Born to be ทันตะ

Page 1


Born to be ทันตะ มกราคม 2555 ISBN 978-616-90160-9-0 จำนวนหน้า 416 หน้า ราคา 259 บาท

เขียนโดย : ธิตินนท์ จงตั้งปิติ / Betsu Thitinon บรรณาธิการ : ภีรพล คชาเจริญ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ : สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข รูปเล่ม/ภาพประกอบ : ByNature Printing Service

สนพ. บายยัวร์เซลฟ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 www.bynatureonline.com จัดจำหน่าย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากสำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์ พับลิชชิ่ง


บทบรรณาธิการ “I WAS LUCKY, I FOUND WHAT I LOVE TO DO EARLY IN LIFE” :: STEVE JOBS ยินดีด้วย กับน้องๆ ที่โชคดีค้นพบตัวเองว่าอยากเป็นทันตแพทย์ นับเป็นความ โชคดีที่รู้จักตัวเองเร็ว ผิดกับอีกหลายคนที่แม้จะเรียนเก่ง แต่กลับไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้ความต้องการ ของตัวเอง ว่าอยากเป็นอะไร บางคนถึงขนาดต้อง ‘ซิ่ว’ เพราะค้นพบตัวเองช้าเมื่อผ่านปี 1 หรือ ปี 2 ไปแล้ว แต่ก็นับว่าโชคดีที่ยังเจออะไรที่ใช่สำหรับตัวเอง Born to be ทันตะ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้สำคัญเพียงแนะแนวเนื้อหาวิชาเรียน เท่านั้น แต่มันคือการนำภาพชีวิตการเรียนและการทำงานมาให้น้องๆ ได้รู้ได้เห็น หลั ง จากนั้ น ให้ เ ราถามตั ว เองว่ า ชอบงานแบบนี้ ไ หม เรี ย นแบบนี้ ไ หวรึ เ ปล่ า สอบโหดๆ อย่างนีเ้ อาตัวรอดได้นะ ทัศนคติหรืออุดมการณ์เรามีพอนะ หากอ่านแล้ว คลายความลังเลสงสัยได้ ก็ยินดีด้วยครับ แต่ถ้าใครยังไม่แน่ใจ ให้สมัครเข้า Camp ของมหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วค่อยๆ ค้นหาตัวเองต่อไป อย่าลืมถามตัวเองบ่อยๆ ก็แล้วกัน พี่เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เพราะชื่อของมัน “Direction สำคัญกว่า Speed” การก้าวไปให้ถูกทิศทางสำคัญกว่า ฉะนั้น อย่าด่วนตัดสินใจ บางที การมี Direction หรือมีเป้าหมายที่แน่นอน อาจสำคัญกว่าการเรียนเก่ง เรียนดีด้วยซ้ำ ฉะนั้น อย่ามุ่งแต่เรียนเพื่อคะแนนเพื่อเกรด จนลืมที่จะค้นหาความ ต้องการของตัวเองนะ ขอให้ทุกๆ คนได้พบกับ Direction เร็วๆ peeByNature บรรณาธิการ


คำนำ เวลา 3 ทุ่มกว่าๆ เปิดคลื่นวิทยุจุฬาทิ้งเอาไว้ เสียงพี่นัทดังขึ้น “น้องๆ คะ เว็บประกาศผลคณะ ไดัเปิดตั้งแต่ ณ วินาทีเป็นต้นไปแล้วค่ะ” วันนี้เน็ตอืดมาก สงสัยคนมาถล่มเว็บเปิดดูผลคณะพร้อมกัน ในใจเต้นตึกๆ ตลอดเวลา แม่อยู่ข้างๆ ป๊าเดินไปไหนไม่รู้ ในที่สุดก็ถึงหน้าให้กรอกบัตรประชาชนและบัตรประจำตัวผู้สอบ พอกรอกตัวเลขทุกตัวเสร็จ อยูด่ ๆี จิตใจทีเ่ ข้มแข็งมาตลอดกลับกลายเป็นความกลัว ในความผิดหวังซะอย่างนั้น “แม่แดง เบสท์ไม่กดดูแล้ว” “กดดูสิๆ” แล้วแม่ก็คว้าเมาส์ไปกดปุ่ม ‘ดูผล’ แถบเส้นสีเขียว บ่งบอกถึงการถ่ายโอนข้อมูลผ่านสายอินเตอร์เน็ตกำลังทำงาน คลื่นวิทยุจุฬา ยังเปิดอยู่ “พี่นัทขอมอบเพลงนี้ให้น้องๆ แอดมิชชันรุ่นแรกทุกๆ คนค่ะ” และเพลงอะไรก็ไม่รทู้ ไี่ ม่เคยได้ยนิ มาก่อนดังขึน้ ในทีส่ ดุ แถบสีเขียวก็เต็มช่อง มันเริม่ เปลีย่ นหน้า เราเองเอามือไปปิดหน้าคอม ในตอนนีอ้ ยากหยุดเวลาตรงนีเ้ อาไว้ ‘ยอมไม่รู้ความไม่สมหวัง ดีกว่าการรู้ความผิดหวัง’ เพลงในรายการคลืน่ วิทยุจฬุ าฯ ยังได้ยนิ อยู่ “เพราะฉันนัน้ ต้องการมี เสีย้ วนาที ที่ยิ่งใหญ่ ให้ใจจดไว้ นานเท่านาน อยากจะภูมิใจ ที่มือฉันเคยได้เอื้อมผ่าน... ได้เก็บดาว ที่แสนไกล...ด้วยตัวฉันเอง” มันคือเพลง นาทีที่ยิ่งใหญ่ ของ คริสติน่า อากีร่า ที่ยังก้องอยู่ในหูตลอดเวลา ภายหลังการกอบกู้ข้อมูลทุกอย่างปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตัวเลข ‘1417’ ก็ปรากฏบนหน้าจอ คุณติดอันดับที่ 2 เราหันหน้าไปบอกแม่ “แม่ ติ ด แล้ ว ติ ด อั น ดั บ 2 ทั น ตะ ม.ช.” ความสุ ข ได้ ผ่ า นเข้ า มาอย่ า งเอ่ อ ล้ น การได้สิ่งล้ำค่าที่คาดหวังไว้ มันเป็นความสุขอย่างนี้นี่เอง แต่ทว่า...คณะทันตะที่เราติดนี่ เรียนอะไรเหรอ? เราอยากเรียนคณะนี้เหรอ? ในนาที ที่ ยิ่ ง ใหญ่นี้ รู้แค่ว่าติดอะไรก็เอาแล้ว! แต่ว่าถ้าเราไม่ชอบมันล่ะ หรือเรียนมันไม่ไหวล่ะ จะทำยังไง?


นี่คือไดอารี่ที่พี่ได้เขียนไว้เมื่อ 6 ปีมาแล้ว 6 ปีที่พี่ยังใช้คำนำหน้าว่า ‘นักเรียน’ มาในตอนนี้พี่ได้เปลี่ยนคำนำหน้านั้นเป็นคำว่า ‘นักศึกษาทันตแพทย์’ และอีกไม่ กี่ เ ดื อ นที่ ค ำนำหน้ า ว่ า ‘นั ก ศึ ก ษา’ นั้ น กำลั ง จะถู ก ตั ด ออกไปเหลื อ แต่ ค ำว่ า ‘ทันตแพทย์’ ความสุขนอกเหนือจากการเรียนคณะนีอ้ กี อย่าง คือ พีไ่ ด้มโี อกาสมาเขียนเรือ่ ง เล่าการเรียนในหนังสือ Born to be เล่มนี้ อย่างน้อยคำถามตอนนั้นที่พี่เฝ้าถาม ตัวเอง แต่ไม่มีคำตอบใดๆ ตอบกลับ แต่สำหรับน้องๆ ทุกคนแล้ว คงได้คำตอบจาก หนังสือเล่มนี้เป็นอย่างดี หากบุญกุศลและความอุตสาหะของน้องๆ นำพาให้เราได้มาเป็นผูร้ ว่ มวิชาชีพ ด้วยกัน ขอให้น้องทุกคน จงจำไว้ว่า ‘จงอย่าลืมพื้นฐานของตัวเอง’ จงอย่าลืมว่าน้อง ได้รับโอกาสการเรียนในคณะนี้จากใคร จงอย่าลืมที่จะตอบแทนโอกาสนั้นคืนให้แก่ ประชาชนทุกๆ คน ที่คาดหวังให้น้องไปรักษาเขา จงตอบแทนกลับคืนให้แก่แผ่นดิน ผืนนี้ของน้องๆ ทุกคน ผืนแผ่นดินนี้ที่มีในหลวงของเรา เพราะพระองค์มีพระมหา กรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อวิชาชีพทันตแพทย์ของเรา ท่านมีพระราชดำริให้ประชาชนที่ ด้อยโอกาส มีฟันเคี้ยวข้าวได้อร่อย และมีอีกหลายเรื่องมากๆ ซึ่งพี่ได้เล่าเรื่องราว ของพระองค์ในหนังสือเล่มนี้อย่างตั้งใจมาก เพื่อให้น้องได้ซาบซึ้งโดยถ้วนหน้ากัน ค้นหาความฝันของตัวน้องเอง ไม่วา่ จะเรียนอะไรก็ขอให้เป็นสิง่ ทีน่ อ้ งรัก เพราะ ความรักทำให้นอ้ งมีความสุขในอาชีพนัน้ ของน้องไปอีกนาน ถ้าความฝันของน้องคือ ‘คณะทันตแพทยศาสตร์’ จงพยายาม และไขว่ขว้ามัน น้องจะมี ‘นาทีที่ยิ่งใหญ่’ เหมือนอย่างที่พี่มี ถ้าไม่รู้ว่า Born to be ทันตะหรือเปล่า? ก็จง Try to be ทันตะให้ได้นะครับ Betsu Thitinon


10 ในหลวงและวิชาชีพทันตแพทย์ PART 1 The Secret-Faculty of Dentistry 21 รู้จักทันตแพทย์ เด๊นท์เด่นเรื่อง “ฟัน” 22 ภาพรวมชีวิตนักศึกษาทันตแพทย์ (นทพ.)

36 QUIZ แม่นเว่อร์…ค้นหาทันตะตัวจริง 37 ควิซจริตนิสัย 4 ของเรนนี บารอม และแบบทดสอบตนเองของ เมเยอร์ บริคค์

42 ตามล่าหาฝัน ฉันจะเป็นเด็กเด๊นท์ 43 47 48 53

ค่ายอยากเป็นหมอฟัน งาน Open House เกณฑ์การเข้าเรียนและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียน มหา’ลัยที่เปิดสอนคณะทันตะฯ

PART 2 6 ปี ในคณะทันตแพทย์ 55 นทพ. กม.0 เด็กเด๊นท์แรกเกิด 56 56 58 59 60 61

สอบติดแล้ว ชีวิต นทพ. ก็เริ่มต้น ลางดีๆ ก่อนวันประกาศผล ชีวิตเด็กหอ อย่าลืมไปตรวจร่างกายนะ! เตรียมความพร้อมไปสอบสัมภาษณ์ First AID หลักสูตรความรู้เร่งรัด NDBE

65 ปี 1 ขออภัย…มือใหม่กับชีวิตเด็กเด๊นท์ 66 74 76 76 77 77 78 79 80 81 81 81 82

สัตววิทยาเปรียบเทียบ I และแล็บ ฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ และแล็บ วิชาสังคมศาสตร์ วิชาศึกษาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน I วิชาเลือกเสรี สัตววิทยาเปรียบเทียบ II และแล็บ เคมีสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์และแล็บ สถิติประยุกต์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ พฤติกรรมศาสตร์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน II Sport day ถ้าเข้ามหา’ลัยแล้วไม่ได้ถูก ‘รับน้อง’ เหมือนขาดอะไรไปอย่าง


84 ปี 2 ศึกจ้าวแล็บมาราธอน!

88 89 91 96 99 105 109 116 118 119 122 127 129 134 140 140

รับทรัพย์ (ถ้าหายซวย) เครื่องมือทำแล็บเต็มๆ คร่ำเคร่งกับการเรียนตัวคณะแพทย์-ทันตะ มหกายวิภาคศาสตร์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ I และแล็บ สรีรวิทยา ทันตกายวิภาคศาสตร์ และแล็บ ทันตจุลวิภาคศาสตร์ และแล็บ ทันตกรรมประดิษฐ์ I และแล็บ ทันตวัสดุศาสตร์ I และแล็บ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน III จุลกายวิภาคศาสตร์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์และแล็บ มหกายวิภาคศาสตร์ (ประสาทวิทยาสำหรับนักศึกษา ทันตแพทย์และแล็บ ชีวเคมีสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ทันตกรรมประดิษฐ์ II และแล็บ ทันตกรรมหัตถการ I และแล็บ ทันตวัสดุศาสตร์ II วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน IV

145 ปี 3 วิชาคณะแพทย์+ทันตะ มวลความรู้ล้นเหลือ 146 149 153 155 158 163 166 168 170 171 172 173 175 178 184 187 190 193 193 194 199

ปี 3 ที่สุด...แห่งชีวิต นทพ. วิชาจุลชีววิทยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ วิชาพยาธิวิทยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ วิชาเภสัชวิทยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ วิชาทันตกรรมประดิษฐ์ III และแล็บ วิชาทันตกรรมหัตถการ II และแล็บ วิชาทันตกรรมชุมชน I วิชาทันตพยาธิวิทยา I และแล็บ วิชาพฤติกรรมศาสตร์ II ศัลยศาสตร์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ปรสิตวิทยา ทันตกรรมปริทันต์ และแล็บ ทันตรังสีวิทยา เอนโดดอนส์ติก และแล็บ ทันตกรรมหัตถการ III และแล็บ ศัลยศาสตร์ช่องปาก ทันตพยาธิวิทยา II และแล็บ ทันตระบาดวิทยา ทันตวัสดุศาสตร์ III ทันตกรรมประดิษฐ์ IV และแล็บ ทันตกรรมบดเคี้ยว I และแล็บ


207 ปี 4 อย่างนี้มันต้องถอน…ภารกิจทอร์คเคส 208 209 210 210 212 217 223 231 233 238 243 248 250 253 257 260

ป้ายชื่อ so cute ประเพณีมอบเสื้อกาวน์ ปี 4 คุณหมอตัวน้อยๆ กับชีวิตใหม่ๆ อายุรศาสตร์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ทันตกรรมปริทันต์และคลินิก I ทันตรังสีวิทยา II และคลินิก I คลินิกทันตกรรมบูรณะ I ทันตกรรมบูรณะ I ศัลยศาสตร์ช่องปาก II และคลินิก I วินิจฉัยโรคในช่องปาก และคลินิก I ทันตกรรมประดิษฐ์ IV และคลินิก I ทันตกรรมจัดฟัน คราวน์แอนด์บริดจ์ และแล็บ ทันตกรรมสำหรับเด็ก I ทันตกรรมส่งเสริมและป้องกัน ชีววิทยาในช่องปาก I

263 ปี 5 งานคลินิกของจริงก่อนเทิร์นโปร 267 268 271 274 283 288 290 296 301 303 304 306 309 316 316 317 318 319

วิสัญญีวิทยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ทันตปริทันตวิทยา III และคลินิก II คลินิกทันตรังสีวิทยา II ทันตกรรมบูรณะ II และคลินิก II ศัลยศาสตร์ช่องปาก III และคลินิก II วินิจฉัยโรคช่องปาก III และคลินิก II ทันตกรรมสำหรับเด็ก II และคลินิก I คลินิกทันตกรรมส่งเสริม ป้องกัน และระบาดวิทยา ทันตกรรมจัดฟัน III และแล็บ เวชศาสตร์ช่องปาก การบริหารงานทันตสาธารณสุข ทันตนิติเวชและการจัดสำนักงาน ทันตกรรมประดิษฐ์ VII และคลินิก II ชีววิทยาช่องปาก II ทันตกรรมบดเคี้ยว II และคลินิก ทันตกรรมโรงพยาบาล ทันตวิจัยและสัมมนา ไดอารี่ 1 วันของ นทพ. ห้องเรสตอร์


324 ปี 6 ปีสุดท้าย ก่อนเริ่มต้นชีวิตใหม่ 325 326 326 328 329 331 333 335 335 336

ตอนเช้าทำฟัน ตอนเย็นทำขนม ปี 6 รางวัลแด่คนช่างฝัน คลินิกวิสัญญีวิทยา คลินิกทันตกรรมจัดฟัน คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก ทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ การจัดการโรงพยาบาลปฏิบัติ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ทันตกรรมประดิษฐ์ VIII สุดท้าย บายเนียร์

PART 3 อนาคตหมอฟันและการเรียนต่อ 341 ลูกปิงปอง...พลิกชีวิต 341 จับสลากลงพื้นที่ 342 ทำความเข้าใจเรื่องลำดับอายุราชการ 343 กิจกรรมใน 2 วันที่ไปจับสลาก

349 โตแล้วไปไหน

350 เรียนต่อสาขาไหนดี

359 Dentist Feat. Dentist 362 การเรียนรูข้ อง…นทพ. 366 หมอฟันชาวบ้าน PART 4 Survival for dental students หนทางเอาตัวรอดของ นทพ. 372 แพทเทิร์นการโทรหาผู้ป่วย 379 เรื่องอยากรู้ก็ได้รู้ 381 อายุการขึ้นของฟัน 382 ยาที่ใช้บ่อย 399 Key For Two 407 คำนวณทุกอย่างในโลกหล้า 412 Special THANKS


PART 1

The Secret-Faculty of Dentistry


รู้จักทันตแพทย์ เด๊นท์เด่นเรื่อง “ฟัน”


22

ภาพรวมชีวิตนักศึกษาทันตแพทย์ (นทพ.)

หลายคนคงรู้จักคณะนี้จากความประทับใจในการไปทำฟันแล้วเจอหมอใจดี หรือมีญาติห่างๆ เรียนคณะนี้ ก็อาจจะไม่รู้เรื่องราวที่ละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขา อย่างแท้จริง ว่าในมุมชีวิตบางมุม เขามีการใช้ชีวิตอย่างไร และมีใครบ้างที่มีส่วน เกี่ยวข้องในชีวิตของการเรียนคณะนี้บ้าง พี่ จ ะเล่ า เกี่ ย วกั บ ภาพรวมคร่ า วๆ ของ นทพ. โดยหั ว ใจหลั ก ที่ ข าดไม่ ไ ด้ คือไดอะแกรม “สามเหลี่ยมสัมพันธ์” นี้

ผู้ป

เอง ตัว

่วย

อาจารย์

เช่น ถ้าตนเองมีความรู้ อาจารย์ซักถามตอบได้ แต่ผู้ป่วยไม่มาทำฟัน ชีวิตก็ไม่ราบรื่น เพราะไม่มีผู้ป่วยให้รักษา หรือถ้าผู้ป่วยมาทำฟัน ตัวเราความรู้ไม่พร้อม และอาจารย์ ก็ละเอียดในเนื้องาน ชีวิตก็จะไม่ราบรื่นเช่นกัน เพราะยังเริ่มทำฟันผู้ป่วยไม่ได้


23

ถ้าชอบอ่านดวงประจำวัน คงเคยชินกันกับผลดวงแบบ ว่ากันน้ำขุ่นๆ หรือ เหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่แล้ว (ไม่ต้องบอกก็รู้) เช่น วันนี้ดาวอังคารกำลังโคจรเอียง ทำมุ ม กั บ แกนโลก จึ ง ส่ ง ผลให้ คุ ณ ต้ อ งมี เ รื่ อ งทะเลาะกั บ ผู้ ร่ ว มงาน (เอาจริ ง ๆ คนทำงานด้ ว ยกั น ก็ มั ก ต้ อ งคุ ย กั น หรื อ กั ด กั น อยู่ แ ล้ ว ไม่ ต้ อ งดู ด วง ก็ บ อกได้ ) หรือช่วงนี้ดาวเหนือกำลังเปล่งประกาย การงานกำลังสูงขึ้นทุกๆ วัน (ตรงจังเลย ทุกวันพี่ต้องขึ้นไปทำงานชั้น 28 แน่ะ สูงขึ้นทุกเช้า แต่ลงต่ำทุกเที่ยงที่ไปกินข้าว และเย็นที่กลับบ้าน) หรือดวงอาจจะบอกคุณไปเลยว่า ดวงวันนี้ดาวศุกร์หนุนนำ กินของหวานมากๆ จะเป็นเบาหวาน แล้วพี่จะสาธยายเรื่องโฮโรสโคปไปทำไมใช่มั๊ย? ก็เพราะว่า ผลดวงอันนี้ก็ ไม่ต่างอะไรกับการรู้จักคณะทันตแพทย์แห่งนี้จากหนังสือทั่วไป บ้างก็ว่าเรียนหนัก แล้วมันหนักยังไง หรือคำถามที่แสดงถึงความกิ๊กก๊อก ไม่บอกก็เดาได้เองแหละพี่ แต่เพื่อให้น้องได้ความเข้มข้นในเนื้อหา พี่จึงได้เลือกเฟ้นหยิบเอาเรื่องซ่อนเร้นหรือ เป็นเคล็ดลับในสิ่งที่น้องควรรู้ก่อนเข้าคณะนี้มาตรงหน้านี้แล้ว เดี๋ ย วนี้ นั ก ร้ อ งออกอั ล บั้ ม ไหน ก็ ช อบไป Feathering กั บ คนอื่ น ไปทั่ ว บ้ า งก็ มี ร็ อ คเกอร์​์ ห นุ่ ม ไป feat. กั บ หมอรำ หรื อ แม้ ก ระทั่ ง นั ก ดนตรี เ พื่ อ ชี วิ ต ก็ feat. นักร้องหญิงชอบว่าผู้ชาย และแน่นอนกรอบการ feat. ไม่ได้กำหนด อยู่ในพจนานุกรมดนตรี แต่ติดเชื้อมายังเนื้อหาส่วนนี้ด้วย เพื่อเพิ่มอรรถรสการอ่าน จึงขอร่วมเพื่อนสนิทผู้มีแนวคิดในชีวิตที่แปลกใหม่ มาร่วมสัมภาษณ์งานเขียนนี้ไป ด้วยเลย และมีแทรกเสริมจากพี่เบทซึร่วมไปด้วย เหมือนแพ็คเกจซื้อ 1 ได้ถึง 2


32

ทันตแพทย์ที่เรียบจบแต่ละมหาลัยนั้นเหมือนกัน? เริ่ ม แรกเมื่ อ น้ อ งๆ ม.ปลายเลื อ กคณะและมหา’ลั ย ที่ อ ยากเข้ า ไปเรี ย น มักเกิดจากค่านิยมเป็นส่วนใหญ่ โดยการดูจากความภูมิฐานและความเก่าแก่ของ สถาบัน ชื่อเสียงที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีตของศิษย์แต่ละรุ่น แต่เมื่อได้เข้ามาเรียน แล้วมีเพือ่ นอยูต่ า่ งสถาบันแต่คณะเดียวกัน จะรูส้ กึ ได้วา่ ความถนัดในงานด้านต่างๆ ของแต่ละแห่งจะแตกต่างกัน ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั สไตล์ของแต่ละมหา’ลัย ว่าจะมีการมุง่ เน้น ส่วนใดเป็นสำคัญ ได้แก่ ในส่วนของการสอนเลคเชอร์ การฝึกลองทําแล็บปฏิบตั กิ าร และงานวิจัย แต่เมื่อเรียนจบไปก็เป็นทันตแพทย์ที่ดีได้เหมือนกัน

แล้วน้องจะรู้ได้ไงว่า ม.ไหนตรงกับสไตล์ที่ตัวเองต้องการ? ปัจจัยในการเลือกมหา’ลัยของน้องๆ ม.ปลาย มีหลายปัจจัยในการเลือก ซึ่งส่วนมากจะพิจารณาจากการเลือกที่ใกล้บ้านก่อน และค่านิยมจะค่อยๆ ตามมา ส่วนสไตล์ของมหา’ลัยไหนจะเป็นอย่างที่ตัวเองต้องการ เชื่อว่าเมื่อน้องอยากเข้า คณะไหนก็จะเริ่มขลุกตัว หาความรู้ มีรุ่นพี่ที่เรียนหรือไปเข้าค่ายไว้เรียนรู้อยู่แล้ว และในสังคมของเด็กม.ปลาย ก็จะรูก้ นั เองในหมูน่ อ้ งๆ อยูแ่ ล้วว่า ถ้าอยากเข้า คณะนี้ ก็ต้องเลือกเข้ามหา’ลัยไหนจึงจะเรียกว่า เจ๋ง! สิ่งหนึ่งที่เป็นความต่างของแต่ละมหา’ลัยอย่างชัดเจนนั้นก็คือ ‘ผู้ป่วยในการ ฝึกทักษะในการทํางาน’ เพราะอย่างที่เข้าใจเบื้องต้นแล้วว่า ทันตแพทย์ที่ดีนั้น ส่วนสำคัญเกิดได้จากการมีประสบการณ์ในการทํางานที่มากหรือมีชั่วโมงบินสูง จึงจะมีแนวคิดและทักษะในการทํางานที่ดีได้ ดังนั้นถ้ามีผู้ป่วยที่หลากหลายและ จำนวนที่มากพอ ก็เป็นข้อดีในการเรียนของมหา’ลัยนั้น


33 หลังจากเรียนคณะนี้แล้ว บุคลิกที่เราจะเป็นอย่างชัดเจน นั่นคือ ไม่ว่าเราคุยกับใครก็ตาม เราจะเพ่งพลังจิตมองที่ฟันคนแทบทุกคน นั่นเพราะเราถูกฝึกให้มองคนเป็นเพียงฟันโดย ไม่รู้ตัว แต่ความจริงแล้ว ทันตแพทย์ไม่ได้ทำงานแค่ในช่องว่างเล็กๆ ที่มีน้ำลายเท่านั้น เพราะทันตแพทย์ยังมีงานที่ต้องทำงานกับคนและชุมชนอีกด้วย ทันตแพทย์ทำงานด้วย Hand Head และ Heart ผศ.ทพญ.ดร.ปิยะนารถ จาติเกตุ หมอฟั น ไม่ ไ ด้ คุ ย เป็ น แค่ เรื่ อ ง “ฟั น ” พวกเราสามารถเข้ า ใจคนว่ า ทำไมฟั น ถึ ง ผุ มองถึงภาพรวมสังคม ที่ทำอย่างไรฟันผุถึงจะลดลงได้ ด้วยการเฝ้ามองและเข้าใจว่า คนไม่ ไ ด้ มี แ ค่ ช่ อ งปาก แต่ มี ชี วิ ต มี จิ ต ใจ และมี ส ภาพแวดล้ อ มที่ อ าศั ย อยู่ ดั ง นั้ น การทำงานของพวกเราจึ ง ไม่ ไ ด้ จ ำกั ด อยู่ แ ค่ ก ารทำฟั น เท่ า นั้ น แต่ มี ข อบเขตที่ ข ยาย วงกว้างออกไปอีกหลายเรื่อง เช่น การบริหารงานขององค์กรในคลินิกหรือโรงพยาบาล การวางแผนการเสริมสร้างสุขภาพ ให้คนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น วางแผนป้องกันในระดับ ชุมชนเพื่อลดโรคต่างๆ การไปลงพื้นที่เพื่อตรวจโรค ว่าในสังคมนี้มีชาวบ้านเป็นโรคมาก หรือน้อยแค่ไหน แล้วนำค่าดังกล่าวมาวางกลยุทธ์และแผนการทำงาน ฯลฯ ดังนัน้ การทำงานจึงไม่ได้แค่มองแค่วา่ คนคนหนึง่ มีชอ่ งปากให้เรารักษา แต่เป็นการทำงาน เพื่อให้คนจำนวนมากได้มีช่องปากที่ดี ยกตัวอย่างเช่น โครงการลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก มีทมี่ าจากการทีเ่ ด็กวัยประถม 1 พบว่ามีฟนั ผุเป็นจำนวนมาก จึงมีหลายแผนตัง้ แต่ปอ้ งกัน การเกิดฟันผุด้วยการเคลือบหลุมร่องฟันลึกๆ เพื่อป้องกันฟันผุ ต่อมาก็ดูแลอายุน้อยลงมา โดยป้องกันกลุม่ อายุ 3 ปี แต่กไ็ ม่ได้ผลเท่าทีค่ วร จนปัจจุบนั นี้ ดูแลสุขภาพช่องปากตัง้ แต่แม่ และลูกตั้งแต่มีฟันซี่แรกขึ้น เพื่อมุ่งหวังว่า อนาคตเด็กไทยจะมีฟันผุที่ลดลง หรือแม้กระทั่ง โครงการเด็ ก ไทยไม่ กิ น หวาน ที่ ส นั บ สนุ น การบริ โ ภคน้ ำ ตาลแต่ น้ อ ย โดยร่ ว มมื อ กั บ หลายหน่ ว ยงานช่ ว ยเหลื อ ให้ โรงอาหารมี ก ารขายอาหารที่ มี ป ระโยชน์ หรื อ ลดการ ขายน้ำอัดลมในโรงเรียน ก็เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยไม่ ได้มุ่งแค่การรักษาฟันในคนคนเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ อย่างเรื่อง สึนามิ ทันตแพทย์ก็มีบทบาทมาก เพราะหลักฐานที่แสดงความเป็น ตัวตนนัน้ มีหลายอย่าง แต่ทเี่ ป็นทีย่ อมรับได้แก่ DNA ลายนิว้ มือ และฟัน ดังนัน้ ทันตแพทย์ จึงสามารถช่วยแยกแยะศพผู้ตายได้ด้วยการที่ญาติผู้ตายนำหลักฐานข้อมูลการทำฟันมา ยื่นแก่เจ้าหน้าที่


QUIZ แม่นเว่อร์… ค้นหาทันตะตัวจริง


37

วันรุ่นสมัยนี้มีกิจกรรมยามว่างไม่ห่างเว้น จะจากหน้าจอสี่เหลี่ยมที่เตรียม กระดกนิ้วคลิกๆ ปิดต่อท้ายด้วย .com เพื่อท่องโลกอีกโลกที่เกินฝันได้ตลอดเวลา ไม่ พ้ น กิ จ กรรมอ่ า นบล๊ อ ค เม๊ น ท์ เ ฟส หรื อ อั พ รู ป บอกว่ า ตอนนี้ กิ น ข้ า วร้ า นไหน และเรื่องราวบนหน้า wall ของ social network อย่างหนึ่งที่เป็นกระแสยิ่งๆ นั่นคือ การนั่งทำควิซ บางคนจะอยากให้คนอื่นมาฟีเว่อร์ตัวเอง สร้างควิซมาถามคนอื่น เกีย่ วกับชีวประวัตขิ องตัวเอง ถามแม้กระทัง่ ว่าครูสมัยประถม 2/8 ชือ่ อะไร หรือแมวที่ บ้านอุม้ ท้องลูกชือ่ อะไรบ้าง หรือพ่อเรามีแม่กคี่ น (อันนีไ้ ม่ใช่ละ) ไม่ใช่เพือ่ ให้ไม่ตกยุค แต่กำลังวังชายังมี อยากคิดทำอะไรแปลกๆ ดู ถ้าเราทำควิซในหนังสือแนะนำการเรียน คงสนุกดีใช่หยอกเชียว

ควิซจริตนิสัย 4 ของเรนนี บารอม และแบบทดสอบตนเองของ เมเยอร์ บริคค์

ควิซอันนี้จึงได้สูติขึ้นหน้าบนหน้ากระดาษหลายๆ แผ่นนี้ ด้วยความพยายาม หาข้อมูลจากแบบทดสอบต่างๆ ที่เป็นหลักแนวคิดในการทดสอบคน และขอบคุณ น้องอุ๊ที่ช่วยเหลือพี่เบทซึหาข้อมูล ก่อนเริ่มทำควิซ พี่จะขอเล่ามุมมองทันตแพทย์ในหลายๆ แง่ให้ฟังก่อนนะครับ เริ่มจากตอนก่อนเข้าคณะนี้ คนส่วนมากจะมองว่า นักเรียนที่อยากจะเรียนหมอฟัน ต้องเป็นคนทีต่ อ้ งขยันอ่านหนังสือ บุคลิกทำงานละเอียดได้ดี แต่หลังจากทีเ่ ข้ามาแล้ว คนนอกคณะจะมองว่า นทพ. เป็นหมอที่มีบุคลิกสนใจในการแต่งตัวให้ดูสวยงาม และมีบคุ ลิกทีผ่ ปู้ ว่ ยให้ความเชือ่ ถือ หลังจากจบ เมือ่ เราได้พบกับลูกปิงปองพลิกชีวติ พาเราไปใช้ทุนตามโรงพยาบาล คนในโรงพยาบาลจะมองว่าทันตแพทย์เป็นคนที่ ทำงานในโลกส่วนตัว ไม่ข้องแวะกับใคร เพราะเราได้ฝึกการทำงานทุกอย่างด้วย ตัวเองมาแล้ว เราจึงไม่ต้องไปพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นมากนักในการรักษาผู้ป่วย เช่น ต้องการถ่ายภาพรังสี ก็ไม่ต้องพึ่งนักรังสี เพราะเราถ่ายเองได้


ตามล่าหาฝัน ฉันจะเป็นเด็กเด๊นท์


43

ค่ายอยากเป็นหมอฟัน

เชือ่ ว่าน้องหลายๆ คนคงรูจ้ กั ค่ายเหล่านีต้ ามบอร์ดทีต่ ดิ ประกาศของทีเ่ รียนพิเศษ หรือว่าฝ่ายแนะแนวที่คณะฝากมาบอก หรือพบตามเว็บบอร์ดในอินเตอร์เน็ตบ้าง ซึง่ ค่ายเหล่านีจ้ ะใช้ชอื่ แตกต่างกันไป พีก่ เ็ คยไปค่ายเช่นนีต้ อน ม.ปลายเช่นกัน ได้แก่ ค่ายอยากเป็นหมอฟันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับค่ายสานฝันทันตแพทย์รุ่น เยาว์ของมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับน้องที่อยากรู้จักว่าคณะทันตแพทยศาสตร์เขาเรียนอะไรกัน ทำงาน อะไรบ้าง หรือกำลังคิดว่า คณะนี้เหมาะกับตัวเรามากน้อยแค่ไหน ค่ายเหล่านี้จะ สามารถอธิบายให้น้องได้เข้าใจได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเล่าเรื่องชีวิตทั้งหมดได้ ส่วนนั้นต้องเข้ามาเรียนรู้เอง สิ่งหนึ่งที่ในฐานะที่เคยเป็นทั้งคนเข้าร่วมและคนที่เคยจัดค่ายมาก่อน ก็พบว่า คนจัดค่ายพยายามสร้างให้นอ้ งเข้าใจว่า งานของอาชีพนีต้ อ้ งใช้ทกั ษะและงานฝีมอื สูง และนำเสนอภาพลักษณ์ในส่วนที่ดีของที่คณะ เพราะยังไงก็คงไม่มีใครพยายาม บอกว่า คณะนี้แย่ตรงไหนหรอกจริงไหม? และในฐานะเป็นรุน่ น้องม.ปลายทีอ่ ยากเข้าคณะมาก ก็อย่าไปโดนครอบงำกับ ความสนุกในค่ายทัง้ หมด แต่ตอ้ งเอามาพิจารณาในหลายๆ แง่วา่ บางครัง้ พีส่ อนให้เรา ทำงานได้หลายหลาก ซึง่ กว่าทีพ่ ๆี่ เขาจะทำได้แบบนัน้ เขาผ่านอะไรมาก่อนหรือเปล่า เขาเคยนอนร้องไห้ เพราะทำงานนี้ไม่ได้มาก่อนตอนเริ่มทำหรือเปล่า หรือเขาเคย ลองผิดลองถูกมานานแค่ไหน กว่าจะรู้ว่าวิธีนี้มันถนัดที่สุด เพราะในชีวิตจริงคณะ ทันตะคงไม่ได้มีแต่ความสนุกสนานเฮฮาปาจิงโกะเหมือนในค่ายเสียทีเดียว


44

มีที่ ไหนจัดบ้าง จัดที่ ไหน หลังจากสำรวจทุกสถาบันแล้วพบว่า มหาวิทยาลัยแทบทุกที่ เขาต้องมีจัด กิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้น้องม.ปลายได้รู้จักคณะมากขึ้นก่อน เลือกมหาลัย ซึง่ จะเผยแพร่ขา่ วสารการจัดตามแหล่งกลุม่ นักเรียนทีม่ โี อกาสสอบติด สถาบันแถวนั้น เช่น ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะประกาศผ่านไปทางโรงเรียน บริเวณเขตภาคเหนือ หรือแปะประกาศไว้ตามสถานที่สอนพิเศษ หรือแปะประกาศ ไว้ตามเว็บบอร์ดของสโมสรนิสิตนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย


45

แล้วเขาทำอะไรกันในค่ายบ้าง อาจเป็นค้างแรม หรือไปเช้าเย็นกลับ ขึน้ อยูก่ บั ว่าทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อม อย่างไร งานที่นิยมทำกันส่วนใหญ่มักจะได้แก่ 1. ลองให้ฝกึ งานฝีมอื กรอฟัน อุดฟัน แกะสลักฟัน เรียงฟัน หรืออะไรก็ตามทีเ่ กีย่ วกับ ฟันทัง้ หลาย แล้วรุน่ พีก่ จ็ ะชืน่ ชมว่า โอ้โห...น้องๆ เกิดมาเพือ่ เป็นทันตแพทย์จริงๆ อย่างไม่เป็นจริง 2. พาเดินเข้าห้องแล็บดูชีวิตวุ่นวายของพี่ๆ กับอาจารย์ที่เคารพ ว่าพี่ๆ เขาทำ แล็บอะไรกัน ซึ่งมักชอบไปวันที่ห้องแล็บวุ่นๆ ทุกครั้ง ต้องระวังพี่ๆ วิ่งไป ส่งงานอาจารย์แล้วเดินชนบ้าง 3. พาเดินเข้าคลินกิ ดูรนุ่ พีใ่ นคลินกิ ทำงานกับผูป้ ว่ ยจริง ทำให้เห็นงานหลากหลาย ซึ่งตอนที่พี่จัดค่าย พี่ดูภาพถ่ายแล้วพบว่า น้องมองผู้ป่วยในห้องขูดหินปูน ปิดจมูกปิดปากกัน พี่เดาว่าต้องปิดปากอุทานในใจว่า กลัวเลือดที่เหงือก ตอนขูดหินปูนแน่ๆ เลยบอกน้องๆ ว่า ไม่ตอ้ งกลัวขนาดปิดจมูกปิดปากกันหรอก เดี่ยวพอทำงานมันก็จะชิน แต่น้องบอกว่า ป้าคุมคลินิกบอกว่า ไอน้ำเครื่อง ขูดหินปูนมันฟุ้งมีแต่เชื้อโรค เลยปิดปากกันเท่านั้น-โธ่... 4. กิจกรรมบันเทิงแสดงละคร คล้ายกับงานแสดงรอบกองไฟของค่ายลูกเสือ อาจเป็นละครที่กำลังฮิตฮอตออนแอร์เรตติ้งดีมาให้ชม ซึ่งเอามารีมิกส์ใหม่ แต่ว่าตอนจบของเรื่องพระเอกมักเป็นเกย์ 5. จั ด Walk rally ทำกิ จ กรรมตามฐานไปเรื่ อ ยๆ ตั ว อาจเปี ย กเละเทะบ้ า ง คล้ายกับเป็นการ พรี-รับน้องคณะไปในตัว


PART 2

6 ปี ในคณะทันตแพทย์


เรื่องราวของนักศึกษาทันตแพทย์ (นทพ.) กับหลักกิโลเมตรที่ 0 ของชีวิต ได้เริ่มต้นขึ้น

นทพ. กม.0 เด็กเด๊นท์แรกเกิด


68

ในการเรียนแล็บถือเป็นกิจกรรมที่น่ารัญจวนใจที่สุด เพราะเราต้องฝึกผ่าจริง ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ • กระต่าย ซึ่งเป็นตัวแทนการเรียนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม • กบ ซึ่งเป็นตัวแทนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ • ฉลาม ที่เป็นตัวแทนของสัตว์น้ำชนิดกระดูกอ่อน

นึกว่า เคโรโร่ จะอยู่ที่ญี่ปุ่น ตอนนี้มันบินลัดฟ้ามาอยู่ในมือของพี่เรียบร้อย ‘Keroro’ / ทำท่าเคโรโร่

สมั ย ก่ อ น นทพ. จะต้ อ งเป็ น ผู้ ท ำสั ต ว์ ใ ห้ ส ลบและฉี ด สี เ ข้ า เส้ น เลื อ ดด้ ว ย ตัวเองด้วย แต่ดว้ ยตาแป๋วๆ ของกระต่ายน้อยวิงวอนขอชีวติ นัน้ สร้างความลำบากใน การทำลายความสมานฉันท์กับมัน ดังนั้นปัจจุบันที่พี่เรียน จึงแช่ฟอร์มาลินมาให้ เรียบร้อยแล้ว คาบแรกจะให้ฝึกเลาะหนังกบมาส่ง ในกลุ่มหนึ่งจะมี 5 คน การเลาะหนังกบ จะตื่นเต้นมาก ถ้าลอกเสร็จจะเหมือนถอดถุงเท้า เพราะมันจะลอกออกมาได้ทั้งตัว เป็นถุง โดยผิวหนังไม่ขาดออกจากกัน จนเหลือแต่กล้ามเนื้อ และกลุ่มพี่ขออนุญาต ตั้งชื่อครูกบว่า ‘ป๊อปอาย’ เพราะมันแขนขาล่ำมาก


69

เอาเข็มจิ้มปุ๊ด น้ำก็ทะลัก สำหรับคนหน้าใสอาจไม่ค่อยถนัด แต่สำหรับผู้บีบสิวจนชำนาญ บีบทีปรี๊ดๆ เป็นสายยางแตกเลย

บ้างโดนหมอจับแก้ผ้าแก้ผ่อน ต้องมองหนังตัวเองตาดำๆ

บ้างก็แก้ผ้าแก้ผ่อน หงายๆ คว่ำๆ แต่อย่าทำเรื่องบัดสีล่ะ


82

ถ้าเข้ามหา’ลัยแล้วไม่ได้ถูก ‘รับน้อง’ เหมือนขาดอะไรไปอย่าง

การรับน้อง ถือว่าเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ในคณะแล้ว ยังเป็นเหมือนการประกาศศักดาไปในตัว จะไม่ให้บอกแบบนีไ้ ด้ยงั ไง เพราะปี 1 ทุกคน ต้ อ งห้ อ ยป้ า ยชื่ อ ที่ ชื่ อ และรู ป ร่ า งหรื อ ลายป้ า ยก็ จ ะบอกว่ า อยู่ ค ณะอะไรหรื อ เมเจอร์อะไร และแน่นอน ฟันเอย แปรงสีฟันเอย ก็เป็นลายของป้ายชื่อคณะเรา อย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่วนกิจกรรมรับน้องก็เป็นกิจกรรมสร้างความผูกพันให้กับเพื่อน ด้วยกันได้มาก พี่คิดว่าใครไม่ได้ผ่านการรับน้องถือว่า จิ๊กซอว์บางชิ้นในชีวิตอาจหายไป และไม่สามารถเรียกมันกลับคืนมาได้ ซึง่ เนือ้ หาในการรับน้องนัน้ ก็คงเน้นการปลูกฝัง ให้เกิดความภาคภูมิใจในสถาบันของตัวเอง ความมีระเบียบวินัย คุณธรรมและ จริยธรรมในการเป็นแพทย์ที่ต้องรับใช้ประชาชนต่อไป


83

กิ จ กรรมรั บ น้ อ งในแต่ ล ะมหา’ลั ย หรื อ แต่ ล ะคณะก็ ไ ม่ มี ที่ ไ หนเหมื อ นกั น เพราะต่างมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว ซึ่งขึ้นกับบุคลิกหรืออุปนิสัยของแต่ละมหา’ลัย เช่น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ ม.ช. จะนิยมอยู่หอในมหา’ลัยกัน จึงมีการรับน้องในหอ หรือจังหวัดในภาคเหนือทีน่ ยิ มมาเรียนทีน่ ี่ จึงมีรบั น้องจังหวัดด้วย ส่วนคณะทันตะนัน้ เนื่องด้วยนักศึกษาทุกคนเรียนในคณะตั้งแต่ปี 2 จนจบ ปี 6 จึงทำให้แต่ละชั้นปีมา ร่วมรับน้องได้เหมือนกันหมด ก็จะทำให้เป็นสไตล์การรับน้องอีกแบบหนึ่ง ตรงกัน ข้ามกับบางคณะที่รุ่นพี่บางคนต้องไปเรียนในศูนย์การเรียนภูมิภาค ก็จะมีสไตล์ การรับน้องอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน


ปี 2 ศึกจ้าวแล็บมาราธอน!



138

เครื่องมือเรียงกันเป็น ตับ ตับ ตับ ตับ ตอนโยนเครื่องมือไปปนกัน คราวนี้วิกฤตชีวิตแล้ว เพราะหาเครื่องมือไม่เจอแล้วอะมัลกัมก็จะแข็งแล้ว


139

ต่อมายากหน่อยมาลองอุดฟันบนดูบ้าง

อุดเสร็จแล้ว ฟันล่าง!

อุดฟันล่างมองเห็นง่ายสบายตา หลังหมอตั้งตรง แต่คราวนี้ทะลวงทางคอหอยไม่ได้ หุ่นบางตัวมันเก่า แก้มเป็นรู ก็เอาเครื่องมือไปเข้าทางแก้มได้ตามระเบียบ


มัน Peakkkkk…

ปี 3 วิชาคณะแพทย์+ทันตะ มวลความรู้ล้นเหลือ


147

หนังสือและชีทที่เรียนทั้งเทอมหนาพอที่จะเอาไปฟาดหัวคนสลบได้ ดังนั้น ช่ ว งสอบก็ ฟ าดหั ว นทพ. สลบตายคาโต๊ ะ ได้ เ หมื อ นกั น และในช่ ว งสอบนั้ น ผู้ ใ หญ่ ใ จดี จ ะเอาวิ ช าที่ ต้ อ งสอบมาให้ ส อบติ ด กั น 5 วั น วั น ละ 3-4 วิ ช า คือตอนเช้าและสายจะสอบเลคเชอร์ ช่วงบ่ายจะสอบงานแล็บทุกๆ วัน ดังนั้นทุก เย็นจึงต้องกลับไปอ่านหนังสือแบบจัดเต็มได้อีก เพื่อเตรียมสอบในวันถัดไป ทำให้ ยอดนำเข้าสินค้าคาเฟอีนอย่างเช่นกาแฟ จึงมีดุลบัญชีเดินสะพัดทะลุเป้ามาก เพื่อกระตุ้นให้ นทพ. ยังตื่นตัว ไม่หลับตายไปเสียก่อน ถ้าคุณเป็นผูห้ ญิงทีแ่ บ๊วๆ น่ารักน่าทะนุถนอม โปรดหลีกเลีย่ งการไปโกยเครือ่ งดืม่ บำรุงกำลัง มาใสแขนอุ้งมือ หรือเปิดฝาแครกๆ แล้วดื่มจากปากขวด นั่นเพราะทำให้ภาพลักษณ์ ความใสที่ผู้อื่นพบได้พังทลายลง และกลายเป็นสาวสวยรวยพลังงานแทน

กองหนังสือ(ส่วนหนึ่ง) จากอีกหลายกองที่สะสมมา


ปี 4 อย่างนี้มันต้องถอน… ภารกิจทอร์คเคส


217

หลังทำคลินิก เก็บของเสร็จ ก็จะร่าเริงได้กลับหอกลับบ้าน แล้วพรุ่งนี้มาสู้กันต่อ

ทันตรังสีวิทยา II และคลินิก I

ในปีนี้จะเรียนภาพถ่ายรังสีกันอย่างเข้มข้น และเน้นไปที่การเรียนรู้ว่า มีความผิดปกติในกระดูก เช่น โรคปริทันต์ การติดเชื้อในกระดูก ภาพถ่ายรัง สีเกี่ยวกับฟันที่ผิดปกติ ความผิดปกติที่เกี่ยวกับกระดูกขากรรไกรและใบหน้า ถุงน้ำในกระดูกขากรรไกร เนือ้ งอกทีม่ สี าเหตุจากฟันและไม่ได้มสี าเหตุจากฟัน รอยโรคไฟโบรออสเซียส เนื้องอกร้ายแรง การเปลี่ยนของกระดูกในผู้ป่วยโรค เลือด การแตกหักของฟันและกระดูกขากรรไกร เนื้อเยื่ออ่อนที่มีความผิดปกติ จากแคลซิไฟน์และออสซิฟเิ คชัน่ ข้อต่อขากรรไกร ภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูก ภาพรังสีต่อมน้ำลายที่ผิดปกติ การใช้รังสีรักษาของเนื้องอกในช่องปาก การ ดูแลผู้ป่วยรังสีรักษาและความผิดปกติในปากของผู้ป่วยกลุ่มนี้


228

ถ้า นศพ. บ่นเรื่องไม่ค่อยได้กินข้าวเที่ยง นทพ. ก็เช่นกัน เราเลยต้องมากินแสงจากเครื่องฉายแสง ที่ฉายให้วัสดุอุดแข็งตัวแทนข้าว

หากเป็ น ผู้ ป่ ว ยมารั ก ษารากฟั น ก็ ต้ อ งเริ่ ม ขั้ น ตอนตั้ ง แต่ ก ารตรวจ  เปิดโพรงฟัน  วัดความยาวราก  ขยายคลองรากฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรค  ใส่ยาในคลองราก  นัดผู้ป่วยมาเพาะเชื้อตรวจดูว่า ในคลองรากฟันยังมีเชื้อโรค หรือเปล่า  ถ้าไม่มีเชื้อโรคละ ก็อุดคลองรากฟันได้เลย  นัดมาเช็คแล้วอุดปิด ด้วยวัสดุถาวรไปเลย


237

สุดท้ายก็เรียบร้อยครับ ได้ถอนฟันแถมขูดผักโขมอีก สุดท้ายพีก่ ย็ งั สงสัยอยูด่ วี า่ เธอยังเจ็บหรือชาแล้ว แล้วน้องคนนั้นบอกแม่ให้ดูแลแผลยังไงบ้างน๊า?

คำบอกจากผู้ป่วยว่า “ไม่เห็นเจ็บอย่างที่คิดเลยหมอ” ช่วยเป็นกำลังใจให้หมอน้อยๆ คนนึงได้เป็นอย่างดี

หมอเซอร์เจอรี่ ต้องมีใจเด็ดเดี่ยว กล้าลุย!


ปี 5 งานคลินิกของจริง ก่อนเทิร์นโปร


265

ของจริงแล้ว คราวนี้... งานคลินิกที่ได้ลงมือทำในปีนี้ จะเป็นงานของหมอฟันอย่างแท้จริง (ปีที่แล้วก็ ทำงานหมอฟันเหมือนกันนะ แต่กพ็ อให้ฝกึ ทำชิมลางก่อน) ทีพ่ บี่ อกแบบนีก้ เ็ พราะว่า ผูป้ ว่ ยในปี 5 เช่น ห้องขูดหินปูน ก็จะเป็นแผ่นกำแพงหนามากแทบจะใส่หมวกกันน๊อค หุม้ ฟันอยูแ่ ล้ว หรือไม่กร็ อ่ งเหงือกทีเ่ อาเครือ่ งมือเข้าขูดล้วงเหมือนทำเครือ่ งมือตกเหว เพราะมันจะรู้สึกผลุ๊บ! จุ่มลงไปได้ (บางทีตกใจว่า พี่ไปขูดกระดูกหรือหินปูนออกมา กันแน่?) ถ้าหากเป็นงานอุดฟัน คราวนีก้ จ็ ะได้เจอฟันผุเท่าบ่อเลีย้ งปลาวาฬ (ปีทแี่ ล้ว เป็นบ่อเลี้ยงลูกน้ำยุงลาย) บางครั้งใช้หัวกรอละเมียดละไม ควักเอาเชื้อโรคที่ฝังใน เนือ้ ฟันออกไปเรือ่ ยๆ ก็จะได้เห็น เม็ดชมพูอมแดงระเรือ่ ทีห่ มายถึงอีกนิดนึงก็จะทะลุ โพรงประสาทอยู่แล้ว ยังเอาเชื้อโรคออกไม่หมดอีกเหรอเนี่ย? จากที่เล่ามาจะเห็นว่า บางครั้งผู้ป่วยอ้าปากจนเหนื่อยแล้ว หมอก็แทบจะปลิดชีวิต ทิ้งวิญญาณไว้ข้างๆ ยูนิตเหมือนกัน ส่วนวิชาเลคเชอร์กไ็ ม่ตอ้ งเสียใจนะครับ เพราะเราก็ยงั ได้เรียนกันอย่างเข้มข้นอยู่ ส่วนมากเนื้อหาจะเน้นเกี่ยวกับผู้ป่วยเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นเนื้อหาที่เรียนไว้ ประดับความรู้ เพื่อจะได้รู้ว่าบางเคสเราต้องส่งต่องานแบบนี้ไปให้ทันตแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านด้วยหรือเปล่า? งานแล็บจะมีเหลือเพียงแค่ตวั เดียวแล้วครับ (แสดงความยินดีดว้ ย) แต่เป็นงาน แล็บของผู้ป่วยที่มีเข้ามาอีกมหาศาล เมื่อใกล้สิ้นปีหลังการสอบไล่แล้ว จะพบกับการสอบใบประกอบวิชาชีพอีกครั้ง ในส่วนคลินกิ ซึง่ สามารถสอบได้เลยในปีนี้ เพราะได้เรียนเนือ้ หาวิชามาครบถ้วนแล้ว แต่ถ้ายังไม่อยากสอบก็ได้เหมือนกัน เพราะจะมีการจัดการสอบอีกครั้งในเดือน ตุลาคมและมีนาคม


266

งานผู้ป่วยสุดเหนื่อยปีสุดท้าย ขอจงสู้ต่อไป ทาเคชิ! งานผ่าฟันคุด ปีนี้เราจะได้ฝึกปีแรก ซ้อมเย็บให้ดี แล้วลุยกับมัน

ความเหน็ดเหนื่อยปีนี้ จะทำให้เราเป็นหมออย่างภาคภูมิ ขออย่ายอมแพ้...อย่าอ่อนแอ แม้จะร้องไห้


281

ดราม่าที่สุดในห้องนี้ เพราะนิ้วแพ้โมโนเมอร์ ผิวหนังลอกเป็นแผ่นๆ

ครื้นเครงกับคลินิกเรสตอร์ตลอด 2 เดือนกว่าๆ


ปี 6 ปีสุดท้าย ก่อนเริ่มต้นชีวิตใหม่


327

วอลล์เปเปอร์ห้องศัลย์ ห้องศัลย์จะเป็นห้องสีเ่ หลีย่ มทีฝ่ า้ เพดานสูงพอสมควร ทุกคนจะสวมใส่ชดุ เขียว เพื่อผ่าตัดกันหมด เราจะแยกแยะกันไม่ออกเลยว่าใครเป็นใคร มีสิ่งเดียวที่แยกแยะ ได้บ้าง คือ ‘สีหมวก’ เมื่อวิสัญญีแพทย์เริ่มดมยาสลบแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทำหน้าที่รับ ผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดต่อ เรามีหน้าที่เพียงสังเกตการณ์ด้วยการยืนนิ่งๆ พิงฝาหนังห้อง เป็นวอลล์เปเปอร์ประดับทีส่ วยงาม อย่าไปขวางทางหมอและพยาบาลทีก่ ำลังมุง่ มัน่ ตั้งใจงานผ่าตัดตรงหน้าของพวกเขา


PART 3

อนาคตหมอฟัน และการเรียนต่อ


347

ลู ก ปิ ง ปองพลิ ก ชี วิ ต บรรจุ ใ นกล่ อ งปิ ด ผนึ ก จั บ ลู ก แรกไม่ ต้ อ งคิ ด มาก เพราะชี วิ ต จะพลิ ก ก็ลูกที่สองนี่แหล่ะ

ใบเขียวเอาไว้เขียนเลือกจังหวัดทั้ง 3 รอบ

โต๊ะให้ลงสมัคร มีปา้ ยสามเหลีย่ ม บอกจังหวัดทีล่ ง และจำนวนโควค้า

ใบเหลืองหน้าโต๊ะที่อยู่รอบห้อง เอาไว้ให้ลงชื่อ ถ้าโควต้า 4 แล้วไป แต่ถ้าลงไป 7 ขนาดนี้ เตรียม ประนีประนอม

ตาราง score board จะอยู่รอบห้อง แสดงจำนวน ผู้ ล งสมั ค รเอาไว้ ถ้ า เป็ น ตั ว แดงก็ แ สดงว่ า เกิ น สีเหลืองคือพอดี และเขียวคือยังรับเพิ่มได้


PART 4

Survival for dental students หนทางเอาตัวรอดของ นทพ.


แพทเทิร์นการโทรหาผู้ป่วย


407

คำนวณทุกอย่างในโลกหล้า A

N

g 100ml

mg mg N * 1000 100 ml = 10N ml

3. 18N


Special THANKS หนังสือเล่มนี้เป็นการฝึกวิทยายุทธ์อย่างหนึ่งของเบทซึ ตั้งแต่การแบก โน้ ต บุ๊ ก ไว้ บ นหลั ง แล้ ว ไปเรี ย นและทำคลิ นิ ก ทุ ก วั น หรื อ แบกกล้ อ งเป็ น ตากล้องภาคสนามเก็บภาพทุกเหตุการณ์ที่เล่าเรื่องคณะได้อย่างดีที่สุด หรือ การอดนอนหลายๆ คืน เพื่อนั่งปั่นต้นฉบับให้เสร็จโดยพลัน แต่สิ่งสำคัญนอก เหนือจากความมุมานะของตัวเองแล้ว เบื้องหลังยังมีกำลังใจและแรงบันดาล ใจที่อยากกล่าวถึงอีกมาก บุคคลสำคัญที่สุดในชีวิต คือป๊ากับแม่แดง (เรียกแม่แบบนี้แหละเอามา ล้อได้ไม่ว่ากันฮ่าๆ) ที่สอนให้ลูกเป็นคนรักการอ่าน สอนให้มีความฝันสอนให้ เป็นคนตั้งใจทำงานและมีความพยายาม ขอบคุณ อาจารย์ปฐวี อาจารย์หมอผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เบทซึรู้และ เข้าใจว่า ‘เราอย่าลืมความเป็นตัวตนของเรา เราต้องมอบกลับให้แก่ผู้ที่มอบ โอกาสนี้ให้เราบ้าง’ และภรรยาสุดสวยของอาจารย์ปฐวี อาจารย์สาครรัตน์ ผู้เป็นกำลังใจและช่วยอ่านต้นฉบับบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาชีพ อาจารย์ปิยะนารถสำหรับคำพูดสั้นๆ ว่า “มีอะไรให้ช่วยก็บอกอาจารย์นะ” ทีผ่ มยังจดจำได้เสมอมา และน้ำใจทีอ่ าจารย์ชว่ ยอ่านต้นฉบับของผม อาจารย์ พีห่ มอมนตรีสำหรับรูปภาพเคสผูป้ ว่ ยทีส่ วยเนีย๊ บ หวังว่าจะสร้างแรงบันดาล ใจให้น้องหมออีกหลายๆ คน ทวดรหัสอาจารย์บุญชัยสำหรับเคสผู้ป่วยฟื้นฟู สภาพช่องปากทีท่ ำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจอันยิง่ ใหญ่อยากสร้างความสำเร็จ เช่นนีใ้ ห้ผปู้ ว่ ยบ้าง อาจารย์พนารัตน์ผชู้ ว่ ยเหลือให้ผปู้ ว่ ยมีโลกใบใหม่ในสังคม นีไ้ ด้ตอ่ ไปอาจารย์ธรี ะวัฒน์ อาจารย์จนิ ตนา อาจารย์ชนธีร์ อาจารย์พเี่ อิง อาจารย์พโี่ ต สำหรับการช่วยเหลืออ่านต้นฉบับให้ อาจารย์สงั่ สมและอาจารย์ สุรวุฒน์สำหรับคำแนะนำของการเรียนต่อในสาขาวิชาชีพนี้



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.