอามาลําหนึ่ง ๑ ๚ หาว่าแม่ ฯข้าฯ จะมีอันตายนั้นสั่ง ฯ ข้าฯ ว่าจะตายเป็นนกยางเลี้ยงแม่ ฯข้าฯ ก็ตายอันถ่อเรือมาหาความ นายคางคกปากบ่อ ๆ รับว่าจริง ฯ แล้ว ให้การว่าเมื่อแม่ ฯข้าฯ จะตายสั่ง ฯข้าฯว่าจะมาเป็นปลาแล ฯข้าฯ พายเรือตามแม่ ฯข้าฯมาแม่ชายนี้กินแม่ ฯ ข้าฯ เสีย ฯข้าฯ จึงยิงแม่ชายนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๖๓

๔๔ ตาย ๚ หาว่า ฯข้าฯ ไม่อยู่กระทาชายนี้มาหา ฯข้าฯ ที่ทับไม่เห็น ฯข้าฯ กลับคืนทับเมีย ฯข้าฯ รับว่าจริงจึงให้ การว่า ฯข้าฯ ไปหากระทาชายคนหนึ่งที่ทับ ฯข้าฯ ขึ้นบนทับเมียกระทาชาย ฯ หาว่าชายชาวเรือ ฯข้าฯ ว่าจะ ไปเหนือมิได้ไป ไปได้ทําให้ไป ไฟไต้ทําให้เพรียงเรือ ฯข้าฯ เสียแล้วมาส่งให้ ฯข้าฯ มิรับจึงแล้วให้การว่า ฯข้าฯ ชาวเรือชายนี้เพรียงเรือแล้ว ฯข้าฯ มาส่งไปได้สัญญา ฯข้าฯ เอาเรือมาส่งให้รับเรือเพรียงกิน ... ชายนี้เป็น ๔๕ สุภากระลาการ แลผู้พิพากษา ให้สุภากระลาการดัดแปลงด้วยคําบท สํานวนเสีย ๑ อนึ่งผู้มีอรรถคดีให้ทํา หนั งสื อนั ดไว้ แก่ สุ ภ ากระลาการ จะมาให้ การก็ ดี แต่ นี่ เ ผอิ ญ ก็ ดี ชี้ ขาดก็ ดี มิ ได้ มาตามนั ด ๓ นั ดให้ กฎเอา เนื้อความเป็นแพ ๒ อนึ่งถ้าให้ถ้อยคําแก่สนาม...สุภากระลาการว่าตนทําผิดด้วยประการใด ๆ แล

๔๖ ให้เงิน แลทรัพย์ทําขวัญเป็นค่าฉกรรจ์ดังนี้ แล้วภายหลังมันกลับถอยคืนคําไม่รับแล้ว แลมันข้างหนึ่งมีคําว่า ผิด ต่อผู้มีชื่อคนนั้น ให้หมู่ลูกขุนสืบสวนจงเที่ยงแท้ ถ้าสมคํามั่นเป็นฉกรรจ์ให้พิพากษา รับ ชอบ ตามพระราชกฤษฎีกา ๕ อนึ่งผู้มีคดีคุมกันอยู่ในสุภากระลาการแลฝ่ายข้างหนึ่ง หนีจากกระลาการ ไปใน ๑๕ วันนั้นส่งมาให้พิเคราะห์ดูสํานวน ถ้าพิจดูบกพร่องให้กฎเอา คดีนั้นเป็นแพ้ ถ้าพ้นกํา ๔๗ หนด ๑๕ วันแล้วอย่าให้ดูสํานวนนั้นเลย ให้กฎเอาคดีมันเป็นแพ้ตามบทพระอัยการ ๕ อนึ่งสุภากระลาการเอา ผู้ต้องคดีนั้นมา ถามแลมันต้องคดี โอนสารนี้หนีไปให้พิพากษาตามบทพระอัยการ ๖ อนึ่งผู้มีคดีอยู่ในสุภา กระลาการยังมิได้ถาม แลมันละขอลงกระเบียนมาแก้ก็ดี แลมันทําบทสํานวนมาการให้การก็ดี สืบสวนเป็นสัจ ให้หมู่ลูกขุน พิพากษาตามบทพระอัยการ ๗ อนึ่งมันทําเลข ๔๘ ยันต์ทํามนต์มกุฎสมป่วยฝังรูป แก่กันด้วยประการใด ๆ ก็ดีสืบสวนเป็นสัจ ให้พิพากษาตามบท พระ ราชฎีกา ๘ อนึ่ง โจทก์ เป็นสํานวนอยู่ในสุภากระลาการ ฝ่าย โจทก์ คดีปฏิเสธแลโจทก์ จําเลย จําเลย จําเลย ก็ดี มิได้อ้างสักขีพยาน รับปฏิเสธท่านให้พิพากษา เอาคดีนั้นเป็นแพ้ตามบทพระอัยการ๚ะ๛ ๑


๔๖๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ราชกฤษฎีกา ๗ ถ้าผู้มีคดีมีถ้อยคําสํานวนประการนี้...ด้วยบทพระอัยการห้าม สืบสวนเป็นสัจ ให้กดเอาคดี เป็นแพ้ ๔๙ ถ้าคดีนั้น เป็นมหันต์โ ทษมีอยู่แค่ ๓ ประการ ๆ หนึ่ งว่าด้วยโอมหันต์โทษ แลพระราชทรัพย์ทั้ง หมาโค กระบือของหลวงประการหนึ่ง คดีกบฏประทุษร้ายต่อแผ่นดิน ประการหนึ่งหากัน ด้วยผู้ไพร่ลองเก็บหางว่าว ก็ดี ๓ ประการหนึ่งขาดนัดถามเตียนผลัด อนึ่งชื่อชาดก็ ขาดก็ดี ขาดนักทั้งสามผลัดก็ดี ท่านผู้มีคดี ๓ ประการเป็นแพ้ก่อน ถ้าคดี ๓ ประการนี้นอกครัว ให้กฎ เอาเนื้อความ ๕๐ เป็นแพ้ เพราะว่าผู้ไพร่ลองมิเก็บยินอย่านั้น จะพ้นเผอิญเสีย แลคนดีกบฏประทุษร้ายแลโจทก์ บัง ถาม แลขาดผลัดทั้ง เผชิญ ชี้ขาด สามผลัด นั้ นให้ไหมตามบรรดาศักดิ์ละเมิด โดยพระราชกฤษฎีกา แล้ วเสนามนตรีลูกขุ นสุภากระลาการ บังคับบัญชาจงเป็นสัจ รวมถ่องแท้พานั้นแพ้แก่คดี ให้เอาคดีนั้นกราบทูลพระเจ้าอยู่หัว พระราชทรัพย์ของหลวงไว้นั้น ท่านมิให้มีคนร้าย ไว้ในแผ่นดิน ท่านซึ่งมันอยู่นัด

๕๑ ถ้ามิให้ขาด...ให้ปรับตามพระอัยการพระราชกฤษฎีกา อนึ่งผู้มีคดีให้หนังสือนัด ให้แก่สุภากระลาการ จะมาให้ ถามให้ เ ผชิ ญ ชี้ ขาดคดี ผู้มีอรรถคดีมิให้ได้ มาถึ ง สุ ภ ากระลาการตามนั ด ให้ พี่น้ องผู้ คนมาบอก ป่ วยเจ็ บ ประการใดให้สืบถามมีเป็นสัจว่าไข้เจ็บ มิไปกิจการ ให้ลูกขุนพิพากษาปรับ ตามพระราชกฤษฎีกา ฯ ๒ มาตราหนึ่ง ทวยราษฎรผู้มีคดีในสุภากระลาการ ถ้าฝายโจทก์ ๕๒ จับเลขยันต์อาคม น้ํามนต์คาถาใส่แพร

ทอง ทองแดง ใบตอง ตะกรุด แลน้ํามนต์ เงิน สมุดกระดาษ ใบไหม พิสมร ตะกั่ว ใบลานใบตาล สิ่งอันใด มะกรูดส้มป่อยแกะรูปปั้นรูป ทําด้วยวิญญาณคุณประการใด ๆ ที่ฝ่ายจําเลยก็ดี จําเลยจับได้ที่โจทก์ก็ดี ท่าน ให้พิจารณาสืบสวน จงเป็นสัจท้องแตกจน ถ้าเป็นสัจว่าบันดวงผู้ใดก็ดี ท่านว่าความมันไม่จริง มันจึงทําจะให้ ข้างหนึ่ง เสียตัวท่านว่าให้กฎเอาคดี มันผู้กระทําเป็นแพ้ แลมอผู้กระทํานั้น ให้ขึ้นขา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๖๕

๕๓ หยั่ง ๓ วัน แล้วให้ยบลงลงทอนด้วยลวดหนัง สามสิบทีห้าสิบทีตามโทษ หนัก โดยพระราช เบา ๗ ๓ กฤษฎีกา ๚ มาตราหนึ่ง ผู้มีอรรถคดีเป็นความกันในสุภากระลาการ โจทก์จําเลยก็ดีทําหนังสือบนออก ผู้พิพากษา วิญญาณทัรพย์ ปากบน ผู้พิจารณา ให้ อวิญญาณทรัพย์ แก่ผู้พิพากษาผู้พิจารณากระลาการก็ดี ให้ญาติพี่น้อง กระลาการ พวกพ้อง ไปบนบานผู้พิจารณากระลาการให้ช่วยเนื้อความของมัน ให้สอนเป็นสัจให้เอาข้างผู้นี้ได้บนเป็นจริง ให้เอาข้างผู้บนเองแล ๕๔ ให้ไหมบนนั้นเป็นแพ้ ถ้าตัวความมิได้ให้ไหมบน แลญาติพี่น้องพวกพ้องกลัวเนื้อความ จะแพ้หักไปบนเองตัว ความมิให้รู้ ให้เอาตัวผู้บนมาปรับไหมตามรูปความ แลคดีซึ่งมันมิได้บนนั้น ให้เร่งบังคับบัญชาสืบไป ๔ โจทก์ จนแล้ ว คู่ ความคุ มกั น อยู่ ในสุ ภ า คดี นี้กระลาการไปภายใน ๑๕ วั น ให้ จําเลย กระลาการพิเคราะห์ดู สํานวนนั้นผู้หนีไปนั้น ถ้าสํานวนบก ๕๕ พร่องพิรุธประการ... ให้กฎเอาคดีนั้นหนีไปนั้นเป็นแพ้ ถ้ามันหนีไปพ้นกว่ากําหนด ๑๕ วันอย่าพิจารณา ดู ๕ สํานวนมันเลย ให้เอากฎเอาคดีมันเป็นแพ้ตามบทพระอัยการ มาตราหนึ่งผู้มีคดีอยู่ในสุภากระลาการยังมิ ให้ถามก็ดีฝ่าย โจทก์ ก็ดีแต่บัดสํานวนมาให้การแล มัวลงกระเบียดมาแก้คดี ถ้าสืบสวนเป็นสัจ จําเลย ท่านว่ามันทําหนังสือ มิชอบให้กฎเอาคดีเป็นแพ้ ๕๖ กลัวลักษณะตราสํานวนโดยมูลคดีแลสาขคดี พินัยธรรมศาสตร์ โดยสังเขปแต่เท่านี้ ๚ะ๛ ทีนี่จะกล่าวลักษณะ สักขีเฉกคือตัดพยานนั้น มีบาลีโดยคัมภีร์ พระสรรพศาสตร์ รมหปนาทโก ธมฺเมสกจฺธินโธตํกํคคฺโตปผปกูส ภาโรโสสกูโนป ธสโน แปลว่า โยธมโน อันว่าสันทอดอันใด รมหาปนาทิโก มีสภาออยัง พยานให้สะดุ้งดุ้ง ตกใจแล้วให้พิศวงงงงวยเป็นตน สกูนํนโนตกํตตฺโต อันมโนสารา ๕๗ จอนสําแดงชื่อ...โสธมโม อันว่าสภาอนันต์ ปธิปกูฉํนโนตกํตตฺโต เป็นข้าศึกแท้ สกูฉเน แก่บุคคลอันเป็น พยาน รฉสนโน จะกําจัดเสีย สกูนโน ซึ่งพยาน ฯ ทีนี้จะกล่าวสารขดีอันมีในสรรพศาสตร์ โดยพระราชบัญญัติ


๔๖๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

จัดเป็น บทมาตราสืบ ๆ กันมาดังนี้ ๚ะ๛ ศุภมัสดุ ๑๗๒๖ ศากคูตสังวัตร วิสากูมาเสศกปัด เขมาฎีบทดิทิยัง เสารวาร พระบาทสมเด็จบรมมหาจักรพรรดิ ภแม ๕๘ สอนบรมนารถบรมบพิ ตร พระพุ ทธิ เจ้า อยู่ หัว ผู้ธ รรมอัน มหาประเสริ ฐ มี พระราชบริห ารดํ ารั สไว้ ให้ รู้จั ก ลักษณะเผชิญพยาน ตัดพยานดังนี้คือผู้มีคดี เป็นความกันด้วยกันในสุภากระลาการ แลมีถ้อยคําดึงทุเลาตัด พยานในสํานวน ให้กฎเอาคดีเป็นแพ้ คือว่านํากระลาการไป เผชิญพยานถึงกลางทางหนทางแล้วพากระลาการ กลับมา ๑ อนึ่งผู้มีคดียังมิ ได้นํากระลาการไปเผชิญพยาน ๕๙ แลพ่าย ....ไปสู่หาเอนระอาด้วยพยาน ๒ อนึ่งผู้มีคดีนํากระลาการไปเผชิญพยาน เมื่อลักษณะกระลาการไป เผชิญ พยานอยู่นั้นแล ฝ่ายข้างหนึ่งไปหาเจรจาด้วยพยาน บนเรือนพยานก็ดี ๓ อนึ่งแนะนําข้อความสอนให้ พยานรับสมอ้างคดี ๔ อนึ่งมันประกันขาชื่อเจรจาคูรูคํารามกรรโชกสําทับพยาน อาจฟ้องเอาพยานให้ต้องขับ เฆี่ยนโบยตี ด้วยประการใดมิให้ว่าพยาน ๖๐ รับสมอ้าง ๕ อนึ่ง ....ไปเผชิญ....อื่นคดี ๖ อนึ่งผู้มีอรรถคดีอ้างพยาน... แลผิดอัยการพยานรวมกันก็ดี ๗ อนึ่งผู้ อรรถคดีมันอ้างพยาน ...มิรับมันต่อพิสูจน์ด้วยพยานมันก็ดี ๘ ถ้าทวยราษฎรผู้มีอรรถคดีถ้อย...ตัดพยาน ต้องด้วยบทพระอัยการ ห้ามประการนี้สืบสวน ... เอาคดีเป็นแพ้ ตามบทพระอัยการ ซึ่งท่าน.. ๖๑ บาทสิ่งสินไปในอาญา อยู่นานี้ผู้หนึ่งหาไหน (น)ครบาลเลาจํา เลยอันเดียวเป็นสอง ศาลทั้งนั้นส่งให้ ๑๗ นครบาลสําเร็จ คดีนั้นก่อนจึงส่งให้อาญา ถ้าแพ้ในนครบาล โดยให้ฎีกาคํามั่น มาตราหนึ่ง ใน นคร บาลว่าเป็นโจทก์ก็ดีหาว่า สับฟันฆ่าตีท่านตายก็ดี แลผู้หนึ่งหาในอาญานั้นผู้เดียว นั้นว่ากับโชกระบีเอา รูปพรรณสิ่งสิน ท่านถ้านี้กําลังให้ ด้วยอยู่ในนครบาล ให้แต่งทนายต่างตัว ๖๒ แต่ในอาญา ถ้าหาทนายต่างตัวนี้ได้ ให้เรียกทรัพย์นั้นไว้ในอาญา ฯ ให้มันแก่ในนครบาล ถ้านั้นแก้ใน นคร บาลนั้นฉิบหาย จึงให้ส่งทรัพย์นั้นแก่โจทก์ เป็นคมของโจทก์ในพระราชอาญานั้น สําแดงโดยลักษณะ รับฟ้อง ได้มิได้ โดยมูลคดีแห่งกระการ แลสาขดีคือบทบาทสิ้นแต่เท่านี้ ๚๛ ทีนี้จักกล่าวในลัก ษณะโจทก์ เฉก คดีตัดฟ้อง จัดเป็นมูลคดีในคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์มีพระบาฬีดังนี้ ปรํทารํวจจฺน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๖๗

๖๓ ยํ โจทกานุมุกโกริกํสิพพนตธมฺมาโหเตน โจทจเนทกมทจํโส แปลว่า ยปุรํ ทาอจนํ อันว่าคําแหงจําเลยอันใดฯ อุกโกฏิก มีปกคดีเพิกเสียถอยเสีย วจนํ ซึ่งคํา โจทกานํ แห่งบุคคลทั้งหลายอันเป็นโจทก์ อริโย อันมโนสาลา จาร อุทิเส สําแดง ตวจน ซึ่งคํานั้น สพพํ ทั้งปวง โจทจเนทก ชื่อว่าโจทก์ กเฉทก ธมมสาเตน โดยคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ ทีนี้จะสําแดงสาขดีอธิบาย จากมูลคดีมีมา ๖๔ ตรา โดยพระราชบัญญัติเป็นอันมาก สืบ ๆ กันมาดังนี้ ศุภมัสดุ ๑๕๗๑ ศก สังวัจชรเชฐมาเสศุกข ปักเข เอกาทศรีอาติตยวารพระบาทสม เด็จเอกทธรวีสอนบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ศรีองค์สมเด็จพระ นารายณ์เป็น เจ้าผู้ทรงทศพิธราชธรรม อันมหาประเสริฐเสร็จในพระที่นั่ง พระวิหารเสด็จโดยทักษิณา พิมุข สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการดํารัสว่า ถ้าอาณาประชาราษฎร์มีคดีแก่กัน ด้วยประ ๖๕ การใด ๆ มีมุขมนตรี ลูกขุนผู้พิพากษาสาขดีอาณาประชาราษฎรให้ เร่งพิจทูลลาเรียนแก่พระเจ้า อยู่หัวอย่า ให้ไว้ช้านาน จึงเสนามนตรีมุขลูกขุนผู้ เฝ้าพระบาทสมเด็จ บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลมูล คดีซึ่งมีเหตุช้านานให้ทราบ พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัว จึงดํารัสแก่มุข มนตรีลูกขุนผู้ได้พิพากษาว่า อาณาประชาราษฎรผู้มีอรรถ คดีลางคู่ติดใจนี้ถ้อยคํา มิได้คัดฟ้องตัดสํานวน ลางคู่มีถ้อยคําคัด ๖๖ ฟ้องตัดสํานวน แลผู้พิพากษามิได้แจ้ง ในบทพระอัยการ ที่ขอตัดสํานวนนั้นว่ามิได้ตัดสํานวน ทีขอมิได้ตัด สํานวน ปรึกษาว่าตัดสํานวน อาณาประชาราษฎรได้ความยากแค้นแต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าแลอาณาประชา ราษฎร มีถ้อยคําร้องฟ้องศาลแล ฟ้องร้องเรียนกฎนายลงสารกรมใด ๆ ถ้าในฟ้องแลกฎหมายนั้น มิได้ให้เรียก ก็ดี ๑ ฟ้องแลกฎหมายนั้น ได้ให้เรียกฟ้อง กับกฎหมายนั้นขอใจความมิ ๖๗ ต้องกันก็ดี ๆ อนึ่งผู้มีบรรดาศักดิ์มิได้ให้เรียกทนายต่างกันก็ดี ๓ อนึ่งผู้มีบรรดาศักดิ์ ฟ้องหาเป็นเนื้อ ความ แพ่งอาญาอุท ธรณ์ มิได้แต่งทนายให้ ว่า ต่างตัวก็ดี ๔ อนึ่งในฟ้องร้องแลกฎหมาย มิใช่ญาติพี่น้อง แก้ เก็บคดี เพื่อนฝูงมิตรสหายมาฟ้องกฎหมายก็ดี ๕ อนึ่งในฟ้องนั้นเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณพ่อแม่ปู่ยาตายาย นั้น มาหาความแก่พ่อแม่ ปู่ย่าตายายก็ดี ๖ อนึ่งมิได้เป็นญาติพี่น้อง มา


๔๖๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๖๘ กล่าวหาทรัพย์มรดกก็ดีเอาทรัพย์ มรดกมาถวายเสียก็ดี ๗ อนึ่งเป็นญาติพี่น้องกันมิได้ช่วยรักษาไข้ปลงศพเผา ผีหาทรัพย์มรดกก็ดี ๘ แลหาทรัพย์มรดกให้ผู้อื่นแก้ต่างว่าต่างก็ดี ๙ อนึ่งทรัพย์มรดก พ่อแม่พี่น้องตายพ้นปี คับ แล้วมิได้หาคดีข้ออื่น แล้ว หนึ่งคืนไปแล้ว มากล่าวหาก็ดี ๑๐ อนึ่งคดีสุภากระลาการบัง ชา แลเก็บเอาคดีซึ่งย่อมสําเร็จกัน มีสินไหมพินัยแลมาฟ้อง ร้องเรียนกฎหมายก็ดี ๑๑ แลคดีผู้ประกันว่าความต่าง ใจควา ๖๙ มมิต้องกับฟ้องแล คํากฎมายก็ดี ๑๒ อนึ่งมีพระอัยการ ปรับมจะาเป็นสินไหมพินัยแล้ว ได้ปรึกษาให้เรียก สินไหมพินัยตามพระอัยการ แลยังมิได้เสียเงิน ตามพิพากษาก่อนแลฟ้องหา อาญา อุทธรณ์ สุภากระลาการอาศาลภูดาดเหมือน มิได้อุทธรณ์ถึงใบสัจ ว่าทําข่มเหงมากเป็นน้อย เป็นนายแปลงใบสัจเปล่ง พระอัยการเสียก็ดี ๑๓ อนึ่งมีเบา เสบียงหางว่าวโรงศาลซึ่งท่าน ตั้งไว้แล้วก็ดี ๑๔ อนึ่งเป็นกระมีสาเหตุแก่ กันมิได้ฟ้องร้อง ๗๐ เรียนแต่ในเจ็ดเดือนก็ดี ๑๕ อนึ่งเป็นพิกลจริต บ้าใบ้สูงอายุสมห้าสิบ มิได้มาร้องฟ้องกฎหมาย เป็นความแพ่ง อาญา อุทธรณ์นครบาลก็ดี ๑๖ อนึ่งวิวาทกันเป็น พระภิกษุมิ ได้กล่าวหา ฯ ครั้นสึกออกมาแล้ว กล่าวหาคดี นั้นก็ดี ๑๗ อนึ่งวิวาทชกตีกันเมื่อเป็นฆราวาสมิได้กล่าวหากัน ครั้นเป็นภิกขุแล้วมากล่าวหากันก็ดี ๑๘ อนึ่ง นั้นเป็นโจรปล้นสะดมรับเป็นสัจแล้วก็ดี แลนั้นมาหาอาญาอุทธรณ์ กระลาการเจ้าทรัพย์ก็ดี ๑๙ อนึ่งเป็นสัจ ๗๑ ว่าเป็นฉมบจัดสือแลมาฟ้อง ร้องเรียนแก่หมู่ลูกขุนก็ดี ๒๐ แลราษฎรต้องคดีมีถ้อยคําตัดฟ้อง ๒๑ ประการนี้ ท่านให้ลูกขุนพิพากษา ตามพระอัยการพระราชกฤษฎีกา ถ้าต้องด้วยพระอัยการห้าม ๒๐ ประการนี้แล้ว ๑ ให้ฟ้องเสีย มาตราหนึ่ง มีผู้ร้องฟ้องกล่าวโทษมีผู้มาบอกเล่า ว่าชายทําชู้ด้วยภรรยาแลมีผู้ทําร้ายแก่ตัว ทรัพย์ด้วยประการใดก็ดี มิได้เห็นแก่จัดดู แลมีแต่ผู้บอกเล่า ท่านว่าให้เรียกหาเอาตัวผู้ วิญญาณ อวิญญาณ บอก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๖๙

๗๒ เล่านั้นมาถามก่อน ถ้าผู้บอกเล่ารับสมฟ้อง จึงให้เอาตัวต้องพิพาทมาพิจารณา ว่ากล่าวกระผู้บอกเล่า ๒ สืบไป ถ้าผู้บอกเล่ามิรับ อย่าพึ่งให้พิจารณาสืบไปเลย มาตราหนึ่งผู้มีคดีทําหนังสือฟ้องร้องแก่ขุนการ ใน ลักษณะหนังสือร้องนั้นมีชื่อ โจทก์เขาชื่อร้องฟ้องหลายคนให้ขุนการ เรียกเขาผู้เขาชื่อมาถาม ถ้ารับว่าเขาชื่อ ร้องฟ้องจึง จริงให้ชุนการเขียนโฉนดฎีกา ตราสารไปให้ส่งผู้มี คดีออกมาพิจารณา ถ้าถามผู้เขาชื่อร้องฟ้อง ๗๓ มิรับมิได้ เขาชื่อร้องฟ้องท่านพึ่งให้พิจารณา ถ้าคดีเขารวมกัน เขาให้ความให้คนหนึ่ง ว่าแผนมันผู้ว่า ชน ๓ เขานั้นชนด้วย ถ้าผู้ว่าแพ้เขาทั้งนั้นก็แพ้ด้วย มาตราหนึ่ง ผู้ชักนําภัยฆ่าชื่อช้างม้าวัวควาย ชักนํากู้หนี้ถือ สินชักนําเขามาถามลูกเมีย แลชักซื้อชักขายสารพัดทั้งปวงถ้า ช้างม้าโคกระบือแลทาสลูกหนี้ หนีหาย ๔ ผัวเมียเกิดวิวาทประการใด อย่าให้ว่าแก่ผู้ชักนํานั้นเลย เพราะให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มาตราหนึ่ง ๗๔ ผู้ใดเป็นคนอุทลุมมิได้รู้ บิดา มารดา

ปู่ย่าตายายแลมันมาร้องฟ้องให้เรียก บิดา มารดา

ปู่ย่าตายายนั้น ท่าน

ให้มีโทษทอนนั้น ด้วยลวดหนังโดยฉกรรจ์ อย่าให้มันคนร้ายนั้นดูเยี่ยงอย่าง กันต่อไปเลยอย่าให้บังคับ ๕ บัญชาว่ากล่าว คดีของมันนั้นเลย มาตราหนึ่ง คดีใดมิเป็นความมหันต์โทษ ประชาราษฎรย่อมมีว่ากัน สมัครเข้าถวายสัตย์ยินสัตย์เฉพาะพระรัตนตรัย ในอารามแลสถานที่อันใด ๆ ก็ดีมี ผู้รู้เห็นสักขีพยาน ๗๕ คนหนึ่ง ๒ คนก็ดี ท่านว่าเด็ดขาดกัน ความนั้นเป็นสูญ ถ้าผู้ใดหาฤๅปรับเอาความ ฯ ฟ้องร้องว่ากล่าว ๖ ท่ า นว่ า อย่ า ให้ บั ง คั บ บั ญ ชาความนั้ น เลย ที นี้ จ ะกล่ า วลั ก ษณะตั ด ฟ้ อ งโดยมู ล คดี แ ละคดี มี ต าม พระราชบัญญัติจัด เป็นขาดมาตรา โดยสังเขปแต่เท่านี้ ทีอนึ่งจะกล่าวด้วยลักษณะตัดสํานวนโดยคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์มีบาลีว่า ยโจธพท กรเจนํ ปฏิหากปฺสปฺธินจฺน ตมฺปิเยวปฏิภาณาเธ ทโกติปภตตฺตํ ๗๖ ยํโจทจทกวจนํ อันว่าถ้อยคําแห่ง

โจทก์ จําเลย

อันใด ทนจนํ มีคือยาอันตัดเสีย ปถิวากป ซึ่งสํานวน

ตํปํมอจนํ แม้นว่าคํานั้นแท้จริง ปกํตตํตํ อันว่านโนสาราจารยสําแดง ปชิ กายา เธทโก อิตํ ชื่อว่า ภาณเชขาตครตัดสํานวน ๚ะ๛ ทีนี้จะกล่าวสาขดี มีโดยพระธรรมศาสตร์เป็นพระราชบัญญัติจัดเป็น ๑ บทมาตราดังนี้ มาตราหนึ่ง ให้หมู่ลูก

ปภี


๔๗๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๗๗ ส่งด้วย เมื่อพิพากษา ๆ สถาน ผู้พิพากษา ๆ ว่าข้อซึ่งโจทก์หาจําเลย รับกันในสํานวนก็ฟังเอาคํา จริง โจทก์จําเลยนั้น ข้อซึ่งโจทก์หาจําเลยมิรับ เอาคํามิรับไปสอบโจทก์ ๆ จําเลย อันพิสูจน์ต่อกันนั้นก็ชอบให้ยกไว้ โจทก์ ก่อน แลข้อซึ่งโจทก์หาจําเลย มิรับไปสอบโจทก์ ๆ จําเลยอ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบ นํา จําเลย สุภากระลาการไปเผชิญพยาน ตามข้ออ้างเมื่อพิพากษาคาดว่าขุนเดโชเอาเรือมาทางนั้น ขุนเดโชพาเมียไปด้วย ที่เรือ แลจะได้ถึงชําเรา ๗๘ นํารัดกันนั้นหา ที่เรือขุนแสงนั้นหามิได้ แลขุนแสงกล่าวโทษขุนเดโชว่าดังนี้ เป็นเนื้อความข้อใหญ่ ย่นย่อ ข้อความแอบแฝงอยู่ ถ้าเป็นคนปัญญาน้อย ก็จะแพ้ขุนแสง ๆ คิดแต่จะให้ขุนเดโชปรับไหมทําขวัญเรือ ๕ ก็ชอบให้ระวางไปปรับ ว่าขุนแสงฟ้องหากล่าวโทษ ขุนเดโชมิเป็นสัจนั้นโทษขุนแสง นั้นจะเป็นประการใด ๚ กระทงหนึ่งหากันโดยทิศาปาโมกข์ นายประญาหานายประญา ก็นายอินประญาดา ต่อ หามิได้ นายจันประญาด่าสุนัขว่าใจ ๗๙ หมาเย็ดแม่ขบไอ้ลูกโคกูตาย ต่อ หามิได้ โจทก์ รับคําเอาคํามิรับไปสอบโจทก์ จําเลย

เมื่อพิพากษาสองสถาน ท่านผู้พิพากษา ๆ ซึ่งโจทก์หาจําเลยมิ โจทก์ อ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบให้ จําเลย นําสุภากระลาการไป

เชิญพยานตามข้ออ้าง๚ แลนายอินประญา ติดใจนายจันประญา มีหนังสือฟ้องนั้น ๆ นั้นติดใจอยู่ แลเมื่อ พิพากษาขาด ทางผู้พิพากษา ๆ ว่านายจันประญา ๘๐ ฟ้ องหากล่ า วโทษ นายอิ น ประญาแก้ แลให้ การตามฟ้ อง นายจั น ประญาโจทก์ ๆ มิ ป ฏิ เ สธว่ า หามิ ได้ นั้ น พิพากษาเห็นว่านายจันประญา หนังสือหาตัวนั้น ก็ชอบให้ระวางไปปรับโทษนายจันประญาจะเป็นประการ ๖ ใด ๚ กระทงหนึ่งหากันโดยอรรถทิศาปาโมกข์ นายใจหานายสาว่าทํานาเคียงไร่กลัว แลนายสาเอาจอบ จริง ฟันคันนารุ้ง ให้เป็นคุ้งเข้ามา ถึงเนื้อนา ฯข้าฯ ครั้นว่าหาให้หาความ ต่อ ฯข้าฯ นายสาให้การว่า หามิได้ หามิได้ ฯข้าฯ ทํานาเคียงไร่กับนายใจ แล จริง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๗๑

๘๑ แขมงองคืนที่ริมคันนาเนื้อนา

ต่อ หามิได้

ฯข้าฯ เอาจอบโค่นแขมเสีย แลนายใจกล่าวโทษ ฯข้าฯ ว่าเอา

จอบฟันคันนารุ้ง เข้าถึงเนื้อหานายใจอีกเล่า เมื่อพิพากษาสองสถาน ท่านผู้พิพากษา ๆ ข้อซึ่งโจทก์หา จริง โจทก์ จําเลยรับกันในสํานวน นั้นก็ฟังเอาคํา โจทก์ นั้นแลข้อซึ่ง จําเลย มิรับเอาคํามิรับไปสอบ ๆ จําเลย จําเลยอ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบให้ โจทก์ นําสุภากระลาการไปเชิญพยานตามข้ออ้าง ๚ เมื่อ จําเลย โจทก์ พิพากษา ๑ ว่า จําเลย นําสุภากระลาการไปเผชิญดูไม่เห ๘๒ เห็นรอยจอบฟันเข้ามาถึงเนื้อหา นายเห็นรอยจอบรุ้งเป็นคุงโอนอยู่นั้น พิพากษาเห็นว่านายใจ หามิได้เป็นสัจมิ ถึงเนื้อนา เห็นเท็จสับปลับข้างนายจันใจ แลนายสาแก้ แลให้การมิได้ฟันรุ้งคุงเข้าไปฟันริมคันนานั้น เมื่อ กระลาการพิจารณาคูคันนาเห็นรุ้งคุงเข้าไปแต่ว่ายังมิถึงเนื้อนานั้น เห็นว่านายสาอยู่ระวางอุงรุ้งนั้น ๗ โจทก์ เห็นเท็จสับปลับข้างนายสายอยู่นั้น ก็ชอบให้ระวางไปปรับฝ่าย จะเป็นประการใด ๚ กระทง จําเลย หนึ่งหากันโดยอรรถทิศา ๘๓ อ ปาโมกข์ หมื่นแก้วหานายจิดว่ามาขอไม้ไผ่ลําหนึ่ง หมื่นแกวัดให้จริง นายจิดไม่ให้ ต่หามิ ได้ ลมปะพะ จริง อ ต่อฯข้าฯ นายจิดให้การว่าลูกหมื่นแก้ว หลังคาเรือนลง ต่หามิ ลู ก หมื น ่ แก้ ว เป็ น ไข้ ต าย ได้ หามิได้ ป่วยเป็นไข้ตาย แล ฯข้าฯ ไปขอหมื่นแก้วแลไม้ล้มปะทะหมื่นแก้ว หมื่นแก้วให้ฯข้าฯ ตัดเสีย ฯข้าฯ จึง จริง จริง ตัด แล้วหมื่นแก้วกล่าวโทษ ฯข้าฯอีกเล่า เมื่อพิพากษา ๆ สถานท่านผู้พิพากษา ข้อซึ่งโจทก์จําเลยรับกัน จริง นั้นในสํานวน นั้นก็ฟังเอาคํา โจทก์ จําเลย นั้นได้แลข้อซึ่งโจทก์ ๘๔ หาจําเลยมิรับเอาคํามิรับ ไปสอบโจทก์ ๆ จําเลยครั้นพิสูจน์ต่อกัน นั้นก็ชอบให้ยกไว้ก่อน แลข้อซึ่ง โจทก์ จําเลย โจทก์ โจทก์ จํ า เลย แลข้อซึ่ง มิรับเอาคํามิรับไปสอบโจทก์ ๆ อ้างสังกิจทิพยาน นั้นก็ชอบ จําเลย นําสุภากระลาการ


๔๗๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

ไปเชิญพยานตามข้ออ้าง เมื่อพิพากษาขาดท่านผู้พิพากษา ๆ ว่าลูกหมื่นแก้วเป็นไข้ตายแล้วนายจิดจึงขอไม้แล ไม้ล้มปะพะ ๆ เรือนหมื่นแก้วอยู่ จึงให้นายจิดตัดเสียแล้ว หมื่นแก้วเอาเท็จมิจริงมาฟ้องกล่าวโทษจิดอีกเล่า แลมีหนังสือของ ๘๕

๘ ตัวนั้นก็ชอบให้มีระวางไปปรับ โทษหมื่นแก้วจะเป็นประการใด ๚ ทงหนึ่งหากันโดยทิศาปาโมกข์นายเถด หมื่นจงษรยุด ว่าหมื่นจงษรยุด มาหานายเถด นายเถดมิอยู่ อยู่แต่ภรรยานายเถด ๆ บอกว่านายเถดไม่ จริง มิรู้ ต่ อ อยู่ หมื่นจงษรยุดมิฟัง หามิได้ ขึ้นทับ ทับภรรยานายเถด ต่อ ได้ความอับอาย ต่อ ฯข้าฯ หามิได้ มิรู้ จริง หมื่นษรยุดให้การว่า ฯข้าฯไปหานายเถด พบแต่ภรรยานายเถด แลภรรยานายเถดจะบอกเถดไม่อยู่หา มิได้ ต่อ หมื่นจงษรยุดขึ้นบนทับนายเถด ภรรยา จริง หามิ ๘๖ นายเถดจริง แลภรรยานายเถดบอกว่านายเถดไม่อยู่ ฯข้าฯ จึงกลับมาเรือน ฯข้าฯ จริงฯ เมื่อพิพากษา ง จริ ๒ สถานท่านผู้พิพากษา ๆ ว่าข้อซึ่งโจทก์หาจําเลยรับกันในสํานวนนั้นก็ฟังเอาคําโจทก์ นั้นได้แลข้อซึ่ง จําเลย โจทก์ โจทก์หาจําเลยมิรับเอาคํามิรับไปสอบ จําเลย ครั้นพิสูจน์ต่อกันนั้นก็ชอบให้ยกไว้ก่อน แลข้อโจทก์หา จําเลยมิรับเอาคํามิรับไปสอบโจทก์ ๆ จําเลยอ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบให้โจทก์ จําเลย เชิญพยานตามข้ออ้าง ฯ เมื่อ

นํ า สุ ภ ากระลาการไป

๘๗ พิพากษาขาด ท่านผู้พิพากษา ๆ นายเถดฟ้องหากล่าวโทษ หมื่นจงษรยุดมิจริง เอาเท็จสับปลับมากล่าวหา หมื่น จงษรยุ ด ๆ ให้การนายเถดรับในคําให้ การหมื่ นจงษรยุด เป็ นใจความหลายข้อนั้น ก็ช อบให้ฟังเอาคํ า กระลาการ พิพากษา ๆ สถานนั้นว่า โจทก์ รับกันในสํานวนก็ฟังเอาคําใดนั้น ก็ฟังเอาคํา จําเลย พิพากษาขาด เห็นเนื้อความนายเถดแพ้ หมื่นจงษรยุดนั้นได้ ก็มีระวางไปปรับว่าโทษ นายเถดจะเป็น ๙ ประการใด ๚ เนาว


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๗๓

๘๘ รัตนทิศาปาโมกข์ ๙ คนกล่าวกันไว้เป็นกระบิลความหลักไชเพื่อจะได้เป็นโอวาทสั่งสอนแก่ตัวผู้นั้น ๆ ก็จะ จําเริญสวัสดีพิทักษ์มงคลพระชลสุธี ประกอบไปด้วยโภไคยไหสวรรค์ไชยยิ่งแท้แล คนความทั้งสี่ประการ ท่าน กล่าวไว้ดั งนี้ ความอันหนึ่งดังกระแสน้ําไหล ความอันหนึ่ งดังกบเต้ น ความอันหนึ่งดังชายกระตุ ก ความ อันหนึ่งราชสิงหดําเนิน ความอันหนึ่งเม็ดงาเม็ดข้าวสารหักปรากฏกันอยู่ ๚ ผู้เสนาธิบดีพิจาร ๘๙ ณาแลประกอบไปตามปรีชา จงให้เห็นผิดแลชอบทั้ง ๕ ประการดังท่านกล่าวไว้ ๚ กฎ ให้พระหลวงขุนหมื่น กรมการซึ่ง พิจารณาความมิดูฝ่ายพยาน ๓ ประการในราชกฤษฎีกา ฝ่ายพยาน ๓ ประการทิพยานประการ หนึ่งนั้นฟังเอาคําได้ ให้ถามผู้อ้างว่าสมณะชีพราหมณ์อยู่ในศีล กลัวแก่บาปละอายแก่บาปนั้น เอาเป็นพยานได้ ถ้าอ้าง ชาย ฝ่ายฆราวาสผู้ยศถาศักดิ์ รู้ธรรมไม่เอาเป็นองค์พยานมิได้ คฤๅ(คือ)บิดา หญิง มารดาญาติพี่น้องไพร่ฟ้าข้าคน มะเร็ง ๙๐ คนเป็นพยาธิขี้เรื้อนกุดถังนั้น เป็นอุตริพยานจะฟังเอาถ้อยคํามิได้ เป็นคนบาปทํามาแต่กําเนิด ถ้าประการ หนึ่งเป็นมิตรสหายสมพะเลด้วยกัน เป็นแพทย์หมอตําแยเอาเป็นอุตริพยานดังนี้ ฟังเอาคํามิได้เลย บทพยาน แต่ เ ท่ า นี้ ๚ บทให้ พิ พ ากษา ๆ สองสถานว่ า โจทก์ ห าจํ า เลยรั บ จํ า เลยให้ ก ารแลโจทก์ รั บ คํ า ให้ ก ารแล รับกันในสํานวนนั้นก็ชอบให้ฟังเอาคํานั้นได้ แลข้อใดกระทงใด โจทก์หาจําเลยแก่ให้การมิ โจทก์ จําเลย รับแล โจทก์ จําเลย ๙๑ อ้างสังกิจทิพยานนั้นก็ชอบให้ โจทก์ จําเลย

นําสุภากระลาการไปเชิญพยานมาใส่ด้วยสํานวน แลข้อใด

โจทก์จําเลยมิรับ โจทก์จําเลยครั้นพิสูจน์ต่อกันนั้น เมื่อใดเอาสํานวนซึ่งกราบทูล มีรับสั่งแลพิพากษาให้ครั้น พิสูจน์ต่อกัน จึงกระทําตามที่รับสั่ง พิพากษาซึ่งข้อใดกระทงใด โจทก์หามีแจ้งจําเลยแก่แลให้การมิแจ้ง ไปเชิญ พยานมาใส่ด้วยสํานวน นั้นก็ชอบให้คัดโจทก์จําเลยให้แจ้ง จงทุกข้อทุกกระทง บทให้พิพากษา ๒ ๑๑ สถานแต่เท่านี้ ๚


๔๗๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

๙๒ กระทงหนึ่งหาก...พิสูจน์มิได้เลย ถ้าแลจะพิจารณาเพื่อให้ถึงพิสูจน์ อย่าเพื่อให้ถึงพยานให้พิจารณาเอาแต่ พิสูจน์รุดก็ถึงพยานแล ข้อพิรุธหาว่าชายหนึ่งนี้นอนกับ ฯข้าฯ แต่สองคนแลชายนี้ตื่นคืนก่อนเงิน ฯข้าฯ ห่อผ้า ไว้สองตําลึงมาด้วย ครั้นถามชายนั้นมิรับ กระลาการพิจารณาเจ้าเงิน แพ้ดังหาผิดหาห่อเงินเป็นเงินห่อผ้า ครั้น พระเจ้ากระทรวงพิพากษาให้สุดขโมยแพ้ พระพุทธิเจ้าหัวจริงดังลักใช้ไว้ดังนี้ ๚ ถ้าแพ้สุดก็ดีถ้าจนแก่ (สิ้นฉบับแต่เพียงเท่านี้)


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๗๕

ภาคผนวก


๔๗๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |๔๗๗

โครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรตและจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

๑.

ชื่อโครงการ โครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรตและจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

๒.

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๓.

ผู้รับผิดชอบโครงการ

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

สอดคล้องกับภารกิจและยุทธศาสตร์ของคณะศิลปศาสตร์และรองรับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ภารกิจของคณะศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ของคณะศิลปศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการ ให้สาธารณชนมีความเชื่อมั่นในสถาบันฯ ด้านการจัดการเรียนการสอน

พัฒนาให้เกิดสมรรถนะที่หลากหลายในการทํางาน

ด้านการวิจัย

พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย

ด้านการบริการวิชาการ

สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะและทํานุบาํ รุงศิลปวัฒนธรรม

ด้านการทํานุบาํ รุงศิลปวัฒนธรรม

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รองรับยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างความเป็นเลิศในงานวิจัย สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และความเป็นเลิศทางวิชาการ สร้างความเป็นเลิศในการบริการสุขภาพและบริการวิชาการ สร้างความเป็นสากล รองรับวัฒนธรรมองค์กร (Core Values) ของมหาวิทยาลัยหรือไม่ รองรับ ไม่รองรับ


๔๗๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

หลักการและเหตุผล วรรณกรรมท้องถิ่นถือว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาศาสตร์ต่างๆ ทั้งภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการศึกษาองค์ความรู้ของท้องถิ่นต่างๆ ทั้งวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรที่ถ่ายทอดเรื่องราวในวรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่นจึงนับได้ว่ามีความสําคัญยิ่ง ต่อการค้นคว้า ศึกษา และวิจัยด้านไทยศึกษา ในปัจจุบันผู้ ศึกษา ค้นคว้า และอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่นนั้นยังถือได้ว่ามีจํานวนไม่มาก ประกอบกับยังมีวรรณกรรมท้องถิ่นอีก เป็นจํานวนมากที่ยังไม่มีผู้ศึกษา ค้นคว้า หรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ดังนั้นโครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สํารวจ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง โดยศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนี้จึงถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการค้นคว้า ศึกษา วิจัยด้านไทยศึกษา ทั้งยังเป็นการช่วย อนุรักษ์และเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางอีกทางหนึ่งด้วย ที่ผ่านมาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ได้มีโอกาสทํางานร่วมกับชุมชนต่างๆ ในท้องถิ่นภาคกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านภาษาและวัฒนธรรม อาทิ โครงการที่เกี่ยวข้องกับศาลายาศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นการศึกษา และ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และการดําเนินการสํารวจ อนุรักษ์ และ ศึกษาเอกสารโบราณของวัดศรีสุดาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ระหว่างการดําเนินงานเหล่านี้พบว่ายังมี วรรณกรรมท้องถิ่นหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับการศึกษา และตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งข้อมูลยังคงอยู่ในรูปแบบเอกสารโบราณ เช่น ใบลาน สมุดข่อย เป็นต้น ในโอกาสที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้งศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไทยศึกษา รวมทั้งผลิตงานวิจัยและโครงการด้านไทย ศึกษาที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งนําไปสู่แนวทางการ ดําเนินงานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ประการหนึ่งซี่งรองรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว คือ การปริวรรตเอกสารโบราณ จัดพิมพ์ และเผยแพร่เอกสารงานวิจัย ตํารา และผลงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา โดยเฉพาะวรรณกรรมที่ยังไม่เคยได้รับ การตีพิมพ์มาก่อน นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาดังกล่าวยังได้สอดคล้องกับพันธกิจที่สําคัญ อย่างหนึ่งของสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ที่เน้นบทบาทในการบริการวิชาการด้านศิลปศาสตร์ที่สอดคล้อง กับความต้องการของชุมชนและสังคม ตลอดจนการทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และส่งเสริมภูมิปัญญาไทยด้วย ดังจะเห็นจากการดําเนินงานเกี่ยวกับการทํางานร่วมกับชุมชนต่างๆ ในท้องถิ่นภาคกลางของสาขาวิชาภาษาไทย ข้างต้น ด้วยเหตุนี้ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ จัดโครงการสํารวจและปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม ท้องถิ่นภาคกลาง และสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยกับ ปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ศูน ย์สยามทรรศน์ศึ กษาเป็นศูนย์กลางของฐานข้อมู ล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๗๙

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ซึ่งโครงการสํารวจและปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาค กลางนี้นับว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมกิจกรรมหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และพันธกิจของสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔.

วัตถุประสงค์ของโครงการ ๑. เพื่อปริวรรต และเรียบเรียง พร้อมทั้งวิเคราะห์เอกสารโบราณ หรือเอกสารท้องถิ่นที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ท้องถิ่นภาคกลาง ๒. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทําฐานข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ๓. เพื่อเผยแพร่และพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ๔. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติในเชิงมนุษยศาสตร์ระหว่างนักวิชาการ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยกับปราชญ์ ชาวบ้าน หรือชุมชนท้องถิ่น

๕.

ระยะเวลาการปฏิบัติงาน เมษายน ๒๕๕๔ – มิถุนายน ๒๕๕๔

๖.

จํานวนผู้เข้าร่วมโครงการ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยากรและผูด้ ําเนินการเสวนา นักวิชาการและผูส้ นใจทั่วไป

๗.

๘.

๑๐๐ ๑๐ ๔ ๑๐๐

คน คน คน คน

สถานที่ปฏิบัติงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเขตพื้นที่ภาคกลางที่เก็บรักษาวรรณกรรมท้องถิ่น ลักษณะการปฏิบัติงาน ๑. สํารวจเส้นทางการเดินทาง และพื้นที่ต่างๆ ในภาคกลาง ที่เหมาะสมแก่การลงพื้นที่เก็บข้อมูล ๒. สํารวจเอกสาร และรวบรวมรายชื่อหนังสือ งานวิจัย และตํารา ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทําเป็นบัญชี รายชื่อหนังสือ ๓. สํารวจและเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ของภาคกลาง ที่ได้คัดเลือกไว้ ๔. ปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ๕. นําข้อมูลที่ได้จากการปริวรรตมาเรียบเรียง และวิเคราะห์ พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นเอกสารวิชาการ ๖. จัดการบรรยายหรือเสวนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลการดําเนินงานและองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย


๔๘๐

๙.

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

งบประมาณ งบประมาณสนับสนุนจากคณะศิลปศาสตร์

๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. องค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่ ๒. สามารถผลิตฐานข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ๓. สร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยกับนักวิชาการต่าง มหาวิทยาลัยและปราชญ์ชาวบ้าน ๔. สามารถนํ า ไปใช้ ใ นการขยายผลเพื่ อส่ ง เสริ ม ให้ ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษาเป็ น ศู น ย์ ก ลางของฐานข้ อ มู ล วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ๑๐. ดัชนีชี้วัดความสําเร็จของโครงการ (KPI) ๑. จํานวนวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางทีไ่ ด้รับปริวรรตและเผยแพร่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ เรื่อง ๒. จัดทําบัญชีรายชื่อของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่สาํ รวจพบได้ ๑ เล่ม ๓. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ มีความพึงพอใจ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๘๑

คําสั่ง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๑๑๕ / ๒๕๕๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินโครงการสยามปกรณ์: เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรตและจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง -----------------------------------ด้วยสาขาวิชาภาษาไทย ร่วมกับศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดโครงการสยามปกรณ์: เพื่อศึกษา สํารวจ ปริวรรตและจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ขึ้น เพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านวรรณกรรมท้องถิ่นให้เป็นระบบ และ เผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่สาธารณชน ในการนี้เพื่อให้การดําเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ คณะศิลป ศาสตร์จึงขอแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการดําเนินโครงการ ผู้เขียน และกองบรรณาธิการ ดังมีรายนามต่อไปนี้

ที่ปรึกษาโครงการ ๑. ๒. ๓. ๔.

ศ.พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ รศ.สุกญ ั ญา สุจฉายา ผศ.ดร.วิรัตน์ คําศรีจันทร์ อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์

ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน สาขาวรรณกรรมท้องถิ่น ผู้อํานวยการศูนย์คติชนวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

คณะกรรมการดําเนินโครงการ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘.

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์วริศรา โกรทินธาคม นางสาวพรทิพย์ ตันติวุฒิปกรณ์ นางสาวสมฤทัย ยิ้มแฉ่ง นางสาวอรพรรณ ลิม้ ติ้ว นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว นายธนภัทร พิริยโยธินกุล นายนัฐพร ปะทะวัง

คณะผู้เขียน ๑. ๒. ๓. ๔.

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว นายธนภัทร พิริยโยธินกุล นายนัฐพร ปะทะวัง

ประธานคณะกรรมการ รองประธานคณะกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


๔๘๒

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

กองบรรณาธิการ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล นางสาวพรทิพย์ ตันติวุฒิปกรณ์ นางสาวอรพรรณ ลิม้ ติ้ว นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว นายธนภัทร พิริยโยธินกุล นายนัฐพร ปะทะวัง

ทั้งนี้ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ประสานงานโครงการ ศึกษาและสํารวจจัดทําบัญชีรายชื่อ วรรณกรรมท้องถิ่น ภาคกลาง คัดสรรวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อปริวรรต ตลอดจนดําเนินการปริวรรต จัดพิมพ์ผลงานปริวรรต และเผยแพร่ความรู้ ดังกล่าวสู่สาธารณะ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป จนกว่าการดําเนินงานจะแล้วเสร็จ สั่ง ณ วันที่

๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

(ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา) รักษาการแทนคณบดีคณะศิลปศาสตร์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๘๓

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา (Center of Thai Studies) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ เดื อ นธั น วาคม พ.ศ.๒๕๕๓ สั ง กั ด คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นองค์กรที่มุ่งศึกษาและค้นคว้าองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านไทยศึกษาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ทั้งยังส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย และ สร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านไทยศึกษา ผลิต งานวิจัยและโครงการด้านไทยศึกษาที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของสั งคม ตลอดจนส่ งเสริ มและสนั บสนุ น ให้ นั กวิ ชาการในศาสตร์ แขนงต่ า งๆ ทั้ งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยที่สนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยได้ทํางานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้ด้าน ไทยศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ เป็นจํานวนมาก โดยมีแผนการจัดทํา ฐานข้อมูลงานวิจัยด้านไทยศึกษา เพื่อเป็นคลังความรู้ในการศึกษาวิจัยและสร้างความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน ของงานวิจัยและโครงการต่างๆ ด้านไทยศึกษา จัดบรรยายและสัมมนาวิชาการ ตลอดจนการประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาของนักวิชาการศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับองค์ความรู้ในสังคมไทยในด้านต่างๆ แก่ผู้สนใจ อันจะ นํามาสู่การสืบทอดและอนุ รักษ์ องค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่ างๆ ในสั งคมไทย เพื่อกระตุ้ นความสนใจแก่ นักวิชาการให้เกิดการเรียนรู้และนํามาสู่การศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ยังมีการปริวรรตเอกสารโบราณ จัดพิมพ์ และเผยแพร่เอกสาร งานวิจัย ตํารา และผลงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ใน ศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวกับสังคมไทยที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะข้อมูลที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ มาก่อน ตลอดจนบริการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องศาสตร์แขนงต่างๆ ในสังคมไทยแก่หน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ปัจจุบัน ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาตั้งอยู่ที่ห้อง ๒๐๓ ชั้น ๒ อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศั พท์ ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๑-๔ ต่อ ๒๐๒ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๔๔๑๐ เปิดให้บ ริการค้ นคว้า คลั งข้อมูล เพลง พื้นบ้านไทย คลังข้อมูลเอกสารโบราณ และคลังข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนศาลายาและจังหวัดนครปฐม ในวันและเวลาราชการ


๔๘๔

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๘๕

คณะกรรมการบริหารศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑. ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิง สุริยา รัตนกุล ๒. อ. วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ๓. ผศ. ดร. วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ๔. อ. ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๕. อ. อรวี บุนนาค ๖. อ.ศิธรา จุฑารัตน์ ๗. อ. วิภา งามฉันทกร ๘. อ. ชนกพร พัวพัฒนกุล ๙. อ. ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา ๑๐. อ. ฐิติภา คูประเสริฐ ๑๑. อ. วศวรรษ สบายวัน ๑๒. อ.วริศรา โกรทินธาคม

(ที่ปรึกษา) (ที่ปรึกษา) (ที่ปรึกษา) (ประธาน) (รองประธาน) (รองประธาน) (กรรมการ) (กรรมการ) (กรรมการ) (กรรมการ) (กรรมการ) (กรรมการและเลขานุการ)


๔๘๖

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๘๗

เอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา เอกสารวิชาการลําดับที่ ๑ ปฐมสาร

“ปฐมสาร” เป็นหนังสือสโมสรข้าราชการจังหวัดนครปฐมที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานเทศกาล นมัสการพระปฐมเจดีย์ของทุกปี เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยประวัติศาสตร์จังหวัดนครปฐม “ปฐมสาร” เล่มสําคัญคือฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคํานมัสการพระปฐมเจดีย์ คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพบในจารึกที่ พระปฐมเจดี ย์ ความเป็ น มาของเมื องนครปฐม ประวัติ พระประโทณเจดีย์ ประวั ติ อํา เภอสามพราน เรื่ อง พระราชวังสนามจั นทร์ และสุนั ขทรงเลี้ย งของรั ชกาลที่ ๖ “ย่ า เหล” เรื่ องคํา ขวั ญ ประจํ า จั งหวัด นครปฐม นอกจากนี้ยังมีภาพและเรื่องโฆษณาต่างๆ ในสมัยนั้นเป็นจํานวนมาก หนังสือ “ปฐมสาร” ฉบับนี้ นอกจากจะ บันทึกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัดนครปฐมในอดีตแล้ว ยังทําให้ทราบถึงเอกลักษณ์ของจังหวัด นครปฐมในอดีต ที่ไม่ปรากฏการกล่าวถึงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ส ะท้อนจากคําขวัญจังหวัดนครปฐมใน ขณะนั้ น โดยศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ กษา คณะศิ ล ปศาสตร์ ได้ รั บ อนุ ญ าตจากนายแพทย์ วั ฒ นา เที ย มปฐม ผู้อํานวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑลและประธานสภาวัฒ นธรรมอําเภอพุทธมณฑล ให้ยืมต้น ฉบับหนังสื อ ดังกล่ า วมาจั ด พิ มพ์ เนื่ องจากมี ความเห็ น ร่ ว มกั น ว่ า หนั งสื อดั งกล่ า วมี ความสํ า คั ญ และมี คุณค่ า อย่ า งยิ่ งต่ อ การศึกษาประวั ติศาสตร์ และวั ฒ นธรรมท้องถิ่ นของจังหวั ดนครปฐม อีกทั้ งยังเป็ นการอนุ รั กษ์และต่ออายุ เอกสารให้ยังคงอยู่สืบไป


๔๘๘

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๒ สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๑ งานสํารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

“สยามปกรณ์ปริวรรต” เป็นหนังสือที่ได้คัดสรรวรรณกรรมจํานวนหนึ่งจากการสํารวจวรรณกรรม ท้องถิ่นภาคสนามในพื้นที่ภาคกลางมาปริวรรต โดยในเล่ม ๑ นี้ ได้คัดเลือกและนํามาจัดพิมพ์จํานวน ๑๐ เรื่อง แบ่งเป็น หมวดวรรณกรรมนิทาน จํานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ษรีเมืองกลอนสวด ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ และ สังขปัตตชาดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัดจันทบุรี หมวดวรรณกรรมคําสอน จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ โลก นิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ หมวดวรรณกรรมตํารา จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ พระสมุทอธิไทยโพธิ บาท ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี หมวดวรรณกรรมศาสนา จํานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัด ตองปุ จังหวัดลพบุรี มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช ฉบับวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี พระอานิสงส์การสร้าง สะพาน ฉบับวัดเขาชําห้าน จังหวัดจันทบุรี มรณสงคราม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี และ พระมาลัย กลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี หมวดพงศาวดารและประวัติศาสตร์ จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ กฏหมายหลักไชย ฉบับวัดพิกุลทอง สิงห์บุรี โดยศูนย์ฯ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของศูนย์ และ เครือข่าย เป็นผู้ปริวรรต และเขียนบทนําเรื่อง เพื่อจะยังประโยชน์แก่ผู้อ่านให้ทวีมากขึ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๘๙

ผู้สนใจเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหิดล ร้านหนังสือ Hamony มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร้านริมขอบฟ้า หรือติดต่อโดยตรงได้ที่ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ห้อง ๒๐๓ ชั้น ๒ อาคารที่ทําการชั่วคราวคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๑-๔ ต่อ ๒๐๒ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๔๔๑๐


๔๙๐

| สยามปกรณปริวรรต เลม ๑


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.