Born to be Veterinary 2013

Page 1

พ�่รหัส น.สพ.กิติกร เกียรติยิ�งอังศุลี

สัตวแพทย ใช มั�ย? Vet Science ณ เมืองเนิร นแบร ก ประเทศเยอรมัน

14.5 cm.

โดย สัตวแพทยหญิงธวัลรัตน เกียรติยิ่งอังศุลี (พี่กต)

ป6

สัตวแพทย

Mission ชิงทุนเรียนต อต างประเทศ ศาสตร แขนงใหม Bioinformatics เทคนิคการตรวจโรค ที่ทันสมัย ณ เมืองลิเวอร พ�ล ประเทศอังกฤษ

สัตวแพทย

ป5

ป 3 ป 2 หมวดแนะแนวการศึกษา

ป 1

ราคา 230 บาท

born to be bynatureonline.com

21 cm.

พ�่รหัส น.สพ.กิติกร เกียรติยิ�งอังศุลี

ป4

2 cm.

ทุกความฝ น เป นจริงได สัตวแพทย จากประสบการณของนักศึกษาสัตวแพทย

• เตรียมตัวกอนลงสนามรับตรง-แอดมิชชั่น • เต็มอิ่มชีวิตสัตวแพทยจากทฤษฎีสูภาคปฏิบัติ • สัตวแพทยอาสาพาลุย ยกระดับปศุสัตวชาวบาน • my way กาวแรกสัตวแพทยจบใหม • สัตวแพทยอัพเกรด ฝกอบรบ/ปริญญาโท/ชิงทุน 21 cm.

File : AW_Born2be_vet_Cover.ai Size : 14.5 x 21 cm. Date : 28/9/12


Born to be

Born to be สัตวแพทย์ 2013-2014 น.สพ.กิติกร เกียรติยิ่งอังศุลี สพ.ญ.ธวัลรัตน์ เกียรติยิ่งอังศุลี กุมภาพันธ์ 2013 978-616-7720-03-6 336 หน้า 230 บาท ดร.สุกิต เอื้อมหเจริญ INTEGRATE QUALITY LAW AND ACCOUNTING ภีรพล คชาเจริญ สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข ลัดดา คชาเจริญ Veterinavian Dolittle ค่ายสัตวแพทย์อาสาพัฒนาชนบท คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร ชุมนุมสัตวแพทย์อาสาพัฒนาชนบท คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ Nui สนพ. บายยัวร์เซลฟ์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 www.bynatureonline.com บริษัท โรงพิมพ์ ตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) 025510531, 025510533-44 NEO Film Prepress Solution 0-2422-0072 บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com

Born to be

หนังสือ เขียนโดย พิมพ์ครั้งที่ 3 ISBN จ�ำนวนหน้า ราคา ที่ปรึกษาอาวุโส ที่ปรึกษากฎหมาย บรรณาธิการอ�ำนวยการ บรรณาธิการ ผู้จัดการทั่วไป ภาพประกอบ ภาพถ่าย รูปเล่ม จัดพิมพ์ โดย พิมพ์ที่ โทรศัพท์ แยกสี โทรศัพท์ จัดจ�ำหน่าย

สัตวแพทย์ 2013-2014

สงวนลิขสิทธิ์

เนื้อหาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากส�ำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์


บทบรรณาธิการ สัตวแพทย์หัวใจอนุรักษ์ สภาพแวดล้อม สภาพสังคมไทย ปัจจุบนั เปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์รกุ คืบความเจริญ ไปแย่งถิ่นที่อยู่ที่กินของสัตวป่า และเมื่อป่าไม้ถูกท�ำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพก็เริ่มหายไป กระทบต่อการด�ำรงชีพของทุกชีวิตในป่า และเมื่อแหล่งอาหารของสัตว์ป่าเหลือน้อย จึงเกิดปัญหา สัตว์ป่าบุกไร่บุกเมืองเพื่อหาอาหารประทังชีวิตของพวกมัน ทั้งที่จริงๆ แล้ว มนุษย์ต่างหากที่เป็น ฝ่ายรุกล�้ำพื้นที่ป่าซึ่งเป็นบ้านของพวกมัน เมื่อพูดถึงสัตวแพทย์ หลายๆ คนอาจจะนึกถึงหมอรักษาสัตว์ตามคลินิก โรงพยาบาลรักษา สัตว์ คิดไกลออกไปอีกนิด สัตวแพทย์ฟาร์มปศุสตั ว์ แต่นอ้ ยคนนักจะนึกถึงสัตวแพทย์สตั ว์ปา่ (Wildlife Veterinarian) ทีต่ อ้ งเดินทางเข้าป่าเพือ่ ไปดูแลรักษาสัตว์ (ใน) ป่า เขาหรือเธอคงไม่ ได้มเี พียงความ รู้ทางด้านการรักษาเท่านั้น แต่ต้องมีอุดมการณ์ มีหัวใจของนักอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคูก่ นั ไปด้วย และก้าวพ้นชุดความคิดของคนทัว่ ๆ ไป เพราะเป้าหมายของชีวติ ทีจ่ ะปฏิบตั ภิ ารกิจ นั้นมากมาย บางครั้งมันก็มากเกินกว่าหน้าที่หรือข้อก�ำหนดตามสายงาน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย ทางด้านจิตใจ เสียสละความสะดวกสบายที่ ไม่มี ในป่า ตลอดจนความสุขสบายในชีวิตส่วนตัวอย่าง คนทั่วไป นั่นคือช่องว่างระหว่าง “คนที่มีฝันเพื่อตัวเอง” กับ “คนที่มีฝันเพื่อคนอื่น” แนวคิดและ แนวทางใช้ชีวิตแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งหมดที่กล่าวมา ประเด็นส�ำคัญที่อยากจะสื่อสารกับน้องๆ หรือบุคคลทั่วไปที่ ได้อ่าน หนังสือเล่มนี้ อยากฝากให้ตระหนักถึงธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม หากไม่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของการดูแลอนุรักษ์ป่า ก็สามารถท�ำงานผ่านมูลนิธิต่างๆ ได้ เช่น บริจาคเงินผ่านมูลนิธิคุ้มครอง สัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เครือข่ายด้าน อนุรกั ษ์สตั ว์ปา่ ฯลฯ เพือ่ ให้องค์กรเหล่านี้ ได้ดำ� เนินกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และส�ำหรับน้องๆ ทีเ่ รียนสัตวแพทย์อยู่ ในขณะนี้ และมีเป้าหมายเบือ้ งลึกทีจ่ ะเป็นสัตวแพทย์สตั ว์ปา่ หากมี โอกาสก็แนะน�ำให้เข้าร่วมโครงการ เคี่ยวเข้มบัณฑิตใหม่หมอสัตว์ป่า ของชมรมสัตวแพทย์ สัตว์ป่าและสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (http://zoowildlifevet.com) ซึ่งจัดมาแล้วนับสิบครั้ง มันคงเป็นด่านทดสอบก�ำลังกาย ก�ำลังใจได้อย่างดีที่สุด “การเป็นหมอรักษาสัตว์ยากกว่าหมอรักษาคน เพราะต้องรักษาสัตว์หลายประเภททีแ่ ตกต่าง กัน ที่ส�ำคัญสัตว์พูดไม่ ได้ ไม่สามารถบอกเล่าอาการเจ็บป่วยให้รับทราบ แต่คนสามารถบอกได้และ ยังดูแลตัวเองได้ ดังนัน้ การรักษาสัตว์ ยิง่ สัตว์ปา่ ด้วยแล้วยิง่ ต้องวางแผนการท�ำงานอย่างรอบคอบ ใช้ความรู้สึกอย่างเดียวไม่ ได้” น.สพ.ภัทรพล มณีออ่ น หรือ “หมอล็อต” สัตวแพทย์สตั ว์ปา่ (Wildlife Veterinarian) คนแรกของไทย

บรรณาธิการ

peeByNature


ค�ำน�ำพิมพ์ครั้งที่ 3 เป็นอย่างที่เป็น…สัตวแพทย์ อาชีพสัตวแพทย์เป็นอาชีพหนึ่งที่มีบทบาทและความส�ำคัญอย่างมาก อาชีพหนึ่งในประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย เมื่อพูดถึงอาชีพสัตว แพทย์หลายๆ คนอาจจะนึกแค่หมอรักษาหมาแมว หรืออาจจะแถมหมอตอน ควายเข้าไปอีกอย่าง แต่บทบาทหน้าที่ของอาชีพสัตวแพทย์ ไม่ได้มีแค่นั้น นอกจากการรักษาสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น หมา แมว กระต่าย ไปจนถึง สัตว์เลี้ยงพิเศษทั้งหลาย (exotic pet) เช่น เม่นแคระ กระรอกบิน งู อีกัวน่า ฯลฯ อาชีพสัตวแพทย์ยังมีบทบาทในงานด้านอื่นๆ อีกมาก เช่น งานด้าน สัตวเศรษฐกิจหรืองานด้านปศุสัตว์ ซึ่งคงไม่ใช่แค่เรื่องการตอนควายอย่าง ที่คนยุคโบราณเข้าใจ แต่สัตวแพทย์มีบทบาทหน้าที่ตั้งแต่กระบวนการคัด เลือกสายพันธุ์ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การผสมเทียม การดูแลจัดการการ คลอด การจัดการลูกสัตว์แรกคลอด การป้องกันโรค การจัดการด้านอาหาร การเพิ่มผลผลิต (เนื้อ นม ไข่ จ�ำนวนลูกสัตว์ต่อครอก อัตราแลกเนื้อ) ฯลฯ หรืองานด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการดูแลรักษาสัตว์ก็ยังมีงานที่ดูแลสวัสดิภาพและความ ปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ได้แก่งานด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข การตรวจ คุณภาพมาตรฐานของอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มาจากสัตว์ เช่นเนื้อ นม ไข่ ซึ่งบทบาทหน้าที่เหล่านั้น ไม่ใช่แค่เรื่องภายในประเทศเท่านั้น ยัง เกี่ยวข้องไปจนถึงมาตรฐานการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอีกด้วยซึ่งมีผลต่อ


มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศมากมายมหาศาล หรือแม้แต่บทบาทหน้าที่ ของขอบข่ายงานด้านการศึกษาและงานวิจัยต่างๆ ด้านสัตวทดลอง การศึกษา โรคสัตว์สู่คนต่างๆ เป็นต้น ยังไม่นับรวมถึงงานด้านเอกชนอื่นๆ อีก ทั้งฝ่าย วิชาการ ฝ่ายขาย ฯลฯ จะเห็นได้ว่าขอบข่ายงานของสัตวแพทย์นั้นค่อนข้างกว้างมาก ดังนั้น กว่าที่จะเรียนจบออกมาเป็นสัตวแพทย์เต็มๆ ตัวได้นั้น จึงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะการเรียนการสอนคณะสัตวแพทย์ศาสตร์นั้นมีเนื้อหาและระยะเวลาเรียน ที่ยาวนานถึงหกปี (หลายๆ คนอาจจะต้องเรียนนานกว่านั้น)เนื่องจากต้องปู พื้นฐานวิชาต่างๆ ให้ครบถ้วนรอบด้านทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อที่ เมื่อเรียนจบออกไปจะได้เป็นสัตวแพทย์ที่มีคุณภาพพร้อมที่จะเป็นฟันเฟือง หนึ่งในการพัฒนาประเทศต่อไป หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงลักษณะการเรียน การสอน การสอบ ลักษณะ เนื้อหารายวิชาต่างๆ ที่จะต้องเรียน บอกคร่าวๆ ให้ผู้อ่านได้รู้ ได้เข้าใจ ได้เตรียมตัว ว่าหากจะเข้าไปเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์แล้วนั้นในอนาคต จะต้องพบเจออะไรบ้าง อย่างน้อยก็น่าที่จะเป็นแนวทางให้เตรียมตัวเตรียมใจ ก่อนที่จะต้องเข้าไปเรียน หรือก่อนที่จะตัดสินใจเลือกคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นเป้าหมายในอนาคตของตนเอง ว่านี่ใช่สิ่งที่น้องๆ ต้องการอยากที่จะเรียน อยากที่จะเป็นหรือไม่ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกหรือค้นหาตัวเองไป เปล่าๆ กับเวลาปีสองปี แล้วสุดท้ายก็ต้องไปเริ่มต้นที่อื่นอีกครั้ง น.สพ.กิติกร เกียรติยิ่งอังศุลี www.click2vet.com


CONTENTS Part 1 เส้นทางสูก่ ารเป็นสัตวแพทย์ 11 23

Admission เข้าใจง่าย 12 สอท. & สทศ. คู่หู Admissions 15 ระบบการสอบคัดเลือก… Converse 20 ‘เลิก’ สับสน GAT/PAT/O-NET/7วิชา รับตรง แอดมิชชั่น สัตวแพทย์ 23 เลือกเรียนสัตวแพทย์ที่ ไหนดี 27 รับตรง-แอดมิชชั่น คณะสัตวแพทย์ 28 สัตวแพทย์จุฬาฯ 32 สัตวแพทย์ ม.เกษตรฯ 38 สัตวแพทย์ ม.ขอนแก่น 43 สัตวแพทย์ ม.เชียงใหม่ 46 สัตวแพทย์ ม.มหิดล 48 สัตวแพทย์ ม.เทคโนโลยีมหานคร

Part 2 เรียนยังไง? ได้เป็นสัตวแพทย์ 51 78 98

ปี 1 เรียนง่าย แต่ระวังไม่รอด 64 เรื่องของเฟรชชี่ 65 เด็กหอ 68 ประชุมเชียร์ รับน้อง และรับรุ่น 70 การสอบครั้งแรกของเฟรชชี่ 73 เคล็ดวิชากู้เกรดเฉลี่ยเมื่อติด F 74 Summer ปีแรกท�ำอะไรดี ปี 2 เรียนหนักจนหัวบาน 94 Summer ปี 2 เริ่มฝึกงานกันแล้ว ปี 3 เรียนโหดควบภารกิจรับน้อง 116 ซีเนียร์กับการท�ำเชียร์ 118 Summer สุดท้ายของแสงสี


123 158 184 206 221

ปี 4 เรียนกับสัตว์ ตัวเป็นๆ สักที 124 เตรียมอุปกรณ์ พร้อมฝึกปฏิบัติ 156 เริ่มต้นการท�ำ Special Problem ปี 5 เรียนโหดทิ้งทวน 182 SUMMER ปี 5 วุ่นวายสารพัด ปี 6 ช่วงฝึกงานเต็มรูปแบบ 186 การฝึกงานด้านสัตว์เล็กและสาธารณสุข 199 การฝึกงานกับสัตว์ ใหญ่และสัตว์เศรษฐกิจ 204 การสอบ Oral และสอบใหญ่ 205 Special Clinical Practice ชีวิตนิสิตสัตวแพทย์อาสาตะลุยชนบท ๑ ต้นกล้าสัตวแพทย์อาสา ชีวิตนิสิตสัตวแพทย์อาสาตะลุยชนบท ๒ ต้นกล้าสัตวแพทย์อาสา

Part 3 ติดยศ น.สพ. (สพ.ญ.) พร้อมออกปฏิบตั กิ าร 242 255

จบแล้ว ได้เวลาหางานท�ำ 245 การขึ้นทะเบียนเป็นสัตวแพทย์เต็มตัว 247 ข้อคิดเวลาหางาน 249 สัตวแพทย์เงินเดือนเท่าไหร่ 254 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแวดวงสัตวแพทย์ เริ่มต้นชีวิตสัตวแพทย์เต็มตัว 273 เริ่มท�ำงาน 281 การรับ-ส่งต่อสัตว์ป่วย 283 ใบอนุญาตวางยาสลบและผ่าตัดจ�ำเป็นหรือไม่ 285 โรคหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ 287 การฟ้องร้อง เป็นเรื่องที่ ไม่มี ใครอยากเจอ 289 หมออ๊อบกับการเป็นสัตวแพทย์คลีนิกสัตว์เล็ก

Part 4 ทุนศึกษาต่อต่างประเทศ 298 302 320 344

สัตวแพทย์อัพเกรด เรียนสัตวแพทย์ ก็มีทุนให้ โกอินเตอร์ ได้เหมือนกัน ศาสตร์แขนงใหม่ Bioinformatics เทคนิคการตรวจโรคที่ทันสมัย ภาคผนวก


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 11

Admissions

เข้าใจง่าย โดยทีมงาน Born to be

ถ้าพูดถึงเรือ่ งระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย สมัยนี้ น้องๆ หลายคนท�ำหน้าเบือ่ โลก เพราะต้อง ศึกษาข้อมูลระบบการสอบ ต้องสอบโน่น-นั่น-นี่ สอบทั้งในทั้งนอกโรงเรียน ต้องยื่นคะแนน ต้อง ตามข่าวแบบวันต่อวัน ต้องไปค่ายมากมายเพื่อ ค้นหาตัวเอง ฯลฯ

GAT

PAT 7 วิชาสามัญ

O-NET


12

Born to be

สอท. & สทศ. คู่หู Admissions ก่อนจะเข้าเรือ่ งระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบต่างๆ พีอ่ ยาก จะขอแนะน�ำให้น้องๆ ได้รู้จักกับองค์กรแห่งนครการศึกษา 2 แห่ง ซึ่งมีความ ส�ำคัญต่อพวกเราประชากรเด็ก ม.ปลาย ส�ำคัญยังไง? องค์กรหนึ่งคือผู้วางนโยบาย นามว่า “สมาคมอธิการบดี แห่งประเทศไทย” มีชื่อย่อว่า สอท. กับอีกองค์กรหนึ่งคือ สนองนโยบาย นามว่า “สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ” หรือ สทศ. ทั้งสององค์กร เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ ที่บอกตัวตนของทั้งสององค์กรนี่ก็คือ สอท. คือ ผู้ก�ำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้าเรียนในคณะ/สาขาวิชา ต่างๆ สทศ. คือ ผูค้ ดิ ค้นหาวิธคี ดั เลือกโดยใช้การสอบทีเ่ ป็นระบบกลาง/รวม เพือ่ ให้ได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับที่ สอท. ต้องการ เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ต่างๆ


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 23

รับตรง

แอดมิชชั่น

สัตวแพทย์ ในบทที่แล้วเราได้เรียนรู้เรื่องของระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาในแบบภาพกว้างๆ กันไปแล้ว ในบทนี้จะโฟกัสที่การสอบ คัดเลือกเข้าเรียนคณะสัตวแพทย์กันเลย ในบทนี้จะอธิบายแบบไม่เยิ่นเย้อนะครับ เพราะคิดว่าน้องๆ คงมีพื้น ฐานความเข้าใจในระบบการสอบคัดเลือกทั้งแบบสอบตรง แบบแอดมิชชั่น กันเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว ส่วนใครทีก่ ระโดดมาอ่านเนือ้ หาบทนีเ้ ลย แล้วพบว่ายัง ไม่ค่อยเข้าใจนัก พี่แนะน�ำให้ย้อนกลับไปอ่านเรื่อง “Admissions เข้าใจง่าย” เสียก่อน

เลือกเรียนสัตวแพทย์ที่ไหนดี การเลือกเรียนในวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีเรื่องที่ต้อง ค�ำนึงอย่างมากที่สุดก็คือ การรับรองปริญญาจากสภาวิชาชีพนั้นๆ นั่น หมายความว่า เมื่อเราเรียนจบ ก็จะมีสิทธิ์สอบขอรับใบอนุญาตให้ท�ำงานได้ ถูกต้องตามกฎหมายนั่นเองเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียสทีเดียวครับ เพราะปัจจุบัน มีมหา’ลัยหลายแห่งได้เปิดรับนักศึกษาแล้วทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับการรับรอง หลักสูตรจากสัตวแพทย์สภาจนกลายเป็นที่มาของเอกสารแถลงข่าวที่พี่น�ำมา ให้ดูนี้ ขอให้น้องๆ อ่านและตัดสินใจให้ดีก่อนจะเลือกว่าจะเรียนที่ ไหนครับ


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 27

รับตรง-แอดมิชชั่น คณะสัตวแพทย์ ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงเรื่องของการรับรองปริญญาโดยสัตวแพทยสภา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ซีเรียสที่ต้องค�ำนึงให้มากเป็นล�ำดับแรก ฉะนั้น ในหัวข้อนี้ พีจ่ ะแนะน�ำเฉพาะคณะสัตวแพทย์ของมหาวิทยาทีไ่ ด้รบั การรับรองแล้วเท่านัน้ ส�ำหรับนักเรียนที่ก�ำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2555 อาจจะพบว่ามีโครงการรับตรงหลายตัว ได้เปิดรับนักเรียนไปก่อนหน้าที่ หนังสือเล่มนี้จะถูกตีพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะการรับตรงนั้นจะเปิดไม่ พร้อมกัน และมักจะเปิดกันตอน ม.6 เทอมสอง (โอ้ยยย…หนูรู้ช้าไป) แต่ จ�ำเป็นต้องใส่ไว้เป็นแนวทางส�ำหรับรุ่นต่อๆ ไปครับ อย่างน้อยจะได้รู้ว่า ช่วง ไหนโครงการอะไรเปิดบ้าง วัน เวลา อาจจะเปลี่ยนไป แต่ช่วงเดือนที่เปิดรับ สมัคร และสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ มักจะใกล้เคียงกันครับ ก็ ใช้จุดนี้ ใน การวางแผนการเรียนการอ่านหนังสือก็แล้วกัน อีกเรือ่ งหนึง่ ข้อมูลด้านคุณสมบัตขิ องผูส้ มัครและเกณฑ์การคัดเลือก ที่ ให้ไว้ในหนังสือเล่มนี้ ทางทีมงาน Born to be จะสรุป ให้เฉพาะประเด็น ส�ำคัญๆ เท่านั้น เนื่องจากในระเบียบการรับสมัครจริงๆ นั้น มีรายละเอียด ค่อนข้างมาก แต่ถึงอย่างไรเราก็บอก Link เอาไว้ เพื่อให้น้องๆ ได้ตามไปดู เอกสารจริงๆ ด้วย และขอขีดเส้นใต้ไว้เลยว่า แต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มี โครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นมา หรือ โครงการเดิมหายไปก็เป็นได้ หรือเกณฑ์การ คัดเลือกเปลีย่ นไป เพราะฉะนัน้ ให้หมัน่ ไปเยีย่ มชมเว็บไซต์ของทางคณะทีเ่ รา สนใจเพื่ออัพเดตข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ


เรียนยังไง ? ได้เป็น สัตวแพทย์


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 79

เทอมไหนเรียนอะไร… เทอมหนึ่งเรียน : Veterinary Gross Anatomy I, Veterinary Embryo logy, Veterinary Biochemistry, Introduction of Veterinary Medicine, Principles of Genetics, Foundation English III, และวิชาเลือกกลุ่ม วิชามนุษยศาสตร์ และกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ตัวสุดท้าย เทอมสองเรียน : Veterinary Gross Anatomy II, Veterinary Histology, Veterinary Neuroanatomy, Veterinary Bacteriology, Veterinary Physio logy I, Animal Behavior Restraint & Hygiene และ General Aquaculture

Veterinary Gross Anatomy I และ II วิ ช ากายวิ ภ าคศาสตร์ ท างสั ต วแพทย์ หรื อ เรี ย กสั้ น ๆ ว่ า Gross เนื้ อ หาเริ่ ม ตั้ ง แต่ การเรี ย นรู ้ ค� ำ ศั พ ท์ เ ทคนิ ค ทางกายวิ ภ าค ศาสตร์ ไปจนถึงการเรียนรู้เรื่องระบบโครงสร้างทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูก กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ข้อต่อ อวัยวะต่างๆ ภายใน ร่างกาย โดยวิชานี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เลกเชอร์กับการท�ำแล็บ

การเรียนเลกเชอร์นั้น จะเรียนเกี่ยวกับสัตว์เกือบทุกประเภท ทั้งสุนัข วัว ม้า สุกร ท�ำให้เนื้อหามีมากจริงๆ เรียกได้ว่า วิชากายวิภาควิชาเดียว ใช้ต�ำรา เรียนหนากว่าทุกวิชาในชั้นปีหนึ่งรวมกันซะอีก การเรียนในช่วงแรกๆ ก็ต้องปรับตัวกันซักหน่อย เพราะถึงแม้ว่าต�ำรา เรียนจะเป็นภาษาไทยก็ตาม แต่ศัพท์เทคนิคและชื่อเรียกต่างๆ จะเป็น ภาษา อังกฤษทั้งหมด และเนื่องจากเป็นการเริ่มเรียนรู้ศัพท์ทางสัตวแพทย์เป็นเทอม แรก จึงค่อนข้างสร้างความหนักใจให้ผมพอสมควร แต่ก็ท�ำให้คุ้นเคยกับการ เรียนในคณะได้ดี


80

Born to be สิ่ ง ที่ ข าดไม่ ไ ด้ เ ลยส� ำ หรั บ การเรี ย นกายวิ ภ าค ก็ คื อ การเรี ย นแล็ บ เนือ่ งจากการเรียนแต่เลกเชอร์ ทีเ่ น้นบรรยายและดูรปู ในต�ำราเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถท�ำให้เราเข้าใจถึงโครงสร้างทางกายวิภาคได้ดีเท่ากับการได้เห็น ของจริง ในการเรียนแล็บกายวิภาคนั้น จะเน้นที่สุนัขเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้สุนัข เป็นต้นแบบและเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้แก่ โค สุกร ม้า แพะ แกะ ไก่ และช้าง (แม้จะเน้นสุนัขเป็นหลักแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เนื้อหาในส่วน ของสัตว์ชนิดอื่นๆ จะน้อยลงไปนะครับ ยังคงเข้มข้นเช่นกัน) โดยทางคณะ จะเป็นฝ่ายจัดเตรียมสุนัขไว้ให้ และอาจารย์จะเป็นคนฉีดยาให้สุนัขสลบ หลังจากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนิสิตที่จะต้องเตรียมซากสุนัข หลังจากสุนขั สลบแล้ว ก็จะมีการเอาเลือดออกจากร่างกายสุนขั โดยกรีด เปิดเส้นเลือดใหญ่ทคี่ อ แล้วฉีดอัดฟอร์มาลีนและสีเข้าไปทางเส้นเลือดเส้นเดิม เพือ่ รักษาสภาพสุนขั ไม่ให้เน่า และสีทผี่ สมกับฟอร์มาลีนก็จะแข็งอยูใ่ นเส้นเลือด ท�ำให้เมื่อถึงเวลาเรียนเรื่องระบบเลือดก็จะมองเห็นเส้นเลือดได้อย่างชัดเจน เมื่อจัดเตรียมซากเสร็จแล้วก็น�ำซากสุนัขไปแช่ในถังเก็บ ในการเรียนแล็บ อาจารย์จะให้จับกลุ่มกัน 6 คนต่อซากสุนัขหนึ่งตัว และ ต้องใช้ซากสุนัขตัวนั้นไปจนจบเทอม สมาชิกในกลุ่มจะต้องคอยดูแลซากสุนัข ให้ดี โดยเฉพาะช่วงก่อนสอบ เนือ่ งจากทุกๆ ปีมกั จะมีนสิ ติ บางคนมาขโมยซาก สุนัขของคนอื่นไปท่อง (มักจะแอบเข้ามาในคณะตอนดึกๆ เวลาที่ปลอดผู้คน) พวกนี้มักจะผ่าหรือช�ำแหละซากจนเสียหาย บางครั้งแอบตัดขาหายไปทั้งข้าง ท�ำให้กลุ่มที่โดนขโมยซากไปไม่มีซากที่จะใช้เรียนต่อ หรือซากเสียหายจนใช้ งานต่อไม่ได้เลยก็มี อุปสรรคในการเรียนแล็บกายวิภาคคือ กลิ่น ทั้งกลิ่นของฟอร์มาลีนที่ฉุน แสบจมูก และกลิ่นคาวของซากสุนัข ใน(ช่วงแรกของ)การเรียนนั้น นิสิตแทบ ทุกคนจะใส่เครื่องแบบส�ำหรับการเรียนแล็บอย่างเต็มยศเลยทีเดียว คือมีเสื้อ กาวด์ สวมถุงมือยางป้องกันมือเปื้อน และสวมหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันกลิ่น หลังเรียน แล็บเสร็จแต่ละครั้ง กินอะไรกันแทบไม่ลง แต่หลังจากผ่านการเรียน ไปได้สักครึ่งเทอมก็จะเริ่มชิน ไม่ต้องใส่หน้ากาก หรือไม่สวมถุงมือยางก็ยังได้


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 111 ในแต่ละข้อจะถามใกล้เคียงกับตอนสอบ Patho คือต้องรู้ว่าสไลด์นี้มาจาก อวัยวะอะไร ระบบใด มีความผิดปกติอะไร มีกลไกการเกิดอย่างไร และชื่อของ โรคหรือความผิดปกตินี้ สามารถสอบผ่านวิชาส่องกล้องจุลทรรศน์มาได้แบบแทบไม่ต้องส่อง กล้องตอนสอบเลย แถมได้ถึง B+ เลยทีเดียว นี่ถ้าดูกล้องเพิ่มอีกนิดสงสัยจะ ได้ A ไปแล้ว 

Veterinary Entomology & Protozoology วิชากีฏวิทยาและโปรโตซัววิทยาทางสัตวแพทย์ วิชานี้จะแบ่งเนื้อหา ออกเป็ น สองส่ ว น คื อ กี ฏ วิ ท ยาทางสั ต วแพทย์ และโปรโตซั ว วิ ท ยา ทางสั ต วแพทย์ โดยเนื้ อ หาส่ ว นใหญ่ จ ะอยู ่ ที่ ก ารเรี ย นกี ฏ วิ ท ยาทาง สัตวแพทย์

กีฏวิทยาทางสัตวแพทย์ เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับแมลงและแมง ตลอดจนสัตว์ขาปล้องชนิดอื่นๆ ที่เป็นพยาธิภายนอกหรือปรสิตภายนอกของสัตว์ ซึ่งนอกจากจะท�ำความ เสียหายต่อสุขภาพสัตว์โดยตรงแล้ว ยังเป็นพาหะน�ำโรคที่ส�ำคัญและร้ายแรง ในสัตว์อีกด้วย ท�ำให้เกิดผลเสียหายเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยง สัตว์ เนื่องจากในประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึง่ เหมาะต่อการเจริญเติบโตและแพร่พนั ธุเ์ พิม่ จ�ำนวนของแมลง แมง และ สัตว์ ขาปล้องเหล่านี้ การเรียนกีฏวิทยาจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง จุดหลักของวิชากีฏวิทยานั้น จะเน้นที่การศึกษาวงจรชีวิต พยาธิก�ำเนิด ระบาดวิทยา การป้องกันและควบคุม การก�ำจัด การระบุวา่ เป็นแมลงสายพันธุ์ ไหน โดยดูจุดเด่นอย่างไร ซึ่งในการดูจุดเด่นหรือการระบุชนิดนั้น จะไปเน้นที่ การเรียนรู้ในส่วนของแล็บ


112 B o r n t o b e ส� ำ หรั บ ตั ว ผมเองนั้ น วิ ช ากี ฏ วิ ท ยา คื อ วิ ช าที่ ผ มชอบเรี ย นมากที่ สุ ด ในชีวิตการเรียนสัตวแพทย์เลย เนื่องจากผมชอบวิชาชีววิทยา ชอบเรื่องเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆ การเรียนกีฏวิทยาก็จะเป็นการเรียนถึงวงจรชีวิตของแมลงต่างๆ การแยกประเภท การก่อโรค การก�ำจัด จึงท�ำให้เรียนสนุก เพราะอย่างน้อยมัน ก็เป็นสัตว์จริงๆ ไม่เหมือนตอนเรียน เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัสหรือตัวพยาธิ แต่ นิสิตกว่า 80% จะเกลียดวิชานี้ สาเหตุ ที่ ห ลายคนเกลี ย ดวิ ช านี้ นอกจากหน้ า ตาของพวกแมงและ แมลงแล้ว เนื้อหาที่แทบจะมากที่สุด ต�ำราเรียนนั้นหนากว่าสมุดหน้าเหลือง ซะอีก (นี่ยังไม่นับเนื้อหาของเรื่องโปรโตซัวนะ) เพื่อนๆ มักจะบ่นกันว่า ไม่รู้จะ ให้ เ รี ย นไปท� ำ ไมในเมื่ อ ฉี ด ยาฆ่ า แมลงที เ ดี ย วแมลงหน้ า ไหนก็ ต ายหมด แต่ผมว่า ถ้าการก�ำจัดแมลงมันง่ายขนาดนั้น พวกยุงที่ก่อโรคในคน หรือเห็บ หมัดในหมาแมว มันก็ควรจะหมดไปจากโลกนี้ได้ตั้งนานแล้ว จริงไหมครับ ในการเรียนแล็บกีฏวิทยานั้น จะมีแมลงตัวเล็กๆ ตัวนึงมาให้ดูแล้วควรที่ จะต้องรู้ว่าแมลงตัวนั้นคือตัวอะไร (ลงลึกถึงระดับ genus และ species เลย ทีเดียว) ต้องรู้ว่าแมลงตัวนั้นเพศอะไร เป็นระยะไหนของวงจรชีวิต มีอวัยวะ ที่ส�ำคัญอะไร ซึ่งในการแยก genus และ species ของแมลงบางอย่าง ถึงขัน้ ทีต่ อ้ งมานัง่ ส่องกล้องนับจ�ำนวนขนทีข่ ากันเลยทีเดียว หรือบางทีตอ้ งมานัง่ วัดความยาวหนวดเส้นที่หนึ่ง และเส้นที่สองมาเปรียบเทียบกัน เพื่อระบุชนิด ของแมลงตัวนั้นๆ ก็มี เมื่อถึงการสอบวิชากีฏวิทยานั้น ในส่วนของเลกเชอร์ เรียกได้ว่าจ�ำเป็น ที่ จ ะต้ อ งท่ อ งจ� ำ วงจรชี วิ ต การระบุ ช นิ ด และการก่ อ โรคต่ า งๆ ให้ ไ ด้ จริงๆ แล้วมันไม่ยากหรอก เพียงแต่เนื้อหามันมีมาก (กว่าสมุดหน้าเหลือง เท่านั้นเอง) ส่วนในการสอบแล็บนั้น จะเป็นแล็บกริ๊ง มีทั้งดูกล้องและดูภาพสไลด์ เน้นที่การระบุชื่อ genus และ species ของแมลงแต่ละตัวให้ได้ หรือระบุชื่อ อวัยวะแต่ละอย่างของแมลงได้ หรือบางครั้งอาจจะมีรูปวิการรอยโรค (lesion) บนตัวสัตว์มาให้ดู แล้วถามว่าเกิดจากแมลงตัวใดก็ได้


184 B o r n t o b e

ปี 6 ช่วงฝึกงานเต็มรูปแบบ

การเรียนในชั้นปีหกนั้น จะเป็นการฝึกงานบนโรงพยาบาลและการออก ดูงานเกือบทั้งหมด จะมีบ้างที่ต้องท�ำรายงานในบางวิชา แต่ถือว่าจุดใหญ่ ที่เน้นที่สุดคือ การฝึกงาน เรียกได้ว่า ทุกวิชาที่ลงเรียนจะมีชื่อวิชาที่ขึ้นต้นด้วย Clinical Practice (คลินิกปฏิบัติ) การเรียนการสอนในปีหกนั้น จะไม่ได้แบ่งเป็นเทอมหนึ่งหรือเทอมสอง แต่จะแบ่งวนไปตามโรงพยาบาล ซึ่งของมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนนั้น มีสาม โรงพยาบาล คือที่กรุงเทพ นครปฐม และที่ราชบุรี ที่กรุงเทพจะเน้นสัตว์เล็กและสัตวแพทย์สาธารณสุข ที่นครปฐมจะเน้น สัตว์เศรษฐกิจและการตรวจซาก ส่วนที่ราชบุรีจะเน้นที่การฝึกกับวัวเป็นหลัก จะเรียนที่โรงพยาบาลไหนก่อนก็ขึ้นอยู่กับอาจารย์เป็นคนจัดการให้ ซึ่งจะแบ่ง เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกจะอยู่ที่กรุงเทพ ส่วนกลุ่มที่สองคือ กลุ่มต่าง จังหวัด เมื่อเรียนครบตามเวลา ก็จะหมุนเวียนสลับโรงพยาบาลกันไปจนครบ ทุกโรงพยาบาล


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 199

การฝึกงานกับสัตว์ใหญ่และสัตว์เศรษฐกิจ เมื่อมาถึงการฝึกงานในเทอมสุดท้าย ก็จะมีการจับฉลากจัดกลุ่มย่อยกัน ใหม่อีก กลุ่มละประมาณ 4-5 คน แบ่งการฝึกเวียนสลับหน่วยกันไปจนครบ เวลาส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกที่นครปฐม เพราะมีหลายหน่วย ได้แก่ หน่วยสุกร, หน่วยสัตว์ปีก, หน่วยสัตว์น�้ำ และหน่วยม้า ส่วนหน่วยโคก็จะไปเรียนที่ราชบุรี โดยทุกๆ อาทิตย์ กลุ่มนครปฐมและราชบุรีจะต้องมารวมตัวกัน เพื่อท�ำการ รายงานหน้าชั้นเกี่ยวกับเคสที่ไปเจอมา คล้ายๆ ตอนเรียนสัตวเล็กที่กรุงเทพ แต่การรายงานทีน่ จี่ ะหลากหลายกว่า เพราะมีกลุม่ ย่อยเกีย่ วกับสัตว์ชนิดต่างๆ หลายกลุ่ม

การฝึกหน่วยสุกร

ในการฝึกงานหน่วยสุกรนั้น จะมีงานหลักๆ อยู่สองอย่าง คือ หนึ่ง การออกตรวจฟาร์ ม หมู พ ร้ อ มๆ กั บ ที ม งานหมอหมู (อาจารย์ แ ละพี่ ห มอ ประจ�ำหน่วย) ซึ่งการออกตรวจฟาร์มนั้น จะมีการออกตรวจโรคหรือปัญหา หลังจากมีการแจ้งเรื่องเข้ามา และการตรวจเช็คผลผลิตของฟาร์มที่อยู่ในการ ดูแล (ให้นึกถึงวิชา Principles of Herd Health & Production Management) ที่เข้าไปตรวจเช็คข้อมูลและแปลผล และสอง รอรับเคสและผ่าซากอยู่ที่หน่วย ชันสูตรโรค โดยจะมีเวรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ตอนเช้าก่อนออกไปตรวจฟาร์ม ก็จะมีการรายงานสรุปผลของเคสที่ผ่านมา และมีการเตรียมตัวก่อนเข้าตรวจ ฟาร์ม โดยจะมีประวัติ และความผิดปกติคร่าวๆ จากทีเ่ จ้าของฟาร์มได้แจ้งเอา ไว้ อาจารย์กจ็ ะถามว่า สงสัยโรคหรือปัญหาอะไรบ้าง ถ้าเข้าไปฟาร์มจะไปตรวจ ที่จุดไหนก่อน จะต้องเก็บตัวอย่างส่วนไหนกลับมาตรวจหรือไม่ วางแนวทาง การแก้ไขปัญหาอย่างไร เมื่อได้ค�ำตอบเป็นที่น่าพอใจแล้ว จึงจะเริ่มงานกัน (ส่วนเมือ่ ไปถึงฟาร์ม เราก็ตอ้ งดูอาจารย์หรือพีห่ มออีกทีหนึง่ ว่า การท�ำงาน การ แก้ไขปัญหาของอาจารย์นั้น เป็นแบบที่เราตอบไปหรือเปล่า)


200 B o r n t o b e ถ้ากรณีของการออกตรวจโรคนัน้ ในหนึง่ วัน ทีมตรวจจะไปแค่หนึง่ ทีเ่ ท่านัน้ (ทีมงานหมอหมูจะมีหลายทีม) เพื่อป้องกันการน�ำโรคจากฟาร์มแรกไปติดยัง ฟาร์มถัดๆ ไป แต่ถา้ เป็นการเข้าไปให้คำ� ปรึกษาและแปลผลข้อมูลการผลิตนัน้ สามารถเข้าไปได้หลายที่ต่อหนึ่งวัน เนื่องจากไม่ต้องเข้าไปในส่วนของคอก เลี้ยงโดยตรง ส่วนการผ่าซากและชันสูตรโรคนั้น ก็ต้องท�ำงานร่วมกันและมีการแลก เปลีย่ นข้อมูลร่วมกับทีมออกตรวจฟาร์ม เนือ่ งจากโดยมากเคสทีม่ าขอรับบริการ เริม่ ต้นก็จะคัดหมูปว่ ยมาทีห่ น่วยชันสูตรโรค พร้อมกับแจ้งปัญหาเบือ้ งต้นเอาไว้ ดังนั้นการตรวจหาโรคหรือปัญหาก็ต้องใช้ข้อมูลทั้งจากการชันสูตร และการ ตรวจเยี่ยมฟาร์มมารวมกันและแปลผล ส�ำหรับการท�ำงานในห้องชันสูตรซากนัน้ เมือ่ เจอตัวอย่างหมูปว่ ยแล้วก็จะ ตรวจร่างกายเบื้องต้น หาความผิดปกติภายนอกและอาการผิดปกติทุกอย่าง เมื่อตรวจเสร็จแล้วก็จะฉีดยาให้หมูเสียชีวติ เพือ่ ทีจ่ ะท�ำการผ่าซากเพือ่ ชันสูตร โรคต่อไป ในการผ่าซากนั้น ก็จะดูความผิดปกติต่างๆ ของอวัยวะภายใน เพราะ โรคแต่ละอย่างจะมีวิธีการหรือรอยโรคที่แตกต่างกันไป และอาจมีการเก็บ ตัวอย่าง เชื้อจากอวัยวะที่สงสัยแล้วน�ำไปส่งตรวจเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุโรค อีกทีหนึ่ง ซึ่งในการส่งเพาะเชื้อนั้น นอกจากเป็นการหาสาเหตุของโรคแล้ว ยังท�ำการตรวจหาความไวของยาต่อเชื้อนั้นๆ ได้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลในการสั่ง จ่ายยา เพื่อแก้ปัญหา หลังจากฝึกงานหน่วยสุกรก็จะมีการสอบ ซึ่งก็เป็นการสอบ Oral อีกเช่น กัน มีทั้งการถามความรู้ทั่วไป หลักการจัดการฟาร์มหมู เรื่องโรค และยาต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังการยกตัวอย่างเคสหรือปัญหาขึ้นมาถามด้วย หากสอบไม่ผ่าน ก็ต้องท�ำรายงานซ่อมอีกตามเคย


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 203 เมือ่ ม้าสลบแล้วก็จะใช้สลิงยกตัวม้าเข้าไปในห้องผ่าตัด ซึง่ นิสติ ฝึกงานก็จะ คอยดูและสังเกตอยู่รอบๆ เมื่อผ่าตัดเสร็จก็จะใช้สลิงยกม้าไปที่ห้องพักฟื้น ต้องรอจนม้าฟื้นตัวดีเต็มที่แล้วถึงจะพาม้าเข้าคอกพักสัตว์ได้ ซึ่งการดูแลหลัง ผ่าตัด การให้ยาต่อเนื่องนั้น ก็จะเป็นหน้าที่ของนิสิตฝึกงาน บางเคสต้องมี การให้ยาหรือท�ำแผลทุก 4 ชั่วโมง บางทีเที่ยงคืน ตีหนึ่งตีสองยังต้องขี่รถจาก หอพักออกมาให้ยาม้าที่คอกสัตว์ทดลองเลยก็มี

การฝึกหน่วยโค

การฝึกหน่วยโคนั้น จะไปท�ำการฝึกที่โรงพยาบาลที่ราชบุรี เนื่องจากเป็น แหล่งที่มีการเลี้ยงวัวมาก ท�ำให้มีเคสที่จะฝึกมากตามไปด้วย การฝึกที่หน่วย โคนั้น จะแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณกลุ่มละ 4-5 คน คอยติดตาม พีห่ มอหรืออาจารย์ไปตลอดอาทิตย์ และก็จะมีการสับเปลีย่ นกลุม่ หมุนเวียนกัน ลักษณะการฝึกนั้น พี่หมอหรืออาจารย์จะมีรถกระบะ หรือรถตู้ใช้ในการ ออกหน่วย นิสติ แต่ละกลุม่ ก็จะอยูป่ ระจ�ำรถแต่ละคันตามเวรทีก่ ำ� หนด ทุกๆ เช้า จะต้องล้างท�ำความสะอาดรถให้สะอาด จัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ทจี่ ำ� เป็นต้อง ใช้ให้เพียงพอต่อการออกหน่วยในแต่ละวัน โดยยาก็จะเอาใส่กล่องแช่เย็นไว้ เคสที่จะออกตรวจในแต่ละวันนั้น ปกติจะเป็นเคสที่นัดล่วงหน้าไว้อย่างน้อย หนึ่งวัน ยกเว้นเป็นเคสฉุกเฉินจริงๆ การฝึกงานหน่วยโคนั้น น่าจะเป็นหน่วยที่หนักที่สุด ไม่มีทางที่จะได้เลิก ฝึกตามเวลาเด็ดขาด เนื่องจากเคสที่มีจ�ำนวนเยอะ และต้องใช้เวลาเดินทาง มาก บางวันจะเลิกอยู่แล้วมีเคสฉุกเฉินเข้ามาอีก กว่าจะเสร็จก็ปาเข้าไปเที่ยง คืนตีหนึ่งก็มี ในการฝึกหน่วยโคทั่วๆ ไป จะทราบประวัติหรือปัญหาคร่าวๆ ก่อนแล้ว เนื่องจากเป็นเคสที่นัดล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านเกษตรกร หน้าที่ของ นิสิตฝึกงานคือ การตรวจร่างกายวัวอย่างละเอียด และรายงานผลตรวจต่อ พีห่ มอหรืออาจารย์ จากนัน้ ก็จะคุยสรุปปัญหากันว่าน่าจะเป็นอะไร เมือ่ สรุปได้ แล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ของนิสิตฝึกงานที่จะต้องฉีดยา หรือป้อนยาวัวให้ได้


204 B o r n t o b e เนื่องจากการรักษาวัวนั้น หลายๆ ปัญหาในการรักษาจะต้องใช้แรงงาน อย่างมาก ดังนั้นการมีนิสิตฝึกงานก็จะช่วยเบาแรงของพี่หมอได้มากทีเดียว เพราะหากต้องท�ำงานคนเดียว ไม่มีนิสิตช่วย หลายๆ ปัญหาก็อาจจะไม่ สามารถท�ำได้ เช่น การช่วยคลอดแม่ววั ในกรณีทมี่ ปี ญ ั หาคลอดยาก แล้วต้องจัดท่าของ ลูกวัวแล้วช่วยดึงออกมา หรือแม่วัวตั้งท้องที่มีปัญหามดลูกบิด ซึ่งการรักษา ต้องจับแม่วัวลงไปนอนกลิ้งกับพื้น โดยต้องมีคนล้วงผ่านช่องคลอดไปยึด มดลูกไว้ไม่ให้หมุนตามตัวของแม่วัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้คงไม่สามารถท�ำเองได้ แน่ๆ ถ้าอยู่คนเดียว ดังนั้น พี่หมอหน่วยวัวจะค่อนข้างใจดี และเป็นกันเองกับ นิสิตฝึกงานปีหกมาก

การสอบ Oral และสอบใหญ่ ส�ำหรับการฝึกทีน่ ครปฐมและราชบุรนี นั้ บางหน่วยเมือ่ ฝึกเสร็จก็จะมีการ สอบ Oral ก่อน บางหน่วยก็จะไม่มีการสอบ แต่เมื่อฝึกทุกหน่วยเสร็จหมดแล้ว จะมีการสอบใหญ่อีกหนึ่งครั้ง ซึ่งจะสอบพร้อมกันทุกชนิดสัตว์ทุกเรื่อง หมู ไก่ สัตว์น�้ำ ม้า และวัว ซึ่งข้อสอบจะกว้างมากสามารถเอาตรงไหนมาออกสอบ ก็ได้ ไม่ว่าเป็น อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ การจัดการ โดยจะออกข้อสอบชนิด สัตว์ละ 20 ข้อ รวมทั้งหมดเป็น 100 ข้อ หากสอบไม่ผ่านก็ต้องสอบซ่อมไป เรื่อยๆ จนกว่าจะผ่านหมด หากสอบทีละชนิดสัตว์คงพอจะท่องกันไหว แต่พอมาสอบรวมพร้อมกัน หมดในทีเดียวความรู้เลยตีกันมั่ว รอบแรกไม่มีใครสอบผ่านกันซักคน สุดท้าย ก่อนสอบซ่อมครัง้ ทีห่ นึง่ นิสติ ฝึกงานกลุม่ นครปฐมและราชบุรที กุ คนก็เลยมาคิด แผนและตกลงกันว่า เมื่อเข้าไปสอบแล้ว แต่ละคนจะต้องจดจ�ำโจทย์ข้อสอบ ข้อไหนบ้าง (เฉลี่ยคนละสองสามข้อ) เมื่อออกมาจากห้องสอบแล้วก็จดลง กระดาษ แล้วทุกคนเอามารวมกันก็จะได้เป็นข้อสอบของครั้งนั้น แล้วก็ไปนั่ง เปิดต�ำราหาค�ำตอบและนั่งท่องกันต่อ สุดท้ายพอถึงการสอบซ่อมครั้งที่สองก็ สอบผ่านไปได้กันทุกคน (พวกเราฉลาดกันจริงๆ ครับ)


242 B o r n t o b e

จบแล้ว.. ได้เวลา..

หางานท�ำ!!

หลังจากมุมานะบากบั่นเรียนกันมายาวนานถึง 6 ปี ในที่สุดก็เรียนจบจนได้ ซึ่งก็มีหลายคนที่ไม่ใช่แค่ 6 ปี อาจ จะ 7 ถึง 8 ปี หรือแม้แต่ 12 ปี ก็เคยมีมาแล้ว การเรียน จบคงไม่ใช่ฉากสุดท้าย หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็น สัตวแพทย์จริงๆ เสียมากกว่า เนื่องจากสัตวแพทย์ไม่ต้องใช้ทุนเหมือนกับนักศึกษา แพทย์ ดังนั้น เมื่อเรียนจบ หากไม่คิดจะเรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก ก็ต้องหางาน ซึ่งโดยมากบริษัท คลินิก และ โรงพยาบาล ก็มักจะมาประกาศรับสมัครงาน ให้มีการยื่น ใบสมั ค ร มี ก ารสอบสั ม ภาษณ์ กั น ตั้ ง แต่ ก ่ อ นเรี ย นจบ ด้ ว ยซ�้ำ ไป ดังนั้นในช่วงเทอมสุดท้ายของการเรี ยนการ ฝึกงาน ก็เป็นช่วงที่มีเรื่องให้ต้องท�ำ หลายสิ่งหลายอย่าง เหมือนกัน เช่น


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 245

ะ ท เ บ น ้ ึ ี ย ข น ร า

พ ท แ ย ว ต ั ส ็ น เป

เต็มตัว

อย่างทีบ่ อก ว่านิสติ ปีสดุ ท้ายต้องท�ำการยืน่ ค�ำขอสมัครเป็นสมาชิก และ ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ซึ่งเป็นข้อ บังคับส�ำหรับสัตวแพทย์ทุกคน โดยจะต้องมีเลขที่ ใบอนุญาต หากไม่มีก็จะอยู่ ในฐานะหมอเถื่อน ในการขอใบอนุญาตนั้น ในรุ่นผมจ�ำเป็นที่จะต้องรีบขอให้เร็วที่สุด เพราะขัน้ ตอนด�ำเนินการออกใบอนุญาตนัน้ ใช้เวลานานพอสมควร ขนาดขอ กันตั้งแต่ก่อนเรียนจบ กว่าใบอนุญาตจะออก จบแล้วยังต้องรอกันต่ออีกสอง ถึงสามเดือนเลยทีเดียว หากมัวแต่ชักช้าไปขอทีหลังก็จะยิ่งได้ช้าไปอีก จะเริ่ม ท�ำงานก็ ไม่ได้ เดี๋ยวคนอื่นจะหาว่าเป็นหมอเถื่อนไม่มี ใบอนุญาต ปัจจุบัน การขอใบอนุญาตนั้นสะดวกกว่ารุ่นผมมากมาย เนื่องจาก สามารถดาวน์โหลดใบค�ำขอสมัครเป็นสมาชิก และขอขึน้ ทะเบียนรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ได้ที่เว็บไซต์ของสัตวแพทยสภาโดยตรง ที่ www.vetcouncil.or.th หัวข้อดาวน์โหลดเอกสาร หลังจากกรอกเอกสาร และจัดส่งเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการช�ำระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต แล้วก็นอนรอใบอนุญาตส่งตรงมาให้ที่บ้านได้เลย


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 255

เริ่มต้นชีวต ิ

ั วแพทย์เต็มตัว สต การเริ่มต้นท�ำงาน อาจจะเรียกว่าเป็นการฝึกงานหรือทดลองงานก็ ได้ เพราะหลายๆ บริษทั จะมีการช่วยสอนช่วยเทรนในช่วงนี้ ให้ ซึง่ ในช่วงสอนหรือ เทรนนี้ อัตราเงินเดือนก็จะเป็นระดับนึงหากผ่านการฝึกงานได้รับเข้าท�ำงาน เต็มตัวอัตราเงินเดือนก็อาจจะเพิ่มเป็นอีกระดับนึง ซึ่งทั้งเรื่องการเทรนงาน การสอบ อัตราเงินเดือนในแต่ล่ะช่วง ขึ้นอยู่กับการพูดคุยสอบถามท�ำความ ตกลงกันตั้งแต่ช่วงสัมภาษณ์การสมัครงาน แต่ละที่ก็จะแตกต่งกันไป ปัญหาของคุณหมอจบใหม่โดยทัว่ ไปก็จะคล้ายๆ กัน วิชาความรูอ้ ดั แน่น มาเต็มหัว (อาจจะมีบางคนทีบ่ อกว่าจบออกมาแบบหัวโล่งๆ ไม่มอี ะไรติดหัวมา ด้วยเลย ) แต่เวลาเจอเคสจริงๆ สถานการณ์จริงๆ อาจจะเริ่มต้นไม่ถูก จัดระบบความคิดไม่ถูก ว่าจะต้องท�ำยังไง คือวินิจฉัยและอธิบายกับเจ้าของ สัตว์ยังไง ไปจนถึงจะรักษาหรือสั่งจ่ายยายังไงดี ซึ่งสถานการณ์ตรงนี้ ไม่ เหมือนกับการสอบ ที่ยังมีเวลานั่งคิดค�ำตอบ หากตอบไม่ได้ก็ข้ามไปก่อน (จนถึงมัว่ ไปก่อน) แต่กบั การรักษาทีม่ สี ตั ว์ปว่ ยรอคอยการรักษาอยูบ่ นโต๊ะตรวจ มีเจ้าของสัตว์ที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ดังนั้นไม่ว่าเป็นการตอบค�ำถาม หรือการอธิบายให้เจ้าของสัตว์ปว่ ยรับรูว้ า่ ผลการตรวจเป็นอย่างไร การวินจิ ฉัย เบื้องต้นเป็นอย่างไร จะท�ำการรักษาอย่างไร การดูแลจะต้องท�ำอย่างไร จะต้องตอบอย่างมีหลักการและมีเหตุผลรองรับ จึงจ�ำเป็นต้องมีชว่ งการฝึกงาน หรือเทรนงานขึ้นมา ก็เป็นเหมือนๆ การช่วยจัดระบบความคิด และแนวทาง การปฏิบตั เิ มือ่ ต้องเจอเคสในแบบต่างๆ มากกว่าการทีม่ านัง่ สอนรายละเอียด ตามทฤษฎีหรือตามต�ำราเหมือนๆ กับสมัยที่ยังเรียนอยู่


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 273

เริ่มท�ำงาน นายจ้าง การท� ำ งานรั ก ษาสั ต ว์ ไม่ ไ ด้ หมายความว่ า คุ ณ จะท� ำ งานกั บ สั ต ว์ เพี ย งอย่ า งเดี ย วโดยไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ ง ประสานงานหรือร่วมมือกับคน โดย เฉพาะการท� ำ งานในระบบเริ่ ม ต้ น ที่ ต ้ อ งเป็ น ลู ก จ้ า งของคลิ นิ ก หรื อ โรงพยาบาลสัตว์ บุ ค คลแรกที่ ต ้ อ งประสานงาน ด้วยคือนายจ้างของคุณเอง ซึ่งอาจจะ เป็นสัตวแพทย์เหมือนกัน หรืออาจจะ เป็นคนธรรมดาที่ ไม่ได้จบสัตวแพทย์ ก็ ได้ กรณีที่นายจ้างเป็นสัตวแพทย์ เหมือนๆ กันก็อาจจะพูดคุยกันได้ง่าย หน่ อ ย เพราะมี ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจ ในด้านการท�ำงานเหมือนๆ กัน ส่วน นายจ้างที่ ไม่ใช่สัตวแพทย์ก็อาจจะมี แง่มุมบางอย่างที่สื่อสารกันยากนิดนึง น้ อ งๆ สั ต วแพทย์ ห ลายคน ที่ จ บมาใหม่ ๆ ความรู ้ เ ชิ ง วิ ช าการ แน่นเอี๊ยด แต่ยังขาดประสบการณ์

ในการเจอกั บ เคสจริ ง ๆ รวมไปถึ ง ประสบการณ์ในด้านธุรกิจ เกี่ยวกับ การท� ำ งานเพื่ อ ให้ ค ลิ นิ ก หรื อ โรงพยาบาลสัตว์นั้นๆ มีผลประกอบ การที่อยู่รอดได้ไม่ขาดทุนจนต้องปิด กิ จ การไปซะก่ อ น ซึ่ ง ในเรื่ อ งนี้ เ อง ที่ อ าจจะท� ำ ให้ แ นวคิ ด ความเห็ น หลายๆ อย่างอาจจะไม่ตรงกับทาง หัวหน้า(นายจ้าง)ของเราเองก็ ได้ ยก ตั ว อย่ า งเช่ น เวลามี ก ารเรี ย นการ สอน อาจารย์มักจะบอกว่าการให้ยา ต่างๆ นั้นใช้เท่าที่จ�ำเป็น ในขณะที่ เมื่ อ มาท� ำ งานแล้ ว ทางคลิ นิ ก อาจจะ บอกว่าจัดเต็มได้เลย ท�ำกลุ่มยารักษา ที่สาเหตุ กลุ่มบรรเทาตามอาการ กลุ่ม บ� ำ รุ ง ร่ า งกาย กลุ ่ ม ตอบสนองตาม ความต้องการของเจ้าของ ฯลฯ ซึ่ง ตรงนี้ถือว่าทางน้องๆ หมอจบใหม่คง ต้องค่อยๆ ปรับตัวให้สมดุลระหว่าง แนวทางการรักษาตามต�ำราที่ร�่ำเรียน มาและแนวทางการรักษาของสถาน ประกอบการที่เราท�ำงานด้วย


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 277

ผู้ช่วยน่าจะเป็นคนที่ท�ำงานใกล้ ชิดกับสัตวแพทย์มากที่สุด ต�ำแหน่ง ผู ้ ช ่ ว ยสั ต วแพทย์ ถื อ ว่ า ขอบข่ า ยงาน ค่อนข้างกว้าง คุณสมบัติก็ ไม่ตายตัว แล้วแต่สถานประกอบการแต่ละที่จะ ก� ำ หนดขึ้ น มาเอง มี ตั้ ง แต่ วุ ฒิ ป.6 ม.3 ยันปริญญาตรีก็มี หากเป็นคลินิก เล็กๆ ที่มีกันแค่ไม่กี่คน เช่น หมอ 1 คน ผู ้ ช ่ ว ย 1 คน ผู ้ ช ่ ว ยอาจจะรั บ หน้ า ที่ ทุ ก อย่ า ง ตั้ ง แต่ เ ป็ น ผู ้ ช ่ ว ย พนักงานขายของ พนักงานท�ำความ สะอาด ไปจนถึงเป็นผูช้ ว่ ยผ่าตัดในห้อง ผ่าตัด แต่ถา้ เป็นระดับโรงพยาบาลสัตว์ ที่มีการจัดระบบงานดีๆ ก็อาจจะแยก กันชัดเจนระหว่างต�ำแหน่งผู้ช่วยและ พนักงานอื่นๆ ส� ำ หรั บ ตั ว ผู ้ เ ขี ย นเองแล้ ว ใน การท� ำ งานคลิ นิ ก ถื อ ว่ า ผู ้ ช ่ ว ยเป็ น คนที่มีความส�ำคัญมากๆ หากขาดผู้ ช่วยไปแล้ว งานหลายๆ อย่างหาก อยู ่ ค นเดี ย วก็ ไ ม่ ส ามารถท� ำ เองได้ หรือท�ำด้วยความยากล�ำบากพอสมควร

ยกตั ว อย่ า งเช่ น การเจาะเก็ บ ตัวอย่างเลือด หรือการผ่าตัด ความยาก ง่ายระหว่างการมีผู้ช่วยกับไม่มีนี่คนละ เรื่องกันเลย ส่วนตัวแล้วตัวผู้เขียนเอง สมัยทีท่ ำ� งานคลินกิ ไม่เคยมีปญั หาอะไร กับผูช้ ว่ ยเลย ออกจะสนิทกับผูช้ ว่ ยด้วยซ�ำ้ คอยดูแลเอาใจใส่เหมือนน้องเหมือน นุ่งคนนึง เนื่องจากงานจับบังคับสัตว์ ของผู้ช่วยนั้น ถือว่าเป็นคนที่เสี่ยงที่สุด ต่อการโดนสัตว์ป่วยแว้งกัดหรือท�ำร้าย โดยตัวสัตวแพทย์เองที่ผ่านการเรียน การสอนเรื่องพฤติกรรมการจับบังคับ สัตว์ จะต้องเป็นคนสอนการเข้าหา สัตว์การจับบังคับให้กับผู้ช่วย ทั้งเพื่อ ความปลอดภัยในการท�ำงานของตัว หมอและผูช้ ว่ ยรวมไปถึงตัวสัตว์ปว่ ยเอง ด้วย หรือในการตรวจรักษาโรคทัว่ ไป ก็ มีโรคในสัตว์หลายๆ โรคทีเ่ ป็นโรคสัตว์ สู่คน (Zoonosis) คือ โรคที่สามารถ ติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ ตัวหมอเอง ซึ่งมีความรู้ ก็ควรที่จะอธิบายหรือคอย เตือนให้ผู้ช่วยรู้และคอยระมัดระวังตัว เองป้องกันการติดโรคจากสัตว์ปว่ ยด้วย


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 289

สัตวแพทย อัพเกรด

ฝึกอบรม

ปริญญาโท

ในทุกๆ สาขาวิชานั้น การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาตนเองเป็นสิ่ง ส�ำคัญ โดยเฉพาะในสภาวะปัจจุบนั เนือ่ งจากมีการแข่งขันกันสูงในทุกๆ เรือ่ ง แค่เราหยุดนิง่ อยูก่ บั ที่ ในขณะทีค่ นอืน่ ๆ พัฒนาไปข้างหน้านัน้ ก็เหมือนกับเรา ก�ำลังก้าวถอยหลังแล้ว อาจมีหลายคนที่คิดว่า ในการท�ำงานทุกวันนั้นก็คือการสร้างเสริม ประสบการณ์อยู่ตลอดแล้ว ยังไม่เพียงพออีกหรือ? แต่เคยได้ยินไหมครับกับ ประโยคที่ว่า "ประสบการณ์ไม่ใช่ครูที่ดีที่สุด" เนื่องจากบางคนอาจจะท�ำงาน มาหลายปีหรือท�ำงานมาชั่วชีวิตแต่ก็ ไม่ได้เกิดแนวคิดอะไร ดังนั้น แค่เพียง ประสบการณ์อาจจะไม่ใช่การพัฒนาตนเองที่ดีพอ เคยมีคนกล่าวไว้ว่า "คนฉลาดเรียนรู้จากความผิดพลาดของตน คนฉลาดกว่าเรียนรู้จาก ความผิดพลาดของผู้อื่น และคนฉลาดที่สุดเรียนรู้จากความส�ำเร็จของผู้อื่น" อย่าเพิง่ งงนะครับ ทีผ่ มต้องการจะบอกก็คอื บางทีการเรียนต่อก็จำ� เป็น ในสาขาอาชีพนี้เหมือนกัน ในการพัฒนาตนเองของสัตวแพทย์นั้น หลักๆ ก็ มีอยู่สองส่วนคือ องค์ความรู้และประสบการณ์ ซึ่งสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ จากการเรียนต่อ การฝึกอบรม การดูงาน เป็นต้น


สั ต ว แ พ ท ย ์ 2 0 1 3 299

ถ้าเลือกที่จะเรียนต่อ สถาบันส่วนใหญ่จะก�ำหนดเกรดขั้นต�่ำในการ รับสมัครไว้ด้วย เช่นเกรดไม่ต�่ำกว่า 2.5 หรือถ้าต�่ำกว่าต้องมีประสบการณ์ ในการท�ำงานอย่างน้อย 3 ปี ทั้งนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบัน ยิ่ง ทุนดีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งก�ำหนดเกรดขั้นต�่ำในการสมัครไว้สูงมากขึ้น ดังนั้น ในขณะเรียนปริญญาตรีอยู่นั้น ใครที่คิดว่า เอาแค่เกรดมากกว่า 2.0 แค่ ให้ ส ามารถรั บ ปริ ญ ญาได้ ก็ พ อนั้ น มั ก จะท� ำ ให้ มี ป ั ญ หาในการเรี ย นต่ อ เพราะหลายที่จะก�ำหนดเกรดขั้นต�่ำเอาไว้สูงกว่านั้น นอกจากเกรดแล้ว การเรียนต่อก็มหี ลากหลายทางเลือก ให้ลองดูขอ้ มูล จากหลายๆ หน่วยงาน ซึ่งโดยปกติแล้วสัตวแพทย์สามารถเลือกที่จะเรียนต่อ ได้ในวิธีการดังนี้

การสมัครเรียนต่อเอง

คนที่ ยั ง มี ไ ฟในการเรี ย นอยู ่ นั้ น เมื่ อ ก� ำ ลั ง จะเรี ย นจบปริ ญ ญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ ก็จะตัดสินใจสมัครเรียนต่อปริญญาโททันที ซึ่งการที่ จะเลือกสมัครเรียนสาขาด้านไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของตนเอง และ สาขาที่รองรับ ทั้งนี้การติดตามข่าวสาร กฎระเบียบการรับสมัครนั้น สามารถ ดูได้หลักๆ สองทาง หนึ่งคือการหารายละเอียดจากบัณฑิตวิทยาลัยของแต่ละ มหาวิทยาลัย และสองคือการดูข้อมูลที่หน่วยบริการการศึกษาของคณะ เรียก ว่าเมือ่ ก�ำลังจะเรียนจบอยากหางานหรืออยากเรียนต่อ ใครๆ ก็ ไปหาข้อมูลกัน ที่หน่วยบริการการศึกษาของคณะ ซึ่งการเรียนต่อปริญญาโทนั้นอาจจะเป็นการเรียนต่อโทคณะสัตว แพทยศาสตร์โดยตรง หรือเรียนต่อโทของคณะอื่นๆ แต่เป็นสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องก็ ได้ เช่น ระบาดวิทยา ไวรัสวิทยา โภชณศาสตร์ เป็นต้น กรณี การสมัครเรียนต่อแบบนี้ คือการสมัครเรียนเอง เสียเงินจ่ายค่าเรียน เอง แต่ข้อดีคือจบมาแล้วก็เป็นนายตัวเอง จะเลือกท�ำงานอะไรที่ ไหนก็ ได้ ไม่ต้องท�ำงานใช้ทุน


300 B o r n t o b e

การสอบชิงทุน ยกตัวอย่างที่มีทุนมากหน่อยก็เช่น ทุน ก.พ. (ทุนของส�ำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน) ทุนประเภทนี้ จะมีการสอบแข่งขันกันสูงมาก เนื่องจากจ�ำนวนคนที่สมัครสอบชิงทุนมีจ�ำนวนเยอะมาก หรืออย่างทุนเล่า เรียนหลวง (King's Scholarship) ถ้าไม่ใช่ประเภทหัวกะทิจริงๆ ก็หมดสิทธิ์

ต่อ

การเข้าท�ำงานในหน่วยงานทีม่ ที นุ ในการเรียน

ปัจจุบันไม่ว่าจะท�ำอะไรก็มีการแข่งขันกันสูงมาก ดังนั้นหน่วยงานใดที่ มีทุนดีๆ ในการเรียนต่อก็จะมีการแข่งขันกันสูงมากเช่นเดียวกัน ที่ๆ มีทุนดี อันดับหนึ่ง คงไม่พ้นการท�ำงานเป็นอาจารย์ในคณะสัตวแพทยศาสตร์ แต่ การสมัครเป็นอาจารย์ก็ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย แข่งขันกันสูงพอสมควร ส่วนกรณีเป็น พนักงาน เช่น นายสัตวแพทย์ประจ�ำโรงพยาบาลหรือหน่วยต่างๆ ในคณะนัน้ โดยมากจะได้รับการอบรมเป็นคอร์สสั้นๆ มากกว่า นอกจากนี้ การท�ำงานในหน่วยงานข้าราชการ ก็จะมีทนุ ให้คอ่ นข้างมาก แต่อย่างทีท่ ราบกันดีอยูแ่ ล้วว่าการท�ำงานในระบบราชการนัน้ บางครัง้ มีเรือ่ ง ของเส้นสายเข้ามาเกีย่ วข้องด้วย ถึงแม้วา่ ทุนทีม่ นี นั้ เกีย่ วข้องกับสายงานทีเ่ รา ท�ำโดยตรง แต่ทางหัวหน้าหรือผู้ใหญ่ก็อาจจะไม่ได้ให้เราไปอบรมก็ ได้  แม้แต่การท�ำงานในบริษทั เอกชนก็ยงั มีทนุ ให้ไปเรียนต่อ หรือฝึกอบรม ได้ แต่โดยมากจะเป็นคนทีท่ ำ� งานด้านฝ่ายวิชาการมากกว่า ส่วนพวกพนักงาน ขาย (ถ้าท�ำยอดได้ดี) จะได้โบนัสไปเที่ยวต่างประเทศแทน การฝึกอบรมเป็นคอร์สระยะสั้นและระยะยาว กรณีนี้มักเป็นการอบรมการฝึกปฏิบัติพัฒนาฝีมือในการท�ำงานแต่ละ ด้าน สามารถสมัครฝึกได้ด้วยตนเอง (จ่ายตังค์เอง) หรือหน่วยงานที่สังกัด ส่งไปอบรม การฝึกอบรมประเภทนี้พบได้บ่อยในการท�ำงานด้านสัตว์เล็ก คลินิก หรือ โรงพยาบาลใหญ่ๆ มักจะมีการส่งสัตวแพทย์ไปฝึกอบรมในด้าน ต่างๆ เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้สูง ขึ้น (ปัจจุบันแม้แต่ผู้ช่วยสัตวแพทย์หรือคนงาน ยังมีการฝึกอบรมพัฒนาขีด ความสามารถกันเลย)


พ�่รหัส น.สพ.กิติกร เกียรติยิ�งอังศุลี

สัตวแพทย ใช มั�ย? Vet Science ณ เมืองเนิร นแบร ก ประเทศเยอรมัน

14.5 cm.

โดย สัตวแพทยหญิงธวัลรัตน เกียรติยิ่งอังศุลี (พี่กต)

ป6

สัตวแพทย

Mission ชิงทุนเรียนต อต างประเทศ ศาสตร แขนงใหม Bioinformatics เทคนิคการตรวจโรค ที่ทันสมัย ณ เมืองลิเวอร พ�ล ประเทศอังกฤษ

สัตวแพทย

ป5

ป 3 ป 2 หมวดแนะแนวการศึกษา

ป 1

ราคา 230 บาท

born to be bynatureonline.com

21 cm.

พ�่รหัส น.สพ.กิติกร เกียรติยิ�งอังศุลี

ป4

2 cm.

ทุกความฝ น เป นจริงได สัตวแพทย จากประสบการณของนักศึกษาสัตวแพทย

• เตรียมตัวกอนลงสนามรับตรง-แอดมิชชั่น • เต็มอิ่มชีวิตสัตวแพทยจากทฤษฎีสูภาคปฏิบัติ • สัตวแพทยอาสาพาลุย ยกระดับปศุสัตวชาวบาน • my way กาวแรกสัตวแพทยจบใหม • สัตวแพทยอัพเกรด ฝกอบรบ/ปริญญาโท/ชิงทุน 21 cm.

File : AW_Born2be_vet_Cover.ai Size : 14.5 x 21 cm. Date : 28/9/12


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.