Pie Issue 6

Page 1

RUNNING THOUGH THINKING WITH THINKK STUDIO, ISE INCREDIBLE ILLUSTRATE, PIN THE ART OF METAL’S LIFE , NONCITIZEN WHAT IS GRAPHIC DESIGN, TOKIN SOMEONE IN STONE FREE FESTIVAL


02


03


EDITOR TALK สวัสดีครับทุกท่าน ขอเริม่ ฉบับนีด้ ว้ ยการไว้อาลัยให้กบั คุณตัม้ พฤษ์พล มุกดาสนิท

หรือ Mamafaka ศิลปินซึ่งเป็นที่รักของหลายๆ คน ทั้งตัวผลงานและนิสัย ใจคอ และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและเพื่อนพ้องน้องพี่ของคุณตั้มด้วย ขอให้วิญญาณของคุณตั้ม Mamafaka ไปสู่สุขคติ นอกจากเรื่องความเสียใจและเสียดายอย่างยิ่งแล้ว การเสียชีวิตอย่างหน้า ใจหายของคุณตัม้ Mamafaka ยังสัง่ สอนผมหลายเรือ่ ง ต้องยอมรับเลยว่าการ ทำ�นิตยสารของตัวเองโดยที่ไม่มีใครมาบังคับเรื่องเวลาปิดเล่มนั้น พาให้ผมพาล ขี้เกียจและเสียวินัยในการทำ�งานอยู่หลายครั้ง แต่คุณตั้ม Mamafaka ได้สอนให้ ผมรู้ในเหตุการณ์นี้ว่าชีวิตของเรานั้นไม่แน่นอน คิดอะไร อยากทำ�อะไร ควรต้องรีบ ทำ�ก่อนจะสายเกินไป สิ่งนี้ทำ�ให้ผมมองวันแต่ละวันอย่างมีคุณค่ามากขึ้น อีกเรื่อง คือการมีผลงานที่ดีอาจจำ�เป็นในการประกอบอาชีพแต่การมีจิตใจที่ดีอาจจะสำ�คัญ กว่า แน่นอนว่าการสูญเสียแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นและสักวัน เวลาคงช่วยทำ�ให้ น้ำ�ตาของพวกเราทั้งหลายแห้งไปแล้วกลับมาจะมองหน้าของ Mr.Hellyeah! ด้วยรอยยิ้มได้อีกครั้ง ขอบคุณ คุณตั้ม Mamafaka ที่ฝากผลงานดีๆ ไว้มาก และขอบคุณที่สอนผมให้เข้าใจคุณค่าของชีวิตมากขึ้น อีกหนึ่งศิลปินที่เราสูญเสียไปในเวลาไล่เลี่ยกันคือนักร้องลูกทุ่งรุ่นใหญ่ คุณเป้า สายัณห์ สัญญา อีกหนึ่งศิลปินที่ผมขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัย ณ ที่นี่ด้วย ผมรู้ว่าหลายคนหรือแม้กระทั่งตัวผมเองอาจไม่ทันยุครุ่งเรืองของเขาและหลายคน อาจไม่ฟังเพลงลูกทุ่งด้วยซ้ำ� แต่ผมก็ขอให้เราเคารพในความเป็นศิลปิน เป็นคน ทำ�งานสร้างสรรค์ แนวดนตรีหรือศิลปะทีด่ มี คี ณ ุ ภาพไม่วา่ ยุคไหนสมัยไหนรูปแบบใด ก็ต้องอาศัยความตั้งใจ พยายาม ทุ่มเท ฝึกฝนด้วยกันทั้งนั้น ขอแสดงความเสี ย อย่ า งสุ ด ซึ้ ง กั บ การจากไปของสองศิ ล ปิ น สองสไตล์ สองยุค สองดวงวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ สุรเชษฐ์ ศิลปบรรเลง คนทำ�พาย

04


CONTENTS RE-CAFE REFRESHING FEEL MALI MALI COFFEE AND BOOK CAFE VINEGAR SYNDROME “BOUNCE” PANA OBJECTS THINK ABOUT WOOD MITI RUANGKRITYA IMAGING IN FACT PHOTOGRAPHER SUPERMACHINE STUDIO HORMONES THE SERIES DIRECTOR ONLINE GALLERY

05


06


CONTENTS

PIN THE ART OF METAL’S LIFE TOKIN SOMEONE IN STONE FREE FESTIVAL NONCITIZEN WHAT IS GRAPHIC DESIGN ISE INCREDIBLE ILLUSTRATE THINKING WITH THINKK STUDIO

07


SANITAS STUDIO : BUSAN SEA ART FESTIVAL 2013 ใครผ่านไปแถวปูซาน อย่าพลาดไปชมงานของคุณบีน-สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ แห่ง Sanitas Studio ได้รบั คัดเลือกนำ�งานไปแสดงทีง่ าน Sea Art Festival งานแสดง ศิลปะที่จัดริมหาด Song do ซึ่งเป็น Public beach แรกของเกาหลี ซึ่งมีการจัด แสดงงานศิลปะมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันมีการจัดปีเว้นปี สลับกับ Busan Biennale พิธีเปิดจะจัดขึ้นวันที่ 14 กันยายน 2556 ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ งานทั้งหมด ทีจ่ ดั แสดงมีจ�ำ นวน 35 งาน จาก 10 กว่าประเทศทัว่ โลก โดยงานของคุณบีนมีชอื่ ว่า Equilibrium หรือ ความสมดุล ที่นำ�เสนอเรื่องของวัฒนธรรมของเกาหลีใต้และ แนวความคิดแบบหยินหยาง ออกมาเป็นตุก๊ ตาล้มลุกทีม่ ลี กั ษณะคล้ายเครือ่ งปัน้ ดินเผา โบราณ เป็นงานที่ดูร่าเริงสนุกสนาน แต่ก็แฝงความหมายลึกซึ้งทีเดียว ติดตามที่ www.busanbiennale.org/english/sub02/01.php

08


09


010


นิทรรศการ Karma Police: ดวงตาเห็นทำ� 29 สิงหาคม - 3 พฤศจิกายน 100 ต้นสนเเกลเลอรี่

เป็นการบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ และสิ่งที่ผ่าน เข้ามาในชีวิตของยุรี เกนสาคู ซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ของการเล่าเรื่องผ่านผลงานศิลปะของยุรี ในครั้งนี้ยุรี ต้องการสือ่ สารหนึง่ ในความเชือ่ ของเธอ ซึง่ ได้แก่ “เรือ่ ง กฎแห่งการกระทำ�” หนึ่งในแรงบันดาลใจของผลงาน ชุดนี้เกิดจากประสบการณ์รา้ ยๆของตัวยุรเี อง ทีถ่ กู โกง โดยผูร้ บั เหมาในการปรับปรุงบ้าน และสตูดโิ อทำ�งานศิลปะ ของยุรี ทำ�ให้พื้นที่ที่เป็นทั้งบ้าน และสตูดิโอทำ�งานถูก ทิง้ ร้างเอาไว้ โดยยุรแี สดงออกผ่านตัวงานทีค่ งความเป็น เอกลักษณ์ในเรือ่ งการใช้ฟอร์ม และสีสนั ทีส่ ดใส นอกเหนือ ไปจากการวาดรูปบนผืนผ้าใบ ยุรีได้นำ�เอาวัสดุไฟเบอร์ กลาสเข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างเรื่องราวผ่าน จินตนาการของเธอ อาจกล่าวได้ว่า ยุรีได้ทำ�ให้เส้นแบ่ง งานจิตกรรม และประติมากรรมบางลงไปแล้ว www.100tonsongallery.com www.facebook.com/100TonsonGallery

011


012


013


NEW BLOOD BAND

YOUTH BRUSH หนีบรรยากาศวุน่ วายมาพักหูฟงั เสียงกีตาร์อะคูสติก มาถึงปัจจุบันที่ดุ่ยรวบรวมมาเป็น 14 บทเพลงในอัลบั้ม และเสียงร้องเย็นๆ ผ่อนคลายอารมณ์จาก ดุ่ย-วิษณุ ชื่อ The Luncheon On The Grass ลิขิตสถาพร หนุ่มนักศึกษาคณะสถาปัตกรรมศาสตร์ เจ้าตัวบอกว่า “Youth brush” เป็นวงที่เขาทำ� ลาดกระบัง ภาควิชาวิจิตรศิลป์ ที่ใช้ชื่อในการทำ�ดนตรี ขึ้นเล่นๆ ไม่ได้จริงจังจึงไม่ได้คาดหวังความนิยมหรือ ว่า “Youth brush” ที่บอกถึงแรงบันดาลใจในการ ความสำ�เร็จอะไรมากมาย แต่สิ่งนี้เองอาจเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ แต่งเพลง ที่เขาหยิบเรื่องราวดีๆ จากบุคคลที่ผ่านมาใน เขาสร้างบทเพลงที่เป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน สบาย ชีวิต เป็นเรื่องส่วนตัวที่รู้กันระหว่างตัวเขาและคนที่เขา ผ่ อ นคลาย และทำ � ให้ ค นฟั ง เพลิ ด เพลิ น มี ค วามสุ ข ได้ เขียนถึงในบทเพลง เป็นเรื่องการเดินทางจากอดีตจน แบบนี้ ติดตาม Youth brush ได้ที่ fb : www.facebook.com/pages/Youth-brush/148699498574079 soundcloud : https://soundcloud.com/when-rulesound

014


THE WHITEST CROW วงอินดี้ร็อคบ้านเรามีเยอะครับ แต่จะหาที่ชัดเจน เมามัน ของมัน แต่จากจิตใจข้างในที่บริสุทธิ์” ได้อารมณ์และสร้างสรรค์นหี่ ายากครับ และวง The Whitest The Whitest Crow ก็เป็นอีกวงที่ทำ�เพลงกันเอง สนุก Crow ก็เป็นอีกวงที่ครบเครื่องที่กล่าวมา ด้วยการรวมวง กับการทดลอง และด้วยแนวเพลงที่ดิบ หลอน เร้าใจ ทางวง จาก เติ้ล-ปฏิภาณ สุวรรณสิงห์ ที่ก่อนหน้านี้นั่งทำ�เพลง จึงใช้ค�ำ ว่า Hallucinated Rock เพือ่ ขยายแนวเพลงของวง อยู่คนเดียวที่บ้าน จนมาเจอกับเพื่อนสมาชิกคือ ฮัท-จิรายุ เพลงของ The Whitest Crow มีกลิ่นของดนตรีไซคีดิลิค ชื่นภักดี / Bass, อ๋อง-วิศวชาติ สินธุวนิก / Guitar และ ร็อคยุคเก่า ที่ให้อารมณ์ที่บิดเบียว ทั้งเสียงร้องและซาวน์ด เบน-ณัฐพงษ์ พรมจาต / Drum ส่วนชื่อวง เติ้ลบอกถึง Noise ของกีตาร์แบบ shoegaze นิดๆ แถมในหลายเพลง ความหมายว่า “คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินคนที่ภายนอก ของ The Whitest Crow ก็ยังมีเมโลดี้แบบบลูส์ร็อคยุคเก่า เหมือนอีกา ที่เป็นตัวแทนของความมืด ความชั่วร้าย ถึงเรา ทีฟ่ งั ง่ายเข้าหูดว้ ย ใครกำ�ลังเบือ่ เพลงเบาสบาย กุก๊ กิก๊ อยาก เป็นอีกาแต่เราก็อาจจะเป็นอีกาที่ขาวที่สุด ไม่ได้ขาวจากขน ฟังอะไรที่หลอนลอยและเร้าใจก็ลองฟังกันนะครับ fb : www.facebook.com/TWCGband

015


KOBE จากเพือ่ นในวัยมัธยม เบน ชมภูวงศ์ (ร้องนำ�/กีตาร์), ตะวัน จิระศรีปัญญา (เบส/ร้อง), อายุ จารุบูรณะ (กลอง/ร้อง) ได้ กลับมาร่วมเล่นดนตรีกันอีกครั้งเมื่อสี่ปีที่แล้ว หลังจากตระเวน เล่นดนตรีกันจนเข้าขาในนาม KOBE ตอนนี้อีพีอัลบั้ม HERE ก็ถูกปล่อยออกมาให้แฟนเพลงได้ฟังกันแล้ว ด้วยประสบการณ์ท่สี ่งั สมมา (โดยเฉพาะมือกลองเคยเล่น ให้วงดนตรีดๆี หลายวงอาทิ Sqweez Animal) ของสมาชิก ในวง อัลบั้ม HERE จึงอัดแน่นไปด้วยเพลงที่น่าฟัง หลาย คนคงได้ฟังเพลง The Ballad of a Man and his Sor-

016

row กั น ไปบ้ า งแล้ ว วงเขายั ง มี ข องดี อี ก เยอะครั บ ทั้ ง เพลงสบายๆ แบบ By My Side ที่ชุ่มฉ่ำ�ทั้งเสียงกีตาร์และ จังหวะที่เหมือนวิ่งเล่นสบายๆ ในทุ่งกว้าง หรือเพลง Jives ที่เสียงร้องเคล้ากันดีกับเสียงกีตาร์โปร่งเหงาๆ ถ้าอยากได้ จังหวะทีห่ นักแน่นหน่อยก็เพลง HERE เพลงเท่ๆ ชือ่ เดียวกับ อัลบั้ม รวมๆ เพลงของ KOBE เป็นอินดี้ร็อคที่มีกลิ่นโฟล์ค มากพอสมควรและแน่นอนว่ามีพาร์ทดนตรีที่แน่นปึกรอง อยู่ใต้เมโลดี้ที่ไพเราะฟังง่ายอีกด้วย ไม่ควรพลาดครับวงนี้ www.facebook.com/kobethailand


CLOUD BEHIND วง Cloud Behind เริ่มมาจากโปรเจกต์เดี่ยวของ ตวน The Orange Rolls ตอนนั้นมีเพลง ภวังค์, Green และ In Time ต่อมาก็จับกลุ่มทำ�วงกันกับเพื่อนๆ และในตอนนี้ Cloud Behind มีสมาชิกวง 5 คนคือ ตวน ร้องนำ�/กีตาร์, เมย์ ร้อง/กีต้าร์, ตอง ร้อง/เบส, เอก ตีกลอง และฟ้าใส มือคีบอร์ด ตอนนี้เพลงที่มีในยูทูปมีสามเพลงนั้น และซิงเกิ้ล ล่าสุดที่เพิ่งปล่อยชื่อเพลง Dawn (ลาฝัน) ซึ่งตอนนี้ก็กำ�ลัง อัดเพลงต่อไปอยู่ จากรูปปกซิงเกิ้ล เป็นผู้หญิงถือพลุควัน ทางวงได้ให้

เหตุผลว่า ควันให้ความรู้สึกถึงความมีอิสระ ไม่ชัดเจนระหว่าง ความฝันหรือความจริง มีความคลุมเครืออยูใ่ นนัน้ แล้วไม่นานก็ จางหายไป แต่สุดท้ายแล้วห้วงความรู้สึก ณ เวลานั้นจะยังอยู่ อย่างล่องลอย ก็คงเหมือนกับเพลงของวงที่มีซาวน์ดดนตรี ล่องลอย เหมือนหมอกควันจางๆ ที่มีเมโลดี้ชวนฝันน่าฟังซ่อน อยู่ แนวดนตรีแบบดรีมป๊อปฟังสบายยังเข้ากันกับเนือ้ เพลงของ วงได้ดี (อย่างเพลง “ลาฝัน”) ฟังวงดรีมป๊อปเมืองนอกกัน เยอะแล้วมาฟังวงบ้านเราบ้างนะครับ ได้อารมณ์ไปอีกแบบ www.facebook.com/CloudBehind

017


someday

018


noway

019


PIE TALK

020


PIN

THE ART OF METAL’S LIFE

ไม่นกึ ว่าเหล็กทีแ่ ข็งกระด้าง จะมีลวดลายทีส่ วยงามพลิว้ ไหว แบบนี้ได้ นั้นเป็นเพราะเหล็กเหล่านี้ได้ผ่าน การคิด การ ทำ�งานของผู้หญิงคนนี้ “ปิ่น-ศรุตา เกียรติภาคภูมิ” ผู้หญิงที่ผนวกรวมงานศิลปะเข้ากับงานโปรดักส์ด้วย วัสดุเฉพาะตัว และงานของเธอกำ�ลังเป็นทีส่ นใจในวงการ ออกแบบทั้งในและต่างประเทศ เราไปพูดคุยกับเธอกันดี กว่า แล้วจะรู้ว่าสาวคนนี้มีจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้วัสดุที่ เธอเลือกใช้เหมือนกัน

021


รูจ้ กั พีๆ่ ผูใ้ หญ่หลายๆ ท่านทีน่ น่ั แล้วกลับมาแสดงงาน ปิน่ : ปิน่ จบทัศนศิลป์ ศิลปกรรมศาสตร์ มศว. ค่ะ ที่ Hof Art รวมกลุ่มกับพี่ๆ น้องๆ สุดท้ายแล้วพ่อ เริ่มทำ�งานเกี่ยวกับเหล็กตอนทำ�ธีสิส คิดว่าจะ เริ่มถามว่าลูกจะเอายังไง ก็เลยบอกว่าทำ�อันนี้แล้วกัน ทำ�เรื่องของคนงานที่บ้าน บ้านปิ่นเป็นโรงงานที่ทำ� นำ�งานธีสิสมาทำ�ต่อ ลองทำ�โน่นนี่ นาฬิกา เชิงเทียน เกี่ยวกับชิ้นส่วนวัสดุพวกนี้ มันเหมือนกับได้เห็น ปิ่นก็เริ่มหาพื้นที่ว่าที่ไหนที่เราจะแสดงงานได้ พอหา ตัวเองชัดขึ้น พอได้วิเคราะห์วิจัยแล้วก็เห็นว่าสิ่งที่ พื้นที่ก็เจอ TCDC เขาจัดงานแฟร์ของนิสิตที่หอศิลป์ เรามีอยู่มันมีคุณค่ามาก จามจุรีเป็นงานอาร์ตแฟร์ของเด็กๆ เลยเอาไปวาง ก็ขายได้ ก่อนนั้นสิ่งที่ปิ่นทำ�ไม่เคยนึกถึงเรื่องราคามา สะท้อนออกมาเป็นยังไงบ้าง ก่อน ปิ่นเห็นในความหมายของชิ้นงาน ตอนนี้เลยเป็น ปิน่ : เราเกิดและโตมาทีน่ ่ี ตอนเรียนปิน่ ชอบวาดรูป มูลค่าขึ้นมา ต่อมาก็วางที่ TCDC คือไปงานปล่อยแสง เด็กร้องไห้ในโรงงาน เหมือนตัวเองรู้สึกหม่นมาก ปี 2552 เขาก็ให้วางขายหลังจากนัน้ ก็จะมีโครงการ แต่พอเลือกมาจับงานธีสิส กลับพลิกความคิดใหม่ ต่อยอดเข้ามาอีกและพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ นั่นก็ มาตั้งคำ�ตอบว่าพี่คนงาน หลายๆ คน ทำ�ไมเขา คือจุดเริ่มจริงๆ ต้องหลีกหนีชีวิตต่างจังหวัดที่มีความสุขสบายทาง จิตใจมาอยู่ในพื้นที่ๆ แออัด ที่มีเสียงดังๆ แบบนี้ ตอนแรกใช้ชื่อ Prinkpreaw’s เขาทำ�เพื่อถามหาชีวิตที่ดีขึ้นจริงๆ เหรอ เพื่อถาม ปิ่น : ใช่ พริ้งพราวคือชื่อของปิ่นที่มหาวิทยาลัย หาเงินที่มาตอบสนองตัวเองหรือเปล่า ก็เลยเหมือน เราตั้งคำ�ถามแล้วก็ตอบคำ�ถามกับตัวเองไปด้วย เริ่มมา 4 ปี สไตล์งานตอนแรกเป็นของชิ้นเล็กๆ เริ่ม ว่าทำ�ไม พอมองดูดีๆ ก็รู้สึกว่าจริงๆ มันมีสิ่งที่ พัฒนาต่อมายังไง ล้ำ�ค่าหลายๆ อย่างที่เราไม่เคยรู้ เลยเริ่มทำ�เรื่อง ปิ่น : หลังจากปิ่นเริ่มเข้าไปที่ TCDC แล้ว พอจบ ของคนงาน ถ่ายภาพก่อนแล้วก็ทำ�เม็ดสกรีน โครงการก็เริ่มพยายามหาความรู้ให้ตัวเอง ไปอบรบ ซิลค์สกรีน ทำ�เองหมดทุกขั้นตอนเลย ตอนเรียน ต่างๆ ทำ�ให้ปิ่นได้เจออาจารย์หลายๆ คณะ หลายๆ ภาพพิมพก็เรียนกัดกรด ่เขาก็ไม่ได้มีสอน มหาวิทยาลัย เหมือนเป็นที่ปรึกษานอกรอบ คุยกับ ซิลค์สกรีนบนเหล็ก ปิ่นก็หาเองว่าเขาทำ�กันยังไง อาจารย์คนโน้นคนนี้และพยายามพัฒนาตัวเองโดยที่ ไปสอบถาม ทำ�ทุกอย่างเองหมดเลยและเอาพวก ไม่ได้เข้าห้องเรียน แล้วได้ไปออกรายการกระตุกต่อมคิด วัสดุที่อยู่ในโรงงานจริงๆ เป็นตัวถ่ายทอด เขาแนะแนวเรือ่ งของสมองซีกซ้ายสมองซีกขวา พยายาม แต่พอหลังจากจบแล้ว เราต้องตอบคำ�ถามกับที่ พัฒนาให้มันเกิดขึ้นจริง ซึ่งปิ่นคิดว่ารายการนี้ดีมาก บ้านว่าจะทำ�อาชีพอะไร ตอนแรกก็เที่ยวเล่น 1 ปี มีกรู อู ย่างพีก่ ปั ปะ (กรกต อารมย์ด)ี พีอ่ านนท์ ไพโรจน์ ไปต่างจังหวัด เดือนละ 1 อาทิตย์ ไปสอนศิลปะ ดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียงมาสอน เขาก็สอนว่าปิ่นควรจะ เด็กต่างจังหวัด เขาใหญ่บา้ งสกลนครบ้ง ก็ไป เป็นยังไง ทิศทางไหน เขาบอกว่าลองทำ�ชิ้นใหญ่ขึ้นมั้ย เริ่มงานด้านนี้ยังไง

022


023


024


ให้เป็นงานโชว์อาร์ติสมั้ย เอาศักยภาพที่เรามี ที่ เรียนอาร์ตออกมา แต่ของเล็กๆ ก็ยงั มีไว้บา้ ง เรียนจากการทำ�งาน จากการพูดคุย

ปิ่น : มันได้เยอะนะ พอมานั่งสรุปตัวเองในสิ่งที่ ปิ่นทำ�มา 4 ปีนี้ อาจารย์ที่อยู่มหา’ลัยเขาเห็นตอน ไปออกทีวี เขาก็โทรมาบอกว่ามาหาหน่อยสิ ตอนนี้ ทำ�งานอะไร เป็นยังไง เขาก็บอกว่าถ้าปิ่นเขียน หนังสือในกระบวนการที่ปิ่นทำ�อยู่ เป็นปริญญาโท ได้แล้ว ปิน่ ก็บอกว่าไม่รู้ แต่สง่ิ ทีป่ น่ิ ทำ�ก็คอื การค่อยๆ เก็บข้อมูล ทำ�ความเข้าใจมาเรื่อยๆ พอรุ่นพี่ อาจารย์แนะนำ�ให้ทำ�ชิ้นใหญ่ขึ้น โชว์ ความอาร์ต ปิ่นทำ�งานยากมั้ย

ปิน่ : แล้วแต่ชน้ิ นะ ถ้าพูดถึงงานชิน้ ใหญ่ๆ ปิน่ เคย ทำ�ใหญ่มากๆ ในช่วงแรกปิ่นจะทำ�เป็นพื้นผิวแบบ สนิมๆ ตลอด ชอบความเป็นสนิมมาก ด้วยความ ทีท่ �ำ อาร์ตธีสสิ มา แล้วโชว์สนิมมันก็สวยของมัน ตอนนั้นที่เริ่มทำ�ชิ้นใหญ่ๆ เพราะเข้าอบรมปิน่ ก็บา้ เลย ไหนๆ จะทำ�ก็ท�ำ ให้มันสุดๆ ไปเลย อบรมกับที่ไหน

การอบรมนั้นเป็นยังไงบ้าง

ปิน่ : เขาพาไปเทีย่ วพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ไปหา ความเป็นไทย แต่ปิ่นไม่ได้ถึงกับอินกับที่เขาพาไป เที่ยวเท่าไหร่หรอก แต่ปิ่นอินตอนที่ไปเที่ยวผาแต้ม คือเหมือนเป็นประสบการณ์เดิมของเราเคยไปเที่ยว ไปสอนเด็กมา เลยเอาความเป็นผาแต้มกลับมาดีไซน์ ในงาน ซึ่งก็คิดแบบอาร์ตเลย คนอื่นเขานั่งสเก็ตช์ ดีไซน์ยังไงปิ่นไม่รู้เลย เข้าไปปรึกษาอาจารย์ ว่า ต้องวิเคราะห์อะไร แบบไหน อย่างฉันชอบผาแต้ม พระอาทิตย์ขึ้นเป็นที่แรกในประเทศไทย ก็เอามาทำ� เป็นโปรไฟล์ แล้วทำ�ขึ้นเป็นสครับเจอร์ผาแต้ม ดึง จาก 2 มิติให้เป็น 3 มิติ โดยทำ�เป็นสนิมหมดเลย ตอนพรีเซนต์อาจารย์เขาไม่ว่าอะไรเลยสักคำ� ปิ่นก็ คิดว่าทำ�ไมเขาไม่พูดกับเรา ตอนแรกก็กลัวเพราะปิ่น รู้สึกว่าดีไซเนอร์ที่ไปเนี่ยเป็นรุ่นใหญ่ทุกคนแล้วเราไม่รู้ เรื่องอะไรเลย แต่เขาก็คอมเม้นต์ว่าดีที่ใช้เศษเหล็ก มาทำ�และโชว์ความเป็นสนิม เขาบอกว่ามันเป็นงาน อาร์ต ตอนพรีเซนต์ไม่มีใครทำ�งานแบบนี้ เพราะว่า คนอืน่ เรียนสายดีไซน์มากันหมด เขาก็จะนึกถึงฟังก์ชน่ั กลุ่มลูกค้า ครั้งแรกก็เป็นลักษณะนั้น ครั้งที่ 2 ก็ยัง คงเป็นสนิมอยูท่ �ำ เรือ่ งบ้านเชียง พอครัง้ ที่ 3 ก็ยงั เป็น สนิมอีก เขาพาไปเที่ยวเชียงใหม่พอตอนเดินป่าจะ ชอบมาก ก็ไปเห็นใบต้นสัก ตื่นตาตื่นใจมากใบไม้ใบ ใหญ่มาก ถูกแมลงกินเป็นรูๆ มันสวยจังเลย บ้าอยู่ คนเดียว แล้วเราก็อินกับใบไม้ใบนั้นมาก ก็คิดว่ามัน เหมือนกับเศษเหล็กเป็นรูๆ ที่บ้านเหมือนกัน ก็เลย เอามาทำ�เป็นงาน

ปิ่น : อบรมของสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำ�นักงานพัฒนาธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม สิ่ง เหล่านี้ทางรัฐบาลเขาจะสนับสนุนว่าเอาความเป็น ไทยมาลงกับผลิตภัณฑ์กับจิวเวลรีดีไซน์ ปิ่นก็ไป เข้าแคมป์ เขาก็พาไปเที่ยว 3 วัน ภายใน 2 คืน 3 วันนั้นก็ต้องคิดงานออกมาให้ได้เพื่อพรีเซนต์ แล้วก็จะเจออาจารย์ขั้นเทพของวงการดีไซเนอร์ แล้วเลิกทำ�ผิวสนิมเพราะอะไร มาคอมเม้นต์เหมือนในไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์เลย ปิ่น : เริ่มรู้สึกว่าเราอาร์ตไปหรือเปล่า (หัวเราะ) คือ 025


026


ต้องปรับตัวเอง ตอนนั้นก็ถามตัวเองว่า ฉันจะเป็น ศิลปินทำ�งานอาร์ตหรืออะไร พยายามตั้งคำ�ถามกับ ตัวเองตลอดว่าเราต้องหาเงินเข้าบ้านด้วย อันนี้คือ ประเด็นสำ�คัญสำ�หรับการทำ�งานทั้งหมด ต้องเปลี่ยน ตัวเองบ้างในบางทีกบั สังคมทีเ่ ขามองเราอยู่ เราก็คดิ ว่าจะ ต้องจัดการยังไง เปลี่ยนเยอะมากจากที่ไม่ชอบโรงงาน กลับต้องมารักและอยู่ที่นี่ให้ได้ หนักหนามากสำ�หรับ ปิ่น แล้วเปลี่ยนจากสนิมมาเป็นพาวเดอร์โค้ท เพราะว่าคนจะมาถามเยอะว่า เป็นสนิมนัง่ ได้หรือเปล่า ปิ่นก็บอกว่ามันนั่งได้ แต่คนเห็นเขาอาจไม่สบายใจ (PIE : อธิบายพาวเดอร์โค้ท) พาวเดอร์โค้ทจะเป็นสี ฝุน่ ค่ะ งานของปิน่ มันจะคมมากเพราะเป็นเหล็กทีถ่ กู ตัด การทำ�พาวเดอร์โค้ท ต้องเอาเหล็กไปทำ�น้ำ�ยา พอชุบ ขึ้นมา เขาก็จะเอาสีนี้มาพ่น มันเป็นฝุ่นจะไปเกาะกับ เหล็กเป็นไฟฟ้าสถิต แล้วจะเอาชิ้นงานไปเข้าเตาอบ เหมือนอบเซรามิก การเคลือบของพาวเดอร์โค้ทมัน ทำ�ให้ลบความคมไปในตัว ต้องไปทำ�ทีโ่ รงงานอืน่ เพราะ ที่บ้านปิ่นไม่ได้มีเรื่องพ่นสี ตอนที่ทำ�กับ TCDC เขาก็ บอกให้ปิ่นไปทำ�ไม่ให้มันคม ปิ่นก็เสิร์ชหาทำ�ยังไงโดยที่ เราไม่ตอ้ งมานัง่ เสียเวลาตะไบ คือสิง่ ทีป่ น่ิ ทำ�ทุกคนอาจ จะมองว่าทีบ่ า้ นซัพพอร์ต แต่จริงๆ แล้วหาเองหมดเลย ไม่อยากไปรบกวนเขา

ไม่เป็นไรเรายอม แล้วปิ่นก็ไม่รู้ว่ามันจะขายได้ หรือขายไม่ได้ด้วยนะ คิดว่าถ้าเขาชอบงานเราก็ ถือว่าประสบความสำ�เร็จแล้วล่ะ ก็ไปส่งงาน เขาก็บอกว่าดีนะ ลบคมได้พัฒนางานขึ้นมาก ล่าสุดกำ�ลังทำ�อะไร

ปิ่น : จะเป็น Wall Décor แล้วก็เป็นโคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ เรื่องเฟอร์นิเจอร์ไปศึกษายังไง เพราะมันน่าจะเป็นเรื่อง ที่ต้องเรียนเหมือนกันนะ

ปิ่น : ก็ทดลองไป (หัวเราะ) จริงๆ ปิ่นพยายามจะ เลี่ยงเฟอร์นิเจอร์นะ เพราะรู้สึกว่าเราไม่ได้แม่นเรื่อง สัดส่วนของคน แต่ก็พยายามเน้นความสวยงามเป็น อันดับแรก เพราะเราเรียนสุนทรียศาสตร์มาก็เลย เอาสวยไว้ก่อน ทำ�ออกไปก่อนเดี๋ยวคนมาคอมเม้นต์ ก็จะรู้ข้อผิดพลาดเอง ถ้าเหล็กที่บ้านหมดทำ�ยังไง

ปิน่ : มีคนถามเสมอว่าแล้วถ้าเหล็กหมดล่ะ เขาไม่ ผลิตเราจะทำ�ยังไงในเมื่อมีออร์เดอร์มา ปิ่นเคยตอบ คำ�ถามนี้ไม่ได้นะ ด้วยประสบการณ์เด็กๆ แต่ตอน นี้ก็คุยกับที่บ้านว่าถ้ามันมีจริงๆ จะทำ�ยังไง ที่บ้าน ช่วงที่สับสนก็คิดเองตัดสินใจเอง ก็บอกว่าไม่เป็นไรก็ปั้มมาเลย และเอาชิ้นส่วนอันนั้น ปิ่น : ใช่ ร้องไห้เลย ช่วงแรกมันเปลี่ยนระบบทุกอย่าง ขายเทตลาดไป ขายถูกไปเลย ยังไงเราก็เอาในส่วนนี้ ทำ�ไมฉันต้องมานั่งทำ�ตามคนนี้ด้วย แล้วก็คิดว่าเรา นำ�มาทำ�เป็นงานที่สร้างมูลค่ามากกว่าชิ้นนั้นอีก เลือกเองนีท่ ม่ี าทำ�งานนี้ ก็ตอ้ งทำ� คือตัง้ คำ�ถามกับตัวเอง ตลอดว่ามันถูกหรือเปล่า มันใช่มั้ย ลองสักตั้งแล้วกัน ขั้นตอนการเริ่มทำ�งานของปิ่นเป็นยังไง พยายามคิดเสมอว่ามันต้องทำ�ได้ ก็หาโรงพ่นสีเอง ปิ่น : มีอยู่ 2 แนวทาง คือมีคอนเซปต์ก่อนแล้ว แล้วใครเขาจะมาพ่นให้เราชิ้นละสี เข้าไปอ้อนวอนเขา ก็พยายามทำ�เหล็กให้มันเป็นไปได้ในสเก็ตช์ อีกอัน ดราม่าสุดชีวิต เขาก็ยอม ตอนแรกคิดแพงมาก โอเค หนึ่งคือ เห็นเหล็กก่อนแล้วทำ�เลย มันไม่ได้กำ�หนด 027


ตายตัวมากคือบางทีเห็นปุ๊บ เป็นนั่นได้เป็นนี่ได้ ก็เอาเลย วันก่อนเบื่อก็ขับรถไปนั่งที่ร้านกาแฟ พอกลับมาคิดงานได้เต็มไปหมด

คือแรงบันดาลใจมาได้ คิดฟุ้งได้ แต่เราจะตบสิ่งที่เรา มีอยู่ทั้งหมดให้มันเป็นจริงมันยากกว่า

ตอนนี้มองอะไรเห็นเป็นเหล็กหมด

ปิ่น : ยังบอกไม่ได้ค่ะ เอาแค่ทำ�ในห้างฯ มันเป็น กระบวนการที่ใหญ่มาก ตอนไปคุยกับเขา ปิ่นก็ทำ�แต่ ชิน้ เล็กๆ (ชิ้นเล็กแล้วแต่มันก็ใหญ่สำ�หรับคนอื่นนะ) แต่พอไปคุย เขาบอกน้องปิ่นทำ�แต่ชิ้นเล็กนะ ทำ�ชิ้น ใหญ่ได้หรือเปล่า ก็ท�ำ ได้นะ ไม่ยากหรอกมันแค่ขยาย สเกลเอง แค่ต้องใช้คนเยอะขึ้นกลับกลายเป็นว่าเป็น เรื่องการจัดการแล้วว่าระยะเวลานี้ทำ�งานเท่านี้ที่บ้าน ต้องไปเซ็ตอัพที่ไหนไปพ่นสีกี่วัน คือทำ�ทุกสิ่งอย่าง

ปิ่น : ใช่ คือสายตาปิ่นจะมองเป็นเหล็ก ตอน เรียนอยู่มัธยมฯ เรียนสีน้ำ�ทุกวัน มองทุกอย่าง เป็นสีน้ำ�หมดเลย ตอนนี้ก็จะมองต้นไม้เป็นเหล็ก จะขึ้นฟอร์มยังไง อะไรแบบนี้ ปิ่นต้องทำ�งานร่วมกับช่างทำ�เหล็กด้วย วิธีคิด แตกต่างกันมั้ย

ปิ่น : งานลักษณะของปิ่นมันเป็นงานฝีมือ แต่ปิ่น เชื่อว่าต้นตอทุกสิ่งทุกอย่างมันมาจากปิ่น ช่างฝึก กันได้ถ้าเขาเปิดรับเรา ยังไงเขาก็สามารถพัฒนา ฝีมือเขาเองได้ ช่างฝีมือของแต่ละด้าน เขาจะมี ความที่รักในอาชีพอยู่แล้ว แล้วนี่มันคือสิ่งใหม่ที่ ท้าทายเขาเหมือนกัน ปิ่นเชื่อว่าเขาเองก็อยากจะ สนุก ตอนนั้นที่ปิ่นสัมภาษณ์งาน พี่เขาบอกว่า เข้ามาเห็นแล้วแปลกใจ ดีใจ ไม่เคยเห็นงานแบบนี้ เขาชอบ ปิ่นก็บอกว่างานไปเมืองนอกนะพี่ ทำ� ดีๆ นะ คือถ้าปิ่นรับโปรเจ็กต์มา ปิ่นก็มีส่วนแบ่ง ให้เขาอีก คิดดูสิปิ่นเรียนอาร์ตมา ต้องมาเรียนรู้ เรื่องการดูคน เรื่องธุรกิจพวกนี้ด้วย แต่มันก็ต้อง เป็น ต้องเปิดรับด้านอื่นให้เราได้พัฒนาตัวเองด้วย เรียนรู้ว่าต้องคุยกับช่างยังไง ดึงคนมาทำ�งานยังไง ก็เรียนรู้จากคุณพ่อนี่แหละ ขั้นตอนที่ยากที่สุดในการทำ�งาน

ปิ่น : คิดงานนี่แหละยาก ต้องใช้เวลาคิดยาก แล้วแต่จะคิดยังไงให้มันเกิดขึ้นจริงได้นี่ยากกว่า

เห็นตอนนี้แอบทำ�โปรเจ็กต์ใหญ่อยู่

ศิลปินใหญ่ๆ ก็ทำ�แบบนี้นะ เรื่องการจัดการ

ปิ่น : ใช่ เท่าที่ปิ่นหาดูมันก็ต้องเป็นแบบนั้น เป็น สตูดิโอที่เหมือนเป็นงานใหญ่มากๆ คือต้องผันตัวเอง ไปเป็นแบบนั้น ก็ศึกษาชีวิตของศิลปินต่างประเทศว่า เขาเป็นกันยังไง ก็โอเคมีทมี สนับสนุนของเพือ่ น มานัง่ ประชุมงานกันต้องหาคนที่ถูกกับงาน คนไหนที่เก่ง ด้านนี้ก็เลือกมาช่วย อะไรแบบนี้ ต่อไปก็อาจจะเป็นสตูดิโอจริงจัง

ปิ่น : ใช่ ที่ชัดเจนมากกว่านี้ ก็คงจะเป็นลักษณะนั้น ว่าโปรเจ็กต์ใหญ่ก็รับแต่ชิ้นเล็กก็ต้องขาย แต่ตอนนี้ รับเป็นโปรเจ็กต์เยอะกว่า พวกคอนโดฯ โรงแรม งาน PIN มีลวดลายโดดเด่นมาก มันคือลวดลายที่มา จากฟอร์แมตเดิมของชิ้นส่วนเหล็กแบบต่างๆ

ปิ่น : ใช่ค่ะ ฟอร์แมตเดิม มันจะเป็นทั้ง ประแจ บานพับ หรืออุปกรณ์ลูกล้อ บานเลื่อน เพราะว่าไลน์ งานผลิตของทางบ้านปิ่น ชุดอุปกรณ์หนึ่งต้องผ่าน 028


029


030


031


032


กระบวนการเยอะ ต้องปั้มหลายลาย เราก็เลยเลือก ลายที่สวยที่สุดเอามาทำ� อย่างชุดล่าสุดปิ่นเริ่มเบื่อ การแปะ เบื่อรูปแบบแบนๆ ก็เลยหยิบเหล็กที่ไม่คิด ว่ามันจะเป็นไปได้มา หยิบมาแล้วก็พับเล่นดู มันออก มามีมิติน่าสนใจดี ลองพับเล่นเอาหนังยางรัด แล้วยก มาทั้งกองเลย บอกช่างว่าเฮ้ย...พี่มันเป็นโคมไฟได้ แน่เลย เริ่มบ้า พอขึ้นงานมาปุ๊บ ด้วยวัสดุของปิ่น มันเป็นชั้นๆ เหมือนเจดีย์วัด เหมือนมีส่วนประกอบ ของวัดโดยบังเอิญ แล้วช่วงนีป้ น่ิ ชอบเข้าวัด ก็เอามาทำ� ต้องหาความเป็นไปได้ของวัสดุ

เราเอาอารมณ์นำ�เสมอ ปิ่นเลยคิดว่าถ้าเราหาอะไร ที่มาเบนกระแสเจิตราออกไป จริงๆ แล้วรู้สึกว่าอะไร ที่ทำ�ให้เรารู้สึกดีขึ้น โดยที่เราไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร มันน่าจะเป็นสิ่งที่ดี ปิ่นไปปฏิบัติธรรมที่เชียงใหม่ มาอาทิตย์นึง ได้อยู่กับตัวเองเยอะ คนคิดว่าการไป ปฏิบัติธรรมมันต้องเข้ากระแสธรรมลึกซึ้ง ซึ่งปิ่น คิดว่าเป็นการได้ตั้งคำ�ถามกับตัวเองนะว่า เราไป ทำ�ไม เราไปเพื่ออะไรแล้วก็ไปนั่งสวดมนต์ 4 เวลา นั่งปุ๊บ มันก็เหมือนกับตั้งคำ�ถามกับตัวเองในใจ ก็รู้ว่าสิ่งที่เราทำ�อยู่มันคืออะไร เพื่อสิ่งใด

เรื่องวัสดุที่เราคุยกัน คิดว่าเหล็กตัวนี้มันจะมี ข้อจำ�กัดมั้ย

พูดถึงตลาดงานออกแบบของเราบ้าง

ปิ่น : ถ้าอย่างของปิ่นก็มีคนซื้อนะ แต่เขาจะชอบใน ปิ่น : ปิ่นว่าไม่มี ด้วยเหล็กของปิ่นหนึ่งเส้น มัน เชิงงานอาร์ตมาก คือโดยพื้นฐานคนที่ซื้อไปเนี่ยจะรัก สามารถเป็นอะไรก็ได้ มันเหมือนผ้าหนึ่งชิ้น เหมือน งานศิลปะ สะสมงานอาร์ตของศิลปินเขาก็มาซื้องาน ลูกไม้หนึ่งม้วน แล้วเราก็เย็บลายที่แตกต่างกันออกไป ของปิ่น เขาบอกว่างานน้องมันเป็นอาร์ตพี่ก็ซื้อ ซึ่ง ปิ่นก็ศึกษาเรื่องเหล็กเพิ่มอยู่เรื่อยๆ หาในอินเตอร์เน็ต คนไทยจะชอบ สวย ชื่นชม คนที่ซื้อจะเป็นสถาปนิก บ้าง ถามคุณพ่อบ้าง ไปดูเลยว่าเหล็กมันมีการรีดร้อน อินทีเรีย ส่วนที่ซื้อจริงๆ เลยจะเป็นฝรั่ง เพิ่งส่งไป รีดเย็นยังไง ว่างๆ ก็ยังนั่งหาหนังเกี่ยวกับเหล็กมาดู อเมริการ้องไห้เลยอ่ะ ดีใจ เลย อะไรแบบนี้ (หัวเราะ) คือกระบวนการเกี่ยวกับ การทำ�งานเหล็กที่ฝรั่งเขาทำ� มีคนทำ�ศึกษาเรื่องนี้ คนทั่วไปที่ไม่ได้สนใจศิลปะมาก เขามองงานปิ่นยังไง จริงจังอยู่แล้วไงคะ เราดูก็ได้ความรู้เพิ่มเติม เอามา ปิ่น : ปิ่นก็กำ�ลังจะทำ�ให้มันกว้างและเข้าถึงง่ายขึ้น คิดกับงาน อย่างเช่นเหล็กแบบไหนเบาหน่อยที่จะทำ� อย่างงานดอกไม้เหล็กตรงนั้นที่วางอยู่ ปิ่นไปขาย ที่งานบ้านและสวน กลับกลายเป็นว่ากลุ่มลูกค้าที่ โคมไฟได้ ติดผนังได้ เป็นเก้าอี้จะใช้แบบไหน เดินเข้ามา เป็นแม่บ้านที่รักบ้านรักสวน ปิ่นก็เริ่มมอง เรื่องคอนเซ็ปต์ แนวคิด ปิ่นบอกว่าไปเที่ยวเยอะ ชอบ ออกแล้วว่า อ๋อ คนที่เข้ามาที่ชอบงานแบบนี้ต้องเป็น แบบนี้นะ เราเร่ิมเห็นได้เอง แล้วเริ่มเปลี่ยนสีให้สดใส ธรรมชาติ ชอบทำ�บุญ ปิ่น : ใช่ ทุกคนที่เข้ามาที่ห้องก็จะเห็นว่ามีรูปพระ ขึ้น งานอื่นจะเป็นดำ�ตลอด เลยเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว ปิ่นพยายามที่จะเบนกระแสจิตของตัวเอง บางทีเรามี ที่เป็นศาลาอันใหญ่มากๆ อันนั้นคือพลังบ้าคลั่งอยาก เรื่องไม่ดีเข้ามากระทบในใจ เป็นคนทำ�งานอาร์ตเนี่ย รู้ว่ามันจะใหญ่ได้แค่ไหน เต็มพื้นที่เลย สูง 4 เมตร 033


ถอดประกอบได้ อะไรอย่างนี้ ลองทำ�เพราะว่าได้ รับคอมเม้นต์จากพี่ๆ ดีไซเนอร์หลายคนว่าน้องปิ่น ลองทำ�มัย้ ก็ขายได้ แล้วก็ได้โปรเจ็กต์งานใหญ่ คือ ทางโน้นเขาก็มองเห็นความเป็นไปได้ในสิ่งที่ปิ่นทำ� แล้วทางต่างประเทศล่ะ

ปิ่น : มีคนที่มาซื้องาน เขาก็เป็นระดับไฮเอนด์ ของที่โน่น ชื่อ Mark Phillips ถ้าเสิร์ชก็จะเจอ Phillips Collection ก็มาคุยกันที่เมืองไทย เขาบิน มางานของเขาอยู่แล้วก็เรียกปิ่นไปคุย ปิ่นก็ยก ของทุกสิ่งอย่างที่มีไปให้เขาดู เอาขึ้นรถไปเลย แล้วไปจอดในชั้นใต้ดิน เขาเป็นคนสบายๆ คุยกัน ไปคุยกันมา เขาก็เอาหนังสือของเขาให้ดู เป็น แคตตาล็อกเล่มหนามาก เราก็คิดว่า โห…เขาก็ ระดับยิ่งใหญ่เหมือนกันนะที่โน่น เขาบอกว่าชอบที่ ปิ่นเอาความเป็นไทยมาทำ�แล้วดูทันสมัย ที่สำ�คัญ คือพื้นฐานของเหล็กมันมีเรื่องราวที่เขาจะเอาไป พูดถึงได้ คุยกันประมาณ 2 อาทิตย์เขาก็สั่งไป แล้วบอกว่าจะเอาไปโปรโมทที่โน่นให้นะ ก็เท่ากับ ว่าเราไม่ต้องบินไปอเมริกาเอง

เข้ามาหาวิธีคิด แนวคิด มาอยู่กับปิ่นเลย เหมือนมา ซึมซับชีวิต พาไปเที่ยว ไปเชียงใหม่ เจอพี่ๆ ผู้คนใน ชีวิตของปิ่น เขาก็จะเรียนรู้ว่าปิ่นคิดยังไง ซึ่งพอมา เรื่องอาร์ตปุ๊บ มันทำ�ให้ปิ่นต้องกลับไปศึกษาเพื่อที่จะ มาสอนเขา ปิ่นก็เลยกลับไปถามตัวเองอีก ใจลึกๆ ปิ่นเป็นคนทำ�งานศิลปะนะ แต่ตอนนี้กำ�ลังตอบปัญหา กับครอบครัวอยู่ในสิ่งที่เราเป็น แต่ลึกๆ แล้วต้องทำ� จริงๆ ถือว่าปิ่นไปเร็วมากเหมือนกันนะ

ปิ่น : มันเกินฝัน เกินสิ่งที่ปิ่นคิดไว้ จริงๆ ตอนที่ เรียนมัธยมฯ ก็ชอบดูนิตยสารบ้านและสวน หนังสือ อะไรพวกนี้มานานแล้ว ตอนเด็กๆ ก็คิดว่า พี่คนนี้ อายุเท่านี้เองทำ�ไมเขาทำ�ได้ ก็เลยทำ� อยากเป็น แบบนั้นบ้าง (หัวเราะ) แค่นั้นเอง ก็ทำ�ตามเขา อธิบายถึงขื่อแบรนด์ PIN หน่อย

ปิ่น : PIN คือหมุดเหล็กเล็กๆ ที่อยู่ในโรงงาน เป็น ส่วนประกอบของสิ่งอื่น อาจจะไม่ใช่ Eco จ๋าๆ แต่ มันก็เป็นกระบวนการทำ�อย่างหนึ่งที่ลดขั้นตอนของการ ที่เราเอาขยะไปหลอมใหม่ แต่เราเอากลับมาใช้ใหม่ เรามองเห็นความสวยงามของมันแล้วก็จะเกิดสิ่งใหม่ งานด้าน Fine Art ล่ะ อยากกลับไปทำ�บ้างไหม คิดถึงเรื่องการช่วยสังคมด้วย พยายามที่จะหาคนงาน ปิ่น : คือช่วงนี้มีน้องฝึกงานเข้ามา เขาอยากได้ เพื่อที่จะ…ปิ่นเชื่อว่าคนที่มีโรงงานหรือสายงานการ ความเป็นอาร์ตมาก แต่ปน่ิ ก็ไม่ได้อาร์ตสิ มาก ไม่ได้ ผลิต มันมรส่วนการช่วยสังคมแล้วนะ เราต้องเลี้ยง ติสต์แตก แต่เขาก็อยากจะมาเรียนรู้ว่าปิ่นเอาความ คนตั้งเท่าไหร่ แล้วคนในโรงงานมีอีกตั้งเท่าไหร่ เป็นอาร์ตมาอยูใ่ นสิง่ นีใ้ ห้คนเข้าใจได้ยงั ไง เลยอยาก ที่เราต้องจ้าง นี่ก็คือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน www.facebook.com/Pin.metal.life

034


035


PIE TALK

TOKIN SOMEONE IN STONE FREE MUSIC FESTIVAL

036

ตั้ม-โตคิณ ฑีฆานนท์ เป็นช่างภาพ, ทำ�งานศิลปะ, ทำ�กราฟฟิก, กำ�กับ มิวสิควีดีโอวงดนตรีอินดี้, นักดนตรี/ แต่งเพลง วง Triggs & the Longest Day และทำ�มิวสิคเฟสติวัล โปรยแค่นี้ก็ น่าสนใจแล้วใช่ไหมครับ ว่าผู้ชายคนนี้มี ที่มาที่ไปอย่างไร เราไปคุยกับเขากัน


ตอนนี้ทำ�อะไรอยู่บ้าง

ตั้ม : ตอนนี้ตัดพวกวีดีโอเก่าๆ อยู่ คือเริ่มถ่าย วีดีโอมาประมาณ 2 ปี มีฟุตเทจที่เก็บมาเรื่อยๆ อย่างที่ไปทัวร์กับวง The Sticky Rice ที่เวียดนาม ก็พยายามทำ�อันนี้ให้เสร็จก่อน แล้วมงานีกำ�กับฯ มิวสิควีดีโอ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นพวกวงอินดี้ นี่แหละครับ ล่าสุดเป็นของ Selina and Sirinya เริ่มที่จะจริงจังว่าอยากทำ�งานสายนี้เมื่อไหร่

ตั้ม : จริงๆ ก็ไม่ได้คิดว่าจะทำ�งานสายดนตรีขนาด นั้น เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเราเล่นดนตรีไม่เป็น แล้ว ไม่คิดว่าจะมีช่างภาพหรืออะไรที่จะถ่ายงานเกี่ยวกับ ดนตรีโดยตรง ตอนเด็กๆ ก็ฟังเพลงเป็นงานอดิเรก จะเร่ิมฟังจริงจังช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย คณะ ศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ก็มีเพื่อนคนสองคนที่ ชอบฟังเพลงและสนิทกัน ตอนนั้นเหมือนกับเราเรียน วาดภาพก็วาดไม่คอ่ ยเก่งแต่พอวิชาทีเ่ ขาสอนถ่ายภาพ อัดรูป ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งอาจารย์เอางานที่ผมอัดไปเป็น ตัวอย่างแล้วบอกว่า คนนี้อัดรูปได้ดีที่สุด น้ำ�หนัก ครบที่สุด ผมก็เลยคิดว่า เฮ้ย...หรือว่ากูทำ�อันนี้ดีวะ ในช่วงนั้นก็ชอบฟังเพลง ดูหนังสือเมืองนอกเกี่ยวกับ เพลง แล้วมันก็มีรูปถ่ายวงดนตรีที่เราชอบ รู้สึกเริ่ม อยากทำ�อะไรที่มันเกี่ยวกับทางนี้ี

ถ่ายตอนตั้งแต่ปี1 มารวมเป็นเล่ม แล้วก็มีเพื่อนคน หนึ่งไปฝึกงานที่ a day ผมก็เลยอ่ะ กูขอไปด้วย ได้ประสบการณยังไงบ้างจากพี่คเชนทร์

ตั้ม : รู้สึกว่าโคตรสนุกเลย พี่เชนทร์เขาน่ารัก สอน อะไรผมเยอะครับ เราเรียนออกแบบนิเทศศิลป์มา แต่ด้วยความที่ผมชอบถ่ายภาพก็เลยมาฝึกด้านนี้ ชอบอารมณ์ของฟิล์ม ในช่วงนั้นมันคาบเกี่ยวระหว่าง กล้องฟิล์มกับกล้องดิจิตอลในตอนที่ผมฝึกงาน ผมก็ เรียนรู้กระบวนการทำ�งานของเขา เวลาที่พี่เชนทร์บิวท์ ใครให้ทำ�ท่าต่างๆ คือจริงๆ ก็มีสไตลิสต์ที่จะต้องบอก ด้วย พี่เชนทร์เขาก็บิวท์ว่า ลองทำ�อย่างนี้สิ ตอนนั้น ที่ถ่ายกับลูกเกดและต้องถอดเสื้อ พี่เชนทร์เขาก็ถอด เสื้อแล้วถ่ายรูปไปด้วย ผมก็ได้ซึมซับความสนุกของ การบิวท์อารมณ์คน แต่จบมาผมไปสมัครงานครีเอทีฟ ก็มีคนรับเป็นเอเจนซี่อะไรสักอย่าง พอได้ทำ�ประมาณ 2-3 วัน ผมก็คิดทบทวนว่า ถ้าเกิดเราไม่ได้ทำ�ที่อยาก ทำ� คิดเศร้าๆ ว่าต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปตลอดเลยใช่ไหม ตอนนั้นไม่ชอบอะไร

ตั้ม : อยากถ่ายภาพมากกว่า ช่วงก่อนที่นั่นเขาจะ เรียกเราไป ผมก็ไปตามแผงหนังสือเพื่อจดที่อยู่ของ นิตยสารอย่าง LIPS, Volume อะไรอย่างอื่นที่ไม่ใช่ a day, Hamburger เพราะว่าตรงนั้นคนรู้จักเรา จบออกมา ทำ�งานอยู่ก็ได้ลิสต์มาเพียบเลย แล้วผมก็ส่งไปแต่เขา ตั้ม : ช่วงนั้นทุกคนก็ฮิตที่จะไปเป็นครีเอทีฟสาย ไม่ตอบกลับมาสักที แต่ว่าที่นี่ติดต่อมาผมก็เลยไปสัก โฆษณา ช่วงตอนเรียนผมก็ฟิตถ่ายภาพมาก ตอน 2-3 วันผมก็รู้สึกว่า…ไม่รู้ว่ะ จริงๆ เราอยากถ่ายรูป ปี 3 ผมก็ไปฝึกงานเป็นผู้ช่วยช่างภาพของนิตยสาร เราติดใจชอบตอนทีฝ่ กึ งาน เหมือนเราไม่ได้นง่ั ทำ�งาน a day กับพีค่ เชนทร์ วงศ์แหลมทอง เขาเป็นรุน่ พีผ่ ม อยู่กับที่ เวลาเขานัดสัมภาษณ์ก็ต้องมีช่างภาพมาด้วย แต่ผมไม่ทันตอนที่เขาเรียนนะ ตอนนั้นทุกคนมีที่ เราก็ได้ออกไปถ่าย ตอนเช้าที่นี่ตอนเย็นไปที่นั่น มัน ฝึกงานกันหมดแล้วแต่ผมช้าสุด เพราะผมเอารูปที่ สนุก แล้วถ้ากลับมาแล้วเราฟิตก็มานั่งทำ�รูป มันก็จะ 037


เคลียร์ไปทีละงานๆ ผมชอบงานแบบนี้ก็เลย… เฮ้ย ออกดีกว่าว่ะ เราเกรงใจเขาถ้าต้องอยู่ไป โดยที่เราไม่ชอบ ไม่เต็มที่

ออกไปถ่ายภาพ ก็นั่งทำ�คอมฯ ทำ�กราฟฟิก พวกงานวีดีโอมาเริ่มยังไง

ตั้ม : เป็นช่วงที่อยู่ Hamburger แล้วบังเอิญว่า แล้วยังไงต่อครับ สมาคมฝรั่งเศสมีคอร์สเปิดสอนเรียนฟิล์มครั้งแรก ตั้ม : เรื่องยาวเลยนะ ออกมาก็มีอีกที่เรียกไปคือ ผมก็ดูว่ามีคอร์สของพี่อุ๋ย นนทรีย์ นิมิบุตร, เป็นเอก นิตยสาร Hi-Class ที่ผมสมัครไปเพราะว่า ผมดู รัตนเรือง, คงเดช จาตุรันต์รัศมี มีพวกนักวิจารณ์ a day แล้วรู้สึกว่า พี่โหน่ง วงศ์ทนง เขาทำ�งาน เป็นบุคลากรสำ�คัญของ Thai Short Film อะไรพวกนี้ ที่ Hi-Class ก่อนที่เขาจะมาทำ� a day เลยรู้สึก ผมก็รู้สึกว่าน่าเรียนลองไปเรียนดูดีกว่า ผมลงเรียน ว่ามันก็คงมีอะไรดีสักอย่าง ก็เลยลองไปทางนี้ดู คอร์สฟิล์มแล้วมันเป็นคอร์สยาว 6 เดือน แล้วช่วง ทุกคนใน Hi-Class ก็น่ารักดี มันก็เหมือนจะเป็น เดือนสุดท้ายจะมีการถ่ายทำ�จริงๆ ใช้กล้องจริง อารมณ์ที่ผมชอบ เพราะว่าผมได้เป็นช่างภาพด้วย และก็เป็นโฮมออฟฟิศ ผมก็คิดว่า เออ ก็ดีเหมือน 6 เดือนที่ไปเรียนเป็นยังไง กันเนอะ พอทำ�ไปสักพักหนึ่ง ผมมีความรู้สึกว่า ตั้ม : ชอบมาก เราไม่เคยรู้เรื่องประวัติศาสตร์ฟิล์ม ผมชอบฟิล์ม เริ่มจะเรื่องมากกับงาน (หัวเราะ) ไม่เคยเรียนเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหว พอผมมาเรียนก็มี แต่เขามีกล้องดิจิตอล ผมก็ชอบแอบไปถ่ายฟิล์ม ประวิทย์ แต่งอักษร เป็นอาจารย์ที่อยู่ในคอร์สนี้ด้วย พอถ่ายเสร็จเวลาเขาเรียกจะเอางานจากเรามันช้า เขาก็จะสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หนังไทย แล้วก็มี เขาก็จะ เอ๊ะ…ตั้ม ไหนล่ะรูปที่ถ่ายวันนั้น ก็จะ อาจารย์อีกคนเขาเอาหนังของ Michelangelo เร่งเอา แต่ว่ามันยังอยู่ที่ร้านอัดรูป ผมก็ทำ�อยู่ Antonioni, Jean-Luc Godard หรือ Wim Wenders ประมาณ 3-4 เดือนครับ ช่วงเดือนที่สามเดือน ซึ่งเราไม่เคยรู้จักเลยว่าพวกนี้คือใคร พอเขาเปิดหนัง ที่สี่ผมไม่ค่อยสบายหนัก ก็เลยออกมาดีกว่า แต่ ให้ดู เฮ้ย! ชอบ และที่ชอบมากๆ ที่เปลี่ยนความคิด จริงๆ เขาก็ดีมากเลยนะ ผมคือหนังเรื่อง Blow-Up ของ Michelangelo Antonioni มันเป็นหนังเกี่ยวกับชีวิตช่างภาพคนหนึ่ง ตั้มทำ�งานด้านช่างภาพมาเรื่อยๆ ผมดูแล้วผมรู้สึกว่ามันไม่เหมือนกับหนังที่เราดูทั่วไป ตั้ม : ช่วงนั้นผมก็ยังติดต่อกับพี่เชนทร์และคนที่ คือมันมีความอาร์ตแหล่ะ แต่ว่ามันดูง่ายพอดูแล้วก็ ผมฝึกงานด้วย เขาก็แบบว่าออกมาแล้วตอนนี้มึง รู้สึกว่าอยากทำ�หนังว่ะ ก็ว่างสิ มึงทำ�กราฟฟิกได้หรือเปล่า ไหนเอาพวก งานกราฟฟิกมาให้ดูหน่อย คือธีสิสผมเป็นงาน เรื่องแรกที่ออกมาเป็นยังไงบ้าง ภาพถ่าย แต่ว่าทำ�เป็นกราฟฟิกรวมเป็นเล่ม ก็เอา ตั้ม : เรื่องแรกมันเป็นงานกลุ่มครับ มีคนเรียนอยู่ ไปให้เขา เลยได้ไปทำ�ที่ Hamburger อยู่ 1 ปี ประมาณ 30-40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ทุกคนก็จะ บรรยากาศก็เป็นแบบที่เราชอบ เพียงแต่เราไม่ได้ เขียนบท แต่อาจารย์จะเป็นคนเลือกว่าเรือ่ งนีน้ า่ สนใจนะ 038


039


เอามาทำ�มั้ย เขาคงมองเห็นความเป็นไปได้ของบทอันนี้ ก็เลือกมา 2 เรื่อง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งใช้กล้อง ดิจิตอล กับอีกกลุ่มใช้กล้องฟิล์มถ่าย แล้วก็ช่วยกันทำ� ตั้งตำ�แหน่งขึ้นมาใครอยากทำ�อะไร เป็นงานกลุ่ม ไม่ได้เป็นตัวเองมาก

ตั้ม : ใช่ เพราะว่ามันเป็นบทของคนอื่น แต่ก็ได้รู้วิธี การว่า อ๋อ มันมีตำ�แหน่ง Continue ด้วยเหรอวะ ที่ ควบคุมความต่อเนื่องของหนัง ตำ�แหน่งอะไรแปลกๆ พอเรียนจบมาปุ๊บ ผมก็เอาบทที่เขียนตอนนั้นมาชวน เพื่อนๆ ที่เรียนจบกับผมที่สนิทกันก็มาช่วยผมทำ� หนังเรื่องนี้ ชื่อเรื่อง Popular Man

ถึงเราจะเขียนบท แต่ถา้ มันไม่ถกู จริตกับกรรมการ… ผมก็เลยไม่คิดว่าจะต้องส่งอะไร สุดท้ายเพื่อนผมชวน ไปทำ�ที่ BK Magazine ก็ถา่ ยรูปด้วยทำ�กราฟฟิกด้วย เงินเดือนก็เยอะขึ้น ทำ�ประมาณเกือบปี ผมก็คิด ขึ้นมาได้ว่าจะไปเรียนต่อ เลยไปเรียนที่อังกฤษ ภาษาก็ไม่ได้ ก็ต้องไปเรียนภาษาอีก 1 ปี เก็บเงิน แล้วไปทำ�งานล้างจานที่ร้านอาหารไทย ร้าน ญีป่ นุ่ จนสุดท้ายผมชอบไปร้านแผ่นเสียง เลยเอา งานไปยืน่ ทีร่ า้ นก็เป็น พอร์ตกราฟฟิก วีดโี อ ภาพถ่าย อะไรไม่รเู้ ยอะแยะซึง่ อาจจะไม่เกีย่ ว แต่กไ็ ม่รวู้ า่ เจ้าของ ร้านเขาเห็นอะไร เขาก็ให้ลองทำ�งานเดือนหนึ่ง มาขายแผ่นเสียง

ตั้ม : เป็นผู้ช่วยในร้าน เก็บสต๊อกแผ่นเสียง งานหลัก ตั้ม : ก็มีเมืองๆ หนึ่ง คนทั้งเมืองจะกรี๊ดนักมวยปล้ำ� ของผมเลยคือเอาแผ่นเสียงที่เพิ่งได้มาไปอัดจาก Turn คนนี้ เขาคือ Popular Man และมีเด็กสาวคนหนึ่ง Table ลงไปในคอมพิวเตอร์อดั สัน้ ๆ 15 วินาที เพือ่ ไปหลงรักดอกไม้ จริงๆ เป็นคนเรียนเก่ง แต่พอเอา เป็นตัวอย่างไปขายในอินเตอร์เน็ต ก็ไม่ได้เงินอะไร ดอกไม้เข้ามาในบ้านการเรียนก็ตกต่ำ� ในห้องนอนก็มี เยอะไปกว่าล้างจานหรอก แต่แทนที่เราจะไปเป็น แต่ดอกไม้หมดเลย จนวันหนึ่งพ่อแม่ก็ด่าว่าทำ�ไมเกรด ลูกจ้างในร้านอาหาร เรามาทำ�อย่างนี้ดีกว่า ร้านอยู่ที่ ได้แค่นี้ เด็กคนนี้ก็เลยออกจากบ้านไปอยู่ในสวน แล้ว ลอนดอน ชื่อร้าน Vinyl Junkies ในย่านโซโห ถ้า เอาดอกไม้สิ่งที่รักไปด้วย แต่สุดท้ายหิวก็ไปเก็บของกิน เดินแถวนัน้ จะมีรา้ นแผ่นเสียงไม่ต�ำ่ กว่าสิบร้าน แต่รา้ น ทั่วไปที่เขาทิ้งๆ ไว้ จนสุดท้ายก็เดินไปเจอโปสเตอร์ ที่ผมทำ�เพลงจะเป็นแบบดีเจ เฮาส์ ดรัมแอนด์เบส เขียนว่า การท้าต่อสู้กับ Popular Man ถ้าชนะจะได้ อิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกแนวที่เราค่อยไม่ได้ฟัง จริงๆ ข้าวกินตลอดปี ก็เลยไปต่อสู้กับ Popular Man มันมีหลายร้านแต่ร้านผมจะเป็นแนวนี้ ส่วนร้านข้างๆ เนื้อเรื่องก็ประมาณนี้ จะเป็นอีกแนว มี The Smiths, Iggy Pop, The Libertine, Primal Scream ก็เป็นแบบอินดี้ร็อค พอเรียนฟิล์มจบ เราก็ชอบไปดูแผ่นร้านนีม้ ากกว่า ส่วนร้านทีผ่ มทำ�ก็เป็น ตั้ม : คิดอยู่ว่าจะยังไงกับชีวิตดี เพราะว่าฟิล์มก็ยัง อีกแบบ แต่อย่างน้อยมันก็ใกล้สิ่งที่เราชอบล่ะ มาที่ ทำ�ไม่ได้ มีทางเดียวก็คือต้องส่งประกวด แต่ผมก็คิดว่า ร้านแผ่นเสียงก็จะมีโปสเตอร์งานคอนเสิรต์ งานเฟสติวลั การส่งประกวดมันก็เหมือนกับตอนทีผ่ มเรียนฟิลม์ นัน่ แหละ งานเล็กๆ ที่จัดอยู่ เราก็ เฮ้ย น่าไป Popular Man เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

040


อยู่ที่นั่นนานไหม

ทำ�นานไหม

ตั้ม : ก็พอสมควร แต่ผมคิดเกี่ยวกับการทำ�หนังว่า มันน่าจะมีความสุขมากกว่านี้ พอผมไปเจองาน โฆษณา ก็คิดว่าทำ�ไมต้องดุกันขนาดนี้ แต่ก็พยายาม ทำ�ทุกอย่างนะ คนที่เข้าไปพร้อมผมลาออกก่อนผม สุดท้ายได้เรียนต่อไหม กันหมดเพราะว่ามันทนไม่ได้ ผมก็ยังทนอยู่ทำ�ไป ตั้ม : ก็เรียนครับ Film and Fine Art เป็นคอร์ส เรื่อยมีอยู่วันหนึ่งที่พวกเพื่อนๆ ชวนไปเที่ยวร้าน สั้นๆ ที่ Central Saint Martins Motorcycle Emptiness Bar ผมก็ได้เจอกับพี่ป็อก Stylish Nonsense ผมรู้จักกับพี่ป๊อกมาก่อนตั้งแต่ PIE : ประสบการณ์ที่ไปตามดูคอนเสิร์ตต่างๆ ที่โน่น ตอนทำ�งานที่ Hamburger คือตอนนัน้ เป็นยุค เป็นยังไงบ้าง MySpace แล้วแบงค์ Red Twenty เขามาดูงานที่ ตั้ม : ก็ไม่ได้ดูเยอะมากนะแต่ก็ไป มีอยู่ครั้งหนึ่ง เพื่อนที่ล้างจานด้วยกันที่โน่น เขารู้จักกับคนที่ไปขาย ผมถ่ายรูปแล้วเอาลง แบงค์เขาชอบและบอกว่าจะจัด อาหารตามงานเฟสติวัลอย่าง Reading Festival, งานเป็นแกลเลอรี อยากให้มีศิลปินเอางานไปแสดงก็ T in the Park ของสก๊อตแลนด์หรือว่า Glastonbury ติดต่อมา ผมก็ไปดูสถานที่แล้วเจอกับพี่ป๊อก แบงค์ เขาก็ชวนผมไปบอกว่าไปทำ�งานนี้ 4 วันเท่ากับเรา ก็แนะนำ�ให้รู้จักแล้วพอเจออีกทีก็จำ�พี่ป๊อกได้ คนที่ ทำ�งานล้างจานเดือนหนึ่งเลยนะ...เฮ้ย ก็เอาดิ ก็เลย แนะนำ�ไปเขารู้จักกับพี่ ข่อย มือกลองวงอาร์มแชร์ เขาเป็นหุ้นส่วนในร้าน พี่ป๊อกก็คงเป็นด้วยแหละ เขา ไปผัดหมี่แบบพวกอาหารจีน งานแรกเลยคืองาน มาเปิดเพลง คนก็เงียบเลยครับคนน้อยมาก ผมก็เลย Download Festival มี The Prodigy, Marilyn Manson มันเป็นประสบการณ์ทด่ี ี เหนือ่ ยมากเหมือนกัน เดินไปคุยกับเขา พี่จำ�ผมได้ไหมคุยกันไปกันมา ผัดกันตั้งแต่บ่าย 2 ถึงตี 5 นอนน้อย ไม่ได้อาบน้ำ� ผมก็กำ�ลังอกหักกับการทำ�งานฟิล์มที่ผมคิดว่ามัน ประมาณ 3-4 วัน ถึงผมจะไม่ได้ชอบสายนี้ขนาดนั้น น่าจะสนุก คิดว่ามันจะสวยงามกว่าสิ่งที่ผมเจอ แต่ก็ไป เรื่องเพลงอยู่ที่โน่นผมก็พยายามดาว์นโหลด ก็คิดว่าเราทำ� MV ได้นี่หว่า ก็เลยบอกพี่ป๊อกว่า ผมจะออกจากงานแล้ว พี่มีเพลงอะไรบ้างผมอยาก เพลงมาฟังบ่อย ผมชอบอินกับบรรยากาศอย่างเช่น ฟังเพลงวง The Jesus and Mary chain ชิลล์ๆ กำ�กับมิวสิควีดีโอ เขาก็บอกว่าตอนนี้ทำ�วง ตอนนั่งรถเมล์กลับบ้านอากาศเย็นๆ ดูวิวข้างทางไป Basement Tape อยู่ รู้สึกว่าเพลงมันเพราะฉิบหาย แล้วที่อังกฤษพวก สถาปัตยกรรม บ้านเมืองเขามีราก เห็นแล้วมันอิน เริ่มทำ� MV กับวง Basement Tape ไปหมด แล้วก็ดูหนังเยอะเพราะจุดมุ่งหมายผมอยาก ตั้ม : ผมยังจำ�ได้เลยว่า พี่เขาถามผมว่า เออ... เรียนจบหรือยัง ผมก็บอกว่าผมทำ�งานเป็นผู้ช่วย ทำ�หนัง พอกลับมาผมก็เลยสมัครงานที่ฟีโนมีนา ผู้กำ�กับฯ แต่ว่าอยากทำ�มิวสิควิดีโอ เขาก็บอกว่า มาเป็นผู้ช่วยผู้กำ�กับฯ ตั้ม : ก็นานครับ ผมไปอยู่ที่นั่นประมาณ 7 เดือน ก็ทำ�จนเขาชวนไปอยู่บ้านเพราะเขาลดค่าเช่าให้ผม

041


042


MUSIC VIEDO

043


โอเคงั้นมาคุยกัน ผมก็ทำ� Presentation ไป คือ มันหมือนเป็นหน้าที่ของผู้ช่วยฯ อยู่แล้วในการทำ� พรีเซ็นต์ก็ทำ�ไปอย่างดีเลย เขาถามว่าอยากทำ�เพลง อะไร ก็กลับไปฟังแล้วผมชอบเพลง Circle เลย เอาเพลงนี้แหละ คิด Story Board ไปถ่ายโลเคชัน่ เป็นร้านเหล้าของเพือ่ นผม ก็คอื คิดทุกอย่าง เสร็จแล้วไปพรีเซ็นต์เขาก็โอเค พอรู้ว่าได้ทำ� MV ของวง Basement Tape แน่ๆ ผมก็ลาออกเลย ตอนนั้นโปรเจ็กต์ The World May Never Know มาหรือยัง

แพนด้าฯ เริม่ สนิทกันมากๆ รูส้ กึ ว่ากูอยากทำ�อะไรสนุกๆ ด้วยความบังเอิญทีผ่ มไปถ่าย MV ของ Chladni Chandi ผมก็ไปถ่ายโลเคชั่นที่ๆ เราจัด Stone Free พี่ป๊อกก็ ตามมาดูด้วย เราก็ลงความเห็นกันว่าสถานที่นี้มันน่าทำ� อะไรสักอย่าง ตอนนั้นก็ทำ� The World May Never Know ไปแล้ว 4-5 เทป และพี่ป๊อกเขาก็อยากชวนวง ดนตรีมาเล่นที่นั่น ถ้างั้นผมถ่ายวิดีโอเก็บไว้ดีกว่า ชวน เขามาเล่นทีส่ ถานทีน่ แ้ี ล้วเราก็ถา่ ย อัดเสียงด้วย ซึง่ ทุกคน ก็โอเค ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจทำ�มิวสิคเฟสติวัล

ตั้ม : ยังครับ พอมาคุยกับพี่ป๊อกก็เริ่มโปรเจ็กต์กัน ตั้ม : ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่ามันจะเป็นขนาดนี้ เหมือนเรา ชวนวงทีเ่ ราสามารถจะชวนได้มาเล่น ซึง่ มันน่าจะ 5-6 วง ชื่อนี้มายังไง แต่มนั กลายเป็น 10 มีคา่ ย SO::ON Dry Flower มีคา่ ย ตั้ม : พี่ป๊อกเป็นคนตั้ง อยากให้พี่ป๊อกตั้งอยู่แล้ว Finalkid ก็เยอะแล้ว เราก็คิดว่า เฮ้ย ถ้างั้นก็ทำ�เป็น ความที่ไปร้าน Motorcycle Emptiness Bar บ่อย เฟสติวัลอย่างน้อยวงพวกนี้ก็มีแฟนเพลง มีเพื่อน ที่จะ ได้ดูวงดนตรีดีๆ ก็คิดว่ามีวงที่น่าสนใจอีกหลาย ตามไปดู ก็เลยเขียนเป็นเฟสติวัลครั้งแรกจัดวันเดียว วง ทำ�ให้ผมกลับมาฟังเพลงไทยอีกครัง้ ด้วย ก็มวี งดีๆ อย่างจริญตนาใก, Chladni Chandi บวกกับที่พี่ พอครั้งแรกจัดเสร็จคิดว่าจะมีครั้งต่อไปเลยไหม ป๊อกก็ชวนผมมาทำ�ที่แพนด้าฯ คิดกันว่าจะมีหนังสือ ตั้ม : รู้เลยครับ ครั้งแรกมันเป็นอะไรที่ประทับใจมาก มีวิทยุออนไลน์ดีไหม ผมก็บอกว่าเอาสิ เขาก็จะจ้าง สำ�หรับตัวผมเอง ผมคิดว่าโคตรสนุกเลยว่ะ ครั้งแรกวง ผม พออยู่กับเขาสักพักหนึ่งผมก็มีโปรเจ็กต์ของผม ที่มาเราก็ไม่ได้ให้อะไรเขานะ เหมือนชวนกันมาทำ�สนุกๆ ที่เล่าให้เขาฟังบ่อย ว่าอยากพาวงดนตรีออกไปเล่น แต่กลับกลายเป็นว่า แม่งมีคนมาดูโว้ย มันก็เยอะเกิน ข้างนอก เขาเคยเห็นวิดีโอที่ผมทำ�ก็เลยบอกว่าเอาสิ กว่าที่เราคิด ตอนแรกคิดว่า 100 คนก็หรูแล้ว นี่มี อะไรอย่างนี้ ก็เลยเป็น The World May Never 250 กว่าคน Know เพราะผมคิดว่ามันมีวงดนตรีดีๆ เยอะ แต่ไม่มีคนรู้จัก เพราะฉะนั้นเราต้องพาเขาออกไป ครั้งแรกมีวงดนตรีกี่วง เล่นข้างนอกให้คนได้ฟัง ตั้ม : ครั้งแรก 10 กว่าวงครั้งที่สอง 40 กว่าวง จากที่ จัดครั้งแรกคนก็เริ่มมาถามในเฟสบุ๊กกันว่าเมื่อไหร่จะ Stone Free Music Festival เริ่มยังไง จัดอีก ส่วนวงทีเ่ คยมาเล่นเขาจะมีเพือ่ นๆ นักดนตรีดว้ ยกัน ตั้ม : มันอยู่ในช่วงที่เราฮึกเหิมมากๆ ทุกคนใน ก็เมลล์มาคุยขอไปเล่นด้วย ซึง่ วงทีม่ าก็เป็นวงทีด่ ๆี น่าสนใจ 044


045


046


047


048


ถ้างัน้ ก็คงต้องเป็น 2 วัน และเรือ่ งใหญ่เลยคือเราก็ ไม่ใช่ทีมที่จัดงานเฟสติวัลอาชีพ ไม่ได้เก่งด้านการ จัดการทุกคนเป็นคนทำ�งานดนตรีกนั หมด จำ�นวนคน ทำ�งานน้อยมาก แต่คนมาดูก็เยอะกว่าครั้งแรกน่าจะ ประมาณเท่าหนึง่ บัตรไม่พอต้องเอาบัตรสต๊าฟให้คนดู

เป็นช่วงที่หนาวพอดี รู้สึกว่าโชคดีด้วยความที่มัน เป็นป่าเขาธรรมชาติด้วย บรรยากาศมันลงตัว Stone Free ครั้งใหม่ครั้งที่สามก็ไปดูพื้นที่กันมาแล้ว ต่างจากเดิมไหม

ตั้ม : หลักๆ เลยที่ผ่านมาพวกเราเป็นคนชวนวงมา ทำ�ไมถึงไม่มีเวที ครัง้ ทีส่ องมีวงทีอ่ ยากมาเล่นด้วยเยอะมาก แต่ครัง้ ทีส่ าม ตั้ม : หนึ่งคือมันมีเรื่องค่าใช้จ่ายมันต้องเซ็ต และ นี่ ผมคุยกับพีป่ อ๊ กว่าเราควรจะมีควิ เรเตอร์ อย่างพีโ่ คอิจิ ผมก็คดิ ว่าถ้าทำ�อย่างนัน้ มันก็ไม่ตา่ งอะไรกับคอนเสิรต์ SO::ON หรืออย่างร้านฮาโมนิก้า หรือ JD ที่เขาเป็น ทั่วไป พี่ป๊อกเขาก็บอกว่าด้วยพื้นที่เสียงมันก็สะท้อน อาจารย์อยู่ที่ศิลปากร พี่ป๊อกและก็อาจจะมีผมด้วยที่ หน้าผาโดยธรรมชาติอยู่แล้วเลยรู้สึกว่างั้นก็เอาให้ เป็นคนเลือก เราคิดว่าจะจัดกัน 2 วัน วงทีม่ าก็นา่ จะ มันดิบๆ ไปเลยดีกว่า มี 30 กว่าๆ วง ก็แบ่งหน้าทีก่ นั ไป ปัญหาของ Ston Free ครั้งที่สองคือพวกเราทีมงานมีกัน 5-6 คน มี พอถัดมาก็เป็น Keep On The Grass เพื่อนมาช่วยอีกไม่เกิน 10 คน ไม่ได้นอนเลย ถึงแม้ ตั้ม : Keep On The Grass เป็นงานอีกแบบหนึ่ง ว่าจะมีหลายคนมาช่วยแต่ก็ไม่ไหว เพราะว่ามันมี 40 แนวโฟล์ก คิดว่า Stone Free เป็นงานลุยๆ มันๆ กว่าวง ครั้งนี้ก็เลยแบ่งๆ กันไป แต่ละคนกับวงนั้นๆ และได้ฟงั เพลงทุกแบบแล้ว Stone Free ครัง้ ที่ 2 มี ที่เลือกมา คิดว่ามันน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีด้วย พีแ่ ก๊ป มี The Photo Sticker Machine มี Post เราก็ค่อยๆ แก้ปัญหาทีลจุด Rock เยอะแยะไปหมด ผมก็เลยบอกพี่ป๊อกว่าอยาก ให้มีโฟล์กมันก็ดูเป็นอีกอารมณ์​์หนึ่ง พูดถึงเพลงไทยตอนนี้หน่อย ตั้ม : ทางเมนสตรีมผมก็ไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ จะรู้เพราะ พี่ป๊อกเขาสนับสนุนตลอด ไปดูการเล่นสดบ่อยและก็มาทำ�ที่แพนด้า เรคคอร์ด ตั้ม : ใช่ งาน Keep On The Grass พี่ป๊อกเขา ด้วย จากการที่ได้ไปโน่นนี่กับพวกน้องๆ ผมว่าวงการ ก็มอบหมายงานให้ผมทำ�เยอะ เลือกวงด้วย ไปหา เพลงไทยที่ผมเจอตอนนี้มันดีขึ้นมากเลยครับ แม้ โลเคชั่น มีพี่ที่ทำ�ด้านนี้อยู่ที่ฟีโนมีนา ผมก็ถามว่า เวลาคุยเรื่องยอดขายมันก็คงอาจจะตรงข้าม แต่ก็ มีที่ไหนที่เป็นธรรมชาติบ้าง เขาบอกมาเราก็เสิร์ชดู มีความตื่นตัวในการเล่นการโชว์ แต่มันอาจจะไม่ ในอินเตอร์เน็ต เฮ้ย! ตรงนี้มันมองดูได้ 360 องศา สามารถทำ�เป็นอาชีพหลักได้ ถ้าไม่มีคนซัพพอร์ตหรือ น่าจะดี พีป่ อ๊ กเขาก็อยากจะเชิญพีเ่ ล็ก วงพราว, อารักษ์ มีสื่อมาแนะนำ�ให้วงกว้างรู้จัก ผมว่าสักพักพวกวงที่ อาภากาศ อย่างผมก็ชวน Selina and Sirinya, ตื่นตัวทำ�งานกันอยู่มันก็จะห่อเหี่ยวลงไปเรื่อยๆ ก็อาจ Free Typewriter หรือที่ผมพอรู้จักและตอนนั้น จะต้องไปทำ�งานอย่างอื่นเสริม 049


เคยคิดจะเอาวงดังๆ มาเล่นเรียกลูกค้ามั้ย แล้วค่อย เอาเงินมาจัดงานเล็กๆ

ถามถึงเรื่องวงดนตรีของตั้มที่กำ�ลังจะซ้อมนี่ เป็นยังไงบ้าง

แพนด้า เรคคอร์ด ดูสนิทสนมกันมาก มีวิธีการ ทำ�งานกันยังไง

ถามย้อนไปหน่อยครับ เรื่องรูปถ่ายและงานมิวสิควีดีโอ ตั้มมีวิธีคิดยังไงบ้าง

ตัม้ : ไม่นะ เราดิน้ รนทำ�ในแบบของเรา เราเลือก เสือ้ ผ้าหรืออะไรทุกอย่างในแบบทีเ่ ราชอบ เลือกกัน มาขนาดนี้แล้วคิดว่าคงทำ�อย่างนี้ต่อไป ถ้าเป็นวง อย่างที่แพนด้าฯ จัด ทุกวงมันเป็นแบบที่เราชอบ ทั้งหมด ไม่ได้โดนบังคับว่าต้องเอาวงนีใ้ ส่เข้ามา

ตั้ม : ชื่อ Triggs & the Longest Day คิดจริงจัง เหมือนกัน เราเริ่มกันมาสนุกๆ สนิทกันอยู่แล้ว เรา อยากเล่นดนตรีด้วยกัน น้องๆ ก็ยุกันว่าเขียนเพลงมา เล่นกันสนุกๆ ครั้งแรกทำ�กันเลย 4 เพลง ใช้เวลาเจอ กัน 2 ครั้ง คือผมมีเนื้อเพลง มีคอร์ด ตอนนี้ที่เล่น ด้วยกันก็มหี นุย่ เล่นเบส แน็ต (Summer Dress) ตีกลอง พูดถึงเทศกาลดนตรีบ้านเราบ้าง ก็มีย้ง (Chladni Chandi) ที่มาช่วยเล่นกีตาร์ให้มี ตั้ม : ผมแทบจะไม่เคยไปดูเลย ช่วงแรกที่เริ่มฮิต สีสันขึ้น เราสนิทกับวง Basement Tape เขามีโชว์ กันตอนนั้นผมไปเรียนต่อพอดี พอกลับมาก็เยอะแล้ว เขารู้ว่าเราทำ�ีวงกันอยู่ก็ชวนเราไปเล่น ได้เล่นสด บ่อยๆ ก็สนุก เลยต้องรีบแต่​่งเพลงเพิ่มคนอื่นเขา ผมคิดว่าอย่างพวกงานใหญ่ๆ ก็ฟังจากคนอื่นนะ ขึน้ โชว์กเ็ ล่นกันครึง่ ชัวโมง 40 นาที ของเราเร็วมาก ว่ามีเวทีใหญ่ เวทีเล็ก ผมคิดว่าสิง่ เหล่านัน้ มันจะไม่ เกิดกับ Stone Free เพราะเราให้ความสำ�คัญกับทุก มีอยู่แค่ 4-5 เพลง เล่นแค่ 15 นาทีก็จบแล้ว คนดู วงเท่ากัน ลองสังเกตจากโปสเตอร์ของงานครั้งที่ ก็บอกว่าเอาอีกสิก็คือต้องเล่นเพลงเดิม ล่าสุดกำ�ลัง 2 มันจะมีชื่อวงที่สามารถเป็นวงแม่เหล็กได้ แต่ผม จัดทริปว่าเราจะไปเล่นกันทีเ่ ชียงใหม่ ก็ไปหาร้าน เล่นกันแต่ก็มีพ่วงอีกวงไปด้วยก็คือวง YAAN ทำ�กราฟฟิกเอง ผมก็ทำ�ให้ชื่อของทุกวงเท่ากัน

ตั้ม : เป็นวิธีทำ�งานที่ไม่เป็นระบบครับ คือเกือบจะ มีระบบ แต่มันหละหลวมมาก (หัวเราะ) เหมือน เราทำ�งานกันเป็นพี่น้องจริงๆ สมมติเราจะจัดอันนี้ เราก็ทำ�กันหมด บางทีพี่ป๊อกก็ช่วยยกของ มันก็เป็น เรื่องธรรมดา คือเราไม่ได้ถืออะไรกันแบบนั้น แต่เรา ถือว่า…เนี่ย เราอยากทำ�อันนี้ให้มันเกิดขึ้น เพราะ ฉะนั้นใครพอที่จะทำ�อะไรได้ ใครมีเครื่องอะไรที่ีมา ทำ�ได้ก็มาทำ�กันก่อน ถ้าเกิดว่าได้กำ�ไรก็จะแบ่งให้ คนที่มีส่วนร่วม มันก็เป็นน้ำ�ใจที่จะให้กันอยู่แล้ว แต่ ส่วนใหญ่มันก็จะเจ๊งน่ะครับ (หัวเราะ)

ตั้ม : ผมดูทั้งงานเอ็มวีโดยทั่วไป งานของคนอื่นๆ ที่ต้องเป็นวงดนตรีต้องเล่นนิ่งๆ กล้องแช่ไว้และตัด มาใกล้เห็นหน้านักร้องชัดๆ มันก็เป็นสูตร ผมก็เลย คิดว่าถ้าผมทำ�จะเอาส่วนที่คนไม่ให้ความสำ�คัญ อย่าง เช่น กล้องสั่นแต่ความเป็นจริงแล้วมันคือความ Real คือสิ่งที่เราอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แล้วการออกไป เล่นสดที่ผมทำ�ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวกับตัวเพลงอย่าง เดียว การเดินทางก่อนไปถึงที่เล่นมันก็มีความ สนุก สถานที่แต่ละที่ถ้าผมจะไปถ่ายจะถามวงก่อนว่า มีที่ไหนน่าสนใจอยากจะไปเล่นหรือเปล่า บางวงก็มี

050


อย่างเช่น The Sticky Rice ที่พี่ปุ๊กเล่นอยู่ในถ้ำ� เขาบอกว่าถ้ำ�ตรงนั้นเป็นที่ๆ เขาเคยอยู่คือเขาเป็น คนจังหวัดเพชรบุรี เคยแอบมาเล่นดนตรีในถ้ำ�นี้ สถานที่ตรงนั้นก็เป็นประวัติบางอย่างของตัววงเขา หรือวงอย่าง Hariguem Zaboy เขาไปเล่นทีบ่ างแสน เพราะนักร้องนำ�เขาเรียนที่ ม.บูรพา เขาก็รู้สึกว่า ทำ�ไมทุกคนเกลียดบางแสน เพราะว่าดูสกปรก แต่ เขาเรียนที่นั่น 4 ปี เขาก็จะรู้ว่าตรงจุดไหนที่เป็น Unseen เขาก็ไปนั่งเล่นตรงนั้น และอย่างวง Pool People หรือ Yellow Fang ผมก็จะถามวงก่อน ถ้ายังไม่มีในใจเดี๋ยวเราช่วยคิด อย่างวง Pool

People เป็นแนวเพลงอิเล็กทรอนิกป๊อบ ผมเลย อยากจะพาเขาไปในสถานที่ๆ ไม่มีคนอย่างตึกร้าง หรือว่าสุสาน ที่นั่นมีแต่หลุมศพแล้วมาเล่นเพลงป๊ อบให้ฟังหรืออย่าง Yellow Fang เขาก็ถือว่าเป็น วงที่ประสบความสำ�เร็จ คือทำ�อะไรคนก็สนใจไป หมด ภาพลักษณ์ของเขาอาจจะดูสาวๆ แฟชั่น ถ้างั้นก็ไปเล่นในซากปรักหักพัง โรงงานเปียโนที่มัน เน่าๆ คือบางอย่างขัดแย้งไปเลยน่าจะดี PIE : Stone Free ครั้งหน้าจัดเมื่อไหร่

ตั้ม : น่าจะวันศุกร์ที่ 13 14 15 ธันวาคมครับ

www.facebook.com/TheWorldMayNeverKnow.HomeVideo www.facebook.com/StoneFreeMusicFestival 051


PIE TALK

NONCITIZEN

WHAT IS GRAPHIC DESIGN

052


053


054


NONCITIZEN มีลูกค้าหลากสไตล์

NONCITIZEN : ใช่ นอกจากทำ�งานออกแบบ เราก็ชอบงานศิลปะด้วย ที่ทำ�ให้กับกลุ่มละคร B-floor เลยรู้สึกว่าเราอยู่ตรงกลางระหว่าง Design กับ Art และในบ้านเรามันลงไปทาง ไหนเต็มตัวลำ�บาก ถ้า Design จัดเลยก็อยู่ ยากหรือถ้าไปทาง Art มาก เราก็คิดว่ามันจับ ต้องยากเลี้ยงตัวยากอยู่เหมือนกัน

งานกราฟฟิกดีไซน์เติบโตขึ้นมาในบ้านเรา พั ก ใหญ่ แ ล้ ว แต่ เมื่ อ วั ด กั น ในมุ ม กว้ า ง ความเข้ า ใจในอาชี พ นี้ ยั ง คงไม่ ทั่ ว ถึ ง นั ก ถึงกระนั้นก็ยังมีบริษัทกราฟฟิกหน้าใหม่ ฝี มื อ ดี เ กิ ด ขึ้ น มาเสมอ หนึ่ ง ในนั้ น คื อ NONCITIZEN บริษัทดีไซน์ที่เกิดขึ้นจาก อ๊อฟ-เตชิต จิโรภาสโกศล และ แจ็ค-วิวิศน์ เจริญเมธีวชั ร์ แถมด้วยอีกหนึง่ สมาชิกในทีม ไจ๋-เอกวิทย์ เล็กวิริยะกุล เรามาคุยกับพวก เขาถึงเรือ่ งวิธกี ารคิดงานดีๆ ในวิถคี นนอก กฎเกณฑ์แบบ NONCITIZEN กัน

อ๊อฟ เรียนจบโบราณคดี

ชื่อ NONCITIZEN

NONCITIZEN : เอาแว๊บแรกก่อนนะ มันเริ่มจากที่ เราทำ�งานกราฟฟิก ได้เห็นผลงานของหลายๆ ประเทศ แล้วรู้สึกชอบ มันต่างจากที่เห็นในบ้านเราและเราก็ อยากทำ�แบบนัน้ ได้บา้ ง เลยใช้ชอ่ื ทีบ่ อกกับคนเขาไป เลยว่าเราจะไม่ท�ำ งานแนวทีเ่ ราเห็นในประเทศนี้ เราจะ แตกต่างออกไป เป็นความคิดทีอ่ อกจะขวางโลกหน่อย ก็ได้ชื่อ NONCITIZEN ตอนแรกมันประมาณนี้ และ ก็คิดว่าชื่อนี้เหมาะกับเรามากขึ้นนะ เพราะเราก็ ทำ�งานหลากหลายมีทั้งเว็บไซต์ สิ่งพิมพ์ ทำ�งาน ให้กลุ่มละคร ทำ�โมชั่นฯ เราก็เหมือนไม่ยึดกับงาน ประเภทใดประเภทหนึ่ง เหมือนการไม่มีขอบเขต ชื่อ NONCITIZEN ก็เหมาะดี 055

อ๊อฟ : ครับ เรียนโบราณคดี ภาษาอังกฤษ แต่เราก็ไม่ได้อยากเป็นอาจารย์หรือนักวิจัย จบมาก็ทำ�กราฟฟิกอินเฮ้าส์ก่อนเพราะเพื่อน ชวน ตอนนั้นเป็นกราฟฟิกดีไซน์ตัวเล็กๆ ใน แบรนด์เสือ้ ผ้า ทำ�พวกป้ายลดราคาตัวโตๆ เรา ก็พยายามลอง พยายามยัดเยียดอะไรใหม่นะ แต่เขาไม่เอาหรอก (หัวเราะ) แต่เราก็ได้เรียน รู้เรื่องการพิมพ์จากที่นั่น เพราะในนั้นเราเป็น กราฟฟิกคนเดียวต้องทำ�เกือบทุกอย่าง หลัง จากนั้นสักพักก็มีเซลล์มาขาย Ad ในบริษัท คือนิตยสาร You Are Here ที่แจกแถวสยาม เราเห็นก็ชอบมาก เลยพยายามไปสมัครงานที่ นั่น แต่แรกๆ เขาก็ไม่รับนะคือเราทำ�งานแต่ ป้ายลดราคางานแบบกราฟฟิกอินเฮ้าส์ จะไป ทำ�หนังสือ เขาเห็นงานก็ไม่รับแต่เราก็ตื้อไง พยายามให้เขารู้ว่าเราอยากทำ� ระหว่างนั้นก็ หัดทำ�หนังสือไปด้วยนะ เข้าไปหาบ่อยๆ จน เขาโอเค (หัวเราะ) หลังจากนั้นก็มาทำ�ที่ You Work For Them


ได้อะไรจาก You Work For Them บ้าง

อ๊อฟ : ได้การสังเกตก่อนเลย เขาสอนให้เราหยิบ สิ่งรอบตัวมาทำ�งาน อย่างทำ�ลวดลาย แพทเทิร์น นัง่ รถเมล์มองโน่นมองนีม่ องเห็นสิง่ รอบตัว กำ�แพง มุ้งลวดเป็นแพนเทิร์นไปหมด งานดีไซน์มีอยู่ ทุกที่ไม่ใช่แค่หน้าคอมฯ แล้วงานที่เราต้องเสนอ มันต้องเป็นเซ็ตนะคือสังเกตแล้วต้องต่อยอดได้ ด้วย เจ้าของคือ ไมเคิล พอร์ยัง เนี่ย เขารู้เรื่อง ดีไซน์เยอะมาก วันไหนเขาอารมณ์ดีๆ ก็จะมา เล่าเรื่องประวัติศาสตร์งานดีไซน์ต่างๆ ให้ฟัง เรา ก็ได้ความรูไ้ ปด้วย ตอนนัน้ เราไม่รจู้ กั เบาเฮาส์ เขาก็ทำ�ท่าตกใจเลย “You don’t know Bauhaus!!” เราก็มาศึกษา รูจ้ กั ต้นสายปลายเหตุ ของงานดีไซน์ยุคต่างๆ ที่มันเชื่อมโยงกับสังคม การเมือง ความเป็นอยู่ของคนจริงๆ พอเรารู้เรื่อง พวกนี้มันมีเหตุมีผลนะ มันรู้สึกมีที่ยึด จริงๆ เรา อินกับเรื่องสังคมนะ งานเขียนไทยเราก็อ่านงาน อย่าง กนกพงศ์ สงสมพันธ์ุ, ’รงค์ วงษ์สวรรค์, วรพจน์ พันธุ์พงศ์ ก่อนหน้านี้เราคิดถึงงานดีไซน์ เป็นเรื่องรสนิยมไง ซึ่งมันก็ใช่แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

แจ๊คเป็นคนชวนอ็อฟมาทำ�งาน ตั้งแต่ที่แรกเลย

แจ๊ค : รู้จักกันมานานแล้วครับ เรารู้สึกสบายใจกว่าถ้าทำ�งานกับ คนที่เรารู้จักหน่อย ทำ�งานด้วยกัน ตอนแรกก็ที่กราฟฟิกอินเฮ้าส์ แต่ ผมทำ�สายมีเดียแพลน หลังจาก นั้นก็แยกย้าย อ๊อฟก็ไปทำ�ที่ You Work For Them

056


อ๊อฟ-เตชิต จิโรภาสโกศล

057


058


059


กลับมาร่วมกันทำ� NONCITIZEN

อ๊อฟ : ตอนนั้นผมก็เริ่มคิดที่จะ ทำ�บริษัทของตัวเอง แต่ก็ยังไม่มี ความมั่นใจเท่าไหร่ เพราะไม่มี ประสบการณ์ ก็คิดแบบแจ็คคือ อยากได้คนทีร่ จู้ กั มาทำ�งานด้วยกัน ช่วงแรกก็ไม่ได้คิดจะทำ�อะไรที่ กว้างขนาดนี้นะ แต่ไปๆ มาๆ ด้วยหลายสาเหตุที่ทำ�ทั้งเว็บไซต์ CI โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ โมชั่นฯ มีเดียหลายอย่าง มันไปตามการ แก้ไขโจทย์ให้กับลูกค้าด้วย

แจ็ค-วิวิศน์ เจริญเมธีวัชร์ 060


ไจ๋-เอกวิทย์ เล็กวิริยะกุล

แจ็ค : หลังๆ มาคนถามว่าเราทำ�อะไร ก็ บอกเลยว่าทำ�ทุกอย่าง เราก็ไม่ได้รทู้ กุ เรือ่ งนะ ก็ค่อยๆ ศึกษารีเสิร์ชกันไป การที่เราอยากจะทำ�งานที่ชัดเจนหรือ แตกต่างออกไป ลูกค้าเข้าใจไหมเรื่องนี้

แจ๊ค : เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง อ๊อฟ : ก็นำ�เสนอแหละ บางทีเขาก็อยาก ได้เท่ๆ นะ แต่เขาก็มีข้อจำ�กัดของเขาซึ่ง มันอาจจะไม่เท่นกั ส่วนใหญ่ทป่ี ล่อยได้เต็มที่ ก็จะเป็นคนที่รู้จักกัน อยู่ในสายใกล้ๆ กัน อย่าง B-floor นี่แหละ เขาก็จะเข้าใจ แต่ เราก็เข้าใจลูกค้านะ คิดว่าถ้าเป็นเราและมี เงิน เราก็อยากได้สิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เรา ชอบ นอกจากว่าเราต้องทำ�ให้เขาเชื่อใจได้ เช่น การหาข้อมูลของแบรนด์เขา รู้จักเขา พูดคุยเรื่องการตลาดของเขา สินค้าของเขา การทำ�งานการผลิตของเขา เขาจะรูส้ กึ ใกล้ชดิ กับเรามากขึ้นเชื่อใจกันมากขึ้น เราศึกษา ลูกค้าลึกมากเลยนะ รู้จักชื่อเขา มี Facebook ก็เข้าไปสืบประวัติเลย (หัวเราะ) เป็น เรื่องจิตวิทยาเหมือนกัน 061


แนวการออกแบบของ NONCITIZEN

อ๊อฟ : พูดยากนะ ลูกค้าก็มคี าแร็กเตอร์ของเขา เราก็มีคาแร็กเตอร์ของเรา มันอยู่ที่การชั่ง น้�ำ หนักกันด้วย แต่ดว้ ยร่วมก็เป็น Contemporary เป็น Modern Mininal นี่แหล่ะ สำ�หรับผม กราฟฟิกมันก็คอื เรขาคณิต คือรูปทรง เราพยายาม ใช้ตรงนั้นสร้างความหมายสื่อออกไป อย่างปัญหา ที่เจอบ่อยๆ เลยคืองานเราเข้าใจยาก มันต้องคิด ก็เข้าใจว่าอยู่ในสังคมที่โดนป้อนแต่อะไรง่ายๆ ตลอดเวลาจะให้คนมาคิดมากมันก็เครียด แต่เรา คิดตลอดไง มันเลยไม่เครียดสนุกทีไ่ ด้คดิ แต่ลกู ค้า ต้องเอางานเราออกไปในสังคมไง เขาก็จะต้องการ อะไรที่ง่ายในการคิดหน่อย ไจ๋ : จริงๆ NONCITIZEN เน้นเรื่องกระบวนการ คิดมากเหมือนกันนะ ทั้งในเรื่องการทำ�งานและ ผลงาน เรื่องการแก้โจทย์ของลูกค้า ปัญหาของ แบรนด์และสินค้าของเขา อ๊อฟ : ดีไซน์ของเรามันต้องเริ่มจากโจทย์ก่อน ไม่มีโจทย์มันเริ่มไม่ได้ ต่อมาก็เรื่องบริบท บริบท ต่างๆ ที่งานนั้นจะไปอยู่ สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวงาน คนที่เห็นมัน แล้วมามองโครงสร้าง อยู่กับมันดู โครงสร้างวิธีการทำ�งานของมัน ดูโครงสร้างที่ ดีที่แข็งแรงสำ�หรับงานดีไซน์นั้นๆ เพื่อที่จะหา ทางแก้ไขและพัฒนามันออกไป อย่างเก้าอี้ถึง มันจะสวยยังไงถ้านัง่ ไม่ได้นง่ั แล้วพังก็ไม่ดใี ช่ไหม ต่อให้คุณรู้ว่าปัญหามันคืออะไร แต่คุณทำ�มันไม่ ได้ก็ไม่มีประโยชน์

ถ้าดีไซน์ทด่ี อี ยูส่ กั สิบ แล้วลูกค้าอยากได้แค่หา้ ยังงีล้ ะ่

แจ็ค : เราก็แนะนำ�แหละ ต้องเสนอสิ่งที่ดีไว้ก่อน ถ้าอยากได้จริงๆ ห้าก็ได้ แต่เราก็อยากให้สบิ แหล่ะ อยากให้มนั ดีไว้กอ่ น เพราะเราก็ไม่ได้มองแค่ดไี ซน์นะ มองถึงอนาคตของแบรนด์เขา เขาจะพัฒนายังไง ถ้ามันใหญ่ขึ้นจะเป็นยังไง แต่ก็เคารพความเห็น และมุมมองของลูกค้า ความเข้าใจเรื่องการออกแบบในบ้านเรา

อ๊อฟ : อืม...อ๋อ เรื่องหนึ่ง ผมเจอคนร้อยละ 98 ที่เวลาผมพูดเรื่องปัญหาในการทำ�งานออกแบบ เขาก็จะพูดแบบ “ยังงี้แหละ ทำ�งานศิลปะ” คือ ความเข้าใจแบบนี้เยอะมากที่ว่างานออกแบบคือ งานศิลปะ ในวงกว้างเขายังแยกงานออกแบบกับ ศิลปะไม่ออกเลย แม้ในตอนนี้ความเข้าใจจะดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจแบบนี้ งานออกแบบมันเป็น ศาสตร์อีกแบบ มันไม่ใช่อะไรก็ได้จะเป็นงานดีไซน์ มันไม่ใช่แค่สวยแค่มีรสนิยม มันต้องมีที่มา การ แก้ไขปัญหา มีวิธีการและเป้าหมายมากกว่านั้น ไจ๋ : ผมว่ามันเป็นตัง้ แต่เริม่ นะ ทีก่ ารเรียนออกแบบ แล้วต้องเรียนวาดรูป ไม่ใช่ว่าผิดนะ จริงๆ มัน ซับซ้อนนะ ทั้งความคิดของเด็กและผู้ใหญ่ ที่ว่า งานกราฟฟิกดีไซน์คือวาดรูปวาดการ์ตูน ฝังอยู่ใน หัวมาแต่แรก ส่วนมากคนที่เรียนออกแบบ เริ่มเลย ก็จะบอกว่าชอบวาดรูป พอมาเรียนออกแบบจริงๆ มันก็ต่างออกไป งานออกแบบกับงานวาดภาพ ประกอบ มันก็ต่างกันมากในรายละเอียด

062


063


จะเริ่มแก้ปัญาความเข้าใจนี้จากอะไรก่อนดี

อ๊อฟ : ทำ�ส่วนของตัวเองให้ดี มันต้องเริ่ม จากคนทำ�แหล่ะ ที่ต้องคิดถึงความสำ�คัญ ของอาชีพของตัวเองก่อน บางคนเลือกแบบนี้ ใช้ตัวหนังสือแบบนี้ สีแบบนั้นเพราะมันมี โปรแกรมไง มันไม่ได้เกิดจากการคิดว่า ตัว หนังสือนีใ้ ช้ความรูส้ กึ ยังไง มีอารมณ์แบบไหน เหมือนเป็นนักดนตรีที่บอกไม่ได้ว่าตัวเอง เล่นโน๊ตอะไร กราฟฟิกดีไซน์มันต้องเป็นนัก สื่อสารนะ การสื่อสารให้คนเข้าใจ ให้คนเชื่อ มันต้องมาจากความเข้าใจของนักออกแบบ คนนั้นๆ ก่อน จริงๆ ถ้าเทียบกับนักดนตรี นะ เราว่าคนคิดเพลงแต่งเพลงก็เก่ง แต่ คนที่เก่งและคนมองข้ามไปคือคนคิดบรรทัด ห้าเส้น คนที่สร้างสิ่งที่นักดนตรีทั่วโลกต้อง ใช้ ให้ประโยชน์กับส่วนรวม เราอยากทำ�งาน แบบนั้นนะ

รสนิยมที่ดีเกิดจากอะไร

ไจ๋ : มันก็ต่างกันไปนะ มันก็เกิดจากการเรียนรู้ สมมติว่าคุณแต่งตัวแบบนี้ สไตล์แบบนี้ แต่ไม่เคย รู้หรือไม่เคยเข้าใจ ความเป็นสไตล์นั้นจริงๆ หรือ เรื่องราวของมัน มันก็จะไม่เต็มที่ เพราะเรื่องราว มันจะให้ให้เราเกิดความประทับใจ ความชอบในสิง่ นั้นๆ และหยิบมาใช้ แจ๊ค : มันคือการที่ชอบอะไรบางอย่าง ที่มีเหตุผล มารองรับด้วย มันจะมีความลึกมากกว่า บางอย่าง ตอนแรกเราก็อาจจะไม่ชอบมากนะ รู้สึกเฉยๆ เพราะเราไม่รู้ แต่พอไปรูเ้ รือ่ งราวบางอย่างของสิง่ นัน้ กลับมามองอีกทีก็อาจจะชอบมากขึ้น เพราะเข้าใจ มันมากขึ้น อ๊อฟ : รสนิยมมันก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งนะของ การออกแบบ มันมีหลายส่วน มันมีประโยคหนึ่งคือ เห็นด้วยดวงตา แล้วต้องรู้สึกด้วยหัวใจ ต้องคิด ได้ด้วยสมอง แบบวิเคราะห์เข้าใจกระบวนการ และ สุดท้ายคือต้องทำ�ได้ดว้ ยตัวเอง มันถึงจะครบในการ เป็นนักออกแบบที่ดี

064


065


066


อนาคตของ NONCITIZEN

แจ็ค : หนึง่ ปี จริงๆ มันก็เพิง่ เริม่ นะ ตอนนีท้ กุ อย่าง ก็ลงตัวขึ้น อยู่ในช่วงที่เริ่มจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ก็พยายามให้บริษัทแข็งแรงขึ้น ไจ๋ : ก็อาจจะพัฒนาตัวงานออกแบบให้ดขี น้ึ อยูท่ น่ี ่ี ก็ดีชอบวิธีการทำ�งาน อย่างวิธีแบ่งการทำ�งานของ บริษัท Google อ่ะครับ ที่เขาจะแบ่ง 70-20-10 คือทำ�งานหลักที่ได้เงิน 70 อีก 20 คือต่อยอดมา จากอันแรก ส่วน 10 ที่เหลือคืองานที่สนุก เอามัน แต่มันทำ�ให้เกิดอะไรบางอย่างที่ใหม่ อ๊อฟ : ปีหน้าผมคิดว่าจะไปเรียนต่อที่เยอรมัน แต่ก็ทำ� NONCITIZEN ไปด้วย อาจจะขยายไป ทำ�ที่โน่น เพราะด้วยชื่อของมันก็ไปได้ทุกที่อยู่แล้ว ส่วนของทางนี้ก็อยากให้อยู่ได้ ก็ทำ�งานติดต่อข้าม ประเทศกัน http://thenoncitizen.com

067


068


PIE TALK

ISE

INCREDIBLE ILLUSTRATE มัน่ ใจเลยว่านักวาดภาพประกอบ กราฟฟิก ดีไซเนอร์ ไล่ไปถึงเอเจนซี่ท้งั หลายคงเคย เห็นผลงานของเธอผ่านตามาบ้างกับภาพ หญิงสาวสวยหลากอารมณ์ หลายสไตล์ และรายละเอียดสุดประณีจาก “ไอซ์ - รัตตา อนันต์ภาดา” นักวาดภาพประกอบทีห่ ลาย คนบอกว่าเธอวาดภาพผูห้ ญิงได้สวยทีส่ ดุ ในเวลานี้ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องที่มาและ แรงบันดาลใจของเธอกัน

069


070


โซเชียลเน็ตเวิร์ค ไอซ์ก็ลงงานของตัวเองบ้าง ก็มีคน ไอซ์ : น่าจะสักประมาณ 5-6 ปี แล้วค่ะ ตอนเรียน สนใจและเป็นส่วนหนึ่งที่มีคนเห็นงานเราเยอะ แต่ จบก็ทำ�งานก่อนปีนึง ครั้งแรกที่ส่งไปตามนิตยสารไม่มีที่ไหนตอบกลับมาเลย เราก็เสียกำ�ลังใจนิดหน่อย ทำ�ใจอยูป่ ระมาณ 2-3 เดือน ตอนจบมาทำ�งานอะไร ก็คิดว่าลองส่งอีกรอบไหมเลยส่งอีกรอบ ครั้งแรกส่งไป ไอซ์ : ทำ�งานเกี่ยวกับอนิเมชั่น เพราะตอนทำ�ธีสิส เป็นแผ่นซีดี โอเค เดี๋ยวครั้งนี้ทำ�เป็นเล่มเลย เดินเข้า เลือกอนิเมชัน่ แต่ท�ำ อาร์ตไดเร็กชัน่ ในแนวภาพประกอบ ไปหาเองเลย ปรากฏว่าได้ผล ทาง LIPS ก็เป็นที่แรก ที่ขยับได้ เลยกลายเป็นอนิเมชั่นที่ได้อารมณ์ของภาพ ที่ติดต่อมา ประกอบมาผสม พอจบมาเราทำ�อนิเมทได้ก็มีคน สนใจชวนเราไปร่วมงานด้วย เป็นพวกการ์ตูนเป็น ช่วงแรกๆ จะเป็นวาดในคอมฯ ตลอด ช่องๆ ที่อนิเมทเด้งๆ ขึ้นมาได้ ทำ�มาเกือบปี ไอซ์ : ใช่ คือจริงๆ ไอซ์เป็นสายดิจติ อลอาร์ต ทำ�งาน คอมฯมาตัง้ แต่มธั ยมฯ แล้ว ชอบวาดการ์ตนู ชอบวาด ออกมาทำ�ภาพประกอบเอง งานในคอมพิวเตอร์ ม.4 ซื้อวาคอมเครื่องแรก เล็กๆ ไอซ์ : ใช่ เพราะว่าระหว่างนั้นบริษัทที่ทำ�งานอยู่ ลองมาวาดดูแต่รู้สึกว่าไม่ถนัดเลยทิ้งไป พอจบ เขามีให้เราทำ�เกี่ยวกับภาพประกอบแบบผู้หญิงๆ มหา’ลัย เลยหยิบมาใช้ใหม่ ปรากฎว่ามันเริ่มคุ้นมือ แล้วมันเป็นเทคนิคที่เราอยากจะลองทำ�อยู่แล้ว เลย เอามาใส่ในงานนี้ ปรากฎว่ามันออกมาดี ไม่เคยคิด ชอบดิจิตอลอาร์ตมาตั้งแต่มัธยมฯ เรียนมาจากที่ไหน ว่าเราจะทำ�งานแนวนี้ได้ หลังจากนั้นก็เลยลองมาจับ ไอซ์ : ตอนนั้นตั้งใจจะเอ็นฯเข้า ม.ศิลปากร แต่รู้สึก ทำ�งานแนวนี้มากขึ้น สมัยก่อนคิดสงสัยว่าอาชีพวาด ว่าตัวเองช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ มาก ที่เขาอาจจะเรียน ภาพประกอบมีจริงเหรอ ตอนนั้นเลยเริ่มดูนิตยสาร ตั้งแต่ ม.3 เราเพิ่งมาเร่ิมตอนจะจบมัธยมปลายแล้ว LIPS, ดิฉัน อะไรพวกนี้ คิดว่าต้องหาช่องทางไปต่อ แต่ชอบวาดการ์ตนู ดูงานในอินเตอร์เน็ตเยอะ มันเปิด ของงานตัวเองแล้วถ้าอยากจะจริงจังทางนี้ พอเปิด โลก ดูงานของคนญี่ปุ่น ทำ�ไมเขาวาดสวย เขาวาด นิตยสารไปเราก็พบกับงานของหลายๆ คน แต่งานที่ ยังไง จนเรามาเจองานของศิลปินคนหนึ่งชื่อ Jason สะดุดตาทีส่ ดุ คืองานของพีโ่ อ ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ Brooks งานผู้หญิงที่เขาวาดสวยเกือบทุกคนเลย ชอบ คนนีว้ าดสวยจัง อยากลองทำ�แบบนีบ้ า้ ง หลังจากนัน้ ตอนนั้นรู้สึกว่ามีคนนี้เป็นไอดอล อยากทำ�ได้แบบนี้ ก็เก็บงานรวมเป็น Portfolio งานที่เราเคยทำ� แล้ว ก็ลองวาดลงสีตาม แต่ไม่ได้ไปก็อปเขานะก็ทำ�ตาม เอาไปส่งตามนิตยสารหลายๆ หัว แล้วดูฟีตแบ็ก แบบของเรา แต่พอเอ็นทรานส์ สอบไม่ติดก็เสียใจ ซึ่งไอซ์เพิ่งจบไม่นานไม่รู้จักใครเลย ไม่มีเส้นสายเลย นิดนึง เรื่องความฝันตรงนี้ก็หยุดพับไป กลายเป็นว่า สมัยนั้นไม่มีเฟสบุ๊กหรือพื้นที่ที่แสดงงานของตัวเอง เราต้องมานั่งฝึกฝนใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย ตอนนั้นก็ แต่ตอนนั้นก็มี My Space ที่เป็นยุคเร่ิมต้นของ เข้าม.รังสิต เพราะได้ยินว่ารุ่นพี่จบออกมาหลายคน ทำ�ภาพประกอบมากี่ปีแล้ว

071


มีชื่อเสียง เราก็อยากจะตามรอยเขาบ้างก็เข้าไป ฝึกฝนฝีมอื พัฒนา ปรับปรุงเรือ่ งความคิด หลายๆ อย่าง แต่ตอนนัน้ ก็แอบลืมไปบ้างว่าเราอยากจะวาด เพราะว่าพอเรียนหลายอย่างเราจะได้รับความคิด จากอาจารย์ จากเพื่อน ไปโน่นนี่เถอะ ทำ�เอเจนซี่ ดีไหม ทำ�โมชัน่ กราฟฟิกดีไหม ตอนนัน้ ก็สบั สนชีวติ คล้ายๆ กับเด็กสมัยนี้หลายๆ คนที่เคยเป็น แต่ ตอนนั้นจุดเปลี่ยนคือตอนทำ�งานปีแรก พอได้ลงใน LIPS แล้วเป็นยังไงต่อ

ไอซ์ : ก็ยาวเลยค่ะ พอมีงานลงในนิตยสาร เรา ก็ได้ทดลองฝีมือไปเรื่อยๆ เป็นปีๆ สิ่งที่เราทำ�ก็ เก็บเป็นพอร์ต ลงงานในมายสเปสและมีเว็บไซต์ โชว์ผลงานในต่างประเทศ เราก็เอาไปลงหลายๆ ที่ ปรากฏว่าผลตอบรับที่ได้กลับมามันดีมาก ช่วง นั้นก็มีคนสนใจเราเยอะ มีงานเข้ามาจากตรงนั้น พอสมควร

ให้กบั Kloset เรารูส้ กึ ว่างานของเราดูเข้าใกล้ความเป็น คอมเมอร์เชียลมากขึ้น จากที่อยู่แต่ในนิตยสาร ก็มา ที่แบรด์ของเสื้อผ้า เริ่มรู้สึกว่ามันมีอะไรขับเคลื่อนบ้าง แล้ว เหมือนมันโตขึ้น ช่วงหลัง Kloset ก็มีงานของ Tiger Translate อาจารย์เอางานมาให้ เพราะเขาเร่ิม ไว้ใจ เห็นงานเราบ้างแล้ว ก็เลยได้ทำ� พอทำ�ร้านไป สักปีที่ 3 ก็มีลูกค้าอีกเจ้าหนึ่งเดินเข้ามา บอกว่ากำ�ลัง หาคนทำ�ลายเส้นแบบนี้อยู่เลย ให้ทำ�งานปฏิทินให้กับ สิงห์หน่อย เราก็วาดให้มันก็โตขึ้นอีกระดับหนึ่ง ก็คิด ว่าเราน่าจะเป็นคอมเมอร์เชียลเต็มตัวแล้ว เคยเอางานไปส่งให้เอเจนซี่หรือแบรนด์เหล่านี้ไหม

ไอซ์ : ไม่เคย ส่วนมากเขาจะติดต่อกันเข้ามาเอง เรา ก็คิดว่าดีนะ งานเราเริ่มเข้าสู่ตลาดได้ ทำ�งานส่วนตัวกับทำ�งานกับแบรนด์ อันไหนยากกว่ากัน

ไอซ์ : ยากคนละแบบ เหมือนทำ�ตามใจตัวเองมันยาก อีกแบบหนึ่ง ตรงที่ไม่มีใครมาสั่ง มาบังคับว่าคุณต้อง งานช่วงไหนที่คิดว่า อันนี้แหละเริ่มมีคนรู้จักเยอะ ทำ�คอนเซ็ปต์นี้นะ เราต้องคิดเอาเองว่าทำ�แบบนี้ขายได้ ไอซ์ : ช่วงนั้นทำ�งานภาพประกอบ มีพาร์ทเนอร์ ไอซ์ต้องบอกก่อนว่าไอซ์ไม่ใช่อาร์ตติสเต็มตัว แต่ออก สนใจลงทุนทำ�ร้านเส้ือ เอาลายของเราไปลงในเสื้อ แนวคอมเมอร์เชียลอาร์ตมากกว่า เป็นศิลปะที่ยอมรับ แล้วขาย ก็ขายค่อนข้างดี สักพักก็มีลูกค้าคนหน่ึง กับความต้องการของผู้บริโภค ไอซ์แบ่งอย่างนี้เลยค่ะ เขามาเห็นลายเสื้อแล้วชอบ ถามเราว่าสนใจจะทำ� เพราะอาร์ตติสกับนักวาดภาพประกอบมันต่างกันตรงนี้ ผ้าพันคอไหม ตอนนั้นก็สนใจ เขาถามว่ารู้จัก สมมติว่าเราทำ�งานนี้ออกมา เราจะขายอะไรอย่าง Kloset ไหม คือเราไม่ใช่เจ้าแม่แบรนด์เนม เราก็ เราวาดในอารมณ์ติสต์ของเรา ก็จะคิดต่อว่าลายนี้มัน ไม่รเู้ รือ่ ง Kloset คืออะไรวะ (หัวเราะ) ก็มารูท้ หี ลัง น่าจะเอาไปลงเสือ้ ได้ บางรูปเราสามารถเอาไปคิดต่อได้ ว่ามันเป็นร้านเสื้อผ้าของผู้หญิง มันมีตลาดมีทางเดินของมัน ไม่ใช่ว่าเราทำ�งานได้วาด ภาพได้ แต่ไม่สามารถหาทางออกให้งานเราได้ ถ้าเรา ช่วงนั้นนี่ ทำ�มากี่ปีแล้ว ไม่ได้คิดทางเชิงธุรกิจสักหน่อย งานของเราก็จะไม่มี ไอซ์ : ช่วงปีที่ 3 ในการทำ�ภาพประกอบ ก็เจอ ทางออกไปแล้วมันก็จะตาย ลงนิยตสารก็เป็นทางที่ ลูกค้าแบบนี้มาเสนองานให้เรา ตอนนั้นก็ได้ทำ�งาน ทำ�ให้คนเห็นงานเราได้เยอะ แต่เท่านั้นยังไม่พอ 072


073


074


เพราะนิตยสารมันตามได้แค่ชื่อของเรา ไม่มีอีเมลล์ ตอนนั้นก็ลองเอาชื่อตัวเองไปเสิร์ชในกูเกิ้ล ดูซิว่าจะมี คนมาหาเราไหม (หัวเราะ) ก็มีนะ ทำ�งานกับแบรนด์เป็นไง

ไอซ์ : ถ้าเป็นแบรนด์ ความยากของมันคือทำ�ตาม โจทย์ของลูกค้าแน่นอนอยู่แล้ว แต่ลูกค้าบางคนเขา มองไม่เหมือนเราคือศิลปะมันนานาจิตตัง มันต้องมีวิธี การพูดกับลูกค้าด้วยเหตุผล เราทำ�งานออกมาเต็มที่ ไม่เผางานแน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องพูดโน้มน้าวว่า มันเป็นแบบนี้เพราะอะไร เรามีเหตุผลของเราก็พูดไป แต่ไม่ใช่การแข็งขืน บางอย่างถ้าลูกค้าบอกว่ามันต้อง อย่างนี้จริงๆ เราก็โอเค เปลี่ยนให้ เราก็ลองทำ�ให้เขา ดูว่ามันจะเป็นแบบนี้นะ แล้วอย่างไหนดีกว่า เขาก็จะ กลับมาอันแรก แต่ไอซ์ก็จะมีวิธีบอกว่าแก้งานได้ แต่ แก้ได้แค่ 3 ครัง้ ถ้ามากกว่านีเ้ ก็บเงินแล้วนะคะ อะไร แบบนี้ คือลูกค้าแต่ละคนก็จะต่างกันไป ความยากมัน ก็ต่างกัน แต่สำ�หรับไอซ์ถ้าทำ�แล้วรู้สึกว่ามีความสุขจะ เป็นงานของลูกค้ามากกว่า เพราะถ้าเราทำ�งานตาม โจทย์ลูกค้าได้แสดงว่ามันขายได้ ออกสู่ตลาดได้ จับ ต้องได้ คนทั่วไปเห็นได้ อันนี้มันน่าภูมิใจนะ บางคน จะมีความรูส้ กึ ว่าไม่อยากทำ�งานตามโจทย์ของลูกค้าเลย แต่เรื่องแบบนี้มันก็ครึ่งทาง 50-50 ลูกค้าเขาเดินมาหา เราแสดงว่าเขาชื่นชมงานเราอยู่แล้วแต่เราต้องตอบ โจทย์เขาได้ด้วย ถ้ามันมาได้ทั้งสองอย่าง มันก็สำ�เร็จ แต่ว่าถ้าเขาจะเอามากเกินไปจนเราคิดว่าไม่มีความ สวยงามแล้ว เราก็ทำ�งานไม่มีความสุข หรือว่า เรา ติสต์เกินไปเขาก็จะรู้สึกทุกข์ที่จะต้องจ่ายเงินให้เราแต่ ว่าไม่ได้ของที่เขาอยากได้

ตอนนี้ลูกค้าที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็จะเชื่อมือ

ไอซ์ : เชื่อมือในระดับหนึ่งแล้วว่าเราจะสามารถทำ� ในสิ่งที่เขาต้องการได้ แต่จนถึงวันนี้ก็ยังมีลูกค้าที่ยัง แก้แล้วแก้อีก ไม่ใช่ว่ายิ่งแก่ยิ่งเก๋า แก้งานไม่ได้ มัน เป็นเรื่องที่ต้องเจอทุกวัย แค่แก้แล้วมีเหตุผลที่ดีพอที่ เรารู้สึกว่ารับได้ ก็โอเค แฮปปี้ที่ได้ทำ�งาน งานอลังการมาก ทำ�นานไหม

ไอซ์ : บางชิ้นก็ทำ� 2-3 วัน บางอันเป็นอาทิตย์ เป็นเดือนก็มี อย่างงานภาพประกอบของหนังสือ มันต้องเร็ว สัก 3 วัน แต่ถ้าเป็นงานที่ใหญ่มากๆ (เปิดงานให้ดู) อันนี้เป็นงานที่ทำ�ลงกล่องไม้ที่เขา แจกตามโรงแรมในต่างประเทศ ก็ออกแบบเป็นลาย ไทย บางงานก็ใช้เวลาเยอะ บางงานก็น้อย แล้วแต่ สโคปของมันมากกว่า วิธีการทำ�งานของไอซ์

ไอซ์ : ส่วนใหญ่ไอซ์ก็ทำ�ในคอมฯ หมดเลย เพราะ ว่าการทำ�งานในคอมฯมันเร็วกว่า ถ้าหากว่าวาดข้าง นอกมันจะต้องใช้เวลา เดี๋ยวฝนโน่นระบายนี่ แล้วก็ เอาไปแต่งในคอมฯอีก มีงานสไตล์ไทยๆ ช่วงหลัง ดูหลุดจากสไตล์ของไอซ์ เหมือนกันนะ

ไอซ์ : ใช่ หลุด คือดูแล้วก็อาจจะไม่รู้เลยว่าเป็น งานไอซ์ แต่มันก็เหมือนกับเป็นอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ได้ ทดลองอะไรใหม่ๆ คือได้ทำ�งานไทย ก็ค่อนข้างยาก เหมือนกันนะ แต่ก็โชคดีว่าพอไอซ์ทำ�ออกมามันไม่มี ใครดราม่า เพราะปกติถ้าเราทำ�งานในแบบไทยๆ 075


ก็จะมีคนมาว่า วาดผิดแล้วนะ ลงสีผิดโน่นนี่ อย่างทศกัณฐ์ ไอซ์ก็ยังกลัวๆ อยู่ ว่าเราลงสียักษ์ อีกแบบหนึง่ เราไม่ได้ลงตามทีเ่ ขาทำ�ๆ มา แต่เรา ลงตามความรู้สึกว่ามันสวย อันนี้ได้แรงบันดาลใจ มาจากพวกงานญี่ปุ่น ที่เขาจะลงสีจัดๆ เขาจะ เอาวัฒนธรรมดั้งเดิมของเขามาทำ�ให้มันดูป๊อปขึ้น ลูกค้าก็บอกว่ามันเป็นมาสเตอร์พสี เลยนะ ชอบมาก ดูแปลกดี

ไอซ์ : จริงๆ มันเป็นเรือ่ งทีด่ นี ะ ทีม่ คี วามหลากหลาย ให้เลือกมากขึ้น เหมือนกินก๋วยเตี๋ยวไม่ได้มีแต่ลูกชิ้น อย่างเดียว มีหมูมีผัก มีนั่นนี่รวมกัน ถ้าคิดว่ามี นักวาดภาพประกอบแนวเดียวกันเยอะๆ ในสังคม ก็เหมือนกับมีลูกชิ้นอยู่เต็มไปหมด มันก็ดูจะน่าเบื่อ แต่เดีย๋ วนีด้ ใี จทีน่ อ้ งๆ รูจ้ กั จับสไตล์ของตัวเองหาแนว ทางของตัวเอง ไม่เหยียบซ้ำ�ที่เดิม คนทำ�ภาพประกอบอยู่ได้ไหมในบ้านเรา

ไอซ์ : จริงๆ ต้องบอกว่ามันอยูท่ ห่ี ลายปัจจัยทีจ่ ะทำ�ให้ ไอซ์ : คืองานเรามันอาจจะโอเคในช่วงนั้นแต่ งานขายได้หรือไม่ได้​้ ไม่ใช่ว่าเราฝีมือไม่ดี อย่างที่บอก พอระยะเวลามันผ่านไปสักพัก มันมีศิลปินใหม่ๆ คือต้องหาตลาดของตัวเองให้ถูก ว่าฉันทำ�งานแบบนี้ เยอะขึ้น ทางเลือกมันก็เยอะขึ้น แล้วจะให้ย่ำ�อยู่ จะจับตลาดตรงไหนดี เหมือนทำ�ธีสิส อยากทำ�งาน กับที่เดิมเราก็คงจะหายไป ตอนนี้ก็เลยพยายาม แบบนี้แล้วจะพูดกับใคร ถ่ายทอดให้ใครฟัง มันอาจจะ ทำ�ให้มันไปอีกขั้นหนึ่ง ประเด็นนี้ก็เคยคุยกับคน เป็นคำ�ถามทีเ่ ด็กๆ ไม่คอ่ ยชอบ แต่ในอนาคตเราทำ�งาน อื่นๆ ที่เป็นนักวาดภาพเหมือนกัน น่ากลัวนะ ก็ มันเป็นคำ�ถามในเชิงธุรกิจที่เราต้องคิดหาทางออกให้ เข้าใจว่ามันต้องมีรุ่นใหม่มาแทนรุ่นเก่า แต่จะทำ� กับมัน เพราะว่าถ้าไม่คิดเราก็อาจจะไม่รอด สุดท้าย ยังไงให้เราทำ�งานในสายนี้ต่อไปโดยที่คนยังจำ�เรา เราก็อาจจะยอมทิ้งความฝันของเราไป มันเป็นความ ได้อยู่ คำ�ตอบก็คือต้องทำ�ต่อไปเรื่อยๆ พัฒนา จริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทุนนิยม ซึ่งมันก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ต่อไปห้ามหยุด หยุดเมื่อไหร่คนก็ลืม เป็นธรรมดา หรอก แต่ว่าความฝันอย่างเดียวมันก็กินไม่ได้ แต่ถ้า พอมันมีสไตล์ใหม่ๆ เกิดขึ้น สักพักคนก็จะเริ่มทำ� เอาความฝันกับความจริงมารวมกันได้มันก็มีความสุข ตามแล้วคลืน่ ลูกใหม่มนั ย่อมแรงกว่า ไอซ์เข้าใจนะ ว่าจะต้องหนีออกจากจุดนี้ไปหาสิ่งที่มันทำ�ได้ยาก ทำ�ไมเมืองไทยไม่ค่อยมีหนังสือพวกภาพประกอบ กว่าเป็นโจทย์ที่ยากขึ้น คนทำ�ได้น้อยกว่า อย่าง ออกมาขาย Jason Brooks ที่เล่าให้ฟัง นั่นตั้งแต่ไอซ์อยู่ม.4 ไอซ์ : จริงๆ มันมีนะคะ ไอซ์เห็นหลายคนแล้ว แต่ จนถึงปัจุบันนี้งานเขายังขายได้อยู่เลย ส่วนใหญ่มนั จะเป็นศิลปะทีต่ ลาดหน่อยเข้าถึงคนทุกคนได้ แต่ถ้าเป็นอาร์ตบุ๊คศิลปะจริงๆ มันจะไม่ค่อยมี เพราะ ช่วงนี้คนมาวาดภาพประกอบเยอะขึ้น ไอซ์มองว่า รู้สึกว่าคนไทยยังไม่อินกับตรงนั้นมากนัก โอเคเรามี เป็นยังไงบ้าง หอศิลป์ แต่จะมีสักกี่คนที่จะตั้งใจมาดูจริงๆ ไอซ์ พูดถึงการพัฒนาเรื่องสไตล์หน่อย

076


เลยเชื่อว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่หนังสือเกี่ยวกับศิลปะ ขายไม่ค่อยดี ถ้าจะให้มันเติบโตได้ มันต้องใช้เวลา คือรุน่ เราหรือรุน่ พีท่ อ่ี ายุประมาณ 30-40 ตอนนีท้ จ่ี ะ สามารถทำ�ให้มันพัฒนาต่อไปได้ กว่ามันจะขายได้ จับต้องมันได้ คนทั่วไปจะเข้าใจศิลปะว่าคืออะไร เราก็คงจะอายุสกั สีส่ บิ มัง้ (หัวเราะ) ถึงตอนนัน้ น่าจะ ดีกว่านี้ ให้คนทั่วไปจับต้องได้ก่อน ขนาดอนิเมชั่น คนธรรมดายังไม่เข้าใจเลยว่ามันแพงกว่าการถ่าย ธรรมดา ยังคิดว่าอนิเมชั่นถูกกว่าด้วยซ้ำ� คือคน ทั่วไปยังไม่เข้าใจตรงนี้

อยากไปทำ�งานต่างประเทศไหม

ไอซ์ : แรกๆ อยากไปมากเลย พวกยุโรป ไม่เคย คิดจะไปญี่ปุ่นเลย ซึ่งหลายคนคิดว่าน่าจะไปที่ญี่ปุ่น มากกว่า ถ้าเป็นยุโรปหรืออเมริกามันจะไปได้ทั่วโลก แต่ถ้าญี่ปุ่นอยู่แค่ประเทศเป็นเกาะๆ หนึ่ง แต่ว่า ตอนนีม้ นั ไม่ส�ำ คัญเท่าไหร่ เพราะเดีย๋ วนีโ้ ลกมันเชือ่ ม กันหมด ทุกคนรู้จักใช้ช่องทางจากเว็บไซต์มากขึ้น คนธรรมดาก็ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึน้ จะอยูท่ ไ่ี หน ก็ได้ แต่ว่าตอนนี้ภาษามันสำ�คัญ ยังอยากกลับไป เรียนภาษาอยู่เลย 077


078


079


เป็นคนโลกส่วนตัวสูงไหม

ไอซ์ : ก็สูงนะคะ ไม่ได้สูงถึงขนาดใครเข้าใกล้ไม่ได้เลย แต่เวลาทำ�งานจะมีโลกส่วนตัวของเรา ไม่ชอบให้ใครมาแบบ…ไหนดูหน่อยสิ รู้สึกว่าทำ�ไมจะต้องมาดูด้วย หงุดหงิด (หัวเราะ) การวาดรูป สำ�หรับไอซ์ก็เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง อย่างไอซ์ถ้าไม่ได้วาดรูปต้องประสาทแน่นอน (หัวเราะ) รู้สึกว่ามันได้คลายเครียด ได้เอาสิ่งที่อยู่ในใจออกไปเยอะ ยิ่งตอนเวลาโกรธมากๆ วาดอย่างเดียว ไม่คุยกับใครเลย คิดแต่เรื่องนั้นซ้ำ�ๆ อันนี้เหมือนคนโรคจิตนิดๆ แต่พอวาดเสร็จปุ๊บก็สบายใจแล้ว 080


วาดแววตา ริมฝีปากออกมาให้สวยๆ งานของไอซ์ ไอซ์ : ใช่ ชอบมาก เล่นเกมส์มาตั้งแต่เด็กแล้ว จะเร่ิมจากผู้หญิงก่อนเป็นอันดับแรก แล้วสิ่งอื่นๆ เป็นกิจวัตร ไม่ออกจากบ้าน เล่นเกมส์ อ่านการ์ตนู จะตามมาทีหลัง เพราะเวลาวาดผูห้ ญิงแล้วดูมกี �ำ ลังใจ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นการซึมซับหลายๆ อย่างมา บางที เวลาเห็นมันสวยแล้วมีกำ�ลังใจจะทำ�ส่วนอื่น เราเล่นเกมส์เยอะๆ…ตรงนี้สวย ไอเดียแบบนี้ดี คิดได้ไงเนื้อหาพล็อตเรื่องแบบนี้ เหมือนเราอ่าน เป็นผู้ชายได้ไหม หนังสือเล่มหนึ่งหรือเล่นเกมส์ปุ๊บ เราอ่านเนื้อ ไอซ์ : ไม่ได้ (หัวเราะ) ยังงงๆ เลย เพราะว่าปกติ เรื่อง เราเห็นภาพ ได้เห็นจินตนาการกับมันอยู่ ผู้ชายจะต้องวาดผู้หญิงสวย แล้วผู้หญิงจะต้องวาด ร่วมกับมัน ก็ลองเอาตรงนี้มาทำ�งานงานเราซิ มัน ผู้ชายสวย แต่มันประหลาดที่ไอซ์วาดผู้หญิงสวย ก็เป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งที่ทำ�ให้เราคลายเครียดด้วย ก็…เอ๊ะ หรือเรามีความสนใจเพศเดียวกัน แต่ว่ามัน คิดงานออก สำ�หรับไอซ์นะ ไม่ใช่นะ อาจเป็นเพราะว่าตอนเด็กๆ ไอซ์อยู่กับ ผูห้ ญิงเยอะ ครอบครัวก็มแี ต่ผหู้ ญิง อยูโ่ รงเรียนหญิง มีแผนในอนาคตยังไงบ้าง ล้วนก็เจอแต่ผู้หญิง มันซึมซับอารมณ์ตรงนั้นมามาก ไอซ์ : ก็อย่างที่บอกว่าเริ่มอยากจะทำ�อะไรที่เป็น ก็เลยมีอทิ ธิพลต่องานค่อนข้างมาก ก็วาดผูช้ ายได้แต่ ของตัวเองแล้ว ทำ�แบรนด์ของตัวเอง อาจจะเป็น ไม่ชอบเท่าวาดผู้หญิง แต่มีคนหนึ่งที่ไอซ์คิดว่าวาด ลายผ้า เสื้อผ้าของตัวเอง ต้องลองทำ�ธุรกิจของ ผู้ชายสวยชื่อ Anthony Taysub เขาวาดผู้ชายได้ ตัวเองดูบ้าง เพราะที่ผ่านมาเราทำ�กับคนอื่นตลอด เซ็กซี่ที่สุดเลย เราก็จะไม่มีวันรู้ตลาดตรงนั้น พอเราไปจับต้องมัน จะรู้สึกยังไง ความเป็นเจ้าของมันจริงๆ เป็นยังไง งานสวย สีสันน่ารัก ถูกใจสาวๆ นิสัยจริงๆ ไอซ์เป็น ชอบเล่นเกมส์ อ่านการ์ตูน

คนโลกสวยไหม

ไอซ์ : ก็ไม่ได้โลกสวยเลยนะ แต่ก็ไม่ได้ดาร์คแบบ ไอซ์ : นี่แหละค่ะ Jason Brooks ที่ทำ�ให้รู้ว่า อยู่ในมุมมืดมองโลกในแง่ร้ายไปซะหมด ต้องเลือก มีอาชีพนี้อยู่ในโลกนี้จริงๆ ส่วนพี่โอ ธีรวัฒน์ ก็ เพราะว่ามันผ่านมาเยอะจนเราเข้าใจมากกว่าว่าอะไร ทำ�ให้รู้ว่า อาชีพนี้สามารถอยู่รอดในประเทศนี้ได้ คือความทุกข์อะไรคือความสุข แต่ก็ไม่เอามาเป็น จริงๆ อารมณ์ในชีวติ ประจำ�วัน พอเรารูส้ กึ ไม่มคี วามสุขเรา ก็วาดรูป ของไอซ์การวาดรูปมันก็อาจจะแก้ไขปัญหา งานของไอซ์มีผู้หญิงมาตลอด ได้ทุกอย่าง แต่บางคนอาจจะไม่ใช่ บางคนอาจจะ ไอซ์ : คือไอซ์ก็ไม่ได้วาดตัวเองนะ มีความสุขเวลา ต้องไปปาร์ตี้ถึงจะรู้สึกดีขึ้น ก็แล้วแต่คน นักวาดภาพประกอบที่ช่ืนชอบ

081


แล้วไอซ์ ปาร์ตี้บ้างไหม

ไอซ์ : ไม่เลยค่ะ เป็นเด็กเก็บตัว อยู่แต่บ้าน (หัวเราะ)

www.facebook.com/IseAnanphada

082


083


PIE INSPIRATION

THINKING WITH

THINKK STUDIO ในยุคปัจจุบนั ทีง่ านออกแบบกระจัดกระจายมากมายอยูท่ วั่ ทุกหนทุกแห่ง งานดีไซน์ของคุณ จะโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างไร ยิ่งคิดถึงงานแฟร์ใหญ่ๆ อย่าง Milan Fair แล้วล่ะก็ งาน ของดีไซเนอร์หลายคนแทบจะจมหายไปกับตาเลยทีเดียว แต่กม็ นี กั ออกแบบรุน่ ใหม่ทมี่ วี ธิ ี คิดและมุมมองที่ชัดเจนคู่หนึ่ง ที่ใช้พลังแห่งการออกแบบผลักดันผลงานของพวกเขา ขึ้นมาให้โลกแห่งวงการออกแบบได้เห็นและยอมรับ เขาทั้งสองไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมาก ไม่มีคอนเน็คชั่นกับคนดังอะไร ไม่ได้มีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ แต่เขามีงานที่ชัดเจนจาก แนวคิดที่ชัดเจน “เดชา อรรจนานันท์” และ “พลอยพรรณ ธีรชัย” กับชื่อที่วงการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ทั่วโลกกำ�ลังสนใจ Thinkk Studio 084


085


เรียนจบที่ไหนครับ และเริ่มทำ�งานอะไรครับ

ส่งไปประมาณ 30 งานมัง้ เข้ารอบ 3 ชิน้ และได้รางวัล ที่ 2 ร่วมกับคนสิงค์โปร์ ปีนั้นไม่มีที่หนึ่ง คือได้ที่สอง ทั้งคู่เป็นเก้าอี้ชื่อ Scrap Facet ตอนนั้นเราสองคน ก็เริ่มได้ประสบการณ์การทำ�โปรดั​ักส์มากขึ้น และก็เริ่ม ชอบการทำ�โปรดักส์มากขึ้น มันต่างกับการทำ�ออกแบบ ภายในเหมือนกันนะ อย่างทำ�ออกแบบภายในลูกค้า เขาก็จะมีโจทย์ให้เรา เราก็จะสนุกกับการตีโจทย์แต่ ทำ�โปรดักส์มันมาจากตัวเราเอง เหมือนเรากำ�ลังทำ� ของที่เราอยากใช้อยากได้ เลยคิดว่าจะไปหาความรู้ เพิ่มก็เลยไปเรียนต่อ

Thinkk : จบอินทีเรียดีไซน์ ที่ลาดกระบัง แล้วเริ่ม ทำ�งานบริษัทออกแบบภายในก่อน ตอนนั้นบริษัท ทีท่ �ำ จะทำ�ทัง้ ออกแบบภายใน ผลิต นำ�เข้าส่งออก เฟอร์นิเจอร์ด้วย แล้วมีการสั่งของ สั่งเฟอร์นิเจอร์ เราก็สังเกตว่าของที่เราชอบมันค่อนข้างแพงเป็น ของจากเมืองนอก บวกกับเราก็เห็นโรงงานบ้านเรา รับผลิตตามแบบของต่างชาติ ก็รู้สึกว่ามีโอกาสที่ เราจะออกแบบงานให้ผู้ผลิตในเมืองไทย แทนที่เรา จะต้องคอยแต่ใช้ของจากเมืองนอก ถ้าเราออกแบบ ให้มันดีและใช้ผู้ผลิตในบ้านเรา เราน่าจะได้ของดีที่ ราคาไม่แพงเกินไป หลังจากนั้นทำ�งานได้สักพักก็ อีกคนไปโรซาน สวิสเซอร์แลนด์ อีกคนไปสวีเดน ทำ�ไม เลยไปลงเรียนเวิร์คช็อป ไม่เรียนที่เดียวกันล่ะครับ เดชา : ทีไ่ ปคนละทีเ่ พราะอยากได้ประสบการณ์ทต่ี า่ งกัน ไปเวิร์คช็อปเรื่องอะไรบ้าง เราคิดไว้แล้วล่ะว่า ยังไงก็จะกลับมาทำ�งานด้วยกัน Thinkk : ก็เรื่องโปรดักส์ เฟอร์นิเจอร์ ช่วงนั้นก็ งั้นแยกกันไปเรียนดีกว่าจะได้เอาความรู้ของแต่ละคน ออกจากงานกันมาแล้ว รับฟรีแลนซ์งานออกแบบ มาแชร์กันได้ ผมไปเรียนที่ ECAL เพราะชอบบุคลากร ภายในก็เริ่มเป็น Thinkk Studio แล้ว แต่จะทำ� อาจารย์ของที่นั่น ผลงานของนักเรียนที่นั่น คอร์สทีผ่ ม พวกออกแบบภายในก่อน เรื่องเวิร์คช็อปอันแรกที่ เรียนชือ่ MAS - Luxury เป็น Luxury Design แต่ไม่ใช่ เราไปเรียนคือของกรมส่งเสริมการส่งออก ตอนนั้น พวกงานหลุยส์อะไรแบบนั้นนะ เพียงแต่บริษัทที่มา เขาจัดเวิรค์ ช็อปให้นกั ออกแบบหน้าใหม่เข้ามาจับมือ ให้โจทย์เขาเป็น Luxury Brand พวกที่เขาทำ�นาฬิกา กับผูป้ ระกอบการ เขาก็ให้ผสู้ มัครทุกคนทำ�โปรดักส์ ทำ�คริสตัล เครื่องเงิน แต่งานที่เราออกแบบก็สามารถ ขึน้ มาและให้ผปู้ ระกอบการมาเลือก ของผมตอนนัน้ ทำ�อะไรสนุกๆ ได้ ทำ�เตียงอาบแดดก็มีทางบริษัท Plato เลือกไป พลอย : ของพลอยเรียนที่ Konstfack เป็นคอร์สชื่อ ส่วนของพลอยทำ�เก้าอี้ก็มีบริษัท OK Wood InSpace Interior Architecture & Furniture Design เลือกไป มันก็ดเี พราะทำ�ให้เราได้รจู้ กั ได้คอนเน็คชัน่ คือพลอยว่าไหนๆ เราก็จบมาทางสถาปัตกรรม ออกแบบ กับผูผ้ ลิต ก็ท�ำ งานกันต่อมาเรือ่ ยๆ และช่วงนัน้ เรา ภายในแล้ว เราก็เลยอยากไปเน้นที่เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ ก็เรียนประกวดแบบตามเวทีต่างๆ ด้วย ตัวเตียง และพลอยก็ชอบเฟอร์นิเจอร์สไตล์สแกนดิเนเวียนอยู่แล้ว อาบแดดก็ได้รางวัลของทาง Elle Decoration แบบนิ่งๆ สวย ชอบวัสดุเรียบง่าย อยู่แล้ว เมื่อก่อน Thailand และที่เด่นๆ ก็มีงาน FDA Honorable เราสองคนชอบซื้อของเก่า ส่วนมากก็จะเป็นสไตล์ Mention Young Deginers 2010 ที่สิงค์โปร์ เรโทรสแกนดิเนเวียนดีไซน์ อยู่แล้ว เลยเลือกเรียนที่นี่ 086


087


088


ถามถึงบรรยากาศตอนไปเรียนที่โน่นหน่อยครับ การเรียนการสอนของเขากับบ้านเรา บรรยากาศ ในการออกแบบ

จริงๆ เป็นคนให้โจทย์อย่าง Baccarat ที่ทำ�คริสตัล

พลอย : ต่างกันเยอะมาก ตอนเราเรียนเมืองไทย เรา จะคิดแค่รูปทรงภายนอกหรือแบบจับเอาอัตลักษณ์ ไทยหรืออะไรสักอย่างมาจับใส่เป็นของสิง่ หนึง่ แต่จริงๆ มันมีอะไรที่ลึกกว่านั้นมากเลย อย่างที่พลอยไปเรียน จะเน้นเรื่องงาน Craft งานมือ ก็เริ่มด้วยการปรับพื้น ศึกษาการทำ�ช็อปแบบต่างๆ คือที่นั่นทั้งผู้หญิงผู้ชาย จะเท่ากัน ผู้หญิงเลื่อยไม้ทำ�งานเหล็กได้เหมือน ผูช้ าย ส่วนเรือ่ งเรียนเขาก็จะเน้นเรือ่ งแนวคิด เน้นทีม่ า ของความคิด มันไม่ใช่แค่ได้แนวคิดแล้วมาจับฟอร์ม แล้วจบ และคนทีเ่ รียนด้วยบางคนก็ชอบเรือ่ งปรัชญาก็ ต้องค้นคว้าเยอะ พองานทีเ่ สร็จออกมาบางทีอาจจะดู เรียบง่าย แต่เขาตอบได้หมดทุกคำ�ถามเลย มีเหตุผล ให้หมด เส้นตรงนีค้ อื ะไร ฟังก์ชน่ั นีม้ ไี ว้เพือ่ อะไรตอบ ได้หมด และทีน่ น่ั ก็จะจัดงานนิทรรศการด้วย ก็จะ เรียบง่ายไม่ได้เป็นอีเว้นท์ลงสือ่ ใหญ่โต แต่คนก็มาดูนะ ถ้าเป็นบ้านเราเอาโต๊ะเก้าอีม้ าตัง้ ยิง่ เป็นผลงานของคน ทีไ่ ม่รจู้ กั ใครเขาจะมาดู เรือ่ งวงการออกแบบเหมือนที่ โน่นเขาจะชืน่ ชมตัวผลงานมากกว่าตัวศิลปิน ไม่ตอ้ ง แต่งตัวเป็นเซเลบเพือ่ จะดัง เขาวัดทีผ่ ลงานมากกว่า เดชา : ช่วงแรกๆ ผมก็เหมือนกันคือปรับพืน้ ฐานใหม่ หมดเลยสามอาทิตย์ การทำ�ช็อป การใช้เครือ่ งจักร อีกแขนงคือเรียนทฤษฎีว่างานออกแบบที่ดีควรมี องค์ประกอบอย่างไร ความดึงดูดความสนใจของ คน การตอบสนองการใช้งาน อีกอย่างที่ผมได้ ประสบการณ์คือในแต่ละโปรเจกต์เขาจะดึงดีไซเนอร์ มืออาชีพดังๆ มาเป็น Leader พัฒนางานของเรา มาให้ค�ำ ปรึกษา และแต่ละโปรเจกต์ก็จะมีแบรนด์

แล้วบรรยากาศในเมืองที่ไปเป็นไงบ้าง

เดชา : เมืองที่ผมไปจะเงียบๆ ครับ หกโมงทุ่มนึง ก็เงียบแล้ว ช่างแรกๆ ก็ไม่ชินหรอกครับ ก็ต้องจัด เวลาดีๆ ไม่ได้เที่ยว ก็ดีครับก็โฟกัสกับงาน อยู่ กับที่เรียนที่เวิร์คช็อป นั่งคัดไม้ นั่งทำ�โน่นทำ�นี้ไป บรรยากาศก็จะเงียบทำ�ให้เรามีสมาธิ ปกติผมจะชอบ ทำ�งานตอนเช้ามืดนะ เพราะอยู่ที่เรียนทำ�งานหนักก็ จะเหนื่อยกลับมาก็พักผ่อน ตื่นมาทำ�ตอนเช้ามืดเป็น ช่วงเวลาที่คิดงานดีที่สุด พลอย : ของพลอยจะคึกคักกว่า ในคลาสหนึ่งก็มี เพื่อนๆ เยอะหลายเชื้อชาติ คนเอเชียก็เยอะทั้งไทย จีน เกาหลี ได้ไปเรียนรู้วิธีคิดของคนหลากหลาย ประเทศก็สนุกดีและทีพ่ ลอยเรียนเขาจะเน้นเรือ่ งการ Discut กัน จะให้แต่ละคนแชร์ความคิดกัน ก็ได้เรียนรู้ ความคิดคนอืน่ ว่าคิดกับงานเรายังไง ก็ได้รบั ฟังมากขึน้ ได้มมุ มองใหม่ๆ เยอะขึ้น ทำ�ให้เราคิดกับงานมากขึ้น ไปด้วย เมื่อก่อนอาจจะจบงานเร็ว แต่เดี๋ยวนี้ก็จะคิด กับมันมากขึ้นละเอียดขึ้น เพราะบางทีถ้าเป็นคนไทย จะไม่ชอบให้คนคอนเม้นต์งานเท่าไหร่ เพื่อนที่โน่นเขาพูดถึงงานเรายังไงบ้าง

พลอย : เขาชมว่าการทำ�งานเรามีประสิทธิภาพ อาจ เป็นเพราะเราเคยทำ�งานจริงมาก่อน บริหารจัดการ งานต่างๆ ได้ เพราะพลอยก็มีเพื่อนแบบอาร์ติสมาก นั่งคิดคอนเซ็ปต์นานมากจนไม่มีเวลาทำ�งานก็มี เดชา : อย่างของผมเพื่อนๆ จะรู้ว่าผมจะเป็นคน แบบ ทำ�งานหนัก อยูใ่ นช็อปนีน่ ง่ั ทำ�งานตลอด เขาก็จะ คอยดูว่าเราจะเตรียมอะไรมาคุยกับอาจารย์

089


090


ถามถึงงานตอนเรียนของทั้งคู่หน่อย เห็นว่าป๊อปมาก

เดชา : ของผมของเป็นแจกัน Weight Vases ครับ ที่นั่นจะมีเว็บบล็อกต่างๆ ที่พวกนักออกแบบเข้าไปดู ตอนเรียนจบของผมเขาจะมีนทิ รรศการ ก็เอาไปโปรโมท ในเว็บบล็อก แล้วปรากฎว่า Weight Vases ได้รับ ความสนใจมาก มีบริษัทเข้ามาขอซื้อ 3 บริษัท เป็น บริษัทจากอเมริกา จากฝรั่งเศสและอิตาลี สุดท้าย ตกลงกันที่บริษัทของฝรั่งเศสชื่อ Specimen Editions แจกันตัวนี่ก็ถือว่าเป็นงานแรกๆ ของ Thinkk studio เลยที่คนจะรู้จักงานเรา พลอย : กดดันเหมือนกัน เพราะพลอยเรียนสองปี จะจบช้ากว่าเดและ Weight Vases ของเดเขาก็ทำ� ไว้ดีด้วยมีบริษัทมาซื้อ งานจบพลอยทำ�โคมไฟชื่อ CONST Lamp คือทางยุโรปเขาจะมีงาน Milan Fair เป็นงานที่แฟร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พวกโรงเรียนออกแบบ ดังๆ แบรนด์ต่างๆ ดีไซเนอร์ต่างๆ ทั่วโลกก็จะไป ออกบูธ ปีนั้นของพลอยก็ได้รับเลือกไปในแกลเลอรีที่ ดังมากในยุโรปเรือ่ งการออกแบบชือ่ Rossana Orlandi ปรากฎว่าคนชอบมาก เดชา : สือ่ เขาเขียนว่าเป็น Best of Milan ในปีนน้ั เลย พลอย : งานก็ได้ลงสือ่ เยอะ ดีใจมาก เพราะใน Milan Fair เป็นงานใหญ่มีงานดีไซนเยอะมาก ก็คิดว่าเป็น เรื่องที่สุดยอดมากๆ ตอนนั้นก็ลงไปในนาม Thinkk Studio นะ และไม่ใช่ว่างานเราไปโชว์ที่นั่นแล้วมันจะ ดังเสมอไปนะ ที่ไปโชว์แล้วเงียบไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เยอะ ซึ่งจุดนี้เนี่ยมันต่างจากบ้านเรามาก คือเราเป็นแค่นัก เรียนโนเนมไม่มีใครรู้จัก แต่สื่อเมืองนอกเขาดูที่ผลงาน เรามากกว่า อย่างในบ้านเราถ้าเราไม่มีชื่อเสียงเขาก็ไม่ สน ไม่เอามาลงดีกว่า ต้องรอให้สื่อเมืองนอกสื่ออื่นๆ ลงก่อนแล้วค่อยเอามาลง 091


092


งั้นถามถึงคอนเซ็ปต์ของผลงานแจ้งเกิดสองตัวนี้หน่อยครับ

เดชา : เริม่ จากผมมองว่าแจกันมันมีมานานมากแล้ว มันมีแจกันเป็นพัน เป็นหมื่นดีไซน์ แต่ทฤษฎีของมันก็ง่ายๆ เลยคือ แจกันนั้นประกอบ ด้วยส่วนที่สำ�คัญสองส่วนคือฐานที่ไว้ใส่น้ำ� กับปากที่ไว้ประคองดอกไม้ และผมมองว่าแจกันทุกใบในโลกยังไม่เคยแยกสองสิ่งนี้ออกจากกัน ผม ก็คิดว่าถ้าสองอย่างนี้มันแยกออกจากกัน มันน่าจะเกิดอะไรใหม่ๆ อย่างเช่น ส่วนทีป่ ระคองดอกไม้กไ็ ม่จ�ำ เป็นทีจ่ ะต้องเป็นวัสดุทท่ี นน้�ำ ก็ได้ เพราะไม่ได้สัมผัสกับน้ำ� แต่ตัวนี้มันก็พัฒนามาหลายแบบครับ ทั้งวัสดุ วิธี ขนาดต่างๆ การใช้งานต่างๆ กว่าจะออกมาเป็นแบบนี้ ส่วนที่ยาก ก็น่าจะเป็นเรื่องการหล่อตัวฐานเพราะผมไม่มีประสบการณ์เท่าไหร่ ตอน เวิร์คช็อปก็มีอาจารย์และกลุ่มเพื่อนมาคอมเม้นต์ด้วย พลอย : คำ�ว่า CONST มันมาจาก Construction แต่ถ้าในสวีเดน CONST ที่เขียนด้วยตัว K นำ�หน้าจะแปลว่า Art ตัวนี้จะนานช่วงหา ไอเดีย คิดอยู่นานเลยจนไปได้คอนเซ็ปต์ที่ “การเล่น” พลอยว่าการเล่น มันเป็นเรื่องของความทรงจำ�ที่ทุกคนมี และถ้าเราทำ�ของที่สามารถให้ 093


094


095


คนใช้นึกถึงความทรงจำ�ตรงนั้นได้ก็น่าจะดี จริงๆ การเล่นมันมีเยอะมากและที่พลอยคิดมันมาจาก Building Box ซึ่งจะเอามาเชื่อมโยงกับความเป็นโคม ไฟ อย่างฟอร์มหกเหลี่ยมที่เอามาใช้ในการเปลี่ยน องศาของโคมไฟที่ให้คนที่ใช้ได้มีสัมผัสกับของที่เขา ต้องยกขึ้นหมุน มันเหมือนเล่นของเล่น มันเป็นไอ เดียง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ตัวล็อคหรืออะไรยากๆ ใน การปรับ ส่วนตรงหินอ่อนที่เอามาใช้ก็ให้ความรู้สึก ในการกดทับกับหกเหลี่ยม คนก็ชอบเพราะมันดู ขัดแย้งกันดี ทำ�ให้ของดูหรูหราขึ้นด้วยไม่เหมือน พวกปูน ภาพลักษณ์ของมันทีด่ นู า่ รัก บางคนก็นึกถึง รถตักดิน คนชอบกันเยอะ อย่างงาน 2 ตัวนี้ออก ไป มีคนเอาไปพัฒนากันเยอะ เป็นอินสปายเราไป เห็นก็ดีใจ เพราะก็ชอบงานที่ให้แรงบันดาลใจกับเรา เราก็อยากให้งานของเราให้แรงบันดาลใจคนอื่นด้วย ไม่ได้เรียนโปรดักส์ดีไซน์มาโดยตรง แต่งานกลับไปได้ ไกลขนาดนี้ คิดว่าเพราะอะไร

ออกมาเป็นดีไซน์อะไรแบบนั้น แต่ในตอนนี้ เราจะ คิดเรื่องพฤติกรรมของคน เหมือนเก้าอี้ของเราที่ชื่อ Armchair ซึ่งเราศึกษาจากวิธีการนั่งของคน ของ เก้าอี้แต่ละแบบ นั่งแบบไหนเครียดจริงจัง นั่งแบบ ไหนสบาย นั่งคุยกับเพื่อน การวางแขนและมือของ คนนั่ง ก็นำ�สิ่งเหล่านี้มาเป็นแนวคิด อีกอย่างเรา ต้องทำ�งานตามโจทย์ดว้ ย อย่างวันนีต้ อ้ งออกแบบโต๊ะ เราก็มานั่งคิดหาไอเดียจากสิ่งนั้นๆ แล้วอย่างตัวที่ทำ�กับ COTTO ล่ะครับ

Thinkk : อันนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง คือ COTTO ก็ทำ� เกี่ยวกับเรื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องและตอนนั้นเราก็คิด คำ�ว่า “Another Perspective” การมองห้องน้ำ�ใน อีกมุมมองหนึ่ง เราก็มานั่งดูรายละเอียดต่างๆ เช่น พฤติกรรมของคนที่ใช้ห้องน้ำ�มีอะไรบ้าง อะไรที่มีอยู่ แล้ว อะไรที่ขาด แล้วเราค่อยกำ�หนดขึ้นมาว่าเราจะ ทำ�อะไร และที่ทำ�ออกมาชื่อ Lavanity มันมาจาก คำ�ว่า Lavatory ที่แปลว่าห้องน้ำ� บวกกับ Vanity ที่แปลว่าโต๊ะแต่งหน้า ก็เป็นการรวมฟังก์ชันการใช้ งานของพื้นที่การแต่งหน้าแต่งตัวกับห้องน้ำ� ที่จริงก็ เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำ�วัน อยู่ในพฤติกรรมของคน อยู่แล้ว อย่างออกจากห้องน้ำ�มาแต่งหน้า แต่งหน้า เสร็จกลับไปล้างมือหรือแปรงในห้องน้ำ� เราก็บวก สองพื้นที่นี้เข้าด้วยกัน

Thinkk : จริงๆ ก็ตอบยาก เราก็ไม่ได้ตั้งความหวัง ให้งานเราดังแค่ไหนนะ แต่เราพยายามที่จะโฟกัสกับ งาน ตั้งใจกับเนื้องานจริงๆ มากกว่า ตอนไปเรียน ต่อก็คาดหวังอ่ะนะว่าจะต้องได้อะไรบ้าง ก็ไม่ได้หวัง จะดังหรืออะไรมาก แต่ก็แอบน้อยใจนะเพราะรู้สึกว่า อยู่เมืองไทยเราก็โฟกัสกับงานนะ ตั้งใจมาก แต่มันก็ เงียบไม่เกิดอะไร พอเราเริ่มเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ กลับมานี่ หน้ามือเป็นหลังมือเลย โชว์ใน Milan Design Week 2013 ด้วย Thinkk : จริงๆ การเตรียมก่อนไปกระชั้นมาก ทั้ง แนวคิดของ Thinkk Studio การคุยงาน เตรียมการต่างๆ แต่เราก็พยายามทำ�ให้ Thinkk : เมือ่ ก่อน คือก่อนทีเ่ ราจะไปเรียน เราจะคิด ดีที่สุด และในปีก่อนที่เราเคยไปชมงาน Milan Fair อีกแบบหน่ึง เช่น มีดอกไม้ดอกหนึ่งมาบวกกับโต๊ะ ของชิ้นไหนเด็ดๆ ในปีนั้นจะมีนิตยสาร Wallpaper 096


097


098


ของอังกฤษมาเลือกไปถ่ายลงหนังสือ เขาจะเอาไป ถ่ายที่สตูดิโอที่เขาเซ็ตไว้นอกเมือง ปีก่อนๆ ก็เคยมี ของเพื่อนๆ ถูกเลือกไปถ่ายลงบ้าง เราก็แอบหวังบ้าง แต่ก็ไม่มากเพราะของเราชิ้นใหญ่ น่าจะขนย้ายอะไร ลำ�บาก เลยคิดว่าคงไม่ได้ถูกเลือกหรอก อีกอย่าง กลุ่มของเรายังใหม่มาก ตัวเล็กมากคนไม่รู้จักเท่าไหร่ แต่พอเปิดงานก็มคี นมาดูเยอะมาก คนให้การสนใจเยอะ แล้วมีคนมาจดๆ จ้องๆ ดูของเราละเอียดเลย เราว่า ต้องเป็นนักศึกษาแน่ เขาก็ยน่ื นามบัตรให้วา่ เป็นสไตลิสต์ ของ Wallpaper UK ขอเอาของเราไปถ่ายก็ดีใจมาก งานในแฟร์มีเป็นแสนชิ้น ถูกเลือกไปไม่ถึงร้อยชิ้นนี่เรา ว่าก็เด็ดแล้วนะ ดูงานของ Thinkk studio ค่อนข้างจะเรียบ นิ่ง ขอถามถึงความชอบในสไตล์แบบนี้หน่อย

Thinkk : เราชอบงานที่มันไม่หลอก ชอบวัสดุจริงๆ ของมัน เราจะไม่ชอบอะไรทีเ่ กินความจำ�เป็น การประดับ ตกแต่งอะไรต่างก็จะมีเหตุผลรองรับ ตอบสนองการ ใช้งานที่เราใช้งานได้ก็พอ ไม่ต้องเยอะ เราเป็นสตูดิโอ ออกแบบ ถ้าคนมาอยากให้ออกแบบไฟฉายเราก็ท�ำ ได้นะ เราไม่ได้ลิมิตตัวเอง เวลาเรามีไอเดียอะไรขึ้นมาก็ทำ� เป็นตัวต้นแบบไว้ บริษัทไหนมาเห็นแล้วชอบเขาก็มา ติดต่อไปผลิต หรือเห็นแบบที่เป็นโคมไฟเราแล้วชอบ มาออกแบบโคมไฟให้หน่อยอะไรแบบนี้ และในวงการ ออกแบบมันก็จะมีงานแฟร์ตา่ งๆ ทัง้ ในและต่างประเทศ มันก็เป็นหน้าทีข่ องเรา ทีจ่ ะต้องออกคอลเล็กชัน่ ใหม่ๆ มาโชว์ในแฟร์ต่างๆ ด้วย

ถ้ามันมีกอ็ อกมาจากตัวเราเอง ไม่ได้ตง้ั ใจขนาดนัน้ ง่ายๆ อย่างคนไทยเราก็อาจจะมีความสนุก ขี้เล่น มันก็ออกไปในตัวงานของเรา บางคนเห็นตัวแจกัน Weight Vases แล้วบอกว่าเหมือนปิ่นโตก็มี แต่ เราไม่ได้คิดมาจากอะไรแบบนั้นเลย บางทีคนจีน ก็มาบอกว่าเหมือนงานจีน เราก็งงๆ (หัวเราะ) จริงๆ เราทำ�ของที่คนอยากได้อยากใช้มากกว่าที่ จะมาคิดว่าเป็นประเทศไหนชาติอะไรนะ งานออกแบบในบ้านเราเป็นไงบ้าง

Thinkk : คึกคักขึ้นนะ เด็กรุ่นใหม่ก็เก่งขึ้น ภาพรวมการออกแบบโอเค แต่เรื่องตลาดรวมๆ ยังคล้ายจีนอยู่ คือวัดกันที่ราคา หน้าตาคล้ายๆ ของนอกอะไรแบบนั้น อาจจะยากหน่อย เพราะ คนทั่วไปจะมองที่วัสดุมากกว่าวิธีคิด ประเมินว่า อันนี้เท่าไหร่ ใช้ไม้ ใช้เหล็ก ใช้นี่นั่นรวมกันไม่น่า จะแพง เขาไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องการคิดการ ออกแบบ มันเป็นเรื่องยากเหมือนกัน ถ้าเราไม่ เรียนทางนีม้ าเราก็อาจจะคิดแบบนัน้ ก็ได้ อย่างคน สมัยนี้ให้ซื้อของแต่งตัวกับแต่งบ้าน คนก็จะไปซื้อ ของแต่งตัวหรือซื้อรถมากกว่า พูดถึงสื่อในเรื่องการออกแบบของบ้านเรากับต่าง ประเทศหน่อยครับ

Thinkk : หลายสื่อก็ดีนะ แต่บางสื่อในบ้านเราก็ยัง ไม่มีความมั่นใจพอ คือต้องให้สื่อเมืองนอกลงก่อน แล้วค่อยมาลงตาม อย่างงานที่เราเห็นของคนอื่น ที่งานดีๆ เขาก็อยู่ในมุมเล็กๆ ของเขาไม่มีสื่อ ไปเรียนต่างประเทศ โชว์งานในแฟร์ตา่ งประเทศมาก็เยอะ ให้ความสำ�คัญเท่าที่ควร ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย คิดว่างาน Thinkk studio มีความเป็นเอเชียบ้างไหม สื่อเมืองนอกเขาเชื่อสายตาตัวเอง อย่างตัวโคมไฟ Thinkk : หลายคนก็บอกว่ามีนะ แต่เราไม่ได้จับยัด ล่าสุดเนี่ย (CementWood lamp) ปีที่แล้วเราไป 099


ทำ�เป็นต้นแบบให้หนังสือ Wallpaper Handmake แล้วเขามาเห็นก็ติดต่อมาว่าอยากจะผลิต และเขาก็ ไม่ได้เลือกเราทุกงาน บางงานเขาก็ไม่สนใจนะ เขา ดูที่ตัวงานจริงๆ มันอยู่ที่วิสัยทัศน์ของคนที่เลือก ในบ้านเรามีงานแฟร์ออกบูธเยอะ แต่ไม่ค่อยมีเป็น นิทรรศการออกแบบเท่าไหร่ คิดว่ายังไง

Thinkk : ยังน้อยจริงๆ ถ้าเทียบกับเมืองนอก อาจ เป็นเพราะนักออกแบบไทยยังรวมตัวกันไม่ได้ ยังแบ่ง เป็นกลุ่มๆ กันอยู่มันเลยไม่มีพลังพอที่จะสร้างเป็น Exibition ดีๆ ให้แข็งแรงได้อย่าง Bangkok Design Week แบบเนี้ย ทำ�ไมถึงไม่มีแปลกมาก ทั้งๆ ที่ นักออกแบบบ้านเราเยอะมาก เก่งๆ ก็เยอะ อยาก ให้มีนะ มีโอกาสใครมาชวนทำ�ก็อยากทำ�

เดี๋ยวนี้ก็ละเอียดกว่าเดิม เริ่มมองเป็นเซนติเมตร เป็นมิลลิเมตร คิดถึงรายละเอียดเยอะขึ้น เรื่อง ออกแบบภายในก็มีผลกับงานโปรดักส์เหมือนกัน อย่างเราออกแบบของมาชิ้นหนึ่ง เราก็จะคิดออก ว่ามันควรตัง้ ตรงไหน ในบรรยากาศแบบไหน มัน ก็ส่งผลดีต่อกันและกันนะ นักออกแบบที่ชื่นชอบตอนนี้ครับ

Thinkk : ชอบงานฝรั่งเศส แล้วก็สแกนดิเนเวียน ถ้าเป็นตัวนักออกแบบเลยก็ Ronan and Erwan Bouroullec เขาเป็นพีน่ อ้ งสองคน งานเขาไม่อาร์ต มาก เน้นทำ�งานกับผู้ผลิตมากกว่า และงานเขา จะได้มาตรฐานตลอดไม่ขึ้นๆ ลงๆ งานออกแบบที่ดีควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

Thinkk : ผมว่ามันน่าจะตอบสนองความต้องการ Thinkk : ชอบเดินทางนะ ถ่ายรูป ไปนั่งร้านกาแฟ ของคนใช้ ตอบสนองในระบบการผลิตของผู้ผลิต สวยๆ ดูร้านขายของน่ารักๆ ดูตึกรามบ้านช่อง ดู และมันต้องถ่ายทอดความคิดของเราได้ด้วย อีก ชีวิตคน แต่ตอนนี้ในกรุงเทพฯ ก็ดีขึ้นมากเลยนะ อย่างนักออกแบบไทยชอบคิดว่าไปเรียนเมืองนอก เดี๋ยวนี้มีร้านน่ารักร้านดีๆ สวยๆ มากขึ้น โชคดีที่ กลับมาแล้วจะดัง มีชอ่ื เสียง มันไม่ใช่นะ แม้กระทัง่ งานเราเป็นแบบนี้ด้วย ออกแบบภายในเราก็ได้ไป ฝรั่งเองที่อยู่เมืองนอกเขาก็ลำ�บากนะ บางคนเป็น เทีย่ วต่างจังหวัด ไปเทีย่ วรีสอร์ต เทีย่ วเกาะ กลับมา ดีไซเนอร์เพราะใจรักเลยนะ อาชีพหลักเป็นพนักงาน ทำ�งานโปรดักส์ก็ได้ไปงานแฟร์ต่างประเทศบ้างไป เสิรฟ์ มันไม่งา่ ย คนทีจ่ บมาเป็นหมืน่ เป็นแสน ทีจ่ ะ พวกยุโรป เหลือมาทำ�เป็นอาชีพจริงๆ หรือมีบริษัทเลือกงาน ไปผลิตนีน่ อ้ ยมากเป็นหลักสิบ เลยอยากให้ดไี ซเนอร์ วิธีคิดงานออกแบบภายในกับงานโปรดักส์มันมีส่วน โฟกัสที่ผลงานที่สุด เมืองนอกมันเป็นแค่ที่ที่เราจะ ไปศึกษาดูว่าเขาทำ�งานยังไง มีฟีตแบ็กกับงานเรา ช่วยกันบ้างมั้ย Thinkk : มีนะ อย่างเมื่อก่อนเราทำ�งานออกแบบ ยังไง แต่ไม่ได้เป็นที่ชุบตัว อยู่ที่งานของตัวเอง ภายใน เราก็มองภาพรวม คิดเป็นสเกลใหญ่เป็นเมตร ล้วนๆ อยู่ที่บ้านเราก็เกิดได้ถ้างานคุณดีจริงๆ Lifestyle ของทั้งคู่ครับ

0100 100


0101


0102


www.thinkk-studio.com

0103


0104


0105


SEE YOU SOON

0106


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.