Born to be เภสัชกร

Page 1


Born to be เภสัชกร สิงหาคม 2554 ISBN 978-616-9 0160-7-6 จำนวนหน้า 320 หน้า ราคา 220 บาท

เขียนโดย : กิ่งก้านต้นมะกอก บรรณาธิการ : ภีรพล คชาเจริญ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ : สุรัสวดี วงศ์จันทร์สุข รูปเล่ม/ภาพประกอบ : ByNature Printing Service

สนพ. บายยัวร์เซลฟ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง 119/272 หมู่ 8 ซ.รัตนาธิเบศร์ 18 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 525 5033, 39 แฟกซ์ 02 580 4654 จัดจำหน่าย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222, 0-2739-8000 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากสำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์ พับลิชชิ่ง


Are you a Good Pharmacist?


คำนำ หลายคนมีความฝัน หลายคนมีความหวัง แต่มีเพียงบางคนที่สามารถ ทำได้ดั่งที่ตนเองใฝ่ฝันทุกประการ ไม่ใช่ว่า “เขา” คนนั้น มีความพิเศษเลอเลิศ เหนือใคร หากแต่เขามีความพยายามบากบั่นไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย คนจำนวนไม่น้อยมักมองภาพความสำเร็จของคนๆ หนึ่งว่า “ช่างโชคดี” โดยไม่คดิ อย่างไตร่ตรองว่า อะไรทำให้เขาได้สงิ่ นัน้ ตามทีใ่ จปรารถนา เพือ่ นคน นั้นช่างโชคดี ได้เรียนในคณะที่น่าสนใจ เรียนในคณะที่ชอบ มีความสุขใน การเรียน จบไปก็ได้ทำงานอย่างมีความสุข แต่บางคนได้เรียนในคณะที่ใครๆ ต่ า งอิ จ ฉา แต่ อ นิ จ จา “มั น ไม่ ใ ช่ ” ต้ อ งอดทนอดกลั้ น เรี ย นไปเรื่ อ ยๆ ด้ ว ยความที่ พ อเล่ า เรื่ อ งนี้ ใ ห้ ใ ครฟั ง คนอื่ น ๆ ก็ พ ากั น บอกว่ า “ทำไมล่ ะ คณะนี้ดีออกนะ เงินดี ไม่ตกงาน งานสบาย” สุดท้ายก็ทนไปเรื่อยๆ บางคน ทนไม่ไหวก็ลาออกไปกลางคัน บางคนก็ทนไปจนเกือบทั้งชีวิต ด้วยความ ไม่กล้าพอในการตัดสินใจ บางคนก็คิดว่าไม่ใช่แต่ด้วยความยึดติดกับบางสิ่ง ยึดติดกับคำพูดบางอย่างก็ลาออกไปสอบคณะใหม่ พร้อมกับเจอปัญหาเดิมๆ ที่ทำไปเพราะลมปากคนอื่น แต่ไม่เคยถามใจตัวเองว่า “ชอบอะไรกันแน่” การค้นหาว่าเราต้องการจะเป็นอะไร มันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก เกินหากต้องการจะรู้ สละเวลาเล็กน้อย ข้อมูลบางอย่างก็อาจจะทำให้ เราไม่ตอ้ ง มานั่งเสียเวลาและเสียใจในภายหลัง อย่าพูดว่า “ชอบคณะนี้จัง อยากเรียน” แต่ความจริงแทบไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับคณะนี้เลยแม้แต่น้อย


ขอบคุณสำนักพิมพ์ที่ให้โอกาสในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ที่ใช้เวลานาน มากเสียจนอาจจะทำให้ทางสำนักพิมพ์ทอ้ ว่าตกลงจะสำเร็จไหม ให้โอกาสทีจ่ ะ สานความตั้งใจเดิมตั้งแต่เริ่มขีดเขียนบอกกล่าวเล่าความ เกี่ยวกับการเรียน ในคณะเภสัชศาสตร์ในเว็บไซต์แห่งหนึ่งมานานร่วมเจ็ดปีแล้ว นับตั้งแต่วันที่ บทความได้เผยแพร่ในเว็บ หากข้ อ มู ล ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ มี ข้ อ ผิ ด พลาดประการใด ไม่ ว่ า จะเป็ น ข้อมูลตกหล่น ไม่ครบถ้วน รวมถึงตีความคลาดเคลือ่ น ผูเ้ ขียนขออภัยอย่างสูง และขอชี้แจงว่ามิได้มีเจตนาคิดร้ายใดๆ ทั้งสิ้น สุ ด ท้ า ยนี้ ขอบคุ ณ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ที่ ค อยให้ ก ำลั ง ใจมาโดยตลอด ครูอาจารย์ทุกท่านที่ช่วยอบรมสั่งสอนให้ความรู้ต่างๆ ขอบคุณบทความ ทุ ก ชิ้ น นั ก เขี ย นทุ ก ท่ า นที่ น ำมาใช้ อ้ า งอิ ง รุ่ น พี่ เพื่ อ นๆ น้ อ งๆ ในด้ า น ข้อมูลและเรื่องเล่าต่างๆ น้องหนิงที่ช่วยส่งแนวข้อสอบตรงมาให้ และพี่ก็ได้ หยิบยกมาใช้ รวมถึงได้โพสต์เผยแพร่ในเว็บตามความตัง้ ใจ ขอบคุณห้องคอมฯ อินเตอร์เน็ตคณะเภสัช ทีท่ ำให้สามารถค้นคว้าข้อมูลทีจ่ ำเป็นมากมาย ขอบคุณ ประสบการณ์ในชีวิตที่ทั้งดีและร้ายที่ช่วยหล่อหลอมเรา ขอบคุณตัวเองที่มี ความกล้าและความตั้งใจจนสามารถทำให้เขียนเรื่องราวได้สำเร็จ กิ่งก้านต้นมะกอก (28 เมษายน 54)


แถลงการณ์ก่อนอ่านของ ผขส.

ก่อนที่ท่านจะอ่านเรื่องราวอันวิจิตรพิสดาร ทางเรา ผขส. (ผู้เขียนสวย) ขอความกรุณาทุกท่านอ่านและทำความเข้าใจ รวมถึงปฏิบัติตามในสิ่งที่เรา ได้ระบุเอาไว้

คำเตือน

นี่คือส่วนหนึ่งของชีวิตนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ ที่มีหลากรส หลายสีสัน และมันส์ (ถ้าพบว่าไม่มันส์ก็จงทำใจ) เกือบทุกแง่ทุกมุมจะถูกนำ เสนอเพื่อความบันเทิงอย่างสูงสุด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

หมายเหตุ

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ มาจากประสบการณ์และมุมมองส่วนตัวของ ผู้ เ ขี ย น โดยหลั ก สู ต รที่ ใ ช้ อ้ า งอิ ง (เป็ น หลั ก ) เป็ น ของคณะเภสั ช ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึง่ หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2552 (หลักสูตร 6 ปี) ซึง่ ปัจจุบนั มีนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษาด้วยหลักสูตรนี้ กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 เนื้อหาส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากประสบการณ์จากการเรียนของผู้เขียน (เพราะหลายวิชายังคงเหมือนเดิม แต่การปรับปรุงครัง้ ใหม่ของหลักสูตรก็จะมี ลด หรือเพิม่ เติมให้มคี วามกระชับ ครอบคลุม ทันสมัยขึน้ รวมถึงเปลีย่ นชือ่ วิชา หรือแยกเนือ้ หาออกมาเป็นอีกวิชาหนึง่ ) และได้มกี ารหาข้อมูลเพิม่ เติมจากรุน่ น้อง พี่คุมแล็บ หรือผู้รู้บางท่าน และรวมถึงการค้นคว้าจากทางอินเตอร์เน็ต หากไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดประการใด ผูเ้ ขียนน้อมขออภัยเป็นอย่างยิง่ และเป็นความผิดของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว (แต่ก็ได้ทุ่มเทพลังวัตรพันปีไป จนแทบหมดสิ้นแล้ว แค่หาข้อมูลและสอบทานความถูกต้อง(ให้มากที่สุด)ใช้ เวลามากกว่าครึ่งของการเขียนเลยทีเดียว)


ที่ชอบ อาจ ไม่ใช่?... ที่ใช่ อาจ ไม่ชอบ

แรงบันดาลใจทีผ่ ลักดันให้เกิดงานเขียนแนะนำคณะมาจากทีว่ า่ ในขณะ นั้นมีน้องมากมายอยากเข้าเรียนในคณะนี้ แต่น้อยมากที่จะรู้จักว่าคณะ นี้เรียนเกี่ยวกับอะไร ทำงานอะไร ประกอบกับในสมัยก่อนนั้นปัญหาเด็ก ซิ่วลาออกจากคณะปีหนึ่งๆ เกือบ 20-30% ของจำนวนนักศึกษาในชั้นปี จนมีคำกล่าวแบบติดตลกว่า “คณะเภสัชฯ คือ คณะเตรียมแพทย์” นอกจากนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากตัวเอง ซึ่งยอมรับว่าเข้าคณะนี้มาได้ โดย ไม่ได้ตั้งใจ เลือกแล้วก็ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับคณะนี้เลย ทำให้มีช่วงเวลาหนึ่งใน การเรียนเกิดความทุกข์อย่างหนัก จนเกือบจะตัดสินใจลาออก แต่สุดท้ายก็ ไม่ได้ทำ เพราะลาออกไปก็ยังไม่รู้ว่าตนเองจะทำอะไร เรียนคณะอะไร แม้จะมีคนบอกว่าเรามีความสามารถในด้านการวาดภาพ การออกแบบ แต่ด้วยความคิดที่ว่าก็ไม่รู้ว่าเรียนศิลปะแล้วต่อจากนั้นล่ะ จึงสู้ทนเรียน ไปและเรี ย นให้ ผ่ า นไปแต่ ล ะวั น ช่ ว งที่ ทุ ก ข์ ก็ เ ริ่ ม งานเขี ย นแนะนำคณะ เพราะคิดว่า “บางคนที่เขาคิดจะเรียนคณะนี้จะได้รู้ว่าคณะนี้เป็นอย่างไร” ถ้าชอบจะได้พยายามให้เต็มที่ ถ้าไม่ชอบจะได้ไม่ตอ้ งมานัง่ ทนทรมาน หรือต้อง มาเสียเวลาเรียนไป เพราะสุดท้ายก็ต้องลาออกอยู่ดี มี น้ อ งๆ หลายคนให้ ก ำลั ง ใจ สิ่ ง ที่ รู้ สึ ก ดี ใ จที่ สุ ด มี น้ อ งอยู่ ค นหนึ่ ง ที่บอกว่า “เราเป็นแรงบันดาลใจให้เขา” ซึ่งขอบคุณน้องมากๆ มันทำให้ เราอยากจะพยายามต่อไป ในการปรับปรุงและเข้ามาตอบคำถาม (ขอบคุณ น้องหนิง Rx 42 มากนะคะ)


F

O

36 47 50 54 60 70 75 78 85 89 91 92

เตรียมสอบ เข้าคณะเภสัชฯ ระบบแอดมิชชั่นเข้าเภสัช สถิติคะแนนสอบเข้า คุณสมบัติแบบไหนถึงได้เรียน เลือกมหาวิทยาลัยไหนให้โดน ค่ายเภสัช! ค่ายหมอยา! สัมผัสก่อนตัดสินใจ ตอบคำถามให้ติดค่ายชัวร์ๆ การสอบตรง เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ ทำพันธะสัญญา-สัญญาใจ ติดต่อหาหอพัก ไม่ใช่เด็กๆ แต่เป็นนักศึกษาแล้ว

94 94 96 99 102 123 124 125

ปี 1 โลกใบใหม่ มหา’ลัยเจ้าค่ะ! ชีวิตวุ่นๆ หลังสอบติด! ภารกิจชีวิตของเด็กปี 1 จับฉลากหาคู่ (ร่วมห้องร่วมหอ) เรื่องรัก(ไม่)ลับ : ภาค เฮฮาประสาเด็กเฟรชชี่ วิชาในหมวดเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ กิจกรรมสร้างสรรค์ เคล็ดลับการเอาตัวรอด

128 ปี 2 ฤดูเริ่มเปลี่ยน กลิ่นคณะเริ่มโชย 129 ข้อสอบลวงสติปัญญา! 130 เคล็ดลับการสอบข้อเขียน

HN

24 จบเภสัชแล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้าง 25 วิจัยพัฒนา & ผลิตยา-โรงงานยา (เภสัชกรอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน) 30 นำเสนอยาเข้าโรงพยาบาล-ร้านยา 32 ให้คำปรึกษาการใช้ยาอย่างถูกวิธีแก่ประชาชน 35 สุ่มตรวจติดตามปัญหาต่างๆ ของยาและอาหารเสริม 35 สร้างเภสัชกร (มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน)

Et N

10 อยากเรียนเภสัช ต้องทำอย่างไร 10 เส้นทางหมอยา…“เภสัชกร” 14 คำถามยอดนิยม


COOH

156 ปี 3 วิชาคณะเต็มตัว อะไรก็เภสัช 157 เรียนหนักเข้มข้นเท่าทวีคูณ 190 พักครึ่งทางก่อนไปต่อ 192 ปี 4 เภสัชครึ่งหลัง ก่อนแยกสาย

F

O

212 ปี 5 ถึงทางแยก เภสัชเฉพาะด้าน 214 วิชาเรียนทั้งสายด้านผู้ป่วย (บริบาลเภสัชกรรม) และผลิตภัณฑ์ (เภสัชศาสตร์) 220 วิชาของสายด้านผู้ป่วย (บริบาลเภสัชกรรม) 225 วิชาของสายด้านผลิตภัณฑ์ (เภสัชศาสตร์) 236 วิชาเลือกวิชาชีพ 237 โครงการพิเศษ 238 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (เฉพาะกิจ)

HN

240 242 243 245 248 257

ปี 6 ฝึกงานเภสัชฯ ภาคสนาม เตรียมตัวให้พร้อม...เภสัชมือสมัครเล่น ฝึกงานภาคสนาม เม้าท์ชีวิตเด็กฝึกงาน ทำอะไรบ้าง เมื่อต้องฝึกงาน Bye Noir กิจกรรมส่งท้าย

258 258 264 278 286 290 294 297 300 302 305 311 314

ภารกิจชีวิตเภสัชกร จบแล้วจ้า...ได้เวลาออกสู่โลกกว้างแล้ว The Last War สงครามครั้งสุดท้าย (สอบ) เรื่องน่ารู้เมื่อเรียนจบ เรียนต่อหรือทำงาน? เตรียมพร้อมก่อนสมัครงาน การเขียน Resume (หรือ Curriculum Vitae;CV) การสอบข้อเขียนหรือการทดสอบต่างๆ สัมภาษณ์งานอย่างไรให้ได้งาน แจก(อม)ยิ้ม…เมื่อทำงานวันแรก เภสัชฯแขวนป้าย…ทำไมมี โครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงเภสัชกรรม

Et N


อยากเรียนเภสัช ต้องทำอย่างไร เส้นทางหมอยา…“เภสัชกร”

สองมือล้วงกระเป๋า.....สองเท้าก้าวเข้ามา.....ใครอยากรู้จักเกี่ยวกับค ณะเภสัชศาสตร์.....อย่ารอช้า.....วันนี้จะมาสาธยายขยายความเกี่ยวกับ คณะเภสัชศาสตร์ให้อศั จรรย์ รับรองว่าเมือ่ อ่านจนจบครบถ้วนกระบวนความ จะรู้เห็นจนซาบซึ้งและเข้าใจว่า เส้นทาง “กว่าจะได้เป็นเภสัชกร” นั้นจะ เป็นอย่างไร ต้องล้มลุกคลุกคลานผ่านเรื่องราวหวาน ขม อมเปรี้ยว ฮากระจาย กันแค่ไหนติดตามได้ใน “Born to be เภสัชกร” อ๊ะๆ เดีย๋ ว!! ใจเย็นๆ ....ก่อนทีไ่ ปทำความรูจ้ กั มักคุน้ กับคณะนี้ เราต้อง มาทดสอบความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับคณะเภสัชฯ เสียก่อน มาดูกนั สิวา่ เรารูอ้ ะไร เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์กันบ้าง?? มาเริ่ ม กั น ที่ ค ำถามแรกที่ สุ ด แสนจะง่ า ยดายปานพลิ ก ฝ่ า มื อ (ตอบไม่ได้...อย่าลืมกลับไปพิจารณาตัวเองด้วยล่ะ อุ้ย....ไม่ใช่ๆ)


11

คำถามแรก “คณะเภสัชศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร?” ติก๊ ต่อกๆ เริม่ จับเวลาแล้ว รีบตอบก่อนเวลาจะหมด ถ้าตอบไม่ได้ไม่เป็นไร เรายังมีคำถามสำรองอีกข้อที่ก็ง่ายไม่แพ้กัน คำถามทีส่ อง “คณะเภสัชศาสตร์จบมาสามารถทำงานอะไรได้บา้ ง?” ตอบคำถามสองข้อนี้กันได้หรือเปล่า?? ถ้าตอบไม่ได้หรือตอบได้ แต่ยัง ไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือเปล่า?? เราลองมาดูเฉลยคำตอบของคำถามข้างต้น คิดว่าคำตอบส่วนใหญ่ในใจน้องๆ คงหนีไม่พ้นประมาณว่า “เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับยา ทำยา ขายยา” “ทำงานก็….เปิดร้านยา หรือไม่ก็ทำงานตามโรงพยาบาล โรงงาน” ถ้าหากถามให้ลึก อยากให้ตอบ ให้อธิบายประกอบ… น้องๆ ก็ตอบแบบ คนที่ “ก็รู้เท่านี้ล่ะ” ก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะถ้านำคำถามนี้กลับไปถาม คุณปู่ คุณย่า อาม่า อากง ญาติโกโหติกา ก็คงจะบอกว่า “เออ... เรียนเภสัชก็ดีเนอะ เรียนจบจะได้เปิดร้านยา” “เรียนเภสัชงานสบาย รายได้ดี ไม่มีตกงาน” “ขายยากำไรดี ลูกค้าไม่(ค่อย)ต่อราคา” แต่ว่า...ความจริงนั้นเป็นอย่างที่เล่าอ้างกันแน่หรือ โดยเฉพาะประโยค “เรียนเภสัชงานสบาย รายได้ดี ไม่มตี กงาน” คงจะกระตุน้ โสตประสาทของน้อง บางคนให้ตื่นตัวตาโพลงด้วยความสนใจ ถ้าอยากรู้ความจริงก็จงตามมา


23

“จบเภสัชแล้วทำงานได้เงินเท่าไร จบด้านไหน หรือทำงานอะไร รวยสุดครับ” ถ้าจะให้รวยคงต้องลงทุนในหุ้นล่ะมั้งคะ? หรือไปเป็นดารา นางแบบ นั ก ร้ อ ง อั น นี้ รั บ ทรั พ ย์ เ ยอะค่ ะ นอกเรื่ อ งแล้ ว ... คื อ รายได้ ข องเภสั ช ก็ เ ฉลี่ ย ราวๆ 20,000–28,000 บาท สำหรั บ นั ก ศึ ก ษาจบใหม่ (อั น นี้ เอกชนค่ ะ ) ถ้ า เป็ น รั ฐ บาลก็ จ ะน้ อ ยกว่ า นี้ ยกเว้ น ไปทำงานในที่ ห่ า งไกล เขาก็จะมีเบี้ยกันดารให้ ส่วนถ้าเป็นเภสัชกรการตลาดก็มากกว่านี้ มันจะมีในส่วนของเงินเดือน ค่ายานพาหนะ ค่าคอมมิชชั่น ซึ่งค่าคอมมิชชั่นจะขึ้นกับว่าปิดยอดได้เท่าไร ปิดได้กี่ % ค่ะ แต่อยากให้ดูว่าเราชอบทางด้านไหนมากกว่านะคะ เพราะ ถึงได้เงินมาก แต่ถ้าเราไม่ชอบ เราก็ทำได้ไม่นาน หรือไม่มีความสุข อย่าเพิ่ง สนใจเรือ่ งนีม้ ากจนเกินไปนัก จบเภสัชถ้าไม่ฟงุ้ เฟ้อ ขยันเก็บเงิน ก็มเี งินใช้จา่ ย ได้อย่างสบายเลยค่ะ ไม่ลำบาก ณ ปั จ จุ บั น อนาคตของวิ ช าชี พ นี้ ถื อ ว่ า ดี จบมาไม่ ต กงาน ยกเว้ น เลือกงานมากถึงมากที่สุด (แบบจะเอาเงินเยอะๆ งานน้อยๆ บริษัทไฮๆ ใครจะมีให้ล่ะจ๊ะ) ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.cuas.or.th/admbook53/index.html สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 *ตัวอย่าง เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ **ตัวอย่าง เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล


เตรียมสอบ เข้าคณะเภสัชฯ เมื่อเราตัดสินใจแล้วว่า “จะลุย!” เราจะต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจ ให้พร้อม “เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”

ขั้นตอนแรกคือ “ทำใจ”

อันนี้ไม่ได้ล้อเล่น มันต้องทำใจ เพราะคณะนี้มีเสียงเล่าลือว่าเป็นคณะ ที่เรียนหนักคณะหนึ่งเลยทีเดียว ถ้าจะคิดเรียนๆ เล่นๆ อย่าได้คิดเชียวนะ เดี๋ยวจะได้เกรดแบบเล่นๆ บ้าง

ขั้นตอนที่สองคือ “สำรวจ”

สำรวจว่าตัวเราชอบวิชาอะไร เพราะการที่น้องได้เหยียบย่างเข้าคณะ เภสัชฯ วิชาหลักๆ ที่จะตามหลอกหลอนน้องไปตลอดเวลาการเรียน รวมถึง ต้องงัดออกมาใช้ในการทำงาน คงหนีไม่พ้น “วิชาเคมี” โดยเภสัชจะพบ เคมีมาก โครงสร้างยาสารพัดก็คือโครงสร้างเคมี ถ้าพื้นฐานดี ชอบเรียนก็จะ มีความสุขในการเรียน แต่ถ้าไม่ชอบหรือ “หนูไม่เก่ง หนูไม่ get” ก็ใช้ความ อดทนและขยันเข้าสู้ก็แล้วกัน อีกวิชาทีล่ มื ไม่ได้คอื “ชีวะ” เพราะเราจะสังเกตได้วา่ เภสัชเรียนเกีย่ วกับยา การนำยามาใช้ในมนุษย์ ดังนัน้ กลไกของร่างกายก็ตอ้ งเรียนรู้ แถมอย่างทีน่ อ้ งๆ น่าจะทราบ ว่าชีวะเป็นวิชาออกแนวท่องจำ (ถึงแม้จะต้องเข้าใจด้วย) คนทีช่ อบ แสดงถึงว่า สามารถอดทนท่องตำรับตำราได้ มีความจำดี (เพราะถ้าความจำไม่ดี อ่านแล้วจำไม่ได้ ก็คงไม่ชอบใช่ไหมล่ะ?) เพราะเนื้อหาที่เราต้องเรียนด้วยนั้น


37

มีจำนวนไม่น้อยที่มีลักษณะเช่นนี้ คนที่ไม่ชอบวิชาท่องจำ ถ้าอยากเรียนก็ เรียนได้ แต่ความขยันก็จงมีเอาไว้มากๆ นะ แล้วฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์ล่ะ ถ้าจะเรียนเภสัชจะต้องเก่งไหม? อันนี้เป็นคำถามที่น้องๆ หลายคนถามเข้ามาในเว็บกันมาก ขอบอกว่า สำหรับวิชาคณิตที่จะเน้นชัดๆ จะเป็นเรื่องแคลคูลัสกับสถิติ ส่วนฟิสิกส์มันจะแทรกซึม ไม่ได้ยากอย่างที่คิด และไม่ได้เรียนมาก เหมือนทีค่ าด แต่จะทิง้ ก็ไม่ได้ (เพราะมันก็เป็นวิชาพืน้ ฐานค่ะ ขืนทิง้ อาจเจอกัน ตอนซัมเมอร์ก็ได้ อดทนหน่อย เดี๋ยวมันก็ผ่านไป) มีเกี่ยวกับวิชาทางเภสัชบ้าง แต่ไม่ยากอย่างที่น้องๆ มักชอบกังวล ส่วนภาษาอังกฤษก็ตอ้ งอ่านออกเข้าใจได้ ไม่ตอ้ งถึงขนาด “เทพ” มาเรียน นอกเสียจากน้องหนูจะเข้าคลาสเลือก “เภสัชหลักสูตรอินเตอร์” อันนี้ก็นะ.... (เดีย๋ วจะบอกอีกทีวา่ “อินเตอร์” เนีย่ มีเปิดทีม่ หาวิทยาลัยไหนบ้าง) ภาษาอังกฤษ สำคัญ เพราะตำราทีอ่ าจารย์แนะนำให้อา่ นประกอบ จะเป็นภาษาต่างประเทศ มากกว่าตำราภาษาไทย และเอกสารประกอบการเรียนทีไ่ ด้รบั แจก ในบางวิชา ก็มแี ต่ภาษาอังกฤษทัง้ สิน้ ส่วนทักษะการพูดนัน้ ไม่จำเป็นหากแต่ตอนหางาน คนที่เก่งทุกทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) จะทำให้ ดูน่าสนใจมากขึ้น อันนี้สอบเข้าให้ได้ก่อนค่อยไปหาเรียนเพิ่มก็ไม่สาย


38

ขั้นตอนที่สาม คือ “วิเคราะห์จุดอ่อน”

น้องเคยได้ยินไหม “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” อมตะวาจา ของท่านซุนหวู่ อันนี้ไม่ได้ให้น้องไปรบทัพสับประยุทธ์กับใครที่ไหน นอกจาก การสอบเข้าแข่งขัน! (อย่าคิดว่าคู่แข่งคือเพื่อน เพื่อนของเราคือคู่คิดที่จะ ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันให้ไปถึงฝัน ถ้าใครคิดว่าเพื่อนคือ “คู่แข่ง” รีบเปลี่ยน ความคิดด่วน) “รูเ้ ขา” คือ รูเ้ กีย่ วกับว่า ถ้าจะสอบเข้าเภสัชจะต้องสอบอะไรบ้าง ข้อสอบนัน้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง แนวทางข้อสอบเป็นแบบใด ซึง่ อันนีเ้ ราสามารถหาข้อมูล ได้จากคู่มือเตรียมสอบ หนังสือรวมโจทย์ รวมถึงจากสถาบันกวดวิชาต่างๆ “รู้เรา” คือ ตัวเราเป็นอย่างไร มีจุดอ่อนด้านใด เช่น เก่งไม่เก่งวิชาอะไร อ่อนเรือ่ งไหน ให้รบี แก้ไขจุดอ่อนนัน้ ตัวอย่าง หากน้องกำลังภายในด้านภาษา อังกฤษอ่อน อาจต้องอ่านเน้นมากกว่าวิชาอื่นๆ หรือถ้าดูแล้วตัวเองอ่านเอง ลุยเอง คงไปไม่รอด ก็อาจพิจารณาเลือกลงคอร์สติวเข้มกับสถาบันกวดวิชา ก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ลงเรียนกวดวิชาในทุกวิชาทีต่ อ้ งสอบ เพราะมันไม่จำเป็น ถึงขนาดนัน้ อย่าลืมว่า การลงเรียนหลายคอร์สหลายวิชานัน้ มันมีคา่ ใช้จา่ ยสูง สงสารคุณพ่อคุณแม่บ้าง เลือกที่จำเป็นจริงๆ ดีกว่า ขอแถมอีกนิดจากประสบการณ์สมัยเรียนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (ว้า....แก่จัง) เพื่อนบางคนน่ะ ลงเรียนกวดวิชาจริง แต่พอถึงเวลาเข้าคลาส ดันไปเอาวิชา ที่แถวโรงหนังบ้าง ห้างสรรพสินค้าบ้าง คิดดู! แล้วจะไปลงเรียนทำไมกัน!


39

ขั้นตอนที่สี่ คือ “วางแผน”

เมือ่ ทำการวิเคราะห์ผา่ นพ้น เราต้องมาประเมินสถานการณ์กำหนดแผน “วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” กำหนดตารางว่าจะทำการอ่านหนังสือวันละกี่ชั่วโมง อันนี้พิจารณาตาม ความเหมาะสมของแต่ละคน แนะนำว่า กลับจากโรงเรียนอ่านทบทวนวันละ 1-2 ชั่วโมงก็พอ จะได้ทำอย่างอื่นบ้างและไม่เครียดจนเกินไป ควรทำอย่าง สม่ำเสมอทุกวัน ยกเว้น! พวกที่ทำบาปไว้มากและเพิ่งรู้สึกสำนึกตัว เช่น เพิ่งมีสติระลึก ได้วา่ ควรจะอ่านหนังสือเตรียมสอบ (หลังจากทีส่ าละวนกับการเล่น Camfrog Hi5 Facebook และ Twitter รวมถึงเกมออนไลน์หลอกเด็ก แต่แก่ๆ อย่างดิฉนั ก็เคยโดนหลอกมาแล้ว) เมือ่ เวลากระชัน้ ชิดอีก 2 เดือนจะสอบแล้ว... ประมาณ ว่าถ้าไม่เห็นโลงศพอยู่ลิบๆ ต่อมขยันไม่ทำงาน ตายแล้ว!! เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ยังไม่เริ่มอ่าน ฉันจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ไหมนี่? บุคคลดังกล่าวอาจใช้ การวางแผนแบบข้างต้นไม่ได้ คงต้องใช้หลักสูตรเร่งรัด อ่านกันขนหัวตั้ง กันไปเลย หรือไม่ก็.... เก็งข้อสอบค่ะ ดูแนวโน้มจากข้อสอบเก่าหลายๆ ปี เรื่องไหน ที่ออกบ่อยอ่านเน้นเข้าไป เรื่องไหนออกน้อย เวลาไม่พอก็ข้ามไป วิธีนี้อาจพอ ช่วยคุณได้ แต่มีความเสี่ยงสูง ถ้าหากพลิกล็อก!! เมือ่ กำหนดเวลาในการอ่านแต่ละวันเรียบร้อย ส่วนจะอ่านตอนเช้าหลังตืน่ นอนหรือก่อนนอน อันนีต้ อ้ งพิจารณาจากความถนัดและความสะดวกของเรา เพราะบางคนก็จะบอกว่า “อ่านตอนเช้าสิดี อากาศปลอดโปร่ง สมองแล่น” บางคนก็อาจบอกว่า “ตืน่ เช้าไม่ไหว อ่านไม่จำ ต้องอ่านตอนกลางคืน ยิง่ ดึกยิง่ ดี เงียบสงัด มีสมาธิ” ก็แล้วแต่จะเลือก กลับมาจัดตารางกันต่อในการจัดตาราง ว่าวันไหน จะอ่านวิชาอะไรบ้าง ให้ไล่เรียงกันไป วิชาไหนที่อ่อนก็อาจจะต้อง ให้เวลากับวิชานั้นมากหน่อย


46

แบบนี้หยุดค่ะ รีบหยุดทำข้อสอบ แล้วนั่งตั้งสติ หายใจเข้าลึกๆ ให้รู้สึก ใจนิง่ ขึน้ หน่อย แล้วค่อยลงมือทำต่อ ถ้ามันก็ยงั ทำไม่ได้อยูด่ สี ำหรับเจ้าข้อสอง สาม สี่อะไรนั่น ให้ข้ามไปทำข้ออื่นเลย และให้พยายามตัด อย่าไปนึกถึง ข้อพวกนั้น คิดเสียว่า ยังมีอีกหลายข้อที่เราทำได้ คิดแบบนี้เข้าไว้ จะช่วย กู้สถานการณ์ได้บ้าง แต่ถา้ เราไม่พยายามตัด ไม่ตงั้ สติ มัวแต่พะวงแต่ขอ้ สอบเหล่านัน้ เราจะยิง่ ลนลาน เครียด และจะยิง่ คิดไม่ออกหนักเข้าไปอีก สมมติวา่ วิชาทีเ่ ราทำผ่านไป ถึงจะทำได้ดหี รือไม่ดี ก็ขอให้มองไปข้างหน้า อย่ามัวคิดถึงข้อสอบทีท่ ำผ่านไป หากเรายังคิดแต่สิ่งที่ผ่านไปแล้ว มันไม่เกิดประโยชน์อะไร ต้องมุ่งไปข้างหน้า เข้าใจว่า ถ้าในกรณีเราทำข้อสอบได้ไม่ดี มันยากที่พยายามตัดใจ แต่เราต้อง พยายาม ให้คิดว่า ถ้าเรายังพะวง วิชานี้ทำได้ไม่ดีแล้ว ถ้าไม่เลิกคิดวิชาต่อไป คงต้องล้มเป็นโดมิโน ล้มระเนระนาดอันนี้จะยิ่งแย่

ขั้นตอนที่เก้า คือ “พร้อมรับทุกสถานการณ์”

ข้อสุดท้ายคือ เตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็น “สมหวัง” หรือ “ผิดหวัง” คะแนนได้มากได้น้อย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ขอให้ ยอมรับมันให้ได้ หากว่า สิ่งนั้นเราได้พยายามและทุ่มเทเต็มที่แล้ว ถ้ายังไม่ สมหวังก็มาวิเคราะห์กนั ต่อเพือ่ แก้ไขปรับปรุงต่อไป ชีวติ ไม่ได้จบอยูเ่ พียงเท่านี้ มันมีเรื่องราวอีกมากที่รอเราอยู่


47

ระบบแอดมิชชั่นเข้าเภสัช

อุตส่าห์มีเนื้อหามากมาย (มันรอน้องๆ อยู่อีกเพียบหลังจากหัวข้อนี้) ถ้า ขาดหัวข้อนี้ดูเหมือนจะไม่ครบถ้วน ในเนื้อหาจึงอยากเพิ่มเติมเอาไว้เป็นหน้า เล็กๆ หัวข้อน้อยๆ แทรกเอาไว้ด้วย แม้ว่าสถานการณ์ภายหน้าเขาจะคิดหรือ มีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่ ก็สุดจะเดา (เปลี่ยนบ่อยจริงๆ) องค์ประกอบและค่าร้อยละในระบบ Admissions กลาง 1. GPAX 20% 2. O-NET (8 กลุ่มสาระวิชา) 30% 3. GAT (General Aptitude Test) 10 – 50% 4. PAT (Professional Aptitude Test) 0 – 40% รวม 100%


48

รหัสและชื่อวิชาที่สอบ O-NET, GAT, PAT O-NET (การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน) (รหัส 01) ภาษาไทย (รหัส 02) สังคมศึกษา (รหัส 03) ภาษาอังกฤษ (รหัส 04) คณิตศาสตร์ (รหัส 05) วิทยาศาสตร์ (รหัส 06) สุขศึกษาและพลศึกษา/ศิลปะ/การงานอาชีพและ เทคโนโลยี รหัส 01 – 06 ให้ค่าน้ำหนักแต่ละรหัส 5% GAT (ความถนัดทั่วไป) (รหัส 85) GAT PAT (ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ) (รหัส 71) PAT 1 วัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ (รหัส 72) PAT 2 วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (รหัส 73) PAT 3 วัดความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (รหัส 74) PAT 4 วัดความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (รหัส 75) PAT 5 วัดความถนัดทางวิชาชีพครู (รหัส 76) PAT 6 วัดความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์


49

PAT 7 วัดความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (รหัส 77) PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส (รหัส 78) PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน (รหัส 79) PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น เลือกสอบ 1 วิชา (รหัส 80) PAT 7.4 ภาษาจีน (รหัส 81) PAT 7.5 ภาษาอาหรับ (รหัส 82) PAT 7.6 ภาษาบาลี กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ 1.1. สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา และสุขศึกษา องค์ประกอบ รหัส 1. GPAX 2. O-NET 01 – 08 3. GAT 85 4. PAT 4.1. PAT 2 72

ค่าร้อยละ 20 30 20 30

รายละเอียดทั้งหมดนำมาจาก “Admissions กลาง องค์ประกอบและค่าร้อยละ ของกลุ่มสาขาวิชาในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา” โดยสมาคม อธิ ก ารบดี แ ห่ ง ประเทศไทย (สอท.) : http://www.cuas.or.th/document/ brochouradm54.pdf สืบค้นเมื่อวัน 24 ธันวาคม 2553


50

สถิติคะแนนสอบเข้า

พี่นำมาแสดงให้ดูเพราะคิดว่าน้องๆ หลายคนอาจจะต้องการรู้ข้อมูลนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือก ข้อมูลที่นำมาแสดงนั้นจะเป็นข้อมูล ตั้ ง แต่ ปี 2551-2554 โดยแบ่ ง แต่ ล ะมหาวิ ท ยาลั ย และสาขาที่ เ ปิ ด รั บ ข้อมูลทั้งหมดนำมาจากเว็บไซต์ เมื่ อ น้ อ งดู ข้ อ มู ล ที่ ป รากฏในตารางอาจะเกิ ด ความสงสั ย ว่ า ทำไม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2551 และปี 2552 มีการแยกรับสองสาขา ตั้งแต่ในปี 2553 ไม่มีการรับระบุสาขา พี่อธิบายเลยว่าเขาจะรับรวมกันค่ะ ส่วนเรื่องการแยกสาขานั้นจะไปทำเมื่อชั้นปีที่ 4 ค่ะ มหาวิทยาลัยศิลปากร จะรับรวมไม่แยกสาขา แต่จะไปแยกเมือ่ ชัน้ ปีสงู ๆ ขึ้นไป มหาวิทยาลัยมหิดล แม้ว่าในการรับสมัครจะเป็นสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แต่ถ้าอ่านหลักสูตรจะพบว่าแยกออกเป็นสองสาขาเช่นกัน เพียงแต่ไปแยก ตอนชั้นปี 5 สรุปว่าถ้ามหาวิทยาลัยไม่มีการระบุอะไรก็คือไปเรียนแยกหรือเลือกวิชา เลือกที่เราสนใจอีกทีในชั้นปีสูงๆ ค่ะ แต่ก็จะมีบางมหาวิทยาลัยที่จะเน้นทาง ด้านบริบาล คือ มีเปิดสอนสาขาบริบาลเป็นหลักอย่างเดียว ซึ่งในหัวข้อต่อๆ ไปจะมีระบุไว้ค่ะ


97

อย่าลืมว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนัน้ ทำให้เรารูจ้ กั การทำงานร่วมกับคนอืน่ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน อุปสรรคต่างๆ ทำให้รู้จักกับเพื่อน ทั้งในและนอกคณะมากขึ้น และที่สำคัญจะได้เรียนรู้คน เพราะคนแต่ละคน นั้นแตกต่างกัน อุปนิสัยก็ต่าง การกระทำหรือมุมมองก็ไม่เหมือนกัน ทำให้เรา พอจะคะเนได้ว่า ถ้าเขามีพฤติกรรมแบบนี้ เขาน่าจะเป็นคนอย่างไร (ฝึกไว้ เพราะต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะต้องรู้เรื่องแบบนี้เยอะทีเดียว) ดังนั้น ถ้าวันหนึ่งๆ เราเอาแต่ซุกตัวอยู่แต่ในห้อง นั่งอ่านหนังสือจนแทบ จะไม่ได้ออกไปไหน ก็ให้ระวังว่าจะขึ้นราหรือเป็นง่อย เอ้ย ไม่ใช่แล้วล่ะ แต่สรุปว่ามุมมองเราจะมีแต่ในตำรา ในแผ่นกระดาษ มีแต่ทฤษฎี มากมาย ลองไปสูดอากาศภายนอกบ้าง มุมมองจะได้กว้างขึ้น ถ้าเอาแต่อ่านหนังสือ ก็จะทำให้เครียดมากเกินไป แถมถ้าระดับความเครียดพุ่งปรี๊ด อาจกลายเป็น “อ่านไม่เข้าหัวสักนิดเดียว” บางงานที่เป็นงานของคณะที่ต้องร่วมแรงกันทำให้สำเร็จ เราจะรู้สึก อย่างไร ถ้าเห็นเพื่อนทำงานกันงกๆ เหงื่อไหลไคลย้อย แต่เราไม่ทำอะไร หลบมุมอ่านหนังสือ ไปเที่ยวเล่นนั่งสบาย ทำตัวเฉยๆ คิดว่า “มันถูกต้อง มันดีแล้วหรือ” แต่กไ็ ม่ใช่วา่ เป็นเด็กทำกิจกรรมแล้วจะหลงว่าตนน่ะเลิศสุดๆ นะ แล้วไป มองเพ่งโทษผองเพือ่ นหนอนทีป่ ฏิเสธการเข้าร่วมทุกอีเวนต์ หรือคนทีไ่ ม่ได้ทมุ่ เท บ้าพลังเท่าเทียมเรา เพราะเราต้องเข้าใจว่าความสามารถ ศักยภาพ ความสนใจ ของแต่ละคนนั้นต่างกัน ดังนั้น จะเอาตัวเราเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ (ถ้าเกิดเรา เป็นคนเหล็กถึกบึกบึนคงหาคนเลียนแบบยาก) เราต้องเข้าใจจุดนี้ด้วย


ปี 3 วิชาคณะเต็มตัว อะไรก็เภสัช วิชาเรียนมันจะเริ่มมีวิชาคณะเพิ่มมากขึ้น วิชาพวกนี้ มองเผินๆ บาง วิชาเมื่อเรียนจบคอร์สก็มักจะมีคำถามว่า “แล้วจะเอาไปใช้กันยังไงเนี่ย?” ตกลงเรียนแล้วจะได้เอาไปใช้ไหม พีก่ ข็ อตอบตอนนีเ้ ลยว่า ได้ใช้อย่างแน่นอน เพราะวิชาพวกนี้คือพื้นฐานทั้งสิ้น ไม่งั้นเขาคงไม่ให้เรียนหรอก แต่ทบี่ างคนบอกว่าไม่เห็นจำเป็นต้องเรียน เรียนไปทำไม อันนีม้ นั มาจาก การเลือกสาขาที่อาจจะนำวิชานี้ไปใช้น้อยมาก หรือถึงขั้นแทบจะไม่ได้ใช้เลย (เฉพาะทีเ่ ขาให้ไปเลือกสาขากันตอนปีสงู ๆ ทีเ่ ขาให้เราเลือกตัง้ แต่ตอนสอบเข้า อันนี้เขาวางไว้ แสดงว่ามันจำเป็นน่ะนะ) หรือบางคนก็ต่อยอดไม่เป็นเลย เหมารวมว่า “มันไม่มีประโยชน์” หรือบางวิชาก็เริ่มปฐมบทแห่งการเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ที่ชัดเจน เป็นวิชาของคณะที่เรียนปุ๊บรู้ได้แทบทันทีว่า “นี่ล่ะวิชาคณะเรา” เวลาเรียนจะ รู้สึกเข้าใกล้บรรยากาศของการเป็น (นักศึกษา) เภสัชอย่างจริงจัง ได้หัดทำยา ได้เรียนรู้หลักการการทำยา การวิเคราะห์ยา ขณะทีก่ ำลังดำเนินการเรียนไปตามคอร์สทีอ่ าจารย์ทา่ นได้วางไว้ บางคน ก็เริ่มสำแดงอาการไม่ถูกโรคกับวิชาคณะบางตัว บางคนถึงกับโอดครวญ ร่ำๆ จะไปสอบใหม่เสียให้ได้ ตรงนีต้ อ้ งตัง้ สติให้ดี บางครัง้ ไม่ใช่วา่ เราไม่ชอบ แต่พอ ทำคะแนนได้ไม่ดกี พ็ าลว่าตัวเราเกลีย้ ดเกลียดวิชานี้ ทางทีด่ คี วรจะลองปรึกษา รุ่นพี่หรือพี่รหัส อย่างน้อยเขาก็ผ่านวันเวลาช่วงนี้มาแล้ว


157

เรียนหนักเข้มข้นเท่าทวีคูณ

ปี 2 เริม่ ชิมลางวิชาคณะซึง่ เป็นวิชาพืน้ ฐานทีน่ ำไปสูก่ ารต่อยอดวิชาอืน่ ๆ รวมถึงวิชาคณะที่สำคัญ แต่สำหรับวิชาในปี 3 จะมีความเข้มข้นเท่าทวีคูณ และบางวิชาจะถูกนำไปใช้ตรงๆ เมื่อเรียนจบ ดังนั้นจงตั้งใจ เพราะไม่เช่นนั้น กรรมเวรจะตามทันแบบติดจรวด ทัง้ ตอนสอบใบประกอบวิชาชีพทีแ่ ทบสติแตก เพราะต้ อ งมานั่ ง ทบทวนมากมาย และตอนไปทำงานงกๆ ที่ อ าจจะไม่ แคล่วคล่อง เพราะสมองมันฝืด ดึงความรู้ออกมาใช้ไม่พริ้วเหมือนเพื่อนๆ แต่ก็เข้าใจนะว่า บางครั้งเรารึก็ยังงงๆ ว่ามันจะนำไปใช้ นำไปต่อยอด รวมร่างกับวิชาอื่นต่อไปอย่างไร อันนี้แก้ไขได้โดยตั้งใจ ใฝ่ถามจากบรรดา พี่ ที่ ม ากประสบการณ์ ถ้ า เป็ น พี่ ที่ ใ กล้ จ บหรื อ จบไปสั ก พั ก นั้ น จะดี ที่ สุ ด เพราะผ่านการหมักบ่มความรู้มานาน

เทอมไหน เรียนอะไร เทอม 1 เภสั ช จุ ล ชี ว วิ ท ยา, ปฏิ บั ติ ก ารเภสั ช จุ ล ชี ว วิ ท ยา, เภสั ช พฤกษศาสตร์ , ปฏิบัติการเภสัชพฤกษศาสตร์, เคมีของยา 1, เภสัชวิทยา 1, เภสัชวิเคราะห์ 2, ปฏิบัติการเภสัชวิเคราะห์ 2, เภสัชการ 2, ปฏิบัติการเภสัชการ 2 เทอม 2 เคมีของยา 2, ชีวเภสัชและเภสัชจลนศาสตร์, เภสัชวิทยา 2, ปฏิบัติการ เภสัชวิทยา, เภสัชวิทยา 3, เภสัชวินจิ ฉัย, ปฏิบตั กิ ารเภสัชวินจิ ฉัย, เภสัชการ 3, ปฏิบัติการเภสัชการ 3


158

เภสัชจุลชีววิทยา (Pharmaceutical Microbiology)

วิชาแนวเชื้อรา แบคทีเรียหลากหลาย พยาธิมากมายโผล่กันยุ่บยั่บ ชื่อวิชาดูเหมือน “จุลชีววิทยาทั่วไป” แต่ไม่เหมือนกันนะ ตัวที่เราเรียนผ่านไป เมือ่ ปี 2 จะเน้นความรูท้ วั่ ๆ ไปของเชือ้ แต่คราวนีเ้ ราจะต้องเรียนเจาะไปยังเชือ้ ต่างๆ ที่สามารถก่อโรคได้ ควบคู่ไปกับเรียนเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา ต้องเริ่ม จดจำว่าเชื้ออยู่ในวงศ์อะไร ตัวไหนก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และทำให้เกิดโรค อะไร ด้วยกลไกอะไร เช่น สร้างสารพิษหรือตัวมันไปชอนไชตามส่วนต่างๆ ของคน เราจะศึกษารูปร่างของพวกมัน แท่ง กลม เกลียว และใช้ยาอะไรจัดการกับมัน กลไกการออกฤทธิ์ของยาที่ไปมีผลต่อเชื้อ จากทีเ่ กริน่ ไปแล้วว่า การเรียนเกีย่ วกับเชือ้ สำคัญอย่างไร วิชาตัวนีจ้ ะทำให้ เห็นชัดว่า จากความรู้เบื้องต้น เมื่อเริ่มโยงเข้ากับทางเภสัชนั้นจะสัมพันธ์กัน อย่างไร แต่วชิ าแนวเชือ้ ยังไม่จบ ยังโผล่มาอีก เพียงแต่เริม่ เน้นไปทางการรักษา การใช้ยา กับเชื้อตัวเด็ดๆ ที่สำคัญทางการแพทย์ สำหรั บ วิ ช านี้ จ ะขอบอกว่ า ท่ อ งอี ก แล้ ว (OH! My God) หน้ า ที่ คื อ ท่องชื่อเชื้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์นะคะ) โฮะๆ เท่าที่ทำการหาข้อมูลพบว่า วิชาแนวจุลชีวะของมหิดลจะรวมทุกอย่าง เบ็ดเสร็จ แต่สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นเรศวร ขอนแก่น จะแยกออกเป็น วิชาจุลชีววิทยากับวิชาปรสิตวิทยา (ชื่อเต็มๆ จะต่างกันเล็กน้อย) ปรสิตคือ อะไรเอ่ย? ดังนั้นอย่างงนะจ๊ะ


159

ปฏิบัติการเภสัชจุลชีววิทยา (Pharmaceutical Microbiology Laboratory)

การทำแล็บก็เป็นลักษณะดูเชื้อ เทคนิคในการเพาะเชื้อ สนุกสนานกับ บรรดาอาหารเลีย้ งเชือ้ กลิน่ อาหารทีย่ ากจะบรรยาย อุปกรณ์กจ็ ะมี เพลทเพาะเชือ้ กล้องจุลทรรศน์ ตะเกียงแอลกอฮอล์ และอื่นๆ อีกมากมาย เราจะได้รู้วิธีการ เลี้ยงเชื้อ การเพาะเชื้อและทดสอบเพื่อดูว่าเป็นเชื้ออะไร ในแล็บวิชานี้เราต้องรู้เกี่ยวกับเทคนิคพื้นฐานเบื้องต้นของการศึกษา เจ้าเชื้อตัวเล็กๆ จะยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งก็คือ Aseptic Technique (เทคนิค ปลอดเชือ้ ) เราต้องรูน้ ะ เพราะเวลาทีเ่ ราจะศึกษาพวกเชือ้ เราจะพยายามแยก ให้มนั มีแค่เพียงชนิดเดียว หากมันมีมากมายปะปนกัน เราก็จะไม่รหู้ รอกว่าเชือ้ ไหนเป็นเชือ้ ไหน อะไรคือเชือ้ ทีเ่ ราต้องการเรียนรู้ เราต้องไม่ให้มเี ชือ้ อืน่ มาปะปน และที่สำคัญเราต้องไม่ให้เชื้อกระจายออกไปสู่ภายนอกด้วยนะ เทคนิคปลอดเชื้อจะเริ่มตัง้ แต่เราทำความสะอาดทัง้ โต๊ะทัง้ มือของเราให้ สะอาด (ถ้าสกปรกเชื้อก็จะมากมาย) โดยเช็ดด้วยแอลกอฮอล์บนโต๊ะ บริเวณ ทำงานห้ามรกรุงรังด้วยข้าวของประดามีทไี่ ม่ได้เกีย่ วกับงาน พวกขนม กระเป๋า เอาออกไปให้หมด เราจะมีอุปกรณ์พิเศษชิ้นหนึ่งมีลักษณะยาวๆ คล้ายแท่งลวด มีปลายงอ เป็นวงเล็กๆ (อันนี้เขาเรียกว่า loop) หรืออีกแบบจะไม่มีปลายงอเป็นวง แต่จะมีลักษณะปลายแหลมๆ เรียกว่า needle เวลาเราเริ่มงาน จะทำการ เพาะเชือ้ จะเอาเชือ้ จากอาหารเลีย้ งเชือ้ ซึง่ อาจจะเป็นอยูใ่ นหลอดแก้ว ในเพลท หรืออื่นๆ พี่จะขอยกตัวอย่างที่มันอยู่ในหลอดแก้วละกัน


160

ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดถือหลอดแก้วที่มีเชื้อบรรจุอยู่ปิดฝาอย่างสนิทเอาไว้ มื อ อี ก ข้ า งที่ ถ นั ด ให้ ถื อ loop จากนั้ น ก็ เ ปิ ด ฝาโดยใช้ มื อ ข้ า งที่ ถื อ loop หมุนจุก (ใช้นิ้วก้อยและนิ้วนางให้เป็นประโยชน์) เปิดฝาหลอดแก้วบรรจุเชื้อ และลนบริเวณปากหลอดผ่านเปลวไฟสัก 2-3 รอบ ไม่ใช่จ่อเอาไว้ เดี๋ยวมัน จะกลายเป็นย่างสดเจ้าเชื้อ จากนั้นใช้ loop แตะอาหารเลี้ยงเชื้อในหลอด (ที่มีเชื้อนะ) และนำเชื้อที่อยู่บนปลาย loop ถ่ายไปบนอาหารอันใหม่ อ่อ! เกือบลืม ก่อนเราจะเอาอุปกรณ์ชิ้นนี้เขี่ยเชื้อ เพื่อเอาเชื้อไปเพาะ ต้องเผาไฟก่อน แต่ไม่ใช่เผาแดงๆ ทีป่ ลาย แล้วเอาไปจุม่ ลงหลอด เชือ้ มันจะสุก หรือไหม้ไปซะก่อน ต้องรอให้ไฟแดงที่ติดปลายนั้นดับก่อน เขี่ยเชื้อออกมา เสร็ จ ก็ น ำหลอดที่ มี เ ชื้ อ ผ่ า นไฟที่ บ ริ เ วณปากหลอดอี ก รอบ และก็ ปิ ด จุ ก ทำแบบเดียวกับตอนแรกนะ แค่นี้ยังไม่จบพิธีการนะ เพราะเวลาจะถ่ายเชื้อลงที่อยู่ใหม่ก็มีขั้นตอน อีกสารพัด แต่เราจะพูดถึงแค่นี้แล้วกัน รู้หมดเดี๋ยวไม่ตื่นเต้นเวลามาเรียน มันดูเหมือนง่าย แต่บางคนอาจไม่ถนัดจะทำแต่ละทีก็เก้ๆ กังๆ มือไม้แทบจะ พันเป็นเลขแปด


203

นอกจากนี้จะได้หัดทำยาขี้ผึ้งที่มีหลายเทคนิคและทำยาเหน็บที่ต้อง มีการใช้ไฟหลอม base ที่เรามีการกระจายตัวยาลงไป จากนั้นเทลงพิมพ์ รอให้เย็นเป็นอันใช้ได้ แต่ความจริงก่อนจะมาถึงขัน้ ตอนนีต้ อ้ งหลอมแล้วหลอม อีก แคะ บด คำนวณ มากมาย ยาเหน็บก็มีขั้นตอนมากไม่แพ้ยารูปแบบอื่นๆ ตอนสอบก็มนั ไม่แพ้ภาคไหน ไว้ลายจริงๆ ลักษณะการสอบก็เหมือนภาค ก่อนทีใ่ ห้เราทำยาในเวลาทีจ่ ำกัดแล้วส่งให้อาจารย์ มีกระดาษสูตรตำรับมาให้ คำนวณ แสดงวิธคี ำนวณ วิธกี ารเตรียม เจ้าจงเขียนอย่างละเอียดทีส่ ดุ แต่ครัง้ นี้ มันเคี่ยวกว่า แม้ว่าเราจะเตรียมยาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ที่สำคัญ ถ้าเป็นอีมัลชันการที่รีบเร่งมากๆ ถ้ายายังไม่ค่อยเข้ากันดีพอ ยังไม่ทันเทลง ขวดส่งอาจารย์ อีมัลชันก็เกิดการแยกชั้นกัน จบข่าว ยังจำได้ว่าตอนสอบพี่รีบปั่นเต็มที่ เพราะเวลามันใกล้จะหมด เรารึรีบหัน ซ้ายแลขวาดูวา่ อาจารย์อยูแ่ ถวนัน้ ไหม (กะลักไก่เต็มที)่ พอตัดสินใจจะเทปุบ๊ ! ไม่ รู้ อ าจารย์ ม าตอนไหน ชะโงกหน้ า ข้ า มโต๊ ะ มาดู “หลั ก ฐานในโกร่ ง ” แทบช็อกค่ะงานนี้ โชคดี โล่งอกเล็กน้อยไม่ใช่อาจารย์คุมโต๊ะเราค่ะ เลยยิ้ม แย้มกะว่าอาจารย์หนั หลังไป เราจะ (ลักไก่) ต่อ อาจารย์หนั ไปค่ะ สบช่อง แต่วา่ อาจารย์ เ ดิ น ไปเรี ย กอาจารย์ ป ระจำโต๊ ะ ให้ เ ดิ น มาดู แถมพู ด ว่ า “XXX (ชื่อดิฉันเองฮ่ะ) ฉันรู้นะว่าเธอคิดจะทำอะไร 555+” หน้าซีด แต่ซีดเผือด ยิ่งกว่าเมื่อเห็นอาจารย์ประจำโต๊ะตวัดปากกาลงบนกระดาษ (คงจะบวก คะแนนเพิ่มให้กระมังคะ) นี่คืออุทาหรณ์ให้ผู้ที่คิดจะลักไก่ ตัวอย่างที่ไม่ดี อย่าทำตามนะ แถมโดนหักคะแนนด้วยอีกตะหาก


204

เหลือเวลาอ ีก 15 นาที ควับ!

ทำย

าไม ่ทัน

แล้ว

. ด ด ด กริ๊ด

แลขวา

วซ้าย เหลีย

1.

2.

ทางสะดวกอาจารย์เดินไปที่อื่น

ลักไก่โลด

ฮี่ๆๆ ๆ

ควับ

ควับ

3. ลักไก่หรือ?

แว๊ก

อาจารย์ ก เด็ โต๊ะนี้ลักไก่

เห็น

ตอน

คิดว่าฉันไม่เห็นหรือไง?

5.

4. ม่ายย

ยยยย

หนา

6.

...



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.