Born to be วิศวะคอมฯ

Page 1


ฝันที่อยู่ไกล... ขอเพียงใจไม่ยอมแพ้

วิศวคอมพิวเตอร์ Natthawute Sae-Lim : เขียน peeByNature : บอกอ


born to be ÇÔÈÇФÍÁÏ มิถุนายน 2554 ISBN 978-616-90160-6-9 จำนวนหน้า 304 หน้า ราคา 199 บาท

เขียนโดย : ณัฐวุติ แซ่ลิ้ม บรรณาธิการ : ภีรพล คชาเจริญ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ : สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข รูปเล่ม/ภาพประกอบ : ByNature Printing Service

สนพ. บายยัวร์เซลฟ์ (ByYourself) ห้างหุ้นส่วนจำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด จัดจำหน่าย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหา และภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากสำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์ พับลิชชิ่ง


หมั่นไส้… เด็กเรียน ‘วิศวะ’ ผมรูว้ า่ ‘วิศวะ’ มันเป็นอะไรทีส่ ดุ ยอดมาก มันเหมือนเป็นวิชาชีพทีอ่ อกแนว ผูช้ ายๆ หน่อย เป็นคนระดับสติปญั ญา เราจะได้มเี พือ่ นผูช้ ายเยอะๆ หรือเพือ่ น ผู้หญิงประเภทสวยหล่อห้าวๆ มันน่าสนุก มันมีเสน่ห์อย่างบอกไม่ถูกจริงๆ ครับ ผมว่าใครได้เรียนคณะวิศวะ จะรู้สึกดีและภูมิ ใจเหมือนๆ กันทุกคน และ จะชื่นชอบคำถามที่ว่า “เรียนอะไร หรือ จบอะไรมา” เราจะตอบอย่างเสียงดังฟังชัดว่า “วิศวะ(สาขา) ครับ” (พวกวิศวะมันหน้าหมัน่ ไส้ตวั พ่อเลย ^_^, แต่ไม่เป็นไร เราภูมิ ใจของเรา 555+) ได้ชื่อว่า ‘วิศวะ’ ไม่มีสาขาไหนที่สอบเข้าง่าย นั่งเรียนสบายๆ การสอบ หรือเรียนหมอที่ว่ายากแล้ว ผมว่าวิศวะมันก็โหดไม่แพ้กัน ดังนั้น ทักษะ การคำนวณและการคิดเชิงตรรกะจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ ของการเรียนคณะนี้ แต่ก็อาจลดดีกรีลงมาหน่อยสำหรับสาขาวิทย์คอมฯ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะไม่ต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม หากน้องๆ คนใดใฝ่ฝนั ว่า อยากจะเรียนคณะวิศวะคอมฯ หรือสาขาทางด้าน ไอที ให้จงได้ ก็ขอให้รู้ ไว้ว่า “จงเลือก สาขาและสถาบัน ที่พอดีกับระดับสติปัญญาของเรา เราอาจได้เรียนในสาขาที่ ใช่ แต่อาจพลาดไม่ ได้เรียนในสถาบันที่ชอบ” ก็อย่าได้แคร์เลยครับ สุดท้ายแล้ว อนาคตมันก็อยู่ที่ ‘ตัวเรา’ นั่นแหละ

peeByNature

บอกอที่หน้าหมั่นไส้ (วิศวะอิเล็กฯ)


สำหรับผม ต้องวิศวะ…เป๊ะ! เนื่องจากวงการคอมพิวเตอร์ ในโลกเราตอนนี้เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลาเลยครับ มีเทคโนโลยี ใหม่ๆ ให้ ได้หวือหวากันอยู่เรื่อย อุปกรณ์ เชือ่ มต่อ social network เกือบจะกลายเป็นอุปกรณ์ตดิ ตัวเหมือนนาฬิกาข้อมือ เลยทีเดียว “คนรุ่นใหม่ หัวใจติด chat” ที นี้ สิ่ ง ที่ พี่ อ ยากจะบอกน้ อ งก็ คื อ ว่ า ในเมื่ อ วงการคอมพิ ว เตอร์ มั น ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เป็นธรรมดาของหลักสูตร “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์” และหลักสูตรอื่นๆ ทางสายไอทีที่จะปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อให้เข้ากับยุค ดังนั้น ตอนที่น้องกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้ หลักสูตรที่ ใช้กันอาจจะไม่ ใช่ แบบนี้แล้ว แต่ยังคงมีแก่นของเนื้อหาเหมือนเดิมครับ น้องสามารถใช้อ่าน เพื่อดูภาพรวมคร่าวๆ ได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง จากตัวแปรอื่นๆ เช่น อาจารย์คนละคน ตำราคนละเล่ม สลับก่อนหลังวิชาเรียน หลักสูตรถูกคลุกคลิก โดยสถาบัน ฉะนั้น แม้ว่าจะเป็นหลักสูตรวิศวะคอมฯ เหมือนกัน แต่ก็อาจจะ เรียนไม่เหมือนกันเป๊ะๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กันครับ อาจจะแตกต่างกัน บ้างตามสภาพแวดล้อมและระยะเวลา เช่น ตอนปี 1 มีวิชา Programming ตัวแรกเนีย่ บางมหา’ลัยอาจจะใช้ภาษา C บ้าง C# บ้าง Java บ้าง Python บ้าง แต่ทั้งนี้ก็ยังใกล้เคียงกันอยู่ครับ


เมือ่ น้องอ่านหนังสือเล่มนีจ้ บแล้ว พีอ่ ยากให้เข้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่น้องสนใจอยากเข้าศึกษาต่อ แล้วดูรายวิชาของหลักสูตรจากตรงนั้นอีกที ครับว่า ตรงกับความต้องการของน้องรึเปล่า บางสถาบันอาจจะมีบางรายวิชา แตกต่างไปจากของพี่ หรือไม่กแ็ ค่เรียนสลับปีกนั แต่สว่ นใหญ่แล้วก็จะประมาณ ที่พี่ ได้เขียนเล่าไว้ ในนี้ทั้งหมดครับ ถ้าพร้อมจะรับรู้ชีวิตของว่าที่วิศวกร คอมพิวเตอร์แล้ว ก็ลุยได้เลยครับ... พี่สรุปว่า ถ้าน้องจะเรียนในสายไอที เล่มนี้พี่บังคับซื้อครับ แล้วน้องๆ หล่อ สวย เก่ง กันทุกคน ใครจะเรียนแล้วไม่ซื้อ ขอให้ซิบแตก… ^_^ Natthawute Sae-Lim นักเขียนที่หน้าหมั่นไส้ (วิศวะคอมฯ)


เส้นทางสูค ่ ณะ “วิศวคอมพิวเตอร์” อยากเรียนวิศวะคอมฯ โคตรโคตร วิศวะคอมฯ, วิทย์คอมฯ, วิศวะซอฟต์ฯ, วิทย์ไอทีต่างกันอย่างไร

เด็กวิศวะคอมฯ …เทพไอที ปี 1 อิสระมาพร้อมความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ปี 2 เรียนหนักจัดเต็มวิชาภาค ปี 3 สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘นรก’ ปี 4 ตะลุยโปรเจ็คเด็กวิศวะคอมฯ การเตรียมตัวสมัครงานสาย IT (อ.อาณัติ) Hello World โปรแกรมมิ่งสวัสดีชาวโลก


8

10

45

74

76

120

171

212

270

297


อยากเรียน

วิศวะคอมฯ

โคตรโคตร

คณะนี้นับเป็นคณะยอดฮิตที่ ใครๆ ก็อยากเข้ามาเรียนให้ได้ ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ตัวเองชอบบ้าง พ่อแม่ชอบบ้าง โอกาสดีกว่าวิชาชีพอืน่ บ้าง เงินเดือนดีบา้ ง หางานง่ายบ้าง มันให้ความรู้สึกเท่ห์บ้าง ฯลฯ


วิศวคอมพิวเตอร์ 11

แต่ก็อย่าประมาทไปนะ เพราะเรียนอะไรที่เราไม่ชอบเนี่ย มันทรมาน ให้กายป่วยใจสะดุดเลยล่ะครับ แถมจบไปแล้วยังต้องไปงงชีวิตต่ออีกยาวเลย เพราะฉะนั้น พี่อยากให้น้องๆ พิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกเรียนคณะ วิศวะคอมฯ และอย่าลืมว่า ยังมีคณะหรือสาขาในสายไอทีทเี่ รียนคล้ายๆ กันอีก เช่น วิศวะซอฟต์แวร์ วิทย์คอม เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เลยต้องเอาให้ชัวร์ว่า น้องชอบงานประเภทไหนกันแน่ แล้วต้องเรียนอะไรที่ไหน ถึงจะไม่ผดิ ฝาผิดตัว ค่อยๆ อ่านไปเรือ่ ยๆ ครับ อ่านไปคิดไป ว่าอะไรที่ใช่เรา อะไรทีเ่ หมาะกับเรา พี่ว่าเมื่อศึกษารายละเอียดในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมดแล้ว น้องๆ จะมีข้อสรุป ที่ชัดเจนว่า ฉันจะเรียนอะไร แต่ถ้ายังไม่เจอคำตอบก็กากบาทคณะไอที ไปได้ เลยครับ มาตรวจสอบความเข้าใจเกีย่ วกับการเรียนในสายไอทีกนั ในเบือ้ งต้นก่อน เลยครับ แล้วค่อยๆ ศึกษาความแตกต่างของแต่ละสาขากันอีกที ในบทต่อๆ ไป จากนัน้ ก็เข้าไปสัมผัสเนือ้ หารายวิชาตลอดจนบรรยากาศการเรียนการสอบกัน ชนิดจัดเต็มครบทั้ง 4 ปี เลย ชอบไม่ชอบ ใช่ไม่ ใช่ ก็วัดกันไปเลย ^_^

คนทีเ่ ข้ามาเรียนสายคอมฯ โดยเฉพาะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ดจู ะมีปญั หา มากที่สุดครับ เพราะว่าเหตุผลส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจเข้ามาเรียนกันยังไม่ค่อย ถูกต้องนัก บางคนตัดสินใจเข้ามาเรียนด้วยเหตุผลทีว่ า่ “ชอบเล่นเกม” หรือไม่ก็ “ชอบเล่นเน็ต” เลยคิดว่าถ้ามาเรียนวิศวะคอมฯ แล้วจะได้ ใช้คอมทั้งวัน จะได้เล่นเน็ตทั้งวัน ซึ่งความจริงแล้วไม่ ใช่เลยครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 16

เรียนสายคอมฯ แล้วจะตกงานไหม? ตำแหน่ ง งานมี ม ากพอแน่ น อนครั บ คำถามก็ คื อ น้ อ งมี ค วาม สามารถพอไหม เลือกงานรึเปล่า และภูมลิ ำเนาทีน่ อ้ งอยู่ใกล้แหล่งงานไหม หากเทียบกับสาขาอืน่ ๆ แล้ว พีว่ า่ มีโอกาสทีด่ ีไม่แพ้วชิ าชีพไหนๆ เลยล่ะ แบบว่าสุโค่ยอะ… พี่ มี โ อกาสได้ คุ ย กั บ รุ่ น พี่ ค นหนึ่ ง ตอนที่ ตั ด สิ น ใจจะเข้ า มา เรียนวิศวคอมพิวเตอร์ คือพี่เป็นคนชอบเขียนโปรแกรม แต่รู้สึกว่า ปีๆ นึงมีคนจบไปเป็นโปรแกรมเมอร์เยอะมาก แล้วจะมีงานเหลือ ให้เราทำเหรอ พี่เค้าก็ตอบพี่มาประโยคนึงครับว่า “คนจบไปเป็นโปรแกรมเมอร์ปีๆ นึงเยอะก็จริง แต่ก็ยัง ไม่เห็นว่า ใครไม่มีงานทำ (ถ้าไม่เลือกงาน)” พี่ก็เลยเคลียร์เลยครับวันนั้น หรือถ้าน้องลองเข้า เว็บไซต์พวกหางานออนไลน์ดูเนี่ย ก็จะเห็นบริษัทต่างๆ เปิดรับพนักงานด้านไอทีเยอะมากครับ แต่พี่ ไม่ ได้ หมายความว่า จบไปน้องจะมีงานทำร้อยเปอร์เซ็นต์ กันทุกคนนะครับ ส่วนหนึง่ มันต้องมาจากตัวน้องด้วย คือถ้าน้องเรียนแบบชิวๆ จบไปแบบชิวๆ หางาน แบบชิวๆ มันก็ตกงานได้เหมือนกันครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 17

วิศวคอมพิวเตอร์ ต่างกับ สาขาอื่นยังไง มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะพอนึกภาพออกแล้วว่า “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์” เราเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แต่เพื่อเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เราลองแบ่ง คนที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ตามหน้าที่ ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ ก็จะแบ่งได้ เป็นสองประเภท ประเภทแรก คือคนที่ทำหน้าที่สร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมา รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ต่างๆ ด้วยนะครับ ประเภทที่สอง คือคนที่นำสิ่งที่คนประเภทแรกสร้างไว้มาใช้อีกที ไม่ ได้ หมายถึงคนที่ ใช้ทั่วไปตามบ้านนะครับ แต่อาจจะเป็นคนที่ทำงานเฉพาะทาง เช่น กราฟฟิคดีไซเนอร์ หรือคนที่ใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางต่างๆ ทีต่ อ้ งอาศัยทักษะ และประสบการณ์ อะไรแบบนี้ พอจะเดาออกมั้ยครับว่า วิศวกรคอมพิวเตอร์จัดอยู่ ในประเภทไหน... ถูกต้องครับ ประเภทแรกนัน่ เอง ดังนัน้ ใครทีค่ ดิ ว่าเข้ามาเรียนวิศวกรรมคอมฯ แล้วจะได้เรียนการใช้ Office, Photoshop, Illustrator, 3D ต่างๆ ก็คดิ ผิดแล้วครับ เพราะพวกนี้จะไปอยู่ ในส่วนของสาขามัลติมีเดีย หรือตามคณะที่ ใกล้เคียง สายศิลป์มากกว่า เช่น สถาปัตย์ นิเทศศิลป์ อะไรแบบนี้


วิศวคอมพิวเตอร์ 22

เด็กวิศวะเป็นแบบนี…้ เข้าใจไหม เรียนวิศวะคอมฯ ต้องเก่งคอมฯ มาก่อนมั้ย ถ้าคำว่าเก่งคอมฯ หมายความว่าใช้งานคล่องๆ แก้ปัญหาเก่งๆ แบบนี้ ล่ะก็ จะบอกว่าจำเป็นก็ ไม่ถูกต้องนักนะครับ เพราะว่าตอนเรียนยังไงก็ต้อง ทำเป็นอยู่ดี บางคนยังมาให้เพื่อนสอนลงโปรแกรม ลงวินโดวส์กันใหม่ก็ยังมี ไม่ ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเลยครับ

หรือบางคนโปรขนาดใช้เป็นทุกระบบปฏิบตั กิ าร รูจ้ กั ซอฟต์แวร์แทบทุกตัว ซ่อม ประกอบ อัพเกรดเป็นทุกอย่างก็มี เอาเป็นว่าอย่าไปซีเรียสเลยครับ แต่ถา้ ใช้คล่องๆ ก็ดี เพราะเวลามีปญั หาอะไรจะได้แก้เร็วๆ ไม่ตอ้ งรบกวนคนอืน่ แต่ พี่ ก็ อ ยากแนะนำให้ ศึ ก ษากั น มาบ้ า งก็ ดี ค รั บ ให้ มั น คุ้ น เคยสั ก หน่ อ ย เดี๋ยวเสียชื่อหมด


วิศวคอมพิวเตอร์ 23

เรียนวิศวะคอมฯ ต้องเก่งวิชาไหนเป็นพิเศษ ก็อย่างที่ได้เล่าไปข้างต้นแหละครับว่า ตอนปี 1 เนีย่ จะเน้นไปทางฟิสกิ ส์ คณิตศาสตร์ เคมี แต่ถามว่าจำเป็นต้องเก่งมาก่อนมั้ย ก็ ไม่จำเป็นหรอกครับ แต่ถ้าเก่งมาก็ดี ทำให้เราเรียนลื่นไหลมากขึ้น ส่วนพอขึ้นปีสองปีสามไปเนี่ย จะได้ ใช้ความรู้เรื่องไฟฟ้าด้วย แล้วก็ที่ ใช้บ่อยที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องตรรก ศาสตร์นี่แหละครับ เพราะทั้งเขียนโปรแกรมและออกแบบฮาร์ดแวร์ทั้ง หลายแหล่ ตรรกะดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว แต่ก็ ไม่ต้องซีเรียสอีกนั่นแหละครับ ของพวกนีม้ นั ฝึกกันได้ (เหลืออะไรให้ซเี รียสมัง่ มัย้ เนีย่ ) อ้อ ชีววิทยาไม่มอี กี แล้ว นะครับชีวิตนี้ บอกลาได้เลย (เฮ้อ โล่ง)


วิศวคอมพิวเตอร์ 24

เรียนวิศวะคอมฯ จะแฮกค์เพนตาก้อนได้มั้ย โอ่ย.. คำถามนีเ้ จอบ่อยกับน้องทีด่ หู นังฮอลลีวดู้ เยอะๆ อารมณ์ทม่ี ี Hacker คอยช่วยพระเอกเข้าไปเจาะระบบของเพนตาก้อนบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง โดยใช้เวลาไม่ถึงลมหายใจอะไรทำนองนั้น คือต้องบอกก่อนว่าการ Hack หรือการเจาะระบบเนี่ยเป็นทักษะขั้นสูงเหมือนกัน เพราะต้องใช้ความรู้ครบ ทั้งสามด้าน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิร์ก อย่างลึกซึ้ง (มากๆ) เอ่อ ในที่นี้ ไม่ ได้นับพวกที่โหลดโปรแกรมคนอื่นมาเจาะเครื่องคนอื่นอีกที นะครับ ซึ่งกว่าจะทำถึงขั้นนั้นได้เนี่ย ต้องอาศัยความสามารถขั้นสูง (มาก) เลยทีเดียว แต่ก็มีเรียนในส่วนของ Computer Security หรือ Network Security เหมือนกันนะครับ แหม จะให้อาจารย์ท่านมาสอน Hack เครื่องชาวบ้านโดยตรงคงจะไม่ดี แต่ถา้ สอนการหาช่องโหว่ หรือการป้องกันอะไรแบบนี้ ก็วา่ กันอีกเรือ่ งนึงครับ ถามว่าทำได้มั้ย อันนี้ขอตอบว่าขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนบุคคลแล้วนะครับ แต่ต้องอภิมหาเก่งจริงๆ นะเนี่ย หายากมากคนแบบนี้


วิศวคอมพิวเตอร์ 25

เรียนวิศวะคอมฯ แล้วจะซ่อมคอมเป็นมั้ย อันนีก้ น็ า่ เหนือ่ ยใจครับ เวลาคอมฯ ใครเสียแล้วได้ยนิ คำว่า “เอาไปให้มนั ซ่อมดิ มันเรียนวิศวะคอมฯ” ซึง่ อันทีจ่ ริงแล้วพวกเราก็ ไม่ได้เรียนวิชา “การซ่อม คอมพิวเตอร์เบื้องต้น” มาแต่อย่างใด แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ คนอื่นๆ เค้าก็จะ คิดว่าคนที่เรียนวิศวะคอมฯ มันจะต้องรู้เรื่องทุกอย่าง แต่ถึงพี่จะบอกว่า มันไม่มีเรียนวิชานี้ แต่ก็ ไม่ ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรไม่เป็นนะครับ คือเราไม่ ได้เรียนการซ่อมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แต่เราได้เรียนว่า อุปกรณ์ แต่ละตัวมันทำงานยังไง เพราะฉะนั้น ถ้ามันเสียอะไรขึ้นมาเนี่ย ก็พอจะ วิ เ คราะห์ กั น ได้ ค รั บ แต่ ถ้ า อารมณ์ เ คสระเบิ ด จอแตก นี่ ก็ ไ ม่ ไ หวครั บ ไปที่ร้านซ่อมจะดีกว่า แต่เอาเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่ที่ญาติสนิทมิตรสหายของ เราจะเอามาให้ช่วยดูให้ ก็เป็นปัญหาพื้นฐานทั้งนั้นแหละครับ พวกเราแก้กัน ได้สบายอยู่แล้ว...


วิศวคอมพิวเตอร์ 40

ระบบ Admission เข้าเรียนวิศวะ จริงๆ น้องๆ อาจจะทราบกันดีอยู่แล้วครับ เกี่ยวกับระบบ Amission ทั้งกลาง ทั้งตรง ทั้งโควต้า เพราะมันเป็นมาตรฐานใหม่ของไทยที่ ใช้กันมา สักพักนึงแล้ว เป็นมาตรฐานสากลแบบไทยๆ (แนวมึนๆ) โดยทั่วไปแล้วทาง มหาวิทยาลัยก็จะรับสมัครอยู่ 3 ทางด้วยกันนะครับ ได้แก่ 1. ระบบโควตา ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่โดย ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีโควตาเรียนดี โควตาโอลิมปิควิชาการ ซึ่งทั้งนี้น้องต้อง ติดตามจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่สนใจครับ หรือบางทีจะมีเอกสารส่งมา ที่ฝ่ายแนะแนวของทางโรงเรียนครับ น้องก็สามารถไปติดต่อสอบถามจาก ท่านอาจารย์ ได้


วิศวคอมพิวเตอร์ 41

2. ระบบรับตรง ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะจัดสอบขึ้นเองครับ ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ จะต้องรอจากประกาศของทางมหาวิทยาลัยเองครับ แต่สว่ นใหญ่แล้วจะไม่ยงุ่ กับ คะแนนของทางส่วนกลางคือ พวก GAT PAT และ O-NET โดยแนวข้อสอบ ก็จะเป็นข้อสอบเฉพาะทางครับ คือสอบเฉพาะวิชาฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าสอบเฉพาะที่เราจะใช้กันเท่านั้น พวกภาษาไทย หรือสังคมก็จะไม่เอามาสอบครับ เพราะเข้ามาเรียนแล้วก็ ไม่ ได้ ใช้เท่าไหร่ แต่ต้องทำใจก่อนครับว่า การสอบตรงนั้นใครสมัครก็ ได้ ทำให้คนสมัครกัน หลักหมืน่ เลยทีเดียว แต่มนั มีเคล็ดลับอยูต่ รงทีว่ า่ การจัดสอบตรงเนีย่ ส่วนใหญ่ จะจัดค่อนข้างเร็วครับ เพราะฉะนั้น เด็กส่วนใหญ่ที่มาสอบก็จะยังไม่ค่อยมี ความพร้อมสักเท่าไหร่ กว่าจะพร้อมก็ ใกล้ๆ สอบของส่วนกลางแล้ว ดังนัน้ ถ้าน้อง เตรียมความพร้อมเสียตัง้ แต่เนิน่ ๆ น่าจะสอบตรงผ่านฉลุย ซึง่ หลังจากสอบตรง แล้วนีก่ ต็ อ้ งไปเข้าการสอบสัมภาษณ์อกี ครับ แต่ก็ ไม่ตอ้ งเครียดอะไรครับ เป็น การสอบสัมภาษณ์ธรรมดาเพื่อให้รู้ว่า น้องอยากเรียนจริงๆ เท่านั้นแหละ 3. ระบบแอดมิชชันกลาง ซึ่งก็มาจากการสอบ GAT PAT O-NET ต่างๆ ซึ่ง แต่ละปีกจ็ ะใช้เกณฑ์ ในการรับแตกต่างกันออกไป ดังนัน้ ให้นอ้ งติดตามข่าวสาร จากส่วนกลางอีกทีครับ แต่โดยหลักแล้วทีต่ อ้ งสอบคือวิชาพืน้ ฐานทางวิศวกรรม ซึ่งข้อสอบจะออกแนวฟิสิกส์ประยุกต์ และมีความรู้ของทางวิศวกรรมเล็กน้อย พีแ่ นะนำให้นอ้ งเล็งมหาวิทยาลัยทีอ่ ยากเข้า แล้วหาโควต้าหรือสอบตรงให้ตดิ เลย จะดีกว่าครับ ให้แอดมิชชันกลางเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะโอกาสเสี่ยงมีสูง และจำนวนที่รับก็น้อยลงทุกปีๆ เลยครับ


วิศวะคอมฯ, วิทย์คอมฯ วิศวะซอฟต์ฯ, วิทย์ไอที

ต่างกันอย่างไร

น้ อ งๆ หลายคนสงสั ย ว่ า วิ ศ วกรรมซอฟต์ แ วร์ , วิ ศ วะคอมฯ, วิ ท ย์ ค อมฯ, วิ ท ย์ ไ อที (สารสนเทศ) ต่างกันอย่างไร เรียนอะไรแล้วไปทำงานอะไร ก็หาคำตอบ ได้ครับ อะไรยากกว่าอะไร ไม่งงและไม่มึน อีกต่อไป สมัยที่พี่เรียนวิชา Software Engineering เนี่ยได้มีโอกาสนั่งฟัง อาจารย์ท่านบรรยายถึงหัวข้อนี้พอดีครับ เลยถือโอกาสเอามาถ่ายทอด ให้น้องๆ ได้อ่านกัน เพราะจะได้ตัดสินใจเลือกกันอย่างถูกต้อง แต่ขอบอก ไว้ก่อนว่าสิ่งที่พี่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างเป็นกลางๆ นะครับ คือแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะแตกต่างไปจากนี้ ทั้งนี้ ให้น้องศึกษาพอเป็น ไกด์ ไลน์ครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 46

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering; com eng) “Study of how to apply Computer Science for developing computer hardware i.e. devices and equipment”

ถ้าแปลตรงๆ เนี่ย จะหมายความถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ฮาร์ดแวร์ โดยตรงเลยครับ ซึ่งหลักสูตรจริงๆ ของต่างประเทศส่วนใหญ่ก็จะ เป็นแบบนี้ครับ แต่เนื่องจากวงการฮาร์ดแวร์ ในประเทศไทยเราไม่ค่อยดี เท่าไหร่ครับ เค้าก็เลยมีการปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ให้เข้า กับบ้านเรามากขึ้นครับ กลายเป็นได้เรียนครอบคลุมทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิร์กครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 48

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science; com sci) “Study of nature of computation”

ถ้าแปลเป็นภาษาไทยตรงๆ ก็คือ ศึกษาธรรมชาติของการคำนวณ นั่นเองครับ เพราะคำว่า Computer ความจริงแล้วก็แปลว่าเครื่องคำนวณ (ตรงไปมั้ย 555) หลักๆ เลยจะเน้นไปทีค่ ณิตศาสตร์ การจัดการข้อมูล AI (ปัญญาประดิษฐ์) และกระบวนการที่เกี่ยวกับคำนวณทั้งหลายนั่นแหละครับ เน้นหนักด้านการ วิเคราะห์ออกแบบระบบ Software เป็นหลัก เนื่องด้วยไม่ค่อยมีวิชาบังคับว่า ด้วย Hardware เช่น พวกไมโครโพเซสเซอร์เหมือนกับวิศวะ อาจจะมีบ้างพวก โครงสร้างและสถาปัตยกรรมและแอสแซมบลี้ แต่ก็ ไม่เน้นเท่ากับการออกแบบ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์


วิศวคอมพิวเตอร์ 50

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering; soft eng) “Study of method and practice of software production”

สำหรับสาขานี้ก็จะศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการในการผลิตซอฟต์แวร์ ทัง้ หมดครับ ตัง้ แต่รปู แบบทางธุรกิจ การออกแบบซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม การทดสอบ การซ่อมบำรุง กระบวนการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ซอฟต์แวร์ ซึง่ เป็นสาขาทีค่ อ่ นข้างใหม่ถา้ เทียบกับสาขาอืน่ ๆ


วิศวคอมพิวเตอร์ 52

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology; IT sci) “Study of how to apply Computer Engineering and Software Engineering for social matter”

เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่เป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่มา ประยุกต์ ใช้กับองค์กรที่เราอยู่ได้อย่างไร หรือการนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำให้เกิด ประโยชน์ และสามารถนำไปต่อยอดองค์กรของเราได้อย่างไร เช่น มีตกึ สองตึก อยากใช้เน็ตจะเดินสายอย่างไรให้ประหยัดงบทีส่ ดุ หรือถ้าต้องการใช้ โปรแกรม บันทึกรายรับรายจ่ายสักตัวจะซื้อตัวไหนมาใช้ดี มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ต้องพูดให้ “เจ้านาย” เราเข้าใจให้ ได้


วิศวคอมพิวเตอร์ 54

ความเหมือนทีแ่ ตกต่าง ของหลักสูตรสายไอที … จัดให้เคลียร์ อ่านให้ตาสว่าง เนื่องจากพี่กลัวว่าน้องๆ จะยังสับสนและยังไม่เคลียร์เกี่ยวกับการเลือก เรียนในสายไอที ก็เลยขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างหลัก สูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์, วิศวะคอมฯ, วิทย์คอมฯ กันอีกสักหน่อย โดยพีข่ อนำ คำอธิบายข้อแตกต่างของทั้ง 3 สาขา ของทาง ม.เกษตร มาให้อ่านกัน เพราะอธิบายไว้ค่อนข้างละเอียดครับ เรียกว่าเจาะลึกกันถึงรายวิชาเรียนที่ แตกต่างกันเลย นอกจากนี้ ยังมีถามตอบปัญหาที่น่าสนใจมาให้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย ครับ แถมท้ายด้วยบทสัมภาษณ์น้องนักศึกษาในสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ ม.เกษตร ทีจ่ ะช่วยให้นอ้ งได้รบั ความกระจ่างมากขึน้ ครับ สำหรับในสถาบันอืน่ ๆ ในสายเดียวกัน ก็จะแตกต่างกันในรายละเอียดบางเรื่องเท่านั้น แต่ส่วนของ เมเจอร์มันก็เหมือนๆ กัน


วิศวคอมพิวเตอร์ 55

วิศวซอฟต์แวร์ กับ วิศวะคอมฯ ต่างกันอย่างไร วิศวซอฟต์แวร์และความรู้ จะไม่ได้เรียนวิชาทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ ง Electronic เหมือนวิศวคอมพิวเตอร์ เช่น วิชา Digital Systems Design และ Introduction to Electrical Engineering เป็นต้น เพราะว่าโครงการนีจ้ ะเน้นไปทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านัน้ แต่วิศวซอฟต์แวร์และความรู้จะมีวิชาใหม่ ซึ่งเป็นวิชาเฉพาะ ของโครงการนี้เช่น Software and Knowledge Engineering Economics และ Programming Languages อย่างไรก็ตาม ทั้งสองโครงการนี้จะเรียนวิชาบางวิชาที่ เหมือนกัน เพราะว่าวิชาเหล่านัน้ อาจจะเป็นวิชาพืน้ ฐานของวิชา คอมพิวเตอร์ เช่น Theory of Computation, Discrete Mathe matics และ Algorithm Design and Analysis เป็นต้น


วิศวคอมพิวเตอร์ 56

วิศวซอฟต์แวร์และความรู้ กับ วิทย์คอมฯ ต่างกันอย่างไร โครงการของเรานั้น (ม.เกษตร) จะเน้นเรื่องการนำมาใช้ของ Theory ต่างๆ เพือ่ นำไปสูก่ ารพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตา่ งๆ แต่วทิ ยาศาสตร์คอมฯ จะเน้นไปด้านการหาองค์ความรู้ ใหม่ทางด้านคอมพิวเตอร์ ความแตกต่างระหว่างสองสายวิชา สายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จะเน้นไปทางด้านพัฒนาโปรแกรมเป็นหลัก ผู้ที่เรียนในสายวิชานี้ จะได้เรียนรู้การสร้างโปรแกรมเป็นทีม เรียนรู้ด้านขั้น ตอนการพัฒนาโปรแกรม วิเคราะห์วิจัย ปัจจัยต่างๆ ในการเขียนโปรแกรม เพื่อที่จะทำให้ โปรเจคต์ต่างๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น รวมไปถึงความสามารถ ในการเขียนโปรแกรมขั้นสูง เช่น Object Oriented programming และ Design Pattern สายวิชาวิทย์คอมฯ เป็นสายที่พัฒนาหรือรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อการพัฒนาโปรแกรม เช่น ความต้องการของลูกค้าในด้านการใช้งาน รูปแบบการใช้งาน เช่น โปรแกรมสำหรับบัญชี เราก็ต้องศึกษาถึงการทำบัญชี เพื่อเป็นข้อมูลในการทำโปรแกรม เพราะฉะนั้น ผู้ที่เรียนวิชาในส่วนนี้จะเป็น ผู้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เป็นต้น


วิศวคอมพิวเตอร์ 70

อาชีพไหนเป็นอย่างไร คณะ IST ของเราแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มสาขาอาชีพด้วยกัน หากน้องๆ อยากรูว้ า่ แต่ละสาขามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ก็ลองอ่านด้านล่างดูได้เลยครับ

Database Analyst and Administrator สายอาชีพนี้ เป็นสายอาชีพทีก่ มุ ชะตาขององค์กร เลยค่ะ ทำหน้าที่ ในการออกแบบโครงสร้างการ เก็บข้อมูล และดูแลว่าใครคนไหนมีสิทธิ์ที่จะ ให้เห็นข้อมูลต่างๆ บางทีดเู หมือนว่า ก็ ไม่นา่ จะ มีอะไรนี่นา แค่เก็บข้อมูล.. แต่ข้อมูลนี่แหละ ค่ะที่จะทำให้องค์กรใหญ่ๆ หลายๆ องค์กร ประสบความสำเร็จ พี่มีโจทย์มายกตัวอย่างให้เห็นนะคะ ถ้านาย มาเป็นหลานยายมีแล้วนายดีเป็นลูกนายมา ซึง่ เป็นพ่อนายมาก มีลกู กันสองคนชือ่ นางสาว มาดีกบั นายมานา และมีบา้ นอยูแ่ ถวพระราม 9 !@)$#/&% ....... (T_T) นี่ล่ะค่ะ ถ้าน้องๆ ได้เรียนสายอาชีพนี้ เรือ่ งทีจ่ ะเก็บข้อมูลของนาย มาอย่างเป็นระบบ จะเป็นเรื่องง่ายดายไปเลย (แต่พี่อ่านเองก็ยังงงๆ เลยค่ะ ขำๆ นะคะ)


วิศวคอมพิวเตอร์ 71

System Analyst “นักวิเคราะห์ระบบ” เห็นชือ่ แล้วดูนา่ จะเป็นอะไร ที่ปวดหัว แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่ชอบการ พูดคุย ชอบการวิเคราะห์และความท้าทายใน การแก้ปัญหา ไม่ค่อยชอบกับการอยู่กับเรื่อง เดิมๆ พี่ว่าเหมาะสมกับน้องๆ มากค่ะ สาย อาชีพนี้ โดยวัตถุประสงค์แล้วนะคะ สายอาชีพ นีจ้ ะเป็นคนทีว่ เิ คราะห์ความต้องการของลูกค้า ว่ามีอะไร อย่างไร เพือ่ มากำหนด และวางแผน เพือ่ พัฒนาระบบสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ตู้ ATM ที่น้องๆ ได้ ใช้กัน หรือ ระบบการรับชำระหรือ สต๊อกสินค้า เป็นต้นค่ะ

Network Specialist หากน้องๆ ที่สงสัยและอยากหาคำตอบว่า... ที่บ้านเรานั้นออกไปสู่โลกไซเบอร์ ได้อย่างไร ตู้ ATM หรื อ เกมออนไลน์ ที่ เ ราเล่ น กั น อยู่ รู้ ได้อย่างไรว่าเราเป็นใครและสื่อสารกันได้ อย่างไร สายอาชีพนี้สามารถตอบโจทย์ของ น้องๆ ได้แน่นอนค่ะ แล้วอีกอย่างนะคะ... ที่ นี่ จ ะเรี ย นเรื่ อ งนี้ กั น แบบถึ ง พริ ก ถึ ง ขิ ง ประเภทที่ว่า น้องๆ ต้องมานั่งต่อสายกับ อุปกรณ์เองจริงๆ ถ้าใครได้ลองเรียน รับรองว่า “มันส์แน่นอนค่ะ”...


วิศวคอมพิวเตอร์ 76

ปี 1 อิสระมาพร้อม

ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ เมื่อเข้ามาปีแรกนี่อาจจะต้องปรับตัวกันหน่อยครับ เพราะรูปแบบ การใช้ชีวิตนี่ก็ ไม่เหมือน ม.ปลาย ที่ผ่านมาแล้ว คนที่ย้ายมาอยู่หอพัก ก็ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ดูแลตัวเองมากขึ้นครับ แต่ก็ยังดีที่เป็น น้องใหม่ก็จะมีพี่ๆ มาคอยดูแลเทคแคร์ ให้พาไปเลี้ยงนู่นเลี้ยงนี่ ติวนู่นติวนี่ มากมายครับ ชีวิตเด็กมหา’ลัย เป็นชีวิตที่ค่อนข้างจะแปลกใหม่สำหรับทุกคนเลยครับ เพราะมาเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ชีวิตเราค่อนข้างที่จะอิสระมากขึ้น ไม่มีการ เคารพธงชาติตอนเช้า ไม่มีการเช็คชื่อเข้าห้องเรียน (ส่วนใหญ่นะ) วันไหนเรียนเต็มวัน แต่จะทำตัวให้วา่ งก็ได้ ไม่มี ใครว่าอะไรเลย ดังนั้นบางคนคุมตัวเองไม่อยู่ เตลิ ด เปิ ด เปิ ง ถึ ง ขั้ น รี ไ ทร์ เ ลยก็ มี แต่ ว่ า มี ไ ม่ เ ยอะ หรอกครับ ไม่ต้องห่วง ถ้ามีความสามารถถึง ขนาดที่สอบเข้าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แล้ว เรือ่ งพวกนีก้ ็ ไม่ ใช่ปญั หาสำหรับเราหรอก


วิศวคอมพิวเตอร์ 84

วิชา : General Physics 1 ชื่อไทย : ฟิสิกส์ทั่วไป 1 ชื่อเล่น : Phy (ฟิ) วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

เวคเตอร์ การเคลือ่ นทีแ่ ละกฎของนิวตัน สมดุลของอนุภาค สมดุลแรง สมดุลของวัตถุแข็ง จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงและจุดเซนทรอยด์ คลื่นและการสั่น กลศาสตร์ของไหลแก็สอุดมคติและสารบริสุทธิ์ งานและความร้อน การนำความร้อน การพาความร้อนและการแผ่ รังสีความร้อน น้องๆ ยังคงจำเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ ในชั้นม.ปลายได้ ใช่มั้ยครับ พี่ยังจำได้ดี แต่จำเนือ้ หาไม่ได้หรอกครับ จำได้วา่ เราเรียนวิชาฟิสกิ ส์ทงั้ หมดเนีย่ ใช้เวลา 3 ปี หรือ 6 เทอม แค่นั้นก็รู้สึกจะอ้วกแล้ว แต่พอมาเรียนมหา’ลัยปุ๊บ ความจริงคือ เราจะเรียนเนื้อหาพวกนั้นที่เราเรียนมา 3 ปี หรือ 6 เทอม ภายในเวลาแค่ 1 ปี หรือ 2 เทอม คือในวิชา General Physics 1 และ General Physics 2 นั่นเองครับ ขนาดม.ปลายว่าเนื้อหาอัดแน่นแล้ว เจอของมหา’ลัยเข้าไปนี่แน่นจน ไม่มีที่จะหายใจเลยครับ แถมยากกว่าตอนม.ปลายไม่รู้กี่ล้านเท่า (เว่อร์ ไป) เพราะตอนม.ปลายเนีย่ ถ้าเราจำสูตรได้เราก็แทนค่าลงไปก็ ได้คำตอบแล้วใช่มยั้ ครับ แต่ ในมหา’ลัยมันไม่งา่ ยแบบนัน้ แล้วครับ เพราะว่าถ้าเราต้องการใช้สตู ร ไหนสักสูตรเนี่ย ก่อนที่เราจะเอามาใช้ ได้ จะต้องพิสูจน์ที่มาของสูตรเสียก่อน


วิศวคอมพิวเตอร์ 85

แล้ ว พิ สู จ น์ ยั ง ไง? ก็ โ ดยใช้ แ คลคู ลั ส ที่ เ คยเรี ย นมานั่ น แหละครั บ เพราะขึ้นมหา’ลัยก็ถือว่าน้องจะต้องมีความรู้พื้นฐานมาแล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะใช้งานกันเลย โดยอาจารย์ท่านก็จะบอกเลยนะครับว่า ถ้าในข้อสอบ เขียนมาแต่สูตร จะไม่ ได้คะแนน คือต้องไล่พิสูจน์มาว่าสูตรนี้มันมีอยู่จริง ไม่ ได้สมมติขึ้นมาเองนั่นเอง มันทำให้เราเข้าใจอะไรหลายๆ อย่างลึกซึ้ง มากขึ้นครับ เพราะตอนม.ปลายเนี่ย เราเรียนฟิสิกส์ด้วยความรู้พื้นฐานที่ จำกัด ความรู้คณิตศาสตร์ก็ยังมี ไม่เยอะ ความรู้วิทยาศาสตร์ก็ยังมี ไม่พอ ทีนี้พอมาเรียนในมหา’ลัยน้องๆ มีความรู้พื้นฐานกันมาพอสมควรแล้ว ก็ต่อยอดกันสนุกสนานเลยล่ะครับ สำหรับคนทีม่ าเรียนวิศวะนีส่ ว่ นใหญ่กช็ อบฟิสกิ ส์อยูแ่ ล้ว เลยไม่คอ่ ยจะมี ปัญหากันเท่าไหร่ครับ จะลำบากใจก็บางคนทีฟ่ สิ กิ ส์ม.ปลาย อ่อนจริงๆ สมมติ ตอนเรียนเรือ่ งกลศาสตร์เนีย่ ครับ น้องก็ควรจะเข้าใจเนือ้ หาพืน้ ฐานมาบ้างแล้ว เพราะบางทีเรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ อาจารย์ทา่ นก็อาจจะไม่ได้พดู เยอะ เช่นกฎของ นิวตันเนีย่ มีกขี่ อ้ อะไรบ้าง ถ้าไม่รกู้ อ็ าจจะเหนือ่ ยหน่อยครับ เพราะคงนัง่ ขมวด คิ้วตลอดเวลาตอนเรียนในห้องแน่เลย แต่ถ้าน้องมีพื้นฐานฟิสิกส์มาดี ก็ ไม่มี อะไรที่น่าเป็นห่วงเลยครับ... ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า ห้ามประมาทเด็ดขาด เพราะติด F วิชานี้ ก็จะลง General Physics 2 ในเทอมต่อไปไม่ได้


วิศวคอมพิวเตอร์ 86

แนวข้อสอบ

วิชาฟิสิกส์นี่ข้อสอบก็จะเป็นเติมคำและแสดงวิธีทำทั้งหมดเลยครับ คือบางทีก็เว้นช่องว่างมานิดเดียวให้เราเติมตัวเลขไม่กี่ตัว แต่กว่า จะได้ตัวเลขตัวนั้นมานี่ลำบากเหลือเกิน บางทีก็มี โจทย์อยู่บรรทัด สองบรรทัด แต่เว้นที่มาให้หน้าสองหน้าเลยครับ ให้เราแสดงวิธีทำ เพราะอย่าลืมที่พี่ ได้บอกไว้ว่า เราจะต้องพิสูจน์สูตรมาตั้งแต่แรกโดย ใช้แคลคูลัสเลยครับ ยังไงก็อย่าลืมฝึกฝนตรงนี้ ไว้ ให้ดีนะ... Keywords

Equilibrium of particles, Equivalent system of forces, Equilibrium of rigid bodies, Center of gravity and centroids, Vibration and wave, Fluid mechanics, Ideal gas and pure substance, Work and heat, Thermal conduction, Thermal convection, Thermal radiation.


ปี 2

เรียนหนักจัดเต็ม วิชาภาค พอขึ้นมาปีสองแล้ว เรียกได้ว่า เป็นปีที่เราจะได้ ใช้ชีวิตเด็กวิศวะ คอมฯ อย่ า งเต็ ม ตั ว แล้ ว ครั บ เพราะว่ า จะได้ เ รี ย นวิ ช าภาคกั น อย่างสนุกสนานมากมาย ซึง่ ด้วย เหตุนี้เองที่ทำให้ทรานสคริปต์ปี สองของหลายๆ คนเริ่มปั่นป่วน บางคนเกรดพุ่งปรี๊ด อาจเป็น เพราะได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่บางคนเกรดตกจนน่าใจหาย บางคนต้ อ งลาออกย้ า ยคณะ ย้ายภาควิชาก็มี เพราะว่าไม่ ได้ เรี ย นในสิ่ ง ที่ ตั ว เองชอบ แต่ ก็ ไม่ค่อยมีหรอกครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 121

นอกจากการเรี ย นแล้ ว เนี่ ย อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญของชีวิตปีสองเลยก็คือใน เรื่องของ “กิจกรรม” ครับ เพราะปีสองจะเป็น ปีหลักที่จะต้องจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งทำ ให้เราได้ฝกึ ทัง้ การบริหารเวลา ทัง้ การทำกิจกรรม อย่างเต็มที่เลยทีเดียว ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ขออุบไว้เล่าตอนท้ายละกันนะครับ ก่อนที่เราจะไปลงรายละเอียดกันว่า แต่ละ วิชานั้นเรียนอะไรกันยังไงบ้าง พี่ขอชี้แจงก่อน ครับเพราะเดีย๋ วจะมีคำว่า Assignment เพิม่ เข้ามา ซึ่งเจ้า Assignment นี่ก็เหมือนกับโปรเจ็คที่ เราต้องทำในแต่ละวิชานัน่ แหละครับ บางวิชาก็มี บางวิชาก็ ไม่มี ซึ่งนี่แหละครับเป็นเหตุผลที่เรา แตกต่างจากที่อื่น เพราะเราได้ทำงานเยอะมาก ครับ เยอะมากจริงๆ เยอะจนเหนือ่ ย แต่รบั รองว่า น้องๆ จบออกไปนีฝ่ มี อื สุดยอดครับ เพราะฝึกฝน มาอย่างหนักตอนเรียนแล้ว คนอื่นเค้าหยุดกัน เราก็ ไม่ได้หยุด ต้องทำงาน บางที ไปเที่ยวกับที่ บ้านต้องหอบงานไปทำด้วย ถ้าไม่เชื่อเดี๋ยวลอง อ่านดูละกันครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 128

วิชา : Digital Circuit and Logic Design ชื่อไทย : การออกแบบวงจรดิจิตอลและวงจรตรรก ชื่อเล่น : Digital (ดิจิตอล) บางทีก็เรียก Digimon (ดิจิม่อน) วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ทฤษฎีเบือ้ งต้นของวงจรสวิทชิง่ คณิตศาสตร์แบบบูล ตารางความจริง การลดรู ป สมการบู ล ลี น โดยใช้ แผนที่ แบบคาร์ น อและวิ ธี ค วิ น แม็คคลอสกี้ แผนผังแบบเวน วงจรเกท วงจรฟลิปฟลอป วงจรนับ วงจรชิฟรีจสิ เตอร์ การออกแบบวงจรคอมไบเนชันและวงจรซีเควนเชียล วิชานีเ้ ป็นจุดเริม่ ต้นของการเรียนสาย Hardware และเปิดกะลาความคิด เกีย่ วกับคอมพิวเตอร์เลยครับ เพราะชือ่ ก็จะบอกอยูแ่ ล้วว่าเป็นการเรียนเกีย่ วกับ การออกแบบวงจรดิจติ อล ซึง่ วงจรดิจติ อลนีก่ เ็ ป็นพืน้ ฐานทีส่ ำคัญของอุปกรณ์ ในคอมพิวเตอร์แทบทุกอย่าง โดยเนือ้ หาทีเ่ ราเรียนทัง้ หมดในวิชานี้ จะมีพนื้ ฐาน มาจากวิชาตรรกศาสตร์ ในชั้น ม.ปลายทั้งนั้นเลย จำกันได้มั้ยครับ ที่ P เป็น จริง, Q เป็นจริง, P และ Q เป็นจริง อะไรแบบเนี้ย แต่ทีนี้มันจะต่างกันตรงที่ว่า ตอน ม.ปลาย เนี่ย เราจะเรียน ในเชิงของทางคณิตศาสตร์ แต่ ในวิชานี้จะเรียนในเชิงของวงจรไฟฟ้า และ เปลี่ยนจาก “จริง” เป็น 1 (ค่า true) และเปลี่ยนจาก “เท็จ” เป็น 0 (ค่า false) คือตอนแรกอาจารย์บอกว่าวิชานี้เราจะมาเรียนเป็น Neo ในเรื่อง The Matrix กัน ไอ้เราก็ยงั ไม่เข้าใจหรอกครับ พอเรียนไปสักพักนึงนีเ่ ข้าใจเลย เพราะว่ามัน มีแต่ 1 0 0 1 0 1 1 จริงๆ ไม่มีเลขอื่นแล้ว ซึ่งเราก็จะได้ทราบจากวิชานี้กัน ครับว่า ที่เขาบอกกันว่าคอมพิวเตอร์มีแต่ 1 กับ 0 หน่ะ มันคืออะไรกัน และทำไมถึงมีแค่สองตัวเลขนี้


วิศวคอมพิวเตอร์ 129

ส่วนพวกเครื่องหมายต่างๆ เราก็จะเรียกเป็น Gate เช่น เครื่องหมาย ‘และ’ เราก็จะเรียกว่า And Gate เครื่องหมาย หรือ ก็จะเรียกว่าเป็น Or Gate เราก็จะนำ Gate พวกนี้มาต่อๆ กัน ก็จะได้เป็นวงจรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมีชื่อ เรียกแตกต่างกันไป ตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบ (พวกเรานี่แหละ) เช่น วงจร Counter (วงจรนับนะครับ ไม่ ใช่ถือปืนมาไล่ยิงกัน) วงจร Encoder (เข้ารหัส) วงจร Decoder (ถอดรหัส) และที่ลืมไม่ ได้ก็คือวงจร Flip-Flop เลยครับ ซึ่งเป็นวงจรที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำ เรียกได้ว่า เป็นหน่วย ความจำที่เล็กที่สุดเลยก็ ได้ เพราะเราจะได้เรียนการเอาเจ้า Filp-Flop หลายๆ ตัวมาต่อกัน ให้กลายเป็น RAM ด้วยครับ โอ้ โห อ่านแค่นี้ยังรู้สึกเท่ห์ยังไง บอกไม่ถูก นี่ถ้าได้เรียนจริงๆ คงสนุกน่าดู แนวข้อสอบ

วิชานี้มีกระดาษคำถามอยู่แผ่นเดียวครับ แล้วก็มีสมุดมาให้เล่มนึง เป็นข้อเขียนทัง้ หมดเลย บางทีมตี อ้ งวาดวงจรต่างๆ ไปด้วย ซึง่ ข้อสอบ ก็ออกตรงๆ เลยครับ คือออกทุกเรื่องที่เรียน เป็นข้อสอบประยุกต์ ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึง่ ถ้าน้องเข้าใจเนือ้ หาทีเ่ รียนอย่างจริงจังเนีย่ ก็ ไม่นา่ จะมีปญั หาอะไรครับ แต่บางทีกอ็ าจจะออกเกินจากทีอ่ าจารย์สอนมาบ้าง ยังไงก็ลองหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตดูด้วยครับ Keywords

Switching circuit, Boolean algebra, Truth table, Boolean equation, Karnuaugh map, Quinmacrossky method, Wein diagram, Logic gates, Flip-Flops, Counters, Shift registers, Combination circuit design, Sequential circuit design


ปี 3

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า

‘นรก’

ตอนอยู่ ปี ส องก็ ว่ า งานหนั ก แล้วครับ แต่พอมาเจอปีสามนี่ เทียบกันไม่ติดเลย เพราะตอน ปี ส องน้ อ งได้ เ รี ย นพื้ น ฐาน ของทุกๆ สายไปแล้ว พอขึน้ มา ปีสามก็จะได้เรียนลงลึกลงไป มากขึ้นครับในทุกๆ สายเลย ตอนเรียนปีสองอาจจะยังนึก ภาพไม่ ค่ อ ยออกว่ า ไอ้ ที่ เ รา เรียนไปนี่มันจะเอาไปใช้งานยัง ไงนะ ดูเป็นแต่ทฤษฎี แต่พอมา เรี ย นในปี ส ามแล้ ว ก็ จ ะเข้ า ใจ มากขึ้นครับ เพราะว่าบางวิชา จะได้เรียนในส่วนของการนำไป ใช้งานมากขึ้น


วิศวคอมพิวเตอร์ 203

วิชา : TCP/IP Networks ชื่อไทย : ระบบเครือข่ายแบบทีซีพีไอพี ชื่อเล่น : TCP (ทีซีพี) วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

วิชานีจ้ ะกล่าวถึงเครือข่ายชนิดทีซพี ีไอพีซงึ่ เป็นเครือข่ายทีม่ กี ารใช้งาน มากที่สุดในโลก รายละเอียดของวิชา ประกอบด้วย ระดับชั้นต่างๆ ของทีซีพี ไอพี แอดเดรสในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบชื่อโดเมน รายละเอียดของโพรโตคอลไอพี เออาร์พี ไอซีเอ็มพี ทีซีพี และยูดีพี การหาเส้นทางในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โพรโตคอลหาเส้นทาง ได้แก่ อาร์ ไอพี โอเอสพีเอฟ ไอเอสไอเอส บีจีพี และอื่นๆ นอกจาก นัน้ อธิบายถึงอุปกรณ์หาเส้นทาง การหาเส้นทางในเครือข่ายมัลติคาสต์ ไอพีเวอร์ชนั 6 และโพรโตคอลประยุกต์ตา่ งๆ ได้แก่ โพรโตคอลไอจีเอ็มพี เอฟทีพีเอสเอ็มทีพี และอื่นๆ TCP/IP นีเ่ ป็นโปรโตคอล (Protocol) ที่ใช้กนั มากทีส่ ดุ ในโลกตอนนีเ้ ลยครับ (โปรโตคอล คือ กฎ วิธีการ หรือข้อตกลงที่ ใช้ ในการติดต่อสื่อสารกันครับ เช่น HTTP, HTTPS, FTP) สังเกตจากตอนที่น้องจะเล่นอินเตอร์เน็ตหรือต่อ เข้าวงแลนเนี่ย ก็จะต้องมีตัวนึงที่เรียกว่า IP Address ถูกมั้ยครับ ไอ้ตัวเลข 192.168.0.1 อะไรทำนองนี้แหละครับ ซึ่งพี่เชื่อว่าคงคุ้นๆ กันทุกคนครับ วิชานี้เราก็จะได้เรียนเกี่ยวกับรายละเอียดข้างในของมันครับ ซึ่งละเอียด มาก เอาง่ายๆ พอเรียนวิชานี้จบน้องแทบจะเข้าใจความหมายของตัวหนังสือ ทุกตัว ตัวเลขทุกตัวที่เกี่ยวกับเน็ตเวิร์กเลยครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 204

แต่โดยเนือ้ หาคร่าวๆ แล้วเนีย่ ก็จะเรียนลงลึกไปในโปรโตคอลนีแ้ หละครับ (จะบอกทำไมหลายรอบ) เช่น ในเรื่องของ IP Address ที่เรียนมาหลายวิชา แล้วก็จะเรียนอีก แต่เจาะลึกมากๆ ครับ ในเรือ่ งของ TCP UDP ก็จะได้เรียน น้องๆ ที่เคยเล่นเกมจะคุ้นกับสองตัวนี้นะครับ เพราะว่าต้องตั้งค่ามัน เพื่อให้สามารถสร้างห้องเล่นเกมได้ (Warcraft III – DotA อะไรทำนองนั้น) ซึง่ จะได้รสู้ กั ทีวา่ มันคืออะไรกันแน่ ไอ้ตอนทำก็ทำๆ ตามทีเ่ ค้าบอก แต่ก็ ไม่ได้ เข้าใจความหมายสักเท่าไหร่ คราวนีก้ จ็ ะได้เข้าใจแล้วครับ แต่วา่ มันจะเริม่ เป็น ศั พ ท์ ที่ เ ฉพาะทางมากขึ้ น เรื่ อ ยๆ เอาเป็ น ว่ า ถ้ า น้ อ งสนใจยั ง ไงลองเอา Keywords ไปค้นหาดูละกันนะครับ เพราะถ้าพี่อธิบายหมดนี่หนังสือคงใหญ่ เท่าสมุดหน้าเหลืองเลยทีเดียวเชียว Assignment

พูดถึงวิชานี้แล้วสะดุ้งทุกทีครับ เพราะว่าเป็นวิชาที่สั่งงานเยอะมาก แต่ละงานก็นดิ ๆ หน่อยๆ ครับ บางอันก็เยอะ ซึง่ แบบงานก็เปลีย่ นไปทุกปี อารมณ์ว่า ป้องกันเราไปก๊อปจากรุ่นพี่มาส่งอะไรทำนองนั้นครับ แต่ เ ป็ น งานที่ น่ าสนใจมากครับ คือทำแล้วได้ความรู้ เ ต็ ม ๆ เช่ น เราจะได้วิเคราะห์ โปรแกรมๆ นึง เช่น Windows Live Messenger, Warcraft III, Skype, Firefox, อะไรทำนองนี้ ซึ่งก็เป็นโปรแกรมที่เรา ใช้งานกันทุกวันนี่แหละ โดยเราจะได้มานั่งดักจับแพ็คเก็ตที่มันส่งเข้า ส่งออกในเครื่องเราว่า มันทำงานยังไง ส่งอะไรไปบ้าง เช่น ตอนเรา Sign In Windows Live Messenger มันส่งข้อมูลอะไรออกไปบ้าง รหัสผ่านเรามีการเข้ารหัสรึเปล่า คนอื่นแอบดูง่ายมั้ย ตอนเรา แชทกับเพื่อนมันส่งข้อความยังไง หรือตอนเราเปิดเว็บ Facebook ใน Firefox นี่ มันมีการส่งการรับอะไรยังไงกันบ้างนัน่ เอง ซึง่ ก็สนุกดีครับ ได้รู้อะไรใหม่ๆ


วิศวคอมพิวเตอร์ 205

นอกจากนี้บางงานก็จะให้น้องไปสืบค้นข้อมูลบางหัวข้อมาครับ อย่างตอนพี่ทำเป็นหัวข้อ Congestion Control and Quality of Service ซึ่งก็ดูเหมือนจะหมูๆ เพราะไปหาใน Google เดี๋ยวเดียว ก็คงเจอแล้ว แต่ไม่ ใช่เลยครับ เพราะอาจารย์กำหนดว่าจะต้องอ้างอิง จาก IEEE, RFC หรืออะไรที่เทียบเท่างานวิจัยระดับสูงขนาดนี้เท่า นั้น Wikipedia นี่ ใช้ ไม่ ได้ พวกบทความตามเว็บไซต์หรือตามบล็อก ต่างๆ นี่ ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เพราะเอกสารที่อาจารย์ท่านให้อ้าง อิงเนี่ยเหมือนเป็นต้นขั้วของความรู้ทางด้านเน็ตเวิร์กหมดเลยครับ ถ้าเราไปเอาจากที่อื่น มันอาจจะมีอะไรที่คาดเคลื่อนไปได้ครับ ก็เลย ให้อา้ งอิงจากเอกสารพวกนีเ้ ลย ทีนเ้ี ลยกลายเป็นการบ้านแปลงานส่งไป ตลกมากครับ เพราะแปลออกมาแล้วบางทีกลับมาอ่านของตัวเองยังงงๆ มึนๆ เลยครับว่าจะสื่ออะไร แต่ก็เป็นอะไรที่สนุกสนานดีครับ ได้รู้จัก เอกสารวิชาการระดับไฮเอ็นด์แบบนีด้ ว้ ย บางงานก็จะมี ให้นอ้ งได้ตดิ ตัง้ และใช้งานลีนกุ ซ์เซิรฟ์ เวอร์ตามหัวข้อทีก่ ำหนดด้วยครับ ตืน่ เต้นเป็นบ้า


วิศวคอมพิวเตอร์ 206

แนวข้อสอบ

เอาเข้าจริงๆ แล้วเนื้อหาวิชานี้เป็นอะไรที่เยอะมากครับ เพราะว่า เราเรียนอะไรกันตั้งมากมาย แต่พอถึงคราวข้อสอบแล้วเนี่ย ต้องจับ ประเด็นให้ ได้ครับ ว่าช่วงนี้อะไรเป็นจุดสำคัญของแต่ละช่วง เพราะ บางบทมีแต่น้ำๆ บางคนก็ทุ่มอ่านกันเข้าไป แต่ก็ ไม่ออกข้อสอบอะไร ทำนองนี้ครับ แล้วข้อสอบบางทีก็อยู่เกินที่อาจารย์สอนบ้าง ซึ่งก็เป็น ธรรมชาติของชีวติ เด็กมหา’ลัยล่ะนะครับ ซึง่ ก็เล่นเอาเหนือ่ ยไปตามๆ กัน เพราะถัดจากโจทย์ปบุ๊ ก็เป็นช่องว่างเลยให้เราคิดเองเขียนเองทุกอย่าง แล้วโจทย์กช็ อบมาบอกว่า “ให้กำหนดค่าเองตามความเหมาะสม” อ้าว! ออกมาจากห้องสอบนี่มึนๆ งงๆ เลยครับไม่รู้ว่าจะได้คะแนนจาก ตรงไหนกันเลยทีเดียว Keywords

TCP/IP networks, TCP/IP layers, Internet address, Domain name system, TCP/IP Protocol Suits, IP, ARP, ICMP, TCP, UDP, Internet and routing protocol, RIP, OSPF, IS-IS, BGP, Routing device, Multicast routing, IPv6, IGMP, FTP, SMTP


วิศวคอมพิวเตอร์ 207

วิชาทีต ่ อ ้ งเรียนในปี 3 เทอม 3 โอ๊ะ ! พี่ไม่ได้พิมพ์ผิดแต่อย่างใดนะครับ น้องอาจจะงงว่า เฮ้ย เทอม 3 มันงอกมาจากไหน ปกติมนั มีแค่ 2 เทอมนีน่ า ปีนจี้ ะเป็นปีทแี่ ปลกกว่าชาวบ้าน ครับ เพราะว่าหลักสูตรของเราเนีย่ กำหนดให้ชว่ งปิดเทอมภาคฤดูรอ้ นของปี 3 น้องจะต้องลงทะเบียนวิชานี้ครับ คือ แท่น แท๊นนน ชื่อวิชา : Industrial Training ชื่อไทย : การฝึกงานอุตสาหกรรม ชื่อเล่น : ฝึกงาน วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

เป็นการฝึกงานภาคปฏิบัติที่จัดขึ้นตามสาขาวิชา โดยการฝึกงานใน โรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษทั เอกชนทัง้ ในและต่างประเทศทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ นักศึกษาทุกคนจะต้องผ่านการฝึกงาน นี้ ในช่วงของการศึกษาภาคฤดูร้อนพร้อมเขียนรายงานเสนอ คือการฝึกงานนั่นเองครับ เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะ จบออกไปเผชิญโลกภายนอกตามลำพังครับ ซึ่งเดี๋ยวพี่จะเล่าให้ฟังว่า พอขึ้น ปีสามก็จะมีเรื่องฝึกงานเข้ามา ซึ่งจะต้องทำการหาบริษัทเพื่อไปฝึกงานช่วง ซัมเมอร์ครับ โดยจะมีสองรูปแบบคือ บางบริษัทจะส่งเอกสารมาทางคณะว่า จะรับนักศึกษาไปฝึกงานกีค่ นๆ น้องก็จะต้องไปเช็ครายละเอียดจากทางสาขาวิชา แล้วก็เลือกบริษทั ทีอ่ ยากจะไปทำ แต่อกี กรณีหนึง่ คือ น้องไปหาบริษทั เองครับ ซึง่ ทางบริษทั จะไม่ได้สง่ เอกสารมาทีส่ าขาวิชา น้องก็ตอ้ งไปติดต่อเอาเอง หรือ อาจจะมีบริษัทญาติพี่น้องอยู่ก็แล้วแต่ครับ อันนี้ ไม่เกี่ยงกัน


วิศวคอมพิวเตอร์ 208

บริษัทใหญ่ๆ บางแห่งจะมีการจัดเป็นโครงการ Summer Internship ขึ้นมาเลยครับ ซึ่งน้องก็จะต้องไปทำตามขั้นตอนของเค้า จากเริ่มแรก ก็จะต้องมีการส่ง Resume และ Transcript ของเราไปให้ทางบริษัทพิจารณา จากนั้นก็จะต้องไปสอบข้อเขียนเพื่อวัดความสามารถครับ แล้วก็มีการสอบ สัมภาษณ์ครับ ซึง่ ก็มที งั้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษปนๆ กันไป ทีนนี้ อ้ งก็ตอ้ ง ไปเตรียมพร้อมภาษามาเองครับ แต่บางบริษัทก็ ไม่มีการจัดสอบครับ อาจจะแค่คุยนิดๆ หน่อยๆ แล้ว ก็รับเข้าไปทำงานเลย ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่น้องเลือกครับ แต่พี่อยากแนะนำให้ น้องเลือกบริษัทที่สายงานตรงกับสายงานที่น้องคิดว่าจะไปทำในอนาคตครับ เพราะว่าเราก็ต้องไปฝึกงานถึงสองเดือนด้วยกัน จะได้อะไรมากน้อยก็ขึ้นอยู่ กับตรงนี้ครับ บางครั้งน้องอาจจะเคยอ่านจากอินเตอร์เน็ต หรือไม่ก็มีรุ่นพี่มาเล่า ให้ฟังถึงประสบการณ์ฝึกงานต่างๆ บางคนได้รับโปรเจ็คใหญ่ ให้ทำ บางคน ออกไซด์ลงพื้นที่กับพี่ๆ ที่ทำงานตลอด บางคนออกแนวไปเรียน หรือบางคน ออกแนวไปนั่งเล่นเน็ต คอยชงกาแฟ ถ่ายเอกสาร ก็เถอะครับ ซึ่งบางคน ก็ อ ยากไปฝึ ก งานที่ ไ ด้ ท ำอะไรจริ ง ๆ อั น นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ นิ สั ย ส่ ว นบุ ค คลครั บ แต่พี่อยากบอกให้รู้ ไว้นิดนึงครับว่า เมื่อก่อนพี่ก็เคยคิดว่าเป็นแบบนั้นครับ แต่จริง ๆ แล้วไม่ ใช่เลยครับ ความจริงมันมีอะไรซ่อนอยู่มากมาย น้องอาจจะ สงสัยว่า อ้าว! ทำไมพีพ่ ดู แบบนี้ เอาอย่างนีแ้ ล้วกัน พีข่ อคัดลอก “วัตถุประสงค์ ของการฝึกงานภาคฤดูรอ้ น” จากหนังสือ “ระเบียบการฝึกงาน” ทีค่ ณะของพีเ่ ป็น คนมอบให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงานให้ฟังครับ


ปี 4 ตะลุยโปรเจ็ค เด็กวิศวะคอมฯ

มาถึงปีสดุ ท้ายกันแล้วนะครับ สำหรับชีวติ ว่าทีว่ ศิ วกรคอมพิว เตอร์อย่างเรา เรียกได้ว่าสามปีที่ผ่านมานี่ก็ได้ ใช้ชีวิตกันอย่าง เต็มที่ไปแล้วครับ พอมาถึงปีสนี่ กี่ จ็ ะเรียนน้อยลงแล้วครับ เพราะ วิชาบังคับเราเรียนไปหมดแล้ว เหลือแต่วิชาเลือกกับโปรเจ็ค พอขึน้ มาปีสแี่ ล้วก็จะเริม่ วุน่ วายกับการหางาน การสมัครงาน เตรียมภาษา อังกฤษมากขึ้นครับ เพราะบางบริษัทต้องใช้คะแนน TOEIC ในการสมัคร ต้องได้กี่คะแนนขึ้นไปถึงจะสมัครได้ซึ่งก็วุ่นวายกันดีครับ นอกจากนีย้ งั มีการแข่งขันต่างๆ มากมายเลยครับ ไม่วา่ จะแข่งขันพัฒนา ซอฟต์แวร์ แข่งขันด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่าย หรือแข่งขันด้าน ระบบเน็ตเวิร์กและอื่นๆ อีกมากมาย บางคนก็เป็นช่วงสำคัญที่จะตัดสินใจว่า จะเรียนต่อหรือจะทำงาน ซึง่ ช่วงนีเ้ ป็นช่วงทีม่ เี รือ่ งให้ตอ้ งทำเยอะแยะไปหมด เลยครับ ถึงแม้จะเรียนน้อยลง แต่ก็ยังคงยุ่งๆ วุ่นวายเหมือนเดิม วิชาทีต่ อ้ งเรียนในปี 4 เทอม 1 Project 1 Elective Course in Computer Engineering, Free Electives วิชาทีต่ อ้ งเรียนในปี 4 เทอม 2 Project 2 Elective Course in Computer Engineering, Free Electives


วิศวคอมพิวเตอร์ 213

Project งานชีช ้ ะตา จบ-ไม่จบ ชื่อวิชา : Project ชื่อไทย : โครงงาน ชื่อเล่น : Project (โปรเจ็ค) วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ทำการวิ จั ย และพั ฒ นางานเฉพาะในสายวิ ศ วกรรมคอมพิ ว เตอร์ นั ก ศึ ก ษาต้ อ งเสนอรายงานและข้ อ สรุ ป ของงานที่ ท ำเมื่ อ สิ้ น สุ ด เทอมสุดท้ายของการศึกษา การทำโครงงานหรือโปรเจ็คนี่ดูจะเป็นสิ่งคลาสสิคที่หลายๆ คณะทำกัน ครับ บางครั้งอาจจะใช้คำว่า ‘ปริญญานิพนธ์’ ก็ว่ากันไปครับ คือเป็นการเอา ความรู้ทั้งหมดที่เราได้เรียนมาตั้งแต่ปี 1 มาทำเป็นโครงงานอะไรสักอย่างนึง ขึ้นมา ซึ่งถ้าไม่ผ่านวิชานี้ก็ ไม่สามารถจบการศึกษาได้ครับ เริม่ จากตอนแรกเนีย่ เราก็จะต้องทำการหาอาจารย์ทปี่ รึกษา และหาหัวข้อ ทีจ่ ะทำก่อนครับ ซึง่ สองสิง่ นีม้ กั จะทำไปพร้อมๆ กัน บางครัง้ อาจารย์ทา่ นก็จะ ประกาศรับสมัครนักศึกษามาทำโปรเจ็คหัวข้อนี้ๆ หรือบางครั้งถ้าเราอยาก ทำหัวข้อนี้ ก็ ไปติดต่อกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสายเดียวกับโปรเจ็ค ของเราครับ ซึ่งเราก็จะทำกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละสองคน เรียกได้ว่าร่วมเป็น ร่วมตายกันทั้งปีครับ เพราะฉะนั้นก็ ไม่ ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะเริ่มจองตัวกัน ตั้งแต่ตอนอยู่ปีสามแล้ว โปรเจ็คที่เราจะได้ทำก็มีทั้งสายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิรก์ ครับ แล้วแต่ชอบ ‘ทางใครทางมัน’ บางคนก็จบั มารวมกันก็มคี รับ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละทีม


วิศวคอมพิวเตอร์ 214

ข้อแตกต่างระหว่างวิชาโปรเจ็คกับวิชาอื่นคือ วิชานี้ ไม่มีห้องเรียนครับ เราต้องศึกษาเองทำเองและมีอาจารย์ทปี่ รึกษาคอยให้คำแนะนำครับ โดยอาจ จะนัดคุยกันทุกสัปดาห์ หรือยังไงก็ตามแต่ข้อตกลงครับ แถมหัวข้อที่จะทำก็ ไม่เหมือนกันอีกครับ ใครสนใจอันไหนก็ ไปทำอันนั้น แถมโปรเจ็คที่เราทำ สามารถส่งไปประกวดได้ด้วย แต่ก็ด้วยความที่มันไม่มีอะไรมาบังคับนี่แหละครับก็อาจจะลำบากหน่อย เพราะบางทีกห็ ลงๆ ลืมๆ ไม่คอ่ ยจะได้ทำกัน ทำให้ตอ้ งรีบปัน่ กันตอนใกล้ๆ ส่ง ทางคณะคงเห็นปัญหาข้อนี้ดี จึงกำหนดให้มีการส่งความคืบหน้าอยู่เป็น ประจำครับ สองสัปดาห์บ้าง สามสัปดาห์บ้าง ประมาณว่าเราต้องไปนำเสนอ ความคืบหน้ากับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอลายเซ็นต์ท่านมาในเอกสารเราแล้ว เอาไปส่งครับ ซึ่งก็เป็นอะไรที่ตื่นเต้นดีครับ บางกลุ่มลืมทำต้องไปขออาจารย์ ว่าช่วยเซ็นต์ ให้ก่อน เดี๋ยวงานมาทีหลังก็มีครับ ตลกไปอีกแบบ อีกเหตุผลหนึ่งที่ ไม่ค่อยอยากไปคุยกับอาจารย์บ่อยๆ กันเพราะว่า พอเราไปคุยปุ๊บ ไอ้งานที่เราคิดว่าเสร็จแล้วนี่งอกมาจากไหนก็ ไม่รู้ครับ คือ อาจารย์ท่านก็จะพยายามเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดให้ แต่ด้วยความขี้เกียจของ นักศึกษาก็ ไม่ค่อยอยากจะทำกันเท่าไหร่ ฮ่าๆ ส่วน Project 1 กับ Project 2 ก็จะเป็นหัวข้อเดียวกันครับ จะแตกต่างกัน ตรงที่ส่วนใหญ่แล้ว Project 1 จะเป็นการศึกษาหาข้อมูลมากกว่าครับ เช่น เราอยากพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาชุดนึงเนี่ย เราก็ต้องศึกษาข้อมูลก่อนว่าจะใช้ เทคโนโลยีไหนในการทำ ใช้ภาษาอะไร รูปร่างหน้าตาเป็นยังไง เหมือนเป็นการ ชิมน้ำจิม้ ไปก่อนทีจ่ ะเริม่ ทำอย่างจริงจังใน Project 2 ครับ แต่กม็ บี างกลุม่ ทีฟ่ ติ มากทำเสร็จตั้งแต่ Project 1 ก็มีครับ แต่น้อยมากหาไม่ค่อยเจอหรอกครับ


วิศวคอมพิวเตอร์ 217

วิชา : Elective Course in Computer Engineering ชื่อไทย : วิชาเลือกทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

อย่างทีพ่ ี่ได้บอกไปครับว่า เราก็ ได้เรียนวิชาบังคับไปหมดแล้ว เรียกได้วา่ รู้สิ่งที่วิศวกรคอมพิวเตอร์ควรจะรู้ ไปหมดแล้ว ในช่วงปีสี่นี่ก็จะเป็นการเปิด โอกาสให้เราได้เลือกเองแล้วครับว่า อยากจะเพิม่ ทักษะทางด้านไหนให้กบั ตัวเอง ซึ่งเราก็สามารถเลือกเรียนได้อย่างเต็มที่เลยครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะเรียนไหวแค่ ไหนเลยครับ ^^ เนื่องจากวิชาเลือกมันมีเยอะมากเลยครับ แต่ว่าไม่ ได้เปิดครบทุกตัวขึ้น อยู่ว่าปีไหนจะเปิดอะไรครับ งั้นเดี๋ยวพี่จะเล่าเกี่ยวกับวิชาที่เป็นที่นิยมให้ฟัง ละกันนะครับ ส่วนวิชาอื่นๆ จะเอาคำอธิบายรายวิชามาใส่ประกอบให้น้องๆ เห็นภาพมากขึ้นครับ

วิชาสาย Hardware วิชา : Micro Robot Development ชื่อไทย : การพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ชื่อเล่น : Robot (โรบอท)

ความจริงแล้วเรื่องของหุ่นยนต์นี้เป็นของสาขาแมคาทรอนิกส์ โดยตรง น้องอาจจะสงสงสัยว่า อ้าว! งั้นทำไมเราถึงได้เรียนล่ะ คือจริงๆ แล้ว วิชานี้ จะไม่ ได้เรียนหุ่นยนต์ ในแบบที่สาขาอื่นเค้าเรียนกันครับ คือถ้าเป็นสาขาอื่น จะเรียนทั้งส่วนที่เป็น Mechanic คือส่วนที่เป็นเครื่องกล เช่น โครงสร้าง มอเตอร์ เฟือง ฯลฯ และส่วนที่เป็น Electronics คือวงจรต่างๆ ครับ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.