14.3CM
2.1CM
14.3CM
Born to be นักบัญชี 2014
Born to be
หนังสือ Born to be นักบัญชี 2014 เขียนโดย กรกมล ลาภด�ำรงกิจ นักเขียนรับเชิญ บล็อกภาษีข้างถนน http://tax.bugnoms.com พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2011 พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2013 (ปรับปรุงใหม่) ISBN 978-616-7720-06-7 จ�ำนวนหน้า 352 หน้า ราคา 199 บาท ที่ปรึกษาอาวุโส ดร.สุกิต เอื้อมหเจริญ ที่ปรึกษากฎหมาย INTEGRATE QUALITY LAW AND ACCOUNTING บรรณาธิการอ�ำนวยการ ภีรพล คชาเจริญ บรรณาธิการ สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข ผู้จัดการทั่วไป ลัดดา คชาเจริญ ภาพประกอบ บล็อกภาษีข้างถนน รูปเล่ม [Nui] ชไมพร ดีปานวงศ์ จัดพิมพ์ โดย สนพ.บายยัวร์เซลฟ์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 facebook : Born to be พิมพ์ที่ บริษัท โรงพิมพ์ ตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ 025510531, 025510533-44 แยกสี NEO Film Prepress Solution โทรศัพท์ 0-2422-0072 จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com
สงวนลิขสิทธิ์
เนื้อหาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากส�ำนักพิมพ์บายยัวร์เซลฟ์
บทบรรณาธิการ “เรียนบัญชี ไม่มีตกงาน” ประโยคบอกเล่าที่เคยได้ยินกันมาตลอด ท�ำให้ สาขาวิชาการบัญชี มีคนต้องการสอบเข้าเรียนเป็นอันดับต้นๆ ทุกปี ท�ำไมเป็น แบบนั้นล่ะ? ตอบแบบก�ำปั้นทุบดินเลยก็คือ “ทุกบริษัทต้องมีพนักงานบัญชี” ท�ำให้นัก บัญชีมี โอกาสตกงานน้อยกว่า และตอนนีก้ ม็ ขี อ้ บังคับแล้วว่า คนทีจ่ ะท�ำบัญชี ใน บริษัทได้ ต้องจบสาขาวิชาการบัญชีมา สาขาอื่นท�ำได้แต่ต้องแอบๆ จะท�ำออก หน้าออกตาไม่ ได้ ดังนั้นบริษัทก็ต้องจ้างคนที่จบบัญชีมาเพื่อท�ำงานตรงนี้ และ ถึงแม้ว่าบริษัทจะไม่มีแผนกบัญชี แต่ก็ต้องจ้างบริษัทรับท�ำบัญชีมาท�ำให้อยู่ดี Born to be นักบัญชี เล่มนี้เป็นเล่มแรกและเล่มเดียวที่เนื้อหาเจาะลึก วิชาชีพนักบัญชี ซึ่งเคยตีพิมพ์มาแล้วเมื่อปี 54 จนถึงวันนี้อะไรๆ ก็มีการ เปลี่ยนแปลง มีระเบียบข้อบังคับใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย แต่สิ่งที่ยังคงเดิม และเข้มงวดมากขึน้ กว่าเดิมก็คอื “ต้องเรียนจบบัญชีมา ถึงจะท�ำบัญชี ได้” และมี การเน้นเรือ่ ง “การรับรองหลักสูตร” มากขึน้ จากสภาวิชาชีพบัญชี เนือ้ หาใหม่จงึ เน้นเรือ่ งของหลักสูตรและสอบการเข้า รวมไปถึงแนะน�ำสายงานทีก่ ำ� ลังมาแรง ลงลึกถึงเนือ้ งาน ว่าวันๆ นึงของนักบัญชีเค้าท�ำอะไรกันบ้าง งานทีว่ า่ หนักหนา นี่มันจะซักขนาดไหนกัน (แต่พี่คอนเฟิร์มว่าหนักจริง) นอกจากนี้ยังได้เชิญบรรณาธิการของ “บล๊อกภาษีข้างถนน” ผู้รู้ทางด้าน ภาษี-บัญชี-การเงิน มาให้ความรูเ้ รือ่ ง “ผลกระทบต่อนักบัญชี ไทยเมือ่ เปิด AEC” และยังได้ยังเอื้อเฟื้อประโยคโดนๆ ที่เจ็บแต่จริงของชาวบัญชีมาให้ ใช้ประกอบ ในเล่มด้วย รวมไปถึง พี่บี น้องเก๋ น้องกิ๊ฟ ที่ ได้กรุณาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ เรียนและการท�ำงาน ขอบคุณมากค่ะ ทีมงาน Born to be หวังว่าน้องๆ ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ จะได้ค�ำตอบและ ทางเลือกที่ ใช่ ในการตัดสินใจเรียนต่อ ขอให้ ได้เรียนในสาขาที่ ชอบ และ ใช่ กันทุกคนนะคะ JoyByNature บรรณาธิการ
เกริน่ น�ำ กรกมล ลาภด�ำรงกิจ กลับมาอีกครั้งจนได้ค่ะ ถึงแม้จะมาช้าแต่ก็มาแล้วค่ะ ต้องเรียก ว่าเสร็จซะที ก็ตอนที่ ได้เขียนค�ำน�ำนี่แหละ ต้องขอบคุณเพื่อนๆ และ น้องๆ ทุกคนที่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน และ e-mail เข้ามาคุย กันนะคะ มีบางคนถามหาหนังสือแต่หาซื้อไม่ ได้ ให้รอเล่มใหม่ ทาง คนเขียนก็เขียนได้ชา้ เหลือเกิน ไม่ขอแก้ตวั ใดๆ ทัง้ สิน้ ค่ะ ได้แต่ขออภัย เอาไว้ตรงนี้เลยค่ะ เนื่องจากเหตุผลหลายๆ อย่างระหว่างเขียน ซึง่ ก็รวมถึงตัวคนเขียนเองด้วย แต่วา่ หนังสือเล่มนีอ้ ยากบอกว่าตัง้ ใจ ท�ำมากๆ ค่ะ เพือ่ ให้ขอ้ มูลต่างๆ ทันสมัยต่อเหตุการณ์ ในขณะนีแ้ ละ ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งก็คือ AEC นั่นเอง คิดว่าทุกอาชีพ ต้องมีการปรับตัวเพือ่ ต้อนรับกันอย่างมากมาย แต่ยงั ไม่มอี ะไรแน่ชดั เรียกได้ว่ายังค่อยๆ ปรับกันไป ดังนั้น ข้อมูลบางอย่างจึงยังไม่เป็นที่ แน่นอน หรือสิ้นสุดจริงๆ ยังคงต้องติดตามกันต่อไปค่ะ และในเล่มนีย้ งั เพิม่ เนือ้ หาในส่วนของการท�ำงานมากขึน้ เพราะ จะว่าไปตอนนี้ตลาดแรงงานแข่งขันกันสูงขึ้นทุกที บัญชีก็ ไม่มีข้อ ยกเว้นเหมือนกัน จึงต้องเตรียมตัวกันเอาไว้ตงั้ แต่เนิน่ ๆ กันเลย อะไรที่ เตรียมได้หรือท�ำแล้วจะได้เปรียบในตลาดแรงงาน ไม่ควรละเลยนะคะ เพื่อที่เราจะได้ ไม่เป็นตัวเลือกอันดับสุดท้าย แต่เป็นตัวเลือกอันดับ ต้นๆ กัน
หนังสือเล่มนีเ้ ล่าให้ฟงั ถึงชีวติ ตอนเรียน ว่าต้องฝ่าฟันวิชาต่างๆ มายังไงบ้าง ไปจนถึงทางเลือกเมื่อเรียนจบแล้ว ว่างานในแต่ละ ด้านของบัญชีเป็นยังไงกันบ้าง เพื่อที่น้องๆ จะได้มี โอกาสรู้ก่อน ว่า เราจะชอบมั้ย เหมาะกับเรารึเปล่า เรียกว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครัง้ ไง การตัดสินใจเลือกเรียนและท�ำงานที่ชอบ ที่ ใช่ ที่ โดน จึงเป็นสิ่งส�ำคัญสุดๆ ค่ะ ทีนี้มีเรื่องที่อยากบอกน้อง ๆ เอาไว้ก่อนค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นวิชา เอกการบัญชีเหมือนกัน แต่เรียนคนละมหาวิทยาลัย หลักสูตรก็มี แตกต่างกันไปบ้าง วิชาที่เรียนบางวิชาจึงไม่เหมือนกันไปด้วย บางที ขนาดทีว่ า่ วิชาเดียวกันแต่ยงั เรียนลงรายละเอียดไม่เท่ากันเลยค่ะ แล้ว แต่ว่าอาจารย์และหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเน้นไปทางไหน อ๊ะ แต่ อย่าเพิ่งวางหนังสือเล่มนี้ล่ะ เพราะอย่างน้อยก็ยังสามารถใช้หนังสือ เล่มนี้ช่วยได้ ในความเข้าใจหลักๆ หรืออ่านเสริมเพื่อความเข้าใจเพิ่ม เติมได้ค่ะ สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ ได้สั่งสอนประสิทธิประสาท วิชาให้ดว้ ยความเหนือ่ ยยาก จนสามารถเอามาเลีย้ งชีพได้จนทุกวันนี้ และขอขอบคุณครอบครัวอย่างมากมายค่ะ ที่ ได้ ให้ โอกาสและ สนับสนุนไม่ว่าจะอยากเรียนอะไรก็ตาม ขอให้เป็นสิ่งที่เลือกเอง ก็ ไม่บังคับใจกัน เป็นก�ำลังใจและก�ำลังทรัพย์ที่ประคับประคองมาจน สามารถยืนได้ด้วยตัวเองในวันนี้ สุดท้ายจริงๆ แล้วค่ะก็คือน้องๆ หรือเพื่อนๆ ที่เลือกหยิบ หนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน ต้องขอบคุณมากๆ ค่ะ หวังสุดใจว่าหนังสือ เล่มนีจ้ ะมีประโยชน์ ไม่มากก็นอ้ ยให้กบั ทุกคนค่ะ และถ้าหากมีสงิ่ ใดที่ ผิดพลาดไป ก็ขอน้อมรับความผิดนี้แต่เพียงผู้เดียวค่ะ ขอบคุณอีกครั้งมากมายจากใจ kornkamonl@gmail.com
CONTENTS $ Part 1 จุดเริม่ ต้นของความส�ำเร็จในอาชีพนักบัญชี 9 18 New! New! New!
$
งานสบาย รายได้ดี คือนักบัญชี? 10 สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า นักบัญชี 17 เพราะเวลาเป็นของมีค่า อยากรุ่งในงานนักบัญชี ต้องเริ่มที่หลักสูตร 18 การรับรองหลักสูตรบัญชีบัณฑิต 21 บัญชีบัณฑิตหลักสูตรนี้ที่ ไม่เหมือนใคร 41 เรียนจบสายอาชีพ อยากต่อมหา’ลัย ท�ำยังไง?
Part 2 ยากง่ายแค่ ไหน กับวิชาบัญชี 49 บ้านใหม่ ในรั้วมหาวิทยาลัย 55 ปี 1 ถึงจะแค่พื้นฐาน แต่ถ้าประมาทก็ ไม่รอด 76 ปี 2 ชี้ชะตาจะอยู่หรือไป 87 ปี 3 วิชาบัญชีเข้มข้น 109 ปี 4 เริ่มวางแผนการท�ำงานกันแล้ว
$ Part 3 เดินเข้าสู่เส้นทางนักบัญชี 126 บัญชีบัณฑิตกับทางที่ต้องเลือกเดิน 127 เรียนต่อเลยหรือท�ำงานก่อนดี? 136 เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน 141 จบตรีบัญชี เรียนต่ออะไรดี New! New! 148 จบตรีบัญชีต่อโท MBA ท�ำไม? 156 เจาะลึกเนื้องาน ในวิชาชีพบัญชี 156 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) Update! 176 คนท�ำบัญชีหรือผู้ท�ำบัญชีรับอนุญาต (CPD) Update! 190 พนักงานประจ�ำแผนกบัญชีและการเงินในบริษัททั่วไป 215 ทางเลือกใหม่ “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” หรือ TA
Update!
Update!
Special!
$
219 ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Audit) 227 นักบัญชีบริหาร 228 บริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษี 229 บริษัทให้บริการด้านซอฟท์แวร์บัญชี 232 ตลอดเส้นทางสายนักบัญชี 233 อัตราค่าตอบแทนของอาชีพสาขาบัญชี 238 เทคนิคการสมัครงาน 238 รู้ก่อนร่อนใบสมัคร 245 สัมภาษณ์ด้วยใจเกินร้อย 248 ตรวจร่างกายก่อนเข้าท�ำงาน 250 AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านวิชาชีพบัญชี
Part 4 รับตรงและแอดมิชชั่น 268 “รับตรง VS แอดมิชชั่น” ศึกชิงชัยคณะในฝัน New! 268 รับตรง ศึกเล็กแต่ ไม่ง่าย New! 270 แอดมิชชั่น ศึกใหญ่ที่ โหดเลือดสาดดด… 284 แอดมิชชั่นของสาขาบัญชี New! 286 ด่านสอบตรงคณะพาณิชย์ฯ มธ. New! (หลักสูตรไทย/นานาชาติ) New! 297 ด่านสอบตรงคณะพาณิชย์ฯ จุฬาฯ (หลักสูตรไทย/นานาชาติ)
$
Part 5 เก็บตกเรื่องที่นักบัญชีต้องรู้
Update! New!
339 หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี 343 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 348 สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 350 รวมเว็บไซต์เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี
งานสบาย รายได้ดี คือนักบัญชี?
ถ้าถามถึงคณะวิชาทีน่ อ้ งๆ นิยมเลือกเวลาสอบเข้ามหาวิทยาลัย เชื่อว่าคณะที่ติดอันดับ 1 ใน 5 มาตลอดก็คือบัญชี ที่ซึ่งส่วนใหญ่ สาวๆ จะเลือกเรียน หนุ่มๆ ก็มีนะคะแค่จ�ำนวนน้อยกว่าหน่อย แต่ พอจบออกไปแล้วล่ะก็ หนุ่มๆ ค่อนข้างจะได้รับความนิยมมากกว่า สาวๆ ซะอีก เพราะนอกจากจะตกเป็นอาหารตา และอาหารปาก ให้พวกพี่ๆ ป้าๆ ในที่ท�ำงานได้กระเซ้าเย้าแหย่แทะโลมพอเป็นที่ กระชุ่มกระชวยแล้ว ยังได้อาศัยพลังหนุ่มอีกด้วย คงสงสัยว่าท�ำไม ต้องใช้พลังใช่มั้ย ก็ ในเมื่อเรามาท�ำบัญชีนี่นา อยู่กับคอมพิวเตอร์กับ ตัวเลขตลอดเวลา แต่ที่ต้องใช้กำ� ลังผู้ชาย ก็เพราะต้องแบกเอกสาร กองบิลเป็นลังๆ ยังไงล่ะคะ
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
สแกนกรรมคนบัญชี
ทีนี้ ใครล่ะ ที่เหมาะกับการเรียนบัญชี อันนี้ ไม่ ใช่ว่าคณะบัญชี มีการดูโหงวเฮ้งเพื่อรับเข้าเรียนนะคะ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดคิดว่า เหมือนกับที่เค้าดูโหงวเฮ้งเพื่อรับเข้าท�ำงาน แต่มันเป็นนิสัยบาง อย่างที่คนเรียนและท�ำบัญชีควรมี ไว้ จะได้ ไม่มานั่งเสียใจทีหลัง ว่าไม่น่าเลยตรู
คนบัญชีต้องไม่กลัวตัวเลข เพราะบัญชีมีแต่ตัวเลข นี่เป็นค�ำตอบแบบก�ำปั้นทุบดินเลย ลองคิดดู เคยเห็นเพื่อนบางคนไหม ที่พอเห็นตัวเลขเยอะๆ แล้ว เกิดอาการวิงเวียน ตาลาย คล้ายจะเป็นลม ต้องลุกหนี ไปไกลๆ หรือหยิบออกไปให้พน้ ๆ นัน่ แหละ คือตัวอย่างของคนทีเ่ รียนบัญชี ไม่ ได้เด็ดๆ แต่ถ้าเห็นตัวเลขเป็นแถวๆ กระจายอยู่เต็มหน้าแล้ว เฉยๆ ก็ถือว่าผ่านข้อแรกไปได้ งั้นมาดูข้อต่อไปกัน
คนบัญชีต้องไม่ขี้เบื่อ เพราะตอนเรียนก็จะเจอแต่ตัวเลขล้วนๆ พอท�ำงานก็ท�ำงาน กับตัวเลขอีกนั่นแหละ แถมยังต้องท�ำอะไรที่มันซ�้ำซากเหมือนกัน ตลอดทุกเดือนทุกปี ถ้าเป็นคนขี้เบื่อก็มักจะทนไม่ ได้นาน
คนบัญชีต้องขี้สงสัย ต้องเป็นคนช่างสังเกตนิดนึงว่า เอ๊ะ อันนีม้ นั ผิดปรกติ มีอะไร ผิดรึเปล่า อันนี้ ไม่ ใช่อาการของโรคหวาดระแวงนะ แต่การดูขอ้ มูล ถ้ามันมีอะไรผิดปรกติไม่เหมือนชาวบ้านเค้า ควรจะต้องหาทีม่ า แต่ ก็ ไม่ใช่หมายความว่าจะมีอะไรผิดทุกครัง้ แต่สว่ นใหญ่แล้ว ถ้ามันผิด ก็เจอเพราะความขี้สงสัยนี่แหละ
11 11
12
Born to be
คนบัญชีควรมีมนุษย์สัมพันธ์ การบัญชีเป็นการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม ไม่ ใช่การนั่งท�ำงาน คนเดียว ถ้าใครคิดว่าท�ำบัญชีแล้วไม่ตอ้ งยุง่ กับใครแล้วล่ะก็ คิดผิด ถนัดเลยค่ะ เราต้องยุง่ กับเค้าไปทัว่ ต่างหาก เอกสารของทุกหน่วย งานในองค์กรมันจะวิ่งมาจบที่เรา ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือข้อสงสัย ก็เรานี่แหละที่ต้องวิ่งไปหาเค้า
คนบัญชีต้องรู้จักพลิกแพลง นักบัญชี ไม่ ใช่ต้องตรงเป็นไม้บรรทัดเสมอไปนะคะ เพราะ ในการเรียนและการท�ำงาน โจทย์ทมี่ าหาเรามันจะเปลีย่ นรูปแบบ ตลอดเวลา การพลิกแพลงก็เป็นสิง่ ส�ำคัญ ขอให้เราแม่นในหลักการ ก็สามารถแก้ ไขปัญหาได้หมด เพียงแต่ว่าต้องรู้จักน�ำมาใช้ ให้ เหมาะสมนั่นเอง แต่ก็มีเหมือนกันนะที่มันไม่ถูกต้องจริงๆ ก็ต้อง ส่งให้ผู้เกี่ยวข้องไปแก้ ไข อย่าปล่อยผ่านไปเด็ดขาด
คนบัญชีต้องชอบดูข่าวเศรษฐกิจ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา ทั้งในแง่ กฎหมาย สรรพากร แล้วก็สภาวะเศรษฐกิจทัง้ ในประเทศและทัว่ โลก ประมาณว่าทุกอย่างทีม่ ผี ลกระทบต่อการด�ำเนินงานของธุรกิจนัน่ แหละค่ะ เราต้องรูท้ นั เหตุการณ์เสมอ (ข่าวก๊อสซิปดาราก็ ไม่พลาด) หลายคนคงงงว่าเศรษฐกิจ กฎหมาย มันเกี่ยวอะไรกับบัญชีล่ะ ที่ จริงมันเกี่ยวอย่างมากเลยค่ะ เมื่อท�ำงานแล้วจะรู้ซึ้ง
18
Born to be
อยากรุ่งในงานนักบัญชี ต้องเริ่มที่หลักสูตร โดยทีมงาน Born to be
อยากเป็นนักบัญชี ไม่ ใช่วา่ มหาวิทยาลัยเปิดสอน เราเข้าไปเรียน จบออกมาท�ำงานได้เลย ส�ำหรับวิชาชีพบัญชี (และอื่นๆ ที่มีสภา วิชาชีพ) เราจะต้องเช็คนิดนึงว่า หลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่เราจะ เข้าไปเรียนนัน้ สภาวิชาชีพเค้ารับรองหรือยัง จริงอยูเ่ ราเรียนจบออก มาความรู้พร้อม ท�ำงานได้แน่นอน แต่ถ้าสภาไม่ ได้รับรองหลักสูตร เราก็ท�ำงานได้เพียงบางอย่างเท่านั้น งานส�ำคัญๆ ของนักบัญชี เรา ก็ท�ำไม่ ได้ ถ้าอยากจะรุ่งทางนี้ต้องออกสตาร์ทให้ดีนะจ๊ะ
การรับรองหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ย�ำ้ อีกครัง้ ว่า วิชาชีพบัญชีนนั้ ถือเป็นวิชาชีพอิสระและเฉพาะทาง ซึ่งมีสภาวิชาชีพคอยก�ำหนดหลักเกณฑ์และควบคุมให้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ เภสัชกร ทนายความ เป็นต้น ซึง่ สภาฯ ของไทยเองก็เป็นสมาชิกของสหพันธ์นกั บัญชีสากล (International Federation of Accountance : IFAC) เพื่อให้ นักบัญชีของไทยมีมาตรฐานและได้รบั การยอมรับในระดับสากล และ มีการปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์อื่นๆ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ของวิชาชีพและการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะด้านกฎหมาย และเทคโนโลยี
22
Born to be
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรบูรณาการ 5ปี
บัญชีธรรมศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าไม่เป็นสองรองใคร และยังเป็นมหาวิทยาลัยแรกทีจ่ ดั หลักสูตร เรียน 5 ปี ได้สองปริญญา ปริญญาตรีและปริญญาโท โดยเปิดสอนสองสาขาคือ สาขาการบัญชี (ซึ่งแน่นอนผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภาวิชาชีพบัญชีเรียบร้อย) และสาขาบริหารธุรกิจ เรียนทีท่ า่ พระจันทร์ตลอดหลักสูตร สาขาบัญชี รับรุ่นละ 40 คนเท่านั้น ขัน้ ตอนการศึกษา น้องๆ จะได้วฒุ ปิ ริญญาตรีเมือ่ เรียนครบตาม หลักสูตร 3.5 ปี และได้รับปริญญาโทเมื่อเรียนต่อเนื่องอีก 1.5 ปี การที่น้องจะเรียนต่อในวิชาระดับปริญญาโทได้ จะต้องมีเกรดเฉลี่ย สะสมไม่ต�่ำกว่า 3.00 แต่ถ้าเกรดน้องไม่ถึงก็ต้องสอบข้อเขียนและ สอบสัมภาษณ์ ให้ผา่ นก่อน ถึงจะเรียนต่อได้ แต่ทงั้ นีน้ อ้ งๆ ก็สามารถ ที่จะเลือกรับเฉพาะวุฒิปริญญาตรีก็ ได้ ถ้าเปลี่ยนใจอยากออกไป ท�ำงานแล้ว
ชื่อหลักสูตร
บัญชีบัณฑิต และบัญชีมหาบัณฑิต (บูรณาการ) Integrated Program of Bachelor and Master of Accounting (Integrative Approach)
ชื่อปริญญา
ชือ่ เต็ม บัญชีบณ ั ฑิต (บูรณาการ) Bachelor of Accounting (Integrative Approach) ชื่อย่อ บช.บ. (บูรณาการ) B.Acc. (Integrative Approach) ชื่ อ เต็ ม บั ญ ชี ม หาบั ณ ฑิ ต (บู ร ณาการ) Master of Accounting (Integrative Approach) ชือ่ ย่อ บช.ม. (บูรณาการ) M.Acc. (Integrative Approach)
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
หมายเหตุ : ส�ำหรับสาขาบริหารธุรกิจ วุฒิ ป.ตรี คือ บริหารธุรกิจบัณฑิต ส่วน วุฒิ ป.โท จะเป็น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ตามสาขาที่เลือกเรียน
สอบเข้ายังไง
สามารถเข้าได้ 2 ช่องทาง คือ รับตรง และ แอดมิชชั่น สัดส่วน 20 : 20 การรับตรงจะต้องมีคะแนน SMART-I ทีผ่ า่ นเกณฑ์ ยื่นร่วมด้วย (เรื่อง SMART-I ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดที่ PART รับตรงและแอดมิชชั่น แล้วค่ะ)
เรียนยังไง เรียนยากไหม หลักสูตรนี้เป็นยังไง ลองมาฟังจากปากคนที่เรียนกันดีกว่า น้องเก๋ สาว 5ปี บัญชีธรรมศาสตร์ค่ะ Born to be : ท�ำไมถึงเลือกเรียนบัญชีคะ บอกตามตรงตอนเอ็นฯ ก็ ไม่รจู้ ริงๆ ว่าอยากเรียนอะไรหรือเป็น อะไรในอนาคต แต่คิดว่าจบบัญชี ไม่ตกงานแน่นอน Born to be : แล้วท�ำไมถึงตกลงใจที่หลักสูตรบูรณาการ จริงๆ คืออยากเข้าธรรมศาสตร์ อันนี้คือความต้องการอันดับ แรก เพราะเคยมาดูงานแนะน�ำคณะทีท่ า่ พระจันทร์ แล้วรูส้ กึ ว่าอยาก เรียนที่นี่ และบัญชีธรรมศาสตร์ก็มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆ ของ ประเทศ แต่ก็มี 2 ทางเลือกในตอนแรก คือ หลักสูตรปกติซึ่งเรียน ที่รังสิต 4 ปี และหลักสูตรบูรณาการซึ่งเรียน 5 ปี ที่ท่าพระจันทร์ สุดท้ายเก๋เลือกหลักสูตรบูรณาการ เพราะไม่อยากไปอยู่รังสิต (อันนี้เป็นเหตุผลจริงๆ ของเพื่อนร่วมรุ่นส่วนใหญ่เลยนะคะ) และ อีกเหตุผล คือ คิดว่าหลักสูตรนี้น่าสนใจ เรียน 5ปี ได้ปริญญาสองใบ และน่าจะมีอะไรดีหรือแตกต่างจากหลักสูตรปกติ
23
40
Born to be
มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
เปิดรับแล้วในปีการศึกษา 2557 ส�ำหรับหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหิดล หลังจากที่ปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ไปนานหลายปี โดย หลักสูตรใหม่ที่เป็นรับเป็นหลักสูตรปรับปรุงใหม่ล่าสุด เค้ารับมาก น้อยขนาดไหน มาดูกันดีกว่า
ชื่อหลักสูตร บัญชีบัณฑิต
ชื่อปริญญา บัญชีบณ ั ฑิต (บช.บ.) Bachelor of Accountancy (B.Acc.)
เข้าเรียนยังไง
• สอบตรง ผู้สมัครต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสม ไม่ต�่ำกว่า 2.75 ใช้ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ สมัครสอบ 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยสมัคร-สอบ กับ สทศ. โดยตรง คะแนนรวมแต่ละวิชาต้องไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 25 และคะแนนรวมทุก วิชาต้องไม่ต�่ำกว่า ร้อยละ 30 • โครงการวิทยาเขต กลุ่มกาญจนบุรี รับ 30 คน ได้แก่ โรงเรียนในจังหวัด นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และ สุพรรณบุรี (ไม่รวมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) • โครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ รับ 30 คน ส�ำหรับนักเรียนที่ก�ำลังเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนทั่ว ประเทศ โดยสาขาวิชาการบัญชี ไม่มกี ารทดสอบข้อสอบ เฉพาะเพิ่มเติม
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
• แอดมิชชั่นกลาง รับ 30 คน สมัครผ่าน สอท. ใช้คะแนน GAT/PAT/O-NET/ GPAX 6 ภาคเรียน
เรียนยังไง เรียนยากไหม
ชั้นปีที่ 1 เรียนที่ ศาลายา และชั้นปีที่ 2-4 เรียนที่วิทยาเขต กาญจนบุรี อ�ำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีหอพักส�ำหรับ นักศึกษาให้ทุกชั้นปี อยากรู ้ ข ้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ลองเข้ า ไปสอบถามที่ http:// ka.mahidol.ac.th หรือ facebook : primepride.pride นะคะ
เรียนจบสายอาชีพ อยากต่อมหา’ลัย ท�ำยังไง? จากประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๑/๒๕๕๕ ที่ ได้ยกมาในหัวข้อ การรับรองหลักสูตร ได้กำ� หนดไว้วา่ หลักสูตรที่ ได้รบั การรับรองนัน้ นักศึกษาจะต้องผ่านการเรียนวิชาบัญชี ในส่วนต่างๆ ให้ครบ 8 วิชา รวมถึงวิชาบริหารธุรกิจต่างๆ อีก นัน่ หมายความว่า นักศึกษาทีจ่ บ สาขาวิชาการบัญชี ในระดับ ปวช. ไม่อยู่ในเกณฑ์ท่ีได้รบั การรับรองจาก สภาฯ ส่วน ปวส. ได้รบั การรับรองเป็นบางหลักสูตร อ้าว แล้วน้องๆ ทีเ่ รียนจบทัง้ หลักสูตร ปวช. และ ปวส. สาขา การบัญชีจะท�ำยังไงล่ะ อันทีจ่ ริง วุฒิ ปวส. ทางสภาฯ ก็อนุญาตให้เป็น ผูท้ ำ� บัญชีได้นะคะ (ตามข้อก�ำหนดของสภาฯ ว่าด้วยเรือ่ งผูท้ ำ� บัญชี) แต่ ตรงนีพ้ มี่ องว่า ถ้าน้องจะเติบโตในหน้าทีก่ ารงาน อยากเป็นนักบัญชี ใน ระดับสูงๆ ขึน้ ไป ก็ควรจะต้องเรียนเพิม่ เติมอีก เพราะไม่แน่วนั ข้างหน้า เราอาจจะได้ ไปสอบบัญชีของบริษทั ข้ามชาติก็ ได้ จะได้มคี วามรูเ้ พียงพอ
41
ปี 1 ถึงจะแค่พนื้ ฐาน แต่ถา้ ประมาทก็ ไม่รอด จริงอยู่ปี 1 เรียนแต่วิชาพื้นฐาน ท�ำแต่กิจกรรมรับน้อง ซ้อมเชียร์ ที่ต้องผจญ แถมต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตอันอิสระเสรี ในรั้วมหาวิทยาลัย การดึงตัวเองไม่ ให้ออกนอกลู่ทางเป็นสิ่งส�ำคัญ มันก็ต้องมีบ้างที่เรา จะเขว ขี้เกียจตื่นเช้า บ้ากิจกรรม เม้าท์กับเพื่อนจนดึก แต่จะมาตกม้า ตายตั้งแต่ปี 1 ได้ยังไง ใครที่เผลอใจออกไปแล้ว เรามีวิธีรักษาตัวรอด มาฝากกัน (วิธีนี้ ใช้ ได้เฉพาะปี 1 เท่านั้นนะ ในปีต่อๆ ไป ถ้ายังไม่กลับ ตัว ก็รอดยากแล้ว) ความที่วิชาพื้นฐานต้องเรียนรวมกับคณะอื่นด้วย เป็นโอกาสอันดี ที่จะได้เพื่อนจากคณะอื่น หรือคณะเดียวกันแต่คนละเอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ ควรมีนะคะ ก็แค่เข้ากับคนอื่นให้ง่าย คุยให้เก่งหน่อย (แต่อย่าคุยใน ห้องเรียนให้มากนัก) เราก็จะได้มีเพื่อนทั้งที่เป็นแบบเด็กเรียน แล้วก็ เด็กกิจกรรม หรือบางคนได้แฟนไปเลยก็มี (ยกเว้นคนเขียนนี่แหละ) คนเหล่านี้แหละที่จะช่วยเหลือเราได้ ทั้งติว ทั้งขอซีร็อคเลคเชอร์ ทั้ง ขอลอกแบบฝึกหัดและข้อสอบ (อย่างหลังนี่ ไม่แนะน�ำแต่ท�ำจริง เผื่อไว้ ตอนฉุกเฉินน่า)
58
Born to be
วิชาบัญชีที่ต้องเจอในปี 1 การทีม่ หาวิทยาลัยจัดหลักสูตรให้ปี 1 เรียนวิชาหลากหลายมากมาย แต่ทั้งหมดเป็นบรรดาวิชาพื้นฐานของวิชาเอกต่างๆ ในคณะเพื่อให้ ปี 1 ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิชาเอก-วิชาโท ในชั้นปีต่อไป นั่นเอง เพราะถ้าเราได้เรียนแล้วจะได้รู้ว่าไหวมั้ย ชอบวิชาไหนเป็น พิเศษ ถ้าเลือกเอกแล้วจะไปรอดรึเปล่า ไม่ ใช่แค่ชอบบัญชี แต่พอได้ ลองเรียนบัญชีพื้นฐานแล้วจะตกไม่ตกแหล่อันนี้ต้องคิดให้ดีเลยนะคะ ว่าจะไปต่อไหวไหม เพราะวิชาบัญชีของชั้นปีสูงๆ มันยากขึ้นเรื่อยๆ และตัวบัญชีพื้นฐานก็เป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญจริงๆ ส�ำหรับการเรียนวิชา บัญชี ในขั้นที่สูงขึ้นไป ยังไงซะวิชาพื้นฐานของบัญชีของปี 1 ก็มีมาให้ลองเรียนสอง วิชาให้ ได้เรียนวิชาละเทอม ทีนี้เรามาดูกันว่าวิชาบัญชี สาขาในฝัน ของเราเค้าเรียนอะไรกัน วิชาทั้งสองที่เราต้องเรียนกันในปี 1 ก็คือ Principles of Accounting 1 หรือ การบัญชีชั้นต้น 1 วิชานี้เราจะ ได้เรียนกันในเทอมแรกพร้อมๆ กันทั้งคณะค่ะไม่ต้องรอนาน ส่วนอีก วิชาคือ Principles of Accounting 2 หรือ การบัญชีชั้นต้น 2 วิชานี้ เราจะได้เรียนกันตอนเทอมสอง หลังจากที่รอดบัญชี 1 กันมาแล้ว
การบัญชีชั้นต้น 1 ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการบัญชี ข้อสมมติฐานทางการบัญชี การ วิเคราะห์จ�ำแนกบัญชีและการบันทึกรายการตามหลักการบัญชี ของ กิจการขายบริการ กิจการขายสินค้า การบันทึกรายการสินค้าคงเหลือ การใช้สมุดรายวัน และบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงรายการบัญชี การจัดท�ำกระดาษท�ำการ การปิดบัญชี การจัดท�ำงบการเงิน และ รายงานทางการเงิน
+ - x
% $
÷ =
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
59
การบัญชีชั้นต้น 1 หรือ Principles of Accounting 1 เป็นวิชา แรกที่น้องๆ จะได้เริ่มสัมผัสวิถีชีวิตแบบ Balance ของนักบัญชี โดย เริ่มจากความหมายของการบัญชี ซึ่งสรุปความได้ว่า คือการบันทึก เหตุการณ์ทางธุรกิจ เฉพาะทีเ่ กีย่ วข้องกับตัวเงิน แล้วน�ำข้อมูลทีบ่ นั ทึก ไว้มาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า “งบการเงิน” ซึ่งเป็น ผลงานชิน้ โบว์แดงของนักบัญชีทมี่ ปี ระโยชน์แก่เจ้าของกิจการเป็นอย่าง มาก เพราะงบการเงินจะสะท้อนให้เห็นว่า กิจการมีฐานะอย่างไร รวย หรือจน และมีผลการด�ำเนินงานเป็นอย่างไร ก�ำไรหรือว่าขาดทุน จากความหมายของการบัญชี ท�ำให้เราเริม่ เห็นเค้ารางว่า นักบัญชี มีหน้าที่หลักอย่างไรบ้าง และวิชาบัญชีชั้นต้น 1 นี่เองจะท�ำให้น้องๆ เข้าใจหน้าที่ของนักบัญชี ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรียกว่า ชอบหรือไม่ชอบเป็น นักบัญชี วัดได้จากความสุขในการเรียนวิชานี้ก็ว่าได้ เนือ้ หาในวิชานี้ จะเริม่ จากการสอนให้รจู้ กั กับรายการค้า (เหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับตัวเงินนั่นเอง) แล้ววิเคราะห์รายการค้าว่าส่งผลกระทบกับ สินทรัพย์ หนีส้ นิ และทุนของกิจการ โดยท�ำให้เพิม่ ขึน้ และลดลงอย่างไร บ้าง เช่น ถ้าหากรายการค้ามีว่า กู้เงินจากธนาคาร 20,000 บาท จะ วิเคราะห์ ได้ว่า กิจการมีสินทรัพย์ คือเงินสดเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ มีหนี้สิน คือเงินกู้เพิ่มขึ้น 20,000 บาทเช่นกัน นักบัญชีจะน�ำผลการวิเคราะห์ที่ ได้ ไปบันทึกบัญชี ในสมุดรายวัน (เรียกว่ารายวันเพราะบันทึกเรียงตามวันที่) แต่ก่อนจะไปบันทึกได้นั้น น้องๆ ต้องเข้าใจหลักการ 2 ข้อนี้ ให้แจ่มแจ้งก่อนคือ ข้อ 1. เจ้าสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของกิจการมีความสัมพันธ์ กันดังนี้ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน (ส่วนของเจ้าของ)
+ - x
% $
÷ =
ปี 4 เริม่ วางแผนการ ท�ำงานกันแล้ว ปีสี่เป็นปีที่มีวิชาเรียนน้อยมากค่ะ เพราะเอาไปยัดไว้ตอนปีสาม ซะเยอะ เวลาเหลือเฟือ เรามาทุ่มเท เก็บ A ไปประดับ Transcript ส่งท้ายกันเถอะ นอกจากวิชาเอกบัญชีจะเหลือน้อยแล้ว วิชาโทหรือ วิชาเลือกต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ลงเรียนกันไปแทบจะครบหมดแล้ว และ หลายๆ สถาบันก�ำหนดให้นกั ศึกษา ต้องไปฝึกงานจ�ำนวน 350-500 ชั่วโมง หรือประมาณ 2-3 เดือน บางที่ก็ฝึกงานเสร็จก่อนค่อยกลับ มาเรียน บางที่ก็เรียนก่อนแล้วค่อยไปฝึกงาน บางที่ฝึกปี 3 บางที่ฝึก ปี 4 แล้วแต่มหาวิทยาลัยค่ะ ถ้าก�ำหนดให้ฝึกงานปี 3 วิชาเอกบัญชี บางส่วนก็จะขยับไปเรียนกันในปี 4
110
Born to be
ฝึกงานฮาเฮ เสื้อผ้า หน้า ผม พร้อม! ไม่ค่ะ ไม่ ได้จะไปถ่ายแบบอะไรหรอก แต่ ก�ำลังจะไปฝึกงานจ้า ส�ำหรับมหาวิทยาลัยที่บังคับให้ฝึกงานเพื่อเก็บ หน่วยกิต นักศึกษาก็ต้องวางแผนล่วงหน้าว่าจะลงหน่วยกิตฝึกงานใน ช่วงไหน ซึ่งปกติก็จะเป็นปี 3 เทอม 2 หรือไม่ก็ปี 4 เทอม 1 โดยเราจะ ต้องหาบริษทั ทีจ่ ะไปฝึกงานล่วงหน้า และท�ำเรือ่ งขอฝึกงานให้เรียบร้อย รวมทัง้ ขอให้มหาวิทยาลัยออกหนังสือส�ำหรับนักศึกษาฝึกงานอย่างเป็น ทางการ รวมทั้งแบบประเมินต่างๆ เพื่อส่งให้บริษัทที่เราจะไปฝึกงาน ให้เรียบร้อย ซึง่ ทัง้ หมดนักศึกษาต้องเป็นคนด�ำเนินการเอง เป็นการฝึก การสมัครงานไปในตัว เวลาจบไปสมัครงานจริงจะได้ ไม่เขินไง ฝึกงานบริษัทไหนดี
เวลาเลือกบริษัทฝึกงาน นอกจากจะดูว่าบริษัทไหนรับนักศึกษา ฝึกงานบ้างแล้ว ควรพิจารณาด้วยว่าไปฝึกแล้วเราจะได้รับประโยชน์ มากที่สุด ทั้งในด้านที่เอาไว้อ้างอิงเวลาเรียนจบ แล้วไปเขียนใบสมัคร ว่าได้ ไปฝึกกับบริษัทใหญ่ มีชื่อเสียง แต่บางคนเลือกที่จะไปบริษัทที่ เล็กรองลงมาเพราะคิดว่าจะได้ท�ำงานจริงมากกว่า ลุยงานจริง และได้ ความรู้มากกว่า อันนี้ ไม่มีอะไรวัดได้แน่นอนค่ะ ต้องลองเช็คดู หรือจะ ถามจากรุน่ พีก่ ็ ได้ เพราะมีหลายๆ บริษทั ทีเ่ ปิดรับนักศึกษาฝึกงานเป็น เรื่องเป็นราวทุกปี และบางแห่งก็แทบจะเป็นเหมือนแหล่งฝึกงานของ มหาวิทยาลัยเลยทีเดียว เพราะแทบทุกรุ่นก็ ไปฝึกที่นั่น เผลอๆ รุ่นพี่ที่ ท�ำงานก็เป็นรุ่นปู่รุ่นย่ารหัสของเรานี่เอง แต่อย่าคิดว่าจะใจดีนะคะ ยิ่ง เป็นรุ่นพี่ยิ่งโหด เพราะอยากให้เรามีคุณภาพไงล่ะคะ
+ - x
% $
÷ =
156
Born to be
เจาะลึกเนื้องาน ในวิชาชีพบัญชี ในบทนี้เราจะได้รู้กันแล้วว่า เนื้องานของชาวบัญชี ในส่วนงาน ต่างๆ นั้นเค้าท�ำอะไรกันบ้าง มี โอกาสแค่ ไหนที่จะก้าวหน้า หรือก้าว ไปในสาขาวิชาชีพที่มัน Advance เพื่อฐานรายได้ที่แข็งแรงมากขึ้น หรืออย่างน้อย ก็จะได้รู้กันว่า เรียนจบได้วุฒิบัญชีบัณฑิตแล้วเนี่ย จะ สมัครงานต�ำแหน่งไหนดีที่น่าสนใจ
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) อาชีพยอดฮิตทีเ่ ด็กบัญชีฝนั ใฝ่วา่ ชาตินตี้ อ้ งเป็นให้ ได้กค็ อื ผูส้ อบ บัญชีรับอนุญาต หรือ CPA (Certified Public Accountant) นั่นเอง ถือว่าหรูสุดๆ อนาคตสดใส เป็นสุดยอดของนักบัญชี ส�ำหรับ คนทีต่ งั้ ใจและมีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะสอบเป็น CPA ให้ ได้นนั้ เราสามารถ เริ่มอ่านหนังสือสอบและท�ำการฝึกงานได้ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตอยู่ เพื่อ เป็นการประหยัดเวลาในการมุ่งสู่ดวงดาว ด่านแรกของเส้นทางสู่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ส่วนใหญ่แล้วน้องๆ คงคิดว่าเราจะเริ่มต้นอาชีพของเราเมื่อเรา เรียนจบค่อยหางานท�ำกัน แต่ก่อนหน้านั้นอาจขอไปพักผ่อนท่อง เที่ยวก่อนสักระยะให้หายเครียดจากการเรียนการสอบ แล้วค่อยกลับ มาหางานกันใช่มั้ยล่ะ หรือถ้าอย่างเร็วหน่อยก็สอบวิชาสุดท้ายเสร็จ ปุ๊บก็ร่อนจดหมายสมัครงานทันที นี่ก็คิดว่าเร็วละ แต่ส�ำหรับบางคน เนี่ยมันช้าไปแล้วจ้า เค้าได้งานท�ำกันตั้งแต่ยังไม่สอบ final กันเลย
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
การท�ำงานในฐานะผู้ช่วยผู้สอบบัญชี
วันแรกที่ ไปท�ำงานนีเ่ หมือนวันมอบตัวตอนเข้ามหาวิทยาลัยเลย เพราะทางบริษัทเค้ารับเด็กเข้ามาเป็นรุน่ ๆ ค่ะ รุน่ นึงก็หลายสิบหรือ เป็นร้อยคน พอเอามารวมกันก็กลายเป็นนกกระจอกแตกรังกันไป บางบริษัทเค้าจะนัดให้น้องไปออกต่างจังหวัดกัน แต่บางบริษัทก็จัด กันในกรุงเทพนีแ่ หละ คือจัดการละลายพฤติกรรมนัน่ เอง ไอ้ทมี่ าด้วย กันเป็นกลุ่มน่ะโดนจับแยกหมด แล้วให้จับสลากแบ่งสายกันท�ำงาน ว่าใครจะไปอยู่กับรุ่นพี่คนไหน ต้องท�ำงานกับใคร เพราะทุกคนต้อง ท�ำงานด้วยกันได้คะ่ พร้อมเสมอทีจ่ ะต้องท�ำงานกันเป็นทีม ไม่วา่ จะเป็น ใครก็ตามเราจะพร้อมทีจ่ ะท�ำงานด้วย เพราะงานส�ำคัญทีส่ ดุ จากนัน้ ก็ประมาณว่าบอกกล่าววัฒนธรรมขององค์กรว่าเป็นยังไง เราอยู่ และท�ำงานกันยังไงบ้างนั่นแหละ แล้วถึงจะกลับมาสอนงานน้องๆ ให้เข้ามาช่วยงาน เรียนรู้งานและไปออกลูกค้าช่วยกันท�ำมาหากินได้ และเป็นการเริ่มต้นชีวิต “ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี” หรือที่เรียกกันว่า Audit Assistance อย่างเป็นทางการจ้า แล้วชีวิตก็กลับเข้าสู่การเรียนอีกครั้ง เพราะนักบัญชีต้องเรียนรู้ อยู่ตลอดเวลา ทั้งต้องอบรมอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอโดยเฉพาะน้อง ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ท�ำบัญชีหรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ช่วงนี้เป็นช่วงเก็บ เกี่ยวประสบการณ์ต้องเรียนรู้วิธีการท�ำงานจริงๆ ไหนต้องเตรียม สอบไปด้วย เพราะต้องอ่านหนังสือเพื่อสอบ CPA ให้ ได้ และต้อง ท�ำงานในฐานะมืออาชีพไปด้วย คิดดูสิว่ามันวุ่นวายขนาดไหน ลอง ดูสถานการณ์ตัวอย่างย่อๆ ดูนะคะ
161
176
Born to be
หลักสูตรต่างๆ สามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีค่ะ จะระบุชื่อหลักสูตร สถานที่ ก�ำหนดการอบรม ที่ส�ำคัญคือ จ�ำนวน ชั่วโมงที่จะได้รับค่ะ แยกย่อยไปเลยว่าเป็นชั่วโมงของวิชาบัญชี วิชา สอบบัญชี วิชากฎหมาย หรืออื่นๆ ให้เลือกเก็บตามอัธยาศัย
คนท�ำบัญชีหรือผู้ท�ำบัญชีรับอนุญาต (CPD) ในบริษัทที่ ให้บริการรับท�ำบัญชี เป็นอาชีพยอดฮิตอีกอาชีพหนึง่ ค่ะ ถ้าน้องๆ ไม่ ได้เป็นพนักงาน ในแผนกบัญชีตามบริษัทต่างๆ แล้ว บริษัทรับท�ำบัญชีเป็นอีกที่หนึ่ง ที่น้องๆ จะได้ประสบการณ์มากมายไม่แพ้การตรวจสอบบัญชีเลยล่ะ เพราะถ้าเป็นบริษัททั่วไปที่มีแผนกบัญชีเป็นของตัวเอง น้องจะได้ เรียนรู้ ในงานหน้าที่ของตัวเอง เช่น น้องเป็น AP น้องจะท�ำแต่ AP แต่นอ้ งจะได้แนวลึกค่ะ เพราะรายการในแต่ละเดือนทีม่ าให้ตรวจและ ท�ำจ่ายจะมีเป็นจ�ำนวนมาก จนกว่าจะมีการหมุนงาน เปลีย่ นงานกันท�ำ เช่น ไปช่วยทาง AR บ้างเพื่อให้ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีการทดแทน หรือท�ำงานแทนกันได้ ในช่วงทีต่ อ้ งมีพนักงานลางานหลายๆ วัน แต่ ในกรณีของบริษัทรับท�ำบัญชีน้องต้องเป็นคนท�ำคนเดียวแบบครบ วงจรเลยค่ะ เรียกได้ว่ารู้ครบตั้งแต่ท�ำใบส�ำคัญยันออกงบกันเลย เพียงแต่ว่าน้องจะไม่ ได้ท�ำแค่บริษัทเดียวอีกแล้วค่ะ แต่น้องต้องมี ลูกค้าที่รับผิดชอบในมือหลายๆ ราย ต้องจัดแบ่งเวลากันไปเพื่อให้ ทันในแต่ละเดือน การท�ำงานในบริษัทประเภทนี้ ถือว่าหนักหนาไม่แพ้ ใครเลย ทีเดียว เพราะนอกจากที่เราจะต้องดูแลการจัดท�ำบัญชี และบริการ เสริมอื่นๆ ให้แก่ลูกค้าหลายๆ ราย ซึ่งจะมากหรือมากน้อยลงมา
190
Born to be
จะเห็นได้วา่ กว่าจะได้เป็นผูส้ อบบัญชี หรือเป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพ ด้านบัญชีจะต้องเหน็ดเหนือ่ ยอย่างมากมาย นีย่ งั ไม่รวมถึงเวลาทีต่ อ้ ง เจียดไปเรียนเก็บชั่วโมง สอบ CPA หรือเรียนปริญญาโทเพิ่มเติมอีก จึงขอให้น้องคิดถึงความยากล�ำบากเหล่านี้ซึ่งกว่าที่จะได้มาอย่างทุก วันนี้ อย่าเห็นแก่ผลประโยชน์ตอบแทนแล้วยอมท�ำผิดจรรยาบรรณ ของพวกเรากันนะคะ
พนักงานประจ�ำแผนกบัญชีและการเงิน ในบริษัททั่วไป เป็นต�ำแหน่งงานพื้นฐานส�ำหรับเด็กจบใหม่ เพราะต�ำแหน่ง งานนี้มีเยอะมาก บริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ปกติแล้วจะไม่จ้าง บริษทั รับท�ำบัญชี ให้มาดูแลเรือ่ งการจัดท�ำบัญชี ให้ อาจจะด้วยหลายๆ สาเหตุ อาทิเช่น กลัวความลับทางการเงินรั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอก หรือไม่สะดวกเพราะขนาดของบริษัทเริ่มใหญ่ขึ้น และให้ความส�ำคัญ กับการควบคุมดูแลระบบบัญชีและการเงินมากขึน้ การจ้างคนอืน่ อาจ จะท�ำให้ ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ช้าเกินไป (หลังจากส่งเอกสารให้บริษัท รับท�ำบัญชีแล้ว จากนัน้ ก็ตอ้ งรอ..ว่าเมือ่ ไหร่จะได้งบการเงิน เร่งมาก ก็ ไม่ ได้เดี๋ยวคิดตังค์เพิ่ม) อาจจะไม่ทันใจไม่ทันต่อการบริหารงาน ก็เลยมีแผนกบัญชี ไว้ซะเองเลย (จะโขกสับบังคับให้ส่งงบการเงินเมื่อ ไหร่ก็ ไม่มี ใครว่า) โดยมากแผนกบัญชีก็จะพ่วงงานทางด้านการเงิน เข้าไปด้วย ส่วนงานย่อยๆ ในแผนกนีจ้ ะแยกออกมาได้อกี หลายแขนง ตอนเรียนใครถนัดตรงไหนก็มุ่งไปตรงนั้นได้เลย
ต�ำแหน่งงานในแผนกบัญชี โดยทั่วไปแล้วแบ่งกันง่ายๆ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของ แต่ละคนค่ะคือ
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
สรุปในปีนึงๆ เราเจอกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้ช่วยผู้สอบ บัญชีรบั อนุญาตสามถึงสีค่ รัง้ ค่ะ เริม่ ตัง้ แต่การตรวจระหว่างปี ท�ำลาย สินค้า ตรวจนับสินค้าปลายปี และสุดท้ายตอนต้นปีถัดไปเพื่อตรวจ สอบงบการเงินประจ�ำปี นี่แค่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนะคะ ยังไม่รวม ผู้สอบบัญชีภายในค่ะ สรุปได้ว่านอกจากเราต้องท�ำบัญชีแล้วเรายัง ต้องเจอกับผู้สอบบัญชีกันทั้งปีด้วยค่ะ
ทางเลือกใหม่ “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” หรือ TA (Tax auditor) ถ้าเกิดคิดว่าเราไม่เหมาะกับการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพราะมันต้องสอบเยอะเหลือเกิน หรือต้องเก็บชั่วโมงมากมาย และ ท�ำได้ยาก เพราะได้ทำ� งานมาในสายท�ำบัญชีมานานแล้ว ถอยกลับไป สายตรวจสอบบัญชีล�ำบาก อย่าเพิ่งท้อใจ เรายังมีหนทางอื่นอีก ถึง แม้การได้เป็นผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาตจะท�ำให้เราสามารถตรวจสอบงบ การเงินและรับรองบัญชีของกิจการทั่วไปได้ทั่วราชอาณาจักร เท่ห์ซะ ไม่มี แถมเงินดีอกี ต่างหาก (แต่บางคนทีเ่ ก่งมากๆ อาจสอบเป็นผูส้ อบ บัญชีของประเทศอื่นๆ ได้อีกด้วย อันนี้ก็ปล่อยเค้าเก่งต่อไป) ไม่ว่า กิจการจะใหญ่ระดับบริษัทมหาชนหรือเล็กๆ แค่ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้หมด สามารถรับงานได้ ไม่จ�ำกัด แต่ยังมีผู้สอบฯ อีกประเภทหนึ่งที่สามารถตรวจสอบงบการเงิน ได้เหมือนกัน มีข้อแม้นิดนึงว่ากิจการที่จะเข้าไปตรวจได้นั้นต้องเป็น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็ก ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน บาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทเท่านั้น แต่อย่าไปดูถูกกิจการประเภทนี้นะจะบอกให้ เพราะ ในบ้านเรากิจการที่มีคุณสมบัติแบบนี้มีอยู่เกลื่อนเมืองนะคะพี่น้อง
215
268
Born to be
“รับตรง VS แอดมิชชัน่ ” ศึกชิงชัยคณะในฝัน โดยทีมงาน Born to be ชีวิตมัธยมปลายหนี ไม่พ้นการแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัย สนามสอบแรกที่น้องๆ ทุกคนจะต้องปะทะสมองกันก่อนเลยก็คือ “สนามสอบตรง” เพราะมหาวิทยาลัยต่างๆ จะเริ่มเปิดรับตรงกัน ก่อนจ�ำนวนหนึ่งค่ะ หลังจากนั้นเมื่อน้องๆ จบ ม.6 กันแล้วก็เป็น สนามใหญ่ที่ต้องแข่งกันทั่วประเทศ คือ “สนามแอดมิชชั่น” ทั้งเด็ก จบใหม่-เด็กซิว่ จากทุกสารทิศจะมาร่วมชิงทีน่ งั่ กันอย่างมากมายและ หากใครพลาดแล้วพลาดอีก พลาดซ�้ำซาก พลาดจ�ำเจ ก็ยังมีรับตรง หลังแอดฯ อีก คือ ถึงแม้หนทางจะยากล�ำบากสักแค่ ไหน แต่ก็ยังมี โอกาสแก้ตัวได้เรื่อยๆ
รับตรง ศึกเล็กแต่ ไม่ง่าย การสอบรับตรง คือโอกาสช่วงแรกๆ ที่เราจะได้หาที่เรียนใน ระดับอุดมศึกษาตั้งแต่เรายังอยู่ ม.6 และก็มีหลายสนามสอบให้ ประลองความรู้ ใครสอบติดในช่วงรับตรงนีก้ ต็ อ้ งขอแสดงความยินดี ด้วย เพราะการเรียนในเทอมสุดท้ายจะมีแต่ความสนุกสนานเฮฮา เหมือนยกภูเขาออกจากอก ไม่มอี ะไรต้องกังวลอีกแล้ว แค่เรียนให้จบ เกรดไม่ร่วงก็พอแล้ว (เพราะรับตรงบางแห่งก็ก�ำหนดไว้ว่าต้องเรียน จบด้วยเกรดเท่าไหร่) แต่อย่าพึง่ ดี ใจไปนะ อย่าลืมว่าหลังจบ ม.6 แล้ว ยังต้องสอบ O-NET ให้ผ่านเกณฑ์เพื่อให้จบแบบบริบูรณ์
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
มาเข้าเรื่องการสอบตรง ซึ่งมีหลายแบบ มีทั้งสอบตรง (ท�ำ ข้อสอบเข้าไป) รับตรงแบบปกติ (รับตรงคณะแบบมีเงื่อนไขคะแนน) แบบพิเศษ (โครงการ/โควต้า) แต่ละแบบจะมีการก�ำหนดคุณสมบัติ ไว้ ฉะนั้นเมื่อมีข่าวรับตรง สิ่งที่ต้องรีบตรวจสอบก่อนเลยก็คือ เค้า ก�ำหนดคุณสมบัติหรือเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่น ภูมิล�ำเนา เกรดเฉลี่ย ความสามารถพิเศษด้านกีฬา วิชาการ เป็นต้น ถ้าเราอยู่ ในเกณฑ์ ครบทุกประการ ก็ลุยเลย ไม่ต้องลังเล แต่ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะถูกตัดสิทธิ์ทันที เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการสอบรับตรง ข้อดี + ข้อเสีย 1. สอบได้ ทุ ก สนามที่ ต ้ อ งการ 1. ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่าสมัคร ค่า เดินทาง และค่าทีพ่ กั ยิง่ สอบมาก (คุณสมบัตคิ รบตามเกณฑ์) 2. ไม่ตอ้ งใช้คะแนน O-NET เค้า ก็ยิ่งเปลือง ใช้ขอ้ สอบของคณะเอง หรือไม่กด็ ู 2. การเตรียมตัวยาก เพราะเวลา คะแนน GAT/PAT (ซีซนั่ สอบตรง อ่านหนังสือไม่พอ (คอนเฟิร์ม) จะเริ่มก่อนสอบ O-NET) 3. บริหารเวลายาก ตารางเวลา 3. จ�ำกัดคูแ่ ข่งผ่านคุณสมบัติ ตัด จะป่วนตามปฏิทินการสอบตรง ยิ่งสอบมากก็ยิ่งจัดการล�ำบาก สิทธิ์เด็กซิ่ว (บางโครงการ) 4. ถ้ า สอบติ ด ก็ จ ะหมดภาระ หาที่เรียนทันที
269
284
Born to be
แอดมิชชั่นของสาขาบัญชี ทีเ่ ล่ามาทัง้ หมดเป็นแอดมิชชัน่ มาตรฐาน ทุกคณะท�ำเหมือนกันหมด ต่อไปเรามาดูวา่ สาขาบัญชี เค้ามีหลักเกณฑ์การแอดมิชชัน่ ยังไงบ้าง คุณสมบัติแบบไหนที่จะสมัครได้
เล่ามาทั้งเล่ม มาบอกเอาตอนนี้ว่าใครบ้างที่สามารถสมัครเข้า เรียนในสาขาบัญชี ได้ 1. เป็นนักเรียนชัน้ ม.6 ในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ สายคณิตศาสตร์-ภาษาต่างประเทศ เรียกย่อๆ ว่า สายวิทย์ และ ศิลป์ค�ำนวณ สามารถสมัครได้ แต่ ศิลป์ภาษา สมัคร ไม่ ได้ค่ะ 2. เป็นนักเรียนที่ก�ำลังศึกษา หรือจบการศึกษา เทียบเท่า ม.6 ค�ำว่าเทียบเท่ายังแยกย่อยไปได้อกี ว่า สอบเทียบ หรือ grade 12 โรงเรียนนานาชาติ/ต่างประเทศ หรือ ปวช.3 ในสาย อาชีวศึกษา ซึ่งถ้าเราจะสอบตรง ต้องดูคุณสมบัติ ให้ดีว่า เค้าจ�ำกัดเฉพาะ นักเรียน ม.6 หรือเปล่า หรือต้องก�ำลังเรียน ม.6 ด้วย จบแล้วไม่รับ แต่กรณีแอดมิชชั่นกลาง สามารถ แอดฯได้ทั้งหมด จะเรียนปี 1 มหาวิทยาลัยอยู่ก็แอดฯ ได้ แต่ต้องเอาคะแนนตอนจบ ม.6 มาแอดฯนะ 3. คุณสมบัติอื่นก็ทั่วๆ ไป เช่น อยู่ ในเมืองไทยอย่างถูก กฎหมาย เป็นผู้ ไม่มี โรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่จะเป็น อุปสรรคต่อการศึกษา เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้ที่ มีความประพฤติเรียบร้อย จะต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษ เนื่องจากการทุจริต หรือถูกให้ออกจากสถานศึกษา เป็นต้น
นั ก บั ญ ชี 2 0 1 4
รับตรง/สอบตรง/โควตา
มี บ อกไว้ ห มดแล้ ว ใน ตารางรั บ ตรง สาขาวิ ช าการบั ญ ชี มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเป็นหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ โครงการที่เปิด รับในแต่ละปีของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งมีคะแนนแอดฯในอันดับ สูงสุดถึงปานกลาง ส�ำหรับมหาวิทยาลัยอื่นที่ ไม่ ได้แสดงให้ดู ให้น้อง ติดตามได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ พี่ ได้รวบรวมไว้ ให้แล้ว ที่ตาราง หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี ถ้าน้องดู มหาวิทยาลัยจากตารางเป็นหลักน้องก็ ไม่ต้องกลัวว่าจบมาแล้วจะมี ปัญหาเรื่องการขึ้นทะเบียนต่างๆ แอดมิชชั่นกลาง
ค่าน�้ำหนักคะแนนของสาขาบัญชี ในการคิดค�ำนวณคะแนน แอดมิชชั่นกลาง คือ GPAX 20 : O-NET 30 : GAT 30 : PAT1 20 เมื่อน้องได้คะแนนทุกอย่างครบแล้ว และค�ำนวณคะแนนของตัวเอง เรียบร้อยแล้ว สามารถเอาคะแนนมาเปรียบเทียบใน ตารางคะแนน แอดมิชชั่นกลาง ที่พี่รวบรวมไว้ ให้ รวมถึงมีอัตราแข่งขันให้ดูด้วย ว่าสูงแค่ ไหนในแต่ละปี เพื่อเป็นหลักอ้างอิงคร่าวๆ ว่ามหาวิทยาลัย ที่หวังนี่พอจะไหวไหม
285
14.3CM
2.1CM
14.3CM