02
03
04
NAMSAI SUPAVONG
MICHAEL ZANDER
PIMM TEASPOON STUDIO
05
06
07
08
Illustration of the crisis โดยศิลปิน นที อุตฤทธิ์
จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2556 ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำ�ไท พิธีเปิดวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.00 น.
09
010
011
EDITOR TALK เริ่มด้วยการขออภัยในความล่าช้าครับ เดือนนี้ผจญกับปัญหานานับประการ จริงๆ ครับ อะแฮ่ม...เข้าเรื่องเลยดีกว่า เปิด PIE เล่มห้ามาแล้ว หลายคนคง เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เนื่องจากทางนิตยสารของเราตั้งใจทำ�หนังสือ แนวส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ทุกคนได้อ่านกันแบบฟรีๆ และมุ่งมั่นที่จะทำ� หนังสือในสไตล์ที่แตกต่างออกไป จึงเป็นการยากครับ ที่จะหาผู้สนับสนุนที่ตรง กับเรา (หรือไม่ตั้งใจหาเองก็ไม่รู้) คนเราจะอยู่รอดได้ก็ต้องมีเรื่องเงินๆ ทองๆ มากอดเกี่ยวให้อุ่นใจ ใช่ไหมครับ ด้วยประการฉะนี้ หนังสือ PIE จะปรับรูปแบบ การออกหนังสือเป็นรายสะดวก สะดวกในที่นี้คือ สะดวกตัว สะดวกใจ และสะดวก กระเป๋า 55 ซึ่งทางนิตยสารของเราจะพยายามไม่ให้ผู้อ่านทุกท่านรอนานเกิน ไปนะครับ น่าจะสักเดือนครึ่ง สองเดือน อะไรแบบนี้ ส่วนรูปแบบเนื้อหาเราจะ ตัดส่วน UPDATE ออก ให้เหลือเป็นเรื่องราวของแรงบันดาลใจแบบเน้นๆ ไป เลย ก็มเี หตุผลง่ายๆ ว่าถ้าไม่ออกประจำ�คงจะอัพเดตเรือ่ งราวต่างๆ ลำ�บาก และ ผู้อ่านทุกท่านคงมีส่ืออัพเดตส่วนตัวกันอยู่แล้ว สรุปง่ายๆ ว่าทางเรายังมุ่งมั่น ตั้งใจทำ�นิตยสารที่ดีเพื่อผู้อ่านต่อไปนะครับ เพียงแต่จะขอเวลาไปรักษาเนื้อรักษา ตัวบ้างแค่น้ันเอง ขอให้สนุกกับแรงบันดาลใจดีๆ ในเล่มห้านี่ครับ ไว้พบกันใหม่ (อ๋อ...ขอบคุณทุกท่านที่อุดหนุนเสื้อแมวเหมียวของ PIE และทุกท่านทุกสื่อที่ ให้กำ�ลังใจ และค่อยติดตาม PIE ครับ) สุรเชษฐ์ ศิลปบรรเลง คนทำ�พาย
012
SORRY FOR ANY INCONVENIENCE 013
014
CONTENTS RE-CAFE REFRESHING FEEL MALI MALI COFFEE AND BOOK CAFE VINEGAR SYNDROME “BOUNCE” PANA OBJECTS THINK ABOUT WOOD MITI RUANGKRITYA IMAGING IN FACT PHOTOGRAPHER SUPERMACHINE STUDIO HORMONES THE SERIES DIRECTOR ONLINE GALLERY
015
016
017
LOVE PLACE
RE-cafe refreshing FEEL
018
ในสังคมยุคพีอาร์เรียกหาลูกค้ากันวุน่ วายโหวกเหวกนี่ บางทีแค่หาทีจ่ บิ กาแฟนัง่ ชิลล์ให้สบายหูสบายตา ก็ยากเต็มทนครับ ถ้าชาวกรุงท่านไหนหาที่ลี้ภัยทางอารมณ์ไม่ได้ ผมขอแนะนำ� RE-cafe ร้านอาหาร และเครื่องดื่มแบบสบายๆ ที่ใกล้กับความหมายของสถานที่ลี้ภัยใจกลางกรุง ผมพบที่นี่จากการนัด สัมภาษณ์กับช่างภาพท่านหนึ่ง ซึ่งพอการสัมภาษณ์เสร็จสิ้นผมก็รีบตรงดิ่งไปคุยกับทางร้านทันที สถานที่มันดีขนาดนี้ ไม่ปล่อยให้หลุดมือแน่นอน 019
ตรงเข้ามาในซอยมหาดเล็ก 1 ผ่านโซนโรงแรมหลายดาวที่ตั้งเป็นทิวแถว เข้าตรอกเล็กตรงหน้าแล้วหันซ้ายไปก็เจอทันที บ้านล้อมรั้วขนาดพอเหมาะ พื้นที่ว่างก่อนเข้าในตัวร้าน สบายตา สบายใจด้วยร่มไม้ใหญ่ ไม้กระถาง ตกแต่งง่ายๆ สวนผักออร์แกนิคและโต๊ะเก้าอี้ประปรายไว้ช่วงห่างกันแบบ ส่วนตัว ข้างขวาของร้านเป็นต้นโพธิ์สูงใหญ่หนึ่งในต้นไม้ในโครงการ BIG TREE ที่ยืนเงียบให้ร่มเงาทั่วร้าน ตัวร้าน (เอ๊ะ หรือเรียกว่าบ้านจะดีกว่า) สองชั้นเล็กๆ ด้านล่างเป็นกระจกรอบโปร่งและสวยงาม ก่อนเข้าถอด รองเท้าด้วยนะ เขามีรองเท้าแตะให้เปลี่ยน นั่งรอไม่นานก็เห็นผู้ชายแต่ง ตัวสบายๆ ท่าทางสุขุมแต่ใจดีเข้ามาทัก นั้นคือพี่ต๋อย-สันติ โชติบัณทิต เจ้าของร้านก็มาพร้อมครอบครัวที่สละเวลามาให้เราพูดคุยกัน 020
021
022
Lemon Mint Honey
“ร้าน RE-cafe เปิดมาสองปีครึ่งครับ ผมทำ�งาน เป็นโปรดิวเซอร์โฆษณา แต่ทำ�งานไม่ค่อยได้อยู่ ออฟฟิศหรอก ชอบหาร้านกาแฟนั่งทำ�งานไปเรื่อย ก็เลยอยากจะมีที่เป็นของตัวเอง เวลานั่งร้านคนอื่น นานๆ มันเกรงใจ ที่ตรงนี้เป็นที่ของพ่อผมเขาซื้อ ไว้สัก 40 ปีแล้ว ตัวบ้านก็รักษาโครงไว้ ตกแต่ง ใหม่ ทาสีและติดกระจก” บรรยากาศบ้านเก่าก็ให้อารมณ์สุนทรีดี แต่สไตล์ที่ เห็นมีความเป็นญี่ปุ่นมากฟังพี่ต๋อยพูดเลยหายสงสัย “ผมไปเรียนที่ญี่ปุ่นตั้งแต่เด็กครับ อยู่ตอนแปดขวบ จนจบมัธยม ไปๆ กลับๆ แล้วไปทำ�งานที่อเมริกา แฟนผมก็เป็นคนญี่ปุ่นสอนภาษาญี่ปุ่นในเมืองไทย นานแล้ว ชอบบรรยากาศแบบนี้ เหมือนทำ�ร้านให้ ตัวเองนั่ง เปิดมาก็ไม่ได้ถึงขนาดมีคนมาต่อคิวนะ ก็เข้ามาเรื่อยๆ มากกว่า ชาวต่างชาติก็จะมานั่งกัน เยอะ เขาชอบบรรยากาศ คนที่ไม่ชอบก็จะไปร้าน สตาร์บคั ส์อะไรอย่างเนีย้ คนทีช่ อบอะไรชิลล์สบายๆ ก็จะมาที่นี่ บางทีมีลูกค้าที่เขาไม่อยากไปนั่งที่ โรงแรมเขาก็จะมานั่งที่นี่ ที่นี่สบายๆ ง่ายๆ นั่ง นานๆ ไม่โดนไล่ ก็มีคนมาคุยงานบ้าง ประชุม กันบ้าง พวกซูเปอร์ไวเซอร์ คนทำ�งานแบงค์ เอเจนซี่ หลากหลายเหมือนกัน”
เก้าอี้เบาะผ้านั่งสบายจิบกาแฟมองต้นไม้รอบๆ ผ่านกระจกบานกว้าง คนอื่นอาจจะมีสถานที่ สบายๆ แบบนีใ้ นใจเยอะแต่ผมไม่คอ่ ยมี ด้วยความ ที่ติดบ้านและไม่ใช่นักสำ�รวจเมืองเท่าไหร่ พี่ต๋อย พูดเรือ่ งร้านด้วยน้�ำ เสียงนุม่ สบายต่อว่า “บรรยากาศ รื่นรมณ์มันก็หายาก เพราะร้านส่วนใหญ่ก็จะอยู่ ติดถนน อยู่ในห้าง มันก็ดีสำ�หรับธุรกิจ คนผ่าน คนเห็นเยอะ แต่ผมชอบแบบนี้ ชอบต้นไม้บ้านนี้ มาก เป็นต้นโพธิ์ใหญ่มาก เวลามองเข้ามามันสูง กว่าบ้าน 3 เท่า มีตง้ั แต่กอ่ นผมเกิด โปรเจ็กต์บก๊ิ ทรี เขาก็มาถ่ายที่นี่ด้วย ส่วนของเล่นตุ๊กตาเป็นของ เพื่อนผมมาฝากขาย ก็วางเล่นๆ จะได้มีอะไรดู ส่วนใหญ่กส็ ไตล์ญป่ี นุ่ ” (เฮ้ย…ตูเ้ ย็นโดเรมอนน่ารักมาก)
ถามถึงเรื่องอาหาร ก็ต้องข้ามมาอีกคนคือ คุณปู ธวัลรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ ซึ่งเป็นญาติกับพี่ต๋อย มารับบทบาทดูแลร้านและอาหารในร้าน “คิดว่าปลูก เองดีกว่าเป็นผักออร์แกนิค ที่นำ�มาทำ�สลัด พี่ชอบ ทานสลัด อะไรที่พี่ทำ�ได้พี่ก็จะทำ� พวกขนมต่างๆ เพื่อนช่วยบ้าง ทำ�กันบ้าง ไปเรียนทำ�ขนมจากญี่ปุ่น ทีน่ ไ่ี ม่หว่ งของนะ บูลเบอร์รห่ี รืออะไรต่างๆ ใส่เต็มที่ น้ำ�สลัดก็เป็นสูตรญี่ปุ่นจากแฟนพี่ต๋อย ที่นี่ไม่ ใส่ผงชูรสนะ น้ำ�ส้มก็คั่นสด ปกติพี่เป็นชอบพวก อาหารสุขภาพอยู่แล้ว อยากให้คนได้ทานอาหารที่ คุยกันไปมองการตกแต่งในร้านไป ของเล่น หนังสือ ดีและอร่อย เมื่อก่อนจะขายแต่อาหารเช้า แต่ช่วง นิตยสารจับกลุ่มน่ารักน่าหยิบอยู่มุมข้างเคาเตอร์ หลังก็มีลูกค้าเรียกร้องมาว่าอยากให้มีอาหารช่วงอื่น เพดานไม้สีขาวรับกับชุดโต๊ะเก้าอี้สีไม้ๆ ได้ดีจริงๆ ด้วยก็มีเมนูกลางวันเพิ่มเข้ามาบ้าง” 023
Vegetarian Set + Orange Juice
พี่ปูพาเราเดินชมสวนผักเล็กหลังบ้าน และเล่าถึงลูกค้าที่มาร้านให้ผมฟัง “พี่ เคยทำ�งานประจำ�มาสิบปี เจอลูกค้า เจอ ความวุน่ วาย แต่เราชอบขีวติ แบบสโลว์ไลฟ์ นะ ร้านของเราอาจจะไม่ครบวงจรแบบ ร้านใหญ่ ก็คุยกับลูกค้าหลายคน เขา บอกว่าที่นี่เหมือนโอเอซิสกลางเมือง มัน เหมาะกับคนที่ชอบอะไรแบบนี้ ชอบอะไร ที่สบายๆ เรื่อยๆ ไม่วุ่นวาย”
024
Veggie Salad
025
BLT Sanwish
026
New York Cheesecake
หลังจากการพูดคุยสบายๆ อาหารตรงหน้าเราก็ค่อยๆ โดนกวาดไปจนหมดเกลี้ยง ผมออกมาจากตัวร้านนั่ง สูบบุหรี่ใต้เงาไม้กับกาแฟร้อนแก้วเล็กบนโต๊ะ เงยมอง ตึกสูงที่รายล้อมรอบด้าน ทั้งตึกธนาคารใหญ่ โรงแรม ห้าดาว ออฟฟิศหรู จริงๆ ผมก็เคยเห็นและเข้าออก ตึกเหล่านี้มาก็หลายครั้ง แต่ไม่เคยมองมันด้วยอารมณ์ สบายๆ แบบนี้ คงเพราะวันนี้ผมมองตึกเหล่านี้จาก โอเอซิสกลางเมืองก็ได้ บางทีเราก็ไม่ได้เข้าร้านกาแฟ หรือร้านอาหารเพื่อจะกำ�จัดความหิวอย่างเดียวหรอก ใช่ไหมครับ บางครั้งเราก็อยากกำ�จัดความวุ่นวายใน หัวของเรามากมาย ในสังคมยุคพีอาร์เรียกหาลูกค้ากัน วุ่นวายโหวกเหวกนี่ บางทีแค่หาที่จิบกาแฟนั่งชิลล์ให้ สบายหูสบายตา ก็ไม่ใช่เรื่องยากนี่นา 027
028
LOVE PLACE
Mali Mali Coffee and Book Cafe ด้วยใจรักในการอ่านของคนสองคน คุณนุ้ย - บงกชรัตน์ อัศวินวิภาต และ คุณเมธี อัศวินวิภาต ร้านหนังสือในชื่อน่ารัก “มะลิ มะลิ” จึงเกิดขึ้น หนึ่งใน ร้านหนังสืออิสระเล็กๆ ที่ยืนอยู่ในสังคมที่ความสนใจของผู้คนและสื่อทั้งหลาย วิ่งห่างออกจากวงการน้ำ�หมึกไปทุกที และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ทางร้าน “มะลิ มะลิ” ก็ได้เข้าร่วมโครงการสัปดาห์หนังสืออิสระ กับร้านหนังสือคุณภาพ อีกหลายร้านทั่วประเทศ มาฟังความคิด ความรัก ความอบอุ่น ที่คนทั้งสองและ ร้าน “มะลิ มะลิ” มีต่อหนังสือและการอ่านกันครับ
029
หลบจากฟ้าฝนที่ไม่ค่อยจะเป็นใจเข้าไปในร้าน นอกจากกลิ่นกาแฟเบาๆ แล้ว กลิ่นของความน่ารัก สบายๆ ที่ดูจะอบอวลอัดแน่นในร้าน ทั้งหนังสือ รูปภาพ บนกำ�แพง สติ๊กเกอร์และที่คั่นหนังสือ จนถึงของประดับตกแต่ง วันที่เราไปขอ รบกวนเวลาไปพูดคุยกับทางร้านเป็นวันธรรมดา หรือวันทำ�งาน คุณนุ้ยกล่าว กับเราว่าแฟนของเธอทำ�งานอาจไม่ว่างมานั่งคุยด้วย ไม่เป็นไร ยังไงเราก็เข้าใจ ว่าการทำ�หนังสืออิสระในบ้านเรา ทำ�งานประจำ�หารายได้เป็นเรื่องจำ�เป็น หลัง จากจัดที่ทางได้โต๊ะเล็กๆ พอนั่งคุย คุณนุ้ยก็เริ่มเล่าความเป็นมาของร้าน “เดือนสิงหาคมนี้ ร้านมะลิ มะลิก็จะครบ 2 ปี แฟน (คุณเมธี อัศวินวิภาต) ทำ�มาค่ะ ตอนแรกขายทางออนไลน์ก่อนชื่อ pandabookz.com ถ้าเล่าย้อนไป ก็เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว นุ้ยกับแฟนชอบอ่านหนังสือ แล้วเราก็มีหนังสืออยู่จำ�นวน หนึ่ง ส่วนใหญ่แฟนจะอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ พอมีหนังสือเยอะขึ้นเราก็เลย อยากเอาไปขาย แล้วแฟนก็คิดว่าไม่ค่อยมีหนังสือภาษาอังกฤษมือสองขายเลย ก็เลยถามนุย้ ดูวา่ เอ๊ะ เราจะขายทางอินเตอร์เน็ตยังไง นุย้ ก็บอกว่า ในอินเตอร์เน็ต มันจะมีเว็บสำ�หรับขายของอยู่แล้ว ก็เอาไปโพสไว้ แต่หนังสือภาษาอังกฤษคน ไทยอ่านน้อยมาก เขาก็เลยต้องซื้อหนังสือภาษาไทยมา ซึ่งหนังสือที่เราซื้อก็คือ หนังสือที่เราอ่าน เหมือนกับเราซื้อมาอ่านแล้วเราก็เอามาขาย ตอนแรกก็ไม่มี ชื่อเว็บค่ะ พอทำ�ไปเรื่อยๆ หนังสือก็เริ่มเยอะขึ้นๆ มันก็เริ่มมีชื่อเว็บ pandabookz ทำ�กันเองแบบงูๆ ปลาๆ ส่วนใหญ่แฟนจะเป็นคนดูแล”
030
031
032
ดูจากจำ�นวนและชนิดของหนังสือ จึงถามถึงจุดเริ่ม ในความชอบหนังสือเกินธรรมดา ก็ได้คำ�ตอบที่เข้าใจ ได้ครับ เพราะคุณนุ้ยทำ�งานเป็นบรรณารักษ์มาก่อน นั่นเอง “จริงๆ นุ้ยไม่ได้จบบรรณารักษ์นะคะ จบ ครุศิลป์ ที่จุฬาฯ แต่ว่าอยากทำ�ห้องสมุด คือน้อยมาก ที่เขาจะรับคนที่ไม่ใช่สายตรง แต่มีอยู่ที่หนึ่งเป็นห้อง สมุดเล็กๆ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณค่ะ อยู่ที่สาทร ซอย10 เป็นห้องสมุดของกลุ่มบริษัทแปลน เขาก่อตั้ง มูลนิธสิ านแสงอรุณ แล้วก็ท�ำ ห้องสมุดด้วย ทำ�นิตยสาร ด้วย เหมือนกับงานเพื่อสังคม นุ้ยก็ได้ไปทำ�ที่นั่นเป็น ผู้ช่วยค่ะ” ส่วนแฟนของคุณนุ้ย ทำ�งานวิศวกรครับ แต่ก็มีความ คิดน่าสนใจว่า “สิ่งบันเทิงที่ให้ได้ด้วยเงินที่น้อยที่สุด ก็คือหนังสือ” ด้วยความที่ทั้งสองมีลูกสาวตัวน้อยน่ารัก คุณนุ้ยจึงต้องให้เวลากับการเลี้ยงลูก ทั้งสองจึงคิด เปิดร้านหนังสือของตัวเองขึ้น โดยตั้งชื่อตามลูกสาวว่า “มะลิ มะลิ” โดยในร้านจะขายทั้งหนังสือมือหนึ่งและ มือสอง ของใหม่และของเก่า รวมถึงกาแฟและเครื่อง ดื่มอีกด้วย “พอเริ่มเปิด เราก็คิดว่าต้องเปิดเป็นร้านกาแฟไปกับ ร้านหนังสือ เพราะคิดอยู่แล้วว่าถ้าเราทำ�ร้านหนังสือ อย่างเดียว สักพักก็คงต้องปิด (หัวเราะ) ก็เลยมี เครื่องดื่มด้วย ส่วนหนังสือ แรกๆ ก็จะมีแค่มือสอง แต่มันก็ไม่เชิงมือสอง เพราะบางทีซื้อมามันก็เป็นของ เรานั่นแหละ มันจะมี 2 แบบ คือเจอหนังสือที่ชอบเรา ก็ซื้อ ไม่ว่ามันจะเป็นมือหนึ่ง หรือมือสอง ที่ร้านมันจะ ไม่ได้มีหนังสือทุกประเภท ถ้าเราคิดว่าหนังสือเล่มไหน เราจะอ่าน ช่วงแรกมันก็จะมีหนังสือประเภทที่เราสอง คนอ่าน แต่ว่าระยะหลังก็จะมีหนังสือนอกเหนือจากนี้ เพราะว่าเรารับซื้อด้วยค่ะ บางทีคนที่มาขายเขาก็มี
หนังสือหลากหลายประเภท เราก็จะคัดกันเอง แต่ บางทีคนที่มาขายเขาก็จะบอกว่าไม่รู้ว่าจะเอาไปไว้ ที่ไหน ขอเอามาวางไว้ที่นี่ (หัวเราะ) มันก็จะมีหลุดๆ ประเภทไปบ้างแต่ว่าก็ไม่มากค่ะ” ถามถึงสไตล์ของหนังสือที่คุณนุ้ยและแฟนชื่นชอบ ก็น่าจะถูกคอนักอ่านทุกรุ่นครับ “คนแรกๆ ที่นุ้ย อ่านหนังสือก็คือ ชาติ กอบจิตติ อ่านทุกเล่ม ของ แฟนนุย้ จะเป็น ’รงค์ วงษ์สวรรค์ มีทกุ เล่มอ่านทุกเล่ม ชอบมาก อันนี้ยกตัวอย่างนะคะ แต่จริงๆ มีเยอะ กว่านั้น เพราะเราก็ชอบหลายคน อย่างวรรณกรรม แปล นุ้ยชอบ Gabriel Garcia Marquez แล้วก็ Milan Kundera ส่วนแฟนเขาจะไม่ได้อา่ นวรรณกรรม แปล เขาจะอ่านต้นฉบับ ถ้าหาอ่านภาษาอังกฤษได้ ก็จะอ่านเป็นภาษาอังกฤษ Haruki Murakami ทุก เล่ม” ส่วนหนังสือมือหนึ่งของทางร้านมาจากสายส่ง รายเดียวครับ นอกนั้นจะเป็นการซื้อตรงจากสำ�นัก พิมพ์เล็กๆ แต่แน่นด้วยคุณภาพ และการแนะนำ� หนังสือก็รับรองว่าอธิบายได้แบบเข้าถึงแน่นอน เพราะหนังสือเกือบทั้งร้านผ่านตาคุณนุ้ยและแฟน มาหมดแล้วครับ หลายๆ คนทีร่ กั การอ่านคงมีทางเลือกทีจ่ ะเข้าไปเลือก หาหนังสือที่ชอบทั้งร้านใหญ่เล็กตามสะดวก ผมจึง ถามคุณนุ้ยหน่อยถึงความแตกต่างระหว่างร้านหนังสือ ขนาดเล็กและร้านแบรนด์ใหญ่ประจำ�ห้าง “เยอะเลยค่ะ อย่างแรกก็คือ หนังสือต่างกัน เพราะว่าร้านใหญ่ก็จะ มีหนังสือทุกประเภท อย่างเราไม่ได้มีทุกประเภทแต่ ว่าเราเลือกแล้วว่ามันน่าอ่าน กรองมาแล้วชั้นนึงให้คน อ่าน เพราะบางคนเขาไม่รู้ว่าจะอ่านอะไร อย่างที่สอง คือ ถ้าถามว่าเล่มนี้เป็นยังไง คนที่ขายหนังสืออย่าง เราก็ตอบได้ระดับหนึ่ง เพราะว่าเราอ่านมาแล้วว่า 033
เล่มนี้เป็นยังไงๆ ไม่ใช่มีแค่ปกหลังให้เขาอ่าน แต่มัน ยังมีคอมเม้นต์ของเราด้วย ก็เป็นหนึ่งในความเห็นของ เราเพิ่มเติม พนักงานในร้านก็อาจจะตอบไม่ได้ถ้าเขา ไม่ได้อา่ น ซึง่ เป็นไปได้ยากมากทีเ่ ขาจะอ่านหนังสือทุกๆ เล่ม คิดว่ามีแต่คงจะไม่เยอะ แต่ร้านหนังสือเล็กๆ ทุกร้าน นุ้ยคิดว่าคนเปิดร้านหนังสือต้องใจรัก อย่าง ร้านนุ้ยเนี่ย เราเป็นเจ้าของหนังสือเอง เราอาจจะไม่รู้ จักทุกประเภท เพราะว่าอย่างนุ้ยกับแฟนก็อ่านต่างกัน บ้าง บางเล่มเราอาจจะไม่ได้อ่าน เราก็อธิบายไม่ได้ ก็ จะบอกเขา คุณชอบแบบไหน อ่านประเภทนี้มั้ย เราก็ จะกรองให้ได้ชั้นนึง” อดถามไม่ได้ในเรื่องสำ�นักพิมพ์ เพราะร้านหนังสือก็ ติดต่อสำ�นักพิมพ์โดยตรง คุณนุ้ยก็คุยเรื่องน่าสนใจ 034
หลายเรื่องทั้ง หนังสือของสำ�นักพิมพ์เล็กที่ถูกเบียดบัง หรือไม่ได้ตั้งโชว์ ไม่ได้ถูกแนะนำ� การตลาดของสำ�นัก พิมพ์ใหญ่ ที่ติดป้าย Best Seller นิสัยการอ่านของ บ้านเราที่เน้นบันเทิงก็จะนำ�มาก่อนพวกวรรณกรรม ประเภทความเรียงจะตามมา เรื่องวิชาการนี่ก็แล้วแต่ คนสนใจ หรือบางคนก็ไม่ได้อ่านเลย ว่ากันจนมาถึง โครงการสัปดาห์หนังสืออิสระครั้งที่ 1 “แรกๆ ตัวนุ้ยเองไม่รู้เรื่องเลย แฟนส่งลิ้งค์มาให้ดู คือ เขามีประชุมกัน แล้วก็จะจัดงาน มีลงข่าว แล้วก็มีชื่อ ร้านของเราอยู่ ซึ่งแฟนของนุ้ยเขาเป็นคนส่งรายชื่อไป ว่าจะเข้าร่วม เราก็ยินดีที่จะเข้าร่วมอยู่แล้ว แล้วเราก็ มารู้รายละเอียดภายหลัง หลังจากที่เราเข้าร่วมกิจกรรม ทางสำ�นักพิมพ์เล็กๆ ที่เรารู้จักอยู่แล้ว เขาก็ให้ความ
สนใจ ก็คือช่วยเหลือเราโดยการที่เอาหนังสือมาให้ เพื่อให้เรารับแลกเปลี่ยนกับคนอื่น แล้วก็มีนักเขียน คือคุณพิมพิดา กาญจนเวทางค์ เขาเขียนหนังสือมา หลายเล่มแล้วค่ะ เป็นเชิงท่องเที่ยว อย่างวันนีส้ ายส่ง ของเคล็ดไทยก็เอาหนังสือมาส่งให้ เอาของมาอีก 2 กล่อง ซึ่งเขาบอกว่า สำ�นักพิมพ์อื่นฝากส่งมาให้เรา” จากการพูดคุย บางทีผมก็ลืมไปว่ามาทำ�สัมภาษณ์ ร้านหนังสือ เผลอคิดไปว่ามานั่งคุยกับคนรักหนังสือ มากมาย เพราะน้อยมากที่ผมจะได้ยินเรื่องกำ�ไร ขาดทุน การตลาดหรือแผนธุรกิจ สิ่งที่ผมได้ยินคือ คนรักหนังสือที่อยากแบ่งปันหนังสือดีๆ ให้เพื่อนอ่าน และมีความสุขอยู่กับการโดนโอบกอดรอบตัวไว้ด้วย หนังสือ “สำ�หรับนุย้ หนังสือให้ทกุ อย่างคะ อย่างแรก
ก็คือความสนุก เป็นพื้นฐานเลย แล้วหลังจากนั้น ก็ให้ความคิด เหมือนกับที่คนเคยบอกว่ามันเป็น ขุมทรัพย์อย่างหนึ่ง แล้วมันก็คือความรู้ที่จะอยู่กับ เราไป แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ยัดเยียด นอกจากอ่าน เป็น ผู้รับแล้วเราก็ยังเป็นคนคิดด้วย เวลาอ่าน มันไม่ใช่ แค่เวลานัน้ สิง่ ทีเ่ ราคิดต่อหลังจากอ่านจบ มันมากกว่า นั้น เกินกว่านั้น นอกจากจะได้รับแล้วเรายังได้สร้าง มันอีก หนังสือดีๆ ได้ออกจากร้าน แล้วมีคนได้อ่าน นี่แหละสำ�เร็จแล้ว” ฝากถึงคนรักหนังสือและรักการอ่าน มาแลกเปลี่ยน ความคิดและความสุขกันที่ร้าน มะลิ มะลิ นะครับ ร้านหนังสือเล็กๆ ที่มีความสุขขนาดใหญ่ซ่อนอยู่ Mali Mali Coffee and Book Cafe 035
036
037
038
PIE TALK
Vinegar syndrome “BOUNCE”
เหมือนบางสิ่งนั้น สุดท้ายก็กระจ่าง เป็นเพียงแค่ภาพลวงตา บางความลึกล้ำ�ไร้ค่า ในสายตาเย็นชาที่เธอให้มา ที่แท้แค่ตัวเรา เป็นแค่เพียงผ่าน ภาพช้ำ�ระทมน้ำ�ตา ย้อนคล้ายความฝันร้าวราน อารมณ์ แปรผัน กลืนหาย มองข้าม ดั่งเคย วุฒิ - วุฒินันท์ แช่มช้อย / กร - กร มหาดำ�รงค์กุล
039
คำ�ร้อง เนื้อเพลง แต่ว่าด้านทำ�นองผมจะเป็นคนดูแล ทั้งหมด แล้วก็มาคุยกันว่าเวิร์คหรือเปล่า ชอบมั้ย
PIE : ที่มาของชื่อ Vinegar Syndrome
วุฒิ : ผมทำ�งานอยู่ที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ มันก็ จะมีฟิล์มภาพยนตร์อยู่เยอะ เวลาที่ฟิล์มมันเสื่อม สภาพหรือเร่ิมจะเสีย มันจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เรียกว่ากลิ่น Vinegar Syndrome ซึ่งจะได้กลิ่น ตลอดเวลาตั้งแต่เข้ามาทำ�งาน เป็นเหมือนอาการ แรกที่เตือนว่าฟิล์มจะเสียแล้วนะ
PIE : กรเล่นดนตรีอยู่ก่อนแล้ว
กร : ผมเล่นดนตรีมาก่อนครับ ตอนนี้ก็เปิดห้องอัด เสียงอยู่ด้วยที่บ้าน งานของ Vinegar Syndrome ก็ทำ�ที่บ้าน ทำ�เองหมด ก็ทำ�ด้วยใจรัก ตั้งใจลงทุน ลงแรง ก็มีความสุขดีครับ
PIE : แล้วกรทำ�งานอะไร
กร : ตอนนี้กำ�ลังช่วยที่บ้านทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่อง หนัง กระเป๋าหนังต่างๆ ที่ทำ�ให้กับแบรนด์ของพวก Young Designer ครับ มีส่งออกต่างประเทศด้วย ฟังชื่อวงก็โอเค จริงๆ เรารู้จักกันมาตั้งแต่ยังไม่ได้ ตั้งชื่อวง ก็เคยได้ไปที่หอภาพยนตร์ แล้วก็เห็น อาการของฟิล์ม พอใช้ชื่อ Vinegar Syndrome ก็เออ แปลกดีนะ คือผมเห็นว่าภาพยนตร์ เพลง มันเป็นวงการเดียวกันเป็นเรื่องเดียวกัน PIE : รู้จักกันก่อนหน้านี้นานหรือยัง
วุฒิ : ประมาณ 6-7 ปีแล้ว
PIE : เริ่มเล่นดนตรีกันยังไง
วุฒิ : กรเป็นรุ่นน้องครับ เริ่มจากผมเขียนเพลง เหมือนกับว่าเรามีความทุกข์ เวลาไม่มีความทุกข์ แต่งเพลงไม่ออก ผมเขียนเนื้อมาระดับหนึ่ง แล้ว มีอุปกรณ์ทำ�เพลงนิดหน่อย ก็มาหากรให้เขาช่วย เหมือนเอาอาการ เอาทัศนะคติบางอย่างที่เรามีไป หาหมอ หมอคนนั้นก็คือกร เขาก็ช่วยตรวจดูอาการ ว่าเราควรจะทำ�แบบไหน คีย์ไหน ดนตรีแบบไหน อารมณ์แบบไหน จังหวะแบบไหน ก็มาคุยกัน กร : พูดรวมๆ แล้วคือพี่วุฒิจะรับผิดชอบทางด้าน
PIE : ฟังเนื้อเพลงของวุฒิแล้วรู้สึกยังไง
กร : แรกๆ งงครับ เพราะว่าผมเป็นคนร็อค ทีเ่ ล่น สไตล์ร็อคๆ หน่อย ส่วนพี่วุฒิเขาจะเป็นประมาณ ’90s พี่วุฒิเขามีประสบการณ์เรื่องเนื้อเพลงมากกว่า การแปลความต่างๆ การเขียน การที่เขามองวัตถุๆ หนึ่งแล้วเขาพูดออกมาได้น่าสนใจ ซึ่งพอผมเห็นเนื้อ ร้อง เห็นเขาร้องให้ฟังปุ๊บ เราก็ อืม…นี่มันภาษาไทย หรือเปล่า แต่พอสักระยะหนึ่งผมก็เริ่มพอเข้าใจว่า คำ�พูดหรือทำ�นองที่เขาเลือกสรรมาใช้ มันอาจจะไม่ได้ แปลตรงๆ หรือฟังง่ายๆ เหมือนเพลงป๊อปทั่วไป แต่ ถ้าแปลดีๆ มองมันดีๆ มันจะมีความหมายที่ลึกซึ้ง สวยงาม ส่วนตัวผมก็พยายามทำ�ดนตรีให้เหมาะสมกับ สไตล์ที่เป็น Vinegar Syndrome ไม่ได้มีคำ�กำ�หนด ว่าต้องสไตล์ไหนหรือแบบไหน ทำ�ออกมาแล้วถ้าเรา 2 คนชอบ เอ็นจอยที่จะเล่นดนตรีด้วยกันตรงนี้ก็มี ความสุขแล้ว PIE : เพลง เคย เคย ที่ประกอบหนังฟ้าต่ำ�แผ่น ดินสูง มีเพลงนี้มาก่อนอยู่แล้วหรือเปล่า หรือมา ตอนที่จะไปประกอบหนัง
วุฒิ : เพลงมาก่อนครับ แล้วเบิ้ล (นนทวัฒน์ นำ�เบญจพล) ที่เป็นผู้กำ�กับฯเขาชอบ คือตอนแรก
040
041
042
มันมีสัญญาใจกันว่า จะให้เขาช่วยทำ�เอ็มวีให้เราตัว หนึ่ง พอเขาทำ�หนังแล้ว เขาได้ฟังเพลงแล้วชอบก็ เลยขอไปใช้ ซึ่งตัวเพลงก็ทำ�งานกับหนังได้พอดี PIE : ถามถึงตัวเพลง เนื้อหาของเพลง เคย เคย
วุฒิ : ก็ตรงๆ เลย คือของเคย เคย ซึ่งมันอาจ จะเป็นในเรื่องชีวิต เรื่องความรัก เรื่องของเซ็กส์นิด หน่อย แต่ความจริงแล้วมันเป็นเรื่องของสิ่งที่มันซ้ำ� มันซ้อนกัน แล้วมันมีผลต่อกันและกัน ไม่ค่อยอยาก อธิบาย อยากให้คนฟังจินตนาการไปเอง แต่ละคน อาจจะมองไม่เหมือนกัน คือตอนที่ผมเขียนเพลง มันมีสิ่งที่มันเข้ามา ที่ไม่ใช่แค่ 2 วัน มันสะสมมา พอสมควร มันเป็นเรื่องของการ in put เข้ามา เหมือนอย่างวันนี้คุยกันก็มีคำ�บางคำ�กระเด็นที่เข้า มาในตัวผม การแต่งตัว ภาพ ลม แสง มันจะเข้า มาโดยที่ผมก็ไม่รู้ตัว จนวันหนึ่งก็ค่อยๆ ตกตะกอน และสั่งสมมาเรื่อยๆ แล้วกลั่นออกมาเป็นเพลง กร : หลายๆ อย่างคือเขียนจากประสบการณ์จริง แล้วก็ใช้เวลาสั่งสมพอสมควร PIE : พาร์ทดนตรีล่ะ
กร : ถ้าพูดโดยรวมคือเนื้อเพลงมาก่อน ผมก็มา จัดวางคีย์ต่างๆ ให้มันเหมาะสม ฟังเพราะ ท่อน แต่ละท่อนก็มีความนุ่มคนละแบบ บางท่อนก็ต้อง กระชากบ้าง แต่ว่าที่เน้นในเพลงนี้คิดว่าจะเป็นไลน์ ประสานของกีต้าร์มากกว่า อย่างตอนเริ่มท่อนฮุกก็มี เป็นไลน์เมโลดี้ที่ไม่ได้ฟังยากมากมาย แต่ว่าค่อนข้าง กลมกลืนกับเมโลดี้ของเนื้อร้อง ผสมด้วยซินธิไซเซอร์ ในท่อนต่างๆ คือไม่ได้เยอะมากมาย เอาให้มันพอ เหมาะพอควร ก็ออกมาเป็นเพลงนี้
PIE : ภาพในเอ็มวีที่ออกมา ทำ�ไมถึงเลือกมิติ (มิติ เรืองกฤตยา) มาทำ�ให้
วุฒิ : รู้จักกัน มิติเขารู้จักกับเบิ้ล เขาก็คือทำ� สัญญาใจว่าจะมาทำ�เอ็มวีให้ แล้วก็จะเอามา ประกอบหนังด้วย ก็เลยชวนมิติมาช่วยถ่าย รูป ในนางเอกเอ็มวีก็คือภรรยาของมิติ PIE : ดูแล้วรู้สึกสอดคล้องกับเพลงมั้ย
วุฒิ : ชอบมาก ภาพสวยมาก เพราะว่ามันไม่ได้ เล่าเรื่องแบบที่เอ็มวีส่วนใหญ่ทำ� ก็เป็นสไตล์การ ทดลองของผู้กำ�กับและช่างภาพเอง PIE : เพลงนี้ทำ�มา 5 เวอร์ชั่นเลย ในแผ่น ซิงเกิ้ลมีความต่างยังไง
กร : ทำ�เพื่อเป็นของขวัญให้คนฟัง เราอยากให้คน ได้ฟังหลายๆ แบบ อยากให้มีความไพเราะในแบบ อะคูสติกบ้าง หรืออิเล็กทรอนิกส์บ้าง แล้วผมก็อยาก ให้ลองฟังดู น่าจะได้อะไรไม่มากก็น้อย PIE : กรทำ�เองหมดเลยมั้ย หรือมีคนมาช่วย
กร : ถ้าทางด้านเวอร์ชั่นอิเล็กทรอนิกส์ก็มี วุฒิ : เขตน่าน จันทิมาธร มาช่วยรีมิกซ์ แต่ ส่วนใหญ่ก็ทำ�กันเองครับ
PIE : ฟีดแบ็กที่คนพูดถึงเพลงของ Vinegar Syndrome
วุฒิ : ก็มีคนมาคอมเม้นต์ตาม YouTube และส่วน ใหญ่จะชอบเอาเนื้อเพลงมาแปะครับ ซึ่งแต่ละคนก็ ชอบในแต่ละท่อนไม่เหมือนกันเลย ตอนแรกไม่ได้คิด ว่าจะมีคนชอบ แต่พอมีคนมาโค้ดคำ� เราก็ดีใจที่เขา ตั้งใจฟังเหมือนกันนะ 043
กร : อย่างที่บอกว่าเพลงของพี่วุฒิก็ไม่ได้ป๊อบมาก มันต้องฟังหลายๆ ครั้ง ก็มีศิลปินดังท่านหนึ่ง แก บอกว่า เพลงของ Vinegar Syndrome ไม่ใช่เพลง ที่ฟังแป๊บเดียวแล้ว…ปิ๊ง แต่ต้องใช้เวลาทำ�ความเข้าใจ กับมัน วุฒิ : ซึ่งเนื้อเพลงของแก (ศิลปินที่พูดถึง) ก็ไม่ได้ ต่างจากผมมากเท่าไหร่ครับ (หัวเราะ) มันก็คือสิ่งที่ เอาจากข้างในออกมา สิ่งที่เป็นปมในอดีต ความเจ็บ ความทุกข์ PIE : อัลบั้มเต็ม
กร : ตอนนี้ทำ�ไป 80-90 เปอร์เซ็นต์แล้วครับ วุฒิ : ตอนนี้อยู่ที่กร กร : ก็ใกล้จะเสร็จแล้ว (หัวเราะ)
PIE : คิดว่าจะได้ฟังกันเมื่อไหร่ครับ
กร : สิงหาคมครับ ก็พยายามตั้งใจทำ�ให้มันออก มาดีที่สุดครับ วุฒิ : หลังจากนี้ไม่เกิน 1 เดือน คิดว่าจะปล่อย ซิงเกิ้ลที่ 2 ออกมา PIE : บอกได้มั้ยว่าเพลงอะไร
วุฒิ : เขาต้องไม่บอกกันใช่มั้ยครับ (หัวเราะ) ความ จริงแล้วก็คือยังเลือกไม่ถูกว่าจะเอาเพลงไหน แต่ว่ามี ในใจบ้างแล้ว ที่ไม่อยากฟันธงเพราะกลัวจะผิดพลาด แล้วก็ต้องไล่ทำ�เอ็มวีให้เสร็จก่อน เพื่อที่จะปล่อย พร้อมเอ็มวี เพราะเราไม่ได้เน้นแค่ตัวเพลง เราเน้น ทางภาพด้วย PIE : แนวเพลงนอกกระแสกับสังคมบ้านเรา
PIE : ภาพรวมของเพลงเป็นยังไงบ้าง
วุฒิ : ผมเฉยๆ ไม่ได้แปลกใหม่อะไรครับ มันมีมา กร : แต่ละเพลงมีความเฉพาะตัว ด้วยเรื่องซาวนด์ ตั้งนานแล้วไม่ใช่แค่ 10 ปีที่แล้ว ก็ค่อยๆ พัฒนามา จริงๆ การเติบโตของเพลงไทยมันสั้นมากครับ ยังไม่ เรื่องสไตล์ต่างๆ ของเครื่องดนตรีที่เลือกใช้ ซึ่งเนื้อ เพลงจะมาจากพี่วุฒิทั้งหมดเลยครับ แต่ละเพลงก็จะ ถึง 100 ปีด้วยซ้ำ� ยังต้องพัฒนากันอีกเยอะ แล้วก็ คงมีทางเลือกอีกเยอะหรือว่ามีเสียงอะไรใหม่อีกมาก มีความคิดของเขา วุฒิ : เหมือนเรามีไดเร็กชั่นระดับหนึ่ง เป็นก้อนที่อยู่ ผมก็ตน่ื เต้นทีอ่ ยากจะได้ฟงั เสียงใหม่ๆ คนใหม่ๆ คือ ในหัวผมอยู่แล้ว แล้วผมก็แค่มีคนรู้ใจและเก่งมากคน ดีไม่ดีไม่รู้ แต่ว่าช่วยกันทำ�ออกมาเถอะ ต้องเปิดรับ กับเสียงใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ คนใหม่ๆ อะไรแบบนี้ หนึ่ง ถอดความวุ่นวายในหัวผมออกมาเป็นรูปธรรม ครับ ดนตรีทางเลือกมันอาจจะกลายเป็นกระแสหลัก แล้วกรก็ใส่ทำ�นองของเขาเข้าไป แล้วก็จะมีคนอีกจำ�พวกหนึ่งที่สร้างกระแสอีกแบบ ขึ้นมาอีกก็ได้ มันเป็นเรื่องศิลปะ เวลามีคนทำ�อะไร PIE : ถอดยากมั้ยครับ กร : แรกๆ ก็ยากครับ แต่พอไปๆ มาๆ มันก็ท�ำ จนรูใ้ จ เยอะๆ ก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งทำ�บางอย่างขึ้นมาเพื่อจะ วุฒิ : คือ ณ เวลานั้นเราก็ทำ�ด้วยกัน คุยกันตลอด กลบอีกกลุ่มไปเรื่อยๆ นี่คือวิธีการของศิลปะซึ่งมัน ใช้เวลา แล้วมันไม่ได้ใช้เวลาแค่ เดือน สองเดือน คือ ควรจะเป็นอย่างนั้น ต้องเปิดกว้างและให้มันพัฒนา เรียนรู้ต่อไป มันก็พัฒนาไปกับเพลง 044
PIE : ถามเรื่องหนังบ้าง การโดนแบนหรือ ความคิดเห็นเรื่องหนังในบ้านเรา
วุฒิ : เรื่องนี้มันคุยจนไม่รู้จะคุยยังไงแล้ว มันเคยๆ จริงๆ เหมือนเมื่อปี 2550 ก็คุยกันทีนึง ตอนเรื่อง แสงศตวรรษ ของพีเ่ จ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) พอเปลี่ยน พ.ร.บ หลังจากนั้นก็ยังแบนอยู่ คือสังคม ไทยอยู่ในความกลัว แล้วบางทีวิธีคิดบางอย่างมันฝัง อยู่ในตัวเราโดยที่เราไม่รู้ตัว พูดนี่ไม่ได้ แตะนี่ไม่ได้ กลัวที่จะคิด กลัวที่จะแสดงความรู้สึก ผมรู้สึกว่าการ แบน การเซ็นเซอร์มันปิดหูปิดตาเรา มันแย่ตรงที่ตา เรามันติดอยู่กับตัวเรา มันเป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ พึงมี เราสามารถเลือกที่จะดูหรือไม่ดูอะไรได้ อย่า ดูถูกคนนะครับ เราคิดว่าคนคิดเองได้ หรือของที่เขา คิดว่ามันขม มันก็อาจจะเป็นวัคซีนที่ทำ�ให้เขามีภูมิ ต้านทานที่จะดำ�เนินชีวิตต่อไป 045
PIE : ศิลปินไทยหรือต่างประเทศที่ชอบ
กร : มีหลายแบบ ผมก็ไม่ได้ฟังร็อคอย่างเดียว ผมฟังพวก เบเกอรี่ เลิฟอีสด้วย พอเราฟังก็จะได้ ดนตรีจากสไตล์นั้น ร็อคก็อย่าง Sil y Fools มันก็ จะได้ความเฉพาะตัวของแต่ละศิลปินมา เราก็จะ หยิบในสิ่งดีๆ ของเขามา วุฒิ : กรกำ�ลังจะบอกว่าเขาฟังหลากหลาย ไม่ได้ เจาะจงไปในแบบไหนแบบหนึ่ง PIE : สองคนดูต่างกันพอสมควร กรคิดว่า พี่วุฒิเป็นยังไงบ้าง
กร : เขามีความเป็นตัวเองสูง อยากทำ�อันนี้ก็ ทำ�ให้เต็มที่ และจะไม่ท้อถอยอะไรง่ายๆ แต่ก็ต้อง มีกำ�ลังใจที่ดีด้วย PIE : แล้วพี่วุฒิล่ะ กรเป็นยังไงบ้าง
วุฒิ : ถ้าจะพูดก็เหมือนเดิมครับ คือสิง่ ทีเ่ ราทำ�กัน
อยูเ่ นีย่ ผมไม่รวู้ า่ มันเยียวยากรหรือเปล่า อันนีข้ อพูดหล่อๆ หน่อย แต่วา่ มันเยียวยาผมจริงๆ มีอะไรผมก็เอามาลงที่ เพลงที่ดนตรี แล้วก็มาหาให้กรช่วยเยียวยา บรรเทา กร : พี่เขาได้จากผมตรงนี้ใช่มั้ย ผมก็ได้ประสบการณ์ ความคิดจากเขามาเหมือนกัน วุฒิ : มันเป็นเรื่องการแชร์กันมากกว่า ไม่ใช่แค่เรื่อง เพลง เรื่องความคิด ทัศนคติ ชีวิต อย่าง 10 เพลงมัน ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างทางที่เราเจอมา มันเหมือน ไดอารี่ที่บันทึกช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา PIE : ตั้งแต่เริ่มทำ�อัลบั้มชุดนี้ ใช้เวลาเท่าไหร่
วุฒิ : 6-7 ปีแล้ว มันค่อยๆ มาทีละสเต็ป ตอนแรก กรไม่ได้เข้ามาเต็มตัว ก็ค่อยๆ ทำ�ไป แต่จริงๆ กรก็ ทำ�ตั้งแต่เพลงแรกนั่นแหละ ก็ค่อยๆ คุยและทำ�กันไป เรื่อยๆ จากหนึ่งเป็น สอง สาม สี่ จนเพลงมันเร่ิม เยอะขึ้น เราก็ไม่ได้คิดว่ามันต้อง 10 เพลง เป็นอัลบั้ม ก็สนุกกันไปเรื่อยๆ 046
PIE : ก่อนหน้านี้เคยไปเล่นที่ไหนบ้าง
วุฒิ : มีไปเล่นตามงานบ้าง ที่ The Last Fat Fest เล่นไป 6 เพลง, เทศกาลภาพยนตร์สารคดีศาลายา ล่าสุดก็ไปเล่นที่เอสพละนาด งานเปิดหนังเรื่องฟ้าต่ำ� แผ่นดินสูง รอบปฐมทัศน์ PIE : เวลาเล่นสดก็เต็มแบรนด์
กร : เต็มแบรนด์ คือเรามีนกั ดนตรีบา้ งอยูแ่ ล้วเหมือนกัน ก็เป็นคนรูจ้ กั รุน่ น้อง รุน่ พี่ ก็เรียกมาแจม มาเล่นกัน PIE : แต่ไม่ได้คิดว่าจะทำ�เป็นค่ายเพลง เห็นชื่อ Axis Records
กร : ในจุดนั้นคือเราไม่ได้คิดว่าต้องตั้งค่ายเพลง เพียงแต่ตั้งสังกัดง่ายๆ ว่าเราอยู่ Axis Records นะ อย่างห้องอัดผมทำ�มาประมาณเกือบ 10 ปี เราก็คุย กันว่าถ้าจะออกอัลบั้มก็ตั้งเป็นค่ายเพลงแล้วกัน วุฒิ : เหมือนกับดูแลตัวเองน่ะครับ มันเป็นการ
ทดลองบางอย่างเหมือนกันนะ ว่าเราจะทำ�เพลงได้ มั้ย ถ้าทำ�เองแล้วไม่มีแรงโปรโมตจะอยู่ได้มั้ย เรา ออกแบบนี้ ทำ�แพ็กเก็จแบบนี้ได้มั้ย หรือเพลงเรา ไม่ได้เปิดบนวิทยุเลย ไม่มีใครสนใจ เพราะเราไม่ได้ อยู่ค่ายใหญ่ เพลงมันจะทะลุไปถึงคนส่วนมากน้อย ขนาดไหน กร : ให้เพลงมันทำ�งานด้วยตัวมันเอง วุฒิ : ใช่ ผมเชื่อว่าถ้าเพลงดี มันก็จะไปของมันเอง โดยที่เราไม่ได้ไปทำ�อะไรมันหรอก PIE : มีอะไรฝากเพิ่มเติมมั้ย
วุฒิ : ขอบคุณ PIE Magazine ด้วยครับ แล้วก็ อยากให้คนที่ชอบหรือที่ฟังงานเราช่วยติดตามเรา ต่อไป เราจะตั้งใจทำ�งานออกมา แล้วก็อยากให้คน ได้ฟัง 10 เพลงในอัลบั้มของ Vinegar Syndrome ชื่ออัลบั้มว่า VS เป็นเพลงที่เราตั้งใจทำ� อยากให้ แฟนๆ ช่วยสนับสนุนพวกเราด้วยครับ 047
048
PIE TALK
Pana ObjectS THINK ABOUT WOOD ตื่นตัวขึ้นทุกปีสำ�หรับวงการโปรดักส์ดีไซน์ในบ้านเรา แต่ก็แอบเศร้าน้อยๆ ที่จับเขาคุยกับดีไซเนอร์ท่าน ไหนๆ ก็บ่นถึงผู้ซื้อในบ้านเราที่ยังสนใจสินค้าของเมืองนอกเมืองนามากกว่า แต่วันนี้เรามาพบกับกลุ่ม เด็กที่มีพลังสร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งที่งานโปรดักส์ของเขาถูกสื่อต่างประเทศนำ�ไปพูดถึงและรีวิวคุณภาพ มาแล้วหลายประเทศทั้งในยุโรปและเอเชีย เท่านั้นยังไม่พอกลับขายดิบขายดีในต่างแดนเสียอีก นั่นคือ Pana Objects แบรนด์โปรดักส์ไม้สไตล์ทันสมัยหน้าใหม่ที่คนไทยควรหันมามอง PIE : Pana Objects เริ่มมาจากอะไร
โร่ : เริ่มจากความอยากส่วนตัวของพวกเราครับ ชอบงานดีไซน์กันอยู่แล้ว จบออกแบบผลิตภัณฑ์ กันมาทั้งหมดเลย 7 คน เป็นเพื่อนคลาสเดียวกัน ที่บางมด พอจบออกมาประมาณ 2-3 ปี เลยมา นั่งคุยกันว่าอยากจะทำ�อะไรที่เป็นของเราเอง ทีนี้ ก็มาอิงกับพื้นฐานที่บ้านของผม คือแม่ผมเขามี สวนต้นสักทองอยู่ที่สุรินทร์ ผมก็คิดว่าจะทำ�อะไร ที่จะไปต่อยอดงานของที่บ้าน เลยหาแนวทางของ ตัวเอง แต่แทนที่เราจะไปเรียนเกษตรหรือขยาย พันธุ์ไม้ ผมก็คิดจะไปต่อยอดถึงปลางทางยังไงดี ก่อนที่จะไปยุ่งกับต้นไม้ตรงนั้น หรือไปตั้งโรงงาน แปลรูปใหญ่ๆ ก็เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นเราน่าจะมา ช่วยกันหาตลาด ด้วยการเอาความรู้ความสามารถ ที่เรามีนี่แหละมาลองออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ออกมา เลยเป็นจุดเริ่มต้น
PIE : แล้วชื่อ Pana Objects ล่ะ
โร่ : จริงๆ แล้วมาจากนามสกุลของผมครับ ตัด คำ�ว่า Pana ออกมา แต่มันก็มีความหมายของ มันนะ ตอนที่แม่ผมตั้งก็หมายถึงป่าไม้ พืชพรรณ ธรรมชาติ ก็เลยเอามาเป็นชื่อแบรนด์ แล้วบวก กับดีไซเนอร์ทางด้าน I.D. ของเรา ก็เลยเอาคำ�ว่า Objects มาใส่ ก็เลยเป็น Pana Objects ก่อนที่เราจะทำ� Pana Objects ก็มีเซ็ตอัพ แบรนด์ขึ้นมาก่อน ซึ่งตั้งแต่แรกเลยก็มี 7 คน แต่ละคนก็มีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน จนล่าสุด ตอนนี้ก็ทำ�ประจำ�ที่ออฟฟิศกัน 4 คน อีก 3 คน เวลาดีไซน์ก็จะเข้ามาร่วมด้วย ตอนแรกเราอยาก เป็นดีไซน์เนอร์ อยากทำ�ของๆ ตัวเอง แต่พอต้อง ไปหาคนผลิตที่เป็นซัพลายเออร์ ปรากฎว่ามันไม่ ได้ดั่งใจครับ คือรายละเอียดมันไม่ได้อย่างที่เรา 049
ต้องการ ตัวแรกที่ทำ�ให้เราต้องทำ�เองคือ นาฬิกา Shady คือมันเป็น Surface แบบ 3 มิติ จะไป จ้างช่างแกะสลักก็ไม่ได้อย่างที่เราต้องการ หรือจะ ไปจ้างโรงงานที่มีเครื่องจักรคอมพิวเตอร์มันก็มีน้อย มากในไทย ซึ่งในช่างไม้เขายังไม่ค่อยใช้กัน แต่ถ้า เป็นงานเซอร์วิสแบบทำ�เป็นตัวๆ ราคาก็จะสูงมาก เลยตัดสินใจลุยกันเอง เราก็เลยทำ�เองด้วยครับ ลองตั้งแต่เรื่องซื้อไม้ในตลาด มันมีขายอะไรอยู่บ้าง ซื้อมาหลายๆ ชนิด ไม่แข็ง ไม้อ่อน มันเป็นยังไง จนกระทั่งเราเลือกไม้ Hardwood ที่ค่อนข้างแข็ง ค่อนข้างเหนียว แล้วก็มีลายกับสีที่สวย เลยเลือก มาเป็นไม้เมเปิ้ล บีช แอช แล้วก็วอลนัท 4 ตัวที่ ใช้อยู่ตอนนี้ครับ เป็นไม้เนื้อแข็งหมดเลย
3 อย่างนี้ก็จะมีไปเรื่อยๆ แล้วด้วยความที่เรามีแก่นว่าเรา อยากจะทำ�งานไม้ ก็เลยพยายามจะทำ�โปรดักส์ไม้ที่เป็น ดีไซน์ด้วย ก็เลยเป็นงานของเรา ส่วนคีย์เวิร์ดในการที่จะ ดีไซน์งานแต่ละงานก็จะมี 5 อย่างหลักๆ คือ 1. ของ ต้องดูโมเดิร์นและไม่ดูล้าสมัย 2. ดูเป็นมิตรใช้งานง่าย ไม่อันตราย 3. นำ�เสนอความเป็นธรรมชาติของไม้ ของ ทุกอย่างเราเลือกสี เลือกลายไม้มาแล้ว เพราะฉะนั้นเรา จะไม่ค่อยทำ�สี แต่เราจะเคลือบผิวแล้วก็จบ 4. ตัวงาน ต้องสื่อสารว่ามันคืออะไร ใช้ทำ�อะไร 5. ไม่ซับซ้อนไม่ ยุง่ ยาก มันก็เลยมีหน้าตารวมๆ ออกมาอย่างทีเ่ ห็น คือ ง่ายๆ สบายๆ PIE : ตั้งแต่เริ่มคุยกันถึงตอนนี้นานหรือยัง
สิ่ว : ตอนนี้เราเปิดบริษัทกันมา 1 ปี 2 เดือน เต้ : ก่อนหน้านั้นก็คุยกันเรื่อยๆ สัก 2 ปี ก่อนจะมา PIE : นอกจากดีไซน์แล้ว ก็ผลิตด้วย โร่ : ใช่ครับ แล้วตอนตั้งแบรนด์เราก็คิดว่ามันต้อง ทำ�แบรนด์ ตอนแรกก็คุยกันว่าจะรับงานเซอร์วิส เป็น Unisex ที่มันสามารถใช้ได้ทั้งชายหญิง เป็น โร่ : เหมือนเปิดเป็นสตูดิโอ ฟรีแลนซ์กันมั้ย Symbolic ที่เป็นสื่อกลาง เข้ากับคนเมือง เรามอง เต้ : กำ�ลังเล็งๆ อยู่ว่าจะทำ�อะไร คือทุกคนก็คิดว่า กลุ่มตลาดตั้งแต่นักศึกษา คนที่ทำ�งานแล้ว จนถึง สักวันหนึ่งต้องมีของขาย คู่แต่งงานใหม่ เป็นสมัยของการเลือกซื้อคอนโดฯ โร่ : ตอนแรกก็ยังไม่รู้จะเดินทางไหน ก็ลองรับงานดีไซน์ ตกแต่งบ้าน เอาของเล็กๆ ไปตั้ง เราก็ไปดูว่าคน มาทำ� แต่ละคนก็เคยเป็นฟรีแลนซ์มาก่อน ถ้ารับแยก กลุ่มนี้เขาบริโภคของแบบไหน ที่อยู่เขาเป็นยังไง มันก็จะได้งานเล็กๆ แต่ถ้าเราลองรวมตัวกันมันจะได้ ถ้าเราจะทำ�ของขึ้นมามันควรจะเข้ากับสถานที่ของ งานที่ใหญ่ขึ้น นี่คือแนวคิดที่เราจะพยายามทำ�ดีไซน์ อย่างเดียว แต่พอช่วงน้ำ�ท่วมต่างคนก็แยกย้ายไปอยู่บ้าน เขา เอาไปวางแล้วดูไม่เคอะเขิน หรือเอาไปวาง แล้วจะดูเลอะเทอะหรือเปล่า เราก็จะได้ภาพในหัว ก็นง่ั คิดว่าได้เวลาแล้วหรือยังทีจ่ ะทำ�ของตัวเอง ทำ�โปรดักส์ คร่าวๆ ว่าทิศทางจะประมาณไหน ของที่เราจะ ของตัวเองเลยดีกว่า เพราะมันคือส่ิงที่อยากทำ�จริงๆ ทำ�ก็เซ็ตไว้ 3 แบบคือ Living Product พวก ตั้งแต่แรก เปิดแบบเซอร์วิสบางทีมันก็ไม่ได้งานที่เรา ของตกแต่งบ้าน Stationary อุปกรณ์เครื่องเขียน อยากจะทำ�เท่าไหร่ เหมือนเขาโยนอะไรมาเราก็ต้องทำ� อันนั้น แต่ถ้าเราทำ�โปรดักส์ของเราเองมันได้ทำ�ในสิ่งที่ ทั้งหลาย อีกอย่างคือ Gadget อันนี้ก็จะจับ กระแส มีอะไรใหม่ๆ เราก็จะตามเทรนด์ หลักๆ เราอยากจะทำ�จริงๆ 050
051
สิ่ว - ฐิติรัตน์ แซ่ลิ้ม
052
รูปลักษณ์ ตัวนี้เลยจะยังเงียบๆ ต่อไปเป็นโคมไฟ โร่ : ตอนแรกต่างคนต่างก็ดีไซน์ออกมาคนละตัว ก็ หมาชื่อว่า Frank ครับ จริงๆ แรงบันดาลใจในการ เลยไม่มีชิ้นแรก มันจะเป็น 7 ชิ้นแรกมากกว่า แต่มี ดีไซน์ตัวนี้มาจากหมาที่ชื่อ Frank ในเรื่อง Men in แค่บางตัวที่ถูกเลือกมาทำ� Black ครับ น่ารักแล้วก็กวนๆ ก็เลยจับคาแร็กเตอร์ เต้ : ถ้าถามว่าตัวไหนได้ผลิตก่อนคือ Small Ville ตรงนั้นมา ถ้าเรามีหมาที่มานั่งดูเราทำ�งาน เล่นกับ โร่ : เป็นฝาครอบสายชาร์ต iPhone คอนเซ็ปต์ เราก็คงสนุก ก็เลยทำ�ขาของโคมไฟที่สามารถถอด เป็นคู่ๆ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกัน อย่างเช่น บ้านกับ และปรับองศาได้ เพือ่ ทีจ่ ะทำ�ท่าทางต่างๆ ตัวสวิทช์ ก้อนเมฆ ตึกกับเครื่องบิน ภูเขากับต้นไม้ ล่าสุดมี ก็ปรับระดับความสว่างได้ ซึ่งตัวนี้จะเป็นไม้บีช แบบที่ใช้กับ iPhone 5 ด้วย เพราะว่าดูลายไม้แล้วรูส้ กึ ว่าเข้ากับความเป็นสัตว์ครับ ต่อไปเป็นนาฬิกา Shady ตัวนี้คอนเซ็ปต์ของมันคือ PIE : งานชิ้นแรกออกมาเป็นยังไงบ้าง กังหันลม และ Surface แบบ 3 มิติในการที่จะ โร่ : ของที่ทำ�มาเซ็ตแรกมันค่อนข้างฉีกแนวกันมาก บอกเล่าเวลา ส่วนเส้น 12 เส้น เราทำ�เป็น 3 มิติ ไม่ได้มาแบบน่ารักอย่างเดียว หรือดีไซน์จ๋า ฟังก์ชั่น ก็จะเกิดแสงเงา ถ้าเราเอาไปวางที่โดนแสง เวลา สุดๆ แต่ละคนก็ต่างสไตล์ ก็ลองปล่อยไปว่าอันไหน เปลี่ยนเงามันก็จะเปลี่ยน กระแสจะดี เต้ : ตัวดีไซน์เนอร์เขาก็คิดถึงนาฬิกาแดดด้วย เหมือนแสงแดดมันเป็นพื้นฐานของการบอกเวลา PIE : โปรดักส์ต่างๆของ Pana Objects โร่ : ต่อไปเป็นที่วาง iPhone ครับ คือฟังก์ชั่นมัน โร่ : เราจะใช้ Solid Wood 100% อย่างนาฬิกาก็ ง่ายๆ แต่ว่าเราใส่รายละเอียดเข้าไป พอวาง iPhone มาจากไม้ที่เป็นชิ้นเดียว แล้วก็แกะสลักออกมาทั้งตัว ลงไป ปุ่ม Home มันก็จะกดได้พอดี เราต้องการ และด้วยความที่เราเป็นดีไซน์เนอร์ พอเราเห็นจุดบอด องศาทีเ่ อียงเท่ากันทุกอัน แต่ไอโฟนรุน่ ใหม่มนั ออกมา เราก็แก้ไขมันไปเรื่อยๆ ทุกล็อตที่ทำ�ใหม่บางทีราย แล้วบางกว่ารุ่นเก่า ก็เลยต้องมาเปลี่ยนให้มันเล็กลง ละเอียดมันก็จะดีขึ้นอีก เดี๋ยวผมจะอธิบายทีละชิ้น เพื่อให้มันกลับมาองศาเดิม ตัวแรก Small Vil e ครับที่พูดไปแล้วเมื่อกี้ อันต่อไป Nobi ครับ เรียกว่าแท่นวางความทรงจำ� (หัวเราะ) PIE : ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนตามข้อบกพร่อง เขาไม่ได้เน้นว่าต้องไปวางอะไรเยอะๆ แต่เขาเน้นว่า โร่ : จริงๆ มันก็เป็นเหมือนข้อดีครับ เวลาที่ทำ�เอง เวลาเรามีสมุดจดโน๊ต หรือสิ่งที่มันมีคุณค่า แต่จะวาง เราทำ�ลองตลาดได้ ไม่ดีเราก็เปลี่ยนไปอันที่ดีกว่า ไม่เยอะ คือเหมือนเราจดเล่มหนึ่งเราก็อยากจะหาที่ ซึ่งถ้าเราไปสั่งผลิตแบบ 1,000 ชิ้น แล้วถ้ามันไม่ดี เก็บ มีที่วางดินสอในการจดบันทึก รายละเอียดของ เราก็ต้องอยู่กับ 1,000 นั้น แต่ถ้าเราลองทำ�มาสัก มันคือ ผิวด้านบนจะเอียงประมาณ 5 องศา เพื่อ 60 ตัว 100 ตัว รู้สึกว่าสามารถปรับรายละเอียด ให้สมุดโน๊ตตกมาข้างหนึ่ง แต่อาจจะด้วยกิมมิคหรือ ให้มันดีขึ้นได้ ตัวที่ 101 มันก็จะดีขึ้นอีกครับ PIE : โปรดักส์ชิ้นแรก
053
อันต่อไปเป็น Tofu Stationary Set ครับ คอนเซ็ปต์ มาจากเต้าหู้ ก้อนสี่เหลี่ยมธรรมดาง่ายๆ แต่ว่าขุดให้ เกิดรายละเอียดที่เป็นฟังก์ชั่นต่างๆ กัน อย่างตัวที่ วางดินสอมันก็จะมี 3 ไซต์ เพราะเราไปดูมาแล้ว คือดินสอ ปากกา มันไม่ได้มีแค่ไซต์เดียว พอเขาซื้อ ไปก็เลือกวางได้ มีที่วางคลิ๊บ ที่วางนามบัตร ส่วน อื่นๆ ก็เป็นที่วางแบบแบ่งของหลายๆ เชฟ ซึ่งก่อน หน้านี้ มันไม่มีถาดรอง แล้วพอคนซื้อไปใช้เขาก็ บอกว่ามันน่าจะมีถาดรองนะ จะยกไปไหนก็ได้ สับ เปลี่ยนที่ได้ มีแล้วรู้สึกว่ามันโอเคขึ้น อันต่อไปเป็น นาฬิกา Bit ครับ ได้ชื่อนี้มาเพราะว่ามันอันเล็กๆ ดูง่ายๆ แต่เล่นกับสีสันของเข็ม เป็นโทนพาสเทล รายละเอียดของมันคือ ตัวงานจะเอียงเท่ากันทุกด้าน ข้างในก็มีรายละเอียดของการแกะสลัก ต่อไปเป็นที่ แขวนผนัง Snappi ตัวนี้เป็นกระดุม คิดว่าเหมือน เราใส่เสื้อให้กับห้องครับ ก็เลยใส่กระดุมให้ผนัง จริงๆ มันสื่อสารกับเรื่องราวของการใช้งานด้วย เพราะจริงๆ มันใช้กับพวกเสื้อผ้า แขวนเสื้อ แขวน กระเป๋า ตัวนี้เราก็พัฒนาตัวแขวนขึ้นมา เพราะตอน แรกที่เราหามันก็ไม่ได้มาตรฐาน พอเราไปหาที่มียี่ห้อ ก็ไม่ได้ฟังก์ชั่นที่เราจะใช้ ก็เลยทำ�เอง และก็เลยมี สติก๊ เกอร์บอกวิธกี ารใช้งานด้วย คือตอนนีก้ ระแส DIY มีมากขึ้นด้วยครับ บางทีคนใช้เขาก็เอาไปติดตั้งเอง และนี่คือโปรดักส์ทั้งหมดในตอนนี้ของเราครับ PIE : ชิ้นไหนฟีดแบ็กดีที่สุด
โร่ : ตอนนี้เป็นโคมไฟ Frank คือทำ�เท่าไหรก็ไม่พอ ครับ (ยิ้ม) แล้วมันไปดังที่ต่างประเทศด้วย ทางโซน ยุโรปเขาเอาไปรีวิวกัน คือเราแทบจะไม่ได้ทำ�แผน โฆษณาเลย แต่คนเห็นเว็บไซต์ เห็นคนรีวิวต่อกันไป 054
เรื่อยๆ ทีนี้คนก็เริ่มติดตามอยากได้บ้าง พอคนเริ่มเห็น ก็เริ่มว่ิงเข้ามา เต้ : ตัวนี้มันดังขนาดที่ในเว็บบอร์ดของพวกทำ� 3d มี คนเอาไปปั้นไว้ตกแต่งห้อง PIE : ฟีดแบ็กของต่างประเทศเขาพูดถึงเรายังไงบ้าง
โร่ : เขานิยามให้ค�ำ หนึง่ คือ Contemporary ประมาณ ว่าร่วมสมัย ซึ่งเขาเห็นเอง เราไม่ได้ชูมันขึ้นมา เรา ก็เลยคิดว่า เออ สิ่งที่เราพยายามจะสื่อสารเปิดตัว ออกไป คนเขารับรู้ เขาอินแล้วก็สัมผัสได้กับเรื่องราว ที่เราจะบอก สิว่ : แล้วก็มอี กี คำ�หนึง่ ทีน่ า่ ภูมใิ จสำ�หรับเรา ถ้าเสิรช์ ดู ทุกอันจะบอกว่า Base in Thailand ค่ะ คือเราก็ เป็นคนกลุ่มเล็กๆ ในไทย แต่ได้แพร่หลายไปด้วยชื่อ ของเรา ตอนแรกๆ ที่ตั้งชื่อมาเราก็ยังกลัวเลย เสิร์ช ไปตอนแรกๆ เจอแต่ Panasonic ตอนที่เราไปจดชื่อ เขาก็ถามว่าน้องตั้งชื่อนี้จะดีเหรอ แต่ทุกวันนี้ก็ดีค่ะ เสิร์ชชื่อเราไปแล้วมันก็ขึ้นนะ (หัวเราะ) PIE : มีสื่อหลายประเทศเขียนถึงพอสมควร
สิ่ว : ก็มีเยอะนะคะ โซนยุโรป เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ โร่ : ถ้าพูดถึงลงนิตยสาร ก็จะมีเกาหลีด้วย เต้ : เหมือนตอนนีใ้ นแถบๆ เอเชียเทรนด์เรือ่ งโปรดักส์ ประมาณนี้ก็มาเหมือนกัน โร่ : คือประเทศที่เขาบริโภคดีไซน์กันอยู่แล้วเนี่ย พอเขาเห็นปุ๊บมันเหมือนสัมผัสได้เลย จูนติดมันก็ไป ต่อยอดเอง PIE : แล้วเขามีสั่งไปขายที่ร้านบ้างมั้ย
โร่ - ภัทรพงศ์ พรพนาพงศ์
055
สิ่ว : บางคนชอบ รักเลย ซื้อเลย ใช้เลย มีแต่คำ� ชื่นชม แต่บางคนก็ยังติดในเรื่องที่ว่าราคาสูง เต้ : เขายังไม่คิดว่าราคาที่ตั้งเป็นราคาของงานดีไซน์ สิ่ว : ใช่ แล้วด้วยตลาดในไทยมีงานไม้ยางพารา เยอะ ซึ่งราคามันก็จะถูกกว่าไม้พวกนี้ แล้วก็ความ เป็น OTOP ซึ่งราคาคนละรูปแบบกันเลย อย่าง PIE : ปีที่แล้วไป Tokyo Designboom Mart OTOP ของบ้านเรานี่สวยนะคะ แต่ว่า...เฮ้ย ทำ�ออก มาตั้งนานชิ้นละ 20 บาท อะไรอย่างน้ี 2012 เป็นยังไงบ้าง เต้ : สนุก ก็ไปเปิดหูเปิดตาว่าโลกเขาทำ�อะไรกัน โร่ : คือมันต้องแบ่งเป็น 3 เรื่องครับ มันจะมีเรื่อง โร่ : ก็เหมือนไปหาข้อมูลด้วย ไปดูงานไม้ของเขาว่า ของแมทีเรียล เรื่องของเทคนิควิธีทำ� แล้วก็เรื่อง เป็นยังไง ซึ่งก็ยอมรับเลยว่าดีจริงๆ ถึงแม้บางเจ้าจะ ดีไซน์อีกเรื่องหนึ่ง คือบางทีของเหมือนกันเลย แต่ ไม่ได้มีดีไซน์อะไรมาก แต่เรื่องรายละเอียดของเขาก็ ด้วยตัวดีไซน์ ตัวรายละเอียดวิธีทำ� หรือชนิดของ เหนือกว่างานไม้บ้านเราไปหลายเท่าแล้ว ไม้ก็ไม่เหมือนกันแล้วครับ คือคนบางคนไม่ได้เห็น คุณค่าของงานดีไซน์หรือตัวรายละเอียด เขาก็จะรู้สึก PIE : คนไทยกับงานดีไซนแบบนี้ ว่า เออ มันก็วางได้เหมือนกัน ซื้อของที่ถูกกว่าดีกว่า โร่ : ผมคิดว่ามันมีหลายแบบนะ มั้ยอะไรแบบนี้ แต่บางคนที่ตรงกลุ่มเขาก็จะรู้สึกว่า สิ่ว : มีค่ะ ตอนนี้เริ่มมีที่มาขอเป็นคนจัดจำ�หน่าย แล้ว ก่อนหน้านี้จะเป็นซื้อรายปลีกจากเว็บไซต์เราไป อันนี้ก็จะเป็น Worldwide ตอนนี้ก็เร่ิมมาเป็นล็อตๆ สั่งของเราไปแทบจะทุกตัวเลยเขาอยากจะเป็นตัวแทน ขายให้เรา
056
เต้ - แววยศ สนธิไชย
รายละเอียดมันสำ�คัญ การจะเลือกของอย่างหนึ่งไปตั้ง เขามองแล้วรู้สึกว่ามันมีคุณค่ากับโต๊ะทำ�งานของเขา มันก็ตอบโจทย์ของเรา สิ่ว : ก็เป็นเรื่องที่เราก็ยิ้มเล็กๆ คือตอนแรกๆ ที่ไป วางในห้างสรรพสินค้า วูบแรกที่คนผ่านไปมาแล้วเรา ยืนดู เขาก็คยุ กันว่า “เฮ้ย งานญีป่ นุ่ ว่ะ” เราก็แปลกใจว่า ทำ�ไมเขาไม่คิดว่าเป็นงานของคนไทยบ้าง โร่ : ตลกตรงที่ว่า ทุกครั้งที่เขาเห็นงานดีๆ เขามัก จะบอกว่า “เฮ้ย ของต่างประเทศ” ทำ�ไมไม่เข้ามาดู ใกล้ๆ แล้ว “เฮ้ย คนไทยทำ�นี่หว่า” ไม่มีเลย PIE : แล้วบ้านเราจะทำ�ยังไงให้มันกว้างขึ้น
สิว่ : อาจจะเป็นทีก่ ารส่งเสริม เป็นความร่วมมือ อย่าง พืน้ ทีเ่ สียเปล่าของบ้านเรามันก็…อย่างทีญ่ ป่ี นุ่ พืน้ ทีใ่ ต้ สะพาน เขาจะทำ�ขึน้ มาเป็นมุมเล็กๆ เพือ่ ทีจ่ ะขายงาน ดีไซน์ ถ้าเป็นคนไทย ก็คงเป็นเหมือนทีจ่ อดรถเก่า
โร่ : แบ่งเป็นห้องๆ ซึ่งไม่เหมือนบ้านเราที่พอมีที่ ก็ให้เช่าขายของอะไรก็ได้ แต่เขาพยายามจะจัดมุมว่า ถ้าคนต้องการใช้ของลักษณะแบบนี้ให้ไปที่นี่นะ เขา จะตอบโจทย์มากกว่าเรา PIE : ถ้าอยากให้โปรดักส์เป็นที่รู้จักกว้างๆ แค่เอกชน ยังไม่พอใช่มั้ย
โร่ : ใช่ครับ สิ่ว : เอกชนก็ต้องมีซัพพอร์ต ถ้าซัพพอร์ตดีก็ไปไว แต่ถ้าเอกชนอย่างเราๆ จะใช้เงินมหาศาลเพื่อการ โปรโมทแบรนด์มันก็ไม่ไหว คือคำ�ว่า OTOP บ้าน เรากับบ้านเขามันต่างกัน อย่างของญี่ปุ่นเจ๋งเลย โชว์ ศักยภาพมีโน่นมีนี่เต็มไปหมด อย่างเมืองไทยก็เป็นอีก แนวหนึ่งที่ก็ดีนะคะ แต่ว่าจะขาดคำ�ว่าดีไซน์ไปนิดนึง PIE : แบรนด์ไทยที่ดีๆ เลยไปดังที่เมืองนอก 057
สิ่ว : อย่างแบรนด์ของเราในไทยคนก็รู้จักน้อยมาก อย่างโคมไฟ ยอดซื้อที่มาก็เป็นของคนต่างประเทศ ทั้งนั้นเลย โร่ : มีครั้งหนึ่งลูกค้าโทรมาบอกว่า เขากำ�ลังจะนั่ง เครื่องกลับแล้วนะ โทรมาสั่งโคมไฟ เอามาให้ทันมั้ย 3 ตัว อะไรแบบนี้
แต่เราจะคิดเรื่องฟังก์ชั่น เรื่องความสวยงาม เพราะ ฉะนั้นปัญหาก็คือเราต้องทดลอง และหาวิธีทำ�จนได้ ให้เวลากับมัน ก็ต้องเรียนรู้หาวิธีใหม่ๆ อยู่ตลอด สิ่ว : อย่างพวกเราเป็นดีไซเนอร์ เราไม่ได้มีพื้นฐาน เรื่องงานไม้ ออกแบบจากความสวยงามเป็นหลัก แต่ พอได้ลอง ได้ทำ�มาแล้วสักระยะหนึ่ง เราเริ่มรู้ขนาด ของไม้ เทคนิคเข้าไม้ ก็ปรับเทคนิคการผลิตเข้ามา PIE : ข้อดีข้อเสียของการเป็นแบรนด์ขนาดเล็ก ในงานออกแบบ โร่ : ข้อดีคือ พอเราดีไซน์เอง ทำ�เอง ทุกอย่างมัน โร่ : ปัญหาก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เหมือนกับเราเข้าใจ คุมได้ เราอยากจะปรับอะไรเราก็ปรับได้มันดูใกล้ตัว เทคนิค วิธีของเรา ดีไซน์ไปด้วย คิดไปด้วย บางทีเรา หรือขายปุ๊บก็จะรู้ว่าอะไรดีไม่ดี เวลาเขาซื้อไปใช้ ถ้า ก็คิดอะไรใหม่ๆ ดีเขาก็จะบอกต่อมันก็เริ่มรู้ฟีดแบ็กว่า อ๋อ ตัวนี้มันดี ไม่ดียังไง หรือแม้กระทั่งเราขายออนไลน์เอง คนที่สั่ง PIE : แผนในอนาคต คิดอะไรไว้บ้าง เขาถาม เราก็จะรู้ว่ามันเป็นยังไง โร่ : ถ้าเป็นเรื่องการขยายของบริษัท จริงๆ สิ่งที่เรา เต้ : ข้อเสียก็ทำ�ขายไม่ทัน (หัวเราะ) กำ�ลังทำ�อยู่มันยังไม่ถึง 10% ของแผนด้วยซ้ำ� มันยังเป็น โร่ : เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้งดีทั้งเสียในเวลาเดียวกันครับ ยุคของการเปิดตลาด แต่ยังไม่ใช่ยุคที่ทำ�ตลาดเพื่อเอาเงิน ข้อดีคือ เราเลือกตลาดได้ อย่างเวลาคนจะมาซื้อ หรือเป็นเจ้าตลาด ต้องรออนาคตต่อไปข้างหน้า ค่อยๆ เป็น 1,000 ชิ้น เราไม่ขาย เพราะว่าเราไม่มี เราก็ เดินต่อไป ซึ่งตอนนี้ก็ค่อยๆ เรียนรู้ว่า ตอนนี้เราทำ�อะไร เลือกได้ว่าของมันจะไม่กระจายไปตลาดล่าง ไม่ต้อง ได้บ้าง จะขยายขั้นต่อไปเราต้องเพิ่มอะไรบ้าง อันนี้เป็น ไปผ่านหลายทอด เพราะเขาจะกดราคาสูงๆ เอา สิ่งที่เราคุยกันอยู่ตลอด แล้วก็คิดว่าในอนาคตยังไงแค่นี้ก็ เยอะๆ แต่เราขายไม่เยอะมากมันก็จะไปสู่หน้าร้าน ไม่พอ นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้น จริงๆ เรามีงานเซอร์วิสด้วย เลย หรือคนที่เปิดร้านจะติดต่อมาเองโดยตรง เป็น หมายถึงรับสั่งทำ�ด้วย เพราะฉะนั้นเราค่อนข้างจำ�เป็นที่ ทั้งข้อดีข้อเสียในเวลาเดียวกัน แต่ข้อเสียจริงๆ ที่ จะต้องเซ็ตอัพกำ�ลังการผลิตในอนาคตขึ้นมา และยังต้อง เห็นชัดก็คือ เรามีข้อจำ�กัดเรื่องของการผลิต พอ เปิดช็อปอีก หลายขั้นเลยที่ยังไปไม่ถึง อะไรๆ มันดูน้อย ก็เลยทำ�ให้ของที่บางทีหมดแล้ว ต้องรอ หรือจะทำ�ล็อตใหญ่ๆ เลยก็ทำ�ไม่ได้ PIE : สิ่งที่เรียนมาในมหาวิทยาลัยกับงานทำ�งาน มันใช้ได้จริงไหม
PIE : ปัญหาหลักๆ ที่เจอในการทำ�โปรดักส์แต่ละชิ้น
โร่ : น่าจะเป็นเรื่องของเทคนิคการทำ�มากกว่า เพราะแต่ละตัวที่คิดมา เราจะไม่คิดเรื่องของการทำ� 058
โร่ : เรียกว่าโชคดีที่เราเรียนที่บางมดครับ เพราะ โปรดักส์แต่ละที่สอนดีหมด แต่ว่าจุดที่เน้นไม่เหมือนกัน ของบางมดจะเน้นในเชิง Human Behavior หรือว่า
059
060
Research ต้องไปดูว่าคนใช้เขาต้องการอะไร ขาด อะไร หรือสอนในเชิงครีเอทีฟ เชิงคิดมากกว่า พอ เราได้เรื่องแนวคิดมาแล้ว เรื่องเทคนิคกับวิธีการเราก็ ต้องมาหาเพิ่มเอง แต่ถ้าเปรียบเทียบลาดกระบังกับ ศิลปากรเขาก็จะมีเรื่องพวกนี้มากกว่าเรา ซึ่งถ้าถาม ว่าใช้ได้จริงมั้ย ใช้ได้จริงครับ ขึ้นอยู่กับว่าเรียนมา แล้วจะเอาอะไรมาใช้มากกว่า ส่วนใหญ่ก็ครึ่งต่อครึ่ง เลยที่จะมาทำ�สายนี้ อีกครึ่งหนึ่งก็ไปทำ�ของตัวเอง ทำ�งานประจำ� ที่ไม่ได้ใช้ความรู้อะไรเลยกับที่เรียนมา สิ่ว : บางทีสิ่งที่เรียนมันก็คือแนวความคิด เขาสอน ให้เราคิดเป็น เราสามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้ และ ประสบการณ์ที่เราได้ทำ�งานมาก่อนที่จะทำ� Pana Objects มันยิ่งทำ�ให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น ว่าแนวคิด อย่างนี้ความเป็นจริงอาจจะไม่เวิร์คนะมันก็ทำ�ให้เรามี ภาพที่ออกมาจากกรอบแต่กรอบก็มีความเป็นไปได้อยู่ PIE : ความสุขของการทำ� Pana Objects
โร่ : จริงๆ ถ้าพูดถึง ณ ตอนนี้ เรายังไม่ได้ผล กำ�ไรอะไรมากมายหรอกครับ ก็เรียกว่าเอาตัวรอด อยู่ไปเดือนๆ แต่ว่าความสุขที่มีก็คือ เหนื่อยแต่มัน
ก็เป็นของเราเอง แล้วเราเห็นว่ามันกำ�ลังเดินไป ข้างหน้าเห็นว่ามันกำ�ลังขยายอยู่ ก็มีกำ�ลังใจว่า เออ…วันนี้อาจจะได้แค่นี้แหละ แต่ว่าวันต่อๆ ไป ผมว่ามันได้มากกว่านี้อยู่แล้วล่ะ ไม่ได้รู้สึกว่าต้อง มานั่งเสี่ยงหรือมานั่งพะวงว่า เราอาจจะล่มก็ได้นะ มันไม่ดีไม่เวิร์คเลย แต่ผมไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นเลย กระแสที่เข้ามาเป็นในเชิงที่ว่า มันเป็นกำ�ลังใจได้ และรู้สึกว่าเรามาถูกทางแล้ว เราไม่ควรจะหยุด เดินแล้ว PIE : แนะนำ�คนที่อาจจะยังไม่ได้สนใจงานโปรดักส์ แบบนี้หน่อย
โร่ : ผมคิดว่ามันเป็นความสุนทรีย์ในการเลือกของ มาใช้ บางทีของเหมือนๆ กัน ใช้ได้เหมือนๆ กัน แต่ว่าคุณจะสุนทรีย์กับมันมากแค่ไหน คุณบอกว่า อยากได้โคมไฟตัวหนึ่งมาตั้งบนหัวเตียง 200 บาท ก็มี ถูกๆ ก็หาได้แต่ถ้าคุณซื้อ 2,800 คุณได้อะไร จากมันบ้าง บางทีมันอยู่ที่น้ำ�หนักของการเลือกใช้ ในแต่ละคน ซึ่งถ้าเราลองดูสักครั้ง เราก็จะรู้ว่า ความสุนทรีย์มันเป็นยังไง
061
PIE TALK
Miti Ruangkritya Imaging In Fact photographer 062
การถ่ายภาพทุกวันนี้ สะดวกสบายมากกว่าแต่ก่อนเยอะครับ ตั้งแต่กล้องรุ่นใหญ่ราคาสูงลิบจนถึง มือถือเกือบทุกรุ่นก็เรียกว่าหยิบมาลั่นชัตเตอร์กันได้ แต่งานถ่ายภาพที่ดูดีและมีสไตล์ชัดเจนไม่ง่าย แบบนั้นหรอกครับ และมิติ เรืองกฤตยา ก็เป็นหนุ่มเลือดใหม่ไฟแรงอีกคนที่พูดคุยสื่อสารกับผู้คนด้วย ภาพถ่ายได้อย่างมีเสน่ห์ การันตีด้วยรางวัลจากหลายสำ�นัก เช่น Magenta Foundation for Emerging Photographers (United Kingdom) และแสดงงานมาแล้วหลายประเทศ ลองไปฟัง วิธีการเล่าเรื่องสังคม วัฒนธรรม การเมืองในแบบมีมิติของ มิติ เรืองกฤตยา กันครับ 063
PIE : พี่มิติเรียนที่อังกฤษ
พี่มิติ : ตั้งแต่ 10 ขวบครับ ไปตั้งแต่ ป.4 อยู่ โรงเรียนประจำ� พอเรียนโทก็เข้ามาอยู่ลอนดอน PIE : ตอนเด็กๆ สนใจเรื่องอะไรบ้าง
พี่มิติ : สะสมแสตมป์ทั่วไป อ่านหนังสือ ตอนนั้น เราอยู่ไกลบ้าน พ่อก็ส่งกล้องมาให้ถ่ายรูป แต่ก็ไม่ได้ สนใจ เพิ่งเร่ิมมาถ่ายรูปจริงๆ เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอน เรียนจบก็คิดว่าทำ�อะไรดี เราไม่รู้จริงๆ ก็เหมือนเด็ก หลายๆ คน ตอนที่เรียนปริญญาตรีเราก็ทำ�ตามใจ ที่บ้าน เขาอยากให้เรียนวิชาที่ดูน่าเชื่อถือหน่อย ผมก็ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร เลยเลือกวิชาเกี่ยวกับสังคม ก็เรียนไปด้วยความที่ไม่มีความสุขเลย แต่มาคิดดู ตอนนี้มันก็ได้เห็นมุมมองในทางสังคมกว้างขึ้น วิชานี้ ไม่มีสอบ มีแต่เข้าห้องสมุด วิธีคิดหรือการทำ�งานก็ได้ มาจากตรงนี้เยอะ ผมได้ระบบการเขียนและวิธีการ ค้นคว้า ซึ่งพอกลับไปคิดดูแล้วดีนะ เพราะถ้าคนที่ เรียนอาร์ตไปเลยเนี่ย ก็อาจจะเขียนไม่ได้ ซึ่งมันก็ช่วย ในแง่ของการถ่ายภาพด้วย เพราะถ้าพูดกันในสมัยนี้ ใครๆ ก็ถ่ายภาพได้ มีกล้องดิจิตอล ยิงไป 100 รูป ก็ต้องมีสักรูปที่สวยใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดจะ ทำ�งานให้น่าสนใจ มันต้องมีอะไรมากขึ้น
เรียนตรงนั้นจะเป็นแนวถ่ายรูปวิว ดอกไม้ ก็สนุกดี ได้เดินทาง ไปเที่ยวถ่ายรูปดอกไม้ เริ่มจากตรงนั้น แต่พอถ่ายไปแล้วผมรู้สึกว่ามันเริ่มน่าเบื่อ เวลาเราไป เป็นกลุ่ม ถ่ายแนวสมาคม เราไม่ชอบ แต่ไม่ได้บอกว่า สิง่ ทีเ่ ขาทำ�มันไม่ดนี ะ แค่เราเริม่ สนใจถ่ายภาพตามถนน ตอนนั้นเราไม่ได้รู้จักช่างภาพอะไร เพื่อนที่เรียนอาร์ต ก็บอกว่า ลองดูคนโน้นคนนี้สิ ที่เขาแนะนำ�เป็นพวก ช่างภาพแนวกึ่งสารคดี อย่าง Martin Parr เป็นคน อังกฤษ แต่เราก็อยากรู้ว่าทำ�ไมเมืองไทยไม่มีช่างภาพ แบบนี้ ก็ไปค้นดู ก็เจอคุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เขาถ่ายภาพขาวดำ�ของกรุงเทพในเชิงโรเเมนติก ซึง่ วันนัน้ ผมจะไปซื้อหนังสือของคุณสุรัตน์ แล้วผมไปเจออีก เล่มหนึ่งของคุณมานิต ศรีวานิชภูมิ มันตลกร้ายมาก ผมชอบ ก็เลยเริ่มสนใจการถ่ายภาพแนวนี้ PIE : เลยตัดสินใจไปเรียน
พี่มิติ : เริ่มรู้สึกว่าอยากลองกลับไปเรียนถ่ายรูป เลยไปเรียน Foundation course ที่มหาลัยศิลปะ ในลอนดอน ครูที่สอนเขาก็แนะนำ�ให้ลองไปดูงานของ ช่างภาพหลายๆ คน เราก็เริ่มเข้าห้องสมุด ที่โน่น จะมีหนังสือเยอะมาก แล้วก็มีหนังสือดีๆ คือถ้าเรา ไปซื้อเอง บางเล่มก็ไม่มีขายแล้วหรือแพงมาก ผมก็ เริ่มดูงานของช่างภาพหลากหลายมากตั้งเเต่ Bruce PIE : แล้วไปทำ�อะไรต่อ Gilden, Nick Waplington, William Klein, Jim พี่มิติ : ตอนนั้นผมกลับมาเมืองไทย แล้วก็ลองไป Goldberg, Araki, Daido Moriyama etc. ก็ยิ่ง ทำ�งานบริษัท แต่ไม่ชอบ ทำ�ได้แป๊บเดียวแล้วผมก็ เห็นว่างานที่เราชอบเนี่ย มันจะมาทางกึ่งสารคดี ออกมา บ้านผมอยู่ที่คลองสาน แถวนั้นจะมีโรงเรียน เป็นส่วนใหญ่ แต่เวลาพูดถึงสารคดีต้องแยกก่อนนะ สารพัดช่างครับ มีคอสเรียนชั่วโมงละบาท ผมก็เลย ถ้าอยู่ในเมืองไทยคนก็จะนึกว่าเป็นพวก National ลองไปเรียนถ่ายรูป ตอนนั้นเริ่มเรียนที่นั่นก็ได้แนว Geographic อะไรอย่างนี้ นั่นก็คือภาษาหนึ่งของ เทคนิค เปิด F-Stop ยังไง เรียนเบสิกต่างๆ คือเป็น งานสารคดีที่คนอาจจะคุ้นเคย แต่เดี๋ยวนี้งานถ่ายภาพ เรื่องที่เราไม่รู้ เมื่อก่อนมีเป็นกล้องออโต้แล้วก็กดๆ ไป สารคดี ภาษาของภาพมันก็เปิดพอสมควร งานโฆษณา 064
Between the Everyday
065
On the Edge
066
งานแฟชั่น ก็ถ่ายเป็นเเนวสารคดีได้ มีความยืดหยุ่น อย่างมาก จะเห็นได้จากเวลาไปดูธีสิสเด็ก Fine Art บางทีงานมีกลิ่นสารคดีมากกว่าเด็กเรียนสารคดีซะอีก เเละกลับกัน งานเด็กจากสารคดีบางคนก็ Conceptual ไปเลย PIE : แล้วตอนไปเรียน ที่โน่นเขาตื่นตัวมั้ยกับเรื่อง ของการถ่ายรูป
พี่มิติ : ถ้าในแง่เชิงศิลปะ เมื่อก่อนงานถ่ายภาพใน ยุโรปหรืออเมริกามันเป็นศิลปะที่มิวเซียม ยังอาจมอง ว่ามันไม่ใช่ Fine Art แต่ช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาเนี่ย เริ่มโดนผลักเข้าไป คนเร่ิมยอมรับ ซื้อเป็นคอลเล็กชั่น สะสม ก็คึกคักกว่าที่เมืองไทย เพราะบ้านเราถ้ามอง เรื่องงานภาพถ่าย คนก็ยังไม่ค่อยซื้องาน จะซื้อก็เป็น พวกงานเพ้นท์ติ้งมากกว่า PIE : แล้วเรียนต่อปริญญาโทเป็นยังไงบ้าง
พี่มิติ : ผมจบจาก Foundation course ก็ไปต่อป.โท ถ่ายรูป ทุกที่มันก็มีเลวมีดี คือครูที่เป็นหัวหน้าแผนก เขามาจากสายเก่าหน่อย เราก็จะหงุดหงิดบ้าง เหมือน เรามีไอเดียอะไรสักอย่างที่อยากทำ� แต่พอทำ�ไปจริงๆ เขาก็ไม่สามารถตอบอะไรเราได้อย่างที่ต้องการ แต่ก็ ได้ไปเจอครูคนหนึ่งชื่อ David Campany เขาเป็น นักเขียนทางด้านหนังกับภาพถ่ายแนว Contemporary ซึ่งจากที่เขาสอนบางคนก็จะเกลียดเลยนะ แต่ผมชอบ เพราะเขาเปิดโลกทัศน์ของเรามากเลยว่า วิธกี ารนำ�เสนอ ซึง่ บางทีเราอาจจะไม่เห็นด้วยกับเขาทุกอย่าง แต่วา่ มันก็ น่าสนใจมากกว่าการที่เรามีอะไรก็กดถ่ายไป
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการถ่าย ตลอดจนถึงการนําเสนอ งาน ซึ่งในที่สุดเเล้วงานภาพถ่ายอาจจะไม่ได้ต้องการ ความรวดเร็วหรือความเร่งด่วนที่จะต้องจับเหตุการณ์ที่ กําลังจะเกิดขึ้นขณะนั้นไว้ ในเเง่ของ The Decisive Moment ที่ Cartier Bresson กล่าว เเต่ภาพถ่าย มันอาจจะเป็นอะไรที่เชื่องช้ากว่านี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ คนดูได้อ่านภาพหรือเเปลความหมายของภาพนั้นๆ อีกอย่างตอนอยู่ที่อังกฤษในมหาวิทยาลัย ก็จะมีช่าง ภาพที่อยู่ในวงการมาบรรยายตลอด ตอนนั้นผมไป ฟังบรรยายของ Martin Parr เด็กเข้ามาเต็มจนคน เข้ามาไม่ได้ เจอช่างภาพเยอะแล้วหลากหลายมาก ซึ่งก็ทำ�ให้เราได้แนวคิด ได้เรียนรู้พัฒนา มีตั้งแต่ Bloomberg and Chanarin, Mishka Heshner etc. อย่าง Tim Hetherington ที่ผมได้ฟังเขาพูด คนนี้ เขามาสาย Traditional ถ่อมตัวมากเลย ผมรู้สึกว่า คนที่ดังๆ เขาไม่มีอีโก้เหลือแล้ว เราจะคุยถามอะไร เขาก็ได้ มีอีกคนคือ Simon Roberts คนนี้ก็ดี เขา พูดตรงๆ ว่า เขาทำ�งานอาร์ตส่วนหนึ่ง แต่ก็ถ่าย FHM ถ่ายทั่วไปด้วย แต่เขาจะใช้อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งเขา ก็พูดหมด ไม่ได้เก็บงำ� PIE : แล้วหลังจากนั้น
พี่มิติ : หลังจากนั้นผมไปทำ� Workshop ที่เขมร ที่เสียมราบเป็น Angkor Photography Festival, 2009 ตอนนั้นฟรีหมดเลย ผมส่งไปแล้วก็มีอาจารย์ ให้เลือก ผมเลือก Antoine d’Agata ตอนแรก ก็กลัว เพราะดูงานเขาแล้วมันดิบๆ แต่ภาพจะดู เบลอๆ มันหนักมากแต่ผมก็เลือกคนนี้ เพราะคน PIE : วิธีการนำ�เสนอยังไง อื่นๆ เรารู้จักแล้ว ซึ่งคนนี้ไม่รู้จัก ถึงเราอาจจะ พี่มิติ : ในงานถ่ายภาพ มันมีความหลากหลายมากใน ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำ� แต่มันน่าสนใจ ก็รู้สึกว่า วิธีการที่เราอยากจะเล่าเรื่องหรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะ คิดถูกมากที่มาเรียนกับเขา ตอนสอนครูท่านอื่นเขา 067
ก็จะส่งนักเรียนออกไปตอนกลางวัน แต่นี่วันแรกส่งไป บาร์เหล้าเลยตอนกลางคืน เขาจะมีวธิ กี ารทำ�งานของเขา ซึ่งมีนักเรียนบางกลุ่มที่มาเวิร์คช็อปก็จะไปถ่ายตาม เเนวเขาเลย แต่ตอนนั้นผมรู้สึกปล่อยตัวฟรีได้ จะทำ� อะไรก็ได้ ชอบวิธกี ารสอนของเขามาก ตรงทีเ่ ขาไม่เคย บังคับเด็กที่เรียนให้เป็นไปในทางเขา เเต่เขาสามารถ ผลักดันให้เราไปในทางที่เราต้องการ เเละค้นหาทางนั้น ในเเบบของเราเอง คือจริงๆ งานทุกอย่างของผมจะมา จากความไม่ตั้งใจเสมอ ตอนแรกที่ไปก็คิดว่าอยากถ่าย นักท่องเที่ยว แต่พอคิดๆ ไปก็รู้สึกว่าไม่เวิร์ค ผ่านไป 3 วัน ผมก็นั่งรถตุ๊กๆ ให้เขาพาไปข้างนอกเมือง แล้ว ผมก็ไปเจอถนนเส้นหนึ่ง เหมือนเป็นถนนมอเตอร์เวย์ เส้นยาวมาก แล้วไปสุดตรงที่เป็นพื้นหญ้า ไม่ค่อยมีคน พอตอนบ่ายๆ เริ่มมีคนมานั่ง มีชีวิตชีวาขึ้นมา ก็เลย 068
เป็นโปรเจ็กต์ On the Edge ขึ้นมา ผมก็เลยเริ่ม ถ่ายอะไรที่อยู่ระหว่างขอบเขตของความเป็นเมืองกับ ความที่ยังเป็นธรรมชาติ PIE : จากที่เราไปเจอแล้วเกิดความประทับใจ
พี่มิติ : ใช่ครับ มันเป็นความบังเอิญ เรารู้สึกว่าถ้าไป วางแผนอะไรเกินไป มันจะไม่มีความยืดหยุ่น บางทีที่ ที่เราทำ�ไป มันอาจจะมีอะไรที่น่าสนใจเกิดขึ้นมาจาก ความไม่ตั้งใจ PIE : ดูงานส่วนใหญ่ของพี่มิติมีความเป็นสารคดี ส่วนหนึ่งแต่ก็มีความเป็นอาร์ตด้วย
พี่มิติ : ผมว่ามันเป็นส่วนรวมทุกอย่างของประสบการณ์ ของงานเเละผูค้ นทีเ่ ราได้เจอ เป็นเพราะพวกงานทีผ่ มดูมา
On the Edge
งานของช่างภาพที่ผมชอบ ก็คงจะมาทางกึ่งสารคดี อยู่แล้ว แต่ผมก็ไม่อยากไปพูดว่า นี่มันต้องคอนเซ็ปต์ หรืออะไรแบบนี้ ไม่ได้อยากมาแยกว่าผมต้องทำ�ตัว เป็นศิลปิน คือเราอยากทำ�งานกึ่งสารคดี ซึ่งบางงาน มันอาจจะกึ่งคอนเซ็ปต์บางงานอาจจะไม่ใช่ PIE : งานของพี่มิติมีเรื่องวัฒนธรรม สังคม การเมืองเยอะ
พี่มิติ : จริงๆ ตอนกลับมาอยู่เมืองไทย...ผมรู้สึกว่า การเมืองที่อังกฤษ มันไม่ค่อยมีข่าวใหญ่ ประเทศเขา ไม่ได้มีอะไรหวือหวาแบบบ้านเรา แต่เมืองไทยเรื่อง เยอะมากเหมือนละครทีวี และเราหนีไม่ได้ แต่ว่าเรา อยู่ที่นี่ มันได้เจอได้สัมผัสตลอด เช่น โปสเตอร์ของ คุณอภิสิทธิ์ กับคุณยิ่งลักษณ์ ขับรถไปไหนเราก็เห็น
เราก็อดไม่ได้ที่…เออ ทำ�ไมไม่เห็นมีใครทำ� หรือ มีสื่ออะไรถ่ายบ้าง ผมว่ามันน่าสนใจดีนะ ก็เลย ถ่ายเก็บเอามาทำ�เป็นซีรี่ย์ หรืองานชิ้นแรกที่ทำ� ตอนเดินขบวนของเสื้อเหลือง ก็เห็นว่าทีเชิ้ตมันมี หลากหลายมาก แต่ละตัวก็มีลวดลายความหมาย ที่น่าสนใจ ก็เหมือนกับถ่ายสะสมมาเรื่อยๆ PIE : หลายๆ งานมีที่ว่างเยอะ มีความดิบ ความเรียบง่าย ทำ�ไมถึงออกมาเป็นแบบนั้น
พี่มิติ : อันนี้อาจจะเกี่ยวกับหนังหรืองานภาพถ่าย ที่เราชอบ อาจจะเป็นอารมณ์ที่เราอยากได้กับงาน ด้วยในส่วนนั้น ส่วนมากผมก็ดูหนังหลากหลาย อย่างหนังจีนเรื่อง Still Life ก็เป็นเรื่องที่ยัง ติดตาอยู่ 069
Between the Everyday
070
มากๆ ที่มาคลุมรูปอยู่ ซึ่งถ้าดูผ่านๆ ก็อาจจะ พี่มิติ : อ๋อ ถ้าในเมืองไทยก็มีคนบอกเหมือนกัน อย่าง มองว่า เออ รูปสวยนะ แต่พอดูใกล้ๆ ศึกษาดูจริงๆ งานน้ำ�ท่วม คนที่สิงคโปร์ก็บอกว่าเหมือนภาพเพ้นท์ติ้ง มันมีอะไรที่ผิดปกติเยอะเลย มีอันหนึ่งที่เป็นรูปปั้ม น้ำ�มัน ฝรั่งดูแล้วเขาก็…อ่าว ตกลงว่านี่คือน้ำ�เหรอ ของ Edward Hopper ที่แสงคอนทราสต์เยอะ แล้วมันก็จะทำ�ให้เขาสงสัยว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง PIE : อธิบายถึง ภาพเซ็ตน้ำ�ท่วม (Imagining PIE : มีรูปที่เป็นปูนแล้วมีคนไปอาศัยอยู่ Flood) หน่อย อันนั้นไปเจอได้ยังไง พี่มิติ : อันนั้นเริ่มจาก ผมเคยไปถ่ายภาพให้กับ หนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส เหมือนเราถ่ายภาพข่าวแล้ว พี่มิติ : อันนั้นก็เห็นในเฟสบุ๊ก มีช่างภาพไปถ่ายมา รู้สึกว่ามันมีความจํากัด คือเวลาเราทำ�งานอะไรให้ใคร ตอนกลางวัน ผมไปกลางคืน (หัวเราะ) แต่อันนั้น สักคน มันก็ไม่มีความเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เราก็มองว่า พอเอามา edit แล้วมันเหมือนจะไม่เข้ากับ Imagining สื่อที่ออกมาในเมืองไทย มันจะมีแต่อารมณ์ที่บอกว่าคน Flood ก็เลยแยกออกมา ไทยรักกันช่วยกัน แต่เรามองในฐานะคนที่อยู่ในเมือง จริงๆ น้ำ�ก็จะท่วม ข่าวก็มาตลอด เราคุยกับใครก็ได้ PIE : เซต Between the Everyday ยินได้ฟังมาว่ามันจะท่วมมั้ย เราก็อยากจะสื่อความกลัว พี่มิติ : อันนั้นเป็นโปรเจ็กต์ Politic of ME ผม จากโปรเจ็กต์ตอนแรกอยากจะถ่ายคนนอนหลับ แต่ทุก ก็อยากจะทำ�เกี่ยวกับตัวผมเอง อยากสื่อหลายๆ อย่างในชีวิตที่…เหมือนจังหวะเวลาทุกอย่างที่อาจ อย่างพอทำ�ออกมามันก็ไม่ได้เหมือนกับที่คิด จะดูไม่น่าสนใจ แต่จริงๆ พอรวมกันแล้วมันเป็นสิ่ง สำ�คัญในชีวิต เดี๋ยวนี้ผมยังเป็นเลย อินสตาแกรม PIE : ถ่ายคนนอนหลับ กับถ่ายเรื่องน้ำ�ท่วม หรือเฟสบุ๊ก คนส่วนมากก็จะถ่ายเวลาที่มีอะไรที่รู้สึก ไกลกันเยอะเลย พี่มิติ : คืออยากถ่ายเรื่องความกลัว ตอนนี้ก็ยังอยาก อยากโชว์อะไรอย่างนี้ แต่อันนี้มันเหมือนเป็น Anti ถ่ายแต่ยังไม่รู้จะถ่ายยังไง มันยากเกินไปที่จะทำ� อยู่ Kodak Moment น่ะ ซึ่งงานนั้นมันมีข้อจำ�กัดด้วย ดีๆ ใครจะให้คนแปลกหน้าเข้าบ้าน มันก็คงยาก แล้ว เวลา เพราะฉะนั้นผมก็เลยถ่ายแฟนผมเอง แล้วผมก็ บังเอิญตอนนั้นเพื่อนชวนไปดูแถวปิ่นเกล้า ตอนที่ไปก็ ถ่ายรวมกับสิ่งของในออฟฟิศ เป็นช่วงเย็นๆ มันหลอนมากเลย มีน้ำ�แล้วก็มีรูปปั้น กระต่ายอยู่ตรงกลาง ผมก็เลยลองถ่ายดูตอนค่ำ�ๆ มัน PIE : เครื่องแฟ็กซ์มีความหมายยังไง ได้อารมณ์ เพราะสถานที่พวกนี้ ตอนกลางวันมันก็มี พี่มิติ : เหมือนอะไรที่อยู่ในชีวิตที่เราเจอทุกวัน แต่ ลักษณะเป็นเหมือนคนอีกคนหนึ่ง ดูยุ่ง มีรถวิ่งไปมา มันเป็นสิ่งที่ธรรมดามาก แล้วในงาน Exhibition ผม แต่ว่าสถานที่ๆ เราคุ้นเคย พอเปลี่ยนเป็นตอนกลางคืน ก็ปริ้นใหญ่มาก หรือว่าต้นบอนไซ คือทุกอย่างมันอยู่ ที่ไม่มีใครเลย เงียบสงัด หลายๆ รูปมันก็จะมีความดำ� กับเรานี่แหละ เพียงแต่ว่าเราไม่ได้สนใจ PIE : นึกถึงหนังของพี่เจ้ย-อภิชาติพงศ์
071
เดียวมันอยู่ไม่ได้หรอก เพราะว่าเมืองไทยไม่มีคนซื้อ หรือสภาพทางสังคม ความชอบของคนก็ยังไม่ได้ ถึงจุดที่คนจะมาซื้อ คือถ้าคนมีเงินเขาก็คงจะไปซื้อ พี่มิติ : ถ้าพูดให้รวมที่สุดก็คงเป็นงานบันทึกส่วนตัว เสื้อผ้า ซื้อกระเป๋าอะไรพวกนี้ เพราะมันเป็นอะไรที่ น่าจะอารมณ์ประมาณนั้นมากกว่า โชว์ได้ เห็นชัดแน่นอน มันก็น่าเสียดาย อย่างตอนไป เฟสติวัลที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตลาดเขามี PIE : แต่ไม่ใช่สารคดีที่เป็นเชิงข้อมูลมากๆ หรือ คนซื้อ คนอายุประมาณ 30 ต้นๆ รวย แล้วก็อยาก ดราม่ามาก พี่มิติ : หลายคนเขาบอกว่าเห็นรูปผมแล้วได้อารมณ์ ซื้องานศิลปะ แต่บ้านเราไม่มี หรืออาจจะมีอยู่กระจุก ซึ่งอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ แต่อย่างงานเซ็ตน้ำ�ท่วมที่ เดียว อย่างที่อินโดนีเซียเขาก็มีกลุ่มช่างภาพที่รวมกัน ผมเอาไปโชว์ที่อิตาลี ผมประทับใจมากเลยนะ คือที่อื่น มาเป็น 10 ปีแล้วมั้ง ก็อยู่สาย Fine Art ถ่ายรูป จะโชว์ที่เฟสติวัลมีงานภาพถ่ายเยอะ เราก็จะไม่ได้คุย มันก็เริ่มเป็นก้อน ก็ต้องยอมรับว่างานศิลปะมันต้อง กับคนที่เขามาดูงานเท่าไหร่ แต่ว่าที่อิตาลีมันเหมือนกับ อยู่กันเป็น Community เพื่อความอยู่รอด ถ้ามัวแต่ เป็นงานโซโล่ เราก็ได้เจอแม้กระทั่งแม่บ้านที่ดูจะเชยๆ ทำ�อย่างเดียว แต่ไม่มีคนสนใจมันก็ไปไหนต่อไม่ได้ ธรรมดาๆ แล้วเขาก็พูดหลายอย่างเหมือนที่เราคิด เขา บอกว่า ภาพนี้มันสวยนะ แต่ว่าถ้าคุณดูลึกลงไปมันจะ PIE : ได้รางวัลในต่างประเทศมาเพียบเลย คิดว่า เขาชอบอะไรในงานของเรา เห็นอะไรบางอย่าง มีความน่ากลัว พี่มิติ : ก็อาจจะเพราะผมอยู่ต่างประเทศมานาน PIE : ความเข้าใจและความใกล้ชิดกับศิลปะบ้านเรา ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนอังกฤษหรือคนไทย ฉะนั้น สิ่งที่ผมมองอาจจะมีความเป็นกลางมากกว่าหรือเปล่า กับต่างประเทศต่างกันไหม พี่มิติ : อาจจะใช่ ที่ยุโรปที่สังเกตคนทุกเพศทุกวัยมา ไม่แน่ใจ แต่ผมว่ามันก็ไม่มีความเป็นกลางหรอกใน ดูงานศิลปะสัดส่วนมากกว่าไทยเยอะ เขาจะเข้าใจหรือ การถ่ายรูป บางทีคนถ่ายรูปเขาก็บอกว่า ฉันถ่าย อยากจะเข้าใจในงานนั้นมั้ยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เเต่อย่าง Neutral แต่มันก็ไม่จริง เพราะทุกครั้งที่เราเลือกเฟรม น้อยที่สุดงานเเละนิทรรศการศิลปะได้เป็นส่วนหนึ่งใน รูป ความเป็นกลางมันก็หมดไปแล้วใช่มั้ย บางทีที่ผม ไปถ่ายรูป ทำ�ไมผมไม่เอาสิ่งนี้อยู่ในเฟรม ซึ่งถ้าถาม ชีวิตของเขา คงเหมือนถ้าคิดอะไรไม่ออกในกรุงเทพ ว่าทำ�ไมคนถึงชอบงานผม ผมก็ไม่รู้ แต่ผมก็อยากทำ� ก็ไปห้างฯก่อน อย่างนี้ของผม (หัวเราะ) PIE : การไปโชว์งานที่ต่างประเทศ เป็นยังไงบ้าง PIE : งานที่เป็นสารคดีส่วนใหญ่มักจะบอกข้อมูล พี่มิติ : อย่างคราวนี้ ที่ไปอิตาลีการตอบรับก็ดี มี คอลเล็กเตอร์คนหนึ่งสนใจ ก็ลุ้นอยู่ว่าจะซื้อกี่ภาพ แต่ บางอย่าง ภาพของพี่มิติมันบอกความรู้สึกอะไร มันน่าเสียดายที่เมืองไทยยังคงเกิดยาก หลายคนคงตั้ง พีม่ ติ ิ : จริงๆ มันก็เหมือนกับเราอ่านหนังสือหรือดูหนัง คำ�ถามว่าจะอยู่ยังไง อยู่ได้มั้ย ผมก็บอกว่าถ้าทำ�อย่าง ฟังเพลง อย่างหนังบางเรื่องเริ่มมาอะไรก็ไม่รู้ แต่มัน PIE : ถามถึงสไตล์รวมๆ หน่อย พี่มิติคิดว่า สไตล์งานของตัวเองเป็นแบบไหน
072
Imagining Flood
073
Christmas Trees
074
075
ก็ทำ�ให้เราสนใจอยากดูต่อ หรือแม้แต่งานเขียน ซึ่ง บางอย่างมันไม่ต้องบอกหมดก็ได้ ฉะนั้นเราบอกแค่ 5% ที่เหลือให้คนดูรู้สึกเอง บางทีเราก็ต้องเคารพ พื้นที่ส่วนตัวของเขา มันก็อาจจะต่อยอดให้เขาก็ได้
หาอะไรได้ง่ายกว่า ถ้าเอาหนังมาเทียบกับงาน ถ่ายภาพ หนังก็คงเหมือนกับร็อคสตาร์ ถ่ายภาพก็ เป็นคนขนของหลังเวที
PIE : แล้วเซ็ตต้นคริสมาสล่ะ
พี่มิติ : อันนี้ก็บังเอิญ มันแปลกมากเลย คือผมมอง เมืองไทยเป็นเหมือนป่าในโลกที่กำ�ลังพัฒนา มีตึกราม บ้านช่องมากมาย อยู่ดีๆ ก็เห็นต้นคริสมาสโผล่ขึ้นมา รูปร่างมันก็เหมือนกับปิรามิดประหลาดมาก ไม่รู้เป็น อารมณ์ขันเล็กๆ น้อยๆ ของผมหรือเปล่า ก็เลยเริ่ม ถ่าย แล้วมันมีเยอะ เพราะพอเราเริ่มสังเกตมัน มันก็ จะมีเต็มไปหมดเลย น่าสนใจดี
พี่มิติ : ช่วงก่อนหน้านี้ยุ่งมากเพราะว่ามี Exhibition แต่ผมก็ทำ�หนังสือ (Photo Book) ออกมาเรื่อยๆ จริงๆ ชอบทำ�หนังสือ คือถ้าไปดูงาน Exhibition ของผม จะไม่มีกรอบรูปเลย ไม่ใช่เพราะว่าไม่อยากมี แต่ไม่ อยากใช้เงินโดยสิ้นเปลือง เราเห็นเด็กอังกฤษที่เรียน ทำ�งานจบปริญญาตรี จ่ายกัน 3000 ปอนด์ รู้สึกว่ามัน สิ้นเปลือง แล้วเราไม่เห็นผลคืนน่ะ ผมก็เลยคิดว่าการ ทำ�หนังสือมันก็ดี ถูกกว่าเยอะเลย เราควบคุมได้หมด
PIE : ถามถึงวงการถ่ายภาพในบ้านเรา
PIE : แล้วหนังสือที่ทำ�จำ�หน่ายยังไง
พี่มิติ : ผมเพิ่งกลับมาได้ 2 ปี ก็พอรู้จักคนบ้าง แต่โดยส่วนตัวที่ได้ยินมาในเมืองไทย เหมือนกับ แยกๆ กัน อย่างเมืองนอกมันจะมีแกลเลอรี่ชื่อ Host Gallery ที่จะโชว์งานกึ่งสารคดี เขาก็จะมี หนังสือและมีกจิ กรรมทุกเดือน มีชา่ งภาพในลอนดอน หรือคนที่สนใจงานพวกนี้มาโชว์งาน ก็จ่ายเงินนะ 5 ปอนด์ ได้ไวน์แก้วหนึ่ง แล้วก็มาคุยกัน คือมันจะ มีการสังสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอด มีอะไรน่าสนใจให้คนมาเจอกันตลอด เหมือนมีงาน เปิดทุกอาทิตย์ ทุกเดือน แต่ตอนนี้ีแกลเลอรีที่โชว์ งานโฟโต้อย่างเดียว ที่ผมคิดได้ในเมืองไทย ก็คือ คัดมันดู (Kathmandu Photo Gallery) ที่เดียวที่ คนรู้จักหน่อย มีที่อื่นมั้ยผมไม่รู้ แต่คนที่ไปดูส่วนมาก เป็นกลุ่มเล็กๆ เพียงแต่มันไม่ได้มีตัวตน ไม่มีกลุ่ม ชัดเจน ไม่มีใครขึ้นมาช่วยผลักดัน สังคมของพวกคน ทำ�เพลงเขาก็อาจจะมีกลุ่มก้อน คนทำ�หนังเขาหาทุน 076
PIE : สิ่งที่อยากทำ�ในวันข้างหน้า
พี่มิติ : ก็ทำ�ออกมาแต่มันก็ยังไม่ได้ขายในไทย ยังไม่รู้ จะวางที่ไหนเพราะเราอาจจะไม่รู้จักใคร แต่อย่างงาน น้ำ�ท่วมผมก็เอาหนังสือไปให้ที่ร้าน Claire de Rouen ที่ลอนดอน ร้านนี้เขาจะคึกคักมากอยู่ในโซโห แล้วก็จะ ขายแต่หนังสือภาพ ทุกเดือน ทุกอาทิตย์ จะมีงานเปิด ตัวหนังสือ แล้วผมก็เดินดุ่มๆ เข้าไป เจอเจ้าของร้านก็ เลยขอฝากหนังสือ เขาชอบ เลยมีหนังสือขายที่นั่น PIE : Photo Book เมืองนอกเยอะมาก
พี่มิติ : เมืองนอกบูมมาก ซึ่งตอนนี้ผมอยากทำ� ก็ทำ� ออกมาก่อน ก็มีเซ็ตน้ำ�ท่วม แล้วก็มีการเมือง 2 เล่ม มีเซ็ตต้นคริสมาสต์ดว้ ย อันนัน้ ก็มนั ดี เพราะต้นคริสมาสต์ เหมือนคิดไปเองว่า ถ้าวางขายช่วงคริสมาสต์ได้กด็ ี ฝรัง่ เห็นเขาก็น่าจะแปลกตาเหมือนที่เราเห็น เป็นหนังสือที่ เอากระดาษออกมาได้ทุกหน้า ใช้กระดาษหอมๆ วาวๆ มันมีอารมณ์ของความเป็นไทยกับตะวันตกมาชนกัน
ได้อารมณ์ของการ์ดอวยพร ถ้าชอบก็ดึงออกมาเป็น โปสการ์ดส่งไปให้เพื่อนได้ด้วย
งานผมที่จีน ก็เลยมีโอกาสได้เเวะไปที่อื่น
PIE : มีกลิ่นด้วย
พี่มิติ : ดีนะ เวลาเราอยู่ที่ใดที่หนึ่งประจำ� มันอาจจะ เป็นความชินชา เราจะทำ�อะไรที่มันเริ่มอยู่ในกฎเกณฑ์ การเดินทางมันก็ทำ�ให้เราได้มอง ไปเห็นอะไรที่กว้างขึ้น เพราะถ้าเราทำ�อะไรอยูก่ บั อะไรมากๆ มันจะโฟกัสเกินไป อย่างเวลาผม edit งาน บางทีผมถ่ายไปก็ปล่อยทิ้งไว้ นานเลย เพราะมันไม่รู้จะไปยังไงต่อแล้วค่อยกลับมา ดูใหม่ เราจะได้ดูมันเป็นกลางขึ้น เพราะตอนถ่ายจะ ถ่ายไว้เยอะมาก แต่เราพอจะมีอารมณ์หลักๆ อยู่แล้ว อยากได้อารมณ์เงียบอะไรก็ว่าไป บางรูปเราอาจจะคิด ว่าใช่ แต่พอเอามาดูในคอมฯก็อาจจะไม่เวิร์ค ผมว่า จริงๆ แล้ว edit ภาพยากกว่าการถ่ายรูป เหมือนเรา ฟังเพลงอัลบั้มหนึ่งที่มัน flow มาก ซึ่งถ้ามันเป็นเพลง เดี่ยวๆ บางเพลงก็อาจจะเฉยๆ ก็ได้ แต่พอมันรวมกัน แล้วมันเวิร์คมาก ช่วง edit งานก็ไปตามอารมณ์เลย คิดว่าเราอยากจะนำ�เสนออะไร บางทีก็ปริ้นออกมาวาง เราจะพยายามไม่ถามคนเยอะ เพราะแต่ละคนมีความ เห็นต่างกัน อย่างมากก็ถามคนที่เราเชื่อใจสักคนสองคน แต่ในที่สุดแล้ว เชื่อตัวเองดีที่สุด
พี่มิติ : ใช่ เพราะตอนผมทำ�ธีสิสพระเครื่อง บัตร เชิญในงาน ผมก็ไปที่เขาปั้มพระ แล้วปั้มเป็นรูปพระ มาติดสติ๊กเกอร์ เหมือนให้พระกับคนที่มาดูงานเลย แต่ที่หลายคนติดใจคือกลิ่น ผมก็เลยรู้สึกว่ากลิ่นมัน เป็นอะไรที่คนจำ�ได้ดี PIE : ไลฟ์สไตล์ทั่วไปบ้าง
พีม่ ติ ิ : จริงๆ ตอนเด็กๆ ดูคอนเสิรต์ บ่อยมาก ผมดู หมด ฟังทุกอย่างเลย ตอนอยูม่ ธั ยมก็ไปดู Metallica, Placebo, Marilyn Manson ที่ Big Day Out Festival มันมาก จะฟังเพลงเเนวทีม่ กี ตี า้ ร์ทาง Rock กับ Indie เป็นหลัก ยุคนั้นจําได้ดีสมัยเทปกับ cd album The Bends ของ Radiohead ฟังบ่อยมาก จนเทปยืด พอเข้ามหาลัยก็เริม่ ฟัง Electronic มากขึน้ ช่วงนัน้ ก็ชอบ Drum and Bass มาก คงเกีย่ วกับทีๆ่ เราเที่ยวกลางคืนด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ดูแล้ว หลัง สุดได้ไปดู ATP Festival ที่วง Pavement จัด เป็น เฟสติวัลคนเเก่มั้ง เพราะเป็นวงยุค ’90 มีที่หลับนอน ให้อย่างดี มีห้องครัวมีเตาอบทําอาหาร ทําคุกกี้กิน กันมัน เเต่ถ้าวงสดที่ดูเเล้วมันที่สุดก็ต้องวง idlewild ช่วง 3 อัลบัมเเรกก่อนที่ bob มือเบสจะออก ไม่คอ่ ย รู้จักวงใหม่ๆ วันนั้นไปดู The Radio Dept. ก็เพิ่ง รู้จัก อย่างหนังส่วนมากก็เช่าดีวีดีดู ร้านเฟม วิดีโอ ตรงท่าพระจันทร์ ถ้าหนังไทยก็ชอบเรื่อง Last Life in the Universe ของคุณเป็นเอก รัตนเรือง หนังจีน ก็มเี รือ่ ง Stil life ของเจีย่ จาง เคอ ถ้ามีเวลาก็อยาก เดินทาง โชคดี เพราะเดี๋ยวแกลลอรี่ที่สิงคโปร์จะโชว์
PIE : การเดินทางให้อะไรกับพี่มิติบ้าง
PIE : การถ่ายภาพกับเรื่องเทคนิค
พี่มิติ : เทคนิคมันก็มีส่วนอยู่แล้ว คือเราก็ควรจะรู้เรื่อง เบสิกบ้าง แต่ว่ามันก็ไม่ใช่ทุกอย่าง เพราะในที่สุดเวลา คนดูภาพ ภาพนั้นมันจะให้ความรู้สึกยังไงกับเขา อันนี้ สำ�คัญกว่าสําหรับผม ในแง่หนึ่งก็เหมือนกับงานนั้นมัน โดนใจเราหรือเปล่า ผมว่าทุกคนก็มีเส้นทางการทำ�งาน ของตัวเอง ทำ�ก็ทำ�ให้ถึงที่สุดในแนวทางของเรา ผมคิด ว่าเทคนิคมันก็เป็นส่วนหนึ่ง และมันยังมีอีกหลายเรื่อง แต่ก็คงไม่ใช่ทุกอย่าง 077
PHOTOBOOK
078
http://mi-ti.com
มิติ เรืองกฤตยา 079
080
PIE INSPIRATION
Super machine Studio
จะสนุกแค่ไหน ถ้าอาชีพของคุณคือการได้สร้างยานอวกาศ สร้างหุ่นยนต์ยักษ์ เหมือนในหนังไซ-ไฟ แม้จะฟังดูเพ้อฝันไร้สาระ แต่กม็ ผี ชู้ ายคนหนึง่ ทีจ่ บั สิง่ เหล่านีม้ า บวกกับงานของเขาเองได้อย่างน่าทึ่ง สนุก และแปลกใหม่ งานสถาปัตกรรม สำ�หรับเขาเต็มไปด้วยเรื่องมุมมองที่สร้างสรรค์ ทั้งในด้านดีไซน์และด้านสังคม ขอเชิญคุณเข้ามาใน สุดยอดเครือ่ งจักรสังหารเครือ่ งนี้ Supermachine Studio บริษทั ออกแบบสุดมันของพีแ่ จ๊ค-ปิตพุ งษ์ เชาวกุล
081
PIE : พี่แจ๊คจบสถาปัต จุฬาฯ แล้วไปต่อเรียนที่ ฮอลแลนด์ ไปเรียนอะไรที่โน่นครับ
พี่แจ๊ค : เรียนผังเมืองครับ Urban Design แล้วก็ Architecture PIE : วิธีการเรียนการสอนของที่โน่นเป็นยังไงบ้าง
พี่แจ๊ค : มันไม่เหมือนกับที่เมืองไทยเลย เขาไม่ได้ เน้นเรื่อง Skil แต่จะเน้นเรื่องของความสัมพันธ์ของ หลายๆ อย่าง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ ทฤษฎี ตอนนั้นมันเหมือนกับว่าดีไซน์มันไม่ได้ฟิกซ์อยู่แค่ Architecture แต่มันคือความสัมพันธ์จากสิ่งรอบๆ ตัว คือ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การเมือง สภาพเศรษฐกิจของโลก แต่สิ่งที่เราเรียนที่เมือง ไทยก็คือ โครงสร้างมันเป็นยังไง จะ Traditional หน่อย แต่การเรียนที่ฮอลแลนด์มันก็ทำ�ให้ทัศนคติ เรากว้างขึ้น เราจบผังเมืองกับจบสถาปัตฯมา แต่ สิ่งที่ออฟฟิศทำ�ตอนนี้เนี่ย 60% เป็นอินทีเรีย แล้ว ก็มี Music Festival 1 อันทุกปี สถาปัตฯประมาณ 30% มีรีเสิร์ช แล้วก็มีอย่างอื่นด้วย ซึ่งมันเหมือน เป็นการบอกว่าดีไซน์มันไม่ได้เป็นเรื่องของดีไซน์อย่าง เดียว คือจบอะไรมาอย่างหนึ่งแต่ก็สามารถทำ�อย่าง อื่นได้ ถ้าเราเข้าใจความสัมพันธ์ของมัน อยู่ที่โน่น ทำ�งานด้วย 1 ปี จริงๆ ไปเรียนปีหนึ่ง แล้วรู้สึกว่า เราโง่มาก เพราะพื้นฐานเรื่องทฤษฎีเราสู้เพื่อนๆ ฝั่ง ตะวันตกไม่ได้ ไม่รู้อะไรเลย ไม่เคยอ่านหนังสือและ มันไม่ได้เป็นสังคมที่ส่งเสริมให้เราอ่าน ก็เลยคิดว่า จะหยุดเพื่อไปอ่านหนังสือ 1 ปี จะได้ทันเพื่อน แต่ มีอาจารย์ของพี่เขาเป็น Architectural Historian
เขาก็บอกให้ไปทำ�งานดีกว่า แล้วแนะนำ�ให้พี่รู้จักกับ NOX Architect ก็ส่งใบสมัครไป พอได้จังหวะพี่ก็ได้ไปทำ�งาน กับ NOX ซึ่งเป็นออฟฟิศที่เล็กมากๆ เขาแปลหนังสือพวก ปรัชญาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาดัช ตั้งแต่อายุ 24 และ มันก็ดีกว่าจริงๆ เราก็มานั่งถกเถียงกับเขา แทนที่เราจะมา นั่งอ่านหนังสือคนเดียว นั่นคือสิ่งที่ได้จากการทำ�งาน แล้ว ที่ NOX เขาทำ�งานเกี่ยวกับพวก Computer Generated Architecture พวกที่ใช้ MAYA ทักษะตรงนั้นก็ได้กลับมา ด้วย PIE : กลับมาเมืองไทย
พี่แจ๊ค : เปิดบริษัทกับเพื่อนชื่อ Thisdesign ครับ ตอน นั้นก็ทำ�กับเพื่อนประมาณ 5-6 คน ไอเดียก็คือคล้ายๆ กับ Droog Design เหมือนกับเราอยากทำ�หลายๆ อย่าง Interior, Exhibition, Architecture, Landscape แล้วเรา ก็มาแชร์พื้นที่ร่วมกัน และเพื่อนๆ ที่ทำ�ก็คนละแนว เวลา ลูกค้ามาเราก็จะทำ�ได้หลายๆ อย่าง ช่วงแรกก็สนุกทำ�อยู่ สัก 5 ปี ก็นานพอสมควร แต่หลังๆ มันกลายเป็นว่าเรา มาแชร์ปัญหากันมากกว่าไอเดีย เราไม่ได้แชร์โปรเจ็กต์กัน เพราะแต่ละคนดูโปรเจกต์ไหนก็โปรเจ็กต์นั้น เราไม่มี เบรนด์สตรอมด้านโปรเจกต์เท่าที่ควร แต่พี่ข้ามไปทำ�ของ คนอื่น คือไปทำ�โน่นทำ�นี่ แต่คนอื่นไม่ได้ข้ามไลน์เท่าไหร่ ตอนนี้ที่พี่ทำ�ได้หลายๆ อย่าง เพราะว่าวันนั้นเราไปทำ� อย่างอื่นก่อน เราไปทำ� Exhibition ทำ�ออกแบบภายในมา คือดูดความรู้มาจากคนอื่นมา แล้วพอถึงจุดหนึ่งมันไม่ไหว เพราะไม่ได้แชร์เรื่องโปรเจ็กต์แต่มาแชร์เรื่องปัญหากัน เช่น ไม่มีตังจ่ายลูกน้อง ปัญหาโน่นนี่ ก็เลยจบ แยกกันไปทำ� ออฟฟิศของตัวเอง พี่ก็ทำ�ของพี่
082
PIE : ยากมั้ยกับการที่เราทำ� Architecture แต่เราข้ามไปทำ�อย่างอื่น
พี่แจ๊ค : ไม่ยาก ต้องไม่รู้ ต้องทำ�ไม่เป็นถึงจะ สนุก เหมือนกับเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีก พี่เริ่มจาก Thisdesign คือมันมีหลายๆ ส่วน ที่ทำ�ให้ Supermachine ทำ�อะไรอย่างนี้อยู่ ตอนแรกคือทำ�คอนเสิร์ตให้พี่เต็ด (ยุทธนา บุญอ้อม) คอนเสิร์ตของวง Paradox ตอนนั้น ยังไม่รู้จักเลยว่า PA แปลว่าลำ�โพง ต้องสร้าง ป้าอ้วนด้วย ทำ�เวทีด้วย ส่วนใหญ่ก็จะเป็น อย่างนี้ คือทำ�อะไรที่ยังไม่เคยทำ� PIE : เริ่มทำ�กับป๋าเต็ดได้ยังไง
พี่แจ๊ค : มันเริ่มจากวิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทมากสมัยเรียน ช่วงนั้นวิชญ์ จบแล้วกลับมาทำ� Visual Art คอนเสิร์ตให้ กับทีโบน ตอนนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงมากเลย นะ เป็นช่วงที่ Fat Radio ตั้ง มันเริ่มมีคำ�ว่า SME หมายถึงธุรกิจที่เติบโตในไทย ไม่จำ�เป็น ต้องเป็นธุรกิจใหญ่เสมอไป ธุรกิจเล็กก็สามารถ เติบโตได้ วิทยุ คอนเสิร์ต บริษัทสถาปนิกก็ เหมือนกัน พอพี่กลับมา วิชญ์ก็ชวนให้มาทำ� เป็นครั้งแรก ก็ได้รู้จักกับพี่เต็ด ก็ช่วยพี่เต็ดทำ� เล็กๆ น้อยๆ มาเรื่อยๆ แล้วพี่เต็ดก็ออกจาก แฟตฯ พอจะมีแบ๊กอัพ และแกก็อยากจะทำ� Big Mountain Music Festival จริงๆ แกก็ โทรกลับมาหาพี่
083
084
ชีวิตเลย แต่มีความเป็นญี่ปุ่นตรงที่มันเอาตายมาก กับสิ่งที่ทำ� คือประชุมตอนตี 3 ก็ได้ พี่เคยไปทำ�งาน พี่แจ๊ค : พี่เต็ดโทรหาพี่กับจิโร่ เอ็นโด นั่งคุยกันว่า ที่ญี่ปุ่นกับจิโร่ นัดประชุมตอนตี1 คุยเสร็จตี 3 แล้ว เขามีฝนั ทีอ่ ยากจะทำ� Glastonbury ของเมืองไทยบ้าง บอกว่ามีประชุมต่ออีก นี่คือคนญี่ปุ่น คือกัดไม่ปล่อย เป็น Music Festival จริงๆ ทำ�ทุกอย่างถูกต้อง มี จิโร่มีตรงนี้อยู่ แต่มันรักเมืองไทยมาก รักความบ้านๆ โปรดักต์ชน่ั และไปอยูก่ นั จริงๆ 3 วัน 2 คืน แล้วสร้าง ของเมืองไทย จิโร่มีแรงบันดาลใจและมีแรงขับใน เป็นเมืองชั่วคราวขึ้นมา ก็นัดแนะกันไปดูที่โบนันซ่า ตัวเองเยอะ เขาใหญ่ ตอนนั้นยังไม่มีอะไรเลย ภูเขาโล่งๆ เป็น ทางลูกลัง ไปกันตอนกลางคืน อยู่กัน 3 คน มีพี่ PIE : เร่ิมทำ� Supermachine ยังไงบ้าง มีพี่เต็ด แล้วก็จิโร่ หลังจากนั้นก็นั่งคิดกันและทำ� พี่แจ๊ค : Supermachine คอนเซ็ปต์มันง่ายๆ คือ ขึ้นมา ส่งแบบไปประมาณ 12 ครั้ง เยอะมาก บริษัทเล็กๆ ที่สามารถทำ�งานได้ใหญ่ๆ ถ้าบริษัทเล็ก ปรับกันไปเรื่อยๆ จนมันเกิดขึ้นจริง คือทั้งหมดนี่ แต่เราทำ�งานเกินเวลานิดหน่อย ก็สามารถทำ�งาน ไม่ได้กำ�ไรอะไรเลยนะ ทั้งพี่ ทั้งพี่เต็ด แต่หลังจาก ใหญ่ๆ ได้ เอาเงินไปเที่ยวได้ แล้วสามารถจ่ายเงิน นั้นมันก็พัฒนาขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ มีการจัดวางผังอะไร เดือนให้ลูกน้องได้เยอะกว่า ก็คือต้องทำ�ให้เล็ก คำ�ว่า ใหม่ มีการวางแผน คนก็ไปเยอะขึ้น Supermachine คือเครื่องจักรขนาดเล็กแต่สังหาร คนใหญ่ๆ ได้ แต่ว่าชื่อจริงๆ มันมีความชอบมา PIE : ทำ�งานกับป๋าเต็ดและจิโร่ สองคนนี้มีลักษณะ จากกลุ่มสถาปนิกอิตาเลี่ยนที่เป็นฮิปปี้สมัย 70’s ชื่อ นิสัยการทำ�งานยังไง Superstudio เป็นพวกผมยาว พี้กัญชาแล้ว เขาจะ พี่แจ๊ค : ต่างกันมากครับ พ่ีเต็ดไม่ใช่เด็กแนวแต่ ทำ�งานพวกมิชชันนารีโปรเจ็กต์ พวกยูโทเปีย ก็ไม่เชิงตลาด ต้องยกตัวอย่าง คือคนชอบบอกว่า แฟตเรดิโอเป็นสถานีวิทยุแนวๆ แต่ถ้าคุยกัน แกจะ PIE : ในงานของพี่แจ๊คมีลูกเล่นแบบไทยๆ พอสมควร ไม่ได้บอกว่าเป็นสถานีวิทยุแนวๆ เขาจะเปิดเพลง พี่แจ๊ค : จริงๆ มันมาจากหลายส่วน จากที่เราไป ให้คนทุกคนฟัง แต่บังเอิญเพลงพวกนี้เป็นเพลงที่ เรียนด้วย ตอนไปเรียนตัวอย่างทีอ่ าจารย์ชอบยกขึน้ มา สถานีอื่นไม่เปิดเท่านั้นเอง เพราะสถานีอื่นมันมี คือเรื่องของเอเชีย ตอนนั้นเป็นยุคปลายปี 1999 ซึ่ง การเมือง เป็นค่ายนัน้ ค่ายนีอ้ ะไรพวกนี้ แต่เขาอยาก ตอนนัน้ ยูโรเปียน ยูเนียนยังไม่ใช้เงินยูโรเลย แล้วคืนวัน ให้ทุกคนได้ฟัง Big Mountain ก็เหมือนกัน มัน ที่มันเปลี่ยนเป็น Millennium เนี่ย พี่อยู่ที่ปารีส ตื่น ไม่ใช่เฟสติวัลสำ�หรับเด็กแนวเท่านั้น แกก็จะบอกเลย เช้ามาใช้เงินยูโรแล้ว ตอนนั้นมันเป็นช่วงเปลี่ยนแปลง ว่านี่คืองานสำ�หรับทุกคน พี่เต็ดจะเป็นคนแบบนี้ จีนยังไม่มีอำ�นาจมากขนาดนี้เลย แต่ตอนนั้นคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน ส่วนจิโร่เป็นเพื่อนที่เรียนที่ ยุโรปเริ่มเห็นการขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นในเอเชียแล้ว เขา ฮอลแลนด์มาด้วยกัน จิโร่เป็นคนมันๆ หน่อย เป็น ก็จะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเอเชีย เรากินข้าวข้างถนน คนญี่ปุ่นที่ไทยมาก ถ้าจิโร่วิจารณ์พี่ก็จะบอกว่าพี่เป็น เราแต่งงานกันใต้ทางด่วน อะไรพวกนี้ อันนี้เป็น คนไทยที่ญี่ปุ่นมาก คือจิโร่ไม่ค่อยมีระเบียบอะไรกับ ปรากฏการณ์ที่คนพวกนี้สนใจ PIE : ถามเรื่อง Big Mountain Music Festival เริ่มยังไง
085
พี่เพิ่งเห็นจุดนี้เมื่อห้าปีที่ผ่านมานี้เอง ตอนที่เร่ิมทำ� Big Mountain คืออะไรที่มันไม่ต้องเป็นระเบียบ มาจากความถูกและดี ความไม่เนี๊ยบ อันนี้แหละคือ พี่แจ๊ค : เบื่อ คือมันเกิดกับเราทุกวันเลย ไม่เห็น รู้สึกอะไรเลย แต่ว่าพอไปเรื่อยๆ เราเริ่มเห็นว่า สิ่งที่ ศักยภาพของดีไซน์แบบไทยๆ ของสังคมเราไม่จำ�เป็น เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรามันน่าสนใจ เป็นความสัมพันธ์ ต้องเหมือนสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เรามีจุดแข็งของเรา ที่บางทีมันไม่มีเหตุผล แต่ว่ามีประสิทธิภาพมากๆ เหมือนกับ loose system ซึ่งสามารถจะอยู่รอดใน PIE : ศึกษานานไหม ก่อนที่จะเอามันเข้ามาในงาน พี่แจ๊ค : ไม่นานนะ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากโจทย์บาง โลกนี้ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าอากาศร้อนที่ ฝรั่งเศส 43 องศา คนตาย 10 คน คนไทยอากาศ อย่างที่ต้องทำ� เช่นที่เปิดขวดรูปประเทศไทย มันมา ร้อนตั้ง 45 องศา ยังไม่มีใครตายเลย คล้ายๆ กับ จาก Art4D ชวนไปทำ�งาน Bangkok Design เราอยู่ในที่ๆ ไม่มีกฏเกณฑ์ไม่มีระเบียบ แต่ว่ามันมี Festival เราก็คิดว่าจะทำ�อะไรดี ตอนนั้นมีประท้วง ประสิทธิภาพ มันมีความสวยงานของมันเอง จริงๆ มันก็โดนดึงมาใช้เลย หรือปีที่แล้ว RU-YERB ที่คลุม PIE : ตอนฟังพี่ไม่เบื่อเหรอ อุตส่าห์ข้ามทวีปไปเรียน แล้วเจอเรื่องบ้านตัวเอง
086
สายไฟ มันก็เกิดจากอาสาชวนไปทำ� แล้วเราสนใจ เรื่องที่ทำ�ไมต้นไม้ต้องโดนตัด เพราะว่าแค่มีสายไฟ เหมือนเรามีคำ�ถามที่อยู่ในใจเยอะอยู่แล้ว พอถึง โอกาสเราก็เอาสิ่งพวกนี้มาพูดเท่านั้นเอง ถ้าดูดีๆ งานของ Supermachine มันเหมือนกับบทความ ที่พยายามจะใส่ปัญหาหลายๆ อย่างในสังคม เรื่อง เราไม่ควรไปตัดต้นไม้เพราะว่าแค่มีสายไฟผ่านด้าน บน คือมันมีคำ�ถามเล็กๆ เกร็ดเล็กๆ ซ่อนอยู่ใน งาน ซึ่งเด็กๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยควรจะกล้ามาก ขึ้นนะ มีความเป็นกบฏอยู่ในตัวเองด้วย และตั้ง คำ�ถามกับอาจารย์ PIE : ท้าทายความคิดเก่าๆ มานานหรือยัง
พี่แจ๊ค : มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยเรียน พี่มีคำ�ถาม มีปมในใจเยอะ
มีปมด้อยว่าตอนเด็กๆ ไม่มี แต่จริงๆ แม่ก็ซื้อให้ เยอะนะ ก็ยังคุยกับแม่อยู่เลยว่า จะเล่าให้คนอื่นฟัง ว่าแม่ไม่ซื้อให้ตอนเด็กๆ ตอนนี้ซื้อหมด กองอยู่ที่ บ้านแต่ไม่มีเวลาเล่น จริงๆ จะมีความสุขมากถ้าเรา ทำ�งานแล้วเรารู้สึกว่าเรากำ�ลังอู้งาน หรือเรากำ�ลัง เล่นอยู่ตลอดเวลา แล้วได้เงินด้วย มีคนจ่ายเงินให้ สร้างยานอวกาศ หุ่นยนต์ ก็เหมือนเราสร้างกันดั้ม ขึ้นมาเล่นเอง เราก็สนุก ได้เงิน ไปเที่ยวได้ด้วย ถ้าหลักๆ ของชีวติ เป็นแบบนีจ้ ะมีความสุขมากเลยนะ คือ วันๆ ก็เล่นไปเรื่อยๆ แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ หรูหราขนาดนั้นนะ พี่ว่าจริงๆ มันก็คือแบเรียที่เรา สร้างขึ้นมาเพื่อหลีกหนีความเครียด PIE : ก็เลยใส่ความสนุกลงไป
พี่แจ๊ค : ไม่ได้ใส่ แต่มันคือหัวใจเลย ถ้ามีโอกาส กูสร้างยานอวกาศแน่ (หัวเราะ) อย่างโชว์รูมของ Wyne จริงๆ แล้วก็เหมือนยานอวกาศที่ลอยอยู่ได้ PIE : ก็เลยเอามาทำ�ในงาน พี่แจ๊ค : ใช่ เมื่อไหร่ที่มีโอกาสมันก็จะผุดขึ้นมาใน เราแค่มีความรู้เรื่อง Structure, Architecture กับ งาน เช่น หอนาฬิกาในงาน Big Mountain ที่แขน Space เท่านั้นเอง จริงๆ มันคือยานอวกาศ แล้ว ออฟฟิศเรามันก็เหมือนกับมีแครอทเอาไว้ล่อ เราก็ ของนาฬิกาเป็นรูปตัวเ_ี้ย สีแดงกับสีเหลือง แล้ว มีเ_ี้ยตาดำ�ๆ ตัวน้อยๆ มองอยู่รอบๆ อันนี้มันเป็น วิ่งไล่ ที่นี่เที่ยวเยอะ การเที่ยวก็เหมือนเป็นแครอท จองตั๋วเอาไว้ก่อนแล้วก็ทำ�งานยังไงก็ได้ให้เสร็จ เพื่อ อะไรเล็กๆ ซึ่งทำ�ง่ายๆ และแทรกอยู่ ถ้าเปรียบ เทียบก็คล้ายกับปริศนาธรรม เดินเข้าไปในวัดแล้วมี ส่งก่อนที่จะไปเที่ยว เหมือนกับเราต้องตั้งแครอทที่ ตัวหนังสือ “อย่าเห็นแก่ตวั ” ทีซ่ อ่ นอยูใ่ นพระพุทธรูป ทำ�ให้รู้สึกหลอกตัวเองว่านี่ไม่ใช่งาน แต่จริงๆ มันก็ ที่ซ่อนอยู่ดีไซน์ งานพี่จะไม่ใช่ดูสวยอย่างเดียว ถ้า คืองาน มาคุยถึงจะรู้ว่า จริงๆ เรากำ�ลังจะด่าหรือพยายาม PIE : ลูกค้าเขาสนุกกับเราไหม บอกเขาหรือเปล่าว่า ตั้งคำ�ถามอยู่ มันคือยานอวกาศ
PIE : งานของพี่มีความซนๆ อยู่
พี่แจ๊ค : ถ้าดูในชั้นวางของพี่มันจะเต็มไปด้วย ของเล่น ว่างๆ ก็ซื้อของเล่น ซื้อจักรยาน เหมือน
พี่แจ๊ค : บางที่ก็ไม่บอก แต่พี่เต็ดบอก พี่ว่างานที่ดี หรือสนุกที่สุด ที่ดีไซเนอร์จะทำ�ได้คือ เราต้องมีการ พูดคุยกับลูกค้า คุยกันเหมือนอยูใ่ นวงเหล้าตลอดเวลา 087
แล้วออกมาเป็นงานด้วย นั่นคือสุดยอดของโปรเจ็กต์ แล้ว เหมือนอย่างพี่กับพี่เต็ด คือปล่อยมุขไปเรื่อยๆ แต่ว่ามันต้องสามารถนำ�มาสร้างจริงได้ อยู่ในงบ ประมาณและโครงสร้างที่ดี แลกเปลี่ยนความคิดกัน ไปเรื่อยๆ พี่ก็บอกไปเลยว่าอยากทำ�ผ้าขาวม้า ปีนี้ อยากทำ� UFO จริงๆ แล้วมันก็คือคนแบบเดียวกัน
อยากจะพูดเรื่องอื่น ตอนที่พี่จบจากฮอลแลนด์โดน อาจารย์ด่าว่า ไม่เข้าใจเลยว่าทำ�ไมคนอย่างพี่ถึงได้จบ ช้าไป 6 เดือน อาจารย์เขาเห็นงานของพี่แล้วเล่าว่า มีศิลปินชาวสเปนคนหนึ่งเก่งมาก เก่งจนเขาคิดว่ามือ ของเขาเร็วกว่าสมอง เขาเลยเปลี่ยนมาใช้มือซ้ายหมด เลย เพื่อให้มือช้าลงแล้วสมองจะได้คิดทัน จริงๆ แล้ว ก็คือด่าว่าเราทำ�แล้วไม่คิดนั่นแหละ งานเราอาจมีฟอร์ม PIE : แล้วลูกค้าแมสๆ มีวิธีจัดการยังไง สวยงามนั่นคือส่วนของทักษะของเรา แต่เราไม่ได้พูดถึง พี่แจ๊ค : ไม่ค่อยมีลูกค้าแมสๆ เขารู้แล้วว่างานเป็น เรื่องนั้นหรอก เพราะมันไม่ใช่หัวใจของงาน เราพูดถึง ยังไง เรามี Portfolio ก็เหมือนทุกคนเป็นดอกไม้ คนที่อยู่ในโรงแรมนี้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เด็ก เรียกผึ้งแต่ละชนิดมา สมมติเราทำ�คอนโดฯเก่ง คิด ต้องเห็นต้นไม้ในหลายระดับ “MVRDV” เคยพูดว่า พื้นที่เก่ง ก็จะเจอลูกค้าที่เป็นคอนโดฯ แต่ออฟฟิศ ไม่มีใครมาถกเถียงความสวยงามกันในออฟฟิศ พี่จะเป็นดอกไม้กินคนใหญ่ๆ สีสวย แต่เหม็น แล้ว (MVRDV บริษัทสถาปัตกรรมในเนเธอร์แลนด์ ที่ก่อ ล่อพวกแมลงเข้ามา คือเราไม่ได้ตีกรอบอยู่ที่ตึกแบบ ตั้งขึ้นในปี 1993) เดียว เราไม่ได้ทำ�แต่คอนโดฯ อย่างเดียว บ้านเรา ไม่ทำ�เลย อันนี้มันเป็นเรื่องของคอนเซ็ปต์ เราก็จะ PIE : หมายความว่ายังไง เจอแต่ลูกค้าที่เขามีความต้องการที่ค่อนข้างเฉพาะ พี่แจ๊ค : หมายความว่าความสวยงามมันเป็นเรื่องปกติ เจาะจง แต่ก็มีเหมือนกันอย่างลูกค้าที่เห็นเราตามสื่อ ที่มันต้องสวยอยู่แล้ว ไม่ต้องพูดถึง แต่ว่าเขาจะพูด หรือที่เพื่อนแนะนำ� เอาโปรเจกต์ที่ธรรมดามากๆ จน เรื่องอื่น ในขณะที่บ้านเรา อาจารย์ก็ยังสอนว่าต้องมี ใครทำ�ก็ได้ เราก็จะบอกว่าไม่ไหวนะครับ คนอื่นอาจ Dot, Line, Plane นะ ต้องมี Proportion แต่ที่โน่น จะเหมาะกว่า เพราะว่าจริงๆ ถ้าเราทำ�อพาร์ทเม้นต์ เขาไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้กันแล้ว มันเป็นเรื่องของคอนเซ็ปต์ ธรรมดา มันใช้เวลาเท่ากันกับการทำ�อพาร์ทเม้นต์ที่มี เป็นหลัก คอนเซ็ปต์เลย เราก็จะเสียกองกำ�ลังของเราไปในเวลา ที่เท่ากัน PIE : แล้วเรื่องทักษะจะยังพัฒนาไหม ถ้าไม่ได้ ถกเถียงกัน
PIE : หลายงานของพี่มีความสัมพันธ์กับคนที่ใช้งาน พี่แจ๊ค : ยังพัฒนาอยู่ ก็เหมือนกับเป็นมาตรฐานที่ต้อง มีลูกเล่นกับพื้นที่การใช้งาน ยกขึน้ เรื่อยๆ เขียนแบบก็ต้องเขียนชัดเจน ถูกต้อง มัน
พี่แจ๊ค : มันเหมือนกับพี่โดนสอนมาที่จุฬาฯ แบบ Traditional สุดๆ แต่ว่าเราไม่จำ�เป็นต้องให้ทักษะ ตรงนั้นนำ� พยายามทำ�อะไรที่เราซ่อนไว้ เหมือนกับ เราทำ�งานสวยเป็นแต่ไม่อยากจะพูดเรื่องความสวย
088
ถูกพูดถึงอยู่แล้วแต่ไม่ใช่หัวใจหลักของแต่ละโปรเจ็กต์ ไม่ได้ทิ้ง เรียกว่ามันไปด้วยกันมากกว่า ถ้าจะเทียบ ก็เหมือนกับงานของ มาเซล ดูชองป์ พวก DADA อะไรพวกนี้ ช่วงต้นศตวรรษที่แล้ว เป็นช่วงท้ายของ
Big Mountain Music Festival 3
Big Mountain Music Festival 4
089
ยุคอิมเพรสชันนิสม์ ที่คนยังเขียนภาพอยู่ แต่ดูชองป์ บอกว่าศิลปะไม่จำ�เป็นต้องเป็นแบบนี้ ก็กลายเป็น Conceptual Art เป็นคนที่เปลี่ยนคุณค่าให้คนมา มองศิลปะว่า ทำ�แค่นี้ก็มีค่ากลายป็นของแพงไป เป็น บิดาของ Bullshit Art ในช่วงต่อๆ มา แต่เราก็ถือว่า เขาเป็นบิดาของเราเหมือนกัน คือคอนเซ็ปต์สำ�คัญ ที่สุด
ของพี่ แล้วก็อยากจะทำ�อะไรที่พวก Western Community เขาทำ�ด้วย ก็เลยชวนพีๆ่ น้องๆ มาทำ� PIE : มันออกมาหม่นๆ ดาร์กๆ หน่อย
พี่แจ๊ค : ใช่ มันจะดาร์ก คำ�ถามของพี่คือ ถ้ายัง ดูละครกันขนาดนี้ ยังคอรัปชั่นกัน ใช้รถกันขนาดนี้ แล้วเป็นยังไงดูตอนนี้สิ เมืองมันจะสะท้อนพฤติกรรม ของคนกับการเมืองของที่นั้นๆ พี่ว่าเจ้าเมืองครึ่งหนึ่ง PIE : หลายปีก่อนพี่เคยทำ� Bangkok 2082 เป็นการ คนอาศัยอีกครึง่ หนึง่ ถ้าเจ้าเมืองมีวธิ จี ดั การ มีวสิ ยั ทัศน์ ที่ดีแล้วเอามารวมกับคน มันก็จะเป็นเมืองออกมา แต่ สร้างภาพกรุงเทพฯในอนาคต ตอนนี้กรุงเทพฯใน ไม่มีหรอกที่กรุงเทพฯควรจะเป็นแบบไหน แต่ว่ามันควร อนาคตพี่แจ๊คเป็นยังไงบ้าง พี่แจ๊ค : ต้องเล่าก่อนว่าตอนที่พี่เรียนอยู่ที่ฮอลแลนด์ จะมีภาพอะไรบางอย่าง ถ้าถามพี่นะ มันก็ยังเป็นอะไร พวก Superstudio เป็นพวกยูโทเปีย คืออายุประมาณ ที่เละๆ แล้วก็เป็นอะไรที่สบายๆ ง่ายๆ จริงๆ แล้วพี่ พวกเรา ทำ�งานอยู่ในบริษัทใหญ่ แต่ก็รู้สึกว่ามันเบื่อ ไม่ได้เกลียดกรุงเทพฯ พี่ยังรักกรุงเทพฯ แต่อยากให้มี อยากมีพลัง ก็ออกมาเขียนการ์ตูน หรือศิลปะที่ใช้พวก พื้นที่สาธารณะเยอะขึ้น มีอะไรให้คนทำ�มากกว่าการไป สถาปัตยกรรมเป็นพื้นฐาน แล้วเขาวาดอนาคตออกมา ห้างฯ เท่านั้นเอง สำ�หรับพี่นะ ที่เหลือก็ไม่ได้มีปัญหา ให้คนดู พวกนี้เป็นสิ่งที่สถาปนิกทำ�กันในฮอลแลนด์ กับกรุงเทพฯเท่าไหร่ สั้นๆ ถ้าพี่ไปสมัครเป็นผู้ว่ากทม. ในยุโรปเป็นปกติเลย แต่คนไทยไม่เคยทำ� พอกลับ สิ่งเดียวที่จะทำ�ใน 4 ปีที่เป็นนโยบายคือ ทำ�คลอง มาปุ๊บพี่ก็อยากทำ� ช่วงนั้นมันเป็นยุคของตึกร้าง ช่วง แสนแสบให้ใส ที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น เราก็อยากจะทำ�เรื่องตึกร้าง อยากทำ�เรื่องทางด่วน ตอนนั้นพี่เริ่มมีโอกาสเล็กๆ PIE : เพราะอะไรครับ น้อยๆ Art4D เขาชวนให้ไปทำ� เราก็อยากพูดเรื่องนี้ พี่แจ๊ค : เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ นโยบายทุก เศรษฐกิจก็เริ่มกลับมาดีขึ้นแล้ว เริ่มมีป้ายคอนโดฯแปะ อย่างมันจะไปผูกกับการทำ�คลองให้ใส แต่ว่ามันจะไป แล้วภายในเวลา 6-7 ปีนี่เอง คอนโดฯก็ขึ้นมาเรื่อยๆ เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ มากมาย วิธีการทิ้งขยะของคน ตอนนี้เละหมดเลย แต่ไม่มีคนพูดเรื่องพวกนี้ ทัศนะ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป การระบายน้ำ�เสีย วิธีการใช้พื้นที่ วิสัยในเมืองเปลี่ยนไปหมดเลย Design Community ข้างๆ คลองก็ต้องเปลี่ยน เหมือนกับจัดการกับอะไร เราไม่ละเอียดอ่อน ไม่คุยกันเรื่องนี้ คุยกันแต่เรื่อง เล็กๆ ให้สำ�เร็จและอยู่ได้ในระยะยาว ไม่ได้อยากที่จะ AEC แล้วมีคนกลุม่ น้อยมากๆ ทีจ่ ะมาพูดว่าในอนาคต ต้องแก้ทุกอย่างให้สำ�เร็จ 4 ปี ทำ�สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็น เมืองเราจะเป็นยังไง ตอนนั้นมันก็เป็นความน้อยใจ ไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ 090
พี่แจ๊ค : มันอาจจะสำ�คัญกับเขาในแง่ธุรกิจว่า ละคร พี่แจ๊ค : อยู่ที่อะไรหลายๆ อย่าง อย่างสื่อ สถานี เรือ่ งนีเ้ รตติง้ มันสูงคนดูเยอะ อันนีม้ นั ก็ถกู ในแบบของเขา โทรทัศน์เมืองไทยมีอทิ ธิพลกับคนในประเทศมากเกินไป แต่ถามว่าช่อง Thai PBS ทำ�ละครเรื่องบุญผ่อง ที่ ทุกอย่างมันจะตามช่อง 3 ช่อง 7 ไม่ว่าจะเป็นข่าว เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกาจนบุรี แบบนั้นได้ ละครทั้งหลาย อันนี้มันชักนำ�คน แม่ค้า ชาวบ้าน เรตติ้งเท่าไหร่ มีคนดูมั้ย มันก็พูดยาก พี่ไม่ได้บอกว่า ในสังคมมากเกินไป เราไม่ได้บอกว่าสื่อของเราไม่มี สังคมไหนควรจะเป็นแบบไหนนะ แต่มันควรจะมีความ ทางเลือก แต่มันมีอำ�นาจมากเกินไป มันทำ�ให้รถไม่ หลากหลายมากกว่า ตอนนี้เมนสตรีมมันใหญ่เกินไป ติดได้ ทำ�ให้สังคมเข้าใจอะไรไปอย่างหนึ่งได้ แล้วไป มันประมาณ 90% ทีเ่ หลือก็ไปดูอย่างอืน่ ละครมีได้นะ ให้รางวัลกับละครที่ตบกัน บอกว่าแสดงดีมาก คือ แต่คนควรสนใจอะไรที่หลากหลายมากขึ้น มันเหมือน สังคมมันบ้าไปแล้ว อันนี้แหละคือสิ่งที่พี่จะบอกว่ามัน กันเกินไป ออกรถคันแรกก็แห่กันไป ทำ�นาก็แห่กันไป ไม่ควรเป็นแบบนี้ ในสังคมของสื่อเองก็ไม่ควรจะไป ทำ�กันหมด มันควรจะมีหลายกลุ่ม และคนๆ หนึ่งก็ ยกย่องอะไรแบบนั้น มันมีได้ถ้ามันเป็นแค่กลุ่มเล็กๆ ควรจะหลากหลายด้วย ไม่ได้บอกว่าหนังโป๊หรือละครตบกันมีไม่ได้ แต่มันก็ PIE : สิ่งแวดล้อมกับสถาปัตยกรรม พี่แจ๊คมีมุมมอง ไม่ใช่คุณค่าที่ควรได้รับการยอมรับจากคนหมู่มาก PIE : พฤติกรรมของคน หรือทัศนคติมันเปลี่ยนยาก
ยังไงบ้าง
PIE : แต่ในเมื่อสื่อต้องการรักษาเรตติ้ง รักษารายได้ พี่แจ๊ค : น้ำ�ท่วมที่ผ่านมาเกิดจากคนไทยทำ�นากัน
พี่แจ๊ค : สื่อพวกนี้เขาไม่ได้เรียกว่ามอมเมานะ แต่่ มันทำ�ให้สังคมประหลาด หนังสือพิมพ์ก็เหมือนกัน ทำ�ไมต้องมีรูปคนตายอยู่บนหนังสือพิมพ์ ทำ�ไม หนังสือพิมพ์วันอาทิตย์ต้องมีร่องนมผู้หญิง มันกำ�ลัง บอกอะไรกับสังคม สังคมเรามันไม่มีตรรกะเลย แล้ว เราเคยตั้งคำ�ถามกับมันมั้ยว่าทำ�ไม มันกลืนกินจน ไม่รู้ว่าอะไรเหมือนสายไฟที่มันพันกันอยู่ในกรุงเทพฯ อันนี้คือสิ่งที่เราสนใจ สักพักพี่คงจะทำ�สถาปัตยกรรม อะไรที่เกี่ยวกับร่องนม คือชีวิตพี่มันจะเป็นแบบนี้ คือ มันเป็นคำ�ถามที่อยู่ในใจ PIE : อย่างนี้แปลว่าสังคมไทย สื่อไทย ให้ความ สำ�คัญกับอะไรที่ผิด
เยอะมากเกินไป มุมมองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเลยนะ การทำ�นาไม่ควรเป็นอาชีพหลักของคนไทย เพราะ ว่าข้าวเป็นพืชที่กินน้ำ�เยอะ การปลูกข้าวทำ�ให้คนตัด ต้นไม้ต้นใหญ่ๆ น้ำ�ก็เป็นสิ่งที่ขาดแคลน เราต้องการ น้ำ�เยอะ เพราะว่ายังขาดแคลนอยู่ในหลายๆ ที่ ใน ภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน แต่เราดันไปปลูกข้าว เยอะ ข้าวต้องการน้�ำ มาก ราคาก็ถกู 1 ตัน ไปจำ�นำ� ได้ราคา 15,000 ถามว่ากระเป๋าหลุยส์วิคตอง 1 ใบ ใช้พื้นที่ในการทำ�เท่าไหร่ ราคาสองหมื่นกว่าบาท เท่ากับราคาข้าว 2 ตัน ที่มีคนทำ�กี่คน ใช้น้ำ�เยอะ ขนาดไหน ต้องสี ใช้น้ำ�มันดีเซลล์ ตัดต้นไม้ ต้อง ทำ�ระบบชลประทาน นาทำ�ให้สมดุลของสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนไป เหมือนกับที่อินโดนีเซียพยายามจะปลูก
091
RU-YERB
ต้นปาล์ม เพราะว่าราคาน้ำ�มันสูง แต่ว่าคนไทยคิดว่า เราจะต้องส่งออกข้าวเพื่อเป็นที่หนึ่งของโลก พวกเรามี ความเห็นในเรื่องพวกนี้หรือเปล่า สังคมควรตั้งคำ�ถาม กับทุกอย่าง อันนี้คือมุมมองของสถาปนิกที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม
ง่ายขนาดนี้แค่มีสายไฟผ่านเท่านั้นเอง คือมันจะแทรก อยู่ในงาน แต่ไม่ได้บอกว่าเราเป็น Green Architect มันเป็นสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เป็นปมมากกว่า เรา ไม่ได้บอกว่างานของเราจะเป็นการประหยัดพลังงาน PIE : สถาปัตยกรรมในบ้านเรากับกับต่างประเทศ
พี่แจ๊ค : ก็คล้ายๆ กับเรื่องอื่น ของเราจะมีความ พี่แจ๊ค : อย่างงาน RU-YERB ที่มาคลุมสายไฟ มัน หลากหลายน้อยกว่า พอมีคนทำ�แบบหนึ่งก็ทำ�ตามๆ เริ่มมากจาก เราปั่นจักรยานแล้วมันร้อน เลยเห็น กันว่าต้องเป็นแบบนี้ ถ้าตึกของคนรวยๆ หน่อยก็จะ ความสำ�คัญของต้นไม้มากขึ้น จริงๆ หลักของน้ำ�ท่วม เป็นคล้ายกับ New York Style หรือ Art Nouveau ก็คือการตัดต้นไม้นั่นแหละ แล้วทำ�ไมต้นไม้โดนตัด แบบแหลมๆ เป็นยอดๆ ของชนชั้นกลางก็จะดู PIE : มุมมองพวกนี้กลับมาหาการทำ�งานของพี่ยังไง
092
TUKCOM Sriracha
โมเดิร์นบล็อคๆ ก็จะตามกันไปหมด ระบบนิเวศของ เรา ทั้งเรื่องสื่อ เรื่องสถาปัตฯ มันตามกันไม่มีความ หลากหลาย แต่จริงๆ ทุกประเทศก็มีปัญหาหมด เขาแค่ต่างจากเรา อย่างถ้าเป็นที่ฮอลแลนด์ก็จะมีตึก หน้าตาบ้าๆ บอๆ ทุกคนก็จะมาแนวที่ตึกทุกตึกแปลก หมดเลย ถ้าตึกธรรมดาจะกลายเป็นตึกแปลก พอ ทุกคนกลายเป็นคนแปลกหมดเลย คนที่ธรรมดาก็จะ กลายเป็นแตกต่าง PIE : แล้วสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ เป็นยังไงบ้าง
พี่แจ๊ค : มันแปลกมาเลยนะ ตอนนี้พี่รู้สึกแก่ เพราะ
ว่าเดี๋ยวนี้จะเริ่มโดนเชิญไปเป็นกรรมการตรวจงาน โน่นนี่ มันเป็นสัญญาณของคำ�ว่าแก่หรือเปล่าวะ (หัวเราะ) แต่ยังรู้สึกเด็กอยู่นะ พี่คิดอยู่เสมอว่า เราเป็น Guerrilla Office เหมือนหน่วยรบ เป็น สถาปนิกกองโจรน่ะ ออฟฟิศเล็ก แล้วอยู่ดีๆ ก็มีคน มาให้ความสนใจ มีคนมาสัมภาษณ์ จริงๆ ถือว่า โชคดี เรามีโอกาส แล้วสถาปนิกรุ่นใหม่ควรจะได้รับ โอกาสพวกนี้ พี่ก็อยากจะเรียกตัวเองว่าสถาปนิกรุ่น ใหม่อยู่เพราะว่ายังไม่ 40 (หัวเราะ) สถาปนิกรุ่นใหม่ ของเรายังขาดกลไกที่จะทำ�ให้เขาขึ้นมาอยู่ด้านหน้า เป็นทีร่ จู้ กั เล่าให้ฟงั ง่ายๆ ในฮอลแลนด์สมัยปี 90’s 093
BU Lounge
094
มันมีระบบ Media ที่แข็งแรงมาก หนังสือมีเยอะ มาก เพราะฉะนั้นงานของเขาก็จะถูกเผยแพร่เยอะ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สถาปัตยกรรมประสบความสำ�เร็จ ที่สุดของฮอล์แลนด์ ทุกคนก็จะถูกดันออกมาเป็น Young Blood แล้วเป็นที่รู้จักเร็วมาก แต่ของเรา มันไม่มีกลไกที่ดีเหล่านี้
ก็มีแค่ไม่กี่คน แล้วยังเป็นคำ�ถามเก่าๆ วงการบ้านเรา ยังเหมือนเป็นการปกครองแบบเดิมๆ ใช้เส้นสายเข้าไป ทำ�งาน กว่าคนรุ่นใหม่จะผุดขึ้นมาได้ก็ต้องฝ่าฟันต่อสู้ กันไป ประเทศไทยมันจะมีคำ�พูดที่ว่า “เมืองไทยมีคน เก่งๆ อยู่เยอะ แต่คนเก่งๆ เหล่านั้นไม่มีโอกาส” พูด แบบนี้ทุกวงการเลย อันนี้ผิด เราต้องคิดว่าตอนนี้เมือง ไทยเรายังไม่เก่งเลยนะ ทำ�ยังไงเราจะเก่งขึ้นกว่านี้ คือ PIE : ไม่มีช่องทางให้เด็กรุ่นใหม่ เราต้องคิดว่ารุ่นพี่เราไม่เก่งเลย ทำ�ยังไงเราถึงจะเก่งกว่า พี่แจ๊ค : ใช่ สมาคมก็…ตอนนี้มันเป็นกลไกเหมือน รุ่นพี่ได้ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องคิดว่ารุ่นน้องมันก็คิด ป่าล้อมเมือง ต้องไปดังมาจากเมืองนอกก่อน ถึง กับเราอย่างนี้เหมือนกัน แล้วเราต้องให้โอกาสมัน เรา จะได้รับการยอมรับจากบ้านเรา แปลกดีนะ คือ ต้องคิดว่าเดี๋ยวในวันข้างหน้า ถ้ากูเลิกแล้วมึงต้องเก่ง สื่ออย่างพวกเรามันไม่มีความแข็งแรง แต่ละคนมา กว่ากูอีก คือต้องคิดว่าเราไม่เก่ง ต้องฝึกๆๆ แต่เมื่อ สัมภาษณ์ผม คนโน้นคนนี้มา แล้วก็ถามคำ�ถาม ไหร่ที่คิดว่าเราเก่งแล้ว แค่ไม่มีโอกาสเท่านั้นเอง มันก็ เดิมๆ ว่าแรงบันดาลใจของผมคืออะไร มีอะไร จะเป็นอย่างนี้ต่อไป อยากฝากถึงน้องๆ บ้าง เทรนด์ของปีนี้คืออะไร คือมันเป็นแบบนี้ ทางมีเดียเองก็ต้องทำ�งานด้วย PIE : ต้องคิดว่าเราไม่เก่งแล้วพัฒนาตัวเองขึ้นไป ว่าทำ�ยังไงถึงจะให้เกิดการรู้จักขึ้นในวงกว้างขึ้น พี่แจ๊ค : เราต้องเปลี่ยนปรัชญาชีวิตของตัวเอง เรา มาได้ คือผลักดันให้ดไี ซเนอร์รนุ่ ใหม่ๆ มีทๆ่ี คน ต้องยอมรับว่าประเทศเราไม่มีใครเคยได้รางวัลโนเบล จะรู้จักเขา โดยที่เขาไม่ต้องไปทำ�ให้ต่างประเทศ ประเทศพม่ามี ประเทศไทยไม่เคยมีเลขาของ UN ยอมรับก่อน งานของ Supermachine ตอนนี้มี ประเทศพม่ามี เรามีแค่ต้มยำ�กุ้ง เราต้องสู้กับคนจีน หนังสือของจีน เกาหลี ยุโรปเผยแพร่งานเราก่อน ตอนนีค้ นจีนกำ�ลังไปดวงจันทร์ เราต้องสร้างความอยาก ที่เมืองไทยจะนำ�เสนออีกนะ คือพวกเราถือว่าช้า จะเป็น ไม่ใช่คิดว่า “อันนี้ไม่ได้…เดี๋ยวก็ได้ เราเก่ง” มาก มีเดียของเมืองไทยด้านดีไซน์ถ้าให้นับตอนนี้ คนเก่งเต็มไปหมดเลยทุกวงการ คนแก่ก็ต้องสนับสนุน ถือว่าช้ามาก นำ�เสนออะไรที่มันมีการวิพากษ์ ให้รุ่นน้องขึ้นมา พวกเด็กๆ ก็ต้องคิดว่า พวกใหญ่ๆ วิจารณ์ มีการเปรียบเทียบมากกว่า มันถึงจะเป็น จะเป็นบันไดขึน้ ไปได้ เราต้องเก่งกว่าแต่ไม่ได้เกลียดกันนะ อะไรที่ก้าวหน้าขึ้นไปสำ�หรับมีเดียเมืองไทย เพราะ มันต้องเปิดแล้วขึ้นไปหลายๆ คนพร้อมๆ กัน เมืองไทยไม่มีการวิจารณ์ มีเดียด้านดีไซน์ คนไทย ไม่อ่านหนังสืออยู่แล้ว คุณไม่สามารถเขียนอะไรที่ PIE : เรื่องไลฟ์สไตล์บ้าง ปกติเวลาว่างทำ�อะไร เป็นทฤษฎีในหนังสือคุณได้ มันมีหนังสือ BE1 ที่มี พี่แจ๊ค : จริงๆ ออฟฟิศที่นี่คติคือ เรื่องเที่ยวเรื่องใหญ่ เรื่องทฤษฎีอยู่ 4 หน้า ผมชอบมากเลย ไม่งั้นมัน ทุกอย่างที่ทำ�เพ่ือหาเงินไปเที่ยว แต่ไม่ได้เที่ยวกลางคืน 095
อะไรแบบนี้นะ คือแทนที่เราจะให้โอทีเป็นเงิน เรา บังคับให้เขาใช้เงินจากการไปเที่ยวหาประสบการณ์ ไปอิตาลี ญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกส อันนี้มันจะกลับ มาเป็นประโยชน์กับตัวเขาและงานของเราด้วย ไป เห็นวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม เห็นเขาสร้างงานแบบ อื่นๆ ไปกันทั้งออฟฟิศ มันเริ่มตั้งแต่ไปสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ แล้วก็เริ่มไกลขึ้นเรื่อยๆ ฮอลแลนด์ อิตาลี ฯลฯ ให้ทุกคนได้ประสบการณ์ ได้เห็นและ สร้างคำ�ถามของแต่ละคน เราไม่ได้โดนฝึกมาให้ตั้ง คำ�ถาม เราโดนฝึกมาให้เชื่อ ให้ตาม แต่ว่ามันก็ดี กว่าไม่เห็น กลับมาก็คุยกันว่าเห็นตรงนั้นตรงนี้มั้ย ก็มีการพูดคุยกัน PIE : หนัง เพลง หนังสือ
พี่แจ๊ค : ชอบอ่านหนังสือชีวประวัติคนครับ มัน เหมือนกับเห็นความสัมพันธ์ เวลาที่เราเห็นคนๆ หนึ่งที่เป็นคนดัง บางทีเราเข้าใจผิดว่าเขาเป็นคน แบบน้ี แต่พอเราอ่านประวัติของเขาจริงๆ อย่าง เช่น อังเดร อากัสซีจริงๆ เป็นคนอังกฤษ พ่อเขา จับให้อยู่กับทุกอย่างเกี่ยวกับเทนนิสมาตั้งแต่เด็ก เขาเคยเกลียดเทนนิสมาก จากคนที่เราคิดว่าเขา ต้องรักกีฬาชนิดนี้ ปรากฏว่าเขาโดนสร้างมาจาก สิ่งพวกนี้ อย่าง Lance Armstrong หนังสือ It’s Not About the Bike ก็อ่านตั้งแต่เล่มแรก เล่มสอง แล้วก็มาอ่านเล่มที่เขาโดนแฉอีก อ่าน ชีวประวัติของ สตีฟ จ็อบส์ หลังจากอ่านจบก็ ชอบ Walter Isaacson มาก ก็ไปซื้อประวัติ ของไอน์สไตน์ที่ไอแซคสันเขียนแล้วก็ เบนจามิน แฟรงคลิน ส่วนหนังกับเพลงเป็นอะไรที่กว้างมาก 096
ฟังตั้งแต่บริทนีย์ทสเปียรส์ยันเมทัลลิก้า คือฟังหมดเลย อย่างแน่นอก (หัวเราะ) แต่ก่อนไม่รู้จักใบเตยด้วยนะ แล้วน้องๆ มาเปิดให้ดู คือท่าเต้นแบบนี้…แต่เต้นได้ ขนาดนี้ คือทำ�อะไรต้องทำ�ให้สุดๆ แล้วต้องไม่รู้สึก อาย ทำ�จนคนเชื่อ ถ้าเราตั้งใจทำ�แบบเต็มที่ เชื่อแล้ว ลองทำ�อย่างตั้งใจที่สุด มันก็เลยประสบความสำ�เร็จ PIE : ตอนเด็กๆ 10 ขวบ อยากเป็นอะไร
พี่แจ๊ค : อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เรียนสายวิทย์ ตอนแรกอยากเป็นวิศวกร เพราะว่าอยากเขียนแบบ ด้วยปากการอทติ้ง เวลาไปเซ็นทรัลกับแม่อยากได้ รอทติ้ง พ่อสอนวาดรูปหุ่นยนต์ตั้งแต่เด็ก พ่อแม่เป็น หมอทั้งคู่ครับ อยู่อุบลฯ อยู่ในโรงพยาบาลในเมือง เม่ือ 20 กว่าปีที่แล้วก็ชนบทน่ะ ปั่นจักยานออกไป ตกปลา จริงๆ พ่ออยากเป็นสถาปนิกแต่ไม่ได้เป็น เพราะปู่อยากให้เรียนหมอ PIE : แล้วเข้ามากรุงเทพฯเมื่อไหร่
พี่แจ๊ค : ตอนม.1 ครับ มาเรียนที่โรเรียนบดินเดชา มาอยู่กับป้า แล้วก็สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัย ตอน นั้นคือเรียนอย่างเดียว เป็นเด็กเรียนเข้าไปปีหนึ่ง ไม่ กินเหล้าไม่สูบบุหรี่ มากินตอนปีสาม สูบบุหรี่ตอน ปริญญาโท PIE : แล้วทำ�ไมเลือกมาเรียนสถาปัตฯ
พี่แจ๊ค : ตอนแรกอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ก่อน ตอน เด็กๆ ก็ชอบทดลองทำ�โน่นทำ�นี่ ตอนม.4 อยากเข้า วิศวะ แต่เอ็นไม่ติด พอม.5 ก็เปลี่ยนมาเลือกสถาปัตฯ อย่างเดียว ก็เอ็นฯติด
097
098
คิดที่แตกต่าง หรือว่าพี่อยากจะทำ� พี่แจ๊ค : ตอนเรียนเราทำ�ได้ทุก อะไรที่มันไม่เหมือนกับที่อาจารย์ให้ อย่าง วิชาดีไซน์เราก็ได้ A ตลอด เพื่อนๆ ทำ� และตอนนั้นเริ่มมี Movement Deconstruction เห็นรุ่นพี่ทำ�โน่น PIE : สู้กับเรื่องความคิดที่แตกต่าง นี่ อยากจะทำ�อะไรมันๆ อย่างนี้ มาตลอด บ้าง แต่อาจารย์ไม่อำ�นวย หาคน พี่แจ๊ค : ใช่ จนบางทีคนก็จะคิดว่า ซัพพอร์ทไม่ค่อยได้ เราก็ต้องเริ่ม เราก้าวร้าว ซึ่งก็อาจจะจริง ต่อสู้ ก็ไปหาวิศวกรเพื่อมาต่อสู้กับ อาจารย์ อาจารย์เขาก็ยอมรับนะ PIE : เหตุผลกับอารมณ์ใช้อะไร ก็ให้ A ก็บิ้วต์ไปเรื่อยๆ จนมันมี มากกว่ากัน ความต่อต้านอยู่ภายในว่าที่นี่ไม่เปิด พี่แจ๊ค : พยายามจะใช้สัญชาตญาณ รับพอ อาจารย์ไม่ซัพพอร์ทความ มันเป็นเหตุผลกับอารมณ์ผสมกัน PIE : พอเข้าไปเรียน
099
http://supermachine.files.wordpress.com
Super machine Studio TEAM
อาร์ม Architect สถาปัตฯ ภายนอก อายุงาน : 1 ปีครึ่ง
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง
ก่อนหน้านี้เคยฝึกงานก่อน แล้วก็เข้ามาทำ�ประจำ� ทำ�งานที่นี่ก็ดี เป็นเจ้า นายที่ดี ให้เยอะ เขาไม่ค่อยหวงความรู้ ไม่โกรธด้วยเวลาที่ไม่รู้ เขาก็เคย พูดว่าเขาก็ไม่ได้เก่งมาก่อน แต่เวลาซีเรียสๆ ก็มีดุบ้าง ช่วงงานเร่ง แต่ ว่าเขาไม่ค่อยดุ แต่งานต้องตรงตามตาราง ไม่ควรจะโอ้เอ้ ปกติออฟฟิศ เราจะทำ�ไปเล่นไป ก็เลยอยู่กันถึงดึก คำ�ถามแรกตอนเข้ามาก็คือ ทำ�งาน หนักได้มั้ย อยู่ดึกได้มั้ย แรงกดดันก็มีบ้างเวลาตรวจแบบกัน พี่แจ๊คเขา เหมือนเป็นไดเร็กเตอร์ครับ เขาก็จะโยนงานมาให้ บอกคอนเซ็ปต์ แล้วให้เรา เอามาทำ� แล้วแนะนำ�ว่าปรับอะไรได้บ้าง บอล Architect สถาปัตฯ ภายนอก อายุงาน : 4 ปี
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง
ดีครับ ช่วงแรกๆ ก็งานหนัก แต่ พี่แจ๊คเขาก็ใจๆ ดี เราอยู่ดึกเขาก็ อยู่กับเรา แต่ช่วงนี้ก็ดีขึ้น มีน้องๆ เข้ามา ตอนที่ผมเข้ามาใหม่ๆ มี กันแค่ 3 คน ตอนนั้นก็ทำ�กันเอง ทุกอย่าง ทุก process แกก็อยู่ ด้วยหมด แกเป็นคนทำ�งาน ลงมือ ลงแรงทำ�จริงจัง สิ่งที่ดีคือแกให้ โอกาสเยอะ แกไม่ได้คิดว่าจบใหม่ทำ� อะไรไม่เป็น แกจะเป็นแบบจับโยนลง น้ำ�ไปเลย ว่ายไม่เป็นก็จะเป็นเดี๋ยว น้ันเลย สอนเยอะ เดี๋ยวนี้น้องๆ เข้า มาใหม่ๆ ก็ส่งไปประชุมแทนแกเลย อะไรแบบนี้ ตอนแรกก็คิดว่ามันไม่ น่าจะเวิร์ค แต่จริงๆ แล้วมันเวิร์ค มากเลย แล้วจะรู้สึกว่าเป็นส่วน หนึ่งของงานมากขึ้น แกก็ให้เยอะ พาไปเที่ยว ปีหนึ่งบางทีก็ 2-3 ประเทศ คุยกันได้ทุกเรื่อง
จ๊อบ Interior อายุงาน : 1 ปีครึ่ง
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง
ฝ้าย Interior อายุงาน : 3 ปี
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง
สนุกค่ะ มีหลายอารมณ์ บางทีก็กดดันเหมือนกัน พี่แจ๊คเขา จะไม่ค่อยพูดว่าจะต้องทำ�แบบโน้นแบบนี้ เขาจะปล่อยให้เรา ทำ�เอง เราเลยต้องกดดันตัวเอง เหมือนเราคาดหวังว่างาน มันจะออกมาดี แต่ว่ามันก็แค่เป็นช่วงสั้นๆ เพราะส่วนใหญ่ มันจะมีอย่างอื่นเข้ามาทำ�ให้มันหายไป เช่น เดี๋ยวมีไปออก ทริปปั่นจักรยาน ไปเที่ยวโน่นนี่ แล้วในออฟิศมันเหมือนกับ อยู่บ้าน เหมือนทำ�งานที่บ้านกลางคืนดึกดื่น มาทำ�งานสาย (หัวเราะ)
สิ่งที่พี่แจ๊คสอนแล้วฝ้ายจำ�ได้ดีคืออะไร
เรื่องของการอย่าหยุดเรียนรู้ เขาบอกว่าไม่ต้องเรียนต่อก็ได้ ถ้าเราเป็นคนที่สนใจและเราบ้ากับมันจริงๆ เราเรียนรู้ได้ด้วย ตัวเอง อย่าคิดว่าการที่เราไปเรียนต่อจะทำ�ให้เรารู้มากขึ้น หรือเราได้เปรียบคนอื่นเสมอไป มันดีมากเลย เหมือนทำ�ให้เรา สามารถเห็นความคิดของตัวเอง
0100
เปิดโอกาสให้หลายอย่าง ที่เรียน มากรอบค่อนข้างเยอะ แต่ทำ�งาน กับพี่แจ๊คก็ได้คิด ได้ทำ�ทุกอย่างเลย ตั้งแต่ออกแบบ คุยกับผู้รับเหมา ที่ ออฟฟิศนี้กันเอง รู้สึกว่าทำ�งานที่ นี่เวลามันเดินเร็วมาก ทำ�งานแล้ว เพลิน เพราะว่าทำ�กิจกรรมกันตลอด เสาร์-อาทิตย์ก็ไปปั่นจักรยานกัน ที่ ผ่านมาก็มีไปหลายที่เลย
แล้วมีเวลาเป็นของตัวเองมั้ย
นี่แหละข้อเสียของที่นี่คือไม่มีเวลาได้ เจอเพื่อนเลย เพราะเวลาเริ่มทำ�งานก็ ประมาณบ่ายโมง เลิกก็ 4-5 ทุ่ม ก็ ไม่ค่อยได้เจอเพื่อน
ทำ�งานที่นี่หนักมั้ย
ถือว่าหนักเลย ทำ�งานที่นี่เป็นที่ แรก พอดีพี่แจ๊คเป็นที่ปรึกษาให้กับ ธีสิสของผมด้วย เขาก็เลยชวนมา ทำ� พอดีผมค่อนข้างมีปัญหากับ อาจารย์ก็เลยหาที่ปรึกษาเอง
บอย Junior Architect อายุงาน : 1 ปี
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง พอเขาจะให้งาน เขาจะบรีฟไอเดียให้ สนุก บอยเพิ่งจบมาใหม่ๆ เหมือน ยังไม่ค่อยกล้าทำ� แต่พี่แจ๊คเขาก็ พยายามให้เราร่วมคิดด้วย อย่าง ออฟฟิศอื่นๆ ที่พอรู้มา เหมือน เขาจะให้เราดาร์ฟไปก่อน เขียนไป ก่อน ยังไม่ค่อยได้ออกแบบอะไร มาก แต่ที่นี่เหมือนเขาจะให้เรามี ส่วนร่วมเยอะ ทำ�ให้เรากล้ามาก ขึ้น บรรยากาศในการทำ�งานก็ไม่ ได้เครียดเลย เหมือนเราคุยกับพี่ คนหนึ่ง
พี่แจ๊คสอนอะไรบ้าง
คร่าวๆ ว่าลูกค้าต้องการอะไร เรา ต้องการงานแบบนี้นะ แต่เขาจะมีช่อง วางให้เราใส่ความคิดของเราลงไปได้ เหมือนเราสามารถต่อยอดได้ เขาก็ จะยอมรับฟัง หรือถ้ามันไม่ได้เขาก็จะ ช่วยเสริม หรือยกตัวอย่างงานที่มัน จะช่วยให้เราไปได้อีกขั้นหนึ่ง
ตอนนี้ที่ออฟฟิศชอบอะไรกันอยู่
บอย : หลักๆ จะเป็นจักรยาน มันจะมี อยู่ช่วงหนึ่งที่ทุกคนจะบ้าจักรยานกัน มาก ส่วนตอนนี้ก็เป็นเกมส์ Candy Crash ที่ทุกคนก็เล่นกันเยอะ
เจมส์ Architect อายุงาน : 1 ปี 2 เดือน
โน๊ต ช่างเขียนแบบ อายุงาน : ยังไม่ครบ 1 เดือน
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง
ทำ�งานกับพี่แจ็คเป็นยังไงบ้าง
สนุกนะ เพราะว่าเหมือนเราไม่ได้มี เจ้านาย เหมือนเรามีผู้นำ�คนหนึ่งที่ ถือดาบอยู่ข้างหน้า อยู่กับเราด้วย ตลอดเวลา
เคยคุยกับเพื่อนที่ทำ�งานที่อื่น บ้างมั้ย ต่างกันยังไง
เคย มันเริ่มจากวิสัยทัศน์ของเจ้าของ ออฟฟิศแล้ว ออฟฟิศอื่นก็อาจจะ ต้องแต่งตัวสุภาพมาทำ�งาน ต้อง เข้างานตรงเวลา บางทีเลิกงานช้า แต่ก็ต้องเข้างานตรงเวลา ส่วนที่นี่ ก็แต่งอะไรมาก็ได้สบายๆ เหมือนอยู่ บ้าน ผมเคยฝึกงานอยู่ที่นี่ก่อน แล้ว พี่แจ๊คก็เรียกมาทำ�งาน
ก่อนหน้านี้ก็รู้จัก ชอบงานของพี่ แจ๊คอยู่แล้ว
ใช่ ก่อนฝึกงานก็หาออฟฟิศอยู่ แล้ว เราไปเห็นวัวของ Big Mountain ก็ เลยสนใจ แล้วก็มาฝึกงาน ที่นี่ก็สนุกมี ให้ทำ�โน่นทำ�นี่เรื่อยๆ แต่บางทีเราก็ไม่มี เวลาของตัวเอง
แล้วตอนเรียนได้ทำ�แบบนี้มั้ย
ตอนเรียนแทบจะไม่ได้ทำ�อะไรมาก มัน ต่างกันเยอะเลยกับแบบที่ได้ทำ� ผมว่า ไปเรียนที่มหาลัย ควรจะเรียนเครื่องมือ ในการผลิตแบบมากกว่า สมมติว่า เราจำ�ทำ�แบบโค้งแบบที่เราอยากได้ โปรแกรมปกติมันไม่ค่อยอำ�นวยเท่าไหร่ คือเราจำ�เป็นต้องใช้เครือ่ งมือ แอพริเคชัน่ เพราะฉะนั้นความคิดเราจะถูกจำ�กัด เวลาทำ�แบบออกมา เราทำ�ไม่ได้ เรา เขียนไม่เป็น ผมได้ความรู้เรื่องการใช้ อุปกรณ์จากที่นี่เยอะ เหมือนเราอยาก จะพูดแล้วเราพูดได้
0101
ดีมากครับ คือผมเปลี่ยนงานมาหลายครั้งแล้ว ทำ�งานมา 10 กว่าปีแล้ว ออฟฟิศแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน แต่ว่าพอมา เจอพี่แจ๊คเนี่ย เรียกว่าเป็นออฟิศที่แปลก แล้วเราก็รู้สึกว่า ชอบออฟฟิศแบบนี้ ประทับใจตั้งแต่วันที่มาสัมภาษณ์เลย ผมได้ยินชื่อของที่นี่มานานแล้ว แต่ไม่เคยมาสัมผัส วันที่ผม มาสัมภาษณ์ตอนเช้าผมไปมาที่หนึ่ง แล้วมาสัมภาษณ์งาน ที่นี่ตอน 3 ทุ่ม พอเจอพี่แจ๊ค เขาก็บอกว่าแต่งตัวสุภาพ ไปหรือเปล่า ผมก็งง คือตอนเช้าที่ผมไปสัมภาษณ์ที่แรก คืออยู่กลางเมืองพูดจาก็เหมือนเก็กๆ กันหน่อย แต่พอมา ที่นี่พี่แจ๊คก็พูดกูมึงกับผมเลย ผมก็ตกใจ เฮ้ย ไม่เคยเจอผู้ บริหารแบบนี้ แต่มันไม่ได้รู้สึกเกร็งอะไรเลย กลายเป็นว่าพอ เขาพูดกับเรา เราก็เปิดใจ ว่าเราอยากทำ�ที่นี่เพราะอะไร เรา มาช่วยอะไรเขาได้บ้าง พี่แจ๊คเหมือนแกเป็นคนพิเศษ เราคุย กับเขาแป๊บเดียว เราจะรู้สึกว่าเขาเป็นคนแบบนี้ เราชอบที่เขา เปิดเผยดี ทำ�งานที่นี่ไม่ถึงเดือน แต่ก็คิดว่าเราคิดถูกแล้ว ที่มาที่นี่
ความเครียด ความสนุก มีผลกับงานมั้ย ทำ�ให้งาน ดีขึ้นมั้ย
มีแน่ๆ ครับ พอเรารู้สึกว่างานไม่เครียด งานมันก็เดินหน้า ทั้งๆ ที่คุยเล่นๆ กัน แต่มือเราก็ทำ�ไป หัวเราก็คิดไปได้ ดี กว่าเงียบด้วยซ้ำ�ไป บางทีเงียบๆ มีสมาธิ แต่ว่าเกร็งๆ มัน ก็เหมือนอยู่คนเดียว แบบนี้บางทีทำ�ๆ ไปก็มีอะไรให้คิด แล้ว เอาออกมาในงานได้ สนุกดี
HORMONES
the series Director Yong Songyos Sugmakanan
102
PIE INSPIRATION
เรียกว่าแทบจะไม่ต้องโปรยอะไรให้เปลืองตัวอักษรกับกระแสความดัง ความเด็ดของซีรีย์ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ที่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่มีตั้งแต่ สนุกน่ารักสดใส จนไปถึงการเปิดปมปัญหาพาไปชมสมองของวัยรุ่น กันเลย ทุกตอนที่ฉายก็ล้วนเป็นที่กล่าวถึง น่าติดตาม จนตัวละคร หลายตัวในซีรีย์เรื่องนี่ก็กลายเป็นขวัญใจวัยรุ่นกันไปแล้ว ทาง PIE Magazine ก็ไม่พลาดที่จะไปพูดคุยถึงผู้กำ�กับฝีมือดีเบื้องหลังซีรีย์ที่ เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์กันอยู่ตอนนี้กับ พี่ย้ง ทรงยศ สุขมากอนันต์ รับรองว่าอ่านแล้วฮอร์โมนความคิดสร้างสรรค์พุ่งกระฉูดแน่นอน
103
PIE : เริ่มสนใจหนังตั้งแต่เมื่อไหร่
รายการกระจกหกด้าน ทำ�ในตำ�แหน่งสคริปไรเตอร์ ใน งานโทรทัศน์มันก็คือกึ่งๆ สคริปไรเตอร์ โปรดิวเซอร์ ไดเร็คเตอร์ ทุกอย่าง ทำ�ได้สักสามเดือนก็รู้สึกว่าไม่ใช่ งานในแบบที่เราชอบ คือเราโอเคกับการทำ�งานสารคดี แบบกระจกหกด้านนะ โอเคกับการทำ�งานหนัก แต่สิ่งที่ เรารู้สึกว่าเราไปต่อกับกระจกหกด้านไม่ได้ เพราะรู้สึกว่า มันมีกรอบ ไม่ได้ตั้งใจอยากจะออกนอกกรอบนะ แต่รู้สึก ว่าอยากทำ�อะไรใหม่ๆ บ้าง ตอนนัน้ ทางผูใ้ หญ่กย็ งั บอกว่า เฮ้ย! ทำ�ไมไม่ลองอยูพ่ สิ จู น์ตวั เองอีกหน่อย เขาก็จะรูส้ กึ ว่า เนี่ยเด็กจุฬาฯ เหยียบขี่ไก่ไม่ฟ่อ ทนทำ�งานหนักไม่ได้ แต่ตอนนั้นด้วยความเป็นเด็กก็ถามตัวเองเหมือนกัน หรือ เราเป็นอย่างที่เขาว่าจริงๆ แต่พอมานั่งถามตัวเองก็พบ ว่าเราไม่มีความสุขจริงๆ มันเหมือนตอนที่เราตัดสินใจ ออกจากเอแบค รู้สึกว่าต้องเด็ดขาดกับการเลือกทางเดิน ของชีวิตให้ได้ คนอื่นจะมองว่ายังไง เราก็ไม่สามารถไป เปลี่ยนแปลงความคิดเขาได้ แต่สิ่งที่เราเชื่อในตัวเองว่า ถ้าเราไม่ได้เป็นแบบนั้นก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ เราไม่อยากเสีย เวลากับสิ่งที่ไม่ใช่เรา เวลาในชีวิตคนเรามันมีน้อย
พี่ย้ง : ตอนที่เรียนอยู่นิเทศศาตร์จุฬาฯ ชอบถ่าย ภาพแต่ก็ไม่กล้าเอ็นท์เข้าสายศิลป์ ตอนแรกเข้าเรียน เรียนบริหารธุรกิจที่เอแบค ค้นพบว่าภาษาอังกฤษเรา ก็ไม่ชอบ บริหารเราก็ไม่ชอบ ตอนนั้นก็เลยตัดสิน ใจออกไปเรียนถ่ายภาพและเอ็นทรานซ์ใหม่แล้วก็ ติดนิเทศศาสตร์จุฬาฯ ตอนนั้นเรากะว่าถ้าไม่เข้า หนังสือพิมพ์ ก็เข้าโฆษณา เพราะจบมาก็น่าจะมีงาน รองรับ ไม่เคยมองการทำ�หนังไว้เลย เผอิญภาควิชา ภาพนิ่งมันรวมอยู่กับภาพยนตร์ ก่อนนั้นดูหนังน้อย มากแต่ว่าสนิทกับเอสกับแก๊งค์ผู้กำ�กับแฟนฉัน เลย ได้ดูหนังเยอะขึ้น เพื่อนๆ ก็จะชอบชวนกันไปดูหนัง แรกๆ ก็ดูเพื่อความบันเทิงเฉยๆ จนกระทั่งแยกภาค วิชา เพื่อนๆ ก็จะเริ่มทำ�หนังสั้น ทำ�กำ�กับเขียนบท ทำ�เอ็มวีกัน พอมันรู้ว่าเราถ่ายภาพสวย มันก็ชวนเรา ไปทำ�เป็นตากล้อง พอไปเริ่มถ่ายหลายๆ เรื่อง เรา ก็เริ่มอินกับการทำ�หนัง เริ่มรู้สึกชอบ ปกติเราชอบ ภาพนิ่งแต่พอเรามาทำ�หนัง มันก็คือภาพนิ่งที่มาร้อย ต่อกัน 24 เฟรมต่อวินาที กลายเป็นภาพ 1 วินาที แล้วหลังจากนั้นก็เรียงร้อยเรื่องเป็นเรื่องราวที่สร้าง อารมณ์ความรู้สึกกับคนดู มันจะมีความงามของภาพ PHENOMENA อยู่ในภาพยนตร์ มันก็ทำ�ให้เราเริ่มหลงเสน่ห์การทำ� PIE : แล้วทำ�อะไรต่อครับ หนัง ตอนนั้นเรายังไม่มีความมั่นใจในตัวเอง แต่เริ่ม พี่ย้ง : พอดีจังหวะโชคดีมีเพื่อนที่เขาเป็นครีเอทีฟโฆษณา รู้สึกอยากจะเป็นคนทำ�หนังแล้ว เขาเคยไปฝึกงานที่โปรดักชั่นเฮ้าส์ที่ฟีโนมีน่า พอมัน ฝึกงานเสร็จ เขาก็บอกว่าอยากรับประจำ� ซึ่งตอนแรก PIE : เรียนจบมาเริ่มทำ�งานที่ไหน เพื่อนคนนี้ก็ตัดสินใจว่าจะย้ายจากฝั่งครีเอทีฟมาทำ�งาน พี่ย้ง : พอเวลาเรียนจบยังรู้สึกว่าไม่อยากไปจาก เป็นผู้ช่วยผู้กำ�กับของโปรดักชั่นเฮ้าส์ แต่ปรากฎว่ามัน ที่นี่ เหมือนตายไปแล้วยังไม่ไปผุดไปเกิด ก็มีรับจ๊อบ ยังอยากจะเป็นครีอทีฟต่อไป เขาก็เลยบอกว่าถ้ามึงไม่ ถ่ายรูป งานแต่งงาน งานรับปริญญาไปเรื่อยๆ เข้ามาก็ช่วยแนะนำ�เพื่อนมึงมาหน่อย ไอ้เพื่อนเราคนนี้ จนกระทั่งผ่านไปปีกว่าๆ ก็เลยไปสมัครงานที่ เลยแนะนำ�เรา ซึ่งเนี่ยคือจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง 104
เพราะการเรียนรู้การทำ�งานอย่างจริงจังของพี่เริ่มต้นที่ฟีโนฯ แล้วพอเข้าไปก็โชคดีได้ทำ�งานกับพี่ต่อ (ธนญชัย ศรศรีวิชัย) ตอนแรกก็ไม่รู้เลยว่าพี่ต่อเป็นใคร ก็ขึ้นไป เขาบอกว่าให้ไปนั่งรอ บนห้องพี่ต่อ เดี๋ยวพี่ต่อมาคุยด้วย เราก็นั่งรอไปเรื่อยๆ สักพัก ก็มีโปรดิวเซอร์มาถามว่ารู้จักพี่ต่อรึเปล่า เราก็บอกไม่รู้จักครับ เขาก็เอางานของพี่ต่อให้เรานั่งดู เดี๋ยวพี่ต่อมาจะได้พูดได้ ก็เลย เปิดดูผลงานพี่ต่อที่แบบตื่นเต้นมาก เชี่ย! นี่มันโฆษณาที่กูชอบ นี่หว่า ตัวนี้เราก็ชอบๆ โหชอบเต็มไปหมดเลย ตอนนั้นมันก็เลย ตื่นเต้นมาก นี่เรากำ�ลังจะได้ทำ�งานกับผู้กำ�กับโฆษณาที่ทำ�งาน ที่ดังและดีขนาดนี้ แล้วก็จะทั้งตื่นเต้นและกลัวว่าจะทำ�ได้ไหม 105
กูจะรอดไหม เขาเป็นระดับแบบเกจิเลย มันมีสอง อย่างคือ กลัวแล้วฝ่อไปเลย หรือแบบกลัวแล้วสู้ แต่เผอิญเราเป็นคนที่กลัวแล้วสู้ เอาความกลัวนั้นมา เป็นพลังที่พลักดันตัวเอง แล้วพวกผู้ช่วยฯ รุ่นพี่เรา ที่เขาเข้าไปก่อนเรามันก็จะวัยใกล้เคียงกับเรา เราก็ เห็นว่าเป็นพวกเด็กเรียนเก่ง ขยันทุกคน เวลาทำ�งาน หาเรฟเฟอร์เร้นซ์ทุกคนก็จะแบกของมาเป็นปึ้งๆ เรา ก็รู้สึกว่า โอ้โฮ…นี่แบบจริงจัง คือผู้ช่วยผู้กำ�กับฟีโนฯ ยุคนั้นเป็นผู้ช่วยผู้กำ�กับแบบเด็กเรียน ขยัน ฉลาด เก่ง สมมติเขาหาเรฟเฟอร์เร้นซ์หนึ่งช็อต คือโฆษณา มันก็มีประมาณสามสิบสี่สิบเฟรมต่อช่องใช่ไหม ทุก ช็อตจะต้องมีเรฟเฟอร์เร้นซ์ ไม่ได้หมายถึงว่าเอาไป ให้ผู้กำ�กับก๊อบปี้นะ แต่เอาไว้ให้ผู้กำ�กับใช้สื่อสาร กับทีมงานว่าเวลามันถ่ายทำ�ออกมามันจะมีภาพ ประมาณนี้ แล้วผู้ช่วยผู้กำ�กับต้องเอาเรฟเฟอร์เร้นซ์ นั้นไปทดลองถ่ายทำ�ดู ว่ามันมีความยากง่ายขั้นตอน ในการเตรียมงานยังไงบ้าง เช่นสมมติต้องมีช็อตหยด น้ำ�ต้องกระเด็นตกลงใบไม้แล้วเต่าทองต้องกระเด้ง แล้วเต่าทองจะกระเด้งได้ยังไงวะ คือเราจะไปลองผิด ลองถูกในวันโปรดักชั่นไม่ได้ ดังนั้นเราต้องทำ�สิ่งนี้ ก่อน แล้วพี่ก็เห็นว่าผู้ช่วยผู้กำ�กับแม่งทำ�สิ่งนี้กันอย่าง คร่ำ�เคร่งที่ฟีโนฯ แล้วเรารู้สึกว่าโอ้โฮ เวลาเรามอง คนทำ�งานจริงจังเราจะมองว่ามันเจ๋งอ่ะ ในสมัยเรา มันจะแตกต่างกับเด็กรุ่นนี้นะ สมัยนี้จะไม่ค่อยเห็น เด็กที่มีพลังแบบรุนแรงเหมือนตอนที่เราเจอเพื่อนๆ ยุคนั้น แล้วมันก็เลยพลักดันให้เราเป็นคนมีมาตรฐาน สูงขึน้ ไปเรือ่ ยๆ เวลาเราทำ�งานกำ�กับคนทีม่ าตรฐานสูง เช่นสมมติว่าเวลาเราทำ�งานโฆษณากับพี่ต่อ เราจะรู้ ว่างานโฆษณาของเขาจะดัง จะถูกพูดถึงมาก ถ้างาน โฆษณาที่เราเป็นผู้ช่วยฯ แล้วไม่ถูกพูดถึง เชี่ย! กูทำ� อะไรไม่ดีวะ พลาดอะไร เราจะรู้สึกว่าผลงานชิ้นนี้ 106
เป็นผลงานของเราด้วย คือเราจะไม่มองว่าช่วย พี่ต่อแล้วก็จบๆ ไป ทำ�งานแค่เอาเงิน แต่เราจะ คิดว่าเราอยากทำ�งานให้ดี เลยทำ�ให้เราได้เรียนรู้ กระบวนการโปรดักชั่นแบบละเอียดค่อนข้างมาก แล้วในวันที่เราทำ�โฆษณา มันมีเงินมาให้เราทดลอง ใช้เต็มไปหมดเลย PIE : อยากลองอะไรก็ได้ลอง
พี่ย้ง : ใช่ คืออย่างสมมติ ช็อตใบไม้เต่าทอง มันเป็นการฝึกวิธีคิด หยดน้ำ�หล่นลงใบไม้ ลงใบไม้ เสร็จปุ๊ป เห็นเต่าทองมันเกาะอยู่บนใบไม้แล้วมันก็ กระเด้งลอยตกลงมา มันเป็นจริงได้ไหมวะ ก็ลอง เอาใบไม้มาดู เอาเต่าทองมาวาง เอาหยดน้ำ�มาหยด แปะ! ไม่เกิดอะไรขึ้น ทำ�ไงวะ หรือมันต้องเปลี่ยน เป็นกลีเซอรีน น้ำ�มัน น้ำ�เชื่อม เอามาเทสต์ให้หมด แต่ต้องเป็นสีขาวใสเพราะว่ามันต้องเป็นหยดฝน ลองน้ำ�เปล่าไม่เวิร์ค น้ำ�เชื่อมไม่เวิร์ค น้ำ�มันไม่ได้ ลองกลีเซอรีน เฮ้ยเวิร์คหว่ะ ดูเป็นหยดน้ำ�ได้ด้วย ใสเหมือนน้ำ�แล้วก็มีน้ำ�หนัก แต่ว่าเต่าทองดูเหมือน มันยังกระเด้งไม่ค่อยดี เราก็เอาอะไรสักอย่างมาทา ตีนเต่าทองหน่อย เนี่ย! เราฝึกสิ่งนี้ ตอนที่เราอยู่ ฟีโนฯ แล้วพอตอนที่เราไปออกกองเราจะรู้ทุกอย่าง หมดแล้ว พอเวลาถ่ายมันจะแป๊ปเดียวเสร็จเลย เป็นความละเอียดในการทำ�โปรดักชั่น ไม่ได้แค่ฝึก การจัดการอย่างเดียว เราถูกฝึกให้คิด เวลาเขาเริ่ม พัฒนาบอร์ดเราก็ตอ้ งไปนัง่ คุยกับเขา โยนไอเดียคุยกัน เหมือนเราทำ�ตัวเป็นผู้กำ�กับ ถูกฝึกมาว่าเวลาหัวหน้า งานเราหรือผูก้ �ำ กับอยากได้อะไร จะไม่พดู คำ�ว่า “ไม่” ก่อน ถ้ายังไม่ได้ลองทำ�มัน เราก็จะครับพี่ ครับๆ เดี๋ยวลองดูครับ รับมาให้หมดก่อน แล้วไปลองทำ� ทุกอย่าง พอไปลองทำ�มาเสร็จปุป๊ ถ้าไม่ได้ ค่อยมาบอก
เขาว่า “ไม่ได้” แล้วจะรูส้ กึ ว่ามันเป็นคำ�ที่ “ไม่ได้” คือมันมีตัวอย่างอันหนึ่ง พี่ต่อบอกทีมอาร์ตว่าอยาก ได้ผ้าปูโต๊ะสีนี้ ลายนี้ พี่ต่อเขามาทางศิลปะเขา จะสเป็คละเอียดมาก ปรากฎว่าผ่านไปสองสาม อาทิตย์ไอ้น้องทีมพร๊อพก็เดินมาบอกเราว่า พี่ผม หาไม่ได้ ก็เลยหาแบบที่ใกล้เคียงมา พอน้องมัน มาบอกกับพี่แบบนี้ พี่ก็จะบอก เฮ้ย พี่ว่ามันหา ไม่น่ายากนะ มันอาจจะยาก แต่ว่ามึงพยายามแล้ว รึยัง เพราะว่าเวลาที่กูจะเดินไปบอกพี่ต่อว่ามันไม่มี คำ�ตอบนั้นเป็นของกูแล้วนะไม่ใช่ของมึงแล้ว คือ การบอกว่า “ไม่มี” มันหลุดจากปากกูไม่ใช่จาก ปากมึง แล้วถ้าเกิดวันหนึ่งพี่ต่อดันไปเจอว่ามี คน ผิดไม่ใช่มึง แต่มันคือกูแล้วนะ มันเป็นเรื่องความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง คือทีมงานทุกคนจะ เซิร์ฟผู้กำ�กับ ไม่ได้เซิร์ฟเพราะว่าเราเป็นลูกน้อง แต่เราเซิรฟ์ เพราะว่า ทุกคนต้องทำ�หน้าทีข่ องตัวเอง ผู้กำ�กับก็จะรับรู้แต่ปัญหาใหญ่ๆ ที่มันต้องถูกแก้ จริงๆ เขาจะไม่ต้องมาเจอรับรู้ปัญหาที่มันหยุมหยิม มันไม่ควรไปถึงเขา เขาจะไม่มารับรู้ว่าผ้าปูโต๊ะหา ได้หาไม่ได้ แล้วถ้ามันจะไปถึงเขาแปลว่ามันต้อง พึ่งเขาในการตัดสินใจจริงๆ แล้วก็เรื่องความไว้ เนื้อเชื่อใจ สิ่งที่เราต้องทำ�ให้ดีที่สุดคือทำ�ให้ความ ไว้เนื้อเชื่อใจนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราทำ�มันเสียไป เรื่อยๆ มันจะหมดไปแน่ๆ หมายถึงว่าถ้าเมื่อไหร่ ที่เราบอกว่า พี่ไม่มีครับ แล้วเขาไปเจอว่ามี พี่ไม่ ได้ครับ แล้วเขาไปค้นพบว่ามันได้เนี่ย ความเชื่อที่ เขามีต่อเรามันจะหายไปเรื่อยๆ แล้วมันจะกลับมา ยาก ทำ�ให้พี่ได้เรียนรู้ว่าความไว้เนื้อเชื่อใจกับใคร เริ่มต้นมันมาไม่ยาก แต่การรักษาให้มันอยู่กับเรา นานๆ เนี่ยมันยาก
PIE : แล้วพอได้มากำ�กับหนังครั้งเป็นยังไงบ้าง
พี่ย้ง : กำ�กับเรื่องแรกจริงๆ ก็เป็นหนังสั้นเรื่อง ด.เด็ก ช.ช้าง ตอนนั้นก็ยังอยู่ที่ฟีโนฯ คือฟีโนฯ เขาอยากจะดันผู้ช่วยผู้กำ�กับ เขารู้สึกว่าหลายคนมี ศักยภาพ น่าจะให้โอกาสน้องๆ แต่ก็ไม่มีทางรู้เลยว่า น้องเหล่าเนี่ย ใครจะเป็นผู้กำ�กับได้บ้าง ดังนั้นพี่ให้ ทุกคนทำ�หนังสั้นมา ก่อนหน้าเนี้ยเราไม่เคยทำ�หนัง สั้นเลย ทีนี้ผู้ช่วยผู้กำ�กับมีอยู่สิบกว่าคน ก็มีกำ�หนด เวลาว่าจะต้องส่งงานวันไหน แล้วงานก็ยุ่งกันมาก แล้วเขาก็ไม่แคร์ด้วยนะ งานยุ่งก็ต้องทำ�งานออฟฟิศ เป็นหลัก มึงจะทำ�หนังสั้นตอนไหนกูไม่รู้ เรื่องของมึง ถ้ามึงทำ�ไม่ได้ก็แปลว่ามึงไม่ได้เป็นไดเร็คเตอร์ คือมัน เป็นระบบการคัดกรองคน คือถ้าทำ�ไม่ได้ก็สูญพันธุ์ไป จากโลก หรือไม่ก็อยู่ไปแล้วรับเงินเดือนผู้ช่วยเท่าเดิม แต่ผู้ช่วยผู้กำ�กับมีอยู่สิบคน ก็จะมีอยู่สี่คน ที่สุดท้าย แล้วทำ�หนังสั้นสำ�เร็จออกมาได้ ซึ่งสี่คนนั้นทุกวันนี้ก็ คือมีพี่ มีพี่โต้งที่กำ�กับพี่มากพระขโนง มีพี่โอ๋ที่กำ�กับ ชัตเตอร์ แล้วก็มีอีกคนหนึ่งคือพี่อี๊ดที่ตอนนี้เป็นผู้ช่วย ผู้กำ�กับหนังไทยแล้วก็ได้เป็นผู้กำ�กับหนังโฆษณา จาก นั้นเผอิญ ด.เด็ก ช.ช้าง ไปได้รางวัลมูลนิธิหนังไทย เราก็เลยได้มโี อกาสได้เป็นไดเร็คเตอร์โฆษณา ซึง่ จังหวะ นั้นเป็นจังหวะที่พี่เก้ง (จิระ มะลิกุล) มาชวนพี่ไป กำ�กับหนังแฟนฉัน มันก็เลยเป็นจุดเปลี่ยนที่ว่า เรา กำ�ลังจะได้เป็นผู้กำ�กับหนังโฆษณากับพี่เก้งมาชวนเรา ออกไปทำ�หนังไทย ลังเลอยู่นานมาก ตัดสินใจบอก พี่ติ๊กที่เป็นผู้บริหารที่ฟีโนมิน่าว่า ขอไปทำ�หนังก่อน ก็เลยลาออกไปทำ�แฟนฉัน แล้วเผอิญแฟนฉันมันดัน ประสบความสำ�เร็จ เลยยังไม่จบตรงนัน้ ก็เลยมีโอกาส ได้ทำ�เรื่องเด็กหอตามมา ซึ่งการทำ�เด็กหอถือว่าเป็น ประสบการณ์การกำ�กับแบบเดี่ยวๆ ครั้งแรก 107
108
GTH
จบ ตัดแค่นี้แล้วโอเค เล่าได้แล้วเอาออกไปฉายเอา พี่ย้ง : ใช่ คือถ้าถามว่า ด.เด็ก ช.ช้าง คือครั้งแรก ตังค์ ไม่มีเลย ถ้ามันยังไม่ถึงจุดที่ดีที่สุดเราไม่เคย ของการเป็นผูก้ �ำ กับ ด.เด็ก ช.ช้าง เนีย่ เป็นจุดเริม่ ต้น ปล่อยออกไป จีทีเอชเป็นอย่างนี้มาตลอดตั้งแต่ ของเราเลยนะ ที่ทำ�ให้คนรู้จักเรา ตอนนั้นยังไม่ได้ เริ่มต้น ทำ�แฟนฉันด้วย มีแมกกาซีนต่างๆ มาสัมภาษณ์ เพราะมันดันชนะรางวัลมูลนิธิหนังไทย ซึ่งถือได้ว่า PIE : คือต้องเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ทุกคนไหม เป็นงานที่มีบุญคุณกับเรามาก แต่งานที่ทำ�ให้เรารู้สึก พี่ย้ง : ไม่ใช่ๆ ไม่จำ�เป็น คือเราไม่สามารถทำ�หนัง จริงๆ ว่าเราเป็นผูก้ �ำ กับหนังจริงจังหนแรกคือ เด็กหอ ให้ทุกคนมาชอบได้ทั้งหมด แต่ตัวผู้กำ�กับต้องไม่มี ตอนแฟนฉันมันเหมือนกับว่าเรารวมกันกับเพื่อน เรา คำ�ถามกับงานตัวเองแล้ว คือวันที่เราฟังที่เขาพูดเนี่ย ยังไม่รู้หรอกว่าพาร์ทไหนคือความดีงามของเรา แต่ เรารู้สึกเสียใจที่ว่าบางจุดเราก็ทำ�ไม่ได้อย่างที่เขาพูด พอเป็นเด็กหอปุ๊ปเนี่ย ตอนไปกำ�กับเนี่ย โห! มันยาก จริงๆ เราพลาดจริงๆ เศร้ามากเหมือนโลกจะล่ม มาก เหนื่อยมาก ไม่มีใครช่วยคิด คือการถ่ายหนัง สลาย เดินเข้าห้องน้ำ�ก็เหมือนจะร้องไห้ แต่ออกมา มันต้องเกิดการแก้ปัญหาตลอดเวลา ทั้งงานครีเอทีฟ ก็เดินไปบอกว่า พี่ครับผมก็ไม่รู้ว่าผมจะได้ทำ�หนังอีก ทั้งงานโปรดักชั่น ทั้งงานจัดการงานอะไรก็ตาม พอ หรือเปล่า ถ้างั้นผมขอได้ไหมว่าอีกเดือนสองเดือน เราเจอแบบนี้เราก็ เชี่ย! ผู้กำ�กับที่เขาทำ�งานคนเดียว ผมขอถ่ายเพิ่ม เดี๋ยวผมจะไปทำ�บทมาเพิ่มให้ ที่พี่ เขาทำ�งานได้ยังไงวะ เพราะเรื่องมันเยอะล้นหัวมาก บอกมาผมเข้าใจบางอย่าง ผมขอพิสูจน์ว่าสิ่งที่ผม เลย แล้วเราก็รู้สึกว่า หรือเราเป็นผู้กำ�กับไม่ได้ แต่ เชื่อบางอย่างมันถูกอยู่แล้ว แต่บางอย่างผมจะลอง ไปปรับทำ�อะไรบางอย่างเพิ่ม ผมขอคิวถ่ายเพิ่มอีก เผอิญโชคดีอย่างหนึ่งคือ ดันเป็นคนแบบ...คือเป็น คนสู้ ต่อให้รู้สึกว่าแม่งกูว่ากูเป็นผู้กำ�กับไม่ได้แน่เลย สักสามคิว ขอตังค์พี่นะครับ เดี๋ยวผมจะไปทำ�ให้ แต่กเ็ อาวะงานสุดท้ายก็ท�ำ ให้เต็มที่ คิดอย่างนัน้ ตลอด เต็มที่ แล้วเขาก็ให้ เราก็ออกไปไฟท์เต็มที่ กลับมา เวลาเลย จนกระทั่งถ่ายเสร็จตัดต่อคัทติ้งแรกเสร็จ ถ่ายใหม่ ตัดต่อใหม่ เข้าห้องมิกซ์เสียง แก้สี พรุ่งนี้ มาให้บอร์ดทีจ่ ที เี อชดู วิจารณ์..โอโฮ้...แบบ น้�ำ ตาไหล จะฉายก็ทำ�กันจนวินาทีสุดท้าย พรุ่งนี้จะฉายยังแก้ กันอยู่เลย ตอนแก้ก็นั่งคุยกับพี่หญิงที่เป็นตากล้องว่า มันมีแต่คอมเม้นท์แบบว่า ผิดหวัง ไม่ชอบ คือรูส้ กึ พี่หมดเวลาแล้วหว่ะ มันต้องปล่อยแล้ว คือเราก็ต้อง ผิดหวังตัวเองอย่างรุนแรง ในการโดนคอมเม้นท์ ทำ�งานบนพื้นฐานของความจริง ไม่ใช่กูติสท์กูก็ทำ�ไป ขนาดนั้น เรื่อยๆ หนังจะฉายกูก็ยังแก้อยู่ อันนี้ก็ไม่ได้ คือเมื่อ มันหมดเวลาแค่ไหนเราก็ต้องปล่อย แล้วเราจะไม่มา PIE : เวอร์ชั่นที่ออกฉายคืออันนี้รึเปล่า พี่ย้ง : ไม่ใช่ คือพี่บอกเลยว่าหนังจีทีเอชที่ถ่ายออก นั่งเสียใจ ถ้านับเวลาย้อนกลับไปตั้งแต่วินาทีที่หมด มาตัดต่อเสร็จ มีเกิน 20 เวอร์ชั่น คือบทเรามีหลาย เวลาจนถึงเวลาที่เราไปเริ่มต้นทำ�งานเนี่ย ไม่มีตอน สิบร่าง คือไม่มีอะไรที่เราทำ�แบบดร๊าฟเดียวสองดร๊าฟ ไหนที่เราไม่เต็มที่ PIE : ถือว่าเป็นงานกำ�กับที่เป็นส่วนตัวจริงๆ
109
ปันปันก็อยากทำ�งานด้วย มาร์ชก็อยากทำ�งานด้วย พี่ย้ง : จริงๆ ไม่เคยไม่รักงานที่ตัวเองทำ�เลยนะ แพทตี้ห่างกันไปตั้งนานก็อยากทำ�งานด้วย อะไร เพราะว่าเป็นคนเลือกทำ�งานที่ตัวเองจะต้องรักแล้ว แบบเนี้ย แล้วพอมาทำ�ฮอร์โมนมันถูกคลี่คลาย คือ เป็นคนที่ถ้าท้อเหนื่อย แต่จะไม่ปล่อยอะไรให้หลุดมือ หมายถึงทำ�งานกับน้องก็แฮปปี้นะ แต่ว่ามันฟินไปแล้ว กลางทาง งานตัวเองก็ไม่คิดว่าสมบูรณ์แบบ เวลา นักแสดงเหล่าเนี้ยอย่างปันปัน ก็ยังอยากทำ�งานกับ ดูเด็กหอก็รู้สึกว่าตรงนี้ทำ�ไมทำ�อย่างนี้ ยิ่งโตก็จะยิ่ง มันอีก เพราะว่ามันเป็นเด็กที่มีสัญชาตญาณที่น่าสนใจ เห็นอะไรบางอย่างว่าวันนี้เราจะไม่ทำ�แบบนั้น แต่ไม่ ดังนั้นวันนี้ก็เลยรู้สึกว่าไม่อยากพูดเฉพาะเจาะจงไปที่ ได้แปลว่า วันที่เราโตขึ้นพี่จะทำ�หนังได้ดีขึ้นนะ เรา ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ว่า...เป็นคนที่เวลาเลือกนักแสดง อาจจะทำ�ได้แย่ลงก็ได้ บางทีมีคนถามว่า ถ้าแก้ผล คนใดคนหนึง่ เข้ามาร่วมงาน เลือกเพราะว่าอยากทำ�งาน งานในอดีตได้จะกลับไปแก้อะไรเลย ส่วนตัวไม่เคย ด้วยทุกครั้ง ไม่เคยมีนักแสดงคนไหนที่เราแบบเฉยๆ อยากแก้อะไรเลย เพราะทุกครั้งที่ทำ�เราทำ�เต็มที่ หรือไม่มีแพสชั่นกับเขาแล้วเอาเขามาทำ�งาน พี่เป็นคน แล้วพี่รู้สึกว่างานของเรามันเป็นหลักไมล์ของชีวิต ทำ�งานแบบไม่มีแพสชั่นไม่ได้ โดยเฉพาะกับนักแสดง วันที่เราทำ�เด็กหอ เราทำ�ตอนมันอายุเท่านั้น มัน แล้วยิ่งกับการทำ�หนังเราต้องอยู่กับเขาอีกนาน กำ�กับ บอกประสบการณ์ชีวิต มันเตือนเราว่าวันนั้นเราคิด เขา เห็นเขาบนจอมอนิเตอร์ แล้วเราไม่มีแพสชั่น อะไรอยู่เรามีวุฒิภาวะระดับไหน วันที่เราทำ� ด.เด็ก กับเขาแล้วนี่แบบ...เดี๋ยวเราก็ต้องปล่อยให้เขาตาย ช.ช้าง ทำ�เด็กหอ ทำ�ปิดเทอมใหญ่ พอเราได้มอง งานหนังมันเป็นงานแพสชั่น ย้อนกลับไปเราก็จะมองเห็นตัวเอง ณ ช่วงเวลานั้น ดังนั้นเราไม่เคยคิดกลับไปแก้อะไรเลย งานที่ทำ�มา PIE : มากำ�กับหนังคอนเสิร์ตบอดี้แสลมนั่งเล่นได้ยังไง ทุกชิ้นก็จะรัก พี่ย้ง : เป็นความบังเอิญมากๆ เพราะว่าช่วงที่ทำ�วัยรุ่น พันล้าน เราเหนือ่ ยมากแบบทำ�หนังทุกเรือ่ งแหล่ะ ปวดหัว PIE : ตั้งแต่กำ�กับหนังมา ประทับใจนักแสดงคนไหน เครียด การทำ�หนังเนี่ยมันเหนื่อยมาก เรารู้สึกว่าก่อน เป็นพิเศษ ออกกองทุกครั้งเราจะต้องฟังอัลบั้มครามของบอดี้แสลม พี่ย้ง : จริงๆ ก็เยอะนะ ตอนที่ทำ�เด็กหอ ช่วงนั้น ต้องเปิดฟังจนมาถึงเพลงแสงสุดท้าย แล้วมันก็จะมี ก็อยากทำ�งานกับพี่แหม่ม จินตหรา หรือแน็คที่เป็น พลังฮึกเหิมอยากออกไปทำ�งานให้มันดี จนกระทั่งถึง นักแสดงคู่บุญเรา มันก็แบบแฟนฉัน เด็กหอ ปิด คิวท้ายๆ ก็ฟังไปตลอดทุกคิวนะ ตอนเช้าก่อนออก เทอมใหญ่ อะไรอย่างเนี่ย แล้วพอมาตอนนี้เราไม่ได้ กอง ฟังในห้องน้ำ�ทุกวัน ตอนเริ่มต้นไม่ได้ตั้งใจว่าจะ ทำ�งานบริษัทเดียวกันแล้วมันก็เลยซาๆ ไป แต่ถาม ฟังให้ตัวเองมีแรง ฟังเพราะชอบบอดี้แสลม คืออัลบั้มนี้ ว่าแน็คเป็นนักแสดงที่มีพรสวรรค์ไหม มันมีพรสวรรค์ เป็นอัลบั้มที่พี่ชอบมาก อาบน้ำ�ก็เลยเปิดไปเรื่อยๆ ช่วง แล้วก็มาถึงยุคหนึ่งที่มีนักแสดงไทยที่เราอยากทำ�งาน แรกๆ มันก็ยังไม่มีปัญหาอะไร พอคิวหลังๆ ก็เริ่มมี ด้วยอย่างเก้า จิรายุ เป็นเด็กที่เก่ง เคยทำ�งานด้วย ปัญหามากขึ้น พอมาเจอเพลงนี้มันทำ�ให้เรามีพลัง กันตอนหนังสั้น แล้วก่อนที่จะทำ�ฮอร์โมนก็รู้สึกว่า หึกเหิม มันก็ทำ�ให้เราฟังมาเรื่อยๆ จนกระทั่งออกกอง PIE : กับเวอร์ชั่นที่ออกฉายจริงพอใจไหม
110
111
คิวเกือบจะสุดท้าย ก็นั่งรถตู้ไปกับกองเห็นพระอาทิตย์ กำ�ลังขึ้น และมันใกล้จะปิดกล้องแล้ว เราก็พิมพ์ใน ทวิตเตอร์ว่า เนี่ยใกล้จะปิดกองแล้วทุกเช้าก่อนออกกอง อาบน้ำ�เนี่ยต้องฟังอัลบั้มครามตลอดเลย แล้วก็แท็กให้ กบกับอ๊อฟบิ๊กแอ๊ส พี่รู้จักกบกับอ๊อฟเพราะว่าเขามาทำ� เพลงให้กับหนังปิดเทอมใหญ่ฯ เขาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ บอดี้แสลม ก็ไม่ได้มีอะไร เหมือนอารมณ์ว่าเราชื่นชม เขานะที่ทำ�เพลงออกมาเป็นแรงบันดาลใจให้เรา ปรากฎ ว่ากลับมานอนเสร็จปุ๊ปประมาณเกือบเที่ยงคืนมีข้อความ ของพี่เต็ดว่า “ย้งครับพี่จะชวนย้งมาทำ�งาน บอดี้แสลม กำ�ลังจะจัดคอนเสิร์ตนั่งเล่น อยากให้ย้งมาบันทึกภาพ ออกมาเป็นภาพยนตร์ เราอาจจะจัดฉายในโรงหนัง” พูดแค่เนี้ย แล้วพี่ก็นึก เฮ้ย! หรือว่าเพราะเมื่อเช้าเรา ทวิตเตอร์ไปวะ (หัวเราะ) อะไรบางอย่างนะ มันดู เหมือนเกี่ยวกันแต่อาจจะไม่เกี่ยวกันนะ คือมันบังเอิญ แต่บนความบังเอิญนั้นเราต้องทำ�อะไรบางอย่าง มัน ไม่ใช่อยู่ๆ เราจะฟลุ๊กได้อะไรมาง่ายๆ พี่ว่ามันก็เป็น จังหวะก้าวหนึ่งของชีวิตที่ว่า พอเราอินกับอะไรมากๆ เราคงต้องทำ�อะไรเต็มที่มากๆ มันก็จะพาเราไปถึงจุด หนึ่งแล้วจุดนั้นมันก็จะพาเราไปหาอีกจุดหนึ่ง การทำ� บอดี้แสลมมันเป็นจุดหนึ่งในชีวิตที่เราได้มีประสบการณ์ ทำ�สิ่งนี้ เป็นงานหนังคอนเสิร์ตเรื่องแรกๆ ของประเทศ นี้ ได้ฉายโรง แล้วได้อยู่กับวงที่แบบว่าสมควรจะมีหนัง คอนเสิร์ต มันเหมือนเป็นอีกหนึ่งหลักไมล์ชีวิต เราก็ทำ� มันอย่างบ้าคลั่ง ทำ�มันอยู่ปีหนึ่ง หมายถึงว่าถ่ายมาปุ๊ป ตัดต่อกันอยู่ปีหนึ่ง
HORMONES
PIE : ผลงานล่าสุด ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น เป็นมายังไง
พี่ย้ง : มันเริ่มต้นจากการที่ว่า ทางพี่บูลย์ ไพบูลย์ ดำ�รงค์ชัยธรรม อากู๋น่ะฮะ กำ�ลังจะเปิดช่องเคเบิลช่อง 112
ONE เขาก็รสู้ กึ ว่าอยากให้คนทำ�งานจีทเี อชของแกรมมี่ มาช่วยกันทำ�เนือ้ หาสำ�หรับช่องนี้ แล้วพอเป็นพีบ่ ลู ย์ชวน อันหนึ่งที่พี่รู้สึกต้องรับผิดชอบ คือบริษัทนาดาวที่พี่ ทำ�งานอยู่ เป็นบริษัทโปรดักชั่นและดูแลศิลปินน้องๆ จีทีเอชด้วย มันก็จะมีศิลปินหลายๆ คนที่เราต้องเอา ไปต่อยอด เหมือนกับว่า ถ้าเรามีงานทีวีที่รองรับน้องๆ ของเราได้ มันก็เป็นการฝึกและบริหารศิลปินของตัวเอง เพื่อต่อยอดในอนาคต เพื่อวันหนึ่งมีหนังที่เหมาะกับเขา เขาจะได้พร้อมที่จะเล่น เติบโตหรือมีชื่อเสียงในระดับที่ สูงขึ้นหรืออะไรอย่างเนี้ย ก็เลยเป็นโจทย์กลายๆ ในใจ ว่าเราจะทำ�งานเคเบิลที่มีน้องๆ นักแสดงวัยรุ่นของ จีทีเอชมรวมตัวกัน คล้ายๆ กับตอนทำ�ปิดเทอมใหญ่ฯ พอมันเป็นแบบนั้น ก็อยากทำ�ซีรีย์วัยรุ่นหว่ะ พอนั่งคิดว่าจะทำ�เรื่องเกี่ยวกับวัยรุ่นเราไม่อยากจะพูด แค่เรื่องความรักอย่างเดียว แต่จะพูดเรื่องไลฟ์สไตล์ ชีวิตวัยรุ่นทุกวันนี้มันเจออะไรบ้าง ครอบครัว พ่อแม่ ความรัก การค้นหาตัวตน การลองผิดลองถูก บุหรี่ เซ็กซ์ เราอยากพูดตรงๆ ซึ่งมันก็จะท้าทายเรา ไม่ใช่ แบบว่าพี่บูลย์สั่งให้ทำ�ก็ทำ�โดยที่ไม่มีแพสชั่น คือสุดท้าย เราก็ต้องปรับโจทย์บางอย่างให้เข้าหาแพสชั่นเรา แล้ว พอเป็นเคเบิลก็รู้สึกว่าเรามีสิทธิ์ที่จะพูดแรงหน่อยก็ได้ แต่เราก็ต้องมีความรับผิดชอบแบบคนทำ�สื่ออยู่ ยิ่งเรา พูดสิ่งที่มันเป็นประเด็นที่ล่อแหลมยิ่งต้องรับผิดชอบ เยอะ มันเลยยิ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายเรา มันก็เลยเกิด เป็นที่มาของการทำ�ฮอร์โมนขึ้นมา ตอนที่เรานั่งคุยบท กันเนี่ย อย่างประเด็นของสไปรท์เด็กผู้หญิงที่แบบว่า มีอิสระเสรีในเรื่องของเซ็กซ์ เราถกกันนานมากเลยนะ เราอยากจะพูดเพราะว่ามันเป็นความจริงในสังคม ถ้าเราไม่พูดเรื่องจริงในสังคมเราก็จะมองไม่เห็นปัญหา ก็นั่งถกกันว่าจะเล่ายังไงดี ถ้าเรายังกลัวอยู่ว่าเราจะ
วัยรุ่นของเรา เราเห็นวัยรุ่นทุกวันนี้มีปัญหาเราก็ มองวัยรุ่นอย่างเข้าใจและสงสารมัน แก๊งค์เขียนบท เราเนี่ยเวลาเราเขียนบท เราจะไม่ไปสรุปว่าตัวละคร ตัวไหนทำ�อะไรแล้วผิดแล้วถูก แต่เรากำ�ลังจะเล่าให้ รู้ว่าพอตัวละครเจอสิ่งนี้ทำ�สิ่งนี้ ถ้าน้องเลือกที่จะเป็น แบบนี้ น้องต้องยอมรับมัน ถ้าน้องไม่อยากได้ผลรับนี้ น้องต้องไม่เลือกทำ�สิ่งนี้ตั้งแต่ต้น คือเราอยากให้เด็ก คิดเอง เพราะว่าตอนเราเป็นวัยรุ่นมีคนมาบอกเราว่า น้องทำ�สิ่งนี้ผิด น้องทำ�สิ่งนี้ถูก เราก็ไม่ฟังไง เราไม่ฟัง อยู่แล้ว อย่างน้อยที่สุดเราก็ฝึกให้มันได้คิด อย่างน้อย มันก็จะเข้าใจจากตัวมันเอง ปัญหาถ้ามันถูกแก้จาก ความเข้าใจ มันหยั่งรากลึกกว่าการไปออกกฎว่า นี่ผิด ห้ามทำ� นี่ถูกต้องทำ� เล่าเรื่องนี้ดีไหม แปลว่าเรายังตอบคำ�ถามนั้นไม่ดีพอ แบบนั้นเราจะยังไม่ทำ� แต่เผอิญวันที่เราคุยกัน เรา ถกกันอย่างละเอียดเลยว่าทำ�ไมเราต้องเล่าตัวละคร ตัวนี้ ทำ�ไมต้องให้มันเป็นแบบนี้ ทำ�ไมต้องให้มันทำ� สิ่งนี้ มันตัดสินใจอะไร พอเราคิดดีแล้วเรามีคำ�ตอบดี แล้วปุ๊ป ออกไปทำ�ปุ๊ปเราก็มั่นใจแล้วว่าเรื่องจะแรงแค่ ไหน พอมีคำ�ถามกลับมาเราตอบได้หมด คือคุณติด หรือเปล่าเราไม่รู้ แต่เราบอกเจตนาเราได้อย่างชัดเจน ตอบได้ทุกคำ�ถาม แต่เข้าใจเรารึเปล่าเราไม่รู้ แต่เรา ต้องตอบให้ได้ ซึ่งพอออกไปมันก็เซอร์ไพรส์เราอย่าง หนึ่งว่าคนสมัยนี้เปิดกว้างขึ้น แต่ในขณะเดียวกันมันก็ เอ๊ะ…มีเด็กที่ไม่ได้คิดอะไรเลยหรือเปล่า มันจะมอง ว่าการสูบบุหรี่นี่ดูเท่ การมีเซ็กซ์แม่งกลายเป็นไอดอล ของเด็กผู้หญิงรึเปล่า ในการโปรโมทประชาสัมพันธ์ เราจะพูดสิ่งนี้เรื่อยๆ เลย เราจะพูดเลยว่า น้องครับ พวกพี่ทำ�ซีรีย์วัยรุ่นเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่ว่า เรารักความเป็นวัยรุ่น ตอนเราเป็นวัยรุ่นเราก็รักชีวิต
PIE : ตัวละครในเรื่องเยอะมาก มีปัญหาในการคัดเลือก นักแสดงไหม
พี่ย้ง : ไม่มีนะ เพราะพี่เขียนบทให้กับนักแสดงที่วาง ไว้อยู่แล้ว นี่หมายถึงตัวหลักนะ จะมีบ้างคือบทใหม่ ที่ต้องหาอย่างยากลำ�บากคือบทสไปรท์ กับบทไอ้ที ที่ เป็นคู่จิ้นกับไอ้มาร์ช คือสองบทเนี้ยเป็นบทที่เรารู้สึกว่า เราอยากเปิดโอกาสให้นักแสดงหน้าใหม่ พอเราเปิด ช่องว่างเสร็จปุป๊ ด้วยความทีเ่ รามีมาตรฐานจากนักแสดง ล๊อตเก่าในระดับสูงอย่าง พีช แพทตี้ ปันปัน อย่าง เนี้ย คนใหม่ต้องมาแล้วทำ�ได้ในระดับเดียวกัน ดังนั้น พี่แคสโหดมาก บทสไปรท์มีคนมาแคสเยอะมาก น้อง ผู้หญิงหลายๆ มาแคสพี่ชอบแต่ยังไม่ถึงบทสไปรท์ก็ อาจจะตกไปเป็นบทอื่นไป กว่าจะได้เนี่ย เราเคยสรุป ไปหลายรอบมาก ลองทำ�เวิร์คช็อปแล้วมันไม่ใช่ เราก็ ต้องบอก น้องขอโทษเดี๋ยวพี่ปรับบทอื่นให้ คือเราจะไม่ ยอมผ่านถ้ายังไม่เจอคนที่ใช่ เพราะถ้ามันยังไม่ใช่ ก็ ไม่สามารถทำ�ให้เชื่อสไปรท์อย่างทุกวันนี้ที่ทุกคนเชื่อได้ 113
114
115
116
คือความยากมันอยู่ตรงนี้แหละ สมมติว่าทำ�หนัง หน้าตาแบบพีช แบบแพทตี้ แต่พอน้องเอ็กซ์ตร้า มาเล่นด้วยก็เหมือนว่าไม่ได้อยู่โรงเรียนเดียวกัน เราก็จะไม่เชื่อ อันเนี้ยพอเราสร้างมาตรฐานมันจะ ต้องเป็นเด็กที่มีลุคและมาตรฐานเดียวกันแล้ว ไม่ ได้หมายถึงหน้าตาดีอย่างเดียวนะ แต่ว่าลักษณะ ครอบครัวอะไรอย่างนี้ ที่มันจะอยู่โรงเรียนเดียวกัน ได้ มันเลยต้องเลือก มันเลยมีค่าโปรดักชั่นคอร์ส ที่สูง สำ�หรับเราแล้ว สิ่งที่สำ�คัญที่สุดในการทำ� พรีโปรดักชั่นคือการแคสติ้ง ถ้าเรายังไม่เจอแคสติ้ง ที่ใช่เราจะยังไม่ออกกองไปถ่ายซีนนั้น PIE : ปัญหาของการทำ�ซีรีย์เรื่องนี้
พี่ย้ง : พี่ว่ามันเป็นเรื่องของการที่ลงมาทำ�ทีวี แล้ว เอาโปรดักชั่นแบบหนังมาใช้ มันเลยทำ�ให้นักแสดง และทีมงานทุกคนทำ�งานหนัก ในเวลาปกติที่พี่ถ่าย หนังเนี่ย พี่ถ่ายคิวละ 12 ชั่วโมง พอพี่มาถ่ายซีรีย์ พี่ถ่ายคิวละ 15 ชั่วโมง หนังพี่ถ่ายวันหนึ่งสามสี่ซีน พี่มาถ่ายซีรีย์วันหนึ่ง 12-15 ซีน แต่จริงๆ แล้ว คุณภาพต้องได้เท่าหนังใช่ไหมฮะ เพราะว่าเราดัน เอาคุณภาพนั้นมา แล้วต้องทำ�งานเยอะขึ้นในเวลา ที่เท่าเดิมนี่ยาก แปลว่าทีมงานทุกคนต้องทำ�งาน หนักมาก พี่ว่าอันนี้มันก็เลยทำ�ให้บางคนมันท้อ มันเหนื่อยระหว่างทาง ความยากอีกอย่างหนึ่ง พอเวลาเราถ่ายแบบหนังปุป๊ คือหนังเนีย่ เราไม่มที าง จะถ่ายเรียงเรื่องได้ หมายถึงบทซีนหนึ่ง ซีนสอง ซีนสามไล่ไปเนี่ย สมมติถ่ายห้องเนี่ยเป็นซีนที่หนึ่ง ซีนที่ยี่สิบเก้า ซีนที่ห้าสิบหก มันก็ควรจะมาห้องนี้ ทีเดียวแล้วถ่ายให้จบ เพราะไม่ยังงั้นเราก็ต้องจ่าย ค่าโลเคชั่นสามสี่รอบ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในแง่ของ การทำ�งานในเชิงธุรกิจนะ ทีเนี้ยหนังมันจะถ่ายสลับ ไปสลับมา สมมติเป็นนักแสดงเล่นใน EP.1, EP.7,
EP.13 แล้วถ่ายที่ห้องเนี้ย อ้าวมึงเล่นสิ EP.1, EP.7, EP.13 โดยที่ EP.2, EP.3 กูยังไม่ได้เล่นเลยนะ จะ เข้าใจอะไรวะ ซึ่งสิ่งเนี้ยยากมาก แต่ที่ยากที่สุดมันตก มาที่พี่ เพราะว่าน้องก็เด็ก ประสบการณ์ชีวิตก็ไม่มาก เขาก็อาจจะไปทำ�การบ้านด้วยตัวเองไม่ได้ เพราะเขา ไม่เคยผ่านอะไรมา มันเลยเป็นความเข้าใจของเราที่ต้อง ทำ�งานกับเด็ก PIE : ฮอร์โมนมีกระแสตอบรับที่ดีมาก คิดว่าเพราะอะไร วัยรุ่นถึงชื่นชอบกัน
พี่ย้ง : อาจจะเป็นเพราะความแตกต่างและแปลกใหม่ ที่ทำ�ให้คนสนใจ ดาราก็ส่วนหนึ่ง แต่ว่าสิ่งที่ทำ�ให้มันดี ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ตก EP.1 ทะลุล้านวิว EP.2 ก็ตามมา สามมาสี่มา มันต้องเป็นที่เนื้อหาแล้ว ตัวกระแสอย่าง เดียวมันคงไม่พอ สมมติอย่างพี่มากพระขโนงอย่างเนี้ย ออกมาดีการโปรโมทดีทุกอย่าง หน้าหนังดี ตัวอย่างดี ปุ๊ป ก็อยากไปดูในเสาร์-อาทิตย์แรก แต่ถ้าคนดูออกมา แล้วหนังไม่สนุก มันก็จะจบลงภายในเวลาอันสั้น เราว่า ฮอร์โมนมันก็คงจะมีเนื้อในอะไรบางอย่างที่...หนึ่งคือมัน เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้คนดูได้คิด ในขณะเดียวกันมันก็ อาจพูดเรือ่ งแรงๆ แต่วา่ มันก็มเี จตนาทีบ่ วกอยู่ เราโชคดี ที่คนเข้าใจด้วย เพราะว่าเราดันไม่ได้พูดตัดสินอะไรถูก ผิดชัดเจน แล้วคนไทยสมัยใหม่มีโลกทัศน์ที่กว้างแล้ว เข้าใจมัน นี่พูดถึงภาพรวมนะ ไม่ได้คิดว่าร้อยเปอร์เซ็น มันจะเป็นแบบนั้น แต่ว่าเท่าที่เห็นส่วนใหญ่คนเข้าใจ เจตนาเรา แล้วด้วยความคิดว่ากำ�ลังมาทำ�งานโทรทัศน์ เราก็ต้องเล่าเรื่องให้มันสนุก เล่าเรื่องให้มันชัด คนดู ก็เลยสนุกไปกับมัน ให้คุณค่ากับคนที่เขามาดูงานเรา ว่าเขาไม่ได้โง่นะ ต้องให้เขาคิดนะ อย่าไปทำ�งานแบบ เคี้ยวๆ เสร็จแล้วไปป้อนใส่ปากเขา คือพอเราให้คุณค่า เขา เขาก็เลยมองงานเราอย่างให้คณุ ค่า มันก็เลยเหมือน ส่งเสริมกันจากสองด้านนะ 117
PIE : คิดว่าตัวเองยังเป็นวัยรุ่นอยู่รึเปล่า
พี่ย้ง : มันคงเหมือนที่ตูนพูดในบอดี้แสลมนั่งเล่น ที่ตูนบอกว่า ว่ายังอยากเป็นวัยรุ่นอยู่ตลอดเวลา เวลาคนเราทำ�งาน เราก็รู้สึก ว่าสภาพร่างกายมันก็แก่ไปตามวัยตามอายุขัย เราอยากกลับไป เป็นวัยรุ่น เรามีพลังเราไม่กลัวอะไร แต่ว่าการแก่แล้วก็ดีทำ�ให้เรา มีทักษะเพิ่มขึ้นมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น แก่แล้วควรจะใจกว้าง ขึน้ เพราะว่าเราผ่านอะไรมาเยอะ โลกทัศน์เราควรจะกว้างขึน้ ซึง่ สิ่งเนี้ยมันเป็นความดีงามของการเติบโต แต่ว่าเราก็ยังอยากเป็น วัยรุ่นเพราะว่าเราไม่อยากกลัวอะไร พอแก่ขึ้นประสบการณ์ชีวิต เราเยอะขึ้นมันก็จะมาบอกเราว่าทำ�สิ่งนี้ระวังเจ็บตัวนะ ถามว่ายัง เป็นวัยรุ่นอยู่ก็คงเลยมานานแล้ว (หัวเราะ) แต่ว่าตัวเองยังอยาก เป็นวัยรุ่นอยู่ ยังอยากทำ�อะไรแล้วก็ไม่กลัว มันเหมือนกับตอนที่ เขียนบทฮอร์โมนเนี่ย วันที่เรานั่งคุยกันมันมีจุดที่เรากลัวนะ มัน จะดีไหมวะ กูจะโดนด่าไหม จีทีเอชจะโดนด่าไหม น้องนักแสดง ที่กูชวนมาเขาจะเสียชื่อเสียงไหม บางคนเป็นพรีเซนเตอร์ราคา แพงๆ สปอนเซอร์เขาจะถอนไหม นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องรับผิดชอบ สังคมนะว่าเราเป็นสื่อ รับผิดชอบออฟฟิศ รับผิดชอบนักแสดง
118
รับผิดชอบตัวเราเอง คือวันนั้นมันต้องกลัวแน่นอน เพียงแต่ว่าคือความกลัววันนั้นเรารู้สึกว่า ถ้าเรา เจตนาดี เราคิดดีแล้ว เราพยายามคิดให้รอบคอบ เตรียมตัวให้ดี พอวันที่มีคำ�ถามแล้วเราตอบได้ ก็ไม่ เห็นต้องกลัวอะไร เนี่ยเราว่าเป็นวิธีคิดแบบวัยรุ่นนะ คือถ้าแบบไม่เอาแล้ว ไม่อยากเผชิญปัญหา มันจะ เป็นคนแก่ PIE : แล้วในสายตาพี่มองวงการหนังบ้านเราตอนนี้ เป็นยังไงบ้าง
พี่ย้ง : ก็โอเคในระดับปกติ ตกต่ำ�ไหมก็ไม่ได้ตกต่ำ� เฟื่องฟูมากๆ ไหม ก็ไม่ได้มาก เป็นอุตสาหกรรม ได้ไหมก็เป็นได้ หมายถึงว่าทำ�เป็นอาชีพอะไรแบบนี้ ตอนน้ีเราคิดว่าหนังไทย ดาราไทยเริ่มเป็นกระแสใน อาเซียนได้ ในเอเชียได้ แต่ก่อนเรารู้สึกว่าหนังเอเชีย มันเป็นหนังเกาหลี หนังจีน หนังฮ่องกง หนังญี่ปุ่น เหมือนตอนเราเด็กๆ มันคือหนังฮ่องกง พอมาแป๊ป หนึ่งมันก็จะเป็นญี่ปุ่น แล้วช่วงนี้มันก็เป็นเกาหลี แต่ว่าตอนนี้พี่รู้สึกว่าหนังไทยเป็นหนังอาเซียนได้แล้ว คือแบบคนอินโดฯ คนพม่า คนลาว คนสิงคโปร์ คน มาเลเซียดูหนังไทย ไปเข้าโรงบ้านเขา เขาก็เสียเงิน ดูแบบมันเป็นหนังบ๊อกซ์ออฟฟิสได้เลย เป็นอย่างนี้ มาห้าหกปีแล้วนะ อินโดฯนีเ่ รียกว่าดาราเราเป็นกระแส ได้เลยนะ คือทุกวันนี้พี่ทวิตเตอร์เกี่ยวกับฮอร์โมน ก็มีแฟนคลับอินโดฯ เวียดนามอะไรอย่างนี้ เข้ามา เต็มเลย แล้วมันก็จะถูกแปลออกไป คนในชาติพวก เนี้ยเขาติดตามงานของหนังไทยเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่ใช่ กลุ่มเล็กๆ นะ ที่จีนก็มี ไต้หวันก็มี แต่ตอนเนี้ย มันจะเป็นแค่ว่าญี่ปุ่นกับเกาหลีมันจะเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่แบบว่าชาตินิยมสูง อะไรแทรกซึมเข้าไปได้ยาก
ขนาดที่เกาหลี ญี่ปุ่นยังแทรกไปยากเลย ญี่ปุ่นก็มี แค่เกาหลีที่แทรกเข้าไปได้ ดังนั้นถ้าเราเข้าไปอยู่ใน ญี่ปุ่น ในเกาหลีได้ ก็แปลว่าวันนั้นเราเป็นหนังเอเชีย เต็มรูปแบบ PIE : พี่ย้งรู้สึกยังไงบ้างกับการเซ็นเซอร์ในบ้านเรา
พี่ย้ง : รู้สึกว่าไม่มีมาตรฐาน บางทีเขาก็โอเค เดี๋ยว ก็ไม่โอเค ขอไม่พูดลงดีเทลแล้วกันนะ บางทีเราก็รู้สึก ว่ามีเรตติ้งแต่ก็มีเซนเซอร์ แปลกไหม เรตติ้งคือใน ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว การจัดเรตติ้งเขามี เจตนาว่าเขาไม่อยากจำ�กัดสิทธิ์เสรีภาพของสื่อในการ ที่จะเล่าหรือไม่เล่าอะไร เขาก็เลยมีการจัดเรตติ้งเพื่อ ที่จะบอกว่า สารอันนี้เหมาะกับคนดูในวัยนี้ อันนี้ไม่ เหมาะหรืออะไรอย่างเนี้ย แต่พอมันมีทั้งเรตติ้งแล้ว ดันมีเซนเซอร์หรือการห้ามฉาย มันเลยแปลกไง อีก อย่างคือผู้ใหญ่ในประเทศเรา เวลาที่เขารู้สึกว่ามันมี อะไรที่มันเป็นปัญหาสังคม การป้องกันปัญหาของเขา คือปิดหูปิดตา แล้วเด็กยุคเนี้ย เวลาเขามาบอกว่า ห้ามนู่นห้ามนี่ สำ�หรับพี่ไม่ใช่การปิดหูปิดตาเด็กนะ มันเป็นการปิดหูปิดตาตัวเอง สมมติอย่างลูกใส่ชุด สายเดีย่ วมา ห้ามใส่ชดุ โป๊ๆ นะ ไปเปลีย่ นชุด เด็กมัน ก็เปลี่ยนแล้วมันก็เอาสายเดี่ยวยัดใส่กระเป๋าแล้วก็เดิน ออกไป พออยู่ข้างนอกมันก็เปลี่ยนใส่สายเดี่ยวเหมือน เดิม คือผู้ใหญ่ก็ไม่รู้ไง หรือห้ามดูโทรทัศน์ เด็กมัน ก็ดูจากมือถือ มันอาจจะดูเหมือนฟังเราแต่ว่ามันอาจ จะไม่ได้ฟังเราแล้วก็ได้ ซึ่งการที่ผู้ใหญ่ทำ�สิ่งนั้นนะ ไม่ได้ปิดหูปิดตาเด็ก แต่ปิดหูปิดตาตัวเองอยู่ ตอน เริ่มต้นทำ�ซีรีย์วัยรุ่นเราก็หาข้อมูลเพิ่ม ขนาดเราสนิท กับวัยรุ่นขนาดนี้บางจุดเรายังตกใจเลย เฮ้ย! เด็ก วัยรุ่นสมัยนี้มันไปขนาดนั้นแล้วเหรอ แล้วพ่อแม่ 119
ผู้ปกครองที่กั้นตัวเองจากเด็กๆ เหล่าเนี้ยเขาจะ ยิ่งไม่รู้สึกห่างไกลจากสิ่งเหล่านี้เหรอ เลยยิ่งรู้สึก ว่าการที่เขาได้ดูฮอร์โมนมันอาจจะเป็นการเปิด หูเปิดตาเขานะ คือมันอาจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกสิ่งที่ดี แหละ แต่ว่ารับไว้หน่อย บางทีเราอาจสังเกตลูก เรามากขึ้น ทุกคนคงไม่อยากที่จะเป็นแบบผู้ใหญ่ ที่อยู่ในกะลาแล้วก็ไม่ยอมรับรู้เปิดใจว่าตอนนี้มัน โลกมันไปถึงไหนแล้ว PIE : แล้วมีหลักในการบริหารยังไงบ้าง กับบริษัทนาดาว
PIE : ในอนาคตอยากให้บริษัทนาดาว เป็นยังไงต่อไป
พี่ย้ง : อาศัยความเข้าใจ ประสบการณ์ของเรา พูดง่ายๆ ว่าถ้ามีอะไรทีน่ าดาวทำ�อย่างหนึง่ อย่างใด หรืออย่างที่จีทีเอช ก็คือเราอยู่กันแบบพี่แบบน้อง เราจะไม่ใช่องค์แบบเจ้านายลูกน้อง มีปัญหาก็จะ คุยกันแบบพี่แบบน้อง อย่างดูแลศิลปิน ถ้าเป็นที่ อื่นเขาจะบอกได้เลยว่า ผอมไปแล้วนะ ต้องทำ� น้�ำ หนักให้ได้เท่านี้ อ้วนไปแล้วนะ ต้องลดน้�ำ หนัก ห้ามสูบบุหรี่ ต้องเล่นละครเรื่องนี้ ห้ามเล่นหนัง เรื่องนั้น สั่งเลย นี่คือระบบการดูแลศิลปิน แต่ที่ เนี่ยจะเป็นระบบแบบว่า เหมือนแนะนำ�ให้ ทำ� ไม่ทำ� รับผิดชอบตัวเอง น้องๆ ก็ต้องเรียนรู้ที่ จะรับผิดชอบตัวเอง สมมติว่าเขาอยากจะเล่น หนังเรื่องนี้ เป็นหนังนอกค่ายได้นะ แต่ถ้าเกิดมี หนังในค่ายมา เขาอยากเล่นของเราเหมือนกัน แต่เผอิญว่าหนังซ้ำ�ทางกัน จีทีเอชไม่ทำ�หนังซ้ำ� ทางกันโดยใช้นักแสดงคนเดิม มึงอาจจะไม่ได้ เล่นนะ ก็ต้องยอมรับ
พี่ย้ง : ก็อยากให้มันแข็งแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย ตัวเอง หมายถึงว่าวันหนึง่ พีก่ จ็ ะต้องทำ�งานน้อยลง พี่อยากให้น้องๆ พนักงานในนาดาวรู้สึกว่า ถ้าวัน หนึ่งพี่จะลี้ไปพักบ้างเดือนสองเดือนก็ไม่ต้องมา พึ่งเรา คือตอนนี้เรายังรู้สึกเหมือนว่านาดาวขาด เราแล้วเหมือนมันจะขาดใจน่ะ เราอยากให้น้องๆ พัฒนาขึ้นมา สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ทั้งใน แง่ของศิลปิน หรือกระทั้งพนักงาน จนวันหนึ่งพี่ สามารถนั่งพักแล้วมองดูน้องๆ ทำ�งานโดยที่เรา ไม่ต้องลงไปช่วยอะไรมากมาย PIE : เคยคิดจะเลิกไปทำ�อย่างอื่นไหม
พี่ย้ง : เคยคิดอยู่ตลอด เวลาเหนื่อยๆ เพราะ ว่าการทำ�งานตรงนี้มันทำ�งานกับคนห้าสิบหกสิบ คนในกองถ่าย พอถึงจุดหนึ่งมันก็เกินมือที่เราจะ ควบคุมอะไรได้หมด งานกำ�กับถ้าคอนโทรลไม่ได้ มันเหนื่อยมาก แล้วยิ่งเป็นคนซีเรียสจริงจังกับการ ให้มันได้ผลลัพธ์ในระดับหนึ่ง เราต้องคอนโทรล มันได้ มันจะมีจุดที่เรารู้สึก โห…มันเหนื่อย ท้อ บางทีเจอฟ้าฝนดินฟ้าอากาศที่เราคอนโทรลไม่ได้ ก็รู้สึกว่าเราไม่ได้มีแรงเหมือนวัยรุ่นตลอดเวลา ตอนเราเป็นวัยรุ่นเรารู้สึกว่าใครทำ�ไม่ได้ ใครไม่ทำ� เราก็จะวิ่งไปทำ�เอง แต่พอเราแก่แล้วบางทีเราทำ� เองทุกอย่างไม่ได้ เรายังไม่รเู้ ลยว่าเราจะเลิกวันไหน เลิกแล้วจะไปทำ�อะไร เลิกสิ่งนี้อีกสิบปีข้างหน้าอาจ จะไปทำ�อีกสิ่งหนึ่ง แต่ตอนนี้ยังไม่รู้เลย
120
SPECIAL QUESTION หนังที่ชอบเรื่องล่าสุด : ชอบพี่มากพระขโนง รู้สึกว่า พี่โต้งทำ�ส่วนดราม่าของพี่มากกับนาคดี ดูแล้วอิน มีมุม มองใหม่ๆ ของการตีความตัวละคร มันเป็นงานที่คนทำ� อยากจะสร้างสิ่งใหม่ๆ รับผิดชอบในเรื่องโปรดักชั่น รับผิด ชอบต่อคนดู มีความบันเทิงในฐานะของการเป็นหนังแบบที่ ต้องการสื่อสารกับกระแสหลัก เพลง : แสงสุดท้ายก็ยังชอบอยู่นะ แต่ถ้าถามว่าตอนนี้ ก็ต้องเพลงนี้แหละ เพลงที่ใช้โปรโมทฮอร์โมน เพลงแตก ต่างเหมือนกัน ของเก็ทสึโนว่า ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นเพลง ประกอบฮอร์โมนนะ ชอบชื่อเพลง ชอบสิ่งที่มันพูด คือ ตอนเราเป็นวัยรุ่นเราจะรู้สึกว่าเคว้งคว้าง โดดเดี่ยว อะไร บางอย่างเวลาที่เราเลือกจะเป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไร เรารู้สึก ว่ามันเคว้งคว้างเวลาเราไม่เหมือนใคร แต่เพลงแตกต่าง เหมือนกันมันพูดว่า เฮ้ยวัยรุ่นทุกคนแบบมึงไม่ต้องรู้สึก เคว้งคว้าง เพราะเราทุกคนล้วนแตกต่างเหมือนกัน ประเด็น มันคม เราก็เลยรู้สึกชอบเพลงนี้ เครียด : นอนเลย รู้สึกว่าถ้ายังคิดอยู่ยังไงก็เครียด ไป ไหนมันก็เครียดอ่ะ ต้องทำ�ยังไงก็ได้ไม่ให้คิด นอนดูหนัง ทิ้งปัญหาไปสักพักหนึ่ง ชั่วโมงสองชั่วโมง หรือสี่ชั่วโมงนะ พอย้อนกลับมาคิดตอนที่อารมณ์สงบแล้วบางทีเราอาจจะ หาทางออกได้ดีขึ้น ผู้กำ�กับหน้าใหม่ : น่าจะเป็นเต๋อ นวพลนะ เต๋อเป็นคนที่ มีความคิดที่แมส เพียงแต่วิธีการของเต๋ออาจจะไม่แมส ส่วนตัวรู้สึกว่าเต๋อเป็นคนเปิดกว้าง ไม่เคยปิดอะไรเลย ใน ขณะเดียวก็ไม่เคยเขว เปิดกว้างแต่ก็ไม่แกว่ง มันอาจจะมี แกว่งตามประสาของคนที่เจอปัญหาในการทำ�งานบ้าง แต่ ว่าเต๋อเป็นคนที่ไม่แกว่งในความเป็นตัวตน รู้สึกว่าผู้กำ�กับที่ เป็นแบบนี้น่าสนใจ ผู้กำ�กับในดวงใจ : เยอะ ก็ชอบเดวิด ฟินเชอร์ ชอบ ดาร์เรน อาโรนอฟสกี้ ผู้กำ�กับแบล็ค สวอน แล้วก็ โคริเอดะ ผู้กำ�กับญี่ปุ่นที่ทำ�โนบอดี้ โนว์ แล้วก็อีกคนคือ คริสโตเฟอร์ โนแลน จริงๆ ยังมีอีกเยอะ แต่อันเนี้ยเป็น สี่ชื่อที่โผล่มาแล้วต้องดูหนังเขา ต่อให้ใครจะวิจารณ์ดี ไม่ดียังไงก็ต้องดู อย่างหนังของฟินเชอร์เนี่ย โซเชียล เน็ตเวิร์ค พี่ดูในโรงเจ็ดรอบ ดรากอน แทททู ดูในโรงสี่รอบ
121
PIE : การจะเป็นผู้กำ�กับที่ดี สิ่งสำ�คัญที่ต้องมีคืออะไร
พี่ย้ง : ไม่มีอะไรเป็นคำ�ตอบที่ตายตัว สำ�หรับการเป็นผู้กำ�กับที่ดีนะ แต่ว่า พี่รู้สึกว่าคุณสมบัติอันหนึ่งของคนที่จะ เป็นผู้กำ�กับจะต้องมีก็คือ ผู้กำ�กับต้อง มีตัวตน ผู้กำ�กับต้องมีทัศนคติ ไม่มี ทัศนคติไม่มีตัวตนเป็นผู้กำ�กับไม่ได้ ไม่มีเรื่องอยากจะพูดไม่มีความคิดเห็น เราว่าเป็นผู้กำ�กับไม่ได้
122
123
ONLINE GALLERY
124
รู้หน้าไม่รู้ใจ Know the face can't tell the heart. by 'เอ็มยศ'
125
126
www.facebook.com/backhandproject 127
128
The Living Doll
129
ขวัญชนก คงคาเจริญ (ขวัญ) www.facebook.com/kwanchanokphotography e-mail : kkwannkwan@gmail.com instagram kwannkwan 130
131
132
จิรวรรณ อุทารไทร (ตั๊ก) www.facebook.com/jilalabyji Instagram: tuck_ok
133
134
135
136
พบกับแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ดีๆ แบบนี้ได้ทุกๆ ต้นเดือนที่
www.pieeveryday.com
หรือ www.facebok.com/piemagazine2013
137
See You Soon. 138