Born to be วิศวคอมพิวเตอร์

Page 1

14.5 cm.

21 cm.

21 cm. 2 cm.

File : AW_Born2be_Cover.ai Size : 14.5 x 21 cm. Date : 19/9/12


Born to be Born to be วิศวะคอมฯ 2013 ณัฐวุติ แซ่ลิ้ม วุฒิพงษ์ ชาติอนุลักษณ์ (นักเขียนรับเชิญ) ตุลาคม 2012 978-616-7720-01-2 336 หน้า 225 บาท ดร.สุกิตติ เอื้อมหเจริญ INTEGRATE QUALITY LAW AND ACCOUNTING ภีรพล คชาเจริญ สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข ลัดดา คชาเจริญ เจ๊จอย Goodmoodz Nui สนพ. บายยัวร์เซลฟ์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 www.bynatureonline.com บริษัท โรงพิมพ์ ตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) 025510531, 025510533-44 NEO Film Prepress Solution โทร. 0-2422-0072 บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com

Born to be

หนังสือ เขียนโดย พิมพ์ครั้งแรก ISBN จ�ำนวนหน้า ราคา ที่ปรึกษาอาวุโส ที่ปรึกษากฎหมาย บรรณาธิการอ�ำนวยการ บรรณาธิการ ผู้จัดการทั่วไป พิสูจน์อักษร ออกแบบปก รูปเล่ม จัดพิมพ์ โดย พิมพ์ที่ โทรศัพท์ แยกสี จัดจ�ำหน่าย

วิศวะคอมฯ 2013

สงวนลิขสิทธิ์

เนื้อหาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากส�ำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์ พับลิชชิ่ง


บทบรรณาธิการ

AEC 2015

AEC 2015 >>> 1 อาเซียน 10 ประเทศ 600 ล้านคน จะเกิดอะไรขึ้น?

“คงจะเจ็บใจไม่น้อย หากต�ำแหน่งงานวิศวะในบ้านเรา ตกเป็นของแรงงานจาก ประเทศเพื่อนบ้าน” อาชีพวิศวกรคือหนึง่ ในคณะยอดนิยมตลอดมา และวิศวกรคอมพิวเตอร์คอื หนึง่ ใน สาขาที่มีความนิยมสูงสุด หนังสือ Born to be วิศวะคอมฯ 2013 เล่มนี้ ถูกปรับปรุงอีก ครั้ง โดยเพิ่มเติมประสบการณ์จากตัวนักเขียน (พี่เอ็ม) ที่ทางส�ำนักพิมพ์เห็นแล้วว่า เป็น รุน่ พีท่ นี่ า่ จะเป็นแบบอย่างทีด่ ี ให้กบั น้องๆ คือ พัฒนาตนเองในระหว่างทีเ่ ป็นนักศึกษาจน กลายเป็นแรงงานคุณภาพระดับสากล ทีส่ ามารถจบการศึกษาด้วยดีกรีเกียรตินยิ มอันดับ 1 และล่าสุดได้รับคัดเลือกเข้าท�ำงานกับบริษัทระดับอินเตอร์อีกด้วย ซึ่งความส�ำเร็จทั้งหมด นี้ พี่เอ็มบอกกับตัวเองหรือใครๆ อยู่เสมอว่า “เค้าไม่ ใช่คนเก่ง แต่ความพยายามคือ สิ่งเดียวที่เค้ามี” แนวคิดส�ำคัญที่อยากบอกกับน้องๆ มากที่สุดในเล่มนี้ก็คือ เราก�ำลังก้าวเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 เราจะสามารถปรับตัวให้ทนั กับความเปลีย่ นแปลง ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะวิศวกรคือหนึ่งในอาชีพที่จะเปิดให้มีการเคลื่อนย้าย แรงงานอย่างอิสระ ดังนัน้ เมือ่ น้องๆ จบการศึกษาและไปสมัครงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือบริษทั ใหญ่ๆ คูแ่ ข่งจึงมิ ได้มเี พียงแค่คนไทยด้วยกันอีกต่อไปแล้ว อาจจะมีวศิ วกรจาก ประเทศเพื่อนบ้านของเราเข้าร่วมชิงต�ำแหน่งงานนั้นด้วย ฉะนั้น เป้าหมายของเราก็คือ ต้องมีแนวทางหรือมีค�ำตอบที่ชัดเจนให้กับน้องๆ ในการพัฒนาตนเองให้เป็นแรงงานที่มี คุณภาพระดับสากลให้ ได้ เพื่อไม่ ให้ต�ำแหน่งงานวิศวกรในบ้านเรา ตกเป็นของนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยชื่อดังจากประเทศเพื่อนบ้าน สุดท้ายนี้ ขอฝากวลียอดฮิตไว้ส�ำหรับน้องๆ ครับ “Change or Die”

peeByNature

บรรณาธิการ


วิศวะคอมฯ 2013

Born to be ค�ำน�ำนักเขียน

บางคนเค้าบอกกันว่า “การเปลีย่ นแปลง” เป็นเรือ่ งทีน่ า่ กลัว และคนส่วนใหญ่กว็ งิ่ หนีกนั ให้ วุ่น แต่ส�ำหรับคนในวงการไอทีอย่างเราๆ แล้ว การเปลีย่ นแปลงคงเป็นเรือ่ งทีห่ ลีกหนี ไม่ ได้ครับ เพราะฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ ราต้องท�ำก็ ไม่มอี ะไรมาก ก็แค่ ต้องคอยติดตามสถานการณ์และเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ อยูเ่ สมอ ก็เหมือนกับหนังสือทีอ่ ยู่ ในมือน้องตอน นี้ จากเล่มแรกที่วางตลาดไปหนึ่งปีกว่าๆ ถึง ตอนนี้ มันก็มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดย เฉพาะในเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ “AEC” ซึ่งจะบอกว่าไม่เกี่ยวกับเราเลยก็ คงจะไม่ ได้ เพราะ“วิศวกร” ก็คือหนึ่งในวิชาชีพ ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างอิสระ เพราะ ฉะนั้น เราคงได้รับผลกระทบกันเต็มๆ แน่เลย

แต่ก็ ไม่ต้องกังวลอะไรครับ เพราะหนังสือเล่มนี้ ได้เพิ่มบทความที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วอย่าง ดีเยี่ยมเพื่อน้องๆ โดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้คือตัวแทนของพี่ ในฐานะ “พี่ ร หั ส ” ของน้ อ งๆ ทุ ก คน พี่ ไ ด้ ถ ่ า ยทอด ประสบการณ์การเรียนที่นี่ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่พี่เจอมาว่า ต้องเรียนอะไรบ้าง ยากง่ายขนาด ไหน จะเอาตัวรอดได้อย่างไร นอกจากนี้ ยังมี ประสบการณ์เสริมต่างๆ จากตัวพี่เองที่เพิ่มเข้า มาอีกด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์การ ประกวดแข่งขันต่างๆ หรือแม้กระทัง่ การไปเป็น นักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่น รับรองว่า น้องไม่เคยพบเคยเจอจากที่ ไหนแน่ๆ ครับ


แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าน้องจะอยากสอบเข้า คณะไหนก็ แ ล้วแต่ สิ่งหนึ่งที่จะท�ำให้น ้อง แตกต่างจากคนอื่นคือสิ่งที่เรียกว่า “ความ พยายาม” ครับ พี่จะย�้ำกับรุ่นน้องของพี่ทุก คนเสมอว่า “เวลาเล่นมันยังมีเหลืออีกตลอด ชีวิตนะ แต่เวลาที่เราจะตั้งใจอ่านหนังสือสอบ เข้ามหา’ลัย มันมีแค่ตอนนี้ จะไปอ่านตอนอายุ 30 มันไม่มปี ระโยชน์แล้ว” มีการ์ตนู เรือ่ งหนึง่ ที่พี่ชอบมากบอกไว้ว่า “มนุษย์ ไม่สามารถได้ สิ่งใดมาโดยไม่สูญเสียสิ่งใดไปเลย การที่เรา จะได้สิ่งใดมานั้น จ�ำเป็นจะต้องจ่ายสิ่งที่มีค่า เท่าเทียมกันออกไป นี่คือ กฎการแลกเปลี่ยน ที่เท่าเทียม” ถ้าสิ่งที่น้องต้องการคือ สอบให้ ติดวิศวะคอมฯ หรือคณะไหนๆ ก็ตาม แต่ วันๆ เล่นแต่เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม แชท ตีดอท ดูทีวี แบบนี้น้องก�ำลังจ่ายสิ่งที่ มันไม่ ได้เท่าเทียมกันออกไป มันก็ ไม่ ได้อะไร ขึน้ มาครับ ขอให้เชือ่ พีน่ ะ “พยายาม พยายาม และพยายาม” ครับ แล้ววันหนึ่งที่เราสอบติด คณะที่เราอยากได้ วันที่เราเห็นผลของความ พยายาม วันนั้นจะเป็นวันที่ ไม่ว่าผ่านไปกี่ปี พอย้อนกลับมานึกถึง เราก็จะยิม้ ไม่หบุ ทุกครัง้

เลยล่ะครับ และพีเ่ ชือ่ เหลือเกินว่าน้องทุกคนที่ ตัดสินใจหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน จะต้อง ท�ำส�ำเร็จอย่างแน่นอนครับ แล้วอย่าลืมมาเล่า ให้พี่ฟังบ้างนะ ^_^ จริงๆ แล้ว ล�ำพังตัวพี่เองคนเดียวคง ไม่สามารถสร้างสรรค์หนังสือดีๆ แบบนี้ออก มาได้ครับ ก็ต้องขอกราบขอบพระคุณ คุณ แม่และคุณป๊าของพี่เอง รวมไปถึงญาติพี่น้อง ทุกคน ขอขอบพระคุณคุณครูและอาจารย์ ของพี่ทุกๆ ท่าน ที่อดทนให้การศึกษาพี่มา ตั้ ง แต่ เ ป็ น เด็ ก น้ อ ยจนกระทั่ ง เติ บ ใหญ่ ขึ้ น มาเป็นบัณฑิตกับเค้าได้ ขอบคุณสาขาวิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง รวมไปถึงรุ่นพี่ๆ เพื่อนๆ และรุ่น น้องทุกคน ที่มอบประสบการณ์ที่ ไม่สามารถ ประเมินค่าได้ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ ได้อยู่ ใต้ ร่มรัว้ ชงโคด้วยกัน ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทีข่ าดไม่ ได้ ขอ ขอบคุณพี่พี (บอกอสุดหล่อ) ของเรา และพี่ๆ ทีมงานทุกคนในส�ำนักพิมพ์บายยัวร์เซลฟ์ ที่ ให้ โอกาส สนับสนุน และช่วยเหลือน้องคนนีเ้ สมอ มา คุณความดีทเี่ กิดจากการเขียนหนังสือเล่ม นี้ ขอมอบให้กับบุพการี ผู้มีพระคุณ และผู้ที่ ตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมทุก คนครับ :)

ณัฐวุฒิ แช่ลิ้ม


CONTENT part 1

It’s My Life 12 21 25 27 34

เบื้องหลังอภิมหาโปรเจ็คต์ชนะเลิศ Samart Innovation Award 2011 JAYSES โครงการอินเตอร์ ที่นักศึกษาวิศวะต้องลอง ล้มเหลวบ้างก็ ได้ กับโครงการ IT One Innovation Awards 2011 ลุยแดนปลาดิบ กับเสี้ยวชีวิตนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่น ภารกิจ เก่งอังกฤษให้ ได้ ก่อนเปิดอาเซียน


part 2

เส้นทางสู่คณะ “วิศวคอมพิวเตอร์” 42 46 51 54 66 72 74 77 78 80 82 84 86

อยากเรียนวิศวะคอมฯ โคตรโคตร หลักสูตรคอมพิวเตอร์ (IT) มีอะไรบ้าง เตรียมพร้อม ซ้อมเป็น ‘เด็กวิศวะ’ เด็กวิศวะเป็นแบบนี้…เข้าใจไหม อะไรบ้างที่..มหา’ลัย ≠ โรงเรียน ระบบ Admission เข้าเรียนวิศวะ ปลุกพลังบวก …ท้ารบตัวขี้เกียจ วิศวะคอมฯ, วิทย์คอมฯ, วิศวะซอฟต์ฯ, วิทย์ ไอที ต่างกันอย่างไร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering; com eng) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science; com sci) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering; soft eng) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology; IT sci) ความเหมือนที่แตกต่างของหลักสูตรสายไอที


CONTENT part 3

เด็กวิศวะคอมฯ …เทพไอที 108 110 113 133 150 151 152 155 172 189 203

ปี 1 อิสระมาพร้อมความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ เครื่องคิดเลขแบบวิทยาศาสตร์ วิชาที่ต้องเรียนในปี 1 เทอม 1 วิชาที่ต้องเรียนในปี 1 เทอม 2 รับน้อง..สไตล์เด็กวิศวะ กิจกรรม..ประชุมเชียร์.. ปี 2 เรียนหนักจัดเต็มวิชาภาค วิชาที่ต้องเรียนในปี 2 เทอม 1 วิชาที่ต้องเรียนในปี 2 เทอม 2 กิจกรรมระดับสาขาวิชา ปี 3 สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘นรก’


205 223 239 244 245

วิชาที่ต้องเรียนในปี 3 เทอม 1 วิชาที่ต้องเรียนในปี 3 เทอม 2 วิชาที่ต้องเรียนในปี 3 เทอม 3 ปี 4 ตะลุยโปรเจ็คเด็กวิศวะคอมฯ Project งานชี้ชะตา จบ-ไม่จบ

part 4

มองอนาคตเส้นทางสายอาชีพ ด้านไอทีในยุค AEC 304 พนักงานประจ�ำ (Permanent Employee) 311 อาชีพอิสระ (Freelance) 319 เจ้าของกิจการ (Business Owner)

พิเศษ

Hello World โปรแกรมมิ่งสวัสดีชาวโลก


12

Born to be วิศวะคอมฯ 2013

เบื้องหลัง

อภิมหาโปรเจ็คต์ชนะเลิศ

Samart Innovation

Award 2011 พี่ก็เป็นคนหนึ่งครับ ที่ มี ค วามใฝ่ ฝ ั น ว่ า จะ ต้องเข้าร่วมโครงการ แข่งขันอะไรสักอย่าง แล้ ว ก็ ต ้ อ งได้ ร างวั ล กลับมาให้ได้ อารมณ์ นั ก กี ฬ าโอลิ ม ปิ ก ได้ เหรี ย ญรางวั ล กลั บ มาเลยครับ


Born to be วิศวะคอมฯ 2013 ส�ำหรับงานประกวดแข่งขันผลงานด้าน ไอทีตา่ งๆ นีก่ น็ บั ว่ามีอยูเ่ ยอะแยะมากมาย เต็มไปหมดเลยครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น ระดับประเทศ ปกติแล้ว บรรดาเด็กที่ส่ง ผลงานเข้าประกวดก็จะเป็นนักศึกษาชั้น ปีสุดท้ายครับ เพราะว่าตัวเองต้องท�ำโปร เจ็คต์เพื่อใช้ ในการจบการศึกษา หรือที่ เรียกกันว่าโปรเจ็คต์จบอยู่แล้ว ก็เลยถือ โอกาสเอาผลงานของตัวเองส่งประกวด ไปด้วยซะเลย แต่ก็มีบ้างครับที่เป็นน้องๆ ปี 2-3 รวมตัวกันพัฒนาผลงานแล้วก็ส่ง ประกวดแข่งกับพี่ๆ ซึ่งที่น้อยก็เพราะว่า ช่วงปี 2-3 นั้นเรียนค่อนข้างหนักครับ ล�ำพังแค่ท�ำงานที่อาจารย์ท่านมอบหมาย ให้ กับอ่านหนังสือสอบก็จะไม่เหลือเวลา ท�ำอะไรแล้วนี่สิ พี่ก็เป็นคนหนึ่งครับ ที่มีความใฝ่ฝัน มาตั้งแต่เรียนปี 1-2 แล้วว่าจะต้องเข้า ร่วมโครงการแข่งขันอะไรสักอย่าง แล้วก็ ต้องได้รางวัลกลับมาให้ ได้ เพราะเห็นรุ่น พี่เวลาที่เค้าไปแข่งอะไรแล้วได้รางวัลกลับ มา จะมีรูปอันเบ้อเร่อขึ้นอยู่กลางมหา ลัย ในเว็บภาคฯ เว็บคณะ ก็มีประกาศ แสดงความยินดี อารมณ์นักกีฬาโอลิมปิก ได้เหรียญรางวัลกลับมาเลยครับ พี่รู้สึก ว่าแบบ “โคตรเมพอะ เราต้องมีบ้าง สัก ครั้งสิเฟร้ย” คิดได้อย่างงี้ พอตอนขึ้นปี 4 ตอนนั้นก็ยังไม่ ได้ฟันธงหัวข้อโปรเจ็คต์กับ ทางอาจารย์ที่ปรึกษาครับ แล้วดันไปเห็น ประกาศรับสมัครแข่งขันของโครงการนีเ้ ข้า ซึ่งทางโครงการบังคับหัวข้อการแข่งขันว่า จะต้องท�ำเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในหัวข้อ

13

“Travel and Leisure” ครับ เลยตัดสินใจ เอาหัวข้อนี้มาเป็นโปรเจ็คต์จบเลย โดยตัว โครงการจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Business และ Mobile Application ครับ โดย ส่วนทีมพี่ก็เลือกลงแข่งประเภท Mobile Application ซึ่งตรงกับโปรเจ็คต์ที่ตั้งใจ จะท�ำพอดี จริงๆ แล้วโปรเจ็คต์จบที่พี่ท�ำนั้น ท�ำ กันสองคนคับ คือพี่ กับ พี่บอย ซึ่งท�ำด้วย กันมาตั้งแต่วิชา Computer Project ตอนปี 3 แล้ว (สมัยนั้นยังมีวิชานี้อยู่... ดู แก่เนอะ -.-) แต่ทีนี้พอคุยๆ ถึงโปรเจ็คต์ที่ จะท�ำแล้วปรากฏว่า เฮ้ย มันเยอะมาก จะ เสร็จทันมั้ย ทางอาจารย์ที่ปรึกษาของพี่ ท่านเลยแนะน�ำว่าให้หารุ่นน้องมาช่วยท�ำ อีกสักคนดูครับ พี่ก็เลยได้น้องนิว ซึ่งเป็น รุ่นน้องที่สนิทกันมาช่วยงานอีกคน สรุป ว่ามีพี่เอ็ม พี่บอย และเจ้านิว สามคน เป็น อันฟอร์มทีมเรียบร้อย ภายใต้ชอื่ ทีม “กอด (เมืองไทย) กันเถิด” ... ^_^

อภิมหาโปรเจ็คต์ชนะเลิศ


Born to be วิศวะคอมฯ 2013

ล้มเหลว บ้างก็ ได้กับ โครงการ ITOne Innovation Awards 2011 โครงการนี้เป็นโครงการประกวดผล งานทางไอทีทนี่ า่ สนใจอีกโครงการหนึง่ เนือ่ งจากโดยตัวโครงการเองไม่ ได้เน้น ผลงานมากนัก แต่เน้นไปทีแ่ นวคิดและ ไอเดียมากกว่า

25

ส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว ก็ จ ะเป็ น เด็ ก ปี สี่ เ อา โปรเจกต์ จ บตั ว เองนี่ แ หละครั บ ส่ ง เข้ า ประกวดกันไป และแน่นอนพี่ก็ ไม่พลาด ครับ เลยเอาโปรเจกต์ตัวเองซึ่งท�ำคู่กับ พี่บอยส่งไปด้วย และเนื่องจากงานนี้ ไม่ จ�ำกัดจ�ำนวนผู้เข้าร่วม ก็เลยชวนรุ่นน้อง ที่สนิทกันอีกสองคนคือ น้องนิว กับน้อง กันต์ มาช่วยงานด้วย ซึ่งสุดท้ายแล้วทาง โครงการก็จะคัดเลือกเหลือ 20 ทีมเพื่อ เข้าไปสู่รอบตัดสิน และแน่นอนทีมพี่ก็อยู่ ใน 20 ทีม นั้นด้วยครับ งานวันนั้นจัดขึ้นที่ โรงแรมครับ โดย เราก็จะไปออกบูธเหมือนกับเตรียมขาย ของ แล้วก็จะมีคณะกรรมการมาเดินดู บูธ เราก็มีหน้าที่ขายของกันไป ซึ่งก็คือ พรีเซนต์ โปรเจกต์เราให้คณะกรรมการ ฟั ง เวลานอกเหนื อ จากนั้ น ก็ ไ ปเดิ น ดู งานของเพื่อนๆ กลุ่มอื่นได้ครับ ซึ่งพี่ว่า ตรงนี้คุ้มที่สุดของงานเลย บางทีเดินๆ ไปแล้วก็คิดในใจ โห..คิดได้ ไง โปรเจกต์ เทพมาก บางเรื่องนี่เป็นเรื่องที่พี่ ไม่เคย รู้มาก่อนเลยก็มีครับ คือเปิดโลกทัศน์กัน สุดๆ แถมวันนั้น CEO ของบริษัท (ไม่ ขอเอ่ยนาม) ซึ่งเป็นชาวต่างชาติมาเดิน ดูด้วยครับ เลยเป็นหน้าที่พี่ต้องพรีเซนต์ ให้เค้าฟังด้วย เล่นเอาคนหันมามองกัน ทั้งห้องเลยครับ เขินเลยทีเดียว


26

Born to be วิศวะคอมฯ 2013

หลังจากนั้นก็จะมีกิจกรรมการแสดงอะไรนิด หน่อย แล้วก็ประกาศผลรางวัล เพื่อนพี่ที่ ไปด้วย กันคว้ารางวัลชนะเลิศมาทีมหนึ่ง และรางวัลรอง ชนะเลิศมาอีกทีมหนึ่งครับ ส่วนทีมพี่ ได้รางวัล ชนะใจตัวเองครับ 555+ ถึงแม้ว่างานนี้จะไม่ ได้รางวัลติดมือกลับมา แต่ก็เป็นอะไรที่ ได้ประสบการณ์กลับมาสุดๆ เลย นะครับ คือบางครั้งเวลาเราไปแข่งขันพวกนี้ ให้ คิดว่ารางวัลเป็นของแถมครับ ได้ก็ดี ไม่ ได้ก็ ไม่ เป็นไร แต่ที่ส�ำคัญกว่าคือประสบการณ์ที่เราได้ รับครับ ยังไงถ้ามี โอกาสอย่าลืมไปลองลงแข่งดู นะ ^^


34

Born to be วิศวะคอมฯ 2013

ภ า ร กิ จ

เก่งอังกฤษให้ ได้

ก่อนเปิดอาเซียน

เรื่องของภาษาอังกฤษนี่ต้องเรียกว่า “ไม่ เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน�้ำตา” ครับ คือพวกเรา (รวมทั้งตัวพี่เองด้วย) จะไม่เห็นถึงคุณค่าและ ความส�ำคัญของมันเลย จนกระทั่งวันนึงที่มัน เป็นตัวตัดสินอนาคตเรานี่แหละ ถึงจะมาส�ำนึก ได้ว่า... “รู้งี้ ตั้งใจฝึกภาษาอังกฤษไปนานแล้ว T T และนับถอยหลังสู่ประชาคมอาเซียนกันได้ แล้ว”

อังกฤษอ่อน…โอกาสหาย มันไม่ ใช่เรือ่ งแปลกอะไรครับ เป็นกันแทบจะทุก คน พีก่ ็ ไม่อยากให้เราไปส�ำนึกได้เอาตอนนัน้ แบบที่ พีแ่ ละหลายๆ คนเคยเป็นครับ พีเ่ ลยขออนุญาตเล่า เรื่องๆ หนึ่งให้ฟัง ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมมุตินะครับ ทั้งเรื่องราวและตัวละครไม่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ (พี่ พึ่งคิดออกตอนนั่งเขียนหนังสือนี่แหละ)


Born to be วิศวะคอมฯ 2013 เรื่องราวของเด็กสองคน เริ่ม ตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ ร้อยละเก้า สิบของหนังสือที่ ใช้เรียนเป็นภาษา อังกฤษ สไลด์ทอี่ าจารย์ทา่ นสอนก็ เป็นภาษาอังกฤษครับ คนหนึ่งชื่อ เด็กชาย เอ สามารถเข้าใจทุกตัว อักษรบนสไลด์ทอี่ าจารย์กำ� ลังสอน กลับไปบ้านเปิด Text books อ่าน ก็รเู้ รือ่ ง กับอีกคนชือ่ เด็กชาย บี พอ เจอศัพท์ยากหน่อยก็คิ้วขมวด งง ก้มไปเปิดดิค พอเงยหน้ามาอาจารย์ท่านก็สอนเลย ไปไกล ต่อความรู้ ไม่ติด งง กลับไปบ้านเปิด Text books อ่านก็ ไม่ ไหว อ่านไปสองประโยคเปิดดิค หนึ่งที ใช้เวลาอ่านหน้านึงเกือบชั่วโมง เมื่อผลสอบ ออกมา แน่นอนว่าเด็กชายเอสามารถท�ำคะแนนได้ สูงกว่าเด็กชายบีอย่างมากมายก่ายกอง เวลาที่ต้องท�ำการบ้านหรือโปรเจ็คต์สักชิ้นส่ง อาจารย์ แทบทุกครั้งทั้งคู่ต้องเข้า Google เพื่อ ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม บางครั้งเป็นเทคโนโลยี ใหม่ ที่ยังไม่มีหนังสือวางขาย บางครั้งเขียนโปรแกรม แล้วเกิดปัญหาขึ้นมา ก็ต้องเข้าไปหาดูว่ามี ใครเป็น เหมือนกันบ้าง เค้าแก้กันยังไงหว่า แต่ร้อยละร้อย ทัง้ คูจ่ ะเจอข้อมูลทีว่ า่ ทัง้ หมดทีเ่ ราต้องการเป็นภาษา อังกฤษ ยิ่งเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไปเท่าไหร่ มันยิ่งหา ภาษาไทยยากมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเด็กชาย บี ภาษาอังกฤษค่อนข้างกระท่อนกระแท่น อ่านไปก็งง ไม่เข้าใจ มีค่าเหมือนไม่ ได้ค�ำตอบอะไรมาเลย แต่ เด็กชาย เอ ภาษาอังกฤษค่อนข้างดี ท�ำให้หาข้อมูล บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่สิ้นสุด อ่านไปได้เพลินๆ เรือ่ ยๆ แถมบางครัง้ ยังแชร์ประสบการณ์ของตัวเอง ให้คนทั่วโลกได้รับรู้อีกด้วย วันหนึ่งมี โครงการรับสมัครนักศึกษาไปร่วม โครงการแลกเปลี่ยน ณ ต่างประเทศอันไกลโพ้น เด็กชาย เอ กับ เด็กชาย บี มีความสนใจจึงสมัคร

35

เข้าร่วมโครงการไปทั้งคู่ โดยที่ทั้งคู่มีประวัติและ เกรดเฉลี่ยใกล้เคียงกันทุกอย่าง แต่เนื่องจากทาง มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาได้แค่คนเดียว จึงต้องมีการ ทดสอบความรู้และสอบสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษเพื่อ เข้าร่วมโครงการ และแน่นอนครับเด็กชาย เอ ซึง่ ภาษาอังกฤษดีกว่า ได้รบั คัดเลือกให้เข้าโครงการไป เด็กชาย เอ และเด็กชาย บี ต้องการเข้าฝึกงาน ภาคฤดูรอ้ นในบริษทั ไอทีชอื่ ดังแห่งหนึง่ ทัง้ คู่ โดยที่ ทั้งคู่มีความรู้ความสามารถใกล้เคียงกันทุกประการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วทางบริษัทจะมีการจัดทดสอบ ความรูภ้ าษาอังกฤษ และบางครัง้ การสัมภาษณ์กจ็ ะ สัมภาษณ์ โดยชาวต่างชาติ ส่งผลให้เด็กชาย บี ซึง่ พูด ภาษาอังกฤษไม่คอ่ ยจะรูเ้ รือ่ ง ตกรอบไปอย่างน่าเศร้า เมือ่ ส�ำเร็จการศึกษา เด็กชาย เอ และเด็กชาย บี ซึง่ เป็นคู่โปรเจ็คต์กนั ท�ำหัวข้อโปรเจ็คต์เดียวกัน เกรด เฉลีย่ เท่ากัน มีประวัตกิ ารท�ำกิจกรรมเท่ากัน และอืน่ ๆ เหมือนกันทุกประการ เข้าสมัครท�ำงานในบริษทั ทีท่ งั้ คู่ ใฝ่ฝัน ซึ่งทางบริษัทจะมีการทดสอบความรู้ภาษา อังกฤษ และการสอบสัมภาษณ์นนั้ ก็จะมีชว่ งของการ สอบสัมภาษณ์ทเี่ ป็นภาษาอังกฤษด้วย (บางทีเ่ ป็นการ สัมภาษณ์ภาษาอังกฤษล้วน) จึงท�ำให้เด็กชาย เอ ซึง่ มีความสามารถทางภาษาอังกฤษดี ได้รบั การคัดเลือก ให้เข้าท�ำงานกับบริษทั ดังกล่าว ส่วนเด็กชาย บี ... ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ


54

Born to be วิศวะคอมฯ 2013

เด็กวิศวะเป็นแบบนี… ้ เข้าใจไหม เรียนวิศวะคอมฯ ต้องเก่งคอมฯ มาก่อนมั้ย ถ้าคำ�ว่าเก่งคอมฯ หมายความว่าใช้งานคล่องๆ แก้ปัญหาเก่งๆ แบบนี้ ล่ะก็ จะบอกว่าจำ�เป็นก็ ไม่ถูกต้องนักนะครับ เพราะว่าตอนเรียนยังไงก็ต้อง ทำ�เป็นอยู่ดี บางคนยังมาให้เพื่อนสอนลงโปรแกรม ลงวินโดวส์กันใหม่ก็ยังมี ไม่ ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเลยครับ

หรือบางคนโปรขนาดใช้เป็นทุกระบบปฏิบตั กิ าร รูจ้ กั ซอฟต์แวร์แทบทุกตัว ซ่อม ประกอบ อัพเกรดเป็นทุกอย่างก็มี เอาเป็นว่าอย่าไปซีเรียสเลยครับ แต่ถา้ ใช้คล่องๆ ก็ดี เพราะเวลามีปญั หาอะไรจะได้แก้เร็วๆ ไม่ตอ้ งรบกวนคนอืน่ แต่ พี่ ก็ อ ยากแนะนำ � ให้ ศึ ก ษากั น มาบ้ า งก็ ดี ค รั บ ให้ มั น คุ้ น เคยสั ก หน่ อ ย เดี๋ยวเสียชื่อหมด


Born to be วิศวะคอมฯ 2013

เรียนวิศวะคอมฯ ต้องเก่งวิชาไหนเป็นพิเศษ ก็อย่างที่ได้เล่าไปข้างต้นแหละครับว่า ตอนปี 1 เนีย่ จะเน้นไปทางฟิสกิ ส์ คณิตศาสตร์ เคมี แต่ถามว่าจำ�เป็นต้องเก่งมาก่อนมั้ย ก็ ไม่จำ�เป็นหรอกครับ แต่ถ้าเก่งมาก็ดี ทำ�ให้เราเรียนลื่นไหลมากขึ้น ส่วนพอขึ้นปีสองปีสามไปเนี่ย จะได้ ใช้ความรู้เรื่องไฟฟ้าด้วย แล้วก็ที่ ใช้บ่อยที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องตรรก ศาสตร์นี่แหละครับ เพราะทั้งเขียนโปรแกรมและออกแบบฮาร์ดแวร์ทั้ง หลายแหล่ ตรรกะดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว แต่ก็ ไม่ต้องซีเรียสอีกนั่นแหละครับ ของพวกนีม้ นั ฝึกกันได้ (เหลืออะไรให้ซเี รียสมัง่ มัย้ เนีย่ ) อ้อ ชีววิทยาไม่มอี กี แล้ว นะครับชีวิตนี้ บอกลาได้เลย (เฮ้อ โล่ง)

55


56

Born to be วิศวะคอมฯ 2013

เรียนวิศวะคอมฯ จะแฮกค์เพนตาก้อนได้มั้ย โอ่ย.. คำ�ถามนีเ้ จอบ่อยกับน้องทีด่ หู นังฮอลลีวดู้ เยอะๆ อารมณ์ทม่ี ี Hacker คอยช่วยพระเอกเข้าไปเจาะระบบของเพนตาก้อนบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง โดยใช้เวลาไม่ถึงลมหายใจอะไรทำ�นองนั้น คือต้องบอกก่อนว่าการ Hack หรือการเจาะระบบเนี่ยเป็นทักษะขั้นสูงเหมือนกัน เพราะต้องใช้ความรู้ครบ ทั้งสามด้าน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิร์ก อย่างลึกซึ้ง (มากๆ) เอ่อ ในที่นี้ ไม่ ได้นับพวกที่โหลดโปรแกรมคนอื่นมาเจาะเครื่องคนอื่นอีกที นะครับ ซึ่งกว่าจะทำ�ถึงขั้นนั้นได้เนี่ย ต้องอาศัยความสามารถขั้นสูง (มาก) เลยทีเดียว แต่ก็มีเรียนในส่วนของ Computer Security หรือ Network Security เหมือนกันนะครับ แหม จะให้อาจารย์ท่านมาสอน Hack เครื่องชาวบ้านโดยตรงคงจะไม่ดี แต่ถา้ สอนการหาช่องโหว่ หรือการป้องกันอะไรแบบนี้ ก็วา่ กันอีกเรือ่ งนึงครับ ถามว่าทำ�ได้มั้ย อันนี้ขอตอบว่าขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนบุคคลแล้วนะครับ แต่ต้องอภิมหาเก่งจริงๆ นะเนี่ย หายากมากคนแบบนี้


Born to be วิศวะคอมฯ 2013

เรียนวิศวะคอมฯ แล้วจะซ่อมคอมเป็นมั้ย อันนีก้ น็ า่ เหนือ่ ยใจครับ เวลาคอมฯ ใครเสียแล้วได้ยนิ คำ�ว่า “เอาไปให้มนั ซ่อมดิ มันเรียนวิศวะคอมฯ” ซึง่ อันทีจ่ ริงแล้วพวกเราก็ ไม่ได้เรียนวิชา “การซ่อม คอมพิวเตอร์เบื้องต้น” มาแต่อย่างใด แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ คนอื่นๆ เค้าก็จะ คิดว่าคนที่เรียนวิศวะคอมฯ มันจะต้องรู้เรื่องทุกอย่าง แต่ถึงพี่จะบอกว่า มันไม่มีเรียนวิชานี้ แต่ก็ ไม่ ได้หมายความว่าเราจะทำ�อะไรไม่เป็นนะครับ คือเราไม่ ได้เรียนการซ่อมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แต่เราได้เรียนว่า อุปกรณ์ แต่ละตัวมันทำ�งานยังไง เพราะฉะนั้น ถ้ามันเสียอะไรขึ้นมาเนี่ย ก็พอจะ วิ เ คราะห์ กั น ได้ ค รั บ แต่ ถ้ า อารมณ์ เ คสระเบิ ด จอแตก นี่ ก็ ไ ม่ ไ หวครั บ ไปที่ร้านซ่อมจะดีกว่า แต่เอาเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่ที่ญาติสนิทมิตรสหายของ เราจะเอามาให้ช่วยดูให้ ก็เป็นปัญหาพื้นฐานทั้งนั้นแหละครับ พวกเราแก้กัน ได้สบายอยู่แล้ว...

57


Born to be วิศวะคอมฯ 2013

วิศวะคอมฯ, วิทย์คอมฯ วิศวะซอฟต์ฯ, วิทย์ไอที

ต่างกันอย่างไร

น้ อ ง ๆ ห ล า ย ค น ส ง สั ย ว่ า วิ ศ ว ก ร ร ม ซ อ ฟ ต์ แ ว ร์ , วิ ศ วะคอมฯ, วิ ท ย์ ค อมฯ, วิ ท ย์ ไอที (สารสนเทศ) ต่างกันอย่างไร เรียนอะไรแล้วไปทำ�งานอะไร ก็หาคำ�ตอบ ได้ครับ อะไรยากกว่าอะไร ไม่งงและไม่มึน อีกต่อไป

สมัยที่พี่เรียนวิชา Software Engineering เนี่ยได้มีโอกาสนั่งฟัง อาจารย์ท่านบรรยายถึงหัวข้อนี้พอดีครับ เลยถือโอกาสเอามาถ่ายทอด ให้น้องๆ ได้อ่านกัน เพราะจะได้ตัดสินใจเลือกกันอย่างถูกต้อง แต่ขอบอก ไว้ก่อนว่าสิ่งที่พี่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างเป็นกลางๆ นะครับ คือแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะแตกต่างไปจากนี้ ทั้งนี้ ให้น้องศึกษาพอเป็น ไกด์ ไลน์ครับ

77


86

Born to be วิศวะคอมฯ 2013

ความเหมือนทีแ่ ตกต่าง ของหลักสูตรสายไอที … จัดให้เคลียร์ อ่านให้ตาสว่าง เนื่องจากพี่กลัวว่าน้องๆ จะยังสับสนและยังไม่เคลียร์เกี่ยวกับการเลือก เรียนในสายไอที ก็เลยขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างหลัก สูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์, วิศวะคอมฯ, วิทย์คอมฯ กันอีกสักหน่อย โดยพีข่ อนำ� คำ�อธิบายข้อแตกต่างของทั้ง 3 สาขา ของทาง ม.เกษตร มาให้อ่านกัน เพราะอธิบายไว้ค่อนข้างละเอียดครับ เรียกว่าเจาะลึกกันถึงรายวิชาเรียนที่ แตกต่างกันเลย นอกจากนี้ ยังมีถามตอบปัญหาที่น่าสนใจมาให้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย ครับ แถมท้ายด้วยบทสัมภาษณ์น้องนักศึกษาในสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ ม.เกษตร ที่จะช่วยให้น้องได้รับความกระจ่างมากขึ้นครับ สำ�หรับในสถาบัน อืน่ ๆ ในสายเดียวกัน ก็จะแตกต่างกันในรายละเอียดบางเรือ่ งเท่านัน้ แต่สว่ น ของ เมเจอร์มันก็เหมือนๆ กัน


152 Born to be วิศวะคอมฯ 2013

ปี 2

เรียนหนักจัดเต็ม วิชาภาค พอขึ้ น มาปี ส องแล้ ว เรี ย กได้ ว่ า เป็ น ปี ที่ เ ราจะได้ ใ ช้ ชี วิ ต เด็ ก วิ ศ วะ คอมฯ อย่ า งเต็ ม ตั ว แล้ ว ครั บ เพราะว่ า จะได้ เ รี ย นวิ ช าภาคกั น อย่างสนุกสนานมากมาย ซึ่งด้วย เหตุ นี้ เ องที่ ทำ � ให้ ท รานสคริ ป ต์ ปี สองของหลายๆ คนเริ่ ม ปั่ น ป่ ว น บางคนเกรดพุ่ ง ปรี๊ ด อาจเป็ น เพราะได้ เ รี ย นในสิ่ ง ที่ ตั ว เองชอบ แต่ บ างคนเกรดตกจนน่ า ใจหาย บ า ง ค น ต้ อ ง ล า อ อ ก ย้ า ย ค ณ ะ ย้ า ยภาควิ ช าก็ มี เพราะว่ า ไม่ ไ ด้ เรียนในสิง่ ทีต ่ วั เองชอบ แต่ก็ ไม่คอ่ ย มีหรอกครับ


Born to be วิศวะคอมฯ 2013 155

วิชาทีต ่ อ้ งเรียนในปี 2 เทอม 1 วิชา : Engineering Mathematics 3 ชื่อไทย : คณิตศาสตร์วิศวกรรม 3 ชื่อเล่น : Math (แมท) วิชาบังคับก่อน : คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1

ระบบสมการเชิงเส้นและผลเฉลย แนวคิดเกี่ยวกับเวกเตอร์ ปริภูมิ เวกเตอร์ ปริภมู ผิ ลคูณภายในฐาน ฐานเชิงตัง้ ฉากปกติและการประยุกต์ ในอนุกรมฟูรเิ ยร์ ฯ การแปลงเชิงเส้น การแปลงลาปลาซ การแปลงแซด การแปลงฟูริเยร์ฯ แมตริกซ์และตัวกำ�หนด รากลักษณะเฉพาะ และ ฟังก์ชันลักษณะเฉพาะ การหาสมการแบบจำ�ลองและการหาผลเฉลย ของสมการเชิงอนุพนั ธ์อนั ดับหนึง่ เสถียรภาพของสมการ ออโตโนมัส สมการเชิงอนุพนั ธ์สามัญเชิงเส้นอันดับสูง ฐานของผลเฉลย รอนสเกียน และปัญหาค่าเริ่มต้น ระบบเชิงเส้นของสมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง ซึ่งมีสัมประสิทธ์เป็นค่าคงตัว วิธีหาผลเฉลยโดยวิธีกำ�จัดและวิธีหาค่า ลักษณะเฉพาะ ผลเฉลยเชิงเลขของปัญหาค่าเริ่มต้นของสมการเชิง อนุพันธ์สามัญ สมการผลต่างและผลเฉลยอันตะ การประยุกต์ทาง วิศวกรรม นี่ก็เป็นตัวสุดท้ายแล้วครับสำ�หรับซีรีย์แมทของเรา ตัวสุดท้ายนี่ดูจะ แตกต่างไปจากสองตัวแรกครับ คือเราได้มาเรียนรวมกันแต่ ในภาคคอมแล้ว ดูงงๆ เหมือนกันครับแต่กส็ นุกดี เพราะบรรยากาศก็คอ่ นข้างจะแตกต่างจากการ เรียนรวมกับภาคอื่นๆ อยู่พอสมควร คือบรรยากาศการเรียนในห้องเรียนที่มี แต่ภาคคอมนีก่ ม็ อี ยูส่ องแบบครับ พวกนัง่ หน้านีก่ จ็ ดกันไม่ลมื หูลมื ตา ตัง้ ใจฟัง


156 Born to be วิศวะคอมฯ 2013

ส่วนพวกนั่งหลังก็ ไม่รู้เล่นเกมส์ดึกหรือยังไง พร้อมใจกันหลับทั้งแถบเลยครับ แต่บางทีพวกทีน่ งั่ หลับอยูห่ ลังห้องก็ ได้คะแนนเยอะกว่าคนนัง่ หน้าห้องเฉยเลย เพราะอะไรก็ ไม่รู้เหมือนกัน เนือ้ หาคร่าวๆ เนีย่ ก็จะใช้ความรูจ้ ากตัวก่อนๆ มาต่อยอดแหละครับ ครัง้ นี้ ได้เรียนอะไรเกีย่ วกับเมทริกซ์เพิม่ ขึน้ ด้วย แล้วก็ยงั มีพวกลำ�ดับ อนุกรม ชือ่ แปลกๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนโผล่มาให้เรียน ก็เลยทำ�ให้มีสัญลักษณ์ประหลาดๆ ตามมาอีกเพียบเลย ตอนนี้แหละครับเริ่มเขียนหนังสือกันเป็นภาษาต่างดาว แล้ว เพราะสัญลักษณ์แปลกๆ มาเต็มไปหมดแล้ว ส่วนสไตล์การเรียนก็คล้ายๆ กับสองตัวที่ผ่านมานั่นแหละครับ ถ้าผ่านสองตัวแรกมาได้ ตัวนี้ก็ ไม่น่าจะมี ปัญหาอะไรครับ... Keywords

Systems of linear equations and solutions. Vector concept, Vector space, Inner product space, Bases, Orthonormal base, Fourier series, Laplace transformation, Z Transformation, Fourier transformation, Matrices and Determinants, Characteristic roots and Eigen functions, First order differential equations, Autonomous equations. Higher order linear ordinary differential equations, Wronskian, Linear system of first order differential equations with constant coefficients, Difference equations, Finite difference solutions.


Born to be วิศวะคอมฯ 2013 157 วิชา : Computer Engineering Laboratory ชื่อไทย : ปฏิบัติการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชื่อเล่น : Com Eng Lab (คอม เอ็น แล็บ) วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ฝึกปฏิบัติการการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่าย วงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สมัยพีเ่ รียนท่านอาจารย์ ได้เล่าให้ฟงั ว่า ทีม่ วี ชิ านีข้ นึ้ มาเพราะว่าสมัยก่อน เนีย่ นักศึกษาทีเ่ ข้ามาเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ใช้คอมพิวเตอร์กนั ไม่คอ่ ยเป็น (อ้าว ซะงั้น) บางคนส่งอีเมล์หรือว่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตยังไม่เป็นเลย (ต้องเข้าใจครับว่า สมัยก่อนมันไม่ ได้ ใช้งานแสนจะง่ายเหมือนทุกวันนี้ แล้วอีกอย่างราคาก็ค่อนข้างจะสูงมากด้วย ไม่ ได้ราคาถูกเหมือนทุกวันนี้) แต่ทุกวันนี้นักศึกษาเก่งขึ้น ทำ�ให้อัพเกรดเนื้อหาวิชามากขึ้น เรียกได้ว่า เตรียมความพร้อมสำ�หรับการเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เลยล่ะครับ แม้ว่าบางทีหัวข้ออาจจะดูว่า “แค่นี้ทำ�ไมต้องมาสอนด้วยเนี่ย” เช่น “การใช้ Microsoft Excel” ตอนแรกพี่ก็งงครับ แต่พอเรียนแล้วเข้าใจเลย ว่าความจริงแล้วไอ้ความคิดทีว่ า่ เราก็ ใช้เป็นแล้วน่ะ เราพึง่ ใช้เป็นแค่งๆู ปลาๆ เองครับ ทีอ่ าจารย์ทา่ นสอนน่ะเป็นขัน้ สูงมากๆ คือแทบจะเขียนโปรแกรมบน Excel ได้อยู่แล้ว พี่ก็พึ่งรู้ว่ามันทำ�ได้มากขนาดนี้จากวิชานี้แหละครับ


158 Born to be วิศวะคอมฯ 2013

ข้อดีอีกข้อของวิชานี้คือ ทำ�ให้เรามีความรู้พื้นฐานที่จำ�เป็นเพิ่มขึ้นครับ อย่างบางคนตอนอยู่สมัย ม.ปลาย อาจจะเคยเขียน Web HTML มาบ้าง แต่บางคนก็ยังไม่เคย หรือบางคนอาจจะเคยใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มาบ้าง แต่บางคนก็ยังไม่เคย เราก็จะได้เรียนพื้นฐานของแต่ละอย่างกันด้วยครับ เรียกได้ว่าวิชาเดียวทำ�ให้ ได้รับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อีกเยอะเลยครับ การเรียนในช่วงแรกก็จะเป็นอย่างที่พี่ ได้เล่าไปครับ ส่วนช่วงหลังเนี่ย จะเป็นในส่วนของวิชา Basic Electronics for Computer Engineer นั่นแหละ ครับ น้องจะเห็นว่าวิชานั้นไม่มีแล็บมันอยู่ ในวิชานี้นั่นเอง โดยเราก็จะ ได้เล่นอุปกรณ์ต่างๆ ครับ อาทิเช่น Diode, Transistor, Opamp, LDR, Infrared Sensor อารมณ์เหมือนแล็บของภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ยังไงยังงั้น โดยในห้องแล็บเนีย่ เราก็จะได้ศกึ ษาการทำ�งานของอุปกรณ์แต่ละอย่าง แล้วก็ตอ่ วงจรตามโจทย์ครับ อาจจะเป็นวงจรตรวจจับสีขาวดำ� วงจรขยายกระแส อะไรก็ตามแต่


Born to be วิศวะคอมฯ 2013 159 Assignment

ในส่วนแรกก็จะมีการบ้านเป็นครัง้ คราว ไม่ได้ ใหญ่โตอะไรมาก แต่สว่ น หลังนี่ก็จะใหญ่โตแล้วครับ เพราะเป็น Assignment ของวิชาเบสิค อิเล็กด้วย คือให้เราเอาความรู้จากในห้องเรียนและก็จากในแล็บเนี่ย ครับ มาต่อเป็นหุ่นยนต์ อาจารย์จะให้จับกลุ่มช่วยกันทำ� โดยหุ่นยนต์ ก็จะต้องมีความสามารถคือ เดินตามเส้นได้ครับ ส่วนที่เหลือก็จะต้อง เพิ่มความสามารถพิเศษเข้าไป ส่วนจะเป็นอะไรก็ขึ้นอยู่กับน้องๆ เลยครับ อาจจะเป็นการเพิม่ เสียงเพลงให้กบั หุน่ ยนต์ หรือจะมีขอ้ ความ แสดงบนตัวหุ่นก็แล้วแต่ สามารถออกแบบกันได้เต็มที่เลยครับ คืนหมาหอน… ไม่ ใช่คืนก่อนเลือกตั้งนะครับ แต่เป็นค่ำ�คืนนรก แตกก่อนวันส่งงานนั่นเอง เพราะงานจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี จึง ต้องทุ่มสรรพกำ�ลังกันเต็มที่ ชนิดที่ว่าตายได้แต่งานต้องเสร็จก่อน บางกลุ่มลนมากต่อวงจรไฟฟ้าผิดเกิดระเบิดขึ้นมา เล่นเอาเดือดร้อน หาซื้ออุปกรณ์กันไม่ได้ ต้องไล่ขอยืมจากกลุ่มอื่นกันให้วุ่น นอกจากนี้ ก็มีปัญหาน่ารักๆ อีกครับ เช่น ใส่ลูกเล่นเยอะเกิน หุ่นหนักเกิน วิ่งไม่ ไหวซะอย่างงั้น หรือวิ่งอยู่ดีๆ ถ่านเกิดหมดตอนส่งขึ้นมา เล่นเอางงไปตามๆ กันเลยทีเดียว Keywords

DOS, Debug, Batch file, Unix operating system, Unix shell script, Internet service, HTTP, Web page, Matlab, Microsoft word, Microsoft Excel, Measurement, Digital to analog converter circuit, Light sensor, LDR, Voltage comparator circuit, Infrared sensor, Transistor, BJT, Drive motor circuit


302 Born to be วิศวะคอมฯ 2013

มองอนาคตเส้นทาง สายอาชีพด้านไอทีใน ยุค AEC วุฒิพงษ์ ชาติอนุลักษณ์ ผู้ก่อตั้ง CITEC

เมื่อก่อน เราอาจจะคิดแค่ว่า “จะเรียน อะไร จบไปท�ำงานอะไร» แต่พอถึงวันนี้วันที่ เราก�ำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อัน ประกอบไปด้วย 10 ประเทศสมาชิก ที่มีประชากรรวมกันเกือบ 600 ล้าน คน จึงต้องถามตัวเองเสียใหม่ว่า «จะเรียนอะไร จบไปท�ำงานอะไร แล้วเมื่อ เรียนจบแล้วจะมีงานท�ำรึเปล่า» ด้วยประสบการณ์การท�ำงานของพี่กว่า 15 ปี ในสายไอที ซึ่งผ่านมา แล้วทุกเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจ�ำ ฟรีแลนซ์ กระทั่งล่าสุดผันตัว เองมาเป็นเจ้าของธุรกิจ ฉะนั้น เนื้อหาสาระทั้งหมดจึงถูกถ่ายทอดออกมา จากประสบการณ์จริงล้วนๆ เป็นสิ่งที่อยู่นอกต�ำราเรียน จากที่ ได้ท�ำงานร่วม กันกับบุคคลากรในวงการไอทีทงั้ ไทยและต่างประเทศมามากมาย จึงอยากน�ำ ประสบการณ์ดๆี มาบอกเล่าให้อา่ นกันผ่านบทความนี้ และคิดว่า่ มันคงจะช่วย ให้น้องๆ ได้น�ำค�ำแนะน�ำเหล่านี้ ไปประยุกต์ ใช้ ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองใน อนาคตครับ


Born to be วิศวะคอมฯ 2013 303

เมือ่ น้องๆ ส�ำเร็จการศึกษาในสายวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ ใน สาขาด้านไอทีแล้ว เราก็จะต้องตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินบนถนนสายอาชีพ ให้กับตัวเอง ซึ่งเส้นทางสายอาชีพด้านไอทีสามารถแยกออกได้ 3 สายหลักๆ ดังนี้คือ

พนักงานประจ�ำ (Permanent Employee) อาชีพอิสระ (Freelance) ผู้ประกอบการ (Business Owner) เส้นทางทัง้ 3 สายนี้ หากมองในภาพรวมแล้วค่อนข้างมีความแตกต่างกัน พอสมควร แต่อีกไม่นานทุกสายงานที่กล่าวมาจะตกอยู่ ในสภาพแวดล้อมใหม่ ที่ส�ำคัญซึ่งก็คือ อยู่ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ Asian Economic Community (AEC) ซึ่งก็คือการเปิดเขตการค้าเสรี ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2015 ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรท�ำความเข้าใจถึงผลกระ ทบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นต่อทั้ง 3 สายงาน เพื่อจะได้เตรียมความพร้อม เอาไว้รับมือกับสภาพแวดล้อมทาง ธุรกิจที่เปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่ง ทราบแนวทางการปรับตัวให้ทนั กับ ความเปลีย่ นแปลงทีส่ ง่ ผลต่อความ อยู่รอดในอนาคต เพราะแรงงาน วิศวกรก็คือหนึ่งในวิชาชีพที่มีการ เคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างอิสระ เพราะฉะนั้น หากตัดสินใจที่จะเลือกเดินใน เส้นทางใดเส้นทางหนึ่งแล้วจะต้องปฏิบัติตัวเช่นไร ไปพบค�ำตอบกันเลยครับ


14.5 cm.

21 cm.

21 cm. 2 cm.

File : AW_Born2be_Cover.ai Size : 14.5 x 21 cm. Date : 19/9/12


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.