เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา
ฉบับที่ ๓ /๒๕๕๙
เรื่องเล่าจากโขงสาละวิน
ศรั ท ธา สั ก การะ ความเชื่ อ ภู มิ ปั ญ ญา สู่ วิ ถี ชี วิ ต ล้ า นนา
ฉบั บ ที่ ๓/๒๕๕๙
การเก็บเกีย่ วอีกหนึ่งมิตดิ ้ านอารยธรรมของชาวล้ านนา นับแต่ อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน
แต่ ไ หนแต่ ไ รมา บรรดาผู้ เ ฒ่ าผู้ แ ก่ ตลอดจนครูบาอาจารย์สั่งสอนไว้ว่า เรื่อง ของคติ ค วามเชื่ อ หากเราไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ก็ ห้ า มลบหลู่ เ ด็ ด ขาด เพราะสิ่ ง เหล่ า นี้ เปี่ยมด้วยพลังแห่งความเคารพ ศรัทธา แฝงนั ย คุ ณ ค่ า ความสาคั ญ ไว้ ม ากมาย ซึ่ งแต่ ล ะพื้ น ที่ ล้ ว นมี ความเชื่ อ ประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ มหกรรมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น ล้ า นนา “ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวิตล้านนา” ณ วัดศรีโคมคา ตาบล เวียง อาเภอเมือง จังหวัดพะเยา นับเป็น การ ร ว บ ร วมเ รื่ อ งราว อั น แต กต่ า ง หลากหลายของชาวล้ า นนาไว้ อ ย่ า ง ครอบคลุมทั้ง ๘ จังหวัดภาคเหนือ แม้ว่า งานนี้ จ ะจั ด ขึ้ น ตั้ ง แต่ วั น ที่ ๒๗ – ๒๙ มกราคมที่ผ่านมา ทว่ากาลเวลาที่ผ่านพ้น มิ อ าจลบภาพความทรงจ าต่ า ง ๆ ได้ จึ ง ไ ด้ เ ก็ บ เ กี่ ย ว เ รื่ อ ง ร า ว บ า ง ส่ ว น
กลั่ น กรอง ถ่ า ยทอด ออกมาเป็ น องค์ ความรู้ โดยฝีมือของนิสิตฝึกงานสาขาวิชา ประวั ติ ศ าสตร์ คณะสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พิพิธภัณฑ์ วั ดปงสนุกเหนือ ลาปาง อั น อบอวลไปด้ ว ยศิ ล ปวั ฒ นธรรมและ สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ บอกเล่าวิถีของ คนในท้อ งถิ่ น ได้อ ย่ า งชั ดเจน ตลอดจน เรื่ อ งราวประวั ติศาสตร์ความเป็ นมาอัน ยาวนานของวัด วั ด สู ง เม่ น แพร่ กั บ จุ ด สนใจคื อ คัมภีร์ใบลานล้านนาที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี และผ้าห่อคัมภีร์ วัฒนธรรมการมีบทบาท ในพุทธศาสนาของสาวไทลื้อ
พิพิธภัณฑ์ท้อ งถิ่นวั ดสองแควเหนื อ ล า ป า ง ย้ อ น ต า น า น ถ้ ว ย ต ร า ไ ก่ เอกลั ก ษณ์ เ ลื่ อ งชื่ อ และท าความรู้ จั ก รองเท้าที่ทาจากหนังควายของคนในอดีต
สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร
พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ วี ย งกาหลง เชี ย งราย กับ การสืบ ทอดการทาเครื่ อ งปั้ น ดิน เผา อันเปี่ยมด้วยร่องรอยแห่งอารยธรรม
พิพิธภัณฑ์ความทรงจา วัดเชียงทอง พะเยา สนุ ก สนานกั บ การย้ อ นความ ทรงจาในวัยเด็ก ทั้งของเล่น และข้าวของ เครื่องใช้ต่าง ๆ
พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด ร้ อ งเม็ ง เชี ย งใหม่ กับภูมิปัญญาด้านการเกษตรกรรม และ ความเชื่อดั้งเดิมที่ต้องสัมผัสด้วยใจ
ขอน าทุ ก ท่ า นเข้ า สู่ มิ ติ แ ห่ ง ความ ศรั ท ธา สั ก การะ ความเชื่ อ ภู มิ ปั ญ ญา สะท้อนวิถีชีวิตล้านนา ณ บัดนี้ พรปวีณ์ ทองด้วง
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
๒
พิพธิ ภัณฑ์วดั ปงสนุกเหนือ จังหวัดลาปาง
โดย กฤษฎางค์ อิ่มดา นิสิตฝึกงาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อมีโอกาสมาเยือนถิ่นฐานบ้านเมืองเหนือทั้งที สิ่งหนึ่งซึ่งไม่ควรพลาดหรือถ้าขาดไปก็เหมือนว่ายังมาไม่ถึงก็คือ การเยี่ยมชม พื้นที่จัดแสดงวัดวาอารามเก่าแก่และสวยงามที่มีอยู่มากมาย ทั้งนี้มีวัดแห่งหนึ่งในเมืองลาปางที่มากด้วยความน่าสนใจทั้งประวัติความ เป็นมา ลวดลายของสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นพระเจดีย์ วิหารจตุรมุข รวมไปถึงชือ่ เสียงเรียงนาม ซึ่งเชื่อแน่ว่าใครก็ตามเมื่อได้ยินคงพา กันทาหน้าสงสัยว่าเหตุใดถึงได้มีชื่อ วัดปงสนุกเหนือ ว่าแล้วก็อย่ารอช้า เชิญเข้าไปชื่นชมและทาความรู้จักกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์กันดีกว่า
ภาย ใ น วั ด ป งส นุ ก เ ห นื อ มี การ จั ด นิ ท รรศการแสดงสิ่ ง ของอั น ทรงคุ ณ ค่ า ทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มากมายหลายอย่าง อาทิ พระพุทธรูปไม้ เสาหงส์ ซุ้มประตูโขง ภาพพระบฏเขียน เรื่องพระเวสสันดรบนผ้าและกระดาษสา หีบธรรมโบราณ ธงช้างเผือกขนาดใหญ่ใน สมั ย รั ช กาลที่ ๖ ซึ่ ง ทางวั ด ได้ น ามา รวบรวม จัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์
ชื่อ วั ดปงสนุก เหนือ นี้มี ตานาน นั่นคือ เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับประวัติ ศาสตร์ ก าร อพยพผู้คนในเหตุการณ์ช่วงปีพ.ศ. ๒๓๔๖ ที่พญากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียง แสน ซึ่ ง เป็ น ที่ ตั้ ง มั่ น ของพม่ า และได้ กวาดต้อ นชาวเชี ย งแสนซึ่ งเป็ น ชาวบ้ า น บ้ า นปงสนุ ก มาตั้ ง ถิ่ น ฐานที่ ล าปาง รวมถึงการอพยพของคนเมืองพะยาวที่หนี ศึ ก พม่ า ลงมายั ง ล าปาง ชาวปงสนุ ก เชี ย งแสน และชาวพะยาว จึ ง ได้ ตั้ ง บ้านเรือนจนกลายเป็นหมู่บ้าน ร า ว พ . ศ . ๒ ๓ ๘ ๖ เ จ้ า ห ล ว ง มหาวงศ์ ไ ด้ ไ ปฟื้ น ฟู เ มื อ งพะเยาขึ้ น ใหม่ ครู บ าอิ น ทจั ก รพระอุ ปั ช ฌาย์ ข องครู บ า อาโนชัยธรรมจินดามุนี ได้นาชาวพะยาว (พะเยา) อพยพกลับ แต่ก็ยังคงเหลืออีก จ านวนหนึ่ งที่ไ ม่ ยอมกลั บ และได้ม าตั้ ง รกรากอยู่กับชาวบ้านปงสนุก ตั้งแต่นั้น มาชื่ อ วั ด และหมู่ บ้ า นจึ ง เหลื อ เพี ย ง “ปงสนุ ก ” เพียงชื่ อ เดียว ต่ อ มา จึ งได้มี การแบ่งวัดเป็นวัดปงสนุกด้านเหนือและ วัดปงสนุกด้านใต้ (http://www.manager.co.th)
๓
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่
โดย กฤษฎางค์ อิ่มดา นิสิตฝึกงาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อเราเดินเข้ามายังพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด สู ง เม่ น พบว่ า มี ส่ ว นส าคั ญ คื อ การจั ด แสดงคัมภีร์ธัมม์โบราณ อาทิ คัมภีร์ใบลานล้านนาที่มี อายุกว่า ๑๐๐ ปี เก็บอยู่ในหอไตรของวัดสูงเม่น คัมภีร์ นี้มีคาสอนของพระพุทธเจ้าจานวนถึงแปดหมื่นสี่พันใบ ลาน ถือว่าเป็ นใบลานล้านนาที่มีจานวนมากที่สุดใน โลก นอกจากนี้ ภายในพื้น ที่จั ดแสดงนิ ทรรศการของ พิพิธภัณฑ์วัดสูงเม่น ยังมีการนาเสนอผ้าห่อคัมภีร์ของ ชาวไทลื้อ อันเกิดจากการนาวิถีการทอผ้าของชาวไทลื้อ เข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็น การสะสมสร้างบุญและความศรัทธา ด้วยการทอผ้ า ถวายเป็นผ้าห่อคัมภีร์ และถวายเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ อีกทั้งลวดลายบนผ้าห่อคัมภีร์ยังเป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ ที่สืบทอดมาจากความเชื่อดั้งเดิมในการนับถือผี หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ อีกด้วย
คัมภีร์ใบลาน
ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน
การจัดทาผ้าห่อคัมภีร์ถือเป็นความเชื่อมาแต่โบราณกาล ที่ เ ชื่ อ กั น ว่ า การสร้ า งหนั ง สื อ คั ม ภี ร์ ใ บลาน ที่ เ กี่ ย วกั บ พระพุ ท ธศาสนาจะได้ อ านิ ส งส์ อั น ยิ่ ง ใหญ่ ซึ่ ง มี เ พี ย งผู้ ช าย เท่านั้นที่ทาได้ และเมื่อมีการสร้างคัมภีร์ใบลานขึ้นแล้ว สิ่งที่ สาคัญคือจะต้องเก็บรักษาคัมภีร์ไว้ให้ดี จึงมีธรรมเนียมนิยม สร้างผ้าห่อหนังสือ หรือผ้าห่อคัมภีร์มาถวายวัด เพื่อห่อคัมภีร์ เอาไว้ไม่ให้ถูกทาลายจากมด มอด และแมลงต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ ทาให้เกิดงานพุทธศิลป์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ ผ้าห่อคัมภีร์ธรรม ซึ่งผ้าห่อคัมภีร์นี้ จะเกิดขึ้นจากฝีมื อ ของ อุบาสิกาผู้เป็นหญิงสาวและแม่บ้าน ในชุมชนนั้น ๆ เป็นผู้ที่ จัดทาผ้าทอขึ้น เนื่องจากในวัฒนธรรมไทย ผู้หญิงจะไม่มีสิทธิ์ ในการจารพระธรรมลงบนใบลาน (การเขียนบันทึกอั ก ษร) จึ ง ต้ อ งทดแทนด้ ว ยการทอผ้ า ห่ อ คั ม ภี ร์ ขึ้ น โดยทออย่ า ง ประณี ต งดงาม มี ล วดลายสี สั น ตามจิ น ตนาการความคิ ด สร้างสรรค์ (http://www.itti-patihan.com)
กระบวนการทอผ้าห่อคัมภีร์ใบลานของสาวไทลือ้
๔
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิ่นวัดสองแควเหนือ จังหวัดลาปาง
โดย เกรียงไกร ปิ่นสกุล นิสิตฝึกงาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถ้วยตราไก่ ถ้ ว ยตราไก่ห รื อ ที่ เ รี ยกกั น ว่ า ชามตราไก่ นั้ น เป็ น เอกลั ก ษณ์ ที่ ส าคั ญ ของจั ง หวั ด ล าปาง โดยย้ อ นกลั บ ไปในปี พ .ศ. ๒๕๐๐ ชาวจีนที่ผลิตชามตราไก่ได้ย้ายเตาเผาจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาลาปาง ด้วยเหตุที่ว่าลาปางมีดินขาวเนื้อดีและมีจานวนมาก จึงได้ทาการ ผลิตโดยใช้ลวดลายไก่ ซึ่งมีต้นแบบมาจากชาวจีนมณฑลกวางตุ้ง จนมาถึงปัจจุบันกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถ ทารายได้ให้กับ จังหวัดลาปาง
รองเท้าหนังควาย (เกิบหนังควาย) เป็นรองเท้าที่ทาด้วยหนังควาย เนื่องจากคนในสมัยก่อนยังไม่มีรองเท้าใส่ จึงประดิษฐ์รองเท้าใส่เอง โดยมองหาวัสดุใกล้ตัว ประยุกต์หนังควายมาทาเป็นรองเท้า เนื่องจากหนังควายมีความเหนียวและทน เจ้าของคือ นายทัย ปินคา อายุ ๘๑ ปี มอบให้วัด สองแควเหนือ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เกิบผีต๋ายลุงทัย” รองเท้าของลุงทัยนั้นมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี มีขนาด กว้าง ๒๖ ซม ยาว ๒๗ ซม. ซึ่งปัจจุบันรองเท้าของลุงทัยจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ วัดสองแควเหนือ อาเภอเกาะคา จังหวัดลาปาง
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
พิพธิ ภัณฑ์เวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย
โดย เกรียงไกร ปิ่นสกุล นิสิตฝึกงาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เวียงกาหลง เป็นเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดเชียงรายที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีความโดดเด่น คือ มีการขึ้นรูปบาง น้าหนักเบา แตกลาย ทั้งใบ ใช้สีจากแร่ธรรมชาติ ลายเส้นคมชัด และลวดลายซับซ้อนทั้งยังเกี่ยวข้อง กับตานานเก่าแก่อีกด้วย นั่นคือ บริเวณเวียงกาหลงเป็นแหล่งค้นพบเตาโบราณ จานวนมาก และมีทรัพยากรดินซึ่งมีคุณภาพสูง เนื้อดินมีสีขาว สีเหลืองนวล และมีสีเทา เนื้อละเอียด มีเม็ดทรายเล็กปะปนเล็กน้อย สามารถขึ้นรูปภาชนะได้ บางกว่าเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากแหล่งอื่นในประเทศไทย ส่วนการเคลือบนั้น นิยมเคลือบจนถึงบริเวณเชิงภาชนะ น้าเคลือบใสมีทั้งสีฟ้าอ่อน สีเขียวอ่อน และสีเหลืองอ่อน
การจั ด แสดงเครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาเวี ย งกาหลง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง เครื่ อ งด ารงชี พ ของคนล้ า นนาในอดี ต ผ่ า นทางเครื่ อ งใช้ เช่ น ลาย เครื่องถ้วยเวียงกาหลง ซึ่งเมื่อก่อนนั้นเวียงกาหลง เป็นเมืองหนึ่งของ อาณาจักรล้านนา ปัจจุบันอยู่ระหว่างสันเขา อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และอ.วังเหนือ จ.ลาปาง นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยอารยธรรมที่สาคัญ คือ แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะสามารถบ่งบอก ถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีดได้เป็นอย่างดี
๕
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
พิพธิ ภัณฑ์ความทรงจา วัดเชียงทอง จังหวัดพะเยา
โดย สิตานันท์ สาลีผลิน นิสิตฝึกงาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เรามีความเชื่อว่าความทรงจาเป็นส่วนสาคัญ ที่ทาให้ม นุษย์สามารถ ย้อนภาพในอดีตให้หวนกลับคืนมาได้ แต่สิ่งสาคัญที่กระตุ้นให้ระลึกถึงอดีต ได้ชัดเจนขึ้น คงต้องเป็นสิ่งของร่วมสมัยที่อยู่กับการเจริญเติบโตของบุคคล นั้น ๆ ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ความทรงจา วัดเชียงทอง จึงเป็นเหมือนแว่นขยาย อดีตของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ เมื่อเราได้เข้าไปสัมผัสสิ่งของที่ พิพิธภัณฑ์นามาจัดแสดงทาให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งของนั้น ไม่ว่าจะ เป็นของเล่นโบราณต่าง ๆ เช่น ลูกข่างไม้ ลูกไข่ไขลาน รวมไปถึงสิ่งของ ในชีวิตประจาวัน เช่น ผงซักฟอก บุหรี่ แชมพูสระผมแบบซอง สบู่ ยาสีฟัน ซึ่ งเป็ น รู ป แบบโบราณ สาหรั บ การเก็ บ สะสมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เริ่ มจาก เจ้าอาวาสวัดเชียงทอง คือ พระครูไพจิตรธรรมมาภรณ์ ซึ่งเกิดจากความชอบ ส่วนตัว และได้เก็บรวบรวมสิ่งของเหล่านี้ไว้ ตั้งแต่สมัยเป็น เด็กวัด เมื่ อ ปี ๒๕๒๓ เนื่องจากชอบสีสันและลักษณะเฉพาะของวัตถุต่าง ๆ ต่อมาเมื่อได้ อุปสมบทจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา โดยได้รับการบริจาคสิ่งของจากคนใน ชุมชน และการสะสมเพิ่มเติมของเจ้าอาวาสเอง เมื่อเราได้เข้ามาในพื้นที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ความทรงจา ภาพแรกที่ เห็นสิ่งของเครื่องใช้รวมไปถึงของเล่นต่าง ๆ ทาให้เรานึกถึงความทรงจาใน อดีต เราได้ไปหยิบ จับ สัมผัสวัตถุ ทาให้เกิดความสุข และทดลองเล่นเกม เขาวงกต โดยใช้ลูกแก้วเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ใช้มือทั้งสองข้างในการทรงตัว ลูกแก้วไม่ให้หล่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลาบากแต่เราก็สนุกกับมัน และได้ หัวเราะเล่นกับเพื่อน ถือเป็นความสุขอีกแบบที่ไม่มีมานานมากแล้ว สิ่งของ บางอย่างนั้ น อาจจะไม่ ไ ด้ร่ ว มสมั ยในวั ยของเรา แต่ ก็ทาให้เ ราค้ น พบว่ า ก่ อ นที่ ข องเล่ น จะพั ฒ นามาได้ ถึ ง ขนาดนี้ เคยมี รู ป ร่ า ง ลั ก ษณะอย่ างไร พิพิธภัณฑ์ความทรงจาจึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมย้อนกลับไปวันวาน และเพลิดเพลินไปกับวัตถุที่นามาจัดแสดง ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะมีพิพิธภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ความ ทรงจ า วั ด เชี ย งทอง เป็ น จ านวนมาก แต่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ต่ ล ะแห่ ง ย่ อ มมี เอกลักษณ์เฉพาะ และนาเสนอจุดขายที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวสามารถ สัมผัสความแตกต่างนั้นได้โดยการเข้ามาชมและซึมซับอารมณ์ ความรู้สึกนั้น พิพิธภัณฑ์ความทรงจา วัดเชียงทอง จึงเป็ นหนึ่งในตัวเลือกของกลุ่ม คนที่ โหยหาอดีตได้อย่างมีความสุข
๖
๗
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
พิพธิ ภัณฑ์รอ้ งเม็ง จังหวัดเชียงใหม่
โดย สิตานันท์ สาลีผลิน นิสิตฝึกงาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อเราเดินเข้ามายังพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ วั ด ร้ อ งเม็ ง ข้ อ ค้ น พบส าคั ญ ก็ คื อ การจั ด แสดงวิ ถี ชี วิ ต ของ ชาวล้านนาผ่ านข้าวของเครื่อ งใช้ ซึ่งมีการนาตัวอย่ างสิ่ งของที่ จั ดแสดงภายในพิพิธภั ณ ฑ์ นั้ น มาให้นั กท่อ งเที่ย วได้ชื่ น ชม เช่ น วิทยุโบราณที่ต้องใช้ถ่านถึง ๘๐ ก้อน หากเรานามาเปรียบเทียบ กับในยุคสมัยปัจจุบันก็จะทาให้เห็นถึงความแตกต่างและเข้าใจ ว่าโลกมีวิวัฒนาการมากแค่ไหน สิ่งของที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ มีดหมอแหกพิษ ที่ทาจากเขาควายโดยควายตัวนั้นต้องถูกฟ้าผ่า ตายเท่านั้น ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนาที่ว่า จะช่วยรีด พิษและคุณไสยออกจากร่างกายของสัตว์ร้าย
นอกจากนี้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ร้ อ งเม็ ง ยั ง เน้ น การน าเสนอคุ ณ ค่ า ของวั ต ถุ เครื่ อ งใช้ ใ นชี วิ ต ประจ าวั น ของชาว ล้านนาที่หาดูได้ยาก เช่น ครกตาข้าว ที่ทาจากไม้ พยูง อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ส าหรับ การทาหมันวัว-ควาย เป็นการสะท้อน ให้เ ห็น ภู มิ ปั ญ ญาของคนภาคเหนือที่ ผูกติดกับการทาเกษตรกรรมและการ เลี้ ย งสั ต ว์ ท าให้ เ ราสามารถเข้ า ไป สัม ผั สวั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาของ คนเมืองอย่างแท้จริง
การที่เราได้เดินทางมาร่วมงานทาให้เรามองเห็นภาพพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่สามารถแสดงถึงอัตลักษณ์ของตัวเองได้อย่าง น่าทึ่ง พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งมีความต้องการจะฉายภาพวิถีชีวิตของคนเมืองผ่านสิ่งของเครื่องใช้ที่รวบรวมไว้ให้นักท่องเที่ยว ได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากการนาเสนอคุณค่าผ่านวัตถุที่นามาจัดแสดง
๗
เรื่ องเล่าจากโขงสาละวิน ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวติ ล้านนา |ฉบับที่ ๓/๒๕๕๙
๘
ในการเข้าร่วมงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา “ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีชีวิตล้านนา” ณ วัดศรีโคมคา ตาบลเวียง อาเภอเมือง จังหวัดพะเยาในครั้งนี้ นอกจากการชมนิทรรศการแล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อานวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับเชิญเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์กิจกรรมโครงการด้านทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย พะเยา ในการประชุมทางวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ ๕ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อ ความเข้มแข็งของชุมชน” ณ หอประชุมพญางาเมือง จังหวัดพะเยา
สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน อาคารวิสทุ ธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตาบลท่าโพธิ์ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐ โทร. ๐ ๕๕๙๖ ๑๑๔๓, http://www.nuks.nu.ac.th, https://www.facebook.com/nuksc