Siampakorn3

Page 1


สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

นายดรณ์ แก้วนัย บรรณาธิการ

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๕๗

สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ISBN 978-616-279-390-5 พิมพ์ครั้งแรก ๕๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๕๗ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่

ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์

ประธานที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

กองบรรณาธิการ นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว

เจ้าหน้าที่วิจัยประจาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

ภาพปกหน้า ปกหลัง และลายเส้นท้ายเรื่อง ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดบุปผาราม (วัดปลายคลอง) ตาบลวังกระแจะ อาเภอเมือง จังหวัดตราด เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นผสมกับศิลปะจีนและแนวคิดจากวรรณคดีจีน ออกแบบปก นายสุทธิพงษ์ ตะเภาทอง

นักวิชาการโสตทัศนศึกษา คณะศิลปศาสตร์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

คานิยม โครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อการศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง โดยศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดาเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๕๔ ตามวัตถุประสงค์ ของโครงการที่ต้องการเก็บ รวบรวมข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางตามจังหวัด ต่างๆ ซึ่งยังไม่ได้รับการปริวรรตและจัดพิมพ์เผยแพร่ และนับวันแต่จะสูญหายเพราะขาดการดูแลรักษาและ อนุรักษ์อย่างถูกวิธี โดยนาข้อมูลดังกล่าวมาปริวรรต เรียบเรียง และวิเคราะห์ เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่และพัฒนา องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางในโอกาสต่อไป ผลจากการดาเนินโครงการ “สยามปกรณ์” ดังกล่าวทาให้ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาสารวจพบข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเพิ่มเติมจานวนมาก ทั้ง วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมคาสอน วรรณกรรมตารา วรรณกรรมศาสนา และวรรณกรรมประวัติศาสตร์ ซึ่ง บั น ทึ กในสมุดไทยและใบลานทั้ งอักษรขอมไทยและอักษรไทย จึงได้จัดท าบั ญ ชี และทาส าเนาวรรณกรรม ดังกล่าวไว้และน าข้อมูล มาจัดพิมพ์เผยแพร่ ตามลาดับ จนส าเร็จเป็นผลงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ อย่างไรก็ดี แม้มีการศึกษาและค้นคว้า ต้นฉบับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางมาโดยตลอดแต่ ยังพบว่าข้อมูล เอกสารโบราณต่างๆ เหล่านั้นยังคงเหลือให้ค้นพบอีกจานวนมาก ดังนั้น ในพุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้ คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย มหิ ดล จึ งสนั บ สนุ น ให้ ศูน ย์ส ยามทรรศน์ ศึก ษาจัด ท าโครงการ “สยามปกรณ์ ” เพื่ อ การศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ระยะที่ ๓ ขึ้นอีกครั้ง โดยความร่วมมือ กับภาคีเครือข่าย จนสามารถนาข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง จานวน ๑๐ เรื่อง ได้แก่ หมวดวรรณกรรม ศาสนา เรื่องพระมหาเวสสันดรกลอนสวด วัดกลางวรวิหาร อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พระศรีอาริย์ เมืองลพบุรี พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมวดวรรณกรรมนิทาน เรื่อง นกยูงทอง เล่ม ๑ นางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติและฉบับวัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด กลอนสวดเรื่อง แตงอ่อน บทละครร้อง เรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี และ หมวดวรรณกรรมตารา เรื่อง เพลงยาว “คามหาภู่” โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์ (อัฏฐกาล) “ดูดาวดูฤกษ์” ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด โดยนาวรรณกรรมเหล่านี้ มาปริวรรตเป็นภาษาไทยปัจจุบัน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสและเข้าใจเนื้อหาของ วรรณกรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น ในนามของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะก่อเกิดความ ประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้สนใจในวรรณกรรมท้องถิ่นทั่วไป ที่มี ส่วนในการสนับสนุน อนุรักษ์ และสืบต่อองค์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางให้คงอยู่ จึงขอขอบคุณประธานศูนย์ สยามทรรศน์ศึกษา เจ้าหน้าที่ และเครือข่าย ที่ร่วมแรงร่วมใจ วิริยะ อุตสาหะ จนสาเร็จเป็นหนังสือที่มคี ุณค่า


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เล่มนี้ขึ้น ซึ่งจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคม ตลอดจนเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญทางปัญญาของชาติ ไทยสืบไป

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

คานา วรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการบันทึกและถ่ายทอดเรื่องเล่า ตานาน ประสบการณ์ รวมถึงคาสอนของผู้คนในแต่ละสมัยผ่านตัวหนังสือ โดยการขีดเขียนหรือจารลงในวัสดุต่างๆ เพื่อเป็นการเก็บ รวบรวมเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นไว้ให้เป็นหลักเป็นฐาน เพื่อการจดจา และส่งต่อให้แก่คนรุ่นหลัง การบันทึกวรรณกรรมลายลักษณ์ทาได้หลายรูปแบบ ทั้งการจารึกลงบนผิววัสดุต่างๆ อาทิ แผ่นไม้ แผ่ น ศิ ล า แผ่ น ทอง ใบลาน หรื อ สมุ ด ข่ อ ย วั ส ดุ ที่ ใช้ ในการจารึ ก อาจแตกต่ างกั น ไปตามบริ บ ทของพื้ น ที่ วัตถุประสงค์และการใช้สอย รวมถึงตัวอักษรที่ใช้ในการจารึกก็แตกต่างกันด้วย ในพื้นที่ภาคกลางสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมบันทึกวรรณกรรมลายลักษณ์ลงในสมุดข่อยหรือสมุด ไทยดา-ไทยขาว หรือจารลงในใบลาน โดยใช้อักษรไทยโบราณและอักษรขอม มีเนื้อหาทั้งที่เป็นนิทาน ตานาน เรื่องประโลมโลก แม้กระทั่งเรื่องประวัติศาสตร์ โดยมีแหล่งที่มาจากวรรณคดีมุขปาฐะ ซึ่งแต่งขึ้นในท้องถิ่นแล้ว ถ่ายทอดสืบต่อกันมาแบบปากต่อปาก หรือผ่านกลอนขับประเภทต่างๆ การบันทึกในลักษณะนี้พบเห็นได้ทั่วไป ตามวัดในพุทธศาสนา เนื้อหาของวรรณกรรมลายลักษณ์ที่พบในพื้นที่ต่างๆ ในภาคกลาง แม้จะมาจากวรรณคดีเรื่องเดียวกัน แต่อาจมีเนื้อหาบางตอนที่แตกต่างกันออกไป โดยมีการเสริมลักษณะเฉพาะหรือคติความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น บางครั้งจะพบว่ารายละเอียดบางอย่าง เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อตัวละคร ชื่อสถานที่ หรืออนุภาคสาคัญ ถูกปรับเปลี่ยน ไปจากต้นฉบั บเดิม จึงอาจถือว่าเป็ นวรรณกรรมเรื่องเดียวกันแต่เป็นคนละสานวนไป หรือหากมีการผนวก เนื้ อหาเรื่องต่างๆ และปรับ เปลี่ ยนรายละเอียดจนแตกต่างไปจากโครงเรื่องเดิมก็อาจถือได้ว่าเป็นวรรณคดี ท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ได้ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมลายลักษณ์ ซึ่งควรค่าแก่การรวบรวมและบันทึกไว้เพื่อ ประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมของไทย ทั้งนี้ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ในฐานะหน่วยงานวิจัย ด้านไทยศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุ น และเผยแพร่ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับไทยศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยด้านวรรณกรรมท้องถิ่นภาค กลาง ได้จัดทาโครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อการศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาค กลาง ขึ้นเป็นระยะที่ ๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานที่แสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เข้ามา คุกคาม อันจะทาให้มรดกทางวัฒนธรรมของชาติสูญสลายไปก่อนเวลาอันควร การจั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ “สยามปกรณ์ ป ริ ว รรต ปริ ท รรศน์ ว รรณกรรมท้ อ งถิ่ น ภาคกลาง เล่ ม ๓” คณะท างานได้ คั ด สรรวรรณกรรมซึ่ ง มี ลั ก ษณะเฉพาะในท้ อ งถิ่ น มาจั ด พิ ม พ์ จ านวน ๑๐ เรื่ อ ง แบ่ งเป็ น


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

วรรณกรรมศาสนา จานวน ๓ เรื่อง ได้แก่ พระมหาเวสสันดรชาดก ฉบับวัดกลางวรวิหาร อาเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี และพระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วรรณกรรมนิทาน จานวน ๔ เรื่อง ได้แก่ นกยูงทอง เล่ม ๑ นางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติและฉบับวัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด กลอนสวดเรื่อง แตงอ่อน และบทละครร้องเรื่อง ศรกกกระหนากเมือง ลพบุรี วรรณกรรมตารา จานวน ๓ เรื่อง ได้แก่ เพลงยาว “คามหาภู่” โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์ (อัฏฐกาล) และ “ดูดาวดูฤกษ์” ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณบดีคณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ริเริ่มโครงการนี้และทุ่มเทกาลังสติปัญญา แรงใจแรงกาย และสนับสนุนโครงการ นี้ตลอดมา อีกทั้งกรุณาอนุเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนให้คาแนะนา และข้อคิดอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการ ดาเนินงานของศูนย์ฯ ขอบคุณผู้เขียนทุกท่าน คุณดรณ์ แก้วนัย คุณพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว เจ้าหน้าที่วิจัยประจาศูนย์ฯ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้พยายามทุ่มเททางานอย่างอุตสาหะตลอดการดาเนินงาน ศูน ย์ สยามทรรศน์ ศึกษาหวังเป็ น อย่างยิ่งว่าหนังสื อ “สยามปกรณ์ ปริวรรต ปริทรรศน์ว รรณกรรม ท้องถิ่นภาคกลาง เล่ม ๓” นี้ จะอานวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นและสร้างแรงบันดาลใจให้คน ในท้องถิ่นรักและหวงแหนวรรณกรรมของตน ขวนขวายในการศึกษาและอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่นอันเป็น มรดกของชาติให้คงอยู่คกู่ ับสังคมไทยสืบไป

อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์ ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

สารบัญ คานิยม ............................................................................................................................................................. ค คานา ................................................................................................................................................................ จ บทนา: รายงานการดาเนินงานโครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ครั้งที่ ๓ โดยศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ดรณ์ แก้วนัย ................................................................................................................................ ๓ หมวดวรรณกรรมศาสนา พระมหาเวสสันดรกลอนสวด ฉบับวัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ ดรณ์ แก้วนัย .............................................................................................................................. ๑๓ พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ดรณ์ แก้วนัย .............................................................................................................................. ๗๑ พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นัฐพร ปะทะวัง ......................................................................................................................... ๙๓ หมวดวรรณกรรมนิทาน นกยูงทอง เล่ม ๑ เขมฤทัย บุญวรรณ ................................................................................................................... นางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติและฉบับวัดวรุณดิตถาราม จังหวัดตราด อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และดรณ์ แก้วนัย .................................................................................. กลอนสวดเรื่อง แตงอ่อน ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด นัฐพร ปะทะวัง ..................................................................................................................... บทละครร้อง เรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ดรณ์ แก้วนัย และ ธนภัทร พิริย์โยธินกุล ...................................................................................

๑๓๕ ๑๖๙ ๒๔๗ ๓๐๑

หมวดวรรณกรรมตารา เพลงยาว “คามหาภู่” ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นัฐพร ปะทะวัง ....................................................................................................................... ๓๑๗ โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์ (อัฏฐกาล) ฉบับวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และดรณ์ แก้วนัย .................................................................................. ๓๒๕


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สารบัญ (ต่อ) “ดูดาวดูฤกษ์” ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด ธนภัทร พิริย์โยธินกุล ............................................................................................................... ๓๔๙ ภาคผนวก โครงการสยามปกรณ์เพื่อศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ......................... คาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดโครงการสยามปกรณ์ฯ ................................................................................... แนะนาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ..................................................................................................................... รายนามคณะกรรมการบริหารศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา .................................................................................. แนะนาเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ......................................................................................

๓๗๙ ๓๘๒ ๓๘๔ ๓๘๕ ๓๘๗


สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓

บทนำ: รำยงำนกำรดำเนินงำนโครงกำร “สยำมปกรณ์” เพื่อกำรศึกษำ สำรวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง ของศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ ครั้งที่ ๓ วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสิ่งที่แสดงความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิต และประสบการณ์ของกวีชาวบ้านตาม ภู มิ ภ าคของไทย ซึ่ ง สอดแทรกเข้ า มาในผลงานของแต่ ล ะคน บางครั้ งอาจจะได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากศาสนา ขนบธรรมเนีย มการประพัน ธ์จากส่ วนกลางบ้าง แต่ยังคงแฝงไว้ด้วยพลังและจิ นตนาการของคนในท้องถิ่น เสมอๆ ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นนอกจากผู้ศึกษาจะได้รับองค์ความรู้ อรรถรสและความบันเทิงต่างๆ จากเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของแต่ละเรื่องแล้วยังสามารถวิเคราะห์ถึงคุณค่าด้านอื่นๆ จึงก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งด้านการศึกษาภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี อีกโสดหนึ่งด้วย ด้วยประโยชน์และคุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่นดังกล่าวข้างต้นนั้น ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดาเนินโครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อการศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ระยะที่ ๑ – ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน โดยการสนับสนุนจากคณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย เพื่อรวบรวมข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งเป็ นศูนย์กลางและต้น แบบวรรณกรรมให้แก่กวีอื่นๆ ตามภูมิภาคของไทยในแต่ละยุคสมัย ทั้งที่บันทึกใน รูปแบบเอกสารโบราณสมุดไทยและใบลาน ซึ่ง ยังไม่ได้รับการปริวรรตและจัดพิมพ์เผยแพร่ มาก่อน ประการ สาคัญเอกสารเหล่านี้นับวันแต่จะสูญหายเพราะขาดการดูแลรักษาและอนุรักษ์อย่างถูกวิธี การดาเนินโครงการ สยามปกรณ์มาอย่างต่อเนื่องดังกล่าวส่งผลให้ค้นพบวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเพิ่ม ขึ้นจานวนมาก และเห็น ควรให้มีการจัดทาสาเนาไว้เป็นฐานข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาและจัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่อย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ นอกจากจะได้เผยแพร่องค์ความรู้ของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางแล้วยัง ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการในท้องถิ่น นักศึกษา ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย กำรสำรวจข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นของศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ ระยะที่ ๓ คณะทางานของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาได้สารวจและเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางครั้งแรก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน พบว่า ข้อมูลเอกสารโบราณบางส่วนนอกจากจะยังเก็บไว้ที่ ท้องถิ่นแล้วบางยุคสมัยส่วนกลางกล่าวคือหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ยังได้รวบรวมมา เก็บไว้ที่กรุงเทพมหานคร การเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางระยะที่ ๓ นี้ จึงได้นาข้อมูลที่ศูนย์สยาม ทรรศน์ ศึกษาได้รวบรวมไว้จากการส ารวจและการค้นคว้าเพิ่มเติมจากหอสมุดแห่งชาติดังกล่าวมาจัดพิมพ์ เผยแพร่ ซึ่งรายละเอียดของแหล่งข้อมูลมีดังนี้ ๑. จังหวัดกำญจนบุรี ข้อมูลที่นามาศึกษา ปริวรรต และจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งนี้สารวจจาก วัดเทวสังฆำรำม คือ เรื่อง โคลง พระยาสุ น ทรพิ ทั ก ษ์ (อั ฏ ฐกาล) ซึ่ งได้ รั บ ความอนุ เคราะห์ จ ากผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ฟ้ อ น เปรมพั น ธุ์ จาก


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ซึ่งเป็นผู้จัดทาข้อมูลเอกสารโบราณให้แก่วัดเทวสังฆารามทั้งการจัดหมวดหมู่ และการจัดเก็บทาให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น

สภำพเอกสำรโบรำณของวัดเทวสังฆำรำม วัดเทวสังฆาราม เป็นวัดที่มีความสาคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ตาบล บ้านเหนือ อาเภอเมืองกาญจนบุรี สร้างโดยท่านสมภารเสี่ยง แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอน สันนิษฐานวัดนี้มีอายุเกิน กว่า ๒๐๐ ปี เป็ น วัดที่พ ระมหากษั ตริย์ ไทยหลายพระองค์เสด็จมาทรงบาเพ็ญ พระราชกุศล และเป็ นวัด ที่ บรรพชาเป็นสามเณรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุ วฒฺนมหา เถร) วัดเทวสังฆารามได้รับพระมหากรุณาธิคุณยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลง วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕๑ ๒. จังหวัดตรำด การสารวจข้อมูล วรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตราดเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ข้อมูลที่นามาปริวรรต และจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งนี้ได้แก่ เรื่องนางอ้น ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด ทั้งนี้ต้นฉบับเรื่องนี้จัดเก็บที่หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี ตารา“ดูดาวดูฤกษ์” และเรื่องแตงอ่อน ฉบับวัด บุปผาราม อาเภอเมือง จังหวัดตราด ๒.๑ วัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด ๑

วัดเทวสังฆำรำม (วัดเหนือ) จังหวัดกำญจนบุรี, (๒๕๕๖), เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖, จากเว็บไซต์ http://tevasunkharama.com/history.php


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕

วัดวรุณดิตถำรำม ตำบลท่ำกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรำด วัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เดิมชื่อว่า วัดท่ากุ่ม สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยมี พระครู พิพัฒน์พิรุณดิตถ์ เป็นเจ้าอาวาส๒ในขณะนั้น ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดวรุณดิตถาราม จนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากจะเป็นวัดที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาแล้วยังได้จัดตั้งโรงเรียนสาหรับให้การศึกษาแก่ เด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาอีกด้วย ซึ่งพระภิกษุที่ให้การสนับสนุนทางการศึกษาแก่โรงเรียน เริ่มตั้งแต่ท่านพ่อจันทร์ (พระครูสมาธิสังวร) อดีตเจ้าอาวาสวัดวรุณดิตถาราม ที่ให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มตั้ง เป็นโรงเรียนครั้งแรกและตลอดมา๓จนกลายมาเป็นสถานที่สาหรับให้การศึกษาแก่บุตรหลานและสถานที่ศึกษา หลักธรรมในชุมชนท่ากุ่มถึงปัจจุบันนี้ ๒.๒ วัดบุปผาราม บ้านปลายคลอง ตาบลวังกระแจะ อาเภอเมือง จังหวัดตราด วัดบุปผารามเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณรัชสมัยพระ เจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๙๑) ต่อมาสมัย ท่านพระครูคุณ สารพิสุ ทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัย รัชกาลที่ ๕ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุภายในวัดครั้งใหญ่ ในปัจจุบันมีพระครูสุวรรณสารวิบูล ร่วมกับชาวบ้านได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบของวัดให้สะอาดเรียบร้อย วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลาง การปฏิบัติศาสนกิจ ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าไว้มากมายโดยเฉพาะพระ บรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดคู่บ้านเมือง มีพระพุทธรูปทองบุเงิน พระพุทธรูปปางต่างๆ รวมทั้งเครื่องถ้วย ๒

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, (๒๕๕๖), วัดวรุณดิตถำรำม ตำบลท่ำกุ่ม อำเภอเมืองตรำด จังหวัดตรำด, เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖, จากเว็บไซต์ http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/51314/ ๓ ประวัติโรงเรียนวัดวรุณดิตถำรำม, (๒๕๕๖), เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖, จากเว็บไซต์ http://watwarundittaram.go.th/Link/2.html


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จีน เครื่องถ้วยยุโรป กลองมโหระทึก แสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองท่าชายฝั่ง ตะวันออกกับเมืองท่าโพ้นทะเลในแถบเอเชียอาคเนย์ข้ามไปไกลถึงซีกโลกตะวันตก ๔ และใช้เป็นสถานที่จัดเก็บ เอกสารโบราณทีบ่ ันทึกในสมุดไทยและใบลานอันเป็นวรรณกรรมที่สาคัญของท้องถิ่นจังหวัดตราดจานวนมาก

พิพิธภัณฑ์วัดบุปผำรำมจังหวัดตรำด กำรสำรวจเอกสำรโบรำณวัดบุปผำรำม ๓. จังหวัดลพบุรี ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลพบุรีที่นามาศึกษาและปริวรรตเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งนี้ต้นฉบับได้ สาเนามาจากหอสมุดแห่ง ชาติ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ บทละครร้อง พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี (วัดไลย์ อาเภอ ท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี) และเรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี ซึ่งหอสมุดแห่งชาติระบุว่าซื้อมาจากเอกชนแห่งหนึ่ง วัดไลย์ ตำบลเขำสมอคอน อำเภอท่ำวุ้ง จังหวัดลพบุรี วัดไลย์วัดตั้งอยู่ริมน้าบางขาม ตาบลเขาสมอคอน อาเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาตอนต้นราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นวัดที่มีความสาคัญทั้งด้านสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่างๆ ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมาร วิชัยลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านประติมากรรมมีภาพบนฝาผนัง ขนาดใหญ่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารสร้างเป็นลายปูนปั้นเรื่องทศชาติและเรื่องปฐมสมโพธิ อย่าง สวยงามซึ่งนั บ ว่าเป็ น ภาพที่ มีความส าคัญ ยิ่ งชิ้น หนึ่ งของชาติ นอกจากนี้ วัด ไลย์ยังมี รูป ปั้น พระศรีอ าริย์ ซึ่ ง เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมเรื่องพระศรีอาริย์เมืองลพบุรีด้วย ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สาคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือ กัน มาแต่โบราณ มีเรื่องเล่ าว่า ในรัชกาลที่ ๕ ไฟป่าไหม้วิห ารรูปพระศรีอาริย์ช ารุดไป พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานดังเดิม ถึง เทศกาลราษฎรจึงเชิญออกแห่เป็นประเพณีทุกปี ๕ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์จึงให้ผู้ว่าราชกาลจังหวัด รวบรวมวรรณกรรมท้องถิ่นมาจัดเก็บที่ส่วนกลาง หนึ่งในวรรณกรรมนั้นมีเรื่องพระศรีอาริย์เมืองลพบุรีด้วย ๔

วัดบุปผำรำม บ้ำนปลำยคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตรำด, (๒๕๕๖), เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖, จากเว็บไซต์ http://www.muangthai.com/thaidata/49010 ๕

วัดไลย์ ตำบลเขำสมอคอน อำเภอท่ำวุ้ง จังหวัดลพบุรี , (๒๕๕๖), เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖, จาก เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org/wiki/


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗

๔. จังหวัดพระนครศรีอยุธยำ ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่นามาศึกษาและปริวรรตได้แก่ พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเรื่อง เพลงยาว “คามหาภู่” และวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทกลอนสวดเรื่อง แตงอ่อน และนกยูงทอง เล่ม ๑ ซึ่งต้นฉบับไม่ระบุชื่อผู้แต่ง สถานที่ และวันเดือนปีที่แต่ง ปัจจุบันจัดเก็บที่ศูนย์ สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษาก่ อ ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ เดื อ นธั น วาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สั ง กั ด คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิท ยาลั ยมหิ ดล มีวัตถุป ระสงค์ เพื่อเป็ น หน่วยงานที่ มุ่งศึกษาและค้นคว้าองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่ เกี่ย วข้องกับ สั งคมไทย และเป็ น ศูน ย์ กลางข้อมูล ด้านไทยศึกษาทั้งในระดับภู มิภ าคและระดับชาติ รวมทั้ ง ส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย และสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา ปัจจุบันศูนย์สยามทรรศน์ ศึกษามีฐานข้อมูลสาหรับการศึกษาวรรณคดีท้องถิ่น (ภาคกลาง) พุทธมณฑลศึกษา เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ราช สกุลมหิดล หนังสือหายาก ข้อมูลเกี่ยวกับไทยศึกษาทั้งในรูปแบบหนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และเอกสาร โบราณ ซึ่งเปิดให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

ศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ๕. จังหวัดสมุทรปรำกำร ข้ อ มูล วรรณกรรมท้ องถิ่น ภาคกลางของจังหวัดสมุ ท รปราการที่ น ามาปริว รรต คื อ เรื่อ งพระมหา เวสสันดรกลอนสวด ฉบับวัดกลางวรวิหาร อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ วัดกลางวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตาบลปากน้า อาเภอเมือง สมุทรปราการ เดิมชื่อว่า “วัดตะโกทอง” เพราะขุดพบแหวนทองคาโบราณใต้ต้น ตะโกขณะทาการปรับพื้นที่สร้างวัด ต่อมาชาวบ้านเรียกกันว่า “วัด กลาง” เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดนอก คือ วัดพิชัยสงคราม และวัดใน คือ วัดในเดิมสองวิหาร ตั้งเป็นวัด เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๙๙ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาโดยอุบาสิกหม้ายชาวจังหวัด สมุทรปราการ ๓ คน และผู้มีจิตศรัทราร่วมกันสร้างวัด ขึ้นเพื่อถวายแก่พระอาจารย์ชู ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจาร


 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

วัตร ในระยะที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าวัดนี้กลายเป็นวัดร้าง จนถึงสมัยกรุงธนบุรี พระอาจารย์ดาได้ยกขึ้นเป็น วัดมีพระสงฆ์ ครั้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์วัดนี้ก็ได้รับการทานุบารุงให้เจริญขึ้นและในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์ โปรดให้ บู ร ณะปฏิ สั งขรณ์ ตลอดพระอารามแล้ ว ต่อ มาได้ ย กฐานะขึ้น เป็ น พระอารามหลวงในรัช กาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๑ ซึง่ พระองค์เสด็จถวายผ้าพระกฐินที่วัดนี้๖ ๖. หอสมุดแห่งชำติ ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่นาต้นฉบับจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร มาปริวรรต คือ เรื่อง นางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ทาหน้าที่จัดเก็บรวบรวม สงวนรักษา และอนุรักษ์มรดกทรัพ ย์สินทาง ปัญ ญา วิทยาการ ศิลปกรรม และวัฒ นธรรมของชาติ ในรูปของเอกสารโบราณ ได้แก่ จารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นองค์กรหนึ่งที่ ทาหน้าที่ให้บริการความรู้และข่าวสารแก่คนในชาติ มี ทรัพยากรสารสนเทศ ให้บริการการอ่าน ศึกษาค้นคว้า โดยให้บริการแก่ผู้ใช้ทุกระดับ ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยไม่ มีขีดจากัด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งสถาปนาขึ้นเป็น “หอพระสมุดสาหรับพระนคร” ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้ าอยู่หั ว เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ และได้รับพระมหา กรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มาโดยตลอด มีการรวบรวมหนังสืออันมีค่าเป็นอย่างยิ่งของชาติ ตลอดจนสมบัติทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นคลังสิ่งพิมพ์ของชาติไว้เป็นจานวนมาก จวบจนปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้น และมีพระราชกฤษฎีกา กาหนดให้หอ พระสมุดสาหรับพระนคร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากรและเปลี่ยนเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” ในเวลา ต่อมา มีการพัฒนาบริการให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลาดับและได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ ณ บริเวณถนนสามเสน เมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ ปัจจุบันสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม๗ จากการสารวจเอกสารโบราณจากหน่วยงานทางราชการและวัดต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บต้นฉบับใน ภาคกลางนั้นพบว่า หากเป็นหน่วยงานระดับชาติเช่นหอสมุดแห่งชาติหรือหอสมุดแห่งชาติใ นส่วนภูมิภาคจะมี การจัดเก็บเอกสารโบราณอย่างเป็นระบบ ผู้ใช้บริการสามารถเข้าสืบค้นได้สะดวก ทั้งระบบการจัดเก็บต้นฉบับ เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์เอกสารโบราณที่เน้นการให้ความปลอดภัยแก่เอกสารเพื่อให้มีอายุยาวนานขึ้น แต่ เอกสารโบราณที่จัดเก็บตามวัดต่างๆ นั้นพบว่ายังคงไม่มีระบบการจัดการที่ดี อีกทั้งสถานที่จัดเก็บมักจะเสี่ยงต่อ การชารุดเสียหายเพราะไม่มีสถานที่จัดเก็บเป็นการเฉพาะ ประการสาคัญ ยังขาดผู้เข้าใจในการดูแลรักษาและ

วั ด กลำง จั ง หวั ด สมุ ท รปรำกำร, (๒๕๕๖), เข้ า ถึ ง ได้ เ มื่ อ วั น ที่ ๒๓ ธั น วาคม ๒๕๕๖, จากเว็ บ ไซต์ http://www.paknam.com/temples-in-amphoe-muang/wat-klang.html ๗ ห อ ส มุ ด แ ห่ ง ช ำ ติ , (๒ ๕ ๕ ๖ ), เข้ า ถึ ง ไ ด้ เมื่ อ วั น ที่ ๒ ๓ ธั น ว า ค ม ๒ ๕ ๕ ๖ , จ า ก เว็ บ ไ ซ ต์ http://www.nlt.go.th/web/?q=History


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙

บางแห่ งหากเป็ น เอกสารโบราณที่บั น ทึกด้วยอักษรขอมก็ไม่ มีผู้ส ามารถอ่านเข้าใจได้ ดังนั้น การให้ ความรู้ เกี่ ย วกั บ ระบบการจั ด เก็ บ และอนุ รั ก ษ์ เอกสารโบราณที่ ถู ก ต้ อ งแก่ เจ้ าของเอกสารต่ า งๆ จึ งเป็ น สิ่ งส าคั ญ นอกจากนี้การจัดทาสาเนาเอกสารเพื่อให้สามารถนาข้อมูลมาศึกษาค้นคว้าผ่านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ถ่ายเป็น ไฟล์รูป สแกนเป็นไฟล์เอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สามารถนาข้อมูลมาให้บริการแก่ผู้สนใจได้สะดวกขึ้น ทั้งลด การชารุดของต้นฉบั บอีกโสดหนึ่ง และการจัดการอบรมเพื่อให้ สามารถอ่านเอกสารโบราณทั้งที่บันทึกด้วย อักษรไทยและอักษรขอมเพื่อนาเนื้อหามาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงนั้นก็เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุนอย่างยิ่ง เพราะเป็นการอนุรักษ์ สืบต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยซึ่งนับวันจะหาบุคลากรที่สนใจและมีความรู้ ทางด้านนี้ลดน้อยลง


๑๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑

หมวดวรรณกรรมศำสนำ


๑๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓

พระมหำเวสสันดร กลอนสวด วัดกลำงวรวิหำร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปรำกำร ดรณ์ แก้วนัย๘ มหาเวสสันดรชาดกเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่นามาจากอรรถกถาชาดกในนิบาตที่ ๒๒ ของ มหานิ บ าต ขุททกนิ กายชาดก ในพระไตรปิฎ ก เป็นเรื่องที่ ๑๐ ของทศชาติช าดก เหตุที่เรียกว่า มหาชาติ เพราะเป็นเรื่องที่แสดงการสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ครบบริบูรณ์ทั้ ง ๑๐ บารมี และเป็นเรื่องที่กล่าวถึงพระ โพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ และสาคัญยิ่ง (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๔๘๒ : ๓) และคนไทยมีความเชื่อและค่านิยมเกี่ยวกับเรื่องมหาชาติมาช้านานจน เกิดเป็นประเพณี การสวดและการเทศน์มหาชาติขึ้น ตามความเชื่อที่ว่า หากใครได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง ๑,๐๐๐ คาถา หรือที่เรียกว่า คาถาพัน ให้จบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มากทั้งในชาตินี้และชาติหน้าและ ถ้าได้ทาพิธีเทศน์มหาชาติสาเร็จยิ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงรา ชานุภาพ, ๒๕๒๑ : ๒) ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงมีการแต่งวรรณกรรมมหาชาติขึ้นเพื่อใช้ในการสวดและการ เทศน์ที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยทั้งสานวนของพระภิกษุและฆราวาสหลายสานวนตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สาหรับวรรณกรรมมหาชาติสานวนท้องถิ่นที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์นั้นพบตามภูมิภาคต่างๆ มีลักษณะ คาประพันธ์เป็นกาพย์ ส่วนใหญ่ใช้ทานองสวด เรียกว่า มหาชาติกลอนสวด ผู้แต่งมักเป็นปราชญ์ชาววัดและ ชาวบ้าน แต่งขึ้นเพื่อใช้สวดอ่านให้แก่อุบาสกอุบาสิกาและประชาชนทั่วไปฟัง มหาชาติกลอนสวดนี้มีคุณค่าใน การใช้เป็นสื่อสาหรับอบรมสั่งสอน ให้แง่คิด คติธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ซึ่งสามารถนาความรู้เหล่านั้นมาใช้ ประโยชน์ในการดาเนินชีวิตได้ และยังให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟังอีกโสดหนึ่ง (ธัญญาภรณ์ ภู่ทอง ๒๕๔๔ : ๒) ที่มำของตัวบท เอกสารต้นฉบับมหาเวสสันดร กลอนสวด วัดกลางวรวิหารนั้น บันทึกในสมุดไทยขาวด้วยอักษรไทย เส้นหมึกสีดา โดยใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี และมีลักษณะเฉพาะที่แสดงทานองสวดซึ่งใช้อักษรขอมไทย ได้แก่ ทานองสวด เยสันตา ปฐมัง มัสมิง (มะถะมี) (ธัญญาภรณ์ ภู่ทอง, ๒๕๔๔ : ๒๓) ต้นฉบับมีจานวน ๑๒๐ หน้า หน้าละ ๖ บรรทัด จากการศึกษาของธัญญาภรณ์ ภู่ทอง พบว่า เป็นต้นฉบับที่พบที่วัดกลางวรวิหาร ตาบล ปากน้า อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในสมัยอยุธยา โดยพระครูสังฆรักษ์ (ประเสริฐ ปญฺญาภรโณ) เป็น ผู้เก็บรักษาไว้ แต่ไม่ปรากฏนามผู้แต่งและวัน เดือน ปี เมื่อพิจารณาจากลักษณะตัวอักษรและการใช้ภาษาแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในช่วงที่ยังไม่มีโรงพิมพ์ (ธัญญาภรณ์ ภู่ทอง, ๒๕๔๔ : ๒๓) ด้านลักษณะอักษรและอักขรวิธีนั้นมีลักษณะสาคัญ เช่น ต้นฉบับใช้ตัวอักษรไทยทั้งหมด ๓๙ ตัว ไม่พบ การใช้ตัวอักษร ฌ ฏ ฑ ฬ และ ฮ ลักษณะการเขียนเป็นลายมือบรรจงแบบอาลักษณ์ มีการเล่นหาง นิยมใช้

เจ้าหน้าที่วิจัย ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๑๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

อักษร ฃ และ ฅ ในคาปัจจุบันที่ใช้ ข และ ค เช่น คาว่า ขอ ภูเขา ขวัญ คอ คน เป็นต้น ใช้รูปพิเศษ เช่น มัก เขียนอักษรติดกับสระในคาว่า ชา เช่น หรือคาว่า พญา ใช้รูปพิเศษ เช่น คาว่า เป็นต้น ส่วนเครื่องหมายสาคัญนั้นใช้ ฝนทอง ( แทนเสียง อะ เช่น ถ่วาย ส่วาด ใช้เครื่องหมายฟันหนู (") แทนสระออ สระ เออ และใช้อักษร ง แทนการออกเสียง อัง ในคาว่า ฉบงง (ฉบัง) ท้งง (ทั้ง) เป็นต้น จากข้อสันนิษฐานดังกล่าวนี้ผู้ปริวรรตสันนิษฐานว่า อักขรวิธีที่ใช้ในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก กลอนสวด วัดกลางวรวิหารนี้น่าจะแต่งขึ้นระหว่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากเป็นลักษณะของอักขรวิธีที่นิยมใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว (คะนึงนิจ จันทร์กระวี, ๒๕๓๓ : ๑๐๑) เนื้อเรื่อง พระมหาเวสสันดร กลอนสวด วัดกลางวรวิหารนี้ ไม่ปรากฏกัณฑ์ทศพรและหิมพานต์อาจเกิดการสูญ หายระหว่างเก็บรักษาหรือเหตุอื่นก็ได้ ดังนั้นเนื้อเรื่องจึงเริ่มตั้งแต่ทานกัณฑ์ที่กล่าวถึงพระเวสสันดรพาพระนาง มัทรี พระชาลี และพระกัณหาขึ้นราชรถแก้วเดินทางไปสู่ป่าหิมพานต์ ระหว่างทางมีพราหมณ์ ๔ คน มาขอ ราช รถแก้วและม้า พระเวสสันดรจึงได้บริจาคทานเหล่านี้ไป กัณฑ์วนปเวสน์กล่าวถึงพระเวสสันดรพาพระนางมัทรีและราชบุตรราชธิดาทั้งสองเดินทางมาถึงเมือง เจตราช เจ้าเมืองเจตราชทราบดังนั้นจึงทูลเชิญให้พระเวสสันดรประทับอยู่ในเมือง และขอให้ทรงครองเมืองเจต ราชแต่พระองค์ปฏิเสธเพราะทรงตั้งพระทัยจะผนวชเป็นฤๅษีบาเพ็ญบารมีอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนพระอินทร์แล เห็นพระเวสสันดรและทราบความเป็นไปตลอดและศรัทธาในพระบารมีของพระองค์จึงได้เนรมิตบรรณศาลา เพื่อให้เป็นที่บาเพ็ญพระบารมีของพระเวสสันดรและสร้างที่พานักให้แก่พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหา กัณฑ์ชูชกกล่าวถึงพราหมณ์ชูชกที่มีอาชีพขอทานได้นาเงินทองไปฝากเพื่อนพราหมณ์สองผัวเมีย เมื่อชู ชกมาทวงเงินทองคืนพราหมณ์ทั้งสองจึงบอกว่าได้นาเงินทองที่ชูชกฝากไว้ไปใช้จ่ายจนหมดแล้ว แต่จะนาลูก สาวที่ชื่อ บิดธิดา มาเป็นค่าชดใช้แทนเงินและทองเพื่อให้เป็นภรรยาของชูชก ต่อมาภรรยาของพราหมณ์หนุ่ม ทั้งหลายในหมู่บ้านเห็นนางบิดธิดาซึ่งทั้งสาวและสวยคอยปรนนิบัติชูชกก็อิจฉาริษยา จึงคอยแกล้งด้วยประการ ต่างๆ จนนางบิดธิดาไม่กล้าออกไปตักน้าหาฟืนมาทาอาหารปรนนิบัติชูชกได้ตามปกติ นางจึงสั่งให้ชูชกไปขอ พระชาลีและพระกัณหามาเป็นทาสรับใช้แทน ชูชกจึ งรับปากนางบิดธิดา เมื่อจะออกเดินทางนางได้ตระเตรียม เสบียงอาหารสาหรับบริโภคแก่ชูชก ครั้นชูชกเดินทางมาถึงเขาวงกตจึงพบกับพรานเจตบุตร เขาจึงโกหกว่า ตน เป็นราชทูตของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งกรุงสีพีจะมาทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรี และพระกัณหา พระ ชาลี ให้เสด็จคืนพระนคร พรานเจตบุตรจึงหลงเชื่อและบอกทางไปเขาวงกตแก่ชูชก ชูชกดีใจจึงได้นาเสบียง อาหารมาเลี้ยงพรานเจตบุตรเพื่อขอบคุณ กัณฑ์จุลพนกล่าวถึงพรานเจตบุตรได้บอกเส้นทางไปเขาวงกตซึ่งเป็นที่บาเพ็ญบารมีของพระเวสสันดร ว่าระหว่างทางนั้นมีอันตรายต่างๆ ทั้งต้องพบกับสัตว์ป่านานาชนิดทั้งที่ดุร้ายและไม่มีอันตราย กัณฑ์มหาพนได้กล่าวถึงชูชกเมื่อเดินทางมาพบกับพระอาจุททฤๅษีแล้วจึงแจ้งความประสงค์ในการ เดินทางมาของตนเหมือนได้ลวงแก่พรานเจตบุตร พระอาจุททฤๅษีเชื่อในคาลวงนั้นจึงบอกเส้นทางต่อไปยังเขา วงกตให้ และบอกว่าเส้นทางที่จะไปนั้นมีผลไม้ป่านานาพันธุ์สามารถเก็บกินเป็นอาหารได้ตลอดทาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕

กัณฑ์กุมารกล่าวถึงชูชกเมื่อเดินทางไปถึงเขาวงกตแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงเข้าไปขอสองพระกุมารจากพระ เวสสันดรนั้น ทั้งสองพระกุมารไม่ยินยอมและรู้สึกโศกเศร้าในตอนแรก พระเวสสันดรจึงทรงเกลี้ยกล่อมให้สอง พระกุมารให้มีความศรัทธาในทานบริจาคครั้งนี้เพื่อสร้างทานบารมีให้แก่พระบิดาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใน อนาคตกาล พระกุมารทั้งสองจึงยินยอมและได้เดินทางไปกับชูชก และพระเวสสันดรได้ตีราคาค่าไถ่พระชาลีพัน ตาลึงทอง ส่วนพระกัณหาตีค่ามากกว่าเป็นสัตว์สี่เท้าอย่างละร้อย ทองพันตาลึง เป็นต้น ในการเดินทางนั้นชูชก ได้เอาเชือกเถาวัลย์ผูกพระกุมารทั้งสองและฉุดคร่าไปตามทางอย่างน่าเวทนา พระเวสสันดรทรงดาริจะฆ่าชูชก เสียด้วยความโกรธ แต่พระองค์ทรงระงับโมหะและโทสะได้เมื่อนึกถึงบารมีในการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ฝ่าย สองพระกุมารต่างก็โศกเศร้าจึงกล่าวพรรณนาฝากความแก่เทพเจ้าคอยรักษาพระมารดา บอกแก่เจ้าป่า เจ้าเขา พระพาย นกนานาและพระฤๅษีว่า ถ้าพระนางมัทรีตามมาให้บอกหนทางแก่พระมารดาด้วย กัณฑ์มัทรีกล่าวถึงพระนางมัทรีเมื่อออกไปเก็บผลไม้ในป่านั้น เป็นเวลาเดียวกับชูชกจะเข้าไปขอพระ กุมารทั้งสอง พระนางนึกสังหรณ์ในพระทัยจึงรีบกลั บอาศรมเพื่อจะมาดูสองพระกุมาร แต่พระอินทร์เกรงว่า พระนางมัทรีจะเข้าไปขัดขวางพระบารมีของพระเวสสันดรจึงแปลงเป็นเสือ ราชสีห์ นอนขวางทางเดินของพระ นางไว้ไม่ให้ เข้าใกล้ พระอาศรมจนมืดค่า เมื่อพระนางกลั บมาถึงอาศรมไม่พ บสองพระกุมาร จึงไปเฝ้าพระ เวสสัน ดร พระองค์ทรงกลบเกลื่อนเรื่องนี้ ไว้แกล้ งต่อว่าพระนางมัทรีที่กลั บอาศรมมืดค่า พระนางทรงเสี ย พระทัยร้องไห้จนสลบไป เมื่อพระเวสสันดรปฐมพยาบาลให้พระนางตื่นขึ้นมาแล้ว พระองค์จึงทรงเล่าความจริง ทั้งหมดให้ฟังว่า พระองค์ได้ให้ทานพระกุมารทั้งสองเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระศาสดาในอนาคตกาล พระนางมัทรี ก็ทรงอนุโมทนาในให้บุตรเป็นทานบารมีอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้จนเกิดเหตุอัศจรรย์ทั่วจักรวาล กัณฑ์สักบรรพ หลังจากพระเวสสันดรบริจาคสองพระกุมารแก่ชูชกไปแล้ว พระอินทร์เกรงว่าหากต่อไป ภายหน้ามีเดียรถีย์เข้ามาขอพระนางมัทรีไปเป็นภรรยา พระเวสสันดรก็คงบริจาคให้ซึ่ง จะเป็นการไม่สมควร เพราะพระนางมัทรีเป็นราชตระกูลและจะไม่มีผู้ปรนนิบัติพระเวสสันดรอันจะทาให้พระองค์บาเพ็ญบารมีไม่ เต็มที่ พระอิน ทร์ จึ งแปลงกายเป็ น พราหมณ์ มาขอพระนางมัท รีจากพระเวสสั น ดร เป็ นกลอุบ ายเพื่ อไม่ ให้ พระองค์บริจาคพระนางแก่ผู้ใดอีก พระเวสสันดรและพระนางมัทรี เองก็ทรงยินดีในการบริจาคทานครั้งนี้ เมื่อ พระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์รับนางมัทรีจากพระเวสสันดรแล้วก็ถวายพระนางคืนแก่พระองค์ แล้วกล่าวให้พร แก่พระเวสสันดร ๘ ประการ คือ ให้พระเจ้าสญชัยหายพิโรธแล้วเชิญกลับเพื่อครองพระนคร ให้ได้อภัยโทษแก่ นักโทษทั้งหลาย ขอให้พระโอรสทั้งสองได้เป็นพระมหากษัตริย์สืบราชสมบัติต่อไป ขอให้ประชาราษฎร์มีอายุยืน นาน ขออย่าให้มัวเมาในตัณหา กามา อย่าหลงด้วยลูกเมีย เมื่อเข้าไปถึงเมืองสีพีอย่าได้มีความทุกข์และขอให้ได้ บริจาคทาน ขอให้ฝนแก้ว ๗ ประการ เป็นแก้วแหวนเงินทองตกลงในเมืองสีพี ขอให้ได้บริจาคเงิ นทองและ สมบัติในท้องพระคลังอย่ารู้หมดสิ้น และเมื่อทิวงคตแล้วขอให้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต กัณฑ์มหาราชกล่าวถึงชูชกได้พาสองพระกุมารเดินทางเพื่อจะกลับไปบ้านของตนนั้น ระหว่างทางพระ อินทร์สั่งให้เทพผู้ใหญ่แปลงกายเป็นพระนางมัทรีมาดูแลรักษาทั้งสองกุมารโดยตลอด และได้ช่วยดลใจให้ชูชก หลงทางไปยังกรุงสีพี ฝ่ายพระเจ้าสญชัยทรงบรรทมแล้วเกิดนิมิตว่ามีชายสูงใหญ่นาดอกบัวคู่หนึ่งเข้ามาถวาย พระองค์ จึ งรั บ ไว้ โหรทู ล ท านายว่า พระองค์ จ ะได้ ส องพระกุ ม ารกลั บ คื น สู่ พ ระนคร ครั้น พระเจ้ าสญชั ย ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์มัดมือสองพระกุมารเดินเข้ามาในพระนคร จึงรับสั่งให้เสนาพาบุคคลทั้งสามเข้าเฝ้า ภายหลังจึงทรงทราบว่า สองพระกุมารนั้นคือพระชาลีและพระกัณหา พระราชนัดดาของพระองค์นั้นเอง พระ


๑๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เจ้าสญชัยจึงให้ไถ่สองพระกุมารทั้งสองตามค่าที่พระเวสสันดรกาหนดไว้ และทรงให้ทาพระราชพิธีรับขวัญพระ นัดดาด้วยการจัดพานบายศรีเจ็ดชั้น และจัดงานเฉลิมฉลองทั่วพระนคร นอกจากนี้ยังได้จัดเลี้ยงอาหารชูชกจน อิ่มหมีพีมัน ชูชกไม่เคยได้รับประทานอาหารดีอย่างนี้มาก่อนจึงบริโภคเกินขนาดไฟธาตุไม่สามารถเผาผลาญได้ ทันจึงถึงซึ่งความตาย จากนั้นพระเจ้าสญชัยจึงรับสั่งให้จัดขบวนทัพเดินทางไปรับพระเวสสั นดรและพระนางมัท รีกลับพระนครสีพี กัณฑ์ฉกษัตริย์ กล่าวถึงพระเจ้าสญชัย พระนางผุสดี และพระกุมารทั้งสองเสด็จนาขบวนทัพเดินทางไป รับพระเวสสันดรและพระนางมัทรีที่เขาวงกต เมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันก็รู้สึกสะเทือนใจจนสลบไปทั้งหมด พระอิน ทร์เห็ นดังนั้นจึงบั นดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาต้องพระวรกายกษัตริย์ทั้งหก ทุกพระองค์จึงฟื้น ขึ้นมา ประชาราษฎร์ต่างชื่นชมพระบารมี จากนั้นพระเจ้าสญชัยก็อัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีลา เพศฤๅษีแล้วจึงเสด็จกลับพระนครสีพี กัณฑ์นครกล่าวถึงพระเวสสันดรและพระนางมัทรีครั้นรับเชิญพระราชบิดาและพระราชมารดาแล้วก็ลา ผนวชเสด็จกลับพระนคร ชาวเมืองต่างออกมาต้อนรับด้วยความปีติยินดี พระเจ้าสญชัยจึงสละราชสมบัติและ อภิเษกพระเวสสันดรให้ครองพระนครสืบต่อไป เมื่อเสวยราชสมบัติแล้วพระองค์ก็ได้พระราชทานอภัยโทษแก่ นักโทษ ปลดปล่อยสัตว์ที่ถูกกักขังไว้ และได้ทรงทาทานบริจาคตามพรของพระอินทร์ต่อไป ข้อสังเกต พระเวสสันดรกลอนสวดฉบับนี้ ผู้อ่านจะเห็นว่าดาเนินเรื่องกระชับและรวดเร็วในบางกัณฑ์ เช่น กัณฑ์จุลพนและมหาพน เป็นต้น แต่ยึดเค้าโครงเรื่องเป็นสาคัญเนื่องจากผู้แต่งต้องการให้สวดจบภายในวัน เดียว เพื่อจะให้ผู้ฟังได้รับอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติครบตามความเชื่อดังกล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้น ผู้แต่ง จึงให้รายละเอียดน้อยกว่ากัณฑ์อื่นๆ ลักษณะเฉพำะของตัวบท เรื่องพระเวสสันดรชาดก กลอนสวด วัดกลางวรวิหารนี้ เป็นลักษณะกลอนสวดที่แต่งด้วยกาพย์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคาประพันธ์ที่ไม่ค่อยเคร่งครัดฉันทลักษณ์ม ากนัก บางบทมีฉันทลักษณ์ไม่ตรงกับที่กาหนดไว้ แต่ก็ไม่ทา ให้เสียเนื้ อความ และมีลักษณะเฉพาะที่ใช้ทานองสวดแบบ เย สันตา ปฐมัง มัสมิง และชินวร มาใช้ในการ ประพันธ์ และคุณค่าด้านวรรณกรรม ดังนี้ ๑. ลักษณะคำประพันธ์ พระเวสสันดรชาดก กลอนสวด วัดกลางวรวิหารนี้โดยทั่วไปแต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทกาพย์ ดังนี้ ๑.๑ กำพย์สุรำงคนำงค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คา เรียก สุรางคนางค์ หรือ ๒๘ หรือพิลาป ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นเพื่อใช้บรรยายเข้าสู่ท้องเรื่อง เพื่อใช้ในพระราชพิธีสาคัญ เพื่อใช้บรรยายความโศกเศร้า คร่า ครวญ อาลั ย อาวรณ์ ค นที่ เป็ น ที่ รั ก ซึ่ งเรี ย กว่ า บทพิ ล าป ดั งเช่ น ตอนชู ช กต้ อ งจากนางบิ ด ธิ ด าเพื่ อ ไปขอ พระกัณหาและพระชาลี ความว่า ๏ เคยกินเคยอยู่ เคยนอนเป็นคู่ คลึงเคล้าชมเชย วันนี้ไกลแล้ว น้องแก้วพี่เอ๋ย น้าตาบ่เสบย รัญจวนครวญหา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๗

๏ พราหมณ์เฒ่าชูชก เอามือลูบอก จูบแก้มจูบผม จูบนมกัลยา

จูบซ้ายจูบขวา โอ้เจ้าบิดธิดา น้าตาหลามไหล

๑.๒ กำพย์ฉบัง ๑๖ บางบทเรียก ฉบัง หรือ ๑๖ ใน ๑ บท มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น (วรรคแรก) มี ๖ คา วรรคกลาง (วรรคที่ ๒) มี ๔ คา และวรรคท้าย (วรรคที่ ๓ ) มี ๖ คา แต่งเพื่อใช้ในการบรรยายเนื้อเรื่อ ง ทั่วไปหรือเหตุการณ์ อัศจรรย์ ดังเช่นกัณฑ์ฉกษัตริย์ เมื่อกษัตริย์ทั้งหกได้พบกันเกิดความสลดพระทัยอย่าง รุนแรงจึงสลบไป พระอินทร์ต้องบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาต้องพระกาย กษัตริย์ทั้งหกจึงฟื้นพระสติ ดังเดิม ความว่า ๏ เทวดาทุกชั้นวิมาน ท่านท้าวผู้เจ้าเมืองบน ๏ ให้ฝนโบกขรพรรษตกลง ทั้งหกกษัตริย์บัดใจ

อัศจรรย์บันดาล ให้ต้องพระองค์

๑.๓ กำพย์ยำนี ๑๑ กาพย์ยานีในพระเวสสันดรชาดก กลอนสวด วัดกลางวรวิหารนี้แต่งขึ้นสลับกับ กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี ๑๑ ใน ๑ บท มี ๒ บาท หรือ ๔ วรรค บาทที่ ๑ บาทแรกเรียกว่า บาทเอก บาท ที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรก ๕ คา วรรคหลัง ๖ คา ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นเพื่อใช้ทั้งการ ดาเนินเรื่องธรรมดาและบรรยายฉากอย่างละเอียด พรรณนาธรรมชาติ บรรยายพิธีกรรม ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ดังตอนพระราชพิธีเชิญขวัญพระกัณหาและพระชาลีหลังจากพระเจ้าสญชัยไถ่คืนจากชูชกแล้ว ความว่า ๏ อัญเชิญพระขวัญเอย เข้ามาหากุมาร ๏ อย่าอยู่ห้วยเหวผา ขวัญเอ๋ยอย่าใหลหลง

อย่าไปเลยในไพรสาณฑ์ พระชาลีสุริวงศ์ ท่อธาราในกลางดง อยู่ปลายไม้ใต้พฤกษา

๒. ลักษณะคำประพันธ์เฉพำะที่แต่งขึ้นตำมทำนองสวด นอกจากกาพย์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้แต่งยังได้ประพันธ์กลอนที่ใช้ตามทานองสวด ซึ่งนิยมแต่งร่วมกัน คาประพันธ์ประเภทกาพย์ มีดังนี้ ๒.๑ เยสันตำ เป็นคาประพันธ์ที่นิยมแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่เคร่งครัดในด้านฉันทลักษณ์ ลักษณะคล้ายกาพย์ฉบัง ๑๖ ต่างกันเพียงการใช้คา กล่าวคือ กาพย์ฉบังใช้คา ๖ – ๔ – ๖ แต่ เยสันตา ใช้คา ๗ – ๗ – ๗ นิ ยมแต่งในบทที่กล่ าวถึงเทวดาลงมาเนรมิตหรือช่วยเหลือมนุษย์ในยามตกทุกข์ ดังเช่น กัณ ฑ์ มหาราชที่พระอินทร์ให้เทพบุตรแปลงกายเป็นนางมัทรีมาดูแลพระกัณหาและพระชาลี ความว่า ๏ อินตราเจ้าฟ้าสุราลัย

จึงให้เทพบุตรผู้ใหญ่


๑๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นิมิตองค์ลงไปให้เหมือนมัทรี ๏ มารดามาหาเจ้าสองศรี น้อยน้อยสองศรีก็ดีใจ

อุ้มเจ้ากัณหาชาลี

๒.๒ ปฐมัง เป็นคาประพันธ์ที่แต่งโดยใช้ฉันทลักษณ์กาพย์ยานี ๑๑ เพื่อกากับท่วงทานอง ขับลานา และใช้กับเหตุการณ์ที่แสดงถึงบทบาทสาคัญของกษัตริย์ เหตุการณ์สาคัญ ดังตอนที่พระเจ้ากรุงสญชัยจะได้พระ นัดดากลับคืนพระนครจากชูชกได้นิมิตฝัน ความว่า ๏ บัดนั้นพระจอมไตร บรรทมเหนือแท่นที่ ๏ เห็นชายหนึ่งสูงใหญ่ กราบไหว้พระทรงธรรม์

กรุงสญไชยไทยธิบดี พระภูมีนิมิตฝัน เข้ามาในท้องพระโรงคัล ชายผู้นั้นก็วันทา

๒.๓ มัสมิง เป็นบทสวดที่มีท่วงทานองเฉพาะแสดงการตอกย้าพฤติกรรมที่ไม่ดีของตัวละคร คาว่า มัส มิง เขียนได้หลายอย่าง เช่น มัถมี มัถมิง มัสมี มัสมิง มัสสมี หรือ อิมัสมิง ๙ เป็นต้น ในมหาเวสสันดร กลอนสวด ฉบับวัดกลางนี้ เขียนด้วยอักษรไทยว่า มะถะมี ซึ่งนิยมใช้ฉันทลักษณ์แบบกาพย์ยานี ๑๑ ดังตอนที่ ชูชกได้รับ เงินค่าไถ่พระกัณหาและพระชาลีแล้ว พระเจ้ากรุงสญชัยให้จัดเลี้ยงอย่างยิ่งใหญ่ ชูชกกินไม่ประมาณตนเอง ไฟ ธาตุย่อยสลายไม่ทันจึงแก่ความตาย ดังความว่า ๏ มันไม่คิดแก่ตัว เนื้อกวางแลเนื้อทราย ๏ ไฟธาตุเผาไม่ทัน ยมบาลเขาเอาไป

กินเนื้อวัวแลเนื้อควาย เป็นมากมายพ้นวิสัย ชูชกนั้นก็บรรลัย ให้อยู่ในจตุราชา

๒.๔ ชินวร ๑๕ ในมหาเวสสันดร กลอนสวด ฉบับวัดกลางวรวิหาร ผู้แต่งได้เขียนหัวข้อก่อนเข้าบทขับ พลว่า ๑๖ ซึ่งหมายถึงกาพย์ ๑๖ เพื่อใช้อ่านทานองสวดเฉพาะการเล่นซ้าคา แต่หากพิจารณาถึงแผนผังฉันท ลักษณ์แล้วจะพบว่าคล้ายคลึงกับกลอนที่เรียกว่า ชินวร ซึ่งมักใช้ฉันทลักษณ์แบบกลอน ๑๕ ไม่มีการกาหนด เสียงครุและลหุ ๘ – ๔ – ๓ คล้ายแผนผั งของมาลินีฉันท์ ๑๕ (ธัญญาภรณ์ ภู่ทอง : ๙๒ – ๙๕) เป็นแต่ใช้ ทานองเดียวกับกาพย์ ๑๖ ดังความว่า ๏ ขับพลไปโดยด่วน ๙

กลัวท้าวไท

อิมัสมิง แปลว่า นี้ ในนี้ ในที่นี้, ลำนธรรมจักร, เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖, เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&p=322150


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙

๏ พลคชคชยืนยัน ๏ พลคชคชเลิศไตร ๏ พลคชคชผันผยอง

หมู่ช้างสับ ช้างต้นภูวนัย ช้างผูกกระโจมทอง

มันมากเหลือใจ ภูดาวทอง เยื้องย่องไสว

๓. คุณค่ำของวรรณกรรม มหาเวสสั น ดร กลอนสวด ฉบั บ วัดกลางวรวิห ารนี้ แต่งขึ้น ตามโครงเรื่องของมหาเวสสั นดรชาดก หากแต่ให้รายละเอียดตามภูมิความรู้ แนวคิด จินตนาการ สภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ ตามยุคสมัยของผู้ แต่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นสภาพของวิถีชีวิตและเห็นคุณค่าด้านต่างๆ ของสังคมไทยในสมัยนั้น ทั้งคุณค่าด้านภูมิ ปัญญาทางวัฒนธรรม ค่านิยม คติค วามเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม และวิถีการดาเนินชีวิตใน สังคม ดังนี้ ๓.๑ ภูมิปัญญำ วรรณกรรมสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของผู้คนในสมัยนั้นที่พึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์จาก ธรรมชาติในยุคสมัยเดียวกับผู้แต่ง นามาปรุงแต่งเป็นอาหารและยารักษาโรคทั้งอาหารคาว ขนมหวานและผลไม้ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ๓.๒ ค่ำนิยม วรรณกรรมสะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนในสมัยนั้นซึ่งรับวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษและ วัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นเองในท้องถิ่น ได้แก่ ค่านิยมการกินหมาก ค่านิยมการแต่งกาย และค่านิยมในการ เลี้ยงลูกด้วยนม ๓.๓ ควำมเชื่อ วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมในสมัยนั้นทั้งด้านไสยศาสตร์และ ศาสนา ทั้งความเชื่อในเวทมนต์ คาถา ความเชื่อเรื่องความฝัน ความเชื่อเรื่องทาน บาป บุญ นรก สวรรค์ ความ เชื่อเรื่องเทพหรือเทวดา ๔. องค์ควำมรู้เกี่ยวกับกลุ่มชำติพันธุ์ในสังคมไทย นอกจากนี้ ผู้ แต่งยั งได้แสดงภูมิความรู้ท างคติช นวิท ยาให้ ป รากฏในวรรณกรรมเรื่องนี้ โดยพบว่า สังคมไทยนั้นเปิดโอกาสให้ชนทุกเชื้อชาติทุกภาษาเข้ามาอาศัยและประกอบอาชีพในแผ่นดินไทยตั้งแต่สมัย โบราณกาลแล้ว ดังความตอนที่พระเจ้ากรุงสญชัยให้รวบรวมพลเพื่อเสด็จไปอัญเชิญพระเวสสันดรนิวัติพระนคร ว่า ๏ ข้างหลังยังก่ายกอง สิบสองอักโขเภณี ๏ แขกไทยแลจีนจาม ลาวส่วยแลขอมไทย

มากเนืองนองเต็มบุรี พลภูมีศรีสญชัย ทั้งจีนชีพราหมณ์แห่กันไป ทั้งกุลากะลาสี

มหาเวสสันดร กลอนสวด ฉบับวัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวรรณกรรมที่แสดงความ เชื่อทางพุทธศาสนาเป็นหลัก เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรเพื่อบาเพ็ญทาน บารมีก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้แต่งมีความประสงค์ที่จะใช้สาหรับสวดให้อุบาสก อุบาสิกาฟัง เพื่อให้


๒๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จบในวันเดียวตามคติความเชื่อที่ว่า ใครฟังเทศน์มหาชาติจบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก และจะได้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอาริย์ ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัตินานัปการ การดาเนิน เรื่องจึงมีความกระชับ รวดเร็ว และสอดแทรกข้อคิดอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ซึ่งเป็นเทคนิควิธีเฉพาะของผู้ แต่งที่ต้องอาศัยภูมิปัญญาที่สั่งสมมายาวนานทั้งการศึกษา ประสบการณ์ในชีวิต ดังนั้น มหาเวสสันดร กลอน สวดฉบับนี้ ผู้แต่งจึงไม่เน้นรายละเอียดทุกกัณฑ์ แม้กระทั่งชื่อกัณฑ์ก็ไม่แสดงให้ครบถ้วน แต่เน้นลักษณะคา ประพันธ์ให้ ผู้อ่านทราบว่าในแต่ล ะบทนั้ นเป็นคาประพันธ์ชนิดใด อันแสดงภูมิความรู้ของผู้แต่งในฐานะกวี ท้องถิ่น ซึ่งจะปรากฏทั้งคาประพัน ธ์ประเภทกาพย์ยานี ๑๑ สุรางคนางค์ ฉบัง ๑๖ พิลาป และบทที่แสดง ท่วงทานองพิเศษ ได้แก่ เย สัน ตา ปฐมัง มัสมิง และชินวร ๑๕ นอกจากนี้ ผู้แต่งยังแสดงถึงคุณ ค่าด้านภูมิ ปัญญาในท้องถิ่นของสังคมไทยในสมัยนั้ น ค่านิยม ความเชื่อ และวิถีชีวิตชาติพันธุ์ต่างๆ ในสังคมไทย มหา เวสสันดร กลอนสวดฉบับวัดกลางวรวิหารนี้ นอกจากจะทรงไว้ซึ่งคุณค่าภูมิปัญญาทางด้านวรรณกรรมทาง ศาสนาและคุณ ค่าทางสั งคมของไทยแล้ว การเผยแพร่และสืบทอดวรรณกรรมเรื่องนี้ยังจะเป็นการอนุรักษ์ วรรณกรรมท้องถิ่นไทยให้คงอยู่และแพร่กระจายในไปสู่สังคมอาเซียนได้อีกโสดหนึ่ง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๑

บรรณำนุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๒๗). มหำเวสสันดรชำดก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา. กรมศิลปากร. (๒๕๑๖). มหำชำติคำหลวง. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา. กุลนิจ คณะฤกษ์. (๒๕๔๒). กำรศึกษำร่ำยยำวมหำเวสสันดรชำดกพระนิพนธ์สมเด็จพระมหำสมณเจ้ำ กรม พระปรมำนุชิตชิโนรส. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. คะนึงนิจ จันทร์กระวี. (๒๕๓๓). ลักษณะอักษรและอักขรวิธีไทยในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ, กรมพระยา. (๒๕๒๑). ประเพณี เทศน์มหำชำติ. กรุงเทพฯ : ดวงประทีป. ตรีศิลป์ บุญขจร. (๒๕๔๗). วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภำคกลำง : กำรศึกษำเชิงวิเครำะห์. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนิต อยู่โพธิ์. (๒๕๐๑). ตำนำนเทศน์มหำชำติ. พระนคร : พระจันทร์. ธนิต อยู่โพธิ์. (๒๕๒๔). ตำนำนเทศน์มหำชำติ สำนักเลขำธิกำรนำยกรัฐมนตรี พิมพ์เป็นที่ระลึกในงำนทอด ผ้ำพระกฐินพระรำชทำน ณ วัดมหรรณพำรำม กรุงเทพมหำนคร วันที่ ๒๙ ตุลำคม พุทธศักรำช ๒๕๒๔. กรุงเทพฯ : สานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๔. ธั ญ ญาภรณ์ ภู่ ท อง. (๒๕๔๔). ศึ ก ษำวิ เ ครำะห์ ม หำชำติ ก ลอนสวด ฉบั บ วั ด กลำงวรวิ ห ำร จั ง หวั ด สมุ ท รปรำกำร. วิ ท ยานิ พ นธ์ ห ลั ก สู ต รปริ ญ ญาศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าไทยศึ ก ษา มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนำนุกรมรำชบัณฑิตยสถำน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. ลานธรรมจักร. อิมัสมิง. เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖. จากเว็บไซต์ http://www.dhammajak.net /forums/viewtopic.php?f=28&p=322150 ล้อม เพ็งแก้ว. (๒๕๒๗). คู่มือมหำเวสสันดรชำดก. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา. ลัลลนา ศิริเจริญ. (๒๕๒๕). อลังกำรในมหำชำติคำหลวง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. Picciano, M. (2001). "Nutrient composition of human milk." Pediatr Clin North Am. Feb; 48 (1) : 53 – 67.


๒๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต เรื่อง พระมหำเวสสันดร กลอนสวด วัดกลำงวรวิหำร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปรำกำร (ทำนกัณฑ์) ๏ เสด็จเยียระยาตร กับนางสายสวาท ลิ้นลาศคลาไคล สาวสนมชาวแม่ พรักพร้อมล้อมไป บัดเดีย๋ วบ่หึงษ์ ถึงท้องพระโรงชัย ๏ สมเด็จราชา ตรัสสั่งเสนา บัดเดีย๋ วด้วยพลัน ให้ผูกรถแก้ว พรายแพรวเรืองฉันท์ เอาเข้ามาพลัน อย่าช้าเลยนา ๏ นายรถประดับรถ อันงามปรากฏ รุ่งเรืองสุกใส ก็ครั้นแต่งเสร็จแล้ว จึ่งประดับรถแก้ว เทียบเกยชาลา ๏ ท้าวจึ่งแต่งองค์ ทรงพระภูษา ทั้งสี่กษัตรา นั่งท้องพระโรงชัย ยำนี บัดนั้นพระราชา ลูกรักยอดนักธรรม์ ๏ เสด็จขึ้นราชรถแก้ว โฉมปรางนางมัทรี ๏ นั่งเหนือราชรถชัย ออกจากพระพารา ๏ ยามเย็นมารอนรอน สี่องค์ทรงรถไชย ๏ แลเห็นพฤฒาจารย์ ติดตามพระราชา ๏ หวังจะขอม้าภาชี สมเด็จพระภูวนัย ๏ มหาพราหมณ์ทั้งสี่คน เห็นพราหมณ์มางกงัน ๏ ท่านมาจะประสงค์ ตัวเราตกยากมา ๏ พฤฒาจึ่งก้มเกล้า ข้ามาจักขอทาน ๏ พระองค์ทรงศรัทธา ครั้นให้อาชาไนย ๏ ราพึงคิดแล้วเล่า

ชวนพังงาผู้เมียขวัญ เจ้ากัณหาพระชาลี งามพรายแพรวรุ่งเรืองศรี อุ้มเทวีเจ้ากัณหา พระจอมไตรขับรถมา ตามมรรคาทางดารใหญ่ พระภูธรจรเข้าไพร ทอดพระเนตรไปตามมรรคา ตาลกลานวิ่งตามมา จิตจินดาตรึกนึกใน พระภูมีทรงขี่ไป จึ่งหยุดรถงดอยู่ท่า เดินรุกรนตามมาทัน พระทรงธรรม์ตรัสถามไป คิดจานงสิ่งใดนา ไม่มีที่จะให้ทาน กราบทูลท้าวเจ้าใจอาริย์ แต่ม้าแก้วอาชาไนย คิดจินดาในพระทัย เราจักไปฉันใดนา พระองค์เจ้าใจศรัทธา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓

จึ่งให้ม้าอาชา ๏ ท้าวกรวดน้าสะโนทก ตั้งจิตขอพิศถาน ๏ ทั้งสี่มาอวยพร ขอให้พระศาสดา ๏ ทั้งสี่ขออาชา ไปยังกรุงบุรี ๏ สมเด็จพระภูธร คิดฉงนมาจนใจ ๏ ด้วยบุญแห่งพระบาท ทอดพระเนตรเล็งแลมา ๏ ตรัสว่าเพชรหนูกัน พระมาตุลีเร่งลงไป ๏ เข้าพาเอารถชัย ครั้นถึงเวลาบ่าย ๏ ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่ง ติดตามพระราชา ๏ พฤฒาเดินมาพลัน ครั้นถึงพระจอมไตร ๏ อ่านโศลกพระคาถา สมเด็จพระภูธร ๏ ท่านมาประสงค์สิ่งอันใด บัดเดีย๋ วพราหมณ์พฤฒา ๏ ตั้งจิตคิดจินดา ว่าจะขอเอารถชัย ๏ สมเด็จพระภูธร ตั้งจิตคิดจินดา ๏ เชิญท่านมารับทาน เอารถแก้วมณี ๏ เสด็จลงจากรถแก้ว สมเด็จพระภูมินทร์ ๏ มือถือคนธีทอง จึงกรวดน้าชลธารา ๏ ตั้งจิตท้าวพิศสะถาน

แก่พฤฒามิทันนาน ตกฝ่ามือพฤฒาจารย์ หวังจักตรัสเป็นศาสดา แก่ภูธรผู้ศรัทธา อยู่เป็นสุขทุกราตรี จรลีลามาด้วยดี พราหมณ์ทั้งสี่มันดีใจ เวสสันดรราพึงใน ทาฉันใดนี้เล่าหนา ร้อนถึงอาสน์ท้าวพันตา เห็นราชาเดินคลาไคล ลงมาพลันด้วยเร็วไว เป็นละมั่งทองอันเรืองฉาย ขับรถไปดังใจหมาย พระฤๅสายค่อยคลาไคล คิดราพึงจิตจินดา หวังจะขอเอารถชัย ขมีขมันด้วยเร็วไว ยืนหน้ารถบทจร พราหมณ์พฤฒาจึ่งอวยพร จึงไถ่ถามพราหมณ์พฤฒา เร่งบอกไปจงเร็วรา กราบทูลเจ้าภพไตร ติดตามมาด้วยเร็วพลัน สมเด็จไทยทรงกรุณา เวสสันดรใจศรัทธา หวังจะตรัสเป็นชินสีห์ พฤฒาจารย์มาด้วยดี เราจะให้ดั่งใจปอง อันพรายแพรวงามเฉิดฉิน ยกให้ทานแก่พฤฒา อันเรืองรองงามโสภา ฝ่ามือพราหมณ์แล้วโดยจง ด้วยสมภารแห่งพระทอง


๒๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ได้สร้างมาแล้วโดยปอง ๏ สมเด็จพระภูธร กับด้วยภริยา ๏ เอ็นดูนางทรามเชย วิบากจากเวียงชัย ๏ ผัวรักพระนั่งเกล้า โฉมปรางนางมัทรี ๏ ดาเนินเดินลีลาศ ไต่เต้าตามมรคา ๏ แรดช้างแล่กวางทราย กระบ่างแลชะนี ๏ วายุภักษ์แลปักษี สาลิกาบินมาก่อน ๏ ยามเย็นมารอน ๆ ออกจากแต่ป่าพลัน ๏ แลเห็นเป็นทุ่งนา ราชาจึงคลาไคล ๏ จึงถึงเมืองพระบาท สมเด็จพระราชา

หวังจะตรัสเป็นพระพลัน เวสสันดรจรลีลา ตั้งพังงาลูกสายใจ เจ้าไม่เคยเดินทางไกล ตามท้าวไทยผู้สามี อุ้มหนุ่มเหน้าพระชาลี อุ้มเทวีนางกัณหา ด้วยพระบาทผู้พัศดา ชมนกเนือ้ แลเสื้อสี มากเหลือหลายในพงพี กระทิงมฤคีแลพังพอน นกอินทรีบินสลอน พบแขกเต้าเคล้าคู่กัน พระภูธรจรผายผัน พระทรงธรรม์ทอดพระเนตรไป ไม่มีป่าทุ่งกว้างใหญ่ สี่กษัตริย์ตัดเดินมา เจตราชเจ้าพารา จึงลีลาเข้าไปพลัน

กัณฑ์วนปเวสน์ สุรำงคนำงค์ ฝ่ายพญาเจตราช รู้ว่าพระบาท ท้าวเสด็จลีลาศ ออกมาด้วยพลัน ๏ เจ้ากรุงเวียงชัย ออกมาทันใจ กราบถวายบังคม สมเด็จราชา ๏ สู่เมืองเจตราช ฝูงคนเดียรดาษ บัดเดีย๋ วบ่หึง ถึงศาลาลัย ๏ รับแก้วมัทรี โฉมงามมีศรี นั่งบนแท่นแก้ว พรายแพรวเรืองรอง ๏ แต่งเครื่องของเสวย ข้าวนมนมเนย โภชนาอาหาร พานทองรองพลัน ๏ พระเวสสันดร กับนางบังอร ลูกรักสองศรี ชาลีกัณหา

เป็นเจ้าไอศวรรย์ กับนางเมียขวัญ ลูกรักเสน่หา กับพลเสนา ขอเชิญเจ้าฟ้า ลิ้นลาคลาไคล ห้อมล้อมไสว เชิญพระภูวนัย นั่งบนเตียงทอง เป็นนวลละออง ลูกรักทั้งสอง นั่งเรียงเคียงกัน ถวายแก่จอมขวัญ ของเสวยทุกอัน ทุกพรรณนานา มัทรีกัลยา เสวยด้วยบิดา เป็นสุขเย็นใจ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๕

๏ ครั้นสาเร็จแล้ว เสือกสารับแก้ว ออกมาด้วยไว จึงยกถาดทอง เรืองรองสุกใส หมากพลูไปถวาย แก่พระราชา ๏ เสวยหมากพลูพลัน เสนาเหล่านั้น เข้ามาวันทา พระยาเจตราช อามาตย์เสนา ต่างคนต่างมา ถวายบังคมคัล ๏ พระยาร้อยเอ็ด เข้ามาสิ้นเสร็จ ชมบุญทรงธรรม์ เขาเล่าลือจบ พิภพไอศวรรย์ มาชุมนุมกัน สรรเสริญราชา ๏ ขอรับพระบาท ให้อยู่เสวยราชย์ ปกครองพารา ขอถวายฝูงคน ไพร่พลเสนา ขอถวายพารา แก่พระภูวนัย ๏ สมเด็จภูธร พระเวสสันดร วาจาปราศรัย ตั้งจิตจินดา ลีลาเข้าไพร ว่าจักออกไป ทรงพระบวชเป็นชี ๏ บวชเป็นดาบส อยู่เขาวงกต บรรพตคีรี เจริญภาวนา ในป่าพนาลี เกิดมาชาตินี้ อาภัพนักหนา ๏ ฝูงประชาราษฎร์ เสนาอามาตย์ ติฉินนินทา นิราศจากสถาน พลัดบ้านเมืองมา จะครองพารา ไม่ควรแก่ใจ ๏ พระยาทั้งหลาย ได้ฟังฤๅสาย คลอน้าตาไหล มิใคร่ไปจาก พระเจ้าจอมไตร โศกาอาลัย ให้รักราชา ๏ ว่าแก่อามาตย์ พระยาเจตราช ร้อยเอ็ดพระยา ท่านจงค่อยอยู่ ปกครองพารา กรุงไตรนั้นนา อย่ามีโพยภัย ๏ เราจักลี้ลา ออกจากพารา เข้าป่าพนาลัย ช่วยบอกหนทาง ขัดขวางที่ไหน ช่วยแนะนาให้ ได้บทจร ๏ พราหมณ์เฒ่าพฤฒา บทจรลี้ลา มาถึงพงไพร ไหว้นายเจตบุตร หยุดบ่วงพราหมณ์ชี เอามือทุบตี ขับหนีไปไกล ๏ บัดนั้นพระภูธร พระเวสสันดร จรคลาไคล กับเจ้ามัทรี ทั้งสี่สายใจ เข้าหิมาลัย ถึงถ้าคีรี ๏ พระเวสสันดร อุ้มทรามบังอร ลูกยาชาลี ส่วนพระโฉมปรางค์ นวลนางมัทรี อุ้มอรเทวี เจ้าแก้วกัณหา ๏ ลี้ลาคลาไคล เข้าพงดงใหญ่ บุกแฝกแหวกคา บาทาพุพอง เป็นหนองซ้ายขวา เอ็นดูพังงา น้าตาหลามไหล ๏ ชมไม้รายเรียง ยุงยางต้นเกรียง จิกจักสักสน ไม้มะซางไม้กลึง ดึงรั้งดั้งด้น ไม้สักไม้สน มากพ้นคณนา ๏ ชมพลางเดินพลาง เอ็นดูนวลนาง มัทรีกัลยา ลูกรักสองศรี ชาลีกัณหา ศีลแรงนักหนา มาในหิมวันต์ ๏ คิดถึงเวียงวัง แท่นทองเตียงตั่ง จักเป็นไฉนนา ฟูกทองหมอนแก้ว พรายแพรวรจนา ปราสาทโสภา เย็นเรื่อยน้าไหล


๒๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ โอ้แท่นบรรทม เพดานม่านมุ้ง แมงมุมชักใย สาวสนมเช้าแม่ นับวันจะไกล เอาหิมวาลัย มาเป็นแท่นนอน ๏ เอาเดือนมาต่างไต้ พระหาท่อนไม้ มาเรียงต่างหมอน เอาใบพฤกษา หิมวาดงดอน มาเป็นที่นอน เห็นพระภูมี ๏ เคยเสวยข้าวต้น ครั้งนี้ยากพ้น มาไร้ข้าวกิน เคยนอนพู่ผ้า มานอนแผ่นดิน อาหารจักกิน กินแต่ผลผลา ๏ ไก่ขันแจ้วแจ้ว มัทรีน้องแก้ว ตื่นจากนิทรา ปลุกเจ้าสองศรี ชาลีกัณหา พี่น้องสองรา ตื่นขึ้นทันใจ ๏ ครั้นรุ่งราตรี พระสุริยะแสงสี ชักรถคลาไคล ให้ลูกทรามชม เสวยนมนางไท้ ค่อยดาเนินไป ในไพรพฤกษา ๏ เจ้าเก็บผลไม้ เอามายื่นให้ แก่เจ้าสองรา มังคุดลางสาด กลาดทั้งกลางป่า สมเด็จราชา ลี้ลาคลาไคล ๏ ยามเที่ยงมารอนรอน สมเด็จภูธร ไปถึงสระใหญ่ ชวนนางมัทรี ทั้งสี่สายใจ ผลัดผ้าออกไว้ ลงสรงคงคา ๏ ถึงเวลาแล้ว ขึ้นจากสระศรี ผลัดผ้าภูษา ครั้นแล้วจรลี มาแต่สระศรี บทจรทั้งสี่ บัดเดีย๋ วทันใจ ๏ ท้าวเสด็จคลามา ลุถึงคงคา แม่น้ากว้างใหญ่ ชมพรรณนาฝูงปลา ว่ายมาไสว คู่เคียงเรียงไป ทุกพรรณนานา ๏ พระเวสสันดร ทั้งสี่บังอร บทจรคลาไคล ข้ามฝั่งคงคา เข้าป่าพนาลัย ถึงภูเขาใหญ่ อยู่ในราวป่า ๏ หนทางนั้นโสด ได้ห้าร้อยโยชน์ ถึงภูเขาใหญ่ ด้วยบุญราชา โสดพระตรัสไตร ท่านย่นทางให้ เห็นใกล้นักหนา ๏ ข้ามถึงพะเนินเขา เดินตามลาเนา เถื่อนถ้าเขาเขียว สี่องค์ทรงนาม โฉมงามทรามเปลี่ยว ชะแง้แลเหลียว เห็นจอมภูผา ฉบัง ๏ บัดนั้นจึ่งท้าวพันตา จึ่งเห็นพระเวสสันดร ๏ กับนางมัทรีศรีสมร จักออกไปบวชเป็นชี ๏ อยู่เขาวงกตบรรพตคีรี ทั้งสี่กษัตราร่วมกัน ๏ ซบบรรณศาลาด้วยกัน สุกใสรุ่งเรืองสองอัน

ทอดพระเนตรแลมา ลีลาบทจร ศรัทธายินดี น้อยน้อยรวมกัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๗

๏ ให้แก่พระองค์ทรงธรรม์ พร้อมกันจักบวชเป็นชี ๏ สมเด็จสรรเพชญชินสีห์ จึ่งมาฉับพลันทันใจ ๏ มาถึงภูเขาอันใหญ่ สุกใสรุ่งรจนา ๏ ซบศาลาน้อยน้อยโสภา มัทรีศรีสวรรค์กัลยา ๏ ประดับสุวรรณรจนา ตะลาวิมานเมืองสวรรค์ ๏ ยังมีผ้าผ่อนแพรพรรณ แต่งไว้ให้บวชเป็นชี ๏ เครื่องทรงสาหรับฤๅษี ให้ทรงหนังเสือโสภา ๏ รัดเกล้ามงกุฎกัณฐา แต่งไว้ให้สบครบครัน ๏ จึงเขียนอักษรด้วยพลัน ทรงพรตจะบวชเป็นชี

กับนางเมียขวัญ สนุกกันทั้งนี้ ซบศาลาลัย ให้แก่ธิดา ทั้งพื้นผืนผ้า พระวิษณุกรรม์ เมื่อจะบวชเป็นชี เครื่องประดับประดา ผู้ใดใจธรรม

ยำนี ๏ แล้วเสร็จพระวิษณุกรรม์ จักไปยังสถาน ๏ ส่วนพระเวสสันดร โดยทางมรรคานั้น ๏ ราพึงคิดเดินจรคลา บรรลุถึงที่ศาลา ๏ จึ่งให้นางมัทรี แทบใกล้ริมอาศรม ๏ เสด็จเข้าในอาศรม บัดเดีย๋ วหน่อศาสดา ๏ อ่านแล้วหน่อศาสดา มาช่วยพระภูธร ๏ พระบาทผู้ทรงธรรม์ เปลืองผ้าภูษาไท

ท้าวผายผันไปบ่นาน สู่วิมานดาวแดนสวรรค์ ค่อยบทจรตามสาคัญ พอจุรอยบาทบาทา ตามมรรคาบัดเดี๋ยวดาย พระราชาถึงอาศรม วางโฉมศรีผู้ทรามชม แล้วทรามชมผู้ศาสดา มโนรมย์ท้าวหรรษา ท้าวเขียนไว้ลายอักษร ท้าวว่าหน่ออมร เจ้าอมรแท้แก่ใจ วางพระขรรค์ธนูชัย ท้าวทรงใส่ไว้บ่คลา


๒๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ จึ่งนุ่งผ้าเปลือกไม้ แล้วจึงผูกชฎา ๏ พระกรถือไม้เท้า ท้าวเที่ยวในอาศรมศรี ๏ เที่ยวไปแล้วเที่ยวมา เป็นสุขภิรมย์ ๏ แล้วท้าวเสด็จจรลี แทบประตูบรรณศาลา ๏ เมื่อนั้นนางเทวี แทบบาทของพระองค์ ๏ เสร็จเข้าบรรณศาลา ภายหลังพระจักรี ๏ เอาเพศเป็นพระฤๅษี ทั้งสี่กษัตรา ๏ บัดนั้นโพธิสัตว์ กับนางผู้ทรงพรต ๏ ครั้นผิดเวลาการ อย่าไปสู่อาศรมศรี ๏ เมื่อนั้นนางมัทรี เห็นว่าดีนักหนา ๏ แล้วนางอุประกาษ แต่นี้พระพันปี ๏ ลูกรักทั้งสองรา ข้าน้อยจะขอลา ๏ แสวงหาผลผลา เชิญเจ้าเข้าอยู่ใน ๏ สถานที่เล่าโสด สัตว์ร้ายทุกภาษา ๏ ด้วยเดชมีอานาจ ย่อมเป็นมิตรไปด้วยกัน ๏ แต่นนั้ นางมัทรี ถือไม้สีฟันมา ๏ ถวายพระศาสดา จับตราดกวาดบัดใจ

หนังเสือใส่พาดเหนือบ่า เอาเพศมาเป็นฤๅษี สาเร็จแล้วจึงภูมี แล้วภูมีเที่ยวจงกรม ด้วยสัญญาว่าอุดม สว่างอารมณ์ท้าวจินดา สู่มัทรีเจ้าสองรา บ่ได้ช้าโดยจานง เห็นภูมีจึงกราบลง พิลาปลงแล้วเทวี เอาเพศมาเป็นฤๅษี แล้วสองศรีงามโสภา ภายหลังนี้นางไฉยา อยู่ในป่าเขาวงกต ท้าวจึ่งตรัสตามกาหนด ตามกาหนดเจ้าเทวี จึ่งนางคราญภิกขุนี แห่งเรานี้เลยฉายา รับเสาวนีย์ใส่เกศา นางรับมาใส่เกศี แต่ข้านาถพระภูมี จึงภูมีเข้าราวป่า อยู่แท่นที่บรรณศาลา เข้าสู่ป่าพนาลัย มารักษาเจ้าจอมไตร อาศรมไท้พระราชา ได้สามโยชน์โดยคณนา ในราวป่าพระหิมวันต์ แห่งพระบาทผู้ทรงธรรม์ ถ้วนทุกพรรณนานา นางเทวีอรฉายา น้าล้างหน้าเอาใจใส่ แล้วไฉยาผู้ทรามวัย รอบศาลาลัยแล้วไฉยา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๙

๏ มาอุ้มสายสุดใจ แล้วจึงนางฉายา ๏ ถือกระเช้ามาบ่นาน เกี่ยวผลาผล ๏ เข้าสู่ป่าพงไพร บ่ายเย็นนางกัลยา ๏ วางหาบลงบ่คลา นั่งแทบริมอาศรม ๏ เมื่อนั้นหน่อชินสีห์ ส่วนเจ้าทั้งสองรา ๏ แล้วจึงพระดาบส เสวยผลผลาอ่อน ๏ แทบบรรณศาลาเล่า แล้วจึงนางทรามวัย ๏ จักไปสู่อาศรม ชมเชยเจ้าสองรา ๏ ทั้งสี่กษัตรา อยู่ในเขาคีรี

เอาไปไว้แก่ราชา สู่ศาลาแห่งฤๅษี ทั้งสาแหรกคานโดยใจจง แล้วนิรมลค่อยไคลคลา แสวงไปหมู่ผลผลา มาถึงหน้าอาศรม จึงฉายานางทรามชม ทูลบังคมพระศาสดา จึ่งเคลื่อนคลี่เดินออกมา ก็เลื่อนมาสู่มารดร ชวนโอรสสองบังอร อันบวรสาราญใจ อาศรมเจ้าผู้เลิศสะไตร อุ้มสองไทยเสน่หา ด้วยภิรมย์นางหรรษา สาใจแล้วก็ยินดี ค่อยเมตตาเกษมศรี วงกตนี้เจ็ดเดือนดาล

กัณฑ์ชูชก ๒๘ ๏ กล่าวถึงพราหมณ์ชูชก พราหมณ์เที่ยวขอทาน หมากพลูแลปูนยา ๏ บ้านน้อยแลเมืองใหญ่ เงินทองของกระการ ๏ ได้ทองร้อยกระษาปณ์ จักเที่ยวบทจรพลัน ๏ ผู้นั้นรับเอาทอง พราหมณ์ไปเที่ยวพฤกษา ๏ วันนั้นพราหมณ์กลับมา ครั้นถึงพราหมณ์ขึ้นไป ๏ ส่วนพราหมณ์ที่รับทอง จ่ายสิ้นทองทั้งพัน

รูปร่างอกกะรกพ้นประมาณ ถ้วนทุกบ้านทุกเคหา ทั้งข้าวเปลือกแลข้าวสาร พราหมณ์เร่เที่ยวไปขอทาน พราหมณ์ได้มามากครามครัน โดยสุภาพพราหมณ์ขยัน ฝากทองไว้แก่พฤฒา ของชูชกไว้เคหา ทุกพาราสบายใจ หาพฤฒาด้วยเร็วไว จะเอาทองด้วยเร็วพลัน มันเอาของไปจ่ายพลัน บัดเดีย๋ วมันเป็นขัดสน


๓๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ ชูชกใจบาป เฒ่านึกในใจตน ๏ ชูชกเร่งรุกรน จะได้แต่ไหนมา ๏ มันจะหาทนายมา ปลอบไหว้สักเท่าใด ๏ เฒ่ามันเห็นลูกสาวศรี จึงพราหมณ์ทั้งสองรา ๏ ชูชกครั้นได้ฟัง ไปเชิญท่านนายบ้าน ๏ พราหมณ์ให้ลูกสาวน้อย เป็นเมียเฒ่าทรพล ๏ นางนั้นรู้เจียมตัว มิให้เฒ่าพฤฒา ๏ เมียพราหมณ์ทั้งนั้นนา ว่าไม่ตามใจมัน ๏ เมียพราหมณ์มากเหลือหลาย เมื่อนางลงมาท่า ๏ มันกลุ้มรุมกันมา มันว่าน่าบัดสี ๏ มึงนี้ขี้แสนชู้ พ่อแม่มึงส่งมา ๏ มึงรักษาผัวเฒ่า ตักน้ามึงหาไฟ ๏ ปัดฟูกแลปัดหมอน ชูชกแก่งกงัน ๏ เมื่อหัวเมื่อจะหยอก ทั้งตัวแต่ขี้ไคล ๏ กอดนอนกระไรได้ พาชองอีตะลากา ๏ กูจะตีให้หัวฟก น่ามึงไม่รู้อาย ๏ ด่าพลางมันชี้หน้า บิดธิดามาตกใจ

ก็ได้ทีแย่งสาละวน ลูกสาวชื่อบิดธิดา พราหมณ์สองคนเร่เที่ยวหา เฒ่าชราโกรธคือไฟ พราหมณ์ชราก็ตกใจ ของดไว้สักเพลา รูปงามดีอยู่เคหา ทนมิได้ให้แก่มัน แล่นเซซังไปบ่นาน เป็นพยานให้มั่นคง หน้าแช่มช้อยผู้นิรมล เอาไปไว้ในเคหา รักษาผัวทุกเวลา ต้องการนักรักษากัน ผัวตีด่าอยู่ทุกวัน เหมือนเอววัลย์เจ้าบิดธิดา มันมุ่งหมายคิดริษยา จะตักน้าด้วยทันที ก็ร้องด่านางเทวี หญิงขี้ร้ายตะลากา มึงไม่อยู่ในพารา ให้ชูชกเฒ่าจังไร ของมึงเล่าเท้ายองใย หาสิ่งไรตามใจมัน ปัดที่นอนให้ครบครัน มึงรักมันด้วยอันใด เมื่อสัพยอกเหมือนจะขับไป เหม็นสาบนักคือแร้งกา ชังเข้าใกล้ร่วมเสน่หา อีรามาไม่รู้อาย กูจะตบให้หัวหงาย มึงชิงผัวกูว่าไร ยุดชายผ้ายื้อคร่าไป จึ่งขึ้นไปเคหาพลัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๑

๏ จึงพราหมณ์ชูชกเฒ่า แม่ร้องไห้ว่าไรนา ๏ บัดนั้นบิดธิดา เมียหลวงมันจังไร ๏ ว่ากูเลี้ยงผัวเฒ่า มันทาให้ราคาญ ๏ ชูชกจึ่งว่าเล่า แต่นี้ไปเมื่อหน้า ๏ ตกหนักงานพี่เล่า มิให้เจ้าทาการ ๏ เจ้าอยู่แต่เคหา พี่จะหาให้เจ้ากิน ๏ จึ่งเจ้าบิดธิดา ถ้าช้าว่ามิได้ ๏ เอามาให้ใช้สอย ครั้นได้ทาสทาสี ๏ เขาเล่าว่าภูธร ศรัทธามากเหลือใจ ๏ ช้างแก้วแลม้าแก้ว ท้าวออกจากพารา ๏ จึ่งท่านอุตส่าห์ไป กัณหาแลชาลี ๏ จึงพราหมณ์เฒ่าชูชก หนทางไกลนักหนา ๏ ครั้นถึงเขาวงกต บุกพงเข้าดงใหญ่ ๏ เมียพราหมณ์ว่าไปเล่า เมื่อใดจะได้มา ๏ อุตส่าห์เร่งขวนขวาย เดินพงในดงป่า ๏ ชูชกคนร้ายกาจ กลัวนางอะมิทธิดา ๏ ว่าพี่จักไปหา ขอเอาลูกจอมขวัญ

ตาขี้เค้าร้องถามมา ใครด่าว่าแค้นสิ่งไร นางว่ามาด้วยเร็วไว มันรบด่าอยู่วุ่นวาย มันหยอกเย้ากล่าวประจาน กูจักตายเสียดีกว่า เจ้าอย่าเศร้าอย่าโศกา เจ้าอย่าไปสู้ชลธาร รักษาเจ้านางนงคราญ พี่นี้หาให้เจ้ากิน นั่งผินหน้าอย่าลงดิน ทุกค่าเช้าแลเพลางาย ร้องว่ามาดังใจหมาย เร่งไปหาทาสทาสี จึ่งข้าน้อยค่อยยินดี เราจะเลี้ยงกันสืบไป เวสสันดรเจ้าภพไตร ท้าวให้ทานแก่พฤฒา ให้ทานแล้วมากเหลือตรา ไปทรงพระผนวชบวชเป็นชี ขออรทัยเจ้าสองรา แก่พระชีผู้บิดา มือตีอกทั้งซ้ายขวา เข้าในป่าหิมวาลัย พระดาบสอยู่อาศัย กูจะไปกระไรนา ท่านผู้เฒ่ากล่าววาจา จักไปหามาให้ได้ ข้าหญิงชายให้ได้มา ทางก็ไกลเป็นนักหนา กลัวอานาจนางภริยา เฒ่าชราเข้าไพรวัล ท้าวผู้ปราอยู่ในหิมวันต์ เจ้ากัณหาพระชาลี


๓๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ เจ้าอยู่ในเคหา ไปหาพระฤๅษี ๏ แต่งสะตูทั้งข้าวตาก หนทางชะรอยจะไกล ๏ ได้ฟงั เฒ่าชูชก ทั้งคาวหนมแลของหวาน ๏ แต่งให้ซึ่งผัวเฒ่า ใช้ให้ไปขอทาน ๏ สะตูใส่ในถุงใต้ พิมพ์ถั่วบัวเคราะห์ดี

พี่จะลาเข้าพงพี ถึงคีรีภูเขาใหญ่ ทาจงมากเถิดทรามวัย จะไปกินในกลางป่า นางแต่งตะกดเรื่องโภชนา เมื่อจะเข้าในไพรสาณฑ์ หน่อท่านท้าวทั้งสองศรี นางยื่นให้แก่พราหมณ์ชี ทั้งทองย้อยสร้อยสายไหม

พิลำป ๏ บัดนั้นชูชก พราหมณ์เฒ่าอกกะรก ร้องไห้ร่าไร วันนี้จรจาก พลัดพรากไปไกล เจ้าจะเห็นหน้าใคร เหมือนพี่เล่านา ๏ เคยเคล้าเคยโลม ภิรมย์ชมโฉม โลมแก้วกัลยา เคยจูบเคยกอด พลอดกันสองรา เคยนอนภู่ผ้า ร่วมกันเคียงเขนย ๏ เคยกินเคยอยู่ เคยนอนเป็นคู่ คลึงเคล้าชมเชย วันนี้ไกลแล้ว น้องแก้วพี่เอ๋ย น้าตาบ่เสบย รัญจวนครวญหา ๏ พราหมณ์เฒ่าชูชก เอามือลูบอก จูบซ้ายจูบขวา จูบแก้มจูบผม จูบนมกัลยา โอ้เจ้าบิดธิดา น้าตาหลามไหล ๏ ชูชกพฤฒา ลงสรงคงคา จับกระบอกด้วยไว ลงไปถึงท่า ตักน้าบัดใจ ใส่ในพะเนียงใหญ่ แล้วจึ่งไคลคลา ๏ ถึงเมืองเจตราชพารา พราหมณ์จึ่งถามไถ่ ฝูงราชประชา วาจาปราศรัย ถามถึงจอมไตร พระเวสสันดร ๏ ออกจากพารา เข้าไพรพฤกษา ลีลาบทจร ไปบวชเป็นชี คีรีสิงขร สมเด็จภูธร ไปหนทางไกล ๏ เขม้นจะไปขอทาน แด่พระภูบาล ท่านบวชเป็นชี ยังแต่สองรา กัณหาชาลี พราหมณ์เฒ่าเดียรถีย์ มันพาเอาไป ๏ เข้าเมืองเจตราช เขาร้องกระหวาด ชูชกตกใจ กลัวเขาจะทุบตี แล่นหนีเข้าไพร จึงพบทางใหญ่ ไต่ตามมรรคา ๏ ยามเย็นมารอนรอน พระเทวาจร ลับเหลี่ยมเมฆา ถึงทีเ่ จตบุตร อุตลุดพรานป่า สุนัขออกมา เห็นพราหมณ์ทันใจ ๏ สุนัขไล่กัด ตาเฒ่าวิ่งหลบ ไม้เท้าแกว่งไกว สู้ด้วยสุนัข สามตัวใหญ่ใหญ่ หมาตัวหนึ่งใส่ ไล่ติดเข้ามา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๓

๏ หมาขาวตัวใหญ่ ไอ้แดงวิ่งไป กัดแข้งกัดขา พราหมณ์เฒ่าชูชก ตกใจนักหนา หกล้มผวา ขึ้นต้นไม้ใหญ่ ๏ หมาเห่าฉู้ฉาว หมาแดงหมาขาว เสียงดังเหลือใจ จึงนายเจตบุตร อุตลุดพรานไพร ออกมาทันใจ จากเคหาพลัน ๏ เห็นพราหมณ์ชูชก รูปร่างอกกะรก อยู่บนพฤกษา เพื่อนจึงถามไป ชูชกจังไรอวดอยู่ข้าข้า มาแต่ไหนนา พราหมณ์เท่าจังไร ๏ มาเที่ยวพฤกษา ซัดเซเร่มา แสวงหาอันใด มึงนี้คือมาร ผลาญเจ้าภพไตร (หาความสงบใจ) ไปอยู่คีรี ๏ สมเด็จราชา ออกไปอยู่ป่า ทรงพรตเป็นชี อยู่เขาวงกต บรรพตคีรี พราหมณ์ใจเดียรถีย์ แล่นติดตามมา ๏ ทั้งม้าทั้งรถ ให้ทานเสียหมด เกือกทองรจนา ยังแต่มัทรี เทวีกัลยา ลูกรักสองรา กัณหาชาลี ๏ มึงจะตามไปเล่า ขอทานแก่เจ้า ที่บวชเป็นชี จักได้อาไร พราหมณ์ใจเดียรถีย์ มึงตามมานี่ แกล้งเบียนฤๅสาย ๏ พรานขึ้นหน้าไม้ พาดดอกขึ้นได้ ว่าจะยิงให้ตาย พราหมณ์เฒ่าโกหก ให้มันตกลงตาย กูจักเอาไส้ ตับปอดหัวใจ ๏ ถวายแก่เทวา ผูกหมอรักษา ถวายเจ้าพนาลัย มึงเบียนโพธิสัตว์ กาจัดพลัดไป อยู่ภูเขาใหญ่ วงกตคีรี ๏ พรานร้องกระหวาด ด้วยสิงหนาท กึกก้องพนาลี พราหมณ์เฒ่าชูชก ตกใจกระลี กูเอ๋ยครั้งนี้ เห็นจะม้วยประลัย ๏ พราหมณ์เฒ่าชูชก ขัดแค้นแน่นอก รัญจวนอ่อนใจ ขอเทพเทวา เข้ามาดลใจ ท้าวศรีสญชัย ตรัสใช้ให้มา ๏ เชิญพระภูธร พระเวสสันดร ลูกรักเสน่หา ทั้งเจ้ามัทรี ศรีสวรรค์กัลยา ลูกรักสองศรี กัณหาชาลี ๏ รับสั่งกาหนด ให้พระดาบส ลาพรตจากชี จักให้พระองค์ ครองพระบุรี แทนพระพันปี ท้าวศรีสญชัย ๏ ข้านี้เจ้าพราน ไม่ใช่พราหมณ์ขอทาน ซัดเซเร่ไป เราเป็นราชทูต เร่งเร็วมาไว ให้ถึงท้าวไท พระราชฤๅษี ๏ เจตบุตรพราหมณ์ป่า ได้ฟังพฤฒา ชื่นชมพระทัย วาจาปราศรัย ไปตามท่วงที เชิญท่านพราหมณ์ชี ลงมาเถิดนา ๏ พราหมณ์เฒ่าอัปลักษณ์ มันกลัวสุนัข ไม่หาญลงมา จึงนายเจตบุตร อุตลุดพราหมณ์ป่า เรียกสุนัขมา ผูกไว้ทันใจ ๏ ช่วยชูช่วยยก พราหมณ์เฒ่าชูชก ลงแต่ไม้ใหญ่ จึงนายพรานป่า พามาด้วยไว ถึงที่อาศัย ไถ่ถามไปมา


๓๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ เจตบุตรพาพราหมณ์ ชวนกินอาหาร ด้วยกันสองรา กล่าวเกลียงปราศรัย ไถ่ถามไปมา จึงพราหมณ์พฤฒา นิทราหลับใหล ๏ ตื่นขึ้นแต่เช้า ชวนกันกินข้าว ด้วยนายพรานไพร พราหมณ์เฒ่าชูชก ยกเอาถุงใหญ่ เอาขนมออกไป ให้นายพรานป่า ๏ สะตูข้าวตาก เมียรักเพื่อนยาก ตกแต่งให้มา ขนมสายบัว พิมพ์ถั่วโศภา กะลาโรยโปรยงา หวานชิดติดใจ ๏ จึงนายพรานป่า บอกแก่พฤฒา ชูชกจังไร หนทางมันยาก พฤฒาจะไป ผลไม้ไสว ทุกพรรณนานา ๏ ส้มแก้วส้มจุก ทุเรียนมังคุด ละมุดสีดา ระกาลาไย จาบูไรมะไฟกา ตะโกพวา พุทราสุกใส ๏ ขนุนขนัน ลูกอินลูกจัน ทุกพรรณพิสมัย ปริงปรางมะทรางทอง เรืองรองสุกใส พราหมณ์เฒ่าเข้าไป เก็บกินเถิดนา ๏ เจตบุตรพรานไพร เอาเนื้อทรายไป ให้แก่พฤฒา น้าผึ้งครึ่งกระบอก เอาเอ่าบูชา แนะนามรรคา ให้พราหมณ์เดินไป กัณฑ์จุลพน ยำนี ๏ บัดนั้นชูชกพราหมณ์เฒ่า บุกพงเข้าดงใหญ่ ๏ เห็นทางแต่ละน้อย แช่งพราหมณ์แลเหลียว ๏ เสือเหลืองแลเสือใหญ่ โคถึกมฤคา ๏ จึงพราหมณ์ชูชกเฒ่า ยามเย็นมารอนรอน ๏ พราหมณ์จึงเดินเข้าไป ดาบสพระฤๅษี ๏ ว่าพราหมณ์พฤฒาจาร ประสงค์สิ่งอันใด ๏ ชูชกบอกคดี ว่าข้าเฒ่าพฤฒา ๏ สมเด็จพระภูมี ใช้ข้าให้มาใน ๏ ให้เชิญพระลูกยา

ถือไม้เท้าค่อยคลาไคล ลีลาไปในไพรเขียว พอจุรอยแต่ผู้เดียว เห็นสิงห์สัตว์ทุกภาษา มันเที่ยวไล่ย่องไปมา ทั้งแรดช้างแลกวางทราย เดินไต่เต้าเข้าพงไพร พราหมณ์บทจรถึงอาศรมพระฤๅษี ถามอาศัยแต่พระชี จึงไถ่ถามมาทันใจ ท่านนี้เล่ามาแต่ไหน พราหมณ์จะไปแห่งใดนา แก่ฤๅษีพระนาคา ท่านใช้มาแต่เมืองไกล ธิบดีศรีสญชัย ถือสารไทพระพันปี เสร็จออกมาจากพงไพร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๕

อยู่ในป่าพนาลี ๏ ให้ลาออกจากชี จักให้พระราชา ๏ พระอาจุทฤๅษี แล้วให้อยู่อาศัย ๏ ฤๅษีพระนาคา หนทางซึ่งจะไป ๏ ผลาผลไม้ มีถี่ถ้วนทุกประการ ๏ ส้มแก้วแลส้มจุก มะเฟืองเรืองเนืองไป ๏ ทุเรียนแลลางสาด อินจันทุกพรรณมี ๏ ว่านหญ้ามีทุกพรรณ ว่านงูอันดีหลี ๏ ว่านเพชรสังฆาต ว่านนางล้อมค้อมลงมา ๏ ตาชีจะทาอย่าเลือก ทุกพรรณอันพิสมัย ๏ ครั้นว่าเมื่อรุ่งเช้า ดาบสพระนาคา ๏ จึงพราหมณ์ชูชกเฒ่า บุกพงเข้าดงใหญ่ ๏ ยามเย็นมารอนรอน ก็ถึงซึ่งภูผา ๏ พราหมณ์เฒ่าราพึงคิด กูจะเข้าไปวันนี้ ๏ เวลาญาณป่านฉะนี้ จะขอลูกสองรา ๏ ที่ไหนจะได้ไป ลูกรักยอดสงสาร ๏ กูจะอยู่ที่นี่ก่อน รุ่งเช้าค่อยเข้าไป ๏ จักขอลูกสองรา

เขาวงกตรจนา รับภูมีเข้าพารา อยู่เสวยราชย์ครองเวียงชัย ฟังพราหมณ์ชีก็ดีใจ เล่าท้าวไทด้วยวาจา จึงพิศหน้าให้เข้าใจ ใกล้กระชั้นไม่เดินนาน เก็บกินได้ต่างอาหาร พราหมณ์ก็ล้านไปทั้งหัว เป็นช่อชุกลูกสุกใส ทั้งมะไฟสุกใสศรี หล่นเดียรดาษในพงพี ทั้งมังคุดละมุดสีดา มากครามครันในพงพี ว่านลูกไก่รายเรียงมา มีเดียรดาษมากนักหนา ทั้งว่านนางกวักรักสุดใจ เอามาเถิดแต่กลางไพร ไม่ยากใจพราหมณ์พฤฒา จึ่งพราหมณ์เฒ่าก็กราบลา ชี้หนทางให้พราหมณ์ไป ถือไม้เท้าเดินคลาไคล พราหมณ์เดินไปตามมรรคา พราหมณ์บทจรมิได้ช้า เขาวงกตสดใสศรี ในดวงจิตของตาชี หาฤๅษีพระนาคา นางมัทรีเจ้ากลับมา นางพญาจะทัดทาน สองอรทัยพระกุมาร นางนงคราญไม่ลงใจ กูจะนอนให้หลับใหล หาท้าวไทยพระฤๅษี เจ้ากัณหาพระชาลี


๓๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เห็นว่าพระฤๅษี ๏ ครั้นค่าย่าราตรี ขึ้นนอนบนชะง่อนผา

ท้าวจะให้เจ้าสองรา จึงตาชีคิดจินดา ราลึกหาถึงพระชี

ฉบัง ๏ บัดนั้นจึ่งเจ้ามัทรี บรรทมเหนือแท่นรจนา ๏ ฝันเห็นว่าชายหนึ่งมา นุ่งผ้าย้อมฝาดนาดกราย ๏ มาถึงซึ่งหน้าโฉมฉาย มือถือพระขรรค์เข้าไป ๏ ผ่าเอาหัวอกทรามวัย ทรามวัยก็เศร้านักหนา ๏ มันควักเนตรทั้งซ้ายขวา ไหลลงที่อกทรามวัย ๏ ได้แล้วมันพาเอาไป ร่าไรพิลาปนักหนา ๏ นางจึ่งตื่นจากนิทรา ดังนี้เป็นไฉนนา ๏ นางออกจากศาลาลัย ไปหาสมเด็จราชาฤๅษี ๏ นางอยู่แต่คันธกุฎี มิได้ไปสู่สมภาร ๏ พระชีถามไปบ่นาน ใบดานนี้ดังเพื่อใด ๏ นางจึงกราบทูลภูวนัย ผู้ชื่อว่าเจ้ามัทรี ๏ ดิฉันมาทูลคดี ข้าเกิดนิมิตความฝัน ๏ ชายหนึ่งสูงใหญ่ฉกรรจ์ ผ่าเอาหัวอกหัวใจ ๏ ควักเอาเนตรซ้ายขวาพาไป ตกใจจึงวิ่งวางมา ๏ พระองค์จึ่งแจ้งปริศนา

ท้าวน้องเทวี สูงใหญ่นักหนา มันทาวุ่นวาย ควักเอาหัวใจ โลหิตพังงา ท้าวน้องทรามวัย ราพึงไปมา ลีลาคลาไคล โอ้เจ้ามัทรี ใครเข้าพระทวาร ว่าข้าทรามวัย อัศจรรย์ดังนี้ มือถือพระขรรค์ โลหิตลามไหล ว่าพราหมณ์พฤฒา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๗

พรุ่งนี้จะมาขอทาน ๏ ทั้งสองลูกรักสงสาร นิรมิตแก่เจ้าทรามวัย ๏ จึ่งท้าวกล่าวเกลียงปราศรัย อรทัยอย่าได้โศกา ๏ มาอยู่ในไพรพฤกษา อาหารจะกินก็ผิดไป ๏ กินแต่ผลไม้ในไพร นิรมิตหลงใหลไปมา ๏ เชิญเจ้ากลับไปเถิดหนา ไปหาลูกรักสองศรี ๏ โฉมปรางนวลนางมัทรี เทวีเจ้ากลับคืนมา ๏ ไปสู่พระบรรณศาลา โศกาพิลาปร่าไร ๏ สวมกอดลูกรักสายใจ ไหลลงคือท่อธารา ๏ รุ่งรางสว่างแผ้วเวหา มาให้สองราเจ้าเสวย ๏ มารดาสวมกอดชมเชย แม่ฝันร้ายเป็นนักหนา ๏ วันนี้เจ้าสองรา อย่าเล่นให้ไกล สายสุดใจของแม่อา ๏ นางอุ้มเอาลูกแก้ว แม่จักเข้าไปป่าพนาลัย ๏ อิ่มแล้วอุ้มแก้วสายใจ ไปฝากไว้แก่บิดา ๏ เอ็นดูลูกแก้วเสน่หา ห้ามสองราอย่าให้ไปไกล ๏ สั่งแล้วคลาดแคล้วทันใจ จับคานมาใส่เกศา ๏ กระเช้าสองใบใส่บ่า ลีลาเข้าป่าพนาลัย

จึ่งให้บันดาล ว่าไม่เป็นใด อดข้าวอดปลา ธาตุแปรไป สู่บรรณศาลา ได้ฟังภูมี จึงนางพังงา ชลเนตรลามไหล จึงเอาผลผลา ขวัญข้าวเจ้าแม่เอ๋ย แก้วกาพร้าอย่าอาลัย เล่นแต่ใกล้บรรณศาลา ไปฝากแล้วแก่บิดา เอาสองทรามวัย สั่งไว้แก่บิดา มัทรีคลาไคล ร้อยชั่งพังงา


๓๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สุรำงคนำงค์ ๏ ครั้นเมื่อรุ่งเช้า จึ่งชูชกเฒ่า ตื่นขึ้นทันใจ โจงกระเบนมั่น ลงแต่ง่อนเขา ราพึงโดยเดา จักเข้าไปหา ๏ พระเวสสันดร สมเด็จภูธร ทรงพระศรัทธา ป่านฉะนี้เทวี มัทรีไปป่า หาผลผลา รักษาผัวขวัญ ๏ คิดเท่านั้นแล้ว พราหมณ์เฒ่าใจแกล้ว ลีลาผายผัน ไม้เท้าจดจ้อง ย่องเข้ามาพลัน สมเด็จพระทรงธรรม์ ทอดพระเนตรแลมา ๏ เห็นพราหมณ์ชูชก รูปร่างอกกะรก เดินเข้ามาพลันใน จึงเจ้าชาลี มีคดีปราศรัย เจ้าแล่นออกไป รับพราหมณ์เข้ามา ๏ เจ้าว่าตาเฒ่า ตายื่นไม้เท้า มาแก่หลานจะช่วยถือไป ส่งให้แก่ตา จึ่งพราหมณ์พฤฒา ราพึงในใจ ๏ ว่าเจ้านี้นา ลูกท้าวพระยา มันไม่กลัวใคร ถ้ากูขอได้ จะใช้ยากเหลือใจ ใช้สิ่งอันใด ขัดสนนักหนา ๏ จึ่งชูชกพราหมณ์ มันขู่คาราม ด้วยคาหยาบช้า เด็กน้อยนี้ไซร้ ถอยไปเร็วรา อย่าได้เข้ามา ขวางหน้าตากู ๏ จึ่งเจ้าชาลี ได้ฟังคดี ถอยออกมาดู รูปคือนกเค้า พราหมณ์เฒ่าหัวงู เราคิดเอ็นดู ช่วยถือเอาไป ๏ บัดเดี๋ยวชูชก พราหมณ์เฒ่าอกกะรก ยุดย่างวางไป ถึงหน้าศาลา หาพระภูวนัย นั่งลงบัดใจ อวยพรคาถา ๏ จึงร่ายสัทเวทย์ คาถาวิเศษ แห่งพราหมณ์พฤฒา เสน่ห์เล่ห์กล สะกดคาถา ให้พระราชา อ่อนน้าพระทัย ๏ ว่าพระภูมี มาบวชเป็นชี อยู่ภูเขาใหญ่ พระเจตราช แผดผาดมาใน เสือน้อยเสือใหญ่ มาบ้างฤๅนา ๏ งูน้อยงูใหญ่ ยังเข้ามาใน พระบรรณศาลา ยังเข้ามาใกล้ พระเจ้าสองรา มฤคราชทั้งหลาย มิได้บีฑา ๏ ตรัสถามแล้วเล่า ว่ามหาพราหมณ์เฒ่า มาแต่ไหนนา ประสงค์สิ่งใด มาแต่ในป่า ทรงนามกษัตริย์ พลัดจากเวียงชัย แต่น้าพระทัย เลื่อมใสศรัทธา ๏ คือพระมหาสมุทร มิรู้สิ้นสุด หยุดยั้งไหลมา แม่น้าสะโนดาต นทีธารา จักรวรรดิคงคา ยมนาสาคร ๏ ทั้งห้าสมุทร เป็นที่บริสุทธิ์ น้าใจภูธร ตั้งจิตจินดา ศรัทธาบ่ย่อน คงคาสาคร ใครจะแห้งเหือดหาย ๏ ข้าเฒ่าพฤฒา พากายเข้ามา หาพระฤๅษีสาย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๙

หวังจักขอทาน คิดอ่านมุ่งหมาย ลูกรักสุดสวาท กัณหาชาลี ๏ สมเด็จภูธร พระเวสสันดร วิสัชนาพาที ว่าเราจักให้ ลูกรักสองศรีสงสาร งดถ้ามัทรี เข้าในราวป่า ๏ จึ่งชูชกเฒ่า ตอบคาท่านท้าว กล่าวถ้อยวาจา จะถามมัทรี เทวีพระนัดดา โฉมนางพระยา จะขัดทัดทาน ๏ เทวีให้ก็ได้ ทั้งสองอรทัย ลูกรักสงสาร พระเจ้าใจบุญ คุณพระโปรดปราน ถ้าจักให้ทาน อย่าช้าเลยนา ๏ เจ้าทั้งสองศรี กัณหาชาลี พี่น้องสองรา ชวนกันแล่นไป ให้ไกลพฤฒา ชวนน้องกัณหา ลงในสระศรี ๏ ใบบัวปูเกล้า พี่น้องสองเจ้า ชวนกันวิ่งหนี กลัวว่าราชา บิดาภูมี จักให้ตาชี ชูชกจังไร ๏ ชูชกใจแกล้ว ไม่เห็นเจ้าแล้ว โกรธกริ้วคือไฟ จึ่งกล่าวตรัสพ้อ ย้อหยันทันใจ ฤๅษีเข้าทัย ไม่มีวาจา ๏ กล่าวมุสาวาท ว่าจะให้น้อยนาด ลูกรักเสน่หา ขับให้สองศรี หนีไปในป่า เห็นว่าศรัทธา มาบวชเป็นชี ๏ สร้างโพธิญาณ ในอนาคตกาล เป็นพระชินสีห์ มิได้บาเพ็ญบารมี มาทาดังนี้ เห็นหลากนักหนา ๏ สมเด็จภูธร พระเวสสันดร บทจรลีลา เที่ยวหาลูกน้อย ยอดสร้อยเสน่หา ถึงริมคงคา เรียกหาสายใจ ๏ ช่วยสร้างบารมี ใจพระบิดา เลื่อมใสศรัทธา จะให้สองศรี แก้วพ่อสองรา กัณหาชาลี บาเพ็ญบารมี ช่วยพระบิดา ๏ เมื่อจักได้ตรัส เป็นโพธิสัตว์ ตรัสแก่ทรมา เจ้าเป็นสาเภาทอง ลอยล่องคงคา ข้ามส่งพระบิดา ให้พ้นถึงฝั่ง ๏ จึงเจ้าชาลี ได้ฟังคดี พระทัยร้อนรน จึงเจ้าลิ้นลา ขึ้นมาบัดดล พี่น้องสองคน กราบกับบาทา ๏ ทั้งสองสายใจ ชลเนตรลามไหล คือท่อธารา ให้รักพระชีย์ ชนนีมารดา กลับมาแต่ป่า จะเห็นหน้าใคร ๏ จึงพระภูมี พาเจ้าสองศรี เข้ามาทันใจ เรียกพราหมณ์พฤฒา เข้ามาด้วยไว สมเด็จภูวนัย ให้ทานสองศรี ๏ ตีค่าลูกน้อย ทองปลอดยอดสร้อย กัณหาชาลี พราหมณ์จะขายกิน ให้ว่าตามที่ ส่วนเจ้าชาลี ค่าพันตาลึงทอง ๏ นางแก้วกัณหา ค่ามากนักหนา รูปงามเรืองรอง ถ้าใครขอได้ เป็นคู่สมสอง คิดเอาสิ่งของ ทุกพรรณนานา ๏ ข้าหญิงข้าชาย ช้างม้าวัวควาย สิ่งละร้อยโดยตรา


๔๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทองพันตาลึง ถึงมือพฤฒา จึงให้กัลยา ธิดามารศรี ๏ คิดค่าเสร็จแล้ว สมเด็จพระแก้ว จับเอาคนที หล่อน้าชโลทก ตกมือพราหมณ์ชี พิศฐานด้วยดี ตั้งทานปรารถนา ๏ ให้บุตรเป็นทาน สร้างโพธิญาณ ช้านานนักหนา ขอให้ได้ตรัส เป็นพระศาสดา โปรดทั่วโลกา ในอนาคตกาล ๏ พราหมณ์เฒ่าพฤฒา อวยพรคาถา แด่พระภูธร จึงให้ได้ตรัส เป็นศาสดาจารย์ สรรเพชรชุดาญาณ โปรดสัตว์ทั้งปวง ๏ ครั้นอวยพรแล้ว พราหมณ์เฒ่าใจแกล้ว ลีลาผายผัน ออกจากอาศรม จงกรมด้วยพลัน ทั้งสองโศกศัลย์ ร่าไรโศกา ยำนี ๏ บัดนั้นชูชกเฒ่า กัณหาพระชาลี ๏ ออกมาจากอาศรม โศกเศร้าเจ้าโศกา ๏ ไหว้สั่งบิตุเรศ บอกแก่มารดาไท้ ๏ ลูกน้อยนางนงคราญ พาไปในกลางป่า ๏ ขอฝากพระมารดา เอ็นดูมารดาไทย ๏ จึงตาเฒ่าชูชก น้อยน้อยสองจอมขวัญ ๏ มาถึงที่ดินราบ หกล้มมิได้ช้า ๏ จึงพระนามระบัดเชือกเถาวัลย์ สองพี่น้องวิ่งกลับมา ๏ บัดเดี๋ยวบ่ทันเหิง กราบบาทพระบิดา ๏ อ้อนวอนพระบิตุเรศ พราหมณ์เฒ่าพาลูกไป ๏ ป่านฉะนี้พระชนนี ผลไม้แม่เก็บมา ๏ เอ็นดูเจ้าทั้งสอง

ผูกมือเจ้าทั้งสองศรี ศรีสวาทคลาดไคลคลา พระทรามชมสองเสน่หา ฟายน้าตาให้ร่าไร ไทยทิเบศรพระภูวนัย อย่าอาลัยลูกเลยนา ท้าวให้ทานแก่พฤฒา ทั้งสองราให้ร่าไร แก่เจ้าฟ้าสุราลัย คอยพิทักษ์รักษากัน เฒ่ากระยาจกจูงมาพลัน จึงเดินตามพราหมณ์เฒ่าไป เฒ่าตะราดพลาดบาทา ล้มถลาด้วยเร็วพลัน หลุดจากมือจอมขวัญ จึงมาถึงบรรณศาลา ฝ่ายน้าตาให้ร่าไร ได้โปรดเกศลูกสายใจ เปล่าอกใจพระมารดา จักจรลีจากราวป่า ว่าจะฝากลูกสองศรี จักร่าร้องก้องพงพี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๑

โศกาเพียงพันทวี ๏ ลูกรักสองน้อยนาถ นิราศคลาดจากไป ๏ ทั้งสองพรากจากอก ป้อนเหยื่อทุกเวลา ๏ ตัวข้าผู้ชาลี แม้นว่าตกไปเมืองไกล ๏ เอ็นดูแต่น้องแก้ว ยอดสร้อยน้อยนักหนา ๏ เวลาเมื่อยามค่า ทรามชมกินนมใคร ๏ เจ้าประคุณของลูกเอ๋ย เอ็นดูแก้วกัณหา ๏ ให้อยู่ท่าพระมารดา จงอย่าให้เปล่าหัวใจ ๏ สมเด็จพระภูธร ราพึงใจคิดอ่าน ๏ วันนี้ขาดกันแล้ว ทูลเล่าแก้วกัณหา ๏ คิดคืนคาไม่ได้ เอ็นดูลูกพังงา ๏ บัดนั้นจึงพราหมณ์เฒ่า แล่นหนีพราหมณ์เฒ่ามา ๏ มาถึงบรรณศาลา จับไม้วิ่งวางไป ๏ พี่น้องทั้งสองรา เมื่อพราหมณ์ชูชกตี ๏ ตีน้องพี่งามสรรพ ครั้นตีพี่จอมขวัญ ๏ ตีพี่ต้องด้วยน้อง ถ้อยทีถ้อยรับรอง ๏ เลือดย้อยทุกสีไม้ ชูชกเฒ่าพฤฒา ๏ มันเอาเชือกเถาวัลย์

พระชนนีจักประลัย สายสุดสวาทมารดาไทย ใจแม่ขาดด้วยลูกยา เหมือนลูกนกสาลิกา วันนี้หนามาหายไป พระชนนีอย่าอาลัย บุญยังอยู่ลูกจะกลับ โฉมพรายแพรวแก้วกัลยา ยังกินนมชมยาใจ จักให้ร่าเพียงปราลัย พลัดพรากไปไกลมารดา ทุเลาโทษโปรดเกศา พระบิดาอย่าให้ไป มาแต่ป่าหิมวาลัย มารดาไทยจะชื่นบาน เวสสันดรเยาวมาลย์ เราให้ทานแก่พฤฒา ดังฤๅแก้วพระลูกยา เห็นมิชอบในทางธรรม ร่าร้องไห้เศร้าโศกา พระชาลีนางกัณหา แลเห็นเจ้าทั้งสองรา เฒ่าตามหาบัดเดี๋ยวใจ พราหมณ์พฤฒาโกรธคือไฟ ตีทรามวัยทั้งสองศรี เจ้ากัณหาพระชาลี เจ้าผันหลังเข้าหากัน เอาหลังคอยรับด้วยเร็วพลัน น้องผันหลังเข้ารับเอา พระแขนสร้อยนวลละออง สองพี่น้องเจ็บนักหนา ร่าร้องไห้ฝ่ายน้าตา พาเจ้ามาด้วยเร็วไว ผูกมือพลันตีรันไป


๔๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พี่น้องสองอรทัย ๏ ไปถึงที่หนึ่งเล่า ตะราษพลาดบาทา ๏ พระทองสองน้อยนาถ แล่นมาหาฤๅสาย ๏ ดังฤๅพระเจ้าพ่อ พราหมณ์เฒ่าคนนี้นา ๏ ไม่ใช่พราหมณ์พฤฒา มันอยู่แต่ในไพร ๏ มันนี้คือผีเสื้อ รูปร่างมันเล่านา ๏ แข้งคดตะมูกโด่ง ทั้งตัวแต่ขี้ไคล ๏ ลูกน้อยไหว้ขอโทษ ลูกรักสองจอมขวัญ ๏ ควรหฤๅบิดาเจ้า มันนี้มิใช่คน ๏ สมเด็จพระมารดา วิบากจักยากเย็น ๏ จะตายเสียเที่ยงแท้ ควรหรือไม่นาพา ๏ ช่างไม่คิดว่าลูกเต้า บ่ายพักตร์มาสักที ๏ ลูกรักสั่งความไว้ พราหมณ์เฒ่าคนนี้นา ๏ บัดเดี๋ยวเฒ่าพฤฒา กริ้วโกรธเป็นฟืนไฟ ๏ ครั้นถึงเจ้าสองศรี ชาลีร้องฉาวมา ๏ มันว่าแก่ภูมี ให้เจ้าสองสายใจ ๏ หกล้มทีหนึ่งเล่า พ่อลูกช่างสอนกัน ๏ หลังแตกแหลกยับย่อย

ให้ร่าไรเศร้าโศกา ชูชกเฒ่าพาเจ้ามา หกล้มคว่าปับช้ากาย ฟัดเหวี่ยงขาดดังใจหมาย ร่าร้องไห้ฟายน้าตา เจ้าไม่โปรดเกล้าเกศา ใจมันร้ายพ้นวิสัย มันนี้หนาคนจังไร เป็นยักขินีแลผีป่า จักกินเนื้อลูกสองรา อัปลักษณ์นักเหลือใจ หลังมันโกงคืองอนไถ พุงมันใหญ่ใจฉกรรจ์ มันขึงโกรธเร่งตีรัน ทนมิได้จะวายชนม์ ให้แก่เฒ่าอกุศล จักกินเนื้อลูกทั้งเป็น จักกลับมามิได้เห็น แม่มิเห็นใจลูกนา วันนี้แลพระบิดา ช่างแลได้ให้พราหมณ์ตี พระองค์เจ้าไม่ปรานี ลูกรักนี้จักมรณา ช่วยบอกให้พระมารดา มันพักพาเอาลูกไป ติดตามมาด้วยเร็วไว้ จับไม้ได้วิ่งวางมา มันทุบตีตามเวรา เจ้ากัณหาไห้ร่าไร พระฤๅษีสั่งสอนไป หนีกลับมาหาทรงธรรม์ ทั้งสองเจ้าวิ่งผายผัน มันตีรันสองเสน่หา เจ้าน้อยน้อยยอดเสน่หา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๓

คิดถึงพระมารดา ๏ สมเด็จพระบิตุเรศ เห็นพราหมณ์เฒ่าจังไร ๏ ตีลูกต่อหน้าพ่อ ใจใครฉันนี้นา ๏ ไม่คิดเอ็นดูบ้าง ให้ทานลูกสองศรี ๏ ดังฤๅพราหมณ์ชูชก ทุบตีเจ้าสองรา ๏ คือตีวัวในคอก พราหมณ์นี้ใจกล้าหาญ ๏ ถึงว่าบวชเป็นชี พระขรรค์ทั้งสินชัย ๏ กูจักผ่าเอาหัวอก บูชาแก่พระไทร ๏ ใครจะรู้ว่ากูมา เมื่ออยู่ในพงพี ๏ บังเกิดความโมโห ราพึงคิดมาฉุกใจ ๏ เรามาบวชเป็นชี ทรงพระรสอยู่ในธรรม ๏ กัณหาพระชาลี เราให้พราหมณ์พฤฒา ๏ ดารอะไรแก่ภูธร เจ้าข้าเข้าทุบตี ๏ ให้ความสั่งสอนตัว เสร็จเข้าที่ห้องใน ๏ วันนั้นชูชกเฒ่า ชาลีเจ้ากัณหา ๏ มันเอาเชือกเถาวัลย์ จูงไปในพฤกษา สุรำงคนำงค์ ๏ ครั้นถึงประตูป่า

เจ้าโศกาน้าตาไหล ทอดพระเนตรเล็งแลไป มันตีรันเจ้าสองรา ไม่ย่อท้อเท่าเกศา จักอดได้ชายพอดี เราจะสร้างพระบารมี หวังจะตรัสเป็นศาสดา เฒ่ากระยาจกทาอหังกา ให้บอบช้าพ้นประมาณ ตีด่าครอกไม่ปูนปาน ไม่ได้กลัวพระอาชญา เรายังมีเครื่องศาสตรา (ฆ่าให้ตายในพงพี) กูจะยกเอาหัวใจ ต้นไม้ใหญ่อันมีผี ฆ่าพฤฒาแลตาชี ใครจักเล่าลือไป ดับโทโสด้วยเร็วไว น้าพระทัยท้าวแปรผัน สร้างบารมีตามมาทัน หวังจะตรัสเป็นพระชินสีห์ ทั้งสองศรีงามโสภา เป็นทาสาแลทาสี เวสสันดรพระภูมี พระฤๅษีอย่าอาลัย พระนาหัวเจ้าคลาไคล พระจอมไตรเศร้าโศกา พาเอาเจ้าทั้งสองรา เข้าในป่าพนาลัย ผูกจอมขวัญทั้งสองรา แก้วกาพร้าน้าตาไหล

พี่น้องสองรา

ไว้สั่งทันใจ


๔๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ขอเทพเทวา เจ้าป่าพงไพร บอกแก่ทรามวัย พระราชมารดา ๏ ว่าลูกสองรา ชาลีกัณหา ลูกรักนักธรรม์ บิดายกให้ แก่พราหมณ์ฉกรรจ์ เขาพาทรงธรรม์ ไปยังเมืองไกล ๏ ถ้าพระบุญปลูก พระแม่รักลูก ให้ติดตามไป อย่าให้อยู่ช้า พฤฒาจะไป ทั้งสองสายใจ ฟูมฟายน้าตา ๏ โอ้ภูเขาหลวง เทวดาทั้งปวง ขอบอกมรคา ทั้งพระเสื้อเมือง ทั้งพญาประตูป่า บอกแก่มารดา โฉมแม่มัทรี ๏ ยกมือขึ้นไว้ ยอเกล้าถวายพร นางมุณีเมฆขลา ยมนามสาคร อิสูนคนทร มณีเมฆขลา วันทาอ้อนวอน ๏ จักบอกความไป พฤกษาป่าไม้ พระไพรเจ้าป่า จงท่านเอ็นดู เมตตากันนา ถ้าทองคูหา ภูผาคีรี ๏ ท่านจงบอกความ แด่แม่โฉมงาม ให้ติดตามมา ว่าลูกทั้งสอง น้อยน้อยเสน่หา งดใจไว้ท่า หน้าพระชนนี ๏ สั่งความแก่นก โอ้แก้วกัลยา ก็ไม่รู้ภาษา สั่งแก่พระพาย โชยเอื่อยพัดมา บอกกล่าวด้วยรา แด่พระมารดา ๏ ทั้งพระฤๅษี ช่วยบอกคดี แก่พระมารดร บอกทั่วทุกแดน แว่นแคว้นแดนป่า ต้นไม้พฤกษา ดาวแดนนคร ๏ ถ้าพระตามมา บอกช่องมรรคา แก้ข้าทั้งสอง เอ็นดูตัวน้อง เจ้าแก้วกัณหา (น้าตาเนืองนอง) ๏ สององค์พี่น้อง คือลูกทรายทอง ทั้งสองกุมาร อดน้าอดข้าว โภชนาอาหาร พี่น้องสงสาร เพียงจักมรณา ยำนี ๏ บัดนั้นนางมัทรี ยามบ่ายใช้เวลา ๏ ป่านฉะนี้เจ้าสองรา กัณหาพระชาลี ๏ หัวใจแม่ระทึก เห็นภัยเป็นฉันใด ๏ ผลไม้เก็บได้มาก ยกหาบขึ้นใส่บ่า ๏ ร้อนถึงท้าวพันตา วันเมื่อพระภูวนัย ๏ นางแม่เข้าไปป่า

ผู้มีศรีพระมารดา ราลึกหาลูกสองศรี จักคอยหาพระชนนี สองพี่น้องเป็นฉันใด แม่ล่าลือถึงสายใจ มิรู้แล้วแก้วแม่อา เอาไปฝากเจ้าสองรา ดึงภูษารีบคลาไคล ท้าวเจ้าฟ้าสุราลัย ท้าวให้ทานทั้งสองศรี เจ้ามาพบตาชี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๕

เอวบางนางมัทรี ๏ ไซร้พระเพชรหลู่กรรม์

เจ้ามิให้ลูกสายใจ ลงไปพลันด้วยเร็วไว

(กัณฑ์กุมำร ตอน ให้ทำน) (แปลงเป็นราชสีห์เสือ ๏ อย่าให้ถึงอาศรม ให้ทานแล้วให้ผ่าน ๏ ถึงองค์รีบถวาย นางถามพระจอมไตร ๏ ดังแจ้งสมเด็จไท้ มัทรีผู้ทรมาน ๏ ขัดอกนางขมา เล่าแจ้งดังใจจริง ๏ บัดนั้นพระฤๅษี เกรงนางจะม้วยมรณ์ ๏ ยกพักตร์นางเมียรัก ลืมองค์พระฤๅษี ๏ ดังฤๅนางมัทรี โอ้โอ๋อนิจจา ๏ ศพเจ้ามัทรีในกลางป่า จักเอาภูเขาใหญ่ ๏ ถ้าอยู่ในพารา เข้ามาทุกกระทรวง ๏ เราจะให้ทาโลงทอง ใส่ศพนางพระยา ๏ ให้ทาเมรุมาศ เมรุทิพย์งามประไพ ๏ ฝูงคนทุกแดนด้าว ยกศพนางพระยา ๏ นางเฒ่าแลนางแก่ ล้อมศพนางโฉมฉาย ๏ ราพึงในพระทัย สมเด็จพระฤๅสาย ๏ พระจับคนทีทอง

นอนแผ่เพื่อกั้นนางไว้ ก่อนพระบรมจะให้ทาน นางลีลานเร่งเร็วไว พระฤๅสายเหมือนเคืองใจ) สมเด็จไท้ไม่เจรจา ตัวข้าได้ไปธุระ ท้าวมิบ่ายพักตร์มา เจรจาพร่าร่าไป จึงสลบซบนิ่งนอน เห็นมัทรีทรามบังอร พระภูธรท้าวปรานี มาใส่ตักพระภูมี ก็ร้องไห้ฟายน้าตา ทรามรักพี่ติดตามมา กัลยามาม้วยปราณ ไพรพฤกษาพนาลัย เป็นปราสาทรางวังหลวง ท้าวพระยาสิ้นทั้งปวง มาบวงสรวงทุกทิศา อันเรืองรองงามโสภา ทาราชวัตรฉัตรชัยศรี งามสะอาดแสงสุกใส รายเรียงไปทั้งซ้ายขวา ชวนกันเข้ามาบูชา สู่เมรุทองรองเรืองฉาย ทั้งชาวแม่นั่งเรียงราย วรนาถนางมัทรี เกลือกทรามวัยมิวอดวาย พระพายพักตร์มาลูบองค์ อันเรืองรองงามบรรจง


๔๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

หล่อหลั่งถังน้าลง ๏ ครั้นต้องชลธารา ฟื้นองค์นางเทวี ๏ เคลื่อนองค์แต่เหนือตัก กราบบาทท้าวผัวขวัญ ๏ นางลูกเจ้าสองศรี สมเด็จพระภูวนัย ๏ ท้าวบอกว่ากระยาจก ขอเอาลูกสองรา ๏ พี่ให้ทานแล้ว ช่วยสร้างพระบารมี ๏ เราให้ทานลูกเมีย หวังจะตรัสเป็นพระพลัน ๏ ขวัญพี่ยาโศกา อย่าละห้อยเศร้าสร้อยใจ ๏ เจ้าค่อยคลายโศกา ตามใจพระภูมี ๏ เจ้าช่วยบาเพ็ญทาน กึกก้องดังสนั่น ๏ หวาดไหวในอากาศ คือยอดหวายลนไฟ ๏ พระยานาคในมหาสมุทร สะเทือนทั่วทิศา ๏ ธาราห่าฝนสวรรค์ เป็นระลอกมาแต่น่าฉาน

ลูบพระพักตร์นางเทวี นางพระนางรู้สมประดี เห็นพระชีผู้ผัวขวัญ นางทรามรักยอดนักธรรม์ ไว้ขอสมาอย่ามีภัย น้อยน้อยนารีสายสุดใจ ท้าวทรงไปแห่งใดนา พราหมณ์ชูชกมันเข้ามา เจ้ากัณหาพระชาลี พระน้องแก้วอย่าหมองศรี ให้พี่นี้ได้ตรัสพลัน เราพลัดเสียกรุงไตรไอศวรรย์ นางจอมขวัญอย่าเศร้าใจ ช่วยโมทนาเทิดทรามวัย ถึงอรทัยเจ้าสองศรี จงโมทนาด้วยพันปี นางจึงยอมพร้อมใจกัน จงบันดาลเกิดอัศจรรย์ เสียงฟ้าลั่นสนั่นไป พระเมรุมาศอันสูงใหญ่ ให้สะเทือนทั่วทิศา จึงผาดผุดจากคงคา ร้องสรรเสริญชมสมภาร ตกลั่นมิทันนาน ทั้งปลาวาฬลอยคลื่นใหญ่

ฉบัง ๏ สมเด็จพระเวสสันดร สิงขรวงกตคีรี ๏ โฉมปรางนวลนางมัทรี เก็บผลไม้มารักษา ๏ บัดนั้นท่านท้าวอินทรา เมตตาแก่นางมัทรี ๏ เกลือกว่ามหาพราหมณ์เดียรถีย์

อยู่เขาวงกต เข้าป่าพงพี ราพึงจินดา ใจร้ายบัดสี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๗

มันเข้ามาขอพังงา ๏ เอาไปเลี้ยงเป็นภริยา กษัตริย์สกุลผู้ใหญ่ ๏ คิดแล้วจึงเสด็จคลาไคล แปลงเพศเป็นพราหมณ์พฤฒา ๏ เข้าสู่บรรณศาลา จึ่งอ่านคาถาปราศรัย ๏ ไถ่ถามเรื่องราวกล่าวไข เป็นเหตุเภทภัยหรืออันตราย ๏ โคถึกมฤคราชทั้งหลาย บ้างหรือหาไม่ราชา ๏ งูน้อยงูใหญ่ไคลคลา ราชาเป็นสุขสนุกใจ ๏ ท้าวกล่าววันชะนาปราศรัย เย็นใจไม่มีทุกขา ๏ ตรัสถามพราหมณ์เฒ่าพฤฒา ท่านจึงเข้ามาหาเรา ๏ เป็นชีที่บนภูเขา ตามมาพิทักษ์รักษา ๏ อินตราจึงกล่าวพรรณนา เลื่อมใสศรัทธาบ่หย่อน ๏ คือดังยมนาสาคร สาครเจียนจรบ่วาย ๏ มิได้แห้งเหือดหาย มิได้หนีหน่ายศรัทธา ๏ ข้าเฒ่าพากายเข้ามา จะขอเอาเจ้ามัทรี ๏ วิบากยากนักแสนทวี ซึ่งจักพิทักษ์รักษา ๏ ขอได้โปรดปรานประทานเกศา จะได้เห็นหน้าเทวี ๏ ได้ฟังถ้อยคาตาชี ภูมีจึงเรียกพังงา ๏ ว่าแก่นางนาถมัทรี

จะเสียวงศา สมเด็จท้าวไทย แทบใกล้ราชา ท่านมาอยู่ไพร ยังเข้ามาใกล้ มาบ้างหรือนา เรามาอยู่ในไพร เป็นสิ่งใดนา แต่นางนงเยาว์ สมเด็จราชา ไหลมาบ่หย่อน พระทัยฤๅสาย ข้าคิดปรารถนา ลูกเมียไม่มี เฒ่าแก่ชรา ชื่นชมยินดี ขวัญข้าวเจ้าพี่อา


๔๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เจ้าช่วยบาเพ็ญบารมี ๏ หนุ่มเหน้านวลเจ้ามัทรี พระชีผู้เป็นผัวขวัญ ๏ ข้าจะช่วยสร้างบารมีพลัน ได้ตรัสเป็นพระชินสีห์ ๏ พระจับข้อมือเทวี มาให้แก่พราหมณ์พฤฒา ๏ มือซ้ายกุมนางกัลยา ท้าวจับเอาสมณคนที ๏ พิศฐานนิทานปรารถนา โปรดสัตว์โลกโลกีย์ ๏ ชาตินี้เราบวชเป็นชี กัณหาชาลีทั้งสาม ๏ จึงให้แก่ท้าวอมรินทร์พราหมณ์ อย่าได้เศร้าสร้อยโศกา ๏ ขอถวายนางนาถกัลยา ขึ้นไหว้แก่พระภูวนัย ๏ ให้อยู่เป็นเพื่อนท้าวไทย เอามาถวายพระราชา ๏ เรานี้คือท้าวอินตรา ให้พรแก่พระภูมี ๏ บัดนั้นจึงพระฤๅษี กราบถวายบังคมทันใจ ๏ ข้ารับเอาพรท้าวไทย เหาะขึ้นไปยังเวหา ๏ พระองค์จึงทาฤทธา เวหาก็มารุ่งเรือง ๏ ให้พรแปดประการเนืองเนื่อง ท้าวหายความโกรธโกรธา ๏ รับท้าวคืนเข้าพารา ให้ครองกรุงไกรไอศวรรย์ ๏ ได้โปรดประชาข้าขัณฑ์ ให้พ้นแต่จากไพรี ๏ ให้พรแก่เจ้าสองศรี

กราบบาทภูมี ให้พระทรงธรรม์ เจ้าแก้วมัทรี พระหัตถ์เบื้องขวา เป็นพระศาสดา ให้ทานมัทรี ว่าพระโฉมงาม มัทรีพระธิดา เก็บผลไม้ แปลงเพศลงมา ก้มเกล้าดุษฎี เจ้าฟ้าสุราลัย รัศมีมหึมา สญชัยบุญเรือง อุพิเษกราชา นักโทษทั้งนั้น กัณหาชาลี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๙

สองศรีอันพลัดพระไป ๏ ฝูงอนาประชาราษฎร์แดนไตร ให้ยืนได้พรรษา ๏ พระอนทร์ท่านอวยพรมา จงอายุยืนนักหนา ๏ อย่าให้เมามัวตัณหา ด้วยลูกเมียเขา ๏ ถ้าเข้าไปถึงเมืองเรา เราจะให้ทรัพย์เป็นทาน ๏ ขอฝนห่าแก้วเจ็ดประการ ให้เป็นแก้วแหวนเงินทอง ๏ ให้ทานแก่ราชทั้งผอง ให้เต็มคลังเนืองนัน ๏ ครั้นม้วยมาณาสัญ ไปยังดาวดุจสีดา ๏ สมเด็จท่านท้าวอมรินทร์ เสร็จแล้วจึงกลับไปพลัน ๏ สู่ฟากฟ้าเมืองสวรรค์ วันนั้นเป็นสุขสบาย กัณฑ์มหำรำช ๏ บัดนั้นชูชกพฤฒาจารย์ มาจากสถานเขาคีรี ๏ ผูกมือกัณหาชาลี ไปกลางพงพีดังใจหมาย ๏ สองเจ้าพี่น้องค่อยสบาย ได้แก่พราหมณ์ใจร้ายมันพาไป ๏ เดินรุกบุกป่าหนามคาใน แตกช้าพุพองทั้งสองศรี ๏ เย็นระย่าค่าลงยามราตรี เข้าไปถึงต้นไทรทอง ๏ มันผูกมือเจ้าเข้าทั้งสอง ทั้งสองพี่น้องไห้ร่าไร ๏ ชูชกพราหมณ์เฒ่ามันจังไร

อายุนั้นไซร้ ฝูงราษฎร์ประชา กามาอย่าหลง อย่ามีทุกข์เท่า ตกลงอย่านาน พูนเกิดเงินทอง ไปเกิดในสวรรค์ อวยพรอวยสิน พระองค์ทรงธรรม์

เยสันตำ

พาเอาสองกุมาร ยอดสร้อยน้อยน้อยสองศรี เคยเที่ยวเล่นกลางหาดทราย บาทาสองสายใจ มันจูงพระพี่น้องทั้งสองศรี ใต้ต้นไทรทอง มันค่อยปีนป่ายร่ายขึ้นไป


๕๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นอนปลายไม้ให้สบายใจ ๏ อินตราเจ้าฟ้าสุราลัย นิมิตองค์ลงไปให้เหมือนมัทรี ๏ มารดามาหาเจ้าสองศรี น้อยน้อยสองศรีก็ดีใจ ๏ คิดว่ามารดาตามมาไว จูบกอดอรทัยทั้งสองศรี ๏ จึงเอาโภชนาข้าวสาลี ให้สองรากินยาใจ ๏ นวดฟั้นคั้นบาทน้อยนาถสายใจ พราหมณ์เฒ่าจังไรมันพามา ๏ สั่งสอนบังอรทั้งสองรา ครั้นถึงอัยกาจักพ้นโพยภัย ๏ จักให้อยู่สุขเย็นใจ ไถ่เจ้าไว้ทั้งสองศรี ๏ ครั้นใกล้รุ่งแล้วยามราตรี เทวีจรลีไปเมืองสวรรค์ ๏ พระสุริยะแสงสีดูงามพรายพรรณ ลงมาพลันจากพฤกษา ๏ จูงเจ้าพี่น้องทั้งสองรา พราหมณ์พฤฒาพามาในไพร ๏ เทวาเจ้าฟ้าสุราลัย หนทางไปนั้นให้ตรง ๏ มาถึงทางแพรกก็แหวกลง กะลึงคะราชพระนคร ๏ ทางหนึ่งจะไปพิชัยเชตุอุดร ท้าวศรีสญไชยอัยกา ๏ บัดนั้นชูชกพราหมณ์เฒ่าพฤฒา พาเจ้าสองราเข้าไป ๏ ตรงเมืองเจ้าท้าวสญไชย อยู่นอกเวียงชัยในราตรีกาล

จึงให้เทพบุตรผู้ใหญ่ อุ้มเจ้ากัณหาชาลี อุ้มให้กินนมชมยาใจ ใส่พานทองทั้งสองศรี หายเหนื่อยเลื่อยล้าจึงคลาไคล อุตส่าห์พร่ากายเถิดหนาลูกอา จักเอาเงินทองมากองให้ เอาเชือกผูกมือทั้งสองศรี พราหมณ์เฒ่าจังไรใจอาธรรม์ ไต่เต้าตามมรรคา จึงมาเข้าดลใจ ทางหนึ่งก็ไปตรง เมืองสมเด็จพระภูธร คิดฉงนจนใจเป็นนักหนา จูงทั้งสองย่องเข้าไป

ปฐม ๏ บัดนั้นพระจอมไตร

กรุงสญไชยไทยธิบดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๑

บรรทมเหนือแท่นที่ ๏ เห็นชายหนึ่งสูงใหญ่ กราบไหว้พระทรงธรรม์ ๏ ว่าชมดอกทุมชาติ สองดอกเอาเข้ามา ๏ ท้าวรับเอาดอกไม้ เกสรดอกมาลัย ๏ จึงตื่นจากนิทรา กูฝันเป็นมั่นคง ๏ ครั้นรุ่งราตรีกาล นั่งท้องพระโรงชัย ๏ ให้หาโหรามา ให้หาโหราไป ๏ ฝันเห็นชายสามารถ สองดอกงามสุกใส ๏ เกสรดอกบัวหลวง เต็มทั่วทั้งกายา ๏ เราฝันดังนี้นา ดีร้ายเป็นฉันใด ๏ ฝันเห็นปทุมชาติ พลัดพรากจากพระไป ๏ มิวันก็มาพรุ่ง พลัดพรากจากไปนาน ๏ ภูมีศรีสญไชย ตรัสสั่งมาด้วยดี ๏ ให้แก่พราหมณ์โหรา พราหมณ์เฒ่ากลับมาพลัน ๏ พราหมณ์เดินมาซ่องซ่อง ชาวตลาดร้องถามมา ๏ สญไชยไตรภูวนาท ท้าวเสด็จขึ้นไป ๏ ปราสาทนั้นเล่าโสด ท้าวไทพระอัยกา ๏ บัดเดี๋ยวชูชกเฒ่า

พระภูมีนิมิตฝัน เข้ามาในท้องพระโรงคัล ชายผู้นั้นก็วันทา งามสะอาดแสงโสภา ถวายแก่ท้าวเจ้าจอมไตร ทูนหัวไว้ด้วยเร็วไว หล่นเรียงรายทั่วทั้งองค์ พระราชามาพิศวง จะดีร้ายเป็นฉันใด พระภูบาลเสด็จจะคลาไคล จึงตรัสเรียกหมู่เสนา จึงบอกว่าพระภูวนัย พราหมณ์เฒ่าผู้ใหญ่จึงเข้ามา เอาทุมชาติเข้ามาใน เราชูไว้เหนือเกศา จึงโรยร่วงหล่นลงมา เราเอามาชมยาใจ ท่านโหราทานายไป บอกเราไปเถิดโหรา คือน้อยนาถสายสุดใจ จักกลับมาสู่บุรี ถ้ามิลูกก็พระหลาน จักมาพบพระบิดา ชื่นพระทัยพระพันปี ยกเสื้อผ้ามาครามครัน ตามทานายซึ่งความฝัน ได้รางวัลพราหมณ์ดีใจ เดินตามช่องมรรคา ว่าตาพราหมณ์จะไปไหน จึ่งพระบาทราพึงใน นั่งบนปรางค์คอยทางหา สูงแปดโยชน์งามโสภา นั่งคอยหาพระจอมขวัญ จูงเอาเจ้าเข้ามาพลัน


๕๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พระองค์ผทู้ รงธรรม์ ๏ แลเห็นพราหมณ์พฤฒา รูปทรงงามพึงพอใจ ๏ เหมือนดังเจ้าสองศรี เดินตามพฤฒามา ๏ ตรัสเรียกนายเสนา เอาพราหมณ์มาเร็วไว ๏ เสนารับโองการ ครั้นถึงพราหมณ์พฤฒา ๏ น้อยน้อยงามโสภา พราหมณ์เฒ่าใจเดียรถีย์ ๏ เสนาว่าตาชี เข้าไปจงเร็วรา ๏ บิดพลิ้วมิใคร่จะมา ไม่เข้ามาด้วยไว ๏ เสนาแก้เชือกมัด ชาลีแก้วกัณหา ๏ เขาด่าว่าไอ้เฒ่า มึงเข้าไปในไพร ๏ ชูชกตกใจกลัว พาเอาเจ้าสองรา ๏ มาถึงหน้าพระลาน เห็นเจ้าสองสายใจ ๏ ท้าวจึงมีโองการ เหตุไฉนได้สองศรี ๏ หรือพราหมณ์อัปลักษณ์ เจ้าอยู่ในกลางป่า ๏ ชูชกกลัวอานาจ ได้ยินท้าวตรัสถาม ๏ ถามแล้วท้าวถามเล่า ตัวสั่นคือตีปลา ๏ ตัวสั่นอยู่งกงัน ครั้นออกปากมาว่าได้ ๏ ข้าพเจ้าไม่ฉกลัก

ทอดพระเนตรเห็นแต่ไกล จูงสองราเข้ามาใน ท้าวสญไชยคิดจินดา พระชาลีเจ้ากัณหา ผูกมือคร่าเห็นหลากใจ จงเร็วราเร่งออกไป จักถามไถ่แจ้งสัจจา มิทันนานวิ่งวางมา เห็นพระทองทั้งสองศรี เจ้ากัณหาพระชาลี มันผูกมือจูงเข้ามา พระภูมีตรัสให้หา เฒ่าพฤฒาจึงตกใจ นายเสนาโกรธคือไฟ จึงไสคอพราหมณ์พฤฒา หน่อกษัตริย์ทั้งสองรา เอาเข้ามาด้วยเร็วไว มึงนี้เล่าคนจังไร ลักเอาเจ้าทั้งสองรา สั่นระรัวคือตีปลา เดินลีลามาบัดใจ พระภูบาลท้าวแลไป น้าเนตรในก็ไหลลง มิทันนานถามพราหมณ์ชี พระชาลีแก้วกัณหา มึงไปลักเอาเจ้ามา เหตุใดนาได้แก่พราหมณ์ แห่งพระบาทผู้ทรงนาม คุกคารามพราหมณ์ตกใจ ชูชกเฒ่าตกประหม่า กราบทูลมามิทันนาน ปากคอสั่นอยู่หวั่นไหว กลัวบุญไท้พระภูบาล พระจอมจักรท้าวให้ทาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๓

ไม่เชื่อข้าดิฉัน ๏ สมเด็จพระภูมี หลานรักพระราชา ๏ ว่าพราหมณ์ไปขอทาน แม่เจ้าเข้าไปไพร ๏ สญชัยไตรภูวนาท ว่าลูกพระราชา ๏ จึงเรียกพราหมณ์พฤฒา ขึ้นมาหาภูมี ๏ หลานรักทั้งสองศรี ภูมีศรีสญไชย ๏ เหตุใดเจ้าสองศรี นั่งไกลพระอัยกา ๏ บัดนั้นพระชาลี แต่ก่อนหลานพระองค์ ๏ ด้วยพระบิตุราช เจียมตัวกลัวอาชญา ๏ สมเด็จพระอัยกา ขายเจ้าสักเท่าใด ๏ กัณหาเจ้าชาลี เจ้าทูลว่าบิดา ๏ มือซ้ายอุ้มกัณหา หลานรักพระจักรี ๏ สมเด็จพระภูธรบาล เมื่อจะได้ทาสทาสา ๏ แล้วแต่พระองค์เจ้า แห่งหนตาบลใด ๏ จึงให้แต่งปราสาท เจ็ดชั้นอันรจนา ๏ น้องรักแก้วกัณหา ว่าเป็นกษัตรี ๏ ช้างม้าทาสหญิงชาย สิ่งละร้อยให้พฤฒา ๏ กับทองพันตาลึง

ถามพระหลานเอาเถิดนา ถามชาลีแก้วกัณหา กราบทูลมาด้วยเร็วไว พระภูบาลแกล้งจงใจ พระภูวนัยให้ทานมา จึงพระบาทรู้กิจจา ให้ท่านมาทั้งสองศรี เจ้ากัณหาพระชาลี นั่งที่ท้องพระโรงคัล พระชาลีเจ้านั่งใกล้ ท้าวจึงได้ตรัสวาจา พระชาลีแก้วกัณหา มิเข้ามาให้ใกล้องค์ เนื้อบดีก้มกราบลง มาครั้งนี้กลัวบุญญา ให้เป็นทาสเท่าพฤฒา จักนั่งเทียมเจ้าภพไตร ถามหลานยาด้วยเร็วไว เจ้าบอกไปเถิดหลานยา ฟังคดีภูวนัย คาดค้านมาทั้งสองศรี มือขวากอดชาลี นั่งเหนือตักพระอัยกา มีโองการถามพฤฒา ท่านจักอยู่แห่งหนใด โปรดข้าเฒ่าให้อาศัย ตามพระทัยของราชา งามโอภาสแสงโสภา ให้ชูชกอยู่อาศัย พระราชาตรัสวาที ตีค่ามากเป็นนักหนา ทั้งวัวควายแลนาวา คิดเอาค่านางเทวี มาถึงมือจึ่งให้ไป


๕๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ข้าพุทธเจ้านี้เล่าไซร้ ๏ สมเด็จพระจอมจักร ตรัสสั่งมาโดยปอง ๏ ไถ่เจ้าทั้งสองศรี จึ่งเรียกพระหลานยา ๏ นั่งอยู่ด้วยพระอัยกา สวัสดีศรีสญไชย ๏ ค่าสาวงามแช่มช้อย ใช้สอยเป็นค่าไถ่ ๏ ปัดฟูกแลปัดหมอน สาวสาวรูปงามงาม ๏ ใกล้ค่ายามราตรี เจ็บปวดนวดที่ไหน ๏ หยุดมือหมู่สาวสาว สาวสาวมันแช่งด่า ๏ ชูชกชมบุญตัว ตั้งให้กูเป็นใหญ่ ๏ นอนเอนพิงหมอนใหญ่ บีบแข้งแลบีบขา ๏ ตบแต่งเครื่องอาหาร ข้าวเหนียวแลข้าวหนม ๏ พราหมณ์เฒ่าเคยอดอยาก ยัดเข้าไม่ปราศรัย

ตีค่าพันตาลึงทอง ฟังหลานรักเจ้าทั้งสอง ให้เอาทองมาบัดใจ พระชาลีแก้วกัณหา ให้เข้ามาด้วยเร็วไว ทั้งสองราน้าตาไหล อุ้มหลานรักทั้งสองศรี ถ้วนถึงร้อยท้าวให้ไป แต่งข้าวปลาเครื่องอาหาร ปัดที่นอนให้ครบครัน มหาพราหมณ์รักเหลือใจ จึงตาชีเรียกเข้าไป กระเอวหลังซ้ายขวา วิ่งพรูพราวแล่นออกมา เฒ่าร่างร้ายไอ้จังไร เป็นเจ้าขรัวเมืองเวียงชัย ไม่กลัวใครเท่าเกศา เรียกข้าไทยให้เข้ามา มือกระหว่าคว้าสาวสาว ทุกประการอันงามสม พราหมณ์ชื่นชมกินเข้าไป เห็นของมากพราหมณ์ดีใจ พุงมันใหญ่เท่าตุ่มหาม

(กำพย์) ๒๘ ๏ บัดนั้นจอมไตร ท้าวศรีสญชัย ตรัสสั่งโดยปอง แม่ครัววิเศษ นอกในทั้งผอง ให้เร่งแต่งของ ทุกพรรณนานา ๏ เครื่องสารับบายศรี หลายหลากมากมี กลิ่นรสโอชา ประดับจานทอง เรืองรองรจนา เจ็ดชั้นโสภา เรืองรองสุกใส ๏ ทั้งสองสารับ ให้เร่งประดับ แต่งมาจงไว วิเศษทั้งหลาย ฝ่ายนอกฝ่ายใน ยกมาทันใจ ตั้งท้องพระโรงคัล ๏ ยกบายศรีทอง ออกมาทั้งสอง เรียบเรียงเคียงกัน พราหมณ์เฒ่าโหรา เข้ามาเร็วพลัน จึงให้เชิญขวัญ หลานรักจักรี ๏ ให้ลั่นฆ้องชัย สนั่นหวั่นไหว ถ้วนถึงสามที


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๕

โหราให้เรียก เทียนจุดอัคคี ติดรอบบายศรี รุ่งเรืองสุกใส ๏ โหราเชิญขวัญ ทั้งสองนักธรรม์ หลานรักสายใจ แหวนทองแหวนแก้ว พรายแพรวแววไว จุดเทียนเวียนไป รอบเจ้าสองศรี (กำพย์) ยำนี ๏ อัญเชิญพระขวัญเอ๋ย มาชมกรุงบุรี ๏ อย่าหลงอยู่ดงชัฏ มฤคราชผาดผันผาย ๏ อัญเชิญพระขวัญเอย เข้ามาหากุมาร ๏ อย่าอยู่ห้วยเหวผา ขวัญเอ๋ยอย่าใหลหลง ๏ ชูชกมันตีรัน ชาลีแก้วกัณหา ๏ ซอกซอนในพฤกษา ขวัญข้าวหนีไปไกล ๏ ไปถึงในดงดอน เชิญมาเถิดพ่อมา ๏ อัญเชิญพระขวัญเอ๋ย เข้ามาจงเร็วไว ๏ แก้วเก้าเนาวรัตน์ แท่นแก้วแลแท่นทอง ๏ อย่าอยู่เขาวงกต อย่าชมแห่งเหรา ๏ อย่าอยู่ภูเขาใหญ่ ปักษีมีทุกพันธุ์ ๏ อย่าชมนกโนรี มีทั้งนกสัตวา ๏ อัญเชิญพระขวัญเอ๋ย อย่าอยู่เลยในป่าใหญ่ ๏ อย่าอยู่เขาธรมาศ อย่าอยู่ตามมรรคา ๏ อัญเชิญพระขวัญเอ๋ย

อย่าอยู่เลยในพงพี ปราสาททองรองเรืองฉาย ชมฝูงสัตว์มากเหลือหลาย อยู่ในป่าพระหิมพานต์ อย่าไปเลยในไพรสาณฑ์ พระชาลีสุริวงศ์ ท่อธาราในกลางดง อยู่ปลายไม้ใต้พฤกษา ยอดนักธรรม์ทั้งสองรา ขวัญพังงาหนีไปไกล ท่อธารน้าห้วยเหวใหญ่ เพราะตกใจเท่าพฤฒา เร่ซอกซอนไม้กลางป่า ขวัญเจ้าอย่าหลงใหล อย่าอยู่เลยกลางพงไพร เข้าชมคลังเงินแลคลังทอง ทั้งช้างม้ามากก่ายกอง รองประดับทั้งกายา อันใสสดงามรจนา มังกรว่ายไล่ตามกัน ชมเรไรแลจักจั่น นกแขกเต้าเคล้าสาลิกา ในพงพีส่งเสียงมา นกกระทาอันเสียงใส อย่าอยู่เลยเร่งไคลคลา มุจลินท์กินฝักบัว เร่งไคลคลาดตามเข้ามา กลัวสิงห์สัตว์ในกลางไพร อย่าอยู่เลยในกลางไพรเข้ามาไว


๕๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

รักษาสายสุดใจ ๏ เข้ามาอยู่รักษา โอ้เจ้าทั้งสองศรี ๏ อัญเชิญขวัญทั้งปวง ขวัญข้าวเจ้าทัง้ สอง ๏ มาชมปราสาททอง นางแม่นั่งเรียงรัญ ๏ พรมเจียบย่อมปูลาด ธูปเทียนชวาลา ๏ ดอกไม้ทั้งแป้งอบ พระขริหอมขจร ๏ มาเสวยเครื่องบายศรี แป้งอบทั้งน้ามัน ๏ อัญเชิญพระขวัญเอ๋ย เป็นดอกย่อมโรยลง ๏ ชมหมู่นางกินรี แต่หมู่พิทยาธร ๏ โหราเชิญแจ้วแจ้ว เข้ามามิได้ช้า ๏ นางเฒ่าแลนางแก่ เขาเอาแพรลายทอง ๏ จึงเชิญยอดนักธรรม์ รับเอาเครื่องอาหาร ๏ พวงแก้วเอามากรอง สวมคอเจ้าสองศรี ๏ โหราพฤฒาสลอน หน่อกษัตริย์ปนัดดา ๏ กรุงสญไทยธิราช ขอให้พระสายใจ ๏ โฉมปรางนางผุสดี จูบกอดยอดพระสงสาร ๏ ให้เจ้าสองสายสวาท เป็นสวัสดีสถาพร ๏ กัณหาพระชาลี

อรทัยเจ้าสองศรี แก้วกัณหาพระชาลี อยู่เป็นสุขทุกเวลา อย่าหนักหน่วงวิมานทอง มาสู่ท้องพระโรงคัล มาห้องแลเรือนจัน พารับขวัญเจ้าทั้งสอง ทั้งเสื่อสาดผ้าโพสา ย่อบแต่งท่าขวัญทั้งสอง ฟุ้งตลบใส่พานทอง จักอบรมบูชาขวัญ อันงามดีทุกสิ่งอัน ประพรมขวัญทั้งสองศรี อย่าไปเลยชมนารีผล หมู่เทวามาไสว โฉมนารีนางกินนร อยู่เฝ้าชมนารีผล ขวัญหลานแก้วทั้งสองรา มาจับอยู่ใบพลูทอง หมู่ชาวแม่มากก่ายกอง มารับรองขวัญพระหลาน เสวยข้าวกันมิทันนาน อันตระการเครื่องยอดบายศรี ทั้งพวงทองแกมมณี พระชาลีแก้วกัณหา ถวายพระพรแก่สองรา แต่นี้หนาอย่ามีภัย จึ่งพระบาทให้พรชัย อยู่เป็นสุขทุกวันวาน ผู้อัยกีอุ้มพระหลาน นางนงคราญอวยพระพร อรน้อยนาถผู้ทรามบังอร อย่ารู้มีความอันตราย ทั้งสองศรีงามเฉิดฉาย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๗

กราบบาทพระฤๅสาย ๏ โฉมงามทรามบังอร ก้มเกล้ากราบวันทา ๏ บิดาพระมารดา ไปอยู่ในกลางไพร ๏ อยู่ดีฤๅเป็นไฉน ไปอยู่ป่าพระหิมพานต์ ๏ กัณหาพระชาลี กราบทูลพระภูวนัย ๏ ว่าพระมารดาเจ้า เก็บผลไม้พฤกษา ๏ กับด้วยลูกสองรา สมเด็จนางเทวี ๏ เมื่ออยู่ในพารา ไปอยู่ป่าหิมวันต์ ๏ พักตรามารดาเจ้า ต้องแดดแลต้องลม ๏ เนื้อหนังเร่งเหี่ยวแห้ง เกศานางทรามวัย ๏ ท้าวศรีสญชัยราช ท้าวคิดถึงสองรา ๏ นางตามรักษาผัว ลาบากในกลางไพร ๏ ท้าวคิดเห็นสังเวช สององค์งามแจ่มจันทร์ ๏ เจ้าข้าพรรณนาไป น้าจิตคิดยินดี ๏ ท้าวจึงมีโองการ ให้เร่งจัดกันไป ๏ ขุนแก้วแผ่วเวหา องครักษ์หมู่พนักงาน ๏ ภัยนรินทร์อินทร์เดชะ ให้นาจักรีไป ๏ ที่ลุ่มแลที่โคลน

ถวายบังคมพระอัยกา รับเอาพรใส่เกศา พระอัยกาจึงปราศรัย ทั้งสองราเป็นฉันใด เอาอันใดเป็นอาหาร เจ้าบอกไปรู้อาการ สุขสาราญเป็นไฉน ทั้งสองศรีไห้ร่าไร สมเด็จไทพระอัยกา ตื่นแต่เช้าเข้าไปป่า มารักษาพระฤๅษี ทุกเวลายามราตรี มารักษาพระจอมขวัญ พระพักตรางามแจ่มจันทร์ ทนวิบากยากนักหนา เร่งหมองเศร้าทุกเวลา ให้ระทมกรมเกรียมไป ไม่พบแป้งน้ามันใส่ แดดหรือไฟเหมือนใบคา ฟังน้อยนาถทั้งสองไท ลูกสะใภ้สายสุดใจ นางไม่กลัวซึ่งโพยภัย พรอกท้าวไทเป็นผัวขวัญ ไทยธิเบศรพระจอมขวัญ อยู่หิมวันต์เป็นฉันใด ด้วยอรทัยเจ้าชาลี ถึงลูกรักสายสุดใจ แก่ทหารชานาญใน แต่งมรรคาอย่าทันนาน รัชดาชัยบาล ขุนชานาญมรรคาลัย มีกระปะดีโชชัย ให้จัดแจงแต่งมรรคา ปั้นดินโยนถมให้หนา


๕๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ที่ดอนผ่อนกันมา ๏ รับสั่งศรีสญชัย ก้มเกล้ากราบวันทา ๏ เสนาหมู่ทหาร แต่งทางด้วยเร็วพลัน ๏ ให้ทาบรรณศาลา ขุดบ่อไว้เรียงราย ๏ รายธงแลรายฉัตร แล้วให้ขุดสระใหญ่ ๏ ตั้งระทาดอกไม้ไฟ ราชวัตรฉัตรชัยศรี ๏ ให้ตั้งร้านตลาด นั่งร้านขายสินค้า ๏ ขนมแลของหวาน ขนมพิมพ์แลดอกจัน ๏ ลอดช่องแลสาคู ทองย้อยสร้อยสายไหม ๏ ฝักบัวแลเหง้าบัว ส้มทับอับน้าตาล ๏ ขนมแดงขาวเหลือง ยอดม่วงพวงมาลา ๏ เรียกขนมกะละแม ลูกโตโยนเข้าไป ๏ พระยาขนมหวานละลิด ตัวตัวเป็นแง่งอน ๏ ขนมกรวยชื่นใจ หวานชิดติดนาที ๏ แม่ค้าตลาดแก้ว ตั้งร้านที่ริมทาง ๏ แม่ค้าตลาดขวัญ ขายของมากเหลือใจ ๏ แม่ค้าตลาดท่าโพ ลูกเขยหลานพ่อตา ๏ ขายกล้วยแลขายอ้อย

แต่งให้ราบคือหน้ากลอง พระภูวนัยพระอัยกา จึงลีลาออกมาพลัน เช้าพนักงานเร่งกวดขัน ทั้งกลางวันแลกลางคืน เรียงรายมามากเหลือหลาย ให้พลไพร่กินเย็นใจ ตั้งราชวัตรถัดกันไป ปลูกดอกไม้ไว้ทุกพันธุ์ เรียงรายไปมากดีหลี ปักเรียงรายทั้งซ้ายขวา ให้อามาตย์ชวนกันมา ทั้งเสื้อผ้าแลแพรพรรณ เครื่องกระการมากครามครัน ทั้งพิมพ์ถั่วบัวลอยใส่ ตั้งเป็นหมู่เรียงรายไป ทองอุไรใส่น้าตาล เห็นยังชั่วใส่ไส้หวาน หวานสนิทติดอุรา เห็นรุ่งเรืองหวานนักหนา ขนมฝั้กพราใส่ไส้หวาน ดีนักแลหวานเอาใจ ครั้นถึงลิ้นละลายหาย กลิ่นหอมชิดอุทร โรยข้าวเล่าก็หวานดี ขนมอิไรสุกใสศรี กลิ่นรสดีมีต่างต่าง ออกมาแล้วบ่ขัดขวาง คนสล้างชวนกันไป ออกมาพลันด้วยเร็วไว ทั้งหมากพลูแลปูนยา ทั้งแม่ลูกถือออกมา พากันมานั่งขายของ ขายปลาส้อยมากก่ายกอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๙

ปลาสลิดมากเนืองนอง ๏ เนื้อวัวแลเนื้อควาย เป็ดไก่เนื้อสมัน ๏ แม่ค้าขายสุรา เหล้ากลั่นมันเอาไป ๏ บ้างขายพันแกล้มเหล้า ท้าวไปในราวป่า ๏ นักเลงกินสุรา ซื้อเหล้าแม่ค้าไป ๏ ล้มลุกถ้าคลุกคลาน เพื่อนฝูงจูงกันมา ๏ ชาวบ้านพวกขี้เหม็น กินเหล้าเมาเหลือใจ ๏ มาพบกับหลวงลอย พบกันทั้งสองรา ๏ กอดจูบลูบโลมเล้า ทั้งสองเฒ่าหัวล้าน ๏ บัดนั้นพระภูบาล เร่งเร็วอย่าได้ช้า ๏ เราจึงจะออกไป เราจักนิฤๅมนต์ ๏ ไปรับเจ้าสองสวาท รับนางแก้วมัทรี ๏ มนตรีหมู่ทหาร จึงลาออกมาพลัน ๏ ช้างม้าแลราชรถ ตารวจตรวจซ้ายขวา ๏ จตุรงค์หมู่โยธา แปดหมื่นแลสี่พัน ๏ ขุนช้างให้แต่งช้าง ขุนม้าให้ตรวจม้า ๏ พวกช้างมาแจจัน พวกม้าอาชาไนย ๏ ขุนรถให้แต่งรถ

นั่งขายของทุกสิ่งอัน ทั้งกวางทรายแลแรดมัน มีทุกพันธุ์มากเหลือใจ นั่งร้านท่าพลไสว เหล้าจ่อไฟเข็มนักหนา เลี้ยงพลเหล่าเจ้าพารา รับลูกยาสายสุดใจ แทรกกันมาด้วยเร็วไว ชวนกันกินเมานักหนา ชาวทหารแต่งมรรคา บ้างหิ้วหามตามกันไป หัวล้านสิ้นไม่กลัวใคร ล้มทะรังซังเดินมา อยู่ป่ากลอยซังมาหา กอดคอเข้าเล้าโลมถาม มันเมาเหล้าพ้นประมาณ มันเกี่ยวพาลด่ากันมา มีโองการแก่เสนา กรวดช้างม้าแลรี้พล รับอรทัยในไพรสณฑ์ ให้ลาพรตออกจากชี มาเสวยราชย์ครองบุรี ผู้มีศรีเข้ามาพลัน รับโองการพระทรงธรรม์ จัดไพร่พลขุนเสนา อันปรากฏทั่วทั้งป่า ให้เร่งตรวจเป็นกวดขัน หมู่เสนามากครามครัน เป็นกวดขันหมู่เสนา ม้าสล้างทั้งซ้ายขวา แก้วอาชามาไสว แปดหมื่นพันอันเกรียงไกร ได้แปดหมื่นสี่พันปลาย อันปรากฏเป็นมืดมัว


๖๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สารับพระนะหัว ๏ รถแก้วแลรถทอง สารับองค์เจ้าอรทัย ๏ รถแก้วแลรถขวัญ ออกไปในพงพี ๏ ไพร่พลมากเหลือใจ มีธรรมเทศนา ๏ ตรวจพลแล้วเสร็จสรรพ สญชัยพระธิบดี

ประดับประดางามพึงใจ งามเรืองรองทองสุกใส ให้ทรามวัยนางผุสดี แปดหมื่นอันมากมี พระพันปีพระลูกยา จะออกไปในกลางป่า ว่าสิบสองอักโขเภณี ประดับองค์พระพันปี พระภูมีเสร็จลินลา

มะถะมี ๏ ส่วนว่าเฒ่าชูชก กินอาหารมากเหลือตรา ๏ มันกินข้าวเหนียวดี ปลาร้าสิ้นทั้งไห ๏ มันไม่คิดแก่ตัว เนื้อกวางแลเนื้อทราย ๏ ไฟธาตุเผาไม่ทัน ยมบาลเขาเอาไป ๏ ท้าวศรีสญชัยราช เอาผีชูชกตาย ๏ ตีฆ้องร้องประกาศ ใครเป็นพี่น้องกัน ๏ มาเอาสรรพสิ่งของ ช้างม้าแลข้าไท ๏ ป่าวจงทั่วแดนด้าว เราให้ญาติกา ๏ จึงท้าวศรีสญชัย ให้ขนของทั้งนั้น ๑๖ ขับพล ๏ ขับพลไปโดยด่วน ๏ พลคชคชยืนยัน ๏ พลคชคชเลิศไตร

คนอกกะรกพฤฒาจารย์ มันจุกเสียดดันขึ้นไป ทั้งปิ้งจี่แลปลาไหล ทั้งเป็ดไก่มากเหลือตรา กินเนื้อวัวแลเนื้อควาย เป็นมากมายพ้นวิสัย ชูชกนั้นก็บรรลัย ให้อยู่ในจตุราชา สั่งอามาตย์พลทั้งหลาย ไปเผาเสียจงเร็วพลัน แก่ฝูงราชผู้ข้าขัณฑ์ เข้ามาพลันด้วยเร็วไว เงินแลทองมากเหลือใจ มาเอาไปตามปรารถนา หมู่ชาวเจ้าร้องว่ามา พราหมณ์พฤฒาใจอาธรรม์ สมเด็จไท้เจ้าไอศวรรย์ เอาเข้าไว้ในคลังหลวง

กลัวท้าวไท หมู่ช้างสับ ช้างต้นภูวนัย

มันมากเหลือใจ ภูดาวทอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๑

๏ พลคชคชผันผยอง ๏ พลคชคชชาญชัย ๏ พลคชคชดาถะเถิง ๏ พลคชคชแกล้วกล้า ๏ พลคชคชตัวงาม ๏ พลคชคชเงยงา ๏ พลคชคชสูงใหญ่ ๏ พลคชคชชาเลืองมัน ๏ พลคชคชแกล้วกล้า ๏ พลคชคชเกรียงไกร ๏ พลอัศวอัศวชาญชัย ๏ พลอัศวอัศวบรรจง ๏ พลอัศวอัศวแกล้วกล้า ๏ พลอัศวอัศวตัวดี ๏ พลอัศวอัศวแกว่งไกว ๏ พลอัศวอัศวตัวดี ๏ พลอัศวอัศวชาญชัย ๏ พลอัศวอัศวชาญชัย ๏ พลอัศวอัศวเฉิดฉิน ๏ พลอัศวอัศวเฉิดฉาย ๏ พลอัศวอัศวพวกหนึ่งเล่า ๏ พลรถรถผันผยอง ๏ พลรถรถผันผาย ๏ พลรถรถฤๅไกร ๏ พลรถรถเรืองรอง ๏ พลรถรถศาสดา ๏ พลรถรถชาญชัย ๏ พลรถรถงามโสภา ๏ พลรถรถรุ่งเรือง ๏ พลรถรถเลิศไตร ๏ พลรถรถเรืองรอง ๏ พลรถรถเรืองศรี ๏ พลรถรถชาญชัย ๏ พลรถรถแกล้วกล้า

ช้างผูกกระโจมทอง ช้างพระจอมไตร ตีนใส่กรองเชิง เคยสู้งวงงา ประดับทองอร่าม สับมันอันกล้า ดาทะมึนมุ่งเมินไป ตาแดงเป็นแสงฉัน ประดับดาวดารา ช้างที่นั่งพระจอมไตร ม้าเร็วพระภูวนัย พระที่นั่งสาหรับองค์ ประดับดาวดารา เคยพิพาทในพงพี นายม้าเร่งขับไป มาแดงเป็นแสงศรี ม้าที่นั่งพระจอมไตร ขี้ตามพระจอมไตร ตามเสด็จพระภูมินทร์ ขับไปมากมาย ตามท่านท้าว รถแก้วแลรถทอง ขับมามากมาย ชักรถไสว รถแก้วแลรถทอง ประดับทั้งซ้ายขวา เรียงรายกันไป ประดับแก้วมุกดา ขับรถออกจากเมือง ประดับรถชัย ประดับล้วนทอง ขับออกจากบุรี รถแก้วพรายไป ไปมิให้ช้า

เยื้องย่องไสว ใส่กรองเชิง ทัง้ ซ้ายขวา มิล่าถอย ทั้งซ้ายทั้งขวา งาเงยไป ในพงพี กลางงวงงา กรองเชิงไหม ผูกดาวทอง อันเคยทรง พระราชา แสงพรายพรรณ มีหวั่นไหว ไปพงพี ก็เชี่ยวชาญ ดาวดานิล มากเหลือหลาย เข้าพงพี ในไพรศรี เข้าพงพี รุ่งเรืองฉาย จากเวียงชัย ไปตามกัน ตามกันมา ลีลาไป ทั้งซ้ายทั้งขวา ค่าควรเมือง ดูไสว แต่ล้วนทอง แก้วมณี นี่นั่นไสว ทั้งซ้ายทั้งขวา เข้าดงดอน


๖๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ พลรถรถก่ายกอง

ตามกันมาเนืองนอง

ดูไสว

ยำนี ๏ บัดนั้นพระจอมไตร สั่งให้พระชาลี ๏ ทหารแห่หอกไปตามทาง หน้าไม้แลปืนไฟ ๏ ฝูงคนทุกแดนด้าว กันทัษอัศรา ๏ ไพร่พลคือฝูงมด เดินแน่นทั้งเวียงชัย ๏ ข้างหลังยังก่ายกอง สิบสองอักโขเภณี ๏ แขกไทยแลจีนจาม ลาวส่วยแลขอมไทย ๏ สมเด็จพระจอมไตร เสด็จออกจากบุรี ๏ นางผุสดีผู้โฉมยง แสนสาวกานันใน ๏ กัณหาภูมีศรี ทั้งสี่กษัตรา ๏ เสียงช้างดังกึกก้อง สิงห์สัตว์ในกลางป่า ๏ ไพร่พลมากก่ายกอง เกลื่อนกลุ้มคลุ้มมืดมัว ๏ ไปกระชั้นเขาวงกต กึงก้องโกลาหล ๏ เห็นพลมากเหลือใจ ตรัสเรียกนางพังงา ๏ จึงเจ้าแลไปดู ไพร่พลมาไสว ๏ เสียงช้างเสียงม้าร้อง ชะรอยข้าศึกไทย ๏ มันฆ่าพระบิดา

ศรีสญชัยไทยธิบดี ขี่ราชรถนาพลไป แห่ดาบบ้างแลทวนชัย เรียงรายไปทั้งซ้ายขวา ช้างนั้นเล่ามากนักหนา จักพรรณนามากเหลือใจ บ่ถอยถดรุกกันไป ข้างหน้าไปถึงพงพี มากเนืองนองเต็มบุรี พลภูมีศรีสญชัย ทั้งจีนชีพราหมณ์แห่กันไป ทั้งกุลากะลาสี ศรีสญชัยธิบดี พลภูมีห้อมล้อมไป เสด็จลินลาตามท้าวไท แห่ห้อมล้อมทั้งซ้ายขวา ตามเทวีขี่รถมา เสด็จลินลาจากเวียงชัย เสียงฟ้าร้องในหิมวา ตื่นตระหนกตกใจกลัว เห็นเป็นพองทั้งหนังหัว เสียงโยธาคือห่าฝน เสียงราชรถเป็นปนละวน พระจุมพลทอดพระเนตรมา เห็นธงชัยไสวมา แก้วมัทรีเข้ามาใน เสียงโยธาเสนาใน ปลายธงชัยแลเห็นมา ดังมี่ก้องหวาดหวั่นไหว แล้วสายใจเจ้ามัทรี ผู้อัยกาครองบุรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๓

แล้วจงจรลี ๏ สมเด็จนางพระยา ข้าแต่เจ้าจอมอาริย์ ๏ ชะรอยพลโยธา จักมารับเข้าไป ๏ สมเด็จท้าวอินตรา ให้ท้าวคิดประสงค์ ๏ บัดนั้นจึงฤๅษี ชวนกันมิได้ช้า ๏ นั่งคอยท่าแลดู บัดเดีย๋ วมิได้ช้า ๏ ขี่รถมาโดยปอง เจ้าเห็นพระชาลี ๏ หยุดรถที่ตีนภูผา ย่อระยาตรคลาดคลาไคล ๏ ย่อกรก้มกราบบาท แลเห็นพระลูกยา ๏ ตรัสถามแก้วกัณหา มาด้วยฤๅไฉน ๏ ว่าเจ้าอยู่ภายหลัง ท้าวไทพระอัยกา

ตามเรามาในไพรสาณฑ์ ตอบวาจามาบ่นาน เกล้ากระหม่อมฉันคิดตรึกตรอง แห่งบิดาศรีสญชัย ครองเวียงชัยแทนอัยกา อวยพรมาดังจานง จงมารับเจ้าสองรา ฟังคดีนางฉายา กลับลงมาแต่จอมเขา ปิดประตูบรรณศาลา นางฉายาเห็นชาลี ท้าวทั้งสองรู้คดี น้าพระทัยเจ้าชื่นบาน พระลูกยาจึ่งขึ้นไป เจ้าไปถึงบรรณศาลา แห่งนางนาถผู้มารดา น้าตาเจ้าคลอลามไหล พระนุชชาสายสุดใจ กราบทูลไท้พระมารดา ด้วยจอมหม่อมวังทั้งสองรา ท่านออกมารับเข้าไป

ฉบัง ๏ บัดนั้นท้าวกรุงสญชัย ลงจากราชรถบทจร ๏ กับนางเมียรักสายสมร นวลนางผุสดีศรีใส ๏ ทั้งหลายรักสายสุดใจ อรทัยเจ้าแก้วกัณหา ๏ ทั้งสามจึงเสด็จลีลา ถึงเขาวงกตบ่นาน ๏ บัดเดี๋ยวนางนาถนงคราญ จึ่งถึงพระบรรณศาลา ๏ จึ่งพระลูกแก้ว

จึ่งเสด็จคลาไคล โฉมงามบวร โฉมงามทรามวัย ขึ้นไปบ่ช้า กับพระภูบาล เข้าไปบ่ช้า


๖๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ก้มเกล้าวันทาชนนี ๏ มารดาเห็นหน้าลูกสองศรี มาใส่เหนือตักทรามวัย ๏ น้านมมารดาสายใจ จึงไหลเข้าปากพังงา ๏ เอวบางนวลนางกัณหา น้าตาเจ้าคลอลามไหล ๏ บัดเดี๋ยวท้าวศรีสญชัย ถึงในพระบรรณศาลา ๏ นวลนางผุสดีศรีใส นั่งในพระบรรณศาลา ๏ แลเห็นพระเจ้าลูกยา ท้าวทรงกันแสงร่าไร ๏ นวลนางผุสดีศรีใส สายใจเจ้าแก้วกัณหามัทรี ๏ นวลเจ้าเศร้าสร้อยหมองศรี ร้องไห้ร่าไรนักหนา ๏ มัทรีศรีสวรรค์กัลยา นางไห้พิลาปร่าไร ๏ หกกษัตริย์โทมนัสบัดใจ ใจนางจะขาดรอนรอน ๏ นางจึงสลบซบซ้อน จึงจรมาจากบุรี ๏ นวลเจ้ากัณหาชาลี สองศรีสลบซบไป ๏ จึงนางผุสดีศรีใส สมเด็จพระฤๅษี ๏ นางแม่ไม่รู้สมประดี พันปีไม่ฟื้นกายา ๏ ท้าวศรีสญชัยอัยกา ผ่านฟ้าเจ้าอย่าให้ร่าไร ๏ สลบซบลงทันใจ ร่าไรพิลาปนักหนา ๏ หน่อกษัตริย์พลัดพรากกันมา

อุ้มเอาเทวี บันดาลด้วยไว ดูดนมมารดา จึงจรเข้าไป เห็นเจ้าทรามวัย พระราชบิดา เห็นเจ้าอรทัย จึงนางผุสดี กอดเจ้ากัณหา ชลเนตรลามไหล รักษ์ลูกบังอร ให้รักชนนี ให้รักสายใจ สลบอยู่กับที่ เห็นพระลูกยา เพียงจักปราลัย ช้านานนักหนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๕

เจ้าพามาเห็นหน้ากัน ๏ เพียงจักมรณาสัญ เจ้าซบนิ่งไป ๏ นางสนมกรมวังนอกใน สลบซบไปในดงดอน ๏ บันดาลอัศจรรย์หันรอน ก็อ่อนระน้อมค้อมมา ๏ แม่น้ามหาสมุทรธารา ทั้งปลาโลมาฟองฟู ๏ กินนรฟ้อนราเป็นคู่ เงือกงูก็เลื้อยพัลวัน ๏ ฤๅษีภาวนาโดยธรรม จึงอยู่คูหาใน ๏ แผ่นดินหวาดไหวนักหนา นกเนื้อก็อดอาหาร ๏ เทวดาทุกชั้นวิมาน ท่านท้าวผู้เจ้าเมืองบน ๏ ให้ฝนโบกขรพรรษตกลง ทั้งหกกษัตริย์บัดใจ ๏ จึงตื่นฟื้นองค์ท้าวไท กราบบาทพระราชบิดา ๏ จึงเจ้าชาลีกัณหา กราบบาทพระราชฤๅษี ๏ บัดนั้นนางนาถผุสดี มัทรีแก้วแม่สายใจ ๏ แม่มารับเจ้าเข้าไป อย่าอยู่ในไพรเลยนา

หกองค์สลบ บ่ฟื้นตื่นไหว ภูเขาอิสินธร ระลอกฉ่าฉ่า เอวอ่อนร่อนอยู่ บทบาทพลาดพลั้ง ในกลางหิมวา อัศจรรย์บันดาล ให้ต้องพระองค์ มัทรีสายใจ เข้ามาบ่ช้า เล่าแก่เทวี ปกครองเวียงชัย

สุรำงคนำงค์ ๏ บัดนั้นพระบิตุเรศ ท้าวไทยทิเบต จึงกล่าววาจา พ่อคิดคาหนึ่ง ถึงพระลูกยา จึงเสด็จลีลา ออกมาในไพร ๏ ขอนิมนต์พระทอง เข้าไปปกครอง พารากรุงไกร สั่งสอนประชาราษฎร์ ความประมาทอย่าหลงใหล ให้อยู่เย็นใจ เหมือนแต่ก่อนมา ๏ ขอเชิญลูกแก้ว เข้าไปยังแล้ว ปกครองพารา


๖๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ตัวพ่อนี้เล่า แก่เฒ่าชรา พ่อออกมาหา ลูกยาภูวนัย ๏ เชิญพระภูมี ลาพรตแต่ชี ลีลาเข้าไป กับด้วยมัทรี เทวีสายใจ อย่าอยู่กลางไพร วิบากนักหนา ๏ พักตราแห่งเจ้า พระทองหนุ่มเหน้า เศร้าหมองโรยรา ต้องแดดต้องลม เกรียมกรมกายา แก้วพ่อสองรา เวทนาเหลือใจ ๏ พระราชฤๅษี ได้ฟังภูมี ท้าวศรีสญชัย ตอบถ้อยวาจา บิดาภูวนัย แต่ก่อนท้าวไทย เกลียดชังนักหนา ๏ อาณาประชาราษฎร์ เขาร้องประกาศ ติฉินนินทา ว่าให้ช้างแก้ว นาเคนทร์คชา ขวัญเมืองพารา ให้อัปราชัย ๏ ค่าขัณฑสีมา พร้อมด้วยบิดา เจ้าฟ้าสุราลัย พ่อขับลูกยา เข้าป่าพนาลัย อยู่ภูเขาใหญ่ วงกตคีรี ๏ ลูกจึงซังมา ยากในกลางป่า บวชตัวเป็นชี ตกยากเข็ญใจ ในป่าพนาลี กับเจ้ามัทรี ชาลีกัณหา ๏ ควรฤๅบิตุเรศ ปิ่นเกล้าปกเกศ ขับพลโยธา จักรับเข้าไป กรุงไกรพารา เห็นแปลกนักหนา ลูกอย่าสงสัย ๏ ส่วนว่าลูกรัก เป็นคนชั่วนัก จักเอาไปไหน ไม่รู้ถ้อยความ ตามกิจวินัย มาอยู่กลางไพร ให้ไกลราชา ๏ ไพร่เมืองทั้งหลาย นินทาว่าร้าย ขับให้ออกมา แล้วพระบิตุเรศ ปกเกศเกศา มาว่าพรรณนา ให้ลาพรตด้วยพลัน ๏ คิดฉันใดเล่า จึงพระองค์เจ้า ลีลามาพลัน จักรับเข้าไป กรุงไกรไอศวรรย์ ลูกรักจอมขวัญ กินแหนงแคลงใจ ๏ ทรงฤทธิ์บิดา ตอบถ้อยวาจา กล่าวเกลี้ยงปราศรัย โอ้พระยอดสร้อย อย่าน้อยพระทัย ตัวพ่อนี้ไซร้ หลงใหลนักหนา ๏ ฟังคาอามาตย์ ฝูงประชาราษฎร์ ติฉินนินทา ขับพระพันปี ทั้งสี่กษัตริย์ มาอยู่กลางป่า เวทนาเหลือใจ ๏ จงอดงดโทษ แก้วพ่ออย่าโกรธ อย่าถืออภัย พ่อผิดจริงแล้ว ลูกแก้วกลอยใจ ขับจากเวียงชัย อยู่ในกลางป่า ๏ ฝูงประชาข้าขัณฑ์ ยินยอมพร้อมกัน ด้วยพระบิดา ขอนิมนต์เข้าไป กรุงไกรพารา สั่งสอนประชา อาณาราษฎร์ทั้งหลาย ๏ พระเวสสันดร ได้ฟังภูธร บิดาฤๅสาย กล่าวถ้อยวาจา เป็นระแบบแยบคาย พระทองโฉมฉาย คลายน้าพระทัย ๏ พระราชฤๅษี ได้ฟังภูมี เสด็จเข้าห้องใน ลาพรตด้วยพลัน ทาขวัญทันใจ เปลื้องหนังเสือไว้ เปลื้องไม้คากรอง ๏ จึงนางมัทรี ลาพรตแต่ชี ผัวเมียทั้งสอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๗

ชาระสระสรง ที่ในขันทอง ๏ จึงตัดเกศา พระทองสองรา เครื่องรสสุคนธา ปริศนามาลัย ๏ จึงถวายเครื่องทรง อันงามบรรจง ให้เจ้ามัทรี ศรีสวัสดิ์กัลยา ๏ ผืนหนึ่งวิเศษ มาแต่เมืองเทศ ชื่อโกไสยพัสตร์ โรจน์สัจพิสมัย ๏ รูปครุฑยุดนาค ทุกพันธุ์มีมาก วายุภัคปักษี อินทรีสลอน

ศรีขัดผัดผ่อง นวลละอองยองใย รูปงามสุกใส น้ามันพิสมัย ใส่เกล้าเกศา รุ่งเรืองโสภา ทรงพระภูษา เครื่องต้นพิสมัย รุ่งเรืองสุกใส ราชสีห์ฤทธิไกร อยู่ในถ้าทอง มฤคราชผันผยอง ลดเลี้ยวเที่ยวท่อง บินร่อนเวหา

ยำนี ๏ รูปสัตว์ทุกสิ่งอัน แขกเต้าเคล้าสาลิกา ๏ ผืนหนึ่งสิกพัสตร์ นกเนื้อแลเครือวัลย์ ๏ คชสีห์แลราชสีห์ เร่ร่อนบทจรไป ๏ เสือโคสิงโตเต้น กระทิงแลสิงห์ศรี ๏ ผุดเป็นรูปกินนร ไปอยู่ภูเขาใหญ่ ๏ เป็นรูปพญาพาลี สู้กันทั้งสองรา ๏ ผืนหนึ่งโกไสยพัสตร์ มังกรแลเหรา ๏ เพียนทองล่องอยู่บน ปลาน้อยลอยริมฝั่ง ๏ ช่างปักเป็นดอกบัว ผุดก้านขึ้นสลอน ๏ บ้างปักเป็นช่อพวง เครือวัลย์พันกันไป ๏ ผ้าต้นงามพรรณราย สร้อยตาบทับทรวงพลัน ๏ ท้าวศรีสญชัยราช

ป่าหิมวันต์ไพรพฤกษา เป็นคู่เคียงงามโสภา เป็นรูปสัตว์มีหลายพันธุ์ เป็นดอกดวงพวงมาลัย นกอินทรีบินคลาไคล หาอาหารคชสารสีห์ ทั้งหมีเม่นเล่นจรลี รูปมฤคราชผาดผันผยอง พิทยาธรร่อนคลาไคล ชมนารีผลบนพฤกษา รูปทรพีมีฤทธา ในคูหาถ้าทองสวรรค์ เป็นรูปสัตว์ในคงคา โลมาว่ายไล่ตามกัน งามบรรจงผุดเกี่ยวพัน ทั้งช้างน้างามพึงใจ บานชมชั่วแซมเกสร ลูกอ่อนแก่เป็นแง่งอน ผุดดอกดวงพวงมาลัย งามพิสมัยผ้าโกสรรพ์ เอามาถวายแก่ทรงธรรม์ มงกุฎทองรองเรืองฉาย แต่งนางนาถงามโสภา


๖๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทรงผ้างามพรรณราย ๏ รูปสัตว์มีหลายพันธุ์ นกเนื้อสิ้นทั้งปวง ๏ ถวายแก่เจ้ามัทรี เจ้าทรงผ้าภูษา ๏ บัดนั้นภูบาล ให้ตรวจพลโยธา ๏ พรุ่งนี้จะเคลื่อนทับ ไพร่พลอันไปไกล ๏ ป่าวกันถ้วนทุกนาย ไพร่พลมากแจจัน ๏ องครักษ์แลนักการ อยู่ท่าพระนะหัว ๏ บัดนั้นพระภูธร ก้มเกล้าท้าวกราบลา ๏ เทวาทั้งแปดทิศ องค์อารักษ์แลรักษา ๏ ข้าไหว้ไทยเทเวศร์ อันอยู่ภูเขาหลวง ๏ วันนี้จะลาไป ยังแต่บรรณศาลา ๏ เทวาในป่าไม้ ขอฝากศาลาลัย ๏ เทวาในเถื่อนถ้า เทวาป่าพนาลี ๏ พิศดูบรรณศาลา เศร้าสร้อยละห้อยใจ ๏ ใครเลยจะหลับนอน แท่นแก้วแกมมุกดา ๏ แลเห็นโพธิ์ไทร เคยเที่ยวเล่นสบาย ๏ แลเห็นพิกุล แลเห็นต้นโพธิ์ทอง ๏ วันนี้จะพลัดพราก

ผุดดอกไม้รายเป็นดวง ป่าหิมวันต์ภูเขาหลวง เป็นช่อพวงดวงบุษบา นวลมีศรีงามโสภา อุบลพัสตร์แสงจับตา ท้าวมีโองการแก่เสนา ให้เข้ามาจงเร็วไว เราจักกลับไปเวียงชัย ให้เข้ามาจงพร้อมกัน พระฤๅสายเธอผายผัน จึงประดับกระเกรียมตัว ชาวพนักงานเป็นมืดมัว จะตามเสด็จเข้าพารา เวสสันดรพระราชา ไทยเทวาทุกแดนไตร อันศักดิ์สิทธิ์มีฤทธา ในหิมวาภูเขาหลวง มีฤทธิ์เดชถ้วนทั้งปวง ข้าบวงสรวงทุกทิศา ด้วยท้าวไทยพระบิดา ขอฝากไว้ให้อาศัย ยอกรขึ้นไหว้ขอลาไป รักษาไว้ให้จงดี เจ้าย่านน้าเขาคีรี ในวันนี้ขอลาไป พระราชาเคยอาศัย เราจะไปวันนี้นา ทั้งฟูกหมอนจะโรยรา ทั้งเตียงทองเรืองรองฉาย น้าพระทัยใจขาดหาย ใต้ต้นไม้ร่มไทรทอง เจ้าประคุณเร่งมุ่นหมอง ท้าวเศร้าหมองพระหฤทัย จากคีรีภูเขาใหญ่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๙

ข้าน้อยจักลาไป ๏ คอยอยู่เถิดโพธิ์ทอง ตามเสด็จพระบิดา ๏ คอยอยู่เถิดวงกต วันนี้จะลาไป ๏ คอยอยู่เถิดสระศรี เคยเก็บบุษบา ๏ บัดนั้นพระภูมี ท่านท้าวจะยอระยาตรา ๏ ลงจากเขาวงกต ทั้งหกกษัตรา ๏ ไพร่พลพระจอมไตร ยืดใหญ่พลโยธา ๏ เสียงช้างเสียงม้าร้อง สะเทือนทั้งกลางไพร ๏ ราชรถบทจร ผูกเครื่องอันรจนา ๏ บ้างผูกกระโจมทอง กระโจมแดงเป็นแสงใส ๏ ท้าวขึ้นขี่รถแก้ว ออกจากภูเขาใหญ่ ๏ พลช้างม้ารถมากมายปรากฏ สะเทือนทั้งกลางป่า ๏ เสด็จขึ้นสู่เกยมาศ ฝูงคนทั้งแดนไตร ๏ อยู่มาเมื่อรุ่งเช้า แต่เมืองกรุงพารา ๏ เอาช้างเผือกผู้แก้ว มาถวายแก่ภูธร ๏ พระองค์ผู้ทรงธรรม์ พึ่งมาแต่เมืองไกล ๏ ให้แต่งบายศรีแก้ว ขนมแลของหวาน ๏ โหราเชิญแจ้วแจ้ว

สู่กรุงไกรเมืองพารา ข้าทั้งสองจะขอลา วันนี้นาจะลาไป อันใสสดงามพิสมัย ไกลคีรีจอมภูผา โบกขรณีงามโสภา บานเย็นแย้มดอกแกมไป ศรีสญชัยจะไคลคลา พลโยธามาไสว อันใสสดงามรจนา เสด็จลีลามาบัดใจ ไหวสะเทือนทั้งกลางป่า ออกจากป่าพนาลัย ดังกึกก้องหวาดหวั่นไหว เมื่อท้าวไทยจักไคลคลา ทั้งอัสดรแลคชชา ประโจมทองงามรจนา อันพรรณงามพึงใจ ลายก้านแย่งแสงกระการ อันพรายแพรวงามแววไว พระจอมไตรจึ่งไคลคลา แห่ห้อมล้อมมา จึงเข้ามาถึงเวียงชัย ปรางค์ปราสาทงามสุกใส มาชมท้าวเจ้าพารา จึงพราหมณ์เฒ่าเซซังมา กลิงคราชพระนคร อันพรายแพรวงามบวร เวสสันดรชมยาใจ ให้ทาขวัญคชสารใหญ่ พลัดพรากไปเป็นช้านาน อันพรายแพรวทุกประการ ยกใส่พานมาไสว ขวัญช้างแก้วเพราะเอาใจ


๗๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

แล้วคชสารใหญ่ ๏ ให้ตั้งงานพิธี จะเสกเจ้าทั้งสอง ๏ พระยาร้อยเอ็ด เตรียมพร้อมเครื่องบูชา ๏ แพรพรรณแลเสื้อผ้า มาถวายแด่ภูธร ๏ อภิเษกพระภูธร ให้ครองเมืองพารา ๏ ท้าวขึ้นเสวยราชย์ กูจักครองเวียงชัย ๏ ให้ปล่อยหมู่นักโทษ ฝูงคนอันใจร้าย ๏ ไก่นกอันขังไว้ สมเด็จพระราชา ๏ จงให้มันพ้นทุกข์ แมวบ้านแลขังได้

ผูกไว้ในพระโรงทอง พระภูมีคิดตรึกตรอง ให้ปกครองเมืองพารา เข้ามาสิ้นเสร็จทุกครา ศรัทธาข้าเชิญฉลอง ทั้งช้างม้ามากเนืองนอง ขึ้นปกครองเมืองพารา เวสสันดรผู้ลูกยา แทนเจ้าฟ้าผู้ภพไตร สมเด็จพระบาทท้าวราพึงใน ให้สนุกสุขสบาย โปรดให้พ้นจากความตาย จาจองไว้ใส่ขื่อคา จงทาให้เป็นไทนา ให้ปล่อยเสียจงเร็วไว อยู่เป็นสุขเย็นใจ ปล่อยให้สิ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๑

พระศรีอำริย์เมืองลพบุรี ดรณ์ แก้วนัย ความเชื่อเกี่ยวกับพระศรีอาริย์เป็นความเชื่อที่ปรากฏในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก กล่าวว่า เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดารงพระชนม์ชีพอยู่ได้ตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายเรื่องกาลสิ้นสุดของ พระพุทธศาสนาว่า ในอนาคตหลังพุทธศาสนาของพระองค์สิ้นสุดลงจะมีพระพุทธเจ้าพระนามว่าเมตไตรยอุบัติ ขึ้นโลกนี้ ดังความว่า “...ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์อายุ ๘,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จ ไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จาแนกพระธรรมเหมือนตถาคตอุบัติขึ้นในโลก...”๑๐ ในสมัยกรุงสุโขทัยก็กล่าวถึงพระนามของพระโพธิสัตว์ “ศรีอาริยไมตรี” ในหนังสือไตรภูมิกถา (ไตรภูมิ พระร่วง) ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงพระราชนิพนธ์ขึ้นความตอนหนึ่งว่า “...ผู้ใดจักปรารถนาสวรรค์นิพพาน จงสดับไตรภูมิกถาด้วยทานุกอารุง อย่าได้ประมาทสักอัน ดังนี้ จึงได้พบพระศรีอาริยไมตรีเจ้า เมื่อจะลงมาตรัสแก่สัพพันณุตญาณในโลกนี้แล...”๑๑ อิทธิพลทางความเชื่อเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้แพร่หลายทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยในแถบ ภาคกลางนั้ น พบว่า ความเชื่ อนี้ ผู กพั น กั บ วิถี ชีวิตของชาวบ้ านจนเกิดเป็ นประเพณี ในเมื องลพบุ รี เรียกว่า ประเพณีแห่รูปพระศรีอาริย์ ของวัดไลย์ ตาบลเขาสมอคอน อาเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อ สอดคล้องกับเนื้อความดังกล่าวข้างต้นว่า พระศรีอาริย์หรือพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัม พุทธเจ้าในโลกมนุษย์หลังจากสิ้นสุดศาสนาของพระมหาสมณโคดมแล้วห้าพันปี เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เรียกว่า ศาสนาพระศรีอาริย์ และมีความเชื่อว่าพระศรีอาริย์ยังเป็นพระโพธิสัตว์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นที่ ๔ ซึ่ง พร้อมที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้มีการสร้างรูปพระศรีอาริย์ขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพสักการะโดยเชื่อกันว่า

๑๐

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกำย ปำฏิกวรรค ข้อ ๓ จักกวัตติสูตร (๒๖) ย่อหน้ำที่ [๔๘], เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๖, เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702 ๑๑ บานแพนกเดิม, ไตรภูมิพระร่วงของพระญำลิไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๔, เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๖, เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ https://docs.google.com/file/d/0B7DXY7fEcMAjSGQ3aTFuU2RTbHc/ edit?pli=1


๗๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ใครเกิดในยุคศาสนาของพระศรีอาริย์ แล้ วจะมีแต่ความร่มเย็นเป็ นสุข ๑๒ ดังนั้น ในรอบหนึ่งปีจะมีเทศกาล นมัสการปิดทองรูปพระศรีอาริย์วัดไลย์ ๓ ครั้ง คือ วันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่า เดือน ๓ กับเดือน ๖ และวันแรม ๔ – ๕ ค่า เดือน ๑๑ แต่เดิมประเพณีแห่รูปพระศรีอาริย์วั ดไลย์จะจัดในฤดูน้าตรงกับวันแรม ๕ ค่า เดือน ๑๑ เป็น ประเพณีแห่พระทางชลมารค เพราะน้าจะท่วมท้องทุ่ง การสัญจรไปมาทางเรือสะดวก ต่อมาได้มีการสร้างเขื่อน เจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท เพื่อกักเก็บน้าไว้ใช้ในการเกษตรจึงทาให้น้าเหนือซึ่งเคยไหลมาท่วมทุ่งแห้งแล้งลง ประเพณีแห่รูปพระศรีอาริย์ก็ได้เปลี่ยนมาจัดงานในฤดูแล้งแทน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่า เดือน ๖ เป็นประเพณีแห่ พระทางสถลมารค แต่พิธีต่างๆ ก็ยังคงอนุรักษ์แบบแผนเดิมไว้๑๓

ประเพณีแห่รูปพระศรีอำริย์ วัดไลย์ จังหวัดลพบุรี นอกจากนี้ ความเชื่อดังกล่าวยังนาเรื่องราวในพระไตรปิฎ กมาแต่งให้ สอดคล้องกับประวัติของการ ก่อสร้างวัดไลย์และประวัติของพระศรีอาริย์ซึ่งได้สร้างขึ้นในวัดไลย์ ตามตานานที่เรียกว่า “ตานานพระศรีอาริย์ เมืองลพบุร”ี ที่มำของตัวบท ตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรีเป็นตานานที่พระพิษณุโลกบุรีอุตรมหานคร (สวัสดิมหากายี) อามาตย์ โท ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี คัดลอกถวายสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลก ประชานาถ พระราชโอรสองค์ที่ ๔๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๔

๑๒

คณะกรรมการฝ่ ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอ านวยการจั ดงานเฉลิม พระเกี ยรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, (๒๕๔๒), วัฒนธรรม พัฒนำกำรทำงประวัติศำสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญำ จังหวัดลพบุรี , (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ คุรุสภา), ๒๗๑ – ๒๗๒. ๑๓ เรื่องเดียวกัน, ๒๗๒.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๓

เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ก่อนพระองค์จะสวรรคตเพียง ๓ ปี พระองค์จึงมีพระหัตถเลขาตอบขอบใจลงวันที่ ๑๑ เดือนธันวาคม ๒๔๖๐ ปัจจุบันต้นฉบับ จัดเก็บที่หอสมุดแห่ งชาติ หมู่ตานาน ชื่อ “ตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ” เลขที่ ๑๕๘ ตู้ ๑๒๑ ชั้น ๓/๑ มัดที่ ๔ ประวัติบอกว่าพระยานครพระราม ถวาย (หอสมุดแห่งชาติ) เมื่อวันที่ ๔/๙/ ๒๔๖๐ โดยร่างจดหมายโต้ตอบดังกล่าว มีข้อความต่อไปนี้

พระหัตถเลขำของสมเด็จพระอนุชำธิรำช เจ้ำฟ้ำจักรพงษ์ภูวนำถ กรมหลวงพิษณุโลกประชำนำถ


๗๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

แผนก จดหมาย ร่าง จดหมาย เรื่อง ตอบรับเรื่องตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ถึง พระพิษณุโลกบุรี ณ จังหวัดลพบุรี หลวง..วิจิตร ผู้ร่าง ๗/๙/๖๐ (ลงนาม) พระพิษณุโลกบุรีอุตรมหานคร (สวัสดิมหากายี) อามาตย์โท ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

วันที่ ๑๑ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ถึง พระพิษณุโลกบุรี ได้ รั บ จดหมายลงวั น ที่ ๔ ธั น วาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่าได้คัดเรื่องตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ส่งมาให้ฉนั ๑ ฉบับนั้น ได้รับไว้แล้ว ขอบใจพระพิษณุโลกเป็นอันมาก พิศณุโลก (สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรม หลวงพิษณุโลกประชานาถ)

ข้อความดังกล่าวเป็นที่อยู่ของจดหมายที่พระพิษณุโลกบุรีอุตรมหานคร (สวัสดิมหากายี) อามาตย์โท ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ลงนาม ซึ่งปรากฏชื่อผู้ร่างจดหมายฉบับดังกล่าวแต่ต้นฉบับเลอะเลือน ทราบแต่เพียง ว่ามีชื่อ หลวง ... วิจิตร เท่านั้น และแนบมาพร้อมกับตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ซึ่งคัดลอกถวายสมเด็จ พระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระองค์จึงมีพระหัตถเลขาตอบขอบใจ ตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรี (เรื่องราวพระศรีอาริยะเมตไตรบรมโพธิสัตว์จบบริบูรณ์) นี้ลักษณะ แต่ งเป็ น กัณ ฑ์ เทศน์ เพื่ อให้ พ ระสงฆ์ แสดงแก่ ป ระชาชน โดยยกค าบาลี อั กษรไทยตั้งแล้ ว อธิ บ ายความเป็ น ภาษาไทยด้วยร้อยแก้วที่มักใช้คาคล้องจองเพื่อให้เกิดความไพเราะและสัม ผัสในแต่ละข้อความ ตั้งแต่ต้นจนจบ พระธรรมเทศนา เนื้อเรื่อง ตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรี (เรื่องราวพระศรีอาริยะเมตไตรบรมโพธิสัตว์จบบริบูรณ์) นี้กล่าวถึง ประวัติการก่อสร้างรูปหล่อพระศรีอาริย์และประวัติการซ่อมแซมวัดไลย์ โดยผูกเรื่องให้พระศรีอาริย์นั้นเสด็จลง มาเกิดและบวชจนเป็นประธานสงฆ์และพระอาจารย์ใหญ่ในวั ดไลย์ และการคัดลอกเรื่องราวต่างๆ นี้ พระภิกษุ เป็นผู้คัดลอกไว้ ดังนี้ ในสมัย พุท ธกาลเมื่อ ครั้ งพระพุ ท ธเจ้าเสด็จประทั บ ในสวนอุท ยานแห่ งพระเจ้าสามลราช เมื องกุ สิ นารายณ์ พร้ อ มด้ว ยพระภิ ก ษุ ส งฆ์ ส องหมื่ น รูป เป็ น บริว าร ครั้งนั้ น พระองค์ ท รงประชวรใกล้ จะเข้ าสู่ พ ระ ปรินิพพาน พระอานนท์ได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงนิ่งเฉยเกิดความสงสัยจึงกราบทูลถึงเหตุนั้น พระพุทธองค์ได้ทรง ประทานแก่พระอานนท์ว่า “...อาการเพิกเฉยกาลครั้งนี้ก็เป็นนิมิตแห่งพระพุทธศาสนา ตถาคตใกล้เข้าสู่พระปรินิพพาน อยู่แล้ว ตถาคตจะบัญญัติไว้ก็แต่พระศาสนาห้าพันพระวัสสา สัตว์ทั้งปวงจะบังเกิดมาในอนาคตกาล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๕

ภายภาคหน้ า จะประกอบไปด้วยศรัทธากระท ากองการกุศลเป็นต้นว่าให้ ทาน รักษาศีล แลเจริญ เมตตา ภาวนาสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา หรือสัตว์ทั้งปวงจะบังเกิดมาในอนาคตกาลภายภาค หน้า จะไม่เห็นพระตถาคตจะพบแต่พระศาสนา จะประกอบไปด้วยมานะทิฏฐิกระด้างกระเดื่องมิได้ อ่อนน้อมในพระพุทธศาสนา จะประกอบไปด้วยโลภะและมัจฉริยะ อันมีลักษณะให้โลภและตระหนี่ เป็นเหตุทั้งนี้แลพระศาสนาจะมิได้บริบูรณ์ถ้วนห้าพันพระวัสสา” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสดังนั้นแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระอัมรินทราธิราชก็แข็งกระด้ างเหมือน ศิลา พระองค์จึงทราบว่าพระพุทธเจ้ากาลังจะตรัสพระสัทธรรมเทศนา การลงไปสู่มนุษย์โลกเพื่อเป็นประธาน แก่พุทธบริษัทและสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์จึงจะควร ดังนั้น พระอินทร์จึงขึ้นไปสู่สวรรค์ชั้น ดุสิตเพื่อเชื้อเชิญ พระอริยเมตไตรยเทพบุตรให้ไปสดับพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ในที่จาเพาะพระ พักตร์ด้วยกัน พระพุทธองค์จึงประทานพระโอวาทแก่พระอัมรินตราธิราชและพระเมตไตรยเทพบุตรให้ทาหน้าที่ ประธานแก่บริษัท ๔ จาพวก คือ ภิกษุแลภิกษุนี แลสามเณราแลสามเณรี อุบาสกอุบาสิกา เพื่อช่วยทานุบารุง พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายหน้า ครั้ น พระพุ ท ธองค์เสด็ จ เข้าสู่ พ ระปรินิ พ พานแล้ ว พระพุ ท ธศาสนาก็เจริญ รุ่งเรือง ด้ ว ยประชาชน ทั้งหลายที่ประกอบด้วยศรัทธาพากันกระทาการกุศล เช่น การให้ทานและรักษาศีล การเจริญเมตตาภาวนา สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา ปฏิบัติตามโอวาทคาสั่งสอนแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้นมีบ้านแห่งหนึ่งชื่อว่า บ้านท่าลาศ มีประชาชนอาศัยอยู่จานวนมาก ประชาชนมีฐานะมั่งคั่งซึ่ง ส่ วนใหญ่ มีอาชีพ ท าไร่ ทานา และค้าขาย อยู่ในเขตเมื องป่าหวาย ในบ้านนี้มี ตระกูล หนึ่ งมีลู กชายชื่อ เจ้า บริสุทธะกุมาร เมื่อเจริญวัยขึ้นบิดามารดาจึงไปขอนาง ประทุมอุบลกุมารี ซึ่งเป็นลูกสาวของคนในหมู่บ้านนั้น มาเป็นคู่ครอง ต่อมาทั้งสองไม่มีบุตรจึงได้บุญแล้วตั้งความปรารถนาไว้ขอให้มีบุตร พระอินทร์พิจารณาแล้วจึง สงเคราะห์ให้สาเร็จตามความปรารถนา โดยพระองค์ไปเชิญศรีอาริยเทพบุตรให้ลงไปปฏิสนธิในครรภ์แห่งนาง ประทุมนารี เพื่อเพิ่มเติมพระบารมีให้บริบูรณ์ และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ถ้วนห้าพันพระวัสสา เมื่อโพธิสัตว์ศรีอาริยเทพบุตรจุติจากดุสิตาสวรรค์มาปฏิสนธิในครรภ์นางประทุมนารีนั้น นางฝันเห็น พระอาทิตย์เปล่งรัศมีขึ้นมาเหนือยอดเขายุคันธรด้านทิศตะวันออก ลอยมาในอากาศลงมาจนถึงปากของนาง ประทุมนารี นางก็โสมนัสและกลืนกินสุริยเทวบุตรกับราชรถ ครั้นประสูติจากครรภ์พระมารดาก็เกิดอัศจรรย์ ต่างๆ มีพื้นแผ่นดินสองแสนสี่หมื่น โยชน์หวั่นไหว มหาสมุทรใหญ่น้อยตีฟอง พายุพัดกระหน่า เทพดาในเมือง สวรรค์ก็มาบรรลือทิพย์สังคีตและโปรยทิพย์สุมาลีหอมฟุ้งขจรไปทั่วสารทิศ เป็นต้น หมู่พระญาติได้ช่วยเลี้ยงดูจนกุมารเจริญวัยได้สิบแปดปี วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ตามพระมารดาไปช่วยไล่ นกในนาข้าว เมื่อนกทราบว่าเป็นนาของพระโพธิสัตว์ก็ไม่กล้าเข้ามากินข้าวในนา อีกวันหนึ่งพระโพธิสัตว์เห็นฝูง ปลาจานวนมากต้องการจะตกปลา จึงอธิษฐานว่า ถ้าปลาตัวใดเคยเป็นอาหารของพระองค์จงมากินเหยื่อในเบ็ด นี้ ฝูงปลาทั้งหลายได้ยินคาอธิษฐานนี้จึงร้องบอกต่อ ๆ กันว่าอย่าไปกินเบ็ดนี้เพราะเป็นเบ็ดของโพธิสัตว์ แต่มี ปลาดุกตัวหนึ่งคิดว่า หากชายคนนี้กาลังสร้างพระบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุ ทธเจ้าจริง เราจะได้ชื่อว่า ให้ชีวิต เป็นทาน แล้วปลาดุกจึงตั้งความปรารถนาขอให้สาเร็จแก่(สรรเพ)ชุดาญาณในภายหน้า มันจึงกินเบ็ดนั้น เมื่อ


๗๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พระโพธิสัตว์คร่าเบ็ดมา ด้วยความเจ็บปวดปลาดุกจึงร้องขึ้นขอให้ดึงสายเบ็ดค่อย พระโพธิสัตว์และพระมารดา ได้ยินดังนั้นจึงเกิดความฉงน รีบกลับบ้านเพื่อจะไปถามท่านผู้มีสติปัญญาให้พิจารณาว่าเป็นเรื่องดีหรือร้าย นางปทุมฯ จึงพาพระโพธิสัตว์ไปยังพระอารามวัดไลย์เพื่อเรียนถามเจ้าคุณผู้ใหญ่ถึงเหตุการณ์นั้น พระ ผู้เป็นเจ้าจึงคิดว่า บุตรของนางนี้มิใช่ไพร่กระฎุมพีธรรมดาแต่คงเป็นพระโพธิสัตว์มาสร้างโพธิสมภารแน่ คิด ดั งนั้ น ท่ านจึ งกล่ า วว่ า บุ ต รของนางไม่ ค วรอยู่ ค รองเรือ น ควรให้ บ รรพชาเป็ น สามเณรจึ งจะประเสริฐ ใน พระพุทธศาสนา นางปทุมฯ ได้ฟังก็ดีใจจึงถวายบุตรชายไว้แก่เจ้าคุณผู้ใหญ่ ท่านจึงบรรพชาพระโพธิสัตว์ให้เป็น สามเณรในวันนั้น หลังจากบรรพชาแล้วสามเณรศรีอาริย์ก็ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกในไม่ช้าก็แตกฉานทั้งพระ สูตร พระวินัย และพระปรมัตถ์ โดยมีพระอินทร์และนางเทพอัปสรกัญญา เป็นต้นว่า นางสุชาตา นางสุนันทา นางสุจิตรา และนางสุธรรมา มาคอยปรนนิบัติทั้งการสรงน้าด้วยสุคนธ์ของหอม การผลัดผ้าซักผ้าสบงทรงจีวร ตั้งน้าใช้และน้าฉัน เป็นต้น และการปรนนิบัตินี้บุคคลสามัญไม่สามารถมองเห็นได้ สามเณรศรีอาริย์บาเพ็ญเพิ่ม โพธิสมภารจนอายุได้ยี่สิบปี พระอินทร์และญาติๆ จึงมาอาราธนาให้อุปสมบทเป็นภิกษุและถวายอัฐบริขารอัน เป็นทิพย์ เมื่อพระศรีอาริย์ได้อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วก็เจริญวัตรปฏิบัติโดยไม่ประมาททั้งวิปัสสนากรรมฐานและ สมถกรรมฐานและจาพรรษาในวัดไลย์จนได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นประธานสาหรับสั่งสอนแก่พระภิกษุ สงฆ์และสามเณรสืบต่อมา ในกาลนั้น ยังมีมหันลกบุรุษ(คนแก่)คนหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏชื่อในพระบาลี อาศัยอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งใน เมืองนั้นพร้อมด้วยบุตรและภรรยา บุรุษแก่นี้มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ปรารถนาจะพบพระ ศรีอาริย์มาช้านานตั้งแต่เด็กจนอายุได้ ๑๘ ปีเศษ ความปรารถนานั้นก็ยังไม่สาเร็จ อยู่มาวันหนึ่งเป็นวัน ๑๕ ค่า มหั นลกบุรุษแก่ต้องการจะรักษาอุโบสถศีลจึงแจ้งแก่บุตรและภรรยาว่า ถ้าเขาตายลงในวันนี้ อย่าเพิ่งให้ทา ฌาปนกิจจงรอจนกว่าจะครบ ๗ วัน ถ้าเขายังมิได้กลับมาจึงค่อยปลงศพ เมื่อมหัลลกบุรุษสั่งดังนั้นแล้วเขาจึง ตั้งใจรักษาศีล ๘ ประการ และตั้งจิตอธิษฐานขอให้อานาจคุณศีลคุณทานการสุจริตที่ตนได้บาเพ็ญมานั้น หาก ต้องตายลงในวันนี้ขอให้ไปเกิดในสวรรค์และได้พบพระเมตไตรยโพธิสัตว์ดังปรารถนา เมื่อมหัลลกบุรุษตายลงในขณะจิตเป็นกุศลนั้นเขาจึงได้ไปเกิดในสักกเทวโลก บริบูรณ์ด้วยทิพย์สมบัติ แต่ยังไม่สามารถพบพระศรีอาริยเมตไตรยได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระอินทร์เพื่อถามถึงสถานที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ เมื่อ ทราบจากพระอินทร์ว่าพระศรีอาริยเมตไตรยนั้นลงไปบังเกิดในมนุษย์และอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จาพระพรรษาอยู่ในวัดไลย์ และเที่ยวบิณฑบาตในบ้านท่าลาศในเมืองป่าหวาย เทพบุตรนั้นก็โสมนัสยินดี และ พระอิน ทร์ ยั งได้สั่ งให้ กลั บ ลงไปสู่ ร่ างของตนในโลกมนุษ ย์แล้ วพระอิน ทร์จะนาดอกไม้สุ มณฑาอันเป็ นของ สักการบูชาแห่งองค์พระศรีอาริย์ลงไปมอบให้ เมื่อเทพบุตรอาลาพระอินทร์ลงมาจุติในกายของตนนั้นเป็นเวลา ปฐมยามของวันที่เจ็ดพอดี จึงฟื้นคืนชีพขึ้นมาโดยที่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย เพราะได้ทากุศลชื่อว่า ทิฐธรรมเวทนีย กรรม ซึ่งกระทาในชาตินี้ให้ผลในชาตินี้ และปราปรเวทนียกรรม ซึ่งกระทาในชาตินี้ให้ผลในชาติหน้า เมื่อมหันลกบุรุษฟื้นแล้วจึงเรียกให้บุตรและภรรยาของตนให้แก่ผ้าตราสังต่างๆ ออก พระสงฆ์ตกใจ กลัวจึงหนีกลับอาราม ฝ่ายบุตร ภรรยา และญาติทั้งหลายเมื่อได้สติรู้ว่าเขายังไม่ตายจึงช่วยกันแก้ผ้าตราสัง ออกแล้วมหั ลลกบุ รุษจึ งเล่ าเนื้ อความตั้งแต่ต้นจนอวสานให้ บุตร ภรรยา และญาติฟัง ญาติทั้งหลายพากัน โสมนัสกล่าวสาธุการ ตั้งแต่นั้นมามหัลลกบุรุษได้สมาทานศีลแปดเป็นดาบส ชื่อว่า ทิพย์มณฑำ และได้แจ้งแก่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๗

บุตรและภรรยาว่าเขามีความปรารถนาจะพบพระศรีอาริย์ ขอให้บุตรและภรรยาจงแบ่งทรัพย์สมบัติและอยู่ ครองเรือน และแบ่งทรัพย์บางส่วนให้ทิพพะมณฑาดาบส เพื่อเขาจะได้ไปก่อสร้างกองกุศล บุตรและภรรยาจึงแบ่งทรัพย์ให้และกล่าวว่า ถ้าบิดาพบพระศรีอาริย์แล้วจงกลับมาบ้านเพื่อพวกเขาจะ ได้ไปนมัสการบ้าง ปะขาวทิพย์มณฑาลงเรือไปตามกระแสน้าจนถึงแม่น้าสองแคว ทิพย์มณฑาจึงถามชาวนาผู้ หนึ่งว่าบ้านนี้ชื่อใด เป็นเมืองไหน ไกลหรือใกล้จึงจะถึงเมือง บุรุษนั้นจึงบอกว่า บ้านท่าลาศ อยู่ในเมืองป่าหวาย ห่างจากตัวเมืองประมาณโยชน์กึ่ง หากล่องเรือไปอีกหน่อยหนึ่งก็จะถึงปากคลองลัด ตามคลองเข้าไปก็จะถึง วัดไลย์ ทิพย์มณฑาปะขาวได้ฟังก็มีความยินดีจึงไปตามเส้นทางที่บุรุษแนะนาจนกระทั่งถึงวัดไลย์ในวัน ๑๕ ค่า ครั้นอาบน้าชาระกายดีแล้วก็ถือเอาดอกมณฑาและธูปเทียนนาไปวางไว้ที่เชิงบันไดของพระอุโบสถเพื่อจะได้พบ พระศรีอาริย์ภิกษุ แต่ไม่มีพระภิกษุรูปใดเห็นดอกมณฑานั้น เขาจึงไต่ถามพระภิกษุรูปหนึ่งจึงทราบว่า ยังมีพระ อีกรูปหนึ่งที่ท่านไม่ลงพระอุโบสถในวันนั้น ทิพย์มณฑาปะขาวจึงไปยังกุฏินั้น เมื่อพระภิกษุโพธิสัตว์เห็นดอก ทิพย์มณฑาของตาปะขาวที่นามาประเคน พระองค์จึงตรัสไต่ถามถึงที่มาของดอกมณฑานั้นเมื่อทราบความจริง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พระองค์จึงห้ามทิพย์มณฑาปะขาวไม่ให้บอกเรื่องนี้ แก่ประชาชนทั้งหลาย เพราะเขาจะ พากันมาเลื่อมใสศรัทธาจะเหมือนทาลายพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระโคดม ทิพย์ มณฑาปะขาวยังได้ป ลู กต้น ตาลสี่ต้นและต้นโพธิ์ต้นหนึ่งด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถและ ชักชวนชาวบ้านให้เกิดความศรัทธาพากันกระทากุฎีให้เป็นที่อยู่ บางหมู่กระทาศาลา บางพวกสร้างสะพาน บาง พวกสร้ า งเว็ จ กุ ฏิ บางพวกขุ ด สระส าหรั บ สรงน้ า แล้ ว พากั น สร้ า งวิ ห ารให้ เป็ น ที่ อ ยู่ แ ห่ งพระปฏิ ม ากรณ์ ประชาชนทั้งหลายมีศรัทธาก่อสร้างวัดไลย์จนสาเร็จตามความปรารถนา โดยมีทิพย์มณฑาเป็นประธานในกอง การกุศลทั้งปวง นอกจากนี้ ยั งขออนุ ญ าตพระภิกษุศรีอาริย์เพื่ อหล่ อรูปเหมือนของพระองค์ไว้เป็ นที่ไหว้ที่ นมัสการ พระศรีอาริย์จึงห้ามว่า ผิดพุทโธวาทแห่งสมเด็จพระศาสดา จาทาให้พระพุทธศาสนาสั้นลง ถ้ามีความ ศรัทธาจงสร้างเป็นอุทิศเจดีย์ให้เป็นรูปสมเด็จพระชิณศรีสัมพุทโธเจ้าจึงจะสมควร ทิพย์มณฑาจึงได้ชักชวน ประชาชนก่อสร้างรูปพระปฏิมากรณ์สี่พระองค์ให้เป็นอุทิศเจดีย์ไว้เป็นที่นมัสการ แลกระทาสักการบูชาปรากฏ เท่าทุกวันนี้ ในวัน ๑๕ ค่า พระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่ประชาชนทั้งปวงในอานิสงส์ที่ บุคคลได้ก่อสร้างและซ่อมแซมพระวิหารการเปรียญ พระอุโบสถ พระสถูป พระพุทธรูป พระเจดีย์ และปลูก พระศรีมหาโพธิ แล้วแสดงว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงที่เกิดมาเป็นรูปธรรมแลนามธรรมล้วนตกอยู่ในพระไตรลักษณ์ คือ พระทุกขัง พระอนิจจัง พระอนัตตา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเห็นเป็นเที่ยงแท้จะได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิเสวย ความสุขในอนาคตกาล และให้เหนื่อยหน่ายในวัฏฏสงสารปรารถนาเอาพระนิพพานในภายภาคหน้า เมื่อพระศรีอาริย์เมตไตรยเจ้าตรัสพระสัทธรรมเทศนาจบลง ประชาชนทั้งปวงก็พากันชื่นชมโสมนัส ยินดี กล่าวเสียงสาธุตลอดลั่นจนถึงดาวดึงสวรรค์สักกเทวโลก ขณะนั้นสมเด็จอัมรินตราธิราชกับหมู่เทพอักษร กัญญาก็พร้อมกันอยู่ในที่ประชุมในโรงธรรมนั้นแต่ไม่มีบุคคลใดเห็น ครั้นหมู่ประชาชนพากันกลับไปสู่เคหสถานของตนแล้ว พระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์จึงตรัสแก่สมเด็จอัม รินตราว่า พระพุทธศาสนาของสมเด็จพระมหาโคดมนี้ยังไม่ได้ครึ่งยังไม่ได้กึ่งพระศาสนา พระองค์เสด็จลงมา เยี่ยมเยือนครั้งนี้เพื่อเพิ่มกุศล โดยบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพื่อทานุบารุงให้ถาวรวัฒนาการ


๗๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เจริญเป็นอันดี ดังนั้นถึงเวลาที่พระองค์จะกลับ ไปสู่ที่อยู่ของพระองค์แล้ว พระอัมรินตราธิราชจึงกล่าวสาธุการ แล้วพระองค์เสด็จเข้าสู่สมณกรรมฐานไม่ช้าก็จุติจิตไปบังเกิดในชั้นดุสิตพิมานพร้อมไปด้วยเทพบริวาร ในขณะ นั้นพระภิกษุและสามเณรอันเป็นศิษย์ เมื่อเห็นอัศจรรย์นั้นก็ตกใจพากันขึ้นไปดูก็เห็นแต่รูปกายนั้นเปล่าไม่มีจิต วิญญาณ จึงทราบว่าพระอาจารย์ของตนมรณภาพแล้ว ประชาชนทั้งปวงปลงอสุภกรรมฐานและกระทาการ ฉลองแลสมโภชถึงเจ็ดราตรี ภายหลังเมื่อกระทาฌาปนกิจซากอสุภะแล้วอัฐินั้นกลายเป็นทองแดง ปุถุชนได้เห็น ก็เข้าใจว่า เจ้าประคุณ รู ป นี้ คือ พระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เจ้า จึงพากันเก็บอัฐิทองแดงมาหล่อเป็นรูปของ พระองค์ไว้ เพื่อเป็นที่ไหว้ที่นมัสการแก่ คนทั้งหลาย กล่าวกันว่าฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่พากันปั้นรูปของ พระองค์แล้ ว ก็ห ล่ อ ในครั้งนั้ น ใช้เวลาหลอมทองตั้งแต่เช้าจนเพลทองก็ไม่ล ะลาย ร้อนขึ้นไปถึง พระอิ นทร์ พระองค์จึงแปลงเป็นตาปะขาวมาช่วยสูบทองให้ละลายได้ แล้วเอาทองใส่ในรูปจาลองให้เต็ม เสร็จแล้วจึงเสด็จ ขึ้นไปสู่ดาวดึงส์สวรรค์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์เห็นรูปทองงดงามดังนั้นก็เข้าใจว่า ต้องเป็นพระอินทร์ลงมาหล่อให้จึง สาเร็จตามความปรารถนา เมื่อเชยชมรูปทองอยู่นั้นจึงเห็นพร่องอยู่ที่ริมพระโอษฐ์ซึ่งเป็นนิมิตที่พระองค์นั้นตก ปลา และที่นิ้วพระหัตถ์นั้นเป็นรอยหน่อยหนึ่ง ซึ่งเป็นนิมิตของพระองค์แต่เดิมมา ตั้งแต่นั้นมาพุทธบริษัท ๔ ทั้งหลายจึงพากันลงรักปิดทองและฉลองสมโภชและประดิษฐานไว้ในพระวิหารเพื่อสักการบูชาตราบเท่าทุกวันนี้ ลักษณะเฉพำะของตัวบท ตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรีแต่งเป็นร้อยแก้วทานองเทศนา โดยตั้งด้วยภาษาบาลีและอธิบายความ เป็นภาษาไทย เช่น “กัมภังมหาลาภัง สุนันละ โกตุมะสาสะนา สะหัสสะปัญจะมะวัสสา มะหาโลยะอรรคเถโร ตาวะติงสะ สีอาริยะเมตตัยโย ปัญจะมะนุสโส โลเก สัคเครัตตานิทานัง ศุขิลัสสะมะยัง ชันติเตรัก ขันติเต รักขันตุสัพมหานังพะหูสีละพะหูสัพพนานามนุโสโลเกสีลังสะยันตุ สัพพะทานังอะริโยมิโส ภะคะวา” อาตมภาพขออานวยพรศิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล ชนมะสุขทุกประการ จงมีแด่บพิตรปัจจัยยะ ทานาธิบดี ผู้มีสะวะนะเจตนาปรารถนาเพื่อจะฟังพระสธรรมเทศนา ชักพากันมาสู่โรงธรรมภาคศาลา ณ เวลาวันนี้ แต่ล้วนน้าใจประกอบไปด้วยศรัทธา เป็นกามาพจรมหากุศลอาพลด้วยโสมมะนัสสะญาณ สัมปะยุตไปด้วยปัญญาและศรัทธา ศรัทธาเมาะสัททหะติ สัททะหะติ ศัพท์นี้แปลว่าเชื่อ ๆ อย่างไร คือ ภาวะให้เชื่อลงในพระพุทธศาสนา ว่าอาตมาจะกระทาซึ่งกองการกุศล ผลศีล ผลทานการสุจริตใน กาลครั้งนี้ จะประกอบไปด้วยกองการกุศลราศีอันล้าเลิศประเสริฐยิ่งนักหนา ศรัทธามีภาวะเชื่อลงยังนี้ แล้ ว จึ งได้พ าซึ่ งกัน และกัน มาสู่ โรงธรรมภาคศาลา จงตั้ งใจลงให้ เป็น เอกัค คะตาน้าใจให้ เป็ นหนึ่ ง ปัญญาส่องให้เห็นแท้ในทางธรรมคาพระสธรรมเทศนา ตรองปัญญาตามกระแสพุทโธวาทสมเด็จพระ ศาสดา ว่ าสิ่ งนั้ น เป็ น บาปหยาบช้ า ไม่ ค วรเราจะพึ งประกอบท า สิ่ งนั้ น เป็ น กุ ศ ลควรที่ เราจะพึ ง ขวนขวายกระทา จะได้อุปถัมภ์ค้าชูในชั่วนี้แลชั่วหน้า จงตั้งใจลงให้ใสศรัทธาให้พร้อ มไปด้วยกายแล วาจาแลน้าใจ กายคือให้นบนอบประนมเหนือสิโรโรตม์ น้าใจก็ให้ปราโมทย์โมทนา วาจาก็ให้รับสาธุ ๆ แล้วจึงเงี่ยโสตประสาทเป็ นภาชนะทองคอยรองรับซึ่งพระสธรรม ประดุจดังว่าเอาภาชนะทองเข้า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๙

รองรับซึ่งน้านมอันสดๆ อันมีรสโอชา ครั้นจะพรรณนาด้วยผลานิสงส์ก็เป็นอนันตปริ ยายขยายว่าแต่ โดยย่อพอจะให้เป็นใจความตามกระแสพระพุทธฎีกา ที่นี้จะได้วิสัชนาในเรื่องพระศรีอริยเมตไตรยสูตร เป็นปะติการะฉลองเฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาแห่ง บพิตรปัจยะทานาธิบดี แม้พระสธรรมเทศนามิได้ยุติด้วยโวหาร อัตถาธิบาย บทใดบทหนึ่งก็ดีขอเมตตา คุณ กรุณา คุณขันติ คุณอภัย แก่อาตมภาพผู้มีสติปัญญาอันน้อย แนวคิ ด ของการแต่ ง ได้ น าเอาเรื่ อ งราวความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ พระศรี อ าริ ย เมตไตรยในวรรณกรรม พระพุทธศาสนามาผูกเข้ากับชื่อของภูมินามในท้องถิ่นทั้งชื่อวัดไลย์ หมู่บ้านท่าลาศ เมืองป่าหวาย ปัจจุบันอยู่ใน เขตตาบลเขาสมอคอน อาเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ดังความว่า ปะริปุณณะวีสะติวัสโส เมื่อได้ยี่สิบพระวัสสา สมเด็จอัมรินตราธิราชกับหมู่ญาติวงศาชักพาซึ่ง กันแลกันออกมาสาธุการให้อุป สมบทบวชพระสามเณรศรีอาริย์ให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ทั้ง สมเด็จอัมรินตราธิราชกับเทพอักษรกัญญาก็พากันมาถวายอภิวันท์ทะนะประนมนมัสการถวายสรรพ นานา บริ ขารทั้งปวงแลทิพ ย์ สุ คัน ธมาลาแลพวงมาลั ยธูปเทียนแลดอกไม้แลเครื่องสักการบูช ามี นานัปการต่าง ๆ แลทิพพะโกสัยยะสะใบบางที่อย่างดีก็พากันชุลีการกระทาสักการบูชาโดยอันสมควร แก่ศรัทธาของอาตมาแล้วก็พากันกลับไป จาเดิมแต่ศรีอาริย์ภิกษุได้อุปสมบทบวชเป็นภิกษุแล้ว จะ ประมาทหามิได้ จาเริญวิปัสสนากรรมฐานสมณธรรมตามสมณกิจ ก็สาเร็จในห้องสมถะวิถี พระผู้เป็น เจ้าก็ยับยั้งด้วยอิริยาบถทั้งสี่ อยู่ในพระอารามวัดไลย์ได้เป็นใหญ่เป็นอาจารย์ เป็นประธานสาหรับได้สั่ง สอนแก่พระภิกษุสงฆ์แลสามเณร ก็มีในการครั้งนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงประวัติการก่อสร้างรูปหล่อพระศรีอาริย์และประวัติการซ่อมแซมวัดไลย์ ตาบลเขา สมอคอน อาเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่พระศรีอาริย์เสด็จลงมาเกิดในโลกมนุษย์ในบ้านท่าลาศ บรรพชาเป็น สามเณรเล่าเรียนพระไตรปิฎก ทั้งวิปัสสนากรรมฐานและสมณกรรมฐาน เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุก็ได้เป็น ประธานสงฆ์และพระอาจารย์ใหญ่ในวัดไลย์ แล้วกลับไปจุติในสวรรค์ชั้นดุสิต ดังตัวอย่าง ตัง ขะณัง ในขณะนั้น สีสโส ฝ่ายว่าภิกษุแลสามเณรอันเป็นศิษย์เมื่อได้เห็นอัศจรรย์กาลครั้ง นั้น ก็ตกใจยิ่งนักหนา ก็พากันขึ้นไปดูก็เห็นแต่รูปกายนั้ นเปล่าๆ จะได้มีจิตวิญญาณนั้นหาบ่มิได้ พากัน ตกใจยิ่งนักหนา จึงร้องบอกแก่กันแลกันว่า ดูกรท่านทั้งปวงเอ่ย พระอาจารย์ของเราท่านกระทาการ กิริยาตายเสียแล้ว ประชาชนคนทั้งปวงก็พากันแตกตื่นออกมาดูก็รู้ว่าจุติจิต พากันคิดปลงกเฬวราก ทรากอสุภกรรมฐาน กระทาการฉลองแลสมโภชถึงเจ็ดราตรี โดยวิธีนั้นต่างๆ ต่อภายหลังจึงกระทา ฌาปนกิจเผาซึ่งทรากอสุภ ะ ฝ่ ายอัฐินั้นเป็นทองแดงสิ้นทั้งนั้น ก็เป็นอัศจรรย์ยิ่งนักหนา แต่บรรดา ปุถุชนได้ทัศนาการเห็นก็เข้าใจว่า เจ้าประคุณของข้านี้ใช่อื่นใช่ไกลคือองค์พระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ เจ้า... ...ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์เจ้าทั้งหลายก็พากันปั้นรูปแห่งพระองค์แล้วก็หล่อ แต่หลอมทองอยู่นั้นช้า นานโดยประมาณแต่เช้าจนเพลทองนั้นก็มิได้ละลาย ก็ร้อนอกร้อนใจยิ่งนักหนา ในขณะนั้นก็ร้อนขึ้นไป


๘๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ถึงอั ม ริ น ตราธิร าชเจ้ า ท้ าวเธอพิ จ ารณาก็แ จ้งว่ า อ้อ ชาวมนุ ษ ย์ โลกจะหล่ อ ฉลองรูป ของพระองค์ เมตไตรยเพื่อจะให้เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชา จาอาตมาจะลงไปหล่อจึงจะควรอัมรินตราธิราชก็รีบร้อนลง มา ครั้นถึงจึงแปลงกรัชกายาเป็นตาปะขาว ครั้นถึงจึงเข้าไปสู่ที่ประชุมแห่งพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายจึงอัต ถาธิบายอาราธนาว่า ภันเต เจ้าข้าเวลานี้ก็จวนเพลอยู่แล้วหล่อเห็นยังไม่ได้ ขออาราธนาเจ้าคุณขึ้ นไป ฉันเพลเสียก่อนเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะช่วยสูบ พระสงฆ์เจ้าทั้งปวงก็ขึ้ นไปฉันเพล ฝ่ายอินทร์ปะขาวก็ เข้าสูบ ทองในทัน ใด ทองนั้ น ไซร้ก็ล ะลายได้ส มมะโนมัยปรารถนา อินทร์ปะขาวก็เอาทองใส่ ในรูป จาลองให้เต็มเป็ นอันดี ท้าวสะหั สสะนัยโกษีย์ก็ขึ้นไปสู่ดาวดึงส์ สวรรค์ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ฉันจังหั น สาเร็จแล้วก็ลงมา ได้ทัศนาการเห็นรูปทองงดงามยิ่งนักหนา ก็เข้าใจเสียว่าสมเด็จอัมรินตราธิราชลงมา หล่อให้จึงได้สาเร็จความปรารถนา ก็พากันพิจารณาเชยชมซึ่งรูปทอง เห็นพร่องอยู่ที่ริมพระโอษฐ์ อ้อ ทั้งนี้ไซร้ให้เป็นนิมิตที่พระองค์นั้นตกปลา หนึ่งเล่า ที่นิ้วพระหัตถานั้นก็เป็นรอยอยู่หน่อยหนึ่ง ทั้งนี้ก็ เพราะจะให้เป็นนิมิตของพระองค์แต่เดิมมา ฝ่ายภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายก็พากันลงรัก แลปิดทองฉลองกระทาซึ่งสมโภชแล้วแลประดิษฐานไว้ในพระวิหารกระทาสักการบูชา ยาวะอะชัตตะ นา กราบเท้าทุกวันนี้ ตานานพระศรีอาริย์เมืองลพบุรีนี้ถือเป็นภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นทั้งองค์ความรู้ เกี่ย วกับ พระศรี อ าริ ย์ เมตไตรยจากวรรณกรรมพุ ท ธศาสนา แสดงถึงความศรัท ธาในพระพุ ท ธศาสนาของ ชาวเมืองลพบุรีในสมัยนั้น แสดงภูมิประเทศของท้องถิ่นนี้ในยุคนั้น แสดงความสามารถในการประยุกต์ตั วละคร ซึ่งปรากฏในพุทธศาสนาที่สังคมส่วนใหญ่ศรัทธาและรู้จักเชื่อมโยงกับชื่อของภูมินามในท้องถิ่น ทาให้ประชาชน ในชุมชนเกิดความศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและเกิดความภาคภูมิใจที่ท้องถิ่นของตนที่เป็นส่วนหนึ่ง ในการสั่งสมบารมีของพระศรีอาริยเมตไตรยซึ่งเชื่อว่าจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปี แล้ว แสดงประวัติของการหล่อพระ ประวัติของวัดไลย์ พิธีการฉลองสมโภชทางพุทธศาสนาในโอกาส สาคัญ เป็นต้น จนก่อเกิดเป็นประเพณีแห่พระศรีอาริย์ของชาวลพบุรีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน และถือเป็นประเพณีที่สาคัญอีกอย่างหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๑

บรรณำนุกรม คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอานวยการจัดงานเฉลิ มพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, (๒๕๔๒). วัฒนธรรม พัฒนำกำรทำงประวัติศำสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิ ปัญญำ จังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. พระไตรปิฎก ฉบับสยำมรัฐ. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓ จั ก กวัต ติ สู ต ร (๒๖) ย่ อ หน้ าที่ [๔๘], เข้าถึ งเมื่ อวั น ที่ ๒ ธัน วาคม ๒๕๕๖, เข้ าถึ งได้ จากเว็บ ไซต์ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702 พระญาลิไทย. ไตรภูมิพระร่วง. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๔, เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๖, เข้าถึงได้จากเว็บ ไซต์ https://docs.google.com/file/d/0B7DXY7fEcMAjSGQ3aTFuU2RTbHc/ edit?pli=1 พระยานครพระราม. (๒๔๖๐). หมู่ตานาน ชื่อ “ตำนำนพระศรีอำริย์เมืองลพบุรี” เลขที่ ๑๕๘ ตู้ ๑๒๑ ชั้น ๓/ ๑ มัดที่ ๔. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.


๘๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: พระศรีอำริย์เมืองลพบุรี (เรื่องราวพระศรีอาริยะเมตไตรบรมโพธิสัตว์จบบริบูรณ์) “กัมภังมหำลำภัง สุนันละ โกตุมะสำสะนำ สะหัสสะปัญจะมะวัสสำ มะหำโลยะอรรคเถโร ตำวะติง สะ สีอำริยะเมตตัยโย ปัญจะมะนุสโส โลเก สัคเครัตตำนิทำนัง ศุขิลัสสะมะยัง ชันติเตรักขันติเต รักขันตุสัพ มหำนังพะหูสีละพะหูสัพพนำนำมนุโสโลเกสีลังสะยันตุ สัพพะทำนังอะริโยมิโสภะคะวำ” อาตมภาพขออานวยพรศิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล ชนมะสุขทุกประการ จงมีแด่บพิตรปัจจัยยะทานาธิบดี ผู้มีสะวะนะเจตนาปรารถนาเพื่อจะฟังพระสธรรมเทศนา ชักพากันมาสู่โรงธรรมภาคศาลา ณ เวลาวันนี้ แต่ล้วน น้าใจประกอบไปด้วยศรัทธา เป็นกามาพจรมหากุศลอาพลด้วยโสมมะนัสสะญาณ สัมปะยุตไปด้วยปัญญาและ ศรัทธา ศรัทธาเมาะสัททหะติ สัททะหะติ ศัพท์นี้แปลว่าเชื่อๆ อย่างไร คือภาวะให้เชื่อลงในพระพุทธศาสนา ว่า อาตมาจะกระทาซึ่งกองการกุศล ผลศีล ผลทานการสุจริตในกาลครั้งนี้ จะประกอบไปด้วยกองการกุศลราศีอัน ล้าเลิศประเสริฐยิ่งนักหนา ศรัทธามีภาวะเชื่อลงยังนี้แล้ว จึงได้พาซึ่งกันและกันมาสู่โรงธรรมภาคศาลา จงตั้งใจ ลงให้เป็นเอกัคคะตาน้าใจให้เป็นหนึ่ง ปัญญาส่องให้เห็นแท้ในทางธรรมคาพระสธรรมเทศนา ตรองปัญญาตาม กระแสพุทโธวาทสมเด็จพระศาสดา ว่าสิ่งนั้นเป็นบาปหยาบช้า ไม่ควรเราจะพึงประกอบทา สิ่งนั้นเป็นกุศลควร ที่เราจะพึงขวนขวายกระทา จะได้อุปถัมภ์ค้าชูในชั่วนี้แลชั่วหน้า จงตั้งใจลงให้ใสศรัทธาให้พร้อมไปด้วยกายแล วาจาแลน้าใจ กายคือให้ นบนอบประนมเหนือสิโรโรตม์ น้าใจก็ให้ ปราโมทย์โมทนา วาจาก็ให้รับสาธุ ๆ แล้ว จึงเงี่ยโสตประสาทเป็นภาชนะทองคอยรองรับซึ่งพระสธรรม ประดุจดังว่าเอาภาชนะทองเข้ารองรับซึ่งน้านมอัน สดๆ อันมีรสโอชา ครั้นจะพรรณนาด้วยผลานิสงส์ก็เป็นอนันตปริยายขยายว่าแต่โดยย่อพอจะให้เป็นใจความ ตามกระแสพระพุทธฎีกา ที่ นี้ จ ะได้ วิสั ช นาในเรื่ อ งพระศรี อ ริ ย เมตไตรยสู ต ร เป็ น ปะติ ก าระฉลองเฉลิ ม เพิ่ ม เติ ม ศรั ท ธาแห่ ง บพิตรปัจยะทานาธิบดี แม้พระสธรรมเทศนามิได้ยุติด้วยโวหาร อัตถาธิบาย บทใดบทหนึ่งก็ดีขอเมตตาคุณ กรุณา คุณขันติ คุณอภัย แก่อาตมภาพผู้มีสติปัญญาอันน้อย ดาเนินความตามกระแสวาระพระบาลี ในกาลเมื่อสมเด็จพระชิณศรีสัมพุทโธเจ้า พระพุทธองค์เสด็จ ประทับยับยั้งอยู่ในเมืองกุสินะรายราชธานี สมเด็จพระชิณศรีสาราญพระอิริยาบถอยู่ในสวนอุทยาน แห่งพระ เจ้าสามลราช กับด้วยพระภิกษุสงฆ์สองหมื่นเป็นยศบริวาร กาลครั้งนั้นสมเด็จพระพิชิตมารทรงพระประชวรอยู่ แล้ว พระทูลกระหม่อมแก้วใกล้จะเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์กระทาอาการดุษฎีภาพภาวะนิ่งไป มิได้ ทรง ตรัสพระพุทธฎีกาแก่พระอรหันตาแลพระภิกษุสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่ง อำยัสมำอำนันโท พระผู้เป็นเจ้าอานนท์ พุทธอนุชาได้เห็นสมเด็จพระพุทธเจ้าเพิกเฉยก็วิมุติสงสัยพระผู้เป็นเจ้า จึงนมัสการไหว้แล้วจึงกราบทูลว่า ภันเต ภะคะวำ ข้าแต่พระพุทธองค์ผู้ทรงพระอนุกูลกรุณาแก่สัตว์โ ลก ไฉนพระพุทธองค์กระทาอากัปกิริยาเพิกเฉย กาลครั้ งนี้ เหตุนี้ มี ไฉน ข้ าพระองค์ทั้ งปวงวิมุติ ส งสั ยยิ่ งคะนั ก หนา ขอพระองค์จ งทรงพระกรุณ าให้ ท ราบ ประพฤติเหตุ กาลครั้งนั้นสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้ทรงสดับอานนท์ทูลถามครั้งนั้น จึงโปรดประทานตรัสว่า ดูกร สาแดงอานนท์ ตถาคตกระทาอาการเพิกเฉยกาลครั้งนี้ก็เป็นนิมิตแห่งพระพุทธศาสนา ตถาคตใกล้เข้าสู่พระ ปรินิพพานอยู่แล้ว ตถาคตจะบัญญัติไว้ก็แต่พระศาสนาห้าพันพระวัสสา สัตว์ทั้งปวงจะบังเกิดมาในอนาคตกาล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๓

ภายภาคหน้า จะประกอบไปด้วยศรัทธากระทากองการกุศลเป็นต้นว่าให้ทาน รักษาศีล แลเจริญเมตตา ภาวนา สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา หรือสัตว์ทั้งปวงจะบังเกิดมาในอนาคตกาลภายภาคหน้า จะไม่เห็นพระตถาคต จะพบแต่พระศาสนา จะประกอบไปด้วยมานะทิฏ ฐิ กระด้างกระเดื่องมิได้อ่อนน้อมในพระพุทธศาสนา จะ ประกอบไปด้วยโลภะและมัจฉริยะ อันมีลักษณะให้โลภและตระหนี่ เป็นเหตุทั้งนี้แลพระศาสนาจะมิได้บริบูรณ์ ถ้วนห้ าพันพระวัสสา เมื่อพระพุทธองค์มีพระพุทธฎีกาตรัสแต่เท่านั้นก็ร้อนขึ้นไปถึงสมเด็จอัมรินทราธิราช บัณฑุกัมพะละศิลาอาสน์อ่อนละมุนประดุจดังว่านุ่นแลสาลี ท้าวสหัศสนัยโกสีย์เสด็จทรงนั่งเหนือบัณฑุกัมพะละ ศิลาอาสน์ที่เคยอ่อนก็แข็งกระด้างอย่างประหนึ่งว่าศิลา สมเด็จอัมรินตรา อำวัชชะนะ พิจารณาดูก็รู้ด้วยทิพย เนตร จึงแจ้งเหตุว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสพระสัทธรรมเทศนาบัญญัติพระพุทธศาสนา จาอาตมาจะลงไปสู่ มนุษย์โลกจึงจะควร สมเด็จอัมรินตราธิราชคานวณคิดฉะนี้แล้ว ก็ขึ้นไปสู่ฎุสิดาสวรรค์เข้าไปสู่สานักพระจอมธร รม์อริยเมตไตรยเทพบุตร แล้วจึงเชื้อเชิญว่า มำริสะ ข้าแต่ท่านผู้หาทุกข์มิได้ เมาะว่ามีแต่ความสุข กาลครั้งนี้ สมเด็จพระชิณศรีสัมพุทโธเจ้าตรัสพระสัทธรรมเทศนา พระพุทธองค์จะบัญญัติพระพุทธศาสนา ควรที่เราจะลง ไปให้เป็นประธานแก่บริษัท ๔ จาพวก ในที่จาเพาะพระพักตร์สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าจึงจะควร เทพบุตร ทั้ง ๒ เชิญชวนกันแล้วก็ลงมาสู่มนุษย์โลก เยนะ ภะคะวำ เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตวำ ภะคะวัน ตัง อะภิวำเทตตวำ เอกะมัน ตังนิ สีทิ สมเด็จพระศาสดาประทับในประเทศสถานที่ใด สมเด็จอัมรินตราแลพระเมตไตรยเทพบุตรก็คลานหมอบยอบ กายเข้าสู่ที่ใกล้ในพระเทศสถานที่นั้น ครั้นถึงจึงถวายนมัสการแล้วก็ประดิษฐานที่ควรแห่งหนึ่ง คอยสดับพุทธ ฎีกา สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า พระพุทธองค์จึงมีพระพุทธบรรหารโปรดประทานตรัสแก่อัมรินตราธิราช แลพระเมตไตรยเทพบุ ตรว่า เทวะรำชะ ดูกระท่านทั้งสอง จงเป็นประธานแก่บริษัท ๔ จาพวก คือภิกษุแล ภิกษุนี แลสามเณราแลสามเณรี อุบาสกอุบาสิกา จงช่วยทานุบารุงพระพุทธศาสนาของตถาคตให้ถาวรวัฒนา การเจริญในภายภาคหน้า ก็สมมติว่าจบในคาพระสัทธรรมเทศนาแต่เท่านั้น ครั้นอยู่จาเนียรภาคภายหลังมา องค์สมเด็จพระมหากรุณาเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน พระพุทธศาสนาของ พระพุทธองค์ถัมภะนาการรุ่งเรืองยิ่งคะนักหนา ประชาชนคนทั้งหลายก็ประกอบไปด้วยศรัทธาก็ชักพาซึ่งกันแล กันกระทาซึ่งกองการกุศล เป็นต้นว่าให้ทานแลรักษาศีลแลเจริญเมตตาภาวนา สดับตรับฟัง พระสัทธรรมเทศนา ปรนนิบัติตามโอวาทานุสาสะนะคาสั่งสอนแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ตัสสมิง กำเล ทัตถะละคำโมนำมะ อะโหสิ ในกาลครั้งนั้น ยังมีบ้านแห่งหนึ่งนามกรปรากฏชื่อว่าบ้าน ท่าลาศ เป็นที่สะอาดผาสุขสบาย ประกอบไปด้วยประชาชนก็มากมาย มั่งคั่งไปด้วยกระฎุมพี เป็นต้นว่าเลี้ยง ชีวิตของอาตมาด้วยกสิกรรมแลพานิชกรรม คือกระทาไร่นาค้าขาย ทัดถะละคามนี้เป็นแว่นแคว้นแดนเมืองป่า หวาย ถ้าจะประมาณหนทางเมืองป่าหวายจนถึงบ้านท่าลาศโยชน์กึ่งเป็นประมาณ ตัสสมิง ทัดถะละคำมันตะเร ในละแวกบ้านท่าลาศนั้น ยังมีตระกูลกระฎุมพีแห่งหนึ่ง กระฎุมพีนั้นมี ลูกชายคนหนึ่งนามกรปรากฏชื่อว่า เจ้าบริสุทธะกุมาร ครั้นวัยวัฒนาการเจริญวัยขึ้นมา บิดามารดาปรารถนาจะ กระทาการวิวาหมงคล จึงไปขอซึ่งนางประทุมอุบลกุมารี อันเป็นลูกสาวกระฎุมพีอันมีปรกติอยู่ในบ้านอันนั้นมา กระทาการวิวาหมงคลอยู่สมัครสังวาสอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภรรยาเป็นปรกติธรรมดา ครั้นอยู่จาเนียรภาค ภายหลั งมาคนทั้ งสองไร้ ลู กหาลู กมิ ได้ คนทั้งสองกระท ากองการกุศลปรารถนาจะใคร่ได้ บุต ร เป็น ต้น เป็ น ประธาน ครั้นอยู่จาเนียรการภายหลังมาความปรารถนานั้นแก่กล้าขึ้นทุกทีๆ ก็ร้อนขึ้นไปถึงท้าวสหัสนัยโกสี


๘๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สุชัมปติเทวราช บัณฑุกัมพะละศิลาอาสน์ที่เคยอ่อนก็แข็งกระด้างอย่างประหนึ่งว่าแผ่นศิลา สมเด็จอัมรินตรา อาวะชะนะพิจารณาดูก็รู้ว่า อ้อคนทั้งสองคือบริสุทธิ์และนางประทุมนารีนี้ปรารถนาจะได้ซึ่งบุตรในการครั้งนี้ ควรที่อาตมาจะสงเคราะห์ให้สาเร็จมโนรถความปรารถนา สมเด็จอัมรินตราธิราชทรงพระคานวณในกระมล หฤทัยว่า อาตมาจะให้เทพบุตรองค์ใดลงไปจึงจะควร ทรงพระคานวณก็แจ้งในพระกระมลหฤทั ยว่า อาตมาจะ ให้เทพบุตรองค์อื่นลงไปเห็นจะมิควรแก่การ จาอาตมาจะขึ้นไปเชิญศรีอาริยเทพบุตรให้ลงไปปฏิสนธิกาเนิดเกิด ในครรภ์ โภทรแห่งนางประทุมนารี จะได้เพิ่มเติมพระบารมีให้บริบูรณ์ อนึ่งเล่าพระพุทธศาสนาพระพุทธังกูร สัมพุทโธเจ้าของเราก็ได้ถาวรวัฒนาจะได้เป็นที่เฉลิ มศรัทธาแห่งชาวมนุษย์โลกทั้งปวง จะได้ตัดเสียซึ่งห้วงแห่ง วัฏ สงสาร ท้าวมัฆวานแจ้งเหตุฉะนี้ แล้ ว เวหำสังอัมภุค คัน ตะวำ สมเด็จอัมรินตราธิราชก็เหาะขึ้นไปเหนือ นภาลั ย ประเทศสะเวหา ครั้ น ถึงชั้ น ดุสิ ต สวรรค์ก็ เข้าสู่ ส านักพระจอมธรรม์ บรมโพธิสั ตว์ศรีอาริยเมตไตรย เทพบุตร แล้วจึงมีเทวบัญชาเชื้อเชิญว่า มำริสะ ข้าแต่ท่านผู้หาทุกข์มิได้ มีแต่ความสุข อะยังกำโล กาลครั้งนี้ ควรที่พระองค์จะสงเคราะห์แก่ชาวมนุษย์โลก เชิญพระองค์ลงไปปฏิสนธิกาเนิดในครรภ์โภทรแห่งนางประทุม นารี จะได้ เพิ่ ม เติ ม พระบารมี ส มภารให้ ถ าวรวั ฒ นาการเจริ ญ บริ บู ร ณ์ อนึ่ งพระพุ ทธศาสนาสมเด็ จ พระ พุ ท ธั ง กู ร สั ม พุ ท โธเจ้ า แห่ ง เราล่ ว งไปแล้ ว ขอพระองค์ อั น เป็ น จอมอมรเทเวศร์ ในชั้ น ดุ สิ ต รั บ นิ ม นต์ แ ห่ ง ข้าพระพุทธเจ้าในกาลครั้งนี้ เมตตัยโยเทวะปุตโต นิมันตะนัง สุตตะวำ เมื่อพระศรีอาริยเทวบุตรได้ทรงฟังท้าวอัมรินตราธิราชเจ้า เชื้อเชิญในกาลครั้งนั้น พระองค์จึงมีเทวะบริหารถามว่า เทวะรำชะ ดูกรเทวราช พระพุทธศาสนาพระโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้าล่วงลับ ไปได้ครึ่งกึ่งพระศาสนาแล้วหรือยัง อัมรินตราธิราชได้ทรงฟังจริงกล่าวเฉลยไขยว่า พระพุทธศาสนาล่วงไปเกือบจะใกล้ถึงครึ่งพระศาสนาอยู่แล้ว เหตุฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าจึงเชื้อเชิญให้ ลงไปเยี่ยม เยือนพระพุทธศาสนา จะได้ช่วยทานุบ ารุงให้ถาวรวัฒ นาเจริญถ้วนห้าพันพระวัสสา ดูกรอัมรินตราธิราชถ้า กระนั้นแล้วเราจะลงไป ท่านก็คอยระวังระไวอย่าให้ขัดข้อง เทพบุตรทั้งสองสั่งสนทะเสร็จสิ้น สมเด็จอัมรินตรา ธิราชเจ้าก็กลับมายังตาวะติงสะสวรรค์ ตัง ทิวสัง เพลาวันเมื่อโพธิสัตว์ศรีอาริยเทพบุตรจุติจากดุสิตาสวรรค์ นางประทุมนารีผู้เป็นภรรยาแห่ง เจ้าบริสุทธิ์กุมารนั้น ปัชชนาการนอนในราตรีคืนวันนั้นในเมื่อประจุสสมัยจะใกล้รุ่งสว่าง นางฝันเห็นว่าพระ อาทิตย์เสด็จอุทัยขัยพระรัศมีแจ้งกระจ่างสว่างขึ้นมาเหนือยอดเขายุคุนทรบรรพตฝ่ายข้างปุริมะทิศสาภาค ตะวันออก ลอยละลิ่วมาเหนือนภาดลอากาศสะเวหา ลอยลงมาจนถึงมุขประเทศปากแห่งนางประทุมนารี นางก็ โสมนัสยินดีกล่ากลืนกินซึ่งสุริยเทวบุตรกับราชรถ ปรากฏอิ่มอาบทราบนาภีในเวลาปัจฉิมราตรีตกใจตื่นขึ้นมาก็ พอเวลาอรุณรุ่งสว่าง ปุนะทิวะเส ครั้นเวลารุ่งเช้านางจึงเล่าซึ่งสุบินนิมิตความฝันตั้งแต่ต้นจนอวสานที่สุด ฝ่าย บริสุทธิ์บุรุษผู้เป็นสามีได้ฟังก็ยินดีนักหนา เข้าใจเสียชัดว่าอาตมาจะได้ซึ่งบุตรเป็นแท้ ตั้งแต่วันนั้นมาญาติวงศา ก็พร้อมพรั่งพากันมาอภิบาลบารุงรักษาครรภ์ของนางมิให้อนาทรร้อนใจของอาตมาเลย ทะสะมำเสวะสัมปัตเต ครั้นถ้วนทศมาศสิบเดือน ปุสสะมีปัณณะระสีทิวะเส ในเมื่อปุสสะมาศเดือนยี่ปัณณะระสีสิบห้าค่าเป็นวันดีหน่อ พระชิณศรีเมตไตรยเทพบุตร เมื่อจะประสูติจากครรภ์พระมารดา ก็พร้อมไปด้วยมหามหัศจรรย์ทั่วทุกทิศานุทิศ อะยัง มหำปฐพี พื้นแผ่นดินพระสุธาอันหนาแน่นได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ดูอุโฆษครื้นครั่นหลั่นอยู่หวั่นไหว ทั้ง มหาสมุทรอันใหญ่แลน้อยก็มาตีฟองนองละลอกกระชอกชล ทั้งอัศจรรย์ก็มาพิกลเป็นพายุระบุระบัดพัดทั่วทิศา เทพดาในเมืองสวรรค์ก็มาบรรลือลั่นซึ่งทิพย์สังขีตพากันโปรยซึ่งทิพย์สุมาลีหอมฟุ้งขจรกระหลบกลบกลุ้มทั่วทิศ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๕

น้อยแลใหญ่ หน่อพระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เจ้าก็คลอดจากครรภ์โครทรพระมารดา หมู่พระญาติบวรวงศาก็มา ประคับประคองนั่งเคียงเรียงอันดับกันเป็นชั้น ๆ ทุกถ้วนหน้าพากันชาระสะสางล้างกระชะกายาให้สิ้นมลทิน เป็นอันดี แล้วก็ขัดสีด้วยสุคนธ์ของหอม เป็นต้นว่าจุลกระแจะจวงจันทน์แลกฤษณา แล้วก็ให้นิทรานอนอยู่เหนือ เปลมิให้อนาทรร้อนใจเลย แต่ประคับประคองถนอมเลี้ยงจนเติบใหญ่วัยวัฒนาการเจริญขึ้นมาจนชันษาได้สิบ แปดปี เอกะ ทิวะสัง อยู่มาเพลาวันหนึ่งนางประทุมนารีผู้เป็นพระมารดา เขตตะรักขิตตะวำ นางไปสู่ไร่ข้าว เพื่อจะขับนกในที่นา ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตามมารดาไปด้วยช่วยไล่นก ฝ่ายนกทั้งหลายได้ทัศนาเห็นโพธิสัตว์นั้นขับ ไล่ นกทั้งหลายจึงร้องบอกซึ่งกันแลกันไปว่า โภนโต ดูกรชาวเราทั้งปวงเอ่ย อย่ากินเลยซึ่งข้าวในเนื้อนาอันนี้ ท่านเป็นโพธิสัตว์ท่านจะตรัสเป็นพระชิณศรีสัมพุทโธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคหน้า อัฎฏะกำ ฝ่ายนกกระจาบ ทั้งหลายก็มิอาจสามารถเพื่อจะกินซึ่งข้าวในเนื้อนาของโพธิสัตว์ได้เลยสักตัวหนึ่ง แต่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าไปขับ นกทุกวันทุกเวลา ฝูงนกทั้งหลายก็มิอาจสามารถที่จะย่ายีบีฑาของพระบรมโพธิสัตว์ได้ เอกะ ทิวะสัง อยู่มาเพลาวันหนึ่ง โพธิสัตว์ศรีอาริยไปเฝ้านา ได้ทัศนาเห็นฝูงปลาผุดอยู่เป็นอันมาก ออกปากว่าเรานี้ จะตกปลาแล้วก็ไปแสวงหาซึ่งเหยื่อ ได้แล้ วก็เกี่ยวเข้าที่เบ็ดของอาตมาแล้วก็ทอดลงไปใน กระแสน้า แล้วจึงเปล่งอุทานนะวาจาว่า โภนโต ดูกรปลาทั้งปวงเอ่ย ปลาตัวใดเคยเป็นอาหารของอาตมาแล้ว จึงกินซึ่งเหยื่อที่เบ็ดอันนี้ ปลาตัวใดไม่เคยเป็นอาหารของเราแล้ว อย่ากินเบ็ดอันนี้ ถ้ากินแล้วเบ็ดนี้มันคมกล้า มันจะเกี่ยวเอาปากของอาตมาเจ็บปวดไป ฝูงปลาทั้งหลายเมื่อได้ฟังอุทานะวาจาก็วิมุตติสงสัยว่า บุคคลผู้ใด หนอมาเปล่งอุทานะวาจา แต่เที่ยวมานี้ก็ช้านานประมาณจนถึงนี้ ไม่เคยได้ยินได้ฟังเลยซึ่งสัจจะวาจาที่คาเป็น ธรรมเห็นสุภาวะปานดังนี้ นี่หรือๆ จะเป็นหน่อพระชิณศรีบรมโพธิสัตว์สร้างโพธิสมภาร เพื่อประโยชน์จะได้ตรัส เป็นพระชุฎาญาณในอนาคตกาลภายภาคหน้า ฝูงปลาทั้งหลายจึงร้องบอกแก่กันแลกันว่า ดูกรเราทั้งปวงเอ่ย อย่ากินเลยซึ่งเบ็ดอันนี้ เป็นเบ็ดของโพธิสัตว์เขาตั้งสัจจะวาทีคาอธิษฐาน ปรารถนาจะให้สันดานนั้นบริสุทธิ์เป็น อันดีจึงกล่าวซึ่งสัจจะวาทีคาซื่อตรง ปลาทั้งหลายเข้าใจเป็นอันแท้ในกระนี้แล้ว จะได้กินเบ็ดของโพธิสัตว์นั้นก็ หามิได้ ในขณะนั้นไซร้ยังมีปลาดุกตัวหนึ่งจึงตอบคาปลาทั้งปวงว่า ดูกรท่านทั้งปวง สเจ ถ้าและว่าชายคนนี้ สร้างพระบารมีโพธิสมภารปรารถนาจะได้ตรัสเป็นพระพิชิตมารในภายหน้า เหมือนวาจาของท่านว่ากระนี้ เรานี้ จักได้ชื่อว่าตัวดีอาจสามารถจะให้ชีวิตเป็นทาน เรานี้ปรารถนาจะได้สาเร็จแก่ชุฎาญาณในภายหน้า ปลาดุกตัว กล้าก็โลดแล่นเข้าไปฉวยเอาซึ่งเบ็ดของโพธิสัตว์แล้วก็คร่ามา โพธิสัตว์รู้ว่าปลาแล้วก็วัดขึ้นไป ปลาดุกนั้นไซร้เจ็บ นักเหลือทน จึงร้องด้วยวาจาภาษาคนว่า พระเจ้าข้า ฉันนี้เจ็บเต็มที่ จงวัดแต่ค่อยๆ ปลาหมอถ่อยมันจึงร้อง ตอบขึ้นมาว่า ดูกรปลาดุกเจ้าศรัทธาแล้วจะร้องไปทาไม อุตส่าห์แข็งอกแข็งใจจะได้สาเร็จแก่พระนิพพาน ฝ่าย โพธิสัตว์ศรีอาริย์กับทั้งมารดาเมื่อได้ฟังสุนทรวาจาปลาพูดเป็นภาษาคน ก็ให้ยืนฉงนจนใจเป็นเหตุไฉนปลาจึงพูด ได้ภ าษาคนฉะนี้ จะเป็ น นิ มิ ตอัน ใดอัน หนึ่ งเป็ นแม่ นมั่ น อย่าเลยอาตมาจะไปถามที่ท่ านผู้ ป ระกอบไปด้ว ย สติปัญญาให้ท่านพิจารณาดูให้รู้ว่าดีแลร้าย นางจึงพาลูกชายของอาตมากลั บเคหสถาน แล้วก็รับประทานซึ่ง กระยาหารสาเร็จแล้ว นางจึงจัดแจงแต่งหาซึ่งธูปเทียนและดอกไม้ เภสัชอังคาส แล้วพาลูกชายของอาตมา ออกไปยังพระอารามวัดไลย ครั้นถึงจึงนมัสการไหว้ โดยปัญจางค์ประดิษฐ์ (เบญจางคประดิษฐ์) ทั้งห้าแล้ว จึง หมอบลงแทบบาทาของเจ้าคุณผู้ใหญ่ ท่านผู้ประกอบไปด้วยธรรมโมชะปัญญาแตกฉานในพระไตรปิฎกธรรม


๘๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ท่านจึงถามว่า ดูกรอุบาสกอุบาสิกา ไปไหนมาธุระกังวลสิ่งใดจึงได้มา ฝ่ายอุบาสิกาจึงบรรยายความตั้งแต่ต้นจน อวสานที่สุด โดยนัยอันวิสัชนามาแล้วแต่หนหลัง เมื่อพระผู้เป็นเจ้าได้ฟังก็เข้าใจว่าลูกคนนี้มิใช่ไพร่กระฎุมพี เห็ นจะเป็นหน่อพระชิณศรีบรมโพธิสัตว์ สร้ างโพธิส มภาร ครั้ น อาตมาจะท านายให้ วิตถารกลั ว ว่ากิต ติศั พ ท์ นั้น จะฟุ้ งซ่าน จาอาตมาจะท านายโดย โวหารอัตถาธิบายให้หายเหตุที่กังขา คิดแล้วจึงมีเถรวาจาว่า อุบำสิกำ ดูกรอุบาสิกา ตวะมุตตำเคหัดถำนังนะ ยุตตำ บุตรของท่านเราเห็นว่าจะไม่ควรที่จะครอบครองเคหสถาน ถ้ากระไรก็ให้บรรพชาบวชเป็นสามเณรเสีย เถิด เห็นว่าจะประเสริฐในพระศาสนา ฝ่ายนางผู้เป็นมารดาได้ฟังก็ดีใจจึงมอบถวายไว้แก่เจ้าคุณผู้ใหญ่ ผู้วิสัชนา พระผู้เป็ นเจ้าให้ บรรพชาเป็ น สามเณรในเพลาวันนั้น ฝ่ายนางผู้เป็นมารดาถวายนมัส การลาแล้วก็กลั บมาสู่ เคหสถาน ฝ่ ายสามเณรศรี อาริย์ ก็อุต ส่ าห์ ศึก ษาเล่ าเรียนในห้ องพระไตรปิ ฎ กบ่ มิได้ช้าสามารถปัญ ญาบรม โพธิสัตว์เจ้าก็แตกฉานในพระไตรปิ ฎ กทั้งสามประการ คือรู้ในพระสู ตร พระวินัย พระปรมัตถ์ จาเดิมแต่ได้ อุปสมบทเป็นสามเณรมา สมเด็จอัมรินตราธิราชเจ้ากับเทพอัปสรกัญญา เป็นต้นว่ านางสุชาตา สุนันทา สุจิตรา สุธรรมา มาปรนนิบัติตักอุทกวารีให้สะสรงๆ แล้วก็พากันประจงสี่ท้าวให้สาอางล้างด้วยสุคนธ์ของหอม แล้วให้ ผลัดผ้าสบงทรงซึ่งจีวรสไบลาดแล้วแลประสาทตั้งไว้ซึ่งน้าใช้แลน้าฉันเป็นนิรันดรมิได้ขาด แต่สมเด็จอัมรินตราธิ ราชแลนางเทพอักษรกัญญามาปรนนิ บัติอยู่ทุกเพลา บุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่งจะได้เห็ นก็หามิได้ แต่ยับยั้งอยู่ใน อารามวัดไลย ได้จาเริญวิริยะความเพียรบาเพ็ญเพิ่มโพธิสมภารช้านานประมาณอายุได้ยี่สิบปี ปะริปุณณะวีสะติวัสโส เมื่อได้ยี่สิบพระวัสสา สมเด็จอัมรินตราธิราชกับหมู่ญาติวงศาชักพาซึ่งกันแล กันออกมาสาธุการให้อุปสมบทบวชพระสามเณรศรีอาริย์ให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ทั้งสมเด็จอัมรินตราธิ ราชกับเทพอักษรกัญญาก็พากันมาถวายอภิวันท์ทะนะประนมนมัสการถวายสรรพนานา บริขารทั้งปวงแลทิพย์ สุคันธมาลาแลพวงมาลัยธูปเทียนแลดอกไม้แลเครื่องสักการบูชามีนานัปการต่าง ๆ แลทิพพะโกสัยยะสะใบบาง ที่อย่างดีก็พากันชุลีการกระทาสักการบูชาโดยอันสมควรแก่ศรัทธาของอาตมาแล้วก็พากันกลับไป จาเดิมแต่ศรี อาริย์ภิกษุได้อุปสมบทบวชเป็นภิกษุแล้ว จะประมาทหามิได้ จาเริญวิปัสสนากรรมฐานสมณธรรมตามสมณกิจ ก็สาเร็จในห้องสมถะวิถี พระผู้เป็นเจ้าก็ยับยั้งด้วยอิริยาบถทั้งสี่ อยู่ในพระอารามวัดไลยได้เป็นใหญ่เป็นอาจารย์ เป็นประธานสาหรับได้สั่งสอนแก่พระภิกษุสงฆ์แลสามเณร ก็มีในการครั้งนี้ ตัสสมิง สะมะเย ในสมัยนั้น มหัลลโกปุริโส ยังมีบุรุษแก่คนหนึ่งจะได้มีนามกรปรากฏในวาระพระบาลี ก็หามิได้ มหัลลกะบุรุษแก่คนนี้ไซร้มี ปรกติอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง อันเป็นแว่นแคว้นแดนเมืองนครพารา พร้อมไป ด้ว ยบุ ตรภรรยาเลี้ ย งชี วิต ของอาตมาโดยชอบธรรมประกอบในอกุศ ลกรรมอั น หยาบช้ าก็ ห ามิ ได้ ศรั ท ธำ สัมปันโน เป็นคนประกอบไปด้วยศรัทธาคารวะคารพ (เคารพ) ในพระรัตนตรัยแก้วทั้งสามประการ คือ พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สุดแท้แต่ว่ากระทากองการกุศลสิ่งใดก็ตั้งใจของอาตมา ปรารถนาให้ประสบพบพระ ศรีอาริย์ ตะแกปรารถนามานี้ช้านานตั้งแต่ประถมวัยจนอายุได้แปดสิบปีเศษ ความปรารถนาก็ยังหาสาเร็จไม่ เอกะทิวะสัง อยู่มาเพลาวันหนึ่งไซร้เป็นวันปัณณะระสีสิบห้าค่า มหันละกะบุรุษแก่นั้ นมีศรัทธารักษาอุโบสถศีล แปดประการ มิได้รับประทานซึ่งโภชนาจนเพลาพลบค่าย่าสนธยา จึงมีวาจาแก่บุตรภรรยาว่า ภัทเธ ดูกรเจ้าผู้มี สุนทรภักพิมลละเนตย์เอ่ย เพลาวันนี้นี่กระไรเลยไม่สู้สบายใจ เราจะสั่งไว้อย่าได้ลืมเร่งจา สะเจ ถ้าแลว่าเราถึง อนิจกรรมในเพลาวันนี้แล้ว ท่านทั้งปวงอย่าเพ่อกระทาฌาปนกิจก่อน เอาผ่อนไว้สัก ๗ วัน สะเจ ถ้าเรามิได้ กลับมาจงชักพากันมาปลงกเฬวรากซากศพเราเสียเถิด มะหัลละกะ บุรุษแก่เมื่อสั่งซึ่งบุตรภรรยาของอาตมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๗

แล้ว อุตส่าห์ตั้งใจรักษาศีลทั้งแปดประการ จึงตั้งอธิษฐานในวาระน้าจิตคิดอยู่มิได้ขาด ขอเดชะอานาจคุ ณศีล คุณทานการสุจริตที่ข้าพเจ้าได้ก่อสร้างบาเพ็ญมา สะเจ ถ้าแลข้าพเจ้าถึงซึ่งนิจกรรมกระทากาลกิริยาตาย ณ เพลาวันนี้ กุศลจงมาช่วยนาปฏิสนธิกาเนิดให้ ข้าพเจ้าได้ไปบังเกิดในสวรรค์ ให้ได้ประสบพบพระจอมธรรม์ เมตไตรยบรมโพธิสัตว์เจ้าดังความปรารถนา กำลังกัตตะวำ มะหัลละกะ บุรุษแก่กระทากาลกิริยาตายในท่ามกลางศรัทธาจิตก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ สั กกเทวโลกในกนกวิม านทอง บริ บู ร ณ์ ไปด้วยทิ พ ย์ส มบั ติอัน โอฬาร แต่น้ าจิตคิ ดว่าจะให้ พบพระศรีอาริย เมตไตรยนั้นยังหาสาเร็จไม่ อย่าเลยอาตมาจะเข้าไปสู่ที่ใกล้สมเด็จอัมรินตราธิราชแล้วจึงกราบทูลถามว่า เทวะ รำชะ ข้าแต่เทวราชเจ้าผู้เป็นใหญ่ในดาวดึงส์สวรรค์ สมเด็จพระจอมธรรม์บรมโพธิสัตว์เมตไตรยเทพบุตรนั้น เสด็จอยู่ในประเทศสถานที่ใด ข้าพระพุทธเจ้านี้ปรารถนาจะขอประสบพบพระศรีอาริย์ในกาลครั้งนี้ สักโก เทวรำชำ สมเด็จท้าวหัสนัยโกษีสุชัมบดีเทวราช ท้าวเธอทรงสดับเทพบุตรทูลถาม จึงมีเทวบริหารดารัสว่า ดูกร เทพบุตร เออท่านนี้ขึ้นมาแต่มนุษย์โลกไม่พบแลหรือพระศรีอาริยเมตไตรยท่านลงไปบังเกิดในมนุษย์โลก ท่าน ได้อุปสมบทบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา เจริญซึ่งพรหมจริยาสิกขาบทศีลขันธบารมี เจริญซึ่งสังวรอินทรีย์ พร้อมอิริยาบถทั้งสี่ประการ เพื่อประโยชน์จะยั่งพระบารมีสมภารให้ถาวรวัฒนา เสด็จจาพระวัสสาอยู่ในวัดไลย เป็นที่อาศัยโคจรทรงบาตรในบ้านท่าลาศ อันเป็นแว่นแคว้นแดนเมืองป่าหวาย เมื่อเทพบุตรได้ฟังสมเด็จอัมริน ตราธิราชเจ้าบรรยายก็โสมนัสยินดียิ่งนักหนา จึงกราบทูลเทวบัญชาว่า เทวะรำชะ ข้าแต่เทวราชเจ้าผู้เป็นใหญ่ กว่าเทพยดา ข้าพระองค์ของบังคมลาลงไปสู่มนุษย์โลก เพื่อจะให้ ประสบพบพระเมตไตรย เกล้ากระหม่อม กระทาไฉนจะได้ทราบว่าเป็นองค์พระศรีอาริย์ สมเด็จอัมรินตราพระองค์จึงประทานซึ่งทิพย์มาลา คือดอกไม้สุ มณฑาอันเป็นของสักการบูชาแห่งองค์พระศรีอาริย์ แล้วจึงมี เทวบริหารตรัสสั่งว่า ดูกรเทพบุตรท่านจะลงไปสู่ มนุษย์โลก จงปฏิสนธิในรูปกายของอาตมา เราจะนาซึ่งดอกมณฑาเอาลงไปให้ สั่งแต่เท่านั้นไซร้เทพบุตรอาลา สมเด็จอัมรินตราธิราชเจ้าแล้วก็ลงมาจากดาวดึงสวรรค์ ครั้นถึงจึงจุติจากเทพบุตรก็ยุดเอารูปกายของอาตมา เราจะนาซึ่งดอกมณฑาเอาลงไปให้ สั่งแต่เท่านั้นไซร้เทพบุตรอาลาสมเด็จอัมรินตราธิราชเจ้าแล้วก็ลงมาจากดาว ดึงษาสวรรค์ ครั้นถึงจึงจุติจากเทพบุตรก็ยุดเอารูปกายของอาตมา ก็เป็นเพลาปฐมยามในวันเป็นคารบเจ็ด ตาย แล้วก็กลับเป็นขึ้นมา รูปกายาจะได้เปื่อยเน่าก็หามิได้ ทั้งนี้ไซร้ก็อาศัยแก่กุศลที่ตนได้กระทาไว้ กุศลนี้ให้ผลเป็น สองประการ เป็นทิฐธรรมเวทนีประการหนึ่ง เป็นปะราปะระเวทนิยกรรมประการหนึ่ง ทิฐธรรมเวทนิยกรรมทา ชาตินี้ให้ผลในชาตินี้ ปะราปะระเวทนีกรรมกระทาชาตินี้ให้ผลในชาติหน้า อันกองการกุศลนี้อย่าพึ่งประมาท เลยว่า กระทาไว้แล้วแลจะสูญไป อย่าพึงวิมุตติสงสัยคงจะให้ผลแก่อาตมาเป็นอันแท้แน่เหมือนวิสัชนา เมื่อมะหันละกะบุรุษแก่กลับเป็นขึ้นมากาลครั้งนั้น จึงร้องเรียกซึ่งบุตรภรรยาของอาตมาว่า ภัทเธ ดูกร เจ้าผู้มีสุนทรภักตร์อันเจริญ เออก็ดูรึมาผูกมาพันกระชะกายาของเราฉะนี้ ด้วยผ้าแลด้ายออกแน่นหนาฉะนี้นี่ หรือๆ เราจะลุกขึ้นได้จงเร็วๆ ไวๆ มาแก้เราเสียก่อนเถิด ฝ่ายพระสงฆ์ที่สวดพระสัทธรรม เมื่อได้ยินคาตะแก ร้องเรียกว่าเร็วๆ ไวๆ พระสงฆ์ก็ตกใจกลัวว่า เอะอะไรตายแล้วถึงเจ็ดวันยังจะลุกขึ้นจับเอาตัว พระสงฆ์ก็ตกใจ กลัวยิ่งนักหนา ก็พากันปลาสนาการแล่นไปด้วยกาลังของอาตมา ฝ่ ายอุบาสกอุบาสิกาอาราธนาให้หยุดก่อน หยุดไม่ได้ เออนั่นแน่ร้องเรียกอยู่ว่าเร็วๆ ไวๆ จะให้รูปหยุดอย่างไรเล่าสีกา รูปจะลาไปก่อนแล้ว ว่าเท่านั้นแล้ว ก็พากันไปอารามของอาตมา ฝ่ายบุตรภรรยาญาติกาทั้งหลายคอยสดับฟังดูก็ได้ยินร้องเรียกเป็นแท้เป็นผีหรือ เป็นคนแน่ก็ยังวิมุติสงสัยอยู่ จาเราจะพากันเข้าไปดูให้รู้แน่ ตะแกจึงร้องเรียกว่าเร็วๆ ไวๆ กูนี้หายใจไม่ออก จึง


๘๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ร้องว่า เออตะแกกลับ เป็น ขึ้น มา ก็พากันยิ นดียิ่งหนักหนา ก็พากันขมีขมันยกซึ่งโลงนั้นลงมา แก้ผ้าแลด้าย ตราสังแล้ว แลพยุงให้ลุกนั่งชาระสะสางล้างเสียให้สิ้นมลทินเป็นอันดี แล้วก็พากันอัญชุลีขอขมาโทษสนทนา มะหัลละกะ บุรุษจึงมีวาจาบรรยายเล่าซึ่งเนื้อความตั้งแต่ต้นจนอวสานที่สุดให้บุตรภรรยาฟังกราบท้าวกระทั่ง ถึงอาตมากลับลงมาตะแกยกดอกมณฑาขึ้นให้ดูว่านี่แน่สักขีทิพยญาณ บุตรภรรยาครั้นได้ทัศนาการเห็นก็พากัน โสมนัสยินดี พากันอัญชุลีประนมไหว้ให้สาธุการว่า สาธุๆ พากันอนุโมทนา จาเดิมแต่วันนั้นมา มะหัลละกะบุรุษก็ละเสียซึ่งวาจาฆราวาสสมาทานซึ่งศีลแปดเป็นดาบส นามกร ปรากฏชื่อว่า ทิพพะมณฑำ จึงมีสุนทรวาจาเล้าโลมซึ่งบุตรภรรยาว่า ภัทเธ ดูกรเจ้าผู้มีสุนทรภักตร์พิมลเนตร อันจาเริญ เออเราตั้งไว้ซึ่งความปรารถนา อยากจะให้ประสบพบพระศรีอาริย์ เจ้าทั้งปวงจงพากันครอบครอง เคหสถานเลี้ยงดูกัน ทรัพย์ศฤงคารสิ่งใดมีมากน้อยจงเอามาแบ่งปันให้แก่เราบ้าง เราจะได้เอาไปก่อสร้างกระทา ซึ่งกองการกุศล จะได้เป็นประโยชน์แก่ตนในชั่วนี้แลชั่วหน้า ฝ่ายบุตรภรรยาจึงแบ่งซึ่งทรัพย์ข้าวของเงิ นทอง เป็นอันมาก บรรทุกใส่ในนาวากับทั้งข้าวปลาอาหารให้บริบูรณ์แล้ว จึงมีสุนทรวาจาว่า ตำตะ ข้าแต่บิดาสิ่งใด ท่านปรารถนา ข้าพเจ้าก็ให้ทุกสิ่งทุกประการ สะเจ ถ้าแลบิดาประสบพบพระศรีอาริย์แล้วจงกลับมาบ้าน ข้า เจ้าจะได้ไปวันทะนานมัสการบ้าง ฝ่ายปะขาวทิพยมณฑา เมื่อบุต รภรรยาสั่งก็โสมนัสยินดียิ่งนักหนา แล้วก็ลง ไปสู่นาวาลอยลงมาตามกระแสน้าตกแต่ว่าประสบพบประชาชนทั้งหลาย ก็ไถ่ถามตามอันตนปรารถนา ถาม มาๆ จนถึงแม่น้าสองแคว ทิพยมณฑาปะขาวทอดตาแลไปข้างโน้นก็เป็นแม่น้าข้างนี้ก็เป็นแม่น้าจะทากระไร ให้ คิดฉงนจนใจยิ่งนักหนาจาอาตมาจะยั้ง ถ้าคอยไถ่ถามประชาชนทั้งหลายให้ทราบประพฤติเหตุ คิดฉะนี้แล้วก็ ยับยั้งหยุดอยู่แทบฝั่งมหาสมุทร ก็พอประสบพบซึ่งบุรุษผู้หนึ่งเป็นชาวนาวา ทิพยมณฑาตาประขาวจึงมีสุนทร วาจา ว่าดูกรพ่อเราจะขอถามประจันตคามบ้านนี้นี่มีนามกรปรากฏชื่อใด เป็นแว่นแคว้นแดนเมืองไหน ไกลหรือ ใกล้จึงจะถึงเมือง บุรุษผู้นั้นได้ฟังจึงบอกบรรยายว่าข้าแต่ท่านตาบ้านอันนี้หรือเรียกว่าบ้านท่าลาศ เป็นแว่น แคว้นแดนเมืองป่าหวาย ไม่ไกลไม่ใกล้โดยประมาณโยชน์กึ่งจึงจะถึงเมือง เมื่อทิพยมณฑาได้ฟังก็ดีใจ จึงมีสุนทร ปราศรัยถามต่อไปว่า พ่อเอ่ยที่เขาเรียกว่าวัดไลยอยู่ไกลหรือใกล้ บุรุษผู้นั้นไซร้จึงบอกว่า ข้าแต่ท่านตาล่องนาวา ลงไปอีกหน่อยหนึ่งก็จะถึงซึ่งปากคลองลัดแล้วแลตามคลองเข้าไปเถิด ก็จะถึงวัดดังใจปรารถนา ฝ่ายทิพยมณฑาตาปะขาวได้ฟังความก็โสมนัสยินดีนิ่งนักหนา ทิพยมณฑาก็ไปตามมัคมรรคาโดยนาย บุรุษชี้แจงสาแดงให้จนกราบเท้ากระทั่ งถึงซึ่งวัดไลยดังใจของอาตมาปรารถนา ก็เป็น เพลาปัณณะระสีสิบห้าค่า ครั้นถึงจึงลงอาบน้าชาระกรัชกายให้สิ้นมลทินเป็นอันดี แล้วก็หยิบเอาซึ่งดอกมณฑาแลธูปเทียนชะวาลาเป็น ประธาน แล้ ว จึ ง คิ ด ในสั น ดานของอาตมาๆ จะท าไฉนจึ ง จะได้ รู้ จั ก ว่ า องค์ พ ระศรี อ าริ ย์ จ าอาตมาจะไป ประดิษฐานอยู่ในที่เชิงบันไดแห่งพระอุโบสถ สะเจ ถ้าแลพระสงฆ์รูปใดได้เห็นดอกมณฑาอันนี้อันมีอยู่ในเมือง สวรรค์ เราก็ ได้ ส าคั ญ ว่า ท่ า นองค์ นั้ น แลคื อ องค์ พ ระศรี อ าริย์ เมื่ อ ทิ พ ยมณฑาตาปะขาวคิ ด ฉะนี้ แล้ ว ก็ ไป ประดิษฐานอยู่แทบเชิงบันได พระภิกษุสงฆ์องค์ใดๆ จะได้เห็นซึ่งดอกมณฑาแต่สั กองค์หนึ่งก็หามิได้ ตะแกจึง หลากใจยิ่ งนั กหนา จึ งมีสุ น ทรวาจาถามว่า เจ้าประคุณ เจ้าข้าพระสงฆ์ในพระอารามมีแต่เท่ านี้ ห รือเจ้าข้ า พระสงฆ์จึงบอกว่า ยังมีอีกองค์หนึ่งท่านไม่ลงพระอุโบสถในเพลาวันนี้ ทิพยมณฑาได้ฟังก็ดีใจยิ่งนักหนา ตะแก จึงเร็ วรี่ม ายั งกุฏิ เมื่อหน่ อพระชิ ณ ศรีบ รมโพธิสัตว์เจ้าได้ทัศนาการเห็ น ซึ่งทิพ ยมณฑาตาปะขาวตรงเข้ามา พระองค์จึงอาวัชชะนาการพิจารณาว่า อ้อมหาปุนะถึงเราแล้วบ่มิผิด เหมือนได้ดังสุบินนิมิตในราตรีคืนวันวานนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๙

สุบินนี้หลากใจยิ่งนักหนา นิมิตว่าดวงเนตรทั้งสองซ้ายขวาแตกประทุทาลายกระจัดกระจายเหลือแต่ผ้ าที่ขาว ๆ เราฝันเห็นนี้หลากใจนักหนาใช่อื่นใช่ไกล ได้แก่ทิพยมณฑามหาปุนะคนนี้ เมื่อตะแกตรงเข้ามา มัณฑำละปุบผังอุปเนตตวำ ก็น้อมนาประนมนมัสการซึ่งดอกทิพย์มณฑาคลาน หมอบยอบกายเข้าไปสู่ที่ใกล้ ถวายนมัสการไหว้โดยสัจจะคารวะคารพเบญจางคประดิษฐ์ทั้งห้า จึงกล่าวสุนทร วาจาว่า อหัง วันทำมิ ปริสุทเทนะ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการโดยน้าใจอันใสบริสุทธิ์สะอาด แทบฝ่าพระ บาทยุคลทั้งคู่ อันจะได้ตรัสเป็นสัพพัญญูสัมพุทโธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคหน้า แล้วแลประเคนซึ่งทิพย์มณฑา แทบพระหัตถ์ พระองค์จึงมีเถรวาจาตรัสถามว่า ดูกรมหาปุนะ ดอกมณฑานี้ ได้ที่ไหนมา ทิพย์มณฑาปะขาวจึง เล่าความตามนัยอันมีมาแล้วแต่หนหลังตั้งแต่ต้นจนจบปริโยสาน ฝ่ายองค์พระศรีอาริย์จึงห้ามไว้ว่า จาเดิมแต่ วัน นี้ ไปอย่ าได้ว่ากิตติศัพท์นี้ จะเลื่องลื อชาปรากฏไปประชาชนคนทั้งหลาย เขาจะพากันมาเลื่อมใสศรัทธา เหมือนหนึ่งว่าจะทาลายล้างพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระโคดมสัมมาสัมพุทธิเจ้าก็เหมือนกัน ฝ่ายตัวท่านเป็น คนมหาปุนะรู้แล้วจึงนิ่งไว้ในสันดานของอาตมา อย่าให้แพร่งพรายคนทั้งหลายเขาจะล่วงรู้ แล้วจึงพาซึ่งทิพย์ มณฑาขึ้นสู่คันธกุฏิ แล้วสั่งสนทนาเป็นธรรมสากัจฉาก่อนที่จะระลึกนานๆ จัตตำโรตำละขันทัง เอกะโพธิรุกขังโรเปติ แล้วทิพย์มณฑาจึงปลูกต้นตาลประมาณสี่ต้นกับพระมหา โพธิ์ต้นหนึ่ง ฝ่ายข้างปัจฉิมทิศาภาคตะวันตกแห่งพระอุโบสถ ให้เป็นที่ปรากฏแก่ชาวมนุษย์โลก ใช่แต่เท่านั้นก็ หามิได้ จาเดิมแต่นั้นมาทิพย์มณฑาจึงชักชวนชาวบ้านให้ประกอบไปด้วยศรัทธา คันธะกุฏฏิงกัตตวำ ก็ชักพา กันกระทาซึ่งกุฎีให้เป็นที่อยู่ ประชาชนบางหมู่ก็กระทาศาลา บางพวกก็ประกอบไปด้วยศรัทธาสร้างซึ่งสะพาน บางพวกก็ปะถัมภะนาการสร้างเว็จกุฏิ บางพวกก็พากันขุดซึ่งสระศรี อันเป็นที่สระสรงมงคลธาราแล้วแลที่พา กันก่อสร้างซึ่งวิหารให้เป็นที่อยู่แห่งพระปฏิมากรณ์ ประชาชนทั้งหลายก็ประกอบไปด้วยศรัทธา ถัมภะนาการ ก่อสร้างซึ่งวัดไลยสาเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา ย่อมเป็นที่เฉลิมศรัทธาแห่งประชาชนชาวบ้าน ทิพย์มณฑา ย่อมเป็นประธานในกองการกุศลทั้งปวง แต่เท่านั้นจะได้อิ่มไปในที่จะกระทานั้นก็หาบ่มิได้ ยังมีศรัทธาเลื่อมใส จะกระทาต่อขึ้นไปอีก แล้วแลเข้าสู่ที่ใกล้องค์พระศรีอาริย์ประดิษฐานในที่ควรแห่งหนึ่งแล้ว จึงกล่าวสุนทรวาจา ว่า ภันเต เจ้าข้าเจ้าประคุณผู้ประกอบไปด้วยบุญอภินิหาร ข้าสมภารนี้ยังประกอบไปด้วยศรัทธาปรารถนา จะถัมภะนาการฉลองหล่อรูปของพระองค์ไว้จะได้เป็นที่ไหว้ที่นมัสการ ฝ่ายองค์พระศรีอาริย์บรมโพธิสัตว์เจ้าจึง ห้ามไว้ว่า ดูกรทิพย์มณฑาอย่าเพ่อกระทาจะผิดคาพุทโธวาทแห่งสมเด็จพระศาสดา พระพุทธองค์บัญญัติพระ เจดีย์ไว้ถึง ๔ ประการ คืออุทิศเจดีย์ประการหนึ่ง ปริโภคคะเจดีย์ประการหนึ่ง ธรรมเจดีย์ประการหนึ่ง สารีริก เจดีย์นั้นประการหนึ่ง เป็น ๔ ประการด้วยกัน อุทิศเจดีย์นั้นคือพระพุทธรูปปฏิมากรณ์ ปริโภคคะเจดีย์นั้นคือ พระเจดีย์ประจุซึ่งเครื่องบริขารของสมเด็จพระพุทธิเจ้า ธรรมเจดีย์นั้น คือพระเจดีย์นั้นประจุซึ่งพระสัทธรรม สารีริกเจดีย์นั้น คือพระเจดีย์ประจุซึ่งพระบรมธาตุแห่งองค์สมเด็จพระศาสดา พระพุทธองค์ ประทานไว้ถึง ๔ สถาน เพื่อจะให้เป็นสักการบูชา เออนี่ท่านจะมาหล่อรูปของอาตมาไว้ให้เป็นที่นมัสการเห็นจะผิดพุทธบรรหาร แห่งสมเด็จพระศาสดา ประดุจเหมือนพระพุทธศาสนาให้สั้นให้น้อยให้ถอยเข้ามานั้นก็เหมือนกัน เหตุใดเหตุ ภาวะประชาชนคนทั้งหลายสิอยากจะใคร่ประสบพบอาตมา สะเจ ถ้าแลกิตติศัพท์นี้ลือชาว่า อาตมานี่แลคือ องค์พระศรีอาริย์ประชาชนชาวบ้านก็จะพากันแตกตื่นกันมากระทาสักการบูชา อย่าทาลงจงจาคาเรานี้ว่า สะเจ ถ้าแลท่านมีศรัทธาแล้ วจงสร้างเป็ น อุทิศเจดีย์ให้ เป็นรูปสมเด็จพระชิณ ศรีสั มพุท โธเจ้าขึ้นไว้ให้ เป็นที่ ไหว้ที่ นมัสการจึงจะสมควรแก่พระพุทโธหารสมเด็จพระศาสดา จะได้เป็นที่สักการบูชาให้รุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา


๙๐

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จะเป็นที่เฉลิมศรัทธาแห่งประชาชนคนทั้งปวง ฝ่ายทิพย์มณฑาได้เสาวนาการสดับก็โสมนัสยินดียิ่งนักหนา แล้ว ก็ชักพาประชาชนคนทั้งปวงถัมภะนาการก่อสร้างซึ่งรูปพระปฏิมากรณ์สี่พระองค์ให้เป็ นที่อุทิศเจดีย์ให้เป็นที่ นมัสการ แลกระทาสักการบูชา ยำวะวัชชัตตวำ มีมาปรากฏกราบเท้าทุกวันนี้ ปัณ ณะระสีทิ วะเส ในเมื่ อวัน ปั ณ ณะระสี สิ บ ห้ าค่า องค์พระเมตไตรยบรมโพธิสั ตว์เจ้าจึงตรัส พระ สัทธรรมเทศนาแก่ประชาชนคนทั้งปวง ชี้แจงสาแดงในผลาอานิสงส์ที่บุคคลประกอบไปด้วยศรั ทธา ถัมภะนา การก่อสร้างแลซ่อมแปลงซึ่งพระวิหารการเปรียญแลอุโบสถ แลพระสถูปพระพุทธรูป พระเจดีย์ แลปลูกพระศรี มหาโพธิ แล้วแลสาแดงในห้องพระไตรยลักษณญาณคือพระทุกขัง พระอนิจจัง พระอนัตตา ว่าเราท่านสรรพ สัตว์ทั้งปวงเกิดมาเป็นรูปธรรมแลนามธรรม คืออาการสามสิบสอง เป็นต้ นว่าเกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง ตลอดจนถึงมัตถะลุงคัง ย่อมตั้งอยู่ในพระอนิจจัง บอกว่าไม่เที่ยงไม่แท้ย่อมผันแปรไปมา เกศาคือผมดา แล้วกลับขาว ขนแลเล็บสั้นแล้วกลับยาว เนื้อแลหนังเคร่งครัดตึงแล้วหย่อนย้อยยาน ในอาการสามสิบสองนี้มี ผมเป็นต้นเป็นประธาน พระอนิจจั งบอกว่ามิได้เที่ยงเถียงกันกับพระอนัตตาว่าตัวของเราไม่เที่ยงแล้วแลจะผัน แปรไปมาประการใด พระอนั ต ตาบอกว่า ท่านไม่ เที่ ยงแล้ ว แลเราคือพระอนั ตตานี้ แลจะให้ สู ญ ไปสิ่ งใดใน กรัชกายของท่านเป็นต้นว่าอาการสามสิบสองนี้หรือ หรือจะไม่สูญนั้นอย่ าพึ่งวิมุตติสงสัยเลย สิ่งอันใดๆ นั้นว่า เป็นที่ชอบใจของอาตมา เป็นต้นว่าดวงตาทั้งสองซ้ายขวานี่แลย่อมเป็นที่ชอบใจของอาตมา จะพิจารณาสิ่งใดๆ ก็ย่อมแจ้งใจทุกสิ่งทุกประการ รู้จักถ้วนรู้จักถี่รู้จักดีรู้จักงาม จะรู้จักถนัดก็จริงแลแต่อายุของอาตมาตั้งอยู่ใน ปฐมวัย ครั้นอายุของอาตมาล่วงไปถึงปัจฉิ มวัยที่ใกล้ก็จะเป็นที่ไกลที่งามๆ ผ่องใสก็จะด่างจะพร้อยจะพรั่งจะ พราย จะมิได้แจ้งกระจ่างสว่างดี เออก็เป็นเสียแต่เช่นนี้จะว่าเที่ยงว่าแท้อย่างไรได้ จะเป็นอยู่แต่อย่างนั้นก็หา มิได้ พระอนัตตาบอกว่าจะสูญไปหาประโยชน์มิได้ นี่แลที่ท่านประกอบไปด้วยปัญญาจงพิจารณาให้เห็ นเป็นอัน แท้ ตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาปลงปัญญาให้เป็นพระทุกขัง พระอนิจจัง พระอนัตตา สุคะติปะรำยะนำ จะ ได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ เสวยซึ่งความสุขในอนาคตกาลภายภาคหน้า เพราะอาตมาพิจารณาเห็นในห้องพระไตรย ลักษณญาณว่ารูปอาการสามสิบสองนี้ ทุกขังย่อมประกอบไปด้วยทุกข์ อนิจ จังย่อมไม่เที่ยงแท้ ย่อมผันแปรไป มา อนัตตาแล้วย่อมจะสูญเปล่าไป พระไตรยลักษณญาณทั้งสามประการนี้ไซร้ สมเด็จพระชิณศรีสัมมาสัมพุทโธ เจ้าตรัสพระสัทธรรมเทศนา หวังว่าจะให้เราท่านสรรพสัตว์ทั้งปวงให้พิจารณาให้เห็นในรูปกายแล้วแลจะให้ เหนื่อยหน่ายในวัฏนะสงสาร ให้ปรารถนาเอาพระนิพพานในภายภาคหน้า พระศรีอาริย์เมตไตรยเจ้าตรัสพระ สัทธรรมเทศนาแก่ประชาชนคนทั้งปวงก็พากันชื่นชมโสมนัสยินดียิ่งหนักหนา ประดุจดังว่าเอาน้าอมฤตธารา มาลาดรดให้หายคลายร้อนแลให้เย็นทั่วทุกตัวสัตว์ก็เหมือนกัน แต่ศัพท์สาเนียงเสียงให้สาธุๆ นั้นตลอดลั่นจนถึง ดาวดึงสวรรค์สักกเทวโลก ขณะนั้นสมเด็จอัมรินตราธิราชกับหมู่เทพอักษรกัญญาก็พร้อมกันอยู่ในที่ประชุมใน โรงธรรมภาคศาลา บุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่งจะได้เห็นก็หาบ่มิได้ เทสะนำวะสำเน ครั้ น พระเมตไตรย์ ต รัส พระสั ท ธรรมเทศนาจบลงกาลครั้งนั้ น หมู่ ป ระชาชนคน ทั้งหลายก็พากันกลับไปสู่เคหสถานของอาตมา ยังแต่สมเด็จอัมรินตราธิราชกับเทพอักษรกัญญา พระเมตไตรย บรมโพธิสัตว์จึงมีเถรวาจาตรัสแก่สมเด็จอัมรินตราว่า เทวะรำชะ ดูกรเทวราช เออพระพุทธศาสนาของสมเด็จ พระมหาโคดมสัมพุทธิเจ้านี้ยังไม่ได้ครึ่งยังไม่ได้กึ่งพระศาสนา เราลงมาเยี่ยมเยือนกาลครั้งนี้ ก็เป็น กุศลราศีอัน ล้ าเลิ ศ ประเสริ ฐ ยิ่ งนั ก หนา หนึ่ งได้ บ รรพชาเป็ น ภิ ก ษุ ในพระพุ ท ธศาสนา ได้ ป รนนิ บั ติ ต ามวินั ย สิ ก ขา แล ปาฏิโมกข์สังวรศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ดประการ หนึ่งได้สมาทานซึ่งทางสมณะถะวิถี ก็จัดได้ชื่อว่า ศีลขันธบารมีอัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๑

อุดม หนึ่งเราได้ลงมาเชยชมพระพุทธศาสนา ได้ทานุบารุงให้ถาวรวัฒนาการเจริญเป็นอันดี กาลครั้งนี้นี่ก็สมควร ที่เราจะไปสู่ที่อยู่ของอาตมา สมเด็จ อัมรินตราธิราชเจ้าก็รับว่า สาธุ ๆ แล้วแลบันดาลวายุพัดให้ มืดคลุ้มทั่วทุก ทิ ศ า จะได้ ทั ศ นาการเห็ น ซึ่ งกั น แลกั น ก็ ห าบ่ มิ ได้ องค์ พ ระเมตไตรยเจ้ าก็ ขึ้ น สู่ กุ ฏิ เสด็ จ เข้ าสู่ ที่ ทางสมณะ กรรมฐานบ่มิได้นานก็จุติจิตขึ้นไปบังเกิดในชั้นดุสิตพิมานพร้อมไปด้วยเทพบริวารอันเป็น นิวาศสถานที่เคยอยู่ ของพระองค์ก็มีกาลครั้งนี้ ตัง ขะณั ง ในขณะนั้น สีสโส ฝ่ายว่าภิกษุแลสามเณรอันเป็นศิษย์เมื่อได้เห็ นอัศจรรย์กาลครั้งนั้น ก็ ตกใจยิ่ งนั กหนา ก็พากัน ขึ้ น ไปดูก็เห็ น แต่รู ปกายนั้นเปล่า ๆ จะได้มีจิตวิญ ญาณนั้ นหาบ่ มิได้ พากันตกใจยิ่ง นักหนา จึงร้องบอกแก่กันแลกันว่า ดูกรท่านทั้งปวงเอ่ย พระอาจารย์ของเราท่านกระทาการกิริยาตายเสียแล้ว ประชาชนคนทั้งปวงก็พากันแตกตื่นออกมาดูก็รู้ว่าจุติจิต พากันคิดปลงกเฬวรากทรากอสุภกรรมฐาน กระทา การฉลองแลสมโภชถึงเจ็ดราตรีโดยวิธีนั้นต่างๆ ต่อภายหลังจึงกระทาฌาปนกิจเผาซึ่งทรากอสุภะ ฝ่ายอัฐินั้น เป็นทองแดงสิ้นทั้งนั้น ก็เป็นอัศจรรย์ยิ่งนักหนา แต่บรรดาปุถุชนได้ทัศนาการเห็นก็เข้าใจว่า เจ้าประคุณของข้า นี้ใช่อื่นใช่ไกลคือองค์พระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เจ้า แล้วก็พากันเก็บมาซึ่งอัฐิทองแดง เพื่อประโยชน์จะฉลอง หล่อรูปของพระองค์นั้นไว้ เพื่อประโยชน์ชนจะได้เป็นที่ไหว้ที่นมัสการแก่ประชาชนในบ้านอันนั้น ฝ่ายพระภิกษุ สงฆ์เจ้าทั้งหลายก็พากันปั้นรูปแห่งพระองค์แล้วก็หล่อ แต่หลอมทองอยู่นั้นช้านานโดยประมาณแต่เช้าจนเพล ทองนั้นก็มิได้ละลาย ก็ร้อนอกร้อนใจยิ่งนักหนา ในขณะนั้นก็ร้อนขึ้นไปถึงอัมรินตราธิราชเจ้า ท้าวเธอพิจารณา ก็แจ้งว่า อ้อชาวมนุษย์โลกจะหล่อฉลองรูปของพระองค์เมตไตรยเพื่อจะให้เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชา จาอาตมาจะ ลงไปหล่อจึงจะควรอัมรินตราธิราชก็รีบร้อนลงมา ครั้นถึงจึงแปลงกรัชกายาเป็นตาปะขาว ครั้นถึงจึงเข้าไปสู่ที่ ประชุมแห่งพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายจึงอัตถาธิบายอาราธนาว่า ภันเต เจ้าข้าเวลานี้ก็จวนเพลอยู่แล้วหล่อเห็นยัง ไม่ได้ ขออาราธนาเจ้าคุณขึ้นไปฉันเพลเสียก่อนเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะช่วยสูบ พระสงฆ์เจ้าทั้งปวงก็ขึ้ นไปฉัน เพล ฝ่ายอินทร์ปะขาวก็เข้าสูบทองในทันใด ทองนั้นไซร้ก็ละลายได้สมมะโนมัยปรารถนา อินทร์ปะขาวก็เอา ทองใส่ในรูปจาลองให้เต็มเป็นอันดี ท้าวสะหัสสะนัยโกษีย์ก็ขึ้นไปสู่ดาวดึงส์สวรรค์ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ฉันจังหัน สาเร็จแล้วก็ลงมา ได้ทัศนาการเห็นรูปทองงดงามยิ่งนักหนา ก็เข้าใจเสียว่าสมเด็จอัมรินตราธิราชลงมาหล่อให้ จึงได้สาเร็จความปรารถนา ก็พากันพิจารณาเชยชมซึ่งรูปทอง เห็นพร่องอยู่ที่ริมพระโอษฐ์ อ้อทั้งนี้ไซร้ให้เป็น นิมิตที่พระองค์นั้นตกปลา หนึ่งเล่าที่นิ้วพระหัตถานั้นก็เป็นรอยอยู่หน่อยหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพราะจะให้เป็นนิมิตของ พระองค์แต่เดิมมา ฝ่ายภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายก็พากันลงรักแลปิดทองฉลองกระทาซึ่งสมโภช แล้วแลประดิษฐานไว้ในพระวิหารกระทาสักการบูชา ยำวะอะชัตตะนำ กราบเท้าทุกวันนี้ ท่านธานาธิบดีผู้มี ศรัทธาสาวะนาการสดับฟังแล้วจงมนะสิการะไว้เถิด จะได้เป็นที่ก่อเกิดกองการกุศลในภายหน้าจะได้ประสบพบ พระศาสนาของพระองค์เจ้าอันได้มาตรัสในอนาคตกาลภายภาคหน้า เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ อาตมาผู้สามัญญะปัญญาน้อย ได้จาลองลอกไว้อันเรื่องราวพระศรีอาริย์นี้ใช้ปรากฏในสามัญญะภาษา ขอสติปัญญาของอาตมานี้ทรงไว้ถึงจะได้ฟังแต่ครั้งเดียวหนเดียวก็ให้จาได้อย่าให้ลืมหลง ขอให้ประสบพบพระ ศาสนาของพระองค์ศรีอาริย์เมตไตรย ขอให้ข้าพระพุทธเจ้านี้เลื่อมใสศรัทธาให้ได้บวชในศาสนาของพระองค์ ให้ มีน้าใจซื่อตรงให้ปรารถนาพระปรินิพพานในอนาคตกาลภายภาคหน้า นิพพานนะปัจโยโหตุ.


๙๒

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๓

พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยำ นัฐพร ปะทะวัง๑๔ พระสุทธกรรม หรือ พระสุทธิกรรม เป็นวรรณกรรมชาดกเรื่องหนึ่ง จัดอยู่ในชาดกประเภทนอกนิบาต วรรณกรรมชาดกเรื่องนี้ แพร่หลายอย่างยิ่งบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ดังปรากฏต้นฉบับไม่น้อยกว่า ๓๐ ฉบับ (สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, ๒๕๔๘: น. ๓๗๓) อย่างไรก็ตามวรรณกรรมเรื่องดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะเป็นที่นิยม เฉพาะภาคใต้เท่านั้ น ในท้องถิ่นภาคกลางเอง วรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน ดังปรากฏ ประจักษ์พยาน คือ สุทธิกรรม์คากาพย์๑๕ รวมถึงพระสุทธกรรมฉบับนี้ ซึ่งมีลักษณะเด่นที่น่าสนใจหลายประการ ดังจะได้กล่าวในลาดับต่อไป ที่มำของตัวบท พระสุทธกรรมสานวนที่นามาปริวรรตในครั้งนี้ ปริวรรตจากต้นฉบับสมุดไทขาว จารด้วยอักษรไทย เส้ น หมึกดา ได้มาจากจั งหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบั นเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิล ป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่ได้ระบุวันที่แต่งจบ (หรือคัดลอกเสร็จสิ้น) ว่า “สิ้นฉบับแต่เท่านี้ เรื่องพระสุทธกรรม จบ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่า เดือน ๑๒ ปี มะแม ตรีศก” พร้อมทั้งตั้งความปรารถนาไว้ว่า “ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาดังพระมโหสถ มีคนลือชาปรากฏเหมือนท่านเจ้ากรุง ศรีสญชัย” ในด้านฉัน ทลักษณ์ ที่นามาใช้ในการประพันธ์ ประกอบด้วยกาพย์ ๑๑ กาพย์ ๑๖ และกาพย์ ๒๘ ทั้งนี้ ในตอนท้ ายสมุดไทเล่ มดังกล่ าว ยั งปรากฏเพลงยาวเรื่องหนึ่งที่ระบุว่าเป็นผลงานของสุ นทรภู่ แต่เมื่อ พิจารณาลีลาการประพันธ์แล้วสรุปได้ว่าไม่ใช่ผลงานของสุนทรภู่ (ดูเรื่อง เพลงยาว “คามหาภู่”)

๑๔

ผู้ช่วยวิจัยประจาโครงการฯ และนิสิตปริญญาโท สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ๑๕ สุทธิกรรม์คากาพย์ ปริวรรตไว้บางส่วนโดยนิยะดา เหล่าสุนทร ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่หอสมุด เลขที่ ๕๔ ตู้ ๑๑๔ ชั้น ๑/๒ มั ดที่ ๖๐ เป็ น สมบั ติเดิ มของหอสมุด และเลขที่ ๕๖ ตู้ ๑๑๔ ชั้น ๑/๒ มั ดที่ ๖๐ ซื้อ พ.ศ. ๒๔๕๓ (นิ ยะดา เหล่าสุนทร, ๒๕๓๘: น. ๒๒๕)


๙๔

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของพระสุทธกรรมฉบับนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะได้เค้าเรื่องมาจากมิตตามิตชาดก (นิบาตชาดก เรื่องที่ ๔๓๗ ) และเรื่องภูริปัญหาชาดก (นิบาตชาดก เรื่องที่ ๔๕๒) แต่ลักษณะเนื้อหาหลักยังคงสอดคล้องกับ เรื่องทุกัมมานิกชาดกในปัญญาสชาดก (สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, ๒๕๔๘: น. ๓๗๓) เช่นเดียวกับสุทธิกรรมฉบับอื่น ดังจะได้แสดงให้เห็นในตารางเปรียบเทียบเนื้อหาระหว่างทุกัมมานิกชาดกในปัญญาสชาดก กับพระสุทธกรรม สานวนนี้ ดังนี้

๑.

๒.

๓.

ทุกัมมำนิกชำดก ในปัญญำสชำดก พระโพธิสัต ว์เสวยพระชาติเป็น บุตรชายของ กฎุมพี นามว่า “ทุกัมมานิก” ก่อนบิดาจะตาย ได้สอนว่าหญิ งสามผั วอย่าเอามาเป็ น ภรรยา บุรุษบวชแล้วสึกถึงสามครั้งอย่าคบเป็นเพื่อน และอย่าอยู่ในดินแดนของพระราชาที่ไม่ทรง วิจารณ์ ครั้น สิ้นคาสั่งสอนแล้วบิ ดาของทุกัม มานิกก็สิ้นใจ ทุกัมมานิกต้องการทดลองคาสอนของบิดา จึง นาหญิงสามผั วมาเป็น ภรรยา คบมิตรที่บวช แล้วสึกสามครั้ง วันหนึ่งพระโพธิสัตว์คิดอุบาย ลองใจภรรยา ด้วยการจั บ หงส์ ท องของพระ เจ้ าพาราณสีไปซ่อน แล้ ว แกล้ งมุส าว่าตนได้ ฆ่าหงส์ทองและนามาทาเป็นอาหารให้ภรรยา กิน อามาตย์ของพระเจ้าพาราณสีออกตามหา หงส์ ทอง โดยประกาศว่าหากใครให้ เบาะแส ได้ว่าผู้ ใดลั ก หงส์ ท องไปจะได้รั บ รางวัล ตอบ แทนเป็นทองคา ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ฝ่ายภรรยา ของพระโพธิสัตว์ ได้ยินเช่น นั้ นจึงนาเรื่องไป บอกแก่อามาตย์ เหล่าอามาตย์จับพระโพธิสัตว์จาและโบยด้วย หวาย และจะน าตั ว ไปเข้ า เฝ้ า พระเจ้ า พาราณสี ระหว่างทางเพื่ อ นที่ บ วชแล้ ว สึ ก สาม ครั้ ง ผ่ า นมาพบ จึ ง เข้ า ไปขอผ้ า นุ่ ง จากพระ

พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยำ พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือกาเนิดในตระกูล เศรษฐี ได้นามว่า “สุ ท ธกรรม” หลั งจากพระโพธิสั ต ว์ ประสูตินั้น ต่อมามารดาก็ได้ตาย จนมาวันหนึ่งบิดาใกล้ จะตาย ได้เรียกสุทธกรรมไปสั่งสอนว่า อย่านาหญิงสาม ผัวมาเป็นภรรยา อย่าคบมิตรที่บวชแล้วสึกสามหน อย่า อยู่ในเมืองที่พระราชาไม่ ทรงวิจารณ์ ไม่ดารงตนอยู่ใน ความยุ ติ ธ รรม ครั้ น สิ้ น ค าสอน บิ ด าของสุ ท ธกรรมก็ สิ้นใจ สุทธกรรมต้องการทดลองคาสอนของบิดา จึงนาหญิ ง สามผัวมาเป็นภรรยา คบมิตรที่บวชแล้วสึกถึงสามครั้ง วันหนึ่งสุทธกรรมคิดลองใจภรรยา ด้วยการจับหงส์ของ พระเจ้าพรหมทัต (ต่อไปในเรื่องเรียก ท้าวสามนต์)ไป ซ่ อ น แล้ ว มุ ส าว่ าตนได้ ฆ่ าหงส์ ต ายและน ามาท าเป็ น อาหารให้ภรรยากิน พระเจ้าพรหมทัตรับสั่งให้อามาตย์ ตามหาหงส์ พร้อ มทั้ งให้ เบิ ก ทรัพ ย์ห นึ่ งพั น ตาลึ งจาก ท้องพระคลัง เพื่อเป็นรางวัลให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแส ฝ่าย ภรรยาของพระโพธิ สั ต ว์ ไ ด้ ยิ น เรื่ อ งดั ง กล่ า ว จึ ง น า ความลับไปบอกแก่อามาตย์

เหล่ าอามาตย์ เข้าจับ ตั วพระโพธิสั ต ว์แล้ ว พั น ธนาการ ด้วยโซ่ตรวน นาตัวขึ้นเฝ้าพระเจ้าพระพรหมทัต พระ เจ้าพรหมทัตมีรับสั่งให้เพชฌฆาตนาตัวไปฆ่านอกพระ นคร เพชฌฆาตพาพระโพธิสัตว์ไปที่ประตูทางออกของ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๕

๔.

๕.

๖.

ทุกัมมำนิกชำดก ในปัญญำสชำดก โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ก็เปลื้องผ้ านั้น ออกให้ เมื่อเดินทางมาถึง พระเจ้าพาราณสีมีรับสั่งให้ นาตัวทุกัมมานิกไปประหารนอกพระนคร อามาตย์ทั้งหลายนาตัวพระโพธิสัตว์ไปที่ประตู เมื อ งด้ า นทิ ศ ตะวั น ตก เพื่ อ ที่ จ ะน าพระ โพธิ สั ต ว์ อ อกไปฆ่ า นอกพระนครตามรั บ สั่ ง แต่น ายประตูไม่ ย อมเปิ ด ประตู ให้ เพราะไม่ เห็นด้วยกับการกระทาของพระราชาที่ไม่ทรง พิจารณาความให้ดีเสียก่อน และกล่ าวว่าจะ ปิดประตูเป็นเวลาสามวัน พร้อมทั้งเล่านิทาน อุทาหรณ์ ให้ฟังหนึ่ งเรื่อง จากนั้ นอามาตย์ก็ นาตัวพระโพธิสัตว์ไปยังประตูเมืองด้านทิศใต้ ทิศ ตะวัน ตก(ซ้ า) ทิ ศเหนื อ ตามล าดับ แต่ ก็ ยั งคงได้ รั บ ค าปฏิ เสธเหมื อ นเดิ ม และนาย ทวารเหล่ านั้ น ก็ ได้เล่ านิ ท านให้ ฟั งอีก คนละ หนึ่งเรื่อง (รวมนิทานอุทาหรณ์ทั้งสิ้น ๔ เรื่อง) เมื่อไม่สามารถน าตัว พระโพธิสั ตว์ออกไปฆ่า นอกพระนครได้ อามาตย์จึงพากลับเข้ามาเฝ้า พระเจ้ า พาราณสี พระโพธิ สั ต ว์ ก ราบทู ล เรื่องราวที่เกิดขึ้นให้พระเจ้าพาราณสีฟังอย่าง ละเอียด พระองค์พอพระทัย คิดจะอภิเษกให้ พระโพธิ สั ต ว์ เป็ น อุ ป ราช แต่ พ ระโพธิ สั ต ว์ ปฏิ เสธโดยกล่ า วว่ า ไม่ อ าจจะอยู่ ในเมื อ งที่ พระราชาไม่ท รงวิจ ารณ์ ได้ จากนั้ น จึ งทูล ลา พระราชาเดินทางไปเมืองตักศิลา เมื่อเดินทางมาถึง พระโพธิสั ตว์หยุดพานักใน ราชอุ ท ยาน ขณะนั้ น กษั ต ริ ย์ เมื อ งตั ก ศิ ล า สวรรคต เสนาอามาตย์จึงทาพิธีเสี่ยง ปุสส ราชรถ ซึ่งมาจรดที่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ จึ ง ได้ รั บ อั ญ เชิ ญ ให้ ค รองราชสมบั ติ พระ โพธิสัตว์ปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรม

พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยำ พระนคร ระหว่างทางเพื่อนที่บวชแล้วสึกสามครั้งเดิน มาพบจึงขอผ้าผูกเอวของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ก็ เปลื้องผ้าออกให้ เพชฌฆาตนาตัวพระโพธิสั ตว์เดินทางมาถึงประตูด้าน หนึ่ง เพชฌฆาตบอกให้ นายทวารเปิดประตูตามรับสั่ ง ของพระเจ้าพรหมทัต แต่นายทวารไม่ยอมเปิดโดยอ้าง ว่าผิดเวลา เนื่องจากเวลาที่เพชฌฆาตมาถึงนั้นเป็นเวลา ค่า ซึ่งตามโบราณราชประเพณีไม่ให้เปิดประตูเมือง และ ให้เพชฌฆาตคิดพิจารณาเรื่องราวค่างๆ ให้ดี พร้อมทั้ง ยกนิ ท านอุ ท าหรณ์ หนึ่ ง เรื่ อ งเล่ า ให้ ฟั ง จากนั้ น เพชฌฆาตได้นาตัวพระโพธิสัตว์ไปยังประตูเมืองด้านทิศ ใต้ ทิ ศตะวัน ตก และทิศเหนือ ตามล าดับ แต่ ก็ได้รับ การปฏิเสธเช่นเดิมและทวารเหล่านั้นยังได้เล่านิทานให้ ฟั งอี ก คนละหนึ่ งเรื่ อ ง (รวมนิ ท านอุ ท าหรณ์ ทั้ งสิ้ น ๔ เรื่อง) เมื่อไม่ส ามารถนาตัว พระโพธิสั ตว์ออกไปฆ่านอกพระ นครได้ เพชฌฆาตจึงสอบถามความจริงเบื้องต้น แล้วนา ตัวเข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรง ทราบความจริงทั้งหมด ทรงพอพระทัย หมายจะอภิเษก ให้ พ ระโพธิ สั ต ว์เป็ น อุ ป ราช แต่ พ ระโพธิ สั ต ว์ ป ฏิ เสธ เพราะไม่อาจจะอยู่ในเมืองที่พระราชาไม่ทรงวิจารณ์ได้ โดยอ้างว่ามิใช่เชื้อพระวงศ์ จากนั้นจึงทูลลาพระราชา เดินทางออกจากเมือง พระโพธิสัตว์เดินทางมาถึงเมืองตักศิล า หยุดพานักใน ราชอุ ท ยานแห่ ง หนึ่ ง ขณะนั้ น กษั ต ริ ย์ เมื อ งตั ก ศิ ล า สวรรคต เสนาอามาตย์จึงทาพิธีเสี่ยงราชรถ ซึ่งมาจรดที่ พระบาทของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จึงได้รับอัญเชิญ ให้ครองราชสมบัติ พระโพธิสัตว์ปกครองบ้านเมืองด้วย ความยุติธรรม บริจาคทานเป็นนิจ อยู่มาวันหนึ่งอดีต


๙๖

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทุกัมมำนิกชำดก ในปัญญำสชำดก บริจาคทานเป็นนิจ อยู่มาวันหนึ่งอดีตภรรยา และเพื่อน ซึ่งเป็นสามีภรรยากันได้ชวนกันมา ขอรั บ ทาน พระโพธิ สั ต ว์ จ าได้ จึ ง ให้ ขั บ ไล่ ออกไปจากเมือง

พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยำ ภรรยาและเพื่ อ น ซึ่งเป็ น สามี ภ รรยากัน ได้ช วนกัน มา ขอรับทาน พระโพธิสัตว์จาได้ จึงยกพฤติกรรมของทั้ง สองคนเป็ น ตั ว อย่ างสอนข้าราชบริพ ารในสิ่ งที่ ไม่ ค วร ประพฤติปฏิบัติ จากนั้นจึงเสด็จกลับเข้าปรางค์ปราสาท

อย่างไรก็ดี แม้พระสุทธกรรมสานวนนี้จะมีเนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกับทุกัมมานิกชาดก ในปัญญาส ชาดก แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันพอสมควร ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจในการนามาศึกษา เพื่อให้เห็น กระบวนการปรุงแต่ง “สาร” ซึ่งจะส่ งไปยั งผู้ รับ “สาร” ในรูปแบบเฉพาะ อันจะสะท้อนให้ เห็ นคุณค่าของ วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ลักษณะเฉพำะของตัวบท จากการศึกษาลักษณะเฉพาะ นอกจากชื่อของตัวละครเอกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนแล้ว (ในเรื่องพระ สุทธกรรม ชื่อ “สุทธกรรม” ส่วนในทุกัมมานิกชาดก ชื่อ “ทุกัมมานิก”) ยังปรากฏลักษณะเฉพาะอื่นๆ ของตัว บทดังกล่าวที่ทาให้เห็นความโดดเด่นของการปรุงแต่ง “สาร” ในรูปแบบเฉพาะ ดังนี้ ๑. นิทำนอุทำหรณ์ ในพระสุทธกรรม มุ่งนำเสนอโทษของผู้ไม่ “วิจำรณ์ ” ทั้งทำงจิตใจและทำง ร่ำงกำยอย่ำงเข้มข้น โดยเฉพำะพระรำชำ ในจานวนนิทานอุทาหรณ์ทั้ง ๔ เรื่องที่ปรากฏในพระสุทธกรรมสานวนนี้พบว่า มีนิทานเพียงเรื่องเดียว ที่มีเนื้อหาเหมือนกันทุกประการกับนิทานอุทาหรณ์ในทุกัมมานิกชาดก คือเรื่องที่เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๑ ส่วนนิทานอีก ๓ เรื่อง พบว่ามีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ๑ เรื่อง อีก ๒ เรื่องเป็นคนละเรื่องกับที่ปรากฏในทุกัม มานิกชาดกในปัญญาสชาดก ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้

เรื่องที่เหมือนกัน ทุกประกำร

๑๖

นิทำนอุทำหรณ์ นิทำนอุทำหรณ์ ในพระสุทธกรรม ในทุกัมมำนิกชำดก (พังพอนกับงูเห่า)๑๖ (พังพอนกับงูเห่า) สามีภรรยาคู่หนึ่งฆ่าพังพอนตาย เพราะ (เนือ้ เรื่องตรงกัน) เข้ า ใจว่ า พั งพอนฆ่ า ลู ก ของตน แต่ (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๑) ภายหลั งทราบความจริงว่า ลูกของตน ตายเพราะถู ก งู เ ห่ า กั ด พั ง พอนนั้ น

ชื่อเรื่องนิทานอุทาหรณ์ที่อยู่ในวงเล็บทั้งหมดภายในตารางเปรียบเทียบนี้ ผู้วิจัยตั้งขึ้นมาเอง เพื่อให้สะดวกแก่การ วิเคราะห์และความเข้าใจในย่อหน้าต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๗

นิทำนอุทำหรณ์ ในพระสุทธกรรม พยายามปกป้องลูกของตนจากงูเห่ าจึง เสียใจ (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๑) เรื่องที่มีรำยละเอียด (สุนัขกับราชธิดา) แตกต่ำงกัน พระเจ้ า พรหมทั ต ฆ่ า สุ นั ข ตั ว หนึ่ งตาย เนื่องจากเข้าใจผิดว่าสุนัขจะกัดพระธิดา แต่แท้จริงแล้วสุนัขพยายามจะขัดขวาง ไม่ ใ ห้ พ ระธิ ด าลงสรงในสระน้ าที่ มี อามาตย์คนหนึ่งลอบเอาหลาวมาปักไว้ ต่อมาพระธิดาก็สิ้นชีวิตเพราะถูกหลาว แ ท ง พ ระ เจ้ าพ รห ม ทั ต เสี ย ใจ กั บ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้นเป็นอย่างมาก (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๒) เรื่องที่เป็น คนละเรื่องกัน

(ฤๅษีกับโจร) พระเจ้ากาสิกราชสั่งให้ประหารชีวิตพระ ฤๅษี เพราะเข้ า ใจว่ า เป็ น โจรที่ ไ ปลั ก ทรัพย์ของผู้อื่นมา โดยมีหลักฐานคือห่อ ผ้าที่โจรตัว จริง ทิ้ งไว้ห น้ากุฏิ ซึ่งต่อมา พระเจ้ า กาสิ ก ราช และโจรก็ ถู ก แผ่นดินสูบ (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๓) (อามาตย์กับมเหสีของท้าวสามนต์) ท้ าวสามนต์ ให้ ป ระหารชีวิ ตอ ามาตย์ ผู้ จงรักภักดีคนหนึ่ง เพราะหลงเชื่อคายุยง ของมเหสีที่โกรธแค้น เนื่องจากอามาตย์ ผู้นั้น ไม่มีใจปฏิพัทธ์ในตัวนาง ซึ่งต่อมา ท้ า วสามนต์ ใคร่ ค รวญตรึ ก ตรองดู ก็ รู้ ความจริงจึงเสียใจมาก (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๔)

นิทำนอุทำหรณ์ ในทุกัมมำนิกชำดก

(สุนัขกับราชธิดา) พระเจ้าพรหมทัตมีพระธิดาชื่อ สุนทรา วันหนึ่งขณะที่จะเสด็จไปสรงน้า ถูกบุรุษผู้ หนึ่ งเอาหลาวแทงจนสิ้ น พระชนม์ สุ นั ข ทรงเลี้ ยงเห็ น เหตุ การณ์ แต่ห้ ามไว้ไม่ ทั น จึ ง คาบเครื่ อ งประดั บ ของพระธิ ด าไปให้ พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตร พระองค์มี รับ สั่ งให้ ฆ่ า สุ นั ข ตั ว นั้ น ภายหลั งพระเจ้ า พรหมทั ต พบพระศพพระธิ ด า จึ ง ทราบ ความจริงและเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๓) (พรานนกกับเหยี่ยว) พรานนกฆ่ า เหยี่ ย วของตนที่ พ ยายาม ขัดขวางไม่ให้ก้มลงดื่มน้าในสระ เพราะมีงู ตัวหนึ่งกาลั งจ้องจะฉก ต่อมาพรานนกก็ ถูกงูฉกจนนัยน์ตาบอด (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๒)

(สุนัขกับเครื่องประดับ) ชายผู้หนึ่งฆ่าสุนัขตาย เพราะเข้าใจผิดว่า สุนัขลักเครื่องประดับของสหายของตนมา ภายหลั งได้ ท ราบว่ า สหายของตนเป็ น ผู้ มอบเครื่องประดับเหล่านั้นให้ สุ นัขเองจึง เสียใจมาก (เล่าโดยนายทวารบาลคนที่ ๔)


๙๘

 สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จากเนื้อเรื่องโดยย่อของนิทานอุทาหรณ์ข้างต้น แม้จะพบว่าโทษของผู้ไม่ “วิจารณ์” ที่ได้รับทั้งทาง จิตใจและร่างกายนั้น ปรากฏให้เห็นทั้งในพระสุทธกรรมและทุกัมมานิกชาดก กล่าวคือ โทษทางจิตใจในพระ สุทธกรรมได้แก่เรื่อง พังพอนกับงูเห่า สุนัขกับราชธิดา อามาตย์กับมเหสีของท้าวสามนต์ ในทุกัมมานิกชาดก ได้แก่เรื่อง พังพอนกับงูเห่า สุนัขกับราชธิดา สุนัขกับเครื่องประดับ และโทษทางร่างกาย ในพระสุทธกรรม คือ เรื่องฤๅษีกับโจร และในทุกัมมานิกชาดก คือเรื่องพรานนกกับเหยี่ยว แต่เมื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมแล้วจะ พบว่า ระดับ ความเข้มข้น ของสารนั้ น แตกต่างกัน ซึ่งจะพบว่าในพระสุท ธกรรมนั้นมีความเข้มข้นของสาร มากกว่า เช่น โทษทางจิตใจในเรื่อง พังพอนกับงูเห่า ในทุกัมมานิกชาดก ที่สองสามีภรรยาผู้ไม่ “วิจารณ์” ได้รับ เพียง “พากันร้องไห้รักลูกแลพังพอน” (ปัญญาสชาดก เล่ม ๑, ๒๕๔๙: น. ๒๐๕) ซึ่งต่างจาก “ทุกข์ทับสองโศก ด้วยบุตรวิโศก อกเพียงพอนพัง คิดถึงพังพอน รุ่มร้อนอุรัง อุระเพียงพัง คิดถึงพังพอน” ของสองสามีภรรยาที่ พรรณนาไว้ในพระสุทธกรรม อันแสดงให้เห็นภาพของความโศกเศร้าที่เกิดขึ้น ความทุกข์ที่หนักหนาสาหัส ด้วย คาว่า “ทุกข์ทับ” ภาวะร้อนรุ่มในจิตใจปานประหนึ่งว่าอกจะ “พอนพัง” ลง หรือโทษทางร่างกาย พรานนกผู้ ไม่ “วิจ ารณ์ ” ในเรื่ อ ง พรานนกกั บ เหยี่ ย ว ได้ รับ โทษแต่เพี ยง “นั ยน์ ต าทั้ งสองของตนก็ ไม่ เห็ น หนสิ่ งใด” (ปัญญาสชาดก เล่ม ๑, ๒๕๔๙: น. ๒๐๖) โดยไม่ได้พรรณนาถึงความเจ็บปวด หรือสภาพที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามกับโทษทางร่างกาย ที่พระเจ้ากาสิกราชได้รับอันเนื่องมาจากการไปประหารชีวิตพระฤๅษี โดยไม่ พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบในเรื่อง ฤๅษีกับโจร ว่า จึงบัลลังก์แก้วมหา เสด็จสถิตนั่งใน ทรุดจมถล่มลงไป สะท้านแยกแหวกองค์ เป็นช่องโปร่งปล่องเจาะจง สถิตบนฐานอเวจี หลาวทั้งสี่อันมี อัคคีก็สุมรุมรึง ทนทุกข์เทวษวิบากบ่หึง บ่ได้ขึ้นมาเกิดกาย

สมเด็จกษัตรา พังทับท้าวไท นาไปตั้งคง เสียบเสียบโดยทวี นานนับกัลป์กึ่ง

โทษทางร่างกายที่ ได้รั บ อัน เกิ ดจากแผ่ นดิ น สู บ นี้ ถือ ได้ ว่าเป็ น โทษที่ห นั กหนาสาหั ส ยิ่ง แต่ก วีก็ ได้ พรรณนาเพื่อให้เห็นภาพของความน่ากลัวยิ่งขึ้น ด้วยการใช้คาที่มีอานุภาพรุนแรง เช่น การพรรณาภาพแผ่นดิน สูบขณะที่พระเจ้ากาสิกราชนั่งอยู่บนบัลลังก์ ว่า “ทรุด” “จม” “ถล่ม” “พัง” จากนั้นแผ่นดินก็ “ทับท้าวไท” และ “สะท้าน” “แยก” “แหวก” อัน เป็ นสภาพที่แผ่นดินวิปริตแปรปรวน ขาดหรือแยกออกจากกันอย่าง รวดเร็ว สะท้อนให้เห็นสภาพที่มนุษย์ยากที่จะหลีกหนีได้ จากนั้นก็ได้พรรณนาภาพการลงโทษในนรก (หลาว ทั้งสี่อันมี เสียบเสียบโดยทวี อัคคีก็สุมรุมรึง ) และความทุกข์ทรมานที่พระเจ้ากาสิกราชได้รับ (ทนทุกข์เทวษ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๙

วิบากบ่หึง นานนับกัลป์กึ่ง บ่ได้ขึ้นมาเกิดกาย) ดังนั้นความเข้มข้นของสารนี้จึงส่งผลดีต่อการสร้างอารมณ์ สะเทือนใจให้แก่ผู้เสพสาร เกิดความเกรงกลัวและตระหนักถึงโทษของการไม่“วิจารณ์” นอกจากนี้แล้วหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วน จะเห็นได้ว่าตัวละครส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ไม่ “วิจารณ์” ในนิทาน อุทาหรณ์ในพระสุทธกรรม มักจะเป็น “พระราชา” ประการหนึ่งอาจเป็นเพราะความเหมาะสมในการสร้างเรื่อง คู่ขนานเพื่อเป็นแนวเทียบกับเหตุการณ์ที่กาลังดาเนินไปในเรื่อง คือ พระสุทธกรรมถูกพระเจ้าพรหมทัตรับสั่งให้ นาตัวไปประหาร เพราะเข้าใจว่าพระสุทธกรรมฆ่าหงส์ ของพระองค์ นิทานที่ควรนามาเล่าจึงควรเป็นเรื่องที่ แสดงนัยน์เปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากพระเจ้าพรหมทัต ซึ่งเป็นพระราชาไม่พิจารณาให้รอบคอบ ก่อนจะทาอะไร ก็จะต้องได้รับผลของการกระทาเหมือนกับพระราชาที่ปรากฏในนิทานอุทาหรณ์ นอกจากนี้ แล้วยังอาจตีความได้ว่ า “พระราชา” ในที่นี้เป็นสัญ ลักษณ์ ของผู้ ปกครอง หรือผู้ที่มีอานาจชี้เป็นชี้ตายผู้ใต้ ปกครอง สารจากวรรณกรรมเรื่องนี้จึงเป็นการมุ่งแนะให้ผู้ปกครอง หรือผู้ที่มีอานาจอยู่ในมือใช้อานาจอย่าง ระมัดระวัง พินิจและไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบก่อนที่จะประพฤติปฏิบัติสิ่งใด เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย ในภายหลัง ๒. พระสุทธกรรมมุ่งนำเสนอแนวคิดเรื่องปัญญำ ควบคู่กับกำรนำเสนอเรื่อง “ทำน” แนวคิดเรื่องปัญญา เป็นลักษณะสาคัญที่ปรากฏทั้งในพระสุทธกรรมและทุกัมมานิกชาดก โดยพระโพธิสัตว์ในวรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้อาจไม่ได้แสดงบทบาททางปัญ ญาที่เด่นชัดนัก เช่น บทบาทในการ แก้ไขปัญหา หรือการแก้ปริศนา เป็นต้น เพราะวรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้ต้องการนาเสนอแนวคิดเรื่องปัญญา ในแง่ของการนาเสนอโทษของการไร้ปัญญา คือการขาดการพิจารณาความหรือเรื่องราวต่างๆ เช่น พระเจ้า พาราณสี ห รือ พระเจ้ าพรหมทั ต ต้อ งสู ญ เสี ยคนดี คือ ทุ กัม มานิ ก/สุ ท ธกรรม มาบริห ารราชการบ้ านเมือ ง เนื่องจากพระองค์เป็นผู้ไม่ “วิจารณ์” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพระสุทธกรรมพบว่า ไม่เพียงแต่จะนาเสนอแนวคิดเรื่องปัญญาเท่านั้น หากแต่ยังสอดแทรกเรื่อง “ทาน” ด้วย ดังปรากฏว่าในตอนท้ายได้กล่าวถึงเหตุการณ์ ที่พระโพธิสัตว์ได้ครอง เมืองตักศิลา ทรงทาทานอยู่เป็นนิจ ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ครั้นได้เสวยฉัตร พระทัยใสสานต์ บาเพ็ญทานา ทุกทิวาวาร หมู่ประชาบาล ชมชื่นหรรษา รับทานทรงธรรม์ เป็นนิรันดร์ ทุกวันเวลา ให้ตั้งที่ทาน หกแห่งบ่คลา แจกทรัพย์ฤๅท่า สิ้นวันละหกแสน และด้วยอานิสงส์ของการให้ทานจึงทาให้ โภชนาสาลี หิรัญสุวรรณมี ทรัพย์บ่แคลน ดังกัลปพฤกษ์แก้ว เพริศแพร้วในแดน ยาจกนับแสน พึ่งบุญภูมี


๑๐๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นี่ เป็ น การตอกย้ าวาทกรรมธรรมชาติและสิ่ งแวดล้ อมภายใต้ระบบสังคมธรรมราชา (ธัญ ญา สั งข พันธนานนท์, ๒๕๕๓: น. ๑๔๙) ว่าหากพระราชาหรือผู้ปกครองมีคุณธรรม ก็จะสัมพันธ์กับการทาให้ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ และสังคมมีแต่ความสงบสุข “ทาน” จึงเป็นความคิดสาคัญที่วรรณกรรม เรื่องนี้ได้พยายามนาเสนอ ๓. พระสุทธกรรมขยำยภำพควำมไม่ดีของ “หญิงสำมผัว” ให้เด่นชัดขึ้น ภาพความไม่ดีของ “หญิงสามผัว” ในส่วนของวรรณกรรมเรื่องพระสุทธกรรมนี้ ได้ให้รายละเอียดมาก ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสพสารได้ตระหนักถึงความไม่ดีของ “หญิงสามผัว” ว่านอกจากจะเป็นหญิงที่เคยมีสามี หลายคนมาก่อนแล้ว (สะท้อนให้เห็นว่าการครองคู่มีปัญหา) ยังมีลักษณะที่ไม่ดีอื่นๆ ด้วย อาทิ การไม่รักษา มารยาทในการรับประทาน ได้แก่ การพูดขณะรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารโดยไม่เผื่อแผ่ผู้อื่น ทา เสียงเรอเมื่อรับประทานอิ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ศรีเรือนไม่ควรทา ถามพลางพลอดเลียมลอง ตักเติมเพิ่มหลายที อิ่มเออเรอฮึกฮัก จริงเจ้าจงจะแจง

อร่อยต้องอารมณ์ดี ผู้เดียวกินสิ้นหมดแกง แล้วซ้าซักถามที่แคลง เนื้ออันใดบอกเมียมา

หรือการไม่ซื่อสัตย์ต่อสามี มีความละโมบโลภมากในเงินทอง แจ้งจิตแล้วคิดนึกใน ที่จะหาสวามีใหม่ จะได้ดังในใจจินตนา สุวรรณพันตาลึงหนา สืบมาก็บ่ห่อนเห็น ทาไมกับผัวผู้เช่น ก็ตามอย่าดู

ไม่ยากแก่ใจ ชั่วย่ายายตา นี้มันจะตายจะเป็น

สิ่งเหล่านี้ จึงอาจเป็นการสื่อนัยยะของผู้แต่งว่า “หญิงสามผัว” ที่มีลักษณะไม่ดีเช่นนี้ต่างหาก คือผู้หญิงที่ไม่ควรนามาเป็นภรรยา ๔. พระสุทธกรรมกับกำรสะท้อนภำพของสังคมกวี พระสุทธกรรม เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่สะท้อนภาพวิถีชีวิต ค่านิยม ฯลฯ ของสังคมกวีได้ อย่างเด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากทุกัมมานิกในปัญญาสชาดก ดังจะได้กล่าวเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ ต่อไปนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๐๑

๑) การสะท้อนค่านิยมเรื่องการยกย่องคนฉลาดและคนมีความรู้ บทประพันธ์หลายตอนในพระสุทธกรรม ปรากฏการแสดงความคิดนี้อย่างแจ่มชัด เช่น ใน ตอนที่สุทธกรรมกราบทูลความจริงแด่พระเจ้าพรหมทัต เรื่องที่ตนเองลักหงส์ของพระองค์ไป เพราะต้องการจะ ทดลองคาสอนของบิดา โดยได้กล่าวยกย่องนายทวารบาลว่า เพราะนายทวารบาลทั้งสี่เป็นผู้มีความรู้ ตนจึงรอด ชีวิตมาได้ ดังคาประพันธ์ที่ว่า สรรเสริญสี่นายประตู ระบิลระเบียนกฎหมาย แล้วชักนาทาเนียบนิยาย ไม่เผยให้เพชฌฆาตคลา ข้าบาทจึงคงชีวา ทั้งนี้ก็เพราะนายทวาร

ว่าเป็นคนรู้ มาเล่าเปรียบปราย ได้หงส์คืนมา

นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าพรหมทัต ยังแสดงนัยชื่นชม ด้วยว่า พระองค์ทรงฟังนายทวาร แก่นายมากมี

ควรจะบานาญบาเหน็จ

การให้รางวัล ถือเป็นการยกย่องหรือ ชื่นชมอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ในตอนท้ายเรื่อง พระสุทธกรรมยัง ได้ ก ล่ าวไว้ในคาสอนที่ ใช้ ส อนข้าราชบริ พ ารด้ ว ยว่า “ถ้ าจะคบคบคนที่ ดี ปั ณ ฑิ ต เมธี จึ งจะมีป ระโยชน์ ต่ออัตมา” ซึง่ มีนัยยะแสดงความยกย่องผู้ที่ฉลาดและมีความรู้เช่นเดียวกัน ๒) การสะท้อนความคิดเรื่องการยกย่องคาสอนของโบราณาจารย์ ในพระสุทธกรรม ได้แสดงให้เห็นว่า คาสอนของโบราณาจารย์ เป็นสิ่งที่ควรยกย่อง นาไปเป็น อุทาหรณ์สอนใจ และนาไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตน ดั งปรากฏในคากล่าวของนายทวารบาลเมื่อ จะหยิบยกนิทานอุทาหรณ์มาเล่าให้เพชฌฆาตฟัง หรือเมื่อเล่านิทานแต่ละเรื่องจบ อาทิ ฟังเราเพชฌฆาต นิทานนักปราชญ์ กล่าวมาแต่หลัง จงตั้งสองโสต รองรับวาจัง จาไว้สอนสั่ง สืบลูกหลานไป... นิทานอันนี้ นักปราชญ์เชิดชี้ ว่าไว้แต่ก่อน เป็นตราชูใช้ กล่าวไว้สั่งสอน ทาการคิดก่อน จึงเป็นมงคล… นิทานโบราณมีมา

หนึ่งบอกไว้ว่า


๑๐๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เราจะวิตถารให้ท่านเป็นมงคล จาไว้จะได้สอนตน ดังเครื่องประดับกายกาย จงตั้งโสตสดับเถิดนาย รองรับวาจาเรา...

ให้ถาวรผล ต่างภาชนะราย

๓) การสะท้อนความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ที่ปรากฏเด่นชัดในพระสุ ทธกรรม คือการบนบานศาลกล่าว ดัง ปรากฏในตอนที่ “ผู้พยาบาล” หงส์ค้นหาหงส์ของพระเจ้าพรหมทัตไม่พบ จึงหาทางออกด้วยการพึ่งอานาจของ สิ่งที่มีอานาจเหนือธรรมชาติ ว่า จับเบี้ยบวงบนบาน เมตตาอย่าซ่อนเร้น

เทพท่าขอให้เห็น เอ็นดูตูผู้รักษา

วรรณกรรมเรื่องนี้จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของการปะทะสังสรรค์กันระหว่างความเชื่อ ทางพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม (ผี/ผีฟ้า) ที่ยังคงไหลเวียนในท้องถิ่น ๔) การสะท้อนภาพศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น การสอดแทรกวิถีชีวิต หรือศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นไว้ในงานวรรณกรรมท้องถิ่น ถือเป็น ลักษณะเด่นประการหนึ่งของวรรณกรรมท้องถิ่น อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสมบัติของ ท้องถิ่น และบริบ ทของสั งคมและวัฒ นธรรมในท้ องถิ่น สั มพั น ธ์ต่อการสร้างสรรค์ตั วบทวรรณกรรม ซึ่ งใน วรรณกรรมเรื่องนี้ก็ปรากฏลักษณะดังกล่าว เช่นเดียวกัน เช่น การสอดแทรกศิลปะการละเล่นต่างๆ ในฉาก พรรณนางานพระบรมศพกษัตริย์เมืองตักศิลา กล่าวถึงกษัตริย์ อันเสวยสมบัติ ในตักศิลา ทิวงคตไป ได้เจ็ดทิวา หมู่มุขมาตยา แต่งพิธีกาล ยกศพใส่โกศเพชรฝังรุ่งโรจน์ เรืองรองชัชวาล ใส่ในเมรุทิพย์ เพียงทิพย์พิมาน ประกังสดาล แตรสังข์วังเวง แรมสบสมโภช กึกก้องอุโฆษ มหรสพครื้นเครง ร้องเล่นเต้นรา ระบาบรรเลง ฆ้องกลองอลเวง มงครุ่มรุมมะนา ไต่ลวดลอดบ่วง ลอดไปในห่วง โหนห้อยกายา หนังโขนละคร ราฟ้อนไปมา ยกย้ายหลายท่า จับกลุ่มรุมรัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๐๓

นอกจากนี้แล้ววรรณกรรมเรื่องพระสุทธกรรมยังมีอีกหลายประเด็นที่ชวนให้ศึกษา อันจะเป็น การขยายองค์ความรู้ให้แก่วรรณกรรมเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาข้างต้น สารที่นาเสนอออกมาในรูปแบบเฉพาะเหล่านี้ จึงเป็นส่ วนหนึ่งที่แสดง ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ได้ดารงคุณค่าในตัวชิ้นงานเองไว้อย่างสมบูรณ์

บรรณำนุกรม ธัญญา สังขพันธนานนท์. (๒๕๕๓). วรรณกรรมวิจำรณ์เชิงนิเวศ : วำทกรรมธรรมชำติและสิ่งแวดล้อมใน วรรณกรรมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร. นิยะดา เหล่าสุนทร. (๒๕๓๘). ปัญญำสชำดก : ประวัติและควำมสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของ ไทย. กรุงเทพฯ : แม่คาผาง. ปัญญำสชำดก เล่ม ๑. (๒๕๔๙). กรุงเทพฯ : ศิลปบรรณาคาร. สืบพงศ์ ธรรมชาติ. (๒๕๒๕). กำรศึกษำเชิงวิเครำะห์สุทธิกรรมชำดกฉบับภำคใต้. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (๒๕๔๘). สุทธกรรมชาดก คากาพย์. วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร เล่ม ๘. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).


๑๐๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: หน้ำต้นพระสุทธกรรม ๏ นโมมนัสอุตมางค์ ประนมในนาถนาโถ อนึ่งน้อมธรรเมศอุตโม มาล้างร้ายบาปบ่เบียน มโนบุพกังเพื่อนเรียน ระบอบแต่เบื้องอตีตา แต่งเติมตามพูดวัจนา ไว้ถ้วนห้าพันภิญโญ ถ้าคลาดขาดคณะวุตโต ลาดับให้ตรองคลองฉันท์ นิทานนี้พระสพัญเสด็จแสดงเทศนา โปรดฝูงเวไนยนรา อันมืดอันมัวโมโห ท่านผู้พหูสูตรตโต มนัสน้อมฟังธรรม์

นบน้อมเบญจางค์ อีกสงฆ์ทรงศีโล ขอจงระเบียน สืบถาวรมา เชิญท่านชี้วโร ญุตญาณรังสรรค์ ธรรมสัตว์ตา จงตั้งนโม

๏ ๒๘ ๏ ปางก่อนมีเมือง กษัตริย์หนึ่งรุ่งเรือง ยศเทียมเทวัญ ได้ผ่านพาราณสีโสพรรณ พระนามท้าวนั้น พรหมทัตขัตติยา เสวยราชัยฉัตร ครอบครองสมบัติ มุขหมู่ปัญจา สุขสมภิรมย์รื่น เชยชื่นปรีชา เย็นยิ่งธารา อมฤตรสมาน มีจันทเขต หนึ่งนอกนิเวศ นามไม่วิตถาร ท่านสังเขปไว้ มิให้พิสดาร ปราชญ์ปรีชาญาณ ย่นย่ออรรถา ครั้งนั้นพงศ์พุทธ พระองค์ก็จุติ จากแดนดุสิตา เสวยพระชนม์ชาติ ในมาตุโคตรา ชนกชนิกา ประดาธลิโท สถิตในเขตคาม ครบมาสทินยาม ถ้วนทัศมาโส จึงประสูติบุตร อันอุตโม ผิวผ่องสุวรรโณ นิ่มเนื้ออรชร อยู่จาเนียรกาล นางผู้เป็นมารดานั้นถึงมรณ์ ปิตุรงค์พงศ์พันธุ์ ชุมกันสโมสร จึงให้นามกร ชื่อเจ้าสุทธกรรม รูปทรงแห่งเจ้า ดังทองหล่อเหลา ทรวดสมคมขา วรรษาโสฬส ขวบครบฉนา หญิงเห็นใคร่สัมผัสในใจยวน จาเนียรนานมา บิดาชรา โรครุมกุมกวน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๐๕

เกือบใกล้ชีวาตม์ มัจจุราชมาชวน จึงเรียกบุตรสงวน เข้ามาบ่นาน จึงกล่าวแก่บุตร ว่าเราผู้อุตดมดวงมณีญาณ บิดาจะใกล้ ประลัยอวสาน สิ้นสุดชนมาน แม่นแท้สัจจัง บิดาจะสอน ไว้ให้ถาวร เป็นอาภรณัง อันความสามสิ่ง เป็นมิ่งมังคลัง ชแลมีโล่ดั้ง ดังดวงมณี จาไว้จงมั่น ปลงจิตผูกพัน ในข้อคดี สืบไปเบื้องมุข ทุกข์เจ้าจะมี เมื่อร่วมสามัคคี สมัครสังสารา ถ้าหญิงใดหม้าย ได้ร่วมรสชาย สามคาบบ่คลา เจ้าอย่าเสพสม รมย์ร่วมรสกามา เมมัวมืดช้า ด้วยหญิงสามานย์ เหมือนอสรพิษ หมายล้างชีวิต ให้บรรลัยลาญ ดุจดังกระสือ ปองปรี่จงผลาญ คนไข้ขันธมาร โรครุมกุมกิน หนึ่งชายใดเจ้า บวชแล้วสึกเล่า สามครั้งดังถวิล อย่าเอาเป็นมิตร มันจิตทมิฬ ไม่ถาวรกิน พ่ายแพ้อาตมา ถ้าจะมีมิตร ซร้องเสพบัณฑิต ปราชญ์เปรมปรีชา จึงเป็นมงคล กลในอนาคตกาลเบื้องหน้า พูนผลอนันต์ หนึ่งนัคเรศใด ผู้ครองราชัย มืดมนโมหันธ์ มิได้ตั้งอยู่ ในยุติธรรม์ เบียดเบียนแปรผัน บ่คงคาแสดง ใครทูลคดี ว่าก่อนเป็นศรี เรื่องความนั้นแฝง เชื่อแต่ฝ่ายเดียว ไม่เฉลียวจิตแจ้ง คือถือระแวง ให้แจงแก่ชน ไม่พิจารณา ทิฏฐิโมหา ฝักฝ่ายอกุศล จาคาบิดา อย่าอยู่ปะปน เร่งคิดขวายขวน นากายหน่ายหนี สั่งแล้วบ่คลาด ลมกัมมัชวาต วิงเวียนอินทรีย์ ดับจิตนิวาส ขาดสิ้นสมประดี สุทธกรรมโฉมศรี ร่ารักบิดา ครั้นวายโศกศัลย์ จึงสุทธกรรมนั้น กระทาซึ่งฌา(ปน)กิจเผาสรรพเสร็จ เด็ดเดี่ยวอาตมา ทุกข์โทรมนัสา สิ้นยามราตรี ครั้นรุ่งพรายพรรณ พอพระสุริยัน เรืองรองส่องศรี จัดธูปเทียนวาง บัวบงกชมี เพสัตรกัปปี อังคารสังขาร์ แลอุทกโน หล่อหลั่งชโล ลงยังพสุธา แผ่ผลบุญ ตั้งใจเจตนา แล้วลาสังขาร์ สู่เคหาสถาน ร้อนรนทนเทวษ ถึงปิตุเรศ เนตรนองคือธาร ครั้นว่านานเนิ่น เกินวรสาสาน จึงจินตนาการ ที่ในคาสอน สามสิ่งยังแท้ จาไว้ได้แน่ นึกในอาวรณ์ จาจะลองเล่น ในเห็นเงื่อนงอน จะเหมือนสุนทร จริงฤๅไรนา


๑๐๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ ๑๑ ๏ สุทธกรรมดาเนิน ครั้นถึงที่ฐานนา เดินดูโดยรอบคอบ จึงปลูกเคหาสัง ครั้นเสร็จสาเร็จเหย้า สอดเนตรเมียงมองชน ภัสดามาแรมลาศ ด้วยจิตโลเลลาม เจ้าแจ้งว่าหญิงนั้น จึงเจ้าเข้าสมาน เดินเสาะแสวงเกลอ ได้สมภิรมยา สองถึงเคหาสถาน สองยวนชวนชื่นใจ ครั้นอยู่จาเนียรมา ประโยชน์เพื่อจะลอง จึงเห็นหงส์พญา มาเล่นบ่เว้นวาร จะจับไปซ่อนลอง จะเป็นเหมือนเช่นคา วันนั้นนางผู้เมีย บอกผัวว่าจะไป ว่าแล้วลงจากเรือน เลียบเล่นโดยพารา ฝ่ายพระทรงพุทธา จิตจงจานงใน ด้อมเดินหมอบเมิลมอง ฉกฉวยแล้วพวยพา ขุดหลุมใส่หงส์ซ่อน ดินเขี่ยกลบเกลี่ยเกลี้ยง แหวกช่องให้หายใจ ๑๗ ๑๘

น่าจะเป็น สมปอง น่าจะมาจากคาว่า ชล

นวยนาดเดินเข้าพารา ในขอบเขตนิเวศวัง เห็นประกอบจานงปลัง ในที่หนึ่งพึงยอยล เดินไต่เต้าตามสนน ยลนารีมีมิตรสาม มิสังวาสในกลกาม ลามกมากสามานย์พาล ใจอาธรรม์ธุราจาน เอาเป็นมิตรแล้วชวนพา อันอาเภอสึกสามครา ลาเกลอมาสานักใน ร่วมสงสารพิสมัย มโนรมย์สมผอง๑๗สอง สุทธกรรมจึงคะนึงปอง คาบิดาสามประการ ลีลาคลาล่องลอยชาล๑๘ ใกล้สถานสุทธกรรม ดูใจของหญิงโกลา บิดาสอนฤๅกลใด ฉวยได้เบี้ยห่อสไบ เยี่ยมเยียนญาติเย็นจะมา เดินฉุยเชือนแชชายหา ลาพองพาลอาเภอใจ เห็นภริยาครรไลไกล ลงจากเรือนเยือนยาตรา ชิดหงส์ทองของพญา สู่สุม(ทุม)พุ่มไม้เมียง กระดานซ้อนปากหลุมเรียง ใบไม้สะประปกตา ภักษาใส่ไว้เป็นอา-


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๐๗

หารหงส์ให้ภุญชา แล้วดะดุ่มเดาะ บ่มีผู้ใดยง มาถึงตลาดหลวง ในจิตเจตนาวอน ได้สมอารมณ์มาด ถึงแล้วจึงพะแนง หญิงนั้นครั้นเพลา ธยุมาตกระมัวมล จึงเจ้าสุทธกรรม ว่าเจ้าจาเริญศรี เชิญเจ้าภุญชโภชนา คั่วแกงพี่แต่งเกรียม๑๙ ครั้นเห็นจิตหญิงงอน บอกน้องอย่าอาพราง นกเป็ดฤๅไก่มัน วอนถามถึงสามครา ถามพลางพลอดเลียมลอง๒๐ ตักเติมเพิ่มหลายที อิ่มเออเรอฮึกฮัก จริงเจ้าจงจะแจง สุทธกรรมกล่าวคาปราม เมมืดเสน่หา เนื้อนี้เนื้อเหมราช งามขาเจ้าจาไว้ หญิงร้ายครั้นได้ยิน ผัวกูนี้หยาบคาย คิดแล้วระงับไว้ ฝ่ายว่าผู้พยาบาล ขุกค้นด้นเดินดู แต่เช้าเท่าสุริยา ๑๙ ๒๐

เตรียม ลิ้มลอง

บ่อดอิ่มอารมณ์หงส์ ลอดลัดเลาะจากพุ่มพวง จะยลเห็นแห่งเงื่อนงอน ชนทั้งปวงจะแจจร เที่ยวซื้อซึ่งเป็ดไก่แกง เดินตลาดสอดแสวง แต่งต้มติม้ ท่าเมียตน พระสุริยาจะใกล้สนดลสานักภรรดาดี ระโบมบาโลมลาภี แสนสวาทอารมณ์เรียม รสเอมโอชพะแนงเนียม ว่าแล้วยกออกมาวาง ยิ้มเยื้อนยวนแย้มถามพลาง มังสาใครได้ไหนมา อย่าเกลียดกันมุสา โพธิสัตว์ไม่พาที อร่อยต้องอารมณ์ดี ผู้เดียวกินสิ้นหมดแกง แล้วซ้าซักถามที่แคลง เนื้ออันใดบอกเมียมา แน่ะนางงามยั่วยวนกาจะแจ้งเจ้าอย่าเล่าใคร ของพระบาทปิ่นราชัย อย่าแจกแจ้งให้แพร่งพราย คิดถวิลหทัยหมาย จิตโมหะมหาพาล บ่ได้ไขให้ฉาวฉาน เห็นหงส์หายซอกซอนหา โดยเขตคูรอบพารา เยี่ยมยะยับย่ายอเย็น


๑๐๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๒๑

จับเบี้ยบวงบนบาน เมตตาอย่าซ่อนเร้น แม้นว่ามิได้หงส์ บนพลางทางเที่ยวหา จึงเดินสู่สานัก เดชะฝ่าธุลี จงโปรดกล้าเดฉัน ชีวิตอยู่ใต้บาท์ค้นหาทุกตาบล จนสิ้นแสงทิน๒๑พราย กษัตริย์ทรงซึมซ่าน ไยมึงไม่นาพา พระองค์ให้ขับเฆี่ยน ถ้าหาบ่เห็นหงส์ กริ้วเกรี้ยวกระทืบบาท ไฉนผู้ใดจึง เร็วเว้ยหมู่อามาตย์ ไปยังคลังมหา ตีฆ้องร้องป่าวไป เบี้ยวบุ้ยบอกความพลัน ทรัพย์พันตาลึงนั้น มิได้โจรพาลา เร่งคิดขวนขวายหา เสาะดูทุกอาเภอ อามาตย์รับพจน์พล ครั้นถึงทิมดาบดิ้น จึงทาตามคาราช ตีฆ้องร้องป่าวไป ถึงบ้านสุทธกรรม หม้ายเมียเงี่ยหูเอียง

เทพท่าขอให้เห็น เอ็นดูตูผู้รักษา ท้าวบ่คงซึ่งชีวา บ่พานพบจบธานี ทูลจอมจักรธาตรี ละอองบาทมุลิกา ขอประทานซึ่งชีวา บทเบื้องบาทด้วยหงส์หาย บ่ยงยลแต่เช้างาย ตามแต่ทรงพระเมตตา แดเดือดดาลฤๅทัยา เชลยให้หาหงส์ แลจาเจียนชีวิตปลง กูบ่โปรดอดโทษมึง ฉะฉานฉาดผะโผงผึง จ้องบังอาจอหังกา บุรุษราชจรเร่งคลา สมบัติเบิกทรัพย์ถึงพัน ถ้าผู้ใดแจ้งสาคัญ สุดรู้กันจับตัวมา เป็นรางวัลผู้บอกนา ทาโทษนายอาเภอ ตามวาจากูสั่งเนอ มิได้โจรเสี้ยนแผ่นดิน นอบน้อมตนลานรินทร์ ปรึกษาซุ่มชุมนุมใน บ่เคลื่อนคลาดถี่ถ้อยไท รอบขอบเขตนิเวศเวียง ตีฆ้องซ้าแล้วแทรกเสียง คอยสดับศัพท์เสนา

๏ ๑๖ ๏ บัดนั้นหญิงใจพาลา

โลภคามฤจฉา

น่าจะหมายถึง ทินกร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๐๙

โมหาหันธ์อันธพาล ได้ยินเสียงป่าวชาวขาน แจ้งจิตแล้วคิดนึกใน ที่จะหาสวามีใหม่ จะได้ดังในใจจินตนา สุวรรณพันตาลึงหนา สืบมาก็บ่ห่อนเห็น ทาไมกับผัวผู้เช่น ก็ตามอย่าดู คิดแล้วลงจากประตูแทบท่าที่เสนาเดิน จึงลองภิปรายกรายเกริ่น สวัสดิ์เลื่องลือนาม ตีฆ้องร้องปากป่าวถาม ของไท้ธเรศธาตรี จงให้ทองข้าบัดนี้ โจรอันลักเหมราช์ บัดนั้นจึงนายเสนา สุนทรกระหยิ่มยิ้มยวน จึงส่งทองให้บ่ผวน ผู้ใดนาไปอย่าคลา ฝ่ายช่องชี้หญิงแสนสาก็นามายังสวามี ชี้บอกอามาตย์ด้วยดี ลักหงส์ของพงศ์จักรพาล อามาตย์โจมโจนทะยาน มัดมันกระสันตึงตัว โซ่กรวนพันธการ๒๒ถ่องทั่ว มายังสานักจักรา วันนั้นจวบจวนสนธยา จะสิ้นแรงทิน๒๓อัสดง ๒๒ ๒๓

โซ่ตรวนพันธนาการ ทินกร

ทราบโสตวิญญาณ ไม่ยากแก่ใจ ชั่วย่ายายตา นี้มันจะตายจะเป็น เรือนมายืนอยู่ ท่านผู้จาเริญ โจรลักหงส์งาม ข้าจะช่วยชี้ ได้ฟังสารา แล้วผันพักตร์ชวน หัสโหดหินา ว่าเพื่อนคนนี้ จับได้กุมาร แล้วนาเอาตัว โพล้เพล้เพลา


๑๑๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

อามาตย์จึงกราบทูลทรง บัดนี้ก็ได้ตัวมา เมื่อนั้นสามนต์อิศรา มงกุฎเกล้าภพไตร ได้ฟังอามาตย์ทูลไป คือเพลิงอันพุ่งโพลงพลาม บ่ได้ซักไซ้ไต่ถาม อย่าไว้จะดูเยี่ยงกัน ตรัสสั่งเพชฌฆาตพลัน ฟันเสียบเสียนอกนัครา เพชฌฆาตรับสั่งบ่คลา บุรุษราชดาเนิน ทาโพยโบยรันยับเยิน ด้วยจวบจวนเวลา จรดลมาตามมรรคา เกลอนั้นก็ว่าเออเกลอ เกลอโทษถึงตายแล้วเนอ เกลอจงให้ผ้ากู ผ้านุ่งพันพุงใหม่อยู่ กูจะแลกเหล้าเข้ากิน เมื่อนั้นหน่อพระนรินทร์ ถ้อยเกลออันกล่าววัจนา จึงเปลื้องผ้าออกจากกาส่งให้ด้วยใจใสสาร เพชฌฆาตนามาบ่นาน มืดมนไม่ยลพักตรา นายทวารทั้งสี่ทิศา เพลานั้นค่าราตรี มาถึงบุระทวารี วาจาแก่นายประตู สู่เร่งเปิดทวารให้กู วเรศใช้ให้กูมา คุมเอาโจรร้ายมฤจฉา แล้วสั่งให้เสียบเศียรประจาน

ว่าโจรใจยง เรืองยศมหา กริ้วเกรี้ยวหทัย ว่าไอ้โจรหยาม ....(ไม่ปรากฏ).... พาพระมหาแล้วเตือนให้เดิน พบเกลอเดินมา โอ้เอ็นดูเกลอ เปลื้องส่งมากู ได้ฟังวาทิน ยายื่นบ่คลา พอสนธยากาล ปิดแน่นตรึงตรา เพชฌฆาตจึงมี สมเด็จพระผู้ ไปพิฆาตฆ่า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๑๑

นายประตูได้ฟังถึงทัณฑ์ ทาเนียมแต่ก่อนไม่มี แต่เรามาอยู่หลายปี บ่เคยจะเผยกลางคืน กษัตริย์มากกว่าหมื่น เราไสร้ยังบ่เคยยล ไฉนไยหมู่มุขมนเบี่ยงบ่ายบารุงกษัตรา โจรนี้เป็นสัตว์ฤๅนา รภาพแล้วฤๅกลใด เห็นผิดจารีตบุราณไป ย่อมช่วย(ระ)ลึกตรึกตรา แม้นฟังความข้างเดียวนา จะร้อนซอนธรณินทร์ สิ่งใดมลามลทิน ตรึกคิดทีขอฟังข้า เฉียวฉุนหุนหวนโกรธา สวนสอบให้ชอบอัยการ นานไปจะได้ราคาญ แลเราจะเล่าให้ฟัง

ผิดเพลากาล ทวารอันนี้ ค่ากลางคืน ตรีไม่ผ่อนปรน ตัวเพื่อนได้สาอันมนตรีชัย ฝูงชนประชา ควรจิตถวิล มิได้วิจา๒๔ ยังมีนิทาน

๏ ๒๘ ๏ ฟังเราเพชฌฆาต นิทานนักปราชญ์ กล่าวมาแต่หลัง จงตั้งสองโสต รองรับวาจัง จาไว้สอนสั่ง สืบลูกหลานไป ยังมีชาวนา สวามีภริยา เป็นคนเข็ญใจ เร่งเลี้ยงชีวิต โดนจิตวิสัย จึงปลูกทรัพย์ไว้ ที่ในท้องนา แล้วลี้ยงพังพอน เพื่อนฝึกสอน ให้เลี้ยงบุตรา ภิริยาสวามี จรลีลงนา ละลูกอัตมา ไว้กับพังพอน ทารกนั้นเล่น แต่เช้าเท่าเย็น บ่ได้อ้อนวอน เสสรวลซี้ซิก หยอกหยิกพังพอน ประสาลูกอ่อน ยวนยิ้มยินดี เล่นมาด้วยกัน ทุกทิวาวัน ปลื้มปลาบปรานปรีดิ์ อยู่มาวันหนึ่ง งูเห่าหาญมี พิษเพียงวาสุตรี๒๕ ตอดต้องทารกา ๒๔ ๒๕

วิจารณา วาสุกรี


๑๑๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ล้มลงบ่หิง๒๖ มิได้ไหวติง ขิงแข็งกายา พิษกุมรุมรึง ถึงแก่มรณา พังพอนโกรธา โถมถากัดงู ต่างต่างตัวตอด งูโลดไหลลอด เลิกพังพานพู พังพอนใจยง จิตจงกตัญญู แก้เกี้ยวกัดงู งูนั้นวายชนม์ จึงคาบงูมา วางไว้ใกล้ทารกนั้นบัดดล หวังว่าจะให้ ผัวเมียสองคน แจ้งอนุสนธิ์ ว่างูพาลา สองผัวเมียนั้น ครั้นว่าสายัณห์ โพล้เพล้เพลา คืนที่อยู่ตน ยลบุตรมรณา สาคัญสัญญา ว่าพังพอนพาล กัดลูกตนตาย กริ้วโกรธฟูมฟาย จับไปประหาร ตีต้องพังพอน ม้วยมรณ์วายปราณ จึงเห็นงูพาล ตายริมบุตรา ผัวเมียเสียดาย กูนี้มักง่าย โฉดชั่วนักหนา ชะรอยงูเห่า ขบเจ้ามรณา พังพอนนี้นา โทษาไม่มี ย่อมจะกัดงู ด้วยกตัญญู ทากตเวที เห็นว่างูเห่า ผลาญเจ้าเป็นผี จึงพังพอนนี้ กัดงูตายตาม โอ้อกกูอา ไม่มีวิจา ใจเร็วเสียความ เอาแต่โทโส โมโหโมหาม หุนหวนลวนลาม เสียความภายหลัง ทุกข์ทับสองโศก ด้วยบุตรวิโยค อกเพียงพอนพัง คิดถึงพังพอน รุ่มร้อนอุรัง อุระเพียงพัง คิดถึงพังพอน นิทานอันนี้ นักปราชญ์เชิดชี้ ว่าไว้แต่ก่อน เป็นตราชูใช้ กล่าวไว้สั่งสอน ทาการคิดก่อน จึงเป็นมงคล ไม่คิดไม่อ่าน เอาแต่โศกาน เห็นไม่เป็นผล เหมือนเขาทั้งสอง เศร้าหมองร้อนรน เพราะเบาอยู่ปน เช่นนี้แลนา ดูราเพชฌฆาต ท่านจงลินลาศ ไปอื่นอย่าคลา ทวารอันนี้ ไม่เผยเลยนา ด้วยผิดเพลา ทาเนียมไม่มี แต่พูดกันอยู่ กับนายประตู ยามย่าฆ้องตี เพชฌฆาตใจยง พาองค์โพธี๒๗ ยาตราลี๒๘ สู่ประตูทักษิณ ครั้นถึงจึงร้อง เรียกไปโดยปอง นายประตูได้ยิน ลุกขึ้นเถิดถาม ว่าความแผ่นดิน อันใดมลทิน ฤๅท่านจึงมา ค่ามืดดึกดื่น ราตรีกลางคืน ผิดเพลาคลา เพชฌฆาตจึงแจ้ง แสดงกิจจา เหมือนแต่หลังมา ถี่ถ้วนทุกประการ ๒๖

หึง แปลว่า ช้า โพธิสัตว์ ๒๘ ลีลาศ ๒๗


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๑๓

นายประตูจึงตอบ เราเห็นมิชอบ กษัตริย์แต่ก่อน ครอบครองศฤงคาร เอาใส่ด้วยบท โทษถึงกาหนด จึงจะปรากฏ ตามบทสืบมา ไม่รู้ที่เผย ทวารใดเลย ทาเนียมบุราณ นิทานเรามี ตั้งไว้สั่งสอน ชาวประชากร เชิญท่านเพชฌฆาต ฟังโอวาทา ๏ ๑๑ ๏ ดูรานายเอ๋ย นิทานแต่ก่อนไกล เบื้องหลังยังมีเมือง สีแสงสุวรรณัง จัตุรมุขสุกแสงแวว ประดับปราสาทา สุขสมภิรมยา พรหมทัตครองธาตรี พระองค์มีธิดา ผิวผ่องลออองค์ ฝ่ายบิตุเรศราชา ขุดสระในวังศรี มีพันธุ์โกสุม เรณูฟูฟุ้งใน พระราชธิดา สรงเล่นเย็นอารมณ์ มีมุขอามาตย์ จิตรปองจะทาลาย เพื่อนนั้นบ่ได้ทา จะคิดฆ่าธิดา คิดแล้วหลาวแหลมแนม เพื่อนหลาวแหลนแหลม ปักแล้วเพื่อนผายผัน สุนัขตัวหนึ่งนางเห็นกลอามาตย์

ระบอบบุราณ ถ้าจะประหาร มากลางวันนา นี่สั่งให้ฆ่า ผิดประเพณี ท่านผู้เมธี อีกท้าวพญา เจ้าจาคาข้า

ผู้ต้องอาญา เพลาราตรี ปราชญ์เปรียบปรีชา ไว้สั่งสอนใจ

อย่าฉุนเฉยจาคาใน เราจะเล่าให้ท่านฟัง อันรุ่งเรืองวิโรจน์รัง อร่ามเรืองระคายตา ช่างแกะแก้วเป็นนาคา ประเสริฐสมสูงโสภี ชื่อเมืองพาราณสี เป็นเอกอิศราพงศ์ โฉมโสภาอนงค์ยง โอ่อ่าเอี่ยมอิ่มอินทรีย์ แสนนาฏธิดาดี สาหรับนางสนานใน บ้างบานตูมตั้งเต็มไป นทีธารธารารมย์ ลีลาคลาภิรมย์ชม ทุกทิวาบ่เว้นวาย หนึ่งเกลียดกาจโลภะหมาย ล้างพระชนม์กษัตรา ขุ่นเคืองใจโทรมนัสา ดวงรักพระลูกแทน เลิศเหลือแหลมลอบปักแดน ปักตรงแดนที่สรงนาง ใครบ่ทันจะเห็นนางธิดาเลี้ยงไว้ในวัง มันบ่คลาดจากตระพัง


๑๑๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ด้วยความเสน่ห์หวัง ฝ่ายว่าบุตรีนาถ มาถึงที่ฐานา ผลัดพระภูษาเสร็จ สุนัขอันตัวยง เยื้อยื้อชุดชักไว้ กลัวนางจะมรณา ฝ่ายองค์พระบิดร เล็งยลวิมลใน เห็นว่าสุนัขร้าย ตารวจรีบเร็วรา ตารวจรับสั่งท้าว จับได้สุนัขพลัน ฝ่ายว่าธิดานาถ จ้วงโจนโผนลงไป เลือดไหลซะเซ็นซ่าน จิตจรดทรวง ฝ่ายปิ่นนรินทร์เรือง วิ่งมาบ่อางขนาง กอดศพแสนโศกครวญ สะอื้นไห้แล้วมี สลบซบซ้อนแน่ ทรงโศกโศกาลัย ฟื้นองค์ทรงภพ ใครหนอใจแสนสาจับได้จะให้ฆ่า ชะรอยสุนัขใน จึงคร่าภูษาไว้ มีคุณต่ออนงค์ กูให้ฆ่าสุนัข โอ้กูเป็นคน ตริแล้วระงับไว้ สมเด็จปิ่นธรา ทรงโศกแสนเทวษ

จะห้ามพระราชธิดา เยาวยุพราชลีลาคลา สระสาโรชเสาวคนธ์ทรง พระเสด็จลีลาลง เข้าขบคาบชุดภูษา หวงมิให้ลงชลา สุนัขคิดคุณาใน เยี่ยมบัญชรจารัสไข โกรธกริ้วเกรียมพระพักตรา จิตหมายขบพระธิดา สุนัขฆ่าเสียอย่าไว้มัน วิ่งวู่ราวดังกังหัน ฟันด้วยดาบกระเด็นไป บุตรจอมราชเจ้าราชัย ต้องหลาวเสียบตลอดทรวง ดิ้นดาลดับเด่นดวง สู่ภวังค์วิถีทาง มกุฎเมืองยังยลนาง โอบอุ้มองค์บุตรี หฤทัยหวนอาลัยศรี วาจาราพันไป บ่แปรแลพระพักตร์ไป สลบหลับพระนัยนา จึงปรารภซึ่งกิจจา หัสเหี้ยมห้าวปักหลาวใน เจ็ดชั่วย่ายายบรรลัย ประจักษ์แจ้งกิจจาจง หวงมิให้ลูกกูลง หนักเพียงแผ่นสุธาดล อันใจภักดิ์ต่อนฤมล งงงมโง่ไม่วิจา ละอายใจแก่เสนา บ่เผยอรรถจะตรัสได้ พระชลเนตร ธ นองนัยน์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๑๕

จึงให้แต่งศพไท แล้วตั้งพิทธีกาล สาเร็จกิจแล้วมี สุนัขมีคุณกู ก็ฆ่าให้วอดวาย ทรงโศกเศร้าศรีหมอง ทุกข์ทับเพียงเมรู นิทานเท่านี้นาย ทาการให้คิดการณ์ ท่านจงไปอื่นเถิด กฎหมายตั้งไว้ว่า เพชฌฆาตได้ฟังกล่าว เข้าๆ ชาวเราเอย จึงพาพระพงศ์พุทธ คลามาทวารชัย ว่าเหวยนายประตู นายทวารร้องขานมา ค่าคืนมืดราตรี ดูรานะนายเอย นายเพชฌฆาตบอกบ่กลับ ตามจริงทุกสิ่งไป จึงนายทวารว่า กาลเกินเนิ่นนานยัง ถ้าทาการสิ่งใด นานไปไม่เสบย นิทานโบราณมี เพชฌฆาตรับว่าอือ

ใส่โกศแก้วมุกดาดี ตามโบราณปลงศพศรี พระทัยคิดไม่ขาดสาย น่าเอ็นดูเสียดายตาย เหมือนกูฆ่าพระลูกกู น้าเนตรนองพะพรายพรู อยู่สิ้นกาละช้านาน ปราชญ์ภิปรายแต่โบราณ ได้ความทุกข์ดังนี้นา เราไม่เปิดทวารา ผิดเพลาอย่าเผยเลย ลุกเดินดามาว่าเอ่ย เขาไม่เปิดตูจะไป อันชื่อสุทธกรรมไคลประจิมทิศร้องเรียกหา เผยให้กูจงเร็วรา จะไปในร้องให้เผย ผิดท่วงทีข้าไม่เคย มีซึ่งกิจณสิ่งใด กลับกลอกข้อคาใน เหมือนเมื่อนามาแต่หลัง เราอยู่มาก็จีรัง มิได้เห็นเช่นนี้เลย บ่ตรึกไตรนะนายเอ๋ย ได้ความทุกข์เมื่อปลายมือ ท่านทั้งนี้จะฟังฤๅ เล่าไปเถิดจะขอฟัง

๏ ๑๖ ๏ เมื่อนั้นจึงนายทวารวัง อันมีในเรื่องบุพกาล ยังเมืองหนึ่งไพศาล ชื่อกาสิกราชนคร กษัตริย์ทรงพระนามกร ธิราชเธอเสวยไอศูรย์

เล่าเรื่องราวหลัง พิเศษโอฬาร กาสิกภูธร


๑๑๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

มีดาบสหนึ่งไพบูลย์ วิเศษด้วยศีลาจารย์ สถิตในอรัญญกากาล กาสิกราชธานี อยู่มาราตรีหนึ่งมี ย่องขึ้นบนเรือนนายแหวง ท้าวฉวยได้ห่อผ้าบ่แคลง นายแหวงก็ฟื้นตื่นตน โจนแล่นไล่ตามคารณ อาศรมพระฤๅษีสาร ทิ้งห่อผ้าไว้บ่นาน ก็หนีเข้าไพรสณฑ์ นายแหวงตามไล่บ่ย่น เพื่อนกริ้วโกรธา ดูดู๋ควรฤๅพระดาเสพโทษอทินนาทาน ว่าแล้วกลับคืนสถาน ก็ทูลแก่เจ้าภพไตร ว่ามีดาบสหนึ่งใหม่ บนเรือนแห่งข้าบ่นาน ฉกฉวยห่อผ้าทะยาน ข้าไล่บ่ได้ละตัว ครั้นถึงศาลาแล้วกลัว วิ่งเข้าซ่อนนอนอยู่ใน เอาแต่ห่อผ้าขว้างไว้ ข้าได้สาคัญของมา ขอบรมเดชา ที่ข้อคดีฉันทูล ฝ่ายองค์พงศ์ภพไพบูลย์ เห็นจริงทุกสิ่งในคา ดูดดู๋ าบสโกลา อทินนโทษธุราจารย์ ๒๙

มิจฉา

จัตุรพรหมพูน ใกล้เขตภูบาล โจรร้ายราวี โจนจากเรือนแรง โจรวิ่งดล ส่วนโจรสามานย์ ก็ขุกขู่คารณ บสใจมฤษา๒๙ รุ่งราตรีกาล ย่องเบาขึ้นไป วิ่งออกโดยทวาร ข้าจะจับตัว ณ ศาลาลัย จงทราบบาทา ฟังนายแหวงทูล ควรฤๅกระทา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๑๗

บ่คงในพรหมจรรยา เอาไว้ก็หนักดินดาน จึงมีซึ่งบรรหาร เรียกเพชฌฆาตบ่คลา สูเร่งไปจับเอาดามาเสียบไว้ที่ประตู เพชฌฆาตรับสั่งพระผู้ ประกอบพระเกียรติลือนาม ก้มกราบประณตประนมงาม เสร็จแล้วไคลคลามา มากุฏิเก่าเห็นดาจาเริญจตุรพรหมญาณฌาน เพชฌฆาตทาตามโองการ ผูกมัดด้วยเครื่องจองจา ได้แล้วนามาฤผยอง ทวารแห่งเจ้าจอมจักรพงศ์ จึงตั้งเข่าหยั่งลง คุลีหนึ่งเสียบไส้ใน แล้วเอาฤๅ๓๐ อันไพขึ้นตั้งบนปลายเหล็กแหลน อิสีจึงมีวาจาแทน บ่มีโทษควรฤๅวิจา นี้ท่านบ่ได้ปรึกษา โทษนั้นจะตอบตามตน ดุจหนึ่งฉายายังยล บ่เว้นบ่วายจากจร ว่าแล้วเสงี่ยมสุนทร อาลัยชีวาตม์(อา)สัญ ฝ่ายว่าชาวเมืองเนืองอนันต์ ธุญาติมายินเยี่ยมยล ครั้นเห็นโจรใจอกุศล แล้ววิ่งมาดูด้วยไว ๓๐

ฤๅษี

โทษถึงชีวา เอื้อนออกโองการ บสไอ้โจรา บดินทราชู ครบคารบสาม บสนั่งสมาธิ์ จับอิสิสาร มาถึงที่คลอง เอาหลาวแหลมองบูลย์ตบะใน ว่าตัวเราแม้น ทาโทษเรานา ติดตามนรชน บ่ได้อาวรณ์ พรรคพาพวกพันแจ้งกิจยุบล


๑๑๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ครั้นถึงประตูชัย ก็สูบเอาโจรโดยจง ชาวเมืองครั้นเห็นพิศวง ว่ากรรมทาชื่อไร โจรนั้นจึงรับคาไข อันตนได้ทาแต่หลัง บอกบ่ทันสิ้นวาจัง ทรุดสูบไปสู่โลกันตร์ เสนาครั้นเห็นอกสั่น บ่ได้มีโทษผิดผล วิ่งมาทูลยุบล บ่ทันที่ทูลกิจจา จึงบัลลังก์แก้วมหา เสด็จสถิตนั่งใน ทรุดจมถล่มลงไป สะท้านแยกแหวกองค์ เป็นช่องโปร่งปล่องเจาะจง สถิตบนฐานอเวจี หลาวทั้งสี่อันมี อัคคีก็สุมรุมรึง ทนทุกข์เทวษวิบากบ่หึง บ่ได้ขึ้นมาเกิดกาย ท้าวกาสิกราชนี้นาย แล้วโกรธาโทษฤๅษี บ่ได้ซื่อสวนวาที ให้เห็นประจักษ์สัจจา ทาโดยอาเภอกาลา ทรุดสูบเอาไปทั้งเป็น นักโทษคนนี้นายเห็น ผู้ร้ายแล้วฤๅฉันใด ถ้าเป็นสัตย์มั่นคงไม่ ก็ควรจะฆ่ากลางวัน นี่มาผิดเพลาครัน ทวารก็ผิดกฎเรา

แผ่นดินอันใหญ่ จึงถามโจรยง เล่าเรื่องราวใน ปถพีเพพัง ด้วยดาบสนั้น ถึงจึงน้อมตน สมเด็จกษัตรา พังทับท้าวไท นาไปตั้งคง เสียบเสียบโดยทวี นานนับกัลป์กึ่ง ฟังแต่ความปลาย สอบสืบคดี จึงพสุธา ว่าเพื่อนนั้นเป็น กฎว่าตายไป เราจะเผยผัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๑๙

ถึงท่านจะทูลก็เนา ไม่เผยด้วยผิดเวลา เพชฌฆาตได้ฟังซึ่งวามายังประตูอุดร เพลาล่วงสามยามจร จะแจ่มจารัสคคนานต์ ฝูงชนนิทราศัพท์สถาน เรียกนายประตูโดยหวัง ว่าเหวยนายทวารัง เร่งเผยให้เราเร็วรา เรียกซ้าหลายคาวาจา ทั้งปวงก็ฟื้นตื่นตน ขานไปแล้วไถ่ถามคน ธุระสิ่งใดจึงมา ฝ่ายเพชฌฆาตจึงแจ้งกิจจา แต่ต้นจนสิ้นอวสาน นายประตูเห็นอาการ ว่าข้าได้เคยพบเห็น ทาการไม่คิดไม่เป็น มามากอยู่แล้วหลายครา เมื่อนั้นท้าวสามนต์อิศรา ไม่สอบไม่สืบไตร่ตรอง โดยโมหะมูนมอง พิเคราะห์ที่ข้อคาแคลง นานไปมีใจนึกแหนง รู้สึกถึงโทษโทษา นิทานโบราณมีมา เราจะวิตถารให้ท่านเป็นมงคล จาไว้จะได้สอนตน ดังเครื่องประดับกายกาย จงตั้งโสตสดับเถิดนาย รองรับวาจาเรา

ประตูนี้เรา

๏ ๑๑ ๏ ฟังราเพชฌฆาต

ซึ่งโอวาทอย่าใจเบา

จาลุกลาคลา ผายพระจันทร ครั้นถึงทวาร หลับแล้วฤๅยัง จึงนายทวารา ว่ามีทังวล เล่าเรื่องหลังมา จึงมีคาขาน กาลเลยเคยเห็น โกรธแล้วให้ฆ่า มิได้พิครอง ยลข้อระแวง หนึ่งบอกไว้ว่า ให้ถาวรผล ต่างภาชนะราย


๑๒๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ยังมีนิทานเนา พระบาทสามนต์ครอง มีนางหนึ่งอุดม โฉมล้าฉกาเมศ เป็นที่เสน่หา ครั้นอยู่เนียรนานมา สามนต์ผู้อุดม ตั้งสี่มนตรีไว้ พระองค์เสด็จจรลี ส่วนองค์วนิดา พระทัยเกษมสานต์ ปั่นป่วนคิดครวญใคร่ บ่เกรงพระอาญา หาสี่อามาตย์มา ด้วยจิตจานงมี อามาตย์ทั้งสามคน คนหนึ่งเพื่อนบ่ตาม มิได้จะยินดี บ่ได้จะปลงใจ นางพญาไม่ผาสุก จะทาไฉนนา ถ้าท้าวเธอกลับมา ตัวกูจะบรรลัย อย่าเลยจะทากล ฆ่ามันให้ปลดปลง ตริแล้วระงับไว้ เสพสมภิรมย์เชย ฝ่ายท้าวสามนตราช เสร็จแล้วลีลาคลา เสด็จมาหลายราตรี ฝ่ายนางผู้แง่งาม หยิกข่วนทั่วกายนาง ๓๑

ปัจจามิตร

นามมัทธราชบุรีรมย์ สืบสนองพระสนม เป็นเอกอัครชายา เยาวยุพเรศยั่วยวนตา สามนตราชภิรมย์ชม เกิดปัจจา๓๑นอกนิคม เสด็จไปปราบไพรี รักษาไท้เทพีศรี ไปล่วงหลายทิวาวาร อัครชายาของภูบาล ให้กระสันในราคา ในกองกามฤทธิ์นา ไท้ธิราชธเรศตรี แย้มวาจายั่วยวนยี ประสงค์เสพสังวาสกาม พร้อมกระมลด้วยนางงาม ด้วยกตัญญุตาไท วรเทวีอ้อนเท่าใด บ่พร้อมตามวาจา ขุ่นเคืองทุกข์ฤทัยา อามาตย์นี้มิปลงใจ เห็นกิจจาทราบถึงไท เพราะคามันเป็นมั่นคง ด้วยแยบยลให้เธอหลง อย่าให้มันทันทูลเลย บ่ได้ไขภิปรายเปรย สามอามาตย์ทุกทิวา เข่นพิฆาตหมู่ปัจจา ยกกองทัพจากเขตคาม ถึงบุรีอันเรืองราม แจ้งประจักษ์ว่าท้าวมา ทาเป็นครางคลุมภูษา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๒๑

กานัลปรี่เข้ามา เชิญแม่ ณ หัวเจ้า พระองค์ทรงภพนั้น นางท้าวมีวาที เราขุ่นชะชุกน้าใจ ท้าวถามจงทูลด้วย กานัลก้มบังคมลา นางเสด็จมาไม่ได้ บ่ได้จะสุขผล ทรงแจ้งกานัลทูล ท้าวเสด็จมาโดยด่วน ครั้นถึงก็กอดแก้ว พระพักตร์คือจันทรี ประชวรไฉนเจ้า หฤทัยที่หอมโหย ฝ่ายองค์ชาเยศ แล้วทูลซึ่งคดี ข้าแต่ภรรดาราช ผู้หนึ่งใจทรชน มาบ่แปรใจป่วน ด้วยความภักดีไท้ บ่ได้ดังเพื่อนมาด ขอองค์ทรงธาตรี ฝ่ายท้าวสามนตราช ดังวาสุตรีไตร๓๓ กริ้วเกรี้ยวกระทืบบาท ดังราชสิงหา ด้วยราคกิเลสมาร บ่ได้มีใจกินให้จับเอาอามาตย์ บ่ได้ตรึกคดี ๓๒ ๓๓

ข่มเหง วาสุกรีไกร

ประนมบังคมคัล รับปิ่นเกล้า ณ รังสรรค์ เสด็จดลนครใน ตอบนารีกานัลใน ไปบ่ได้ดังจินดา ว่าเราป่วยป่วยปลายชีวา ทูลกิจจาเรื่องนฤมล ป่วยเป็นไข้ปลายชีวน เศร้าพระพักตร์ประชวรครวญ พงศ์ไพบูลย์มหิศวร สู่สานักอัครเทพี รับขวัญแล้วประโลมศรี มาเศร้าศรีสลดโรย จงแจ้งเล่าคดีโดย มาคะนึงนาถทุกนาที นบน้อมเกศกราบสวามี อันตนคิดมารยายล มีอามาตย์อกุศล คุมเหง๓๒ข้าบ่เกรงไท จะยั่วยวนสังวาสใน คิดพระคุณสวามี หยิกข่วนขาดทั่วอินทรีย์ จงแจ้งข้อกิจจาใน ทราบสารนาถอนงค์ใน พ่นพิษต้องหัทยา เปล่งสิงหนาทตวาดมา อันเปล่งแผดมฤคิน สุมสันดานทราบกายิน แหนงในคามเหสี มาพิฆาตเสียทันที จะสืบสวนไถ่ถามเลย


๑๒๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ครั้นฆ่าอามาตย์แล้ว เข้าที่ภิรมย์เชย อยู่มาหลายราตรี ที่คาสานวนนาง ยิ่งคิดยิ่งมลทิน อันชายฤๅจะมา ชะรอยอามาตย์สาม อามาตย์ที่เป็นผี จึงโกรธแกล้งมารยา หวังคิดจะปิดควันยิ่งกรึกยิ่งนึกยล ดังศรปักอุรัง เสียดายอามาตย์กู จะหาน้าใจท่าน เพราะฟังหญิงแพศยา โฉดชั่วใครจะมี แสนทุกข์รุมรึงเทวษ หฤทัยไม่เสบย ดูราเพชฌฆาตเอ๋ย ใจเร็วมักเสียการ แต่พูดกันกับนายรภเรื่องนิทานมา เพลานั้นพอรุ่ง เพชฌฆาตทรงใสสาร จึงถามสุทธกรรม เอ็งเอาหงส์พระผู้ ฆ่าตีเสียหรือยัง จงแจ้งตามจริงไป สุทธกรรมจึงบอกไป เห็นว่าหงส์ราชา ถ้าท่านจะใคร่รู้ พระผู้ธเรศทรง เพชฌฆาตได้ฟังคา จาเราจะทูลสาร

พักตร์ผ่องแผ้วฤทัยเผย ชมนิ่มนาถสนมนาง พระภูมีนึกแหนงหมาง ว่าอามาตย์ทามิจฉา ท้าวระบิลฤทัยา ข่วนหยิกหญิงเหตุผิดที ร่วมรสกามราคฤๅดี บ่ประมาณยวนใจท่าน ยุกูฆ่าให้อาสัญ เพลิงนั้นไว้กาบัง กรมกระมลเพียงพองพัง รุมรึงทรวงนี้ไหวหวั่น มีกตัญญูอันมหันต์ ให้เทียมเพื่อนนั้นบ่มี อกกูอาเสียคนดี เหมือนอกกูหาไม่เลย พระพักตร์เพศบ่ผ่องเผย เกรียมกรมทุกข์เนานาน ปราชญ์ท่านเผยไว้วิตถาร โดยความทุกข์ดังนี้นา ประตูรายภิปรายปราเป็นคาสอนทั้งสี่ทวาร สุริยาพุ่งคคนานต์ ด้วยได้คานายประตู ว่าความขาอย่าอากู บดินทรราชไว้แห่งใด หรือฝากฝังผู้ใดใคร ถ้ายังอยู่จงบอกมา ตัวเราไสร้แม้นมรณา จะพลอยม้วยเป็นมั่นคง นาเราสู่สานักองค์ เราจะแจ้งให้ทราบสาร เห็นคมคาที่ให้การ ให้ท้าวทราบโดยคดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๒๓

คิดแล้วพากลับมา พอองค์เจ้าธาตรี เพชฌฆาตทูลกิจจา จะล้างให้บรรลัย แล้วนาเอานิทาน แสดงให้ท้าวฟัง

มาถึงหน้าพระลานศรี เสด็จออกขุนนางใน ว่าโจราที่นาไป เพื่อนให้การว่าหงส์ยัง ซึ่งนายทวารเล่าแต่หลัง จะแจ้งสิ้นทั้งสี่สถาน

๏ ๑๖ ๏ เมื่อนั้นจึงพระภูบาล แก่สุทธกรรมบ่คลา เอ็งว่าหงส์กูยังนา ให้เห็นประจักษ์อย่านาน จึงสุทธกรรมกุมาร แล้วนาเพชฌฆาตคลา มาสู่สุมทุมพุ่มพฤกษา แล้วได้กลับคืนสถาน ครั้นถึงทูลถวายบ่นาน พิลาปครั้นได้เห็นหงส์ พระทัยใสสุดจานง การถามที่ข้อกังขา ว่าเอ็งเล็งลักเหมราช์ ในจิตนั้นคิดฉันใด สุทธกรรมประนมทูลไท้ ใช่จะจานงเจตนา ข้าบาทลองคาบิดา นุกิจแต่หนหลังทูล แห่งองค์พระพงศ์ไพบูลย์ คดีที่บิดรสอน แล้วทูลสนองสุนทร โสมนัสกตัญญู สรรเสริญสี่นายประตู ระบิลระเบียนกฎหมาย แล้วชักนาทาเนียบนิยาย ไม่เผยให้เพชฌฆาตคลา ข้าบาทจึงคงชีวา

มีราชบรรหาร นาไปเอามา รับราชโองการ เบิกใหญ่เหมราช์ ฝ่ายพระภูบาล เอื้อนอรรถโอษฐ์องซ่อนไว้นี้นา ทาทั้งนี้ไซร้ จึงแจ้งกิจจาตามข้อเค้ามูล ด้วยใจถาวร ว่าเป็นคนรู้ มาเล่าเปรียบปราย ได้หงส์คืนมา


๑๒๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทั้งนี้ก็เพราะนายทวาร สี่นายเป็นคนวิจารณ์ บารุงซึ่งราชแผ่นดิน เมื่อนั้นจึงพระภูมินทร์ สุทธกรรมทูลเฉลย จึงเอื้อนพระโอษฐ์โปรดเปรย หาสี่ประตูเข้ามา ราชมัลรับราชโองการ แล้วแล่นออกมาทันใด ครั้นถึงประตูจึงแจ้งกิจใน หาสี่ประตูอย่านาน สี่นายได้ฟังโองการ ละล้าละลังวังมา วิ่งพลางทางถามกิจจา ตูข้าทั้งนี้เพื่อใด ท้าวทรงพิโรธฤๅไร คดีให้แจ้งอย่าคลา ราชมัลจึงมีวาจา เห็นทีจะมีรางวัล พามายังหน้าโรงครัน ก็ก้มบังคมมกุฎี เมื่อนั้นสมเด็จภูมี ถามนายประตูทันใด ดูกรสี่ทวารชัย ไหนมาจงทูลอย่านาน นายประตูผู้หนึ่งวิตถาร แล้วทูลด้วยกตัญญู นิทานมีมาแต่ปูมีบุญแต่ก่อนสืบมา ข้าพุทธิเจ้านี้จาลงไว้กับแผ่นทองแดง จึงได้นามาจงแจ้ง

คงคาโบราณ ได้ฟังวาทิน เร็วราชมัลเอย ใส่เศียรศิรา ว่ารับสั่งให้ ตกใจลนลาน ว่ารับสั่งหา ขอท่านแจ้งไข ดีดอกนะนา ถึงสี่นายนั้น เผยเพชรวาที นิทานนี้ท่านได้ รับราชโองการ ราณสาหรับผู้ รึกให้เป็นตรา ว่าแล้วทูลแถลง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๒๕

ทางทศมิต๓๔สิบประการ พระองค์ทรงฟังนายทวาร บาเหน็จแก่นายมากมี อามาตย์เราเลี้ยงล้วนดี ดีแต่สอพลอพลอย ไม่ช่วยบารุงร่องรอย สูญเปล่าไม่ได้เนื้อความ หากสูเจ้าห้ามปราม เอาข้อคดีมาทูล ตรัสแล้วพระผ่านไอศูรย์ บาเหน็จแก่นายทวาร ปวงปูนพูนแสนศฤงคาร นาเวศกุญชรอาชา ตั้งให้เป็นเอกเสนา แก่สุทธกรรมกุมาร ว่าเรามีใจใสสานต์ พิภพเป็นเอกอุปราช์ จะแบ่งแหล่งหมู่มีผ้าข้า อากูลพิรีย์จัตุรงค์ สุทธกรรมได้ฟังองมนัสนึกแหนงนโม บิดาให้โอวาโท กรุงใดบ่โดยแท้ธรรม์ อย่าอยู่สโมสรสัน ให้ลี้หลีกหนีจงไกล กษัตริย์องค์นี้ฤๅทัย บ่คิดบ่อ่านตรึกตรอง ถ้ากูอยู่ด้วยเป็นสอง เมื่อหน้าจะราคาญพาล คิดแล้วทูลสนองโองการ พระองค์ของพงศ์จักรา บ่ควรแก่ไอศุริยา ๓๔

น่าจะเป็น ทศพิธ

ควรจะบานาญ ให้ผ้าเงินปี หาไม่หงส์ลอย มันจึงได้ถาม ทรงคานุกูล อีกทั้งยวดยาน แล้วมีบัญชา จะให้เจ้าผ่าน ราชรถคชคชา การคิดบ่จง ว่าขัตติโย ในนครนั้น ประพฤติสิ่งใด เบื้องมุขหมางมอง ใช่เชื้อสันดาน เชิญปิ่นประชา


๑๒๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สถิตแต่เอกองค์ครอง ตั้งเศวตฉัตร ณ เรืองรอง ประโยชน์อยู่ใต้บทมาลย์ ว่าแล้วทูลลาจากสถาน สถานอุดรทิศลีลา บ่กลับไปสู่เคหา เข้าในพนาดงดาน เดียวเดินโดยดับ๓๕วันวาน ลุถึงเมืองตักศิลา สุทธกรรมไสร้โสมนัสา อเนกด้วยพฤกษาษาน เลียบเดินเด็ดดอกสุมาลย์ ภุญชะอุ่นอิ่มอุรา แล้วนอนเหนือแท่นศิลา พฤกษชวนชื่นเสาวคนธ์ วาตาราพายต้องตน ระงับศัพทลีมี่วิญญาณ์

ข้าบาทราพันปอง ดลออกโดยทวาร เบี่ยงบ่ายพักตรา เจ็ดราตรีกาล เห็นสวนอุทยาน์ เก็บผลาหาร ใต้รุกขฉายา เหนี่ยวเดินกระมล

๏ ๒๘ ๏ กล่าวถึงกษัตริย์ อันเสวยสมบัติ ในตักศิลา ทิวงคตไป ได้เจ็ดทิวา หมู่มุขมาตยา แต่งพิธีกาล ยกศพใส่โกศเพชรฝังรุ่งโรจน์ เรืองรองชัชวาล ใส่ในเมรุทิพย์ เพียงทิพย์พิมาน ประ๓๖กังสดาล แตรสังข์วังเวง แรมสบสมโภช กึกก้องอุโฆษ มหรสพครื้นเครง ร้องเล่นเต้นรา ระบาบรรเลง ฆ้องกลองอลเวง มงครุ่มรุมมะนา๓๗ ไต่ลวดลอดบ่วง ลอดไปในห่วง โหนห้อยกายา หนังโขนละคร ราฟ้อนไปมา ยกย้ายหลายท่า จับกลุ่มรุมรัน ร่าไปจะช้า ครบเจ็ดทิวา บูชาเพลิงพลัน สนมนางใน ร่าไรโศกศัลย์ รุ่งแสงสุริยัน ลอยพระอังคาร เสร็จแล้วข้าหลวง ลูกขุนทั้งปวง ชุมคิดราชการ จะได้ใครครอง สืบสนองศฤงคาร วงศาสันดาน พระองค์บ่มี ๓๕

น่าจะเป็น ลาดับ ประโคม ๓๗ รามะนา ๓๖


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๒๗

ปโรหิตจึงว่า ดูกรเสนา เราคิดคดี จะให้เสี่ยงรถ พิชัยมณี ถ้ารถจรลี จรดบาทผู้ใด จะรับท้าวนั้น มามอบขอบขัณฑ์ เป็นปิ่นกรุงไตร ออกญาพระหลวง ทั้งปวงนอกใน จะเห็นกระไร ว่าไปอย่านาน จตุรดม๓๘เสนา ฟังคาปรึกษา เห็นสมควรกาล จึงเชิญรถแก้ว กาญจนพิมาน ออกมาบ่นาน จากโรงรจนา เอาเศวตฉัตรกั้น เครื่องกกุธภัณฑ์ ใส่ในมหาพิชัยรถเรือง ครบเครื่องราชา เอาพญาแลพญา ยอกรพิษฐาน ถ้าว่าผู้ใด เดโชพ้นใน บุญสมศฤงคาร รถจรลีลาศ จรดบาทอย่านาน จะเชิญท้าวผ่านภพซึ่งบุญญา ครั้นเสร็จพิษฐาน มิ่งม้าอุปการ นารถไคลคลา ทักษิณปราสาท ตติยวารา แล้วบ่ายพักตรา สู่สร้อยสวนศรี หมู่ชายชาวแก่ ส่งเสียงเซ็งแซ่ แห่มามากมี ครั้นถึงสวนพลัน วิไชยันมนตรี ทักษิณด้วยดี ครบตรีไตรตรา งอนงุ้มจุมจรด แทบบาทบงกช สุทธกรรมบ่คลา ปโรหิตเห็น เสี้ยวเส้นเกศา สยองโลมา ช่อชั้นอาไพ เล็งนรลักษณ์เลิศ ลายพระบาทเกิด ก่องกงจักรนัย สังขทัศนา มหามกุฎชัย กษัตริย์ใดใน ชมพู๓๙บ่มี จึงปโรหิต ปลุกจอมจักรกฤษณ์ หน่อเนื้อบดี เชิญตื่นจากอาสน์ ข้าบาททั้งนี้ มาเชิญจักตรี เป็นเจ้าเสนา สุทธกรรมจอมนาถ ตื่นจากไสยาสน์ แปรพักตร์ถามมา ดูกรอามาตย์ พระบาทอิศรา ผู้ปิ่นประชา นั้นเสด็จด้าวใด เสนาทูลสาร ว่าพระผู้ผ่านภพนั้นบรรลัย บ่มีพระองค์ แทนองค์ท้าวไท ขอพระภูวนัย จงทราบธุลี เชิญพระเสด็จไป ครองราชย์ราชัย มุขหมู่โยธี นางบาเรอเรียง พักตร์เพียงจันทรี กานัลนารี จึงพึ่งบาทา ทูลแล้วชาวที่ เอารดวารี โสรจสรงกายา ให้ทรงเครื่องต้น สุคนธมาลา แล้วทรงภูษา โกไสยไพบูลย์ ทรงเครื่องกกุธภัณฑ์ มงกุฎกุดั่น กรรเจียกจารูญ พาหุรัดสะอิ้ง เพริศพริ้งไพบูลย์ ทับทรวงแสงสูรย์ ธามรงค์รจนา ทรงสรรพครบเครื่อง เฉิดโฉมรุ่งเรือง ดังเทพเทวา ๓๘ ๓๙

จตุสดมภ์ ชมพูทวีป


๑๒๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

อามาตย์เชิญองค์ ทรงรถรัตนา สังข์แตรแซ่เสียง สุโนกไตรเตรียง แห่พระมหาบุรุษมาเมืองพลัน ครั้นถึงจึงลง จากราชรถทรง สนมก้มเกล้า จอมเจ้าจักรพาล อนงค์เทพี กรนารี เพียบเฝ้าภูวดล แน่นมนเทียรทอง จึงปโรหิต พราหมณ์พฤฒบัณฑิต เชิญพระองค์นั่ง เหนือกองมณี อุปภิเษกทรงธรรม์ สมโภชเจ็ดวัน พระองค์เป็นเอก ครองเศวตฉัตรชัย ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ครั้นได้เสวยฉัตร บาเพ็ญทานา ทุกทิวาวาร รับทานทรงธรรม์ เป็นนิรันดร์ ให้ตั้งที่ทาน หกแห่งบ่คลา โภชนาสาลี หิรัญสุวรรณมี ดังกัลปพฤกษ์แก้ว เพริศแพร้วในแดน

แห่ห้อมล้อมมา สู่ราชัยสวรรค์ เสียงกู่ก้องกรรณ ฝูงชนอภิวันท์ แซ่ซอ้ งสาธุการ อามาตย์บทมาลย์ มายังพิมาน นั่งเหนือแท่นทอง กานัลเนืองนอง ชม้อยเมียงมอง ชมโฉมภูมี มุขหมู่มนตรี กับราชเทพี มอบมิ่งมไห๔๐ กึกก้องกรุงไตร สุขสราญบานใจ บ่มีภัยพาล พระทัยใสสานต์ หมู่ประชาบาล ชมชื่นหรรษา ทุกวันเวลา แจกทรัพย์ฤๅท่า สิ้นวันละหกแสน ทรัพย์บ่แคลน ยาจกนับแสน พึ่งบุญภูมี

๏กล่าวถึงเกลอพาล กับหญิงสามานย์ เมียพระโฉมศรี อยู่ภายหลังนั้น กระสันไมตรี ร่วมรักสม(ฤ)ดี ทองพันตาลึง หมดสิ้นบ่หึง ราพึงด้วยกัน เขาลือเล่าข่าว ว่าท้าวทรงธรรม์ ครองมไหศวรรย์ ให้ทานทุกเมื่อ บ่ได้เบือนเบื่อ บุญนั้นเลยนา มาเราจะไป พึงไท้ราชา ว่าแล้วลีลา ครั้นว่าจะถึง สองผัวเมียจึง อาศัยโรงทาน อิ่มอุ่นอารมณ์ ที่กรมเษมสานต์ มีความเบิกบาน ๏ ๑๖ ๏ ครั้นรุ่งแสงสุริโย ธิสัตว์เธอทรงคชสาร เสนาแห่ห้อมล้อมจักรพาล ธิเบศเธอทอดทฤษฎี ฝูงประชาชนมากมี ๔๐

หมายถึง มไหศูรย์ หรือ มไหศวรรย์

จึงพระพงศ์โพเสด็จสู่โรงทาน รับทานจักตรี

เป็นผัวเมียกัน กรุงตักศิลา ยังเมืองภูบาล ผ่องแผ้วมโน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๒๙

อเนกอนันต์เนืองนอง พึงพระพงศ์ภพผู้ครอง ก็แจ้งว่าเกลอกับเมีย แต่ปวงหินชาติคนเสีย มันแปลกบ่จาจักตรา พระองค์เห็นแล้วบัญชา เธอสอนแก่เสนาใน ดูกรมนตรีนี้ภัย ประพัทธ์พงศ์พัศดี ยลแต่ว่ามิตรโลกีย์ มีบาปอบายเบียดบึง ถ้าใครพบพานพาลถึง บ่แคล้วบ่คลาดคลานา ความได้มากพวกพาลา คมอยู่ในเมืองนั้นนาน เมืองใดท้าวครองศฤงคาร สถิตในทศธรรมา เบียดเบียนชนชาวพารา อบายเป็นจริงบาปเบียน อย่าได้ไปพักพึ่งเพียร จะฉุกละหุกขุกเคือง หญิงใดไร้ผัวเนืองๆ ปะทะประทับทาเมีย ผู้ใดคิดคบจะเสีย มันจะพาผิดติดตน ความขาอย่าอาอยู่ปน มันจะฆ่าตนตายตัว อันผู้หญิงมากชาย มามัวสมัครสโมสรชม คนสามจาพวกอย่านิยม สมัครสมานไมตรี ถ้าจะคบคบคนที่ดี จึงจะมีประโยชน์ต่ออัตมา ถึงมาดจะม้วยมรณา

ยลชนทั้งสอง ...(ไม่ปรากฏ)... มธุรสสารา อันมีน้าใจ ...(ไม่ปรากฏ)... โทษนั้นจักถึง อย่าได้สมาไม่ถาวรกาล คบเกลอนี้กิจจา ถ้าอยู่คอยเรียน อย่าได้ประเทือง ตัวเราเมาเมีย บอกแจ้งกิจกล ชู้ผัวอย่าได้ ยินดีเสพสม ปัณฑิตเมธี ไล่ล้างชีวา


๑๓๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ชีวิตพินาศฆาต๔๑คน จะได้สมบัติสรรพผล อุบัติไปทั่วโลกา พระปิ่นจอมประชา นุศาสนสั่งสอน เสร็จแล้วบ่ายคชกุญชร ประโคมแห่เคียงคชา มาถึงวังราชเจษฎา ปราสาทประเสริฐโสภี ฝ่ายพวกพยุหโยธี มนัสน้อมสโมสร สรรเสริญสมเด็จภูธร ประนมประณตบทมาลย์ พระองค์เสพเสวยศฤงคาร บ่มีภัยอัน(ต)ราย บาเพ็ญโพธิวันไว้ ซึ่งการจะก่อกองบุญ ปัญจศีลังเป็นทุน อันมนเป็นเอกตา ครั้นครบกาหนดชนมา พูนเกิดในชั้นดุษฎี ๏ ๑๑ ๏ พระผู้อุทฐโยก เรื่องสุทธกรรมนี้ ครั้นจบอันธรรมา จึงชุมชาดกใน พระสุทธกรรมนาถ สัมพุทธญาณมี พระองค์สาเร็จตรัส บาบัดบาปอบาย จึงไว้พระศาสนา แทนองค์พระทรงญาณ ๔๑

น่าจะหมายถึง พิฆาต

กุศลนาตน ให้โอวาทาพวกสังข์แตรงอน เสด็จขึ้นมหาเสวกามาตย์มี น้อมเศียรถวายกร ยืดยาวยืนนาน เป็นนิจบ่คลาย บ่ได้ทารุณ อายุสม์สังขาร์

มงกุฎโลกยศคาภี มาแสดงโปรดเวไนย จอมโลกาบัณฑูรไข ปัจจุบันเบื้องบาลี ครั้นกลับชาติคือพระชินศรี ประเภทภาคบ่กลับกลาย ธรรมปรมัตถ์โปรดหญิงชาย แล้วเสด็จเข้าสู่นิพพาน วรธรรมาโอวาททาน ชั่วกัลปาสืบสัตว์สอน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๓๑

หวังรื้อสั่งสอนสัตว์ ธรรเมศมุนีวร เราท่านเกิดมาทานธรรม สินทานอย่าเกลียดกล ให้หน่วงเอาดวงแก้ว พ้นมือพญามาร อันเรื่องประชุมชาติ ก็จบเท่านี้ท่านนา

ออกจากอรรณพสาคร เป็นครูสอนแก่ฝูงชน จงอุปถัมภ์การกุศล คิดนาตนข้ามสงสาร อันกล่าวแล้วคือนิพพาน เป็นสถานโอฬารา ในนิบาตภิปรายมา แต่เท่านี้นะท่านเอย ๛

๏ สิ้นฉบั บแต่เท่านี้ เรื่องพระสุทธกรรม จบ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่า เดือน ๑๒ ปีมะแม ตรีศก ๛ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาดังพระมโหสถ มีคนลือชาปรากฏเหมือนท่านเจ้ากรุงศรีสญชัย ๛


๑๓๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๓๓

หมวดวรรณกรรมนิทำน


๑๓๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๓๕

นกยูงทอง เล่ม ๑ เขมฤทัย บุญวรรณ๔๒ วรรณกรรมเรื่องนกยูงทองเป็นวรรณกรรมกลอนสวดภาคกลาง ๔๓ นอกจากนี้ยังมีการนาไปแต่งเป็น วรรณกรรมวัดเกาะ๔๔ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์๔๕ เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง ที่มำของตัวบท ต้น ฉบั บ ตัวเขีย นวรรณกรรมเรื่องนกยูงทองฉบับที่นามาปริวรรตในครั้งนี้บันทึกอยู่ในสมุดไทยขาว ความยาว ๕๖ หน้า และมีเพียง ๑ เล่ม ไม่ระบุชื่อผู้บันทึก วัน เดือน และปีที่บันทึก ๔๖ ต้นฉบับบันทึกด้วยตัว อักษรไทยปัจจุบัน แต่มีรูปสะกดบางรูปไม่ตรงกับอักขรวิธีในปัจจุบัน เช่น “ท้าวนกยูงทอง ฟงงแล้วจึงศนอง ตอบมาทันใจ ยักมีรีดที จดีกว่าใคร ท้าวอย่าร้อนใจ จกลัวเคดขาม” ปริวรรตเป็นตัวอักษรไทยปัจจุบันได้ว่า “ท้าวนกยูงทอง ฟังแล้วจึ งสนอง ตอบมาทันใจ ยักษ์ มีฤทธี จะดีกว่าใคร ท้าวอย่าร้อนใจ จะกลั วเข็ดขาม” วรรณกรรมเรื่องนี้สันนิษฐานว่าน่าจะบันทึกในช่วงใกล้เคียงหรือก่อนที่จะมีการพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง คือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังเกตจากรูปเขียนและอักขรวิธีที่ไม่คงที่ อีกทั้งการอ่าน วรรณกรรมสมัยก่อนเป็นอ่านด้วยเสียง ไม่ใช่การอ่านด้วยตาดังในปัจจุ บัน ส่วนเนื้อความในต้นฉบับบางช่วง เลือนไม่สามารถปริวรรตได้ และมีเนื้อความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในตอนต้นของเรื่องผู้บันทึกได้ออกตัวเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้บันทึกสอนเขียนขอให้ผู้อ่านอย่าตาหนิ ตนเองเลยว่าเขียนไม่เป็น ดังข้อความ “ท่านผู้อ่านอย่าติเลย ข้าพึงสอนเขียนอย่าติเตียนข้าเขียนไม่เป็น” อีกทั้ง ยังเป็นการสืบทอดพระศาสนาและสร้างกุศลด้วย เนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสกุณา(นกยูง ทอง) จนถึงท้าววานรมาช่วยท้าวนกยูงทองที่ถูกยักษ์จับขังไว้ในกรง

๔๒

อาจารย์ประจาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการสารวจเอกสารรายชื่อวรรณกรรมกลอนสวดภาคกลางจากหอสมุดแห่งชาติ และจากวิทยานิพนธ์ ๒ เรื่อง ได้แก่ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ ตรีศิลป์ บุญขจร เรื่องวรรณกรรมกลอนสวดภาค กลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๐ และปริญญานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ของ เตือนใจ สินทะเกิด เรื่อง วรรณคดีชาวบ้านจาก “วัดเกาะ” พ.ศ. ๒๕๒๐ ๔๔ จากการสารวจจากเว็บไซต์เรื่องวรรณกรรมวัดเกาะของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) วรรณกรรมวัด เกาะ คือวรรณกรรมที่ริเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นโดยโรงพิมพ์วัดเกาะ หรือ โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในการพิมพ์ เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ และนิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมวัดเกาะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ นอกจากนี้ วรรณกรรมวัดเกาะยังหมายรวมถึงวรรณกรรมที่มีลักษณะการจัดพิมพ์และเนื้อหาประเภทคล้ายคลึงกันแต่จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ อื่น ซึ่งบางครั้งอาจเรียกรวมกันว่าวรรณกรรมยุควัดเกาะ ๔๕ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ (๒๕๒๓ : ๗๗) ได้สรุปความหมายของคาว่า โพธิสัตว์ไว้ ๓ ประการ คือ ความหมายอย่าง แรก หมายถึง บุคคลผู้กาลังจะตรัสรู้ ต่อมาหมายถึง บุคคลที่มุ่งหมายที่จะได้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณ และในที่สุดมีความหมาย ว่า บุคคลผู้มีแก่น คือ โพธิ ๔๖ ปัจจุบันต้นฉบับจัดเก็บที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ๔๓


๑๓๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เรื่องนกยูงทองนี้น่าจะมีการคัดลอกต่อๆ กันมาหรือมีการถ่ายทอดกันมาหลายครา จึงทาให้ชื่อของตัว ละครเอกและรายละเอียดของเรื่องบางช่วงบางตอนปรับเปลี่ยนหรือไม่ตรงกัน และจากการสารวจเอกสารใน เบื้องต้นสังเกตว่า วรรณกรรมเรื่องนี้มีชื่อตัวละครเอกไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่ชื่อเรื่องเหมือนกัน กล่าวคือ งานวิจัย ของตรีศิลป์ บุญขจร (๒๕๓๐ : ๑๙๗) ได้มีข้อสังเกตว่ากลอนสวดบางเรื่อง ตัวละครเอกไม่ตรงกับชื่อเรื่อง เช่น เรื่อง นกยูงทอง ตัวละครเอก คือ พระยาจันทสูญ ซึ่งเป็นบิดาพระโพธิสัตว์ไม่ใช่ นกยูงทอง ส่วนต้นฉบับเรื่อง นกยูงทองที่ปริวรรตนี้ ชื่อตัวละครเอก คือ ท้าวนกยูงทอง ซึ่งเป็นพระโพธิ สัตว์อยู่กับพระมารดาในป่าหิมพานต์ เพียงสององค์ ด้านการดาเนินเรื่องเป็นไปอย่างรวดเร็วและรายละเอียดของเรื่องไม่มีบทพรรณนามากนัก แม้ว่าจะมี ลักษณะโครงเรื่องคล้ายนิทานจักรๆ วงศ์ๆ สาหรับตัวละครที่ปรากฏในเรื่องนี้ ได้แก่ ท้าวนกยูงทอง พรานป่า ท้าววานร ท้าวกงจักร นางสุวรรณคีรีหรือนางหงส์ทอง พี่เลี้ยงนางสุวรรณคีรี ๔ คน คือ นางเทพเกสร นางอุทร กรีฑา นางเกตุมาลา และ นางสาสุรีวงศ์ พราหมณ์เทศ (ชื่อยักษ์) เนื้อเรื่องย่อ พระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นท้าวนกยูงทองอยู่ใต้ต้นไทรในป่าหิมพานต์กับพระมารดา มี บริวารแปดหมื่นสี่พันและอยู่กับฝูงหงส์ ไร้ซึ่งคู่ครอง ต่อมาพรานป่าได้เข้ามาล่าสัตว์ จนมาถึงต้นไทรแล้วเห็น ท้าวนกยูงทอง จึงคิดจะจับไปถวายพระราชา เพราะนกยูงทองงามมาก เมื่อพระโพธิสัตว์เห็นพรานป่าจึงถามว่า ท่านจะไปไหน เห็นท่านถือปืนไฟและธนูหน้าไม้มา หลงทางมาหรือ ถ้าเช่ นนั้นจะบอกทางให้ แต่พรานป่าโกหก เพราะในใจอยากได้นกยูงทอง บอกไปว่าท้าวไทให้ตนออกมายิงสัตว์ ท้าวกงจักรเป็นยักษ์ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก ไม่มีผู้ใดสามารถต้านทานอานาจได้ นอนอยู่บนแท่นบรรทมกับ มเหสี ได้บอกมเหสีว่าพรุ่งนี้จะไปเที่ยวในป่าหิมพานต์และจะสู้รบกับท้าวยกยูง ทอง มเหสีได้ห้ามปราม แต่ท้าว กงจักรยังคงออกไป โดยจัดกองทหารจายวนห้าร้อยไปยังป่าหิมพานต์ เมื่อท้าวกงจักรได้เห็นท้าวนกยูงบรรทม อยู่ที่ศาลาก็กริ้วโกรธที่ไม่เกรงกลัวตน และคิดว่าจะจับมาเป็นอาหาร จึงถือพระขรรค์เข้าไป พอเห็นจึงรู้ว่าเป็น พระโพธิสัตว์ซึ่งมีฤทธิ์เกรียงไกร เพียงแค่แปลงกายมาเที่ยว แต่ท้าวกงจักรยังคงแผลงอิทธิฤทธิ์และได้กันต่อสู้กัน จนท้าวกงจักรพ่ายแพ้จึงถวายพรให้แก่ท้าวนกยูงทองแปดประการ ต่อ จากนั้ น ท้ าวนกยู งทองได้ม าหาท้ าววานร และเดิ น ทางต่อ ไปจนพบกั บ นางสุ ว รรณคี รีห รือ นาง หงส์ทองซึ่งเป็นลูกท้าวเวสสุวรรณ และถู กบิดาขังนางไว้ในถ้า โดยมีพี่เลี้ยง ๔ คน คือนางเทพเกสร นางอุทร กรีฑา นางเกตุมาลา และนางสาสุรีวงศ์ คอยดูแล คืนหนึ่งนางสุวรรณคีรีฝันว่าได้แก้ว พอตื่นขึ้นมาจึงให้พี่เลี้ยง ทานายความฝัน พี่เลี้ยงบอกว่านางจะได้พบคู่ครอง ครั้นนางสุวรรณคีรีพร้อมพี่เลี้ยงทั้งสี่ได้ออกไปเล่นน้าและพบกับท้าวนกยูงทองกับท้าววานร เมื่อท้าว นกยูงทองพบกับนางสุวรรณคีรีที่กาลังเก็บดอกไม้ไปบูชาเพื่อฟังธรรม และได้บอกนางทั้งห้าตนเองกับท้าววานร นั้นเที่ยวมาในป่า นางสุวรรณคีรีจึงได้เชิญท้าวนกยูงไปยังถ้าของนาง ส่วนท้าววานรก็ไปกับพี่เลี้ยงทั้งสี่ ต่อมาพราหมณ์เทศเป็นยักษ์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากและหลงรักนางสุวรรณคีรี เมื่อทราบว่าท้าวนกยูงทองมา ครองคู่อยู่กับนางสุวรรณคีรี ก็โกรธมาก จึงได้เข้ามาสะกดแล้วพาท้าวนกยูงทองไปขังไว้ในกรง โดยมีพลทหาร ยักษ์เฝ้าไว้อย่างแน่นหนา ท้าววานรและพี่เลี้ยงทั้งสี่รู้สึกคิดถึงท้ าวนกยูงทองกับนางสุวรรณคีรีจึงพากันมาหา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๓๗

แล้วพบว่านางสุวรรณคีรีสลบอยู่ จึงช่วยกัน พอนางฟื้นขึ้นมาจึงเล่าว่าพราหมณ์เทศได้จับท้าวนกยูงทองไป ท้าว วานรจึงตามไปช่วยท้าวนกยูงทองที่ถูกขังไว้ในกรง.... (ต้นฉบับจบแต่เพียงเท่านี้) ลักษณะของตัวบท เรื่องนกยูงทองแต่งเป็นคาประพันธ์ ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ซึ่ง คาประพันธ์มักไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์นัก บางบทมีฉันทลักษณ์ไม่ตรงกับลักษณะของฉันทลักษณ์ที่กาหนดไว้ แม้ จ านวนวรรคหรื อ ค าในวรรคบางบทไม่ ต รงแต่ ไม่ มี ผ ลต่ อ เนื้ อ ความของเรื่อ ง ลั ก ษณะค าประพั น ธ์ข อง วรรณกรรมที่ปรากฏ มีดังนี้ ๑. กำพย์ยำนี ๑๑ กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท หรือ ๔ วรรค บาทที่ ๑ บาทแรกเรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาท โท แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรก ๕ คา วรรคหลัง ๖ คา เช่น

 เราสู้อยู่กับยักษ์ พระสหายจะเป็นบ้า  ไม่รู้ว่าเราดี ฤทธิ์ท่านยวดยง  เดินพลางทางแลดู สหายร่วมปัญญา  ครั้นถึงเล่าเนื้อความ ไอ้ยักษ์มันแพ้ไป

พระทรงศักดิ์จะครวญหา ว่าชีวาจะผุยผง เป็นชินสีห์หน่อพุทธองค์ ย่อมบรรจงก่อสร้างมา เห็นเธออยู่ต้นไทรสาขา เห็นราชาก็ดีใจ การสงครามในพงไพร สู้ไม่ได้จึงถวายพร

๒. กำพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์ฉบัง ๑ บท มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น (วรรคแรก) มี ๖ คา วรรคกลาง (วรรคที่ ๒) มี ๔ คา และ วรรคท้าย (วรรคที่ ๓) มี ๖ คา เช่น

 ครั้นว่าสางสว่างไซร้ จะใคร่ไปเล่นสวนศรี  จึงเสวยอาหารตามมี ตรัสเรียกเสนีย์เข้ามา  สั่งให้จัดแจงโยธา ตรัสว่าให้ทันโองการ  เสนามากมากราบกราน

ยักษีดีใจ เสร็จแล้วยักษี กงจักรยักษา วิ่งมาลนลาน


๑๓๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จัดแจงทหารมากมี ๓. กำพย์สุรำงคนำงค์ ๒๘ กาพย์สุรางคนางค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คา เช่น

 เราจะไปสระสรง

ได้ลาภมั่นคง อย่าทุกข์เลยนะเจ้า นวลนางสาวศรี  พี่เลี้ยงทูลเล่า แม่อยู่หัวเจ้า ดีร้ายจะได้ เหมือนดังความฝัน  อันดวงเหลือง รัศมีรุ่งเรือง ล้าเลิศเพริศเพร้า ดุจดังหนึ่งทอง  นางสุวรรณคีรี ฟังพี่เลี้ยงทั้งสี่ สมพรปากเจ้า นวลนางสาวสรรค์

ในเจ็ดวันนี้ ได้แก้วมณี เราจะแบ่งปันกัน อย่าเศร้าโศกศัลย์ รูปทรงเธอนั้น ควรเป็นคู่ครอง จะเป็นผัวน้อง รูปทรงพระเจ้า เป็นบุญของน้อง ใครไม่เทียมทัน ทานายความฝัน น้องได้อย่างนั้น แม่นแท้บุญตัว

คุณค่ำของวรรณกรรม วรรณกรรมเรื่องนกยูทองสะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านการปลูกฝังความเชื่อทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับบุ ญ บารมีของพระโพธิสัตว์ผู้จะมาตรัสรู้ในอนาคต การปลูกฝังความคิดเรื่องมิตรภาพระหว่างเพื่อน ภาพความอุดม สมบูรณ์ของพื้นป่าและพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งมีทั้งผลไม้ที่ใช้กินเป็นอาหารและใช้เป็นสมุนไพรตามจินตนาการ ของกวี นอกจากนี้วรรณกรรมเรื่องนกยูงทองยังแสดงคุณค่าด้านความงามทางวรรณศิลป์อีกด้วย ๑. คุณค่ำด้ำนกำรปลูกฝังควำมเชื่อเกี่ยวกับบุญบำรมีของพระโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์จะเชื่อว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีบุญบารมี มีรูปงาม มีสติปัญญา เป็นผู้ได้สั่ง สมบารมีมาแล้ว และมีอิทธิฤทธิ์ เช่น

 เห็นสองกษัตริย์หลับอยู่ จึ่งรู้ว่าหน่อนพไตร  ฤทธีเธอมีเกรียงไกร ถอดรูปแปลงกายเที่ยวมา  นรลักษณ์ภูมินทร์ดังอินทรา  องค์นั้นรูปดีมีสีสัน ดังแก้วสูรย์บัณฑ์ไพรฑูรย์  ครั้งนี้ชีวิตจักสูญ เพิ่มพูนสมภาร

พิศเพ่งเล็งดู ล้าเลิศแดนไกร ดวงหน้าดังวงพระจันทร์ เหลื่อมพรายหลายพรรณ หน่อพุทธางกูร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๓๙

๒. คุณค่ำด้ำนกำรปลูกฝังควำมคิดเรื่องมิตรภำพควำมผูกพันระหว่ำงเพื่อน มิตรภาพและความผูกพันระหว่างเพื่อน โดยแสดงถึงความห่วงใยและค่อยช่วยเหลือกัน ไม่ว่ายามสุข หรือยามทุกข์ เช่น ท้าวนกยูงทองกับท้าววานร เมื่อต้องแยกกันก็ยังห่วงหา ห่วงใยและคิดถึงกัน ครั้นเมื่อรู้ว่า ท้าววานรโดนจับตัวไปก็รีบไปช่วยโดยเร็วพลัน ดังตัวอย่าง  ฝ่ายท้าววานร กอดบาทภูธร ชลเนตรหลั่งไหล คิดถึงเพื่อนยาก ผู้ร่วมหทัย มีกรรมสิ่งใด จาให้ไกลกัน  กอดศอสหาย โศกามากมาย ทั้งสองด้วยกัน เราเป็นเพื่อนยาก ในป่าหิมวันต์ รบรุกบุกบัน ปกป้องกันมา  ชลนีหาไม่ ซ่อนซุกบุกไพร ด้นตัดลัดมา เก็บผลลูกไม้ เลี้ยงกันสองรา เหมือนสกุณา หาเหยื่อป้อนกัน  ท้าวจักจรลี ไปถ้าปรางศรี กับนางกัลยา ระวังองค์จงดี ดูอัชฌาศรัย ถ้าเมามัวไป เห็นไม่สถาพร หรือในตอนที่นางสุวรรณคีรีกับพี่เลี้ยงทั้งสี่เมื่อต้องแยกกันย่อมคิดถึง และเมื่อนางสุวรรณคีรีมีเรื่องทุกข์ ร้อนก็ได้ช่วยเหลือ ดังตัวอย่าง

 ฝ่ายนางทั้งสี่

ได้ฟังภูมี ชื่นชมหฤหรรษ์ ผัดแป้งแต่งองค์ บรรจงด้วยพลัน จักตามผัวขวัญ มาเฝ้ากัลยา  ตรัสเท่านั้นแล้ว สมเด็จนางน้องแก้ว เจ้าทอดองค์ลง เจ้าจะม้วยอาสัญ ให้ทันพระองค์ พระพี่โฉมยง คอยอยู่เถิดรา  ทุกข์น้องครั้งนี้ พระพี่ทั้งสี่ ไม่ช่วยเลยนา จะทาเป็นไฉน จะได้ราชา กอดเอาบาทา นางทั้งสี่องค์  พี่เลี้ยงทั้งสี่ แลเห็นเทวี เจ้าทอดองค์ลง ชวนกันร่าไร ให้รักโฉมยง กราบทูลพระองค์ ผู้เป็นผัวขวัญ  ข้าแต่พระเจ้า จงได้โปรดเกล้า น้องรักสงสาร บัดนี้พราหมณ์เทศ ทาเหตุล้างผลาญ สะกดภูบาล หลับแล้วพาไป  นัยเนตรเหมือนไฟ ทั่วทั้งกายา เทวามนุษย์ พราหมณ์เทศคนนี้ เขามีฤทธา ล้าเลิศแดนไตร วาจาประสิทธิ์ นิรมิตเป็นไฟ ทั่วทั้งกายา ๓. คุณค่ำด้ำนกำรบันทึกควำมอุดมสมบูรณ์ของไม้นำนำชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของไม้ผลที่อยู่ในป่าหิมพานต์มีหลากหลายชนิด ได้แก่ ขนุน มังคุด ลูกอิน (จัน) มะม่วง มะปราง ลางสาด มะหาด น้อยหน่า ลิ้นจี่ และบางชนิดมีสรรพคุณ เช่น มังคุดกินแล้วมีปัญญา และ


๑๔๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทาให้ฟันที่หักหลุดนั้นขึ้นมาใหม่ ขนุนกินแล้วผมที่ไม่มีกลับงอกขึ้นใหม่ หรือผมที่หงอกกลับดกดาเหมือนเดิม เป็นต้น ดังตัวอย่าง

 ต้นไม้ในหิมพานต์ ใครกินก็เป็นยา  ขนุนอันกินหวาน ดกงามเป็นชั้นชอง  แม้ว่าฟันหักหลุด ใครกินมีปัญญา  มีต้นเท่าสามกา ใครกินฤทธามี  ขนุนอันลูกยาน กินแล้วอย่าร้อนใจ  แม้นว่าผมหงอกทั่ว เนื้อหนังดังสาลี  แม้นว่าแก่งกงัน กินแล้วเนื้อเหมือนทอง  มะม่วงลูกพันพัว เลิศล้าในโลกีย์  มะนาวมีเหลือหลาย ไม่เชื่อแล้วอย่าฟัง  มะปรางลูกลางสาด สาหรับพระภูธร  น้อยหน่าลูกลิ้นจี่ ใครกินมีฤทธา  อันไม้ในหิมวา ครั้นว่าจะช้าไปเรื่องนั้น

เป็นแก่นสารในโลกา ในใต้หล้าไม่มีสอง ลูกใหญ่ยานโตเท่ากลอง ขึ้นตามคลองทองคลองคีรี ลูกแมงคุดหวานนักหนา เกิดฤทธาฟันฝางมี มีทั้งน้าไหลรินรี่ หักคีรีได้ดังใจ คนหัวล้านหาผมใหม่ กลับขึ้นได้งามมีศรี ได้ทาหัวเกิดฤทธี ผมดาดีเส้นใหญ่ย่อง ลูกอินจันสุกใสผ่อง นวลละอองครองสัตรี ทั้งฝักบัวงามมีศรี พระฤๅษีตั้งสัตย์จัง หล่นเรี่ยรายในดงรัง มีทั้งเพชรพญาธร ลูกมะหาดบนสิงขร เทวดาเหาะร่อนลงมา รสชาติดีเป็นหนักหนา หักศิลายุบทาลาย จะพรรณนาไม่หวาดไหว ใครยังครามครัน

๔. คุณค่ำด้ำนควำมงำมทำงวรรณศิลป์ ความงามทางวรรณศิลป์เป็นการใช้ภาพพจน์ความเปรียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวหรือลักษณะของ ตัวละครและเกิดจินตภาพได้ชัดเจน เช่น การพรรณนาถึงความงามของพระโพธิสัตว์ โดยสรรคาพ้องเสียงเพื่อ แสดงความกตัญญูกตเวทีตามความเชื่อในพุทธศาสนา การใช้โวหารแบบอุปมาเพื่อแสดงความงามบริสุทธิ์ไม่มี ใครเทียบได้ เป็นต้น ดังตัวอย่าง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๔๑

 เมื่อนั้นโพธิสัตว์

ชื่นชมโสมนัส อยู่กับมารดา จรเที่ยวในไพร ได้คู่เสน่หา เจ้าค่อยอุตส่าห์ เลี้ยงพระมารดา  วรองค์พระเจ้า สีแสงเพริศเพรา ดุจดาวดารา เจ้าค่อยกล่อมเกลี้ยง เลี้ยงพระมารดา อยู่ในหิมวา เป็นสุขสาราญ  จาศีลภาวนา มิได้อุเบกขา ในป่าหิมพานต์ ฝูงสัตว์ทั้งหลาย มีใจชื่นบาน ด้วยบุญกุมาร ปกเกล้าเกศา .....................................  เห็นพระโพธิสัตว์ สีแดงแสงตรัส งามยิ่งกว่าเขียน พิศเพียรภูวไนย เห็นแล้วพรานไพร ค่อยมองเข้ามา  คิดในใจหมาย จักยิงให้ตาย เสียดายหนักหนา จักเอาไปถวาย แก่ไทราชา สมเด็จผ่านฟ้า ครองกรุงบุรี  จะคิดไฉน จักจับตัวได้ ที่ในพงพี จักทาวุ่นวาย ดีร้ายจะหนี จักเอาคดี ไปทูลถวาย  ว่านกตัวนี้ ไม่มีราคี คือทองพรรณราย สีตัวดังแก้ว วาวแววเพริศพราย ล้าเลิศเฉิดฉาย ไม่ระมีถึงสอง หรือการพรรณนาภาพการต่อสู้ตอนที่ท้าววานรเข้าไปช่วยท้าวนกยูงว่ามียักษ์ล้มตายมากมายและเกิด เสียงดังสนั่นมาก ดังตัวอย่าง  พลด่านขุนมารทั้งหลาย ยักษ์ร้ายก็ตายโกฏิพัน  ภูเบศเธอเสร็จฆ่าฟัน กุมภัณฑ์ต่อสู้ราชา  แผลงอิทธิฤทธิ์นักหนา ดังฟ้าจะทรุดทาลาย  ภูบาลจึ่งผลาญโดยหมาย วอดวายลงกลาดพระสุธา

ทรุดโทรมทาลาย ยังเหลืออยู่นั้น กุมจับราชา ทุกยักษ์นั้นตาย

วรรณกรรมเรื่องนกยูงทองฉบับปริวรรตนี้มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น นกยู งทอง ซึ่งแสดงให้ เห็ น ความเชื่ อเกี่ย วกับ ผู้ ที่ เป็ น พระโพธิสั ตว์ว่าจะต้อ งเป็ นผู้ มี บุ ญ บารมี มีรูป งาม มี สติปัญญา และมีอิทธิฤทธิ์ สะท้อนให้เห็นคุณค่าทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ในสมัยนั้น และความงามทางด้านวรรณศิลป์ กลวิธีการดาเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว มีการสอดแทรกข้อคิดอันเป็น


๑๔๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ประโยชน์ แ ก่ ผู้ อ่ า น นอกจากนี้ ว รรณกรรมเรื่ อ งนี้ ยั ง เป็ น การสื บ ทอดให้ ว รรณกรรมคงอยู่ แ ละเห็ น การ แพร่กระจายของนิทานในวงกว้างอีกด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๔๓

บรรณำนุกรม กลุ่มงานบริการสารสนเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). “นกยูงทอง.” ใน หนังสือเก่ำชำว สยำม. เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖. จากเว็บไซต์ http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/literature/2012-04-2604-21-08. ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (๒๕๑๙). วิชำกำรประพันธ์. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. ตรีศิลป์ บุญขจร. (๒๕๓๐). วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภำคกลำง : กำรศึกษำเชิงวิเครำะห์. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เตือนใจ สินทะเกิด. (๒๕๒๐). วรรณคดีชำวบ้ำนจำก “วัดเกำะ”. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรการศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (๒๕๒๓). กำรศึกษำเชิงวิเครำะห์เรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์เถรวำทและคัมภีร์ มหำยำน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระคันธสาราภิวงศ์, ผู้แปล. (๒๕๔๙). พระปริตรธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์. สุปาณี พัดทอง. (๒๕๔๔). ศิลปะกำรประพันธ์ภำษำไทย : ร้อยกรอง. ม.ป.ท. : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศิราพร ณ ถลาง. (๒๕๕๒). ทฤษฎีคติชนวิทยำ : วิธีวิทยำในกำรวิเครำะห์ตำนำน - นิทำนพื้นบ้ำน. พิมพ์ครั้ง ที่ ๒. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


๑๔๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: นกยูงทอง เล่ม ๑ หน้าต้นนกยูงทอง เล่ม ๑ ท่านผู้อ่านอย่าติเลย ข้าพึงสอนเขียนอย่าติเตียนข้าเขียนไม่เป็น ยอกรขึ้นเหนือเกศ ไหว้พระสรรเพชร ผู้ทรงเดช โปรดสัตว์ทั้งผอง ทั่วทั้งโลกา ให้เห็นอนัตตา ทุกขนัยสงสาร  พระเจ้าตรัสแล้ว หฤทัยผ่องแผ้ว ดังแก้วอลังการ รุ่งโรจน์โชติชว่ ง ดุจดวงประพาฬ ในไอยอดวิมาร อินทร์พรหมทั้งหลาย  ตรัสเทศนา ด้วยพระคาถา ศาลาสืบสาย ไม่ตรึกนึกยาก ลาบากพระกาย พระทัยมุ่งหมาย ปองให้มรรคผล ขอเดชครูตัวข้าทารุณ จักสืบศาสน จงช่วยกาจัด โทมนัสมืดมน ซึ่งชั่วพิกล บัดดลเหือดหาย อันลึกล้นล้า ยิ่งกว่าชลทั้งสาย บรรเทาโรคชล ให้พ้นอบาย วิมุตติทาลาย ได้สร้างกุศล  มีคุณที่สุด เขาพามนุษย์ ทั่วทุกตัวคน ฟังธรรมตามแล้ว ไม่แคล้วมรรคผล อินทร์พรหมเบื้องบน ย่อมได้แล้วหนา  ดังประทีปแก้ว สว่างผ่องแผ้ว ส่องแน่วโลกา รุ่งเรืองรัศมี แสงสีโสภา ดังดวงทินนา ลิ้นลาอัมพร ปางเมื่อศาสดา เป็นสกุณา อยู่ในดงดอน เสด็จเที่ยวในไพร ภูวไนยสโมสร เล็มล่าดงดอน เป็นนิจอัตรา เมื่อนั้นโพธิสัตว์ ชื่นชมโสมนัส อยู่กับมารดา จรเที่ยวในไพร ได้คู่เสน่หา เจ้าค่อยอุตส่าห์ เลี้ยงพระมารดา  วรองค์พระเจ้า สีแสงเพริศเพรา ดุจดาวดารา เจ้าค่อยกล่อมเกลี้ยง เลี้ยงพระมารดา อยู่ในหิมวา เป็นสุขสาราญ จาศีลภาวนา มิได้อุเบกขา ในป่าหิมพานต์ ฝูงสัตว์ทั้งหลาย มีใจชื่นบาน ด้วยบุญกุมาร ปกเกล้าเกศา บริวารทั้งนั้น แปดหมื่นสี่พัน อยู่ในหิมวา กินผลลูกไม้ ตามชายภูผา ใกล้ฝั่งคงคา ริมเขาหัศกรรณ อยู่กับฝูงหงส์ เวลาสุริยงศ์ จักบ่ายผายผัน จึ่งชวนนกยูง เป็นฝูงพร้อมกัน ในป่าไม้นั้น ลงให้สุขสาราญ ด้วยว่ามารดา แก่เฒ่าชรา เห็นหน้ากุมาร เจ้าคอยปกป้อง ศัตรูอันธพาล ครั้นเวลากาล กลับขึ้นกรุงไกร อุตส่าห์ภาวนา จาได้คาถา อันเลิศไกร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๔๕

สุขเกษมเปรมปรีดิ์ ไม่มีโภยภัย สมเด็จภูวไนย ไร้คู่สงสาร ยังมีพรานป่า เที่ยวสัญจรมา หาซึ่งอาหาร ยิงช้างกวางทราย ในป่าดงดาน ซุกซนลนลาน มาถึงร่มไทร เห็นพระโพธิสัตว์ สีแดงแสงตรัส งามยิ่งกว่าเขียน พิศเพียรภูวไนย เห็นแล้วพรานไพร ค่อยมองเข้ามา คิดในใจหมาย จักยิงให้ตาย เสียดายหนักหนา จักเอาไปถวาย แก่ไทราชา สมเด็จผ่านฟ้า ครองกรุงบุรี  จะคิดไฉน จักจับตัวได้ ที่ในพงพี จักทาวุ่นวาย ดีร้ายจะหนี จักเอาคดี ไปทูลถวาย ว่านกตัวนี้ ไม่มีราคี คือทองพรรณราย สีตัวดังแก้ว วาวแววเพริศพราย ล้าเลิศเฉิดฉาย ไม่ระมีถึงสอง มียศบริวาร เห็นงามตระการ ห้อมล้อมก่ายกอง จับอยู่ในไพร ไร้คู่สมสอง รูปงามคือทอง เลี้ยงพระมารดา ควรจะเข้าไป แวดชายให้ใกล้ จักพิจารณา แม้นไม่ไป จะได้เจรจา ว่าแล้วพรานป่า เข้ามาร่มไทร ฝ่ายว่าโพธิสัตว์ จาเริญมัธยัสถ์ แลเห็นพรานไพร จึ่งร้องถามเล่น ท่านจักไปไหน เจ้าเข้ามาไย ใต้ต้นพฤกษา มือถือปืนไฟ ธนูหน้าไม้ รุงรังเข้ามา ฤาเที่ยวในดง หลงทางมรรคา ท่านจักปรารถนา ซึ่งสิ่งอันใด ฤาหนึ่งเดินป่า ล่าเลื้อยเนื้อมา หยุดพักอาศัย ฤาหนึ่งด้นดั้น หลงมาในไพร เราจักบอกให้ ท่านไปเคหา ฟังแล้วพรานไพร เหลียวแลขึ้นไป จึ่งตอบวาจา กับด้วยพระเจ้า กล่าวคามุสา ในใจพรานป่า หมายจิตคิดปอง นายพรานจึงกล่าว ไยเล่า เจ้านกยูงทอง อยู่สุขสบาย ไม่ได้เศร้าหมอง สินทรัพย์เงินทอง อยู่ในเคหา บัดนี้ท้าวไท พระองค์ตรัสใช้ ให้เราออกมา ยิงช้างกวางทราย ที่ในกลางป่า ถึงต้นพฤกษา พบเจ้าทันใจ เห็นเจ้างามสรรพ์ ตัวเราจะรับ เอาไปถวาย แม้นมิไปด้วย จะม้วยวอดวาย จักรอดความตาย ท่าน... พระโพธิสัตว์ คิดพลางทางตรัส แก่นายพรานป่า จักเอาเราไป ถวายไท้ราชา ............ ...กลางไพร เป็นเพื่อนมารดา แม่ลูกสองรา เที่ยวบุกซุกไป ท่านคิดไฉน ............ ............ อย่าให้เศร้าหมอง


๑๔๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทุกวันมารดา เห็นลูกเสน่หา ต่างเนตรทั้งสอง ชมแล้วชมเล่า ผ่านเกล้าผู้ครอง ท่านท้าววานร ให้...สั่งสอน ปิ่นเกล้าภพไตรย ว่าพระราชา เรามาอาศัย ศาลานี้ไซร้ ของยักษ์คนธรรพ์  มีทั้งฝูงหมอน พรมเจียมเครื่องอ่อน แต่งไว้ครบครัน ผลไม้โอชา มีถ้วนสารพัน พรุ่งนี้ยักษ์นั้น มันจะออกมา มันชั่งวาดเขียน แกล้งแต่งธูปเทียน ดอกไม้ชวาลา เครื่องอบเครื่องรม อุดมหนักหนา ยักษ์มีฤทธา ล้าเลิศแดนไตร ท้าวนกยูงทอง ฟังแล้วจึงสนอง ตอบมาทันใจ ยักษ์มีฤทธี จะดีกว่าใคร ท้าวอย่าร้อนใจ จะกลัวเข็ดขาม พรุ่งนี้มันมา อันตัวอาตมา จะต่อสงคราม เราใช่ชายชั่ว จะกลัวเข็ดขาม ตรัสแล้วสรงสนาม เธอเคลิ้มหลับไป  ฉบัง  ๚ะ๛ บัดนั้นท่านท้าวกงจักร นรลักษณ์นวลละอองผ่องใส ฤทธีเธอมีเกรียงไกร บ่อาจต่อต้านทาน บรรทมบนแท่นสาราญ ภูบาลหนักใจนักหนา สรวมกอดเมียรักเสน่หา ราชามาพรั่นขวัญหาย เจ็บองค์ทรงโศกมากหมาย ยักษ์ร้ายก็สั่งเมียขวัญ พรุ่งนี้พี่จะไปหิมวันต์ ใจจะใคร่พบศัตรู เห็นแล้วผัวจะต่อสู้ ให้รู้ประจักษ์แก่ตา ฟังแล้วแก้วเกศสูทา ชลนาเจ้าหลับโทรมองค์ สู้รบกับท้าวเจ้าไพรวัลย์ ฤทธาเธอครั้นมากมี ฟังแล้วยักษี

อานุภาพมากนัก ยักษ์ทั่วแดนไตร ในราตรีกาล องค์คือตีปลา กรกอดโฉมฉาย เที่ยวชมสวนขวัญ จะออกไปดู ตรัสห้ามยักษา พระอย่าทะนง พระโพธิสัตว์นั้น เห็นเป็นท้องที่

มันจงจะไปสวนขวัญ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๔๗

เทวีเจ้าห้ามปรามมา เธอคิดอายแก่เทวา ฤทธาก็มีเกรียงไกร ครั้นว่าสางสว่างไซร้ จะใคร่ไปเล่นสวนศรี จึงเสวยอาหารตามมี ตรัสเรียกเสนีย์เข้ามา สั่งให้จัดแจงโยธา ตรัสว่าให้ทันโองการ เสนามากมากราบกราน จัดแจงทหารมากมี จัดได้ห้าร้อยดี ฤทธีดังไฟประลัยกัลป์ จัดได้ไม่ช้าโดยพลัน ให้ท้าวเธอทราบพระทัย เสนีย์มากราบกรานไป ว่าได้ทหารเข้ามา ฟังแล้วสมเด็จราชา มิช้าก็ขึ้นเกยไชย ผัดแป้งแต่งองค์เฉิดฉาย แสงแก้วก็พรายจับตา สอดใส่เนาวรัตน์ซ้ายขวา ยักษาเรืองอิทธิฤทธี จับพระขรรค์แก้วแววตา บัดใจออกจากพารา ม้าแก้วชักไปไม่ช้า ห้อมล้อมออกมามากหมาย เพราะเพริศล้าเลิศเฉิดฉาย ยักษ์ร้ายไปถึงสวนศรี ยักษาแลมาเห็นภูมี บรรทมยังที่ศาลา กริ้วโกรธหฤทัยดังไฟฟ้า คิดว่าจะเอาเป็นอาหาร

พวกพลยักษา ยักษีดีใจ เสร็จแล้วยักษี กงจักรยักษา วิ่งมาลนลาน สองพลมารยักษี จะทูลทรงธรรม์ ทูลแก่ท้าวไท หน่อท้าวยักษา เกราะนวมสวมกาย มงกุฎชฎา เผ่นขึ้นรถชัย พลมารยักษา พลไพรมากมาย สององค์ชินสีห์ ในจิตยักษา


๑๔๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ชายนี้คุมเหงใคร่จะปาน เข้ามานอนในศาลา อวดตัวไม่กลัวยักษา ในจิตมึงคิดยังไร มนุษย์สองคนด้นไพร จะได้เป็นเหยื่อยักษา ว่าแล้วเท่านั้นมีทันช้า ลอบลักเข้ามาทันใจ จับพระขรรค์แก้ว ภูวไนยดอมมองแลดู เห็นสองกษัตริย์หลับอยู่ จึ่งรู้ว่าหน่อนพไตร ฤทธีเธอมีเกรียงไกร ถอดรูปแปลงกายเที่ยวมา นรลักษณ์ภูมินทร์ ดวงหน้าดังวงพระจันทร์ องค์นั้นรูปดีมีสีสัน ดังแก้วสูรย์บัณฑ์ไพรฑูรย์ ครั้งนี้ชีวิตจักสูญ เพิ่มพูนสมภาร คิดแล้วยักษี พงพิษเหมือนดังไฟประลัยกัลป์ ทิ้งจักรนารายณ์ผายผัน ภูบาลเธอตื่นทันใจ ภูเบศชาเลืองเนตรไป สองไท้คิดพลางยิ้มหัว ตรัสว่ายักษาคนชั่ว ใจชั่วไม่ไถ่ถามกัน มาได้ทิ้งจักรด้วยพลัน นามกรท่านชื่อใด ฤาท่านจะจับเอาไป เราไซร้ไม่มาเกรงกลัว เรานี้มิใช่ชายชั่ว

สองคนมันหักหาญ ทาอหังการ์ อุกอาจแก่ใจ ท่านท้าวยักษา เข้าใกล้สองไท พิศเพ่งเล็งดู ล้าเลิศแดนไกร ดังอินทรา เหลื่อมพรายหลายพรรณ หน่อพุทธางกูร แผลงอิทธิฤทธิ์ ที่ในสวนขวัญ เห็นยักษ์โตใหญ่ โกรธาเมามัว ไม่เกรงใจกัน อย่าคิดสงสัย ยอมเอกแก่ตัว


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๔๙

ไม่กลัวย่อท้อสงคราม ในจิตคิดให้งาม บุญเราล้าเลิศเทวา ฟังแล้วจักรแก้วยักษา แสงตาดังไฟประลัยกัลป์ คารามขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ตรัสตอบภูบาลทันใจ ท่านนี้มาข่มเหงใคร เหตุใดไม่เกรงยักษา เราชื่อจักรแก้วล้าโลกา ใครเลยจะมาเทียมทัน ตัวเราผู้เดียวเชี่ยวชาญ กราบกรานยอกรไสว ว่าแล้วแผลงอิทธิฤทธิไกร ฟาดฟันเอาไท้ภูมี ท้าวนกยูงทองเรืองศรี ต่อสู้ยักษีทันใจ พระองค์แผลงอิทธิฤทธิไกร มัดไว้กับยอดคีรี บัดนั้นกงจักรยักษี ปิ่นเกล้าหน่อท้าวทศพล พ่ายแพ้อานาจตน ครั้นจนจึงร้องถวายพร ข้าแต่สมเด็จภูธร จงรับเอาพรสวัสดี ขอให้ฟุ้งเฟื่องเรืองศรี ไพรีอย่าต้องพาล โปรดสัตว์ในวัฏสงสาร ภูบาลเป็นหน่อชินสีห์ ปกป้องครองบุรี ฤทธีไม่ต้านชิงชัย แม้นพระจะไปชิงชัย อวยชัยให้เป็นสถาพร

มิฟังก็ตาม กริ้วโกรธโกรธา มือถือพระขรรค์ เจรจาปราศรัย มีอิทธิฤทธา เทวาทุกสถาน โทรมเข้าชิงชัย ถือธรรมขรรค์ตี จับยักษ์นั้นได้ สู้กับภูมี ที่ในไพรสณฑ์ เจ้าไพรสิงขร ในโลกโลกี ในพ้นปวงมาร หมู่มารยักษี เทวาไสว


๑๕๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ร้อยกรอง พรนี้อย่าให้คลาดคลาย โปรดให้รอดจากตาย จะถวายเป็นเครื่องบูชา ข้าสาวชาววังซ้ายขวา ขอถวายให้เป็นมเหสี เชิญแก่จากคีรี พันปีจงโปรดเกล้า ฟังเสร็จสมเด็จราชา เธอมาร่าร้องถวายพร พระจึ่งยิ้มพรายในดงดร ภูธรตรัสถามไป แพ้เราแล้วฤาเป็นไฉน อาจใจมารบพุ่งกัน ท่านทิ้งจักรกรดให้ผลาญ ศรนั้นกึกก้องโครมครืน ผิดแล้วจักรแก้วกลับคืน ชมชื่นด้วยพรมากมาย จะช่วยให้รอดจากตาย นานไปอย่าทาอหังการ์ สิ่งใดผิดชอบดูอัชฌา หยาบช้าในการรณรงค์ พรนี้เราได้เป็นพระองค์ ประสงค์ในจิตมุ่งหมาย ฤทธียักษีมาแพ้ไป สมเด็จท้าวไทกับไทนวลนางธิดา เราไซร้มิได้ปรารถนา จะเที่ยวในป่าพงไพร ว่าแล้วสมเด็จท้าวไท เคลื่อนคลายจากยอดคีรี แก่แล้วกงจักรยักษี เธอกราบภูมีทันใจ พรแปดประการคือดอกไม้

บูชาผาสลอนภูธร กรุงแก้วเฉิดฉาย ทั้งพระธิดา ให้รอดชีวี อันท้าวยักษา โอวาสนาเธอสั่งสอน ฤทธาเจ้าเกรียงไกร ในป่าดงดาน เราไม่ฝ่าฝืน ท่านอย่านึกหมาย ท่านเป็นยักษา ดั่งใจจานง จะถวายชิงชัย หน่อพระนารายณ์ แก่ยักษ์บัดใจ ออกจากคีรี บูชาท้าวไท


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๕๑

ให้ได้เหมือนน้าพระคงคา ไหลดุจฝั่งเป็นทางมา อย่าได้เสื่อมสูญ ให้ตรัสเป็นองค์พุทธกูร เป็นครูแก่สัตว์ทั้งหลาย มาดแม้พระองค์ไม่สบาย ให้ได้ดังความปรารถนา สมสู่คู่ครองนางฟ้า เทวาไม่มาเทียมทัน ขอให้ฤทธากล้าหาญ ชนะแก่มารศัตรู พรหนึ่งพระองค์เสร็จอยู่ เทวามาอยู่รักษา ขอให้มีเครื่องอัฏฐา ประโคมราชาสององค์ ขอให้มีอัสดรทรง เหาะตรงไปทางเวหา ข้าบาทมาแพ้ราชา ราชาไม่ให้ผุยผง พรนี้ขออย่าได้ไกลองค์ ลูบไล้พระองค์ทั่วกาย พรนี้เหมือนรสกลิ่นอย่ารู้หาย ในโลกเลื่องฤาชา ญาณี๚ะ๛ บัดนั้นโพธิสัตว์ ชื่นชมในปัญญา สอนสั่งถ้วนถี่ ตัวท่านผู้เป็นนาย นักสนมนางศรีสาวศรี อย่าหลงด้วยกามา อันกามรากนั้น นั่งพัดวีทั้งซ้ายขวา

สององค์ราชาบุญญา บารมีเพิ่มพูน เที่ยวไปโดยหมาย ล้าเลิศโลกา ปรากฏในจักรวาล ในโลกชมพู มโหรีซ้ายชวา เชิญเสด็จพระองค์ โปรดไว้ชีวา เหมือนรถบรรจง หอมฟุ้งกระจาย

ได้ฟังอรรถท้าวยักษา ที่โกรธาก็สูญหาย จาจงดีอย่าเคลื่อนคลาย จะเข้าไปครองบุรี นั่งพัดวีทั้งซ้ายขวา เร่งรักษาตัวจงดี ย่อมผูกพันด้วยโลกี เมานักท้าวยักษี


๑๕๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอาตัวหนีอย่าหลงใหล สั่งแล้วพระภูวนารถ คิดถึงเพื่อนเข็ญใจ เราสู้อยู่กับยักษ์ พระสหายจะเป็นบ้า ไม่รู้ว่าเราดี ฤทธิ์ท่านยวดยง เดินพลางทางแลดู สหายร่วมปัญญา ครั้นถึงเล่าเนื้อความ ไอ้ยักษ์มันแพ้ไป สององค์จะเที่ยวไป เที่ยวไปที่ในสิงขร เราจะหาซึ่งคู่ครอง พรนี้จะอุดหนุน บัดนั้นท้าววานร ชื่นชมในหฤทัย กอดเอาสหายรัก ยวดยงทรงฤทธี จะอยู่ที่นี่ไย สององค์พระภูบาล ตัวเราคือราชสีห์ มนุษย์ในต่าใต้ สององค์คือภูผา ผลไม้ขึ้นเป็นช่อง ต้นไม้ในหิมพานต์ ใครกินก็เป็นยา ขนุนอันกินหวาน ดกงามเป็นชั้นชอง แม้ว่าฟันหักหลุด ใครกินมีปัญญา มีต้นเท่าสามกา ใครกินฤทธามี

จึงเยียรยาตรมาคลาไคล ป่านฉะนี้จะค่อยหา พระทรงศักดิ์จะครวญหา ว่าชีวาจะผุยผง เป็นชินสีห์หน่อพุทธองค์ ย่อมบรรจงก่อสร้างมา เห็นเธออยู่ต้นไทรสาขา เห็นราชาก็ดีใจ การสงครามในพงไพร สู้ไม่ได้จึงถวายพร เห็นมีชัยไม่ย่อยอน ดีร้ายพรจะให้คุณ ประสมสองอันมีบุญ จะมีคุณเราสืบไป ฟังภูธรก็ดีใจ ท่านนี้ไซร้ฤทธามี เห็นประจักษ์ในโลกี สององค์นี้คือช้างสาร เราจะไปที่ในหิมพานต์ จับพระขรรค์แล้วคลาไคล ฤทธามีอยู่เกรียงไกร ตัวผู้ใดจะถึงสอง เห็นศิลาเลื่อมเป็นทอง เกิดตามคลองช่องสินธุ์ลา เป็นแก่นสารในโลกา ในใต้หล้าไม่มีสอง ลูกใหญ่ยานโตเท่ากลอง ขึ้นตามคลองทองคลองคีรี ลูกแมงคุดหวานนักหนา เกิดฤทธาฟันฝางมี มีทั้งน้าไหลรินรี่ หักคีรีได้ดังใจ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๕๓

ขนุนอันลูกยาน กินแล้วอย่าร้อนใจ แม้นว่าผมงอกทั่ว เนื้อหนังดังสาลี แม้นว่าแก่งกงัน กินแล้วเนื้อเหมือนทอง มะม่วงลูกพันพัว เลิศล้าในโลกี มะนาวมีเหลือหลาย ไม่เชื่อแล้วอย่าฟัง มะปรางลูกลางสาด สาหรับพระภูธร น้อยหน่าลูกลิ้นจี่ ใครกินมีฤทธา อันไม้ในหิมวา ครั้นว่าจะช้าไปเรื่องนั้น ทั้งสองเธอคลาไคล ไกลถึงสนามนั้น ตัวเราจะคอยอยู่ เดชพรยักษี ครั้นว่าเท่านั้นแล้ว ถึงสระด้วยทันใจ ขึ้นแท่นศิลาอาสน์ เอนองค์ลงด้วยพลัน พิษฐานแก่เทวา ให้พบนางนงคราญ

คนหัวล้านหาผมใหม่ กลับขึ้นได้งามมีศรี ได้ทาหัวเกิดฤทธี ผมดาดีเส้นใหญ่ย่อง ลูกอินจันสุกใสผ่อง นวลละอองครองสัตรี ทั้งฝักบัวงามมีศรี พระฤาษีตั้งสัตย์จัง หล่นเรี่ยรายในดงรัง มีทั้งเพชรพญาธร ลูกมะหาดบนสิงขร เทวดาเหาะร่อนลงมา รสชาติดีเป็นหนักหนา หักศิลายุบทาลาย จะพรรณนาไม่หวาดไหว ใครยังครามครัน ยังขึ้นไปเขาหัศกรรณ พระทรงธรรม์ก็ยินดี ดูกันเล่นในวันนี้ ช่วยเรานี้อย่าเคลื่อนคลาย สองพระองค์แก้วเดินเข้าไป พระภูวไนยหยุดสาราญ พระจอมนารถวางพระขรรค์ พระจอมขวัญชมบัวบาน จงช่วยข้าอย่าได้นาน ในวันนี้อย่าเคลื่อนคลาย

สุรางคนางค์ บัดนั้นยังมี นางสุวรรณคีรี ชื่อนางหงส์ทอง ปกป้องภูผา ล้าเลิศโลกา ไม่มีถึงสอง ลูกท้าวเวสสุวรรณ บิดาเจ้านั้น เอาไว้ถ้าทอง แต่งนางสาวสรรค์ เพื่อนกันเป็นสอง พีเ่ ลี้ยงปกป้อง ทั้งสี่กลั ยา นางเทพเกสร พี่เลี้ยงบังอร นางอุทรกรีฑา


๑๕๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นางเกตุมาลา นางสาสุรีวงศ์ ขึ้นแท่นบรรทม ห้อมล้อมเป็นกง ขับระบาราเต้น มิใครจะลืมหลง กล่อมนางโฉมยง บนแท่นเยาวมาลย์ ครั้นเจ้าหลับแล้ว โฉมยงน้องแก้ว เจ้านี้มีฝัน รุ่งร่างราตรี จะได้พบกัน กับพระทรงธรรม์ เทวดาดลใจ ครั้งรุ่งราตรี ตรัสเรียกสาวศรี เข้ามาในที่ คืนนี้เราฝัน อัศจรรย์หฤทัย ท่านช่วยแก้ไข ทานายจงดี ฝันว่าได้แก้ว งามประเสริฐเลิศแล้ว ผ่องแผ้วรุจี เห็นงามฉวยโชติ รุ่งโรจน์รัศมี เราได้มานี้ มาไว้เชยชม ฝันว่าสองดวง ดวงหนึ่งขาวช่วง เราได้อภิรมย์ ฝูงนางทั้งนั้น แบ่งปันกันชม ได้ไว้อภิรมย์ ชื่นชมยินดี เราจะไปสระสรง ได้ลาภมั่นคง ในเจ็ดวันนี้ อย่าทุกข์เลยนะเจ้า นวลนางสาวศรี ได้แก้วมณี เราจะแบ่งปันกัน พี่เลี้ยงทูลเล่า แม่อยู่หัวเจ้า อย่าเศร้าโศกศัลย์ ดีร้ายจะได้ เหมือนดังความฝัน รูปทรงเธอนั้น ควรเป็นคู่ครอง อันดวงเหลือง รัศมีรุ่งเรือง จะเป็นผัวน้อง รูปทรงพระเจ้า ล้าเลิศเพริศเพร้า ดุจดังหนึ่งทอง เป็นบุญของน้อง ใครไม่เทียมทัน นางสุวรรณคีรี ฟังพี่เลี้ยงทั้งสี่ ทานายความฝัน สมพรปากเจ้า นวลนางสาวสรรค์ น้องได้อย่างนั้น แม่นแท้บุญตัว จะช้าอยู่ไย มาเราจะไป อย่าได้เกรงกลัว นวลนางสาวสรรค์ ชวนกันแต่งตัว จิตนางยิ้มหัว แล้วพากันมา เราเป็นสาวแท้ ความสิ่งนี้แล เขาจะนินทา ไร้ผัวคู่ครอง ปกป้องเกศา ยืดไปภายหน้า จะเป็นคนชั่ว ฟังแล้วสาวใช้ ใครอย่าว่าไป ให้เขารู้ตัว เราทาเป็นว่า ไม่ปรารถนา ผัวแกล้งว่านาง จะลองนินทา หัวเราะระริก แล้วว่าชายชั่ว ทาเป็นหยอกหยิกเพื่อนกันไปมา นวลนางสาวสรรค์ ชวนกันลินลา เลียบตามภูผา ถึงโบกขรณี เปลื้องเครื่องประดับ สาวสี่จึงรับ วางบนคีรี จึ่งนางลงไป เก็บดอกบัวได้ ชื่นชมยินดี ล้วนนางนารี เล่นสาราญใจ ลงเล่นคงคา เก็บดอกบุปผา เอามากองไว้ เจรจาปราศรัย ในจิตคิดหมาย เย็นเราทั้งหลาย ไปฟังเทศนา ไปบูชาธรรม พี่เที่ยวจรมา ไร้พระวงศา เกิดมามีกรรม เก็บดอกบุปผา ไปบูชาธรรม ชาตินี้มีกรรม ตัวเราทั้งสอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๕๕

พบเจ้าวันนี้ เราไซร้ยินดี เจ้าเก็บบัวทอง เหนือแท่นบูชา วาสนาทั้งสอง ขอพึ่งบุญน้อง ไปฟังเทศนา เอาบุญเถิดนะเจ้า ฟังเทศนาเล่า จะเกิดปัญญา เอาพี่ไปด้วย เป็นเพื่อนฉายา ชาตินี้ชาติหน้า ไม่จนคู่ครอง พี่อยู่พงพี ไร้พระมเหสี ไม่ได้สมสอง มาพบกัลยา เจ้าเก็บบัวทอง บุญเราทั้งสอง สร้างแล้วคอยกัน นางสุวรรณคีรี ได้ฟังภูมี จิตใจไหวหวั่น ตระหนกตกใจ นางไม่มีขวัญ พวกนางสาวสรรค์ ชวนกันหนีไป กลับหลงยังหยุด โฉมยงนงนุช ไม่แจ้งหฤทัย ไม่เห็นราชา ว่ามาแต่ไหน ล้าเลิศโลกา มาปรึกษากัน นวลนางสาวสรรค์ ทั้งสี่กัลยา เราจะไปดีฤา จะอยู่สนทนา ไม่รู้จักว่า เธอมาแต่ไหน เราพูดแต่ดี จะทาอย่างนี้ จะช้าที่ไป รูปคือเทวา เสด็จมาแดนใด คิดแล้วทันใจ จึงถามราชา พระเอ๋ยตัวน้อง เก็บดอกบัวทอง ฟังธรรมเทศนา พระจะตามไป กลัวเขานินทา ท่านช่างเจรจา ไม่มีความอาย น้องเป็นกษัตรี เนื้อความทั้งนี้ เขาจะไยไพร่ พระช่างเจรจา เรียนมาแต่ไหน เห็นไปไม่ได้ ด้วยน้องเลยนา อนิจจาน้องแก้ว ตัดใจพี่แล้ว ไม่มาเมตตา พี่เที่ยวจรไพร ได้ฟังเทศนา จากพระวงศา ช้านานหลายปี สององค์เที่ยวมา ดั้นดงพงป่า ไร้พระมเหสี ให้พี่ไปด้วย นวลนางเทวี ฟังเทศน์ฤาษี มุนีในไพร นางสุวรรณหงส์ทอง คิดแล้วจึงสนอง ตอบคาภูวไนย พระชั่งพาที น้องนี้อายใจ มเหสีภูวไนย อยู่วังดังทอง น้องเป็นชาวป่า พระไม่ปรารถนา ร่วมภิรมย์สมสอง วรองค์พระเจ้า เปรียบเหมือนหนึ่งทอง อันตัวของน้อง เหมือนทาสทาสี พระจึงตรัสไป มเหสีพี่หาไม่ นางไท้เทวี เจ้าได้เมตตา กรุณาปราณี เหมือนช่วยชีวี อย่าให้ม้วยมรณ์ เรียมคือแมลงผึ้ง บินเซแร่ทึ้ง หวังจะคลึงเกสร จนบานเบิกรับ ภุมเรศอันจร ช่วยดับทุกร้อน ในทรวงอุทร พระเอ๋ยตัวน้อง คือดอกบัวทอง บานอยูส่ ลอน ไม่มีน้าค้าง จึงบังเกสร ภุมเรศบินว่อน อย่าร่อนลงมา พี่เป็นแมลงผึ้ง ไม่ลงไปถึง เจ้าอย่าสงกา


๑๕๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ปีกพี่ไม่อ่อน จะร่อนทาบทา พระเอ๋ยตัวน้อง อันดอกบุปผา ในป่ามีถม พระจึงว่าเล่า หน่อเนื้อโพธิสัตว์ ทรงพระปัญญา นางจึงถามเล่า แม้นว่าเทศน์ได้ เชิญไปถ้าทอง พระจึงตรัสไป ขอแก้ดูก่อน เราอ่อนปัญญา นางจึงว่าเล่า ดอกบัวอันบาน จะเป็นของใคร พระตอบเทวี จะบอกแก้น้อง ให้ต้องปริศนา นางฟังภูมี ขอเชิญเสด็จไป ยังที่โอฬาร พระจึงตรัสไป ตัวพี่จะไป ถ้าทองคีรี นางจึงหัวเราะ ดอกไม้อย่างนี้ ย่อมมีเกสร พระจึงตรัสเล่า ไม่มีบุปผา จะมาอบรม นางจึงตรัสเล่า ใช่ว่าหอยปู เห็นอยู่คันนา ท่านท้าววานร เธอจึงตรัสตอบ ให้ชอบพระทัย พี่เลี้ยงทั้งสี่

ถึงดอกบุษบา คลึงเคล้าเชยชม เหมือนดอกบัวทอง บานอยู่อุดม จะใคร่เชยชม ไปฟังเทศนา ตัวพี่นี้นะเจ้า ล้าเลิศโลกา จะให้เทศนา ได้ดังใจปอง จริงฤาพระเจ้า ทูลเกล้าของน้อง แก้ปริศนาน้อง ให้ทราบวิญญาณ์ ปริศนาทรามวัย เป็นไฉนว่ามา ลึกล้าหนักหนา ฤาว่าเป็นไฉน ฟังเทศนาพระเจ้า น้องจะว่าไป ถ้าพระแก้ได้ เนื้อคู่สร้างมา บุปผามีศรี ถวายมิสบูชา บัญญัติตรัสว่า ผิดช่องนิพพาน ยอกรชุลี เหนือเกล้านมัสการ อยู่สุขสาราญ แท่นแก้วมณี ชาติก่อนเราได้ อบรมมากมี เรียมมาปราณี แด่สหายวานร ทาเป็นเย้ยเยาะ แล้วยอพระกร บานอยู่สลอน หนาใครเชยชม ภุมเรศนี้นะเจ้า ในทรงเกรียมกรม จะใคร่เชยชม สุดสิ้นวิญญาณ์ พระอย่าโน้มน้าว กล่าวคามุสา พระมีปัญญา แก้แท่นนี้ฤาไฉน ได้ฟังบังอร เจรจาปราศรัย เห็นเขาลือไว้ เป็นของอาตมา ได้ฟังภูมี กลับหน้าโน้น

หน้าปลาย จึงตอบวาจา พระเอ๋ยเหลืออยู่ แต่ดอกบุษบา หล่นร่วงโรยรา พระจึงตอบน้อง ภุมเรศร่อนร้อง เที่ยวหาบุปผา ไม่พบเลยนา จะเคล้าเกสร ปะแก่ปะอ่อน ได้แล้วเชยชม นางตอบภูมี ทูลเกล้าเกศี จะใคร่ภิรมย์

ไม่มีเกสร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๕๗

ขอเชิญเสด็จไป

แท่นในบรรทม

 ฉบัง บัดนั้นจึงท้าวสององค์ ด้วยรูปด้วยทรงเทวี พระขรรค์แก้วเรืองศรี ภูมีจึงเอื้อนอาชา เล้าโลมชมปรางซ้ายขวา ก่อนมาจึงพบกัน โฉมนางหงส์ทองแจ่มจัน เชิญท่านไปครองบุรี ข้าเจ้าอยู่ถ้ามณี ข้านี้ครอบครองพารา ขอเชิญภูวไนยไคลคลา ปกเกล้าเกศาสาราญ พี่เลี้ยงทั้งสี่นงราญ ผายผันไปยังเวียงชัย ท้าวนกยูงทอง ร่วมจิตพิสมัย ภูวไนยได้ดังปรารถนา เจ็ดวันจึงมา ข้าเจ้าพี่เลี้ยงทั้งสี่ เข้าเฝ้าเทวีนิรันดร์ แม้นทวนกาหนดเจ็ดวัน เยี่ยมเยียนอย่างนั้นเถิดรา

ให้สว่างอารมณ์

ของปิ่นธรณี

ใจจิตพิศหวัง เข้าใกล้เทวี บุพเพนิวาส ทูลตอบทรงธรรม์ พี่เลี้ยงทั้งสี่ ยังถ้ารจนา อัญเชิญภูบาล ฤทธิไกร เชิญไปครอบครองพารา เฝ้านางฉายาโฉมศรี เคยทาอย่างนี้ มาเฝ้าด้วยกัน

พิลาป ฝ่ายท้าววานร กอดบาทภูธร ชลเนตรหลั่งไหล คิดถึงเพื่อนยาก ผู้ร่วมหทัย มีกรรมสิ่งใด จาให้ไกลกัน กอดศอสหาย โศกามากมาย ทั้งสองด้วยกัน เราเป็นเพื่อนยาก ในป่าหิมวันต์ รบรุกบุกบัน ปกป้องกันมา ชลนีหาไม่ ซ่อนซุกบุกไพร ด้นตัดลัดมา เก็บผลลูกไม้ เลี้ยงกันสองรา เหมือนสกุณา หาเหยื่อป้อนกัน


๑๕๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ท้าวจักจรลี ไปถ้าปรางศรี กับนางกัลยา ระวังองค์จงดี ดูอัชฌาศรัย ถ้าเมามัวไป เห็นไม่สถาพร เราเที่ยวจรมา ในไพรพฤกษา เห็นหน้าภูธร ไม่มีอันตราย ในป่าดงดอน ใครมาสั่งสอน เราจึงรอดมา ท้าวนกยูงทอง ว่าแล้วจึงร้อง สั่งแก่ราชา ท่านไปจงดี อย่ามีโรคา มิตายภายหน้า จะพาพบกัน ครอบครองบุรี เร่งสร้างบารมี บาเพ็ญทุกวัน โกรธาอดกลั้น อย่าได้หักหาญ ข้าศึกรุกราน บอกให้ถึงกัน สั่งสอนกันแล้ว สมเด็จพระแก้ว ทั้งสองทรงธรรม์ สวมกอดพัลวัน พระทัยโศกศัลย์ สลับสลบนิ่งไป ฝ่ายนางเยาวมาลย์ แลเห็นภูบาล เธอมาบรรลัย จึงเอารสสุคนธ์ มาปะภูวไนย ทั้งสองจึ่งได้ สมประดีขึ้นมา ฟื้นแล้วจึงเชิญ ให้พระดาเนิน ไปแท่นไสยาสน์ นวลนางหงส์ทอง กับพระราชา เสด็จมาถ้าแก้วมณี นางเทพเกสร เชิญเสด็จภูธร ไปยังบุรี ยอดเขาหัศกรรณ ใกล้มารยักษี เปรียบปานเมืองสวรรค์ นวลนางทั้งสี่ สมโภชภูมี ให้ครองสิงคราญ แก้วเก้าเนาวรัตน์ แสงตรัสชัชวาล โรคภัยไม่พาล สนุกหนักหนา ญาณี บัดนั้นจึงพราหมณ์เทศ ฤทธาล้าแดนไกร วาจาย่อมประสิทธิ์ แม้นว่าเป่าภูผา แม้นเหยียบยอดเขาหลวง ฤทธาย่อมกล้าหาญ เทวาเมืองสวรรค์ สิงสู่ภูเขาใหญ่ คงคาพระสมุทร มิได้จะไหลรี่ พระอาทิตย์จะขึ้นมา พระเวทก็เกรียงไกร เสกมือบังพระอาทิตย์

ได้แจ้งเหตุก็ขัดใจ ครองเวียงชัยพระพารา เกิดทั้งฤทธิ์ทั่วกายา ก้อนศิลาเป็นจุนไป หักหล่นร่วงไม่ทนทาน ใครจะปานในแดนไกร กลัวฤทธีนั้นย่อท้อไป อยู่ไม่ได้ซอกซอนหนี ห้ามไว้หยุดในทันที เป่าสามทีเหือดแห้งไป ทาฤทธาให้มืดไป ย่อมชาญชัยเอกแก่ตัว ย่อมยอมมิดชิดให้มืดมัว


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๕๙

ใครกลัวจับเอาตัว ยักษ์ร้ายในบาดาล กลัวฤทธิ์เป็นมากมาย เทียงรถด้วยราชสีห์ ออกจากพระเวียงชัย มนุษย์ที่อยู่ใน มาได้นางกัลยา จะแผลงฤทธี เร่งรัดดับพลไป เนตรแดงคือแสงไฟ สงครามเราครั้งนี้ จะลักเอาผัวนาง ชายนี้มาแต่ไหน ขับรถรีบมาแล้ว ไล่มนต์ดับเทวา ลงจากราชรถแล้ว อ่านเวทอันเรืองศรี ครั้นเข้าถึงแท่นนาง ชายนี้มาแต่ไหน นวลนางเราหมายไว้ ฟันตายเลือดไหลนอง อย่าเลยจะลักพา ฆ่าเสียให้บรรลัย ว่าแล้วเข้าอุ้มเอาองค์ อวดตัวไม่กลัวกู ครั้นถึงปากถ้าแล้ว ขับพลมนตรีมา อายัดแก่ด่านทาง ใครมาอย่าไว้มัน เนรมิตเป็นผงคลี เป็นหลุมกลมเข้าไป แม้นมันเป็นเล่นหาว นั่งรุมแลคอยทาง

ฤทธาชั่วไปเมื่อไร มามัสการไม่ขาดสาย ดูแล้วตายเป็นจุนไป ไพร่พลมนตรีมาไสว ทาฤทธิไกรมืดมัวมา ทาอาจใจเป็นนักหนา ของเรามามุ่งหมายไว้ พลมนตรีอย่าร้อนใจ เข้าให้ได้ทาฤทธี โกรธขัดใจใช่พอดี เห็นหน้าที่จะมีชัย มาใกล้ข้างนางทรามไว้ องอาจใจเป็นนักหนา ถึงทาแก้วนางฉัยยา ทั้งเทวดาซอกซอนหนี เข้าถ้าแก้วนางเทวี ทาฤทธีเป็นมากมาย สะกดพลางทางขัดใจ มิให้ได้บนแท่นทอง ทะนงใจทาจองหอง นางหงส์ทองจะตกใจ พระราชาหนีขึ้นไป ไว้มันไยไอ้ศัตรู พระเจ้าไม่อดสู พาโฉมตรูเจ้าขึ้นมา ใส่รถแก้วไม่ทันช้า ถึงพาราเขาหัศกรรณ ให้ระวังทั้งเจ็ดชั้น จงฟาดฟันให้บรรลัย พวกยักษีจับเอาไว้ เป็นเขาใหญ่มากั้นกาง ให้พวกเราเร่งเสาะสาง พลัดกันนั่งทั้งสี่หมื่น


๑๖๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ด่านในอยู่สองแสน ด่านนอกอยู่แปดหมื่น ข้างหนึ่งเขาเป็นกรด เป็นที่ลมพัดกล้า ยักษ์เฝ้าอยู่สี่แสน แต่ล้วนเลิศไกร ข้างหนึ่งแดงสะอาด ประตูมีรูปภาพยน คุมยักษ์อยู่หกแสน เป็นแดดลมเข้ามา ข้างหนึ่งเหลืองสะอาด เฝ้าอยู่ทุกสถาน นาคาอยู่โกฏิหนึ่ง โกรธาพาเอาตัว ไม่รู้ว่าชินสีห์ อุ้มองค์พระราชา สั่งให้อายัดด่าน สั่งให้ท้าวยักษา

ฤทธิ์หนักแน่นย่อมยั่งยืน ถือหอกปืนเครื่องศัสตรา สีใสสดก้อนภูผา ทุกศิลาม้วยบรรลัย ฤทธิ์หนักแน่นคือเปลวไฟ ถอดใจได้ทุกตัวคน เขาไกรลาสยอดทศพล ท้าวสูนนอยู่รักษา ปิดแน่นแฟ่นอยู่ตรึงตรา เทวดาย่อมสังหาร เขาไกรลาสงามโอฬาร ล้วนนาคาฤทธิ์เกรียงไกร จึงพระแก้วให้เมามัว มิได้กลัวทาหยาบช้า ฤทธามีมหึมา ใส่กรงไว้ใต้บาดาล ทั้งพลมารเร่งตรวจตรา ขนศิลาถมเจ็ดชั้น

สุรางคนางค์ บัดนั้นภูธร ท่านท้าววานร เชื้อหน่อพุทธองค์ เสวยราชสมบัติ จักรพรรดิเอกองค์ คิดถึงโฉมยง ท้าวนกยูงทอง เจ็ดราตรีแล้ว ชวนนางเมียแก้ว ร่วมจิตเป็นสอง มาเราจะไป ที่ในถ้าทอง เฝ้านางผู้น้อง สุวรรณคีรี นางจะคอยหา ครั้นเห็นนานช้า จะมามองศรี เราจาจะไป ได้เจ็ดราตรี สั่งนางทั้งสี่ ผู้เป็นเมียขวัญ ฝ่ายนางทั้งสี่ ได้ฟังภูมี ชื่นชมหฤหรรษ์ ผัดแป้งแต่งองค์ บรรจงด้วยพลัน จักตามผัวขวัญ มาเฝ้ากัลยา  ประดับองค์แล้ว จึ่งทูลผัวแก้ว ภูเบศเสด็จมา ขอเชิญพระองค์ สระสรงคงคา ลูบไล้บาทา สุคนธรสเครื่องหอม ฝ่ายท้าววานร เห็นนางบังอร ยอกรประณม ให้ทรงสุคนธรส เครื่องหอมสรรพสบ หทัยชื่นชม รับเอาเครื่องถวาย ประดับองค์แล้ว สมเด็จพระแก้ว กับสี่โฉมฉาย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๖๑

พากันยาตรา

ออกมาโดยหมาย รี้พลทั้งหลาย

แห่ห้อมล้อมมา

พิลาป บัดนั้นเทวี นางสุวรรณคีรี อยู่ถ้ารจนา นางตื่นฟื้นองค์ บนแท่นนิทรา คว้าหาราชา ไม่เห็นผัวขวัญ นางตกประหม่า ตรัสเรียกราชา โอ้น่าอัศจรรย์ พระไปข้างไหน เห็นแต่พระขรรค์ ฤาหนึ่งทรงธรรม์ โกรธเมียหนีไป ลงจากแท่นแล้ว โฉมยงน้องแก้ว ชลเนตรหลั่งไหล ฤาหนึ่งภูบาล เบื่อหน่ายหนีไป ทิ้งเมียรักไว้ บนแท่นรจนา นางเที่ยวหาไป ค้นทั่วปรางค์ใน ไม่เห็นราชา หลากจิตเมียแล้ว ทูลเกล้าเมียอา โอ้พระราชา ไปแห่งหนใด นางเที่ยวออกมา นอกถ้ารจนา ไม่พบภูวไนย เห็นรอยราชรถ ปรากฏแก่ใจ ไม่มีผู้ใด จะลอบเข้ามา นี่รอยพราหมณ์เทศ มันได้แจ้งเหตุ มาตามริษยา มุ่งหมายเมียไว้ แต่ก่อนไรมา เห็นว่าราชา มาเป็นผัวขวัญ เพื่อนรู้ประจักษ์ ชะรอยมาลัก เอาพระทรงธรรม์ ไปฆ่าให้ตาย ในเมืองมันนั้น มันแกล้งเมียขวัญ ทาให้เมียอาย สองกรคอนอก ชลเนตรไหลตก กลิ้งเกลือกเสือกกาย พระทูลกระหม่อมแก้ว กรรมแล้วมากมาย เมียจะวอดวาย ตายตามผ่านฟ้า บุญพระน้อยแล้ว เห็นว่าเมียแก้ว ไม่รอดชีวา ขอตายตามไป ให้พบราชา ไม่ให้พราหมณ์เห็นหน้า เมียรักสืบไป สองกรคอนอก ชลเนตรไหลตก ร่ารักภูวไนย พระทูลเกศา กรรมมาซัดให้ ชีวิตเมียไซร้ ไม่รอดคืนคง ตรัสเท่านั้นแล้ว โฉมนวลนางแก้ว เจ้าทอดองค์ลง ครวญถึงผัวขวัญ สิ้นชีพปลดปลง คิดถึงพระองค์ สลบสบไป ท่านท้าววานร พานางบังอร ทั้งสี่โฉมฉาย ขับพลโยธา เสนามากมาย ดาเนินผันผาย ได้สามราตรี รีบเร่งกันมา หมู่มุขโยธา กับนางมเหสี บรรจุลุถึงถ้าแก้วมณี แลเห็นเทวี กาสลดโศกา โฉมนวลผู้น้อง นางสุวรรณหงส์ทอง เจ้าทอดกายา ฝ่ายนางผู้พี่ ทั้งสี่เข้ามา สวมกอดน้องยา เล้าโลมเอาใจ นางตกประหม่า ไม่ทราบวิญญา ว่าเป็นอย่างไร ไม่รู้จักอรรถ นางกษัตริย์ทรามวัย เหตุผลกลใด พี่ไม่แจ้งเลย


๑๖๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอาน้าดอกไม้ ลูบองค์อรทัย นุชไม่ฟื้นเลย แม่อยู่หัวเจ้า แน่นิ่งกับเขนย เป็นไฉนนะน้องเอ๋ย ไม่ฟื้นขึ้นมา ฟื้นองค์ขึ้นก่อน แม่อย่าทุกข์ร้อน จงโปรดเกศา ให้พี่ทั้งสี่ แจ้งในอุรา สารทุกข์กัลยา หนักเบาเป็นไฉน ตั้งองค์ขึ้นมาก่อน อย่าเพ่อรนร้อน โศกาอาลัย แม่จงโปรดเกล้า ตรัสให้เข้าใจ ทุกข์ร้อนเป็นไฉน ไม่เล่าให้พี่ฟัง จะเอาเดือนดาว แม่อยู่หัวเจ้า จึ่งไม่เสบย พี่จะอาสา กัลยาชมเชย พระนุชน้องเอ๋ย อย่าให้ร่าไร ลืมเนตรขึ้นก่อน อย่าเพ่อตัดรอน มาม้วยบรรลัย พี่มาถึงแล้ว น้องแก้วทรามวัย ประชวรสิ่งใด บอกพี่ให้รู้รา นางสุวรรณคีรี ได้ฟังเทวี ทั้งสี่กัลยา ค่อยฟื้นสมประดี เทวีคืนมา เล่าทุกฉัยยา แต่ตน้ จนปลาย บัดนี้พราหมณ์เทศ เข้าสิปองเหตุ เราอยู่มากมาย มันมาลอบลัก เอาพระโฉมฉาย น้องจะกลับใจตาย เสียในวันนี้ เข้าทาเลียบชาย ในจิตคิดหมาย จะฝากไมตรี น้องไม่ปรารถนา ชั่วชาติอัปรีย์ อยู่มาครั้งนี้ เขาทาริษยา เขายกรี้พล พวกพราหมณ์เกลื่อนกล่น ม้ารถคชสาร เข้ามาทาหักหาญ ลักลอบเข้ามา สะกดผ่านฟ้า หลับแล้วพาหนี น้องไม่รู้เลย ทาไฉนนะอกเอ๋ย คิดถึงภูมี ป่านนี้จะเป็นไฉน บรรลัยฤาดี นวลนางเทวี กรรแสงโศกา พราหมณ์เทศนี้เล่า เทวาโศกเศร้า ด้วยกลัวฤทธา ใครจะมีฤทธิ์ ติดตามผ่านฟ้า ให้เห็นราชา ว่าบรรลัยฤายัง พี่เจ้าทั้งสี่ ในจิตน้องนี้ ไม่มีที่หวัง คิดถึงพระองค์ ทรงโศกภายหลัง โศกาบ้าคลั่ง ทูลเกล้าเมียอา บุญพระน้อยแล้ว ชีวิตเมียแก้ว จะม้วยสังขาร์ ข้าจะตายตาม ท้าวไทราชา เมืองสวรรค์ชั้นฟ้า พบกันมั่นคง ตรัสเท่านั้นแล้ว สมเด็จนางน้องแก้ว เจ้าทอดองค์ลง เจ้าจะม้วยอาสัญ ให้ทันพระองค์ พระพี่โฉมยง คอยอยู่เถิดรา ทุกข์น้องครัง้ นี้ พระพี่ทั้งสี่ ไม่ช่วยเลยนา จะทาเป็นไฉน จะได้ราชา กอดเอาบาทา นางทั้งสี่องค์ พี่เลี้ยงทั้งสี่ แลเห็นเทวี เจ้าทอดองค์ลง ชวนกันร่าไร ให้รักโฉมยง กราบทูลพระองค์ ผู้เป็นผัวขวัญ ข้าแต่พระเจ้า จงได้โปรดเกล้า น้องรักสงสาร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๖๓

บัดนี้พราหมณ์เทศ ทาเหตุล้างผลาญ สะกดภูบาล หลับแล้วพาไป นัยเนตรเหมือนไฟ ทั่วทั้งกายา เทวามนุษย์ พราหมณ์เทศคนนี้ เขามีฤทธา ล้าเลิศแดนไตร วาจาประสิทธิ์ นิรมิตเป็นไฟ ทั่วทั้งกายา เทวามนุษย์ กลัวเดชที่สุด อสูรยักษา บรรดายักษ์ร้าย กราบไหว้วันทา ทั้งพฤกษ์เทวดา ย่อมร้องถวายพร ทีนี้จนแล้ว มาลักพระแก้ว ได้แล้วพาจร ไปไว้เวียงชัย ที่ในสิงขร เมืองของภูธร ในเขาหัศกรรณ ครั้งนี้พระเจ้า จงได้โปรดเกล้า ข้าบาทจอมขวัญ ไม่มีที่เหลือ เมียรักโศกศัลย์ เห็นแต่ทรงธรรม์ โปรดเกล้าเกศี จะคิดไฉน ตรัสให้แจ้งใจ ข้าบาททั้งสี่ เมียรักไม่รู้ เอ็นดูเทวี กราบทูลภูมี ให้ทราบพระทัย หงส์ทองเจ้าพี่ สารทุกข์ครั้งนี้ ล้าเลิศแดนไตร พี่เป็นกษัตรี ไม่รู้ที่แก้ไข แม้ติดตามมาได้ พี่จะอาสา ทูลเกล้าของเมียแก้ว ไม่โปรดเมียแล้ว ฤาพระราชา หฤทัยฝ่ายน้าตา กอดบาทราชา กาสสดสลบไป ฉบัง เมื่อนั้นท่านท้าววานร ภูธรเธอมายิ้มพราย โลมลูบจูบพักตร์โฉมฉาย พี่ชายจะขออาสา พราหมณ์เทศมันมีฤทธา จะฆ่าให้ม้วยบรรลัย เรียมย่อมมีอิทธิฤทธิไตร อวยชัยแก่หน่อทศพล ในโลกย่อมฤาทั่วสากล เลิศล้นช่างโพธิญาณ กาลังถึงพันโกฏิคชสาร สะท้านก็คว่าทรุดไป พระสุเมรุเขาหลวงโตใหญ่ เอาไปทิ้งในสาคร อันเขาหัศกรรณ พราหมณ์เทศมันอยู่เปรมใจ

ได้ฟังบังอร เจ้าอย่าวุ่นวาย มันเหมือนปูปลา เทวาไสว พี่เป็นทศพล เหยียบแผ่นดินดาน แผลงอิทธิฤทธิไตร บัญชรเป็นที่นคร


๑๖๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอาฝ่ามือช้อนเหาะร่อนขึ้นไป ฤทธิ์มันยังไรนักหนา วางลงอุ้มเอาองค์พระนัดราชา พามาถวายโฉมศรี เอ็นดูเทวามาตุลี เพราะพี่มาทาวุ่นวาย ทั้งพระอิศวรนารายณ์ ย่อมได้มาเฝ้าเป็นอัตรา ปราสาทไสวในเมืองฟ้า พระสุทธาจะเป็นสิงคลี ฝูงสัตว์จะร้องอึงหมี่ มาไหม้ในเมืองชมพู ครั้งนี้แก้วพี่จงอยู่ ให้รู้ประจักษ์แก่ตา อยู่นี่โฉมศรีทั้งห้า สมทบศิลาปิดทวาร เป่าให้เทวาทุกสถาน แล้วท่านจงรักษาไว้ สั่งเสร็จเสด็จออกไป เหาะขึ้นไปบนเวหา มืดมัวทั่วไปทั้งเวหา จะหล่นจะล่วงทาลาย จึงแกว่งพระขรรค์เพริศพราย แลเห็นสหายประจักษ์ตา เห็นในพระขรรค์ดังจันทรา ห้อมล้อมมากมาย มันใส่กรงเหล็กเข้าไว้ ภูวไนยเหาะร่อนลงมา ถึงเขาหัศกรรณไม่ทันช้า มันเฝ้าทวารมั่นคง เข้าไปให้ได้ดังใจจง จานงจะแผลงฤทธา อ่านเวทเสกพระหัตถ์ข้างขวา

พราหมณ์เทศนั้นไซร้ ผัวของฉัยยา จะเป็นสิงคลี เทวาทั้งหลาย หล่นร่วงลงมา คือไฟอเวจี เรียมจักไปดู เขาทาฤทธา ปิดปากทวาร แผลงอิทธิฤทธิไตร ดั่งดวงสุรียา ดวงดาวกระจาย อยู่ในพารายักษา กริ้วโกรธคือไฟ แลเห็นยักษา คิดแล้วพระองค์ ผลักก้อนศิลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๖๕

พังลงยักษาตกใจ ยักษามาจับกลับไป ต่างต่างเข้าสู้ราชา พระเจ้าแผลงอิทธิฤทธา จะนับก็กว่าแสนพัน ยักษ์ร้ายวอดวายอาสัญ ฟาดฟันลงเต็มธรณี ราชาฤทธามากมี อสุรีก็แน่นเข้ามา โห่ร้องกึกก้องพระสุธา มันเอาศิลาทิ้งไป ทศพลรายเลิศไตร อยู่บนคีรี ชั้นในล้วนมารยักษี หักก้อนคีรีเข้าไป พลด่านขุนมารทั้งหลาย ยักษ์ร้ายก็ตายโกฏิพัน ภูเบศเธอเสร็จฆ่าฟัน กุมภัณฑ์ต่อสู้ราชา แผลงอิทธิฤทธิ์นักหนา ดังฟ้าจะทรุดทาลาย ภูบาลจึ่งผลาญโดยหมาย วอดวายลงกลาดพระสุธา มันขึ้นโห่ร้องก้องโกลา วิ่งวางเข้ามาทันที พระเจ้าแผลงอิทธิฤทธี ตายบนคีรีมากมาย อุ้มเอาภูเขาโดยหมาย พระสมุทรแลท้องสาคร ฝูงยักษ์ทั้งหลายม้วยมรณ์ เหาะร่อนมายังชั้นใน พังก้อนศิลาเข้าไป ทาฤทธิ์รุกไล่ออกมา

ทาอิทธิฤทธิไตร ฟาดฟันยักษา ตายเกิดขึ้นพลัน ไล่ล้างยักษี กลุ้มจับราชา จับยักษ์มัดไว้ สมเด็จภูมี ทรุดโทรมทาลาย ยังเหลืออยู่นั้น กุมจับราชา ทุกยักษ์นั้นตาย มืดกลุ่มเวหา ฟันทุกยักษี ทิ้งลงในสาย สมเด็จภูธร ถึงยักษ์ตาไฟ


๑๖๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พระเจ้าอ่านเวทคาถา ศิลาก็ทรุดโทรมไป สนั่นถึงด่านชั้นใน พราหมณ์เทศเกณฑ์ให้ออกมา สับประยุทธ์สู้กันนักหนา โห่ร้องเข้ามามากมาย นาคามีฤทธิ์เหลือหลาย มุ่งหมายจะล้างราชา พระเจ้าแผลงอิทธิฤทธา เอาก้อนศิลาทับลง นาคายับยุ่ยผุยผง ซ่อนลงซุกแทรกหนีไป ฝ่ายว่ายักษาตาไฟ แลไปไม่เห็นราชา พระเจ้าเข้าจับยักษา ผ่านฟ้าไม่คร้ามกลัวใคร แสวงหาสหายอันร่วมใจ พระเจ้าก็ไปเสาะหา ครั้นว่าเข้าในพารา ห้อมล้อมราชาเป็นกง ทาไฉนจึ่งจะได้ดังใจจง โถมลงยังพื้นพระสุธา พระเจ้าอ่านเวทคาถา เป็นแมลงภู่เข้าไป ครั้นถึงหน่อภพไตร มันใส่กรงเหล็กกลึงตรา ซี่กรงใหญ่โตมหึมา นิทราบรรทมหลับไป จึงแกว่งพระขรรค์ชาญชัย บัดใจถึงหน่อทศพล ประแจลุ่ยหลุดบัดดล ล้นโลกเธอคิดจินดา มาถึงท้าวไทจึงปรึกษา

เข้าจับยักษา รู้ถึงเวียงชัย ล้วนนาคนาคา ล้าเลิศเฉิดฉาย จับยักษ์นาคา กลัวเดชพระองค์ สิ้นอิทธิฤทธิไตร เข้าถึงพารา อยู่แห่งหนใด แลเห็นยักษา คิดแล้วพระองค์ แปลงกายกายา พราหมณ์เทศจัญไร ขังพระราชา ฟันกรงเข้าไป อุ้มองค์ทศพล คิดไฉนราชา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๖๗

เทวาล่วงไยภัย ตัวท่านเป็นหน่อภพไตร ลักเอาท้าวไทพามา อยู่นี่ไม่รู้ที่จะปรึกษา ไม่แผลงฤทธาล้างผลาญ มันใส่กรงไว้ช้านาน ไม่คิดไม่อ่านมานิ่งอยู่ ท้าวนกยูงทองโฉมตรู แลดูสหายคลายใจ รู้สึกสมประดีเร็วไว ชื่นชมดีใจในทรวงราชา เหมือนน้าสุราฤทธาชโลม ราชาชื่นชมเปรมปรีดิ์ สวมกอดสหายภูมี เห็นทีจะรอดปลอดตาย ครั้งนี้ขอบใจสหาย ช่วยเราให้รอดคืนดง บุญคุณของท่านยิ่งยง ซื่อตรงดั่งน้าสัตย์จา อย่าอยู่ที่นี่ให้ช้า ยักษาห้อมล้อมไสว มันอยู่ที่ในพารา เมื่อค่ามันทาอหังการ์ คิดว่าจะม้วยผุยผง บัดนั้นขอเชิญโฉมยง ยวดยงแผลงอิทธิฤทธี เหาะขึ้นจากพื้นธรณี ฤทธีมิ่งเป็นไฉน ไอ้พราหมณ์มันอยู่

พราหมณ์เทศมันไป ควรฤาราชา ควรฤาภูบาล มัวเมาไม่รู้ ทอดพระเนตรไป ทั่วทั้งกายา เราทั้งสองนี้ ติดตามไม่คลาย รักกันมั่นคง แผลงอิทธิฤทธาขึ้นไป พราหมณ์เทศนั้นไซร้ ลอบลักเอาเรามา เราทั้งสององค์ อุปกาศยักษี ....................




๑๖๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๖๙

นำงอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชำติ และนำงอ้น เล่ม ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถำรำม ตำบลท่ำกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรำด อภิลักษณ์ เกษมผลกูล๔๗ ดรณ์ แก้วนัย๔๘ นิทานเรื่อง นำงอ้น เป็นวรรณกรรมร้อยกรองประเภทกาพย์ พบมีการจัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศิริเจริญ ตาบลสะพานหัน กรุงเทพฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๖๕ – ๒๔๖๘ จานวน ๑๐ เล่ม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สถานที่ตั้งของโรงพิมพ์ศิริเจริญอยู่ในย่านตาบลสะพานหันจึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน กลุ่ ม โรงพิ ม พ์ วัด เกาะ ซึ่งมี ข นบการจั ด พิ มพ์ ห น้าปกหนั งสื อ คล้ ายคลึ งกั น ทั้ งรูป แบบและส านวนการเขีย น กล่าวคือ บอกราคาหนังสือ สถานที่พิมพ์ เนื้อหาเชิงโฆษณา ดังตัวอย่างหนังสือนางอ้น เล่ม ๒ ความว่า หนังสือเล่มละ ๒๕ สตางค์ ราคาขาย เรื่องออกใหม่หลายอย่างต่างๆ กัน ถ้าแม้นท่านผู้ใดซื้อไปอ่าน ให้ปรากฏยศลือมีชื่อดัง

ที่ร้านนายศรีย่านสะพานหัน สนุกครันแต่ล้วนน่าควรฟัง จงสาราญสนทุกข์เป็นสุขขัง จงมั่งคั่งสุขขังพลังเอย (โรงพิมพ์ศิริเจริญ, ๒๔๖๘)

เนื้อหาของนิทานเรื่องนางอ้นเป็นการเล่าเรื่องการผจญภัยของตัวละครเอกทั้งในสถานภาพที่เป็นมนุษย์ และเทวดาซึ่งคอยให้ความช่วยเหลือญาติอันเป็นที่รักและผู้ประพฤติดีในโลกมนุษย์เมื่อประสบความทุกข์ต่างๆ ทั้งขณะผจญภัยในป่า การต่อสู้กับยักษ์ การพลัดพรากจากบ้านเมือง การแสดงความริษยาของตัวร้าย เป็นต้น ซึ่งตัวละครเอกเมื่อได้ทราบความเดือนร้อนดังกล่าวแล้วจะหาวิธีช่วยเหลือจนคนนั้นหลุดพ้นจากทุกข์ภัยต่างๆ ให้สามารถกลับมาดาเนินชีวิตได้ตามปกติสุข การดาเนินเรื่องจึงเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้น ชวนให้ ผู้อ่านติดตามอ่านจนกระทั่งจบเล่ม อย่างไรก็ตาม แม้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อเกือบร้อยปีมาแล้วแต่วรรณกรรมเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการ กล่าวถึงเท่าที่ควร ทั้งที่เนื้อหามีความสนุกสนานและแฝงไว้ด้วยคติธรรมในการดารงชีวิต ไม่แพ้วรรณกรรมวัด เกาะเรื่องอื่นๆ และถือเป็นวรรณคดีนิทานที่น่าสนใจเพราะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อจาลองชีวิตและพฤติกรรมของ มนุษย์ในด้านต่างๆ อย่างมีวรรณศิลป์ (สุกัญญา สุจฉายา, ๒๕๕๕: ๗) นอกจากสานวนที่โรงพิมพ์ศิริเจริญนามา จั ด พิ ม พ์ แ ล้ ว ยั ง มี ต้ น ฉบั บ เรื่ อ งนางอ้ น เล่ ม ๒ – ๓ ที่ จั ด เก็ บ อยู่ ใ นหอสมุ ด แห่ ง ชาติ กรมศิ ล ปากร กรุงเทพมหานคร เป็นฉบับที่น่าจะคัดลอกมาจากสมุดไทยแล้วบันทึกลงในกระดาษฝรั่งอีกชั้นหนึ่ง และนางอ้น เล่ม ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งจัดเก็บอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ จังหวัด ๔๗

๔๘

คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าหน้าที่วิจัย ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๑๗๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จันทบุรี ทั้งสองสานวนนี้ยังไม่ได้รับการปริวรรตและตีพิมพ์เผยแพร่ และถือเป็นต้นฉบับที่หายาก เนื่องจาก ปัจจุบันยังไม่พบสานวนอื่นอีก ดังนั้น หากไม่ได้รับการอนุรักษ์หรือจัดพิมพ์เผยแพร่นิทานเรื่องนี้อาจสูญหายไป จากสังคมไทยในวันข้างหน้าได้ นอกจากนี้ การจัดพิมพ์นิทานเรื่องนางอ้นยังจะเป็นประโยชน์แก่นักอ่านนิทาน นักวิชาการด้านวรรณคดีพื้นบ้านของไทยที่จะนาไปใช้ในการศึกษาและค้นคว้าวิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเป็น การเผยแพร่วัฒนธรรมทางวรรณคดีไทยไปสู่อาเซียนอีกโสดหนึ่ง ที่มำของตัวบทนำงอ้น ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชำติ กรุงเทพมหำนคร ต้นฉบับนางอ้นเล่ม ๒ – ๓ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานครนั้น บันทึกบนกระดาษฝรั่งเป็นภาษาไทย แต่งเป็ นร้อยกรองประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และบทพิลาป ผู้ปริ วรรต สั น นิ ษ ฐานว่ า น่ า จะเป็ น การคั ด ลอกจากสมุ ด ข่ อ ยมาอี ก ชั้ น หนึ่ ง เพราะลายมื อ มี ลั ก ษณะเป็ น ค าปั จ จุ บั น เช่น เดีย วกับ หนั งสือราชการในสมัย รัชกาลที่ ๕ – ๖ แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ แต่ง และวัน เดือน ปีที่แต่งก็ตาม ต้น ฉบับนางอ้นเล่ม ๒ มีจานวน ๗๖ หน้ า และนางอ้นเล่ม ๓ มีจานวน ๕๕ หน้า แต่ละหน้ามีบทร้อยกรอง ประมาณ ๓ – ๔ บท ต้นฉบับระบุว่าเป็นหมวดวรรณคดี หมู่กลอนสวด ซึ่งหอสมุดแห่งชาติซื้อมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ แต่ไม่ได้ระบุว่าซื้อมาจากที่ใด เมื่อสอบทานด้านเวลาแล้วพบว่า ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งพระองค์เพิ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียง ๒ ปีเท่านั้น (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘) จึงเป็นไปได้ว่า ด้วยเหตุนี้ ต้นฉบับจริงอาจอยู่ในสมุดไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ หรืก่อนหน้า นั้นก็ได้ ข้อสั งเกตส าหรั บ อั กขรวิธีมี ก ารใช้สั ญ ลั กษณ์ ฟ องมัน (๏) เมื่อ จะขึ้ น ต้น ในแต่ล ะบท และใช้ อังคั่ น วิสรรชนีย์ (๚ะ) ในการจบบท มีการใช้ไม่ไต่คู้แล้ว เช่น คาว่า สาเร็จ เจ็ด เป็นต้น เว้นแต่คาว่า เหน และ เปน ยังไม่ใช้เครื่องหมายนี้ และเขียนสระกับพยัญชนะติดกันบ้างในบางคา เช่น คาว่า ชา ในคา พระราชา หรือคาว่า ชาย เป็นต้น ตัวอย่างลักษณะของตัวบทกาพย์ยานี ความว่า ๏ เป็นกรรมเข้าดลใจ จาเป็นให้ไกลกัน ๏ คิดจักใคร่ไปชม สั่งให้เตรียมโยธี ๏ นายช้างเตรียมช้างทรง นายม้าผูกอาชา ๏ เสนาตระเตรียมพล ขอพระภูวไนย

พระภูวไนยจากเมียขวัญ เผอิญให้ไปพงพี ฯะ ป่าพนมพนาลี เมื่อราตรีจักลินลา ฯะ สาหรับองค์กษัตรา คนขี่แข่งแซงนอกใน ฯะ แล้วบัดดลกราบทูลไทย จงทราบเบื้องพระบาทา ฯะ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๗๑

ตัวอย่ำงต้นฉบับ นำงอ้น ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชำติ กรุงเทพมหำนคร เนื้อเรื่องนำงอ้น ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชำติ กรุงเทพมหำนคร นางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาตินี้ เนื้อเรื่องเล่ม ๒ จับความตั้งแต่พระแสงสุริยฉายนานางไชย วิขรรค์จากป่าเข้ามาอภิเษกเป็นมเหสี แล้วถูกนางทั้งเจ็ดแกล้งสอนให้นางทาร้ายพระแสงสุริยฉายด้วยประการ ต่างๆ แต่เป็นการแสดงความรักต่อพระสวามีอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งนางวิไชยขรรค์ไม่ทราบเจตนาที่แท้จริง เช่น เอา ข้าว กรวด และชันร้อน ๆ ปาใส่หน้า หน้าอก หรือข่วนหน้า เป็นต้น แม้พระแสงสุริยฉายจะทรมานจากความไร้ เดียงสาของมเหสีเพียงใด พระองค์ก็ไม่โกรธ ต่อมาเมื่อนางไชยวิขรรค์ตั้งครรภ์และใกล้จะคลอดพระโอรส พระ แสงสุริยฉายได้เสด็จประพาสป่าเพราะไม่ทราบว่าพระมเหสีใกล้จะคลอด ดังนั้น เมื่อพระมเหสีคลอดแล้วนางทั้ง เจ็ดจึงถือโอกาสแกล้งนาสุนัขเข้ามาใส่พานแทนที่พระกุมารด้วยความริษยา โดยเรื่องการคลอดครั้งนี้นางทั้งเจ็ด ปกปิดไม่ให้พระราชบิดาและพระราชมารดาทราบ ด้วยการให้สินจ้างแก่ขุนนางเพื่อปกปิดเรื่องดังกล่าว จากนั้น จึงนาพระกุมารไปทิ้งไว้ที่หน้าเวจกุฎี (ส้วม) ในวัดของพระสังฆราช เมื่อพระแสงสุริยฉายเสด็จกลับมาทราบเรื่อง ว่านางไชยวิขรรค์คลอดลูกเป็นสุนัขจึงขับไล่นางออกไปจากเมือง นางจึงไปอาศัยอยู่กับตายาย ฝ่ายพระกุมารนั้น ได้รับการเลี้ยงดูจากพระสังฆราช โดยพระองค์ให้เล่าเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอมจนกระทั่งเรียนจบไตร เพท ส่วนนางทั้งเจ็ดเมื่อทราบว่าพระกุมารยังไม่ตายและไปอยู่กับวัดพระสังฆราช ด้วยความอาฆาตจึงหาเหตุ เพื่อจะให้ตารวจในจับฆ่าเสีย โดยอ้างเรื่องพระกุมารเอาถ่านไฟไปเขียนภาพช้างเผือก ๓ เศียรไว้ จึงให้ไปจับช้าง


๑๗๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จริงดังภาพมาให้ได้ภ ายใน ๗ วัน ไม่เช่น นั้ นจะฆ่าให้ ตาย พระกุ มารจึงต้องออกเดินทางไปในป่าเพื่อหาช้าง ดังกล่าว ส่วนนางอ้นเล่ม ๓ เนื้อเรื่องต่อเนื่องจากพระกุมารออกไปตามหาช้างเผือกในป่าโดยไม่ได้เสวยอาหาร ใดๆ ในที่สุดพระกุมารจึงสลบไปเพราะความหิว ฝ่ายนางอ้นซึ่งมีศักดิ์เป็นยายและได้ไปเกิดเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ เห็นเหตุการณ์โดยตลอด ด้วยความสงสารหลานที่กาลังจะตายจึงไปขอต่อพระอินทร์ให้ช่วยเหลือ พระอินทร์ ทรงเมตตาจึงโปรดให้พระวิศณุกรรมแปลงเป็นนกคาบเอาน้าอ้อยและกล้วยมาทิ้งให้เสวยพระกุมารจึงรอดชีวิต และพระอินทร์ยังได้ประทานช้าง ๓ เศียรให้ แต่กาชับให้พระกุมารทรงช้างอยู่บนอากาศเพราะหากนาลงเหยียบ พื้นดินจะทาให้เมืองของพระบิดาต้องล่มจม พระกุมารจึงปฏิบัติตาม แต่เมื่อพระกุมารทรงช้างมาบนอากาศ เหนือเมืองพระบิดาและร้องเรียกให้ตารวจมารับช้าง ๓ เศียร แต่ไม่มีผูใดกล้าออกมารับ พระกุมารจึงนาช้าง ๓ เศียร กลับไปส่งพระอินทร์ตามเดิม แล้วพระกุมารก็กลับไปวัดพระสังฆราชและปฏิบัติภารกิจตามพระสังฆราช ไปแสดงธรรมในวังหลวงตามปกติ วันหนึ่งพระแสงสุริยฉายเห็นพระกุมารจึงเกิดความรักเหมือนลูกจึงขอพระ กุมารต่อพระสังฆราชเพื่อจะนามาเลี้ยงไว้เป็นบุตร ส่วนนางไชยวิขรรค์นั้นได้ปลอมตัวเป็นพราหมณ์หนุ่มมาเล่นสกากับพระแสงสุริยฉายพระสวามีเป็น ประจาโดยที่พระองค์ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วพราหมณ์หนุ่มที่เล่นสกาด้วยนั้นเป็นพระมเหสีของพระองค์ที่ปลอม ตัวมา แม้พระองค์จะเล่นสกาอยู่บ่อยๆ แต่ไม่เคยเอาชนะพราหมณ์หนุ่มนั้นเลย วันหนึ่งเมื่อพราหมณ์หนุ่มเข้ามา เล่นสกาตามปกติ พระแสงสุริยฉายจึงนาพระกุมารเข้ามานั่ งชมการเล่นสกาด้วย เมื่อพระองค์แพ้สกาทุกครั้งจึง ให้ พระกุมารเล่นแทน แต่พระกุมารก็ยังคงแพ้พราหมณ์ หนุ่มเรื่อยมา ด้วยความโกรธจึงจึงพ่นน้าลายขึ้นบน ท้องฟ้า แต่ด้วยความที่พ ราหมณ์ นั้ น เป็ น พระมารดาสิ่ งสกปรกต่างๆ ที่พระกุมารกระทาเพื่ อหวังจะทาร้าย พราหมณ์หนุ่มจึงกลับกลายเป็นดอกไม้และผลไม้ต่างๆ ให้นางสนมทั้งหลายแย่งกับเก็บกินแทน ด้วยเหตุนั้นจึง ทาให้พระแสงสุริยฉายประหลาดพระทัยมาก และเมื่อพระองค์ยิ่งพิศดูรูปร่างหน้าตาและปาฏิหาริย์ที่นางแสดง ต่อพระกุมารแล้วยิ่งทาให้ฉงนพระทัยและดูคล้ายคลึงกับพระมเหสีของพระองค์ ดังนั้นเมื่อเลิ กเล่นสกาพระองค์ จึงรับสั่งให้เสนาออกไปสืบว่าพราหมณ์หนุ่มนั้นเป็นใคร จึงทราบว่าแท้จริงแล้วพราหมณ์นั้นคือ พระนางไชยวิ ขรรค์ พระมเหสีที่ถูกขับออกไปจากเมืองนั้นเอง พระแสงสุริยฉายจึงยกพลโยธาออกไปอ้อนวอนเพื่อขอให้พระ นางกลับคืนมาเป็นมเหสีดังเดิม และพระกุมารเมื่อทราบความจริงแล้วจึงช่วยพระบิดาเกลี้ยกล่อมพระมารดาให้ เสด็จกลับ พระนครอีกทาง นอกจากนี้พระกุมารยังได้เล่าให้พระนางฟังถึงเรื่องที่ถูกตารวจในแกล้งให้ไปหา ช้างเผือก ๓ เศียร ถ้าหาไม่ได้จะฆ่าเสีย ซึ่งเป็นกลอุบายของนางทั้งเจ็ด ส่วนพระนางไชยวิขรรค์เองได้เล่าเรื่องที่ ถูกนางทั้งเจ็ดแกล้งด้วยประการต่างๆ จนเป็นเหตุให้พระสวามีได้รับความทุกข์ทรมานด้วยประการต่างๆ ที่มำของตัวบทนำงอ้นเล่ม ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถำรำม ตำบลท่ำกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรำด นางอ้นเล่ม ๒ ฉบับนี้ ต้นฉบับเป็นสมุดไทย บันทึกด้วยภาษาไทยและแต่งเป็นร้อยกรองประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี และบทพิลาป ต้นฉบับมีจานวน ๑๕๒ หน้า หน้าละ ๕ บรรทัด ปัจจุบัน ต้นฉบับจัดเก็บที่หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี โดยระบุว่าอยู่ในหมวดวรรณคดี เลขที่ จบส. ๓๒ ตู้ ๑๐/๑ ชั้น ๔/๑ ฉบับวัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๗๓

ผู้ป ริวรรตสันนิ ษฐานว่าน่ าจะแต่งขึ้นระหว่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้แต่งและวัน เดือน ปีที่แต่งไว้ แต่เนื่องด้วยอักขรวิธีในการเขียนคล้ายคลึงกับที่นิยมใช้ กันในสมัยดังกล่าว ดังข้อสังเกตที่สาคัญต่อไปนี้ การใช้สระ ออ และสระ อะ มักจะเขียนฟันหนูข้างบน เช่น คาว่า ขอ ต่อ เป็นต้น และยังไม่พบว่ามีการ ใช้รูปวรรณยุกต์เอกและโท เช่น คาว่า แต วา เลน เลม ปัจจุบันเขียน แต่ ว่า เล่น เล่ม เป็นต้น แต่พบการใช้ไม้ หันอากาศแทนสระ อะ และ สระไอ เช่น วัน ตรัส ฟัง ฉัยา (ไฉยา) เป็นต้น สระโอะ นิยมเขียนเครื่องหมายนิ คหิต (อ) และเครื่องหมายจุลภาค (,) ด้านบนของคาคู่กัน ในคาที่ ต้องการสะกด เช่น คาว่า คช ในคาว่า คชสาร เป็นต้น มีการใช้พยัญชนะขอขวดในคาว่า ข้า ขุน เข้า เป็นต้น คาว่า พญา มักจะเขียนรูปติดกัน เช่นเดียวกับสระอาที่มักจะเขียนรูปติดกั บพยัญชนะ เช่น คาว่า ช้าง สาน ศักกา เป็นต้น ไม่พบการใช้อักษรนา อ เช่น คาว่า อยู่ คงเขียนเป็น ยู เป็นต้น อักขรวิธีดังกล่าวนิยมเขียนกันตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างไรก็ ตาม ผู้ปริวรรตเข้าใจว่าต้นฉบับเล่มนี้เนื้อความยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะบรรทัดสุดท้ายมีคาว่า ด้วย... ซึ่งน่าจะ มีเนื้อความเพิ่มเติมเป็นแต่ต้นฉบับสูญหายไป ส่วนสัญลักษณ์ใช้ฟองมัน (๏) เฉพาะหน้าบทเริ่มต้นของกาพย์บทใหม่เท่านั้น เช่น ๏ สุรำงคนำงค์ ๏ สี่ท้าวถามว่า เหตุฉันใดหนา ให้หาเราไย พระองค์ทรงฤทธิ์ ทาผิดสิ่งไร รับสั่งจึงให้ หาเราเชษฐา ตารวจว่าไป ไม่แจ้งไฉน สักกึ่งเกษา เฒ่าแก่มาสั่ง ลาลังวิ่งมา ขอทราบบาทา เชิญคุณคลาไคล เนื้อเรื่องนำงอ้น ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถำรำม ตำบลท่ำกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรำด นางอ้น ๒ ฉบับนี้ เนื้อเรื่องจับความตั้งแต่พระกุมารลาพระสงฆ์ไปหาช้างเผือก ๓ เศียร ตามที่ตารวจใน ได้ข่มขู่ไว้ จนถึงพระแสงสุริย์ฉายและพระกุมารไปอ้อนวอนขอให้พระนางไชยวิขรรค์ (ฉบับนี้ผู้แต่งเขียนชื่อตัว ละครว่า ไชวีขัน พระกุมาร ชื่อ พระไชยสุริยวงศ์ พระราชาชื่อ พระแสงสุริย์ฉาย) ให้เสด็จกลับมาเป็นมเหสี ดังเดิม ซึ่งเนื้อความช่วงดังกล่าวซ้ากับฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ดังกล่าวแล้วข้างต้น หลังจากพระนางไชยวิขรรค์ได้เข้ามาอยู่ในวังแล้วพระแสงสุริย์ฉายก็ให้ไต่สวนนางทั้งเจ็ดและขุนนางที่ เกี่ยวข้องทั้งปวงเพื่อหาคนผิดมาลงโทษ ทั้งเรื่อง การนาลูกสุนัขมาใส่ในพานแทนพระกุมารเพื่ อให้คนเข้าใจว่า พระนางไชยวิขรรค์คลอดพระโอรสเป็นสุนัข และเรื่องที่แกล้งให้พระกุมารไปจับช้าง ๓ เศียร แม้นางทั้งเจ็ดไม่ รับว่าตนเองเป็นผู้สั่งการแต่ข้ารับใช้ของนางและตารวจในยอมรับสารภาพว่านางทั้งเจ็ดเป็นคนสั่งให้กระทา เมื่อ จนด้วยหลักฐานและพยานนางทั้งเจ็ดจึงยอมรับว่าได้กระทาจริง ส่วนเรื่องช้าง ๓ เศียรนั้นยังไม่รับ นางทั้งหมด จึงถูกเฆี่ยนและพระแสงสุริย์ฉายมีรับสั่งจะให้ประหารเสีย แต่นางไชยวิขรรค์ขอชีวิตไว้ แต่ยังต้องถูกส่งตัวไปอยู่


๑๗๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

กับชาวฉาง ชาวไหม ให้สีข้าว สาวไหม ต้องถูกด่าทอ และทุกข์ทรมานปานจะสิ้นใจตาย นางทั้งเจ็ดเมื่อได้รับ ความทุกข์ทรมานนานัปการดังนั้นจึงแอบสั่งสาส์นไปถึงพระบิดาของแต่ละนางครบทั้ง ๗ เมือง พระบิดาจึงยก พลโยธามาแต่อยู่นอกเมือง และได้ปลอมตัวเข้าไปหานางทั้งเจ็ดเพื่อสอบสวนความจริง แต่เมื่อทราบความจริง ว่า นางทั้งเจ็ดเป็นผู้กระทาผิดจริงหากช่วยเหลือเจ้าเมืองทั้ง ๗ เองจะพลอยได้รับโทษไปด้วย พระบิดาของนาง ทั้ง ๗ จึงต้องปล่อยให้พระธิดาของตนได้รับกรรมตามที่ตนกระทาต่อไป อย่างไรก็ดี ภายหลังพระนางไชยวิขรรค์ ได้กราบทูลต่อพระแสงสุริย์ฉายให้พระราชทานอภัยโทษแก่นางทั้งเจ็ด แล้วให้ส่งกลับไปยังบ้านเมืองของตน ตามเดิม ภายหลังพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระแสงสุริย์ฉายจึงได้จัดงานสมโภชเพื่อรับขวัญนางไชย วิขรรค์และพระนัดดา ส่วนพระนางและพระกุมารก็ได้ตอบแทนบุญคุณของตายายด้วยทรัพย์สมบัติต่างๆ และ ได้กระทาบุญในวัดพระสังฆราชอย่างยิ่งใหญ่ หลังจากนั้นจึงขออนุญาตต่อพระราชบิดาและพระราชมารดาเพื่อ จะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน คือ เมืองคันธมาศ เมื่อพระราชบิดาและพระราชมารดาทรงอนุญาตแล้ว พระ แสงสุริย์ฉาย พร้อมด้วยพระนางไชยวิขรรค์และพระไชยสุริยวงศ์ จึงได้ยกพลโยธามุ่งหน้าสู่เมืองของพระราช บิดา โดยต้องใช้เวลาเดินทางถึงหนึ่งเดือน เหตุการณ์ดังกล่าวทราบถึงนางอ้นซึ่งเป็นพระราชมารดาของนางไชย วิขรรค์และไปบั งเกิดเป็ น นางฟ้าอยู่ บนสวรรค์ นางอ้นสงสารพระธิดาของตนจึงทูล ขอให้พระอินทร์ช่วยย่น ระยะทางให้เดินทางถึงได้ภายใน ๑๕ วัน เมื่อเสด็จถึงเมืองคันธมาศกระบวนโยธาของพระแสงสุริย์ฉายได้ตั้งทัพ อยู่นอกเมือง โดยได้ส่งสาส์นเข้าไปถึงพระสุริแสงพระราชบิดาของพระนางไชยวิขรรค์เพื่อให้ทราบว่าทัพที่ยกมา นั้นแท้จริงแล้วคือ พระราชธิดาของพระองค์ พร้อมด้วยพระสวามีและพระราชนัดดา เพื่อเสด็จมาเยี่ยมบ้านเกิด เมืองนอน ไม่ใช่ข้าศึกอย่างที่พระองค์เข้าพระทัย การปริวรรตต้นฉบับทั้ง ๒ สานวนนี้ ผู้ปริวรรตจะปริวรรตเป็นคาภาษาไทยปัจจุบันเพื่อให้ผู้สนใจศึกษา สามารถอ่านและเข้าใจได้ทันทีถึงเนื้อความของเรื่อง เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ศึกษาอักษรไทยโบราณน้อยเกรงว่า เรื่องนางอ้นนี้จะเข้าถึงผู้อ่านได้ยากและไม่กว้างขวางตามวัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์

ตัวอย่ำงต้นฉบับนำงอ้น เล่ม ๒ ฉบับวัดวรณดิตถำรำม ตำบลท่ำกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรำด ลักษณะเฉพำะของเรื่องนำงอ้น เล่ม ๒ – ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๗๕

การศึกษานิ ทานเรื่องนางอ้น เล่ ม ๒ – ๓ ทาให้ เห็ นลั กษณะภาพรวมของนิทานเรื่องนี้ทั้งเรื่องของ ลักษณะคาประพันธ์ เนื้อเรื่อง ภาษา และแนวคิดของเรื่อง สามารถประมวลองค์ความรู้ได้ดังนี้ ๑. กำรเริ่มต้นของเรื่อง นิทานเรื่องนางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ไม่มี บทประณามพจน์ ซึ่งเป็นบทที่กล่าวเกริ่นนาหรือเป็นบทไหว้ครู ซึ่งถือว่าเป็นขนบในการแต่งวรรณกรรมก่อนที่ จะดาเนิน เรื่องต่อไป ส่วนนางอ้น เล่ม ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราดนั้น เริ่มต้นด้วยบทประณามพจน์ ดังนี้ “ท่านผู้ใดจะมาขอยืมหนังสือไปอ่าน เอ็นดูด้วยเถิด อย่าให้น้ามันหกถูกสมุด อย่าให้น้ามาถูก สมุดเลย ถ้ายับกลับมา เจ้าของเสียใจนัก ถ้าไม่มีอันตรายเจ้าของก็ดีใจ อยากจะให้อ่านเป็ นกุศลแก่ข้า เจ้าผู้เขียนต่อกันสืบไปนั้นเถิด ว่าแต่คนไม่มีอัชฌาศัยนั้นดอก ที่ท่านคนดีนั้นไม่ว่าเลยนะท่านเอ๋ย มิใช่ จะว่าเล่นเลย เขียนกว่าจะได้จบเล่มนี้ยากนักหนา เจ็บหลังเต็มทีหนา ท่านผู้อ่านเอ๋ย อย่าได้นอนอ่าน เลย บาปไม่ดีดอกจะบอกให้เข้าใจ” ๒. ลักษณะกำรประพั นธ์ นิทานเรื่องนางอ้นทั้งสองสานวนนี้แต่งด้วยคาประพันธ์ร้อยกรองประเภท กาพย์ คือ กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และพิลาป เฉพาะนางอ้น เล่ม ๒ ฉบับวัดวรุณดิตถาราม ไม่ พบว่ามีการประพันธ์ด้วยกาพย์ฉบัง ตัวอย่างบทประพันธ์ความว่า ๏ กำพย์สุรำงคนำงค์ ๏ กาพย์สุรางคนางค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คา เช่น เจ้ากราบลาแล้ว เข้าดงพงป่า น้าตาหลั่งไหล กูหัดเขียนเล่น จักเอาอย่างนี้ เห็นแสนเวทนา เดชะบุญข้า เป็นตายจักได้ ขอไปบุรี

พระทัยผ่องแผ้ว ลินลาคลาไคล วิบากสิ่งไร อย่างนี้อกอา ขอได้พบเห็น ช้างอย่างไรหนา ช้างอย่างนี้ (หนา) ที่ไหนจักมี พบช้างในป่า เข้าเถื่อนอย่างนี้ ให้ท่านโดยดี จักพ้นความตาย

๏ กำพย์ยำนี ๏ กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท หรือ ๔ วรรค บาทที่ ๑ บาทแรกเรียกว่า บาท เอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรก ๕ คา วรรคหลัง ๖ คา เช่น ๏ เป็นกรรมเข้าดลใจ จาเป็นให้ไกลกัน ๏ คิดจักใคร่ไปชม สั่งให้เตรียมโยธี ๏ นายช้างเตรียมช้างทรง

พระภูวไนยจากเมียขวัญ เผอิญให้ไปพงพี ฯะ ป่าพนมพนาลี เมื่อราตรีจักลินลา ฯะ สาหรับองค์กษัตรา


๑๗๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นายม้าผูกอาชา ๏ เสนาตระเตรียมพล ขอพระภูวไนย

คนขี่แข่งแซงนอกใน ฯะ แล้วบัดดลกราบทูลไทย จงทราบเบื้องพระบาทา ฯะ

๏ ฉบัง ๏ กาพย์ฉบัง ๑ บท มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น (วรรคแรก)มี ๖ คา วรรคกลาง (วรรคที่ ๒) มี ๔ คา และวรรคท้าย (วรรคที่ ๓ ) มี ๖ คา เช่น ๏ เจ็บพลางทางร้องไปมา ช่วยทูลมารดาเร็วไว ฯะ ๏ เจ็ดนางกวักมือทันใด นิ่งเสียอย่าได้ทูลสาร ฯะ ๏ กานัลทาวิ่งลนลาน ว่าบัดนี้กริ้วนางใน ฯะ ๏ เสาวนีย์ตีรันหวั่นไหว เกรงภัยนงลักษณ์หนักหนา ฯะ

จงเอ็นดูข้า อย่าไปทูลไข กลับมาแจ้งการ จักทูลฉันใด

๏ พิลำป ๏ เป็ น ชื่อทานองซึ่งใช้ทั่วไปในกาพย์ ๒๘ หรือกาพย์สุรางคนางค์ เพื่อคร่าครวญ ร้องไห้ อาลัยอาวรณ์ของตัวละคร ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คา เช่น ๏ เรื่องนี้ยกไว้ กล่าวถึงอรทัย อยู่ในปรางศรี เจ้าร่าร้องไห้ มิใช่พอดี กูเอ๋ยทีนี้ มิร้างจะเป็นคน ฯ ๏ ลูกคลอดมาไซร้ ควรมาเป็นได้ ลูกสุนัขปน เสียงร้องถ่องแท้ ได้ยินสองหน ฤๅมาประจน เป็นหมาสาธารณ์ ฯ ๏ แม้นพระเสด็จมา เขาเอาลูกหมา จักถวายภูบาล ตามแต่จะโปรด ทาโทษสามานย์ ชีพม้วยวายปราณ ดีกว่าเป็นคน ฯะ ๏ เจ้าคิดไปมา ร่าไรโศกา ระเหระหน น้าท่าไม่สรง โฉมยงนิรมล อนาทรร้อนรน ด้วยลูกเสน่หา ฯ ๓. เนื้อเรื่อง นิทานเรื่องนางอ้นเป็นนิทานที่มีเนื้อเรื่องขนาดยาวหลายเล่มจบ เห็นได้จากที่โรงพิมพ์ศิริ เจริญ ตาบลสะพานหัน กรุงเทพมหานคร ได้จัดพิมพ์นิทานเรื่องนางอ้นถึง ๑๐ เล่ม ตั้งแต่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๕ – ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๖ ดังนั้น นางอ้นฉบับที่ ๒ – ๓ ที่นามาปริวรรตและจัดพิมพ์นี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของนิทาน เรื่องนางอ้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้เนื้อความจะเป็นเพียงส่วนน้อยแต่ก็ได้ให้สาระของลักษณะนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ครบถ้วน กล่าวคือ เนื้อเรื่องกล่าวถึงการผจญภัยของตัวเอกซึ่งถือว่าเป็นวีรบุรุษ การแสวงหาอาจารย์เพื่อร่า เรียนวิชา การได้คู่ครองและการพลัดพรากจากคู่ครอง พระเอกในเรื่องมีสนมหลายคน ซึ่งนาไปสู่การหึงหวงกัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๗๗

ระหว่างพระมเหสีและพระสนม แต่สุดท้ายก็จบลงอย่างมีความสุข ลักษณะเด่นของนิทานเรื่องนางอ้นเฉพาะ สองเล่มดังกล่าวนี้ก็มีเนื้อเรื่องครบถ้วน นอกจากนี้ผู้อ่านยังจะได้ความสนุกสนานในการติดตามการต่อสู้ การเอา ตัวรอด และการผจญภัยของตัวละครอีกด้วย ตัวอย่างบทที่แสดงความเป็นวีรบุรุษของพระไชยสุริวงศ์ความว่า นางอ้นฟังเจ้า ว่าพระขวัญข้าว เจ้าอย่าโศกา ยายจักให้ไป ดังใจจินดา ช้างเผือกโศภา งาดางอนงาม สามเศียรสามหาง เหมือนหนึ่งกับอย่าง เจ้าเขียนบวร แม้นเหาะลงไป ถึงในนคร (จง) อย่าบทจร สู่พื้นสุธา ช้างนี้หลานแก้ว แม้นเหาะไปแล้ว อย่าลงพารา เมืองจักล่มลง ที่ในคงคา ฝูงคนมรณา ไม่มาทานทน เจ้ารับภิปราย กราบบาทตายาย ผันผายจรดล เจ้าขึ้นทรงช้าง เหาะกลางเวหน กระบัดเดี๋ยวดล ถึงพระพารา ๔. ภำษำ ภาษาที่ใช้ในนิทานเรื่องนางอ้นผู้แต่งใช้ถ้อยคาธรรมดาสอดแทรกที่ชาวบ้านใช้กันอยู่ในชิวิต ประจาวัน เช่น คาเรียกสุนัขว่า หมา เรียกสามเณรว่า เณรน้อย เป็นต้น นอกจากคาราชาศัพท์ที่จาเป็นต้องใช้ เนื่องจากตัวละครเป็นพระราชาหรือพระมเหสีแล้ว แต่ก็มีลักษณะเด่ นในเรื่องการการใช้ถ้อยคา คือ การเล่น เสียงเล่นคาและการใช้คาผรุสวาทแทรกไว้ในเนื้อหา การใช้โวหารในการดาเนินเรื่อง ใช้การพรรณนาโวหารเมื่อ ต้องการกล่าวถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ ใช้อธิบายโวหารเมื่อต้องการอธิบายเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาสาระใน ส่วนนั้นและอาจจะใช้สาธกโวหารประกอบในการอธิบาย และใช้เทศนาโวหารในเชิงสั่งสอนเนื่องจากตัวละคร เป็นพระสงฆ์ การใช้ความเปรียบและการใช้สัญลักษณ์ในกล่าวถึงพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งการใช้ภาษาดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นกวีชาวบ้านหรือนักประพันธ์ท้องถิ่นของไทยได้ดี ตัวอย่างการใช้ความ เปรียบที่ขีดเส้นใต้ความว่า ชัยแสงสุริยวงศ์ ทอดทิ้งบาศก์ลง ก่อนท้าวชนมาน เป็นหกกับสาม ความแค้นใดจะปาน เจ้าพราหมณ์ทอดตาม ได้ทาเรือนใน ทอดกันไปมา ส่วนพระลูกยา แพ้ร่าส่าไป บิดาแค้นนัก ดังอัคคีไฟ ให้แก้ก็แพ้ไป ขัดใจ (เรา) นัก ส่วนพระลูกยา แต่แพ้หลายครา ดาลเดือดพระทัย เจ้าถ่มน้าลาย กระจายออกไป กลายกลับฉับไว เป็นสุวรรณมาลา ส่วนองค์ราชา เห็นกษัตรา พระทัยฉงน เจ้าพราหมณ์คนนี้ เห็นทีชอบกล เหมือนแก้วนิรมล พี่แสนแลหนา ๕. แนวคิดของเรื่อง แนวคิดที่ปรากฏในนิทานเรื่องนางอ้น เล่ม ๒ – ๓ นี้ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง อานุภาพของความรักทั้งระหว่างสามีกับภรรยา แม่กับลูก และศิษย์กับอาจารย์ แนวคิดเรื่องความอิจฉาริษยา


๑๗๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ระหว่ า งเมี ย น้ อ ยกั บ เมี ย หลวง แนวคิ ด เรื่ อ งผู้ ห ญิ ง ที่ ดี ที่ จ ะช่ ว ยส่ ง เสริ ม ให้ ส ามี ได้ ป กครองบ้ า นเมื อ งจน เจริญรุ่งเรือง แนวคิดเรื่องทาดีได้ดีทาชั่วได้ชั่ว และแนวคิดเรื่องกรรม นอกจากนี้เนื้อเรื่องยังสอดแทรกแนวคิดที่ เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของไทยไว้ ดังเช่น การจัดทัพของพระราชาตามตาราพิไชยสงคราม การสมโภชพระ มเหสีและพระกุมารด้วยการแต่งพานบายศรี การคลอดบุตรตามแบบประเพณีไทย หรือวัฒนธรรมไทยที่ไม่ควร เอาเป็นเยี่ยงอย่าง คือ การทุจริตเรียกรับสินจ้างรางวัล เป็นต้น นิทานเรื่องนางอ้น เล่ม ๒ – ๓ นี้ จึงให้คุณค่าทั้งในแง่ของการศึกษาขนบการประพันธ์ ความไพเราะ ของภาษา ความสนุกสนานของเนื้อเรื่องที่มีการผจญภัยและการแสดงปาฏิหาริย์ของตัวละครซึ่งนอกเหนือจาก เนื้อเรื่องที่เป็นธรรมเนียมของการประพันธ์นิทานไทยแล้ว นอกจากนี้ แนวคิดของเรื่องยังสอดแทรกคติคาสอน ทั้งเรื่องทางโลกกล่าวคือ การครองเรือน การศึกษาเล่าเรียน การเคารพและความมีกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และทางธรรม คือ การทาความดีละเว้นความชั่ว เพราะผลของการกระทาของแต่ละบุคคลไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมติด ตัวคน ๆ นั้นไม่ว่าจะอยู่บนโลกนี้หรือโลกอนาคต ประการสาคัญ นิทานเรื่องนี้ยังสอดแทรกวัฒนธรรมประเพณี ของไทยไว้อันแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของกวีอีกด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๗๙

บรรณำนุกรม กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๑๖: ๙๙). คติชำวบ้ำน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการ ปกครอง. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๒๔: ๑). หนังสือประโลมโลกที่ขึ้นชื่อสมัยรัชกาลที่ ๕. วำรสำรอักษรศำสตร์. ๑๓, ๒ (กรกฎาคม ๒๕๒๔). น้ามน อยู่อินทร์. (๒๕๔๕). วิเครำะห์ตัวละครเอกฝ่ำยหญิงในวรรณกรรมชำวบ้ำนจำก “วัดเกำะ.” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร. โรงพิมพ์ศิริเจริญ. (๒๔๖๕ – ๒๔๖๘). นำงอ้น เล่ม ๑ – ๑๐. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศิริเจริญ. ลาวัณย์ โชตะมะระ. (๒๕๒๑: ๒๑๕). ได้รู้ได้หัวเรำะ. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. “วรรณกรรมวัดเกาะ.” ใน หนังสือเก่ำชำวสยำม. สืบค้นเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๖, จากเว็บไซต์ http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/ literature/43-2010-07-12-08-31-55 ส.พลายน้อย. (๒๕๒๓: ๓๕ – ๓๖). ชำวต่ำงชำติในประวัติศำสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : บัณฑิตการ พิมพ์. สุกัญญา สุจฉายา. (๒๕๕๕: ๗). วรรณคดีนิทำนไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย จากัด. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (๒๕๕๑). วรรณคดีท้องถิ่นศึกษำ. นครปฐม : สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Stith Thompson. (1997: 3). The Folktale. London : University of California Press, Ltd,.


๑๘๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: นำงอ้น กลอนสวด เล่ม ๒ ฉบับหอสมุดแห่งชำติ ๏ (สุรำงคนำงค์) ๏ ๏ องค์พระภูมี ทรงรถมณี ด้วยนางอรทัย ชมสัตว์แลช้าง ที่กลางพงไพร สาราญบานใจ มาด้วยเมียขวัญ ฯะ ๏ ชมดอกมาลี ที่ในไพรศรี หอมกลิ่นใดจะทัน ดอกแก้วการะเกด วิเศษหลายพันธุ์ กลิ่นหอมหวนหัน ชื่นในวิญญา ฯะ ๏ พระเคลื่อนพลจร เข้าแดนพระนคร ใกล้พระพารา ฆ้องกลองแตรสังข์ เซ็งแซ่ไปมา เมื่อพระผ่านฟ้า เข้าในบุรี ฯะ ๏ พระเสด็จถึงวัง ประโคมแตรสังข์ ขึ้นเกยเรืองศรี ท้าวพาร้อยชั่ง ยังปรางค์มณี ก้มเกล้าชุลี บิตุเรศมารดา ฯะ ๏ สองกษัตริย์เห็นเจ้า เฉิดฉายพรายเพรา อย่างทาขวัญตา ช่างหามาให้ ชอบใจมารดา นางนาฏยาตรา ลูบหน้ารับขวัญ ฯะ ๏ แม่รักรูปเจ้า จันทร์แจ่มบ่เศร้า ใครเลยจักทัน จักให้ทั้งสอง เจ้าครองไอศวรรย์ แทนองค์ทรงธรรม์ บิตุเรศมารดา ฯะ ๏ วันดีเมื่อไร แม่จักสั่งให้ ตั้งการวิวาห์ จักเสกทั้งสอง ครองพระพารา สืบพระวงศา ข้างหน้าสืบไป ฯะ ๏ แม่ขอถามเจ้า เพื่อใดขวัญข้าว อยู่วิมานชัย บิตุเรศมารดา ไฉยาเป็นไฉน ละลูกน้อยไว้ วิมานเดียวดาย ฯะ ๏ ไชยวิขรรค์กัลยา ทูลท้าวมารดา แต่ต้นจนปลาย เหมือนหนหลังมา นางฟ้าทูลถวาย แต่ต้นจนปลาย กล่าวความถ้วนถี่ ฯะ ๏ สมเด็จ-บิดา ได้ฟังธิดา พระทัยปรานี แม่จักแต่งเจ้า พระเยาว์มารศรี ให้ครองบุรี เป็นเจ้านางใน ฯะ ๏ อยู่หลายวันมา บิดาตรัสสั่ง อามาตย์เร็วไว ให้ตั้งพิธี หน้าพระลานชัย จักเสกอรทัย โอรสเสน่หา ฯะ ๏ ให้ปลูกโรงทอง สามสิบเก้าห้อง อันงามรจนา ฉัตรเงินฉัตรทอง ล้อมรอบพารา ให้ตั้งเบญจา หน้าโรงพิธี ฯะ ๏ เสนานายงาน รีบจัดแจงการ ทั่วทั้งบุรี โหรหาฤกษ์วาร เข้ามามากมี เสภาดนตรี มะมี่ดาษดา ฯะ ๏ สาเร็จเสร็จการ กราบทูลภูบาล ปิ่นเกล้าโลกา ทูลว่าการเสร็จ เชิญเสด็จยาตรา จงโปรดเกศา พร้อมแล้วภูวไนย ฯะ ๏ ท้าวฟังเสนีย์ กราบทูลคดี ชอบราชหฤทัย ตรัสสั่งสาวศรี บัดนี้จงไป ทูลพระภูวไนย โอรสเสน่หา ฯะ ๏ ว่าการพิธี จวนได้ฤกษ์ดี ให้แต่งกายา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๘๑

ทั้งนางจอมขวัญ ด้วยกันลูกอา จวนพระเวลา จักได้ฤกษ์ชัย ฯะ ๏ สาวสรรกัลยา รับสั่งวิ่งมา มิช้าบัดใจ ทูลพระโฉมยง ผู้ทรงฤทธิไกร ว่าพระฤกษ์ชัย จวนได้เวลา ฯะ ๏ ท่านท้าวบิตุเรศ สั่งให้ภูเบศร์ สระสรงคงคา ให้แต่งพระองค์ เข้าแท่นรจนา ในมณฑิรา โรงชัยพิธี ฯะ ๏ พระฟังสาวใช้ ดีในพระทัย สระสรงวารี แล้วทรงเครื่องต้น เลิศล้นโสภี ทรงพระภูษี ฤทธีรจนา ฯะ ๏ ทรงสร้อยสังวาล ยิ่งอย่างอวตาร แต่สวรรค์ลงมา ทรงพระธามรงค์ บรรจงเลขา แล้วทรงภูษา ควรค่าเวียงชัย ฯะ ๏ ทรงมงกุฎแก้ว แสงโสพรายแพรว ดังสุริโยทัย เทวีราชา ลินลาบัดใจ มาสู่ที่ใน โรงชัยรจนา ฯะ ๏ เสด็จสู่พิธี แตรสังข์มณี ขับก้องไปมา ปืนยิงครื้นครั่น สนั่นพระพารา ให้สองกษัตรา สู่แท่นมณี ฯะ ๏ แล้วเวียนเทียนทอง ขุนนางเนืองนอง กึกก้องมโหรี เสนาทั้งหลาย ถวายชัยภูมี บิดาชนนี สู่โรงรจนา ฯะ ๏ ท้าวมอบสมบัติ แก้วเก้าเนาวรัตน์ ทั่วทั้งโลกา พ่อให้แก่เจ้า พระเยาว์บุตรา สองครองพารา แทนพระบิดร ฯะ ๏ โหราพราหมณ์ชี เข้ามาชุลี ถวายชัยอยู่สลอน ขอให้พระองค์ ดารงนคร ข้าบาทราษฎร ได้พึ่งเนืองนอง ฯะ ๏ เวียนเทียนแล้วพลัน พราหมณ์พฤฒทั้งนั้น ดับเทียนแว่นทอง โบกควันเข้าไป บัดใจโดยปอง เจิมพักตร์ทั้งสอง ด้วยพลันทันใจ ฯะ ๏ สาเร็จเสร็จการ พานางนงคราญ สู่วิมานชัย ภิรมย์สมสอง ห้องแก้วแววไว สมสนิทพิสมัย ดวงใจมารศรี ฯะ ๏ เจ็ดนางนั้นเล่า มันทาขึ้นเฝ้า สองกษัตริย์ด้วยดี ค้อนควักชักหน้า ฉายาเทวี มันทาท่วงที ชม้อยนัยน์ตา ฯะ ๏ องค์พระภูมี บ่ได้สมศรี นางใดเลยนา ภิรมย์สมสอง แท่นทองเลขา แต่องค์ไฉยา บ่ไกลมารศรี ฯะ ๏ อยู่จาเนียรมา เจ็ดนางฉันทา แก่องค์กษัตรี มันจะทาความ โฉมงามเทวี ให้พระภูมี เริศร้างห่างไกล ฯะ ๏ ยามค่ายามเช้า มันทาขึ้นเฝ้า แล้วกล่าวอรทัย ทุกวันจอมจักร แม่รักฤๅไฉน จงแจ้งแถลงไข แก่พี่ก่อนรา ฯะ ๏ นางพาซื่อไป จึ่งเล่าความให้ แก่อีริษยา ทุกวันนี้เล่า พี่เจ้าน้องอา พระองค์รักข้า นี้ยิ่งแสนทวี ฯะ ๏ เจ็ดนางว่าไป ที่ไหนท้าวไทย จักรักมารศรี


๑๘๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พี่จักสอนเจ้า พระเยาว์เทวี ให้พระภูมี รักแม่นักหนา ฯะ ๏ เมื่อพระเสวยข้าว แม้นเจ้านั่งเฝ้า ข่วนเอาพักตรา แล้วเอาข้าวร้อน ป้อนพระราชา ทิ้งเอาที่หน้า จักรักเหลือใจ ฯะ ๏ แม่จงจาเอา อย่าได้บอกเล่า แก่ใครผู้ใด พี่รักสายสมร บังอรอรทัย แม่จงจาไว้ ตั้งใจผูกพัน ฯะ ๏ นางพาซื่อใจ มันว่าสิ่งไร จาไว้ทุกอัน ครั้นเวลาเช้า เจ้าเฝ้าผัวขวัญ คิดไว้ทุกวัน จักทาลองดู ฯะ ๏ เวลานั้นเล่า เจ้าขึ้นมาเฝ้า องค์พระโฉมตรู พระองค์เสวยข้าว เจ้าพิศแลดู จึ่งยกหัตถ์ชู หยิบเอาข้าวมา ฯะ ๏ ข่วนพักตร์ภูมี ข้าวร้อนทันที ทิ้งเอาพักตรา พระองค์ร้อนรน เป็นพ้นปัญญา ปัดซ้ายปัดขวา บ่ได้พาที ฯะ ๏ ความรักไฉยา ห่อนได้โกรธา สิ่งไรมารศรี เสด็จเข้าสู่ห้อง แท่นทองรุจี สุขเกษมเปรมปรีด์ สาราญวิญญา ฯะ ๏ คิดว่าเทวี วรนุชมารศรี ไม่รู้เดียงสา ท้าวไม่ถือความ นางงามไฉยา ภิรมย์เสน่หา ระรื่นชื่นใจ ฯะ ๏ ครั้นอยู่มาเล่า เจ็ดนางถามเจ้า องค์อรทรามวัย องค์พระราชา ตรัสว่าเป็นไฉน พระองค์รักใคร่ ฤๅไรแม่อา ฯะ ๏ นางจึ่งว่าไป ข้าทาภูวไนย บ่ได้โกรธา เห็นท้าวรักน้อง ไม่พร้องวาจา พระทรงกรุณา นี้แน่นอนใจ ฯะ ๏ เจ็ดนางว่าเจ้า หลงใหลไปเปล่า เชื่อท้าวฉันใด ทีนี้แม่ทา จงดูน้าใจ เอากรวดคั่วไว้ ให้ร้อนแสนทวี ฯะ ๏ ข่วนเอาพักตรา แล้วเอากรวดปา ที่พักตร์จักรี จักทาฉันใด ดูใจพันปี จักรักเทวี กว่านี้สุดใจ ฯะ ๏ โฉมนางนงเยาว์ ครั้นเวลาเฝ้า ปิ่นเกล้าภพไตร คั่วกรวดให้ร้อน เปรียบก้อนถ่านไฟ ครั้นเฝ้าภูวไนย ข่วนเอาพักตรา ฯะ ๏ แล้วเอากรวดนั้น ทิ้งเอาด้วยพลัน ที่พักตร์ราชา เพียงจักขาดใจ ในพระอุรา พระเสด็จวิ่งมา ออกนอกปรางค์ชัย ฯะ ๏ วิ่งร้องเรียกหา แม่อ้นเร็วรา ช่วยลูกบัดใจ นางไชยวีขรรค์ นั้นทาเป็นไฉน มันจักฆ่าให้ ลูกนี้จาตาย ฯะ ๏ นางอ้นยินเสียง ตกประหม่าเพียง อกสั่นขวัญหาย เจ้าเหาะลงมา มิช้าโดยหมาย เห็นพระโฉมฉาย ดิ้นระเด่าร่าไร ฯะ ๏ เอาน้าสุราฤทธิ์ รดองค์บพิตร มิช้าทันใด ที่ร้อนรนหาย สบายพระทัย ว่าอรทรามวัย ทาข้าหนักหนา ฯะ ๏ นางอ้นว่าเจ้า แม้นว่าทาเล่า อีกแล้วลูกอา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๘๓

อย่าได้ละมัน ตีรันแสนสา ให้สมน้าหน้า ใจมันกระลี ฯะ ๏ ทูลแล้วราชา ลาท้าวมารดา มาสู่บุรี บ่ได้ว่าไร แก่วรเทวี พระเสด็จเข้าที่ พิมานรจนา ฯะ ๏ เจ็ดนางถามไป ได้ทาฤๅไม่ นะเล่าน้องอา นางว่าได้ทา ท้าวร่าโศกา วิ่งออกจากปรา เข้าในพงพี ฯะ ๏ เจ็ดนาจึ่งว่า แม่อยู่หัวข้า อย่าฟังภูมี ทีนี้เปียกชัน อันร้อนมากมี ทิ้งเอาตรงที่ อุระราชา ฯะ ๏ นางฟังคามั่น เจ้าคิดสาคัญ ที่ในวิญญา ด้วยกรรมอรทัย เจ้าได้ทามา จักพลัดราชา เจ้าฟ้าผัวขวัญ ฯะ ๏ นางทรงครรภ์อ่อน อยู่ในอุทร ได้สามเดือนพลัน ครั้นเวลาเช้า ขึ้นเฝ้าผัวขวัญ เจ้าจึ่งเปียกชัน บัดนั้นทันใจ ฯะ ๏ ชันร้อนนักหนา เอาซ่อนขึ้นมา ไว้ข้างภูวไนย ข่วนเอาอุรา ควักชันปาไป ถูกทรวงภูวไนย วิ่งไปทันที ฯะ ๏ ร้อนในอุระนัก พระองค์เพียงจัก ม้วยลงกับที่ ท้าววิ่งร้องไป ไม่ได้สมประดี นางจึ่งจรลี ตามพระภูวไนย ฯะ ๏ นางอ้นได้ยิน เสียงลูกดาลถวิล ประหวั่นพรั่นใจ สวมสอดรูปอ้น จรดลทันใด บัดเดี๋ยวใจไป ถึงพระบุตรี ฯะ ๏ เห็นพระธิดา กับองค์ราชา อยู่ในไพรศรี ส่วนพระโฉมยง เพียงจะปลงชีวี สลบอยู่กับที่ ใต้ต้นพฤกษา ฯะ ๏ มารดาถามไป เหตุเป็นไฉน ชวนกันลินลา ไพร่ฟ้าข้าไทย บ่ได้มีมา แต่สองเอกา มารดาหลากใจ ฯะ ๏ เหลือบแลแปรผัน เห็นท้าวเขยขวัญ ชันติดตัวไป นางอ้นเข้าดู จึ่งรู้แน่ใจ ว่าเจ้าสลบไป ไม่รู้สมประดี ฯะ ๏ เอาน้าสุรามะฤทธิ์ รดลงตรงจิต ของพระภูมี องค์พระราชา ผวาฟื้นฤดี เจ้าอัญชุลี แทบเท้ามารดา ฯะ ๏ นางอ้นถามไป เหตุการณ์ฉันใด เจ้าไซร้จึ่งมา เสนาข้าไทย มิได้ตามมา สององค์เอกา อยู่สองสายใจ ฯะ ๏ พระแสงสุริยฉาย ได้ฟังภิปราย มารดาปราศรัย เจ้าทูลเร็วพลัน ไชยวิขรรค์อรทัย นางคิดเป็นไฉน ไม่แจ้งคดี ฯะ ๏ เมื่อลูกกินข้าว นางขึ้นไปเฝ้า กระทาไม่ดี เปียกชันให้ร้อน บังอรเทวี เอาชันทิ้งที่ อุระลูกยา ฯะ ๏ นางอ้นเทวี ได้ฟังคดี เขยขวัญทูลลา กริ้วโกรธบุตรี พ้นที่อุปมา อีลูกชั่วช้า มาฟังคาใคร ฯะ ๏ แม่สอนแม่ว่า ไม่จาวาจา มารดาสอนไป


๑๘๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ทาแก่สามี อย่างนี้เป็นไฉน มึงจักแกล้งให้ เจ้าม้วยมรณา ฯะ ๏ อีไชยวิขรรค์ น้าใจดื้อดัน เฉกฉันท์พาลา มึงทาอย่างนี้ ดีแล้วฤๅนา มึงคิดจักฆ่า เจ้าให้บรรลัย ฯะ ๏ หากมีมารดา หาไม่เจ้าฟ้า จักม้วยตักษัย อี่ลูกเจ้ากรรม มึงทาฉันใด นางจับไม้ได้ ไล่ตีธิดา ฯะ ๏ พระแสงสุริยฉาย เห็นตีวุ่นวาย ทูลขอโทษา ลูกสงสัยอยู่ เอ็นดูก่อนรา นางอัครไฉยา ไม่แจ้งคดี ฯะ ๏ ดีร้ายมีเหตุ ยุยงอัคเรศ ให้ทาย่ายี เห็นว่านงเยาว์ โฉดเขลามากมี มันแกล้งใส่ศรี ชิงชังจัณฑาล ๚ะ ๏ กรรมเข้าดลใจ มิให้ภูวไนย ไต่ถามนงคราญ ว่าเท่านั้นแล้ว คลาดแคล้วจากสถาน ทูลลาพระมาร ดาจักครรไล ฯะ ๏ จึ่งชวนเมียขวัญ จากที่หิมวันต์ เข้าสู่วังใน นางอ้นมารดา ลินลาคลาไคล เจ้าเหาะเหินไป สู่ในเวหา ฯะ ๏ ส่วนพระบุตรี กับท้าวสามี สู่ปรางค์รจนา พระครรภ์ของเจ้า เข้าสิบเดือนตรา ครวญครางไปมา ทุกทิวาราตรี ฯะ ๏ เจ็ดนางคิดกัน เรายุให้มัน ทาพระภูมี มิได้เอาโทษ ยังโปรดทวี คิดว่าครานี้ เราจักทาไฉน ฯะ ๏ อาไพมารศรี ความคิดมากมี ปรีชาเชาวน์ไว ว่านางทั้งหก จะตกใจไย คิดผลาญให้ได้ กาจัดจากวัง ฯะ ๏ แม้นคลอดลูกมา จับเอาลูกหมา เปลี่ยนไว้โดยหวัง จึ่งพ้นพระเจ้า ให้ท้าวชิงชัง ขับเสียจากวัง เซซังกลางไพร ฯะ ๏ ลูกอีกาลี ทิ้งนอกบุรี หน้าที่บรรลัย องค์พระราชา จะเห็นหน้าใคร ลาภยศคงได้ แก่เราแลนา ฯะ ๏ หกนางขานไข คิดดีเหลือใจ พี่มีปรีชา ครั้งนี้หน้าที่ ชีวีมรณา เห็นพระราชา รักเราสุดใจ ฯะ ๏ แม้นว่าผ่านฟ้า ออกประพาสป่า เราชวนกันไป เฝ้านางเทวี ที่ปราสาทไชย ทาเอาใจใส่ ดูต่างหูตา ฯะ ๏ ลูกออกเมื่อไร สั่งให้สาวใช้ ทิ้งเสียแลนา เอาลูกหมาใส่ ไว้แทนลูกยา เมื่อพระเสด็จมา ถวายให้ชมเชย ฯะ ๏ คิดกันแล้วพลัน เจ็ดนางสรวลสัน ดีแล้วพี่เอ๋ย เทวีมรณา พี่อย่ากลัวเลย เราจักได้เชย แต่เราแลนา ฯะ ๏ แต่วันได้มัน อี่ไชยวิขรรค์ ผัวรักหนักหนา ทาผิดสิ่งไร บ่ได้เจรจา มิเอาโทษา ที่ร้ายกลายดี ฯะ ๏ ทีนี้แลนา ลูกเป็นลูกหมา ยังว่ามเหสี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๘๕

ปกป้องครองวัง สิ้นทั้งปรีชา แสนสาวขันที มากมีดาษดา ฯะ ๏ พ่อผัวแม่ผัว รักใคร่เมามัว หญิงชั่วมารยา แต่งตั้งขึ้นไว้ เป็นนางพระยา กรีดนิ้วซ้ายขวา พร้อมสนมนางใน ฯะ ๏ ตัวเรานี้นา ใช้อย่างเป็นข้า เสมอกับสนมใน เราเป็นลูกท้าว ทุกด้าวเวียงไชย พระไม่ตั้งให้ เป็นพระมเหสี ฯะ ๏ เราน้อยใจนัก ผลาญอีอัปลักษณ์ พลัดจากบุรี อยู่หลังพระเจ้า รักเราทั้งนี้ ได้เป็นมเหสี ทีนี้แลนา ฯะ ๏ พูดกันซุบซิบ ทาตากระหยิบ ยิ้มกริ่มไปมา เวลาขึ้นเฝ้า เจ็ดนางกัลยา หวีหัวผัดหน้า เป็นนวลยวนใจ ฯะ ๏ ขึ้นเฝ้าราชา ทุกวันเวลา บ่ร้างแรมไกล เป็นเนืองนิตย์กาล สาราญในใจ คลอดลูกเมื่อไร จักได้เห็นกัน ฯะ ๏ ยำนี ๏ ๏ เป็นกรรมเข้าดลใจ จาเป็นให้ไกลกัน ๏ คิดจักใคร่ไปชม สั่งให้เตรียมโยธี ๏ นายช้างเตรียมช้างทรง นายม้าผูกอาชา ๏ เสนาตระเตรียมพล ขอพระภูวไนย ๏ พระฟังเสนาทูล แล้วทรงพระภูษา ๏ ธามรงค์ทรงพระหัตถ์ ทรงมงกุฎเลิศไกร ๏ ทรงเครื่องสาเร็จแล้ว อยู่จงดีเจ้าพี่อา ๏ แม้นว่าเจ้าเจ็บครรภ์ บิดามาปรางศรี ๏ กานัลสิ้นทั้งปรางค์ อย่าให้นางโฉมยง ๏ แล้วท้าวโปรดประทาน เงินทองทั้งเสื้อผ้า ๏ พระทัยของจอมจักร

พระภูวไนยจากเมียขวัญ เผอิญให้ไปพงพี ฯะ ป่าพนมพนาลี เมื่อราตรีจักลินลา ฯะ สาหรับองค์กษัตรา คนขี่แข่งแซงนอกใน ฯะ แล้วบัดดลกราบทูลไทย จงทราบเบื้องพระบาทา ฯะ นเรนทรสูรสรงคงคา สร้อยสังวาลตระการใจ ฯะ ล้วนเนาวรัตน์งามสุกใส งามวิไลดังอินทรา ฯะ สั่งเมียแก้วแล้วลินลา สามเวลาคืนบุรี ฯะ ให้สาวสรรทูลชนนี ดูเทวีทั้งสององค์ ฯะ คอยดูนางต่างใจจง เจ้าเคืองแค้นในวิญญา ฯะ ลาภสักการมากเหลือตรา จักพรรณนามากสิ่งมี ฯะ ฝากเมียรักแก่สาวศรี


๑๘๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เป็นกรรมของเทวี ๏ จาเป็นให้จาจาก เผอิญให้ท้าวไคลคลา ๏ ไชยวิขรรค์นางกัลยา พระเสด็จในหิมวันต์ ๏ อย่าค้างหลายราตรี ยากเย็นเห็นบาทา ๏ พระฟังนางทูลไข เป็นกรรมนางบังอร ๏ สั่งแล้วพระแคล้วคลาด สังข์แตรเซ็งแซ่ไป ๏ เสนาแห่หน้าหลัง เสด็จเข้าในหิมวา ๏ ท้าวชมดอกมาลา สาราญในพระทัย ๏ เสด็จได้ราตรีกาล เจ็บครรภ์นางเทวี

กับภูมีได้ทามา ฯะ จะพลัดพรากพระภัสดา จากปรางค์ปรานางจอมขวัญ ฯะ กราบบาทาพระทรงธรรม์ กระหม่อมฉันพรั่นวิญญา ฯะ เชิญจรลีสู่พารา เมียสัญญาว่าบิดร ฯะ หฤทัยไม่ย่อหย่อน ให้ภูธรจรในไพร ฯะ สู่เกยมาศขึ้นคชไกร จากวังในเข้าหิมวา ฯะ คู่เคียงคั่งทั้งซ้ายขวา ชมพฤกษาในพงไพร ฯะ กลิ่นหอมมาฟุ้งจับใจ ชมมิ่งไม้ในพงพี ฯะ เยาวมาลย์งามมีศรี ด้วยกรรมมีแต่ก่อนมา ฯะ

๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ๏ เจ็ดนางมารศรี แจ้งว่าภูมี ออกจากพารา นางดีหฤทัย ยิ่งได้คณนา นางจึ่งขึ้นมา เฝ้าองค์อรไฉยา ฯะ ๏ เห็นนางเจ็บครรภ์ ชวนกันมาพลัน พิทักษ์รักษา ให้หาสังข์แตร เซ็งแซ่โกลา หมอตาแยซ้ายชวา หามาเร็วพลัน ฯะ ๏ นางเอาเงินทอง ทรัพย์สินทั้งผอง ทั่วทั้งปรางค์สุวรรณ สาวใช้ในที่ สาวศรีแจ่มจันทร์ ให้แจกเงินกัน สิ้นทุกคนไป ฯะ ๏ ข้าวของมารดร เจ็ดนางอ้อนวอน เอาเงินยื่นให้ ข้าวของพระองค์ ผู้ทรงฤทธิไกร เจ็ดนางขนให้ ได้เงินได้ทองฯะ ๏ ชวนกันดีใจ นักสนมกรมใน ทาสีทั้งผอง นางเจ็บครรภ์ เจ็ดนางสมปอง ไชยวิขรรค์เรียกร้อง มารดาช่วยลูกยา ฯะ ๏ นางร้องร่าไร มิได้เห็นใคร รับเอาวาจา มันเข้ากันสิ้น ไปทั้งปรางค์ปรา นางร้องเรียกหา ทาไม่ได้ยิน ฯะ ๏ เจ็ดนางเข้าไป นั่งใกล้อรทัย พวกอีทมิฬ ห้อมล้อมหน้าหลัง ปลอบว่าโฉมฉิน แม่อย่าโดยดิ้น อุตส่าห์แข็งใจ ฯะ ๏ ฤกษ์งามยามดี จักคลอดวันนี้ แม่อย่าร้อนฤทัย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๘๗

หลับเนตรเถิดรา อย่าร้องอึงไป จักกลัวอะไร พี่จะช่วยกัลยา ฯะ ๏ ฟังเจ็ดนางทูล พระทัยอาดูร คิดถวิลวิญญา ให้ทูลชนนี ยังมิเห็นมา ทั้งเจ็ดกัลยา มานี่เพื่อใด ฯะ ๏ สอนให้กูทา ก่อเข็ญเวรกรรม แก่พระภูวไนย หากท้าวไม่โกรธ ลงโทษสิ่งไร บุญแม่หาไม่ กูไซร้มรณา ฯะ ๏ ฉบัง ๏ ๏ เจ็บพลางทางร้องไปมา ช่วยทูลมารดาเร็วไว ฯะ ๏ เจ็ดนางกวักมือทันใด นิ่งเสียอย่าได้ทูลสาร ฯะ ๏ กานัลทาวิ่งลนลาน ว่าบัดนี้กริ้วนางใน ฯะ ๏ เสาวนีย์ตีรันหวั่นไหว เกรงภัยนงลักษณ์หนักหนา ฯะ ๏ นางฟังถ้อยคาเจรจา มาว่าอย่างนี้เป็นไฉน ฯะ ๏ ถึงว่ากริ้วโกรธฉันใด ความไข้ความตายฟ้องพาล ฯะ ๏ เรานี้ใช่เชื้อเนื้อหลาน อันเป็นพระโอรสา ฯะ ๏ ตรัสได้ฉันใดอกอา ไฉยาก็นิ่งแน่ไป ฯะ ๏ เจ็บครรภ์เร้าขึ้นทันใจ จักใกล้ได้ฤกษ์เพลา ฯะ ๏ เจ็บครรภ์สั่นทั่วกายา ชลนาซึมซาบอาบสกนธ์ ฯะ ๏ บัดนั้นทรงยศทศพล ประสูติจากครรภ์มารดา ฯะ ๏ ดวงพักตร์นั้นคือจันทรา เทวาบ่เปรียบปานปูน ฯะ ๏ รูปทรงเอวองค์บริบูรณ์ บ่มีผู้ใดเทียมสมาน ฯะ ๏ เจ็ดนางต่างเข้าพยาบาล

จงเอ็นดูข้า อย่าไปทูลไข กลับมาแจ้งการ จักทูลฉันใด เห็นผิดกิริยา จาทูลให้ได้ เห็นแก่ภูบาล เจ้าคิดไปมา เพราะว่าหน่อไทย นางร่าโศกา ได้ฤกษ์บัดดล องค์ดั่งทองทา หน่อพระนเรนทสูร จับเอาเดียรัจฉาน


๑๘๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ลนลานใส่ไว้แทนองค์ ฯะ ๏ จึ่งเอาโอรสโฉมยง แก่ข้าสนิทร่วมใจ ฯะ ๏ เจ็ดนางสั่งให้เร่งไป ให้ไกลนอกเขตบุรี ฯะ ๏ สาวใช้ได้ฟังคดี จรลีออกจากพารา ฯะ ๏ วิ่งไปใกล้วัดสังฆรา ลงไว้ที่หน้าถานพลัน ฯะ ๏ ฝ่ายว่าเจ็ดนางใจฉกรรจ์ เข้าล้อมรอบองค์มินาน ฯะ ๏ แก้ผ้าจากตานงคราญ สาราญอยู่บนพานทอง ฯะ ๏ บิตุเรศตั้งใจปูนปอง ดารงนิเวศพารา ฯะ ๏ ทีนี้งามหน้านักหนา เอาหน้าไปไว้แห่งใด ฯะ ๏ นางฟังเจ็ดนางแถลงไข เห็นลูกหมาใส่พานทอง ฯะ ๏ ในจิตยิ่งคิดเศร้าหมอง เหตุไรมาเป็นลูกหมา ฯะ ๏ อกกูจักอยู่ไยนา เอาหน้าไปไว้แห่งไร ฯะ ๏ คิดพลางนางจึ่งว่าไป ได้ยินเสียงร้องเป็นคน ฯะ ๏ เหตุไรมาเกิดสาละวน ชะรอยเป็นกลมารยา ฯะ ๏ เจ็ดนางต่างกล่าววาจา ด้านหน้ามาพาโลใคร ฯะ ๏ ลูกเต้ามาเป็นจัญไร ใครใช้ลูกออกเป็นหมา ฯะ ๏ คิดพร้อมใจกันมิช้า ถวายสองกษัตราเร็วพลัน ฯะ

ส่งไปโดยจง ทิ้งเสียบัดใจ อุ้มองค์ภูมี ทิ้งองค์เจ้าฟ้า ปรีเปรมเกษมสันต์ ให้ดูเดียรัจฉาน จักให้ครอบครอง ออกเป็นลูกหมา เจ้าแปรพักตร์ไป ได้ยินเสียงร้อง แม้นตายดีกว่า เมื่อคลอดมาไซร้ หมาเป็นลูกคน หญิงร้ายแพศยา กลับมาว่าได้ ยกพานทองมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๘๙

๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ๏ เจ็ดนางกัลยา ยกพานทองมา ถวายพระทรงธรรม์ สุขเกษมเปรมใจ ดังได้เมืองสวรรค์ ชวนกันจรจรัล รีบมาเร็วไว ฯะ ๏ ถึงปรางค์มารดา เจ็ดนางเข้ามา มิช้าทันใจ จึ่งถวายพานทอง รองลูกหมาไว้ ทั้งเจ็ดอรทัย บังคมชนนี ฯะ ๏ จึ่งเอาลูกหมา ใส่พานรจนา ทูลถวายทันที ว่าลูกไฉยา นางฟ้ามเหสี คลอดเมื่อราตรี ออกเป็นลูกหมา ฯะ ๏ ขอพระไอยกี จักคิดไฉนดี ด้วยราชนัดดา ลูกเป็นสุนัข เสียศักดิ์ราชา ผ่านเกล้าโลกา ได้โปรดเกศี ฯะ ๏ สมเด็จบิตุเรศ ครั้นได้แจ้งเหตุ ไม่เป็นสมประดี สองกษัตริย์นิ่งไป มิได้พาที ตรัสกับมเหสี สนเท่ห์พระทัย ฯะ ๏ เมื่อเจ้าเจ็บครรภ์ ใครไม่ผายผัน ให้เราแจ้งใจ จักได้ไปดู โฉมตรูเป็นไฉน ช่างมาเป็นได้ ลูกหมาสาธารณ์ ฯะ ๏ จักคิดอย่างไร ความนี้งดไว้ ถ้าพระกุมาร โอรสเสด็จมา กลับจากไพรสาณฑ์ ตามจักว่าขาน การผัวการเมีย ฯะ ๏ โอ้น่าหลากใจ เหตุการณ์เป็นไฉน ช่างละเมียเสีย เห็นแต่จะเล่น ไม่เอ็นดูเมีย ทิ้งขว้างร้างเสีย ลูกจึ่งเป็นเดียรัจฉาน ฯะ ๏ ไม่รู้ที่จะว่า เหมือนผงเข้าตา มืดมนอนธกาล มาให้เราเห็น พอเป็นพยาน เอาลูกเดียรัจฉาน ไปเสียเร็วรา ฯะ ๏ โอ้ว่าทรามเปลี่ยว เจ้าอยู่คนเดียว จึ่งคลอดเป็นหมา นางสนมพี่เลี้ยง รายเรียงปรางค์ปรา ของโอรสา นั้นไปอยู่ไหน ฯ ๏ เมื่อเจ็บครรภ์เจ้า ไม่มาบอกเล่า ให้เราแจ้งใจ จักได้สู่ปรางค์ ของนางอรทัย รู้แน่แท้ใจ แม่นี้ก่อนรา ฯ ๏ เจ็ดนางเฉลียวใจ คว้าพานมาได้ พากันลงมา ครั้นถึงเรือนจันทร์ พูดกันไปมา เห็นท้าวมารดา ตรัสว่าแยบคาย ฯ ๏ แม้นพระเสด็จมา เห็นพระมารดา จักว่าวุ่นวาย จักไม่เชื่อเรา นี้เล่ามากมาย เห็นพระโฉมฉาย จักฟังมารดา ฯ ๏ จาหาหมอเฒ่า ชาระล้นเกล้า เราเสียก่อนรา ให้ท้าวชนนี มีความเมตตา แม้นเราจะว่า สิ่งไรเชื่อฟัง ฯ ๏ จึ่งหาหมอเฒ่า ชาระสระเกล้า ฝังรูปในวัง ให้ท้าวหลงใหล ว่าไรให้ฟัง ทาให้ชิงชัง ไชยวิขรรค์กัลยา ฯะ ๏ ทาสาเร็จแล้ว เจ็ดนางผ่องแผ้ว สาราญหรรษา เมื่อไรพระเจ้า ท้าวเสด็จเข้ามา จักได้ดูหน้า พาอี่กาลี ฯะ


๑๙๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ พิลำป ๏ ๏ เรื่องนี้ยกไว้ กล่าวถึงอรทัย อยู่ในปรางศรี เจ้าร่าร้องไห้ มิใช่พอดี กูเอ๋ยทีนี้ มิร้างจะเป็นคน ฯ ๏ ลูกคลอดมาไซร้ ควรมาเป็นได้ ลูกสุนัขปน เสียงร้องถ่องแท้ ได้ยินสองหน ฤๅมาประจน เป็นหมาสาธารณ์ ฯ ๏ แม้นพระเสด็จมา เขาเอาลูกหมา จักถวายภูบาล ตามแต่จะโปรด ทาโทษสามานย์ ชีพม้วยวายปราณ ดีกว่าเป็นคน ฯะ ๏ เจ้าคิดไปมา ร่าไรโศกา ระเหระหน น้าท่าไม่สรง โฉมยงนิรมล อนาทรร้อนรน ด้วยลูกเสน่หา ฯ ๏ โอ้พระลูกแก้ว พาเจ้าคลาดแคล้ว ถึงแห่งใดนา เป็นตายไม่แจ้ง แม่แคลงวิญญา ลูกแก้วแม่อา ป่านนี้เป็นไฉน ฯ ๏ นางร่าโศกศัลย์ พ้นที่จะกลั้น สลบซบไป ครั้นฟื้นสมประดี ตีทรวงร่าไร วิบากเป็นไฉน ลูกน้อยแม่อา ฯ ๏ กล่าวถึงภูมี ประพาสพงพี สาราญวิญญา ครั้นค่าราตรี เสด็จที่พลับพลา บรรทมมหา หลับปรางค์ทองศรี ฯ ๏ เที่ยงคืนอันนั้น จึ่งเกิดอัศจรรย์ แก่องค์ภูมี บรรทมหลับใหล เมื่อในราตรี จึ่งพระภูมี นิมิตอัศจรรย์ ฯ ๏ ฝันว่าโกสีย์ ยื่นดวงมณี ให้องค์ทรงธรรม์ พระรับเอาแก้ว เลิศแล้วพรายพรรณ ส่องแสงสุริยฉัน สว่างโลกา ฯ ๏ ท้าวชมมณี รุ่งเรืองรัศมี สว่างเวหา ยังมีราหู จรจู่เข้ามา ชิงดวงสุริยา ผวาเหาะไป ฯ ๏ ที่ในนิมิต ว่าองค์ทรงฤทธิ์ พิโรธหฤทัย เหาะตามราหู จู่โถมครรไล บัดเดี๋ยวทันใจ ได้ดวงจันทร์มา ฯ ๏ ผวาตื่นพลัน พระทัยประหวั่น ด้วยแก้วกัลยา เจ้าทรงครรภ์แก่ นี้แลองค์อา อยู่ในพารา ฤๅว่าเป็นไฉน ฯ ๏ ตรึกในอารมณ์ พระให้เตรียมตรม ถึงองค์อรทัย ฤๅว่าแก้วพี่ อยู่ที่เชียงชัย เจ้าจักเป็นไฉน ประสูติลูกยา ฯ ๏ คิดแล้วมินาน มีพระโองการ ให้หาโหรา จึ่งแก้กลฝัน ด้วยพลันมิช้า เมื่อในเพลา ราตรีฝันไป ฯ ๏ ท้าวจึ่งเล่าฝัน แต่ต้นความนั้น ให้โหรเข้าใจ พระองค์จึ่งแถลง จะแจ้งกระจ่างใจ โหรลงเลขไซร้ ดูในตาราพลัน ฯ ๏ พระฟังโหรทูล ผ่านฟ้านเรนทรสูร พระทัยกระสัน โอ้ว่าแก้วพี่ ป่านนี้จาบัลย์ ด้วยองค์ทรงครรภ์ ครรภ์แก่น้องอา ฯ ๏ ตรัสแล้วมินาน ให้ยกพลหาญ คืนสู่พารา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๙๑

ช้างม้าอึงคะนึง วันเดียวเสด็จมา เข้าสู่นัครา มิช้าด้วยพลัน ฯ ๏ เสด็จขึ้นเกยมาศ พระเสร็จลินลาศ ปรางค์มาศสุวรรณ พระทัยคานึง ถึงพระแจ่มจันทร์ องค์มเหสีขวัญ แก้วพี่เป็นไฉน ฯ ๏ ยำนี ๏ ๏ บัดนั้นทั้งเจ็ดนาง แบกพานทองออกไป ๏ ทูลว่าโอรสมา เชิญเสด็จพระภูมี ๏ หาวนอนอยู่หงุบหงับ นี้แลลูกท้าวไทย ๏ พระฟังเจ็ดนางทูล ชม้อยเนตรไปทันที ๏ ประทับศาลาทอง อับอายโยธาหาญ ๏ ตรัสสั่งฝูงสาวศรี เร่งเร็วเอาตัวไป ๏ สาวใช้รับบัญชา ทูลกับยุพาพาล ๏ นางฟังสาวศรีว่า ถึงองค์พระภูวไนย ๏ กริ้วโกรธนางกัลยา ให้มิ่งม้วยอาสัญ ๏ มิไปบัดเดี๋ยวนี้ หน้าด้านเป็นพ้นใจ ๏ ไล่ตีนางอรทัย งานยิ่งวิ่งขึ้นมา ๏ มารดาวิ่งลงไป ผิดชอบสอบคดี ๏ เมื่อเจ้าคลอดโอรส สาวใช้ทั้งซ้ายขวา ๏ ตัวเราเป็นมารดา นิ่งทาอาเภอใจ ๏ ไม่เลี้ยงนางเทวี

แต่งตัวพลางรับภูวไนย ใส่ลูกหมาดูบัดสี ฯ รับบิดาปิ่นธรณี ชมลูกแก้วสาราญพระทัย ฯ คารณงับร้ายเหลือใจ เกิดครรภ์นางมเหสี ฯ แสนเคืองขุ่นในฤดี เห็นลูกหมาอยู่บนพาน ฯ พักตร์เศร้าหมองเหลือประมาณ เอาประจานฆ่าให้บรรลัย ฯ อี่กาลีมันอยู่ไหน ฆ่าเสียให้ม้วยวายปราณ ฯ รีบลีลาละลนลาน มีโองการให้หาไป ฯ เจ้าเสด็จมาบัดเดี๋ยวใจ บังคมไหว้ท้าวผัวขวัญ ฯ พระแสงง่าจักฆ่าฟัน แล้วจงพลันเร่งลงไป ฯ กูจักตีให้บรรลัย คลอดลูกได้เป็นลูกหมา ฯ บ่มิไปทั้งศาลา ยังปราสาทท้าวชนนี ฯ เหตุอะไรจึ่งไล่ตี ให้ถ้วนถี่ในกิจจา ฯ จักปรากฏสิ้นทั้งปรา จักแจ้งว่าเป็นไฉน ฯ ทั้งกิจจาไม่แจ้งใจ ลูกอรทัยเป็นลูกหมา ฯ จักฆ่าตีนางไยนา


๑๙๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นิราศจากพารา ๏ กรรมเจ้าเข้าดลใจ ไม่ถามตามเหตุมี ๏ ขับเจ้าลงจากปรางค์ กราบบาทท้าวชนไน ๏ แล้วเจ้าค่อยยุรยาตร นายทวารเห็นกัลยา ๏ ฝ่ายท้าวผู้มารดา ลูกรักไปจงดี ๏ นางออกจากเวียงชัย จักไปวิมานฟ้า ๏ เจ้าค่อยเดินค่อยคลา ไฉยาเจ้าเอองค์ ๏ วันนั้นสองผู้เฒ่า โฉมยงจึ่งภิปราย ๏ นางงามจึ่งปราศรัย ข้าน้อยพลัดเมืองมา ๏ ข้าน้อยอยู่ด้วยยาย ตายายจงการุญ ๏ ตายายฟังโฉมศรี จึ่งรีบเดินเร็วมา ๏ สาวน้อยน่าเอ็นดู ยายตาจักเลี้ยงไว้ ๏ นางเล่าให้ยายฟัง ข้าเป็นเมียเจ้าฟ้า ๏ ตายายได้ฟังเจ้า จางจิตแม่คิดไป ๏ แล้วจึ่งพาเจ้ามา ถนอมเลี้ยงเจ้าจอมขวัญ ๏ เช้าเย็นนางไฉยา เจ้าอยู่ด้วยตายาย

ตามเวรากรรมเทวี ฯ ท้าวไม่ได้ฟังชนนี ฟังคดีเจ็ดนางใน ฯ จึ่งนวลนางเจ้าคลาไคล ทั้งสองไทยท้าวมารดา ฯ จากปรางค์มาศออกทวารา ร่าโศการักเทวี ฯ ร่าโศกาด้วยมารศรี มีสวัสดีเถิดกัลยา ฯ เจ้าร่าไรเข้าพฤกษา จาไม่ได้ให้ใหลหลง ฯ ร่าโศกามาในดง พอหลงเข้าบ้านตายาย ฯ แก่นั่งเฝ้าถั่วมากมาย เห็นตายายปลูกถั่วงา ฯ ยายข้าไหว้ได้เมตตา ช่วยเลี้ยงข้าไว้เอาบุญ ฯ แม้นมิตายจักแทนคุณ เลี้ยงเอาบุญไว้เถิดรา ฯ คิดปรานีนั้นหนักหนา ลูบหลังหน้าแล้วถามไป ฯ แม่นี้อยู่แห่งหนใด แม่บอกให้แจ้งกิจจา ฯ แต่หนหลังเกิดเหตุมา ผ่านพาราในเวียงชัย ฯ แม่ขวัญข้าวอย่าร้อนใจ แม่จักได้กลับคืนวัง ฯ ยังเคหาสองเฒ่าพลัน อยู่ด้วยกันกับตายาย ฯ ช่วยยายตาเก็บของขาย ค่อยสบายสาราญองค์ ฯ

๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ๏ ครั้นรุ่งราตรี เณรน้อยจรลี ไปถานบัดดล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๙๓

จึ่งเห็นลูกอ่อน นอนระเหหน เจ้าเณรจรดล เข้าไปแลดูฯ ๏ เห็นเป็นกุมาร ไปบอกอาจารย์ กับทั้งพระครู สังฆราชได้ฟัง ทั้งสงฆ์พรั่งพรู ชวนกันไปดู ช่างน่ารักนักหนา ฯ ๏ ลูกอ่อนคนนี้ มิใช่กระฎุมพี ลูกไพร่เลยนา เป็นลูกท้าวไทย แน่ใจนักหนา อย่างไรจึ่งมา นึกน่าสงสัย ฯ ๏ อย่าเลยเจ้ากู เอาไปเลี้ยงดู เอาบุญเป็นไร ว่าแล้วพระสงฆ์ อุ้มองค์เอาไป อาบน้าท่าให้ ป้อนข้าวกล้วยพลัน ฯ ๏ ใส่เปลเห่ช้า สิ้นทั้งวัดวา เลี้ยงบุตรบุญธรรม ช่วยกันผลัดดู บ่คิดเดียดฉันท์ พระสังฆราชนั้น รักยิ่งสุดใจ ฯ ๏ ค่อยเลี้ยงเจ้ามา จนพระชันษา ได้สามขวบไตร พระสงฆ์ทั้งนั้น ขบฉันแห่งไร อุตส่าห์พาไป ได้ทุกวันวาน ฯ ๏ พระสังฆราชา รักนักรักหนา ยิ่งกว่าลูกหลาน ค่อยเลี้ยงเจ้ามา ห้าขวบประมาณ ศรีต้นอาจารย์ รักนักสุดใจ ฯ ๏ พระสงฆ์ทั้งนั้น ชุมนุมพร้อมกัน ทาขวัญหน่อไทย สังฆราชบังคับ อันดับไสว ช่วยทาขวัญให้ ถวายนามพระองค์ ฯ ๏ ให้ชื่ออะไรดี ฤกษ์พานาที ให้สมเผ่าพงษ์ ชื่อนี้ฤๅไร ชัยแสงสุริยวงศ์ สังฆราชเห็นสมทรง องค์เจ้าแลนา ฯ ๏ ครั้นทาขวัญแล้ว สังฆราชคลาดแคล้ว เข้าไปเทศนา ในวังบิดร จรทุกเวลา พาเจ้าเข้ามา เทศนาทุกวัน ฯ ๏ เจ้าตามสังฆราช ลินลาคลาคลาด เข้าวังพร้อมกัน เจ้าตะพายย่าม ตามเป็นนิรันดร์ มิขาดสักวัน อยู่จาเนียรมา ฯ ๏ เป็นวันสงกรานต์ แต่ล้วนพนักงาน ออกไปวัดวา วันนั้นกุมาร ก้มกรานกราบลา แก่พระสังฆรา จะไปเที่ยวดู ฯ ๏ อาจารย์ว่าเล่า ตามแต่ใจเจ้า ไปเถิดโฉมตรู แล้วมากุฎี อย่าเที่ยวช้าอยู่ กลัวเขาจะขู่ เจ้าจะตกใจ ฯ ๏ ลาแล้วโฉมงาม ลงจากอาราม กระบัดคลาไคล นั่งเล่นสาราญ พระวิหารใหญ่ อิงพนักตั้งใจ ดูเล่นสาราญ ฯ ๏ พระหัตถ์ไม่เปล่า หยิบถ่านไฟเล่า เขียนพระยาคชสาร สามเศียรงาดา งามล้าใครจะปาน สามหางช้างงาม ยิ่งในโลกา ฯะ ๏ ชาววังเห็นเข้า ว่าเจ้านี้เล่า ได้ช้างไหนมา รู้ถึงเจ็ดนาง มันทางริษยา มันสืบรู้ว่า ลูกยาอรทัย ฯะ ๏ ลูกอีไชยวิขรรค์ ไม่ม้วยอาสัญ รอดอยู่ฤๅไร สังฆราชเลี้ยงดู ศัตรูมาไว้ กูจักฆ่าให้ มันม้วยมรณา ฯะ ๏ คิดแล้วบัดใจ ให้ตารวจใน ไปจับตัวมา


๑๙๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ถามว่าช้างนี้ อยู่ที่ไหนนา มีพระบัญชา จักเอาคชไกร ฯะ ๏ ช้างเผือกสามหาง เป็นของต้องการ ต้องพระประสงค์ แม้นมิได้ช้าง บ่ร้างชีวิตจักคง จะฆ่าตัวตน ให้ม้วยมรณา ฯะ ๏ เจ้าตกพระทัย ว่าข้าจักไป หาสังฆราชา ท่านได้เลี้ยงดู ตูข้านี้มา พี่ได้เมตตา ไปหาด้วยกัน ฯะ ๏ พาตารวจใน วิ่งวางขึ้นไป กุฎีด้วยพลัน ตารวจบอกว่า เจ้านี้คนขยัน ได้ช้างสาคัญ นั้นไว้แห่งไร ฯะ ๏ มีพระโองการ จักเอาคชสาร ที่เขียนลงไว้ มิได้ช้างนี้ น่าที่จักบรรลัย จักเอาตัวไป ถวายแก่ราชา ฯะ ๏ พระสังฆราชา กระหนกตกประหม่า หน้าเผือดคือผี ภิกขุเจ้าเณร ตระเวนบอกพระ ตาเถรกับยายชี กระหนกตกใจ ฯะ ๏ โยมเอ๋ยเอ็นดู ขอผัดผ่อนตู กว่าจักหาได้ เจ้าคะนองเขียนเล่น ร่าเรียนที่ไหน ช้างอย่างนี้ไซร้ ที่ไหนมีนา ฯะ ๏ ตารวจว่าไป สักกี่เวไลย จักได้ช้างมา เจ้าว่าเจ็ดวัน นั่นแลพี่อา ไม่ได้ช้างมา จึ่งฆ่าให้บรรลัย ฯะ ๏ ตารวจว่าเล่า เห็นแก่สงฆ์เจ้า ผัดแล้วตามใจ เจ้าคุณจักรับ ตัวด้วยฤๅไฉน โยมจักถวายไว้ สักเจ็ดเวลา ฯะ ๏ สังฆราชบังคับ ภิกขุอันดับ รับทั้งวัดวา แม้นมิได้ช้าง อย่างเขียนนี้นา ส่งตัวให้ฆ่า เสียพลันทันใจ ฯะ ๏ ตารวจว่าเล่า ข้าบาทกราบเกล้า ลาเข้าเวียงชัย จักได้ทูลท้าว ผ่านเกล้าภพไกร เจ้าคุณผัดไว้ สักเจ็ดวันวาน ฯะ ๏ ต่างคนต่างมา ลงจากวัดวา มาจากอาราม บอกนางนงเยาว์ ยังจะไปเอาคชสาร บัดนี้อาจารย์ ผัดไว้ก่อนรา ฯะ ๏ อยู่ในที่ตาย จักหาได้ง่าย เผือกผู้โสภา งาดาสามเศียร เวียนทั่วโลกา ช้างใดจะมีมา น่าที่จะวอดวาย ฯะ ๏ เจ็ดนางได้ฟัง ใจจิตคิดหวัง ได้ดังใจหมาย มิได้ช้างมา ฆ่าให้วอดวาย ฆ่าเสียให้ตาย ไว้มันไยนา ฯะ ๏ ลูกอีศัตรู แค้นด้วยเจ้ากู เลี้ยงไว้ไยนา แม้นมิได้ช้าง จักล้างชีวา ให้มันมรณา สาใจอาจารย์ ฯะ ๏ พิลำป ๏ ๏ ส่วนพระภูมี ร่าไรโศกี ดังจักสิ้นกาล กราบบาทสังฆราช ลินลาศจากสถาน พระสงฆ์ทรงญาณ ร่ารักพังงา ฯะ ๏ พระสังฆราชเจ้า ตีอกเร่าเร่า มือฟายน้าตา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๙๕

ภิกขุทั้งนั้น โศกศัลย์ไปมา สิ้นทั้งวัดวา โศกาบ่วาย ฯะ ๏ เอ็นดูหลานน้อย ยังเด็กกระจ้อยร่อย จักเดินฉันใด แดดร้อนตะวันเที่ยง เพียงจักม้วยบรรลัย พระสงฆ์ร่าไห้ สิ้นทั้งอาราม ฯะ ๏ พระสังฆราชา ร่ารักนักหนา ว่าพระโฉมงาม เจ้าไปให้ได้ ตั้งใจจงงาม ขอให้ได้ช้าง สาคัญนั้นมา ฯะ ๏ พระสงฆ์ทั้งนั้น ร่าไรโศกศัลย์ สิ้นทั้งวัดวา ตาเถรยายชี โศกีนักหนา พ่อไปได้มา สาเร็จน้าใจ ฯะ ๏ เจ้ากราบลาแล้ว พระทัยผ่องแผ้ว ลินลาคลาไคล เข้าดงพงป่า น้าตาหลั่งไหล วิบากสิ่งไร ยากนี้อกอา ฯะ ๏ กูหากเขียนเล่น บ่ได้พบเห็น ช้างอย่างนี้นา จับเอาอย่างนี้ เป็นแสนเวทนา ช้างอย่างนี้นา ที่ไหนจักมี ฯะ ๏ เดชะบุญข้า พบช้างในป่า เข้าเถิดอย่างนี้ เป็นตายจักไว้ ขอไปบุรี ให้ท่านได้ขี่ จักพ้นความตาย ฯะ ๏ เจ้าทรงโศกี เข้าในพงพี องค์เดียวเปลี่ยวกาย ครั้นค่าภูธร ขึ้นนอนปลายไม้ ครั้นเช้าเล่าไซร้ เจ้าเดินในดง ฯะ ๏ แต่เจ้าลินลา แม้นจักพรรณนา ห้าวันโดยจง เรี่ยวแรงภูธร อ่อนไปทั้งองค์ พ้นที่จักทรง ดารงกายา ฯะ ๏ นั่งลงร้องไห้ ราลึกตรึกไป ถึงพระสังฆรา พระคุณลูกเอ๋ย ช่วยลูกด้วยรา เห็นว่าตัวข้า จักม้วยอาสัญ ฯะ


๑๙๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: นำงอ้น กลอนสวด เล่ม ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ๏ พิลำป ๏ (ต่อ) ๏ แม้นว่ากูตาย พระสงฆ์ทั้งหลาย รับรองไว้พลัน จักพลอยโทษด้วย จักม้วยอาสัญ เป็นกรรมหนหลัง แก่ข้าฤๅไฉน ฯะ ๏ เดชะความสัตย์ ที่ได้ปรนนิบัติ พระมาเหลือไตร อย่าให้ตัวข้า ถึงชีวาลัย หาช้างไม่ได้ จะคืนวัดวา ฯะ ๏ แม้นตัวจักตาย ม้วยมอดวอดวาย ตามแต่เวรา อย่าได้ร้อนองค์ พระสงฆ์เลยนา สุดแต่ตัวข้า ก้มหน้าตายไป ฯะ ๏ ไปได้เจ็ดวัน ถ้วนผัดวันนั้น กาลังอ่อนไป เดินไปไม่รอด ทอดองค์ภูวไนย กรรมแล้วฤๅไฉน ถึงกูแลนา ฯะ ๏ ถึงผัดวันนี้ โอ๊ยโอ้พระชี เป็นฉันใดนา ตารวจมันจักเกาะ พระแล้วณะลูกอา สิ้นทั้งวัดวา กรรมข้าชื่อไร ฯะ ๏ เจ้าเดินไม่ได้ ล้มกลิ้งนิ่งไป ใต้ต้นพฤกษา อาหารสิ่งไร บ่ได้พานทา กาลังโรยรา เพียงมาบรรลัย ฯะ ๏ กล่าวถึงนางอ้น อันอยู่เมืองบน ฟากฟ้าสุราลัย จึ่งเล็งทิพยญาณ เห็นหลานบัดใจ นี่บุตรอรทัย ไชยวิขรรค์กัลยา ฯะ ๏ แม่ลูกได้ยาก พลัดกันลาบาก ยากเย็นนักหนา ทูลท้าวโกสีย์ จงมีเมตตา โอรสกัลยา ไชยวิขรรค์เทวี ฯะ ๏ พลัดแม่พลัดลูก คนมันดูถูก ปองฆ่าปองตี บัดนีน้ ัดดา เอกาจรลี จักม้วยชีวี ที่ต้นพฤกษา ฯะ ๏ พระอินทร์ได้ฟัง นางนาฏร้อยชั่ง เจ้าทูลกิจจา โองการสั่งพลัน วิษณุกรรมเร็วรา เร่งแปลงกายา ทั้งมาตุลี ฯะ ๏ ท่านจงเอาทิพย์ เหาะไปด้วยลิบ ในดงพงพี กุมารนอนอยู่ เอ็นดูมากมี จักสิ้นชีวี น่าที่อาสัญ ฯะ ๏ ทาเป็นนกน้อย สองตัวคาบอ้อย กล้วยบินผายผัน จับลงที่หน้า เจ้านั้นด้วยพลัน กล้วยอ้อยทั้งนั้น ทาตกลงไป ฯะ ๏ ให้พระกุมาร จักได้รับประทาน ไม่ม้วยบรรลัย เร่งเร็วอย่าช้า ท่านจงลงไป กุมารนั้นไซร้ อ่อนไปนักหนา ฯะ ๏ พระมาตุลี รับสั่งโกสีย์ อินทร์เจ้าโลกา กับวิษณุกรรม์ ผายผันเหาะมา ทาแปลงกายา เป็นนกบัดใจ ฯะ ๏ สองตัวบินร่อย ตัวหนึ่งคาบอ้อย บ้างคาบกล้วยไป จับที่พฤกษา สองราจิกไซร้ แล้วทาตกให้ ใกล้กุมารา ฯะ ๏ เจ้าเห็นกล้วยอ้อย ตกลงบ่อยบ่อย ดีใจนักหนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๙๗

อุตส่าห์ยื่นหัตถ์ กระบัดหยิบมา เสวยเป็นภักษา ค่อยมาชื่นใจ ฯะ ๏ เจ้าค่อยมีแรง พระทัยค่อยแข็ง ทรงกาลังได้ คิดขึ้นมาเล่า เร่งเศร้าพระทัย ได้เจ็ดเวไล วันนี้แลนา ฯะ ๏ ถึงวันสัญญา วันนี้เขาจักมา รบกวนเจ้ากู พระสังฆราชา จักมาคอยอยู่ เป็นตายตัวกู จาจักกลับไป ฯะ ๏ ค่อยมีแรงแล้ว เป็นตายไม่แคล้ว ตามกรรมเวไร อย่าให้สังฆเจ้า ร้อนรนพระทัย จักเป็นเวรไป เมื่อสิ้นชีวา ฯะ ๏ นางอ้นเทวี เห็นหลานโศกี จักม้วยมรณา เหาะลงมาพลัน ไม่ทันพริบตา อุ้มราชนัดดา พาไปเมืองสวรรค์ ฯะ ๏ ไต่ถามถ้วนถี่ เพื่อใดจรลี มาในหิมวันต์ ทังวลสนไพร สิ่งไรจงจานรรจ์ เจ้าบอกยายพลัน จักแจ้งคดี ฯะ ๏ ชัยแสงสุริยวงศ์ เจ้าจึ่งกราบลง แล้วเล่าคดี ข้าบาทเขียนช้าง ที่หว่างชุกชี ชาววังมากมี เห็นข้าด้วยพลัน ฯะ ๏ ว่าจักเอาช้างอย่างนี้ จักฆ่าชีวี ให้ม้วยอาสัญ บัดนี้ผัดมา ช้าได้เจ็ดวัน ถ้วนเข้าด้วยกัน วันนี้แลนา ฯะ ๏ ข้าหาไม่ได้ จึ่งนั่งร้องไห้ เสียดายชีวา พระสงฆ์รับตัว กลัวจักมรณา วันนี้ตัวข้า จักกลับเข้าไป ฯะ ๏ ให้เขาฆ่าฟัน ตามบุญตามกรรม จักทาเป็นไฉน ช้างม้าอย่างนี้ มีอยู่หนใด จักได้จับไป ให้เขาแลนา ฯะ ๏ นางอ้นได้ฟัง ว่าพระขวัญข้าว พ่ออย่าโศกา ยายจักให้ไป ดังใจจินดา ช้างเผือกโสภา งาดาสามเศียร ฯะ ๏ แล้วมีสามหาง จัดให้พระหลาน งามเหมือนอย่างเขียน เจ้าอย่าร้อนใจ เหาะไปวนเวียน เหมือนอย่างเจ้าแล้ว ที่เขียนแลนา ฯะ ๏ ช้างนี้หลานแก้ว แม้นเหาะไปแล้ว อย่าลงพารา เมืองจักจมลง ที่ในคงคา ฝูงคนมรณา ไป่มาทนทาน ฯะ ๏ เจ้ารับภิปราย กราบบาทตายาย ผันผายจรดล เจ้าขึ้นทรงช้าง เหาะกลางเวหน ตระบัดเดี๋ยวดล ถึงพระพารา ฯะ ๏ ยืนอยู่อากาศ ร้องด้วยสิงหนาท เร่งเร็วออกมา ใครว่าจะเอาช้าง เผือกผู้ไอยรา สามเศียรเอามา งาดาสามหาง ฯะ ๏ เหวยตารวจเห็น นิ่งอยู่ว่าไร มารับเอาช้าง เราผัดเจ็ดวัน นั้นไม่ขัดขวาง เร่งมาเอาช้าง นิ่งอยู่ไยนา ฯะ ๏ เพลาวันนั้น นางไชยวิขรรค์ สมเด็จมารดา แต่งองค์เป็นพราหมณ์ งามยิ่งนักหนา มาเล่นสกา กับท้าวสามี ฯะ ๏ ชัยแสงสุริยวงศ์ ร้องก้องอลวน อยู่กลางวิถี


๑๙๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เป็นไรมิมา เอาคชคีรี ผัดเจ็ดราตรี บัดนี้เอามา ฯะ ๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ๏ สมเด็จบิดา บ่แจ้งกิจจา ว่าใครสั่งสอน จักเอาไอยรา มาแต่อาพร ว่าใครสั่งสอน เมื่อไรเล่านา ฯะ ๏ เสด็จออกเกยชัย ชาเลืองเนตรแลไป ดูช้างไอยรา กับพระกุมาร งามยิ่งเทวา ตรัสถามเสนา ว่าใครสั่งไป ฯะ ๏ ขุนหมื่นข้าหลวง เสนาทั้งปวง ตระหนกตกใจ เห็นพระยาคชสาร สะท้านหวั่นไหว นี่ใครสั่งไป เมื่อไรเล่านา ฯะ ๏ บิตุเรศแลไป ดูช้างคชไกร สยองเกศา ดังเศียรจะแตก แยกจากกายา ตรัสร้องขึ้นมา ข้าสั่งเมื่อไร ฯะ ๏ ดูราเทวา เอาช้างนี้มา ที่นี่เพื่อใด ช้างสามเศียรนี้ บ่มีของใคร ช้างอย่างนี้ไซร้ คู่ท้าวอินทรา ฯะ ๏ ฝ่ายพระสังฆราช พระทั้งอาวาส คะบาทหรรษา ดีเนื้อดีใจ เจ้าได้ช้างมา คนสั่งนั้นหนา ไม่รับสักคน ฯะ ๏ อ้ายตารวจใน วิ่งบุกซุกไป ราสับราสน ช้างทรงงามสรรพ ถึงวัดบัดดล ช้างลาพระองค์ คงสู่เมืองสวรรค์ ฯะ ๏ ไชยวิขรรค์กัลยา ชนะสกา แก่ท้าวผัวขวัญ ขึ้นเอาเงินทอง ไปให้ยายทุกวัน พระองค์ทรงธรรม์ แพ้ทุกวันวาน ฯะ ๏ อยู่วันหนึ่งเล่า พระสังฆราชเจ้า เข้าไปเทศนา พระชัยสุริยวงศ์ คงตามพระมา ได้ย่ามใส่บ่า ตามมาทุกวัน ฯะ ๏ สมเด็จบิดา ตรัสฟังเทศนา พิศดูจอมขวัญ เกิดความรักใคร่ ยิ่งได้อนันต์ จึ่งตรัสจานรรจ์ แก่พระสังฆรา ฯะ ๏ ข้าพระขอถาม ถึงซึ่งพระนาม เจ้ากุมารา เป็นบุตรของใคร พระคุณได้มา โยมรักนักหนา จักขอทานพลัน ฯะ ๏ พิศดูพักตรา งามอย่างเทวา เหมือนไชยวิขรรค์ เมียรักของเรา ขับเจ้าเสียพลัน เหตุผลใดนั้น ไม่แจ้งกิจจา ฯะ ๏ เจ้าพราหมณ์มาเล่น เช้าเช้าเย็นเย็น เหมือนยิ่งนักหนา เมื่อพิศดวงพักตร์ เหมือนกุมารา ยิ่งอย่างหนึ่งว่า เป็นญาติวงศ์กัน ฯะ ๏ สังฆราชเล่าความ แก่พระโฉมงาม ตามวินัยธรรม์ เณรน้อยลงไป แต่เช้าส้วมพลัน เห็นลูกอ่อนนั้น นอนอยู่เอกา ฯะ ๏ นอนร้องง่าแง้ ไม่มีพ่อแม่ อาตมาเวทนา เอามาเลี้ยงไว้ น้าใจกรุณา รูปรักนักหนา อุตส่าห์สอนทุกวัน ฯะ ๏ ไตรเพทสิ่งไร ทั้งขอมทั้งไทย เจ้าได้ทุกอัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๙๙

ใจเจ้าฉลาด สามารถขยัน หมั่นร่าเรียนครัน อุตส่าห์รักษาตัว ฯะ ๏ พระแสงสุริย์ฉาย กล่าวความภิปราย แล้วแย้มยิ้มหัว พระคุณโปรดให้ ได้ไว้เพื่อนตัว ขอพระอยู่หัว โปรดโยมเถิดรา ฯะ ๏ สังฆราชจนใจ จักขัดหนักไป เคืองขัดอัธยา จึ่งถามกุมาร ท่านขอแล้วนา จักอยู่เป็นข้า เฝ้าเถิดฤๅไฉน ฯะ ๏ ชัยแสงสุริย์วงศ์ ได้ฟังตารง ในราชหฤทัย แม้นกูอยู่นี่ เห็นมิเป็นไร อ้ายตารวจใน ข่มเหงนักหนา ฯะ ๏ กูอยู่ด้วยท่าน จักได้เห็นกัน ที่หลวงถ้วนหน้า จักทาราชการ แต่ตามปัญญา ตามแต่วาสนา ของเราสืบไป ฯะ ๏ คิดแล้วมิช้า กราบลงสามลา ว่าไปทันใจ พระคุณไม่เลี้ยง เบี่ยงให้ท้าวไทย หลานน้อยบ่ได้ ขัดใจเลยนา ฯะ ๏ ความทั้งนี้เล่า สุดแต่พระเจ้า จักโปรดเกศา แม้นว่าจักขายไป แห่งไรเล่านา ไม่ควรที่จักว่า พระคุณเลี้ยงเลย ฯะ ๏ พระฟังถ้อยคา เจ้าฉลาดล้า ท้าวอุ้มชมเชย เจ้าอยู่ด้วยรา เป็นค่าหาไม่เลย จักให้ได้เสวย สมบัติเวียงชัย ฯะ ๏ บุตราไม่มี ความรักเจ้านี้ สิ้นสุดหฤทัย แสนสาวพระสนม อุดมวังใน จักจัดแจงให้ แก่เจ้าแลนา ฯะ ๏ อีกข้างหน้าไซร้ ขุนนางน้อยใหญ่ จักให้ดาษดา จักเลี้ยงเป็นลูก ปลูกฝังพังงา ไม่เลี้ยงเป็นข้า เจ้าอย่าน้อยใจ ฯะ ๏ ฝ่ายพระสังฆราช ไม่ขัดโอวาท แก่พระภูวไนย จึ่งยกยอเจ้า ให้เล่าทันใจ มหาดเล็กนั้นไซร้ สะพายย่ามตามมา ฯะ ๏ พระสังฆราช จนถึงอาวาส เจ้าตามออกมา ลาพระสงฆเจ้า นั้นเล่าทั้งวัดวา หลั่งพระโศกา ด้วยเจ้าเหลือใจ ฯะ ๏ พระสงฆ์ว่าเล่า พระสังฆราชเจ้า พาเข้าไปไย ให้เจ้านายเห็น ดังนี้เป็นไป ไม่ให้จักได้ ฤๅไรเล่านา ฯะ ๏ พระเถรยายชี ร้องไห้ยู่ยี่ ด้วยเจ้านักหนา พ่อเข้าไปแล้ว คลาดแคล้วบ้างรา มาเล่นวัดวา บ้างราหลานขวัญ ฯะ ๏ เจ้ารับคาลน ลินลาจรดล ตระบัดด้วยพลัน มหาดเล็กงามงาม ตามเจ้าจรจรัล สังฆราชทั้งนั้น ดีเนื้อดีใจ ฯะ ๏ เจ้ามาบ่หึง บัดเดี๋ยวก็ถึง พิภพกรุงไกร ขึ้นบนสุวรรณ คมสันต์ท้าวไทย ขุนนางทั้งหลาย เรียงได้แสนทวี ฯะ ๏ ท้าวจัดพี่เลี้ยง ให้พระเนื้อเกลี้ยง ทั้งสี่ภูมี ลูกท้าวพระยา เก็บมามากมี เมืองขึ้นภูมี หมายให้ส่งมา ฯะ ๏ พี่เลี้ยงข้างใน โฉมงามวิไล ยิ่งไทยเทวา


๒๐๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ข้าเฝ้าสาวสรร จัดสรรเอามา ให้โอรสา อเนกมากมี ฯะ ๏ แล้วให้ทาขวัญ เจ็ดคืนเจ็ดวัน สนั่นบุรี สมโภชลูกเลี้ยง เพียงได้แสนทวี ไม่แจ้งคดี ว่าโอรสา ฯะ ๏ บิดามารดร รักพระภูธร เท่ากับนัดดา สองท้าวไม่แจ้ง ชัยแสงนัดดา คิดว่าลูกยา ขอมาเลี้ยงดู ฯะ ๏ ท้าวบ่เบื่อรัก ไม่แจ้งกระหนัก ว่าหลานโฉมตรู ไอยกาไอยกี มีความเอ็นดู ท้าวยังไม่รู้ ว่าท่านนัดดา ฯะ ๏ เช้าเย็นเข้าเฝ้า เจ็ดนางนั้นเล่า ชม้อยชายตา มันแค้นขัดใจ ยิ่งได้คณนา ลูกอีแพศยา สงฆ์มาเลี้ยงไว้ ฯะ ๏ แต่วันนี้ไป ไม่ทาบุญให้ วัดนี้เลยนา คิดแค้นแน่นใจ ยิ่งได้คณนา เพราะกุมารา ปรับทุกข์แก่กัน ฯะ ๏ พี่ศรีอาไพ จักคิดเป็นไฉน บัดนี้เร็วรา ลูกอีวิขรรค์ รันขึ้นถึงปรา ฆ่าถึงสองครา มันไม่วอดวาย ฯะ ๏ สืบไปเมื่อหน้า เห็นความนี้นา จักเกิดกุลี เห็นชีวิตเรา นี้เล่าเป็นผี ลูกอีกระลี บัดนี้เป็นมา ฯะ ๏ นั่งทุกข์จุกเจ่า อนาทรร้อนเร่า เศร้าใจนักหนา เห็นว่าชีวี น่าที่จะวายปราณ ลูกอีเดียรัจฉาน ไม่ม้วยมรณา ฯะ ๏ เรื่องนี้ยกไว้ กล่าวถึงอรทัย ไชยวิขรรค์กัลยา ครั้นเวลาเช้า เจ้าจึ่งลินลา จักเข้าพารา เล่นสกาด้วยภูมี ฯะ ๏ นางรู้แยบคาย ว่าพระลูกชาย มาอยู่บุรี กูจักเข้าไป ให้เห็นโฉมศรี ลูกน้อยแม่นี้ จักปูนปานใคร ฯะ ๏ คิดแล้วมิช้า จึ่งบอกยายตา ด้วยพลันทันใจ วันนี้ตัวข้า จักมาจรไป เที่ยวเล่นกรุงไกร สาราญวิญญา ฯะ ๏ ตายายได้ฟัง หลานน้อยร้อยชั่ง เจ้าจักลินลา ยายว่าตามใจ ไปเถิดหลานอา แม้นเย็นเวลา มาเคหาพลัน ฯะ ๏ เจ้ารับคายาย ว่าแล้วผันผาย ลงจากเรือนพลัน เจ้าค่อยลินลา มาตามหิมวันต์ ครั้นถึงที่นั้น หยุดพลันทันใจ ฯะ ๏ เจ้าแปลงกายา เป็นพราหมณ์โสภา งามล้าอาไพ ถือพัดน้อยน้อย ค่อยเดินคลาไคล เจ้าค่อยเข้าไป เล่นบาทสกา ฯะ ๏ ครั้นถึงวังใน เจ้าพราหมณ์ขึ้นไป เกยแก้วรจนา จึ่งพระภูเบศร์ ทอดพระเนตรแลมา ชื่นชมหรรษา เชิญมาเร็วไว ฯะ ๏ เจ้าพราหมณ์ได้ฟัง โองการท้าวสั่ง ค่อยมาขัดใจ ถึงแท่นทองทรง กับองค์ภูวไนย นั่งด้วยท้าวไทย แท่นแก้วรจนา ฯะ ๏ ส่วนพระโอรส หน่อองค์ทรงยศ เสด็จด้วยบิดา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๐๑

ตั้งสกาพลัน เล่นกันไปมา ท้าวดูลูกยา กับพราหมณ์คร้ามใจ ฯะ ๏ พระพักตร์พระเกศ เหมือนองค์อัคเรศ เมียรักจากไป ดูพักตร์ลูกยา อย่างว่าสรรไว้ เหมือนพราหมณ์นี้กระไร ยิ่งยวดนักหนา ฯะ ๏ ท้าวคิดพิศวง สกาที่ทรง แพ้ไปทุกครา คนแพ้เจ้าพราหมณ์ ความแค้นนักหนา เรียกโอรสมา ให้เล่นแทนองค์ ฯะ ๏ ชัยแสงสุริยวงศ์ จับสกาทรง แทนท้าวบิดา เจ้าพราหมณ์แลดู ยิ้มอยู่ไปมา นี้โอรสา แม่น่าเอ็นดู ฯะ ๏ แต่เจ้าคลอดมา แม่พึ่งเห็นหน้า พระทองโฉมตรู แล้วผินพักตร์มา สกาถืออยู่ ทอดกันลองดู ฤๅพระกุมาร ฯะ ๏ ชัยแสงสุริยวงศ์ ทอดทิ้งบาทลง ก่อนท้าวชนมาร เป็นหกเก็บสาม ความแค้นใครจักปาน เจ้าพราหมณ์ทอดตาม ได้ทาเรือนใน ฯะ ๏ ทอดกันไปมา ส่วนพระลูกยา แพ้ร่าซ้าไป บิดาแค้นนัก เพียงจักบรรลัย ให้แก้ก็แพ้ไป ขัดใจนักหนา ฯะ ๏ ส่วนพระลูกยา แต่แพ้หลายครา ดาลเดือดพระทัย เจ้าถ่มน้าลาย กระจายออกไป กลายกลับฉับไว เป็นสุวรรณมาลา ฯะ ๏ ข้าวตอกดอกไม้ เรียบเรียงรายไป ถวายท้าวมารดา เจ้าพราหมณ์ขัดใจ ยิ่งได้คณนา กุมารนี้สา หยาบช้าเหลือใจ ฯะ ๏ เจ้าพราหมณ์โกรธา ถ่มเขโฬมา มิช้าทันใจ กลายเป็นของกิน ทุกสิ่งเหลือไตร แสนสาวนางใน เก็บกินอลวน ฯะ ๏ ส่วนองค์ราชา เห็นสองกษัตรา พระทัยคิดฉงน เจ้าพราหมณ์คนนี้ เห็นทีจะชอบกล เหมือนแก้วนิรมล พี่แล้วแลนา ฯะ ๏ พักตราราศี เหมือนหนึ่งแก้วพี่ ไชยวิขรรค์กัลยา โอรสนี้เล่า ลูกเจ้ากระมังนา เห็นหลากนักหนา ไม่มาผิดกัน ฯะ ๏ พระพักตร์เลิศล้น ดังจันทร์มณฑล อย่างพิมพ์เดียวกัน เขโฬถ่มเล่า สองเจ้าอัศจรรย์ เป็นต่างต่างกัน ดังนี้ดูฉงน ฯะ ๏ แม้นเมื่อเพลา เจ้าพราหมณ์ไคลคลา ไปเล่าแหล่งตน จักให้มนตรี สืบตามยุบล เจ้าพราหมณ์นิฤมล อยู่แห่งหนใด ฯะ ๏ ยำนี ๏ ๏ ครั้นเย็นลงรอนรอน พราหมณ์น้อยจักลินลา ๏ ท้าวเรียกเงินทองมา พ่อลูกแพ้เหลือใจ ๏ เจ้าพราหมณ์ได้เงินแล้ว

ทินกรจวนเวลา ข้าขอทรัพย์จักกลับไป ฯะ ให้ค่าสกาที่แพ้ไป คิดเงินให้แก่เจ้าพราหมณ์ ฯะ จึ่งคลาดแคล้วจากสถาน


๒๐๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ลงจากเกยชัชวาล ๏ ส่วนองค์พระภูวไนย เจ้าพราหมณ์งามโสภา ๏ เมื่อดูกิริยา แลดูลูกสายใจ ๏ แล้วดูประหลาดนัก โอรสใจโกรธา ๏ กลับกลายเป็นมาลา เจ้าพราหมณ์ใจราญรอน ๏ กลับเป็นโภชนา ประหลาดอยู่ทุกสิ่ง ๏ ตรัสสั่งประเดี๋ยวนั้น มหาดเล็กทั้งซ้ายขวา ๏ ที่อยู่ของเจ้าพราหมณ์ ตามดูรู้แจ้งใจ ๏ เสนารับโองการ มหาดเล็กพากันมา ๏ เจ้าพราหมณ์ไม่ได้แจ้ง ที่เคยแต่งตัวไป ๏ เจ้าพราหมณ์แปลงตัวพลัน ขึ้นสู่เรือนยายตา ๏ เสนาเห็นฉายา กราบทูลพระโฉมฉาย ๏ คือองค์นางแจ่มจันทร์ อยู่ที่ในเคหา ๏ เมื่อเจ้าจักเข้ามา บุญญาเจ้ามากมี ๏ พระฟังเสนาทูล ยิ่งคิดถึงเมียขวัญ ๏ พรุ่งนี้เราจักไป ไปรับแก้วกัลยา ๏ อันนี้คือโอรส ดีร้ายมีเหตุใหญ่ ๏ พี่นี้คิดเบาใจ

ออกจากวังเจ้าลินลา ฯะ ในพระทัยคิดจินดา จักว่าพราหมณ์จริงฤๅไฉน ฯะ ทั้งพักตราเหมือนอรทัย ไม่เพี้ยนผิดสักนิดเลย ฯะ สองทรามรักโกรธขึ้นมา ถ่มน้าลายกระจายจร ฯะ เครื่องสมาท้าวมารดร ถ่มน้าลายกลายโดยถวิล ฯะ เห็นเป็นว่าจักให้กิน แม่ลูกจริงกระมังหนา ฯะ เร่งเร็วพลันหมู่เสนา เร็วอย่าช้าจงตามไป ฯะ อยู่ถิ่นฐานบ้านแห่งไร อย่าว่าไรเร่งกลับมา ฯะ จอมจักรพาฬใส่เกศา สะกดรอยตามพราหมณ์ไป ฯะ เดินลัดแลงเข้าต้นไม้ กลายเป็นพราหมณ์งามโสภา ฯะ จึ่งจรจรัลจากนั้นมา หมู่เสนาเห็นพร้อมกัน ฯะ กลับคืนมาดังใจหมาย ว่าใช่พราหมณ์เลยพระอา ฯะ ไชยวิขรรค์แน่แก่ตา ยายกับตาในสวนศรี ฯะ กลายกายาเป็นพราหมณ์ชี ครั้นถึงที่กลับองค์พลัน ฯะ หน่อนเรนทรสูรเพียงโศกศัลย์ สั่งพลพลันเตรียมโยธา ฯะ ยังบ้านไร่ยายกับตา เมียข้ามาสู่วังใน ฯะ อันปรากฏแน่แก่ใจ มันใส่ไคล้ที่โทษา ฯะ ไม่ไต่ถามเจ้าเลยนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๐๓

ด่วนขับจากพารา ๏ ควรพี่จักไปรับ สาวสรรค์กานัลใน ๏ เราจักไปพงไพร พี่เลี้ยงทั้งซ้ายขวา ๏ เมื่อเจ้าคลอดลูกยา นางนมสนมใน ๏ สั่งว่าถ้าเจ็บครรภ์ มารดาจักจรดล ๏ จนให้เจ้าคลอดพลัน หากกูด่วนลินลา ๏ ตรัสพลางทางทรงเครื่อง เรียกหาชาวกานัล ๏ สาวใช้ท้าวชนนี กว่าเราจักกลับมา ๏ แล้วพระเสด็จคลาไคล โอรสพระทรงธรรม์ ๏ ขุนนางนาเสด็จไป ไปใกล้บ้านยายตา ๏ ท้าวพาแก่พี่เลี้ยง ใกล้ถึงนางเทวี ๏ พระองค์ปลอมเข้าไป ร้องเรียกยายกับตา ๏ นางมองตามช่องฝา โอรสยศไกร ๏ นางคิดแต่ในใจ ใครทูลไฉนนา ๏ ตายายฟังโองการ ถึงพระภูวไนย ๏ สองเฒ่าตกใจกลัว ตายายตกประหม่า

แก้วกัลยาน้อยพระทัย ฯะ เจ้างามสรรพคืนเวียงชัย จัดสรรไว้จงเร็วรา ฯะ รับอรทัยสู่พารา ต่างหูตาไม่ปลงใจ ฯะ ช่างเป็นหมาน่าอายใจ ช่างไม่รู้แต่สักคน ฯะ ให้จรจรัลทูลนุสนธิ์ ช่างนิ่งได้ไม่นาพา ฯะ ช่างเสกสรรใส่ลูกหมา เมียกลับมาได้เห็นกัน ฯะ เนตรชาเลืองแล้วผายผัน ของท่านท้าวราชมารดา ฯะ อยู่ปรางค์ศรีด้วยเถิดรา ดูตรวจตราฝูงกานัล ฯะ บัดเดีย๋ วใจสู่เกยพลัน ตามเสด็จท้าวบิดา ฯะ บัดเดีย๋ วใจถึงพฤกษา หยุดโยธาอยู่แต่ไกล ฯะ ค่อยรายเรียงตามไพรศรี เจ้าอยู่ด้วยยายกับตา ฯะ บัดเดีย๋ วใจถึงเคหา มารับข้าด้วยเป็นไร ฯะ เห็นราชามาแต่ไกล มาด้วยได้กับบิดา ฯะ เป็นฉันใดจึ่งออกมา รู้สึกน่ามาตามเรา ฯะ วิ่งลนลานกลับบัดใจ กราบลงไม่เจรจา ฯะ ตัวสั่นรัวคือตีปลา หน้าผาดเผือดทัง้ สองคน ฯะ

๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ๏ สมเด็จภูบาล พระโองการ ถามมาบัดดล


๒๐๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ไหนว่ายายตา มีหลานงามพ้น ข้าจึ่งจรดล จักมาขอไป ฯะ ๏ ยายตาฟังท้าว อกดิ้นระด่าว ขัดสนจนใจ จักว่าไม่มี กลัวตีเหลือใจ จักรับเล่าไซร้ ยายรักกัลยา ฯะ ๏ ตรัสจึ่งซ้าถาม แม้นจริงอย่าพราง ข้าเลยยายตา เอาตัวมาให้ ข้าไซร้เถิดรา ข้านี้ไม่ว่า ยายให้ขัดใจ ฯะ ๏ ตายายได้ฟัง โองการท้าวสั่ง ละลังวิ่งไป ขึ้นบนเคหา จึ่งว่าอรทัย แม่จงออกไป เฝ้าท้าวเร็วรา ฯะ ๏ นางว่าแก่ยาย มาละเมอละหมาย จักให้ไปหา ใครมาว่าไร เร่งให้เข้ามา นี่ใครเป็นข้า จักมาลากไป ฯะ ๏ ยายไปทูลท้าว ว่าข้านี้เล่า บ่ได้จักไป แม้นจักทังวล อนุสนธิ์สิ่งไร เชิญเสด็จคลาไคล ขึ้นไปเคหา ฯะ ๏ บัดนั้นยายเฒ่า ครั้นรับคาเจ้า วิ่งวางออกมา กราบบาทบอกไทย เจ้าไม่ลินลา ขอเชิญเจ้าฟ้า ไปเคหาพลัน ฯะ ๏ ฟังยายทูลมา ความรักกัลยา อุตส่าห์จรจรัล ไม่เคยขึ้นไป เรือนใครสักครั้ง ด้วยรักเมียขวัญ จาใจไคลคลา ฯะ ๏ พระเสด็จขึ้นไป บัดเดี๋ยวทันใจ ถึงในเคหา โอรสนี้ไซร้ ไปตามบิดา นางเห็นลูกยา โศการ่าไร ฯะ ๏ พิลำป ๏ ๏ โอ้พระลูกแก้ว บุญตัวเจ้าแล้ว ได้เห็นชนไนย แม่คิดอนิจจา เป็นหมาอายใจ ทั้งตัวแม่ไซร้ เนรเทศจากพารา ฯะ ๏ บุญพระลูกยา อุตส่าห์รอดมา ได้เห็นมารดร แม่คิดว่าตาย วอดวายม้วยมรณ์ ใจแม่อาวรณ์ ด้วยลูกเสน่หา ฯะ ๏ ฝ่ายพระภูมี ได้ฟังเทวี เจ้าร่าโศกา ตรัสอุ้มเมียรัก ใส่ตักราชา อย่าถือโทษา พี่เลยมารศรี ฯะ ๏ พี่ได้ทาผิด พะวงหลงคิด ไม่ถามคดี ฟังอีแพศยา เห็นว่าเป็นดี มันบอกแก่พี่ เมื่อพี่เข้ามา ฯะ ๏ มันเอาหมาพลัน ใส่พานผายผัน ไปด้วยเล่าหนา ยิ่งเห็นสุนัข ประจักษ์แก่ตา ใจพี่กลุ้มขึ้นมา จักฆ่าอรทัย ฯะ ๏ นี่ท้าวชนนี ว่ากล่าวคดี พี่คิดไหวได้ หาไม่แก้วพี่ น่าที่บรรลัย ด้วยท้าวชนไนย เจ้าไม่มรณา ฯะ ๏ พี่ขอเชิญเจ้า คืนวังดังเก่า เถิดเจ้าพี่อา ความโกรธโทษพี่ จงมีเมตตา พี่มาง้อหนา เชิญสู่บุรี ฯะ ๏ ไม่เห็นน้องยา เห็นแต่โอรสา กาพร้าชนนี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๐๕

หยุดยั้งพระทัย ไปครองบุรี เจ้าอดโทษพี่ ได้บุญน้องอา ฯะ ๏ นางฟังท้าวกล่าว พระวรนุชเจ้า ทูลฉลองราชา จักมารับน้อง ไปครองพารา ลูกคลอดเป็นหมา น่าสมเพชใจ ฯะ ๏ อับอายหน้าตา เสนีเสนา เยาะเย้ยไยไพ สาวศรีทั้งนั้น เยาะหยันภูวไนย จักพาเมียไป อายใจพระอา ฯะ ๏ เมื่อวันนี้ราช ไม่ทนข้าบาท ลัดลงปรางค์ศรี พระขรรค์ไล่ฟัน สนั่นไปมา นี่ท้าวมารดา หากเข้าขวางไว้ ฯะ ๏ แม้นสิ้นชีวี สมเด็จภูมี จักตามหาใคร ชมเจ็ดนารี ยินดีพระทัย ตัวน้องนี้ไซร้ ตายเสียทาเนา ฯะ ๏ อันน้องจักไป อายราชหฤทัย แก่เจ็ดนารี เพื่อวันตีรัน สนั่นปรางค์ศรี เจ็ดนางสรวลซี้ หัวเราะไปมา ฯะ ๏ จักรับน้องไป อายราชหฤทัย แก่เจ็ดกัลยา จงโปรดเกศี เมียนี้ขอลา แต่โอรสา เลี้ยงไว้เพื่อนองค์ ฯะ ๏ พระฟังกัลยา ร่าไรโศกา ชลเนตรโทรมองค์ เจ้าไม่เมตตา พี่ยาเสด็จดล พี่จักวายชนม์ ที่นี่แลนา ฯะ ๏ แม้นเจ้าเข้าไป พี่ฤๅจักไว้ อีใจริษยา จักฆ่าชีวิต อย่าติดเลยนา พี่จักไล่ฆ่า ให้ม้วยบรรลัย ฯะ ๏ จึ่งพระลูกยา กราบบาทมารดา น้าตาหลั่งไหล ขอเชิญชนนี สู่ที่วังใน แม่ไม่คลาไคล ท้าวไหม้มรณา ฯะ ๏ ได้โปรดเกศี ขอท้าวชนนี คืนวังเถิดรา ลูกอยู่คนเดียว เปล่าเปลี่ยววิญญา ถึงพระมารดา น้าตาหลั่งไหล ฯะ ๏ นางฟังลูกรัก อุ้มไว้ใส่ตัก รับขวัญหน่อไทย เมื่อประสูติแก้ว รู้แล้วเต็มใจ เสียงเจ้าร้องได้ สองคาลูกอา ฯะ ๏ ที่นั้นเงียบไป บัดเดี๋ยวทันใจ กลายเป็นลูกหมา เมียนี้จนใจ ยิ่งได้คณนา จักเถียงจักว่า พ้นจักวาที ฯะ ๏ พระฟังอรทัย แม่เจ้าเข้าไป ถึงในบุรี เจ้าคอยฟังดู โฉมตรูเทวี จักฆ่าชีวี ให้ม้วยตักษัย ฯะ ๏ มันทากัลยา พี่จักไล่ฆ่า จนม้วยบรรลัย พี่ไม่ไว้มัน อาธรรม์จัญไร ฆ่าเสียให้ได้ นุชอย่าสงสัย ฯะ ๏ นางฟังภูวไนย ค่อยอ่อนพระทัย ด้วยพระลูกยา พอดีพอร้าย เมียไม่ลินลา คิดถึงโอรสา กาพร้าชนนี ฯะ ๏ เกิดมาลาบาก ได้ทุกข์ได้ยาก จาจากชนนี เขาเอาไปทิ้ง กลิ้งอยู่เอกี กับกลางธรณี แม่นี้ใจหาย ฯะ ๏ เดชะบุญเจ้า พระสงฆ์ได้เล่า เจ้ารอดความตาย


๒๐๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

หาไม่โฉมยง ชีพปลงด้วยดาย แม่คิดใจหาย ลูกน้อยแม่อา ฯะ ๏ กุมารทูลเล่า ข้าบาทพุทธเจ้า หลงเล่นวัดวา เป็นวันสงกรานต์ สาราญนักหนา ตัวข้าลงมา นั่งเล่นอาราม ฯะ ๏ ลูกระเริงใจ หยิบเอาถ่านไฟ เขียนช้างสามหาง ตารวจวิ่งไป จับได้ไม่วาง ว่าจะเอาช้าง ที่ข้าเขียนพลัน ฯะ ๏ มิได้ช้างมา จักฆ่าชีวา จนม้วยอาสัญ พระสงฆ์ช่วยผัด นัดได้เจ็ดวัน แม้นพ้นกว่านั้น จักฆ่าให้มรณา ฯะ ๏ ลูกเซซังไป หาช้างในไพร ไม่ได้เลยนา ลูกเพียงบรรลัย ที่ในพงป่า นี่ท้าวไอยกา จึ่งช่วยบัดดล ฯะ ๏ ทีนั้นโกสีย์ ให้คชคีรี ลูกนี้ลงมา สั่งว่าอย่าให้ ลงในพารา เมืองท้าวมารดา จะจมล่มไป ฯะ ๏ ลูกขี่ช้างมา เรียกให้เสนา มารับคชไกร ใครไม่รับเอา ว่าท้าวสั่งไป หาใครรับไม่ จะเอาไอยรา ฯะ ๏ บิดาร้องไป ว่าหาสั่งไม่ ช้างอย่างนี้หนา ลูกทรงช้างนั้น คืนให้เจ้าตา ลูกนี้จึ่งมา อยู่ด้วยอาจารย์ ฯะ ๏ ฟังโอรสทูล พระทัยเฉียวฉุน ยิ่งอย่างไฟกัลย์ จริงแล้วโฉมยง เจ้าทรงคชสาร มาแต่หิมพานต์ เรียกอยู่อลวน ฯะ ๏ บิดาออกไป เห็นช้างคชไกร เพียงจักวายชนม์ ถามหาตัวใคร ไม่ได้สักคน มันหนีซุกซน ไปอยู่หนใด ฯะ ๏ บิดาจึ่งว่า อันตัวของข้า ได้สั่งเมื่อไร บัดนี้เจ้าหาย คลับคล้ายหายไป เนื้อความนีไ้ ซร้ บ่ได้แจ้งการ ฯะ ๏ แม้นว่ากลับไป เนื้อความนี้ไซร้ จักสืบตัวการ ว่าใครสั่งให้ ไปเอาคชสาร เอาตัวคนพาล ฆ่าให้มรณา ฯะ ๏ นางจึ่งทูลเล่า เมื่อแรกพุทธเจ้า เข้าในพารา เมียนี้ไม่รู้ ศัตรูมารยา มันมาสอนข้า ให้ทาทุกอัน ฯะ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๐๗

บทปริวรรต: หน้ำต้นหนังสือนำงอ้น เล่ม ๒ จังหวัดตรำด ท่านผู้ใดจะมาขอยืมหนังสือไปอ่าน เอ็นดูด้วยเถิด อย่าให้น้ามั นหกถูกสมุด อย่าให้น้ามาถูก สมุดเลย ถ้ายับกลับมา เจ้าของเสียใจนัก ถ้าไม่มีอันตรายเจ้าของก็ดีใจ อยากจะให้อ่านเป็นกุศลแก่ข้าเจ้าผู้เขียน ต่อกันสืบไปนั้นเถิด ว่าแต่คนไม่มีอัชฌาศัยนั้นดอก ที่ท่านคนดีนั้นไม่ว่าเลยนะท่านเอ๋ย มิใช่จะว่าเล่นเลย เขียน กวาจะได้จบเล่มนี้ยากนักหนา เจ็บหลังเต็มทีหนา ท่านผู้อ่านเอ๋ย อย่าได้นอนอ่านเลย บาปไม่ดีดอกจะบอกให้ เข้าใจ ๏ สุรำงคนำงค์๔๙ ๏ สิ้นทั้งวัดอาราม พระสังฆราช ร่ารักนักหนา ว่าพระโฉมงาม เจ้าไปให้ได้ ช้างใหญ่ดังความปรารถนา โฉมงามอาลาพ่ออา พระสงฆ์ทั้งนั้น ร่าไรโศกศัลย์ สิ้นทั้งวัดวา ตาเถรยายชี โศกีนักหนา เจ้าไปให้ (ได้มา) สาเร็จดังน้าใจ เจ้ากราบลาแล้ว พระทัยผ่องแผ้ว ลินลาคลาไคล เข้าดงพงป่า น้าตาหลั่งไหล วิบากสิ่งไร อย่างนี้อกอา กูหัดเขียนเล่น ขอได้พบเห็น ช้างอย่างไรหนา จักเอาอย่างนี้ เห็นแสนเวทนา ช้างอย่างนี้ (หนา) ที่ไหนจักมี เดชะบุญข้า พบช้างในป่า เข้าเถื่อนอย่างนี้ เป็นตายจักได้ ขอไปบุรี ให้ท่านโดยดี จักพ้นความตาย เจ้าทรงโศกี เข้าในพงพี องค์เดียวเอกา ครั้นค่าภูธร ขึ้นนอนปลายไม้ เช้าเล่าไซร้ เจ้าเดินในดง แต่เจ้าลีนลา แม้นจักพรรณนา ห้าวันโดยจง เรี่ยวแรงภูธร อ่อนไปทั้งองค์ พ้นที่จักทรง ดารงกายา นั่งลงร้องไห้ ราลึกตรึกไป ถึงพระสังฆราช (เจ้า) พระคุณเอย ช่วยลูกด้วยรา เห็นว่าตัวข้า จักม้วยอาสัญ แม้นว่ากูตาย พระสงฆ์ทั้งหลาย ที่รับไว้นั้น พลอยต้องโทษทัณฑ์ จักม้วยอาสัญ เป็นกรรมตามทัน แก่ข้าฤาไฉน เดชะความสัตย์ ข้าได้ปรนนิบัติ พระมาเลอไตร อย่าให้ตัวข้า ถึงชีวาลัย หาช้างไม่ได้ จักคืนวัดวา แม้ตัวข้าตาย ม้วยมอดวอดวาย ตามแต่เวรา อย่าได้ร้อนองค์ พระสงฆ์เลยหนา สุดแต่ตัวข้า ก้มหน้า (ลง) ตาย ๔๙

ต้นฉบับไม่ได้บอกไว้ เป็นแต่ผู้ปริวรรตเห็นว่าเป็นการแต่งเป็นกาพย์สุรางคนางค์ เนื่องจากในเนื้อหาถัดไปจะระบุไว้ เสมอว่าเป็นกาพย์ชนิดใด


๒๐๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ไปได้เจ็ดวัน ถ้วนผัดวันนั้น กาลังอ่อนไป เดินไปไม่รอด ทอดองค์ภูวนัย (ไม่ปรากฏวรรคนี้) อ่อนไปทั้งองค์ กล่าวถึงนางอ้น อันอยู่เมืองบน ฟากฟ้าโดยจง จึงเล็งทิพย์ญาณ เห็นหลานเอ้องค์ นี่บุตรโฉมยง ไชวีขันกัลยา แม่ลูกได้ยาก พลัดกันลาบาก ยากเย็นนักหนา บุญท้าวโกสีย์ จงได้เมตตา โอรสกัลยา ไชวีขันเทวี พลัดแม่พลัดลูก คนมันดูถูก ปองฆ่าปองตี บัดนี้นัดดา เอกาจรลี จักม้วยชีวี ที่ต้นพฤกษา โกสีย์ได้ฟัง นางนาฏร้อยชั่ง เจ้าทูลกิจจา โองการสั่งพลัน วิษณุกรรม์เร็วร่า เร่งเปลี่ยนกายา ทั้งมาตุลี ท่านจรจรัล เหาะลงไปพลัน ที่ในพงพี กุมารนอนอยู่ เอ็นดูมากมี จักสิ้นชีวี ที่ป่าไพรสัณฑ์ ทาเป็นนกน้อย สองตัวคาบอ้อย กรอยบินผันผาย จบลงที่เจ้า นั่นเล่าด้วยพลัน กลัวยอ้อยทั้งนั้น ทาตกลงไป ให้พระกุมาร เจ้ารับประทาน ไม่ม้วยบรรลัย เร่งเร็วอย่าช้า ท่านจงลงไป กุมารนั้นไซร้ อ่อนไปนักหนา พระ (มา) ตุลี รับสั่งโกสีย์ อินทร์เจ้าโลกา กับเวสสุกรรม์ ผันผายเหาะมา ทาแปลงกายา เป็นนกบัดใจ สองตัวน้อยน้อย ตัวหนึ่งคาบอ้อย คาบกล้วยบินไป จักถึงพฤกษา ตรงหน้าท้าวไท ทาให้ตกไป ใกล้กุมารา เจ้าเห็นกล้วยอ้อย ตกลงผอยผอย ดีใจนักหนา อดส่าห์๕๐ยื่นหัตถ์ กระบัดหยิบมา เสวยเป็นภักษา ค่อยมาชื่นใจ เจ้าค่อยมีแรง พระทัยค่อยแข็ง ทรงกาลังได้ คิดขึ้นมาเล่า เร่งเศร้าพระทัย ได้เจ็ดเวลัย๕๑ วันนี้แลหนา ถึงผัดวันนี้ สงสารพระชี สิ้นทั้งวัดวา ป่านนี้จักคอย ข้าน้อยแลหนา เป็นตัวตายข้า จาจะกลับไป ค่อยมีแรงแล้ว กูจักคลาดแคล้ว ตามกรรมเวลา อย่าให้สงฆาเจ้า ร้อนเร่าพระทัย จักเป็นเวรไป เมื่อสิ้นชีวา นางอ้นเทวี เห็นหลานโศกี จักม้วยมรณา เหาะลงมาพลัน ไม่ทันพริบตา อุ้มราชนัดดา พาไปเมืองสวรรค์ ๕๐ ๕๑

อดส่าห์ แผลงมาเป็นคาว่า อุตส่าห์ ในปัจจุบัน – ผู้ปริวรรต เวลัย แผลงมาจาก เวลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๐๙

ไถ่ถามถ้วนถี่ เพื่อได้จรลี มาในหิมวัน ทาเวรสิ่งใด จึ่งได้จรจรัล จึงบอกยายพลัน ให้แจ้งคดี ข้าบาทเขียนช้าง (ไม่ปรากฏวรรคนี้) ที่วางจุกชี (ไม่ปรากฏวรรคนี้) ชาววังบ่มี (ไม่ปรากฏวรรคนี้) เห็นข้าด้วยพลัน ว่าจักเอาช้าง ไม่ได้จักล้าง ให้ข้าอาสัญ บัดนี้ผัดมา ช้าได้เจ็ดวัน ถ้วนเข้าด้วยพลัน วันนี้แลหนา ข้าหาไม่ได้ จึงนั่งร้องไห้ เสียดายชีวัน พระสงฆ์รับตัว กลัวจักมรณา วันนี้ตัวข้า จะกลับเข้าไป ให้เขาฆ่าฟัน กรรมมาตามทัน จักทาเป็นไฉน ช้างอย่างนี้ มีอยู่ (ที่) หนใด จักได้จับไป ให้เขาแลหนา นางอ้นฟังเจ้า ว่าพระขวัญข้าว เจ้าอย่าโศกา ยายจักให้ไป ดังใจจินดา ช้างเผือกโศภา งาดางอนงาม สามเศียรสามหาง เหมือนหนึ่งกับอย่าง เจ้าเขียนบวร แม้นเหาะลงไป ถึงในนคร (จง) อย่าบทจร สู่พื้นสุธา ช้างนี้หลานแก้ว แม้นเหาะไปแล้ว อย่าลงพารา เมืองจักล่มลง ที่ในคงคา ฝูงคนมรณา ไม่มาทานทน เจ้ารับภิปราย กราบบาทตายาย ผันผายจรดล เจ้าขึ้นทรงช้าง เหาะกลางเวหน กระบัดเดี๋ยวดล ถึงพระพารา ยืนบนอากาศ ร้องด้วยสิงหนาท เร่งเร็วออกมา ใครว่าจะเอาช้าง เผือกผู้ไอยรา สามเศียรเอามา งาดาสามหาง เหวยตารวจใน นิ่งอยู่ว่าไร ไม่รับเอาช้าง เราผัดเจ็ดวัน มันไม่ขัดขวาง เร่งมารับช้าง นิ่งอยู่ไยหนา เพลาวันนั้น นางไชวีขัน ผู้เป็นมารดา แต่งองค์เป็นพราหมณ์ งามยิ่งนักหนา มาเล่นสกา กับท้าวสามี ฝ่ายกุมาราช ร้องด้วยสิงหนาท อยู่กลางวิถี เป็นไรไม่มา เอาคชคีรี ผัดเจ็ดราตรี บัดนี้เอามา ๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ฝ่ายบิตุเรศ พอได้แจ้งเหตุ ว่าใครสั่งไป ให้เอาไอยรา นั้นมาเพื่อใคร ใครสั่งออกไป เมื่อไรเล่าหนา เสด็จออกเกยชัย ชาเลืองเนตรไป ดูช้างไอยรา กับองค์กุมาร งามปานเทวดา ตรัสถามเสนา ว่าใครสั่งออกไป ขุนหมื่นข้าหลวง เสนาทั้งปวง ตระหนกตกใจ เห็นพญาคชสาร สะท้านหวั่นไหว นี่ใครสั่งไป เมื่อไรเล่าหนา


๒๑๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บิตุเรศแลไป ดูช้างคชไกร สยองเกศา ดังเศียรจะแตก แยกจากกายา ตรัสมีวาจา ข้าสั่งเมื่อไร ดูราเทเวศ เอาคชเรศ มานี้เพื่อไร ช้างสามเศียรนี้ บ่มีของใคร ช้างอย่างนี้ไซร้ คู่ท้าวอินทรา ฝ่ายพระสังฆราช สงฆ์ทั้งอาวาส ชื่นชมหรรษา ดีเนื้อดีใจ เจ้าได้ช้างมา คนทั้งนั้นหนา ไม่รับสักคน ไอ้ตารวจใน วิ่งซุกไปใน ไม่เห็นหัวตน ช้างทรงภูธร จรถึงบัดดล ช้างม้าจุมพล ไปสู่เมืองสวรรค์ ไชวีขันกัลยา ชนะสกา แก่ท้าวผัวขวัญ ขนเอาเงินไป ให้ยายทุกวัน พระองค์ทรงธรรม์ แพ้ทุกเพลา อยู่วันหนึ่งเล่า พระ (สัง) ฆราชเจ้า เข้าไปเทศนา พระไชสุริยวงศ์ องค์กุมารา ได้ย่ามใส่บ่า ตามมาทุกวัน สมเด็จบิดา ตรัสฟังเทศนา พิศดูจอมขวัญ เกิดความรักใคร่ ยิ่งได้อนันต์ จึงตรัสด้วยพลัน แก่พระสังฆราช (า) ข้าจะขอถาม ถึงชื่อพระนาม เจ้ากุมารา เป็นบุตรของใคร พระคุณได้มา โยมรักหนักหนา จักขอท่านพลัน พิศดูพักตรา งามเหมือนชายา เจ้าไชวีขัน ที่เป็นเมียข้า ขัด๕๒เจ้าเสียพลัน เหตุผลใดนั้น ไม่แจ้งกิจจา เจ้าพราหมณ์มาเล่น เช้าเช้าเย็นเย็น เมื่อพิศพักตรา เหมือนหนึ่งกุมาร นั้นยิ่งนักหนา ยิ่งอย่างหนึ่งว่า เป็นญาติวงศ์กัน สังฆราชเล่าความ แก่พระโฉม (งาม) ตามวินัยธรรม์ เณรน้อยลงไป ที่ในสวนพลัน เห็นลูกอ่อนนั้น นอนอยู่เอกา นอนร้องหง่าแหง่ ไม่มีพ่อแม่ อาตมาเวทนา เอามาเลี้ยงไว้ ด้วยใจอนุกูล รูปจึงอุตส่าห์ สอนเจ้าทุกวัน ไตรเพทสิ่งไร ทั้งขอมทั้งไทย เจ้าได้ทุกอัน ใจเจ้าฉลาด สามารถขยัน ร่าเรียนทุกอัน อุตส่าห์รักษาตัว พระแสงสุริย์ฉาย ฟังความภิปราย แล้วยิ้มแย้มหัว พระคุณโปรดให้ ได้เลี้ยงไว้เพื่อนตัว ขอพระอยู่หัว โปรดโยมเถิดรา สังฆราชจนใจ จักขัดหนักไป กลัวเคืองอาญา จึงถามกุมาร ท่านขอแล้วหนา จักอยู่เป็นข้า เอาเถิดฤๅไฉน ชัยแสงสุริย์วงศ์ ได้ฟังดารง ในราชหฤทัย แม้นกูอยู่นี่ เห็นมิเป็นไร ไอ้ตารวจใน คุมเหงนักหนา ๕๒

น่าจะเป็น คล้าย มากกว่า – ผู้ปริวรรต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๑๑

กูอยู่ด้วยท่าน จักได้เห็นกัน ข้าหลวงถ้วนหน้า แม้นทาราชการ ภูบาลเมตตา จักได้ดูหน้า ของมันสืบไป คิดแล้วมิช้า กราบลงสามรา ว่าไปทันใด พระคุณไม่เลี้ยง เบี่ยงให้ท้าวไท หลานน้อยขอให้ ขัดใจเลยหนา ความทั้งนี้เล่า สุดแต่พระคุณเจ้า จักโปรดเกศา แม้นจักขายไป แห่งไรไรหนา ไม่ขัดอัชฌา พระคุณนี้เลย พระฟังถ้อยคา เจ้าฉลาดล้า แล้วอุ้มชมเชย เจ้าอยู่ด้วยข้า อย่ากลัวจนเลย จักให้เสวย สมบัติเวียงชัย บุตราไม่มี ความรักเจ้านี้ สิ้นสุดหฤทัย แสนสาวพระสนม อุดมวังใน จักจัดแจงให้ แก่เจ้าแลหนา อีกทั้งข้างหน้าไป ขุนนางน้อยใหญ่ จักได้ดาษดา จักเลี้ยงเป็นลูก ปลูกฝังพังงา ไม่เลี้ยงเป็นข้า เจ้าอย่าน้อยใจ ฝ่ายพระสังฆราช ไปไม่ขัดโอวาท แก่พระ (ภู) วนัย จึงยกย่อเจ้า ให้เล่าทันใจ มหาดเล็กนั้นไซร้ ตะพายย่ามตามมา พระสังฆราช จนถึงอาวาส เจ้าตามออกมา กราบลาพระสงฆ์ สิ้นทั้งอาราม ลางองค์โศกา ด้วยเจ้าเหลือใจ พระสงฆ์ว่าเล่า พระสังฆราช พาเข้าไปไย ให้เจ้านายเห็น ดังนี้เป็นไป ไม่ให้มันได้ ฤาไรเล่าหนา ตาเถรยายชี ร้องไห้ยู่ยี่ ด้วยเจ้านักหนา พอเข้าไปแล้ว คลาดแคล้วบางรา มาเล่นวัดวา บ้างราจอมขวัญ เจ้ารับคาสั่ง ลินลาเข้าวัง กระบัดด้วยพลัน มหาดเล็กงามงาม ตามเจ้าจรจรัล สังฆราชสงฆ์ทั้งนั้น ดีเนื้อดีใจ เจ้ามาบ่หึง๕๓ บัดเดียวลุถึง แทบวังภูวนัย ขึ้นเกยสุวรรณ บังคมท้าวไท บิตุเรศรักใคร่ ยิ่งแสนทวี ท้าวจัดพี่เลี้ยง ให้พระเนื้อเกลี้ยง ทั้งสี่ภูมี ลูกท้าวพระยา เก็บมามากมี เมืองขึ้นบุรี หมายให้ส่งมา พี่เลี้ยงข้างใน โฉมงามวิไล ดังไท้เทวา ข้าเฝ้าสาวสรร ทรงธรรม์จัดมา ให้โอรสา อเนกมากมี แล้วให้ทาขวัญ เจ็ดคืนเจ็ดวัน สนั่นบุรี สมโภชลูกเลี้ยง รักเพียงแสนทวี ไม่แจ้งคดี ว่าโอรสา บิดรมารดร รัก (องค์) ภูธร เท่ากับนัดดา สองเฒ่าไม่แจ้ง ชัยแสงพังงา คิดว่าลูกยา ขอมาเลี้ยงดู ๕๓

บ่หึง หมายถึง ไม่ช้า


๒๑๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ท้าวละเมอรัก ไม่แจ้งประจักษ์ ว่าหลานโฉมตรู อัยกาอัยกี มีความเอ็นดู ท้าวยังไม่รู้ ว่าเป็นนัดดา เช้าเย็นขึ้นเฝ้า เจ็ดนางนั้นเล่า ชะม้อยช้อยตา มันแค้นขัดใจ ยิ่งได้คณนา ลูกอีแพศยา สังฆราชเลี้ยงไว้ แต่วันนี้ไป ไม่ทาบุญให้ วัดนี้เลยหนา คิดแค้นแน่นใจ ยิ่งได้คณนา แล้วมาปรึกษา ความทุกข์แก่กัน พี่ศรีอาไพ จักคิดฉันใด ต่อไปจอมขวัญ ลูกอีขี้ข้า มันเข้ามาพลัน ฆ่าเสียวันนั้น มันไม่วอดวาย สืบไปเมื่อหน้า เห็นความนี้หนา จักเกิดอันตราย เห็นว่าชีวา เรานี้จักวาย ฆ่ามันไม่ตาย บัดนี้รอดมา นั่งทุกข์จุกเข่า อนาทรร้อนเร่า เศร้าใจนักหนา เจ้ากลัวชีวิต จึงปลิดมรณา ลูกอีขี้ข้า ไม่ม้วยบรรลัย ๏ เรื่องนี้ยกไว้ก่อน ๏๕๔ กล่าวถึงบังอร ไชวีขันอรไท ครั้นเวลาเช้า เจ้าจึงคลาไคล จักจรเข้าไป เล่นสกาด้วยภูมี นางรู้แยบคาย ว่าพระลูกชาย มาอยู่บุรี กูจะเข้าไป ได้เห็นโฉมศรี ลูกน้อยแม่นี้ สักปูนปานใคร คิดแล้วมิช้า จึงบอกยายตา ด้วยพลันทันใจ วันนี้ตัวข้า จักลินลาไป เที่ยวเล่นกรุงไกร สาราญกายา ตายายได้ฟัง หลานน้อยร้อยชั่ง เจ้าจักลินลา ยายตามใจเจ้า ไปเถิดหลานอา แม้นเย็นเวลา มาเคหาพลัน เจ้ารับคายาย ว่าแล้วผันผาย ลงจากเรือพลัน เจ้าค่อยลินลา มาตามไพรสัณฑ์ ครั้นถึงที่นั่น หยุดพลันทันใด เจ้าแปลงกายา เป็นพราหมณ์โศภา งามล้าอาไพ ถือพัดน้อยน้อย ค่อยเดินคลาไคล เจ้าเคยเข้าไป เล่นบาศก์สกา ครั้นถึงวังใน เจ้าพราหมณ์ขึ้นไป เกยแก้วรจนา จึงพระภูเบศร์ ทอดพระเนตรแลมา ชื่นชมหรรษา เชิญมาเร็วไว เจ้าพราหมณ์ได้ฟัง โองการท้าวสั่ง เข้ามาบัดใจ ถึงแท่นทองทรง กับองค์ภูวนัย นั่งด้วยท้าวไท แท่นแก้วรจนา ส่วนพระโอรส หน่อพระทรงยศ เสด็จด้วยบิดา ตั้งสกาพลัน ทอดกันไปมา ท้าวดูลูกยา กับพราหมณ์ครามครัน พระพักตร์พระเกศ เหมือนองค์อัครเรศ เมียรักจอมขวัญ ดูพักตร์ลูกยา ยังว่าเลือกสรร เหมือนพราหมณ์ครามครัน ดังสรรเอามา ๕๔

เครื่องหมายฟองมัน (๏) นี้ วางตามต้นฉบับเดิม – ผู้ปริวรรต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๑๓

ท้าวพิศวง สกาที่ทรง แพ้ไปทุกครา ครั้นเเพ้เจ้าพราหมณ์ ความแค้นนักหนา เรียกโอรสมา ให้แล่นแทนองค์ ฝ่ายกุมารา เข้าจับสกา แทนท้าวบิตุรงค์ เจ้าพราหมณ์แลดู โฉมตรูพิศวง นี่โอรสทรง แหมน่าเอ็นดู แต่เจ้าคลอดมา แม่เพิ่งเห็นหน้า พระทองโฉมตรู แล้วผินพักตร์มา สกาถืออยู่ ทอดกันลองดู ฤๅพระกุมาร ชัยแสงสุริยวงศ์ ทอดทิ้งบาศก์ลง ก่อนท้าวชนมาน๕๕ เป็นหกกับสาม ความแค้นใดจะปาน เจ้าพราหมณ์ทอดตาม ได้ทาเรือนใน ทอดกันไปมา ส่วนพระลูกยา แพ้ร่าส่าไป บิดาแค้นนัก ดังอัคคีไฟ ให้แกก็แพ้ไป ขัดใจ (เรา) นัก ส่วนพระลูกยา แต่แพ้หลายครา ดาลเดือดพระทัย เจ้าถ่มน้าลาย กระจายออกไป กลายกลับฉับไว เป็นสุวรรณมาลา ข้าวตอกดอกไม้ เรียบเรียงรายไป ถวายท้าวมารดา เจ้าพราหมณ์ขัดใจ ยิ่งได้คณนา กุมารนี้หนา หยาบช้าเหลือใจ เจ้าพราหมณ์โกรธา ถ่มเขโฬ๕๖มา มิช้าทันใด กลายเป็นของกิน มีสินเลอไตร แสนสาวนางใน เก็บกินอลวน ส่วนองค์ราชา เห็นกษัตรา พระทัยฉงน เจ้าพราหมณ์คนนี้ เห็นทีชอบกล เหมือนแก้วนิรมล พี่แสนแลหนา พักตราราศี เหมือนหนึ่งแก้วพี่ ไชวีขันกัลยา โอรสนี้เล่า ลูกเจ้ากระมังหนา เห็นลางนักหนา ไม่มาผิดกัน พระพักตร์เลิศล้า ดังจันทร์มณฑล อย่างพิมพ์เดียวกัน เขโฬถ่มเล่า สองเจ้าอัศจรรย์ เป็นต่างต่างกัน ดังนี้ดูฉงน แม้นเมื่อ (ถึง) เพลา เจ้าพราหมณ์ลินลา สู่ที่ตาบล จะให้อามาตย์ เยียรยาตรจรดล ตามดูนิรมล อยู่ที่หน (ใด) ๏ ยำนี ๏ ครั้นเย็นลงรอนรอน พราหมณ์น้อยจักไคลคลา ท้าวเรียกเงินทองมา พอลูกทั้งสององค์ เจ้าพราหมณ์ได้เงินแล้ว ๕๕ ๕๖

หมายถึง ชนนี คือ นางไชวีขัน (พราหมณ์) มาจาก เขฬะ หมายถึง น้าลาย

ทินกรจวนเวลา ขอทรัพย์ไปได้จานง ตามราชาต้องประสงค์ รับเงินส่งบ่มินาน จึงคลาดแคล้วจากสถาน


๒๑๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ลงจากเกยชัชวาล ส่วนองค์พระภูวนัย เจ้าพราหมณ์งามโศภา เมื่อดูกิริยา แล้วดูลูกสายใจ แล้วดูประหลาดนัก โอรสใจโกรธา กลับกลายเป็นมาลา เจ้าพราหมณ์ในรานรอน กลับเป็นโภชนา เห็นเป็นประหลาดสิ้น ตรัสบัดเดียวนั้น มหาดเล็กทั้งซ้ายขวา ที่อยู่เจ้าพราหมณ์เร่งเดินตามดู แม้นว่ารู้แจ้งใจ เสนารับโองการ มหาดเล็กพากันมา เจ้าพราหมณ์ไม่ได้แจ้ง ที่เคยแต่งตัวไป เจ้าแปลงตัวแล้วพลัน ขึ้นสู่เรือนยายตา เสนาเห็นเทวี กราบทูลพระทรงธรรม์ คือนางแจ่มจันทร์ อยู่ที่ในเคหา เมื่อเจ้าจักเข้ามา บุญญาเจ้ามากมี พระฟังเสนาทูล ยิ่งคิดถึงเมียขวัญ พรุ่งนี้เราจักไป ไปรับแก้วกัลยา อันนี้คือโอรส ดีร้ายมีเหตุใหญ่ พี่นี้คิดเบาความ

จึงนางคราญเจ้าลินลา ในพระทัยคิดจินดา จักว่าพราหมณ์จริงหรือไร ทั้งพักตราเหมือนอรไท ไม่เพี้ยนผิดสักนิดหนา สองทรามรักโกรธขึ้นมา ถ่มน้าลายกระจายจร เครื่องสมาท้าวมารดร ถ่มน้าลายโดยถวิล เห็นเป็นว่าดังให้กิน โดยถวิลจินตนา เร่งเร็วพลันหมู่เสนา เร็วอย่าช้าจงตามไป แม้ว่ารู้แจ้งแล้วออกไป อย่าว่าไรเร่งกลับมา จอมจักรวาฬใส่เกศา สะกดรอยตามพราหมณ์ไป เดินลัดแหล่งเข้าไพรใต้ต้นไม้ กลายจากพราหมณ์โศภา จึงจรจัลจากที่นั้นมา หมู่เสนาเห็นพร้อมกัน จึงจรลีกลับมาพลัน ว่าใช่พราหมณ์พระราชา ไชวีขันแน่แก่ตา ยายกับตาในสวนศรี แปลงกายาเป็นพราหมณ์ชี ครั้นถึงที่กลับองค์พลัน นเรนทรสูรเพียงโศกศัลย์ ตรัสสั่งพลันเตรียมโยธา ยังบ้านไร่ยายกับตา เมียรักเข้าสู่วังใน เห็นปรากฏแน่แก่ใจ มันใส่โทสา ไม่ถามไถ่เจ้าเลยหนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๑๕

ควรขับเจ้าจากพารา ควรพี่จักไปรับ สาวสรรกานัลใน เราจักไปพงไพร พี่เลี้ยงทั้งซ้ายขวา เจ้าคลอดลูกยา นางนมสนมใน สั่งว่าถ้าเจ็บไข้ครรภ์ มารดาจักจรดล จนให้เจ้าคลอดพลัน ออกลูกเป็นหมา ตรัสพลางทางทรงเครื่อง เรียกหาชาวกานัล สาวใช้ท้าวชนนี กว่าเราจัก (กลับ) มา แล้วพระเสด็จคลาไคล โอรสพระทรงธรรม์ ขุนนางนาเสด็จไป ไปใกล้บ้านยายกับตา ท้าวมาแต่พี่เลี้ยง ใกล้ถึงนางทรามวัย พระองค์ปลอมเข้าไป ร้องเรียกกับยายตา นางมองตามช่องฝา โอรสยศไกร นางคิดแต่ในใจ ใครทูลฉันใดหนา ตายายฟังโองการ ถึงองค์พระภูวนัย สองท้าวตกใจกลัว ตายายตกประหม่า

แก้วกัลยาอย่าน้อยพระทัย เจ้างามสรรพคืนเวียงชัย จัดสรรไว้จงเร็วรา รับอรทัยสู่พารา ต่างหูตาไม่ปลงใจ ช่างเป็นหมาน่าอายใจ ช่างไม่รู้สัน (ดาน) คน ให้จรจรัลทูลนุสนธิ ช่างนิ่งได้ไม่นาพา ช่างเสกสรรค์ใส่ความว่า เมื่อกลับมาได้เห็นกัน เนตรชาเลืองแล้วผายผัน ของท่านท้าวมารดา อยู่ปรางค์ศรีด้วยเถิดรา ดูตรวจตราฝูงกานัล บัดเดีย๋ วใจสู่เกยพลัน ตามเสด็จพระบิดา บัดเดีย๋ วใจถึงพฤกษา หยุดโยธาอยู่แต่ไกล คอยรายเรียงมาในไพร ที่อาศัยบ้านยายตา บัดเดีย๋ วใจถึงเคหา มารับข้าด้วยเป็นไร เห็นราชามาแต่ไกล มาด้วยได้กับบิดา เป็นฉันใดจึงออกมา จึงรู้สึกมาตามเรา วิ่งลนลานกระบัดใจ กราบลงได้ไม่เจรจา ตัวสั่นรัวคือตีปลา หน้าฝาดเฝื่อนทั้งสองคน

๏ สุรำงคนำงค์ ๏ สมเด็จภูบาล มีพระโองการ ถามไปบัดดล


๒๑๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ไหนว่าตายาย มีหลานงามพ้น ข้าจึงจรดล มาจักขอไป ตายายฟังท้าว อกดิ้นกระเด่า ขัดสนจนใจ จักว่าไม่มี กลัวที่เหลือใจ จักรับเล่าไซร้ ยายรักกัลยา ตรัสสาถามไป จริงฤาหาไม่ ยายบอกข้ารา เอาตัวมาให้ ข้าเถิดยายอา ข้าไม่ได้ว่า ตายายขัดใจ ตายายได้ฟัง โองการท้าวสั่ง ล้าลังวิ่งไป ขึ้นบนเคหา จึงว่าอรไท แม่จงออกไป เฝ้าท้าวเร็วราว นางว่าแก่ยาย ละเมอละม้าย จักให้ไปหา ใครมาว่าไร เร่งให้เขามา นี่ใครเป็นข้า จักมาลากไป ยายไปทูลท้าว ว่าข้านี้เล่า บ่ได้คลาไคล แม้นตรัสทาวน ขัดสนสิ่งไร เชิญเสด็จภูวนัย ขึ้นไปเคหา บัดนั้นยายเฒ่า ได้รับคาเจ้า วิ่งวางออกมา ข้าบาทบอกให้ เจ้าไม่ลินลา ขอเชิญเจ้าฟ้า ขึ้นเคหาพลัน ฟังยายทูลมา จึงพระราชา ลินลาผายผัน ด้วยองค์ทรงธรรม์ ความรักเมียขวัญ จึงพระทรงธรรม์ จาใจไคลคลา พระเสด็จขึ้นไป บัดเดี๋ยวทันใจ ถึงในเคหา โอรสนั้นไซร้ ไปด้วยบิดา นางเห็นลูกยา โศการ่าไร ๏ พิลำป ๏ โอ้พระลูกแก้ว บุญตัวเจ้าแล้ว ได้เห็นชนละไนย๕๗ แม่คิดอนิจจา เป็นอายแก่ใจ ทั้งตัวแม่ไซร้ แทบจักม้วยมรณ์ (เป็น) บุญพระลูก อุตส่าห์รอดมา ได้เห็นชนมาน แม่คิดว่าตาย วอดวายสังขาร ใจแม่อาวรณ์ ด้วยลูกเสน่หา ฝ่ายพระภูมี ได้ฟังเทวี เจ้าร่าโศกา ตรัสอุ้มเมียรัก ใส่ตักราชา อย่าถือโทษา พี่เลยมารศรี พี่ได้ทาผิด พะวงหลงคิด ไม่ถามคดี ฟังอีแพศยา เห็นว่าเป็นดี มันบอกแก่พี่ มือเหนี่ยวเข้ามา มันเอาหมานั้น ใส่พานผายผัน ไปด้วยเล่าหนา ยิ่งเห็นสุนัข ประจักษ์แก่ตา ใจพี่คลุ้มกล้า จักฆ่าอรไท นี่ท้าวชนนี ว่ากล่าวคดี พี่คิดไว้ได้ หาไม่แก้วพี่ ชีวีบรรลัย ด้วยท้าวชนนี เจ้าไม่มรณา พี่ขอเชิญเจ้า คืนวังยังเก่า เถิดเจ้าพี่อา ๕๗

เข้าใจว่ามาจาก ชนนี – ผู้ปริวรรต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๑๗

ความโกรธโทษพี่ จงมีเมตตา พี่มาง้อเจ้า เชิญคืนบุรี ไม่เห็นพี่ยา เห็นโอรสา กาพร้าชนนี หยุดยั้งพระทัย ไปครองบุรี เจ้างดโทษพี่ เกิดหนาน้องอา นางฟังท้าวกล่าว พระอรนุชเจ้า ทูลฉลองราชา จักรับน้องไป ครองพระพารา ลูกคลอดเป็นหมา น่าสมเพชใจ อับอายหน้าตา เสนีเสนา เยาะเย้ยไยไพ สาวศรีเมียขวัญ เยาะเย้ยภูวนัย จักพาเมียไป อายใจพระอา เมื่อวันนิราศ ไม่ทันข้าบาท จะลงจากปรางค์ พระขรรค์ไล่ฟัน สนั่นไปมา นี่ท้าวมารดา หากว่าขวางไว้ แม้นสิ้นชีวี สมเด็จภูมี จักตามหาใคร สมเด็จนางมารศรี ยินดีพระทัย ตัวน้องนี้ไซร้ ตามม้วยชีวี อันน้องจักไป อายแก่อรไท ทั้งเจ็ดนารี เมื่อวันไล่ฟัน สนั่นบุรี เจ็ดนางสรวลศรี หัวเราะไปมา จักรับน้องไป อายราชหฤทัย แก่เจ็ดกัลยา จงโปรดเกศี เมียขวัญขอลา แต่โอรสา เลี้ยงไว้เพื่อน้อง พระฟังชายา ร่าไรโศกา ชลนาไหลลง เจ้าไม่เมตตา ชีวาบ่คง พี่จักม้วยลง ที่นี้แลหนา แม้นเจ้าเข้าไป พี่ฤาจะไว้ อีใจริษยา จักผลาญชีวิต อย่าคิดเลยหนา พี่จักไล่ฆ่า ให้ม้วยบรรลัย จึงพระลูกยา กราบบาทมารดา น้าตาหลั่งไหล ขอเชิญชนนี คืนวังเถิดรา ลูกอยู่คนเดียว เปล่าเปลี่ยววิญญาณ์ คิดถึงมารดา น้าตาหลั่งไหล๕๘ นางฟังลูกรัก อุ้มไว้ใส่ตัก รับขวัญอรไท เมื่อประสูติแก้ว รู้แล้วเต็มใจ เสียงเจ้าร้องไห้ สองคาลูกอา ทีนั้นเงียบไป บัดเดีย๋ วทันใจ กลายเป็นลูกหมา เมียนี้จนใจ ยิ่งได้คณนา จักเถียงเขามา พ้นที่จักพาที พระฟังอรทัย แม้นเจ้าเข้าไป ถึงในบุรี เจ้าคอยฟังดู โฉมตรูเทวี จักฆ่าชีวี ให้ม้วยบรรลัย พี่ไม่ไว้มัน อาธรรม์จัญไร ฆ่าเสียให้ได้ นุชอย่าโศกา (ไม่ปรากฏวรรคนี้) (ไม่ปรากฏวรรคนี้) (ไม่ปรากฏวรรคนี้) นางฟังภูวไนย ค่อยอ่อนพระทัย ด้วยพระลูกยา พอดีพอร้าย เมียลีนลินลา คิด (หวั่น) โอรสา กาพร้าชนนี ๕๘

บทนี้จะยาวกว่าบทอื่น เพราะเป็นสุรางคนางค์ ๓๒ ที่ปนเข้ามา


๒๑๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เกิดมาลาบาง ได้ทุกข์ได้ยาก จาจากชนนี เขาเอาไปทิ้ง กลิ้งอยู่เอกา อยู่กลางธรณี เมียนี้ใจหาย เดชะบุญเจ้า พระสงฆ์โดยเล่า เจ้าจึงรอดความตาย หาไม่โฉมยง ชีพปลงชีวาเดียวดาย แม่นี้ใจหาย ลูกน้อยแม่อา กุมารทูลเล่า ข้าพระพุทธิเจ้า ลงเล่นวัดวา เป็นวันอังคาร สาราญนักหนา ตัวข้าลงมา นั่งเล่นสาราญ ลูกนี้คิดในใจ หยิบเอาถ่านไฟ มาเขียนคชสาร ตารวจวิ่งไป จับลูกไม่นาน จักเอาคชสาร ที่เขียนด้วยพลัน มิได้ช้างมา จะฆ่าชีวา ให้ม้วยอาสัญ พระสงฆ์ช่วยผลัด นัดไว้เจ็ดวัน แม้นพ้นกว่านั้น จะฆ่าชีวี ลูกเซซังไป หาช้างไม่ได้ ในไพรพนาลี ลูกเพียงบรรลัย ที่ในพงพี เพราะท้าวอัยกี จึงรอดชีวา ที่นั่นโกสีย์ ให้คชคีรี ลูกขอลงมา สั่งว่าอย่าให้ ลงในพารา เมืองท้าวบิดา จะล่มจมไป ลูกขี่ช้างมา เรียกให้เสนา มารับคชไกร ต่างคนต่างนิ่ง ลูกจึงร้องไป หาใครรับไม่ ว่าจะเอาไอยรา บิดาร้องไป หาได้สั่งไม่ ช้างอย่างนี้หนา ลูกส่งช้างนั้น คืนให้เจ้าตา ลูกจึงกลับมา อยู่ด้วยอาจารย์ ฟังโอรสทูล พระทัยฉุนเฉียว ยิ่งอย่างไฟกัลป์ จึงเล่าโฉมฉาย เจ้าทรงคชสาร มาแต่หิมพานต์ เรียกอยู่อลวน บิดาออกไป เห็นช้างคชไกร เพียงจักวายชนม์ ถาม (หา) ตัวใคร ไม่ได้สักคน มันหนีซุกซน ไปอยู่หนใด บิดาจึงว่า อันตัวของข้า ได้สั่งเมื่อไร บัดเดีย๋ วเจ้าหาย คล้ายคลับกลับไป เนื้อความนี้ไซร้ จะสืบต่อกัน ว่าใครสั่งให้ ไปเอาคชสาร เอาตัวคนพาล ฆ่าให้มรณา นางจึงทูลเล่า เมื่อข้าพุทธิเจ้า เข้าสู่พารา เมียนี้ไม่รู้ ศัตรูมายา มันมาสอนข้า ให้ทาทุกอัน จงโปรดเกศา (ไม่ปรากฏวรรคนี้) (ไม่ปรากฏวรรคนี้) หาไม่ชีวัน เมียจักเป็นผี พระจึงตรัสเล่า พี่แจ้งว่าเจ้า โง่เง่ามากมี จะถามเจ้าดู ให้รู้คดี แล้วพระภูวไนย มิได้วาจา เป็นกรรมจอมขวัญ ให้พี่อัดอั้น ไปเสียน้องอา จนคลอดโอรส ปรากฏฤทธา มันยิ่งใดหนา กระทาย้าไป นี่ว่าบุญเจ้า หาไม่ขวัญข้าว พ่อม้วยบรรลัย มันจักตามฆ่า ชีวาบรรลัย แม้นหาบุญไม่ ตายแล้วลูกอา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๑๙

นี่ท้าวอัยกา มาช่วยปราณี๕๙ มาเราเข้าไป ถึงพระเวียงชัย ฆ่าให้เป็นผี ไม่ไว้ชีวิต มันคิดกาลี เชิญพระมารศรี คืนสู่พารา นางฟังโองการ ของพระภูบาล ค่อยอ่อนวิญญาณ์ เจ้าค่อยคลายใจ ด้วยพระลูกยา จึงจักลินลา เข้าสู่บุรี แล้วตากับยาย เล้าโลมโฉมฉาย แม่จึงจรลี อย่าขัดโองการ ท่านผ่านบุรี จงรักภักดี แม่จงคลาไคล แม่ฟังยายว่า สืบไปวันหน้า จักพึ่งบุญไป ตายายสองศรี ฝากผีอรไท แม่จงเข้าไป ด้วยท้าวเถิดรา นางฟังยายว่า พระอรชายา ค่อยอ่อนพระทัย ว่าข้าจักจร นครเวียงชัย ตายายข้าไหว้ ค่อยอยู่จงดี ตายายรับคา แล้วร้องไห้ร่า รักนางเทวี แม้นแม่เข้าไป อยู่ในบุรี ทุกข์ร้อนใดมี ยายตาจักไป นางรับวาจา ของยายกับตา แล้วเสด็จคลาไคล พระองค์จึงสั่ง มหาชาววังมหาดไทย เร่งเชิญรถไป สาหรับกัลยา ขอเฝ้าสาวศรี โขลนจามากมี แม่นมซ้ายฃวา เครื่องสูงนารถ ปรากฏเลขา สาหรับกัลยา องค์พระมเหสี เสนารับสั่ง วิ่งมาลาลัง เตรียมมะรถมณี แตรสังข์ฆ้องกลอง กึกก้องพงพี แสนสาวนารี มากมีดาษดา เชิญรถประทับ พระสนมอังดาบ รับเสด็จกัลยา ตายายทั้งสอง นั่งร้องโสกา ร่าไรไปมา รักออระเทวี ลางนางเข้ามา ถวายพระภูษา ให้พระมารศรี บ้างถวายเครื่องต้น สุคนธอันดี บ้างถวายพระสี ให้ออระฉายา นางทรงเครื่องแล้ว ลีนลาคลาดแคล้ว ตามเสด็จราชา ทรงรถมนี สาวศรีดาษดา แห่ห้อมล้อมมา ตามท้าวผัวขวัญ ส่วนพระลูกยา ทรงคชสารกล้า นาเสด็จผายผัน สมเด็จบิดา ท้าวมาจรจรัล รถแก้วสุวรรณ กับองค์มเหสี แตรสังข์ฆ้องกลอง พิลึกกึกก้อง มาในพงพี แสนสาวซ้ายขวา ตามมามากมี เครื่องรถสูงพัชนี นารถบทจร ปี่พาทย์มโหรี ขับกล่อมมากมี มาในดงดอน เมื่อยกพลละกลับ รับนางสายสมร เข้าสู่นคร ของพระราชา ๕๙

บทนี้เกินจานวนของสุรางคนางค์ ๓๒ มาอีก ๑ วรรค เข้าใจว่าผู้ประพันธ์อาจไม่เคร่งครัด หรือเป็นความผิดพลาด ของผู้คัดลอกในชั้นหลัง – ผู้ปริวรรต


๒๒๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ช้างม้าอึงคะนึง วันเดียวลุถึง กรุงไกรเคหา ท้าวรับมเหสี สู่ที่พารา เจ็ดนางอย่างว่า อกจะแยกแตกตาย ครั้นถึงบุรี จึงพระภูมี คืนเคยพรรณราย ท้าวชวนเมียแก้ว คลาดแคล้วผายผัน สู่แท่นพรรณราย สาราญวิญญา จึงชวนเมียขวัญ ลีลาผายผัน ขี้นเฝ้ามารดา ทั้งพระโอรส ปรากฏรี้ธา นางนาฏยาตรา ตามท้าวผัวขวัญ ครั้นถึงปรางค์บาท สองกษัตริย์ลีนลาศ สู่แทนสุวรรณ อ่อนโอนเกศเกล้า เจ้าอภิวันท์ มารดารับขวัญ เจ้ามาแม่มา นางก้มเกสี กราบบาทชนนี เจ้าแสนโสกา บิดาตุเรศตรัสถาม ตามความสงกา คลอดลูกเป็นหมา พามาว่าไฉน อนิจจาโอรส ชั่วช้าสาหัส ไม่ได้ไถ่ถาม ฟังอีกาลี มันมาทูลไขย ควรขับอรทัย ไปจากปรางค์สวรรค์ นี่คิดไฉน จึงตามติดไป แม่ร่าร้องไห้ ทุกวันเวลา แม่ให้ไปตาม นางงามฉายา ไม่พบเลยหนา แม่มาโสกา กูมารนี่หนา ลูกใครได้มา จากวัดพระชี เป็นลูกของใคร ว่าไปจงดี ขอฟังวาที แม่นี้แจ้งใจ นางจึงทูลเล่า เมื่อข้าพุทธิเจ้า เจ็บครรภ์ปรางค์ใน ลูกสั่งสาวสี่ บัดนี้จงไป ทูลท้าวชลไนย เชิญเสด็จลงมา ลูกเตือนหลายครั้ง มันทาผินหลัง ไม่รับวาจา เจ็ดนางนั้นเล่า ทาวิ่งเข้ามา เอาผ้าคาดตา ข้าบาททันใจ เมื่อพระลูกแก้ว เจ้าคลอดมาแล้ว ได้ยินแน่ใจ เสียงร้องสองคา นั้นกลับหายไป ลูกนี้สงสัย ใช่พ้นคณนา จักทูลภูมี จักฆ่าจะตี ลูกนี้เล่าหนา เจ็ดนางทูลส่า ท้าวร่าโกรธา พระจะฆ่าให้ ม้วยวอดวาย นี่หากชนนี ได้ช่วยชีวา รอดจากความตาย แม้นลูกอยู่ปรางค์ เห็นทางวอดวาย ท้าวฆ่าลูกตาย ด้วยเจ็ดกัลยา ปิตุเรศฟังไป โองการตรัสให้ หาสี่เชษฐา พี่เลี้ยงของเจ้า นั้นให้เข้ามา จักพิจารณา เอาตัวคนพาล เฒ่าแก่รับสั่ง คลานจากพระที่นั่ง วิ่งล้มซมซาน ถึงพระโรงไชย ออกไปมินาน มีพระโองการ หาสี่เชษฐา องค์พระพี่เลี้ยง ของพระเนื้อเกลี้ยง บัดนี้เร็วรา โองการผ่านเกล้า ท่านท้าวบิดา เร่งเร็วอย่าช้า บัดนี้จงไว เสนาเสนี ได้ฟังคดี จรลีคลาไคล ถึงบ้านพี่เลี้ยง รายเรียงเข้าไป ถึงนั่งลงไว แล้วกล่าวคดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๒๑

ว่ามีโองการ ของพระภูบาล เจ้ากรุงธานี ปิตุเรศพระองค์ ทรงพระธรณี ให้หาภูมี สี่ท้าวคลาไคล ๏ สุรำงคนำงค์ ๏ สี่ท้าวถามว่า เหตุฉันใดหนา ให้หาเราไย พระองค์ทรงฤทธิ์ ทาผิดสิ่งไร รับสั่งจึงให้ หาเราเชษฐา ตารวจว่าไป ไม่แจ้งไฉน สักกึ่งเกษา เฒ่าแก่มาสั่ง ลาลังวิ่งมา ขอทราบบาทา เชิญคุณคลาไคล สีวิใชกษัตรา อาไพวงษา นุเชษฐ์ฤทธิไกร อาใพรภักดี สี่ท้าวคลาไคล บัดเดี๋ยวทันใจ เข้าในวังพลัน ครั้นถึงปรางค์มาศ สี่สาวลีนลาศ เฝ้าเจ้าไอศวรรย์ สมเด็จบิดา ตรัสมาด้วยพลัน สี่เจ้าเหล่านั้น ไล่เลียงกิจจา เดิมว่าอรทัย คลอดโอรสใน ปรางค์มาศรจนา เหตุฉันใดเล่า ลูกเจ้าเป็นหมา ใครยังยืนว่า รู้เห็นเป็นไฉน สี่ท้าวรับเอา โองการผ่านเกล้า ลีนลาคลาไคล ถึงปรางค์พระองค์ ผู้ทรงฤทธิไกร สี่ท้าวทูลไข แก่องค์ทรงธรรม์ ว่าองค์ท่านท้าว พระผู้ผ่านเกล้า เจ้ากรุงไอศวรรย์ ตรัสให้ถามไถ่ นางในทรงธรรม์ สิ้นทั้งปรางค์สวรรค์ นั้นแลพระอา พระแสงสุรีฉาย ได้ฟังภิปราย พี่เลี้ยงทูลมา ดีแล้วพี่เจ้า สี่ท้าวเชษฐา ผู้ใหญ่ในปรางค์ เร่งเอาตัวไป ทั้งอีสาวสี่ ใช่อยู่ในที่ มันฤๅไฉน เมื่อเจ้าเจ็บท้อง ร้องไห้ดิ้นไป ทูลท้าวชลไนย มันไม่จรลี แล้วอีเจ็ดคน มาทาสาละวน กับองค์มเหสี มันรู้ฤๅไฉน ถามไถ่ดูที ว่าโอรสนี้ เป็นมาสาธารณ์ สี่ท้าวรับเอา โองการเจ้าฟ้า ก้มเกล้ากราบกราน สั่งโขลนทันที บัดนี้อย่านาน ลงไปทุกสถาน เอาตัวขึ้นมา พี่เลี้ยงพระองค์ นางนมบัดจง ตั้งหูตั้งตา สาวใช้ในที่ บัดนี้อย่านาน ไปเอาตัวมา บัดนี้จงพลัน โขลนจ่าขันที วิ่งเป็นสิงคลี หาคนทั้งนั้น บัดนี้สี่ท้าว เข้ามาปรางค์สวรรค์ โองการสั่งพลัน แก่สี่เชษฐา ให้หานางใน สี่ท้าวจักถามไถ่ ให้แจ้งกิจจา เร่งเร็วแต่งตัว หวีหัวผัดหน้า ชวนกันนุ่งผ้า มาเร็วจักไป พระพี่เลี้ยงท้าว แต่งตัวเร็วเข้า มาเถิดจักไป นางนมพระองค์ พิศวงอยู่ใน มาเร็วจักไป หาไท้เชษฐา


๒๒๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พระสนมพี่เลี้ยง ได้ฟังพางเพียง จักม้วยมรณา เห็นจักตายแน่ เที่ยงแท้แลหนา สาวใช้ซ้ายขวา เพียงมาบรรลัย ต่างคนต่างมา ถึงท้าวเชษฐา ประหม่าบ้าใจ หน้าผิดผาดเผือด เลือดแห้งหายไป ตระหนกตกใจ ดั่งสิ้นชีวา สี่ท้าวว่าไป นี่ฤๅนางใน ใช้ชิดราชา นี่พระนมท้าว ด้วยเล่าอกอา นี่ฉายา พระพี่เลี้ยงองค์ ฉันใดทัง้ นี้ เมื่อพระมารศรี เจ็บครรภ์โฉมยง ให้ทูลชนนี มิจรดล นิ่งเสียทุกคน ตัวคิดเป็นไฉน ไม่กลัวพระเดช ขององค์ภูเบศร บางฤๅเป็นไฉน พระนุชเจ็บท้อง เจ้าร้องร่าไร ชั่งนิ่งเสียได้ ไม่กลัวอาญา พระนมภูมี ผู้ในปรางค์ศรี พี่เลี้ยงนางนม ท้าวให้เจ้าอยู่ ดูต่างหูตา พิทักษ์รักษา พระครรภ์มารศรี เมื่อเจ็บครรภ์เล่า เพื่อใดชาวเจ้า ไม่เอาคดี ทูลทางชนนี ให้เสด็จจรลี นิ่งเสียทั้งนี้ คิดว่าเป็นไฉน ท้าวนางจรลีนี้เล่า ที่พระผ่านเกล้า ตั้งให้เป็นใหญ่ ไม่เอาใจดู โฉมตรูอรทัย นี่ฤๅผู้ใหญ่ ตั้งไว้เล่าหนา เสียแรงเงินทอง สิ้นทรัพย์ข้าวของ ท้าวให้เสื้อตรา เจ็บครรภ์นางคราญ ตัวข้าไม่รู้ จู่ออกไปบ้าน ตามแต่โองการ จักโปรดเกศา สี่ท้าวว่าไป นี่ฤๅผู้ใหญ่ ช่างจานัญจา ท้าวตั้งแต่งไว้ ให้อยู่รักษา ต่างหูต่างตา เที่ยวเล่นหลบลี้ ท้าวเสด็จจากวัง เงินทองในคลัง แจกให้มากมี พระเสด็จไม่อยู่ ออกเที่ยวหลีกลี้ เล่นสาราญใจ ช่างมาให้การ เป็นคนหน้าด้าน ว่าตามชอบใจ แม้นว่าทูลท้าว นั้นเล่าเป็นไฉน พี่อยู่ฤๅไม่ ช่างมาเจรจา ผู้ใหญ่เสียเปล่า เอาหุ่นเอาเงา ตั้งตัวไว้ดีกวา ผู้ใหญ่บัดสี กาลีเจรจา เร่งเอาหวายมา เฆี่ยนให้สาแก่ใจ พระนมราชา ว่าไรว่ามา แก่หน้าฉันใด พี่เลี้ยงถ้วนหน้า จะว่าอย่างไฉน แสนสาวสี่นีไซร้ ว่าไปเร็วรา พระนมว่าเล่า เมื่อเจ้าเจ็บครรภ์ พระออระฉายา ข้าไปนอนเรือน ฟั่นเฟือนไปมา ประสูติในปรางค์ ข้าไม่รู้เลย สี่ท้าวว่าไป ช่างมาว่าได้ ให้การเฉยเฉย ตารวจอยู่ไหน เอาหวายมาเหวย เฆี่ยนคนพูดเฉย ไปนอนเรือนตน พระพี่เลี้ยงท้าว จึงให้การเล่า ว่าข้าลมจับ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๒๓

วันนั้นตัวข้า หาหมอระงม รู้จักแก้ลม คาอยู่นักหนา แต่ล้วนหมอยิ่ง เข้ามานวดดีจริง จึงรอดชีวา หาไม่ข้าตาย วอดวายชีวา ตามแต่อาญา จะโปรดเกสี สี่ท้าวว่าไป หน้ามาขัดใจ ยิ่งได้แสนทวี สาวสี่ที่ใช้ ในปรางค์เทวี ไม่เอาคดี ทูลท้าวมารดา สาวสรรนารี จิตใจไม่ระมี อยู่กับกายา ตระหนกตกใจ ยิ่งได้คณนา ข้าเจ้าจะว่า แต่ตามจึงไป เดิมทีนั้นหนา เมื่อนางกัลยา เจ้าเจ็บครรภ์ใน เจ็ดนางเข้ามา ปรางค์ปลาอรทัย ห้ามมิให้ไป ทูลท้าวชนนี เอาเงินห่อผ้า ยื่นซ้ายยื่นขวา อย่าว่าจรลี พี่เลี้ยงนางนม ชื่นชมเปรมปรีดิ์ ต่างคนวิ่งรี่ รับเอาฉับพลัน แล้วเจ็ดนางใน ใช้ให้ข้าไท ไปจับมานั้น เอามาซ่อนไว้ ใต้ปรางค์สุวรรณ ข้าเจ้ารู้เท่า นั้นนี่แลนา สี่ท้าวว่าไป เร่งเอาข้าใช้ เจ็ดนางขึ้นมา จักถามมันดู ให้รู้กิจจา ใครให้จับมา เข้ามาไว้ใน โขลนเร็วรา เจ็ดนางนารี ได้ฟังขันที ตระหนกตกใจ บัดนี้พี่เจ้า ถึงเราแลหนา จักคิดว่าประการใด อาไพยใจกล้า จึงมีวาจา ว่ามาด้วยดี กลัวไยน้องอา ว่าตามถ่วงที ลูกเป็นอัปรีย์ มาว่าแก่ใคร คิดกันมิช้า จับผ้าห้อยบ่า พากันขึ้นไป บัดเดียวมิช้า ถึงหน้ามุขใหญ่ นั่งลงกรงไทย สี่ท้าวเชษฐา จึงท้าวทั้งสี่ เห็นเจ็ดนางนารี ยืนแย้มไปมา จึงถามเจ็ดนาง อย่าพรางเลยหนา เจ้าเอาลูกหมา เข้ามาไว้ไย ซ่อนไว้ใต้ปรางค์ ของพระโฉมงาม มเหสีภูวไนย โอรสคลอดมา เอาหมายัดใส่ เอาโอรสไทย ทิ้งเสียใหญ่หนา เอาพระลูกหลวง ออกไปทะลวง ทิ้งเสียวัดวา ที่ส้วมที่เวจ ทาเทศนักหนา โทษจะมรณา รู้บ้างฤๅไฉน เจ็ดนางว่ามา ใครยังยืนว่า ข้าทาเมื่อไร เอามาว่ากัน ดานาลุยไฟ จักพิสูจน์ได้ กับคาถาหนา ลูกเป็นเดรัจฉาน แกล้งข้าหลายพาล พระโลใครเล่าหนา หน้าด้านบัดสี กระลีมารยา พี่นี้พูดแก่หน้า ผัวรักฤๅไฉน สี่ท้าวว่ามา พิสูจน์กับข้า ของเองเป็นไป อีเจ้าคารม จะคมคู่ใคร ข้ามึงรับไว้ ทุกสิ่งทุกอัน ชัดเดียวมิช้า เรียกอีขี้ข้า ขึ้นมาด้วยพลัน


๒๒๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สู้กันกับข้า เห็นว่าจะคมสัน ใครยืนยัน ถามกันเถิดรา ข้าของเจ็ดนาง มันว่าเจ้าช่าง ใช้ข้านักหนา ให้เอาลูกเต้า ของเจ้าฉายา ไปถึงวัดวา ให้มาวอดวาย แล้วให้ตัวข้า ไปจับเอาหมา เข้ามาซ่อนไว้ แม้นว่าจอมขวัญ คลอดนั้นเมื่อไร เอาลูกหมาใส่ แทนโอรสา แล้วเอาเงินทอง เที่ยวบนทั้งปวง สิ้นทั้งปรางค์ปล้า ไม่ให้ขึ้ไป ทูลไท้มารดา เจ้ากวักมือมา มิให้คลาไคล เจ็ดนางนารี แค้นขัดทาสี ยิ่งล้นพ้นใจ พอดีพอร้าย ตีให้ยับไป อันนี้จนใจ มันยังยืนมา มึงมาว่ากู พาอีสู่รู้ โจษเจ้าเล่าหนา กูได้ใช้มันไป เมื่อไรนะอกอา ให้ไปเอาหมา มานี่เมื่อไร สี่ท้าวถามพลัน ใครสั่งวันนั้น ให้เอาคชไกร ให้พระกุมาร ลนลานออกไพร เอาช้างให้ได้ สามเศียรงาดา มึงแกล้งจักใช้ ให้เจ้าวอดวาย ที่ในไพรสัณฑ์ หากว่าบุญเจ้า นั้นเล่าช่วยพลัน พระไอยกีนั้น ให้ช้างลงมา โทษมึงมากมาย สั่งสอนโฉมฉาย ให้ทาราชา เชียกชั้นถึงเอา พระเจ้าแลหนา เปียกข้าวเปียกปลา ถึงเอาด้วยพลัน ให้ทาราชา มึงสอนกัลยา ริษยาอาธรรม์ เห็นว่านุชเจ้า โง่เง่าทุกอัน มึงสอนแจ่มจันทร์ ให้ทาภูวไนย เจ็ดนางจึงมีวาจา มาใส่ความข้า ทุกสิ่งทุกอัน ผัวเมียรักกัน เสกสรรเราไย ใครจักสอนให้ อย่างนี้บ้างหนา พระมเหสีเจ้า เป็นเด็กโง่เง่า อยู่ท่าไรหนา ว่าเราลวงฬ่อ ช่างต่อเจรจา แกล้งกล่าวมุสา ใส่ข้าฤาไฉน ช้างสารสามเศียร ใครรู้วาดเขียน ไว้ที่แห่งไร จักเอาช้างม้า มาพาโลใคร ใครได้ใช้ไป จักเอาไอยรา สี่ท้าวสรวลสรร เร่งเร็วจรจรัล เอาตารวจมา ใครสั่งสอนเจ้า ไปเอาไอยรา แกล้งใช้เจ้าฟ้า จักให้อาสัญ บัดเดีย๋ วทันใจ ไอ้ตารวจใน เข้ามาด้วยพลัน สี่ท้าวจึงถาม ตามความสาคัญ ใครสั่งวันนั้น ให้มึงออกไป จับพระกุมาร จักเอาคชสาร สามเศียรให้ได้ พระสงฆ์รับตัว กลัวเจ้าจะบรรลัย ใครสั่งมันไป ให้มึงทาการ จับช้างสาร จึงใช้ข้าไป เป็นวันสงกรานต์ เจ็ดนางนงคราญ ไปวัดเจ้าไทย เห็นพระกุมาร นั่งเล่นที่ใน เจ้าได้ถ่านไฟ เขียนพญาคชสาร เจ็ดนางนงเยาว์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๒๕

จึงสั่งข้าเจ้า จับเอาพระกุมาร เขาดงพงไพร ความทั้งนี้นา จ้าวนายสั่งข้า ไม่เคยแจ้งใจ ติดว่าพระเจ้า ท้าวสั่งนางใน ข้าเจ้าจึงไป ว่าสังฆราชา โทษทั้งนี้เล่า ข้าพระพุทธิเจ้า ขอรับอาญา ไม่ได้เลยหนา คิดกลัวอาญา ปิ่นเกล้าโลกา สี่ท้าวว่าไป เอ็งไม่ใจแจ้ง ชอบแล้วด้วยดี มันอ้างพระองค์ ผู้ทรงฤทธี จักฆ่าชีวี เจ้าม้วยบรรลัย สี่ท้าวว่าเล่า ที่นี้ตัวเจ้า จักแก้ฉันใด ตาราจว่าดึง คือมึงสั่งไป จักเอาคชไกร ที่กุมารา จักเอาให้ได้ แกล้งจักใช้ไป ให้ม้วยมรณา มึงจักจงผลาญ นางคราญฉายา จักเถียงแก้หน้า ว่าเป็นไฉน สอบตารวจเล่า เขายังยืนว่า เจ้ายิ่งแท้แน่ใจ แล้วข้าของมึง มันว่าดึงไป ตามจริงนั้นไซร้ มันคิดความกลัว เจ็ดนางว่าไป ช่างเก็บมาใส่ ทุกสิ่งน่าหัว คลอดลูกเป็นหมา แก้หน้าพ้นตัว จักเอาความชั่ว ใส่เล่นทุกประการ ไปขอพระ สังฆราชา ให้ไว้เป็นทาน ไปรับเมียมา ว่าลูกภูบาล เอาความอัปประมาณ ใส่เล่นทุกอัน สี่ท้าวขัดใจ คารมนั่นไซร้ ยิ่งยวดกวดขัน เอาหวายลงดู สู้คารมมัน อันไถ่ถามนั้น ไม่ทันเลยหนา เรียกตารวจไป เร็วเร็วไวไว เอาหวายเข้ามา จักถามนางใน ขัดใจเร็วรา ตารวจซ้ายขวา คนกล้าสีมือ เจ้าตารวจใน จับเชือกหวายได้ วิ่งลมออกหู เข้าไปในวัง นั่งลงมอบอยู่ สี่ท้าวเหลียวดู ว่าเอาตัวไป พระนมพี่เลี้ยง มากมายรายเรียง เรงเอาตัวไป ท้าวนางทั้งปวง นั่งจ้องอยู่ไย เร่งเร็วลงไป บัดใจเร็วรา ท้าวนางทั้งนั้น ตระหนกอกสั่น พัลวันลงมา ขันทีพาไป นางในนั้นมา ผูกซ้ายผูกขวา ตามหน้าพระลาน สี่ท้าวขึ้นไป กราบทูลภูวไนย ว่าได้พยาน เจ็ดนางอาอ้น ย่อย่นเนื้อความ จักขอเขียนถาม ตามพระกิจจา ผู้ใหญ่นั้นไซร้ สับปลับกลับไป ได้สิ้นทั้งปรางค์ เอาข้าเจ็ดนาง ถามตามชงฆา มันจึงรับว่า ทุกสิ่งทุกอัน เอาตารวจใน เข้ามาชอบใช้ ได้จริงทุกอัน เมื่อพระกุมาร ผู้ผ่านไอศวรรย์ อันเจ็ดนางนั้น ไม่รับเลยนา จักขอลงหวาย โทษมันถึงตาย แน่แล้วพระอา


๒๒๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ผู้ใหญ่นั้นเล่า เข้าด้วยทั้งปรางค์ นางในซ้ายขวา ได้สินบนกัน ๏ ยำนี ๏ เมื่อนั้นพระราชา พระทัยคือไฟกัลป์ ใจมันอหังกา จักหวายมันว่าไร สี่ท้าวรับโองการ กระบัดออกจากปรางค์ ลงหวายทั้งเจ็ดนาง เฆี่ยนลงบัดนี้ไซร้ ตารวจนั่งรายเรียง ต่างคนจับหวายงา พระนมพี่เลี้ยง สาวสรรกานัลใน ท้าวนางสิ้นทั้งนั้น ว่าข้าได้สินจ้าง เจ็ดนางเจ็บนักหนา ว่าข้าทั้งเจ็ดคน จักให้ม้วยบรรลัย แค้นด้วยท้าวมารดา จึงเอาลูกพระหลวง ความอายข้าเท่านี้ แล้วใช้ไปเอาช้าง ความจริงทุกสิ่งไป ท้าวจดเอาคา ตารวจหยุดหวายไว้ จักได้ทูลกันรุณา สี่ท้าวจดเอาคา ตรัสให้ไปเอาตัว

ฟังเชษฐาทูลมาพลัน พีฆ่ามันให้บรรลัย มันจะฆ่าลูกสายใจ เฆี่ยนถามไถ่เอาสัจจา พระภูบาลใส่เกศา สั่งเสนาไปบัดใจ มันว่าเท็จทุกสิ่งไป จักทนได้ฤๅไรนา พระพี่เลี้ยงสั่งลงมา บ้างลงหวายรายกันไป ร้องสุดเสียงรับบัดใจ ว่าได้รู้ด้วยเจ็ดนาง รับฉับพลันสิ้นทั้งปรางค์ ของนวลนางทั้งเจ็ดคน ร้องไปมาอยู่อลวน คิดจักผลาญพระฉายา จากเวียงไชยของราชา ไม่เษกข้าเป็นมเหสี ทิ้งไว้วัดพระชี ขอชีวีอย่าบรรลัย หวังจักล้างในกลางไพร หยุดหวายไว้ก่อนเถิดรา แล้วก็นาทูลภูวไนย จักว่าไรก็ว่ามา เราเห็นว่าจักบรรลัย แล้วก็นาทูลภูวไนย เทียบงัวไถเสียเถิดรา

๏ สุรำงคนำงค์ ๏ ไชวีขันอรทัย เห็นจักบรรลัย สิ้นทั้งปรางค์ปล้า กราบทูลผ่านเกล้า ท่านท้าวภัสดา ได้โปรดเกศา ขอทานชีวี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๒๗

โทษนั้นถึงตาย ข้าบาททูลถวาย รับประทานชีวี เมียขอประทานโทษ จงโปรดเกสี อย่าได้ฆ่าตี ให้ม้วยบรรลัย ทั้งนี้ยอมกรรม เห็นว่ากระทา กรรมติดตัวไปย จักใช้กรรมกัน นั้นสิ้นเมื่อไร น้องไม่จองภัย จงได้เมตตา พระฟังมารศรี ยิ้มแย้มพาที ด้วยออระฉายา จักขอมันไว้ เพื่อได้น้องอา มันจักแกล้งฆ่า ให้เจ้าวายปราณ นี้หากได้เจ้า ชีวิตรอดเล่า ด้วยท้าวชลมาน หาไม่แก้วพี่ ชีวีสิ้นการ ขออีเดรัจฉาน เพื่อได้น้องอา นางทูลภูมี ได้โปรดเกสี เมียนี้เถิดรา หญิงชั่วมั่วเมา ไปด้วยตัณหา จักเป็นเวรา นั้นติดตัวไป เห็นจักช้าได้ ที่พระนิฤๅพาน พระฟังมารศรี เจ้าทูลคดี ขอเจ็ดนางคราญ พระไม่เอาโทษ โปรดให้เยาวมาลย์ จึงพระภูบาล ตรัสแก่เทวี โทษมันนั้นเล่า พี่ยกให้เจ้า ตามแต่เทวี ด้วยว่าท้าวน้อง ไม้จองไพรี ตามแต่มารศรี เจ้าจะปรารถนา แล้วจึงตรัสไป เฒ่าแก่อยูใน ไปสั่งเชษฐา โทษถึงตายเล่า ให้เอาเข้ามา พระออระฉายา เจ้าขอชีวี อีเจ็ดคนนั้น ส่งตัวของมัน ช่างเขาเห็นดี พี่เลี้ยงนางสาว สนมมากมี ส่งไปตามที่ ตีด้ายตีไหม เฒ่าแก่รับสั่ง วิ่งออกนอกวัง ทั้งสี่ท้าวไทย ว่านางเจ็ดคน พ้นโทษโพยภัย ทูลท้าวด้วยนางอรทัย ขอได้แลนา ด้วยนางอรทัย เจ้าไม่จองภัย ทูลท้าวภัสดา ตรัสประทานโทษ โปรดให้กัลยา หาไม่ชีวา หน้าที่บรรลัย สี่ท้าวจึงว่า ขออีขี้ข้า ไว้ว่าไร เพื่อได้นานไปกลับกลอก เสี่ยนยอกบาท ฆ่าเสียอย่าไว้ สมใจแลนา สี่ท้าวสั่งไป คนโทษนั้นไซร้ เอาขึ้นเข้ามา พระมเหสี ท้าวขอแลนา เอาตัวมันมา ส่งฉางข้าวพลัน พี่เลี้ยงพระนม แสนสาวพระสนม เจ้ากรมกานัลต่าง ๆ ส่งไปโรงไหมด้วยพลัน นางเจ็ดคนนั้น ส่งฉางข้าวไป สาเร็จเสร็จพลัน สี่ท้าวผายผัน กราบทูลภูวไนย ว่านางคนโทษ โปรดให้ส่งไป ชาวฝ้ายชาวไหม จ่ายไปพระอา แต่นางทั้งเจ็ด ส่งฉางข้าวสาเร็จ สีข้าวโอฬา ท้าวทรงพระสรวล ควรแล้วพี่อา ให้สมน้าหน้า ใจมันกระลี ครั้นรุ่งเวลา ชวนแก้วกัลยา เฝ้าท้าวชนนี


๒๒๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จักทูลกิจจา บิดาภูมี สามกษัตริย์จรลี เฝ้าเจ้าไอศวรรย์ ครั้นถึงวิมาน สามองค์กราบกราน น้อมนบอภิวันท์ โอนอ่อนเกศเกล้า สองท้าวด้วยพลัน บิตุเรศจานรรจา พระโอรสา เห็นลูกถามไถ่ เจ็ดนางว่าไฉนลูกอา ว่าทาลูกเจ้า จึงเล่าฤๅหนา ฤๅมันมุสา ไม่ระมารับกัน พระแสงสุรีฉาย ทูลพระฤๅสาย บิดาทรงธรรม์ รู้กันทั้งปรางค์ ทานางจอมขวัญ รับสิ้นทุกอัน เป็นสัจจะที ลูกรักจักฆ่า ให้ม้วยชีวา ไม่ระมาปรานี เหตุด้วยนุชเจ้า โศกเศร้าโสกี กลัวเป็นเวรี เมื่อหน้าสืบไป เจ้าขอชีวิต ไม่ปรงจงจิต จานองจองไพร ลูกจึงยกโทษ ด้วยโปรดอรทัย แม้นว่ามิให้ จักม้วยชีวา บิดาได้ฟัง สีสะใภ้ไม่หวัง จักผูกเวลา เจ้าเชื่อนางสวรรค์ อย่างนั้นลูกอา ไม่ถือโทษา มนุษย์โลกีย์ พระจึงทูลไป บัดนี้ลูกให้ ส่งไปด้วยดี ฉางข้าวฉางไหม จ่ายไปถ้วนถี่ บ้างทาสาลี ตีฝ้ายไปมา ปิตุเรศสรวลสรร เออทาอย่างนั้น ดีแล้วลูกอา ให้สาใจมัน อาธรรม์ริษยา เจ็ดคนฤๅนา เจ้าส่งตัวไป ถ้าใช้ในวัง เมื่อนาถาพลั้ง มันจะทาต่อไป อีคนอย่างนี้ มันดีเมื่อไร ส่งตัวออกไป จากวังลูกอา ตรัสชมหลานแก้ว บุญเจ้าเลิศแล้ว จึงรอดความตาย มันแกล้งใช้ไป หวังจะให้วอดวาย บุญเจ้ามากมาย ได้กลับคืนมา ใชวีขันเทวี กราบทูลคดี แต่ความสัจจา ข้าบาทสงสัย ด้วยกุมารา ได้แต่วัดวา ดั้งนี้เป็นไฉน ฤๅลูกเขจร เดินดงเร่ร่อน ป่ากว้างทางไกล เอาลูกทิ้งเสีย ผัวเมียหนีไป ทรพลคนร้าย เป็นไฉนเล่าหนา แม้นลูกข้าบาท สร้างมาหลายชาติ ตั้งตัวสัจจา ขอให้เห็นประจักษ์ ตระหนักวิญญา ขอน้านมข้า คือท่อธารไหล ให้พระกุมาร ได้เสวยสาราญ เที่ยงแท้แน่ใจ เจ้าเกิดมานี่ มิพบชลไนย ขอจงเจ้าได้ เสวยนมมารดา ครันสิ้นพิศฐาน น้านมนางคราญ คือท่อธารา องค์พระกุมาร ทะยานเข้ามา เสวยนมมารดา สาราญพระทัย ต่อเนตรภูมี ไอยกาไอยกี ทั้งสองท้าวไทย สองกษัตริย์ชื่นชม ภิรมย์พระไทย บุญเจ้าเหลือใจ ชาติเชื้อกษัตรา แล้วชมศรีสะใภ้ แม้นรักใคร่ เจ้าอย่างธิดา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๒๙

เหมือนพระบังอร เกิดอุทรมา ใจแม่คิดว่า จะพรากชีวัน แม้นว่าวันดี จักตั้งพิธี ทามิ่งสิ่งขวัญ เจ้าได้ความยาก เมื่อจากไอศวรรย์ ด้วยอีอาธรรม์ มันคิดจงผลาญ สมเด็จบิดา ฟังมหาเสนา ดูฤกษ์ภาน แม้นวันคี่นั้น ทาขวัญนางคราญ ทั้งพระเจ้าหลาน ไท้ผ่านบุรี ให้ปลูกโรงทอง สามสิบเก้าห้อง อันงามรจนา พู่ห้อยย้อยยับ อัตตะกับรจนา ให้ตั้งเบญจา เจ็ดชั้นพรรณราย ฉัตรแก้วฉัตรทอง รจนาเรืองรอง ส่องแสงสุริยา ทั้งบายศรีทอง รองเรืองพรรณราย เมืองขึ้นทั้งหลาย เร่งให้เข้ามา การสมโภชนี้ ร้อยเอ็ดบุรี เอกโทจักรวาล จักทาขวัญหลาน เราผ่านภารา ทาขวัญกัลยา ศรีสะใภ้บังอร ที่จักทิ้งทาน ถ้าให้เอาสาร สี่มุมพระนคร สังฆราชเจ้าไทย นิมนต์ไว้ก่อน แต่งที่นั่งนอน ให้สาราญใจ เครื่องเล่นทั้งนั้น ละครประชัน จัดสรรกันไว้ หุ่นลาวหุ่นมอญ ละครตปไกร งิ้วง้าวสาวไส้ ไต่เชือกนั่งตีคลี โห่หาฤกษ์ชัย ดูวันเวไลย ให้ได้สวัสดี พราหมณ์พฤฒโหรา เข้ามามากมี ถือเครื่องบายศรี คนดีหามา โรงเล่นเต้นรา สูดูให้ทา จงงามรจนา สิ่งไรขาดเหลือ เจือเอาเข้ามา ข้างในข้างหน้า อย่าให้ขัดสน หมายให้ข้างใน จัดสนมสาวใช้ ให้มากเหลือล้น จักทาขวัญเจ้า หลานเราจรดล เสนาสามน เร่งให้เข้ามา หมายไปเมืองขึ้น ลูกขุนลูกหมื่น ที่งามพอตา ลูกท้าวหัวเมือง จัดเนืองส่งมา จะถวายนัดดา เมื่อตั้งพิธี ให้สนมใน ทาขวัญศรีสะใภ้ ที่รูปงามดี สาหรับพนักงาน ในการพัดวี เป็นงานพัชนี เข้าที่ไสยา สั่งแล้วคลาดแคล้ว เข้าสู่ปรางค์มาศ ตรัสแก่ฉายา จัดเครื่องมเหสี นะเจ้าพี่อา ทาขวัญกัลยา ได้ยากมากมี เจ้าไปได้ยาก ตกยากลาบาก ได้ยากหลายปี จักแต่งอรนุช สุดแล้วที่นี่ สิ่งละพันอันมี ให้ออระฉายา ครั้นได้วันดี เสนามนตรี บอกสั่งเข้ามา ว่าพระฤกษ์ชัย จวนได้เวลา กราบทูลกันรุณา บัดนีจงพลัน เฒ่าแก่ทั้งสี่ รับบอกเสนี วิ่งเข้ามาพลัน ทูลแก่พระเจ้า ท่านท้าวผ่านบุรี ว่าพระฤกษ์นั้น จวนได้เวลา โรงทองพิธี อีกทั้งบายศรี เสร็จแล้วพระอา


๒๓๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เมืองน้อยร้อยพัน นั้นยกพลมา นบบาทบาทา ทุกพระเวียงไชย แล้วให้เลี้ยงดู ฝูงพรั่งพรู รู้ศักดิ์เท่าไร ที่กุมารนั้น จัดสรรมาไว้ จักประมาณได้ สักแสนโดยจง เครื่องเล่นทั้งปวง บรรดาการหลวง มีทุกภาษา การสมโภชแก้ว เสร็จแล้วแลนา ขอทราบบาทา ฝ่าละอองธุลี ฟังเฒ่าแก่ทูล พระทัยเปรมบุญ ตรัสสั่งสาวสี ไปทูลโอรส ปรากฏฤทธี ให้เจ้าสองสี แต่งพระกายา ท้าวตรัสแก่มเหสี เร่งเร็วแก้วพี่ แต่งพระนัดดา ว่าพระฤกษ์ชัย จวนได้เวลา เราแต่งนัดดา บัดนี้จงไว ท้าวเอาเนาวรัตน์ รัศมีจารัส ทรงให้หน่อไท้ ทรงสร้อยสังวาล ตระการแววไว แล้วจึงสวมใส่ ธามรงค์ซ้ายขวา ทรงสนับเพลาทอง เห็นงามเรืองรอง ปิ่นทองรจนา สร้อยสะอิ้งสังวาล ตระกานรจนา ไอยกีไอยกา แต่งให้หลานขวัญ ส่วนสองกษัตรา สระสรงคามิช้าด้วยพลัน แต่งองค์ทรงเครื่อง ย่างเยื้องตามกัน แสนสาวทั้งนัน แห่ห้อมล้อมมา ลงสู่พิธี ท่านท้าวไอยกี อุ้มราชนัดดา เสด็จยังโรงชัย หวั่นไหวไปมา เสนีเสนา มารับเสด็จไป ถึงโรงพิธี เสภามโหรี ขับกลอนไสว ปืนยิงครืนครัน สนั่นเรียงชัย สองกษัตราคลาไคล สู่แท่นรจนา สวนพระโอรส หน่อองค์ทรงยศ ผู้ท้าวไอยกา อุ้มพระหลานไว้ นั่งในมหา แท่นแก้วรจนา กับท้าวไอยกี ให้อัญเชิญขวัญ พราหมณ์พฤฒทั้งนัน้ เข้ามามากมี อัญเชิญขวัญเจ้า เข้ามาบุรี สู่ท้าวไอยกี ภูมีไอยกา ๏ ยำนี ๏ ขอพระขวัญเจ้า ชมช้างแลชมม้า พระขวัญเจ้าอย่าไปเที่ยว ธารท่อบ่อน้าไหล ขอเชิญพระขวัญเจ้า สมบัติงามบรรจง ขอเชิญพระขวัญเจ้า คลังเงินแลคลังทอง เชิญขวัญพระบุญเรือง

มาปกเกล้าฝูงประชา ชมโยธาพระเวียงไชย ในไพรเขียวพนาลัย เชิญขวัญไว้กับพระองค์ มาปกเกล้าฝูงอนงค์ อย่าไปหลงชมถ้าทอง มาปกเกล้าคนทั้งปวง ปราสาทแก้วอันแววสี มาครองเมืองแทนไอยกี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๓๑

เสนาแลมนตรี ปราสาทชัยเลิศเรืองรอง ป่าสนมพระนคร เสนายอกรชุลี ล้วนเนาวรัตน์อันรุจี มาสู่ที่ท้าวไอยกา เวียนเทียนแก้ว พราหมณ์พฤฒคลานเข้ามา แล้วเอาข้าวพระขวัญ เสนาลั่นฆ้องชัย ที่เป็นข้าพระทรงธรรม์ พระสังฆราช ขอให้พระโฉมศรี พระสงฆ์ทรงศีลไกร สังฆราชดูเทวี ควรครองพระกานัล ไอยกาไอยกี พระขรรค์อันรจนา แล้วอวยพรชัย สังฆราชนั่งเป็นท่าน ครั้นว่าสาเร็จแล้วพลัน พระทรงสงฆ์ศีลลา สวนองค์พระบิดา ขึ้นสู่ปราสาทชัย แสนสาวดาษดา ส่วนว่าท้าวทั้งสอง ท้าวอุ้มเอาหลานขวัญ มรกตอันสุก(ใส)

ชมสาวสีกานัลใน พระยาขวัญอย่าไปชม เชิญมาสู่นคร เชิญมาชมสมบัติ เชิญขวัญพระพันปี ครั้นว่าเชิญขวัญแล้ว ได้เจ็ดคลา เจียมภักตราเจ้าบัดใจ ให้ทรงธรรม์เสวยไป แตรแลสังข์ดังไปมา นับหมื่นพันสรรเอามา เข้ามาอวยชัย ผ่านบุรีพระเวียงชัย อวยพรให้เจ้าด้วยพลัน งามมีสีอยู่เฉิดฉันท์ เป็นมิ่งเมืองเลืองโลกา อุ้มผู้มีพระนัดดา ท้าวยื่นให้พระหลานขวัญ ปู่ยกให้ทุกสิ่งอัน พระสงฆ์อันดับมา สังฆราชนั้นก็ลีนลา ก็ตามมาด้วยพลัน ชวนฉายาเจ้าคลาไคล เสด็จในเหนือแท่นทอง ติดตามมาอยู่เนืองนอง อุ้มพระทองเจ้าคลาไคล จรจรัลขึ้นปรางค์ชัย ท้าวมอบให้พระนัดดา

๏ สุรำงคนำงค์ ๒๘ ๏ เสร็จการนั้นแล้ว สองกษัตริย์ผ่องแผ้ว สาราญกายา บ่มีทุกข์ภัย สิ่งไรฉันทา ท้าวครองพารา เป็นผาสุขใจ พระโอรสา ว่าการฝ่ายหน้า ทาบุญให้ทาน สาราญพระทัย โอรสาเสด็จไป วัดสังฆราช


๒๓๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เจ้าไปทาบุญ สังฆราชมีคุณ ท่านได้เลี้ยงมา พระสงฆ์ทั้งวัด ปรนนิบัติอัตรา ฉวยคืนวัดวา ปรนนิบัติกันไป เกณฑ์ไพร่สามพัน ให้พระทัยท่าน ใช้สอยสิ่งไร ตักน้าสรงฉัน ทุกวันเวลา ญาติโยมอยู่ไหน ให้ขาดจากนาย โปรดสิ้นทุกคน ไม่ให้ใครปน ตั้งไว้เป็นใหญ่ ญาติโยมของสงฆ์ อยู่ที่กรมใด พระองค์สั่งให้ ขาดไปจากนาย พี่น้องญาติกา ของพระสังฆราช ตั้งให้เป็นใหญ่ ถึงปีมารับ เบี้ยหวัดมากมาย พระองค์แจกให้ ทั่วทุกตาบล ส่วนท้าวมารดา ให้หายายตา เข้ามาบัดดล เงินทองข้าไทย ให้ยายเกลื่อนกลน ตายายสองคน ได้ลาภหนักนา ตั้งให้เป็นใหญ่ ส่วยเหนือส่วยใต้ ให้ยายกับตา ก่อตึกปลูกเรือน ลงเครื่องแน่นหนา ชาวบ้านนั้นหนา มาพึ่งตายาย ตายายสองสี ได้มั่งได้มี ด้วยนางโฉมฉาย มีคนแห่ห้อม ตามยศเหลือหลาย เป็นเจ้าขรัวยาย ทั้งหลายกลัวเกรง พระแสงสุรีฉาย สมบัติเหลือหลาย ครอบครองภารา กับพระโอรส ปรากฏฤทธา ด้วยแก้วกัลยา เป็นสุขสาราญ ข้าวเหลือเกลือนุน สมบัติบริบูรณ์ ทั่วทุกสถาน ราคีสิ่งไร บ่ได้ต้องพาล จนพระภูบาล ได้สิบแปดปี เรื่องนี้ยกไว้ กล่าวถึงนางใน เจ็ดคนกาลี ได้ทุกข์ได้ยาก ลาบากแสนทวี ชาวฉางด่าตี มะมี่ทุกวัน สีข้าวสีปลา บ่ได้รู้ว่า จักขาดสักวัน ชาวฉางมันด่า โศกาใดจะทัน ร้องไห้รักกัน ทุกวันเวลา นางนมพี่เลี้ยง ร้องไห้พางเพียง จักม้วยมรณา ทางานไม่ได้ ชาวไหมมันด่า รู้แต่ผัดหน้า โลแลในวัง ใครเป็นผู้ดี พาอีปักษี ทาไล่หลัง มึงเอาลูกเจ้า มาทิ้งนอกวัง ชอบฆ่าชีวัง มึงให้บรรลัย พาอีแสนงอน แต่งตัวชะอ้อน เป็นเมียท้าวไทย ชีวีบรรลัย ทาแต่อรทัย องค์พระมเหสี ทางานไม่เป็น อีนางกิเลน เคยเป็นผู้ดี สีข้าวไม่ได้ จับไม้ขึ้นตี ร้องไห้มะมี่ ร่าไรไปมา เจ็ดนางคิดกัน จาง๖๐เข้าจรจรัล ไปหาบิดา เขียนอักษรไป ให้ท้าวบิดา ให้มาช่วยข้า พ้นความทรมาน ๖๐

จาง น่าเป็น จะ หรือ จัก – ผู้ปริวรรต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๓๓

ชาวงานนั้นเล่า เอ็นดูนงเยาว์ รับเอาราชสาส์น รับเอาค่าจ้าง แห่งนางนงเยาว์ เสาะไปถึงสถาน พระยาเจ็ดคน พญาทั้งเจ็ด รับสาส์นสาเร็จ ดูข้ออนุสนธิ พ่อไม่แจ้งเล่า ว่าเจ้าเจ็ดคน ได้ความร้อนรน ขัดสนทรมาน ครั้นแจ้งสาส์นสี ต่างต่างบุรี ชุมพลลนลาน รีบเร่งโยธา หาลูกสงสาร บ่ได้แจ้งการ ว่าทาเป็นไฉน อนิจจาธิดา พ่อไม่แจ้งว่า จะเป็นฉันใด รีบเร่งโยธา มาเจ็ดวันไกล เข้าพระเวียงไชย ของพระภูมี เสาะสางมาเล่า ลุถึงฉางข้าว นั้นเล่าทันที เจ็ดท้าวแปลงตัว ด้วยกลัวคดี ทาเป็นกระฎุมพี คนยากจากสถาน แลเห็นบุตรี ชาวฉางด่าตี สีข้าวลนลาน แลเห็นลูกรัก เพียงจักวายปราณ คิดน่าสงสาร ธิดายาใจ เจ็ดกษัตริย์เข้ามา กอดลูกโศกา น้าตาหลั่งไหล แก้เงินห่อผ้า มาให้ถึงใจ ชาวฉางบ่ได้ ว่าไรเลยหนา จึงถามบุตรี เป็นไฉนอย่างนี้ มาต้องอาชญา พ่อแม่พร่าสอน บังอรนั้นมา ควรฤๅธิดา ไม่ว่ากล่าวกัน ชาวฉางว่าไป เจ้าคิดนี้ไซร้ ทากรรมทรงธรรม์ เอาลูกพระเจ้า ไปทิ้งเสียพลัน เอาลูกหมานั้น แทนโอรสา ลูกของภูมี เกิดด้วยมเหสี ครอบครองภารา ไปทิ้งเสียวัด พระสังฆราช ครั้นได้องค์มา ท่านจะฆ่าให้ตาย นี่เป็นบุญเล่า แม่อยู่หัวเจ้า ขออย่าให้ตาย นางไม่เอาโทษ โปรดให้รอดตาย หาไม่วอดวาย เสียแล้วท่านอา บิดาได้ฟัง แค้นพ้นกาลัง ลูกอย่างนี้หนา นี้คิดอย่างไร ใครมีบุญญา ไม่มีวาสนา จักทาไฉน เจ็ดนางอ้อนวอน จงพระบิดร ช่วยทูลท้าวไทย ขอลูกไปด้วย อย่าให้ม้วยบรรลัย ช่วยทูลท้าว(ไทย) ขอไปเถิดรา เจ็ดท้าวว่าไป จักขอไม่ได้ กลัวพระอาญา โทษทั้งนี้หนา ถึงพ่อด้วยรา ท้าวทรงเมตตา ไม่มาเอาความ จะให้เข้าไป ช่วยนาลงให้ บิดาเห็นงาม ช่างคิดผิดเล่า เจ้าช่างทาความ ไม่ได้ไถ่ถาม พ่อแม่เลยนา ทาแต่น้าใจ งามอยู่แล้วไซร้ ตั้งใจริษยา โกหกยากนี มีบ้างฤๅนา ให้เงินให้ผ้า แล้วพากันไป กษัตริย์เจ็ดองค์ ยกพวกจตุรงค์ เข้าสู่เวียงชัย เจ็ดบรรจุ ลุถึงเวียงชัย ต่างต่างร้องไห้ บอกแก่เมียขวัญ


๒๓๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บอกมาแต่ต้น คดีย่อย่น เหมือนแต่หนหลัง เมียฟังผัวเล่า น้าตาหลั่งไหล โอ้ลูกร้อยชั่ง ไม่ฟังมารดา เจ็ดเมืองเคืองทุกข์ ไม่มีความสุข ทุกข์ด้วยธิดา แต่ร่าร้องไห้ บ่ได้จะมา สาราญอุรา ด้วยลูกสายใจ เจ็ดนางคิดกัน มาเราจรจรัล ไปเฝ้าอรทัย จักทูลขอโทษ เกลือกจักโปรดปราน เราจักให้ไป หาพระมารดา คิดกันบัดใจ แก้เงินออกให้ นายฉางด้วยพลัน นี้ข้าถึงใจ ได้เอ็นดูข้า ข้าจักจรจรัล เข้าเฝ้ากัลยา จักไปอ้อนวอน จักขอโทษก่อน แก่นางฉายา เกลือกว่าเทวี จะมีเมตตา ข้าจะได้ลา ไปสู่บุรี นายฉางว่าไป ตามแต่น้าใจ เจ้าเถิดเทวี ไปทูลขอโทษ ถ้าโปรดปรานี จักได้จรลี ไปสู่ภารา คิดกันสาเร็จ นวลนางทั้งเจ็ด ตาเนินเดินมา บัดเดียวทันใจ เข้าในภารา ขึ้นบนชาลา จะเฝ้าเทวี โขลนจาทั้งหลาย ขึ้นสู่ปรางค์ศรี เขาจึงห้ามว่า ขึ้นมาไยมี อันนางทั้งนี้ มิให้ขึ้นปรางค์ เจ็ดนางว่าไป ทูลพระอรทัย ดูก่อนเถิดนาง ตัวข้าจักไป เฝ้าเจ้าในปรางค์ มาเฝ้าขัดขวาง ข้าไยนักหนา นายทวารว่าไป รับสั่งสั่งไว้ กลัวพระอาญา เหล่านางทั้งนี้ มิให้ขึ้นมา เฝ้าออระฉายา จึงมิให้ไป เถียงไปเถียงมา พระออระฉายา ได้ยินขัดใจ เสาวนีย์ถามพลัน ทะเลาะกันไย ใครมานั่นไซร้ ให้เขาขึ้นมา สาวสีทูลไป เจ็ดนางนั่นไซร้ จักใคร่ขึ้นมา จักเฝ้าโฉมยง ยังแท่นรจนา นายทวารหามะว่า มิให้ขึ้นไป นางจึงตรัสไป ห้ามไว้ว่าไร ตามเข้าเถิดรา จักมาว่าไฉน ให้เขาขึ้นมา เสด็จออกชาลา มิช้าบัดใจ จึงนางสาวสี รับพระเสาวนีย์ กระบัดวิ่งไป ถึงนายพระทวาร ว่าอย่าห้ามไว้ เสาวนีย์โปรดให้ ขึ้นไปเถิดรา เจ็ดนางได้ฟัง พากันล้าลัง ขึ้นบนชาลา เห็นองค์แจ่มจันทร์ ตัวสั่นไปมา ก้มเกล้าเกศา กราบบาทอรทัย ข้าบาทนี้โฉด แม่เจ้าจงโปรด ให้พ้นโทษภัย สีข้าวสีปลา เพียงมาบรรลัย องค์จงโปรดให้ พ้นเวทนา ลูกได้ทาผิด แม่เจ้าอย่าคิด ทรงพระโกรธา จักได้พ้นทุกข์ เสวยสุขฝากฟ้า เหมือนแม่ปล่อยข้า ให้พ้นอวีจี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๓๕

ลูกนี้ทนทุกข์ เหมือนอยู่ในคุก จงโปรดเกสี องค์จงเมตตา ช่วยทูลพระเจ้า ผ่านเกล้าภัสดา ขอคืนภารา ข้าบาทสงฆ์ คงสถาน นางฟังทั้งนั้น พระทัยป่วนปั่น คิดหน้าสงสาร จักให้พ้นยาก จากความทรมาน ให้เขาคืนสถาน สู่ราชมารดา ตัวเรานี้ไซร้ ปิตุเรศหาไม่ พลัดอยู่เอกา จักเวรกรรม ทาเขาไยหนา พลัดพรากบิดา คิดหน้าปรานี ๏ คิดแล้วตรัสไป เสาวนีย์ปราศรัย เจ็ดนางด้วยดี อย่าร้อนรนใจ ไปเลยเทวี เมื่อในราตรี พระองค์เสด็จมา อย่าได้ร้อนใจ ข้าจักทูลไทย ให้พ้นทุกขา จะได้ขึ้นไปวัง ดั่งเก่าเล่าหนา ข้าจักช่วยว่า ให้พบมารดร เจ็ดนางได้ฟัง พระเสาวนีย์สั่ง กราบบาทวิงวอน แม่โปรดเกสี ครั้งนี้ได้จร ถึงพระมารดร คุณยิ่งมารดา แล้วลาโฉมฉาย ดาเนินเดินกราย ลงจากปรางค์ปล้า ดีเนื้อดีใจ ด้วยได้วาจา พระออระฉายา จักทูลผัวขวัญ ครั้นค่าเวลา พระองค์เสด็จมา ปรางค์มาศสวรรค์ นางจึงทูลท้าว ผ่านเกล้าไอศวรรย์ จักขอโทษทัณฑ์ เจ็ดนางกัลยา กราบบาทผัวขวัญ ทูลแถลงพลัน ทรงธรรม์ภัสดา เจ็ดนางนั้นไซร้ ฉันใดพระอา ทนเวทนา สีท้าวตาปี เมียขอชีวัน ประทานโทษทัณฑ์ ครั้งนั้นก็ดี มาจนบัดนี้ ได้ยากมากนี เป็นกรรมกันไป ข้าบาทพลัดมา บิตุเรศมารดา กรรมข้าฉันใด จักทาอย่างนี้ ชีวีบรรลัย กรรมติดตัวไป หลายชาติพระอา พระองค์จงโปรด เมียจักขอโทษ โปรดคืนบิดา ให้เขาดีใจ ได้บุญหนักนา เหมือนหนึ่งตัวข้า ให้พบบิดร ให้เขาคืนไป บ้านเมืองเขาไซร้ ได้เห็นมารดร จรสู่มารดา พระฟังเมียรัก ภิรมย์ใส่ตัก รับขวัญกัลยา เจ้าจะขอมัน นั้นให้ลินลา คืนพระบิดา ของมันโดยดี แม้นกลัวกรรมเรา ตามแต่พระทัยเจ้า นั้นเล่าเทวี โองการตรัสไป บัดใจโดยดี เฒ่าแก่จรลี บัดนี้จงไป สั่งท้าวเชษฐา เบิกอีขี้ข้า จากฉางเร็วไว เกณฑ์คนส่งมัน อย่าไว้วังใน ให้มันส่งไป เวียงวังบิดา ด้วยพระอรทัย เจ้าไม่จองภัย พาอีริษยา อย่าเอามันไว้ ที่ในภารา ส่งให้บิดา


๒๓๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ของมันเร็วไว เฒ่าแก่รับสั่ง คลานจากพระที่นั่ง กระบัดคลาไคล จึงกล่าววาจา เชษฐาฤทธิไกร ว่านางข้างใน ทั้งเจ็ดกัลยา ว่านางเทวี องค์พระมารศรี ทูลท้าวภัสดา ขอโทษนิสัย คืนไปภารา รับสั่งตรัสว่า โขลนจาคุมไป ให้ขี่รถสี ทาไปตามที่ เคยเป็นสนมใน กาชับบิดา ให้เลี้ยงลูกไว้ แม้นผิดสืบไป ฆ่าให้มรณา สี่ท้าวจึง สนมกรมใน บัดนี้เร็วรา ไปเบิกนางงาม มาตามชงฆา บัดนี้โปรดมา ให้ไปบุรี โขลนจาอยู่ไหน มาเกรียมกันไว้ คุมไปธานี ส่งถึงภารา บิดาชนนี ครั้งคราวที่นี่ ได้สาราญใจ บัดเดี๋ยวมิช้า กรมวังสนมหน้า ถึงฉางทันใจ เอาหมายมาพลัน บัดนั้นทันใจ จักเบิกนางใน ที่ต้องโทษา ว่าพระเทวี องค์พระมเหสี ทูลท้าวภัสดา เจ้าทูลขอได้ คืนไปภารา ตรัสโปรดกัลยา ตามใจเมียขวัญ บัดเดียวจะไป ส่งถึงเวียงไชย บิดาด้วยพลัน มาเร็วทั้งหมด คนรถด้วยพลัน จัดจรจรัล ไปสู่ภารา เจ็ดนางดีใจ ยกมือขึ้นไหว้ คุณแก้วกัลยา วันนี้ขึ้นเฝ้า แม่เจ้าเมตตา จึงทูลภัสดา ได้ดั่งพระทัย ข้าจักขอไป ทูลอรทัย กราบบาทก่อนลา พระคุณของเจ้า เท่ากับมารดา เอ็นดูตัวข้า จักขอเข้าไป โขลนจาว่าเล่า จักเข้าไปเฝ้า องค์ออระทรามวัย บัดนี้พระเจ้า ท้าวเสด็จอยู่ใน จักจรเข้าไป ที่ในจักได้ เฝ้าองค์กัลยา ด้วยท้าวผัวขวัญ เสด็จอยู่ด้วยกัน กับพระโฉมยง ที่ในจักได้ เข้าไปเฝ้าองค์ ขึ้นรถโดยจง ไปเสียเถิดรา พากันจรลี ขึ้นบนรถสี โขลนจาคุมมา ตารวจทั้งนั้น เร่งกันกรวดตรา พานางลินลา เข้าดงพงพี ไปได้เดือนหนึ่ง บรรจุลุถึง เวียงชัยบุรี จึงส่งนวลนาง ต่างต่างธานี ให้แก่ชนนี บิดาทันใจ บิดามารดร เห็นลูกบังอร ดีเนื้อดีใจ รับขวัญลูกรัก พิศพักตร์เสียใจ เห็นหลังเห็นไหล่ รอยหวายทั่วตัว อนิจจาลูกแก้ว แต่งให้ไปแล้ว ยังทาความชั่ว โกหกริษยา มาทาเมามัว แต่งต่อความชั่ว ใส่ท้าวฉันใด โขลนจาว่าเล่า นี่หากนุชเจ้า ไม่มาจองภัย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๓๗

หาไม่ชีวา เห็นว่าบรรลัย เอาลูกท้าวไทย ทิ้งเสียวัดวา ๏ บัดนี้พระเจ้า มีโองการท้าว กาชับออกมา ให้เลี้ยงบุตรี จงดีเถิดรา แม้นผิดเมื่อหน้า จักฆ่าให้ตาย บิดาชนนี ได้ฟังคดี ใจคร้ามใจง่าย จักเลี้ยงตามบุญ ทาวุ่นวายนักหนา พ่อแม่จักตาย ก็ตามปัญญา ครั้งนี้รอดตัว ด้วยพระอยู่หัว ไม่เอาโทษา หาไม่จักตาย วอดวายชีวา ทั้งโคตรติวงษา ไม่รอดสักคน พูดกันไปมา จัดเสื้อจัดผ้า ให้ทุกตัวคน แล้วให้เลี้ยงดู เป็นโกลาหล บรรดาที่คน มาส่งธิดา เสนาทั้งปวง เลี้ยงชาวเมืองหลวง บ้างวิ่งไปมา อาหารสิ่งไร ขาดไปบ้างรา บอกเถิดพ่ออา อย่าร้อนรนใจ เลี้ยงจบครบครัน ฝูงคนทั้งนั้น อภิวันท์คลาไคล บ้านเมืองเลืองฤๅ กันอื้ออึงไป มาว่าชังให้ บูดทุกภารา บัดนี้พระเจ้า ให้คืนลูกเต้า มาทุกภารา พ้นทุกพ้นยาก ลาบากแล้วหนา บิดามารดา ดีเนื้อดีใจ คนที่กลับมา ครันถึงภารา เข้าหาสี่ไท้ บอกสี่เชษฐา มิช้าทันใจ ว่าส่งนางใน ถึงไท้มารดา พี่เลี้ยงทั้งสี่ จึงเอาคดี ทูลฉลองราชา ว่านางเจ็ดคน ส่งพ้นภารา สั่งยังบิดา ทั่วทุกตาบล พระฟังเชษฐา ยิ้มแย้มไปมา แล้วตรัสวาที ดีแล้วพี่อา ส่งอีกาลี ให้ไปสู่ที่ บิดามารดร แม้นว่าเลี้ยงไว้ เมื่อหน้าเล่าไซร้ มันจักทายอกย้อน แมวหมาหางคด คดไม่หายงอน ผู้ใหญ่เคยสอน ก่อนเก่าเล่ามา ตรัสพลันทันใด โองการสั่งให้ พี่เลี้ยงซ้ายขวา นางนมนั้นเล่า แสนสาวดาษดา พี่จงเอามา ใช้ที่วังใน ให้กวาดชาลา อัฒจันทร์ซ้ายขวา ให้สาแก่ใจ นางนมพี่เลี้ยง มาเลี้ยงนางไว้ ให้ดูฟืนไฟ ประทีปชวาลา เราเลี้ยงเป็นยศ ฤๅชาปรากฏ ทั่วทุกภารา รู้ไปที่ไหน กลัวเกรงหนักหนา ควรฤๅช่างมา เห็นแก่เงินทอง ให้แต่ละที เงินทองมากมี ข้าไท้ก่ายกอง ไม่สาแก่ใจ ทาได้ทั้งปวง เห็นเงินทอง ของอีจังไร ช่างไม่อนิจจา เอาลูกของข้า ไปทิ้งเสียได้ คิดคิดขึ้นมา ใคร่ฆ่าให้บรรลัย ด้วยพระอรทัย เจ้ากลัวเวรา


๒๓๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สี่ท้าวกราบกราน รับพระโองการ ใส่เกล้าเกศา บัดเดียวทันใจ หมายให้ส่งมา พี่เลี้ยงซ้ายขวา ส่งมาทุกคน ส่งตัวเข้าไป ที่ท่านผู้ใหญ่ จดกันอลวน นางนมพี่เลี้ยง รายเรียงเหลือล้น ให้ดูผู้คน แล้วเอากิจจา บอกกราบทูลภูวไนย พระแสงสุรีฉาย ได้ฟังภิปราย สารวมพระทัย ให้สมน้าหน้า ชาติข้าจังไร ช่างมาทาได้ น้าใจกาลี เรารักทุกคน คิด ... เลี้ยงคน จนถึงเพียงนี้ ฝูงคนเห็นทั่ว กลัวทั้งบุรี ควรทากาลี ด้วยอีเจ็ดคน ท้าวครองเวียงชัย สาราญพระทัย ด้วยนางนิฤามน บ่มีทุกข์ภัย สิ่งไรร้อนรน ท้าวสร้างกุศล แผ่พระเมตตา ครั้นเช้าออกไป ชมผลละมิ่งไม้ ที่ในพฤกษา สาราญพระทัย ยิ่งได้คณนา ชมสัตว์ในป่า ทุกราตรีกาล ไชวีขันเทวี ราพึงคดี ในราตรีกาล จะใคร่บทจร นครสถาน เฝ้าองค์ภูบาล สมเด็จบิดา แต่ลูกจากบาท ป่านฉะนี้ตูราช จะทรงโศกา คิดถึงลูกแก้ว อยู่แล้วองค์อา แสนสาวซ้ายขวา จักมาเปนไฉน สมเด็จปีตา จักลงโทษา ฤๅว่าอย่างไร พี่เลี้ยงนางนม สาวสนมนอกใน ปิตุเรศจักให้ ลงพระอาญา คิดแล้วเศร้าใจ เอาร่าร้องไห้ ในที่ไสยา คิดถึงปิตุเรศ เพียงขาดชีวา เจ้าพระคุณของลูกอา ปานฉะนี้จะเป็นไฉน แต่ลูกจากบาท พระชนนีนาถ นั้นก็พลัดไป อยู่ถึงเมืองสวรรค์ นานจนหือฤๅทัย เมื่อไรจักได้ เห็นท้าวมารดา ตัวกูเกิดมา มีบุญล้าเลิศ ไร้ญาติวงษา เห็นแต่ผู้อื่น ไม่ชื้นวิญญา ไม่เหมือนบิดา มารดาของตัว ทุกวันนี้เล่า ได้เห็นผ่านเกล้า แต่ท้าวผู้ผัว เมื่อหน้าเป็นไฉน ยังไม่รู้ตัว โอ้พระอยู่หัว ลูกอยู่ผู้เดียว เมื่อมีทุกข์ภัย บ่มีผู้ใด จักได้แลเหลียว เมื่อจากภารา เอกาคนเดียว ไปในป่าเปลี่ยน ขอพบยายกัปตา ตาแก่รักใคร่ ช่วยเลี้ยงลูกไว้ ยิ่งอย่างมารดา ได้แทนคุณเล่า สองเฒ่ายายตา ได้พ้นจากข้า ค่อยมาคลายใจ ยังแต่บิดา เมื่อไรเลยหนา จักแทนคุณได้ คิดแล้วโศกา น้าตาหลั่งไหล สบพักตร์ลงได้ กับพระเขนยทอง จึงพระภูมี ขอแจงคดี สมเด็จท้าวน้อง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๓๙

ว่าเจ้าร่าไร ถึงไท้ทั้งสอง สบกับเขนยทอง แล้วทรงโศกา ชู้เกศอรทัย กันแสงสิ่งไร จงแจ้งกิจจา อุ้มองค์นงลักษณ์ ใส่ตักราชา กันแสงโศกา เพื่อใดมารศรี ฤๅหนี่งพี่ยา หนักเบาได้ว่า สิ่งไรเทวี ขัดแค้นวิญญา โศกาหมองศรี จงแจ้งคดี แก่พี่ก่อนรา ฤๅฝูงนางใน มันว่าสิ่งไร แก่กัลยา บอกแก่พี่บ้างรา อย่าพรางน้องอา พี่จะฆ่ามัน ไม่ไว้ชีวา จูบเกศเนตรนาง เจ้าอย่าอางขนาง จงแจ้งคดี เหตุไรกันแสง โรยแรงมารศรี เจ้าจงบอกพี่ บัดนี้น้องอา นางฟังโองการ จึงทูลฉลองสาส์น ปิ่นเกล้าโลกา เมียนี้โศกเศร้า ถึงท้าวบิดา ข้าบาทโศกา จักใคร่จรลี เอ็นดูบิดา ปานฉะนี้จะมา โศกเศร้าหมองศรี น้องจากมานาน สถานบุรี นางนมสาวสี ปานฉะนี้เป็นไฉน ฤๅท้าวบิดา จักลงโทษา ฆ่าฟันฉันใด ขอได้ทราบเกล้า พุทธีเจ้าร่าไร น้องจักใคร่ไป เยียนท้าวบิดา พระฟังเทวี เจ้าอย่าหมองศรี โศกเศร้าโศกี พี่นี้จักให้ จรไปภารา แม่อย่าโศกา ร่าร้องหมองศรี เมื่อรุ่งเวลา จักสั่งเสนา ให้เกรียมมนตรี จักภาเจ้าจร นครบุรี จงพระมารศรี อย่าโศกโศกี นางฟังโองการ พระยอดเยาวมาลย์ ค่อยคลายโศกศัลย์ เจ้าดีพระทัย ใครจักเทียมทัน สองสมชมกัน แท่นแก้วรจนา ครั้นรุ่งราตรี จึงพระภูมี สระสรงคงคา แล้วทรงเครื่องต้น รสสุคนธมาลา แล้วทรงภูษา ระยับจับใจ แล้วก็ลีนลา จากปรางค์รจนา เสด็จออกโรงชัย พี่เลี้ยงทั้งสี่ เสนามนตรี เฝ้าท้าวดาษดา จึงพระภูมี ตรัสแก่ทั้งสี่ พี่ดูกรวจตรา สั่งให้เกรียมพล พหลโยธา ข้าจะลีนลา ไปสู่นคร หมายให้ไปเมืองขึ้น หกพันสี่หมื่น ให้ยกพลจรไป เราจะยกไป เวียงชัยปีตุดร ของสายสมร นครบิดา พี่เลี้ยงรับเอา โองการพระเจ้า ใส่เกล้าเกศา จึงสั่งเสนี บัดนี้เร็วรา หมายบอกกิจจา ทุกทั่วเวียงชัย จะบทจร สู่กรุงพระนคร เมืองนางอรทัย มเหสีพระองค์ ผู้ทรงฤทธีไกร เขียนหมายส่งไป ข้างในด้วยรา ให้เกรียมรถแก้ว ประเสริฐเลิศแล้ว อันงามโอฬา


๒๔๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

แต่งนางประดับรถ แต่งให้ปรากฏ พุดตานใส่สี กระโจมทองพราย ลวดลายอย่างดี เป็นที่สาหรับขี่ ลูกหลวงแต่ก่อนมา ช้างทรงภูมี เอาคชสารสี ตกมันพุ่มงา สาหรับช้างทรง ขององค์ราชา ขุนนางซ้ายขวา คู่เคียงเรียงราย ขอเฝ้าสาวสี สนมชาวที่ เฒ่าแก่ทั้งหลาย แสนสาวรายเรียง เคียงรถพรรณราย แห่รถโฉมฉาย เป็นอันดับกัน เครื่องสูงหน้ารถ แต่งให้ปรากฏ งามเลิศเฉิดฉัน สิบเบดชั้นฉาย แห่รายตามกัน กลางกลดทานตะวัน อภิรมย์ชุมแซง ปี่แก้วแตรงอน เป่าสังข์สลอน ลั่นฆ้องเนืองนอง เมือ่ พระนุชเจ้า เสด็จออกจากเมือง แต่งให้รุ่งเรือง ยกจากพระนคร เสนีจัดพล สะเทือนเกลื่อนกล่น ทั่วทั้งดินดอน บ้างเขียนบาทหมาย ไปทุกนคร มาเร็วให้จร ไปทุกภารา เมืองขึ้นทั้งปวง รู้หมายยกล่วง เข้าสู่นคร ต่างต่างบุรี กูกรีพลมา เข้าสู่มหา ในพระเวียงไชย แล้วบอกคดี แก่ท้าวทั้งสี่ ให้กราบทูลไขย ว่าเมืองขึ้นนั้น จรจรัลคลาไคล เข้าสู่เวียงไชย ในพระภารา พี่เลี้ยงทั้งสี่ จึงเอาคดี ทูลฉลองราชา ว่าเมืองขึ้นเรา นั้นเล่ายกมา ตามมีชงฆา ปิ่มเกล้าทั่วรน พระได้ฟังไข โองการตรัสไป แก่ท้าวทั้งสี่ โหรหาฤกษ์ไชย วันใดจักดี เราจักจรจรัล ออกจากเวียงไชย สี่ท้าวรับสัง ร้องบอกกรมวัง หาโหรมาใน จะดูฤกษ์พา ยาตราเมื่อไร ได้พระฤกษ์ไชย ให้ได้เวลา โหราทั้งสี่ พิเคราะห์นาที ดูที่จะยาตรา เมื่อรุ่งทินกร จรดีนักหนา ได้พระเวลา มหาฤกษ์ไชย สี่ท้าวกราบทูล หน่อนเรนทรสูร ผู้ผ่านภพพระไกร ว่าพระฤกษ์ดี แต่รุ่งพรุ่งนี้ ขอทราบพระไทย เชิญเสด็จลีนลา ฟังเชษฐาทูล หน่อนเรนทรสูร ลีนลาศยาตรา เข้าสู่แท่นแก้ว แล้วทูลกัลยา เข้าไปทูลลา บิดาชนนี จะลาลูกยา จากท้าวไอยกา ไปเมืองชนนี ไปเฝ้าเจ้าตา ภาราบุรี เร่งเร็วแก้วพี่ บัดนี้น้องอา นางฟังโองการ ของพระภูบาล ทรงพระภูษา เสด็จจะออกจากปรางค์ เยื้องย่างลีนลา แสนสาวซ้ายขวา ตามอยู่ไสว ถึงปรางค์บิดร สองกษัตริย์บทจร แท่นทองอาไภย เจ้าถวายบังคม สมเด็จชนไนย กราบกราบท้าวไทย ปิตุเรศทรงธรรม์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๔๑

พระแสงสุรีฉาย จงทูลถวาย สองท้าวด้วยพลัน ลูกจักลาจร นครแจ่มจันทร์ ไปยังไอศวรรย์ กรุงไกรฉายา นางจักลาไป ยังพระเวียงไชย สมเด็จบิดา นุชจากบิดร จรหลายปีมา นางแสนโศกา จักไปธานี บิตุเรศมารดา ได้ฟังวาจา พระฟังเนื้อธิบดี จึงตรัสบัดใจ แก่ไท้สองสี เจ้าจักจรลี ไปสู่เวียงไชย ฉันใดลูกอา ที่ทางมรรคา จาได้ฤๅไฉน จรจากภารา เจ้าขี่คชไกร ช้างเผือกนั้นไซร้ พาเจ้าคลาไคล ที่ไหนอรทัย จักจาทางได้ ลูกรักแม่อา ไอ้พรานนาทาง ให้เอาตัวมา ให้นามรรคา พาเจ้าคลาไคล สองกษัตริย์อาลา ปิตุเรศมารดา ตรัสให้คลาไคล พระโอรสา เสด็จคลาไคล พระโอรสา เสด็จมาบัดใจ เจ้าบังคมไทย ไอยกีไอยกา หลานขอลาจร ไปด้วยมารดร เยียนพระเจ้าตา ให้ตรัสรู้จัก หลานรักเสน่หา แล้วหลานจึงมา นบบาทไอยกี สองกษัริย์ฟังเจ้า ว่าพระขวัญข้าว พ่อไปจงดี ถึงพระไอยกา แล้วมาบุรี ปู่ยาโศกี แต่นี้จะคอยหา จูบเกศจูบเกล้า นัดดาของท้าว แล้วทรงโศกา พ่อไปจงดี ศรีสวัสดิ์ลูกอา สองท้าวโศกา นัดดาจักไป ทั้งสามกษัตริย์ อภิวันท์ไอยกา กระบัดคลาไคล เสด็จยังเกยแก้ว แล้วทรงคชไกร ลูกยาคลาไคล ทรงคชไอยรา ส่วนท้าวมารดร ทรงรถบทจร กับท้าวภัสดา สองกษัตริย์ทรงรถ ปรากฏเลขา แห่แหนแน่นมา รู้ว่าเท่าไร เครื่องสูงสล้าง แห่มาหน้าช้าง โอรสยศไกร แห่รถบังอร สลอนกันไป สนมกรมใน แห่ซ้ายแห่ขวา กรืงกลดทานตะวัน บังแสงสุรีฉัน แห่หน้ารถมา ทั้งพญาพระหลวง รีบล่วงลินลา บ้างตามรถมา รู้ว่าเท่าไร ขอเฝ้าสาวสรร กว่าหมื่นกว่าพัน ตามรถอรทัย ร้อยพันบุรี อยู่นอกออกไป ล้อมองค์อรทัยภูวไนย ชั้นนอกออกมา แต่ชาวเมืองหลวง ล้อมองค์รีบล่วง ฝ่ายซ้ายฝ่ายขวา แม่นปืนสันทัด จัดส่งเข้ามา แห่รถราชา รักษาพระองค์ ท้าวยกพลจร เข้าในดงดอน สะท้อนไพรสัณฑ์ ฝูงสัตว์จตุบาท มิอาจทานทน หลีกลี้หนีพ้น สับสนในไพร จึงมีโองการ ตรัสถามนายพราน บัดเดียวทันใจ


๒๔๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ไปเมืองคันธมาศ ไคลคลาดเพียงใด มึงนาทางไป สักกี่เวลา พรานป่ากราบทูล หน่อนเรนทรสูร ผู้ผ่านภารา อันเมืองคันธิมาศ แม้นจักยาตรา จักประมาณว่า สักสามเดือนปลาย ฟังพรานทูลไข ยิ้มแย้มแจ่มใส ด้วยแก้วกัลยา ทั้งนี้ใครเล่า หนาแก้วพี่อา พรานมันบอกว่า ช้าหลายราตรี นางฟังภัสดา ในราชวิญญา คิดถึงชนนี ทางนี้ไกลล้น ฝูงคนจรลี ยากแค้นแสนทวี จักไปถวายกร ลูกคิดจักใคร่ ไปนบนาถท้าวไท้ สมเด็จบิดร มารดาห้ามไว้ มิให้ลูกจร ป่านนี้บิดร คอยลูกฤๅเป็นไฉน บัดเดียวมิช้า ร้อนถึงมารดา ด้วยพลันทันใจ นางอ้นร้อนรน บัดดลขึ้นไป เฝ้าท้าว(ส)หัสนัยน์ กราบทูลคดี ว่าลูกข้าบาท ไชวีขันน้อยนาฏ จักคืนบุรี ไปเฝ้าบิดา พาท้าวสามี โอรสเรืองศรี ไปเฝ้าไอยกา หนทางนี้ไกล ได้ยากโพยภัย ยิ่งยวดนักหนา ขอจงพระองค์ ได้ทรงเมตตา ย่นย่อมรรคา ให้พระบุตรี (ส)หัสนัยน์ได้ฟัง ใจจิตคิดหวัง องค์อรเทวี จึงย่นหนทาง ให้นางเทวี สิบห้าราตรี ถึงที่ภารา ไวยเวศณุกรรม์ ลงไปสาปสรร ผลไม้ป่า ทุกสิ่งกินได้ ที่ในหิมวา ละมุดสีดา เป็นผาสุขใจ ที่ท้องดงดาน ผลไม้เปรี้ยวหวาน สาราญพระทัย ผลไพรได้กิน ทุกสิ่งมีใน จักยากสิ่งไร ได้กินสาราญ ท้าวยกพลจร เข้าในดงดอน ล่วงเข้าไพรสัณฑ์ ให้ตั้งพลับพลา รจนากระการ ชวนนางนงคราญ เข้าสู่พลับพลา ย่นแล้วด้วยพลัน จึงเวศณุกรรม์ ทูลท้าวโลกา สาเร็จเสร็จแล้ว แผ้วทั้งมรรคา ทีนี้ธิดา จักสาราญใจ อินทรเจ้าโลกา ได้ฟังเทวี มโนแจ่มใส ดีแล้วท้าวไทย เจ้าได้คลาไคล สิบห้าวันไตร ได้ถึงพระนคร ครั้นรุ่งเวลา ทั้งสามกษัตริย์ จึงยกพลจร ชมนกชมไม้ มาในดงดอน ผลไม้สลอน อเนกนานา สารพันกินได้ ลูกดกดาษดา แสนสาวนางใน บางไปเก็บมา หยุดช้างหยุดม้า เก็บสาราญใจ ขุนนางจึงว่า นี่ไอ้พรานป่า ทูลว่าทางไกล ว่าหากินยาก ลาบากนั้นไซร้ น้าท่าหาไม่ ยากไพรนักหนา ทีนี้เป็นไร เห็นทางนี้ใกล้ อยู่แล้วแลหนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๔๓

ถามไอ้พรานเฒ่า ดูเล่าเร็วรา พี่เลี้ยงราชา ว่าไปถามพลัน เอาพรานมาถาม เหตุไรนายพราน ให้การไม่ธรรม์ ว่าทางจักไป กรุงไกรเขตกั้น สูทูลวันนั้น ว่าไกลกว่าไกล แล้วว่าของกิน ที่ในไพรสิณฑ์ ไม่มีสิ่งไร น้าท่าหายาก ลาบากเหลือใจ อันนี้เป็นไฉน ได้กินสาราญ ตัวคิดลวงเจ้า ว่าเอาเปล่าเปล่า ไอ้เฒ่าสาธารณ์ ชอบลงหวายเฆี่ยน แทบเจียนวายปราณ ให้สมน้าพราน ฬ่อลวงกษัตริย์ พรานป่าว่าเล่า ข้าไม่ลวงเจ้า สักเท่าเกศา ข้าเดินภงพง นี่ทุกเดือนตรา มาเห็นผีตา ฆ่าแล้วมากมาย เดชะบุญท้าว พระผู้ผ่านเกล้า แน่แล้วโดยหมาย เห็นทางนี้หนา บวรสบาย ข้าแปลกต้นปลาย ทางนี้แลหนา แล้วมีสระสี อุบลจงกลนี มีมากเหลือหลาย เป็นบุญพระเจ้า ท้าวเสด็จผายผัน เทวาทั้งหลาย มาช่วยเมตตา อย่าเพิ่งเฆี่ยนขับ ข้าน้อยจะย่อยยับ เสียแล้วพระอา พี่เลี้ยงมาชวนกัน แล้วพากันมา กราบทูลราชา ตามความสงสัย ข้าบาทเห็นแคลง พฤกษายังแคลง ผู้คนปลูกไว้ สระน้าสาราญ สถานพงไพร พวกพลสกนธ์ไกล ได้กินสาราญ ฤๅพระโอรส มีบุญปรากฏ เทพระช่วยโปรดปราน ครั้งหนึ่งเจ้าเขียน สามเศียรบ่นาน จึงพระภูบาล ได้ช้างอย่างเขียน ครั้งนี้ทางไกล เทพระย่นย่อให้ อย่าได้วนเวียน บุญพระโฉมยง เหมือนทรงช้างเขียน อย่าให้วนเวียน ถึงท้าวไอยกา พระฟังสี่ท้าว พี่มาทูลไข เห็นด้วยเร็วรา พรานป่าว่าไกล ได้สามเดือนตรา น้องเห็นว่ามา สักสิบห้าวัน เชษฐาทูลว่า ไอ้พรานเฒ่าว่า ว่าแลวทรงธรรม์ ว่าเมื่อพรานเฒ่า เดินเข้าหิมวันต์ พฤกษาทั้งนั้น บ่มิได้กิน ฟังทั้งสี่ สารวลสรวลสี พระทัยคิดถวิล ร้ายดีลูกเรา บุญเจเฉิดฉาย ผลไพรได้กิน บ่ได้เคืองใจ ตรัสแล้วมิช้า เสด็จจากพลับพลา ยกพลสกนธ์ไกร ตรัสถามพรานป่า ภารายังไฉน ใกล้แล้วฤๅไร จาเร่งบอกมา พรานทูลภูมี ยังห้าราตรี จักถึงภารา ขอจงพระองค์ ทรงพระกรุณา ให้หยุดโยธา ไว้กลางพงพี จักจูลุไป เจ้ากรุงเวียงไชย ไม่แจ้งว่าบุตรี จักว่าข้าศึก พิลึกจรลี ช่วงชิ่งบุรี วามีสงคราม พระฟังพรานไพร ชอบราชหฤๅทัย ตรัสไปบ่นาน


๒๔๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ให้หยุดพลไกล ในไพรพฤกษา ยั้งอยู่สถาน ทีนี้ก่อนรา พลเรานับแสน ล่วงเข้าในแดน จักตกประหม่า จักว่าข้าศึก พิลึกโลกา ท่านท้าวบิดา ตกราชหฤๅทัย แต่งตั้งพลับพลา วิจิตรรจนา สาราญพระทัย พลแนบแวดล้อม ภิรมย์พร้อมไสว เมืองน้อยนั้นไซร้ ห้อมล้อมออกมา พลับพลาตั้งไว้ พวงพลเรียงราย ฝ่าซ้ายฝ่ายขวา ดูกรวดตราพล สับสนดาษดา พลับพลาเจ้าฟ้า อยู่กลางเสนี ทั้งพระลูกยา ที่เป็นฝ่ายหน้า เข้าบุกคลุกคลี หัวเมืองตกใจ มิใช่พอดี แต่งราชสาส์นสี เข้าทูลกรุณา แต่งในราชสาส์น ว่าทัพมากครัน เป็นกลศึกมา อยู่ปลายแว่นแคว้น แดนเมืองภารา ทัพหลวงทัพหน้า เป็นอสงไขย พรีพลเหลือหลาย ครั้งนี้สงคราม เห็นอย่านอนใจ พระองค์ทรงฤทธิ์ จักคิดฉันใด อย่าได้ไว้ใจ แก่ราชศัตรู แสนาถวายสาส์น จึงพระภูบาล พิศเพ็งเล็งดู เห็นเป็นหนักแน่น ล่วงแดนเข้าอยู่ ครั้งนี้อกกู จักคิดเป็นไฉน พระญาติวงศ์ ไม่หลอสักองค์ คิดเศร้าพระทัย ทั้งพระธิดา เจ้ามาหนีไป แม้นอยู่เล่าไซร้ ได้เป็นเพื่อนตาย แม้นว่าเจ้าอยู่ จักให้มีคู มีสูอับอาย ถึงทัพยกมา พ่อว่าไม่ตาย ดูนางโฉมฉาย ได้รบณรงค์ พ่อเสียดายนัก ด้วยพระลูกรัก เจ้าไปจากองค์ ใครเลยจักช่วย พ่อด้วยโฉมยง ชีวิตพ่อคง มอดม้วยฉิบหาย ทุกข์ในวิญญา แล้วเสด็จเข้ามา ปรางค์มาศพรรณราย ท้าวทรงโศกี มิได้เคลื่อนคลาย คิดไปใจหาย ด้วยพระบุตรี แม้นเจ้าอยู่รา ได้ผ่านภารา เป็นเจ้าธรณี พ่อหวังตั้งใจ ให้ครองบุรี แม้นได้สามี มีสูเป็นไร ครอบครองหัวเมือง ยกเข้ามาเนือง เร่งทูลท้าวไทย ว่าทัพนี่หนัก เห็นจักบรรลัย เร่งกราบทูลไขย สมเด็จราชา เสนากราบทูล จงพระนเรนทรสูร ตรัสมีชงฆา นิ่งอยู่ไยเล่า ชาวเจ้าซ้ายขวา ทหารเสนา กรวตรากันไป ประตูบุรี ปิดเสียจงดี เกณฑ์คนไสว ปืนใหญ่เอาขึ้น ป้อมไขบัดใจ หน้าที่แห่งไร ระวังจงดี ให้คนนั่งยาม ไปมาไถ่ถาม ให้ได้ท่วงที ประเวณีเวียงไชย ปิดไว้จงดี หัวเมืองบุรี กวาดต้อนเข้ามา เสนารับสั่ง โองการมายัง ลูกขุนเสนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๔๕

ให้เกรียมรี้พล เกลื่อนกล่นภารา บ้างขนปืนมา ขึ้นหน้าที่ทาง ประตูเวียงไชย พะนิดปิดไว้ มีคนรักษา บ้างขึ้นป้อมไขย ดูให้ตรวจตรา เดินให้ผิดเวลา จับเอาตัวไป กล่าวถึงราชา สุรีแสงเจ้าฟ้า อยู่พลับพลาไชย ตรัสแก่มเหสี เจ้าพี่คิดไฉน จักได้เข้าไป นบบาทบิดา ปีนขึ้นป้อมไขย ระวังเวียงไชย แน่นนั่นนักหนา บิดาคิดหนัก ว่าศึกเข้ามา จักเข้าภารา ยากยิ่งแสนทวี นางจึงทูลลา ขอพระองค์เจ้าทรง ราชสาส์นสี ว่าข้าธิดา จักมาบุรี จงทูลชุลี สมเด็จบิดา พระฟังมารศรี เจ้าคิดเห็นดี นะแก้วพี่อา พระองค์ส่งสาส์น สาราญวิญญา แจ้งว่าในสาส์นตรา มาตามคดี เดิมข้าทรงธรรม์ ชื่อไชวีขัน เป็นพระบุตรี ลูกนี้บทจร กุญชรพาหนี เผือกผู้จรลี ออกจากภารา ไปราชชนนี มิให้ลูกนี้ คืนสู่บิดา ลูกนี้โศกเศร้า ยิ่งเล่าคณนา ท้าวราชมารดา มิให้คลาไคล ให้ลูกมีคู่ บัดนี้ไม่อยู่ สู่สวรรคาลัย คิดถึงบิดา ข้าบาทคลาไคล ลูกคิดตั้งใจ แทนคุณบิดา จึงเชิญสามี ชุมพลมนตรี ลูกนี้อตส่าห์ คิดว่าจะได้ นบบาทบิดา แทนคุณบิดา สมเด็จบิดร ลูกมีโอรส องค์หนึ่งปรากฏ เจ้าร่าวิงวอน จักใคร่เห็นหน้า ไอยกาภูธร ลูกจึงพาจร มานบบาทบาทา ครั้นทรงสาส์นแล้ว โองการแจ้วแจ้ว ตรัสสั่งเสนา ดูให้ม้าใช้ เข้าไปภารา แต่งทูตเร็วมา นาราชสาส์นไป เข้าไปบุรี นาเอาสาส์นสี ไปถวายท้าวไทย ยื่นให้เสนี ที่ปัญญาไว ว่าทัพมาไซร้ ใช่ศึกติดเมือง ม้าใช้ได้สาส์น ลาพระภูธร กระบัดย่างเยื้อง ราชทูตทั้งสี่ จรจรัลเข้าเมือง ทูลความตามเรื่อง ที่มีในสาส์น ราชทูตทั้งสี่ แต่ล้วนคนดี รู้ขนบราชการ กับม้าใช้ จรในไพรสัณฑ์ วันเดียวประมาณ ถึงพระบุรี เข้าบอกสาลา ตาแหน่งเคยมา รับราชสาส์นสี ว่าเรานี้มา จากป่าพนาลี จักถวายสาส์นสี เจ้ากรุงภพพระไกร เร่งส่งตัวเรา เข้าไปได้เฝ้า เจ้ากรุงเวียงไชย อย่าให้ข้างช้า ชาวชาลาไลย จักได้เข้าไป จักถวายราชสาส์นสี


๒๔๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ชาวชาลาถามไป ท่านมานี้ไซร้ ชอบแล้วด้วยดี ข้าศึกอันมา อยู่ป่าพงพี ฤๅว่าสาส์นสี มาแต่หนใดใด ราชทูตจึงว่า เราถือสาส์นมา แต่ป่าพงไพร ทัพอันยกมา ใช่ว่าอื่นไกล บุตรีท้าวไทย เจ้ากรุงภารา ชาวเมืองได้ฟัง ดีใจทั่วทั้ง นั่งอยู่สลอน ดีเนื้อดีใจ ได้ข่าวบังอร บุตรีภูธร ช้างเผือกพาไป เจ้าเล่นคชสาร ช้างเผือกนั้นพา ออกนอกเวียงไชย บุญเจ้านักหนา กลับคืนมาได้ ไม่ม้วยบรรลัย กลับคืนบุรี สมเด็จบิดา ตั้งแต่โศกา จนเท่าวันนี้ ได้ข่าวธิดา เห็นว่าภูมี ค่อยคลาย วันนี้แลนา พูดกันมิช้า จึงชาวชาลา พากันเข้าไป ส่งทูตทั้งสี่ ให้เสนีใน ว่าเข้ามาไซร้ จึงถวายสาส์นตรา ราชทูตทั้งสี่ จะถวายสาส์นสี แก่พระราชา ทัพยกมาไซร้ ใช่อื่นไกลเลย คือองค์ธิดา ของพระจักตรี เร่งพาตัวไป ให้เฝ้าท้าวไทย เจ้ากรุงธานี จักได้แจ้งว่า ธิดาพันปี เห็นว่าทีนี้ จักคลายโสกา ต่างคนดีใจ ยกมือขึ้นไหว้ แม่เจ้าเสด็จมา ทีนี้ข้าไทย ที่รับอาชญา จักพ้นทุกขา หน้าที่มีตาย จึงพาทูตนั้น เข้าไปด้วยพลัน โรงทองพรรณราย พอองค์พระเจ้า ท้าวเสด็จผายผัน ขุนนางน้อยใหญ่ เฝ้าอยู่อัตรา จึงขุนชาลา พาทูตเข้ามา มิช้าด้วยพลัน จึงบอกเสนา ที่มาพร้อมกัน ท่านเร่งทูลพลัน บัดนี้เร็วรา บัดนี่ทูตหลวง บอกกิจทั้งปวง ราชสาส์นใช้มา ว่าศึกเกลื่อนกล่น ที่ยกพลมา คือองค์ธิดา ของพระจักตรี เสนารับสาส์น ก้มเกล้ากราบกราน ถวายสาส์นพันปี ว่าศึกยกมา ภาราบุรี ให้ทูตทั้งสี่ มาถวายสาส์นตรา จักมาร้ายดี ขอพระจักตรี ทรงสาส์นก่อนรา จะได้จะแจ้ง แห่งมูลกิจจา จงทราบบาทา ด้วย ....๚๛


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๔๗

กลอนสวดเรื่อง แตงอ่อน นัฐพร ปะทะวัง๖๑ แตงอ่อน เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องหนึ่งที่ปรากฏแพร่หลายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งอาจมี ชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น มหาวงศ์แตงอ่อน (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๒: น. ๕๐๔๒) นางแตง อ่อน (อุดม หนูทอง, ๒๕๔๒: น. ๓๖๙๒) เป็นต้น วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากจะมีสถานะตัวบทเป็นวรรณคดี ท้องถิ่นประเภทนิทานแล้ว ยังมีสถานะตัวบทเป็นวรรณคดีชาดก(ชาดกนอกนิบาต)ด้วย (พระมหาโยธิน ปัดชาสี, ๒๕๔๗: น. ๑) เช่นเดียวกับ แตงอ่อน ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด ที่ผู้วิจัยนามาปริวรรตเผยแพร่ในครั้งนี้ ซึ่ งแสดงให้ เห็ น อย่ างชั ด เจนว่ ามี ลั ก ษณะของชาดก ด้ ว ยเป็ น เรื่อ งราวที่ เกี่ ย วแก่ พ ระโพธิสั ต ว์พ ระนามว่ า สุวรรณดุศดา ที่มำของตัวบท แตงอ่อน ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด ต้นฉบับเป็นสมุดไทขาว จารด้วยอักษรไทย เส้นหมึกสีดา สานวนที่พบเป็นฉบับพลัด ไม่ปรากฏสมัยที่แต่งและผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าผู้แต่งน่าจะเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง เพราะมักใช้คาที่เกี่ยวกับหลักธรรมหรือหัวข้อธรรมตลอดทั้งเรื่อง หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องการร่วมเพศ ดังจะ เห็นได้จากตอนเข้าพระเข้านางของตัวละครเอก ผู้แต่งกล่าวแต่เพียงว่า “ชื่นชมสมสมัย หยอกกันไปในราตรี บรรทมประสมศรี บนแท่ นทองทั้งสองรา” นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่าในการกล่าวถึงพระอินทร์ ผู้แต่งใช้คาว่า “บพิตร” ได้แก่ “โกสิตบพิตรหน่อภพไตร” “โกสิตบพิตรคิดปอง” ซึ่งคา “บพิตร” เป็นคาที่พระภิกษุสงฆ์ใช้แก่ เจ้านาย พระมหากษัตริย์ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: น. ๖๐๓) โดยปริยายอาจใช้ได้แก่ผู้มี ศักดิ์เทียบเท่า ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ด้านฉันทลักษณ์ กลอนสวดเรื่องแตงอ่อน แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์ ๑๑ กาพย์ ๑๖ และกาพย์ ๒๘ ในส่วนของกาพย์ ๑๑ นั้นพบว่าปรากฏทานองสวดที่เรียกว่า “กาบอกข่าว” ด้วย มักพบใน ตอนที่ ตัว ละครพู ดไม่จ ริ ง พู ด ปด ตั วละครฝ่ ายร้ายเพ็ ดทู ล เรื่องร้ายป้ ายสี ตัว ละครเอก (ตรีศิล ป์ บุ ญ ขจร, ๒๕๔๗: น. ๙๔) เช่น ส่วนว่านางทั้งห้า จึงเอาลูกกุมภีล์ ร้องว่าเจ้าเทวี ออกจากครรภ์พระฉายา

๖๑

นทรวิโรฒ

ทามารยานางเทวี คุกโลหิตติดนักหนา ลูกเจ้านี้เป็นกุมภา น่ากลัวเป็นพ้นใจ

ผู้ช่วยวิจัยประจาโครงการฯ, นิสติ ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนคริ


๒๔๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

นอกจากนี้แล้วยังพบว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ปรากฏคาประพันธ์ประเภทอื่นด้วย คือ เยสรรตา หรือ เยสัน์ ตา ซึ่งเป็นคาประพันธ์ชนิดเก่า ดังปรากฏแบบแผนการแต่งในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี ว่า ๏ ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐ ฯ ๏ เยสัน์ตา ๒๑ กลอน ๗ ทานุก ฯ ๏ ปางนั้นอินทรานุเทวา นิกรอมรมา มาปรชุมนุมประชุมใน ๏ ยังถานาถานุเลอศไกร ครัน้ แล้วสดับยุบลใน เจตนานิตยบันดาล (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒, ๒๕๔๕: น. ๔๙๘) ปรากฏในกลอนสวดเรื่องแตงอ่อน เช่น นงนุชสุดสวาทนาถกัลยา ด้วยพระเชษฐาเลยนะเยาวมาลย์ ค่าแล้วนางแก้วยอดสงสาร ร่อนสู่สถานร่วงรังแห่งตน

เหตุใดเจ้าบ่ได้จานรรจา ฟังเสียงนกในดงละหาน

เนื้อเรื่อง ในส่ ว นของเนื้ อหา เนื่ องจากแตงอ่อนฉบับ นี้เป็น ฉบับ พลั ด เนื้อความจึงไม่ ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี สามารถแบ่งเนื้อความที่พบออกเป็น ๔ ช่วง ได้ดังนี้ ช่วงที่ ๑ ท้าวพาลราช โอรสของท้าวเกตุม (พระเชษฐาองค์กลาง) ปรารถนาจะได้พระขนิษฐาคือนาง สุวรรณแตงอ่อนเป็นคู่ครอง จึงออกอุบายชวนพระสุวรรณดุศดา (พระเชษฐาองค์ใหญ่) และนางสุวรรณแตงอ่อน ประพาสป่า หลังจากตั้งพลับพลาแล้ว หลอกให้พระสุวรรณดุศดาพร้อมด้วยไพร่พลไปเอาสมบัติที่เขาเงินยวง ส่วนท้าวพาลราชก็ถือโอกาสเข้าหานางสุวรรณ- แตงอ่อน นางสุวรรณแตงอ่อนคว้าพัดตีพระเศียรแตก ทรงกริ้ว จึงใช้พระขรรค์บั่นพระเศียรของนางขาด แล้วลากพระศพไปทิ้งไว้ในป่า ช่วงที่ ๒ เมื่อพระสุวรรณดุศดากลับมา (พาลราชก็ใส่ร้ายนาง และชวนพระสุวรรณดุศดากลับเข้าเมือง แต่พระสุวรรณดุศดาไม่กลับ (อุดม หนูทอง, ๒๕๔๒: น. ๓๖๙๓)) นั่งกอดพระศพอยู่เพียงพระองค์เดียว พระ อินทร์ยังรู้ด้วยทิพยญาณจึงแปลงองค์ เป็นยักษ์ชรามาลองใจว่า พระสุวรรณดุศดามั่นคงในความรักที่มีต่อพระ ขนิษฐาเพียงใด ด้วยการขู่ให้ กลัวและขอกินศพนางแตงอ่อน พระสุวรรณดุศดาไม่ยอมแต่ ให้กินตนเองแทน พระอินทร์จึงแปลงเป็นหญิงรูปงามมาทูลเชิญให้ไปครองเมืองและอภิเษกด้วยกัน พระสุวรรณดุศดาก็ยังคงไม่ ปรารถนา ในที่สุดพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นชีปะขาว ช่วยชุบชีวิตนางแตงอ่อนให้ฟื้นขึ้นมา พร้อมทั้งแนะให้ เดินทางไปเมือง สเกด (จะได้พบคู่ครองของนางแตงอ่อน) ช่วงที่ ๓ พระสุวรรณดุศดาและนางแตงอ่อน เดินทางมาถึงเมืองสเกด ทั้งสองตัดสินใจปลูกกระท่อม บริเวณชายป่าใกล้แม่น้า ซึ่งเบื้ องล่างนั้นเป็นที่อยู่ของพญาจระเข้ วันหนึ่งพญาจระเข้ได้มาเข้าฝันบอกพระ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๔๙

สุวรรณดุศดาว่านางแตงอ่อนเช็ดน้าข้าวรดตนทุกวัน ขณะนี้ตนใกล้จะตายแล้ว และถ้าตนตายพระสุวรรณดุศดา ต้องมาเป็นจระเข้แทน เมื่อพระสุวรรณดุศดาตื่นบรรทมจึงเตือนนางแตงอ่อน แต่นางได้ลืมถ้อยคาของเชษฐา ทาให้เกล็ดของพญาจระเข้กระเด็นลงไปในหม้อข้าว เมื่อพระสุวรรณดุศดาเสวยจึงกลายเป็นจระเข้ ไม่ช้าก็ กระโดดลงแม่น้าไป จากนั้นมานางแตงอ่อนได้ แต่ร่าไห้เสียใจทุกวัน กล่าวถึงพระอินทร์เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่ เกิดขึ้น จึงดลใจให้เจ้าชายไพรนามมหาวงศ์เสด็จประพาสป่า เพื่อให้มาพบนางแตงอ่อนซึ่งเป็นคู่ครองกัน ช่วงที่ ๔ พระไพรนามมหาวงศ์พบนางแตงอ่อนรับสั่งว่าจะรับนางไปเป็นมเหสี (แต่นางแตงอ่อนทูลว่า ถ้าจะให้นางเข้าไปอยู่ในวังนางขอพาจระเข้พระเชษฐาไปด้วย ซึ่งพระไพรนามมหาวงศ์ก็ทรงยินยอม (น้ามน อยู่ อินทร์, ๒๕๔๕: น. ๘๐)) นางแตงอ่อนอยู่ในวังอย่างไม่เป็นปรกติสุข เพราะถูกกลั่นแกล้งจากสนมทั้งห้าของพระ ไพรนามหาวงศ์ ต่อมาไม่นานนางแตงอ่อนก็ทรงพระครรภ์ วันหนึ่งนางสนมทั้ง ห้าออกอุบายให้พระไพรนาม มหาวงศ์เข้าป่าไปคล้องช้าง ในระหว่างนี้นางแตงอ่อนได้ประสูติพระโอรส นางสนมทั้งห้าเอาจระเข้มาสับเปลี่ยน กับพระกุมารโดยไม่ให้นางแตงอ่อนรู้ ส่วนพระกุมารนั้นเอาใส่หีบไปฝั่งไว้ใต้ต้นเกด แต่ได้เทพธิดาประจาต้นเกด ช่ว ยไว้จึงรอดตาย และตั้งชื่อให้ ว่า “เกศสุ ริยา” ด้านนางแตงอ่อนเมื่อพระไพรนามมหาวงศ์เสด็จกลั บ มา หลงเชื่อคาเพ็ดทูลของนางสนมทั้งห้าว่านางประสูติพระโอรสเป็นจระเข้ จึงทรงกริ้ว (และขับไล่นางออกจาก เมือง) ลักษณะเฉพำะของตัวบท เมื่อเปรียบเทียบกลอนสวดเรื่องแตงอ่อน ฉบับวัดบุปผาราม จังหวัดตราด กับสานวนอื่นๆ พบว่ามี ลักษณะเฉพาะที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ดังนี้ ๑. ในกลอนสวดเรื่องแตงอ่อนฉบับนี้ ตัวละครที่เป็นพระโพธิสัตว์คือ พระสุวรรณดุศดำ พระเชษฐา ของนางแตงอ่ อน เหมือ นกั บ ฉบั บ ที่ แพร่ห ลายอยู่ ในภาคใต้ ต่ างจากฉบับ ภาคเหนือ และภาคอีส านที่ พ ระ โพธิสัตว์ คือพระสุริยงญาณ ซึ่งเป็นพระโอรสของนางแตงอ่อน (พระมหาโยธิน ปัดชาสี, ๒๕๔๗: น. ๑) และเป็น ที่น่าสังเกตว่า แตงอ่อนฉบับภาคเหนือ และภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันของเนื้อหามากกว่าภาคอื่น เช่นเดียวกับแตงอ่อนภาคใต้ และภาคกลาง จะมีลักษณะที่เหมือน ทั้งนี้อาจเพราะความใกล้ชิดกัน ในเรื่องของ สังคมและวัฒนธรรม ๒. ชื่อของตัวละครในเรื่องมีความแตกต่างจากฉบับอื่นๆ พอสมควร อาทิ ในส านวนวัดเกาะ พระ เชษฐาพระองค์หนึ่งของนางแตงอ่อนซึ่งเป็นผู้ฆ่านางให้ถึงแก่ความตายคือ “ไวยราช” แต่ในฉบับนี้ใช้ว่า “พาล ราช” แปลว่า “ราชผู้เป็นพาล” ซึ่งแสดงนัยความเป็นตัวละครฝ่ายตรงข้ามกับพระโพธิสัตว์อย่างเด่นชัด หรือใน ฉบับภาคเหนือและภาคอีสานเรียกพระโอรสของนางแตงอ่อนว่า “พระสุริยงญาณ” แต่ในฉบับนี้เรียกว่า “เกศ สุริยา” โดยคาว่า “เกศ” อาศัยมูลเหตุที่ถูกนามาฝังใต้ต้นเกด ส่วน “สุริยา” นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคาสร้อย ที่เติมเข้าไปเพื่อให้เห็นความเป็นกษัตริย์สืบเชื้อสายมาจาก “สุริยวงศ์” ฯลฯ ทั้งนี้ยังปรากฏชื่อเต็มของนางแตง อ่อนด้วยว่า “สุวรรณแตงอ่อน” ซึ่งสอดคล้องกับชื่อ “สุวรรณดุศดา” ผู้เป็นพระเชษฐา เช่นเดียวกับชื่อของท้าว มหาวงศ์ พระสวามีของนางแตงอ่อน ที่ปรากฏชื่อเต็มว่า “ไพรนามมหาวงศ์”


๒๕๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๓. มุ่งนาเสนอคาสอนด้วยกลวิธีที่หลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของชาดกในฐานะวรรณกรรมคา สอน (สายวรุณ น้อยนิมิตร, ๒๕๔๒) อาทิ - นำเสนอผ่ำนคำพูดของตัวละคร กลวิธีนาเสนอคาสอนผ่านคาพูดของตัวละคร โดยให้ตัวละครหนึ่งกล่าวในเชิงสั่งสอนตัวละคร อีกตัวละครหนึ่งนั้น เป็นกลวิธีที่สามารถพบเห็นได้ในวรรณกรรมไทยหลายเรื่อง เช่น กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ ทศรถสอนพระราม พิเภกสอนเบญกาย เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวละครที่จะกล่าวสอนตัวละครอื่นนั้นมักจะเป็นตัว ละครที่มีคุณธรรม หรือสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นในด้านใดด้านหนึ่ง ได้ อันจะส่งผลให้ผู้รับสารยอม รับ คาสอนนั้ น ได้อย่างไม่มีข้อกังขาหรือแย้งกับพฤติกรรมของตัวละครที่เป็นผู้สอน ซึ่งในวรรณกรรมเรื่องนี้ ปรากฏตัวละครที่ทาหน้าที่เช่นนี้ ๓ ตัวละคร คือ พระบิดาและพระมารดาของเจ้าชายไพรนามมหาวงศ์ กล่าวสั่งสอนเจ้าชายไพรนามมหาวงศ์ในตอนที่มากราบทูลลาเสด็จไปประพาสป่า ว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นสิ่งที่ ไม่ควรทา บิตุราชนาถมารดา ไปป่าพนาวัน สิ่งนี้...(เลือน)....... วงศาเราหาไม่

ฟังยอดฟ้ามารับขวัญ อย่าช้าพลันฆ่าสัตว์ตาย ข้าสัตว์เป็นตัวจะตาย เป็นใจร้ายใจกระลี

และพระสุวรรณดุศดา กล่าวสั่งสอนนางแตงอ่อนเกี่ยวแก่การปฏิบัติตนเป็นภรรยาที่ดีของ เจ้าชายไพรนามมหาวงศ์ ว่า หนึ่งโสดน้องรัก ตรัสแก่สามี ประนมชุลี จึงตรัสวัจนา หนึ่งโสดเข้าเฝ้า อย่าแตงอ่อนเจ้า ให้งามโสภา เมื่อจรคลาไคล อย่าแลไปมา ดูพลเสนา ในพระโรงศรี หนึ่งโสดอย่าทา ขับเล่นเต้นรา คบนางสาวศรี หนึ่งโสดหนทาง ที่ท้าวจรลี อย่าทามิดี นั้นบ่ควร อันหนึ่งอย่าทา เดินเอาลานา ทาเป็นกระบวน อย่าถือเชิงชาย ว่าเป็นใหญ่หลวง อย่าขึ้งหึงหวง นางสนมทั้งผอง แท่นอาสน์พระจร จงสลัดปัดผง เรือดไรไยยอง เจ้าจงระวัง อย่านั่งแท่นทอง เกลือกท้าวจะเศร้าหมอง ขัดข้องพระทัย เฝ้าพระภูมี อย่าคิดมิดี ตริตรึกนึกใน แม้นท้าวตรัสถาม ค่อยทูลความไป นั่งเฝ้าท้าวไท ให้ตรงพักตรา เพ็ดทูลสิ่งใด คอยเมื่อท้าวไท ผันแปรแลมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๑

จึงค่อยทูลความ แต่ตามอัชฌา อย่าแลไปมา ดูข้าสาวศรี เกิดมาเป็นหญิง ให้รู้ทุกสิ่ง จึงว่าสัตรี พี่สอนเจ้าจาไว้ เป็นพรชัยศรี ให้รู้ถ้วนถี่ เท่านี้แลนา... - นำเสนอผ่ำนควำมรู้สึกนึกคิดของตัวละคร การน าเสนอคาสอนผ่ านความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ปรากฏในตอนที่พระสุ วรรณดุศดา โศกเศร้าร่าไห้กับการจากไปของนางแตงอ่อน เมื่อมีสติจึงสอนตนเองว่าสังขาร์เป็นของไม่เที่ยงมีความดับสูญไป เป็นธรรมดาเช่นเดียวกับท่อนฟืนที่ถูกไฟเผาจนเหลือแต่เถ้า ...โอตัวเรานี้เล่าเกิดมา ตลาหนึ่งดังท่อนฟืน ...คนเรานี้นาตลาท่อนฟืน ไม่มีความอนิจพิจารณา - นำเสนอผ่ำนควำมคิดเห็นของผู้แต่ง การนาเสนอในลักษณะนี้เป็นการแทรกความคิดเห็นของผู้แต่งเองลงไปภายในเรื่อง หลังจากมี เหตุการณ์ที่เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็นหรือคาสอนเกิดขึ้น ในวรรณกรรมเรื่องนี้ ปรากฏหลังจากเหตุการณ์ที่ ท้าวพาลราชลวงให้ข้าราชบริพารไปค้นหาสมบัติที่ภูเขาเงินยวง ด้วยความโลภคนเหล่านั้นจึงทาร้ายฆ่าฟันกัน ทาให้ล้มตายเป็นจานวนมาก ซึ่งเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้แต่งแสดงความคิดว่าความโลภคืออวิชชา ทาให้มนุษย์ขาดสติ และเป็นหนทางแห่งความตาย ...ศิลาว่าเงินยวง เห็นเงาเร่งเมามัว พานดูภูผันผาย ความโลภเห็นเป็นหนัก หญิงชายมาทั้งนี้

ชวนกันล้วงเพียงปางตาย หยิกเอาหัวเพื่อนทั้งหลาย ความคิดอายก็ไม่มี เหตุด้วยรักเงินทองดี อวิชชามาหุ้มห่อ

- นำเสนอผ่ำนพฤติกรรมหรือเหตุกำรณ์ภำยในเรื่อง พฤติกรรมหรือเหตุการณ์ภายในเรื่อง เป็นกลวิธีสาคัญที่กวีใช้ในการนาเสนอคาสอน ดังเช่นใน วรรณกรรมเรื่องนี้ คาสอนหนึ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านเหตุการณ์ภายในเรื่องคือ “คนดีหรือผู้บริสุทธิ์ย่อม รอดพ้นจากภยันตราย” เห็นได้จาก นางแตงอ่อนแม้จะถูกท้าวพาลราชฆ่าตายเนื่องจากขัดขืนไม่ยอมเป็นมเหสี ของพระองค์ แต่ด้วยบุญบารมีและความดีของนาง ทาให้ “กัมพลอาสน์แข็งคือศิลา” “ร้อนรนคืออัคคี” พระ อินทร์จึงต้องเสด็จลงมาชุบชีวิตนางให้ฟื้นคืน และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือตอนที่พระโอรสของนางแตงอ่อนถูกคน ใช้ของนางสนมทั้งห้าที่อิจฉานาง นาตัวใส่หีบไปฝังไว้ใต้ต้นเกด ด้วยยังเป็นทารกซึ่งบริบูรณ์ด้วยความบริสุทธิ์ ทาให้ “นางเทพเทวา อันอยู่ธรมาน์ ที่ต้นพฤกษาช้านาน” เกิดความสงสารและนามาเลี้ยงดูเสมือนบุตรของตน


๒๕๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จากกลวิธีการนาเสนอคาสอนข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่ากวีสามารถนาเสนอคาสอนเรื่องต่างๆ ด้วย กลวิธีที่หลากหลาย แยบคาย ในฐานะที่เป็นวรรณกรรมคาสอนเรื่องหนึ่ง ซึ่งการเข้ าใจกลวิธีต่างๆ เหล่านี้จะทา ให้ผู้เสพสารเข้าถึง “สาร” ของผู้สร้างได้เป็นอย่างดี และเพิ่มอรรถรสแก่การอ่านได้ดียิ่งขึ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๓

บรรณำนุกรม ตรีศิลป์ บุญขจร. (๒๕๔๗). กลอนสวดภำคกลำง. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. น้ามน อยู่อินทร์. (๒๕๔๕). วิเครำะห์ตัวละครเอกฝ่ำยหญิงในวรรณกรรมชำวบ้ำนจำกวัดเกำะ. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร. พระมหาโยธิน ปัดชาสี. (๒๕๔๗). กำรศึกษำเปรียบเทียบวรรณกรรมภำคเหนือและอีสำนเรื่องนำงแตงอ่อน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร. ราชบั ณ ฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนำนุกรมฉบับรำชบัณ ฑิ ตยสถำน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์. วรรณกรรมสมัยอยุธยำ เล่ม ๒. (๒๕๔๕). กรุงเทพฯ : สานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. สายวรุ ณ น้ อ ยนิ มิ ต ร. (๒๕๔๒). อรรถกถำชำดก : กำรศึ ก ษำในฐำนะวรรณคดี ค ำสอนของไทยและ ควำมสั ม พั น ธ์ กั บ วรรณคดี ค ำสอนเรื่ อ งอื่ น . วิ ท ยานิ พ นธ์ อั ก ษรศาสตรดุ ษ ฎี -บั ณ ฑิ ต สาขาวิช า ภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุดม รุ่งเรืองศรี. (๒๕๔๒). มหาวงศ์แตงอ่อน. สำรำนุกรมวัฒนธรรมไทยภำคเหนือ เล่ม ๑๐. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. อุ ด ม หนู ท อง. (๒๕๔๒). นางแตงอ่ อ น. สำรำนุ ก รมวั ฒ นธรรมไทยภำคใต้ เล่ ม ๘. กรุง เทพฯ : มู ล นิ ธิ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.


๒๕๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: กลอนสวดเรื่อง แตงอ่อน ๏ แสนสาวชาวแม่ คะนึงอึงแอ ม้าช้างก่ายกอง วันนั้นทรามเชย เจ้าเผยม่านทอง ชมแนวแถวถ่อง ตามท้องตลาดหลวง ๏ พลเมืองเนืองมา ชมโฉมกัลยา ตลแก้วชูดวง ประนมไหว้เล่า ทุกทั่วกระทรวง บุญปกลูกหลวง เบิกบายถวายโฉม ๏ ชาวพระนคร อื้ออึงขจร โสมนัสประโลม เศรษฐีชาวเมือง ลือเลื่องชมโฉม ยกมือประนม เหนือเกล้าเกศา ๏ นี้แหละแม่เจ้า เป็นปิ่นปกเกล้า ข้าเจ้าแลนา ยอดเยียใจดี ยามมีโรคา ข้าบาทบาทา มาเห็นเย็นใจ ๏ บุญเผื่อเกื้อหนุน ภิรมย์สมบูรณ์ ใครจะปูนปานไท สิ้นนวลควรคู่ ท้าวผู้ฤทธิไกร โกสีย์ตรีนัยน์ เจ้าไตรตรึงษา ๏ โองการพาลราช ใจจิตพิศวาส ด้วยนาถกัลยา จะใคร่ปกครอง ด้วยน้องเสน่หา ถ้าได้กัลยา มาสบายน้าใจ ๏ ถ้าว่านางน้อง ภิรมย์สมห้อง ปกครองราไชย ด้าวแดนพารา เสนาข้าไท ทั้งนี้เล่าไซร้ ถวายให้กัลยา ๏ เจ้าสุวรรณแตงอ่อน เห็นชาวนคร อวยพรวันทา จึงนางเศร้าสร้อย ระห้อยนักหนา จรไปในป่า ไม่มาสบายใจ ๏ ราพึงถึงตัว คิดทิฐิกลัว พาลราชจังไร คิดคิดพิกล ซ่อนตนกลางไพร นางไม่ไว้ใจ แก่ไท้พี่ยา ๏ ทาอุกรุกวาท อายแก่อามาตย์ มนตรีเสนา แค้นใจขัดขืน ใคร่คืนพารา กลัวพระพี่ยา โกรธาฟืนไฟ ๏ พาลราชพระราชา เร่งจับพลจงไว ๏ เสนารับสั่งพลัน ช้างม้ามาคับคั่ง ๏ เตรียมตรับไว้สรรพเสร็จ ช้างม้าทาสข้าไท ๏ พาลราชชาติกระลี แล้วท้าวเธอมาตรัสสั่ง ๏ ออกนอกเมืองเวียงชัย ชาวแม่หมู่ซ้ายขวา ๏ แตงอ่อนเจ้ากัลยา

สั่งเสนามาทันใจ สับกันไปตามเราสั่ง ตรวจตรากันพลันโดยหวัง แก่เถ้าชาวนอกใน ทูลสมเด็จพระจอมไตร สมคบไปตามท้าวสั่ง เห็นมนตรีทูลโดยหวัง ให้ขับพลโยธา ยืดยาวไปตามมรรคา เดินแลหน้าแลหลังไป ทรงคชางามประไพ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๕

เถ้าแก่แห่ล้อมไป ๏ พาลราชชาติใจหวัง สู่ป่าพนาลี ๏ ท้าวตรัสอยู่แจ้วๆ ชื่นชมภิรมย์ใจ ๏ ชมไม้แลชมสัตว์ น้องเอ๋ยชมสกุณา ๏ นกร้องเสียงแจ้วๆ เซ็งแซ่คือแตรสังข์ ๏ เสด็จถึงพระไพร มนตรีแลเสนา ๏ ท้าวตรึกนึกในใจ ดุศดาพี่ยานั้น ๏ ให้คุมพลโยธา เขานั้นปรากฏไป ๏ จงเร็วชวนกันไป แจกปันทุกพญา ๏ แบ่งปันกันให้เท่า บรรดาเอามาได้ ๏ ชาววังฟังท้าวตรัส ยินดีเร่งปรีดา ๏ หมู่หญิงไปหัวนา โจงกระเบนวิ่งขึ้นไป ๏ แก้วประพาฬอยู่ยอดเขา เห็นขาววาวแก่ตา ๏ ไม่รู้ซึ่งเหตุการณ์ ศิลาว่าเงินยวง ๏ เห็นเงาเร่งเมามัว พานดูภูผันผาย ๏ ความโลภเห็นเป็นหนัก หญิงชายมาทั้งนี้ ๏ ไม่รู้ท้าวเธอลวง ๖๒

น่าจะเป็นคาว่า “ป่า” สัมผัสกับคาว่า “นา”

เข้าสู่ไพรพนาลี เสด็จเบื้องหลังนางเทวี มนตรีห้อมล้อมไป แก่น้องแล้วสายสุดใจ สัตว์ในไพรมีนาๆ ตามขนัดมีในไพร๖๒ ร้องในป่าเสียงต่างกัน ดังปี่แก้วเมื่ออยู่วัง ทองร้อย(ชั่ง)ฟังเถิดรา ตั้งทัพในแดนราวป่า ท้าวพญามานี้นั่น จักใช้ไปหมู่กานัล แห่งนักธรรม์นั้นไป สู่ยังป่าภูเขาใหญ่ แก้วประไพเงินทองตรา ภูเขาใหญ่ขนเอามา หมู่เสนาข้าหญิงชาย หมู่ชาวเจ้าท่านทั้งหลาย แจกปันให้เหมือนกันนา คิดว่าสัจวาจา บังคมลาลาไป สู่ภูผาบัดเดี๋ยวใจ ถึงบ่อหยุดขุดไขว้หา เห็นเป็นเงาจับศิลา บางคิดว่าแผ่นเงินยวง พระยาพาลท่านล่อลวง ชวนกันล้วงเพียงปางตาย หยิกเอาหัวเพื่อนทั้งหลาย ความคิดอายก็ไม่มี เหตุด้วยรักเงินทองดี อวิชชามาหุ้มห่อ คนทั้งปวงคิดซื่อต่อ


๒๕๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ไม่ว่าเธอลวงล่อ

ยินดีต่อพระภูมี

ฉบัง ๏ กล่าวถึงพาลราชเดียรถีย์ เจ้าศรีสุวรรณแตงอ่อน ๏ ในใจตลไฟลามรอน ด้วยวรราชกัลยา ๏ แต่งองค์ทรงพระภูษา มหามงกุฎเลิศไกร ๏ พระหัตถ์รัดสอดแหวนใส่ ค่าได้ก็ควรพารา ๏ กรซ้ายถือพวงมาลา เสร็จทรงซึ่งพระขรรค์ชัย ๏ พระบาทยาตราคลาไคล แห่งอรไทกัลยา ๏ แตงอ่อนวรราชธิดา จินดาในพระหฤทัย ๏ ข่มเหงแขนงร้ายฤๅไฉน ทรามวัยไม่ย่อท้อกรร ๏ ตริพลางนางตรัสจานรรจ์ ทรงธรรม์เสด็จมาชมไพร ๏ คือราชสีห์ฤทธิไกร แห่งน้องนี้ไซร้แลนา ๏ ทั้งสองภูบาลผ่านฟ้า แห่งน้องนี้ภูบาล ๏ พาลราชสุนาฏเยาวมาลย์ แก่นางมิได้เกรงใจ ๏ สุดท้องน้องพี่ศรีใส ยอดไยให้พี่โหยหา ๏ ไมตรีด้วยพี่เถิดรา แห่งพี่เถิดรามารศรี ๏ ในอกฟกช้าแสนทวี น่าที่จะม้วยมรณา ๏ พาลราชช้าเชื้อเพื่อมา

อยู่ด้วยเทวี จะได้สมสมร สร้อยสนิมพิมพา ธามรงค์ทรงไว้ พระหัตถ์เบื้องขวา สู่พลับพลาชัย เห็นพี่ยามา แม้นม้วยบรรลัย ปราศรัยไปพลัน เป็นร่มโพธิ์ไทร พี่ปกเกล้าเกศา ลดเลี้ยวเกี้ยวพาน พี่คิดผิดใจ เป็นอัครชายา มิได้มารศรี ไม่มีน่า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๗

อายแก่พระมนตรี ๏ นี้ด้วยเล่าคนเดียรถีย์ เท่านี้ยังรู้ฤๅนา ๏ ช่างคิดจิตสุนัขา ชั่วชาติ...(เลือน)...บัดสี ๏ ตริแล้วจับพวงมาลี เจ้าศรีสุวรรณแตงอ่อน ๏ บัดนั้นกัลยาสายสมร ตีถูกพระยานาคา ๏ แค้นคัดขัดใจนักนา คือท่อธาราแดงฉัน ๏ คิดเองไม่เกรงใจกัน ดังนั้นไม่ปรารถนา ๏ ตริเล่านางเศร้าโศกา ดุศดามาช่วยน้องพลัน ๏ ไปไปให้ไกลน้องนั้น จะเห็นหน้ากันเล่านา ๏ ตรัสตรัสถัศดาบ่ช้า มาเกิดร่วมครรภ์ชนนี ๏ กลุ้มจิตคิดไม่ถอยหนี ตีถูกเกศีพญาพาล ๏ มงกุฎหลุดจากเศียรสาร หัวแตกก็แหกส่าเสียง ๏ ชายพาลบันดาลโกรธเกรียม ถึงบั่นเอาเกล้าธิดา ๏ เกิดเกล้าเจ้าขาดคลาดคลา เกล้าเจ้ากลิ้งกลางทราย ๏ เสียดายนงนุชโฉมฉาย ทั้งคนแลทรายปนกัน ๏ ฤๅชาติพาลราชอาธรรม์ ทิ้งไว้ในสุมทุมพุ่มป่า ๏ เศียรเกล้าแห่งเจ้าเรานา กับพระธิดาด้วยกัน

หนึ่งน้องหนึ่งพี่ โอหังคลั่งบ้า สวมเกล้าเทวี โกรธาตลาค้อน เนตรนัยน์ไหลมา ชาติชายอาธรรม์ เรียกพระพี่ยา ถ้าว่ามาทัน ชาติสุนัขา ฉวยได้พัชนี พาลราชเดรฉาน จับพระขรรค์เทียม ถึงแก่มรณา โลหิตเรี่ยราย

ลากศพจอมขวัญ ทิ้งไว้ในป่า


๒๕๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ ตัดใบไม้ปกงกงัน กลัวพระสุวรรณดุศดามาแต่เงินยวง ๏ ตกใจนมัสการบวงสรวง ผีสางทั้งปวง ช่วยคุ้มพิทักษ์รักษา ๏ คิดกลัวเจ้าสุวรรณดุศดา จักทรงโกรธา มาฆ่าให้ม้วยเป็นผี ๏ เพราะว่ารี้พลมนตรี อยู่ด้วยมากมี เห็นทีจะเป็นแก่นสาร ๏ ตามแต่บุญไสร้ในกาล เคยทาแก่ท่าน ก่อนกาลมาล้างชีวี ๏ น้อยใจมันน่าบัดสี ด่าทอต่อตี กูหนีมิไกลเล่านา ๏ แม้ว่ารี้พลโยธา มิเข้าด้วยก็ดี ข้าแต่เทวาปรานี ๏ หัวแตกเพราะกระษัตรีย์ เจ็บดิ้นสิ้นที ราวีกูมาอาสัญ ๏ ขึ้นมาพลับพลาตนพลัน คิดกลัวตัวสั่น เร็วพลัน....(เลื่อน).... ๏ ในใจตลไฟลนรอน โศกาอาวรณ์ ถึงนุชน้องกัลยา ๏ ดลใจนงนุชดุศดา ช่วยคุ้มตูข้า ได้คิด... ************************************ ...เลยขึ้นบุรี ๏ พาลราชชาติใจหมา ในจิตคิดเดียรถีย์ ๏ ต่างคนบ้างกอดศพ กลิ้งเกลือกเสือกกลางทราย ๏ พาลราชชาติอักกุศล จงเร็วหมู่เสนา ๏ ค่อมเคานางเถ้าแก่ เจ้าหมู่กรมวัง ๏ พญาแลไพร่ลวง

ลวงเจ้ามาฆ่าเป็นผี ไม่ยินดีฆ่าเสียตาย ไห้สลบอยู่วุ่นวาย ทั้งหญิงชายฟายน้าตา ให้ขับพลขึ้นพารา เรายาตราเข้าไปวัง ทั้งชาวแม่มาคับคั่ง สั่งให้ขับพลกลับคืน พลทั้งปวงเร่งแตกตื่น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๙

ยกพลกลับมาคืน ๏ ต่างๆ ขึ้นคชคชา ข้าสาวหมู่ชาวใน

เข้าไปยังเมืองเวียงชัย ท้าวพญามากตราตรัย ไห้ร่าไรใจขาดหาย

สุรำงคนำงค์ ๏ แต่พระดุศดา องค์เดียวเปลี่ยวตา ธาราฟูมฟาย กอดศพน้องอยู่ ดุจเพียงปางตาย ทีนี้พี่ชาย ๏ ค่อยถดลดมา ออกจากพลับพลา ราชาธิบดี จิตยิ่งลิงโลด กระโมดเอกี คิดถึงมารศรี ๏ เสียดายสายใจ เจ้ามาประลัย ที่ในราวป่า เจ้าจะให้พี่ เศร้าสร้อยคอยหา เหมือนพี่แกล้งพา ๏ พี่ยาอาธรรม์ ใจมันฉกรรจ์ คิดอ่านพาลผิด เหตุนางไม่คิด ชีวิตสูญเสีย ทาชั่วผัวเมีย ๏ พระดุศดาศรี ท้าวไทใจดี ตริดารงกาย เหตุด้วยโพธิสัตว์ จักตรัสสืบสาย เกิดชาติหน้าไซร้

.

เยสรรตำ ๏ พระสลบกับศพฉายา งามยิ่งนักหนาคือดังเทียนทอง ๏ เศียรขาดเลือดไหลนาดนอง ตัดพระศพน้องแก้วกัลยา ๏ ตลพลางทางคิดอนิจจา ตลาหนึ่งดังท่อนฟืน ๏ ท้าวยกเศียรนางพลางสะอื้น ไม่มีความอนิจพิจารณา ๏ ยกศพทบทับกับพี่ยา ปกศพน้องยาผู้มารศรี ๏ โศกศัลย์กันแสงเพียงแสนทวี ซบกับศพพระธิดา ๏ นงนุชสุดสวาทนาถกัลยา ด้วยพระเชษฐาเลยนะเยาวมาลย์ ๏ ค่าแล้วนางแก้วยอดสงสาร ร่อนสู่สถานร่วงรังแห่งตน ๏ ลุกเถิดนางนิฤมล

ตายด้วยมารศรี แก้วพี่แลนา เจ้ามาฆ่าเสีย ไม่คิดเสียดาย เป็นพระศาสดา

ท้าวพินิจพิจารณา พระทรงฤทธิ์คิดตรึกกรอง โอตัวเรานี้เล่าเกิดมา คนเรานี้นาตลาท่อนฟืน แล้วท้าวจึงเอาพระภูษา จิตตรมไม่สมประดี เหตุใดเจ้าบ่ได้จานรรจา ฟังเสียงนกในดงละหาน มาจะไปสู่ไพรสณฑ์


๒๖๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เสวยสมบัติท้าวพันตา ๏ นอนเหนือปถพีนี้นา ยิ่งกระยาจกตกเข็ญมา ๏ โพธิสัตว์ตรัสทรงพระอาลัย อยู่ในหิมเวศ....(เลื่อน).... ๏ …(เลื่อน)...รุ่งเช้าเจ้าโศกศัลย์ อยู่ในหิมวันด้วยสายสมร ๏ ไม่ละซากศพนางบังอร เน่าเปลือยเป็นพุพองบ่เกลียดหน่าย ๏ สังเวชน้าพระเนตรเจ้าฟูมฟาย กล่นเพียงปางตายเราไซร้ก็มาเศร้าหมอง ๏ เดชะบุญยังทั้งสองไท จึงร้อนขึ้นไปถึงตรัยดาวดึงสา ๏ อาสน์แก้วไพแพร้วรจนา เหตุใดเล่านามากลับกลาย ๏ อ่อนคือสาลีเรืองฉาย สุรเสียงฉายคือสายฟ้า ๏ โกสิตบพิตรหน่อภพไตร ให้ร้อนรนคืออัคคี ๏ อัมรินทร์อินทร์เจ้าท้าวโกสีย์ ในที่ประพาสนวลนางสวรรค์ ๏ ดนตรีเสภาเสียงนี้นั่น องค์พระทศพลบ่สาราญ ๏ ตรัสเล็งเพ่งพิศคิดอาการ รู้ซึ่งอาการจึงพิศวง ๏ เห็นหน่อจักรพรรดิทั้งสององค์ เจ้ามาปลดปลงชีพสั้นบรรลัย ๏ ยังแต่พี่ชายผู้สายใจ จะม้วยบรรลัยไปเป็นสอง ๏ โกสิตบพิตรคิดปอง ใส่น้าอามฤตธารา ๏ หัสนัยน์ฤทธิไกรเจ้าไพรู จู่ถึง...(เลือน)...แก้วเงินยวง ๏ หัสนัยน์หฤๅทัยนักหน่วง

กรรมเราใดๆ ทามา ด้วยธิดาข้าเล่าไซร้ ไม่ไปไกลสานักธรรม์ อสุภังเป็นรังนอน ไหลเป็นเลือดเดือดดั้นพรรณราย เจ้าได้สร้างไว้แต่ก่อนไกล กัมพลอาสน์แข็งคือศิลา แข็งกระด้างช่างมากลับกลาย เทวะไสยาสน์เหนืออาสน์ประไพ เคยอยู่สุขสนุกเปรมปรีดิ์ บ้างร้องบ้างขับจับระบาบน ตรีเนตรเจ้าท้าวมัฆวาน น้องสาวทรามอันงามเยียรยง แต่เดือดดาลราคาญหฤๅทัย จับคนทีทอง เจ้าจึงเสด็จลงมาวางวู จะใคร่ลวงพระเจ้าลูกหลวง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๖๑

ซื่อสัตย์ต่อหญิงยังจะจริงฤๅนา ๏ จะทาสีหนาทเลื่องลือ ทาให้ดังคือเสียงฟ้าผ่า

เสียงสนั่นประพรั่นลั่นอื้อ

๑๑ ๏ โกสีย์ท้าวตรีเนตร แปลงเพศเป็นยักษา ๏ ทาฤทธิ์แลพิทธี ไม้รังในดงดอน ๏ สารพัดมาเศร้าซบ ยังแต่พระฦๅสาย ๏ แม้นตายก็ตายด้วย ไม่วิ่งทิ้งศพนาง ๏ อินทร์เจ้าธิบดี บ่าวน้อยถอยเร็วรา ๏ ผีนี้เป็นอาหาร เน่าพองต้องพีฟัน ๏ ลุกไปอื่นเถิดรา อยากเนื้อเป็นเหลือใจ ๏ รูปทรงองค์พระบาท เนื้ออ่อนนอนด้วยผี ๏ นงนุชพระดุศดา หฤๅทัยพระโฉมฉาย ๏ โพธิสัตว์จึงตรัสตอบ ปิ่นเกล้าท้าวยักษา ๏ ข้านี้เป็นพี่ยา พี่ชายร้ายฉกรรจ์ ๏ อาตมาพี่ยาช่าง ชีวาพิราลัย ๏ เชิญท่านมากินข้า ไม่พีเสมือนผี ๖๓ ๖๔

สีหนาท น่าจะเป็น พระธิดา

ผู้เรืองเดชเรืองฤทธา แก่ชราเขี้ยวงางอน เพียงคีรีจะม้วยมรณ์ ล้มวินาศพาดกันไป วิ่งกระสบเพียงปางตาย กอดศพไว้บ่ได้วาง ชีวิตม้วยด้วยโฉมปราง นั่งแนบข้างเจ้าเรานา เปล่งเสียงสี๖๓จึงว่ามา จากผีไซร้เร่งไปพลัน เราเที่ยวซานในหิมวัน ผิว์สัตว์นั้นไม่พอใจ อย่าให้ข้านี้ฟุนไฟ เร็วจงไวจากซากศพ โฉมสวาทเจ้าหลากดี น่าบัดสีไม่เกลียดอาย ฟังยักษามาท้าทาย ไม่กลัวตายเท่าเกศา วาจาตอบอสุรา เชิญกินข้าเสียด้วยกัน พระนัดดา๖๔ผู้อาสัญ ฟันธิดาให้ประลัย เอ็นดูนางพ้นวิสัย ใคร่ตายไปด้วยเทวี เสียเถิดนา..(เลือน).ยักษี เนื้ออ่อนดีพอฟันฟาง


๒๖๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ อัมรินทร์ทรงอินทรจักรพรรดิ หายไปในท่ามกลาง ๏ นิมิตเป็นสัตรี ยิ่งอย่างนางในเมืองบน ๏ กรายกรอ่อนระทวย ลินลามาจากดง ๏ นั่งใกล้ปลายพระบาท เชิญพลันจานรรจา ๏ ดังฤๅพระภูธร ลุกขึ้นเถิดนะพระพี่ ๏ น้องจักนาไป กรุงแก้วแพร้วพรายพรรณ ๏ บิดาพิราลัย เชิญเสด็จพระภูธร ๏ เษกสองด้วยน้องนี้ สมทรงองค์เจ้าฟ้า ๏ น้องรักบากหน้ามา วาสนาเขาผู้เดียว ๏ ลุกขึ้นเถิดทรามปลอด แม้นว่าเมื่อยู่จริง ขนิษฐาอันชนม์นี้ เอ็นดูข้าด้วยเยาวมา๖๕ ๏ สุขศรีมิใช่น้อย อย่าถวิลคิดกินใจ ๏ ยามค่าย่างเข้าห้อง แท่นแก้วแววโอฬาร ๏ เชยชมน้องสมสนิท ทรงพิเวณี๖๖มา

เห็นโพธิสัตว์ไม่ระวาง หว่างเขาป่าพนาลัย แจ่มใสศรีแสงสุริยน กลลวงล่อให้เธอหลง ย่างสะสวยคือนางหงส์ ตรงถึงเข้าหาดุศดา ร้องประกาศด้วยเจ้าข้า โลมเจ้าฟ้าผู้เรืองศรี ไยมานอนด้วยซากผี เชิญจรลีด้วยน้องพลัน เสวยราชัยไอศวรรย์ ชื่อสวัสดิราชนคร ไม่มีใครจะสมสมร เสวยนครแทนบิดา เป็นมเหสีล้าโลกา กับน้องยาเหมือนพิมพ์เดียว หาเจ้าฟ้าในไพรเขียว พบเจ้าฟ้าคู่ข้าจริง อย่านอนกอดศพน้องหญิง จง..(เลือน)..ไม่เข้ากัน สิ้นชีวีมาสู่ป่า สืบสังสารท้าวราไชย พระยอดสร้อยอย่าอาลัย ปริ่มอาลัยใครจะปาน ชมเชยน้องเป็นสาราญ สาราญใจไปแลนา ตามความคิดเมื่อนิทรา ทูนหัวข้าย่อมแจ้งใจ

๑๖ ๏ นงนุชดุศดาท้าวไท ๖๕ ๖๖

เยาวมาลย์ น่าจะเป็น ประเวณี

เห็นนางนี้ไซร้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๖๓

เพราเพริศงามเลิศนักหนา ๏ รูปทรงองค์นางกัลยา กัลยาซึ่งมาเป็นผี ๏ เป็นที่คิดถวิลยินดี กูนี้ไปครองพารา ๏โพธิสัตว์ตรงตรัสเป็นศาสดา วิญญาณ์เจ้าคิดคืนพลัน ๏ ย่างคิดแต่อ่อนแจ่มจันทร์ นักธรรม์บ่ได้จะอาลัย ๏ กอดศพน้องร้องไห้ร่าไร นางไทมาชวนเสน่หา ๏ โพธิสัตว์ตรัสรู้กิริยา ก็กลับมากอดศพทรามวัย ๏ โพธิสัตว์มีวาจาไป ใคร่มาเป็นคู่เสน่หา ๏ ยังมีพี่ชายแห่งข้า พญาบ่มีมเหสี ๏ ถ้าน้องปองถวิลยินดี ท้าวพี่จะรับปกครอง ๏ เชิญไปตรงทางนางน้อง จะครองเจ้าเป็นภิริยา ๏ เชิญไปตรงหนมรรคา พระพาลราชผู้เจ้าเวียงชัย ๏ สบประสงค์องค์ท้าวเล่าไท ชอบใจที่สุดเสน่หา

ดีจริงยิ่งกว่า มาเฝ้าซากผี ลวงด้วยตัณหา ถึงแก่อาสัญ จิตในหวั่นไหว ไม่ให้วาจา แก้วพี่มีใจ ครอบครองพารา ไปสู่บุรี พี่นี้ไม่ปอง ........(ไม่มี)........ ถ้าเห็นทรามวัย

สุรำงคนำงค์ ๏ ตรัสแต่เท่านั้น โพธิสัตว์อัศจรรย์ กลั้นพระวิญญาณ์ ท้าวเจ้าสุราลัย ตกใจนักนา คลาดจากกัลยา เป็นตาปะขาว ๏ สมเด็จนรินทร์ ปราศจากแผ่นดิน สู่ดาวดึงสา แล้วกลับมาเล่า เป็นตาปะขาวมา เข้าใกล้สองรา โศกศัลย์พันทวี ๏ บอกแก่เจ้าฟ้า พระสุวรรณดุศดา ผู้เรืองรัศมี ตัวเรานะเจ้า ชีวโขท้าวโกสีย์ มาช่วยเทวี ที่ม้วยมรณา ๏ ลุกขึ้นจึงพลัน เราจักชุบ(อา)สัญ นักธรรม์กัลยา


๒๖๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

อันตายวายวอด ให้รอดขึ้นมา ลุกขึ้นเถิดนา ตูข้าด่วนไป ๏ ปางนั้นโพธิสัตว์ ครั้นได้ฟังอรรถ เจ้าฟ้าสุราลัย ชื่นชมสมสุข ลุกพลันทันใจ กราบเกล้าท้าวไท เจ้าตรัยตรึงสา ๏ โกสีย์มีฤทธิ์ เอาน้าอมฤต วิจิตรโอฬาร์ รดศพมารศรี ชีวีคืนมา เศียรขาดคลาดคลา เข้ามาติดกัน ๏ เน่าพองผ่องใส เดชะน้าแก้ว หายแล้วสบสันต์ คืนองค์ทรงร่าง สาอางทุกประการ โฉมนางอย่างสวรรค์ บ่ทันเทียมศรี ๏ ตลาฟื้นตื่นนอน นรลักษณ์อักสร โกสีย์ธิบดี สองกษัตริย์พี่น้อง ตรัสร้องวาที ท่านท้าวโกสีย์ ตรัสมีโองการ ๏ ดูราสองเจ้า อย่าพากันเข้า ไปครองศฤงคาร พญาเจ้ากรม จักทาจองผลาญ ให้ตายวายปราณ สิ้นทั้งสองคน ๏ อินทร์เจ้าตรัสชี้ ไปตรงทิศนี้ สบที่ประสงค์ กรุงไตรใหญ่กว้าง ขอบเขตพระองค์ ท้าวไทสุริยวงศ์ ทรงฤทธิ์มหิมา ๏ เนื้อหน่อจักรพรรดิ ท้าวเสวยสมบัติ ความสัตย์วาจา ************************************ ...(หาย)...อยู่พัก สานักสบายใจ ค่อยเลื่อนเคลื่อนไป สุดใจพี่อา ๏ กรุงไกรสเกด เราไม่รู้เนตร ขอบเขตพารา ดีร้ายใกล้ไกล เช่นไหนน้องอา โดยเดาเราไป ช้านานมารศรี ๏ เราหยุดอยู่พัก ลาเรื่อยเหนื่อยพัก แสนศัลย์พันทวี ชวนสรงคงคา ในมหาสระศรี ชมพรรณอันมี ที่สระสาคร ๏ ชมหัศบงกช ห่มรวยสวยสด ทรงรสเกสร บัวหลวงร่วงโรย โบกโบยเกสร ดอกลูกแก่อ่อน เนืองนองนักหนา ๏ ทุกสาระพัน บัวกระจับเง้าบัว เต็มทั่วคงคา โพธิสัตว์เก็บได้ ยื่นให้ธิดา เอาเป็นภักษา สองราสาราญ ๏ พระพายชวยชื่น พัดมารวยรื่น รสกลิ่นทุกประการ ตลเมืองแมน แสนสนุกสาราญ ปรากฏคชสาร ลงเล่นนัที ๏ เนียมเผือกเสือกสัน โคบุตรสังขทันต์ กามกรอมมากมี เอกโทโสภา พญาหัตถี เล่นสนั่นมี่ ที่ในสาคร ๏ ช้างค่อมต่าเตี้ย พรั่งพรายรายเรี่ย ในพงดงดอน ครั้นเห็นสองเจ้า เข้ามาสลอน ชูงวงถวายกร แก่นางมารศรี ๏ พญาเผือกพัง เห็นนางร้อยชั่ง แตงอ่อนอรดี ถ้ารู้เจรจา จะถามมารศรี ทาวลสนธิ มานี้จะไปไหน ๏ โกญจนาทผาดร้อง ทาทักสิ้นผยอง พี่น้องสองไท


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๖๕

แล้วนาบริวาร ดงดาลพิสัย ๏ เก็บเอาผลไม้ บรรดากินได้ ฉวัดเฉวียน เวียนเฝ้าสองรา

เข้ามาคลาไคล สู่ไท้สองรา ถวายสองกระษัตรา พังพลายซ้ายขวา มิใคร่จะคลาไคล

ยำนี ๏ แตงอ่อนเจ้าอรดี ถามพรรณฝูงปลา ๏ ปลาอะไรไท้เชษฐา ว่ายแหวกแถกนัที ๏ โพธิสัตว์ตรัสบอกน้อง เติบโตมหึมา ๏ ปลาใดไท้เชษฐา เวียนระไวในพันพัว ๏ โน่นแน่แม่ปลากราย ปลาเค้าเข้าพันพัว ๏ เอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย วันรุ่งพรุ่งนี้เช้า ๏ อุทัยไขรัศมี โพธิสัตว์กับอรไท ๏ เทพเจ้าในเถื่อนถ้า สิงสู่อยู่พฤกษา ๏ ดงดึงย่านพฤกษ์เถา กัลยามีบวงสรวง ๏ เข้าดงแล้วออกเถื่อน ถึงที่ดังใจหมาย ๏ พระองค์ผู้ทรงพุทธ ไปในพระนคร ๏ โฉมเฉิดเพริศพริ้มพราย มุ่งร้ายหมายขวัญเรา ๏ งามสุดหยุดอาศัย ใกล้ฝั่งพระนัที ๏ ตรัสพลางทางหาไม้ ห้องหับเป็นทับป่า ๏ พระสุวรรณดุศดา

ตรัสเสาวนีย์แก่พระพี่ยา ท่องล่องมากลางนัที ดูมหึมาทั้งยาวรี โปรดเถิดบอกน้องรา ซึ่งว่ายท่องล่องคงคา ปลาราหูดูพึงกลัว งามนักหนาผุดเห็นตัว ทั้งสองตัวงามโสภา ปลาสวายว่ายชูหัว ปลาดอกบัวปลานกเขา จักพลัดพรายกับตัวเรา เราจะลาท่านทั้งหลาย รุ่งราตรีสีแสงฉาย ยอกรไหว้เทพเทวา ในสระน้าห้วยเหวผา ข้าขอลาท่านทั้งปวง เทวาเจ้าทั้งเขาหลวง เทพทั้งปวงแล้วคลาไคล ค่อยคลาเคลื่อนส่าเดือนปลาย ไพรสเกดพระนคร ตรัสแก่นุชสายสมร ราษฎรจะเห็นเรา ชายทั้งหลายซึ่งอับเฉา พระนงเยาว์จะหมองศรี ที่ริมไพรพนาลี อยู่ที่นี่เถิดธิดา ปลูกสร้างได้ดั่งจินดา เจ้าสองราอยู่อาศัย เที่ยวพฤกษาหาผลไม้


๒๖๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ฟืนผักหามาได้ ๏ ชาวตลาดแลเห็นเจ้า สาอางอย่างลูกหลวง ๏ ฟืนผักชักยื้อแย่ง ท่านผู้ชายขายให้ข้า ๏ บ้างถามถึงนามพงศ์ เชิญมาหาสักวัน ๏ ข้าเป็นแม่หม้าย หย่ากันเทียมไอ้ชู้ ๏ เหมือนท่านฉันนี้หนา ฟืนผักไม่ปกเปลี้ย ๏ ลางหญิงชิงปากพลอด ทาว่าเหมือนผัวเอง ๏ ผัวว่ายังหาหม้าย ฟืนผักยังอักขู ๏ ผักบุ้งมัดสลึง ปันแผ่แก่สาวๆ ๏ ยายอาปากแกกล้า เราจะเอาเจ้าทรามเชย ๏ ลูกสาวเรายังบาง .............(หาย).............. ๏ ชาวร้านท่านถ้วนหน้า เงินทองให้นองนี้ ๏ จ่กล่าวจ่ยาว กล่าวเพลินจะเนิ่นช้า ๏ ครั้นถึงซึ่งห้างแล้ว กัลยาลุกมาไว ๏ แตงอ่อนเจ้าจรลี บังคมพระเชษฐา ๏ น้องยามาสังเวช เห็นองค์พระทรงธรรม์ ๏ เคยเสวยสุขภิรมย์ หาบคอนบ่ทาได้ ๏ เศร้าหมองด้วยน้องแล้ว

หาบเข้าไปในเมืองหลวง โฉมยอดเยาว์ยิ่งทั้งปวง ยิ่งทั้งปวงฝ่ายเสน่หา แม้นถูกแพงข้าไม่ว่า สาคัญสลึงถึงมือพลัน เจ้าโฉมยงองค์เฉิดฉัน ทุกสิ่งพันจะเลี้ยงดู ท่านผู้ชายเป็นศัตรู อยู่ในครรภ์มันทิ้งเสีย ถ้าได้ข้ามาเป็นเมีย เมียหาให้ท่านใช้เอง ได้ฟืนกอดทาโยเย ยิ่งยาก(ได้)ไว้แก่กู จะใคร่ได้เจ้าโฉมตรู ไม่ดูเลยเจ้าเขลา ฟืนสักครึ่งซึ่งดุ้นยาว คนแก่เฒ่าไม่ได้เลย กับยายตาแกถึงเอ่ย เป็นลูกเขยของอีหอย ลาสันนางเท่าก้นหอย หน้าขาวหน่อยงามมีศรี ย่อมกรุณาพระภูมี สิ่งของดีมีเอาไป เนื้อความมีมากข้างหน้า สุธิดาซึ่งอาศัย ตรัสเรียกแก้วผู้ศรีใส ถึงบันไดไคลคลาดคลา สู่พระมิได้ช้า เครื่องได้มารับเอาพลัน ลชลเนตรลงแดง ตกต่าช้าเหมือนเข็ญใจ ในเกตุมพงศ์เวียงชัย ครั้นตกร้ายยอมทาเป็น ร่มโพธิ์แก้วมาได้ยาก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๖๗

พาลราชชาติแสนเข็ญ ๏ เชิญเสด็จพระผู้ทรง น้องรักตักขึ้นมา ๏ พระองค์ผู้ทรงพรต สรงคงคาพระนคร ๏ บรมนพุทธา จิตตรงไม่หลงใจ ๏ ตั้งความสัตย์อันจริงๆ เจียรกาลอยู่นานมา

เป็นอุบาทว์ชาติมารสา แล้วสรงพระคงคา แต่ชลาสระสาคร ฟังพระนุชร่วมสายสมร ในดงดอนตามเข็ญใจ อวิชาไม่หลงหลาย ด้วยอรทัยพระธิดา ด้วยน้องหญิงร่วมมารดา หนอในอรัญวาป่าริมคลอง

สุรางคนางค์ ๏ กล่าวถึงกุมภีล์ ริมฝั่งยังมี บริวารเนืองนอง ศักดิ์สิทธิ์ฤทธิไกร อยู่ในถ้าทอง ช่องเหวเปลวปล่อง ที่ห้องสองรา ๏ วันนั้นน้องท้าว เจ้าจึงหุงเข้า เดือดพล่านขึ้นมา รินน้าเข้าลง ที่กรง๖๗กุมภา ถูกต้องอาตมา พญากุมภีล์ ๏ ดิ้นระเด่าเท้ายัน เพียงจะอาสัญ ในแท่นมณี พญาจระเข้ทอง เศร้าหมองพันทวี ครั้นค่ากุมภีล์ ให้นิรมิตฝัน ๏ แก่โพธิสัตว์ ฝันเห็นเป็นอัศ๖๘ เป็นสัตย์..(เลือน).. เจ้าตั้งห้างนี้ ที่คูหาสวรรค์ เปลวซึ่งเพลิงนั้น ที่หุงเข้าแกง ๏ รินน้าข้าวลง ถูกต้องทั่วองค์ เจ็บล้นพ้นแรง ใจเล่าจึงร้อน ยิ่งสุรีย์แสง อนิจจามาแกล้ง จะให้มรณา ๏ ถ้าว่าเราตาย เกล็ดข้ากระจาย จะฟุ้งขึ้นมา เข้าในหม้อ..(เลือน).. เจ้าทั้งสองรา ถ้าว่าชักช้า จะกลับกลายพลัน ๏ เป็นกุมภีลา แทนตัวแห่งข้า อยู่คูหาสวรรค์ เอ็นดูสองกระษัตริย์ จะพรากพลัดกัน วิโยคโศกศัลย์ ไม่เห็นกันเลย ๏ ตั้งแต่นี้ไป รองน้าเข้าไว้ หน่อไท้พระเอย บอกแก่นุชนาถ สุดสวาททรามเชย อย่าให้..(เลือน).. ..(เลือน)..ฉันนี้นา ๏ ลักขณพระฝัน ไปแต่เท่านั้น อัศจรรย์มหึมา ไฟไหม้หิมวัน ขอบขัณฑ์อรัญญวา มาถึงหางข้า อัปรา... ************************************

๖๗ ๖๘

ตรง อัศจรรย์


๒๖๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ ..(เลือน)..สายสมร ทรงเครื่องอาภรณ์ บวรเฉิดฉิน จาระบาราฟ้อน แล้วนอนกลางดิน เหลือบยุงร่านริ้น กินน้องเยาวมาลย์ ๏ ฝันว่าโพธิสัตว์ กลับกลายพรายพลัด เป็นสัตว์เดียรฉาน ตกอยู่เกลือกตม จมอยู่หึงนาน กินซึ่งอาหาร แต่ล้วนอาจม ๏ ฝันนี้สี่ประการ ว่าท้าวมัฆพาน ทั้งท้าวมหาพรหม ชูแก้วมโนหน บวรอุดม แจ่มศรีภิรมย์ สเกดพระนคร ๏ พระนิทรารมย์ ตื่นจากบรรทม ปรารมภ์รนร้อน คิดถึงทรงธรรม์ ความฝันอนาทร อุทัยไขขจร รุ่งรางสว่างมา ๏ ตรัสแก่นักธรรม์ คืนนี้พี่ฝัน อัศจรรย์กัลยา ตั้งแต่นี้ไป อรไทนัดดา จะหุงเข้าปลา เจ้าอย่ารินลง ๏ รองน้าเข้าไว้ เข้าเสียจงไกล อรไทโฉมยง พี่สั่งเจ้าขาด ........(ไม่ปรากฏ)... ตรัสพลางทางทรง พระโศกโศกา ๏ คิดน่าสังเวช องค์พระทรงเดช เมตตาภาวนา อนิจจังทุกขัง อนิจจังอนัตตา พรากจาก... ************************************

...................... สุกสว่างอกจอมขวัญ เชิญพี่ยานั้น ๏ นางคดอาหาร ยกถวายภูบาล ธิเบศเชษฐา พระเสวยสองคา กลายกลับอาตมา เป็นกุมภีลา ๏ รูปทรงองค์รา เกล็ดทั่วสารพางค์ เป็นร่างกุมภีล์ ตีนมือสั้นๆ หางนั้นยาวรี ตรัสแก่นุชมารศรี ๏ พี่สั่งเจ้าแล้ว เนื้อทองน้องแก้ว จอมขวัญกัลยา อยู่ด้วยไม่ได้ ด้วยไท้นัดดา คอยอยู่น้องอา ๏ อยู่คูหาสวรรค์ แทนกุมภีล์นั้น อาสัญบรรลัย เจ้ามาม่ายพี่ เทวีสายใจ ปิ่นทองอรไท ๏ แห่งพี่น้องรัก โฉมตรูรู้จัก นวลรักพี่ยา เร่งเร็วจงไว อรไทพี่อา บริวารเขามา ฉบัง ๏ สงสารเพาพาลทรามวัย พี่ไซร้มาผิดทุกอัน ๏ เป็นกุมภีล์สากรรจ์ ...(เลือน)...เข้ากอดพญา

เห็นพระภูวนัย ....(เลือน)...ฝัน

ให้สรงคงคา ใหญ่เลายาวรี ทาพี่แล้วนา พี่จะลาเจ้าไป ปักในเกศา เขาจะพาพี่ไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๖๙

๖๙

๏ โศกเศร้าดิ้นระเด่านักนา มาละข้าไว้แก่ใคร ๏ ทรงฤทธิ์มาผิดพิสัย ด้วยไท้ธิเบศเชษฐา ๏ พระร่มโพธิ์ทองน้องอา เอาข้าเป็นภักษาหาร ๏ กลืนน้องไว้ในท้องภูบาล จอมอาริย์สาราญถ้าทอง ๏ อยู่ไยใครจะปกครอง เหมือนละอองธุลีพี่ยา ๏ ให้น้องสยายเกศา ปักเหนือศีรษะกุมภีล์ ๏ จระเข้ทองผาดร้องเสียงสี๖๙ ด้วยสีหนาทเกรียงไกร

โอพระพี่ยา

๏ วางวู่สู่คงคาลัย จึงไปตามเสด็จพี่ชาย ๏ กุมภีล์ไม่มีใจหมาย พระนุชวรธิดา ๏ ถึงฝั่งแม่น้าคงคา ว่ายล่องท่องมาเนืองนอง ๏ รับเสด็จพญาจระเข้ทอง กอดคอพญากุมภีล์ ๏ พี่ยาบ่มาปรานี ซึ่งกอดคอจระเข้ทอง ๏ ทาสิงหนาทผาดผยอง ร้องเป็นระลอกฉอกชล ๏ สายสมรอ่อนระทวยทั้งองค์ ก็หล่นจากคอพี่ยา ๏ พลัดพรากปราศจากเชษฐา เพียงมาจักสิ้นชีวี ๏ ทอดองค์ลงเหนือปถพี

สงสารอรไท

สีหนาท

น้องยาประลัย เป็นกุมภีลา ให้ตายวายปราณ เป็นชนกปกป้อง ถอดปิ่นแก้วมา ทาฤทธิ์พิทธี

ความรักอรไท จระเข้เหรา นุชนาถผาดผยอง แก่น้องสาวศรี พี่กุมภีล์ทอง ทองย้อยสร้อยสน สงสารกัลยา แตงอ่อนอรดี


๒๗๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สัญญีสลบหนึ่งตาย ๏ ฟื้นองค์นางทรงกันแสงไห้ คิดได้ว่าใดเล่านา ๏ แต่ก่อนเรื่องราวกล่าวมา บทหน้ายังมากตราไตร ๏ ร้อยชั่งตั้งสัจจาใน ใส่เหนือเกล้าเจ้ามารศรี ๏ พิษฐานขอทานชีวี พญามัจจุราชราชา ๏ พระยมเวสสุวรรณยักษา พระกาฬซึ่งผลาญชีวี ๏ เมตตากรุณาปรานี ข้านี้อย่าเพ่อมรณา ๏ กราบเท้าพระเจ้าพี่ยา มาเป็นมนุษย์คืนคง ๏ ข้าไหว้พระแม่โฉมยง ชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย ๏ สิ่งสู่อยู่ทั่ววรกาย อย่าให้ข้าสิ้นเรี่ยวแรง ๏ ธิดามาทาสาแดง เอาหลังเข้าพิงไทรทอง ๏ โศกาเลือดตาไหลนอง กองคือจอมปลวกมวกผา ๏ กุมองค์นงนุช..(เลือน).. จะคณนาก็ได้สิบเดือน ๏ องค์เดียวเปลี่ยวในไพรเถื่อน ตรอมกระโมดเอกา ๏ เสวยน้าเป็นภักษา มหากุศลผลบุญมี ๏ .......(ไม่ปรากฏ)......... ตลาอัคคีมาลามลน ๏ ท่านท้าวเจ้าไตรไพชยนต์ ๗๐

น่าจะเป็น โพสพ

ซบกับใบไม้ ยาวนักจักช้า สองกรอรไท แก่ไท้ธิบดี จัตุโลกปาลา ขอทานชีวี กลับกลายขึ้นมา ประสบ๗๐ซึ่งทรง ข้าน้อยโฉมฉาย ที่ริมฝั่งแฝง ขี้ตาฟูมฟอง ทัศนสัตวา เอาไพรเป็นเรือน เดชะบุญญา ร้อนอาสน์โกสีย์ พิศเพ่งเล็งยล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๗๑

บัดดลก็เห็นธิดา ๏ โศกเศร้าด้วยท้าวพี่ยา ธิดาจะม้วยวายปราณ ๏ เจ้าฟ้าเสด็จมาบ่นาน พระเพชฉลูกรรม์เทวา ๏ จงเร็วไปช่วยกัลยา ซึ่งเป็นพญาจระเข้ทอง ๏ ปรานีนาไปให้ไท้ทั้งสอง สืบวงศ์พงศ์เผ่าสงสาร ๏ พระเวสสุวกรรมกราบกราน ทะยานด้วยเดชฤทธา ๏ บ่หึงถึงต่าใต้ฟ้า ชื่อว่าสเกดนคร ๏ ดลใจไพรนามมหาวงศ์ ภูธรจะใคร่พิพาส๗๑ป่า ๏ บทหลังยังงดไว้นา ซึ่งท้าวเทวาดลใจ

เป็นกุมภีลา ตรัสมีโองการ ทั้งพระดุศดา เป็นชนกปกครอง ลาท้าวมัฆพาน เข้าสู่พารา จานงดงดอน กล่าวถึงราชา

ญำณี ๏ มหาวงศ์ทรงอานาจ ฝ่ายว่าบิดาไท ๏ ไม่มีอัครชายา นอนเดียวเปลี่ยวพระองค์ ๏ เจ็ดคนสนสร้อยสัน โฉมยงเป็นอย่างกวาง ๏ เทพเจ้าเข้าดลใจ นางใดเข้าไปเปลีย ๏ อุทัยไขรัศมี นเรนทรสูรเทวทูลลา ๏ พระคุณผู้บุญญา อุระยิ่งตลไฟ ๏ ทรงฤทธิ์พระบิตุเรศ ๗๑

ประพาส

เป็นอุปราชครองเวียงชัย เรืองฤทธิไกรใหญ่สององค์ เชื้อกษัตรามาสมองค์ ทรงกามคุณลูกขุนนาง อันดับกันเป็นสาอาง เสน่หาพลางกว่ามีเมีย ร้อนภายในคือไฟเลีย เทพขับเสียทั้งซ้ายขวา เสด็จจรลีเฝ้าบิดา พระบิดาจะชมไพร ร้อนอาตมาข้าพ้นใจ จักใคร่ไปชมพฤกษา พระอยู่เกศผู้มารดา


๒๗๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สององค์ทรงกรุณา ลูกขอลาพรุ่งนี้พลัน ๏ บิตุราชนาถมารดา ฟังยอดฟ้ามารับขวัญ ไปป่าพนาวัน อย่าช้า๗๒พลันฆ่าสัตว์ตาย ๏ สิ่งนี้...(เลือน)....... ข้าสัตว์เป็นตัวจะตาย วงศาเราหาไม่ เป็นใจร้ายใจกระลี ๏ มหาวงศ์ผู้ทรงเดช กราบบิตุเรศพระชนนี รับสั่งใส่เกศี แล้วจรลียังปรางค์สวรรค์ ๏ ถึงท้องพระโรงชัย เสนาในเฝ้าแจจัน กระษัตริย์ตรัสสั่งพลัน พระอานันทเสนา ๏ หมายไปไทแลแขก ให้เร่งแจ้งพระบัญชา พรุ่งนี้จักกรีฑา พยู่ห์บาทพนาลัย ๏ ช้างทรงหงวิรถ พลายคีรีอันเลิศไกร ที่นั่งมหาไวย ไกรจักรพาลผลาญณรงค์ ๏ กันทัดอัศวราช เสนามาตย์เร่งบรรจง แออัดเร่งจัตุรงค์ องค์เสนาทั้งหน้าหลัง ๏ จัดพรานอันถ้วนหน้า ให้นาทัพไปคับคั่ง เจ้าพญามารับสั่ง ตั้งกระบวนศึกกึกโกลา ๏ ภายหน้ามหาวงศ์ ท้าวเทวทรงเดชเชษฐา เกษมศรีที่นิทรา สามยามมาทรงอัศจรรย์ ๏ เนรมิตผิดประหลาด ประทุมชาติดึงสาสวรรค์ เทวาชุมาพลัน รุ่งเรืองฉานทั้งกรุงไกร ๏ ยื่นให้ไท้ธิเบศ ท้าวเทเวศร์สาแดงไข ประทุมนี้สีสดใส ผู้ฤทธิ... ************************************ ...............สิ่งใด ใคร่จะแลสองตา ตัวน้องกาพร้า ๏ พญากุมภา ได้ฟังขนิษฐา น้าตาไหลลง กรรมของพี่แล้ว น้องแก้วโฉมยง พระครอบครององค์ ๏ เป็นอัครชายา พี่จักพรรณนา จักว่าไยมี หนึ่งโสดน้องรัก ตรัสแก่สามี ประนมชุลี ๏ หนึ่งโสดเข้าเฝ้า อย่าแตงอ่อนเจ้า ให้งามโสภา เมื่อจรคลาไคล อย่าแลไปมา ดูพลเสนา ๗๒

ช้า หมายถึง ชั่ว

เอกาแต่องค์ เจ้าให้จงดี จึงตรัสวัจนา ในพระโรงศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๗๓

๏ หนึ่งโสดอย่าทา ขับเล่นเต้นรา หนึ่งโสดหนทาง ที่ท้าวจรลี ๏ อันหนึ่งอย่าทา เดินเอาลานา อย่าถือเชิงชาย ว่าเป็นใหญ่หลวง ๏ แท่นอาสน์พระจร จงสลัดปัดผง เจ้าจงระวัง อย่านั่งแท่นทอง ๏ เฝ้าพระภูมี อย่าคิดมิดี แม้นท้าวตรัสถาม ค่อยทูลความไป ๏ เพ็ดทูลสิ่งใด คอยเมื่อท้าวไท จึงค่อยทูลความ แต่ตามอัชฌา ๏ เกิดมาเป็นหญิง ให้รู้ทุกสิ่ง พี่สอนเจ้าจาไว้ เป็นพรชัยศรี ๏ แตงอ่อนอรดี ประนมชุลี น้าเนตรไหลลง ดังท่อธารา ๏ ท้าวฝากฉายา แก่พระราชา โทษทัณฑ์ขัดข้อง สิ่งหนึ่งสิ่งใด ๏ แม้นผิดสิ่งใด จริงๆ แล้วไซร้ เคี่ยวขับโบยตี ตามกฤษฎีกา

คบนางสาวศรี อย่าทามิดี ทาเป็นกระบวน อย่าขึ้งหึงหวง เรือดไรไยยอง เกลือกท้าวจะเศร้าหมอง ตริตรึกนึกใน นั่งเฝ้าท้าวไท ผันแปรแลมา อย่าแลไปมา จึงว่าสัตรี ให้รู้ถ้วนถี่ รับพระวาจา ปกป้องน้องมา มหาวงศ์ฦๅไกร เมตตาอย่าให้ ลงพระอาญา ขับจากพารา

ฉบัง ๏ บัดนั้นมหาวงศ์ฦๅไกร จึงไขซึ่งพระวาจา ๏ น้องนี้มีคดีฉันทา ...(เลือน)...ร้อนพระทัย ๏ แม้นเจ้าผิดสิ่งใดๆ มิให้เจ้าม้วยมรณา ๏ กุมภีล์ชื่นชมหรรษา ว่ายเล่นเย็นพระหฤๅทัย ๏ มหาวงศ์องค์ทรามวัย สู่ในปรางค์ทองผ่องศรี ๏ แตงอ่อนเจ้าอรดี ขอเชิญดาเนินเถิดรา ๏ นางตรัสสนมซ้ายขวา พาข้าไปสู่ชนนี

ยิ้มแย้มแจ่มใส พี่อย่าสงกา ไม่เอาโทษภัย ล่องลงคงคา เชิญเจ้าเข้าไป ตอบพระภูมี พี่เจ้าน้องอา

นั้นบ่ควร นางสนมทั้งผอง ขัดข้องพระทัย ให้ตรงพักตรา ดูข้าสาวศรี เท่านี้แลนา คุณนักเหลือใจ เจ้าม้วยมรณา ตามอัชฌาสัย


๒๗๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ มหาวงศ์ตรัสแก่สาวศรี พระเนตรภูมี กระหยิ่มให้เหล่าสาวสนม ๏ สาวใช้ทั้งหลายรู้กล ทูลแก่จุมพล ขอพระอย่าร้อนพระทัย ๏ แตงอ่อนฉายาคลาไคล สาวสนมกรมวังใน พาไปสู่ในปรางค์ปรา ๏ ชนนีบิดรสองรา ท้าวสั่งเสนา รับเสด็จเข้า... ************************************ ...

ปรางค์ใน ๏ แตงอ่อนอรดีศรีสมัย นี้ฤๅปรางค์ปราสาทมารดา ๏ สาวใช้ทูลไท้ฉายา ที่ปรางค์พระราชสามี ๏ นี้แลปรางค์ปราสาทชนนี จักพาแม่เจ้าเข้าไป ๏ สาวสนมซ้ายขวาคลาไคล บัดใจก็ถึงในปรางค์ ๏ มหาวงศ์พระจึงทรงจรลี ด้วยวรนุชชายา ๏ นางไท้ไม่เห็นฉายา มิใช่พระชนนี ๏ ราชามาตรัสคดี มานั่งที่บนแท่นทอง ๏ นางนาถกราบทูลฉลอง จะนั่งร่วมแท่นภูมี ๏ ขนางตรัสพระสนมสาวศรี ลวงเราเล่าได้นักหนา ๏ เห็นเราพลัดบ้านเมืองมา ไม่มาเกรงเราเท่าเกศี ๏ ถ้าแม้นอยู่เกตุมวดี อย่างนี้จะม้วยมรณา ๏ สาวสนมก้มเกล้าทูลมา

ถามนางชาวใน ชี้พระหัตถา ข้าทูลธุลี แห่ห้อมล้อมไป มาสู่ปรางค์ศรี นึกในไปมา เชิญพระเทวี ข้าบาทบ่ปอง เจรจาพาที ทาสีทาสา เหมือนท่านพาที ขอรับอาญา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๗๕

ตามแต่จะโปรดเกศี ๏ ราชามาตรัสวาที ขวัญเกล้าเจ้าอย่าโศกา ๏ เขาไม่ได้นอกบริจา ไม่เอ็นดูข้าผู้สามี ๏ ตรัสพลางทางเชิญนางเทวี เถิดนาเจ้ายอดสายใจ ๏ นางกราบประนมทูลไข ไปสู่พระราชชนนี ๏ ท้าวไทได้ฟังเสาวนีย์ ภูมีก็ลุกออกมา ๏ อุ้มองค์นางนาถฉายา ก็ปัดพระหัตถ์ภูมี ๏ ท้าวรัดไว้กับกายี เทวีประหม่าบ้าใจ ๏ โปรดปรานเดฉานจรไป มาทาวุ่นวายไยนา ๏ อายแก่สนมซ้ายขวา มาหยิกหยอกข้าน่าอายใจ ๏ มหาวงศ์ทรงพระเนตรไป แล่นไปสู่ห้องอาตมา ๏ พระตอบวรนุชฉายา ใครมาอยู่นี้ก็ไม่มี ๏ ตรัสพลางอุ้มนางเทวี ภูมีเล้าโลมฉายา ๏ จูบแก้มจูบเกศฉายา นางสะบัดพระพักตร์ผยอง ๏ .....(ไม่ปรากฏ)...... กราบทูลสนองภูมี ๏ ราชาไม่มาปรานี กุลีไปทั้งปรางค์ปรา ๏ ยิ่งกว่าเสือสางคะนอง มิปูนมิปานพันปี ๏ ราชายิ้มแย้มแจ่มศรี

ว่าพระเทวี แม่อย่าโกรธา มานั่งด้วยพี่ น้องขอลาไท้ เห็นจะคิดหนี แตงอ่อนวรราช(า) แตงอ่อนอรดี ไม่ขัดพระทัย อยู่เป็นดาษดา สาวสนมกรมใน จักอายไยนา ขึ้นแท่นมณี พระหัตถ์รัดคว้า ลุกจากแท่นทอง ทาข้าสิ้นที หัตถ์ต่อกวางทอง ชั่งเปรียบเทียบดี


๒๗๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เรียมนี้คือราชสีห์ทอง ๏ เขี้ยวงามันมามูนมอง ปูนปองตัวน้องแลนา ๏ นางตอบคาพระราชา ดังว่าพญาราชสีห์ ๏ ............(หาย)............ ให้หนีไปรอดจากองค์ ๏ ราชามาฟังโฉมยง เข้าไปลูบไล้เทวี ๏ อุ้มขึ้นสู่แท่นมณี ราชาเล้ารัดรึงไป ๏ นางดิ้นอึดๆ อัดไป ขอได้โปรดเกล้าเกศี ๏ ปล่อยข้าก่อนพระพันปี จักอยู่บนแท่นนี้นา ๏ พระเจ้าเล้าโลมไปมา ขวัญเกล้าเจ้าจงปรานี ๏ เรียมมิให้เจ้าหมองศรี ยิ่งกว่านางทั้งห้าองค์ ๏ แตงอ่อนอรดีฟังพิศวง ประนมก้มเกล้าเกศา ๏ เดฉันคนเอกา คิดว่าไม่มีมเหสี ๏ ภิริยาพระราชาก็มี ขอลาพระบาทไปอยู่ไพร ๏ พระเจ้าเล้าโลมเอาใจ เจ้าอย่ากินใจพี่เลยนา ๏ ทั้งห้ามาเป็นภิริยา ท่านทรงโกรธาใช่พอดี ๏ มิให้ครอบครองบุรี มิใช่ชาติเชื้อกษัตรา ๏ อันองค์พระน้องฉายา ท่านมาอวยพรเทวี ๏ จะให้ครอบครองบุรี

จักลงกวางทอง พระองค์ตรัสมา ช่วยกวางตัวพี กระหวัดรัดองค์ นางผลักพระหัตถี ทูลแก่ท้าวไท เดฉันไม่หนี พระนุชฉายา พีร่ ักเทวี ระทวยงวยงง ....(ไม่ปรากฏ)... กระหม่อมฉันนี้นา วอนนุชสุดสมัย บิดามารดา เป็นลูกมนตรี บิดามารดา แต่เจ้ากับพี่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๗๗

เทวีเจ้า(อย่า)กินใจ ๏ นางกราบประนมทูลไป มิได้ปองเอาผัวเขา ๏ สู้ตายๆ ไปทาเนา ข้าเจ้ามิได้ไยดี กาบอกข่าว ๏ มหาวงศ์ทรงจักรพรรดิ เจ้าอย่าคิดฉันนี้ ๏ ทั้งห้านางนักสนม ฉายาอย่ากินใจ ๏ โฉมปรางนางแตงอ่อน ราชามาพาที ๏ ทั้งห้าเป็นมเหสี เป็นเมียว่าหาไม่ ๏ เจ้าตอบพระเสาวนีย์ ฉายาอย่าราคาญ ๏ เล้าโลมจะสมสมัย สะบัดพระหัตถา ๏ เจ้าตัดขัดไมตรี โลกีย์ความนี้ใช่ ๏ ราชามาบรรทม แตงอ่อนเจ้าอรดี ๏ ท้าวทรงพระโกรธา เมื่อมาได้ดีใจ ๏ คิดพลางนางถอยองค์ นวดฟั้นทั้งซ้ายขวา ๏ ไม่รักไม่เมตตา ไม่รักไม่พอใจ ๏ นางทูลสนองไป ขอรับพระอาญา ๏ เจ้าตรัสแก่ฉายา นางตรัสพระเสาวนีย์ ๏ ทั้งห้ากระษัตรีย์

ดิฉันนี้ไซร้ ขึ้นชื่อผัวเขา

โองการตรัสพระเทวี พี่มิได้เป็นผัวใคร ย่อมเชยชมนางสมสมัย มันไม่ได้เป็นมเหสี ยอพระกรเจ้าชุลี ข้าบาทนี้มาสงสัย เดฉันนี้รู้เมื่อไร ใครจะขัดพระโองการ นางเทวียอดสงสาร จงมาคิดความเมตตา นางไม่ได้ปลงลงตาม พระราชามาตรัสไป ตัวเรียมนี้จะตามใจ จะกินใจกันไยนา บนแท่นทองเรืองรองศรี มาตริตรึกนึกไปมา กูนี้นาจะทาไฉน เมื่อจากไปไห้ครวญหา ลงให้ไกลพระบาทา พระราชามาตรัสไป นวดบาทาข้าว่าไร ตามแต่เจ้าจะคลาไคล เดฉันได้ขัดบาทา โปรดเกศามาปรานี เชิญนิทราเถิดเทวี พระพันปีได้เมตตา มเหสีพระราชา


๒๗๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

โกรธขึ้งจะหึงสา ๏ ท้าวลูกจะนิทรา อุ้มแก้วกระษัตรีย์ ๏ จูบกอดสอดพระหัตถ์ ขวัญเกล้าเจ้าเมตตา ๏ นางทูลแก่ท้าวไท งดข้าแต่รากรี ๏ พระฟังนางเทวี ฉายามาตัดใจ ๏ นางกราบกับบาทา ไม่ขัดประเวณี ๏ สองศรีมาภิรมย์ แตงอ่อนเจ้ากัลยา ๏ พระชมสมสนิท ด้วยนางยอดสายใจ ๏ นางกราบซึ่งพระบาทา ท้าวไทได้ปรานี ๏ ขอเป็นทาสทาสี ขอถวายพระกายา ๏ พระฟังนางฉายา พระน้องอย่าหมองศรี ๏ เรียมรักเจ้านักนา โทษทัณฑ์ขัดสิ่งใด ๏ แตงอ่อนเจ้าอรดี ประนมก้มเกศา ๏ ชื่นชมสมสมัย บรรทมประสมศรี

พระราชามาปรานี มาลูบหลังนางเทวี ขึ้นใส่ตักพระราชา เกี้ยวกระหวัดรัดฉายา อย่าวุ่นวายพระเทวี ขอจงได้โปรดเกศี ดิฉันนี้จะไปไหน กามกายีน้าพระทัย เรียมมิให้น้องหมองศรี โปรดเกศาข้าธุลี ขอพระนี้มีเมตตา กอดเกลียวกลมสมเสน่หา มายียวนกวนพระทัย กวนยวนจิตคิดพิสมัย ยวนหฤทัยพระภูมี ทูลราชาพระสามี น้องขอโทษโปรดเกศา แต่วันนี้ไปแลนา ตามราชาจะปรานี ยิ้มเจรจามายินดี พี่มิให้เครื่องพระทัย พระฉายาอย่ากินใจ เรียมไม่เอาโทษโทษา ฟังสามีตรัสวาจา กราบบาทาพระสามี หยอกกันไปในราตรี บนแท่นทองทั้งสองรา

สุรำงคนำงค์ ๏ ครั้นรุ่งสุริยา แจ่มแจ้งกระจ่างตา ทั้งห้าโฉมยง รู้ว่าท้าวไท มาแต่ไพรพง ทั้งห้าโฉมยง ๏ เสร็จแล้วทันที เรียกข้าสาวศรี ด้วยพลันทันที ขึ้นคานหามทอง บทจรคลาไคล สู่ปรางค์ปราสาทชัย ๏ ถึงท้องพระโรงชัย ถามเสนาใน ว่าพระพันปี

แต่งองค์เทวี แห่งไท้สามี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๗๙

อยู่ในปราค์ฤๅ ว่าจรลี เสนาชุลี ว่าอยู่ในปรางค์ ๏ ทั้งห้าคลาไคล สู่ปราสาทชัย แห่งไท้ภัสดา แลเห็นสายสมร แตงอ่อนกัลยา นั่งร่วมราชา บนแท่นมณี ๏ ทั้งห้าประนม ถวายบังคม บรมสามี พิศโฉมนางคราญ ปูนปานกินรี ทั้งห้ามารศรี เดือดดิ้นวิญญาณ์ ๏ แตงอ่อนอรดี เห็นนางเทวี ทั้งห้าเสด็จมา ลงจากแท่นทอง นางน้องวันทา ก้มพระพักตรา ประพรั่นขวัญหาย ๏ นางสีวิกา จึงมีวาจา ว่าพระโฉมฉาย ...(ชารุด)...เรา เจ้ามาแต่ไหน เชิญบอกที่ไป เถิดนะฉายา ๏ แตงอ่อนอรดี ก้มเกล้าเกศี จึงมีวาจา แม่ได้โปรดปราน เดฉันเถิดรา ข้าบาทพลัดมา จากกรุงบูรี ๏ นเรศเชษฐา กลายเป็นกุมภา อยู่ในวารี ท่านพี่ผ่านไป พาข้าจรลี มาสู่บูรี บัดนี้แลนา ๏ ทั้งห้ามารศรี ได้ฟังเทวี จึงมีวาจา ว่าพระน้องพี่ อยู่นี้เถิดรา เป็นเพื่อน.............(ชารุด)....................... ๏ ..(ชารุด)........... ...(ชารุด)..พระทัย คือไฟลามลน นิ่งไว้ในใจ ไม่ให้รู้กล เดือดในใจตน เพียงพ้นปัญญา ๏ นางสีวิกา จึงถามฉายา ......(ชารุด).......... .........................(ชารุด).........ทรามวัย ให้รู้จักไว้ พระน้องสายใจ ๏ บ้างมาเจรจา ชักพระพักตรา ให้หน้านางไท้ บ้างทาตาปริบ ขยิบ............(ชารุด)....................................................................... ๏ .......(ชารุด)....... ไฉนทรงศรี คืออัคคีลน เห็นนางทั้งห้า พยักหน้าทุกคน นางก้มกราบลง ทรงพระโศกา ๏ .................................................(ชารุด).............................................................. ขอชีพข้าไว้ อย่าให้มรณา ขอพึ่งบาทา แม่ทั้งห้าคน ๏ ทั้งห้าปราศรัย แต่ในหัวใจ ให้......(ชารุด)..... ...........................................................(ชารุด).....................................................นางไป ๏ ส่วนท้าวมหาวงศ์ ตื่นจากบรรทม เห็นองค์ทรามวัย ************************************ ……………………………………………… นวลนางทั้งห้า โกรธาดังไฟกัลป์ ๏ แม้นม้วยชีวิต อีลนคนนี้ กูมิไว้มัน นึกในไปมา ทั้งห้าจอมขวัญ กราบบาททรงธรรม์ ๏ แตงอ่อนอรดี ก้มเกล้าเกศี ทูลเจ้าจุมพล

สู่สถานแห่งตน


๒๘๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ท้าวได้เมตตา แก่ข้ายุบล นางทั้งห้าคน ๏ ...(เลือน)..เขี้ยวฟัน เนตรแดงแสงฉาน แล้วขยิบตากัน เดฉันพินิจ เห็นผิดกิริยา โกรธขึ้งหึงสา ๏ เห็นไม่เป็นผล อยู่ในพรัยชล๗๓ ไม่พ้นโพยภัย พระองค์โปรดปราน ให้เดฉันไป เห็นอยู่มิได้ ๏ แม้นม้วยบรรลัย อยู่ในกลางป่า ไม่อายประชา พระอย่ารั้งไว้ ได้โปรดเกศา อยู่ในพารา

ท่านทรงโกรธา แม่นแท้แก่ใจ ในเมืองพารา จะมาราคาญ

ญำณี ๏ บัดนั้นพระราชา เล้าโลมพระเยาวมาลย์ ๏ เรียมรักพระทรามวัย ฉายาอย่าโศกศัลย์ ๏ ทั้งห้ามามุ่งหมาย ตกนงารพี่ยา ๏ ทั้งห้าพี่ไม่รัก ขวัญเข้าเจ้าลาไย ๏ สิ้นดินสิ้นแผ่นฟ้า สิ้นชีพชีวี ๏ แตงอ่อนอรดี ขอรับพระบัญชา ๏ น้องนี้ไร้พระวงศ์ เด่นเดี่ยวเปลี่ยวเอกี ๏ นางทูลพระสามี น้องรักจักไคลคลา ๏ เจ้าฟังเสาวนีย์ สระสรงน้ามาลัย ๏ สององค์ทรงเครื่องพลัน สาเร็จเสด็จมา ๏ มหาดเล็กและเดกชา มารดาเห็นแต่ไกล ๏ ขอเชิญทองร้อยชั่ง ๗๓

น่าจะหมายถึง ไพชยนตปราสาท

ฟังฉายามาทูลสาร จูบกอดนางทางรับขวัญ ดังจะกลืนเจ้าเข้าไว้ในครัน พระรับขวัญอย่าเศร้าใจ กลัวมันไยพระฉายา มันจะมา..(เลือน).... รักแต่น้องทองอุไร ยวนน้าใจพระสามี พี่มิม้วยซี่งไมตรี พี่นี้รักเจ้าฉายา ก้มเกศีกราบบาทา ตามราชามาปรานี จะครององค์ในบุรี พระพันปีโปรดเกศา เชิญจรลีสู่มรรคา กราบบาทาทั้งสองไท มายินดีในน้าใจ มาลูบไล้ทั่วกายา งามเฉิดฉันดังจะบาตา ข้าสาวล้อมมาไสว ล้อมเจ้าฟ้ามาไสว ร้องเชิญไท้ทั้งสองรา เจ้ามานั่งด้วยมารดา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๘๑

สองเจ้าเสด็จจรมา ๏ บังคมพระบิดุราช มารดามาปรานี ๏ อุ้มเอาศรีสะใภ้รัก ให้กอดจูบลูบไล้ ๏ สมเด็จพระบิดา เร่งรัดกันบัดนี้ ๏ จักเษกลูกทั้งสอง เสนาลาทรงธรรม์ ๏ นางคราญผู้มารดา เร่งรัดไปบัดนี้ ๏ สาวใช้รับเสาวนีย์ ตรวจไตรกันไปมา ๏ มนตรีมาทูลไท้ เสร็จสรรพแล้วบ่คลา ๏ พระฟังคาเสนา จึงตรัสลูกสายใจ ๏ มณฑาตรัสผัวขวัญ ต่อรุ่งจึงจะดี ๏ ท้าวตอบพระเทวี ต่อรุ่งพระสุริยา ๏ ท้าวตรัสแก่ลูกยา สุริยามาสว่าง ๏ สองเจ้ากราบบาทา มณฑามารับขวัญ ๏ สองกษัตริย์จึงคลาไคล นั่งเล่นสาราญใจ ๏ แตงอ่อนเจ้ากัลยา น้องรักจักจรลี ๏ ได้ฟังมเหสี สองเจ้ามาลีลา ๏ นางตรัสเสาวนีย์ โพธิ์ทองของน้องอา ๏ เรียกพลางทางเหลือบไป

สู่เกยทองทั้งสองศรี มากราบบาทนาถชนนี ตรัสลูบหลังทั้งสองไท ขึ้นใส่ตักนางชมใหญ่ ปริ่มหัวใจพระชนนี สั่งเสนาแลมนตรี ทาโรงทองรองเรืองฉัน ให้ปกครองไอศวรรย์ ไปตรวจกันทาโรงลี ตรัสวาจาแก่สาวศรี แต่งบายศรีทั้งซ้ายขวา มาชุลีแล้วไคลคลา ทาบายศรีชายซ้ายขวา ทาโรงชัยตามบัญชา ขอราชาทราบพระทัย ชื่นนักนาในน้าใจ เชิญเจ้าไปสู่โรงลี ยามกลางวันจะเษกศรี ขอพันปีทราบบาทา ตามเสาวนีย์พระฉายา จะเษกไท้ตามใจนาง เชิญสองราไปสู่ปรางค์ รุ่งเช้าพลันจะทาขวัญ ลามารดาพระทรงธรรม์ จูบกอดแล้วจึงให้ไป สู่เกยชัยแห่งท้าวไท บนแท่นทองทั้งสองศรี กราบบาทาทูลสามี ไปเยี่ยมพี่ที่คงคา มายินดีเป็นนักหนา สู่สระน้าพระคงคา เรียกกุมภีล์พระพี่ยา มาเถิดอาพระพันปี ริมสระใหญ่พระวารี


๒๘๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

แลเห็นพี่กุมภีล์ ๏ ร่มเงาก็ไม่มี สมเพชเวทนา ๏ กอดองค์พี่กุมภา โอกรรมชื่อสิ่งใด ๏ บัดนั้นท้าวกุมภีล์ จึงตรัสพระวาจา ๏ พี่จักอยู่นานไป เคยอยู่แท่นมณี ๏ อยู่นี้ต้องแดดลม อยู่ถ้าทองอันผ่องใส ๏ นางฟังพี่กุมภีล์ น้าเนตรมาไหลลง ๏ ท้าวไม่ได้เมตตา ร่มเงาก็ไม่มี ๏ อันว่าศัตรูร้าย รู้ว่าใครมาฆ่า ๏ แม้นกุมภีล์มามรณา น่าได้ความร้อนรน ๏ พี่น้องทั้งสองรา มาทว่าเป็นกุมภีล์

นอนกลิ้งอยู่บนสุธา สุริยานี้ร้อนนักหนา นางฉายาน้าตาไหล ทรงโศกามาร่าไร มาซัดให้แก่พี่ยา ฟังเทวีแก้วขนิษฐา พระน้องยามาปรานี ที่ไหนได้ในสระศรี ในถ้าทองสบายใจ มาบรรทมไม่หลับใหล ร้อนเมื่อวันจึ่งค่อยลง ดังอัคคีมาสระสรง กราบทูลทรงพระสามี ให้กุมภาอยู่สบาย ได้ปรานีข้าบาทา มาฆ่าให้ม้วยมรณา กุมภาให้ม้วยวายชนม์ ข้าบริจาไม่เป็นคน อยู่เป็นคนไปไยมี พลัดพรากมาจากบุรี น้องกับพี่เห็นกัน..(เลือน)..

ฉบัง ๏ บัดนั้นมหาวงศ์ภูมี จึงมีทรงพระบัญชา ๏ เจ้าฟังนงนุชฉายา แก่หมู่เสนามนตรี ๏ เจ้าตรัสฉันนั้นไยนา เจ้าว่ามิรักฤๅไร ๏ นางนาถกราบบาททูลไป ไม่รักไม่ตามวาจา ๏ ให้ทารายรอบสระศรี ให้ตรวจทุกหมวดโยธา ๏ รุมกันทาเป็นโกลา

ฟังพระมเหสี โองการตรัสมา เรียมรักนักนา แม้นรักตามใจ เร็วๆ บัดนี้ ขนอิฐศิลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๘๓

มาทาเป็นถ้าโตใหญ่ ๏ สูทาถ้าคูหา ขนมาทาถ้าทอง ๏ ทาให้เป็นชั้นเป็นช่อง ของท้าวกุมภาอาศัย ๏ เสนารับบังคมไท ไปตรวจทุกหมวดโยธา ๏ รุมกันทาเป็นโกลา มาทาเป็นถ้าโตใหญ่ ๏ มหาวงศ์กับองค์ทรามวัย บรรทมสมสู่เสน่หา ๏ ครั้นรุ่งพวยพรุ่งสุริยา เสด็จมาสู่ท้องโรงลี ๏ สาวสนมกานัลมากมี ตั้งไว้ที่ในโรงชัย ๏ มารดามาสู่สองไท เชิญใหญ่ลูกรักสองรา ๏ สองราชกราบบาทมารดา สุคนธรสสดศรี ๏ แล้วทรงผ้าทิพย์อันดี มงกุฎสวมเกล้าท้าวไท ๏ มารดายิ้มแย้มแจ่มใส ยวดใหญ่เจ้างามพอตา ๏ กุณฑลสร้อยสนสุมณฑา สะอิ้งรัดอกเอวองค์ ๏ สิบนิ้วเจ้าทรงธามรงค์ แต่งองค์สะใภ้เทวี ๏ จอนหูพู่ทองส่องศรี ปักที่จุไรฉายา ๏ สรรพเสร็จเสด็จยาตรา ยิ่งกว่าดาราล้อมจันทร์ ๏ งามจริงยิ่งอย่างนางสวรรค์ นาหน้าสองราคลาไคล ๏ ครั้นถึงที่ท้องโรงชัย

อิฐหินศิลา ให้เหมือนถ้าทอง กราบลาคลาไคล ขนอิฐศิลา เข้าสู่ปรางค์ใน บิดามารดา บ้างยกบายศรี ถึงปรางค์ทันใจ แล้วสรงคงคา สังวาลรัศมี แต่งลูกไสว กาไลซ้ายขวา มารดามาประจง ปิ่นนองทองดี สาวสนมล้อมมา มณฑาแจ่มจันทร์ สองเจ้าเข้าไป


๒๘๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

กราบบาทพระราชบิดา ๏ มนตรีโหรพราหมณ์พฤฒา จึงให้ฤกษ์พานาที ๏ ครั้นได้สิบเจ็ดเษกสองศรี แล้วเบิกบายศรีซ้ายขวา ๏ ปี่กลองประโคมสองรา ราชาให้จุดเทียนชัย ๏ ปิดแว่นเวียนรอบสองไท้ โบกฟัน๗๔ให้ต้องลูกยา ๏ จุดเจิมเฉลิมพักตรา ราชาอวยพรสองไท ๏ เรืองรุ่งในกรุงเวียงชัย แก่ไท้ลูกรักเสน่หา ๏ สองเจ้าครอบครองพารา พรรษายืนยงคงไป ๏ มารดาอวยพรสองไท ท้าวไทสั่งให้เสนา ๏ เล่นงานมหรสพโกลา ครบเสร็จได้เจ็ดราตรี ๏ สรรพเสร็จเสด็จจรลี ทั้งสี่กษัตริย์หรรษา ๏ ท้าวให้ครอบครองพารา อยู่เย็นเป็นสุขสนุกใจ ๏ รอยเอ็ดเมืองกรุงเวียงชัย ถวายเครื่องบรรณาการ ๏ ท้าวไทเธอตรัสให้ทาน มิได้ให้ขาดแต่สักวัน ๏ จีนจามความเท็จ(จริง)ทุกอัน มารับประทานท้าวไท ๏ มนตรีรี้พลตราไตร มาทูลแก่พระราชา ๏ ถ้าใหญ่เสร็จแล้วบ่คลา ๗๔

ควัน

นั่งล้อมดาษดา ลั่นฆ้องสามที โห่ขึ้นสามลา ครบสรรพดับไฟ ลูกรักสองรา บิดายกให้ ยามมีโรคา เสร็จแล้วบัดใจ ถ้วนทุกภาษา สู่ยังปรางค์ศรี ฝูงราษฎร์ประชา เข้ามาตราไตร เป็นนิจกาล ชื่นชมหฤหรรษ์ อันทาถ้าใหญ่ แล้วผายคุณันต์นา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๘๕

สาเร็จเสร็จแล้วบ่นาน ๏ ท้าวฟังเสนาทูลสาร เสด็จมาสู่สระศรี ๏ ท้าวเหลือบไปรอบนที เชิญพี่เข้าอยู่เคหา ๏ กุมภีล์ฟังน้องสองรา สองราเจ้าตามเข้าไป ๏ สนุกพิลึกเหลือใจ มีอยู่ในถ้าคูหา ๏ เทวีจึงมีน้าตา จะเสวยอันใด ๏ โภชนาสาลีมีใน พี่จงบอกไปเถิดรา ๏ กุมภีล์จึงมีวาจา นึกมาก็อิ่มทุกประการ ๏ แต่พี่มาจากสถาน อาหารมิได้เสวย ๏ นึกในมิได้อิ่มเลย เคยกินแต่ทิพย์อาหาร ๏ แตงอ่อนได้ฟังอาการ ไปแต่งอาหารมาพลัน ๏ สาวใช้ไปได้มาทุกอัน ..............(ไม่มี)..... ๏ นางตรัสแก่ท้าวกุมภา พี่ยาอย่ามาราคาญ ๏ กุมภามาเสวยอาหาร มิได้ราคาญพระทัย ๏ สองเจ้ามาจากถ้าใหญ่ ตรัสไปแก่ขุนเสนา ๏ ไปเบิกเงินทองเสื้อผ้า บรรดาที่มาทาการ ๏ ประชาชื่นชมสาราญ ทุกหมู่ทุกหมวดโยธา ๏ ท้าวสั่งขุนหมื่นเสนา

สองเจ้าเพาพาล ตรัสแก่กุมภีล์ เข้าสู่เคหา เฉื่อยฉ่าน้าใส พี่เจ้าน้องอา จักเสวยอันใด พี่อยู่คูหา ส่าราตรีกาล ด้วยจากเครื่องเสวย ตรัสแก่กรมนาง ..........(ไม่มี)..... เชิญเสวยโภชนา ชื่นชมสาราญ ครั้นถึงโรงชัย ให้แก่โยธา รับพระราชทาน จงไปรักษา


๒๘๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

กุมภาอย่าให้เป็นอันตราย ๏ ถ้าว่ากุมภาล้มตาย ท่านไซร้ถึงมรณา ๏ มนตรีก้มเกล้ากราบลา อย่าร้อนในน้าพระทัย ๏ ลาแล้วตรวจตรามากมาย รายรอบทั่วขอบสระศรี ๏ บริวารรักษากุมภีล์ ดารัสตรัสสั่งบัญชา ๏ สั่งเสร็จเสด็จเข้ามา ด้วยอรนุชมเหสี ๏ ครั้นเมื่อรุ่งเช้าราตรี ลงมาสู่ท้าวกุมภา ๏ นาเครื่องนิโรชโภชนา เป็นนิจทุกวันวาน

เพราะด้วยคนร้าย ขอพระราชา ไปตั้งโรงใหญ่ เหมือนพระภูมี อยู่ในปรางค์ปรา แตงอ่อนอรดี มาให้กุมภา

ญำณี ๏ ส่วนว่านางทั้งห้า ขึ้นเฝ้าพระภูบาล ๏ เฝ้าแล้วจงมาพลัน เรานี้มาอัปรีย์ ๏ สีเวกจึงถามมา วิญชว่าพระทรามวัย ๏ วิญกาพระนารี คิดใดเร่งว่ามา ๏ ทั้งสี่มีวาจา ความแค้นเป็นแน่นตัน ๏ นวลนางศรีวิเวก เราไปบอกมารดา ๏ พร้อมกันสิ้นทั้งห้า กับด้วยทาสทาสี ๏ ครั้นถึงพระชนนี จึงมีพระวาจา ๏ จึงเล่าให้แม่ฟัง

คือไฟฟ้ามาเผาผลาญ ท้าวแชท้าวเชือนเบือนหนี คิดอ่านกันในราตรี แก่มันแล้วแก้วยาใจ นางวิกาคิดไฉน เจ้าคิดใดจงว่ามา ทั้งเทวีนางจันทวา เราทั้งห้าตามใจกัน ตามฉายาพระจอมขวัญ อย่าไว้มันเลยพี่อา คนวิเศษเจ้าปัญญา ให้มารู้ซึ่งคดี จึงยาตรามาจรลี ที่สนิทติดตามมา ก้มเกศีกราบบาทา พระมารดามาปรานี ความแต่หลังเป็นถ้วนถี่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๘๗

แต่เมื่อพระภูมี ๏ ชื่อว่านางแตงอ่อน เษกให้ครองพารา ๏ เห็นหน้าลูกทั้งห้า พานด่าว่ามากไป ๏ แต่ก่อนแต่ไรมา แต่ได้อีกาลี ๏ น้อยใจข้านักนา นางเล่าทุกสิ่งพัน ๏ ยายเถ้าไวยกา โกรธาแสนทวี ๏ จึงว่าแก่ลูกสาว กระษัตรีย์จะมา ๏ สอนให้ลูกทั้งห้า ทาสีที่นอกใจ ๏ ทั้งห้ามาดีใจ ประนมก้มเกศี ๏ ทาตามคามารดา ยิ้มแย้มแจ่มทุกคน ๏ ท้าวเห็นทั้งห้าองค์ ลุกจากแท่นมณี ๏ จูบแก้มจูบเกศี จักใคร่ประสมสอง ๏ จึงตรัสพระวาจา ขวัญเข้าทั้งห้าองค์ ๏ พี่นึกมากรึกหา เห็นนวลยวนใจเรียม ๏ ท้าวจักสมสมร งดข้าทั้งห้าองค์ ๏ พระตอบนางแจ่มจันทร์ ท้าวกอดรัดไว้ตรึงตรา ๏ กอดพี่กอดน้องยา ๗๕

ประพาส

ไปพิพาส๗๕ไพรได้นางมา บิดามารดรรักเป็นนักนา ด้วยมหาวงศ์ผู้ลูกชาย ท่านโกรธาตลาไฟ จับได้..(เลือน)..เกศา ครั้นเห็นหน้ามายินดี พระภูมาชิงชัง พานตีด่าให้เมียฟัง แก่บิดาพระชนนี ฟังทัง้ ห้าลูกสาวศรี มาปองร้ายนางฉายา แม่ยิ่งเศร้าพระลูกอา ให้ผัวรักยากอะไร ทามายากันภายใน อย่าให้รู้ซึ่งคดี จาคาไท้พระชนนี มาที่สู่ปรางค์แห่งตน แล้วไคลคลาสู่จุมพล ก้มกราบบาทพระสามี มาพิศวงด้วยโลกีย์ อุ้มเทวีขึ้นแท่นทอง กระษัตรีย์ทั้งพี่น้อง นางพี่น้องทั้งห้าองค์ เรียมนี้รามาประสงค์ ทองอุไรยวนใจเรียม ในอุราเรียมกรมเกรียม เรียมรักนักทั้งห้าองค์ นางบังอรทูลทรง น้องกับพี่จะอายใหญ่ พี่น้องกันจะอายไย ทรงถามขุนนางเริง สิ้นทั้งห้ามาบันเทิง


๒๘๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สมสู่พระบุญเริง ๏ ทั้งห้ามาประนม ลาไปสู่ปรางค์ปรา

บันเทิงใจนางฉายา กราบบังคมพระภัสดา หยิกหยอกน้องให้หมองไย

สุรำงคนำงค์ ๏ แตงอ่อนอรดี ร่วมประเวณี กับด้วยท้าวไท นวลนางทรงครรภ์ หน่อพระนารายณ์ เลิศล้าฦๅสาย ๏ ขึ้นเฝ้าสามี กับองค์เทวี ห้าองค์นงคราญ ท้าวทรงเมตตา แตงอ่อนเยาวมาลย์ พระยอดสงสาร ๏ เจ้าทรงครรภ์แก่ ฟูมฟักอักแอ เจ้าจรมาไย อยู่แต่ในปรางค์ อย่าไปแห่งใด รักษาครรภ์ใน ๏ พระต้องมายา นวลนางทั้งห้า ผู้ใจกระลี จึงตรัสวาจา ว่าพระเทวี ช่วยรักษาศรี ๏ เจ้าไร้ญาติวงศ์ จงสนองครององค์ ต่างหูต่างตา ค่ามืดดึกดืน่ เจ้าเจ็บครรภ์มา ทั้งห้าฉายา ๏ ทั้งห้าประนม ขอรับเกล้าผม … ************************************ ๏ ทูลพลางร่ายคาถา หมอนั้นมาบ่ทันนาน ๏ รี้พลทั้งมนตรี แลดูฝูงกุมภา ๏ ดาด่างทุกประการ บ้างสั้นบ้างยาวรี ๏ ทั้งสี่หมอกุมภา มืดมนเป็นพ้นใจ ๏ พระทวารเป็นชั้นช่อง สาชลพระคงคา ๏ ทั้งสี่เที่ยวค้นหา ไม่พบจระเข้ใหญ่ ๏ ไม่พบปากถ้าทอง ไม่พบกลับขึ้นมา ๏ ขอโปรดเกล้าเกศี ข้าบาทมาจนใจ

ใครจักปูนปาน เนื้อนวลยวนใจ ไว้ให้จงดี น้องแก้วฉายา จงบอกชนนี

โจนลงในพระคงคา เที่ยวหาทุกช่องคูหา หมู่สาวศรีมี่โกลา ลอยล่องมาเป็นมากมาย หมู่บริวารท้าวกุมภีล์ บ้างเล็กน้อยลอยไสว เที่ยวค้นหาในน้าไหล จักเข้าไปในคูหา ปากถ้าทองลึกนักนา ลึกถึงห้าสิบวาปลาย พบกุมภาสิ้นทั้งหลาย มาลอยว่ายในคงคา ค้นในห้องท้องชลธา จากคงคากราบทูลไท ข้าทั้งสี่ทูลแจ้งไข ขอท้าวไทให้เมตตา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๘๙

๏ กุมภีล์นี้เป็นไฉน ดาไปในคงคา ๏ มหาวงศ์ทรงรัศมี ตรัสแก่ท้าวทั้งสอง ๏ บิดาพระชนนี ตรัสแก่ลูกสะใภ้ ๏ กุมภีล์นี้หายไป ทั้งนี้หมอกุมภา ๏ แตงอ่อนอรดี ไหลอาบซาบดวงมาน ๏ กราบบาทนาถมณฑา เชษฐาพญากุมภีล์ ๏ ทั้งสี่หมอกุมภา นเรศพระเชษฐา ๏ บัดนั้นกษัตรา แตงอ่อนเจ้าเนื้อทอง ๏ ทั้งสี่หมอกุมภา มิพบกุมภาใหญ่ ๏ บัดนั้นนางกัลยา แก่เทพในพฤกษี ๏ มณฑาตรัสเสาวนีย์ ให้ตั้งความสัจจา เยสรรตำ ๏ บัดนั้นมหาวงศ์พระภูมี ตรัสแก่เทวียอดสงสาร ๏ ขอเชิญน้องพิษฐาน ตามบุญสมภารได้สร้างมา ๏ ตรัสพลางท้าวประนมก้มเกศา ของจงเมตตามาปรานี ๏ เคยได้สร้างสมมาด้วยเทวี ดลใจกุมภีล์ให้ขึ้นมา ๏ ครั้นพิษฐานแล้วด้วยพลันบ่ทันช้า ประนมกรขึ้นเหนือเกล้าเจ้าชุลี

ไม่เห็นในถ้าคูหา ไม่มาเห็นถึงถ้าทอง ฟังทั้งสี่มาทูลสนอง จระเข้ทองมาหายไป ดังอัคคีเผาทรวงใน จะทาไฉนเจ้าแม่อา จากถ้าในพระคูหา เที่ยวค้นหาไม่พบพาน ก้มเกศีชลธาร นางโศกไห้ไป่พอดี แม่จงมาโปรดเกศี ยังอยู่ที่ถ้าคูหา ค้นแต่ที่กลางคงคา อยู่คูหาในถ้าทอง กล่าววาจาโดยสมผอง พระบิดามาจนใจ เที่ยวค้นหาในน้าไหล เขาไม่ได้ในคูหา ก้มเกศามาชุลี อันอยู่ที่ต้นไทรทอง แก่สองศรีแสนเสน่หา ไหว้เทวามาพิษฐาน

ครั้นได้ฟังพระชนนี ด้วยพี่เถิดนะเยาวมาลย์ มัสการเทพทุกถ้วนหน้า ขอเทพในป่าไม้พฤกษี บัดนั้นจึงนวลนางฉายา


๒๙๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ แตงอ่อนเจ้าอรดี เจ้าเขาคีรีถ้านองครองน้า ๏ เอ็นดูกรุณาข้าผู้ลูกกาพร้า ขอท้าวเทวาจงมาดลใจกุมภีล์ ๏ ช่วยชักนากุมภาพี่ข้ามาบัดนี้ ขอจงมาปรานีช่วยบอกข้าเถิดรา ๏ ครั้นพิษฐานแล้วมิทันช้า แต่งเครื่องบูชาเทพทุกสถาน ๏ ฝูงเทพวันนามารับบูชานวลนางคราญ แล้วคิดอ่านกันไปมา

ไหว้เทพในพฤกษี ท่านจักพาไปในพารา แม้นท้าวสิ้นชีพสัญญี อันดับนั้นนางคราญมารดา ชื่นชมมาสาราญ

ฉบัง ๏ บัดนั้นเทพในจอมผา ทั้งห้าอันมีฤทธี ๏ คิดกันในราษราตรี ลงไปตามช่องคูหา ๏ แลเห็นพญากุมภา เข้ามายังต้นไทรทอง ๏ ดลใจวรนุชสายสมร เจ้าฟื้นมาตื่นขึ้นพลัน ๏ อุ้มเอาพญากุมภีล์ ขึ้นมาตามช่องคูหา ๏ วางไว้ใกล้ฝังคงคา เข้ามายังต้นไทรทอง ๏ คลับคลาคลับคล้ายในฝัน ขึ้นมาบนพระธรณี ๏ นางปลุกพระชนนี บอกแก่พระราชมารดา ๏ บัดนั้นยังมีเทวา เอามาไว้บนปัถพี ๏ มณฑามาคดี ลูกรักเจ้ายอกสงสาร ๏ ตื่นขึ้นด้วยพลันบ่ทันนาน ภูบาลก็ตรัสแก่เสนา

ธารน้าพระคงคา จึงแทรกปัถพี หลับชิดนิทรา เจ้าสุวรรณแตงอ่อน จากแท่นมณี ทั้งห้าเทวา ว่ากุมภีล์นั้น ประนมบุรี บอกว่ากุมภา ปลุกพระสามี ท้าวแจ้งอาการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๙๑

๏ เรียกหาในควาญกุมภา ไปหาที่ริมถ้าทอง ๏ สี่กษัตริย์เสด็จจร กับควาญกุมภีล์สี่คน ๏ ถึงแม่น้าสาชล เห็นองค์พญากุมภา ๏ เสกเข้าสารปรายรอบกายา ยังมาหลับใหลในกาย ๏ ตัวตนอยู่บนปัถพี ไม่ไหวสักเท่าเกศา ๏ ตรีตรึกท้าวนึกไปมา มาทาร้ายเราผู้มีศรี ๏ บัดนั้นสมเด็จภูมี กับด้วยเสนามนตรี ๏ นายควาญกราบทูลภูมี อยู่นี้แลพระราชา ๏ แตงอ่อนอรดี กอดเอาพญากุมภีล์ ๏ ร้องไห้ร่าไรโศกี คือดังท่อธารา ๏ บัดนั้นพญากุมภา โศกาก็ยิ่งแสนทวี ๏ จักตรัสจานรรจาพาที กุมภีล์ก็เกลือกไปมา ๏ อ้าปากมิได้เลยนา มามัดรัดรึงตรึงตรัย ๏ มหาวงศ์ผู้ทรงฤทธิไกร หามเอาเข้าไปในพลับพลา ๏ ท้าวตรัสแก่พระธิดา เชิญเจ้าเข้าพลับพลาไชย ๏ สี่เจ้ากลับเข้ามาใน รี้พลทั้งหลายหามมา ๏ วางไว้ที่ริมพลับพลา ราชาก็มาตรัสไป

ทั้งสี่นี้นา ด้วยมนกร นายควาญสี่คน ส่วนท้าวกุมภา กลิ้งเกลือกกายี ด้วยตนนี้นา มาริมวารี ว่าท้าวกุมภีล์ นางแล่นเข้ามา อุทกวารี เห็นพระขนิษฐา มิได้ด้วยดี เพราะหมอกุมภา ตรัสแก่เสนาใน ร่าไรไยนา กุมภานั้นไซร้ พอรุ่งสุริยา


๒๙๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ ขุนหมื่นเสนานอกใน ช้างม้ารถรัตน์หัตถี ๏ จรเข้าไปสู่บูรี เถิดนะขุนกาลเสนา ๏ จงแต่งคานหามอย่าคลา เข้าไปยังกรุงเวียงชัย ๏ เสนารับโองการไป ไปตรวจทุกหมวดโยธา ๏ แตงอ่อนแจ่มจันทร์กัลยา ลาไปในห้องเทวี ๏ เก็บเอามีดตอกโกสีย์ เทวีมาก้มเกศา ๏ ยอกรไหว้เทพเทวา ขอลาท่านท้าวทั้งหลาย ๏ ลาแล้วนางแก้วคลาไคล กราบบาทบิดามารดา ๏ นางตรัสแก่หม้อกุมภา อย่ามัดรัดรึงกุมภีล์ ๏ ทั้งสี่ได้ฟังฉายา คาถาพระบาลี ๏ บัดนั้นพญากุมภีล์ จึ่งมีซึ่งพระวาจา ๏ ว่าท่านไปพาเรามา ฤๅปรารถนาอันใด ๏ ด้วยเทพดาดลใจ จึงได้มาจานรรจา ๏ แตงอ่อนอรดีฉายา ว่าท่านจักพาน้องไป ๏ แต่พี่มาจากน้องไกล วันนี้ถึงมาพบพาน ๏ แต่ไห้เพียงชีพวายปราณ ภูบาลมิได้จะนาพา ๏ ละน้องคนเดียวเอกา จะพาน้องไปบุรี

ตรวจพลจงไว เร่งรัดบัดนี้ หามท้าวกุมภา กระบัดคลาไคล กราบกรานมารดา ของพี่กุมภีล์ เจ้าไพรพฤกษา มาพลับพลาชัย สูจงเคลื่อนคลา แก้เชือกกุมภา ค่อยคลายกายี กินเป็นภักษา กุมภีล์นั้นไซร้ ตรัสแก่กุมภา ทุกข์เพียงเมรุไกร อยู่ริมชลธาร บัดนี้ท่านมา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๙๓

๏ พี่ยาจงมาจรลี เข้าไปบุรี เป็นเพื่อนน้องเถิดพี่ยา ๏ เวรกรรมมันมาจาให้ พลัดพรากน้องไป สู่ในถ้าทองคูหา ๏ คิดถึงน้องแก้วฉายา พี่ลักมาหา บริวารกุมภาตราตรัย ๏ ปิดปากถ้าทองลั่นดาลไว้ มิให้คลาไคล พี่ชายมาทรงโศกา ๏ เจ้าจักเข้าไปพารา พี่เป็นกุมภา จักเข้าไปได้กลใด ๏ เคยอยู่แต่ถ้าน้าไหล … ************************************ ๏ ............................. ไปเชิญพระมารดา ๏ ทาเซซวนว่าใช้ ทาสีรู้กลนัย ๏ ทูลว่าพระชนนี ต่อรุ่งพระสุริยา ๏ แตงอ่อนอรดี มารดามาตัดใจ ๏ นางไห้ร่าโศกศัลย์ จะประสูติพระบุตรา ๏ ร้องเรียกนางทั้งห้า ทั้งห้ามากรุมกัน ๏ ยายเถ้าจึงว่าไป พระเนตรทั้งซ้ายขวา ๏ ห้าคนข่มวุ่นวาย บ้างปิดซึ่งพระกรรณ

ให้สาวใช้ทั้งซ้ายขวา ไป่อยู่ช้าด้วยอันใด สั่งข้าไทให้ซ้าไป วิ่งไปแล้วๆ กลับมา ในราตรีไม่ลินลา ท้าวจรมาอย่าร้อนใจ ฟังทาสีมีเนตรไหล ไม่รักใคร่ลูกเลยนา เจ็บในครรภ์เป็นนักหนา นางฉายามากระสัน ช่วยน้องราพี่จอมขวัญ ทั้งแม่ลูกผูกเวรา เอาสไบพันเกศา เห็นโลหิตจักเมามาย ให้โฉมฉายออกจากครรภ์ เกือกลูกมันร้องจะได้ยิน

ฉบัง ๏ บัดนั้นพระนุชบุตรา จักออกจากครรภ์ชนนี ๏ เหมือนหนึ่งหน้าทองผ่องศรี

หน่อพระนรา ใต้ฟ้าไม่มี


๒๙๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

คือหนึ่งมณีสุกใส ๏ ออกจากครันนางอรไท ไหลออกจากเบ้าศักดิ์ศรี ๏ ร้องว่าทั้งห้าตกใจ ปิดหมั่นลั่นไว้ตรึงตรา ๏ จึงใช้ให้อีคุลา ไปฝังไว้ไกลบุรี ๏ อีคุลามันเป็นทาสี จรลีออกจากปรางค์ปรา ๏ เอาหีบนั้นไปไคลคลา มิช้าถึงต้นเกดทอง ๏ ทาสาทาสีทั้งผอง ฝังไว้ใต้ต้นพฤก(ษี) ๏ เสร็จสรรพกลับเข้าบุรี จะรู้คิดเดียงสา ๏ บัดนั้นนางเทพเทวา ที่ต้นพฤกษาช้านาน ๏ บรรทมบนแท่นพิมาน นงคราญตริตรึกนึกใน ๏ คืนนี้หลากแหลกแปลกใจ ที่ใต้ต้นไม้พฤกษา(นต์) ๏ ขุดดินขุดทรายช้านาน ฝังสรรพสิ่งใดนา ๏ นางเล็งด้วยทิพย์ปัญญา ว่าเขาฝังพระกุมาร ๏ ฉายาเจ้าน่าสงสาร อันถึงความมรณา ๏ นางลงจากต้นพฤกษา ดูที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ๏ รู้จักทักแท้แก่ใจ จึงเห็นหีบใส่พระกุมาร ๏ จึงขุดดินพลันมินาน นงคราญจึงอุ้มขึ้นมา ๏ ชาระสระสรงคงคา

ดังทองผ่องใส ยัดใส่หีบใน เอาลูกฉายา รับคาเทวี สู่ไพรพฤกษา คิดกันตรึกตรอง ผู้ใดไม่มี อันอยู่ธรมาน์ รุ่งราตรีกาล ใครหนอมาใน มันนี้ทาการ รู้ซึ่งเดียงสา พระราชกุมาร ทรงพิจารณา ขุดดินลงไป เห็นราชกุมาร ด้วยน้ามาลา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๙๕

สุคนธารสอบอาย ๏ แล้วจึงกลบฝังหีบไว้ ขึ้นมายังบนวิมาน ๏ นางเนรมิตพิษฐาน กุมารจะเป็นบุตรา ๏ ขอดวงพุ่มพวงอุรา จงไหลออกมาอย่านาน ๏ ฉายาเจ้ามาพิษฐาน กุมารได้เสวยทันใจ ๏ นางเก็บพระขรรค์สินชัย เอาไว้ที่บนพฤกษา ๏ ให้ชื่อเจ้าเกศสุริยา คือดั่งน้าแก้ววิเชียร ๏ งามจริงยิ่งกว่าวาดเขียน จาเนียรรอมาช้านาน ๏ นางเทพพฤกษานต์ ยิ่งกว่าเกิดในอุทร ๏ ผูกอู่อุ้มชูให้นอน อุ้มลงสาครวารี ๏ สระสรงองค์พระภูมี ครั้นแล้วเทวีอุ้มมา ๏ เจียรกาลอยู่ช้านาน มารดาเจ้ารักสุดใจ ๏ อุ้มไปในดงพงไพร เล่นตามร่มไม้พฤกษา ๏ นางเก็บลูกไม้ในป่า บรรดามีในพงไพร ๏ ทับทิมพวาลาไย กล้วยกล้ายอันมีนาๆ ๏ แม่ลูกเก็บกินเป็นภักษา นางแซมเกล้าลูกจุกไร ๏ กุมารถามมารดาไป เขียวๆ แดงๆ แกมกัน ๏ แม่เก็บมาให้ลูกพลัน

แล้วจึงอุ้มลูกชาย จุ่งเดชสมภาร ทั้งสองนี้นา น้านมไหลพลัน ของลูกสายใจ งามยิ่งนักนา ไม่มีที่เตียน รักษากุมาร เช้าๆ บทจร ทุกราษราตรี เจ้าสอนเจรจา วางให้เดินไป ให้แก่ลูกยา ปรางปริงมีใน แล้วเก็บมาลา นั้นลูกอะไร ยังอีกต้นนั้น


๒๙๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เป็นดวงพวงย้อยลงมา ๏ นางฟังร้อยชั่งพังงา นั่นคือลูกปรางทองไซร้ ๏ นั่นคือมังคุดพุไทร๗๖ มะไฟมะเพืองเหลืองไป ๏ กุมารถามมาทันใจ ราเล่นเต้นมาเป็นฝูง ๏ มารดาบอกว่านกยูง ราเล่นเต้นตามภาษา ๏ บังอรวอนพระมารดา ลูกยาจะชมยาใจ ๏ มารดาจึงมาขานไข มันร้ายจะจิกลูกยา ๏ ชมพลางทางอุ้มลูกยา แล้วพามาสู่น้าใส ๏ สระสรงองค์ลูกสายใจ คลานไปก็เลี้ยวเทียวมา ๏ กุมารวอนถามมารดา คลานมาคืบๆ รีบลน ๏ มารดาบอกว่าปูลม ชมเล่นเถิดลูกอา ๏ กุมารวอนพระมารดา ผูกเชือกลากเล่นเป็นไร ๏ มารดาปลอบว่าทรามวัย มันใช้จะหนีบลูกยา ๏ กุมารขานพระมารดา อย่าจับเลยพระชนนี ๏ แม่ลูกชื่นชมสมศรี ครันแล้วก็กลับคืนมา ๏ สู่บนวิมานโสภา ฉายาชื่นชมสมสมัย ๏ แต่งองค์ลูกรักสายใจ ๗๖

อ่านว่า พุด-ไซ หมายถึงผลพุทรา

บอกแก่ลูกยา โน่นแน่ะลาไย นั่นนกอะไร โน่นแน่ะเป็นฝูง แม่จับให้ข้า จับมันไม่ได้ จูบเกล้าเกศา ปูเปรียวระไว นั่นอะไรน่ะแม่อา ปูนิ่มถิ่นขม จับมาให้ข้า ก้ามมันง้าไว้ ลูกกลัวหนักหนา สระสรงวารี เก็จทองสาขา ภูษาอาไพ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๙๗

กาไลสังวาลบรรจง ๏ เช้าๆ แม่ลูกสององค์ สุริยาคล้อยคลับกลับมา ๏ บรรทมบวรไสยา เสวยนมแม่บนพฤกษี ๏ เช่นนี้จะทุกราตรี เจียรกาลอยู่ช้านานมา

เทีย่ วไปในดง กุมารพังงา เสวยทิพย์อันมี

กำบอกข่ำว ๏ ส่วนว่านางทั้งห้า ทามารยานางเทวี จึงเอาลูกกุมภีล์ คุกโลหิตติดนักหนา ๏ ร้องว่าเจ้าเทวี ลูกเจ้านี้เป็นกุมภา ออกจากครรภ์พระฉายา น่ากลัวเป็นพ้นใจ ๏ เหลืองเป็นขมิ้นทา หางนั้นหนามาแกว่งไกว อ้าปากแดงเป็นไฟ อยากนมแล้วกระมังนา ๏ บอกพลางทางร้องไห้ กรรมอะไรของฉายา ออกลูกเป็นกุมภา นางฉายามาคิดไฉน ๏ แตงอ่อนเจ้ากัลยา ฟังทั้งห้ามาแจ้งมาใจ๗๗ โศกามาร่าไร พี่ข้าไหว้ได้ปรานี ๏ ลูกข้าออกจากท้อง มาร้องได้เป็นสอง(ที) .............................(ความในต้นฉบับไม่ปรากฏ)...................... ............................... ออกลูกเป็นจังไร ๏ ออกลูกเป็นกุมภา อย่ามาแก้ไขตน ๏ แต่อายยังจะชั่ว กูจะทูลแก่ท้าวไท้ ๏ แตงอ่อนนางกัลยา แม่เจ้าจงปรานี ๏ อย่าทูลพระภูมี ทูลว่าลูกน้องยา ๗๗

น่าจะเป็น มาแจ้งใจ

ความร้ายมาใส่ไคล้ มาใส่ไคล้เราห้าคน ทาแก้หน้ามาร้อนรน เห็นไม่พ้นที่ความอาย กลัวแต่ตัวจะบรรลัย อย่าใส่ไคล้มันไม่ดี ก้มเกศามาชุลี แกลูกเถิดนะฉายา ว่ากุมภีล์นี้บุตรา ตายออกมาแต่ในครรภ์


๒๙๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๏ เอาไปฝังเสียแล้ว อย่าให้พระทรงธรรม์ ๏ ช่วยทูลขออาญา ขอเป็นทาสาทาสี ๏ ทั้งห้ามาขานตอบ ง้องอนสะอ้อนใคร่ ๏ แตงอ่อนนางอรทัย โอ้โอ๋ตัวกูอา ๏ จะยังรุ่งจนยังค่า ทั้งห้าจึงคลาไคล ๏ มนต์ดลผลคุณไสย ปั้นรูปมาฝังพลัน ๏ เสร็จแล้วจึ่งคลาไคล ถึงพลันมิทันช้า ๏ ทูลแก่พระภูธร ประสูติบุตรเทวี ๏ โฉมงามเป็นที่ยิ่ง หางนั้นยาวนักหนา ๏ ขอเชิญท้าวจรไป งามจริงยิ่งกุมภีล์

ทูลกระหม่อมแก้วช่วยผ่อนผัน ท้าวโกรธามาด่าตี อย่าให้ฆ่าม้วยชีวี พระแม่เจ้ากว่าจะตาย ว่าแต่ชอบน่าขัดใจ หน้าไม่อายชาวเกศี๗๘ แต่ร่าไรฟายน้าตา มามีกรรมยิ่งเหลือใจ แต่ไห้ร่าในปรางนัยน์ ไปสู่ปรางค์นางแจ่มจันทร์ ทาซ้าไปทุกสิ่งพัน ทรงธรรม์จะเคลื่อนคลา๗๙ ไปทูลให้พระทรงธรรม์ ก้มเกศามาชุลี ว่าแตงอ่อนเจ้าอรดี ออกมาเป็นกุมภีลา ดังขมิ้นมาลายทา ตีนมือสั้นเห็นงามดี ชมลูกไท้พระพันปี ในสมุทรสาคร

สุรำงคนำงค์ ๏ มหาวงศ์ราชา ฟังนางทั้งห้า โกรธาฟูมฟอง เสด็จไปสู่ปรางค์ นวลนางสายสมร กับนางบังอร ๏ ถึงปรางค์ปราสาท แห่งน้องน้อยนาถ แตงอ่อนอรดี ครวญคร่าร่าไร อยู่ในปรางค์ศรี สมเด็จภูมี ๏ ถามองค์นงคราญ เจ้าประสูติกุมาร อยู่ไหนฉายา นางก้มเกศี กราบกับบาทา ผัวเจ้าของเมียอา ๏ ลูกข้าบาทา๘๐ ออกจากครรภ์ข้า มาเป็นกุมภีล์ เมื่อแรกออกมา ว่าๆ สองที ทั้งห้ามารศรี ๗๘

หมายถึงชาวเมืองโกสี น่าจะเป็น เคลื่อนครัน สัมผัสกับคาว่า “ธรรม์” ๘๐ น่าจะหมายถึง ลูกข้าพระบาท ๗๙

ทั้งห้าจรลี จึ่งตรัสวัจนา จงเมตตาปรานี ว่าเป็นกุมภา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๙๙

๏ ทั้งห้าตอบไป สมเด็จท้าวไท เร่งพิจารณา บิดามนุษย์ บุตรเป็น(กุมภา) … ************************************


๓๐๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๐๑

บทนำ “บทละครร้อง เรื่อง ศรกกกระหนำกเมืองลพบุรี” ดรณ์ แก้วนัย๘๑ ธนภัทร พิริย์โยธินกุล๘๒ เรื่อง “ท้ำวกกขนำก” เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องสาคัญเรื่องหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เชื่อกันว่าเป็น เรื่องจริง เนื้อหาของเรื่องมีความสัมพันธ์กับเรื่องรามเกียรติ์ เนื่องจาก ใน “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับพระ ราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑” นั้น ปรากฏเนื้อเรื่องตอนพระรามยิงลูกศรกกแก้วตรึงอกท้าวอุณาราช เจ้าเมืองสิงขร ไว้ กับแผ่นผาริมสวนขวัญของท้าวอุณาราช เมื่อพระรามเดินดง ครั้งที่ ๒ เป็นเวลา ๑ ปี เพื่อสะเดาะเคราะห์ ซึ่ง เป็ น ต านานอี ก เรื่ อ งหนึ่ งที่ แ สดงให้ เห็ น ความสั ม พั น ธ์เกี่ ย วข้ อ งระหว่ า งจั งหวั ด ลพบุ รี กั บ เรื่ อ งรามเกี ย รติ์ นอกเหนือจากเรื่องอื่นๆ เช่น ตานานทะเลชุบศร ตานานเขาสรรพยา เป็นต้น วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับ “เขาวงพระจันทร์” ในจังหวัดลพบุรี ซึ่งชาวลพบุรีเชื่อว่า เป็นสถานที่ที่ท้าวอุณาราช หรือ ที่รู้จักในนาม “ท้าวกกขนาก” นั้นถูกศรกกแก้วปักตรึงอยู่ เขาวงพระจันทร์นี้ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี อยู่ที่อาเภอโคกสาโรง เดิมชื่อเขานางพระจันทร์ หรือนางนงประจันทร์ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อโอภาสี เจ้าอาวาสวัดเขาวงพระจันทร์เปลี่ยนชื่อเขาลูกนี้เป็น “เขาวงพระจันทร์” ตามลักษณะของเทือกเขาซึ่งมีสัณฐานคล้ายพระจันทร์ แต่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการทาให้นางนงประจันทร์ลูกสาว ท้าวกกขนากซึ่งถูกศรกกปักตรึงไว้กับเขาวงพระจันทร์นี้ สับสนตามมาช่วยบิดาไม่ได้ เพราะสับสนชื่อภูเขา๘๓ นอกจากนี้เรื่องท้าวกกขนาก ยังอาจแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนชาวลพบุรีในการป้องกัน ไม่ให้เกิดภัยจากธรรมชาติ ผ่านการสร้างสรรค์ตานานเรื่องท้าวกกขนากขึ้น เพื่อถ่ายทอดความคิดดังกล่าว โดย พิจารณาจากสภาพภูมิป ระเทศของจั งหวัดลพบุรีกับข้อห้ าม (tabu) จากตานานท้ าวกกขนาก คือ ห้ ามน า น้าส้มสายชูไปรดที่ต้นกกที่ตรึงท้าวกกขนากไว้กับหิน เพราะถ้านาไปรดแล้วท้าวกกขนากจะออกมาอาละวาดจับ ผู้คนกินเป็นอาหาร จนเกิดการสั่งห้ามไม่ให้นาน้าส้มสายชูเข้ามาใช้หรือจาหน่ายในจังหวัดลพบุรีขึ้นจริงๆ ทาให้ ตานานเรื่องนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วประเทศ ซึ่ง มโหทร ได้นาเสนอมูลเหตุการแต่งเรื่องท้าวกกขนากไว้ ใน วารสารมหาวิทยาลัย ว่า เรื่องนี้จะว่าคนโบราณโกหกทีเดียวนักไม่ได้ ถ้าเราหาเหตุผลดูให้ดี จะรู้ได้ว่าที่เมืองลพบุรี นั้น มีธาตุดิน สอพองมาก ดังที่ได้ขุดมาผะสมทาปูนซิเมนต์ที่บางซื่อเดี๋ยวนี้ ธาตุดินสอพองเมื่อ ๘๑

ผู้ปริวรรต เจ้าหน้าที่วิจัย ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เขียนบทนา ๘๓ ดิษฏิกษ์ (นามแฝง), (๒๕๕๔), เรื่องโบรำณตำนำนยักษ์, (กรุงเทพฯ: income), หน้า ๖๘-๖๙. ๘๒


๓๐๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ผะสมกับกรดจะเกิดแก๊สชะนิดหนึ่งเรียกว่า “คาบอนมอนอ๊อกไซด์” ซึ่งถ้าเราหายใจเข้าไปมากๆ จะเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ น้าส้มเป็น กรดเหมือนกันเรียกว่า “Acetic” เนื่องด้วยเมื่อก่อนนี้คงยัง ไม่รู้จักกรดมากนัก จึงห้ามแต่น้ าส้มเท่านั้น เมื่อคนนาน้าส้มเข้าไปในถ้าเวลาหุงหาอาหารแล้ว ทาหกลงไปบนดินซึ่งมีธาตุดินสอพอง แก๊สนี้ก็เกิดขึ้น คนที่ไปนั้นหายใจเข้าไปก็เลยตายอยู่ที่นั่น เมื่อเป็นดังนี้บ่อยจึงเกิดห้ามน้าส้มกันขึ้น พวกผู้ใหญ่เลยหาเรื่องประกอบให้เด็กๆ กลัวมากขึ้นว่า ยักษ์มารกิน๘๔ ความแพร่หลายของวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี เรื่องท้าวกกขนาก นาไปสู่การสร้างสรรค์เป็น วรรณกรรมประกอบการแสดง เช่น การแสดงละครเรื่องท้าวกกขนาก บทพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ๘๕ ซึ่งทรงจัดแสดงละครเรื่องท้าวกกขนาก ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร ณ วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ซึ่งอีกประมาณ ๖๐ ปี หลังจากนั้น ณ บริเวณแห่งเดิมซึ่งเปลี่ยนแปลงเป็นโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษม ศรี โอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติก็ได้จัดแสดงละครถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่ภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตร ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ทรงบันทึกถึงเหตุการณ์เมื่อ ๖๐ ปีก่อน ว่า ในการแสดงละครเมื่อ ๖๐ ปีก่อนนั้น เสด็จในกรมฯ ทรงจัดแสดงเรื่อง กกขนาก ซึ่งถูก สาปอยู่ในถา นางศรีประจั น ลูกสาวกกขนาก ต้องพยายามทอผ้าด้วยใยบัว ถ้าได้ค รบผื น กกขนากก็จะพ้นสาปและฟื้นคืนชีพ พระอินทร์จึงคอยแปลงเป็นหนูมาคอยกัดผ้าเพื่อไม่ให้ เสร็จเต็มผืน และคอยทาลายพิธีด้วยวิธีการต่างๆ แม่เริญที่เป็นครูฟ้อนราคนแรกของ ม.ร.ว. ทอร์ศรี และม.ร.ว. พูลสุข นั้นได้เคยแสดงหน้าพระที่นั่งมาแล้ว ในครั้งนี้ก็แสดงด้วย...๘๖

๘๔

มโหทร (นามแฝง), ท้ า วกกขนาก, วำรสำรมหำวิ ท ยำลั ย , ๖, ๓ (มกราคม ๒๔๗๑), (พระนคร: นั ก เรี ย น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), หน้า ๑๗๗. ๘๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ (พ.ศ. ๒๔๐๐ - พ.ศ. ๒๔๕๘) พระนามเดิม คือ พระองค์เจ้า เกษมศรีศุภโยค ทรงเป็นต้นสกุล เกษมศรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาจันทร์ มีพระปรีชาสามารถทั้งในด้านจิตรกรรม การละครและดนตรี เป็ นต้น (ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ , (๒๕๒๑), ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทำงศิลปะ เล่ม ๔, (กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร), หน้า ๕๘. ๘๖ พระประวัติและผลงำน ของมหำอำมำตย์ตรี หม่อมเจ้ำพูนศรีเกษม เกษมศรี. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในการทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงพระศพ มหาอามาตย์ตรี หม่อมเจ้าพูนศรี เกษม เกษมศรี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๗), หน้า ๑๙๗-๑๙๘.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๐๓

ช่วงเวลา ๖๐ ปีก่อน นับจากวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ช่วงเวลาที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น ทิวากรวงศ์ประวัติ ทรงจัดแสดงเรื่องกกขนาก นั้ นก็จะอยู่ในประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๔ นอกจากบทละครแล้ว ยังมี การน าเรื่ องท้ าวกกขนากมาผลิ ตซ้าในสื่ อ รูป แบบต่ างๆ เช่ น ภำพยนตร์เรื่อ ง ท้ำ วกกขนำก พ.ศ. ๒๔๗๕ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นผู้กากับ และ ละครเพลง “มนต์รักนวลจันทร์” พ.ศ. ๒๔๙๖ ของ สุนทราภรณ์และทวีปวร ซึ่งดัดแปลงเรื่องท้าวกกขนากมาเป็นละครเพลง แสดงที่ศรีอยุธยาในรายการละคร “ทหารเสือกรมหลวงชุมพร” รวมถึง บทละครร้อง เรื่องศรกกกระหนากเมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาตินี้ ก็เป็นวรรณกรรมการแสดงอีกเรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นความแพร่หลายของเรื่องท้าวกกขนาก ที่มำของตัวบท บทละครร้อง เรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี เป็นวรรณกรรมการแสดง บันทึกในสมุดไทยดาด้วย หมึกสีขาวเป็นอักษรไทย ใช้ภาษาไทยและภาษาบาลี จานวน ๓๒ หน้า หน้าละ ๔ บรรทัด หมู่กลอนบทละคร รหัสเอกสารเลขที่ ๑๘ ตู้ ๑๑๔ ชั้น ๕/๓ มัดที่ ๑๒๖ ปัจจุบันเก็บรักษา ณ หอสมุดแห่งชาติ โดยได้รับมอบจาก กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต้นฉบับ บทละคร เรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี ไม่มีระบุชื่อผู้แต่ง หรือผู้คัดลอก แต่มีปรากฏวัน เดือน ปี ที่หน้าต้นของสุมดไทยว่า “วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๓๒ พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่า เดือน ๖ ปีฉลู ฉพุทธศก” อย่างไรก็ตาม ตอนท้ายของต้นฉบับนี้เนื้อความยังไม่จบสมบูรณ์ ดังนั้นจึงอาจมี เล่ม ๒ หรือฉบับ พลัด ซึ่งเมื่อสืบ ค้นต่อพบว่าเป็นเนื้อหาส่วนแรกของบทละครร้องเรื่องท้าวกกกนาก (เมือง ลพบุ รี ) ประพั น ธ์โดย พระศรี ซึ่ งเป็ น พระนามแฝงในพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระนราธิ ป ประพั น ธ์พ งศ์ พระนิพนธ์ในสมัย รัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๕๓ พิมพ์ครั้งแรกโดย โรงพิมพ์ศุภการจารูญ พ.ศ. ๒๔๕๓๘๗ ด้านรูปแบบคาประพันธ์ มีลักษณะเป็นละครร้อง ประเภทละครร้องมีลูกคู่ ซึ่งเป็น “บทละครร้องสลับ พูด มีทั้งบทร้องและพูดแต่ถือการร้องเป็นหลัก ”๘๘ แบ่งชุดแสดงออกเป็นชุดๆ ในต้นฉบับนี้ปรากฏเพียงชุดที่ หนึ่ง มีการบรรยายฉาก และตัวละคร เพื่อให้รู้ว่าในฉากนั้นดาเนินเหตุการณ์ที่ไหน มีตัวละครอะไรบ้าง รวมทั้ง ยังมีข้อความวงเล็บในบรรยายท่าทาง การแต่งกาย และลักษณะอื่นๆ ของตัวละคร เพื่อให้ผู้อ่านบทเห็นภาพ มี บทเจรจาเป็นร้อยแก้วสลับบทร้องเป็นกลอนสุภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

๘๗

พวงเพ็ญ สว่างใจ, (๒๕๕๑), คุณค่ำทำงวรรณคดีของบทละครร้องไทย, (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร). ๘๘ เสาวณิต วิงวอน, (๒๕๕๕), วรรณคดีกำรแสดง, (กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี และคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), หน้า ๑๒๐.


๓๐๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ชุดที่ ๑ (นัดไปดู) ฉากในตึกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตัวละครมีนายหนุ่มหนึ่ง นามฉายาคุณ สร้อยสุมาลี ทุกคตะ (สร้อย) ไฉนหนอนั่นจนตะวันสายัญแล้ว ไม่เห็นแก้วเนตรเรียมมาเยี่ยมพี่ ชื่นชีวาพกามาศปลาสลี้

ฤๅจะมีเหตุการณ์สังหารฮือ

แกสัญญาว่าจะมาหาพี่สร้อย

สุมาลีพี่คอยน้อยไปฤๅ

มัวผสมขนมอร่อยปล่อยฝีมือ

มาปรนปรือพี่ชายจึงหายไป ๚ ๔ คาเจรจา

(ก้มหน้ าฝืน แล้ ว ก็เหงื้อหวยหน ตาแก่นุ่งหางกระรอก ทั บขาก๊ว ย คาดกระเป๋าโต๊ะพั น ขาวม้าลาว ครองกุ่ยเฮง สะพายย่ามละว้า ครอบหมวกสานช่ามะเร่อ) โผล่เข้ามา จึงร้องฮือ ... กลับก็กวักมือตะโกน “มานี่แน่แก” ตานั่นก็ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ขยาดขยั่นเป็นนาน จึงย่องมานั่งกะพื้น แกมประหม่า “ธุระอะไรกะข้าเจ้าฤๅพ่า” “ลุงเห็ นผู้หญิงที่เธอมาเรือ กอนโดเล่อ จอดอยู่ปลายสะพานท่าน้าโน่นไป บ้าง ไหม”๚ เนื้อเรื่อง บทละคร เรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี ดาเนินเรื่อง แบ่งเป็นชุด ในต้นฉบับนี้ปรากฏเพียง ชุดที่ ๑ เป็นฉากตึกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ใกล้ท่าน้า มี “คุณสร้อยสุมาลีทุคตะ” ชายหนุ่มสนทนากับชายชราชื่อ “ตาถิน” ถามหา “หม่อมพวงพกามาศ บุตรีพระกเลวะสัมพิกะสุงกากะระวารี ” แล้วจึงรู้ว่าตาถินมาจากเมือง ลพบุรี มาที่กรุงเทพมหานครฯ เพื่อแทงหวย แต่ไม่สาเร็จดังปรารถนาจึงกาลังจะกลับลพบุรีเพื่อไปดูแลไร่นาและ โคกระบื อ ของตน คุณ สร้ อยฯ จึ งฝากเพลงยาวฉบั บหนึ่ งให้ ตาถินไปส่ งให้ น ายตรวจซึ่งอยู่ที่ พั กคนเดินทาง ระหว่างนั่งรถราง แต่ตาถินว่าถ้าเอาลงไปฝากจะถูกเก็บเงินเพิ่มอีก ๖ สตางค์ คุณสร้อยฯ จึงให้อ้างชื่อตนว่าเป็น จดหมายของคุณสร้อยสุมาลีศรีจันทร์ จดหมายเพลงยาวสารภาพรักกับหม่อมพกามาศ ของคุณสร้อยฯ นั่นแต่งด้วยกลบท แต่เป็นสานวน แบบที่ตาถินเรียกว่า “กลบทสมัยใหม่” โดยใช้กลบท... เช่น “รอไม่ไหวใจผ่าวราวกะสุ่มไฟ ไฟสุ่มกะราวผ่าวใจ ไหวไม่รอ” ซึ่งตาถินเห็นว่า “เห็นจะไม่นิยมรสละหนาพ่า” ทาให้ตาถินไม่ชอบเพราะอ่านไม่เข้าใจ ระหว่างที่กาลังอ่านเพลงยาวคุณ สร้อยฯ มีคนด้านนอกอ่านบทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยอ่านแบบ ทานองแม่ค้า ตาถินจึงเรียกให้คุณสร้อยฯ ฟังบทกลอนนี้ และกล่าวเปรียบเทียบรสคาและความไพเราะระหว่าง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๐๕

กลอนแบบเก่ากับแบบใหม่ ว่า “อ้ายสมัยใหม่ข้าดูนี้สู้ถอยหลังเข้าคลอง สมัยเก่าไม่ได้แท้ ๆ” ซึ่งกลอนนั้นเป็น เรื่องรามเกียรติ์ ตอนท้าวอุณาราชหรือท้าวกกขนากถูกพระรามแผลงศรกกแก้วตรึงไว้กับแผ่นผา โดยผู้ประพันธ์ ดัดแปลงมาจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ แบ่งเป็นช่วงท้าวอุณาราชถูกศรกกแก้ว พร้อมคาสาป กับตอน นางไวยกาสูร มเหสีและ นางประจัน ธิดาท้าวอุณาราชครวญ ดังนี้ รำมเกียรติ์ ฉบับพระรำชนิพนธ์รัชกำลที่ ๑

ศรกกกระหนำกเมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชำติ

ตกลงในถ้าริมสวนขวัญ

ตกลงหน้าถ้าริมสระน้าใหญ่

ตรึงมั่นไว้กับแผ่นผา

เถิงเร็วไว้ลับแผ่นผา

มิได้ไหวติงกายา

มิได้ไหวติงกายา

พระจักราก็ซ้าสาปไป

พระจักราก็ซ้าสาบไป

ให้เกิดไก่แก้วอลงกรณ์

ให้เกิดไก่แก้วอลงกรณ์

กับนนทรีถือค้อนเหล็กใหญ่

กับนนทรีถือค้อนเหล็กใหญ่

อยู่รักษาอสุรานี้ไว้

อยู่รับจักรานี้ไว้

ให้ได้ถึงแสนโกฏิปี

ให้ได้ถึงแสนโกฏิปี

แม้นเห็นกกเลื่อนเคลื่อนคลาด

แม้นเห็น..เลื่อนเคลื่อนคลาด

จากอกอุณาราชยักษี

จากอกอุณาราชยักษี

ไก่นั้นจึ่งขันขึ้นทันที

ไก่นั้นจึงขันขึ้นทันที

นนทรีเร่งเอาพะเนินรัน

นนทรีเร่งเอาพะเนินรัน ฯ

สาปเสร็จเสด็จบทจร งามดั่งทินกรรังสรรค์ กับองค์อนุชาวิลาวัลย์ คืนเข้าสวนขวัญอสุราฯ เมื่อนั้น

เมื่อนั้น

นางไวยกาสูรยอดสงสาร

นางไอยกาสูรกายสงสาร

ทั้งประจันธิดายุพาพาล

ทั้งประจันต์ธิดายุพาพาล

รู้ว่าพญามารมรณา

รู้ว่าพญามารมรณา ฯ

ตกใจดั่งใครมาฟันฟาด ให้เศียรขาดด้วยดาบอันคมกล้า ต่างองค์ต่างฟายชลนา


๓๐๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

รำมเกียรติ์ ฉบับพระรำชนิพนธ์รัชกำลที่ ๑

ศรกกกระหนำกเมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชำติ

โศกาครวญคร่าราพัน ฯ หลังจากคุณสร้อยฯ ได้ฟัง ก็แสดงความเห็นว่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นเพียงเรื่องแต่ง ไม่มีจริง ตาถินจึง อธิบ ายให้ เห็ น ในประเด็ น ต่ างๆ ทั้ งการใช้ ตั ว ละครสั ต ว์เป็ น อุ ป มาของมนุ ษ ย์ และความแท้ จริ งของเรื่อ ง รามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องจริงในประเทศไทย โดยอธิบายตัวอย่างต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องท้าวกกขนากนี้ว่า “...อ้าย เรื่องนะมันจริง แต่อ้ายที่ว่าอินเดียอินแดง ซีลอนซีแลนอะไรนะ ฝรั่งมันหลอกให้ทั้งเพ ในเมืองเราแท้ ๆ ถ้าไม่ จริงทะเลชุบ ศรมาแต่ไหนเล่ า ท้ าวกกกระหนากนางประจันต์ ก็นั่ งอยู่ท นโท่ เฮอ จะว่ากระไร ถึง ๓ ปี หั ว ละมาน๘๙มาตอกศร ไฟติดหางครั้งเผาลงกามาไหม้เมืองลพบุรี เมื่อไม่กี่ปีมานี่ ตลาดหมดอะไรเสียอีก ถ้าอย่าง งั้นรัฐบาลท่านจะห้ามน้าส้มสายชูทาไม ข้าเจ้าเห็นยังงี้” ตาถินเล่าตานานท้าวกกขนากให้คุณสร้อยฯ ฟัง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรื่องท้าวกกขนากเป็นเรื่องจริงว่า “แต่ก่อนเป็นเทวดานามอนุราช ตัวโปรดของพระอิศวร ขี้เกียจขึ้นเฝ้าทูนกริ้ว สาปลงมาเป็นยักษ์ ครองนคร มหาสังขร... พระศุลีประทานพรให้มีฤทธิ์ ใครผลาญชีวินก็ไม่ตาย ต่อพระอวตาลมาปราบยุคเข็ญ เอากกเป็น ลูกศรจึงจะตรึงลงมา อยู่แสนโกฏิปี พระโยคีโคสภทูลพระนารายณ์แลลูกศร จึงได้กลายเป็นหินอยู่ตราบเท่าทุก วันนี้ มีไก่ขาวคอยขันขณะศรเขยื้อน นกนนทรีเอาเพนียดตอกหลายๆ ปีหัวละมานที่เป็นพระยาอนุชิตไปจาศีล อยู่ป่าพระหิมพานต์ ก็มาลับดอกศรเสียที นางประจันต์ก็ลูกสาวนะ ก็ยังอยู่ในถ้า ห่อ น้าด้วยใยบัวจะเอาไว้ทา พระอุตราสงค์ถวายพระศรีอารียะเมตไตรยเจ้า ของจริงๆ มีอยู่ใกล้ๆ ทั้งนั้น แล้วจะไม่ให้เชื่อยังไง” ทาให้คุณ สร้อยฯ ท้าให้ตาถินพาไปดูเขานางประจันต์ที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่เชื่อว่าท้าวกกขนากถูกศรกกแก้ว ตรึงไว้ในถ้า ตอนท้ายของต้นฉบับ มีบทบรรยายว่า “สร้อย (หมายถึง คุณสร้อยฯ-ผู้เขียน) ว่าไม่เอาน้าส้มสายชู ไปดอก ไปเดี๋ยวนี้เถอะ ตาถินว่าเหาะไป” แล้วจบเพียงเท่านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรื่องราวยังไม่จบสมบูรณ์๙๐ คุณค่ำของบทละครร้อง เรื่อง ท้ำวศรกกกระหนำกเมืองลพบุรี ๘๙

หัวละมาน หมายถึง หนุมาน ๙๐ เนื้อเรื่องย่อซึ่งเป็นความต่อจากเรื่องที่ปรากฏในต้นฉบับ คือ ต่อมาสร้องสุมาลีนอนหลับและฝันไปว่าเขาไปที่ถ้า ประจันต์พร้อมกับตาถิน พอกลางคืนตาถินนอนหลับ สร้อยสุมาลีได้เข้าไปในถ้าและพบกับนางประจันต์ธิดาของท้าวกกขนาก นางประจันต์เป็นหญิงที่สวยมาก สร้อยสุมาลีชอบนางจึงแสดงความรักกับนางจนใกล้รุ่งสาง ตาถินได้มาพบสร้อยสุมาลีเข้า สร้อยสุม าลีเล่าเรื่องที่ พบกั บนางประจันต์ แต่ตาถิน ไม่เชื่อ ต่ อมาตาถินและสร้อยสุมาลีได้เข้าไปดู ก้อนหิ นที่ คิดว่าเป็น ท้าว กกขนาก สร้อยสุมาลีนาน้าส้มสายชูไปรดที่ก้อนหิน ท้าวกกขนากได้ฟื้นขึ้นมาแล้วอ้าปากจะกินสร้อยสุมาลี สร้อยสุมาลีตกใจตื่น พอดีและเป็นเวลาเดียวกันกับที่ตาถินมาตามหาสร้อยสุมาลีที่โรงพยาบาล จึงทราบว่าสร้อยสุมาลีเป็นคนวิกลจริต (พวงเพ็ญ สว่างใจ, (๒๕๕๑), คุณค่ำทำงวรรณคดีของบทละครร้องไทย, (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร).


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๐๗

จากเนื้ อเรื่ องของบทละครร้อง เรื่ องท้ าวกกกระหนากเมืองลพบุรี ซึ่งผู้ แต่งทรงนิพ นธ์ขึ้น ใหม่ โดย ดัดแปลงจากตานานเรื่องท้าวกกขนาก ของจังหวัดลพบุรี นอกจากจะทาให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ในการนิพนธ์ บทละครเพื่ อใช้แสดงละครในสมัย รัช กาลที่ ๕ และความแพร่ห ลายของตานานเรื่องท้ าวกกขนากแล้ ว ยัง สะท้อนให้เห็นข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑. อิทธิพลของตะวันตกในสยำม อิทธิพลของตะวันตกปรากฏในส่วนต่างๆ ตั้งแต่เครื่องแต่งกาย คือ เครื่องแต่งกายของ “เลดี้” แบบ ตะวันตก ซึ่งถือเป็นหญิงสง่างาม “ ไม่ใช่ผู้หญิงสวะดอก เลดี้ ลุงเอ๋ย เลดี้สมัยใหม่ นามหม่อมพวงพกามาศ บุตรี พระกเลวะสัมพิกะสุ งกากะระวารีนะเป็นไรล่า... ที่ใส่ถุงน่องรองบาท นุ่งม่วงดอกสวมเสื้อแขนพอง ห่ มแพร เครื่องก็แต่งนิวแฟชั่น กั้นร่มแพรระบาย หอ้วกระเป๋าหมากหนังจระเข้ ผูกเช็ดหน้าแพร นะพ่อลุง” นอกจากนี้ยังมีคาต่างๆ ที่ใช้เป็นคาทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้แก่ “ลุงเห็นผู้หญิงที่เธอ มาเรือ กอนโดเล่อ” และ “ฤๅขึ้นแอโรเปลนลุยเล่นเดิน ฤๅใครเชิญขนิษฐาไปปาตี” เป็นต้น หรือ “หมาต๊า” ซึ่ง แปลว่าตารวจ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอังกฤษซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษามลายูอีกทีหนึ่ง ๒. กลวิธีกำรแต่งคำประพันธ์ของ “คนรุ่นใหม่” ในสมัยรัชกำลที่ ๕ ในเรื่อง ตาถินได้ฟังเพลงยาวในจดหมายรักที่คุณ สร้อยสุมาลีจะส่งไปให้หม่อมพวงพกามาศ ซึ่งคุณ สร้อยฯ แต่งโดยนาคาที่หนึ่งถึงคาสุดท้ายในวรรคแรก มาแต่งเรียงลาดับใหม่ให้คาสุดท้ายของวรรคแรกมาเป็น คาแรกของวรรคที่สองเรียงไปจนจบวรรค ซึ่งกลบทนี้คุณสร้อยฯ ในฐานะ “คนรุ่นใหม่” ที่มี “สมองสมัยใหม่” จึงสร้างสรรค์ “กลบทใหม่” คือ “กละมหาสะพานยนต์นะพ่อลุง” เช่น “เอยวิ่งปรือมาหาพี่เถิดเอาหน้าแม่ แม่หน้าเอาเถิดพี่หามาปรือวิ่งเอย... ไม่เพราะฤๅพ่อลุง สมองสมัยใหม่นะนี่” ซึ่งตาถินมองว่าดาเนินเรื่องช้า และไม่คานึงถึงรสของคาและความ “พ่าช้านักกว่าจะจบ ข้าเจ้าฟังเป็นฝาชี ยังกะก็กรเริ่มไว้ที่หน้าต่างแน่พ่า กล บทสมัยใหม่เห็นจะไม่นิยมรสละหนาพ่า ...ตาถินรับลงกระเป๋า หัวเราะ พ่อๆ อ้ายสมัยใหม่ข้าดูนี้สู้ถอยหลัง” อนึ่ง ยังทาให้เห็นวิธีการส่งจดหมายในสมัยนั้นด้วย คือ “(ว่าฝากหนังสือพ่อลุงไปให้คู่รักสักฉบับ ๑ ใคร ที่ไหนกันพ่อ มีราคา ขากลับพ่อลุงข้ามไปขึ้นรถราง ทางที่พ่อลุงพักที่พักคนเดินทางนะแหละ สลักหลังซองมี ให้ นายตรวจเขาดู)... ไม่ได้ๆ ๆ ลงรถแล้วขึ้นอีกเขาก็เขกเอาอีก ๖ สตางค์ ไม่รู้จักมักจี่ไม่ดีหมาต๊าจับเอาตาย” ๓. วิวำทะมโนทัศน์ทำงวรรณคดีในทัศนะคนรุ่นเก่ำและใหม่ในสมัยรัชกำลที่ ๕ เมื่อตาถินและคุณสร้อยฯ ได้ฟัง กลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกท้าวกกขนาก ซึ่งมีผู้อ่านเป็น “ทานองแม่ค้า” คุณสร้อยฯ กล่าวว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องจริง “เรื่องเหลวนะพ่อลุง คนหัวใหม่เขาไม่


๓๐๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เชื่อหร็อก มียักษ์มีลิงออกยุ่ง ” และกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คุณหลวง(ในฐานะตัวแทนคนรุ่นเก่า) กับนายร้อย(ใน ฐานะตัวแทนคนรุ่นใหม่) กล่าวแสดงความคิดเห็นเรื่องความเป็นจริงของเรื่องรามเกียรติ์ในฐานะที่เป็นภาพแทน ของมนุษย์ “คนโบราณชอบแถมเกินจริง... แต่มีมูยักขีนนะเป็นวานร ชมภูมะหมี่ ที่แท้คนทั้งนั้น ลิง หมีเป็นแต่ อุปมา เพราะนับถือว่าสัตว์ร้ายดุร้าย” และตาถินก็แสดงเหตุผลอื่นๆ ที่ทาให้เห็นว่าตานาน หรือวรรณคดีไทย เป็นเรื่องจริง เกิดขึ้นในสยามไม่ใช่เมืองฝรั่งหรือประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องท้าวกกขนาก ซึ่งนาไปสู่การสั่งห้าม ของรัฐบาลไม่ให้นาน้าส้มสายชูเข้าเมืองลพบุ รี ว่า “อ้ายที่ว่าอินเดียอินแดง ซีลอนซีแลนอะไรนะ ฝรั่ งมันหลอก ให้ทั้งเพ ในเมืองเราแท้ๆ ถ้าไม่จริงทะเลชุบศรมาแต่ไหนเล่า ท้าวกกกระหนากนางประจันต์ก็นั่งอยู่ทนโท่ เฮอ จะว่ากระไร... ถ้าอย่างงั้นรัฐบาลท่านจะห้ามน้าส้มสายชูทาไม ข้าเจ้าเห็นยังงี้” บทละครร้อง เรื่อง ศรกกกระหนากเมืองลพบุรี พระนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์ จึงไม่เพียงแสดงถึงความแพร่ห ลายของตานานเรื่องท้าวกกขนาก และการแสดงละครในสมัย รัชกาลที่ ๕ หากแต่ยังแสดงถึงบริบททางสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งน่าสนใจและตั้งข้อสังเกตว่า ผู้นิพนธ์ ทรง กาหนดให้ตัวละครที่ทาอะไรหรือชื่นชมอะไรแบบ “คนรุ่นใหม่” อย่างคุณสร้อยสุมาลี เป็นตัวละครที่วิกลจริต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๐๙

บรรณำนุกรม ดิษฏิกษ์ (นามแฝง). เรื่องโบรำณตำนำนยักษ์. กรุงเทพฯ: income, ๒๕๕๔. พระประวัติและผลงำน ของมหำอำมำตย์ตรี หม่อมเจ้ำพูนศรีเกษม เกษมศรี. พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงพระศพ มหาอามาตย์ ตรี หม่อมเจ้ าพู น ศรีเกษม เกษมศรี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๙ ธัน วาคม ๒๕๐๗, ๒๕๐๗. พวงเพ็ญ สว่างใจ. คุณค่ำทำงวรรณคดีของบทละครร้องไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๑. มโหทร (นามแฝง). ท้ า วกกขนาก. วำรสำรมหำวิ ท ยำลั ย , ๖(๓) มกราคม ๒๔๗๑. พระนคร: นั ก เรี ย น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๔๗๑. ศิลปากร, กรม. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. บทละครเรื่องรำมเกียรติ์ พระรำชนิพนธ์ในรัชกำลที่ ๑ เล่ม ๔. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๔๐. เสาวณิ ต วิงวอน. วรรณคดี กำรแสดง. กรุงเทพฯ : ภาควิช าวรรณคดี และคณะกรรมการฝ่ ายวิจั ย คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๕๕.


๓๑๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: ศรกกกระหนำกเมืองลพบุรี วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๓๒ พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่า เดือน ๖ ปีฉลู ฉพุทธศก ชุดที่ ๑ (นัดไปดู) ฉากในตึกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตัวละครมีนายหนุ่มหนึ่ง นามฉายาคุณสร้อยสุมาลี ทุกคตะ (สร้อย) ไฉนหนอนั่นจนตะวันสายัญแล้ว

ไม่เห็นแก้วเนตรเรียมมาเยี่ยมพี่

ชื่นชีวาพกามาศปลาสลี้

ฤๅจะมีเหตุการณ์สังหารฮือ

แกสัญญาว่าจะมาหาพี่สร้อย

สุมาลีพี่คอยน้อยไปฤๅ

มัวผสมขนมอร่อยปล่อยฝีมือ

มาปรนปรือพี่ชายจึงหายไป ๚ ๔ คาเจรจา

(ก้มหน้าฝืน แล้วก็เหงื้อหวยหน ตาแก่นุ่งหางกระรอก ทับขาก๊วย คาดกระเป๋าโต๊ะพันขาวม้าลาว ครองกุ่ยเฮง สะพายย่ามละว้า ครอบหมวกสานช่ามะเร่อ) โผล่เข้ามา จึงร้องฮือ ... กลับก็กวักมือตะโกน “มานี่แน่แก” ตานั่นก็ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ขยาดขยั่นเป็นนาน จึงย่องมานั่งกะพื้น แกมประหม่า “ธุระอะไรกะข้าเจ้าฤๅพ่า” “ลุงเห็นผู้หญิงที่เธอมาเรือ กอนโดเล่อ จอดอยู่ปลายสะพานท่าน้าโน่นไป บ้างไหม”๚ ตาแก่ว่า “ไม่รู้ประสานี่พ่า เรือกะโล่กะเล่ออะไร ใครคอนไปข้างไหนกัน ผู้หญิงน่ะเห็นกันถมไป ท่าเรือ ก็เยอะ” “ไม่ใช่นะลุ ง ไม่ใช่ผู้ห ญิ งสวะดอก เลดี้ ลุงเอ๋ย เลดี้ส มัยใหม่ นามหม่อมพวงพกามาศ บุตรีพระกเล วะสัมพิกะสุงกากะระวารีนะเป็นไรล่า พ่อลุงไม่รู้จักฤๅ” “ยาวนักนี่พ่อขา” “ที่ใส่ถุงน่องรองบาท นุ่งม่วงดอกสวมเสื้อแขนพอง ห่มแพรเครื่องก็แต่งนิวแฟชั่น กั้นร่มแพรระบาย หอ้วกระเป๋าหมากหนังจระเข้ ผูกเช็ดหน้าแพร นะพ่อลุง” “ไม่เห็นดอกพ่อขา ใครที่แต่งฉันระแฉนอระฉัน กะต่องกะแต่งกันอยู่ที่ไหน สดายง”) (สร้อย) นี่ยังไงยังไม่เว้นหนอ

ฤๅมัวรอเรือยนต์อยู่หนไหน

ชมกุ้งกั้ง......ใน

แม่น้าใหญ่มเดหวีฤดีเพลิน

ฤๅขึ้นนั่งรถยนต์วนรอบๆ จักรวาฬ

ฟ้าคารณขวัญเหาะเหิน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๑๑

ฤๅขึ้นแอโรเปลนลุยเล่นเดิน

ฤๅใครเชิญขนิษฐาไปปาตี้๚ ๕ คาเจ้าข้า

(ตานั้นลุกยงโย่ “งั้นๆ ๆ ข้าเห็นมัศการลาพ่อที” “ช้าก่อนพ่อลุงๆ มาแต่ไหนนะค่ะ” “ลพบุรีพ่อ” “มาทาไมกันนะค่ะ” ตานั้นหัวร่ออักๆ “ไม่ต้องถามละพ่อขา มันก็ลงคัมภีร์เตรียมมานั้นและพ่อ แทง หวย หาไม่ตาถึง..ลานลงมาทาไม เป็นห่วงไร่นา ..งัวควายออกจะตายไป๊”) ดอกสร้อย (สร้อย) เห็นจะเหลวเสียแล้วเห็นจะคว้าละมือหลุด จวนเฉลิมนามต่ออยู่รามะร่อหวิดหวุด

หม่อมพวงพกามาศยอดฉลาดมนุษย์ คิดถึงที่สุดต้องสื่อสารเอย ๚

เจรจา (ว่าฝากหนังสือพ่อลุงไปให้คู่รักสักฉบับ ๑ ใครที่ไหนกันพ่อ มีราคา ขากลับพ่อลุงข้ามไปขึ้นรถราง ทาง ที่พ่อลุงพักที่พักคนเดินทางนะแหละ สลักหลังซองมี ให้นายตรวจเขาดู) แวะเดินหยกๆ ไปส่งเล้าสักหน่อยก็สิ้นความ เพลินสั่นหัว ไม่ได้ๆ ๆ ลงรถแล้วขึ้นอีกเขาก็เขกเอาอีก ๖ สตางค์ ไม่รู้จักมักจี่ไม่ดีหมาต๊าจับเอาตาย ข้าเจ้าเคยถูกจับไปส่งครูจังเลิงเมื่อกระนั้นยังจาไม่ลืม โทษถูกลมเย็นๆ หลับไปในศาลาวัดเท่านั้น ฝากนายตรวจรถก็ได้ บอกว่าของฉัน ถ้างั้นก็ได้ ก็พ่อนามะชื่อไหร่ละทูนหัว คุณสร้อยสุมาลีศรีจันทร ..ด้วยดินสอ แล้วอ่านให้ฟัง “สาส์นแสดงแจ้งแจ้งแสดงสาส์น” เก่งไหมพ่อลุง เก่งพ่า แต่ข้าเจ้าไม่เข้าอกเข้าใจดอก แล้วต่อไป อ่านว่า “นานคะนึงคิดถึงน้อง น้องคิดถึงคะนึงนาน” เป็นยังไงพ่อลุง พอฟังว่าไปอีก ...พ่า “หาทราบสาส์นเสน่หาหาเสน่ห์สาส์นทราบพอ” เพราะไหมขา ประเดี๋ยวพ่า “ถ้าแก้วตาแม่ไม่มาหาหามาไม่ แม่ตาแก้วก็ไม่ฟังพ่อลุง” ฮืมแล้วไงอีก “ศอพี่ยาคงผูกเชือกแขวนตาย ตายแขวนเชือกผูกคงยาพี่ศอ กละมหาสะพานยนต์นะพ่อลุง” แต่งยากนักไม่เข้าใจพ่อ “รอไม่ไหวใจผ่าวราวกะสุ่มไฟ ไฟสุ่มกะราวผ่าวใจไหวไม่รอ” ดีไหม ฮืม “เอยวิ่งปรือมาหาพี่เถิดเอาหน้าแม่ แม่หน้าเอาเถิดพี่หามาปรือวิ่งเอย”


๓๑๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

หนึ่งในสยามเทียวพ่อลุง อีบทนี้ ยังงั้นละกระมังพ่า เท่านั้นที่ไม่ได้ฤๅพ่อ ไม่เพราะฤๅพ่อลุง สมองสมัยใหม่นะนี่ พ่าช้านักกว่าจะจบ ข้าเจ้าฟังเป็นฝาชี ยังกะก็กรเริ่มไว้ที่หน้าต่างแน่พ่า. กลบทสมัยใหม่เห็นจะไม่นิยมรสละหนาพ่า พ่อลุงไม่ชอบฤๅ ข้าเจ้าไม่เข้าใจนี่พ่อขา เออนั่นใครอ่านกลอนอะไรประชันกัน เสียงข้างนอกนั้นก็แม่อะไรเขาอ่านสดๆ อยู่อีกราย อ๋อนั่นเบ่าๆ เบ็ดๆ ล้มๆ นั้น เออ .....ฟังดูที นั่งอ่านเรื่องอะไรกัน พับเพลงยาวลงซอง สลักหลังส่งให้ ตาถินรับลงกระเป๋า หัวเราะ พ่อๆ อ้ายสมัยใหม่ข้าดูนี้สู้ถอยหลังเข้า คลอง สมัยเก่าไม่ได้แท้ๆ นั่งฟังอ่าน) อ่านทานองแม่ค้า ตกลงหน้าถ้าริมสระน้าใหญ่ มิได้ไหวติงกายา

เถิงเร็วไว้ลับแผ่นผา พระจักราก็ซ้าสาบไป

ให้เกิดไก่แก้วอลงกรณ์

กับนนทรีถือค้อนเหล็กใหญ่

อยู่รับจักรานี้ไว้

ให้ได้ถึงแสนโกฏิปี

แม้นเห็น..เลื่อนเคลื่อนคลาด ไก่นั้นจึงขันขึ้นทันที

จากอกอุณาราชยักษี นนทรีเร่งเอาพะเนินรัน ๚

๖ คา เจรจา (ตาถินพยักว่า “นี่เรื่องจริงที่เมืองข้าเจ้าเอง” “รามเกียรติ์ไม่ใช่เรื่องจริงนี่พ่อลุง” “ช้าก่อนพ่า ขอข้าฟัง เขาให้จบตอนนี้เสียหน่อย เอียงหูฟัง) อ่าน เมื่อนั้น

นางไอยกาสูรกายสงสาร

ทั้งประจันต์ธิดายุพาพาล

รู้ว่าพญามารมรณา ๚

๒ คาเจรจา (หนุ่มมาเขย่าแขน “เรื่องเหลวนะพ่อลุง คนหัวใหม่เขาไม่เชื่อหร็อก มียักษ์มีลิงออกยุ่ง”


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๑๓

“เมื่อข้าเจ้ามารถไฟวันนี้ ก็ได้ยินท่านหลวงกะนายร้อยอะไรท่านคุยกัน เรื่องนี้เหมือนกัน นายร้อยพูด เหมือนพ่อว่า แต่ท่านหลวงเถียงว่าจริง ฝรั่งเขาพิมพ์เรื่องรามายณะแนะอะไร เป็นพงศาวดารในอินเดียอินแดง ไทยจาลองเอามา เมืองลงกาก็ซีลอนจังลอน อะไรของท่าน อยุธยาก็เมืองอู๊ดเมืองอา อะไรไม่รู้ ว่ายังมีอยู่ทั้งสิ้น นายร้อยท่านก็ยกข้อว่าลิงพูดได้ ยักษ์สินหัวอะไร เถียงอย่างพ่อว่า เพราะฉะนั้นมิสเตอร์พราหมณ์ ช่างฟันมิเป็น พวกสุมันตันมโหธรไปหมดฤๅ ไม่เห็นมีเขี้ยวสักแง่ง ท่านหลวงตอบว่า “คนโบราณชอบแถมเกินจริง ซ้าเก่าแก่คัดต่อๆ มาก็เปลี่ยนไป แต่มีมูยักขีนนะเป็นวานร ชมภูมะหมี่ ที่ แท้คนทั้งนั้น ลิงหมีเป็นแต่อุปมา เพราะนับถือว่าสัตว์ร้ายดุร้าย คนก็หวงตัวให้มีตบะเดชะ เช่น อ้ายพวกผู้ร้าย ปล้น มันเรียกกันว่าอ้ายเสือ มันเป็นเสือเมื่อไรเล่า ในตาหรับพิไชยสงคราม กองเสือป่าวิลานองมันก็คนแท้ๆ เอา ชื่อสัตว์มาเรียก ให้มีสีหน้าที่น่าสยดสยอง”” “ก็พ่อลุงเชื่อเขาฤๅ” “ข้าเจ้าก็ฟังเท่านั้น อ้ายเรื่องนะมันจริง แต่อ้ายที่ว่าอินเดียอินแดง ซีลอนซีแลนอะไรนะ ฝรั่งมันหลอก ให้ทั้งเพ ในเมืองเราแท้ๆ ถ้าไม่จริงทะเลชุบศรมาแต่ไหนเล่า ท้าวกกกระหนากนางประจันต์ก็นั่งอยู่ทนโท่ เฮอ จะว่ากระไร ถึง ๓ ปี หัวละมานมาตอกศร ไฟติดหางครั้งเผาลงกามาไหม้เมืองลพบุรี เมื่อไม่กี่ปีมานี่ ตลาดหมด อะไรเสียอีก ถ้าอย่างงั้นรัฐบาลท่านจะห้ามน้าส้มสายชูทาไม ข้าเจ้าเห็นยังงี้” “ทาไมห้ามจริงฤๅ” “ไม่ห้ามไม่คัดค้านจริงยังไงล่ะพ่อขา ใครซุกซนเอาไปอดข้าวที่ศรปักอกท้าวกกกระหนาก ที่เป็นหินอยู่ ในป่า เขานางประจันต์เมืองลพบุรี ยักษ์เป็นขึ้นมา มิตายกันเสียหมดฤๅพ่า สนุกละ” “จริงฤๅพ่อลุง” “จริงหนะพ่า ก็พระรามรบท้าวกกกระหนาก แผลงศรมาเท่าไรๆ ก็ไม่ตาย ด้วยแต่ก่อนเป็นเทวดานาม อนุราช ตัวโปรดของพระอิศวร ขี้เกียจขึ้นเฝ้าทูนกริ้ว สาปลงมาเป็นยักษ์ ครองนครมหาสังขร เจ้านางประจันต์ นั่นละปะไร พระศุลีประทานพรให้มีฤทธิ์ ใครผลาญชีวินก็ไม่ตาย ต่อพระอวตาลมาปราบยุคเข็ญ เอากกเป็น ลูกศรจึงจะตรึงลงมา อยู่แสนโกฏิปี พระโยคีโคสภทูลพระนารายณ์แลลูกศร จึงได้กลายเป็นหินอยู่ตราบเท่าทุก วันนี้ มีไก่ขาวคอยขันขณะศรเขยื้อน นกนนทรีเอาเพนียดตอกหลายๆ ปีหัวละมานที่เป็นพระยาอนุชิตไปจาศีล อยู่ป่าพระหิมพานต์ ก็มาลับดอกศรเสียที นางประจันต์ ก็ลูกสาวนะ ก็ยังอยู่ในถ้า ห่อน้าด้วยใยบัวจะเอาไว้ทา พระอุตราสงค์ถวายพระศรีอารียะเมตไตรยเจ้า ของจริงๆ มีอยู่ใกล้ๆ ทั้งนั้น แล้วจะไม่ให้เชื่อยังไง ถ้ายังงั้นก็ว่า ขุนหลวงพญาตากไม่มีจริง ฤๅมีไปรบพุ่งชิงชัยอยู่เมืองฝรั่งก็แล้วกัน ฝรั่งละมั นดีทั้งนั้นและพ่า ท่านชั้นใหม่ๆ พูด กันนะ พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสรู้โปรดสัตว์อยู่ในเมืองแดนของฝรั่ง พระพุทธบาทพระแท่นนะเห็นจะของพระเยซู ละซี ส่วนอ้ายขบถธรรมเถียรทาไมอ้ายฝรั่งมันไม่แย่งเอาไป ว่าอยู่เมืองวิลาสมั่งค่า เชื่อไม่ได้ดอกพ่า พูดท่าโน้น ท่านี้ ลงท้ายก็เอาเงินเท่านั้น เห็นท่ารีดไม่ได้ล่ะก็แว้งกัด ษมาบาปเถิด ไกลร้อยโยชน์แสนโยชน์เทียว”) ลิงโลด


๓๑๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

(สร้อย) เอายังงี้เถอะปะไรได้แหมล่า ให้ถึงเขานางประจันต์กันเดี๋ยวนี้

พ่อลุงมาไปกะฉันขมันขมี ดูยักษีกกกระหนากไม่ยากเย็น

(ถิน) ไปก็ได้แต่ต้องไปสามโมงเช้า

แล้วอย่าเอาน้าส้มไปพรมเล่น

เที่ยวซนราดผุบผับยักษ์กลับเป็น

จะเกิดเหม็นถึงข้าเจ้าไม่เอาละ ๚ ๔ คา

(สร้อยว่าไม่เอาน้าส้มสายชูไปดอก ไปเดี๋ยวนี้เถอะ ตาถินว่าเหาะไป) จบต้นฉบับเท่ำนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๑๕

หมวดวรรณกรรมตำรำ


๓๑๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๑๗

เพลงยำว “คำมหำภู่” นัฐพร ปะทะวัง๙๑ ที่มำของตัวบท เพลงยาวเรื่องนี้ ปรากฏอยู่ท้ายเล่มสมุดไทขาวเรื่อง พระสุทธกรรม ฉบับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จารด้วยหมึกสีดา มีจานวนทั้งสิ้น ๑๕ บท (๕๖ วรรค ขาดไป ๓ วรรค) เมื่อวิเคราะห์แล้วเห็นว่าเป็นลายมือ เดียวกันกับผู้ที่จารเรื่องพระสุทธกรรม ในตอนท้ายเพลงยาวเรื่องนี้ระบุที่มาของวรรณกรรมไว้ว่าเป็น “คามหา ภู่” ซึ่งกล่าวไว้อย่างแน่ชัดว่าเป็น พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือสุนทรภู่ผู้ที่แต่งพระอภัยมณี นิราศภูเขาทอง ฯลฯ ดังความว่า “ทรงฟังชอบพระทัย โปรดให้ ถ อดออกจากคุก ” จากความข้างต้น จะเห็ นได้ว่าสอดคล้ องกั บ ชีวประวัติของสุนทรภู่ที่เคยต้องโทษติดคุกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพราะเมาเหล้า ทะเลาะวิวาทและทาร้ายญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยาคือ “แม่จัน” จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ญาติจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ฎี กา พระบาทสมเด็จ พระพุ ท ธเลิ ศหล้ านภาลั ย ทรงกริ้ว มี รับ สั่ งให้ เ อาตัว สุ น ทรภู่ ขั งคุ ก แต่ ไม่ น านก็ได้ รับ พระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากต่อกลอนต้องพระราชประสงค์ และกลับเข้ารับราชการดังเดิม (ชลดา เรือง รักษ์ลิขิต, ๒๕๔๕: น. ๓๘) และจากความดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า เพลงยาวเรื่องนี้เป็นบทกลอนเรื่อง หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย “ทรงฟังชอบพระทัย” จนมีรับสั่งให้สุนทรภู่พ้นโทษในคราวนั้น อย่ างไรก็ดี เมื่อผู้ วิจั ย ศึก ษาลั กษณะกลอนที่ ปรากฏในเพลงยาวเรื่องดังกล่ าว ก็ พบว่ามี ลั กษณะที่ แตกต่างจากผลงานเรื่องอื่นๆ ของสุนทรภู่ อย่างเห็นได้ชัดหลายประการ ดังนี้ ๑) จานวนพยางค์ในแต่ละวรรค ใช้ ๙ พยางค์ มากถึง ๔๗ วรรค (๘๔%) ใช้ ๑๐ พยางค์ จานวน ๓ วรรค (๕%) ใช้ ๑๑ พยางค์ จานวน ๑ วรรค (๒%) ใช้ ๘ พยางค์ จานวน ๕ วรรค (๙%) ซึ่งขัดแย้งกับผลงาน ของสุนทรภู่เรื่องอื่นๆ ที่มักจะใช้ ๘ พยางค์เป็นส่วนใหญ่ใช้ ๙ พยางค์ ๑๐ พยางค์ และ ๑๑ พยางค์บ้างแต่น้อย มาก (ประทีป วาทิกทินกร, ๒๕๔๗: น. ๙๕) ฉันทลักษณ์ของเพลงยาวเรื่องนี้จึงเรียกว่าเป็นลักษณะของกลอน เก้า มากกว่ากลอนแปดซึ่งสุนทรภู่เชี่ยวชาญ ๒) ช่วงจังหวะการอ่านกลอนแบบ ๔/๔/๓ (ทั้งเรือดก็ไต่/ ทั้งไรก็ตอม/ ทุกค่าคืน) ไม่ปรากฏในผลงาน เรื่องอื่นของสุนทรภู่ (ประทีป วาทิกทินกร, ๒๕๔๗: น. ๙๗) ๓) การส่งสัมผัสนอกในงานของสุนทรภู่ มักจะส่งจากพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ หรือ ๓ ไปยังพยางค์ ที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ และ ๔ ตามลาดับ (ประทีป วาทิกทินกร, ๒๕๔๗: น. ๙๘) แต่ในเพลงยาวเรื่องนี้กลับพบ ลักษณะดังกล่าวน้อยมาก คือพบเพียง ๑ ครั้ง ส่วนใหญ่แล้วพบว่ามักจะส่งจากพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ หรือ ๓ ไปยังพยางค์ที่ ๖ ของวรรคที่ ๒ และ ๔ จานวนทั้งสิ้น ๒๒ ครั้ง พยางค์ที่ ๕ จานวน ๑ ครั้ง พยางค์ที่ ๗ จานวน ๑ ครั้ง และมีการส่งสัมผัสนอกไปยังพยางค์ที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ และ ๔ จานวน ๑ ครั้งด้วย ซึ่งไม่ ปรากฏในผลงานเรื่องอื่นๆ ของสุนทรภู่

๙๑

ผู้ช่วยวิจัยประจาโครงการฯ, นิสติ ปริญญาโท สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ


๓๑๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๔) มีการใช้คารับสัมผัสนอกผิดฉันทลักษณ์ ๔ แห่ง ได้แก่ ๑) คาว่า “กรรม” ในบทที่ ๕ วรรคที่ ๔ ซ้า กับคาว่า “กรรม” ในบทที่ ๔ วรรคที่ ๔ ๒) คาว่า “ชั่ว” ในบทที่ ๖ วรรคที่ ๔ ซ้ากับคาว่า “ชั่ว” ในบทที่ ๖ วรรคที่ ๒ ๓) คาว่า “สิ้น” ในบทที่ ๑๕ วรรคที่ ๔ ซ้ากับคาว่า “สิ้น” ใน บทที่ ๑๕ วรรคที่ ๒ และ ๔) คาว่า “หมอง” ในบทที่ ๑๓ วรรคที่ ๒ ไม่สัมผัสกับคาว่า “กรอม” ของบทที่ ๑๒ วรรคที่ ๔ ซึ่งต่างจากลักษณะของ สุนทรภู่ที่เคร่งครัดในเรื่องของการใช้คารับสัมผัสนอกเป็นอย่างมาก ๕) ลักษณะของสัมผัสใน สัมผัสสระ โดยทั่วไปแล้วสัมผัสสระในงานของสุนทรภู่ถือได้ว่ามีลักษณะที่โดด เด่นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโดยมากจะมี ๒ คู่ คือคาที่ ๓ กับคาที่ ๔ และคาที่ ๕ กับคาที่ ๖ หรือ ๗ ในกรณีที่เนื้อความ ไม่อานวยหรือหาสัมผั สในได้คู่เดียวจริงๆ ก็มักจะให้มีสั มผัสใน คู่หลังมากกว่าคู่ ห น้า (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, ๒๕๔๕: น. ๗๔) สัมผัส ๒ คู่ ส่วนใหญ่จะปรากฏในวรรคที่ ๑ และ ๓ ส่วนวรรคที่ ๒ และ ๔ จะปรากฏสัมผัส สระคู่เดียว (ประทีป วาทิกทินกร, ๒๕๔๗: น. ๙๙-๑๐๐) เช่น เจ้าพลายงามความกลัวจนตัวสั่น หยุดขยั้นอยู่ไม่กล้าลงมาได้ แล้วนึกว่าย่าตัวกลัวอะไร โจนลงไปกราบย่าที่ฝ่าตีน (ขุนช้างขุนแผนฉบับหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๑๒: น. ๕๒๖) จากลักษณะข้างต้น เมื่อพิจารณาเพลงยาวดังกล่าวแล้ว พบว่าในวรรคที่ ๑ และ ๓ มีสัมผัสสระ ๒ คู่ เพียง ๑๐ วรรค จาก ๒๗ วรรค (๓๗%) โดยมีสัมผัสคู่แรก คือคาที่ ๓ กับคาที่ ๔ เป็นส่วนใหญ่ แต่คู่ที่สองนั้นมี ตาแหน่งไม่แน่นอน มีทั้งคาที่ ๕ กับ ๗, ๖ กับ ๗, ๖ กับ ๘ ส่วนสัมผัสสระในวรรคที่ ๒ และ ๔ นั้น แม้จะพบว่า ปรากฏเพียง ๑ คู่ คล้ายกับลักษณะงานของสุนทรภู่ แต่การเลือกตาแหน่งคาที่สัมผัสกันนั้น แตกต่างกันอย่าง สิ้นเชิง กล่าวคือ ในเพลงยาวนิยมใช้คาที่ ๓ และ ๔ สัมผัสกัน หรือลักษณะอื่นๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะ สัมผัสในงานของสุนทรภู่ที่นิยมใช้คาที่ ๕ กับคาที่ ๖ หรือ ๗ มากกว่าตาแหน่งอื่น นอกจากนี้แล้วในเพลงยาว ดังกล่าวยังไม่ปรากฏสัมผัสในสัมผัสสระเลยถึง ๗ วรรค จาก ๕๖ วรรค (๑๐%) จากผลการศึกษาข้างต้น จึงทาให้สามารถสรุปได้ว่าเพลงยาวเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ผลงานของสุนทรภู่ แต่ อาจจะเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้คัดลอก ด้วยมีส่วนที่ชวนให้เชื่อได้ว่าเป็นผลงานของสุนทรภู่อยู่ไม่ น้อย คือ มีกล่าวถึงลักษณะนิสัยของผู้แต่งที่คล้ายคลึงกับลักษณะนิสัย ของสุนทรภู่ ซึ่ง วนิดา ลิขิตกันทิมา ได้ ศึกษาไว้ในปริญญานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาบุคลิกภาพของสุนทรภู่ตามหลักจิตวิทยา” (วนิดา ลิขิตกันทิมา, ๒๕๑๗: น. ๑๕๖ - ๒๑๒) ได้แก่ ๑) มีปมด้อยเรื่องฐานะ ปรากฏในเพลงยาวว่า “เวทนาทั้งนี้ก็เพราะจน

มานอนขึ้งเหมือนหนึ่งคนที่เสียตา”

๒) มีความรู้สึกไร้ญาติขาดมิตรและว้าเหว่ “โดยจะอยู่เล่าก็ยากลาบากจิต

ไร้ทั้งญาติขาดทั้งมิตรจะอุปถัมภ์”


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๑๙

๓) มีความรู้เรื่องโหราศาสตร์ เรื่องราหูทับลัคนา “เคราะห์นี้เร็วคราวนี้ร้ายเพราะราหู

ทาให้ยับทับให้อยู่มาแต่หลัง”

๔) มีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องการเซ่นสังเวย “เทวดาถ้าว่าเดินราศีอื่น แกล้งให้ยับกลับให้ยืนเถิดท่านเอ๋ย สิ่งซึ่งหวานท่านสิหวังจะสังเวย จะหาไหว้ให้เสวยสาเจ็ดวัน” และ ๕) มีอารมณ์อ่อนไหว และขาดความมั่นคงทางใจ ปรากฏในเพลงยาวว่า “มาดถ้าช้าถ้ามิช่วยขณะนี้ มาดถ้าหม้ายไม่เพียงปีจะอาสัญ ทาให้แค้นแทนให้ขุ่นซึ่งความครัน คู่เก่าที่เคยเชยกับฉันให้คืนมา หวนถึงรักหักถึงรอนแต่ก่อนเก่า อยู่กระไรไยจึงเขาไม่ดูหน้า ไยหมายใจไยไม่จาเป็นตารา เขาซัดไว้ไยสิหว่าไม่ทดแทน” อย่างไรก็ตาม แม้เพลงยาว “คามหาภู่” จะไม่ใช่ผลงานของสุนทรภู่แต่ก็ถือได้ว่ าเพลงยาวเรื่องนี้ ได้ ขยายองค์ความรู้เกี่ยวแก่วรรณคดีประเภทเพลงยาวให้แก่วงวรรณคดีไทยได้อย่างดียิ่ง ตลอดจนเนื้อหาสาระที่ ปรากฏในผลงานก็ ล้ ว นสะท้ อ นให้ เห็ น ความคิ ดของกวีไทยได้ เป็ น อย่ างดี รวมถึ งคุ ณ ค่าที่ เด่ น ชัดทางด้ าน วรรณศิลป์ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อ “ลักษณะเฉพาะของตัวบท” ลักษณะเฉพำะของตัวบท เพลงยาว “คามหาภู่” มีลักษณะเฉพาะของตัวบทที่เด่นชัดที่สุด คือลักษณะทางวรรณศิลป์ โดยเฉพาะ การซ้าชุดคาที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกันภายในวรรคเดียวกัน พบว่ามี ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. กำรซ้ำชุดคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน ๒ คำ ปรากฏ ๑๒ แห่ง เช่น การซ้าชุดคาที่มีเสียง พยัญชนะต้น ล /l/ และ ย /j/ แลยิ่งเปลี่ยวเหลียวยิ่งสุดซึ่งฝั่งฝา ซ้าชุดคาที่มีเสียงพยัญชนะต้น ช /ch/ และ น /n/ มาเชือดเนือชาติหน้าจะเป็นกรรม หรือการซ้าชุดคาที่มีเสียงพยัญชนะต้น ซ /s/ และ ว /w/ เขาซัดไว้ไยสิหว่าไม่ทดแทน


๓๒๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๒. กำรซ้ำชุดคำที่มีเสียงพยัญชนะต้น เดียวกัน ๓ คำ เป็นลักษณะที่ปรากฏมากที่สุดถึง ๒๑ แห่ ง และส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นกลบท คือ กลบทกบเต้นต่อยหอย ซึ่งมีแผนผังสัมผัสดังที่กล่าวไว้ในวรรณคดีเรื่อง กลบทศิริวิบุลกิตติ์ ดังนี้

๐๐๐๐๐๐๐๐ “ยกหัตถ์น้อมยอมหัตถ์นั่งขึ้นตั้งเศียร นาใจตรึกนึกจิตรตรองต่างทองเทียน...” (วรรณกรรมสมัยอยุธยาเล่ม ๓, ๒๕๔๕: น. ๓๗๗) ในเพลงยาว “คามหาภู่” ปรากฏลักษณะดังกล่าว อาทิ “ไกลมหางค์กลางมหาทะเลวน” “นับทิวานาทีว่ายในสายสมุทร” “มานอนขึงเหมือนหนึ่งคนที่เสียตา” “ฟันให้ขาดฟาดให้คอนั้นสังขาร์” ฯลฯ ๓. กำรซ้ำชุดคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน ๔ คำ ปรากฏเพียง ๑ แห่ง ได้แก่ “ทังเรือดก็ไต่ทังไร ก็ตอมทุกค่าคืน” ซึ่งเป็นการซ้าชุดเสียง ท /th/ ร /r/ ก /k/ และ ต /t/ การซ้าชุดคาที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกันภายในวรรคเดียวกั นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นลักษณะ พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาในงานวรรณกรรม เพื่อให้เกิดความไพเราะและสลวยยิ่งขึ้น ทั้งยังสะท้อนความสามารถด้าน การประพันธ์ของกวีได้เป็นอย่างดี ด้วยความน่าสนใจดังกล่าววรรณคดีเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษา และเผยแพร่ต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๒๑

บรรณำนุกรม ขุนช้ำงขุนแผนฉบับหอสมุดแห่งชำติ. (๒๕๑๒). พระนคร : ประจักษ์วิทยา. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๔๕). ชีวประวัติและผลงำนของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประทีป วาทิกทินกร. (๒๕๔๗). วรรณกรรมสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง. วนิดา ลิขิตกันทิมา. (๒๕๑๗). กำรศึกษำบุคลิกภำพของสุนทรภู่ตำมหลักจิตวิทยำ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร. วรรณกรรมสมัยอยุธยำเล่ม ๓. (๒๕๔๕). กรุงเทพฯ : สานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.


๓๒๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: เพลงยำว “คำมหำภู่” ๏ นอนลงตรึกนึกแล้วกรมอารมณ์หมาย เกิดมาไยเอากายมายากลาบากกาย ตั้งแต่อับรับแต่อายอยู่อัตรา เดี๋ยวนี้หวังดังว่ายในสายสมุทร แลยิ่งเปลี่ยวเหลียวยิ่งสุดซึ่งฝั่งฝา ว่ายกระเดือกเสือกกระแด่วอยู่เอกา ไกลมหางค์กลางมหาทะเลวน นับทิวานาทีว่ายทาลายม้วย เพื่อนจะชูผู้จะช่วยก็ขัดสน เวทนาทั้งนี้ก็เพราะจน มานอนขึ้งเหมือนหนึ่งคนที่เสียตา คิดๆ จะเอามีดเข้ากรีดศอ ฟันให้ขาดฟาดให้คอนั้นสังขาร์ ขัดอยู่นิดกิด๙๒อยู่หน่อยเพราะเวรา มาเชือดเนื้อชาติหน้าจะเป็นกรรม โดยจะอยู่เล่าก็ยากลาบากจิต ไร้ทั้งญาติขาดทั้งมิตรจะอุปถัมภ์ แลยิ่งเปลี่ยวเหลียวยิ่งเปล่าเศร้าระยา ถึงจะแก่แท้เจ้ากรรมไม่รอตัว ..............(ไม่ปรากฏ).................... ต่อตรองตรึกแล้วจึงรู้สึกชั่ว มัวท่าคาดมาดท่าคนเป็นเคราะห์ตัว ชอบก็ชวนเหมือนหนึ่งชั่วเขาชิงชัง เคราะห์นี้เร็วคราวนี้ร้ายเพราะราหู ทาให้ยับทับให้อยู่มาแต่หลัง จนทั้งยากจากทั้งญาติระยาบัง อกปะทะจะประทังเมื่อไรเลย เทวดาถ้าว่าเดินราศีอื่น แกล้งให้ยับกลับให้ยืนเถิดท่านเอ๋ย สิ่งซึ่งหวานท่านสิหวังจะสังเวย จะหาไหว้ให้เสวยสาเจ็ดวัน มาดถ้าช้าถ้ามิช่วยขณะนี้ มาดถ้าหม้ายไม่เพียงปีจะอาสัญ ทาให้แค้นแทนให้ขุ่นซึ่งความครัน คู่เก่าที่เคยเชยกับฉันให้คืนมา หวนถึงรักหักถึงรอนแต่ก่อนเก่า อยู่กระไรไยจึงเขาไม่ดูหน้า ไยหมายใจไยไม่จาเป็นตารา เขาซัดไว้ไยสิหว่าไม่ทดแทน ......................................................(ไม่ปรากฏ)..................................................... โอ้ใจของคนจนแล้วเขาก็ดูแคลน มืดถึงฆาตมาดถึงแค้นด้วยใจเอง รักสนุกทุกข์สนัดเข้าขัดอับ เขาว่ากันนั้นสิกลับมาข่มเหง สาอารมณ์สมที่รักเป็นนักเลง จิตไม่เกรงจึงต้องกรมอารมณ์กรอม ทุกข์ถวิลดิ้นเทวษทุเรศร้าง โศกทั้งรูปซูบทั้งร่างก็มัวหมอง เคยสว่างขัดสาอางมาหมางมอม ทั้งเรือดก็ไต่ทั้งไรก็ตอมทุกค่าคืน โอ้ตัวเราเอาตัวรอดมิใคร่ได้ เทียบด้วยจนพ้นด้วยใจจะฝ่าฝืน นุชก็หมองน้องก็หมางไม่ยั่งยืน คู่ที่เชยเคยทีช่ ื่นก็ราคิน เสียประยูรสูญประโยชน์ก็เพราะยาก ใจกระด้างจางกระดากกระเด็นสิ้น ยังแต่กูอยู่แต่กายเป็นอาจิณ กระแด่วเสือกกระเดือกสิ้นกาลังเอย ๙๒

ติด


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๒๓

คามหาภู่ ทรงฟังชอบพระทัยโปรดให้ถอดออกจากคุก อย่าอ่านเล่นเห็นว่าสนุก สุขกับทุกข์ เท่ากันดอกท่านทั้งปวงเอย ตัวข้าพเจ้ามิใช่ปราชญ์ชาญฉลาดแต่โวหาร ไม่วิตถารล้าลึกข้างฝึกสอนแม้นเพียร ๛


๓๒๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๒๕

โคลงพระยำสุนทรพิทักษ์ (อัฏฐกำล) อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ดรณ์ แก้วนัย ยามพระรามหรือยามอัฏฐกาลในโหราศาสตร์ไทยมีระบบยามที่เรียกว่า “ยามอัฏฐกาล” ซึ่งเป็นคัมภีร์ เก่าแก่ใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่โบราณ ส่วนใหญ่นิยมเอามาใช้ในการทายของหาย ข่าวคราว หรือการเจ็บไข้ ซึ่งเป็นลักษณะของกาลชะตา (Horary) คือใช้เวลาขณะที่คนมาหาเป็นตัวตั้งในการพยากรณ์โดยไม่ต้องคานวณ ดวงชะตาของผู้มา อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์ก็มีให้ดูประกอบการให้ฤกษ์ยามเช่นกัน๙๓ ซึ่งส่วนใหญ่จะบอกชื่อวัน แบบไทยโบราณออกชื่อตามแบบสัปตวารหรือการบอกชื่อวันโดยใช้หมายเลข๙๔ ดังเช่นการนับของชาวล้านนา ในจารึกต่อไปนี้ วัน ๑ วัน ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ๖ วัน ๗

ตรงกับ ตรงกับ ตรงกับ ตรงกับ ตรงกับ ตรงกับ ตรงกับ

วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์

หรือ หรือ หรือ หรือ หรือ หรือ หรือ

อาทิตยวาร จันทรวาร ภุมวาร พุธวาร คุรุวาร ศุกรวาร โสรวาร

คาว่า “อัฏฐ” แปลว่า แปด ดังนั้น ยามอัฏฐกาลคือการแบ่งเวลากลางวันหรือกลางคืนออกเป็น ๘ ช่วง เท่า ๆ กัน ดังนั้นแต่ละช่วงจะมีระยะเวลาเท่ากับ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที (มาจากนา ๑๒ ชั่วโมงตั้งหารด้วย ๘) ระบบยามอัฏฐกาลของไทยเรานี้ไม่ต้องคานวณเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก แต่จะใช้เวลา ๐๖.๐๐ น. เป็นเวลา เริ่มต้นยามกลางวัน และ ๑๘.๐๐ น. เป็นเวลาเริ่มต้นยามกลางคืน เหตุผลที่ทาเช่นนี้ได้เพราะประเทศไทยอยู่ ใกล้ เส้ น ศู น ย์ สู ต รท าให้ เวลาดวงอาทิ ต ย์ ขึ้น หรือ ตกจะอยู่ ป ระมาณ ๖ โมงเช้ าหรือ ๖ โมงเย็น ไม่ แตกต่ าง โหราจารย์ ข องไทยในอดี ต จึ ง ใช้ เ วลาประมาณไป ซึ่ ง ท าให้ สะดวกอย่ า งมากในการน าไปพยากรณ์ ระบบยามอัฏ ฐกาลจะเริ่มยามแรกของวันด้วยดาวประจาวันนั้น ๆ เมื่อนับไปแปดลาดับก็ครบยาม กลางวันและเริ่มต้นยามกลางคืนด้วยดาวประจาวันนั้น ๆ อีกครั้ง ซึ่งไม่เหมือนกับยามสากลที่นับต่อเนื่องกันไป

๙๓

ดอกรัก พยัคศรี, ปริวรรตและเรียบเรียง, (๒๕๕๖, ๑) ตำรำโหรำศำสตร์, บทความ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เข้าถึงเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖, เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=158&category_id=23 ๙๔ กรรณิการ์ วิมลเกษม, "ศักราช ศก ปี วัน เดือน ฤกษ์ และยามในจารึกล้านนา." ดำรงวิชำกำร ๑, ๑ (มิถุนายน ๒๕๔๕) : ๒๙๕ – ๓๒๐.


๓๒๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ตลอด นอกจากนั้นชื่อยามของดาวเคราะห์เดียวกั นสาหรับยามกลางวันและยามกลางคืนจะไม่เหมือนกัน เช่น อาทิตย์ ยามกลางวันเรียกว่า สุริชะ ยามกลางคืนเรียกว่า รวิ จันทร์ ยามกลางวันเรียกว่า จันเทา ยามกลางคืน เรียกว่า ศศิ เป็นต้น๙๕ ที่มำของตัวบท โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์นี้ระบุในต้นฉบับว่าเป็นตาราดาเนินหน รหัส วทล ๕๖/ รวมชุดตารายา วัด เทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ไม่ระบุวันเดือนปีที่แต่ง บันทึกในใบลานด้วยอักษรไทยและอักษรขอมไทย เป็น ภาษาไทยและภาษาบาลี เส้นหมึกสีดา จานวน ๗๗ หน้า รวมปก หน้าละ ๕ บรรทัด

ตัวอย่ำงต้นฉบับโคลงพระยำสุนทรพิทักษ์ ลักษณะของคาประพันธ์แต่งเป็นร้อยกรองประเภทโคลง เช่น ทาย ไปให้ถี่ถ้วน นาที ยาม ฤกษ์แบ่งจงดี อย่าพลั้ง ตาม ฝอยกล่าวว่ามี ราวเรื่อง ทายแฮ ชั้น ชั่วดีมีทั้ง เจ็ดไว้วันดู ๚

โคลงพญาสนธรพิทัก ๚

๚ ะ๛

สาหรับบอกสัปดาห์เขียนด้วยอักษรขอมไทยด้านหน้าตั้งแต่ นา นิ นี นุ นู เน ไน โน น เป็นต้น เนื้อเรื่องย่อ โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์นี้กล่าวถึงตารายามอัฏฐกาลในเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ และคาทานาย เหตุการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละยามของวันนั้น ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยยามอัฏฐกาลกลางวัน เรียกชื่อ ดังนี้ วัน ๑ ตรงกับ วันอาทิตย์ เรียก สุริชะ วัน ๒ ตรงกับ วันจันทร์ เรียก จันเทา ๙๕

ดอกรัก พยัคศรี, เรื่องเดียวกัน, ๑ – ๒.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๒๗

วัน ๓ ตรงกับ วันอังคาร วัน ๔ ตรงกับ วันพุธ วัน ๕ ตรงกับ วันพฤหัสบดี วัน ๖ ตรงกับ วันศุกร์ วัน ๗ ตรงกับ วันเสาร์ ส่วนยามอัฏฐกาลกลางคืนเรียกชื่อ ดังนี้ วัน ๑ ตรงกับ วันอาทิตย์ วัน ๒ ตรงกับ วันจันทร์ วัน ๓ ตรงกับ วันอังคาร วัน ๔ ตรงกับ วันพุธ วัน ๕ ตรงกับ วันพฤหัสบดี วัน ๖ ตรงกับ วันศุกร์ วัน ๗ ตรงกับ วันเสาร์

เรียก เรียก เรียก เรียก หรือ

ภูมะ พุทธะ ครู ศุกระ เสารี

เรียก เรียก เรียก เรียก เรียก เรียก หรือ

ระวิ ศะศิ ภูมโม พุทโธ ชิโว ศุกโกร เสาโร

ในยามทั้ง ๘ นั้น ทั้งภาคกลางวันและกลางคืนมีชื่อยามเรียกแตกต่างกัน โดยกาหนดเอาชื่อของวันนั้น เป็นยามแรก แต่เพราะชื่อที่จะเรียกมี ๗ ยามเท่านั้น ดังนั้น ยามสุดท้ายจึงหวนไปใช้ชื่อยามต้นเรียกสงเคราะห์ เข้าเป็น ๘ ยามด้วยกัน๙๖ ยามกลางวัน สุริชะ ๑ ๐๖.๐๑ – ๐๗.๓๐ น. ศุกระ ๖ ๐๗.๓๑ – ๑๙.๐๐ น. พุทธะ ๔ ๐๕.๐๑ – ๑๐.๓๐ น. จันทรา ๒ ๑๐.๓๑ – ๑๒.๐๐ น. เสารี ๗ ๑๒.๐๑ – ๑๓.๓๐ น. ครู ๕ ๑๓.๓๑ – ๑๕.๐๐ น. ภุมมะ ๓ ๑๕.๐๑ – ๑๖.๓๐ น. สุริยะ ๑ ๑๖.๓๑ – ๑๘.๐๐ น. ดังตัวอย่างยามในเวลากลางคืน ดังนี้ วัน ๑ ระวิชื่อตรงมโหสถ ชิโวยกพลเสนี ๙๖

ยามกลางคืน ระวิ ๑ ๑๘.๐๑ – ๑๙.๓๐ น. ชิโว ๕ ๑๙.๓๑ – ๒๑.๐๐ น. ศะศิ ๒ ๒๑.๐๑ – ๒๒.๓๐ น. ศุกโกร ๖ ๒๒.๓๑ – ๒๔.๐๐ น. ภูมโม ๓ ๒๔.๐๑ – ๐๑.๓๐ น. เสาโร ๗ ๐๑.๓๑ – ๐๓.๐๐ น. พุทโธ ๔ ๐๓.๐๑ – ๐๔.๓๐ น. ระวิ ๑ ๐๔.๓๑ – ๐๖.๐๐ น.

ปรีชายิ่งยศ ออกจากบุรี

ขุดอุโมงค์เอาเมืองท้าวชนนี หวังจะชิงไชย

อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ, (๒๕๐๓), ตำรำพรหมชำติฉบับหลวง สมบูรณ์ที่สุด , (พระนคร: ลูก ส. ธรรมภักดี), ๔๑๖ – ๔๒๐.


๓๒๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ไน

ศะศิพระแห่ล้อมไป ศุกโกรท้าววิเทหราช ภูมโมยกพลออกไป เสาโรผุดขึ้นนองเนือง พุทโธน้าตาหลั่งไหล ระวิใกล้รุ่งแสงสี

ตามบาทภูวไนย ตามเจ้านักปราชญ์ พระบาทคลาดไคล มัดเอาทั้งเมือง เสียทั้งเวียงไชย พระบาทชนนี

ผู้เป็นเจ้าปราชญ์ ตั้งทัพพลับพลาไชย เสด็จไปถึงเมือง สิ้นทั้งเวียงวังไชย เมืองท้าวชนนี แพ้แก่เจ้านักปราชญ์

นอกจากนี้ยังมีตารานุ่งผ้าในการสงครามและการใส่น้ามันให้เป็นศรีแก่ตนเพื่อชัยชนะ ตารานาค พยากรณ์ในแปดทิศว่าเป็นดิถีโชคดีโชคร้ายและตาราดูฤกษ์ต่าง ๆ อย่างในตาราพรหมชาติ ลักษณะพำะของตัวบท โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์นี้ถือเป็นตาราเดินทางในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นตาราทางโหราศาสตร์ที่ ใช้ในการทานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละยามของวันในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งได้นาเอาชื่อตัวละคร ชื่อสถานที่ใน วรรณคดีมาใช้ในการทานายยามอัฏ ฐกาลเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุก ทาให้ไม่เบื่อ และช่วยประกอบในการ จดจาให้แม่นยายิ่งขึ้น เช่น วันอาทิตย์ ยามกลางวัน เรื่องโฆษกกุมาร

นิ

วัน ๒ ๑ ๒ ๗,๗ ๕ ๓ ๑ ๖ ๔ ๒

สุริชะฤๅษีศักดิ์สิทธิ์ จันเทาเมื่อเข้าพิษถาน เสารีผัวเมียสองคน ครูเศรษฐีโชฎก ภูมะเศรษฐีโกลา สุริชะเศรษฐีโกลี ศุกระได้คดลูกชาย พุทธเศรษฐีใจพาล จันเทาเจ้าโฆษกุมารา

แก้ลิงอรรถผิด เจ้าโฆษะกุมาร เกิดภัยร้อนรน กอดไว้กับอก ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ใช้ราชกุมารี เถิงซึ่งความตาย บาปกรรมมาตามผลาญ สมบัติเหลือตรา

ปล่อยเสียบ่มินาน เกิดในท้องทรพล เอาลูกตนไปทิ้งไว้ ในรก เลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เยียรยันขับหนี ไปสถิตยังที่อันตราย ก็ม้วยพินาศวายปราณ ก็ถึงกาลกิริยา แทนโชฎกเศรษฐี

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องทรพีทรพา พญาช้างฉัททันต์ พญากุศราช พระสุทนนางมโนห์รา เตมีย์ชาดก พระ รถเมรี พระเวสสันดร รามเกียรติ์ หรือการใช้ตัวละครในมโหสถชาดกในยามกลางคืน เช่น วันจันทร์ ยามกลางคืน เรื่องมโหสถชาดก วัน ๑

ระวิชื่อตรงมโหสถ ชิโวยกพลเสนี

ปรีชายิ่งยศ ออกจากบุรี

ขุดอุโมงค์เอาเมืองท้าวชนนี หวังจะชิงไชย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๒๙

ไน

ศะศิพระแห่ล้อมไป ศุกโกรท้าววิเทหราช ภูมโมยกพลออกไป เสาโรผุดขึ้นนองเนือง พุทโธน้าตาหลั่งไหล ระวิใกล้รุ่งแสงสี

ตามบาทภูวไนย ตามเจ้านักปราชญ์ พระบาทคลาดไคล มัดเอาทั้งเมือง เสียทั้งเวียงไชย พระบาทชนนี

ผู้เป็นเจ้าปราชญ์ ตั้งทัพพลับพลาไชย เสด็จไปถึงเมือง สิ้นทั้งเวียงวังไชย เมืองท้าวชนนี แพ้แก่เจ้านักปราชญ์

ฤกษ์ยามในการไปสงครามเพื่อให้ได้ชัยชนะทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น กลางวันกล่าวนครยายีไว้ให้แจ้ง ผิวันอาทิตย์ นาครมีฤทธิ์ ยามชันนะมา ครั้นเข้ายาม เสาริ สิยามไคลคลา ถึงยามสูริยา ย่อมยามยายี วันจันทร์อินโท ถึงยามสูริโย นาคฤทธี เข้ายามศุกระ เท่าค่าแสงศรี เข้ายามยายี เดโชเจษฎา วันอังคารษภูมะ ถึงยามศุกระ นาครฤทธา ครั้นเข้ายามพุทธะ ถึงยามภูมา ห้ายามยาตรา ยายีมีชัย ติ วันพุธพุทโธ สิ้นยามเสาโร นาครเลิศไกร เข้ายามพฤหัส ห้ายามลงไป สิ้นแสนสุริโยโท ยายีฤทธี วันครูชิวะ ถึงยามสุริชะ ย่อมยามยายี ศุกระพุทธะจันเทาเสาริ พระหัสบดีนาครมหิมา วันศุกร์ศุกาถึงยามเสาระ ยายีเจษฎา ครั้นเจ้ายามครู สี่ยามลงมา นาครฤทธา สิ้นสุริโยไทย วันเสาเสาระ เถิงยามศุกระ ยายีมีชัย ครั้นเข้ายามพุธ สามยามลงไป นาครเลิศไกร เท่าถึงสุริยะ อัษฎางค์ กลางคืนระวิชิโว ศะศิศุกโร นาครฤทธา ครั้นเข้าภูมโม สี่ยามลงมา สิ้นแสงสุริยา ยายีใสสี ศะศิศุกโกร ถึงยามพุทโธ นาครฤทธี เข้ายามระวิ ย่อมยามยายี สิ้นยามราตรี ถึงยามสุริโยไท อังคารภูมโม ถึงยามยาเสาโร นาครมีชัย เข้ายามพุทโธ หกยามลงไป ยายีเลิศไกร มีฤทธิเจษฎา วันพุธพุทโธ นาครมหึโม เข้ายามชิวา ปรากฏทวีสุด ถึงยามพุทธา เท่าถึงสุริยา กาลังยายี พฤหัสชีโว ถึงยามภูมโม นาครฤทธี ประเสริฐเลิศล้า เข้ายามเสารี ราตรียายี สิ้นยามชีโว ตี วันศุก ๆ โกร สิ้นยามเลนิร นาครฤทธี ครั้นเข้ายามพุทธ ถึงยามศักกริ ยายีฤทธิ ยายีมีไชย วันเสา ๆ โร สิ้นยามวิปโท นาครฤทธิไกร เข้ายามศุกโกร เสาโรชิงไชย ยายีศรีใส สิ้นตตริการ ๚ะ๛ โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์นี้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ประยุกต์เข้ากับตาราพรหมชาติที่ ใช้แพร่หลายใน สังคมไทย ซึ่งผู้แต่งนาชื่อตัวละครในวรรณคดีที่เป็นที่รู้จักของผู้อ่านในขณะนั้นมาใช้ในการอธิบายหรือทานาย เหตุการณ์ในยามอัฏฐกาลทั้งกลางวันและกลางคืน ทาให้ผู้อ่านเกิดความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ และองค์ความรู้ เกี่ยวกับ ฤกษ์ยามนี้ ยังนาไปใช้ป ระโยชน์ทั้งในการเดินทาง การทาสงคราม การประกอบอาชีพหรือเพื่อการ ดาเนินชีวิตอันเป็นมงคล ซึ่งแล้วแต่ความเชื่อของบุคคล แต่ถือเป็นตาราต้นฉบับที่เป็นมรดกของท้องถิ่นที่ยัง อนุรักษ์การบัน ทึกตาราทางโหราศาสตร์ด้วยใบลานไว้อย่างน่าชื่นชม การปริวรรตและเผยแพร่วรรณกรรม ท้องถิ่นดังกล่าวนี้จึงถือเป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมของชาติไทยให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปสู่สังคม อื่น ๆ ต่อไป


๓๓๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๓๑

บรรณำนุกรม กรรณิการ์ วิมลเกษม. “ศักราช ศก ปี วัน เดือน ฤกษ์ และยามในจารึกล้านนา.” ดำรงวิชำกำร ๑, ๑ (มิถุนายน ๒๕๔๕), ๒๙๕ – ๓๒๐. ดอกรัก พยัคศรี, ปริวรรตและเรียบเรียง. (๒๕๕๖, ๑). ตำรำโหรำศำสตร์. ในบทความของศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เข้าถึงเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖. เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=158&category_id=23 อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ, (๒๕๐๓). ตำรำพรหมชำติฉบับหลวง สมบูรณ์ที่สุด. พระนคร: ลูก ส. ธรรมภักดี.


๓๓๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: โคลงพระยำสุนทรพิทักษ์ (อัฏฐกำล) ใครอย่ าติเตีย นข้าหนา..เท่ า ฯ ยังเยาว์ในปั ญ ญาหนาอยู่ สรรพอักษรยังไม่แจ้งจัด เลยนาเจ้าขา (อักษรขอมไทย) คราวนี้จักกล่าวดาเนินหน จรดลไปไหน ๆ ไปการณรงค์สงครามก็ดีใดนักแลฯ ๚ อักษรเคลื่อนพลั้งไปนั้นไซร้ ต่อเติมใส่เอาเถิดหนา ข้าเจ้ายัง ปัญญายุแลนั้นหนาน้อย ๚๛ (อักษร ขอมไทย) เสาโรใกล้รุ่งแสงศรี ยามอัฐกาลละกลาง

หานุมานธิปติ คืน

เข้าเถิงกรุงพระคร จบบริบูรณ์ ๚ ฯ

ยามอัตถะการกลางคืน

จบบริบูรณ์

แต่เท่านี้แล้ว ๚ (อักษรขอมไทย)

ทาย ยาม ตาม ชั้น กลำงวัน วัน ๑ ๑ ๖ นำ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ วัน ๒ ๑ ๒ ๗,๗ ๕ นิ ๓ ๑ ๖ ๔

ไปให้ถี่ถ้วน ฤกษ์แบ่งจงดี ฝอยกล่าวว่ามี ชั่วดีมีทั้ง

สุริชะเมื่อพระแรกอุทัย ศุกระวานรเห็นลาภ พุทธะลิงเฒ่าธิบาย จันเทาลิงเฒ่าบัดสี เสารีลิงเฒ่าสาธารณ์ ครูฤๅษีให้หา ภูมะฤๅษีทรงธรรม สุริชะฤๅษีศักดิ์สิทธิ์ จันเทาเมื่อเข้าพิษถาน เสารีผัวเมียสองคน ครูเศรษฐีโชฎก ภูมะเศรษฐีโกลา สุริชะเศรษฐีโกลี ศุกระได้คดลูกชาย พุทธเศรษฐีใจพาล

นาที อย่าพลั้ง ราวเรื่อง เจ็ดไว้วันดู

๚ ๚ะ๛

โคลงพญาสนธรพิทัก ทายแฮ ๚

วานรอาศัย กล่าวคาสุภาพ ใจจิตรคิดหมาย ลักไข่สกุณี กล่าวคาโวหาร ดาบสพิพากษา มือถือเครือวัลย์ แก้ลิงอรรถผิด เจ้าโฆษะกุมาร เกิดภัยร้อนรน กอดไว้กับอก ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ใช้ราชกุมารี เถิงซึ่งความตาย บาปกรรมมาตามผลาญ

๚ ะ๛

ในรังนกกระจาบ ทาสนิทมิตรสหาย จะใคร่กินใจสกุณี ไปกินเป็นอาหาร ลิงกับนกก็เถียงกันไปมา ลิงกับนกก็เถียงกัน มัดลิงเขาหลอกติด ปล่อยเสียบ่มินาน เกิดในท้องทรพล เอาลูกตนไปทิ้งไว้ ในรก เลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เยียรยันขับหนี ไปสถิตยังที่อันตราย ก็ม้วยพินาศวายปราณ ก็ถึงกาลกิริยา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๓๓

วัน ๓

นี วัน ๔

นุ วัน ๕

วัน ๖ นู

๒ ๓ ๘,๑ ๖ ๔ ๓,๒ ๗,๗ ๕ ๓ ๔ ๒ ๗,๗ ๓,๕ ๘,๓ ๑ ๖ ๕ ๔ ๓ ๓,๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๖ ๓,๔ ๘,๒ ๗,๗ ๕ ๓ ๑

วัน ๗ ๖

จันเทาเจ้าโฆษกุมารา ภูมะได้เมื่อทรพี สุริชะเมื่อได้บริวาร ศุกระเมื่อเกิดลูกชาย พุทธะแม่ควายทุกข์ทน จันเทาครั้นเจ้าใหญ่มา เสาริสรรพยุทธบ่มิหนี ครูพ่อแพ้ลูกชาย ภูมะได้แก่บุตรา พุทธะพญาช้างฉัททันต์ จันเทาครั้นเจ้าได้ดี เสารินางศุพพัตรา ครูนางใจอาธรรม์ ภูมะได้แก่นางช้างร้าย สุริชะเมื่อนางกลับกลาย ศุกระเมื่อนางเทวี พุทธพญาช้างฉัททันต์ ครูพญากุศราช ภูมะเป็นพระราชา สุริชะพบนางเทวี ศุกระบริจาอนงค์ พุทธะท้าวกุศราชภูวไนย จันเทาเจ้าได้ทุกขา เสาริเมื่อมาผจญ ครูท้าวกุศราชมีชัย ศุกระได้เมื่อพระสุทน พุทธะเมื่อนางนาฏ จันเทาพลัดจากราชา เสาริพระสุทนจักรี ครูฤๅษีทรงพรต ภูมะท้าวเข้าอาศัย สุริชะเมื่อนางสระสรง

สมบัติเหลือตรา ตาเพราเขารี อยู่สุขสาราญ โหยหากระหาย ก็เอาลูกตน วัดรอยบาทา พ่อลูกคลุกคลี ถึงซึ่งความตาย สมบัตินานา คลาดคลาจากสวรรค์ ฝูงคชนารี โกรธพระราชา ผูกเวรแก่กัน ทุกข์ทนสกลกาย สมบัติมากมาย ใช้คนบาปิ ถอดงาให้มัน เกิดในกระกูลชาติ สมบัตินานา ได้นางสุภาวดี หนีจากพระองค์ ดาริพระทัย เป็นกรรมเวรา รบศึกทรชน กลับมาเร็วไว เยาวราชนฤมล เชื้อนางไกรลาส หนีจากเมืองมา ตามนางมโนรี บอกทางกาหนด เกาะปีกนกไป ได้แหวนธามรงค์

แทนโชฎกเศรษฐี อยู่ที่ป่าหิมพานต์ เป็นใหญ่แก่มหิงษทั้งหลาย แม่ควายก็ทุกข์ร้อนรน ไปซ่อนในถ้าคูหา บิดาผู้พ่อทรพี ก็สู้แก่กันวุ่นวาย ม้วยมอดมรณา บริวารมากครามครัน มาอยู่ที่ป่าพงพี ห้อมล้อมเป็นยศมหิมมา โพธิสัตว์ฉัททันต์ ปองจะผกผลาญผัวให้ตาย เจ้าใจจนถึงความตาย มาได้เป็นมเหสี ไปเอางาพระฉัททันต์มา ก็โทรมนัสพินาศ เป็นใหญ่ยิ่งมหึมา เสวยราชบุรี เป็นพระมเหสีโดยจง บรมโพธิสัตว์ฤๅไชย ถึงนางจรคับภา เวทนาจะถึงตน ฟังเฟืองทั้งเมืองหวั่นไหว ก็ดลยังเมืองแห่งตน เกิดในกรกุลนรชาติ ชื่อนางมโนห์รา สั่งไว้แก่ดาบสฤๅษี ถึงทิพย์พระดาบส บรมโพธิสัตว์ฤๅไกร ดังใจมนัสจานง นางก็ทรงกรสรร

ศุกระเมื่อพระจอมธรรม์

ได้นางสาวสวรรค์

อยู่สุขเกษมเปรมปรีดิ์


๓๓๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เน

๗ ๕ ๓ ๑ ๖ ๔,๒ ๒ ๗

กลำงคืน วัน ๑ ไน

วัน ๒

โน

วัน ๓

๙๗

เสารินางอัศวมุข๙๗ ี หน้าคือภาชี มีกาลังยิ่งคน ครูพบพราหมณะกลางหน เอาเป็นผัวตน นางบาเรอเชอภักดิ์ ภูมะเมื่อเกิดลูกรัก ชอบใจนางนัก แห่งนางอัศวมุขี สุริชะเมื่อรู้คดี เจรจาพาที ว่าจะหนีนางไป ศุกระเมื่อพ่อลูกคลาไคล เสด็จหนีนางไป ยังฝั่งแม่น้าคงคา พุทธะเมื่อนางตามมา ลีลาศคลาดคลา นางบทจรไป จันเทาเจ้าบุศลักษณ์คลาไคล แบกพ่อหนีไป ยังฝั่งสมุทรชลที เสาริลูกรักโฉมศรี อยู่สุขเปรมปรีดิ์ นางอัศวมุขี ถึงแก่กาลกิริยา ๚ ๛ ยามอัตถะการกลางวัน จบบริบูรณ์แล้วนะท่านเอย ๚ ๚๛ ยามอัตถะการกลางวัน จบบริบูรณ์ ๚ ๏ ะ๛ เปิดต่อไปยามกลางคืน ๚ ให้ดูเอาเถิดหนา ถ้าใครมีปัญญาก็จะคิดได้แล ๛

ระวิชื่อตรงมโหสถ ชิโวยกพลเสนี ศะศิพระแห่ล้อมไป ศุกโกรท้าววิเทหราช ภูมโมยกพลออกไป เสาโรผุดขึ้นนองเนือง พุทโธน้าตาหลั่งไหล ระวิใกล้รุ่งแสงสี ศะศิเมื่อพระสุชาดี ศุกโกรได้ดีชาญ ภูมโมพระแกล้งเป็นใบ้ เสาโรบิดากระสัน พุทโธใช้สารถีไป ระวิเจ้าแผลงฤทธี ชิโวพระผู้ทรงธรรม์ ศะศิใกล้รุ่งแสงใส ภูมโมพระรถเยาวมาลย์ เสาโรเมื่อเจ้าเล่นสกา พุทโธได้เมื่อพนัน อัศวมุขี มีหน้าเป็นหน้าม้า

ปรีชายิ่งยศ ออกจากบุรี ตามบาทภูวไนย ตามเจ้านักปราชญ์ พระบาทคลาดไคล มัดเอาทั้งเมือง เสียทั้งเวียงไชย พระบาทชนนี เกิดเตมีราช ตั้งโศกาญาณ เธอรู้วินัย ล่อลวงทุกอัน ขุดธรณีไหว ฝ่ายนายสารถี ลุถึงอรหันต์ พระบาทเลิศไกร คลาดคลาจากสถาน โคบาลพาลา ได้สินครามครัน

ขุดอุโมงค์เอาเมืองท้าวชนนี หวังจะชิงไชย ผู้เป็นเจ้าปราชญ์ ตั้งทัพพลับพลาไชย เสด็จไปถึงเมือง สิ้นทั้งเวียงวังไชย เมืองท้าวชนนี แพ้แก่เจ้านักปราชญ์ ชื่นชมสาราญ ไว้ในพระทัย ถ้วนถือทุกอัน บ่มิได้หวาดไหว ว่าจะฟังพระเตมี ฟังไพเราะรสธรรม โปรดสัตว์ทั้งโลไก ก็ลุถึงนิฤๅพาน ภูบาลขึ้นจากอุโมงค์คลา ก็แพ้พระเจ้าจอมธรรม จึงได้เลี้ยงพระมารดา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๓๕

เนำ วัน ๔

วัน ๕ น

วัน ๖ นะ

วัน ๗

ระวิเจ้าเมื่อเล่นสกา ชิโวฤๅษีดาวบส ศะศิเมื่อม้าภาชี ศุกโกรหมู่มารยักษา ภูมโมใกล้รุ่งแสงใส พุทโธพระหล่อราชา ระวิเถิงแดนพระนคร ชิโวเชิญพระหยุดสานัก ศะศิพระค่อยสาราญ ศุกโกรนางราชธิดา ภูมโมให้เดินบัดดล เสาโรพระหล่อดาเนิน พุทโธใกล้รุ่งแสงใส ชิโวพระสัชณุโฉมยง ศะศิถึงพระบุรี ศุกโกรแปลงเพศราชา ภุมโมขึ้นปราสาทศรี เสาโรเมื่อกราบทูลลา พุทโธเชิญพระหยุดสานัก ระวิเจ้าทรงโสภา ชิโวใกล้รุ่งแสงใส ศุกโกรได้เมื่อพระเวสสันดร ภูมโมให้ช้างเผือกพรรณ เสาโรมนตรีเสนา พุทโธโพธิสัตว์คลาไคล ระวิชูชกใจฉกรรจ์ ชิโวพระไอยกาสมปอง ศะศิพระเตรียมพลเสนา ศุกโกรใกล้รุ่งแสงใส เสาโรหนุมานรณฤทธิรอน พุทโธหนุมานเหาะไป ระวิก็กลับคืนมา ชิโวหนุมาอนุกูล ศะศิหนุมานใจฉกรรจ์

จึงพระบิดา แปลงสารพระรถ พาพระรถหนี ตามพระราชา ม้าพาพระไป จรจากเมืองมา ชาวด่านดงดร บาเรอเชอภักดิ์ อยู่ด้วยกรมการ คิดถึงราชา โดยใจร้อนรน ตามใกล้หายเหิน พบโฉมอรทัย ม้าพาพระองค์ ท้าวแสนธิบดี เป็นพราหมณ์ลีลา อยู่สุขเปรมปรีดิ์ พาโฉมกัลยา ครัน้ หาขุนยักษ์ โดยเวทศาสตรา พลัดจากอรทัย เสวยราชพระนคร ไพร่พลทั้งนั้น ขับพระราชา จรจากเมืองไป ตามท้าวทรงธรรม์ ไถ่หลานทั้งสอง รับราชบุตรา พระบาทเลิศไกร อาสาภูธร ด้วยฤทธิเกรียงไกร พบนางสีดา ทูลถวายเพ็ดทูล รุกรานตีรัน

ใช้ไปเมืองทรยศ ประสมกับเมรี ข้ามฝั่งพระคงคา ถึงคงคาสุราลัย ก็ลุถึงเมืองบิดุรา ราชาบทจร อภิปรายทายทัก ด้วยโภชนาอาหาร ตั้งทัพพลับพลา ร่าหาจุมพล ให้เร่งเท้าชวนเชิญ ราจวนหฤทัย ได้ดั่งใจจานง ไปสมประสบมเหสี ก็ปรีดานางจรคับภา มาชมนครบุรี ด้วยนางจรคับภา มายังเมืองจอมจักร ก็ลักเอาม้าอาชา เข้าก็แตกบัดใจ เข้าดงไปองคเขจร เป็นสุขนิรันดร์ กริ้วโกรธโกรธา จรจากพระเวียงชัย ถึงเขาวงกฎหิมวันต์ ขอบุตรทั้งสอง สิ่งละร้อยบ่มิคล้า มาแต่วงกฎคลาไคล เสวยราชพระนคร พระรามเทพเรืองชัย มาถึงฤๅษีณาคา ในสวนราพณาสูร นางก็เห็นสาคัญ ย่อยยับทั้งสองอยุธยา


๓๓๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ศุกโกรหนุมานใจกล้า ภูมโมหนุมานฤทธิไกร

ตำ

ติ

ตี

หมู่อสูรมารยา เอาไฟเผาไหม้

ก็จับหนุมานได้ สิ้นทั้งลงกาธานี ๚๛

นุ่งผ้าเข้าการรณรงค์ ดังนี้ วัน ๑ นุ่งผ้าแดง วัน ๒ นุ่งผ้าขาว วัน ๓ นุ่งผ้าดา วัน ๔ นุ่งผ้าเขียว วัน ๕ นุ่งเหลือง วัน ๖ นุ่งผ้าเหลือง วัน ๗ นุ่งผ้าดา ๚ ใส่น้ามันให้เป็นศรี ใส่วัน ๑ อับศรี วัน ๒ จาเริญ วัน ๓ จะจากกัน วัน ๔ จะมีสวัสดี วัน ๕ ชัยชนะ วัน ๖, ๗ ประเสริฐ ทุกประการแล ๚ ถ้าเขาถามว่า “ศึกจะมาหาหรือมิมา” ท่านให้ตั้งยาม(ที่)เขามาถามนั้นลงเอา ๓ หาร เศษ ๑ เศษ ๒ มาเถิงหนทางคืนหลัง เศษ ๓ มิมาเลย ถามว่า “มากหรือน้อย มีกาลังหรือไม่” เศษ ๑ มีกาลัง เศษ ๒ มีสะน้อย เศษ ๓ หากาลังมิได้ ถามว่า “รบมิรบ” เศษ ๑ รบ เศษ ๒ รบสะน้อย เศษ ๓ มิรบ ๚ ถาม “ไกลหรือใกล้” เศษ ๑ ใกล้ เศษ ๒ ไกล เศษ ๐ ไกลนักแล ๚ “ถ้ามิถือไปจะมาเมื่อใด” ตั้งยามลงเอา ๓ หาร เศษ ๑ ควรจะมา เศษ ๒ มาเถิงทาง เศษ ๐ จะถึง พรุ่งนี้ ๚ ๚ ะ๛ ถามว่า “ดีหรือร้าย” เศษ ๑ ดี เศษ ๒ ร้ายดีเท่ากัน เศษ ๐ ร้ายนัก ถามว่า “หนีหรือมิรอด” เศษ ๑ มิรอด เศษ ๒ รอดมิรอดเทากัน เศษ ๐ มิรอด ถามว่า “ยังอยู่” “ว่าตายหรือมิตาย” เศษ ๑ ตาย เศษ ๒ ลาบาก เศษ ๐ มิตายเลย ๚ ๚ะ๛ กลางวันกล่าวนครยายีไว้ให้แจ้ง ผิวันอาทิตย์ นาครมีฤทธิ์ ยามชันนะมา ครั้นเข้ายามเสาริ สิยามไคลคลา ถึงยามสูริยา ย่อมยามยายี วันจันทร์อินโท ถึงยามสูริโย นาคฤทธี เข้ายามศุกระ เท่าค่าแสงศรี เข้ายามยายี เดโชเจษฎา วันอังคารษภูมะ ถึงยามศุกระ นาครฤทธา ครั้นเข้ายามพุทธะ ถึงยามภูมา ห้ายามยาตรา ยายีมีชัย วันพุธพุทโธ สิ้นยามเสาโร นาครเลิศไกร เข้ายามพฤหัส ห้ายามลงไป สิ้นแสนสุริโยโทยายีฤทธี วันครูชิวะ ถึงยามสุริชะ ย่อมยามยายี ศุกระพุทธะจันเทาเสาริ พระหัสบดีนาครมหิมา วันศุกร์ศุกาถึงยามเสาระ ยายีเจษฎา ครั้นเจ้ายามครู สี่ยามลงมา นาครฤทธา สิ้นสุริโยไทย วันเสาเสาระ เถิงยามศุกระ ยายีมีชัย ครั้นเข้ายามพุธ สามยามลงไป นาครเลิศไกร เท่าถึงสุริยะ อัษฎางค์ กลางคืนระวิชิโว ศะศิศุกโร นาครฤทธา ครั้นเข้าภูมโม สี่ยามลงมา สิ้นแสงสุริยา ยายีใสสี ศะศิศุกโกร ถึงยามพุทโธ นาครฤทธี เข้ายามระวิ ย่อมยามยายี สิ้นยามราตรี ถึงยามสุริโยไท อังคารภูมโม ถึงยามยาเสาโร นาครมีชัย เข้ายามพุทโธ หกยามลงไป ยายีเลิศไกร มีฤทธิเจษฎา วันพุธพุทโธ นาครมหึโม เข้ายามชิวา ปรากฏทวีสุด ถึงยามพุทธา เท่าถึงสุริยา กาลังยายี พฤหัสชีโว ถึงยามภูมโม นาครฤทธี ประเสริฐเลิศล้า เข้ายามเสารี ราตรียายี สิ้นยามชีโว วันศุกๆ โกร สิ้นยามเลนิร นาครฤทธี ครั้นเข้ายามพุทธ ถึงยามศักกริ ยายีฤทธิ ยายีมีไชย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๓๗

วันเสาๆ โร สิ้นยามวิปโท นาครฤทธิไกร เข้ายามศุกโกร เสาโรชิงไชย ยายีศรีใส สิ้นตตริการ ๚ะ๛ ยามหนึ่ง ราหู หรดี ตายามหนึ่ง ราหู อีสาน ๒ ยามอยู่ อุดร ๒ ยามอยู่ ทักษิณ กลาง กลาง ๓ ยามอยู ่ อาคเนย์ ๓ ยามอยู ่ พายั พ วัน คืน ๔ ยามอยู่ ประจิม ๔ ยามอยู่ บูรพา

อัฐ

วัน ๑ (ทิศเหนือ) เทวดา แมว (ทิศอุดร) ช้าง (ทิศบูรพา) ครุฑ (ทิศอาคเนย์) กวาง (ทิศทักษิณ) หนู มฤคยู (ทิศหรดี) ราชสีห์ (ทิศปัจฉิม) นาค (ทิศพายัพ) เสือ วัน ๒ (ทิศเหนือ) ราชสีห์ (ทิศอุดร) มฤตยู นาค (ทิศบูรพา) เสือ (ทิศอาคเนย์) แมว (ทิศทักษิณ) ช้าง (ทิศ หรดี) ครุฑ เทวดา (ทิศปัจฉิม) กวาง (ทิศพายัพ) หนู วัน ๓ (ทิศเหนือ) นาค (ทิศอุดร) เสือ (ทิศบูรพา) แมว เทวดา (ทิศอาคเนย์) ช้าง (ทิศทักษิณ) ครุฑ (ทิศหรดี) กวาง(ทิศปัจฉิม) มฤตยู หนู (ทิศพายัพ) ราชสีห์ วัน ๔ (ทิศเหนือ) เสือ (ทิศอุดร) แมว (ทิศบูรพา) มฤตยู (ทิศอาคเนย์) ครุฑ (ทิศทักษิณ) กวาง (ทิศหรดี) หนู (ทิศปัจฉิม) ราชสีห์ เทวดา (ทิศพายัพ) นาค หัวไปอุดรหางไปอาคเนย์ หัวไปปัจฉิมหางไปอีสาน หัวไปบูรพาหางไปหรดี หัวไปหรดีหางไปพายัพ


๓๓๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑

นคร

ยายี

๕ ๓ ยายี ๑ ๖ ๔ ๛ ๒ นคร ๗ ๕

๒ ๗ นคร ๔ ๓ วัน ๑ ๖ ๔ ๒ ยายี ๗

วัน ๕

๖ ๔ ๒ ๗ ๕

๓ ๑ ๖ ๔ วัน ๒ ๒ ๗

ยายี

๓ ๑ นคร ๖

วัน ๖

นคร วัน ๓

๔ ๒ ๗ ๕

นคร ๓

ยายี ๕

๑ ๖ ๔ ๗ ๕ ๓ ๑ ๖

ยายี

๔ ๒ ๗

นคร

วัน ๔ ยายี

วัน ๗ กลางวัน ๚ ๚ ะ

หัวไปอีสานหางไปอาคเนย์ หัวไปอาคเนย์หางไปปัจฉิม หัวไปทักษิณหางไปพายัพ วัน ๕ (ทิศเหนือ) กวาง (ทิศอุดร) หนู (ทิศบูรพา) ราชสีห์ (ทิศอาคเนย์) นาค มฤตยู (ทิศทักษิณ) เสือ (ทิศ หรดี) แมว (ทิศปัจฉิม) ช้าง (ทิศพายัพ) เทวดา ครุฑ วัน ๖ (ทิศเหนือ) ช้าง (ทิศอุดร) เทวดา ครุฑ (ทิศบูรพา) กวาง (ทิศอาคเนย์) หมู (ทิศทักษิณ) ราชสีห์ (ทิศ หรดี) นาค มฤตยู (ทิศปัจฉิม) เสือ (ทิศพายัพ) แมว วัน ๗ (ทิศเหนือ) มฤตยู หนู (ทิศอุดร) ราชสีห์ (ทิศบูรพา) นาค (ทิศอาคเนย์) เสือ มฤตยู (ทิศทักษิณ) เทวดา แมว (ทิศหรดี) ช้าง (ทิศปัจฉิม) ครุฑ (ทิศพายัพ) กวาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๓๙

๚ ตารางห้องนี้โยงกันแล ๚ะ๛

วันหกนาคหัวไปทักษิณ หางไปพายัพ ฯ ทาการสิ่งใด ๆ ให้พิจารณา ดูเอาตามชี้นี้เถิด อย่าหย่อนแล้ ๑ ตกนาคมิดีแล วันนี้นาควันแล ๚๛

จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๗ อโยปันตาทรธึก โลกพินาศกาลทัณฑ์ ๓ ทรธึก ๖ ทักทินสูญ แถวที่ ๒ ๑ ๔ ยมขันธ์ ๗ ทักทินกาลทัณฑ์วันไหม้ แถวที่ ๓ ๒ ๕ ๑ อามฤคโชค แถวที่ ๔ ๓ อามฤคโชค วันบอด ๖ ๒ แถวที่ ๕ ๔ ๗ มหาสิทธิโชค ๑ แถวที่ ๖ ๕ กาลทัณฑ์วันไหม้ ๑ ทักทิน ๔ อิภิปันตา แถวที่ ๗ ๖ อมฤตยู วันบอด ๒ ๕ แถวที่ ๘ ๗ ทินสูญ ๓ ๖ แถวที่ ๙ ๑ ๔ มหาสิทธิโชค ๗ กาลทัณฑ์ แถวที่ ๑๐ ๒ ๕ ๑ วัน ๖ นาคเอาหัวไปอาคเนย์ หางไปปัจฉิม


๓๔๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๖ อามฤคโชค ๒ ยมขันธ์อามฤตยูวันไปกาลทัณฑ์ก็ฉะนี้ ยมขันธ์วันไหม้ อนิโรธอิภิปันตา แถวที่ ๒ ๗ ๓ ๖ กาลกิณีมฤตยู แถวที่ ๓ ๑ ๔ ๗ แถวที่ ๔ ๒ ทักทิน ๕ ๑ แถวที่ ๕ ๓ วันบอด ๖ ๒ แถวที่ ๖ ๔ ๗ ทรธึกโลกพินาศ ๓ แถวที่ ๗ ๕ ทักทินมหาโชค ๑ ๔ แถวที่ ๘ ๖ วันบอดยมขันธ์ ๒ อามฤคโชคบอด ๕ อัคคนิโรธ แถวที่ ๙ ๗ ๓ ๖ แถวที่ ๑๐ ๑ ๔ ๗ มหาสิทธิโชค

วัน ๕ นาคเอาหัวไปอีสาน หางไปอาคเนย์

จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๕ วันไหม้ทินสูญทักทิน แถวที่ ๒ ๖ อมฤตยูวันไหม้ ๒

๑ -

สิทธิโชค ๕ ๕ มหาสิทธิโชค

กาลทัณฑ์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๔๑

แถวที่ ๓ แถวที่ ๔ แถวที่ ๕ แถวที่ ๖ แถวที่ ๗ แถวที่ ๘ แถวที่ ๙ แถวที่ ๑๐

๗ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

ทรธึกโลกพินาศอัคนีโรธ ๓ มหาสิทธิโชคยมขันธ์ ๖ ทักทินกาลทัณฑ์ ๔ ๗ ทักทิน ๕ ๑ ทักทิน ๖ วันบอด ยมขันธ์ วันไหม้อมฤตยูกาลทัณฑ์ กาลชินทินอามฤคโชค ๒ อัคนีโรธ ๗ กาลทัณฑ์ ๓ ๑ ๔ อัคนีโรธ วิถีปันตาวันบอด ๒ ทักทิน ๕ วันบอด ทรธึก โลกพินาศ ๓ ๖ อันนี้กาเลไทยตกแลฯ วัน ๑ นาคเอาหัวไปอุดรหางไปอาคเนย์

จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๑ กาลทัณฑ์ ทักทิน ๔ ๗ อามฤตยูกาลจันทิน แถวที่ ๒ ๒ ทินสูญ ๕ ๑ แถวที่ ๓ ๓ วันบอด ๖ ๑ แถวที่ ๔ ๔ มหาสิทธิโชค ๗ ๓ อามฤคโชค แถวที่ ๕ ๕ ทักทิน ๑ ๔ สิทธิโชค แถวที่ ๖ ๖ วันไหม้ ๒ ๕ ยอดทินสูญ แถวที่ ๗ ๗ ๓ ๖ อโยปันตา แถวที่ ๘ ๑ วันไหม้ ๔ ยมขันธ์วันไหม้โลกพินาศทรธึกกาลทัณฑ์ ๗ อัคนีโรธ แถวที่ ๙ ๒ ๕ กาลจินทินอามฤคโชค ๑ มหาสิทธิโชค แถวที่ ๑๐ ๓ ทรธึก โลกพินาศวันไหม้อามฤตยู ๖ ๒ -


๓๔๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

อันนี้กาเลไทยตกแลฯ

๓ ๕ ๖ ๗ ๑๐ ๑๑ ๑๓

ดิถีวาร

๓ ๕ ๒

๒ ๒ ๑

๓ ๘, ๑ ๗, ๗

วันจันทร์นาคเอาหัวไปปัจฉิม หางไปอีสาน

ยมขันธ์วันไหม้ทรธึกโลกพินาศ อามฤตยู กาลจินทิน ทักทินไฟ จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๒ อโยปันตา ๕ กาลทัณฑ์ ๑ แถวที่ ๒ ๓ ๖ ๒ วันบอดอามฤตยู แถวที่ ๓ ๔ ๗ ๓ แถวที่ ๔ ๕ มหาสิทธิโชค ๑ มหาสิทธิโชคทักทิน แถวที่ ๕ ๖ ๒ ๕ วันบอดกาลกิณี แถวที่ ๖ ๗ ๓ ๖ สิทธิโชค แถวที่ ๗ ๑ อามฤตยู ๔ อามฤคโชค ๗ แถวที่ ๘ ๒ ๕ อิถิปันตาอามฤตยู ๑ แถวที่ ๙ ๓ อามฤคโชค ๖ ๒ แถวที่ ๑๐ ๔ สิทธิโชค ๗ ๓ ทินสูญ

-

อามฤตยู

อัคนีโรธ กาลจินทิน

(วัน) ๓ นาคเอาหัวไปบูรพา หางไปหรดี ๓ ๗, ๗ ๖

๔ ๓ ๓

๕ ๘, ๑ ๓, ๒


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๔๓

จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๓ วันบอด ทักทินทรธึก อัคนีโรธ อโยปันตา ๖ สิทธิโชค ๒ ทักทินวันบอด ทรธึกโลกพินาศ อิถิปันตา แถวที่ ๒ ๔ อามฤคโชค ๗ ๓ กาลทัณฑ์ อามฤตยู แถวที่ ๓ ๕ ๑ มหาสิทธิโชคทักทิน ๔ อามฤตยู แถวที่ ๔ ๖ วันบอด ๒ ๕ สิทธิโชค วันบอด มหาสิทธิโชค แถวที่ ๕ ๗ อามฤคโชค ๓ สิทธิโชค อิถิปันตา ๖ แถวที่ ๖ ๑ ๔ ๗ แถวที่ ๗ ๒ ๕ ๑ กาลทัณฑ์วันบอดไหม้อามฤตยู ทินสูญ แถวที่ ๘ ๓ ๖ ทักทิน ๒ แถวที่ ๙ ๔ ทักทิน ๗ สิทธิโชคดีนักแล ๓ แถวที่ ๑๐ ๕ อิถิปันตา ๑ ทินสูญ กาลจันทิน ๔ วัน ๔ นาคเอาหัวไปหรดี หางไปพายัพแล ฯ ๓, ๕ ๔ ๑

๖ ๔ ๗, ๗

๒ ๘, ๓, ๓ ๔


๓๔๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

จากภาพเรียงตามตัวเลขในแนวดิ่ง แถวที่ ๑ ๔ วันไหม้อมฤตยู ๗ ๓ ทักทิน แถวที่ ๒ ๕ ๑ กาลทัณฑ์กาลจินทริ ยมขันธ์ ๔ โลกพินาศทรธึก อามฤตยู กาลกิณี กาลชินทริ แถวที่ ๓ ๖ ทักทิน ๒ ๕ แถวที่ ๔ ๗ สิทธิโชค ๓ ๖ อิถิปันตา อโยปันตา ทรธึก โลกพินาศ แถวที่ ๕ ๑ ๔ ๗ แถวที่ ๖ ๒ โลกพินาศ ฐิโยปันตา ๕ ทินสูญ ๑ สิทธิโชค แถวที่ ๗ ๓ วันบอด อามฤตยู กาลทัณฑ์ ๖ ๒ วันบอด อัคนิโรธ แถวที่ ๘ ๔ ทินสูญ ๗ ๓ แถวที่ ๙ ๕ สิทธิโชค ๑ ๔ แถวที่ ๑๐ ๖ มหาสิทธิโชค วันบอด ๒ สิทธิโชค ๕ วันบอด ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

ครุฑนาม พยัคฆนาม สิงหนาม สุนัขนาม มุสิกนาม อชนาม นาคนาม

๖ ๑๕ ๘ ๑๗ ๑๙ ๒๑ ๑๐

เทวดา ราชสีห์ ๓๓ หัวนาค กวาง ๘ ๒ หนู ๑

งู ๑ ๕ ครุฑ มฤตยู

หางนาค หางนาค เป็น ช้าง ๗ ๗ แมว แมว ๓ ๖ ๒ ๑ เสือ

เสือ ๕

๔ ช้าง ๒ งู เทวดา

๒ ๑ ราชสีห์ หัวนาค

มฤตยู ครุฑ ๓

กวาง ๑

หัวนาค หนู ๔

กวาง ๘ ครุฑ ๗ ๗ ๕ มฤตยู ๗ ๗ หนู

ช้าง

๕ ราชสีห์ ๘ ๑ งู เทวดา

๓ แมว

๓ ๒ เสือ หางนาค


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๔๕

เสือ ๓ ๕ เทวดา เป็น ๓ นวร งู ๔ ๑ ราชสีห์ หางนาค ยาตรา ๔

๗ ๗ หนู

ครุฑ มฤตยู ๘๓ ๕ หัวนาค กวาง

มิดี ดี ดี ดี ดี แลมิดี

๓๒ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ ๑๖ เต่าลักไข่แลน ๑๐ นกยูงกลืนหัวแหวน

รบที(หลัง) ๑

มิดี มิดี มิดี

กวาง ๕

หนู เทวดา หัวนาค ๖

งู ๑

๘ ๒ ครุฑ

มฤตยู แมว ๗ ๗

๖ เสือ

๓ ช้าง

หางนาค

หางนาค

รบไม่ดี ๕

กวาง ๔

๕ เสือ

๓ ครุฑ

๖ แมว มฤตยู

รบทีหลัง ๓ ๓ ๔ รบทีหลัง ๕ ๑ ๖

ราชสีห์ ๓๔

๙ ชายเอางูไปเสีย ๘ หญิงฆ่าผัวเสีย ๗ ได้ไข่เต่าเป็นทอง ๖ พญากุศราชได้นาง ๔ ลิงตายสามตัว ๔ พญาเล่นสวนอุทยาน

เทวดา หนู หางนาค ๒ หัวนาค ๘ ๕ งู

ช้าง ๒

๖ ชายตกน้าตาย ๕ สองเกลอเจ้าเฝ้าพญา ๔ เก็บตลาดไปเป็น ๓ พระเจ้าเทศนา ๒ ได้แก้วในวัดเข้ ๑ ผีชิงผีแก่กัน

๒ รบทีหลัง

ยาตรา

แมว ๖

๗ ชายตกน้าตาย ๘ งูสั่งแก่ลูก ๙ ปลูกกลอยเป็นทอง ๑ นกยูงกลืนแหวน ๑๖ เต่าลักไข่แลน ๓๒ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ

รบทีหลัง ๑ พญาให้มายิงเสีย ๗ ๒ ขุดปูได้ทอง ๓ ขุดแย้ได้ทอง

มฤตยู งู ๓

หนู ๖

มิดี มิดีแล ๕ ดีแล รบดี ดีแล รบไม่ดี มิดี ๔ ดี

มิดี มิดี ดี มิดี มิดี มิดี มิดี ดีแล ดีแล

มฤตยู เสือ แมว ๓ ๗ ๔ หัวนาค ๑ ๗ ช้าง ๕ กวาง ๒ เทวดา เทวดา ครุฑ

๔ พญากุศราชได้นาง ๕ ลิงตายสามตัว ๖ พญาไปเล่นสวนอุทยาน ๗ ชายตกน้าตาย ๘ เสนาข้าพระเจ้าได้เป็นดี ๙ เก็บตลาดได้เป็นดี

ดี มิดี ดีแล มิดี


๓๔๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

รบไม่ดี ๓

๓ ชายตกน้าตาย ๒ งูสั่งแก่ลูก ๑ ปลูกกล้วยเป็นทอง

มิดี มิดี ดีแล

๑๐ พระเจ้าเทศนา ๒ ๑๖ ได้แก้วในหัวตะเข้ รบดี ๓๒ ผีชิงผีแก่กันกิน

ดีแล ดี มิดี

๓๒ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ ๑๖ เต่าลักไข่แลน ๑๐ นกยูงกลืนหัวแหวน ๙ ชายเอางูไปเสีย ๘ หญิงฆ่าผัวเสีย ๗ ได้ไข่เต่าเป็นทอง

มิดี มิดี มิดี มิดี มิดี ดีแล

รบทีหลัง ๑ พญาให้มายิงเสีย ๗ ๒ ขุดปูได้ทอง ๓ ขุดแย้ได้ทอง ๔ พญากุศราชได้นาง ๕ ๕ ลิงตายสามตัว รบดี ๖ พญาไปเล่นสวนอุทยาน

มิดี ดีแล ดีแล ดี มิดี ดีแล

๖ พญากุศราชได้นาง ๔ ลิงตายสามตัว ๔ พญาเล่นสวนอุทยาน ๓ ชายตกน้าตาย ๒ งูสั่งแก่ลูก ๑ ปลูกกล้วยเป็นทอง

ดีแล มิดี ดี มิดี มิดี ดีแล

รบไม่ดี ๔

๗ ชายตกน้าตาย ๘ เสนาฆ่าพระเจ้าได้เป็นดี ๙ เก็บตลาดได้เป็นดี ๑๐ พระเจ้าเทศนา ๒ ๑๖ ได้แก้วในหัวตะเข้ รบดี ๓๒ ผีชิงผีแก่กันกิน

มิดี

๓๒ พระเทศนา ๑๖ ได้แก้วในหัวตะเข้ ๑๐ ผีชิงผีแก่กันกิน

ดี ดี มิดี

รบดี

๑ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ ๑ ๒ เต่าลักไข่แลน ๓ นกยูงกลืนหัวแหวน

มิดี มิดี มิดี

๔ ชายเอางูไปเสีย ๕ หญิงให้ฆ่าผัวเสีย ๖ ขุดทรายได้ทองดีนัก ๗ พญากุศราชได้นาง ๘ ลิงตายสามตัว ๙ พญาเล่นอุทยาน ๑๐ ปลูกกล้วยเป็นทอง ๑๖ งูสั่งแก่ลูก ๓๒ ชายตกน้าตาย

มิดี มิดี ดีแล ดีแล มิดี ดี ดี มิดี มิดี

วัน ๑ รบดี

ยาตรา ๖

รบไม่ดี ๕

รบไม่ดี ๓

ดีแล ดี มิดี

วัน ๒ รบดี

๙ พญาให้ฆ่าหญิงเสีย มิดี รบผู้ช่วย ๗,๗ ๘ ขุดปูได้ทอง ดีแล ๗ ขุดทรายได้ทอง ดีแล รบไม่ดี ๖ ชายเอางูไปเสีย มิดี ๖ ๕ หญิงให้ฆ่าผัวเสีย มิดี ๔ ได้ไข่เต่าเป็นทอง ดี รบไม่ดี ๓ ชายตกน้าตาย มิดี ๔ ๘ สองเกลอเฝ้าพญาได้เป็นดีนักแล ๗ เก็บตลาดได้เป็นดีนักหนาแล

๖ รบทีหลัง รบดี ๕ รบไม่ดี ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๔๗

วัน ๓ รบดี ๓ รบดี ๘,๑ รบดี รบไม่ดี ๗,๗

รบไม่ดี ๓,๕

๓๒ ชายตกน้าตาย ๑๖ งูสั่งแก่ลูก ๑๐ ปลูกกล้วยเป็นทอง ๙ ลิงฝากแก่นกกระจาบ ๘ เต่าลักไข่แลน ๗ นกยูงกลืนแหวน

มิดี มิดี ดี มิดี มิดี มิดี

รบดี

๖ พญาให้ฆ่าผู้หญิง ๕ ขุดปูได้ทอง ๔ ขุดแย้ได้ทอง ๓ พญากุศราชได้นาง ๒ ลิงตายสามตัว ๑ พญาไปเล่นสวนอุทยาน

มิดี ดี ดี ดี มิดี ดี

รบไม่ดี ๖

๓๒ ชายตกน้าตาย ๑๖ เฝ้าพญาได้เป็นดี ๑๐ เก็บตลาดได้ ๙ พระเจ้าเทศนา ๘ ได้แก้วในหัวตะเข้ ๗ ผีชิงผีแก่กันกิน ๖ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ ๕ เต่าลักไข่แลน ๔ นกยูงกลืนแหวน ๓ ชายเอางูไปเสีย ๒ หญิงให้ฆ่าผัวเสีย ๑ ได้ไข่เต่าเป็นทอง

มิดี ดี ดี ดี ดี มิดี มิดี มิดี มิดี ดี มิดี ดีแล

รบดี

๓๒ พญากุศราชได้นาง ๑๖ ลิงตายสามตัว ๑๐ พญาไปเล่นสวนอุทยาน

ดี มิดี ดี

รบไม่ดี ๑ ชายตกน้าตาย ๔ ๒ สองเกลอเฝ้าพญาได้เป็นดี ๓ เก็บตลาดได้เป็น

๓,๒

๗,๗

๔ รบไม่ดี

๑ พระเจ้าเทศนา ดี ๒ ได้แก้วในหัวตะเข้ ดี ๓ ผีชิงผีแก่กัน มิดี ๔ พญาให้ฆ่าหญิงเสีย มิดี ๕ ขุดปูได้ทอง ดีแล ๖ ขุดแย้ได้ทอง ดีนักแล

๗ ชายเอางูไปเสีย ๘ หญิงฆ่าผัวเสีย ๙ ได้ไข่เต่าเป็นทอง ๑๐ เก็บตลาดได้เป็นดี ๑๖ เฝ้าพญาได้เป็นดี ๓๒ ชายตกน้าตาย

มิดี มิดี ดีแล ดี ดี มิดี

วัน ๔ ๔ รบไม่ดี ๒ รบไม่ดี ๓,๑ รบดี ๖ รบดี

๑ ชายตกน้าตาย มิดี ๘,๓ ๒ งูสั่งแก่ลูก มิดีเลย ๓ ปลูกกล้วยเป็นทอง ดีนัก รบไม่ดี ๔ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ มิดี ๑ ๕ เต่าลักไข่แลน มิดี ๖ นกยูงกลืนแหวน มิดี รบไม่ดี ๗ พญาให้(ฆ่า)หญิงเสีย มิดี ๗ ๘ ขุดปูได้ทองเป็นดี แล ๙ ขุดแย้ได้ทอง ดีแล รบดี ๑๐ พญาไปเล่นสวนอุทยาน ดี ๕ ๑๖ ลิงตายสามตัว มิดี ๓๒ พญากุศราชได้นาง ดี

วัน ๕ ๕ รบดี

มิดี ดี


๓๔๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๓ รบดี ๘,๒

๗,๗

๙ ชายตกน้าตาย ๘ งูสั่งแก่ลูก ๗ ปลูกกล้วยเป็นทอง ๖ พระเจ้าเทศนา ๕ ได้แก้วในหัวตะเข้ ๔ ผีชิงผีแก่กัน ๓ พญาให้ฆ่าหญิงเสีย ๒ ขุดปูได้ทอง ๑ ขุดแย้ได้ทอง

มิดี มิดี ดี ดี ดี มิดี มิดี มิแล ดีแล

รบไม่ดี ๔ พระเจ้าเทศนา ๒ ๕ ได้แก้วในหัวตะเข้ ๖ ผีชิงผีแก่กัน ๗ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ ๑ ๘ เต่าลักไข่แลน ๙ นกยูงกลืนแหวน ๑๐ ได้ไข่เต่าเป็นทอง ๖ ๑๖ หญิงให้ฆ่าผัวเสีย ๓๒ ชายเอางูไปเสีย

๓๒ ชายเอางูไปเสีย ๑๖ หญิงให้ฆ่าผัวเสีย ๑๐ ได้ไข่เต่าเป็นทอง ๙ ชายตกน้าตาย ๘ เฝ้าพญาได้ดี ๗ เก็บตลาดได้เป็น ๖ ชายตกน้าตาย ๕ งูสั่งแก่ลูก ๔ ปลูกกล้วยเป็นทอง

มิดี มิดี ดี มิดี

๓ ลิงฝากมือแก่นกกระจาบ ๒ เต่าลักไข่แลน ๑ นกยูงกลืนแหวน

มิดี มิดี มิดี

๓๒ พญาให้ฆ่าหญิงเสีย ๑๖ ขุดปูได้ทอง ๑๐ ขุดแย้ได้ทอง ๙ พญากุศราชได้นาง ๘ ลิงตายสามตัว ๗ พญาไปเล่นอุทยาน

มิดี ดีแล ดีแล ดี มิดีแล ดี

๑ ชายเอางูไปเสีย ๖ ๒ หญิงให้ฆ่าผัวเสีย ๓ ได้ไข่เต่าเป็นทอง ๔ ชายตกน้าตาย ๔ ๕ เฝ้าพญาได้เป็น ๖ เก็บตลาดได้เป็น

ดีแล ดี มิดี มิดี มิดี มิดี ดี มิดี มิดี

วัน ๖ ๖

๓,๔

ดี มิดี มิดีแล ดี

พญากุศราชได้นาง ๕ ๒ ลิงตายสามตัว ๓ พญาเล่นอุทยาน ๔ ชายตกน้าตาย ๓ ๕ งูสั่งแก่ลูก ๖ ปลูกกล้วยเป็นทอง ๗ ได้แก้วในหัวตะเข้ ๒ ๘ ผีชิงผีแก่กัน ๙ ขุดปูได้ทอง

ดี มิดี ดี มิดี มิดี ดีแล ดี มิดี ดีแล

๑๐ ขุดปูได้ทอง ๑๖ ขุดแย้ได้ทอง ๓๒ พญาให้ฆ่าหญิงเสีย

ดีแล ดี มิดี

วัน ๗ ๗

มิดี มิดี ดี มิดี ดี ดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๔๙

บทนำ: วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง “ดูดำวดูฤกษ์” ฉบับวัดบุปผำรำม จังหวัดตรำด ธนภัทร พิริย์โยธินกุล ตาราดาวถือเป็น ขุมทรัพย์ทางปั ญ ญาที่บรรพชนในอดีตรังสรรค์ไว้ ซึ่งสะท้อนให้เห็ นความสัมพันธ์ ระหว่างดวงดาวซึ่ งเป็ น วัตถุ บ นฟากฟ้ ากั บ วิถีชี วิตและความเป็ น ไปของมนุ ษ ย์ ต าราด าวนี้ มี ป รากฏนามที่ หลากหลาย เช่น ตาราดาว ตาราดูนิมิต สมุดพระตาราฤกษ์บน คัมภีร์ราง๙๘ และยังมีตาราดาวที่เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ต่างๆ เช่น ตาราดาวที่เก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ ตาราดาวของขุนโพธิ์ จังหวัดเพชรบุรี ตาราดูดาว ดูฤกษ์ วัด บุปผาราม จังหวัดตราด เป็นต้น ในคัมภีร์ และตาราต่างๆ เหล่านั้น โหรได้บันทึกนิมิตฟ้า จากปรากฏการณ์ในท้องฟ้า ทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเข้าวงจันทร์ ดาวหาง ดวงดาว ๒๗ นักษัตร เป็นต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พฤหัฏสังหิตา แต่งโดย วราหมิหิระ (พ.ศ.๑๐๔๘-๑๑๓๐) หนึ่งในปราชญ์ทั้งเก้าของพระเจ้ าวิกรมาทิตย์ หรือจันทรคุปต์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์คุปตะ (ครองราชย์ พ.ศ.๙๑๙-๙๕๘) กล่าวถึงศุภนิมิตหรืออวมงคลจากปรากฏการณ์บนฟากฟ้า ใน เนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์๙๙ ดังนั้น ตาราที่ว่าด้วยนิมิตฟากฟ้าทั้งในและนอกราชสานักของไทยส่วน ใหญ่จึงมีเนื้อความเดียวกัน อาจต่างกันที่ภาพประกอบ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าคาทานายต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้อง กับระดับอาณาจักร ซึ่งเป็นไปได้ว่าตาราเหล่านี้เคยเป็นของชนชั้นปกครองในเมืองนั้นๆ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ ปรากฏการณ์ในท้องถิ่นของตน ต่อมาทายาทไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคัมภีร์ จึงนามาถวายวัดด้วยหวังให้เป็นกุศล แก่ผู้วายชนม์ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงพบตาราดูนิมิตต่างๆ นี้ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ๑๐๐ ศาสตร์ในการศึกษาและพยากรณ์จากนิมิตฟ้ายังเกี่ยวข้องหรือนาไปสู่การสร้างสรรค์ศิลปกรรมต่างๆ ดังเช่น นิ ท านที่ บ อกเล่ าที่ ม าของดวงดาว ๒๗ นั กษั ต ร รวบรวมไว้ในชื่ อต่ างๆ เช่ น นิ ท านดาวนั ก ขัต ฤกษ์ ต้นฉบับของหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ตานานดาวฤกษ์ จากตาราโหราศาสตร์ ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) และตานานดาวฤกษ์ ซึ่งมาลา คาจันทร์ เรียบเรียงจากคัมภีร์มูลฤกษ์ฉบับวัดกู่คา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ในวรรณคดีไทยมี ปรากฏชื่อดาวฤกษ์ต่างๆ เช่น วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี ของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ ตอนที่ ๑๘ พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน ขณะที่นางสุวรรณมาลี กับสินสมุทรและอรุณรัศมี อยู่ บนกาปั่น นางสุวรรณมาลีชี้ให้ทั้ง ๒ องค์ ดูดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้า ชื่อดาวที่ปรากฏในเรื่องนี้ ได้แก่ ดาวเต่า ดาวไถ ดาวธง ดาวม้า ดาวลูกไก่ ดาวโลง ดาวกา ดาวสาเภา ดาวจระเข้ ดาวยอดมหาจุฬามณี ดาวคันชั่ง และ

๙๘

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว, (๒๕๔๖), คำบอกเล่ำของแผ่นดิน, (กรุงเทพฯ: สายธาร), หน้า ๑๔๕. ๙๙ อารี สวัสดี และวรพล ไม้สน, (๒๕๕๖), ดำรำศำสตร์รำชสำนัก , (เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)), หน้า ๑๔๘. ๑๐๐ อารี สวัสดี และวรพล ไม้สน, เรือ่ งเดิม, หน้า ๑๕๒.


๓๕๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ดาวหามผี๑๐๑ และวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ เช่น สิงหไกรภพ สรรพสิทธิ์คำฉันท์ บทละครเรื่องอิเหนำ พระราช นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ นำงโภควดี เป็นต้น๑๐๒ อนึ่ง ศาสตร์แห่งการดูดาวหรือดาราศาสตร์นี้ยังมีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรม แขนงจิตรกรรม ซึ่ง ปรากฏผ่านจิตรกรรมฝาผนังภายในอาคารต่างๆ ของวัด เช่น ภายในหอไตรกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ ผนังอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม จั งหวัดเพชรบุรี และวัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี เป็นต้น การรังสรรค์ภาพ “ดาวเพดาน”๑๐๓ อย่างสวยงาม ที่วัดต่างๆ เช่น ศาลาการเปรียญ วัด บางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี อุโบสถเก่าวัดบุปผาราม จังหวัดตราด เป็นต้น รวมไปถึงการตั้งชื่อถนนเป็นชื่อ ดวงดาว เช่น ถนนดาวข่าง ชื่อถนนในพื้ นที่แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ก็นาชื่อมาจาก ดาว ข่างซึ่งมีชื่ออื่น เช่น ดาวว่าว ดาวลูกข่าง ๑๐๔ และเคณฑดารา หรือที่ปรากฏในต้นฉบับนี้ว่า ดาวค่าง และ เกร ดารา๑๐๕ ที่มำของตัวบท ต้น ฉบั บ ตาราดูดาวดูฤกษ์นี้ เป็ น เอกสารโบราณ รหั ส บผ.ฝ. ๐๐๖ ๑๐๖ เก็บรักษาไว้ที่ตู้ เก็บเอกสาร โบราณหมายเลข ๑ ภายในพิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม อาเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นเอกสารประเภทสมุดฝรั่ง สี ขาว มี ๓๔ หน้า ตัวอักษรที่ใช้เขียนเป็นเส้นดินสอดา ภาษาไทย ประกอบด้วยอักษรไทยเป็นส่วนใหญ่ และมี อักษรขอมเพียงส่วนหนึ่ง ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง หรือผู้คัดลอกและประวัติต้นฉบับ ลักษณะต้นฉบับค่อนข้างสมบูรณ์มีชารุดเพียงบางแห่ง คือ ปกหน้าและปกหลัง ส่วนด้านในนั้น หน้าที่ ๔ ชารุดบริเวณด้านขวา และ หน้า ๗ ชารุดบริเวณข้างล่างด้านซ้ายของหน้า ทาให้ข้อมูลบางส่วนหายไป แต่ ผู้อ่านสามารถอ่านและเข้าใจเนื้อความได้ จึงไม่ส่งผลกระทบต่ อการถ่ายทอดต้นฉบับมากนัก แต่การชารุด บริเวณริมขอบกระดาษหน้า ๒๙ และ ๓๐ ทาให้ข้อมูลบางส่วนขาดหายไปซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบต่อการถ่าย ถอดและศึกษาต้นฉบับ

๑๐๑

สุนทรภู่, (๒๕๕๓), พระอภัยมณี เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๘). (กรุงเทพฯ: บริษัท ไผ่ มีเดีย เซ็นเตอร์ จากัด), หน้า

๒๑๗. ๑๐๒

โปรดอ่านเพิ่มเติมใน วรพล ไม้สน, (๒๕๕๖), ดำรำศำสตร์พื้นบ้ำนไทย, (เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน)), หน้า ๕๔-๙๒. ๑๐๓ ผู้เขียนเลือกใช้คานี้ดังปรากฏในงานเขียนของ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว จากหนังสือ ไทบ้ำนดูดำว ๑๐๔ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว, (๒๕๕๒), ไทบ้ำนดูดำว (พิมพ์ครั้งที่ ๓). (กรุงเทพฯ: ศยาม), หน้า ๑๔. ๑๐๕ ดาวข่าง เป็น ดาวเรียงเด่นในกลุ่ม ดาวกางเขนใต้ (Crux) วรพล ไม้สน, (๒๕๕๖), ดำรำศำสตร์พื้น บ้ำนไทย, (เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)), หน้า ๓๓. ๑๐๖ บผ.ฝ. ๐๐๖ หมายถึง เอกสารโบราณวัดบุปผาราม (บผ.) ประเภทสมุดฝรั่ง (ฝ.) รหัสที่ ๐๐๖ หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารโบราณของวัดบุปผาราม จังหวัดตราด โปรดดูเ พิ่มเติมที่ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล , (๒๕๕๕), รำยงำนวิจัยกำรสำรวจและปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตรำด: พลังปัญญำจำกวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมือง ตรำด, (นครปฐม: ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๕๑

รูปแบบคาประพันธ์ เป็นร้อยแก้ว และข้อความบรรยายภาพประกอบเป็นส่วนใหญ่ มีร้อยกรองเพียงส่วนหนึ่ง ประกอบด้วย กลอนสุภาพ ๗ บท บทที่ ๑ ขึ้นต้นด้วย วรรครับ ส่วนบทสุดท้ายใช้คา “เอย” เป็นคาลงท้ายใน วรรคส่ง มีเนื้อหาแสดงคาทานายจากลักษณะดาวจระเข้ และโคลงสี่สุภาพ ๑ บท แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับดาวค่าง นอกจากนี้ยังมีภาพประกอบเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ทั้ง ๒๗ นักษัตร ๑๒ ราศี และตาแหน่ง ดาวเพื่อการพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมือง เป็นต้น ซึ่งบางภาพเป็นภาพสี ได้แก่ ภาพที่สันนิษฐานว่าเป็นภาพ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวนพเคราะห์ ในต้ น ฉบั บ ต าราดู ด าวดู ฤกษ์ นี้ ไม่ มี ระบุ น ามผู้ แ ต่ ง หรือผู้ คั ด ลอก รวมทั้ งประวัติ ผู้ ส ร้าง และการ ครอบครองต้นฉบับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาที่แต่งนั้น สามารถสันนิษฐานได้จากการบันทึกวันใน ฤดูสรทะ คือ ฤดูสารท หรือ ฤดูใบไม้ร่วง ๑๐๗ อันเป็นฤดูระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว ไว้ในหน้าที่ ๔ ของต้นฉบับ ว่า เข้า สรทะ ฤดู แต่ ณ วัน ๕ ๑๑ ปีกุนสับ...(ชารุด) ณ วัน

๑ ได้ ๘๒ วัน ๚ะ

จากข้อความในข้างต้น เมื่อตรวจสอบวันตามปฏิทินแบบสุริยคติแล้ว วัน ๕ ขึ้น ๑ ค่า เดือน ๑๑ ปีกุน สัปตศก นั้น ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๑๘ ปีกุน จุลศักราช (จ.ศ.) ๑๒๓๗ (สัปตศก) ซึ่งถือเป็นวันเริ่มเข้าฤดูสารท ส่วน วันแรม ๘ ค่า เดือน ๑ เลขวันที่ไม่ปรากฏนั้น ควรจะเป็น ๒ ๑ ซึ่งจะตรง กับวันจันทร์ที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ปีกุน จ.ศ. ๑๒๓๗ (สัปตศก) รวมจานวนวันตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ถึงวันจันทร์ที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ จะเป็น ๘๒ วัน เท่ากันกับที่ปรากฏในต้นฉบับ ดังนั้นจึงอาจ สันนิษฐานได้ว่า ต้นฉบับตาราดูดาวดูฤกษ์นี้ สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๑๘ ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยผู้เขียนอาจสร้างต้นฉบับเล่มนี้ในช่วงฤดูสารท จึงได้บันทึกช่วงเวลา เริ่มต้นฤดูในเดือนกันยายนเอาไว้ ส่วนวันที่ ๒๐ ของเดือนธันวาคมนั้น อาจเป็นวันที่ฤดูสารทสิ้นสุด เนื่องจาก ผู้เขียนกล่าวถึงฤดูสารทไว้ในต้นฉบับหน้าที่ ๔ ว่ามีทั้งสิ้น ๘๙ วัน ซึ่งใกล้เคียงกับจานวน ๘๒ วัน ตามที่ปรากฏ ในต้นฉบับ หรืออาจเป็นวันที่ผู้เขียนสร้างตาราดูดาวดูฤกษ์สาเร็จก็เป็นได้ อนึ่ง การระบุ ระยะเวลาในต้นฉบับซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๘ ตรงกับสมัย รัชกาลที่ ๕ นั้น สัมพันธ์กับสมัยแห่งช่วงชีวิตของเจ้าของต้นฉบับคัมภีร์ตาราดาว ฉบับขุนโพธิ์ด้วย ซึ่ง นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ได้ปริวรรตและศึกษาไว้แล้วในวิทยานิพนธ์ เรื่อง ตำรำดำว: กำรศึกษำเชิงวิเครำะห์ นั้น ตาราดาว

๑๐๗

พับลิเคชั่นส์).

ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน, (๒๕๔๖), พจนำนุ ก รมฉบั บ รำชบั ณ ฑิ ตยสถำน พ.ศ. ๒๕๔๒, (กรุงเทพฯ: นานมี บุ๊ ค


๓๕๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ดังกล่าว “เดิมเป็นของขุนโพธิ์ อดีตหมอยากลางบ้าน จังหวัดเพชรบุรี ขุนโพธิ์ มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้ง บ้านเรือนอยู่ที่ถนนแปลงนาม ตาบลท่าราบ อาเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี”๑๐๘ เนื้อเรื่อง เนื้ อ หาที่ ป รากฏในต าราดู ด าวดู ฤ กษ์ ฉบั บ วั ด บุ ป ผารามนี้ ประกอบด้ ว ย เนื้ อ หาส่ ว นต่ างๆ เรีย ง ตามลาดับ ดังนี้ ฤดู ต่างๆ ๔ ฤดู ประกอบด้วย สิสิระฤดู (ฤดูหนาว) นิทาฆะฤดู (ฤดูร้อน) วสันตะฤดู (ฤดูฝน) และสรทะฤดู (ฤดูใบไม้ร่วง) จากนั้นจึงเป็นส่วนของการนาเสนอภาพดวงดาวนักษัตร ประกอบด้วยภาพแผนที่ ดาว ๒๗ นักษัตร ตามด้วย ชื่อ คาอธิบายและภาพประกอบ กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗ นักษัตร คือ ๑.อัศนี ๒.ภะ ระนี ๓.กฤติกา ๔.โรหินี ๕.มิกขะสิระ ๖.อัฐะระ ๗.ปุณะภะษุ ๘.ปุตสิยะ ๙.อะสิเลขะ ๑๐.มาขะ ๑๑.ศุภพผล ๑๒.อุตระผล ๑๓.อัฐะ ๑๔.จิตระ ๑๕.สวัศดิ ๑๖.วิษาขะ ๑๗.อนุราชถะ ๑๘.เชฐะ ๑๙.มูละ ๒๐.ปุภะสันหะ ๒๑. อุตระสันหะ ๒๒.สาวันณะ ๒๓.ขะนิฐถะ ๒๔.สัตะพิต ๒๕.ปุภะพัต ๒๖.อุตระพัต ๒๗.เรวดี๑๐๙

ต่อจากกลุ่มดาว ๒๗ นักษัตร เป็นชื่อและภาพประกอบกลุ่มดาว ๑๒ ราศี ประกอบด้วย ๑.เมศ ๒.พฤกศภ ๓. เมถุน ๔.กรกฏ ๕.สิงห์ ๖.กัล ๗.ดุญ ๘.พิจิตร ๙.ธนู ๑๐.มังกร ๑๑.กุมภ์ ๑๒.มิญ๑๑๐ ชื่อ และภาพประกอบดาว ๑๐ ดวง ดาวที่มีเลข ๑,๒ และ๘ นั้นไม่ได้ระบุชื่อ แต่ในทางโหราศาสตร์ไทยใช้ ดาวพระ ๑ แทน ดวงอาทิตย์ ๑๐๘

นิ พั ท ธ์ พ ร เพ็ งแก้ ว , (๒๕๓๘), ตำรำดำว: กำรศึ ก ษำเชิ ง วิเครำะห์ . (วิ ท ยานิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), หน้า ๗. ๑๐๙ ชื่อดาวฤกษ์ ๒๗ นักษัตรนี้ พิมพ์ตามที่ปรากฏในต้นฉบับ ๑๑๐ ชื่อดาว ๑๒ ราศีนี้ พิมพ์ตามที่ปรากฏในต้นฉบับ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๕๓

ดาวพระ ๒ แทนดวงจันทร์ และดาวพระ ๘ แทนดาวราหูตามลาดับ ส่วน ๓-๗ ไม่ได้ระบุชื่อดาวเช่นกัน แต่ ปรากฏสีของดาว คือ ๓ สีน าก ๔ สีดอกไม้เทียน ๑๑๑ ๕ สี เหลืองแก่ ๖ สีเหลืองอ่อน ๗ สีเขียว ซึ่งก็คือ ดาว อังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ตามลาดับ ต่อมา ดาวพระ ๙ คือดาวพระเกษ และ ๐ คือ ดาวมฤตยู๑๑๒

ส่วนต่อมากล่าวถึงกลุ่มดาวที่แสงของดวงดาวในกลุ่มดาวนั้นมีผลต่อการพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง เริ่มด้วยภาพดาวจระเข้ และคาอธิบายประกอบภาพถึงความสัมพันธ์ระหว่างดาว ต่างๆ ในกลุ่มดาวจระเข้กับชื่อ เมืองและกลุ่มบุคคล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสาคัญต่อโครงสร้างสังคมของไทย มีทั้งสิ้น ๙ ดวง ได้แก่ ดวง แรกไม่ปรากฏความ ดาว ๒ ดวงคู่กันถัดมา เป็น “เมืองหงษาวดี วังหน้า” และ “วังหลวง เมืองน่าน” คู่ถัดมา เป็น “เมืองเชียงใหม่ กลาโหม” และ กรมท่า,แม่ทัพ กรุงศรีอยุธยา” ระหว่างดาวสองดวงนี้มีข้อความว่า “กลาง เมื อ งล้ า นช้ า ง” ดวงถั ด มาเป็ น “สมณ เมื อ งระแวกอาว” ถั ด มาเป็ น ดาวคู่ “เมื อ งนคร” ฝั่ ง หนึ่ ง เป็ น “พราหมณ์ ” อีกฝั่งเป็น “ราชมานพดาวชีวิต” ไปจนถึงดวงสุดท้าย คือ “เมืองตองอู ราษฎร” วิธีการดูเพื่อ พยากรณ์ คือ การดูความเข้มของแสงดวงดาว ดวงใดอ่อนแสงแสดงว่าไม่ดี นอกจากนี้ผลนั้นยังส่งไปถึงผู้ที่เห็น ด้วย ดังกลอนสุภาพที่ปรากฏในต้นฉบับว่า

๑๑๑

ดอกไม้เที ยน หมายถึง ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง รูปเหมื อนเทียน จุดมี สีนวล จาก ราชบัณ ฑิ ตยสถาน, (๒๕๔๖), พจนำนุกรมฉบับรำชบัณฑิตยสถำน พ.ศ. ๒๕๔๒. (กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์). ๑๑๒ ในบทปกรณ์ ว่าด้วยดาวหาง บางฉบับหมายรวมดาวราหู (พระ ๘) ดาวเกตุ (พระ ๙) และดาวมฤตยู (พระ ๐) เป็นลักษณะหนึ่งของดาวหาง (พระครูสมุห์อภิสิทธิ์ อภิญาโณ. ตาราดาวพรหมปโรหิตา พระคัมภร์ว่าด้วยดาวหางของไทย. อ้าง ถึงใน,อารี สวัสดี และวรพล ไม้สน, (๒๕๕๖), ดำรำศำสตร์รำชสำนัก. (เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การ มหาชน)), หน้า ๑๖๑. ซึ่งในตาราดาว ฉบับวัดบุปผารามนี้จะเห็นได้จากรูปประกอบของ พระ ๙ (ดาวพระเกษ) มีภาพเส้นหาง รัศมีของดาวพุ่งออกจากตัวดาว


๓๕๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

อันลักษณะกุมภาดวงดาเรศ แม้นดวงใดเมินมุ่งไม่รุ่งเรือง คงเกิดการกาลีวิปริต ถ้าดวงใดของใครจะอยู่เยน ยอมศุกใสไภโรดขึ้นโชตช่วง ชิพชนผู้ที่ยนจะยืนนาน

จรประเวศไภปุณจารุ เหลือง ฤๅชาเลืองแลยนพิกนเปน ถึงชีวิตรตายแต่ผู้แลเหน คงศุกเกนดวงโดดโชตฉัชวาน เปนรุ้งร่วงเรืองไสผ่องไภสาน เจริญกาล...กขพิพรรฒ สวัศดิ เอย ๚๛

กลุ่มดาวอีกกลุ่ มหนึ่ งที่มีความส าคัญ ต่อการพยากรณ์ เหตุการณ์ “ข้าวยากหมากแพง” และคนที่มี สถานะสาคัญของบ้านเมือง คือ ดาวค่าง (ดาวข่าง) ตาแหน่งดาวค่าง หรือดาวเกรดารา มีแผนที่แสดงตาแหน่ง ดาวค่าง ๒ ภาพ ภาพแรก แสดงจานวนดาวต่างๆ ที่รวมกันเป็นดาวค่าง ดาวที่เป็ นตัวแทนข้าว มี ๓ ดวง ผลไม้ ปลา และเกลือมีอย่างละ ๑ ดวง อีกภาพหนึ่ง แสดงตาแหน่งของดาวที่เป็นตัวแทน ดาวด้านบน(เหนือ) เป็นเลข ๔ แทน “หมาก เสนา ข้าว เหนือพริกได้แก่กษัตรีย์” ดาวข้างซ้ายเป็นเลข ๒ แทน “ปลา เทวี” ดาวข้างขวาเป็น เลข ๑ แทน “ไพร่ เกลื อ” และด้านล่าง(ใต้) แทน “พระยา ผลไม้ พริก ” พร้อมทั้งโคลงสี่ สุ ภ าพอธิบายคา ทานายเกี่ยวกับดาวค่าง ส่วนสุดท้ายเป็ นการบันทึกคาพยากรณ์โดยการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงดาว ๒๗ นักษัตร พระจัน ทร์ หางของดาวหาง และดาวกลางวัน ประกอบด้ว ย คาพยากรณ์ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ ที่ พระจันทร์เข้าแทรกกลางดาวฤกษ์ ๒๗ นักษัตร แต่ละดวง พร้อมทั้ง สีรัศมี และการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ ๒๗ นักษัตร เรียงตามลาดับตั้งแต่ดาวอัศนี จนถึงดาวเรวดี เช่น ๏๑ พระจันทร์แทรกอัศนี ไฟจะไหม้มณเฑียรพระยา ถ้าบ่มีจะเกิดลาภ สีดาแพะม้าจะตาย ถ้าสีเขียวข้าวจะแพง สีแดงจะมีศึก มาแต่อุดร ผิเข้าใกล้กันไฟจะไหม้ บ่มี บริวาร ๓๐๐ มีรัศมีดี ถ้าไม่มีรัศมีจะเกิดยุทธนาทุกแห่ง เป็นต้น ต่อมาเป็นคาพยากรณ์เกี่ยวกับทิศของหางดาวหาง เช่น หากหางของดาวหางออกไปทางทิศบูรพาหรือ ทิศตะวันออก จะเกิดภัยร้ายแก่เจ้าเมือง ฯลฯ คาพยากรณ์เกี่ยวกับทิศที่ดาวปรากฏขึ้นใกล้กับพระจันทร์ เช่น ดาวปรากฏขึ้นใกล้พระจันทร์ในทิศหรดี จะมีสาเภามาถึงเมือง เป็นต้น คาพยากรณ์เกี่ยวกับทิศที่ดาวกลางวัน ปรากฏขึ้น เช่น ถ้าดาวกลางวันขึ้นบริเวณทิศบูรพา ๕ วัน ถึง ๕ เดือน จะได้ยินข่าวศึกมาถึงเมือง เป็นต้น สุ ด ท้ ายเป็ น ค าพยากรณ์ เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ร ะหว่ างปริม ณฑลของพระจั น ทร์กั บ ทิ ศ ของดวงดาว โดย เทียบเคียงคาพยากรณ์จาก ๒ ตารา เช่น ดาวใกล้ปริมลฑลพระจันทร์ หน }๙ } ที่หนึ่งศึกจะมาถึง เมือง ฝนจะมีแล ตารับหนึ่งใกล้ ข้างทิศหรดีจะมีสาเภามาสู่เมืองเรา เป็นต้น ส่วนท้ายมีบันทึกตาราลงกระดาน คุณค่ำของตำรำดูดำวดูฤกษ์ ฉบับวัดบุปผำรำม จากเนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฏในต้นฉบับตาราดูดาวดูฤกษ์ ฉบับวัดบุปผารามนอกเหนือจากคุณค่าสาคัญ ในด้ า นการแสดงองค์ ค วามรู้ ด้ า นโหราศาสตร์ แ ละดาราศาสตร์ไทยในอดี ต แล้ ว ยั ง มี คุ ณ ค่ า ในด้ า นต่ างๆ ดังต่อไปนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๕๕

๑. สัณฐำนของดวงดำวในควำมรับรู้ของบรรพชน ต้นฉบับตาราดูดาวดูฤกษ์ ปรากฏสัณฐาน คือ รูปร่าง สี และการเรียงตัวของดวงดาวต่างๆ ตามความ รับรู้ของ บรรพชนในอดีต ซึ่งรูปร่างของดวงดาวประกอบไปด้วย ดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗ ดวง ดาวประจาราศี ๑๒ ราศี ดาวเคราะห์ และดวงดาวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็ นไปของเมือง เช่น ดาวฤกษ์ดวงที่ ๒๒ ชื่อ สาวันณะ อยู่ ในเดือน ๙ มีสีแดงอ่อน เรียงตัวเป็นเส้นตรง

๒. เมืองสำคัญที่อยู่ในอำณำเขตหรืออยู่ใกล้เคียงประเทศสยำม ดวงดาวต่างๆ ในดาวจระเข้ ถือเป็นตัวแทนของเมืองต่างๆ ที่มีความสาคัญซึ่งอาจอยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ใต้ ปกครองของสยาม แต่ละเมืองก็ยังสัมพันธ์กับบุคคลในตาแหน่งหน้าที่หรือชนชั้นต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับ ความเจริญ ก้าวหน้ าหรือหายนะของบ้ านเมือง ประกอบด้วย ดาว ๗ ดวงที่เป็ นตัว แทนของแต่ล ะเมือง ดัง ตัวอย่างรูปกลุ่มดาวจระเข้


๓๕๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

รวมทั้งอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงดวงดาวประจาเมืองศรีอยุธยา คือ หนึ่งว่าดาวประจาเมืองศรี อยุทธ ยาชื่อตรีนังกูม ครืดาวภั้งพอน อยู่ต้นทางหลวงดวงน้อยอยู่ปากปัจจิม ดวงใหญ่อยู่ปลายทางหลวง เป็นต้น ๓. โลกทัศน์บรรพชนเกี่ยวกับสิ่งที่ดีและร้ำยอันจะเกิดกับเมือง คุณค่าสาคัญอีกประการหนึ่ง คือ การพยากรณ์ว่าสิ่งใดดี หรือไม่ดีจากการสังเกตดวงดาว ซึ่งทั้งหมด เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ภัยธรรมชาติ และการติดต่อระหว่างประเทศ สิ่งที่ดี เช่น เรื่องเจ้าเมืองจะได้ลาภมาก “ถ้าหางฑิตทักสินทาวพระยาจะได้ลาภเปนอนมาก” ส่วนสิ่งที่ ไม่ดี เช่น หากพระจันทร์ (พระ ๒)๑๑๓ แทรกดาวฤกษ์กฤติกา “ท้าวพระยาจะได้รพกันจะเปนศึกหนักหนา ถ้าบ มีท้าวพยาจะตายจะเสียบ้านเมือง ประชาราษฎรจหนีจากตน” หรือ ดาวใก้ลปริมลฑณพระจันทร์ “ในทิตปัจิม แลภายั บ ๘

} จรบพุ่ งแก่ ฆ่ำ ศึก ๙ วนจะมิผู้ อืน มาถึงเมิองเรา ต ารับ หนึ่ งว่าไก้ล ทิต ปัจจิ มขุนเมื องจะ

ตายดว้ยโรค ๘ วัน บมี ๘ เดอืนจะมีพราหมมาสู่” ซึ่งจากตัวอย่างนี้ยังเห็นเหตุการณ์ซึ่งไม่ระบุชัดเจนว่าเป็นสิ่งดี หรือร้าย คือการมีผู้ อื่น เดิน ทางมาถึงเมือง และการมีพราหมณ์ มาถึงราชส านัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี คา ทานายต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดี เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ข้าวยากหมากแพง ผิดลูกเมีย ท้าวพระยาถูกชิงราชสมบัติ ขุนนางแพ้แก่คนป่า เป็นต้น ซึ่งน่าสังเกตว่าในตาราดาวฉบับนี้มีปรากฏเหตุการณ์ไม่ดี มากกว่าเหตุการณ์ที่ดี จากเนื้อหาต่างๆ ในตาราดูดาวดูฤกษ์ฉบับวัดบุปผาราม แสดงให้เห็นภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้าน ดาราศาสตร์แ ละโหราศาสตร์ข องบรรพชนไทย การเผยแพร่ตาราดาวจึงมี ความส าคัญ ต่อการศึกษา และ สืบสาน “วิธีดูดาวแบบไทย” การอ่านตาราดูดาวจึงเป็นเสมือน “ท้องฟ้าจาลอง” ให้คนรุ่นหลังไม่เพียงเรียนรู้ ตาแหน่งของดวงดาว แต่ยังได้เรียนรู้โลกทัศน์บรรพชนไทยผ่านวัตถุบนฟากฟ้าที่งดงามในยามค่าคืน

๑๑๓

ในต้นฉบับนี้พบว่า มีการใช้คาว่า “พระ ๒” แทน พระจันทร์ พบหลายแห่ง และ “พระ ๓” แทน พระอังคาร พบเพียงแห่งเดียว


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๕๗

บรรณำนุกรม นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. ตำรำดำว: กำรศึกษำเชิงวิเครำะห์ . วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึก ภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘. นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. คำบอกเล่ำของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สายธาร, ๒๕๔๖. นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. ไทบ้ำนดูดำว (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: ศยาม, ๒๕๕๒. มาลา คาจันทร์. ตำนำนดำวฤกษ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: ศยาม, ๒๕๕๐. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนำนุกรมฉบับรำชบัณ ฑิตยสถำน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖. วรพล ไม้สน. ดำรำศำสตร์พื้นบ้ำนไทย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), ๒๕๕๖. สวัสดิสารศาสตร์พุทธิ, หลวง. อนุสรณ์เนื่องในงำนพระรำชทำนเพลิงศพหลวงสวัสดิสำรศำสตร์พุทธิ ณ เมรุ วัดธำตุทอง ๒๕ กุมภำพันธ์ ๒๕๑๖. พระนคร: อรุณการพิมพ์, ๒๕๑๖. สุนทรภู่. พระอภัยมณี เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๘). กรุงเทพฯ: บริษัท ไผ่ มีเดีย เซ็นเตอร์ จากัด, ๒๕๕๓. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. รำยงำนวิจัยกำรสำรวจและปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตรำด: พลังปัญญำ จำกวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมืองตรำด. นครปฐม: ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๕. อารี สวัสดี และวรพล ไม้สน. ดำรำศำสตร์รำชสำนัก . เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การ มหาชน), ๒๕๕๖.


๓๕๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

บทปริวรรต: ตำรำดูดำวดูฤกษ์๛ ฉบับวัดบุปผำรำม จังหวัดตรำด

๏ ฤดูมี ๔ ชื่อ

สิสิระ รดู ๘๙ วัน นิทาฆะ รดู ๙๓ วัน วสันตะ รดู ๙๔ วัน ไต้ สรทะ รดู ๘๙ วัน

เฃ้า สรทะ รดู แต่ณวนั ๕ ๑๑ ปีกุญสับ... ณวนั ๑ ได้ ๘๒ วนั ๚ะ

เหนือ กลับจากเหนือถึงกลาง กลับจากไต้ไปถึงกลางทาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๕๙

๏๑

} ๒ ภะระนี ๓

อะสิ เลขะ ๑๐ ๑๗

} ๑๘

๒๔ สัตะพิต ๒๕

} ๑๑

} ๔

} ๕

} ๑๒

} ๑๙

} ๒๐

} ๒๖

} ๒๗

} ๖ } ๑๓

} ๑๔

} ๒๑

} ๗

} ๘

} ๙

} ๑๕ สวัศ ดิ ๑๖ } ๒๒

}

} ๒๓ ขนิฐถะ

} ๚ะ๛

ดาวฤกษ ๒๗ ดวงนี้ เฃียนเลขนั้นเปนดาวเดือนเหมือน ๑๑ กลางเดือนนั้นพระจันทร์เสวยฤกษ ๑ ให้ นับเวียนไป } วันบ้างตามปักก็รู้ว่าพระอาทิตย์ ยายมาอยู่ราษีนั้น ถ้าจะให้รู้เลอียด ต้องตฤกแบ่งส่วนตามจักร ก็จะรู้ชัตว่าพระอาทิตย์ยกมาอยู่ในวันนั้น ราษรีนั้นก็อาจแจ้งโดยแท้

โดยคาภีรนิติยพระโหรา ย่อมขึ้นอยู่อุตราทิตษาสถิตย์ โดยตาหรับพระตาราพฤกฒาทาย ดวงศิศะจอระเฃ้บลเวหา ทวิบาทเบื้องหน้าดารากร ทวิบาทเบื้องหลังทั้งสองศุก สามเมจหางแห่งกุมภะดารา อันลักษณะกุมภาดวงดาเรศ แม้นดวงใดเมินมุ่งไม่รุ่งเรือง คงเกิดการกาลีวิปริต ถ้าดวงใดของใครจะอยู่เยน ยอมศุกใสไภโรดขึ้นโชตช่วง ชิพชนผู้ที่ยนจะยืนนาน

๏ จกล่าวดาวตะเฃ้บลเวหา องอาจารย์ท่านว่าบัลยาย เปนเนืองนิตรนิรั ไม่ผันผาย ประจากายกระสัตราเสนานิกร ครืจอมฬ่าโมฬิตอะดิษษร ครืบุพชิโนรศปอรรา ครืหมู่มุขมลตรีมิยศถา ครืประชาชลชาติเชาเมือง จรประเวศไภปุณจารุ เหลือง ฤๅชาเลืองแลยนพิกนเปน ถึงชีวิตรตายแต่ผู้แลเหน คงศุกเกนดวงโดดโชตฉัชวาน เปนรุ้งร่วงเรืองไสผ่องไภสาน เจริญกาล...กขพิพรรฒ สวัศดิ เอย ๚๛

} เดือน ๑๑


๓๖๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ภะระนี

}

} ดาวม้า

} เดือน ๑ ดาว }


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๖๑

๑๐

อะสิเลขะ


๓๖๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๑๑ ตั้งแต่อัศนีมาถึงศุภะผล ๑๑ ดวงนี้เดิรทางกลาง

๑๒

๑๓

}


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๖๓

๑๔

} เดือน ๕

๑๕

๑๖

} เดือน ๖ }


๓๖๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๑๗

๑๘

๑๙

}

} เดือน ๗

}


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๖๕

๒๐

} เดือน ๘

๒๑

} เดือน

๒๒

} เดือน ๙


๓๖๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

๒๓

๒๔

}

}

๒๕

ดาวเรือนทั้ง ๒ ดวง

๒๖


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๖๗

๒๗

}

เมศ

พฤกศภ


๓๖๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เมถุน

สิงห์

กรกฏ

}


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๖๙

กัล

เดิรทางไต้

ตุญ

เดิรทางไต้

}

ธนู

เดิรทางไต้

เดิรทางเหนือ


๓๗๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

มังกร

เดิรทางไต้

กุมภ์

เดิรกลาง

มิญ

เดิรทางกลาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๗๑

ดาวพระเกษมีอยู่สองดวง

}


๓๗๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ดาวค่าง

ดาว ๔ ดวงนี้ชื่อ เกรดารา ดวงใดเศร้าหมองฃองสิ่งนั้นแพง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๗๓

๏ เฃ้าบนผลไม้ไต้ ดาวค่างท้ายทางปลา ดวงใดศุกโลภา ใดเผือดนั้นแพงร้าย

เกลือขวา เปี่ลยนซ้าย ผลเภิ่ม ภูนแฮ พืชณร้างแรมผล ๚ะ๛

พระ ๒ (พระจันทร์ -ผู้ปริวรรต) แทรกอัศนี ไฟจะไหม่มลเฑียณพระยา ถ้าบมิจะเกิดลาภ ศรีดาแพะ ม้าจะตาย ถ้าศรีเฃียวเฃ้าจแพง ศรีแดงจะมีศึกมาแต่อุดร ผิเฃ้าใกล้กันไฟจะไหม้ บมีบริวาร ๓๐๐ มีรัศมีดี ถ้าไม่ มีรัศมีจะเกิดยุตธนาทุกแห่ง พระ ๒ แทรกภะระนีลกเมียจะทาคชแก่เจ้าเมือง ๆ จะจากเมือง ถ้าบมิท่านจะฆ่าฟันแทง ถ้าแดงแพ้ นาง เฃียวแพ้ลูกไม้สัตรูจะฉณแก่ชาวบ้านแลเจ้าเมือง มีปริวาร ๙๐๐๖ ดวง

ดาวอยู่

ต้นทางหลวง ถ้าดวงน้อยไปอยู่ปัจิมดวงใหญ่ทหารจะตาย ดาวนี้อยู่ปลายทางหลวง ผิเรียงกัน จะเกิดไฟ ดาวตวันอ์อกเริยงกันจะมีสัตรู พระ ๒ แทรกกฤติ กา ท้ าวพระยาจะได้ รพกันจะเปนศึ กหนักหนา ถ้าบมีท้าวพยาจะตายจะเสี ย บ้านเมือง ประชาราษฎรจหนีจากตน ไนยหนึ่งว่าดาวประจาเมืองศรีอยุทธยาชื่อตรีนังกูม ครืดาวภั้งพอน อยู่ต้น

ทางหลวงดวงน้อยอยู่ปากปัจจิม ดวงใหญ่อยู่ปลายทางหลวง พระ ๒ ต้องดวงใหญ่มิรัศมิดี ถ้าดาเขียวเปนโทษต่างๆ กฤติกามีปริวาร ๔๗๒๒๑ ดวง พระ ๒ แทรกโรหินีจมีคนกระทาคช จเสียทหารฃุนนางจตายอยู่กลางจมิไภแก่เจ้าขุน ดวงใหญ่มิรัศมิ ดี ดาเฃียวมิโทษต่างๆ มีปริวาร ๒๐๐๐๐๐ พระ ๒ แทรกมิคศิระดั่งนี้ ไฟจะไหม้ฟ้าจะผ่าฃุนนางจะตาย ถ้า

} ก็แพ้พ่อค้าแล ขุนนางผู้ใหญ่

เสรฐีพระยาจะฉิบหาย มิปริวาร ๙๙๑๒๑ ดวง ๚ พระ ๒ แทรกวัทระฝนจะตกไฟจะไหม้จะได้รพกันจะแพ้สัตว์ } ตีน ตั้งแตวัทระไปถึงอนุราชภะ ๑๒ ฤกษมาถึงหวางคือว่าเที่ยง แดงขุนหลวงจะมิลาภ ถ้าเฃียวจะมีคนทาคช ถ้าดาขุนหลวงจะตายมิบริวาร ๙๐๐ ดวง พระ ๒ แทรกปุณะภะษุฝนจะตกจะได้รบกัน นางเมืองจะเปนด้วยมลตรีแลจะตาย ถ้า แล้งเฃ้าจะแพง สัตว } ตีน จะตืนมีบริวาร ๙๑๖๐๐๐ ดวงเกนน้า ๑๑ เฃ้าในโคนะวิถี ฯ

} ฝนจะ


๓๗๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

พระ ๒ แทรกปุตศิยะ ท้าวพระยาจะได้รบกัน ราษฎรจะได้ความยาก จะเสิยราชสกุน จะแพ้ขุนนางมี ปริวาร ๑๐๐๐๖๐๐ ดวง ๚ พระ ๒ แทรกอะสิเลขะ จะมิลมพัดหนัก จะได้ฃาวร้ายแต่ไกลจะมาสู่เรา ถ้าแดงเฃียวจะแพ้นักปราช ราชบัณฑิตย์ เจ้าแผ่นดินแลขุนนางที่มีศักจะตาย มิปริวาร ๙๐๙๐๐๙ ดวง ฯ พระ ๒ แทรกมาปะท้าวพระยาผู้ใหญ่จะตาย ถ้าดาแดงเฃียวจะมีมลตรีทาคชแก่พระยาๆ จะฆ่าเสีย ถ้ามิฉนั้นเฃ้าจะแพงนักแล พระ ๒ เข้าในระแวกมาปะดวงหนึงเสียเฃ้าฟันหนึ่งสองดวงเสิยเฃ้า ๒ ฟัน ๓ ดวงเสิย

เฃ้า ๓ ฟันได้ฟัน ๑ แล ไว้ฤกษสัพฆาฏมิบริวาร ๔๙๐๐๗ ดวง ฯ๛ พระ ๒ แทรกศุภผล จะเกิดศึก แดงดีเฃียวมลตรีจะทาคช พระยาจะฆ่าเสิยบมิเฃ้าจะแพง มีปริวาร ๑๐๐๐๐ ดวง พระ ๒ แทรกอุตระผลจะมิศึก ถ้าแดงดวงหนึ่งขุนนางจะเปียนทรับไพร่ ถ้าเฃียวจะแพ้คนผู้อยู่ไร่ ป่า เฃาเชานามิปริวาร ๘๔๐๖ พระ ๒ แทรกอัฐะ ฟ้าจะผ่าแผ่นดินจะฝืนพั่วพัน ผัวเมิยจะผิดกัน ฝนจะตกไฟจะไหม้ ผิดาแดง เฃีย

วจะแพ้สัตว์ } ท้าวมีปริวาร ๑๐๐๐๐๐๐๐ ฝ่ายปัจิมมิดาว ๖ ดวง ชือสุธรรมมา มิรัศ มิดิ หารัศมิมิได้แพ้ฝูงนาง แดงราชครูจะตรอมใจด้วยคนร้ายเอาเปนดี ฟ้าจะผ่าลมจะชนกันไฟจะไหม้ ปราสราท มิบริวาร ๑๐๐๐๐ ดวง พระ ๒ แทรกจิตระฟ้าจะผ่าแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ปราสาท ถ้าแดงจะแพ้ราชครู ผู้หญิงจะร้อนใจ คนร้ายจะเปนผู้ดี ถ้าพระ ๒ แทรกสวัศดี ไฟจะไหม้ฝนจะตกจะฝืนแผนดินมิปริวาร ๒๐๓ ดวง พระ ๒ แทรกวิษาฆะ แผนดินจะฝืนไฟจะไหม้น้าจะนองจะแพ้ลูกไม้ มิรัศมิเสาวภาค ถ้ารัศมิเส้ราจะ แพ้สัตทั้งทั้งหลายแพ้ลูกไม้ดว้ย มีบริวาร ๒๕๐๐ ดวง ผิดาแดงเฃิยวจะแพ้ไพรทั้งปวง ทักสินเหนขันธะจักร มี ดาว ๗ ดวงอยู่ใกล้กัน ผิพระ ๒ ต้องไฟจะไหม้ฝนจะตกนักแล ถ้าพระ ๒ แทรกอนุราทธะจะมีหาฝนแก้วตก ถ้ามิฉนั้นวานิชจะเฃ้าเมืองสิงฃองจะมิบริบูณ ลูกไก่ เฃ้าใกล้กันจเสิยเมิอง มิฉนั้นจะเสิยพระยา ถ้าศรีฃาวจางสาระพัดจะแพง มิปริวาร ๔๙๐๐ ดวง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๗๕

ถ้าพระ ๒ แทรกเชฐถะจะมียุดนักสรรพจแพงทูกอัน ถ้ าเฃิยวดาแดงก็ดีจะแพ้เสรฐี คนจะเสียของ

ตั้งแต่เช ถะไปถึงสาวันณะมีดาว ดวงชืออะสุรินทร์ ถ้าดวงนอ้ยไปอยู่ปจิม ดวงใหญ่คน ทั้งหลายจะฉิบหายมีบริวาร ๙๐๐ ดวง ถ้าพระ ๒ แทรกมูละจะแพ้คนทาไร่นาปีนั้นมิดีเฃ้าจะแพง จะเกิดฆ่าฟันกัน ถ้ารัศมิฃาวดิ ถ้าแดงจะ รบกัน ถ้าเฃียวฝูงคนจะตายด้วยไข้เจบ ถ้าดาไฟจะไหม้ปราสาท มีบริวาร ๙๐๐๐ ดวง ถ้าพระ ๒ แทรกมาปุพะสันหะจะแพ้สัตรู ราชบรรณฑิตสมณะชีพราหม แลผู้รู้หลักนักปราช แลฝูง คนจะละบานเมืองเสียมีบริวาร ๕๐๐๐๐๐๐ ดวง ถ้าพระ ๒ แทรกอุตระสั น หะจะแพ้ ส งฆผู้ รู้ห ลั กนั กปราชชีพ ราหมแลเดกน้อ ย ถ้ าศรีเฃิ ยวจแพ้ ลูกออ่นแลลูกไม้เฃ้าจะแพง ถ้าแดงสัตว์ } ตีน คนจะเปนผู้ยากมีบริวาร ๕ ล้านดวง ถ้าแทรกสาวรรณ ฝนจตกนักจมีศึกจรอ้นใจ ฝูงคนทั้งหลายจะรบกัน ถ้าศริแดงขุนนางจะรีบร้อนแก่ ไพร่พลเมือง ถ้าเฃิยวแพ้สมณะชีพราหม ถ้าดาคนทั้งหลายหาความพิจรณามิได้ไม่ มิบริวาร ๓๗๐๐ ดวง ถ้าพระ ๒ แทรกขนิ ถะฝนจตกไฟจะไหม้จะเดิอดเนื้อรอ้นใจคนทังหลาย จรบพุ่งกันคนจะตายมาก สัตว์ } ตีนจะตาย ถ้าแดงจร้อนใจสมณะพราหมณาจารย์ ถ้าดาแลเฃิยวพระยาจะมิสัตรูมาก ถ้าเหนค่างอุดร มากค่างทักสินน้อยเฃ้าจะถูก รัศมิแดงเขียวบานเมิองจเสิยทุกแห่งมิบริวาร ๙๒๓ ดวง ถ้าพระ ๒ แทรกสัตะพิศไฟจะไหม้ ถ้าศรีดาแดงเขิยวจะเกิดทุกขจะแพ้เดก มิบริวาร ๑๐๐ ดวง ถ้าพระ ๒ แทรกมาปุพะพัตฝนจตกจะเดิอดเนิอรอ้นใจสิ้นทั้งเมือง ถ้ารัศมิแดงเฃ้าจถูกถ้าดาเฃิยวแพ มลตรีไพร่พลเมืองราชปโรหิตจะฉิบหายมิบริวาร ๗๐๐๐๐ ดวง พระ ๒ แทรกอุตรพัตฝนจตกจะเดิอนรอนใจ จมิศึก ทายดังบุพะพัต มิบรวาร ๙๐๐๑ ถ้าพระ ๒ แทรกเรวดี ฝนจตกจะมิศิก ถ้าอยู่กลางเหนถอ้นดวงได้แก่ช้างม้าฝู งคนจะตาย ท่านผู้มิ ปัญญาพึงพิจระณาดาวให้แน่แล้วจึงทายตามฝอยอันกลาวมาในลักษณสัปกา พิฒนักขัตะฤกษนี้เทอ ฯ ๏ ถาดาวหางออกทิตบูรภา ท่านว่าร้ายแกเจ้าเมิอง ถ้าหางฑิตทักสินทาวพระยาจะได้ลาภเปนอนมาก ถ้าหาง ทิดปัจิมพระเมิองเราจะถอยอานุภาพ ถาหางฑิตอุดรทาวพระยาจประกอบไปดวยไขเจบ ถ้าหาง } ห้าวนทิ หนึงมิฉนั้น ๑๐ วนพระยาจะเปนทุกเกรงชลบทจงนัก ถาออก } ห้าวัน บมิเดิอนหนึงจะมิศึกมา ถ้าหาง } } } วันจมีพอ้คาตางประเทศมาถึงเมืองเรา ถ้าหาง } } วันจได้ยินฃ่าวศึกมาจะเสิยบาน เมิองอืนๆ จะเอาเมืองมาขึนแกเมิองเรา ถ้าหาง } } วันจได้ยินฃ่าวรบกันจแพ้แกเฃาอยู่ } วันจะมิ ผู้ดิมาทันมัน แล้วจะมิลาพแก่สมณะพรามณา ถ้าหางออกวาง } } วนจได้ยินฃ่าวศึก ดิร้ายเท่ากัน ๑๐ วันจมิลาภ จะมีสัตรูหิงษากังวนมาก ถ้าหางออกวาง } } วันจได้ยินฃ่าวศึกต่างเมิองจมาถึง จมิกังวนใน เมืองๆ นั้ น จเสีย ขุน โหรในเมืองนั้ น จตายแล ฯ ถ้าหางออก } ๓ วันบมิ ๓ เดิอน จได้ฃ่ าวต่างเมิองจะ มาถึงเมิองเราๆ จมิลาพจะถวายนางแกพระยาแล ฯ


๓๗๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

สิทิการิย ถ้าดาวขีนใก้ลพระ ๒ ในทิตยบูรภาจได้นาง อาคเนไฟจไหม้ ทักสินขุนเมิองจะตาย หรดิสาเภา จะมาถึงเมือง ปัจิมขุนเมิองจะตาย ภายัปสัตรูจทาร้ายเจ้า เมือง อุดรเจ้าเมิองจมิลาพ อิสารจะมิลาพมาก ผิดาว ใกล้พระ ๒ ศอกหนึงไปถึง ๑๐ วันจะได้ฃ่าวมาถึงเมิอง ใกล้ ๒ ศอก ๒๐ วันจะได้ยินฃ่าว ผิใกล้ ๓ ศอกเดือน หนึงจะได้ฃ่าวศึกมาถึงเมิองเรา ถาเหนออกบูรภา ห้าวันห้าเดือน จได้ฃ่าวศึกมาถึงเมิองเรา เหนอาคเนเก้า } จมิศึกกัง วนในเมือง เหนหลทักสินให้เกรง } ศิกจมาค่างทักสิน หรดิเกรง ๙ เดือนลูกค้าจะมาสู่ เหนปัจิม } พราหมณาจาริยจมาถึง หลภายับ ๗ } นักปราถราชบัณฑิตมาถึง หนอุดร ๓ วัน ๓ เดือน ลูกขุนจตายแล ๚ะ๛ หนิอสาม ๔ } จมินางมาถึง ๚ ๏ เหนดาวในปริม...ฑณ พระ ๒ เดิอน ๑ ปีจะเปนทุกแกเจ้าเมิองจะถึงแก่ความมรณะแล ฯ เหนดาว เปนสองดวงใก้ลมลฑณพระ ๒ มลตริแลกระษัตรจะเปนทุกตัวจะตาย ตาหรับหนึ่ง ไก้ลคางทักสีนทาวพระยา จะตายใน ๑๐ วัน บมิ ๑๐ ... วาไก้ลคางอักเข่นไฟจะไม้ บานเมอืงจะราชทูตมาสู่ เดือนบ้านนอกจเกีต ศีกสัตรู ผิดาวไก้ลปริมนฑล พระจันทร์หลอาคเนแลทักสีน ๕ วันที่หนึ่ง ๕ เดือนที่หนึ่งจะมีศึก ดาวใก้ลปริมล ฑลพระจัน หล }๙ } ที่หนึ่งศึกจมาถึงเมิองฝนจมิแล ตารับหนึ่งใก้ล ค่างทิตหรดิจะมีสาเภามาสู่เมืองเรา ดาว ใก้ลปริมลฑณพระ ๒ ในทิตปัจิมแลภายับ ๘ } จรบพุ่งแก่ฆ่าศึก ๙ วนจะมิผู้อืนมาถึงเมิองเรา ตารับหนึ่งว่า ไก้ลทิตปัจจิมขุนเมืองจะตายดว้ยโรค ๘ วัน บมี ๘ เดอืนจะมีพราหมมาสู่ ดาวใก้ลปริมลฑลพระ ๒ หล } จะมีสึกมาเปนกังวลนัก ตารับหนึ่งใกล้คางทิตภายับจะมีสัตรูในเมือ งนอกเมือง ๗ จะมีลาภ ดาวใก้ลปริมลฑลพระ ๒ หล

} จ่มีห์นักปราชมาสู่ บมิ

} ๕ วัน ...มีกังวนในเมืองนันแล ตารับหนึ่งวาจะมีลาภ ไก้ลคางอุดร

จะ...บัง ๓ } ราชมลตรีจะตาย ดาวไกล้ปริมลฑลพระจัมหน } ๓ วันจะได้นาง ตารับหนึ่งว่าใก้ลทิตอิ สารจะมีลาภ... ฃองฝากตางเมืองมาสู่ เมียทานจะเปนเมียเรา ๔ } จะได้นาง ดาว...ปริมลฑลพระ ๒ ได้ ๕ วันจะเสียลูกท้าวพระยาไพร่ฟ้าจะไข้เจบ ดาวใก้ลพระจันหนทักษีนนิ้ว } นิ้ว จะมีสาเภาสู่ใน ๔ วัน ใกล้ศอก หนึ่งใน ๑๐ วัน ๒ ศอก ๒๐ วัน ๓ ศอกเดือนหนึ่ง ๔ ศอกยาอยาทายเลย ๏ ดาวออกเมิอเดือนขึ้น ๘ คาจะได้ ยีนฃาวลูกขุนจะตาย ดาวออกเมือ ๑๕ ค่า จะมีศึกใหญ่ ไพร่พลจะถึงเมือง ออกเมือตวันชายเจ้าเมืองจะ...เป นทุกทั้งไพร่ฟ้าแล ออกเมือสาย ๕ วันจะมีลาภมากนัก ดาวพระพุฒอยู่ริมเดือนเบื่องบลฃุนนางผู้นอ้ยจะได้เปน ขุนหลวง ถ้าดาวพระ ๓ (พระอังคาร -ผู้ปริวรรต) อยู่ริมเดือนเบื่องบลอาหมาตจะลวงจะได้เปนขุนหลวง ๚๛ ๏ ตาราลงกะดานเอากะเบื้องกาเสียว ๓ ส่วน เอาหินดา ๒ ส่วน กะเหม่าส่วนครึง ๚ ตาราหนึ่ง เอากะ เบื้องกาเสียว ๒ สวน แกลบเฃ้าเหนียวดาส่วน ๑ กะเหม่าครึ่งสวน ๚ะ ความในต้นฉบับจบเท่านี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๗๗

ภำคผนวก


๓๗๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๗๙

โครงกำร “สยำมปกรณ์” เพื่อศึกษำ สำรวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง ครั้งที่ ๓

๑. ชื่อโครงกำร

โครงการ “สยามปกรณ์” เพื่อศึกษา สารวจ ปริวรรตและจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ครั้งที่ ๓ ๒. หน่วยงำนที่รับผิดชอบโครงกำร

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓. ที่ปรึกษำโครงกำร

อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

๔. ผู้รับผิดชอบโครงกำร

อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์

คณบดีคณะศิลปศาสตร์

สอดคล้องกับภำรกิจและยุทธศำสตร์ของคณะศิลปศำสตร์และรองรับยุทธศำสตร์ของมหำวิทยำลัยมหิดล ภำรกิจของคณะศิลปศำสตร์ ยุทธศำสตร์ของคณะศิลปศำสตร์  ด้านการบริหารจัดการ  ให้สาธารณชนมีความเชื่อมั่นในสถาบันฯ  ด้านการจัดการเรียนการสอน

 พัฒนาให้เกิดสมรรถนะที่หลากหลายในการทางาน

 ด้านการวิจัย

 พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย

 ด้านการบริการวิชาการ

 สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะและทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม

 ด้านการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รองรับยุทธศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล  สร้างความเป็นเลิศในงานวิจัย  สร้างการศึกษาเพื่อการเปลีย่ นแปลง  สร้างความเป็นเลิศในการบริการสุขภาพและบริการวิชาการ  สร้างความเป็นสากล  ความรับผิดชอบต่อสังคม  สร้างมหาวิทยาลัยที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นพื้นฐาน  ความกลมกลืนในความหลากหลาย  การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน  สร้างความเป็นเลิศด้านทรัพยากรบุคคล


๓๘๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

รองรับวัฒนธรรมองค์กร (Core Values) ของมหำวิทยำลัยหรือไม่  รองรับ  ไม่รองรับ ๕. หลักกำรและเหตุผล

วรรณกรรมท้องถิ่นถือว่ามีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาศาสตร์ต่างๆ ทั้งภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการศึกษาองค์ความรู้ในท้องถิ่นต่างๆ ทั้งวิถีชีวิต ความคิด ความ เชื่อ ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรในวรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่นจึงนับได้ว่ามีความสาคัญยิ่งต่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยด้านไทยศึกษา ซึง่ ในปัจจุบันยัง มีผู้สนใจศึกษาและอนุรักษ์วรรณกรรมทางด้านนี้จานวนน้อย โดยเฉพาะวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง จากการสารวจ เบื้องต้นพบว่า มีข้อมูลจานวนมากยังไม่มีผู้เข้าถึงหรือข้อมูลยังไม่ได้นามาตีพิมพ์เผยแพร่ ด้วยเหตุนี้ ศูนย์สยามทรรศน์ ศึกษา คณะศิ ลปศาสตร์ มหาวิท ยาลัย มหิ ด ล จึงจัด ท าโครงการ “สยามปกรณ์ ” เพื่ อศึกษา สารวจ และปริว รรต วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นมา เพื่อทาหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ สืบต่อ และเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางอีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ได้มีโอกาสทางานร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นภาค กลางทั้ งด้ านภาษาและวั ฒ นธรรม เช่ น โครงการที่ เกี่ย วข้องกับ ศาลายาศึกษา โครงการเกี่ยวกับ ชุ ม ชนคลองโยง โครงการเกี่ยวกับ ชุมชนมหาสวัสดิ์ ซึ่งมุ่งเน้น การศึกษาและเก็บข้อมู ลเกี่ยวกับ ท้องถิ่น อาเภอพุ ทธมณฑล จังหวัด นครปฐม และการจัดทาโครงการสยามปกรณ์เพื่อการศึกษา สารวจ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ครั้งที่ ๑ – ๒ ทั้งในเขตจังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี จันทบุรี ชลบุรี และตราด เป็นต้น ยังพบว่า มี วรรณกรรมท้องถิ่นจานวนมากที่ยังไม่ได้รับการสารวจ ศึกษา วิเคราะห์ และตีพิมพ์เผยแพร่ โดยข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบ เอกสารโบราณทั้งใบลานและสมุดไทย ซึ่งบางข้อมูลอยู่ในสภาพชารุดจาเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนสภาพโดยการ ถ่ายเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อนากลับมาศึกษา เผยแพร่ และอนุรักษ์ต้นฉบับให้คงอยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ ส่งเสริมและ เผยแพร่องค์ความรู้ ด้านไทยศึกษา ผลิตงานวิจัยและโครงการด้านไทยศึกษาให้เป็น ที่ยอมรับ ทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการปริวรรตเอกสารโบราณ จัดพิมพ์ และเผยแพร่วรรณกรรมที่ยังไม่เคยได้รับการ ตีพิมพ์มาก่อนซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤต จึงถือเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับพันธกิจที่สาคัญอย่างหนึ่งของคณะศิลปศาสตร์ ซึ่ง มีบทบาทในการบริการวิชาการด้านศิลปศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม ตลอดจนการทานุ บารุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และส่งเสริมภูมิปัญญาของไทย จึงได้จัดโครงการ “สยามปกรณ์”เพื่อศึกษา สารวจ และ ปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ครั้งที่ ๓ ขึ้น เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ ของโครงการ อนุรักษ์และเผยแพร่องค์ ความรู้เกี่ ย วกั บ วรรณกรรมท้ อ งถิ่ น ภาคกลาง และสร้า งเครือข่ า ยทางวั ฒ นธรรมซึ่ งประกอบไปด้ ว ยนั กวิ ช าการ นักศึกษา ทั้งภายในและภายนอก และปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดต่อไป ๖. วัตถุประสงค์ของโครงกำร

๖.๑ เพื่อรวบรวมข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ซึ่งอยู่ในรูปของเอกสารโบราณที่กาลังจะเสื่อมสลาย ๖.๒ เพื่อศึกษา สารวจ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๘๑

๖.๓ เพื่อจัดพิมพ์หนังสือและเป็นฐานข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ๖.๔ เพื่อเผยแพร่และพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ๖.๕ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติในเชิงมนุษยศาสตร์ระหว่างนักวิชาการ นักศึกษา ทั้งภายในและภายนอก และปราชญ์ในชุมชน ๗. ระยะเวลำกำรปฏิบัติงำน

มิถุนายน – กันยายน ๒๕๕๖ ๘. สถำนที่ปฏิบัติงำน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเขตพื้นที่ภาคกลางที่เก็บรักษาวรรณกรรมท้องถิ่น ๙. ลักษณะกำรปฏิบัติงำน

๙.๑ สารวจเส้นทางการเดินทาง และพื้นที่ต่างๆ ในภาคกลาง ที่เหมาะสมแก่การลงพื้นที่เก็บข้อมูล ๙.๒ สารวจเอกสาร และรวบรวมรายชื่อหนังสือ งานวิจัย และตารา ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทาเป็นบัญชี รายชื่อหนังสือ ๙.๓ สารวจและเก็บข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ของภาคกลาง ที่ได้คัดเลือกไว้ ๙.๔ ปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ๙.๕ นาข้อมูลที่ได้จากการปริวรรตมาเรียบเรียง และวิเคราะห์ พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นเอกสารวิชาการ ๑๐. ผลที่คำดว่ำจะได้รับ

๑๐.๑ องค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่ ๑๐.๒ สามารถผลิตฐานข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ๑๐.๓ สร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักศึกษา ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยและ ปราชญ์ชาวบ้าน ๑๐.๔ สามารถนาไปใช้ในการขยายผลเพื่อส่งเสริมให้ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาเป็นศูนย์กลางของฐานข้อมูล วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ๑๑. ดัชนีชี้วัดควำมสำเร็จของโครงกำร (KPI)

๑๑.๑ จานวนวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่ได้รบั ปริวรรตและเผยแพร่ ไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง ๑๑.๒ จัดทาบัญชีรายชื่อของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่สารวจพบได้ ๑ เล่ม


๓๘๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

คำสั่ง คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ที่ ๑๗๗ / ๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมกำรจัดโครงกำรสยำมปกรณ์ : เพื่อกำรศึกษำ สำรวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง ครั้งที่ ๓ --------------------------------เพื่ออนุ รักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง และสร้างเครือข่ายทาง วัฒนธรรมซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัย และปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งสะท้อนให้เห็น ถึงบทบาทของคณะศิลปศาสตร์ในการอนุรักษ์วรรณกรรมพื้นบ้าน ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาจึงได้จัดโครงการ สยามปกรณ์ : เพื่อการศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ครั้งที่ ๓ ขึ้น และ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการดาเนินงาน ดังมี รายนามต่อไปนี้ ๑. อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๒. อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์ ๓. อาจารย์วริศรา โกรทินธาคม ๔. อาจารย์อรวี บุนนาค ๕. อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์ เหมือนใจ ๖. อาจารย์วศวรรษ สบายวัน ๗. อาจารย์ยิ่งยศ กันจินะ ๘. อาจารย์เขมฤทัย บุญวรรณ ๙. นายดรณ์ แก้วนัย ๑๐.นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว

ที่ปรึกษา ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการดาเนินงาน มีหน้าที่ ดังนี้ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

อานวยความสะดวกในการดาเนินงานของโครงการ ศึกษา สารวจ รวบรวมข้อมูล ตามเป้าหมายของโครงการ คัดเลือกข้อมูลเพื่อปริวรรตและจัดพิมพ์อย่างถูกต้องเหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ประชาสัมพันธ์ผลงานของโครงการ ให้บริการวิชาการตามความเหมาะสม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๘๓

คณะผู้เขียน ๑. อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๒. อาจารย์เขมฤทัย บุญวรรณ ๓. นายดรณ์ แก้วนัย ๔. นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว ๕. นายนัฐพร ปะทะวัง ๖. นายธนภัทร พิริย์โยธินกุล ให้คณะผู้เขียนมีหน้าที่ ดังนี้ ๑. ปริวรรตเอกสารโบราณและเขียนบทนา ๒. ตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับ ๓. ประสานงานกับกองบรรณาธิการเพื่อจัดทาต้นฉบับส่งพิมพ์ กองบรรณำธิกำร ๑. อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๒. อาจารย์เขมฤทัย บุญวรรณ ๓. นายดรณ์ แก้วนัย ๔. นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว ๕. นายธนภัทร พิริย์โยธินกุล

บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ

ให้กองบรรณาธิการ มีหน้าที่ ดังนี้ ๑. รวบรวมและจัดทาต้นฉบับ จัดรูปเล่ม ๒. ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ๓. ประสานงานเพื่อการจัดพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าการดาเนินงานจะแล้วเสร็จ สั่ง ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖

(อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล) คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๓๘๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ (Center of Thai Studies) คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ เดื อ นธั น วาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สั ง กั ด คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นองค์กรที่มุ่งศึกษาและค้นคว้าองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านไทยศึกษาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ทั้งยังส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย และ สร้ างเครือข่ายร่ว มกับ หน่ วยงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา รวมถึงเผยแพร่องค์ ความรู้ท างด้านไทยศึกษา ผลิ ต งานวิจัยและโครงการด้านไทยศึกษาที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของสั งคม ตลอดจนส่ งเสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ นั ก วิ ช าการในศาสตร์ แ ขนงต่ างๆ ทั้ ง ภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยที่สนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยได้ ทางานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้ด้าน ไทยศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ เป็นจานวนมาก โดยมีแผนการจัดทา ฐานข้อมูลงานวิจัยด้านไทยศึกษา เพื่อเป็นคลังความรู้ในการศึกษาวิจัยและสร้างความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน ของงานวิจัยและโครงการต่างๆ ด้านไทยศึกษา จัดบรรยายและสัมมนาวิชาการ ตลอดจนการประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาของนักวิชาการศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับองค์ความรู้ในสังคมไทยในด้านต่างๆ แก่ผู้สนใจ อันจะ นามาสู่ การสื บ ทอดและอนุ รักษ์องค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ ในสั งคมไทย เพื่อกระตุ้นความสนใจแก่ นั กวิช าการให้ เกิ ด การเรี ย นรู้ และน ามาสู่ การศึ กษาวิจั ยต่ อ ไป นอกจากนี้ ยั งมี ก ารปริว รรตเอกสารโบราณ จัดพิมพ์ และเผยแพร่เอกสาร งานวิจัย ตารา และผลงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ใน ศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวกับสังคมไทยที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะข้อมูลที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ มาก่อน ตลอดจนบริการให้คาปรึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องศาสตร์แขนงต่างๆ ในสังคมไทยแก่ หน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ปัจจุบัน ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาตั้งอยู่ที่ห้อง ๒๐๓ ชั้น ๒ อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๐๑ – ๔ ต่อ ๒๐๒ โทรสาร ๐ ๒๔๔๑ ๔๒๑๘ เปิดให้บริการค้นคว้าคลังข้อมูลเพลง พื้นบ้านไทย คลังข้อมูลเอกสารโบราณ และคลังข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนศาลายาและจังหวัดนครปฐม ในวันและเวลาราชการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๘๕

รำยนำมคณะกรรมกำรบริหำรศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ๑. ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ๒. อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ๓. อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๔. อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์ ๕. อาจารย์อรวี บุนนาค ๖. อาจารย์วิภา งามฉันทกร ๗. อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล ๘. อาจารย์วศวรรษ สบายวัน ๙. อาจารย์ยิ่งยศ กันจินะ ๑๐. อาจารย์ ดร. สุธาทิพย์ เหมือนใจ ๑๑. อาจารย์วริศรา โกรทินธาคม ๑๒. นายดรณ์ แก้วนัย ๑๓. นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว

ประธานที่ปรึกษา ทีป่ รึกษา ที่ปรึกษา ประธานศูนย์ฯ รองประธานศูนย์ฯ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


๓๘๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๘๗

แนะนำเอกสำรวิชำกำรของศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑ ปฐมสำร

“ปฐมสำร” เป็นหนังสือสโมสรข้าราชการจังหวัดนครปฐมที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานเทศกาล นมัสการพระปฐมเจดีย์ ของทุกปี เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยประวัติศาสตร์ จังหวัดนครปฐม “ปฐมสาร” เล่มสาคัญคือฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคานมัสการพระปฐมเจดีย์ คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพบในจารึกที่ พระปฐมเจดีย์ ความเป็ น มาของเมืองนครปฐม ประวัติ พ ระประโทณเจดี ย์ ประวัติ อาเภอสามพราน เรื่อ ง พระราชวังสนามจันทร์และสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ ๖ “ย่าเหล่” คาขวัญประจาจังหวัดนครปฐมสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีภาพและเรื่องโฆษณาต่างๆ ในสมัยนั้นเป็นจานวนมาก หนังสือ “ปฐมสาร” ฉบับนี้ นอกจากจะ บันทึกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัดนครปฐมในอดีตแล้ว ยังทาให้ทราบถึงเอกลักษณ์ของจังหวัด นครปฐมในอดีต ที่ไม่ปรากฏการกล่าวถึงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สะท้อนจากคาขวัญจังหวัดนครปฐมใน ขณะนั้น หนังสือดังกล่าวมีความสาคัญและมีคุณค่า อย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ของจังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และต่ออายุเอกสารให้คงอยู่สืบไป


๓๘๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๒ สยำมปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๑: งำนสำรวจ ศึกษำ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง

“สยำมปกรณ์ ป ริ วรรต เล่ม ๑” เป็ น หนั งสื อที่ ได้คั ด สรรวรรณกรรมจานวนหนึ่ งจากการส ารวจ วรรณกรรมท้องถิ่น ภาคสนามในพื้ น ที่ภ าคกลางมาปริวรรต โดยในเล่ม ๑ นี้ ได้คัดเลื อกและนามาจัดพิ มพ์ จานวน ๑๐ เรื่อง แบ่งเป็น หมวดวรรณกรรมนิทาน จานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ษรีเมืองกลอนสวด ฉบับหอสมุด แห่งชำติ กรุงเทพฯ และ สังขปัตตชำดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัดจันทบุรี หมวดวรรณกรรมคาสอน จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ โลกนิติ ฉบับวัดเกำะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ หมวดวรรณกรรมตารา จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ พระสมุทรอธิไทยโพธิบำท ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี หมวดวรรณกรรมศาสนา จานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ กำพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี มหำเวสสันดรชำดก กัณ ฑ์มหำรำช ฉบับวัดไลย์ จังหวัด ลพบุ รี พระอำนิสงส์กำรสร้ำ งสะพำน ฉบับวัดเขำชำห้ำ น จังหวั ดจัน ทบุรี มรณสงครำม ฉบั บวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี และ พระมำลัยกลอนสวด ฉบับวัดกำญจนบุรีเก่ำ จังหวัดกำญจนบุรี หมวดพงศาวดารและ ประวัติศาสตร์ จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ กฎหมำยหลักไชย ฉบับวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี โดยศูนย์ฯ ได้รับ ความร่วมมือจากบุคลากรของศูนย์ฯ และเครือข่าย เป็นผู้ปริวรรตและเขียนบทนาเรื่อง เพื่อจะยังประโยชน์แก่ ผู้อ่านให้ทวีมากขึ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๘๙

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๓ ประชุมเพลงทรงเครื่อง: สืบสำนตำนำนเพลงพื้นบ้ำนจำกโรงพิมพ์วัดเกำะ

“ประชุมเพลงทรงเครื่อง: สืบสำนตำนำนเพลงพื้นบ้ำนจำกโรงพิมพ์วัดเกำะ” แบ่งออกเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภำค ๑ แต่งองค์: รวมบทควำมคัดสรรว่ำด้วยเพลงทรงเครื่อง อันประกอบไปด้วย บทความเกี่ยวกับ เพลงพื้นบ้านและเพลงทรงเครื่องจากนักวิชาการชั้นนาด้านเพลงพื้นบ้าน อาทิ รศ.สุกัญญา สุจฉายา อาจารย์ เอนก นาวิกมูล ผศ.บัวผัน สุพรรณยศ ส่วน ภำค ๒ ทรงเครื่อง: ประชุมเพลงทรงเครื่องจำกโรงพิมพ์วัดเกำะ ที่ลงพิมพ์ที่โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ (วัดเกาะ) รวม ๙ เรื่อง ได้แก่ เรื่องโคบุตร เรื่องจันทะโครบ เรื่องพระรถ เรื่อง ลิ้นทอง เรื่องนางมโนราห์ เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องไกรทอง เรื่องลักษณวงศ์ และเรื่องพระอภัยมณี นอกจากนี้ คณะผู้จัดทาจึงได้นาบทที่ใช้แสดงเพลงทรงเครื่องทั้ง ๓ ครั้ง ที่เคยแสดงในงานเดินตามรอยครู เชิดชูเพลงเก่า น้ อ มเกล้ าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้ าอยู่หั ว มาแล้ ว ได้แ ก่ เพลงทรงเครื่องเรื่องพระเวสสั น ดร เพลง ทรงเครื่องเรื่องขุนช้างขุนแผน และเพลงทรงเครื่องเรื่องพระอภัยมณี รวมทั้งยังได้ นาบทแสดงเพลงทรงเครื่องที่ จะแสดงในครั้งนี้ คือ เพลงทรงเครื่องเรื่องหงส์หิน มาลงพิมพ์ไว้ในภาคผนวกของหนังสือด้วย


๓๙๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๔ กระจ่ำงครูผู้ถวำยพระอักษร: ๑๓๐ ปี ครูกระจ่ำง แสงจันทร์ บรรพกวีเมืองตรำดและปัจจันตคีรีเขตร

หนังสือ “กระจ่ำงครูผู้ถวำยพระอักษร” ๑๓๐ ปี ชำตกำล ครูกระจ่ำง แสงจันทร์ บรรพกวีเมือง ตรำดและเมืองปัจจันตคีรีเขตร์ เป็นหนังสือที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปี ชาตกาล ครูกระจ่าง แสงจันทร์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นนักกวีของจังหวัดตราดและจังหวัดปัจจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ประเทศกัมพูชา ท่านได้รังสรรค์ ผลงานกวีนิพนธ์ไว้เป็นจานวนมาก อีกทั้งชีวประวัติของท่านยังเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้และน่าศึกษา เนื่องจากได้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถและด้วยโชคชะตาของท่านที่นาพาให้เด็กชาวบ้า นเกาะกง ชายแดนพระราชอาณา เขตสยามในขณะนั้น ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ภายในหนังสือจึง ประกอบด้วยประวัติและผลงานของท่าน และมีส่วนที่เป็น ประชุมวรรณคดีนิทาน นิราศ และบทร้อยกรองของ ครูกระจ่าง แสงจันทร์ ไว้อย่างครบถ้วนอีกด้วย นอกจากนี้ในตอนท้ายเล่มยังได้จัดพิมพ์รายงานตรวจราชการ ของหลวงคิรีเนมีทวีป ปลัดเมืองปัจจันตคีรีเขตร์ ร.ศ. ๑๒๑ สงเคราะห์เข้าไว้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยกับช่วง ชีวิตของครูกระจ่าง แสงจันทร์ เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการสืบไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๙๑

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๕ ลำยพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้ำฟ้ำ กรมพระยำนริศรำนุวัดติวงศ์ ประทำนแก่พระพินิจวรรณกำร เรื่อง ตรวจชำระหนังสือพระอภัยมณีและประชุมบทละครดึกดำบรรพ์

ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ สานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ วัดศรีสุดารามวรวิหาร และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กาหนดจัดงานสดุ ดีกวีสุนทรภู่และอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปะและ วัฒ นธรรมไทยขึ้น ณ วัดศรี สุ ดารามวรวิห าร ในการนี้ คณะกรรมการดาเนิน งานเห็ นควรให้ มีการจัดพิม พ์ วรรณกรรมอันเนื่องด้วยสุนทรภู่ขึ้น โดยพิจารณาว่าลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ที่ได้ประทานแก่พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เรื่อง การตรวจชาระหนังสือพระอภัยมณี และประชุมบทละครดึกดาบรรพ์ เพื่อจัดพิมพ์ในโอกาสสาคัญต่างๆ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘ นั้น เป็น วรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่มีการนามาจัดพิมพ์แล้วหลายครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทั้งข้อความในลายพระหัตถ์ก็มี ประโยชน์ทั้งด้านการศึกษาอักษรศาสตร์และวรรณคดี ประการสาคัญ เป็นการจัดพิมพ์วรรณคดีอันเนื่องด้วย ผลงานของสุนทรภู่ซึ่งเป็นกวีเอกของโลก คณะกรรมการดาเนินงานจึงเห็นสมควรให้มีการจัดพิมพ์ลายพระหัตถ์ ดังกล่ าวขึ้น โดยคงลั กษณะตัว อักษรให้ เหมือ นกั บต้ นฉบั บ เดิม ทุ กประการ จึงนั บ ว่าเป็ นหนั งสื อ ที่ได้บั น ทึ ก กระบวนการชาระวรรณคดีไว้ได้อย่างครบถ้วนของผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณคดีไทยในยุครัตนโกสินทร์ อันจะเป็น ประโยชน์ยิ่งต่อวงวิชาการภาษาและวรรณคดีไทยอย่างมาก


๓๙๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๖ พลังปัญญำจำกวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมืองตรำด

รายงานผลการวิจัยการสารวจและปริวรรตวรรณคดีท้องถิ่นจังหวัดตราด: พลังปัญญาจากวัฒนธรรม วรรณศิลป์ของกวีในเมืองตราด เป็นผลการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์สาคัญคือมุ่งสารวจและอนุรักษ์ต้นฉบับเอกสาร โบราณ ตลอดจนปริวรรตข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตราด จัดทาเป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พิมพ์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์วรรณกรรมท้องถิ่นของจังหวัดตราดให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น ผลการสารวจ และปริ วรรตวรรณกรรมท้ องถิ่น นี้ จึ งท าให้ เห็ นมุ มมองเรื่องเมืองตราดผ่ านกวีท้อ งถิ่น ความเป็ น เมื องแห่ ง พระพุทธศาสนาซึ่งชาวเมืองดารงตนอยู่ในฐานะพุทธศาสนิ กชน ความเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์และแหล่งสั่งสม องค์ความรู้ ความเป็นเมืองท่าและเมืองแห่งพาณิชย์นาวี ความเป็นเมืองแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความเป็นเมืองแห่งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองตราด ในปัจจุบันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และความทุ่มเทอุตสาหะของบรรพชน ชาวตราดได้อย่างชัดเจน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๙๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๗ กำรศึกษำภำษำไทยในสมัยก่อน

ในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ประธานที่ปรึกษาของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ได้รับ รางวัล เชิดชู เกีย รติ “รำงวัลผู้มีคุณู ปกำรต่อกำรใช้ภ ำษำไทย” เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่ งชาติ ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาจึงได้จัดพิมพ์หนังสือซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์คุณหญิง เรื่อง “การสอนภาษาไทยในสมัยก่อน” ที่เคยลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวัฒ นธรรมเมื่อ ๓๐ ปีล่วงมาแล้ว (เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕) อนึ่ง การจัดพิมพ์บทความเรื่อง “การสอนภาษาไทยในสมัยก่อน” ของศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล เป็นครั้งที่ ๒ นี้ กองบรรณาธิการได้จัดทาเชิงอรรถเพิ่มเติมเพื่อ อธิบายตาแหน่งหรือข้อมูลที่อ้างถึงให้เป็นปั จจุบัน โดยคงเชิงอรรถเดิมของศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ไว้ ส่วนเชิงอรรถใหม่จะมีข้อความข้างท้ายว่า “บรรณาธิการ” นอกจากนี้ กองบรรณาธิการยังได้จัดหา ภาพประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย


๓๙๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๘ กำลครั้งหนึ่ง...ถึงกำลครั้งนั้น: พิพิธภัณฑ์บ้ำนวัดมะเกลือ

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ องถิ่น บ้ านวัดมะเกลื อ เป็ น โครงการร่ว มมือ ระหว่างชาวบ้ านวัดมะเกลื อกั บโครงการ ศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลั ยมหิ ดล มานับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ การดาเนินงาน ดังกล่าวเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของพระครูบวรธรรมานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดมะเกลือ ที่มุ่งหมายจะให้เกิดแหล่ง เรียนรู้ทางวัฒนธรรมแก่ชาวชุมชนวัดมะเกลือ เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ของท้องถิ่นสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป อย่างไรก็ดี คณะทางานได้พิ จารณาว่า เพื่ อให้ พิพิธ ภัณ ฑ์ บ้านวัดมะเกลื อเป็น แหล่ งเรียนรู้ที่ส มบูร ณ์ นั้น สมควรจะได้มี เอกสารวิช าการไว้ เป็ น ข้ อ มู ล อ้ างอิ งแก่ ผู้ ส นใจส าหรับ ใช้ ในการศึ ก ษาค้ น คว้ าประวัติ ศ าสตร์ วิถี ชี วิต และ วัฒนธรรมของชาวบ้านวัดมะเกลือ จึงร่วมกันจัดทาหนังสือ “กำลครั้งหนึ่ง...ถึงกำลครั้งนั้น: พิพิธภัณฑ์บ้ำนวัด มะเกลือ” ขึ้น และมอบเป็น อภินันทนาการแก่ ผู้เข้าร่วมพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เพื่อจะได้อนุสรณ์ถึงวันแห่งความ ชื่นชมปีตินั้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๙๕

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๙ ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี เล่มนี้เป็นการประชุมเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองนครปฐม เมื่อครั้งที่ยังมีนามว่า “เมืองนครไชยศรี” ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้คัดสรรเอกสารหายากจานวน ๔ เรื่อง ได้แก่ เอกสำรกำรตรวจรำชกำรเมืองนครไชยศรี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ต้นเหตุของนำมนครชัยศรี พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร จดหมำยเหตุ เรื่องส้มโอเมืองนครไชยศรี เป็นเอกสารราชการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอเมริกันเรื่องขอพันธุ์ส้มโอเมือง นครไชยศรีไปปลูกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเอกสารที่ยังไม่เคยจัดพิมพ์มาก่อน และเอกสารเรื่องสุดท้าย คือ นิราศเมืองนครไชยศรี ของกวีนิรนามจากวังหลวงที่กล่ าวถึงการเดินทางจากพระนครมายังเมืองนครไชยศรี เอกสารดังได้คัดสรรมาล้วนเป็นเอกสารที่มีคุณค่ายิ่งด้านไทยศึกษา และเป็นข้อมูลสาคัญในการพัฒนาชุมชน ด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์สู่มิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อความยั่งยืนของชุมชนต่อไป


๓๙๖  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๐ ศิลปศำสตรมหิดล

“ศิลปศำสตรมหิดล” เป็นหนังสือที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติคุณเนื่องในวโรกาส ๑๒๐ ปี วันพระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก พุทธศักราช ๒๕๕๕ ตามโครงการพินิจพิทยา เรื่อง สมเด็จพระบรมรำชชนกกับ หนังสือ ภำษำ และงำนศิลปะ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์วิกัลย์ พงศ์ พนิ ตานนท์ อนุ กรรมการวิช าการ มูลนิ ธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และหั วหน้างานจดหมายเหตุและ พิพิธภัณฑ์ สถานเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติมา เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษในวันดังกล่าว ผลการจัดโครงการจึงรวบรวมข้อมูลจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ศิลปศาสตรม หิดล” ขึ้น ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยบันทึกปาฐกถาพิเศษในโครงการ ชุมนุมพระราชนิพนธ์ด้านศิลปศาสตร์ของ สมเด็จพระบรมราชชนก พระกรณียกิจเกี่ ยวกับหนังสือ ภาษา ศิลปะ รวมทั้งคาขานพระนามและราชาศัพท์ที่ เกี่ยวกับสมเด็จพระบรมราชชนก หนังสือนี้จึงให้คุณค่าทั้งด้านประวัติพระราชวงศ์และพระเกียรติคุณด้านศิลป ศาสตร์ของพระองค์ ผู้ทรงเป็นคุณูปการต่อการศึกษาและสาธารณสุขของไทย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๙๗

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๑ บรมรำชเทวีชลบุรีสถิต

“บรมรำชเทวีช ลบุ รี ส ถิ ต สมเด็ จ พระพั น วั ส สำอั ย ยิก ำเจ้ ำ กั บ เมื อ งชลบุ รี ” เป็ น หนั งสื อ ที่ ค ณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุด าฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดาเนินทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อหาแสดงพระประวัติและบทความอันเนื่องด้วยพระกรณียกิจ ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้แก่ ปฐมกถำ สมเด็จพระพันวัสสำรำช กำรุณย์สู่ภูมิภำคตะวันออก, บรมชนกนำถรำชสถำน รัชกำลที่ ๔ กับเมืองชลบุรี: จำกพระบรมชนกนำถสู่ พระรำชธิดำ, ศำสนกำรรำชศุภกิจ สมเด็จพระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำกับกำรพระศำสนำในเมืองชลบุรี และ พิพิธอำชีวกำรกรณีย์ สมเด็จพระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำกับกำรสงเครำะห์อำชีพในเมืองชลบุรี และบูรพำสมัย วิถีบรมรำชเทวีสมัย วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชลบุรีในสมัยสมเด็จพระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำ หนังสือเล่มนี้จึงเป็น เกียรติประวัติของเมืองชลบุรีอันเกี่ย วเนื่องกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ ทรงมีพระมหากรุณาต่อราษฎรในด้านการสาธารณสุข การสงเคราะห์อาชีพ และการพระศาสนา จนเป็นผล สืบเนื่องให้เมืองชลบุรีเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้


๓๙๘  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๒ สยำมปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๒: งำนสำรวจ ศึกษำ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง

หนังสือ “สยำมปกรณ์ ปริวรรต ปริทรรศน์วรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง เล่ม ๒” เป็นรายงานผล การศึกษาตามโครงการ “สยามปกรณ์ ” เพื่อการสารวจ ศึกษา ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาค กลาง ระยะที่ ๒ ซึ่ งเป็ น โครงการต่ อ เนื่ อ งจากระยะที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ของศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา คณะศิล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิ ดล ซึ่ง คณะทางานได้คัดสรรวรรณกรรมที่ มีลั กษณะเฉพาะในท้องถิ่นมา จัดพิมพ์ จานวน ๘ เรื่อง แบ่งเป็นวรรณกรรมศาสนา จานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ พลเมืองเกำะกง ขับพลท่ำพริก ขับพลมหำรำชหนองโสน ปัจจันตนคโรปมคำถำ และพระไตรภูมิพ ระสังฆะ วรรณกรรมนิทาน จานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ปลำบู่ทอง และลักษณวงศ์ และวรรณกรรมคาสอน จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ สุภำษิตสอนชำย – หญิง ข้อมูลทั้งหมดได้รับการปริวรรตและบรรณาธิการจากบุคลากรของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาและเป็นข้อมูล ที่ ยั ง ไม่ มี ก ารเผยแพร่ ม าก่ อ น ดั งนั้ น ผลการศึ ก ษาครั้ ง นี้ จ ะช่ ว ยให้ ผู้ อ่ า นได้ ข้ อ มู ล อั น ประโยชน์ เกี่ ย วกั บ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง และมีส่วนในการเผยแพร่และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของสังคมไทยให้คงอยู่ สืบไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓๙๙

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๓ คุณสุวรรณ (๒๓๕๒ – ๒๔๑๘) จินตนำกำร ควำมคิด และชีวิตที่ไม่รู้จบของกวีหญิงปริศนำแห่งกรุงสยำม

คุณสุวรรณ (๒๓๕๒ – ๒๔๑๘) จินตนำกำร ควำมคิด และชีวิตที่ไม่รู้จบของกวีหญิงปริศนำแห่ง กรุงสยำม เป็นหนังสือที่กล่าวถึงกวีหญิงคนสาคัญแห่งกรุงสยามชื่อ “คุณสุวรรณ” ด้วยท่านเป็นคนที่แยบคาย ในการใช้ภาษาและมีความคิดสร้างสรรค์ที่ล้าหน้าเกินกว่ากวีท่ านอื่นในยุคเดียวกัน ทาให้ผลงานของคุณสุวรรณ เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจของผู้เสพกวีในพระนคร และมีชื่อเสียงข้ามมาในยุคสมัยหลัง ได้แก่ กลอนเพลง ยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ และ บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง อย่างไรก็ดี ประวัติของท่านอย่างคงเป็นปริศนาอยู่หลาย เรื่อง ดังนั้น ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อจะ ได้ตีแผ่แง่มุมของคุณสุวรรณผ่านการศึกษาเชิงวิพากษ์ของผู้เขียน โดยสะท้อนจากผลงานของท่านเพื่อให้ผู้สนใจ ได้เข้าถึงความคิดของคุณสุวรรณและยุคสมัยเพื่อความงอกงามในวงวิชาการต่อไป


๔๐๐  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๔ ประยูรนิทรรศน์: ร้อยเรื่องลำตัดกับชีวประวัติแม่ประยูร ยมเยี่ยม

“ประยูรนิทรรศน์” ร้อยเรื่องลำตัดกับชีวประวัติแม่ประยูร ยมเยี่ยม เป็นหนังสือที่ศูนย์สยามทรรศน์ ศึกษา รวบรวมข้อมูลจากการจัดงานเล่าขานตานานศาลายา ครั้งที่ ๕ พุทธศักราช ๒๕๕๔ ตอน “คิดถึงแม่ ประยูร...ลาตัดศาลายา” ซึ่งศูนย์ฯ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ จัดขึ้น เพื่อไว้อาลัยแด่การจาก ไปของ “แม่ประยูร ยมเยี่ยม” ศิลปินแห่งชาติชาวศาลายา ผู้มีความสามารถรอบตัว มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่ สามารถนาการแสดงพื้นบ้านไปแสดงยังต่างประเทศจนได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นครูถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก่บุคคลและสถาบันต่างๆ อย่างสม่าเสมอ รวมถึง มุ่ ง มั่ น ที่ จ ะสื บ ทอดการแสดงเพลงพื้ น บ้ า น จนได้ รั บ ยกย่ อ งเชิ ด ชู เกี ย รติ ในฐานะศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ส าขา ศิลปะการแสดง (ลาตัด) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ หนังสือเล่มนี้ได้รับเกียรติจากคุณธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินยอดนิยมที่เคยร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับแม่ ประยูร และคุณสุกุมล คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในการเขียนคานิยม เนื้อเรื่องบอกเล่า ชีวประวัติของแม่ประยูรตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งประสบความสาเร็จเป็นศิลปินแห่งชาติ รวมทั้งบทความที่ได้จาก ปาฐกถาพิเศษและการเสวนาในงานเล่าขานตานานศาลายา ทั้งจากครูชินกร ไกรลาส (ศิลปินแห่งชาติ) อาจารย์ เอนก นาวิกมูล แม่ศรีนวล ขาอาจ แม่อุ่นเรือน ยมเยี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ และคุณต่อต้าน นิมา นอกจากนี้ยังรวบรวมผลงานของแม่ประยูรที่ใช้แสดงจัดทาเป็นจดหมายเหตุส่วนตัวของท่าน อันจะเป็น มรดกให้แก่ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ หนังสือเล่มนี้จึงยังประโยชน์ในเชิงวิชาการและเป็นการสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔๐๑

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๕ รำยงำนกำรวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง เกำะกูด: กำรศึกษำเชิงประวัติศำสตร์และวัฒนธรรมเพื่อท่องเที่ยวอย่ำงยั่งยืน

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “เกาะกูด: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อท่องเที่ยว อย่างยั่ งยื น ”เป็ น ผลการวิจั ย ที่ มุ่ งศึกษาและวิเคราะห์ ข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์และวัฒ นธรรมของเกาะกู ด จั ง หวั ด ตราด และหมู่ เ กาะใกล้ เ คี ย ง ทั้ ง ข้ อ มู ล ลายลั ก ษณ์ จากหอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ ท่ า วาสุ ก รี กรุงเทพมหานคร หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลมุขปาฐะจากการ สัมภาษณ์นักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้านคติชนวิทยา ผลการศึกษาทาให้เห็นถึง ความสาคัญและคุณค่าของเกาะกูดและเกาะบริวารด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพราะประวัติศาสตร์เกาะ กูดแม้จะเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแต่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์รัฐชาติอย่างแยกกันไม่ออก ไม่แต่เท่านั้น เกาะ เล็ก ๆ และบริวารเหล่านี้ยังมีเรื่องราวที่งดงามและมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ด้วยเป็นสถานที่พระเจ้า แผ่นดินไทยและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสแม้จะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม เพื่อให้มิตรประเทศตระหนัก ถึงความสาคัญของเขตแดนสยาม ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงเป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงรากเหง้าและพัฒนาการ ของชาติในอีกแง่มุมหนึ่งซึ่งส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน


๔๐๒  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๖ น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้ง (ไม่) โหรงเหรง ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และวัฒนธรรม ว่าด้วยอุทกภัยในบางกอก – ศาลายา

“น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้ง (ไม่) โหรงเหรง” ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และวัฒนธรรม ว่าด้วยอุทกภัยใน บางกอก – ศาลายา เป็นหนังสือที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาจัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสจัดงาน “เล่าขานตานาน ศาลายา ครั้งที่ ๗” เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เนื้อหาของหนังสือเป็นการถอดบทเรียนจากการเสวนา เรื่อง “ถ้าอยู่เป็นก็เย็นใจ: บทเรียนจากน้าท่วมใหญ่ ๒๔๘๕ – ๒๕๕๔” โดยรองศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท ภักดีกุล รองศาสตราจารย์ประภาส ปิ่นตบแต่ง นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม อาจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผล กูล และอาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล ซึ่งได้บอกเล่าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับน้าท่วมในกรุงเทพมหานครและตาบล ศาลายา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๕๕๔ และองค์ความรู้ด้านการจัดการน้าของภูมิปัญญาชาวบ้านจากปาฐกถา พิเศษของศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม นอกจากนี้ ยังรวบรวมประวัติศาสตร์ อุทกภัยที่สะท้อนจาก วรรณกรรมทั้ งนิ ร าศมหาวาปี นิ ร าศน้ าท่ ว มกรุงเทพ ฯ แหล่ เทศน์ น้ าท่ ว ม และแม้ ก ระทั่ ง การสื่ อสารผ่ าน อิน เทอร์เน็ตของ “อวสานน้ องน้า” เรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ความรู้ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการ ป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยและใช้ในการปรับตัวเมื่อต้องอาศัย ร่วมกับน้า และเป็นแนวทางบริหารจัดการน้าเพื่อ แก้ปัญหาให้แก่สังคมเมื่อประสบอุทกภัยหากเกิดขึ้นในอนาคต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔๐๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๗ ที่ระลึกเนื่องในโอกำสมหำวิทยำลัยมหิดลได้รับพระรำชทำนผ้ำพระกฐิน ถวำย ณ วัดเสนหำ พระอำรำมหลวง วันศุกร์ที่ ๘ พฤศจิกำยน พ.ศ. ๒๕๕๖

หนังสือ “ที่ระลึกเนื่องในโอกำสมหำวิทยำลัยมหิดลได้รับพระรำชทำนผ้ำพระกฐิน ” ถวาย ณ วัด เสนหา พระอารามหลวง วันศุกร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนัง สือที่ระลึกเนื่องในโอกาสสาคัญที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณ าโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นผู้ เชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวาย ณ วัด เสนหา ในวัน เวลา ดังกล่าวข้างต้นตามประเพณีที่มหาวิทยาลัยปฏิบัติสืบต่อมา วัดเสนหาเป็นพระอารามหลวงที่มีคุณค่าทั้ งในฐานะเป็นศูนย์รวมศรัทธาและปัญญาแห่งพุทธบริษัท และเป็นศาสนสถานซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตาม ประสงค์ของนายเพิ่มเสนหา บุนนาค บุตรพระยาศรีสรราชภักดี (วัน เปรียญ บุนนาค) ซึ่งทรงยกย่องให้เป็น ศาสนสถานคู่กับพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยประวัติการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ครั้ งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึงครั้ งที่ ๓๗ พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้ งยังได้ รวบรวมประวัติวัดเสนหาและข้อมูล ที่ เกี่ยวข้องกับสายสกุลบุนนาคของนายเพิ่มเสนหา บุนนาค ผู้ก่อสร้างวัดเสนหา การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน การ บูรณปฏิสังขรณ์วัดในสายสกุล นอกจากนี้ยังได้นาเสนอระยะทางตรวจการณ์ คณะสงฆ์ของสมเด็จพระมหาสมณ เจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งเสด็จยังจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเสด็จเริ่มต้นจากจังหวัดนครปฐมทาให้เห็น สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ของคณะสงฆ์ในยุคสมัยที่ใกล้เคียงการสร้างวัดเสนหา พระอารามหลวง ได้เป็นอย่างดี


๔๐๔  สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

ผู้สนใจเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหิดล ร้านหนังสือ Hamony มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร้านริมขอบฟ้า หรือติดต่อโดยตรงได้ที่ ร้านศิลปาธิป อาคารที่ทาการชั่วคราวคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๐๑ – ๔ ต่อ ๑๔๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.