CSRS NEWS vol.7

Page 1

/ เมฆทีก่ อ่ ให้เกิดฝนพายุ ฟ้าคะนอง P1

/ Activities Training and Seminars การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัย วิจัยแห่งชาติครั้งที่ 2 P2

P3 /

Satellite Application การประยุ ก ต์ ใ ช้ ด าวเที ย ม S M M S ใ น ก า ร ติ ด ต า ม ไ ฟ ไ ห ม ้ ป ่ า ที่ ภู ก ร ะ ดึ ง จ . เ ล ย / SMAC Update รายละเอี ย ดข้ อ มู ล ดาวเที ย ม ชนิด HSI และ IRS

/ Remote Sensing in Daily Life. กาารเปลี่ยนสีของท้องฟ้าใน ช่วงเวลาต่างๆ / Meteorology Corner พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และพลังงานจากรังสี P4

CSRSNews ฉบับที่ 7 ประจ�ำวันที่ 1 มิถุนายน 2556

ข่ า วสถานี รั บ สั ญ ญาณ ดาวเที ย มจุ ฬ าภรณ์ http://smms.eng.ku.ac.th/

เมฆทีก่ อ่ ให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองมักอยูร่ วม กันเป็นกลุ่ม หากอยู่รวมกันอย่างไม่เป็นระเบียบ เราเรียกว่า “พายุฝนฟ้าคะนอง” แต่ถา้ มีการรวม กลุ่มกันอย่างมีระเบียบ โดยเซลล์ต่างๆ ของเมฆ จัดตัวเป็นแนวยาวเป็น พายุฝนฟ้าคะนองหลาย เซลล์ (multi-cell thunderstorm) ท�ำให้เกิด กระแสลมไหลลงแรงพัดลงสูพ่ นื้ โลก เกิดเป็นแนว ลมเย็นทีเ่ รียกว่า “แนวปะทะอากาศลมกระโชก” (gust front) เมฆฝนฟ้าคะนองมีการก่อตัวและ การพัฒนาการเติบโตเป็น 3 ขั้น ดังนี้ • ขั้นก่อตัว หรือขั้นเมฆคิวมูลัส (cumulus stage) ใช้เวลานาน 10 - 15 นาที

โดยเริ่มเกิดจากการไหลเวียนของอากาศ ท�ำให้ มีกระแสลมพัดขึ้นในแนวดิ่ง เกิดเมฆคิวมูลัส เล็กๆ ที่ไม่เกิดฝน เรียกว่า เมฆคิวมูลัสลมฟ้า อากาศปกติ • ขั้นเติบโตเต็มที่ (mature stage) ใช้ เวลานานประมาณ 15 - 30 นาที เมื่อยอด เมฆเริ่มขยายตัวไปในทางแนวราบเป็นเมฆรูป ทั่ง (anvil cloud) โดยเฉพาะส่วนบนของเมฆ ประกอบด้วยเกล็ดน�้ำแข็ง จะมีกระแสลมไหล ในแนวดิ่งลงสู่พื้นโลก กระแสลมที่พัดลงมาใน แนวดิ่งนี้ จะน�ำเอาหยาดน�้ำฟ้า ท�ำให้เกิดฝน ตกหนักลงสู่พื้นโลก เป็นกระแสลมที่พัดรุนแรง

เมื่อกระแสลมพัดลงมาใกล้พื้นโลก จึงก่อให้เกิด แนวลมกระโชก หรือแนวพายุฝนฟ้าคะนอง ขึ้น เมฆฝนฟ้าคะนองจะเติบโตเต็มที่ ในตอน ปลายของขั้นนี้จะมีทั้งฝนตกหนัก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลมแรง และลูกเห็บตก • ขั้นสลายตัว (dissipating stage) เกิด ขึ้นเมื่อกระแสลมในเมฆส่วนมากเป็นกระแสลม พัดลงสู่พื้นโลก อากาศที่จมตัวลง ก็จะแทนที่ อากาศที่ลอยตัวขึ้นในเมฆ ส่งผลให้ภายในเมฆ มีเพียงกระแสลมที่พัดลงสู่พื้นโลก ท�ำให้อากาศ อุ่นตัวขึ้น ความชื้นสัมพัทธ์ก็ลดลง ฝนค่อยๆ หมดไป ท�ำให้เมฆส่วนใหญ่สลายตัวหายไป ที่มา : สารานุกรมไทยส�ำหรับเยาวชนฯ


2

ลู ก เห็ บ ตกกระหน�่ ำ ดอยอิ น ทนนท์

A ctivities

Training and Seminars

การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2 The Second Thailand National Research Universities Summit (NRU Summit II)

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมาได้เกิด พายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมพัดกระโชกแรง รวมทั้ง มีลูกเห็บตกเป็นจ�ำนวนมาก เป็นบริเวณกว้างหลาย จุด จนพืน้ กลายเป็นสีขาวโพลนดูคล้ายหิมะ ในพืน้ ที่ ดอยอินทนนท์ อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทาง เจ้าหน้าทีอ่ ุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้เปิดเผย ว่าโดยก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดเหตุการณ์ลูกเห็บตกจน ทั่วดอยมีสีขาวโพลนในลักษณะแบบนี้มาแล้ว จึง ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติประการใด

มี ก ารเสวนาพิ เ ศษเรื่ อ งความพร้ อ มในการแข่ ง ขั น ของการอุ ด มศึ ก ษาไทยบนเวที ป ระชาคมอาเซี ย น และการบรรยายพิเศษเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยโลก ตามนโยบาย รัฐบาล โดยมีอธิการบดี มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ทั้ง 9 แห่ง ร่วมในการบรรยายครั้งนี้ ทางสถานีรับสัญญาณดาวเที ยมจุฬาภรณ์ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วม

เมื่อวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมาได้มีการ จัดงานประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้ง ที่ 2 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้เปิดงานในครั้งนี้ โดยการประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครัง้ ที่ 2 The Second Thailand National Research Universities Summit (NRU Summit II)

เป็นการจัดประชุมและน�ำเสนอผลงานวิจัยดีเด่น ซึ่ง มีการจัดกิจกรรมในบริเวณที่จัดการประชุม ได้แก่ นิ ท รรศการแสดงผลงานวิ จั ย และการใช้ ป ระโยชน์ จากมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง ตลอดจน ตัวอย่างผลงานจาก 6 กลุ่มวิจัยเชิงบูรณาการด้าน เกษตรและอาหาร ทั้งมีการน�ำเสนอผลงานการวิจัย แบบโปสเตอร์ จ�ำนวน 297 เรื่อง และการน�ำเสนอ ผลงานวิจัยดีเด่นแบบบรรยาย จ�ำนวน 23 เรื่อง

การจัดนิทรรศการ โดยน�ำเสนอผลงานเรื่อง ภารกิจ เร่งด่วนในการประยุกต์ใช้งานข้อมูลดาวเทียม SMMS (HJ-1A) และดาวเทียม HJ-1B เพื่อติดตามสถาน การณ์ ไ ฟป่ า บริ เ วณภาคเหนื อ และภาคใต้ ข อง ประเทศไทย เนื่องจากศักยภาพของดาวเทียมที่มีกล้อง ถ่ายภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อนซึ่งสามารถ ตรวจจับจุดความร้อนที่เกิดขึ้นได้ในพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ ตลอดจนความสามารถในการถ่ายภาพทุกวันในพื้นที่

ครอบคลุมประเทศไทย ท�ำให้การติดตามสถานการณ์ไฟ ป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ หัวหน้าสถานีฯ ยังได้ร่วมบรรยายในเรื่อง การประยุกต์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมกับการติดตาม สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอุณภูมิโลก ซึ่งเป็นการ ประยุ ก ต์ ใ ช้ ข ้ อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย มในการติ ด ตาม สถานการณ์และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โลก


3 ไฟป่าสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เป็ น อย่ า งมาก เนื่ อ งจากสามารถลุ ก ลามได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว และไหม้ท�ำลายพื้นที่ป่าเป็นจ�ำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมและระบบนิเวศโดยรวม รวมทั้งท�ำความเสียหายให้ ชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์

SMAC UPDATE

S atellite

Applications

10 เมษายน 2556

http://smms.eng.ku.ac.th/ จากฉบับทีแ่ ล้วได้แนะน�ำส่วนประกอบของไฟล์ ข้อมูลดาวเทียมชนิด CCD หลังจากการดาวน์โหลด แล้วว่าข้อมูลหลังจากการดาวน์โหลดนั้นประกอบ ด้วยอะไรบ้าง ซึ่งฉบับนี้จะกล่าวถึงรายละเอียด ข้อมูลส่วนประกอบของข้อมูลดาวเทียมชนิด HSI (Hyper Spectral Image) และ IRS (Infrared MultiSpectral Image) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ส่ ว นประกอบของข้ อ มู ล

หลังจากการ Extract ไฟล์ข้อมูลจากการ ดาวน์โหลดซึ่งเป็นไฟล์ .Zip แล้ว ส�ำหรับข้อมูล ภาพถ่ายดาวเทียม SMMS ชนิด HSI และ IRS ประกอบด้วยรายละเอียดข้อมูลดังนี้ 12 เมษายน 2556

1

2

3

20 เมษายน 2556

ก า ร ป ร ะ ยุ ก ต ์ ใ ช ้ ง า น ข ้ อ มู ล ด า ว เ ที ย ม S M M S ใ น ก า ร ติ ด ต า ม สถานการณ์ ไ ฟไหม้ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ภู ก ระดึ ง จั ง หวั ด เลย จากกรณีเกิดไฟป่าในพืน้ ทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติภกู ระดึง จังหวัดเลย ลุกไหม้บนทุ่งหญ้าป่าสนบนอุทยานฯ และ ลุกลามไหม้เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่แนวเส้นทางเดิน สระแก้วไปผานาน้อย ไปจนถึงผาเหยียบเมฆ สาเหตุ ของการเกิดไฟป่าในครั้งนี้เนื่องจากว่าการจุดไฟเพื่อ ประกอบอาหารของพรานป่า ที่บริเวณพื้นที่บ้านนา น้ อ ย และเกิ ด ไฟลุ ก ลามไหม้ พื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย ง โดยที่ รายงานความเสียหายของพื้นที่ป่าอุทยานฯจากหลาย แหล่งข่าวนัน้ มีความคลาดเคลือ่ นไม่ตรงกัน แต่จากการ ค�ำนวณขอบเขตการเกิดไฟไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม SMMS ได้ประเมินพื้นที่เสียหายประมาณ 2,612 ไร่ โดยไฟป่าครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบ 18 ปี การติดตามสถานการณ์ไฟไหม้ปา่ เป็นการวิเคราะห์ ข้ อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม SMMS (HJ-1A) และ ดาวเทียม HJ-1B ชนิด IRS (Infrared MultiSpectral Image) โดยใช้แบนด์ Thermal Infrared วิเคราะห์หา จุดความร้อนทีเ่ กิดขึน้ ในภาพ แล้วเปรียบเทียบกับข้อมูล ภาพถ่ายสีแบบ CCD ในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน

โดยในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดง ล�ำดับเหตุการณ์และขอบเขตการลุกลามของไฟไหม้ ป่าที่เกิดขึ้น เริ่มจากวันที่ 1 เมษายน 2556 ซึ่งยังไม่ เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ จากนั้นวันที่ 10 เมษายน 2556 ได้มีการตรวจพบพื้นที่ป่าที่เกิดไฟไหม้ และเริ่มรุนแรง และขยายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้นในวันที่ 12 และ 20 เมษายน 2556 ตามล�ำดับ ซึ่งลดระดับความรุนแรงลง ในวันที่ 30 เมษายน 2556 สถานีรบั สัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ได้ตระหนักถึง เหตุการณ์ไฟป่าทีเ่ กิดขึน้ จึงได้มกี ารติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของทาง สถานีฯ โดยการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS (HJ-1A) และดาวเทียม HJ-1B เนื่องจากมีการถ่าย และบันทึกภาพทุกวันในพื้นที่ครอบคลุมประเทศไทย จึงท�ำให้การติดตามสถานการณ์ไฟไหม้ป่าเป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดท�ำแผนที่ไฟไหม้ ป่าที่ตรวจพบเพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด�ำเนินการต่อไป

4

HSI 1. ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม HSI ไฟล์ .H5 2. ภาพตัวอย่างที่แสดงข้อมูลชนิด HSI ไฟล์ .JPG 3. ข้อมูล .XML ซึ่งเป็นไฟล์ Metadata 4.ข้อมูลมุมภาพถ่าย ไฟล์ .txt (Sat_Zenith_ Azimuth)

1

2

3

4

IRS 1. ภาพตัวอย่างที่แสดงข้อมูลชนิด IRS ไฟล์ .JPG 2. ข้อมูล .XML ซึ่งเป็นไฟล์ Metadata 3. ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ทั้ง 4 band ประกอบ ด้วยช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) อินฟราเรดกลาง (Mid Infrared) และอินฟราเรด ความร้อน (Thermal Infrared) 4.ข้อมูลมุมภาพถ่าย ไฟล์ .txt (Sat_Zenith_ Azimuth)


4

R emote

Meteorology

Sensing in Daily Life

Corner

เคยสงสั ย ไหมว่ า ท� ำ ไมสี ข องท้ อ งฟ้ า เปลี่ ย นแปลงไปตาม เวลา ตอนกลางวันท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ส่วนตอนเช้าและตอน เย็นท้องฟ้าเป็นสีส้มแดง ท�ำไมถึงเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ขึ้น องค์ ป ระกอบที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ นี้ และเรี ย ก ปรากฏการณ์นี้ว่าอะไร วันนี้เรามีค�ำตอบให้ เพราะว่าต่อไป นี้ รีโมตเซนซิ่งจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวคุณอีกต่อไป แสงของดวงอาทิตย์ประกอบด้วยแสงสีตา่ งๆ ซึง่ มี ขนาดความยาวคลื่นไม่เท่ากัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ ตกกระทบโมเลกุลของอากาศจะเกิด “การกระเจิงของ แสง” (Scattering of light) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ที่ท�ำให้สีของท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา โดย ตอนกลางวันท้องฟ้าจะเป็นสีฟ้า ส่วนตอนเช้าและเย็น ท้องฟ้าเป็นสีส้มแดง การเกิดการกระเจิงของแสงคล้าย กับคลื่นน�้ำเคลื่อนที่มากระแทกเขื่อน ถ้าคลื่นมีขนาด เล็กกว่าเขื่อน (λ < d) คลื่นจะกระเจิงหรือสะท้อน กลับ แต่ถ้าคลื่นมีขนาดใหญ่กว่าเขื่อน (λ > d) คลื่นก็ จะเคลื่อนที่ข้ามเขื่อนไปได้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระเจิงของแสง ได้แก่ • ขนาดความยาวคลื่น แสงสีน�้ำเงินมีความยาว คลื่นสั้น แสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากกว่า แสงคลื่น สั้นจึงเกิดการกระเจิงได้ดีกว่าแสงคลื่นยาว • ขนาดของสิ่งกีดขวาง โมเลกุลของไอน�้ำและฝุ่นที่ แขวนลอยในบรรยากาศที่มีขนาดใหญ่เป็นสิ่งกีดขวาง การเดินทางของแสงความยาวคลื่นสั้น • มุมที่แสงตกกระทบกับบรรยากาศ แสงอาทิตย์ เวลาเที่ยงท�ำมุมชันกับพื้นโลก แสงเดินทางผ่าน มวลอากาศเป็นระยะทางสั้นและเดินทางผ่านไม่ยาก ส่วนในตอนเช้าและตอนเย็นแสงอาทิตย์ท�ำมุมลาดกับ พื้นโลก ท�ำให้แสงเดินทางผ่านมวลอากาศเป็นระยะ ทางยาวและเดินทางผ่านได้ยากกว่า • ปริ ม าณสารแขวนลอยในอากาศในช่ ว งเวลา บ่ายและเย็น อากาศและพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูง มีฝุ่น ละอองลอยอยู่ในอากาศมากเป็นอุปสรรคขวางกั้นทาง เดินของแสง

“ท้องฟ้ากลางวัน” แสงอาทิตย์ทำ� มุมชันกับพืน้ โลก แสงเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางสั้น อุปสรรค ที่กีดขวางมีน้อย แสงสีม่วง คราม และน�้ำเงิน มีขนาด ของคลื่นเล็กกว่าโมเลกุลของอากาศ จึงกระเจิงไปบน ท้องฟ้าทุกทิศทาง เราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า และ เห็นดวงอาทิตย์เป็นสีขาว เนื่องจากแสงทุกสีรวมกัน มีความเข้มสูงมาก ในบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศ น้อย เช่น ริมทะเลหรือในชนบท หรือในฤดูหนาวซึ่งมี ความกดอากาศสูงท�ำให้ฝุ่นลอยขึ้นไปไม่ได้ เราจะเห็น ท้องฟ้าเป็นสีนำ�้ เงินเข้ม ส่วนในบริเวณทีม่ มี ลภาวะทาง อากาศสูง หรือในฤดูรอ้ นซึง่ อากาศร้อนยกตัวพาให้สาร แขวนลอยขึ้นไปลอยอยู่ในอากาศ คลื่นแสงสีเขียวและ คลื่นแสงสีเหลืองจะกระเจิงด้วย เราจึงมองเห็นท้องฟ้า เป็นสีฟ้าอ่อน “ท้องฟ้ารุ่งเช้าและพลบเย็น” แสงอาทิตย์ท�ำมุม ขนานกับพืน้ โลก แสงเดินทางผ่านมวลอากาศเป็นระยะ ทางยาว อุปสรรคที่ขวางกั้นมีมาก แสงสีม่วง คราม และน�้ำเงิน มีความยาวคลื่นสั้นไม่สามารถเดินทางผ่าน โมเลกุลอากาศไปได้ จึงกระเจิงไปทั่วท้องฟ้า แต่แสง สีเหลือง ส้ม และแดง มีความยาวคลื่นมาก สามารถ ทะลุผา่ นโมเลกุลของอากาศไปได้ ท�ำให้เรามองเห็นดวง อาทิตย์เป็นสีสม้ และมองเห็นท้องฟ้าในบริเวณทิศตะวัน ตกเป็นสีเหลืองส้ม ถ้าวันใดมีอากาศร้อน ท�ำให้มีฝุ่น มากเป็นพิเศษ ดวงอาทิตย์จะมีสีแดง แต่ถ้าวันใดมีฝุ่น น้อยดวงอาทิตย์ก็จะเป็นสีเหลือง และถ้าเย็นวันใดฟ้า ใสไม่มีฝุ่นเลย เราก็จะมองเห็นดวงอาทิตย์เป็นสีสว่าง จนแสบตาเช่นเวลากลางวัน ทั้งนี้เนื่องจากแสงทุกสีมี ความเข้มสูง จึงมองเห็นรวมกันเป็นสีขาว (ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ; LESA)

ท้องฟ้าเวลากลางวัน

ท้องฟ้าเวลารุ่งเช้าและพลบค�่ำ

สถานี รั บ ดาวเที ย มจุ ฬ าภรณ์ ศู น ย ์ วิ จั ย เพื่ อ คว า มเป ็ น เลิ ศทางด ้ า น วิ ช าการด ้ า น การจั ด การภั ย พิ บั ติ ชั้ น 9 อ า คา รบุ ญ สม สุ ว ชิ รั ต น ์ คณะวิ ศ วกรรม ศาสต ร์ มห า วิ ท ย า ลั ย เก ษ ตรศา ส ตร ์ ถน น งาม วงศ์ ว าน จ ตุ จั ก ร กทม . 1 0 9 0 0 h t t p : //s m m s . e n g . k u . a c.th/

ทฤษฎีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและพลังงาน จากรังสี ในทางวิทยาศาสตร์ของชั้นบรรยากาศนั้น การแผ่รงั สีคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้ามักจะกล่าวถึงการแผ่รงั สี แบบง่ายๆ โดยที่การแผ่รังสีเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยี การรับรู้ระยะไกล เนื่องจากสามารถถ่ายโอนพลังงาน โดยปราศจากตัวกลาง ทฤษฎีการแผ่รังสีนั้นเริ่มจาก กฎพื้นฐานที่ว่าวัตถุที่มีอุณหภูมิมากกว่าศูนย์องศาเคล วิน จะมีการปล่อยรังสีออกมา เป็นที่ทราบกันดีแล้ว ว่าดวงอาทิตย์นั้นมีการแผ่รังสีซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของ พลังงาน โลกก็มีการแผ่รังสีเช่นกันโดยจะปล่อยรังสีซึ่ง มีพลังงานต�่ำกว่าออกมาและมีความยาวคลื่นประมาณ 10 µm ความแตกต่างระหว่างการแผ่รังสีของโลกและ ดวงอาทิตย์ถกู อธิบายโดยกฎของ Stefan-Boltzmann คือ พลังงานรวมต่อตารางเมตรต่อวินาที ที่วัตถุปล่อย พลังงานออกมาในหน่วยองศาเคลวิน นอกจากนี้วัตถุ ร้อนจะมีการแผ่รังสีมากกว่าวัตถุเย็น เช่น ดวงอาทิตย์ ปล่อยรังสีที่มีพลังงานราวๆ 160,000 เท่าของโลก ซึ่ง หมายความว่าดวงอาทิตย์ร้อนกว่าโลกราวๆ 20 เท่า

นอกจากกฎดังกล่าวแล้ว ยังมีกฎของ Wein ทีช่ ว่ ย ให้เข้าใจการแผ่รงั สีของวัตถุ และมีอยูใ่ นเทคโนโลยีของ ดาวเทียมด้วย โดยอุณหภูมิของวัตถุที่แผ่รังสีมีผลกับ ความยาวคลื่น ซึ่งค้นพบกฎโดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน Wilhelm Wien และมีกฎดังนี้คือ ความยาวคลื่น (µm) = 2,900/อุณหภูมิของวัตถุ ในหน่วยของเคลวิน กฎของ Wein สามารถสรุปได้วา่ วัตถุทรี่ อ้ นกว่าจะ มีความยาวคลื่นสั้นกว่า ถ้าวัตถุสามารถดูดซับพลังงานคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าที่ ความยาวคลืน่ ใดได้ ก็จะปล่อยพลังงานทีค่ วามยาวคลืน่ นัน้ ซึง่ กฎของ Kirchhoff กล่าวไว้วา่ วัตถุ A ดูดซับรังสี ได้ดีและปล่อยรังสีได้ดีที่ความถี่เดียวกัน ซึ่งการปล่อย รังสีของวัตถุนั้นขึ้นกับอุณหภูมิ

การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์

การแผ่รังสีของโลก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.