Born to be Doctor 2013

Page 1

14.5 cm.

21 cm.

2 cm.

21 cm. File : AW_Born2be_Doctor_Cover.ai Size : 14.5 x 21 cm. Date : 28/9/12


Born to be หมอ 2013

หนังสือ Born to be หมอ 2013 เขียนโดย กลุ่มนักศึกษาแพทย์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2012 ISBN 978-616-7720-02-9 จ�ำนวนหน้า 480 หน้า ราคา 360 บาท ที่ปรึกษาอาวุโส ดร.สุกิต เอื้อมหเจริญ ที่ปรึกษากฎหมาย INTEGRATE QUALITY LAW AND ACCOUNTING บรรณาธิการอ�ำนวยการ ภีรพล คชาเจริญ บรรณาธิการ peeByNature, สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข ผู้จัดการทั่วไป ลัดดา คชาเจริญ พิสูจน์อักษร เจ๊จอย ออกแบบปก Goodmoodz ช่างภาพ พี่ โตงเตง รูปเล่ม Nui จัดพิมพ์ โดย สนพ. บายยัวร์เซลฟ์

พิมพ์ที่ โทรศัพท์ แยกสี

จัดจ�ำหน่าย

ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 www.bynatureonline.com บริษัท โรงพิมพ์ ตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) 025510531, 025510533-44 NEO Film Prepress Solution โทร. 0-2422-0072 บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com

Born to be

สงวนลิขสิทธิ์

เนือ้ หาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่วา่ ส่วนหนึง่ ส่วนใด หรือทัง้ หมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รบั อนุญาตเป็น ลายลักษณ์อกั ษรจากส�ำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์


บทบรรณาธิการ

AEC 2015

“ยอมรับ...ความสมบูรณ์แบบที่พึงมี” บอกอไม่ ใช่คนที่อยู่บนถนนในสายอาชีพหมอโดยตรง แต่ด้วยความเชื่อส่วนตัวผลักดันให้คิดท�ำอะไรสักอย่าง กับข่าวทางทีวี....วิกฤตแพทย์ขาดแคลน เมื่อหลายปีก่อน ผ่านมาแล้วหลายปีกับการท�ำหนังสือ Born to be หมอ กลไกเล็กๆ ที่พยายามออกแรงขับเคลื่อนอย่างสุดก�ำลัง คอยจุดฝัน สร้างแรงบันดาลใจ ให้กำ� ลังใจ กับต้นกล้า ‘หมอ’ ถึงแม้ ในการท�ำงานหนังสือจะเต็มไปด้วยอุปสรรคและปัญหา เกิดแผลประทับอยู่ ในจิตใจซ�ำ้ แล้วซ�้ำอีก...กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แต่ทุกครั้งก็บอกกับตัวเองว่า เรามาเพราะ “วิกฤตแพทย์ขาดแคลน” ฉะนั้น จึงไม่มีอะไรต้องกังวล.... พยายามพัฒนาแล้วเดินหน้าต่อ ถึงตอนนี้ แพทย์ขาดแคลนแต่ ไม่ถึงขั้นวิกฤตเหมือนที่ผ่านมา เหตุเพราะหมอส่วนใหญ่อยากเข้าเมืองมากกว่าฝากชีวิตไว้ ในชนบท ปัญหาจึงยังฝังตัวอยู่ ในชนบทหนักกว่าในเมืองที่ยังยากจะแก้ ไข บอกอยังคงไม่ ใช่หมอที่ยังพยายามปลูกฝังต้นกล้า ‘หมอ’ ให้เติบโตและเข้มแข็งในความดีอย่างที่ ในหลวงทรงสอนไว้ แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า กล้าหมอที่เติบใหญ่เหล่านั้น อาจจะเป็นเพียงหมอในอาชีพ แต่มิ ใช่หมอตามเจตนารมณ์แห่งพระบิดา นั่นคือความสมบูรณ์แบบที่พึงมี... แต่อย่างน้อยโรงพยาบาลก็ยังมีหมอ ไม่ส�ำคัญว่าจะต้องปิดทองที่หน้าพระหรือหลังพระ แต่ปิดทองลงที่ ใจของเรา...เป็นพอ บรรณาธิการ

peeByNature


ค�ำน�ำนักเขียน

หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาแล้ว เส้นทางที่ทุกๆ คนมุ่งหวังจะเดิน ต่อไปก็คือ การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การที่แต่ละคนจะตัดสินใจว่า จะสอบเข้าคณะไหน จะเรียนอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนฝันหรือต้องการที่ จะเป็นอะไร หลายๆ คน อยากจะเป็นครู อยากเป็นวิศวกร อยากเป็นดีไซเนอร์ อยากเป็นนักบิน อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ และอีกหลายๆ อาชีพ และหนึ่ง ในอาชีพยอดฮิตที่เด็กๆหลายคนอยากจะเป็นก็คือ “หมอ” หรือแพทย์นั่นเอง จะเป็นนายแพทย์ แพทย์หญิง หรือ แพทย์ฉิง ก็ว่ากันไป แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า จริงๆ แล้ว หมอต้องเรียนอะไรบ้าง ต้องท�ำอะไร บ้าง อาจารย์ ใหญ่ที่หลายๆ คนพูดถึง เราได้ใช้ประโยชน์อะไรจากร่างที่ท่าน อุทิศเพื่อนักศึกษาแพทย์บ้าง ท�ำไมหมอต้องเรียนอะไรเยอะแยะมากมายตั้ง 6 ปี ท�ำไมถึงได้มีค�ำว่า pre-clinic และ clinic มันเหมือนคลินิกที่หมอๆ ทั้งหลาย เขาเปิดรักษาโรคกันหรือเปล่านะ เขาเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไง เขาเรียน กันยังไง ใช้ชีวิตยังไง อยู่เวรกันยังไง และอีกสารพัดค�ำถามว่า ท�ำไม?ๆๆๆ หนังสือเล่มนี้ มีค�ำตอบให้กับน้องๆ ทุกคนอย่างแน่นอน


ผมอาจจะไม่ใช่นักเขียนที่เก่งที่สุด อาจจะไม่ใช่หมอที่เก่งที่สุด แต่ก็ พยายามรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้องที่สุด ที่ส�ำคัญก็คือ รู้สึกภูมิใจ และดีใจที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ส�ำคัญ รวมไปถึงแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับ การเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ทั้งหลาย (แม้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ มหาวิทยาลัย แต่จะใกล้เคียงกันแน่นอน เพราะต้องจัดการเรียนการสอนให้ ได้มาตรฐานตามที่แพทยสภาก�ำหนดไว้) ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินได้ เห็นด้วยตัวเองมาก่อน และช่วยให้ๆ หลายคนตัดสินใจที่จะเลือกเรียนต่อใน วิชาชีพที่ตัวเองรักและใฝ่ฝันได้อย่างถูกต้องที่สุด หนังสือ Born to be หมอ เล่มนี้ ได้ถูกปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนขึ้นมา ใหม่ ให้ทันสมัยขึ้น ตามระบบการสอบที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงความสนุกไว้ เหมือนเดิม และอธิบายการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปี ในทุกๆ รายวิชาอย่าง ละเอียด รวมทั้งแทรกประสบการณ์ ในการท�ำงาน แนวคิดและอุดมการณ์จาก แพทย์ดีเด่นหลายๆ ท่าน เนื้อหาเจาะลึก อ่านง่าย เข้าใจง่าย โดนใจวัยเรียน และวัยรุ่น (เพราะคนเขียนก็ยังไม่แก่เท่าไหร่นะ) รับรองว่าน้องๆ จะได้รับรู้ใน ทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการเรียนหมออย่างครบถ้วนแน่นอน นายแพทย์ติยะ


CONTENTS Part 1 สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า หมอ 11 30 47

เปิดบ้าน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย 24 SMST Interviews มองอนาคตวิชาชีพแพทย์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 31 D-DAY: AEC กันเมื่อไหร่ 31 ASEAN Beyond 2015: นับถอยหลังอาเซียน 33 ASEAN Insight: MRA วิชาชีพแพทย์อาเซียน 44 ผลกระทบต่อวงการแพทย์ ตามรอยเท้าแพทย์ดีเด่น และบทสัมภาษณ์นักศึกษาแพทย์ 48 นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ดีเด่นในชนบทปี 2552 56 นพ.ภักดี สืบนุการณ์ แพทย์ดีเด่นในชนบทปี 2553 58 สัมภาษณ์น้องแป้ง นักศึกษาแพทย์ โครงการ MDX ของ มข. 64 ผมต้องเป็นหมอให้ ได้และนี่คือแผน! 72 บนถนนเสื้อกาวน์…จงวิ่งเพื่อชิงรางวัลมาครองให้ ได้

Part 2 เส้นทางสู่การเป็นหมอ 79

เรียนหมอดี ไหม? 81 อยากเป็นหมอ 85 ส�ำรวจคุณสมบัติ 89 เส้นทางสู่การเป็นหมอ 92 เรียนหมอที่ ไหนดี 94 เตรียมตัวสอบ


95 103 109

การสอบแพทย์ กสพท. ปี 56 95 กสพท. คืออะไร 96 จ�ำนวนรับแพทย์ กสพท. ปี 55-56 97 แพทย์ กสพท. สอบอะไรบ้าง คิดอย่างมีตรรกะ อ่านอย่างมีกึ๋น 103 เทคนิคการวางแผนอ่านหนังสือ ทุนมาพร้อมสัญญาผูกพันที่ยิ่งใหญ่ 110 แพทย์ ใช้ทุนและการใช้ทุน (ทุน CPIRD, ODOD) 113 ท�ำไมถึงต้องใช้ทุน 115 จังหวัดที่ต้องไปใช้ทุน 121 แล้วไม่ ไปใช้ทุนได้หรือไม่

Part 3 เริ่มต้นชีวิตเป็นนักศึกษาแพทย์ 123 133 152 165

ปี 1 เรียนสบายๆ แต่เกือบตาย 123 วิชาเรียนตอนปี 1 131 การใช้ชีวิตในการเรียนของพวกปี 1 ปี 2 เรียนวิชาคณะกับอาจารย์ ใหญ่ 133 วิชาเรียนตอนปี 2 147 รวมเรื่องลึกลับชวนขนลุก 149 พิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ ใหญ่ 151 จบปี 2 บทพิสูจน์ว่าใครจะได้ ไปต่อ ปี 3 พี่ ใหญ่พรีคลินิก 152 วิชาเรียนตอนปี 3 การเรียนภาคปฏิบัติในโรงพยาบาล 165 การเรียนในหอผู้ป่วย 166 การเรียนในห้องผ่าตัด 167 การเรียนในแผนกผู้ป่วยนอก


168 187 200

ปี 4 เด็กน้อยในระดับคลินิก 168 วิชาเรียนตอนปี 4 186 กิจกรรม Med-night ปี 5 ใกล้เป็นหมอเข้าไปทุกที 187 วิชาเรียนตอนปี 5 ปี 6 ช่วง Extern ตายได้ แต่ลาไม่ ได้ 201 วิชาเรียนตอนปี 6 213 สิ้นสุดการเรียน เริ่มต้นชีวิตหมอ

Part 4 ว้าวุ่น แพทย์ ใช้ทุน 215 218 223 226 228 230

เริ่มต้นชีวิตหมอใช้ทุน (ทน) แพทย์ฝึกหัดประจ�ำการ ท.ทหารอดทน ม.หมอทนถึก ตุ๊กตาผี เสียงเรียกจากห้องเก็บศพ แค่น… ี้ หมอก็ปลื้มแล้ว

Part 5 เรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง 235 เตรียมตัวเรียนต่อเฉพาะทาง 237 เตรียมตัวเตรียมใจ…เรียนต่อ 239 สาขาที่รับสมัครและคุณสมบัติ 245 แนวการสอบเรียนต่อเฉพาะทาง 250 แพทย์สาขาไหนท�ำงานอะไร 262 เป็นหมออะไรดี (บอกต่อ)


262 264 266 268 270 272 274

สูติ-นรีแพทย์ แพทย์นิติเวชวิทยา วิสัญญีแพทย์ อายุรกรรม รังสีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน จิตแพทย์

Part 6 หนทางเอาตัวรอดของนักศึกษาแพทย์ 277

เตรียมตัวรับมือการสอบแบบต่างๆ 277 MCQ (Multiple Choice Questions) 278 Lab กริ๊ง 279 Oral Examination 280 การสอบรายเคสยาว 280 OSCE (Objective Structured Clinical Examination) 281 MAQ (Modified Assay Question) 281 CRQ (Constructed Response Question) 282 เทคนิคในการสอบ 282 การอ่าน Film X-ray 283 การสอบตรวจร่างกาย 284 ค�ำตอบในแง่ของการรักษา 286 ค�ำย่อที่ควรทราบ 288 วิชาหมอ วิชามาร ท่องคาถาก่อนสอบ 290 สารบัญคาถา


PART 1

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “หมอ”


64

Born to be หมอ 2013

หมอให ้ ได ้ แผน!

ผมต อ ้ งเป ็น และนี่คือ

เฌอแตม การศึกษา นักศึกษาแพทย์ ฉันทลักษณ์ หมื่นณรงค์ เรียนที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ชั้นปีที่ 5

BORN TO BE A DOCTOR: ท�ำไมถึงอยากเป็นหมอ และอยากเป็นหมออะไร ย้อนไปเมื่อสมัยที่พี่ยังเป็นเด็กประมาณ 10 ขวบ พี่ประทับใจอาจารย์กุมาร แพทย์ท่านหนึ่งครับ ขณะที่พี่ป่วย ท่านได้ดูแลพี่เป็นอย่างดี ซักประวัติพูดคุยด้วย ค�ำพูดที่ไพเราะและเปี่ยมไปด้วยความห่วงใย ขณะตรวจร่างกายก็ตรวจละเอียดมาก ไม่เร่งรีบ ให้เวลาเต็มที่ รู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่ของท่าน นอกจากจะเป็นผู้วินิจฉัยและรักษาโรคทางกายแล้ว อาจารย์แพทย์ท่านนี้ยังได้ ให้ค�ำแนะน�ำด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การรักษาสุขภาพให้ดี การดูแลตนเอง การเรียน การท�ำกิจกรรมต่างๆ ท�ำให้พี่ประทับใจและรู้สึกว่า อยากจะเป็นให้ได้อย่างอาจารย์ แพทย์ท่านนี้ เมื่อท่านทราบว่าพี่อยากเป็นหมอ ท่านก็ได้ให้ค�ำแนะน�ำ ให้ก�ำลังใจ สอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเมื่อเรียนแพทย์ พี่ศรัทธาในอาจารย์แพทย์ท่านนี้มาก ครับ และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องเป็นอาจารย์กุมารแพทย์ ให้ได้


Born to be หมอ 2013

67

1. วิ ช าใดถ่ ว งน�้ ำ หนั ก มาก เช่ น คณิตศาสตร์ ภาษาอัง กฤษ ฟิสิก ส์ เคมี “สิ่งส�ำคัญที่สุดที่เป็นกุญแจ ชีววิทยา พี่ก็จะให้ความส�ำคัญมาก โดย ของความส�ำเร็จ คือการ ต้ อ งขยั นอ่ า นให้ มาก ฝึ ก จั บประเด็ น เตรียมพร้อมทั้งกายและใจ ให้เป็น ให้เวลาในการท�ำโจทย์ฝึกหัด จากนั้นคือการใช้เวลาอย่าง มากๆ และพยายามท�ำโจทย์ ให้ครบทุก คุ้มค่า เพื่อการทบทวนและ แนวมากที่สุด แต่ส�ำหรับวิชาภาษาไทย และสังคม แม้จะถ่วงน�้ำหนักน้อยกว่า แต่ ท�ำโจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ” เราก็ต้องท�ำให้ผ่านเกณฑ์ 30% ด้วย จริงๆ ภาษาไทยกับสังคมนั้นก็ส�ำคัญนะครับ ในการ สอบอาจถ่วงน�้ำหนักน้อย แต่ภาษาไทยนั้นส�ำคัญในแง่ ของทักษะการสื่อสารมากทีเดียวเลยครับ 2. วิชาใดที่สามารถใช้ต่อยอดส�ำหรับการเรียนแพทย์ในอนาคตได้ เช่น ภาษา อังกฤษ นอกจากความรู้ที่จะพอใช้สอบของ กสพท. แล้ว พี่ก็ยังหาความรู้เพิ่มเติม นอกหลักสูตรด้วย ทัง้ ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพราะแพทย์นนั้ ใช้ตำ� ราภาษา อังกฤษในการเรียน ข้อสอบก็เป็นภาษาอังกฤษ คนไข้ชาวต่างชาติในไทยก็มมี ากมาย การใช้ศัพท์ทางการแพทย์หลายค�ำก็ทับศัพท์อังกฤษ ในอนาคตแพทย์หลายคนก็ ต้องถูกส่งไปอบรม ไปเรียนต่อต่างประเทศ ดังนั้นภาษาอังกฤษถือว่าเป็นวิชาที่ ส�ำคัญมากครับ


68

Born to be หมอ 2013

เมื่อรู้แล้วว่า พี่จะต้องวางแผนกับแต่ละวิชาอย่างไรแล้ว ต่อมาก็จะเป็นเรื่อง ของการจัดสรรเวลาครับ พี่จะแบ่งเวลาในชีวิตเป็น 4 ส่วนครับ 1. เวลาเรียนและทบทวน พยายามตั้งใจเก็บให้ได้ในห้องเรียนเลยครับ และ เมื่อมีการบ้านหรืองานกลุ่ม ให้รีบแบ่งงานและสะสางให้เสร็จตั้งแต่อยู่ที่โรงเรียนครับ จะได้มีเวลาหลังเลิกเรียนและเสาร์-อาทิตย์ ไว้ส�ำหรับอ่านและท�ำโจทย์สอบแพทย์ ได้ เต็มที่ สิ่งส�ำคัญคือการท�ำโจทย์ ให้ครบทุกแนวและท�ำซ�้ำๆ บ่อยๆ ให้ช�ำนาญ 2. เวลาท�ำกิจกรรมโรงเรียน ที่โรงเรียนของพี่มีกิจกรรมเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ ท�ำให้การเรียนตกลงเลยหากเรามีวินัย คือพี่และเพื่อนๆ จะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ร่วมมือกันท�ำกิจกรรมอย่างเต็มที่จนกระทั่งงานส�ำเร็จก่อนโรงเรียนเลิก จึงไม่กระทบ เวลาอ่านหนังสือครับ 3. เวลาส�ำหรับกิจวัตรประจ�ำวัน เช่น อาบน�้ำ แปรงฟัน เวลาบนรถเมล์หรือ BTS เวลาพวกนี้เป็นเวลาซ่อนเร้นชัดๆ ซึ่งพี่จะใช้เวลานี้ท่องศัพท์ ท่องสูตรฟิสิกส์ สูตรตรีโกณฯ ท�ำให้ใช้เวลาได้คุ้มค่าสุดๆ เลยครับ 4. เวลาพักผ่อน ชีวิตเราต้องสมดุลครับ พี่จะว่ายน�้ำ 3-5 วันต่อสัปดาห์ วัน ละ 1 ชั่วโมง และเรียนร้องเพลงอีกสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง การเล่นกีฬาและดนตรีท�ำให้ สมองปลอดโปร่ง หัวไวขึ้น คลายเครียด สร้างก�ำลังใจพร้อมสู้กับการเรียนและสอบ ต่อไปครับ ส�ำหรับเวลานอน พี่จะไม่อดนอนเด็ดขาด ต้องนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงขึ้น ไป เราจะสดชื่น ไม่ง่วงเวลาเรียน และหน้าก็ใสด้วย โดยพี่จะนอนเร็วตื่นเช้านอน 4 ทุ่ม ตื่นตี 5 เวลาเช้ามืดนั้นเป็นเวลาที่สงบ เหมาะกับการอ่านหนังสือมากครับ ประสิทธิภาพการอ่านจะสูงเพราะเก็บข้อมูลได้เร็วโดยใช้เวลาน้อย


72

Born to be หมอ 2013

บนถนนเสื้อกาวน์… จงวิ่งเพื่อชิง มาครองให ้ ได ้

รางวัล

ฝ้าย

การศึกษา นักศึกษาแพทย์ ธัญญกมล ผู้ศรัทธาธรรม เรียนที่คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ชั้นปีที่ 5

น้องๆ อาจนึกภาพไม่ออกว่า ในระหว่างที่พวกพี่ออกวิ่งเพื่อไปสู่เส้นชัย ของการเป็นแพทย์ จะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง มันไม่ ใช่แค่การเรียนที่หนัก และเหนื่อยกว่าคณะอื่นหลายเท่า ในระหว่างทางยังมีพายุพัดกระหน�่ำมาเป็น ระลอก แต่ศรัทธาที่จะเป็นแพทย์ คือพลังใจให้เรามีแรงลุกขึ้นวิ่งต่อไป

BORN TO BE A DOCTOR: ท�ำไมถึงอยากเป็นหมอ และอยากเป็นหมออะไร ตอนนัน้ ยังเด็กมาก ลึกๆ แล้วไม่รดู้ ว้ ยซ�ำ้ ไปว่า ตัวเองถนัดอะไร อยากเรียนอะไร หรือใฝ่ฝันอยากจะมีอาชีพแบบไหน แต่ด้วยความที่คลุกคลีอยู่กับวิทยาศาสตร์มา โดยตลอด พร้อมกับถูกปลูกฝังให้เห็นว่า มันเป็นสิ่งส�ำคัญ ต้องเรียนให้ได้ดี จึงจะ มีอนาคต ก็เลยคิดเอาเองว่า “สายวิทย์นี่แหละ...ใช่ทางฉันเลย”


Born to be หมอ 2013

73

ประกอบกับตอนอยู่ชั้นมัธยมปลายเหมือน เราก�ำลังออกวิ่งอยู่ ในสนามแข่ง แล้วรางวัล สู ง สุ ด ในการลงแข่ ง ขั น ของเด็ ก สายวิ ท ย์ ทุกคนก็คอื ‘หมอ’ ก็เลยตัง้ เป้าไว้วา่ จะต้อง เอนท์เข้าแพทย์ ให้ได้ ถ้ า ถามว่ า อยากเป็ น แพทย์ ด ้ า น ไหน? อยากเป็นอายุรแพทย์คะ่ เพราะตัง้ แต่ จ�ำความได้กอ็ ยูก่ บั คุณยายมาโดยตลอด ท�ำให้ รู้สึกรักและผูกพันมาก เลยพลอยรู้สึกอย่างนั้น กับผู้สูงอายุท่านอื่นๆ ไปด้วย คิดเสมอว่า พวกท่าน เหนื่ อ ยมาทั้ ง ชี วิ ต แล้ ว นะ ในช่ ว งสุ ด ท้ า ยของชี วิ ต ก็ อ ยากเห็ น พวกท่านสุขสบายบ้าง ด้วยเหตุนี้ก็เลยฝันมาโดยตลอดว่า อยากจะเป็นหมอที่ได้มี โอกาสดูแลพวกท่านยามเจ็บป่วย แล้ววอร์ดอายุรกรรมก็เป็นวอร์ดที่แทบจะเรียก ได้ว่า เกือบทุกเตียงเป็นคนไข้ที่อายุมากแล้วทั้งสิ้น แม้แต่ตอนนี้ก็ยังจ�ำความรู้สึกที่อยู่บนวอร์ดนั้นได้ดีว่า มีความสุขมากแค่ไหน แค่ได้คอยป้อนข้าวป้อนน�้ำ ได้ทักทาย ได้ตรวจร่างกายนิดหน่อย แค่นี้ก็ท�ำให้เรา รู้สึกเหมือนได้ท�ำอะไรที่ยิ่งใหญ่แล้ว มันอิ่มอกอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูก เมื่อได้เห็น รอยยิ้มขอบคุณ แววตาเอื้อเอ็นดูที่มองมาที่เรา ยิ่งเป็นวอร์ดที่ ได้ใช้เวลาอยู่กับ คนไข้ทั้งวัน เพราะไม่ต้องแบ่งเวลาไปผ่าตัดหรือท�ำหัตถการอื่นๆ ก็ยิ่งท�ำให้รู้สึก ดี เพราะมันท�ำให้เราได้รับทั้งความไว้วางใจและความผูกพันจากคนไข้ที่เราดูแล แม้ว่าเราจะเพิ่งพบเจอกันเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ก็เลยคิดว่าอยาก จะเป็นอายุรแพทย์มากที่สุดในช่วงเวลานี้ค่ะ

RUN TO WIN! RUN IN SUCH A WAY AS TO GET THE PRIZE


74

Born to be หมอ 2013

TRAINING: เรียนพิเศษเยอะแค่ ไหน พอมีเป้าหมาย ก็เริ่มกรุยทางไปสู่เป้าหมายนั้นทันที เริ่มจากเรียนพิเศษอย่าง สมบุกสมบัน เพราะเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ เวลาอยู่บ้านถ้าไม่อ่านนิยาย ดูโทรทัศน์ หรือไม่ก็นอน ท�ำอยู่แค่สามอย่าง เท่านั้น ก็เลยคิดว่าคงต้องทบทวนบทเรียนผ่านทางการเรียนพิเศษแทน แต่ถ้าน้องๆ คนไหนสามารถอ่านหนังสือเองได้ ก็ไม่จ�ำเป็นต้องเรียนพิเศษก็ได้ค่ะ เพราะเพื่อนพี่ บางคนที่ไม่เคยเรียนพิเศษเลยก็เอนท์ติดหมอได้เหมือนกัน แถมได้คะแนนดีซะด้วย อยากจะบอกว่าการเตรียมตัวสอบเข้า มันขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคลจริงๆ แต่ถ้าน้องๆ เลือกที่จะเรียนพิเศษแทนการทบทวนบทเรียนเองแล้วล่ะก็ ต้องมั่นใจ ว่าตัวเองจะไม่หลับระหว่างเรียน และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรียนตลอดจนจบ ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อให้เรียนพิเศษมากแค่ไหน ก็จะไม่เกิดประโยชน์เลย

ON THE WAY: ระหว่างเรียนมีถอดใจบ้างมั้ย พอได้เข้ามาเป็นนักศึกษาแพทย์เต็มตัว ความรู้สึกแรกที่พวยพุ่งขึ้นมาในใจ แทบจะทันทีก็คือ ‘ความภาคภูมิใจ’ เหมือนนักวิ่งที่วิ่งมาถึงเส้นชัยเมื่อการแข่งขัน จบลง และได้เข้าสู่การแข่งขันรอบลึกๆ ต่อไป แม้จะกลัวและแอบกังวลบ้าง กับการแข่งขันรอบต่อไปหลังเส้นชัยเส้นแรก แต่ก็มีไอ้เจ้า ‘ความภาคภูมิใจ’ นี่แหละที่คอยกอดปลอบประโลมว่า “อย่ากลัวเลย เธอท�ำได้อยู่แล้ว” หากบางครั้งเจ้าความภาคภูมิใจที่ว่ากลับเป็นเหมือนแรงกดดัน เล็กๆ ที่ท�ำให้รู้สึกว่า ฉันจะล้มไม่ได้ ต่อให้ระหว่างวิ่งจะเจ็บข้อเท้าหรือเหนื่อย สักแค่ไหน ก็ห้ามหยุดพักเด็ดขาด เพราะถ้าล้มกลางทาง มันไม่ใช่แค่ไปไม่ถึงเส้น ชัย แต่นั่นอาจหมายถึงความผิดหวังจากหัวใจหลายดวงของคนเชียร์ ทั้งครอบครัว เพื่อนฝูง และคนไข้


PART 2

เส้นทางสู่การเป็นหมอ


Born to be หมอ 2013

79

เรียนหมอดีไหม? น้องหลายคนตั้งค�ำถามกับตัวเองว่า “อยากเรียนหมอ จะเริ่มต้นอย่างไรดี” ค�ำตอบก็คือ ควรเริ่มต้นจากการส�ำรวจตัวเองก่อนว่า อะไรท�ำให้เราอยากเป็นหมอ แน่นอนว่าหลายคนอาจจะอยากเป็นหมอเพราะอยากช่วยเหลือคนเจ็บป่วย อยากเป็น เพราะมีประสบการณ์ตรงที่ท�ำให้รู้สึกประทับใจ มีบุคคลที่เป็นต้นแบบและเราก็อยาก เดินตาม แต่ก็มีอีกหลายคนที่อยากเป็นหมอเพียงเพราะค่านิยมประเภท เรียนเก่ง ต้องเป็นหมอ ครอบครัวอยากให้เรียนหมอ หรือบางคนอาจจะมีที่มาแตกต่างไปจาก นี้ เช่น อยากได้รับการยอมรับ อยากมีเกียรติเชิดชูวงตระกูล อยากโดดเด่นกว่าคน อื่นๆ อยากมีรายได้ที่ดีมั่นคง เป็นต้น ด้วยแรงบันดาลใจซึ่งเป็นที่มาของแรงผลักดันที่แตกต่างกันออกไป จึงเกิด หมอหลากหลายประเภท บ้างก็เป็นหมอที่แสนดีที่พร้อมจะทุ่มเทความเสียสละเพื่อ ดูแลผู้ป่วยด้วยความเมตตาดุจญาติมิตร โดยไม่เลือกว่าจะยากดีมีจน เป็นคนดีหรือคน เลว หากได้ชื่อว่าเป็นผู้ป่วยแล้ว ก็พร้อมจะเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มก�ำลังความสามารถ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เรามิอาจคาดหวังได้ว่า คนที่มีอาชีพหมอจะมีอุดมการณ์ดัง เช่นที่กล่าวมา ค�ำว่า “หมอก็เป็นคนเหมือนกัน” จึงเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า ปัญหา เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะหมอทั้งหลายเหล่านี้เลือกเส้นทางตามค่า นิยม หรือมิ ได้มีเจตนาเรียนหมอด้วยหัวใจของตัวเอง จึงทนสภาพชีวิตบางช่วงขณะ ไม่ ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ปฏิบัติงานเป็นแพทย์ทั่วไป (ช่วงใช้ทุน) หรืออาจเพราะระบบงานด้านสาธารณสุขบ้านเราที่มีปัญหาและความไม่ พร้อมในหลายๆ เรื่อง หรือเพราะปัญหาแพทย์ขาดแคลนจนท�ำให้เกิดภาวะที่ว่า มัน เกินค�ำว่าเสียสละไปมาก อย่างเช่น ทั้งโรงพยาบาลมีคุณหมอ (ใหม่) เพียงท่านเดียว จึงต้องรับภาระทุกอย่าง ทั้งดูแลผู้ป่วย งานเวชระเบียน งานเอกสารวิชาการ งาน


Born to be หมอ 2013

89

เส้นทางสู่การเป็นหมอ

Way To MED >>> Direct Admissions ในปัจจุบันการรับเข้าของคณะแพทยศาสตร์ จะไม่มีการรับผ่านระบบแอด มิชชั่นกลางแล้ว แต่จะเป็นการรับตรง (Direct Admissions) ทั้งหมด โดยจะแบ่ง ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรับตรงโดยมหาวิทยาลัยเอง และการรับตรงร่วมกันผ่าน กสพท. แต่เราจะยังไม่ลงรายละเอียดว่าแบบไหนเป็นอย่างไร เพราะสิ่งที่ต้องรู้ก่อนก็ คือว่า หมอ กสพท., หมอโครงการ, หมอโควต้าพื้นที่ มีความแตกต่างกันอย่างไร การสอบเข้าเรียนหมอในแบบต่างๆ การสอบเข้าเรียนหมอในบ้านเรามี ให้เลือกหลากหลายแบบครับ เช่น หมอ กสพท., หมอโครงการ CPIRD, หมอโครงการ ODOD, หมอแนวใหม่ เป็นต้น เห็นแบบ นี้แล้วงงมั้ยครับ จริงๆ แล้วก็คือคนที่จบมาเป็นหมอรักษาคนเหมือนๆ กันนี่แหละครับ แต่ต่างกันตรงการสอบ สิทธิประโยชน์ระหว่างเรียน ระยะเวลาการใช้ทุน ซึ่งจะมีสัญญา ผูกพันที่แตกต่างกันไป เนื่องจากการเรียนแพทย์นั้นหากไม่มีระบบทุนมาสนับสนุน ก็ต้อง ใช้เงินเรียนกันเป็นหลักล้าน แต่ถ้าใคร เรียนกับมหาวิทยารังสิตซึ่งเป็นเอกชน เพียงรายเดียว ก็ ไม่ต้องใช้ทุนครับ แต่ หากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็จะต้อง มีเรื่องทุนเช้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีก เลี่ยงไม่ ได้ ฉะนั้น เราจึงต้องศึกษาและ ท�ำความเข้าใจที่มาของหมอแบบต่างๆ กันเสียก่อน


90

Born to be หมอ 2013 1. แพทย์ กสพท. (กลุม่ สถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย) ผูท้ ผี่ า่ นการสอบคัด เลือกเข้าเรียนแพทย์ทจี่ ดั สอบโดย กสพท. ซึง่ มีคณะแพทย์จำ� นวน 12 สถาบัน ทันตะแพทย์ศาสตร์ 5 สถาบัน ในจ�ำนวนที่รับรวมกันประมาณ 1,400 คน (บวกลบนิดหน่อยในแต่ละปี) เมื่อเรียนจบแล้วปกติจะต้องใช้ทุนประมาณ 3 ปี ยกเว้นเมื่อมีการเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในบางสาขาที่เราสามารถเรียน ต่อได้เลยในขณะที่เราใช้ทุนไม่ครบ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคร่าวๆ ก็คือ จะต้องเป็นเด็กที่ก�ำลังเรียน ม.6 หรือจบ ม.6 แล้ว (เด็กซิ่ว) อาจจะเป็นหลัก สูตรอื่นๆ ที่เทียบเท่าก็ ได้ ขอเพียงกระทรวงศึกษาฯ รับรองเป็นใช้ ได้ และไม่ ดูเกรดครับ ซึ่งค่อนข้างจะเปิดกว้างทีเดียว 2. แพทย์ โครงการผลิตแพทย์เพือ่ ชาวชนบท หรือ The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor (เรียกย่อๆ ว่า CPIRD อ่าน ว่า ซี-เพิรด์ ) มีจดุ ประสงค์เพือ่ ผลิตแพทย์ ให้กลับไปปฏิบตั งิ านยังภูมลิ �ำเนาของ ตน คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ จะเปิดรับตรงโดยรับสมัครนักเรียนใน พื้นที่หรือในเขตที่ ได้รับการจัดสรรโควต้า ใช้ทุน 3 ปี (เหมือน กสพท.) ไม่มี เงินสนับสนุนระหว่างเรียน หากต้องการเรียนต่อในสาขาเฉพาะจะต้องใช้ทุน ให้ครบเสียก่อน กรณีที่ผิดสัญญา ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต้องชดใช้เงินจ�ำนวน 400,000 บาท (สีแ่ สนบาทถ้วน) ใครจะสอบก็ตอ้ งไปเช็คคุณสมบัตขิ องแต่ละ สถาบันว่า ต้องการเกรดเฉลี่ยขั้นต�่ำ (GPAX) เท่าไหร่ 3. แพทย์ โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอ�ำเภทหนึ่งทุน หรือ One Doctor One District (เรียกย่อๆ ว่า ODOD อ่านว่า โอ-ดอด) คณะแพทย์ของ มหาวิทยาลัยต่างๆ จะเปิดรับตรงเช่นเดียวกับ CPIRD จะต่างกันตรงสิทธิ์ ประโยชน์ โดยโครงการนี้จะให้ทุนเรียนฟรี มีเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายระหว่าง เรียน แต่เมื่อเรียนจบจะต้องใช้ทุนนานถึง 12 ปี กรณีที่ผิดสัญญา ไม่ปฏิบัติ ตามเงือ่ นไขต้องชดใช้เงินจ�ำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) แทน การปฏิบัติงาน


Born to be หมอ 2013

91

4. โครงการพิเศษ/โควตาโอลิมปิกวิชาการ/โครงการผลการเรียนดี/ช้างเผือก/ ฯลฯ ก็จะเปิดรับตรงโดยคณะแพทยศาสตร์ของแต่ละสถาบันแพทย์เช่นเดียวกัน แต่ จะคุณสมบัตเิ ฉพาะเพิม่ เติม อย่างเช่น โควตาโอลิมปิกวิชาการ ผูส้ มัครที่ ได้รบั เหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกระหว่างประเทศ สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ ไปร่วมแข่งขันโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อแพทย์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน เป็นต้น 5. แพทย์ แ นวใหม่ หรื อ หลั ก สู ต รแพทยศาสตร์ บั ณ ฑิ ต (NEW TRACT) โครงการนี้เปิดรับผู้ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพหรือเทียบเท่า ฉะนั้น ใครจบ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล สหเวชฯ สาขาต่างๆ ฯลฯ ก็มาสมัครเรียนต่อหมอได้ครับ แต่อายุต้องไม่เกิน 30 ปี มี ประสบการณ์ทำ� งานด้านสาธารณสุขอย่างน้อย 2 ปี หรือส�ำเร็จปริญญาโทด้าน วิทยาศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ อยากจะเรียนหมอก็ ไปสอบได้ครับ เมือ่ ก่อนมีคณะแพทย์หลายแห่งเปิดหลักสูตรแพทย์ NEW TRACT เช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ สงขลานครินทร์ ขอนแก่น แต่ปัจจุบันมหา’ลัยเหล่านี้ ไม่เปิดรับ แล้ว ในปีการศึกษา 2556 เหลือเพียง ม.นเรศวร กับ ม.พะเยา เท่านัน้ ทีย่ งั เปิด หลักสูตรนีอ้ ยู่ ฉะนัน้ ในแต่ละปีการศึกษา ก็ตอ้ งเช็คเรือ่ งการเปิดรับกันอีกทีครับ ในการสอบเข้าเรียนหลักสูตรแพทยศาสตร์แต่ละประเภททีก่ ล่าวมานัน้ น้องๆ จำ�เป็นจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองว่าเรามีสิทธิ์สอบที่ ไหนบ้าง โดยตรวจสอบ หัวข้อ “คุณสมบัตทิ วั่ ไปของผูส้ มัคร” และ “คุณสมบัตเิ ฉพาะของผูส้ มัคร” ก่อนเป็นลำ�ดับ แรก หากคุณสมบัติของเราเข้าข่ายมีสิทธิ์สมัครสอบ ค่อยไปดูขั้นตอนการรับสมัครและ การสอบคัดเลือก เกณฑ์การประเมินผล โดยแต่ละสถาบันเขาจะมี ไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF การเปิดรับสมัครที่มีข้อมูลรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วนให้ดาวน์ โหลด จึงเป็น หน้าที่ของน้องๆ ที่ต้องคอยติดตามการเปิดรับสมัครอยู่ตลอดเวลาครับ


Born to be หมอ 2013

97

แพทย์ กสพท. สอบอะไรบ้าง การสอบจะแบ่งออกเป็น การสอบ 7 วิชาสามัญ และ วิชาเฉพาะแพทย์ (ความ ถนัดทางแพทย์) แล้วก็ต้องสอบโอเน็ตให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ด้วยครับ เงื่อนไขในการ คัดเลือก กสพท. ในปี 2556 นี้ยังยืนเงื่อนไขที่ผู้สมัครจะต้องสอบโอเน็ต มีคะแนน รวมเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 60 ส่วนกรณีที่ผู้สมัครที่ ไม่สามารถเข้าสอบและน�ำผล คะแนน O-NET ปี พ.ศ. 2555 มาแสดงได้ เช่น ผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศหรือ นักเรียนที่ ได้คะแนนโอเน็ตไม่ถึงร้อยละ 60 ซึ่งเคยสอบ กสพท. มาแล้ว ทาง กสพท. เปิดโอกาสให้สามารถสมัครสอบได้ตามระยะเวลาที่ก�ำหนด เพื่อให้ โอกาสอีกครั้ง โดย กสพท. สงวนสิทธิ์ ในการก�ำหนดกฎเกณฑ์ที่จะน�ำผลการเรียนมาพิจารณาเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ 60% ของผู้สมัครที่ผ่านการสอบโอเน็ต ข้อสอบส่วนวิชาเฉพาะแพทย์นี้มีสัดส่วนสูงถึง 30% ซึ่งมีน�้ำหนักต่อการสอบ เข้าสูง เนื้อหาจะเน้นความรู้ที่ ใช้ ในการสอบวิชาเฉพาะแพทย์ทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนการ คิดแบบมีวิจารณญาณ ส่วนจริยธรรมแพทย์ และส่วนความคิดเชื่อมโยง แนะน�ำให้ น้องๆ ไปซื้อคู่มือสอบตรงวิชาเฉพาะแพทย์และทันตแพทย์มาดูเป็นแนวทาง หรือลง เรียนกับติวเตอร์ก็แล้วแต่สะดวกเลยครับ ส่วนข้อสอบ 7 วิชาสามัญ มีสัดส่วน 70% ก็จะคล้ายกับการสอบโอเน็ต แต่ข้อสอบจะยากกว่า (เป็น O-NET ขั้นกว่า) เพราะเป็น ข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ส�ำหรับแนวข้อสอบก็แนะน�ำให้อ่านคู่มือเฉลยข้อสอบ เก่าโดยเฉพาะครับ จะได้เนื้อหาสาระที่ครอบคลุมและชัดเจนกว่า ในเรื่องของผู้ด�ำเนินการจัดการสอบ เดิมที กสพท. นั้นจะด�ำเนินการจัดสอบ วิชาสามัญและวิชาเฉพาะแพทย์เองทั้งหมด แต่ ในการรับสมัครแพทย์ตั้งแต่รุ่น 55 เป็นต้นมา จะแตกต่างจากปีก่อนหน้านี้ คือ สทศ. จะเป็นผู้จัดการสอบ 7 วิชาสามัญ ส่วนทาง กสพท. ก็ท�ำหน้าที่จัดสอบวิชาเฉพาะแพทย์อย่างเดิม สรุปว่าในปี 56 นี้ก็ จะเหมือนกับปี 55 ครับ ส�ำหรับเกณฑ์ที่ ใช้ ในการคัดเลือกแพทย์ กสพท. ปีการศึกษา 2556 ยังคง เหมือนกับของปีที่แล้ว สรุปไว้ ในตารางครับ


PART 3

PART 3 เริ่มต้นชีวิต เป็นนักศึกษาแพทย์ โดยนายแพทย์ติยะ


Born to be หมอ 2013

133

ปี 2 เรียนวิชาคณะ กับอาจารย์ใหญ่ หลังจากผ่านการเรียนแบบสบายๆ และการท�ำกิจกรรมสนุกๆ ในปี 1 และได้ พักผ่อนยาวนานถึง 3 เดือน ก็ได้เวลาเปิดเทอมขึ้นปี 2 ซะที วิชาที่เรียนส่วนใหญ่ ก็เป็นวิชาคณะ และจะเริ่มเข้าสู่การเรียนที่ยากของจริง เพราะหลายเรื่องเป็นเรื่อง ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลย ส่วนกิจกรรมนอกหลักสูตรในปีนี้นั้น ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ เนื่องจากรุ่นพี่เค้ายังมีความเมตตาสงสารอยู่บ้างกับการที่ปี 2 อย่างเราเพิ่งจะได้ เรียนวิชาคณะของจริง ต้องอาศัยการปรับตัวอย่างมาก

วิชาเรียนตอนปี 2

เทอม 1 Human Gross Anatomy I, Human Gross Anatomy II, Human Gross Anatomy III, Human Microscopic Anatomy I, Basic Medical Biochemistry I, Basic Medical Biochemistry II, Community Medicine I เทอม 2 Ballroom dance, Human development, Human Microscopic Anatomy II, Human neuroanatomy I, Human neuroanatomy II, Medical genetics, Medical Physiology I, Medical Physiology II, Field practice in Community Medicine การเรียนจะเน้นการเรียนรู้เนื้อหาที่มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกัน ระหว่าง วิชาพื้นฐาน 3 วิชา คือ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และชีวเคมี


134

Born to be หมอ 2013

Human Gross Anatomy I, Human Gross Anatomy II, HumanGross Anatomy III เป็นวิชาพืน้ ฐานทีส่ �ำคัญของการเริ่มต้นทีจ่ ะศึกษาวิชาการแพทย์แขนง ต่างๆ สามตัวนี้เป็นการเรียนต่อเนื่องกันไปโดยเรียนกับร่างอาจารย์ใหญ่ ซึง่ พวกเรามักจะเรียกกันว่า Gross เพือ่ ให้สนั้ และง่ายต่อการเรียก เวลาใคร ถามว่าไปไหน ก็จะตอบว่าไปเรียน Gross นัน่ เอง วิชานีจ้ ะสอนให้รจู้ กั ทุกส่วนที่ เป็นองค์ประกอบของร่างกาย เรียนรูก้ ารท�ำงานและต�ำแหน่งของอวัยวะต่างๆ ในสภาพที่เป็นปกติก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ก่อนจะไปเรียนถึงความผิด ปกติที่เกิดจากโรคต่างๆ

กายวิภาคศาสตร์ จึงถือเป็นวิชาพื้นฐานขั้นต้นส�ำหรับแพทย์ทุกคน แต่ก็ ไม่ได้หมายความว่า วิชานี้จะเรียนกันเฉพาะแพทย์เท่านั้น นักศึกษาสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ก็ยังต้องเรียนรู้วิชานี้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทันตแพทย์ที่เน้นหนักเฉพาะส่วนหัวและล�ำคอ กายภาพบ�ำบัดเน้น แขน ขา สันหลัง กล้ามเนื้อหลัง ซึ่งในส่วนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น พวกเขายังต้องเรียน รู้ให้มากกว่านักศึกษาแพทย์ด้วยซ�้ำไป และยังมีนักเรียนพยาบาลที่ต้องมาเรียนร่วม กับพวกเราด้วย และอาจท�ำให้ใครหลายๆ คนพบรักในห้องเรียนได้ ความรู ้ ด ้ า นกายวิ ภาคศาสตร์ จ ะสมบู ร ณ์ นั้ น ต้ อ งอาศั ย การช� ำ แหละร่ า ง อาจารย์ ใหญ่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 6 คน ต่อร่างอาจารย์ ใหญ่ 1 ร่างหรือ 1 โต๊ะ ในครั้งแรกที่เรียน จะต้องค่อยๆ ลอกหนังออก เพื่อศึกษาเส้นประสาทใต้ผิวหนัง เนื่ อ งจากผมไม่ เ คยมี ป ระสบการณ์ ม าก่ อ น และอาจมื อ หนั ก ไปหน่ อ ย ท� ำ ให้ ลอกหนังลึกเกินไป จึงหาเส้นประสาทส่วนนี้ไม่เจอ แต่ก็มีเพื่อนๆ โต๊ะอื่นหลาย คนที่ ห าเจอเลยต้ อ งไปขอเค้ า ดู หลั ง จากนั้ น ผมก็ ไ ม่ เ คยได้ รั บ ความไว้ วางใจ จากเพื่อนในกลุ่มให้หาอีกเลย


Born to be หมอ 2013

135

ส�ำหรับคนที่เพื่อนต่างพากันประชดว่าโคตรจะขยันอย่างผมแล้วกลับไม่รู้สึก ผิดชอบชั่วดีอะไรเลย และท�ำให้ผมต้องรับหน้าที่อันส�ำคัญก็คือการเลาะไขมันออก จากร่างอาจารย์ใหญ่ซึ่งเป็นงานที่ทุกคนไม่มีใครอยากท�ำ ถ้าพ้นหน้าที่นี้แล้ว ก็ท�ำได้ เพียงคอยนั่งดูเพื่อนท�ำต่อ หรืออ่านวิธีท�ำตามหนังสือให้เพื่อนท�ำตาม หรือไม่ก็คอย ร้องเพลงหรือเล่าเรื่องตลกให้มันฟัง

แนวข้อสอบ หลั ง จากเรี ย นจบในแต่ ล ะส่ ว น จะมี การสอบเก็ บ คะแนน ซึ่ ง ก่ อ น สอบบรรดาผมและเพื่อนๆ ทั้งหลายก็จะมีดอกไม้บ้าง พวงมาลัยบ้างมาไหว้ ขอพรจากอาจารย์ ใหญ่ ขอให้ได้คะแนนสอบดีๆ อย่าได้สอบตกเลย การสอบในวิชา Human Gross Anatomy ทุกคนจะอ่านหนังสือกัน หนักมากเนื่องจากมีเนื้อหามาก และเป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และการ สอบเองก็ยังมีหลายส่วน ท�ำให้เราต้องมาดูและท่องต�ำแหน่งของอวัยวะหรือ เส้นเลือดต่างๆ ว่าตรงไหนเรียกอะไร ท�ำหน้าที่อะไร และอะไรต่อมิอะไรอีก ตั้งมากมายที่ต้องท่องจ�ำเพื่อน�ำไปสอบ ลักษณะการสอบคือ จะมีทั้งข้อสอบที่เป็นตัวเลือก ข้อสอบบรรยาย และข้อสอบที่เรียกว่า OSCE หรือ Lab กริ๊ง นั่นเอง ค�ำว่า Lab กริ๊ง มีที่มา จากเสียงนาฬิกาจับเวลา โดยการสอบในส่วนนี้นั้นจะมีการน�ำเอาอวัยวะ กล้าม เนื้อ เส้นเลือดและเส้นประสาทต่างๆ มาผูกติดกับป้ายค�ำถาม เช่นว่า กล้าม เนื้อมัดนี้ชื่ออะไร ท�ำหน้าที่อะไร เลี้ยงโดยเส้นประสาทเส้นไหน โดยจับเวลา เป็นข้อๆ ข้อละประมาณ 40 วินาที


136

Born to be หมอ 2013

หลั ง จากหมดเวลา จะมี เ สี ย งสั ญ ญาณกริ่ ง ดั ง กริ๊ ง ซึ่ ง เป็ น ที่ มาของ Lab กริ๊ง นั่นเอง โดยหากหมดเวลาแล้วเราจะไม่สามารถกลับมาท�ำใน ข้ อ เดิ ม ได้ อี ก นั บ ได้ ว ่ า การสอบในส่ ว นนี้ ก ดดั น และเจ็ บ ปวดหั ว ใจที่ สุ ด มักจะเป็นส่วนที่นักศึกษาแต่ละคนท�ำคะแนนได้น้อยที่สุดด้วย เพราะนอกจาก จะตกใจจนเกือบลืมค�ำตอบทุกครั้งที่เสียงกริ่งดังขึ้น เนื่องจากต้องคิดค�ำตอบ ให้ออกในเวลาที่จ�ำกัด บางครั้งก�ำลังจะนึกออก พอเสียงกริ่งดังขึ้น อาราม ตกใจก็ท�ำให้ไอ้ที่ก�ำลังจะนึกออกกลายเป็นนึกไม่ออกไปซะงั้น ผลการสอบหรือครับ ตกกันกระจาย และร้องไห้กันระงม เนื่องจาก บางคนเคยเรียนและท�ำคะแนนได้ดี บางคนสอบได้ที่ 1 ที่ 2 ของโรงเรียน ประจ�ำจังหวัด ชีวิตนี้ไม่เคยสอบตกมาก่อน แต่ต้องมาสอบตกที่นี่ คิดดูเอาเอง ก็แล้วกันว่า มันเจ็บปวดแค่ไหน แต่ส�ำหรับผมสามารถผ่านมันมาได้ โดยที่ คะแนนไม่ได้น่าเกลียดอะไร เนื่องจากอยู่กลุ่มเดียวกับเพื่อนที่ทั้งเก่งและใจดี คอยช่วยติวให้ตลอด โดยเฉพาะช่วงก่อนสอบ รวมถึงความสามารถเฉพาะตัว ในการอ่านหนังสือในคืนสุดท้ายก่อนสอบโดยไม่ได้นอน จึงได้ความจ�ำระยะ สั้นมาช่วยให้รอดตัวไปได้ทุกครั้ง ในการเรียนส่วนต่อมาคือ ส่วนที่เกี่ยวกับแขน-ขา อาจารย์ผู้สอนจะเน้น การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และเส้นประสาท ซึ่งส่วนนี้จะมีความ แตกต่ า งระหว่ า งเพศชายกั บ เพศหญิ ง อี ก คื อ กล้ า มเนื้ อ ของเพศชายจะเห็ น ชัดเจนกว่าของเพศหญิง อีกทั้งเส้นเลือดก็เห็นได้ชัดเจนกว่า หรือแม้แต่ในเพศ เดียวกันก็มีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น อาจารย์ ใหญ่ของผมท่านมีพยาธิสภาพ ที่หลัง คือหลังโก่ง ซึ่งท�ำให้การช�ำแหละร่างยากขึ้นไปอีก แต่ยังไงก็ต้อง กราบ ขอบพระคุณท่านที่บริจาคร่างกายเพื่อเป็นวิทยาทานอันสูงสุดให้พวกผมได้เรียนรู้กัน


Born to be หมอ 2013

165

การเรียนภาคปฏิบัติ ในโรงพยาบาล จุดส�ำคัญของการเรียนแพทย์ที่ทุกคนอยากรู้นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นในแง่ ของการปฏิบัติงานในระดับคลินิก หรือการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของนักศึกษา แพทย์ ในชั้นปีที่ 4-6 นั่นเอง และการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในฐานะของนักศึกษาแพทย์นั้น อาจจะ ไม่ได้สวยหรูหรือโรยไปด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่หลายๆ คนคิด จะต้องมีความ รับผิดชอบต่อตัวเองอย่างสูง รวมทั้งต้องรับผิดชอบต่อชีวิตคนอื่นอย่างมากด้วยต้อง มีวินัยในตัวเอง โดยมีอาจารย์และรุ่นพี่คอยให้ค�ำแนะน�ำ และคอยฝึกฝน เคี่ยวกร�ำ อย่างเข้มข้นเพื่อให้เราจบออกมาเป็นหมอที่ดี จะมีใครรู้บ้างว่า ส�ำหรับคนที่เรียกว่า “นักศึกษาแพทย์” นั้น มีหน้าที่อะไร บ้างในระหว่างที่ฝึกงานอยู่ที่โรงพยาบาลตลอดเวลา

การเรียนในหอผู้ป่วย ส�ำหรับการเรียนในหอผู้ป่วยนั้น จะเริ่มต้นแต่ละวันด้วยการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย หรือที่เรียกกันว่า Round ward นั่นเอง และต้องบันทึกรายงานอาการของผู้ป่วย ที่อยู่ ในความดูแลของเราในแต่ละวันลงไปด้วย รวมทั้งต้องเรียนรู้โรคจากผู้ป่วย คนอื่นๆ ด้วย หน้าที่หลักๆ ของเราก็คือ ผู้สื่อข่าวหรือนักข่าวฝึกหัดดีๆ นี่เอง ทุกๆ วันเราต้องซักประวัติอาการเจ็บป่วยของคนไข้มารายงานให้อาจารย์ และหมอรุ่นพี่ทราบ ไม่ต่างอะไรจากการสัมภาษณ์บุคคลในข่าว แม้ว่าเราจะซักได้ ละเอียดแค่ไหน แต่บรรณาธิการข่าวก็ยังสามารถหาข้อผิดพลาด และถามข้อมูลจาก คนไข้ได้มากกว่าที่เราอุตส่าห์ซักประวัติมาตั้งครึ่งค่อนเช้าเสียอีก


166

Born to be หมอ 2013

และหลังจากรายงานข่าวช่วงเช้าเสร็จแล้ว หน้าที่ของเราก็คือ ต้องคอย ท�ำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม (ฟังดูดี แท้ที่จริงแล้วคือการตรวจขี้ ตรวจ ฉี่นั่นเอง) แล้วต้องมารายงานผลตรวจให้อาจารย์ทราบด้วย เหมือนการต้องออก ไปท�ำสกู๊ปข่าวชัดๆ

การเรียนในห้องผ่าตัด หน้ า ที่ ข องนั ก ศึ ก ษาแพทย์ ไ ม่ ใ ช่ ก ารลงมื อ ผ่ า ตั ด หน้ า ที่ ที่ แ ท้ จ ริ ง ก็ คื อ คอยสังเกตการผ่าตัดและคอยท�ำงานทุกอย่างที่พอจะท�ำได้ในห้องผ่าตัด จะเป็นที่ ต้องการอย่างมากของเจ้าหน้าที่พยาบาลในห้องผ่าตัด เพราะถ้ามีเราเข้าไปช่วย ก็จะเป็นโชคดีของพยาบาลช่วยผ่าตัดทีส่ ามารถออกจากห้องไปได้ เพราะฉะนั้น ช่วงไหน ที่เป็นเวลาปิดเทอมของนักศึกษาแพทย์ (ปีละครั้ง และมัก ไม่เกิน 20 วัน) หลายๆ คนอาจจะรู้สึกเหนื่อยเพิ่มขึ้นไม่น้อย เพราะฉะนั้น ส�ำหรับผู้หญิง ต้องสวย อึด และบึกบึน ฐานต้องมั่นคงเพื่อให้ ยืนระยะให้ได้นานที่สุด ส�ำหรับผู้หญิงที่ขาใหญ่ (ไม่ได้หมายความว่ามีพ่อเป็นนักเลง นะ) จะเห็นประโยชน์ของขาตัวเองก็ช่วงนี้แหละ เพราะก่อนหน้านี้การที่น่องโต ไม่ได้ช่วยอะไรเลยนอกจากช่วยให้เพื่อนๆ ล้อ เนื่องจากในการผ่าตัดนั้น จะต้องยืน แทบจะตลอดเวลาจนกว่าจะเสร็จสิ้นการผ่าตัด และท�ำให้รู้ว่าตัวเองปากเหม็นขนาดไหน เพราะต้องใส่หน้ากากปิดจมูกอยู่ นานไม่ต�่ำกว่า 2 ชั่วโมง และท�ำให้รู้ว่าคนที่มันเยี่ยวไม่ออก ถ่ายไม่ได้ทรมาน แค่ไหน เพราะการเข้าช่วยผ่าตัดต้องใช้เวลานาน และไม่สามารถออกมากลางคันได้


Born to be หมอ 2013

เริ่มต้นชีวิตหมอใช้ทุน (ทน) นี่คือเรื่องราวภาคต่อของชีวิตนักศึกษาแพทย์ที่ผ่านการฝ่าฟันอุปสรรค อดทนเรียนกันมานานถึง 6 ปีเต็มๆ (บางคนอาจจะนานกว่า) นี่ยังไม่นับภาค begin ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวสอบเข้า คณะแพทย์ จนในทีส่ ดุ ก็ได้ออกไปเผชิญโลกกว้างกับการทำ�งานจริงๆ สักที ภาค สองนี้เป็นภาคแห่งชีวิตจริง หลังจากเรียนจบ ทุกคนจะมีเวลาพักประมาณครึง่ เดือนถึงหนึง่ เดือน เพราะ ว่านักศึกษาแพทย์แต่ละมหาวิทยาลัยจะจบการศึกษาไม่พร้อมกันทุกที่ แต่เวลาที่ จบมักจะใกล้เคียงกัน คือช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถงึ กลางๆ เดือนมีนาคม และ ช่วงนีน้ เี่ องทีเ่ ราพอจะมีเวลาว่างได้ไปเทีย่ ว หรือไปทำ�อะไรตามที่ใจเราต้องการ เมือ่ ถึงวันจันทร์แรกของเดือนเมษายน ทุกคนจะต้องมารายงานตัวก่อนจะ ออกไปปฏิบตั ิหน้าทีจ่ ริงๆ และที่นี่แหละทีเ่ ราจะได้พบกับคนทีเ่ รียนจบหมอจาก มหาวิทยาลัยอื่นๆ เกือบครบทุกคนจากทั่วทุกจังหวัด เพื่อรับหนังสือส่งตัวและ ทำ�การรายงานตัวก่อนจะเริ่มปฏิบัติงาน ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นบรรจุพร้อมกันใน ตอนต้นเดือนเมษายนนี้นี่เอง หลังจากสิ้นสุดการปฐมนิเทศหมอจบใหม่ เราก็ต้องนำ�หนังสือส่งตัวไป รายงานตัวต่อสาธารณสุขจังหวัด แล้วก็ไปรายงานตัวกับโรงพยาบาลของจังหวัด ที่เราจะต้องไปทำ�งานด้วย

215


216

Born to be หมอ 2013

ส่วนการเริ่มงานจริงๆ นั้น ก็แล้วแต่ทางโรงพยาบาลที่เราสังกัดจะกำ�หนด ให้บางโรงพยาบาลก็อาจจะให้เริ่มงานตั้งแต่ต้นเดือนหลังจากรายงานตัวเสร็จ บางโรงพยาบาลก็ให้เริม่ งานหลังเทศกาลสงกรานต์ แต่สำ�หรับโรงพยาบาลทีผ่ ม ไปปฏิบัติงานนั้น เริ่มทำ�งานในเดือนพฤษภาคม แต่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายนหลังวันหยุดสงกรานต์ ผมต้องมา อบรมความรูเ้ บือ้ งต้นก่อนปฏิบตั งิ าน เช่น การปฏิบตั กิ ารกูช้ พี เบือ้ งต้นและขัน้ สูง การให้การรักษาพยาบาลเบือ้ งต้นในภาวะฉุกเฉินสำ�หรับโรคทีพ่ บบ่อยมีการแนะ นำ�บุคคลากร สถานที่ ให้เราได้ทำ�ความรู้จักคุ้นเคยก่อนจะเริ่มปฏิบัติงานจริงๆ หมอที่จบใหม่แต่ละคนจะต้องทำ�งานในสี่แผนกหลักดังต่อไปนี้ • สูติ ก็คือ แผนกสูตินรีเวชกรรม เป็นระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง • ศัลย์ ก็คอื แผนกศัลยกรรม และอาจจะต้องอยูศ่ ลั ยกรรมกระดูกด้วย เป็นระยะเวลาประมาณสามเดือน • Med ย่อมาจาก Medicine ก็คือ แผนกอายุรกรรม เป็นระยะเวลา ประมาณสามเดือน • เด็ก ก็คือ แผนกกุมารเวชกรรม เป็นระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง ถัดไปคือ การออกไปผจญภัยในโรงพยาบาลชุมชนอีก 3 เดือน บางคนอาจจะ ต้องผ่านแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วย

“หมอมือใหม่ทุกคนจะต้องผ่านการทำ�งานในสี่หอผู้ป่วยหลัก”


Born to be หมอ 2013

235

เตรียมตัวเรียนต่อเฉพาะทาง หลังจากผ่านการเรียนอันแสนยากลำ�บากมานานถึง 6 ปี ก็ใช่ว่าทุกอย่าง สำ�หรับการเรียนหมอจะสิ้นสุดลง เพราะยังมีการเรียนต่อเฉพาะทางอีก หมอ คนไหนจะเรียนต่อหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่เรียนต่อก็ทำ�งานอยู่ในโรงพยาบาลเดิม ต่อไปเรื่อยๆ หมอที่อยากเรียนต่อก็เพราะอยากมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือมีความใฝ่ฝันตั้งแต่แรกแล้วว่า อยากจะเป็นหมอด้านนี้อยู่แล้ว หมอที่ เ รี ย นจบอาจเลื อ กศึ ก ษาต่ อ ในสาขาเฉพาะทางโดยสมั ค รเป็ น แพทย์ประจำ�บ้าน (Medical Resident ปกติก็เรียกกันสั้นๆ ว่า Resident) ตาม สถาบันที่เปิดรับสมัคร แพทย์ประจำ�บ้านจะต้องปฏิบัติงานด้านการแพทย์ เฉพาะทางภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในโรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาล ที่เป็นศูนย์การศึกษาของแพทย์ประจำ�บ้านต่างๆ การศึกษาในระดับแพทย์ ประจำ�บ้านมักต้องผ่านการเป็นแพทย์แพทย์ใช้ทุน (Internship) มาก่อน หรือ อาจผนวกระยะของแพทย์เพิม่ พูนทักษะเป็นชัน้ ปีแรกของการศึกษาระดับแพทย์ ประจำ�บ้านก็ได้ และหลังจากสำ�เร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) หลังจากการศึกษาระดับนี้แล้ว หมออาจศึกษาต่อเป็นแพทย์ประจำ�บ้าน ต่อยอด (Fellowship) เพื่อศึกษาการแพทย์เฉพาะทางย่อยต่อไปอีก หลักสูตร ในประเทศไทยของแพทย์ประจำ�บ้านนั้นโดยทั่วไปมักมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปีตามแต่ละสถาบันและแต่ละสาขาวิชา หลังจากนัน้ ต้องเข้าสอบเพือ่ รับวุฒบิ ตั ร แสดงความรูค้ วามชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากราชวิทยาลัยต่างๆ ตามสาขาของแพทย์เฉพาะทางนั้น


236

Born to be หมอ 2013

EXTERNSHIPS นักศึกษาแพทย์ปี 6 INTERNSHIP แพทย์ เพิ่มพูนทักษะ MEDICAL RESIDENT แพทย์ประจำ�บ้าน MEDICAL SPECIALIST แพทย์เฉพาะทาง

แพทย์เพิ่มพูนทักษะ INTERNSHIP เนื่องจากกว่า 85% ของแพทย์แต่ละรุ่นจะไปใช้ทุนใน กระทรวงสาธารณสุข 3 ปี โดยอยู่ ในโรงพยาบาลขนาด ใหญ่ 1 ปี และชุมชนอีก 2 ปี การอยู่ ในโรงพยาบาลในปี แรกนั้นจะเรียกว่า แพทย์เพิ่มพูนทักษะ แพทย์ที่ผ่านการ เพิม่ พูนทักษะจึงมี โอกาสเรียนต่อในสาขาทีต่ อ้ งการได้ตาม ระเบียบของแพทยสภา แพทย์ประจำ�บ้าน MEDICAL RESIDENT คือแพทย์ที่กำ�ลังเรียนต่อเฉพาะทาง หรือ แพทย์ที่ทำ�งาน ชดใช้ทนุ จนครบตามทีก่ ระทรวงกำ�หนด แล้วจึงกลับเข้ามา เรียนต่อนั่นเอง พอเรียนจบแพทย์ประจำ�บ้านก็จะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist)

แพทย์ประจำ�บ้านต่อยอด (อนุสาขา) FELLOWSHIP แพทย์ประจำ�บ้าน FELLOWSHIP ต่อยอด (อนุสาขา) คือหมอทีจ่ บเฉพาะทางมาก่อน แล้วเรียนต่อ อนุสาขา เช่น

หมออายุรแพทย์ ไปเรียนต่อเฉพาะทางสาขาย่อยหรืออนุสาขา เช่น อายุรศาสตร์ โรคหัวใจ อายุรศาสตร์ โรคติดเชือ้ อายุรศาสตร์ MEDICAL SUBSPECIALIST โรคไต อายุรศาสตร์ โรคเลือด เป็นต้น หมอที่กำ�ลังเรียน แพทย์เฉพาะทาง ต่อยอดแบบนี้เรียกว่า แพทย์ประจำ�บ้านต่อยอด (Fellowอนุสาขา ship) พอเรียนจบมาก็จะเป็น Medical subspecialist


14.5 cm.

21 cm.

2 cm.

21 cm. File : AW_Born2be_Doctor_Cover.ai Size : 14.5 x 21 cm. Date : 28/9/12


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.