Born to be หมอ1 ภารกิจ สอบหมอให้ติด
ตุลาคม 2554 ISBN 978-616-90160-8-3 จำนวนหนา 304 หนา ราคา 199 บาท เขียนโดย : นายแพทยติยะ บรรณาธิการ : ภีรพล คชาเจริญ บรรณาธิการสำนักพิมพ : สุรัสวดี วงศจันทรสุข รูปเลม/ภาพประกอบ : ByNature Printing Service
สนพ. บายยัวร์เซลฟ หางหุนสวนจำกัด บายเนเจอร พับลิชชิ่ง 119/272 หมู 8 ซ.รัตนาธิเบศร 18 ถ.รัตนาธิเบศร ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ 02 580 4654 www.bynatureonline.com จัดจำหนาย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาและภาพประกอบในเลม หามลอกเลียน ไมวาสวนหนึ่งสวนใดหรือทั้งหมดของหนังสือเลมนี้ นอกจากจะไดรับอนุญาตเปนลายลักษณอักษร จากสำนักพิมพ บายยัวรเซลฟ พับลิชชิ่ง
บทบรรณาธิการ และแล้วก็มาถึงรุ่นที่ 3 ของหนังสือเล่มที่น้องๆ กำลังถืออยู่ในมือนี้ รุ่นแรกใช้ชื่อว่า “เกิดมาเพื่อเป็นหมอ” *รูปเล่มสีแดงขนาดเหมาะมือ ต่อมาปรับปรุงเป็นรุ่นที่ 2 ในชื่อว่า “Born to be หมอ” คราวนี้ทั้งใหญ่ทั้งหนา เหมือนอิ่มบุญมาจากยอดขายเล่มแรก นึกภาพหนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ ประมาณ 170 หน้า มาเป็นขนาด Pocket book มาตรฐาน 400 กว่าหน้า ซึ่งก็ขายดิบขายดีพิมพ์ซ้ำกันหลายครั้ง พอมาถึงรุ่นที่ 3 ในชื่อเดิมแต่เพิ่ม เลข 1 บอกอไม่อยากให้หนาไปกว่านีอ้ กี แล้ว เดีย๋ วกลายเป็นคัมภีรไ์ บเบิล้ เลยจับลดน้ำหนัก ให้เหลือเพียง 300 หน้าเศษ เท่านั้น พี่บอกอตัดเนื้อหาออกทำไม เสียดาย? เปล่าครับ แค่เก็บไปใส่ในเล่ม 2 เท่านั้นเอง เพื่อให้หนังสือมันมีความ smart มากขึ้น เพราะคิดว่า เล่มเดิมมันมีเนื้อหาบางส่วนที่เหมาะกับคนที่สอบติดและกำลัง เรียนหมอแล้วเท่านั้น คือพวกสูตรท่องจำใน part 3 เพราะส่วนนี้ทำให้น้องๆ หลายคน ถึงกับอึ้งชักตาตั้งมาแล้ว (ฮะฮ้า...ล้อเล่น) เลยคิดว่าถอดไปไว้เล่ม 2 จะดีกว่า และไป เพิ่มเรื่องของการสอบหมอแบบรับตรง หมอ-กสพท. และหมอแอดมิชชั่น พร้อมกันนี้ก็ รวบรวมข้อมูลให้ด้วยว่า มีสถาบันไหนเปิดรับบ้าง โครงการ/โควต้าต่างๆ เป็นอย่างไร รับกันกี่คน คุณสมบัติของเราสมัครได้มั้ย ปฏิทินการสอบต่างๆ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้น้องๆ ควรจะรู้ก่อนสูตรนรกพวกนั้น ขอเกริ่นไว้สำหรับเล่มสองต่อเลยแล้วกันนะ นอกจากจะมีสูตรเอาตัวรอดของ นักศึกษาแพทย์แล้ว พีย่ งั ได้นำเนือ้ หาของหนังสือ “เมือ่ ผมเป็นหมอ” มาใส่ดว้ ย (*เล่มเขียว ทีเ่ คยวางคูก่ บั เกิดมาเพือ่ เป็นหมอ) ซึง่ เนือ้ หาจะเล่าถึงชีวติ ของหมอมือใหม่ปา้ ยแดงเมือ่ ต้อง ออกไปเผชิญโลกกว้าง ได้สัมผัสชีวิตการทำงานจริงๆ การเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง (ใหม่) และที่เหลือขออุบไว้ก่อนครับ เดี๋ยวไม่ตื่นเต้น หวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็น “พี่รหัส” ที่ดีมีคุณภาพสำหรับน้องๆ เหมือนเดิมนะ สุดท้ายนี้ขอฝากสำนวนดีๆ จากรุ่นพี่ไว้ปิดท้ายว่า “เก่งไม่กลัว แต่กลัวขยัน”
บอกอ peeByNature (((เขย่าความคิด ก่อนเลือกเรียนหมอ))) หากใครหลวมตัวเรียนไปแล้ว หนังสือเล่มนี้คือ วิตามินเสริม *หากนึกภาพไม่ออก ให้ไปดูโฆษณาในปกหลังนะ
คำนำ หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาแล้ว เส้นทางที่ทุกๆ คนมุ่งหวังจะเดิน ต่อไปก็คือ การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การที่แต่ละคนจะตัดสินใจว่า จะสอบเข้าคณะไหน จะเรียนอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนฝันหรือต้องการที่ จะเป็นอะไร หลายๆ คน อยากจะเป็นครู อยากเป็นวิศวกร อยากเป็นดีไซเนอร์ อยากเป็นนักบิน อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ และอีกหลายๆ อาชีพ และหนึ่ง ในอาชีพยอดฮิตที่เด็กๆหลายคนอยากจะเป็นก็คือ “หมอ” หรือแพทย์นั่นเอง จะเป็นนายแพทย์ แพทย์หญิง หรือ แพทย์ฉิง ก็ว่ากันไป แต่จะมีสกั กีค่ นทีร่ วู้ า่ จริงๆ แล้ว หมอต้องเรียนอะไรบ้าง ต้องทำอะไรบ้าง อาจารย์ใหญ่ที่หลายๆ คนพูดถึง เราได้ใช้ประโยชน์อะไรจากร่างที่ท่านอุทิศ เพื่อนักศึกษาแพทย์บ้าง ทำไมหมอต้องเรียนอะไรเยอะแยะมากมายตั้ง 6 ปี ทำไมถึงได้มีคำว่า pre-clinic และ clinic มันเหมือนคลินิกที่หมอๆ ทั้งหลาย เขาเปิดรักษาโรคกันหรือเปล่านะ เขาเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไง เขาเรียนกันยังไง ใช้ชวี ติ ยังไง อยูเ่ วรกันยังไง และอีกสารพัดคำถามว่า ทำไม?ๆๆๆ หนังสือเล่มนี้ มีคำตอบให้กับน้องๆ ทุกคนอย่างแน่นอน ผมอาจจะไม่ใช่นักเขียนที่เก่งที่สุด อาจจะไม่ใช่หมอที่เก่งที่สุด แต่ก็ พยายามรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้องที่สุด ที่สำคัญก็คือ รู้สึกภูมิใจ และดีใจที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์สำคัญ รวมไปถึงแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับ การเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ทงั้ หลาย (แม้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ มหาวิทยาลัย แต่จะใกล้เคียงกันแน่นอน เพราะต้องจัดการเรียนการสอนให้ได้ มาตรฐานตามที่แพทยสภากำหนดไว้) ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินได้เห็น ด้วยตัวเองมาก่อน และช่วยให้ๆ หลายคนตัดสินใจทีจ่ ะเลือกเรียนต่อในวิชาชีพ ที่ตัวเองรักและใฝ่ฝันได้อย่างถูกต้องที่สุด
หนังสือ Born to be หมอ เล่มนี้ ได้ถกู ปรับปรุงเนือ้ หาบางส่วนขึน้ มาใหม่ ให้ทนั สมัยขึน้ ตามระบบการสอบทีเ่ ปลีย่ นไป แต่ยงั คงความสนุกไว้เหมือนเดิม และอธิบายการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปี ในทุกๆ รายวิชาอย่างละเอียด รวมทั้งแทรกประสบการณ์ในการทำงาน แนวคิดและอุดมการณ์จากแพทย์ ดีเด่นหลายๆ ท่าน เนือ้ หาเจาะลึก อ่านง่าย เข้าใจง่าย โดนใจวัยเรียนและวัยรุน่ (เพราะคนเขียนก็ยังไม่แก่เท่าไหร่นะ) รับรองว่าน้องๆ จะได้รับรู้ในทุกๆ ด้านที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนหมออย่างครบถ้วนแน่นอน
นายแพทย์ติยะ
8 ข้อมูลการเปิดรับหมอทุกแบบ ทุกสถาบัน ปี 55 10 อัพเดทล่าสุด ปี 55 สดๆ ร้อนๆ 11 หมอรับตรง - หมอ กสพท. - หมอแอดมิชชั่น 16 กำหนดสอบวิชาการ 7 วิชา (โดย สทศ.) 19 ตาสว่าง! เคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearing House)
23 สอบเข้าหมอ กสพท. ปี 55 24 25 27 28 31 33 33 34 35 36 39 41
1. สถาบันไหนรับแพทย์/ทันตแพทย์กี่คน (โดยประมาณ) 2. คุณสมบัติของผู้สมัคร 3. กำหนดการคัดเลือก กสพท. ปีการศึกษา 2555 4. กำหนดการสอบวิชาสามัญ 7 วิชา 5. เอกสารประกอบใบสมัครสอบ 6. การชำระค่าสมัครผ่านธนาคาร 7. สนามสอบวิชาเฉพาะ 8. รายวิชาและสัดส่วนคะแนนการคัดเลือกปี 55 9. กระบวนการคัดเลือก 10. หลักเกณฑ์ทั่วไป 11. ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการเลือกลำดับ เรียนหมอที่ ไหนดี? ปี 55
58 เส้นทางสู่การเป็นหมอ 60 กว่าจะได้เป็นหมอ 62 66 74 80
นพ.ภักดี สืบนุการณ์ แพทย์ดีเด่นในชนบทปี 2553 นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ดีเด่นในชนบทปี 2552 สัมภาษณ์น้องแป้ง นักศึกษาแพทย์ โครงการ MDX ของ มข. แน่ ใจนะว่าอยากเป็นหมอกันจริงๆ
85 87 93 98 99
ค่ายสานฝันของคนอยากเรียนหมอ คำถามสุด Hot (คำตอบสุดยอด) 3 ข้อต้องห้าม เรียนหมอไม่ได้ ทุนมาพร้อมสัญญาผูกพันที่ยิ่งใหญ่ แพทย์ ใช้ทุนและการใช้ทุน (ทุน CPIRD, ODOD)
112 ฟิตสมอง! เตรียมตัวสอบเข้าหมอ
126 เริ่มต้นชีวิตเป็นนักศึกษาแพทย์ 128 การสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 132 วันรับน้องหรือวันทรมานน้อง
138 แนะนำอุปกรณ์ในการเรียน 147 ปี 1 เรียนสบายๆ แต่เกือบตาย 156 การใช้ชีวิตในการเรียนของพวกปี 1 158 กิจกรรมตอนปี 1
170 ปี 2 เรียนวิชาคณะกับอาจารย์ใหญ่ 191 จบปี 2 บทพิสูจน์ว่าใครจะได้ไปต่อ
192 ปี 3 พี่ใหญ่พรีคลินิก 207 การเรียนภาคปฏิบัติในโรงพยาบาล 210 ปี 4 เด็กน้อยในระดับคลินิก 231 กิจกรรมของปี 3
233 ปี 5 ใกล้เป็นหมอเข้าไปทุกที 248 ปี 6 ช่วง Extern ตายได้ แต่ลาไม่ได้ 262 สิ้นสุดการเรียน เริ่มต้นชีวิตหมอ
264 เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเป็นหมอ 266 เรียนหมอเพื่อเป็นยอดมนุษย์ (ทำไปได้) 271 บอกไว้ก่อนเดี๋ยวคงเจอ 277 เตรียมตัวก่อนเข้าห้องผ่าตัด 284 ความเชือ่ ที่ผิดๆ เกี่ยวกับการผ่าตัด
285 พูดจาภาษาหมอ 286 ศัพท์แสงในโรงพยาบาล
298 หมอมือใหม่
ตอนที่ 1
ข้อมูลการเปิดรับหมอ ทุกแบบ ทุกสถาบัน ปี 55 โดยทีมวิชาการ บายยัวร์เซลฟ์
อัพเดทล่าสุด ปี 55 สดๆ ร้อนๆ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแหงชาติ ผู้สนใจหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ให้สมัครและเข้าสอบ O-NET GAT/PAT, วิชาการ 7 วิชา กับ สทศ. www.niets.or.th
สมาคมอธิการบดีแหงประเทศไทย สมัครเลือกหลักสูตรและสถาบัน ที่ต้องการศึกษากับสมาคมอธิการบดี แห่งประเทศไทย (สอท.) www.cuas.or.th
ที่ประชุมอธิการบดีแหงประเทศไทย
(Council of University Presidents of Thailand) ศูนย์กลางที่เปิดโอกาสให้มหา’ลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับ กิจการอุดมศึกษาของประเทศ และผลักดันความคิดสร้างสรรค์ เหล่านั้นให้เกิดผล อยู่ภายใต้การดำเนินงานโดย สอท. www.cupt-thailand.net
กลุมสถาบันแพทยศาสตรแหงประเทศไทย
(Consortium of Thai Medical Schools) ดำเนินการรับสมัครและจัดสอบวิชาเฉพาะ และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตร แพทย์ฯ และทันตแพทย์ฯ www.cotmes.org
11
หมอรับตรง - หมอ กสพท. - หมอแอดมิชชั่น
เลือกแบบไหน? หากน้องๆ สนใจอยากเรียนหมอ ก็จำเป็นต้องรูว้ า่ จะสอบหมอได้ทไี่ หน อย่างไร และต้องมีคุณสมบัติ ตลอดจนการเตรียมตัวเพื่อพิชิตศึกในทุกสนามสอบ หากจะพูดถึงช่องทางการเปิดสอบหมอของสถาบันต่างๆ โดยหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. ระบบรับตรงโดยสถาบัน (Direct Admission) • โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) • โครงการกระจายแพทย์ หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD) • โครงการพิเศษ-โควต้าภาคที่เปิดรับตรงโดยคณะแพทยศาสตร์ 2. ระบบรับตรงร่วมกันผ่าน กสพท. (กลุม่ สถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย) 3. ระบบแอดมิชชั่นกลาง (Central Admission) แน่นอนว่า น้องๆ ทุกคนจะไม่พลาดที่จะลองมันทั้ง 3 ช่องทาง เท่าที่โอกาส จะเปิ ด ให้ และก็ เ ป็ น ไปได้ ว่ า จะมี น้ อ งบางคนที่ เ ก่ ง ถึ ง ขนาดสอบที่ ไ หนก็ ติ ด คือติดมากกว่า 1 แห่ง ก็เลยทำให้ปี 2555 นี้ เค้าได้มีการนำระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearing House) เข้ามาเป็นตัวกลางยืนยันสิทธิ์ในการเลือกเพียงสถาบันเดียว เพือ่ ไม่ให้คนทีส่ อบติดหลายๆ ทีไ่ ปกันสิทธ์คนอืน่ และไม่ทำให้สถาบันทีน่ อ้ งสละสิทธิ์ ในภายหลังต้องเสียที่นั่งไป (เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีนะสำหรับเรื่อง Clearing House)
12
ระบบรับตรงโดยสถาบัน (Direct Admission) คณะแพทยศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับเอง อาจจะโดยการจัดสอบเอง หรือใช้คะแนนสอบกลางมายื่นสมัครก็ได้ เป็นโครงการแพทย์ 5 ปี หรือที่เรียกว่า New tract นั่นเอง แต่จะเปิดสอนเฉพาะ บางมหาวิทยาลัยเท่านั้น รับสมัครจากทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว ได้แก่ ทันตแพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์, เทคนิคการแพทย์, กายภาพบำบัด, พยาบาล, สัตวแพทย์, สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ นอกจากนี้ ยั ง มี ร ะบบรั บ ตรงโดยให้ โ ควตาพิเ ศษแก่ โ รงเรี ย นที่ อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ รับผิดชอบ เช่น • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะเปิดรับตรงในเขตภาคเหนือก่อน • มหาวิยาลัยนเรศวรจะเปิดรับตรงในเขตภาคเหนือตอนล่างและจังหวัด พะเยาก่อน • มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเปิดรับตรงในเขต 15 จังหวัดในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (ยกเว้น นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์) ก่อน • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเปิดรับตรงในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ก่อน เป็นต้น รวมทั้งยังมีโครงการรับตรงในแบบต่างๆ อีกเช่น โครงการเรียนดี โครงการ โอลิมปิกวิชาการ โครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ น้องๆ คนไหน อยากเข้าเรียนที่ไหน ก็สามารถหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้โดยตรง เอาง่ายๆ ก็คือ จังหวัดที่น้องกำลังเรียนอยู่นั้น อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยไหนมากที่สุด ก็มักจะมี การเปิดรับตรงโดยมหาวิทยาลัยนั้น
13
ระบบรับตรงร่วมกันผ่าน กสพท. “หนูอยากรู้ว่าอะไรคือ กสพท เเล้ว กสพท เกี่ยวอะไรกับคณะทันตแพทย์” กสพท. ก็คือ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่ได้รับมอบอำนาจ จากคณะแพทยศาสตร์ 12 สถาบัน และคณะทันตแพทยศาสตร์ 5 สถาบัน ในการ ดำเนินการรับสมัคร จัดสอบ และคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักทันตแพทย์ศาสตรบัณฑิต พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการเปิดรับตรงร่วมกันนั่นเอง เพื่อเป็นการลดภาระของน้องๆ และผู้ปกครอง ลดปัญหาการมอบตัวซ้ำซ้อนหลาย สถาบันในปีการศึกษาเดียวกัน ซึ่งเป็นเหตุให้มีการสละสิทธิ์และมีที่นั่งว่างในแต่ ละสถาบัน เดิมที กสพท. นั้นจะดำเนินการจัดสอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะแพทย์ เองทั้งหมด แต่ในการรับสมัครแพทย์รุ่น 55 ในปีนี้แตกต่างจากปีที่แล้ว คือ จะมีการ จัดสอบวิชาทั่วไปหรือด้านวิชาการ 7 วิชา โดย สทศ.เป็นปีแรก ส่วนทาง กสพท. ก็ทำหน้าที่จัดสอบวิชาเฉพาะอย่างเดิม เดี๋ยวไปเน้นกันอีกทีในรายละเอียดครับ พี่ๆ บายยัวร์เซลฟ์เตรียมข้อมูลอัพเดต ไว้ให้อย่างครบถ้วน ตอนนี้น้องค่อยๆ ทำความเข้าใจภาพรวมไปก่อน ในปีการศึกษา 2555 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ดำเนินการรับสมัครและจัดสอบวิชาเฉพาะ และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ของสถาบันต่อไปนี้ คณะแพทยศาสตร์ 12 แห่ง : ขอนแก่ น จุ ฬ าฯ เชี ย งใหม่ ธรรมศาสตร์ นเรศวร ศิ ริ ร าช รามาฯ รั ง สิ ต ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลาฯ นวมินทราธิราช (วชิรพยาบาล) พระมงกุฎเกล้า คณะทันตแพทยศาสตร์ 5 แห่ง : จุฬาฯ มหิดล เชียงใหม่ สงขลาฯ ศรีนครินทรวิโรฒ
สงรายชื่อเพื่อตัดสิทธิ์ Admissions (เฉพาะมหาวิทยาลัยที่เขารวม)
ประกาศผลการคัดเลือกรับตรงฯ
การรับบุคคลเขาศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา (Admissions)
ผลการคัดเลือกรับตรงฯ (ผูที่สละสิทธิ์)
เคลียริ่งเฮาส (Clearing house) สอท.
ผลการคัดเลือกรับตรงฯ (ผูที่ยืนยันสิทธิ์)
นักเรียนยืนยันสิทธิ์ 1 แหง
นักเรียนที่ไมไดสมัครคัดเลือกรับตรงฯ
สงรายชื่อเพื่อตัดสิทธิ์ Admissions (เฉพาะมหาวิทยาลัยที่เขารวม)
ประกาศผลการคัดเลือกรับตรงฯ
รับตรงฯ รูปแบบที่ 3 (ขอสอบมหาวิทยาลัย และหรือขอสอบ สทศ. และสอบสัมภาษณ)
รับตรงฯ รูปแบบที่ 3 (ขอสอบมหาวิทยาลัย และหรือขอสอบ สทศ. และสอบสัมภาษณ) มหาวิทยาลัยสงรายชื่อผูผาน การสอบสัมภาษณฯ ให สอท.
รับตรงฯ รูปแบบที่ 2 (ขอสอบมหาวิทยาลัยและสอบสัมภาษณ)
รับตรงฯ รูปแบบที่ 2 (ขอสอบมหาวิทยาลัยและสอบสัมภาษณ)
สงรายชือ่ ใหมหาวิทยาลัย ประกาศรายชื่อ ผูมีสิทธิ์เขาศึกษาฯ
รับตรงฯ รูปแบบที่ 1 (สอบสัมภาษณ)
มหาวิทยาลัยที่ไมเขารวมเคลียริ่งเฮาส**
รับตรงฯ รูปแบบที่ 1 (สอบสัมภาษณ)
มหาวิทยาลัยที่เขารวมเคลียริ่งเฮาส*
20
แผนผังการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555 สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.)
21 *รายชือ่ มหาวิทยาลัยทีเ่ ข้าร่วมในโครงการรับตรงผ่านเคลียริง่ เฮาส์ (Clearing house) 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
17. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18. มหาวิทยาลัยศิลปากร
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ
19. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 20. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
21. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
22. มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล)
9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 10. มหาวิทยาลัยนครพนม 11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 12. มหาวิทยาลัยนเรศวร 13. มหาวิทยาลัยพะเยา 14. มหาวิทยาลัยมหิดล
23. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 24. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (คณะครุศาสตร์) 25. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 26. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 27. กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ แห่งประเทศไทย (กสพท.)
• รายละเอียดในการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ของแต่ละมหาวิทยาลัย ให้เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ แต่ละมหาวิทยาลัยนั้นโดยตรง • นอกเหนือจากรายชื่อสถาบันข้างต้นที่กล่าวไป จะไม่มีการตัดสิทธิ์การสอบ Admission
22 **รายชื่อมหาวิทยาลัยที่จะส่งชื่อผู้สอบติดรับตรงไปยังสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เพื่อตัดสิทธิ์ Admission กลาง 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13. มหาวิทยาลัยบูรพา
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14. มหาวิทยาลัยพะเยา
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
15. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
16. มหาวิทยาลัยมหิดล
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ
17. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
18. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
19. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 10. มหาวิทยาลัยนครพนม 11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 12. มหาวิทยาลัยนเรศวร
20. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 21. มหาวิทยาลัยศิลปากร 22. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 23. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 24. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ www.cuas.or.th ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2554
สอบเข้าหมอ กสพท. ปี 55 อย่างทีพ่ ไี่ ด้เกริน่ ไปแล้วในตอนแรกว่า เดิมที กสพท. จะจัดการสอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะแพทย์เองทั้งหมด แต่ในการรับสมัครแพทย์รุ่น 55 นี้จะเปลี่ยนเป็น การจัดสอบแต่วิชาเฉพาะเท่านั้น ส่วนวิชาสามัญนั้นจะมอบให้ทางสถาบัน สทศ. เป็นผู้จัดสอบแทน เอาล่ะ เรามาลงในรายละเอียดกัน กสพท. ได้ร่วมมือกับ ทปอ. ในการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาในระดับอุดมศึกษาระบบรับตรงของ ทปอ. (Clearing house) โดยใน ปี นี้ กสพท.ได้ รั บ มอบอำนาจจากคณะแพทยศาสตร์ 12 สถาบั น และคณะ ทันตแพทยศาสตร์ 5 สถาบัน ในการดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกผู้ที่ ต้องการเรียนหมอและทันตแพทย์ผ่านระบบรับตรง (Direct Admission) การสอบวิชาเฉพาะแพทย์ (จัดสอบโดย กสพท.) วิชาเฉพาะแพทย์ (ความถนัดทางแพทย์) ข้อสอบส่วนวิชาเฉพาะแพทย์นี้ มีสัดส่วนสูง ถึง 30% ในการยื่นคะแนนเข้าคัดเลือก จะเห็นได้ว่าคะแนนของ วิชาเฉพาะแพทย์ มีน้ำหนักต่อ การสอบเข้าสูง กล่าวโดยสรุปก็คือ การสอบเข้าแพทย์ต้องใช้คะแนนดังต่อไปนี้ 1. วิชาเฉพาะแพทย์ 30% 2. วิชาสามัญ 70% 3. สอบ O-NET 0% (คะแนนรวมต้องเท่ากับหรือมากกว่า 60%) เนื้อหาจะเน้นความรู้ที่ใช้ในการสอบวิชาเฉพาะแพทย์ทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนการคิดแบบ มีวิจารณญาณ ส่วนจริยธรรมแพทย์ และส่วนความคิดเชื่อมโยง นำผลคะแนนยื่นเพื่อพิจารณา เข้าเรียนต่อคณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ในโครงการ กสพท. แนะนำให้น้องๆ ไปซือ้ คูม่ อื สอบตรงวิชาเฉพาะแพทย์และทันตแพทย์ เพือ่ มาดูเป็นแนวทาง หรือลงเรียนกับติวเตอร์ ก็แล้วแต่สะดวกเลยครับ
24
1. สถาบันไหนรับแพทย์/ทันตแพทย์กค ่ี น (โดยประมาณ) คณะ/สถาบัน
จำนวนรับโดยประมาณ*
(1) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
20
(2) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
200
(3) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
50
(4) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
72
(5) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
30
(6) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
250
(7) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
156
(8) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
40
(9) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
165
(10) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
30
(11) มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
70
(12) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า **ชาย
60
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า **หญิง
40
(13) คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
80
(14) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
70
(15) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30
(16) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
20
(17) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
25
รวม*
1408*
*ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จำนวนรับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มหรือลดได้ โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ **สำหรับวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อเป็นนักเรียน แพทย์ทหาร หรือนักเรียนแพทย์ตามที่ทางวิทยาลัยฯ กำหนด ดูรายละเอียดทางเว็บไซต์ www.pcm.ac.th ของวิทยาลัยฯ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (พี่แนะนำให้ไปดูจำนวนที่รับเข้าศึกษาที่เว็บของสถาบันต่างๆ โดยตรงครับ)
39
11. ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการเลือกลำดับ
ผูท้ มี่ คี วามประสงค์จะทราบคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ของผูท้ เี่ ข้าศึกษา ปีการศึกษา 2553 และ 2554 ในรอบที่ 1 ของแต่ละสถาบันเพื่อประกอบการตัดสินใจในการ เลือกลำดับคณะฯ ขอให้คลิกดูได้ที่ www9.si.mahidol.ac.th
โตขึ้นหนูอยากเป็นหมอ... ‘หมอ’ เป็นความฝันของเด็กหลายๆ คน พ่อแม่ก็เช่นกัน ‘หมอ’ เป็นอาชีพที่เกิดจากความเข้าใจผิดที่ว่า เรียนเก่งต้องเป็นหมอ ‘หมอ’ เป็นอาชีพที่มีเกียรติและเป็นที่เคารพยกย่องของคนในสังคม ‘หมอ’ เป็นอาชีพที่หลายคนคิดว่า มันจะสร้างรายได้ที่ดีและมั่นคงร่ำรวย ‘หมอ’ เป็นอาชีพที่น่าจะสบายที่สุด เพราะตรวจคนไข้แป๊บเดียวก็ได้เงิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามที่ทำให่้น้องๆ เลือกเรียนหมอ แต่... เมื่อได้เรียนหมอแล้วถึงได้รู้ว่า ความฝันกับความจริงมันคนละเรื่องกัน เมื่อได้เรียนหมอแล้วถึงได้รู้ว่า เรียนเก่งอย่างเดียวมันไม่พอ เมื่อได้เรียนหมอแล้วถึงได้รู้ว่า เกียรติและความภูมิใจต้องแลกมาด้วยความเสียสละ เมื่อได้เรียนหมอแล้วถึงได้รู้ว่า รายได้ที่ดีต้องแลกมาด้วยเวลาการทำงานที่ยาวนาน เมื่อได้เรียนหมอแล้วถึงได้รู้ว่า คำว่าสบายมันไม่มีอยู่ในหัว จะกินยายังต้อง (((เขย่าขวด))) จะเป็นหมอทั้งที ก็ต้อง (((เขย่าสมอง เขย่าความคิด))) กันก่อน จริงมั้ยครับ
40
41
เรียนหมอที่ไหนดี? ปี 55 คณะ/สถาบัน
จำนวนรับ*
(1) คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น**
288
(2) คณะแพทยศาสตร์ ม.จุฬาฯ
313
(3) คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
255
(4) คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
177
(5) คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
165
(6) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
414
(7) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
180
(8) คณะแพทยศาสตร์ ม.รังสิต
120
(9) คณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
177
(10) คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
60+
(11) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.กรุงเทพมหานคร
80
(12) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ชาย
60
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า หญิง
40
(13) คณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม***
48
(14) สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
48
(15) คณะแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
60
(16) วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม. อุบลราชธานี
36
(17) คณะแพทยศาสตร์ ม.นราธิวาสราชนครินทร์
24
(18) คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา
48
(19) คณะแพทยศาสตร์ ม.พะเยา
30
*เป็นจำนวนรับทั้งหมดโดยประมาณ และรวมแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแนวใหม่เพื่อชาว ชนบท (New Tract) เข้าไปด้วย ดังนัน้ ขอให้นอ้ งๆ เข้าไปดูทคี่ ณะอีกครัง้ ตามลิงค์ทใี่ ห้ไว้ เพือ่ ป้องกัน กรณีที่มีการอัพเดทจำนวนรับ พร้อมกับดูคุณสมบัติและปฏิทินการรับสมัครแบบครบถ้วน **สถาบันที่ 1-12 อยู่ในกลุ่ม กสพท. (มีการรับตรงร่วมกัน) ***สถาบันที่ 13-19 ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม กสพท. (สถาบันเปิดรับตรงเอง)
42
คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น โครงการ รับ (คน)
รายละเอียด
กสพท.
20
ปกติจะเปิดรับสมัครประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี
โควตา มข.
20
นักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
MDX
44
โครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ และภาษาอังกฤษ รับทั่วประเทศ
MD02
46
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รับในพื้นที่ 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
CPIRD
74
โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท พื้นที่การรับคือ 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย (รวมบึงกาฬ) (เปิดรับสมัคร 15-30 ก.ย.54)
ODOD
84
โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน • รพ.ศรีนครินทร์ (30 คน) ยโสธร (2), อุดรธานี (3), หนองบัวลำภู (1), หนองคาย (4), เลย (1), ขอบแก่น (4), สกลนคร (2), อุบลฯ (5), นครพนม (1), ศรีสะเกษ (6), อำนาจเจริญ (1) • รพ.ขอนแก่น (24 คน) มุกดาหาร (2), สกลนคร (8), นครพนม (4), ขอนแก่น (10) • รพ.สรรพสิทธิ์ประสงค์ (14) อุบลฯ (9), ศรีสะเกษ (4), ยโสธร (1) • รพ.อุดรธานี (16) อุดรธานี (8), หนองบัวลำภู (1), หนองคาย (5), เลย (2)
อ้างอิง http://home.kku.ac.th/admismd/ ข้อสอบเก่า ข้อสอบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยวิธีรับตรง ประจำปีการศึกษา 2554 http://reg2.kku.ac.th/eregistration/2555/exam/exam54.asp
กว่าจะได้เป็นหมอ ก่อนอื่น พี่ขอนำเรื่องราวของคุณหมอท่านนึงที่อาจจะไม่ใช่คนเด่นคนดัง อะไร แต่ก็เป็นคนที่ดีพอในแง่ของความอุตสาหะที่พวกเราควรจะนำมาเป็น แบบอย่างให้กับทุกๆ คนที่อยากเป็นหมอได้เป็นอย่างดี เส้นทางของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง ครอบครัวของท่านเป็นเพียงชาวนา ที่ยากจนครอบครัวหนึ่งทางภาคอีสานเท่านั้น บ้านหรือที่เรียกกันตามที่เห็น ว่า “กระต๊อบ” นั้น ปลูกอยู่กลางนา ทุกๆ วันคุณหมอท่านนี้จะต้องเดินทาง ไปเรียนหนังสือเป็นระยะทางไปกลับมากกว่า 5 กิโลเมตร แต่ที่แย่ไปกว่านั้น ก็ คื อ ไม่ มี แ ม้ ก ระทั่ ง รองเท้ า ใส่ ไ ปเรี ย น ต้ อ งเดิ น เท้ า เปล่ า ไปตลอดทาง จนกระทั่งได้มีรองเท้าใส่ไปเรียนเมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทีอ่ ยูใ่ กล้บา้ นนัน้ เปิดสอนในระดับประถมศึกษาเท่านัน้ ดังนัน้ เมือ่ ต้องเรียนในชั้นมัธยม จึงจำเป็นต้องเดินทางไปเรียนไกลกว่าเดิมแต่ในที่สุด คุณหมอก็อดทนเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และสอบติดคณะแพทย ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึง่ ทางภาคอีสาน วันทีร่ วู้ า่ ตัวเองสอบติดและได้ เข้าเรียนคณะแพทย์อย่างที่หวัง ทั้งบ้านกอดกันร้องไห้ด้วยความดีใจ ปัจจุบัน คุณหมอท่านนี้เรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิตในระดับเกียรตินิยม และออกไปทำงานเป็นหมอในชนบท ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล แห่งหนึ่งในภาคอีสานตามภูมิลำเนาเดิมนั่นเอง
62
นพ.ภักดี สืบนุการณ์ แพทย์ดีเด่นในชนบทปี 2553
นพ. ภั ก ดี สื บ นุ ก ารณ์ หรื อ หมอจิ๋ ว ของชาว อ.ด่านซ้าย จ.เลย นับเป็นผูไ้ ด้รบั รางวัลแพทย์ดเี ด่น ในชนบทของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คนที่ 37 ประจำปี 2553 เดิมท่านจบการศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในปี 2530 จากนั้นทำงานที่ รพ.ภูเรือ 2 ปี และ รพ.ด่านซ้าย ในปี 2532 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราช
66
นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ดีเด่นในชนบทปี 2552
นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต ผู้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นใน ชนบทประจำปี 2552 ท่านสำเร็จการศึกษาแพทย์ ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศิษย์เก่าแพทย์ศริ ริ าช รุน่ 92 เมือ่ ปี 2530 ปัจจุบนั ดำรงตำแหน่งผูอ้ ำนวย การโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
74
สัมภาษณ์นอ้ งแปง นักศึกษาแพทย์ โครงการ MDX ของ มข.
น้องแป้ง ดวงสุดา ศิริธีระวัฒน์ นักเขียนคนเก่ง ของบายยัวร์เซลฟ์ ที่ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น น้องแป้งเป็นผู้แต่งหนังสือ want to be go inter ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ การสอบชิงทุน AFS และการใช้ชีวิตอยู่กับโฮสที่อเมริกาตั้งเกือบปี แถมพอกลับมาก็สอบติด หมอเฉยเลย น้องแป้งทำได้ยังไง?
75
น้องแป้งสอบหมอแบบไหน สอบตรง โควต้า หรือ กสพท.
แป้งสอบรับตรงโครงการ MDX ของมข.เข้ามาค่ะ โครงการนี้ก็เป็น เหมือนกับแพทย์ที่เน้นภาษาอังกฤษด้วยค่ะ จะว่าเป็นแพทย์อินเตอร์ 100% ก็ไม่ได้เพราะเวลาเรียนก็เรียนเป็นภาษาไทยรวมกันหมดในห้อง บรรยายใหญ่ ยกเว้นตอนเข้าเคส small group ^^ โดยเค้าจะแบ่งนักศึกษา แพทย์ออกเป็นกลุ่มย่อยสิบคนแล้วให้เคสคนไข้มาว่า อาการอย่างนี้ ผลตรวจแล็บเป็นแบบนี้ เราจะวินิจฉัยให้การรักษา ให้ยาอะไร หรือว่า ให้คำปรึกษาคนไข้แบบไหน โดยนศพ.ที่อยู่ในโครงการนี้ก็จะต้องทำเคส เป็นภาษาอังกฤษค่ะ เป็นที่รู้กันว่าพอเข้าห้อง small group มาคุณต้อง discuss กันเป็นภาษาอังกฤษนะ
น้องแป้งมีเคล็ดลับในการเตรียมสอบยังไงบ้าง
ตอน ม.ปลาย แป้งได้ทุน AFS ไปอเมริกา พอกลับมาก็ถึงฤดู สอบตรงพอดี ช่วงเวลาที่เหลือให้แป้งอ่านหนังสือมันน้อยเหลือเกิน ทีแ่ ป้งทำก่อนสอบเข้าก็คอื แป้งไปหาเลือกหนังสือดีๆ ทีต่ วั เองคิด (เอาเอง) ว่ามันน่าจะดีของแต่ละวิชามากองตรงหน้า บวกจำนวนหน้าทัง้ หมดของ หนังสือกองนั้น แล้วก็หารด้วยจำนวนวันที่เหลือก่อนสอบเข้า ได้ออกมา เป็นจำนวนหน้าที่ต้องอ่านรายวัน เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้อาทิตย์นึง แล้วก็ อ่านตามจำนวนหน้านั้นเป็นอย่างต่ำ ถ้าอ่านขั้นต่ำเสร็จแล้วแป้งก็ไป เล่นกีฬา ฟังเพลง ผ่อนคลายบ้าง คนเราถ้าอ่านคอมโบติดกันเกินสาม ชัว่ โมง แป้งว่าสมองมันก็ไม่รบั แล้วล่ะค่ะ ต้องผ่อนคลายด้วย และแป้งก็เป็น พวกไม่ค่อยชอบเรียนพิเศษแบบนั่งนานๆ หรือถ้าได้เรียนก็จะมีโดดบ้าง เพราะรู้สึกว่าตัวเองอ่านเองมันมีสมาธิมากกว่า
ค่ายสานฝันของคน อยากเรียนหมอ เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเรียนหมอนั้น สอบเข้าก็ยาก เรียนก็หนัก เหนื่อยก็เหนื่อย เครียดก็เครียด เวลาก็ไม่ค่อยมี ถ้าไม่ใช่เพราะว่า อยากจะเรียนจริงๆ แล้วล่ะก็ คงยากที่จะเป็นหมอและทำหน้าที่ของหมอได้ อย่างมีความสุข แม้แต่คนทีเ่ ป็นหมอเอง หรือทำงานทีเ่ กีย่ วข้องกับวงการแพทย์ หลายคน ก็ยังไม่อยากให้ลูกเป็นหมอหรือทำอาชีพทางการแพทย์ เพราะไม่ค่อยมีเวลา เป็นของตนเอง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอเพื่อรับเหตุฉุกเฉิน จะต้องมาให้ ได้ในทันทีที่ชาติต้องการ ปัจจุบันนี้ การหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเรียนหมอนั้นมีอยู่ มากมาย รวมทั้งมีการจัดค่ายสำหรับคนที่อยากเรียนหมอโดยคณะแพทย ศาสตร์ในหลายสถาบัน ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมหลักที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ • พาน้องๆ ที่มาเข้าค่ายดูอวัยวะและร่างกายของอาจารย์ใหญ่ที่ใช้ใน การเรียนจริงๆ ให้คณ ุ ได้ลองสูดดมกลิน่ ฟอร์มาลีนอันหอมชืน่ ใจให้เต็มปอดก่อน • พาน้องๆ เดินสำรวจตึกคณะและบริเวณต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเพื่อ เป็นการปลุกปั่น (โดยไม่ต้องปลุกปล้ำ) ให้น้องๆ ที่มาเข้าค่ายอยากมาเรียน มากยิ่งขึ้น • พาดูอวัยวะต่างๆ ที่ดองเก็บไว้ ทั้งสมอง หัวใจ ตับ ตับอ่อน ร่างกาย ของเด็กในแต่ละอายุครรภ์ ถ้าเห็นแค่ของที่ดองไว้แล้วมีอาการรังเกียจ กลัว หรือ สยดสยองแล้วล่ะก็ เมื่อได้เจอของจริงที่มีเลือดอาบอยู่ด้วยรับรองว่า ทนไม่ได้แน่ๆ
ฟิตสมอง! เตรียมตัวสอบเข้าหมอ ตอนเด็กๆ คุณกลัวหมอไหม และจำได้ไหมว่า ถ้าใครดื้อ พ่อแม่มักจะขู่ว่า “เดี๋ยวให้หมอจับฉีดยาเลย” นั่นเท่ากับเป็นการปลูกฝังให้เด็กคนนั้นเกลียดหมอตั้งแต่ยังเล็กเลยทีเดียว กว่าจะรู้ตัวว่าอยากเป็นหมอจริงๆ ก็อาจจะต้องโตมากพอที่จะเริ่มคิดอะไรได้ด้วย ตัวเอง หรือคิดอย่างมีเหตุมีผลได้แล้ว งั้นขอถามต่อหน่อยนะว่า ตอนนั้น มันคือ ตอนไหนล่ะ บางคน รู้ตัวว่าอยากเป็นหมอเมื่อเรียนอยู่ชั้น ม.5 ม.6 บางคน มามีแรงฮึดแรงขยันอ่านหนังสือเมื่อตอน ม.5 ม.6 บางคน คิดว่าเรียนต่างจังหวัด คงจะสู้เด็กกรุงเทพไม่ได้หรอก บางคน ก็บอกว่าเพื่อนเกรดดีกว่า คงสู้ไม่ได้หรอก มีน้องๆ หลายคนชอบบ่นว่าเกรดไม่ค่อยดี เกรดเท่านั้นเท่านี้ จะเรียนหมอ ได้หรือเปล่า กลัวไปต่างๆ นานา กลัวว่าจะเตรียมตัวไม่ทัน กลัวว่าจะสอบไม่ติด ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ ไม่แปลกที่น้องจะถาม ไม่แปลกที่น้องจะสงสัย แต่ ที่ ส ำคั ญ กว่ า นั้ น ก็ คื อ อย่ า มั ว แต่ ห มกมุ่ น กั บ คำว่ า “เกรดเฉลี่ ย ” จนเกิ น ไป (เค้ า ก็ บ อกแล้ ว ว่ า มั น ต้ อ งเฉลี่ ย มั น ไม่ ใ ช่ ทุ ก เรื่ อ งของชี วิ ต เรา) ต้ อ งเข้ า ใจว่ า นอกจากคำว่าเกรดเฉลี่ยแล้ว มากกว่านั้นก็คือ ความพยายามของเราล้วนๆ
123
และที่สำคัญก็คือ การลองหัดทำข้อสอบเก่าๆ เพราะเป็นการทดสอบความรู้ ความสามารถของตัวเองได้เป็นอย่างดี และทำให้เราได้รู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง ว่าเนื้อหาส่วนไหนที่เรายังไม่รู้หรือยังไม่เข้าใจพอ เพิ่มความยากให้มากขึ้นโดยการลองจับเวลาในการทำข้อสอบ เหมือนกับการ สอบจริงๆ และทำให้ครบทุกวิชา แล้วเอาคะแนนที่เราทำได้มารวมกัน นำไปเทียบ กั บ สถิ ติ ค ะแนนของปีที่ผ่านมา ว่าเราสามารถทำคะแนนได้ ถึ ง คณะที่ ต้ อ งการ จะสอบเข้าได้หรือไม่ (แต่อย่าเพิ่งท้อนะ ถ้าคะแนนที่ทำได้มันห่างไกลจากความ เป็นจริงมากไปหน่อย) ถ้ายังทำได้ไม่ดี เราก็จะได้ใช้ความพยายามให้มากขึ้น และถ้ า เราทำคะแนนออกมาได้ ดี ก็ จ ะทำให้ เ รามี ก ำลั ง ใจในการอ่ า นมากขึ้ น (สรุปว่า ไม่ว่าคะแนนมันจะออกมาดีหรือไม่ เราต้องคิดในทางที่ดี คิดในทางที่ ทำให้เรารู้สึกว่า ต้องตั้งใจและพยายามให้มากขึ้นไว้ก่อน)
การสอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย จริงๆ แล้ว ต้องเล่าเริม่ ต้นกันตัง้ แต่การสอบเข้าเรียนก่อน เด็กทีเ่ รียนแพทย์ ทุกคนต้องมาจากสายวิทย์ ไม่ใช่สายศิลป์ ซึ่งสมัยผมมันยังเป็นการสอบเอ็น สะท้านอยู่ (เอนทรานซ์) ซึง่ ต้องสอบใน 7 สาขาวิชาหลัก คือ ฟิสกิ ส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษาและภาษาอังกฤษ ทุกวิชาจะต้องได้คะแนนขั้นต่ำอย่างน้อย 35 คะแนน แต่อย่าเดาว่าคนที่ มาสอบเรียนหมอคงจะทำคะแนนในวิชาชีววิทยาได้สงู คิดผิดครับ เพราะหลาย คนทำคะแนนในส่วนของฟิสิกส์ เคมี คณิต ได้ดีกว่า หรือบางคนก็ทำคะแนน ในส่วนของภาษาไทย สังคม และภาษาอังกฤษได้ดกี ว่า อย่างน้อยก็ผมคนนึงล่ะ เพราะคะแนนวิชาชีววิทยาของผม ได้แค่ 36 คะแนน ผ่านเกณฑ์มาตัง้ 1 คะแนน แน่ะ มิหนำซ้ำสอบรอบสองก็ได้ตงั้ 38 คะแนน เพิม่ จากรอบแรกตัง้ 2 คะแนน แต่ ก็ยงั จะหน้าด้านเลือกมาเรียนแพทย์อกี ทัง้ ๆ ทีค่ วรจะไปเรียนทางด้านสายศิลป์ หรือภาษามากกว่า แต่ตอนนั้นในใจมันรู้สึกว่า มันเท่ห์ดีนะ มากกว่าจะรู้สึก อยากเรียนแพทย์จริงๆ หลังจากทราบผลประกาศคะแนนสอบ ชีวติ ณ ตอนนัน้ ไม่เอาอะไรอีกแล้ว เที่ยวอย่างเดียว รู้สึกภูมิใจเหลือเกินที่ในชีวิตหนึ่ง เราก็ทำได้และทำให้พ่อแม่ ภูมิใจด้วย และเมื่อถึงวันสอบสัมภาษณ์ตามวันเวลาที่ประกาศ ซึ่งจะมีการตรวจ ร่างกายอย่างละเอียดด้วย บางคนเพิง่ จะรูว้ า่ ตัวเองสกปรกแค่ไหนก็วนั นัน้ แหละ เพราะโดนหมอที่ตรวจดุมา เช่น โดนหมอ หู คอ จมูก ดุมาว่า จะเรียนหมอได้ ไงเนี่ยขี้หูเต็มหูเลย (แปลกใจเหมือนกันว่าการมีขี้หู มันมีอะไรเกี่ยวข้องในการ
แนะนำอุปกรณ์ ในการเรียน ถ้าจะถามว่าอุปกรณ์การเรียนที่นักศึกษาแพทย์ใช้กันเป็นประจำมีอะไรบ้าง เชื่อว่าหลายคนที่ไม่เคยมีคนรู้จักเรียนหมอ ไม่เคยมีญาติเรียนหมอ หรือไม่เคย เห็นนักศึกษาแพทย์ตอนที่เรียนมาก่อน อาจจะคิดถึงเข็มหรือมีดเป็นอันดับแรก ถ้าน้องๆ คิดแบบนั้น น้องคิดผิดครับ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้กันเป็นประจำไม่ใช่เข็ม หรือมีดแน่ๆ ใครจะไปพกของพวกนี้เดินไปเดินมาทั้งวันกันล่ะ จริงมั้ย ที่จริงแล้ว ของที่ใช้ในการเรียนนั้นก็ไม่ใช่สิ่งวิเศษวิโสอะไรเลย
เรื่องการแต่งตัวก่อนเลย แม้ ว่ า การแต่ ง กายของนั ก ศึ ก ษาแพทย์ จ ะไม่ นั บ ว่ า เป็ น อุ ป กรณ์ แต่ ถ้ า แต่งตัวไม่เป็นระเบียบ ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นปฏิบัติงานในแผนก ใครจะเชื่อ ว่าเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมจะถือเป็นเรื่องที่สำคัญพอๆ กับเรื่องความรู้เลยทีเดียว สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 นั้น ก็จะแต่งกายเหมือนกับนักศึกษาทั่วๆ ไปก็คือ ผู้ชาย ใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขายาวสีเข้ม ซึ่งมักจะเป็นสีดำ รองเท้าหนัง สีดำหุ้มส้น ผู้หญิง ก็ใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว กระโปรงสีเข้มสุภาพ รองเท้ารัดส้นสุภาพ แต่เนื่องจากการแต่งกายในช่วงปี 1-3 นั้น มักจะไม่ค่อยเคร่งครัดเท่าไหร่นัก จึงสุภาพกันแค่ในใจเท่านั้น ผู้ชายจะใส่ให้มันรัดเป้ารัดตูดยังไงก็ได้ ขออย่าให้มัน ดู อุ บ าทว์ เ กิ น ไปก็ พ อ ผู้ ห ญิ ง จะใส่ รั ด หน้ า อกหน้ า ใจให้ มั น ตู้ ม ๆ ปลิ้ น โชว์ เ ว้ า
140
Stethoscope (หูฟังทางการแพทย์) ถ้าพูดลอยๆ ว่า “สเต็ท” หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าบอกว่า หูฟัง อาจจะ เข้าใจง่ายขึ้น แต่ในบรรดานักศึกษาแพทย์และหมอๆ ทั้งหลายรวมทั้งบุคลากร ทางการแพทย์อน่ื ๆ ก็มกั จะเรียกกันว่า สเต็ท มาจากคำเต็มๆ ว่า Stethoscope เห็นแบบนี้ ไม่ใช่เสียบหูฟังลงไปในรูหูทั้งสองข้างแล้วใครก็สามารถฟังได้ นะครับ เพราะที่จริงแล้วมันสามารถใช้ฟังใช้ตรวจได้ทั้งสองด้าน แล้วแต่ว่าเรา สงสัยภาวะอะไรอยู่
ไม้เคาะเจิร์ก คำว่า เจิร์ก นั้น มาจากคำว่า Jerk ที่แปลว่ากระตุกนั่นเอง เพราะใช้ตรวจการ ทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ โดยเคาะดูการกระตุกของเส้นเอ็นตำแหน่ง ต่างๆ นั่นเอง บางครั้งก็ต้องพกใส่กระเป๋าเสื้อไว้ตลอดเวลา เพราะจำเป็นต้อง ใช้ตรวจคนไข้ที่สงสัยว่าจะมีอาการทางระบบประสาทในเกือบทุกราย
191
จบปี 2 บทพิสูจน์ว่าใครจะได้ไปต่อ
เนื่องจากความรู้ที่เรียนในชั้นปีนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ถึงจะรูก้ เ็ ป็นส่วนน้อย แถมยังมีเนือ้ หาทีย่ งั ต้องจำและสอบอีกมาก ทำให้เหมือน เป็นด่านทดสอบที่สำคัญ เนื่องจากคนที่จบช้าหรือตก ก็มักจะเกิดจากการปรับ ตัวไม่ทันในชั้นปีนี้นั่นเอง หรือบางคนทนไม่ได้ถึงขนาดย้ายไปเรียนคณะอื่น หรือไม่ก็ลาออกไปเลยก็มี สำหรับเพือ่ นทีย่ งั ไม่ชนิ หรือปรับตัวไม่ทนั กับการเรียนและการสอบแบบนี้ หรือไม่ขยันในการอ่านหนังสือเท่าทีค่ วร ก็จะมีบางคนทีส่ อบตก และจะต้องไป รอเรียนใหม่กับรุ่นน้องเลยทีเดียว แต่สำหรับคนที่ผ่านตรงจุดนี้ไปได้ ก็จะรู้สึกว่าหนทางและการเรียนรู้ ข้างหน้าคงจะผ่านมันไปได้ไม่ยากเย็นนัก ถ้าหากเรามีความพยายาม ไม่วา่ จะ เกิดจากการปรับตัวได้แล้ว หรือเกิดจากความเคยชิน หรือด้านชาก็ตาม แต่ เพื่อนที่ตกนี่สิ บางคนซึมเศร้าไปนานเป็นเดือนเลยทีเดียว น่าสงสารจริงๆ
ปี 3 พี่ใหญ่พรีคลินิก สำหรับปี 3 นั้น ถือว่าเป็นพี่ใหญ่สุดในบรรดาฝั่งพรีคลินิกด้วยกัน และ ยังผ่านการเรียนอันแสนยากในระหว่างปี 2 มาแล้ว ถือว่าสามารถปรับตัวกับ การเรียนแพทย์ได้ดีขึ้นระดับหนึ่งแล้ว จึงได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ทำกิจกรรม ต่างๆ ของคณะ ซึ่งปีนั้นก็มีงานใหญ่เข้ามาพอดีก็คือกีฬา 13 เข็มสัมพันธ์ (สมัยนั้นสถาบัน คณะ หรือวิทยาลัยทางการแพทย์มีอยู่เพียง 13 คณะ แต่ถึง ปัจจุบันนี้ผมไม่ทราบว่ามีเปิดกันทั้งหมดกี่คณะแล้ว) เพราะปี 2 ก็มักจะอ้าง ว่าเรียนหนัก ต้องใช้เวลาปรับตัว และปีหนึ่งก็เพิ่งจะเข้ามาเรียนใหม่ๆ ยังไม่รู้ เรื่องอะไรเลยซักกะอย่าง เนื้อหาที่เรียนในปีนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มเปลี่ยนจากที่เรียนวิชาพื้นฐานทาง การแพทย์ทั่วๆ ไป มาเน้นในแง่ของความผิดปกติหรือพยาธิสภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนกับคนไข้จริงๆ ในปีหน้า
วิชาเรียนตอนปี 3
เทอม 1 Thai studies, Pharmacology I, Pharmacology II, Pathology I, Medical parasitology I, Medical parasitology II, Medical microbiology and immunology I, Community medicine II เทอม 2 Learning elective, Pathology II, Clinical Pathology, Medical microbiology and immunology II, Psychiatry I, Community Medicine III, Introduction to clinical medicine
พูดจาภาษาหมอ ศัพท์แสลงในวงการแพทย์ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ ภาษาหมอ นัน้ เป็นคำศัพท์ทรี่ กู้ นั เฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ได้จงใจใช้เพือ่ ปกปิด ไม่ให้คนภายนอกรับรู้ แต่เป็นการใช้เพือ่ ให้ทกุ คนในวงการแพทย์เข้าใจตรงกัน แต่ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปเท่านั้นที่ไม่เข้าใจหรือฟังไม่รู้เรื่อง เพราะบรรดานักศึกษา แพทย์มือใหม่เองก็ไม่เข้าใจเช่นกัน แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่งมาทำ งานใหม่ๆ ก็ยังอาจจะไม่เข้าใจ ตัวผู้เขียนเองก็เคยมีประสบการณ์มาแล้ว เพราะการปฏิบัติงานวันแรก ในฐานะนักศึกษาแพทย์ปี 4 ของแผนกอายุรกรรม ก็ถูกรุ่นพี่แพทย์ท่านหนึ่ง ให้ใส่ถงุ มือสวนอุจจาระของผูป้ ว่ ยสูงอายุ เชือ่ ไหมว่า อุจจาระของคนไข้กระเด็น ขึ้นมาเปื้อนถึงข้อศอก ไอ้เรายืนหน้าเสีย แต่คนอื่นยืนขำกันด้วยความสะใจ หลังจากนั้นๆ ก็บอกต่อว่า “น้องๆ ส่งสตูล ด้วยนะ” ทันทีที่ได้ยินคำว่า “สตูล” ก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า มันหมายถึงอะไรวะ รู้จักแต่สตูลิ้นวัว กับจังหวัดสตูล แล้วไอ้สตูลที่พี่เค้าสั่งมานี่มันคืออะไรกันแน่ สุดท้ายก็ได้คำตอบกลับมาว่ามันคือ Stool Examination คือการส่งอุจจาระ ตรวจทางห้องปฏิบัติการนั่นเอง และระหว่างที่มีการเรียนการสอนและปฏิบัติงานในแผนกต่างๆ ภายใน โรงพยาบาลนั้น ล้วนแต่สื่อสารกันด้วยศัพท์ทางการแพทย์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความจำเป็นไม่นอ้ ยทีจ่ ะต้องรูจ้ กั ความหมายของคำศัพท์เหล่านีเ้ อาไว้ดว้ ย เพื่อจะได้ทำงานและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
หมอมือใหม่ หลังจากที่เราอดทนเรียนกันมานานถึง 6 ปีเต็มๆ (แต่บางคนก็อาจจะ นานกว่านี้) ก็ได้ออกไปประลองยุทธ์ในสนามข้างนอกเสียที ทุกคนจะเริ่มต้นบรรจุพร้อมกันในตอนต้นเดือนเมษายน ไม่ต้องแปลกใจ นะครับว่า ทำไมไม่บรรจุหลังจากจบเลย เนื่องจากนักศึกษาแพทย์แต่ละ มหาวิทยาลัยจะจบการศึกษาไม่พร้อมกันทุกที่ แต่เวลาทีจ่ บมักจะใกล้เคียงกัน ซึง่ มักจะเป็นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ต้นเดือนมีนาคม หรือไม่เกินกลางเดือน มีนาคม และช่ ว งเวลานี้ เ องที่ เ ราพอจะมี เ วลาว่ า งได้ ไ ปเที่ ย วปลดปล่ อ ยบ้ า ง หลังจากต้องทนทุกข์ทรมานมานานถึง 6 ปีเต็ม เพื่อเพิ่มแรงกายและแรงใจ ให้กับชีวิต จะได้มีแรงทำงานในฐานะ “หมอมือใหม่” ที่จะเริ่มในเดือนเมษายน ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะได้ใช้คำว่า “นายแพทย์” นำหน้าชื่อตัวเองซักที หลังจากที่เป็น “แพศยา” ในสายตาเพื่อนๆ มานาน เริ่ ม ต้ น ชี วิ ต ด้ ว ยการปฐมนิ เ ทศรวมของหมอทุ ก คณะแพทย์ ทุ ก คน จากทั่วทุกจังหวัด เพื่อรับหนังสือส่งตัวและทำการรายงานตัวก่อนจะเริ่ม ปฏิบัติงาน ส่วนการเริ่มทำงานจริงๆ นั้น ก็แล้วแต่ทางโรงพยาบาลที่เราสังกัดจะ กำหนดให้เริ่มทำงานเมื่อไหร่ แตกต่างกันไปตามแต่ละโรงพยาบาล บางโรง พยาบาลก็อาจจะให้เริม่ งานตัง้ แต่ตน้ เดือนหลังจากรายงานตัว บางโรงพยาบาล ก็จะเริ่มหลังจากเทศกาลสงกรานต์ แต่สำหรับทางโรงพยาบาลที่ผมไปปฏิบัติ งานนัน้ เริม่ ทำงานในเดือนพฤษภาคม แต่กอ่ นหน้านัน้ ในช่วงปลายเดือนก็ตอ้ ง มาอบรมในเรือ่ งของความรูเ้ บือ้ งต้นก่อนปฏิบตั งิ าน และเป็นการแนะนำบุคคล และสถานที่ให้เราได้ทำความรู้จักและคุ้นเคยก่อนจะปฏิบัติงานจริงๆ